[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ไปเที่ยว => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 27 กรกฎาคม 2555 15:34:43



หัวข้อ: "เขาใหญ่" อุทยานมรดกทางธรรมชาติ ตามประกาศขององค์การยูเนสโก
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 27 กรกฎาคม 2555 15:34:43
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/41747918393876_2.JPG)


อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่   (Khao Yai National Park)
อุทยานมรดกของกลุ่มประเทศอาเซียน

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ตั้งอยู่บริเวณเทือกเขาพนมดงรัก ปัจจุบันมีพื้นที่รวม ๒,๑๖๕.๕๕ ตารางกิโลเมตร ซึ่งนับว่ากว้างใหญ่มหาศาล มีอาณาเขตพื้นที่ครอบคลุม ๔ จังหวัด ๑๑ อำเภอ  ดังนี้
   ๑.  จังหวัดสระบุรี  ได้แก่ อำเภอมวกเหล็ก  และอำเภอแก่งคอย    
   ๒. จังหวัดนครราชสีมา  ได้แก่ อำเภอปากช่อง  และอำเภอวังน้ำเขียว
   ๓. จังหวัดปราจีนบุรี  ได้แก่ อำเภอเมือง  อำเภอนาดี  อำเภอกบินทร์บุรี และอำเภอประจันตคาม
   ๔. จังหวัดนครนายก  ได้แก่ อำเภอเมือง  อำเภอปากพลี  และอำเภอบ้านนา

เมื่อประมาณ ๑๐๐ ปีที่ผ่านมา ราษฎรได้เข้าบุกรุกถางป่าทำการเกษตร และจับจองพื้นที่สร้างบ้านเรือนอยู่อาศัยบนเขาใหญ่ ประมาณ ๓๐ หลังคาเรือน และได้พัฒนายกฐานะเป็นตำบลเขาใหญ่ ขึ้นอยู่กับอำเภอปากพลี  จังหวัดนครนายก  ต่อมาเกิดการบุกรุกทำลายป่าเพิ่มขึ้น  เป็นที่หลบซ่อนพักพิงของโจรผู้ร้ายและผู้ต้องหาหลบหนีคดีอาญาอยู่เนืองๆ  เพราะการคมนาคมยากลำบากห่างไกลแหล่งชุมชนอื่นๆ  ยากแก่การตรวจปราบปราม ด้วยเหตุนี้ทางราชการในสมัยนั้นจึงยุบตำบลเขาใหญ่ และให้ราษฎรที่อาศัยอยู่บนเขาใหญ่อพยพลงสู่ที่ราบ หมู่บ้านและไร่ที่ทำกินบริเวณป่าเขาใหญ่จึงถูกทิ้งร้างกลายสภาพเป็นทุ่งหญ้าคาสลับกับป่าที่อุดมสมบูรณ์

ปี พ.ศ. ๒๕๐๒ ฯพณฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี  เดินทางไปตรวจราชการทางภาคเหนือ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญที่จะคุ้มครองรักษาธรรมชาติโดยเฉพาะป่าไม้ จึงให้กระทรวงเกษตร และกระทรวงมหาดไทย ร่วมมือและประสานงานกัน ในการเสนอขอจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ เพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติ โดยเฉพาะป่าไม้ ซึ่งประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบแล้ง ป่าดงดิบชื้น ป่าดิบเขา ทุ่งหญ้า และป่ารุ่นหรือป่าเหล่า (ป่าชนิดนี้เป็นผลเสียเนื่องจากการทำไร่เลื่อนลอยในอดีต ก่อนมีการจัดตั้งป่าเขาใหญ่เป็นอุทยานแห่งชาติ) รวมถึงสัตว์ป่าและแมลงนานาชนิดให้คงอยู่และเป็นไปตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติเป็นการถาวร

คณะรัฐมนตรี ได้มีมติในการประชุมเมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๐๒ กำหนดเขตพื้นที่ป่าเขาใหญ่ จังหวัดนครนายก จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดสระบุรี เนื้อที่ ๑,๓๕๕,๔๖๘.๗๕ ไร่ หรือ ๒,๑๖๘.๗๕ ตาราง กิโลเมตร  ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้ตราพระราชกฤษฎีกา  ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๙  ตอนที่ ๘๖ ลงวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๐๕ กำหนดให้พื้นที่ดังกล่าวข้างต้นเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทย และได้รับสมญานามว่าเป็น “อุทยานมรดกของกลุ่มประเทศอาเซียน”

ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ได้รับการประกาศให้เป็น มรดกทางธรรมชาติ จากองค์การยูเนสโกภายใต้ชื่อกลุ่ม “ดงพญาเย็น-เขาใหญ่” ครอบคลุมพื้นที่เขาใหญ่ ทับลาน ปางสีดา ตาพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาใหญ่

ปัจจุบัน อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยวตั้งอยู่บริเวณ ก.ม. ๓๗ ถ.ธนะรัชต์ ริมห้วยลำตะคอง โดยทางอุทยานจัดเจ้าหน้าที่คอยบริการแนะนำข้อมูลการท่องเที่ยว จัดวีดีทัศน์เกี่ยวกับเรื่องราวในอดีตของป่าเขาใหญ่  ให้นักท่องเที่ยวได้ชม  นอกจากนั้นยังจัดนิทรรศการที่น่าสนใจไว้ภายในศูนย์บริการนักท่องเที่ยว


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/82842854617370__3653_.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/19102932595544_3.JPG)
เส้นทางขึ้นส่องสัตว์ สองข้างทางเต็มไปด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อน สูงชันขึ้นเรื่อยๆ
มีเขาร่มเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด อยู่ระดับ ๑,๓๕๑ เมตร

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/99512519314885_6.JPG)
อากาศบนเขาใหญ่ เย็นสบายในยามค่ำคืน

เขาว่าถ้าไปเขาใหญ่แล้วไม่ได้ขึ้นไปส่องสัตว์ เหมือนกับยังมาไม่ถึงเขาใหญ่ พวกเรากลัวว่าจะไม่ถึงเขาใหญ่อย่างเขาว่า จึงจำเป็นต้องขึ้นไปส่องสัตว์  ทั้ง ๆ ที่รู้จากชาวบ้านแถวนั้นอยู่แล้วว่าพวกสัตว์ต่าง ๆ จะออกมาเดินส่ายสะโพกให้เรายลโฉมหน้าหรือเปล่าก็ไม่รู้ (ต้องเสี่ยงเอา)

การจะไปส่องสัตว์ ต้องคำนวณเวลาการเดินทางจากตีนเขา (มีศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่อยู่ปากทาง ตรงด่านเก็บค่าธรรมเนียม) ให้ถึงศูนย์บริการนักท่องเที่ยวบนยอดเขา (ระยะทางประมาณ ๑๗ กิโลเมตร) ก่อนเวลา ๑๙.๐๐ น. เพื่อหารถรับจ้าง รวบรวมคน จ่ายค่าบริการ  ซึ่งรถส่องสัตว์จะออกเวลาเดียวกันทั้งหมดคือ ๑๙.๐๐ น. โดยมีผู้ช่วยคนขับรถถือไฟฉายขนาดใหญ่ส่องไปตามป่าข้างทางที่รถขับอย่างช้า ๆ ให้เราดูสัตว์ป่าที่มักออกหากินในเวลาค่ำคืน ใช้เวลาให้เราดูเขาฉายไฟส่องสัตว์ประมาณ ๑ ชั่วโมง  ค่าบริการคนละ ๕๐ บาท หรือเหมาคัน คันละ ๕๐๐ บาท


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/74851965117785_5.JPG)
หน้าสำนักงานอุทยาน มีกวางเชื่องๆ หลายตัว

วันนั้นกับวันอื่น ๆ รวมถึงวันนี้ด้วยหรือเปล่าก็ไม่รู้...ตลอดเวลา ๑ ชั่วโมงเต็มสำหรับการดูผู้ช่วยคนขับรถส่องสัตว์ พบเห็นสัตว์ออกหากิน ๒ ชนิด คือ กวางและหมาไน ที่กำลังรุมกินกวาง ซึ่งจะว่ากันจริงๆ แล้วเสียเวลาเปล่าๆ ไม่มีสัตว์ใหญ่ที่น่าตื่นเต้นออกมาให้เราเห็นอย่างชาวบ้านในพื้นที่บอกเราไว้ (เขาว่าสัตว์ก็กลัวคน ถนนหนทางที่รถวิ่งประจำ สัตว์จึงระแวงภัยเขาไม่มาเข้าใกล้ให้เราเห็นหรอกค่ะ)

ส่วนกวางเรามักจะพบเห็นได้บ่อย ๆ แม้แต่บนศูนย์บริการนักท่องเที่ยวก็มีกวางและเม่น เดินเฉียดพวกเราไปมาหน้าสำนักงานอุทยาน นอกนั้นไม่พบอะไร...นอกจากลิงข้างทาง  เดินตัดถนนไปมาหลายตัว.. (เฮ็อ! ลิงที่ลพบุรีก็มีตั้งมาก)


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/28554359492328_8.JPG)
โครงกระดูกกระทิง (Gaur)


กระทิง (Gaur) เป็นวัวป่าชนิด Bos Gaurus อยู่ในวงศ์ Bovidae ขนยาว ตัวสีดำหรือดำแกมน้ำตาล เส้นแต่ที่ตรงหน้าผากและครึ่งล่างของขาทั้งสี่ เป็นสีขาวเทา ๆ หรือเหลืองอย่างสีทอง เรียกว่า “หน้าโพ” ขาทั้ง ๔ ข้าง ตั้งแต่เหนือเข่าลงไปถึงกีบเท้ามีสีขาวเทาหรือเหลืองทอง ทำให้มองดูเหมือนสวมถุงเท้า สีขนของกระทิงบริเวณหน้าผากและถุงเท้า เกิดจากคราบน้ำมันในเหงื่อ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของสัตว์ชนิดนี้ คอสั้น และมีพีม (เหนียงคอ) ห้อยยาวลงมาจากใต้คอ เขามีสีเขียวเข้ม ลายเขามีสี บริเวณโคนเขามีรอยย่นซึ่งรอยนี้จะมีมากขึ้นเมื่อสูงวัยขึ้น มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ในพื้นที่ธรรมชาติขณะนี้

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/58868047677808_7.JPG)
เหตุเกิดเมื่อปี ๒๕๒๗
เวลา ๒๐.๒๐ น. วันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๒๗

เสือลายพาดกลอนขนาดใหญ่ตัวนี้ หลบอยู่ใต้บ้านพักของเจ้าหน้าที่เขาใหญ่ ด.ญ.ศรีนวล ซึ่งเป็นลูกของเจ้าหน้าที่ ขณะที่ ด.ญ.ศรีนวล เดินลงจากบันไดบ้าน เพื่อไปเก็บดินสอที่ตกลงไปใต้ถุนบ้าน เนื่องจากขณะนั้นเป็นเวลากลางคืน เสือตัวนี้เป็นเสือแก่ไม่สามารถจับสัตว์ป่ากินได้จึงเปลี่ยนมาทำร้ายคนแทน เสือกัด ด.ญ.ศรีนวลจนบาดเจ็บ แต่ไม่ทันได้คาบไป เด็กน้อยไม่สามารถทนพิษบาดแผลไหว จึงเสียชีวิตในวันรุ่งขึ้นที่โรงพยาบาลจังหวัดสระบุรี

ตามธรรมชาติของเสือเมื่อได้ฆ่าคนแล้วจะต้องกลับมากินเหยื่อเดิมอีก จึงได้วางกำลังเพื่อจัดการกับเสือตัวนี้ และในคืนวันเดียวกันเวลาประมาณ ๐๒.๐๐ น. นายสมพงษ์ อุทัยสงค์ สายตรวจอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ กำลังปฏิบัติหน้าที่เพื่อจัดการกับเสือตัวดังกล่าว ในขณะที่นั่งกอดปืนอยู่ติดหน้าต่าง ซึ่งสูงจากพื้นดินประมาณ ๒ เมตร ได้ยินเสียงสัญญาณผิวปาก จากนายอุทัย พูนเพ็ง แจ้งให้ทราบว่าเสือตัวนี้จะออกมาจากใต้ถุนบ้าน โดยนายสมพงษ์ยื่นศีรษะออกมา จึงถูกเสือตะปบเป็นแผลเหวอะหวะ เจ้าหน้าที่ช่วยกันนำนายสมพงษ์ไปส่งโรงพยาบาลปากช่อง แต่เสียชีวิตระหว่างทาง ต่อมาเจ้าหน้าที่ได้เฝ้าระวังจัดการกับเสือตัวนี้อีก ๒ คืน จึงสามารถกำจัดเสือตัวนี้ได้ เพื่อมิให้ทำร้ายใครอีกต่อไป


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/45117169825567_4.JPG)
"ดินโป่ง" (ดินสีแดง) เป็นดินที่มีรสเค็มจากเกลือแร่ที่มีอยู่ในพื้นดินบางแห่ง
ดินโป่ง เป็นอาหารจำเป็นสำหรับสัตว์ป่าที่กินพืชเป็นอาหาร เช่น กวาง กระทิง เก้ง ช้างฯลฯ
เนื่องจากพืชไม่มีส่วนประกอบของแร่ธาตุเกลือ  แต่แร่ธาตุเกลือมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของสัตว์ป่า

ดินโป่่งตามภาพ พื้นที่แห่งนี้ เดิมเป็นแหล่งดินโป่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ต่อมาแร่ธาตุหมดไป
ทางอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จึงนำเกลือแกง (เกลือเม็ดที่เราบริโภค) ไปทำเป็นดินโป่ง
ให้สัตว์ป่าได้มีกินต่อไปเรื่อยๆ  โดยการขุดหลุมลึก แล้วนำเกลือแกงเต็มถุงปุ๋ยเทใส่ลงไปในหลุม
นำดินกลบไว้ตามเดิม เมื่อฝนตกจะทำให้เกลือละลายกระจายตามพื้นที่
เป็นแหล่งแร่ธาตุให้สัตว์ป่าในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ได้อาศัยกินบำรุงร่างกาย

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/24658247083425_9.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/39877443719241_10.JPG)
น้องชายเจ้าของเว็บสุขใจดอทคอม (คนละแนว! กับนายคนพี่)


ผิดหวังกับการเช่ารถส่องสัตว์บนเขาใหญ่ยามค่ำคืน
พวกเราเลยชักชวนกันมาเดินคลายเครียด ที่ปาลิโอ ต.หมูสี อ.ปากช่อง
สถานที่ท่องเที่ยว ที่จัดรูปแบบร้านค้าคล้ายคลึงทางแถบยุโรป


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/48796146735548_1.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/14905840944912_2.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/12527152109477_3.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/27254492292801_DSC02841.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/61888699978589_DSC02846.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/31800277406970_DSC02852.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/74436339611808_DSC02855.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/67082843929529_DSC02856.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/74151943251490_DSC02859.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/35766229488783_DSC02863.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/41959061846136_DSC02867.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/93266209132141_DSC02878.JPG)