[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม => ข้อความที่เริ่มโดย: ไอย ที่ 04 มกราคม 2553 21:35:43



หัวข้อ: พุทธศาสนา สายวัชรยาน
เริ่มหัวข้อโดย: ไอย ที่ 04 มกราคม 2553 21:35:43

วัชรยาน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


วัชรยาน (Vajrayana) เป็นชื่อหนึ่งของลัทธิพุทธตันตระ ซึ่งถือว่ามีหลักปรัชญา
สูงเหนือธรรมชาติ มีความแข็งเหมือนเพชร ใสเหมือนอากาศ ไม่มีใครต้านได้เหมือน
สายฟ้า จึงเรียกปรัชญานั้นว่า วัชระ และเรียกลัทธิว่า วัชรยาน

ความเป็นมาของวัชรยาน


พุทธศาสนิกชนฝ่ายวัชรยาน กล่าวว่าพระพุทธเจ้าได้ทรงหมุนกงล้อพระธรรมจักร 3 ครั้ง
ด้วยกัน ซึ่งมีความหมายว่า ท่านได้เทศนาในหลักใหญ่ๆไว้ 3 เรื่อง 3 วาระ ได้แก่

ที่เมืองสารนาถ แคว้นพาราณสี เทศนาเกี่ยวกับพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท
ที่กฤตธาราโกติ แคว้นราชคฤห์
ที่ไวศาลี

การเทศนาครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 นั้นได้เทศนาเกี่ยวกับมหายาน ซึ่งได้มีการเปลี่ยนแปลง
อย่างมากในเรื่องของอุดมคติการหลุดพ้นของสรรพสัตว์ทั้งหมดเป็นอุดมคติของมหายาน
อุดมคตินี้ เรียกว่า "โพธิจิต" หรือ "จิตรู้แจ้ง"


หัวข้อ: Re: พุทธศาสนา สายวัชรยาน
เริ่มหัวข้อโดย: ไอย ที่ 04 มกราคม 2553 21:38:47

โพธิจิต หรือ จิตรู้แจ้ง พัฒนาขึ้นเพื่อต้องการสำเร็จรู้แจ้งเป็นพระพุทธเจ้าเพื่อประโยชน์
สุขของสรรพสัตว์ทั้งหมดบุคคลใดที่มีอุดมคตินี้และปฏิบัติอุดมคตินี้บุคคลนั้นก็คือ
พระโพธิสัตว์ ในแต่ละครั้งแห่งการเกิด ต้องมีบุพการี 1 กลุ่ม ในการเวียนว่ายตายเกิด
ในสังสารวัฏนี้แต่ละคนได้มีบุพการีมาแล้วเป็นจำนวนที่นับไม่ถ้วน ฉะนั้นการแสวงหาทาง
หลุดพ้นจึงควรเป็นไปพร้อมกัน หรือให้บุพการีไปก่อนแล้วเราค่อยหลุดพ้นตามไป
นี่คือความเป็นพระโพธิสัตว์ พระอาจารย์ชาวทิเบตได้กล่าวไว้ในศตวรรษที่ 14 ว่า
 
ความทุกข์ทั้งหมดเกิดขึ้นจากการเห็นแก่ตัว
ความสุขทั้งหมดเกิดขึ้นจากการหวังดีให้ผู้อื่นมีความสุข
 

ฉะนั้นการแลกความสุขของตนเปลี่ยน กับความทุกข์ของผู้อื่นเป็นหน้าที่ของพระโพธิสัตว์
พระโพธิสัตว์ต้องประกอบไปด้วยบารมี 6 ประการ [2]

ในบารมี 6 ที่พระโพธิสัตว์ปฏิบัตินั้นประกอบด้วยเมตตา 5 ปัญญา
1 เมื่อปฏิบัติถึงที่สุดแล้ว พระโพธิสัตว์ก็บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าได้
สามารถบรรลุความเป็นตรีกายได้คือธรรมกาย สัมโภคกาย และนิรมานกาย
พระพุทธเจ้าได้สอน เรื่องของวัชรยานไว้ตั้งแต่สมัยพุทธกาล เช่น กาลจักระ ตันตระ
หลังจากได้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว 1 ปี แก่พระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญในภูมิที่สูง
ฉะนั้นคำสอนตันตระจึงถือว่าเป็นคำสอนลับเฉพาะ


หัวข้อ: Re: พุทธศาสนา สายวัชรยาน
เริ่มหัวข้อโดย: ไอย ที่ 04 มกราคม 2553 21:40:29

คำสอนมหายานเป็นที่เริ่ม สนใจปฏิบัติในช่วงของท่านคุรุนาคารชุนในปื ค.ศ. 1
ท่านนาคารชุนได้ปฏิบัติคำสอนตันตระได้ อย่างเป็นเลิศ ท่านได้เขียนเรื่องการปฏิบัติ
ตันตระเรื่องกูเยียซามูจาตันตระ ในศตวรรษที่ 16 ท่าน ธารานาถ ธารานาถชาวทิเบต
ได้บันทึกไว้ว่าท่านคุรุนาคารชุนได้เขียนคำสอนเกี่ยวกับตันตระ ไว้มากเพียงแต่ช่วงที่
ท่านมีชีวิตอยู่ไม่เป็นที่นิยมและแพร่หลาย ทิเบตเริ่มรับคำสอนจากอินเดีย ในช่วงศตวรรษ
ที่ 7-8 ในช่วงนั้นการปฏิบัติตันตระในอินเดียได้พัฒนาขึ้นถึงจุดสูงสุดไปจนถึง ศตวรรษที่ 12
การปฏิบัติในวัชรยานมีเงื่อนไขสำคัญอยู่หนึ่งข้อคือก่อนที่จะศึกษาปฏิบัติตันตระ จะต้องได้รับ
การมนตราภิเษกจากวัชราจารย์ผู้ซึ่งได้สำเร็จรู้แจ้งแล้ว ถ้าไม่มีการมนตราภิเษก ถึงแม้จะปฏิบัติ
อย่างไรก็ตามจะไม่ได้รับผลเต็มที่ ฉะนั้นผู้สนใจต่อการปฏิบัติวัชระยานจะ ต้องได้รับการมนตราภิเษก
จากวัชราจารย์เสียก่อน

คำสอนวัชรยานมีไว้สำหรับผู้ที่มีพื้นฐานปัญญาจากมหายานเป็นอย่างดีจึงสามารถเข้าใจ
คำสอนอันลึกซึ้งได้ เป็นที่รู้กันว่าในทิเบตท่านมิลาเรปะท่าน ได้บรรลุสำเร็จได้ในช่วงชีวิต
ของท่านด้วยการปฏิบัติตันตระ การปฏิบัติวัชรยานสามารถ ทำให้เราบรรลุถึงจุดนั้นได้ด้วย
เวลาอันสั้น คำสอนต่างๆในตันตระได้ถูกบันทึกไว้ด้วยวิธีการ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสสั่งไว
้เราสามารถศึกษาตันตระได้จากคำสอนต่างๆที่พระอาจารย์ชาวอินเดียได้บันทึกไว้และ
ได้แปลทั้งหมดสู่ภาษาทิเบต เนื่องจากคำสอนดั้งเดิมที่เป็นภาษาสันสฤตได้สูญหาย
และถูกทำลายไปนานแล้ว


หัวข้อ: Re: พุทธศาสนา สายวัชรยาน
เริ่มหัวข้อโดย: ไอย ที่ 04 มกราคม 2553 21:42:26

พุทธศาสนาได้เข้าสู่ทิเบตในสมัยพระเจ้าซรอนซันกัมโปเรืองอำนาจ ถึงแม้ว่าพุทธศาสนา
จะถูกขัดขวางจากลัทธิบอนอันเป็นลัทธิดั้งเดิม พุทธศาสนาเข้าสู่ทิเบตทั้งจากอินเดียและจีน
ได้มีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ทิเบตว่ามีการสังคายนา พุทธศาสนา ณ กรุงลาซาเป็น
การสังคายนาระหว่างนิกายเซนของจีนและวัชรยานจากอินเดีย ในรัชสมัยพระเจ้าทิซองเด็ตเชน
ชาวทิเบตเลื่อมใสในวัชรยานมากกว่า ดังนั้นพุทธศาสนาวัชรยานจึงลงรากฐานมั่นคงใน
ทิเบตสืบมา พระเจ้าทิซองเด็ตเชนได้ทรงนิมนต์ ศานตรักษิตภิกษุชาวอินเดียและ
คุรุปัทมสมภพเข้ามาเพื่อเผยแพร่พระธรรม โดยเฉพาะ คุรุปัทมสมภพได้เป็นที่เลื่อมใส
ศรัทธาของชาวทิเบตอย่างมากจนได้ยกย่องท่านว่าเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ 2 ท่าน
ได้ร่วมกับศานตรักษิตสร้างวัดสัมเยขึ้นในปี ค.ศ. 787 และเริ่มมีการอุปสมบทพระภิกษุ
ชาวทิเบตขึ้นเป็นครั้งแรก ในความอุปถัมภ์ของพระเจ้าทิซองเด็ตเชน ทั้งนี้ยังได้จัด
นักปราชญ์ชาวทิเบตเข้าร่วมในการแปลพระพุทธธรรมเป็นภาษาทิเบตด้วยอย่างมากมาย