[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สยาม ในอดีต => ข้อความที่เริ่มโดย: 【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪ ที่ 29 มีนาคม 2555 11:32:16



หัวข้อ: รวมเด็ด เกร็ดสยาม
เริ่มหัวข้อโดย: 【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪ ที่ 29 มีนาคม 2555 11:32:16
รวมเด็ด เกร็ดสยาม
หลากหลายเรื่องราวที่คุณอาจไม่เคยรู้
เกร็ดประวัติศาสตร์แห่งชาวสยาม



ความหมายโดยนัยของบัลลังก์ว่าราชการ

(http://www.weekendhobby.com/offroad/bpboard/picture/2412254812553.jpg)

ใครเคยไปเมืองโบราณ หรือแม้แต่กองถ่ายภาพยนตร์ตำนานสมเด็จพระนเรศของท่านมุ้ยบ้าง
ถ้าเคย คงจะจำกันได้ว่า บัลลังก์ที่ทำจำลองขึ้นมาสวยงามขนาดไหน แต่ในเมื่อขึ้นชื่อว่า
เป็นของบ้านพี่ไทยแล้ว ทุกชิ้นย่อมมีความหมาย

เริ่มต้นจากภาพรวม บัลลังก์กษัตริย์เป็นการจำลองจักรวาล และแน่นอน จักรวาลในสมัยโบราณ
ย่อมหมายถึงเขาพระสุเมรุ ลำดับขั้น ชั้นต่างๆของสิ่งที่ประดับบัลลังก์แทนสวรรค์ชั้นต่างๆ
ชั้นที่เป็นครุฑ แทนวิมานฉิมพลี ส่วนชั้นล่างสุดที่เป็นคชสีห์ คชสาร ราชสีห์ รวมทั้งขาสิงห์ แทนป่าหิมพานต์
สุดท้าย ต้นไม้เงินต้นไม้ทองจากเหล่าอาณาประเทศราช แทนต้นไม้ในป่าหิมพานต์ค่ะ
ความหมายของการส่งต้นไม้เงินต้นไม้ทอง นอกจาแสดงความอ่อนน้อมต่อเจ้าประเทศราชแล้ว
ยังหมายความถึงการยอมรับสถานภาพของราชาและของตนเอง และยอมรับว่า
ตนมีค่าเป็นเพียงต้นไม้ประดับป่าเท่านั้น

ความหมายเหล่านี้ ทั้งทางอโยธยา หงสา ล้านนา ล้านช้าง ล้วนมีความหมายใกล้เคียงกัน
อาจจะแตกต่างไปบ้างในตัวรูปแบบของศิลปะในแต่ละพื้นที่ แต่เนื้อหาโดยรวมแล้วล้วนมาจากจุดเดียวกัน

** ภาพสีหาสนบัลลังก์ หรือบัลลังก์สิงห์ข้างต้นเป็นบัลลังก์ของพระเจ้าบุเรงนอง ถ่ายจากท้องพระโรงในพระราชวังบุเรงนอง

ขอขอบคุณที่มาของภาพจาก : ที่นี่ (http://www.weekendhobby.com/offroad/bpboard/question.asp?page=2&ID=808)


หัวข้อ: Re: รวมเด็ด เกร็ดสยาม
เริ่มหัวข้อโดย: 【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪ ที่ 29 มีนาคม 2555 11:35:09
เหตุผลที่ไทยไม่ปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช
ตั้งแต่แรกตั้งกรุงสุโขทัย


(http://files.myopera.com/bkk123/albums/669651/8Image00010.jpg)

อาณาจักรไทยในสมัยนั้น เริ่มต้นมาจากการประกาศอิสรภาพเหนือขอม
ทำให้ต้องเร่งสร้างความเป็นชาติไทยกันยกใหญ่ ทั้งระบอบการปกครองต่างๆ ทั้งภาษา
(อีกหนึ่งสาเหตุที่พ่อขุนรามกำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์อักษรไทย)
ทำให้รู้สึกว่า หากเอาระบบการปกครองแบบนับกษัตริย์เป็นสมมุติเทพ จะทำให้รู้สึกเหมือนตัดขอมไม่ขาด
อะไรประมาณนี้

แต่ว่าจุดเปลี่ยนอยู่ที่สมัยเจ้าสามพระยา ที่ไปตีเมืองเขมรแล้วรบชนะกลับมา กวาดต้อนผู้คนอะไรมาด้วย
นัยๆ ว่ารับวัฒนธรรมบางส่วนของเขามา ทำให้ระบอบปิตุราชาหายไปทีละน้อยๆ

 


หัวข้อ: Re: รวมเด็ด เกร็ดสยาม
เริ่มหัวข้อโดย: 【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪ ที่ 04 เมษายน 2555 21:48:24
บันทึกของลาลูแบร์ ที่อ่านแล้วชวนโมโห

(http://www.oknation.net/blog/home/user_data/file_data/201201/03/49912168e.jpg)

อันนี้อาจารย์เล่าให้ฟังจากบันทึกของลาลูแบร์ที่เข้ามาในสยามสมัยสมเด็จพระนารายณ์
คนสยาม ยอมขายตัวเป็นทาส ด้วยเหตุแห่งทุเรียนผลเดียว
(เอาล่ะ ทวนความจำกันสักนิด ทาสในไทยมีหลายประเภท ทาสในเรือนเบี้ย ทาสสินไถ่
ทาสท่านให้ ทาสที่ช่วยมาจากทัณฑ์โทษ ทาสที่ช่วยมาจากทุขภิกภัย (ภัยอดอยาก)
ทาสเชลย และ ทาสมรดก ทาสในเรือนเบี้ยกับทาสเชลยจะเป็นตลอดชีวิต
ส่วนทาสอื่นๆ มีสิทธิ์ได้กลับเป็นไพร่ก็ต่อเมื่อนายเงินยอมให้บวช สึกออกมาก็จะกลับเป็นไพร่
ยกเว้นทาสสินไถ่ สามารถเอาเงินมาไถ่ตัวเองได้)

ทาสในกรณีนี้หมายถึงทาสสินไถ่ เป็นทาสที่เอาคนในครอบครัว หรือแม้แต่ตัวเองมาประกัน
เวลากู้ยืมเงิน ซึ่งสามารถไถ่ถอนความเป็นทาสได้เมื่อเอาเงินมาใช้ได้หมด ถ้าเคสนี้
คงต้องบอกว่าจนกว่าจะหมดค่าทุเรียนสินะ

ตอนฟังนี่แทบจะพูดไม่ออกกันเลยทีเดียว ทุเรียนมันอร่อยมาก หรือว่ามันอร่อยจนแพงมาก
เลยต้องเป็นทาสแทนค่าทุเรียน จะเป็นสักกี่วันกันเชียว(วะ) อย่างดีคงไม่เกินสามอาทิตย์
เผลอๆเจ้าของสวนใจดีอาจจะแค่สามวัน



หัวข้อ: Re: รวมเด็ด เกร็ดสยาม
เริ่มหัวข้อโดย: 【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪ ที่ 04 เมษายน 2555 21:52:00
ว่าด้วยเรื่องของคนสยาม ในสายตาคนฝรั่งเศส

(http://i83.photobucket.com/albums/j311/bancha_ktb/RW2705x30.jpg)

จากบันทึกลาลูแบร์ตามเคย
เขาเขียนไว้ว่า คนสยามขี้ขลาด แต่เมื่อยามออกศึก กลับระดมพลได้เร็วมาก
ฟังตอนแรกนี่แอบแรงเหมือนกัน ว่าคนฝรั่งก่อนติดภาพลักษณ์ว่าคนไทย
เป็นแบบนี้เชียวหรือ (เห็นนักรบไทยรักชาติอาจหาญกันนักหนา)
แต่ถ้าเรื่องระดมพล มันมาจากการที่ขุนนางมีไพร่ในสังกัดค่อนข้างมาก
ตีเกราะเคาะกันโป้งป้าง ครึ่งวันก็โผล่พรึบแล้ว
 


ว่าด้วยเรื่องของการไว้ทุกข์

(http://www.tlcthai.com/backoffice/upload_images2/20081110191443.jpg)

จริงๆแล้วคนไทยเราไว้ทุกข์สีขาว (ตามแบบจีน เกาหลี ญี่ปุ่น)
ส่วนสีดำได้มาจากทางตะวันตก

ในสมัยก่อน การไว้ทุกข์ของคนไทยมีอะไรที่ยุ่งยากกว่าสมัยนี้ นอกจากนุ่งขาวห่มขาวแล้ว
หากเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินสิ้นพระชนน์หรือสวรรคต จะต้องมีการโกนหัวโกนคิ้วกันด้วย
เรียกได้ว่าบวชกันทั้งนครเลยทีเดียว จะมีแต่ทางขอบชายแดนเท่านั้นที่ได้รับการยกเว้น
เนื่องจากกลับว่าข้าศึกจะรู้แล้วจะฉวยโอกาสบุกเข้ามาตีได้



หัวข้อ: Re: รวมเด็ด เกร็ดสยาม
เริ่มหัวข้อโดย: 【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪ ที่ 04 เมษายน 2555 21:55:38
กฎหมายของความรับผิดชอบร่วมกัน

(http://www.bloggang.com/data/moonfleet/picture/1254790654.jpg)

ใครเคยได้ยินเรื่องกฎหมายลักษณะโจรสามเส้นบ้าง
(อนึ่ง สี่สิบวาเป็นหนึ่งเส้น สามเส้นก็ร้อยยี่สิบวา วาละสองเมตร รวมแล้วสองร้อยสี่สิบเมตร)
กฎหมายโจรสามเส้น เป็นกฎหมายที่ใช้มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีฯ ว่าด้วยเรื่องความรับผิดชอบ
ของคนในท้องที่เดียวกัน

อ้างถึง


"ถ้ามีคดีความเกิดขึ้น ณ จุดใด คนที่อาศัยอยู่ในรัศมี 3 เส้น ต้องรับผิดชอบร่วมกัน"



นั่นคือ ต่อให้ควายบ้านอ้ายมีหาย หากบ้านอ้ายนาและอ้ายวีอยู่ในละแวกใกล้ๆ กัน
แล้วไม่สามารถจับโจรได้ อ้ายนาและอ้ายวีต้องร่วมกันรับผิด ทำให้สามารถเห็นฉาก
การช่วยกันจับโจรขโมยควาย ร่วมหัวจมท้ายพายเรือไล่กวดไอ้เสือ
ส่วนหนึ่งมาจากความสามัคคีช่วยกัน แต่อีกส่วนหนึ่ง มันมาจากความไม่อยากรับผิดชอบ
ในสิ่งที่ตัวเองไม่ได้ทำ (กุศโลบายอย่างหนึ่งที่ทำให้คนในชุมชนร่วมมือกันสอดส่องกัน)
ไอ้เจ้านี่แหละ ที่บรรดาฝรั่งมังค่าที่เข้ามาค้าขายในแผ่นดินอโยธยารู้สึกว่ามันไม่ค่อยยุติธรรม
แต่จริงๆ ทางแก้มันง่ายนิดเดียว ปลูกบ้านให้ห่างๆกันเสียก็สิ้นเรื่อง

 ;D


หัวข้อ: Re: รวมเด็ด เกร็ดสยาม
เริ่มหัวข้อโดย: 【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪ ที่ 26 มีนาคม 2556 03:16:08

พระบรมมหาราชวัง

        เป็นสถานที่ ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับเราคนไทยทุกคน และหลายคนอาจจะเคยได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมกันมาบ้างแล้วสำหรับพระบรมมหาราชวังของไทยเรา ในหลายประเทศทั่วโลก ก็จะมีพระราชวังของแต่ประเทศซึ่งก็จะมีความแตกต่างกันไปทั้งด้านที่มา และศิลปวัฒนธรรมอันสวยงาม ซึ่งแน่นอนว่าพระบรมราชวังของไทยเราก็งดงามไม่แพ้ชาติใดในโลก


(http://2.bp.blogspot.com/_7rUu3IhNi9I/TTlaZ-x3V_I/AAAAAAAABqs/IiEsy-nhtbM/s1600/%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%258A%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2587%2B-%2BGrand%2Bthai%2Bpalace.jpg)

ภาพพระบรมมหาราชวังในอดีต

             

                จากหนังสือ A Physian at the Court of Siam  โดย นายแพทย์มัลคอล์ม สมิธ ได้บอกเล่าว่า ในการสร้างพระบรมมหาราชวังในสมัยนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงโปรดให้ไปรื้ออิฐจำนวนมหาศาลจากพระราชวังเดิม เมืองอยุธยาล่องมาจากลำน้ำเจ้าพระยา ในปี พ.ศ 2325 ซึ่งพระที่นั่งส่วนใหญ่จะสร้างด้วยไม้แทบทั้งหลัง และมีป้อมรักษาการเล็ก ๆ อยู่ตามแนวกำแพงเป็นระยะ ตัวเชิงกำแพงสร้างด้วยการพูนมูลดินหน้าเป็นลักษณะเชิงเทิน ฟันกำแพงเมืองทำเป็นรูปใบเสมา มีประตูเป็นจำนวนมาก บางที่ทำซ้อนกัน สองชั้น หนาประมาณ 5 ฟุต
                 
               พระบรมมหาราชวังแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนนอกตั้งอยู่ทางทิศเหนือ แต่ขยายไปเป็นระเบียงเรียกว่า "ฝ่ายหน้า "  ส่วนอีกฝ่ายอยู่ภายใน ถูกล้อมไว้แน่นหนา เรียงว่า "ฝ่ายใน" (แบบในละครที่จะมีแต่พระเจ้าแผ่นดิน และ สตรี เท่านั้น วัดภายในพระราชวังจึงไม่สามารถมีพระสงฆ์ได้เพื่อความปลอดภัย)

              ด้าน"ฝ่ายหน้า"จะประกอบไปด้วย วัดพระศรีศาสดา(วัดพระแก้ว) โรงละคร โรงพระยาช้างต้น พร้อมด้วยที่ทำการของกองทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์

              ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีโรงผลิตเรียญกษาปณ์และคลังแสงสรรพวุธอยู่ฝ่ายหน้าด้วย  มีการบันทึกเอาไว้ว่า ในสมัย พ.ศ. 2394 เหล่าทหารมหาดเล็กบางส่วนจะแต่งกายแบบทหารยุโรปถือปืนคาบศิลาและได้รับการฝึกอย่างทหารชาติตะวันตก (มีการรับวัฒนธรรมตกมากขึ้น) แต่ยังมีทหารบางส่วนที่ยังแต่งกายแบบเดิมและยังคงใช้อาวุธ เช่น ดาบ หอก ง้าว ขวานและธนู มีการบันทึกไว้ว่าในสมัยนั้นมีมหาดเล็กรักษาพระองค์อยู่ประมาณ 3,000 คน

              ด้าน"ฝ่ายใน" จะเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ เมื่่อผ่านประตูใหญ่ไปแล้วจะมีประตูอีกสามชั้น ถัดจากกำแพงชั้นที่สองจะเป็นท้องพระโรงพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท  พระที่นั่งอมรินทร์และอุทยานเต่า  ภายในกำแพงชั้นที่สามจะเป็นที่ประทับส่วนพระองค์ของพระเจ้าอยู่หัวกับพระมเหสีและเจ้าจอมหม่อม ที่ต้องห้ามออกภายนอก

                มีเอกสารบันทึกว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่อนุญาติให้พระมเหสีออกจากพระราชวังฝ่ายในได้ ซึ่งหากเป็นในสมัยก่อนหน้านั้นจะมีการควบคุมอย่างเข้มงวดและหากฝ่าฝืนมีโทษถึงขั้นประหารเลยที่เดียว



** หนังสือภาพเก่าเล่าสยาม เล่ม ๑  โดย คุณเอกรงค์ ภานุพงษ์
** thetravellerthailand.blogspot.com


หัวข้อ: Re: รวมเด็ด เกร็ดสยาม
เริ่มหัวข้อโดย: 【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪ ที่ 26 มีนาคม 2556 03:22:33

ว่ากันด้วยชื่อ "สยาม"

มีบทนิยามว่า " ชื่อเรียกประเทศไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2482"

คำว่า สยาม เป็นประเด็นหนึ่งที่นักประวัติศาสตร์ และนักวิชาการได้หยิบยกมาอภิปรายกันเป็นเวลานาน เมื่อครั้งซิมง เดอวาลูแบร์ ได้เดินทางพร้อมกับคณะอัครราชทูต ของพระเจ้าหลุยส์ที่สิบสี่แห่งฝรั่งเศส เข้ามายังราชสำนักสมเด็จพระนารายณ์ ฯ และบันทึกเรื่องราวของประเทศสยามไว้เมื่อปี พ.ศ.2230 ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า คนไทยไม่เรียกประเทศของตนว่า สยาม เลย แต่ชาวต่างประเทศกลับพากันเรียกเมืองไทยว่า สยาม

คำว่า สยาม นั้น โดยรูปศัพท์แล้ว มีที่มาจากคำสันสกฤตว่า ศฺยาม แปลว่า มีสีดำ หรือสีครามหม่น หรือสีเขียว หรือสีออกคล้ำ และตรงกับคำบาลีว่า สาม คำนี้ได้กลายเป็นเสียงไปเป็นอื่น ในภาษาของชนเพื่อนบ้าน และชาวต่างหประเทศ ชาวเขมร และชาวมอญเรียกคนไทยว่า เซียม คนต่างชาติอื่น ๆ เช่น มลายู จีน น่าจะได้เรียกคนไทยว่า เสียม ตามเขมรและมอญ คนไทยไม่เคยเรียกตนเองว่าสยามเลย

ในเมื่อคำว่า สยาม มิได้เกิดขึ้นในบริบทของวัฒนธรรมไทยเอง จึงได้มีการสืบค้นที่มาของคำนี้จากภายนอก มีผู้เคยเสนอว่า คำว่า สยาม อาจเก่าแก่ไปถึงต้นคริสต์กาล เพราะปรากฎว่า ประวัติศาสตร์ราชวงศ์ฮั่น ฉบับหอหลวงได้กล่าวถึง กษัตริย์แห่งอาณาจักรส้าน ว่าได้ส่งคณะทูตไปยังราชสำนักฮั่น ในระหว่างปี พ.ศ.840 - 675 โดยเข้าใจว่า ส้าน ในที่นี้ตรงกับคำว่า ซ่าน / ส้าน ที่พม่าเรียกไทยใหญ่ และเข้าใจว่า อาณาจักรนี้อยู่ในบริเวณต้าหลี่ฝู่ ในมณฑลหยูนหนาน ปัจจุบัน

คำเขียนในรูปของ สยำ ปรากฎอยู่ในจารึกโบราณ ลงศักราชตรงกับปี พ.ศ.1182 จารึกของจาม มีข้อความกล่าวถึงการจับได้เชลยศึก "สยาม" รวมกับเชลยศึกเขมรและอื่น ๆ จารึกนี้อายุราวปี พ.ศ.1593 นับว่าเป็นการพบคำ สยาม ที่ใช้ในความหมายของชนชาติเป็นครั้งแรก

คำว่า สยาม ในรูปเขียนว่า สยำ ได้ปรากฎที่ภาพจำหลักนูนต่ำ ที่ปราสาทนครวัด ที่สร้างขึ้นราวปลายพุทธศตวรรษที่ 17

คำว่า สยำ ยังปรากฎในจารึกของอาณาจักรพุกาม โดยลงศักราชในปี พ.ศ.1663

เอกสารจีนสมัยราชวงศ์หยวน กล่าวถึงประเทศเซียน กล่าวถึงเหตุการณ์ในปี พ.ศ.1825 ว่า กุบไลข่าน ให้ส่งคณะทูตไปเกลี้ยกล่อมประเทศโพ้นทะเล ให้มาสวามิภักดิ์ มีประเทศ "เซียน" (จีนกลาง) หรือ "เสียม" (แต้จิ๋ว) รวมอยู่ด้วย

การปกครองของไทยในสมัยอยุธยา ไม่ได้ใช้นามประเทศแต่ใช้นามราชธานี เป็นนามราชอาณาจักร  เมื่อชาวตะวันตกได้เข้ามาติดต่อกับไทย ได้เรียกอาณาจักรไทยว่า "สยาม" ตามจีน เขมร มอญ และมลายู

คำ สยาม ปรากฎอยู่ในเอกสารชั้นต้น และวรรณกรรมเก่าตั้งแต่สมัยอยุธยาหลายเรื่อง เช่น ในยวนพ่าย มหาชาติคำหลวง นันโทปนันทสูตรคำหลวง ในพงศาวดารกรุงเก่าภาษาบาลี โคบุตร ฯลฯ

ในเอกสารไทยดังกล่าวข้างต้น แสดงว่าคนไทยสมัยก่อนได้ใช้สยาม เป็นคำเรียกชื่อทั้งประเทศ และชนชาติ