[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ตลาดสด => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 15 ตุลาคม 2555 10:33:00



หัวข้อ: กินเจคืออะไร ทำไมต้องกินเจ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 15 ตุลาคม 2555 10:33:00


(http://www.dailynews.co.th/sites/default/files/imagecache/620x245/cover/160947.jpg)
ภาพจาก : www.dailynews.co.th (http://www.dailynews.co.th)

กินเจคืออะไร  ทำไมต้องกินเจ

การกินเจมีรากฐานมั่นคงสมัยราชวงศ์ฮั่น  พัฒนามากในยุคราชวงศ์เหนือ -ใต้ และในราชวงศ์ถัง  การเปิดเส้นทางสายไหม  ในรัชกาลพระเจ้าฮั่นอู่ตี้  ทำให้พันธุ์ผักผลไม้ใหม่เข้าสู่จีน  ทำให้มีผักผลไม้อุดมสมบูรณ์

พ.ศ. ๓๔๔-๓๖๙  สมัยหวยหนันอ๋อง  มีคนคิดทำเต้าหู้สำเร็จ  ผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองประเภทอื่นก็ตามมา มีโปรตีนทดแทนทำอาหารเจได้หลายประเภทขึ้น

ยุคราชวงศ์เหนือ-ใต้  พุทธศาสนารุ่งเรืองมาก เดิมทีพุทธศาสนาไม่ห้ามภิกษุฉันเนื้อสัตว์  แต่มหายานบางสายก็ให้ความสัมพันธ์กับการฉันเจ  บางยุคพุทธศาสนาถูกต่อต้าน  ภิกษุภิกษุณีออกบิณฑบาตไม่ได้  ต้องทำอาหารเจฉันกันเอง

พ.ศ. ๑๐๕๔  พระเจ้าเหลียงอู่ตี้  อ่านคัมภีร์ลังกาวตารสูตร  แล้วเกิดศรัทธาออกประกาศงดสุราและเนื้อให้นักบวชพุทธศาสนาถือปฏิบัติ  ปกติฤดูหนาวคนจีนต้องดื่มสุราช่วย  ภิกษุภิกษุณี ก็คงมีดื่มบ้าง  ตามประกาศนี้ก็ต้องงดขาด นับแต่นั้นบัญญัติห้ามฉันสุราและเนื้อจึงแพร่ไปทั่ว กลายเป็นจารีตของนักบวชพุทธศาสนาในจีน

ยุคราชวงศ์ถัง  วัดบางแห่งห้ามผักฉุน ๕ อย่าง คือ กระเทียม กระเทียมเล็ก หอม หอมปรัง (หลักเกี่ยว)  มหาหิงคุ์  วัดเต๋าบางแห่ง ถือเอากุยช่าย  หอมปรัง  กระเทียม  ผักชี และหวินไถ (ผักน้ำมัน)  เป็นผักฉุน ๕ อย่าง

สมัยราชวงศ์ซ่ง  อาหารเจแพร่หลายในเมืองใหญ่ เช่น ไคเฟิง  หางโจว  มีร้านอาหารเจขาย  มีผู้รวบรวมเมนูไว้ถึง ๑๐๔ รายการ  เนื้อเทียม  เป็ดไก่เทียม  เริ่มต้นในสมัยนี้  และในสมัยราชวงศ์ซ่งนี้ เฮ้งเต้งเอี๋ยง  ได้ตั้งนิกายช้วนจินก้า แยกออกจากศาสนาเต๋าเดิม  มีระบบนักบวชกินเจตลอดชีวิต

สมัยราชวงศ์หมิงและชิง  อาหารเจโดดเด่นหลากหลาย  แยกเป็น ๓ สาย  สายวัด  สายวัง และสายชาวบ้าน  และมีอีก ๒ ศาสนาที่เกี่ยวข้องกับอาหารเจคือ ศาสนาเต๋า  และศาสนามณี

ปรัชญาเต๋า  พัฒนาเป็นศาสนาเต๋าชัดเจนตอนปลายสมัยราชวงศ์ฮั่น  ไม่มีระบบนักบวชจัดเจน  มีแต่ผู้นำทำพิธีทางศาสนา  ปกติใช้ชีวิตอย่างคนทั่วไป  พอจะทำพิธีก็ต้องกินเจ  สมัยราชวงศ์ถัง  สำนักเต๋าบางแห่งเริ่มกินเจทุกวัน  วันนี้ศาสนาเต๋าแบ่งเป็น ๒ นิกาย นิกายช้วนจินก้า  รุ่งเรืองในจีน  นักพรตกิจเจตลอดชีวิต  นิกายเจิ้งอี่ รุ่งเรืองในไต้หวัน นักพรตกินเจแบบศาสนาเต๋า คือเมื่อจะทำพิธีกรรม

ศาสนามณี  มีอีกชื่อ มาณีกี  สืบสานจากเปอร์เซีย  ศาสดาชื่อมณี (พ.ศ. ๗๕๙ – ๘๒๐)  คำสอนใช้ศาสนาโซโรอัสเตอร์ เป็นพื้นฐาน  ผสมผสานพุทธศาสนา  คริสต์ศาสนา  และยังรับอิทธิพลจากลัทธิเหตุผลนิยมจากโรมัน  เคยแพร่หลายไปทั้งยุโรป  แอฟริกา  และเอเชีย  แพร่ไปถึงซินเจียงของจีน   ในราชวงศ์เหนือ-ใต้  สมัยพระนางบูเช็กเทียน เผยแพร่ในนครฉางอาน  เมืองหลวงราชวงศ์ถัง  แล้วแพร่หลายไปอีกหลายมณฑล  พ.ศ. ๑๓๘๘ ถูกพระเจ้าอู่จงกวาดล้าง จนเสื่อมโทรมไป  แต่ก็พัฒนาเป็นลัทธิเม้งก้า (หมิงเจี้ยว)  ลัทธิแสงสว่าง  กบฏชาวนาในยุคห้าราชวงศ์  ราชวงศ์ซ่ง  และราชวงศ์หยวน  มักใช้ศาสนานี้เป็นเครื่องมือตั้งองค์กรต่อต้านอำนาจรัฐ  ลัทธินี้ยกย่องจางเจี่ยว (เตียวก๊ก)  หัวหน้าโจรโพกผ้าเหลืองต้นเรื่องสามก๊ก  เป็นศาสดา  เคารพองค์พระมณีเป็นเทพแห่งแสงสว่าง  บูชาพระอาทิตย์ พระจันทร์

ศาสนิกลัทธิเม้งก้า กินมังสวิรัติ งดสุรา เปลือยศพฝัง เน้นการรวมกลุ่มช่วยเหลือกันและกัน  ถือว่าเป็นพวกเดียวกัน มีความเชื่อว่า พลังแห่งแสงสว่าง (ความดี) จะต้องชนะพลังแห่งความมืด (ความชั่ว)  และชอบแต่งกายชุดขาว




ที่มา : “คนในชุดชาว”   คอลัมน์ ชักธงรบ โดยกิเลน ประลองเชิง  หน้า ๓ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับประจำวันอังคารที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕