[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ใต้เงาไม้ => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 12 พฤษภาคม 2556 12:14:03



หัวข้อ: โคลงโลกนิติ : คาถาสุภาษิตจากคัมภีร์โบราณ กับคำอธิบายความ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 12 พฤษภาคม 2556 12:14:03
.

โคลงโลกนิติ
พระนิพนธ์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร

โคลงโลกนิติ เป็นสุภาษิตเก่าแก่ แต่งมาแต่โบราณครั้งกรุงเก่า แต่เดิมนักปราชญ์ผู้แต่งเที่ยวเลือกหาคาถาสุภาษิต บาลี และสันสกฤต อันมีอยู่ในคัมภีร์ต่างๆ คือ คัมภีร์โลกนิติบ้าง คัมภีร์โลกนัยบ้าง ตลอดจนคัมภีร์พระธรรมบทก็มี คัดเอาคาถาสุภาษิตเหล่านั้นมาแปลแต่งเป็นคำโคลงไปทุกๆ คาถา รวมเป็นเรื่องเรียกว่า โคลงโลกนิติ เป็นสุภาษิตที่นับถือกันมาช้านาน

เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน เมื่อปีเถาะ พ.ศ.๒๓๗๔ มีพระราชประสงค์ให้จารึกโคลงโลกนิติลงในแผ่นศิลาติดไว้เป็นธรรมทานในวัดพระเชตุพน จึงโปรดให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศรทรงรวบรวมโคลงโลกนิติของเก่ามาชำระแก้ไขใหม่ให้เรียบร้อย ประณีต และไพเราะ  เพราะของเก่าคัดลอกกันต่อๆ มา ปรากฏมีถ้อยคำวิปลาสผิดพลาดมาก
  
ครั้นสมเด็จฯ กรมพระยาเดชาดิศร ทรงชำระแล้ว โปรดเกล้าฯ ให้จารึกไว้ในวัดพระเชตุพน โคลงโลกนิติจึงแพร่หลายแต่นั้นมา

ปี พ.ศ.๒๔๖๐ หอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร เคยรวบรวมโคลงโลกนิติทั้งของเก่าและที่ชำระใหม่ พิมพ์ขึ้นครั้งหนึ่ง ให้ชื่อว่า “ประชุมโคลงโลกนิติ” มีคาถาบาลีและสันสกฤตเท่าที่ค้นพบพิมพ์กำกับไว้ข้างต้นแห่งโคลงสุภาษิตนั้นด้วย


              โคลงโลกนิติ
     พระนิพนธ์ กรมสมเด็จพระเดชาดิศร

• อัญขยมบรมนเรศร์เรื้อง     รามวงศ์
พระผ่านแผ่นไผททรง          สืบไท้
แสวงยิ่งสิ่งสดับองค์             โอวาท
หวังประชาชนให้                อ่านแจ้งคำโคลงฯ

• ครรโลงโลกนิตินี้             นมนาน
มีแต่โบราณกาล               เก่าพ้อง
เป็นสุภาษิตสาร                สอนจิต
กลดั่งสร้อยสอดคล้อง          เรี่ยไว้ในกรรณฯ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/94582310981220_a1.png)
   เสพกัญชา  
   จิตรกรรมฝาผนัง วัดใหญ่อินทาราม  อำเภอเมือง  จังหวัดชลบุรี
• ปลาร้าพันห่อด้วย      ใบคา
ใบก็เหม็นคาวปลา        คละคลุ้ง
คืนคนหมู่ไปหา           คบเพื่อน  พาลนา
ได้แต่รายร้ายฟุ้ง          เฟื่องให้เสียพงศ์ฯ

 
                   คนทั้งหลายที่ไปมั่วสุม คบค้าสมาคมกับคนพาลคนชั่ว
                   ย่อมต้องพัวพันกับเรื่องเลวร้าย พาให้ตนเองและวงศ์ตระกูลพลอยเดือดร้อนเสียหายไปด้วย
                   เปรียบดังนำใบคาไปห่อปลาร้า กลิ่นเหม็นย่อมติดฝังแน่นในใบคา แม้จะนำไปล้างน้ำกลิ่นนั้นก็ไม่จางหาย.
 

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/73848762114842_2.png)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะยังทรงพระเยาว์ กับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต  พฺรหฺมรํสี)
ถ่ายจากพิพิธภัณฑ์ชุมชนวัดเกตุการาม  อำเภอเมือง  จังหวัดเชียงใหม่
• ใบภ้อพันห่อหุ้ม       กฤษณา
หอมระรวยรสพา         เพริศด้วย
คือคนเสพเสน่หา        นักปราชญ์
ความสุขซาบฤาม้วย     ดุจไม้กลิ่นหอม


                   การคบหาสมาคมกับนักปราชญ์ การมีมิตรดีมีคุณธรรม ย่อมชักนำให้เราประกอบแต่คุณงามความดี มีแต่ความสุขความเจริญ
                   เปรียบเช่นไม้กฤษณาซึ่งมีกลิ่นหอม นำใบภ้อมาห่อหุ้ม กลิ่นหอมของไม้กฤษณายังหอมระรวยติดอยู่ที่ใบภ้อ.
 

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/55542253247565_3.jpg)
ผลมะเดื่อใหญ่
ภาพจาก : น้ำตกคลองลาน  อำเภอคลองลาน  จังหวัดกำแพงเพชร
• ผลเดื่อเมื่อสุกไซร้    มีพรรณ
ภายนอกแดงดูฉัน      ชาดบ้าย
ภายในย่อมแมลงวัน    หนอนบ่อน
ดุจดั่งคนใจร้าย         นอกนั้นดูงามฯ


                   ยถา อุทุมฺพรปกฺกา, พหิ รตฺตกา เอว จ;  อโนฺตกิมิล สมฺปุณฺณา, เอวํ ทุชฺชนหทยาฯ
                   ผลมะเดื่อเมื่อสุก มีสีแดงสวยงามสดใส ดังเอาชาดมาทาป้ายไว้
                   แต่ภายในผลมะเดื่อนั้น เต็มไปด้วยหนอนและแมลง หาความสวยงามดั่งภายนอกมิได้
                   เปรียบเช่นคนภายนอกดูเป็นคนดีน่าคบหา แต่จิตใจที่ซ่อนอยู่ภายในกายโหดร้ายนัก
                                พุทธศาสนสุภาษิต


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/37403986892766_4.jpg)
• ขนุนสุกสล้างแห่ง       สาขา
ภายนอกเห็นหนามหนา   หนั่นแท้
ภายในย่อมรสา            เอมโอช
สาธุชนนั่นแล้              เลิศด้วยดวงใจ ฯ


                   ยถา ปิ ปนสา ปกฺกา พหิ กณฺฑกเมว จ
                   อนฺโต อมตสมฺปนฺนา เอวํ สุชนหทยา
                   ผลขนุนสุกอยู่ตามกิ่งก้านสาขาของต้น ดูภายนอกเห็นแต่หนามแหลมอยู่ตามเปลือกผล
                   แต่เนื้อขนุนซึ่งอยู่ภายในนั้นให้รสชาติหอมหวานยิ่งนัก เปรียบเหมือนคนที่รูปกายภายนอกขี้ริ้วขี้เหร่
                   แต่ภายในจิตนั้น งดงาม เต็มเปี่ยมด้วยคุณธรรม
                                พุทธศาสนสุภาษิต


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/38442662648028_5.png)  
• ยางขาวขนเรียบร้อย     ดูดี
ภายนอกหมดใสสี          เปรียบฝ้าย
กินสัตว์เสพปลามี          ชีวิต
เฉกเช่นชนชาติร้าย        นอกนั้นนวลงามฯ


                   นกกระยาง มีขนสีขาวสวยงามดังปุยฝ้าย เห็นแต่ภายนอกก็ว่าขาวสะอาดดีแต่ในจิตนั้นไซร้
                   ชั่วร้าย ขาดเมตตา กินปลาและสัตว์มีชีวิตเป็นอาหาร เปรียบเช่นคนรูปร่างหน้าตาผิวพรรณดี แต่มีจิตใจโหดร้าย
                    

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/65915305167436_1.jpg)
ภาพ : www.igoodmedia.net (http://www.igoodmedia.net)
• รูปแร้งดูร่างร้าย      รุงรัง
ภายนอกเพียงพึงชัง   ชั่วช้า
เสพสัตว์ที่มรณัง       นฤโทษ
ดังจิตสาธุชนกล้า      กลั่นสร้างทางผล ฯ


                   นกแร้งมีรูปร่างแสนสกปรกรกรุงรัง น่าเกลียดน่าชัง  กินสัตว์ที่ตายแล้วเป็นอาหาร จึงไม่เป็นบาปเป็นกรรมแก่ตัว  
                   เปรียบเช่นคนที่มีชีวิตอยู่ในวงแวดล้อมของคนชั่ว คนไม่มีศีล แต่คนผู้นั้นก็มิได้คบหาสมาคม มีจิตใจแน่วแน่มั่นคง มุ่งประกอบแต่คุณงามความดีเพื่อมรรคผลในภายหน้า


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/40004969264070_2.png)  
• พระสมุทรสุดลึกล้น      คณนา
สายดิ่งทิ้งทอดมา           หยั่งได้
เขาสูงอาจวัดวา            กำหนด
จิตมนุษย์นี้ไซร้             ยากแท้หยั่งถึง ฯ


                   มหาสมุทรจะลึกเพียงใดก็ตาม ก็ไม่พ้นความสามารถของมนุษย์ที่จะทอดสายดิ่งวัดความลึกดูได้
                   ขุนเขาแม้จะสูงสุดฟากฟ้า ก็วัดความสูงของยอดได้  แต่จิตมนุษย์นี้ คาดเดาได้ยากว่าเขาชังเรา หรือรักเรา

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/69810542754001_3.png)
• ห้ามเพลิงไว้อย่าให้    มีควัน
ห้ามสุริยแสงจันทร์       ส่องไซร้
ห้ามอายุให้หัน           คืนเล่า
ห้ามดั่งนี้ไว้ได้            จึ่งห้ามนินทา ฯ


                   ห้ามไฟไม่ให้มีควัน ห้ามพระอาทิตย์พระจันทร์อย่าส่องแสง
                   ห้ามอายุให้หวนคืนเด็ก  ห้ามทั้งสามสิ่งนี้ได้ จึ่งสามารถห้ามการนินทา.
                                

(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTEx4nKZqp7xaDrgycmSJ9RhQN-Er6S2aln_TvCpnf6D_VWxMZb)
• คนพาลผู้บาปแท้      ทุรจิต
ไปสู่หาบัณฑิต           ค่ำเช้า
ฟังธรรมอยู่เนืองนิตย์     บ่ซาบ  ใจนา
คือจวักตักข้าว           ห่อนรู้รสแกง ฯ


                   คนพาลสันดานบาป แม้จะสมาคมกับนักปราชญฺ์ ได้ฟังธรรมคำสอนอยู่เนืองนิตย์
                   ก็หาได้ซาบซึ่งในคำสั่งสอนนั้นไม่ เปรียบเช่นจวักตักข้าวตักแกงแต่ไม่รู้รสชาติของแกงว่าเป็นอย่างไร
                                

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/91833949130442_4.png)
     ภาพ : จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถ วัดพระธาตุดอยสะเก็ด  จังหวัดเชียงใหม่
• คนใดไปเสพด้วย       คนพาล
จักทุกข์ทนเนานาน       เนิ่นแท้
ใครเสพท่วยทรงญาณ    เปรมปราชญ์
เสวยสุขล้ำเลิศแล้         เพราะได้สดับดีฯ  


                   คนผู้คบคนพาล คนพาลย่อมชักนำให้ได้รับความเดือดร้อนรำคาญอยู่เนืองนิตย์
                   ผู้ใดคบกับบัณฑิต บัณฑิตย่อมชักจูงให้กระทำแต่สิ่งที่เป็นคุณ จึงย่อมได้รับแต่ความสุขความเจริญ
                                
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/77108845570021_1.png)
ภาพ :วัดธาตุหลวงใต้  เวียงจันทน์  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
• ผู้ใดใจฉลาดล้ำ         ปัญญา
ได้สดับปราชญ์เจรจา      อาจรู้
ยินคำบัดเดี๋ยวมา          ซับซาบ  ใจนา
คือมลิ้นคนผู้               ซาบรู้รสแกง ฯ


                   ผู้มีสติปัญญา เมื่อได้ฟังนักปราชญ์สั่งสอน แม้เพียงชั่วเวลาอันสั้นๆ
                   ก็สามารถเข้าใจคำสั่งสอนอย่างซาบซึ้งได้ไม่ยาก เปรียบเช่นลิ้นคน ที่ไวต่อรสชาติของอาหาร ฉันนั้น

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/15218586516049_2.jpg)
• หมูเห็นสีหราชท้า        ชวนรบ
กูสี่ตีนกูพบ                 ท่านไซร้
อย่ากลัวท่านอย่าหลบ      หลีกจาก กูนา
ท่านสี่ตีนอย่าได้            วากเว้วางหนี ฯ


                   หมูเห็นพญาราชสีห์ มีสี่เท้าเท่าตัวเอง ก็ทะนงตัว ร้องท้าราชสีห์ชวนรบว่า
                   เรามีสี่ตีน ท่านก็สี่ตีนเหมือนเรา ท่านจงมาสู้กับเรา อย่ากลัวเราแล้วรีบหลบหนีไปเสียเล่า...อย่าประเมินคุณสมบัติคนที่เราพบเห็นแต่เพียงรูปลักษณ์ภายนอก

• สีหราชร้องว่าโอ้         พาลหมู
ทรชาติครั้นเห็นกู          เกลียดใกล้
ฤามึงใคร่รบดนู             มึงนาศ  เองนา
กูเกลียดมึงกูให้            พ่ายแพ้ภัยตัว ฯ


                   พญาสีหราชได้ยินดังนั้น ร้องตอบไปว่า เจ้าหมูสกปรกโอหัง นี่เอ็งคิดสู้รบกับข้าเชียวหรือ?
                   ถ้ารบกับเราตัวเอ็งน่ะแหละจะถึงความพินาศ เอาเถอะ! ข้าไม่อยากสู้รบกับคนพาล ข้าขอยอมแพ้.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/30533150873250_4.png)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/95304375390211_3.png)  
• กบเกิดในสระใต้         บัวบาน
ฤาห่อนรู้รสมาลย์           หนึ่งน้อย
ภุมราอยู่ไกลสถาน         นับโยชน์ ก็ดี
บินโบกมาค้อยค้อย         เกลือกเคล้าเสาวคนธ์


                   กบเกิดในสระบัวที่บานสะพรั่งส่งกลิ่นหอมตลบอบอวลไปทั่ว แต่หาได้รู้รสอันหวานหอมของเกสรบัวไม่
                   แมลงผึ้งอยู่ไกลสระนับโยชน์ ยังได้สัมผัสกลิ่น โบยบินมาลิ้มชิมรส เกลือกเคล้ำเกสรบัวอยู่เป็นประจำ.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/19004332150022_5.jpg)
• ใจชนใจชั่วช้า           โฉงเฉง
ใจจักสอนใจเอง            ไป่ได้
ใจปราชญ์ดัดตามเพลง    พลันง่าย
ดุจช่างปืนดัดไม้            แต่งให้ปืนตรง ฯ


                   คนใจบาปหยาบช้า ย่อมไม่สามารถตักเตือนตัวเองให้รู้จักผิดชอบชั่วดีได้ ส่วนคนผู้มีปัญญาสามารถฝึกหัด
                   อบรม เตือนตนเองให้เป็นคนตั้งมั่นอยู่ในศีลในธรรมไม่ประกอบกรรมชั่วอันเป็นอกุศล ดุจช่างเกาทัณฑ์ดัดลูกศร หน้าไม้ ให้ตรงฉะนั้น.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/39961321238014_1.png)
พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้ง จังหวัดราชบุรี
• เป็นคนควรรอบรู้           สมาคม
สองประการนิยม              กล่าวไว้
หนึ่งพาลหนึ่งอุดม             นักปราชญ์
สองสิ่งนี้จงให้                  เลือกผู้สมาคม ฯ


                   ท่านว่า ให้พิจารณาเลือกคบหาสมาคมกับบุคคล ๒ จำพวกนี้ไว้
                   หนึ่ง คือ คนพาล สองคือ นักปราชญ์  บุคคลสองจำพวกนี้พึงเลือกคบให้ดีเถิด.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/36793593607015_2.jpg)
• ความรู้ผู้ปราชญ์นั้น        รักเรียน
ฝนทั่งเท่าเข็มเพียร            ฝ่ายหน้า
คนเกียจเกลียดหน่ายเวียน    วนจิต
กลอุทกในตะกร้า              เปี่ยมล้นฤามี ฯ


                   คนจะเป็นนักปราชญ์ ย่อมหมั่นศึกษาเล่าเรียนแสวงหาความรู้ใส่ตัว ไม่ท้อถอย เปรียบกับการหมั่นเพียรฝนแท่งเหล็กจนสำเร็จเป็นเข็มเย็บผ้า
                   ส่วนคนเกียจคร้าน เบื่อหน่ายการเรียน จะไม่มีวิชาความรู้ติดตัวที่จะนำพาให้ชีวิตดำเนินไปอย่างมีความสุข เปรียบกับอุทก(แปลว่า น้ำ) ที่ขังอยู่ไม่ได้ในตระกร้า ย่อมไหลออกไปจนหมดเกลี้ยง

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/65027152746915_3.png)
ภาพจาก วัดมงคลบพิตร  พระนครศรีอยุธยา
• รำฟ้อนสุนทรด้วย     รูปา
ร้องขับศัพท์เสน่หา       ยิ่งแท้
มวยปล้ำล่ำสันสา        มารถจึ่ง ดีแฮ
รักกับชังนั้นแล้           เพื่อลิ้นเจรจา    
 

                   การร่ายรำนั้น สวยงามด้วยท่วงท่า และรูปร่างหน้าตาของผู้ฟ้อนรำ
                   เพลงฟังไพเราะ เพราะทำนองและน้ำเสียงของผู้ขับร้อง
                   นักมวยจะชนะคู่ต่อสู้ได้ก็ด้วยความสามารถและความแข็งแรง
                   แต่คนจะรักหรือชังกันนั้น เกิดจากน้ำคำเจรจานั้นแล.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/83429905979169_4.jpg)
ภาพ "ป่าชายเลน"  จังหวัดชลบุรี
• ไม้ค้อมมีลูกน้อม      นวยงาม
คือสัปปุรุษสอนตาม     ง่ายแท้
ไม้ผุดั่งคนทราม         สอนยาก
ดัดก็หักแหลกแล้        ห่อนรื้อโดยตาม ฯ


                   ต้นไม้ที่มีผลดก กิ่งย่อมโอนอ่อนโน้มลงสู่พื้นดิน เช่นเดียวกับผู้มีปัญญา เป็นบุคคลฝึกหัด อบรมง่าย
                   ส่วนไม้ผุ จะดัดให้ตรงอย่างไรก็ทำไม่ได้ รอแต่เวลาผุพังแหลกสลายเท่านั้น เปรียบดังคนพาล ได้ฟังคำสั่งสอนอบรมก็ไม่รู้ในสิ่งดีสิ่งเลว ท่านว่า เป็นบุคคลอบรมสั่งสอนยาก.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/14596675584713_2.jpg)  
• คนใดยืนอยู่ร้อย      พรรษา
ใจบ่มีปรีชา             โหดไร้
วันเดียวเด็กเกิดมา      ใจปราชญ์
สรรเพชญบัณฑูรไว้     เด็กนั้นควรยอ ฯ


                   คนเราถึงจะมีอายุยืนถึง ๑๐๐ ปี แต่โง่เขลาเบาปัญญา ไม่รู้จักแสวงหาความรู้่
                   สู้เด็กที่เกิดมาเพียงวันเดียว ที่เป็นผู้มีสติปัญญา มีความสามารถฉลาดเฉลียวก็ไม่ได้
                   พระพุทธองค์ตรัสสรรเสริญเด็กนั้น .

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/59409429505467_5.jpg)
• มีอายุร้อยหนึ่ง        นานนัก
ศีลชื่อปัญจางค์จัก      ไป่รู้
ขวบเดียวเด็กรู้จัก       ษานิจ ศีลนา
พระตรัสสรรเสริญผู้     เด็กนั้นเกิดศรี ฯ
   

                   คนเราถึงจะมีอายุยืนถึง ๑๐๐ ปี แต่เป็นผู้ไม่มีศีลมีธรรม
                   พระพุทธองค์ตรัสว่า เด็กที่เกิดมามีอายุเพียงหนึ่งปี แต่รู้จักบุญบาป รู้รักษาศีล เป็นผู้ประเสริญกว่า.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/81584574489129_1.jpg)
     หุ่นขึ้ผึ้ง : ประธานาธิบดี เหมา เจ๋อตง  และ เติ้ง เสี่ยวผิง
     ภาพจาก  พิพิธภัณฑหุ่นขี้ผึ้งสยาม  จังหวัดราชบุรี
 
• ได้เห็นนักปราชญ์ไซร้     เป็นสุข
อยู่ร่วมเรือนหายทุกข์        ค่ำเช้า
ผู้พาลสั่งสอนปลุก           ใจดั่ง พาลนา
ยลเยี่ยงนกแขกเต้า          ตกต้องมือโจร ฯ      
 

                   การได้พบเห็น ได้ฟังนักปราชญ์ ย่อมทำให้เราได้รับความรู้ พัฒนาตนเองให้มีความสามารถ เจริญในทางที่ถูกที่ควร
                   ยิ่งหากได้มีโอกาสคลุกคลี อยู่ร่วมกันด้วยแล้ว ปราชญ์ผู้นั้นจักเป็นผู้ช่วยอบรมสั่งสอนเราไปสู่หนทางแห่งความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไปอีก
                   ตรงกันข้ามหากเราคลุกคลีกับคนพาล  คนพาลก็จักชักนำเราไปสู่แต่หนทางอบาย อุปมาดังเช่นนิทานเรื่องนกแขกเต้าที่ตกไปอยู่ในรังโจร.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/14596675584713_2.jpg)  
• จงนับสัปปุรุษผู้            บุญธรรม์
จงละหลีกพาลอัน            ชั่วช้า
จงสร้างสืบบุญธรรม์          ทุกเมือ
(จงสร้างสืบบุญวัน           ค่ำต่อ วายนา)*
จงนึกนิตย์ชีพคล้าย          ดุจด้วยฟองชล ฯ    
 
* ข้อความในวงเล็บ เป็นข้อความในต้นฉบับบางเล่มที่ผิดออกไป จึงนำมาลงไว้ด้วย...สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร

                   พึงคบหาสมาคมกับผู้มีศีลมีธรรม  จงหลีกหนีการคบคนพาล
                   จงหมั่นสร้างบุญกุศล สร้างสมคุณงามความดี หมั่นรำลึกไว้เสมอว่า ชีวิตไม่เที่ยง สังขารย่อมเสื่อมสลายและแตกดับอย่างแน่นอน.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/88579503281248_2.png)
จิตรกรรมฝาผนัง : โรงแรมคุ้มภูคำ  จังหวัดเชียงใหม่  
• งาสารฤาห่อนเหี้ยน     หดคืน
คำกล่าวสาธุชนยืน        อย่างนั้น
ทุรชนกล่าวคำฝืน         คำเล่า
หัวเต่ายาวแล้วสั้น         เล่ห์ลิ้นทรชน ฯ


                   งาช้างที่งอกออกมาแล้ว ย่อมไม่หดคืน เช่นเดียวกับคำพูดของคนมีศีลธรรม คำพูดย่อมมั่นคง เชื่อถือได้  
                   ตรงกันข้าม คนพาลหรือทุรชน มักพูดจากลับกลอกเชื่อถือไม่ได้ ดุจหัวเต่าประเดี๋ยวยาวประเดี๋ยวสั้น ผลุบๆ โผล่ๆ จากกระดอง ฉะนั้น .

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/97957024516330_1.jpg)
• ทรชนอย่าเคียดแค้น   อย่าสนิท
อย่าห่างศัตรูชิด          อย่าใกล้
คือไฟถ่านแรงฤทธิ       ถือถลาก มือนา
แม้นดับแล้วบ่ไหม้        หม่นต้องมือดำ ฯ
   

                   ให้เปรียบคนเช่นนี้ดังศัตรู : คนชั่ว คนพาล เหมือนถ่านไฟที่กำลังลุกโชน
                   อย่าไปสนิทชิดเชื้อคบหาสมาคม เพราะรังแต่จะนำความเดือดร้อนมาให้
                   ...ถ่านที่กำลังติดไฟ ถูกมือก็ไหม้พอง  แม้ไฟดับสนิทแล้ว ไปจับถ่านเข้าก็ดำติดมือ.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/67369307743178_1.png)
• ปางก่อนเคยร่วมน้ำ     ใจจิต
เคยยื่นทรัพย์ไปล่ปลิด     ปลดให้
เคยเป็นมิ่งเมียสนิท        หลายชาติ มานา
ในชาตินี้จึงได้              เสพส้องครองกัน ฯ


                   ในชาติปางก่อน คนเคยอยู่ด้วยกัน ผูกพันรักใคร่ อุปถัมภ์เกื้อกูลกันมาหลายชาติ
                   มาในชาตินี้ บุพเพสันนิวาสย่อมชักนำให้ประสบพบกัน ได้อยู่เป็นคู่ครองกันอีก.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/48515199745694_2.jpg)
ภาพ :สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง  อำเภอเชียงดาว  จังหวัดเชียงใหม่  
• นาคีมีพิษเพี้ยง       สุริโย
เลื้อยบ่ทำเดโช         แช่มช้า
พิษน้อยหยิ่งโยโส      แมลงป่อง
ชูแต่หางเองอ้า         อวดอ้างฤทธี ฯ


                   พญานาคมีฤทธิ์เดชร้ายแรงดั่งดวงอาทิตย์  เลื้อยไปไหนมาไหนอย่างแช่มช้า ไม่วางท่าอวดอำนาจ
                   ผิดกันกับแมลงป่อง ที่เป็นสัตว์มีพิษเพียงเล็กน้อย แต่กลับทำท่าทางยโสโอหัง ทำชูหางวางโตให้ใครๆ ต้องเกรงกลัวว่าตัวเป็นสัตว์มีพิษ.

(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcR8R-3C_g9vof8PDTBewnZkREUTtpfzgRKdbinvn_DwuBOVwpvh3Q)
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
  
• ภูเขาเหลือแหล่ล้วน         ศิลา
หามณีจินดา                    ยากได้
ฝูงชนเกิดนานา                 ในโลก
หานักปราชญ์นั้นไซร้           เลือกแล้วฤามี ฯ


                   ภูเขาอยู่มากมายทั่วไปในโลก ล้วนมีแต่หินไม่มีราคา จะเสาะแสวงหารัตนชาติ (เงิน ทอง เพชร พลอย ฯลฯ) ที่มีในภูเขาแม้เพียงสักชิ้นเล็กๆ ก็หาได้ยากแสนยาก
                   อุปมา คนที่เกิดมาในโลกมีมากมายเหลือคณานับ แต่จะค้นหาผู้เป็นนักปราชญ์ ผู้มีปัญญา ก็ค้นหาได้ยากแสนยากเช่นเดียวกัน.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/41740824364953_1.png)  
• ภูเขาทั้งแท่งล้วน              ศิลา
ลมพยุพัดพา                     บ่ขึ้น
สรรเสริญและนินทา              คนกล่าว
ใจปราชญ์ฤาเฟื่องฟื้น            ห่อนได้จินต์จลฯ


                   ภูเขามีความมั่นคงเพราะเต็มไปด้วยแท่งหิน จึงไม่สะเทือนเพราะแรงลม
                   เหมือนกับ "คำสรรเสริญและนินทา" ย่อมไม่ทำให้ใจของนักปราชญ์หวั่นไหวได้ฉันนั้น.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/69073086770044_1.png)  
• ป่าหลวงหลายโยชน์พร้อม  พฤกษา
หาแก่นจันทน์กฤษณา         ยากไซร้
ฝูงคนเกิดมีมา                  เหลือแหล่
หาปราชญ์ฤาจักได้             ยากแท้ควรสงวน ฯ


                   ผืนป่ากว้างใหญ่ไพศาล เต็มไปด้วยพรรณไม้นานาชนิดมากมายก่ายกอง จะแสวงหาแก่นไม้จันทร์ ไม้กฤษณา ที่มีคุณค่าสูง หาได้ยากนัก
                   เช่นเดียวกับคนที่เกิดมาในโลก มีมากมายเหลือคณานับ แต่จะแสวงหานักปราชญ์ราชบัณฑิต แม้สักรายเดียวก็แสนยาก.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/15667875028318_2.jpg)  
•  มดแดงแมลงป่องไว้    พิษหาง
งูจะเข็บพิษวาง            แห่งเขี้ยว
ทรชนทั่วสรรพางค์        พิษอยู่
เพราะประพฤติมันเกี้ยว   เกี่ยงร้ายแกมดี ฯ


                   มดแดง แมลงป่อง มีพิษอยู่ที่ปลายหาง  งู จะเข็บ (สัตว์จำพวกตะขาบ) มีพิษอยู่ที่เขี้ยว
                   ส่วนคนพาลย่อมคิดชั่ว กระทำความชั่ว (ได้ทั้งตัว - ตั้งแต่หัวจรดปลายเท้า).

(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcS1sCRVih6PTsr9_qa-IsFRznKXT-u6Xs2JTonYQsRR4_onfek2)  
• นกน้อยขนน้อยแต่     พอตัว
รังแต่งจุเมียผัว           อยู่ได้
มักใหญ่ย่อมคนหัว       ไพเพิด
ทำแต่พอตัวไซร้         อย่าให้คนหยัน ฯ


                   สอนให้ดูตัวอย่าง : นกตัวเล็กๆ เรี่ยวแรงย่อมมีน้อย จึงเสาะแสวงหากิ่งไม้ใบหญ้าทำรังพอได้อยู่อาศัยสองตัวเมียผัว
                   เกิดมาเป็นคน จะทำสิ่งใดก็ให้พอเหมาะพอควรกับกำลังทรัพย์กำลังความสามารถ อย่าได้คิดทำการใหญ่เกินตัวให้ใครๆ ดูถูกดูหมิ่นได้ว่าไม่รู้จักประมาณตน.

(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSx3hlDqEx-Yu-uUKhkqeCSbVTItBEGmXw0HWl4jHuhirawcUqq)
    ภาพจาก : www.guitarthai.com (http://www.guitarthai.com)
• กละออมเพ็ญเพียบน้ำ     ฤาติง
โอ่งอ่างพร่องชลชิง          เฟื่องหม้อ
ผู้ปราชญ์ห่อนสุงสิง          เยียใหญ่
คนโฉดรู้น้อยก็                พลอดพ้นประมาณฯ


                  หม้อที่มีน้ำเต็มเปี่ยม แรงกระเพื่อมของน้ำจะไม่เกิดเสียงดัง...โอ่ง อ่างน้ำที่มีน้ำขังไม่เต็ม แรงน้ำกระเพื่อมจักเกิดเสียง
                  ..บุคคลผู้เป็นปราชญ์จักไม่โอ้อวดภูมิปัญญาความรู้ความฉลาดของตน  แต่คนโง่เขลาเบาปัญญามักอวดภูมิรู้ของตนแม้จักมีเพียงน้อยนิด


(http://www.osk103.com/cgi-bin/contents/picserve.cgi?picserve=/kongbeng01.jpg)
ภาพจาก : www.osk103.co (http://www.osk103.co)  
มัจฉามีทั่วท้อง          ชโลธร
หาเงือกงูมังกร              ยากได้
ทั่วด้าวพระนคร             คนมาก มีนา
จักเสาะสัปปุรุษไซร้        ยากแท้จักมีฯ


                  ปลามีอยู่ทั่วไปตามแหล่งน้ำ ทะเล ห้วย หนอง คลอง บึง  แต่จะหาเงือกหรือมังกรสักตัวนั้น หาได้ยาก
                  ผู้คนก็มีอยู่เต็มบ้านเต็มเมือง แต่จะหาผู้เป็นนักปราชญ์สักคนนั้น หากได้ยากแท้

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/26319762360718_1.jpg)
ดารามีมากน้อย         ถึงพัน
บ่เปรียบกับดวงจันทร์      หนึ่งได้
คนพาลมากอนันต์         ในโลก
จะเทียบเท่าปราชญ์ไซร้   ยากแท้ฤาถึงฯ

                  งมเข็มในมหาสมุทร"      
                  แสงสว่างอันเกิดจากดวงดาวนับร้อยนับพันดวง นำมารวมกันแล้ว แสงนั้นก็สว่างไม่เท่ากับแสงจันทร์ที่มีเพียงหนึ่งดวง
                  เช่นเดียวกับปัญญาความรอบรู้ในความเห็นถูกตามสัจธรรมของเหล่าคนพาลที่มีอยู่กลาดเกลื่อนในโลกนี้ นำมารวมกันแล้วก็ยังน้อยกว่าปัญญาของนักปราชญ์เพียงคนเดียว

(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRGh2YyMOuTyruP_4o6pesW98KAjcR5I7EC_Fvq0HsKtAa5GVKb5Q)  
• คนใดยืนเหยียบร้อย   ขวบปี
ความอุตส่าห์ฤามี         เท่าก้อย
เด็กเกิดขวบหนึ่งดี        เพียรพาก
พระตรัสว่าเด็กน้อย       นี่เนื้อเวไนย ฯ


                  คนเราถึงจะมีอายุยืนยาวเกือบร้อยปี  แต่เป็นคนขาดความอุตสาหะ มีความเกียจคร้านเป็นนิตย์
                  ส่วนเด็กที่เกิดมา แม้มีอายุเพียงหนึ่งปี แต่มีความพากเพียร พระพุทธองค์ตรัสสรรเสริญว่า เด็กนี้คือหน่อเนื้อเวไนย (ผู้ซึ่งสมควรที่จะแนะนำสั่งสอนให้บรรลุอมตธรรมได้)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/50986132936345_2.png)  
•  นกแรงบินได้เพื่อ      เวหา
หมู่จระเข้เต่าปลา        พึ่งน้ำ
เข็ญใจพึ่งราชา          จอมราช  
ลูกอ่อนอ้อนกลืนกล้ำ    เพื่อน้ำนมแรงฯ


                  หมู่วิหคนกกา อาศัยท้องฟ้าโบยบินหาอาหาร  หมู่จระเข้ เต่า ปลา อาศัยแหล่งน้ำเป็นที่อาศัย
                  คนยากไร้เข็ญใจ ย่อมอาศัยพระบารมีองค์กษัตริย์  ลูกอ่อนรอดชีวิตมาได้ เพราะร้องไห้ออดอ้อนขอน้ำนมแม่

                  (http://www.sookjaipic.com/images_upload/19167369107405_3.png)
                  สพฺเพสํ  สุขเมตพฺพํ   ขตฺติเยน ปชานตา
                  ผู้ปกครองแผ่นดินมีปัญญา  พึงแสวงสุขเพื่อปวงประชา
                  (๑๒.๐๖)         (๒๗/๑๐๕๖)


(http://www.dhammajak.net/board/files/268_1253186148.jpg_108.jpg)
    ภาพจาก : www.dhammajak.net (http://www.dhammajak.net)    
คบกากาโหดให้          เสียพงศ์
พาตระกูลเหมหงส์          แหลกด้วย
คบคนชั่วจักปลง            ความชอบ เสียนา
ตราบลูกหลานเหลนม้วย   ไม่ม้วยนินทา ฯ


                   การคบคนชั่ว นอกจากจักนำความเสื่อมเสียมาสู่พวกเดียวกันแล้ว ยังชักนำให้ผู้มีศักดิ์สกุลสูงส่งที่หลงมาคบค้า ไปสู่อบาย
                   และเสื่อมเสียชื่อเสียงไปจนถึงชั่วลูกหลานเหลน แม้ละโลกนี้ไปแล้วก็หาได้สิ้นคำนินทาไปไม่.
                   กากา กากสฺส โทเสน   หํโส ภวติ สํสก
                   เอวํ ทุชฺชนสงฺคญฺจ  กุลปุตฺโตฺร วิวสฺสติ ฯ .....    พุทธศาสนสุภาษิต
 

(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQAGgbKf1YdzxjSV6gp_OQwSCpDlGtA7-1yrt4WYIAhNtrDZOqM5w)  
หิ่งห้อยส่องก้นสู้       แสงจันทร์
ปัดเทียบเทียมรัตน์อัน    เอี่ยมข้า
ทองเหลืองหลู่สุวรรณ    ธรรมชาติ
พาลว่าตนเองอ้า          อาจล้ำเลยกวี ฯ


                  คนโง่เขลาเบาปัญญา หลงตัวเองว่าฉลาดกว่า เก่งกว่าบรรดานักปราชญ์จอมกวี
                  อุปมาอุปไมย...หิ่งห้อยชูก้นกระพริบริบหรี่ส่องแข่งแสงจันทรา  ลูกปัดด้อยราคานำมาตีค่าเสมอรัตนมณี
                  ทองเหลืองราคาต่ำนำมาเทียบทองคำที่ล้ำค่าหายาก    



หัวข้อ: Re: โคลงโลกนิติ : คาถาสุภาษิตจากคัมภีร์โบราณ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 25 มิถุนายน 2556 19:08:32
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/39880736337767_1.jpg)
เสือผอมกวางวิ่งเข้า   โจมขวิด
ไป่ว่าเสือมีฤทธิ์           เลิศล้ำ
เล็บเสือดั่งคมกฤช        เสือซ่อน ไว้นา
ครั้นปะปามล้มคว่ำ        จึ่งรู้จักเสือ ฯ
 

                  กวางเห็นเสือผอมโซ คิดว่าเสือคงไร้เรี่ยวแรง จึงกระโจนเข้าขวิดทำร้าย  
                  หารู้ไม่ว่าแม้เสือจะผอมแต่ก็ยังมีกรงเล็บอันแหลมคมและแข็งแรง  จึงถูกเสือตะปบล้มคว่ำลง กวางจึงรู้ฤทธิ์เดชของเสือ
                  ปริภูโต มุทุ โหติ     อติติกฺโข จ เวรวา                          
                  อ่อนไปก็ถูกเขาดูหมิ่น  แข็งไปก็มีภัยเวร   .....พุทธศาสนสุภาษิต
                  
 (http://www.sookjaipic.com/images_upload/27044044641984_2.jpg)  
 ภูเขาอเนกล้ำ      มากมี
บมิหนักแผ่นธรณี     หน่อยไซร้
หนักนักแต่กระลี      ลวงโลก
อันจักทรงธารได้     แต่พื้นนรกานต์ฯ  


                  ภูเขาเลากาน้อยใหญ่มีมากมายนับไม่ถ้วนในแผ่นดิน แต่หาทำให้หนักแผ่นดินแต่อย่างใดไม่
                  สิ่งที่ทำให้โลกหนักอยู่นี้คือ บรรดาพวกคนพาล คนชั่ว คนลวงโลก อันควรมีที่อาศัยที่อยู่ได้คือ นรกอเวจี  


(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQhWoToQtOUbQvMMph4xq7J4wcHTSWT1dumHAuz8dFwNSOt_IrV)
ป่าพึ่งพาลพยัคฆ์ร้าย    ราวี
เสือพึ่งไพรพงพี             เถื่อนถ้ำ
ความชั่วพึ่งความดี          เท็จพึ่ง จริงนา
เรือพึ่งแรงน้ำน้ำ             หากรู้คุณเรือฯ

 
                 ป่าอยู่ได้เพราะมีเสืออาศัย คนไม่กล้าเข้าไปตัดไม้....เสือยังชีพอยู่ได้เถื่อนถ้ำในป่าเป็นที่อาศัยและกินสัตว์ที่อยู่ในป่าเป็นอาหาร
                 "ความชั่วพึ่งความดี ความเท็จพึ่งความจริง" ... เมื่อปรากฎความดีจะทำให้เรารู้จักความชั่ว...ความจริงปรากฏเมื่อใดจะทำให้รู้ว่าที่แล้วมาคือความเท็จ
                 "เรือพึ่งน้ำน้ำพึ่งเรือ" เรือจะลอยตัวและแล่นได้ต้องมีน้ำ  น้ำจะไม่เน่าเหม็น น้ำต้องมีแรงกระเพื่อม (อาศัยเรือวิ่งไปมาให้เกิดออกซิเจนในน้ำ)  


 (http://www.sookjaipic.com/images_upload/52566558867692_1.jpg)  
พ่อตายคือฉัตรกั้ง    หายหัก
แม่ดับดุจรถจักร         จากด้วย
ลูกตายบ่วายรัก         แรงร่ำ
เมียมิ่งตายวายม้วย     มืดคลุ้มแตนไตร ฯ

                     พ่อตายเปรียบเหมือนยอดฉัตรหักลงมา  แม่ตายเปรียบเหมือนล้อราชรถหลุดหาย
                     ลูกตายก็ไม่วายความอาลัยเศร้าโศรก  ยิ่งเมียมาตายจากไปอีกคน ดูประหนึ่งว่าช่างมืดมิดไปเสียทั้งสามโลก
                     (แดนไตร หมายถึง โลกทั้ง ๓ ได้แก่ กามภพ คือภพของเทวดาลงมา, รูปภพ คือ ภพของพรหมที่มีรูป, อรูปภพ คือภพของพรหมที่ไม่มีรูป; หรือ สวรรค์ มนุษยโลกและบาดาล.


(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcS4nFFz4iE5JE07wpAY3-AW6LlCgq9Uq7ba_WYVQsA3pl9SS_Mz1g)
• วิชาเป็นเพื่อนเลี้ยง       ชีวิต
ยามอยู่เรือนเมียสนิท       เพื่อนร้อน
ร่างกายสหายติด            ตามทุกข์ ยากนา
ธรรมหากเป็นมิตรข้อน     เมื่อม้วยอาสัญ ฯ


                  วิชาความรู้ เป็นเพื่อนช่วยทำมาหากินเลี้ยงชีวิต  ภรรยาคู่ทุกข์คู่ยาก เป็นเพื่อนสนิทในยามเดือดร้อนวุ่นวายใจ
                  ร่างกาย เป็นเพื่อนตามติดเราไปทุกแห่งหนแม้ในยามสุขยามทุกข์ยากลำบาก  แต่ ธรรมะ-บุญ บาป ที่สั่งสมไว้ จะเป็นเพื่อนตามติดเราไปจนถึงภพหน้า.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/66365911066532_1.png)
เมื่อน้อยเรียนเร่งรู้     วิชา
ครั้นใหญ่หาสินมา        สู่เหย้า
เมื่อกลางแก่ศรัทธา      ทำแต่ บุญนา
ครั้นแก่แรงวอกเว้า       ห่อนได้เป็นการ ฯ


ปางน้อยสำเหนียกรู้   เรียนคุณ
ครั้นใหญ่ย่อมหาทุน      ทรัพย์ไว้
เมื่อกลางแก่แสวงบุญ    ธรรมชอบ
ยามหง่อมทำใดได้       แต่ล้วนอนิจจัง ฯ

          น้ำขึ้นให้รีบตัก....สุภาษิต

                  เมื่อยังเด็กให้หมั่นศึกษาเล่าเรียนหาแสวงหาความรู้ใส่ตน  เมื่อเติบใหญ่ให้รีบขวนขวายทำมาหากิน เก็บหอมรอบริบให้มีฐานะมั่นคง
                  เมื่อเข้าสู่วัยกลางคนให้หมั่นสร้างสมบุญกุศล เพราะเมื่อถึงคราวแก่ชราคิดจะทำอะไรก็ทำไม่ได้เสียแล้ว เพราะไม่มีเรี่ยวแรง รอแต่วันตายแตกดับตามกฎอนิจจัง    


(http://1.bp.blogspot.com/_yf-LPTWxoHQ/TDtY3K_znrI/AAAAAAAAAw4/T1Yc1CXqz3E/s320/o02_23498001.jpg)
ตมแก่แต่น้ำแล่น     เป็นกระสาย
น้ำก็ล้างเลนหาย        ซากไซร้
บาปเกิดใช่แต่กาย      เพราะจิต ก่อนนา
อันจักล้างบาปได้       เพราะน้ำใจเอง ฯ


                  โคลนเลน เกิดจากกระแสน้ำพัดพามารวมสะสมไว้  และน้ำนี่เองที่จะช่วยชะล้างโคลนเลนให้หมดสิ้นไปได้
                  บาปของพวกเราทั้งหลายก็เช่นกัน เกิดขึ้นจากจิตที่เป็นอกุศล ดังนั้น หากจะชำระล้างบาป ก็ต้องชำระจิตของตนให้บริสุทธิ์ผ่องใสนั่นเอง
                  จิตฺเตน  นียติ  โลโก ...กุศลจิต  ย่อมนำสัตว์โลกไปสู่สุคติภูมิ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/26111219699184_1.jpg)
ภาพจาก : เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ข่าวสด
อย่าโทษไทท้าวท่วย  เทวา
อย่าโทษสถานภูผา       ย่านกว้าง
อย่าโทษหมู่วงศา         มิตรญาติ
โทษแต่กรรมเองสร้าง     ส่งให้เป็นเองฯ


                  เมื่อมีทุกข์มีโศก มีโรคมีภัย จงอย่าได้โทษเทวดา ฟ้า ดิน ญาติสนิทมิตรสหาย หรือวงศาคณาญาติ
                  ให้รู้ว่าทุกข์นั้นเกิดจากกรรม คือการกระทำของตัวนั่นเอง ...ทำดีย่อมได้รับผลดี ทำกรรมชั่วย่อมได้รับความทุกข์เดือดร้อน  


(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/6/6a/African_Forest_Elephant.jpg/225px-African_Forest_Elephant.jpg)
ภาพจาก : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
• ช้างสารหกศอกไซร้    เสียงา
งูเห่ากลายเป็นปลา         อย่าต้อง
ข้าเก่าเกิดแต่ตา            ตนปู่ ก็ดี
เมียรักอยู่ร่วมห้อง          อย่าไว้ วางใจ ฯ


     ท่านว่า สิ่ง ๔ อย่าง อย่าได้ไว้วางใจ คือ
     ๑. ช้างสารสูง หกศอก ถึงแม้งาจะหักไปข้างสองข้าง  
     ๒. งูเห่า (ชาวนากับงูเห่า...เลี้ยงไม่เชื่อง)
     ๓. ข้าเก่าที่อยู่มาตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย และ
     ๔. เมียรักร่วมเรียงเคียงหมอน

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/26467514534791_a1.jpg)
ตีนงูงูไซร้หาก           เห็นกัน
นมไก่ไก่สำคัญ             ไก่รู้
หมู่โจรต่อโจรหัน           เห็นเล่ห์ กันนา
เชิงปราชญ์ฉลาดกล่าวผู้   ปราชญ์รู้เชิงกัน ฯ

 
                  "ไก่เห็นตีนงู  งูเห็นนมไก่"  ทั้งสองฝ่ายต่างรู้ตื้นลึกหนาบาง หรือเล่ห์เหลี่ยมของกันและกันเป็นอย่างดี โดยที่คนอื่นไม่รู้ไม่เห็นด้วย
                  ทำนองเดียวกัน ในหมู่โจรย่อมรู้เล่ห์เหลี่ยมชั้นเชิงของโจรด้วยกัน  นักปราชญ์ก็รอบรู้ทันกันในเชิงปราชญ์
                
(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcS_DLodf3x6hBCd-Lo310tYsvYYJTgJggJqO1mLRggtgWI8zygHRg)
• เมียท่านพิศพ่างเพี้ยง  มารดา
ทรัพย์ท่านคืออิฐผา       กระเบื้อง
รักสัตว์อื่นอาตมา          เที่ยมเท่า กันแฮ
ตรองดังนี้จักเปลื้อง       ปลดพ้นสงสาร ฯ


                  อย่าคิดยุ่งเกี่ยวเชิงชู้สาวกับภรรยาของผู้อื่น ให้มองหญิงนั้นดังเช่นมองดูมารดาของตนเอง
                  ทรัพย์สินของคนอื่นก็ดี ให้มองดังเช่นอิฐ เช่นกระเบื้อง หาราคาไม่ได้  และให้มีความรักความเมตตา สงสารสัตว์ทั้งหลาย
                  เท่ากับเรารักชีวิตตนเอง  หากใครทำได้ดั่งนี้จักหลุดพ้นจากวัฏสงสาร  
                  น ปรํ นาปิ อตฺตานํ  วิหึสติ สมาหิโต
                  จงเป็นผู้มีจิตตั้งมั่น ไม่เป็นผู้เบียดเบียนคนอื่น และแม้ที่สุดคือตนเอง                  
 

(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRhhP93CXb1Jm3O63fGo9hvxPT3QjxB9kg8pT57HUnq7NtwY7RB)
ภาพตัดต่อจาก : http://adventure.tourismthailand.org/thai (http://adventure.tourismthailand.org/thai) & https://www (https://www) story.kidszaa.com
• รู้น้อยว่ามากรู้      เริงใจ
กลกบเกิดอยู่ใน      สระจ้อย
ไป่เห็นชเลไกล       กลางสมุทร
ชมว่าน้ำบ่น้อย        มากล้ำลึกเหลือ ฯ

      เขาเรียกว่า...กบในกะลาครอบ

                  คนมีความรู้งูๆ ปลาๆ แต่สำคัญตนผิดคิดไปว่าตนเองเป็นผู้ฉลาดเฉลียว มีความรู้ สติปัญญามาก
                  อุปมากับ กบที่อาศัยอยู่ในสระหรือบ่อน้ำเล็กๆ ไม่เคยได้ไปเห็นทะเลหรือมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ไพศาล
                  จึงหลงผิดคิดไปว่าสระน้ำที่ตนอาศัยช่างกว้างขวางใหญ่โตเสียจริงๆ  

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/86085235906971_1.jpg)
ภาพวาด อาจารย์เหม  เวชกร
• ฝูงหงส์หลงเข้าสู่        ฝูงกา
สีหราชเคียงโคนา          คลาดเคล้า
ม้าต้นระคนลา              เลวชาติ
นักปราชญ์พาลพาเต้า     สี่นี้ไฉนงาม ฯ

                  * กบสีทองสดใส เกาะอยู่บนก้านบัวสีเขียวหม่น...ปริศนาธรรม                      
                  ฝูงหงส์หลงเข้าไปอยู่กับฝูงกา  พญาราชสีห์เดินเคียงคู่กับโคไถนา  ม้าต้นของกษัตริย์เข้าไปปะปนกับฝูงลา  
                  คนดีมีศีลมีธรรม หลงเข้าไปปะปนคบค้าสมาคมกับหมู่คนชั่ว  สี่สิ่งนี้ ท่านว่าหาความสง่างามมิได้เลย


(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSes7M1GF__16WSY11xCYhxSMD5AcmvOj8klKFP9qQ-tASoUjnnxw)
     * บัวพ้นน้ำ.....ปริศนาธรรม
ทองเหลืองเปลื้องร้ายห่อน    เห็นมี
ขัดเท่าขัดราคี                      เล่าไซร้
นพคุณหมดใสสี                   เสร็จโทษ
ถึงบ่แต่งตั้งไว้                      แจ่มแจ้งไพบูลย์ ฯ
 

                  ทองเหลืองแม้จะนำมาขัดถูอย่างไร ก็ไม่มีวันแวววาวระยิบระยับสดใสเท่าทองคำแท้
                  ทองคำแท้เมื่อได้ทำความสะอาดขัดสิ่งสกปรกออกแล้ว แม้มิได้นำมาประดับกาย ก็ยังคงความงดงามบริสุทธิ์ล้ำค่าไม่เสื่อมคลาย  

(http://kanchanapisek.or.th/kp6/pictures23/l23-48.jpg)
จิตรกรรมฝาผนัง วัดสุวรรณาราม เขตบางกองน้อย กรุงเทพมหานคร
ภาพจาก : http://kanchanapisek.or.t (http://kanchanapisek.or.t)
เนื้อปองน้ำหญ้าบ่    ปองทอง
ลิงบ่ปองรัตน์ปอง         ลูกไม้
หมูปองอสุจิของ          หอมห่อน ปองนา
คนเคลิบเคลิ้มบ้าใบ      ห่อนรู้ปองธรรม ฯ

  
                  สัตว์ป่าจำพวกเก้ง กวาง เนื้อทราย ต้องการแต่น้ำและหญ้า ไม่ปรารถนาอยากได้ทองคำ
                  ลิงก็ต้องการแต่ลูกไม้ ไม่ปรารถนาอยากได้แก้วแหวนอัญมณี   หมูก็ต้องการแต่ของบูดของเน่าเหม็น ไม่ต้องการของหอม
                  คนพาลสันดานบาป คนหลงมัวเมา ก็ชอบหนทางไปสู่ความทุกข์ความเดือดร้อน  ไม่ต้องการเป็นผู้ประพฤติธรรม


(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRzXYCjh8dxl5TAObnDbvGpeNKflCrqMSswO8s65ky41CcmH0W2)
สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ
ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม

•   พริกเผ็ดใครให้เผ็ด      ฉันใด
หนามย่อมแหลมเองใคร   เสี้ยมให้
จันทน์กฤษณาไฉน         ใครอบ หอมฤา
วงศ์แห่งนักปราชญ์ได้      เพราะด้วยฉลาดเอง ฯ


                  พริกย่อมมีรสเผ็ดโดยคุณสมบัติของพริก  หนามแหลมก็แหลมเองโดยธรรมชาติ ไม่มีใครไปเสี้ยมให้แหลม
                  ไม้จันทร์ ไม้กฤษณา ก็หอมเองโดยไม่มีใครนำไปอบให้มีกลิ่นหอม  วงศ์วานของนักปราชญ์ ปัญญาเกิดขึ้นได้เองโดยไม่ต้องมีใครไปสั่งสอน

(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcT6wtB55bOObqhpWKlk-wVnStHRozEkh9aGRN2Tle1LNzyOzW3C)
กษัตริย์อชาตศัตรู ได้มิตรชั่ว คือพระเทวทัตชักจูง จับพระเจ้าพิมพิสารผู้เป็นพระราชบิดาขังคุก
ให้อดพระกระยาหารจนสิ้นพระชนม์ พระราชาผู้เฒ่า “เสด็จเดินจงกรม” ไปมา
ยังชีพอยู่ได้ด้วย “พุทธานุสสติ” คือ มองลอดช่องหน้าต่าง ทอดพระเนตรดูพระพุทธองค์
เสด็จขึ้น-ลงเขาคิชฌกูฏ พร้อมภิกษุสงฆ์ทุกวัน เรียกว่าอยู่ได้ด้วยปีติโสมนัสโดยแท้

จันทน์แห้งห่อนกลิ่นได้    ดรธาน
อ้อยหีบชานยังหวาน         โอชอ้อย
ช้างเข้าศึกเสียมสาร          ยกย่าง  งามนา
บัณฑิตแม้นทุกข์ร้อย         เท่ารื้อลืมธรรม ฯ  

  
                    ไม้จันทน์แม้แห้งสนิทแล้ว ก็ยังคงกลิ่นหอมด้วยคุณสมบัติที่มีอยู่   อ้อยที่หีบน้ำหวานออกไปแล้วก็ตามรสหวานก็ยังติดอยู่ชานอ้อย
                    ช้างศึก เมื่อเข้าสู่สนามรบ กิริยาเยื้องย่างมีความสง่างาม  ดุจดังผู้มีปัญญาแม้ตกอยู่ในห้วงมหันตทุกข์ ก็สามารถใช้ธรรมะเข้ามาปลดเปลื้องทุกข์ได้ ฉะนั้น      
                     ...อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา
                    บัณฑิต ย่อมฝึกตน (ขุ.ธ.๒๕/๒๕)
                    แม้ตกอยู่ในห้วงแห่งมหันตทุกข์ ผู้ฝึกฝนตนดีแล้วย่อมรู้หน้าที่และไม่ละทิ้งธรรม...


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/78500144142243_1.jpg)
แมลงวันแสวงเสพด้วย   ลามก  
พาลชาติเสาะสิ่งรก           เรื่องร้าย  
ภุมราเห็จเหิรหก              หาบุษ บานา  
นักปราชญ์ฤาห่อนหม้าย     หมั่นสู้แสวงธรรมฯ    


                 แมลงวันชอบกินของสกปรกเน่าเหม็น         คนชั่วชอบสร้างแต่เรื่องเดือดร้อนรำคาญ
                 แมลงผึ้งมุ่งแต่แสวงหาเสพเกสรพรรณไม้     ส่วนบุคคลผู้เป็นนักปราชญ์ชอบมุ่งแสวงหาแต่โมกขธรรม.
                 ...บัวขาว ซึ่งเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ
                 บางเหล่ายังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ น้ำหล่อเลี้ยงไว้... (๑)
                 บางเหล่า ตั้งอยู่เสมอน้ำ... (๒)
                 บางเหล่า ตั้งขึ้นพ้นน้ำ น้ำไม่ติด... (๓)
                  ...ดูกรราชกุมาร เมื่อตถาคตตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ก็ฉันนั้น...       
                  พระพุทธองค์ทรงเปรียบบุคคลด้วยดอกบัว ๓ เหล่า 'มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์'      
 

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/39880736337767_1.jpg)
รูปชั่วมักแต่งแกล้ง     เกลาทรง
ใจขลาดมักอาจอง         อวดสู้
น้ำพร่องกละออมคง       กระฉอก ฉานนา
เฉาโฉดโอษฐ์อวดรู้       ว่ารู้ใครเทียม ฯ


                     คนใดรูปร่างหน้าตาขี้ริ้วขี้เหร่ มักแต่งตัวแต่งผมแต่งหน้าให้ดูดี   คนขี้ขลาดมักชอบอวดตัวว่ากล้าหาญ
                     หม้อน้ำพร่อง(น้ำไม่เต็ม) น้ำมักกระฉอก(กระเด็น)   ส่วน คนโง่เขลาเบาปัญญา มักอวดคุยโวว่าตนเองเป็นผู้ฉลาด กล้าหาญ รอบรู้    
                     น เว อนตฺถกุสเลน    อตฺถจริยา สุขาวหา
                     หาเปติ อตฺถํ ทุมฺเมโธ   กปิ อารามิโก ยถา.
                     การทำสิ่งใดอย่างไม่ฉลาดในประโยชน์ ก็นำความสุขมาให้ไม่ได้
                     ผู้มีปัญญาทรามย่อมพร่าประโยชน์ ดุจลิงเฝ้าสวนฉะนั้น.
                              (โพธิสตฺต) ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๑๕.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/83172545664840_1.jpg)
ภาพวาดครูเหม เวชกร
เว้นวิจารณ์ว่างเว้น     สดับฟัง
เว้นที่ถามอันยัง           ไป่รู้
เว้นเล่าลิขิตสัง            เกตว่าง เว้นนา
เว้นดั่งกล่าวว่าผู้           ปราชญ์ได้ฤามี ฯ

                    
                    ไม่ควรพูดจนเกินพอดี ไม่ควรนิ่งเสมอไป
                    เมื่อถึงเวลาก็ควรพูดพอประมาณ ไม่ฟั่นเฝือ  
                     นา ติเวลํ ปภาเสยฺย นตุณหี สพฺพทา สิยา
                    อวิกิณฺ มิตํ วาจํ ปตฺเตกาเล อุทีริเย
                               ขุ.ชา.มหา.๒๘/๓๓๘


(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSx3hlDqEx-Yu-uUKhkqeCSbVTItBEGmXw0HWl4jHuhirawcUqq)
พระเทวทัต พระสงฆ์ที่ก่ออนันตริยกรรมคือพยายามลอบปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า
และก่อการสังฆเภท ทำให้คณะสงฆ์แตกแยกกัน

รู้ธรรมเทียมเท่าผู้      ทรงไตร
เจนจัดอรรถภายใน        ลึกล้น
กล่าวแก้สิ่งสงสัย          เลอะเลื่อน
รสพระธรรมอั้นอ้น         ว่ารู้ใครชม ฯ  


                 เป็นผู้รู้หลักธรรมพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง แต่เมื่อมีใครถามปัญหาธรรม
                 กลับไม่สามารถตอบให้เข้าหลักเหตุผลตามพระบรมพุทโธวาทได้ บุคคลเช่นนี้ ใครเล่าจักสรรเสริญ.
                 ยาวเทว อนตฺถาย ญตฺตํ พาลสฺส ชายติ
                 หนฺติ พาลสฺส สุกฺกํสํ มุทฺธํ อสฺส วิปาตยํ  
                 ความรู้เกิดแก่คนพาล ก็เพียงเพื่อความฉิบหาย, มันทำสมองของเขาให้เขว, ย่อมฆ่าส่วนที่ขาวของคนพาลเสีย
                               พุทธศาสนสุภาษิต


(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQuXl6VctNGHEvnYUAU5n5j5I8HhogSalAoefN9rVlWTg8Oy6ZS)
     อย่าเกลือกกลั้วด้วยหมู่คนพาล
คบคนผู้โฉดเคลิ้ม       อับผล
หญิงเคียดอย่าระคน       ร่วมห้อง
อย่าคบหมู่ทรชน           สอนยาก
บัณฑิตแม้ตกต้อง         โทษสู้สมาคม ฯ  

                  
                  คบกับคนโง่เขลาเบาปัญญา ย่อมไม่ได้รับประโยชน์....ผู้หญิงเจ้าโทสะ อย่านำมาเป็นภรรยา    
                  อย่าคบกับคนพาล เพราะเป็นผู้ไม่รู้ผิดชอบชั่วดี....แต่เหล่าบัณฑิตเป็นผู้มีปัญญา แม้ต้องโทษได้รับความลำบาก ก็ยังเป็นผู้ควรคบหาอยู่นั่นเอง.
                    นิหียติ ปุริโส นิหีนเสวี
                   ผู้คบคนเลว     ย่อมพลอยเลวไปด้วย
                               พุทธศาสนสุภาษิต


ขุนเขาสูงร้อยโยชน์    คณนา
ขุนปราบด้วยโยธา         ราบได้
จักล้างพยศสา             หัสยาก
ยศศักดิ์ให้เท่าให้          พยศนั้นฤๅหาย ฯ


                 ขุนเขานับความสูงได้เป็นร้อยๆ โยชน์ (๔๐๐ เส้นเป็นหนึ่งโยชน์)  ก็ไม่พ้นความสามารถของคนที่จะทลายให้ราบคาบลงมาได้
                 แต่คนพาลสันดานหยาบ จักแก้นิสัยให้รู้ผิดชอบชั่วดีทำได้ยากแสนยาก แม้จะให้ยศถาบรรดาศักดิ์ใหญ่โตสักเพียงไร ก็ไม่อาจแก้ไขสันดานชั่วได้.
                 ยสฺส รุกฺขสฺส ฉายาย   นิสีเทยฺย สเยยฺย วา
                 น ตสฺส สาขํ ภญฺเชยฺย   มิตฺตทุพฺโภ หิ ปาปโก.
                 บุคคลนั่งหรือนอนที่ร่มเงาของต้นไม้ใด ไม่พึงหักรานกิ่งของต้นไม้นั้น
                 เพราะผู้ประทุษร้ายมิตรเป็นคนเลวทราม
                               พุทธศาสนสุภาษิต
* การเสียกรุงครั้งที่ ๑
พระมหาธรรมราชาทรงเกลี้ยกล่อมพระยาจักรีให้เป็นไส้ศึก
เมื่อได้เวลาอันควร พระยาจักรีจึงให้สัญญาณแก่พม่าและเปิดประตูเมือง
ทำให้ทัพพม่าเข้ายึดพระนครสำเร็จ กรุงศรีอยุธยาจึงตกเป็นเมืองขึ้น
ของอาณาจักรพม่า เมื่อปีพุทธศักราช ๒๑๑๒



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/97630116550458_2.png)
ชูชกไปทวงทอง สองผัวเมียที่รับฝากไม่มีจะให้
จำใจต้องยกอมิตตดา ธิดาสาวให้เป็นภริยา
ภาพเขียนของ ครูเหม  เวชกร
อายุถึงร้อยขวบ        เจียรกาล  
ธัมโมชอันโอฬาร          บ่รู้
เด็กน้อยเกิดประมาณ     วันหนึ่ง
เห็นถ่องธรรมยิ่งผู้         แก่ร้อยพรรษา ฯ   


                  บุคคลเกิดมา มีอายุยืนถึง ๑๐๐ ปี แต่ไม่เคยแสวงหาธรรมเพื่อความหลุดพ้น
                   ...เด็กทารกที่เกิดมาเพียงวันเดียวแต่เป็นผู้เข้าถึงธรรม...ดังนี้แล้ว ท่านว่า เด็กทารกนั้นเป็นผู้ประเสริฐกว่าผู้มีอายุยืน ๑๐๐ ปี
                   โย จ วสฺสสตํ ชีเว ทุปฺปญฺโญ อสมาหิโต
                   เอกาหฺ ชีวิตํ เสยฺโย ปญฺญวนฺตสฺส ฌายิโน
                   ผู้ใดมีปัญญาทราม มีใจไม่มั่นคง พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี
                   ส่วนผู้มีปัญญาเพ่งพินิจ  มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียวประเสริฐกว่า
                               พุทธศาสนสุภาษิต

(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRmowSArJWffjtuVfeHTFskPL0fLAxZIdd0RqvG4D8AUfx2KsnJ)
รักทรัพย์อย่ายิ่งด้วย   วิชา
สว่างอื่นเท่าสุริยา         ห่อนได้
ไฟใดยิ่งราคา             เพลิงราค ฤๅพ่อ
รักอื่นหมื่นแสนไซร้       อย่าสู้รักธรรม ฯ  


                  ท่านว่า...ให้เป็นผู้ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรม อย่าประเมินค่าทรัพย์สมบัติภายนอกที่มีอยู่ ให้มากยิ่งกว่าทรัพย์ภายใน คือ "วิชา"
                  และให้คลายความกำหนัดยินดีในกามตัณหา เพราะความร้อนแห่งดวงอาทิตย์ ก็ไม่เท่ากับความร้อนแรงแห่งเพลิงราคะ ตัณหา
                   สงฺกปฺปราโค  ปุริสสฺส  กาโม
                   ความกำหนัดเพราะดำริ เป็นกามของคน
                               พุทธศาสนสุภาษิต


(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcR1j3CHpRxNWnMo9lW0PLSoALfF_mEHFJM3VjgJLsNjaSuRF44p)

มณฑกทำเทียบท้าว    ราชสีห์
แมวว่ากูพยัคฆี             แกว่นกล้า
นกจอกว่าฤทธี             กูยิ่ง ครุฑนา
คนประดาขุกมีข้า          ยิ่งนั้นแสนทวีฯ  


                  มณฑก(กบ) วางท่าดั่งตัวเป็นราชสีห์   ฝ่ายแมวทำทีว่าตัวเป็นเสือร้าย  
                  นกกระจอกก็ว่าข้ามีฤทธิ์เดชยิ่งกว่าพญาครุฑ....คนยากจนเผอิญร่ำรวยไม่มาก ก็คุยว่ามีทรัพย์สมบัติล้นเหลือ  
                  "ตักน้ำใส่กระโหลกชะโงกดูเงา"
                  หมายความว่า อย่าลืมตน จงเป็นผู้เจียมตน
                               สุภาษิต-คำพังเพย


(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcS95tpYL9dxQZWJzAXxXAVBF55DxU4SaaVgAY3723kQY_LHFs86)
ภาพเขียน : ครูเหม  เวชกร

แม้นบุญยังอย่าได้  ขวนขวาย
อย่าตื่นตีตนตาย        ก่อนไข้
ลูกพร้าวอยู่ถึงปลาย    สูงสุด ยอดนา
ใครพร่ำน้ำตักให้        หากรู้เต็มเอง ฯ  

                  
                   ท่านว่า อย่ากังวลทุกข์ร้อนในเรื่องที่ยังไม่เกิดขึ้น  
                   .เมื่อยังไม่ถึงเวลาบุญวาสนายังมาไม่ถึง ก็ไม่ต้องไปดิ้นรนไขว่คว้า  หรืออย่าตีตนไปก่อนไข้ ให้ทุกข์ใจไปเปล่าๆ  หากบุญพาวาสนาส่ง เราจักสมปรารถนาเอง
                   เปรียบดังเช่นลูกมะพร้าวอยู่ถึงปลายยอดสูงลิบลิ่ว ถึงเวลาอันควรน้ำในผลก็เต็มของมันเอง ไม่มีตักน้ำไปใส่ในผล
                   สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย
                   การสร้างสมความดี (บุญ) นำสุขมาให้
                        พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต)


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/17008148175146_3.png)
สนิมเหล็กเกิดแต่เนื้อ        ในตน
กินกัดเนื้อเหล็กจน             กร่อนขร้ำ
บาปเกิดแต่ตนคน              เป็นบาป
บาปย่อมทำโทษซ้ำ            ใส่ผู้บาปเอง ฯ


                  สนิมเหล็กเกิดจากเนื้อเหล็กที่ไม่มีคุณภาพ  ผลกรรมที่ทำให้ใจเศร้าหมอง มีทุกข์เดือดร้อน ก็มาจากผลแห่งกรรมชั่วของผู้ตัวนั้นนั่นเอง
                  ยาทิสํ วปเต พีชํ     ตาทิสํ ลภเต ผลํ
                  กลฺยาณการี กลฺยาณํ     ปาปการี จ ปาปกํ
                  บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น
                  ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้ผลชั่ว
                                พุทธศาสนสุภาษิต


(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRPM_gNDM9rgijLJjb1m19FHz12q5cV9X6PK7zdIDrIIxE_nqAtsg)   ภาพวาด ครูเหม เวชกร
เหมหงส์เลี้ยงชีพด้วย        สาคร
ช้างพึ่งพนาดร             ป่าไม้
ภุมราบุษบากร             ครองร่าง ตนนา
นักปราชญ์เลี้ยงตัวได้     เพื่อด้วยปัญญา ฯ


                  หงส์ยังชีวิตอยู่ได้ด้วยแหล่งน้ำ     ช้างมีป่าดงพงไพรเป็นที่เลี้ยงชีพ
                  แมลงผึ้ง แมลงภู่อยู่ได้ด้วยบุษบากร (ดอกไม้)   บัณฑิตเอาตัวรอดได้เพราะมีปัญญา


(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSe9Fp8kmkS2K_pMuNuIqLNY_l8-9VoMDKdD42B4bwt7Z1suPhjJA)  
ภาพวาด ครูเหม เวชกร
หญิงชั่วชู้ชายรัก       ฤๅคลาด
เห็นบุรุษนักปราชญ์      เกลียดใกล้
แมลงวันย่อมเอาชาติ    อสุภ เน่านา
บ่เสาะกลิ่นดอกไม้       ดุจผึ้งภุมรา ฯ


                  ท่านว่า ผู้หญิงไม่ดี ย่อมชอบเอาผู้ชายไม่ดีมาเป็นคู่ครอง  ไม่อยากเข้าใกล้หรือเหลียวแลบุรุษนักปราชญ์ผู้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด
                  เปรียบดังแมลงวันชอบคลุกคลีกับของเน่าของเหม็น  ตรงข้ามกับหมู่แมลงผึ้งที่ชอบลิ้มรสเกสรอันหอมหวานของหมู่มวลดอกไม้ ฉะนั้นแล......คนประเภทเดียวกันถึงจะอยู่ร่วมกันได้!


(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRPYiiOYgN2UBFRTgudLWBYbjRfp0WP2m4jmCT06y-3FUPyoJCJ)  
ภาพวาด ครูเหม เวชกร
มิตรพาลอย่าคบให้    สนิทนัก
พาลใช่มิตรอย่ามัก        กล่าวใกล้
ครั้นคราวเคียดคุมชัก      เอาโทษ ใส่นา
รู้เหตุสิ่งใดไซร้             ส่อสิ้นกลางสนาม ฯ  


                  ท่านว่า ให้ระวังการคบคน  คนพาลไม่ใช่มิตรแท้ อย่าไปใกล้ชิดสนิทสนม
                  และเล่าความลับให้ฟัง  ถึงคราวเราเคราะห์ร้าย เขาขุ่นเคืองเรา ก็จะนำเราไปนินทาว่าร้าย
                  ความลับทั้งหลายที่เขาล่วงรู้จะถูกแฉจนหมดสิ้น ..


(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSOicQlaBOwIYePvejgZB2K2bBEvd409dN76YHd0DDEVyhtUUr3Kg)
หมาใดตัวร้ายขบ      บาทา
อย่าขบตอบต่อหมา      อย่าขึ้ง
ทรชนชาติช่วงทา -      รุณโทษ
อย่าโกรธอย่าหน้าบึ้ง     ตอบถ้อยถือความ ฯ


                  ท่านว่า หมากัดอย่ากัดตอบ -  อย่าลดตัวลงไปต่อสู้หรือต่อปากต่อคำกับคนพาลหรือคนที่มีศักดิ์ต่ำกว่า.
                  ผู้ใดถูกสุนัขที่มีนิสัยดุร้าย ฝึกฝนยาก ขบกัด จงให้อภัยหมานั้นอย่าไปเคียดแค้นทำร้ายทุบตี
                  เฉกเช่นเดียวกัน ควรให้อภัย อย่าได้โกรธขึ้ง ถือสาหาความกับอสัตบุรุษผู้ไม่มีศีล ที่รังแกเรา..




หัวข้อ: Re: โคลงโลกนิติ : คาถาสุภาษิตจากคัมภีร์โบราณ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 06 ธันวาคม 2556 16:25:25

(http://images.palungjit.org/attachments/1344-ภาพพุทธประวัติ-โดย-ลูก-ส-ธรรมภักดี-25-jpg)  
ลูกสะเดาน้ำผึ้งซาบ   โซมปน
แล้วปลูกปองรสคนธ์     แอบอ้อย
ตราบเท่าออกดอกผล    พวงดก
ขมแห่งสะเดาน้อย        หนึ่งรู้โรยรา ฯ


                 นำลูกสะเดาไปแช่น้ำผึ้งจนรสหวานซึมซาบทั่วผล  
                 นำผลนั้นไปปลูกไว้ในไร่อ้อย ด้วยหวังจะได้รสหวานจากอ้อยอีกทางหนึ่ง
                 กาลเวลาผันผ่าน สะเดาน้อยเติบใหญ่ ออกดอกให้ผล
                 รสขมของลูกสะเดาต้นนี้ ก็หาได้จืดจางไปแต่อย่างใดไม่  
                 เปรียบเช่น คนพาลปฏิบัติธรรม ย่อมไม่รู้อรรถรู้ธรรม นั่นแล.


(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcS5hLfMCjN3ysCRFR3X54iC8VXP2fe738TrDiI0i9a8cLN4y8Jy6Q)  
ภาพเขียนโดย ครูเหม เวชกร
กายเกิดพยาธิโรคร้าย   ยาหาย
แต่พยศยาไป่วาย           ตราบม้วย
ชาติเสือห่อนหายลาย      ลบผ่อง
กล้วยก็กล้วยคงกล้วย      กลับกล้ายฤามี ฯ


               อุปมาอุปไมย - "สันดรขุดง่าย สันดานขุดยาก"
               กายมีโรคภัยเบียดเบียน รักษาให้หายได้โดยใช้ยารักษาโรค
               แต่พยศ ของผู้มีทิฐิดื้อรั้นถือตัว ให้การอบรมหวังว่าเขาจะเปลี่ยนอุปนิสัย ตราบจนตาย หวังได้ยาก
               เสือ ย่อมมีสัญชาตญาณของความองอาจ ดุร้าย แม้ที่สุดจนตัวตายก็ยังคงน่าเกรงขาม
               กล้วย นำพันธุ์ไปปลูกที่ไหนๆ ก็ยังสืบสายพันธุ์เป็นกล้วย  ไม่กลับกลายเป็นกล้ายไปได้แน่นอน.[/color]
               (กล้าย ลักษณะจะคล้ายกับพืชในสกุลกล้วยทั่วไป แต่ผลกล้ายจะแข็งและมีน้ำตาลน้อยกว่ากล้วย)  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/12284159411986_d1.gif) ภาพวาดโดย ครูเหม เวชกร
•  มีอายุอยู่ร้อย            ปีปลาย
ความเกิดและความตาย   ไป่รู้
วันเดียวเด็กหญิงชาย      เห็นเกิด ตายนา
ลูกอ่อนนั่นยิ่งผู้             แก่ร้อยปีปลายฯ


               - บุคคลเกิดมามีอายุอยู่เกือบร้อยปี เป็นผู้ไม่สนใจหลักธรรมสำคัญของพุทธศาสนา เพื่อดำเนินไปสู่หนทางแห่งความดับทุกข์
                  มัวแต่หลงระเริงในกามสุข ยึดติดในใจด้วยอำนาจกิเลส
               - เด็กทารกที่เกิดมาแม้มีอายุวันเดียว แต่เป็นผู้เข้าถึงกระแสธรรม
                  พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญเด็กนั้นว่า ประเสริฐกว่าคนมีอายุยืนร้อยปี.          


(http://www.chinesetimeschool.com/ckfinder/userfiles/images/Beauties%20from%20ancient%20paintings%20come%20alive5.gif)
ธิรางค์รู้ธรรมแม้่     มากหลาย
บ่กล่าวให้หญิงชาย     ทั่วรู้
ดุจหญิงสกลกาย       งามเลิศ
อยู่ร่วมเรือนผัวผู้        โหดแท้ขันที ฯ


               * บุคคลผู้รู้แจ้งในพระธรรมอันประเสริฐ แต่มิได้นำความจริงหรือสัจธรรมมาเผยแผ่ให้ผู้อื่นได้ปฏิบัติตามคำสั่งสอน
                  ความรู้ที่มีอยู่นั้นก็ไม่เป็นประโยชน์แก่ชาวโลก...เปรียบเช่น หญิงที่มีรูปโฉมงดงามทั่วสรรพางค์กาย
                  ได้อยู่เป็นคู่ครองกับขันทีผู้ปราศจากความรู้สึกทางเพศ...การอยู่ร่วมกัน ย่อมไร้ความสุข.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/48920702147814__3592_.gif)   ภาพวาด ครูเหม เวชกร
จระเข้คับน่านน้ำ    ไฉนหา ภักษ์เฮย
รถใหญ่กว่ารัถยา      ยากแท้
เสือใหญ่กว่าวนา      ไฉนอยู่ ได้แฮ
เรือเขื่องคับชเลแล้    แล่นโล้ไปไฉน


               * อุปมา จระเข้คับคลอง การทะนงตน อวดตัวใหญ่โตเกินอัตภาพฐานะ
                  ย่อมมีลักษณะยกตนข่มผู้อื่นเนืองๆ มองไม่เห็นใครดีหรือสำคัญกว่าตนเอง
                  บุคคลเช่นนี้ ย่อมพบอุปสรรคหรือได้รับความลำบากยากเข็ญในการดำรงชีวิตในสังคม.
                 

(http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2007/07/K5590848/K5590848-48.jpg)   ภาพวาด ครูเหม เวชกร

พระสมุทรไหวหวาดห้วย    คลองสรวล
เมรุพลวกปลวกสำรวล         ร่าเร้า
สีหราชร่ำคร่ำครวญ            สุนัขเยาะ หยันนา
สุริยส่องยามเย็นเข้า           หิ่งห้อยยินดีฯ


               * ไม้ล้มข้ามได้ คนล้มอย่าข้าม
                  เคยมีอำนาจ วาสนา มาก่อน ถึงคราวตกต่ำลง ถูกหัวเราะเยาะหยัน ดูหมิ่นเหยียบย่ำจากผู้ที่ต่ำต้อยกว่า 
                  โดยไม่ได้คำนึงว่า เขายังมี "บารมี" อยู่อีกมากล้น
                  เหมือนช้างตกหล่ม ที่อาจถอนตนขึ้นจากหล่มได้ฉะนั้น.

                 
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/66425850118199__3649_3617_3623_.gif)   ภาพวาด ครูเหม เวชกร

แมวล่าหนูแซ่ซี้     จรจรัล
หมาล่าวิฬาร์ผัน        สู่หล้าง
ครูล่าศิษย์ละธรรม์     คบเพื่อน พาลนา
เสือล่าป่าแรมร้าง      หมดไม้ไพรณฑ์


               *  อุปมา - แมวไม่อยู่หนูร่าเริง
                   การถูกควบคุมบังคับโดยผู้มีอำนาจมากกว่า ย่อมทำให้ผู้คนรู้สึกลบหรือต่อต้านขึ้นมาในใจทันที เพราะไม่ชอบการถูกบังคับ 
                   เมื่อมีโอกาสหรือลับหลังเมื่อใด ย่อมไม่สามารถจะควบคุมตัวเองไว้ได้ จึงมีแต่เรื่องของการตามใจตัวเองให้ปล่อยไปตามอารมณ์
                   ตามอำนาจของสิ่งแวดล้อม อันเป็นเหตุนำมาซึ่งความวุ่นวายและเสื่อมเสีย


                   อธิบายศัพท์
                   ล่า         ถอย ไม่อยู่ จากไป ทิ้งไป
                   แซ่ซี้       ส่งเสียงดัง
                   จรจรัล     เที่ยวไป เดินกันขวักไขว่
                   สู่หล้าง    ลงไปข้างล่าง ลงไปใต้ถุนบ้าน               


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/25178415204087_1291559595_1_.jpg)   ภาพวาด ครูเหม เวชกร

จามรีขนข้องอยู่     หยุดปลด
ชีพบ่รักรักยศ           ยิ่งไซร้
สัตว์โลกซึ่งสมมติ      มีชาติ
ดูเยี่ยงสัตว์นั้นได้       ยศซ้องสรรเสริญฯ



                   จามรีเป็นสัตว์ที่มีขนหางละเอียดอ่อน ยาวเป็นพู่ มีธรรมชาตินิสัยรักหวงแหนขนที่หางของมันยิ่งชีวิต
                   หากขนหางไปติดกับอะไรก็จะค่อยขยับให้ขนหางหลุดจากสิ่งนั้น
                   พิจารณาโดยอรรถ...เป็นการสอนมนุษย์ซึ่งเป็นสัตว์ประเสริฐ ให้เป็นผู้ "มีสติ" รู้รักตน รู้จักใช้ปัญญาเป็นแสงสว่าง
                   มีเหตุผล รู้ผิด รู้ดี รู้ชั่ว คำนึงถึงชื่อเสียงเกียรติยศของตนและวงศ์ตระกูล

                   ความดีเป็น “อิสริยยศ” ของคนดี  และคนดีย่อมพอใจประดับความดีเป็นอาภรณ์ของตน
                   จึงควรมีสติ มุ่งเอาชนะจิตใจที่ใฝ่ชั่วของตน และเอาชนะเหตุการณ์แวดล้อมที่จะมาเป็นอุปสรรคแห่งความดี
                   

 
 .
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/70904680258697_11.gif)   ภาพวาด ครูเหม เวชกร

นพคุณใส่เบ้าสูบ    แสนที
ค้อนเหล็กรุมรันตี      ห่อนม้วย
บ่เจ็บเท่าธุลี           สักหยาด
เจ็บแต่ท่านชั่งด้วย    กล่ำน้อยหัวดำฯ



         อธิบายความ
         เอาค้อนเหล็กทุบทีทองคำในเบ้าหลอมนับแสนๆ ที ไม่ทำให้ทองนพคุณมีความรู้สึกเจ็บแม้เท่าเศษธุลี
         แต่เจ็บปวดนักถ้านำเมล็ดมะกล่ำหัวดำที่ไร้ค่า มาชั่งน้ำหนักตีราคาเทียบกับทองคำ

         ผู้มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่หรือผู้เกิดในตระกูลสูงส่ง แม้จะถูกลงโทษอย่างโหดร้ายทารุณเจ็บปวดเจียนตาย
         ก็ไม่รู้สึกโกรธแค้นเสียใจเท่ากับการถูกตีค่าของตนให้เสมอกับไพร่กระฏุมพี หรือคนชั้นต่ำ
         อุปมา “นักเลงถูกลูบคม”  เป็นเรื่องของความรู้สึกว่าเกียรติหรือศักดิ์ศรีของตนด้อยลงไป

         .....อนฺธตมํ ตทา โหติ ยํ โกโธ สหเต นรํ...
         ความโกรธครอบงำนรชนเมื่อใด ความมืดมนย่อมมีเมื่อนั้น.
                   

                 

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/72958987909886_SAM_1959.JPG)   
ชูชกพราหมณ์เข้าเฝ้าพระเวสสันดรทูลขอพระปิโยรส ‘กัณหา-ชาลี’ ก็ทรงประทานให้
ทรงกันแสง เมื่อชูชกใช้อำนาจเฆี่ยนตีสองพระกุมารให้เดินทางไปกับตน
(จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถ วัดพระแก้วดอนเต้า จ.ลำปาง)

เสียสินสงวนศักดิ์ไว้   วงศ์หงส์
เสียศักดิ์สู้ประสงค์        สิ่งรู้
เสียรู้เร่งดำรง              ความสัตย์ ไว้นา
เสียสัตย์อย่าเสียสู้         ชีพม้วยมรณา ฯ 


         อธิบายความ
         -เสียสินทรัพย์ เพื่อสงวนเกียรติอันสูงศักดิ์ของวงศ์ตระกูลมิให้มัวหมอง
         -ลดศักดิ์ศรีเพื่อแลกวิชาความรู้ ให้ได้ปัญญาจากผู้รู้ที่ต่ำต้อยกว่า
         -รักษาคำมั่นสัญญาที่ให้ต่อกันไว้  แม้จะเสียรู้ด้วยกลลวง
         -รักษาสัจจะวาจา ด้วยความหนักแน่นยิ่งกว่าชีวิตของตน …ยอมสละชีวิตแต่อย่ายอมเสียสัตย์ฯ
          (๔ ประการนี้ เป็นสิ่งพึงกระทำ)

        อุปมา ‘ธรรมบท’ บทหนึ่งที่สอนว่า                   
         ธนํ จเช องฺควรสฺส เหตุ 
         องฺคํ จเช ชีวิตํ รกฺขมาโน
         องฺคํ ธนํ ชีวิตญจฺาปิ สพฺพํ จเช นโร ธมฺมมนุสฺสรนฺโต
         พึงสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ
         พึงสละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต 
         พึงสละทรัพย์และชีวิตเพื่อรักษาธรรม


                 

(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSx3hlDqEx-Yu-uUKhkqeCSbVTItBEGmXw0HWl4jHuhirawcUqq)   


ตัดจันทน์ฟันม่วงไม้     จัมบก
แปลงปลูกหนามรามรก     รอบเรื้อ
ฆ่าหงส์มยุรนก              กระเหว่า เสียนา
เลี้ยงหมู่กากินเนื้อ          ว่ารู้ลีลา ฯ 


         อธิบายความ
         - ตัดต้นจันทน์ มะม่วง และจัมบก (ต้นจำปา)...พรรณไม้มีค่าทิ้ง
         ใช้พื้นที่ปลูกวัชพืช ที่ไร้ประโยชน์และรกเรื้อแทน
         - ฆ่าพญาหงส์  นกยูง สัตว์ตระกูลสูง สัญลักษณ์ของความมีเสน่ห์และงามสง่า
         และฆ่านกกาเหว่า เพื่อเอาเนื้อไปเลี้ยงหมู่กา สัตว์กินเนื้อ
         - โดยหวังว่า กาจะมีลีลารำแพนหางกรีดกรายไปมาได้สวยงามเยี่ยงนกยูง
         และส่งเสียงร้องอันไพเราะได้เช่นเดียวกับนกกาเหว่า
       

        ‘ธรรมบท’ สอนว่า                   
        ปาปมิตฺเต วิวชฺเชตฺวา        ภเชยฺยุตฺตมปุคฺคเล
        โอวาเท จสฺส ติฏฺเฐยฺย       ปตฺเถนฺโต อจลํ สุขํ.

        ผู้ปรารถนาความสุขที่มั่นคง พึงละเว้นมิตรชั่วเสีย
        คบแต่บุคคลสูงสุด และพึงตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน.

                                              ขุ. เถร. ๒๖/๓๐๙.

.

(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcS2G2VzE8kL7IzFh9gyVcOUPQL03wLd8AxVk8A1h52wRbcWi2d6)   


เอาสารเทียมอูฐโอ้    เป็นมูล
เก็บปัดเทียมแก้วปูน     ค่าไว้
เมืองใดพิกัดพูน          มีดั่ง นี้นา
นับแต่ไกลอย่าได้       ไต่เต้าเมืองเข็ญฯ 


         อธิบายความ
         - เอาช้างซึ่งเป็นสัตว์สูงส่ง เป็นสัญลักษณ์สำคัญประดับพระบารมีแห่งพระมหากษัตริย์ มาตีค่าเสมอกับ ‘อูฐ’ สัตว์ที่ต่ำต้อยกว่า
         - เอาลูกปัดด้อยค่า มากำหนดราคาเสมอแก้วอัญมณี
         - บ้านใดเมืองใดมีผู้นำความคิดวิปริต ไม่ปรกติ เช่นนี้ ควรหลีกหนีให้ห่างไกล
         - เป็นบ้านป่าเมืองเถื่อน อย่าได้กรายใกล้เข้าไปอยู่อาศัย จะได้ไม่ต้องเป็นทุกข์เดือดร้อนในภายหน้า
                     

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/88389701810148_IMG_1736.JPG)

น้ำเคี้ยวยูงว่าเงี้ยว        ยูงตาม
ทรายเหลือบหางยูงงาม    ว่าหญ้า
ตาทรายยิ่งนิลวาม           พรายเพริศ
ลิงว่าหว้าหวังหว้า           หว่าดิ้นโดยตาม ฯ 



         อธิบายความ
         - สายน้ำไหลคดเคี้ยว นกยูงเข้าใจว่าเป็นงู จึงบินตามเพื่อจะจิกงูกินเป็นอาหาร
         - เนื้อทรายแลเห็นขนคลุมโคนหางนกยูง มีสีเขียวยื่นยาวออกมา คิดว่าเป็นหญ้าก็เดินตามไป หมายจะได้กินหญ้า
         - ตาทรายเรียวรี แวววาม สีดำขลับ สวยงามดังอัญมณี 'นิล'   ลิงคิดว่าเป็นลูกหว้า หวังจะได้กินลูกหว้า
         ผลสุดท้าย ทั้งนกยูง เนื้อทราย และลิง ต่างต้องพบกับความผิดหวัง ไม่ได้ลิ้มรสสิ่งที่คิดว่าเป็นอาหารอันโอชะ
         เพราะขาดการพินิจพิเคราะห์ และพิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบ.
     
 
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/92214760680993_EyWwB5WU57MYnKOvkAfiIxzc6Yybx3.jpg)

ไร้สิ่งสินอับแล้ว    ปัญญา
อีกญาติวงศ์พงศา     บ่ใกล้
คนรักย่อมโรยรา      รสรัก กันแฮ
พบแทบทางทำใบ้     เบี่ยงหน้าเมินหนี ฯ 



         อธิบายความ
        ถึงคราวตกทุกข์ ยากแค้นถึงแสนเข็ญ   เมื่อเข้ามุมอับแล้ว ย่อมสิ้นปัญญา
        ญาติมิตรที่เคยใกล้ชิดสนิทสนม ต่างก็พากันผละหนีถอยห่าง
        คนเคยรักกัน ก็ตีตัวออกห่างเพราะเกรงจะทนความลำบากไม่ไหว
        แม้แต่เดินสวนทางกับคนเคยรู้จักกัน เขาก็เมินหน้าหนีทำเป็นไม่รู้จักกันมาก่อน              
 


หัวข้อ: Re: โคลงโลกนิติ : คาถาสุภาษิตจากคัมภีร์โบราณ กับคำอธิบายความ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 29 มิถุนายน 2559 15:39:46
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/86085235906971_1.jpg)
พราหมณ์เฒ่าชูชก พานางอมิตตดาไปอยู่กินด้วยกันที่หมู่บ้านทุนวิฐ
ภาพวาดฝีมือ ครูเหม เวชกร

สังขารหวัวผู้ว่า         ตนทระนง
ทรัพย์ย่อมหวัวคนจง      ว่าเจ้า
หญิงหวัวแก่ชายหลง      ชมลูก
มัจจุราชหวัวผู้เถ้า         บ่รู้วันตายฯ  



         อธิบายความ
         สังขาร (ร่างกาย จิตใจ) หัวเราะเยาะเย้ยคนที่หลงตัว อวดดี
         ทรัพย์  เยาะหยันผู้เป็นเจ้าของ ที่จิตใจเฝ้าแต่เป็นกังวลกับทรัพย์สมบัติ
         หญิง  เยาะหยันชายที่หลงใหลภรรยาอายุอ่อนคราวลูกคราวหลาน
         พญามัจจุราช  เยาะเย้ยผู้เฒ่าที่ยังประมาท ไม่พิจารณามรณสติ หรือระลึกถึงความตายที่รออยู่เบื้องหน้า
    
         อธิบายศัพท์
         สังขาร - ร่างกาย ตัวตน สิ่งมีชีวิต มีจิตวิญญาณ สามารถเคลื่อนไหว รับ จำ คิด รู้อารมณ์ได้
         หวัว - หัวเราะ หัวร่อ
         ทระนง - อวดดี ถือตัว หยิ่งทะนง
         ว่าเจ้า - ว่าเป็นเจ้าของ
         มัจจุราช - พญายม ราชาแห่งความตาย
         ผู้เถ้า - ผู้เฒ่า คนแก่ คนชรา


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/28907130120528_IMG_0671.JPG)
จิตรกรรมฝาผนัง วัดเนรมิตวิปัสสนา อ.ด่านซ้าย จ.เลย

มือด้วนคิดจะมล้าง   เขาหมาย
ปากด้วนถ่มน้ำลาย     เลียบฟ้า
หิ่งห้อยแข่งแสงฉาย     สุริเยศ
คนทุพพลอวดกล้า      แข่งผู้มีบุญฯ  



         อธิบายความ
         คนมือกุด-มือขาด คิดจะเข่นฆ่าผู้อื่น
         คนปากแหว่งเพดานโหว่ อวดดีถ่มน้ำลายรดฟ้า
         หิ่งห้อย บังอาจชูก้นส่องแสงริบหรี่แข่งกับดวงอาทิตย์
         คนพิการ อวดหาญแข่งบารมีกับผู้ที่มีบุญญาธิการหรือผู้มีวาสนาสูง
        
         โบราณท่านสอนให้รู้จักประมาณตน ไม่มักใหญ่ใฝ่สูงเกินตัว
         เตือนสติให้ยั้งคิดถึงสภาพฐานะของตนเอง
         ว่าเราต่ำต้อยน้อยวาสนา อย่าคิดทำการใหญ่เกินกำลังความสามารถของตนเอง
         ทำนองให้ “ตักน้ำใส่กะโหลกชะโงกดูเงา” นั่นเอง

    
         อธิบายศัพท์
         ด้วน - กุด แหว่ง ขาด สั้นเข้า
         เลียบ - ไปตามขอบ ริม (รด)
         สุริเยศ, สุริยง, สุริยา, สุริเยนทร์, สุริโย - พระอาทิตย์
         ทุพพล - กระจอกงอกง่อย, พิการ, หย่อนความสามารถที่จะประกอบการงานตามปรกติได้.
        
            
(http://www.motiveblog.com/wp-content/uploads/2014/05/%E0%B8%8A%E0%B8%B21.jpg)

แว่นตามาใส่ผู้      อันธการ
คนหนวกฟังสำนาน    ขับร้อง
คนใบ้ใฝ่แสดงสาร      โคลงกาพย์
เฉกเครื่องประดับซ้อง   ใส่ให้วานร ฯ  



         อธิบายความ
         เอาแว่นตา มาใส่ให้คนตาบอด
         บรรเลงขับร้องเพลง ให้คนหูหนวกฟัง
         เอาโคลงกาพย์ มาให้คนใบ้อ่าน
         อุปมา ไม่ต่างกับการเอาเครื่องประดับเพชร พลอย มาสวมใส่ให้ลิง
         ...ไม่เกิดประโยชอันใดเลยทั้งผู้ให้ และผู้รับ....
        

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/59359627010093__3623_3633_3604_3594_3657_3634.gif)

วัดช้างเบื้องบาทรู้     จักสาร
วัดอุทกชักกมุทมาลย์    แม่นรู้
ดูครูสดับโวหาร          สอนศิษย์
ดูตระกูลเผ่าผู้            เพื่อด้วยเจรจา ฯ  



         อธิบายความ
         รอยเท้าช้าง บ่งบอกว่าเป็นช้างขนาดใหญ่หรือขนาดเล็ก
         ก้านบัว หรือ สายบัว เป็นสิ่งบอกให้เรารู้ว่าน้ำตรงนั้นมีความลึกตื้นเท่าใด
         ครูดี ครูดีรู้ได้จากความรู้ที่สอนศิษย์...ต้องมีทั้งศาสตร์และศิลป์เหนือกว่าบรรดาลูกศิษย์ และสามารถสอนลูกศิษย์ให้รู้ได้จริง ทำได้จริง
         คำพูด บ่งบอกสติปัญญา กิริยามารยาท และชาติตระกูลของผู้พูด ว่ามีชาติตระกูลสูงหรือต่ำเพียงไร

        
         อธิบายศัพท์  
         สาร : ช้างใหญ่ หรือช้างสาร
         อุทก : น้ำ
         กมุทมาลย์ :  สายบัว ก้านบัว ดอกบัว
         แม่นรู้ :  รู้ได้อย่างถูกต้อง
         สดับโวหาร, สดับตรับฟัง : ได้ยินคำเจรจา
         เพื่อด้วยเจรจา : ด้วยการสนนาปราศรัย
                

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/39836131243242__3585_3634_3585_3637_2.gif)   ภาพวาดครูเหม เวชกร

ไม้ล้มควรค่ามได้      โดยหมาย
คนล้มจักข้ามกราย      ห่อนได้
ทำชอบชอบห่อนหาย    ชอบกลับ สนองนา
ทำผิดผิดจักให้           โทษแท้ถึงตน ฯ  



         อุปมา-อุปไมย
         ๑.ไม้ล้มจึงข้ามได้ คนล้มอย่าเดินข้าม
         และ ๒.ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

         อธิบายความ
         ไม้ล้มจึงข้ามได้ คนล้มอย่าเดินข้าม หมายถึงเห็นคนอื่นล้มเหลวหรือตกต่ำลง จงอย่าได้ไปซ้ำเติมเขา เพราะในชั่วชีวิตของคนเราย่อมมีทั้งความสำเร็จและความล้มเหลว
         ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว หมายถึงบุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น...ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้รับผลชั่ว          
        
         อธิบายศัพท์  
          ไม้ล้ม : ต้นไม้ล้ม
          ค่าม : ข้าม
          กราย : เฉียดเข้าไปใกล้อย่างไม่มีสัมมาคารวะ
          ห่อน : ไม่ (ในคำประพันธ์บางคราว "ห่อน" ใช้ในความหมายว่า "ไม่")
          ชอบห่อนหาย :  ความดีไม่สูญหาย

              
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/92148112629850__3585_3634_3585_3637_1.gif)   ภาพวาดครูเหม เวชกร

ไม้ล้มจักค่ามให้      ดูการ
คนท่าวล้มข้ามพาล     ห่อนได้
เสือผอมอย่าอวดหาญ   เข้าผลัก เสือแฮ
พาลประทุษฐ์ตกไร้       อย่าได้ทำคุณ ฯ  




         อธิบายความ
         - ไม้ล้ม ถ้าจะข้ามให้พิจารณาดูให้ดีเสียก่อน (ไม้มีหลายประเภท 'ไม้ล้ม' นั้น อาจเป็นไม้มงคลอันมีปรากฏนามอยู่ในพระพุทธประวัติ เช่น โพธิ์ สาละ และไทร เป็นต้น
            เป็นสัญลักษณ์ตามธรรมชาติอีกอย่างหนึ่งที่ชาวพุทธน้อมนำมาเป็นเครื่องรำลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และไม่ควรก้าวข้าม)          
         - คนล้ม อย่าก้าวข้าม หมายถึง ห้ามดูถูก เหยียดหยาม ซ้ำเติม คนที่พลาดพลั้ง ประสบเคราะห์กรรม เนื่องจากชะตาชีวิตตกต่ำลง            
         - เห็นเสือผอมโซ อย่าได้อวดกล้าเข้าไปจับต้องเสือ เสือเป็นสัตว์ดุร้าย แข็งแรง เขี้ยวเล็บแหลมคม แม้ร่างกายจะผ่ายผอม แต่เผลอเมื่อไหร่ "เสือกิน สิ้นทั้งขน"
         - อย่าได้ทำคุณกับคนพาล หลีกเลี่ยงการทำความชั่ว คบคนดี หลีกหนีคนพาล ภาษิตนี้ยังสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ดี

         อธิบายศัพท์    
          ไม้ล้ม : ต้นไม้ล้ม
          ค่าม : ข้าม
          ท่าว : (ในกาพย์กลอน) หมายถึง ล้มลง ยอบลง หรือ ก้าวเดิน
          ห่อน : ในคำประพันธ์บางคราว "ห่อน" ใช้ในความหมายว่า "ไม่"
          พาล ประทุษฐ์ :  คนชั่ว คนพาล


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/97501083256469_45.gif)   ภาพวาดครูเหม เวชกร

ทรชนยากไร้อย่าทำคุณ
อย่าหยิบทรัพย์อุดหนุน หย่อนให้
ก่อเกื้อเกือบเกินทุนมันมั่ง มีนา
ครั้นค่อยคลายวายไร้ กลับสู้ดูแคลน ฯ


         อธิบายความ
         ขึ้นชื่อว่า คนชั่วหรือคนพาล ย่อมเป็นคนเนรคุณ ไม่รู้คุณคน
         จงอย่าเกื้อกูล หรือให้ความช่วยเหลือ และอย่าหยิบยื่นทรัพย์สินเงินทองให้
         คนพาลสันดานชั่วเช่นนี้ เมื่อพ้นจากความทุกข์ยาก ลืมตาอ้าปากได้
         ย่อมไม่สํานึกบุญคุณ.
         อุมาอุปไมย  “ทำคุณบูชาโทษ  โปรดสัตว์ได้บาป”
         หมายถึง ทำคุณแต่กลับได้โทษ ทำดีแต่กลับส่งผลร้ายมาให้


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/42793361180358_BB3_1_.jpg)   ภาพวาดครูเหม เวชกร

แม้นทำคุณท่านได้ถึงพัน
ครั้นโทษมีแต่อัน หนึ่งไซร้
ติฉินหมิ่นคำหยันเยาะกล่าว
กลบลบคุณหลังได้ ยิ่งด้วยพันทวี ฯ


         อธิบายความ
         ทำความดีมากมายนับพันครั้ง
         พลาดพลั้งทำผิดเพียงครั้งเดียว
         กลับถูกดูหมิ่นเหยียดหยาม
         ลบล้างคุณความดีที่เคยกระทำไว้มากมายจนหมดสิ้น...


(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSx3hlDqEx-Yu-uUKhkqeCSbVTItBEGmXw0HWl4jHuhirawcUqq)  
พระเทวทัต ผู้เป็น "มิจฉาทิฐิ" เห็นผิดเป็นชอบ
ประพฤติตนจะเป็นพระศาสดาแทนพระพุทธเจ้าเสียเอง

ทำคุณท่านห่อนรู้คุณสนอง
ท่านบ่แทนคุณปอง โทษให้
กลกาแต่งยูงทองลายเลิศ
ยูงเอาหมึกหม้อไล้ ลูบสิ้นสรรพางค์ ฯ


         อุปมา : ทำคุณคนไม่ขึ้น

         อธิบายความ
         ทำประโยชน์ คุณงามความดีให้แก่เขา
         เขาไม่สำนึกในบุญคุณ ซ้ำร้ายยังกล่าวร้ายป้ายสี นำโทษทุกข์มาให้
         เปรียบดัง นิทานเรื่อง "กากับนกยูง" ที่กล่าวว่า กาช่วยแต่งตัวให้นกยูงจนงามเลิศ
         นกยูงไม่สำนึกถึงบุญคุณของกา แต่กลับตอบแทนด้วยการนำดินหม้อซึ่งมีสีดำ มาละเลงลูบไล้ตัวกาจนดำมืดไปทั้งตัว




         อธิบายศัพท์
         ปอง : ประสงค์ ต้องการ มุ่งหวัง
         โทษให้ : ให้โทษ ให้ร้ายป้ายสี ให้ทุกข์เดือดร้อน
         กล : เล่ห์เหลี่ยม หลอกให้เข้าใจผิด หลอกลวง
         หมึกหม้อ : เขม่าดำที่ติดอยู่ก้นหม้อ
         สรรพางค์ : ทั่วทั้งตัว ทั่้วทั้งกาย



(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTTyiYVirS40LJ4l5Obffqv6YyipojnVAZ3HDVRlC1HBvbLi0YJ)   ภาพวาดครูเหม เวชกร

เทพาพันเทพเรื้องฤทธิรงค์
บ่เท่าพระอินทร์องค์ หนึ่งได้
คุณพันหนึ่งดำรง ความชอบ ไว้นา
มีโทษอันหนึ่งไซร้ กลบล้ำพันคุณ ฯ


         อธิบายความ
         พันเทพเทวา (เทวดา ๑,๐๐๐ องค์) มีฤทธิไม่เท่าหนึ่งองค์อมรินทร์ (พระอินทร์) ผู้เป็นประดุจจอมเทพทั้งปวง
         ผู้ทำคุณความดีไว้นับจำนวนพันครั้ง  เมื่อถึงคราวทำผิดพลาดเพียงครั้งเดียว
         ความผิดพลาดหรือโทษในครั้งนี้ได้ลบล้างคุณความดีที่กระทำไว้มากมายจนหมดสิ้น


(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTtUJcro5KP2JBNtH5CYT9RwU35o_iFe11aqBLbY-8xrxaYde98)   ภาพวาดครูเหม เวชกร

ใครซื่อซื่อต่อตั้งตามกัน
ใครคดคดผ่อนผัน ตอบเต้า
ทองแดงว่าสุวรรณ ยังถ่อง เหมือนฤๅ
ดุจลูกสูสองเถ้า ว่าโอ้เป็นลิง ฯ


         อธิบายความ
         ตรงกับวลี ตาต่อตา ฟันต่อฟัน ใครทำกับบุคคลอื่นเช่นไร ต้องได้รับการสนองตอบแบบเดียวกันเป็นการตอบแทน
         ใครซื่อตรง ทำดีกับเรา เราตอบแทนเขาด้วยซื่อ ความดี....ใครคดต่อเรา ทำร้ายเรา เราให้ร้ายเขาตอบแทนเช่นเดียวกัน
         ทองแดงจะขัดจะถูอย่างไร ไม่มีวันแวววาวระยิบระยับผ่องใสเท่าทองคำแท้  
         ดุจลูกที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็น "คน" ผู้ประเสริฐแท้ๆ ยังดื้อรั้นคล้ายลูกลิงไปได้.
        


(http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2007/07/K5590848/K5590848-48.jpg)   ภาพวาดครูเหม เวชกร

ใครทำโทษโทษนั้นแทนทด
ใครคิดจิตคดคด ต่อบ้าง
ใครจริงจึ่งจริงจรด รักต่อ กันนา
ใครใคร่ร้างเร่งร้าง รักร้างแรมไกล ฯ


         อธิบายความ
         ตรงกับวลี ตาต่อตา ฟันต่อฟัน
         ใครทำร้ายให้เรา เราก็จะทำร้ายตอบ
         ใครคดต่อเรา ทำร้ายเรา เราให้ร้ายเขาตอบแทนเช่นเดียวกัน
         ใครสุจริตจริงใจต่อเรา เราก็จะให้ความจริงใจตอบ  
         ใครคลายรักจากเรา เราก็จักไม่สนใจใยดีอีกต่อไป.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/65183832993109_100.gif)   ภาพวาดครูเหม เวชกร

นายรักไพร่ไพร่พร้อมรักนาย
มีศึกสู้จนตาย ต่อแย้ง
นายเบียนไพร่กระจาย จากหมู่
นายบ่รักไพร่แกล้ง ล่อล้างผลาญนาย ฯ


         อธิบายความ
         เจ้านายดี มีเมตตา ข้าทาสบริวารหรือบ่าวไพร่จะให้ความเคารพรักใคร่และเต็มใจทำงานให้อย่างเต็มอกเต็มใจ
         มีศึกเสือเหนือใต้บ่าวไพร่พร้อมอาสาสู้ศึก พลีชีพตายแทนเจ้านายได้  แต่เจ้านายที่โหดร้ายทารุณ ขาดเมตตาธรรม
         จะถูกบ่าวไพร่หลอกล่อ กลั่นแกล้งล้างผลาญ จนถึงกับสูญเสียวงศ์วารหรือหมดเนื้อหมดตัว        
        

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/61942068404621_SAM_5173.JPG)

ข้าท้าวเอาจิตท้าวแม่นหมาย
บ่าวท่านเอาใจนาย แม่นหมั้น
ศิษย์ท่านผ่อนผันผาย โดยจิต ครูนา
อยู่ที่เรือนตัวนั้น แต่น้ำใจเอง ฯ


         อธิบายความ
         เป็นลูกน้อง ข้าทาสบริวาร ต้องฝึกฝนตนเอง ขยันแข็งแข็ง รู้จักเอาใจเจ้านาย ทำให้เจ้านายรักและไว้วางใจให้ได้
         เป็นลูกศิษย์ก็ต้องทำตนให้เป็นลูกศิษย์ที่ดี ประพฤติตนให้ถูกต้อง ให้เป็นที่ที่รักใคร่ประทับใจของครูอาจารย์
         เมื่ออยู่ที่บ้านของตนเองนั้น ท่านนึกอยากจะทำอะไรก็ทำตามใจที่ตนชอบ ไม่มีใครเขาว่า
        
      
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/61096921894285_203.JPG)

รักกันอยู่ขอบฟ้าเขาเขียว
เสมออยู่หอแห่งเดียว ร่วมห้อง
ชังกันบ่แลเหลียว ตาต่อ กันนา
เหมือนขอบฟ้ามาป้อง ป่าไม้มาบัง ฯ


         อธิบายความ
         คนรักกัน แม้ตัวจะอยู่ห่างไกลกันจนสุดหล้าฟ้าเขียว ก็เหมือนอยู่ใกล้ชิดร่วมเรือนเดียวกัน
         เพราะจิตใจระลึกถึงกันตลอดเวลา   แต่ถ้าต่างฝ่ายต่างหมดเยื่อใยความผูกพันต่อกันแล้ว
         แม้จะอยู่ร่วมบ้านเดียวกัน ดูเหมือนว่ามีขอบฟ้ามากางกั้น มีป่าไม้่กว้างใหญ่มาบังไว้ ฉะนั้นแล
        


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/17327619137035__MG_9399.jpg)
ภาพจาก : พระวิหารวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร บางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร

ให้ท่านท่านจักให้ตอบสนอง
นบท่านท่านจักปอง นอบไหว้
รักท่านท่านควรครอง ความรัก เรานา
สามสิ่งนี้เว้นไว้ แต่ผู้ทรชน ฯ


         อธิบายความ
         ให้สิ่งใดท่าน ท่านจักให้สิ่งนั้นตอบแทนเรา
         ให้ความเคารพนบไหว้ท่าน ท่านจักไหว้ตอบ
         ให้ความรักท่าน ท่านก็ให้ความรักต่อเรา
         "สามสิ่งดังกล่าวนี้" คนชั่วคนพาลไม่สามารถกระทำได้อย่างคนดีทั้งหลายเขาประพฤติปฏิบัติต่อกัน

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/94906191983156_18555961_216182028897485_86279.jpg)
ภาพจาก : วัดมเหยงคณ์ ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธย จ.พระนครศรีอยุธยา

แม้นมีความรู้ดั่งสัพพัญญู
ผิบ่มีคนชู ห่อนขึ้น
หัวแหวนควรค่าเมืองตรู ตราโลก
ทองบ่รองรับพื้น ห่อนแก้วมีศรี ฯ


         อธิบายความ
         แม้มีความรู้ดุจดังพระพุทธเจ้าผู้เป็น 'สัพพัญญู' รู้แจ้งโลก
         หากความรู้นั้นเก็บไว้กับตนมิได้นำไปเผยแพร่หรือก่อให้เกิดประโยชน์อันใดแก่ชนหมู่มาก ย่อมไม่มีคนยกย่องเชิดชู
         เปรียบดัง เพชรพลอยจะมีค่าควรเมือง ต้องมีเรือนทองรองรับ เพชรพลอยนั้นจึงจะงดงามมีสง่าราศี
 

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/45537818264630__MG_0052.JPG)

ราชรถปรากฎด้วยธงชัย
ควันประจักษ์แก่ไฟ เที่ยงแท้
ราชาอิสระใน สมบัติ
ชายย่อมเฉลิมเลิศแล้ ปิ่นแก้วเกศหญิง ฯ

         อธิบายความ
         ราชรถ วิจิตร สง่างามระหง ด้วยแอกงอนประดับธงงอนรถ (ธง ๓ ชาย)
         มีควันไฟปรากฏที่ใด ณ ที่นั้นย่อมมีกองไฟเป็นแน่แท้
         พระมหากษัตริย์ผู้มีบุญญาธิการสูงส่งย่อมครองราชสมบัติและปกครองข้าแผ่นดินให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขและไม่นำพาประเทศให้ตกเป็นเมืองขึ้นแก่ใคร
         ชายที่ยกย่องเชิดชูให้เกียรติภรรยา เป็นผู้ชายที่ดีเลิศประดุจปิ่นแก้วอันมีค่า ประดับกั้นเกศให้แก่หญิงผู้เป็นภรรยา

        
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/29562507983710__MG_9963.jpg)

กระเหว่าเสียงเพราะแท้ แก่ตัว
หญิงเลิศเพราะรักผัว   แม่นหมั้น
นักปราชญ์มาตรรูปมัว หมองเงื่อน งามนา
เพราะเพื่อรสธรรมนั้น ส่องให้เห็นงาม ฯ

         อธิบายความ
         - นกกระเหว่าหรือนกดุเหว่า มีสีดำ ลายพร้อยไปทั้งตัว ไม่สวยงาม
           แต่เป็นสัตว์ที่ผู้อื่นรักใคร่ เพราะมีเสียงร้องอันไพเราะ
         - หญิงได้รับการสรรเสริญว่าเป็นหญิงดี เพราะมีความซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อสามี
         - บุคคลจะได้รับการยกย่องว่าเป็นนักปราชญ์ เพราะเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยความรู้ มีปัญญา
           มีคุณงามความดี มีคุณธรรมของปราชญ์ มิใช่เป็นนักปราชญ์ได้เพราะรูปร่างหน้าตา

 

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/11206335781348_a3.JPG)
ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต - ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก
ธีโร จ  พลวา สาธุ ยูถสฺส ปริหารโก - ปราชญ์ มีสติปัญญาบริหารให้ประโยชน์สำเร็จได้.

นารายณ์วายเว้นจาก อาภรณ์
อากาศขาดสุริยจร                . แจ่มหล้า
เมืองใดบ่มีวร นักปราชญ์
แม้ว่างามล้นฟ้า ห่อนได้งามเลย ฯ

         อธิบายความ
         - พระนารายณ์หากปราศจากเครื่องประดับองค์และประดับพระหัตถ์ มีอาทิ ฉลองพระองค์ดั่งกษัตริย์ มงกุฎทอง
            มี ๔ กร ถือสังข์ จักร์ คทา ส่วนอีกกรอาจถือดอกบัว  ย่อมไม่ต่างจากนภากาศอันย่อมมืดสนิท ยามไร้แสงอาทิตย์ฉายแสง
         - เมืองใดมีแต่คนโง่เขลาเบาปัญญา ขาดผู้รู้ ขาดนักปราชญ์ที่จะนำพาบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองเสียแล้ว  เมืองนั้นแม้จะงดงามดั่งเมืองสวรรค์ ก็หาความสง่างาม หรือหาความสงบเรียบร้อยมิได้เลย



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/64747421526246_IMG_9047s_1_.jpg)

เขาใดไร้ถ้ำราชสีห์หมาง
สระโหดหงส์ละวาง                . วากเว้
พฤกษ์ใดบกใบบาง นกหน่าย
สาวซัดชู้โอ้เอ้ เพราะชู้ชายทราม ฯ

         อธิบายความ
         ขุนเขาแห่งใดไร้ถ้ำที่พึงอาศัย เสือสิงห์ย่อมหมางเมิน
         สระแห่งใดไม่มีความอุดมสมบูรณ์ ไม่เป็นที่เกษมสำราญ หงส์ย่อมไม่มาพำนักอาศัย
         ต้นไม้ที่มีใบไม่ดกหนาแน่น เหล่านกกาก็พากันบินหนี
         หญิงมีชู้ ชู้นั้นก็เป็นคนเลวทรามไปด้วยกัน
        
         กล่าวสรุปให้ได้ใจความสั้นๆ โคลงสุภาษิตนี้หมายถึง สิ่งใดที่หมดประโยชน์ หรือหมดอำนาจวาสนา ผู้คนนำพาก็ลาจาก ไม่ให้ความสำคัญอีกต่อไป


 
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/85376264982753_DSC_0098.jpg)
ภาพจาก วัดมเหยงคณ์ ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

ป่าใดไกลพยัคฆ์ร้ายราวี
ไม้หมดม้วยบ่มี                . ร่มชื้อ
หญิงยศงดงามดี ผัวหน่าย
เป็นที่หมิ่นชายยื้อ หยอกเย้าเสียตน ฯ

         อธิบายความ
         ผืนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ แต่ไม่มีเสือสิงห์อยู่อาศัย
        ไม่ช้าไม่นานไม้ใหญ่ย่อมถูกตัดทำลายจนหมดป่า        
        หญิงมียศศักดิ์ รูปร่างหน้าตาสวยงามหมดจด แต่สามีเบื่อหน่าย ไม่ยกย่องเชิดชู
        หญิงนั้นย่อมเป็นที่ดูหมิ่นของชายทั้งหลาย และหวังได้เชยชมสนองตัณหาราคะเพียงชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/46665005923973__MG_7542.JPG)
ภาพจาก : พระตำหนักแดง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร

พลูหมากจากโอษฐ์โอ้เสียศรี
หญิงจากจอมสามี                . ครอบเกล้า
เรือนปราศจากบุตรี ดรุณเด็ก
เมืองจากจอมภพเจ้า สี่นี้ฤๅงาม ฯ

         อธิบายความ
         โคลงสุภาษิตนี้ท่านกล่าวถึง ๔ สิ่งที่ไม่เป็นสิริ ไม่งดงาม ไม่เจริญ ไม่อาจนำความสุขมาให้ ได้แก่

         พลูหมากที่เคี้ยวจนจืดชืด เมื่อคายออกจากปาก เรียกว่า “ชานหมาก”  เป็นสิ่งสกปรก ปนเปื้อนไปด้วยน้ำลาย
         หญิงปราศจากสามี ที่จะให้ความรัก ความอบอุ่น คอยปกป้องคุ้มครองดูแล และเป็นผู้นำสร้างฐานะครอบครัวให้มีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น
         ครอบครัวที่ไม่มีบุตรสืบวงศ์ตระกูล  คอยเป็นตัวเชื่อมให้ครอบครัวมีความสัมพันธ์เหนียวแน่น และความรู้สึกผูกพันทางสายเลือด
         บ้านเมืองที่ไม่มีกษัตริย์เป็นประมุข เป็นศูนย์รวมจิตใจประชาชน และผู้นำในการสร้างความมั่นคงแก่ประเทศชาติ

 

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/84611106746726_1.jpg)
ภาพ : หลังฉากอุปรากรจีนปากน้ำโพ เทศกาลตรุษจีน ปีพุทธศักราช ๒๕๖๐

เจ็ดวันเว้นดีดซ้อมดนตรี
อักขระห้าวันหนี                . เนิ่นช้า
สามวันจากนารี เป็นอื่น
วันหนึ่งเว้นล้างหน้า อับเศร้าศรีหมอง ฯ

         อธิบายความ
         ฝึกฝนซ้อมดนตรีหนึ่งวัน หยุดซ้อมไปเจ็ดวัน
         ร่ำเรียนวิชาการได้หนึ่งวัน ขาดเรียนไปห้าวัน
         หายออกจากบ้านไปสามวัน ภรรยาอาจปันใจให้ชายอื่น
         เราศีคนเราอยู่ที่ใบหน้า ... เว้นล้างหน้าเพียงหนึ่งวัน ทำให้หน้าตาเศร้าหมอง สิ้นสง่าราศี

 
         โคลงสุภาษิตนี้ท่านกล่าวถึง สี่สิ่งที่ไม่เป็นไปเพื่อความสำเร็จและไม่เป็นมงคลแก่ตน
         ท่านเตือนสติให้มีความอดทน มีความเพียรพยายาม...ความรู้ ความสามารถ และความชำนาญการในเรื่องใดๆ ก็ตาม เกิดจากการฝึกฝนอบรมทักษะอย่างสม่ำเสมอ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/41292430584629_256.JPG)

ดอยใดมีถ้ำราช-สีห์ประสงค์
เหมืองมาบมีบัวหงส์                . หากใกล้
ต้นไม้พุ่มพัวพง นกมาก มีนา
สาวหนุ่มตามชู้ไซร้ เพราะชู้ชอบตา ฯ

         อธิบายความ
         ภูเขาที่มีถ้ำ เสือสิงห์ก็มาอยู่อาศัย
         สระน้ำที่สมบูรณ์ด้วยพรรณบัว สระนั้นย่อมเป็นที่เกษมสำราญของหมู่หงส์
         ต้นไม้ที่มีร่มใบหนาทึบ เป็นที่อาศัย ที่หลบภัยให้กับมวลหมู่นกกา
         หญิงชายเพียงสบตาก็รู้ถึงหัวใจ ว่าเราต่างผูกพัน รักกัน พร้อมที่ก้าวเดินไปด้วยกัน


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/55228834350903_1..JPG)
รูปหล่อ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
ภาพจาก : วัดป่าบ้านหนองผือ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

เปือกตมชมชื่นเชื้อกาสร
หงส์กับบุษบากร                . ชื่นช้อย
ภิกษุเสพสังวร - ศีลสุข ไซร้นา
บุรุษรสรักร้อย เท่าน้อมในหญิง ฯ

         อธิบายความ
         โคลนตม เป็นที่ชื่นชอบของควาย นอนแช่ให้คลายความร้อน
         มวลดอกไม้ ทำให้หงส์เบิกบานแจ่มใส
         พระภิกษุที่น้อมประพฤติตามพระวินัย จะจำเริญไปด้วยความสุข หลุดพ้นจากความทุกข์
         ผู้หญิง เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ชายที่หลงรัก น้อมใจ โอนอ่อนผ่อนตาม

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/24882788335283__MG_3694.JPG)

ใครจักผูกโลกแม้รัดรึง
เหล็กเท่าลำตาลตรึง       . ไป่หมั้น
มนต์ยาผูกนานหึง หายเสื่อม
ผูกเพื่อไมตรีนั้น แน่นเท้าวันตาย ฯ

         อธิบายความ
         เอาเหล็กขนาดเท่าลำตาลไปผูกมัดโลกไว้ ก็ไม่อาจทำให้โลกหยุดหมุนได้
         การทำอาถรรพ์มนต์ดำเสน่ห์ยาแฝดให้คนลุ่มหลงในตัวผู้กระทำ ก็มีผลได้เพียงชั่วคราว นานวันไปเวทย์มนต์ก็เสื่อมสลาย ไม่จีรังยั่งยืน
         แต่การมีกัลยาณมิตรที่ดี มิตรจะนำแต่ความสุขความเจริญมาให้ตลอดกาล
         ฉะนั้น หากเราปรารถนาความสุข ความมั่นคง พึงสมาคมกับปราชญ์หรือกัลยาณมิตร


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/80759533536103_DSC_0290.JPG)

จำสารสับปลอกเกี้ยวตีนสาร
จำนาคมนต์โอฬาร       . ผูกแท้
จำคนเพื่อใจหวาน ต่างปลอก
จำโลกนี้นั่นแล้ แต่ด้วยไมตรี ฯ

         อธิบายความ
         ห้ามช้าง ไม่ให้ช้างหนีหรือออกไปหากินไกล ให้จำปลอก หมายถึงให้สวมปลอกที่เท้าคู่หน้าของช้างไว้
         สยบนาค นาคเป็นสัตว์มีอิทธิฤทธิ์ มีพิษร้าย จะปราบพญานาคให้สิ้นพยศ ต้องใช้ทิพยมนต์อาลัมภายน์ เป็นโอสถทิพย์ที่มาจากครุฑ สะกดให้นาคหมดแรง
         จำคน สร้างเสน่ห์ให้คนรักด้วยจิตเมตตา ด้วยถ้อยคำที่อ่อนหวาน วางตนเสมอต้นเสมอปลาย
         จำโลก การมีกัลยาณมิตร คือ เพื่อนที่ดี มีน้ำใจไมตรีต่อกัน ทำเป็นอาจิณ ตนเองและเพื่อนมนุษย์จะมีชีวิตอยู่อย่างเป็นสุข ห่างไกลจากสิ่งอันเป็นข้าศึก
        

ขอเชิญร่วมอธิบายความตามโคลงโลกนิติ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา
และแก้ไขสิ่งที่ผู้โพสท์อาจตีความคลาดเคลื่อน  เผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป (b)


400-al22


หัวข้อ: Re: โคลงโลกนิติ : คาถาสุภาษิตจากคัมภีร์โบราณ กับคำอธิบายความ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 20 ธันวาคม 2560 16:37:16
(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSNcIct7zAy_wq-qUdGoknQYc63nAxe0LNXKKJe0lowhb7rxNAr7A)

เรียนพระธรรมแท้ผูกศาสนา
ปลอกผูกคชตรึงตรา       . ตรากหมั้น
มนต์ดลแลหยูกยา สมรรถผูก งูแฮ
ผูกโลกทั้งหลายนั้น แน่นด้วยไมตรี ฯ

         อธิบายความ
         - การปฏิบัติตามคำสอนของพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด ช่วยจรรโลงพระพุทธศาสนาให้เจริญมั่นคงยาวนาน
         - การตีปลอกล่ามโซ่ตรวนเท้าช้าง เพื่อควบคุมมิให้ช้างไปไกล หรือหยุดยั้งช้างที่มีนิสัยดุร้าย
         - มนต์ศักดิ์สิทธิ์และสมุนไพร ช่วยป้องกันงูร้ายหรือปราบอสรพิษได้  
            (แต่ครั้งพุทธกาล พระโบราณาจารย์นิยมสวด ขันธปริตร หรือพระคาถากันงูร้ายเมื่อออกจาริกธุดงค์ไปในป่าเขาลำเนาไพร)
         - ให้ผูกโลกด้วยน้ำใจไมตรี ทำเป็นอาจิณ ตนเองและเพื่อนมนุษย์จะมีชีวิตอยู่อย่างเป็นสุข ห่างไกลจากสิ่งอันเป็นข้าศึก


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/55011138982242__MG_1203.jpg)

ผจญคนมักโกรธด้วยไมตรี
ผจญหมู่ทรชนดี       . ต่อตั้ง
ผจญคนจิตโลภมี ทรัพย์เผื่อ แผ่นา
ผจญอสัตย์ให้ยั้ง หยุดด้วยสัตยา ฯ

         อธิบายความ
         -เอาชนะคนมักโกรธ ด้วยการไม่โกรธ แสดงความเป็นมิตร หวังดีต่อกัน
         -เอาชนะคนชั่ว ด้วยความดี มีเมตตา
         -เอาชนะคนโลภมาก ด้วยการให้ มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ
         -เอาชนะคนอสัตย์ กลับกลอก คดโกง ด้วยความสัตย์จริง ความสุจริตใจ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/57819595105118_053.jpg)

รบศึกชนะได้ในณรงค์
รบแม่เรือนตัวยง       . ขยาดแพ้
รบใจชักให้คง ความสัตย์
ถือว่าผู้นั้นแล้ เลิศล้ำชายชาญ ฯ

         อธิบายความ
          -ผู้เอาชนะข้าศึกได้ในการสงคราม
         -ผู้ยอมแพ้ศิโรราบแก่ภรรยา - ให้ความกลัวเกรง ยกย่องให้ความเป็นใหญ่แก่ "แม่เรือนตัวยง" (หมายถึงหญิงที่มีคุณสมบัติเพียบพร้อมในการเป็นภรรยาที่ดี เป็นผู้ปกครองเรือน)
         -ผู้มีใจอันมั่นคง มีความสัตย์สุจริต
          คุณสมบัติสามประการดังกล่าวข้างต้น มีอยู่ในชายผู้ใด ชายผูันั้นจัดว่าเป็นยอดชายชาญนั่นแล.
        

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/69945821828312_e0b8a5e0b8b9e0b881e0b8aae0b8b2.jpg)

คนใดคนหนึ่งผู้ใจฉกรรจ์
เคียดฆ่าคนอนันต์       . หนักแท้
ไป่ปานบุรุษอัน ผจญจิต เองนา
เธียรท่านเยินยอแล้ ว่าผู้มีชัย ฯ

         อธิบายความ
          -ผู้มีจิตสันดานอันเป็นบาป มีใจโหดเหี้ยม สามารถฆ่าคนมากมายนับไม่ถ้วน...กรรมชั่วจักนำเขาไปสู่ทุคติ
         -บุรุษผู้มีความเพียร สามารถก้าวข้ามเอาชนะกิเลสทั้งปวงได้  ปราชญ์ยกย่องสรรเสริญ ว่า ท่านผู้นั้นเป็นผู้มีชัยชนะอย่างแท้จริง          
        

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/20242303775416_069.jpg)

แพ้ศึกหลบหลีกได้รอดตน
แพ้คดีทุกข์ทน       . ทรัพย์ผ้าย
แพ้เบี้ยค่นจนจน ตัวยาก ก็ดี
แพ้แม่เรือนทำร้าย ยากเท้าบรรลัย ฯ

         อธิบายความ
          - ผู้ประสบความพ่ายแพ้ในศึกสงคราม แต่เอาชีวิตรอดกลับมาได้ถือว่าโชคดี เหมือนตายแล้วเกิดใหม่ แต่ชะตากรรมของผู้แพ้คดีนอกจากได้รับความทุกข์กายทุกข์ใจแล้วยังต้องสูญเสียทรัพย์ในการต่อสู้คดี เข้าทำนองเคราะห์ซ้ำกรรมซัด    
         - ผู้ที่สูญเสียเงินทองจนมีฐานะยากจน ยังมีโอกาสสร้างเนื้อสร้างตัวขึ้นมาใหม่ได้ แต่ผู้มีภรรยาเสมอด้วยเพชฌฆาต คือภรรยาที่มีใจคิดล้างผลาญชีวิตสามี หากอยู่ชิดใกล้จะมีแต่ความบรรลัยอย่างเดียว ไม่มีความเจริญ
  

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/36889882054593_K6608031_13_1_.jpg)      ภาพวาดครูเหม เวชกร

สงครามแสวงท่วยแกล้ว   อาสา
กลคดีพึงหา       . ท่านรู้
ยามกินรสโอชา ชวนเพื่อน กินนา
หาปราชญ์ล้ำเลิศผู้ เมื่อแก้ปริศนา ฯ

         อธิบายความ
          - เมื่อเข้าสู่ภาวะสงคราม จำเป็นต้องแสวงหาไพร่พลอาสาที่มีความกล้าหาญไว้เป็นกำลังการสู้รบ  ยามเมื่อมีคดีความให้เข้าหาผู้รู้กฎหมาย เพื่อสู้คดี  
         - เมื่อใดที่เราสุขสบาย อยู่ดีกินดี ให้พาเพื่อนไปกินข้าว เพื่อมิตรภาพที่จะคงอยู่ยาวนาน  และถึงคราวมีปัญหาชีวิต แก้ไม่ตก หาทางแก้ไม่ได้จริงๆ  ให้ขอคำปรึกษาผู้มีปัญญา
 

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/86823683645990__3585_1.jpg)   ภาพวาดครูเหม เวชกร

แสวงรู้พึงคบด้วยบัณฑิต
แสวงทรัพย์คบพาณิช       . ง่ายได้
แสวงหายศศักดิ์ชิด ชอบราช
ผิใคร่ได้ลูกไซร้ เสพส้องเมียสาว ฯ

         อธิบายความ
          - การคบบัณฑิตเป็นมงคลอุดม ผู้ต้องการดำเนินชีวิตอย่างผู้มีปัญญา ให้คบหานักปราชญ์ หรือคนฉลาด  
          - ต้องการแสวงหาความร่ำรวย ทรัพย์สินเงินทอง ให้คบหากับผู้มั่งคั่งที่ประสบความสำเร็จในเชิงธุรกิจ  
          - แสวงหายศศักดิ์ ต้องการความก้าวหน้าในชีวิตราชการให้หาโอกาสรับใช้ใกล้ชิดขุนนาง มียศถาบรรดาศักดิ์จนเป็นที่โปรดปรานและไว้วางใจ  
          - ต้องการบุตรไว้สืบสกุลให้สมรสกับภรรยาที่ยังอยู่ในวัยสาว (ผู้หญิงอายุมากมักมีปัญหาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์)


★ •:*´¨`*:•.☆•★ •:*´¨`*:• ★
  
หายากเชิงรอบรู้   การกิจ
หายากเชิงชาญชิด       ชอบใช้
หายากเช่นเชิงมิตร คุงชีพ
หายากเชิงช่างให้ ชอบน้ำใจจริง ฯ

         อธิบายความ
          รัตนะหายากในโลก หรือบุคคลหายากในโลก มี ๔ ประเภท
          ๑.นักปราชญ์ ผู้ศึกษาจนรู้แจ้งในสรรพสิ่ง
          ๒.ผู้ซื่อสัตย์ ประพฤติตรงและจริงใจ.
          ๓.มิตรมีอุปการะ จริงใจ ร่วมทุกข์ร่วมสุข
          ๔.ผู้อุดมด้วยอัตลักษณ์ด้านวัฒนธรรมและฝีมือเชิงช่าง



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/70210374684797__3609_3634_3591_3615_3657_3634.gif)

ความรู้เรียนเมื่อน้อยหนังสือ
ค่อยสมรรถจึงหัดปรือ       . โล่ดั้ง
รู้แล้วเลิศอย่าถือ ตนถ่อม เถิดพ่อ
บุญจักให้ใครรั้ง เริ่มรู้เป็นเอง ฯ

         อธิบายความ
           ท่านสอนว่ารู้สิ่งไรก็ไม่สู้รู้วิชา ค่อยๆ เรียนรู้ไปทีละขั้น...
           เมื่ออายุยังน้อยให้เร่งขวนขวาย ขยันอ่านเขียนเรียนศึกษา หาความรู้ใส่ตนเอง
           ความรู้จะทำให้เราเป็นผู้มีปัญญา มีความสามารถ ทำให้ดำรงชีวิตอย่างมีความสุข และเอาตัวรอดจากสถานการณ์ต่างๆ ได้  
           เมื่อเป็นผู้มีปัญญาดีแล้ว ให้เป็นผู้อ่อนน้อมถ่อมตน มีสติ มีศักดิ์ศรี มีธรรม อย่าทำตัวเป็นนักเลง อวดเก่ง อวดฉลาด
           คุณความดีเหล่านี้ไม่มีใครจะหยิบยื่นให้เราได้ หากแต่เกิดจากการสร้างสม ฝึกฝนเรียนรู้ด้วยตัวของเราเอง


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/82849022125204_5.JPG)

ร้อยคนหาแกว่นแกล้วกลางณรงค์
พันหนึ่งหาปัญญายง       . ยิ่งรู้
แสนคนเสาะคนตรง ยิ่งยาก
ไป่เท่าคนหนึ่งผู้ อาจอ้างอวยทาน ฯ

         อธิบายความ
           บุคคลผู้มีจิตผูกพันในผลแห่งทาน หาได้ยากในโลกนี้
           ”ทาน” คือการให้ เป็นเครื่องขัดเกลาจิตใจ เป็นไปเพื่อความหมดจดแห่งกิเลส
...

           หนึ่งในร้อยคน จะมีบุคคลที่มีความสามารถในด้านการรบในสมรภูมิสงคราม (คน ๑๐๐ คน สามารถหาผู้กล้าหาญ เชี่ยวชาญในการรบได้ ๑ คน)
           หนึ่งในพันคน จะมีผู้มีสติปัญญาเลิศล้ำ (คน ๑,๐๐๐ คน สามารถหาผู้มีสติปัญญาล้ำเลิศได้ ๑ คน)
           หนึ่งในแสนคน จะหาคนซื่อตรงนั้นยากเย็น (คน ๑๐๐,๐๐๐ คน  จะหาผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต หายากยิ่งนัก)
           การเสาะหาบุคคลประเภทต่างๆที่กล่าวไว้ข้างต้น ยังหาได้ง่ายกว่าบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ มีจิตใจเป็นบุญ ชอบให้ทานอยู่เนืองนิตย์



(http://sarakadee.com/feature/2002/11/images/hem_06.jpg)  ภาพวาด : ครูเหม เวชกร

ช้างม้าเมียมิ่งแก้วเงินทอง
ตัวมิตายจักปอง       . ย่อมได้
ชีวิตสิ่งเดียวของ หายาก
ใช่ประทีปเทียนไต้ ดับแล้วจุดคืน ฯ

           อธิบายความ
           พระพุทธเจ้า ทรงตรัสว่า กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ การเกิดเป็นมนุษย์นั้นยากเป็นอย่างยิ่ง  ...
           ทรัพย์สิน เงินทอง ลูกแก้ว เมียขวัญ เป็นของนอกกาย หากตัวยังไม่ตาย ย่อมมีโอกาสแสวงหาได้ใหม่
           แต่การได้เกิดเป็นมนุษย์นั้นยากเป็นอย่างยิ่ง มิใช่การจุดประทีป เทียน โคมไฟ หรือไต้ ที่จุดแล้วให้แสงสว่างเพียงชั่วครั้งชั่วคราว
           เพราะฉะนั้น..บุคคลหนึ่งที่มีโอกาสจะได้เกิดมา อย่าให้เสียทีที่เกิดมา มีโอกาสเกิดมาแล้วต้องรักษาชีวิตและเอาตัวให้รอดในสังคม



★ •:*´¨`*:•.☆•★ •:*´¨`*:• ★

หาสินห้าขวบเข้าพยายาม
แสวงคู่ผู้เมียสาม       . ขวบข้าว
แสวงรู้ค่อยเรียนตาม ต่อเจ็ด ขวบนา
แสวงใฝ่เฝ้าไทท้าว ต่อสิ้นสุดกรรม ฯ

           อธิบายความ
           การเตือนสติหรือให้ข้อคิดในการใช้ชีวิต เพื่อสร้างฐานะและครอบครัวให้มั่นคง ...
           - แสวงหาความมั่นคั่ง :  ให้ขยันขันแข็งทำงาน เก็บหอมรอบริมสะสมไปเรื่อยๆ สัก ๕ ปี ทรัพย์จะเพิ่มพูนเป็นเงินก้อนพอที่จะเป็นทุนรอนสร้างฐานะ
           - แสวงหาคู่ครอง : จุดเริ่มต้นที่สำคัญของสถาบันครอบครัว เป็นเรื่องของคนสองคนที่มาจากต่างครอบครัว ต่างการเลี้ยงดู เพื่อให้สามารถมีชีวิตคู่ที่ราบรื่น มีความสุข ควรใช้เวลาสัก ๓ ปี สำหรับการศึกษาอุปนิสัย ทัศนคติ และสติปัญญา  
           - แสวงหาวิชาความรู้ : ควรให้เวลาอย่างน้อย ๗ ปี กับการแสวงหาความรู้ เพื่อให้มีความสามารถที่จะใช้ประกอบอาชีพ และเอาตัวรอดได้ รวมทั้งช่วยขัดเกลาจิตใจให้มีจิตสำนึก และเจริญทางปัญญา
           - แสวงหายศถาบรรดาศักดิ์ : ให้ถวายตัวรับราชการ ด้วยความนอบน้อม เคารพ นับถือ ไม่มุ่งร้าย และซื่อสัตย์สุจริต จนกว่าจะสิ้นสุดกรรม



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/87063723595605_wess04_1_.jpg)   ภาพวาด : ครู เหม เวชกร

เมื่อน้อยเรียนเร่งรู้วิชา
ครั้นใหญ่หาสินมา       . สู่เหย้า
เมื่อกลางแก่ศรัทธา ทำแต่ บุญนา
ครั้นแก่แรงวอกเว้า ห่อนได้เป็นการ ฯ

           อธิบายความ
           เมื่ออายุยังอยู่ในวัยเรียน ให้ขวนขวายเรียนวิชาการต่างๆ หัดทำการงาน และทำความดี  เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ วิชาการต่างๆ ที่มีโอกาสได้เล่าเรียนและฝึกหัดตนเองนั้น จะสร้างประโยชน์ให้ทำมาหากินเลี้ยงชีวิตตนได้อย่างก้าวหน้าและความมีความเจริญมั่นคงในชีวิต
           ครั้นเมื่อเข้าสู่วัยกลางคนให้หมั่นสร้างบุญสร้างกุศล  สะสมบุญบารมีที่จะติดตัวไปในภพเบื้องหน้า เพราะสุดท้ายเมื่อถึงคราวแก่ชรา เรี่ยวแรง สติปัญญาที่เคยมีก็ย่อมถดถอย เวลานอนรอความตายอยู่ ก็ได้คิดว่าไม่เคยทำบุญทำกุศลอะไรเลย พอคิด อยากทำก็สายไปแล้ว
           ...ดังนั้น ผู้ฉลาดจึงไม่ควรประมาทในการดำเนินชีวิต และไม่ประมาทในการสร้างบุญ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/22600961186819_e8a0e18f_e49c_44a5_9024_bf5717.jpg)   ภาพวาด : ครู เหม เวชกร

ความรู้ดูยิ่งล้ำสินทรัพย์
คิดค่าควรเมืองนับ       . ยิ่งไซร้
เพราะเหตุจักอยู่กับ     กายอาต- มานา
โจรจักเบียนบ่ได้ เร่งรู้เรียนเอง ฯ

           อธิบายความ
           วิชาความรู้มีค่ายิ่งกว่าสินทรัพย์ใดๆ สูงค่าเกินกว่าจะนำมาตีราคาได้
           ปัญญานี้จะอยู่ติดตัวเราตลอดเวลา ไม่มีใครผู้ใดมาแย่งชิงเอาไปได้
           เพราะฉะนั้น จึงไม่ควรเกียจคร้าน ควรหมั่นศึกษาหาความรู้ หากมีวิชาก็สามารถหาทรัพย์ได้เพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ
           หรือถึงแม้จะตกอยู่ในภยันตราย ผู้มีสติ-ปัญญา ก็จักสามารถเอาตัวรอดได้



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/65713373530242_180721_152052_01_1_.jpg)   ภาพวาด : ครู เหม เวชกร

จักเรียนความรู้พิ-นิจครู
จักกล่าวภรรยาดู       . พวกพ้อง
จักขึ้นสู่บนภู-     เขาค่อย เดินนา
จักเสพกามาพร้อง       โกรธไซร้รำพึง ฯ

           อธิบายความ
            - เมื่อต้องการแสวงหาวิชาความรู้ให้เสาะหาครูบาอาจารย์ผู้ที่มีความสามารถให้คำแนะนำอบรมสั่งสอน เพื่อให้ได้รับประโยชน์ทางการเรียนสูงสุด
           - จะสู่ขอภรรยา ต้องใคร่ครวญด้วยว่า ภรรยาที่ดีไม่ใช่ดูแลงานบ้านงานเรือน และคนในบ้านอย่างเดียว ... ภรรยาที่ดียังต้องเป็นผู้ให้ความสงเคราะห์ญาติข้างสามีและเพื่อนพ้องสามีเป็นอย่างดีด้วย  
           - ขึ้นสู่ที่สูง จงอย่าผลีผลาม ควรรอบคอบ ไม่ประมาท ซึ่งจะนำพาตนเองไปสู่เป้าหมายได้อย่างปลอดภัย
           - กามา (กามคุณ) เป็นสิ่งที่น่าหลงใหล น่าพอใจ น่าปรารถนา และ ความโกรธ ความขัดเคือง ความไม่พอใจ เป็นกิเลสอย่างหนึ่ง ให้พึงพิจารณาอยู่เนืองๆ สองสิ่งนี้เป็นศัตรูที่คอยขัดขวางไม่ให้ความดีเกิดขึ้น เป็นเหตุให้ตัวเองเดือดร้อน



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/44486376063691_BB2_1_.jpg)   ภาพวาด : ครู เหม เวชกร

ผิรู้รู้จุ่งให้ทันคน
จักเงื่องเงื่องเป็นกล       . เงื่องแหง้
จักสุกอย่าสุกปน     ดิบครึ่ง หนึ่งนา
ทางไล่ไว้หนีแก้       รอดแคล้วภัยพาล ฯ

           อธิบายความ
            การรู้ทันคน เป็นเรื่องสำคัญ  ควรฝึกตนเองให้เป็นคนฉลาด มีชั้นเชิงกับคนทุกประเภท เพื่อให้เป็นคนที่รู้เท่าทันคน จะได้ไม่เสียเปรียบใคร
           ถ้าจะเป็นคนเงื่องหงอย เฉื่อยชา ก็ต้องเป็นคนที่โบราณเรียกว่า "คมในฝัก" คือเก็บความฉลาดไว้ข้างใน อย่าให้ใครมาลบคม ทำให้ชั้นเชิง หรือเกียรติด้อยลงไป
           อันความรู้ รู้ให้กระจ่าง รู้ให้รอบ รู้ให้เชี่ยวชาญ การฝึกฝนเรียนรู้จะส่งให้เกิดผลอันเป็นคุณให้ตนก้าวหน้าไพบูลย์  ดังผลไม้ที่มากคุณค่า ต้องสุกสม่ำเสมอกันทั้งผล ไม่ใช่สุกครึ่งผล ดิบครึ่งผล
           จะทำสิ่งใดก็ตาม ให้เรียนรู้ทางหนีทีไล่ไว้ก่อน  แล้วจะอยู่รอดปลอดภัย เป็นการเตือนสติให้เป็นผู้ไม่ประมาทในปัญญา และชีวิต ให้รู้จักการใคร่ครวญ อย่ามุ่งใจเชื่อกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งจนหมดหน้าตัก เพราะจะเสี่ยงต่อการผิดพลาดเสียหายเอาได้



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/98231942330797_p28_1_.jpg) ภาพวาด ครูเหม เวชกร

ความรู้รู้ยิ่งได้สินศักดิ์
เป็นที่ชนพำนัก       . นอบนิ้ว
อย่าเกียจเกลียดหน่ายรัก     เรียนต่อ
รู้ชอบใช่หอบหิ้ว       เหนื่อยแพ้แรงโรย ฯ

           อธิบายความ
            ”ชีวิตคือการเรียนรู้” ผู้มีความรู้ความสามารถมาก ย่อมเป็นที่พึ่งแห่งตนและประชาชน ทำให้ตนมีโอกาสได้ทรัพย์และอำนาจวาสนา และเป็นผู้ยังประโยชน์สุขให้เกิดแก่ประชาชนจนเกิดความชื่นชมยินดี
            โบราณว่า “รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม” การเรียนรู้หรือการศึกษาไม่ได้หนักบ่าหนักแรงแต่อย่างใด ความรู้ยิ่งมีมากยิ่งดี ฉะนั้น จึงควรให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ การเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด เราต้องเรียนรู้และฝึกฝนพัฒนาตนเองอยู่เสมอ



วิชาเป็นเพื่อนเลี้ยงชีวิต
ยามอยู่เรือนเมียสนิท       . เพื่อนร้อน
ร่างกายสหายติด     ตามทุกข์ ยากนา
ธรรมหากเป็นมิตรข้อน       เมื่อม้วยอาสัญ ฯ

           อธิบายความ
            - วิชาความรู้เป็นเครื่องหาเลี้ยงชีพสำหรับตน
           - ภรรยาคือมิตรในเรือน เป็นเพื่อนใกล้ชิดที่ดีที่สุดของสามี ยามมีทุกข์ ภรรยาสามารถช่วยออกความเห็นและปรึกษาเรื่องราวต่างๆ ได้
           - ขันธ์ หรือส่วนต่างๆ ของร่างกาย เป็นเพื่อนคอยตามร่วมทุกข์ร่วมสุขเราตลอดเวลา
           - เมื่อถึงคราวตาย ร่างกายและทรัพย์ทั้งหลายก็เอาติดตัวไปไม่ได้ มีแต่ ธรรม (บุญ-บาป) เท่านั้น เป็นเพื่อนคอยติดตามเราเหมือนเงาตามตัวฉันนั้น  



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/55384154700570_1.jpg)     ภาพวาดครูเหม เวชกร

เป็นชายความรู้ยิ่งเป็นทรัพย์
ทุกประเทศมีผู้นับ       . อ่านอ้าง
สตรีรูปงามสรรพ    เป็นทรัพย์ ตนนา
แม้ตกยากไร้ร้าง      ห่อนไร้สามี ฯ

           อธิบายความ
            ปัญญาเป็นทรัพย์ ชายผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้ มีวิสัยทัศน์กว้างไกล จัดเป็นผู้มีทรัพย์ทางปัญญา ก่อให้เกิดความมั่นคงแก่ตนเองและสังคม จะไปอยู่ ณ สถานที่แห่งใดย่อมได้รับการยกย่องนับถือ
           นารีมีรูปเป็นทรัพย์ สตรีที่ถึงพร้อมด้วยความสวยงามและคุณสมบัติของกุลสตรี เป็นผู้ที่มีวาสนาดี แม้จะมีฐานะยากจนหรือเกิดในชาติตระกูลไม่สูงส่ง แต่ความพรั่งพร้อมนั้นจะทำผู้ชายหลงรัก อยากเสนอตัวเป็นที่พึ่งให้เสมอ


เห็นใดจำให้แน่นึกหมาย
ฟังใดอย่าฟังดาย       . สดับหมั้น
ชนม์ยืนอย่าพึงวาย    ตรองตรึง ธรรมนา
สิ่งสดับทั้งนั้น      ผิดเพี้ยนเป็นครู ฯ

           อธิบายความ
            สิ่งใดที่เห็นผ่านตา จงพิจารณาแล้วจดจำให้แม่นยำ
           ได้รับฟังสิ่งใด ควรตั้งใจฟัง ฟังให้รู้เรื่องราว ฟังแล้วจดจำถ้อยคำ
           "วันคืนล่วงไป บัดนี้ เราทำอะไรอยู่" แม้จะมีชีวิตยืนยาว ก็อย่าประมาทในธรรม  ควรหมั่นพิจารณาดูตน หาโอกาสสร้างบุญกุศล ละความชั่วให้ลดน้อยลง
           สิ่งใดที่ผิดพลาดไปแล้วให้นำมาเป็นบทเรียนสอนตนเอง แล้วแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้นเพื่อไม่ให้ทำผิดอีก



ขอเชิญร่วมอธิบายความตามโคลงโลกนิติ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา
และแก้ไขสิ่งที่ผู้โพสท์อาจตีความคลาดเคลื่อน  เผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป
400-22




หัวข้อ: Re: โคลงโลกนิติ : คาถาสุภาษิตจากคัมภีร์โบราณ กับคำอธิบายความ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 09 พฤศจิกายน 2561 15:21:48
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/52333525940775_hem_12_1_.jpg)     ภาพวาดครูเหม เวชกร


เภตราเพียบล้มล่มจมอรร – ณพนา
เกวียนหนักหักเพลาพลัน       . ง่ายไซร้
น้ำน่านซ่านตลิ่งคัน     เพราะเปี่ยม เต็มแฮ
ผู้ประจาคมากให้       ทรัพย์ม้วยหมดตัว ฯ

           อธิบายความ
            เรือบรรทุกสิ่งของหรือสิ่งใดก็ตาม รับน้ำหนักมากเกิน เรือย่อมล่มจมลงน้ำ
           เพลาเกวียน หรือแกนที่ใช้สอดในดุมเกวียน หากต้องรับน้ำหนักมาก เพลาเกวียนจะสึกกร่อนและหักง่าย
           น้ำเอ่อล้นตลิ่ง เกิดความเสียหาย เพราะปริมาณน้ำมีมากเกินไป
           ผู้บริจาคทรัพย์สินเงินทอง หากทำจนเกินฐานะ จะทำให้สิ้นเนื้อประดาตัว


พลอดนักมักพลาดพลั้งพลันผิด
หาญนักมักชีวิต          . มอดม้วย
ตรองนักมักเสียจริต     จักคลั่ง
รักนักมักหลงด้วย             เล่ห์ลิ้นลมหญิง ฯ

           อธิบายความ
            ช่างพูดมากเกินไป ความน่าเชื่อถือย่อมน้อยลง และอาจทำให้ผิดพลาดเสียหายได้
           ความไม่เกรงกลัวภัย ความบ้าระห่ำ  นำมาซึ่งหายนะแห่งความตาย
           คิดมากเกินไป ควบคุมความวิตกกังวลไม่อยู่  จะทำให้บ้าคลั่ง เสียจริต
           ชายมักรักหลงใหล จนบางรายเสียผู้เสียคน ในหญิงที่มีชั้นเชิงทางปรนนิบัติ พูดจาดี และรู้จักเอาอกเอาใจ  



.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/68748937754167__3648_3627_3617_.jpg)     ภาพวาดครูเหม เวชกร


คนใดโผงพูดโอ้อึงดัง
อวดว่ากล้าอย่าฟัง       . สับปลี้
หมาเห่าเล่าอย่าหวัง     จักขบ ใครนา
สองเหล่าเขาหมู่นี้       ชาติเชื้อเดียวกัน ฯ

           อธิบายความ
            คนพูดจาโผงผาง โอ้อวด ไม่เกรงใจใคร  คนเช่นนี้เป็นคนเหลวไหลเลอะเทอะ พูดจาหาสาระไม่ได้ เชื่อถือไม่ได้  เปรียบเปรยดังคำพังเพยที่ว่า “หมาเห่ามักไม่กัด”  คือดีแต่ส่งเสียงเอะอะอวดเก่ง แต่ไม่ยอมต่อสู้หรือตอบโต้ ... ทั้งสองเหล่านี้จัดอยู่ในประเภทเดียวกัน  


เสือใดแรงร้ายระพะพง
อาจอุกบุกดงยัง          . ขบคั้น
กินสัตว์สุระทะนง     ศักดิ์สาธุ์
จักฉิบหายตายหมั้น             เพราะร้ายแรงทะนง ฯ

           อธิบายความ
            มีภาษิตคำพังเพยหรือสำนวนเปรียบเทียบที่มีเสือเข้ามาเกี่ยวด้วยมากมาย เช่น เสือสองตัวอยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้ หมายถึง คนเก่งสองคนอยู่ร่วมกันไม่ได้ … โดยปกติเสือมักจะอาศัยอยู่อย่างโดดเดี่ยวในถ้ำหรือตามป่า ออกหากินเฉพาะในอาณาเขตหรือถิ่นของมัน หากมีการล้ำเขตแดนก็อาจจะเกิดการเผชิญหน้ากันจนถึงขั้นต่อสู้ ...จากโคลงโลกนิติ ท่านให้ข้อคิดว่า เสือตัวใดมีความดุร้ายมาก ออกล่าหาเหยื่อล้ำเขตแดน เที่ยวไล่ล่า ขบกัดไม่เว้นแม้กระทั่งราชสีห์หรือสิงโต ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็น “เจ้าแห่งสัตว์ป่า”   ความทะนงตน ถืออำนาจ ไม่เกรงกลัวใคร พฤติกรรมเยี่ยงนี้จักนำภัยมาสู่ตัว ทำให้เสือตัวนั้นต้องพบกับความหายนะ คือความตายเป็นที่สุด


(http://sarakadee.com/feature/2002/11/images/hem_13.jpg)    ภาพวาด ครูเหม เวชกร

ลับหลังบังเบียดล้างลบคุณ
ต่อพักตร์ยกยอบุญ       . ลึกซึ้ง
คบมิตรจิตปานปุน     เป็นดุจ นี้นา
กลดั่งเสพน้ำผึ้ง       คลุกเคล้ายาตาย ฯ

           อธิบายความ
            ลับหลังติเตียนพูดให้ร้ายในทางไม่ดี ให้ได้รับความอับอาย เสื่อมเสีย  พอต่อหน้าก็ชื่นชม ยกยอในคุณความดี  
           บุคคลเช่นนี้เป็นผู้มีเล่ห์เหลี่ยมในทางร้าย การคบคนเช่นนี้จักนำพาไปสู่ความหายนะ เปรียบเสมือนดื่มน้ำผึ้งผสมยาพิษ

            ภาษิตข้างต้น สอนให้เห็นความสำคัญการคบคน ให้ใคร่ครวญระมัดระวังผู้ที่เห็นแก่ประโยชน์คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว



ผู้อื่นแม้ประโยชน์ไซร้    เสมอมิตร
มิตรประทุษฐ์ทำจิต          . เจ็บช้ำ
กายกับพยาธิชิด     ใครชอบ เลยนา
รุกขชาติในป่าล้ำ             เลิศให้เป็นยา ฯ

           อธิบายความ
             ผู้อื่นแม้จะเป็นที่พึ่งพิง มีอุปการคุณให้กับชีวิตของเรา ก็นับได้เสมอมิตร
            แต่อย่าลืมหันกลับมาพิจารณาดูด้วยว่า ในวันใดวันหนึ่งมิตรนั้นอาจทำร้าย ทรยศหักหลังเราได้
            เปรียบเสมือนโรคาพยาธิที่อาศัยอยู่ในร่างกายก็ยังทำร้ายเบียดเบียนสังขารร่างกายให้ได้รับทุกข์ภัยไข้เจ็บ และคนย่อมไม่ชอบ ไม่พึงปรารถนา
            ตรงข้ามกับพันธุ์ไม้หลากหลายชนิดที่เกิดและเจริญเติบโตในป่า ให้คุณประโยชน์อเนกอนันต์ สามารถนำมาปรับใช้เป็นยารักษาโรคภัยไข้เจ็บได้โดยสรรพคุณตัวยาไม่เปลี่ยนแปร

            มีพุทธภาษิตว่า “มิตฺตสฺมิมฺปิ น วิสฺสเส – แม้ในมิตรก็ไม่ควรไว้ใจ”  คนพาลย่อมเป็นศัตรูกับเราได้ทุกเมื่อ  



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/20632505458262_1111_1024x768_.jpg)      ภาพวาดครูเหม เวชกร

ฟักแฟงแตงเต้าถั่วงายล
หว่านสิ่งใดให้ผล       . สิ่งนั้น
ทำทานหว่านกุศล     ผลเพิ่ม พูนนา
ทำบาปบาปซั้นซั้น       ไล่เลี้ยวตามตน ฯ

           อธิบายความ
             ฟัก แฟง น้ำเต้า ถั่ว งา ล้วนเจริญเติบโตมาจากเมล็ดพันธุ์ของพืชชนิดนั้นๆ
            ปลูกฟักย่อมได้ฟัก  ปลูกแฟงย่อมได้แฟง  
            ผู้สร้างกุศลธรรม จิตใจย่อมใสสะอาด ได้รับความสุขความเจริญเรียกว่า “บุญ”  
            ผู้มีความเห็นผิด ทำความชั่ว สร้างแต่อกุศลธรรม เรียกว่า “บาป” มีผลให้จิตหม่นหมอง ได้รับความทุกข์ความเดือดร้อน จากผลของกรรมนั้น

            ดังพุทธภาษิต ว่า กลฺยาณการี กลฺยาณํ ปาปการี จ ปาปกํ. บุคคลหว่านพืชเช่นไร ย่อมได้ผลเช่นนั้น
            ผู้ทำกรรมดีย่อมได้รับผลดี ผู้ทำกรรมชั่วย่อมได้รับความทุกข์ความเดือดร้อน



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/34173480545480_BB3_1_320x200_.jpg)     ภาพวาดครูเหม เวชกร

มีสินฤๅเท่าผู้    มีคุณ
ข้าศึกฤๅปานปุน          . พยาธิไซร้
รักใดจักเพิ่มพูน        รักอาต – มานา
แรงอื่นฤๅจักได้            เท่าด้วยแรงกรรม ฯ

           อธิบายความ
            มีทรัพย์สิน ร่ำรวยมากมายสักเท่าใด คุณค่าก็ไม่เทียบเท่า “ผู้มีพระคุณ”
           ภัยจากข้าศึกศัตรู ก็ไม่ร้ายกาจเท่าภัยจาก “โรคภัยไข้เจ็บ”
           จะรักใครมากมายสักเท่าใด ก็ไม่เท่ากับ “รักตนเอง”
           อำนาจ หรือ กำลังใดๆ ก็ไม่เท่าอำนาจแห่ง “แรงกรรม”



ยายำประกอบด้วยมนตร์ดล
เคราะห์โศกโรคปนปน       . ปะไซร้
แม้นบุญช่วยอวยผล    ผลเพิ่ม พูนนา
แม้บาปบุรพกรรมให้      บาปซ้ำเสียศูนย์ ฯ

           อธิบายความ
            ยาที่ใช้เวทมนตร์คาถาปลุกเสกกำกับลงไปด้วย
           หากคนไข้ทำบุญกุศลไว้มาก ผลบุญประกอบสรรพคุณยาช่วยให้การรักษาได้ผล หายจากความเจ็บป่วย 
           อย่างไรก็ตาม หากคนไข้มีบุรพกรรมหนัก สรรพคุณยาที่ใช้คาถาปลุกเสกก็เอาไม่อยู่ หากถึงวาระก็ต้องตาย

(แพทย์แผนไทยโบราณ รักษาคนไข้โดยใช้ทั้งพลังวัตถุ (สรรพคุณยา) และพลังจิต (คาถาปลุกเสกตัวยา) ประกอบกัน
เช่น เมื่อจะต้มยา ท่านให้บริกรรมคาถาต้มยา คือ เมื่อนำใบตองรองก้นหม้อ ก่อนนำตัวยาใส่ลงในหม้อ หรือจะเทยาลงบรรจุในขวด
ท่านให้ว่าคาถาดังนี้ อหัง วิมะยัง ปัจจักขามิ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/99100473109218_maxresdefault_1_320x200_.jpg)     ภาพวาดครูเหม เวชกร

หมอแพทย์ทายว่าไข้ลมคุม
โหรว่าเคราะห์แรงรุม       . โทษให้
แม่มดว่าผีกุม    ทำโทษ
ปราชญ์ว่ากรรมเองไซร้      ก่อสร้างมาเอง ฯ

           อธิบายความ
            บรรพบุรุษของเราจำแนกประเภทเหตุของการเกิดสรรพโรคของมนุษย์ทั้งหลายไว้ต่างกัน ดังนี้

            แพทย์ ว่าโรคเกิดจากธาตุ (ดิน น้ำ ลม ไฟ) ในร่างกายกำเริบ แปรปรวน รักษาโดยสรรพคุณยา
            หมอดู ทายว่า โรคเกิดจากชะตามีเคราะห์ ราหูเข้าแทรก  แก้โดยสะเดาะเคราะห์ ต่อดวงชะตา
            หมอผี ทายว่า เกิดโรคเพราะโดนสิ่งลี้ลับ โดนผีร้ายกระทำ แก้ด้วยการใช้คาถาอาคมและเวทย์มนต์ต่างๆ ขับไล่ผีออกจากร่างผู้ป่วย
            พุทธศาสนา ท่านว่า ความเป็นผู้มีโรคมาก มาจากวิบากแห่งกรรม (ผลของกรรมเก่าที่ตนเองทำไว้ติดตามข้ามภพข้ามชาติ หรืออาจเกิดจากกรรมใหม่ในปัจจุบันชาติ)


ขอเชิญร่วมอธิบายความตามโคลงโลกนิติ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา
และแก้ไขสิ่งที่ผู้โพสต์อาจตีความคลาดเคลื่อน  เผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป
400-22


หัวข้อ: Re: โคลงโลกนิติ : คาถาสุภาษิตจากคัมภีร์โบราณ กับคำอธิบายความ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 29 เมษายน 2562 11:41:25
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/50182784141765_untitled_320x200_.png)     ภาพวาดครูเหม เวชกร

แม้มีตัวใหญ่เพี้ยง ภูผา
สูงเจ็ดลำตาลสา-       มารถแท้
พงศ์พันธ์เผ่าจันทรา         สุริเยศ ก็ดี
ครั้นว่าไร้ทรัพย์แล้ ทั่วหล้าฤๅเห็น ฯ

           อธิบายความ
            คนมีร่างกายใหญ่โตเท่าภูเขา สูงเท่าลำตาลเจ็ดต้นเรียงต่อกัน มีอิทธิฤทธิ์และอำนาจมหาศาล สืบเชื้อสายมาจากเทพเจ้าแห่งพระจันทร์หรือพระอาทิตย์ก็ตาม  ครั้นถึงคราววิบัติสิ้นไร้ทรัพย์เสียแล้ว คนทั่วทั้งโลกก็ไม่มีใครมองเห็นหรือให้ความสนใจ ...

            คำโคลงบทนี้ให้ข้อคิดว่าสังคมให้ความสำคัญหรือยกย่องบุคคลที่มีมีฐานะ มากกว่ารูปลักษณ์ ความสามารถ และชาติตระกูล  




คนผู้หินชาติช้า พงศ์พันธุ์
ครั้นมั่งมีสินสรรพ์           อวดอ้าง
แม้ผู้เผ่าสุริยจันทร์ สูงศักดิ์ ก็ดี
ครั้นทรัพย์แรมโรยร้าง หมู่ร้ายดูแคลน ฯ

           อธิบายความ
            คนเกิดในสกุลต่ำ เป็นคนกระด้าง เย่อหยิ่ง  ต่อมากลับกลายเป็นผู้ร่ำรวยมีทรัพย์สินเงินทองมากมาย ก็เที่ยวคุยโอ้อวดฐานะจนเกินความจริง  ไปดูถูกเหยียดหยามกระทั่งผู้ดีมีสกุลที่เกิดในตระกูลร่ำรวย สูงศักดิ์  ที่เขาตกทุกข์ยากจนลง

            โคลงบทนี้ให้ข้อคิด คนลืมตัว ลืมกำพืดตนเอง หยิ่งผยองในฐานะปัจจุบันโดยลืมอดีตความเป็นมาของตน เมื่อมีฐานะดีขึ้นเป็นคนหยิ่งยโส ชอบยกตนข่มผู้อื่น  



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/54108911835484_p65_1_320x200_.jpg)     ภาพวาดครูเหม เวชกร

แม้มีเนตรพ่างเพี้ยงพันจัก-ษุแฮ
มีวิชารู้หลัก       . เลิศล้น
ปัญญายิ่งยศศักดิ์     ลือทั่ว ภพนา
รู้เท่าใดฤาพ้น       พ่ายแพ้ความตาย ฯ

           อธิบายความ
            ผู้มีดวงตานับพันดวง (มีดวงตาเห็นธรรม-ธรรมจักษุ) มีปัญญาล้ำเลิศประเสริฐกว่าคนทั้งหลายในโลกนี้ ก็ไม่อาจหลีกหนีความตายไปได้พ้น


มีฤทธิ์แรงมากแม้นทศพล ก็ดี
หักพระเมรุทบทน       . ท่าวแท้
หยิบยกสี่สากล     ชูกลอก ไว้นา
บัดย่อมจะพ่ายแพ้       แก่ท้าวมฤตยู ฯ

           อธิบายความ
            พระพุทธเจ้า ทรงรับรองว่าปาฏิหาริย์เป็นสิ่งที่เป็นไปได้จริง
ทรงสามารถแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ คือ การแสดงฤทธิ์อิทธิฤทธิ์ได้ตามพระอัธยาศัย
ทรงสามารถหักเขาพระเมรุซึ่งเป็นแกนกลางของโลกให้พังทลายลงได้
หรือยกมหาทวีปทั้ง ๔ ของจักรวาลขึ้นชูไว้ก็ได้  
สิ่งหนึ่งที่เหนือวิสัยของพระพุทธองค์ที่จะทำได้ คือ การหลีกพ้น "ความตาย" ความจริงแท้อันเป็นสัจธรรม



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/57898167769114_01_3_1_320x200_.jpg)     ภาพวาดครูเหม เวชกร

มีฤทธิ์รู้ยิ่งแม้นสัพพัญญู ก็ดี
เหินเห็จเตร็จไตรตรู       . ทั่วหล้า
ดำดินแหวกสินธู     ทุกทวีป
รู้เท่ารู้ล้นฟ้า       ห่อนพ้นความตาย ฯ

           อธิบายความ
             ทุกชีวิตล้วนตกอยู่ในอำนาจของความตาย
            พระพุทธเจ้า ผู้เป็นสัพพัญญูรู้แจ้งโลก มีฤทธามหานุภาพมาก สามารถเหาะเหินเดินอากาศ ดำน้ำ ดำดิน
            ท่องเที่ยวไปได้ทั่วภูมิทั้งสาม (เทวโลก มนุษย์โลก แลอเวจีมหานรก) พระพุทธองค์ก็ไม่อาจหลีกหนีพ้นจากความตายไปได้



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/16137023808227_603745_534632319926942_9268123.jpg)     ภาพวาดครูเหม เวชกร

บัญญัติลูกเต้าทรัพย์สินสกล
ผู้โฉดคิดเวียนวน       . โศกเศร้า
บ่คิดว่าตัวตน    ศูนย์เปล่า ไซร้ฤๅ
เมียลูกทรัพย์หากเข้า      เกาะยื้อยามมรณ์ ฯ

           อธิบายความ
             แท้จริงแล้วไม่มีอะไรเป็นของเรา
            ร่างกายสังขารนี้มิใช่ตัวตนของเรา ลูก ทรัพย์ ภรรยา/สามี มิใช่สมบัติของเรา…
            เรามีความพลัดพรากเป็นธรรมดา สักวันเราต้องละจากโลกนี้ แม้แต่ร่างกายก็ไม่สามารถนำเอาติดตามไปได้
            ผู้ยึดมั่นถือมั่น ย่อมมีความเศร้าโศกครอบงำใจ  เพราะฉะนั้น จึงควรฝึกใจให้ปล่อยวาง รักษาใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส
            คลายความผูกพันในสิ่งอันเป็นที่รัก



ผู้ใดมีมั่งคั่งเงินทอง
ลูกที่ดีให้ครอง       . สืบไว้
ลูกร้ายอย่าพึงปอง    มอบทรัพย์ ให้นา
พึงวิจารณ์ประมวญให้      รอบรู้เป็นคุณ ฯ

           อธิบายความ
             บุตรเศรษฐีผู้มีทรัพย์มาก
             ผู้มีทรัพย์มาก เมื่อมีบุตรเจริญวัย ถึงกาลอันควรมอบทรัพย์ พึงพิจารณาให้รอบคอบ ว่าควรมอบให้แก่บุตรที่มีปัญญา
             ประพฤติปฏิบัติตัวดี บุตรนั้นจักปกครองทรัพย์มรดกแทนเราได้  จักยังทรัพย์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดเพิ่มพูนขึ้น   
             ในทางตรงกันข้าม หากมอบทรัพย์ให้แก่บุตรผู้โง่เขลา ประพฤติตนไปในทางอบายมุข บุตรนั้นได้ใช้สอยอย่างสุรุ่ยสุร่าย 
             กิจการงานอย่างอื่นไม่ต้องทำ ไม่สามารถยังทรัพย์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น โดยที่สุด บุตรจักผลาญทรัพย์ที่ได้รับนั้นจนหมดสิ้น


มีลูกจากโทษแท้สาธารณ์
เข้าบ่อนคบคนพาล       . ลักลี้
ส้องเสพสุราบาน    การบาป
จากโทษแท้เท่านี้      ลาภล้ำบิดา ฯ

           อธิบายความ
             อภิชาตบุตร
             พ่อแม่ทุกคนเมื่อเลี้ยงดูบุตร ย่อมปรารถนาอภิชาตบุตร ได้แก่บุตรธิดาผู้มีปัญญา มีศีล เป็นสัมมาทิฐิ
             มีกัลยาณธรรม งดเว้นจากบาปทุจริต มีความรู้  มีอาชีพ และมีกิริยามารยาทงดงาม บุตรเช่นนี้
             ย่อมสร้างความเจริญแก่วงศ์ตระกูล นำความปลื้มปีติมาสู่บิดามารดา


ขอเชิญร่วมอธิบายความตามโคลงโลกนิติ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา
และแก้ไขสิ่งที่ผู้โพสต์อาจตีความคลาดเคลื่อน  เผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป




หัวข้อ: Re: โคลงโลกนิติ : คาถาสุภาษิตจากคัมภีร์โบราณ กับคำอธิบายความ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 09 กรกฎาคม 2562 16:29:43
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/42793361180358_BB3_1_.jpg)      ภาพวาดครูเหม เวชกร

ลูกหนึ่งยอดยิ่งล้ำประยูร
ลูกหนึ่งเทียมตระกูล       . พ่อแท้
ลูกหนึ่งถ่อยสถูล     กว่าชาติ
สามสิ่งนี้มีแล้       เที่ยงแท้ทุกคน ฯ

           อธิบายความ
             บุตร ๓ ประเภท
            การมีบุตรไว้สืบสกุลเป็นสุดยอดความปรารถนาของมนุษยชาติ พระพุทธเจ้าตรัสว่า บุตรแบ่งเป็น ๓ ประเภท
            ๑.อภิชาตบุตร ได้แก่ บุตรที่เกิดมามีคุณสมบัติเหนือกว่าบิดามารดา (ประเสริฐกว่าพ่อแม่) เป็นผู้เชิดชูวงศ์สกุล อุดหนุนค้ำจุนพ่อแม่
            ๒.อนุชาตบุตร ได้แก่ บุตรที่มีคุณสมบัติเสมอบิดามารดา คือ ไม่ดี ไม่เลวกว่าพ่อแม่  เป็นผู้ดำรงวงศ์สกุลไว้ไม่ให้เสื่อมโทรม และไม่สามารถจะทำให้ครอบครัวเจริญรุ่งเรืองขึ้นไปกว่าเดิม
            ๓.อวชาตบุตร ได้แก่ บุตรที่มีความดี คุณธรรม และความสามารถต่ำกว่าบิดามารดา ทำให้พ่อแม่เดือดร้อนทุกข์ใจอยู่ร่ำไป




มีลูกลูกเล่าไซร้หลายประการ
ลูกหนึ่งพึงล้างผลาญ       . ทรัพย์ม้วย
ลูกหนึ่งย่อมคบพาล     พาผิด มานา
ลูกที่ดีนั้นด้วย       ว่ารู้ฟังคำ ฯ

           อธิบายความ
             บุตรมีหลายประเภทด้วยกัน ได้แก่
            บุตรเกิดมาล้างผลาญทรัพย์สมบัติให้พินาศ ๑
            บุตรเกิดมา มีจิตเป็นมิจฉาทิฏฐิ  มีความเห็นผิด ไม่รู้ว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรควร อะไรไม่ควร ๑
            บุตรที่เกิดมาเป็นผู้ประเสริฐ ประพฤติตนตั้งตนอยู่ในความดี อยู่ในโอวาทของบิดามารดา ๑  
 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/69820767599675_3r_1_320x200_.jpg)      ภาพวาดครูเหม เวชกร

มีลูกดื้อลูกขี้กาแก
มีทาสเทียรตำแย       . แส่ไส้
มีเรือรั่วขี่แพ    ดีกว่า
มีแม่เรือนเปื้อนให้      เดือดร้อนเพรางาย ฯ

           อธิบายความ
             มีเรือรั่ววิดน้ำ ฤาวาย - เหตุแห่งทุกข์
            มีลูกดื้อ เกเรคึกคะนองจนเอาไว้ไม่อยู่ พ่อแม่ย่อมทุกข์ใจ ลูกเช่นนี้ เปรียบเหมือนขี้นกขี้กา ไม่มีประโยชน์ ไม่มีใครอยากได้
            มีบ่าวไพร่บริวาร ก็ต้องเตรียมตัวเตรียมใจรับกับความทุกข์ความเดือดร้อนที่อาจมีขึ้น เหมือนโดนขนพิษตำแย ถูกร่างกายเมื่อไรจะทำให้ทั้งแสบทั้งคัน
            ถ้ามีเรือรั่ว ต้องคอยวิดน้ำออกอยู่ตลอดเวลา มีเรือไม่สมบูรณ์ใช้การไม่ได้  สู้ใช้แพยังจะดีเสียกว่า 
            มีภรรยาไม่ดี ไม่ทำหน้าที่ที่ควรพึงประพฤติพึงปฏิบัติ ภรรรยาเช่นนี้ย่อมทำความเดือดร้อนใจให้สามีตลอดเวลา


ขอเชิญร่วมอธิบายความตามโคลงโลกนิติ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา
และแก้ไขสิ่งที่ผู้โพสต์อาจตีความคลาดเคลื่อน  เผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป




หัวข้อ: Re: โคลงโลกนิติ : คาถาสุภาษิตจากคัมภีร์โบราณ กับคำอธิบายความ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 15 สิงหาคม 2562 18:22:19
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/32159900872243_spd_20110608101529_b_1_320x200.jpg)     ภาพวาดครูเหม เวชกร

พระจันทร์โอภาสด้วยราตรี
แสงสว่างแผ้วพันสี       . ส่องหล้า
กษัตริย์อ่าอินทรีย์     เรืองรุ่ง งามนา
บุตรที่ดีรุ่งหน้า       พวกพ้องพงศ์พันธุ์ ฯ

           อธิบายความ
             ความเปล่งปลั่ง สว่างสุกใสของแสงจันทร์ จะปรากฏในค่ำคืนราตรีที่มืดมิด
            โลกสว่างไสว มองเห็นสิ่งต่างๆ ชัดเจน ด้วยพระอาทิตย์สาดแสง
            พระราชา แลดูสง่างาม มีอำนาจเหนือปวงชนทั้งหลาย  เมื่อฉลองพระองค์ทรงเครื่องขัตติยราชแบบกษัตริย์
            บุตรที่ดี จะเป็นผู้มีความเจริญก้าวหน้า และเป็นผู้สร้างชื่อเสียง เชิดชูวงศ์ตระกูล



เมียมากจุ่งระมัดหมั้นตัวตน
มันย่อมหามนต์ดล       . คิดร้าย
รักนักมักหลงกล     การเสน่ห์
ควรประหยัดอย่าหง้าย       จักสิ้นเสียตัว ฯ

           อธิบายความ
             ผู้ที่มีใจฝักใฝ่ในเรื่องชู้สาว มีภรรยาหลายคน ให้พึงระมัดระวัง
            อาจถูกภรรยาบางคนคิดร้าย ผูกมัดให้มั่นด้วยเสน่ห์ยาแฝด  ให้ชายบังเกิดความรักตัวจนหลงใหลถอนตัวไม่ขึ้น  
            จึงควรระมัดระวัง อย่าเป็นผู้จมอยู่กับกิเลส กระทำตนเป็นคนเจ้าชู้ เพราะปลายทางชีวิตมักจบลงด้วยการถูกปอกลอก
            สูญเสียทั้งทรัพย์สินเงินทองและเกียรติยศชื่อเสียง
 


ว่าเมียมีมากล้ำหลายเมีย
เมียหนึ่งยกยอเยีย       . อย่างแหม้
เมียหนึ่งส่ายทรัพย์เสีย     ศูนย์จาก ตนนา
เมียหนึ่งทำโทษแท้       เที่ยงให้ฉิบหาย ฯ

           อธิบายความ
             โคลงสุภาษิตบทนี้ ท่านสอนว่า
            • ภรรยา จำแนกได้มากมายหลายประเภท
            • ภรรยาเสมอแม่ เป็นภรรยาที่ดีมาก มีความดีงามเสมอกับแม่ ช่วยเกื้อกูลสามี มีความรักต่อสามีอย่างสุดซึ้ง ไม่เคยทอดทิ้งแม้ยามทุกข์ยาก
            • ภรรยาโจร  ภรรยาประเภทนี้เป็นคนล้างผลาญ สร้างหนี้สิน เก็บงำทรัพย์ไว้ไม่อยู่ จะยักยอกทรัพย์ของสามีเสียให้หมด เพื่อความสุขของตัวเอง
            • ภรรยาล้างผลาญทำลาย (ภรรยาผู้เสมอด้วยเพชฌฆาต)  เป็นภรรยาที่มีจิตใจคิดไม่ดี ไม่สนในการงานทั้งปวง เป็นผู้ขี้เกียจ ชอบทำร้าย ชอบด่าทอสาปแช่ง คิดฆ่าสามี หรือมีชู้กับชายอื่น  
 

 
หญิงประทุษฐ์ร้ายทำเล่ห์ซ้อน    เหนือชาย
คิดคดมุ่งมั่นหมาย       ค่ำเช้า
คอยไข้ป่วยปางตาย     อับลาภ
เอาพิษเพิ่มภักษ์เข้า       เหตุนั้นควรถวิล ฯ

           อธิบายความ
             ผู้ชายควรใคร่ครวญให้ดีว่า ไม่พึงเลือกหญิงที่มีลักษณะดังต่อไปนี้มาเป็นคู่ครอง  
            ผู้หญิงชั่วช้า เจ้าเล่ห์มารยาให้ผู้อื่นหลงผิด ในใจมีแต่คิดทรยศ  พอสามีป่วยหนัก ขาดแคลนทรัพย์สินเงินทอง  
            ก็หาทางฆ่าเสีย โดยเอาสิ่งที่เป็นอันตรายต่อร่างกายผสมอาหารให้สามีกิน
 

ขอเชิญร่วมอธิบายความตามโคลงโลกนิติ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา
และแก้ไขสิ่งที่ผู้โพสต์อาจตีความคลาดเคลื่อน  เผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป


หัวข้อ: Re: โคลงโลกนิติ : คาถาสุภาษิตจากคัมภีร์โบราณ กับคำอธิบายความ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 14 กันยายน 2562 11:19:50
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/39107353405819__1_320x200_.jpg)
ขอขอบคุณ เว็บไซต์ ajarnsupoj.com (เจ้าของภาพ)

หญิงชั่วผัวหย่าร้าง      สามคน
ข้าหลีกหนีสามหน       . จากเจ้า
ลูกศิษย์ผิดครูตน     สามแห่ง
เขาหมู่นี้อย่าเข้า       เสพส้องสมาคม ฯ

           อธิบายความ
           สุภาษิตบทนี้ สอนให้พึงระวัง “คนคบไม่ได้” มี ๓ ประเภท ได้แก่
           ๑. หญิงมีลูกผัวไปแล้ว และมีอีก และเลิกร้างกันไปอีกถึงสามคน (มีผู้เล็งเห็นว่า หากหญิงดี ไหนเลยจะเกิดการเลิกร้างและได้เสียกันบ่อย)
           ๒. ลูกน้องที่หนีเจ้านายมาแล้ว ๓ คน (จัดเป็นลูกน้องยอดแย่ หรือข้าไม่ได้ดั่งใจเจ้านาย ทำงานร่วมกับใครไม่ได้)  
           ๓. ศิษย์อกตัญญู ลบหลู่ เนรคุณ และละเมิดกฎข้อห้ามของครูบาอาจารย์ ถึง ๓ ครั้ง (ครูเป็นผู้มีพระคุณ เปรียบเสมือนบิดามารดาคนที่สองของศิษย์ โบราณเรียกคนที่ผิดครูนี้ว่า "บุคคลต้องอาถรรพ์ธรณีสาร" ชีวิตต้องพบวิบากกรรม ทนทุกข์ทรมานตลอดชีวิต)
 

ขอเชิญร่วมอธิบายความตามโคลงโลกนิติ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา
และแก้ไขสิ่งที่ผู้โพสต์อาจตีความคลาดเคลื่อน  เผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป
pc.400


หัวข้อ: Re: โคลงโลกนิติ : คาถาสุภาษิตจากคัมภีร์โบราณ กับคำอธิบายความ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 07 ตุลาคม 2562 16:28:39
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/58585843609438_images7SX1LD1V_320x200_.jpg)

ถ่อลอยกลางแม่น้ำ    ฤๅจะเอา
แม้มิบุบบางเบา       . มอดย้ำ
สตรีรูปลำเพา    ผัวหย่า เล่าแฮ
ยักหล่มถ่มร้ายซ้ำ      ไม่ร้ายแรงหึง ฯ
           อธิบายความ
             เห็นไม้ถ่อเรือลอยมากลางน้ำ จงอย่าได้เสียเวลาเก็บเอามาใช้งานอีกเลย ถ่อนั้นอาจชำรุดเสียหายใช้งานไม่ได้
            หรือภายนอกอาจดูดี แต่ภายในอาจถูกมอดกัดกินทำลายเนื้อไม้ไปแล้วก็ได้ เช่นเดียวกับสตรีที่มีรูปร่างหน้าตา
            สวยสดงดงาม แต่สามีขอหย่าร้าง ชีวิตครอบครัวต้องล่มสลาย ก็อย่าได้เอามาเป็นคู่ชีวิต ให้ตระหนักไว้ว่า
            หญิงคนนี้คงจะมีนิสัยร้ายกาจ หยาบคาย หรือเป็นคนเจ้าชู้ หรือเป็นคนขี้หึง



อากาศหฤโหดร้ายคือกา
สัตว์สี่ตีนคือลา       . โหดแท้
นกพรตมักโกรธา    หฤโหด
ร้ายกว่าร้ายนั้นแล้      แต่ผู้นินทา ฯ
             อธิบายความ
              ในบรรดานกที่บินฉวัดเฉวียนในท้องฟ้า บางตำรากล่าวว่า กา เป็นสัตว์อัปมงคล เป็นเครื่องหมายของลางร้าย ความทุกข์ ความหายนะ
             ในบรรดาสัตว์สี่เท้า สัตว์ที่นิสัยแย่ที่สุดคือ ลา เป็นสัตว์ที่มักจะมีอารมณ์ร้าย แปรปรวน หรือเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเมื่อไม่สบอารมณ์
             ในบรรดาบรรพชิตหรือผู้ถือบวช ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติตามหลักพรหมจรรย์ เพื่ออบรมขัดเกลาจิตใจ นั้น นักบวชที่จัดว่าเลวทราม ชั่วร้าย คือนักบวชที่ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ มักโกรธและโหดร้าย
             แต่ที่ร้ายกาจยิ่งกว่าในบรรดาสามประการที่กล่าวมาแล้วนั้น ได้แก่ คนที่ชอบนินทาคนอื่น  พูดถึงคนอื่นในทางไม่ดีลับหลัง.


ขอเชิญร่วมอธิบายความตามโคลงโลกนิติ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา
และแก้ไขสิ่งที่ผู้โพสต์อาจตีความคลาดเคลื่อน  เผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป


หัวข้อ: Re: โคลงโลกนิติ : คาถาสุภาษิตจากคัมภีร์โบราณ กับคำอธิบายความ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 16 ตุลาคม 2562 16:35:52
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/98366075423028_8i_320x200_.jpg)     ภาพวาดครูเหม เวชกร


ดังฤๅแม่น้ำและ    หนทาง
ศาลสระโรงบึงบาง       . บ่อห้วย
เปรียบประดุจใจนาง    ในโลก นี้นา
ฤๅอิ่มเวลาด้วย      แห่งห้องสงสาร ฯ
           อธิบายความ
             แม่น้ำ หนทาง โรงสุรา สถานที่ที่ชุมนุมเพื่อการเล่นสนุก และบ่อน้ำ มีอุปมาฉันใด,
            หญิงในโลกก็มีอุปไมยฉันนั้น, เวียนตายเวียนเกิด เป็นทาสบำเรอกามสุข, เขตแดนของหญิงเหล่านั้นไม่มีเลย 
 


แมลงวันท่วยเด็กน้อย    นารี
พลูกัดชลคุณฑี       . ลูกไม้
น้ำไหลแลฤๅษี    สิทธิเดช
เจ็ดสิ่งนี้อย่าได้      เกลียดอ้างเป็นเดน ฯ
           อธิบายความ
             แมลงวัน  เด็กสาวรุ่น ใบพลูที่ถูกกัดแล้ว  หม้อน้ำ (ภาชนะใส่น้ำทรงกลม)   ผลไม้  ธารน้ำไหล  และนักพรตผู้มีเดชะบารมี
            เจ็ดสิ่งนี้อย่าได้รังเกียจว่าเป็นเดนของใคร
    



ขอเชิญร่วมอธิบายความตามโคลงโลกนิติ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา
และแก้ไขสิ่งที่ผู้โพสต์อาจตีความคลาดเคลื่อน  เผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป



หัวข้อ: Re: โคลงโลกนิติ : คาถาสุภาษิตจากคัมภีร์โบราณ กับคำอธิบายความ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 01 พฤศจิกายน 2562 15:31:14
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/46070055704977_ab84229f_1a7f_4886_8fc0_144356.jpg)     ภาพวาดครูเหม เวชกร

ดูข้าดูเมื่อใช้    การหนัก
ดูมิตรพงศารัก       . เมื่อไร้
ดูเมียเมื่อไข้จัก     จวนชีพ
อาจจักรู้จิตได้       ว่าร้ายฤๅดี ฯ

           อธิบายความ
              การหยั่งรู้อุปนิสัยใจคอของคนนั้นแม้นจะดูยาก แต่ก็พอมีโอกาสหยั่งถึง คติโคลงบทนี้ท่านสอนวิธีพิจารณาดูบุคคลใกล้ชิด ๓ จำพวก ว่าใครเป็นที่พึ่งได้หรือไม่ได้ ดังนี้
              ๑. คนรับใช้ ข้าทาสบริวาร ให้มอบงานหนักให้ทำ เพื่อทดสอบความรับผิดชอบ  น่าไว้วางใจ สามารถทำงานได้ถูกต้อง ครบถ้วนและตรงต่อเวลาหรือไม่
              ๒. มิตรแท้ ดูยามเราประมาท มีภัย ตกทุกข์ได้ยาก มิตรแท้จะเป็นผู้ให้การอุปการะ ไม่ละทิ้งในยามวิบัติ เป็นที่พึ่งพาได้
              ๓. ภรรยา ให้ดูในยามเจ็บไข้หนัก ภรรยาที่ดีย่อมร่วมทุกข์ร่วมสุข  หมายความว่า "สุขๆ ด้วย  ทุกข์ๆ ด้วย" ไม่ทอดทิ้งสามีในยามป่วยหนักใกล้จะตาย
 

ขอเชิญร่วมอธิบายความตามโคลงโลกนิติ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา
และแก้ไขสิ่งที่ผู้โพสต์อาจตีความคลาดเคลื่อน  เผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป


หัวข้อ: Re: โคลงโลกนิติ : คาถาสุภาษิตจากคัมภีร์โบราณ กับคำอธิบายความ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 13 พฤศจิกายน 2562 11:42:44
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/83172545664840_1.jpg)     ภาพวาดครูเหม เวชกร

ทาสอย่าคิดไว้    วางใจ
ปกปิดกลภายใน       . อย่าหง้าย
เลศลับสิ่งใดใด    เห็นเหตุ
มันแนะนำทำร้าย      หมดสิ้นเสียตัว ฯ
           อธิบายความ
             ให้มีความระมัดระวัง อย่าวางใจหรือไว้วางใจข้ารับใช้ง่ายเกินไป อย่าเปิดเผยเรื่องราวอันเป็นความลับให้คนรับใช้รับรู้
            เพราะจะเป็นเหตุให้เราเดือดร้อนจากการสูญสิ้นทรัพย์สินเงินทอง และอันตรายแก่ชีวิตในภายหลังได้
   

ความลับอย่าให้ทาส    จับที
ปกปิดมิดจงดี       . อย่าแผร้
แม้ให้ทราบเหตุมี    หลายหลาก
นับว่าข้าทาสแท้      โทษร้ายเร็วถึง ฯ
           อธิบายความ
             ไม่ควรให้ทาสในเรือนรู้เหตุสำคัญอันลึกลับที่ตนควรจะรักษา เช่น ที่ลับสำหรับซ่อนเงิน-ของมีค่า 
            หรือห้องหลบภัยในบ้าน  เพราะจะนำภัยให้ผู้เป็นนายไปสู่ทางแห่งความตาย หรือทรัพย์สินพินาศ
 

ขอเชิญร่วมอธิบายความตามโคลงโลกนิติ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา
และแก้ไขสิ่งที่ผู้โพสต์อาจตีความคลาดเคลื่อน  เผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป
 


หัวข้อ: Re: โคลงโลกนิติ : คาถาสุภาษิตจากคัมภีร์โบราณ กับคำอธิบายความ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 24 ธันวาคม 2562 16:45:33
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/87431477713916_p5b5og9d3SneFQZ1Y5V_o_1_320x20.jpg)     ภาพวาดครูเหม เวชกร

หญิงทาสทางทาสใช้    โดยควร
อย่าและเล็มลามลวน         . วากเว้
รู้รสก่อเชิงชวน     ใช้ยาก
ดังแมลงป่องจระเข้       ก่งแหง้งอนหาง ฯ

           อธิบายความ
             มีทาสหญิงในบ้านให้ใช้งานตามหน้าที่ที่พึงมอบหมายให้ทำ ให้รู้จักเหนี่ยวรั้งใจ อย่าไปลวนลามเพียงเพื่อบำบัดความใคร่  
           ให้ควรสังวรไว้ว่า เมื่อใดพลาดท่าได้ทาสหญิงเป็นเมียแล้ว  หญิงนั้นมักลืมตัวว่าตนเองพ้นจากสถานะของความเป็นทาส ย่อมใช้ให้ทำการงานได้ยากยิ่งนัก
 



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/42343392471472__3588_3619_3641_.gif)     ภาพวาดครูเหม เวชกร

ช้างสารหกศอกไซร้    เสียงา
งูเห่ากลายเป็นปลา         . อย่าต้อง
ข้าเก่าเกิดแต่ตา    ตนปู่ ก็ดี
เมียรักนอนร่วมห้อง      อย่าไว้วางใจ ฯ

           อธิบายความ
             โคลงบทนี้ให้แง่คิดเตือนสติ ว่า จงอย่าไว้ใจ ช้างสาร งูเห่า ข้าเก่า เมียรัก
             ช้างสาร – เป็นช้างขนาดใหญ่ มีงาเป็นอาวุธสำคัญสำหรับต่อสู้ศัตรู แม้ช้างจะเสียงาไป ก็จงอย่าประมาท ช้างสารแม้จะสูญเสียงาแต่ยังมีพละกำลังมากล้นที่จะปลิดชีวิตศัตรู
             งูเห่า – เป็นสัตว์ร้าย มีพิษร้ายอยู่ในตัว เปรียบเสมือนคนชั่ว คนเลว อย่ามองคนแต่เพียงเปลือกนอก การคบคนประเภทนี้ จะได้รับความเดือดร้อนในภายหลัง ควรหลีกหนี .
             ข้าเก่า – ข้าทาสบริวารแม้ว่าจะรับใช้กันมาตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย แต่ใช่ว่าทุกคนจะสัตย์สุจริต หลายๆ คนไม่มีความซื่อสัตย์และสำนึกในบุญคุณที่ช่วยเหลือเลี้ยงดูมา จึงควรระมัดระวัง อย่าไว้วางใจ
             เมีย –โดยธรรมดา “สตรี” เป็นเพศที่มีร่างกายบอบบาง จิตใจอ่อนไหวง่าย และซึมซับคำสอนพุทธศาสนาได้ดีกว่าบุรุษเพศ
             เมื่อแต่งงานแล้วจะเป็นเพื่อนที่ดีที่สุดของสามี แต่เมื่อใดมีปัญหากับชีวิตคู่  แม้จะนอนร่วมห้องกันอยู่ ภรรยาก็สามารถทำร้ายสามีให้ถึงตายได้มากมาย
   


ขอเชิญร่วมอธิบายความตามโคลงโลกนิติ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา
และแก้ไขสิ่งที่ผู้โพสต์อาจตีความคลาดเคลื่อน  เผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป


หัวข้อ: Re: โคลงโลกนิติ : คาถาสุภาษิตจากคัมภีร์โบราณ กับคำอธิบายความ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 01 มีนาคม 2563 18:36:30
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/73370913043618_169842_1_Copy_.jpg)     ภาพวาดครูเหม เวชกร

หญิงชายบ้าบาปเถ้า    ทุรชน
ใครอดออมข้าคน           . หมู่นี้
สิริห่อนจากตน     คลาคลาด
มาอยู่ชูตีนกี้       เมื่อรื้อวางวาย ฯ

           อธิบายความ
           ขันติ คือความอดทน เป็นคุณลักษณ์ที่สำคัญของผู้ประสบความสำเร็จในชีวิต
           ผู้ใดที่มีสติมั่นคง สามารถอดทน รู้จักระงับอารมณ์ ไม่หวั่นไหวให้ใจต้องเร่าร้อน ต่อหญิงชายที่มีจิตใจต่ำทราม ใจบาปหยาบช้า  หรือพวกคนเสียสติเสียได้  
           สิริมงคลหรือความเจริญรุ่งเรือง ย่อมบังเกิดมีขึ้นแก่ผู้ที่มีสติและขันติไปตลอดชีวิต
 


ขอเชิญร่วมอธิบายความตามโคลงโลกนิติ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา
และแก้ไขสิ่งที่ผู้โพสต์อาจตีความคลาดเคลื่อน  เผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป


หัวข้อ: Re: โคลงโลกนิติ : คาถาสุภาษิตจากคัมภีร์โบราณ กับคำอธิบายความ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 04 เมษายน 2563 11:01:01

.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/66365911066532_1.png)     ภาพวาดครูเหม เวชกร

พ่อชั่วคนย่อมรู้    สาธารณ์
แม่ชั่วปากสามานย์           . กล่าวกล้า
พ่อแม่โคตรสันดาน    สุทธชาติ
คำอ่อนหวานบานหน้า      ย่อมรู้อันดี ฯ

           อธิบายความ
           ลูกไม้ย่อมหล่นไม่ไกลต้น - ลูกย่อมไม่แตกต่างจากพ่อแม่มากนัก คุณลักษณะหรือพฤติกรรมของพ่อแม่เป็นแรงบันดาลใจให้ลูกซึมซับนำไปเป็นต้นแบบดำเนินรอยตาม หากทำสิ่งดีๆ ลูกจะซึมซับสิ่งที่ดี หากทำสิ่งชั่วเลวทราม ลูกจะทำสิ่งชั่วเลวทรามตามอย่างพ่อแม่ ฉะนั้น พ่อแม่ควรเป็นต้นแบบคุณธรรมให้ลูกเห็น   


ขอเชิญร่วมอธิบายความตามโคลงโลกนิติ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา
และแก้ไขสิ่งที่ผู้โพสต์อาจตีความคลาดเคลื่อน  เผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป


หัวข้อ: Re: โคลงโลกนิติ : คาถาสุภาษิตจากคัมภีร์โบราณ กับคำอธิบายความ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 16 เมษายน 2563 20:42:29
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/89272527727815_b09_01_11_22_37_56_1_1_Copy_.jpg)     ภาพวาดครูเหม เวชกร

พิษร้อนในโลกนี้    มีสาม
พิษหอกดาบเพลิงลาม           . ลวกไหม้
ร้อนจริงก็มียาม     หยุดหย่อน เย็นนา
ร้อนสิ่งเดียวร้อนไร้       ยิ่งร้อนฤๅวาย ฯ

           อธิบายความ
           ความยากจน เป็นที่สุดแห่งความทุกข์ในโลก
           สิ่งร้ายเป็นอันตรายหรือให้ความเดือดร้อนแก่ร่างกายจิตใจ ในโลกนี้มีสามอย่าง
           ๑.ภัยจาก “คมหอก"
           ๒.ภัยจาก "คมดาบ” และ
           ๓.ภัยความร้อนจากไฟลวกไหม้  
           กระนั้นก็ตาม ภัยอันตรายดังกล่าวนี้ย่อมสามารถระงับดับลงได้  แต่ภัยที่สร้างความร้อนอกร้อนใจไม่เหือดหายคือ “ความยากจน” มีรายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย
 

ขอเชิญร่วมอธิบายความตามโคลงโลกนิติ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา
และแก้ไขสิ่งที่ผู้โพสต์อาจตีความคลาดเคลื่อน  เผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป


หัวข้อ: Re: โคลงโลกนิติ : คาถาสุภาษิตจากคัมภีร์โบราณ กับคำอธิบายความ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 21 เมษายน 2563 19:59:53
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/24605806792775_untitled_Copy_.png)     ภาพวาดครูเหม เวชกร

หวานใดในโลกนี้    มีสาม สิ่งนา
หวานหนึ่งคือรสกาม           . อีกอ้อย
หวานอื่นหมื่นแสนทราม     สารพัด หวานเอย
หวานไป่ปานรสถ้อย       กล่าวเกลี้ยงคำหวานฯ

           อธิบายความ
           ...อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย...
           ความติดใจ ความพึงพอใจของมนุษย์ในโลกนี้ ท่านว่ามีสามอย่าง
           ๑. รสกาม -  ความพึงพอใจ ติดตรึงใจใน รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสทางกาย
           ๒. รสหวานน้ำตาลอ้อย - หอม หวาน ชื่นอกชื่นใจ  
           หวานดังกล่าวมาสองสิ่งนี้ ยังไม่หอมหวานเท่า "น้ำคำ" - คําพูดที่ไพเราะ อ่อนหวาน มีความจริงใจ
 

ขอเชิญร่วมอธิบายความตามโคลงโลกนิติ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา
และแก้ไขสิ่งที่ผู้โพสต์อาจตีความคลาดเคลื่อน  เผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป


หัวข้อ: Re: โคลงโลกนิติ : คาถาสุภาษิตจากคัมภีร์โบราณ กับคำอธิบายความ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 01 พฤษภาคม 2563 20:18:39
.

(https://www.sarakadee.com/feature/2002/11/images/hem_13.jpg)     ภาพวาดครูเหม เวชกร

ธรรมดายาโรคร้อน    รสขม
กินก็บำบัดลม          . และไข้
คนซื่อกล่าวใครชม     ว่าชอบ หูแฮ
จริงไป่จริงน้้นไซร้       ผ่ายหน้านานเห็นฯ

           อธิบายความ
           ...คำโบราณว่าไว้ "หวานเป็นลมขมเป็นยา" สมุนไพรที่มีรสขม เช่น บอระเพ็ด ยาดำ กระชายดำ ฯลฯ ให้ประโยชน์แก่ร่างกายมหาศาล...
           เป็นธรรมดาที่ ยารสขม คนมักส่ายหน้าหนี  ยารสขมนี่เองที่ให้สรรพคุณตัวยาเป็นเลิศ ช่วยแก้โรคลม แก้ไข้ แก้ร้อนใน ดีนัก
           คนซื่อพอพูดอะไรไปคนก็มักเชื่อ ชอบว่าพูดจาตรงๆ ฟังรื่นหู ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม ต่อนานไปข้างหน้า จะปรากฎข้อเท็จจริงเองว่าคำพูดนั้นจริงหรือเท็จ            
 

ขอเชิญร่วมอธิบายความตามโคลงโลกนิติ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา
และแก้ไขสิ่งที่ผู้โพสต์อาจตีความคลาดเคลื่อน  เผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป


หัวข้อ: Re: โคลงโลกนิติ : คาถาสุภาษิตจากคัมภีร์โบราณ กับคำอธิบายความ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 19 มิถุนายน 2563 16:14:28
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/49756781467133_08_1_1_320x200_.jpg)     ภาพวาดครูเหม เวชกร

โทษท่านผู้อื่นเพี้ยง    เมล็ดงา
ปองติฉินนินทา       . ห่อนเว้น
โทษตนเท่าภูผา     หนักยิ่ง
ป้องปิดคิดซ่อนเร้น       เรื่องร้ายหายศูนย์ ฯ
         
 อธิบายความ
           โทษคนอื่นเราเห็นเท่าภูเขา โทษของเรามองเห็นเท่าเส้นขน
           บุคคลเช่นนี้ท่านว่า เป็นผู้ที่คอยเพ่งโทษผู้อื่น ความผิดพลาดของคนอื่นแม้เพียงเล็กน้อย ก็ตั้งหน้าตั้งตาติเตียน นินทาไปทั่ว  
           ความผิดของตนเองแม้ร้ายแรงใหญ่โตสักเพียงใดก็มองเป็นเรื่องเล็กน้อย  พยายามปิดบังซ่อนเร้น เป็นคนไม่ยอมรับความจริง
           --------------------------------

            “ธรรมดาเราดูแต่คนอื่น ๙๐ % ดูตัวเองแค่ ๑๐ %”
           เพราะฉะนั้น เราจึงควรมองคนในแง่ดี พิจารณาตัวเองให้มากๆ จึงจะชื่อว่าเป็นคนดี  การมองแต่คนอื่น เพ่งโทษผู้อื่นเป็นวัตร เป็นนิสัยคนพาล.
           คติธรรม หลวงปู่ชา (พระโพธิญาณเถร)




(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/62133882981207_2_320x200_.jpg)     ภาพวาดครูเหม เวชกร

คนรักมีมากไซร้       แสดงผล
ชังมากนินทาตน       . โศกเศร้า
รักมากเมื่อกังวล     วานช่วย กันนา
ชังมากมักรุมเร้า       กล่าวร้ายรันทำ ฯ
          อธิบายความ
           บุคคลอันเป็นที่รักที่พอใจของบุคคลทั้งหลาย ความสงบร่มเย็นและความสุขจะเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้น ยามมีความทุกข์เดือดร้อนจะมีผู้ให้เป็นที่อาศัย  
           แต่หากบุคคลใดสร้างแต่ศัตรู มีแต่คนเกลียดชัง เขาย่อมจะได้รับความทุกข์ความเดือดร้อนใจอยู่ตลอดเวลา
           ......เพราะฉะนั้น ต้องเป็นผู้ที่ไม่ประมาท ระมัดระวังทั้งกาย วาจา ที่จะไม่เป็นอกุศล



(https://www.pantip.com/cafe/library/topic/K5346425/K5346425-2.jpg)    ภาพวาด-ครูเหม เวชกร
ดอกบัวหนามณะก้าน    คนฉิน
สระก็มีมลทิน       . ไป่พร้อง
น้ำล้างสิ่งของกิน    พึงเกลียด ตินา
คลองอาบอากูลซ้อง      สิ่งร้ายเป็นดี ฯ
           อธิบายความ
             - ดอกบัว มีความสำคัญยิ่งในพระพุทธศาสนา มีกลิ่นหอม รื่นรมย์ใจ ภายใต้ความงามอย่างเต็มเปี่ยมด้วยคุณค่านั้น ตามก้านดอกก็มีหนามแหลมอยู่ด้วย 
             ผู้คนก็พากันติเตียนว่าไม่น่าจะมีหนามแหลมให้ระคายมือ   
             แต่สระบัวอันเป็นถิ่นกำเนิดของดอกบัว และเต็มไปด้วยสิ่งที่สกปรก โคนตม กลับไม่มีใครว่ากล่าวหรือยกขึ้นมาพูดถึง

             - น้ำสะอาดที่ใช้ล้างผัก ผลไม้ ฯลฯ อันเป็นของบริโภค ผู้คนก็พากันรังเกียจ ไม่กล้านำไปอาบไปดื่มกิน   
             แต่น้ำในคลองที่เต็มไปด้วยสิ่งสกปรกต่างๆ ผู้คนกลับพากันลงไปอาบชำระร่างกายโดยไม่แสดงความรังเกียจแต่อย่างใด   
   


ขอเชิญร่วมอธิบายความตามโคลงโลกนิติ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา
และแก้ไขสิ่งที่ผู้โพสต์อาจตีความคลาดเคลื่อน  เผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป


หัวข้อ: Re: โคลงโลกนิติ : คาถาสุภาษิตจากคัมภีร์โบราณ กับคำอธิบายความ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 07 สิงหาคม 2563 16:25:11
.
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/34659517349468_untitled_640x480_.png)     ภาพวาดครูเหม เวชกร
พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงปฐมเทศนาโปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ได้แก่ พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ
พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นมคธ

ลิ้นพราหมณ์ตานกแร้ง       จมูกมด
น้ำจิตพระยากำหนด       . ยากแท้
คำครูสั่งสอนบท     ธรรเมศ
ห้าสิ่งนี้แหลมแล้       รวดรู้เร็วจริง ฯ
   

           อธิบายความ
            - วาทะของพราหมณ์  
           - สายตาของอีแร้ง (นกแร้งสามารถมองเห็นได้ไกลถึง ๓๕ กิโลเมตร จากบนท้องฟ้า)
           - ประสาทสัมผัสเรื่องการรับรู้ของมด
           - น้ำจิตน้ำใจหรือจิตเมตตาของผู้มียศศักดิ์สูง และ          
           - ธรรม/คำสั่งสอนของนักปราชญ์
           ทั้งห้าสิ่งนี้เกิดขึ้นจากปัญญาเสมือนหยั่งรู้มากกว่าคนปกติหรือสัตว์ปกติทั่วไป และเป็นการรอบรู้ได้อย่างรวดเร็วยิ่งนัก (เป็นสิ่งพิเศษเฉพาะตนที่เหนือกว่าคนอื่น/สัตว์อื่น)

ขอเชิญร่วมอธิบายความตามโคลงโลกนิติ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา
และแก้ไขสิ่งที่ผู้โพสต์อาจตีความคลาดเคลื่อน  เผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป



หัวข้อ: Re: โคลงโลกนิติ : คาถาสุภาษิตจากคัมภีร์โบราณ กับคำอธิบายความ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 18 สิงหาคม 2563 16:42:32
.
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/49562233852015_hem_04_1_640x480_.jpg)     ภาพวาดครูเหม เวชกร
คนตื่นคืนหนึ่งช้า       จริงเจียว
มล้าวิถีโยชน์เดียว       . ดุจร้อย
สงสารหมู่พาลเทียว     ทางเนิ่น นานนา
เพราะบ่เห็นธรรมน้อย       หนึ่งให้เป็นคุณ ฯ
          อธิบายความ
           - ผู้ที่นอนไม่หลับ จะรู้สึกว่าเวลาในตอนกลางคืนช่างเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานเหลือเกิน
          - ระยะทาง ๑ โยชน์ (หรือ ๑๖ กิโลเมตร) ช่างเป็นหนทางที่ยาวไกลดุจร้อยโยชน์ สำหรับคนที่มีความความอ่อนเพลียเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า
          - คนพาล (คนที่ล่วงศีล ด้วยกาย วาจา ใจ) ถึงจะมีชีวิตอยู่จนแก่เฒ่าตั้งร้อยปี ก็ไม่เห็นทุกข์ ไม่เห็นธรรม ที่จะนำจิตของตนให้บริสุทธิ์ สดใส สะอาด


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/66888210384382_hem_02_640x480_.jpg)     ภาพวาดครูเหม เวชกร

เฝ้าท้าวเทียมเสพด้วย    ยาพิษ
เข้าสู่สงครามชิด         . ใช่ช้า
ทรงครรภ์แลพาณิช    เที่ยวท่อง ชเลนา
บัดชื่นบัดเศร้าหน้า      กล่าวใกล้ความตาย ฯ

           อธิบายความ
             - รับใช้ใกล้ชิดผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน 
             - ผู้เข้าสู่สมรภูมิการรบ การสงคราม
             - หญิงมีครรภ์ และพ่อค้าที่เดินทางรอนแรมไปกลางทะเล
             บุคคลสี่จำพวกนี้ มีความสุขที่ระคนอยู่ด้วยความทุกข์ ถึงจะประสบความสำเร็จแต่ก็ยังทุกข์อยู่ได้ตลอดเวลา
             เพราะหากประมาทพลาดพลั้งเมื่อใด อาจเป็นเหตุนำตนไปสู่ความตายในที่สุด
   


ขอเชิญร่วมอธิบายความตามโคลงโลกนิติ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา
และแก้ไขสิ่งที่ผู้โพสต์อาจตีความคลาดเคลื่อน  เผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป


หัวข้อ: Re: โคลงโลกนิติ : คาถาสุภาษิตจากคัมภีร์โบราณ กับคำอธิบายความ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 28 กันยายน 2563 13:23:21
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/35888932728105_A4851590_11_1_640x480_.jpg)     ภาพวาดครูเหม เวชกร

บรรทมยามหนึ่งไซร้    ทรงฤทธิ์
หกทุ่มหมู่บัณฑิต         . ทั่วแท้
สามยามพวกพาณิช    นรชาติ
นอนสี่ยามนั้นแล้      เที่ยงแท้เดียรฉาน ฯ

           อธิบายความ
           พระราชา บรรทมชั่วหนึ่งยาม (๓ ชั่วโมง)
           บัณฑิต (ผู้มีปัญญา, นักปราชญ์) นอนเพียงสองยาม (๖ ชั่วโมง)
           ชาวบ้านหรือพวกพ่อค้าแม่ค้า นอนเพียงสามยาม (๙ ชั่วโมง)
           ส่วนเดียรฉาน หรือ หมู หมา กา ไก่ (อาจหมายรวมถึงคนเกียจคร้านที่ไม่คิดจะทำมาหากินอะไรเลย) นอนตลอดทั้งสี่ยาม (๑๒ ชั่วโมง) เลยทีเดียว
 


ราชาธิราชน้อม    ในสัตย์
อำมาตย์เป็นบรรทัด         . ถ่องแท้
ฝูงราษฎร์อยู่ศรีสวัสดิ์    ทุกเมื่อ
เมืองดั่งนี้เลิศแล้      ไพร่ฟ้าเปรมปรีดิ์ ฯ

           อธิบายความ
           ประเทศชาติใด มีพระมหากษัตริย์ผู้ทรงตั้งมั่นอยู่ในทศพิธราชธรรม  
          มีเหล่าอำมาตย์ข้าราชการเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
          ไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ทั่วขอบเขตขัณฑสีมาของประเทศนั้น ก็จะดำรงอยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุข


ขอเชิญร่วมอธิบายความตามโคลงโลกนิติ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา
และแก้ไขสิ่งที่ผู้โพสต์อาจตีความคลาดเคลื่อน  เผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป


หัวข้อ: Re: โคลงโลกนิติ : คาถาสุภาษิตจากคัมภีร์โบราณ กับคำอธิบายความ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 06 ตุลาคม 2563 16:23:40
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/42793361180358_BB3_1_.jpg)     ภาพวาดครูเหม เวชกร

ข้าท่านคร้านหลีกเจ้า    จากเจียร
ชีบ่เล่าเรียนเขียน         . อ่านไซร้
ชาวนาละความเพียร     ไถถาก
สามสิ่งนี้โหดให้       โทษแท้คนฉิน ฯ

           อธิบายความ
              - เป็นข้าทาส บริวาร แต่ไม่ทำงาน ชอบหลบหลีกเจ้านายของตน ด้วยเกียจคร้านเอาแต่สบาย
             - เป็นนักบวช แต่ไม่ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยและข้อวัตรปฏิบัติ
             - เป็นชาวนา แต่เกียจคร้าน ขาดความอดทน ไม่ขยันหมั่นเพียรประกอบอาชีพของตน
             บุคคลสามจำพวกนี้ ไม่มีหวังที่จะประสบความสำเร็จชีวิต และยังเป็นที่ตำหนิติเตียนของคนอื่น
 


(https://lh3.googleusercontent.com/proxy/FUQMY39tEd1oMDDB11JLACjK5fOLGY0aFuhCqmTYRFsNL4iCe-G6hdOfX7m-XcLRBTEo9hAIjrbnBX1IngazVNn8Fv7BqsePc5ur4GQjWn0VmWiquJRhMJKIwgkO_II_TPMt)      ภาพวาดครูเหม เวชกร

นายเรือนใหญ่อยู่เหย้าเรือนตน
นายช่างเป็นใหญ่คน       . ลูกบ้าน
ท้าวพระยาใหญ่กว่าชน    ในเขต แดนนา
นักปราชญ์ใหญ่แปดด้าน      ทั่วด้าวทิศา ฯ

           อธิบายความ
           พ่อบ้าน (หรือแม่บ้าน) เป็นใหญ่ในครอบครัวของตน
           หัวหน้าหมู่บ้าน ตำบล เป็นใหญ่ในเขตหมู่บ้าน ตำบลของตน
           พระมหากษัตริย์ หรือผู้นำสูงสุดของประเทศ เป็นใหญ่ในแผ่นดิน
           นักปราชย์ผู้มีวิชาความรู้ มีชื่อเสียง เป็นใหญ่ทั่วทั้งปฐพี

           อนึ่ง ในทางพุทธศาสนา เรือนทั้งหลาย คืออัตภาพในภพนั้นๆ อันบังเกิดขึ้นจากเหตุใหญ่ได้แก่ อวิชชา ความไม่รู้
           เพราะเหตุที่ ชาติ ทำให้เกิด "ทุกข์" เจือไปด้วยความเกิด ความชรา พยาธิ และมรณะ ชื่อว่าเป็นนายช่างผู้สร้างเรือน
           ผู้ที่มีดวงตาเห็นธรรม คือพระอริยมรรคนั้นแล้ว จึงดับสิ้นซึ่งกิเลสทั้งปวง รู้ความจริงว่าทุกสิ่งเป็นอนัตตา อัตภาพที่จะเวียนว่ายในสังสารวัฏจึงดับสิ้นสูญ (วงจรปฏิจจสมุปบาท)


ขอเชิญร่วมอธิบายความตามโคลงโลกนิติ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา
และแก้ไขสิ่งที่ผู้โพสต์อาจตีความคลาดเคลื่อน  เผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป


หัวข้อ: Re: โคลงโลกนิติ : คาถาสุภาษิตจากคัมภีร์โบราณ กับคำอธิบายความ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 11 พฤศจิกายน 2563 16:16:40
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/27361315778560_0342824c0acf34316c28ba5a9e66e1.jpg)      ภาพวาดครูเหม เวชกร

สตรีดีรูปได้เป็นทรัพย์
ชายฉลาดความรู้สรรพ       . ทรัพย์ได้
พราหมณ์ทรงเวทยานับ     ว่าทรัพย์ พราหมณ์นา
ภิกษุเกิดลาภไซร้       เพื่อรู้เทศน์ธรรม ฯ

           อธิบายความ
             สตรีที่มีคุณสมบัติเพียบพร้อมด้วยกิริยา วาจา และมีรูปร่างสวยงามที่เกื้อหนุน  เป็นผู้มีวาสนาดี ไม่มีจน
            ชายที่มีความฉลาด มีความรู้ความสามารถ เป็นผู้หาทรัพย์ได้ง่าย
            พราหมณ์ปุโรหิต ผู้เชี่ยวชาญไตรเพท หาทรัพย์ได้จากการใช้เวทมนต์คาถาในการประกอบพิธีกรรม
            ภิกษุได้ลาภเนืองๆ เพราะรอบรู้หลักธรรมและมีทักษะในการพูด การสอน การเทศนา  



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/25484907213184__IMG_1.1_01_1_640x480_.jpg)    ภาพวาด-ครูเหม เวชกร
เรียนสรรพสบศาสตร์สิ้น    เพลงศิลป์
ประสิทธิ์เสร็จทั้งแดนดิน       . ย่อมได้
ตามปัญญายิ่งโดยจินต์   คดีโลก
สอนอัชฌาสัยไซร้     ห่อนได้มีครู ฯ
          อธิบายความ
           สรรพวิทยาการทั้งหมด ตลอดจนศาสตร์การศิลปะใดๆ อันเป็นเรื่องปกติธรรมดาของโลก
          คนเราสามารถศึกษาเล่าเรียนได้อย่างถึงที่สุดตามสติปัญญาที่ตนมี  
          แต่ความประพฤติ ซึ่งมีทั้งอุปนิสัยที่ดีและไม่ดี เป็นสิ่งที่มีมาแต่กำเนิด
          เกิดขึ้นเองโดยไม่ต้องมีผู้ปลูกฝังให้.
 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/54152218956086__IMG_1.1_24_1_640x480_.jpg)    ภาพวาด-ครูเหม เวชกร
เรียนรู้ครูบอกได้     เสร็จสรรพ์
สบศาสตร์ศิลป์ทุกอัน       . ย่อมรู้
อัชฌาสัยแห่งสามัญ    บุญแต่ง มาแฮ
ครูทักนักสิทธิผู้      เลิศได้บอกเลย ฯ
           อธิบายความ
              ความรู้แต่ละแขนง รวมทั้งประสบการณ์ที่สั่งสมมา สามารถแสวงหาร่ำเรียนได้จากครูบาอาจารย์
             แต่อัธยาศัยและความประพฤติที่เคยชินจนเป็นนิสัยสันดานของคนปกติธรรมดา
             เป็นสิ่งที่สะสมมาตั้งแต่ปางก่อน ไม่มีครูอาจารย์ที่ไหนมาอบรมสั่งสอนได้
   

แม้นบุญยังอย่าได้     ขวนขวาย
อย่าตื่นตีตนตาย       . ก่อนไข้
ลูกพร้าวอยู่ถึงปลาย      สูงสุด ยอดนา
ใครพร่ำน้ำตักให้      หากรู้เต็มเอง ฯ
           อธิบายความ
              หม้อน้ำย่อมเต็มด้วยน้ำที่ตกลงมาทีละหยดๆ ได้ ฉันใด
             ตราบใดที่บุญวาสนายังมาไม่ถึง อย่าได้เดือดร้อนวุ่นวายใจ
             เมื่อถึงเวลาบุญให้ผล บุญจะนำความสุขมาให้
             อุปมา ผลมะพร้าวอยู่บนยอดมะพร้าวสูงลิบลิ่ว ข้างในยังเต็มด้วยไปน้ำที่ซึมผ่านทีละเล็กละน้อยจากราก ผ่านลำต้น จนถึงลูกมะพร้าว
             เมื่อถึงเวลาผลมะพร้าวก็เต็มไปด้วยน้ำที่มากด้วยคุณค่าของมันเอง ไม่มีใครที่ไหนไปตักเติมให้
   


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/93288569110963__3614_3619_3632_3624_3640_3609.gif)     ภาพวาดครูเหม เวชกร

หวานใดในโลกนี้    มีสาม สิ่งนา
หวานหนึ่งคือรสกาม           . อีกอ้อย
หวานอื่นหมื่นแสนทราม    สารพัด หวานเอย
หวานไป่ปานรสถ้อย      กล่าวเกลี้ยง คำหวาน ฯ

           อธิบายความ
           อันว่ารสหวานใดๆ ในโลกนี้ มีสามสิ่ง
           หวาน ๑. ได้แก่รสกาม  - รสกามมันซึมซาบถึงหัวใจ  สัตว์ทั้ง ๓ ภพ มักติดข้องในรสของกามธาตุ หมายความถึง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
           หวาน ๑. ได้แก่ หวานรสอ้อย  - ความติดใจ ชื่นใจ ในรสชาติหวานอร่อยของน้ำอ้อย
           แต่ความหวานของกามรส รสชาติของอ้อย และความหวานอื่นๆ อีกนับแสนชนิด ก็ยังไม่เทียบเท่ากับความหวานของ”มธุรส” ถ้อยคำวาจา

           โบราณท่านจึงว่า ”อาวุธใดในพิภพไม่ลบปาก”  

           วาจานี้จึงเป็นเอก สามารถสร้างมิตรหรือศัตรูให้แก่ตนเองได้อย่างง่ายดาย  ดังที่สุนทรภู่ ได้ประพันธ์ไว้ใน นิราศภูเขาทอง
           ความว่า “ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์ มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต แม้พูดชั่วตัวตายทำลายมิตร จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา”
   

ขอเชิญร่วมอธิบายความตามโคลงโลกนิติ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา
และแก้ไขสิ่งที่ผู้โพสต์อาจตีความคลาดเคลื่อน  เผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป




หัวข้อ: Re: โคลงโลกนิติ : คาถาสุภาษิตจากคัมภีร์โบราณ กับคำอธิบายความ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 19 กันยายน 2564 18:01:15
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/48718669472469_11_Copy_.jpg)     ภาพวาดครูเหม เวชกร

ธรรมดายาโรคร้อน    รสขม
กินก็บำบัดลม           . และไข้
คนซื่อกล่าวใครชม     ว่าชอบ หูแฮ
จริงไป่จริงนั้นไซร้       ฝ่ายหน้านานเห็น ฯ

           อธิบายความ
           โบราณกล่าวว่า “หวานเป็นลม ขมเป็นยา”  เปรียบเปรยไว้ว่า
           ยาที่มีรสขม มักไม่ค่อยมีใครอยากรับประทาน แต่ในความขมของตัวยาให้คุณประโยชน์มากมากแก่ชีวิต  
           “ยารสขม” ช่วยรักษาโรคลม  ดับพิษร้อนถอนพิษไข้  อุปมา คนซื่อที่พูดจาตรงไปตรงมา คนส่วนมาก
           ฟังแล้วมักไม่พอใจ เพราะนิสัยชอบคำเยินยอ  แต่ต่อไปภายหน้าจะปรากฏให้คนทั้งหลายได้คิดว่า บุคคลนั้น
           เป็นผู้ไม่มีลับลมคมใน ไม่มีเสแสร้ง หรือแกล้งพูดเพื่อให้คนอื่นสบายใจ
 

ขอเชิญร่วมอธิบายความตามโคลงโลกนิติ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา
และแก้ไขสิ่งที่ผู้โพสต์อาจตีความคลาดเคลื่อน  เผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป



หัวข้อ: Re: โคลงโลกนิติ : คาถาสุภาษิตจากคัมภีร์โบราณ กับคำอธิบายความ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 25 ตุลาคม 2564 21:13:47
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/53724175401859_12_Copy_.jpg)    ภาพวาด-ครูเหม เวชกร
เห็นท่านมีอย่าเคลิ้ม       ใจตาม
เรายากหากใจงาม       . อย่าคร้าน
อุตส่าห์พยายาม    การกิจ
เอาเยี่ยงอย่างเพื่อนบ้าน      อย่าท้อทำกิน ฯ
           อธิบายความ
              จงอย่าไปหลงเพ้อถึงความมั่งคั่งร่ำรวยของคนอื่น 
             ถ้าเราอยากร่ำรวย ก็จงอย่าท้อถอยในการทำมาหากิน ให้มีความขยัน อดทน สู้งาน รู้จักเก็บรู้จักใช้เงิน ก็จะทำให้ร่ำรวยขึ้นมาเหมือนอย่างเพื่อนบ้านนั้นได้



 ขอเชิญร่วมอธิบายความตามโคลงโลกนิติ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา
และแก้ไขสิ่งที่ผู้โพสต์อาจตีความคลาดเคลื่อน  เผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป
 
 


หัวข้อ: Re: โคลงโลกนิติ : คาถาสุภาษิตจากคัมภีร์โบราณ กับคำอธิบายความ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 02 เมษายน 2565 14:17:29
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/79441341840558_p21_Copy_.jpg)    ภาพวาด-ครูเหม เวชกร

เริ่มการตรองตรึกไว้      ในใจ
การจะลุจึงไข      . ข่าวแจ้ง
เดื่อดอกออกห่อนใคร   เห็นดอก
ผลผลิตติดแล้วแผล้ง   แพร่ให้คนเห็นฯ

           อธิบายความ
              คิดวางแผนและตั้งเป้าหมายทำการสิ่งใด เก็บไว้เป็นความลับก่อน ยังไม่ต้องไปเล่าแก่ผู้ใด
             เมื่อสิ่งที่ทำประสบความสำเร็จ จึงค่อยเปิดเผย บอกแจ้งให้เขารู้
             อุปมา "มะเดื่อ" ซึ่งจะไม่มีดอกบานให้ใครเห็นเหมือนไม้ดอกไม้ผลทั่วๆ ไป ถึงกระนั้นก็ยังมีลูกสีเขียวสีแดงปรากฏได้เห็นเต็มต้น


ขอเชิญร่วมอธิบายความตามโคลงโลกนิติ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา
และแก้ไขสิ่งที่ผู้โพสต์อาจตีความคลาดเคลื่อน  เผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป
 
  


หัวข้อ: Re: โคลงโลกนิติ : คาถาสุภาษิตจากคัมภีร์โบราณ กับคำอธิบายความ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 07 พฤษภาคม 2565 19:42:33
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/83328846014208__Copy_.jpg)    ภาพวาด-ครูเหม เวชกร

การใดตรองผิดไซร้      เสียถนัด
เอาสิ่งนั้นตรองขัด      . คิดแก้
หนามยอกสิ่วแคะคัด ฤๅออก
หนามต่อหนามนั้นแล้ เขี่ยได้คืนถอนฯ

           อธิบายความ
              ทำการสิ่งใดแล้วเกิดความผิดพลาดเสียหาย ให้เอาความผิดพลาดนั้นเป็นครู หรือเป็นบทเรียนสอนตนเอง
             ไม่เอาสิ่งนั้นๆ มาคิดอ่านทำการอีกต่อไป อุปมาเมื่อถูกหนามตำ ก็ไม่อาจนำสิ่วมาบ่งหนามให้ออกได้ ฉันใด
             ต้องใข้หนามประเภทเดียวกันนั่นแลมาเขี่ยออก (ทำให้มนุษย์รู้จักแก้ไขปัญหาให้เหมาะสม)


ขอเชิญร่วมอธิบายความตามโคลงโลกนิติ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา
และแก้ไขสิ่งที่ผู้โพสต์อาจตีความคลาดเคลื่อน  เผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป
 
500  


หัวข้อ: Re: โคลงโลกนิติ : คาถาสุภาษิตจากคัมภีร์โบราณ กับคำอธิบายความ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 29 พฤษภาคม 2565 20:18:23
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/46478997874591_55_Copy_.jpg)    ภาพวาด-ครูเหม เวชกร

ผมผิดคิดสิบห้า      วันวาร
ทำไรผิดเทศกาล      . ขวบเข้า
เลี้ยงเมียผิดรำคาญ คิดหย่า
ทำผิดไว้คิดเศร้า       ตราบเท้าวันตาย ฯ

           อธิบายความ
              ตัดผมแล้วผิดทรง - รู้สึกไม่ชอบใจ หงุดหงิดไปสิบห้าวันก็ไปให้ช่างแก้ไขทรงผมได้
             ประกอบการสิ่งใดไม่ตรงตามฤดูกาล - ต้องรอไปอีกหนึ่งปีข้างหน้าจึงมึโอกาสทำแก้ตัวใหม่ได้
             ภรรยาไม่เอาไหน อยู่ไปก็ไม่มีความสุข เหมือนตกนรกทั้งเป็น - สามารถขอหย่าขาดจากกันได้
             แต่การทำบาป สิ่งชั่วร้าย หรืออกุศลทั้งหลาย - จิตจะเป็นทุกข์กับบาปกรรมนั้นไปจนถึงวันตาย


ขอเชิญร่วมอธิบายความตามโคลงโลกนิติ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา
และแก้ไขสิ่งที่ผู้โพสต์อาจตีความคลาดเคลื่อน  เผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป
 
500  


หัวข้อ: Re: โคลงโลกนิติ : คาถาสุภาษิตจากคัมภีร์โบราณ กับคำอธิบายความ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 08 มิถุนายน 2565 16:20:44
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/80482524467839_Untitled_Copy_.png)    ภาพวาด-ครูเหม เวชกร

เดินทางต่างเทศให้      พิจารณ์
อาสน์นั่งนอนอาหาร     . อีกน้ำ
อดนอนอดบันดาล ความโกรธ
ห้าสิ่งนี้คุณล้ำ     เลิศล้วนควรถวิล ฯ

           อธิบายความ
              หากเดินทางไปยังแดนไกลหรือที่ต่างบ้านต่างเมือง สิ่งที่ต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วน ได้แก่
             - ที่พักอาศัย อาหารการกิน น้ำดื่มน้ำใช้ การอดหลับอดนอน (เพราะต่างภูมิลำเนาถิ่นที่อยู่เดิม) และการรู้จักควบคุมอารมณ์
             ห้าประการนี้ ถ้าได้เตรียมรับสถานการณ์ไว้พร้อมแล้ว การเดินทางย่อมประสบความสุข


ขอเชิญร่วมอธิบายความตามโคลงโลกนิติ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา
และแก้ไขสิ่งที่ผู้โพสต์อาจตีความคลาดเคลื่อน  เผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป
 
500  


หัวข้อ: Re: โคลงโลกนิติ : คาถาสุภาษิตจากคัมภีร์โบราณ กับคำอธิบายความ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 28 มิถุนายน 2565 20:47:35
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/22485777652925_289782072_5520096131376374_196.jpg)    ภาพวาด-ครูเหม เวชกร

อาศัยเรือนท่านให้      วิจารณ์
เห็นท่านทำการงาน     . ช่วยพร้อง
แม้มีกิจโดยสาร นาเวศ
พายถ่อช่วยค้ำจ้อง    จรดให้จนถึง ฯ

           อธิบายความ
              ภาษิตนี้สอนให้เป็นผู้มีความกตัญญูรู้คุณ
             อาศัยอยู่บ้านเรือนของใครก็ตาม จงตระหนักไว้ว่า   
             - อย่านิ่งดูดาย ให้มีความขยันขันแข็ง เจ้าของบ้านทำการงานสิ่งใด ต้องช่วยเหลือเขาทำจนเสร็จสิ้น
             - อาศัยเรือของใครเดินทาง ต้องช่วยเขาพายเขาถ่อไปจนถึงจุดหมายปลายทาง


ขอเชิญร่วมอธิบายความตามโคลงโลกนิติ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา
และแก้ไขสิ่งที่ผู้โพสต์อาจตีความคลาดเคลื่อน  เผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป
 
500 



หัวข้อ: Re: โคลงโลกนิติ : คาถาสุภาษิตจากคัมภีร์โบราณ กับคำอธิบายความ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 03 กรกฎาคม 2565 20:47:19
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/57683087388674_12_Copy_.jpg)    ภาพวาด-ครูเหม เวชกร

เขาบ่เรียกสักหน่อยขึ้น      เคหา
ท่านบ่ถามเจรจา     . อวดรู้
ยกตนอหังการ์ เกินเพื่อน
สามลักษณะนี้ผู้     เผ่าร้ายฤๅดี ฯ

           อธิบายความ
              ละลาบละล้วง เข้าบ้านเรือนผู้อื่นโดยเจ้าของบ้านมิได้เชื้อเชิญ หรือเรียกให้เข้าไป
             ใครเขาจะพูดคุยกันเรื่องอะไร  ชอบอวดรู้โดยที่เขาไม่ได้ถาม
             ชอบอวดดี ยกตนข่มเพื่อน ถือตัวว่าสูงกว่า เด่นกว่า
             สามสิ่งนี้เป็นลักษณะของ ทุรชน (คนเลว คนชั่ว) - สุภาพชนย่อมไม่ประพฤติเช่นนี้


ขอเชิญร่วมอธิบายความตามโคลงโลกนิติ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา
และแก้ไขสิ่งที่ผู้โพสต์อาจตีความคลาดเคลื่อน  เผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป

"มูลนิธิเหม เวชกร" ที่มาภาพประกอบ
500  


หัวข้อ: Re: โคลงโลกนิติ : คาถาสุภาษิตจากคัมภีร์โบราณ กับคำอธิบายความ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 10 กรกฎาคม 2565 20:23:40
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/80482524467839_Untitled_Copy_.png)    ภาพวาด-ครูเหม เวชกร

เป็นคนคลาดเหย้าอย่า      เปล่ากาย
เงินสลึงติดชาย     . ขอดไว้
เคหาอย่าศูนย์วาย เข้าเปลือก มีนา
เฉินฉุกขุกจักได้     ผ่อนเลี้ยงอาตมา ฯ

           อธิบายความ
              เดินทางออกนอกบ้าน อย่าไปตัวเปล่า
             พกเงินติดตัวไปด้วย
             ในบ้านเรือน ต้องมีข้าวสารไว้หุงกินได้ตลอดเวลา
             เมื่อมีเหตุฉุกเฉินต่างๆ เช่น ภัยพิบัติ ก็ยังพอช่วยประทังชีวิต ไม่อดตาย


ขอเชิญร่วมอธิบายความตามโคลงโลกนิติ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา
และแก้ไขสิ่งที่ผู้โพสต์อาจตีความคลาดเคลื่อน  เผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป

500  


หัวข้อ: Re: โคลงโลกนิติ : คาถาสุภาษิตจากคัมภีร์โบราณ กับคำอธิบายความ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 19 กรกฎาคม 2565 19:55:46
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/35257931550343_07_1_Copy_.jpg)    ภาพวาด-ครูเหม เวชกร

สินใดบ่ชอบได้      มาเรือน
อยู่แต่เจ็ดเดือนเตือน     . ค่ำเช้า
ครั้นนานย่อมเลือนเบือน ปนอยู่
มักชักของเก่าเหย้า     มอดม้วยหมดโครง ฯ

           อธิบายความ
              นำทรัพย์สินที่ได้มาด้วยความไม่สุจริต ไม่ชอบธรรม เข้ามาสู่บ้านเรือน  
             ความไม่สบายใจ  มีชั่วเวลาเจ็ดเดือน
             หลังจากนั้น ก็จะปะปน รวมไปกับสมบัติเก่าดั้งเดิม
             แล้วทรัพย์ที่ได้มาโดยไม่ชอบธรรมนั้นจะถูกนำออกไปใช้ปนเปไปกับสมบัติเก่า จนสูญสิ้น หมดเนื้อ หมดตัว



ตมเกิดแต่น้ำแล่น      เป็นกระสาย
น้ำก็ล้างเลนหาย    . ซากไซร้
บาปเกิดใช่แต่กาย       เพราะจิต ก่อนนา
อันจักล้างบาปได้           เพราะน้ำใจเอง ฯ

           อธิบายความ
              โคลนตมเกิดจากกระแสน้ำพัดพามาอยู่รวมกัน
             และ ”น้ำ” นั่นเอง ที่จะช่วยชะล้างโคลนตมให้หมดสิ้นไปได้
             บาปมิใช่เกิดจากกาย แต่เกิดจากความไม่รู้จักหักห้าม “จิต
             ดังนั้น บุคคลจะพึงละบาปได้ ก็ด้วยการหักห้ามจิตจาก “อกุศล” ทั้งปวง


ขอเชิญร่วมอธิบายความตามโคลงโลกนิติ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา
และแก้ไขสิ่งที่ผู้โพสต์อาจตีความคลาดเคลื่อน  เผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป

500  


หัวข้อ: Re: โคลงโลกนิติ : คาถาสุภาษิตจากคัมภีร์โบราณ กับคำอธิบายความ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 24 กรกฎาคม 2565 16:39:49
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/76537165666619_7_Copy_.jpg)    ภาพวาด-ครูเหม เวชกร

อายครูไซร้ถ่อยรู้      วิชา
อายแก่ราชาคลา    . ยศแท้
อายแก่ภรรยาหา บุตรแต่ ไหนนา
อายกับทำบุญแล้    สุขนั้นฤๅมี ฯ

           อธิบายความ อายในสิ่งที่ไม่ควรอาย ไม่เกิดประโยชน์
              อายครูไม่รู้วิชา – อายที่จะฝึกฝน หรือถามไถ่ครูบาอาจารย์ ย่อมไม่ได้รับความรู้
             อายพระราชาย่อมไร้ยศ - ไม่ยอมรับใช้ใกล้ชิด ย่อมหมดโอกาสได้รับตำแหน่งหน้าที่หรือยศถาบรรดาศักดิ์
             อายภรรยาย่อมไร้บุตร – ไม่กล้าล่วงเกินแตะต้องภรรยา ย่อมหมดโอกาสมีบุตร
             อายการทำบุญย่อมไม่ได้รับความสุข – ไม่ยอมทำบุญกุศล หรือทำความดีตามหลักคำสอนทางศาสนา ชีวิตจะไม่ได้รับความสุขสงบ แช่มชื่น เบิกบาน




หน้าแช่มชื่นช้อยเช่น      บัวบาน
ถ้อยฉ่ำคำเฉื่อยหวาน    . ซาบไล้
หัวใจดั่งดาบผลาญ        ชนม์ชีพ
เขาเหล่านี้กล่าวไว้          ว่าผู้ทรชน ฯ

           อธิบายความ ปากปราศรัย ใจเชือดคอ ทำในสิ่งที่เลวร้าย ตรงข้ามกับการแสดงออก
              ทำหน้าตาเบิกบานดั่งใบบัว
             พูดจาเนิบช้า อ่อนหวาน
             แต่ในใจนั้น คิดร้าย อาฆาตพยาบาท
             คนประเภทนี้คือ “ศัตรู”  อย่าคบค้าสมาคม




หลีกเกวียนให้หลีกห้า      ศอกหมาย
ม้าหลีกสิบศอกกลาย    . อย่าใกล้
ช้างยี่สิบศอกคลาย คลาคลาด
เห็นทุรชนหลีกให้    ห่างพ้นลับตา ฯ

           อธิบายความ ภาษิตสอนให้กะระยะทาง หรือระยะห่าง ของการหลีกหนีให้พ้นจากภยันตรายสามสิ่งดังนี้
              หลีกเกวียน - ให้หลีกห่างระยะ ๕ ศอก (หรือ ๒.๕ เมตร)
             หลีกหม้า - ให้หลีกห่าง ๑๐ ศอก (หรือ ๕ เมตร)
             หลีกช้าง - ให้หลีกห่าง ๒๐ ศอก (หรือ ๑๐ เมตร)
             หลีกคนพาล –ให้หลีกให้ไกลจนลับสายตา


ขอเชิญร่วมอธิบายความตามโคลงโลกนิติ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา
และแก้ไขสิ่งที่ผู้โพสต์อาจตีความคลาดเคลื่อน  เผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป

550 



หัวข้อ: Re: โคลงโลกนิติ : คาถาสุภาษิตจากคัมภีร์โบราณ กับคำอธิบายความ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 28 กรกฎาคม 2565 20:24:12
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/45933788269758__Copy_.jpg)    ภาพวาด-ครูเหม เวชกร

กระบือหนึ่งห้ามอย่า      ควรครอง
เมียมิ่งอย่ามีสอง    . สี่ได้
โคสามอย่าควรปอง        เป็นเหตุ
เรือนอยู่สี่ห้องให้          เดือดร้อนรำคาญ ฯ

           อธิบายความ  คนโบราณมีข้อห้ามในสิ่ง ๔ ประการ โดยเชื่อว่าเป็นสิ่งมีอำนาจ ถ้าฝ่าฝืนสามารถบันดาลให้เกิดเหตุการณ์ไม่ดีต่างๆ ได้อย่างมหัศจรรย์ ดังนี้
              ๑. ห้ามเลี้ยงกระบือ (ควาย) เพียงหนึ่งตัว
             ๒. ห้ามมีภรรยา ๒ คน ถ้าอยากจะมีมากกว่าหนึ่งคน ต้องมีให้ได้จำนวน ๔ คน (เมียสองต้องห้าม เมียสามอย่ามี เมียสี่จึงควร)
             ๓. ห้ามเลี้ยงวัว ๓ ตัว จะมีเหตุไม่ดี
             ๔. บ้านเรือน มี ๔ ห้อง จะมีแต่เรื่องเดือดร้อนรำคาญ



พาชีขี่คล่องคล้อย      ควรคลา
โคคู่ควรไถนา    . ชอบใช้
บนชานชาติวิฬาร์  ควรอยู่
สุนัขเนาแต่ใต้    ต่ำเหย้าเรือนควร ฯ

           อธิบายความ ความเชื่อความนิยมของคนโบราณ เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง ๔ ประเภท
              ม้า เป็นพาหนะในการเดินทาง – ม้าต้องได้รับการฝึก และคนขี่ม้าต้องฝึกฝนการบังคับม้าจนมีความชำนาญ จึงควรเอามาขี่เป็นพาหนะ
             โค ควรใช้ไถนา – วัวมีร่างกายแข็งแรง อดทน เหมาะกับการใช้เป็นแรงงานไถนา
             แมว ควรเลี้ยงไว้บนบ้าน – แมวเป็นสัตว์รักความสะอาด มีพฤติกรรมประจบประแจง ชอบคลอเคลียมนุษย์ จึงควรเลี้ยงไว้บนบ้าน
             สุนัข ควรเลี้ยงไว้ใต้ถุนบ้าน  - สุนัขเป็นสัตว์ฉลาด ฝึกฝนง่าย รักเจ้าของ จึงควรที่จะเลี้ยงไว้ใต้ถุนบ้าน เพื่อเฝ้าทรัพย์



มีเรือค้าขี่ห้า      ลำนอ ห้ามแฮ
สุนัขหกอย่าพึงพอ    . จิตเลี้ยง
แมวเจ็ดเร่งเร็วขอ มาใส่ อีกนา
ช้างแปดม้าเก้าเหยี้ยง อย่างห้ามเพรงมา ฯ

           อธิบายความ คนโบราณมีข้อห้ามในสิ่ง ๔ ประการ โดยเชื่อว่าเป็นสิ่งมีอำนาจ ถ้าฝ่าฝืนสามารถบันดาลให้เกิดเหตุการณ์ไม่ดีต่างๆ ได้อย่างมหัศจรรย์ ดังนี้
              ห้ามมีเรือไว้สำหรับทำการค้า ๕ ลำ
             ห้ามเลี้ยงสุนัข ๖ ตัว (มีมากกว่า หรือน้อยกว่าได้)
             ห้ามเลี้ยงแมว ๗ ตัว (มีมากกว่า หรือน้อยกว่าได้)
             ห้ามเลี้ยงช้าง ๘ เชือก (มีมากกว่า หรือน้อยกว่าได้)
             ห้ามเลี้ยงม้า ๙ ตัว (มีมากกว่า หรือน้อยกว่าได้)


ขอเชิญร่วมอธิบายความตามโคลงโลกนิติ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา
และแก้ไขสิ่งที่ผู้โพสต์อาจตีความคลาดเคลื่อน  เผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป

500 


หัวข้อ: Re: โคลงโลกนิติ : คาถาสุภาษิตจากคัมภีร์โบราณ กับคำอธิบายความ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 03 สิงหาคม 2565 21:01:09
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/50182784141765_untitled_320x200_.png)    ภาพวาด-ครูเหม เวชกร

มีเงินให้ท่านกู้      ไปนา
ศิลปศาสตร์ฤๅศึกษา     . เล่าไว้
มีเมียอยู่เคหา ไกลย่าน
สามลักษณะนี้ใกล้    แกล่แม้นไป่มี ฯ
           อธิบายความ
              - มีเงินมาก แต่ไม่เก็บออมไว้เป็นหลักประกันชีวิต กลับนำไปปล่อยกู้
             - เป็นผู้หย่อนความเพียร  ไม่ขวนขวายศึกษาหาความรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์
             - มีครอบครัว แต่ห่างไกลกับภรรยา ต่างคนต่างอยู่คนละบ้าน
             สามลักษณะนี้ เป็นพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม.




สบพบคนเคลิ้มอย่า      เจรจา
ลาภอยู่ไกลอย่าหา     . ใคร่ได้
มีลูกโฉดปัญญา        ยากจิต ตนนา
เมียมิตรร้างอย่าใกล้    อยู่เพี้ยงขันที ฯ
           อธิบายความ ภาษิตสอนให้ อย่าไปเสียเวลากับสิ่งที่ไม่มีประโยชน์
              พบคนที่มีสติไม่สมประกอบหรือไม่ปกติ อย่าได้เข้าไปพูดจาปราศรัย
             อย่าไปมีความหวังกับ “ลาภลอย” ซึ่งเป็นสมบัติที่มักจะได้มาโดยไม่คาดคิด
             มีบุตรปัญญาอ่อน ไม่สมประกอบ พ่อแม่ต้องยอมรับความจริง ต้องรู้จักวางใจให้ไกลทุกข์
             ถูกภรรยาที่รักใคร่ทอดทิ้ง จงครองตนเป็น "ชายโสด"




ไร้สิ่งสินอับแล้ว      ปัญญา
อีกญาติวงศ์พงศา     . บ่ใกล้
คนรักย่อมโรยรา      รสรัก กันแฮ
พบแทบทางทำใบ้    เบี่ยงหน้าเมินหนี ฯ
           อธิบายความ
              คนเราเมื่อถึงคราวสิ้นไร้ไม้ตอก ลำบากถึงที่สุด ไม่มีทรัพย์สมบัติจะติดตัว   
             ย่อมเป็นที่รังเกียจของหมู่ญาติ 
             คนรักก็เอาใจออกห่าง ตีจาก
             แม้แต่เดินสวนกันตามถนนหนทาง เขายังเบือนหน้าหนี.



ขอเชิญร่วมอธิบายความตามโคลงโลกนิติ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา
และแก้ไขสิ่งที่ผู้โพสต์อาจตีความคลาดเคลื่อน  เผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป
 
500 


หัวข้อ: Re: โคลงโลกนิติ : คาถาสุภาษิตจากคัมภีร์โบราณ กับคำอธิบายความ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 09 ธันวาคม 2565 20:03:24
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/83571531333857_7_Copy_.jpg)    ภาพวาด-ครูเหม เวชกร : มูลนิธิเหม เวชกร (ที่มาภาพ)

อย่าเรียนเพียรคิดค้น      ขุดของ
อย่าตริตรึกนึกปอง     . บ่อนเหล้น
อย่าเรียนเวทมนต์ลอง สาวสวาท
แปรธาตุหนึ่งพึงเว้น    สี่นี้เบียนตน ฯ
           อธิบายความ
               - อย่าเสาะแสวงหาสมบัติเก่าแก่ ที่ถูกฝังหรือถูกซ่อนไว้ในแผ่นดิน
             - อย่าไปฝันลมๆ แล้งๆ ว่าจะร่ำรวยจากการเล่นการพนัน
             - อย่าเรียนมนตร์ดำเพื่อทำเสน่ห์ให้ผู้หญิงหลงรักด้วยวิธีทางไสยศาสตร์
             - อย่าคิดค้นเล่นแร่แปรธาตุ (เช่น ทำโลหะที่มีค่าต่ำให้กลายเป็นทองคำตามความเชื่อแต่โบราณ)

สี่สิ่งนี้ให้หลีกเว้น มิฉะนั้นจะทำให้ตนเองเดือดร้อน ไม่เป็นสุข



ขอเชิญร่วมอธิบายความตามโคลงโลกนิติ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา
และแก้ไขสิ่งที่ผู้โพสต์อาจตีความคลาดเคลื่อน  เผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป

650


หัวข้อ: Re: โคลงโลกนิติ : คาถาสุภาษิตจากคัมภีร์โบราณ กับคำอธิบายความ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 15 ธันวาคม 2565 20:01:37
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/62133882981207_2_320x200_.jpg)    ภาพวาด-ครูเหม เวชกร

รักมิตรสุภาพไซร้      สมรมิตร
รักเผ่าพงศาสนิท     . ซื่อไซร้
รักหญิงอย่าพึงคิด สินอ่อย เอานา
รักสัตย์ศีลจักได้    สุขแท้ทางสวรรค์ ฯ
           อธิบายความ
               - รักเพื่อนสนิท่ มิตรสหาย จะให้คบหากันได้ยืดยาว ต้องมีมารยาท พูดจาเรียบร้อย รู้กาลเทศะ
             - รักญาติพี่น้อง ลูกหลานเหลนในตระกูล ให้ประพฤติตรง ไม่เอนเอียง ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม
             - รักผู้หญิง อย่านำทรัพย์สินเงินทองไปหลอกล่อให้เขามาหลงใหล
             - ผู้รักษา “สัตย์” เป็นผู้มีศีล ย่อมได้รับความสุขโสมนัสในสวรรค์

ขอเชิญร่วมอธิบายความตามโคลงโลกนิติ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา
และแก้ไขสิ่งที่ผู้โพสต์อาจตีความคลาดเคลื่อน  เผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป

650


หัวข้อ: Re: โคลงโลกนิติ : คาถาสุภาษิตจากคัมภีร์โบราณ กับคำอธิบายความ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 20 ธันวาคม 2565 19:59:37
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/83384866888324_7_Copy_.jpg)
     รักอื่นหมื่นแสนไซร้ อย่าสู้รักธรรม ฯ (ธมฺมจารี สุขัง เสติ - ผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุข)
     ภาพวาด-ครูเหม เวชกร (จากมูลนิธิครูเหม เวชกร)

รักทรัพย์อย่ายิ่งด้วย      วิชา
สว่างอื่นเท่าสุริยา     ห่อนได้
ไฟใดยิ่งราคา เพลิงราค ฤๅพ่อ
รักอื่นหมื่นแสนไซร้     อย่าสู้รักธรรม ฯ
          อธิบายความ
               - อย่าหลงใหลมัวเมาติดในทรัพย์สินเงินทอง มากไปกว่าการใฝ่หาวิชาความรู้
             - แสงสว่างทั้งหลายในโลกนี้ ไม่มีแสงใดสว่างเทียบเท่าดวงสุริยา
             - ไม่มีไฟใดในโลกที่จะรุนแรงเท่ากับไฟคือราคะ (ราคะ - ความกำหนัด, ความยินดีในกาม, ความใคร่.)
             - จะรัก ห่วง หวง สมบัติใดๆ  ก็เป็นเพียงสิ่งสมมติของโลก จงฝึกฝนตนให้รักและพอใจในธรรม (ธมฺมจารี สุขัง เสติ - ผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุข)

ขอเชิญร่วมอธิบายความตามโคลงโลกนิติ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา
และแก้ไขสิ่งที่ผู้โพสต์อาจตีความคลาดเคลื่อน  เผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป

650


หัวข้อ: Re: มีมิตรจงรอบรู้ รักสนิท : โคลงโลกนิติ คาถาสุภาษิตจากคัมภีร์โบราณ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 22 พฤษภาคม 2566 18:36:38
.
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/47596209040946_1_Copy_.jpg)    
     ภาพวาด-ครูเหม เวชกร (จากมูลนิธิครูเหม เวชกร)

มีมิตรจงรอบรู้      รักสนิท
ดุจอุทรเดียวชิด     ชอบหน้า
ความขำเงื่อนงำปิด ปัดเป่า
ท่านว่ามิตรนี้อ้า   เอกล้ำเหลือดี ฯ
          อธิบายความ
               การจะมีมิตรที่ดี ต้องรู้จักลักษณะของมิตรแท้ คือ
               - ให้ความไว้วางใจ และรักษาน้ำใจซึ่งกันเอาไว้ดุจพี่น้องคลานตามกันมา  
               - ขยายความลับของตนแก่เพื่อนและปิดความลับของเพื่อนไม่ให้ผู้อื่นรู้.
               ..บุคคลเช่นนี้ ท่านว่าเป็นมิตรแท้ ที่หวังดี คอยช่วยเหลือเพื่อนอย่างจริงใจ.

ขอเชิญร่วมอธิบายความตามโคลงโลกนิติ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา
และแก้ไขสิ่งที่ผู้โพสต์อาจตีความคลาดเคลื่อน  เผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป

650


หัวข้อ: Re: เมียท่านพิศพ่างเพี้ยง มารดา (โคลงโลกนิติ : คาถาสุภาษิตจากคัมภีร์โบราณ)
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 25 พฤษภาคม 2566 20:01:56
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/11771222949027_111_Copy_.jpg)    ภาพวาด-ครูเหม เวชกร (จากมูลนิธิครูเหม เวชกร)

เมียท่านพิศพ่างเพี้ยง      มารดา
ทรัพย์ท่านคืออิฐผา     . กระเบื้อง
รักสัตว์อื่นอาตมา เทียมเท่า กันแฮ
ตรองดั่งนี้จักเปลื้อง     ปลดพ้นสงสาร ฯ

           อธิบายความ  ความอยากได้ไม่มีที่สิ้นสุด จะยิ่งมีแต่ความทุกข์
               - มองภรรยาของผู้อื่นให้เหมือนมองดูมารดาของตนเอง (ไม่คิดในทำนองชู้สาว)
             - ทรัพย์สินเงินทองของผู้อื่น ให้เห็นว่าเป็นอิฐ เป็นกระเบื้อง ไม่มีค่าพอที่จะอยากได้ทรัพย์นั้นมาเป็นของตน
             - สัตว์โลกทั้งหลายก็รักชีวิตตนและสะดุ้งกลัวความตายเหมือนกับตัวเรา
             - ผู้ใดตรองได้ดังนี้ เป็นผู้หลุดพ้น หมดกิเลสตัณหา ย่อมได้รับความสุขโสมนัสในสวรรค์

ขอเชิญร่วมอธิบายความตามโคลงโลกนิติ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา
และแก้ไขสิ่งที่ผู้โพสต์อาจตีความคลาดเคลื่อน  เผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป

600


หัวข้อ: Re: คนใดใจส่างสิ้น ความอาย : โคลงโลกนิติ กับคำอธิบายความ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 31 พฤษภาคม 2566 13:21:52
(https://www.sarakadee.com/feature/2002/11/images/hem_06.jpg)    ภาพวาด-ครูเหม เวชกร (ภาพจากเว็บไซต์ สารคดี ดอท. คอม)

คนใดใจส่างสิ้น      ความอาย
ความสัตย์เสื่อมกระจาย     . จากแท้
มานะเจ็บอายหาย หมดเนตร
สิ่งสี่มีพร้อมแล้    เล่ห์เพี้ยงเดียรฉาน ฯ
           อธิบายความ 
               ผู้ใดขาดความละอายใจในการทำสิ่งไม่ถูกต้อง ไม่มีความซื่อสัตย์สุจริต 
              ไม่มีมานะอดทน และเป็นผู้ขาดความละอายในการทำความผิด
              ทั้ง ๔ ประการที่กล่าวมานี้ ปรากฎอยู่ในบุคคลผู้ใด ท่านว่าผู้นั้นเปรียบได้กับสัตว์เดรัจฉาน 
              คือเป็นผู้ไม่รู้เหตุผล แยกผิดชอบชั่วดีไม่ได้

ขอเชิญร่วมอธิบายความตามโคลงโลกนิติ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา
และแก้ไขสิ่งที่ผู้โพสต์อาจตีความคลาดเคลื่อน  เผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป

650


หัวข้อ: Re: คนใดมีสัตย์ทั้ง มานะ - โคลงโลกนิติ กับคำอธิบายความ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 01 มิถุนายน 2566 14:53:55
(https://www.sarakadee.com/feature/2000/10/images/hem_12.jpg)    ภาพวาด-ครูเหม เวชกร (ภาพจากเว็บไซต์ สารคดี ดอท.คอม)

คนใดมีสัตย์ทั้ง      มานะ
ความเจ็บยังไป่ละ         . หนึ่งบ้าง
ความอายบ่สละ จากจิต
แม้ตกต่ำไร้ร้าง     ห่อนผู้ดูแคลน ฯ
          อธิบายความ  
                ผู้ประพฤติตนเป็นคนซื่อสัตย์ ซื่อตรงต่อความดี  
               มีความเพียรพยาม  มีความสำนึกว่าเจ็บแล้วต้องจำในสิ่งที่เราผิดพลาด และรู้สึกละอายในการทำชั่ว
               .... คนเช่นนี้แม้ชีวิตจะตกอยู่ในความยากลำบากก็ไม่มีใครดูถูกดูแคลน

ขอเชิญร่วมอธิบายความตามโคลงโลกนิติ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา
และแก้ไขสิ่งที่ผู้โพสต์อาจตีความคลาดเคลื่อน  เผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป

650


หัวข้อ: Re: คนใดฟังอรรถแล้ว บ่ขวาย–ขวนนา - โคลงโลกนิติ : คาถาสุภาษิตจากคัมภีร์โบราณ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 28 กรกฎาคม 2566 17:40:37
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/90703208703133_1111_Copy_.jpg)    
                       ภาพวาด-ครูเหม เวชกร (ขอขอบคุณ มูลนิธิเหม เวชกร...ที่มาภาพประกอบ )

คนใดฟังอรรถแล้ว      บ่ขวาย – ขวนนา
บ่ตริตรึกนึกหมาย         . มั่นไว้
บ่ถามไต่อุบาย เติมต่อ
ปราชญ์ว่าผู้นั้นไซร้     ใช่เชื้อเมธา ฯ
          อธิบายความ  
                ผู้ได้รับความรู้จากการเล่าเรียน ฝึกฝน หรือได้รับความรู้จากบุคคลที่สามารถถ่ายทอดทักษะมาให้
               ไม่รู้จักนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ และไม่กล้าไต่ถามผู้มีปัญญาเพื่อเสริมสร้างความรู้ความสามารถให้ได้ดียิ่งขึ้น
               ปราชญ์ว่า ผู้นั้นไม่ใช่เป็นผู้มีปัญญา
 
ขอเชิญร่วมอธิบายความตามโคลงโลกนิติ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา
และแก้ไขสิ่งที่ผู้โพสต์อาจตีความคลาดเคลื่อน  เผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป

650


หัวข้อ: Re: คนใดทรงสัตย์สร้าง ศีลา : โคลงโลกนิติ คาถาสุภาษิตจากคัมภีร์โบราณ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 13 ตุลาคม 2566 13:46:21
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/47846215176913_1_Copy_.jpg)
                       ภาพวาด-ครูเหม เวชกร

คนใดทรงสัตย์สร้าง      ศีลา
ไป่เคียดขึ้งหึงสา         . สัตว์ไซร้
น้ำจิตคิดกรุณา เนืองนิจ
คนดั่งนี้จัดได้     ชื่อเชื้อปรีชา ฯ
          อธิบายความ  
              ผู้ใดดำรงจิตไว้อย่างถูกต้องในศีลในธรรม
               ไม่ถลำไปที่อารมณ์โกรธแค้น พยาบาท ต่อสัตว์โลกผู้ร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตาย แล้วไซร้  
               จิตที่ตั้งมั่นอยู่ในความเมตตากรุณาอยู่เนืองนิจนี้
               จัดว่าคนผู้นั้นเป็นผู้มีความรู้รอบและรู้ลึก คือมีปัญญา
             
 
ขอเชิญร่วมอธิบายความตามโคลงโลกนิติ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา
และแก้ไขสิ่งที่ผู้โพสต์อาจตีความคลาดเคลื่อน  เผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป

650


หัวข้อ: Re: คนใดละพ่อทั้ง มารดา - โคลงโลกนิติ : คาถาสุภาษิตจากคัมภีร์โบราณ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 19 ตุลาคม 2566 18:58:43
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/18850256047314_8_Copy_.jpg)
                       ภาพวาด-ครูเหม เวชกร (มูลนิธิ เหม เวชกร - ที่มาภาพประกอบ)

คนใดละพ่อทั้ง      มารดา
อันทุพพลชรา-         . ภาพแล้ว
ขับไล่ไป่มีปรา- นีเนตร
คนดั่งนี้ฤๅแคล้ว          คลาดพ้นภยันต์ ฯ
          อธิบายความ  
              คนใดทอดทิ้งพ่อแม่ผู้มีพระคุณ
              ผู้แก่ชราไม่สามารถประกอบการงานได้ตามปกติ 
              ทั้งยังขับไล่ให้ออกไปจากบ้านโดยปราศจากความปราณี            
              คนทำให้พ่อแม่เป็นทุกข์เช่นนี้  เป็นผู้มีกรรมหนักมาก เมื่อละจากโลกนี้ไปแล้ว ต้องไปเกิดในนรกอเวจี



ขอเชิญร่วมอธิบายความตามโคลงโลกนิติ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา
และแก้ไขสิ่งที่ผู้โพสต์อาจตีความคลาดเคลื่อน  เผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป

650


หัวข้อ: Re: คนใดเอมโอชด้วย เจรจา : โคลงโลกนิติ คาถาสุภาษิตจากคัมภีร์โบราณ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 22 พฤศจิกายน 2566 16:57:44
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/85925580975082_22_Copy_.jpg)    
             ภาพวาด-ครูเหม เวชกร
ขอขอบคุณ "มูลนิธิ เหม เวชกร (ที่มาภาพประกอบ)

คนใดเอมโอชด้วย      เจรจา
เห็นแก่เฒ่าพฤฒา         ถ่อมไหว้
สรรเสริญทั่วโลกา มนุษย์ นี้นา
ในปรโลกจักได้     สู่ฟ้าเมืองสวรรค์ ฯ

           อธิบายความ
             คนใดมีวาจาซาบซึ้งใจ คือกล่าวคำพูดจาสุภาพ ไพเราะอ่อนหวาน
             ให้ความเคารพและอ่อนน้อมต่อผู้สูงอายุ
             ผู้มี "ปิยวาจา" และ "ความอ่อนน้อมถ่อมตน" ปฏิบัติสม่ำเสมอกันอยู่เนืองนิตย์ ย่อมเป็นที่ยกย่องสรรเสริญของชนทั้งหลายในโลกนี้
             แม้เมื่อละจากโลกนี้ไปแล้ว ย่อมได้รับความสุขโสมนัสในสรวงสวรรค์

ขอเชิญร่วมอธิบายความตามโคลงโลกนิติ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา
และแก้ไขสิ่งที่ผู้โพสต์อาจตีความคลาดเคลื่อน  เผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป

650


หัวข้อ: Re: คนใดด่าโคตรเค้า ตระกูล - โคลงโลกนิติ : คาถาสุภาษิตจากคัมภีร์โบราณ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 11 มกราคม 2567 13:42:02
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/68072940450575_12_Copy_.jpg)
  
             ภาพวาด-ครูเหม เวชกร
ขอขอบคุณ "มูลนิธิ เหม เวชกร (ที่มาภาพประกอบ)

คนใดด่าโคตรเค้า      ตระกูล
ถือว่าตนทรัพย์มูน         มั่งขั้ง
ดูหมิ่นหมู่ประยูร พงศ์เผ่า
เป็นที่ติเตียนทั้ง   ทั่วท้องโลกา ฯ

           อธิบายความ
             คนใดดูถูกดูแคลนญาติพี่น้องร่วมวงศ์สกุลตระกูลของตนเอง
             โดยถือว่าตนเองมีฐานะมั่งคั่ง ร่ำรวยกว่า
             ผู้มีนิสัยดูหมิ่นเครือญาติดังกล่าวแล้ว
             บุคคลนั้น ย่อมเป็นที่ติเตียนของชนทั้งหลาย
 
ขอเชิญร่วมอธิบายความตามโคลงโลกนิติ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา
และแก้ไขสิ่งที่ผู้โพสต์อาจตีความคลาดเคลื่อน  เผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป

650


หัวข้อ: Re: ชายใดเร่คบค้า นารี : โคลงโลกนิติ - คาถาสุภาษิตจากคัมภีร์โบราณ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 05 กุมภาพันธ์ 2567 11:41:40
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/71649856451484_8_Copy_.jpg)
  
             ภาพวาด-ครูเหม เวชกร
ขอขอบคุณ "มูลนิธิ เหม เวชกร (ที่มาภาพประกอบ)

ชายใดเร่คบค้า      นารี
เสพสุรายินดี         บ่อนเหล้น
นกไก่สกาตี มือต่อ พนันนา
คนดั่งนี้ฤๅเว้น   จากเบื้องฉิบหาย ฯ

           อธิบายความ
             คนใดมั่วสุมในอบายมุข ๔ ได้แก่ ๑.เป็นนักเลงหญิง ๒.เป็นนักเลงสุรา
             ๓.เป็นนักเลงเล่นการพนัน และ ๔.เป็นนักเลงพนันนกไก่ตีกัน พนันการเล่นสกา
             คนมัวเมาในหนทางดังกล่าวมาข้างต้น ย่อมได้รับความฉิบหาย ความเสื่อม ความพินาศ และย่อยยับแห่งโภคทรัพ
 
ขอเชิญร่วมอธิบายความตามโคลงโลกนิติ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา
และแก้ไขสิ่งที่ผู้โพสต์อาจตีความคลาดเคลื่อน  เผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป

650


หัวข้อ: Re: คนใดถ่อยจากรู้ วิชา - โคลงโลกนิติ : คาถาสุภาษิตจากคัมภีร์โบราณ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 19:41:07
(https://attooktee.files.wordpress.com/2020/01/019-63.jpg)
ขอขอบคุณเว็บไซต์ attooktee.files.wordpress.com (ที่มาภาพประกอบ)

คนใดถ่อยจากรู้      วิชา
หญิงรูปร้ายกิริยา         โฉดด้วย
บรรพชิตบ่รักษา ศีลขาด
สามสิ่งนี้ชื่อม้วย   ชีพสิ้นสุดสกล ฯ

           อธิบายความ
             - คนโง่เขลา ไม่ขวนขวายหาวิชาความรู้
             - หญิงรูปชั่วตัวดำต่ำต้อย ซ้ำยังมีกิริยาเลวทราม
             - ภิกษุที่ที่ล่วงละเมิดไม่ประพฤติตามพระวินัย ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความศรัทธาและเลื่อมใส
             ลักษณะชั่ว ๓ ประการนี้ จะล้างผลาญทั้งชื่อเสียงและเกียรติคุณไปจนวันตาย

ขอเชิญร่วมอธิบายความตามโคลงโลกนิติ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา
และแก้ไขสิ่งที่ผู้โพสต์อาจตีความคลาดเคลื่อน  เผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป

650ๅ


หัวข้อ: Re: คนร้ายมักชอบร้าย ราคี - โคลงโลกนิติ : คาถาสุภาษิตจากคัมภีร์โบราณ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 19 พฤษภาคม 2567 17:30:02
(https://attooktee.files.wordpress.com/2020/01/019-63.jpg)
ขอขอบคุณเว็บไซต์ attooktee.files.wordpress.com (ที่มาภาพประกอบ)

คนร้ายมักชอบร้าย      ราคี
สอนสั่งสิ่งความดี          บ่ได้
ดุจเกลือทอดนที ศูนย์เปล่า
เสพที่ชั่วเชือนไซร้   ทราบแจ้งใจมัน ฯ
   

           อธิบายความ
             นิสัยของคนเลว คนชั่ว มักประพฤติแต่สิ่งเลวทรามให้ตัวเองมัวหมอง
             การจะสั่งสอนให้เป็นคนดีนั้น ยากแสนยาก
             เหมือนกับการเทเกลือลงไปในแม่น้ำ มีแต่ความศูนย์เปล่า ไม่เกิดประโยชน์อันใด
             เพราะคนประเภทนี้ชอบทำชั่วหรือทำบาปจนเป็นนิสัยหรือสันดาน
 

ขอเชิญร่วมอธิบายความตามโคลงโลกนิติ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา
และแก้ไขสิ่งที่ผู้โพสต์อาจตีความคลาดเคลื่อน  เผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป

650ๅ


หัวข้อ: Re: สอนคนหีนชาติช้า โฉดเฉา : โคลงโลกนิติ คาถาสุภาษิตจากคัมภีร์โบราณ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 01 กรกฎาคม 2567 15:02:23
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/56165216863155_p33_Copy_.jpg)
             ภาพวาด-ครูเหม เวชกร

สอนคนหีนชาติช้า     โฉดเฉา
ฝนตกเจิมจอมเขา         หลั่งหลุ้ม
คนดีสั่งสอนเอา โอวาท
กลกะละออมน้ำอุ้ม   อิ่มได้โดยใข ฯ
 

           อธิบายความ
             การอบรมสั่งสอนคนเลว ชั่วข้า เปรียบเสมือนฝนตกบนยอดเขา
             เป็นธรรมดาของน้ำ ย่อมไหลลงสู่ที่ต่ำ
             การอบรมสั่งสอนคนดี มีจิตใจดีงาม คิดดี ทำดี พูดดี
             เสมือนเอาน้ำไปใส่ในกระออม (หม้อน้ำ) ย่อมได้ประโยชน์เต็มบริบูรณ์ทั้งผู้ให้และผู้รับ

             * หลั่งหลุ้ม (ลงสู่ที่ต่ำ)  


ขอเชิญร่วมอธิบายความตามโคลงโลกนิติ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา
และแก้ไขสิ่งที่ผู้โพสต์อาจตีความคลาดเคลื่อน  เผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป

550


หัวข้อ: Re: เผ่าพาลพวกไป่รู้ คุณคน : โคลงโลกนิติ คาถาสุภาษิตจากคัมภีร์โบราณ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 10 กรกฎาคม 2567 17:29:17
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/42793361180358_BB3_1_.jpg)
             ภาพวาด-ครูเหม เวชกร

เผ่าพาลพวกไป่รู้     คุณคน
มันย่อมหาเหตุผล         ขุดได้
สมบัติสี่สากล โกยกอบ ให้แฮ
ฤๅอาจยังมันให้   เกิดแย้มยินดี ฯ
 

           อธิบายความ
             คนพาล คนโง่เขลา ย่อมไม่รู้จักคุณคน
             มันมักหาเหตุผลต่างๆ นานาเข้าข้างตนเองที่มิใช่ความจริงขึ้นมาอ้าง เพื่อลบล้างความผิดพลาด
             แม้จะเกื้อกูลด้วยสมบัติมนุษย์ทั้ง ๔ ทวีป
             คนประเภทนี้ก็ไม่รู้สึกซาบซึ้งปีติยินดี
          

ขอเชิญร่วมอธิบายความตามโคลงโลกนิติ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา
และแก้ไขสิ่งที่ผู้โพสต์อาจตีความคลาดเคลื่อน  เผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป

550


หัวข้อ: Re: ได้สินทรัพย์เพื่อค้า ขนหงส์ : โคลงโลกนิติ คาถาสุภาษิตจากคัมภีร์โบราณ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 24 สิงหาคม 2567 19:56:18
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/61412804863519_11_Copy_.jpg)
             ภาพวาด-ครูเหม เวชกร

ได้สินทรัพย์เพื่อค้า     ขนหงส์
เลี้ยงชีพช้ายืนยง         อยู่แล้ว
ภายหลังโลภไป่ตรง     ใจต่อ
ถอนทั่วตัวหงส์แคล้ว   คลาดสิ้นเสื่อมทอง ฯ
 

           อธิบายความ
             หงส์ทองสลัดขนทองคำไว้ให้นำไปขายเลี้ยงชีวิต
             เพื่อให้อยู่กินกันอย่างสุขสบาย แล้วยังแวะเวียนมาสลัดขนให้เป็นระยะ มิได้ทอดทิ้งแต่อย่างใด
             เพราะความโลภเกินประมาณ มีความปรารถนาไม่รู้จักพอ กลับคิดร้ายต่อ "หงส์ทอง" ผู้มีพระคุณ
             จึงวางกลหลอกพญาหงส์มาจัดการถอนขนจนหมดตัว ขนทุกเส้นที่ถอนมาจึงเสื่อมจากทองคำ กลายเป็นขนนกหงส์ธรรมดาๆ

-----------------------------------
            
โคลงบทนี้ มีเค้าโครงจาก ชาดก พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ
อรรถกถา หังสชาดก (สุวรรณหงสชาดก)            
กาลครั้งนั้น พระบรมโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพญาหงส์ทอง
ภาษิต "โลภมาก ลาภหาย" บุคคลได้สิ่งใด ควรยินดีด้วยสิ่งนั้น
 
ขอเชิญร่วมอธิบายความตามโคลงโลกนิติ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา
และแก้ไขสิ่งที่ผู้โพสต์อาจตีความคลาดเคลื่อน  เผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป

550