[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน => ข้อความที่เริ่มโดย: 時々๛कभी कभी๛ ที่ 16 สิงหาคม 2553 13:35:17



หัวข้อ: พูดไป 2 ไพเบี้ย
เริ่มหัวข้อโดย: 時々๛कभी कभी๛ ที่ 16 สิงหาคม 2553 13:35:17
(http://lh3.ggpht.com/_AYFPNs1xf64/TGjp9cjVgwI/AAAAAAAABJc/P7ztK0sISyM/41121364.jpg)

http://www.se-ed.com/ads/pr/sile/song/03.%20Track%203.wma


..............................เวทีสะท้อนธรรม.............................


เห็นบร์อดเงียบเลยตั้งกระทู้ธรรมขึ้นมา(ถ้าไม่โดนคุณ ต้นไม้ ฯ)ลบซ่ะก่อนใครพอจะวิสัสชนาต่อได้ไหม ?ในแต่ละวัน.....บร์อดอื่น

เขาสนทนาธรรมกันอย่าง{เป็นกันเองแต่ที่นี่}ดูเหมือนตัวใครตัวมัน แต่ละท่านมีโลกส่วนตัวกันก็เลยไม่ตั้งกระทู้ธรรมมะกันเลย

{ว่าแล้วต้องโดนลบ}ฮี่ ฮี่ ฮี่


(:-_-:) (:-_-:) (:-_-:)


พูดไปสองไพเบี้ย........นิ่งเสียตำลึงทอง

วลี...........ธรรมดาที่คุ้นหู และเหมือนรู้แล้ว...น่า.......

แต่เมื่อศึกษาธรรมะ..........จะพิจารณาวลีนี้...............ได้ลึกซึ้งยิ่งนัก

ท่าน...........มีความเห็นอย่างไร


พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตําลึงทอง

ภาษิตถูกทํานองเตือนเราให้ใช้เหตุผล,

พูดไปให้เป็นเรื่องคนขุ่นเคืองเพราะคําตน

นิ่งไว้ใจอดทน ตําลึงทองเป็นของเรา

สุภาษิตไทยให้ข้อคิดที่เข้าใจกันทั่ว ๆ ไป คือ บางอย่างเมื่อพูดออกไปแล้ว ก่อ

ให้เกิดประโยชน์เพียงเล็กน้อย(หรือไม่เกิดประโยชน์เลย)แต่เกิดผลเสียมากกว่า

หากนิ่งเสียก็จะเป็นประโยชน์มากกว่า


ในอกุศลกรรมบท10 มีการกล่าวถึงอกุศลกรรมทางวาจาถึง  4 ข้อ




อกุศลกรรมบท 10 คือ...........................................

1.   การฆ่า
 
2.   การถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้
 
3.   การประพฤติผิดในกาม
 
4.   การพูดเท็จ
 
5.   การพูดส่อเสียด
 
6.   การพูดคำหยาบ
 
7.   การพูดเพ้อเจ้อ
 
8.   การเพ่งเล็งอยากได้ของ ๆ ผู้อื่นมาเป็นของตน
 
9.   การคิดร้ายเบียดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อน
 
10.   การเห็นผิด (ทิฏฐิ)


(http://lh3.ggpht.com/_AYFPNs1xf64/S_5Cge0TPrI/AAAAAAAAA_s/5XKOKn-K_2w/P525005-1.jpg)


หัวข้อ: Re: พูดไป 2 ไพเบี้ย
เริ่มหัวข้อโดย: 時々๛कभी कभी๛ ที่ 17 สิงหาคม 2553 12:31:41
(http://lh3.ggpht.com/_AYFPNs1xf64/TGjp9cjVgwI/AAAAAAAABJc/P7ztK0sISyM/41121364.jpg)



การพูด เป็นสิ่งที่สำคัญในชีวิตประจำวันจำเป็นจะต้องพูดคุยสนทนากับผู้อื่นอยู่

เสมอและเป็นที่น่าพิจารณาว่าในวันหนึ่ง ๆ โดยปกติของผู้ที่ยังมีกิเลสอยู่นั้นย่อม

เป็นไป หวั่นไหวด้วยอำนาจของอกุศลเสียเป็นส่วนใหญ่ ตามการสะสม แม้แต่การพูด

ก็เช่นเดียวกันไม่ใช่ว่าจะพูดด้วย{กุศลจิต}ตลอดบางครั้งก็พูดด้วย{อกุศลจิต}จึงมีวจี -

ทุจริตเกิดขึ้นค่อนข้างมากในชีวิตประจำวันโดยเฉพาะในเรื่องของการพูดเพ้อเจ้อ

แต่เวลาที่หิริ(ความละอายต่ออกุศลธรรม)โอตตัปปะ(ความเกรงกลัวต่ออกุศลธรรม) มี

กำลังมากขึ้น ก็จะทำให้พูดสิ่งที่ดีเพิ่มขึ้น ซึ่งแต่ก่อนอาจจะพูดไปโดยที่ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นจะ

เป็นโทษเป็นภัยอย่างไร แต่เวลาที่หิริโอตตัปปะเกิดขึ้นจะทำให้พิจารณาเห็นได้ว่า

สิ่งใดที่ไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ก็สามารถที่จะเว้นไม่พูดในขณะนั้นได้    

ไม่ได้ห้ามการพูด ไม่ใช่ไม่ให้พูด แต่สิ่งใดที่พูดไปแล้วเป็นการเพิ่มอกุศลให้กับ

ทั้งคนพูดและคนฟังก็ไม่ควรพูด(แต่ห้ามได้ไหม?...จนกว่าจะเห็นโทษจริง ๆ)แต่

ถ้าสิ่งใด เมื่อพูดไปแล้ว  เป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นแห่ง{กุศลธรรม}ควรพูด(แต่จะเป็น

ไปได้มากแค่ไหน ขึ้นอยู่กับความเข้าใจและเห็นประโยชน์)  

ในกรณีที่จะเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น ไม่ควรนิ่งเฉย ควรอย่างยิ่งที่จะพูด เพื่อ

อนุเคราะห์เกื้อกูลให้เขาเข้าใจตามความเป็นจริงหรือให้เขาแก้ไขความประพฤติที่ไม่

เหมาะสมทั้งทางกาย ทางวาจา ด้วยจิตที่ประกอบด้วยเมตตา พร้อมกันนั้นก็ยังจะ

ต้องดูกาละที่สมควรด้วยการพูดนั้นจึงจะไม่ไร้ประโยชน์ แต่ถ้าเขาไม่ยอมรับฟัง

เตือนแล้วไม่ฟังก็ไม่ควรที่จะพูดให้มากไปกว่านั้นพึงมีความเป็นกลางไม่หวั่นไหวไป

ด้วย{โทสะ}ด้วยความเข้าใจว่าสัตว์โลกมีกรรมเป็นของของตน


(http://lh3.ggpht.com/_AYFPNs1xf64/S_5Cge0TPrI/AAAAAAAAA_s/5XKOKn-K_2w/P525005-1.jpg)