[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => สมถภาวนา - อภิญญาจิต => ข้อความที่เริ่มโดย: 【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪ ที่ 12 กรกฎาคม 2555 00:30:25



หัวข้อ: วัญจกธรรม (ธรรมเป็นเครื่องหลอกลวง) ๓๘ ประการ
เริ่มหัวข้อโดย: 【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪ ที่ 12 กรกฎาคม 2555 00:30:25
วัญจกธรรม (ธรรมเป็นเครื่องหลอกลวง) ๓๘ ประการ

๑. ความพอใจในกาม ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นอปฏิกูลสัญญา

๒. ความพยาบาท ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นปฏิกูลสัญญา

๓. ถีนมิทธะ (ความท้อถอย ง่วงเหงา) ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นสมาธิ

๔. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นการปรารภความเพียร

๕. กุกกุจจะ (ความรำคาญใจ) ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้ใคร่ในการศึกษา

๖. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) ย่อมลวง เหมือนกับว่ามีการพิจารณาทั้งสองฝ่าย

๗. ความหลงพร้อม (ไม่รู้) ย่อมลวง เหมือนกับว่ามีการวางเฉยต่ออารมณ์ที่น่าปรารภนาและไม่น่าปรารถนา

๘. มานะ (ความสำคัญตน) ย่อมลวง โดยความไม่ดูหมิ่นตน เหมือนกับว่าเป็นผู้รู้จักตน

๙. มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ย่อมลวง ด้วยการถือเอาเหตุอันสมควร เหมือนกับว่ามีปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา

๑๐. ความเป็นผู้ไม่ถึงความเอ็นดูในสัตว์ทั้งหลาย ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นปราศจากความกำหนัดยินดี

๑๑. กามสุขัลลิกานุโยค (การประกอบเนืองๆ ซึ่งความหมกมุ่นในกาม) ย่อมลวงเหมือนกับว่าเสพในสิ่งที่พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตไว้

๑๒. ความเป็นผู้มีปกติไม่แบ่งปัน ย่อมลวง เหมือนกับว่ามีการเลี้ยงชีพที่บริสุทธิ์

๑๓. มิจฉาอาชีวะ ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้มีปกติแบ่งปัน

๑๔. ความเป็นผู้มีปกติไม่สงเคราะห์ ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้อยู่ด้วยการไม่คลุกคลี

๑๕. ความคลุกคลีที่ไม่สมควร ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้มีปกติสงเคราะห์

๑๖. ปิสุณาวาจา (กล่าวส่อเสียด) ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้กล่าวคำจริง

๑๗. ความเป็นผู้ใคร่ในสิ่งที่ไม่ใช่ประโยชน์ ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้ไม่กล่าวส่อเสียด

๑๘. ความเป็นผู้ทำการประจบ ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้กล่าวถ้อยคำอันเป็นที่รัก

๑๙. ความเป็นผู้ไม่ชื่นชมยินดี (กับผู้อื่น) ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้พูดพอประมาณ

๒๐. มายาและสาไถย ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้มีปกติชื่นชมยินดี (กับผู้อื่น)

๒๑. ผรุสวาจา (กล่าวคำหยาบ) ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้พูดข่ม

๒๒. ความเป็นผู้เพ่งโทษผู้อื่น ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้ติเตียนบาป

๒๓. ความตระหนี่ตระกูล ย่อมลวง เหมือนกับว่ามีความประพฤติเกื้อกูลต่อตระกูล

๒๔. ความตระหนี่อาวาส ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้ใคร่เพื่อให้อาวาสตั้งอยู่ตลอดกาลนาน

๒๕. ความตระหนี่ธรรม ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นการรักษาพระธรรมไว้ให้ดำรงมั่น

๒๖. ความเป็นผู้ยินดีในการพูดคุย ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้ยินดียิ่งในการแสดงธรรม

๒๗. ความเป็นผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้ไม่กล่าวคำหยาบและกระทำการอนุเคราะห์แก่หมู่คณะ

๒๘. ความเป็นผู้ยินดีในการงาน ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้ใคร่ซึ่งบุญ

๒๙. ความเร่าร้อนแห่งจิต ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นการสลดสังเวช

๓๐. ความเป็นผู้ไม่พิจารณาอย่างรอบคอบ ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้มากไปด้วยศรัทธา

๓๑. ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ย่อมลวง เหมือนกับว่ามีปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา

๓๒. ความเป็นผู้ไม่รับเอาคำพร่ำสอนของครูทั้งหลายโดยเคารพ ย่อมลวงเหมือนกับว่ามีตนเป็นใหญ่

๓๓. ความไม่เคารพในเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งหลาย ย่อมลวง เหมือนกับว่ามีธรรมเป็นใหญ่

๓๔. ความดูหมิ่นตนและดูหมิ่นธรรม ย่อมลวง เหมือนกับว่ามีโลกเป็นใหญ่

๓๕. ราคะ (ความยินดีติดข้อง) ย่อมลวง เหมือนกับว่ามีเมตตา

๓๖. ความเศร้าโศก ย่อมลวง เหมือนกับว่ามีความกรุณา

๓๗. ความร่าเริง ย่อมลวง เหมือนกับว่ามีเป็นผู้อยู่ด้วยมุทิตา

๓๘. ความเป็นผู้ทอดทิ้งฉันทะ (ความพอใจ) ในกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมลวงเหมือนกับว่าเป็นผู้อยู่ด้วยอุเบกขา

นำมาจาก dhammahome.com (http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=10636)