[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => เกร็ดศาสนา => ข้อความที่เริ่มโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 05 เมษายน 2555 13:22:25



หัวข้อ: พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และ พระอรหันต์ คืออะไร ? เป็นได้อย่างไร ?
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 05 เมษายน 2555 13:22:25
พระโสดาบัน : โสดาบัน คืออะไร ?

(http://download.buddha-thushaveiheard.com/images/All_page_04/Picture1-40/20_02.jpg)

โสดาบัน แปลว่า ผู้เข้าถึงกระแสธรรม ผู้แรกถึงกระแสธรรม (คืออริยมรรค)
 
โสดาบัน เป็นชื่อเรียกพระอริยบุคคลประเภทแรกใน ๔ ประเภท คือ โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี อรหันต์ ผู้ได้บรรลุโสดาปัตติผลแล้วด้วยการละ สังโยชน์ เบื้องต่ำ ๓ ประการได้คือ
 
สักกายทิฏฐิ คือ ความเห็นเป็นเหตุถือตัวตน เช่นเห็นว่ากายนี้ใจนี้เป็นตัวตนของเรา
วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัย เช่นสังสัยในข้อปฏิบัติของตนว่าถูกต้องหรือไม่ สงสัยในพระรัตนตรัยหรือในอริยสัจ ๔ ว่ามีจริงหรือไม่
สีลัพพตปรามาส คือ ความเชื่อถือยึดมั่นว่าความศักดิ์สิทธิ์มีได้ด้วยศีลและพรตอย่างนั้นอย่างนี้ ข้อนี้ขยายความได้ว่ารักษาศีลแต่เพียงทางกาย ทางวาจา แต่ใจยังไม่เป็นศีล หรืออย่างน้อยก็ยังไม่เป็นศีลตลอดเวลา

ความเป็นพระโสดาบันนี้ก็เช่นเดียวกับความเป็นพระอริยบุคคลประเภทอื่นๆ ที่มิได้จำกัดอยู่เฉพาะเพศบรรพชิต(นักบวช) เท่านั้น แม้ คฤหัสถ์ คือชายหรือหญิงผู้ครองเรือน ก็สามารถเป็นพระโสดาบันได้ เช่น ในสมัยพุทธกาลคฤหัสถ์ที่เป็นพระโสดาบันที่มีชื่อเสียงก็มีจำนวนมากได้แก่ นางวิสาขามหาอุบาสิกา อนาถบิณฑิกเศรษฐี พระเจ้าพิมพิสาร เป็นต้น
 
การเข้าถึงกระแสธรรมของพระโสดาบันนั้น เป็นการยกระดับจิตใจของท่านอย่างถาวร ทำให้ท่านไม่สามารถกลับมาเป็นปุถุชนได้อีก เป็นผู้ที่จะไม่ไปเกิดในอบายภูมิ (เช่น นรก หรือ เดียรฉาน) ทั้งยังเป็นผู้ที่จะบรรลุพระนิพพานในเบื้องหน้าอย่างแน่นอน



หัวข้อ: Re: พระโสดาบัน : โสดาบัน คืออะไร ?
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 05 เมษายน 2555 13:32:22
ไม่ว่าหญิงหรือชาย รวยหรือจน เด็กหรือผู้ใหญ่ นับถือศาสนาใดก็ตาม
ถ้าปฏิบัติตามแนวทางแห่งมรรคมีองค์ 8 แล้วล่ะก็ ทุกคนสมารถเป็นพระโสดาบันได้เจ้า



[๒๔๑] องค์แห่งพระโสดาบัน ๔ อย่าง
๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้นในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคนั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นนายสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม ฯ

๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้นในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว อันผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯ

๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้นในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเป็นธรรม ปฏิบัติชอบ คือคู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ นั่นคือพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ควรรับของบูชา เป็นผู้ควรรับของต้อนรับ เป็นผู้ควรรับของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นบุญเขตของชาวโลก ไม่มีเขตอื่นยิ่งกว่า ฯ

๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยศีล ที่พระอริยเจ้ารักใคร่แล้ว อันไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฐิ ไม่ลูบคลำแล้ว เป็นไปเพื่อสมาธิ ฯ



หน้าที่ของชาวพุทธคือการทำกิจ ๔ ประการนี้
คำว่า ศีลที่เป็นไปเพื่อสมาธิ ฯ คืออย่างนี้

โลกุตตรกุศลจิต
มรรคจิตดวงที่ ๑ ( โสดาปัตติมัคค )


[๑๙๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญฌานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน
เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ในสมัยใด

ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัย เกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ( โสดาปัตติมัคค )



( โสดาปัตติผล )

[๔๓๔] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?

โยคาวจรบุคคล เจริญฌานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน
เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้นบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด

ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ดังนี้ วิบาก ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา

ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอนิมิตตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ดังนี้ วิบาก ฯลฯ ชนิดอนิมิตตะเป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา

ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ดังนี้ วิบาก ผัสสะ ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ ฯลฯอวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต. ( โสดาปัตติผล )



พระโสดาบันเริ่มต้นด้วยเหตุคือปฐมฌานในโสดาปัตติมัคค
โสดาปัตติผลย่อมมีผลเป็นปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน หรือปฐมฌาน-ปัญจมฌาน


รู้อย่างไรว่าเป็นถึงขั้นพระโสดาบันแล้ว ?

ปีติ สุข และอุเบกขาจากโลกุตตระฌานในโสดาปัตติผลเป็นองค์ธรรมชี้วัดการบรรลุธรรม เริ่มด้วยโลกุตตระฌาน ผลย่อมเป็นโลกุตตระฌาน มีฌานเป็นปทัฏฐานของการบรรลุมัคคผล




หัวข้อ: Re: พระโสดาบัน : โสดาบัน คืออะไร ?
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 05 เมษายน 2555 13:49:48
เพิ่มเติมอีกนิด

พระโสดาบัน คือพระอริยะ ท่านละสังโยชน์เบื้องต้นได้ ๓ ข้อ ใน ๑๐ ข้อ คือ

ข้อที่ ๑ เรียกว่า สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่า กายของตน, ไม่ใช่ของตน
ข้อที่ ๒ เรียกว่า วิจิกิจฉา ความลังเล ไม่แน่ใจ ตัดสินใจไม่ได้ในเรื่องต่าง ๆ
ข้อที่ ๓ สีลัพพตปรามาส ลูบคลำศีล คือ รักษาศีล แบบขาด ๆ ไม่จริงจัง

รู้ได้อย่างไรว่า บรรลุโสดาบัน เรื่องนี้ ท่านว่า

สันทิฏฐิโก ผู้ปฏิบัติ รู้เอง เห็นเอง
ปัจจัตตัง รู้ได้เฉพาะตน

“เหมือนกินข้าวอิ่มก็รู้ ไม่ต้องถามใคร”



หัวข้อ: พระสกิทาคามี คือ ?
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 14 มิถุนายน 2555 11:50:58
สกิทาคามี

สกทาคามี หรือ สกิทาคามี แปลว่า ผู้กลับมาเพียงครั้งเดียว เป็นชื่อเรียกพระอริยบุคคลลำดับที่ ๒ ใน ๔ ประเภท ที่เรียกว่า "ผู้กลับมาเพียงครั้งเดียว" หมายถึง พระสกิทาคามีจะเกิดในกามาวจรภพอีกเพียงครั้งเดียวเท่านั้นก็จะถึงพระนิพพาน
 
ผู้ได้บรรลุสกทาคามิผลคือผู้ที่ละสังโยชน์ เบื้องต่ำ ๓ ประการแรกได้เช่นเดียวกับพระโสดาบัน
อีกทั้งทำสังโยชน์เบื้องต่ำอีกสองประการที่เหลือให้เบาบางลงด้วยคือ

1. กามราคะ คือ ความพอใจในกาม คือ การความเพลินในการได้เสพ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์ ที่น่าพอใจ

2. ปฏิฆะ คือ ความกระทบกระทั่งในใจ คล้ายความพยาบาทอย่างละเอียด

หากสังโยชน์เบื้องต่ำทั้งสองประการนี้หมดไปก็จะเป็นพระอนาคามี


หัวข้อ: พระอนาคามี คือ ?
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 14 มิถุนายน 2555 11:54:29
อนาคามี

อนาคามี แปลว่า ผู้ไม่มาเกิดอีก หมายความว่าจะไม่กลับมาเกิดในกามาวจรภพอีก แต่จะเกิดใน พรหมโลก อีกเพียงครั้งเดียว แล้วจะนิพพานจากพรหมโลกนั้นเลย
 
อนาคามี เป็นชื่อเรียกพระอริยบุคคลประเภทที่ ๓ ใน ๔ ประเภท คือ โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี อรหันต์ เป็นผู้ละสังโยชน์เบื้องต่ำ (โอรัมภาคิยสังโยชน์) ทั้ง ๕ ประการได้แล้ว ยังเหลือสังโยชน์เบื้องสูง (อุทธัมภาคิยสังโยชน์) อีก ๕ ประการ คือ
 
1.รูปราคะ หมายถึง ความพอใจในรูปฌาน หรือ รูปธรรมอันประณีต หรือ ความพอใจในรูปภพ

2.อรูปราคะ หมายถึง ความพอใจในรูปฌาน หรือ พอใจในอรูปธรรม เช่น ความรู้ เป็นต้น หรือ ความพอใจในอรูปภพ

3.มานะ หมายถึง ความสำคัญตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่ เช่น เป็นพระอนาคามี (แม้ว่าจะเป็นจริงๆ) เป็นต้น

4.อุทธัจจะ คือ ความฟุ้งของจิต

5.อวิชชา คือ ความไม่รู้แจ้ง


อนึ่งพึงเข้าใจว่า แม้สังโยชน์เบื้องสูงบางข้อจะมีชื่อเหมือนกิเลสอย่างหยาบที่ยังมีในปถุชน (ผู้ยังไม่เป็นบรรลุเป็นพระอริยบุคคล) เช่น มานะ อุทธัจจะ หรือ อวิชชา แต่สังโยชน์เบื้องสูงอันเป็นกิเลสที่ยังหลงเหลืออยู่ในจิตใจของพระอนาคามีนั้น เป็นกิเลสที่ละเอียดกว่าของปถุชนอย่างมาก