[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ => เรื่องแปลก - ประสบการณ์ทางจิต - เรื่องลึกลับ => ข้อความที่เริ่มโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 02 สิงหาคม 2553 23:20:42



หัวข้อ: มหัศจรรย์แห่งพลังจิต 'หยุดเครื่องยนต์ได้' 'พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร' วัดป่าอุดมสมพร
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 02 สิงหาคม 2553 23:20:42
มหัศจรรย์แห่งพลังจิต 'หยุดเครื่องยนต์ได้' 'พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร' วัดป่าอุดมสมพร  ลูกศิษย์หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

“ความ มหัศจรรย์ทางจิต” เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจากพลานุภาพของ “กระแสจิต” ที่แก่กล้าเข้มแข็งสามารถ “ดลบันดาล” ให้เกิดสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ดังใจปรารถนาเป็นอีก “เรื่องจริง” ที่ยอมรับกันทั่วไปในสากลแม้ในทาง “วิทยาศาสตร์” ก็ได้มีการค้นคว้าศึกษาและวิจัย มีผลงานออกมาเผยแพร่มากมายล้วนพิสูจน์ได้ว่า “อำนาจแห่งพลังจิต” เป็นสิ่งที่ทำได้และสามารถเกิดขึ้นได้จริง “เหนือลิขิต? ประกาศิตฟ้าดิน?” ฉบับนี้จึงขอนำท่านผู้อ่าน “อ่านความจริง... อ่านเดลินิวส์” ไปพบกับ “ความมหัศจรรย์ทางจิต” ที่เกิดขึ้น ณ ดินแดนภาคอีสาน ของประเทศไทย
 
เมื่อหลายปีมาแล้วผู้เขียนได้รู้จักกับ “คุณมานิต ลิ้มเลิศวนิช” อดีตผู้จัดการธนาคารกสิกร  ไทย สาขาอุดรธานี ซึ่งเป็นผู้มีความสนิทใกล้ชิดและเป็นศิษย์ของพระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งภาค อีสาน  “พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร” แห่ง “วัดป่าอุดมสมพร” ซึ่งเป็นพระกรรมฐานสาย “พระอาจารย์มั่น ภูริ     ทัตโต” ผู้เป็น “แม่พิมพ์ธรรมองค์สำคัญยิ่ง” ของพระเถระผู้ปฏิบัติธรรมตั้งแต่อดีต และมีคุณูปการมาจนถึงปัจจุบันนี้โดย “คุณมานิต” ได้เล่าเรื่องญานสมาธิอันแกร่งกล้าของ “พระอาจารย์ฝั้น” ให้ฟังว่า “คราวหนึ่งชาวบ้านพาท่านเข้าป่าไปพักที่ถ้ำแห่งหนึ่งโดย ที่ผู้พาไปและ “พระอาจารย์ฝั้น” ก็ไม่คุ้นเคยกับสภาพภูมิประเทศจึงต้องเข้าฌานสมาธิ พิจารณา  หาที่บิณฑบาต ในวันรุ่งขึ้นแล้วท่านก็เดินไปตามที่เห็นในนิมิต จนถึงหมู่บ้านและได้รับบิณฑบาตตามที่ต้องการ”
 
เกี่ยวกับเรื่องการเข้าสมาธิกำหนดจิต “สร้างพลังจิต” ทำให้เครื่องยนต์ของรถยนต์ “ดับได้” นั้นท่านทำอย่างไรและเห็นอะไรในการเข้าสมาธิพิจารณา เครื่องยนต์จึงขับเคลื่อนไปไม่ได้โดยมีผู้ใกล้ชิดเคยสอบถามถึงเรื่องนี้ “พระอาจารย์ฝั้น” ตอบว่า “เห็นแต่ไฟแปล๊บ ๆ แล้วเครื่องก็หยุด” นั่นก็คือไฟสปาร์กของหัวเทียนเพื่อ จุดระเบิดเชื้อเพลิงในห้องเผาไหม้ในห้องเครื่องนั่นเอง และ รถยนต์คันเดียวกันนี้ท่านได้กำหนดจิตพิจารณา ๒ ครั้ง   “เครื่องยนต์ก็ดับทั้ง ๒ ครั้ง” จากเหตุการณ์ดังกล่าวนี้เป็นเหตุชักนำให้ “จอมพลผิน ชุณหะวัณ” นิมนต์ท่านให้เดินทางไปจังหวัดนครราชสีมาเพื่อ “คุ้มครองฐานทัพ” เมื่อครั้งที่ “กองทัพญี่ปุ่น” มาบุกไทยใน สงครามโลกครั้งที่ ๒ ซึ่งญี่ปุ่นได้กรีธาทัพเข้าไทยและทำการทิ้งระเบิด “โจมตีฐานทัพไทย” ที่นครราชสีมาได้รับความเสียหาย   “จอมพลผิน ชุณหะวัณ” ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบฐานทัพนครราชสีมาได้นิมนต์ “พระอาจารย์ฝั้น” จากจังหวัดขอนแก่นไปทำ “ทรายเสก” แล้วใช้เครื่องบินโปรยทรายเสกรอบฐานทัพพร้อมจำพรรษาอยู่ที่ฐานทัพโคราช นานกว่า ๑ เดือน ตั้งแต่นั้นมาปรากฏว่าเครื่องบินญี่ปุ่นไม่มาโจมตีอีกเลยอีกทั้งท่านเคยพูด เสมอว่า “ลองให้มันบินมาโจมตีอีก คราวนี้จะทำให้เครื่องบินตกเสียเลย” จึงแสดงให้เห็นว่าหากท่านใช้ “สมาธิจิต” บังคับเครื่องยนต์แล้วไม่ว่าจะเป็นรถยนต์หรือเครื่องบินก็สามารถ “ดับได้” ดังเช่นที่ท่านได้เคยทำมาแล้วกับรถยนต์ ทั้งนี้เป็นเพราะขณะนั้นจิตของท่านมีความรักและเป็นห่วง  ชาติ-ศาสนา-พระมหากษัตริย์ มาก
 
อีกเรื่องที่ “คุณมานิต” ได้ยินมาด้วยตนเองจากการเล่าของ “หลวงตามหาบัว วัดป่าบ้านตาด” ซึ่งท่านได้กรุณาเล่าให้ฟังว่า “ในคราวจัด   งานศพของ “พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต” ที่ วัดป่าสุทธาวาส ท่านได้เห็นพลังจิตที่รวดเร็วของ “พระอาจารย์ฝั้น” ที่แสดงให้ท่านเห็นโดยเมื่อท่าน “พระอาจารย์มั่น” ได้มรณภาพที่วัดป่าสุทธาวาสก็มีพระธุดงค์ทุกระดับชั้นที่เป็นลูกศิษย์  ลูกหา ต่างมาคารวะและช่วยงานศพเป็นจำนวนมาก ทำให้ที่พักอาศัยซึ่งเป็นกุฏิไม่เพียงพอพระอาจารย์ทั้งหลาย จึงช่วยกันนำไม้ไผ่มาผ่ากั้นเป็นห้อง ๆ เพื่อให้  “พระธุดงค์” ได้พออาศัยปักกลดขณะเดียวกันก็มี     “เด็กหญิงชาวญวน” อายุประมาณ ๑๐-๑๑ ขวบปั่นจักรยานเล่นกันในบริเวณวัดส่งเสียงด้วยความสนุกและคึกคะนอง บ่อยครั้งที่ได้ปั่นรถเฉียดเข้าไปใกล้    ครูบาอาจารย์ และพระที่อยู่ในบริเวณนั้นก็ได้กล่าวตักเตือนเด็กหญิงที่ปั่นจักรยานหลาย ครั้งก็ไม่ได้ผล “พระอาจารย์ฝั้น” ซึ่งนั่งอยู่ใกล้ “พระอาจารย์มหาบัว” จึงได้พูดเปรย ๆ ขึ้นว่า “เดี๋ยวจะสั่งสอนเด็กที่ปั่นจักรยานสักหน่อย” ชั่วครู่ต่อมาเด็กหญิงคนนั้นก็ปั่นจักรยานมาทาง “พระอาจารย์ฝั้น” พอเข้าใกล้เด็กหญิงผู้นั้นพลันมีอาการตกตะลึงเหมือนมองเห็นสิ่งที่น่ากลัว มาก แล้วล้มลงพร้อมจักรยานและพอได้สติเด็กหญิงผู้นั้นรีบลุกขึ้นหันมามอง “พระอาจารย์ฝั้น” แล้วรีบจูงรถจักรยานวิ่งออกจากวัดไปอย่างเร็ว เหตุการณ์ครั้งนั้น “หลวงตามหาบัว” เล่าเพิ่มเติมว่าพลังจิตของ  “พระอาจารย์ฝั้น” นั้นทำได้เร็วมาก
 
“พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร” เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๒ ที่บ้านม่วงไข่ ตำบลพรรณา อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เป็นบุตรของ  “จ้าวไชยกุมาร” ซึ่งมีเชื้อสายทางจ้าวเมืองพรรณา   นิคม มารดาชื่อ “นุ้ย” ซึ่งเป็นบุตรีของ “คุณหลวงประชานุรักษ์” ชื่อสกุลเดิมของท่านคือ “สุวรรณรงค์” และเล่าเรียนหนังสือตามปกติจนกระทั่งอายุ ๑๙ ปี  จึงได้บรรพชาเป็นสามเณรได้เพียงปีเศษอายุครบบวช “สามเณรฝั้น” จึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่ วัดสิทธิบังคม ตำบลบ้านไฮ่ (อยู่ในเขตอำเภอพรรณานิคม) โดยมี “พระครูป้อง” เป็นพระอุปัชฌาย์ “พระอาจารย์สังข์” และ “พระอาจารย์นวล” เป็นพระกรรมวาจาจารย์และอนุสาวนาจารย์ได้ฉายาว่า “อาจาโร” หลังอุปสมบทก็ทำการฝึกกรรมฐานและออกธุดงค์อยู่รุกขมูลมาตลอดในปลาย พ.ศ. ๒๔๖๒ “พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต” ได้พาคณะจาริกไปแสดงธรรมโปรดญาติโยมที่บ้านม่วงไข่ครั้งนั้น “พระอาจารย์ฝั้น” ก็ไปฟังด้วยและบังเกิดความเลื่อมใสจึงปวารณาตัวเป็นศิษย์ซึ่ง “พระอาจารย์มั่น” ก็ยอมรับจึงทราบในเวลาต่อมาว่า “พระอาจารย์ฝั้น” มีจริยวัตรอันมั่นคงพากเพียรและมีมานะในการปฏิบัติธรรม จึงได้กล่าวชมเชยต่อหน้าศิษย์จำนวนมากว่า “พระที่ชุมนุมกันอยู่ในที่นี้ทั้งหมดขอชมเชยพระฝั้นว่า เป็นพระที่บริสุทธิ์ดีมากมีความพากเพียร เสมอต้นเสมอปลายควรที่พวกเธอจะเอาเยี่ยงอย่างไปปฏิบัติ”
 
“พระอาจารย์ฝั้น” เป็นพระเถระที่มีความเมตตาสูงมากในชีวิตของท่านมีลูกศิษย์มากมาย ลูกศิษย์บางพวกเข้าไปเพื่อปฏิบัติธรรมบางพวกก็เข้าไป เพื่อขอวัตถุมงคลซึ่งท่านก็เมตตาต่อทุกคน จึงมีวัตถุมงคลของท่านจำนวนมากที่บรรดาลูกศิษย์สร้าง แล้วขอให้ท่านเมตตาอธิษฐานจิตปลุกเสก ปรากฏว่าวัตถุมงคลทุกรุ่นทุกแบบของท่านล้วนแต่มี “พุทธานุภาพ” เป็นที่ยึดมั่นจากศิษย์และประชาชนทำให้ชื่อเสียงกิตติ คุณของท่าน ลือชาปรากฏไปไกลทั่วประเทศท่านได้   ถึงแก่มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๒๐รวมอายุได้ ๗๘ ปี ทิ้งไว้แต่คุณงามความดี และธรรม ที่ได้สั่งสอนบรรดาสานุศิษย์ให้รำลึกนึกถึงท่านต่อไป  ชั่วกาลนาน
 
ท้ายนี้ขอนำพระคาถาที่ “พระอาจารย์ฝั้น  อาจาโร” ที่มอบให้บรรดาศิษย์ภาวนาอยู่เสมอเพื่อ  ปกป้องคุ้มครองภัย และเป็นเมตตามหานิยมมามอบให้ท่านผู้อ่านเดลินิวส์ทุกท่าน ซึ่งคาถาของท่านมีดังนี้
 
“นะโมวิมุตตานัง...นะโมวิมุตยา”