[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ใต้เงาไม้ => ข้อความที่เริ่มโดย: มดเอ๊ก ที่ 16 มีนาคม 2556 00:17:56



หัวข้อ: เซนศิลปะแห่งการรู้แจ้ง แง้มประตูพุทธธรรม ผ่าน บทกวีไฮกุ
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 16 มีนาคม 2556 00:17:56
(http://static.flickr.com/2/1637164_df35948a49.jpg)
 
 
เซนถือว่าถ้อยคำประกาศสัจจะที่แสดงถึงภูมิปัญญาของผู้แถลง
ไม่มีความหมาย จนกว่าประสบการณ์ของเราจะซึมซับมันเข้ามาเป็น
ส่วนหนึ่งของเรา และเราได้ให้ความหมายเฉพาะตัวของเราแก่มัน
เท่านั้น

การมองภาพเซนจึงไม่ต้องใช้ทฤษฎีเกี่ยวกับศิลปะ ไม่ต้องคร่ำ
เคร่งศึกษาเพื่อจะได้เข้าใจภูมิหลังของมันเพราะหัวใจของภาพเซนคือ
ความเป็นไปของชีวิตและการดำรงอยู่ของพลังจักรวาล ท่ามกลาง
ความแปรปรวนอันยิ่งใหญ่ของธรรมชาติ

สิ่งที่เราใช้มองภาพเซนจึงเป็นประสบการณ์ชีวิต ประสบการณ์
ที่แตกต่างจะได้ประโยชน์ที่แตกต่าง และเมื่อการมองภาพเซนสิ้นสุด
มันก็ไม่ได้ทิ้งความประทับใจหลงเหลือไว้ให้เรา แต่เรากลับกระปรี้
กระเปร่าขึ้น จากการค้นพบคุณค่าบางอย่าง ที่ทำให้โลกภายในของ
เราสงบนิ่งและสว่างไสว

จากหนังสือ เซนศิลปะแห่งการรู้แจ้ง เข้าถึงคติธรรมเซนผ่านภาพเซน
และบทกวีไฮกุ " เหล่าซือ " เรียบเรียง


หัวข้อ: Re: เซนศิลปะแห่งการรู้แจ้ง แง้มประตูพุทธธรรม ผ่าน บทกวีไฮกุ
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 16 มีนาคม 2556 00:20:28
(http://www.simpleton.com/img2/verse/bashofrog.jpg)

ไฮกุ ( Haiku, The )

คำประพันธ์ที่มีรูปแบบพิเศษของญี่ปุ่น มี ๓ บรรทัด บรรทัดแรกมี ๕
พยางค์ บรรทัดที่สองมี ๗ พยางค์ และบรรทัดที่สามมี ๕ พยางค์ ความ
เพลิดเพลินดื่มด่ำที่ได้มาจากไฮกุนี้ ทำให้ชาวญี่ปุ่นนิยมอ่านไฮกุกันมาก
มีนิตยสารไม่ต่ำกว่า ๕o ฉบับที่อุทิศตัวให้แก่ไฮกุโดยเฉพาะ

ไฮกุ ไม่มีโครงสร้าง แต่เป็นไปเพื่อความรู้สึกเพลิดเพลินอันลึกซึ้ง
หรือความดื่มด่ำกับความรู้อันล้ำลึก

ตัวอย่างไฮกุ เช่น

ยามเช้าอันเจิดจ้า
และแล้ววันนี้ดูเหมือนว่า
เป็นเรื่องชีวิตส่วนตัวของฉัน

ดอกโบตั๋นร่วงโรย
โปรยกลีบสองสามกลีบแผ่วเบา
ค่อยซ้อนบนกลีบหนึ่ง

เจ้าผีเสื้อตัวหนึ่ง
ง่วงหงาวหาวนอน เกาะอยู่บน
ระฆังของอาราม

เจ้าหัวขโมย
ปล่อยทิ้งมันไว้ที่ด้านหลัง
พระจันทร์ที่หน้าต่าง


หัวข้อ: Re: เซนศิลปะแห่งการรู้แจ้ง แง้มประตูพุทธธรรม ผ่าน บทกวีไฮกุ
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 16 มีนาคม 2556 00:21:14
ถึงอย่างไร ตัวอย่างเหล่านี้ ไม่จัดว่าเป็นเซนเสียหมดทีเดียว
มันเพียงกอปรด้วยความคิดมากมาย ไกล้เคียงปรัชญา อะไรที่เรา
เรียกว่า ไฮกุแบบเซน ก็คือสิ่งที่เพิ่มพูนส่งเสริมการรับรู้ ดังที่ บลิธ( Blyth)
กล่าวไว้ว่า " ไฮกุ ไม่ใช่คำประพันธ์ ไม่ใช่วรรณคดี มันเป็นมือที่กำลังกวัก
ประตูที่เปิดไว้เพียงครึ่งเดียว กระจกที่ขัดถูจนสะอาด มันเป็นทางกลับ
สู่ธรรมชาติ .. แม้ธรรมชาติแห่งพุทธะของเรา " ต่อไปเป็นตัวอย่างไฮกุเซน
ของ บาโช (Basho)



(http://www.teeweg.de/graphik/lit/basho/kaeru.jpg)

สระเก่าแก่สระหนึ่ง
กบตัวหนึ่งกระโดดลงสระ
จ๋อม .....

บนคาคบไม้แห้ง
อีกาหยุดบินร่อนลงเกาะ
ฤดูใบไม้ร่วงอันมืดมิด

เราจ้องมองดู
แม้ที่ม้าหลายตัว
เข้านี้เต็มด้วยหิมะ


กล่าวกันว่าการจับคุณสมบัติที่แท้จริงหรือผลของไฮกุแต่ละบท
จะต้องอ่านมันซ้ำ ๆ กันหลายเที่ยวหรือบางทีมากจนนับไม่ถ้วน ด้วยการ
สัมผัสอันลึกซึ้งซึ่งมาจากการหยั่งรู้ หรือการหยั่งเห็น สิ่งนี้คล้ายกับ
ความสามารถที่ก่อให้เกิดความอัศจรรย์ใจ ความสามารถนี้ เหมือนการ
เปิดแห่งจิต ซึ่งอยู่เหนือความคิด หรือการรับรู้ทางใจ ( ไม่ใช่การรับรู้ทาง
ประสาทสัมผัส ) เป็นบางสิ่งที่กว้างขวางซึ่งเกิดขึ้นจากรูปแบบของ
ไฮกุดังนั้นมันจึงผลิตความสมดุลหรือชุดแห่งความสมดุลที่ไวต่อการรับรู้
แห่งความคิด สมมุติว่า แทนที่เราจะมองผ่านหน้าต่างแล้วพูดว่า

" ฝนกำลังตกอีกแล้วเช้านี้ " .............เรากลับพูดว่า

" ฝนกำลังตก
อีกแล้ว
เช้านี้ "


พูดเช่นนี้จะทำให้รู้สึกแตกต่างกันหรือไม่


Mr. R. H. Blyth ได้เขียนเรื่องเกี่ยวกับไฮกุไว้ ๔ ชุด ชึ่งประกอบ
ด้วยข้อมูลมากมายและตรงจุด ซึ่งถือว่าเป็นชุดที่ดีชุดหนึ่งของเซนที่อยู่
ในวรรณคดีภาษาอังกฤษ

(http://oldforum.serithai.net/Smileys/default/slime_sentimental.gif)จากหนังสือ เรียง ร้อย ถ้อย เซน ของ จงชัย เจนหัตถการกิจ


หัวข้อ: Re: เซนศิลปะแห่งการรู้แจ้ง แง้มประตูพุทธธรรม ผ่าน บทกวีไฮกุ
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 16 มีนาคม 2556 00:22:09
(http://www.hiroshige.org.uk/hiroshige/tokaido_reisho/images/21_Mariko.jpg)

ประสบการณ์ เกี่ยวกับบทกวีไฮกุและภาพ

พวกเรากี่คนที่เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับบทกวีไฮกุมาแล้ว ?
เรามาอ่านบทกวีไฮกุของโจโสะร่วมกันสักบทหนึ่งดีกว่า

ทุ่งนาและภูเขา
ล้วนถูกหิมะจับไว้
ไม่มีอะไรเหลือ


ผู้แต่งไฮกุบทนี้ไม่ได้ให้ลักษณะอื่นใดแก่เราเลยนอกจากภาพ
ภาพหนึ่ง ซึ่งเป็นลวดลายเล็ก ๆ ส่วนหนึ่งของภาพชีวิตอันใหญ่โต
กว้างขวางตามที่เขามองเห็น ถ้ามันปราศจากนัยที่สื่อให้เห็นภาพใด ๆ
ละก็ ย่อมขึ้นอยู่กับเราเองที่จะสร้างมันขึ้นมา

เราลองนึกให้เห็นภาพในใจโดยใช้ถ้อยคำในบทกวีไฮกุนี้เป็น
พื้นฐานดูกันบ้าง ความขาวปกคลุมไปทั่ว ทั้งห้วยละหานลำธาร
พุ่มไม้ ก้อนหิน ไม้ไร่ และบ้านเรือน รูปทรงของแต่ละสิ่งละอย่าง
ล้วนแต่ถูกขจัดทิ้งไปจนหมดสิ้น หลังจากคุณนึกเห็นภาพในใจแล้ว
จงเปิดตัวเองให้รู้สึกถึงความว่างของทิวทัศน์นี้ คุณกำลังเผชิญหน้า
กับความไม่มีอะไรเลยแทนที่จะนึกของลำธารที่นั่นกำแพงหินที่นี่
และบ้านหลังคามุงฟางใต้ชะเงื้อมเขาบัดนี้คุณเห็นแต่ลอนสีขาวเท่านั้น
เมื่อปราศจากสิ่งใดโดยเฉพาะมากระตุ้นเราให้เกิดจินตนาการเสียแล้ว
คุณจึงได้แต่นั่งนิ่ง ๆ

ในระหว่างคุณนั่งนิ่ง ๆ อยู่นี้ คุณกำลังเปิดรับสิ่งที่ผู้ฝึกเซนมา
หมายความถึงเมื่อพวกเขาพูดถึงความว่างคือความเต็ม หรือความว่าง
คือครรภ์ของรูปแบบ เพราะภายใต้ปกการคลุมของหิมะนั้น มีรูปแบบ
จำนวนเหลือคณานับดำรงอยู่ เป็นต้นว่า ตาของต้นไม้ที่กำลังรอคอย
เวลาผลิบาน สัตว์ที่กำลังจำศีล แบคทีเรีย พืชเล็ก ๆ จำพวกไลเคน
และตระไคร่บนหิน เมล็ดหญ้า น้ำในลำธารที่กำลังไหลริน แต่ละสิ่ง
ละอย่างพร้อมที่จะเติบโตและเคลื่อนไหวตามกฎเกณฑ์แห่งชีวิตของ
มันเอง แต่ละสิ่งละอย่างคือการแสดงออกที่แตกต่างกันของพลัง
รากฐานทั้งสิ้น ในทำนองเดียวกัน เมื่อจิตสำนึกของเราหยุดการแปรรูป
ออกมาเป็นคำพูด และคำพูดในใจที่เกือบจะไม่มีวันหยุดยั้งได้ยุติลง
ส่วนที่เฉลียวฉลาดมากที่สุดภายในตัวเรา ซึ่งเป็นอะตอมหนึ่งของ
พลักรากฐาน ก็จะมีโอกาสที่จะพัฒนาเช่นกัน

โจเสะไม่ได้พูดทั้งหมดนี้ แต่ก้อนหินที่เขาทิ้งลงในสระแห่ง
ความตระหนักรู้ของเราก่อให้เกิดระลอกคลื่นนี้ ทั้งระลอกนี้และอีก
มากมายหลายระลอกนักภายในจิตใจของคนอื่น ๆ

จากหนังสือ เซนศิลปะแห่งการรู้แจ้ง เข้าถึงคติธรรมเซนผ่านภาพเซน
และบทกวีไฮกุ " เหล่าซือ " เรียบเรียง


หัวข้อ: Re: เซนศิลปะแห่งการรู้แจ้ง แง้มประตูพุทธธรรม ผ่าน บทกวีไฮกุ
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 16 มีนาคม 2556 00:23:37
(http://perso.wanadoo.fr/zen-deshimaru-dijon/images/arbre%20%E0%20bouddha.gif)
 
คติธรรมเซน

คติธรรม ๑ : ความเป็นจริงต่าง ๆ ของชีวิต ส่วนใหญ่มองเห็นได้อย่าง
แท้จริงจากสิ่งต่าง ๆ และการกระทำต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน

คติธรรม ๒ : ทุกสิ่งทุกอย่างดำรงอยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติของ
มันเอง การรับรู้ส่วนตัวของเราในเรื่องเกี่ยวกับค่า ความถูกต้อง ความ
งาม ขนาด และคุณค่า ล้วนแต่อยู่ในหัวของเรา ไม่ได้อยู่ข้างนอกเลย

คติธรรม ๓ : ทุกสิ่งทุกอย่างดำรงอยู่โดยสัมพันธ์กับสิ่งอื่นๆ

คติธรรม ๔ : ตัวตนและสิ่งอื่น ๆ ที่เหลือไว้ในจักรวาลไม่ได้แบ่งแยกกัน
อย่างแท้จริง แต่ทำหน้าที่เป็นองค์รวม

คติธรรม ๕ : มนุษย์เกิดขึ้นจากธรรมชาติ และก้าวหน้าไปอย่างมีประสิทธิ
ผลที่สุดด้วยการร่วมมือกับธรรมชาติ แทนที่จะพยายามเอาชนะมัน

คติธรรม ๖ : ไม่มีอัตตาในความหมายของจิตวิญาณส่วนตัวหรือบุคคลิก
ภาพที่ไม่เปลี่ยนแปลงอันคงอยู่ต่อไปได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุดซึ่งข่มร่างกาย
เอาไว้เป็นการเป็นการชั่วคราว

คติธรรม ๗ : ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งที่แท้จริงไม่ได้เกิดจากความรู้เฉพาะ
ด้าน จากการเป็นสมาชิกของคณะกลุ่มบุคคล จากลัทธิหรือหลักความเชื่อ
มันมาจากญาณหยั่งรู้ก่อนจิตสำนึกแห่งการดำรงอยู่ทั้งปวงทั้งปวงของตน
จากรหัสของตนเอง

คติธรรม ๘ : รูปแบบต่าง ๆ เกิดจากความว่าง เมื่อผู้ใดว่างจากสมมุติฐาน
และการวินิจฉัยที่สั่งสมมาหลายปี ผู้นั้นจะเข้าไกล้ธรรมชาติดั้งเดิมของตน
ย่อมเข้าใจแนวคิดดั้งเดิม และสามารถแสดงปกิกิริยาตอบโต้ได้อย่างใหม่สด

คติธรรม ๙ : การทำตนเป็นผู้สังเกตุการณ์ในขณะที่เป็นผู้มีส่วนร่วมพร้อม
กันด้วยนั้น จักทำให้การกระทำของผู้นั้นเสื่อมเสียไป

คติธรรม ๑o : ความมั่นคงและความไม่เปลี่ยนแปลงนั้นถักทอขึ้นด้วยจิตใจ
ที่ถูกครอบงำโดยอัตตาและหาได้ดำรงอยู่ในธรรมชาติไม่ การยอมรับความ
ไม่มั่นคง และผูกพันตนเองกับสิ่งที่ไม่รู้จะก่อให้เกิดศรัทธาต่อจักรวาล

คติธรรม ๑๑ : คนเราสามารถมีชีวิตอยู่ได้ก็แต่ในขณะปัจจุบันเท่านั้น

คติธรรม ๑๒ : กระบวนการแห่งการใช้ชีวิตและถ้อยคำต่าง ๆ เกี่ยวกับมัน
ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน และไม่ควรได้รับการปฏิบัติต่ออย่างมีคุณค่าเท่าเทียมกัน

คติธรรม ๑๓ : เมื่อเราเข้าใจถึงความไม่ลงรอยกันระหว่างทฤษฏีต่าง ๆ
เกี่ยวกับชีวิตและสิ่งที่เรารู้สึกได้จากญาณหยั่งรู้ว่าเป็นความจริง โดยไม่
ต้องใช้คำพูดและไม่ได้อาศัยการวินิจฉัย ก็ไม่มีอะไรที่ต้องทำอีกแล้วนอก
จากหัวเราะ

คติธรรม ๑๔ : ศิลปะเซนมีคุณสมบัติในลักษณาการดังนี้ มันสามารถหลอม
รวมเอาความชื่นชมต่องานทัศนศิลป์ ความรู้เกี่ยวกับชีวิต และประสบการณ์
และญาณหยั่งรู้ส่วนตัวให้เข้ากันเป็นเหตุการณ์ที่สร้างสรรค์หนึ่งเดียวกัน

คติธรรม ๑๕ : เราแต่ละคนจะพัฒนาไปสู่ความเป็นเอกปัจเจกชน ผู้ติดต่อโดย
จำเพาะเจาะจงกับโลกที่ดำรงอยู่สำหรับคนคนนั้น


หัวข้อ: Re: เซนศิลปะแห่งการรู้แจ้ง แง้มประตูพุทธธรรม ผ่าน บทกวีไฮกุ
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 16 มีนาคม 2556 00:36:22
(http://farm4.static.flickr.com/3158/3002059218_a7bb55618e.jpg)
 
เมื่อตอนที่ชิกิประสบกับสิ่งที่ทำให้เขาเขียนไฮกุบทต่อไปนี้ขึ้น
มานั้น เขาคงเกิดความตระหนักรู้อย่างรุนแรงตื่นตัวกับชีวิตอย่างเต็มที่

โอ ข้า แสนปีติ
ขณะกินลูกพลับ
เมื่อระฆังจากวัดโฮริวดังลั่น


คุณเกือบจะได้ยินเสียงกังวานในหู และรู้สึกว่าน้ำลูกพลับ
กำลังไหลลงลำคอพร้อมกันกับเขาด้วย เขากำลังใช้ชีวิตอยู่จริง ๆ
น่ะแหละ

หน้าฝน !
ทางเข้าบ้านถูกน้ำท่วม
กบหลายตัวกำลังว่ายน้ำอยู่ที่นั่น


- ซัมปุ -

ช่างเป็นการแสดงปฏิกิริยาต่อน้ำท่วมบ้านที่งดงามอะไรเช่นนี้ !
คุณคิดถึงทางอื่นดีกว่านี้ได้บ้างใหม ? ฝนตก น้ำขึ้น ไม่แต่น้ำจะท่วม
ทางเข้าบ้านคุณเท่านั้น ยังมีกบอีกหลายตัวด้วย คุณจึงนั่งลงและดู
กบว่ายน้ำ

ดวงจันทร์ลอยเข้ากลีบเมฆ
ใยข้า จึงไม่ยืม
แตงโมฉ่ำน้ำเล็ก ๆ สักลูก ?


- ชิกิ -

เมฆบังเอิญลอยมาบดบังทิวทัศน์ที่เห็นได้จากแสงจันทร์ แตงโม
แถบหนึ่งพลันปรากฏขึ้นที่นั่น และนี่เป็นการยืม หาได้ขโมยไม่ ดังนั้น
ใครเลยจะถือสา ? มนุษย์ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้จากทิวทัศน์ที่เห็นได้
จากดวงจันทร์อย่างเดียวเท่านั้น

นี่เป็นวิถีทางที่แท้จริงของสิ่งต่าง ๆ บนดาวพระเคราะห์โลกดวงนี้


หัวข้อ: Re: เซนศิลปะแห่งการรู้แจ้ง แง้มประตูพุทธธรรม ผ่าน บทกวีไฮกุ
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 16 มีนาคม 2556 00:37:07
(http://peoplesartshop.com/wp-content/uploads/2012/04/T10YlaXkd1eQyiJJI8_100152_105x200.jpg)
 
 
แม้แต่ท่านนายพล
ก้ยังถอดเกราะ
เพื่อดูดอกโบตั๋นของเรา

- คิกากุ -

แน่นอนดอกโบตั๋นของคิกากุอาจไม่ใช่ดอกโบตั๋นที่พบเห็นได้
ทั่วไปทุกวัน

ลมไต้ฝุ่นแห่งฤดูใบไม้ผลิ
จัดการกับเหยื่อรายแรกของมันไปแล้ว
หุ่นไล่กาในท้องถิ่นนั่นเอง


- คิวโรกุ -

หุ่นไร่กาที่ล้มไปของคิวโรกุบ่งบอกถึงความสำคัญของเหตุการณ์
อย่างหนึ่งในดาวพระเคราะห์ดวงนี้ - ลมไต้ฝุ่น

ถ้าข้า สามารถห่อ
สายลมแห่งเขาฟูจิกลับเมือง
ของที่ระลึกอะไรเช่นนี้หนอ !


- บาโช -

บาโชทำตลกเล่นกับสัญชาติญาณที่มีลักษณะพื้นฐานและ
คงทนมากที่สุดอย่างหนึ่งของมนุษย์ นั่นคือ การสะสม การสะสม
ของที่ระลึกเป็นเรื่องสามัญธรรมดา แต่เราจะสะสมสิ่งประดิษฐ์ใด
เล่าที่มีอำนาจมากพอจะต่อต้านกับความเป็นจริงและกาลเวลาที่
กลืนกินสรรพสิ่ง


หัวข้อ: Re: เซนศิลปะแห่งการรู้แจ้ง แง้มประตูพุทธธรรม ผ่าน บทกวีไฮกุ
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 16 มีนาคม 2556 00:43:06
(http://4.bp.blogspot.com/__PpAdCGMn9c/TE5Vn0Yki0I/AAAAAAAAABg/RYloj0Csuq8/s320/melonqz2.png)

แตงโม
แม้แต่มัน
ก็สามารถจัดการกับตัวเองได้

- รันเซสึ -

ลองพิจารณาแตงโมในไร่ดูก็ได้ พวกมันมิได้แบกหามงานหนัก
ด้วยความเหนื่อยยาก หากเพียงนั่งอยู่ที่นั่นเฉย ๆ และชื่นชมกับความ
เป็นแตงโมของตัวเอง

บ้านเดิมของข้า !
แม้แต่แมลงวันก็ยังตอมข้า



เมื่ออิสสะเดินทางกลับไปเยี่ยมเยียนหมู่บ้านเกิด เขาพบว่า
แมลงวันไม่ได้มีส่วนร่วมรู้เห็นในวิถีทางแห่งการรับรู้ของเรา

ชิกิให้ภาพอันกว้างใหญ่ของทุ่งนาและแถบเชิงเขาที่ยาวติดต่อเป็นพืด
ซึ่งมีกลุ่มเมฆอยู่เหนือศีรษะและมีชาวนาตัวกระจิ๋วหลิวกำลังทำนาอยู่

ชาวนาไถหว่าน
อย่างไร้เดียงสาเหมือนเมฆ
ใต้ทิวเขาทิศใต้



หมู่เมฆ ทิวเขา มนุษย์ ทุ่งนา ต่างก็ทำหน้าที่ของมันเอง ไม่มี
ใครครองงำใคร หรือถูกใครครอบงำ ไม่ได้แยกขาดจากกัน แต่ก็ใช่
ว่าจะร่วมกัน

ในการเรียนรู้ถึงธรรมชาติของท้องทุ่งแต่ละแห่งนั้น เราไถหว่าน
แล้วไถหว่านอีกให้สอดคล้องกับธรรมชาติของมัน ที่นั่นมีความสอด
คล้องกลมกลืนและสร้างสรรค์ดำรงอยู่


หัวข้อ: Re: เซนศิลปะแห่งการรู้แจ้ง แง้มประตูพุทธธรรม ผ่าน บทกวีไฮกุ
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 16 มีนาคม 2556 00:46:07
(http://jancology.com/blog/archives/images/alone.jpg)
 
ที่กิ่งไร้ใบ
อีกาตัวหนึ่งเกาะอยู่
ในยามเย็นของฤดูใบไม้ร่วง

- บาโช -

ชั่วขณะที่ไร้กาลเวลาอีกครั้งหนึ่งให้เราได้ลิ้มรส และผลึกมัน
เข้ามาในเซลล์ประสาททุกเซลล์ของเรา

สรรพสัตว์ทั้งสิ้น
ต่างกระเสือกกระสน
กลางเหล่าดอกบัวบาน


- อิสสะ -

ดอกไม้บานอย่างเงียบเชียบ มนุษย์กระเสือกกระสนดิ้นรน
เอาละมันบาน เรากระเสือกกระสน ทั้งหมดก็เท่านี้เอง - อิสสะพูด

กบตัวหนึ่ง
มองดูทิวเขา
อย่างเงียบ ๆ และสงบ



ที่จริงอิสสะกำลังเล่นสนุกเล็ก ๆ น้อย ๆ โดยมีกบและกวีชาวจีน
ที่ถูกทึกทักเอาว่าค่อนข้างจะ " ลึกลับ " สักหน่อยหนึ่งเป็นเป้า และมี
เราเป็นเป้าด้วย - ถ้าเราถืออาการนิ่งเงียบ ๆ เป็นเรื่องจริงจังมากเกินไป
การกระเสือกกระสนดิ้นรนก็เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติของเราด้วย
เหมือนกัน


หัวข้อ: Re: เซนศิลปะแห่งการรู้แจ้ง แง้มประตูพุทธธรรม ผ่าน บทกวีไฮกุ
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 16 มีนาคม 2556 00:52:23
(http://fwmail.teenee.com/strange/img5/m123726.jpg)
 
บูซัน เขียนไว้ว่า

ใบไม้ร่วง !
เมื่อลมพัดจากตะวันตก
มันไปรวมตัวกันที่ตะวันออก



มันเป็นเช่นนี้เรื่อยมาและจักเป็นเช่นนี้เรื่อยไป ตราปใดที่ยังคง
มีใบไม้แห้งและสายลมที่พัดมาอย่างสม่ำเสมอ

ชิโย ซึ่งลุกขึ้นมาหาดื่มในตอนเช้า ก็ยังไม่บังอาจรบกวน
ความกลมกลืนระหว่างเชือกผูกถังน้ำประจำบ่อน้ำ และเถาของดอก
จูงวัวที่เลื้อยมาพันในตอนกลางคืน

เถาดอกจูงวัว
พันกับถังน้ำ
ข้า จะขอน้ำจากเพื่อนบ้าน



โอนิสึระ เขียนว่า

สายลมเย็น
เสียงกระซิบในดงสน
อบอวลอยู่ในอากาศ



เพราะฉะนั้นโปรดอย่ารบกวนความกลมกลืนนี้ ซึ่งโอนิสึะรู้สึก
ได้ในระหว่างที่นั่งอยู่ในโรงน้ำชาบนยอดผา


หัวข้อ: Re: เซนศิลปะแห่งการรู้แจ้ง แง้มประตูพุทธธรรม ผ่าน บทกวีไฮกุ
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 16 มีนาคม 2556 00:54:32
(http://flowerinfo.org/wp-content/gallery/violet-flowers/violet-flower-4.jpg)

หัวใจของบาโชแล่นไปอยู่ที่ดอกไวโอเล็ตเล็ก ๆ ซึ่งขึ้นอยู่บนทาง
น้อยบนเขาสูง

ดอกไวโอเล็ต
ข้างทางน้อยบนเขา
มีอะไรบางอย่างในมันที่อ่อนน้อมถ่อมตัว



และธรรมชาติในอีกอารมณ์หนึ่ง มาร่วมเส้นทางเดียวกันกับเขา
ด้วยใบไม้ที่ปลิวว่อนและสัตว์ที่กำลังหลบหนี

ทุกสิ่งทุกอย่างถูกพัดหายไป
แม้กระทั่งข้า และหมูป่า
จากพายุกล้าของฤดูใบไม้ร่วง


- บาโช -

มีเรื่องเล่าว่าวันหนึ่งในขณะที่บาโชกำลังทำสมาธิร่วมกับเพื่อน ๆ
อยู่ในสวนของเขา เขาได้ยินเสียงกบตัวหนึ่งกระโดดลงไปในสระเล็ก ๆ
ฉับพลันเขาก็เอ่ยเอื้อนถ้อยคำในบรรทัดที่สองและบรรทัดที่สามของ
ไฮกุบทนี้มีชื่อเสียงมากที่สุดออกมา ผู้ที่ชื่นชมบทกวีไฮกุเกิดญาณ
หยั่งรู้อันลึกซึ้งถึงความลึกลับในหัวใจของสรรพสิ่งจากบทกวีนี้

สระเก่า
กบตัวหนึ่งกระโดดลงไป
เสียงดังจ๋อม


หัวข้อ: Re: เซนศิลปะแห่งการรู้แจ้ง แง้มประตูพุทธธรรม ผ่าน บทกวีไฮกุ
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 16 มีนาคม 2556 00:55:31
(http://i24.photobucket.com/albums/c49/mkanchanavatee/spring_flower_08/DSC_0107-copy.jpg)


บาโชแสดงออกถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนี้ในไฮกุบท
แล้วบทเล่า ที่ศาลแห่งอิเซ เขารู้สึกถึงพลังนี้ที่ทะลักถะถั่งจน
สามารถสัมผัสได้ทั้งทางจิตวิญญาณและร่างกาย

กลิ่นหอมอบอวล !
แม้ข้า ไม่รู้
ว่ามันมาจากใหน


ไฮกุสองบทของบาโชก็เช่นกัน การไหลเนื่องของพลัง การ
สัมผัสรับรู้ได้อย่างจริงจัง ถึงแม้ว่าจะมองไม่เห็นก็ตาม

ต้นฮอลลีฮอค
หันตามทางโคจรของดวงอาทิตย์
กลางสายฝนเดือนพฤษภา

ฝนกระหน่ำจนมืดครึ้ม
มองไม่เห็นเขาฟูจิ
วันนี้กลับงามยิ่ง


หัวข้อ: Re: เซนศิลปะแห่งการรู้แจ้ง แง้มประตูพุทธธรรม ผ่าน บทกวีไฮกุ
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 16 มีนาคม 2556 00:56:20
(http://www.nanagarden.com/Picture/Product/400/164138.jpg)

 
บูซันแสดงถึงความงามของต้นท้อที่กำลังออกดอกบานไว้ดังนี้

คลี่เสื่อฟางปูบนพื้น
ข้า นั่งและมองดู
ต้นท้อออกดอกบาน


ใครจะไปรู้ว่าอาจเกิดอะไรขึ้นกับภาพที่เห็นด้วยตาและด้วย
ความเข้าใจอันล้ำลึกในขณะที่คนเรากำลังนั่งอย่างเงียบ ๆ
ได้เล่า ? อิสสะเห็นสิ่งต่อไปนี้

แมลงปอตัวหนึ่ง !
ทิวเขาที่อยู่ห่างไกล
สะท้อนอยู่ในดวงตาของมัน


และในขณะที่บูซันกำลังหลีกเร้นทำสมาธิอยู่ในภูเขาอันเงียบ
สงบอยู่นั้น เขาได้ยินและเห็นสิ่งต่อไปนี้

วัดบนภูเขา
มือของพระเคาะระฆังพลาดไป !
เสียงแผ่ว ๆ


จักรวาลสร้างเรา เราสร้างจักรวาลของเรา โดยการนั่งเงียบ ๆ

ภาพผู้เฒ่าที่นั่งอย่างเงียบ ๆ ของบูซันค่อนข้างจะแตกต่างกับ
ภาพการเคลื่อนไหวที่อ่อนเยาว์ของผีเสื้อ ซึ่งกำลังเริงระบำใน
อากาศจากบทกวีไฮกุของบาโช แต่กระนั้นทั้งสองต่างก็ดื่มด่ำ
อยู่ในสมาธิด้วยกันทั้งคู่

ผีเสื้อสองตัว
เริงรำอยู่ในอากาศ
จับกันเป็นสีขาวคู่


หัวข้อ: Re: เซนศิลปะแห่งการรู้แจ้ง แง้มประตูพุทธธรรม ผ่าน บทกวีไฮกุ
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 16 มีนาคม 2556 00:56:56
(http://art-unity.org/wp-content/uploads/2013/02/Bamboo-and-stone.jpg)

ดอกไผ่หินแห่งฤดูใบไม้ผลิพร่างพรมลงคลุมก้อนหิน
ข้าอยากดื่มสักสองสามจอก
แล้วหลับให้สบาย


- บาโช -

คนหลายชั่วรุ่นเคยดื่มเหล้าและงีบหลับที่นี่มาแล้วก่อนบาโช
คนอีกหลายชั่วรุ่นก็จะทำอย่างนี้เหมือนกัน และในฤดูใบไม้ผลิ
ดอกไม้ไผ่หินจะยังคงโปรยปรอยมาตกต้องก้อนหินเรื่อยไป

ข้ากำลังไถอยู่ในทุ่งนา
ใต้ฉายาของภูเขา
ไม่มีนกร้องเพลงแม้แต่ตัวเดียว


- บูซัน -

บูซันไม่มีรถแทรกเตอร์หรือวิทยุทรานซิสเตอร์ติดตัวไปด้วย
อย่างแน่นอนไม่อย่างนั้นแล้วเขาคงไม่ได้ยินเสียงแห่งความ
เงียบหรอก

เหนือม่านหมอก
ครั้งแล้วครั้งเล่า
ที่ทะเลสาบปล่อยเรือออกไป


- กาโกกุ -

เรือและลูกเรือช่างกลมกลืนเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติเสีย
เหลือเกิน ในภาพที่กาโกกุพรรณาถึง เมื่อเขากล่าวว่าทะเล
สาบปล่อยเรือออกไป เรือลำเล็ก ๆ เกือบจะถูกกลืนหายไป
บนน่านน้ำที่กว้างใหญ่ แต่น้ำก็อุ้มมันให้ลอยลำอยู่ได้ ลม
สามารถพลิกคว่ำมันได้ แต่ก็พัดพามันไปถึงจุดหมายได้
เหมือนกัน คลื่น เรือ หมอก ทั้งหมดล้วนแต่เป็นส่วนที่เกี่ยว
เนื่องกันอย่างไกล้ชิดของหนึ่งองค์รวมเดียวกัน


หัวข้อ: Re: เซนศิลปะแห่งการรู้แจ้ง แง้มประตูพุทธธรรม ผ่าน บทกวีไฮกุ
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 16 มีนาคม 2556 00:57:34
(http://farm5.staticflickr.com/4022/4663234774_778fcb3fdb_z.jpg)


โอนิสึระแสดงถึงอทวิลักษณ์ด้วยถ้อยคำดังต่อไปนี้

ข้า ติดตามต้นไม้
ดอกไม้ที่ไร้เสียง
ในหูชั้นในของข้า


เขาเปิดรับข่าวสารจากภายนอก การสื่อสารกันนี้เกิดขึ้น
อย่างไม่ต้องเพียรพยายาม อย่างเป็นไปเอง และอย่างเงียบ ๆ

คุณสามารถบอกได้จากไฮกุบทต่อไปว่า บาโชกำลังมองดูทิว
ทัศน์เซน และเกิดความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับองค์รวม
ทั้งหมด

ม้าของข้า เดินเสียง กึบ ๆ กับ ๆ
อยู่ในทุ่ง ... โอ้ - โฮ !
ข้าเป็นส่วนหนึ่งของภาพ !


คุณเกิดความรู้สึกอะไรบ้างจากไฮกุบทนี้ของรันเซสึ

เหนือหมู่ผู้จาริกแสวงบุญ
ซึ่งกำลังพร่ำมนต์บนถนนมัวหมอก
ห่านป่ากำลังบิน



หัวข้อ: Re: เซนศิลปะแห่งการรู้แจ้ง แง้มประตูพุทธธรรม ผ่าน บทกวีไฮกุ
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 16 มีนาคม 2556 01:01:20
(http://i155.photobucket.com/albums/s287/tham_photo/5293b.png)


โอสึจิเขียนไว้ว่า

ข้า พูดเสียงดังใส่ค่ำคืนที่เย็นเยียบ
แต่เสียงนั้น
ไม่ใช่เสียงที่ข้า รู้จัก


นี่อาจทำให้ผู้ที่เชื่อว่าตัวเองเป็นคนเดิม และอัตตาของตนก็พูด
ด้วยเสียงเดียวกันอยู่เสมอ ถึงแก่สะดุ้งใจได้

ฟูริวเกยหาดท่ามกลางสายฝน
น้ำสีเทาและทรายสีเทา
กลืนกันโดยปราศจากรอยต่อ


- บูซัน -

ผู้ที่รักการใช้ชีวิตอย่างกระตือรือร้นต่างก็รู้ว่า พวกเขาสามารถ
คลุกคลีกันได้โดยปราศจากข้อขีดคั่น เราเองล่ะกลืนไปกับสภาพ
แวดล้อมยิ่งกว่าที่เราคิดหรือเปล่า ? ถ้าส่วนต่าง ๆ ของสภาพ
แวดล้อมของเราก็เป็นตัวเราด้วยละก็ เจ้าอัตตาที่สำคัญนักสำ
คัญหนาไปอยู่เสียที่ใหนกันเล่า ?

พระรูปหนึ่งในหมอก
ข้า สามารถเห็นท่าน
จากเสียงกรุ๊งกริ๊งของกระดิ่งของท่าน


- เมอิเซสึ -

เขตแดนต่อแดนแห่งการดำรงอยู่ของพระและของคุณอยู่ที่ใหน ?


หัวข้อ: Re: เซนศิลปะแห่งการรู้แจ้ง แง้มประตูพุทธธรรม ผ่าน บทกวีไฮกุ
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 16 มีนาคม 2556 01:02:07
(http://ih1.redbubble.net/image.9426457.5356/flat,550x550,075,f.jpg)


บูซันพูดถึงประกายแวบของหยดน้ำที่กระทบแสงไว้ดังนี้

หยดน้ำจากต้นไผ่
เป็นประกายแวบ
เมื่อกระทบแสง


ช่วงเวลาอันแสนสั้น หรือว่านิรันดรกาล บัดนี้เจ้าหยดพวกนั้น
ไปอยู่เสียที่ใหน ? ไม่ต้องสงสัยเลยว่าพวกมันคงต้องอยู่ที่ใหน
สักแห่งเป็นแน่ ในทะเลหรือ ? ในแม่น้ำที่กำลังไหลอย่างรวดเร็ว
หรือ ?

บาโชได้ยินเสียงอะไรบางอย่างต่างออกไปในดงไผ่ ซึ่งถ่ายทอด
ถึงความไหลเนื่องของเวลา

นกไนติงเกลตัวสุดท้ายกำลังร้องเพลง
ในดงไผ่
เป็นเพลงเก่าแก่


คีตกวีชาวอังกฤษ เรียกนกไนติงเกลของเขาว่านกอมตะ แต่มัน
จักไม่เปลี่ยนแปลง และดำรงอยู่ชั่วนิรันดรก็แต่ในฐานะที่เป็น
แบบแผนอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่ฐานะของนกตัวใดตัวหนึ่ง นกใน
ฤดูใบไม้ผลิของบาโชกำลังอ้อยอิ่งอย่างไม่ยอมจากไป เพื่อจะได้
ร้องเพลงสุดท้ายประจำฤดูร้อนนี้ในดงไผ่

ชิกิมองเห็นการดำรงอยู่เพียงชั่วครู่ยามและการเปลี่ยนแปลงที่
เกิดขึ้นจากสิ่งที่ดูเหมือนจะปราศจากความเปลี่ยนแปลงใด ๆ

ในศาลหลังคามุงฟาง
แห่งสัทธรรมปุณฑริก
ดอกหงอนไก่กำลังบาน


ดอกหงอนไก่บาน นกไนติงเกลร้องเพลง ประกายแวบของหยดน้ำ
เมื่อกระทบแสง แม่น้ำที่ไหลเนื่อง เรามีชีวิตและความรัก และสร้าง
แบบแผน และ ...


หัวข้อ: Re: เซนศิลปะแห่งการรู้แจ้ง แง้มประตูพุทธธรรม ผ่าน บทกวีไฮกุ
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 16 มีนาคม 2556 01:02:40
(http://www.googig.com/html/upload/1249562417.jpg)
 
ไม่มีน้ำมันตะเกียงให้อ่านอีกแล้ว
ข้า จึงลุกไปขึ้นเตียง ...
หมอนที่สว่างด้วยแสงจันทร์ของข้า !

- บาโช -

ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในตอนค่ำคืนของบาโชอาจไม่ใช่การอ่านถ้อยคำ
ของคนอื่น แต่คือการเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากความปีติในความ
งามอย่างฉับพลันเมื่อมองหมอนสีขาวของตนมลังเมลืองในแสงจันทร์
เขาหาได้มีอิสระที่จะชื่นชมกับแสงจันทร์ไม่ จนกว่าแสงตะเกียงสำหรับ
อ่านหนังสือจะดับไปเสียก่อน

เจ้าหุ่นไล่กาโง่เง่าเต่าตุ่น
ใต้ขาไม้ของเจ้า
พวกนกกำลังขโมยข้าว !


- ยายู -

หุ่นไล่กาของยายูคลุมด้วยเสื้อผู้ชาย แต่มีอะไรบางอย่างขาดหายไป
และพวกนกก็รู้ดี การจะเป็นนักวิทยาศาสตร์หรือครูที่ดีได้นั้นต้อง
อาศัยสิ่งอื่นมากกว่าปริญญาเอก

ข้า ไม่รู้จักชื่อของพวกมัน
แต่วัชพืชทุกต้น
มีดอกอันนุ่มนวล


- ซัมปู -

เมื่อหลายร้อยปีมาแล้วซัมปูพ่อค้าปลาผู้ถ่อมตนเป็นผู้เขียนบทกวีนี้


หัวข้อ: Re: เซนศิลปะแห่งการรู้แจ้ง แง้มประตูพุทธธรรม ผ่าน บทกวีไฮกุ
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 16 มีนาคม 2556 01:03:57
(http://cocomino.files.wordpress.com/2011/09/sss-073.jpg)

 
เบื้องหลังไฮกุของบาโชบทนี้คือ ความเรียบง่ายและสูงส่ง

เดือนมิถุนายนจะมาถึง !
ภูเขาอะราชิ
เมฆนอนบนยอดเขา


นี่มิใช่ความเพ้อฝัน ไม่ใช่ภาษา "กวี" มันปราศจากเทคนิคพิเศษอันใด
ทั้งก็ไม่ใช่ลัทธิใดทั้งสิ้น หากเป็นเพียงการพรรณาโดยตรงจากผลของ
การพบกันตัวต่อตัวระหว่างมนุษย์กับภูเขา ช่างเป็นความเรียบง่ายอะไร
เช่นนี้ ความเรียบง่ายที่สูงส่ง

อาร์. เอช. บลิช ผู้เชี่ยวชาญกวีไอกุระบุว่า ความงามของซากุระไม่เชิง
ทำให้เกิดผลขึ้นที่จิตไร้สำนึกซึ่งกำลังมองดูดอกไม้ทีเดียวนัก หากแต่
" ที่มาแห่งความงามของมันนั้นปราศจากการใช้ความคิด มีสภาพเป็น
เช่นนั้นเอง ดำรงอยู่ตามความเป็นจริงของมัน ปราศจากการเสแสร้ง
หรือการแสวงหาตัวตน " เราก็สามารถกล่าวในทำนองเดียวกันนี้กับ
อ่างหินที่มีตระไคร่จับเต็ม หนักและคงทน ซึ่งอยู่ข้าง ๆ ดอกซากุระที่
กำลังเบ่งบาน

บาโชชี้ให้เราเห็นศักยภาพแห่งการสร้างสรรค์ที่เราอาจปลดปล่อยออก
มาได้ถ้าเราปลดเปลื้องตัวเองให้หลุดพ้นจากความทะยานอยากที่จะ
" เข้าไปอยู่ " ในกลุ่มบางกลุ่ม หรือรับเอาลัทธิความเชื่อบางอย่าง

เบญจมาศสีขาว
ไม่มีฝุ่นแม้จุดเดียว
ให้เห็น




หัวข้อ: Re: เซนศิลปะแห่งการรู้แจ้ง แง้มประตูพุทธธรรม ผ่าน บทกวีไฮกุ
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 16 มีนาคม 2556 01:04:43
(https://lh3.googleusercontent.com/-cJVqA2DiTLg/TX1tGb5c0GI/AAAAAAAAAF8/aaHXhIkKjT0/s640/SNOWY+RIVER.jpg)


คุณได้รับผลกระทบแห่งความเรียบง่ายจากไฮกุบทนี้ของบอนโชหรือไม่ ?

หุบเขาที่ถูกหิมะกลืนกิน
มีแต่แม่น้ำเท่านั้น
ที่วาดเป็นเส้นดำวกวน


ดูเหมือนชีวิตจะดูดับสูญจนหมดสิ้น ด้วยถูกผลึกหิมะที่ไร้ชีวิตกลืนกินไป
แม่น้ำก็หาใช่สายธาราที่กำลังไหลรินอย่างมีชีวิตไม่ หากเหมือนกับเส้นที่
วาดขึ้นมา คุณเข้าถึงความสงบนิ่งได้มากน้อยแค่ใหน ? ณ ที่นี้คือความ
สงบนิ่งของสิ่งที่ไร้ชีวิต ความว่าง มันเป็นเพียงภาพตัวอักษรภาพหนึ่งซึ่ง
มีเส้นโค้งสีดำปรากฏบนพื้นขาว แต่ถึงกระนั้นเราก็รู้ดีว่าลึกลงไปภายใต้
หิมะสีขาวและน้ำแข็งสีดำนั้นมีชีวิตแฝงเร้นอยู่ และภาพใต้ความสงบนิ่ง
อันเงียบเชียบของคนที่กำลังนั่งอยู่นั้น มีการกระทำอันสร้างสรรค์และเต็ม
ไปด้วยชีวิตชีวาแฝงเร้นอยู่ แต่บัดนี้เป็นเวลาแห่งความสงบ การพักผ่อน
ของการรวบรวมพลังขึ้นใหม่ การตั้งจิตไปที่จุดใดจุดหนึ่ง แทนที่จะแบ่ง
แยกการกระทำออกไปต่าง ๆ นานา ในความเรียบง่ายมีแก่นแท้ ในความ
ว่างมีรูปแบบใหม่ ๆ มากมายเกิดขึ้น

เสียงของระฆังสองใบ
ที่จำนรรจ์จากวัดในยามสนธยา
อา ! คำสนทนาอันเยือกเย็น


- บูชัน -

และถ้าคำสนทนาของบูชันยังไม่เรียบง่ายเพียงพอสำหรับคุณละก็ ลงมา
พิจารณาดอกชาของเขาดูบ้าง

ชาดอกหนึ่งร่วงหล่น
ลงไปในบ่อน้ำ
ที่สงบนิ่งและมืดมิด



หัวข้อ: Re: เซนศิลปะแห่งการรู้แจ้ง แง้มประตูพุทธธรรม ผ่าน บทกวีไฮกุ
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 16 มีนาคม 2556 01:05:35
(http://img263.imageshack.us/img263/1205/dreamsofspring08.jpg)


กวีกันโซนิรมิตฤดูร้อนอันยาวนานขึ้นมาจากความว่างเปล่าของดาว
นพเคราะห์

เกิดขึ้นจากจักรวาลที่สมบูรณ์
ช่างยาวนานเสียจริง
วันหนึ่งในฤดูใบไม้ผลิ


บาโชยกย่องผู้ที่ต่อต้านการอนุมาณเอาง่าย ๆ ไว้ดังนี้

ผู้ที่มองเห็นฟ้าแลบ
และไม่คิดอะไร
พวกเขาช่างมีคุณค่าอะไรเช่นนี้ !


ไดโอะรังสรรค์โครงสร้างที่สลับซับซ้อนระหว่างความคิด และความรู้สึก
ขึ้นมาในวันปีใหม่ ซึ่งเขาไม่สามารถแสดงมันออกมาด้วยคำพูดได้

วันปีใหม่
สิ่งที่ข้า รู้สึก
อยู่เหนือถ้อยคำ


ความว่าง ความเงียบ หาใช่ความไม่มีอะไรไม่ หากแต่เป็นความเต็ม
ความเต็มบริบูรณ์ของคุณ


หัวข้อ: Re: เซนศิลปะแห่งการรู้แจ้ง แง้มประตูพุทธธรรม ผ่าน บทกวีไฮกุ
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 16 มีนาคม 2556 01:06:07
(http://www.birdingintaiwan.org/Birdsintwn/Russet%20Sparrow.600.jpg)
 
 
ข้า จาม
ทำให้มองไม่เห็น
นกกระจอกเมฆ

- ยายู -

การจามของยายูทำให้ความบริสุทธิ์ของการกระทำเป็นมลทินฉันใด
การ "ครุ่นคิด" ก็อาจทำให้การวาดภาพ การพัตตืลูกกอล์ฟลงหลุม
หรือการแสดงออกใด ๆ พลอยเสื่อมเสียไปด้วยฉันนั้น

เจ้าขอทาน !
ฟ้าและดิน
คืออาภรณ์ในฤดูร้อนของเขา


- ไคกากุ -

ขอทานผู้ไม่มีเสื้อผ้าเที่ยวขออาหาร นี่เป็นการกระทำที่ออกจะปราศ
จากตัวตนอยู่ไม่น้อย เพื่อให้ได้อาหารเป็นเครื่องยังชีพ เขาจึงไม่อาจ
สนใจกับการเปลือยกาย ซึ่งเป้นปัญหาที่เล็กกว่าเมื่อเทียบกัน

คืนอันยาวนาน
เสียงน้ำ
พูดความคิดของข้า


- โกชิกุ -

น้ำไม่ได้วิพากษ์วิจารณ์ค่ำคืนหรือตัวมันเอง เสียงของมันเป็นส่วน
หนึ่งของกลางคืน เช่นเดียวกับโกชิกุเหมือนกัน


หัวข้อ: Re: เซนศิลปะแห่งการรู้แจ้ง แง้มประตูพุทธธรรม ผ่าน บทกวีไฮกุ
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 16 มีนาคม 2556 01:18:42
(http://www.ripplesofbelief.com/wp-content/uploads/2010/07/candle03.jpg)

บัดนี้ในขณะที่คุณนั่งตัวตรง หายใจอย่างสม่ำเสมอและอย่างช้า ๆ ขอจง
นั่งตัวตรง และหายใจอย่างสม่ำเสมอและอย่างช้า ๆ เท่านั้น ก็พอ
เช่นเดียวกับผู้ที่เราไม่รู้จักคนหนึ่ง ซึ่งกำลังนั่งอยู่ และเพียงแต่ตระหนักรู้
ถึงเสียง ๆ หนึ่งและภาพ ๆ หนึ่งที่เห็น

จิ้งหรีดตัวหนึ่ง
กรี๊ด กรี๊ด กรี๊ด
แล้วนิ่งเงียบ
เทียนของข้า จมและดับ


- นิรนาม -

อิสสะไม่ได้ถามว่าทำไมผู้แต่งเพลงผู้เงียบขรึมของเขาจึงถูกแมลงวัน
ตัวหนึ่งล่วงล้ำก้ำเกินเอาได้

ชายคนหนึ่ง
กับแมลงวันตัวหนึ่ง
ในห้องใหญ่ห้องหนึ่ง


บาโชให้ภาพที่ไม่อาจลืมเลือนให้แก่เราภาพหนึ่งมันเป็นภาพของการมี
ส่วนร่วมในการติดต่อโดยสมบูรณ์ ไม่แปดเปื้อนด้วยคำวิพากษ์วิจารณ์
จากท้องที่หิวโหย หรือจากความเพ้อฝันของกวี

เด็กคนหนึ่งในครอบครัวยากจน
หยุดโม่ข้าว
เพื่อดูดวงจันทร์



หัวข้อ: Re: เซนศิลปะแห่งการรู้แจ้ง แง้มประตูพุทธธรรม ผ่าน บทกวีไฮกุ
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 16 มีนาคม 2556 01:22:46
(http://ofaolain.com/wp-content/uploads/2012/08/xfs_500x400_s100_bee-hovering-on-john-cabot-with-japanese-beetle.jpg)

 
ม้าของบาโชคาดหวังว่าจะได้เพลิดเพลินกับความงามหรือเปล่า ?

ดอกกุหลาบแห่งชารอน
บานอยู่ข้างถนน
ม้าตัวหนึ่งกินดอกไม้


นักถ่ายภาพทุกคนล้วนแต่เคยประสบกับความคับข้องใจอย่างที่
โชระเคยเจอมาแล้วทั้งสิ้น

ดวงจันทร์
เมื่อข้าดูมัน เมฆก็มาบังเสีย
เมื่อข้า ไม่มอง ท้องฟ้ากลับแจ่มใส


คนเราสามารถแสวงหาความมั่นคงจากความเปล่าเปลี่ยว
เงียบเหงาหรือไม่ ?

ความว้าเหว่ !
มันก็เป็นความปีติเช่นเดียวกัน
ยามเย็นในฤดูใบไม้ร่วง


- บูซัน -


หัวข้อ: Re: เซนศิลปะแห่งการรู้แจ้ง แง้มประตูพุทธธรรม ผ่าน บทกวีไฮกุ
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 16 มีนาคม 2556 01:23:37
(http://www.cmadong.com/imgup/pic5510/cmd121017-153309_608633.jpg)
 
 
เมื่อสิ้นสุดการเดินทางอย่างตรากตรำเป็นเวลาแปดเดือน
บาโชเขียน ( ด้วยความแปลกใจ ? ) ว่า

ยังคงมีชีวิตอยู่
เมื่อเสร็จสิ้นการเดินทาง
เย็นวันหนึ่งในฤดูใบไม้ร่วง


ชิบารู้สึกปีติอย่างล้ำลึกในสถานการณ์ที่ไม่น่ารื่นรมย์แต่อย่างใด

ความสุขคือ
การเดิน อย่างกระปรี้กระเปร่าอีกครั้ง
ในโลกสีเทาแห่งฝนหนาว


ชิกิและเพื่อนของเขา ซึ่งหลงอยู่ในม่านหมอก ได้แต่พายต่อไปเรื่อย ๆ

เข้าไปในหมอก ผ่านหมอก
เราพาย และแล้ว
ทะเลกว้าง เขียวใส กระจ่างตา


หัวข้อ: Re: เซนศิลปะแห่งการรู้แจ้ง แง้มประตูพุทธธรรม ผ่าน บทกวีไฮกุ
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 16 มีนาคม 2556 01:24:31
(http://theboredomproject.com/kosawa/files/2012/04/sakura-copy1.jpg)
 
 
อิสสะบันทึกสิ่งต่อไปนี้เอาไว้ในขณะที่กำลังดื่มด่ำกับคุณภาพของ
ชีวิตในระดับที่สูงส่งกว่า โดยปราศจากความตระหนักรู้ถึงการดำรง
อยู่ของตน

ต้นซากุระ
เมื่อดื่มด่ำในความงามของมัน
คนแปลกหน้าก็เหมือนกับเพื่อน


บาโชให้ภาพแห่งการรวมตัวเป็นหนึ่งแก่เราอีกภาพ ดังนี้

ประมงเฒ่าคนหนึ่ง
มุ่งมั่นเหมือนเดิม
กลางสายฝนยามเย็น


หัวข้อ: Re: เซนศิลปะแห่งการรู้แจ้ง แง้มประตูพุทธธรรม ผ่าน บทกวีไฮกุ
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 16 มีนาคม 2556 01:25:15
(http://farm4.staticflickr.com/3111/5858562632_91707cc806_z.jpg)
 
 
สายลมแห่งฤดูใบไม้ผลิ
สีขาวแห่งนกกระสา
ช่างโดดเด่นท่ามกลางดงสนเสียนี่กระไร

- บาโช -

นี่คือนกกระสาที่มีสีขาวดังหิมะในอีกท่วงทำนองหนึ่ง มันกำลัง
บินผ่านดงสนอันมืดมิดราวกับวิญญาณสีขาวประเดี๋ยวหนึ่งเห็น
ตัวมัน อีกประเดี๋ยวก็ไม่เห็นแล้ว ถ้าเราไม่ตื่นตัวมองหามัน
ณ จุดที่แตกต่างกันในแต่ละขณะ เราก็จะคลาดสายตาจากมัน

แมลงปอ
เกาะบนปลายไม้
ที่ถูกยกขึ้นมาตีมัน


- โกเฮียว -

นี่คือความตื่นตัวอันยอดเยี่ยม ! แมลงปอของโกเฮียวยึดกุม
สถานการณ์ไว้ได้อย่างรวดเร็วปานฟ้าแลบ ก็คนที่หยิบไม้ขึ้น
มาตีมัน จะตีถูกได้อย่างไรถ้ามันเกาะอยู่บนปลายไม้ ? ถ้าเขา
ขยับไม้ เจ้าแมลงปอย่อมรู้ทีก่อนชิงบินหนีไปเสียได้ ถ้าเขาไม่
ขยับไม้ มันย่อมปลอดภัยอยู่เอง มันปกป้องชีวิตของมันด้วย
การกระทำที่เกิดขึ้นอย่างเป็นไปเองในลักษณะที่เป็นปฏิกิริยา
ตอบสนองต่อสิ่งเร้า ซึ่งมันได้รับโดยฉับพลันทันท่วงที มันไม่ได้
หยุดไตร่ตรองสถานการณ์เป็นครั้งที่สอง

ฟ้าแลบ
น้ำนิ่งเปล่งสว่าง
ท่ามกลางหมู่ไม้มืดครึ้ม


- ชิกิ -

ถ้าชิกิไม่ได้ตื่นตัวราวกับนกกระสาที่กำลังล่าเหยื่อ เขาคงมอง
ไม่เห็นสิ่งที่ปรากฏขึ้นนี้ ช่วงเวลาแห่งความเป็นตาย ของชีวิต
แวบขึ้นต่อหน้าเราเหมือนกับภาพกระพริบที่เปลี่ยนแปลงอยู่
ตลอดเวลาจากเครื่องทดสอบการเห็นภาพ ซึ่งใช้ในการตรวจ
สอบความสามารถในการรับรู้ผ่านทางประสาทตาของเรา ถ้า
เราเดินผ่านป่ามืดครึ้มของชีวิตโดยคิดคำนึงแต่อดีตและอนาคต
เราย่อมคลาดสายตาไปจากความสว่างที่แสงแลบของชีวิตเผย
ให้เห็น


หัวข้อ: Re: เซนศิลปะแห่งการรู้แจ้ง แง้มประตูพุทธธรรม ผ่าน บทกวีไฮกุ
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 16 มีนาคม 2556 01:25:50
(http://img1.etsystatic.com/000/0/5186918/il_570xN.343162657.jpg)
 
 
โซเซกิพบว่าแม้แต่ผีเสื้อก็ยังสับสนระหว่างถ้อยคำกับสิ่งต่าง ๆ

ผีเสื้อ ! ถ้อยคำเหล่านี้
จากพู่กันของข้า หาใช่ดอกไม้ไม่
เงาของพวกมันเท่านั้นที่ใช่


อิสสะพบกับสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์อย่างหนึ่งซึ่งติดต่อกับเขาโดยไม่
ใช้คำพูด แต่พูดกับความรู้สึกของเขาโดยตรง ดังนี้

สีม่วงเข้มของหญ้าแพมพัส
สั่นไหวทุกคราเมื่อต้องลม
ด้วยหัวใจอันว้าเหว่


บาโชบอกกล่าวว่ามีอะไรเกิดขึ้นในฐานะเป็นสัญลักษณ์ของ
ความเข้าใจอันล้ำลึกและภูมิปัญญา

รูปสลักของเทพเจ้าจากไปแล้ว
เหลือแต่กองใบไม้ร่วงหล่น
บนระเบียงวัด


หัวข้อ: Re: เซนศิลปะแห่งการรู้แจ้ง แง้มประตูพุทธธรรม ผ่าน บทกวีไฮกุ
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 16 มีนาคม 2556 01:28:49
(http://pcdn.500px.net/3093016/92915199637c6cc06ca9b352af9e31908fb154cb/4.jpg)
 
เงียบเชียบ ยามเย็นที่ยะเยียบ
นึกถึงความคิดอันรื่นรมย์
กับเพื่อนคนหนึ่ง

- ฮะยากูชิ -

เห็นได้ว่าฮะกูยาชิและเพื่อนของเขาได้เรียนรู้บทเรียนบทหนึ่ง
ในระหว่างการติดต่อสื่อสารที่สร้างสรรค์

ทะเลคลั่ง !
เหนือเกาะซาโดะ
มีทางช้างเผือก


- บาโช -

บาโชทำให้เราเกิดความรู้สึกความแตกต่างระหว่างโลกสองโลก
นั่นคือ โลกของเราถกเถียงอภิปราย และโลกของกระบวนการ
แห่งการใช้ชีวิต ซึ่งทำให้การดำรงอยู่ของเสียงก้องคำรามแห่ง
ถ้อยคำเป็นไปได้ การโต้แย้งทางเทววิทยาที่รบกวนโสตประสาท
ในสมัยกลางได้ตายไปแล้ว แต่ยีนที่ถูกลืมเลือนไปแล้วของนักโต้
แย้งจำนวนมากยังคงมีชีวิตอยู่ และกำลังกำหนดจุดหมายปลาย
ทางของคนในยุคปัจจุบัน

ร้อยน้ำเต้า
เกิดจาก
ใจของเถาเดียว


- ชิโย -

และชิโยอาจเสริมขึ้นด้วยว่า มันมิได้ใช้ถ้อยคำแม้แต่คำเดียว


หัวข้อ: Re: เซนศิลปะแห่งการรู้แจ้ง แง้มประตูพุทธธรรม ผ่าน บทกวีไฮกุ
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 16 มีนาคม 2556 01:29:30
(http://www.fontplay.com/images/nippon.jpg)
 
 
ดูเหมือนโซกันจะมีความรู้สึกอย่างเดียวกันนี้กับกบ และคนที่
ให้ความสำคัญกับตนเอง ดังที่โทบะรู้สึก

กบอ้วนขี้ประจบ
กางมือเปียกชื้นบนพื้นเลื่อมลาย
เจ้าขี้สอพลอที่ร้องเสียงแหบแห้ง


อิสสะให้ความเมตตาต่อสัตว์ที่คนทั่วไปถูกปลูกฝังให้เกิดความชิงชัง

แปลกใจจริง !
ทากตัวหนึ่งบนตีนข้า
มันขึ้นมาที่นี่ตั้งแต่เมื่อไหร่ ?


ซัมปุกอดผ้านวมของเขาเอาไว้ใต้จันทร์งาม

จันทร์ช่างกระจ่างสำหรับความรัก !
เข้ามาไกล้ขึ้นอีก ผ้านวม
ห่อหุ้มความหนาวเย็นอันรุ่มร้อนของข้า !


ถ้อยคำของซัมปุไม่ได้บอกอะไรแก่เราเลย อย่างน้อยก็ไม่ได้
บอกอะไรที่สมเหตุสมผล ทั้ง ๆ ที่ใช้ถ้อยคำตั้งมาก แต่ถ้าเรา
ปล่อยให้ภาพพจน์ของเขาซึมซ่านเข้าไปในภายตัวเรา เราจะ
นึกออกเองว่าเขารู้สึกอย่างไรในคืนที่หนาวเย็นและกระจ่าง
นวลตาในขณะที่อาจกำลังนอนไข้ขึ้นอยู่บนเตียงของเขา การ
ลงรอยกันไม่ได้ที่เจ็บปวดระหว่างประสบการณ์ที่เขาจินตนา
การขึ้นมาเองในสถานการณ์เช่นนี้และในค่ำคืนเช่นนี้ กับประ
สบการณ์ที่เขาได้รับจริง ๆ ก่อให้เกิดเสียงหัวเราะอันขมขื่น
เช่นนี้ขึ้น


หัวข้อ: Re: เซนศิลปะแห่งการรู้แจ้ง แง้มประตูพุทธธรรม ผ่าน บทกวีไฮกุ
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 16 มีนาคม 2556 01:30:35
(http://farm3.static.flickr.com/2671/3716265624_49472173f4_o.jpg)
 
 
บาโชพบว่าตู้กับข้าวว่างเปล่าในขณะที่แขกมาเยือนอย่าง
ไม่คาดหมาย ได่แต่หัวเราะออกมา

ถึงจะเล็กขนาด
ยุง
ข้า ก็ต้อนรับขับสู้อย่างดีที่สุด


อิสสะก็เช่นเดียวกัน

ถ้าได้เวลา
" แมลงวันที่บินว่อนอยู่รอบ ๆ อาหารของข้า
ขอเชิญนั่งลงอีกสักตัว "


เคียวเรอิจำนนต่อกฏธรรมชาติที่ควบคุมการเคลื่อนไหวภายใน
ศีรษะของเขาขณะเป็นหวัดด้วยความสง่างาม

หวัด !
ทำให้ข้าไม่อาจมอง
จันทร์เสี้ยว


คนเราย่อมไม่สามารถชื่นชมหรือดื่มด่ำกับสิ่งที่วางแผนไว้ว่า
จะทำเช่นนั้นได้เสมอไป ดังนั้น ? ... หัวเราะ แช่งด่า เขียนไฮกุ
และเดินจากไป


หัวข้อ: Re: เซนศิลปะแห่งการรู้แจ้ง แง้มประตูพุทธธรรม ผ่าน บทกวีไฮกุ
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 16 มีนาคม 2556 01:33:45
(http://image.dek-d.com/13/1128622/14054146)
 
 
เงียวไตบ่งบอกถึงความรกร้างว่างเปล่าบางอย่างของดาวพระเคราะห์
ดวงนี้ ดังนี้

ท้องฟ้าย่ำรุ่งเย็นยะเยือก
มีแต่ต้นสนโดดเดี่ยว
บนยอดเขา


แต่สิ่งที่บาโชเห็นนั้นมีลักษณะเคลื่อนไหวแบบพลวัต

ทะเลกำลังมืดลง
อา เสียงของนกเถื่อนกำลังร่ำร้อง
คลื่นสีขาวกำลังตีเกลียว


บาโชใช้ทั้งภาพพจน์ของสัตว์และโลกที่ไร้ความปราณีเพื่อให้
ภาพพจน์อีกอย่างหนึ่งแก่เรา ทำให้เรารู้สึกถึงความน่าสะพรึง
กลัว และความลับของความป่าเถื่อนดุดันแห่งจักรวาล

ฟ้าแลบแปลบปลาบ
หลังความมืดจู่โจม
นกกระสากลางคืนกรีดร้อง


หัวข้อ: Re: เซนศิลปะแห่งการรู้แจ้ง แง้มประตูพุทธธรรม ผ่าน บทกวีไฮกุ
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 16 มีนาคม 2556 01:34:29
(http://static.neatorama.com/images/2007-09/chionin-bell.jpg)
 
 
บาโชให้ความรู้สึกที่ทั้งเข้มแข็งและละเอียดอ่อนพร้อมกัน
อย่างหนึ่งแก่เรา

เสียงระฆังแผ่วหาย
ดอกไม้เริ่มส่งกลิ่น
ครอบคลุมยามเย็น !


ส่วนภาพของไคกากุนั้นทั้งละเอียดอ่อนและนุ่มนวล

จันทร์เต็มดวง
บนเขาตาตามิ
ต้นสนทอดเงา


ผู้แต่งบทกวีไฮกุบางคนที่เราไม่รู้จัก ให้ภาพแห่งความอดทน
ของผู้หญิงที่ชวนให้มองซ้ำแล้วซ้ำอีก

ขณะเธอซาวข้าว
ใบหน้าที่ยิ้มแย้มแวบวามขึ้น
จากแสงของหิ่งห้อย


- นิรนาม -

หญิงสาวที่อ่อนหวาน กวีผู้สูงศักดิ์ ภาพต้นสน เสียงกังวาน
ลมหอมรำเพย ล้วนแต่ถูกถ่ายทอดโดยศิลปะและโดยจินต
นาการให้กลายเป็นเหตุการณ์ทางจิตวิญญาณที่สำคัญประ
การหนึ่ง


หัวข้อ: Re: เซนศิลปะแห่งการรู้แจ้ง แง้มประตูพุทธธรรม ผ่าน บทกวีไฮกุ
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 16 มีนาคม 2556 01:35:31
(http://3.bp.blogspot.com/-So7MfbKOrSw/UM8PPi6z80I/AAAAAAAADnc/gLnLEcQojDU/s1600/scarecrow.jpg)
 
 
ดันซุยกล่าวถึงคนที่เป็นอิสสะไว้ดังนี้

แม้แต่กับจักรพรรดิ
เขาก็จะไม่เปิดหมวกให้
เจ้าหุ่นไล่กาที่ไม่เคลื่อนไหวเอ๋ย


ท่านโพธิธรรมจะเคลื่อนไหวหรือไม่นั้น ย่อมขึ้นอยู่กับภาวธรรม
ของท่านเอง

ใบไม้หนัก
ร่วงหล่นด้วยเจตนาของมันเอง
ในวันที่เงียบเชียบและรกร้าง


- บันโช -

ใบไม้ของฤดูใบไม้ร่วงของบันโชเคลื่อนไหวโดยตอบสนองต่อเงื่อนไข
ของเซลล์ของมันเอง ไม่ได้รอให้ลมที่พัดผ่านมากระโชกมันจนล่วงหล่น

นกกระจอกเมฆ
ร้องเพลงอยู่ในทุ่ง
เป็นอิสระจากทุกสิ่ง



หัวข้อ: Re: เซนศิลปะแห่งการรู้แจ้ง แง้มประตูพุทธธรรม ผ่าน บทกวีไฮกุ
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 16 มีนาคม 2556 01:38:02
(http://i.dailymail.co.uk/i/pix/2010/12/02/article-1335088-0ADCD987000005DC-865_468x407.jpg)
 
 
ยามโพล้เพล้ที่เงียบเชียบ
นกไนติงเกลเริ่มร้องเพลง
ดี ! ฆ้องสัญญาณบอกว่าอาหารค่ำพร้อมดังขึ้นแล้ว !

- บาโช -


ความต้องการความคาดหมายในขณะนั้นของบาโชทำให้ฆ้อง
สัญญาณบ่งบอกว่าอาหารค่ำพร้อมแล้วฟังรื่นหูเสียยิ่งกว่าเสียง
ร้องระรัวของนกไนติงเกลเสียอีก

ที่สนามของวัด
นกไนติงเกลเริ่มระรัวเสียง
ฟูอิ ! คนเร่ขายถั่ว !


อิสสะมีความสามารถที่ยอดเยี่ยม ในการจินตนาการถึงการ
ติดต่อที่แตกต่างกันอย่างมากมายไม่น่าเชื่อ ซึ่งปัจเจกชนผู้อยู่
ในอีกมิติหนึ่งของชีวิตอาจมีต่อเหตุการณ์ " อย่างเดียวกัน "
ที่อิสสะประสบด้วยตนเอง

เจ้าจิ้งหรีดเพื่อนนอน
จงระวังแผ่นดินไหวไกล้ ๆ
เมื่อข้า ต้องพลิกตัว


จิ้งหรีดก็มีการติดต่อที่เป็นของมันเอง ซึ่งไม่เหมือนกับของใคร
เช่นเดียวกัน