[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม => ข้อความที่เริ่มโดย: มดเอ๊ก ที่ 15 มิถุนายน 2553 19:53:58



หัวข้อ: "แห่งการงานอันเบิกบาน" : โดย ท่าน ตาร์ถัง ตุลกู ( คัดมาบางส่วน )
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 15 มิถุนายน 2553 19:53:58
(http://www.enfababy.com/2009/community/momdiary/7797/20090710_RLDSK8.jpg)


เราแต่ละคนจะมีประสบการณ์ว่า ในหลาย ๆ ครั้ง เมื่อเราทุ่มเทตนเองทั้งหมดให้กับสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ จนสิ่งซึ่งมีความหมายที่สุดในขณะนั้นก็ได้แก่สิ่งที่เรากำลังทำอยู่นั้น ความคิดจากภายนอก ความเคลื่อนไหวเล็ก ๆ น้อย ๆ และความรบกวนเล็ก ๆ น้อย ๆ จะผ่านไปโดยที่เราไม่ให้ความสนใจเลย ความสนใจของเราทั้งหมดจะทุ่มเทอย่างเต็มที่กับแต่ละขั้นตอนของการทำงาน ชีวิตของเราทั้งหมดจะทุ่มเทให้แก่กระแสแห่งการทำงานให้สำเร็จ ในเวลาเช่นนี้เป้าหมายของเราจะเด่นและชัดเจน แต่สิ่งที่เราต้องการทำเพื่อจะบรรลุเป้าหมายนั้นจะชัดเจนด้วย
 
เมื่อเราเสร็จการทำงานเช่นนี้ ผลของงานนั้นก็จะแสดงให้เห็นถึงความชัดเจนและความลึกซึ้งของการที่เราได้เข้าไปร่วมกับมัน และเราจะเบิกบานด้วยความสุขอันเกิดจากความสำเร็จ และความสุขนี้จะทำให้เรามีความมั่นใจในตัวเราเองมากขึ้น ความสุขที่เกิดขึ้นจะอยู่กับเรา จะให้กำลังใจแก่เรา จะจูงใจให้เราทำงานต่อไปในลักษณะเดียวกัน และยังสนับสนุนคุณภาพอันดีงามให้เกิดขึ้นอีกในงานอื่น ๆ ของเราด้วย
 
นี่คือการทำงานด้วยหัวใจ และเราแต่ละคนสามารถทำงานในลักษณะเช่นนี้ได้ เราจะเสริมสร้างคุณภาพนี้ได้ ด้วยการเปิดตัวเราให้กว้างเต็มที่ต่อสิ่งซึ่งอยู่ข้างหน้าเรา ยอมรับความต้องการของงานที่มีต่อเราด้วยความเต็มใจ ด้วยความเป็นสุข พลังงานอันอ่อนโยนของเราจะประคองเราให้ผ่านงานนั้นไปด้วยความมั่นใจ และจะเป็นแรงดลใจให้แก่ผู้อื่นซึ่งทำงานกับเราได้อีก การทำงานด้วยลักษณะเช่นนี้ก่อให้เกิดความสุขอย่างลึกซึ้ง แต่อะไรที่ขัดขวางเราไม่ให้ทำงานเช่นนี้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
 
 
เมื่อเราเริ่มทำสิ่งใหม่ เรามักจะคาดว่าอุปสรรคต่าง ๆย่อมเกิดขึ้นได้ และเรามักจะคิดถึงข้อจำกัดหรือจุดอ่อนซึ่งเราต้องเผชิญ จุดอ่อนนั้นอาจจะจากตัวของเราเองหรือจากผู้อื่น แม้ว่าเรามีความกระตือรือร้นในงานแต่เราก็จะรู้สึกถูกบีบคั้นความรู้สึกกลัวว่าเราจะทำไม่สำเร็จจะซ่อนเร้นอยู่ภายใน ความกลัวนี้เองที่ขัดขวางการเลื่อนไหลอย่างอิสละของพลังงานและขัดขวางเราไม่ให้ซาบซึ้งกับคุณค่าของงานที่เราทำ
 
เนื่องจากเราไม่ให้พลังงานทั้งหมดแก่งานของเรา เราได้ทำลายความรู้สึกที่จะทำงานเต็มที่ไปเสีย เราจะพบว่าเราจะหยุดงานบ่อย ๆ เพื่อจะไปหาอะไรรับประทาน เพื่อจะไปหยิบเครื่องมือ เพื่อจะดื่มน้ำ หรือเพื่อจะไปเตือนผู้อื่นในเรื่องบางเรื่องแม้ว่าเราจะรู้ว่าสิ่งเหล่านี้ไม่จำเป็น แต่เราจะยังคงหันเหตนเองไปจากงานที่เราทำอยู่ เมื่อเราทำงานได้ล่าช้า เราก็พยายามจะหาทางที่เร็วที่สุดเพื่อทำให้มันเสร็จเพียงให้มันผ่านพ้นไปเสีย
 
เมื่อเราแสวงหาวิธีการที่ง่ายที่สุด เราก็จะทำสิ่งที่พึงกระทำได้เพียงอย่างหรือสองอย่าง แต่จะใช้พลังงานไปแสวงหาข้อแก้ตัวต่าง ๆ แทนที่จะใช้พลังงานนั้นในการทำงาน เนื่องจากเราให้ความสนใจต่องานแค่ส่วนเดียวเท่านั้น เราจะมีความผิดพลาดบ่อย ๆ เข้าใจคำสั่งไม่ถูกต้อง ทำงานไม่เสร็จตามกำหนด เมื่อเรารู้สึกว่าทำงานได้ไม่ดี เราจะรู้สึกผิด และความรู้สึกผิดนี้เองที่จะครอบงำทุกอย่างที่เราทำ หากผู้อื่นวิจารณ์เรา ถามเราถึงผลงานที่เกิดขึ้น เราก็อาจจะแก้ตัวมากขึ้น เพื่อปกป้องความผิดพลาดของเรา
 
เมื่อเรามีความสัมพันธ์ในลักษณะเช่นนี้กับงาน เราจะให้ความสนใจเพียงเล็กน้อยกับเวลาและพลังงานซึ่งเราใช้ไป ดังนั้นจึงไม่สามารถจะดื่มด่ำซาบซึ้งในประสบการณ์อันมีค่าซึ่งงานได้ให้แก่เรา งานจึงกลายเป็นหน้าที่ซึ่งเราทำอย่างไม่มีความสุข อย่างหงุดหงิดและไม่เป็นสุข เวลาจะเป็นน้ำหนักกดเราไว้ และเราจะสังเกตดูนาฬิกาเพื่อหวังจะให้มันหมดเวลาเร็ว ๆ ความสนใจของเราจะล่องลอยไป และการทำงานก็จะถูกแทนที่ด้วยสิ่งอื่น หรือถูกผัดผ่อนจนกระทั่งมันถูกลืม
 
 
เมื่อเราไม่ให้พลังงานทั้งหมดแก่งาน ชีวิตของเราจะถูกกระทบกระเทือน ตาของเรา เสียงของเรา หรือการเคลื่อนไหวของเราจะบอกผู้อื่นว่าเรากักขังตัวเราเองไว้ แรงจูงใจของเราไม่คงที่ และคุณภาพต่าง ๆ ซึ่งจำเป็นในการทำงาน ประสิทธิภาพในการทำงาน การสร้างสรรค์ในการทำงาน และความรู้สึกเบิกบานของเราจะถูกรบกวนด้วย เมื่อเราไม่ใช้พลังงานของเราอย่างเต็มที่ เราจะพบว่าความมุ่งมั่นในสิ่งที่ตั้งใจนั้นเป็นไปได้ยาก หรือแม้กระทั่งความรับผิดชอบในผลของงานก็ลดน้อยลง (มีต่อ)
 
....................................
 
 
คัดจาก "แห่งการงานอันเบิกบาน"
 
ผู้เขียน : ตาร์ถัง ตุลกู
 
ผู้แปล : โสรีช์ โพธิแก้ว
 
ขอขอบคุณองค์ความรู้ทั้งหมดที่ได้จากหนังสือเล่มนี้


หัวข้อ: Re: "แห่งการงานอันเบิกบาน" : โดย ท่าน ตาร์ถัง ตุลกู ( คัดมาบางส่วน )
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 15 มิถุนายน 2553 19:54:30
(http://www.vcharkarn.com/uploads/55/55476.jpg)
 
 
เราอาจเชื่อว่าชีวิตคงจะมีความสุขมากกว่านี้ ถ้าเราไม่ต้องทำงานหนัก หรือหากเรามีเวลาว่างมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม แหล่งซึ่งก่อให้เกิดความไม่พอใจหรือหงุดหงิดนั้น ได้แก่การที่เราไม่ทุ่มเทอย่างเต็มที่แก่งานที่เรากำลังทำอยู่นั้น เมื่อเราไม่ทุ่มเททำงานด้วยหัวใจ เราจะขัดขวางพลังงานของเราเอง เราจะขัดขวางความสนใจของเราเอง และเราจะขัดขวางความใส่ใจของเราซึ่งเป็นคุณภาพที่ทำให้ชีวิตมีความกระปรี้กระเปร่าสดชื่น เราอาจจะยินยอมอย่างเฉื่อยชาเพื่อให้ชีวิตของเราทั้งหมดเลื่อนไหลไป มีความสำเร็จแต่เพียงเล็กน้อย มีความชำนาญอย่างแท้จริงแต่เพียงเล็กน้อย เปลี่ยนงานบ่อย ๆ กล่าวโดยสั้น ๆ ก็คือว่า เราปล่อยให้ชีวิตดำเนินผ่านไปโดยไม่มีความสุขอย่างลึกซึ้งจากการใช้พลังงานของเราทำงานอย่างเต็มที่เลย
 
เมื่อใดก็ตามที่ท่านรู้สึกว่าไม่เป็นสุขกับงานของท่าน ท่านอาจจะถือได้ว่ามันเครื่องหมายที่จะบอกแก่ท่านว่า ท่านไม่ได้ทำงานด้วยหัวใจ งานของท่านดูเหมือนว่าจะไม่สมบูรณ์พยายามวิเคราะห์สภาพที่เกิดขึ้น ท่านได้กำหนดเป้าหมายไว้ชัดเจนหรือไม่ และท่านได้กำหนดสิ่งซึ่งจะต้องทำเพื่อบรรลุเป้าหมายนั้นชัดเจนหรือเปล่า ท่านได้ทำในสิ่งซึ่งจะต้องทำเพื่อบรรลุเป้าหมายนั้นชัดเจนหรือเปล่า ท่านได้ทำในสิ่งซึ่งจะต้องทำหรือไม่ หรือว่าท่านผัดผ่อนงาน หรือเร่งให้มันเสร็จโดยเร็วที่สุด ท่านมัวแต่สนใจสิ่งอื่น ๆ หรือไม่ หรือว่าท่านได้ทุ่มเทพลังงานทั้งหมดให้แก่งานของท่าน ท่านตระหนักถึงวิธีการที่ท่านใช้เวลาหรือเปล่า
 
เมื่อท่านสังเกตตนเองตามแนวต่าง เหล่านี้ ท่านจะเริ่มเข้าใจทัศนคติที่มีต่องาน เมื่อท่านมองเห็นงานและสิ่งที่มันต้องการอย่างชัดเจน ท่านก็จะเริ่มใส่ใจและทุ่มเทกำลังใจให้งานมากขึ้น
 
การตระหนักถึงวิธีการทำงานและวิธีการที่เรามีความสัมพันธ์กับผู้อื่น และการมีความชัดเจนในการใช้พลังงานของตนเอง สามารถนำให้เรามีชีวิตที่มีความหมายและลึกซึ้ง เมื่อเราเผชิญกับปัญหาหรือข้อผิดพลาดต่าง ๆ ในขณะที่เรามีพลังงานอยู่เต็มที่ และมีความมุ่งมั่นที่จะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เราสามารถจะอาศัยโอกาสที่เราเผชิญอยู่นี้เป็นแนวทางสำหรับจะสร้างความงอกงามให้เกิดขึ้นแก่ตน หากเรากลมกลืนตัวเราเองกับสิ่งซึ่งเราทำ และเราเรียนรู้ที่จะให้คุณค่ากับความก้าวหน้าที่ละขั้นตอนพอ ๆ กับผลซึ่งจะเกิดขึ้น เราจะรู้จักกับความสุขซึ่งเกิดขึ้นจากการทำงานอย่างถูกต้องและแท้จริง
 
การทำงานจากหัวใจ คือการทำงานอย่างเต็มหัวใจ ด้วยความสนใจของเราทั้งหมด ด้วยพลังงานของเราทั้งหมดทุ่มเทให้แก่มัน เราสามารถใส่ใจในงานอย่างเต็มที่และให้หัวใจของเราแก่งานทั้งหมด ผลที่เกิดขึ้นจะน่าพอใจ เมื่อเราทำงานด้วยลักษณะเช่นนี้ เรายินดีเผชิญกับการท้าทายซึ่งแต่ละงานได้เรียกร้องจากเรา และเรายินดีเผชิญกับมันอย่างเปิดกว้างและเต็มใจ เราสามารถเอาชนะอุปสรรคที่เราสร้างขึ้นซึ่งขัดขวางความก้าวหน้าของเรา มันไม่มีเหตุผลใด ๆ เลยที่เราจะต้องกลัวความผิดพลาด เพราะเมื่อเราเปิดใจกว้าง และใช้พลังงานของเราอย่างเต็มที่ เราจะประสบผลสำเร็จอย่างแน่นอน แม้ว่าเราจะไม่บรรลุเป้าหมายที่เราตั้งไว้ แต่เมื่อเราทำงานด้วยหัวใจของเรา เราก็จะสัมผัสกับความสุขจากการที่ได้ใช้กำลังงานของเราอย่างเต็มที่
 
เราได้ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีอยู่ทั้งทางด้านวัสดุ ทั้งทางด้านกำลังคน สติปัญญา เวลา ความใส่ใจ และความรู้สึกของเราอยู่แล้ว เราไม่ต้องเร่งเร้าการกระทำของเราหรือกระตุ้นความคิดแก้ปัญหาอีก สิ่งเหล่านี้อาจจะช่วยในงานบางอย่าง แต่การทำงานด้วยหัวใจจะต้องประกอบไปด้วยการทุ่มเททั้งหมดของความคิด ของหัวใจ ของพลังงาน และของความใส่ใจ
 
เมื่อเราทำงานด้วยหัวใจ ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจะมิใช่อุปสรรคใหญ่เลย เราจะให้คุณค่าอย่างลึกซึ้งแก่งานและผลของงานนั้น และทุกอย่างที่เราทำจะน่าสนใจอย่างแท้จริง เมื่อเราทำงานแต่ละขั้นได้สำเร็จลงไป เราก็จะพบว่างานของเรามีคุณค่ามากขึ้น เราจะกลมกลืนอยู่กับความก้าวหน้าและความสำเร็จ ซึ่งเกิดขึ้นจากการท้าทายซึ่งงานได้เรียกร้องจากเรา
 
 
แทนที่จะหลีกเลี่ยงการทำงาน เราจะหลีกสิ่งซึ่งดึงดูดความสนใจของเราไปจากงาน ความคาดหวังและความกระตือรือร้นจะให้สีสันแก่ทุกขณะ และจะผสมผสานชีวิตของเราเข้ากับความเบิกบานอันโปร่งใจ ทุกสิ่งที่เราทำจะสะท้อนให้เห็นถึงความใส่ใจและความทุ่มเทของเราที่มีต่องาน และผลงานที่เกิดขึ้นจะให้ความสุขอย่างลึกซึ้ง งานจะสมบูรณ์เต็มที่เมื่อเราทำงานด้วยหัวใจของเรา เมื่อเราใช้แหล่งของการสร้างสรรค์ แหล่งของความถี่ถ้วนชัดเจน และแหล่งของความหมายแห่งชีวิตอย่างเต็มที่@@
 
 
................................................
 
 
คัดจาก "แห่งการงานอันเบิกบาน"
 
ผู้เขียน : ตาร์ถัง ตุลกู
 
ผู้แปล : โสรีช์ โพธิแก้ว
 
ขอขอบคุณองค์ความรู้ทั้งหมดที่ได้จากหนังสือเล่มนี้


หัวข้อ: Re: "แห่งการงานอันเบิกบาน" : โดย ท่าน ตาร์ถัง ตุลกู ( คัดมาบางส่วน )
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 15 มิถุนายน 2553 19:54:55
(http://www.dhammadelivery.com/images/story/story-50-big.jpg)

 
สิ่งมีชีวิตในโลกมนุษย์จะแสดงธรรมชาติที่แท้จริงของมันในกระแสแห่งชีวิต การทำงานเป็นการแสดงการมีชีวิตและเป็นการแสดงถึงการมีส่วนร่วมอาศัยอยู่ในโลกนี้ งานจะเอื้ออำนวยเราให้ใช้ศักยภาพของเราอย่างเต็มที่ เพื่อเปิดโลกแห่งประสบการณ์อันกว้างขวางซึ่งซ่อนอยู่แม้ในกิจกรรมที่ลึกซึ้งละเอียดอ่อนที่สุด ในการทำงานเราเรียนรู้การใช้พลังงานของเราอย่างฉลาด ดังนั้น จึงมักมีคุณประโยชน์และอิ่มเอิบสมบูรณ์

ธรรมชาติของมนุษย์ คือ การมีชีวิตอย่างเป็นสุขและอิ่มเอิบ งานให้โอกาสแก่เราได้ประจักษ์ในความสุขนี้โดยการพัฒนาคุณภาพของธรรมชาติอันแท้จริงของเรา งานจะเป็นการแสดงออกอันราบรื่นและกลมกลืนของความแท้จริงของตัวเราตลอดจนเป็นวิธีการสร้างความกลมกลืนและความสมดุลภายในตัวเราและระหว่างเรากับโลก ในการทำงานเรานำพลังงานของเราให้เป็นคุณประโยชน์ต่อกระแสชีวิต เรานำร่างกายของเรา การหายใจและจิตใจของเราผลิตการกระทำที่สร้างสรรค์ในความสร้างสรรค์ของเรา เราเติมชีวิตของเราให้เต็มและเป็นแรงบันดาลใจให้แก่บุคคลอื่นมามีส่วนร่วมด้วยความสุข

เราควรจะตระหนักถึงความสำคัญของงานที่มีต่อชีวิต เรารู้ว่างานสามารถนำเอาทุกส่วนของชีวิตของเราทั้งทางจิตใจทั้งทางความคิดและทั้งความรู้สึกต่าง ๆ มาใช้อย่างเต็มที่ แต่ความกลมกลืนกับงานอย่างลึกซึ้งเช่นนี้เป็นไปได้อย่างยากเหลือเกินในสังคมที่ซับซ้อนเช่นปัจจุบัน เราปราศจากความรู้ในวิธีการที่จะนำความสามารถต่าง ๆ มาใช้เพื่อนำเราไปสู่ชีวิตที่มีประโยชน์และมีความหมาย ในอดีต การศึกษามีบทบาทสำคัญมากในการถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ ซึ่งจำเป็นในการผสมผสานการเรียนรู้ส่วนบุคคลและประสบการณ์ที่เขาได้รับ เพื่อหล่อหลอมให้ธรรมชาติภายในได้แสดงออกมาในทางที่เหมาะสม ในปัจจุบันความรู้ชนิดนี้ไม่ได้รับการถ่ายทอดมาอีกแล้ว ดังนั้นความเข้าใจในเรื่องงานและสาระของงานจึงคับแคบและตื้นเขิน ด้วยเหตุนี้เราจึงไม่ค่อยได้สัมผัสกับความสุขอันลึกซึ้งซึ่งเกิดจากการทำงานอันแนบเนียนและชำนาญด้วยชีวิตจิตใจของเราทั้งหมด

และอาจเพราะว่าเราไม่ต้องใช้ความพยายามมากเพื่อตอบสนองต่อความต้องการพื้นฐานต่าง ๆ ของเรา เราจึงไม่ได้ให้ความคิดและหัวใจของเราทั้งหมดแก่งาน และเป็นความจริงไม่น้อยที่ความเชื่อที่ว่าทำงานให้แค่เสร็จ ๆ ไป ผ่าน ๆ ไปเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ยอมรับ คนส่วนใหญ่ไม่คิดจะชอบงานที่ตนเองทำ และยิ่งน้อยกว่านั้นคือความคิดที่จะทำงานให้ดีเยี่ยม เพราะเราจะมองกันเพียงแต่ว่างานนั้นเป็นจุดหมายปลายทางแล้ว ไม่ว่าจะมีอาชีพเช่นใดก็ตาม เราจะคิดเพียงแต่ว่างานเป็นสิ่งที่เราใช้ฆ่าเวลาเท่านั้น และเป็นสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้

 
หากมีแรงจูงใจเพียงพอให้เราทำงานหนัก เราก็อาจจะทำงาน แต่หากเราพิจารณาแรงจูงใจนั้นให้ชัดเจน เราก็จะพบว่าแรงจูงใจของเรามักจะแคบ และมุ่งไปสู่ตำแหน่งหรืออำนาจหรือเรื่องส่วนตัวเสีย หรือมุ่งไปสู่การปกป้องชื่อเสียงของตนเองและครอบครัวเท่านั้น แรงจูงใจโดยยึดเอาตนเองเช่นนี้ ทำให้เป็นการยากที่จะพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ให้เต็มที่ในงาน และแทนที่คนจะได้ดื่มด่ำกับคุณภาพอันประเสริฐของชีวิต สิ่งแวดล้อมในงานได้นำให้เกิดสิ่งไร้สาระ เช่น การแข่งขัน และความไม่จริงใจต่าง ๆ นานา

และเพื่อเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ คนเราได้ปฏิเสธการทำงานอย่างสิ้นเชิง เมื่อเราคิดดังนี้ เราอาจเข้าใจว่าเรากำลังดำเนินไปสู่ความดีงามเพื่อเพิ่มพูนความสุขในชีวิต แต่มันจะกักขังศักยภาพของเรามากขึ้น และเราน่าจะเลือกทางอื่น ซึ่งทำให้เราพบความสมบูรณ์ได้มากกว่า เพราะการมีชีวิตอยู่โดยปราศจากการทำงานนั้น ทำให้เราถอยห่างออกจากกระแสแห่งชีวิตที่แท้ การปฏิเสธการแสดงพลังงานแห่งตนในการทำงานจะทำให้เราโกงตนเอง เราจะไม่ประจักษ์ถึงธรรมชาติอันแท้จริงของตน และการโกงตนเองเช่นนี้จะทำให้เราไม่สามารถทำคุณประโยชน์ให้แก่สังคมได้อย่างสมบูรณ์เต็มที่

 
 
 
ชีวิตให้คุณค่าและความหมายเมื่อเราอยู่กับกระแสชีวิตได้อย่างเต็มที่ แต่เรากลับลดคุณค่าและคุณภาพของความเป็นมนุษย์ อันได้แก่ สัจจะแห่งตน ความซื่อสัตย์ ความเชื่อถือตนเอง ความเป็นเจ้าของชีวิตตนเอง และการร่วมมือกับผู้อื่นซึ่งงอกงามอยู่โดยธรรมชาติ โดยการไม่กลมกลืนตนเองอย่างเต็มที่กับงานและชีวิต หากชีวิตเราปราศจากการนำทางโดยคุณค่าต่าง ๆ เหล่านี้ เราจะไม่มั่นคง จะหวั่นไหวและเกิดความไม่เป็นสุขต่าง ๆ เมื่อเราปราศจากความรู้ที่จะนำให้เราเกิดความดื่มด่ำในการงาน เราก็จะไม่พบหนทางใด ๆ อีกเลยในการแสวงหาคุณค่าอันลึกซึ้งของชีวิต

มันสำคัญมากสำหรับเราที่จะเห็นว่า การมีชีวิตอยู่ได้ในความหมายที่กว้างที่สุดนั้น จะผูกพันอยู่กับความมุ่งมั่นและเต็มใจที่จะทำงานด้วยหัวใจและหัวสมอง ซึ่งหมายถึงการเข้าร่วมกับกระแสชีวิตอย่างเต็มอิ่มสมบูรณ์ และหนทางนี้เท่านั้นที่จะทำให้เราเข้าใจและประจักษ์แจ้งในคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ซึ่งจะนำให้เกิดความกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวในชีวิตของเรา ในสังคมและในโลกมนุษย์ เราไม่สามารถจะเพิกเฉยต่อผลของแรงจูงใจอันเห็นแก่ตัวซึ่งก่อให้เกิดการแข่งขันและความไม่จริงใจอีกต่อไป เราจำเป็นต้องมีปรัชญาใหม่แห่งการทำงานซึ่งวางรากฐานอยู่บนความเข้าใจในธรรมชาติอันกว้างขวางของมนุษย์ เราจะต้องให้ความนับถือแก่ตนเองและผู้อื่น และใส่ใจกับความสำนึกในคุณภาพและแนวทางซึ่งจะก่อให้เกิดความสงบและสันติขึ้นในโลก อันได้แก่ ความสัมพันธ์ ความร่วมมือ และความรับผิดชอบ

สิ่งนี้มีความหมายว่าเราต้องเต็มใจที่จะรู้จักกับงานอย่างเปิดใจกว้าง รู้จักพิจารณาอย่างซื่อสัตย์ในความเข้มแข็งและ ความอ่อนแอของเรา และยินดีที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิตให้มีค่ามากขึ้น หากเราทุ่มเทกำลังอย่างแท้จริง พัฒนาทัศนะต่อการงาน พัฒนาสิ่งที่มีค่าอย่างแท้จริงในตนเอง เราจะทำให้ชีวิตเป็นสุขอย่างแท้จริง ความชำนาญต่าง ๆ ที่เราเรียนรู้ในขณะทำงานจะกระตุ้นให้เกิดความงอกงามและนำทางให้เกิดความสุขความพอใจและความหมายในชีวิตทุก ๆ ขณะจิตทั้งของตนเองและผู้อื่น การทำงานเช่นนี้เป็นการทำงานอย่างคล่องแคล่วและเบิกบาน

 
 
=================================

คัดจาก "แห่งการงานอันเบิกบาน"

ผู้เขียน : ตาร์ถัง ตุลกู

ผู้แปล : โสรีช์ โพธิแก้ว

ขอขอบคุณองค์ความรู้ทั้งหมดที่ได้จากหนังสือเล่มนี้

 
 
=================================



หัวข้อ: Re: "แห่งการงานอันเบิกบาน" : โดย ท่าน ตาร์ถัง ตุลกู ( คัดมาบางส่วน )
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 15 มิถุนายน 2553 19:57:01

 
 
(http://www.bloggang.com/data/balanceofsociety/picture/1137292403.jpg)

 

ซาบซึ้งแห่งชีวิต
 
 
ความรู้สึกซาบซึ้งในชีวิตจะเกิดขึ้นจากการสัมผัสโดยตรงกับประสบการณ์ จากความเข้าใจชัดเจนถึงความงามของชีวิตและคุณภาพอันแท้จริงของธรรมชาติมนุษย์ มันเป็นคุณภาพที่ลึกซึ้งกว่าความยินดีหรือรู้คุณ ความรู้สึกซาบซึ้งอย่างแท้จริงนั้นจะจูงใจให้ตัวเราทั้งหมดได้สัมผัสกับความเต็มอิ่มและความหมายของชีวิต เมื่อเรามีความรู้สึกซาบซึ้งอย่างแท้จริง หัวใจของเราก็จะเปิดกว้างเพื่อดื่มด่ำกับความงามและความยินดีในประสบการณ์ทุก ๆ อย่าง
 
ความคิดและจิตใจจะงอกงามได้ด้วยความสุขและความยินดีซึ่งเกิดจากความซาบซึ้งในชีวิต ความคิดและจิตใจจะมีพลังและความชัดเจนซึ่งจะทำให้ชีวิตกระจ่างด้วยความรักและความเข้าใจอันลึกซึ้ง คุณภาพเหล่านี้จะปรากฏอยู่ในทุกอย่างที่เราทำ และทำให้การงานของเราสมบูรณ์และสัมพันธภาพของเราอบอุ่นและอิ่มเต็ม
 
เราทุกคนต้องการสิ่งที่ดีที่สุดจากชีวิต เราต้องการความสุขและความแข็งแรง เพื่อจะได้มีความสุขและได้ซาบซึ้งในงานของเรา แต่แม้ว่าเราแสวงหาสิ่งเหล่านี้สิ่งเหล่านี้ เราก็มักลงเอยที่ความไม่เป็นสุขอยู่นั่นเอง เราอาจจะมีบ้านที่ดี ครอบครัวที่อบอุ่น และเพื่อนที่น่ารัก นั่นคือชีวิตที่ดี แต่หากเราไม่มีความรู้สึกซาบซึ้งในงานของเรา ครึ่งหนึ่งของชีวิตซึ่งหมายถึงเวลาส่วนใหญ่ในแต่ละวัน จะถูกใช้ไปทำสิ่งซึ่งเราเองมิได้สนใจ และไม่ชอบทำเลย เราจะมีชีวิตที่หงุดหงิดขุ่นมัวและขาด ซึ่งจะทำให้เราไม่สามารถรู้จักความสุขที่แท้จริงของการมีชีวิตได้เลย เราจะผัดผ่อนโอกาสสำหรับความสุขที่แท้จริงไปในอนาคต และอาจตั้งเป้าหมายไว้ว่า เราจะมีความสุขก็ต่อเมื่อบรรลุเป้าหมายบางอย่างหรือเมื่อตายไปแล้วในชาติหน้า แต่เมื่อความตายมาถึง ชีวิตก็จะสิ้นสุดลง แล้วเราก็จะพลาดโอกาสแห่งความรู้สึกซาบซึ้งที่แท้ เราจะมีความรู้สึกเป็นสุขได้เมื่อเราตายไปแล้ว
 
เราไม่จำเป็นต้องยอมรับสภาพความหงุดหงิดใจหรือความขุ่นเคืองอันเกิดจากงาน เราสามารถสร้างความเบิกบานให้เกิดขึ้นทุก ๆ ขณะ และสร้างทุกประสบการณ์ที่เราประสบนั้นให้ร่าเริง เมื่อเราเปลี่ยนแปลงทัศนะของเราและค้นพบความงามซึ่งแฝงเร้นอยู่ในประสบการณ์แต่ละอันนั้น งานก็จะเป็นสิ่งเบิกบานและมีความหมาย ชีวิตก็จะเป็นความเบิกบานด้วย สิ่งเหล่านี้มิใช่เป็นการคาดคะเน แต่เป็นรากฐานของการมีชีวิตที่เป็นสุข เมื่อเราสามารถเรียนรู้ที่จะซาบซึ้งอย่างเต็มที่กับประสบการณ์ของเรา เราสามารถสัมผัสกับความรู้สึกภายใน จิตใจและคลื่นความรู้สึกต่าง ๆ ของเรา
 
เมื่อเรามีความเชื่อว่าความสุขจะเกิดขึ้นเมื่อเราบรรลุเป้าหมายบางอย่าง และเมื่อเราทำงานแต่ละวันอย่างปราศจากความกระตือรือร้นและกระปรี้กระเปร่า เมื่อนั้นเราได้กักตนเองออกจากความสุขของชีวิตที่แท้จริง เราต้องการแนวทางอันยืดหยุ่นในการทำงาน แนวทางซึ่งให้ความเข้มแข็งและความชัดเจนกระจ่างซึ่งนำเราแม้จะมีความยุ่งยากต่าง ๆ เกิดขึ้น
 
โปรดพิจารณาดูว่ามันเป็นอย่างไรบ้าง เมื่อเราหมกมุ่นคิดถึงแต่เป้าหมายส่วนตัวของเราเท่านั้น เราอาจจะมีความคิดที่สวยงาม เราฝันถึงบ้านเล็ก ๆ ในชนบทและคิดจะสร้างมัน เราเริ่มต้นวางโครงการด้วยความกระตือรือร้น ทุกอย่างดำเนินไปได้อย่างราบรื่น และวันหนึ่งปัญหาหนักอย่างหนึ่งได้เกิดขึ้น บ้านอาจจะมีราคาแพงกว่าที่เราคาดไว้ หรืออาจจะมีปัญหาด้านโครงสร้างของตัวบ้าน แจะต้องรื้อทำใหม่ส่วนหนึ่ง
 
ตรงนี้เราจะรู้สึกท้อแท้ พลังงานที่ใช้ในการคิดฝันถึงบ้านซึ่งสร้างเสร็จแล้วจะลดลงไป แต่เราคงจะยังสร้างต่อไปและผูกพันอยู่กับการสร้างบ้านมากยิ่งขึ้น และเมื่อมีปัญหาปกติอื่น ๆ เกิดขึ้นอีก ความคิดฝันของเราก็เลือนรางไป การสร้างบ้านจึงเป็นความกังวลหงุดหงิดและขุ่นใจ มันยืดเยื้อและหนักกว่าที่เราคิดไว้ เราอาจจะต่อสู้อีกเล็กน้อย และในที่สุดเมื่ออุปสรรคยังคงมีอยู่ เราอาจจะเลิกล้มความตั้งใจ เราอาจจะขายบ้านในฝันซึ่งสร้างไม่เสร็จนั้น และหันไปสนใจสิ่งอื่นแทน
 
สิ่งนี้อาจจะเกิดขึ้นกับสิ่งที่เราทำได้เสมอ เมื่อเรายอมแลกความสุขเล็ก ๆ น้อย ๆ ประจำวันกับความฝันของเป้าหมายภายนอกอันงดงาม เราจะยิ่งท้อแท้ลงอีก หากเราเชื่อว่าเป้าหมายในความฝันนั้นสดสวยงดงามยิ่งกว่าความเป็นจริง เพราะบ่อยครั้งไปเมื่อเราบรรลุเป้าหมายอันหนึ่งแล้ว เรามักจะพบว่ามันเป็นเพียงความสุขชั่วครู่แล้วก็จะเลือนหายไป แต่เราก็ยังยินดีและพอใจที่จะทุ่มเทเวลาเป็นเดือนเป็นปีในความเครียดหนัก และความวิตกกังวลสำหรับความสุขชั่วครู่เหล่านี้ เรามักจะขายชีวิตของเราให้กับความฝันไม่ว่ามันจะคุ้มค่าหรือไม่
 
ในบางครั้งเช่นเดียวกับคนสร้างบ้าน เรามักเลิกล้มความตั้งใจอันเข้มแข็งของเรา เมื่อเราพบปัญหาต่าง ๆ และแม้ว่าเราต่อสู้ เรามักจะยอมรับความทุกข์ยากอันเกิดขึ้นระหว่างการดำเนินไปถึงเป้าหมายนั้น ในระยะทางที่เราดำเนินไป เราอาจจะมีความพอใจบ้างเป็นครั้งคราวในความสำเร็จเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ความพอใจของเรามักจะไม่ยาวนานต่อเนื่อง ความขัดแย้งอื่น ๆ จะเกิดขึ้นอีก และแบบแผนเดิมจะหมุนเวียนกลับมาอีก มันดูเหมือนว่าเราต้องยอมเสียสละความเบิกบานส่วนตัวให้แก่เป้าหมายที่เราวางไว้นั้น เมื่อเราได้สร้างแนวทางในการดำเนินโครงการต่าง ๆ แบบนีเราจะพบว่าความสุขเล็ก ๆ น้อย ๆ ของเราจะถูกทับถมด้วยความยุ่งยากและปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้นระหว่างทาง ความจริงคือว่าเราได้สูญเสียความรู้สึกชื่นชมในเวลาและแรงงานซึ่งใช้สำหรับการบรรลุเป้าหมายนั้น..
 
 

(http://www.bloggang.com/data/balanceofsociety/picture/1137371718.jpg)

 
 
เราจะค้นพบเคล็ดลับของความสุขในประสบการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างไร ทำอย่างไรเราถึงจะรู้จักซาบซึ้งกับความละเอียดอ่อนต่าง ๆ ในงานที่เราทำอยู่ เคล็ดลับนี้อยู่ภายในตัวเราเอง เราสามารถจะสอนตัวเราได้ จริง ๆ แล้วเราได้รู้วิธีทำให้ตนเองรู้จักความสุข แต่สาระมีอยู่ว่าเราจะนำความสุขนี้ให้เกิดขึ้นในทุกอย่างที่เราทำได้อย่างไร
 
เมื่อเรารู้สึกเบิกบาน เราจะมีประโยชน์และสร้างสรรค์ ชีวิตจะเต็มไปด้วยศักยภาพและพลัง เราสามารถจะขยายความตื่นใจไปได้ในทุกขณะ เมื่อเราทำงานอย่างดีที่สุดที่เราสามารถทำได้ นั่นหมายความว่าเรารู้จักซาบซึ้งในรายละเอียดต่าง ๆ ของงานทั้งในขณะที่ทำและเมื่อมันเสร็จลง เหตุใดเราจึงต้องเลือกความหนักใจและความผิดหวัง เมื่อเราสามารถเลือกความอิ่มเอิบและความมีรสชาติจากความรู้สึกซาบซึ้งนั้นได้?
 
เมื่อเรานิ่งและสังเกตอย่างถี่ถ้วนในวิธีการทำงานของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวิธีการที่เรากักขังตนเองไม่ให้เบิกบานกับการทำงานของเรา เราสามารถเรียนรู้ที่จะงอกงามในแต่ละความคิด และในแต่ละการกระทำใด เราสามารถกำหนดการเปลี่ยนแปลงการกระทำของเราได้ และสามารถเห็นช่องทางอันเป็นประโยชน์ของแต่ละสถานการณ์ได้ วิธีการนี้ทำให้เราสามารถสร้างและเพิ่มพลังให้แก่แนวทางซึ่งเป็นประโยชน์กับชีวิตได้ เหตุใดเราจึงต้องมองไปในอนาคตเพื่อแสวงหาความสุข ดิ้นรนเพื่อจะบรรลุเป้าหมายอันอยู่ห่างไกล เมื่อเราสามารถเรียนรู้ที่จะดื่มด่ำกับทุก ๆ วินาทีของชีวิต
 
เราสามารถหาความสุขในงานได้มากกว่าที่เราจะได้ในยามอยู่ว่าง ๆ ด้วยซ้ำไป เมื่อเราเริ่มทำงานโดยรู้ว่ามันจะให้ความเบิกบานแก่เรา เราจะทำด้วยความยินดีและเต็มใจด้วยความรู้สึกเบิกบานและเป็นสุข เราจะกำหนดแผนทำงานอย่างชีดเจนและเป็นธรรมชาติ อย่างตระหนักถึงอุปสรรคอันอาจเกิดขึ้นในอนาคต เราจะได้ไม่หวั่นไหวมาก เมื่อปัญหาเกิดขึ้น เราเตรียมตัวที่จะพบกับมันและเผชิญกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น
 
เมื่อเราใช้ปัจจุบันขณะอย่างฉลาด รับรู้ความสุขจากทุก ๆ อย่างที่เราทำ เราจะเพิ่มความสุขในอนาคตด้วย ความรู้สึกซาบซึ้งในความงดงามของแต่ละขณะจะช่วยให้เราตระหนักและเข้าใจถึงคุณค่าของทุกแง่มุมของการมีชีวิต ความเข้าใจนี้จะเพิ่มมิติอันลึกซึ้งให้แก่สัมผัสอันละเอียดอ่อนของเรา และจะเพิ่มความสุขและแรงบันดาลใจให้การตัดสินใจและการกระทำและเป้าหมายทุกอย่างของเรา ความรู้สึกซาบซึ้งเป็นครูที่ยิ่งใหญ่ของเรา เพราะมันจะนำให้เรารู้จักใช้ประโยชน์ของความสามารถของเรา ในการที่จะเสริมสร้างคุณภาพของชีวิตด้วยแนวทางที่มั่นคงและมีความหมาย
 
เมื่อเราซาบซึ้งในทุกอย่างที่ชีวิตให้แก่เรา และเราตระหนักถึงคุณภาพอันดีงามซึ่งเรามีอยู่ ทุกขณะที่เรามีชีวิต จะเป็นไปด้วยความกระปรี้กระเปร่าและสดชื่นในทุกสถานการณ์ ร่างกาย จิตใจ ความรู้สึกและพลังงานจะกระจายความรู้สึกกระตือรือร้นและความร่าเริง เมื่อชีวิตเป็นเช่นนี้ การกระทำทุกอย่างจะมีคุณสมบัติดุจน้ำทิพย์อันเยือกเย็น เราจะตื่นใจกระจ่างและรู้สึกลึกซึ้งในสัมพันธภาพที่เรามีส่วน เราสามารถยอมรับและจัดการได้กับทุก ๆ สถานการณ์ เรามีความเชื่อมั่นในความสามารถและความเข้มแข็งของตน การมีชีวิตและการใช้ชีวิตเช่นนี้จะนำความงดงามและความเบิกบานให้เกิดขึ้นเสมอตลอดเวลา ไม่มีโอกาสใด ๆ จะสูญไปสำหรับการแสวงหาความเบิกบานและความอิ่มเอิบ คุณภาพของประสบการณ์แต่ละอันจะลึกซึ้งและยกระดับสูงขึ้น@@
 
==============================
 
 
 
 
คัดจาก "แห่งการงานอันเบิกบาน"
 
ผู้เขียน : ตาร์ถัง ตุลกู
 
ผู้แปล : โสรีช์ โพธิแก้ว
 
ขอขอบคุณองค์ความรู้ทั้งหมดที่ได้จากหนังสือเล่มนี้
 
""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""


หัวข้อ: Re: "แห่งการงานอันเบิกบาน" : โดย ท่าน ตาร์ถัง ตุลกู ( คัดมาบางส่วน )
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 15 มิถุนายน 2553 19:58:13
(http://www.bloggang.com/data/balanceofsociety/picture/1178091448.jpg)

 
การเผชิญปัญหา

 
แม้เราจะมีชีวิตที่เป็นสุขและประสบความสำเร็จ เรายังคงพบว่าเราต้องเผชิญกับปัญหามากมายหลายอย่าง ปัญหาเหล่านั้นต้องการความใส่ใจจากเรา และบางทีมันก็ขัดขวางความสงบเยือกเย็นของจิตใจ หลายครั้งที่ปัญหาเหล่านี้อาจครอบงำเรามาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมันเกิดขึ้นจากการที่เราไม่สามารถเผชิญกับความผิดพลาดหรือความล้มเหลวของตัวเราเองได้ ความรู้สึกหงุดหงิดงุ่นง่านอย่างรุนแรงจะเกิดขึ้นภายในตัวของเรา ดังนั้นเราจะรู้สึกว่าเราไม่สามารถเผชิญกับสิ่งซึ่งกำลังเกิดขึ้นอยู่ได้เลย
 
ในบางโอกาสเราอาจรู้สึกว่า ความยุ่งยากหรือปัญหาบางอย่างกำลังเกิดขึ้นและพยายามจะหลีกเลี่ยงผลร้าย
ที่สุดซึ่งอาจจะเกิดขึ้นนั้น หรือในบางครั้งเราก็อาจจะพบตัวเองตกอยู่ท่ามกลางปัญหานานาประการโดยที่ไม่ทันตั้งตัวเลย เราจะดิ้นรนเพื่อผ่านมันไปอย่างดีที่สุดเท่าที่เราจะสามารถทำได้ บางครั้งอาจหมายถึงการแสวงหาความช่วยเหลือจากเพื่อน ๆ หรือในบางครั้งเราอาจพยายามหนีไปไกล ๆ จากปัญหานั้น เราอาจหาทางอ้อมมันไปแทนที่จะเผชิญกับมันโดยตรง บางครั้งหากโชคดี บางคนอาจหลบเลี่ยงไปจากปัญหาที่เกิดขึ้น โดยการถอนตัวออกไปจากสภาพปัญหานั้นอย่างสิ้นเชิง แต่พวกเราส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยมีทางเลือก และพวกเราทุกคนจะมีปัญหาซึ่งเกิดขึ้นโดยไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้
 
มันไม่มีหนทางใดเลยที่จะป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้นและมันเป็นความจริงว่าเราสามารถควบคุมสิ่งต่าง ๆ นั้นจะยังคงเป็นปัญหาตราบเท่าที่เราปล่อยตัวเราเองให้แบกมันไว้โดยปฏิกิริยาทางอารมณ์ของเรา โดยทั่วไปแล้วปัญหาของเราจะเป็นผลของปฏิกิริยาภายในของเรากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อเราไม่รู้จักตนเองอย่างชัดเจนถ่องแท้ เราก็เปรียบเสมือนเป็นบุคคลแปลกหน้าสำหรับตัวเอง สำหรับความคิดของเราและความรู้สึกของเรา และมันยากที่จะควบคุมปฏิกิริยาต่าง ๆ ของตนเอง ดังนั้นปัญหาจึงเกิดขึ้นอีกในชีวิตเพราะเราไม่รู้การจัดการกับมันอย่างมีประสิทธิภาพ เราอาจหันไปหาผู้อื่นเพื่อขอให้เขาช่วยเหลือแนะนำทางแก่เราในปัญหาของเรา แต่แม้ว่าเพื่อนของเราจะเป็นคนที่มีความสามารถอย่างยิ่ง แต่เขามักจะไม่มีตำตอบที่เราต้องการเลย
 
เราสามารถพึ่งตนเองได้ในการเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ โดยการให้ความใส่ใจแก่วิธีการตอบสนองของเราเอง และพยายามใส่ใจกับแรงจูงใจบางชนิดซึ่งก่อปัญหาให้แก่เรา เมื่อเราสามารถเข้าใจถึงคุณภาพของความรู้สึกและอารมณ์ และสามารถเห็นผลจากการกระทำต่าง ๆ ของเราได้อย่างชัดเจน เราจะพบว่าการปราศจากความใส่ใจในตนนั่นเองที่ได้นำปัญหาต่าง ๆ หลายอย่างให้เกิดขึ้น
 
ความเข้าใจในวิถีทางที่เราสนองตอบต่อปัญหาเป็นบันไดขั้นแรกที่จะเพิ่มความใส่ใจในตนเองให้มากขึ้น พยายามใส่ใจพิจารณาสักสองสามครั้ง เมื่อท่านเกิดความรู้สึกกังวลใจ ในสถานการณ์บางอย่างซึ่งดูเหมือนว่าท่านไม่สามารถจะจัดการกับมันได้ ลองวินิจฉัยเหตุการณ์แต่ละส่วนอย่างชัดเจน สังเกตดูว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร มีผู้ใดเกี่ยวข้องบ้าง ท่านได้ทำอะไรบ้าง ท่านมีวิธีแก้ปัญหาในท้ายที่สุดอย่างไร แบบของความคิดอย่างเดิมได้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกอย่างไร คำถามเหล่านี้จะช่วยให้ท่านมีโอกาสที่จะได้สำนึก ทั้งให้โอกาสท่านเข้าใจถึงสิ่งซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหา และสามารถพิจารณาอย่างชัดเจนถึงทางออกต่าง ๆ ในการเผชิญปัญหาเดียวกันนั้น เมื่อท่านสามารถเห็นรูปแบบปฏิกิริยาของท่านที่มีต่อปัญหาต่าง ๆ ท่านสามารถเริ่มเป็นที่ปรึกษาให้แก่ตัวเอง และเรียนรู้ที่จะป้องกันปัญหาชนิดเดียวกันนั้นมิให้เกิดขึ้นอีก
 
 
 
การสำนึกถึงวิธีการสนองตอบของท่านต่อปัญหา จะช่วยให้ท่านสามารถกำหนดทิศทางของพลังแห่งอารมณ์ของท่านได้ด้วย เมื่อท่านรู้สึกเศร้าและหม่นหมอง ลองนั่งนิ่ง ๆ และสังเกตดูความเจ็บปวดซึ่งท่านกำลังประสบอยู่ อย่าพยายามแปลความหรือตัดสินมัน พยายามใส่ใจ สัมผัสกับความรู้สึกนั้นและสังเกตดูมันอย่างตั้งใจ
 
 
(http://www.bloggang.com/data/balanceofsociety/picture/1178093858.jpg)

ความสับสน ความเครียด และความเศร้าจะบรรจุพลังงานซึ่งเราสามารถนำมาใช้เป็นประโยชน์แก่เราพอ ๆ กับที่เราจะใช้มันในทางที่เป็นโทษแก่เรา เมื่อเราสามารถเผชิญปัญหาต่าง ๆ หรือความยุ่งยากต่าง ๆ ได้อย่างสงบ ปราศจากความพยายามหลบหนี ปราศจากความพยายามบังคับความรู้สึกของเรา เราจะเห็นภาวะบางอย่างซึ่งเราไม่เคยเห็นมาก่อนเลย เราอาจเข้าใจอย่างชัดเจนว่า เราไม่จำเป็นต้องเจ็บปวดเช่นนี้อีกต่อไป เราสามารถค้นพบในตัวของเราเองถึงแรงจูงใจที่จะเปลี่ยนนิสัยบางอย่าง ซึ่งมักจะนำเราไปสู่ความยุ่งยากและปัญหา
 
เราสามารถใช้พลังแห่งอารมณ์อย่างชำนาญในการเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ พื่อค้นหาหนทาง ซึ่งความคิดและความรู้สึกจะได้เป็นพลังงานซึ่งหลั่งไหลไปในทางที่เป็นประโยชน์มากขึ้น โดยแท้จริงแล้วอารมณ์ของเราก็เป็นพลังอย่างหนึ่งมันนำความเจ็บปวดให้เกิดขึ้น เมื่อเรายึดมั่นหรือผูกพันอยู่กับมัน และพยายามมองมันว่าเป็นโทษ เราสามารถจะยกระดับพลังนี้ไปในทิศทางที่เป็นประโยชน์ เพราะในชั้นสูงที่สุดแล้วตัวเราเองนั่นแหละที่เป็นคนตัดสินคุณค่าของปฏิกิริยาเหล่านี้ การตัดสินขึ้นอยู่กับเรา เราอาจหมกมุ่นกับอารมณ์ซึ่งไม่ผ่องใส แต่เราสามารถปรับพลังของมันไปในทางที่เป็นประโยชน์ต่อปัญหาที่เรามีอยู่นั้นได้
 
เมื่อเราพบว่าอุปสรรคอยู่ภายในตัวเราเอง หรือในความย่งยากของงาน หรือในสัมพันธภาพกับผู้อื่น ใช้เวลาสักสองสามนาทีนั่งเงียบ ๆ ลืมตาอย่างนุ่มนวล และพยายามมองปัญหานั้นให้ชัดเจน ลองให้ตัวเองสัมผัสกับปัญหานั้นอย่างเต็มที่จากนั้นปิดตาลงอย่างอ่อนโยน และพยายามสัมผัสกับอารมณ์ที่มีอยู่นั้นอย่างลึกซึ้งจนมันค่อย ๆ สลายไป และเมื่อนั้นท่านจะรู้สึกสดชื่นและสงบผ่อนคลายขึ้นอีก
 
จากนั้น ลืมตาขึ้นอย่างช้า ๆ โดยที่ไม่พยายามสนใจจุดหนึ่งจุดใดเพียงแห่งเดียว พยายามค้นหาถึงแง่ของปัญหาซึ่งเราอาจจะมองข้ามไป หลับตาลงอีกครั้งหนึ่ง แล้วพยายามดื่มด่ำกับความรู้สึกที่เกิดขึ้นนั้นอย่างเต็มที่ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จนกระทั่งมันค่อย ๆ ละลายหายไปและท่านจะรู้สึกสดชื่นใหม่อีกครั้งหนึ่งอย่างเต็มที่
 
 
 
ทำวิธีการอย่างเดิมนี้สักสองสามครั้ง จนกระทั่งความรู้สึกอันเป็นโทษหรือความรู้สึกไม่ดีต่าง ๆสูญสลายไป เมื่อเสร็จแล้วลืมตาขึ้นอย่างช้า ๆ ปล่อยให้ลมหายใจของท่านเป็นไปอย่างช้า ๆ และอ่อนโยน ปล่อยให้ลมหายใจของท่าน ความรู้ตัวของท่าน และแสงสว่างซึ่งท่านเห็นรอบ ๆ ตัวรวมเข้าเป็นหนึ่งเดียว และเกิดความกลมกลืนเมื่อสภาวะนี้เกิดขึ้น ท่านจะรู้สึกเบา จะรู้สึกสดใส และรู้สึกเปิดกว้างกับประสบการณ์ที่เกิดขึ้น พยายามพัฒนาและรักษาคุณภาพเหล่านี้ไว้โดยการหายใจอย่างอ่อนโยน ปรับสมดุลให้เกิดขึ้นระหว่างลมหายใจเข้าและลมหายใจออก เมื่อท่านทำเช่นนี้ร่างกายจะรู้สึกกระปรี้กระเปร่า จิตใจของท่านจะสามารถรวมตัวกันได้อีก และความรู้สึกตัวของท่านจะกระจ่างขึ้น....
 
 
 
(http://www.bloggang.com/data/balanceofsociety/picture/1178091767.jpg)

 
 
มองดูวันใหม่เหมือนดั่งว่ามันเป็นชีวิตใหม่ซึ่งเราจะเริ่มต้นอีก อย่าแบกความรู้สึกต่อต้านไปในชีวิตใหม่ของเรา ท่านต้องเริ่มต้นอย่างสดชื่นด้วยภาวะที่ปราศจากปัญหาหรืออุปสรรคจากอดีตหรือจากอนาคต ในชีวิตใหม่ของท่าน ประสบการณ์ที่ท่านสัมผัสอยู่จะมีคุณภาพอิ่มอิบและมีสีสัน ท่านจะดื่มด่ำเป็นหนึ่งเดียวและกลมกลืนอย่างลึกซึ้งกับสิ่งกับสิ่งซึ่งกำลังเกิดขึ้นในวินาทีนั้น ท่านจะสัมผัสกับความถี่ถ้วน ชัดเจน และสามารถสัมผัสกับทุก ๆ สิ่งซึ่งเกิดขึ้นภายในตัวท่านและรอบ ๆ ตัวท่านด้วย
 
ความชัดเจนกระจ่างซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเราใช้พลังของเราในแนวทางที่ให้คุณประโยชน์ นอกจากจะช่วยยกตัวเราให้อยู่เหนือปัญหาซึ่งเรากำลังเผชิญอยู่ มันยังจะสอนเราในเรื่องตัวเราเองอีกด้วย และยังจะช่วยยกระดับปฏิกิริยาซึ่งเป็นโทษของเรา เราจะรู้สึกมีความเชื่อมั่นในการเผชิญกับปัญหาด้วยตัวของเราเองมากขึ้น เมื่อเรารู้สึกต่อสภาพภายในอย่างกระจ่างและสมดุล เราจะสามารถใชเทรัพยากรของเราเองเผชิญกับทุกอย่างที่เกิดขึ้น เราไม่จำเป็นต้องอาศัยผู้อื่นมาช่วยเหลือเราเลย
 
 
 
(http://www.bloggang.com/data/balanceofsociety/picture/1178093502.jpg)

เมื่อเรารู้จักเผชิญปัญหาในลักษณะเช่นนี้ ความสามารถจะยังคงอยู่กับเรา จะช่วยเหลือเราในการยอมรับและในการเผชิญหน้ากับทุกอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิต เราได้พัฒนาทักษะซึ่งสำคัญที่สุดขึ้น ทักษะนั้นคือ การรู้จักสัมผัสกับอารมณ์ของตนเองอย่างชัดเจนและรู้จักที่จะจัดการกับมันในทันที ความสุขอันยิ่งใหญ่จะเกิดขึ้นเมื่อเห็นความก้าวหน้าซึ่งสภาวะเช่นนี้นำมาสู่ชีวิตของเราเอง ในสัมพันธภาพของเรากับผู้อื่นและในการงานของงเรา ความรู้สึกว่าตนเองมีค่าจะเกิดขึ้น จะงอกงามขึ้นทีละเล็กทีละน้อยและสภาพเช่นนี้โดยตัวของมันเองจะลดความกลัวและความกังวล ซึ่งเป็นตัวการทำให้ความยุ่งยากและปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้น
 
ความเชื่อว่าเราเผชิญกับปัญหาอันแรงกล้าได้ ทำให้เราสามารถมองไกลออกไปและกำหนดชีวิตของเราได้ เราจะตระหนักว่าแต่ละวันใหม่จะนำประสบการณ์ใหม่ให้เกิดขึ้น ปัญหาต่าง ๆ ที่เราเผชิญก็ดูเหมือนว่าเราสามารถแก้ไขมันได้โดยที่ไม่มีทางตันเลย เพราะเรารู้ว่าเราสามารถจัดการกับปัญหาทุก ๆ ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ และเรามีแรงบันดาลใจที่จะเดินทวนไปหามันและเอาชนะมันได้อย่างเต็มที่และอย่างแน่ใจ เมื่อทัศนะอันเป็นประโยชน์และเป็นกำลังใจแกตนเองเช่นนี้เป็นรากฐานของการดำรงชีวิต เราจะพบว่าปัญหาจะเกิดน้อยลงในชีวิตของเรา แม้ว่าเราจะต้องตอบสนองต่อความกดดันต่าง ๆ ซึ่งมาจากภายนอก เราก็จะสามารถควบคุมปฏิกิริยาของเราและสามารถใช้พลังของเราเปลี่ยนสถานการณ์นั้นไปในทางที่เป็นประโยชน์ได้มากขึ้น
 
พลังงานที่จะมีชีวิตและที่จะประพฤติในทางที่เป็นประโยชน์จะเกิดขึ้นอย่างมากมาย สภาวะจิตใจอันลึกซึ้งของเราจะมีอำนาจและมีความมุ่งมั่นซึ่งสร้างสรรค์เรา สามารถที่จะแผ่พลังให้กับชีวิตของเราและจะให้รังสีอันอบอุ่นแก่ผู้อยู่รอบ ๆ ตัวเราด้วย เมื่อเราสร้างความเชื่อมั่นอันอ่อนโยนซึ่งเกิดจากความเข้มแข็งภายใน สิ่งแวดล้อมทั้งหมดรอบ ๆ ตัวจะเกิดความสมดุลขึ้นเอง เราจะปลอดโปร่งและสามารถงอกงามได้อย่างเบิกบาน สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นจากความสามารถในการเผชิญกับความขัดแย้งต่าง ๆ ความเข้มแข็งภายใน เราจะเพิ่มความสามารถในการหาความหมายและความสุขในชีวิต
 
ทุกอย่างนี้ขึ้นอยู่กับเราอย่างแท้จริง โดยความเข้าใจว่าพลังอันเกิดขึ้นจากปัญหาต่าง ๆ นั้นก็สามารถนำเราไปสู่ความเข้าใจในตนเอง เราสามารถจะเปลี่ยนคุณภาพชีวิต และสามารถจะช่วยผู้อื่นเปลี่ยนคุณภาพชีวิตของเขาด้วย เรารู้ว่าจะต้องเผชิญกับความยุ่งยากและปัญหามากมายในชีวิต แต่โดยความรับผิดชอบในตน เราจะเรียนรู้การเผชิญกับมันโดยตนเอง การรู้จักตนเองมากขึ้นและการแบ่งปันความเข้มแข็งซึ่งเกิดขึ้นกับผู้อื่น จะสร้างรากฐานซึ่งจะช่วยเหลือให้ชีวิตของเรา โลกของเราน่าอยู่มากขึ้น@
 
""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
 
คัดจากหนังสือ "แห่งการงานอันเบิกบาน"
 
ผู้เขียน : ตาร์ถัง ตุลกู(ครูสอนศาสนาและนักบวชทิเบต)
 
ผู้แปล : โสรีช์ โพธิ์แก้ว
 
ขอขอบคุณองค์ความรู้ทั้งหมดที่ได้รับจากหนังสือเล่มนี้
 
...........................................


หัวข้อ: Re: "แห่งการงานอันเบิกบาน" : โดย ท่าน ตาร์ถัง ตุลกู ( คัดมาบางส่วน )
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 15 มิถุนายน 2553 19:59:59
จิตใจอันแจ่มใส
 
 
 
 
เมื่อธรรมชาติแห่งจิตใจของเราแจ่มใสอย่างแท้จริงเราจะพบคุณทรัพย์ภายในของเรามากมายอันได้แก่ ความรักอันอบอุ่น ความปลื้มปิติและความนิ่งสงบ เราจะซาบซึ้งกับความสวยงามของชีวิต เราจะรับรู้และสัมผัสประสบการณ์ทุก ๆ ขณะที่ไหลเลื่อนเข้ามาสู่การรับรู้ เราจะเปิดใจสัมผัสและมีความสุขกับมัน การประจักษ์ถึงคุณภาพต่าง ๆ เหล่านี้ภายในตัวเองเป็นความรู้สึกแจ่มใสอันยิ่งใหญ่ซึ่งเราสามารถพบได้
 
อย่างไรก็ตาม คำถามมีอยู่ว่า เรายินดีและยอมรับความรู้สึกแจ่มใสได้มากแค่ไหน? เราสัมผัสกับความคิดและความรู้สึกอันละเอียดอ่อนลึกซึ้งได้มากแค่ไหน? เราสัมผัสกับธรรมชาติอันดีงามของชีวิตได้แค่ไหน? แม้ว่าหลายครั้งเราจะได้สัมผัสกับความอิ่มเอิบภายใน แต่เรามักจะปิดบังตนเองจากมัน ซึ่งก่อให้เกิดความไม่เป็นสุขอย่างเบาบางขึ้น หลายครั้งที่เราไม่อนุญาตให้ตนเองได้สัมผัสกับความสุขอันแท้จริงเลย เพราะเรารู้สึกผิดบางอย่าง และบางครั้งเราก็ไม่สามารถจะเบิกบานกับความสำเร็จของเราได้อย่างเต็มที่ เพราะเรายังสงสัยและกังวลอยู่
 
ความรู้สึกเชิงลบเหล่านี้ทำให้เราห่างไกลออกจากเนื้อแท้ของชีวิต และหลงทางไปแสวงหาความอิ่มเอิบจากภายนอก เราถูกชักจูงให้สนใจกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเกิดขึ้นรอบ ๆ ตัวและเราก็ใส่ใจอยู่กับมันอย่างจดจ่อโดยเชื่อว่าสิ่งเหล่านั้นทำให้เรามีความสุข แต่การที่เราใช้พลังงานของเรามุ่งไปภายนอก ทำให้เราพลาดจากกระแสแห่งความรู้สึก กระแสแห่งความคิด กระแสแห่งอารมณ์ และกระแสแห่งการรับรู้ต่าง ๆ หากปราศจากความสำนึกถึงกระแสต่าง ๆ เหล่านี้และความรู้สึกแจ่มใสซึ่งมันได้ให้เรา เราจะรู้สึกต่อประสบการณ์ต่าง ๆ อย่างผิวเผินและตื้น และความใส่ใจของเราจะมีคุณภาพหยาบ ไม่ชัดเจนและไม่ละเอียดลึกซึ้ง แม้เราจะประสบความสำเร็จหลายอย่าง แต่การแยกตนเองออกจากธรรมชาติแท้จริง จะทำให้เราเสียรากฐานที่แท้จริงของชีวิตไป ซึ่งทำให้เราเกิดความรู้สึกหวั่นไหวไม่มั่นคง และเราจะเริ่มรู้สึกว่าชีวิตว่างเปล่าและไร้ค่า
 
เมื่อเราไม่สามารถดื่มด่ำกับความอิ่มเอิบจากการรู้จักตนเองอย่างแท้จริง เรามักจะมุ่งหาผู้อื่นหรือสิ่งอื่น เพื่อทำให้เราสบายใจหรือเป็นสุข แต่โดยเหตุที่ว่าเราไม่รู้ว่าเราขาดอะไร เราจึงไม่สามารถชัดเจนในความต้องการที่แท้จริงของเรา ดังนั้นเราจะรู้สึกผิดหวังและเจ็บปวดอยู่เสมอ และยิ่งเราหมกมุ่นและตกหลุมความไม่เป็นสุขมากเท่าใด เราจะยิ่งรู้สึกโกรธ ไม่พอใจและหวั่นไหวมากขึ้น ความสัมพันธ์ต่าง ๆจะมีรสชาติอันจืดชืดและเราจะไม่ทำงานอย่างสุขใจ และด้วยความที่ปราศจากจิตใจอันแจ่มใส เราจึงถูกกักขังไว้ในการขาดความสำนึกตน และถูกดึงดูดให้ตกอยู่ในวงจรของความกังวลและความไม่เป็นสุขอยู่ตลอดเวลา เราจะหมุนวนอยู่อย่างนั้นในการแสวงหาความอิ่มเอิบ แต่เราจะไม่มีทางได้พบมันเลย และการแสวงหาเช่นนี้จะเกิดขึ้นซ้ำซากจนเป็นแนวการดำเนินชีวิต
 
เรามีชีวิตอยู่ในโลกซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและสิ่งนี้กดดันให้เราต้องตามมันให้ทัน เราส่วนใหญ่อาจไม่ต้องการมีชีวิตเช่นนี้ แต่เราต้องยอมรับความกดดันที่สังคมมีต่อเรา ในเบื้องนอกเราอาจจะดูเหมือนว่าเรามีเสรี แต่ภายในจิตใจของเรา เราถูกทำร้ายด้วยความเครียดซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนั้น เรารีบเร่งร้อนรนจนไม่มีเวลาจะใส่ใจหรือซาบซึ้งในตนเอง จนเราห่างเหินจากคุณภาพอันดีงามของชีวิตและพลังอันมากมายที่มันได้ให้แก่เรา
 
 
(http://www.bloggang.com/data/balanceofsociety/picture/1134337986.jpg)
 
 
 
 
 
อุปสรรคของจิตใจอันแจ่มใสจะเกิดขึ้นในวัยเด็ก ในขณะที่เราเป็นเด็กเราจะรู้ว่าเรารู้สึกอย่างไรต่อสรรพสิ่ง และเรามักยินดีที่จะแสดงความรู้สึกนั้นให้ผู้อื่นประจักษ์เสมอ แต่ความกดดันจากครอบครัวและมิตรสหายทำให้เราจำใจต้องรับโลกทัศน์ที่แคบและรับแนวคิดซึ่งคล้อยตามความมุ่งหวังของผู้อื่น เมื่อความคิดและความรู้สึกอันเป็นธรรมชาติของเราถูกยับยั้ง เราจึงเติบโตขึ้นภายนอกอาณาเขตของความรูสึกของเรา และเมื่อนั้นเองที่ความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายและจิตใจของเราถูกขัดขวางและถูกทำลายไป เราจึงไม่ตระหนักถึงความรู้สึกอันแท้จริงของเรา เมื่อการกักขังนั้นแข็งแรงและมั่นคงขึ้น โอกาสการแสดงของความรู้สึกต่าง ๆ ก็ลดน้อยหรือหมดไป เราจะพอใจกับการคล้อยตาม และเมื่ออายุมากขึ้นเราก็จะยิ่งยินยอมให้สภาพนี้กำหนดชีวิตของเราเอง และในที่สุดเราก็จะกลายเป็นคนแปลกหน้าต่อตัวเอง
 
เราจะกลับมาสัมผัสกับตนเองใหม่ได้อย่างไร? เราจะทำอย่างไรเพื่อให้เรามีความรู้สึกเสรีปลอดโปร่งอย่างแท้จริง? เมื่อเราเริ่มมองธรรมชาติภายในของเราอย่างชัดเจน เราจะพบกับความสว่างที่ทำให้เราสามารถจะงอกงามต่อไปได้ ความชัดเจนนี้เองที่เป็นการเริ่มต้นของความรู้แห่งตน และความรู้แห่งตนจะเกิดขึ้นได้ง่าย ๆ โดยการสังเกตดูการทำงานของจิตใจและร่างกายของเราอยู่เสมอ
 
ท่านสามารถฝึกการสังเกตภายในเมื่อไหร่ก็ได้ ที่ไหนก็ได้ ไม่ว่าท่านกำลังทำอะไรอยู่ โดยการสังเกตและใส่ใจในการเกิดขึ้นและในการเปลี่ยนแปลงของความคิดแต่ละความคิดและความรู้สึกซึ่งผูกพันอยู่กับมัน ท่านจะเห็นถึงอิทธิพลของมันที่มีต่อความคิด ต่อร่างกายแต่อการรับรู้ต่าง ๆ เมื่อท่านทำเช่นนี้ ท่านจะเชื่อมสะพานระหว่างร่างกายกับจิตใจอีกครั้งหนึ่งและจะตระหนักได้ชัดเจนว่าท่านเป็นใคร ท่านจะคุ้นเคยและเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติภายในของท่านมากขึ้น ร่างกายและจิตใจของท่านก็จะอยู่ด้วยกันอย่างกลมกลืน ซึ่งจะก่อให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีคุณภาพ ท่านจะเข้าสู่กระแสแห่งชีวิต กระแสการเรียนรู้ตนเองและความรู้แห่งตนซึ่งท่านได้พบจะส่งเสริมการกระทำอื่น ๆ ของท่านด้วย
 
เมื่อท่านสังเกตธรรมชาติภายในของท่านอย่างไตร่ตรอง ท่านจะพบว่าท่านได้กักขังตนเองอย่างไร และความรู้สึกแห่งธรรมชาติภายในได้ถูกจำกัดไว้อย่างไร และตอนนี้เองที่ท่านจะสามารถให้ความรู้สึกเหล่านั้นไหลหลั่งออกมา และพลังงานภายในก็จะถูกนำมาใช้ประโยชน์มากขึ้น เมื่อท่านสงบนิ่ง ซื่อตรง และยอมรับตนเอง ความเชื่อมั่นของท่านจะเกิดขึ้น และท่านจะเรียนรู้วิธีใหม่และแนวทางอันดีงามที่จะรู้จักตนเอง
 
(http://www.bloggang.com/data/balanceofsociety/picture/1134356291.jpg)
 
เมื่อเครื่องมือการรับรู้ของท่านใสสะอาด และมีการเคลื่อนไหวอยู่ได้ตลอดเวลา การมีสมาธิจะช่วยให้ท่านกำหนดพลังไปใช้ในทิศทางที่ต้องการ การมีสมาธินั้น มิใช่การฝึกวินัยอย่างเข้มงวดกวดขันตายตัว แต่มันหมายถึงการผ่อนคลายและการทำให้ใจสงบอย่างธรรมชาติที่สุด ความมีสมาธิของท่านจะรวมตัวกันด้วยความรู้สึกสบายและผ่อนคลายอันเป็นคุณภาพอันอ่อนโยนไม่เข้มงวดตายตัว ท่านสามารถพัฒนาสมาธินี้ได้แม้ในการทำงาน โดยการทำงานทีละอย่าง และทุ่มเทให้ความสนใจทั้งหมดแก่งานชิ้นที่ท่านกำลังทำอยู่อย่างเต็มที่ และอย่างละเอียดถี่ถ้วน ใส่ใจอย่างต่อเนื่องจนงานนั้นเสร็จเรียบร้อย แล้วค่อยทำงานชิ้นอื่นต่อไปในลักษณะเดียวกัน ท่านจะพบว่าท่านมีความชัดเจนและความเข้าใจลึกซึ้งถี่ถ้วนขึ้น และมันจะเป็นกระแสธรรมชาติในทุกสิ่งที่ท่านทำ
 
ด้วยความสามารถที่จะมีสมาธิ สติก็จะเกิดขึ้น และท่านจะมีความละเอียดอ่อนที่จะรู้ถึงการไหวของความคิด อารมณ์และการกระทำของท่าน ความมีสติจึงเป็นการรวมตัวกันของสมาธิ ความชัดเจนใสสะอาดและความสำนึกในตน ซึ่งสามารถจะสัมผัสได้แม้กระทั่งความเล็กน้อยที่สุดของประสบการณ์และความรู้สึกต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น หากปราศจากความมีสติแล้ว แม้ว่าท่านจะมีความใส่ใจและความชัดเจนใสสะอาดในการรับรู้ ท่านก็จะเป็นเหมือนเด็กเล็ก ๆ ซึ่งสร้างปราสาททราย โดยไม่ตระหนักว่าระลอกคลื่นจะทลายมันลงในเวลาอันรวดเร็ว
 
ความมีสติจะให้ความมั่นใจว่า ทุกสิ่งที่ท่านทำนั้น ท่านจะทำด้วยความสามารถและพลังของท่านอย่างเต็มที่ที่สุด ท่านสามารถจะพัฒนาความมีสติโดยการทุ่มเทความคิดพิจารณาอันชัดเจนให้แก่งานของท่าน ท่านลองสังเกตวิธีการที่ท่านทำงานว่าท่านเริ่มต้นอย่างไร แล้วท่านดำเนินไปอย่างไร ท่านเข้าใจแท้จริงหรือไม่ว่าท่านต้องการทำอะไร ท่านนึกล่วงหน้าถึงผลของงานที่มีต่อท่านหรือไม่ พิจารณาดูผลอันเกิดจากการกระทำของท่านในทัศนะที่กว้าง พร้อม ๆ กับพิจารณารายละเอียดในสิ่งที่ท่านทำ ท่านได้ตระหนักถึงผลแต่ละขั้นตอนในการกระทำของท่านหรือไม่
 
(http://www.bloggang.com/data/balanceofsociety/picture/1134427014.jpg)
 
ในขณะที่ท่านพัฒนาความมีสติ ท่านจะเห็นว่าการขาดความใส่ใจนั้นมีผลต่อกระแสการทำงานของท่านหากท่านทำงานด้วยสติ กระแสความเคลื่อนไหวของท่านจะราบรื่นและงดงาม ความคิดของท่านจะชัดเจนและเป็นระบบ และการทำงานของท่านก็มีประสิทธิภาพ และเนื่องจากว่าท่านกลมกลืนอย่างสมบูรณ์กับแต่ละขั้นของงานและผลต่อเนื่องของแต่ละการกระทำ ท่านสามารถจะพยากรณ์ผลของมันได้ด้วย ท่านจะพบแรงจูงใจซึ่งซ่อนเร้นอยู่ภายใต้การกระทำของท่านนั้น และท่านจะไวต่อกระแสของการลืมและการกระทำที่ผิดพลาดไม่ถูกต้อง หากท่านมีความชำนาญในความมีสติ ท่านสามารถจะซาบซึ้งไปสู่ความเข้าใจอันถี่ถ้วนในตนเองและในการกระทำของตนเอง
 
 
 
 
การเกิดขึ้นของความชัดเจนใสสะอาดในการรับรู้ ความมีสมาธิและความสติจะเป็นการเรียนอย่างที่ไม่สามารถจะเกิดขึ้นในห้องเรียนได้เลย เพราะว่าสาระที่เราศึกษานั้นคือธรรมชาติที่แท้จริงของมนุษย์ แต่ละการไหลของกระแสแห่งสติจะนำให้เกิดความรู้ในตนมากขึ้น มันจะนำให้เกิดคุณภาพของการสังเกตที่ชัดเจน ซึ่งนำไปสู่การค้นพบและรู้จักตนเองมากขึ้น
 
(http://www.bloggang.com/data/balanceofsociety/picture/1134431286.jpg)
 
 
ความมั่นใจและความสำนึกในตนซึ่งเกิดขึ้นด้วยวิธีการนี้จะช่วยให้เราสามารถควบคุมและกำหนดทิศทางและเป้าหมายของชีวิตได้ การกระทำของเราจะสะท้อนให้เห็นความเบิกบานร่าเริง ชีวิตและงานจะให้ความรู้สึกอันปลอดโปร่งเบาใจซึ่งประคองทะนุถนอมเราในทุกสิ่งที่เราทำ ชีวิตได้กลายเป็นงานศิลปะ มันแสดงให้เห็นถึงกระแสแห่งความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายจิตใจ ความรู้สึกและประสบการณ์ในชีวิตแต่ละขณะ เราสามารถเชื่อถือและพึ่งตนเองได้ แม้ในการตอบสนองความต้องการที่ละเอียดอ่อนลึกซึ้งที่สุดของเรา และดังนี้ เราจึงมีความรู้สึกใสสะอาดอย่างแท้จริง ความรู้สึกใสนี้จะทำให้เราใช้ความคิดได้อย่างฉลาดและชัดเจน หากเราได้รู้จักความรู้สึกนี้ครั้งหนึ่งแล้ว เราก็จะมีความใสสะอาดและความเชื่อมั่นอยู่เสมอ
 
ความรู้สึกแจ่มใสและความอิ่มเอิบกระปรี้กระเปร่าจะมีสำหรับคนทุกคน เมื่อเราตระหนักถึงการเสริมสร้างพัฒนาความรู้สึกเสรีภายใน เราจะเริ่มต้นเปิดตนเองสู่ความสุขความมีอนามัย และความรื่นรมย์ในทุกสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา การรู้จักและสำนึกในตนเองมากขึ้นจะนำให้เกิดความเห็นจริง ความเข้าใจ และความรู้สึกสงบ เราจะมีความงอกงามในทางร่างกายและจิตใจ ชีวิตการงาน ครอบครัว ความสัมพันธ์ของเรากับสรรพสิ่งก็จะมีค่ามีความหมายมากขึ้น เราสามารถจะมุ่งสู่เป้าหมายที่เรากำหนดได้อย่างง่าย ๆ และสะดวก เมื่อเราสร้างความรู้สึกเสรีภายในให้เกิดขึ้นได้ เราจะค้นพบกับความปิติอันล้ำลึกและยาวนานในทุกสิ่งที่เราทำ@
 
=============================
 
คัดจาก "แห่งการงานอันเบิกบาน"
 
ผู้เขียน : ตาร์ถัง ตุลกู
 
ผู้แปล : โสรีช์ โพธิแก้ว
 
ขอขอบคุณองค์ความรู้ทั้งหมดที่ได้จากหนังสือเล่มนี้
 
....................................................................................


หัวข้อ: Re: "แห่งการงานอันเบิกบาน" : โดย ท่าน ตาร์ถัง ตุลกู ( คัดมาบางส่วน )
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 15 มิถุนายน 2553 20:03:17
พลังงานสูญเปล่า
 
 
(http://www.bloggang.com/data/balanceofsociety/picture/1135382804.jpg)
 
 
 
 
 
พลังงานเป็นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดของเราเพราะว่ามันเป็นหนทางที่จะนำศักยภาพอันสร้างสรรค์ของเราให้แสดงออกมาในรูปการกระทำ ร่างกายและความคิดของเราเป็นทางออกของพลังงานอันมีค่านี้ ร่างกายของเราและความคิดของเราเป็นสิ่งแสดงให้เห็นถึงสาระของพลังงานนี้ เมื่อเราเปิดหัวใจทั้งหมดของเราให้กว้างต่อชีวิต ความคิดของเรา หัวใจของเรา และพลังงานของเราจะทำงานด้วยกันอย่างผสมผสานกลมกลืน และจะนำให้เราได้สัมผัสกับความเต็ม ความอิ่มเอิบของประสบการณ์แห่งชีวิต และความสุขอันดื่มด่ำจากประสบการณ์เหล่านั้น
 
เมื่อเราอยู่ในวัยเยาว์ เราจะมีกระแสพลังอย่างใหญ่หลวงในการกระทำต่าง ๆ เราจะมีพลังอันเข้มข้น ซึ่งสามารถทำให้เราสามารถทำอะไรก็ได้อย่างสำเร็จด้วยความง่ายดาย แต่เนื่องจากเราได้พลังนี้อย่างง่ายดาย เราจึงไม่ได้ใช้มันอย่างฉลาด เราจะใช้มันแค่จุดมุ่งหมายส่วนตัวและกับสิ่งที่เราพอใจเท่านั้น แทนที่จะใช้มันในทุก ๆ สิ่ง ทุก ๆ ส่วนของกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
 
เราอาจคิดว่าเมื่อเราหลีกเลี่ยงงานหนัก ชีวิตของเราจะมีความสุขมากขึ้น เราต้องการจะเก็บเวลาและพลังงานของเราไว้ให้กับสิ่งที่เราอยากทำเท่านั้ เราอาจไม่ตระหนักว่าความสำเร็จโดยแท้จริงแล้วจะเกิดขึ้นจากความพยายามและความตั้งใจ การหลีกเลี่ยงงานเป็นการที่เรายอมให้พลังงานสูญไป และลดโอกาสสำหรับความงอกงามของตนเอง ชีวิตจะกลายเป็นเช่นสระน้ำนิ่ง แทนที่จะเป็นพื้นดินอันเบิกบานสำหรับการกระทำต่าง ๆ
 
พลังงานที่เราสูญไปกับกาลเวลานั้นจะไม่มีวันหวนกลับมาอีกเลย ส่วนหนึ่งของชีวิตของเราจะถูกทิ้งไป เราจะสูญเสียความอุดมซึ่งเกิดจากการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่กับอะไรบางอย่างที่เราพึงกระทำ เมื่อเราเชื่อว่า เราเป็นเจ้าของเวลาทั้งหมดในโลก เราจะทำอะไรอย่างเชื่องช้าและเลื่อนการทำงานต่าง ๆ ออกไป แม้ว่าเราจะมีชีวิตผ่านไปวัน ๆหนึ่งได้ แต่เราก็จะปล่อยให้ตัวเองล่องลอยไป เปลี่ยนจากสิ่งนี้ไปยังสิ่งนั้นเรื่อย ๆ เมื่อเราใช้พลังงานของเราในลักษณะนี้ มันยากเหลือเกินที่เราจะลึกซึ้งในสิ่งต่าง ๆ เพียงเพื่อที่จะนำให้เกิดความสุข แรงจูงใจของเราจะอ่อนล้าและความใส่ใจของเราจะแตกซ่าน
 
 
(http://www.bloggang.com/data/balanceofsociety/picture/1135385518.jpg)
 
 
การที่เราสูญเวลาและพลังงานไป เราจะรูสึกว่างเปล่าและรู้สึกว่าบางอย่างในใจขาดหายไป เรามองดูสิ่งที่เราได้ทำและจะเห็นสิ่งที่เหลือปรากฏอยู่เล็กน้อยเท่านั้น เพราะความไม่สนใจที่จะใส่ใจกับงานทุกแง่มุมและทุก ๆ งานทำให้เราไม่บรรลุจุดหมายที่มีความหมายอย่างแท้จริงได้ และเมื่อเราถึงวัยชราเราอาจเสียใจกับเวลาที่สูญไป และกว่าจะพบว่าเราได้สูญพลังงานต่าง ๆ ไปโดยไม่ได้ใช้มันเลย มันก็สายเกินกว่าจะทำอะไรกับมันได้แล้ว เวลาจะพาชีวิตเราไปด้วย และเราจะพบว่าเราได้สร้างงานที่มีค่าแต่น้อยนิดเท่านั้น
 
โดยการสังเกตวิธีการทำงานของตน เราจะเห็นวิธีที่พลังงานของเราสูญเปล่าไป เมื่อเราไม่ได้ให้ความพยายามและหัวใจทั้งหมดแก่งาน เราไม่ได้วางแผนอันเหมาะสมและเราทำไม่ได้อย่างตั้งใจ เราจะรู้สึกกังวลและเครียด แทนที่เราจะเพิ่มพลังงานให้มากขึ้นแก่งานของเรา เรากลับเริ่มจะคิดฝันและลดความใส่ใจลงในสิ่งที่เราต้องทำนั้น แรงจูงใจในการทำงานก็ยิ่งจะอ่อนลงไปอีก เราจะหันความสนใจไปยังสิ่งต่าง ๆและก็ลงท้ายด้วยการรบกวนผู้อื่นที่ทำงานกับเรา เมื่อลักษณะเช่นนี้ดำเนินต่อไป ผู้อื่นจะต้องทำงานแทนเรามากขึ้น และความขุ่นเคืองใจไม่พอใจต่าง ๆ ก็เกิดขึ้นและมักนำไปสู่ความขัดแย้ง ดังนั้นพลังงานของเราก็สูญเสียไปมากขึ้น
 
เมื่อเราสังเกตลักษณะการทำงานเช่นนี้ได้ เราจะพบว่าคุณภาพของพลังงานที่เราให้ไปในงานเป็นตัวกำหนดประโยชน์ต่าง ๆ ซึ่งเราจะได้จากงานนั้น เวลาและพลังงานจะเป็นทรัพยากรซึ่งช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายที่เราต้องการ หากเราใช้ทรัพยากรนี้ได้อย่างถูกต้อง เราจะยกระดับคุณภาพของการมีชีวิตของเราได้ เพราะฉะนั้น มันจึงสำคัญมากสำหรับเราที่จะใช้ทรัพยากรของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด และใช้ประโยชน์ให้มากที่สุดจากทุกขณะแห่งการทำงาน
 
ท่านสามารถเริ่มต้นฝึกหัดโดยเริ่มที่งานง่าย ๆ ก่อนและสนใจว่าเราใช้พลังงานของเราในการทำงานนั้นอย่างไรบ้าง ขอให้สำรวจแรงจูงใจของท่านอย่างชัดเจนไม่บิดเบือน ท่านสามารถทำงานได้เต็มที่หรือไม่ ท่านใช้พลังงานของท่านอย่างไรบ้าง ท่านสามารถมีสมาธิอย่างชัดเจนในงานนั้นไหม หรือท่านถูกชักจูงด้วยความเพลิดเพลินอื่น ๆ เมื่อท่านทำงานของท่านเสร็จ สำรวจผลของงานนั้น ท่านพอใจในสิ่งที่ท่านได้ทำหรือไม่ ท่านทำงานเสร็จในเวลาอันรวดเร็วไหม หรือว่าท่านใช้เวลากับมันมากกว่าที่คาดไว้
 
(http://www.bloggang.com/data/balanceofsociety/picture/1179814777.jpg)
 
 
งานประจำวันที่ทำด้วยหัวใจทั้งหมดจะให้ความสุขมากกว่างานใหญ่ ๆ ซึ่งเราให้หัวใจแก่มันแค่ครึ่งเดียว ท่านจะค้นพบว่าสิ่งที่ก่อให้เกิดความแตกต่างขึ้นในงานก็คือ ทัศนะของท่านที่มีต่อสิ่งที่ท่านทำ เมื่อท่านชำนาญมากขึ้นในการทำงานง่าย ๆ ให้ดีเลิศ ท่านจะเพิ่มพูนความสามารถของตนในการสร้างเป้าหมายอันดีงามได้อย่างชัดเจนและฉลาดขึ้น และท่านจะทำงานที่ซับซ้อนได้ง่ายขึ้น
 
เมื่อท่านรู้จักใช้พลังงานอย่างฉลาด ความอดทนและบากบั่นจะเกิดขึ้นอย่างธรรมชาติ เราจะมั่นคงในความพยายามของเรา ไม่ใช่ด้วยการบังคับ แต่ด้วยความสุขและความร่าเริง ประสบการณ์แต่ละขณะจะเพิ่มชีวิตเราให้อิ่มเต็มมากขึ้น ความใส่ใจและความถี่ถ้วนชัดเจนของเราจะขยายออกไป และเมื่อความเข้มแข็งภายในมีเพิ่มมากขึ้น เราสามารถจะทำสิ่งที่เราไม่เคยคิดว่าจะทำได้เลย แต่ละวันจะเป็นเวทีให้เราได้แสดงพลังงานอันสร้างสรรค์ของตน ชีวิตของเราจะสดชื่น ใหม่ ตื่นใจ กระจ่าง งานของเราจะเป็นแรงบันดาลใจให้เราแสวงหาประสบการณ์ใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง เราจะพบความคิดสร้างสรรค์อย่างธรรมชาติ ปัญญาอันลึกซึ้งของเราจะแสดงออกในคุณภาพแห่งเวลา คุณภาพของการเปลี่ยนแปลงและในความงอกงามของชีวิต
 
วิธีการทำงานจะเป็นตัวแสดงความรู้สึกนึกคิดของเรา มันเป็นวิถีทางของการแสดงถึงภาวะจิตใจของเรา เมื่อเราทำงานด้วยพลังงานของเราทั้งหมด การทำงานของจิตใจและร่างกายจะทำให้เราแข็งแรงและมีกำลัง และทุกอย่างที่เราทำจะทำให้ความใส่ใจของเรามีเพิ่มขึ้น เราจะได้เริ่มต้นเดินไปในหนทางที่ถูกต้องและให้ชีวิตชีวาแก่ทุกอย่างที่เราทำ เราจะสัมผัสกับระดับความเข้าใจตนเองซึ่งจะช่วยนำทางเราและพยุงเราเดินต่อไปในชีวิต และจากการที่เราทุ่มเทพลังงานของเราให้กับงานที่มีความหมาย ชีวิตของเราจะมีแต่ความอิ่มเอิบแทนความรู้สึกขลาดและเสียใจ เมื่อเราให้คุณค่าแก่ตัวเราเองอย่างแท้จริงและเผชิญกับการงานด้วยพลังงานทั้งหมดและค่อย ๆ ทำงานนั้นไปทีละขั้น เมื่อนั้นทุกอย่างที่เราทำจะมีสาระของความรู้สึกเป็นสุขและมีค่า@@@
 
===============================
 
 
================================
 
คัดจาก "แห่งการงานอันเบิกบาน"
 
ผู้เขียน : ตาร์ถัง ตุลกู
 
ผู้แปล : โสรีช์ โพธิแก้ว
 
ขอขอบคุณองค์ความรู้ทั้งหมดที่ได้จากหนังสือเล่มนี้





หัวข้อ: Re: "แห่งการงานอันเบิกบาน" : โดย ท่าน ตาร์ถัง ตุลกู ( คัดมาบางส่วน )
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 15 มิถุนายน 2553 20:04:50
(http://www.bloggang.com/data/balanceofsociety/picture/1139192592.jpg)

 
สายน้ำจะไหลไป ภูเขาจะถูกกัดกร่อน อารยธรรมรุ่งเรืองแล้วก็เสื่อมลง วงจรของการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างไม่มีที่สิ้นสุด การเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์และวิวัฒนาการของมนุษย์เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ และทำให้โลกเป็นอยู่อย่างที่เรารู้จักในปัจจุบัน สังคมและวัฒนธรรมต่าง ๆ ได้เกิดขึ้นและเสื่อมสลายไป แต่ละปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นก็จะเพิ่มมิติใหม่ให้กับชีวิตของมนุษย์ เพียงแค่ในเวลาสองร้อยปีที่ผ่านไป สหรัฐอเมริกาได้รุ่งเรืองจากการเป็นเมืองท่าอันไม่ซับซ้อนมาเป็นชาติที่มีอำนาจและก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากที่สุดในโลก เหตุการณ์ต่าง ๆ ของโลกสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเมื่อผู้นำและแนวคิดใหม่ ๆ เข้ามามีอำนาจ และต่อมาเขาเหล่านั้นก็จะเลื่อนไปข้างหน้าเพื่อให้ช่องว่างแก่ผู้นำ และแนวคิดแก่คนรุ่นหลัง ๆ ต่อไปอีก คุณค่าของเงินขึ้น ๆ ลง ๆ เด็กจะเกิดใหม่มากมาย คนจะตายไป จะไม่มีสิ่งใดที่มีอยู่ในลักษณะเดิมได้เลย
 
 
 
และแม้ว่าเราทุกคนจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงทุกวัน เราจะพบว่ามันเป็นการยากที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามวิถีทางที่เราต้องการให้มันเป็น เมื่อเราไม่มีความสุข เราก็จะพบว่ามันเป็นการง่ายหรือดีกว่าที่จะหมกมุ่นอยู่กับความไม่เป็นสุขนั้นแทนที่จะปรับปรุงแก้ไขมัน เราเลือกไม่สนใจในโอกาสสำหรับการพัฒนาตนเองและความสุขซึ่งจะเกิดขึ้นจากการกระทำอันถูกต้อง เรายึดอยู่กับความคิดที่ว่า เราไม่สามารถจะปรับตนเองให้เข้ากับความต้องการซึ่งเกิดจากงานและจากชีวิต หรือเราอาจจะมีความเชื่อว่าเราได้แก้ไข เปลี่ยนแปลง ปรับปรุงตนเองมากเพียงพอแล้ว หากเราถูกวิจารณ์ว่าช่วงมีชีวิตที่ว่างเปล่าเราจะปกป้องตนเอง แก้ตัวและอ้างว่าเราก็จะเป็นอย่างที่เราเป็นนี่แหละ ดังนั้นเราจึงไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงตนได้ มันเป็นการง่ายที่จะใช้ชีวิตในลักษณะนี้เพื่อปฏิเสธความรับผิดชอบในการพัฒนาตนเองให้งอกงาม
 
เราไม่ปรารถนาที่จะลงแรงหรือทุ่มเทให้แก่การเปลี่ยนแปลง แต่การต่อต้านการเปลี่ยนแปลงจะต้องใช้พลังงานมากกว่าอย่างมากมาย ความพยายามขัดขวางการเปลี่ยนแปลงมิให้เกิดขึ้นในชีวิตเรานั้น เปรียบเสมือนความพยายามที่จะว่ายทวนกระแสน้ำอันเชี่ยวกรากในแม่น้ำ การมีชีวิตเช่นนี้จะเหนื่อยอ่อนและไม่เป็นสุข จนกระทั่งคุณภาพแห่งความเสื่อมสลายจะครอบคลุมชีวิตทั้งหมดของเรา แต่เราสามารถเลือกใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงซึ่งเกิดขึ้นในชีวิต และเรียนรู้ที่จะกลมกลืนกระแสอันอิ่มเอิบของชีวิต และผสมผสานกับประแสแห่งการเปลี่ยนแปลงได้อย่างงดงาม
 
การเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมชาติและมีคุณประโยชน์มากมาย มันมิได้เป็นสิ่งซึ่งน่ากลัวหรือควรหลีกเลี่ยง โดยการสังเกตการเปลี่ยนแปลงซึ่งเกิดขึ้นอยู่เสมอในชีวิตของเรา เราจะเห็นกระแสของการเปลี่ยนแปลงว่าเป็นสิ่งซึ่งได้นำประโยชน์มากมายให้เกิดขึ้น เมื่อเรายินยอมให้ตัวของเราเองเปลี่ยนแปลง ชีวิตจะประคองเราผ่านเวลาอันยุ่งยากและหนักใจไปสู่เวลาแห่งความสุขและความกระปรี้กระเปร่า เมื่อเราเห็นว่าในตัวของเราเองก็มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เราก็สามารถเรียนรู้ที่จะใช้ที่จะใช้พลังอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงมากำหนดชีวิตของเรา
 
มันเป็นประโยชน์เหลือเกินที่จะซาบซึ้งและพัฒนาความสามารถของตน ในการพิจารณาดูว่าเรามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้างในเวลาที่ผ่านไป ท่านมิได้เป็นคนคนเดียวกับที่ท่านเป็นเมื่อสิบปีที่แล้ว ท่านแตกต่างไปจากเดิมอย่างไรบ้าง เมื่อก่อนนั้นท่านมีลักษณะอย่างไร ตัวท่านเองในปัจจุบันกับตัวท่านเองในอดีตจะเป็นมิตรกันได้ไหม ถ้าหากเขาได้มาพบกัน มีสิ่งที่เขาชอบและไม่ชอบต่อกันอย่างไรบ้าง ท่านทำอย่างไรบ้าง สำหรับการดำเนินมาเป็นบุคคลอย่างที่ท่านเป็นอยู่นี้ อุดมคติ ความคิด และความคิดเห็นต่าง ๆ ได้เปลี่ยนแปลงไป มีสิ่งใดบ้างที่มาแทนที่ความคิดเก่าเหล่านั้น และด้วยเหตุผลใดบ้างการพิจารณาความเปลี่ยนแปลงซึ่งเกิดขึ้นจะช่วยท่านให้สามารถเสริมสร้างความงอกงามและเสริมสร้างความก้าวหน้า ซึ่งทำให้รู้สึกซาบซึ้งกับคุณประโยชน์ซึ่งกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลงได้นำมาสู่ชีวิต
 
หากท่านสังเกตว่าท่านได้เปลี่ยนแปลงไป ได้พัฒนาตนเองมากขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจเลย ท่านจะเห็นว่าท่านได้เติบโตงอกงามอย่างมาก หากท่านได้ตั้งใจเปลี่ยนแปลงตนเองอย่างแท้จริง เราจะต้องตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างชีวิตในปัจจุบันกับชีวิตในอนาคต การกระทำของท่านในปัจจุบันทำให้ชีวิตของท่านก้าวหน้าหรือเปล่า ท่านสามารถอิ่มเอิบในความงอกงามและประสบการณ์อันดีงามหรือเปล่า ท่านคิดอย่างไรบ้างเมื่อท่านมองกลับหลังไปสิบปี จากวันนี้มีกลไกอะไรที่ท่านใช้ในการเปลี่ยนแปลงตนเองหรือไม่ โดยการตั้งคำถามถามถึงชีวิตในลักษณะเช่นนี้ ท่านสามารถจะมีทัศนะอันแจ่มชัดต่อแรงจูงใจของท่านในการเปลี่ยนแปลงและเติบโต
 
การเปลี่ยนแปลงในทางสร้างสรรค์แก่ชีวิตจะเป็นเรื่องที่ง่ายดาย เพราะมันจะเกิดขึ้นทันทีที่ท่านตกลงใจจะขยายความสามารถต่าง ๆ ของท่านครั้งต่อไปหากท่านพบว่าท่านยังติดอยู่ในแบบแผนของการกระทำอันจำกัดและคับแคบ ขอให้ท่านได้ละทิ้งแนวความคิดอันคับแคบและความคาดหวังอันตายตัวนั้นและเปิดตัวท่านเองให้กับทุกอย่างซึ่งเราสามารถจะเรียนรู้ได้จากการมีวิถีชีวิตใหม่ นำพลังงานซึ่งท่านเคยใช้เสริมสร้างแนวคิดเดิมมาใช้ใหม่ เพื่อจัดการกับความยุ่งยากต่าง ๆ อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ หากท่านกำหนดชีวิตของท่านใหม่อย่างกว้างขวางนี้ ท่านจะพบว่าท่านไม่มีข้อจำกัดใด ๆ เลยในการใช้พลังงานอย่างสร้างสรรค์และสมบูรณ์เต็มอิ่มกับประสบการณ์ที่ท่านได้พบ
 
 
(http://www.bloggang.com/data/balanceofsociety/picture/1139358788.jpg)

 
 
พยายามดำเนินชีวิตแต่ละวันอย่างมั่นคงและสงบ มีความเยือกเย็นอยู่ภายใน เมื่อท่านรู้สึกสงบและเยือกเย็นภายใน ท่านจะสามารถสังเกตเห็นแนวคิดดั้งเดิมซึ่งก่อให้เกิดความยุ่งยากได้เมื่อมันเกิดขึ้น และให้มันสอนท่านเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนแปลงเมื่อใดก็ตามที่ท่านเผชิญกับสถานการณ์ที่ยุ่งยาก หยุดเพื่อคิดชั่วครู่ ก่อนที่จะแสดงการกระทำใด ๆ ออกไป ขอให้ท่านสังเกตว่าการกระทำของท่านหรือเปล่า เป็นสาเหตุของความยุ่งยากนั้น ท่านกำลังหาข้อแก้ตัวสำหรับตัวเองหรือเปล่า ถ้าเป็นเช่นนั้น ขอให้ท่านยอมรับเป็นเจ้าของตัวท่านเองก่อน ขณะเดียวกันก็พยายามเปลี่ยนแปลงการตอบสนองในแบบที่ท่านเคยมีเสียใหม่ หากท่านกำลังจะตอบสนองออกไปโดยการใช้อารมณ์อันรุนแรง ขอให้ท่านถอนตัวเองออกมา แล้วพยายามสังเกตอย่างเยือกเย็นในสถานการณ์นั้น พยายามเลือกการตอบสนองที่เป็นประโยชน์ นิสัยดั้งเดิมของเรานั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ และเราสามารถสร้างคุณภาพที่เป็นประโยชน์ให้มากขึ้นกว่าเดิมไปด้วย โอกาสสำหรับการเปลี่ยนแปลงมีอยู่เสมอ โอกาสสำหรับความงอกงามและการพัฒนาตนก็มีอยู่เสมอ ซึ่งจะเกิดจากการเลือกของเราเองทั้งสิ้น สิ่งที่ท่านจะต้องกระทำก็คือการตัดสินใจของท่านเองเท่านั้น
 
เมื่อเราเปลี่ยนแปลงนิสัยและแนวคิดของเรา เราจะพบว่าปัญหาที่เราเผชิญหน้านั้นสามารถเป็นตัวนำให้เราเกิดความงอกงามได้ อย่างไรก็ตามเนื่องจากความจริงที่ว่า ปัญหาของเราส่วนใหญ่มักจะกดดันและรบกวน เราจึงมีแนวโน้มอย่างธรรมชาติที่พยายามจะหลีกหนีจากมัน เราพยายามแสวงหาวิธีการที่จะหนีออกจากสถานการณ์ที่ยุ่งยากต่าง ๆ แล้วเดินอ้อมอุปสรรคซึ่งเราเผชิญอยู่ไปห่าง ๆ แต่ปัญหาของเราก็เช่นเดียวกับเมฆ แม้ว่ามันจะรบกวนความนิ่งสงบของท้องฟ้าอันแจ่มใส แต่ในขณะเดียวกันมันก็มีความชื้นซึ่งให้ชีวิตและนำความงอกงามให้เกิดขึ้น เมื่อเราเผชิญกับปัญหาที่เราพบอย่างตรงไปตรงมา แล้วค่อย ๆ เดินทวนมันไป เราจะค้นพบวิถีทางใหม่ในการมีชีวิต ความเข้มแข็งและความเชื่อมั่นจะเกิดขึ้นเพื่อเผชิญกับความยุ่งยากในอนาคตได้อีก ชีวิตจะกลายเป็นสิ่งซึ่งมีความหมายและนำไปสู่ความรู้อันใหญ่หลวงและความกระจ่างชัดของความเข้าใจ เราจะพบว่ายิ่งเราเรียนรู้มากขึ้นเท่าไหร่ เราจะงอกงามมากขึ้นเท่านั้น ยิ่งเราพบกับสิ่งซึ่งท้าทายเรามากเท่าไหร่ เราก็จะเข้มแข็งและตระหนักสำนึกในตัวเองมากขึ้น เมื่อเรามีชีวิตอยู่อย่างสอดคล้องกับกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลง เราก็จะสร้างสิ่งซึ่งมีค่ามากได้อย่างง่าย ๆ อย่างหนึ่งคือ การมีชีวิตที่แม้
 
เมื่อท่านเกิดความรู้สึกท้อถอยอย่างรุนแรงและต้องการเลิกล้มความตั้งใจ หรือเมื่อท่านเกิดความรู้สึกว่ามันสายไปแล้วในชีวิตสำหรับเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงใด ๆ โปรดอย่าได้หยุดอยู่ที่ตรงนั้น หากท่านได้ให้กำลังใจแก่ตนเอง ท่านสามารถเสริมสร้างแรงจูงใจในการที่จะใช้ศักยภาพของท่านอย่างสร้างสรรค์แทนที่จะปล่อยให้ตัวเองยึดมั่นอยู่กับแนวคิดแบบเดิม ท่านสามารถจะท้าทายแนวคิดเดิมและสามารถที่จะขจัดมันได้ เมื่อท่านได้กระทำสิ่งนี้ ท่านสามารถจะขยายความสามารถ และจะเพิ่มความอิ่มเอิบให้กับประสบการณ์ของท่านมากกว่าที่ท่านเคยคิดจินตนาการไว้มากมาย แทนที่จะตัดความทะเยอทะยานปรารถนาของท่านให้สั้นลง ท่านสามารถที่จะใช้พลังงานของความรู้สึกอันเป็นโทษ และรวบรวมมันให้เป็นพลังที่จะก่อเกิดความเปลี่ยนแปลงที่ดีงามขึ้นได้
 
เมื่อเราได้เห็นว่าเราสามารถเลือกให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้แล้ว เราก็สามารถมองไปในอนาคต ซึ่งหมายถึง การตั้งใจที่จะเคลื่อนไปในอนาคตและเติบโตงอกงามได้อย่างรวดเร็วเหมือนกับที่เราเลือกไว้ การมีความเชื่อมั่นที่จะพัฒนาตนเองให้มีความดีงามขึ้นได้ด้วยตัวเอง จะเป็นตัวอย่างที่ดีงามให้กับผู้อื่นซึ่งอยู่รอบ ๆ ตัว และจะเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีงามเช่นเดียวกัน การเอื้อเฟื้อ การมีส่วนร่วมหรือแบ่งปันประสบการณ์ที่ได้พบจะเป็นทรัพยากรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอันหนึ่งของมนุษยชาติ
 
เมื่อเรายินดีกับการเปลี่ยนแปลง เราจะพบว่าจิตใจของเราเป็นแหล่งอันสร้างสรรค์ซึ่งทำให้เกิดความเบิกบานและความเป็นสุข และร่างกายของเราก็จะเต็มไปด้วยพลัง จิตใจและร่างกายจะเป็นพาหนะอันดีเลิศ มันจะเป็นปีกที่สามารถจะทำได้ เราเหินบินขึ้นไปพบกับความงดงามของชีวิต เราจะพบกับความซาบซึ้งใจว่าเราสามารถใช้จิตใจของเราและร่างกายของเราเพื่อก่อให้เกิดความลึกซึ้งในงานและในสัมพันธภาพกับสรรพสิ่งและในชีวิตของเราเอง
 
พยายามพิจารณาถึงคุณค่าของสิ่งซึ่งทำให้เกิดการพัฒนาเช่น จิตใจอันเปิดกว้างและความยินดีอันอ่อนโยนที่จะเผชิญกับชีวิตอย่างตรงไปตรงมา และความมั่นใจในตนเอง เรามักจะมองชีวิตเหมือนกับมันเป็นศัตรูของเรา แต่หากเราตัดสินใจใหม่เพื่อจะใช้ประโยชน์จากโอกาสต่าง ๆเพื่อเปลี่ยนแปลงตนเองไปในทางที่เป็นประโยชน์มากขึ้น เราจะทำให้ชีวิตของเราอิ่มเอิบและกระปรี้กระเปร่า เราจะพัฒนาความซาบซึ้งใจอย่างแท้จริงในตัวของเราเอง เราจะพัฒนาความรู้สึกดีงามซึ่งจะแผ่ขยายเปล่งประกายอยู่ในการกระทำของเราทั้งหมด เมื่อเราสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นได้ เราสามารถเห็นการเปลี่ยนแปลงซึ่งเกิดขึ้นในตัวเราเองและในผู้อื่นเป็นแรงบันดาลใจอันใหญ่หลวง เมื่อเราให้ความเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกันเพื่อก่อให้เกิดความงอกงาม การงานก็จะราบรื่นและหัวใจของเราก็จะเต็มไปด้วยความปิติสุข@@
 
""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
 
คัดจาก "แห่งการงานอันเบิกบาน"
 
ผู้เขียน : ตาร์ถัง ตุลกู
 
ผู้แปล : โสรีช์ โพธิแก้ว
 
ขอขอบคุณองค์ความรู้ทั้งหมดที่ได้จากหนังสือเล่มนี้
 
"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""


หัวข้อ: Re: "แห่งการงานอันเบิกบาน" : โดย ท่าน ตาร์ถัง ตุลกู ( คัดมาบางส่วน )
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 15 มิถุนายน 2553 20:05:39

 
(http://www.bloggang.com/data/balanceofsociety/picture/1137553276.jpg)
 
 
สมาธิ
 
ความมีสมาธิเปรียบเช่นกับเพชรอันสูงค่า มันเป็นการรวมผลึกของพลังกาย ปัญญา และสัมผัสอันละเอียดอ่อนของเรา เมื่อเราสามารถมีสมาธิอย่างสมบูรณ์ แสงสว่างของความสามารถของเราก็จะกระจ่างขึ้นหลากหลายสีสัน เปล่งรังสีอยู่ในทุก ๆ สิ่งที่เราทำ พลังงานของเราจะอยู่ในภาวะสมดุลและใสสะอาด ซึ่งสามารถเอื้ออำนวยให้เรากระทำกิจกรรมใด ๆ ด้วยความรวดเร็วและสะดวกง่ายดาย และเราสามารถจะทำงานด้วยความเป็นสุขและกระตือรือร้น
 
เมื่อเราพยายามพัฒนาความสามารถในการสำรวมใจเราจะพบคุณภาพอันสร้างสรรค์ ซึ่งทำให้ความรู้สึกตัวของเราคมชัดขึ้น และเพิ่มความรู้สึกซาบซึ้งในสรรพสิ่งให้แก่เราแต่มันไม่ใช่เรื่องง่ายดายเลยที่จะสร้างสมาธิที่ว่านี้ จิตใจของเรามักจะคล้อยตามสิ่งชักจูงใจอื่น ๆ และเรามักจะถูกชักนำให้ห่างออกไปจากงานเฉพาะหน้าได้โดยง่าย สภาพเช่นนี้มีความหมายว่า พลังงานของเราจะแตกซ่านกระจัดกระจายแทนที่จะรวมตัวกันอยู่ในงานที่เรากระทำอยู่นั้น เรามักจะหันเหความสนใจไปสู่สิ่งอื่น ๆ ซึ่งเกิดขึ้นในเวลานั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเรากำลังทำสิ่งซึ่งเราไม่ชอบอยู่
 
เมื่อเรายอมให้อิทธิพลจากภายนอกชักจูงความคิดของเราให้ห่างไปจากสิ่งที่เราทำอยู่ การขาดสมาธิของเราก็จะปรากฏอยู่ในคุณภาพของผลงานที่เรากระทำนั้น ยิ่งเรามีความสำรวมใจในสิ่งที่เราทำน้อยลง ความผิดพลาดของเราก็จะมีมากขึ้นและเราจะทำงานเสร็จช้าลงมากขึ้น และในที่สุดเราจะเกิดความหงุดหงิดขุ่นเคืองใจกับการที่เราไม่สามารถทำงานเสร็จสิ้นลงไปได้ และความหงุดหงิดนี้ก็จะกวนใจเรา เราจะรักษาแรงจูงใจของเราได้ยากขึ้น เราอาจจะหยุดความพยายามก่อนที่จะบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้นั้น เมื่อเวลาของเราสูญไปและงานของเราก็ไม่เสร็จ เราจะเกิดความสงสัยว่า เหตุใดเราจึงไม่มีผลงานปรากฏออกมาจากการกระทำของเราเลย
 
ในการเรียนรู้ที่จะรวบรวมพลังของเรา เราจะมีสมาธิด้วยเราอาจสามารถสร้างสมาธิอย่างนี้ได้ โดยบังคับจิตใจของเราให้มีความใส่ใจ แต่เมื่อเราพยายามบังคับหรือกำหนดความต้องการของเรา มันจะกลายเป็นการต่อสู้กันภายในตัวเราเอง ความรู้สึกที่ว่าเราจะต้องมีสมาธิในการทำงาน ก็จะกลายเป็นสิ่งที่ทำให้กังวลหงุดหงิดและขุ่นเคือง ความกังวลจะก่อให้เกิดความสับสน เราจึงไม่สามารถให้ตนเองมีสมาธิอย่างดีได้
 
แม้ว่าการมีสมาธิจะหมายถึงการรวบรวมพลังงาน มันหาใช่หมายถึงการทำให้จิตใจคับแคบลงไม่ แต่มันหมายถึงการเปิดตนเองให้กับงาน เปิดตนเองให้กับประสบการณ์ และเปิดตนเองให้สัมผัสกับชีวิต ดังนั้น การฝึกสมาธิจะมีประสิทธิภาพอย่างมากทีเดียว เมื่อเราเอื้ออำนวยให้มันเกิดขึ้นมากกว่าที่จะต่อสู้กับตัวเราเองโดยการบังคับ เมื่อเรานำความคิดของเราและจิตใจของเราให้หลั่งไหลไปสู่การทำงานอย่างอ่อนโยนแต่แน่วแน่แทนที่จะมองงานของเราเหมือนเช่นศัตรูที่เราจะต้องเอาชนะ เราจะต้องโอบกอดความท้าทายต่าง ๆ ที่มันก่อให้เกิดขึ้นอย่างนิ่มนวล เมื่อเราทำเช่นนี้เราสามารถรวมพลังงานของเราให้ดำเนินไปในแนวทางที่เบิกบานและปลอดโปร่ง และมันเป็นการง่ายกว่าที่จะดึงอยู่ในงานนั้นจนกว่างานจะเสร็จ เมื่อเรารู้แนวทางดังกล่าวแล้วนี้ เราจะเรียนรู้ที่จะซาบซึ้งแม้ในงานที่เราไม่ชอบทำเลย
 
การเสริมสร้างแนวทางรวมจิตใจให้แก่งาน จะเริ่มต้นด้วยการทำให้เกิดความรู้สึกสงบ ผ่อนคลาย และทำงานทีละอย่าง เมื่อต้องเริ่มต้นทำงานอันดับแรกสุดควรจะนั่งอยู่อย่างเงียบ ๆ สัก 2-3 นาที หายใจช้า ๆ และแผ่วเบาใส่ใจอยู่กับการหายใจของท่าน และสังเกตดูลมหายใจซึ่งไหลเข้าไปในร่างกายแล้วปล่อยระบายออกมา พยายามสัมผัสดื่มด่ำเข้าไปในความรู้สึกของท่าน แล้วให้มันค่อย ๆ ขยายตัวขึ้นสำหรับการวางรากฐานพลังงานของท่านและช่วยสงบจิตใจของท่าน และเมื่อนั้นท่านจะสามารถเริ่มต้นทำงานอย่างสดชื่นและมีชีวิตชีวา
 
ปล่อยให้ความคิดของท่านดำเนินไปอย่างราบรื่นและไม่รีบเร่ง พยายามมองงานของท่านอย่างกว้าง ๆ พิจารณาดูว่าท่านจะทำสิ่งใดก่อน และพิจารณาดูว่าสิ่งที่ท่านต้องการทำให้เสร็จวันนี้มีอะไรบ้าง หลังจากนั้นพยายามใส่ใจกับงานทีละอย่างเริ่มต้นด้วยงานที่เราทำอยู่เป็นประจำ และเตรียมแผนทำมันสร้างเป้าหมายที่แน่นอนให้แก่ตัวเองตลอดจนกำหนดเวลาที่งานนั้นพึงจะเสร็จ หลังจากนั้นก็ทำงานไปอย่างต่อเนื่องทีละขั้นตอนดื่มด่ำอยู่กับมันจนกระทั่งเสร็จ พยายามไม่ให้ความสนใจกับสิ่งซึ่งจะมาหันเหจิตใจของเรา โดยการมีสมาธิอย่างยืดหยุ่นแต่เต็มอิ่มในรายละเอียดแต่ละอย่างของงาน เมื่อความคิดที่ไม่เกี่ยวเนื่องเกิดขึ้น อย่าขัดขวางมัน แต่ปล่อยมันไหลเลื่อนผ่านไป
 
ในขณะที่ท่านทำงาน ให้ใส่ใจอยู่กับคุณภาพของพลังงานของท่าน สังเกตดูว่าท่านกลมกลืนดื่มด่ำอยู่กับสิ่งที่ท่านทำหรือเปล่า หรือว่าท่านใส่ใจมันแต่เพียงส่วนเดียว และท่านกำลังคิดถึงสิ่งอื่น ๆ อยู่ เมื่อความคิดของท่านล่องลอยไป โปรดดึงมันกลับมาอย่างอ่อนโยนสู่งานที่ท่านทำอยู่นั้น เมื่อท่านทำงานของท่านเสร็จ ลองทบทวนดูว่า ท่านได้ทำสิ่งที่ท่านต้องการหรือเปล่า และสังเกตถึงคุณภาพของสมาธิซึ่งท่านใช้ในงาน เมื่อท่านทำงานด้วยวิธีการเช่นนี้ ท่านอาจจะสังเกตเห็นว่าสมาธิของท่านจะไหลต่อเนื่องอย่างธรรมชาติ ตั้งแต่เริ่มต้น และแม้งานซึ่งเราทำอยู่เป็นประจำก็น่าสนใจและมีชีวิตชีวา
 
(http://www.bloggang.com/data/balanceofsociety/picture/1137592380.jpg)
 
เมื่อวิธีการนี้เกิดขึ้นอยู่อย่างสม่ำเสมอจนท่านคุ้นเคยลองนำไปใช้กับกิจกรรมซึ่งซับซ้อนมากขึ้น ท่านจะรู้สึกตื่นตัวและสามารถสัมผัสกับความต้องการของงาน ตลอดจนสามารถจะตระหนักถึงวิธีการใช้พลังงานของท่านเอง ความคิดของท่านจะเป็นระเบียบและระบบมากขึ้น และพลังงานของท่านก็จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และท่านก็สามารถจะจัดลำดับการกระทำของท่านในการทำงานแต่ละอย่างได้ เมื่อท่านสามารถตระเตรียมแผนต่าง ๆ อย่างละเอียดและพยายามบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ท่านจะพบว่าท่านมีสมาธิเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแรงมากขึ้น การเห็นว่าท่านทำอะไรได้บ้างนั้น จะทำให้ความกระตือรือร้นของท่านมีมากขึ้น และบันดาลใจให้ท่านพัฒนาความใส่ใจและความชำนาญมากขึ้น
 
เมื่อเราทราบถึงวิธีการแห่งสมาธิ เราจะเชื่อมั่นในความสามารถของเราในการทำงานให้เสร็จสิ้นสำเร็จลงไป เราจะยอมรับสิ่งท้าทายใหม่ ๆ และยินดีเผชิญกับพันธะต่าง ๆ ด้วยความเต็มใจ เนื่องจากว่าเราไม่สนใจกับสิ่งหันเหความสนใจต่าง ๆ และไม่พยายามหลีกเลี่ยงงานที่จำเป็นต้องทำ การงานของเราจะดำเนินไปอย่างราบรื่น อิ่มเอิบไปด้วยแรงของความใส่ใจอย่างเต็มที่ จุดมุ่งหมายของสิ่งที่เราทำจะชัดเจน เมื่อเราเรียนรู้ที่จะทำงานอย่างดี ความมั่นใจของเราจะเข้ามาแทนที่ความสับสนและความกังวล และสามารถปลดปล่อยพลังงานของเราให้มีอิสระที่จะทำสิ่งที่สร้างสรรคเป็นสุข และนำความสำเร็จมาให้ เราจะพบว่าไม่มีอุปสรรคใด ๆ สามารถขัดขวางเราไม่ให้ไปถึงเป้าหมายได้
 
เมื่อสมาธิของเราเข้มแข็งและลึกซึ้ง ความคิดของเราก็จะเป็นระบบ พลังงานของเราก็จะมีอย่างต่อเนื่อง และเราจะพบว่าความใส่ใจในตัวเองซึ่งเพิ่มขึ้น จะเอื้ออำนวยให้เราสัมผัสได้ลึกซึ้งลงไปในสิ่งที่เราทำ สมาธิจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของเราตลอดเวลาและทุก ๆ แห่ง การเดินเล่นในป่าจะเป็นประสบการณ์ที่สดชื่นและเป็นสุขอย่างแท้จริง เมื่อเรามีสมาธิในรายละเอียดต่าง ๆ เช่น กลิ่นหอมของพื้นดิน แสงแดดอันสดใสบนใบไม้สัมผัสอันละเอียดอ่อนของสายลมซึ่งแผ่วผ่านเส้นผมของเรา เราจะรู้สึกต่อสรรพสิ่งอย่างลึกและชัดเจน สิ่งที่เรารู้สึกจะมีคุณภาพของความลึกซึ้งมากขึ้น และเราจะรู้สึกซาบซึ้งต่อทุก ๆ อย่างที่เกิดขึ้นทุกขณะ
 
เมื่อความรู้สึกตัว ความมีประสิทธิภาพและความสามารถในความรู้สึกซาบซึ้งเพิ่มขึ้น ผู้อื่นรอบตัวเราจะได้รับคุณประโยชน์ด้วย เมื่อการกระทำของเราส่งผลของความสุขให้แก่ผู้อื่น เมื่อเราแบ่งปันการเปลี่ยนแปลงอันดีงามที่เราได้กระทำแก่ผู้อื่น สิ่งนี้จะเป็นเป้าหมายที่ดีที่สุด เมื่อเรามีความเชื่อมั่นในความสามารถของตนที่จะช่วยเหลือผู้อื่นด้วยวิธีการเช่นนี้ ความเชื่อของเราสามารถจะขยายไปครอบคลุมทุก ๆ คนและชีวิตทุก ๆชีวิต@@
 
===============================
 
 
 
คัดจาก "แห่งการงานอันเบิกบาน"
 
ผู้เขียน : ตาร์ถัง ตุลกู
 
ผู้แปล : โสรีช์ โพธิแก้ว
 
ขอขอบคุณองค์ความรู้ทั้งหมดที่ได้จากหนังสือเล่มนี้
 
 
================================


หัวข้อ: Re: "แห่งการงานอันเบิกบาน" : โดย ท่าน ตาร์ถัง ตุลกู ( คัดมาบางส่วน )
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 15 มิถุนายน 2553 20:07:03
(http://www.bloggang.com/data/balanceofsociety/picture/1136742254.jpg)

ลองโยนก้อนหินลงในกระแสน้ำไหล สิ่งที่ท่านจะเห็นได้ก็คือการกระจายวูบหนึ่งของน้ำ แล้วรอยกระจายก็จะถูกกลืนหายไป อะไรได้เกิดขึ้นบ้าง? เมื่อก้อนหินสัมผัสกับผิวน้ำ สิ่งนี้คงยากที่จะบอกได้ แต่หากน้ำอยู่ในสภาพอันสงบและนิ่งเราสามารถจะเห็นการไหวของระลอกคลื่นแผ่ขยายออกไปเป็นวงกว้าง
 
 
 
เมื่อเรารู้สึกสงบ นิ่ง และเปิดกว้างเช่นเดียวกับสระน้ำในป่าเขา คุณภาพของจิตใจภายในจะเด่นออกมาอย่างชัดเจน เราจะรับรู้ตนเองได้ตรงและชัดเจน และสามารถสัมผัสกับสิ่งที่อยู่รอบตัวได้อย่างชัดเจนด้วย พลังงานของเราจะรวมอยู่กลมกลืน ไม่กระจัดกระจาย เราสามารถคิดได้ชัดเจน และเราสามารถจะวางแผนและจัดความคิดของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราจะมีความมั่นใจและมุ่งมั่น เราจะรู้ว่าเราต้องการจะทำอะไร เราจะรู้ว่าอุปสรรคของเราคืออะไร และเราจะรู้วิธีที่จะจัดการกับอุปสรรคนั้น เราจะทำงานด้วยความโปร่งใจแจ่มใส เคลื่อนไปข้างหน้าอย่างราบรื่นกลมกลืนและสอดคล้องกับงาน แทนที่จะปฏิเสธเงื่อนไขของงาน เราจะเต็มใจทำสิ่งที่ควรจะทำ งานของเราจะวางรากฐานอยู่บนโครงสร้างที่แข็งแรงและสดชื่น เต็มไปด้วยความรู้สึกท้าทายและอิ่มเอิบ และผลของการทำงานจะสะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพอันสงบนิ่งเยือกเย็นที่เราใช้ในการทำงาน เราสามารถจะสัมผัสและดื่มด่ำอย่างแท้จริงกับความสุขในการทำงาน และปล่อยให้กระแสแห่งชีวิตผลิบานในทุก ๆ อย่างที่เราทำ
 
 
 
 
 
อย่างไรก็ตาม ความกดดันและความเครียดในชีวิตประจำวันมักจะทำให้ยากแก่การรักษาคุณภาพอันสงบนิ่งและเปิดกว้าง ซึ่งช่วยให้เราได้แสดงสาระอันเป็นธรรมชาติที่ลึกซึ้งของเราออกมา เมื่อเราเกิดความวิตกกังวล ความกลัว ตึงเครียดและหนักใจ การรับรู้ต่าง ๆ จะขุ่นมัวลง และเราจะไม่สามารถเห็นชัดเจนว่าเราต้องทำอะไรบ้าง เราจะเกิดความรู้สึกกระจัดกระจาย ฟุ้งซ่านและขาดประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำให้เราเหนื่อยมากขึ้น เบื่อมากขึ้น และเครียดมากขึ้น ความกังวลและความเครียดจะเข้ามาแทนที่การกระทำซึ่งจำเป็นของเราไปเสีย และทำให้เราใช้พลังงานไปอย่างเปล่าประโยชน์ เราจะพบว่าเราหมกมุ่นกังวลแทนที่จะเผชิญกับงานนั้นโดยการลงมือทำ ความวิตกกังวลจะใช้พลังงานของเรามากจนกระทั่งว่าเราไม่สามารถจะสนองตอบอย่างเหมาะสมและกว้างได้กับประสบการณ์อื่น ๆ ที่เกิดขึ้น จิตใจจะกักขังร่างกายให้อยู่ในความเครียด ซึ่งเป็นการยากมากขึ้นที่จะทำงานอย่างเต็มที่และเป็นสุข เมื่อความวิตกกังวลเข้ามาแทนที่ความสุขในการทำงาน เราจะพบว่าเรามีเนื้อที่น้อยลงสำหรับความสุขสดชื่นในชีวิตและสามารถให้ความสุขกับคนอื่นได้น้อยลง
 
 
 
อย่างไรก็ตาม เราสามารถจะบรรเทาความเครียดหนักของร่างกายและจิตใจได้ โดยการระบายความเครียดหนักซึ่งเป็นอุปสรรคต่อกระแสการไหลอย่างธรรมชาติของพลังงานออกไป การแสดงออกของความเครียดซึ่งปรากฏในทางกายนั้น เราจะเห็นได้ชัดเจนและสามารถจัดการกับมันได้ง่าย เช่น กล้ามเนื้อหน้าตึง ปวดหัวบ่อย ๆ หรืออ่อนเพลียได้ง่ายโดยหาสาเหตุไม่ได้ โดยการสยบความเครียดในร่างกาย เราจะผ่อนคลายความเครียดทางจิตใจได้ด้วย สภาพนี้จะเอื้ออำนวยให้เราได้คิดอย่างชัดเจนและเผชิญกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพและด้วยวิธีการนี้เราสามารถเพิ่มพลังงานของเราและกำหนดมันให้ดำเนินไปในวิถีทางที่เป็นประโยชน์ได้มากขึ้น
 
 
 
เมื่อท่านรู้สึกเครียดและเหนื่อยหน่ายในงาน นั่งลงสักสิบหรือสิบห้านาทีในที่อันเงียบสงบที่ท่านจะไม่ถูกรบกวน และหลับตาลง เผยอริมฝีปากไว้เล็กน้อย เริ่มต้นการหายใจอย่างช้า ๆ และอ่อนโยน ปล่อยให้การหายใจของท่านสงบลง และค่อย ๆ มุ่งความใส่ใจของท่านไปยังความรู้สึกที่เกิดขึ้นในร่างกายของท่าน โปรดอย่าคิดถึงงานของท่านหรือคนที่ท่านทำงานด้วย โปรดทำแค่การสงบผ่อนคลายในร่างกายและความรู้สึกภายในต่าง ๆ เท่านั้น เมื่อท่านสำรวจพบกับส่วนของร่างกายที่ตึงเครียด บางทีอาจะที่หน้าผากหรือด้านหลังของไหล่ ปล่อยให้การหายใจของท่านบรรเทาและสลายความเครียดนั้นลง จนกระทั่งท่านเกิดความสงบและผ่อนคลายอย่างลึกซึ้ง
 
 
(http://www.bloggang.com/data/balanceofsociety/picture/1154493377.jpg)

 
เมื่อท่านกลับไปทำงานอีก ขอให้ท่านเข้าไปอย่างอ่อนโยนและโปร่งใจ หายใจอย่างช้า ๆ และสัมผัสอยู่กับความรู้สึกของท่าน สร้างสมาธิอย่างละมุนละไม รวมความคิดกับความรู้สึกให้ผสมผสานเป็นหนึ่งเดียวกัน ดังนั้นจิตใจและร่างกายจะกลมกลืนกันทำงานในสภาพที่สมดุล เมื่อท่านพูด ให้สัมผัสกับความหมายและความรู้สึกในแต่ละถ้อยคำ และให้น้ำเสียงสุภาพและอ่อนโยน ในแต่ละวันใช้การหายใจอ่อนโยนรักษาคุณภาพของความเบาและสมดุลไว้ให้ได้
 
เราจะมีความสุขในทุกอย่างที่เราทำ เมื่อเรารู้วิธีทำให้งานนั้นเบาและเป็นมิตร แทนที่จะคิดว่ามันเป็นงานหนักและยุ่งยาก งานไม่ใช่จะหนักและเครียดเช่นที่เราคิดเลย มันเป็นอีกแง่หนึ่งของชีวิต เมื่อเรารู้สึกสงบและตื่นตัว เราจะให้อิสระแก่พลังงานเพื่อให้มันทำงานให้แก่เราในทางสร้างสรรค์ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งตัวเราเองและผูอื่นด้วย
 
 
เมื่อเราเข้าสู่ปัญหาของเราอย่างปราศจากความเครียดและความกังวล แรงจูงใจและความตั้งใจของเราจะเพิ่มมากขึ้น พร้อม ๆ กับการเพิ่มขึ้นของความสามารถที่จะเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ เราจะพบว่าเราได้พบวิถีทางอันดีเลิศที่จะทำให้ทุกอย่างที่เราตั้งเป้าหมายไว้เกิดผลสำเร็จ ทั้งการงานและกิจกรรมพักผ่อนอื่น ๆ จะมีคุณภาพของความอ่อนโยนและเป็นสุข เราจะขยายขอบเขตความเข้าใจและแทรกความสามารถของเราลึกลงไปสัมผัสกับสาระของชีวิต เพื่อจะให้สาระนั้นได้หล่อเลี้ยงเอิบอาบตัวเรา เพื่อดื่มด่ำกับความสุขอันแท้จริง ทุกอย่างที่เราทำจะบำรุงชีวิตเราและนำความประทับใจอย่างต่อเนื่องให้เกิดขึ้น
 
 
ความสงบผ่อนคลายจะนำความสมบูรณ์และความสุขให้เกิดในการกระทำต่าง ๆ ของเรา มันจะกระตุ้นปัญญาและเพิ่มพลังให้ร่างกาย การรับรู้ของเราจะชัดเจนและคม และสามารถตอบสนองได้อย่างชัดเจน และยังสามารถซาบซึ้งดื่มด่ำในทุก ๆ เสียง ทุก ๆ ภาพที่เห็นและทุก ๆ กลิ่นที่รับรู้ได้ การเคลื่อนไหวการกระทำและความคิดของเราจะประกาศสาระของความอิ่มเอิบแห่งชีวิต เมื่อเราทำงานและมีชีวิตอยู่อย่างสอดคล้องประสานกับสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ข้าง และกลมกลืนกับงานที่เราทำ เราจะเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นแสวงหาความสงบผ่อนคลายในชีวิตเขาด้วย เขาจะได้เห็นความดีงามในมนุษย์ และการกระทำของเราจะเป็นไปในทางที่สร้างประโยชน์และเพิ่มศักยภาพในทุกผู้คน เพื่อยกระดับสุขภาพและคุณภาพของชีวิต@@
 
--------------------------------------
 
 
คัดจาก "แห่งการงานอันเบิกบาน"
 
ผู้เขียน : ตาร์ถัง ตุลกู
 
ผู้แปล : โสรีช์ โพธิแก้ว
 
ขอขอบคุณองค์ความรู้ทั้งหมดที่ได้จากหนังสือเล่มนี้


หัวข้อ: Re: "แห่งการงานอันเบิกบาน" : โดย ท่าน ตาร์ถัง ตุลกู ( คัดมาบางส่วน )
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 15 มิถุนายน 2553 20:08:32
(http://www.trangzone.com/upload/webboard/4534_0.gif)

 
 
 
 
 
เวลาเป็นเสมือนเพื่อนของเราและผู้ช่วยของเรา เพราะว่ามันเป็นแรงบันดาลใจของสรรพสิ่งซึ่งปรากฏอยู่ในโลกมนุษย์นี้ เวลาได้เอื้อเฟื้อให้สิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้น เวลาเป็นการไหลเลื่อนของปรากฏการณ์ต่าง ๆ และมันเป็นการเปิดประสบการณ์ต่าง ๆ ให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น เวลาให้โอกาสอันมีค่ายิ่งแก่เราที่จะมีชีวิตที่จะพัฒนาและเติบโตงอกงาม และนำให้เรารู้สึกซาบซึ้งในธรรมชาติอันลึกซึ้งของเรา และแม้ว่าในที่สุดเวลาจะหมดไปชีวิตก็จะถึงที่สิ้นสุด และโอกาสต่าง ๆ ก็จะหมดไป แต่อย่างไรก็ตาม เวลานั่นเองที่ช่วยให้ชีวิตเราได้เปิดกว้างขึ้น
 
มันเป็นไปได้ที่ว่า เรามีชีวิตเรื่อยไปโดยปราศจากความเข้าใจในสาระที่แท้จริงแห่งกาลเวลา เพราะเราอาจไม่เคยให้ความสนใจที่แท้จริงแก่คุณค่าของเวลาเลย เรามักจะโยนวินาทีที่มีค่าในชีวิตของเราไปโดยปราศจากการพิจารณาทบทวนอีกครั้งหนึ่ง ความคิดว่าเรายังมีเวลาอยู่เสมอ ทำให้เราผัดผ่อนสิ่งต่าง ๆ เหตุการณ์ต่าง ๆ ไปไว้ในอนาคต หรือบางทีเราก็ให้เวลาของเราแก่ผู้อื่นในการสนทนาที่ไร้ประโยชน์หรือการพูดคุยซึ่งไร้ค่า เราระวังมากในการให้ผู้อื่นยืมเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเราทราบว่าเราจะไม่ไดมันคืน แต่เรากลับเชื่อว่าเรามีเวลาอยู่เสมอที่จะกักตุนเก็บไว้
 
นิสัยแห่งการปล่อยเวลาให้สูญไปได้ถ่ายทอดจากพ่อแม่มายังเด็ก จากครูมายังนักเรียน จากเพื่อนมายังเพื่อน เราไม่เคยถูกสอนให้รู้จักคุณค่าอันแท้จริงของเวลา เพื่อสามารถจะใช้มันอย่างมีประสิทธิภาพอย่างเต็มที่เลย เรามักปล่อยให้เวลาของเราเลื่อนไหลไป ให้ความคิดของเราเลื่อนลอยไป เราขาดสำนึกถึงทิศทางและเป้าหมายอันชัดเจน เราจพบว่ามันเป็นการยากที่จะทำอะไรให้สำเร็จมาก ๆ เมื่อภาวะจิตใจเป็นอย่างที่เป็นอยู่นี้ และผลที่เกิดขึ้นก็คือว่า ความงอกงามของเราเป็นไปอย่างล่าช้าและผิดพลาด หากเราพยายามทบทวนสิ่งที่เราได้กระทำไป ความทรงจำของเราก็ไม่กระจ่างชัดเจน มันดูเหมือนว่าเราได้ทำอะไรไป แต่มันเป็นการยากที่จะจำเพาะเจาะจงลงไปว่า สิ่งที่เราทำสำเร็จนั้นได้แก่อะไรบ้าง สิ่งที่ละเอียดอ่อนแผ่วบางก็คือ ความสำนึกอันฝ้ามัวซึ่งเราใช้ชีวิตทั้งชีวิตดำเนินไป จุดสุดท้ายของชีวิตใกล้เข้ามา เวลาของเราก็หมดไป แล้วเราก็ไม่รู้ว่าเราจะไปทางไหนกัน
 
ความไม่สำนึกว่าเวลากำลังผ่านเราไปเป็นสิ่งที่น่าตระหนกอย่างยิ่ง ชีวิตของเรามักจะรีบเร่งร้อนรน เราถูกปกครองโดยเวลา ถูกโน้มน้าวด้วยความกดดันของเวลา และพยายามดิ้นรนเพื่อให้ถึงเวลาที่กำหนดไว้ เรารีบร้อนทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้เสร็จและมุ่งไปสู่สิ่งอื่นก่อนที่สิ่งแรกนั้นจะเสร็จด้วยซ้ำไป การเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วนี้ ทำให้เราขาดเวลาสำหรับความสุขที่แห้จริงสำหรับการที่จะดื่มด่ำลึกซึ้งกับคุณค่าและเป้าหมายของชีวิต แม้ว่าเราจะทำงานเป็นเวลาหลายชั่วโมงในวันวันหนึ่ง แต่เมื่อเรามิได้ทำงานอย่างกลมกลืนกับการเคลื่อนไหวของเวลา เราก็จะพบว่าเรามีสิ่งที่พอใจเล็กน้อยเหลือเกิน
 
เมื่อเวลาสูญเสียไป มันก็เหมือนกับการที่เราตัดไข่มุกออกจากสร้อยมุกทีละเม็ด แล้วปามันทิ้งไป แต่เมื่อเราใช้เวลาอย่างเหมาะสมทุก ๆ นาที จะเพิ่มเพชรซึ่งมีประกายงดงามเสริมสร้างความงดงามของชีวิต เนื่องจากเวลาคือชีวิต มันจึงมีค่าเหลือเกินที่เราต้องรู้รักษามัน ไม่มีเวลาไหนที่จะเกิดขึ้นซ้ำได้อีก ไม่มีประสบการณ์ไหนจะสามารถสร้างขึ้นได้อีก ทุก ๆ วินาทีจะมีลักษณะเฉพาะตัวของมัน มันเป็นของขวัญซึ่งควรจะได้รับการชื่นชมและใช้อย่างทะนุถนอม ชีวิตเป็นสิ่งซึ่งมีค่าอันประมาณมิได้ และถ้าเราทำร้ายมันด้วยการใช้เวลาอย่างไม่เหมาะสมเราจะสูญเสียคุณค่าแห่งโอกาสต่าง ๆ ซึ่งหาได้ยากเหลือเกิน
 

(http://www.oceansmile.com/Photo/N/Umphang16Oct46/013.JPG)

 
 
เมื่อเราเข้าใจว่า โดยแท้จริงแล้ว เวลาก็คือชีวิต เราจะเริ่มต้นสังเกตการใช้เวลาอย่างใกล้ชิดชัดเจนมากขึ้นและเรียนรู้ที่จะใช้มันอย่างฉลาด โดยการใส่ใจอย่างละเอียดถี่ถ้วนกับทุก ๆ ขณะ กับทุก ๆ วินาที เราสามารถใช้ทุก ๆ วินาทีซึ่งไหลอย่างต่อเนื่องกัน มุ่งไปสู่เป้าหมายของเรา และสามารถจะนำความรู้สึกอันอิ่มเอิบในความสำเร็จมาสู่ชีวิตของเราได้
 
เราพบว่า การใช้เวลาให้เป็นประโยชน์นั้นต้องการการจัดการหรือระบบอันถูกต้องเหมาะสม เราจะต้องดำเนินไปข้างหน้าอย่างระมัดระวังทีละขั้นตอน ใช้วินาทีแต่ละวินาทีด้วยความซาบซึ้งก่อนก่อนที่จะเลื่อนไปข้างหน้าอีก ช่างไม้มิได้สร้างบ้านโดยการติดตั้งฝาผนังและหลังคา ติดตั้งหน้าต่างที่นี่และที่โน่นในทันที เขาจะเริ่มต้นกำหนดโครงสร้างและดำเนินการไปอย่างระมัดระวังในรายละเอียดแต่ละอย่าง เขาจะเริ่มต้นสร้างตั้งแต่ฐานขึ้นไป เขาจะพิจารณาตะปูแต่ละตัว ฝาแต่ละด้าน และอิฐทีละก้อน การใช้เวลาอย่างถูกต้องก็คือกระบวนการอันเดียวกันแต่ละนาทีจะเป็นส่วนสำคัญที่สุดของงานเฉพาะหน้านั้น และจะต้องได้รับการพิจารณาอย่างระมัดระวังเพื่อจะผสมผสานมันเข้ากับโครงสร้างใหญ่
 
 
ช่างไม้ซึ่งไม่ละเอียดกับรายละเอียดในงาน ซึ่งอาจจะเอาตะปูดี ๆ ทิ้งไป ทิ้งเสาไว้เกะกะ ทำประตูฝืดและเปิดยาก และปูพื้นเป็นคลื่น ๆ ก่อให้เกิดเสียงเอี๊ยดอ๊าดเวลาเดิน ช่างไม้เช่นนี้อาจจะถูกเรียกว่าคนโกง และเมื่อเราไม่สามารถควบคุมเวลาและปล่อยให้มันเลื่อนไหลไป เราจะร้ายยิ่งกว่าช่างไม้นั้นอีก เพราะไม่เพียงแต่งานของเราเท่านั้นที่ได้รับการกระทบกระเทือนแต่เราใช้ชีวิตต่ำกว่าระดับที่สามารถเป็นได้ เราโกงตัวเราเอง ชีวิตมีความเบิกบานเป็นอย่างยิ่ง และมันไม่น่าสูญเสียไปโดยการขาดความดูแลทะนุถนอม
 
 
ในการเริ่มพิจารณาการใช้เวลาของท่าน ขอให้ท่านทบทวนย้อนหลังไปในเดือนที่ผ่านมาอย่างระมัดระวังอย่างระมัดระวัง ขอให้สังเกตว่า ท่านได้ใช้เวลาของท่านอย่างไรในการที่จะพัฒนาความสำนึกถึงคุณค่าของแต่ละขณะจิตที่ผ่านไป จากนั้นสังเกตดูซิว่า ท่านได้ใช้แต่ละสัปดาห์ แต่ละวัน แต่ละชั่วโมงอย่างไรบ้าง หากท่านไม่สามารถจะติดตามเวลาทั้งหมดได้ ขอให้ท่านพยายามพัฒนาความใส่ใจในการใช้เวลาของท่านในขณะนี้
 
 
เมื่อท่านเรียนรู้วิธีกำหนดเวลาอย่างละเอียด เวลาก็ดูเหมือนว่ามีมากขึ้น ท่านจะทำงานได้เร็วขึ้น และความเร็วนั้นก็ให้คุณภาพที่ดีเยี่ยมอยู่ด้วย จังหวะในการทำงานก็ราบรื่นและกลมกลืนต่อเนื่องไม่หยุดชะงักหรือไม่รีบเร่ง งานจะดำเนินไปได้อย่างรวดเร็ว เพราะจัดระบบที่ดีและวินาทีซึ่งมีอยู่นั้นได้ถูกใช้อย่างเต็มที่และมีค่า เพราะท่านรู้ว่าทิศทางของท่านจะไปทางไหน ท่านก็สามารถคาดคะเนผลของงานท่านได้ และท่านจะมีความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเองที่จะทำสิ่งใดได้สำเร็จมากขึ้น
 
 
หากเราถูกสอนเรื่องการใช้เวลาอย่างถูกต้องตั้งแต่วัยเด็ก จะมีสิ่งต่าง ๆ มากมายที่เราได้กระทำสำเร็จไปแล้ว ความสำเร็จจะไม่เกิดขึ้นด้วยเหตุบังเอิญ หรือเป็นเรื่องของโชค แต่ความสำเร็จจะอยู่ในที่ซึ่งทุกคนสามารถเอื้อมถึง เมื่อเรายินยอมให้เวลาช่วยยกระดับภารกิจของเราความงอกงามและประสบการณ์อันอิ่มเอิบก็จะแผ่ขยายกว้างขวางออกไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด "ขอให้โชคดีนะ" มักจะเป็นการพูดปกติทั่ว ๆ ไป แต่เรามักจะพลาดจากความหมายที่แท้จริงของมัน อันหมายถึงการทำงานอย่างเต็มเปี่ยมด้วยประสิทธิภาพ หมายถึงการเติบโตงอกงามภายในจิตใจ และหมายถึงการแสวงหาความสุขที่แท้จริงในชีวิตของเรา
 
 
เมื่อเราสามารถควบคุมการใช้เวลาของเราเอง เราก็สามารถจะเป็นสุขกับงานที่ทำและทำมันได้อย่างดี และเราก็สามารถเป็นสุขกับกิจกรรมอื่น ๆ ได้อย่างเต็มที่มากขึ้น ความสำนึกอย่างเข้มข้นชัดเจนในเรื่องของเวลาจะช่วยให้เราสามารถมีความรู้สึกซาบซึ้งอย่างลึกซึ้ง ชัดเจน กับสรรพสิ่งรอบ ๆ ตัวของเราด้วย พลังงานของเราจะเพิ่มมากขึ้น และเราสามารถจะแบ่งปันพลังงานนี้แก่ผู้อื่น ช่วยเหลือผู้อื่นให้ได้เรียนรู้และงอกงาม เราจะรู้สึกว่าเราเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ซึ่งก็จะทำให้เรารู้สึกว่างานของเราและชีวิตของเรามีค่ามากขึ้น เมื่อเราสามารถซาบซึ้งกับคุณค่าของเวลา และสามารถกำหนดโครงสร้างชีวิตของเราอย่างชัดเจน เราก็จะสัมผัสกับแหล่งอันลึกซึ้งที่สุดของศักยภาพมนุษย์@@
 
"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
 
คัดจาก "แห่งการงานอันเบิกบาน"
 
ผู้เขียน : ตาร์ถัง ตุลกู
 
ผู้แปล : โสรีช์ โพธิแก้ว
 
ขอขอบคุณองค์ความรู้ทั้งหมดที่ได้จากหนังสือเล่มนี้


หัวข้อ: Re: "แห่งการงานอันเบิกบาน" : โดย ท่าน ตาร์ถัง ตุลกู ( คัดมาบางส่วน )
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 15 มิถุนายน 2553 20:09:21
(http://www.bloggang.com/data/takra/picture/1125375878.jpg)

 
เราแต่ละคนจะมีประสบการณ์ว่า ในหลาย ๆ ครั้ง เมื่อเราทุ่มเทตนเองทั้งหมดให้กับสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ จนสิ่งซึ่งมีความหมายที่สุดในขณะนั้นก็ได้แก่สิ่งที่เรากำลังทำอยู่นั้น ความคิดจากภายนอก ความเคลื่อนไหวเล็ก ๆ น้อย ๆ และความรบกวนเล็ก ๆ น้อย ๆ จะผ่านไปโดยที่เราไม่ให้ความสนใจเลย ความสนใจของเราทั้งหมดจะทุ่มเทอย่างเต็มที่กับแต่ละขั้นตอนของการทำงาน ชีวิตของเราทั้งหมดจะทุ่มเทให้แก่กระแสแห่งการทำงานให้สำเร็จ ในเวลาเช่นนี้เป้าหมายของเราจะเด่นและชัดเจน แต่สิ่งที่เราต้องการทำเพื่อจะบรรลุเป้าหมายนั้นจะชัดเจนด้วย

เมื่อเราเสร็จการทำงานเช่นนี้ ผลของงานนั้นก็จะแสดงให้เห็นถึงความชัดเจนและความลึกซึ้งของการที่เราได้เข้าไปร่วมกับมัน และเราจะเบิกบานด้วยความสุขอันเกิดจากความสำเร็จ และความสุขนี้จะทำให้เรามีความมั่นใจในตัวเราเองมากขึ้น ความสุขที่เกิดขึ้นจะอยู่กับเรา จะให้กำลังใจแก่เรา จะจูงใจให้เราทำงานต่อไปในลักษณะเดียวกัน และยังสนับสนุนคุณภาพอันดีงามให้เกิดขึ้นอีกในงานอื่น ๆ ของเราด้วย

นี่คือการทำงานด้วยหัวใจ และเราแต่ละคนสามารถทำงานในลักษณะเช่นนี้ได้ เราจะเสริมสร้างคุณภาพนี้ได้ ด้วยการเปิดตัวเราให้กว้างเต็มที่ต่อสิ่งซึ่งอยู่ข้างหน้าเรา ยอมรับความต้องการของงานที่มีต่อเราด้วยความเต็มใจ ด้วยความเป็นสุข พลังงานอันอ่อนโยนของเราจะประคองเราให้ผ่านงานนั้นไปด้วยความมั่นใจ และจะเป็นแรงดลใจให้แก่ผู้อื่นซึ่งทำงานกับเราได้อีก การทำงานด้วยลักษณะเช่นนี้ก่อให้เกิดความสุขอย่างลึกซึ้ง แต่อะไรที่ขัดขวางเราไม่ให้ทำงานเช่นนี้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา

 
เมื่อเราเริ่มทำสิ่งใหม่ เรามักจะคาดว่าอุปสรรคต่าง ๆย่อมเกิดขึ้นได้ และเรามักจะคิดถึงข้อจำกัดหรือจุดอ่อนซึ่งเราต้องเผชิญ จุดอ่อนนั้นอาจจะจากตัวของเราเองหรือจากผู้อื่น แม้ว่าเรามีความกระตือรือร้นในงานแต่เราก็จะรู้สึกถูกบีบคั้นความรู้สึกกลัวว่าเราจะทำไม่สำเร็จจะซ่อนเร้นอยู่ภายใน ความกลัวนี้เองที่ขัดขวางการเลื่อนไหลอย่างอิสละของพลังงานและขัดขวางเราไม่ให้ซาบซึ้งกับคุณค่าของงานที่เราทำ

เนื่องจากเราไม่ให้พลังงานทั้งหมดแก่งานของเรา เราได้ทำลายความรู้สึกที่จะทำงานเต็มที่ไปเสีย เราจะพบว่าเราจะหยุดงานบ่อย ๆ เพื่อจะไปหาอะไรรับประทาน เพื่อจะไปหยิบเครื่องมือ เพื่อจะดื่มน้ำ หรือเพื่อจะไปเตือนผู้อื่นในเรื่องบางเรื่องแม้ว่าเราจะรู้ว่าสิ่งเหล่านี้ไม่จำเป็น แต่เราจะยังคงหันเหตนเองไปจากงานที่เราทำอยู่ เมื่อเราทำงานได้ล่าช้า เราก็พยายามจะหาทางที่เร็วที่สุดเพื่อทำให้มันเสร็จเพียงให้มันผ่านพ้นไปเสีย

(http://www.hamanan.com/tour/nakhonnayok/klongsibha/dsc7181.jpg)

เมื่อเราแสวงหาวิธีการที่ง่ายที่สุด เราก็จะทำสิ่งที่พึงกระทำได้เพียงอย่างหรือสองอย่าง แต่จะใช้พลังงานไปแสวงหาข้อแก้ตัวต่าง ๆ แทนที่จะใช้พลังงานนั้นในการทำงาน เนื่องจากเราให้ความสนใจต่องานแค่ส่วนเดียวเท่านั้น เราจะมีความผิดพลาดบ่อย ๆ เข้าใจคำสั่งไม่ถูกต้อง ทำงานไม่เสร็จตามกำหนด เมื่อเรารู้สึกว่าทำงานได้ไม่ดี เราจะรู้สึกผิด และความรู้สึกผิดนี้เองที่จะครอบงำทุกอย่างที่เราทำ หากผู้อื่นวิจารณ์เรา ถามเราถึงผลงานที่เกิดขึ้น เราก็อาจจะแก้ตัวมากขึ้น เพื่อปกป้องความผิดพลาดของเรา

เมื่อเรามีความสัมพันธ์ในลักษณะเช่นนี้กับงาน เราจะให้ความสนใจเพียงเล็กน้อยกับเวลาและพลังงานซึ่งเราใช้ไป ดังนั้นจึงไม่สามารถจะดื่มด่ำซาบซึ้งในประสบการณ์อันมีค่าซึ่งงานได้ให้แก่เรา งานจึงกลายเป็นหน้าที่ซึ่งเราทำอย่างไม่มีความสุข อย่างหงุดหงิดและไม่เป็นสุข เวลาจะเป็นน้ำหนักกดเราไว้ และเราจะสังเกตดูนาฬิกาเพื่อหวังจะให้มันหมดเวลาเร็ว ๆ ความสนใจของเราจะล่องลอยไป และการทำงานก็จะถูกแทนที่ด้วยสิ่งอื่น หรือถูกผัดผ่อนจนกระทั่งมันถูกลืม

 
เมื่อเราไม่ให้พลังงานทั้งหมดแก่งาน ชีวิตของเราจะถูกกระทบกระเทือน ตาของเรา เสียงของเรา หรือการเคลื่อนไหวของเราจะบอกผู้อื่นว่าเรากักขังตัวเราเองไว้ แรงจูงใจของเราไม่คงที่ และคุณภาพต่าง ๆ ซึ่งจำเป็นในการทำงาน ประสิทธิภาพในการทำงาน การสร้างสรรค์ในการทำงาน และความรู้สึกเบิกบานของเราจะถูกรบกวนด้วย เมื่อเราไม่ใช้พลังงานของเราอย่างเต็มที่ เราจะพบว่าความมุ่งมั่นในสิ่งที่ตั้งใจนั้นเป็นไปได้ยาก หรือแม้กระทั่งความรับผิดชอบในผลของงานก็ลดน้อยลง

 
 
เราอาจเชื่อว่าชีวิตคงจะมีความสุขมากกว่านี้ ถ้าเราไม่ต้องทำงานหนัก หรือหากเรามีเวลาว่างมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม แหล่งซึ่งก่อให้เกิดความไม่พอใจหรือหงุดหงิดนั้น ได้แก่การที่เราไม่ทุ่มเทอย่างเต็มที่แก่งานที่เรากำลังทำอยู่นั้น เมื่อเราไม่ทุ่มเททำงานด้วยหัวใจ เราจะขัดขวางพลังงานของเราเอง เราจะขัดขวางความสนใจของเราเอง และเราจะขัดขวางความใส่ใจของเราซึ่งเป็นคุณภาพที่ทำให้ชีวิตมีความกระปรี้กระเปร่าสดชื่น เราอาจจะยินยอมอย่างเฉื่อยชาเพื่อให้ชีวิตของเราทั้งหมดเลื่อนไหลไป มีความสำเร็จแต่เพียงเล็กน้อย มีความชำนาญอย่างแท้จริงแต่เพียงเล็กน้อย เปลี่ยนงานบ่อย ๆ กล่าวโดยสั้น ๆ ก็คือว่า เราปล่อยให้ชีวิตดำเนินผ่านไปโดยไม่มีความสุขอย่างลึกซึ้งจากการใช้พลังงานของเราทำงานอย่างเต็มที่เลย

เมื่อใดก็ตามที่ท่านรู้สึกว่าไม่เป็นสุขกับงานของท่าน ท่านอาจจะถือได้ว่ามันเครื่องหมายที่จะบอกแก่ท่านว่า ท่านไม่ได้ทำงานด้วยหัวใจ งานของท่านดูเหมือนว่าจะไม่สมบูรณ์พยายามวิเคราะห์สภาพที่เกิดขึ้น ท่านได้กำหนดเป้าหมายไว้ชัดเจนหรือไม่ และท่านได้กำหนดสิ่งซึ่งจะต้องทำเพื่อบรรลุเป้าหมายนั้นชัดเจนหรือเปล่า ท่านได้ทำในสิ่งซึ่งจะต้องทำเพื่อบรรลุเป้าหมายนั้นชัดเจนหรือเปล่า ท่านได้ทำในสิ่งซึ่งจะต้องทำหรือไม่ หรือว่าท่านผัดผ่อนงาน หรือเร่งให้มันเสร็จโดยเร็วที่สุด ท่านมัวแต่สนใจสิ่งอื่น ๆ หรือไม่ หรือว่าท่านได้ทุ่มเทพลังงานทั้งหมดให้แก่งานของท่าน ท่านตระหนักถึงวิธีการที่ท่านใช้เวลาหรือเปล่า

เมื่อท่านสังเกตตนเองตามแนวต่าง เหล่านี้ ท่านจะเริ่มเข้าใจทัศนคติที่มีต่องาน เมื่อท่านมองเห็นงานและสิ่งที่มันต้องการอย่างชัดเจน ท่านก็จะเริ่มใส่ใจและทุ่มเทกำลังใจให้งานมากขึ้น

การตระหนักถึงวิธีการทำงานและวิธีการที่เรามีความสัมพันธ์กับผู้อื่น และการมีความชัดเจนในการใช้พลังงานของตนเอง สามารถนำให้เรามีชีวิตที่มีความหมายและลึกซึ้ง เมื่อเราเผชิญกับปัญหาหรือข้อผิดพลาดต่าง ๆ ในขณะที่เรามีพลังงานอยู่เต็มที่ และมีความมุ่งมั่นที่จะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เราสามารถจะอาศัยโอกาสที่เราเผชิญอยู่นี้เป็นแนวทางสำหรับจะสร้างความงอกงามให้เกิดขึ้นแก่ตน หากเรากลมกลืนตัวเราเองกับสิ่งซึ่งเราทำ และเราเรียนรู้ที่จะให้คุณค่ากับความก้าวหน้าที่ละขั้นตอนพอ ๆ กับผลซึ่งจะเกิดขึ้น เราจะรู้จักกับความสุขซึ่งเกิดขึ้นจากการทำงานอย่างถูกต้องและแท้จริง

(http://www.thaimtb.com/webboard/188/94081-171.jpg)

การทำงานจากหัวใจ คือการทำงานอย่างเต็มหัวใจ ด้วยความสนใจของเราทั้งหมด ด้วยพลังงานของเราทั้งหมดทุ่มเทให้แก่มัน เราสามารถใส่ใจในงานอย่างเต็มที่และให้หัวใจของเราแก่งานทั้งหมด ผลที่เกิดขึ้นจะน่าพอใจ เมื่อเราทำงานด้วยลักษณะเช่นนี้ เรายินดีเผชิญกับการท้าทายซึ่งแต่ละงานได้เรียกร้องจากเรา และเรายินดีเผชิญกับมันอย่างเปิดกว้างและเต็มใจ เราสามารถเอาชนะอุปสรรคที่เราสร้างขึ้นซึ่งขัดขวางความก้าวหน้าของเรา มันไม่มีเหตุผลใด ๆ เลยที่เราจะต้องกลัวความผิดพลาด เพราะเมื่อเราเปิดใจกว้าง และใช้พลังงานของเราอย่างเต็มที่ เราจะประสบผลสำเร็จอย่างแน่นอน แม้ว่าเราจะไม่บรรลุเป้าหมายที่เราตั้งไว้ แต่เมื่อเราทำงานด้วยหัวใจของเรา เราก็จะสัมผัสกับความสุขจากการที่ได้ใช้กำลังงานของเราอย่างเต็มที่

เราได้ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีอยู่ทั้งทางด้านวัสดุ ทั้งทางด้านกำลังคน สติปัญญา เวลา ความใส่ใจ และความรู้สึกของเราอยู่แล้ว เราไม่ต้องเร่งเร้าการกระทำของเราหรือกระตุ้นความคิดแก้ปัญหาอีก สิ่งเหล่านี้อาจจะช่วยในงานบางอย่าง แต่การทำงานด้วยหัวใจจะต้องประกอบไปด้วยการทุ่มเททั้งหมดของความคิด ของหัวใจ ของพลังงาน และของความใส่ใจ

เมื่อเราทำงานด้วยหัวใจ ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจะมิใช่อุปสรรคใหญ่เลย เราจะให้คุณค่าอย่างลึกซึ้งแก่งานและผลของงานนั้น และทุกอย่างที่เราทำจะน่าสนใจอย่างแท้จริง เมื่อเราทำงานแต่ละขั้นได้สำเร็จลงไป เราก็จะพบว่างานของเรามีคุณค่ามากขึ้น เราจะกลมกลืนอยู่กับความก้าวหน้าและความสำเร็จ ซึ่งเกิดขึ้นจากการท้าทายซึ่งงานได้เรียกร้องจากเรา

 
แทนที่จะหลีกเลี่ยงการทำงาน เราจะหลีกสิ่งซึ่งดึงดูดความสนใจของเราไปจากงาน ความคาดหวังและความกระตือรือร้นจะให้สีสันแก่ทุกขณะ และจะผสมผสานชีวิตของเราเข้ากับความเบิกบานอันโปร่งใจ ทุกสิ่งที่เราทำจะสะท้อนให้เห็นถึงความใส่ใจและความทุ่มเทของเราที่มีต่องาน และผลงานที่เกิดขึ้นจะให้ความสุขอย่างลึกซึ้ง งานจะสมบูรณ์เต็มที่เมื่อเราทำงานด้วยหัวใจของเรา เมื่อเราใช้แหล่งของการสร้างสรรค์ แหล่งของความถี่ถ้วนชัดเจน และแหล่งของความหมายแห่งชีวิตอย่างเต็มที่@@

(http://www.bemyphoto.com/webboard/photo/61896189.jpg)

 
................................................

 
คัดจาก "แห่งการงานอันเบิกบาน"

ผู้เขียน : ตาร์ถัง ตุลกู

ผู้แปล : โสรีช์ โพธิแก้ว

ขอขอบคุณองค์ความรู้ทั้งหมดที่ได้จากหนังสือเล่มนี้



หัวข้อ: Re: "แห่งการงานอันเบิกบาน" : โดย ท่าน ตาร์ถัง ตุลกู ( คัดมาบางส่วน )
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 15 มิถุนายน 2553 20:09:56
(http://www.matichon.co.th/news-photo/prachachat/2009/01/hmc03120152p1.jpg)
 
จากประชาชาติธุรกิจ
 
แห่งการงานอันเบิกบาน
 
คอลัมน์ book is captital
 
 
ปี นี้อาจจะเป็นอีกปีหนึ่งที่เหล่ามนุษย์เงินเดือนต้องให้กำลังใจกันและกัน บ่อยๆ เพื่อปลุกเร้าให้ทุกชีวิตสามารถฝ่าฟันจนองค์กรรอดพ้นจากวิกฤตที่คาดว่าจะ ถาโถมเข้าใส่อย่างรุนแรง
 
ก็ขอแนะนำให้อ่านหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ "แห่งการงานอันเบิกบาน" หรือ Skillful Means เขียนโดย ตาร์ถัง ตุลกู แปลเป็นภาษาไทยโดย โสรีช์ โพธิแก้ว
 
ตาร์ถัง ตุลกู ชี้ว่า หากเราเริ่มมอง ภาพแห่งตนอย่างชัดเจน เราจะเห็นว่ามันผูกพันกับชีวิตของเราอย่างไร เราสามารถจะมองเห็นชีวิตของเราอย่างซื่อตรง และเรียนรู้ที่จะเข้าใจและยอมรับทุกอย่างที่เป็นตัวเอง ยอมรับข้อบกพร่องและข้อดีเด่น ของเรา
 
"การมองข้อดีและข้อบกพร่องของ ตัวเองด้วยความชัดเจนจะช่วยทำให้เกิดความมั่นใจเพิ่มขึ้น การสำนึกในตนจะกลายเป็นแหล่งของความเข้มแข็งในการทำงานและการดำเนินชีวิต และความสำนึกในตนนั้นจะเป็นรากฐานสำหรับจะยืนอยู่ได้อย่างมั่นคง"
 
ในเรื่องของกำลังใจในการทำงานนั้น แม้ว่ากำลังใจจากผู้อื่นจะช่วยเหลือเราได้มาก แต่ที่สำคัญยิ่งกว่าคือกำลังใจที่เรา ให้แก่ตัวเอง
 
"เมื่อเราอยู่กับตัวเราอย่างที่เป็นจริง เราจะเกิดความมั่นใจ"
 
เช่นเดียวกับความร่วมมือก็เป็นเรื่องที่สำคัญ
 
" เมื่อเราแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์กับเพื่อนร่วมงานของเรา เขาก็จะมีกำลังใจกระทำสิ่งที่ดีงาม และพัฒนาความสามารถของตนเองมากขึ้น งานจะปลอดโปร่งและมีประสิทธิภาพ"
 
เมื่อเราสื่อสารกันอย่างชัดเจนและ ให้ข้อคิดซึ่งกันและกันอย่างซื่อตรง และเราช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการแสดงความคิดเห็นและตัดสินใจ เราจะรู้สึกว่ามีสายใยเกิดขึ้นระหว่างเรากับ ผู้อื่น
 
"คุณภาพของ ทุกอย่างจะยกระดับขึ้นเมื่อเรามีความรักให้ผู้อื่น เมื่อเราปล่อยวางความคิดที่ผูกพันอยู่กับตนเอง เมื่อเราทำงานด้วยจิตใจเปิดกว้างและกลมกลืน กับผู้อื่น เราก็จะรู้สึกถึงความเบิกบานและความเป็นสุขอย่างลึกซึ้งในสายสัมพันธ์นั้น ความงอกงามของเราจะเพิ่มขึ้นด้วยทรรศนะที่เปิดกว้างของตัวเอง"
 
หนังสือเล่มนี้มีบางแง่มุมสำหรับนำไปปรับใช้เพื่ออยู่รอดในสังคม แม้ว่าวิกฤตที่ถาโถมเข้าใส่จะหนักหน่วงสักปานใดก็ตาม
 
"""""""""""""""""""""""""""""""""""
 
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=balanceofsociety&month=01-2009&date=11&group=1&gblog=48 (http://"http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=balanceofsociety&month=01-2009&date=11&group=1&gblog=48")


อีก 2 เล่มของท่านตาถัง ชื่อว่า
ดุลยภาพแห่งชีวิต ( การฝึกจิต สู่ความ เบิกบานในชีวิต )
กับ พลังรักษจิต ( อภิญญา กับ เยียวยาดวงจิต )