[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ไปเที่ยว => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 24 มิถุนายน 2555 14:38:33



หัวข้อ: พิพิธภัณฑ์จันเสน แหล่งรวบรวมโบราณวัตถุสมัยทวารวดี ของเมืองโบราณจันเสน
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 24 มิถุนายน 2555 14:38:33
.
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/70826727317439_2.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/90584960083166_1.JPG)
อาคารพิพิธภัณฑ์จันเสน  สร้างโดยดำริของพระครูนิสัยจริยคุณ (หลวงพ่อโอด)  
หลังจากทำพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารได้เพียง ๑๕ วัน ก็ท่านก็ถึงแก่มรณภาพ  
พระครูนิวิฐธรรมขันธ์ (หลวงพ่อเจริญ) เจ้าอาวาสรูปต่อมาและศิษย์ยานุศิษย์ของหลวงพ่อโอด
ได้ร่วมบริจาคก่อสร้างจนแล้วเสร็จ โดยไม่ได้ใช้งบประมาณของทางราชการแต่อย่างใด

พิพิธภัณฑ์จันเสน
ตลาดจันเสน หมู่ ๑ ตำบลจันเสน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์  

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นจันเสน หรือพระมหาธาตุเจดีย์จันเสน ตั้งอยู่ในบริเวณวัดจันเสน บ้านตลาดจันเสน หมู่ ๑ ตำบลจันเสน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ อยู่ห่างจากอำเภอตาคลีระยะทางประมาณ ๓๕ กิโลเมตร อยู่ห่างจากตัวจังหวัดนครสวรรค์ประมาณ ๑๐๕ กิโลเมตร  พื้นที่ด้านทิศใต้ติดต่อกับเขตอำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี

พิพิธภัณฑ์จันเสน เป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ที่จัดแสดงวัตถุโบราณที่ค้นพบในพื้นที่จันเสน สืบเนื่องปี ๒๕๐๙ ดร.นิจ หีญธีรนันท์  นักวิชาการผังเมือง  ได้ศึกษาภาพถ่ายทางอากาศ พบว่าชุมชนจันเสน  มีบริเวณที่เป็นเมืองโบราณ  และได้นำหลักฐานพร้อมภาพถ่ายเสนอพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรมศิลปากร เพื่อทำการสำรวจเมืองโบราณจันเสน รวบรวมโบราณวัตถุ และจัดทำแผนที่ ต่อมาปี พ.ศ.๒๕๑๑ และ ๒๕๑๒ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรมศิลปากร  คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับพิพิธภัณฑ์สถาน มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย  ได้จัดคณะศึกษาสำรวจเมืองจันเสนโดยใช้เทคนิคการศึกษาระดับชั้นดิน จากผลการศึกษาและหลักฐานสรุปได้ว่า ชุมชนจันเสนเคยเป็นเมืองโบราณวัฒนธรรมทวารวดี  ตั้งอยู่ทางทิศใต้สุดของเมืองนครสวรรค์ บริเวณเมืองโบราณชาวบ้านเรียกว่า "โคกจันเสน" และชุมชนจันเสนมีการพัฒนาชุมชนโบราณอย่างเป็นระบบ ตามหลักฐานที่พบ เช่น โบราณวัตถุทำด้วยดินเผา โบราณวัตถุทำด้วยหิน โบราณวัตถุทำด้วยโลหะ และโบราณวัตถุทำด้วยสำริด แสดงถึงยุคสมัย และความเป็นมาของเมืองโบราณจันเสนว่าเป็นชุมชนเมืองโบราณ ที่มีการพัฒนาจากยุคโลหะตอนปลาย (พ.ศ.๓๔๔ - ๕๓๔) ต่อเนื่องถึงช่วงระยะเวลาความรุ่งเรืองที่สุด คือ "ยุคทวาราวดี" (พ.ศ.๑๑๔๓ - ๑๓๔๓) และสันนิษฐานว่าระยะสิ้นสุดของเมืองโบราณจันเสนอยู่ในสมัยทวาราวดีตอนปลาย (พ.ศ.๑๓๔๓ - ๑๕๙๓)  สาเหตุการร้างของเมืองโบราณจันเสน ผลจากการตั้งเมืองหลวงของ "ขอม" ที่เมืองลพบุรี (พ.ศ.๑๖๔๓ - ๒๓๔๓)

พิพิธภัณฑ์จันเสน สร้างขึ้นตามแนวคิดของพระครูนิสัยจริยคุณ (หลวงพ่อโอด) ที่มีความต้องการจะรวบรวมโบราณวัตถุและหลักฐานต่างๆ ที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของเมืองโบราณจันเสน เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของคนในชุมชน และบุคคลภายนอก

พิพิธภัณฑ์จันเสนได้สร้างขึ้นในสมัยพระครูนิวิฏธรรมขันธ์ (หลวงพ่อเจริญ) เจ้าอาวาสวัดจันเสนองค์ปัจจุบัน  การก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ.๒๕๓๙ ออกแบบโดยอาจารย์วนิดา พึ่งสุนทร ผู้ออกแบบได้ใช้ลักษณะของสถูปในสมัยทวารวดีเป็นพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบ  องค์พระมหาธาตุเจดีย์ด้านล่างเป็นอาคารพิพิธภัณฑ์ประดิษฐานรูปหล่อพระครูนิสัยจริยคุณ (หลวงพ่อโอด)  แสดงวัตถุโบราณกว่า ๓,๐๐๐ ชิ้น แสดงประวัติศาสตร์การพัฒนาถิ่นฐานของเมืองจันเสน วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของคนในชุมชน ด้านบนองค์พระมหาธาตุเจดีย์ประดิษฐานหลวงพ่อนาค  พระพุทธรูปหินทรายปางนาคปรก บริเวณโดยรอบมีศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ห้องสมุดประชาชนสยามบรมราชกุมารี ลุ่มสตรีทอผ้ากี่กระตุกจันเสน กลุ่มขนมของฝากจันเสน ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ ศูนย์นวดแผนไทย ลานธรรม และกิจกรรมยุวมัคคุเทศก์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/76011994191341_16.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/37241166954239_3.JPG)
การออกแบบพื้นที่จัดแสดงโบราณวัตถุ ที่มีมากมายกว่า ๓,๐๐๐ ชิ้น ดูเรียบร้อยสะอาดตา
โบราณวัตถุส่วนใหญ่เป็นเครื่องประดับ เครื่องมือเครื่องใช้ และภาชนะดินเผารูปทรงต่างๆ
ที่พบโดยทั่วไปในแหล่งโบราณคดี สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในจังหวัดลพบุรีและนครสวรรค์
(พบมากบริเวณแหล่งโบราณคดีบ้านใหม่ชัยมงคล)

 (http://www.sookjaipic.com/images_upload/50016457463304_10.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/95220493856403_4.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/63484657886955_6.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/93773928532997_7.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/70906932238075_8.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/62692890026503_9.JPG)

โบราณวัตถุที่พบในหลุมฝังศพ

ในหลุมฝังศพมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มักมีการอุทิศข้าวของเครื่องใช้ให้แก่ผู้ตาย เช่น ภาชนะดินเผา เครื่องประดับ อาวุธ และเครื่องมือในการทำการเกษตร โบราณวัตถุชนิดต่างๆ ที่พบในหลุมฝังศพแสดงถึงนัยความเชื่อเรื่องชีวิตหลังความตาย สิ่งของที่พบมีดังนี้  วัวดินเผาส่วนกลางสันหลังทำเป็นช่องกลวงอาจใช้เป็นแจกัน และน่าจะหมายถึงมีการใช้วัวเป็นสัตว์เลี้ยงมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ แวดินเผามีลักษณะกลมแบนใช้สำหรับปั่นด้าย  หินตุดินเผาขนาดต่างๆ ใช้สำหรับรองผิวด้านในเวลาตีหม้อ แกนดินเผาปลายกลมป้านอาจใช้เป็นแกนพันด้าย ตุ้มหูดินเผาเป็นเครื่องประดับ ขวานหินขัดทำจากหินปูนขนาดต่างๆ แผ่นหินทรายมีร่องเป็นแนวยาวอาจใช้เพื่อการขัดฝน กำไลหินเนื้อละเอียดเป็นหินมีค่าคล้ายหินหยก บางชิ้นมีการเจาะรูเพื่อซ่อมแซมส่วนที่หักและบางชิ้นมีการเจาะรูเลื่อยบางส่วนออกแล้วติดกลับเข้าไปใหม่โดยไม่ทราบวัตถุประสงค์ในการทำเช่นนี้


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/51238788250419_11.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/79117537538210_11..JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/86359923705458_5.png)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/41376728357540_4.png)  (http://www.sookjaipic.com/images_upload/48617869077457_6.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/93028473067614_7.jpg)  (http://www.sookjaipic.com/images_upload/37969259379638_9.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/77998357473148_10.jpg)  (http://www.sookjaipic.com/images_upload/34610471750299_11.jpg)

พระครูนิสัยจริยคุณ (หลวงพ่อโอด)
Phra Khru Nisai Jariyakhun (Luang Phor Oad)

พระครูนิสัยจริยคุณ ฉายา ปัญญาธโร นามเดิมชื่อ วิสุทธิ์  นามสกุล แป้นโต ชาวบ้านนิยมเรียกท่านว่า หลวงพ่อโอด เกิดเมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๖๐ ที่บ้านหัวเขา ตำบลตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์  อุปสมบทเมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๘๑ ณ อุโบสถวัดเขา อำเภอตาคลี โดยมีพระธรรมไตรโลกาจารย์ (ยอด) วัดเขาแก้ว อำเภอพยุหะคีรี เป็นพระอุปัชฌาย์ และสอบได้นักธรรมเอกเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๔ ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดจันเสนเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๓ และเป็นเจ้าคณะอำเภอตาคลีใน พ.ศ.๒๕๑๖ ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๗

ท่านได้สร้างความนับถือศรัทธาแก่พุทธศาสนิกชนทั่วไป ทำให้วัดจันเสนเจริญก้าวหน้าเป็นศูนย์รวมจิตใจของชุมชน และดำริที่จะสร้างมณฑปเจดีย์แห่งนี้ไว้เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุให้เป็นที่ชุมนุมสงฆ์ และเป็นพิพิธภัณฑ์ของชาวจันเสนต่อไป

พระครูนิสัยจริยคุณ มรณภาพด้วยอาการอันสงบ เมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๒ รวมอายุได้ ๗๒ ปี ๕๐ พรรษา



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/28503999486565_12.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/61426200883256_13.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/24130179815822_14.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/78867091114322_15.JPG)
ภาพจิตรกรรมศิลปะร่วมสมัยทวารวดี อันวิจิตรงดงาม โดยรอบภายในพิพิธภัณฑ์จันเสน

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/19013391973243_1.png)  (http://www.sookjaipic.com/images_upload/14523645324839_2.png)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/13888769555422_12.png)
ควายดินเผา ส่วนกลางสันหลังทำเป็นช่องกลม
เป็นสิ่งของที่อุทิศในหลุมศพชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ 
บ้านใหม่ชัยมงคล ใกล้เมืองโบราณจันเสน