[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน => ข้อความที่เริ่มโดย: 時々๛कभी कभी๛ ที่ 06 กันยายน 2553 12:58:25



หัวข้อ: ทิฏฐุชุกรรม {๑}
เริ่มหัวข้อโดย: 時々๛कभी कभी๛ ที่ 06 กันยายน 2553 12:58:25
(http://public.bay.livefilestore.com/y1pjyZEdTN6InBBUw6eWloGtOXxgsM2LJnpCLu8N1gq9x6EyPh_wyZRv24B-rAfih7xivA8kG9RqcKua_0z-y7VHQ/IMG0051.jpg?psid=1)

http://www.se-ed.com/ads/pr/sile/song/09.%20Track%209.wma


ภาพทางลงจากสวรรค์ค่อย ๆ เดินลงเดี๋ยวหกล้มถ่ายภาพโดย(บางครั้ง)


(http://public.bay.livefilestore.com/y1pAt_ym71UgufHmUCfRu88oDC1phlUs81Nja3qdYWD1bKVMroKr0LIMNr0Vxgcm-c61hlZ5e8piPvblUEh3TQFCA/om%205.gif?psid=1)


คุณวันทนา

สวัสดีค่ะ ท่านผู้ฟัง

บางครั้ง ---->ท่านอาจจะมีญาติสนิทหรือเพื่อนสนิท

ที่จากกันเป็นแรมปีทีเดียวจู่ ๆ เขาผู้นั้นก็แวะเยี่ยมท่านที่บ้าน

และจุดประสงค์ของการมาเยี่ยมนั้น

ก็ไม่มีสิ่งอื่นใดยิ่งไปกว่าน้ำใจไมตรี

และความระลึกถึงท่านจะรู้สึกอย่างไร

หากว่าท่านจะเป็นฝ่ายได้รับน้ำใจไมตรีจากญาติมิตรเช่นนี้.

หรือว่าบางครั้ง ท่านอาจจะได้รับของฝากของกำนัลจากญาติมิตร

ที่ระลึกถึงและปรารถนาให้ท่านมีความสุข ความชุ่มชื่นใจ.

และหากว่าท่านเป็นผู้ที่ให้ความสุข

ความชุ่มชื่นใจแก่มิตรสหายของท่านบ้าง

ดิฉันก็เชื่อว่า ความสุข ความชุ่มชื่นใจ ในฐานะเป็นผู้ให้

ก็คงจะบังเกิดแก่จิตใจของท่านผู้ให้ไม่น้อยเลย.

นี่คือตัวอย่างง่าย ๆ

ที่จะทำให้ท่านผู่อ่านเห็นว่า

บางครั้งความสุขความแช่มชื่นใจของเรา

ก็เกิดจากการประพฤติปฏิบัติ

ระหว่างเราและผู้ที่มีความสัมพันธ์

เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเรา

อันเกิดจากการเป็นผู้รับและผู้ให้

ตามกาลอันสมควร..........................................

คุณวันทนา

พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงกุศลขั้นต่างๆไว้

ตามความสามารถของผู้ที่จะประพฤติปฏิบัติได้

กุศลที่ไม่ใช่ขั้นทาน ก็มีใช่ไหมคะ.?

ท่านอาจารย์

มีค่ะ......................เพราะกุศลเป็นจิตใจที่ดีงาม

จิตใจที่ดีงามเกิดขึ้นขณะใด ขณะนั้นก็เป็นกุศล

เพราะความเข้าใจที่ถูกต้อง

ในเรื่องของสภาพธรรมต่างๆ เป็นกุศล.

เช่นรู้ว่า อะไรดี อะไรชั่ว

รู้ว่า โลภะ โทสะ โมหะ เป็นสภาพธรรมที่ไม่ดี

และรู้ว่าความไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง ความไม่เบียดเบียนผู้อื่น

ความซื่อสัตย์ ความกตัญญู เป็นสภาพธรรมที่ดีงาม.

รู้อย่างนี้เป็นกุศล

เพราะเป็นความเข้าใจที่ถูกต้องในสภาพธรรม

ว่าสภาพธรรมใดดี สภาพธรรมใดชั่ว.

คนที่รู้ว่าอะไรเป็นกุศล กุศลย่อมเกิดได้มากกว่าคนที่ไม่รู้

และไม่ต้องคอยเวลาที่จะเป็นกุศลด้วย

คุณวันทนา

เรื่องโลภะ โทสะ โมหะ ไม่ใช่ว่าจะไม่มีใครรู้ ว่าเป็นสภาพธรรมที่ไม่ดี

แต่แม้กระนั้นจิตใจที่ไม่ดี การกระทำสิ่งที่ไม่ดีก็ยังเกิดขึ้นบ่อย ๆ

ที่เป็นอย่างนี้เพราะอะไร..................................?

ท่านอาจารย์

ที่เป็นอย่างนี้ เพราะว่าความรู้อย่างนั้น ยังมีกำลังน้อย

ความรู้อย่างนั้น จึงเกิดน้อยกว่ากิเลส ที่เป็นธรรมฝ่ายอกุศล

ตราบใดที่ยังไม่รู้ความจริง

ไม่ประจักษ์แจ้งลักษณะที่แท้จริง ของสภาพธรรมต่างๆ

ซึ่งเป็น จิต{เจตสิก}รูป

ที่เกิดภายในร่างกาย และภายนอกร่างกาย ตามความเป็นจริง

ก็ย่อมจะจะเป็นเหตุให้เกิดความยินดี  - ยินร้าย

ความพอใจไม่พอใจอยู่เสมอ

สภาพธรรมใดเกิดบ่อย ๆ

สภาพธรรมนั้น ก็ย่อมมีกำลังมากกว่า

สภาพธรรมที่นาน ๆ จึงจะเกิดขึ้น

ฉะนั้น.......................จึงต้องพิจารณาให้รู้แน่ชัดอยู่เสมอว่า

ธรรมใดดี - ธรรมใดชั่ว

เมื่อเข้าใจและรู้แน่ชัดแล้วก็อบรมเจริญความดี

ซึ่งเป็นธรรมฝ่ายกุศลให้มากขึ้นให้มีกำลัง

ขัดเกลากิเลส{อกุศล}ให้เบาบางลงได้

ทาน ศีล ภาวนา

เป็นหลักใหญ่ของการเจริญกุศล

เพื่อขจัดขัดเกลากิเลส

เป็นบุญญกิริยา ๓

ซึ่งเมื่อกล่าวโดยละเอียด

บุญญกิริยาวัตถุมี ๑๐ ประการ

ความเห็นถูก ความเข้าใจถูกว่า ธรรมใดดี ธรรมใดชั่ว

เป็นกุศลประเภท{ทิฏฐุชุกรรม}

คำว่า{ทิฏฐุชุกรรม}เป็นคำรวมของคำว่า

ทิฏฐิ อุชุ กรรม

ทิฏฐิ แปลว่า{ความเห็น}

อุชุ แปลว่า{ตรง}

กรรม แปลว่า{การกระทำ}

ฉะนั้นกุศลประเภทนี้จึงเป็น

การกระทำความเห็นให้ถูกต้อง

ตรงตามลักษณะของสภาพธรรมนั้น ๆ


.........................ธรรมะน่าคิดพิจารณาวันนี้................


จิตมีธรรมชาติดิ้นรน กวัดแกว่ง รักษายาก ห้ามยาก - ผนฺทนํ จปลํ จิตฺตํ ทุรกฺขํ ทุนฺนิวารยํ{ธรรมบท ๒๕/๑๗}


ธรรมะประจำวันที่ 06/09/2010



หัวข้อ: Re: ทิฏฐุชุกรรม {๑}
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 06 กันยายน 2553 14:19:33

(http://images.ktpswe.multiply.com/image/1/photos/upload/300x300/SJWbVAoKCEsAAFLZffk1/y1pST9E1Ix0IcL8jaVe7RkhJT6Ur0HLEYeskA3jozTrII2A-JNO4OFAZHox6t7IrfHT12eAicNS2mo.jpg?et=JEW%2CwzcInnYjzfsoO8JXsQ&nmid=0)

 (:88:)  (:88:)  (:88:)