[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ห้องสมุด => ข้อความที่เริ่มโดย: sometime ที่ 01 กรกฎาคม 2553 17:11:15



หัวข้อ: นาฏยศาสตร์
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 01 กรกฎาคม 2553 17:11:15
(http://ht6hsa.bay.livefilestore.com/y1pnZLlaA1tAqhW0O5hhzOtf3Sf6gnkBvzyU3lt6WCHSSYk0QFaZHgstH5Rv406Okq1PWbge7xQjqlyt1DzCpR3CADPwEfT0IYE/8034797989.jpg?psid=1)




Dola Re Dola - Devdas (http://www.youtube.com/watch?v=IiIL-w_jD8o#)




..............................นาฏยศาสตร์...........................




ว่าด้วยหลักทฤษฎีของนาฏยศิลป์ โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องคือดนตรีกรรมและนาฏกรรม เชื่อว่า แต่งขึ้น โดยพระภรตฤาษี เนื้อหาในคัมภีร์นาฏยศาสตร์ครอบคลุมเนื้อหาที่สามารถนำไปปรับใช้ได้กับศิลปะ การแสดงได้อย่างกว้างขวางและน่าเชื่อถือ ประกอบด้วย การออกแบบเวที นาฏลีลา การแต่งหน้า งานช่างเวที และสำคัญอย่างยิ่งสำหรับนักวิชาการดนตรี เพราะเป็นคัมภีร์เพียงเล่มเดียวที่กล่าวถึงองค์ประกอบทางดนตรีและเครื่อง ดนตรีในแต่ละช่วงเสียงไว้โดยละเอียด ดังนั้นคัมภีร์เล่มนี้จึงมีอิทธิพลโดยตรงต่อรูปแบบงานดนตรี นาฏยศิลป์และงานช่างในศิลปะอินเดีย และในปัจจุบันได้มีนักวิชาการทำการศึกษาคัมภีร์เล่มนี้อย่างลึกซึ้งและเกิด ข้อโต้แย้งที่จะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างองค์ความรู้จากภูมิปัญญาตะวัน ออกอย่างเป็นหลักการ เช่น งานเขียนอภินาวภารตี ของเป็นต้น องค์กรทางศิลปะหลายแห่งในอินเดียจึงได้ทำการศึกษาและให้การสนับสนุนการศึกษา คัมภีร์เล่มนี้อย่างกว้างขวาง





............................ประวัติของคัมภีร์นาฏยศาสตร์..................................




นาฏยศาสตร์ถือได้ว่าเป็นคัมภีร์ทางด้านศิลปะการช่างละครที่เก่าแก่ที่สุดใน โลกเท่าที่รอดเหลือมา เนื้อหาภายในประกอบด้วยคำบรรยาย ๖,๐๐๐ โศลก เชื่อกันว่าพระฤาษีภรตมุนีแต่งขึ้นในราว ๒๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราชถึง ค.ศ.๒๐๐ แต่ก็ยังไม่ถืเป็นข้อสรุปที่ชัดเจนในเรื่องยุคสมัยของคัมภีร์นี้ คัมภีร์นี้เชื่อว่าได้รับอิทธิพลอย่างมากจากพระเวทแขนงหนึ่งที่เรียกว่า นาฏยเวท ที่ได้มีการแต่งไว้มากถึง ๓๖,๐๐๐ โศลก และเป็นที่น่าเสียดายว่าปัจจุบันไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับนาฏยเวทนี้หลงเหลือมา มากเท่าใดนัก นักวิชาการหลายท่านเชื่อว่า นาฏยศาสตร์ น่าจะได้รับการแต่งขึ้นจากผู้เขียนหลายคนและเขียนขึ้นในหลายสมัยแตกต่างกัน ไม่ว่าจะประวัติศาสตร์การเกิดขึ้นของคัมภีร์เล่มนี้จะเป็นอย่างไร ความสำคัญลิทธิพลที่ส่งผลต่อผู้สร้างสรรค์ศิลปะทุกแขนงของอินเดีย ไม่ว่าจะเป็นงานแกะสลักบนหิน ไม้ และปูนขาว งานจิตรกรรมในผนังถ้ำและวิหาร ที่แสดงท่าทางการเคลื่อนไหวที่อาจส่งผลต่อแบบแผนการฟ้อนรำของนาฏย ศิลปิ์นเดีย ดังเช่น ศิลปวัตถุรูปหญิงฟ้อนรำทำจากทองสำริด ในซากปรักหักพังของโมเฮนโชดาโร มีอายุ ๔๐๐ ปี และภาพเขียนการฟ้อนรำในถ้ำนัชมาฮี ทางอินเดียตอนกลางที่มีอายุประมาณ  ๒๐๐ ปีมาแล้ว




หัวข้อ: Re: นาฏยศาสตร์
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 01 กรกฎาคม 2553 17:14:25
(http://ht6hsa.bay.livefilestore.com/y1pnZLlaA1tAqhW0O5hhzOtf3Sf6gnkBvzyU3lt6WCHSSYk0QFaZHgstH5Rv406Okq1PWbge7xQjqlyt1DzCpR3CADPwEfT0IYE/8034797989.jpg?psid=1)



Silsila Ye Chaahat Ka song - Devdas (http://www.youtube.com/watch?v=8qhkBTGE_Wo#)




....................การฝึกซ้อม.......................




 การแสดงออกด้วยท่าทางเพื่อสื่อความหมายและอารมณ์ การวิจารณ์ละคร ผู้ชมละคร เป็นต้น บางครั้งที่การเขียนอ้างถึงความคิดเห็นและนักวิจารณ์ท่านอื่นด้วย ในคัมภีร์นี้ผู้เขียนคือภรตมุนีได้อ้างว่า สิ่งที่เสนอเกี่ยวกับศิลปะการละครนั้นได้เรียบเรียงเสียใหม่เพื่อให้กระชับ และได้ใจความที่สั้นและเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านร่วมสมัย ทั้งนี้น่าจะเข้าใจได้ว่าการเขียนตำรานาฏยศาสตร์เล่มนี้ได้เรียบเรียงจาก เอกสารตำนานมากมายหลายฉบับที่มีเผนแพร่อยู่แล้ว โดยตั้งใจทำให้เป็นมาตรฐานฉบับที่น่าเชื่อถือที่สุด
ความน่าเชื่อถือของ คัมภีร์นาฏยศาสตร์ ไม่อาจมีใครปฏิเสธได้ เพราะในปัจจุบันคัมภีร์นี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ เป็นพระเวทชุดที่ ๕ ตามความเชื่อของชาวฮินดูที่ว่า พระพรหมเทพเจ้าแห่งการสร้างสรรค์ทรงถ่ายทอดความรู้ที่มีอยู่ในพระเวททั้ง ๔ เล่มแก่ภรตมุนี ผสมผสานปรุงแต่งจนกลายมาเป็น นาฏยเวท ซึ่งภายหลังเรียกว่า นาฏยศาสตร์ ความรู้ที่บันทึกไว้ในพระเวททั้ง ๔ เล่ม ได้แก่
๑. ฤคเวท  ความรู้ทางปัญญา ภาษา และถ้อยคำ
๒. สามเวท ความรู้ทางด้านลำนำ ทำนองเพลง และดนตรี
๓. ยชุรเวท ความรู้ทางด้านกิริยาท่าทางการแสดง
๔. อถรรพเวท ความรู้ทางด้านการแสดงออกทางอารมณ์ ประกอบด้วยรสและภาวะ
ตามตำนานของชาวฮินดูเล่าว่า หลังจากที่พระภรตได้รับความรู้เรื่องนาฏยศาสตร์จากพระพรหมแล้ว ก็สร้างกลุ่มนางระบำที่เรียกว่า นางอัปสร กลุ่มผู้ขับร้อง และกลุ่มนักดนตรี เพื่อจัดการแสดงถวายพระอิศวร (ศิวะ) หลังจาทอดพระเนตรการแสดงแล้ว ทรงโปรดให้ศิษย์เอกชื่อ ตัณทุ สอนท่ารำเข้มแข็งแบบชาย เรียกลีลานี้ว่า ตัณฑวา  ให้แก่ภรตมุนี และสอนลีลาท่ารำแบบอ่อนหวานนุ่นนวลที่เรียกว่า ลัสยา แก่พระนางปราวตีพระมเหสีแห่งพระอิศวร แล้วพระภรตจึงถ่ายทอดศิลปะการร่ายรำทั้งสองลีลาให้แก่ศิษย์ผู้อื่นจนแพร่ หลายต่อไป ท่ารำที่พริศวรและพระนางปราวตีประทานให้เหล่านี้มีทั้งสิ้น ๑๐๘ ท่า ชาวินดูเชื่อว่าเป็นท่ารำที่ศักดิ์สิทธิ์ควรแก่การเคารพบูชา ดังมีหลักฐานปรากฏเป็นภาพจำหลัก ณ เทวสาถนจิทัมพรัม  ทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย



หัวข้อ: Re: นาฏยศาสตร์
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 01 กรกฎาคม 2553 17:18:12
(http://ht6hsa.bay.livefilestore.com/y1pnZLlaA1tAqhW0O5hhzOtf3Sf6gnkBvzyU3lt6WCHSSYk0QFaZHgstH5Rv406Okq1PWbge7xQjqlyt1DzCpR3CADPwEfT0IYE/8034797989.jpg?psid=1)



Zeenat Aman - Sathyam Shivam Sundaram (http://www.youtube.com/watch?v=OxIzQAoa6Rs#)



Zeenat Aman จากภาพยนต์เรื่อง เทพธิดาในฝัน Sathyam Shivam Sundaram  ปี 1978



การที่เกิดพระเวทที่ ๕ นี้ขึ้นก็เพราะในสังคมชาวอารยันมีการแบ่งวรรณะเป็น พราหมณ์ กษัตริย์ แพทย์ และสูทร มีเพียง ๒ วรรณะเท่านั้นที่จะสามารถศึกษาพระเวทได้ คือ พราหมณ์และกษัตริย์ วรรณะแพศย์และสูทรจึงถูกห้ามให้เข้าถึงพระเวทแม้แต่เพียงการฟังเพราะถือว่าเป็นวรรณะต่ำ เมื่อพระอินทร์ต้องการให้คนวรรณะต่ำนี้ได้เข้าถึงพระเวทบ้าง จึงเกิดมีนาฏยเวทขึ้น
เนื้อหาหลักของคัมภีร์นาฏยศาสตร์ กล่าวถึงการฟ้อนรำที่ใช้ลีลาท่าที ๓ ลักษณะ ได้แก่................................
๑. นฤตตะ การฟ้อนรำล้วนๆ การเคลื่อนต่าง ๆ ไม่มีความหมายเฉพาะ หรือมีอารมณ์ เป็นการแสดงกลวิธีที่ละเอียดซับซ้อนของจังหวะท่าทางต่าง ๆ เพื่อสร้างสรรค์ความงามบริสุทธิ์ของท่ารำ
๒. นฤตยะ เป็นการฟ้อนรำที่ประกอบด้วยการเคลื่อนไหวของร่างกาย มือ แขน ขา ตลอดจนการแสดงสีหน้ากอบ่รด้วยรสหรืออารมณ์ เป็นการแสดงที่กระทำเป็นเพียงประโยคหนึ่ง หรือตอนใดตอนหนึ่ง  หรือเป็นการแสดงละครทั้งเรื่องก็ได้ เพื่อถ่ายทอดความหมายและอารมณ์ความรู้สึก
๓. นาฏยะ เป็นการผสมผสานการฟ้อนรำและการแสดงเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวของวรรณกรรมนาฏยศาสตร์  แสดงให้เห้นว่าการฟ้อนรำ เกิดจากการผสมผสานอย่างต่อเนื่องของท่าทาง ของร่างกาย ๓ ส่วนหลัก คือ..........................................
กิ่งของร่างกาย แขน ขา มือ เท้า นิ้ว ศีรษะ ตัวเรือนร่าง และ ใบหน้า
ส่วนทั้ง ๓ ของร่างกายนี้ ต้องแสดงให้สัมพันธ์กันอย่างมีเอกภาพด้วยอัตราความเร็ว  ความละเอียดอ่อน ความสมดุลย์ การควบคุมร่างกายความหลากหลาย  การใช้สายตา  การแสดงสีหน้า  ความคิด  สรรพสำเนีงยและเสียงเพลงในกระแสธรรมชาติแห่งความกลมกลืน



แหล่งอ้างอิงข้อมูลจาก.............บ้านนาฏศิลปไทย DOTCOM ข้อมูลจากหนังสือ นาฏย์ศาสตร์ กรมศิลปากร