[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม => ข้อความที่เริ่มโดย: sometime ที่ 06 กรกฎาคม 2553 07:50:39



หัวข้อ: พระสัพพัญญุตญาณ
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 06 กรกฎาคม 2553 07:50:39
(http://www.seesod.com/storage34/EzMVQuEomo1275380832/o.jpg)


(http://lh6.ggpht.com/_AYFPNs1xf64/TBr_4TvayfI/AAAAAAAABD0/ny96kFM6Zak/1276500000.gif)


(http://img541.imageshack.us/img541/6797/namoytsquantheam.jpg)

http://www.fungdham.com/download/song/allhits/20.wma



พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นสัพพัญญู ทรงมีพระสัพพัญญุตญาณ

หมายถึงพระญาณที่รู้สิ่งทั้งปวง พระญาณนี้ไม่มีแก่บุคคลทั่วไป คือ มีเฉพาะบุคคลผู้เลิศผู้ -

เดียวในแต่ละยุค คือ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นทรงถึงพร้อมด้วยอิทธิปาฏิ -

หาริย์ ทรงแสดงฤทธิ์ได้ นักดนตรีผู้ซึ่งเล่นดนตรี หรือเล่นเปียโน เล่นได้เก่งอย่างไร

ก็ยังอาจมีผิดพลาดบ้างเสียงดนตรีที่เกิดขึ้นได้ต้องเกิดจากการกระทบสัมผัสแต่

พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นสามารถให้เสียงดนตรีอันไพเราะเกิดขึ้นโดยไม่ต้อง

กระทบสัมผัสโดยอิทธิปาฏิหาริย์ได้แม้สมัยที่เป็นพระโพธิสัตว์เป็นนักดีด พิณผู้มีความ

สามารถมาก ชื่อว่าคุตติละ สมัยที่ยังเป็นเจ้าชายสิทธัตถะทรงเชี่ยวชาญศิลปะมาก

มายแม้แต่การยิงธนูเข้าที่หมายที่ไกลเท่าปลายขนทรายผู้ไม่ได้ศึกษาพระธรรม

เปรียบพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ากับนักดนตรีควรหรือที่จะนำมาเปรียบเทียบกับ

พระปัญญาคุณพระมหากรุณาธิคุณพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรู้แจ้งธรรมทั้ง

ปวงไม่มีอะไรที่ไม่ทรงรู้แต่ทรงแสดงธรรมเปรียบเพียงใบไม้สองสามใบในกำมือเท่า

นั้นทรงแสดงก็เพื่อนำพาให้สัตว์โลกพ้นจากทุกข์เท่านั้นส่วนธรรมที่ท่านรู้ทั้งปวง

อีกมากมายเปรียบใบไม้ในป่าใหญ่ที่ไม่ได้ทรงแสดง


หัวข้อ: Re: พระสัพพัญญุตญาณ
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 06 กรกฎาคม 2553 08:04:42
(http://www.seesod.com/storage34/EzMVQuEomo1275380832/o.jpg)


(http://lh6.ggpht.com/_AYFPNs1xf64/TBr_4TvayfI/AAAAAAAABD0/ny96kFM6Zak/1276500000.gif)


(http://img541.imageshack.us/img541/6797/namoytsquantheam.jpg)



๗๒ - ๗๓ อรรถกถาสัพพัญญุตญาณอนาวรณญาณุทเทสว่าด้วย (:LOVE:)สัพพัญญุตญาณอนาวรณญาณ (:LOVE:)

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า สพฺพญฺญุตญาณํอนาวรณญาณํญาณ

เป็นเครื่องรู้ธรรมทั้งปวงญาณอันไม่มีอะไรติดขัดนี้ดังต่อไปนี้

พระพุทธะพระองค์ใดทรงรู้ธรรมทั้งปวงมีประเภทแห่งคลอง

อันจะพึงแนะนำ ๕  ประการ ฉะนั้น พระพุทธะพระองค์นั้นชื่อว่า

สัพพัญญู - รู้ธรรมทั้งปวงความเป็นแห่ง พระสัพพัญญู ชื่อว่า

สัพพัญญุตาญาณคือพระสัพพัญญุตาญาณนั้นควรกล่าวว่าสัพพัญญุ -

ตาญาณท่านก็กล่าวเสียว่า สัพพัญญุตญาณ จริงอยู่ธรรมทั้งปวง

ต่างโดยเป็นสังขตธรรมเป็นต้นเป็นครรลองธรรมที่จะพึงแนะนำมี

๕ อย่างเท่านั้น คือ.................................................

สังขาร ๑

วิการ  ๑

ลักขณะ ๑.

นิพพาน  ๑

และบัญญัติ  ๑.

คำว่า สพฺพญฺญู - รู้ธรรมทั้งปวงความว่า สัพพัญญูมี ๕

อย่างคือ..................................................................

๑. กมสัพพัญญู - รู้ธรรมทั้งปวงตามลำดับ

๒. สกิงสัพพัญญู - รู้ธรรมทั้งปวงในคราวเดียวกัน

๓. สตตสัพพัญญู - รู้ธรรมทั้งปวงติดต่อกันไป

๔. สัตติสัพพัญญู - รู้ธรรมทั้งปวงด้วยความสามารถ

๕. ญาตสัพพัญญู - รู้ธรรมทั้งปวงที่รู้แล้ว

กมสัพพัญญุตาย่อมมีไม่ได้เพราะกาลเป็นที่รู้ธรรมทั้งปวงไม่

เกิดขึ้นตามลำดับ

สกิงสัพพัญญุตา ก็มีไม่ได้เพราะไม่มีการรับอารมณ์ทั้งปวงได้

ในคราวเดียวกัน

สัตตสัพพัญญุตาก็มีไม่ได้เพราะความเกิดขึ้นแห่งจิตในอารมณ์

ตามสมควรแก่จิตมีจักขุวิญญาณจิตเป็นต้นและเพราะไม่มีการประ -

กอบในภวังคจิต

สัตติสัพพัญญุตาพึงมีได้เพราะสามารถรู้ธรรมทั้งปวงโดยการ

แสวงหาญาตสัพพัญญุตาก็พึงมีได้เพราะธรรมทั้งปวงรู้แจ่มแจ้งแล้ว

ข้อว่า.........ความรู้ธรรมทั้งปวงไม่มีในสัตติสัพพัญญุตาแม้นั้นย่อมไม่

ถูกต้องเพราะท่านกล่าวไว้ว่า

อะไร ๆ อันพระตถาคตเจ้านั้นไม่เห็นแล้วไม่

มีในโลกนี้อนึ่งอะไร ๆ ที่ไม่รู้แจ้งและไม่ควรรู้

ก็ไม่มีสิ่งใดที่ควรแนะนำมีอยู่พระตถาคตเจ้า

ได้รู้ธรรมทั้งหมดนั้นแล้วเพราะเหตุนั้น พระตถาคตเจ้าจึงชื่อว่า สมันตจักขุ

ฉะนั้น......ญาตสัพพัญญุตาเท่านั้นย่อมถูกต้องก็เมื่อเป็นเช่นนี้

สัพพัญญุตญาณนั่นแลย่อมมีได้โดยกิจโดยอสัมโมหะโดยการสำเร็จ

แห่งเหตุโดยเนื่องกับอาวัชชนะด้วยประการฉะนี้อารมณ์เป็น

เครื่องกั้นญาณนั้นไม่มี เป็นญาณที่เนื่องด้วยอาวัชชนะนั่นเองฉะนั้น

ญาณนั้นจึงชื่อว่าอนาวรณะ - ไม่มีการติดขัดอนาวรณะนั้นนั่น

แหละท่านเรียกว่าอนาวรณญาณด้วยประการฉะนี้..........................................


จาก.......พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 161

http://forums.212cafe.com/boxser/ (http://forums.212cafe.com/boxser/)