[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ หนังสือแนะนำ => ข้อความที่เริ่มโดย: เงาฝัน ที่ 02 เมษายน 2556 15:00:19



หัวข้อ: อยู่อย่างเซน.. ละเอียด ศิลาน้อย
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 02 เมษายน 2556 15:00:19


อยู่อย่างเซน .. (http://www.bloggang.com/data/manow-noi/picture/1219716063.jpg)

เคยอ่านบทความ หลายๆ บทความที่ผู้เขียนมักจะหยิบยก ปรัชญาของเซน มาอ้างอิง ชี้แนะ ไม่ว่าจะเป็นของคุณประภาส ของ วารสาร ชีวจิต เล่มล่าสุด คอลัมภ์ระเบียงโบสถ์ เขียนโดยเสถียรพงษ์ วรรณปก และอื่นๆอีกมากมาย และจากการทำงานของเรา พบว่ามีผู้บริจาคหนังสือ เรื่องศิษย์โง่ไปเรียนเซน หรือเรื่องสูตรของเหว่ยหล่าง หรือจะเป็น กวีของท่านเรียวกันเข้าห้องสมุด บ่อยมาก ทำให้สงสัยว่าเซนคืออะไร ทำไมหลายๆคนจึง ใช้ในการอ้างอิง หรือกล่าวถึงกันอยู่เนือง ๆ ลองพลิกอ่านดูหลายเล่มๆ แล้วปัญญาอาจยังไม่ถึง หรืออาจไม่สนใจอย่างจริงจังเท่าใด ตามประสา ( ผู้หญิงที่วุ่นวายอยู่กับเรื่องใกล้ตัวเช่น เรื่องของคนตัวโตๆ และคนตัวเล็กๆ ที่บ้าน อิอิ ) คราวนี้ คนตัวเล็กที่บ้านเริ่มโต พอที่จะมีโลกส่วนตัวของเขาเองบ้างแล้ว เราก็เลยหันมามีโลกส่วนตัวของเราบ้าง ด้วยการเลือกหาหนังสือดีๆ บำรุงตัวเอง ไง ไปพบเรื่องเกี่ยวกับเซนมาเล่มนึง อืม อ่านคร่าวๆ ที่ร้านหนังสือแล้ว เอออ่านเข้าใจง่ายแฮ่ะ ชื่อเรื่อง อยู่อย่างเซน เขียนโดย ละเอียด ศิลาน้อย เขาบอกว่า “จะเอาเซนมาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร “

เป็นคำถามที่ได้ยินได้ฟังอยู่เสมอในพุทธนิกายเซน อยู่อย่างเซนเล่มนี้ เสนอแนวทางหรือข้อคิด ในการดำเนินชีวิตชนิดที่มองโลกโดยธรรมดาสามัญ เช่น ว่า
หากคุณรู้สึกเหนื่อยและท้อแท้
เซนบอกว่า “เมื่อสุขจงสุข เมื่อทุกข์จงทุกข์แล้วชีวิตจะไม่มีปัญหา"
คุณละเอียดอธิบายไว้ว่า คนเราไม่ชอบความทุกข์ เกลียดความทุกข์ทั้งๆที่ทุกข์นี้เองคือ บรมครูอันยิ่งใหญ่ ใหญ่ยิ่งกว่าครูอื่นใด ..คอยตักเตือนพร่ำสอนเราอย่างไม่รู้เหนื่อย ความทุกข์นี้เอง เป็นเหมือนเพื่อนสนิท ไม่เคยทอดทิ้งเรา เลยนานๆเขาก็หวนกลับมา สะกิดเตือนใจเราสักครั้งหนึ่งแต่ถ้าเตือนแล้วไม่จำ เขาก็จะมาหาบ่อยๆหน่อย แต่เขาก็เป็นเพื่อนที่แท้จริง ไม่เคยลืมเราเลย ความทุกข์มาหาเราทุกข์รูปแบบ แต่ทุกรูปแบบมันเข้ามาตักเตือนเราให้ฉลาดขึ้น ทั้งนั้น ไม่ต้องวิ่งไปหา หรือสร้างทุกข์ให้เกิดขึ้น มาเพื่อศึกษา เพราะ ความทุกข์ที่เรามีอยู่ก็พอเพียงที่จะเป็นกรณีศึกษา ได้แล้ว ขอเพียงแต่ดู และใส่ใจกับมันหน่อยเท่านั้น อย่าหนีมันไปเสีย เข้าไปเผชิญหน้ากับมัน แล้วจะรู้จักตัวเอง “รู้จักตัวเอง”คำนี้ 3 พยางค์เท่านั้นแต่ความหมายกว้างขวางลุ่มลึกนัก มนุษย์แสนฉลาดแต่ถ้าไม่มีความทุกข์มากระตุ้น ก็มักจะไม่ดูตัวเองก็เลยไม่รู้จักตัวเองว่ากันว่า ถ้าเรารู้จักตัวเอง ความทุกข์ก็จะไม่มีที่อยู่อาศัย( บางคนว่า รู้แจ้ง เห็นธรรม เห็นจิต บรรลุธรรม ฯลฯ ) เช่นนั้น นั่นเอง

เวลาอยู่ที่ใจ เซน บอกว่าไม่มีความแตกต่างระหว่างกลางวันกับกลางคืน ทั้งกลางวันและกลางคืนนั้นเหมือนกัน

ทำไมเราจึงรู้สึกว่าเวลาช่างเป็นปัญหาเสียจริง ในสังคมเราไม่ว่าจะในหมู่นักธุรกิจ เรื่องเวลาเป็นปัญหาใหญ่เสมอ นักธุรกิจบางคนรู้สึกว่าเวลาช่างสั้นเสียจริงๆในแต่ละวัน เพราะยังทำอะไรไม่ได้มากเลย แต่บางคนเวลาในแต่ละวันช่างนานเสียเหลือเกิน เพราะวันๆไม่รู้จะทำอะไรช่างน่าเบื่อหน่ายเสียเหลือเกิน ใครมาช่วยแบ่งเวลาที่น่าเบื่อของเขาไปบ้าง
เห็นได้ชัดว่าเวลาอยู่ที่ใจ อยู่ที่ความรู้สึกของแต่ละคนนั่นเอง บางคนอาจงง ว่าที่เวลาอยู่ที่ใจ ว่าเป็นการเขียนเล่นลิ้นให้ดูสละสลวย เฉยๆ ลองมาดูกัน

ศาสนาพุทธ "เวลาย่อมกลืนกินทุกสรรพสิ่งและตัวเอง”หมายความว่าเวลามันจะกินสิ่งทั้งหลายและกินตัวเองด้วย
พอเจอเซน เซนบอกว่า ไม่มีความแตกต่างระหว่างกลางวันกับกลางคืน ทั้งกลางวันและกลางคืนนั้นเหมือนกัน

ท่านพุทธทาสบอกว่า
เวลาคือระยะทางระหว่างความอยากและความสมอยาก ลองคิดตามดูนะ เมื่อใดมีความอยากเกิดขึ้น (ไม่ว่าจะความอยากทางบวก – เอา หรือเป็นความอยากทางลบ –ไม่เอา ก็ตาม) ก็จะเกิดเวลาขึ้นมาทันที มันจะสมคล้อยตามกับคำสอนทางศาสนา ที่ว่า เมื่อหมดตัณหา(ความอยากนานา) แล้วเวลาก็ไม่มีความหมายนั่นคือเวลาไม่มีเวลาไม่ได้เกิดขึ้นอีกเลย

ไอน์สไตน์ เคยพูดไว้เมื่อคราวอธิบายให้เพื่อนของเขาฟังเรื่องทฤษฏีสัมพันธภาพ ว่า “เมื่อเรานั่งคุยกับคนรักของเรา 2 ชั่วโมง เรารู้สึกว่าเวลาผ่านไป 2 นาที แต่เมื่อเรานั่งอยู่บนเตาไฟ 2 นาที เราจะรู้สึกว่าเรานั่งอยู่ 2 ชั่วโมง นี่แสดงให้เห็นว่า เค้าเงื่อนของความหมายแห่ง”เวลา” ได้ชัดเจนมากทีเดียว คือเวลาตามนาฬิกา และเวลาตามความรู้สึก ( นาฬิกาไม่ใช่เวลา เพราะหลายคนพอพูดถึงเรื่องเวลาก็มักนึกถึงนาฬิกาทีเดียว) ที่จริงเรื่องเวลานี้มีสองนัย คือ เวลาตามปฏิทิน และเวลาทางจิต

กฤษณะมูรติ พูดไว้ชัดมาก ว่าเวลาตามปฏิทินคือเวลาที่บอกด้วยนาฬิกาเป็น เวลาที่คำนวณจากการโคจรหรือหมุนของโลก ซึ่งเรียกว่า โครโนโลจิคัล ไทม์ และเวลาทางจิตก็คือเวลาตามความรู้สึกของเรา ซึ่งจะยาว-สั้นต่างๆ กันไปตามใจหรือตามความรู้สึกของเราขณะต่างๆ(ไม่ได้เดินคงที่ดุจเวลาตามปฏิทิน) เรามักเรียกเวลาทางจิต ไซโคโลจิคัล ไทม์ เวลาที่เป็นปัญหาต่อมนุษย์คือเวลาทางจิต ไม่ใช่เวลาตามปฏิทิน และจะว่าไปเวลาทางจิต จะแปรผัน –เร็ว –ช้าไปตามความอยากและความโลภของเรานั่นเอง เมื่ออยากได้เร็วๆ เวลาก็ดูจะเดินช้า แต่ถ้าไม่อยากพบไม่อยากเจอ ในเร็ววันนี้ เวลาก็เดินไวเสียเหลือเกิน

ขุนนางจีนผู้หนึ่งขอให้ อาจารย์เซน ชื่อ ต้ากวน ช่วยแนะนำวิธีใช้เวลาที่ผ่านๆไปในแต่ละวันของเขาให้คุ้มค่าสักหน่อย เพราะเขารู้สึกว่า ในแต่ละวันของเขายาวนานมาก โดยที่ต้องอยู่ในที่ทำงานและนั่งตัวแข็งคอยรับการคารวะจากผู้อื่นอยู่ตลอดทั้งวัน

(http://www.bloggang.com/data/manow-noi/picture/1220587411.jpg)

อาจารย์ต้ากวนเขียนอักษรจีน ขึ้น 8 ตัว ยื่นให้กับขุนนางผู้นั้นดังนี้ ..
ไม่มีสองครั้งสำหรับวันนี้
นิ้วคือเวลา ฟุตคืออัญมณี
วันนี้จะไม่หวนคืนมาอีก
แต่ละนาทีมีค่าดุจอัญมณี
ที่ประมาณค่ามิได้

ผู้เขียน คุณละเอียด ศิลาน้อย เขียน อยู่อย่างเซน ได้ อืม... แบบว่า อ่านแล้ว เออ จริงอ่ะ สองตื้นๆ แบบเรา อ่านแล้วมีปัญญา สว่างวาบ มาในใจ หาก คุณ เคยมองข้ามหนังสือเกี่ยวกับเซน ทั้งหลายไปเพราะมันอาจจะอ่านเข้าใจยากหน่อยสำหรับ เรา .....ขอบอก คุณน่าจะอ่านเล่มนี้ดู นะ ...อาจจะวาบ แบบเราบ้าง อยู่อย่างเซน พิมพ์ครั้งที่ 9 สำนักพิมพ์ดอกหญ้า พ.ศ.2545 ราคา 95 บาท ค่ะ ^^

ขอขอบพระคุณที่มาทั้งหมดจาก :Bloggang.com manow_noi
..  มา ณ.ที่นี้ด้วยค่ะ ..  April • Rain ♫ ~ ღ
*http://www.tairomdham.net/index.php/topic,2950.0.html