[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ไปเที่ยว => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 30 มีนาคม 2556 19:42:08



หัวข้อ: ภูมิปัญญาชาวบ้าน ศาสตร์บำบัด-วัดหนองย่านาง อุทัยธานี (รักษาโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต)
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 30 มีนาคม 2556 19:42:08
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/83095656252569_5.png)
  
ศาสตร์บำบัด  วัดหนองย่านาง
ตำบลหนองไผ่แบน  อำเภอเมือง  จังหวัดอุทัยธานี
วัดหนองหญ้านาง เป็นวัดเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ปัจจุบันที่ตั้งของวัดอยู่บนฝั่งของแขวงตากแดด ในเขตตำบลหนองไผ่แบน อำเภอเมืองฯ จังหวัดอุทัยธานี

เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน คือ พระครูอุปการพัฒนกิจ หรือ หลวงพ่อสมัย อาภาธโร เป็นชาวอุทัยธานีโดยกำเนิด ตระกูลผ่ายบิดาเป็นหมอ ที่มีความเชี่ยวชาญในการแพทย์แผนโบราณมาหลายชั่วอายุคน มีตำราแพทย์แผนโบราณ เป็นมรดกตกทอดมาต่อๆกันมา

ต่อมามีหมอเขียวซึ่งเป็นลุง ได้ทำการถ่ายทอดความรู้ให้จนกระทั่งเมื่อได้บวชเรียนและจำพรรษาที่วัดหนองหญ้านาง จึงได้เริ่มทำการรักษาคนป่วยเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๖  ในช่วงแรกเป็นการรักษาเกี่ยวกับกระดูกโดยการใช้ยาสมุนไพร  การใช้น้ำมัน  การเหยียบเหล็กแดง  การนวดประคบ

ต่อมาเมื่อท่าน ได้ศึกษาเพิ่มเติมมากขึ้น จนเกิดความเชี่ยวชาญในการรักษาโรคต่างๆ ด้วยวิชาการแพทย์โบราณหลายโรคด้วยกัน ที่เน้นหนักและยอมรับกันว่า ท่านเชี่ยวชาญชำนาญเป็นพิเศษจนมีชื่อเสียงเลื่องลือก็คือ การรักษาโรคอัมพฤกษ์อัมพาต เหน็บชา เบาหวาน   และภายหลังปี พ.ศ. ๒๕๒๓ จึงเริ่มมีการอบไอน้ำสมุนไพร

ในปี พ.ศ. ๒๕๓๖  พระครูอุปการพัฒนกิจ ได้รับคัดเลือกจากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมสาขาภูมิปัญญาชาวบ้าน (การบำบัดโรค)

ในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุทัยธานี ได้จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้การแพทย์พื้นบ้านไทยขึ้น โดยได้คัดเลือกวัดหนองหญ้านาง เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้การแพทย์พื้นบ้านไทย ของจังหวัดอุทัยธานี วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นศูนย์กลางองค์ความรู้ของชุมชนในการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ การถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนประสบการณ์องค์ความรู้การแพทย์พื้นบ้านไทยแก่ประชาชนในชุมชน

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุทัยธานี ได้ดำเนินงานพัฒนาศูนย์การเรียนรู้การแพทย์พื้นบ้านไทยในลักษณะการพัฒนาแบบต่อยอดจากปีที่แล้ว ซึ่งการพัฒนาฯดังกล่าวได้รับความร่วมมือจากพระครูอุปการพัฒนกิจ และศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาสุขภาพภาคประชาชนภาคเหนือ จังหวัดนครสวรรค์ โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานจากกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก(กลุ่มงานการแพทย์พื้นบ้านไทย) ….
ข้อมูล เว็บไซต์ 109 วัด.คอม


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/13292840330137_4.png)  (http://www.sookjaipic.com/images_upload/98853113585048_6.png)
ลูกประคบสมุนไพร  มีส่วนประกอบสำคัญ คือ ไพร ขมิ้น การบูร ผิวมะกรูด

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับการนวดไทยที่เก่าแก่ที่สุด คือ ศิลาจารึกสมัยสุโขทัยที่ขุดพบในป่ามะม่วง ซึ่งตรงกับสมัยพ่อขุนรามคำแหง ซึ่งได้จารึกการรักษาโรคด้วยการนวดไว้

ต่อมาในสมัยอยุธยามีหลักฐานที่ปรากฏอย่างชัดเจนเกี่ยวกับการนวดแผนไทยในปี พ.ศ. ๑๙๘๘  ในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โดยมีพระราชกฤษฎีกาแบ่งหน้าที่ของแพทย์ตามความชำนาญเฉพาะทาง โดยแยกเป็นกรมต่างๆ เช่น กรมแพทยา กรมหมอยา กรมหมอกุมาร กรมหมอนวด กรมหมอตา กรมหมอวัณโรค โรงพระโอสถ นอกจากนี้ยังได้มีการกำหนดศักดินาและดำรงยศตำแหน่งเป็น หลวง ขุนหมื่น พัน และครอบครองที่นาตามยศและศักดินาที่ดำรง ซึ่งปรากฏอยู่ในกฎหมาย "นาพลเรือน" ต่อมาในรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งเป็นยุคที่การนวดไทยรุ่งเรืองมาก โดยปรากฏในจดหมายเหตุของราชทูตจากประเทศฝรั่งเศสชื่อ ลา ลู แบร์ ในปี พ.ศ.๒๒๓๐ ว่า ในกรุงสยามนั้น ถ้าใครป่วยไข้ลงก็จะเริ่มทำเส้นสายยืดโดยให้ผู้ชำนาญทางนี้ขึ้นไปบนร่างกายของคนไข้ แล้วใช้เท้าเหยียบ กล่าวกันว่าหญิงมีครรภ์มักใช้ให้เด็กเหยียบเพื่อให้คลอดบุตรง่ายไม่พักเจ็บปวดมาก


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/82492342177364_2.png)  (http://www.sookjaipic.com/images_upload/19153916546040_1.png)

การนวดแผนไทย หรือ นวดแผนโบราณ เป็นการนวดชนิดหนึ่งในแบบไทย ซึ่งเป็นศาสตร์บำบัดและรักษาโรคแขนงหนึ่งของการแพทย์แผนไทย โดยจะเน้นในลักษณะการยืดเส้น และการกดจุด ซึ่งรู้จักกันโดยทั่วไปในชื่อ "นวดแผนโบราณ" โดยมีหลักฐานว่านวดแผนไทยนั้นมีประวัติมาจากประเทศอินเดีย และมีการนำเข้ามาในประเทศไทย จากนั้นได้ถูกพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขให้เข้ากับวัฒนธรรมของสังคมไทย จนเป็นแบบแผนที่เป็นมาตรฐานของไทยและถ่ายทอดมาจนถึงปัจจุบัน การนวดแผนไทยแบ่งเป็น 2 สาย คือ สายราชสำนักและสายเชลยศักดิ์

• การนวดแบบราชสำนัก   กลุ่มเป้าหมายของการนวดคือ เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ผู้มียศถาบรรดาศักดิ์ที่อยู่ในรั้วในวัง ฉะนั้นการนวดจึงถูกออกแบบที่เน้นการใช้นิ้วมือและมือเท่านั้น และท่วงท่าที่ใช้ในการนวดมีความสุภาพเรียบร้อย มีข้อกำหนดในการเรียนมากมาย ผู้ที่เชี่ยวชาญทางวิชาชีพด้านนี้ จะได้ทำงานอยู่ในรั้วในวังเป็นหมอหลวง มีเงินเดือนมียศมีตำแหน่ง

• การนวดแบบเชลยศักดิ์  เป็นการนวดที่ใช้ในระดับชาวบ้านด้วยท่าทางทั่วไป ไม่มีแบบแผนหรือพิธีรีตองในการนวดมากนัก อีกทั้งยังสามารถใช้อวัยวะอื่นๆ เช่น เข่า ศอก เท้า เพื่อช่วยทุ่นแรงในการนวดได้ ซึ่งเป็นข้อแตกต่างจากการนวดแบบราชสำนักที่เน้นการใช้มือเพียงอย่างเดียว
...ข้อมูล วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/86328631391127_9.png)

การนวดเหยียบเหล็กแดง
โรคอัมพาต หรือเรียกว่า อาการอัมพาต ในความหมายทั่วไป คือ แขน และ/หรือ ขา ขยับเขยื้อนไม่ได้ ไม่มีแรง ใช้งานไม่ได้

ส่วนโรคอัมพฤกษ์หรือ อาการอัมพฤกษ์ หมายถึงแขน และ/หรือ ขา อ่อนแรงกว่าเดิม ยังพอใช้งานได้ แต่ใช้ได้น้อยกว่าปกติ เช่น อาจชา หยิบจับของหนัก หรือ หยิบจับดินสอเพื่อเขียนหนังสือตามปกติไม่ได้ ดังนั้น อัมพฤกษ์ จึงมีความรุนแรงน้อยกว่าอัมพาต


 
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/83095656252569_5.png)
หมอนวดจะใช้น้ำมันงาทาที่ฝ่าเท้าก่อนเหยียบที่แผ่นเหล็ก
แล้วใช้ฝ่าเท้า กดนวดไปตามร่างกายผู้ป่วย
(น้ำมันงา มีคุณสมบัติดูดซับความร้อนไว้ที่ผิวหนังของร่างกายได้นานกว่าปกติ)  
 ... ได้ยินผู้มานวดบอกว่า ร้อนมาก ถ้าเป็นผู้หญิงน่าจะถึงกับทำให้ผิวหนังพอง

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/68747268824113_3.png)
ไม่ต้องป่วยเป็นอะไร ก็นวดแก้เซ็งได้ เหมือนนายเจ้าของเว็บ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/98853113585048_6.png)  (http://www.sookjaipic.com/images_upload/29420005654295_8.png)
สอบถามข้อมูล "หมอสม" เบอร์โทรติดต่อ 086 9318924