[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ห้องสมุด => ข้อความที่เริ่มโดย: sometime ที่ 01 กรกฎาคม 2553 14:04:52



หัวข้อ: รู้ไว้ใช่ว่า.....(บ๊ะจ่าง)
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 01 กรกฎาคม 2553 14:04:52
(http://www.taklong.com/pictpost/t/89936DSC0862-1.jpg)


เซียวบ๊ะจ่าง เติ้งลี่จวิน (http://www.youtube.com/watch?v=4cuZqV-QGjw#)


(http://lh6.ggpht.com/_AYFPNs1xf64/TBr_4TvayfI/AAAAAAAABD0/ny96kFM6Zak/1276500000.gif)



เทศกาลไหว้จ่าง ภาษาจีนเรียกว่า เทศกาลตวนอู่ ตรงกับวันที่ 5 เดือน 5 ตามปฏิทินจีน(จันทรคติ) ของทุกปี

ปีนี้ตรงกับวันนี้ วันพุธที่ 16 มิถุนายน 2553 ผ่านไปแล้ว 14 วัน


端午节的传说:屈原的故事

ความเป็นมาของเทศกาลตวนอู่ เรื่องตำนานของชวีเอวี๋ยน

在春秋时期,中国分为许多个小国,秦国是其中最强大的国家,而楚国是比较弱小的国家,常常受到秦国的威胁。

ในสมัยชุนชิว ประเทศจีนถูกแบ่งเป็นแคว้นเล็ก ๆ จำนวนมากแคว้นฉินเป็นแคว้นที่เข้มแข็งที่สุดในขณะนั้น ส่วนแคว้นฉู่เป็นแคว้นที่อ่อนแอและเล็ก

ซึ่งมักถูกแคว้นฉินกดขี่ข่มเหง

屈原是楚国的大臣,他十分担心自己的国家,建议楚王联合齐国一起来抵抗秦国,遭受到贵族士大夫阶层的强烈反对。

ชวีเอวี๋ยน เป็นขุนนางระดับสูงของแคว้นฉู่ เขาห่วงใยประเทศชาติบ้านเมืองของตนมาก เสนอให้แคว้นฉู่ร่วมมือกับแคว้นฉีเพื่อต่อต้านแค้วนฉิน

(งงกับชื่อแคว้นมะ)แต่ถูกเหล่าราชนิกูลและชนชั้นสูงต่อต้านอย่างหนัก

屈原遭到陷害,被免去官职,流放到很远的地方。可是,屈原依然为自己的国家和人民而担忧,并因此写成了忧国忧民的不朽诗篇 离骚

ชวีเอวี๋ยนถูกปรักปรำให้ร้าย ถอดออกจากตำแหน่งขุนนาง และเนรเทศไปอยู่แดนไกล แต่ชวีเอวี๋ยนยังห่วงใยบ้านเกิดเมืองนอนและประชาชน

ของตน

公元前278年,秦国的军队果真占领了楚国的都城。屈原听到这个消息后悲痛欲绝,在农历五月初五那天跳进汨罗江自杀了。屈原用这种

方式表达他对祖国的热爱和对世俗的悲愤。

278 ปีก่อนคริสตกาล กองทัพของแคว้นฉินก็เข้ายึดครองเมืองหลวงของแคว้นฉู่จริงๆ หลังจากชวีเอวี๋ยวนทราบข่าวนี้ เศร้าโศกเสียใจปานชีวาวาย

และได้กระโดดลงแม่น้ำหมี่หลอเจียงเพื่อฆ่าตัวตาย ในวันที่ 5 เดือน 5 ตามปฏิทินจันทรคติปฏิทินจีน ชวีเอวี๋ยนใช้วิธีนี้ แสดงออกถึงความรู้สึกจงรัก

ภักดีแต่ประเทศชาติ และความคับแค้นใจที่มีต่อสังคมโลก

楚国人们听到屈原自杀的消息,纷纷赶到江边。渔夫们划着船在江上努力寻找,希望能把他打捞起来。

เมื่อชาวแค้วฉู่รู้ข่าวการฆ่าตัวตายของชวีเอวี๋ยน ต่างพากันมายังริมแม่น้ำ ชาวประมงก็ออกพายเรือหา เพื่อหวังว่าจะงมเขาขึ้นมาได้

有的人把给屈原准备的饭团子、鸡蛋扔进江里,希望江里的鱼、虾和螃蟹吃了这些食品,不去啃咬屈原的身体。

บางคนก็นำข้าวปั้น ไข่ต้มที่เตรียมไว้ให้ชวีเอวี๋ยน โยนลงแม่น้ำ เพื่อหวังว่าปลาปูกุ้งห้อยในน้ำ จะกินอาหารพวกนี้แล้วไม่ไปกัดกินร่างของชวีเอวี๋ยน

从此以后,每年到了五月初五,大家都会带着祭品到江边来纪念屈原。但是,人们发现直接把饭团扔到水里,饭团会散开,就想到先用树

叶把饭包住,外面再用彩色的丝线绑住它。

นับแต่นั้นเป็นต้นมา เมื่อถึงวันที่ 5 เดือน 5 ของทุกปี ทุกคนจะนำเครื่องเซ่น มาเซ่นไหว้รำลึกถึงชวีเอวี๋ยนที่ริมแม่น้ำ แต่ผู้คนก็พบว่า การโยนข้าวปั้น

ลงน้ำตรง ๆ ข้าวปั้นจะแตกออก จึงนึกถึงการใช้ใบไม้มาห่อแล้วเอาด้ายสีต่าง ๆ มัดมันไว้

慢慢地,这种用树叶包扎起来的饭团,就变成了今天的粽子。渔夫划船打捞屈原的行动,演变成了现在的一项赛龙舟的体育活动了。

นานวันเข้า - ข้าวปั้นที่ห่อโดยใบไม้จึงกลายเป็น จ่าง ในทุกวันนี้กิจกรรมที่ชาวประมง พายเรืองมหาชวีเอวี๋ยนก็กลายเป็นกิจกรรมการกีฬา แข่งเรือ

มังกร ในทุกวันนี้ จึงได้ประพันธ์บทกวี อมตะชื่อ หลีเซา ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความห่วงใยบ้านเมืองและราษฎร





หัวข้อ: Re: รู้ไว้ใช่ว่า.....(บ๊ะจ่าง)
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 01 กรกฎาคม 2553 14:17:34
(http://www.taklong.com/pictpost/t/89936DSC0862-1.jpg)



(http://lh6.ggpht.com/_AYFPNs1xf64/TBr_4TvayfI/AAAAAAAABD0/ny96kFM6Zak/1276500000.gif)



เทศกาลไหว้บะจ่าง เป็นเทศกาลที่สืบทอดกันมาแต่โบราณของประเทศจีน ตามปฏิทินทางจันทรคติ ทุกวันที่ 5 เดือน 5 ผู้คนก็จะจัดการแข่งเรือขึ้นตามที่ต่างๆ และรับประทานบะจ่าง พกพาถุงเครื่องหอม และไปเดินเล่นตามทุ่งหญ้าต่างๆ เพื่อเก็บสมุนไพรในฤดูใบไม้ผลิ กิจกรรมเหล่านี้ต่างก็ได้กลายเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมานับพันปี นับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน และจะสืบทอดต่อ ๆ กันไป
เทศกาลไหว้บะจ่าง เป็นเทศกาลที่สืบทอดกันมาแต่โบราณของประเทศจีน ตามปฏิทินทางจันทรคติ ทุกวันที่ 5 เดือน 5 ผู้คนก็จะจัดการแข่งเรือขึ้นตามที่ต่าง ๆ และรับประทานบะจ่าง พกพาถุงเครื่องหอม และไปเดินเล่นตามทุ่งหญ้าต่าง ๆ เพื่อเก็บสมุนไพรในฤดูใบไม้ผลิ กิจกรรมเหล่านี้ต่างก็ได้กลายเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมานับพันปี นับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน และจะสืบทอดต่อ ๆ กันไป
หากจะพูดถึงที่มาของเทศ กาลไหว้บะจ่างแล้ว ผู้คนต่างก็นึกถึงกวีผู้รักชาตินามว่าชวีหยวน มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่าในสมัยจั้นกว๋อ
(ก่อนค.ศ. 403-211) ฉู่เซียงอ๋อง หลงโปรดปรานเหล่าขุนนางกังฉิน เนื่องจากชวีหยวนยึดถือคุณธรรม กล้าพูดกล้าทำจึงได้ถูกปลดตำแหน่ง และไล่ออกจากเมืองหลวง รัฐฉินจึงได้ถือโอกาสเข้าโจมตีรัฐฉู่ แผ่นดินอันกว้างใหญ่ของรัฐฉู่ต้องสูญเสียไปในชั่วพริบตาเดียวเท่านั้น เมื่อได้เห็นประเทศชาติล่มสลาย ประชาชนต้องทนทุกข์ไร้ที่อยู่อาศัย ชวีหยวนนั้นมีใจรักชาติแต่ไม่อาจทำสิ่งใดได้ ด้วยความโกรธแค้น จึงได้กระโดดแม่น้ำมี่หลัวเจียง ฆ่าตัวตาย ชาวบ้านแถบนั้นทราบข่าวว่า ชวีหยวนกระโดดน้ำฆ่าตัวตาย ต่างก็เร่งรุดมาช่วยเหลือ พวกเขาล่องไปตามแม่น้ำ จนกระทั่งถึงทะเลสาบต้งถิงก็ยังไม่พบศพของชวีหยวน เรือที่แล่นสวนไปมาบนทะเลสาบนั้นดูพลุกพล่านเป็นอย่างยิ่ง วันนี้ก็คือวันที่ 5 เดือน 5 ทางจันทรคตินั่นเอง นับจากนั้นมา เมื่อถึงวันครบรอบ ผู้คนก็จะจัดการแข่งเรือกันในแม่น้ำ เพื่อเป็นการระลึกถึงชวีหยวน นอกจากนี้ผู้คนยังได้โยนบะจ่างลงไปในแม่น้ำ เพื่อที่จะให้บรรดาสัตว์น้ำทั้งหลายได้กินจนอิ่ม ไม่ให้ทำลายศพของชวีหยวน
นัก วิชาการบางท่านยังมีความเห็นประการอื่นเกี่ยวกับที่มาของเทศกาลไหว้บะจ่าง ในหนังสือรวมบทความของท่านเหวินยีตัว กล่าวว่า การที่มีการแข่งเรือ และรับประทานบะจ่างในเทศกาลไหว้บะจ่างนั้น ต่างก็มีความสัมพันธ์กับมังกร เทศกาลไหว้บะจ่างที่จริงแล้วคือเทศกาลมังกร เป็นเทศกาลพิเศษเพื่อที่จะระลึกถึงมังกร
ยังมีนักวิชาการบางคนเห็นว่า เทศกาลไหว้บะจ่างนี้มีที่มาจากตำนานวันที่ไม่เป็นมงคล จากบันทึกในตำรา โบราณกล่าวว่า ชาวบ้านต่างก็มีคำกล่าวว่า ไม่ควรกล่าวถึงเดือน 5 และไม่เลี้ยงเด็กที่เกิดเดือน 5 อีกด้วย ตำนานกล่าวว่าในสมัยจั้นกว๋อ เมิ่งฉางจวิน แห่งรัฐฉีเกิดในวันที่ 5 เดือน 5 บิดาไม่ให้เลี้ยงไว้ และนำไปทิ้งเสีย เนื่องจากเหตุผลที่ว่าเขาเกิดในวันที่ไม่เป็นมงคล ในขณะที่เมิ่งฉางจวินเสียชีวิต ชวีหยวนยังคงมีชีวิตอยู่ ดังนั้นจึงได้ให้วันที่ 5 เดือน 5 เป็นวันที่ระลึกถึงสิ่งอันไม่เป็นมงคล เห็นได้ชัดว่าไม่มีความเกี่ยวข้องกับชวีหยวนแม้แต่น้อย นอกจากนี้ อ้ายเฮา และชางผู่ ต่างก็เป็นหญ้าสมุนไพร การที่นำหญ้าทั้ง 2 ชนิดนี้แขวนไว้ที่ประตูเพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้าย เป็นคำกล่าวที่สมเหตุสมผลมากกว่า ความเชื่อที่ว่าเพื่อใช้เรียกวิญญาณชวีหยวนให้มาปรากฏกายมากนักแน่นอนว่า ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม เมื่อกล่าวถึงเทศกาลไหว้บะจ่าง เรื่องราวที่ผู้คนจะนึกถึงเป็นสิ่งแรก ก็ยังคงเป็นเรื่องของชวีหยวนอยู่นั่นเอง



ขอขอบคุณที่มา.....................http://bulletin.obec.go.th/mbdetail.php?id=0882 (http://bulletin.obec.go.th/mbdetail.php?id=0882)