[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ไปเที่ยว => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 10 กรกฎาคม 2555 15:46:04



หัวข้อ: วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร จ. สิงห์บุรี กับตำนานนิทานลูกฆ่าพ่อ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 10 กรกฎาคม 2555 15:46:04
.
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/53707929493652_1.JPG)
พระนอนจักรสีห์ ในวิหารวัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร ต.จักรสีห์ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี
องค์พระยาว ๓ เส้น ๓ วา ๒ ศอก ๓ คืบ ๗ นิ้ว (๔๗.๔๐ เมตร)
พระเศียรชี้ไปทางตะวันออก หันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/13071701510084_1.JPG)

วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร
อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี

วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร ตั้งอยู่อำเภอเมืองสิงห์บุรี  ห่างจากตัวเมืองสิงห์บุรีไปตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๓๒ (สายสิงห์บุรี - สุพรรณบุรี) ระยะทางประมาณ ๕ กิโลเมตร สันนิษฐานว่าวัดนี้สร้างสมัยก่อนกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี  ภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระนอนจักรสีห์  เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางไสยาสน์ขนาดใหญ่ ยาว ๔๗ เมตร ใกล้กับวัดพระนอนจักรสีห์มีซากโบราณสถานเรียกกันว่าวัดหน้าพระธาตุ ปัจจุบันเหลือเพียงปรางค์องค์ใหญ่

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าถึงเมืองสิงห์ถวายสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ไว้ในสาสน์สมเด็จ ว่า "...เมืองสิงห์บุรีเป็นเมืองใหญ่และเก่า มีป้อมปราการ วัง วัดมหาธาตุ และของสำคัญ คือ พระนอนจักรสีห์ ใหญ่ยาวกว่าพระนอนองค์อื่น ๆ ในเมืองไทย ทำเป็นแบบพระนอนอินเดียเหมือนเช่นที่ถ้ำเมืองยะลา คือพระกรขวาศอกยื่นไปทางด้านหน้า ไม่ทำงอ พระกรตั้งขึ้นรับพระเศียร แบบพระนอนไทย   เมืองสิงห์เรียกชื่อต่างๆ ดังนี้ เมืองสิงหราชาธิราช เมืองสิงหราชา เป็นเมืองตั้งอยู่ริมแม่น้ำจักรสีห์อันเป็นลำน้ำใหญ่ ห่างแม่น้ำเจ้าพระยา ๒๐๐ เส้น เพราะแม่น้ำจักรสีห์ตื้นเขิน เมืองสิงห์จึงกลายเป็นเมืองอยู่ลับลี้......"  

แสดงว่า สิงห์บุรีเป็นเมืองที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ มีอดีตยาวนาน จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีพบว่า มีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณมาเป็นเวลานานหลายยุคหลายสมัย
ข้อมูล : http://www.singburi.go.th (สำนักงานจังหวัดสิงห์บุรี - ศาลากลางจังหวัดสิงห์บุรี)



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/25047549398408_6.JPG)

นิทานลูกฆ่าพ่อ  ที่วัดพระนอนจักรสีห์ จังหวัดสิงห์บุรี

ตำนานพระนอนพระจักรสีห์  (วัดพระนอนจักรสีห์ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี) มี ๒ สำนวน โครงเรื่องหลักเหมือนกัน คือลูกฆ่าพ่อ  แต่ตัวพ่อต่างกัน คือพ่อเป็นสิงห์เรื่องหนึ่ง และพ่อเป็นสุนัขอีกเรื่องหนึ่ง
นิทานเรื่องนี้ล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางศาสนาของท่านมหาเถรศรีศรัทธาฯ เชื้อวงศ์สุโขทัย
 
ตำนานเรื่องที่ ๑ พ่อเป็นสิงห์  ตำนานเรื่องนี้ มีต้นเค้าจากมหาวงศ์ พงศาวดารลังกา ได้จากหนังสือ “ประวัติพระพุทธไสยาสน์ วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร  อำเภอเมือง  จังหวัดสิงห์บุรี”  (วัดพระนอนจักรสีห์ พิมพ์แจกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๘)  เขียนไว้โดยพระครูพุทธไสยาสน์มุนี แล้วเจ้าอาวาสองค์ต่อๆ มาคัดลอกไว้ ดังต่อไปนี้

ในอดีตกาลนานมา มีสัตว์ตัวหนึ่งนัยว่าเป็นสิงห์ อาศัยถ้ำคูหาอยู่ในบริเวณพระวิหารพระพุทธไสยาสน์   สิงห์ตัวนี้ได้ไปหากินถึงแขวงเมืองชัยนาท ไปพบบุตรีของเศรษฐีผู้หนึ่ง (ไม่ปรากฏชื่อ) มีความปฏิพัทธ์รักใคร่ในนางนั้นเป็นกำลัง เมื่อได้ทีจึงรวบรัดนางนั้นขึ้นหลังพามายังถ้ำคูหาแห่งตน และได้สมสู่เป็นสามีภรรยาด้วยกันมาช้านาน ก็มีครรภ์
 
ครั้นถึงกำหนดก็คลอดบุตรชายเป็นมนุษย์ บิดามารดามีความชื่นชมยินดีเป็นที่สุด และขนานนามบุตรว่า สิงหนพาหุ (โดยมากเรียกติดปากว่า สิงหพาหุ)  ครั้นสิงหนพาหุเจริญวัยขึ้น เมื่อสิงห์ผู้เป็นบิดาไปเที่ยวหาอาหารในป่า สิงหนพาหุก็ไปเที่ยวด้วยเสมอ แต่หาทราบไม่ว่าสิงห์นั้นเป็นบิดาของเธอ

วันหนึ่งได้โอกาสจึงอ้อนวอนถามมารดาว่าบิดาของข้าพเจ้าคือใคร มารดาจึงตอบเป็นนัยๆ ว่าวันนี้เจ้าไปเที่ยวกับใคร คนนั้นแหละคือบิดาของเจ้า  สิงหนพาหุเมื่อทราบชัดว่าสิงห์นั้นเป็นบิดาของตนตามคำมารดาบอก ก็เกิดความโทมนัสน้อยใจ คิดละอายแก่เพื่อนมนุษย์ ด้วยว่าบิดาของตนเป็นสัตว์ดิรัจฉาน เหตุนี้เองจึงทำให้สิงหนพาหุคิดเห็นผิดเป็นชอบ คอยหาโอกาสที่จะประหารชีวิตบิดาเสีย

ครั้นวันหนึ่งคิดเป็นอุบายอันเหมาะสม ที่จะทำลายชีวิตบิดาได้แล้ว ก่อนจะไปป่าจึงขอให้มารดาห่ออาหารให้ห่อหนึ่งแล้วเดินทางเข้าสู่ป่าพร้อมกับสิงห์ผู้เป็นบิดา พบสัตว์ฝูงหนึ่งในที่ใกล้บริเวณต้นโพธิ์ สิงห์จึงให้บุตรคอยอยู่ใต้ต้นโพธิ์นั้น ตนออกเที่ยวจับสัตว์ในป่าเพลินอยู่

ฝ่ายสิงหนพาหุคอยบิดาอยู่ เมื่อไม่เห็นบิดากลับมาจึงขึ้นต้นโพธิ์ตะโกนร้องเรียก เมื่อบิดากลับมาถึงแล้วจึงจัดอาหารให้รับประทานภายใต้ต้นโพธิ์ สิงหนพาหุถืออาวุธแอบหลังคอยทีอยู่ พอได้ทีก็ฟันคอบิดาขาดตายในที่นั้น จึงตัดกิ่งโพธิ์คลุมศพบิดาไว้ในสถานที่นั้นๆ จึงมีนามว่าโพธิ์ตะโกน ตั้งแต่วันนั้นมาจนบัดนี้

ครั้นเสร็จจากการทำลายชีวิตบิดาแล้ว จึงกลับมายังคูหาแจ้งความตายที่ตนได้ปลงชีวิตบิดาแก่มารดาทุกประการ นางมีความเศร้าโศกร่ำไห้ถึงสามีมิวายวัน

ครั้นวายโศกแล้ว จึงปรึกษากับสิงหนพาหุว่าจะปลงศพบิดาเจ้าที่ไหนจึงจะสมควร ได้รับตอบว่าควรจะปลงศพที่โคกจันทน์ ซึ่งเป็นบริเวณใกล้คูหา เป็นอันตกลงนำศพมาทำฌาปนกิจที่โคกจันทน์ บัดนี้ สถานที่นั้นก็ยังมีปรากฏอยู่

ครั้นปลงศพเสร็จแล้ว สิงหนพาหุจึงอาราธนาพระเถรานุเถระทั้งหลายให้มาประชุมพร้อมกันในสถานที่สมควรแห่งหนึ่ง แล้วจึงเรียนถามว่าบัดนี้ ข้าพเจ้าได้พิจารณาเห็นโทษที่กระทำผิดต่อบิดานั้นแล้ว จะกระทำอย่างไรดีจึงจะพ้นโทษนั้นได้

พระสงฆ์ทั้งหลาย จึงบอกว่าควรจะสร้างพระพุทธรูปและกุฎีวิหารถวายเป็นสังฆิการาม แด่พระสงฆ์ทั้งหลายผู้มาแต่จาตุทิศทั้ง ๔ นั่นแหละเห็นว่าจะเป็นบุญกุศลช่วยบรรเทาบาปกรรมอันหนักยิ่งของท่านได้บ้าง

สิงหาพาหุ จึงได้เริ่มก่อสร้างพระพุทธไสยาสน์ขึ้นองค์หนึ่ง เอาทองคำโตสามกำยาว ๑ เส้น ทำเป็นแกนพระพุทธรูป ได้สร้างทับคูหาบิดาไว้ และสร้างกุฎีวิหารเป็นพระอารามสำเร็จบริบูรณ์ จึงได้มีการประชุมพระสงฆ์ฉลองถวายจตุปัจจัยไทยธรรม

ครั้นเสร็จแล้วจึงเรียนถามพระสงฆ์อีกวาระหนึ่ง ว่าด้วยเดชะอำนาจกุศลสมภารที่ข้าพเจ้าได้ก่อสร้างพระพุทธรูปและพระอารามนี้ จะพ้นโทษได้หรือยัง พระสงฆ์จึงบอกว่าอาจเป็นนิสสัยช่วยได้บ้างแล้ว

ครั้นต่อมา สิงหนพาหุจึงได้จัดสร้างพระอารามขึ้นที่ต้นโพธิ์ซึ่งเป็นสถานที่ทำลายชีวิตบิดาถึงแก่กรรมอีกแห่งหนึ่ง จึงได้นามว่าวัดสระบาป บัดนี้ยังมีปรากฏอยู่ แต่ร้างเสียแล้ว  (น่าสงสัยอยู่ โพธิ์ตะโกนที่ชาวบ้านใกล้เคียงรู้จักดี เป็นละแห่งกับวัดสระบาป มิใช่แห่งเดียวกัน)

ครั้นสร้างวัดสระบาปแล้ว ได้สร้างขึ้นอีกวัดหนึ่งที่ริมน้ำเจ้าพระยา ตำบลบ้านสมัคร อำเภอพุทรา บัดนี้เรียกอำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ให้นามว่าวัดประชด บัดนี้ชื่อว่าวัดพระโชติการาม ยังมีพระจำพรรษาอยู่จนทุกวันนี้

ครั้นภายหลังวันหนึ่ง สหายของสิงหนพาหุชื่อ ขุนอินทร์ เป็นคนชาวเมืองอ่างทอง ได้มาเยี่ยมสิงหนพาหุๆ ได้เล่าเรื่องที่ตนประหารบิดาจนถึงแก่กรรมด้วยความคิดผิด ขุนอินทร์บอกว่าจะก่อพระพุทธรูปสร้างพระอารามอุทิศส่วนกุศลให้กับท่านอีกแห่งหนึ่ง สิงหนพาหุมีความยินดีมาก ครั้นเป็นการตกลงกันแล้ว ขุนอินทร์ก็ลากลับ

ขุนอินทร์เมื่อกลับไปถึงบ้านแล้ว ได้คิดถึงคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้แก่สิงหนพาหุ จึงก่อสร้างพระพุทธไสยาสน์ขึ้นอีกองค์หนึ่ง ในเขตเมืองอ่างทอง มีลักษณะคล้ายคลึงกับพระพุทธไสยาสน์ที่หนพาหุสร้างไว้ แล้วสร้างกุฎีวิหาร พร้อมเสร็จเป็นอารามขึ้นอีกแห่งหนึ่ง มีนามว่า วัดขุนอินทร์ประมูล ดังปรากฏองค์พระพุทธไสยาสน์มาจนกระทั่งปัจจุบันนี้

ครั้นนานมา กุฎีวิหารและองค์พระพุทธไสยาสน์ที่สิงหนพาหุสร้างไว้ชำรุดหักพังทำลายลง จนไม่ปรากฏว่าเป็นองค์พระพุทธไสยาสน์ เป็นแต่โคกเนินสูงอยู่กว่าภูมิภาคส่วนอื่นเท่านั้น

มีพ่อค้าเกวียนผู้หนึ่ง นามว่าท้าวอู่ทอง ได้พาเกวียนประมาณ ๕๐๐ เล่ม เดินทางข้ามเนินซึ่งเป็นองค์พระพุทธไสยาสน์นี้ไป  ครั้นเกวียนลงจากเนินนั้นหมดแล้ว ท้าวอู่ทองจึงเห็นทองคำติดกงเกวียน มีความประหลาดใจ จึงชวนกันเดินย้อนทางมา เพื่อจะตรวจให้ทราบแน่ชัดว่าทองติดกงเกวียนมาแต่ไหน  ก็พบมีทองคำอยู่บนเนินนั้น จึงจัดการขุดดูเห็นทองคำโตสามกำ ยาว ๑ เส้น จึงสันนิษฐานว่าคงจะเป็นแกนองค์พระพุทธไสยาสน์ ได้ชักชวนบรรดาพ่อค้าเกวียนปฏิสังขรณ์ให้เป็นองค์พระพุทธไสยาสน์ขึ้นอีก พร้อมทั้งกุฎีวิหารให้บริบูรณ์ดังเดิม  แล้วสร้างวัดอีกวัดหนึ่ง ซึ่งเป็นสถานพักเกวียนและโค ปรากฏนามว่า วัดโคพัก มาจนบัดนี้ แต่ร้างเสียแล้ว"



ตำนานเรื่องที่ ๒ พ่อเป็นสุนัข พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จไปนมัสการพระนอนจักรสีห์ ทรงจดนิทานพระนอนไว้อีกสำนวนหนึ่ง สรุปดังต่อไปนี้

คำเล่าอีกอย่างหนึ่งว่า พระยาจักรีศรีเป็นผู้สร้าง เรื่องราวเดิมว่าพระมหากษัตริย์ในแถบนี้ มีพระราชธิดาองค์หนึ่งเลี้ยงสุนัขไว้นั้น ภายหลังมาสุนัขได้สมัครสังวาสด้วยพระราชธิดามีครรภ์ขึ้น พระบิดาให้สืบสวนหาชายชู้ไม่ได้ จึงได้ความว่าพระราชธิดานั้นเป็นชู้กับสุนัข ให้ขับเสียจากพระราชวัง นางนั้นคลอดบุตรมาเป็นพระยาจักรีศรี

ครั้นอยู่มาพระราชบิดาทรงทราบว่าพระราชนัดดารูปโฉมโนมพรรณดีกลับทรงพระกรุณาขึ้น จึงให้ไปรับเข้ามาไว้ในพระราชวังตามเดิม  ครั้นพระอัยกาสิ้นพระชนม์ พระยาจักรีศรีก็ได้ครองราชสมบัติสนองพระองค์ต่อไป มีบุญบารมีเป็นอันมาก ภายหลังมามีความสงสัยจึงได้ถามพระมารดาว่าใครเป็นพระบิดา

มาดาจึงแจ้งความว่าผู้ใดที่ตามไปมาอยู่ด้วยเสมอ ผู้นั้นแลเป็นพระบิดา  พระยาจักรีศรีสังเกตดูสุนัขซึ่งเป็นบิดานั้นติดตามอยู่เสมอก็มีความขัดเคือง จึงได้ฆ่าสุนัขนั้นเสีย ก็เผอิญบังเกิดมืดมัวไปทั่วทิศ พระยาจักรีศรีจะเสด็จกลับเข้าวังก็ไม่ได้ จึงได้เอาไส้สุนัขซึ่งเป็นบิดานั้นพันพระเศียร แล้วเสด็จกลับเข้าพระราชวัง อากาศที่มัวมนนั้นก็หายไป จึงได้มีความร้อนพระทัยไปหาพระมหาเถรปรึกษาที่จะแก้บาปปิตุฆาต

พระมหาเถรจึงได้ทูลให้สร้างพระพุทธไสยาสน์องค์นี้ จึงมีนามปรากฏว่า พระนอนจักรศรี ตามพระนามของพระยาจักรีศรีนั้น”

นิทานเรื่องนี้ รัชกาลที่ ๕ ทรงมีพระราชดำริว่าเรื่องราวคล้ายกันกับเรื่องพญากง พญาพาน


ที่มา : นิทานลูกฆ่าพ่อ วรรณกรรมอยุธยา ที่วัดพระนอนจักรสีห์ (จ.สิงห์บุรี) โดยสุจิตต์  วงษ์เทศ หน้า ๗๙ หนังสือมติชนรายสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๖๙๖ ประจำวันที่ ๑๕-๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๖


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/63308952624599_7.JPG)

ลูกฆ่าพ่อที่เป็นหมา
ในนิทานศักดิ์สิทธิ์ วัดพระนอนจักรสีห์ สิงห์บุรี

หมา เป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ของคน อย่างน้อย ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว เพราะคนยุคนั้นเชื่อว่าหมาเอาพันธุ์ข้าวมาให้คนปลูกกินเป็นอาหารในชีวิตประจำว้น   หลังจากนั้นต่อมาอีกนาน หมาก็ยังสืบเนื่องบทบาทสำคัญใกล้ชิดคน มีในตำนานบางเรื่องว่าหมาตัวผู้สมสู่กับผู้หญิงจนมีลูกชายด้วยกัน


• พระนอนจักรสีห์ สิงห์บุรี
พระนอนจักรสีห์ ที่เมืองสิงห์บุรี มีนิทานคล้ายๆ พระยากง พระยาพานอยู่ด้วย
 
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.๕ เสด็จไปนมัสการพระนอนจักรสีห์ ทรงจดนิทานไว้ด้วยว่า  “นิทานที่เล่าเรื่องพระนอนจักรสีห์นี้มีหลายเรื่องหลายราว ทำนองเดียวกันกับพระปฐมเจดีย์ พระธรรมไตรโลกว่าทราบว่าพระเจ้าสิงหพาหุเป็นผู้สร้าง แต่พระเจ้าสิงหพาหุจะครองสมบัติแห่งใด สร้างครั้งไรก็ไม่ปรากฏ”

เรื่องพระเจ้าสิงหพาหุนี้ อยู่ในหนังสือมหาวงศ์หรือพงศาวดารลังกา เข้าใจว่าผู้เล่าต้องการผูกเรื่องพระนอนให้เกี่ยวกับลังกา

• ลูกฆ่าพ่อที่เป็นหมา
แต่ ร.๕ ทรงจดไว้อีกเรื่องหนึ่งดังต่อไปนี้ (จัดย่อหน้าใหม่เพื่อให้อ่านสะดวก)
“คำเล่าอีกอย่างหนึ่งว่า พระยาจักรีศรีเป็นผู้สร้าง เรื่องราวเดิมว่า

พระมหากษัตริย์ในแถบนี้มีพระราชธิดาองค์หนึ่งเลี้ยงสุนัขไว้นั้น ภายหลังมาสุนัขได้สมัครสังวาสด้วยพระราชธิดามีครรภ์ขึ้น พระบิดาให้สืบสวนหาชายชู้ไม่ได้ จึงได้ความว่าพระราชธิดานั้นเป็นชู้กับสุนัข ให้ขับเสียจากพระราชวัง
 
นางนั้นคลอดบุตรมาเป็นพระยาจักรีศรี
 
ครั้นอยู่มาพระราชบิดาทรงทราบว่าพระราชนัดดารูปโฉมโนมพรรณดีกลับทรงพระกรุณาขึ้น จึงให้ไปรับเข้ามาไว้ในพระราชวังตามเดิม
 
ครั้นพระอัยกาสิ้นพระชนม์ พระยาจักรีศรีก็ได้ครองราชสมบัติสนองพระองค์ต่อไป มีบุญบารมีเป็นอันมาก ภายหลังมามีความสงสัย จึงได้ถามพระมารดาว่าใครเป็นพระบิดา
 
มารดาจึงแจ้งความว่าผู้ใดที่ตามไปมาอยู่ด้วยเสมอ ผู้นั้นแลเป็นพระบิดา
 
พะยาจักรีศรีสังเกตดูสุนัขซึ่งเป็นบิดานั้นติดตามอยู่เสมอก็มีความขัดเคือง จึงได้ฆ่าสุนัขนั้นเสีย ก็เผอิญบังเกิดมืดมัวไปทั่วทิศ พระยาจักรีศรีจะเสด็จกลับวังก็ไม่ได้ จึงได้เอาไส้สุนัขซึ่งเป็นบิดานั้นพันพระเศียร แล้วเสด็จกลับเข้าพระราชวัง อากาศที่มัวมนนั้น ก็หายไป จึงได้มีความร้อนพระทัย ไปหาพระมหาเถรปรึกษาที่จะแก้บาปปิตุฆาต
 
พระมหาเถรจึงได้ทูลให้สร้างพระพุทธไสยาสน์องค์นี้ จึงมีนามปรากฏว่าพระนอนจักรศรี ตามพระนามของพระยาจักรีศรีนั้น”
 
ร.๕ ทรงย้ำอีกว่านิทานพระนอนจักรสีห์มี “เรื่องราวคล้ายกันกับเรื่องพระยากงพระยาพาน” แล้วทรงอธิบายว่าองค์พระนอนสร้างมาก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา
 
พระยากง พระยาพาน เป็นนิทานฆ่าพ่อที่ท่านมหาเถรศรีศรัทธาแห่งรัฐสุโขทัยสร้างเรื่องเผยแพร่ไว้ให้พระปฐมเจดีย์ ผมเขียนอธิบายอย่างละเอียดไว้ในหนังสือพระปฐมเจดีย์ฯ (สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๔๕)

 
 
• มหาเถรศรีศรัทธา รัฐสุโขทัย
ท่ˆานมหาเถรศรีศรัทธา เจ้านายผู้ใหญ่แห่งรัฐสุโขทัย บอกไว้ในจารึก ๒ หลัก ว่าไปทำบุญยังสถานที่แห่งหนึ่งเรียก  “กุดานครกำพงครองŽ” (จารึกวัดศรีชุม) หรือ “รัตนกูดานครไทยว่ากำพงครอง”Ž (จารึกเขากบ) แต่ยังไม่รู้ว่าสถานที่แห่งนี้ ปัจจุบันคืออะไร? อยู่ที่ไหน?
 
เมื่อสำรวจตรวจสอบร่องรอยและหลักฐานอื่นๆ ประกอบแล้ว น่าเชื่อว่าหมายถึงบ้านเมืองเก่าที่มีปรางค์พระธาตุ วัดหัวเมืองหรือวัดหน้าพระธาตุบริเวณพระนอนจักรสีห์ ริมแม่น้ำน้อย จ.สิงห์บุรี (มีอธิบายในคำให้การของบรรณาธิการ เรื่องพระนอนจักรสีห์ ก็มีนิทาน “ฆ่าพ่อ”Ž โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ ในศิลปวัฒนธรรม (ปีที่ ๑๒ ฉบับที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๓๓) จะสรุปมาดังนี้
 
กฎหมายลักษณะลักพาฯ ตราขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๘ หลังสถาปนากรุงศรีอยุธยาราว ๕ ปี กล่าวถึงกรณี “ข้าหนีเจ้า ไพร่หนีนาย”Ž แล้วออกชื่อบ้านเมืองส่วนหนึ่งซึ่งมีทั้งที่อยู่ในอำนาจของแคว้นสุโขทัยกับที่อยู่ในอำนาจของแคว้นกรุงศรีอยุธยาสมัยนั้นไว้ด้วย เช่น
 
“…เมืองเพชบุรีย เมืองราชบุรีย เมืองสุพรรณบุรีย สพงครองพลับ แพรกศรีราชาธิราช นครพรหม…Ž”
 
บ้านเมืองเหล่านี้ล้วนมีมาก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา ดังมีจารึกและโบราณวัตถุสถานยืนยันจำนวนมาก และเป็นที่รู้จักกันทั่วไป
 
แต่ที่เป็นปัญหาชวนให้สะกิดใจครั้งนี้คือชื่อ “สพงครองพลับ”Ž ใกล้เคียงกับชื่อสถานที่แห่งหนึ่งที่ท่านมหาเถรศรีศรัทธา บำเพ็ญมหากุศลแจกจ่ายพระธาตุกับหน่อพระศรีมหาโพธิ์จากลังกาให้ประดิษฐานไว้ จารึกวัดศรีชุมระบุว่า “ในกุดานครกำพงครอง”Ž และจารึกวัดเขากบบอกว่า “รัตนกูดานครไทยว่ากำพงครอง”Ž
 
เชื่อกันว่าชื่อสถานที่ในจารึกสองหลักนี้เป็นแห่งเดียวกัน และต้องอยู่เหนืออยุธยา แต่อยู่ใต้สุโขทัย
 
ครั้นได้พบชื่อในกฎหมายลักษณะลักพาฯ ว่า “…สพงครองพลับ แพรกศรีราชาธิราช นครพรหม…Ž” จึงชวนให้คิดว่า “สพงครองพลับ”Ž อยู่ในกลุ่มเมืองแพรกศรีราชา (สรรคบุรี) กับเมืองพรหมบุรี
 
แต่ยังมีข้อสงสัยอีกว่าต้องอ่าน “สพงครองพลับแพรกศรีราชาธิราช”Ž  ติดต่อเป็นสถานที่แห่งเดียวกัน (คล้ายกับ “อโยธยาศรีรามเทพนคร”Ž) หรือต้องอ่าน “สพงครองพลับ”Ž (วรรค) “แพรกศรีราชาธิราช”Ž เป็นคนละแห่งกัน
 
คุณไมเคิล ไรท์ อธิบายว่า “พระมหาเถรไลยลาย”Ž (ในพระราชพงศาวดารเหนือ) กับ “พระมหาเถรไหล่ลาย”Ž (ในตำนานพระปฐมเจดีย์) ล้วนหมายถึง พระมหาเถรศรีศรัทธา  มีร่องรอยไปเกี่ยวข้องกับบ้านเมืองละแวกอ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวข้องกับพระนอนที่ตำนานอาจจดพลาดไป คือแทนที่จะเป็นพระนอนจักรสีห์ก็เป็นพระนอนป่าโมก
 
จารึกวัดศรีชุมระบุว่า “กุดานครกำพงครองŽ” และจารึกวัดเขากบบอกว่า “รัตนกูดานครไทยว่ากำพงครอง”Ž นั้น ถ้าจัดวรรคตอนใหม่แล้วทดลองเติมคำให้สมบูรณ์ตามความเข้าใจใหม่ก็อาจได้ความว่าสถานที่แห่งนี้ชื่อ  “รัตนกูดานคร” (ที่พวก) ไทย (เรียก) ว่ากำพงคลอง (พลับ)Ž” หรือ “สพงคลองพลับ”Ž นั่นเอง (สมมุติว่า “ครองŽ” ก็คือ “คลอง”Ž)
 
สรุปว่า “รัตนกูดานครŽ” คือชื่อเมืองอย่างเป็นทางการอันศักดิ์สิทธิ์ มีปรางค์พระธาตุ ที่วัดหัวเมือง หรือวัดหน้าพระธาตุบริเวณพระนอนจักรสีห์ ริมแม่น้ำน้อย จ. สิงห์บุรี เป็นศูนย์กลาง และควรจะเป็นสถูปที่ท่านมหาเถรศรีศรัทธาเชิญพระธาตุจากลังกามาประดิษฐานไว้ข้างใน  ส่วนชาวบ้านทั่วไปเรียก “กำพงคลอง”Ž หรือ “สพงคลองพลับŽ” หมายถึงบ้านคลองพลับหรือเมืองคลองพลับ (คำว่า “กำพง”Ž หรือ “สพง”Ž มาจากภาษามลายู หมายถึงท่าน้ำหรือตำบล แต่ในที่นี้อยากจะให้หมายถึงบ้านหรือเมืองขนาดเล็ก)  


ข้อมูล "ลูกฆ่าพ่อที่เป็นหมา ในนิทานศักดิ์สิทธิ์ วัดพระนอนจักรสีห์ สิงห์บุรี"
          โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันศุกร์ที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๗


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/68025062357385_1_.JPG)

 (http://www.sookjaipic.com/images_upload/19830370942751_2.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/43610043327013_3.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/71547550997800_4.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/30281327457891_5.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/56161724858813_6.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/70093006268143_2.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/49885411436359_3.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/65963684684700_4.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/44897323846816_5.JPG)
พระพุทธรูป และของใช้โบราณหลายร้อยชิ้น  
จัดแสดงในวิหารพระนอนจักรสีห์

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/22141696636875_10.JPG)
ร้านจำหน่ายหนังสือธรรมะ "อริยสัจจ์" ในวัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร