[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => กฏแห่งกรรม - ท่องไตรภูมิ => ข้อความที่เริ่มโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 01 สิงหาคม 2553 18:01:07



หัวข้อ: ผลของการ อนุโมทนาบุญ หรือการ ยินดีในบาป ของผู้อื่นจะเป็นอย่างไร ?
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 01 สิงหาคม 2553 18:01:07
ผลของการอนุโมทนาบุญหรือการยินดีในบาปของผู้อื่นจะเป็นอย่างไร?


ถาม – ผลของการอนุโมทนาบุญหรือการยินดีในบาปของผู้อื่นจะเป็นอย่างไร?

เอาที่พระพุทธองค์ตรัสเล่าเองนะครับ ครั้งหนึ่งท่านเคยเป็นลูกชาวประมง เห็นคนทั้งหลายฆ่าปลาแล้วเกิดความโสมนัส คือชื่นชมยินดีในบาปของผู้อื่น (เกิดอกุศลจิตประกอบด้วยโสมนัส) ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้นทำให้ชาติสุดท้ายพระองค์ต้องปวดพระเศียรขณะที่เจ้า ศากยะญาติพระองค์ถูกไล่ล่าฆ่าฟัน
อีกเรื่องที่มีมาในพระไตรปิฎก พระอนุรุทธเถระได้ถามนางเทพธิดาตนหนึ่งซึ่งมีผิวพรรณงามยิ่ง รัศมีส่องสว่างไสวเรืองรองไปทั่วทุกทิศ ว่าเคยทำกรรมอันใดมา นางตอบว่าเมื่อครั้งเป็นมนุษย์นั้นได้เป็นสหายแห่งวิสาขามหาอุบาสิกาผู้ สร้างมหาวิหารถวายสงฆ์ ซึ่งนางเพียงเห็นมหาวิหารแล้วก็มีจิตเลื่อใสอนุโมทนา และเพียงเพราะการอนุโมทนาด้วยจิตบริสุทธิ์แต่อย่างเดียวเท่านั้น ก็ได้ผลคือวิมานอัศจรรย์อันเป็นที่รักแล้ว (ขอให้ทราบด้วยว่าผลแห่งความดีที่ทำเป็นประจำนำนางมาเกิดในสวรรค์ แต่เฉพาะวิมานอันงามแปลกนั้นเป็นส่วนที่ได้จากการอนุโมทนาประการเดียว)

สรุปแค่จากสองตัวอย่างข้างต้นนี้คือ การยินดีในบาปและการเลื่อมใสในบุญของผู้อื่นนั้น อาจให้ผลใหญ่หลวงอย่างคาดไม่ถึง สิ่งที่เราเห็นว่าเล็กน้อย นึกว่าเป็นเรื่องขี้ปะติ๋ว หรือทึกทักเอาเองว่าแค่คิดอยู่ในใจคงไม่เป็นไร แท้ที่จริงอาจเป็นเรื่องคอขาดบาดตาย และคะเนยากว่าจะให้ผลเมื่อใด

คราวนี้ขอยกตัวอย่างในสิ่งที่เป็นปัจจุบันเห็นได้ทันตา ในคอลัมน์เตรียมเสบียงไว้เลี้ยงตัวซึ่งเพิ่งลงในบางกอกฉบับที่ ๒๔๑๘ นี้เอง คงจำได้ว่าผมขอให้ทุกคนทดลองตั้งใจรักษาศีลข้อแรก ไม่ประหัตประหารสิ่งมีชีวิตแม้ยุงสักตัวให้ได้หนึ่งวัน กับทั้งขอให้ทำจิตอนุโมทนา ปลาบปลื้มยินดีที่จะมีผู้อ่านได้ตั้งใจร่วมกันเป็นจำนวนมหาศาล

เท่าที่ฟังเสียงเล่าจากหลายคนคือรู้สึกถึงพลังบางอย่างที่เกิดขึ้นจริงขณะมี จิตเลื่อมใสในการร่วมรักษาศีลข้อแรกนั้น บางคนเห็นผลทันที เช่นเป็นภูมิแพ้จมูกตันอยู่ก็กลับโปร่งโล่งเป็นที่น่าอัศจรรย์

มาลองใหม่อีกทีก็ได้ หลายคนที่ฟังพุทธพจน์แล้วเริ่มเห็นคล้อยตามว่าท่าทางบุญกรรมจะมีจริง กรรมที่ให้วิบากเป็นสุข และกรรมที่ให้วิบากเป็นทุกข์ น่าจะไม่ใช่เรื่องหลอก ทำ จิตเข้าไปในความจริงว่ามีคนจำนวนมากเริ่มซาบซึ้งและศรัทธาในพระพุทธเจ้า รู้ทางถูกทางตรง ละทางผิดทางพลาด หากเกิดความปลาบปลื้มยินดีในความจริงนั้น จะเหมือนตาสว่างขึ้นมาชั่วขณะหนึ่ง และหากจดจำความรู้สึกตาสว่างดังกล่าวไว้ ก็จะเห็นความเปลี่ยนแปลงในตนเองในระยะยาว คือจากที่เคยรู้ทั้งรู้ว่าเลือกอะไรด้วยความเขลา เหมือนมีฝ้าหมอกหนาทึบมาบดบังปัญญา ต่อไปก็จะเหมือนฝ้าหมอกนั้นเบาบางลง และพร้อมจะตัดสินใจเลือกสิ่งที่ถูกต้องได้มากขึ้น

การอนุโมทนาบุญก็ดี การชื่นชมบาปก็ดี ล้วนแล้วแต่เป็นการเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งความดีความเลวนั้นๆลงในจิตวิญญาณของ เรา ฉะนั้นถึงแม้ไม่คำนึงถึงผลอันเป็นรางวัลหรือโทษทัณฑ์กระทบตัว ก็ขอให้คำนึงถึงแนวโน้มทางนิสัยว่าจะต้องเป็นไปในแบบนั้นๆด้วย

พูดง่ายๆว่า ความ ยินดีในกรรมใดๆที่ผู้อื่นประกอบขึ้นนั้น ถ้ายกระดับขึ้นเป็นความติดใจแล้วล่ะก็ หวังได้เลยว่าไม่ช้าก็เร็วคุณจะต้องก่อกรรมประการนั้นๆด้วยตนเองอย่างแน่นอน




หัวข้อ: Re: ผลของการ อนุโมทนาบุญ หรือการ ยินดีในบาป ของผู้อื่นจะเป็นอย่างไร ?
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 01 สิงหาคม 2553 18:01:51
คำว่า บุญ หรือ กุศลกรรม เป็นการกระทำที่ประกอบด้วย เหตุดีๆ  ดังนี้
                1. ความไม่โลภะ ( อโลภะ )
                2. ความไม่โกรธ  ( อโทสะ )
                3. ความไม่หลง ( อโมหะ )

        เมื่อ เหตุดี ผลย่อมดี.
        ดังนั้น เมื่อเราเห็น บุคคลทำบุญ ก็เป็นอันว่า
                1. ได้เห็น บุคคลนั้นทำกรรมที่ประกอบด้วย เหตุดีๆ ไว้แล้ว
                2.  ย่อมเล็งเห็นถึง ผลดีอันเป็นวิบากที่บุคคลนั้น จะได้รับ คือ ความสุข ความเจริญ เป็นต้น.
                3.  การเห็น การทำความดีของบุคคลอื่น เป็นการเห็นตัวอย่างที่ดี เป็นการเสพเสวนากับความดี.

        การพลอยยินดี ต่อการกระทำความดีของบุคคลใดๆ คือ
                1. เป็นการพลอยยินดี กับความสุข ความเจริญ ที่เหตุแห่งความสุข ความเจริญนั้นๆ
                2. เป็นการฝึกฝนอบรม ฉันทะ ความพอใจ ในการกระทำบุญกุศลนั้นๆ
                3. เป็นความดีอย่างหนึ่ง คือ เป็นบุญที่เกิดจาก ความยินดีความดีของผู้อื่น.

        หาก บุคคลนั้นเป็นศัตรูของเรา อาจพลอยยินดีได้ลำบาก ก็ควรนึกว่า
                ในอดีตนั้น บุคคลนั้นก็เคยเป็น ญาติของเรา เป็นพ่อ เป็นแม่ เป็น พี่น้อง เป็นเพื่อนของเรามาแล้วทั้งนั้น.  ทั้งหมดนี้ เป็นผู้มีทุกข์ คือความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหมือนกับเราทั้งนั้น



ที่มา : โซนไอที ไอดี 50407