[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม => ข้อความที่เริ่มโดย: เงาฝัน ที่ 12 กรกฎาคม 2553 09:08:11



หัวข้อ: ความว่าง
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 12 กรกฎาคม 2553 09:08:11


(http://pix.com.ua/db/nature/trees_leaves/forest_and_trees/m-482091.jpg)


ความว่าง


ความว่างมิอาจว่าง  หากมิวาง ณ ตัวตน

ต้นไม้อันหยัดพ้น   เพราะก่นกิ่งและผลัดใบ

ยิ่งละจึ่งยิ่งมี   งอกงามทวีเติบใหญ่

คลื่นลม ทะเลร้าย   ห่อนระคายความว่างนั้น




  พุทธศาสนาไม่มีอย่างจีน อย่างไทยหรืออย่างแขก ฝรั่ง มีแต่พุทธศาสนาอย่างของพระพุทธเจ้า
อย่างเดียวเท่านั้น แต่ว่ามีวิธีพูด วิธีบอก หรือวิธีนำให้เข้าถึงนั้นต่างกันมากที่เดียว

หลักนิกายเซน นอกจากจะเป็นวิธีการที่ลัดสั้นแล้ว ยังเป็นวิธีปฏิบัติที่อิงหลักธรรมชาติทางจิตใจของคนทั่วไป
แม้ผู้ที่ไม่รู้หนังสือ หรือไม่เข้าใจพิธีรีตองต่างๆ

ผู้ที่จะเข้าใจหลักการของเซน ควรได้รับการชักชวนให้ลืมอะไรต่างๆที่เคยยึดถือไว้ให้หมดเสียก่อน
จึงจะเป็นการง่ายในการอ่านและการเข้าใจโดยแท้

ลืมการคิดดิ่งๆ ด้านเดียว ที่ตนเคยยึดถือ ลีมกระทั่งความเป็นพุทธบริษัทของตนเสีย
เหลือไว้แต่เพียง ใจล้วนๆของมนุษย์

เป็นใจซึ่งกำลังแก้ปัญหาที่ว่า ทำอย่างไรจิตของมนุษย์ทุกคน จักหลุดพ้นจากความบีบคั้น
ห่อหุ้มพัวหันได้โดยสิ้นเชิง?


จากหนังสือ สูตรของเว่ยหลาง  โดย ท่านพุทธทาสภิกขุ



<º))))><.·´¯`·.อยู่อย่างเซน¸.·´¯`·.¸><((((º>



                                                      โดย  สติมา


หัวข้อ: Re: ความว่าง
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 12 กรกฎาคม 2553 09:38:07



(http://cache.virtualtourist.com/1756203-Fallen_autum_leaves_Central_Park_NYC-New_York_City.jpg)



เชิญชวนผู้ปฎิบัติทั้งหลาย สนใจคำสอนแบบเซนกันหรือเปล่าเอ่ย.. 
รู้สึกว่าง่ายๆ แต่กินใจดี  อย่างเช่น

มึชีวิตกับปัจจุบันขณะ..   อดีตก็ละไปแล้ว..
อนาคตก็ยังไม่มา...

                               โดย  สติมา


อะตีตัง นานวาคะเมยยะ,        นัปปะฏิกังเข อะนาคะตัง,
บุคคลไม่ควรตามคิดถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว,และสิ่งที่ยังไม่มาถึง,

        ยะทะตีตัมปะหีนันตัง,              อัปปัตตัญจะ อะนาคะตัง,
       สิ่งเป็นอดีตก็ละไปแล้ว สิ่งเป็นอนาคตก็ยังไม่มา,

        ปัจจุปปันนัญจะ โย ธัมมัง,      ตัตถะ ตัตถะ วิปัสสะติ,
        อะสังหิรัง อะสังกุปปัง,             ตัง วิทธา มะนุพ๎รูหะเย.

       ผู้ใด เห็นปัจจุบันธรรมอย่างชัดเจน, ไม่หวั่นไหวคลอนแคลน,
เขาควรเพิ่มพูนอาการเช่นนั้นไว้.

มุ.อุ. ภัทเทกรัตตสูตร๑๔/๓๔๘


- อันนี้เป็นตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นว่า พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในพระไตรปิฎก 
ไม่ได้ไปเอามาจากเซนที่ไหน ถ้าจะว่าไปแล้ว เซนก็เป็นนิกายหนึ่งของพุทธศาสนา
ควรจะพูดว่า เซน เอาไปจากพระพุทธเจ้ามากกว่า
- หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง

ทูรังคะมัง เอกะจะรัง, อะสะรีรัง คุหาสะยัง,
เย จิตตัง สัญญะเมสสันติ, โมกขันติ มาระพันธะนา.


ชนเหล่าใดจักสำรวมจิตอันท่องเที่ยวไปในที่ไกล, เที่ยวไปดวงเดียว,
ไม่มีสรีระ, มีร่างกายเป็นที่อาศัย,ชนเหล่านั้นย่อมพ้นจากบ่วงแห่งมาร ฯ

มาจากคาถาธรรมบท

การสำรวมจิต หมายถึง มีสติระมัดระวังอยู่ตลอดเวลา ไม่ประมาทนั่นเอง
นี่ก็น่าจะเรียกว่า รู้ปัจจุบันธรรม หรือปัจจุบันขณะ


                                โดย ชินวงส์


(http://gotoknow.org/file/lanandaman/preview/252977430_5f04cef543.jpg)


หัวข้อ: Re: ความว่าง
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 12 กรกฎาคม 2553 12:11:29


(http://iloapp.anzenkai.com/blog/www?ShowFile&image=1255328304.jpg)


- ที่จริงแล้ว พระพุทธเจ้ามีวิธีการสอนอย่างนี้มากมายในพระไตรปิฎก
ก็อย่างที่คุณว่า ผู้ที่ได้รับยกย่องว่าสอนแบบเซนในเมืองไทยก็มีอยู่สองท่าน
คือ หลวงพ่อพุทธทาสได้รับยกย่องว่าเป็นเซนแห่งสวนโมกข์  หลวงพ่อชา สุภทฺโท 
ได้รับยกย่องว่าเป็นเซนแห่งอีสาน


(http://up6.podbean.com/image-logos/41859_logo.gif)


- ถ้าจะสอนแบบเซนจริงๆ ก็ไม่ต้องพูดอะไรกันเลย เพราะของจริงนิ่งสงบ
อธิบายให้กันฟังไม่ได้หรอก เป็นปัจจัตตังรู้ได้เฉพาะตนเท่านั้น
ที่อาตมานำมาเขียนนั้นเป็นเพียงธรรมะภายนอกเท่านั้น ของจริงต้องศึกษาเอาเอง
จากกายใจของตนทั้งสิ้น

- ขอให้ "ซาโตริ" ในเร็ววัน อนุโมทนา



ซาโตริ(ภาษาญี่ปุ่น) = รู้แจ้ง




(http://i168.photobucket.com/albums/u170/pintip/2-2-50-2.png)


หัวข้อ: Re: ความว่าง
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 12 กรกฎาคม 2553 12:25:56


(http://1.bp.blogspot.com/_aedqHk40El4/SCXCC0MGitI/AAAAAAAABQg/no3TngnkFs4/s200/Zazen2.jpg)


ซาโตริ ตามรูปศัพท์หมายถึงการรู้อย่างแจ่มแจ้งหรือการตรัสรู้

แต่ในเซนหมายถึงภาวะแห่งการสำนึกรู้ถึงพุทธจิต
เป็นการสำนึกรู้ถึงจิตสำนึกที่บริสุทธิ์หมดจดอยู่แล้วด้วยตัวของมันเองโดยปราศจากสิ่งใดๆ
(ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางจิตใจหรือทางร่างกายก็ตาม)


ประสบการณ์ใดๆ ที่สามารถถูกอธิบายกำหนดลักษณะได้ด้วยใจหรืออารมณ์
ประสบการณ์นั้นๆ ก็ไม่จัดเป็นซาโตริตามความหมายข้างต้น

แม้ว่าบางครั้งคำพูดจะถูกใช้อย่างคร่าวๆ
เพื่อไปบ่งถึงภาวะที่จิตใจและอารมณ์เป็นของฟูเฟื่องสูงสุด
และรู้สึกท่วมท้น
ที่ได้สำนึกถึงธรรมชาติแห่งการหยั่งรู้ฉับพลัน

 
ในนิกายเซนทั่วไป

ซาโตริจะมีความหมายอย่างชัดเจนคือเป็นการมองเข้าไปสู่ธรรมชาติที่แท้จริงของตนเอง
แล้วค้นพบ
บางสิ่งซึ่งแปลกใหม่อันจะรู้ได้อย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง

และสิ่งนั้นก็จะส่องประกายให้ชีวิตทั้งหมดของเขาแจ่มกระจ่างสว่างไสวไปตลอด

 
แต่ถึงกระนั้นมันก็ไม่อาจถูกแสดงออกมาได้ไม่ว่าจะโดยวิธีใดๆ ก็ตาม

อย่างไรก็ดี อาจกล่าวได้ว่า การหยั่งรู้อย่างฉับพลัน อาจ ชี้บ่งถึงประสบการณ์แห่งซาโตริ
ซึ่งมีอยู่ภายใน ซึ่งได้ส่องประกายของมันเข้าไปสู่จิต

แต่ก็ไม่อาจจะสังเกตเห็นได้โดยง่าย

แต่สำหรับผู้ปฏิบัติอย่างเอาจริงเอาจังเมื่อซาโตริปรากฏขึ้นมา มันก็จะส่งผลไปอย่างตรงดิ่ง
และดำเนินเรื่อยไปอย่างไม่ถดถอย"