[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม => ข้อความที่เริ่มโดย: เงาฝัน ที่ 24 มิถุนายน 2553 17:42:07



หัวข้อ: "ถ้อยคำแห่งความเมตตา บทภาวนาเพื่อให้ชีวิตได้เติบโต" ... (ท่านชุติปัญโญ)
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 24 มิถุนายน 2553 17:42:07

(http://catadmin.cattelecom.com/km/blog/jareerat/files/2008/05/sany0376.JPG)
http://catadmin.cattelecom.com/km/blog/jareerat/2008/04/01/time/ (http://catadmin.cattelecom.com/km/blog/jareerat/2008/04/01/time/)


"ถ้อยคำแห่งความเมตตา บทภาวนาเพื่อให้ชีวิตได้เติบโต" ...  
(ท่านชุติปัญโญ)


(http://statics.atcloud.com/files/comments/132/1322311/images/1_display.jpg)


ในการใช้ชีวิตร่วมกันของคนเรา หากมีการช่วยกันสานต่อมิตรภาพให้เกิดขึ้นในแต่ละคนได้อย่างเหมาะสม ชีวิตที่โยงใยเป็นสายสัมพันธ์ที่มีต่อกัน ย่อมจะเกิดเป็นความงามมิมีเสื่อมคลาย และทำให้โลกนี้น่าอยู่มากขึ้นกว่าเดิม

แต่เมื่อใดที่เราสร้างความชิงชังให้เกิดขึ้น แม้จะอยู่ใกล้กันเพียงใด ทว่าหัวใจแห่งความเป็นมิตรได้ถูกหมางเมินไป ความห่วงใยที่จะได้รับการต่อยอดให้เกิดเป็นความเอื้ออาทรต่อกัน ก็มักจะกลายเป็นความแห้งแล้งแห่งมิตรภาพอย่างน่าเสียดาย

โดยเฉพาะการแสดงออกที่ต้องใช้ภาษาที่สื่อถึงกัน ซึ่งเป็นการแสดงเจตจำนงผ่านความรู้สึกที่แต่ละคนที่อยู่ หากคำพูดที่พรั่งพรูออกมาเป็นแค่เพียงลมปาก ที่ไร้ซึ่งความรักที่มาจากใจ ถ้อยคำที่ควรเป็นไปเพื่อทำให้เรารู้สึกชื่นใจก็จะกลายเป็นน้ำกรดที่หลั่งลดเพื่อรดความดีงาม ให้กลายเป็นความเหือดแห้งและตายไป


"คำพูด" ที่เราพูดออกไป จึงเป็นได้ทั้งเหล็กแหลมที่พุ่งออกไปเพื่อทำร้ายผู้คนให้เจ็บปวด
แต่เมื่อใดคำพูดมีการเพิ่มเติมด้วยจิตที่มีความเอื้ออาทรห่อหุ้ม ถ้อยคำคำเดิมย่อมกลายเป็นดอกไม้งาม
ที่ได้รับรู้คราใด ก็ทำให้ใจรู้สึกดีทุกครั้งเช่นกัน

 
มีหญิงสาวคนหนึ่งกำลังนั่งพูดคุยกับเพื่อนอย่างสนุกสนาน ดูประหนึ่งว่าเธอช่างมีความสุขเหลือเกิน แต่สักพักก็มีเพื่อนเดินเข้ากระซิบที่ข้างหู จากเดิมที่เป็นเสียงหัวเราะชอบใจ ก็กลับกลายเป็นเสียงร้องไห้ และพรั่งพรูออกมาด้วยน้ำตาแห่งความเสียใจในทันที

ในขณะที่เธอกำลังร้องไห้ฟูมฟาย เพราะฟ้งถ้อยคำที่ไม่น่าปรารถนาอยู่นั้น ก็มีเพื่อนอีกคนเข้าไปกระซิบที่ข้างหูว่า "สิ่งที่เธอได้รับฟังมานั้น เป็นถ้อยคำที่เข้าใจผิด"

หญิงสาวผู้ดูประหนึ่งถูกความทุกข์ท่วมท้นใจ กลับลุกขึ้นมาแล้วหัวเราะด้วยเสียงที่ดังกว่าเดิม และกลับมามีอารมณ์ที่แจ่มใสดั่งเดิม เหมือนกับว่าไม่เคยเกิดอะไรขึ้นมาก่อนในชีวิตเธอ

คำพูดแม้จะไม่ใช่อาวุธที่กรีดลงไปที่กายเนื้อ แล้วทำให้เราเจ็บปวด แต่กลับเป็นสิ่งที่กรีดลงไปได้ลึกและเจ็บได้ถึงใจ ซึ่งชื่อว่า เป็นความปวดร้าวเสียยิ่งกว่าการถูกแทงด้วยอาวุธร้ายทางกายภายนอกหลายเท่า


(http://blog.spn.com.cn/attachments/2007/07/23510_200707241554111.jpg)


พระพุทธองค์จึงทรงตรัสสอนสาวกทั้งหลาย ให้รู้จักระวังทุกถ้อยคำที่ต้องการแถลงไข เพราะตราบที่เรายังไม่พูดอะไรออกไป เราก็ยังชื่อว่า เป็นนายคำพูดของตนเอง แต่เมื่อใดที่คำพูดล่องลอยออกไป ทั้งที่ตั้งใจและพลั้งเพลอ คำพูดนั้นก็จะกลับมาเป็นนายของเราในทันที ที่สำคัญ หากพูดไม่ถูกกาลเวลาที่เหมาะสม ทุกอย่างที่ถูกถ่ายทอดให้ผู้คนได้รับรู้ ก็จะนำความไร้ค่ามาสู่ตัวเราและทุก ๆ เรื่องที่เราเข้าไปเกี่ยวข้องกับมัน ครั้งหนึ่งมีผู้ไปทูลถามพระพุทธองค์ในการใช้คำพูดว่า คำพูดและวิธีพูดที่ดีนั้นควรเป็นเช่นใด พระองค์จึงตรัสถึงสาระหลักของการเกี่ยวข้องกับคำพูดว่า


"สิ่งใดเป็นความจริง แต่ไม่มีประโยชน์
พระองค์จะไม่ตรัสคำนั้นออกไป

ถึงแม้นว่าสิ่งที่เป็นความจริง
และมีประโยชน์เพียงใด

พระองค์ก็จะเลือกกาลเวลา
ที่จะตรัสคำเหล่านั้น"

 
ด้วยเหตุนี้ เมื่อเราต้องเกี่ยวข้องกับผู้คนอยู่เนือง ๆ คำพูดจึงเป็นกระบอกเสียงที่สะท้อนให้ได้ยินสิ่งที่เราคิด
เพื่อให้คนอื่นได้รับรู้ในความเป็นเราอยู่ในที
แต่คำพูดที่ถูกส่งต่อออกไป หากไร้ความละเอียดละไมที่เกิดขึ้นทางใจ ไร้สติในการประคับประคองในถ้อยคำที่นำเสนอ
สิ่งที่ผู้ฟังรับรู้ ก็มักจะสัมผัสได้ถึงความไม่จริงใจ หรือความหยาบคายที่ซ่อนอยู่ในถ้อยคำนั้น

ที่สำคัญ การเกี่ยวข้องกับคำพูด จะสัมผัสได้ถึงความเอื้ออาทรได้ หากถ้อยคำนั้นมาจากความจริงใจ
และมีความเมตตาคอยห่วงหาต่อสิ่งที่จะสื่อสารให้ผู้คนได้เข้าใจ ซึ่งจะทำให้ทุกวิถีที่มีถ้อยคำเป็นคู่มือสานสัมพันธ์
ได้ก่อเกิดเป็นความสมดุลต่อกันในทุกกรณี

ไม่ว่าจะเป็นการใช้คำพูดต่อตัวเอง ก็ควรเป็นคำพูดที่เป็นไปเพื่อเป็นการให้กำลังใจ และให้สติต่อการเตือนเป็นหลัก
ไม่ควรเป็นคำพูดที่เหยียบย้ำซ้ำเติม เมื่อเราประสบกับความทุกข์หรือปัญหาที่เข้ามารุมเร้า

ไม่ใช่เป็นคำพูดที่ดูหมิ่นเหยียดหยาม จนทำให้เรารู้สึกผิดตามสิ่งที่เราทำลงไป กระทั่งหมดกำลังใจที่จะลุกขึ้นสู้กับปัญหา
จนต้องยอมรับความพ่ายแพ้อย่างผู้ยอมจำนน

ครั้นเวลาจะพูดกับผู้อื่น เราก็ควรเพิ่มความเมตตาลงไปในถ้อยคำวจีนั้นด้วย เพราะถ้อยคำที่มาจากจิตที่มีเมตตาอารี
ย่อมเป็นดั่งน้ำฝนที่ชโลมลงมายังพื้นดิน เพื่อให้พืชนานาพันธุ์ได้เติบโต

เพราะถ้อยคำที่เราใช้สื่อสารกับผู้อื่นที่มีความเมตตาซ่อนอยู่ในวลีดังกล่าว ย่อมเป็นถ้อยคำแห่งความหวังดี ที่ช่วยทำให้
สิ่งดีที่เขามีอยู่ได้รับการยืนยันว่า มันคือความจริงที่เขาควรรักษาให้มีในตนต่อไป

อีกอย่างหนึ่ง แม้หากชีวิตของเขาติดลบ แต่เมื่อได้รับฟังถ้อยคำที่เป็นไปฉันท์มิตร มีรายละเอียดของการให้สติ
เป็นคู่มือในการเปลี่ยนแปลงตนเอง
ย่อมทำให้เขามีความกล้าที่จะลุกขึ้นต่อสู้กับปัญหา และพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับทุกเรื่องราวด้วยกำลังใจที่มากกว่าเดิม

คำพูดหรือถ้อยคำแห่งความหวังดี ที่มีความเมตตาอารีซ่อนอยู่ในทุกถ้อยคำที่เรากล่าวออกไป
จึงเป็นสิ่งที่ช่วยเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ สิ่งที่เลวร้ายให้กลายเป็นดีได้
และจากเรื่องดี ๆ ที่ทรงคุณค่า ให้ถูกยกระดับให้สูงค่ายิ่งขึ้นต่อไปอย่างไม่มีประมาณ

ตรงกันข้าม หากเราใช้คำพูดที่ถูกเพิ่มเติมด้วยอารมณ์ที่เกรี้ยวกราด ไร้ซึ่งภาวะของความเป็นมิตร  
ทุกสิ่งที่ถูกส่งต่อออกไห้ผู้คนได้รู้จักผ่านถ้อยคำของเขา ย่อมลากจูงตัวเราไปสู่ความหายนะอย่างหาที่สุดมิได้เช่นกัน

คำพูดทุกถ้อยคำจึงเป็นรายละเอียดที่เราต้องใส่ใจทุกครั้ง ก่อนที่จะนำเสนอสิ่งที่ซ่อนอยู่ในใจให้ปรากฎ
เพราะนั่นอาจเป็นคำที่มาเปลี่ยนชีวิตของเรา และคนที่เราเกี่ยวข้องตลอดไปก็เป็นได้

แต่หากเราเติมความเมตตาลงไปในทุกถ้อยคำที่ต้องการแถลงไข นั่นชื่อว่าเรากำลังสร้างวิธีภาวนาให้กับชีวิต
ให้มีความเจริญงดงามทั้งต่อตัวเรา และต่อทุกสรรพสิ่งที่มีเราเข้าไปเกี่ยวข้อง เป็นเหมือนกับ
บทภาวนา ที่ทำให้ชีวิตของเราได้เติบโตอย่างมีทิศทาง และมีความหวังที่จะนำตัวเองและผู้อื่นไปสู่สิ่งที่ดีงามตลอดไป

 
(http://www.212cafe.com/freewebboard/user_board/thaiyuth/picture/00093_22.jpg)
http://www.212cafe.com/freewebboard/view.php?user=thaiyuth&id=93&page=4&page_limit=50 (http://www.212cafe.com/freewebboard/view.php?user=thaiyuth&id=93&page=4&page_limit=50)


เราจะเห็นว่า "การใช้ถ้อยคำ" สามารถนำมาซึ่งมิตรหรือศัตรูได้เสมอ ขึ้นอยู่กับว่า ก่อนเอ่ยคำใดนั้น
เราได้ตระหนักคิดบ้างหรือไม่ว่า หากกล่าววาจาออกไป จะเกิดประโยชน์หรือโทษมากกว่ากัน

แม้กระทั่งพระพุทธองค์ยังได้กล่าวในเวลาที่เหมาะสม

ผมเคยพบ "คนตรง" ที่มักจะพูดอะไรไม่รู้จักคิดก่อน ไม่ได้คำนวณถึงผลที่เกิดจากคำพูดของตน บางครั้งคนฟังเจ็บปวด
บางครั้งสถานการณ์นั้นไม่ควรใช้  จากหวังดีกลายเป็นเบียดเบียนความรู้สึกของคนที่เรารักด้วยคำพูด

เตือนตัวเองก่อนคิดจะพูดอะไรออกมา คำหนึ่งยังผลทั้งชีวิตของเขาก็เป็นได้ เช่นกัน ... สังคมชุมชนเสมือนแห่งนี้
ไม่ต่างอะไรจากสังคมโดยปกติ หลายครั้ง เราเห็นการพูดต่อว่า ต่อขานอย่างไร้ความรู้สึกที่มีต่อผู้รับ
หลายครั้ง เราก็มองว่า ทำไมให้กำลังใจกันนักหนา ... (คำตอบน่าจะอยู่ข้อเขียนธรรมนี้ครับ)

หลายครั้ง โมโหโกรธา หาว่า ทำไมเราไม่คุยในประเด็นกันจริง ๆ จัง ๆ (ทั้ง ๆ ที่บางทีอาจจะต้องมีทั้งน้ำเย็นมาลูบก่อน
ตรงไปตรงมา บางทีก็ยังไม่พร้อมรับ) หลายครั้ง เราพูดด้วยตัวตนโดยไม่สนหัวใจคนอื่น  " คิดก่อนพิมพ์ดีไหมครับ ... "
มันเป็นเช่นนั้นเอง  บุญรักษา ครับ



Credit by : http://gotoknow.org/blog/scented-book/272895 (http://gotoknow.org/blog/scented-book/272895)
 (:88:)  ufoatkaokala11.com/
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ


หัวข้อ: Re: "ถ้อยคำแห่งความเมตตา บทภาวนาเพื่อให้ชีวิตได้เติบโต" ... (ท่านชุติปัญโญ)
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 24 มิถุนายน 2553 18:18:02
(http://lh4.ggpht.com/_AYFPNs1xf64/TBsFxutOO4I/AAAAAAAABD8/84oGvjPxYIA/244.jpg)



(:88:) (:88:) (:88:)


(:LOVE:) (:LOVE:) (:LOVE:)


(http://lh6.ggpht.com/_AYFPNs1xf64/TBr_4TvayfI/AAAAAAAABD0/ny96kFM6Zak/1276500000.gif)