[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => เกร็ดความรู้ งานบ้าน งานครัว => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 10 ตุลาคม 2555 10:29:55



หัวข้อ: ขุดกลอยจากป่ามาทำขนม (กลอย พืชมีพิษแต่โดนพิชิตด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน)
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 10 ตุลาคม 2555 10:29:55
(http://www.sookjaipic.com/images/3997632488_1.JPG)
กลอย พืชมีพิษแต่โดนพิชิตด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน

กล่าวถึงพืชที่ชาวบ้านเข้าป่าไปหานำมาปรุงอาหารนั้น มีมากมายหลากหลาย ถ้าจะให้นับก็คงนับกันไม่หวาดไม่ไหว  แต่ถ้าจะกล่าวถึงพืชที่ชาวบ้านนำมาประกอบอาหารแต่ต้องใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านที่คิดหาวิธีกำจัดพิษออกจนหมด  จึงจะนำพืชเหล่านั้นมาประกอบอาหารได้ ก็คงไม่พ้น กลอย  กลอยจัดเป็นพืชจำพวกคาร์โบไฮเดรท   คนในชนบทหรือชาวป่าชาวเขา มักขุดหัวกลอยมาต้มกิน หรือหุงรวมกับข้าว ส่วนคนเมืองนิยมนำไปปรุงเป็นของหวานหลากหลายชนิด เช่น กลอยคลุกน้ำตาลกับมะพร้าว  กลอยนึ่งปนกับข้าวเหนียวมูน   ข้าวเหนียวกลอยหน้าสังขยา หรือโรยน้ำตาลปนเกลือและงา   เป็นส่วนผสมของแป้งชุบกล้วยแขก  กลอยแผ่น  ข้าวเกรียบกลอย  แกงบวดกลอย  และที่ขาดกลอยเป็นส่วนผสมเสียมิได้เลยคือถั่วทอด  (ขนมขึ้นชื่อของจังหวัดสุโขทัย)

(http://www.launsin200.com/images/photo_1195607961/1253688332.jpg)
ถั่วทอด ขนมของฝากของจังหวัดสุโขทัย
ภาพจาก : www.weloveshopping.com (http://www.weloveshopping.com)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์   :  กลอยจัดเป็นพืชล้มลุก ชนิดไม้เลื้อย มีหัว  มักขึ้นตามป่าเบญจพรรณค่อนข้างโปร่ง พบมากในภาคเหนือ ช่วงฤดูฝนจนถึงฤดูหนาว  หัวกลอยฝังอยู่ใต้ดินตื้น ๆ หัวใหญ่ขนาดประมาณหัวกระเทียม  ลำต้นมีหนามเล็ก ๆ กระจายทั่วไปและมีขนนุ่ม ๆ สีขาวปกคลุม  มีหัวอยู่ใต้ดินลักษณะทรงกลมรี มีรากเล็ก ๆ กระจายทั่วทั้งหัว  ต้นหนึ่ง ๆ มีหัว ๓-๕ หัว  เปลือกหัวบางสีน้ำตาลออกเหลือง  เนื้อในหัวมี ๒ ชนิด คือ สีขาว (กลอยหัวเหนียว)  และสีครีม (กลอยไข่หรือกลอยเหลือง) ใบเป็นใบประกอบ  ก้านใบยาว ๑๐-๑๕ ซม.  มีใบย่อย ๓ ใบ รูปรี ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ เส้นใบนูน ผิวใบสากมือ มีขนนุ่มปกคลุม   ความกว้างของใบ ๓ ซม. ยาว ๘ - ๑๐ ซม.  ดอกช่อ ออกตามซอกใบ  ก้านดอกเดี่ยวยาวห้อยลงมา  มีดอกเล็ก ๆ ติดบนก้านดอกจำนวน ๓๐ - ๕๐ ดอก  ผลมีลักษณะคล้ายผลมะเฟือง มี ๓ พู  แต่ละพูมี ๑ เมล็ด  เมล็ดมีลักษณะกลมแบน  มีปีกบางใสรอบเมล็ด  ช่วยในการปลิวตามลม  

(http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRGX6B0BZLTI5xk5OaTc7gX5ITI-1ZvShY1fZrqnlfPTDbIU9yDpA)  (http://t0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcS3r9IR3yQTdzI_-ksDfUC-62Now_KRpBBJ1ayCrMdZoihY1azS)

หัวกลอยนั้นมีสารพิษที่เรียกว่า Dioscorine     พิษชนิดนี้มีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง   ซึ่งประสาทส่วนกลางมีผลต่อการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น การสัมผัสทางกาย  ดังนั้น คนที่รับประทานกลอยที่มีสารพิษเข้าไปจึงมักมีอาการคันที่ปาก ลิ้น คอ คลื่นไส้ อาเจียน และเมื่อประสาทส่วนกลางบีบหัวใจ จะทำให้เกิดอาการมึนเมา วิงเวียน ใจสั่น ตาพร่า อึดอัด และเป็นลมได้ในที่สุด  ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับพิษจะมีอาการรุนแรงไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับปริมาณสารพิษ และความต้านทานของแต่ละคน


(http://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSwXQUBL3zXNUg6icWSsRmaL8wSIbkLyNX-VhBmy3KOeQ7zr-cf)  (http://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRr_AJ4Wq2-pb_CgZFYJWst91gtdfv1oqpupQCR6TfNOtUFRifTKA)

การกำจัดพิษออกจากหัวกลอย
วิธีการทั่ว ๆ ไป คือปอกเปลือกหัวกลอยให้สะอาด  หั่นเป็นแว่น  แต่ละแว่นหนาประมาณ ๑ – ๑.๕ ซม.  ให้นำชิ้นกลอยที่หั่นแล้วลงไปในภาชนะหนาประมาณ ๑๐ ซม. โรยเกลือให้ทั่วหน้า

๑ - ๒ ซม.  แล้วใส่ชิ้นกลอยลงไป ทำสลับกับเกลือจนกว่าจะหมดทิ้งไว้ค้างคืน  วันรุ่งขึ้นให้นำกลอยที่หมักออกมาล้างน้ำจนสะอาด  จากนั้นใส่ชิ้นกลอยที่ล้างแล้วลงไปในถุงผ้าดิบหรือผ้าขาวบาง  นำของหนักทับไว้เพื่อไล่น้ำเบื่อเมาของกลอยออกให้หมด  ต่อไปให้นำชิ้นกลอยจากถุงผ้าเทกลับลงไปในภาชนะเดิมแล้วใส่น้ำให้ท่วมเนื้อกลอย  ทิ้งไว้ค้างคืน รุ่งเช้าจึงนำชิ้นกลอยมาล้างให้สะอาดและทำซ้ำเช่นเดิม ประมาณ ๕ - ๗ วัน  จึงจะปลอดภัยจากสารพิษ และนำมาบริโภคหรือปรุงอาหารได้ หรือจะผึ่งแดดให้แห้งเก็บตุนไว้เมื่อจะบริโภคจึงนำชิ้นกลอยมาแช่น้ำ  แต่ในสมัยก่อนชาวบ้านนิยมนำกลอยไปแช่ในลำธารประมาณ ๓ – ๔ คืน  และในระหว่างแช่ไว้ต้องหมั่นคนกลอยที่แช่เอาไว้จนกว่ากลอยจะรสชาติจืด  จึงนำไปนึ่งหรือปรุงอาหาร  



วิธีทำขนมที่นำกลอยมาเป็นส่วนประกอบว่ามีวิธีทำอย่างไรและมีอะไรกันบ้าง เริ่มจากเมนูขนมหวานที่เป็นที่โปรดปรานของนักชิมนั้นคือ

               (http://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTYVJk-d7Li8Yyi9scrNmHZ0IWGgUlUGg-BRdrBTqThyLqtiH98B6Fq9Q)

                     ข้าวเหนียวกลอย

ส่วนประกอบ กลอย  ข้าวเหนียว  น้ำกะทิ  มะพร้าวขูด  งา  น้ำตาล  เกลือ

วิธีทำ
- นำข้าวเหนียวมาแช่น้ำประมาณ ๑ วัน  
- นำกลอยที่ล้างพิษแล้ว เอามาคนให้เข้ากันกับข้าวเหนียวแล้วนำไปนึ่ง  
- เมื่อสุกแล้วนำมาตั้งไว้ให้เย็น  จากนั้นนำมาคลุกกับน้ำกะทิที่เตรียมไว้ให้เข้ากัน  
- เมื่อเสร็จจากข้าวเหนียวเราก็นำเอามะพร้าวขูดที่เตรียมไว้ผัดกับน้ำตาล  งา  และใส่เกลือเพียงเล็กน้อยก็เป็นอันเสร็จ  



                    (http://t0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRafMxKO2iRjpZpEnVxPRrCNw7-1OLt2VdsedPsj00jqgJPzRfiKw)
                                  ข้าวเหนียวกลอยมูน

                         กลอยข้าวเหนียวมูน

ส่วนประกอบ  กลอย   ข้าวเหนียว  น้ำตาล  เกลือ

วิธีทำ  
- นำข้าวเหนียวมาแช่กับน้ำประมาณ ๑ วัน  
- นำกลอยที่ล้างพิษแล้วนำมาคนกับข้าวเหนียวให้เข้ากันแล้วนำไปนึ่ง  
- เมื่อสุกตั้งไว้ให้เย็น จากนั้นนำมาคลุกกับน้ำกะทิที่เตรียมไว้ให้เข้ากัน นำมารับประทานกับมะม่วงสุก หรือจะกินเปล่า ๆ




                    (http://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTilNm37KgECB1-D0Kh7U7_8iUpupJ84HK_nwKgs7qOpFiz2so5)
                                  แกงบวดกลอย

                         แกงบวดกลอย

ส่วนประกอบ กลอย  น้ำกะทิ  น้ำตาล เกลือ

วิธีทำ  
- นำน้ำกะทิมาตั้งไฟจนแตกมัน แล้วนำน้ำตาลใส่ลงไปพร้อมกับใส่เกลือนิดหน่อย
- รอจนน้ำกะทิเดือดแล้วนำกลอยที่เตรียมไว้ใส่ลงไปทิ้งไว้จนกลอยสุกก็นำไปรับประทานได้เลย  
- ถ้าชอบรับประทานแบบเย็นก็แค่เติมน้ำแข็งก็อร่อยคลายร้อนได้แล้ว


หลากหลายเมนูขนมหวานที่ผลิตจากกลอยแต่ละเมนูน่าลองลิ้มชิมรสจริง ๆ แต่ก่อนที่จะมีหน้าตาชวนรับประทานเช่นนี้ ถ้าไม่บอกกล่าวกันก็คงไม่ทราบว่าพิษภัยของกลอยนั้นมีมากมายเหลือหลายนัก  
ต้องขอขอบคุณภูมิปัญญาชาวบ้านที่สามารถนำพิษกลอยออกได้หมด จนเหลือแต่ความอร่อย.




ที่มา : คอลัมน์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น  “กลอย:ขุดกลอยจากป่ามาทำขนม”  หนังสือ สารนครศรีธรรมราช  ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๑๒ จัดทำโดย ฝ่ายประชาสัมพันธ์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช

และขอขอบคุณ ผู้อำนวยการกองการท่องเที่ยวฯ อบจ.นครศรีธรรมราช เป็นอย่างสูงที่กรุณาอนุเคราะห์หนังสือดังกล่าว



หัวข้อ: Re: ขุดกลอยจากป่ามาทำขนม (กลอย พืชมีพิษแต่โดนพิชิตด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน)
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2556 17:57:02
.

ไปพบแหล่งปลูกกลอยโดยบังเอิญ อดที่จะนำมาเผยแพร่ไม่ได้ค่ะ
แหล่งกลอยที่ว่า อยู่ที่
บ้านไทรย้อย  อำเภอเด่นชัย  จังหวัดแพร่

(http://www.sookjaipic.com/images/3997632488_1.JPG)

ชาวบ้านจะนำกลอยซึ่งเป็นผลผลิตของชาวบ้านในท้องถิ่น
และถูกนำไปแปรรูปเรียบร้อยแล้ว มาวางจำหน่ายริมทางถนนแผ่นดินทั้งสองฝั่งถนน
ซึ่งมีทั้งกลอยตากแห้งสีขาวนวลสะอาดตาสำหรับซื้อติดไม้ติดมือกลับบ้าน
และกลอยทอดกรอบ  กลอยสดนึ่งคลุกเคล้ากับมะพร้าวขูด น้ำตาลทราย เกลือ และงาคั่ว


(http://www.sookjaipic.com/images/2386686044_1.JPG)
กลอยสด สีขาวนวลอมเหลืองอ่อนๆ

(http://www.sookjaipic.com/images/3954237715_3.JPG)
กลอยนึ่งสุก

(http://www.sookjaipic.com/images/5478425857_4.JPG)
แล้วจึงนำไปคลุกน้ำตาลทราย เกลือ และงาดำคั่วค่ะ (ขายกล่องละ ๑๐ บาท)

(http://www.sookjaipic.com/images/8468059243_5.JPG)
กลอยทอดกรอบ ฉาบด้วยน้ำตาลบางๆ และตัดเกลือให้มีรสเค็มนิดๆ (ขาย ๓ ถุง ๕๐ บาท)
  
(http://www.sookjaipic.com/images/8325337163_6.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images/2095457116_7.JPG)
กลอยตากแห้ง ใหม่ สด สีขาวนวล   สำหรับซื้อติดไม้ติดมือกลับบ้าน  

(http://www.sookjaipic.com/images/9401287250_8.JPG)
กลอยที่ซื้อหาจากตลาดสดในตัวเมือง ออกจะเป็นสีน้ำตาลอ่อนๆ คงจะเก็บไว้นานแล้ว

(http://www.sookjaipic.com/images/8933695322_9.JPG)
หัวกลอยที่ได้จากป่า ซึ่งมีพื้นที่เป็นภูเขา บริเวณอำเภอเด่นชัย  จังหวัดแพร่
เมื่อได้มาแล้วจะนำมากำจัดพิษ ตามกรรมวิธีเดียวกับชาวบ้านแถบภาคใต้

(http://www.sookjaipic.com/images/5608996935_10.JPG)
ได้ข้อมูลจากคนขายกลอยในภาพ ว่า หากจะนำกลอยตากแห้งไปนึ่งรวมกับข้าวเหนียว (ข้าวเหนียวกลอย)
ให้นำกลอยไปแช่น้ำ โดยใช้ระยะเวลาเท่ากับการแช่ข้าวเหนียว
โดยทั่วๆ ไป หากจะทำข้าวเหนียวมูลจะแช่ข้าวเหนียวตอนหัวค่ำ แล้วนึ่งตอนเช้า
หากจะใส่กลอยก็ให้แช่น้ำทิ้งไว้หนึ่งคืนเช่นกัน
การนึ่ง ให้นึ่งรวมไปกับข้าวเหนียว

(http://www.sookjaipic.com/images/9793850481_11.JPG)
กลอยทอดกรอบ คลุกงาดำ และเคลือบน้ำตาลเล็กน้อย
(ตามภาพ ราคาขาย ๖ บาทค่ะ)

ภาพ/ข้อมูล : ๙  มีนาคม  ๒๕๕๖