[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน => ข้อความที่เริ่มโดย: 時々๛कभी कभी๛ ที่ 09 กันยายน 2553 11:46:18



หัวข้อ: ศีล - สมาธิ - ปัญญา
เริ่มหัวข้อโดย: 時々๛कभी कभी๛ ที่ 09 กันยายน 2553 11:46:18
(http://www.taklong.com/landscape/s/34020PC24008-7.jpg)

http://www.fungdham.com/download/song/allhits/24.wma


ถ่ายภาพโดย(บางครั้ง)เป็นภาพจากสถานที่สงบเงียบน่าปลีกวิเวกแห่งหนึ่ง



เมื่อของสะอาดกับของไม่สะอาดปนกันอยู่ ผู้มีปัญญาปรารถนาจะเอาของสะอาด สามารถกลั่นกรองเอาของสะอาดมาใช้ได้ เหมือนน้ำที่ไม่สะอาด กลั่นกรองเอาแต่น้ำสะอาดมาบริโภคใช้สอยได้ฉะนั้นโลก กับ ธรรม เป็น ของประสมโรงกันมาแต่ดั้งเดิม ดังได้อธิบายมาแล้วข้างต้น ผู้ที่ยังติดรสชาติของโลก ไม่รู้สึกอิ่มเบื่อ ก็เสวยนัวกันไป ผู้อิ่มแล้ว เห็นเป็นภัยร้ายแรงของชีวิต เบื่อหน่ายคลายความพอใจในรสนั้น ก็พยายามกลั่นกรอง แก้ไขจนสละหลุดพ้นไปได้เครื่องกลั่นกรองของธรรม เพื่อให้ใสสะอาดจากโลกนั้น นอกเหนือจาก ศีล สมาธิ ปัญญาแล้ว ไม่มี พระอริยเจ้าทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ท่านคิดค้นหามาใช้ ได้ผลสำเร็จมาแล้วเป็นอย่างดี แม้กาลเวลาจะล่วงเลยมาแล้วตั้งสองพันกว่าปีก็ตาม ผู้มีปัญญาจะนำมาใช้ให้ถูกต้อง ตามวิธีการของท่านก็ยังได้ผลอยู่เช่นเดิมบิดา มารดา รักบุตรหลาน บุตรหลานรักบิดามารดา ปู่ย่า ตายาย สามีภรรยา รักใคร่ชอบใจในกันแลกัน เรื่องเหล่านี้เป็นสัญชาติญาณของสัตว์โลก ย่อมมีได้ทั่วไปแต่ยังไม่ได้จัดเข้าในเกณฑ์ของการกลั่นกรองธรรม แต่ผู้ใดที่มีความรักใคร่ หรือเคารพนับถือในผู้มีพระคุณ หรือมีหิริโอตัปปะอยู่ในใจ แล้วงดเว้นจากความชั่วบาปกรรมนั้น ๆ เพราะกลัวความดีของตนจะเสื่อมเสียไป ผู้นั้นจัดได้ชื่อว่า เป็นผู้ก้าวขึ้นสู่ขั้นความเจริญแล้ว

{ศีล}จัดเป็นเครื่องสำหรับกลั่นกรองคนออกจากสัญชาตญาณของสัตว์ทั่วไปได้ดีที่สุด เพราะว่าสัญชาตญาณของมนุษย์ สัตว์ทั้งหลาย ที่เกิดมาในโลกนี้ย่อมมีความเห็นแก่ตัวเป็นมูลฐาน แล้วก็อิจฉา ริษยา ฆ่าฟัน บั่นทอนกำลังของผู้อื่น เพื่อจะยื้อแย่ง หยิบฉวยเอาเนื้อหนัง แลทรัพย์สิ่งของของคนอื่นมาเป็นของตัวไม่คิดถึงความชั่วช้าสามานย์ในการกระทำอันเป็นบาปกรรมนั้นเลย ศีล ถึงแม้ว่าจะเป็นเครื่องกลั่นกรอง อย่างหยาบ ก็ยังได้ชื่อว่าละบาป ทางกาย แลวาจา ซึ่งปรากฏออกมาแก่สายตาของสามัญชนทั่วไป เช่น งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ถึงใจยังปรารถนาอยากได้เนื้อของเขา มาบริโภคอยู่เพื่อชีวิตของตัว แต่เมื่อนึกถึงศีลข้อนี้แล้วกาย แลวาจา ไม่กล้าจะลงมือทำได้ ท่านก็ไม่จัดว่าศีลขาด เพราะไม่พร้อมด้วยองค์สาม คือกาย วาจา แลใจศีล ข้ออื่น ๆ ทั้งศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ แลศีล ๒๒๗ ของภิกษุก็ใน ทำนองเดียวกันนี้ ศีล จึงได้ชื่อว่าเป็นเครื่องกลั่นกรองของไม่ดี ออกไปจากกาย วาจา ได้ชั้นหนึ่งอนึ่ง บางคนรู้ว่าการกระทำเช่นนั้นผิดจากศีลแล้ว ไม่ยอมละการกระทำชั่วนั้น หรือละได้แล้วเป็นครั้งคราวแล้วกลับทำอีก เช่นการดื่มเหล้า ก็เข้าใจดีอยู่แล้วว่าผิดศีลข้อห้าเมื่อถึงเวลาพระเข้าพรรษาก็เข้าบ้างพอออกแล้ว ยิ่งดื่มหนักกว่าเก่า คล้าย ๆ กับว่าดื่มเหล้าบาปแต่ในฤดูเข้าพรรษา ก็เข้าบ้างออกพรรษาแล้วไม่บาป เลยดื่มทดแทนในพรรษาเสียให้คุ้ม อย่างนี้เรียกว่าเครื่องกรองขาด ใช้ไม่ได้ ผู้มีศีลตามภูมิของตน ๆ จะสมบูรณ์หรือไม่ก็ตาม ก็จัดได้ชื่อว่าเป็นผู้นำเครื่องกรองมาใช้แล้ว






หัวข้อ: Re: ศีล - สมาธิ - ปัญญา
เริ่มหัวข้อโดย: 時々๛कभी कभी๛ ที่ 09 กันยายน 2553 11:50:17
(http://www.taklong.com/landscape/s/34020PC24008-7.jpg)


{สมาธิ}ได้แก่ การหัดใจให้สงบจากอารมณ์ต่าง ๆ จะด้วยการใช้บริกรรม นึกแต่ในใจว่าพุทโธ ๆ ๆ หรืออรหัง ๆ ๆ มรณัง ๆ ๆ บทใดบทหนึ่งก็ได้ หรือบทบริกรรมนอกเหนือไปจากนี้ก็ได้ทั้งนั้น แล้วแต่จะชอบใจ คือเมื่อบริกรรมแล้ว จิตสงบ สบาย โล่งดี ใช้ได้ทั้งนั้น
แต่ให้เอาบทเดียว อย่าไปเอาโน่นบ้าง นี่บ้าง ใช้ไม่ได้ ในขณะที่กำลังบริกรรมอยู่นั้นให้ตั้งสติ ประคองจิต{คือผู้รู้สึกหรือผู้นึกคิด}ให้แน่วอยู่ที่คำบริกรรมนั้นแห่งเดียว กลั่นกรองเอาความคิด ความนึก ที่นอกเหนือจากนั้น สละทิ้งหมดเช่น คิดนึกส่งส่าย หรือทะเยอทะยานอยากโน่นอยากนี่ แม้แต่จิตที่จะแว่บออกไปจากเอกัคคตารมณ์ ก็อย่าให้มี ปลิดทิ้ง สละให้หมด อย่าให้มีเหลือไว้ ณ ที่นั้น ให้คงยังเหลืออยู่แต่ เอกัคคตาจิต คือ จิตที่ปราศจากความกังวล วุ่นวาย ส่งส่าย แล้วสงบสุขเย็นอยู่เฉพาะมันคนเดียวเมื่อเราฝึกหัดจิตให้ได้อย่างนั้นแล้ว เราก็จะเห็นตัวจิตได้ชัดทีเดียวว่า จิตแท้ไม่มีอะไร ที่มีเรื่องยุ่งเหยิง แลวุ่นวายเดือดร้อนด้วยประการต่าง ๆ นั้นมิใช่จิต แต่จิตไปรับเอาเรื่องภายนอกจากจิต มาประสมโรงต่างหากแล้วจิตก็ไปเดือดร้อน โวยวาย โน่นนี่ แล้วอยากหนีจากความเดือดร้อนวุ่นวายนั้น ๆ จิตนี้ชอบกล ยิ่งดิ้นก็ยิ่งรัด ยิ่งมัดยิ่งผูกให้แน่นตึงเข้าไปทุกที หากเรานิ่งเฉยเสีย ถึงมันจะไม่หลุด แต่มันก็ไม่รัดให้เดือดร้อนเกินไป
{ปัญญา} เป็นสิ่งที่คนเราทุกคน ไม่เลือกชั้น ไม่ว่า ไพร่ ผู้ดี มี จน ย่อมปรารถนาด้วยกันทั้งนั้น ถ้าได้ทราบว่า คนนั้น คนนี้ แม้จะไม่ใช่ลูกหลานเหลน หรือญาติมิตรของเราก็ตาม ว่าเขาเป็นผู้ดีมีปัญญา เฉลียวฉลาดแล้ว ก็จะแสดงความสนใจเป็นพิเศษในบุคคลนั้นอย่างน้อยก็อยากจะดูว่าหน้าตาเขามีลักษณะท่าทีเป็นอย่างไรบางคนทั้ง ๆ ที่ตนก็สนใจอยู่กับเรื่องปัญญานั้น แล้วก็ใช้ปัญญานั้น ซึ่งมีประจำอยู่ในตัว
เท่าทีมีอยู่ แต่ก็หาได้รู้ไม่ว่าปัญญามีลักษณะ แลคุณประโยชน์อย่างไรไม่คนชนิดนี้คิด ๆ ดูแล้วก็น่าขบขัน แลคนที่น่าขบขันยิ่งกว่านั้นก็คือ ผู้ที่ไม่รู้จักลักษณะของปัญญา แลปัญญานั้นก็ไม่มีในตนเสียด้วย แต่อยากจะแสดงภูมิปัญญา ให้ปรากฏแก่สายตาของคนอื่น


มรดกอันล้ำค่าของโลก{หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี}




หัวข้อ: Re: ศีล - สมาธิ - ปัญญา
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 09 กันยายน 2553 13:05:26
สาธุ ๆ ๆ