[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม => ข้อความที่เริ่มโดย: ไอย ที่ 26 ธันวาคม 2552 10:09:25



หัวข้อ: พระพุทธศาสนา
เริ่มหัวข้อโดย: ไอย ที่ 26 ธันวาคม 2552 10:09:25
พระพุทธศาสนา

น้อมประณตคุรุผู้เมตตา

องค์พระศาสดาผู้ทรงคุณ

พระธรรมสาดส่องหล้าฟ้าอรุณ

เทิดพระคุณผู้พาทั่วฟ้าไกล
 

ฎคซ.ป.ดปล.บสง5


   
ประวัติพุทธศาสนาโดยย่อ โดยเฉพาะพุทธศาสนาฝ่ายมหายานและวัชรยานของทิเบต
พระพุทธเจ้าประสูติในอินเดียตอนเหนือ (ชายแดนเนปาลในปัจจุบัน) เมื่อกว่า 2500 ปีมาแล้ว
พระองค์เป็นโอรสกษัตริย์สุโทธนะ มีพระนามว่าสิทธัตถะพระราชบิดาทรงเตรียม
โอรสไว้เพื่อสืบทอดราชสมบัติของพระองค์ ลักษณะในการประสูติและชีวิตใน
วัยเด็กนั้นมหัศจรรย์ ไม่ธรรมดา และเป็นที่ชัดเจนตั้งแต่เริ่มต้นแล้วว่า
เจ้าชายพระองค์นี้ต้องเป็นบุคคลที่ไม่ธรรมดาชีวิตในวัยเด็ก และวัยหนุ่ม อยู่กับ
ความสมบูรณ์พูนสุขปราศจากความกังวลใดๆทั้งสิ้น กอบกับพระองค์ทรงมี
สติปัญญาเฉลียวฉลาด มากด้วยความรู้ความสามารถชำนาญในศิลปะวิทยาการต่างๆ
สมกับการเป็นมหาจักรพรรด์ในอนาคตแต่สิ่งเหล่านั้นไม่อาจปิดบังความสงสัย
ในความเป็นแก่นสารของชีวิต ปกติในโลก "ความเป็นอยู่ที่มีเงื่อนไข"


หัวข้อ: Re: พระพุทธศาสนา
เริ่มหัวข้อโดย: ไอย ที่ 26 ธันวาคม 2552 10:12:27

พระองค์จึงได้หนีออกจากพระราชวังเพื่อไปศึกษาหาหนทาง ใช้ชีวิตที่มีค่า มีความหมาย
พระองค์ไปศึกษา ปฏิบัติธรรมกับนักปราชญ์ผู้ทรงความรู้ชั้นยอดในยุคนั้น ไม่ว่าเรื่องการทำสมาธิ
หรือปรัชญาต่างๆ ด้วยความตั้งใจอันแน่วแน่ที่จะหาแก่นแท้ของชีวิต ด้วยสติปัญญาของพระองค์
พระองค์สามารถเรียนรู้ทุกอย่างจากพระอาจารย์จนหมดสิ้นและแตกฉาน แต่ก็ยังไม่ถึงเป้าหมาย
ที่พระองค์พอพระทัย เพราะรู้สึกว่ายังขาดอะไรอยู่ บ้าง ถึงแม้ว่าพระองค์จะปฏิบัติฝึกฝนสู่
ปัญญาที่สูงขึ้นด้วยความทุกข์ยากลำบากอย่างที่สุดต่างๆ นาๆ พระองค์ก็พบว่าวิธีการเหล่านั้น
ไม่สามารถพาพระองค์หลุดจาก "ความเป็นอยู่ที่มีเงื่อนไข"  

ท้ายที่สุดพระองค์ก็ตั้งใจที่จะฝึกฝนปฏิบัติด้วยตนเอง ด้วยความพยายามอย่างสูงสุด พระองค์ก็
สามารถบรรลุรู้แจ้ง ณ พุทธคยาสิ่งซึ่งพระองค์ท่านได้ค้นพบรู้แจ้งมีความลึกซึ้งยิ่งใหญ่มากจน
พระองค์ท่านลังเลใจที่จะสอนคนอื่นต่อ ด้วยกลัวว่าจะไม่มีคนเข้าใจได้เลย แต่ด้วยพระเมตตา อันยิ่งใหญ่
พระองค์ก็ได้ทดลองเริ่มสอน ในเวลาอันรวดเร็วก็สามารถดึงดูดผู้สนใจเข้าเป็นลูกศิษย์ติดตาม
พระองค์เพื่อเรียนรู้หนทางแห่งการรู้แจ้งเป็นจำนวนมาก และก็มีจำนวนมากเช่นกันที่ปฏิบัติจนรู้แจ้ง
บรรลุอรหันต์ผล เนื่องด้วยมีผู้คนจำนวนมากที่เข้ามาเป็นศิษย์เพื่อรับคำสอนและวิธีปฏิบัติ
จากคนจำนวนมากและมาจากสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน สติปัญญา ภูมิหลัง ที่ต่างกันทำให้พระองค์
ทรงสอนแต่ละกลุ่มแต่ละบุคคลต่างกันไปตามสภาพ ภูมิปัญญาของกลุ่มคนหรือบุคคลนั้นๆ
โดยให้สอดคล้องกับภูมิปัญญาและความตั้งใจ


หัวข้อ: Re: พระพุทธศาสนา
เริ่มหัวข้อโดย: ไอย ที่ 26 ธันวาคม 2552 10:15:12

คำสอนของพระพุทธเจ้าในช่วงที่พระ องค์ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ สามารถแบ่งออกได้
เป็น 3 หมวดใหญ่ๆ     

1 กลุ่มคำสอนซึ่งถูกจารึกไปเป็นภาษาบาลี อันเป็นพื้นฐานสำคัญของ ฝ่ายเถรวาท
ซึ่งเน้น หนักทาง ด้านวินัย     

2 กลุ่มคำสอนของฝ่ายมหายาน ซึ่งถูกจารึกเป็นภาษาสันสกฤต เน้นหนักใน
ความเมตตา และห่วงใยผู้อื่น     

3 กลุ่มคำสอนตันตระ อันเป็นพื้นฐานสำคัญของวัชรยานหรือมนตรยานหรือตันตรยาน
ซึ่งมีวิธีการปฏิบัติ มีคุณสมบัติพิเศษและสามารถนำไปสู่การรู้แจ้งในเวลาอันสั้น
คำสอนในกลุ่มวัชรยานพระพุทธเจ้าได้สอนไว้แก่กลุ่มศิษย์ในแวดวงอันจำกัด
แต่พระองค์ท่านก็ได้มีพุทธทำนายว่า คำสอนวัชรยานจะมีการเผยแพร่ในอนาคตกาล
ซึ่งจะมีบุคคลรู้แจ้งบรรลุเกิดขึ้นในกาลข้างหน้า สั่งสอนอบรม ฉะนั้นคำสอนวัชรยาน
จึงไม่ได้มีความเป็นพุทธะน้อยกว่าคำสอนอีก 2 กลุ่ม แม้จะแพร่หลายไม่มากนักในสมัยนั้น     


หัวข้อ: Re: พระพุทธศาสนา
เริ่มหัวข้อโดย: ไอย ที่ 27 ธันวาคม 2552 20:46:28

หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพานไปแล้ว ความแตกต่างในการตีความคำสอน
และคิดเห็นซึ่งเกิดจากการรับคำสอนซึ่งต่างกันในรายละเอียดปลีกย่อย
ตามกลุ่มตามสภาพ จึงเป็นที่มาของความขัดแย้งในปรัชญาแนวความคิด
ความขัดแย้งเริ่มมากขึ้นตามเวลาจนทำให้มีนิกายต่างๆเกิด ใหม่ขึ้นมา
มีแนวทางการปฏิบัติที่ไม่เหมือนกันเกิดขึ้นอย่างชัดเจน ตัวอย่าง
เช่นในฝ่ายเถรวาทในยุคนั้นแบ่งเป็น18 นิกาย มหายานก็มีการแบ่งเป็น
นิกายต่างๆ แบ่งเป็น 3 สายใหญ่ และเมื่อมหายานเข้าสู่ประเทศจีนก็แบ่งเป็น
นิกายต่างๆมากมาย ในแต่ละนิกายก็มีข้อแตกต่างในเชิงปรัชญา
ซึ่งในวัชรยานก็เช่นกัน แนวปรัชญาและแนวปฏิบัติหลายอย่าง
เริ่มต้นเกิดขึ้นจากบุคคลเพียงคนเดียวเท่านั้น  


หัวข้อ: Re: พระพุทธศาสนา
เริ่มหัวข้อโดย: ไอย ที่ 27 ธันวาคม 2552 20:48:44

ในยุคหลังต่อมาคำสอนที่แตกต่างกันเหล่านี้ได้มีการเผยแพร่ออกไปทั่วอินเดีย
และต่างประเทศที่อิทธิพลของพุทธศาสนาแพร่ไปถึงเช่นอาเซียกลาง
อาเซียตะวันออก อาเซียใต้ ไปไกลสุดถึงอินโดนีเซียบางนิกายก็สูญหายไปไม่เหลือ
บางนิกายก็เข้ารวมกับนิกายอื่นเกิดเป็นนิกาย ใหม่ขึ้นจนถึงคริสต์ศตวรรษที่13
การมาเยือนของศาสนาอิสลามและการเปลี่ยนแปลงในเชิงการเมือง
ในคาบสมุทรอินเดีย ทำให้พุทธธรรมมีอันต้องหายไปจากประเทศผู้ให้กำเนิด
กลับกลายเป็นประเทศอื่นๆที่ได้รับคำสอนเก็บรักษาไว้ เช่นเถรวาทเก็บรักษาไว้ในลังกา
พม่า ไทย กัมพูชา มหายานเก็บรักษาใน จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ประเทศในกลุ่มอินโดจีน
วัชรยานส่วนใหญ่เก็บไว้ในประเทศทิเบตและแถบหิมาลัย ประเทศทิเบตถือว่าเป็น
โชคดี 2 ชั้น ทิเบตถือว่าเป็นหนึ่ง ในไม่กี่ประประเทศที่มีการปฏิบัติคำสอนวัชรยาน
อยู่อย่างสมบูรณ์แบบและทิเบตเป็นประเทศเดียวที่มีการเก็บรักษาคำสอนทั้งหมด
อย่างสมบูรณ์(ทั้งหมดคือทั้งเถรวาท มหายาน และวัชรยาน)
 


หัวข้อ: Re: พระพุทธศาสนา
เริ่มหัวข้อโดย: ไอย ที่ 27 ธันวาคม 2552 20:50:25

จากช่วงศตวรรษที่ 8 เป็นต้นมาคำสอนของพุทธศาสนาได้มีการเผยแพร่
และถ่ายทอดจาก อาจารย์สู่ศิษย์ในนิกายต่างๆ ผู้ปฏิบัติตามคำสอนเหล่านี้
ไม่เพียงแต่เป็นผู้มีความรู้แจ้งในเชิงวิชาการปรัชญา ยังเป็นผู้ปฏิบัติจนรู้แจ้งเห็นจริง
สามารถปฏิบัติตามคำสอนอย่างถูกต้องและยังสามารถ เผยแพร่คำสอนออกไปได้
อย่างไม่ผิดพลาดนิกายใหญ่ที่เกิดขึ้น อาทิ ณิงมาปะ กากจูปะ  สักเจียปะและเกลุกปะ
พุทธศาสนาในทิเบตเริ่มต้นจากในศตวรรษที่ 8 ณิงมาปะ โดยอาจารย์ จากอินเดีย
เช่นวิมลมิตร คุรุปัทมะสมภพหรือชาวทิเบตเรียกว่ากูรูรินโปเช่ได้ถ่ายทอดสู่อาจารย์ชาวทิเบต
เช่น ลองเชนปะ จิกเมลิงปะ จัมยังเฉนเซวังโป ฯลฯ เป็นต้น สามนิกายต่อมาได้เผยแพร่
เข้าสู่ทิเบตช่วงหลังศตวรรษที่ 10 ซึ่งก็เช่นเดียวกับศาสนาพุทธในที่ต่างๆซึ่งมีการปรับตัว
ให้เข้า กับวัฒนธรรม ชีวิตความเป็นอยู่ของแต่ละประเทศ 4 นิกายในทิเบตก็เหมือนกัน
มีการปรับตัวเข้ากับสภาพประวัติศาสตร์ ภูมิประเทศและการเมือง
 


หัวข้อ: Re: พระพุทธศาสนา
เริ่มหัวข้อโดย: ไอย ที่ 27 ธันวาคม 2552 20:56:29

คำสอนในทิเบตที่เก็บรักษาไว้ถูกแบ่งออกเป็น2 กลุ่ม คือ กันจูร์ ซึ่งมีอยู่มากกว่า
100 ธรรมบท ซึ่งเป็นคำสอนดั้งเดิมจากพุทธกาล แบ่งเป็นพระวินัย
พระสูตร(เกี่ยวข้องกับการทำสมาธิ) พระอภิธรรม (เกี่ยวข้องกับปรัชญา)

คำสอนอีกกลุ่ม คือคำสอนจากคำวิจารณ์หรือคำอธิบายจากอาจารย์ในยุคต่าง ๆ
กลุ่มนี้เก็บอยู่ในกลุ่มของ ตันจูร์ มีทั้งหมด 200 ธรรมบท กันจูร์กับตันจูร์
แต่เดิมแปลจากภาษาสันสกฤตเกือบทั้งหมด ขณะนี้ถูก เก็บรักษาไว้เกือบสมบูรณ์
นอกจากนี้ยังมีคำสอนของเถรวาท มหายาน และวัชรยานซึ่งเขียนขึ้น
โดยอาจารย์ชาวทิเบตเอง คำสอนที่กว้างใหญ่ไพศาลและมีจำนวนมาก
ที่สามารถพบได้ในพุทธ ศาสนาแบบทิเบต สามารถสรุปอยู่ในอริยะสัจจ์
ที่พระพุทธเจ้าได้สอนไว้ หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ไม่นาน

ข้อแรกของอริยะสัจสี่ พูดถึงความเป็นอยู่ที่มีอยู่ในโลกไม่สามารถหลุดพ้นจาก
ความทุกข์ ไม่สามารถที่จะมีความสุขอย่างถาวรได้ ความสุขทุกอย่างที่มีอยู่
ก็อยู่ชั่วขณะเท่านั้น สุดท้ายก็ต้องหลีกทางให้กับความทุกข์ที่ต้องย่างเข้ามา
เหตุผลอธิบายอยู่ในข้อที่ 2 ของอริยะสัจสี่ ซึ่งได้อธิบายไว้ว่า การกระทำทุกอย่าง
ไม่ว่าการกระทำ คำพูดหรือความคิดทุกอย่างจะให้ผล จากการกระทำเหล่านั้นในกาลข้างหน้า
ไม่ว่าชาตินี้หรือชาติหน้าต่อไปซึ่งการเกิดใหม่ก็เป็นผล จากการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลักษณะของการเกิดใหม่หรือชีวิตนี้ก็เป็นผลจากการกระทำ ต่างๆในชีวิตที่ผ่านมา
โดยเฉพาะในเรื่องของความตั้งใจ หรือแรงดลใจต่างที่เข้ามาเกี่ยวข้อง นี่คือกฎแห่งกรรม
ซึ่งจะอธิบายได้ว่า ทำไมบางคนยากจนตลอดชีวิตแม้ได้พยายามทำทุกอย่าง
เพื่อความร่ำรวย บางคนก็มีทุกสิ่งทุกอย่างพร้อม โดยที่เจ้าตัวเกือบจะไม่ต้องทำอะไรเลย
 


หัวข้อ: Re: พระพุทธศาสนา
เริ่มหัวข้อโดย: ไอย ที่ 27 ธันวาคม 2552 21:01:26

จากอริยะสัจสี่ข้อที่ 2 นี้ ก็ได้อธิบายและชี้ให้เห็นถึงพลังที่อยู่เบื้องหลังสิ่งเหล่านี้
ซึ่งเป็นอารมณ์ใน ทางลบ เช่นความโลภ โกรธ หลง หยิ่ง ริษยา อวิชชา
โดยเฉพาะอวิชชาซึ่งถือเป็นรากของสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด อวิชชาไม่ได้เกี่ยวข้องกับ
ยาเพียงอย่างเดียว ยังเป็นพื้นฐานของการมองโลก ทำให้เรายึดติดตัวเองว่าตัวเรา
และโลกภายนอกทั้งหมดเป็นแกนสารจริงๆและยั่งยืนไม่มีทาง สลาย
ไม่มีการสิ้นสุดแห่งการกระทำของเรา ทำให้เราต้องเกิดใหม่อย่างต่อเนื่อง
ในวัฏฏะสงสาร นี้ ถ้าเราสามารถหยุดการกระทำที่ไม่รู้อันเกิดจากการกระทำ
ของอวิชชา ถ้าเราสามารถหยุด อวิชชาได้วัฏฏะจักรแห่งการเกิดก็จะถูกทำลายลงได้

ซึ่งก็อธิบายอยู่ในอริยะสัจสี่ข้อที่ 3 ซึ่งพูด ถึงการหยุดของทุกข์การเป็นอิสระจาก
"ความเป็นอยู่ที่มีเงื่อนไข"  อริยะสัจ สี่ ข้อที่ 4 ได้อธิบาย
ถึงวิธีการที่จะปฏิบัติให้สำเร็จในการหลุดพ้นได้อย่างไร ซึ่งหลักใหญ่ ๆ จะต้องมีการสะสม
การกระทำที่เป็นกุศล เช่น การให้ความเคารพถวายให้แก่พุทธะ ธรรมะ สังฆะ
ในการปฏิบัติความเมตตา สงเคราะห์ต่างๆ และอีกวิธีหนึ่งโดยการปฏิบัติสมาธิ
เพื่อที่จะสามารถขุดทำลายทิ้งอวิชชา ซึ่ง เป็นรากแห่งทุกข์ผู้ที่ปฏิบัติวิธีการนี้
เพื่อที่จะหลุดพ้นด้วยตนเองสามารถที่จะปฏิบัติจนบรรลุรู้แจ้ง สำเร็จเป็นพระอรหันต์
พระอรหันต์จึงเป็นผู้ที่สามารถชนะอารมณ์ในทางลบได้สมบูรณ์ แต่ก็ยังไม่เป็นการบรรลุ
รู้แจ้งอย่างสมบูรณ์ เฉพาะสำหรับผู้มีอุดมการและตั้งปณิธานที่จะปฏิบัติ เพื่อการรู้แจ้ง
ของผู้อื่นเท่านั้นที่จะบรรลุสู่พุทธภูมิได้ ผู้ปฏิบัติเหล่านี้ ซึ่งเดินสายมหายานยึดเอา
ความเมตตาเป็นหลักซึ่งเราเรียกว่าพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ที่สามารถปฏิบัติ
ตามคำสอนของวัชระยาน สามารถบรรลุรู้แจ้งในเวลาอันสั้น
 


หัวข้อ: Re: พระพุทธศาสนา
เริ่มหัวข้อโดย: ไอย ที่ 28 ธันวาคม 2552 15:04:25

ในพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้จัดตั้งองค์กรพระภิกษุ ภิกษุณีขึ้น เพื่อเป็นแกนนำ
ในการเผยแพร่คำสอน แต่พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ยกเว้นฆราวาสทั้งชาย หญิง
ที่มีจิตปฏิบัติอย่างจริงจังเรื่องนี้ สามารถเห็นได้ในทิเบตซึ่งมีคณะสงฆ์อันเข็มแข็งยิ่งใหญ่
แต่ก็มีกลุ่มฆราวาสที่ใช้ชีวิตปกติธรรมดา และได้ปฏิบัติตามคำสอนอย่างเข้มแข็ง
จนบรรลุมรรคผลเป็นจำนวนมาก โดยที่ไม่ได้เป็นพระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติและบรรลุใน
สายณิงมาปะมีทั้งที่เป็นพระสงฆ์และโยคีฆราวาส การได้เข้าสู่คณะสงฆ์เป็นสิ่งที่ดีที่สุด
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า จะนำไปสู่การรุ้แจ้งได้ในเชิง สมาธิ ปัญญา นี่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้จริง
สำหรับผู้ที่ไม่สามารถเข้าสู่ คณะสงฆ์ได้ แต่มีความตั้งใจจริงที่จะปฏิบัติตามคำสอนอย่างจริงจัง

       อัลเบิร์ตไอสไตร์ได้กล่าวไว้ ว่า คำสอนของพุทธศาสนาสามารถปรับเข้าได้กับ
ยุคศตวรรษที่ 20 นี้ได้เป็นอย่างดีในปัจจุบัน ฟิสิกซ์สมัยใหม่ได้ข้อสรุปต่างๆตรงกับ
คำสอนที่พุทธศาสนาได้อธิบายไว้ ตั้งแต่ 2500กว่าปี ที่แล้ว ปัจจุบันในแถบเอเชีย
เนื่องจากวัตถุนิยมเฟื่องฟู ทำให้การปฏิบัติสมาธิจิตย่อหย่อนลง ตรงกันข้ามกับ
ประเทศในแถบตะวันตก ที่มีผู้หันมาศึกษาและปฏิบัติพุทธศาสนาอย่างจริงจัง 
เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาทิเบตได้ถูกคุกคามอย่างมากจากการเมืองได้มีอาจารย์
ผู้ทรงคุณวุฒิ ต่างๆได้ลี้ภัยไปยังอินเดีย อาจารย์เหล่านี้นอกจากได้รับถ่ายทอด
คำสอนอย่างสมบูรณ์มาแล้ว ยังได้ปฏิบัติจนรู้แจ้ง


หัวข้อ: Re: พระพุทธศาสนา
เริ่มหัวข้อโดย: ไอย ที่ 28 ธันวาคม 2552 15:11:07

ในขณะเดียวกันก็มีชาวต่างประเทศในโลกตะวันตกมาเยือนอินเดียและได้พบอาจารย์
หรือพระลามะเหล่านั้นเกิดความสนใจเกิดความศรัทธาอย่างจริงจังและได้เชื้อเชิญ
อาจารย์เหล่านั้นไปเผยแพร่คำสอนในโลกตะวันตก ซึ่งองค์กูรูรินโปเช่ได้เคยกล่าวไว้ว่า
คำสอนของพระพุทธเจ้าโดยเฉพาะวัชรยานเป็นคำสอนที่มีพลังมากและให้ผลต่อ
ผู้ฝึกปฏิบัติทุกๆคนได้อย่างชัดเจน ในยุคที่ผู้คนมีอารมณ์รุนแรงในกลียุค
พุทธศาสนาวัชรยานจะทรงพลังอย่างมาก มีผลให้อารมณ์ที่รุนแรงสงบลงได้
คำสอนวัชรยานเป็นคำสอนที่มีความยืดหยุ่นสูง และสามารถปรับสภาพให้เข้ากับ
ชีวิตความเป็นอยู่ทุกรูปแบบที่มนุษย์ในโลกครุ่นเคย โดยที่ไม่ทำให้คำสอนแท้ ๆ
ต้องผิดเพี้ยนไป ฉะนั้นคำสอนพุทธศาสนาวัชรยานกำลังเผยแพร่ไปทั่วโลก

     เป็นที่น่าสังเกตว่า ทุกศาสนาใหญ่ๆที่มีอายุยาวนาน ได้มีการแบ่งแยก
นิกายย่อยๆทั้งสิ้น กาลเวลา ความเปลี่ยนแปรงของสังคมโลก จำนวนผู้เข้าร่วม
จำนวนมากหลากหลายภูมิภาคหลาก ความเชื่อหลากความคิดหลากความเป็นอยู่
ศาสนาทุกศาสนาในปัจจุบันได้ห่างไกลแปรเปลี่ยน ไปจากครั้งแรกกำเนิด
ศาสนาที่ไม่แปรเปลี่ยนก็ไม่เจริญไม่แพร่ขยายและต้องสูญสลายไป
พุทธศาสนาก็เช่นกันความเจริญแพร่กว้างไพศาล ทำให้พุทธศาสนาต้องแปรเปลี่ยน
ไปบ้างแต่ อย่างไรก็ตามชาวพุทธทั้งปวงแม้ต่างนิกายก็ถือว่าเป็นชาวพุทธด้วยกัน
ประกอบศาสนกิจร่วมกัน ได้ นับถือพระพุทธเจ้าองค์เดียวกัน แม้บางคนจะนับถือ
สิ่งอื่นด้วย เช่นไหว้เจ้า ไหว้เทวดา หรือ ภูติผี ก็ยังคงถือเป็นชาวพุทธด้วยกัน
ตราบใดที่ยังคงยอมรับพระไตรปิฎกร่วมกันก็ไม่ถือว่าแตกแยกกัน พระพุทธองค์
ทรงตรัสไว้ว่า ผู้คนในโลกเปรียบดังเม็ดทรายในมหาคงคา ผู้รู้แจ้งเปรียบดังเม็ดทราย
ในมหาคงคาที่อยู่บนฝ่ามือ แม้แต่เม็ดทรายบนฝ่ามือก็ยังคงต่างกัน ทั้งรูปลักษณ์
ขนาดและสีสัน
 

อ้างอิง หนังสือ The Words of My Perfect Teacher 

หนังสือคณะสงฆ์จีนนิกาย

หนังสือของเสถียร โพธินันทะ