[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ห้องสมุด => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 10 สิงหาคม 2556 14:51:37



หัวข้อ: พรรณไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้มงคล
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 10 สิงหาคม 2556 14:51:37
.
(http://www.sookjaipic.com/images/275__3585_3636_3617_3648_3621_3657.gif)

พรรณไม้ดอก ไม้ประดับ
รวบรวมจาก คอลัมน์
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
และ หนังสือพิมพ์ข่าวสด


(http://topicstock.pantip.com/jatujak/topicstock/2012/01/J11583595/J11583595-15.jpg) โมกพวงดอกชมพู หอมสวยความเชื่อดี

โมกชนิดนี้ เกิดจากการผสมเกสรโดยธรรมชาติจากแมลง ระหว่างโมกพวงดอกขาวกับโมกแดงชนิดดอกใหญ่ที่ปลูกติดกัน แล้วนำเอาเมล็ดที่ได้จากทั้ง ๒ ต้น ไปเพาะขยายพันธุ์จนแตกต้นขึ้นมา ปรากฏว่า ลักษณะต้นและใบเหมือนกับโมกพวงดอกขาวทุกอย่าง จะมีข้อแตกต่างกันเพียงสีของดอกจะเป็นสีชมพูอ่อนสวยงามแปลกตามาก ดอกมีกลิ่นหอมเหมือนกับโมกพวงดอกขาวอีกด้วย จึงเชื่อว่าเป็นโมกพวงกลายพันธุ์อย่างแน่นอน จึงปลูกทดสอบสายพันธุ์ทั้งด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง ปรากฏว่าทุกอย่างยังคงที่เป็นไม้กลายพันธุ์ถาวรแล้ว จึงตั้งชื่อว่า “โมกพวงดอกชมพู” พร้อมตอนกิ่งขยายพันธุ์ออกจำหน่ายได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

โมกพวงดอกชมพู อยู่ในวงศ์ APOCYNACEAE เป็นไม้พุ่ม สูง ๒-๒.๕ เมตร ลำต้นเป็นสีน้ำตาลเข้ม มีประเป็นจุดกระจายทั่วทั้งต้น ทุกส่วนของลำต้นมีน้ำยางสีขาว ใบเดี่ยว รูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายและโคนใบแหลม ขนาดใบจะใหญ่และหนากว่าใบของโมกพวงดอกขาวอย่างชัดเจน

ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด ช่อดอกห้อยลง แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยหลายดอก ลักษณะดอกเหมือนกับดอกโมกพวงดอกขาวคือ มีกลีบดอก ๕ กลีบ เป็นสีชมพูอ่อนๆ ดอกมีกลิ่นหอม เวลามีดอกดกช่อดอกห้อยลงและดอกบานพร้อมกันทั้งต้น จะดูสวยงามและส่งกลิ่นหอมกระจายเป็นที่ชื่นใจมาก “ผล” เป็นฝัก มีหลายเมล็ดดอกออกตลอดทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง นอกจากดอกสวยงามและหอมแล้ว โบราณเชื่อว่าโมกทุกชนิดปลูกในบ้านจะช่วยให้เกิดความสุข เพราะคำว่า “โมก” หรือ “โมกข์” หมายถึงผู้พ้นทุกข์ทั้งปวง    นสพ.ไทยรัฐ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/21555601308743_EyWwB5WU57MYnKOuFT7deQhCNdtAgF.jpg)  บุนนาคสีชมพู สวยหอมแรง

ปกติ ดอกบุนนาคที่นิยมปลูกและคนรู้จักมาแต่โบราณ สีของดอกจะเป็นสีขาวหรือเหลืองและดอกมีกลิ่นหอมประทับใจ ชนิดดังกล่าวพบขึ้นตามป่าดิบทางภาคเหนือและภาคใต้ของไทย ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล ๒๐-๗๐๐ตร ดอกออกช่วงเดือนมีนาคม– กรกฎาคม ทุกปี มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ MESUA FERREA LINN. อยู่ในวงศ์ GUTTIFERAE เป็นไม้ต้น สูง ๑๕-๒๐ เมตร มีต้นขายทั่วไป มีสรรพคุณสมุนไพร คือ รากแก้ลมในลำไส้ เปลือกต้นใช้กระจายหนอง กระพี้แก้เสมหะในลำคอ เนื้อไม้เป็นยาแก้ลักปิดลักเปิด ใบใช้พอกแผลสดให้แห้ง ดอก บำรุงโลหิต ระงับกลิ่นตัวดี และใช้ผสมสีให้ติดทนนานน้ำมันกลั่นจากเมล็ดใช้จุดตะเกียง ทำเครื่องสำอาง

ส่วน “บุนนาคสีชมพู” เพิ่งพบมีต้นขาย ผู้ขายบอกว่า เป็นพันธุ์ที่พบขึ้นในป่าดิบติดกับน้ำตกทีลอซู ในพื้นที่ จ.ตาก และผู้พบเห็นได้เอาเมล็ดจากผลแก่จัดไปเพาะขยายพันธุ์จนต้นเติบโตมีดอก ปรากฏว่าดอกดกมาก สีสันของดอกเป็นสีชมพูเข้มแตกต่างจากสีสันของดอกบุนนาคชนิดแรกอย่างชัดเจน ดูสวยงามแปลกตายิ่ง ที่สำคัญดอกมีกลิ่นหอมแรงเป็นที่ชื่นใจมาก ผู้นำเมล็ดมาขยายพันธุ์จึงตั้งชื่อว่า “บุนนาคสีชมพู” พร้อมขยายพันธุ์ออกวางขายได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายอยู่ในเวลานี้

บุนนาคสีชมพู มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับบุนนาคชนิดดอกสีขาวเกือบทุกอย่าง จะแตกต่างกันเพียงต้นของ “บุนนาคสีชมพู” จะสูงแค่ ๕-๑๐ เมตร เท่านั้น และสีของดอกเป็นสีชมพูสวยงามและมีกลิ่นหอมเหมือนกัน “ผล” รูปไข่ มี ๑-๒ เมล็ด ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

ปัจจุบันมีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผงหน้าตึกกองอำนวยการเก่า ราคาสอบถามกันเองครับ...    นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.biogang.net/upload_img/biodiversity/biodiversity-128458-1.jpg) ระฆังทอง มีกิ่งตอนขายแล้ว

ในประเทศไทย พบไม้ต้นนี้เฉพาะถิ่นแถบภาคเหนือตอนล่าง และมีเขตกระจายพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจะขึ้นตามชายป่าดงดิบ หรือบริเวณลำห้วยที่ระดับความสูง ๔๐๐-๘๐๐ เมตร เคยแนะนำในคอลัมน์ไปแล้วว่า เป็นไม้ดอกสวยงามหายากชนิดหนึ่ง ไม่มีกิ่งตอนขายที่ไหน จะมีปลูกประดับบ้าง ตามบ้านในชนบท ไม่แพร่หลายสู่ภายนอก

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่แนะนำในคอลัมน์  ไปไม่นานนัก ปัจจุบันพบว่า มีผู้ขยายพันธุ์ตอนกิ่ง “ระฆังทอง” ออกวางขายแล้ว จึงรีบแจ้ง ให้ผู้อ่านไทยรัฐที่ชื่นชอบปลูกไม้ดอกสวยงาม ประเภทหายากได้ทราบอีกตามระเบียบ

ระฆังทอง หรือ PAULDOPIA GHORTA (G.DON) STEENIS อยู่ในวงศ์  BIGNONIA-CEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง ๓-๗ เมตร แตกกิ่งก้านกว้าง ใบเป็นใบประกอบขนนก มีใบย่อย ๓-๔ คู่ ก้านใบย่อยมีปีกแคบๆ เนื้อใบค่อนข้างบางเป็นรูปไข่แกมรูปใบหอก ปลายแหลมเป็นติ่ง โคนใบสอบกว้าง บางครั้งเบี้ยว ขอบใบและเส้นใบมีขน โดยเฉพาะด้านท้องใบ ใบเป็นสีเขียวสด

ดอก ออกเป็นช่อ ๓-๕ ดอก ห้อยลง กลีบรองดอกเชื่อมติดกัน เป็นรูปถ้วย กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว ๓-๔.๕ ซม. เป็นสีเหลืองเข้มหรือสีเหลือง ทอง ปลายกลีบบานเป็น ๕ แฉก สีแดงเข้ม มีเกสรตัวผู้ ๒ คู่ ติดกับหลอดดอกด้านใน ยาวไม่เท่ากัน เวลามีดอกดก และดอกบานพร้อมกันทั้งต้นจะดูเหมือนระฆังสีทอง ห้อยเป็นระย้าสวยงามน่าชมยิ่งนัก ดอกบานได้นานหลายวัน “ผล” เป็นฝัก เมล็ดแบน แข็ง ดอกออกเรื่อยเกือบทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง

ปัจจุบัน “ระฆังทอง” มีกิ่งตอนขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๓    นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/Picture/jackth/Bigno%20PauldopiaGhorta2.JPG) ระฆังทอง ดอกสวยหายาก

ไม้ต้นนี้ มีเขตการกระจายพันธุ์และนิเวศวิทยาทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศไทย ในต่างประเทศพบที่ พม่า ลาว เวียดนาม และในแถบ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนใหญ่จะพบขึ้นตามชายป่าดิบเขาที่ร่มเย็นชุ่มชื้นที่ระดับความสูงตั้งแต่ ๔๐๐-๘๐๐ เมตร มีชื่อ วิทยาศาสตร์ว่า PAULDOPIA GHORTA (G.DON) STEENIS อยู่ในวงศ์ BIGNONIACEAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ไม่ผลัดใบ สูง ๔-๘ เมตร แตกกิ่งก้านสาขาระเกะระกะไม่เป็นระเบียบ

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกสามถึงสี่ชั้น ใบย่อยเรียงตรงกันข้าม มีใบย่อยจำนวนมากเป็นรูปรีหรือรูปไข่ ปลายแหลมยาว โคนใบเบี้ยวมน ขอบเรียบ หน้าใบสีเขียวสด หลังใบสีหม่น

ดอก ออกเป็นช่อแบบแตกแขนงตามซอกใบและกิ่งก้าน แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก ดอกห้อยลงเป็นระย้า มีกลีบเลี้ยงเป็นรูปถ้วย กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดทรงกระบอกยาว ปลายบนเป็นรูปปากแตรแยกเป็น ๕ กลีบ กลีบที่บานออกเป็นสีแดงเข้ม หรือ แดงอมชมพู หลอดดอกเป็นสีเหลืองทอง ดอกยาว ๓-๔.๕ ซม.ภายในหลอดดอกมีเกสรตัวผู้ ๒ อันติดกับหลอดดอกยาวไม่เท่ากัน เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้นจะดูสวยงามเหมือนกับระฆังสีทองห้อยเป็นระย้าน่าชมมาก จึงถูกเรียกอีกชื่อว่า “ระย้าทอง”

ผล เป็นฝัก รูปรียาว ปลายฝักแหลม มีรอยคอดเล็กๆ เป็นช่วงๆ ภายในมีหลายเมล็ด เมื่อฝักแก่จะแตกอ้า เมล็ดค่อนข้างแบนและแข็ง ไม่มีปีก ดอกออกช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ต่อเนื่องไปจนถึงเดือนพฤษภาคมของทุกปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

ระฆังทอง จัดเป็นไม้ดอกสวยงามหายากที่ยังไม่พบว่ามีผู้ใดขยายพันธุ์หรือตอนกิ่งออกวางขายที่ไหน...ภาพประกอบคอลัมน์ถ่ายในป่าธรรมชาติทางภาคเหนือ    นสพ.ไทยรัฐ


(http://api.ning.com/files/t95s-qQejEZlizEEfLvTo5RGkrKgw*e-0pLDM0RCqm63e8-7xOqs0HJZqI3vsFFWmpRBzDeGWNAdXYZlkHHkdPT22mj8Fn4x/pud.jpg)  พุดจีบ ดอกหอมดกทั้งปี

ในบันทึกพรรณไม้ ระบุว่า “พุดจีบ” มีถิ่นกำเนิดจาก ประเทศอินเดีย แต่ก็ระบุด้วยว่าพบขึ้นในป่าดิบ  ทางภาคเหนือของประเทศ ไทยเช่นกัน ซึ่ง “พุดจีบ” นิยมปลูกเป็นไม้ประดับตามบ้านมาช้านานแล้ว เนื่องจาก  “พุดจีบ” มีดอกดกและมีดอกตลอดทั้งปีไม่ขาดต้น ทำให้เวลามีดอกดูสวยงามสว่างไสวน่าชมเป็นอย่างยิ่ง และที่สำคัญ ดอกยังมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ใช้จมูกสูดดมจะรู้สึกได้ถึงกลิ่นหอมชวนให้สดชื่นและประทับใจมาก

พุดจีบ หรือ TABEMAEMONTANA DIVARICATA (LINN.) R.BR. ชื่อสามัญ CLAVEL DE LA INDIA, EAST INDIA ROSEBAY, CRAPE JASMINE อยู่ในวงศ์ APOCYNACEAE เป็นไม้พุ่มสูง ๑.๕-๓ เมตร ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาว ใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปใบหอกปลายและโคนใบแหลม สีเขียวสดและเป็นมัน ดอก ออกเป็นช่อที่ซอกใบใกล้

ปลายกิ่ง 2–3 ดอกต่อช่อ ดอกโคนเชื่อมกัน ปลายแยกเป็นกลีบดอก ๕-๑๐ กลีบ เรียงซ้อนกันเป็น ๒ ชั้น กลีบดอกเป็นสีขาว ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ เมื่อบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลาง ๓.๕-๕ ซม. มีเกสรตัวผู้ ๕ อัน เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้นจะดูสวยงามสดใสมาก “ผล” เป็นฝัก ยาว ๒.๕-๕ ซม. มีเมล็ด ดอกออกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง

ประโยชน์  เนื้อไม้ต้มน้ำดื่มเป็นยา  ลดอาการไข้  น้ำจากกิ่งก้านและใบต้มดื่ม เป็นยาขับพยาธิได้ สารสำคัญจากเปลือกต้นและรากมีอัลคาลอยด์ CORONARINE ปัจจุบัน คนรุ่นใหม่น้อยคนนักจะรู้จัก “พุดจีบ” เนื่องจากค่านิยมในการปลูกประดับได้ลดลงไปตามกาลเวลา ซึ่ง “พุดจีบ” เป็นไม้ปลูกง่ายและปลูกได้ทั้งที่รำไรและกลางแจ้ง ชอบดินร่วนปนทราย ปลูกได้ทั้งลงดินและลงกระถางขนาดใหญ่ มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ    นสพ.ไทยรัฐ


(http://topicstock.pantip.com/jatujak/topicstock/2012/08/J12588865/J12588865-33.jpg)  รักซ้อน ทำเสน่ห์ นางกวักรักยม

ผู้อ่านจำนวนมากอยากทราบว่า “รักซ้อน” มีต้นขายที่ไหนและมีประโยชน์อย่างไร ทำไมหาซื้อต้นไปปลูกได้ยากมาก ซึ่ง ความจริงแล้ว “รักซ้อน” ไม่ได้หายากอย่างที่คิดเพียงแต่ผู้จำหน่ายต้นไม้ทำต้นออกขาย เนื่องจากขายไม่ได้ คนส่วนใหญ่ยังยึดติดกับชื่อ “รักซ้อน” และคิดว่าถ้าปลูกแล้วจะทำให้เกิดมีความรักซ้อนกันหลายคน ก็ไม่น่าจะเกี่ยวกัน

รักซ้อน หรือ CALOTROPIS GIGANTEA LINN.R.BR.EX.AIT. ชื่อสามัญ CROWN FLOWER, GIANT INDIAN MILKWEED, GIGANTIC SWALLOW-WORT อยู่ในวงศ์ ASCLEPIADACEAE มีถิ่นกำเนินเอเชียกลาง อินเดีย เป็นไม้พุ่ม สูง ๑.๕-๓ เมตร ดอกเป็นสีเขียว ลักษณะดอกเหมือนกับดอกรักสีขาวและสีม่วงทุกอย่าง เพียงแต่จะมีกลีบดอกซ้อนกันจนทำให้ดอกบานไม่ออก จึงถูกเรียกชื่อว่า “รักซ้อน” ผล เป็นฝักคู่ มีเมล็ดจำนวนมาก รูปแบน สีนํ้าตาล มีปีกเป็นปุยสีขาวติดที่ปลายเมล็ดด้านหนึ่ง ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด และตอนกิ่ง มีชื่อ เรียกอีกคือ รัก, รักดอก  (ไทยภาคกลาง) ปอเถื่อน, ป่านเถื่อน (พายัพ) และ รักเขา (เพชรบูรณ์)

ประโยชน์ของ “รักซ้อน” นิยมเอารากที่มีขนาดใหญ่ไปแกะสลักทำ เป็นรูปนางกวัก พร้อมให้เกจิอาจารย์ดังทำพิธีเพื่อบูชา ให้มีเสน่ห์ทางด้านค้าขายดี บางคนเอารากไปแกะสลักเป็น “รักยม” ใส่ขวดปลุกเสกบูชาทำ ให้คนอื่นเกิดรักและนิยมในตัวผู้เป็นเจ้าของ ได้รับความนิยมมาตั้งแต่โบราณจนกระทั่งปัจจุบัน เป็นสาเหตุ ทำให้ต้น “รักซ้อน” หายาก เนื่องจากถูกขุดเอารากไปใช้ประโยชน์ตามที่กล่าวข้างต้น ทำให้ต้นตายเกลี้ยงนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม  ปัจจุบันพบว่ามีผู้ขยายพันธุ์ต้น “รักซ้อน” ออกวางขายบ้าง ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แต่ไม่มากนัก บริเวณโครงการ ๑๙  ปลูกได้ในดินทั่วไป ทนแล้งดี...    นสพ.ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcShNEEZP2wxRdOhv0AUaaXdsFjDk6ow6BbeXQPYD0kpA5zvGWCcMw)  รักซ้อนดอกม่วง   สวยน่าปลูก

คนทั่วไปจะรู้จักและคุ้นเคยเฉพาะดอกรักที่มีดอกเป็นสีขาว มีกลีบดอกเพียงชั้นเดียว นิยมปลูกมาแต่โบราณ มีสรรพคุณยาคือ ใบแก้ริดสีดวงทวาร คุดทะราด ยางแก้ริดสีดวงลำไส้ ใช้ยางทาเนื้อปลาช่อนย่างไฟให้สุกให้เด็กจิ้มน้ำปลากินจนหมดตัวขับไส้เดือนดีมาก ดอกฆ่าเชื้อโรคกลากเกลื้อน ผลแก้รังแค บำรุงทวารทั้ง ๙ ให้บริบูรณ์ รากแก้มูกเลือด ไข้เหนือ กับต้นรักชนิดที่มีดอกสีเขียวอ่อน กลีบดอกซ้อนกันหลายชั้น นิยมเอา ราก ไปแกะสลักทำ เป็นรูปนางกวักตั้งประดับหน้าร้านเพื่อให้ขายของดี และ สลักทำรักยมใส่ขวดทำให้คนอื่นเกิดความรักนิยมชมชอบในตัวเอง เคยแนะนำไปแล้ว

ส่วน “รักซ้อนดอกม่วง” เพิ่งพบมีต้นวางขาย ซึ่งรักซ้อนชนิดนี้แพทย์แผนไทยโบราณไม่เรียกว่ารักซ้อน แต่จะเรียกว่า “ต้นธุดงค์” CALOTROPIS GIGANTER R. BROWN อยู่ในวงศ์ ASCLEPIA-DACEAE เป็นไม้พุ่มสูง ๑.๕-๓ เมตร ทุกส่วนมีน้ำยางขาวเหมือนน้ำนม ใบออกตรงกันข้าม ปลายแหลม โคนเว้า เนื้อใบหนา ใต้ใบมีขนนุ่ม

ดอก ออกเป็นช่อที่ซอกใบและปลายยอด มีกลีบเลี้ยง ๕ กลีบ สีเทาเงินหรือสีม่วง กลีบดอก ๕ กลีบ เรียงซ้อนกันหลายชั้น กลีบดอกเป็นสีม่วงเข้ม เมื่อบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒-๓ ซม. มีระยางเป็นสันคล้ายรูปมงกุฎ ๕ สัน มีเกสรตัวผู้ ๕ อัน เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้นจะดูสวยงามมาก “ผล” เป็นฝักคู่ เมื่อแก่แตกได้ เมล็ดแบนสีน้ำตาลจำนวนมาก มีขนสีขาวเป็นกระจุกที่ปลายด้านหนึ่ง มีถิ่นกำเนิด เอเชียกลาง อินเดีย ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด และปักชำกิ่ง ต้น ดอก มี “เรซิน” รสขม ใช้เป็นยาขับเหงื่อ ขับเสมหะ ใช้มากทำให้อาเจียนจึงควรระวังในการใช้ มีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๙     นสพ.ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQZeQ4OXP9-ioKbNmTbWQWVqpxhs9sBjAf0BSVTRewIlL4XhnmZ)  บุหงาแต่งงาน หรือ บุหงาเซิง

ผมเคยเขียนถึงไม้ต้นนี้ไปนานแล้วในชื่อที่เรียกตามบันทึกพรรณไม้ว่า บุหงาเซิง ส่วนชื่อ “บุหงาแต่งงาน” เป็นชื่อเรียกเฉพาะกรุงเทพฯ และยังมีชื่อเรียกตามท้องถิ่นอีกคือ เครือติดต่อ, ส่าเหล้า (สุราษฎร์ธานี) สายหยุด และ สาวสะดุ้ง (ชุมพร) พบขึ้นที่ระดับความสูง ๑๐๐-๒๐๐ เมตร ตามป่าดิบเขาทางภาคใต้ของประเทศไทย มีชื่อ วิทยาศาสตร์ว่า FRIESODIELSIA DESMOIDES (CRAIB) STEENS อยู่ในวงศ์ ANNONACEAE เป็นไม้พุ่มรอเลื้อยต้นสูงหรือเลื้อยได้ไกล ๓-๕ เมตร

กิ่งอ่อน มีขนสั้นนุ่มปกคลุม เปลือกต้นเรียบ เป็นสีน้ำตาลเข้ม เนื้อไม้เหนียว ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบมนหรือเว้า ใบมีขนาดใหญ่ หน้าใบเป็นสีเขียวสด หลังใบเป็นสีเขียวด้านเหมือนมีนวล

ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ หรือเป็นกระจุก ๑-๒ ดอก ตามซอกใบ ดอกอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่หรือบานเต็มที่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง กลีบดอกแบ่งเป็น ๒ ชั้น กลีบดอกชั้นนอกเป็นรูปขอบขนานหรือรูปรี ปลายแหลมหรือมน มีจำนวน ๓ กลีบ กลีบดอกชั้นในเป็นรูปสามเหลี่ยม ขอบกลีบบรรจบเข้าหากันเป็นรูปเหลี่ยมคล้าย พีระมิด ซึ่งกลีบดอกชั้นในมีเมื่อแก่ จะเป็นสีส้มมองเห็นอย่างชัดเจน

ดอกมีกลิ่นหอมแรง โดยกลิ่นจะเริ่มโชยในช่วงบ่ายและจะส่งกลิ่นหอมแรงที่สุดในช่วงพลบค่ำเรื่อยไปจนถึงรุ่งเช้า กลิ่นหอมจึงจะค่อยๆจางลง แต่ยังมีกลิ่นหอมอ่อนๆ อยู่ และจะเริ่มส่งกลิ่นแรงขึ้นอีกตามธรรมชาติจนกว่าดอกจะร่วง “ผล” เป็นกลุ่ม ๘-๑๒ ผล รูปกลมรี เมื่อสุกเป็นสีแดงมี ๑ เมล็ด ดอกออกระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคมทุกปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒    นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/14472922434409_1.png)  กูดผา   สวยน่าปลูก

กูด เป็นพืชจำพวก เฟิร์น มีมากกว่าร้อยสายพันธุ์ทั่วโลก บางชนิดยอดอ่อนกินเป็นอาหารได้เรียกว่ากูดกิน ส่วนใหญ่พบขึ้นในป่าดิบบนเขาสูง ซึ่งแต่ละสายพันธุ์จะมีความแตกต่างกันที่ใบอย่างชัดเจน ลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้มีเหง้าทอดยาวไปตามพื้นดินและแตกต้นขึ้นเป็นกลุ่มหลายๆต้นคล้ายแตกต้นจากไหล บางครั้งพบว่าเหง้าเกือบตั้งตรงก็มี

ส่วน “กูดผา” หรือที่ผู้นำต้นมาวางขายเรียกอีกชื่อว่า “กูดเวียน” มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยเฉพาะภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเท่านั้น โดยจะขึ้นปะปนอยู่กับกลุ่มมอสบนต้นไม้ใหญ่หรือตามซอกผาหินในป่าดิบเขาสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ ๑๐๐-๑,๐๐๐ เมตรขึ้นไป ในต่างประเทศพบที่พม่าตอนบน ประเทศจีนพบทางตะวันตกเฉียงใต้

กูดผา หรือ กูดเวียน มีชื่อวิทยาศาสตร์เฉพาะคือ POLYPODIUM MANMEIENSE CHRIST อยู่ในวงศ์ POLYPO-DIACEAE เป็นเฟิร์นอิงอาศัย เหง้าทอดขนานแตกตาขา มีเกล็ดสีน้ำตาลเทาหนาแน่นทั่วไป เกล็ดเป็นรูปแถบหรือกิ่งสามเหลี่ยม กว้างประมาณ 1 มม. ยาวประมาณ 3 มม. ปลายเรียวแหลม ขอบเรียบ ใบเป็นใบเดี่ยว แผ่นใบเว้าลึกแบบขนนก บางตอนเว้าลึกถึงเส้นแกนใบ ทำให้มีลักษณะเป็นแฉกจำนวน ๓๐-๕๐ คู่ แฉกเป็นรูปขอบขนาน ปลายเรียวแหลม แฉกที่ปลายใบจะเล็กกว่าแฉกอื่นๆแผ่นใบค่อนข้างบางกว่าใบกูดทั่วไป เส้นกลางแฉกเป็นสีน้ำตาลเข้ม เส้นแขนงแยกเป็นคู่มองเห็นชัดเจนทั้ง ๒ ด้าน ปลายสุดของเส้นแขนงมีรูหยาดน้ำ รูปรีใต้ขอบใบ ก้านใบสีน้ำตาลอ่อน โคนมีเกล็ด กลุ่มสปอร์รูปทรงกลม มีขนาดเล็กมากติดอยู่ที่ปลายเส้นแขนงที่ระดับผิวใบ หรือ บริเวณส่วนที่นุ่มของแผ่นใบ ขยายพันธุ์ด้วย สปอร์ หรือ เหง้า

ปัจจุบัน “กูดผา” หรือ “กูดเวียน” มีขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ โครงการ ๒๔    นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/38946648024850_1.jpg)  จำปาลูกผสมใหม่ ต้นเตี้ย ดอกดก หอมแรง

จำปาลูกผสมใหม่ เพิ่งพบมีต้นวางขายมีภาพถ่ายจากต้นจริงมีดอกดกเต็มต้นสวยงามมาก ผู้ขายบอกว่า เป็นลูกผสมใหม่ด้วยเกสรระหว่าง จำปาแคระ กับ รัศมีจำปา เมื่อนำต้นที่เพาะได้จากเมล็ดไปปลูกเลี้ยง ปรากฏว่าต้นเตี้ยแจ้สูงเพียง ๑-๑.๕ เมตร คล้ายกับลำต้นของจำปาแคระ มีทรงพุ่มสวยงาม ออกดอกง่ายและดอกดกมาก ดอกเป็นสีเหลืองทองเหมือนสีของดอกรัศมีจำปา และที่สำคัญรูปทรงของกลีบดอกจะเรียวยาวกว่าสายพันธุ์พ่อและแม่อย่างชัดเจน ดอกมีกลิ่นหอมแรง เจ้าของ จึงขยายพันธุ์ไปทดลองปลูกอีกทอดหนึ่ง ปรากฏว่าทุกอย่างยังคงที่และเชื่อได้ว่ากลายพันธุ์แบบถาวรแน่นอนแล้ว เลยตั้งชื่อว่า “จำปาลูกผสมใหม่” และขยายพันธุ์ตอนกิ่งออกวางขายดังกล่าว

จำปาลูกผสมใหม่ อยู่ในวงศ์ MAGNOLIACEAE เป็นไม้พุ่มสูง ๑-๑.๕ เมตร แตกกิ่งก้านสาขาเป็นพุ่มกว้าง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับ รูปรีหรือรูปไข่แคบ ปลายใบแหลมเป็นติ่ง โคนใบมน เนื้อใบหนา สีเขียวสด

ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ ตามซอกใบ มีกลีบดอก ๓ ชั้น กลีบดอกเป็นรูปใบหอกค่อนข้างยาว เป็นสีเหลืองอมส้ม หรือ สีเหลืองทอง มีเกสรตัวผู้และตัวเมียจำนวนมาก ดอกมีกลิ่นหอมแรงมากในช่วงเช้า พอสายกลิ่นหอมจะจางลงตามธรรมชาติ ซึ่ง “จำปาลูกผสมใหม่” มีดอกดกมาก ทำให้เวลา มีดอกบานพร้อมกันทั้งต้นดูงดงามอร่ามตาและส่งกลิ่นหอมเป็นที่ประทับใจยิ่ง “ผล” เป็นผลกลุ่ม ทรงผลค่อนข้างกลม มีหลายเมล็ด ดอกออกเกือบตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง   ปัจจุบันมีต้นขาย ที่ตลาด นัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ     นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/82738938017023_2.jpg)  รัศมีจำปาแคระหอมแรงทั้งปี

รัศมีจำปาแคระ เป็นไม้กลายพันธุ์ที่เกิดจากการเพาะเมล็ดของต้น จำปาทอง หรือ รัศมีจำปา เมื่อได้ลูกไม้ใหม่ขึ้นมา ปรากฏว่าขนาดของต้นเตี้ยแคระ สูงเต็มที่ไม่เกิน ๓ เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกลมกว้าง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรี หรือรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบมน ใบมีขนาดใหญ่กว่าใบของจำปาทอง หรือรัศมีจำปา อย่างชัดเจน เนื้อใบหนา ใบดกและหนาทึบมาก

ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆหรือ เป็นช่อ ๑-๓ ออกตามซอกใบ กลีบดอกแยกเป็นอิสระกัน มีกลีบดอก ๑๒-๑๕ กลีบ เป็นรูปหอกยาว ปลายกลีบแหลม เนื้อกลีบค่อนข้างหนาและแข็ง เป็นสีเหลืองเข้ม หรือ สีเหลืองอมส้ม เหมือนสีของกลีบดอก รัศมีจำปา จึงถูกตั้งชื่อว่า “รัศมีจำปาแคระ” ดอกมีขนาดใหญ่ มีกลิ่นหอมแรง หรือหอมจัดช่วงเช้าตรู่ เหมือนกลิ่นหอมของ จำปาทอง และ รัศมีจำปา พอสายหน่อยกลิ่นหอมจะจางหายไป ทำให้เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้นดูสวยงามและส่งกลิ่นหอมชื่นใจตามเวลาที่กล่าวข้างต้นชื่นใจมาก ดอกออกเกือบทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยการทาบกิ่ง เสียบยอด และตอนกิ่ง

ปัจจุบันมีต้นและกิ่งพันธุ์ขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ     นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/99260638116134_1.jpg)   โบตั๋นอเมริกา  ดอกดกหอมทั้งปี

โบตั๋นชนิดนี้  พบมีต้นวางขาย มีภาพถ่ายของดอกและชื่อเขียนไว้ว่า “โบตั๋นอเมริกา” โดยผู้ขายบอกว่า นำเข้ามาขยายพันธุ์ปลูกในประเทศไทยนานหลายปีแล้ว มีลักษณะเด่นคือ ออกดอกตลอดทั้งปี ดอกดกมากและ มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวเป็นที่ชื่นใจยิ่ง

อย่างไรก็ตาม โบตั๋นมีประมาณ ๓๐ ชนิด แต่ละชนิดจะมีลักษณะต้นดอกและใบไม่เหมือนกัน มีทั้งชนิดเป็นไม้ล้มลุก ไม้พุ่ม ดอกมีหลายสี ตั้งแต่สีแดง สีบานเย็น สีเหลือง และสีขาว เป็นต้น บางสายพันธุ์ดอกมีกลิ่นหอม และบางพันธุ์ดอกจะบานเฉพาะตอนกลางคืน ซึ่งโบตั๋นเชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในอเมริกาเขตร้อน แล้วกระจายปลูกตามเขตร้อนทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศจีน ถูกนำไปขยายพันธุ์ปลูกตั้งแต่โบราณได้รับความนิยมปลูกกันอย่างแพร่หลาย จนกลายเป็นไม้ของจีนไปโดยปริยาย

โบตั๋นอเมริกา มีลักษณะเป็นไม้ในสกุลกระบอกเพชร ลำต้นแบนเป็นข้อ ขอบลำต้นเป็นหยักๆ ลำต้นอวบน้ำ หนาและแข็ง ลำต้นมักโค้งงอ ต้นโตเต็มที่ยาว ๑-๑.๕ ฟุต ดอกออกเป็นดอกเดี่ยวๆ  บริเวณซอกของหยักลำต้น ดอกเป็นสีขาว มีกลีบดอกเรียงซ้อนกันหลายชั้น ดอกบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๓-๓.๕ นิ้วฟุต ดอกมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้นจะดูสวยงามพร้อมส่งกลิ่นหอมเป็นที่ชื่นใจมาก ดอกออกตลอดปีและจะมีดอกดกไม่ขาดต้น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีปักชำต้น

ชาวจีนและคนไทยเชื้อสายจีน มีความเชื่อว่า โบตั๋น ทุกสายพันธุ์เป็นไม้มงคล ปลูกเพื่อประดับบารมี เป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่งและมีความสุข และยังเชื่อด้วยว่ารากของโบตั๋นทุกสายพันธุ์ตัดแล้วพกติดตัว จะเป็นเสน่ห์ทำให้คนชื่นชอบ

ปัจจุบัน “โบตั๋นอเมริกา” มีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ    นสพ.ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTmRRs4XWiUvY4FFV-PWVcANUq3rSD_04IBrgkLPi0BdKlILmk5)   ปริศนา  หอมแรง รากอดบุหรี่ฟันทน  

ไม้ต้นนี้ มีต้นวางขายใน ชื่อ “ปริศนา” ซึ่งผู้ขายบอกว่าเป็นต้นเดียวกันกับอวบดำที่เคยแนะนำในคอลัมน์ไปแล้ว จัดเป็นไม้ดอกหอมชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมปลูกประดับมาแต่โบราณ และนอกจากดอกจะมีกลิ่นหอมเป็นเสน่ห์แล้ว บางส่วนของต้น “ปริศนา” หรืออวบดำ ยังมีสรรพคุณดีอีกด้วย คือ รากสด  กะจำนวนพอประมาณต้มกับน้ำจนเดือดแล้วอมกลั้วในปากขณะอุ่น ๒-๓ นาทีแล้วบ้วนทิ้ง จะช่วยให้ฟันทนและแข็งแรงได้ ที่สำคัญ รากสด ของต้น “ปริศนา” หรืออวบดำ ยังนำไปเคี้ยวเวลาเกิดอาการอยากสูบบุหรี่ จะทำให้อดบุหรี่ได้อีกด้วย

ปริศนา หรือ อวบดำ มีชื่อวิทยาศาสตร์เฉพาะคือ LINOCIERA MACROPHYLLA WALL อยู่ในวงศ์ OLEACEAE เป็นไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง สูง ๒-๔ เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปขอบขนานแกม รูปรี ปลายแหลม โคนป้าน สีเขียวสด  ดอก ออกเป็นช่อที่ซอกใบและตามกิ่งก้าน แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก มีกลีบเลี้ยงสีเขียวรูปกรวยตื้น กลีบดอกแยกเป็นอิสระกันจำนวน ๕ กลีบ เป็นรูปรี ปลายกลีบมน สีขาวสดใส ดอกมีกลิ่นหอมแรง เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้น จะดูสวยงามและส่งกลิ่นหอมเป็นที่ประทับใจมาก “ผล” รูปไข่ ภายในมีเมล็ด ดอกออกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง มีชื่อเรียกอีกคือ เกลื่อน (สุราษฎร์ธานี) และ ตาไชใบใหญ่ (ตราด)

ปัจจุบันมีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณแผงหน้าตึกกองอำนวยการ     นสพ.ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSI5WpV5Tcv_QFpDEnVbf-htm99T89GQ8jM-gPpnsCTFBMO_OJrtg) หญ้าปักกิ่ง หลากสรรพคุณตำรายาจีน

หญ้าปักกิ่งหรือเล่งจือเฉ้า เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ประเภทไม้ล้มลุก สูงประมาณ ๗-๑๐ ซม. และอาจสูงได้ถึง ๒๐ ซม. ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอดรวมกันเป็นกระจุกแน่น กลีบดอกมีสีฟ้าปนม่วง ใบประดับกลม ยาวประมาณ ๔ มม. ร่วงง่าย เป็นพืชที่ชอบดินร่วนหรือดินปนทราย งอกงามในที่มีแดดรำไร ไม่ต้องการน้ำมาก เพาะปลูกโดยการเพาะชำหรือเพาะเมล็ด ปลูกได้ง่ายและไม่จำเป็นต้องมีเนื้อที่มาก ตามสรรพคุณของตำรายาจีน จะใช้หญ้าปักกิ่งรักษาโรคในระบบทางเดินหายใจและกำจัดพิษ โดยจะใช้ทั้งต้นหรือส่วนเหนือดิน คือลำต้นหรือใบที่มีอายุ ๓-๔ เดือน
 
ปัจจุบันองค์การเภสัชกรรม ได้นำเอาหญ้าปักกิ่งมาพัฒนาเป็นยาเม็ด โดยยาทุก ๒ เม็ด มีคุณค่าเท่ากับต้นหญ้าปักกิ่ง ๓ ต้น ใช้เพื่อลดผลข้างเคียงจากรังสีบำบัดหรือยาเคมีบำบัดผู้ป่วยมะเร็ง จะรับประทาน ๗ วัน หยุด ๔ วัน ใช้เพื่อป้องกันการแพร่กระจายและการกลับเป็นซ้ำอีก หลังจากการรักษาแล้ว โดยรับประทาน ๗ วัน หยุด ๔ วัน เช่นนี้ติดต่อกันประมาณ ๑ ปี และตรวจมะเร็งปีละ ๒ ครั้ง ใช้เพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันในผู้ป่วยที่ไม่ได้เป็นโรคมะเร็ง รับประทาน ๗ วัน หยุด ๔ วัน เช่นนี้ติดต่อกัน เป็นเวลานานไม่เกิน ๖-๘ สัปดาห์ โดยใช้เฉพาะช่วงที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ขณะติดเชื้อไวรัส เป็นต้น.    นสพ.ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQLV5-RDfzhrm68olmZkKlGxiRwVswVSj1HNWY4TnXy9U3VDnHs)   หูเสือ กับสรรพคุณยาตำราไทย  

หูเสือเป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง ๐.๓-๑ เมตร  ลำต้นอวบน้ำ มีขนหนาแน่น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปไข่ค่อนข้างกลม กว้าง ๔-๖ ซม. ยาว ๕-๗ ซม. โคนใบมนตัดมีครีบยาว ปลายใบมน ขอบใบจักมน แผ่นใบสีเขียว มีขนหนาแน่นทั้งสองด้าน เนื้อใบหนา มีกลิ่นเฉพาะ ก้านใบยาว ๒-๔.๕ ซม. ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ช่อดอกยาว ๑๐-๒๐ ซม. มีใบประดับรูปไข่ ดอกสีฟ้า กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ด้านนอกมีขน ปลายแยกเป็น ๕ แฉก กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายแยกเป็น ๒ ปาก ปากบนตั้งตรง กลีบล่างยาวเว้า ออกดอกยาก ผล รูปทรงกลมแป้น กว้าง ๐.๕ มม. ยาว ๐.๗ มม. ผิวเรียบ สีน้ำตาลอ่อน
 
ในตำราแพทย์แผนไทยระบุว่าในใบหูเสือมีสรรพคุณในการแก้ปวดหูแก้ฝีในหูแก้หูน้ำหนวกได้ดี สามารถนำมารับประทานเป็นผักเป็นเครื่องจิ้มได้ และเป็นที่นิยมของคนไทยเมื่อครั้งอดีต. นสพ.เดลินิวส์


หัวข้อ: Re: พรรณไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้มงคล
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 16 สิงหาคม 2556 11:31:27
.

(http://student.nu.ac.th/suphansa/Webpage/link3/picture/AQPT131.jpg)  สาหร่ายฉัตร สวยแปลก

สาหร่ายฉัตร เป็นไม้น้ำชนิดหนึ่งที่นำเข้าจากต่างประเทศและขยายพันธุ์ปลูกในประเทศไทยนานหลายปีแล้ว แต่ผู้ขายระบุไม่ได้ว่ามาจากประเทศไหน มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้จำพวกมีเหง้าฝังดินใต้น้ำ ลำต้นทรงกลมสีแดงแทงขึ้นมาทอดเลื้อยเหนือผิวน้ำหนาแน่น โดยยอดจะชูตั้งขึ้นและแผ่กระจายกว้าง และ ยอดที่ชูตั้งขึ้นเหนือน้ำ จะยาวประมาณ ๖-๗ นิ้วฟุต ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับรอบลำต้น เป็นรูปรีหรือรูปขอบขนาน ปลายใบแหลมและมีขนาดใบเล็กเป็นฝอยๆ โคนใบติดกับลำต้น เนื้อใบค่อนข้างหนา สีเขียวสด ใบดกตลอดแนวลำต้นที่ชูตั้งขึ้นเหนือน้ำน่าชมมาก

ดอก ออกเป็นช่อกระจุกเล็กๆตามซอกใบและปลายยอด ลักษณะดอกโคนเชื่อมกัน ปลายแยกเป็นกลีบดอกทรงมน สีขาวปนสีชมพูอ่อน ทำให้เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันจะดูสวยงามแปลกตายิ่งนัก ซึ่งผู้ขายบอกว่า ดอกออกตลอดทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเหง้า

ปัจจุบัน “สาหร่ายฉัตร” กำลังเป็นที่นิยมของผู้ปลูกไม้น้ำอย่างกว้างขวาง โดยส่วนใหญ่ จะปลูกลงกระถางบัวหรือกระถางก้นปิดขนาดเล็กหรือใหญ่ตามแต่ผู้ปลูกต้องการ จากนั้นนำดินปลูกบัวใส่กระถางที่เตรียมไว้ ๒ ใน ๓ ของความสูงของขอบกระถาง แล้วเอาต้น “สาหร่ายฉัตร” ลงปลูก ค่อยๆเทน้ำใส่ลงไปจน เต็ม นำกระถางปลูกไปตั้งประดับในที่มีแสงแดดส่องตลอดวันตามบริเวณที่ต้องการ บำรุงปุ๋ยห่อด้วยกระดาษทิชชู ๓-๕ เม็ด ยัดลงดินก้นกระถางเดือนละครั้ง จะทำให้ “สาหร่ายฉัตร” มีต้นทอดเลื้อยและมียอดชูตั้งขึ้นเหนือน้ำ มีลำต้นเป็นสีแดง ใบเป็นสีเขียว และดอกเป็นสีชมพูอ่อน สวยงามมากตามภาพประกอบคอลัมน์ ผู้ขายบอกว่า ถ้าปล่อยให้น้ำแห้งต้นจะตาย จึงต้องใส่น้ำประจำ ๒-๓ วันครั้ง

ปัจจุบัน “สาหร่ายฉัตร” มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒   นสพ.ไทยรัฐ


(http://4.bp.blogspot.com/-tSkgSVzYPL8/UFsVJLa5pqI/AAAAAAAACoI/y8Ls1n0GvE0/s200/%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%99.jpg)  ทารากอน ยอดเครื่องเทศฝรั่งเศส

ไม้ต้นนี้ เพิ่งพบมีต้นขาย มีป้ายชื่อเขียนติดไว้ว่า “ทาร์รากอน” ซึ่งพืชชนิดนี้มีบทบาทมากในประเทศฝรั่งเศส จัดอยู่ในเครื่องเทศอย่างหนึ่งที่ใช้ปรุงอาหารได้หลายอย่าง โดยก้านและใบสดจะมีกลิ่นหอมเฉพาะตัวและมีรสเผ็ดร้อน นิยมนำไปคลุกปลา ไก่ เนื้อ และอื่นๆ นึ่งเพิ่มกลิ่นหอมรับประทานอร่อยมาก หรือนำไปใช้ทำน้ำสลัด ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง

ในประเทศฝรั่งเศส จะให้ความสำคัญกับ “ทาร์รากอน” อย่างมาก ขนาดจัดให้เป็น ๑ ใน ๔ ของสุดยอด สมุนไพรที่ให้คุณค่าทางอาหารต่อร่างกายสูง โดยยกย่อง “ทาร์รากอน”  ว่าเป็น “ราชาแห่งสมุนไพร” ซึ่งเครื่องเทศทั้ง ๔ อย่างที่กล่าวถึงได้แก่ “ทาร์รากอน” เป็นอันดับแรก ต่อด้วย พาร์สลีย์  ไชฟว์ และ เชอร์วิล ทั้ง ๔ ชนิด จะมีกลิ่นหอมและความเผ็ดร้อนเฉพาะตัวคล้ายๆ กับผักชี และยี่หร่า ในบ้านเรา

การใช้ประโยชน์จาก “ทาร์รากอน” ส่วนใหญ่นิยมเอา ก้านและใบสด ไม่นิยมใช้ก้านและใบแห้ง ดังนั้น การที่จะทำให้ก้านและใบของ “ทาร์รากอน” คงสภาพความสด มีกลิ่นหอมและเผ็ดร้อนเหมือนเดิม แม้จะเก็บไว้นานๆ  ได้ด้วยวิธีแปรรูปคือ เอาก้านและใบสดของ “ทาร์รา-กอน” ล้างน้ำให้สะอาด ผึ่งให้สะเด็ดน้ำ จากนั้นนำไปดองกับน้ำส้มสายชู  ในภาชนะที่เตรียมไว้ ปิดฝาให้แน่น เก็บไว้ในครัว เวลาต้องการจะใช้ก็เปิดฝาเอาเฉพาะน้ำส้มสายชูที่ดองก้านและใบสดของ “ทาร์รากอน” ไปปรุงเป็นน้ำสลัด จะยังคงคุณภาพความหอมและเผ็ดร้อนเหมือนกับใช้ก้านและใบสด “ทาร์รากอน” ทุกอย่าง

ทาร์รากอน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า TAR-RAGON, ARTEMISIA DRACUNCULUS มีถิ่นกำเนิดขึ้นอยู่ตามป่าบนเขาทั่วไปของประเทศฝรั่งเศส มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กกึ่งล้มลุกคล้ายๆกับต้น “โกฐจุฬาลำพา” ทางภาค เหนือของไทย ต้นสูงเต็มที่ไม่เกิน ๒-๒.๕ ฟุต แตกกิ่งก้านแบบโปร่งๆ ไม่หนาแน่นเหมือนกับ “โกฐ-จุฬาลำพา” ของไทย

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเป็นรูปแถบแคบ หรือรูปเรียว ปลายแหลม โคนใบติดกับกิ่งก้าน  ผิวใบเรียบ เนื้อใบค่อนข้างหนา สีเขียวสด เวลาใบดกจะดูเป็นฝอยๆ น่าชมยิ่ง  ใบมีกลิ่นหอมเฉพาะตัวและมีรสเผ็ดร้อนหรือรสขมเล็กน้อย ซึ่งนอกจากจะใช้ประโยชน์ได้ตามที่กล่าวข้างต้นแล้ว ในประเทศฝรั่งเศสยังนิยมนำเอาก้านและใบ “ทาร์รากอน” หมักทำซอสอีกด้วย  ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำกิ่ง  มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒.   นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/69663933747344_1.png) สาวสันทราย สวยทั้งดอกและใบ

หลายคน ที่นิยมปลูกไม้ดอกไม้ประดับ มักจะเข้าใจผิดคิดว่า “สาวสันทราย” เป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย เนื่องจากชื่ออ่านหรือฟังแล้วน่าจะเป็นอย่างที่คิด แต่ความจริงแล้ว “สาวสันทราย” มีถิ่นกำเนิดจากประเทศฟิลิปปินส์ ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานมากแล้ว โดยมีชื่อเรียกทั่วไปว่า “สาวสันทราย” ดังกล่าว และมีชื่อเรียกเฉพาะถิ่นทางภาคเหนืออีกด้วยว่า “จรกา”

สาวสันทราย หรือ “จรกา” มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ CLERODENDRUM QUADRILOCULARE MERR. ชื่อสามัญ QUEZONIA อยู่ในวงศ์ VERBENACEAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้พุ่ม สูง ๒-๕ เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนมน ขอบใบเป็นคลื่น ด้านบนเป็นสีเขียว ด้านล่างสีม่วงคล้ายสีเปลือกมังคุด เวลามีใบดกสีของใบจะเป็น ๒ สี สวยงามมาก

ดอก ออกเป็นช่อขนาดใหญ่ที่ปลายยอด กลีบเลี้ยงโคนติดกัน ปลายแยกเป็น ๕ แฉก สีม่วงแดง กลีบดอกเป็นหลอดยาว ๕-๘ ซม. ปลายแยกเป็นกลีบดอก ๕ กลีบ และม้วนงอ เป็นสีขาวอมม่วง ดอกเมื่อบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒-๓ ซม. มีเกสรตัวผู้ ๔ อัน เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้น สีของดอกและสีของใบจะดูแปลกตาสวยงามมาก “ผล” ค่อนข้างกลม เป็นสีม่วง มีเมล็ด ดอกออกช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน ต่อเนื่องไปจนถึงเดือนมกราคมปีถัดไป ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง และหน่อ

ปัจจุบัน “สาวสันทราย” หรือ “จรกา” มีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แต่ละแผงราคาไม่เท่ากัน จึงควรเดินสอบถามราคาเปรียบเทียบก่อนตัดสินใจซื้อไปปลูก  นิยมปลูกประดับเป็นกลุ่มหรือปลูกลงกระถางตั้งในที่แจ้ง เป็นไม้เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทรายและชอบแดดจัด รดนํ้าบำรุงปุ๋ยสม่ำเสมอจะมีดอกสวยงาม.   นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/tech02/09/image/ya10.jpg)  ทรงบาดาลแคระ งามอร่ามทั้งปี

คนส่วนใหญ่จะรู้จักต้นทรงบาดาลและนิยมปลูกประดับเฉพาะชนิดที่เป็นไม้ต้นสูง ๓-๕ เมตร มีดอกดกเป็นสีเหลืองอร่ามสวยงามตลอดทั้งปี ซึ่งทรงบาดาลสายพันธุ์ดังกล่าวจัดเป็น ๑ ใน ๙ ของไม้มงคลที่ใช้ในพิธีวางศิลาฤกษ์ทั่วไป มีความหมายถึงความมั่นคง หรือ ทำให้บ้านมั่นคงแข็งแรง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า CASSIA SURATTENSIS BURM.F. อยู่ในวงศ์ LEGUMINOSAE ชื่อสามัญ KALAMONA, SCRAMBLED EGGS มีถิ่นกำเนิดในเอเชียเขตร้อนและ จาเมกา เป็นไม้ยืนต้นตามที่กล่าวข้างต้น ดอกสีเหลืองตลอดทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง ประโยชน์ทางสมุนไพร รากต้มน้ำดื่มเป็นยาถอนพิษไข้

ส่วนต้น “ทรงบาดาลแคระ” ที่มีวางขายมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับต้นทรงบาดาลชนิดแรกทุกอย่าง จะแตกต่างกันเพียงขนาดของต้นเท่านั้นคือ “ทรงบาดาลแคระ” ต้นจะ สูงประมาณ ๑-๑.๕ เมตร เป็นไม้พุ่ม แตกกิ่งก้านต่ำหนาแน่นเป็นทรงกลมกว้าง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ มีใบย่อย ๔-๑๐ คู่ รูปไข่หรือรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายและโคนใบมน สีเขียวสด

ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยเป็นกระจุกจำนวนมาก ลักษณะดอกมีกลีบเลี้ยงสีเขียวอมเหลืองจำนวน ๕ แฉก กลีบดอก ๕ กลีบ เป็นสีเหลืองสดใส เมื่อดอกบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒.๕-๓ ซม. มีเกสรตัวผู้ ๑๐ อัน เป็นหมัน ๓ อัน เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้นจะดูสวยงามอร่ามตามาก “ผล” เป็นฝักแบน เมื่อแก่แตกได้ มีเมล็ด ดอกออกตลอดทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๙  ปลูกประดับลงกระถางมีดอกงดงามมาก.   นสพ.ไทยรัฐ


(http://24.media.tumblr.com/tumblr_mc6m2frtVm1rysz6ao1_500.jpg)  มาร์กาเร็ตบอเนียว ดอกทั้งปีสวย

ปกติแล้ว ไม้ในสกุล มาร์กาเร็ต ที่อยู่ในวงศ์ COMPOSITAE มีด้วยกันกว่า ๑,๓๐๐ สกุล และ ๒,๑๐๐ ชนิด ส่วนใหญ่จะมีถิ่นกำเนิดในแถบ อเมริกาเหนือหรือยุโรป มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ASTER NOVI–BELGII L., MICHAELMAS DAISY มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้ล้มลุกหรือไม้พุ่มขนาดเล็กอายุหลายปี ใบเป็นใบเดี่ยว หรือใบประกอบแล้วแต่สายพันธุ์ เป็นรูปหอกกลับหรือรูปแถบปลายแหลม โคนเป็นรูปติ่งหู หรือรูปมน สีเขียวสด ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอดและซอกใบใกล้ปลายยอด ช่อดอกยาว มีทั้งชนิดดอกเดี่ยวๆ และชนิดหลายๆดอกต่อช่อ มีกลีบดอกชั้นเดียว เป็นรูปแถบ ปลายกลีบมน มีกลีบดอกจำนวนมาก เป็นสีม่วง ใจกลางดอกเป็นสีเหลือง ดอกบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลาง ๒-๓ ซม. เวลามีดอกจะสวยงามมาก ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด นิยมปลูกประดับทั่วโลก

ส่วน “มาร์กาเร็ตบอเนียว” ที่เพิ่งพบวางขาย ผู้ขายบอกว่ามีถิ่นกำเนิดจากบอเนียว มีข้อแตกต่างกับมาร์กาเร็ตชนิดแรกคือ เป็นไม้พุ่มต้น สูง ๑-๑.๕ เมตร แตกกิ่งก้านหนาแน่น ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ เป็นรูปรีแกมรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเกือบมน หรือป้าน สีเขียวสด ใบดกและหนาแน่นมาก

ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอดและซอกใบใกล้ปลายยอด ก้านช่อยาว ลักษณะดอกมีกลีบเลี้ยงเป็นสีเขียวรูปกรวย ปลายเป็นแฉกหลายแฉก กลีบดอกมีชั้นเดียว แยกเป็นอิสระกัน เป็นรูปแถบ ปลายกลีบมน มีมากกว่า ๑๕ กลีบ กลีบดอกเป็นสีชมพูอ่อน ใจกลางดอกเป็นสีเขียวอ่อน  ดอกบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลาง ๒-๒.๕ ซม. เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันจะดูสวยงามมาก  ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

ปัจจุบัน “มาร์กาเร็ตบอเนียว” มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวน จตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒๑   นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/22326230961415_1.png)  ไลอ่อน สโตน ใบสีสวยตระการตา

ไม้ต้นนี้ พบมีวางขายปลูกในกระถางขนาดใหญ่ ต้นสูงประมาณ ๒ เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกว้าง สีสันของใบสวยงามแปลกตามาก ผู้ขายบอกได้เพียงว่า เป็นไม้นำเข้ามาจากต่างประเทศ แต่จำไม่ได้ว่าประเทศอะไร มีชื่อเรียกเฉพาะเป็นภาษาอังกฤษว่า “ไลอ่อน สโตน” รายละเอียดอย่างอื่นไม่รู้ เมื่อดูด้วยสายตาแล้วลักษณะใบและผลจะเหมือนกับต้น ลูกใต้ใบ ของไทยมาก ต่างกันที่สีของใบกับขนาดของต้น “ไลอ่อน สโตน” สูงกว่า เนื้อไม้แข็งกว่า ส่วนต้น ลูกใต้ใบ สูงแค่ ๓๐-๖๐ ซม. เท่านั้น

ต้น “ไลอ่อน สโตน” มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์พอจะบรรยายตามสายตาที่เห็นประกอบกับผู้ขายบอกได้ คือ เป็นไม้พุ่ม สูง ๒-๓ เมตร แตกกิ่งก้านสาขากว้างและหนาแน่นมาก ใบเป็นใบประกอบขนนก ออกเรียงสลับ ใบย่อย ๑๐-๑๒ คู่ ออกเหลื่อมกันเล็กน้อย ใบเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายและโคนมนเกือบแหลม เนื้อใบหนา ผิวเรียบ เป็นสีแดงอมม่วงคล้ำ ยอดอ่อนเป็นสีม่วงแดงชัดเจน  เวลามีใบดกหนาแน่นจะดูสวยงามตระการตามาก

ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ หรือเป็นกระจุกเล็กๆ ตามซอกใบ ดอกเป็นสีเขียวอ่อน ลักษณะเป็นดอกแยกเพศ “ผล” รูปกลมรี ขนาดเล็ก สีเขียวอ่อน ติดตามซอกใบทุกซอกคล้ายลูกใต้ใบของไทย ผลแห้งแตกได้ มีเมล็ด เวลามีดอกและติดผลจะห้อยเป็นระย้า สีของดอกและสีของผลจะตัดกับสีของใบดูสวยงามมาก ดอกออกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง ปลูกได้ในดินทั่วไป เป็นไม้ชอบแดด ไม่ชอบน้ำท่วมขัง เหมาะจะปลูกเป็นไม้ประดับลงดินเป็นกลุ่มหรือเป็นแถวยาวริมทางเดิน หรือปลูกลงกระถางขนาดใหญ่ตั้งประดับในที่แจ้ง เวลาแตกกิ่งก้านหนาแน่นสีของใบจะดูสวยงามตระการตามาก

ปัจจุบัน ต้น “ไลอ่อน สโตน” มีขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒   นสพ.ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTnzQz60qnHyeYVSC9VF3_nUILmg9lqH91ivDRFoa4t7bQlCeF5Sg)  สี่ทิศฮอลแลนด์ ดอกใหญ่หลายสีสวย

ผู้อ่านจำนวนมากอยากทราบว่า “สี่ทิศฮอลแลนด์” มีกี่สายพันธุ์และกี่สี หาซื้อได้ที่ไหน ซึ่งก็เคยแนะนำไปนานหลายปีแล้ว โดยในช่วงนั้นมีผู้นำเข้ามาขยายพันธุ์ขายเพียงสีขาวกับสีชมพูเท่านั้น ดอกมีเพียงรูปแบบเดียวคือ มีกลีบดอกหลายชั้น ดอกมีขนาดใหญ่สวยงามมาก ได้รับความนิยมจากผู้ซื้อไปปลูกประดับอย่างแพร่หลาย

ปัจจุบัน พบว่ามีผู้นำเอาหัวสดของ “สี่ทิศฮอลแลนด์” ออกมาวางขาย พร้อมมีต้นที่กำลังติดดอกสีสันสดใสโชว์ให้ชมด้วย มีทั้งชนิดที่มีกลีบดอกชั้นเดียวและกลีบดอกหลายชั้น สวยงามน่าชมมาก ผู้ขายบอกว่า หัวสดที่วางขายยังมีสีอื่นให้เลือกซื้อไปปลูกอีกด้วย ราคาต่อหัวอยู่ระหว่าง ๒๐-๓๐ บาท ไม่แพงนัก จึงแจ้งให้ทราบอีกตามระเบียบ

สี่ทิศฮอลแลนด์ มีชื่อวิทยาศาสตร์เหมือนกับสี่ทิศสีส้มหรือสีโอลด์โรสที่คนไทยรู้จักและนิยมปลูกประดับมาแต่โบราณ คือ HIPPEASTRUM PUNICEUM (LAM) URBAN อยู่ในวงศ์ AMARYLLIDACEAE เป็นไม้มีหัวใต้ดิน คล้ายหัวหอมใหญ่ ใบเป็นรูปลิ้น หรือรูปขอบขนาน ปลายป้านกิ่งแหลมหรือแหลม ขอบเรียบ ยาวประมาณ ๓๐-๑๐๐ ซม.สีเขียว หนาและเป็นมัน

ดอก ออกเป็นช่อชูตั้งขึ้นสูง แต่ละชนิดจะมีกลีบดอกแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ มีทั้งชนิดกลีบดอกชั้นเดียวและหลายชั้น มีสีสันหลากหลายตั้งแต่ สีขาว สีชมพู สีแดงเข้ม และสีส้ม เป็นต้น ชนิดดอกชั้นเดียว เมื่อบานดอกจะหันไปในทิศตรงกันข้ามเป็นสี่ทิศทางอย่างชัดเจน จึงถูกเรียกว่า ส่ีทิศ ชนิดกลีบดอกหลายชั้นจะบานหนาแน่น ดูสวยงามมาก ขยายพันธุ์ด้วยหัว ปลูกได้ทั้งกลางแจ้งและที่รำไร แต่จะชอบแดดจัดมากกว่า ชอบดินร่วนปนทราย ไม่ชอบน้ำท่วมขังจะทำให้หัวเน่าตาย

ปัจจุบัน มีหัวสดขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ตรงกันข้ามโครงการ ๑   นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.thaiarcheep.com/wp-content/uploads/2014/08/%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B6%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%81.jpg)   ว่านขันหมาก  

“ว่านขันหมาก” มีสรรพคุณลำต้นต้มน้ำดื่มแก้เกาต์หายขาดได้จริงหรือไม่ ซึ่งความจริงแล้ว ตำรายาแผนไทยโบราณระบุสรรพคุณของ “ว่านขันหมาก” เพียงอย่างเดียวคือ ผลสุก กินเป็นประจำทุกวัน วันละ ๔ ผล ก่อนนอน เป็นยาอายุวัฒนะทำให้คงความเป็นหนุ่มเป็นสาวไม่รู้จักแก่ อายุยืน เนื้อหนังเต่งตึง ไม่เหี่ยวย่น ฟันทนไม่หักไม่หลุด ผมไม่หงอก ทำให้เกิดเสน่ห์แก่ผู้พบเห็น มีพละกำลังเดินเหินคล่องแคล่วไม่รู้จักเหนื่อย สรรพคุณอย่างอื่นตำรายาแผนไทยโบราณไม่ได้ระบุไว้

ส่วนวิธีกินผลสุกของ “ว่านขันหมาก” ไม่ควรเคี้ยวผลเพราะจะทำให้ระคายเคืองลำคอเกิดอาการคัน จึงควรใช้วิธีกลืนทั้งผลหรือใช้วิธียัดผลใส่กล้วยน้ำหว้ากลืนลงกระเพาะไปเลย และในตำรายาแผนไทยโบราณยังระบุไว้ตามความเชื่ออีกว่า ก่อนจะกินให้กล่าวคาถากำกับ “นะโมพุทธายะ” จำนวน ๗ จบ ด้วย จะวิเศษยิ่งนัก

ว่านขันหมาก อยู่ในสกุลเดียวกันกับว่านสาวน้อยประแป้ง ลำต้นแทงจากเหง้าได้สูง ๑-๒ เมตร อวบน้ำเล็กน้อย มีแกนกลาง เปลือกหนามีเส้นตามยาว ใบเป็นใบเดี่ยวออก เรียงสลับ มีใบดกในช่วงปลายต้น ปลาย ใบแหลม โคนใบเกือบมน สีเขียวสด ดอกสีขาว ออกเป็นช่อที่ซอกใบและปลายยอด ดอกเป็นรูปแท่งทรงกลมคล้ายดอกเดหลี แต่จะเล็กกว่า มีดอกจำนวนมากตามแกนช่อดอก ฐานดอกสีขาวโอบตัวช่อดอกไว้ ผล รูปกลมรี ติดผลเป็นช่อ ๘-๑๐ ผล ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่หรือสุกเป็นสีเหลืองแกมส้ม ผลสุกกินเป็นยาอายุวัฒนะตามที่กล่าวข้างต้น ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำต้น  ปัจจุบัน “ว่านขันหมาก” มีขาย ที่โครงการ ๓   นสพ.ไทยรัฐ


(http://topicstock.pantip.com/jatujak/topicstock/2011/05/J10525447/J10525447-84.jpg)   หมักม่อ  สวยเป็นยา
ไม้ต้นนี้ พบขึ้นทั่วไปตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ทุกภาคของประเทศไทย มีเขตกระจายพันธุ์ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นไม้ที่มีดอกดกเต็มต้นเมื่อถึงฤดูกาลสวยงามมาก เคยแนะนำในคอลัมน์ไปนานแล้ว โดยในยุคนั้นได้รับความนิยมจากผู้ซื้อไปปลูกประดับอย่างแพร่หลาย จนทำให้ต้น หมักม่อ ขาดตลาดหายหน้าหายตาไปจากวงการไม้ดอกไม้ประดับระยะหนึ่ง ปัจจุบันเพิ่งพบว่ามีผู้ขยายพันธุ์ตอนกิ่ง “หมักม่อ” ออกวางขายอีกครั้งพร้อมมีภาพถ่ายต้นจริงที่กำลังมีดอกเต็มต้นแขวนโชว์ให้ชมด้วย จึงแจ้งให้ผู้ที่ชอบปลูกไม้ดอกสวยงามทราบอีกทันที

อย่างไรก็ตาม หมักม่อ นอกจากจะมีดอกสวยงามตามที่กล่าวข้างต้นแล้ว บางส่วนของต้นยังมีสรรพคุณเป็นสมุนไพรใช้รักษาโรคได้อีกด้วย กล่าวคือ ตำรายาพื้นบ้าน ใช้แก่นของต้น “หมักม่อ” หรือ ราก ต้มน้ำดื่มเป็นยาแก้ไข้ทุกชนิดได้ ลำต้นรวมเปลือกผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่มเป็นยารักษากามโรคดีมาก ในยุคสมัยก่อนคนเป็นกามโรคนิยมใช้ยานี้อย่างแพร่หลาย

หมักม่อ หรือ ROTHMANNIA WITTII (CRAIB) BREMEK-RANDIA WITTII CRAIB อยู่ในวงศ์ RUBIACEAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้ยืนต้น สูง ๔-๑๐ เมตร แตกกิ่งก้านสาขากว้าง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปขอบขนาน หรือรูปรีแกมขอบขนาน ปลายและโคนใบแหลม หูใบอยู่ระหว่างก้านใบ สีเขียวสด เวลามีดอกจะทิ้งใบน่าชมยิ่งนัก

ดอก ออกเป็นช่อกระจุกที่ซอกใบ แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อย ๕-๗ ดอก ห้อยลงดอกโคนเชื่อมกันเป็นรูประฆังสีขาว ปลายแยกเป็นกลีบดอก ๕ กลีบ มี แต้มสีเขียวและแถบประดับสีม่วงชัดเจน เวลามีดอกดกทั้งต้นและดอกบานพร้อมกันจะสวยงามมาก ผลกลมสีน้ำตาล ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง มีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๓ ราคาสอบถามกันเองครับ.   นสพ.ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTCDSpBbMYqvUIXgkqibyy51tDfe958E86FkPhpfzypxCHz5gI-vg)   ค้างคาวดำ

ต้น ค้างคาวดำ ก็คือต้น เนระพูสี พบมีขึ้นตามป่าบนเขาสูงเกือบทุกภาคของประเทศไทย จัดเป็นไม้ที่มีความทนทานต่อทุกสภาพอากาศได้ดีมาก มีชื่อ วิทยาศาสตร์คือ BATFLOWER–TACCA CHANTRIERI ANDRE อยู่ในวงศ์ TACCACEAE เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีเหง้าใต้ดินเป็นรูปทรงกระบอก ต้นสูง ๓๐-๕๐ ซม. ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเวียนเป็นรัศมี รูปขอบขนานถึงรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบเกือบมน ก้านใบยาว ใบเป็นสีเขียวสด

ดอก ออกเป็นช่อแบบซี่ร่ม แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อย ๔-๖ ดอก ก้านช่อดอกชูตั้งขึ้นและยาว ดอกออกตามซอกใบ กลีบดอกเป็นสีม่วงเข้ม หรือ เกือบดำ บางครั้งอาจจะมีสีเขียวเจือปนบ้าง รูปทรงของดอกดูคล้ายตัวค้างคาวกำลังกระพือปีกบิน จึงถูกตั้งชื่อตามลักษณะว่า “ค้างคาวดำ” แต่เป็นชื่อทางการคือ “เนระพูสี” และมีชื่อตามท้องถิ่นอีกคือ ดีงูเหา (ภาคเหนือ) คลุ้มเลีย, ว่านหัวเลีย, ว่านหัวลา (จันทบุรี) ดีปลาช่อน, นิลพูสี (ตราด) มังกรดำ (กทม.) ม้าถอนหลัก (ชุมพร) และ ว่านพังพอน (ยะลา)

ผล เป็นรูปขอบขนานแกมรูปสามเหลี่ยม มีสันเป็นคลื่นตามยาวของผล เมล็ดเป็นรูปไต ดอกออกได้เรื่อยๆ อยู่ที่ความสมบูรณ์ของต้น เวลามีดอกจะสวยงามมาก ขยายพันธุ์ด้วยการแยกเหง้าหรือเมล็ด

สรรพคุณทางยา
ชาวเขาเผ่าแม้ว มูเซอ ใช้ ราก ต้น เหง้า และใบสดต้มน้ำดื่มหรือเคี้ยวสดๆ เป็นยาแก้ปวดต่างๆ เช่น ปวดตามร่างกายปวดท้อง อาหารไม่ย่อย อาหารเป็นพิษ โรคกระเพาะอาหาร และ บำรุงร่างกายดีมาก มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ โครงการ ๒๔  ราคาสอบถามกันเอง ปัจจุบันนิยมปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับอย่างกว้างขวาง เวลามีดอกจะสวยงามมากครับ.   นสพ.ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcR2RZNDNd1776SBYm452NY0rtLmf4f0-QUmqJmIQKSuBMHHSqs8aw)  ห่อข้าวสีดา

ห่อข้าวสีดา เป็นเฟิร์น ไม่แตกหน่อ มีขนาดกลาง เหง้าเป็นแท่งเลื้อยสั้น ปกคลุมแน่นด้วยเกล็ดแข็ง เกล็ดเป็นเส้นยาว สีน้ำตาลเข้ม บริเวณกลางเกล็ดสีอ่อน ทั่วทั้งต้นมีขนนุ่มสั้นทั่วไป ขนสีขาวนวล ใบหนานุ่มมือ เส้นใบปูดนูน ใบกาบ ชูตั้งขึ้นเป็นตะกร้า หรือมงกุฎ แตกแฉกเป็นคู่ ปลายแฉกมนกลมถึงแหลม มองเห็นเส้นใบปูดนูนทั้งสองด้านของใบ ในต้นที่โตเต็มที่เส้นใบหลักแตกสาขาเป็นกิ่งคู่ ส่วนเส้นใบรองเป็นร่างแห ใบส่วนบนเนื้อใบบาง ใบส่วนล่างหนาได้มากกว่า ๑ ซ.ม. ใบกาบจะงอกออกมาทีละคู่ ใบชายผ้า ห้อยลง ยาวได้ถึง ๔๐-๘๐ ซ.ม.
 
ห่อข้าวสีดาในป่าธรรมชาติ ขนาดความสูงของใบกาบ มักจะเท่ากับขนาดความยาวของใบชายผ้า คนไทยเมื่อครั้งอดีต จะใช้ใบห่อข้าวสีดา และใบกล้วยม้วนนำมาต้นน้ำอาบเพื่อแก้บวม พื้นที่ทางภาคเหนือจะใช้ ใบเปล้าใหญ่ กับใบห่อข้าวสีดามา ต้นน้ำอาบเพื่อ ลดไข้ ส่วนชาวเขาบนพื้นที่สูงจะใช้ใบชายผ้าของห่อข้าวสีดา มาต้นน้ำดื่มเพื่อ ลดไข้และแก้อ่อนเพลียของสตรีอยู่ไฟหลังคลอดบุตร


(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRHMdf9AgNPPdOk39oTgyRUXY2gwRTq1CNXZlbx1mmTmFRb3atqIg)  เฟิร์นข้าหลวงหลังลาย

เฟิร์นข้าหลวงหลังลาย เป็นเฟิร์นที่นิยมปลูก ชื่อข้าหลวงหลังลายนั้น มาจากกลุ่มอับสปอร์ที่อยู่ด้านหลังของใบ เป็นเฟิร์นเกาะอาศัยอยู่ตามคาคบไม้ในป่าดงดิบ ป่าที่มีความชื้นสูง ลักษณะทรงพุ่มเป็นใบเดี่ยวออกเวียนรอบเหง้า ทำให้เหมือนเป็นตะกร้าสำหรับรองรับเศษใบไม้หรืออินทรียวัตถุมาเก็บไว้เพื่อเป็นอาหาร ใบแก่ที่อยู่รอบนอก เมื่อเหี่ยวแห้งจะห้อยลงมาปิดระบบราก เพื่อเก็บรักษาความชื้นเอาไว้ในช่วงฤดูแล้ง ทางการแพทยแผนไทยจะนำทั้งต้นซึ่งมีรสขมมาใช้ประโยชน์เพื่อขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะเป็นเลือด แก้บิดมูกเลือด


หัวข้อ: Re: พรรณไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้มงคล
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 26 สิงหาคม 2556 18:47:52
.

(http://www.thaikasetsart.com/wp-content/uploads/2011/06/kaset31-300x235.jpg)   มะลิพิกุล คือ "มะลิถอด"

มะลิชนิดนี้ มีถิ่นกำเนิดจากประเทศ  ในเอเชียกลางและประเทศอินเดีย ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในบ้านเรานานมากแล้วตั้งแต่สมัยโบราณ แต่ไม่มีการระบุว่าในยุคสมัยไหนจนกลายเป็นไม้ไทยไปโดยปริยายเหมือนกับไม้อีกหลายๆ ชนิด มีชื่อวิทยาศาสตร์อย่างเป็นทางการว่า JASMINUM SAMBAC อยู่ในวงศ์ OLEACEAE เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อยสูง ๑-๒ เมตร ลำต้นมักโค้งและทอดไปตามหน้าดิน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปไข่ ปลายแหลม โคนมน ก้านใบสั้น

ดอกสีขาว มีกลิ่นหอมแรง ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ หรือเป็นช่อ ๓-๕ ดอก โดยดอกออกที่ปลายกิ่ง ลักษณะดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นกลีบดอก ๗-๘ กลีบ เรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ ๗-๘ ชั้น ดอกมีขนาดเล็กกว่าดอกมะลิทั่วไป เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกัน จะดูคล้ายดอกพิกุล จึงถูกตั้งชื่อว่า “มะลิพิกุล”

ที่เป็น จุดเด่นอีกอย่างคือ กลีบดอกแต่ละชั้นของ “มะลิพิกุล” สามารถเด็ด จากช่อ แล้วนำมาถอดกลีบแต่ละชั้นออกจากกันได้ ซึ่งคนในยุคสมัยก่อนนิยมถอดเอากลีบลอยในขันน้ำดื่มทำให้ดูสวยงามและมีกลิ่นหอมเคล้ากับน้ำเป็นกลิ่นธรรมชาติ เมื่อยกดื่มจะรู้สึกชื่นใจมาก คนในยุคนั้นจึงเรียก “มะลิพิกุล” อีกชื่อว่า “มะลิถอด” ดอกออกทั้งปี จะดกมากในฤดูร้อนหรือฤดูฝน ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง ปักชำกิ่ง หรือทับกิ่ง

ประโยชน์ ของมะลิทุกชนิด ดอกสดบดละเอียดสุมศีรษะเด็กเป็นยาแก้หวัด ดอกแห้งปรุงเป็นยาแต่งเพื่อทำยาหอมบำรุงหัวใจ ใบสดตำผสมกับกะลามะพร้าวหรือกับน้ำมันพืชแต้มหรือทารักษาแผลพุพองหรือแผลฝีดาษให้แห้ง รากฝนกินแก้ร้อนแก้เสียดท้องดีมาก

ปัจจุบัน “มะลิพิกุล” หรือ “มะลิถอด” มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณแผงเยื้องๆ กับโครงการ ๙    นสพ.ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQZLpZUTZf-BAZPKNPwl0JFxNyTQXr5i6s_PJQnYUaNyOv0vrkJqg)   มะลิวัลย์ "ดอกหอมสรรพคุณดี"

มะลิวัลย์ มีถิ่นกำเนิดในเอเชียเขตร้อน พบขึ้นตามป่าทุกภาคของประเทศไทย นิยมปลูกประดับตามบ้านในแถบชนบทมาแต่โบราณ เนื่องจากดอกสวย มีกลิ่นหอมแรง ทำให้รู้สึกสดชื่นเป็นอย่างยิ่งเมื่อได้สูดดมกลิ่นหอม ปัจจุบัน “มะลิวัลย์” แม้จะมีผู้ขยายพันธุ์วางขาย แต่ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร ซึ่งอาจเป็นเพราะไม่มีใครทราบว่า “มะลิวัลย์” มีสรรพคุณทางสมุนไพรด้วย คือ รากสด จำนวนพอประมาณต้มน้ำเดือดดื่มเป็นยาแก้ไข้ได้ดีมาก

เถา ของ “มะลิวัลย์” ผสมกับลำต้น “เถางูเห่า” และลำต้น “ว่านเพชรหึง” จำนวนเท่ากันต้มกับน้ำจนเดือดหรือห่อผ้าขาวดองกับเหล้าขาว ๔๐ ดีกรี ๒ ขวด จนยาออกฤทธิ์กิน เป็นยาแก้ประดงข้อ บำรุงกำลังทางเพศ เถา “มะลิวัลย์” ผสมกับต้น “เถางูเห่า” และต้น “มะม่วงเลือดน้อย” จำนวนเท่ากันต้มกับน้ำจนเดือดหรือดองกับเหล้าขาว ๔๐ ดีกรีเช่นกันจนตัวยาออกฤทธิ์กิน เป็นยาแก้ปวดเมื่อยเด็ดขาดมาก แพทย์ตำบลใช้ ราก ต้มน้ำดื่มถอนพิษทั้งปวง

มะลิวัลย์ หรือ JASMINUM LANCEOLARIA ROXB.SUBXB. LANCEOLARIA อยู่ในวงศ์ OLEA-CEAE   เป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งสามารถพาดพันได้ยาวกว่า ๘-๑๐ เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปไข่แกมรูปใบหอก ปลายแหลม โคนมน แผ่นใบค่อนข้างบาง สีเขียวเข้มและเป็นมัน ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อย ๒-๕ ดอก กลีบเลี้ยงสีเขียว กลีบดอกโคนเชื่อมกันเป็นหลอดเล็กยาว ปลายแยกเป็นกลีบดอก ๕ กลีบ รูปกลีบแหลม สีขาว ดอกบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒.๕-๓ ซม. ดอกมีกลิ่นหอมแรง “ผล” กลมเล็ก มีเมล็ด ดอกออกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วย เมล็ด ปักชำต้น และตอนกิ่ง มีชื่อเรียกอีกอย่างคือ “มะลิป่า”

ปัจจุบัน “มะลิวัลย์” มีต้นขาย ทั่วไปที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวน จตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ราคาแต่ละแห่งไม่เท่ากัน จึงควรเปรียบเทียบราคาก่อนตัดสินใจซื้อไปปลูกครับ.   นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/27485432351628_1.png)   มะลิซาไก "คุมกำเนิดสตรีได้"

มะลิ มีหลากหลายสายพันธุ์เกินกว่า ๒๐ ชนิด มีทั้งชนิดที่ดอกมีกลิ่นหอมและไม่หอม ส่วนใหญ่สีของดอกจะเป็นสีขาว ซึ่ง “มะลิซาไก” เป็นสายพันธุ์ที่พบขึ้นตามป่าเกือบทุกภาคของประเทศไทย นิยมปลูกประดับตามบ้านในแถบชนบทมาแต่โบราณแล้ว เนื่องจากดอกมีสีสันสดใส มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว และ ที่สำคัญบางส่วนของต้น “มะลิซาไก” ยังมีสรรพคุณเป็นสมุนไพรชั้นยอดอีกด้วย

โดยในยุคสมัยก่อนแพทย์แผนไทยนิยมใช้ ราก ของต้น “มะลิซาไก” ทั้งแบบสดหรือแห้งจำนวน ๒ ราก ขนาดใหญ่หรือเล็กตามแต่จะหาได้ สั้นหรือยาวไม่สำคัญ ให้สตรีที่มีเพศสัมพันธ์กับชายหรือมีสามีแล้วแต่ไม่ต้องการมีลูก กินวันละ ๒ ครั้ง ครั้งละ ๑ ราก ตอนไหน ก็ได้ เป็นยาคุมกำเนิดในสตรีได้ สามารถกินได้เรื่อยๆไม่มีอันตรายอะไร อยากมีลูกเมื่อไหร่เลิกกิน สมัยก่อนนิยมกันอย่างแพร่หลาย ได้ผลดีระดับหนึ่ง

มะลิซาไก หรือ JASMINUM ROTTLERIANUM WALL.EX DC. อยู่ในวงศ์ OLEACEAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อย ต้นสูง ๑.๕-๒ เมตร ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงกันข้าม รูปรีหรือรูปใบหอกกว้าง ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมน ท้องใบมีต่อมขนสีน้ำตาลบริเวณซอกเส้นใบ ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อย ๗-๑๓ ดอก หรือมากน้อยตามความสมบูรณ์ของต้น ดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว ปลายแยกเป็นกลีบดอก ๖-๘ กลีบ รูปรี เป็นสีขาวสดใส ดอกมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้นจะดูสวยงามและส่งกลิ่นหอมเป็นที่ประทับใจยิ่ง ซึ่ง “มะลิซาไก” ที่เป็นสายพันธุ์ไทยยังไม่พบว่ามีผล ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง ดอกออกได้เรื่อยๆ เกือบทั้งปี

เมื่อ ประมาณสิบปีที่ผ่านมา “มะลิซาไก” มีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ปัจจุบันหายหน้าหายตาไปจนกลายเป็นไม้หายากชนิดหนึ่งครับ.   นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.thaikasetsart.com/wp-content/uploads/2011/06/kaset11-300x255.jpg)   "มะลิลา"
มะลิลา ต้นเป็นไม้รอเลื้อย กิ่งอ่อนและกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนมีขน ใบเป็นใบเดียวออกเป็นคู่ตรงกันข้าม ใบเป็นรูปไข่ ขอบใบเรียบ ดอกออกเป็นช่อมี 3 ดอก ดอกกลางบานก่อน กลีบดอกชั้นเดียวปลายกลีบมน สีดอกขาว กลิ่นหอม เกษตรกรนิยมปลูกเป็นการค้าอยู่ ๓ พันธุ์คือ พันธุ์แม่กลอง พันธุ์ราษฎร์บูรณะ และพันธุ์ชุมพร

(http://www.thaikasetsart.com/wp-content/uploads/2011/06/kaset21.jpg)   "มะลิลาซ้อน"
มะลิลาซ้อน ลักษณะต้นใบและอื่น ๆ คล้ายมะลิลา แต่ใบใหญ่กว่า ดอกออกเป็นช่อ มี ๓ ดอก และดอกกลางบานก่อนเช่นกัน แต่มีดอกซ้อน ๓-๔ ชั้น ปลายกลีบมน ขนาดดอก ๓-๓.๕ ซม.

(http://www.thaikasetsart.com/wp-content/uploads/2011/06/kaset41.jpg)   มะลิซ้อน"
มะลิซ้อน ลักษณะทั่วไปคล้ายมะลิถอดและมะลิลาซ้อน แต่ใบมีลักษณะแคบกว่าดอกออกเป็นช่อมี ๓ ดอก เช่นกัน กลีบดอกซ้อน แต่ซ้อนมากชั้นกว่าคือ มากกว่า ๕ ชั้น แต่ละชั้นมีกลีบดอก ๑๐ กลีบขึ้นไป ขนาดดอก ๓-๔ ซม. มีสีขาว กลิ่นหอมมาก

(http://www.thaikasetsart.com/wp-content/uploads/2011/06/kaset51-300x232.jpg)   "มะลิพิกุลหรือมะลิฉัตร"
มะลิพิกุลหรือมะลิฉัตร ลักษณะต่างๆ เช่นเดียวกันกับ ๔ ชนิดที่ผ่านมา ใบคล้ายมะลิซ้อนและมีคลื่นเล็กน้อย ดอกเป็นช่อ ๓ ดอก ดอกซ้อนเป็นชั้นๆ เห็นได้ชัด(คล้ายฉัตร) และดอกมีขนาดเล็กพอ ๆ กับดอกพิกุล ขนาดดอก ๑-๑.๔ ซม. ดอกมีสีขาวกลิ่นหอม

(http://www.thaikasetsart.com/wp-content/uploads/2011/06/kaset61.jpg)   "มะลิทะเล"
มะลิทะเล เป็นต้นแกมเถาคล้ายเฟื่องฟ้า ออกดอกเป็นกระจุกๆ หนึ่งๆ มี ๕-๖ ดอก น่าดูมาก กลิ่นหอมฉุน

(http://www.thaikasetsart.com/wp-content/uploads/2011/06/kaset71-300x225.jpg)   "มะลิพวง"
มะลิพวง ลำต้นเป็นไม้พุ่ม กิ่งอ่อน และกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนมีขนเห็นเด่นชัดเช่นกัน ใบและรูปแบบตลอดจนการจัดเรียงคล้ายมะลิอื่นๆ แต่ใบมีขนเห็นได้ชัดดอกออกเป็นช่อแน่นสีขาว กลีบดอกชั้นเดียว กลีบเล็กยาว ปลายแหลมขนาด ๓-๔.๕ ซม. มีกลิ่นหอมมาก

(http://www.thaikasetsart.com/wp-content/uploads/2011/06/kaset81.jpg)   "มะลิเลื้อย"
มะลิเลื้อย ลำต้นเลื้อยไปตามพื้นดินยาวประมาณ ๑ ฟุต ใบเล็กกว่าพันธุ์อื่นมาก

(http://www.thaikasetsart.com/wp-content/uploads/2011/06/kaset91-300x202.jpg) "มะลิวัลย์"
มะลิวัลย์ เป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น หรือขึ้นร้าน ใบเล็กว่าและยาวกว่ามะลิอื่น กลีบดอกเล็กยาว สีขาว กลิ่นหอมเย็นชืด ชื่ออื่นเรียกว่า “มะลิป่า”

(http://www.thaikasetsart.com/wp-content/uploads/2011/06/kaset141.jpg)   "มะลิเขี้ยวงู"
มะลิเขี้ยวงู (มะลิก้านยาว) เป็นไม้เลื้อยแตกกิ่งก้านมาก ลำเถาเกลี้ยงไม่ใหญ่โต ใบออกเป็นช่อคล้ายใบแก้ว แต่บางกว่า ดอกออกเป็นช่อมี ๓ ดอก ก้านดอกเป็นหลอดสีแดงอมม่วง กลีบขาว กลิ่นดอกหอมจัด
 
นอกจากนี้ยังมีมะลิอื่น ๆ อีกเช่น มะลิไส้ไก่ มะลิฝรั้ง มะลิย่าน มะลิเถื่อน ฯลฯ

การขยายพันธุ์
นิยมใช้การปักชำ มากที่สุดเนื่องจากเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกที่สุด โดยนำกิ่งที่ไม่อ่อนหรือแก่เกินไปตัดยาวประมาณ ๔ นิ้ว หรือมีข้ออย่างน้อย ๓ ข้อ การตัดกิ่งควรจะตัดให้ชิดข้อ เหลือใบคู่บนสุด ๑ คู่ โดยตัดใบเหลือครึ่งใบ ถ้าต้องการเร่งการออกราก ควรใช้ฮอร์โมน ไอบีเอ (IBA=indold butyric acid) และเอ็นเอเอ (NAA=naphthalene acetic acid) ในอัตราส่วน ๑:๑ ความเข้มข้น ๔,๕๐๐ พีพีเอ็ม (ppm)
 
การปลูก
เกษตรกรมักจะปลูกในช่วงต้นฤดูฝนประมาณเดือนมิถุนายน กรกฎาคม เพราะว่ามะลิสามารถตั้งตังได้ดีและเร็วกว่า เนื่องจากได้รับน้ำเพียงพอ
 
วัสดุที่ใช้ชำ ควรเป็นทรายผสมขี้เถ้าแกลบ อัตราส่วน ๑:๑ แล้วปักชำเรียงเป็นแถวแต่ละแถวห่างกัน ๒ นิ้ว ระยะระหว่างกิ่ง ๒ นิ้ว แล้วหมั่นรดน้ำบ่อย ๆ เพื่อให้มีความชื้นตลอดเวลา แปลงชำนี้ควรอยู่ในที่ร่ม ควรฉีดพ่นยากันรา เช่น แคปแทน ลงในกระบะขณะปักชำ หลังจากชำแล้วประมาณ ๓ อาทิตย์ กิ่งมะลิจะออกรากประมาณ ๙๐% ควรจะเลือกเฉพาะกิ่งที่สมบูรณ์ มีระบบรากดี ไม่มีโรคติดมา ย้ายลงถุงพลาสติกเพื่อรอการปลูกหรือจำหน่ายต่อไป
 
มะลิชอบดินร่วนซุยระบายน้ำดี มีอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารพอเพียง การปลูกมะลิให้ได้ผลดีมีอายุยืนยาว ควรจะขุดหลุมลึกกว้างและยาวด้านละ ๕๐ ซม. ใส่ปุ๋ยคอก ใบไม้ผุ หรือปุ๋ยหมัก อัตราส่วน ๑:๑:๑ รองก้นหลุม พร้อมทั้งใส่ปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟต(๐-๔๖-๐) ๑ กำมือและปุ๋ยสูตร ๑๕-๑๕-๑๖ ๑ กำมือคลุกเคล้าให้เข้ากัน ทิ้งไว้ประมาณ ๗-๑๐ วัน จึงนำเอาต้นมะลิมาปลูก และควรจะปลูกในที่ได้รับแสงจัดเต็มที่ ระยะปลูกที่เหมาะสมควรใช้ระยะ ๑x๑ เมตร
 
การรดน้ำ
มะลิต้องการน้ำพอสมควร หากดินยังแฉะอยู่ไม่ควรรดน้ำควรรอจนกว่าดินจะแห้งหมาด ๆ เสียก่อนทั้งนี้อาจจะรดน้ำวันละครั้งหรือสองวันครั้ง ถึงอาทิตย์ละครั้งก็ได้ แล้วแต่สภาพอากาศ แต่ในระยะเริ่มปลูกใหม่ควรรดน้ำทุกวัน โดยรดในตอนเช้า แต่ระวังอย่าให้น้ำท่วมหรือขังอยู่ในแปลงมะลินานๆ เพราะจะทำให้ต้นมะลิไม่สมบูรณ์ ใบเหลือง ต้นแคระแกร็น และตายได้
 
การใส่ปุ๋ย
ปกติเกษตรกรนิยมใช้ปุ๋ยสูตร ๑๕-๑๕-๑๕ หรือ ๑๖-๑๖-๑๖ โดยใส่เดือนละครั้งด้วยวิธีการหว่านและรดน้ำตาม ทั้งนี้ก่อนใส่ปุ๋ยเกษตรกรมักมีการงดน้ำจนดินแห้งเต็มที่ก่อน นอกจากนี้เกษตรกรยังนิยมใช้ปุ๋ยน้ำเช่น ไบโฟลาน ผสมฉีดไปพร้อมกับยา แต่ไม่นิยมใช้ในฤดูหนาว แต่ในปัจจุบันนี้มีปุ๋ยน้ำมากมายหลายชนิด เกษตรกรมักจะเข้าใจผิดว่าเป็นฮอร์โมน มีการนำมาฉีดเพื่อเพิ่มผลผลิตในช่วงฤดูหนาว
 
การตัดแต่ง
มะลิที่มีอายุมากกว่า ๑ ปีขึ้นไปจะแตกกิ่งก้านสาขามากมาย ควรที่จะตัดแต่งพุ่มต้นให้โปร่งและกระทัดรัด จะช่วยให้มะลิมีทรงพุ่มสวยงาม โรคแมลงน้อยลง ให้ดอกมากขึ้นพร้อมทั้ง ช่วยให้เกษตรกรสะดวกในการปฏิบัติงานด้วย  ทั้งนี้ควรจะทำการตัดแต่งกิ่งทุกปี
 
ลักษณะกิ่งที่ควรตัดคือ
๑. กิ่งที่แห้งตาย
๒.  กิ่งที่เป็นโรคหรือถูกแมลงทำลาย
๓.  กิ่งไขว้ล้มเอนไม่เป็นระเบียบ
๔.  กิ่งเลื้อย
 
วิธีตัดแต่งกิ่ง
๑. แบบให้เหลือกิ่งไว้ กับต้นยาว (light pruning)
    -  ตัดแต่งกิ่งเพียงเล็กน้อย โดยให้เหลือกิ่งสมบูรณ์ไว้มาก
    -  เพื่อให้อาหารเหลือเลี้ยงต้นมาก เหมาะกับต้นที่อายุน้อย
๒. แบบให้เหลือกิ่งไว้อย่างสั้น (Hard pruning)
    -  ตัดแต่งกิ่งให้เหลือ ๓-๔ กิ่ง สูงประมาณ ๑-๑๕ ฟุต
    -  เหมาะสำหรับต้นมะลิ ที่มีอายุตั้งแต่ ๒ ปีขึ้นไป

* ขอขอบคุณข้อมูล "มะลิ:การปลูกและการขยายพันธุ์ " เว็บไซต์ ไทยเกษตรศาสตร์

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/30313422696457_5_3617_3632_3621_3636_3648_362.jpg)   มะลิเวียดนาม
มะลิชนิดนี้ มีต้นวางขาย ผู้ขายบอกว่า มีถิ่นกำเนิดจากประเทศเวียดนาม ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานกว่า ๒ ปีแล้ว สามารถเจริญเติบโตได้ดีและมีดอกดกแบบไม่ขาดต้นตลอดทั้งปี ที่สำคัญ ผู้ขายยืนยันว่า ดอก มีกลิ่นหอมแรงมากอีกด้วย ผู้นำเข้าจึงตั้งชื่อ เป็นภาษาไทยว่า “มะลิเวียดนาม” พร้อมขยายพันธุ์ตอนกิ่งออกวางขายดังกล่าว

มะลิเวียดนาม เป็นไม้อยู่ในวงศ์เดียวกับมะลิทั่วไปคือ OLEACEAE ซึ่งผู้ขายบอกลักษณะทางพฤกษศาสตร์ว่า เป็นไม้พุ่มเตี้ย ต้นสูงเต็มที่ไม่เกิน ๐.๕-๑ เมตร เท่านั้น เป็นสายพันธุ์ที่แตกกิ่งก้านสาขาหนาแน่นมากกว่ามะลิพันธุ์อื่นๆ อย่างชัดเจน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปรีกว้าง ปลายและโคนใบแหลมหรือเกือบมน เนื้อใบค่อนข้างหนา สีเขียวสดเป็นมัน เวลาใบดกจะน่าชมเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งผู้ขายบอกว่าถ้าผู้ปลูกขยันตัดแต่งกิ่งอย่างสม่ำเสมอจะยิ่งทำให้แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มหนาแน่นสวยงามยิ่งขึ้น    

ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ หรือเป็นช่อ ๓-๕ ดอกต่อช่อ โดยดอกจะออกที่ปลายยอด ลักษณะดอกที่ผู้ขายบอกคือโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นกลีบดอกรูปเกือบมน ๗-๘ กลีบ กลีบดอกเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ หลายชั้น ดอกเป็นสีขาวสดใส มีกลิ่นหอมแรง เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้น จะดูสวยงามพร้อมส่งกลิ่นหอมฟุ้งกระจายทั่วบริเวณใกล้เคียงเป็นที่ประทับใจยิ่งนัก ที่เป็นจุดเด่นอีกอย่างหนึ่งที่ผู้ขายยืนยันได้แก่ กลีบดอกแต่ละชั้นเมื่อเด็ดจากต้นแล้วสามารถถอดกลีบดอกเป็นชั้นๆ ได้ เหมือนกับมะลิถอดของไทยทุกอย่าง ดอกออกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง ปักชำกิ่ง และทาบกิ่ง  มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผงหน้าตึกกองอำนวยการเก่า ราคาสอบถามกันเองครับ.  นสพ.ไทยรัฐ  


(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSxKea79v6-SVPyxR27r5YJZ5tEEM3m0JYl6VB1_lJRTU0dHi9Xng) ชำมะนาด "กลิ่นข้าวใหม่"

หลายคน เข้าใจผิดคิดว่า “ชำมะนาด” เป็นไม้ไทย ซึ่งความจริงแล้วเป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศ อินโดนีเซีย ถูกนำเข้ามาปลูก ประดับและขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานแล้ว จนกลายเป็นไม้ไทยไปโดยปริยายและ มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการในบันทึกพรรณไม้ว่า “ชำมะนาด”, ชำมะนาดกลาง (ภาคกลาง) ชำมะนาดฝรั่ง, ดอกข้าวใหม่ (กรุงเทพฯ) และ อ้มส้าย (ภาคเหนือ)

ส่วนชื่อ ชมมะนาด เป็นอีกชื่อหนึ่งที่เรียกคู่กันมากับชื่อที่กล่าวข้างต้นและเป็นชื่อที่คนทั่วไปได้ยินจนคุ้นหู พอเห็นดอกจะรู้ทันทีว่าเป็นดอก ชมมะนาด ไม่ค่อยมีใครรู้จักชื่ออย่างเป็นทางการว่า “ชำมะนาด” ที่เป็นต้นเดียวกัน มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ VALLARIS GLABRA KTZE อยู่ในวงศ์ APOCY NA-CEAE เป็นไม้เถาเลื้อยได้ยาวกว่า ๕ เมตร ทุกส่วนของต้นมียางขาว ใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปไข่ ปลายและโคนใบแหลม สีเขียวสด

ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อย ๑๐-๑๕ ดอก ลักษณะดอกโคนเชื่อมกันเป็นรูปถ้วยตื้นๆ ปลายแยกเป็นกลีบดอก ๕ แฉก ปลายกลีบแหลม ดอกเป็นสีขาวอมเขียว มีกลิ่นหอมแรงคล้ายกลิ่นข้าวใหม่ ดอกบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑.๕ ซม. มีเกสรตัวผู้ ๕ อัน ติดกันเหมือนลูกศรอยู่กลางดอก เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้น จะดูสวยงามและส่งกลิ่นหอมฟุ้งกระจายคล้ายกลิ่นข้าวใหม่ทำให้รู้สึกสดชื่นยิ่งนัก ดอกออกเกือบทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำกิ่ง และตอนกิ่ง

ประโยชน์ ดอกใช้อบแป้งร่ำ เครื่องหอม บางพื้นที่เด็ดเอาดอกสด วางบนสำรับกับข้าว หรืออบข้าวสุกใหม่ๆ ทำให้มีกลิ่นหอมดีมาก มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวน จตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ   นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/75653161315454_1.png)   พุดไต้หวัน "ใบแปลก ดอกสวย หอม"

พุดชนิดนี้ เพิ่งมีต้นวางขาย แต่ละต้นมีดอกบานสวยงามมาก ซึ่งทีแรกคิดว่าเป็นพุดทั่วๆไป เพราะลักษณะดอกเหมือนกับดอกพุดที่พบเห็นจนชินตา แต่ผู้ขายบอกว่าเป็น “พุดไต้หวัน” ถูก นำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในบ้านเรานานเกือบ ๒ ปีแล้ว มีข้อแตกต่างจากพุดทั่วไปและเป็นจุดชี้ชัดว่าเป็น “พุดไต้หวัน” คือ ใบจะเป็นรูปรียาว ทรงใบดูคล้ายใบของโสมไทยแต่จะใหญ่กว่า ไม่เหมือนกับใบของพุดทั่วไปที่จะเป็นรูปรีป้อมเปรียบเทียบกันเห็นชัดเจน
 
พุดไต้หวัน มีข้อดีหลายอย่างคือ เวลามีดอกตูมจะไม่เป็นโรคคอดอกทำให้ดอกร่วงก่อนจะบาน ซึ่งถือเป็นโรคประจำของดอกพุดทั่วไปที่ดอกตูมจะร่วงง่ายยังไม่ทันจะบาน ส่วนคอดอกของ “พุดไต้หวัน” จะมีความเหนียวกว่า จึงทำให้ดอกตูมไม่ร่วงและสามารถบานได้ทุกดอก
 
ลักษณะดอก มีทั้งชนิดที่มีกลีบดอกเรียงซ้อนกันหลายชั้นและกลีบดอกเรียงซ้อนกันน้อยชั้น ๒ รูปแบบในต้นเดียวกัน ดอกเมื่อบาน ตอนแรกจะเป็นสีขาวอยู่เพียง ๑ วัน จากนั้นสีของกลีบดอกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองดูสวยงามมาก และ จะบาน ติดต้นอยู่นานหลายวัน ดอกบานเต็มที่จะมีขนาดใหญ่ มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๓-๓.๕ นิ้วฟุต ดอกมีกลิ่นหอมตลอดทั้งวัน เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้น จะดูสวยงามพร้อมส่งกลิ่นหอมเป็นที่ประทับใจมาก ดอกออกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง
 
ปัจจุบัน “พุดไต้หวัน” มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักรทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณแผง “คุณตุ๊ก” หน้าตึกกองอำนวยการ ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ในดินทั่วไป เป็นไม้ชอบแดด ไม่ชอบน้ำท่วมขัง เหมาะจะปลูกประดับในบริเวณบ้านทั้งแบบลงดินกลางแจ้งและปลูกลงกระถางขนาดใหญ่ตั้งในที่มีแสงแดดส่องถึงทั้งวัน รดน้ำพอชุ่มเช้าเย็น บำรุงปุ๋ยขี้วัว ขี้ควายแห้งโรยตามหน้าดินรอบโคนต้นพอประมาณเดือนละครั้ง สลับกับใส่ปุ๋ยสูตร ๑๖-๑๖-๑๖ สิบวันครั้ง จะทำให้ “พุดไต้หวัน” มีดอกสวยงามไม่ขาดต้น   นสพ.ไทยรัฐ



(http://f.ptcdn.info/034/002/000/1360335791-880-o.jpg) ยี่สุ่น "พันธุ์แท้ มีสรรพคุณสวยหอม"

ผู้อ่านจำนวนมากอยากทราบว่า “ยี่สุ่น” ชนิดที่เป็นสายพันธุ์แท้ๆ เป็นอย่างไร ซึ่ง “ยี่สุ่น” ก็คือ “กุหลาบแดงจีน” มีชื่อวิทยาศาสตร์เฉพาะว่า [9pt]ROSACEAE[/size] มีชื่อภาษาไทยอีกชื่อ ได้แก่ “ยี่สุ่นหนู” แต่ไม่ใช่กุหลาบหนู ที่คนมักจะเหมาว่าเป็นต้นเดียวกัน

ยี่สุ่น หรือ “กุหลาบแดงจีน” หรือ “ยี่สุ่นหนู” มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับกุหลาบทั่วไป แต่จะมีหนามน้อยมาก ใบเป็นใบประกอบขนนกปลายคี่ ใบย่อยออกตรงกันข้ามสองคู่ ปลายคี่เป็นรูปรีขอบหยัก ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ หรือเป็นช่อ มีกลีบดอกเรียงซ้อนกันหลายชั้น ดอกบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑ นิ้ว กลีบดอกเป็นสีแดง หรือ ชมพูเข้ม บางครั้งก็เป็นสีแดงกำมะหยี่–มีดอกดกตลอดทั้งปี ดอกมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เวลามีดอกบานพร้อมกันทั้งต้นจะดูสวยงามและส่งกลิ่นหอมเป็นที่ชื่นใจมาก ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำกิ่ง และตอนกิ่ง

ตำรายาจีน ระบุว่า “ยี่สุ่น” พันธุ์แท้ ที่ภาษาจีนเรียกว่า เหม่ยกุยฮัว และ เหม่ย-กุยฟา เอาดอกตากแห้งอบแห้งแล้วหยิบชงเป็นน้ำชาดื่มบ่อยๆ  ทำให้จิตใจปลอดโปร่ง ช่วยขับเซลล์ผิวหนังที่ตายออกจากร่างกาย ทำให้ผิวพรรณ เปล่งปลั่งสดใส ฟื้นฟูสภาพผิวให้มีน้ำมีนวล ช่วยลดความอ่อนล้า ลดความเครียด สตรีมีประจำเดือน มาไม่ปกติดื่มน้ำชา “ยี่สุ่น” แล้วจะช่วยให้ดีขึ้น ทำให้เลือดเดินสะดวก ชาวจีนแผ่นดินใหญ่ ถือว่า “ยี่สุ่น” เป็นยาอายุวัฒนะสำหรับสตรี ปริมาณชงดื่ม ๕ ดอก ต่อครั้ง   นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/16312602659066_1.png)   ว่านหางช้าง กับ "สรรพคุณน่ารู้"

ว่านหางช้าง นอกจากมีดอกสวยงามแล้ว มีประโยชน์อะไรบ้าง ซึ่งในตำรายาไทยระบุว่า ใบ ของ “ว่านหางช้าง” ใช้เป็นยาระบาย แก้ระดูสตรีพิการ โดยใช้ ๑-๒ ใบ ต้มกับน้ำ ดื่มวันละครั้ง ครั้งละ ๑ แก้ว ติดต่อกัน ๑-๒ วันแล้วเว้นระยะ ๒-๓ วันต้มดื่มอีก ๒-๓ ครั้ง เมื่ออาการที่เป็นดีขึ้นจึงหยุดรับประทาน

ตำรายาจีน ใช้เหง้าเป็นยาแก้ไอ ขับเสมหะ ยาถ่าย แก้ไข้ บำรุงธาตุ ด้วยวิธีเอาไปต้มน้ำดื่มวันละแก้ว หรือเอาเหง้าสดจำนวน ๑๐-๑๕ กรัม ต้มน้ำดื่มเช้าเย็นครั้งละครึ่งแก้วสามารถแก้คนเป็น “คางทูม” ได้ แต่อย่างไรก็ตามพบว่า มีสารบางชนิดที่เป็นพิษ จึงควรระวังในการใช้กิน และการทดลองกับผู้ป่วยพบว่าน้ำต้มของเหง้าดังกล่าว ใช้ชะล้างแก้อาการผื่นคันได้ผลดี

ว่านหางช้าง หรือ BLACK BERRY LILY–LEOPARD FLO-WER BELAMCANDA CHI-NENSIS (L.) DC. อยู่ในวงศ์ IRIDACEAE เป็นไม้ล้มลุก สูง ๐.๖-๒ เมตร มีเหง้าเลื้อยตามแนว ขนานกับพื้นดิน ใบเป็นใบเดี่ยวแทงขึ้นจากเหง้าเรียงซ้อนสลับกันแผ่คล้ายรูปฟัน เนื้อใบค่อนข้างหนา สีเขียวสด

ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยหลายดอก มีกลีบดอก ๖ กลีบ เป็นสีส้ม มีจุดประสีแดงกระจายทั่วทั้งกลีบดอก ดอกมีขนาดใหญ่ เวลามีดอกบานพร้อมกันจะดูสวยงามมาก “ผล” เป็นผลแห้ง เมื่อแก่จะแตกอ้าและกระดกไปด้านหลัง มีเมล็ด ดอกออกเมื่อต้นเจริญเต็มที่ ขยายพันธุ์ด้วยเหง้า

ปัจจุบัน “ว่านหางช้าง” มีต้นขาย ทั่วไปที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักรทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ราคาแต่ละแผงจะไม่เท่ากัน ดังนั้นจึงควรเดินสอบถามราคาเพื่อเปรียบเทียบก่อนที่จะตัดสินใจซื้อแผงที่มีราคาถูกที่สุด ปลูกได้ในดินทั่วไป.   นสพ.ไทยรัฐ


หัวข้อ: Re: พรรณไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้มงคล
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 01 พฤศจิกายน 2556 16:22:49
(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/227/1227/images/do2.jpg)   กวนอิมเงิน

กวนอิมเงิน เป็นพรรณไม้มงคลที่น่าสนใจยิ่ง โดยเฉพาะในช่วงต้อนรับปีใหม่ ใครที่กำลังหาของขวัญของฝากให้คนที่รัก แนะนำพรรณกวนอิมเงินหรือเรียกกันว่า หวายด่าง หรือ อ้อลาย

กวนอิมเงินมีชื่อภาษาอังกฤษว่า Ribbon Plant ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Dracaena sonderiana "Silver" อยู่ในตระกูล LILIACEAE มีถิ่นกำเนิดในประเทศแคเมอรูนและคองโก

จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นคล้ายสกุลหวาย ลำต้นโตประมาณ ๑-๒ ซ.ม. สูงประมาณ ๑-๓ เมตร ลำต้นกลมตรงเล็กเป็นข้อๆ สีเขียว ไม่มีกิ่งก้านสาขา เจริญด้วยการยืดตัวของข้อ ใบเดี่ยวแตกออกจากส่วนยอดของลำต้น มีกาบใบหุ้มห่อลำต้นสลับ กันเป็นชั้นๆ ตามข้อลำต้น ใบแคบเรียวยาว ปลายใบแหลม โคนใบสอบลงมาถึงกาบ พื้นใบมีสีเขียวหรือสีขาวพาดตามยาวของใบ ขนาดความกว้างของใบประมาณ ๒-๓ ซ.ม. ยาว ๖-๘ ซ.ม.

คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นกวนอิมเงินไว้ประจำบ้านจะทำให้คนในบ้านมีฐานะดีร่ำรวย เพราะต้นกวนอิมเป็นไม้นำเงินเข้ามาหมุนเวียนให้คนในบ้าน และยังเชื่ออีกว่าเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ เพราะคนโบราณใช้ต้นกวนอิมประกอบในพิธีบูชาพระเจ้าและพิธีมงคลทางศาสนา หน้า ๒๔ นสพ.ข่าวสด


(http://www.nanagarden.com/Picture/Product/400/128638.jpg) ทองหลางลาย

ต้นทองหลางลาย เป็นพรรณไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลในจังหวัดปทุมธานี ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Erythrina variegate L. อยู่ในวงศ์ LEGUMINOSAE ชื่อสามัญที่ผู้คนส่วนใหญ่รู้จักคือ Indian Coral Tree, Variegated Tiger" Claw ชื่อภาษาไทยที่คนไทยรู้จักคือ ปาริชาติ ปาริฉัตร ทองบ้าน ทองเผือก ทองหลางด่าง มังการา (ชื่อนี้ชาวฮินดูจะเรียกกัน)

เป็นไม้ต้นผลัดใบ สูงประมาณ ๕-๑๐ เมตร ตามกิ่งต้นอ่อนมีหนาม เรือนยอดเป็นพุ่มกลม โปร่ง ลักษณะใบคล้ายขนนก เรียงเวียนสลับ มีใบย่อย ๓ ใบ ใบกลางจะโตกว่า ๒ ใบด้านข้าง ดอกคล้ายดอกถั่วสีแดงเข้ม ออกรวมกันเป็นช่อยาวประมาณ ๓๐-๔๐ ซ.ม. ผลเป็นฝัก ยาว ๑๕-๓๐ ซ.ม.

พรรณไม้ชนิดนี้มีให้เห็นอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะเอเชียเขตร้อนและเขตอบอุ่น ขยายพันธุ์ด้วยการใช้เมล็ดและปักชำ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เนื่องจากใบนั้นมีลวดลายสวยงาม นั่นคือสีเขียวตัดกับลวดลายสีเหลือง...หน้า ๒๔ นสพ.ข่าวสด


(http://ci.lnwfile.com/12l8mz.jpg)   อย่าลืมฉัน

พรรณไม้ที่มีดอกสีม่วงสดอย่างดอกไม้ที่มีชื่อเก๋ไก๋ ว่า "ฟอร์เก็ตมีน็อต" (Forget me not) หรือ "อย่าลืมฉัน" มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Angelonia goyazensis จัดเป็นไม้ล้มลุก เนื่องจากเดิมพรรณไม้ชนิดนี้ไม่มีชื่อภาษาไทย หลวงบุเรศบำรุงการจึงตั้งชื่อให้ว่าต้นแวววิเชียร เป็นชื่อที่เรียกคู่มากับชื่อเดิมที่แปลตรงตัวคืออย่าลืมฉัน

ฟอร์เก็ตมีน็อต เป็นพืชที่ปลูกง่ายขึ้นได้ดีในดินทั่ว ไปแทบทุกชนิด ชอบความชุ่มชื้นและอยู่ในร่มเงาได้ ทนทานโรคแมลง โตเร็ว ขยายพันธุ์ง่ายโดยการแยกกอหรือปักชำกิ่ง แหล่งกำเนิดดั้งเดิมยังค้นไม่พบ แต่มีหลักฐานว่านำเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกจากเมืองมัณฑะเลย์ สหภาพพม่า ในปี พ.ศ. ๒๔๕๓ โดยแหม่มคอลลินส์ นับถึงตอนนี้ก็มีอายุ ๙๖ ปีแล้ว  พรรณไม้นี้มีลักษณะใบเรียวยาว ใบและดอกมีกลิ่นเฉพาะตัวเมื่อใช้มือสัมผัส ออกดอกเดี่ยว แต่ออกติดๆ กันตามข้อต้นหรือง่ามใบ มักออกดอกพร้อมกันตลอดต้นไปจนถึงส่วนยอด ออกดอกตลอดทั้งปี ดอกเป็นรูปกรวยเล็ก โค้งเล็กน้อย ส่วนปลายดอกแยกออกเป็น ๕ กลีบ กลีบดอกมีสีม่วงแก่ ม่วงอ่อน และสีขาว...หน้า ๒๔ นสพ.ข่าวสด


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/77755744589699__3604_3629_3585_3626_3609_3626.jpg)   สนสามใบ

สนสามใบ เป็นพรรณไม้พระราชทานเพื่อปลูก เป็นมงคลของจังหวัดเลย มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศพม่า ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Kesiya pine อยู่ในวงศ์ PINACEAE ชื่อภาษาไทยอื่นๆ เช่น เกี๊ยะเปลือกแดง เกี๊ยะเปลือกบาง จ๋วง เชี้ยงบั้ง แปก สนเขา

เป็นไม้ยืนต้นสูง ๑๐-๓๐ เมตร ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม เปลือกสีน้ำตาลอมชมพูอ่อนล่อนเป็นสะเก็ด มียางสีเหลืองซึมออกมาตามรอยแตก ใบเป็นใบเดี่ยว ติดกันเป็นกลุ่มละ ๓ ใบ ออกเป็นกระจุกเวียนสลับถี่ตามปลายกิ่ง ออกดอกเป็นช่อ แยกเพศ ช่อดอกเพศผู้สีเหลือง ติดกันเป็นกลุ่มใกล้ปลายกิ่ง ออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายน-มีนาคม ผลออกรวมกันเป็นกลุ่มเรียกว่า Cone (โคน) รูปไข่ สีน้ำตาล มีเมล็ดจำนวนมาก...หน้า ๒๔ นสพ.ข่าวสด


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/67460506243838_30_3585_3634_3628_3614_3620_35.jpg)   กาฬพฤกษ์

กาฬพฤกษ์ พรรณไม้พระราชทานปลูกเป็นสิริมงคลในจังหวัดบุรีรัมย์ ถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตอเมริกาเขตร้อน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cassia gran dis L.f. อยู่ในวงศ์ LEGUMINOSAE ชื่อสามัญ คือ Pink Shower จัดเป็นไม้ต้นผลัดใบ สูง ๒๐ เมตร โคนมีพูพอน เปลือกสีดำ แตกเป็นร่องลึก กิ่งอ่อนหรือช่อดอกมีขนสีน้ำตาล ใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ใบย่อยมี ๑๐-๒๐ คู่ ใบอ่อนสีแดง แผ่นใบย่อยรูปขอบขนาน กว้าง ๑-๒ เซนติเมตร ยาว ๓-๕ เซนติเมตร ด้านบนเป็นมัน ด้านล่างมีขน ดอกเริ่มบานสีแดงแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูตามลำดับ ผลเป็นฝักรูปทรงกระบอก ออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ...หน้า ๒๔ นสพ.ข่าวสด


(http://www.samunpri.com/wp-content/uploads/2013/05/%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A52-300x225.jpg)  ทรงบาดาล

ทรงบาดาลเป็นไม้พุ่ม สูง ๓-๕ เมตร มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Senna surattensis (Burm.f) Irwin&Barneby อยู่ในวงศ์ LEGUMINOSAE ชื่อสามัญคือ Kalamona ,Scrambled Eggs ชื่ออื่นๆ คือขี้เหล็กหวาน  เป็นพรรณไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียเขตร้อนและแถบจาเมกา ลักษณะลำต้นเป็นไม้พุ่ม มีใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับใบย่อย ๔-๖ คู่ รูปไข่หรือแกมรูปขอบขนาน กว้าง ๑-๒ ซ.ม. ปลายแหลม โคนมน ดอกเหลือง ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง ๕ กลีบ ออกดอกตลอดทั้งปี นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ มีถิ่นกำเนิดในเอเชียเขตร้อน...หน้า ๒๔ นสพ.ข่าวสด


(http://cu.lnwfile.com/e63tj8.jpg)  กันเกรา

พรรณไม้ประจำจังหวัดนครพนม อย่างต้นกันเกรา เป็นพรรณไม้ดอกหอม พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Fagraea fragrans Roxb. ชื่อสามัญคือ Anan ชื่อภาษาไทยอื่นๆ รู้จักในชื่อ มันปลา ตำเสา ทำเสา

กันเกราเป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ ๑๕-๒๕ เมตร เปลือกสีน้ำตาลเข้ม แตกเป็นร่องลึก ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน แผ่นใบรูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง ๒.๕-๓.๕ ซ.ม. ยาว ๘-๑๑ ซ.ม. ปลายแหลมโคนมน ดอกสีขาวครีมจากนั้นจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ผลกลมเล็ก สีส้มแก่ สีแดงเลือดนก เมล็ดมีจำนวนมาก ออกดอกช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด  ประโยชน์ของพรรณไม้ชนิดนี้เริ่มจากเนื้อไม้สีเหลืองอ่อนเสี้ยนตรง เนื้อละเอียด เหนียว แข็ง ทนทานใช้ในการก่อสร้าง แก่นมีรสฝาดใช้ผสมยาบำรุงธาตุแน่นหน้าอก เปลือกใช้บำรุงโลหิต ผิวหนังพุพอง และยังนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ...หน้า ๒๔ นสพ.ข่าวสด


(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/765/2765/images/pradu/pradu.jpg)  ประดู่

ประดู่เป็นพรรณไม้ยืนต้น และเป็นพรรณไม้ประจำจังหวัดชลบุรี ร้อยเอ็ด ระยอง อุตรดิตถ์ ถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดีย พม่า มาเลเซีย ฟิลิปปินส์  มีชื่อสามัญว่า Angsana, Padauk ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Pterocarpus indicus Willd ชื่ออื่นๆ ที่รู้จักโดยเฉพาะภาคใต้เรียกกันว่า สะโน เป็นพรรณไม้สูง ลำต้นสูงประมาณ ๑๐-๒๐ เมตร ผลัดใบ เรือนยอดกลมหรือรูปเจดีย์เตี้ย แผ่กว้าง หนาทึบ ใบประกอบขนนกรูปไข่ เรียบหนา ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง มี ๕ กลีบ สีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกบานแล้วร่วงพร้อมกัน ออกดอกช่วงเดือนเมษายน-สิงหาคม ...หน้า ๒๔ นสพ.ข่าวสด


(http://www.vcharkarn.com/uploads/images/99294_headline.jpg)  วิสเทอเรีย

วิสเทอเรีย เป็นพรรณไม้ที่สวยงามอีกชนิดหนึ่ง แถมยังดัดแปลงเป็นซุ้มได้อย่างสวยงามและแปลกตายิ่งนัก นอกจากจะชื่อ วิสเทอเรีย แล้วยังมีชื่อว่าฟูจิ เป็นไม้เลื้อยตระกูลถั่วที่ผู้คนนิยมปลูกและขยายออกไปหลายสายพันธุ์  ด้วยความสวยงามและกลิ่นที่เย้ายวนสุดแสนโรแมนติก ทุกวันนี้มีการศึกษาเพื่อผสมให้พรรณไม้ชนิดนี้มีสีสัน รูปร่าง กลิ่นที่ดีขึ้น แข็งแรง ทนทาน และปรับตัวในทุกสภาพอากาศ  ช่วงเวลาปกติที่วิสเทอเรียออกดอกคือเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ ช่วงเมษายน พฤษภาคม บานยาวไปถึงมิถุนายน กรกฎาคม ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ออกดอกได้เมื่ออายุต้นได้เวลา ยิ่งแก่ยิ่งดก แต่ละสายพันธุ์มีข้อแตกต่างในเรื่องอายุ สำหรับสายพันธุ์ลูกผสมพันธุ์ใหม่ๆ อายุเพียง ๓ ปีขึ้นไปก็เริ่มออกดอก ส่วนสายพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิมอาจต้องรอกันถึง ๑๐-๑๕  ปี

นิยมปลูกทำเป็นซุ้มและเมื่อดอกผลิออกมาจะกลายเป็นซุ้มขนาดใหญ่ ห้อยระย้าโชว์ดอกสีสัน ที่เห็นบ่อยคือสีขาว ม่วงเข้ม ม่วงอ่อน ...หน้า ๒๔ นสพ.ข่าวสด


(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcT_xXyWeRFpQT_LIc1nRzXb25MjPJEfIozWE1g4rL-Ae23bVLX12g)  เกด

เกด พรรณไม้ประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ คือต้นเกด ชื่อสามัญว่า Milkey Tree ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Manikara hexandra มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชีย ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไปและพบเห็นตามเกาะต่างๆ  เป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ ๘-๑๕ เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ใบสีเขียวเข้มเป็นมัน รูปทรงคล้ายรูปหัวใจ ออกดอกเป็นกลุ่มตามง่ามใบ ดอกสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม แต่ละดอกมี ๑๘ กลีบ มีกลีบรองดอก ๖ กลีบ เรียงซ้อนกันเป็น ๒ ชั้น  ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-กรกฎาคม พบบริเวณป่าดงดิบแล้งและป่าชายหาดทางใต้ ต้องการแสงแดดจัด ต้องการน้ำน้อย...หน้า ๒๔ นสพ.ข่าวสด


(http://community.akanek.com/sites/default/files/_mg_5407.jpg)  พวงโกเมน

พรรณไม้สีสันสดใสอย่างพวงโกเมน ใครเห็นก็สะดุดตา ด้วยสีส้มแดงสดใสมองเห็นแต่ไกล ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mucuna bennettii F. Muell. อยู่ในตระกูล LEGUMINOSAE ชื่อสามัญ Newguinea Creeper, Red Jade Vine.

เป็นไม้เถาเลื้อยขนาดเล็ก เนื้อไม้แข็ง เจริญเติบโตได้เร็วและอายุยืน เถาอาจจะเลื้อยไปได้ไกล ๒๐-๒๕ เมตร เป็นไม้ใบประกอบออกสลับกัน ใบเป็นรูปไข่หรือรูปหัวใจ ปลายใบแหลม โคนใบมนเว้าเข้าหาก้านใบ ใบมีสีเขียวเข้ม และจะแตกออกเป็นพุ่มแน่น ออกดอกเป็นช่อตามลำต้น หรือซอกใบและปลายกิ่ง ช่อดอกมีขนาดใหญ่เป็นพวงห้อยลง  ลักษณะของดอกจะคล้ายกับดอกแคหรือดอกถั่ว ดอกมีสีแสดหรือสีแดงเพลิง คล้ายกับดอกทองกวาว ดอกมีกลีบเลี้ยง ๕ กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ส่วนปลายจะแยกออกเป็น ๕ แฉก และมีกลีบดอกอีก ๕ กลีบขนาดไม่เท่ากัน ไม่คลี่บาน กลีบดอกที่อยู่นอกสุดมีขนาดใหญ่กว่ากลีบดอกอื่นๆ ออกดอกในช่วงฤดูฝน หรือในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน เป็นพรรณไม้ที่ชอบแดดมาก...หน้า ๒๔ นสพ.ข่าวสด


(http://www.nanagarden.com/Picture/Product/400/105531.jpg)  กระทิง

กระทิงเป็นพรรณไม้ที่มีกลิ่นหอม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Calphyllum inophyllum L. อยู่ในวงศ์ GUTTIFERAE ชื่อสามัญ Alexandrian Laurel, Indian Laurel มีลักษณะไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง ๖-๒๐ เมตร เรือนยอดแผ่กว้างเป็นพุ่มกลมแน่นทึบ ลำต้นมักคดงอ เปลือกสีน้ำตาลปนเทาค่อนข้างเรียบ ทุกส่วนมียางสีเหลืองอมเขียว ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ใบรูปรีแกมรูปไข่กลับ ปลายใบกลมหรือเว้าเล็กน้อย  จุดเด่นของดอกอยู่ที่ช่อดอกสีขาว ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ช่อหนึ่งมี ๖-๑๐ ดอก ก้านดอกสีขาวยาว ๒-๒.๕ ซ.ม. มีกลีบดอก ๕-๖ กลีบ รูปไข่ปลายแหลม กลีบดอกงองุ้มโค้งเข้าหากัน ดอกบานมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒ ซ.ม. เนิยมปลูกเป็นไม้ประดับโชว์ทรงพุ่ม ไม้ให้ร่มเงาตามริมถนนและในแปลงกลางแจ้ง...หน้า ๒๔ นสพ.ข่าวสด


(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTknirR69g3AQHVru2ppVYyvdFhXHa6wdbJp-u_JP2AdHPvdg-j)  คริสต์มาส

ใบ “คริสต์มาส” จะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีแดงระหว่างปลายเดือนตุลาคม ไปจนถึงปลายเดือนมีนาคม ปีถัดไป จากนั้นใบจะกลับเป็นสีเขียวเหมือนเดิม ซึ่งในช่วงที่ใบเป็นสีแดงนี่เอง เป็นช่วงที่ผู้ซื้อนิยมซื้อเอาต้นไปตั้งประดับในเทศกาลคริสต์มาสและช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่อย่างแพร่หลาย เมื่อผ่านพ้นไปแล้ว ต้น “คริสต์มาส” จะถูกทิ้ง เนื่องจากใบกลับไปเป็นสีเขียวตามธรรมชาติ และหมดความสวยงามนั่นเอง

ความจริงแล้ว ต้น “คริสต์มาส” ที่ใบเปลี่ยนเป็นสีเขียวตามธรรมชาตินั้น ยังมีประโยชน์สามารถนำไปปลูกเลี้ยงให้ต้นเจริญเติบโตด้วยการดูแลรดน้ำบำรุงปุ๋ยสม่ำเสมอ เมื่อถึงเดือนกันยายนหรือเข้าสู่ฤดูฝน ให้ตัดเอากิ่งแก่จัดเป็นท่อน ๑.๕-๒ ฟุต ปักชำลงดินบรรจุถุงดำเรียงเป็นระเบียบกลางแจ้ง รดน้ำบำรุงปุ๋ยประจำ จะมีรากและแตกยอดใหม่เป็นพุ่มแน่น เมื่อถึงปลายเดือนตุลาคมหรือต้นเดือนพฤศจิกายน ใบจะมีขนาดใหญ่ขึ้น และเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีแดงเข้มสวยงามมากสามารถนำไปตั้งประดับหรือวางขายได้ราคาดีเป็นวงจรของต้น “คริสต์มาส”

คริสต์มาส หรือ EUPHORBIA  PULCHERRIMA WILL EX KLOTZSCH  ชื่อสามัญ POINSETTIA CHRISTMAS FLOWER อยู่ในวงศ์ EUPHORBIACEAE ต้นสูง ๑-๓ เมตร ทุกส่วนมียางขาว ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งสีเหลืองปนแดง “ผล” ค่อนข้างกลม ดอกออกช่วงเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ปีถัดไป ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำกิ่ง มีชื่ออีกคือ สองฤดู, โพฝัน (กทม.) และ บานใบ (ภาคเหนือ) มีถิ่นกำเนิดอเมริกากลางและเม็กซิโก

ใบอ่อน ใช้พอกแก้โรคผิวหนังบางชนิด เช่น ไฟลามทุ่ง สารให้สีมีกรด TARTARIC มีสารฝาดสมาน และน้ำตาล GLUCOSE,  SUCROSE ยางเป็นพิษเข้าตาถูกผิวหนังระคายเคืองครับ..หน้า ๗ นสพ.ไทยรัฐ


(http://i176.photobucket.com/albums/w172/befine_album/Feb-2011/RIMG0202.jpg)  "มังกรคาบแก้ว" ความงามที่ถูกลืม

ไม้ประดับที่มีดอกสีสันสวยงามหลายชนิดมักถูกผู้ปลูกประดับลืมและไม่นึกถึง เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นไม้เก่าแก่ที่นิยมปลูกกันมาช้านานแล้ว ประกอบกับปัจจุบันจะมีไม้ดอกสวยงามใหม่ๆ และแปลกๆ วางขายไม่ขาดระยะ  จึงทำให้ไม้ดอกสวยงามเหล่านั้นถูกผู้ปลูกลืมนึกถึงโดยปริยาย ซึ่งต้น  “มังกรคาบแก้ว”  ก็จัดอยู่ในกลุ่มดังกล่าวด้วย  นานๆ จึงจะมีผู้ขยายพันธุ์นำต้นวางขายแต่ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่จะไม่รู้จัก “มังกรคาบแก้ว” เลย

มังกรคาบแก้ว
หรือ CLERODENDRUM THOMSONEA  BALF.F. ชื่อสามัญ BLEEDING HEART, BROKEN HEART, BAG FLOWER  อยู่ในวงศ์ VERBENACEAE เป็นไม้เถาเลื้อย เถาอ่อนสี่เหลี่ยม ใบออกตรงกันข้าม รูปไข่หรือขอบขนาน ปลายแหลม โคนมนหรือเว้าเล็กน้อย

ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยหลายดอก กลีบเลี้ยงสีขาว ๕ กลีบ โคนกลีบจะโค้งออก ส่วนปลายสอบเข้าหากัน ซึ่งกลีบเลี้ยงดังกล่าวจะหุ้มหลอดดอกอยู่ด้านใน  กลีบดอกโคนเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นกลีบดอก ๕ กลีบ สีแดงเข้ม มีเกสรตัวผู้ ๔ อัน เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้น จะดูเหมือนปากมังกรสีขาวกำลังคาบกลีบดอกสีแดงเข้มเอาไว้สวยงามมาก  จึงถูกตั้งชื่อว่า “มังกรคาบแก้ว” ดังกล่าว “ผล” กลมสีดำ มีเมล็ด ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและปักชำกิ่ง มีชื่อเรียกอีกคือ พวงแก้ว และพวงเงิน ถิ่นกำเนิดแอฟริกาตะวันตก

ปัจจุบัน  ต้น  “มังกรคาบแก้ว” มีขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แต่มีไม่มากนัก ราคาสอบถามกันเอง  ปลูกได้ในดินทั่วไป  นิยมปลูกประดับตามบ้าน  สำนักงานสวนสาธารณะและรีสอร์ตทั่วไป เวลามีดอกจะงดงามมากครับ...หน้า ๗ นสพ.ไทยรัฐ




หัวข้อ: Re: พรรณไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้มงคล
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 11 เมษายน 2557 11:57:08
.

(http://www.sookjai.com/Themes/default/images/post/xx.gif)  กล้วยไม้
คำว่า กล้วยไม้ เป็นคำที่เกิดจากการนำคำ ๒ คำ มาประสมกันแล้วเกิดเป็นคำที่มีความหมายใหม่ขึ้น แต่ยังมีเค้าของความหมายเดิมอยู่ หม่อมเจ้า ลักษณากร เกษมสันต์ อธิบายความหมายของกล้วยไม้ไว้ในสารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม ๑ ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ว่าหมายถึง หมู่พฤกษชาติพวกใบเลี้ยงเดี่ยว มีขึ้นอยู่ตามป่าชื้นที่มีฝนอุดมสมบุรณ์ ที่ขึ้นอยู่ตามพื้นดิน เป็นพืชล้มลุกก็มี ที่เกาะอาศัยอยู่ตามต้นไม้อื่นหรือตามหินผาเป็นพืชถาวรก็มี ถ้าเป็นพวกล้มลุก ลำต้นจะมีหัวอยู่ใต้ดิน มีรากออกจากหัวนั้นๆ แล้วแตกหน่อขึ้นมาผลิดอกออกใบบนพื้นดิน ถ้าเป็นพวกพืชถาวร มีหลายลักษณะ เป็นเหง้า เป็นหน่อ เป็นลำ ซึ่งมักเรียกว่า ลำลูกกล้วย เป็นเส้นตรงๆ กลมหรือแบนก็มี คล้ายกับกิ่งอ่อนๆ ของต้นไม้ก็มี แล้วมีรากออกจากเหง้าและจากลำต้น ใบก็เช่นเดียวกันมีหลายแบบ ยากที่จะกำหนดให้ตายตัวลงไปได้ ทางภาคเหนือของประเทศไทยมักเรียกกล้วยไม้ว่า "เอื้อง" แต่คำว่าเอื้อง ไม่ได้จำกัดว่าเป็นชื่อเรียกกล้วยไม้อย่างเดียว หากยังเรียกพันธุ์ไม้อื่นๆ ที่มีส่วนคล้ายคลึงกับกล้วยไม้ด้วยเช่นเดียวกัน

ทำไมจึงเรียกพรรณไม้ชนิดนี้ว่า "กล้วยไม้" ทั้งๆ ที่ไม่ได้มีกล้วยเข้ามาเกี่ยวข้อง เรื่องนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.อบฉันท์ ไทยทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านกล้วยไม้ ซึ่งเป็นกรรมการจัดทำอนุกรมวิธานพืช ของราชบัณฑิตยสถาน ให้คำตอบว่า น่าจะมาจากลักษณะปรากฏของกล้วยไม้บางชนิด เช่น กล้วยไม้ในสกุลเอื้องต่างๆ ที่มีลำต้นอวบสั้น ขึ้นเป็นกระจุกตามกิ่งไม้และต้นไม้ ที่เรียกว่า ลำลูกกล้วย ซึ่งดูแล้วคล้ายกล้วย จึงเรียกเป็นกล้วยไม้

กล้วยไม้นี้มีมากมายหลายชนิด ส่วนมากมีดอกสวยงาม นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ บ้างก็ทำการผสมเป็นพันธุ์ใหม่ๆ เป็นที่นิยมกันทั่วไป และซื้อขายกันด้วยราคาแพงๆ เช่น กล้วยไม้สกุลคัทลียา ที่มีดอกงดงามมาก จนได้ชื่อว่าเป็น "ราชินีแห่งกล้วยไม้"

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/73974941050012_NjpUs24nCQKx5e1HUZMEM2dszeobUc.jpg)   "เอื้องเมี่ยง"  สวยอลังการ

เอื้องเมี่ยง” ก็คือ เอื้องกิ่งดำ หรือ เอื้องสายม่วง หรือที่ผู้ขายชอบเรียกว่า เอื้องสายสามสี เป็นต้นเดียวกัน พบขึ้นตามป่าดงดิบเขาทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีเขตการ กระจายพันธุ์ถึงประเทศอินเดีย จีนตอนใต้ และแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ คือ DENDROBIUM GRATIOSISSIMUM REHB.F. มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นกล้วยไม้อิงอาศัยจำพวกที่มีการเจริญทางยอด ได้แก่ ชนิดที่มีลำต้นชัดเจนแล้วเจริญขยายทางปลายยอดด้านเดียว มีหลายสกุล ลำต้นของ “เอื้องเมี่ยง” เป็นรูปแท่งดินสอกลม สีน้ำตาลเข้มเกือบดำ เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นประมาณ ๐.๗-๑ ซม. หรืออาจจะใหญ่กว่าตามความ สมบูรณ์ของต้น ลำต้นยาว ๕๐-๗๐ ซม. ห้อยลง ใบรูปรีแกมรูปขอบขนาน และจะทิ้งใบเมื่อฤดูกาลมีดอก

ดอก ออกเป็นช่อตามบริเวณข้อของลำต้นตั้งแต่โคนเรื่อยขึ้นไปจนถึงปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อย ๒-๓ ดอก ลักษณะดอก กลีบเลี้ยงและกลีบดอกเป็นสีขาว ปลายกลีบเป็นสีชมพูเข้ม กลีบปากมีแต้มสีเหลืองสดบริเวณกลางกลีบ ดอกเมื่อบานเต็มที่กว้างประมาณ ๕ ซม. เวลามีดอกดก และดอกบานพร้อมกันจะสวยงามเป็นระย้าดูอลังการมาก ดอกออกช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ต่อเนื่องไปจนถึงเดือนพฤษภาคมของทุกปี ขยายพันธุ์ด้วยวิธีตัดยอดปล่อยให้บริเวณที่เป็นแผลที่ตัดงอกรากมาใหม่ก่อนนำไปปลูกและแยกต้น

ปัจจุบัน “เอื้องเมี่ยง” หรือ เอื้องกิ่งดำ เอื้องสายม่วง และ เอื้องสายสามสี มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณแผงหน้าธนาคารออมสินนสพ.ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/89785703602764_1.png)   เอื้องตะขาบใหญ่ "แก้ปวดหัว ตับแข็ง"

กล้วยไม้ชนิดนี้ พบทั่วไปตามป่าดิบเขาทุกภาคของประเทศไทย มีด้วยกันหลายสายพันธุ์ จะแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยที่สีของดอก และช่วงเวลามีดอก บางชนิดดอกมีกลิ่นหอมเป็นเสน่ห์เฉพาะตัว แต่ที่เหมือนกันเกือบทุกสายพันธุ์ได้แก่ ใบของกล้วยไม้ในตระกูลนี้จะดูคล้ายเกล็ดปลา หรือตัวตะขาบ ส่วนใหญ่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับจำพวกหายาก ไม่ค่อยมีใครทราบว่า "เอื้องตะขาบใหญ่" มีสรรพคุณเป็นสมุนไพรด้วย

โดยตำรายาพื้นบ้านอีสาน ใช้ทั้งต้นของ "เอื้องตะขาบใหญ่" ตำพอกศีรษะแก้ปวดหัวดีนัก นำไปผสมกับต้นต้างใหญ่ เอาทุกส่วนอย่างละนิดหน่อย กับเอื้องงูเขียวปากม่วง ทั้งต้นต้มน้ำดื่มขณะอุ่น เป็นยารักษาโรคตับโตและตับแข็งได้

เอื้องตะขาบใหญ่ หรือ DENDROBIUM LEONIS (LINDL.) เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้นยาวได้ ๒๕ ซม. ใบเดี่ยว ออกเรียกสลับแบนสองด้านคล้ายตะขาบ จึงถูกเรียกชื่อว่า "เอื้องตะขาบใหญ่" ดอก ออกเป็นช่อกระจุกที่ปลายยอด ดอกเป็นสีเหลืองหรือสีชมพูอมม่วง ดอกมีกลิ่นหอมแรง ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ ๑ ซม. ดอกออกได้เรื่อยๆ ขยายพันธุ์ด้วยการแยกต้น หรือเหง้า มีชื่อเรียกอีกคือ ก้างปลา และ เกล็ดนิ่ม มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ หน้าธนาคารออมสิน ราคาสอบถามกันเองนสพ.ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/11914483664764_1.png)   "กุหลาบกระเป๋าปิดใต้" หอมแรงชื่นใจ

โดยปกติแล้ว กล้วยไม้สายพันธุ์กุหลาบกระเป๋าปิด จะมีแหล่งที่พบเกือบทุกภาคของประเทศไทย เช่น ในแถบ จ.เชียงใหม่ ตาก เลย สกลนคร มุกดาหาร ชัยภูมิ กาญจนบุรี นครศรีธรรมราช ภูเก็ต และมีเขตกระจายพันธุ์ในประเทศลาว พม่า ส่วน “กุหลาบกระเป๋าปิดใต้” พบเฉพาะถิ่นทางภาคใต้ในพื้นที่ อ.เบตง จ.ยะลา เท่านั้น

กุหลาบกระเป๋าปิดใต้ หรือ AERIDES ODORATA LOUR. มีลักษณะพฤกษศาสตร์เหมือนกับเอื้องกระเป๋าปิดทั่วไป คือเป็นกล้วยไม้อิงอาศัยที่มีลำต้นเจริญทางปลายยอด ได้แก่ชนิดที่มีลำต้นชัดเจนแล้วเจริญขยายทางปลายยอดด้านเดียว มีด้วยกันหลายสกุล รวมทั้ง “กุหลาบกระเป๋าปิดใต้” ด้วย ลำต้นกลมยาว ใบออกเรียงสลับ เป็นรูปเข็มขัดหรือแถบยาว ปลายใบตัดและเว้า  สีเขียวสด

ดอก ออกเป็นช่อกระจะตามซอกใบ ช่อดอก ยาว แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อย ๒๐-๓๕ ดอก ลักษณะดอกกลีบเลี้ยงและกลีบดอกด้านบนเป็นรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ กลีบเลี้ยงคู่ด้านข้างเป็นรูปรีกว้างเกือบกลม กลางกลีบปากเป็นรูปแถบ มีเดือยรูปคล้ายตะขอชี้ออกด้านหน้าและมีฝาปิดอยู่ สีของดอกเป็นสีขาว มีแต้มสีชมพูอมม่วง ดอกเมื่อบานเต็มที่กว้างประมาณ ๑.๕ ซม. ดอกมีกลิ่นหอมแรงมากเท่ากับกลิ่นหอมของเอื้องไอยเรศ แต่กลิ่นจะนุ่มนวลกว่า ยืนห่าง ๑-๒ เมตรสามารถได้กลิ่นหอมโชยเข้าจมูกทำให้รู้สึกชื่นใจเป็นอย่างยิ่ง เวลามีดอกหลายๆช่อและดอกบานพร้อมกัน จะดูสวยงามมาก ดอกออกระหว่างเดือน เมษายนต่อเนื่องไปจนถึงเดือนมิถุนายนของทุกปี ขยายพันธุ์ด้วยวิธีตัดยอดแล้วฉีดยาเร่งรากบริเวณแผลที่ตัดแขวนในที่มีลมโกรกตลอดเวลาพร้อมฉีดพ่นน้ำวันละครั้ง ๑-๒ อาทิตย์จะมีรากงอกออกมาให้เห็น

ปัจจุบัน “กุหลาบกระเป๋าปิดใต้” มีขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณแผงหน้าธนาคารออมสินนสพ.ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/49060970006717_1.png) "เพชรหึงใหม่" ดอกพื้นขาวประม่วง

เพชรหึง เป็นกล้วยไม้ที่ลำต้นใหญ่ที่สุดในโลก มีแหล่งที่พบในแถบ จ.พิษณุโลก, เลย, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ชุมพร, สุราษฎร์ธานี, ตรัง และนราธิวาส จัดอยู่ในกลุ่มของกล้วยไม้ที่มีการเจริญทางด้านข้าง มีเหง้า ส่วนทอดเลื้อยหรือไหล เมื่อต้นเจริญเต็มที่สามารถแตกต้นใหม่หรือหน่อใหม่จากโคนกอหรือตามลำข้อได้ มีหลากหลายชนิด รวมทั้งเพชรหึงด้วย ซึ่งเพชรหึงพันธุ์ดั้งเดิมมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า GRAMMATOPHYLLUM  SPECIOSUM ช่อดอกและดอกจะมีขนาดใหญ่มาก สีพื้นของกลีบดอกเป็นสีเหลือง มีลายประเป็นสีน้ำตาลอย่างชัดเจนสวยงามมาก มีต้นขายทั่วไป ดอกออกช่วงเดือนกรกฎาคม-ตุลาคมทุกปี ได้รับความนิยมปลูกอย่างแพร่หลาย มีชื่อเรียกอีกคือ “ว่านงูเหลือม” เนื่องจากต้นดูเหมือนงูเหลือมนั่นเอง

ส่วน “เพชรหึงใหม่” ที่พบมีขาย มีต้นขนาดเล็กบรรจุอยู่ในขวดที่เกิดจากการเพาะเนื้อเยื่อด้วยวิธีปั่นขวดพร้อมมีภาพถ่ายรูปดอกโชว์ให้ชมด้วย สีสันของดอกแปลกและแตกต่างจากสีของดอกเพชรหึงพันธุ์ดั้งเดิมที่กล่าวข้างต้นอย่างชัดเจนน่าชมมาก ผู้ขายบอกว่าเป็น “เพชรหึงใหม่” มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับเพชรหึงชนิดแรกทุกอย่าง จะมีข้อแตกต่างกันเฉพาะสีของกลีบดอกเท่านั้นคือ สีพื้นของกลีบดอก “เพชรหึงใหม่” จะเป็นสีขาว และมีลายประเป็นสีม่วงอมแดงดูเหมือนลายของเสือดาวสวยงามมากตามภาพประกอบคอลัมน์ กำลังเป็นที่นิยมของผู้ปลูกอย่างกว้างขวางอยู่ในปัจจุบัน

ใคร ต้องการต้นพันธุ์ไปปลูก มีต้นขนาดเล็กที่เพาะด้วยเนื้อเยื่อบรรจุอยู่ในขวดขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ- พฤหัสฯ บริเวณแผงตรงกันข้ามโครงการ ๑๕ นสพ.ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTKIVzU2PJ8Wf3efYEmpyUcSpV5UJCCoJ7y_4Yc1U833rQx3Ear)   "เอื้องเสือแผ้ว"  สวยหายาก  

ผู้ที่นิยมปลูกกล้วยไม้ ส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดอยู่เสมอว่า “เอื้องเสือแผ้ว” เป็นต้นเดียวกับ เอื้องเสือโคร่ง เนื่องจากลายของกลีบเลี้ยงและกลีบดอกจะเหมือนกันมาก แต่ถ้าหากเป็นคนช่างสังเกตจะพบว่าทั้ง ๒ ชนิดมีข้อแตกต่างกันอย่างชัดเจนคือ กลีบปากสีจะไม่เหมือนกัน โดยกลีบปากของ “เอื้องเสือแผ้ว” เป็นสีเหลืองเข้ม ส่วนกลีบปากของ เอื้องเสือโคร่งเป็นสีขาว และลักษณะของกลีบปากก็ต่างกันด้วย คือ กลีบปากของ “เอื้องเสือแผ้ว” แผ่เป็นเดือยมีขน ส่วนกลีบปากของเอื้องเสือโคร่ง ยื่นยาวกว่ามีขนเช่นเดียวกัน

เอื้องเสือแผ้ว หรือ STAUROCHILUS DAWSONIANUS  (RCHB.F) SCHLTR. ชื่อพ้อง CLEISOSTOMA DAWSONIANUM RCHB.F. เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้นสูง ๓๐-๕๐ ซม. ใบเป็นรูปเข็มขัด กว้างประมาณ ๑.๕-๒ ซม. ยาว ๒๐ ซม. ดอก ออกเป็นช่อตามข้อลำต้น ก้านช่อยาวประมาณ ๓๐-๔๐ ซม. แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อย ๖-๗ ดอก ลักษณะดอกมี กลีบเลี้ยงและกลีบดอกเป็นสีเหลือง มีแต้มตามขวางเป็นแถบเล็กๆ สีม่วงคล้ำคล้ายลายเสือโคร่ง กลีบปากแผ่เป็นเดือยสีเหลืองเข้มมีขน ตามที่กล่าวข้างต้น เมื่อบานเต็มที่กว้างประมาณ ๒.๕ ซม. เวลามีดอกจะสวยงามมาก ดอกออกช่วงระหว่างเดือนธันวาคม ต่อเนื่องไปจนถึงเดือนเมษายนของปีถัดไป ขยายพันธุ์ด้วยการแยกต้น พบขึ้นตามป่าดิบทางภาคเหนือของประเทศไทย มีเขตกระจายพันธุ์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีชื่อเรียกอีกคือ เอื้องเสือน้อย และเอื้องตุ๊กแก จัดอยู่ในกลุ่มหายากชนิดหนึ่ง นิยมปลูกลงกระถางแขวนในจุดที่มีลมพัดโกรกดีตลอดทั้งวัน รดน้ำพอชุ่มเช้าเย็น บำรุงปุ๋ยกล้วยไม้ฉีดพ่น ๑๕ วันครั้ง จะทำให้ต้นแข็งแรงและมีดอกสวยงามเมื่อถึงฤดูกาลครับ

ปัจจุบัน “เอื้องเสือแผ้ว” มีต้นขาย จำนวนไม่มากนัก ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณแผงหน้าธนาคารออมสิน นสพ.ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRBjZO8qXR6e9gVb36xqcWpLnEmZR1qjl1v_9ed0goSAXu2TvsnYA)   "เอื้องตาควาย"  

ผู้อ่านจำนวนมากอยากทราบว่า ดอก “เอื้องตาควาย” มีกลิ่นหอมหรือไม่ เนื่องจากมีผู้ขายบางคนบอกว่ามีกลิ่นหอม พอซื้อต้นไปปลูกแล้วมีดอกใช้จมูกดมไม่ได้กลิ่นเลย ซึ่งความจริงแล้วดอกของ “เอื้องตาควาย” ไม่มีกลิ่น แต่ดอกใหญ่สีสันสวยงามน่าชมเท่านั้น ผู้ขายบางคนอาจจำผิดก็ได้ ในช่วงนี้ “เอื้องตาควาย” อยู่ระหว่างผลิดอก จึงถ่ายภาพเสนอในคอลัมน์พร้อมตอบข้อข้องใจให้ทราบอีกตามระเบียบ

เอื้องตาควาย หรือ DENDROBIUM PULCHELLUM ROXB. EXLINDL พบขึ้นตามป่าผลัดใบหรือป่าดิบแล้งทุกภาคของประเทศไทย โดยจะขึ้นที่ระดับความสูง ๒๐๐-๑,๕๐๐ เมตร เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้นเป็นรูปแท่งดินสอกลม ยาว ใบรูปรีแกมขอบขนาน กาบใบมีขีดตามยาวสีม่วงแดง จะทิ้งใบเมื่อมีดอก

ดอก ออกเป็นช่อตามข้อใกล้ปลายยอด ก้านช่อยาว ๒๐-๒๕ ซม. ในหนึ่งช่อจะมีดอกย่อย ๗-๑๐ ดอก ลักษณะดอก กลีบเลี้ยงและกลีบดอกเป็นสีครีม ขอบกลีบเป็นสีชมพู กลีบปากมีแต้มสีเลือดหมูขนาดใหญ่บริเวณโคนด้านในทั้ง ๒ ข้าง ทำให้เวลาดอกบานดูคล้ายกับดวงตาของควายจริงๆจึงถูกตั้งชื่อว่า “เอื้องตาควาย” ดอกบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์ กลางประมาณ ๗ ซม. เวลามีดอกจะสวยงามมาก ดอกออกช่วงระหว่างเดือน กุม- ภาพันธ์–เมษายน ของทุกปี ขยายพันธุ์ด้วยการแยกต้น มีชื่อเรียกอีกคือ เอื้องช้างน้าว บะเหน่มีเพ้ย และ พอมียอเอ๊ะ เหมาะสมจะปลูกลงกระถางแขวนในที่แจ้ง รดน้ำพอชุ่มเช้าเย็น บำรุงปุ๋ยกล้วยไม้ฉีดพ่นอาทิตย์ละครั้ง จะมีดอกสวยงามเมื่อถึงฤดูกาลครับ.
 
นอกจาก พบในประเทศไทยแล้ว ยังพบที่ อินเดีย เนปาล เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อีกด้วย ปัจจุบัน มีต้นกำลังติดดอกวางขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผงหน้าธนาคารออมสิน กับบริเวณโครงการ ๑ ปากทางออกประตู ๑นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.bloggang.com/data/jae-hom47/picture/1268495215.jpg)   "เอื้องเงินหลวง"  สวยซึ่งหอม

กล้วยไม้ชนิดนี้ เป็นสายพันธุ์ไทยแท้ๆที่พบขึ้นตามป่าธรรมชาติบนเขาสูงในเขตพื้นที่ จ.เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เลย กาญจบุรี และระนอง โดยส่วนใหญ่จะขึ้นเป็นกอบนคบไม้สูง มีลักษณะเด่นคือ ดอกมีขนาดใหญ่ สีสันของดอกแม้จะไม่ฉูดฉาด สะดุดตาสะดุดใจนัก แต่จะดูสวยซึ้งตรึงใจ และ ที่สำคัญดอกจะมีกลิ่นหอมอ่อนๆ เมื่อได้สูดดมจะรู้สึกชื่นใจยิ่งนัก จึงทำให้ “เอื้องเงินหลวง” เป็นที่ต้องการของผู้ปลูกอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน

เอื้องเงินหลวง หรือ DENDROBIUM FOMOSUM ROXB.EX LINDL. เป็นกล้วยไม้อิงอาศัยจำพวกที่มีการเจริญทางด้านข้าง ได้แก่กล้วยไม้ที่มีเหง้า ส่วนทอดเลื้อยหรือไหล เมื่อต้นเจริญเต็มที่แล้วสามารถแตกต้นใหม่หรือหน่อใหม่จากโคนกอหรือตามลำข้อต้นได้ มีด้วยกันหลากหลายสกุล รวมทั้ง “เอื้องเงินหลวง” ด้วย โดยลำต้นหรือลำลูกกล้วยของ “เอื้องเงินหลวง” ค่อนข้างจะอวบใหญ่ ใบเป็นรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ออกเรียงสลับตามข้อลำต้น

ดอก ออกเป็นช่อแบบกระจะที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อย ๒-๕ ดอก ลักษณะดอก กลีบเลี้ยงเป็นรูปหอก ปลายกลีบแหลม กลีบดอกเป็นรูปไข่กว้าง ปลายกลีบมน กลีบปากเป็นรูปไต สีขาวสดใส โคนกลีบปากถึงกลาง กลีบมีแต้มสีเหลืองอย่างชัดเจน ปลายกลีบหยักเว้า ดอกมีกลิ่นหอมตามที่กล่าวข้างต้น ดอกเมื่อบานเต็มที่กว้างประมาณ ๕-๖ ซม. เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันจะดูสวยงามส่งกลิ่นหอมถูกลมพัดโชยเข้าจมูกเป็นที่ชื่นใจมาก ดอกออกช่วงระหว่างเดือนกันยายน-ธันวาคมทุกปี ขยายพันธุ์ ด้วยการแยกต้นหรือเหง้า

ปัจจุบัน “เอื้องเงินหลวง” มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณ แผงหน้าธนาคารออมสิน กับ แผงบริเวณโครงการ ๒๔ นสพ.ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQzo9biVxKJFEPzj3Bwp1GcOVqsH4BDLLVkXGFwtYfJXOHgl-eiUg)   "กุหลาบเหลืองโคราช" " ดอกหอมสวย

กล้วยไม้ชนิดนี้ พบขึ้นตามป่าผลัดใบหรือป่าดิบแล้งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย พบมากที่สุดในพื้นที่ของจังหวัดนครราชสีมา แต่ปัจจุบันในป่าธรรมชาติเหลือน้อยมากแล้ว และมีเขตกระจายพันธุ์ทั่วไปในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งที่พบวางขายส่วนใหญ่จะนำมาจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว พม่า เป็นต้น กล้วยไม้ชนิดนี้จะมีความโดดเด่นคือ ดอกมีกลิ่นหอม ดอกเป็นช่อใหญ่และสีสันของดอกสวยงามมาก จึงเป็นที่ต้องการของผู้นิยมปลูกเลี้ยงกล้วยไม้อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน

กุหลาบเหลืองโคราช หรือ AERIDES HOULLETIANA RCHB.F เป็นกล้วยไม้อิงอาศัยจำพวกมีการเจริญทางยอด ได้แก่ กล้วยไม้ชนิดที่มีลำต้นชัดเจนแล้วเจริญขยายทางปลายยอดด้านเดียว มีด้วยกันหลายสกุล รวมทั้ง “กุหลาบเหลืองโคราช” ด้วย ซึ่งลำต้นของ “กุหลาบเหลืองโคราช” จะเรียวยาว หรือสูง ๓๐-๕๐ ซม. ใบเดี่ยวออกเรียงสลับ เป็นรูปเข็มขัด กว้างประมาณ ๒-๔ ซม. ยาว ๒๐-๔๐ ซม. ปลายใบตัดมีเว้าตื้นๆ

ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ ลักษณะเป็นพวงห้อยลง ยาว ๑๒-๑๘ ซม.แต่ละช่อมีดอกย่อยเรียงกันเป็นระเบียบหนาแน่น กลีบเลี้ยงและกลีบดอกเป็นสีเหลือง มีแต้มสีชมพูเข้ม กลีบปากเป็นสีขาวหรือสีครีม แต้มสีชมพูเข้มอมม่วง ดอกเมื่อบานเต็มที่กว้างประมาณ ๒.๕-๓ ซม. ดอกมีกลิ่นหอมเฉพาะตัวเข้าไปยืนใกล้ๆจะได้กลิ่นโชยเข้าจมูกรู้สึกได้ทันที เวลามีดอกหลายๆช่อ หรือหลายๆต้น และดอกบานพร้อมกันจะมีสีสันสวยงามและส่งกลิ่นหอมเป็นที่ประทับใจมาก ดอกออกช่วงระหว่างเดือน เมษายน ต่อเนื่องไปจนถึงเดือน พฤษภาคม ของทุกปี

(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQD_jtPgtUYB1eKrd5Atckixb6CA0OzzKoMxqtgSd3jmW5SUY9_hA)   เอื้องพร้าวใหม่"  สีสันดอกสวยสดใส

เอื้องพร้าวใหม่ เพิ่งพบมีต้นวางขาย แต่ละต้นปลูกในกระถางดำขนาดกว้าง ๖ นิ้วฟุต มีดอกบานสะพรั่งอวดสีสันสวยงามและแปลกตามาก เมื่อสอบถามผู้ขายได้รับคำตอบว่า เป็น “เอื้องพร้าวใหม่” แต่บอกไม่ได้ว่าเกิดจากการผสมพันธุ์ด้วยวิธีใดและผสมกันระหว่างกล้วยไม้ชนิดไหน บอกได้เพียงว่า “เอื้องพร้าวใหม่” มีลักษณะเด่นคือ เป็นพันธุ์ที่มีดอกไม้ง่ายแบบไม่ขาดระยะ ที่สำคัญสีสันของดอกจะเข้มข้นสวยงามมาก ส่วนลักษณะทางพฤกษศาสตร์ทั่วไปเหมือนกับเอื้องพร้าวสายพันธุ์ดั้งเดิมเกือบทุกอย่าง แตกต่างกันที่สีสันของดอกและขนาดของดอกเพียงเท่านั้น

เอื้องพร้าวใหม่ เป็นกล้วยไม้ดิน ต้นสูงระหว่าง ๕๐-๖๐ ซม. โคนเป็นลำลูกกล้วยรูปทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๓-๕ ซม. มีกาบใบหุ้ม ใบเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน ใบมีขนาดใหญ่ แต่จะกว้างและยาวน้อยกว่าใบของเอื้องพร้าวพันธุ์ดั้งเดิมอย่างชัดเจน แผ่นใบเป็นจีบ ในหนึ่งต้นจะมีใบเพียง ๔-๕ ใบเท่านั้น

ดอก ออกเป็นช่อตั้งขึ้นจากโคนกอ ช่อยาวได้ถึง ๑๕๐ ซม. แต่ละช่อมีดอกย่อยได้ ๑๕-๒๐ ดอก กลีบดอกด้านบนเป็นสีชมพูเข้ม หรือ เป็นสีโอลด์โรสปนสีม่วงเล็กน้อย หลังกลีบดอกเป็นสีขาวหรือสีเทา ดอกมีขนาดเล็กกว่าดอกของเอื้องพร้าวพันธุ์ดั้งเดิมอย่างชัดเจน ลักษณะของกลีบปากจะห่อ ปลายแผ่นเป็นสีชมพูเข้ม ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ เวลามีดอกบานพร้อมกันทั้งช่อจะดูสวยงามสดใสมาก ซึ่งปกติ เอื้องพร้าว พันธุ์ดั้งเดิมจะมีดอกช่วงเดือน มีนาคม–เมษายน ทุกปี แต่ “เอื้องพร้าวใหม่” สามารถมีดอกได้เรื่อยๆ อยู่ที่ความสมบูรณ์ของต้น ขยายพันธุ์ด้วยการแยกต้น

ปัจจุบัน “เอื้องพร้าวใหม่” มีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒๔ นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.bloggang.com/data/f/fasaiwonmai/picture/1317002221.jpg)   "กะเรกะร่อนปากนกแก้ว"  สวยสุดยอด

กล้วยไม้ในสกุลกะเรกะร่อน มีหลายชนิด รวมทั้ง “กะเรกะร่อนปากนกแก้ว” ด้วย ซึ่งเป็นชนิดที่มีช่อดอกใหญ่ยาวและสีสันของดอกสวยงามมากกว่ากะเรกะร่อนชนิดอื่นอย่างชัดเจน โดย “กะเรกะร่อนปากนกแก้ว” มีชื่อวิทยาศาสตร์อย่างเป็นทางการคือ CYMBIDIUM LOWIA-NUM RCHB.F. เป็นกล้วยไม้อิงอาศัยในกลุ่มที่มีการเจริญทางด้านข้าง ได้แก่ กล้วยไม้ที่มีเหง้า สวนทอดเลื้อยหรือไหล เมื่อต้นเจริญเต็มที่แล้วสามารถแตกต้นใหม่หรือหน่อใหม่จากโคนกอหรือตามลำข้อได้ ลำต้นหรือลำลูกกล้วยเป็นรูปไข่มีกาบใบหุ้ม ใบเป็นรูปเข็มขัด กว้าง ๓-๔ ยาว ๔๐-๗๐ ซม. ผิวใบเรียบ สีเขียวสด

ดอก ออกเป็นช่อจากโคนกอ ช่อยาว ๑-๑.๕ เมตร แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยมากกว่า ๑๐-๑๕ ดอก ลักษณะดอกกลีบเลี้ยงและกลีบดอก เป็นสีเหลืองอมเขียว ปลายกลีบปากเป็นสีแดงเข้มแต้มดูคล้ายรูปของปากนกแก้ว จึงถูกตั้งชื่อตามลักษณะดังกล่าวว่า “กะเรกะร่อนปาก นกแก้ว” ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ ๘ ซม. ถือว่ามีขนาดใหญ่มาก เวลามีดอกเป็นช่อยาวและดอกบานพร้อมกันทั้งช่อจะดูงดงามยิ่งนัก

ดอก  ออกช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ต่อเนื่องไปจนถึงเดือนเมษายนของทุกปี ขยายพันธุ์ด้วยการแยกต้น นอกจากชื่อ “กะเรกะร่อน ปากนกแก้ว” แล้ว ยังมีชื่อเรียกอีกคือ “กะเรกะร่อนดอย” พบขึ้นตามป่าดิบที่ระดับความสูง ๑,๓๐๐-๒,๓๐๐ เมตร มีเขตการกระจายพันธุ์ทั่วไปในประเทศ จีนตอนใต้ เมียนมาร์ ไทย และ เวียดนาม

ปัจจุบัน “กะเรกะร่อนปากนกแก้ว” ที่เป็นพันธุ์แท้ของประเทศไทย มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒๔ กับแผงหน้าธนาคารออมสิน ราคาสอบถามกันเอง สามารถปลูกในพื้นที่ราบต่ำให้มีดอกได้ เหมาะจะปลูกประดับและปลูกอนุรักษ์ เวลามีดอกจะสวยงามมากครับ.นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/13796327221724_1.png)   "กะเรกะร่อนเขาพนม"  พันธุ์ใหม่สวยแปลก
  
ปกติ กล้วยไม้ในสกุลกะเรกะร่อนจะมีหลายสายพันธุ์ เช่น กะเรกะร่อนดอย หรือกะเรกะร่อนปากนกแก้ว พบขึ้นตามป่าสูงทางภาคเหนือของประเทศไทย จีนตอนใต้ พม่า และเวียดนาม กะเรกะร่อนปากเป็ด กะเรกะร่อนลาว กะเรกะร่อนสองสี และ กะเรกะร่อนอินทนนท์ เป็นต้น ซึ่งแต่ละสายพันธุ์จะมีชื่อวิทยาศาสตร์เฉพาะตัวและมีลักษณะดอกสวยงามต่างกันอย่างชัดเจน

ส่วน “กะเรกะร่อนเขาพนม” ที่เพิ่งพบวางขาย ผู้ขายบอกว่าเป็นพันธุ์ใหม่ไม่มีชื่อวิทยาศาสตร์ พบขึ้นตามป่าบนเขาพนม จังหวัดกระบี่ มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ต่างจาก

กะเรกะร่อนสายพันธุ์ที่กล่าวข้างต้นหลายจุดและดูโดดเด่นมาก เป็นกล้วยไม้อิงอาศัยที่มีการเจริญทางด้านข้าง มีเหง้าหรือส่วนทอดเลื้อยและไหล เมื่อต้นเจริญเต็มที่สามารถแตกต้นใหม่หรือหน่อใหม่จากโคนกอหรือตามลำข้อได้ ลำต้นรูปกระเปาะค่อนข้างกลม มีกาบใบหุ้ม ใบออกเรียงสลับ เนื้อใบค่อนข้างหนาคล้ายแผ่นหนัง รูปรางน้ำแคบ ปลายใบมน

ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบบริเวณโคนต้น ช่อดอกห้อยลง ยาว ๕๐-๗๐ ซม. แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยระหว่าง ๑๔-๓๐ ดอก อยู่ที่ความสมบูรณ์ของต้น ลักษณะดอกแตกต่างจากดอกของกะเรกะร่อนทุกสายพันธุ์ที่กล่าวข้างต้นอย่างชัดเจน มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกเป็นสีม่วงคล้ำหรือม่วงอมแดง หลังกลีบม่วงปนเขียว มีกลีบบน ๓ กลีบ กลีบข้าง ๒ กลีบ รูปรียาว กลีบปากเป็นสี ขาวหรือสีครีมขนาดใหญ่ มีแต้มสีแดงเข้ม ดอกมีขนาดใหญ่มาก เวลามีดอกบานพร้อมกันทั้งช่อจะดูสวยงามมาก ผู้ขายบอกว่า ดอกออกช่วงเดือนตุลาคม-มกราคมปีถัดไป ขยายพันธุ์ด้วยเหง้า หรือแยกต้น

ปัจจุบัน “กะเรกะร่อนเขาพนม” มีขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผงหน้าธนาคารออมสิน ราคาสอบถามกันเองครับ.
นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.suansavarose.com/private_folder/IMG_4291.jpg)   "เอื้องพร้าว"  สวยสุดกล้วยไม้ดิน

กล้วยไม้ดิน มีหลายชนิด มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ต่างกันไป ส่วนใหญ่รูปทรงของดอกจะงดงามมาก ซึ่ง “เอื้องพร้าว” จัดเป็นกล้วยไม้ ดินระดับแถวหน้าที่เวลามีดอก ดอกมีขนาดใหญ่อวดสีสันเป็นเสน่ห์น่าชมกว่ากล้วยไม้ดินชนิดใดๆ ทำให้ “เอื้องพร้าว” เป็นที่นิยมปลูกประดับอย่างกว้างขวางมาตั้งแต่สมัยอดีตจนถึงปัจจุบัน

เอื้องพร้าวหรือ PHAIUS TANKERVIL-LEAE (BANKS EX i’ HERTIER) BLUME มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นกล้วยไม้ดิน ต้นสูง ๕๐-๗๐ ซม. โคนเป็นลำลูกกล้วย รูปทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง ๓-๕ ซม. มีกาบใบหุ้ม ใบรูปรี แกมรูปขอบขนาน แผ่นใบเป็นจีบ ปลายใบสอบ จำนวน ๔-๕ ใบต่อต้น

ดอก ออกเป็นช่อตั้งจากโคนกอ สูงได้ถึง ๑๕๐ ซม. แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยหลายดอก ลักษณะดอก กลีบเลี้ยงและกลีบดอก เป็นสีน้ำตาลอมเหลือง หลังกลีบเป็นสีขาว กลีบปากเป็นรูประฆัง ปลายแผ่ออกเป็นสีชมพูเข้ม ดอกเมื่อบานเต็มที่กว้างประมาณ ๙-๑๐ ซม. ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ต้องใช้จมูกดมใกล้ๆ จึงจะได้กลิ่นหอมดังกล่าว เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งช่อจะดูสวยงาม มากตามภาพเสนอประกอบคอลัมน์ ดอก ออกช่วงระหว่างเดือนมีนาคม ต่อเนื่องไปจนถึงเดือนเมษายนของทุกปี ขยายพันธุ์ด้วยการแยกต้น มีชื่อเรียกอีกคือ “ฮ่องฟู” พบขึ้นทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ และภาคใต้ ของประเทศไทย ต่างประเทศพบที่อินเดีย จีนตอนใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หมู่เกาะแปซิฟิก และออสเตรเลีย

มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒ แผงหน้าธนาคารออมสิน และบริเวณโครงการ ๒๔  ราคาสอบถามกันเอง นิยมปลูกประดับเป็นกลุ่มหลายๆ ต้น หลายๆ กระถาง เวลามีดอกจะงดงามมากครับ.นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.orchidtropical.com/images/product/liparis-resupinata-2.jpg)   "เอื้องข้าวสาร"  ดอกเป็นช่อยาวและสวย

กล้วยไม้ชนิดนี้ มีด้วยกันหลายชนิดส่วนใหญ่พบเกือบทุกภาคของประเทศไทย และมีเขตกระจายพันธุ์ที่ประเทศอินเดีย ศรีลังกา และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ละแหล่งที่พบจะมีความแตกต่างกันไม่มากนัก จะคงเอกลักษณ์ความเป็นกล้วยไม้ในสกุลดังกล่าวให้เหล่าเซียนกล้วยไม้ที่พบเห็นรู้ได้ทันทีว่าเป็นสกุล “ไลพาริส” ซึ่งบางสายพันธุ์จะมีดอกเฉพาะช่วงตามฤดูกาล บางพันธุ์มีดอกตลอดปี จึงเป็นที่นิยมปลูกอย่างแพร่หลายอยู่ในเวลานี้

เอื้องข้าวสาร หรือ LIPARIS VIRIDI- FLORA (BLUME) LINDL. เป็นกล้วยไม้อิงอาศัยในกลุ่มที่มีการเจริญทางด้านข้าง ได้แก่ กล้วยไม้ที่มีเหง้า ส่วนทอดเลื้อยหรือไหล เมื่อต้นเจริญเต็มที่สามารถแตกต้นใหม่หรือหน่อใหม่จากโคน กอ หรือตามลำข้อได้ มีมากมายหลายสกุล ลำต้นของ “เอื้องข้าวสาร” เป็นแท่งปลายแหลมโคนโต สูง ๓-๙ ซม. แต่ละลำต้นจะมีใบเพียง ๒ ใบเท่านั้น ใบเป็นรูปหอกกลับแกมรูปขอบขนาน ปลายใบสอบ โคนใบติดกับปลายลำต้น สีเขียวสด

ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ช่อดอกยาว ๑๒-๑๗ ซม. แต่ละช่อมีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมากเรียงแน่นตลอดก้านช่อดอก ลักษณะดอก กลีบเลี้ยงและกลีบดอกพับลง เป็นสีเขียวอ่อน ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ ๐.๕ ซม. เวลามีดอกหลายๆ ช่อ จะห้อยลงเป็นสายยาวและดอกบานพร้อมกันดูสวยงามมาก ปกติดอกจะออกช่วงระหว่างเดือน ตุลาคม ต่อเนื่องไปจนถึงเดือนธันวาคมของทุกปี แต่ “เอื้องข้าวสาร” ที่แนะนำในคอลัมน์วันนี้ ผู้ขายบอกว่าเป็นสายพันธุ์ที่พบทางภาคใต้ของประเทศไทย มีความเป็นพิเศษคือสามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยวิธีแยกต้น  มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ โครงการ ๒๔  กับแผงหน้าธนาคารออมสิน ราคาสอบถามกันเองครับ. นสพ.ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQS_7_PWGIz7j1AOBtbxybpe0p1oi3R_zbOE18pdIvn93R8-K-U)  เอื้องมือชะนี
กล้วยไม้ชนิดนี้ มีขึ้นตามป่าดิบเขาทุกภาคของประเทศไทย ต่างประเทศพบแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีมากที่สุดในไทย พม่า เขมร ลาว แต่ในป่าธรรมชาติของไทยแทบไม่พบเห็นแล้ว ส่วนใหญ่ที่พบมีต้นวางขาย ผู้ขายจะซื้อแบบเหมาเป็นกระสอบจากพ่อค้ากล้วยไม้ป่าที่นำมาจากประเทศเพื่อนบ้าน จากนั้นก็เอาไปคัดปลูกเลี้ยงเป็นสกุลๆไป จนต้นติดรากดีและมีดอกสวยงามตามฤดูกาล ก่อนนำออกจำหน่ายให้ผู้ซื้อไปปลูกเลี้ยงอีกทอดหนึ่ง

เอื้องมือชะนี หรือDENDROBIUM SENICE C.S.P. PARISH-RCHB.F. เป็นกล้วยไม้อิงอาศัยจำพวกมีการเจริญทางด้านข้าง ได้แก่ กล้วยไม้ที่มีเหง้า ส่วนทอดเลื้อยหรือไหล เมื่อต้นเจริญเต็มที่สามารถแตกต้นใหม่หรือหน่อใหม่จากโคนกอหรือตามลำข้อได้ รวมทั้ง “เอื้องมือชะนี” ด้วย ลำต้นรูปทรงกลมคล้ายแท่งดินสอ สูง ๑๐-๑๕ ซม. ทุกส่วนของลำต้นจะมีขนยาวสีขาวทั่ว ทำ ให้ดูเหมือนกับมือของตัวชะนีจริงๆ จึงถูกตั้งชื่อตามลักษณะดังกล่าวว่า “เอื้องมือชะนี” ใบเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน เนื้อใบหนา เวลามีดอกจะทิ้งใบหมด เหลือเพียงดอกอย่างเดียว ทำให้น่าชมยิ่งนัก  ดอก ออกเป็นช่อตามข้อและ ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อย ๒-๔ ดอก ก้านช่อดอกเป็นสีเขียวและยาว กลีบเลี้ยงและกลีบดอกเป็นสีเหลืองเข้ม ปลายกลีบดอกแหลม กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมี ๕ กลีบ บริเวณโคนกลีบปากจะมีแต้มสีเขียวอ่อนขึ้นไปจนถึงกลางกลีบ ดอกมีกลิ่นเฉพาะตัว ใช้จมูกสูดดมจะได้กลิ่นและรู้สึกได้ทันที ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ ๕ ซม. เวลามีดอกจะสวยงามมาก ดอกออกช่วงระหว่างเดือนมกราคมต่อเนื่องไปจนถึงเดือนมีนาคมของปีถัดไป ขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อหรือต้น  มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผงหน้าธนาคารออมสินกับโครงการ ๒๔ ราคาสอบถามกันเองครับ. นสพ.ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSi6p0ywtxnI-gV9iklUO7DMy7oKqaSSoLXjNMMoBVckQMOECpK)  เหลืองจันทบูร
กล้วยไม้ชนิดนี้ เป็นกล้วยไม้ไทยแท้ๆ ที่มีแหล่งพบเฉพาะถิ่นในแถบ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดจันทบุรี และ จังหวัดตราด


หัวข้อ: Re: พรรณไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้มงคล
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 11 เมษายน 2557 12:53:29
.

(http://www.bloggang.com/data/likaka/picture/1329356309.jpg)   เอื้องเก๊ากิ่วแม่สะเรียง "สีสวยหวาน"

กล้วยไม้ชนิดนี้ พบขึ้นตามป่าดิบเขาที่ระดับความสูงตั้งแต่ ๑๐๐-๑,๐๐๐ เมตร ทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ ของประเทศไทย มีเขตการกระจายพันธุ์ทั่วไปในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งในแต่ละแหล่งที่พบจะมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เช่น ขนาดของดอกเล็กใหญ่ไม่เท่ากัน สีสันของดอกจะเข้มหรืออ่อนกว่ากัน ส่วนอื่นๆหรือลักษณะทางพฤกษศาสตร์จะคงความเป็นเอื้องเก๊ากิ่วเหมือนกัน เมื่อเห็นแล้วสามารถบอกได้ทันที

เอื้องเก๊ากิ่วแม่สะเรียง หรือ DENDRO BIUM TORTILE LINDL. ชื่อพ้อง DENDROBI UM HANIFFII RIDL. เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย สูง ๓๐-๕๐ ซม. ลำต้นค่อนข้างแบน เป็นสันเหลี่ยม กว้างประมาณ ๑.๔-๑.๕ ซม. โคนเรียวคอด ใบรูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง ๒-๓ ซม. ยาว ๘-๑๕ ซม. และจะทิ้งใบเมื่อผลิดอก

ดอก ออกเป็นช่อตามข้อที่ใกล้ปลายยอด จำนวน ๒-๓ ดอกต่อช่อ ลักษณะดอก กลีบเลี้ยงและกลีบดอกเป็นสีม่วงแดงเรื่อๆ กลีบปากห่อคลาย แตร เป็นสีเหลืองและมีขีดสีม่วงแดง  ดอกเมื่อบานเต็มที่กว้างประมาณ ๖-๗ ซม. ดอกมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกัน หลายๆ ช่อจะดูสวยงามมาก ดอกออกช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ต่อเนื่องไปจนถึงเดือนเมษายนของทุกปี ขยายพันธุ์ด้วยการแยกต้น มีชื่อเรียกอีกคือ เอื้องไม้ตึง, เอื้องตีนนก และ เอื้องตอติเล

ปัจจุบัน “เอื้องเก๊ากิ่วแม่สะเรียง” มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณ แผงหน้าธนาคารออมสินกับบริเวณโครงการ ๒๔ ราคาสอบถามกันเอง นิยมปลูกลงกระถางกล้วยไม้แขวนในที่มีแสงแดดรำไร มีลมพัดโกรกดีตลอดทั้งวัน รดน้ำบำรุงปุ๋ยสม่ำเสมอจะมีดอกสวยงามพร้อมส่งกลิ่นหอมเมื่อเข้าไปยืนใกล้ๆ ใช้จมูกดมเป็นที่ประทับใจมากครับ.
หน้า ๗ นสพ.ไทยรัฐ ฉบับประจำวันพุธที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖


(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTmxvV15qkyvqzvhx7E9Qslm8nmx7N-zv4TibIq5aLi7TGAaTWb)   เอื้องมอนไข่ "ปลูกเป็นกอ ดอกงามอร่ามตา"

ผู้อ่านจำนวนมากขอให้แนะนำกล้วยไม้ที่มีดอกเป็นช่อขนาดใหญ่บ้าง เนื่องจากเวลามีดอกจะได้ดูความสวยงามแบบเต็มตา ซึ่งกล้วยไม้ที่มีดอกเป็นช่อขนาดใหญ่นั้น มีด้วยกันหลายชนิด แต่ที่นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายคือ “เอื้องมอนไข่” เพราะเป็นสายพันธุ์ที่มีดอกได้ง่าย เป็นช่อขนาดใหญ่ โดยเฉพาะถ้าปลูกหลายๆต้นรวมกันเป็นกอใหญ่ๆ เมื่อถึงฤดูกาลมีดอกพร้อมกันหลายๆช่อ จะดูสวยงามยิ่งนัก ที่สำคัญ ดอกของ “เอื้องมอนไข่” ยังมีกลิ่นหอมเป็นที่ชื่นใจอีกด้วย จึงเหมาะจะปลูกตามความต้องการที่กล่าวข้างต้นดีมาก

เอื้องมอนไข่ หรือ DENDROBIUM THYRSIFLORUM RCHB.F. เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย สูง ๓๐-๕๐ ซม. มักทิ้งใบเมื่อถึงฤดูกาลผลิดอก ดอก ออกเป็นช่อตามข้อ ลำต้น เป็นพวงห้อยลง ช่อยาว ๒๐-๒๕ ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกเป็นสีขาว กลีบปากสีเหลืองมีขนนุ่ม ขอบกลีบหยักละเอียด เมื่อบานเต็มที่กว้าง ๒-๒.๕ ซม. ดอกมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ซึ่งถ้าปลูกจำนวนหลายๆ ต้นรวมกันเป็นกอขนาดใหญ่ เวลามีดอกตามฤดูกาลพร้อมกันทุกต้น ช่อดอกจะห้อยเป็นพวงดูสวยงามอร่ามตามาก ดอกออกช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคมทุกปี ขยายพันธุ์ด้วยวิธีตัดยอด และแยกต้น

พบขึ้นตามป่าดิบเขา ที่ระดับความสูง ๑,๐๐๐-๑,๕๐๐ เมตร ทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ในต่างประเทศพบที่ อินเดีย และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีชื่อเรียกในไทยอีกคือ เอื้องมอนไข่ห่าน และ เอื้องมอนไข่ใบมน

ปัจจุบัน “เอื้องมอนไข่” มีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณหน้าธนาคารออมสิน กับบริเวณโครงการ ๒๔ ราคาสอบถามกันเอง เหมาะจะปลูกลงกระถางกล้วยไม้ขนาดใหญ่เป็นกอหลายๆต้น เวลามีดอกตามฤดูกาลจะดูสวยงามและส่งกลิ่นหอมเป็นที่ชื่นใจยิ่งครับ.
หน้า ๗ นสพ.ไทยรัฐ ฉบับประจำวันศุกร์ที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗


(http://www.bloggang.com/data/aiamorchid/picture/1283180483.jpg)   "รองเท้านารีหนวดฤๅษี"  เอกลักษณ์สวย

กล้วยไม้ “รองเท้านารีหนวดฤาษี” เป็นอย่างไร ซึ่งความจริงแล้ว คนทั่วไปจะรู้จักกล้วยไม้ชนิดนี้ในอีกชื่อหนึ่ง รองเท้านารีเมืองกาญจน์ และเป็นต้นเดียวกัน มีชื่อเฉพาะว่า PAPHIO PEDILUM PARISHII (RCHB.F) PFITZER ชื่อพ้อง CYPRIPEDIUM PARISHII RCHB.F เป็นกล้วยไม้อิงอาศัยจำพวกเจริญทางด้านข้าง ได้แก่กล้วยไม้ที่มีเหง้า ส่วนทอดเลื้อยหรือไหล เมื่อต้นเจริญเต็มที่แล้วสามารถแตกต้นใหม่หรือหน่อใหม่จากโคนหรือตามลำข้อได้ มีด้วยกันหลายสกุล รวมทั้ง “รองเท้านารีหนวดฤาษี” ด้วย ลำต้นและแตกกอ ใบเป็นรูปเข็มขัดไม่มีลาย

ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ ก้านช่อดอกยาว ๓๐-๖๐ ซม. หนึ่งก้านช่อจะมีดอกย่อย ๔-๗ ดอกเท่านั้น สีของดอกโดยรวมเป็นสีเหลืองแกมเขียว กลีบเลี้ยงกลีบบนแผ่ตั้งขึ้น ปลายสอบ กลีบดอกเรียวยาวและบิดเป็นเกลียวยาวประมาณ ๗-๙ ซม. มีตุ่มสีม่วงคล้ำบริเวณโคนกลีบ ปลายกลีบเป็นสีม่วงคล้ำชัดเจน กลีบดอกดูคล้ายหนวดยาวจึงถูกตั้งชื่อตามลักษณะว่า “รองเท้านารีหนวดฤาษี” กลีบกระเป๋าเป็นสีเขียวแกมน้ำตาล ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 6 ซม. ดอกออกช่วงระหว่างเดือนมีนาคม ต่อเนื่องไปจนถึงเดือนกรกฎาคมของทุกปี ขยายพันธุ์ด้วยเหง้าหรือแยกต้น พบขึ้นตามป่าหินปูนที่ระดับความสูง ๑๖ พันเมตรขึ้นไป พบมากที่สุดในพื้นที่ จ.กาญจนบุรี จึงถูกเรียกชื่ออีกว่า รองเท้านารีเมืองกาญจน์ ในต่างประเทศพบที่อินเดีย ลาว ปัจจุบัน “รองเท้านารีหนวดฤาษี” หรือรองเท้านารีเมืองกาญจน์ มีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ

ข้อมูล : คอลัมน์ "เกษตรกรบนแผ่นกระดาษ" หน้า ๗ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQpRDBqIaaOB-tAv4LWvm0flL2ylRC4NMgXXWy8TrZ94QckXVvfyg)   เอื้องเข็มม่วง "สวยสดใส"

กล้วยไม้ในสกุลเข็ม มีด้วยกันหลายสี แต่ละสีจะมีความงดงามแตกต่างกันไป ซึ่ง “เอื้องเข็มม่วง” พบขึ้นทั่วไปตามป่าผลัดใบทางภาคเหนือ ภาคตะวันตกของประเทศไทย มีเขตกระจายพันธุ์ ประเทศอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และหมู่เกาะในทะเลอันดามัน มีชื่อวิทยาศาสตร์เป็นทางการคือ ASCOCENTRUM AMPUL-LACEUM (ROXB.) SCHLTR. ชื่อพ้อง AERIDES AMPULLACEA ROXB.

มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นกล้วยไม้อิงอาศัยในกลุ่มที่มีการเจริญทางยอด ได้แก่ ชนิดที่มีลำต้นชัดเจนแล้วเจริญทางปลายยอดด้านเดียว มีหลากหลายสกุลรวมทั้งสกุลเข็มต่างๆด้วย ลำต้นของ “เอื้องเข็มม่วง” สูง ๑๐-๑๕ ซม. ลักษณะเรียว ใบแบนเป็นรูปขอบขนานค่อนข้างหนา กว้างประมาณ ๑.๕-๒ ซม. ยาว ๑๒-๑๕ ซม. ปลายใบหยักไม่เท่ากัน

ดอก ออกเป็นช่อตั้งขึ้นตามซอกใบ ช่อยาวได้ ๑๐-๑๕ ซม. แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยเรียงเป็นระเบียบหนาแน่น ไม่น้อยกว่า ๒๐-๓๐ ดอกเป็นอย่างต่ำ ลักษณะดอก กลีบเลี้ยงและกลีบดอกเป็นสีม่วงแดงสดใส กลีบปากเป็นสีชมพูเข้ม ดอกเมื่อบานเต็มที่กว้างประมาณ ๒ ซม. เวลามีดอก เป็นช่อชูตั้งขึ้น และดอกบานพร้อมกันทั้งช่อจะดูสวยงามสดใสมาก ดอกออกช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคมของทุกปี ขยายพันธุ์ด้วยวิธีตัดยอดยาวประมาณ ๓ นิ้ว นำไปแขวนในที่มีลมพัดโกรกดีตลอดทั้งวันแล้วฉีดน้ำยาเร่งรากบริเวณรอยตัด ๓ วันครั้ง รดน้ำเช้าเย็น ๒-๓ อาทิตย์ จะมีรากงอกออกมาที่บริเวณรอยตัด เมื่อรากยาวประมาณ ๒-๓ นิ้ว นำไปปลูกลงกระถางแขวนได้

ปัจจุบัน “เอื้องเข็มม่วง” มีขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ หน้าธนาคารออมสิน กับ แผงโครงการ ๒๔ ราคาสอบถามกันเองครับ.
หน้า ๗ นสพ.ไทยรัฐ ฉบับประจำวันพุธที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖


(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSudZWEv35CaW8MzKdGJrjgAYTdmT_RLd7veRuIw0CkWuO9tN_5)   อั้วตีนกบ "หัวสดมีสรรพคุณ"
ผู้อ่านจำนวนมากสงสัยว่า กล้วยไม้ดินในสกุล “อั้ว” มีกี่ชนิดและ “อั้วตีนกบ” เป็นอย่างไร ซึ่งความจริงแล้วกล้วยไม้ในสกุลดังกล่าวมีมากกว่า ๓-๔ สายพันธุ์ แต่ละพันธุ์จะมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน เช่น สีของดอก และลักษณะดอก และ “อั้วตีนกบ” มีแหล่งพบในประเทศไทยหลายจุดคือ จ.เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์ สุราษฎร์ธานี สงขลา และในพื้นที่เอเชียเขตร้อนทั่วไป ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่ตามป่าผลัดใบ ป่าดิบเขา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า PECTEILIS SUSANNAE (L.) RAF. ชื่อพ้อง ORCHID SUSANNAEL. HABENARIA SUSANNAE (L.) R.BR.

ลักษณะ เป็นกล้วยไม้ดินที่มีการเจริญทางด้านข้างด้านเดียว ได้แก่กล้วยไม้ที่มีหัวหรือเหง้าและส่วนทอดเลื้อยหรือไหล เมื่อต้นเจริญเต็มที่สามารถแตกต้นใหม่หรือหน่อใหม่จากโคนกอหรือตามข้อได้ มีด้วยกันหลายสกุล ซึ่งต้นของ “อั้วตีนกบ” สูงได้ ๗๐-๙๐ ซม. มีหัวใต้ดินคล้ายหัวหอมใหญ่ ใบแบน รูปรีกว้าง ออกเรียงสลับ สีเขียวสด

ดอก ออกเป็นช่อตามข้อใกล้ปลายยอด ดอกย่อย ๕-๗ ดอก กลีบปากเป็นสีขาว ขอบกลีบสองข้างหยักเป็นริ้ว แฉกกลางแคบเรียว ดอกเมื่อบานเต็มที่กว้างประมาณ ๖-๘ ซม. ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ เวลามีดอกบานพร้อมกันจะดูสวยงามมาก ดอกออกช่วงระหว่างเดือนกรกฎาคม ต่อเนื่องไปจนถึงเดือนกันยายนของทุกปี ขยายพันธุ์ด้วยหัว มีชื่ออีกคือ เอื้องนางกร๋าน, เอื้องสาวนา, นางกราย, นางอั้ว และ อั้วใหญ่

สรรพคุณทางสมุนไพร หัวสด ๑-๒ หัว ต้มน้ำดื่มเป็นยาบำรุงโลหิต ปัจจุบันมีต้นและหัวสดขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ โครงการ ๒๔ แผงหน้าธนาคารออมสิน ราคาสอบถามกันเอง นิยมปลูกลงกระถางตั้งประดับหลายๆ ต้น เวลามีดอกจะสวยงามมากครับ. นสพ.ไทยรัฐ

(http://www.go4get.com/gimage/1104032227094947.jpg)   เอื้องพร้าวดอกเหลือง "สวยหายาก"
เอื้องพร้าวดอกเหลือง เป็นกล้วยไม้ของประเทศไทยแท้ๆ ชนิดหนึ่ง ที่พบขึ้นเฉพาะถิ่น ในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ พิษณุโลก เลย และ ชัยภูมิ มีชื่อวิทยาศาสตร์เฉพาะคือ PHALUS FLA-VUS (BL.) LINDL มีลักษณะเป็นกล้วยไม้ดินที่ลำต้นมีการเจริญทางด้านข้าง ได้แก่กล้วยไม้จำพวกมีเหง้า ส่วนทอดเลื้อยหรือไหล เมื่อต้นเจริญเต็มที่แล้วสามารถแตกต้นใหม่หรือหน่อใหม่ได้จากโคนกอหรือตามลำข้อ มีด้วยกันหลากหลายสกุล รวมทั้ง “เอื้องพร้าวดอกเหลือง” ด้วย ลำต้นสูงได้ ๗๐-๙๐ ซม. ลักษณะเป็นลำลูกกล้วยรูปทรงกลม มีกาบใบหุ้ม ใบเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน แผ่นใบเป็นจีบ มี ๔-๕ ใบต่อต้น สีเขียวสด

ดอก ออกเป็นช่อตั้งจากโคนกอ ก้านช่อดอกยาวได้ถึง ๑๕๐ ซม. แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อย ๑๕-๒๐ ดอก ลักษณะดอกกลีบเลี้ยงและกลีบดอกรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ปลายกลีบมน เป็นสีเหลืองสด กลีบปากเป็นรูปรี ขอบกลีบปากหยักเป็นคลื่น มีแต้มสีแดงมองเห็นชัดเจน ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ ๓.๕ ซม. เวลามีดอกเป็นช่อตั้งขึ้นและดอกบานพร้อมกันทั้งช่อ จะดูสวยงามอร่ามตามาก ดอกออกช่วงเดือนมีนาคม ต่อเนื่องไปจนถึงเดือนเมษายนทุกปี ขยายพันธุ์ด้วยการแยกต้น  ปัจจุบัน “เอื้องพร้าวดอกเหลือง” เป็นกล้วยไม้หายากชนิดหนึ่ง นานๆ จะพบมีวางขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักรทุกวันพุธ–วันพฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒๔ แผงหน้าธนาคารออมสิน ราคาสอบถามกันเอง  

เอื้องพร้าว อีกชนิดหนึ่ง สีของดอกจะแตกต่างกันอย่างชัดเจนและ ดอกของชนิดดังกล่าวจะมีกลิ่นหอมอ่อนๆ พบขึ้นในประเทศไทยเช่นกันคือทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ มีเขตการกระจายพันธุ์ อินเดีย จีนตอนใต้ หมู่เกาะแปซิฟิก และ ออสเตรเลีย ซึ่งเอื้องพร้าวชนิดดังกล่าวเคยแนะนำในคอลัมน์ไปแล้ว มีชื่อเรียกอีกคือ “ฮ่องฟู” ครับ. นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/22949437093403_1_3648_3629_3639_3657_3629_359.jpg)   เอื้องกุหลาบกระเป๋าเปิด
กล้วยไม้ชนิดนี้ มีแหล่งที่พบคือ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ นครพนม สกลนคร เลย ชัยภูมิ นครราชสีมา สระบุรี นครนายก ชลบุรี จันทบุรี กาญจนบุรี และกระบี่ ซึ่ง “เอื้องกุหลาบกระเป๋าเปิด” มีชื่อภาษาอังกฤษเฉพาะคือ AERIDES FALCATA LINDL. ลักษณะเป็นกล้วยไม้อิงอาศัยที่มีการเจริญทางปลายยอด ได้แก่ ชนิดที่มีลำต้นชัดเจน แล้วเจริญขยายทางปลายยอดด้านเดียว มีด้วยกันหลากหลายสกุล รวมทั้ง “เอื้องกุหลาบกระเป๋าเปิด” ด้วย

ลำต้น เป็นรูปแท่งดินสอยาว มีข้อปล้อง ใบเป็นรูปแถบ ออกเรียงสลับ เนื้อใบหนาแข็ง ดอก ออกเป็นช่อยาวตามลำต้น หรือตามซอกใบ แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อย ๒๐-๒๕ ดอก ลักษณะดอกกลีบเลี้ยงบนเป็นรูปรี กลีบเลี้ยงคู่ด้านข้างเป็นรูปครึ่งวงกลม กลีบดอกเป็นรูปขอบขนานแกมรูปหอก ขอบกลีบด้านบนหยัก แฉกกลางเป็นรูปเกือบกลม ขอบหยักแฉกข้างเป็นรูปแถบแกมรูปเคียว ใต้แฉกกลางมีเดือยดอก ฝาครอบเกสรตัวผู้เป็นจะงอยแหลมและเปิดอ้า กลีบดอกเป็นสีครีม มีแต้มสีชมพูหวาน เมื่อดอกบานกว้างประมาณ ๑.๕ ซม. ดอกมีกลิ่นหอมแรง เวลามีดอกเป็นช่อยาวและดอกบานพร้อมกันจะได้กลิ่นหอมโชยเข้าจมูกเป็นที่ชื่นใจและดูงดงามมาก ดอกออกช่วงระหว่างเดือนเมษายนต่อเนื่องไปจนถึงเดือนพฤษภาคมของทุกปี ขยายพันธุ์ด้วยการตัดยอด มีชื่อเรียกอีกคือ “เอื้องกุหลาบพวง”

ปัจจุบัน “เอื้องกุหลาบกระเป๋าเปิด” หรือ “เอื้องกุหลาบพวง” มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณแผงหน้าธนาคารออมสิน กับโครงการ ๒๔ ราคาสอบถามกันเอง เหมาะจะปลูกลงกระถางแขวนในที่โล่งมีลมพัดโกรกแรงตลอดทั้งวัน รดน้ำเช้าเย็น บำรุงปุ๋ยกล้วยไม้ละลายน้ำฉีดพ่นทั้งต้นสม่ำเสมอ ๑๐ วันครั้ง จะทำให้ต้นแข็งแรงและมีดอกสวยงามส่งกลิ่นหอมประทับใจเมื่อถึงฤดูกาลครับ [/size]  นสพ.ไทยรัฐ  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/85228698121176_2_3619_3629_3591_3648_3607_365.jpg)   รองเท้านารีเหลืองปราจีน
กล้วยไม้ชนิดนี้ พบทั่วไปบนเขาหินปูนหรือที่เปิดในป่าดิบเขา บนระดับความสูง ๒๐๐-๑,๐๐๐ เมตรขึ้นไป ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางจนถึงภาคใต้ตอนบนของประเทศไทย แต่ละแห่งที่พบสีสันของดอกจะจางหรือเข้มแตกต่างกันไป แต่จะคงลักษณะประจำพันธุ์ไว้เหมือนกันทุกอย่าง ทำให้ผู้นิยมปลูกเลี้ยงกล้วยไม้เห็นแล้วรู้ได้ทันทีว่าเป็น “รองเท้านารีเหลืองปราจีน”

รองเท้านารีเหลืองปราจีน หรือPAPHIO- PEDILUM CONCOLOR (LINDL.) PFIZER ชื่อพ้อง CYPRIPEDIUM-CONCOLOR LINDL. มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นกล้วยไม้ดินจำพวกที่มีการเจริญทางด้านข้าง ได้แก่กล้วยไม้ที่มีเหง้า ส่วนทอดเลื้อยหรือไหล เมื่อต้นเจริญเต็มที่แล้วสามารถแตกต้นใหม่หรือหน่อใหม่จากโคนกอหรือตามลำข้อได้ มีด้วยกันหลากหลายสายพันธุ์รวมทั้ง “รองเท้านารีเหลืองปราจีน” ด้วย ซึ่งจะ มีลำต้นสั้นและแตกกอได้ ใบเป็นใบเดี่ยวรูปขอบขนาน ผิวใบด้านบนลาย หลังใบสีเขียวหรือมีประสีม่วงประปราย

ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด จำนวน ๑-๓ ดอก ก้านช่อตั้งตรงยาว ๘-๑๒ ซม. ลักษณะดอก กลีบเลี้ยงและกลีบดอกเป็นสีเหลืองอ่อนหรือสีเหลืองเข้มแตกต่างกันตามแหล่งที่พบ มีประสีเลือดหมูกระจายทั่วทั้งดอก ดอกเมื่อบานเต็มที่กว้างประมาณ ๕ ซม. เวลามีดอกบานพร้อมกันหลายๆดอกจะดูสวยงามประทับใจยิ่ง ดอกออกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยการแยกเหง้าหรือต้น นอกจากพบในประเทศไทยตามที่กล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีเขตกระจายพันธุ์ทั่วไปในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย  มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผงหน้าธนาคารกรุงเทพ และบริเวณโครงการ ๒๔ ราคาสอบถามกันเองครับ.   นสพ.ไทยรัฐ  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/30337848183181_3_3585_3657_3634_3591_3611_362.jpg)   ก้างปลา
กล้วยไม้หลากหลายชนิดนอกจากดอกจะมีความสวยงามเป็นเอกลักษณ์ประจำพันธุ์แล้ว บางส่วนยังมีสรรพคุณทางสมุนไพรอีกด้วย ซึ่ง “ก้างปลา” จัดอยู่ในกลุ่มดังกล่าวเช่นกัน โดย ในตำรายาพื้นบ้านภาคอีสานไทยใช้ ใบสด ของ “ก้างปลา” จำนวนพอประมาณ หรือ ๒-๓ ใบ ผสมกับ “ลูกใต้ใบ” แบบสดทั้งต้นจำนวนพอประมาณต้มรวมกันกับน้ำเยอะหน่อยจนเดือดแล้ว ดื่มขณะอุ่นต่างน้ำชาเรื่อยๆ เป็นยาช่วยลดน้ำตาลในเลือด หรือ เบาหวาน ได้ สามารถต้มดื่มประจำได้ไม่อันตรายอะไร

ก้างปลา หรือ CLEISOSTOMA FUER-STENBERGIANUM F.KRANZL. เป็นกล้วยไม้อิงอาศัยจำพวกที่มีการเจริญทางยอด ได้แก่ ชนิดที่มีลำต้นชัดเจนแล้วเจริญขยายทางปลายยอดด้านเดียว มีหลากหลายสกุล รวมทั้ง “ก้างปลา” ด้วย ลำต้นของ “ก้างปลา” เป็นข้อปล้องห้อยลงเป็นสายยาว ๔๐-๖๐ ซม. ใบเป็นแท่งกลม โค้ง ปลายแหลม โคนใบติดกับลำต้น กว้าง ๐.๘ ซม. ยาว ๑๒-๑๕ ซม. สีเขียวสด

ดอก ออกเป็นช่อบริเวณข้อลำต้น ช่อดอกยาว ๑๒-๑๕ ซม. แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก ดอกบริเวณโคนช่อจะบานก่อน กลีบเลี้ยงและกลีบดอกเป็นสีน้ำตาลคล้ำ กลีบปากเป็นสีขาว เส้าเกสรเป็นสีเหลือง ดอกเมื่อบานเต็มที่กว้าง ๑.๒ ซม. เวลามีดอกหลายๆ ช่อและดอกบานพร้อมกันจะดูสวยงามมาก “ผล” รูปกรวยหงาย เมื่อแห้งแตกได้ มีเมล็ดจำนวนมาก ดอกออกเดือนพฤศจิกายนต่อเนื่องไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป ขยายพันธุ์ด้วยการตัดยอด มีชื่อเรียกอีกคือกล้วยน้ำไท (อุบลฯ) พบทางภาคอีสาน ภาคเหนือของไทย เขตการกระจายพันธุ์จีนตอนใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผงหน้าธนาคารออมสินกับโครงการ ๒๔ ราคาสอบถามกันเองครับ.   นสพ.ไทยรัฐ  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/31921650013989_19_3648_3627_3621_3639_3629_35.jpg)   เหลืองจันทบูร
กล้วยไม้ชนิดนี้ เป็นกล้วยไม้ไทยแท้ๆ ที่มีแหล่งพบเฉพาะถิ่นในแถบ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า DENDROBIUM FRIDERICKSIANUM RCHB.F. เป็นกล้วยไม้อิงอาศัยที่มีการเจริญเติบโตทางด้านข้าง ได้แก่ กล้วยไม้ที่มีเหง้าส่วนทอดเลื้อยหรือไหล เมื่อต้นเจริญเต็มที่แล้วสามารถแตกต้นใหม่หรือหน่อใหม่ได้จากโคนกอหรือตามข้อ มีด้วยกันหลายสกุลรวมทั้ง “เหลืองจันทบูร” ด้วย

ลำต้น หรือลำลูกกล้วยของ “เหลืองจันทบูร” เป็นรูปกลมยาวได้กว่า ๑ เมตร ผิวลำต้นเป็นร่องตื้นๆ โคนลำต้นหรือลำลูกกล้วยคอด ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับบริเวณข้อปล้อง เป็นรูปใบหอก ผิวใบและขอบใบเรียบ สีเขียวสด  ดอกออกเป็นช่อแบบกระจะตามข้อ แต่ละช่อมีดอกย่อย ๒-๔ ดอก กลีบเลี้ยงและกลีบดอกเป็นรูปรีสีเหลืองสด กลีบปากกลม ขอบกลีบมีขนนุ่ม สีเหลืองเข้มกว่ากลีบเลี้ยงและกลีบปากอย่างชัดเจน ด้านในกลีบปาก มีแต้มสีม่วง ๒ แต้ม กลางกลีบมีขนแน่น เมื่อบานเต็มที่กว้างประมาณ ๔.๕ ซม. เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันและลำต้นห้อยลงเป็นระย้า จะดูสวยงามอร่ามตามาก ดอกออกช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ต่อเนื่องไปจนถึงเดือนมีนาคมของทุกปี และเวลามีดอกจะทิ้งใบเหลือเพียงดอกเพียงอย่างเดียวน่าชมยิ่งนัก ขยายพันธุ์ด้วยการแยกต้น

ปัจจุบัน “เหลืองจันทบูร” มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวน จตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๙ หน้าธนาคารออมสิน ราคาอยู่ที่ขนาดของต้น หรือสอบถามต่อรองกันเอง นิยมปลูกลงกระถางแขวน ใช้เครื่องปลูกอิฐมอญถ่านดำทุบเป็นก้อนรองก้นกระถาง นำต้นลงปลูกแล้วปิดทับส่วนบนด้วยกาบมะพร้าวแห้งหั่นเป็นชิ้นกดให้แน่น จากนั้นนำกระถางไปแขวนในที่แจ้งมีลมพัดโกรกได้ดีตลอดทั้งวัน รดน้ำพอชุ่มวันละครั้ง พร้อม บำรุงปุ๋ยกล้วยไม้ฉีดพ่นสม่ำเสมอเดือนละครั้ง จะทำให้มีดอกดกสวยงามเมื่อถึงฤดูกาลครับ  นสพ.ไทยรัฐ

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/65361661339799_31_3650_3585_3617_3634_3594_36.jpg)   โกมาชุม
โกมาชุมหรือ เอื้องเงินหลวง เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดระนอง ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dendrodium formosum อยู่ในวงศ์ ORCHIDACEAE เป็นกล้วยไม้ประเภทอิงอาศัย ลำต้นเจริญทางด้านข้าง มีลำลูกกล้วยตั้งตรง กลมค่อนข้างอ้วน ความยาวประมาณ ๓๐-๕๐ ซ.ม. ที่กาบใบมีขนสีดำ ลักษณะใบรูปไข่ยาวรี ยาวประมาณ ๑๐-๑๕ ซ.ม. ปลายใบมี ๒ แฉกไม่เท่ากัน ออกดอกที่ยอด ช่อดอกสั้น ช่อหนึ่งมี ๓-๕ ดอก กลีบดอก สีขาว ปากสีเหลืองส้ม โคนปากสอบ ปลายปากเว้า มีสันนูนสองสันจากโคนออกมาถึงกลางปาก ขนาดดอกโตประมาณ ๑๐ ซ.ม. กลิ่นหอมอ่อน มีถิ่นกำเนิดบริเวณที่ราบต่ำและที่ราบสูงในประเทศอินเดีย พม่า เวียดนาม และไทย ออกดอกเดือนตุลาคมถึงธันวาคม

เป็นกล้วยไม้รากอากาศ ชอบอากาศชื้น ขยายพันธุ์โดยการแยกลำ นสพ.ข่าวสด  



(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSi6p0ywtxnI-gV9iklUO7DMy7oKqaSSoLXjNMMoBVckQMOECpK)  เหลืองจันทบูร
กล้วยไม้ชนิดนี้ เป็นกล้วยไม้ไทยแท้ๆ ที่มีแหล่งพบเฉพาะถิ่นในแถบ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดจันทบุรี และ จังหวัดตราด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า DENDROBIUM FRIDERICKSIANUM RCHB.F. เป็นกล้วยไม้อิงอาศัยที่มีการเจริญเติบโตทางด้านข้าง ได้แก่ กล้วยไม้ที่มีเหง้าส่วนทอดเลื้อยหรือไหล เมื่อต้นเจริญเต็มที่แล้วสามารถแตกต้นใหม่หรือหน่อใหม่ได้จากโคนกอหรือตามข้อ มีด้วยกันหลายสกุลรวมทั้ง “เหลืองจันทบูร” ด้วย
 
ลำต้น หรือลำลูกกล้วยของ “เหลืองจันทบูร” เป็นรูปกลมยาวได้กว่า ๑ เมตร ผิวลำต้นเป็นร่องตื้นๆ โคนลำต้นหรือลำลูกกล้วยคอด ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับบริเวณข้อปล้อง เป็นรูปใบหอก ผิวใบและขอบใบเรียบ สีเขียวสด
 
ดอก ออกเป็นช่อแบบกระจะตามข้อ แต่ละช่อมีดอกย่อย ๒-๔ ดอก กลีบเลี้ยงและกลีบดอกเป็นรูปรีสีเหลืองสด กลีบปากกลม ขอบกลีบมีขนนุ่ม สีเหลืองเข้มกว่ากลีบเลี้ยงและกลีบปากอย่างชัดเจน ด้านในกลีบปาก มีแต้มสีม่วง ๒ แต้ม กลางกลีบมีขนแน่น เมื่อบานเต็มที่กว้างประมาณ ๔.๕ซม. เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันและลำต้นห้อยลงเป็นระย้า จะดูสวยงามอร่ามตามาก ดอกออกช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ต่อเนื่องไปจนถึงเดือนมีนาคมของทุกปี และเวลามีดอกจะทิ้งใบเหลือเพียงดอกเพียงอย่างเดียวน่าชมยิ่งนัก ขยายพันธุ์ด้วยการแยกต้น
 
ปัจจุบัน “เหลืองจันทบูร” มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๙ และแผงหน้าธนาคารออมสิน ราคาอยู่ที่ขนาดของต้น หรือสอบถามต่อรองกันเอง นิยมปลูกลงกระถางแขวน ใช้เครื่องปลูกอิฐมอญถ่านดำทุบเป็นก้อนรองก้นกระถาง นำต้นลงปลูกแล้วปิดทับส่วนบนด้วยกาบมะพร้าวแห้งหั่นเป็นชิ้นกดให้แน่น จากนั้นนำกระถางไปแขวนในที่แจ้งมีลมพัดโกรกได้ดีตลอดทั้งวัน รดน้ำพอชุ่มวันละครั้ง พร้อม บำรุงปุ๋ยกล้วยไม้ฉีดพ่นสม่ำเสมอเดือนละครั้ง จะทำให้มีดอกดกสวยงามเมื่อถึงฤดูกาลครับ.นสพ.ไทยรัฐ
  


หัวข้อ: Re: พรรณไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้มงคล
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 11 เมษายน 2557 13:20:57
(http://3.bp.blogspot.com/-WZ4xctvdOoI/UHkYtiusXkI/AAAAAAAADH8/MdWZ3T78jjc/s200/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%95%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87.jpg)   สิงโตพัดเหลือง "สวยมีสรรพคุณ"

ผู้อ่านจำนวนมากที่พลาดการได้อ่านถึงสรรพคุณทางสมุนไพรของ “สิงโตพัดเหลือง” ที่เคยแนะนำไปในคอลัมน์นานแล้ว อยากทราบว่า “สิงโตพัดเหลือง” นอกจากจะมีดอกสวยงาม นิยมปลูกประดับกันอย่างแพร่หลาย มีสรรพคุณทางยาใช้รักษาหรือช่วยแก้โรคอะไรได้บ้าง ซึ่งก็เป็นจังหวะพบว่า กล้วยไม้ “สิงโตพัดเหลือง” กำลังอยู่ระหว่างมีดอกสวยงามและมีต้นวางขายพอดี จึงรีบสนอง ความต้องการแฟนคอลัมน์อีกทันทีตามระเบียบ

โดยในตำรายาพื้นบ้านภาคอีสานระบุว่า ทั้งต้น ดอก ราก ของ “สิงโตพัดเหลือง” นำไปผสมกับต้น “เอื้องตีนจิ้งจก” ทั้งต้น เช่นเดียวกัน เอาไปต้มกับน้ำท่วมยาให้เยอะหน่อยจนเดือดแล้วดื่มขณะอุ่นวันละ ๒-๓ แก้ว หรือดื่มเรื่อยๆต่างน้ำชาจะเป็นยาช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยให้เจริญอาหารได้เป็นอย่างดี สมัยก่อนคนที่เป็นโรคเบื่ออาหาร หมอยาพื้นบ้านอีสานจะเจียดยาสูตรดังกล่าวให้ต้มรับประทาน ทำให้กลับมารับประทานอาหารได้ปกติร่างกายแข็งแรงขึ้น

สิงโตพัดเหลือง หรือ CIRRHO- PETALUM  RETUSIUSCULUM (RCHB.F.) HEMSLEY มีชื่อพ้อง BULBOPHYLLUM RETUSI-USCU LUM RCHB.F. เป็นกล้วยไม้อิงอาศัยจำพวกมีการเจริญเติบโตทางด้านข้าง ลำลูกกล้วยหรือลำต้นสูง ๑-๒ ซม. มีใบ ๑ ใบ ต่อ ๑ ลำลูกกล้วย ดอก ออกเป็นช่อจากโคนกอ มีดอกย่อยเรียงแผ่เป็นรูปพัด สีเหลืองสดใส มีแต้มสีแดงส้มสวยงามมาก ดอกออกเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคมทุกปี ขยายพันธุ์ด้วยการแยกต้น

ปัจจุบัน “สิงโตพัดเหลือง” มีขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผงหน้าธนาคารออมสิน ราคาสอบถามกันเอง เหมาะจะปลูกเป็นไม้ประดับและเป็นพืชสมุนไพรได้ทั้ง ๒ อย่างพร้อมกันเวลามีดอกจะงดงามมากครับ.นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/29393083726366_EyWwB5WU57MYnKOvjuhVGpD9KsVpgZ.jpg)   สิงโตพัดแดงใต้ "สวยมีสรรพคุณ"

กล้วยไม้ หลายชนิดนอกจากจะมีดอกสีสันสวยงามแล้ว บางชนิดยังมีสรรพคุณทางสมุนไพรอีกด้วย ซึ่ง “สิงโตพัดแดงใต้” ก็จัดอยู่ในกลุ่มดังกล่าวเช่นกัน และกล้วยไม้ในสกุลนี้มีไม่น้อยกว่า ๓-๔ ชนิด แตกต่างกันเพียงสีของดอกเท่านั้น ส่วนสรรพคุณทางสมุนไพรใช้ได้เหมือนกันทุกอย่าง โดยใน ตำรายาพื้นบ้านภาคอีสานใช้ลำต้น หรือลำลูกกล้วย ตำพอกรักษาอาการบวม ฝนกับน้ำทาแก้ฝี ต้มน้ำดื่มเป็นยาบำรุงตับ รักษาโรคตับพิการดีมาก
 
สิงโตพัดแดงใต้พบขึ้นเฉพาะถิ่นทางภาคใต้ มีชื่อวิทยาศาสตร์ เหมือนกับสิงโตพัดแดงทั่วไปคือ CIRRHOPETALUM  LEPIDUM (BLUME) SCHLTR. อยู่ในวงศ์ ORCHIDACEAE เป็นกล้วยไม้อิงอาศัยจำพวกเติบโตทางด้านข้าง ได้แก่กล้วยไม้มีเหง้า ส่วนทอดเลื้อยหรือไหล เมื่อต้นเติบโตแล้วสามารถแตกต้นหรือหน่อใหม่จากโคนกอหรือลำข้อได้ มีด้วยกันหลากหลายสายพันธุ์ลำต้นหรือลำลูกกล้วยของ “สิงโตพัดแดงใต้” เป็นรูปไข่ มีสันโคนอ้วน ปลายแหลม ใบมีใบเดียว ออกที่ปลายลำลูกกล้วย
 
ดอก ออกจากโคนลำลูกกล้วย ก้านช่อยาว ดอกเป็นแบบซี่ร่ม มีดอกย่อย ๗-๑๐ ดอก เป็นสีม่วงแดง บางสายพันธุ์สีของดอกจะอ่อนกว่า ขอบกลีบดอกมีขน กลีบเลี้ยงคู่ล่างยาวประมาณ ๓ ซม. ขอบกลีบด้านในเชื่อมติดกัน โคนกลีบสีจะเข้ม ปลายกลีบสีอ่อนกว่ามองเห็นชัดเจน กลีบปากด้านในมีขนาดเล็ก เวลามีดอกบานพร้อมกันหลายๆดอกจะดูสวยงามมาก “ผล” แห้งแตกได้ ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก ดอกออกเกือบทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยการแยกต้น
 
ปัจจุบัน “สิงโตพัดแดงใต้” และ สิงโตพัดแดงสายพันธุ์อื่น มีขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณแผงหน้าธนาคารออมสิน กับบริเวณโครงการ ๒๔  ราคาสอบถามกันเอง เหมาะจะปลูกเป็นทั้งไม้ประดับและเป็นสมุนไพร เวลามีดอกจะสวยงามและใช้ประโยชน์ได้คุณค่ามากครับ.นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/73324964733587_10_3626_3636_3591_3650_3605_36.jpg)   สิงโตพัดร่มใหญ่
กล้วยไม้ชนิดนี้ มีแหล่งที่พบในประเทศไทยคือ ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในต่างประเทศพบทั่วไปในเขตร้อนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศพม่า เวียดนาม และ ลาว เป็นต้น ส่วนใหญ่จะมีข้อแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยที่สีสันของดอกเข้มหรืออ่อนเท่านั้น แต่จะคงลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของความเป็นกล้วยไม้ในสกุลสิงโตไว้เหมือนกันทุกอย่าง และ “สิงโตพัดร่มใหญ่” มีชื่อวิทยาศาสตร์เฉพาะคือ CIRRHOPETALUM PICTURATUM LODD. EX LINDL. เป็นกล้วยไม้อิงอาศัยที่มีการเจริญทางด้านข้าง ได้แก่กล้วยไม้ที่มีเหง้า ส่วนทอดเลื้อยหรือไหล เมื่อ ต้นเจริญเติบโตเต็มที่แล้วสามารถแตกต้นใหม่จากโคนกอหรือตามลำข้อได้ มีด้วยกัน หลากหลายสกุล รวมทั้ง “สิงโตพัดร่มใหญ่” ด้วย โดยลำต้นหรือลำลูกกล้วยเป็นรูปไข่ ใบรูปขอบขนาน ปลายใบเว้าหรือบุ๋ม ใบแทงขึ้นจากปลายยอด ลำลูกกล้วยหรือลำต้น

ดอก ออกเป็นช่อระหว่างซอกใบ มีด้วยกัน ๒-๕ ดอก ก้านช่อดอกยาว ดอกเป็นแบบซี่ร่ม ดอกมีขนาดใหญ่ กลีบเลี้ยงบนรูปทรงกลม เป็นสีม่วงแดง ปลายกลีบเป็นติ่งและมีรยางค์ยาวมาก กลีบเชื่อมกัน ยกเว้นส่วนโคนกลีบด้านใน ปลายกลีบเรียวแหลม กลีบดอกรูปไข่เบี้ยว เป็นสีม่วงเข้ม ขอบกลีบหยักเป็นจัก ปลายกลีบเรียวแหลม กลีบปากรูปสามเหลี่ยม โคนกลีบมีติ่งรูปครึ่งวงกลมทั้งสองข้าง เวลามีดอกหลายๆดอก และดอกบานพร้อมกันจะดูงดงามยิ่ง ดอกออกช่วงระหว่างเดือนตุลาคม ต่อเนื่องไปจนถึงมกราคมของปีถัดไป ขยายพันธุ์ด้วยการแยกต้น หรือแยกหน่อ  มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผงหน้าธนาคารออมสิน กับโครงการ ๒๔ ราคาสอบถามกันเอง นิยมปลูกลงกระถางแขวน เวลามีดอกตามฤดูกาลจะสวยงามประทับใจมากครับ. นสพ.ไทยรัฐ  


หัวข้อ: Re: พรรณไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้มงคล
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 11 เมษายน 2557 14:55:27
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/34985595486230_1.png)   ส้มจักรพรรดิ "สวยเป็นพวง"
ไม้ต้นนี้ พบมีวางขายและผู้ขายบอกว่าชื่อ “ส้มจักรพรรดิ” ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเองตามสีของดอก พร้อมบอกอีกว่าไม่ใช่ต้นมธุรดา ตามที่ผู้พบเห็นหลายคนเข้าใจผิด รวมทั้ง “นายเกษตร” ด้วย ที่ตอนแรกเห็นดอกแล้วนึกว่าเป็นดอกมธุรดา ผู้ขายบอกต่อว่าต้น “ส้มจักรพรรดิ” มีถิ่นกำเนิดจากประเทศเวียดนามนำเข้ามาปลูกประดับและขยายพันธุ์ในประเทศไทยกว่า ๓ ปีแล้ว สามารถเจริญเติบโตและมีดอกได้ดีสีสันงดงามมาก จึงขยายพันธุ์ตอนกิ่งออกวางขายดังกล่าว
 
ส่วนข้อแตกต่างระหว่างต้น “ส้มจักรพรรดิ” กับมธุรดา เพื่อยืนยันว่าเป็นคนละต้นกัน ผู้ขายบอกว่า ได้แก่ ต้นหรือเถาของ “ส้มจักรพรรดิ” จะไม่มีมือเกาะที่เป็นรากฝอยออกเป็นกระจุกตามข้อเถาหรือต้นเหมือนกับมธุรดาที่จะมีมือเกาะอย่างชัดเจน ลักษณะทางพฤกษศาสตร์อย่างอื่นคล้ายคลึงกัน
 
ส้มจักรพรรดิ ที่ผู้ขายตั้งชื่อให้เป็นไม้ในวงศ์ BIGNONIACEAE เป็นไม้รอเลื้อยหรือไม้เลื้อย ต้นหรือเถาสามารถเลื้อยได้ไกลกว่า ๖ เมตร ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อยไม่ต่ำกว่า ๗-๙ ใบ ใบย่อยออกตรงกันข้าม เป็นรูปรีแกมรูปใบหอกถึงรูปไข่ ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย สีเขียวสด
 
ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อย ๘-๑๐ ดอก ดอกโคนเชื่อมกันเป็นหลอดรูปปากแตร ปลายแยกเป็นกลีบดอก ๕ กลีบ สีส้มหรือสีโอลด์โรส มีเกสรตัวผู้สีนวลติดอยู่ใจกลางดอก ดอกบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลาง ๔-๖ ซม. เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้น จะดูสวยงามมาก ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำกิ่ง ตอนกิ่ง
 
ปัจจุบันมีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒  ราคาสอบถามกันเองครับ.  นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.nanagarden.com/Picture/Product/400/131166.jpg)   กระดังงาสยาม "ดอกหอมแรง"

ไม้ต้นนี้ มีขายและมีป้ายเขียนชื่อติดไว้ว่า “กระดังงาสยาม” พร้อมมีภาพถ่ายของดอกจริงโชว์ให้ชมด้วย ในตอนแรกเข้าใจว่าเป็นดอกกระดังงาไทย แต่ผู้ขายบอกว่า “กระดังงาสยาม” ถูกค้นพบในป่าสักแถบจังหวัดพิษณุโลก แต่บอกไม่ได้ว่าพบวันเวลาใด โดยระบุว่าในป่าที่พบมีเพียง ๒ ต้น มีดอกส่งกลิ่นหอมแรงคล้ายกลิ่นกระดังงา บวกกับกลิ่นดอกการเวกผสมกันเป็นที่ชื่นใจมาก ผู้ค้นพบจึงนำเอาเมล็ดไปเพาะขยายพันธุ์จำนวนหลายเมล็ดจนต้นโตมีดอก

ปรากฏว่า ดอกคล้ายกับกระดังงาไทย ต้นสูงเต็มที่แค่ ๑ เมตรกว่าๆเท่านั้น ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรี ปลายแหลม โคนมน ใบสีเขียวสด

ดอก ออกเป็นกลุ่มตามกิ่งก้านคล้ายกระดังงาไทยจำนวน ๔-๖ ดอก ลักษณะดอกมีกลีบดอก ๖ กลีบ เหมือนกับกลีบดอกของกระดังงาไทย แต่กลีบดอกของ “กระดังงาสยาม” จะเรียวเล็กและยาวกว่าอย่างชัดเจน และ เป็นข้อแตกต่างเพียงจุดเดียวระหว่างกลีบดอกของ “กระดังงาสยาม” กับกลีบดอกของกระดังงาไทย สีของกลีบดอกเป็นสีเหลืองอ่อน หรือ สีเหลืองอมเขียวเหมือนกัน เวลาดอกบานเต็มที่จะดูสวยงามและส่งกลิ่นหอมแรงเป็นที่ประทับใจเช่นกัน ซึ่งผู้ค้นพบเชื่อว่าเป็นไม้ในสกุลเดียวกันคือ ANNONACEAE จึงตั้งชื่อว่า “กระดังงาสยาม” ซึ่งคำว่า สยาม ก็คือ ไทย พร้อมขยายพันธุ์ด้วยวิธีเพาะเมล็ดออกวางขาย ได้รับความนิยมจากผู้ซื้อไปปลูกอย่างแพร่หลายในเวลานี้ “ผล” เป็นผลกลุ่ม มีเมล็ด ดอกออกทั้งปี

ปัจจุบันมีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผงหน้าตึกกองอำนวยการเก่า ราคาสอบถามกันเองครับ.  นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.bloggang.com/data/v/vinitsiri/picture/1301855837.jpg)   สายน้ำผึ้ง "กับสูตรแก้ปวดจากงูสวัด"

ใครที่เป็นงูสวัดที่ดูเหมือนแผลจะหายดีแล้ว แต่ยังมีอาการปวดแสบปวดร้อนและยังบวมอยู่ เป็นเพราะยังมีพิษของโรคงูสวัดตกค้างในร่างกาย ในทางสมุนไพร ให้เอา ดอก “สายน้ำผึ้ง” หนัก ๑๐ กรัม, ข้าวเย็นเหนือ ๓๐ กรัม, ข้าวเย็นใต้ ๓๐ กรัม และ ใบของต้นโด่ไม่รู้ล้ม ๑๐ กรัม ทั้งหมดเป็นแบบแห้งมีขายตามร้านยาแผนไทยและจีน ต้มรวมกันในน้ำ ๑ ลิตร จนเดือด ดื่มขณะอุ่นวันละ ๒ ครั้ง เช้าเย็น ครั้งละครึ่งแก้ว ดื่มเรื่อยๆจะช่วยขับพิษของโรคงูสวัดที่ตกค้างในร่างกายออกและอาการจะค่อยๆดีขึ้นและหายได้ในที่สุด เมื่อหายแล้วควรหยุดต้มรับประทานเลยไม่มีอันตรายอะไร
 
สายน้ำผึ้ง หรือ LONICERA JAPONICA THUNB. ชื่อสามัญ HONEYSUCKLE, JAPANESE HONEYSUCKLE อยู่ในวงศ์ CAPRIFOLIACEAE เป็นไม้เถาเลื้อย ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ กลีบดอกเป็นหลอดแยกเป็น ๒ ส่วนไม่เท่ากัน ส่วนบนมีกลีบเดียว ส่วนล่างปลายแยกเป็น ๔ กลีบ เป็นสีขาวหรือเหลืองอ่อนแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองจัด มีกลิ่นหอม “ผล” กลม สีดำ มีเมล็ด ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง มีชื่ออีกคือ กิมงิ้งฮวย (จีน) ถิ่นกำเนิดประเทศญี่ปุ่น
 
ประโยชน์ ต้น แก้แผลฝีต่างๆ แผลเปื่อย โรคผิวหนัง บิด ท้องเสีย ปวดเมื่อยตามข้อ ขับปัสสาวะ แก้ไข้ แผลในกระเพาะอาหาร ต้นมีสารฝาด และซาโปนิน ดอก ชาวจีนใช้แก้ไข้หวัด เหงือกอักเสบ แผลหนอง และบิด ดอก มีสาร LUTEOLIN, INOSITOL
 
ปัจจุบัน “สายน้ำผึ้ง” มีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร หลายแผงหลายเจ้า ราคาไม่เท่ากันอยู่ที่ขนาดของต้น ปลูกได้ในดินทั่วไป เหมาะจะปลูกเป็นทั้งไม้ประดับให้ต้นเลื้อยพันรั้ว เวลามีดอกจะสวยงามส่งกลิ่นหอมชื่นใจยิ่ง และปลูกเพื่อใช้ประโยชน์เป็นสมุนไพรตามอาการที่กล่าวข้างต้นคุ้มค่ามากครับ.  นสพ.ไทยรัฐ



(http://www.komchadluek.net/media/img/size_photo_slide/2012/10/30/d88i9bige9bacce7h5kjb.jpg)   ยี่หุบดอย "ดอกใหญ่หอม"

ผู้ขายกิ่งตอนของ “ยี่หุบดอย” บอกว่า เป็นพันธุ์ใหม่ เกิดจากการผสมเกสรระหว่างไม้ในสกุล MAGNOLIACEAE ด้วยกัน คือ ระหว่างยี่หุบ ทั่วไป มีดอกเป็นสีขาวแกมเขียว มีชื่อเฉพาะว่า MAGNOLIA COCO (LOUR.) DC. กับ มณฑาดอย หรือ มณฑาป่า มีดอกเป็นสีชมพูแกมม่วงมีชื่อวิทยาศาสตร์คือ MANGLIETIA GARRET-TII CRAIB. จากนั้นได้นำเอาเมล็ดไปเพาะจนแตกต้นกล้าแล้วนำไปปลูกจนต้นโตมีดอกปรากฏว่าดอกมีขนาดใหญ่มากกว่าพันธุ์พ่อและพันธุ์แม่ ๒ ชนิดอย่างชัดเจน ดอกเป็นสีขาวนวล มีกลิ่นหอมนุ่มนวล จึงถูกตั้งชื่อว่า “มณฑาดอย” พร้อมขยายพันธุ์ตอนกิ่งออกวางขายเป็นที่ฮือฮาอยู่ในเวลานี้

มณฑาดอย เป็นไม้พุ่มสูง ๒-๔ เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับหนาแน่นที่ปลายยอด ใบเป็นรูปใบหอก เป็นคลื่นเล็กน้อย เนื้อใบค่อนข้างหนาและกรอบ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ สีเขียวสด

ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆหรือเป็นช่อสั้นตามซอกใบใกล้ปลายยอด ลักษณะดอก มีกลีบดอกซ้อนกัน ๓ ชั้น กลีบดอกชั้นนอกจะมีขนาดใหญ่กว่ากลีบชั้นในที่อยู่ถัดไปตามลำดับ โดยกลีบดอกชั้นนอกกว้าง ๔ ซม.ยาว ๖-๗ ซม. กลีบดอกของ “ยี่หุบดอย” สามารถบานหรือกางออกอย่างเต็มที่ได้ แตกต่างจากกลีบดอกยี่หุบทั่วไปกับกลีบดอกมณฑาดอยเพียงเผยอเท่านั้น แต่เมื่อบานแล้วกลีบดอก “ยี่หุบดอย” จะร่วงเร็วเกือบจะทันที ดอกมีกลิ่นหอม “ผล” เป็นผลกลุ่ม ดอกออกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง  นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.saiyathai.com/herb/PIC/398000_3.jpg)   นมสวรรค์ดอกขาว "สวยสรรพคุณดี"

คนส่วนใหญ่ จะรู้จักและเคยพบเห็นเฉพาะ ต้นนมสวรรค์ชนิดที่มีดอกเป็นสีแดงอมส้ม เพราะมีปลูกเป็นไม้ประดับและใช้เป็นสมุนไพรมาแต่โบราณแล้ว ส่วน “นมสวรรค์ดอกขาว” น้อยคนนักจะรู้จัก มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้นใบและดอกเหมือนกับชนิดแรกทุกอย่าง รวมทั้งสรรพคุณทางสมุนไพรอีกด้วย จะแตกต่าง กันเพียงสีสันของดอกเท่านั้น

โดย สรรพคุณทางยา ใบของต้นนมสวรรค์ทั้ง ๒ ชนิด ใช้เป็นยารักษาอาการแน่นหน้าอกด้วยการเอาใบสด ๑ ใบ ต้มกับน้ำเยอะหน่อยจนเดือดดื่มเวลาที่เกิดอาการครั้งละ ๑ ถ้วยกาแฟ จะดีขึ้นและหายได้ ใบยังขยี้ทาแก้โรคฝีดาษได้ด้วย ดอกแก้ตกเลือด ขยี้ทาแก้พิษสัตว์กัดต่อย พิษที่เกิดจากการติดเชื้อ ราก ต้มน้ำดื่มแก้ไข้มาลาเรีย ขับลม แก้วัณโรค แก้ไข้เพื่อโลหิต (อาการไข้ถ่ายเหลว อาเจียนเป็นเลือด มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง) ต้นแก้อักเสบเนื่องจากถูกตะขาบและแมง-ป่องต่อย แก้พิษฝีฝักบัวดีมาก

นมสวรรค์ดอกขาว หรือ CLERODENDRUM PANICULATUM LINN. อยู่ในวงศ์ VERBENACEAE พบขึ้นตามป่าโปร่งทุกภาคของประเทศไทย เป็นไม้พุ่มสูง ๓ เมตร ลำต้นตั้งตรง ใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปไข่กว้าง ขอบใบหยักลึก ๓-๗ แฉก

ดอก ออกเป็นช่อขนาดใหญ่ ที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบ ด้วยดอกย่อยจำนวนมากเรียงเป็นชั้นๆ คล้ายฉัตร กลีบเลี้ยงเป็นรูประฆังสีเขียวอ่อน กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาวปลายแยกเป็นกลีบดอก ๔ กลีบคล้ายดอกเข็ม กลีบดอกเป็นสีขาว หรือ สีนวล เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกัน จะดูสวยงามมาก “ผล” รูปทรงกลม มีเมล็ด ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง

ปัจจุบัน “นมสวรรค์ดอกขาว” และ นมสวรรค์ชนิดดอกสีแดงอมส้ม มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๙ ราคาสอบถามกันเองครับ.  นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.nanagarden.com/Picture/Product/400/105352.jpg)   กลายม่วง "สีสวยหอม"

กลายชนิดนี้เป็นไม้กลายพันธุ์ที่เกิดจากการนำเอาเมล็ดของต้นกลายพันธุ์ดั้งเดิมไปเพาะแล้วนำต้นไปปลูกเลี้ยงจนเติบโตมีดอกดกเต็มต้น ดอกมีขนาดใหญ่กว่า สายพันธุ์ดั้งเดิมอย่างชัดเจน สีของกลีบดอกชั้นนอกเป็นสีเหลืองเข้ม กลีบดอกชั้นในที่เป็นรูปโดมเป็นสีม่วงแดงตลอดทั้งกลีบแปลกตาและสวยงามมาก แตกต่างจากกลีบดอกชั้นในของพันธุ์ดั้งเดิม ที่จะเป็นลายเส้นสีแดงตามความยาวของกลีบเทียบกันได้เลย ที่สำคัญดอกของ "กลายม่วง" มีกลิ่นหอมแรงด้วยและมีดอกดกตลอดทั้งปี จึงกำลังเป็นที่นิยมปลูกประดับอย่างแพร่หลายอยู่ในปัจจุบัน

กลายม่วง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์เหมือนกับกลายพันธุ์ดั้งเดิมคือ MITREPHORA KEITHII RIDLEY อยู่ในวงศ์ ANNONACEAE เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ต้นสูงเต็มที่เฉลี่ยระหว่าง ๒-๓ เมตรเท่านั้น ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมน สีเขียวสด

ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆตามกิ่งใกล้ปลายยอดนอกซอกใบ มีกลีบเลี้ยงขนาดเล็ก ๓ กลีบ กลีบดอกมี ๖ กลีบ เรียงเป็น ๒ ชั้น กลีบชั้นนอก ๓ กลีบ หนาแข็ง เป็นรูปไข่ ปลายกลีบแหลม เมื่อบานจะกางออก เป็นสีเหลืองเข้ม บานได้ทนนานหลายวัน กลีบดอกชั้นในเรียงติดกันเป็นรูปโดม มีสัน ๕ สันชัดเจน ซึ่งกลีบดอกชั้นในดังกล่าว จะเป็นสีม่วงแดงทั่วทั้งกลีบ เมื่อดอกแก่สีของกลีบจะเข้มยิ่งขึ้น ดอกมีกลิ่นหอมแรงตามที่กล่าวข้างต้น ทำให้เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันดูสวยงามและส่งกลิ่นหอมเป็นที่ประทับใจมาก "ผล" เป็นกลุ่ม ๔-๗ ผล ผลแก่เป็นสีนํ้าตาล มีเมล็ด ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยการทาบกิ่ง  นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.munjeed.com/image_news/2013-11-16/image_1116201341514AM.jpg)   ดาดทับทิม "ใบสองสีสวยเข้ม"

ไม้ต้นนี้ อยู่ในกลุ่มเดียวกับ ดาดตะกั่วใบ ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า BEGONIA REX PUTZ อยู่ในวงศ์ BEGONIACEAE และดาดตะกั่วใบมี ถิ่นกำเนิดจากแคว้นอัสสัม ประเทศอินเดีย มีด้วยกันหลายชนิด จะแตกต่างกันที่รูปทรงและสีสันของใบ ในประเทศไทยบ้านเรามีดาดตะกั่วเหมือนกัน บางสายพันธุ์ใบสามารถกินเป็นอาหารได้  รสชาติเปรี้ยวปนมัน มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว

ส่วน “ดาดทับทิม” ผู้ขายบอกว่า เป็นไม้นำเข้าจากต่างประเทศ แต่บอกชื่อประเทศไม่ได้ มีลักษณะเด่นคือ สีของใบจะเข้มข้นมากและเป็น ๒ สี อย่างชัดเจน สำหรับชื่อ “ดาด ทับทิม” ผู้ขายไม่รู้ใครเป็นคนตั้งชื่อ แต่เรียกกันเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน

ดาดทับทิม อยู่ในวงศ์ BEGONIACEAE เป็นไม้ล้มลุก สูง ๑๕-๓๐ ซม. มีเหง้าใต้ดิน ใบเดี่ยวออกเรียงสลับเป็นรูปใบหอก ก้าวใบยาว ปลายใบแหลม โคนใบเกือบมน เนื้อใบหนา ผิวใบเรียบ หน้าใบเป็นสีเขียวเข้ม มีประสีขาวทั่ว หลังใบเป็นสีม่วงแดงตลอดหลังใบ ก้านใบเป็นสีม่วงชัดเจน ทำให้เวลามีใบดกดูสวยงามน่าชมยิ่งนัก

ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ ก้านช่อดอกยาว ๕-๑๐ ซม. ดอกเป็นแบบแยกเพศ ดอกตัวผู้มีกลีบดอก ๕ กลีบ มีเกสรตัวผู้จำนวนมาก ดอกตัวเมียมี ๕ กลีบ เช่นเดียวกันแต่จะมีขนาดเล็กกว่ากลีบดอกตัวผู้  ดอกเป็นสีส้มและสีขาว เวลามีดอกจะสวยงามมาก “ผล” ขนาดเล็ก ดอกออกช่วงฤดูหนาวตั้งแต่เดือนธันวาคม ต่อเนื่องไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ปีถัดไป ขยายพันธุ์ด้วยการแยกต้น ปักชำกิ่ง และชำใบ

ปัจจุบัน “ดาดทับทิม” มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒๖ ราคาสอบถามกันเอง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ชอบความชื้นสูง เหมาะจะปลูกลงกระถางตั้งโชว์ความงามของใบครับ.  นสพ.ไทยรัฐ


(http://image.free.in.th/z/ih/s7005692.jpg)   หนานเฉาเหว่ย

ไม้ต้นนี้ มีถิ่นกำเนิดจากประเทศจีน ส่วนใหญ่นิยมปลูกตามสวนสมุนไพร และตามบ้านผู้ที่รู้สรรพคุณของต้น “หนานเฉาเหว่ย” เท่านั้น ซึ่งในทางสมุนไพร ใบสด “หนานเฉาเหว่ย” มีรสขม มีสรรพคุณช่วยบำบัดลดเบาหวาน เกาต์ และความดันโลหิตสูง โดยให้เอาใบสด ๕-๗ ใบ ต้มกับน้ำพอประมาณดื่มครั้งละ ๑ ถ้วยกาแฟ วันละ ๒ เวลา ก่อนอาหารเช้า เย็น ประมาณ ๑ อาทิตย์ อาการทั้งหมดที่เป็นจะดีขึ้น จากนั้นก็กินบ้างหยุดบ้างเพื่อควบคุมอาการไว้ ไม่จำเป็นต้องกินติดต่อกันเป็นประจำ เพราะหากน้ำตาลในเลือดลดมากเกินไปจะวูบได้

ส่วนใครที่มีอาการปวดเมื่อยตามร่างกายหรือปวดตามข้อให้เอาใบสดของต้น “หนานเฉาเหว่ย” ๑-๒ ใบล้างน้ำให้สะอาดเคี้ยวกินได้เลย กินประมาณ ๑ อาทิตย์ อาการปวดตามร่างกายและปวดตามข้อจะดีขึ้นตามลำดับ สามารถเคี้ยวกินบ้างหยุดบ้างเช่นเดียวกันกับวิธีแรกเพื่อควบคุมไม่ให้เกิดขึ้นอีกได้

หนานเฉาเหว่ย เป็นไม้ยืนต้น สูง ๖-๘ เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรี ปลายแหลม โคนเกือบมน ใบมีรสขมตามที่กล่าวข้างต้น เมื่อเคี้ยวกินแรกๆจะขมจัด แต่พอกินได้สักพักใหญ่ๆจะรู้สึกว่ามีรสหวานนิดๆติดอยู่ในลำคอ ดอก ออกเป็นช่อขนาดใหญ่ตามซอกใบและปลายกิ่ง แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก ดอกเป็นสีขาว “ผล” รูปทรงกลม มีเมล็ด ดอกออกเรื่อยๆ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง มีชื่ออีกคือ “หนานเฝยเฉ่า”

ปัจจุบัน เพิ่งพบว่ามีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผงหน้าตึกกองอำนวยการ เป็นไม้สมุนไพรไทยขายอีกด้วย ราคาสอบถามกันเองครับ.  นสพ.ไทยรัฐ
[

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/46072558355000_1.png)   ข้าวหลามดง
ข้าวหลามดง เป็นต้นไม้ที่มีลำต้นและกิ่งสีดำ ประเภทไม้ยืนต้นสูงได้ถึง ๗ เมตร กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลเข้ม ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน ผิวเรียบเป็นมัน ดอกเดี่ยวหรือออกเป็นกระจุกสั้นๆ ที่ลำต้น กลีบดอก ๓ กลีบสีเหลืองแกมเขียว คนไทยเมื่อครั้งอดีตนิยมนำมาต้มกินเพื่อบำรุงร่างกาย เพิ่มน้ำนมให้หญิงหลังคลอด ช่วยขับเหงื่อ ขับน้ำลาย มีการศึกษาพบว่าสารในข้าวหลามดงมีคุณสมบัติในการยับยั้งเชื้อมาลาเรีย เชื้อวัณโรค และเซลล์มะเร็ง ปัจจุบันนักวิจัยสนใจข้าวหลามดงในการพัฒนาเพื่อใช้เป็นยารักษามะเร็งจัดว่าเป็นไม้หายากชนิดหนึ่ง ปัจจุบันนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เนื่องจากดอกสวยงาม.นสพ.เดลินิวส์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/63740794236461_1.jpg)   กุหลาบป่าญี่ปุ่น  ดอกสวยหอมแรง

ไม้ต้นนี้ มีวางขายมีป้ายชื่อเขียนเป็นภาษาอังกฤษแขวนติดไว้ชัดเจนว่า “RUGOSA” กำลังมีดอกตูมเป็นช่อยังไม่บานและแย้มให้เห็นสีสันของดอกน่าชมยิ่ง ผู้ขายบอกว่าเป็น “กุหลาบป่าญี่ปุ่น” ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานหลายปีแล้ว มีความโดดเด่น คือสีสันของดอกจะเข้มข้น มีกลีบดอกหนาแน่นเรียงซ้อนกันหลายชั้นคล้ายกลีบกุหลาบทั่วไป มีดอกไม่ขาดต้นตลอดปี และที่สำคัญเป็นจุดขายของ “กุหลาบป่าญี่ปุ่น” ผู้ขายยืนยันว่าเวลาดอกบานจะส่งกลิ่นหอมแรงคล้ายกลิ่นน้ำหอมเป็นที่ประทับใจมาก กำลังเป็นที่นิยมปลูกอย่างแพร่หลายอยู่ในเวลานี้ แต่ผู้ขายบอกรายละเอียดอย่างอื่นไม่ได้ รู้เพียงว่าต้นสูงไม่เกิน ๑.๕ เมตร

อย่างไรก็ตาม ดูด้วยสายตาพอจะบรรยายได้ว่า “กุหลาบป่าญี่ปุ่น” เป็นไม้พุ่ม ลำต้นมีหนามและแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มหนาแน่น ใบเป็นใบประกอบ ใบย่อยออกตรงกันข้าม ๔-๕ คู่ ปลายคี่ ใบเป็นรูปรี ปลายแหลม โคนมน ขอบใบจักตื้นและถี่ ผิวใบสากมือ ใบเป็นสีเขียว เวลามีใบดกดูแปลกตามาก

ดอก ออกเป็นช่อกระจุกที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อย ๕-๗ ดอก ลักษณะดอกมีกลีบเลี้ยงรูปกรวยสีเขียวปลายแยกเป็นแฉกเหมือนกับกลีบเลี้ยงของดอกกุหลาบทั่วไป กลีบดอกรูปกลมรีเล็กน้อย เรียงซ้อนกันหลายชั้น เช่นเดียวกับกลีบดอกกุหลาบทุกอย่าง กลีบดอกเป็นสีชมพูเข้ม ดอกมีกลิ่นหอมแรงคล้ายกลิ่นน้ำหอมตามที่กล่าวข้างต้น ดอกเมื่อบานเต็มที่กว้างประมาณ ๒.๕ นิ้วฟุต เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันจะดูสวยงามและส่งกลิ่นหอมฟุ้งกระจายเข้าจมูกเป็นที่ชื่นใจยิ่งนัก ดอกออกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำกิ่งและตอนกิ่ง

ปัจจุบัน “กุหลาบป่าญี่ปุ่น” มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒๑  ราคาสอบถามกันเอง เหมาะจะปลูกเป็นไม้ประดับ เวลามีดอกจะสวยงามและส่งกลิ่นหอมประทับใจมากครับ.  นสพ.ไทยรัฐ


หัวข้อ: Re: พรรณไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้มงคล
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 11 เมษายน 2557 16:20:59
.

(http://www.maipradabonline.com/flower5/consawan/consawan18.jpg)   "คอนสวรรค์"  แก้ไอเป็นเลือด

สมัยก่อน คนในชนบท มีอาการไอเป็นเลือดกันแพร่หลาย แต่ไม่ใช่ไอเป็นเลือดเนื่องมาจากเป็นวัณโรค เกิดจากอาการไอแบบเรื้อรังนานๆ จนทำให้มีเลือดออกมาด้วยน่ากลัวมาก ซึ่งในยุคนั้นหมอยาพื้นบ้านแผนไทยจะใช้ ต้นและใบ ของ “คอนสวรรค์” ยาวประมาณ ๑ คืบมือผู้ใหญ่ ต้มกับน้ำกะจำนวนตามต้องการจน เดือดประมาณ ๕ นาที แล้วดื่มขณะอุ่นเรื่อยๆ ต่างน้ำชาทั้งวัน ต้มดื่มทุกวันจะช่วยให้อาการไอเป็นเลือดแบบเรื้อรังตามที่กล่าวข้างต้นค่อยๆดีขึ้นและหายได้ในที่สุด เมื่อหายแล้วหยุดต้มดื่มเลย มีอาการไอเป็นเลือดอีกเมื่อไหร่จึงต้มดื่มใหม่ไม่มีอันตรายอะไร
 
คอนสวรรค์ หรือ CYPRESS VINE, IPOMOEA QUAMOCLIT LINN. อยู่ในวงศ์ CONVOLVULACEAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้ล้มลุกฤดูเดียว ลำต้นเลื้อยพาดพัน สามารถเลื้อยได้ไกล ๓-๕ เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ เป็นรูปไข่หรือขอบขนาน ขอบใบเว้าลึกถึงเส้นกลางใบดูเป็นฝอยๆคล้ายก้างปลา สีเขียวสด
 
ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ ๒-๖ ดอก กลีบเลี้ยงเป็นหลอดสีเขียว ปลายแยกเป็น ๕ แฉก ดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว ปลายแยกเป็นกลีบดอก ๕ กลีบ รูปดาว สีแดงเข้ม มีเกสรตัวผู้สีเหลืองเข้มใจกลางดอก ๕ อัน มองเห็นชัดเจน เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้น สีสันของดอกจะเข้มข้นสวยงามน่าชมมาก “ผล” เป็นรูปไข่ เมื่อผลแห้งแตกได้ ภายในมีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกออกได้เรื่อยๆ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและปักชำกิ่ง มีชื่อเรียกอีกคือ เข็มแดง, แข้งสิงห์, พันสวรรค์ และ สน-ก้างปลา (กทม.)
 
ปัจจุบัน ต้น “คอนสวรรค์” มีขายทั่วไปที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ หลายแผงหลายเจ้า แต่ละแผงราคาจะไม่เหมือนกัน ดังนั้นจึงควรเดินสำรวจราคาเปรียบเทียบกันก่อนตัดสินใจซื้อไปปลูกครับ.   นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.bloggang.com/data/m/maipradab/picture/1363229053.jpg)   "คูณดอกขาว"  สวยสุดยอด

คูนดอกขาว ชนิดที่ดอกมีกลิ่นหอม คล้ายกลิ่นของดอกบัวหลวง เป็นสายพันธุ์ที่มีถิ่นกำเนิดจากโฮโนลูลู เมืองหลวงของรัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยบ้านเรานานหลายปีแล้ว และได้รับความนิยมจากผู้ปลูกประดับอย่างกว้างขวาง จนทำให้กิ่งพันธุ์ของ “คูนดอกขาว” ชนิดดอกหอมขาดตลาดหายหน้าหายตาไปเป็นช่วงๆ สาเหตุเนื่องจากการขยายพันธุ์ของต้นคูนชนิดดังกล่าวทำได้ยาก ต้องใช้ระบบติดตาจึงจะทำให้มีรากแก้วดีและขยายพันธุ์ได้ หากขยายพันธุ์ด้วยวิธีอื่น  ต้นอาจไม่เจริญเติบโตและตายก่อนที่จะมีดอก
 
คูนดอกขาว ชนิดดอกมีกลิ่นหอม หรือ CASSIA.X.NEALIAE เป็นไม้ยืนต้น สูง ๕-๖ เมตร เป็นไม้ผลัดใบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ มีใบย่อย ๓-๘ คู่ รูปป้อมหรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ปลายแหลม โคนมน สีเขียวสด

ดอก ออกเป็นช่อขนาดใหญ่ห้อยลงตามซอกใบและปลายยอด ช่อกว้างประมาณ ๑๐ ซม. ยาว ๒๐-๔๕ ซม. กลีบเลี้ยงรูปรีแกมรูปไข่หรือรูปไข่กลับ กลีบดอกมี ๕ กลีบ รูปมนหรือรี กว้างและใหญ่กว่ากลีบดอกคูนชนิดดอกสีเหลืองอย่างชัดเจน ดอกเป็นสีขาวสดใส แต่ละกลีบมีลายประเป็นสีน้ำ ตาล ขณะดอกยังตูมบริเวณส่วนปลายช่อ จะเป็นสีเหลืองแล้วจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีขาวเมื่อดอกแก่ ดอกมีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นหอมของดอกบัวหลวง เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้น จะดูสวยงามสดใสคล้ายโคมไฟห้อยเป็นระย้าสวยงามและส่งกลิ่นหอมเป็นที่ชื่นใจยิ่ง ดอกออกช่วงเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม ของทุกปี “ผล” เป็นฝักยาว มีเมล็ด
 
ปัจจุบันมีกิ่งพันธุ์ขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ โครงการ ๑๕ ราคาสอบถามกันเองครับ.   นสพ.ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcS1fIcX-mRUy3aYG3T4kMSxi5M5P_fLBpFLqf2oxfw1eYG6gNlong)   นางแย้มป่า  รากสรรพคุณดี

ใครเป็นลำไส้อักเสบ มีอาการไตพิการยังไม่รุนแรง ปัสสาวะขุ่นข้นเป็นสีเหลืองหรือแดงมักมีอาการแน่นท้องกินอาหารไม่ได้ท้องโตอึดอัด หมอยาแผนไทยสมัยก่อนให้เอาราก ของต้น “นางแย้มป่า” จำนวนตามต้องการต้มกับน้ำเยอะหน่อยจนเดือด ดื่ม ๒-๓ ครั้งต่อวัน ครั้งละ ๑ แก้วหลังอาหารประมาณ ๑-๒ อาทิตย์ อาการที่เป็นทั้ง ๒ อย่าง จะดีขึ้นหายได้และหยุดกินราก ของ “นางแย้มป่า” ยังต้มน้ำดื่มหรือฝนกับน้ำกินเป็นยา บำรุงน้ำนมสตรีได้อีกด้วย
 
นางแย้มป่า หรือ CLERODENDRUM INFORTUNATUM GAERTN. อยู่ในวงศ์ VERBENACEAE เป็นไม้พุ่ม สูง ๐.๕-๓ เมตร ดอกเป็นช่อสีขาวอมชมพูม่วง มีกลิ่นหอมตอนย่ำรุ่ง “ผล” ทรงกลม สุกเป็นสีน้ำเงินเข้ม พบขึ้นตามป่าบนเขา ทุกภาคของประเทศไทย ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ปักชำกิ่งและตอนกิ่ง

มีกิ่งตอนขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ โครงการ ๙ ราคาสอบถามกันเอง.
   นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.nanagarden.com/Picture/Product/400/176198.jpg)   ว่านน้ำ  ประโยชน์ทั้งดีและไม่ดี

ว่านน้ำ มีชื่อวิทยาศาสตร์อย่างเป็นทางการว่า  CALAMUS/MYRTLE GRASS ACORUS CALAMUS LINN. อยู่ในวงศ์ ARACEAE /size] มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้ล้มลุก สูงประมาณ ๑ เมตร พบขึ้นในที่มีน้ำท่วมขังหรือริมน้ำทั่วไป ลำต้นอยู่ใต้ดินเป็นเหง้าหรือรากเลื้อยในแนวขนานกับพื้น ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเป็นแผงคล้ายกับใบของ ว่านหางช้าง ผิวใบเรียบรากเหง้ามีกลิ่นหอมแรงเฉพาะตัว ดอก ออกเป็นช่อแทงขึ้นจากเหง้าเป็นรูปทรงกระบอกที่ปลายก้านช่อยาวประมาณ ๓-๕ ซม. คล้ายแท่งธูป แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยเรียงเบียดกันหนาแน่นจำนวนมาก ดอกเป็นสีเขียวปนเหลือง ดอกบริเวณปลายเมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาลเกือบดำ “ผล” เป็นผลสด ดอกออกได้เรื่อยๆ ขยายพันธุ์ด้วยการแยกต้น หรือเหง้า
 
ประโยชน์ ตำรายาไทยใช้เหง้าหรือรากกินเป็นยาแก้ปวดท้อง ขับลม ขับเสมหะ แต่ถ้ากินมากกว่าครั้งละ ๒ กรัม จะทำให้อาเจียน จึงนิยมใช้ประโยชน์เฉพาะในกรณีที่ผู้ป่วยกินสารพิษหรืออาหารเป็นพิษต้องการขับพิษหรือสารพิษออกจากทางเดินอาหารด้วยการให้อาเจียน ชาวอินเดียใช้รากปรุงเป็นยาระบายและเป็นยาฆ่าแมลงต่างๆ โดยเฉพาะแมลงวัน ใบสดของ “ว่านน้ำ” ตำละเอียดใส่น้ำเล็กน้อยพอกศีรษะแก้ปวดศีรษะได้ พอกแก้ปวดกล้ามเนื้อและปวดข้อดีมาก ตำผสมกับใบ “ชุมเห็ด” ทาแก้โรคผิวหนังเด็ดขาดจริงๆ
 
อย่างไรก็ตาม รากหรือเหง้า ของ “ว่านน้ำ” พบว่ามีน้ำมันหอมระเหยที่มีกลิ่นเฉพาะตัวคือสาร B-ASARONE มีฤทธิ์ลดความดันโลหิตได้ แต่มีรายงานว่าสารดังกล่าวเป็นพิษต่อ “ตับ” และทำให้เกิด “มะเร็ง” จึงควรระวังในการกินหรือใช้

ปัจจุบัน  “ว่านน้ำ”  มีต้นขายที่ ตลาด นัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒ แผงไม้น้ำ และโครงการ ๒๑ แผง ราคาสอบถามกันเองครับ
.   นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.bloggang.com/data/f/fasaiwonmai/picture/1324472860.jpg)   รักนา  สวยสุดยอด

รักนา ชนิดนี้ผู้ขายบอกว่าเกิดจากการนำเอาเมล็ดของ “รักนา” พันธุ์เดิมไปเพาะขยายพันธุ์แล้วขนาดของต้นเตี้ยกว่าพันธุ์แม่มากคือ สูงเต็มที่ประมาณ ๒-๓ เมตร เท่านั้น ซึ่งต้น “รักนา” พันธุ์ดั้งเดิมสูง ๕-๑๐ เมตร และนอกเหนือจากต้นจะเตี้ยกว่าแล้ว “รักนา” ที่เกิดจากการเพาะเมล็ดดังกล่าวผู้ขายบอกว่ายังมีดอกดกกว่าอีกด้วย ส่วนกลิ่นหอมของดอกเหมือนกันกับต้นแม่ทุกอย่าง
 
รักนา หรือ GARDENIA CARINATA WALL อยู่ในวงศ์ RUBIACEAE ซึ่งชนิดที่เพาะจากเมล็ดและแนะนำในคอลัมน์ของวันนี้มีลักษณะเป็นไม้พุ่ม สูง ๒-๓ เมตร ตามที่กล่าวข้างต้น ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงกันข้ามเป็นคู่ รูปไข่กลับ ปลายเรียวแหลมและเป็นติ่ง โคนใบสอบ เส้นแขนงใบมองเห็นชัดเจน
 
ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ หรือเป็นช่อ ๒-๓ ดอก ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงเป็นหลอดยาว ดอกโคนเชื่อมกันเป็นหลอดยาว ๔ ซม. ปลายแยกเป็นกลีบดอก ๖-๙ กลีบ ส่วนใหญ่จะมี ๘ กลีบ กลีบดอกมักจะซ้อนสลับซ้าย แต่ละกลีบเป็นรูปรีหรือรูปหอก ดอกเป็นสีนวลก่อนเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อนและเหลืองเข้มตามลำดับ ดอกเมื่อบานเต็มที่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๗-๑๐ ซม.  ดอกมีกลิ่นหอม เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้นจะดูสวยงามและส่งกลิ่นหอมเป็นที่ชื่นใจยิ่งนัก “ผล” เป็นรูปกลมรี ปลายผลมีกลีบเลี้ยงติดอยู่ ผลสุกเป็นสีดำ มีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกออกตลอดทั้งปี จะมีดอกดกในช่วงระหว่างเดือนมีนาคมต่อเนื่องไปจนถึงเดือนเมษายนทุกปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ปักชำกิ่ง และตอนกิ่ง
 
ปัจจุบัน “รักนา” พันธุ์ต้นเตี้ยมีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๑ ราคาสอบถามกันเอง เหมาะจะปลูกเป็นไม้ประดับเพื่อชมความสวยงามของดอกพร้อมสูดดมกลิ่นหอมครับ
.   นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.nanagarden.com/Picture/Product/400/143665.jpg)   กกอียิปต์แคระ  ต้นดอกเขียวมรกต

กก เป็นพืชน้ำที่มีการกระจายพันธุ์ทั่วโลก พบขึ้นตามที่แฉะ ที่ระดับต่ำ ตามห้วยหนอง คลองบึง มีหลากหลายสายพันธุ์ จะมีข้อแตก ต่างกันตามแหล่งที่พบ ส่วนใหญ่ดอกจะไม่เหมือนกัน บางชนิดเหง้ามีกลิ่นหอม เป็นอาหารและเป็นสมุนไพรใช้รักษาโรคได้ ในประเทศไทยบ้านเรามีต้นวางขายมากมาย นิยมปลูกเป็นไม้ประดับแพร่หลาย
 
สำหรับ “กกอียิปต์แคระ” ผู้ขายบอกว่ามีถิ่นกำเนิดจากประเทศอียิปต์ ถูกนำเข้ามาปลูกประดับและขยายพันธุ์ขายนานหลายปีแล้ว มีลักษณะเด่นคือ ลำต้นอวบอ้วนเป็นแท่งตรงปลาย เรียวเป็นสีเขียวมรกต ต้นไม่สูงใหญ่เหมือนต้นกกทั่วไป เมื่อสูงเต็มที่ประมาณ ๒.๕ ฟุตเท่านั้น ผู้ขยายพันธุ์ขายจึงตั้งชื่อว่า “กกอียิปต์แคระ” และที่สำคัญช่อดอกจะเป็นพู่ขนาดใหญ่แผ่กระจายเป็นสีเขียวขจีดูสวยงามมาก จึงกำลังเป็นที่นิยมปลูกประดับอยู่ในปัจจุบัน
 
กกอียิปต์แคระ อยู่ในวงศ์ CYPE RACEAE ชื่อสามัญ SEDGE เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี ใบเดี่ยวออกบริเวณโคนต้น ดอก เป็นช่อกระจุกหนาแน่นบริเวณปลายต้น โคนช่อจะมีใบประดับ ๓ ใบ มีดอกย่อยเป็นฝอยๆจำนวนมาก เป็นดอกสมบูรณ์เพศและดอกเพศเดียวเรียงบนช่อดอกย่อย ไม่มีวงกลีบรวม มีเกสรตัวผู้ ๑-๖ อัน ปกติจะมี ๓ อัน ยอดเกสรตัวเมียแยกเป็น ๒-๓ แฉก “ผล” แห้ง เมล็ด ล่อน ดอกออกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยเหง้าและไหล
 
ปัจจุบัน “กกอียิปต์แคระ” มีขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒ แผงขายไม้น้ำ ราคาสอบถามกันเอง ส่วนใหญ่นิยมปลูกประดับลงกระถางก้นตันขนาดใหญ่ มีหลายรูปทรงและหลายรูปแบบทั้งกลมและเป็นสี่เหลี่ยม ตั้งในที่แจ้ง ใช้วิธีปลูกเหมือนการปลูกบัว หลังปลูกใส่น้ำหล่อเลี้ยงไว้ บำรุงปุ๋ยเม็ดห่อกระดาษกดลงในดินใต้น้ำ ๒ เดือนครั้ง จะทำให้ต้นอ้วนมีดอกสีเขียวมรกตสวยงามมากครับ
   นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/49806480730573_1.jpg)   หญ้าดอกส้ม  สวยแปลก

ไม้ต้นนี้ มีวางขายแต่ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร เนื่องจากผู้ซื้อไม่ทราบว่าเป็นไม้ประเภทไหน ซึ่งผู้ขายบอกได้เพียงว่าเป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศแอฟริกา ถูกนำเข้ามาปลูกประดับและขยายพันธุ์ขายในประเทศไทยบ้านเรานานกว่า ๒-๓ ปีแล้ว แต่ไม่สามารถบอกรายละเอียดของชื่อวิทยาศาสตร์อย่างเป็นทางการ และลักษณะทางพฤกษศาสตร์ได้ ที่สำคัญยังไม่มีชื่อเรียกอีกด้วย เมื่อดูลักษณะด้วยสายตาต้นใบและช่อดอกจะคล้ายกับหญ้างวงช้างที่เป็นพืชสมุนไพรไทยมาก มีข้อแตกต่างกันคือ ดอกของหญ้างวงช้างจะเป็นสีม่วง ช่อดอกชูตั้งขึ้นปลายช่องอม้วนเหมือนงวงช้าง ดอกออกบริเวณปลายช่อ

ส่วนที่พบวางขาย ช่อดอกจะชูตั้งขึ้นเหมือนกัน แต่ปลายช่อดอกไม่งอม้วน และดอกไม่ได้ออกบริเวณปลายช่อ จะออกบริเวณกลางช่อ สีสันของดอกเป็นสีส้มอมชมพูต่างกันอย่างชัดเจน “นายเกษตร” เลยขอเรียกชื่อว่า “หญ้าดอกส้ม” ตามลักษณะที่คล้ายหญ้างวงช้าง และสีของดอกเป็นสีส้ม ซึ่งผู้ขายก็เห็นด้วย พร้อมถ่ายภาพแนะนำในคอลัมน์ตามระเบียบ

หญ้าดอกส้ม เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรง สูงได้ถึง ๑ เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเป็นรูปไข่ รูปสามเหลี่ยม หรือรูปใบหอก เหมือนกับใบของหญ้างวงช้าง ขอบใบจักร มีขนทั้ง ๒ ด้าน ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง กลีบดอกเป็นสีส้มอมชมพู ใจกลางดอกเป็นสีขาว ดอกออกบริเวณกลางช่อ ดอกเรียงกันหลายชั้น ลักษณะกลีบดอกเหมือนกลีบดอก หญ้างวงช้าง ทุกอย่าง เวลามีดอกสีสันของดอกจะดูสวยงามเจิดจ้ามาก “ผล” เมื่อแห้งไม่แตก มี ๔ พู ดอกออกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

ปัจจุบัน “หญ้าดอกส้ม” มีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒ ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ในดินทั่วไป เหมาะจะปลูกเป็นไม้ประดับลงดินเป็นกลุ่มหรือปลูกลงกระถาง เวลามีดอกจะสวยงามมากครับ
.   นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.maipradabonline.com/gallery4/morningglory/p6.jpg)   มอร์นิ่งกลอรี่  ชนิดดอกเล็กสวย

ไม้ต้นนี้ พบมีวางขายปลูกในกระถางขนาดใหญ่ ลำต้นหรือเถาไต่พัน โครงไม้ไผ่สูงกว่าศีรษะผู้ใหญ่ยืน มีใบและดอกสีสันสวยงามมาก ผู้ขายบอกได้เพียงว่า เป็นต้น “มอร์นิ่งกลอรี่” ชนิดที่มีดอกขนาดเล็กกว่าดอกของ “มอร์นิ่งกลอรี่” สายพันธุ์ทั่วไปอย่างชัดเจน แต่ผู้ขายบอกไม่ได้ว่า “มอร์นิ่งกลอรี่” ชนิดดอกเล็กมีที่มาอย่างไร

เมื่อดูด้วยสายตาพอจะระบุได้ว่า เป็นไม้เถาเลื้อยเนื้ออ่อนล้มลุกเหมือนกับ “มอร์นิ่งกลอรี่” ทั่วไปทุกอย่าง ต้นหรือเถาสามารถเลื้อยพาดพันได้ไกล ๕-๘ เมตร เถาหรือลำต้นมีขนใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ก้านใบยาวใบประกอบ ด้วยใบย่อย ๕ ใบ แต่ละใบเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายและโคนใบแหลม เวลาใบดกจะน่าชมยิ่ง

ดอก ออกเป็นช่อ ๑-๕ ดอก ตามซอกใบและปลายกิ่ง ลักษณะดอกมีกลีบเลี้ยงเป็นรูปกรวย ปลายแยกเป็นหลายแฉก ดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว ปลายบานเป็นรูปปากแตร กลีบดอกเป็นสีม่วง ใจกลางดอกหรือภายในหลอดดอกเป็นสีม่วงเข้ม ขนาดของดอกจะเล็กกว่าดอก “มอร์นิ่งกลอรี่” สายพันธุ์ทั่วไปอย่างชัดเจนเกือบครึ่งต่อครึ่ง เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้นจะดูสวยงามมาก “ผล” รูปทรงกลม ภายในมีเมล็ด ๑-๖ เมล็ด เมล็ดเป็นสีน้ำตาล ดอกออกตลอดทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด เชื่อว่า “มอร์นิ่งกลอรี่” ชนิดดอกเล็กเป็นหนึ่งในหลายสายพันธุ์ของ “มอร์นิ่งกลอรี่” ที่มีมากกว่า ๒ สายพันธุ์ ซึ่ง “มอร์นิ่งกลอรี่” มีเขตการกระจายพันธุ์ในแถบอเมริกาเขตร้อน

ปัจจุบัน “มอร์นิ่งกลอรี่” ชนิดดอกเล็ก มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๕ ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ในดินทั่วไป เหมาะจะปลูกทั้งลงดินกลางแจ้งและปลูกลงกระถางขนาดใหญ่ให้ต้นเลื้อยพันซุ้มหรือโครงไม้ เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันจะดูสวยงามมากครับ
.   นสพ.ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRhT9HliRqXrQlF1YJIef4onK1YK07OLsTj54xwm53u7jW5mKEZ)  มะเยาหิน  ดอกสวยเมล็ดมีคุณค่า

ผมเคยแนะนำต้น มะเยาหิน ไปในฉบับวันที่ ๒๔ มิ.ย.ปี ๕๔ ซึ่งในตอนนั้นภาพที่ลงประกอบคอลัมน์เป็นเพียงภาพของกิ่งตอน ไม่มีภาพของดอกให้เห็นทำให้ดูไม่สมบูรณ์นัก จึงขอนำภาพดอกและเรื่องแนะนำให้ชมความงามเพิ่มความรู้อีกครั้ง

มะเยาหิน มีถิ่นกำเนิดจาก ประเทศจีน มีชื่อเฉพาะว่า TUNG  OIL TREE หรือ CHINA WOOD OIL ชื่อวิทยาศาสตร์ ALEURITES (FORDIL, MONTANA) เป็นไม้ยืนต้น สูง ๕-๑๐ เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ก้านใบยาว ใบเป็นรูปนิ้วมือ ขอบใบหยักลึกเป็น ๕ แฉก ใบมีขนาดใหญ่ มีขนละเอียดทั่ว สีเขียวสด เวลามีใบดกจะให้ร่มเงาดีมาก

ดอก ออกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก ดอกเป็นสีขาวปนสีชมพูนิดๆ เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้นจะดูสวยงามและสดใสมาก “ผล” เป็นรูปกลมรี หรือ รูปรี ผิวผลเป็นรอยย่น ผลแก่เป็นสีน้ำตาลเกือบดำ ผลโตเต็มที่ โตประมาณปลายนิ้ว หัวแม่มือผู้ใหญ่ ภายในมีเมล็ด ดอกออกช่วงระหว่างเดือนสิงหาคม ต่อเนื่องไปจนถึงเดือนกันยายนทุกปี ติดผลเป็นพวง ๕-๗ ผล ผลแก่จัดหลังจากนั้น ๓-๔ เดือน ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง

ประโยชน์ เมล็ดสด ให้น้ำมันซึ่งมีศักยภาพสูงนำไปทำเป็นน้ำมันไบโอดีเซล มีความร้อนสูงประมาณ ๔๐.๗๓ เอ็มเจ.ต่อกิโลกรัม เหมาะสำหรับการใช้งานในเครื่องยนต์ดีเซล ซึ่งจะมีความหนืดที่อุณหภูมิ ๔๐ องศาเซลเซียส เท่ากับ ๘๗.๖ เซนติสโตก สูงหรือดีกว่าทำจาก “สบู่ดำ” เมื่อนำไปแปรรูปเป็นน้ำมันไบโอดีเซล

มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒๑ ราคาสอบถามกันเองครับ
.   นสพ.ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQcWK1W-Y2TSovliqUVaHvTvEI8jYEXYtJMoa4Nta8SzJGeoolz)   บานไม่รู้โรย  ชื่อดีสีสวยมีสรรพคุณ

หลายคน ขอให้แนะนำไม้ดอกสวยงามสำหรับมอบให้คนที่เป็นพิเศษในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่กำลังใกล้จะมาถึงบ้าง ซึ่งความจริงแล้วไม้ดอกสวยงามมีมากมายให้เลือกซื้อ อยู่ที่ผู้ซื้อต้องการจะให้ดอกไม้อะไร ส่วน “นายเกษตร” คิดว่าช่วงดีๆ ดังกล่าว “บานไม่รู้โรย” เหมาะสมไม่แพ้ไม้ดอกชนิดใดๆ อย่างแน่นอน เพราะชื่อก็เป็นมงคล ดอกสีสันสวยงาม มีหลายสีให้เลือก ดอกบางสียังมีคุณค่าเป็นยาสมุนไพรชั้นดีอีกด้วย

บานไม่รู้โรย หรือ GOMPHRENA GLOBOSA LINN. อยู่ในวงศ์ AMARANTHA-CEAE เป็นไม้ล้มลุก สูง ๑๕-๖๐ ซม. ใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปใบหอกหรือรูปขอบขนานแกมรูปรี ปลายแหลม โคนมน มีขนทั้ง ๒ ด้าน

ดอก ออกเป็นช่อเดี่ยวๆตามซอกใบแล้ว ปลายยอดแต่ละดอกมีใบประดับ ๒ ใบ กลีบดอกเป็นกลีบรวม ๕ กลีบ เรียงซ้อนกันหลายชั้นเป็นรูปทรงกลมหรือทรงสามเหลี่ยมตามแต่สายพันธุ์ มีเกสรตัวผู้ ๕ อัน มีด้วยกันหลายสี เช่น ชมพู ม่วง แดง และ ขาว เป็นต้น เวลามีดอกดกและปลูกเป็นกลุ่มหลายๆต้นและหลายๆสีจะดูสวยงามมาก ดอกบานได้ทนนานหลายวันและ  กลีบดอกจะไม่ร่วงง่ายแม้ดอกจะแก่หรือแห้ง จึงถูกตั้งชื่อตามลักษณะความทนทานของดอกว่า “บานไม่รู้โรย”

ผล เป็นรูปไข่แกมรูปขอบขนาน เมล็ดเป็นรูปแบนสีน้ำตาลเป็นมัน ดอกออกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ถิ่นกำเนิดจากอเมริกาเขตร้อน ถูกนำเข้ามาปลูกตั้งแต่โบราณแล้วจนกลายเป็นไม้ไทยไปโดยปริยาย มีชื่อเรียกอีกคือ กระล่อม, ตะล่อม (ภาคเหนือ) และ ดอกสามเดือน, กุนหยี (ภาคใต้)

มีต้นขายทั่วไปที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ราคาแต่ละแผงแตกต่างกันต้องเดินสอบถามก่อนตัดสินใจซื้อ
.   นสพ.ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRDuFjogmL1jA4Znu9oNZiA64GKZPEZlyEGABcoNftyWZDRw43KFQ)  จำปาลาว  

ดอกจำปา หรือ ลั่นทม ของไทย เป็นดอกไม้ประจำชาติของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นไม้ยืนต้นขนาดย่อมถึงกลาง สูงประมาณ ๑-๑๒ เมตร อยู่ในวงศ์ APOCY- NACEAE มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Plumeria acutifolia Poir มีใบเดี่ยวเรียงสลับไปตามข้อต้น แต่มักจะติดอยู่ตามปลายกิ่ง ลักษณะใบเป็นรูปหอก ปลายใบแหลม โคนใบสอบแคบ เนื้อใบหนามีสีเขียวเข้ม

ดอกจะออกเป็น ช่ออยู่ตรงส่วนยอดของต้น ช่อดอกจะใหญ่ เวลาออกดอกจะทิ้งใบเกือบหมดต้น โคนดอกจะซ้อนทับกันเป็นหลอดเล็กๆ กลีบดอกมีสีขาว กลางดอกจะออกสีเหลืองและสีชมพู หรือบางดอกมีมากกว่า ๑ สี มีกลิ่นหอมมากในตอนกลางคืน ขยายพันธุ์โดยการปักชำ เพาะเมล็ด เติบโตได้ดีแม้ในพื้นดินแห้งแล้ง
   นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.nanagarden.com/Picture/Product/400/101497.jpg)  บัลลังก์ทับทิม  

บัลลังก์ทับทิม จัดเป็นพรรณไม้ใบที่อยู่ใน ตระกูลอโกลนีมา (Aglaonema) ชื่อภาษาอังกฤษคือ Pride of Sumatra เป็นไม้มงคลที่ได้รับความนิยมสูงมาก นิยมปลูกใส่กระถาง เหตุที่ได้ชื่อว่าบัลลังก์ทับทิมเพราะสีสันของใบเหมือนกับสีของทับทิม ดูสวยงามมาก แถมยังให้ความหมายถึงความสำเร็จในด้านการงานและการดำเนินชีวิตที่สดใสราบรื่น เหมาะเป็นของขวัญในทุกเทศกาล

สีสันของใบมีสีแดง และสีน้ำตาลอมแดง ตัดกับก้านใบ เป็นพรรณไม้ที่มีความโปร่งแสงเมื่อกระทบแสงแดดจะเห็นสีสันสวยงาม เมื่อแสงสว่างกระทบใบยิ่งทำให้สีแดงส่องประกายชัดขึ้น
   นสพ.ข่าวสด


(http://www.nanagarden.com/Picture/Product/400/121327.jpg)   สนหอมแอฟริกา  ยอดสีแดงกลิ่นชื่นใจ  

สนชนิดนี้ ผู้ขายบอกว่านำเข้าจากประเทศแอฟริกา ปลูกและเจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศของบ้านเรา แต่ผู้ขายจำชื่อเฉพาะทางวิทยาศาสตร์และชื่อวงศ์ไม่ได้ ระบุเพียงว่า “สนหอมแอฟริกา” มีความพิเศษคือ ใบหรือยอดอ่อน เมื่อเด็ดขยี้ดมจะมีกลิ่นหอมเย็นคล้ายกลิ่นมิ้นต์ทำให้รู้สึกสดชื่นดีมาก

ส่วนลักษณะทางพฤกษศาสตร์ที่ผู้ขายบอกและดูด้วยสายตา สนหอมแอฟริกา มีรูปทรงของต้นเหมือนกับสนหอมสายพันธุ์ที่มีถิ่นกำเนิด ากประเทศฮอลแลนด์ ที่เคยแนะนำในคอลัมน์ไปนานแล้ว แต่เป็นไม้พุ่ม สูง ๒-๓ เมตร ลำต้นเดี่ยว ตั้งตรง แตกกิ่งก้านต่ำ เป็นพุ่มทรงฉัตร หรือทรงกรวยคว่ำ คล้ายๆ กับทรงต้นคริสต์มาส เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลเทาถึงเข้ม มีร่องแตกตามยาว กิ่งแขนง มักชูปลายกิ่งตั้งขึ้น

ใบ มีขนาดเล็กออกเรียงสลับ เป็นรูปแถบแคบและเล็กยาวปลายแหลม โคนมน เนื้อใบหนาและแข็ง ใบแก่เป็นสีเขียวสด ใบอ่อนหรือยอดอ่อนเป็นสีแดงอมน้ำตาล มองเห็นชัดเจน ทำให้เวลาแตกกิ่งก้านเป็นทรงฉัตรหรือทรงกรวยคว่ำ ใบเป็นเขียวกับสีแดงตามภาพประกอบคอลัมน์สวยงามมาก

ที่สำคัญ ใบ ของสนหอมแอฟริกา ไม่ว่าจะเป็นใบแก่สีเขียวหรือใบอ่อนที่เป็นสีแดง เมื่อเด็ดขยี้ดมจะมีกลิ่นหอมเฉพาะตัวคล้ายกลิ่นมิ้นต์หรือกลิ่นมะนาว ทำให้รู้สึกสดชื่นดีมาก ปัจจุบัน “สนหอมแอฟริกา” มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒ แผง  ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ในดินทั่วไป เป็นไม้โตช้า เหมาะจะปลูกเป็นไม้ประดับลงดินกลางแจ้ง หรือปลูกลงกระถางขนาดใหญ่ ตั้งในที่มีแดดส่องถึงทั้งวัน รดน้ำพอชุ่มวันละครั้ง เมื่อต้นโตหรือสูงประมาณ ๑ ฟุต เศษๆ ทรงต้นจะเป็นทรงฉัตร หรือทรงกรวยคว่ำ มองเห็นอย่างชัดเจน และสวยงามมากครับ
.   นสพ.ไทยรัฐ




หัวข้อ: Re: พรรณไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้มงคล
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 13 พฤษภาคม 2557 14:29:22
.

(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQlFB7Wk-G9d12fuOE59VFP0NIaVr7HWaaox2PtQMP5zrw_BMx8fA)  เข็มหอม

เข็มหอม ไม้หอมที่มีดอกเล็ก น่ารัก มีชื่อว่าเข็มหอม หรือรู้จักในชื่ออื่นว่า เข็มพวงเล็ก ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lxora finlaysonia wall. Ex6 Don ชื่อสามัญ Siamese white lxora  เข็มหอมเป็นไม้พุ่มสูง ๑-๓ เมตร ลำต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งใกล้ ผิวดินจำนวนมาก แต่ละต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้น ๑-๒ ซ.ม. เปลือกสีดำหรือม่วงเข้ม ช่อดอกสีขาว ออกที่ปลายยอด มีดอกย่อยจำนวนมาก ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยงสีเขียวรูปถ้วย ปลายแยกเป็นกลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดเล็กๆ ปลายหลอดมีกลีบแยกจากกันเป็น ๔ กลีบ เมื่อดอกบานมีเส้น ดอกย่อยภายในช่อดอกเดียวกันบานในเวลาใกล้เคียงกัน ดอก ที่บานใหม่ๆ จะมีสีขาวบริสุทธิ์ เมื่อใกล้โรยจะเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ..หน้า ๒๔ นสพ.ข่าวสด


(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQZ-7UGpQS8DNPyY6dmePNL3Xwt6F5ByAhJ6kHiJKi8D-qddf2CAA)  เข็มดาววาว  สวยอมตะ

เข็มชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดจาก มาดากัสการ์ ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยบ้านเรานานแล้ว มีชื่อเรียกอีกว่า “เข็มรูเบีย” มีชื่อวิทยาศาสตร์อย่างเป็นทางการคือ CARPHALEA KIRONDRON BAILL อยู่ในวงศ์ RUBIACEAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้พุ่ม สูง ๒-๓.๕ เมตร แตกกิ่งก้านต่ำ เป็นพุ่มทรงกลมกว้างและหนาแน่น กิ่งอ่อนสีแดงอมม่วง ใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม ก้านใบเป็นสีแดงอมม่วงชัดเจน ใบเป็นรูปรี ปลายและโคนใบแหลม

ดอก ออกเป็นช่อขนาดใหญ่ตามปลายยอด ลักษณะดอกคล้ายกับดอกเข็มเชียงใหม่หรือเข็มซีลอน ดอกโคนเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นกลีบดอก ๔ กลีบ ปลายกลีบแหลม ดอกมีขนาดใหญ่กว่าดอกเข็มทุกชนิด เป็นสีชมพูอมแดงสดใส เวลามีดอกจะดกเต็มต้นและเป็นช่อแน่นขนาดใหญ่ ดอกบานพร้อมกันทั้งต้นจะดูสวยงามตรึงใจยิ่งนัก ที่สำคัญดอกแต่ละช่อจะบานได้ทนนานเกินกว่า ๑ อาทิตย์ก่อนจะร่วงโรย “ผล” รูปทรงกลม มีขนาดเล็ก ภายในมีเมล็ดดอกออกเกือบทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง

ปัจจุบัน “เข็มดาววาว” หรือ “เข็มรูเบีย” มีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวน จตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๓ ราคาสอบถามกันเองเป็นไม้ปลูกได้ในดินทั่วไป ทนแล้งได้ดี แต่ชอบความชื้นสูง ดังนั้นการปลูกจึงต้องขุดหลุมนำเอาดินขึ้นมาตากให้แห้ง ๒-๓ วัน แล้วย่อยผสมกับขี้วัวหรือขี้ควายแห้ง ๑ ส่วน กาบมะพร้าวแห้งหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ๑ ส่วน เพื่ออุ้มความชื้น รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกพร้อมโรยปูนขาวเล็กน้อยป้องกันเชื้อรา จากนั้นนำต้นมาปลูก กลบฝังด้วยดินที่เตรียมไว้จนแน่น รดน้ำพอชุ่มเช้าเย็น บำรุงปุ๋ย ๑๖-๑๖-๑๖  เดือนละครั้ง สลับกับใส่ปุ๋ยมูลสัตว์ ๒ เดือนครั้ง พร้อมตัดแต่งกิ่งอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้มีดอกดกไม่ขาดต้นดูสวยงามเป็นอมตะครับ...หน้า ๗ นสพ.ไทยรัฐ

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/57736028730869_1.png)   เข็มเศรษฐีบรูไน สวยอมตะ

ผมเคยเขียนแนะนำ “เข็มเศรษฐีบรูไน” ไปครั้งหนึ่ง ซึ่งในตอนนั้นได้รับความนิยมจากผู้ซื้อไปปลูกประดับอย่างแพร่หลายจนทำให้ต้น “เข็มเศรษฐีบรูไน” ขาดหายไปจากตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับระยะหนึ่ง เนื่องจากขยายพันธุ์ไม่ทัน ปัจจุบันเพิ่งพบว่ามีต้น “เข็มเศรษฐีบรูไน” รุ่นใหม่ออกวางขายอีกครั้ง จึงแจ้งให้ผู้นิยมปลูกไม้ดอกสวยงามทราบอีกทันที

เข็มเศรษฐีบรูไน ผู้ขายไม่ทราบแหล่งกำเนิดและที่มาของชื่อว่าเป็นอย่างไร รู้เพียงว่าได้เรียกชื่อ “เข็มเศรษฐีบรูไน” มาตั้งแต่นำต้นออกขายครั้งแรก มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้พุ่มสูง ๐.๓-๕ เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปรีแกมรูปขอบขนานก้านใบสั้น มีหูใบ แผ่นใบเป็นสีเขียวสด

ดอก ออกเป็นช่อขนาดใหญ่ที่ปลายยอด ดอกโคนเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นกลีบดอก ๔-๕ กลีบ ตามแต่สายพันธุ์ มีเกสรตัวผู้ ๔ อัน ซึ่ง “เข็มเศรษฐีบรูไน” จะมีลักษณะเด่นคือ แต่ละช่อจะมีดอกย่อยเรียงเบียดกันอย่างหนาแน่นเป็นช่อใหญ่มาก รูปทรงกลมเกือบเท่าลูกฟุตบอลตามภาพประกอบคอลัมน์ สีของดอกเมื่อเริ่มบานจะเป็นสีเหลืองและสีส้ม จากนั้นสีของดอกจะเปลี่ยนเป็นสีแดงสดตอนดอกเริ่มแก่จัด ทำให้มีสี ๓ สี ในช่อเดียวกัน ดูสวยงามมาก

ที่สำคัญ ดอกของ “เข็มเศรษฐีบรูไน” แต่ละช่อจะบานได้ทนนานกว่าช่อดอกเข็มสายพันธุ์ใดๆ “ผล” รูปค่อนข้างกลม เมื่อผลสุกเป็นสีดำ เนื้อผลนิ่ม ๑ ผล มี ๑ เมล็ด ดอกออกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำกิ่ง เพาะเมล็ด และตอนกิ่ง

ปัจจุบัน “เข็มเศรษฐีบรูไน” มีกิ่งพันธุ์รุ่นใหม่ขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๙ ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ในดินทั่วไป เหมาะจะปลูกประดับทั้งลงดินหลายๆ ต้น หรือปลูกลงกระถางขนาดใหญ่ เวลามีดอกจะสวยงามเป็นอมตะน่าชมมากครับ. หน้า ๗ นสพ.ไทยรัฐ

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/56402166436115_EyWwB5WU57MYnKOvjujTOzzoxAhkSC.jpg)  เข็มพม่า  สวยหอมแรง

โดยปกติ  เข็มชนิดนี้มีขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วไป ในประเทศไทยตามป่าธรรมชาติหายากแล้ว  ส่วนใหญ่จะพบมากที่สุดตามป่าของประเทศพม่า ติดรอยต่อชายแดนไทยทางภาคเหนือเกือบตลอดแนว ซึ่งดอกของ “เข็มพม่า” จะมีความสวยงามแตกต่างจากดอกเข็มทั่วๆไปอย่างชัดเจน และที่สำคัญดอกจะมีกลิ่นหอมแรงเหมือนกับกลิ่นดอกเข็มขาว หรือเข็มต้นที่คนส่วนใหญ่รู้จักและนิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายมาช้านาน โดยเฉพาะตอนกลางคืนกลิ่นหอมจะแรงกว่าตอนกลางวัน เมื่อได้สูดดมแล้วจะทำให้รู้สึกสดชื่นเป็นอย่างยิ่ง

เข็มพม่า เป็นไม้พุ่ม สูง ๑-๓ เมตร แตกกิ่งก้านต่ำตั้งแต่โคนต้น เป็นพุ่มโปร่งๆจะหนาแน่น ในช่วงปลายยอด ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม ลักษณะใบจะเหมือนกับใบของต้นเข็มทั่วไป แต่ใบจะกว้างและยาวกว่า เป็นสีเขียวสด

ดอก  ออกเป็นช่อทรงกลมตามปลายกิ่ง ๑-๓ ช่อ แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก ลักษณะดอกโคนเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นกลีบดอก ๔ กลีบ รูปรีหรือรูปขอบขนาน แคบยาวกว่ากลีบดอกเข็มทั่วไป กลีบเลี้ยงเป็นสีแดงอมม่วง โคนกลีบดอกเป็นสีขาว ปลายกลีบเป็นสีชมพูอ่อนๆ มีเกสรตัวผู้ ๔ อัน กางออกระหว่างกลีบดอกทั้ง ๔ มีเกสรตัวเมีย ๑ อัน แทงขึ้นจากใจกลางดอก ดอกมีกลิ่นหอมแรง โดยเฉพาะตอนกลางคืนตลอดทั้งคืน เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้นจะดูสวยงามและส่งกลิ่นหอมเป็นที่ประทับใจยิ่ง ดอกออกเกือบทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง

ปัจจุบัน “เข็มพม่า” นานๆ จะพบมีต้นวางขาย  ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวน จตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ หลายแผงหลายเจ้าราคาไม่เท่ากัน จึงต้องเปรียบเทียบราคาก่อนตัดสินใจซื้อไปปลูก เหมาะจะปลูกประดับในบริเวณบ้านด้านเหนือลมหลายๆต้น เวลามีดอกนอกจากจะดูสวยงามแล้ว  ตอนกลางคืนลมพัดเอากลิ่นหอมโชยเข้าบ้านหอมเป็นธรรมชาติดีมาก.  หน้า ๗ นสพ.ไทยรัฐ



หัวข้อ: Re: พรรณไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้มงคล
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 13 พฤษภาคม 2557 16:58:13
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/13226346216267_EyWwB5WU57MYnKOuFT0RMYxEwNyKBz.jpg)    บัวคิงออฟสยาม   สวยหอมชื่อเป็นมงคล

บัว แยกเป็น ๔ ชนิด คือ บัวผัน บัวเผื่อน บัวฝรั่ง และ บัวสาย ทั้ง ๔ ชนิดอยู่ในสกุลเดียวกัน คือ NYMPHAEA สามารถแยกบัวเหล่านี้ได้ด้วยวิธีดูเหง้า เช่น เหง้าบัวฝรั่งจะเจริญทอดเลื้อยไปกับผิวดิน บางพันธุ์พักตัวช่วงฤดูหนาว บัวสายเหง้าเจริญในแนวตั้ง หัวใหม่จะแตกจากหัวเก่า และบัวผันกับบัวเผื่อน เหง้าเจริญในแนวตั้งและหัวใหม่จะแตกจากหัวเก่า เหมือนกับบัวสาย แต่ขนาดของหัวจะใหญ่กว่า โดยทั้ง ๔ ชนิด สามารถตัดดอกปักแจกันได้นาน ๓ วัน เหมือนกับบานอยู่บนตื้น

บัวคิงออฟสยาม หรืออีกชื่อ บัวฉลองขวัญ อยู่ในกลุ่มบัวผัน เกิดจากฝีมือขยายพันธุ์ของ อ.ชัยพล ธรรมสุวรรณ มีลักษณะเด่นคือ สีสันของดอกสวยงามมาก ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ เป็นไม้ล้มลุก มีลำต้นใต้ดินเป็นหน่อเล็ก ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับถี่ลอยบนผิวน้ำเป็นวงกลม แผ่นใบเป็นรูปไข่ โคนเว้าฐานใบเปิดครึ่งหนึ่ง ด้านบนสีเขียวเป็นมัน ด้านล่างสีม่วงอมน้ำเงิน ก้านใบมียาง เมื่อหักจะมีใยยืดยาวเรียกว่าใยบัว คนมักเปรียบเทียบว่า ตัดบัวยังมีเยื่อใย

ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆตามซอกใบ ดอกบานเหนือน้ำ ปลายกลีบดอกแหลม เรียงซ้อนกันหลายชั้น เป็นสีม่วงเข้ม หรือ ม่วงอมชมพูใจกลางดอกมีเกสรจำนวนมาก เป็นสีเหลือง ดอกบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 10-12 ซม. ดอกมีกลิ่นหอม เวลามีดอกสวยงามมาก “ผล” กลมอยู่ใต้น้ำ มีเมล็ดเยอะ ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและหน่อ

มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒  ราคาสอบถามกันเอง สามารถปลูกประดับได้ทั้งแบบ ลงกระถางบัวและปลูกลงสระน้ำจำลอง โดยนำกระถางปลูกตั้งลงไปในสระจำลองได้เลย เพราะบัวคิงออฟสยามชอบน้ำตื้นถึงน้ำลึกปานกลาง ชอบแสงแดด ประมาณ ๕-๖ ชั่วโมงต่อวัน บำรุงปุ๋ยสูตร ๑๖-๑๖-๑๖ ห่อกระดาษทิชชูกดฝังดินใต้น้ำ ๕-๑๐ เม็ด ต่อ ๑๐ วัน จะทำให้มีดอกสวยงามไม่ขาดระยะครับ.
หน้า ๗ นสพ.ไทยรัฐ พุธที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๗


(http://www.greenculturesg.com/articles/dec05/gerbera_nursery.jpg)  เยอบีร่า   สวยเป็นอมตะ

เยอบีรา เป็นไม้ดอกสวยงาม มีถิ่นกำเนิดจากประเทศอเมริกาใต้ ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยบ้านเรานานตั้งแต่โบราณแล้ว จนทำให้รู้สึกว่า “เยอบีรา” เป็นไม้ของไทยโดยปริยาย ซึ่งในปัจจจุบัน “เยอบีรา” มีการพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ๆ ออกสู่ตลาดไม้ดอกไม้ประดับมากมาย มีทั้งชนิดดอกขนาดใหญ่และดอกขนาดเล็ก ดอกมีกลีบหลายชั้นเพิ่มขึ้น สีสันของดอกเข้มข้นและสวยงามหลายสีมากขึ้น ทำให้ “เยอบีรา” ครองความเป็นอมตะของผู้ปลูกเรื่อยมาจนกระทั่งทุกวันนี้

เยอบีรา หรือ GERBERA JAMESONII BOLUS EX HOOK. ชื่อสามัญ BERBERTON DAISY, TRAANSVAL DAISY อยู่ในวงศ์ COMPOSITAE เป็นไม้ล้มลุกมีหน่อใต้ดิน ต้นสูง ๒๕-๕๐ ซม. ใบเป็นรูปช้อนแกมรูปขอบขนาน กว้าง ๕-๘ ซม. ยาว ๑๔-๒๐ ซม. ขอบใบเป็นพูลึก ปลายและปลายพูมีติ่งแหลม ใบมีขนทั้ง ๒ ด้าน สีเขียวสดน่าชมยิ่งนัก

ดอก ออกเป็นช่อกระจุกแบบเดี่ยวๆที่ปลายยอด มีด้วยกันหลายสี เช่น ขาว แดง ชมพู ส้ม เหลือง เป็นต้น เมื่อดอกบานเต็มที่เส้นผ่า ศูนย์กลางประมาณ ๗-๘ ซม. ลักษณะดอกมีริ้วประดับหลายวง ดอกวงนอกเป็นดอกเพศเมีย ดอกวงในเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีจำนวนมาก ริ้วยาวประมาณ ๑ ซม. ปลายเป็น ๕ แฉกไม่เท่ากัน เวลามีดอกบานพร้อมกันหลายๆ ต้น และหลายๆ สีจะสวยงามประทับใจมาก “ผล” รูปแบน มีขนสีออกแดงติดที่ปลายเมล็ดด้านหนึ่ง  ดอกออกตลอดปี  ขยายพันธุ์ด้วยหน่อหรือหัว

เยอบีรา มีต้นขายทั่วไปที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ราคาแต่ละแผงไม่เท่ากัน หรืออยู่ที่แต่ละสายพันธุ์และความแตกต่างของดอก ดังนั้น ผู้ซื้อจึงต้องสำรวจราคาก่อนตัดสินใจซื้อไปปลูกหรือซื้อไปตั้งประดับเพื่อตกแต่งครับ.
หน้า ๗ นสพ.ไทยรัฐ ศุกร์ที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖


(http://i739.photobucket.com/albums/xx40/SSPK_photos/b4dfc762.jpg)  นางแย้ม  

นางแย้ม เป็นไม้พุ่มล้มลุก ดอกคล้ายดอกมะลิซ้อนหลายดอกอัดรวมกัน แต่เมื่อต้นแก่เมื่อออกดอกแล้วระยะหนึ่งก็จะแห้งตาย สามารถออกดอกได้ตลอดปี แต่จะออกดอกมากในช่วงฤดูฝนและให้กลิ่นหอมแรงตลอดทั้งวัน การขยายพันธุ์นิยมขุดต้นอ่อน ที่เกิดจากรากที่อยู่ใกล้ผิวดินไปปลูกในพื้นที่อื่นที่ต้องการ ซึ่งเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุด ต้นอ่อนจะเกิดมากตั้งแต่ต้นมีอายุประมาณ ๒ ปี หลังจากเริ่มปลูก  ปลูกได้ดีทั้งกลางแจ้งและที่ร่มรำไรปลูกในที่ร่มรำไรจะเหมาะสมที่สุด เนื่องจากใบและดอกจะมีขนาดใหญ่และสวยงาม การปลูกในครั้งแรกควรปลูกเพียงต้นเดียวเนื่อง จากเมื่อเติบโตได้ระยะหนึ่งจะมีการแตกต้นใหม่ออกมา หากต้องการดอกขนาดใหญ่ ควรเด็ดดอกที่อยู่ตามกิ่งแขนงออกเหลือเฉพาะดอกที่อยู่ที่ยอดบนสุดเท่านั้น คล้ายกับวิธีที่ใช้กับต้นดาวเรืองควรตัดกิ่งและต้นที่แก่ออกบ้างเพื่อจะได้ต้นใหม่ที่ให้ดอกขนาดใหญ่ ที่สำคัญระหว่างตัดแต่งกิ่งให้ระวังใบที่อาจจะสัมผัสกับผิวหนังด้วยใบอาจทำให้ผิวหนังของบางคนระคายเคืองได้.
หน้า ๒๘ นสพ.เดลินิวส์ พุธที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๖


(http://www.bloggang.com/data/k/kitpooh22/picture/1342420116.jpg)  นมแมว  

นมแมวเป็นไม้ดอกหอมในวงศ์ ANNONACEAE ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rauwenhoffia siamensis Scheff. ลักษณะดอกคล้ายกับลำดวน แตกต่างกันตรงที่ลำดวนเป็นไม้ใหญ่แต่นมแมวเป็นไม้พุ่มรอเลื้อย มีขนาดเล็ก และนับเป็นพรรณไม้ป่าดอกหอมที่มีผู้นิยมปลูกเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน

เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก แตกกิ่งต่ำใกล้ผิวดิน กิ่งสีเทา เข้มเหนียว ใบเดี่ยวรูปไข่ สีเขียวเข้มเป็นมัน ออกดอกเดี่ยวสีเหลืองนวล ปลายกิ่งมีกลีบดอกหนาและแข็ง ดอกนมแมวมีกลิ่นหอมเย็น ส่งกลิ่นหอมมากในช่วงเย็นและกลางคืน ออกดอกเป็นช่วงๆ ตลอดทั้งปี ผลของนมแมวรับประทานได้ โดยผลจะออกเป็นกลุ่ม ลักษณะกลมเล็ก ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเหลือง รับประทานได้เฉพาะผลแก่เท่านั้น มีรสหวานอมเปรี้ยว ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและตอนกิ่ง ชอบดินที่ชุ่มชื้นระบายน้ำได้ดี นิยมปลูกประดับและตัดแต่งให้เป็นทรงพุ่มสวยงาม
หน้า ๒๔นสพ.ข่าวสด พฤหัสบดีที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖


(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTyWtmHkKm1srWDyVz-vcsgK4A3cTEwTFeS5cAzIgtVZ3ymMzYcRA)  ดอกกระดาษ  

ดอกกระดาษเป็นทั้งไม้ยืนต้นและล้มลุก มีลักษณะเป็นพุ่มต้นสูง ๔๕-๑๐๕ ซ.ม. ใบเดี่ยว สีเขียวไม่เข้มนัก ใบยาวรี ขอบใบเรียบ มีขนปกคลุมต้นและใบเล็กน้อย กลีบเลี้ยงมีลักษณะแห้งและแข็ง

ดอกมีหลายสี เช่น ขาว ชมพู แดง ม่วงและเหลือง ดอกออกเป็นช่อมี ๓-๔ ดอกต่อช่อ ทยอยออกดอกเรื่อยไป ยิ่งถ้าตัดดอกไปใช้ประโยชน์ จำนวนดอกที่ได้จะเพิ่มมากขึ้น ดอกจะบานในเวลากลางวันและหุบในเวลากลางคืน ใบเดี่ยวรูปหอก ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม โคนใบสอบแคบ ออกดอกเดี่ยว หรือเป็นช่อที่ยอดของลำต้น กลีบดอกสีเหลืองหรือส้ม ก้านดอกแข็ง ดอกกระดาษชอบแดด ดินที่ปลูกต้องแห้งและร่วนซุย ไม่มีน้ำขัง
หน้า ๒๔ นสพ.ข่าวสด ๑๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕


(http://frynn.com/wp-content/uploads/2013/12/เสี้ยวดอกขาว.jpg)  เสี้ยวดอกขาว  
 
เสี้ยวดอกขาว เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดตากและน่าน มีถิ่นกำเนิดจากประเทศอินเดียและมาเลเซีย ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bauhinia variegata L. อยู่ในวงศ์ LEGUMINOSAE

ลักษณะทั่วไป เป็นต้นสูง ผลัดใบ เรือนยอดกลม ใบเดี่ยวค่อนข้างกลม ปลายและโคนใบเว้าคล้ายใบแฝดติดกัน ใต้ใบมีขน ออกดอกเป็นช่อที่ซอกใบและปลายกิ่ง ๕ กลีบคล้ายดอกกล้วยไม้ เนื้อไม้มีกลิ่น หอมอ่อนๆ ออกดอกตลอดทั้งปี โดยจะออกดอกมากเป็นพิเศษในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงมีนาคม ผลเป็นฝักแบน เมื่อแก่จะแตกเป็น ๒ ซีก ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด เติบโตได้ดีในดินที่ระบายน้ำดี ความชื้นสูง แสงแดดจัด

สรรพคุณ ฝักแก่ เนื้อในสีน้ำตาลดำ รสหวาน ใช้เป็นยาถ่าย เนื้อฝักคูนช่วยระบายเพราะในเนื้อมีสารแอนทราควิโนนหลายชนิด เหมาะสำหรับผู้ที่ท้องผูกประจำ สตรีมีครรภ์ใช้ได้ ดอกและใบอ่อนนำมาต้มแล้วนำไปผัดกิน ยอดอ่อนนำไปประกอบอาหาร เช่น แกงหน่อไม้  
หน้า ๒๔ นสพ.ข่าวสด ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖


(http://www.bloggang.com/data/fasaiwonmai/picture/1295936063.jpg)  กล็อกซิเนีย  

ในช่วงเทศกาลปีใหม่ซึ่งหลายคนนิยมใช้ต้นไม้ดอกไม้ให้เป็นของขวัญกัน จึงขอแนะนำพรรณไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศบราซิล อย่าง กล็อกซิเนียมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sinningia Speciosa ชื่อสามัญคือ Gloxinia

กล็อกซิเนียเป็นไม้ดอกที่นิยมปลูกในกระถาง เป็นไม้งามเฉพาะตัว เป็นไม้กระถางที่มีขนาดไม่ใหญ่ ให้ดอกตลอดปี เป็นไม้อวบน้ำ ใบมีขนาดใหญ่ มีขนอ่อนที่หน้าใบ ขอบใบมีรอยหยัก ชอบดินร่วนและแสงแดดครึ่งวัน ออกดอกตามช่อกิ่ง ช่อหนึ่งมีดอก ๓-๔ ดอก สีขาว ชมพูอ่อน ชมพูเข้ม แดง ม่วงและสองสีในดอกเดียวกัน

พรรณไม้ชนิดนี้ต้องรดน้ำทุกวันเพราะเป็นพรรณไม้ที่ต้องการน้ำ นิยมปลูกใส่กระถางและตั้งไว้รับ แดดริมหน้าต่าง
หน้า ๒๔ นสพ.ข่าวสด ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕


(http://www.bloggang.com/data/charmtip-charmthai/picture/1242889858.jpg)  ว่านกุมารทอง  

ว่านกุมารทอง เป็นพรรณไม้ที่คนโบราณเชื่อกันว่าใครปลูกไว้ที่บ้านจะมีอำนาจ มีเทวดาคุ้มครอง เป็นที่ยำเกรงแก่ผู้พบเห็น ถ้าค้าขายก็จะได้กำไร พรรณไม้ชนิดนี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า aemanthus multiforus (Tratt.) Martyn ชื่อสามัญคือ Bloodflower, Powder puff lily ชื่อภาษาไทยอื่นๆ รู้จักในชื่อ ว่านกระทุ่ม ว่านตะกร้อ ว่านแสงอาทิตย์

กุมารทองเป็นพันธุ์ไม้ล้มลุกที่มีลำต้นใต้ดิน หัวว่านคล้ายหอมหัวใหญ่ เปลือกที่หุ้มหัวมีสีน้ำตาลไหม้และมีจุดสีแดงคล้ำประทั่วหัว ส่วนล่างของหัวมีรากออกเป็นกระจุกหนาแน่นดูเหมือนแท่นหรือฐานรองหัว ทำให้ดูคล้ายเด็กนั่งอยู่บนแท่นไว้ผมจุกจึงถูกเรียกชื่อว่า "ว่านกุมารทอง"

ลำต้นส่วนที่โผล่ขึ้นมาเหนือผิวดินจะมีลักษณะกลม สีเขียว มีจุดสีแดงคล้ำตลอดทั้งก้าน ใบเลี้ยงเดี่ยว ใบรีแกมรูปขอบขนาน ปลายใบมน โคนใบสอบเรียว ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย พื้นใบเป็นสีเขียวสด บิดตัวเป็นคลื่นเล็กน้อย ดอกเป็นช่อแบบช่อซี่ร่ม ลักษณะของช่อดอกกลม ช่อหนึ่งๆ ประกอบด้วยดอกเล็กๆ หลายดอก แต่ละดอกมีกลีบดอกเป็นเส้นฝอยสีแดงตรงปลายเป็นสีเหลืองเล็กน้อย ก้านดอกยาวมีสีเขียว ดอกดูสวยงามมาก

โดยส่วนใหญ่แล้วดอกจะออกประมาณเดือนเม.ย.-พ.ค.
หน้า ๒๔ นสพ.ข่าวสด ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖


(http://www.bloggang.com/data/v/vinitsiri/picture/1381642532.jpg)  โบตั๋น  

โบตั๋น ดอกไม้สวยงามสีสันสดใสและมีกลิ่นหอม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Melodorum Fruticosum ในภาษาจีนเรียกกันว่าหมู่

ในยุคแรกชาวจีนนำดอกโบตั๋นมาทำเป็นยาสมุนไพร หลังจากนั้นค่อยๆ มีจิตรกรนำดอกโบตั๋นมาวาดไว้ในงานศิลปะ ชาวจีนเชื่อว่าดอกโบตั๋นเป็นดอกไม้ที่มีสัญลักษณ์แห่งความมั่งคั่งร่ำรวย

ในสมัยราชวงศ์ชิงกำหนดให้ดอกโบตั๋นเป็นดอกไม้ประจำชาติจีน แต่หลังจากราชวงศ์ล่มสลายพรรคคอมมิวนิสต์ขึ้นมามีอำนาจทำให้ไม่มีการแต่งตั้งดอกไม้ประจำชาติจีนอย่างเป็นทางการ จนกระทั่งสมัยนายกรัฐมนตรีโจว เอินไหล เขาเดินทางไปยังเมืองลั่วหยาง มณฑลเหอหนาน ได้เยือนแหล่งเพาะปลูกดอกโบตั๋นที่มีชื่อเสียง แต่เนื่องจากขาดการสนับสนุนทำให้ผลผลิตที่ออกมาไม่ดีเท่าที่ควร อดีตนายกฯ ได้กล่าวกับอาคันตุกะชาวต่างชาติว่า "ดอกโบตั๋นนั้นเป็นดอกไม้ประจำชาติจีน เป็นดอกไม้ที่น่าอัศจรรย์และสง่างามมาก เป็นสัญลักษณ์แห่งความสุขและความมั่งมีศรีสุขของประเทศ เราจะต้องปกป้องมันอย่างเร่งด่วน"

หลังจากนั้นดอกโบตั๋นก็ค่อยๆ เริ่มกลับมามีชื่อเสียงและเจริญงอกงามอีกครั้ง ปัจจุบันนอกจากในประเทศจีนแล้วยังมีการปลูกดอกโบตั๋นในกว่า ๒๐ ประเทศทั่วโลก เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี สิงคโปร์ อังกฤษ ฝรั่งเศส อเมริกา แคนาดา
หน้า ๒๔ นสพ.ข่าวสด ๒๐ ธันวาคม  พ.ศ. ๒๕๕๕


(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/5/5c/Gomphrena_serrata_in_Hyderabad_W_IMG_8870.jpg)  บานไม่รู้โรยป่า  

บานไม่รู้โรยป่า จัดเป็นไม้ล้มลุก ในเวลาเดียวกันยังเป็นไม้ยืนต้นด้วย ชื่อวิทยาศาสตร์ Gomphrena Celosioides พุ่มต้นสูงต้นค่อนข้างกลมอวบน้ำ สีเขียวแกมขาวยาวตรง กิ่งแขนงเลื้อยทอดไปเป็นรัศมี โดยรอบปล้องค่อนข้างยาว ลำต้นมีขนเล็กๆ ปกคลุม ใบเดี่ยว โคนก้านเป็นร่องเล็กๆ แล้วแผ่เป็นกาบสั้นๆ หุ้มข้อใบรูปไข่กลับยาวรี รูปใบหอกโคนใบแหลม ปลายใบค่อนข้างแหลมหรือมน ผิวใบมีขนสีขาวปกคลุม ขอบใบเรียบ ดอกช่อลดรูปขอบขนาน ผลิที่ปลายกิ่งก้าน ดอกยาวประมาณ ๕-๑๕ ซ.ม. ปลายก้านดอกมีใบประดับ รูปร่างคล้ายใบ ๑ คู่อยู่ใต้กลุ่มดอกย่อย แต่ละดอกย่อยมีใบประดับ ๑ อันรูปไข่ ปลายกลีบมี ๕ กลีบแยกกัน สีขาว บางและแห้ง โคนกลีบมีขนสีขาว ดอกบานเวลากลางวัน จะหุบเวลากลางคืน

ประโยชน์ด้านสมุนไพร ต้นใช้แก้กามโรค หนอง ส่วนรากแก้โรคทางเดินปัสสาวะ อักเสบ ขับนิ่ว
หน้า ๒๔ นสพ.ข่าวสด ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖


(http://www.thaikasetsart.com/wp-content/uploads/2013/01/%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B2.jpg)  ควินิน  

ดอกควินิน หรือซิงโคนา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cinchona pubescens Vah อยู่ในวงศ์ RUBIACEAE ประวัติความเป็นมาของต้นควินิน ชาวอินเดียนแดง ประเทศเปรู ดื่มน้ำในบ่อที่มีกิ่งก้านต้นควินินแช่อยู่เพื่อบรรเทาอาการไข้ ความรู้นี้เผยแพร่ไปยังนักบวชและบุคคลทั่วไปรวมทั้งนำไปรักษาท่านผู้หญิงจินจอน ผู้สำเร็จราชการรัฐเปรู ก่อนเผยแพร่เข้าไปในยุโรป ชื่อซิงโคนาจึงตั้งเป็นเกียรติแก่ท่านผู้หญิงจินจอน โดยชาร์ลส์ เลดเจอร์ (charles ledger) เป็นผู้นำต้นควินินมาปลูกในประเทศอินโดนีเซียจนเป็นสินค้าส่งออกสำคัญ

ต้นควินินมีถิ่นกำเนิดแถวเทือกเขาแอนเดสของเอกวาดอร์และรัฐเปรู เป็นพืชที่เจริญงอกงามดีในพื้นที่ที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล ๓-๙ พันฟุต ต่อมาชาววิลันดานำต้นควินินไปปลูกในประเทศอินโดนีเซีย อังกฤษ อินเดีย และศรีลังกา

ต้นควินินเจริญเติบโตช้า เพาะเมล็ดให้งอกในแปลงเพาะประมาณ ๒ ปี แล้วจึงย้ายไปปลูกในที่ที่เตรียมไว้ เมื่อต้นควินินเจริญเติบโตขึ้นจะทิ้งกิ่งตอนโคนต้นและงอกกิ่งใหม่มาแทน ต้นควินินไม่ต้องการแสงแดดมากเกินไป
หน้า ๒๔ นสพ.ข่าวสด ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖


(http://www.bloggang.com/data/spicy/picture/1234458452.jpg)  ดอกหิรัญญิการ์  

ดอกหิรัญญิการ์ เป็นไม้เถาขนาดใหญ่เนื้อแข็ง ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Beaumontia grandiflora Wall ทุกส่วนของลำต้นหรือเถาจะมียางสีขาว ส่วนยอดหรือส่วนอื่นที่ยังอ่อนอยู่มีขนสีน้ำตาลอมแดงขึ้นปกคลุม มักเลื้อยเกาะพันต้นไม้อื่นและสามารถเลื้อยไปได้ไกล แตกกิ่งก้านสาขาแผ่เป็นพุ่มแน่นเฉพาะส่วนยอดหรือบริเวณที่ได้รับแสงแดดเต็มที่ ใบเดี่ยว ออกใบคู่ตรงข้ามตามข้อต้น ใบหยาบยาวหนา ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ใบด้านบนเป็นมัน

ดอกมีขนาดใหญ่สีขาว มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกลักษณะคล้ายถ้วย ตอนปลายของดอกจะบานกว้าง ช่อดอกหนึ่งมีตั้งแต่ ๖-๑๕ ดอก ผลัดกันบานครั้งละประมาณ ๔ ดอก

การกระจายพันธุ์อยู่ในแถบเอเชียอาคเนย์ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป ไม้เถาหิรัญญิการ์ในประเทศไทยมี ๓-๔ ชนิด มีดอกใหญ่สีขาวคล้ายคลึงกัน แต่แตกต่างกันที่รูปร่างของกลีบดอกและใบ
หน้า ๒๔ นสพ.ข่าวสด ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗


(http://www.biogang.net/upload_img/biodiversity/biodiversity-130006-1.jpg)  หางนกยูงฝรั่ง  
 
หางนกยูงฝรั่งเป็นไม้ต้นขนาดกลาง สูง ๑๐-๒๐ เมตร ชื่ออื่นๆ เช่น หงอนยูง ส้มพอหลวง ชื่อสามัญ Flambuoyant Tree เป็นไม้ผลัดใบ เรือนยอดแผ่แบนกว้างแบบรูปร่ม แตกกิ่งก้านในระยะต่ำ แผ่กิ่งก้านสาขาในแนวราบมากกว่าแนวสูง

เมื่อถึงฤดูกาลออกดอกจะทิ้งใบ ดอกจะบานพร้อมกัน สีสันสวยงามสะดุดตา เป็นไม้โตเร็ว ไม่มีโรคและแมลงรบกวน เปลือกสีน้ำตาลอมเทา ผิวเปลือกละเอียดเรียบ มีเม็ดเล็กๆ สีขาวอมน้ำตาลกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป เมื่อสัมผัสจะมีผงสีน้ำตาลติดมือ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกสลับ ใบย่อยออกตรงกันข้าม ปลายคู่มีใบย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ใบย่อยรูปรี รูปไข่หรือขอบขนาน ปลายใบมน หรือมีติ่งแหลมเล็กน้อย โคนใบมนเบี้ยว ขอบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียวเข้มเรียบ ดอกสีแดง สีส้มหรือสีเหลือง ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงตามซอกใบบริเวณกิ่งก้านและปลายกิ่ง ออกดอกเดือนเมษายน-พฤษภาคม นิยมปลูกเป็นไม้ดอกประดับตามสวนสาธารณะ ริมถนน ทางเดิน ขยายพันธุ์โดยเมล็ด
หน้า ๒๔ นสพ.ข่าวสด ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗


หัวข้อ: Re: พรรณไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้มงคล
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 06 ตุลาคม 2557 18:18:02
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/30404608738091_EyWwB5WU57MYnKOuXocwHi64a2VDFA.jpg)   จำปาสีทอง ใหญ่สวยหอมแรง
ไม้ต้นนี้ เกิดจากการนำเอาเมล็ดของจำปาพื้นบ้านดั้งเดิมไปเพาะเป็นต้นกล้าจำนวนหลายต้นแล้วปลูกเลี้ยงจนต้นโตมีดอกและติดผล ปรากฏว่า มีหลายต้นลักษณะดอกแตกต่างไปจากดอกของจำปาพื้นบ้านที่เป็นพันธุ์แม่อย่างชัดเจน คือ ขนาดของดอกใหญ่กว่า สีสันของกลีบดอกเข้มขึ้น เนื้อกลีบดอกหนา และ ที่สำคัญดอกมีกลิ่นหอมแรงมาก เชื่อว่าเป็นจำปาพันธุ์ใหม่ที่กลายพันธุ์อย่างแน่นอน จึงขยายพันธุ์ตอนกิ่งหลายวิธีไปปลูกเพื่อทดสอบความนิ่งของสายพันธุ์ ปรากฏว่าทุกอย่างยังคงที่และได้กลายพันธุ์แบบถาวรแล้ว เลยตั้งชื่อว่า “จำปาสีทอง” พร้อมขยายพันธุ์ตอนกิ่งออกขายได้รับความนิยมจากผู้ซื้อไปปลูกอย่างแพร่หลาย

จำปาสีทอง อยู่ในวงศ์ MAGNOLIACEAE เป็นไม้ยืนต้นสูง ๕-๑๐ เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับ รูปรี รูปไข่ หรือรูปไข่แคบ ปลายแหลมเป็นติ่ง โคนกลมมนหรือแหลม เนื้อใบค่อนข้างหนาคล้ายแผ่นหนัง สีเขียวสด

ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ ตามซอกใบเกือบทุกซอก มีกลีบดอกจำนวน ๑๒-๑๕ กลีบ เรียงซ้อนกันหลายชั้น กลีบดอกเป็นรูปใบหอกยาว กลีบชั้นนอกจะมีขนาดใหญ่กว่ากลีบที่อยู่ถัดไปตามลำดับ เนื้อกลีบดอกเป็นสีเหลืองเข้มหรือสีเหลืองทอง ดอกมีกลิ่นหอมแรงมากในช่วงเช้า พอบ่ายกลิ่นหอมจะจางลง ดอกบานเต็มที่จะมีขนาดใหญ่กว่าดอกจำปาทั่วไปถึง ๒ เท่า ทำให้เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้น จะดูสวยงามพร้อมส่งกลิ่นหอมฟุ้งกระจายทั่วบริเวณใกล้เคียงเป็นที่ชื่นใจยิ่ง“ผล” เป็นผลกลุ่ม มีเมล็ดหลายเมล็ด ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ทั่วไปด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง และเสียบยอด

เมื่อ ๕-๖ ปี เคยมีต้น “จำปาสีทอง” ที่เป็นของแท้และขยายพันธุ์ด้วยวิธีเสียบยอดกับตอจำปาพื้นบ้าน ขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แต่ปัจจุบันไม่พบอีกแล้วครับ.   ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/36571514813436_1.png)   จำปีจิ๋ว "ดกทั้งปี หอมต้นเตี้ย"
จำปีจิ๋ว ระบุที่มาของสายพันธุ์ยังไม่ได้ ทราบเพียงว่า ขนาดต้นโตเต็มที่มีความสูงแค่ ๒.๕-๓ เมตรเท่านั้น แตกต่างจากต้นจำปีดั้งเดิมจะสูง ๗-๑๐ เมตรขึ้นไป ลักษณะดอกของ “จำปีจิ๋ว” วัดความยาวเต็มที่ไม่ถึง ๑ นิ้วฟุต หรือประมาณไม่ถึงความยาว ๑ ข้อนิ้วมือผู้ใหญ่ จึงถูกตั้งชื่อว่า “จำปีจิ๋ว” ที่สำคัญเป็นจุดเด่นประจำพันธุ์ของ “จำปีจิ๋ว” คือ จะติดดอกเป็นช่ออย่างต่ำ ๓-๕ ดอก แตกต่างจากจำปีพันธุ์ดั้งเดิมที่จะออกดอกเป็นดอกเดี่ยวๆ และมีดอกได้เรื่อยๆ เกือบทั้งปีอีกด้วย จึงเป็นไม้ดอกหอมที่กำลังได้รับความนิยมปลูกในเวลานี้

จำปีจิ๋ว อยู่ในวงศ์ MAGNOLIACEAE ต้นสูง ๒.๕-๓ เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มทรงสามเหลี่ยม ใบเดี่ยวออกสลับ รูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน ใบมีขนาดใหญ่ สีเขียวสด ดอก ออกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อย ๓-๕ ดอก ตามที่กล่าวข้างต้น ซึ่งดอกของ “จำปีจิ๋ว” จะมีทั้งประเภทช่อตั้งขึ้นและช่อห้อยลง ดอกตูมเป็นรูปกระสวย เมื่อดอกบานกลีบดอกเป็นรูปรีโคนกลีบคอด ปลายกลีบแหลม มีกลีบดอก ๖-๘ กลีบ เนื้อกลีบหนาและแข็งกว่ากลีบดอกจำปีพันธุ์ดั้งเดิมเยอะ

กลีบดอกเป็นสีเหลืองนวล และสีจะเข้มกว่าสีของดอกจำปีทั่วไปอย่างชัดเจน ดอกมีกลิ่นหอมแรงมาก มีเกสรตัวผู้จำนวนมาก เกสรตัวเมีย ๑๐-๑๓ อัน เวลามีดอกดกเต็มต้นและดอกบานพร้อมกันจะดูสวยงามอร่ามตา พร้อมส่งกลิ่นหอมฟุ้งกระจายเป็นที่ประทับใจยิ่ง ดอกออกเกือบทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง หรือทาบกิ่งกับต้นจำปีพื้นเมือง  ปัจจุบัน “จำปีจิ๋ว” มีต้นพันธุ์ขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-วันพฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๑  ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ในดินทั่วไป เหมาะจะปลูกทั้งแบบลงดินกลางแจ้งและปลูกลงกระถางขนาดใหญ่ตั้งในที่มีแสงแดดส่องถึงตลอดทั้งวัน รดน้ำบำรุงปุ๋ยสม่ำเสมอจะมีดอกสวยงามและมีกลิ่นหอมชื่นใจครับ   นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/62168666761782_EyWwB5WU57MYnKOuFZiI6ax7cIrxF5.jpg)   เซียนเช่า "ความเชื่อดีมีสรรพคุณ"
ในหนังสือ “เทศาภิบาล” ของกระทรวงมหาดไทยระบุว่า วัตถุมงคลสำหรับใส่ในบาตรน้ำมนต์ของ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์สังฆนายกฯ วัดมกุฎกษัตริยาราม ที่ใช้ในการประกอบพิธีทำน้ำมนต์ต่างๆ มีด้วยกัน ๘ อย่าง ได้แก่ ใบเงินใบทอง ใบหนาด หญ้าแพรก ผักส้มป่อย ผักชัยพฤกษ์ ผิวมะกรูด และ ใบของต้น “พรหมจรรย์” ซึ่งก็หมายถึงต้น “เซียนเช่า” ที่ชาวจีนถือเป็นไม้มงคลนั่นเอง และมีชื่อเรียกเฉพาะหมู่ชาวจีนอีกชื่อว่าต้น “พรหมจรรย์”
โดย ต้น “เซียนเช่า” หรือต้น “พรหมจรรย์” ดังกล่าว ชาวจีนเชื่อกันว่า ถ้าปลูกไว้ในบ้านจะสามารถป้องกันภูตผีปีศาจ สิ่งชั่วร้าย เสนียดจัญไรคุณไสยที่มองไม่เห็นต่างๆ ไม่ให้กล้ำกรายเข้าบ้านหรือเข้าไปทำร้ายผู้อยู่อาศัยได้อย่างเด็ดขาด คล้ายๆ กับต้น “หนาด” ของไทย ส่วนใหญ่นิยมปลูกคู่กับต้นทับทิม เวลากลับจากไปร่วมงานศพใช้กิ่ง “เซียนเช่า” แช่น้ำร่วมกับใบทับทิมล้างหน้า ล้างมือล้างเท้าก่อนเข้าบ้าน ป้องกันวิญญาณผู้ตายติดตาม โดยเฉพาะหากจำเป็นต้องไปงานศพ คนที่ไม่ถูกกันจะ ช่วยป้องกันวิญญาณไม่ให้ตามมาราวีได้

นอกจากความเชื่อดังกล่าวแล้ว เมล็ดแก่ หรือ เมล็ดแห้ง ของต้น “เซียนเช่า” หรือต้น “พรหมจรรย์” กะจำนวนพอประมาณต้มกับน้ำเยอะหน่อยจนเดือดแล้ว ดื่มขณะอุ่นต่างน้ำชาเรื่อยๆ เป็นยาแก้ร้อนในได้ดีมาก ผลหรือฝักอ่อนสามารถรับประทานแบบสด หรือลวกพอสลบกับน้ำพริกชนิดต่างๆ รสชาติมันอร่อยไม่แพ้ผักเคียงใดๆ เลย

ปัจจุบันต้น “เซียนเช่า” หรือต้น “พรหมจรรย์” ไม่พบมีต้นขายที่ไหน แต่เมื่อประมาณ ๓-๔ ปีที่ผ่านมา มีผู้ขยายพันธุ์นำเอาต้น “เซียนเช่า” ขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-วันพฤหัสฯ หลายแผงหลายเจ้า หากใครอ่านข้อมูลแล้วต้องการต้นไปปลูกตามความเชื่อและใช้ประโยชน์ตามที่กล่าวข้างต้น ลองติดต่อ “นายดาบสมพร” บริเวณโครงการ ๑๗ กับ “คุณพร้อมพันธุ์” โครงการ ๒๑ ให้จัดหาให้ได้ ราคาสอบถามกันเองครับ.  นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/23440721796618_EyWwB5WU57MYnKOuFVP60SZj9YCmLc.jpg)   เมเปิ้ลหอม "ใบสวยสร้างภูมิทัศน์ดี"
เมเปิ้ลหอม เป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดเฉพาะในประเทศไต้หวันเพียงแห่งเดียวเท่านั้น มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ LIQUIDAMBAR FOR-MOSANA อยู่ในวงศ์ HEMAMELIDACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง ๑๐-๑๕ เมตร ลำต้นอวบอ้วน โคนต้นใหญ่แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มทรงกลมกว้างและหนาแน่น เปลือกต้นหนา ผิวเปลือกเป็นสีน้ำตาลดำ มีร่องตามยาว ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ก้านใบยาว ใบเป็นรูปนิ้วมือ ขอบใบเว้าลึกเป็น ๓-๕ แฉก โคนใบตัด สีเขียวอ่อน หรือสีเหลือง และ ก่อนที่จะเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง ใบจะเปลี่ยนเป็นสีแดงหรือสีส้มหมดทั้งต้น ทำให้ดูสวยงามมาก

ที่สำคัญ เมื่อใช้มีดกรีดลำต้นหรือเด็ดก้านใบ จะมีน้ำยางสีขาวไหลออกมาคล้ายอำพัน ใช้จมูกดมดูจะได้กลิ่นหอมเย็นๆ แบบเฉพาะตัว มีสรรพคุณช่วยผ่อนคลายจิตใจดียิ่งนัก ประเทศไทยจึงนิยมเรียกชื่อว่าต้น “เมเปิ้ลหอม” ดังกล่าว เนื้อไม้เป็นสีแดงอมเหลือง เมื่อตัดขวางลำต้นจะมองเห็นลายชัดเจน เนื้อไม้มีน้ำหนักดีและแข็ง จึงนิยมใช้ทำตู้เสื้อผ้า เครื่องใช้ต่างๆ ทำไม้แกะสลักมีลวดลายน่าชมยิ่ง ลำต้นใช้เพาะเห็ดหอม ต้นแห้งเป็นยารักษาโรคผิวหนัง ประเทศไต้หวันเรียกว่า ต้นฟงซื่อ และเชียงฮง

ใครต้องการต้นพันธุ์ “เมเปิ้ลหอม” ไปปลูก ไปซื้อได้ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ โครง-การ ๒๑ แผง “คุณพร้อมพันธุ์” ราคาสอบถามกันเอง  ปลูกได้ทุกพื้นที่ของประเทศไทย เหมาะจะปลูกเพื่อสร้างภูมิทัศน์ทั่วไปตามสวนสาธารณะริมถนนตลอดแนว ปลูกในบริเวณบ้าน สำนักงาน รีสอร์ต ริมห้วยหนองคลองบึง หรือปลูกประดับเป็นไม้บอนไซ เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูใบไม้ร่วง สีของใบจะเป็นสีแดงหรือสีส้มสวยงามมากครับ  นสพ.ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcS1L4D29icuxfBAh4pyggMmPBjgMWTlrEdioGEYdS0YwXBMpGI4aw)   มณฑาสวรรค์ "ดอกใหญ่สวยหอม"
ผู้อ่านจำนวนมากอยากทราบว่า “มณฑาสวรรค์” เป็นอย่างไร ซึ่งความจริงแล้ว ไม้ในสกุลมณฑาหรือวงแม็กโนเลีย (MAGNOLIA) มีมากมายหลายชนิด ดอกมีหลายสี และดอกมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ส่วนใหญ่เป็นไม้นำเข้าจากต่างประเทศ  บางสายพันธุ์สามารถเจริญเติบโตได้ดีมีดอกสวยงามในประเทศไทยบ้านเรา แต่บางสายพันธุ์ปลูกไม่ขึ้นเนื่องจากชอบอากาศเย็น

ส่วน “มณฑาสวรรค์” มีถิ่นกำเนิด จากประเทศจีนตอนใต้ มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ เช่นเดียวกับมณฑาทั่วไป คือ CHINESE EVER GREEN MAGNOLIA ถูกนำเข้ามาปลูกประดับและขยายพันธุ์ในบ้านเรานานหลายปีแล้ว โดยผู้นำเข้าตั้งชื่อเป็นภาษาไทยว่า “มณฑาสวรรค์” ซึ่งก็คือมณฑาจีนชนิดหนึ่งนั่นเอง ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้น สูง ๕-๑๐ เมตร ใบมีขนาดใหญ่ รูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายและโคนใบเกือบมน ออกเรียงสลับหนาแน่นบริเวณปลายยอด เนื้อใบหนาแข็ง ขอบใบบิดเป็นคลื่น สีเขียวสด เวลาใบดกน่าชมยิ่ง

ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ ที่ปลายยอด  เมื่อบานเต็มที่วัดความกว้างได้ ๑๕-๒๕ ซม. มีกลีบดอก ๒ ชั้น รูปกลมรี กลีบดอกชั้นนอกจะมีขนาดใหญ่กว่ากลีบดอกชั้นในอย่างชัดเจน เนื้อกลีบดอกหนาและแข็ง เป็นสีครีม สีขาวอมเหลือง หรือ สีขาวนวล ใจกลางดอกเป็นเส้าเกสรตัวผู้ชูตั้งขึ้น ดอกมีกลิ่นหอมแรงในช่วงพลบค่ำเรื่อยไปตลอดทั้งคืน เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันจะดูสวยงามและส่งกลิ่นหอมเป็นที่ชื่นใจมาก “ผล” เป็นกลุ่ม ดอกออกช่วงระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ของทุกปี  ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด  ตอนกิ่ง และทาบกิ่ง

ปัจจุบัน “มณฑาสวรรค์” มีขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๑ แผง “เฮียหมู” ราคาสอบถามกันเอง นิยมปลูกประดับในบริเวณบ้านด้านเหนือลม เวลามีดอกบาน กลิ่นหอมจะโชยเข้าตัวบ้านทำให้รู้สึกสดชื่นครับ   นสพ.ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcT0aOKHB5kScd34zHzTyubfN9yA_8Fe1QN28uMMGObzawi0fXt7)   ยี่สุ่น "สวยหอมมีสรรพคุณดี"
ยี่สุ่น คือ “กุหลาบแดงจีน” มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ROSA CHINENSIS JACQVAR. SEM-PERFLORENSKOEHNE  ชื่อสามัญ CRIMSON CHINA ROSE อยู่ในวงศ์ ROSACEAE มีชื่อในไทยได้แก่ “ยี่สุ่น–หนู” เป็นคนละชนิดกับกุหลาบหนู ที่คนส่วนใหญ่มักเหมาเอาว่าเป็นต้นเดียวกัน โดย “ยี่สุ่น” มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกุหลาบทั่วไป แต่จะมีหนามน้อยกว่า ใบเป็นใบประกอบปลายคี่ ใบย่อยออกตรงกันข้ามสองคู่ รูปรี ขอบหยัก ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ หรือเป็นช่อที่ปลายดอก กลีบดอกเรียงซ้อนกันหลายชั้น ดอกบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑ นิ้วฟุต ดอกเป็นสีแดงหรือสีชมพูเข้ม บางครั้งเป็นสีแดงกำมะหยี่ มีกลิ่นหอมแรงเฉพาะตัว ดอกออกทั้งปี เวลามีดอกบานพร้อมกันทั้งต้นจะดูสวยงาม และส่งกลิ่นหอมชื่นใจมาก ขยายพันธุ์ปักชำกิ่ง

สรรพคุณ ตำรายาจีนเรียก “ยี่สุ่น” ว่า เหม่ย-กุยฮัว และ เหม่ยกุยฟา ดอกตากแห้ง หยิบชงเป็นน้ำชาดื่มบ่อยๆ ทำให้จิตใจปลอดโปร่ง ช่วยขับเซลล์ผิวหนังที่ตายออกจากร่างกาย ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ฟื้นฟูสภาพผิวให้มีน้ำมีนวล ช่วยลดความอ่อนล้า ความเครียด สตรีมีประจำเดือนไม่ปกติดื่มน้ำชา“ยี่สุ่น”จะดีขึ้น ชาวจีนถือเป็นยาอายุวัฒนะ ชงดื่มครั้งละ ๕ ดอก  มีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๙ แผง “ลุงนรินทร์” ราคาสอบถามกันเองครับ.  นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/73143870756030_EyWwB5WU57MYnKOuFVTzt1wKvKN93Z.jpg)   ต้นเมียหลวง "กับความเชื่อชาวจีน"
ผู้อ่านจำนวนมากที่เป็นแฟนคอลัมน์อยากทราบว่า “ต้นเมียหลวง” มีความเป็นมาอย่างไร และมีตำนานที่มาของชื่อแบบไหน ซึ่ง ความจริงแล้ว “ต้นเมียหลวง” ก็คือไม้จำพวกว่านชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์เฉพาะว่า OPHIOPOGON JABURAN (KUNTH) LODD. อยู่ในวงศ์ CONVALLARIACEAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้พุ่มล้มลุกขนาดเล็กเหมือนกับบัวดินทั่วไป มีหัวใต้ดิน ต้นและใบแทงขึ้นจากหัวใต้ดิน สูงประมาณ ๓๐ ซม. ใบออกสลับรูปแถบยาว ปลายใบแหลมและมักโค้งงอลง เวลาแตกใบดกจะเป็นกอสีเขียวสดน่าชมมาก

ดอก ออกตามซอกใบ ดอกเป็นสีขาว แต่มักไม่ออกดอก ขยายพันธุ์ด้วยหัวและแยกต้น ซึ่งโดยธรรมชาติ เมื่อต้นยุบหรือตายจะฝังหัวใต้ดิน เมื่อได้น้ำจะแตกต้นและใบใหม่ขึ้นมาอีกเป็นวัฏจักร เรียกว่า ปลูกง่ายตายยาก มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า ว่านทุ่งเศรษฐี, ซุ้มกระต่าย ชาวจีนเรียกว่า ซุงเช่า และ เฉาเท้า

ส่วนที่มาชื่อ “ต้นเมียหลวง” นั้น ชาวจีนนิยมเอาต้นเข้าร่วมในพิธี แต่งงานของคู่บ่าวสาวขาดไม่ได้ เพราะมีความเชื่อมาแต่โบราณแล้วว่า “ต้นเมียหลวง” เป็นไม้มงคล จะทำให้คู่สมรสรักกันและอยู่ด้วยกันยั่งยืนยาวนานจนแก่เฒ่า เป็นผัวเดียวเมียเดียว มีลูกมีหลานเต็มบ้านและมีความสุขในการใช้ชีวิตคู่ จึงถูกตั้งชื่อว่า “ต้นเมียหลวง” ดังกล่าว

นอกจากนั้นชาวจีนยังถือว่า “ต้นเมียหลวง” เป็นไม้เสี่ยงทาย ถ้าปลูกไว้ในบริเวณบ้านแล้วต้นเจริญงอกงามดีมีดอก จะให้โชคลาภค้าขายเจริญก้าวหน้าอยู่ดีมีสุข เป็นเสน่ห์มหานิยม ทำให้คนอื่นชื่นชอบ หากต้นไม่ งอกงามเชื่อกันว่า เจ้าของหรือผู้ปลูกจะไม่ก้าวหน้าในทุกๆ เรื่อง  ปัจจุบัน “ต้นเมียหลวง” มีขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณ แผง “คุณซ้ง–คุณดาว” ตรงกันข้ามกับโครงการ ๑๕ ราคาสอบถามกันเองครับ   นสพ.ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRBStasduxSp5SWDDkeVyqLdn_bylZ7AcGCruj8sBqxJpTCuZNVzw)   พุดตานไต้หวัน "ดอกคล้ายชบาสวย"
ทีแรก ที่เห็นและดูเผินๆ เข้าใจว่าไม้ต้นนี้เป็นต้นดอกชบาชนิดหนึ่ง เพราะลักษณะดอกเหมือนชบามาก ประกอบกับไม่มีป้ายชื่อเขียนติดไว้ แต่พอสังเกตอย่างละเอียดพบว่าใบไม่ใช่ใบต้นชบาอย่างแน่นอน ผู้ขายบอกว่าเป็นต้น “พุดตานไต้หวัน” ถูกนำเข้ามาปลูกในประเทศไทยไม่นานนักและเพิ่งจะตอนกิ่งนำต้นวางขายตามที่เห็น ส่วนลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับพุดตานที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศจีน ที่คนไทยรู้จักดีและนิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายมาแต่โบราณเกือบทุกอย่าง จะมีความแตกต่างกันที่ลักษณะของดอกของ “พุดตานไต้หวัน” เท่านั้น ที่จะมีกลีบดอกเพียงชั้นเดียวและสีสันของดอกจะไม่เปลี่ยนเป็น ๓ สี เหมือนกับกลีบดอกพุดตานจีนที่มีกลีบดอกหลายชั้นด้วย

พุดตานไต้หวัน อยู่ในวงศ์ MALVACEAE เป็นไม้พุ่ม สูง ๒-๕ เมตร แตกกิ่งก้านกว้าง มีขนสีเทา ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับรูปไข่กว้าง ปลายใบแหลม โคนใบรูปหัวใจ ขอบใบเว้าลึก ๓-๕ แฉก ผิวใบมีขนสากมือ เวลามีใบดกจะน่าชมยิ่งนัก  ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆหรือเป็นช่อ ๑-๓ ดอก บริเวณซอกใบและปลายกิ่ง มีกลีบเลี้ยงสีเขียว ๕ แฉก มีขน กลีบดอกมีเพียงชั้นเดียวตามที่กล่าวข้างต้น มีกลีบดอก ๕ กลีบเป็นรูปมนคล้ายกลีบดอกชบาหรือดอกมอร์นิ่งกลอรี่ ดอกมีขนาดใหญ่ กลีบดอกเป็นสีชมพูเข้ม ใจกลางดอกมีเกสรตัวผู้เป็นกระจุกสีเหลืองเข้มมองเห็นอย่างชัดเจน  เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้นจะดูสวยงามมาก “ผล” รูปทรงกลม ผลแก่เป็นสีน้ำตาลเข้ม ภายในมีเมล็ด  ดอกออกได้เรื่อยๆเกือบทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง

ปัจจุบัน “พุดตานไต้หวัน” มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒ แผง “ป้าแอ๊ด–คุณขวัญ” ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ในดินทั่วไป เหมาะจะปลูกเป็นไม้ประดับ เวลามีดอกสีสันจะเข้มข้นงดงามมากครับ.   นสพ.ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRQ_psYFbh752LxBGbWNyRnjhlv2kkBN6rlojIjWTdoru9G862N)   ไฟเดือนห้า "ขนเมล็ดมีประโยชน์"
ไม้ต้นนี้ มีถิ่นกำเนิดจากประเทศอเมริกาเขตร้อน ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานมากแล้ว จนทำให้หลายๆ คนเข้าใจผิดคิดว่าเป็นไม้ของไทยไปโดยปริยาย ส่วนใหญ่จะปลูกประดับเป็นกลุ่มหลายๆ ต้น ตามบ้าน ตามสำนักงาน และสวนสาธารณะทั่วไป เพราะดอกของ “ไฟเดือนห้า” จะมีสีสันสวยงามเจิดจ้าน่าชมมากนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม นอกจากดอกของ “ไฟเดือนห้า” จะมีสีสันงดงามแล้ว บางส่วนของ “ไฟเดือนห้า” ยังมีประโยชน์ที่หลายคนไม่รู้อีกด้วย คือ ขนที่หุ้มเมล็ดสามารถนำไปใช้ยัดหมอนแทนการใช้นุ่น ทำให้หมอนนุ่มหนุนนอนได้ สบายไม่แพ้การยัดด้วยนุ่นแม้แต่น้อย

ไฟเดือนห้า หรือ AS-CLEPIAS CURASSAYICA LINN. ชื่อสามัญ BLOOD-FLOWER, FALSE LPECA CUANHA, MILK WEED  อยู่ในวงศ์ ASCLEPIADA-CEAE เป็นไม้ล้มลุกสูง ๑.๕ เมตร ใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปใบหอก ปลายและโคนใบแหลม ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อย ๔-๑๕ ดอก หลอดดอกยาว กลีบดอกเป็นสีแดงปนสีเหลืองสด เกสรตัวผู้เชื่อมติดกัน เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้นจะดูสวยงามยิ่งนัก “ผล” เป็นรูปไข่และยาว มีขนนุ่มเป็นมันจำนวนมากติดเมล็ด ซึ่งขนดังกล่าวสามารถเก็บรวมกันนำไปยัดหมอนแทนยัดด้วยนุ่นได้ ตามที่กล่าวข้างต้น ดอกออกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด มีชื่อเรียกอีกคือ ค่าน้ำ, เด็งจ้อน (ลำปาง) คำแค่ (ฉาน-แม่ฮ่องสอน) ดอกไม้เมืองจีน, ไม้เมืองจีน (สุราษฎร์ธานี) เทียนแดง (ภาคกลาง) เทียนใต้ (ภาคเหนือ) บัวลาแดง (เชียงใหม่) และ ไม้จีน (ประจวบคีรีขันธ์)

ปัจจุบัน “ไฟเดือนห้า” มีขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๕ แผง “คุณจันดี” ราคาสอบถามกันเองครับ.   นสพ.ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRG4JIGlYhqP2NtaabCtVFPekeYkXVxtJBJneUa9gPSRPhGs0cl)   สร้อยสยาม "งามเหมือนม่านบุปผา"
ไม้ต้นนี้ พบเฉพาะถิ่นเดียวที่ ภูเมี่ยง จ.พิษณุโลก ของประเทศไทย โดยจะขึ้นอยู่ตามป่าเบญจพรรณที่มีต้นไผ่ขึ้นรวมอยู่ด้วยจำนวนมาก ที่ระดับความสูง ๓๐๐ เมตร มีชื่อเรียกอีกคือชงโคสยาม และ เสี้ยวแดง เนื่องจากเป็นไม้ในสกุลเดียวกัน มีชื่อวิทยาศาสตร์อย่างเป็นทางการว่า BAUHINIA SIAMENSIS อยู่ในวงศ์ FABACEAE หรือ LEGUMINASAE และ CAESALPINIOIDEAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้เลื้อยเนื้อแข็ง มีมือจับ สามารถเลื้อยได้ไกลกว่า ๕-๘ เมตร กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง หูใบรูปทรงกลมถึงรูปไข่กลับ ใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแยกเป็น ๒ แฉกลึกคล้ายใบต้นชงโคทั่วไป

ดอกออกเป็นช่อห้อยลง ช่อยาวได้กว่า ๗๕ ซม.ช่ออ่อนจะมีขนสีน้ำตาลแดง มีกลีบเลี้ยงเป็นรูปปากเป็ด มีกลีบดอก ๕ กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน เป็นรูปไข่ถึงรูปรี ปลายกลีบกลมโคนกลีบสอบหรือเรียว เป็นสีชมพู หรือสีโอลด์โรส มีเกสรตัวผู้ ๓ อัน ดอกจะทยอยบานจากโคนช่อเรื่อยลงไปจนถึงปลายช่อ เวลามีดอกดกช่อดอกห้อยลงเป็นสายและดอกบานพร้อมกันทุกช่อ จะดูสวยงามเหมือนม่านบุปผา ตามที่กล่าวข้างต้น น่าชมยิ่งนัก “ผล” เป็นฝักแบน มีหลายเมล็ด เมล็ดเป็นรูปไข่แบน สีน้ำตาลเข้ม ดอกออกได้เรื่อยหรือเกือบทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง

ปัจจุบัน  “สร้อยสยาม” หรือ ชงโคสยาม และ เสี้ยวแดงมีต้นขาย ที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๓ แผง “เฮียหมู” ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ในดินทั่วไปแม้ในพื้นที่ราบ เหมาะจะปลูกเป็นไม้ประดับให้เลื้อยซุ้มชนิดต่างๆ หรือให้เลื้อยห้างกว้างเหมือนห้างให้เถาน้ำเต้าไต่ หลังปลูกรดน้ำพอชุ่มเช้าเย็น พร้อมบำรุงปุ๋ยขี้วัวหรือขี้ควายแห้งโรยกลบฝังดินรอบโคนต้น ๒ เดือนครั้ง สลับกับใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ ๑๖-๑๖-๑๖ เดือนละครั้ง จะทำให้มีดอกดกสวยงามมากครับ.    นสพ.ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQMB0nn5fajlsJKWSORwNu5-I7dp2Nq7ppJuXU0La_TiDS0QXvf)   มะแว้งต้น-มะแว้งเครือ "กับสรรพคุณยา"
หลายคนอยากทราบว่า “มะแว้งต้น” กับ “มะแว้งเครือ” ต่างกันอย่างไรและสรรพคุณทางยาเหมือนกันหรือไม่ ซึ่ง “มะแว้งต้น” หรือ SOLANUM SANITWONGSEI CRAIB อยู่ในวงศ์ SOLANACEAE เป็นไม้พุ่มสูง ๑-๑.๕ เมตร ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับรูปไข่หรือขอบขนาน ขอบเว้า ผิวใบมีขนนุ่มทั้งสองด้าน ดอก ออกเป็นช่อตามกิ่งหรือซอกใบ กลีบดอกสีม่วง “ผล” รูปกลม ผลดิบสีเขียวอ่อนมีลาย สุกเป็นสีส้ม รสขมจัด ผลสดเป็นยาแก้ไอ ขับเสมหะ รักษาเบาหวาน ขับปัสสาวะ ในการทดลองในสัตว์พบว่า น้ำสกัดจากผลมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด แต่มีฤทธิ์น้อยและระยะเวลาการออกฤทธิ์สั้น พบสเตียรอยด์ปริมาณค่อนข้างสูง จึงไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน

ส่วน “มะแว้งเครือ” หรือ SOLANUM TRILOBATUM LINN. อยู่ในวงศ์ SOLANACEAE เป็นไม้เลื้อย มีหนามตามกิ่งก้าน ใบออกเรียงสลับ รูปไข่กว้าง ขอบใบเว้า มีหนามตามเส้นใบ ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งและซอกใบ กลีบดอกเป็นสีม่วง “ผล” รูปกลม ผลดิบสีเขียวมีลายตามยาว เมื่อสุกเป็นสีแดง รสขมจัด ผลสดเป็นยาแก้ไอ ขับเสมหะ โดยใช้ ๔-๑๐ ผล โขลกพอแตกคั้นเอาน้ำใส่เกลือป่นเล็กน้อย จิบบ่อยๆ หรือกลืนน้ำได้เป็นยาแก้ไอตามที่กล่าวข้างต้น

มะแว้งต้น กับ มะแว้งเครือ ทั้ง ๒ ชนิดเป็นส่วนผสมหลักในยาประสะมะแว้งซึ่ง องค์การเภสัชกรรม ผลิตขึ้นตามตำรับยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณเหมือนกัน นอกจากนั้นผลของมะแว้งยังใช้ขับปัสสาวะ แก้ไข้ และ เป็นยาขมช่วยในการเจริญอาหารได้  ปัจจุบัน “มะแว้งต้น” มีขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๙  หน้าตึกกองอำนวยการเก่า ราคาสอบถามกันเอง ส่วน “มะแว้งเครือ” ไม่พบมีต้นขายครับ.    นสพ.ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSpj4_4gAWtdGHbHdcrxgj3c7ExhKhp6U2gGjhi0aLxGNor4PAy)   เทียนบ้าน
เทียนบ้าน หรือ เทียนดอก เป็นต้นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้ เช่น อินเดียและพม่า แต่พบได้ทั่วไปในประเทศที่อยู่ในเขตร้อนและเขตอบอุ่น ปลูกขึ้นง่ายในสภาพอากาศทั่วไป เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณหลายอย่าง มีชื่อวิทยา ศาสตร์ว่า Impatiens balsamina L. อยู่ในวงศ์ Balsaminaceae

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้พุ่มสูงประมาณ ๓๐-๘๐ ซ.ม. ลำต้นมีลักษณะโปร่งแสงและอิ่มน้ำ ใบรูปวงรี ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อยเรียงสลับกันไปรอบลำต้น ดอกมีสีชมพู ม่วง แดง ขาว มักออกเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นกระจุกอยู่ที่บริเวณซอกใบ เมื่อแก่จะกลายเป็นผลแห้งและแตกออกเมื่อสุก เปลือกด้านนอกม้วนขึ้น ทำให้เมล็ดกลมสีน้ำตาลหล่นออกมาด้านนอก เมื่อออกผลแล้วต้นจะตาย

ต้นเทียนบ้านชอบดินที่อุ้มน้ำได้ดีและพื้นที่แดดรำไร นิยมขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด สรรพคุณทางยา ใบสด-ใบแห้ง ช่วยแก้ปวดข้อ กลากเกลื้อน แก้ฝีและแผลพุพอง รักษาแผลเรื้อรัง ลำต้นช่วยรักษาแผลงูสวัด รากสดช่วยแก้บวมน้ำ และตำพอกแผลเสี้ยนตำ เมล็ดแห้งชงดื่มช่วยแก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ยอดลำต้นสดบรรเทาอาการจมูกบวมแดงจากการอักเสบ    นสพ.ข่าวสด  


(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQPuzm_c3nfI4LYBz2nmAa32j20tLftl-2Qqq0pMdb7IB-z7Nf3)   เทียนดอก
เทียนดอก เป็นพืชล้มลุก ต้นสูงปานกลาง ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Impatiens balsa mina Linn. อยู่วงศ์ BALSAMINACEAE ลำต้นสีเขียวอ่อน อุ้มน้ำ เนื้อใสและโปร่งแสง ใบเดี่ยวเรียงสลับเวียนรอบลำต้นรูปยาวเรียว โคนใบและปลายเรียวแหลม ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย ก้านใบสั้น มีตุ่มเรียงเป็นแนวยาว ๒ ข้าง มักออกเดี่ยวๆ หรือออกหลายดอกอยู่รวมกัน

กลีบรองดอกรูปไข่ป้อม เล็ก สีเขียว กลีบดอก ๕ กลีบ กลีบบนรูปกลม กลีบล่างงอเป็นกระเปาะ ก้นกระเปาะมีจะงอยยื่นออกมาเป็นหลอดเล็กๆ ยาวๆ ปลายโค้งงอขึ้นเล็กน้อย มีหลายสี เช่น ขาว ชมพู แดง หรือหลายสีผสมกัน

สรรพคุณ ใบสดแก้ปวดข้อ ยารักษากลากเกลื้อน แก้ฝีและแผลพุพอง ยากันเล็บถอด ใบแห้งแก้แผลอักเสบ ฝีหนอง แผลเน่าเปื่อย รักษาแผลเรื้อรัง ยอดสดแก้จมูกอักเสบ บวมแดง ต้นสดแก้แผลงูสวัด รากสดแก้บวมน้ำ ตำพอกแผลที่ถูกเสี้ยนหรือแก้วตำ เมล็ดแห้งแก้ประจำเดือนไม่มา ขับประจำเดือน  นสพ.ข่าวสด


(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSYVLpgS6PRWTggOKdkrTDI5FZmnlNIMUc9PBM2rrYo3PdKJYA5)   ดอกเทียนนกแก้ว
ดอกไม้แปลกตา ดอกเทียนนกแก้วเป็นพรรณไม้เฉพาะถิ่นของไทย หาไม่ได้จากที่ใดๆ ในโลก จัดอยู่ในกลุ่มของต้นเทียน มีรูปทรงดอกที่สวยงามเหมือนดั่งนกที่โดนแมวกัดไปครึ่งตัว เราเรียกชื่อตามลักษณะรูปทรงว่าเทียนนกแก้ว

จัดอยู่ในกลุ่มพืชล้มลุก ลำต้นอวบน้ำ สูง ๐.๕-๑.๕ เมตร ใบเดี่ยวรูปไข่กว้าง โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบจักร ขนาดกว้าง ๒-๔ ซ.ม. ยาว ๕-๑๐ ซ.ม. ดอกออกเดี่ยวตามก้านใบหรือปลายยอด ขนาดดอกกว้าง ๒-๓ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๕-๗ เซนติเมตร ช่วงเวลาออกดอก ต.ค.-พ.ย.

เทียนนกแก้วเป็นพรรณไม้บนเขาสูง ไม่สามารถหาชมได้จากแปลงดอกไม้ตามพื้นราบทั่วไป ระดับความสูงที่พบต้นเทียนนกแก้วคือ ๑,๕๐๐-๑,๘๐๐ เมตร พบได้เพียงที่เดียวคือที่ดอยหลวงเชียงดาว   นสพ.ข่าวสด


(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTBXHCRIf7zzoTs8qMNdT48-qfEEoIB1dmBoTw8p0qk0GNA3mgggQ)   โฮย่า
พรรณไม้ที่มีใบคล้ายรูปหัวใจมีชื่อว่า "โฮย่า" มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดเป็นไม้เถาอิงอาศัย มีน้ำยางขาว ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามเป็นคู่ รูปไข่กลับ อวบหนา โคนใบสอบหรือมนปลายใบเว้าตื้น

ดอกมีสีขาวครีมแกมม่วงออกเป็น ช่อรูปครึ่งวงกลม ก้านดอกย่อยเรียงเป็นซี่ร่ม กลีบดอกโคนเชื่อมกัน ปลายแหลมแยกเป็น ๕ กลีบ ออกดอกระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม แบ่งเป็น ๒ กลุ่มใหญ่คือโฮย่า สีด่างและโฮย่าสีเขียว เป็นพรรณไม้ที่ชอบแดดรำไร และชอบความชื้นค่อนข้างสูง นิยมปลูกในกระถาง โดยมีเครื่องปลูกเป็นกาบมะพร้าว ถ้าจะให้เกาะตามกิ่งไม้ใหญ่อาจให้เกาะกับชายผ้าสีดา

โฮย่า หรือในบางท้องที่เรียกว่า ด้างหรือเทียนขโมย เป็นไม้ประดับของไทยอีกชนิดหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยม พบมากในป่าเต็งรัง ตั้งแต่ประเทศไทย พม่า และลาว จัดเป็นไม้ป่าที่คนไทยนำมาพัฒนาเป็นไม้ประดับ

นิยมมอบโฮย่าเป็นของขวัญในเทศกาลที่สำคัญ โดยเฉพาะในเทศกาลวาเลนไทน์จะนิยมซื้อโฮย่าแทนดอกกุหลาบ เพราะลักษณะของใบเหมือนรูปหัวใจ และเปรียบโฮย่าเหมือนหัวใจที่มีชีวิต ไม่ตาย มีคุณค่าทางจิตใจเหมือนการฝากหัวใจไว้ให้ดูแล ความนิยมในการมอบโฮย่าในวันวาเลนไทน์หลายคนจึงขนานนามไม้ประดับชนิดนี้ว่าหัวใจทศกัณฐ์    นสพ.ข่าวสด


(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcT2E2TqYkAIIoE8E-19ihRZGxG10seLLQNKW1TBvhTn_XpUky0F)   ดอกรางจืด
ดอกรางจืด พืชสมุนไพรประเภทไม้เลื้อยหรือไม้เถาขนาดกลาง เลื้อยพาดพันไปตามต้นไม้ เถามีลักษณะเป็นข้อปล้องกลม มีสีเขียวสดหรือสีเขียวเข้ม ดอกสีม่วงอ่อนๆ หรือสีคราม ออกดอกเป็นช่อห้อยลงตามซอกใบ ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Thunbergia laurifolia Linn. อยู่ในวงศ์ Acanthaceae

สรรพคุณทางยาใช้ล้างสารพิษ ถอนพิษต่างๆ หรือใช้เป็นยาพอกบาดแผล น้ำร้อนลวก ไฟไหม้ รวมถึงรับประทานแก้ร้อนในกระหายน้ำ ใบนำมาต้มดื่ม ขณะอุ่นหรือนำมาคั้นดื่ม รากฝนกับน้ำดื่มล้างพิษในร่างกายรวมทั้งบรรเทาพิษ ผื่นแพ้ การเพาะพันธุ์นิยมใช้เถาปักชำ   นสพ.ข่าวสด  

(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRWJ2g2PUY6byBnruW5uYU50RvcfQEC-4HuGJaJiHGMz3yQtv3-BQ)   เศรษฐีเรือนนอก
เศรษฐีเรือนนอก เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศกาบอง นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เชื่อกันว่าเป็นว่านประจำคนเกิดวันอังคาร มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chlorophytum comosum. อยู่ในวงศ์ Liliaceae

ลักษณะทั่วไปเป็นไม้กอขนาดเล็ก มีหัวอยู่ใต้ดิน ไม่มีลำต้น ใบจะงอกออกมาจากหัวและกระจายเป็นพุ่ม มีใบแกมขนานไม่ยาวมาก มีลายด่างขาวหรือขาวนวลยาวทาบตลอดริมขอบใบ เมื่อยาวใบจะโค้งงอลงดิน โตเต็มที่แล้วจะมีไหลเหนือดิน สามารถนำมาขยายพันธุ์ต่อได้ มีดอกขนาดเล็กสีขาว ส่งกลิ่นหอม

การปลูก ใช้หน่อหรือไหลมาขึ้นต้นใหม่ นิยมปลูกในดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี ชอบแดดรำไร ต้องการน้ำปานกลาง อาจปลูกในที่ร่มและนำออกมาตากแดดเป็นบางครั้ง เชื่อกันว่าเป็นไม้มงคล หากใครปลูกว่านในตระกูลเศรษฐีได้งอกงามเชื่อกันว่าจะมีฐานะเจริญรุ่งเรือง   นสพ.ข่าวสด


(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTbXt1D7iwb0MqLJdHpb-8Vl4ms0bMIeVNb9s-URXYhzH2TlYAm)   ว่านเศรษฐีเรือนใน
ว่านเศรษฐีเรือนใน มีถิ่นกำเนิดจากเขตร้อนและทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา ก่อนกระจายไปทั่วโลก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cholorophytum comosum นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ บ้างเรียก ต้นแมงมุม (Spider Plant) หรือ ต้นเครื่องบิน (Airplane Plant) ตามลักษณะ อยู่ในวงศ์ Asparagaceae

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้กอขนาดเล็ก ลำต้น เป็นหัวอยู่ใต้ดิน แตกลำต้นอ่อนออกมาเหนือดินเสมือนเป็นกิ่งเมื่อหัวใต้ดินแก่เต็มที่ ปลายสุดของต้นจะมีต้นอ่อน ลักษณะใบดูคล้ายใบหญ้า มีลายด่าง หรือลายสีขาวนวลอยู่กลางใบ ตัดกับขอบใบสีเขียวด้านนอก แต่ละใบยาวราว ๑๕-๓๐ ซ.ม. ดอกมีขนาดเล็กสีขาวอยู่รวมกันเป็นช่อ พอโรยจะกลายเป็นต้นอ่อน

การปลูกต้องการดินร่วนซุยหรือดินปนทราย ระบายน้ำได้ดี หากปลูกในกระถางหินหยาบขนาดเล็กจะแตกกอได้ง่ายขึ้น ชอบน้ำปานกลางสม่ำเ


หัวข้อ: Re: พรรณไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้มงคล
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 06 ตุลาคม 2557 18:22:44
.
(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTs9dq1WN4EOkfgsdmLME-u7C2iKQIuLTD6WUSmjMadj7vsdrYZiw)   ว่านผู้เฒ่าเฝ้าบ้าน
ว่านผู้เฒ่าเฝ้าบ้าน เป็นว่านที่มีหัวอยู่ใต้ดิน ลักษณะคล้ายหอมหัวใหญ่ ประกอบไปด้วยกลีบของหัวที่เรียงซ้อนกันอยู่จนเป็นหัวกลม ใบกลมใหญ่ หนา คล้ายใบฟักทอง มีสีเขียว ก้านใบยาวสีเขียวแก่ ดอกออกเป็นช่อจากกลางกอ ก้านดอกเป็นแท่งสูงตรง จะมีดอกตูมก่อนแล้วบานเป็นสีขาว แต่ละดอกประกอบด้วยกลีบ ๖ กลีบ เกสรสีเหลือง มีกลิ่นหอม การขยายพันธุ์โดยการแยกหัว เป็นว่านที่มีชื่อด้านความเป็นมงคลโดยเชื่อว่าคุ้มครองป้องกันอันตราย ต่างๆ ถ้าปลูกไว้ในบ้านจะมีคุณทางป้องกันไฟไหม้เป็นต้น.   นสพ.เดลินิวส์


(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTmhNag0H4i3jK1kHGNgnt6X6X-w0Fqb4mMFykbxEOVpDMq3NDo9g)   หนุมานประสานกาย
หนุมานประสานกาย เป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ ๑-๔ เมตร แตกกิ่งก้านต่ำใกล้พื้นดิน เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล ใบ เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกเล็กสีขาวนวล ผลมีเนื้อ รูปทรงกลม ขนาดเล็ก เป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่ไทยเมื่อครั้งอดีตใช้ประโยชน์ในการรักษาโรค โดยใช้ใบสดเล็กๆ เคี่ยวให้เหลือ ๑ ใน ๓ ดื่มวันละ ๒ ครั้ง ก่อนอาหาร เช้า-เย็น เป็นเวลา ๔๙ วัน เพื่อรักษาโรคหืด.   นสพ.เดลินิวส์


(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSTEbhihgg57hhHNjmFc-7vcOM0tGnsuSWEPO16zUwXc7sEhtIy)   ว่านสี่ทิศ
วิธีบังคับว่านสี่ทิศให้ออกดอกตามที่ต้องการทำได้โดยนำหัวว่านขนาดเส้นรอบวง ๒๐ ซม. งดให้น้ำ ๔ อาทิตย์ แล้วตัดใบออกให้เหลือ ๒-๓ ซม. ตัดรากให้สั้น ๕-๘ ซม. ทำความสะอาด ผึ่งให้แห้ง ๒ สัปดาห์ แล้วนำมาแช่ในตู้เย็นในอุณหภูมิประมาณ ๑๐-๑๕ องศาเซลเซียส ๖-๘ สัปดาห์ แล้วนำออกมาปลูกในกระถาง ขนาดที่โตกว่าหัว ๒-๓ เท่า ฝังลงดินประมาณ ๒ ใน ๒ ของขนาดหัว ให้ส่วนบนโผล่พ้นดิน รดน้ำให้ชุ่ม จากนั้นเว้นระยะ ๕-๗ วัน เพื่อกระตุ้นให้รากเจริญเติบโต ช่วงนี้นำกระถางไปไว้ที่มีแสงรำไร เมื่อว่านมีดอกแรกออกมา ให้นำไปตั้งไว้ในที่มีอากาศเย็นและแสงน้อยกว่าเดิม เพื่อให้ดอกว่านอยู่ได้นานที่สุด.   นสพ.เดลินิวส์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/41271730719341_1.png)   แดฟโฟดิล"จอร์จี บอย"  ดอกไม้เจ้าชายน้อย
ในงานเทศกาลดอกไม้เชลซี ซึ่งจัดขึ้นในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ราชสมาคมพืชสวนของอังกฤษ ตัดสินใจเปลี่ยนชื่อดอกแดฟโฟดิล เป็นชื่อ "จอร์จี บอย" เพื่อถวายพระเกียรติให้กับเจ้าชายจอร์จแห่งเคมบริดจ์ พระโอรสเจ้าชายวิลเลียมและดัชเชสเคต

แดฟโฟดิล หรือชื่อใหม่ "จอร์จี บอย" มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Narcissus pseudonar cissus L. มีถิ่นกำเนิดในทวีปยุโรปก่อนขยายพันธุ์ไปทั่วยุโรปและสหราชอาณาจักร เป็นดอกไม้ประจำชาติ แคว้นเวลส์ ปลูกขึ้นง่ายในพื้นที่ชุ่มชื้น หรือมักพบตามธรรมชาติเหมือนดอกไม้ป่า บริเวณพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลราว ๑,๕๐๐ เมตร อยู่ในวงศ์ Amaryllidaceae

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้มีกอขึ้นรูป ลำต้นมีเป็นปล้อง มีใบสีเทา-เขียวทอดยาวขึ้นจากลำต้น ยาวประมาณ ๓๕ ซ.ม. กว้าง ๑-๒ ซ.ม. ปลายลำต้นโค้งมน มีดอกเดี่ยวอยู่ที่ปลายสุด ฐานดอกมีรูปร่างคล้ายทรัมเป็ตสีเหลืองเข้ม ออกดอกช่วงฤดูใบไม้ผลิ ประมาณเดือน มี.ค.-เม.ย.

นิยมขยายพันธุ์ด้วยหัวหรือเมล็ด โดยใช้หินหรือก้อนกรวดหยาบวางใต้ภาชนะ แล้วนำหัวแดฟโฟดิลมาวางไว้ด้านบน หรือฝังหัวลงไปในดินที่ระบายน้ำได้ดี ให้ส่วนยอดสุดของหัวอยู่ด้านบน รดน้ำแล้วนำไปเก็บที่อุณหภูมิเย็นราว ๑๕-๑๘ องศา

ลำต้น ใบ และดอกมีพิษ หากรับประทานเข้าไปอาจทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ ปวดท้อง ท้องร่วง หรือชัก ยางอาจเป็นพิษกับผิวหนังและเป็นพิษกับสัตว์   นสพ.ข่าวสด


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/94047682897912_1_3585_3640_3627_3621_3634_361.jpg)  กุหลาบพุกาม
ไม้ต้นนี้ มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมจากประเทศโคลอมเบีย ถูกนำเข้ามาปลูกประดับและขยายพันธุ์ในประเทศไทยบ้านเราตั้งแต่ยุคโบราณแล้ว ซึ่ง ในตอนแรกๆ “กุหลาบพุกาม” ได้รับความนิยมปลูกกันอย่างกว้างขวางเพราะสีสันของ ดอกสวยงามเจิดจ้าน่าชมมากนั่นเอง แต่อย่างไรก็ตาม ค่านิยมปลูกได้เสื่อมคลายลงเรื่อยๆ เนื่องจาก กิ่งก้านของ “กุหลาบพุกาม” มีหนาม แหลมยาวเป็นกระจุกจำนวนมากจนในปัจจุบันได้กลายเป็นไม้ที่ถูกลืมเช่นเดียวกับไม้ดอกสวยงามอีกหลายๆชนิดที่มีหนามแหลม และเชื่อว่าอีกไม่นานจะต้องสูญพันธุ์ไปอย่างแน่นอน

กุหลาบพุกาม หรือ PERESKIA BLEO (KUNTH) DC. อยู่ในวงศ์ CACTACEAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้พุ่ม สูงได้ถึง ๕ เมตร โคนต้นมีเนื้อไม้ กิ่งก้านอวบน้ำและมีหนามแหลมยาวเป็นกระจุกตามที่กล่าวข้างต้น ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรี ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ก้านใบยาว สีเขียวสด  ดอก ออกเป็นช่อสั้นๆที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อย ๑-๓ ดอก ดอกจะทยอยบาน ก้านดอกยาว ปลายก้านดอกเชื่อมติดกับฐานรองดอกเป็นรูปกรวยเหลี่ยม ขอบด้านบนของฐานรองดอกมีกลีบประดับเล็กๆ จำนวน ๒-๕ กลีบ มีกลีบดอก ๑๐-๑๕ กลีบ เป็นรูปไข่กลับ เรียงซ้อนกันหลายชั้น กลีบดอกชั้นนอกสุดจะใหญ่กว่ากลีบดอกชั้นในอยู่ถัดเข้าไปอย่างชัดเจน กลีบดอกเป็นสีแดงหรือสีส้ม ดอกบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๔-๖ ซม. มีเกสรตัวผู้จำนวนมาก เวลามีดอกดกและดอกทยอยบานพร้อมกันหลายๆ ดอก จะดูสวยงามเจิดจ้ามาก “ผล” เป็นรูปกรวยเหลี่ยม ด้านบนแบน ผลสุกเป็นสีเหลือง มีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกออกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำกิ่ง

ปัจจุบัน “กุหลาบพุกาม” มีต้นขาย แบบประปราย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ราคาอยู่ที่ขนาดของต้น หรือสอบถามกันเองครับ  นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/54606110892362_2_3627_3609_3640_3617_3634_360.jpg)   หนุมานนั่งแท่น
ไม้ต้นนี้ มีถิ่นกำเนิดจากประเทศในแถบอเมริกากลาง ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยบ้านเรานานแต่โบราณแล้ว มีชื่อวิทยาศาสตร์เฉพาะคือ JATROPHA PODAGRICA HOOK.  ชื่อสามัญ AUSTRA-LIAN BOTTLE PLANT, FIDDLE-LEAVED JATROPHA, GOUT PLANT, GUATEMALA PHUBARB. อยู่ในวงศ์ EUPHORBIACEAE  เป็นไม้พุ่มสูง ๑-๒ เมตร ลำต้นตรง โคนต้นป่อง เมื่อใบร่วงจะมีรอยแผลที่ลำต้น ใบเดี่ยวออกเวียนสลับถี่ที่ปลายยอด รูปใบค่อนข้างกลม ขอบเว้าเป็น ๕ แฉก ด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีขาวหม่น ก้านใบยาว เป็นสีแดงคล้ำ ใบดกดูแปลกตามาก  ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาว ดอกมีขนาดเล็ก กลางช่อดอกมักจะเป็นดอกตัวเมียและจะไม่มีกลีบดอก นอกนั้นจะเป็นดอกตัวผู้ทั้งสิ้น ซึ่งกลีบดอกตัวผู้จะมี ๕ กลีบ เป็นสีแดงสดใส มีเกสรตัวผู้เป็นสีเหลืองจำนวน 8-10 อัน เวลามีดอกช่อดอกจะชูตั้งขึ้น ทำให้ดูสวยงามยิ่งนัก “ผล” เป็นรูปรีค่อนข้างกลม เมื่อผลแก่จัดสามารถแตกได้ ภายในมีเมล็ด ดอกออกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด มีชื่อเรียกอีกคือ ว่านเลือด (ภาคกลาง) และ หัวละมานนั่งแท่น (ประจวบคีรีขันธ์)

ปัจจุบัน ต้น “หนุมานนั่งแท่น” มีขายทั่วไป ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แต่ละแผงราคาจะไม่เท่ากันอยู่ที่ขนาดของต้น ต้องเดินสอบถามก่อนซื้อ

สรรพคุณทางสมุนไพร ทั้งต้นของ “หนุมานนั่งแท่น” มีสารจำพวก “ซาโปนิน” และสารฝาดสมานใช้เป็นยาภายนอกได้ดี โดยในยุคสมัยก่อน หมอยาแผนไทยนิยมใช้เป็นยาทาสมานแผลดีมาก ส่วนโทษ คือ ยาง จากต้น “หนุมานนั่งแท่น” เมื่อถูกผิวหนัง โดยเฉพาะผิวหนังบางๆ และอ่อน จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองได้ครับ.  นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/45375560224056_3_3618_3637_3656_3627_3640_361.jpg)   ยี่หุบดอย
ยี่หุบดอย ตามที่ผู้ขายบอกว่า เกิดจากการผสมเกสรระหว่าง ยี่หุบพันธุ์ทั่วไป มีดอกเป็นสีขาวนวล มีชื่อว่า MAGNOLIA COCO (LOUR) DC. กับ มณฑาดอย หรือ มณฑาป่า มีดอกเป็นสีชมพู มีชื่อว่า MANGLIETIA GARRETTII CRAIB ซึ่งยี่หุบทั้ง ๒ ชนิดอยู่ในวงศ์ MAGNOLIACEAE จากนั้นก็เอาเมล็ดไปเพาะเป็นต้นกล้าแล้วปลูกเลี้ยงจนต้นโตและมีดอก ปรากฏว่า ดอกมีขนาดใหญ่กว่าพันธุ์พ่อและแม่อย่างชัดเจน ดอกเป็นสีขาวนวลไม่มีสีชมพูเจือปนเลย ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ แบบนุ่มนวล ใช้จมูกดมจะได้กลิ่นหอมชื่นใจยิ่ง ผู้ผสมเกสรจึงเชื่อว่าเป็นยี่หุบพันธุ์ใหม่และตั้งชื่อว่า “ยี่หุบดอย” พร้อมตอนกิ่งขายได้รับความนิยมปลูกเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน

ยี่หุบดอย สูง ๒-๔ เมตร ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับหนาแน่นที่ปลายยอด ใบรูปใบหอก ปลายแหลม โคนสอบ ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆหรือเป็นช่อสั้นตามซอกใบใกล้ปลายยอด มีกลีบดอกซ้อนกัน ๓ ชั้น และกลีบดอกของ “ยี่หุบดอย” สามารถบานและกางออกได้ แตกต่างจากกลีบดอกของยี่หุบทั่วไป เพียงแค่เผยอกลีบเท่านั้น แต่เมื่อกลีบดอกของ “ยี่หุบดอย” บานแล้วจะร่วงอย่างรวดเร็ว ดอกมีกลิ่นหอม “ผล” เป็นกลุ่ม ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง นสพ.ไทยรัฐ  
 

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/15421062376763_4_3626_3634_3618_3609_3657_363.jpg)   สายน้ำผึ้งชมพู
สายน้ำผึ้งชมพู มีถิ่นกำเนิดจาก ประเทศจีน ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานแล้ว มีความเป็นพิเศษคือ ดอกมีสีสันสวยงาม เป็นช่อแน่นและดอกมีขนาดใหญ่กว่าดอกสายน้ำผึ้งของญี่ปุ่น ที่ดอกเป็นสีเหลืองอ่อนนิยมปลูกมาแต่โบราณแล้ว และที่สำคัญดอกของ “สายน้ำผึ้งชมพู” จะมีกลิ่นหอมแรงมากตั้งแต่พลบค่ำเรื่อยไปจนกระทั่งรุ่งเช้า กลิ่นจึงจะจางหายไป แตกต่างจากกลิ่นของสายน้ำผึ้งญี่ปุ่นที่จะมีกลิ่นหอมเฉพาะกลางวันเท่านั้น

สายน้ำผึ้งชมพู อยู่ในวงศ์ CAPRIFOLIA-CEAE เป็นไม้เถาเลื้อย กิ่งก้านเป็นสีน้ำตาล มีขน สามารถเลื้อยได้ไกล ๓-๕ เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ปลายแหลมเป็นติ่งสั้น โคนตัดหรือสอบ สีเขียวสด  ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกย่อยเป็นกระจุกจำนวนมาก กลีบเลี้ยง๕ แฉก ดอกโคนเชื่อมกันเป็นหลอดยาว ๒-๓ ซม. ปลายแยกเป็น ๒ ส่วน ไม่เท่ากัน ส่วนบนมีกลีบเดียว ส่วนล่างมี ๔ กลีบ ผิวกลีบด้านในเป็นสีเหลืองสด ด้านนอกเป็นสีชมพูเข้มหรือสีแดงอมชมพู หรือสีโอลด์โรส ใจกลางดอกมีเกสรตัวผู้ ๕ อัน เป็นสีเหลืองโผล่พ้นกลีบดอก ดอกมีกลิ่นหอมแรงตอนกลางคืนตามที่กล่าวข้างต้น เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกัน จะดูสวยงามและส่งกลิ่นหอมโชยเข้าตัวบ้านยามรัตติกาลเป็นที่ประทับใจยิ่ง “ผล” เป็นรูปทรงกลม ภายในมีเมล็ด ดอกออกตลอดปี และจะมีดอกดกมากกว่าช่วงปกติในเดือนมีนาคมทุกปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด และตอนกิ่ง มีชื่อเรียกอีกคือ สายน้ำผึ้งจีนและสายน้ำผึ้งแดง

ปัจจุบัน “สายน้ำผึ้งชมพู” หรือ สายน้ำผึ้งจีน มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ หน้าตึกกองอำนวยการเก่า  นสพ.ไทยรัฐ
 
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/98736171341604_5_3588_3641_3609_3626_3634_361.jpg)   คูนสายรุ้ง
คูนสายรุ้ง อยู่ในวงศ์ LEGUMINOSAE มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมจากรัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา ถูกนำเข้ามาปลูกประดับและขยายพันธุ์ขายในประเทศไทยบ้านเรานานหลายปีแล้ว มีลักษณะพิเศษ คือเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ต้นสูงไม่เกิน ๕-๖ เมตร ไม่ได้เป็นไม้ผลัดใบเหมือนกับคูนดอกสีเหลืองทั่วไป และหลังจากมีดอกร่วงแล้ว “คูนสายรุ้ง” ยังไม่ติดผลหรือฝัก เช่นคูนทุกชนิดอีกด้วย จึงถือเป็นเรื่องแปลกมาก

ส่วนลักษณะทางพฤกษศาสตร์โดยรวมจะเหมือนกับคูนทั่วไปเกือบทุกอย่าง  ดอก ออกเป็นช่อขนาดใหญ่ตามซอกใบ แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก ช่อดอกห้อยลง ลักษณะพิเศษของดอก เมื่อเริ่มแรกจะเป็นสีชมพูอ่อนปนสีครีม จากนั้นจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีชมพูเข้มปนสีเหลืองอย่างชัดเจน ทำให้ดูมีหลายสีในช่อเดียว เวลามีดอกดกช่อดอกห้อยลงจะดูสวยงามมาก จึงถูกผู้นำเข้าตั้งชื่อเป็นภาษาไทยว่า “คูนสายรุ้ง” ดังกล่าว ที่เป็นจุดเด่นของ “คูนสายรุ้ง” อีกอย่างคือ ช่อดอกจะบานได้ทนนานเป็นเดือน ดอกออกช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ต่อเนื่องไปจนถึงเดือนพฤษภาคมทุกปี ขยายพันธุ์ด้วยวิธีเสียบยอด  มีกิ่งตอนขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๕

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/11263017894493_6_3588_3641_3609_3617_3656_362.jpg)   คูนม่วงแคระ
ไม้ต้นนี้ พบมีวางขายมีภาพถ่ายของดอกจากต้นจริงติดโชว์ให้ชมด้วย ผู้ขายบอกว่า เป็นต้น “คูนม่วงแคระ” เกิดจากการเอาเมล็ดของคูนม่วงพันธุ์ดั้งเดิมปเพาะจนแตกต้นกล้าแล้วนำไปปลูกจนต้นสูงเพียงแค่๓ เมตร ใช้เวลาแค่ ๓ ปีกว่า มีดอกชุดแรกดกเต็มต้นเป็นที่แปลกใจมาก เนื่องจากต้นแม่มีความสูง ๘-๑๐ เมตร ต้องใช้เวลาปลูกนานกว่า ๕-๖ ปี จึงจะมีดอก ซึ่งสีสันของดอกดูสวยงามมาก เชื่อว่าเป็นไม้กลายพันธุ์ จึงนำเอาเมล็ดไปขยายพันธุ์ปลูกทดสอบอีกครั้งหนึ่ง ปรากฏว่าทุกอย่างยังคงที่ ทำให้มั่นใจได้ว่าได้กลายพันธุ์แบบถาวรแล้ว จึงตั้งชื่อว่า “คูนม่วงแคระ” และนำต้นวางขาย กำลังได้รับความนิยมจากผู้ปลูกอย่างแพร่หลายในเวลานี้

คูนม่วงแคระ ผู้ขายบอกว่า ต้นแม่มีถิ่นกำเนิดจากรัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา ถูกนำเข้ามาปลูกประดับในประเทศไทยนานหลายปีแล้ว อยู่ในวงศ์ LEGUMINOSAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เหมือนกับคูนทั่วไปทุกอย่าง โดยต้นคูนม่วงต้นแม่ สูง ๘-๑๐ เมตร ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอด ได้ยากมาก ผู้ขายบอกว่า ต้องขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดเพียงอย่างเดียว จนทำให้ได้ลูกไม้ใหม่เป็น “คูนม่วงแคระ” ดังกล่าว  นอกจากนั้น ผู้ขายยังบอกและยืนยันต่อด้วยว่า “คูนม่วงแคระ” ปลูกลงกระถางขนาดใหญ่ตั้งประดับในที่มีแสงแดดส่องถึงตลอดทั้งวัน สามารถมีดอกดกสวยงามได้เหมือนกับการปลูกลงดินทุกอย่าง จึงเป็นไม้ดอกสวยงามที่กำลังมาแรงในปัจจุบัน ดอกออกช่วงระหว่างเดือน พฤษภาคม ต่อเนื่องไปจนถึงเดือนพฤศจิกายน ทุกปี “ผล” เป็นฝักกลมยาว มีเมล็ด ขยายพันธุ์เมล็ด

ปัจจุบัน “คูนม่วงแคระ” มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผงหน้าตึกกองอำนวยการเก่า  นสพ.ไทยรัฐ
 

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/49275334055224_7_3610_3640_3609_3609_3634_358.jpg)   บุนนาค
บุนนาค มีชื่อวิทยาศาสตร์เฉพาะว่า MESUA FERREA LINN. ชื่อสามัญ LRON WOOD, CEYLON LRON WOOD อยู่ในวงศ์ GUTTIFERAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้ยืนต้น สูง ๑๕-๒๕ เมตร ลำต้นเปลา เปลือกต้นเรียบสีน้ำตาลปนเทา ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปใบหอกแกมขอบขนาน ปลายเรียวแหลม โคนสอบ ใบอ่อนเป็นสีชมพู ใบแก่มีคราบขาวหลังใบ เนื้อใบหนา สีเขียวเข้ม เวลามีใบอ่อนและใบแก่จะน่าชมยิ่งนัก   ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ หรือเป็นกระจุก ๒-๓ ดอก ออกตามซอกใบ กลีบเลี้ยงเป็นรูปช้อน งอเป็นกระพุ้ง มีด้วยกัน ๒ ชั้น ชั้นละ ๒ กลีบ กลีบดอก ๔ กลีบ เป็นรูปไข่กลับปลายมนและเว้า โคนกลีบสอบเป็นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน มีเกสรตัวผู้เป็นสีเหลืองสดเป็นกระจุกจำนวนมากบริเวณใจกลางดอก ดอกมีกลิ่นหอมแรงมาก เมื่อดอกบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๕-๑๐ ซม. เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้น จะดูสวยงามพร้อมส่งกลิ่นหอมฟุ้งกระจายเป็นที่ชื่นใจมาก “ผล” เป็นรูปไข่ แข็ง กว้างประมาณ ๒ ซม. ยาว ๔ ซม. ปลายผลโค้งแหลม กลีบเลี้ยงโตขึ้นเป็นกาบหุ้มผล ๔ กาบ มีเมล็ด ๑-๒ เมล็ด ดอกออกเดือนมีนาคมต่อเนื่องไปจนถึงเดือนกรกฎาคมทุกปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด พบขึ้นทั่วไปในป่าดิบเขาทางภาคเหนือและภาคใต้ของไทย

สรรพคุณทางยา รากแก้ลมในลำไส้ เปลือกต้นใช้กระจายหนอง กระพี้แก้เสมหะในลำคอ เนื้อไม้เป็นยาแก้ลักปิดลักเปิด ใบตำพอกแผลสด ดอกบำรุงโลหิต ระงับกลิ่นตัว น้ำมันที่กลั่นจากเมล็ดใช้จุดตะเกียง ทำเครื่องสำอาง ใบใช้ผสมสีทำให้สีติดทนนาน เนื้อไม้ใช้ทำหมอนรองรางรถไฟ ก่อสร้าง ต่อเรือ ทำพานท้ายและรางปืน ด้ามร่ม และเป็นไม้ในบทเพลงอีกด้วย มีต้นขายทั่วไป ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ราคาอยู่ที่ขนาดของต้นครับ. นสพ.ไทยรัฐ
 

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/67485129667652_8_3614_3640_3607_3608_3594_363.jpg)   พุทธชาด
หลายคนเข้าใจผิดคิดว่า “พุทธชาด” เป็นไม้ไทย ซึ่งความจริงแล้ว “พุทธชาด” มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมจากประเทศอินเดีย มีเขตการกระจายพันธุ์ทั่วไปในเอเชียเขตร้อน ในประเทศไทยนำเอาต้น “พุทธชาด” เข้ามาปลูกประดับและขยายพันธุ์นานแต่โบราณแล้ว และยังนิยมปลูกเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน จนกลายเป็นไม้ของไทยไปโดยปริยาย

พุทธชาด หรือ JASMINUM AURICU-LATUM VAHL. อยู่ในวงศ์ OLEACEAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย ต้นสูงประมาณ ๑.๕ เมตร แตกกิ่งก้านมาก ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปรี ปลายใบแหลม โคนมน เนื้อใบค่อนข้างหนา ผิวใบมีขนละเอียดทั่ว ขอบใบเรียบ สีเขียวสด  ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยเป็นกระจุกแน่นจำนวนมาก ลักษณะดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นกลีบดอก ๗-๘ กลีบ กลีบดอกเป็นรูปรี ปลายกลีบดอกแหลม สีขาวบริสุทธิ์ ดอกเมื่อบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑.๕-๒ ซม. ดอกมีกลิ่นหอมแรง เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้นจะดูสวยงามและส่งกลิ่นหอมกระจายทั่วบริเวณใกล้เคียงเป็นที่ชื่นใจมาก ดอกออกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง มีชื่อเรียกอีกคือ พุทธชาติ และ ไก่น้อย (เลย)

ปัจจุบัน “พุทธชาด” ที่เป็นพันธุ์แท้ตามภาพที่เสนอประกอบคอลัมน์ มีขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ หลายแผงหลายเจ้า แต่ละแผงราคาจะไม่เท่ากัน ต้องเดินสำรวจก่อนตัดสินใจซื้อไปปลูก ที่สำคัญ “พุทธชาด” ที่แนะนำวันนี้เป็นคนละต้นกับพุทธชาดหลวง และ มะลิก้านแดง ทั้ง ๓ ชนิดมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนคือ จำนวนของกลีบดอกไม่เท่ากัน ลักษณะช่อดอกรูปทรงของกลีบดอกต่างกันด้วย โดยเฉพาะกลิ่นหอมจากดอกจะไม่เหมือนกัน เหมาะจะปลูกประดับหลายๆ ต้น เวลามีดอกจะส่งกลิ่นหอมชื่นใจมากครับ.  นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/87014112083448_9_3610_3633_3585_3585_3636_365.jpg)   บักกิ้งแฮม
ไม้ต้นนี้ พบมีต้นพันธุ์ขายพร้อมมีภาพถ่ายต้นจริงและดอกจริงแขวนโชว์ให้ชมด้วย ซึ่งผู้ขายบอกได้เพียงว่าเป็นไม้นำเข้าจากต่างประเทศ แต่ระบุไม่ถูกว่าจากประเทศไหน โดยในภาพที่แขวนโชว์ มีชื่อภาษาอังกฤษกำกับอย่างชัดเจนว่า BUCKINGHAMIA CELSISSIMA IVORY CURL  จึงขอภาพถ่ายแนะนำประกอบคอลัมน์ให้ผู้อ่านไทยรัฐที่เป็นแฟนขาประจำได้เห็นช่อดอกแบบเต็มๆ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ จากที่เห็นในภาพถ่ายและประกอบกับผู้ขายบอกพอจะบอกได้ว่า “บักกิ้งแฮม” เป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ ๘-๑๐ เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มทรงกลมกว้าง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม หรือเหลื่อมกันเล็กน้อย ใบเป็นรูปใบหอกแกมรูปขอบขนานปลายใบแหลม โคนใบสอบ สีเขียวสด เวลาใบดกจะให้ร่มเงาดีมาก   ดอก ออกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบใกล้ปลายยอด และที่ปลายยอดแต่ละช่อประกอบด้วยช่อดอกย่อยหลายช่อ และ แต่ละช่อย่อยจะมีดอกขนาดเล็กตามแกนช่อดอกหนาแน่นคล้ายช่อดอกของสมอป่าทั่วไป ดอกขณะยังอ่อนเป็นสีเขียวอ่อน เมื่อดอกบานเป็นสีนวลหรือสีเหลืองอ่อน (ตามภาพประกอบคอลัมน์) ผู้ขายยืนยันว่าดอกมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เวลามีดอกจะดกเต็มต้นดูสวยงามพร้อมส่งกลิ่นหอมฟุ้งกระจายทั่วบริเวณใกล้เคียงเป็นที่ประทับใจมาก ผู้ขายบอกว่าดอกของต้น “บักกิ้งแฮม” ออกได้เรื่อย หรือเกือบทั้งปี “ผล” มีเหมือนกัน แต่ผู้ขายระบุไม่ได้ว่ามีลักษณะเช่นไร ขยายพันธุ์ ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง และทาบกิ่ง

ปัจจุบันต้น “บักกิ้งแฮม” มีขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒๑ ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ในดินทั่วไป เหมาะจะปลูกประดับทั้งบริเวณบ้าน สำนักงาน สวนสาธารณะ ริมถนนเป็นแถวยาวสองข้างทาง เวลามีดอกทั้งต้นจะดูสวยงามและส่งกลิ่นหอมเป็นที่ชื่นใจอย่างยิ่งครับ.  นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/40189810014433_10_3648_3607_3637_3618_3609_36.jpg)   เทียนหยดดอกหอม
เทียนหยดชนิดนี้ มีต้นวางขายและผู้ขายบอกว่าเป็นพันธุ์ใหม่ที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศออสเตรเลีย ถูกนำเข้ามาปลูกประดับและขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานกว่าหนึ่งปีแล้ว มีลักษณะพิเศษ กว่าต้นเทียนหยดทั่วไปที่คนส่วนใหญ่รู้จักดีที่มีถิ่นกำเนิดจากอเมริกาเขตร้อน คือ ต้น “เทียนหยดดอกหอม” จะเป็นพุ่มเตี้ยกว่าอย่างชัดเจน ดอกดกเต็มต้นและดอกมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว แตกต่างจากดอกของเทียนหยดของอเมริกาเขตร้อนจะไม่มีกลิ่นหอมเลย ที่สำคัญหลังจากดอกร่วงโรยแล้วต้น “เทียนหยดดอกหอม” ของ ออสเตรเลีย จะไม่ติดผลหรือมีผลเป็นธรรมชาติ ส่วนเทียนหยดของอเมริกาเขตร้อนจะติดผลหรือมีผลเป็นสีเหลืองเต็มต้น จึงเป็นสาเหตุ ทำให้ “เทียนหยดดอกหอม” ของออสเตรเลียเป็นที่นิยมปลูกอยู่ในเวลานี้

เทียนหยดดอกหอม อยู่ในวงศ์ VERBENACEAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ต้นสูงเต็มที่ตามที่ผู้ขายบอกไม่เกิน ๑-๑.๕ เมตร แตกกิ่งก้านหนาแน่นและปลายกิ่งจะลู่ลง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปไข่กลับ ปลายแหลมหรือมน โคนสอบ ขอบใบจักตื้นๆ เป็นฟันเลื่อย สีเขียวสด  ดอก ออกเป็นช่อที่ซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอกเป็นหลอดปลายบานเป็นกลีบดอก ๕ กลีบ ดอกเป็นสีขาว (ดอกเทียนหยดของอเมริกาเขตร้อนมี ๒ สี คือ สีขาวและสีม่วง) เมื่อดอกบานเต็มที่เส้น ผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑-๑.๕ ซม. ช่อดอกห้อยลง ดอกมีกลิ่นหอม (ดอกของเทียนหยดอเมริกาเขตร้อนไม่มีกลิ่นหอมเลย) ทำให้เวลา “เทียนหยดดอกหอม” ของออสเตรเลียมีดอกเต็มต้นและดอกบานพร้อมกันดูสวยงามและส่งกลิ่นหอมฟุ้งกระจายเป็นที่ชื่นใจมาก ไม่ติดผลตามที่กล่าวข้างต้น ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง และเสียบยอด

ปัจจุบันต้น “เทียนหยดดอกหอม” มีขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒  นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/53749397686786_11.jpg)   จำปาแคระ
ปัจจุบัน มีไม้กลายพันธุ์เยอะ และต้น "รัศมีจำปาแคระ" ก็จัดอยู่ในกลุ่มดังกล่าวอีกต้นหนึ่ง เพิ่งพบมีต้นวางขาย ผู้ขายเขียนป้ายติดไว้ว่า "รัศมีจำปาแคระ" จากลักษณะต้นและดอกคล้ายกับต้น จำปาทอง ที่เคยแนะนำในคอลัมน์ไปแล้ว สงสัยว่าเป็นต้นเดียวกันหรือไม่ แต่ผู้ขายยืนยันเป็นคนละต้นกัน โดย "รัศมีจำปาแคระ" เป็นตัวใหม่ที่เกิดจากการเพาะเมล็ดจากพันธุ์แม่เดียวกันกับ จำปาทอง คือ รัศมีจำปา แล้วกลายพันธุ์ต้นเตี้ยแคระ ลักษณะใบและขนาดของดอกจะแตกต่างกับ จำปาทอง ชัดเจน ซึ่งผู้ขายย้ำว่าเป็นคนละต้นกับ จำปาทอง อย่างแน่นอน

รัศมีจำปาแคระ อยู่ในวงศ์ MAGNOLIACEAE ลักษณะเป็นไม้พุ่ม สูงเต็มที่ไม่เกิน ๓ เมตร แตกกิ่งก้านสาขาเยอะ เป็นพุ่มทรงกลมกว้าง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ เป็นรูปรีหรือรูปใบหอก ปลายแหลม โคนมน ใบมีขนาดใหญ่กว่าใบของ จำปาทอง เนื้อใบหนา สีเขียวสด  ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ หรือเป็นช่อ ๑-๓ ดอก ออกตามซอกใบ กลีบดอกแยกเป็นอิสระกัน มีกลีบดอก ๑๒-๑๕ กลีบ เป็นรูปใบหอกยาว ปลายกลีบแหลม เนื้อกลีบค่อนข้างหนาและแข็ง เป็นสีเหลืองเข้ม หรือ สีเหลืองอมส้ม ตามสีสันของสายพันธุ์แม่คือ รัศมีจำปา ดอกเมื่อบานเต็มที่จะมีขนาดใหญ่มาก ดอกมีกลิ่นหอมจัดในช่วงเช้าตรู่เหมือนกับกลิ่นหอมของจำปาทอง กับรัศมีจำปา ทุกอย่าง พอตกสายกลิ่นหอมจะจางหายไป มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียจำนวนมาก กลีบดอกเรียงซ้อนกันเป็น ๒ ชั้น กลีบด้านนอกจะมีขนาดใหญ่กว่ากลีบดอกด้านใน เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้น จะดูสวยงามและส่งกลิ่นหอมตอนเช้าตรู่เป็นที่ชื่นใจมาก "ผล" เป็นกลุ่มแข็ง มีเมล็ดจำนวนมาก ดอกออกเกือบทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง และเสียบยอด

ปัจจุบัน "รัศมีจำปาแคระ" มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผงหน้าตึกกองอำนวยการ แต่ละต้นปลูกในกระถางขนาดกว้างประมาณ๘ นิ้วฟุต สูงประมาณ ๑ เมตรเศษ มีดอกติดต้นให้ชมประปราย ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ในดินทั่วไป เหมาะจะปลูกประดับในบริเวณบ้านด้านเหนือลม ๒-๓ ต้น ห่างกันต้นละ ๓ เมตร เวลามีดอกดกและบานพร้อมๆ กัน จะดูสวยงามและส่งกลิ่นหอมแรงให้ลมพัดโชยเข้าบ้านสร้างบรรยากาศเป็นธรรมชาติดีมากในตอนเช้าตรู่ครับ.  นสพ.ไทยรัฐ


หัวข้อ: Re: พรรณไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้มงคล
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 21 กรกฎาคม 2558 17:50:12
.
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/28911043165458_4_3649_3618_3657_3617_3611_363.jpg)   แย้มปีนัง
ไม้ดอกสวยงามหลายชนิดนอกจากจะมีดอกสวยงามน่าชมแล้ว บางส่วนจากต้นยังมีทั้งประโยชน์และโทษอยู่ในตัวด้วย ซึ่ง “แย้มปีนัง” ก็จัดอยู่ในกลุ่มดังกล่าวเช่นกัน โดย เมล็ดของ “แย้มปีนัง” มีสารชื่อ G–STROPHANTHIN หรือ OUABAIN ออกฤทธิ์กระตุ้นหัวใจ ในบางประเทศแถบยุโรปเอาไปทำเป็นยาฉีดรักษาโรคหัวใจ ยาพื้นบ้านไทยใช้เมล็ดเป็นยารักษาโรคหนองใน แต่มีความเป็นพิษสูงต้องระวัง ซึ่งอาการของพิษจะทำให้คลื่นไส้ ท้องเสีย หัวใจเต้นแรงและเร็ว วิธีแก้ ต้องทำให้อาเจียนและรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที

แย้มปีนัง หรือ STROPHANTHUS GRATUS (HOOK) BAILL. ชื่อสามัญ CREAM FRUIT อยู่ในวงศ์ APOCYNACEAE มีถิ่นกำเนิดจากแอฟริกาและเอเชียทั่วไป เป็นไม้พุ่ม สูง ๓-๔ เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปไข่แกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนมน ผิวใบเรียบ สีเขียวสด  ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อย ๕-๗ ดอก กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมกัน ปลายแยกเป็น ๕ แฉก กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย ปลายแยกเป็นกลีบดอก ๕ กลีบ กลีบดอกเป็นสีม่วงอมชมพู มีรยางค์เป็นเส้นสีม่วงรอบปากกรวย มีเกสรตัวผู้ ๕ อัน เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้นจะดูสวยงามน่าชมมาก ดอกออกช่วงฤดูหนาว ระหว่างเดือนธันวาคมต่อเนื่องไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป “ผล” เป็นฝักคู่ เมื่อแก่แตกอ้า ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก ซึ่งแต่ละเมล็ดจะมีปุยสีขาวเป็นกระจุกติดที่ส่วนปลายเมล็ดด้านหนึ่ง แต่จะไม่ค่อยติดผลให้เห็นนัก ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง มีชื่อเรียกอีกคือ บานทน และ หอมปีนัง (กรุงเทพฯ)  มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ราคาแต่ละแผงไม่เท่ากันอยู่ที่ขนาดของต้น เหมาะจะปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป เวลามีดอกจะสวยงามมากครับ.  นสพ.ไทยรัฐ  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/55942299299769_5_3592_3635_3611_3637_3649_360.jpg)   จำปีแดง
ไม้ต้นนี้มีกิ่งตอนวางขายพร้อมมีภาพถ่ายของดอกจากต้นจริงโชว์ให้ชมด้วย ผู้ขาย บอกว่า “จำปีแดง” มีถิ่นกำเนิดจากประเทศออสเตรเลีย เป็นลูกผสมระหว่างไม้ดอกสวยงามในวงศ์แมกโนเลียด้วยกัน แต่บอกไม่ได้ว่าเป็นระหว่างตัวไหนกับตัวไหน ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานหลายปีแล้ว สามารถเจริญเติบโตและมีดอกดกสีสันงดงามมากในทุกสภาพอากาศของบ้านเรา  โดยเฉพาะผู้ขายบอกต่อว่า “จำปีแดง” ปลูกได้ทั้งลงกระถางขนาดใหญ่ตั้งในที่มีแสงแดดส่องถึงตลอดทั้งวันและปลูกลงดินกลางแจ้ง เป็นไม้ดูแลง่ายเพราะ “จำปีแดง” ไม่ชอบน้ำเยอะหรือน้ำท่วมขัง เนื่องจากจะทำให้รากเน่า ต้นตายยืน เป็นไม้ชอบแดดจัดและ “จำปีแดง” เป็นสายพันธุ์ที่แตกใบอ่อนพร้อมมีดอกได้ตลอดเวลาหรือบ่อยที่สุด ทำให้เวลามีดอกดกและดอกบาน พร้อมกันทั้งต้นดูสีสวยงามมาก

จำปีแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ตามที่ผู้ขายกิ่งตอนเขียนติดไว้คือ MAGNOLIA LILIIFLORA อยู่ในวงศ์ MAGNOLIACEAE เป็นไม้ต้น สูงเพียง ๒-๔ เมตรเท่านั้น ไม่ได้สูงใหญ่เหมือนกับไม้สกุลเดียวกันที่จะสูงกว่า ๕ เมตรขึ้นไป ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนเกือบมน สีเขียวสด ดอกออกเป็นดอกเดี่ยวๆ ตามซอกใบ ดอกตูมรูปกระสวย มีกลีบดอกหลายชั้น รูปกลีบรีกว้าง สีชมพูเข้ม ดอกมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ดอกออกทั้งปีขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง   ปัจจุบัน “จำปีแดง” มีกิ่งตอนขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๑ เป็นกิ่งที่ขยายพันธุ์ด้วยระบบเสียบยอดกับตอจำปาพื้นเมืองของไทย มีรากแก้วแข็งแรงทุกต้น เมื่อนำไปปลูกจะทำให้เติบโตเร็ว แข็งแรงและมีดอกดกสวยงามตามภาพ ประกอบคอลัมน์ ราคาสอบถามกันเองครับ.   นสพ.ไทยรัฐ  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/88897488680150_6_3588_3641_3609_3594_3617_361.jpg)   คูนชมพูดอกสีเข้ม
คูนต้นนี้ มีขายพร้อมมีภาพถ่ายของดอกจริงโชว์ให้ชมด้วย ซึ่งทีแรกเข้าใจว่าเป็นคูนสายรุ้งที่เคยแนะนำในคอลัมน์ไปแล้ว แต่ผู้ขายยืนยันและบอกให้สังเกตให้ดีจะพบว่าสีสันของดอกจะเป็นสีชมพูเข้มเกือบแดงแตกต่างจากดอกคูนสายรุ้งอย่างชัดเจน และผู้ขายบอกต่อว่า “คูนชมพูดอกสีเข้ม” เป็นไม้เกิดในไทย โดยนำเอาเมล็ดของคูนชมพูสายพันธุ์ต่างประเทศมีดอกเป็นสีชมพูอ่อนเกือบขาวไปเพาะเป็นต้นกล้าจำนวนหลายต้นปลูกจนต้นโตและมีดอก  ปรากฏว่า มีอยู่ต้นหนึ่งดอกมีขนาดใหญ่กว่าคูนชมพูพันธุ์แม่ ช่อดอกยาว สีสันของดอกเป็นสีชมพูเข้มจนเกือบแดงแตกต่างจากคูนชมพูอย่างชัดเจน จึงขยายพันธุ์ตอนกิ่งปลูกทดสอบพันธุ์หลายวิธีทุกอย่างยังคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง เชื่อว่าเป็นไม้กลายพันธุ์ใหม่อย่างถาวรแน่นอนแล้ว จึงตั้งชื่อว่า “คูนชมพูดอกสีเข้ม” และขยายพันธุ์ทำกิ่งออกขายดังกล่าว

คูนชมพูดอกสีเข้ม อยู่ในวงศ์ LEGUMINOSAE เป็นไม้ยืนต้น สูงเต็มที่ไม่เกิน ๕-๖ เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกว้าง เป็นไม้ผลัดใบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ ใบย่อย ๓-๘ คู่ รูปไข่ป้อม สีเขียวสด ดอกออกเป็นช่อยาวห้อยลงตามซอกใบ ดอกมีขนาดใหญ่กว่าดอกคูนทั่วไป เป็นสีชมพูเข้มอมแดง เวลามีดอกดกจะทิ้งใบทั้งต้นเหลือเพียงดอกบานทั้งต้นดูสวยงาม “ผล” เป็นฝักยาว มีเมล็ดมาก ดอกออกเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคมทุกปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด และเสียบยอด  มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผงบริเวณโครงการ ๑๕ ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ในดินทั่วไป เหมาะจะปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป เวลามีดอกจะสวยงามมากครับ.  นสพ.ไทยรัฐ  
 

 (http://www.sookjaipic.com/images_upload/76104215491149_7_3585_3619_3632_3604_3633_359.jpg)  กระดังงาไทยเขาใหญ่
กระดังงาไทย นิยมปลูกเป็นไม้ประดับทุกภาคของประเทศไทย ซึ่งในแหล่งที่ปลูกอาจมีข้อแตกต่างกันบ้างเพียงเล็กน้อยตามสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ ส่วนใหญ่แล้วขนาดของดอกและช่อดอกจะใหญ่เล็กไม่เท่ากันและช่อดอกมีมากน้อยไม่เหมือนกัน และ “กระดังงาไทยเขาใหญ่” ที่พบมีกิ่งตอนวางขาย มีภาพถ่ายดอก จริงโชว์ให้ชมด้วยนั้น ผู้ขายบอกว่ามีแหล่งปลูกประดับในพื้นที่รอบเขาใหญ่ จ.นครราชสีมา มีข้อเด่นคือ กลีบดอกจะมีความหนาใหญ่และยาวกว่ากลีบดอกกระดังงาไทยทั่วไป มีกลิ่นหอมแรงมาก ที่สำคัญดอกจะเป็นช่อกระจุกเกิน ๕-๗ ดอกต่อช่อ ทำให้เวลามีดอกดกดูสวยงามและส่งกลิ่นหอมแรงกระจายทั่วบริเวณใกล้เคียงเป็นที่ประทับใจยิ่ง โดยเฉพาะผู้ขายบอกอีกว่าเมื่อนำเอาดอกไปลนไฟพอสลบจะส่งกลิ่นหอมเพิ่มขึ้น จึงถูกตั้งชื่อว่า “กระดังงาไทยเขาใหญ่” ตามแหล่งปลูกดังกล่าว

กระดังงาไทยเขาใหญ่ หรือ CANANGA ODORATA (LAM.) HOOK.F.-THOMSON ODO-RATA อยู่ในวงศ์ ANNONACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง ๘-๑๐ เมตร แตกกิ่งก้านจำนวนมาก ปลายกิ่งโค้งงอลง ใบเดี่ยว ออกสลับ รูปรี ปลายแหลม โคนมน สีเขียวสด ดอกออกเป็นช่อเหนือรอยแผลของก้านใบ แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อย ๕-๗ ดอก กลีบเลี้ยงสีเขียวรูปสามเหลี่ยม มี ๓ กลีบ ปลายกลีบงอขึ้น กลีบดอกเรียงซ้อนกัน ๒ ชั้น ชั้นละ ๓ กลีบ รูปขอบขนาน ปลายแหลม เนื้อกลีบหนาใหญ่และยาวตามที่กล่าวข้างต้น มีกลิ่นหอมแรง “ผล” รูปกลม ติดผล ๕-๑๐ ผล ผลสุกสีดำ แต่ละผลมีเมล็ด ๒-๑๐ เมล็ด ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง  มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักรทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผงหน้าตึกกองอำนวยการ ราคาสอบถามกันเองครับ.   นสพ.ไทยรัฐ  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/79537951573729_8_3618_3637_3656_3627_3640_361.jpg)   ยี่หุบนพรัตน์
ไม้ต้นนี้ พบมีกิ่งตอนวางขายมีภาพถ่ายจากดอกจริงโชว์ให้ชมด้วย ผู้ขายบอกว่า “ยี่หุบนพรัตน์” เกิดจากการผสมเกสรระหว่าง มณฑา-นพรัตน์ กับเกสรของ ยี่หุบพื้นเมืองทั่วไป จากนั้นก็นำเอาเมล็ดที่ได้จากผลที่เกิดจากการผสมเกสรดังกล่าวไปเพาะเป็นต้นกล้าจำนวนหลายต้นแล้ว  แยกต้นไปปลูกจนเจริญเติบโตมีดอก ปรากฏว่ามีอยู่หลายต้นเตี้ยกว่าต้นของพันธุ์พ่อและพันธุ์แม่อย่างชัดเจน ดอกมีขนาดใหญ่ขึ้น สีสันของดอกสวยงาม และที่สำคัญดอกจะมีกลิ่นหอมแรงมากตลอดทั้งวัน ผู้ผสมเกสรเชื่อว่าเป็นไม้กลายพันธุ์แน่นอน จึงคัดเอาต้นที่ดีที่สุดไปขยายพันธุ์ปลูกทดสอบพันธุ์อยู่หลายวิธีและหลายครั้ง ซึ่งทุกอย่างยังคงไม่เปลี่ยนแปลง และกลายพันธุ์ถาวรแล้วจึงตั้งชื่อว่า “ยี่หุบนพรัตน์” พร้อมขยายพันธุ์ตอนกิ่งออกวางขายดังกล่าว

ยี่หุบนพรัตน์ อยู่ในวงศ์ MAGNOLIACEAE เป็นไม้พุ่ม สูง ๑.๕-๒.๕ เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับหนาแน่นบริเวณปลายกิ่ง ใบเป็นรูปใบหอก ปลายแหลม โคนสอบ ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย เนื้อใบค่อนข้างหนา แข็ง สีเขียวสด  ดอกออกเป็นดอกเดี่ยวๆ หรือเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายยอด ดอกตูมโค้งเล็กน้อย มีกลีบรองดอก ๓ กลีบ กลีบหนาแข็ง เป็นสีเขียวอ่อนเกือบขาว กลีบดอกสีขาวครีม มี ๖-๑๒ กลีบ เรียงซ้อนกัน ๒-๔ ชั้น ชั้นละ ๓ กลีบ แต่ละกลีบยาวประมาณ ๓-๕ ซม. เป็นรูปไข่ กลีบหนาแข็ง จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเมื่อบานเต็มที่ มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียจำนวนมาก ดอกมีกลิ่นหอมแรงตลอดทั้งวันตามที่กล่าวข้างต้น เวลามีดอกบานพร้อมกันหลายๆดอก จะดูสวยงามและส่งกลิ่นหอมชื่นใจมาก “ผล” เป็นกลุ่ม มีเมล็ดจำนวนมาก ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง เสียบยอด  ปัจจุบันมีกิ่งวางขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๑ 11 ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ในดินทั่วไป เวลามีดอกสวยงามและส่งกลิ่นหอมประทับใจยิ่งครับ.   นสพ.ไทยรัฐ  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/69004182393352_9_3588_3621_3636_3607_3629_364.jpg)   คลิทอเรีย
ไม้ชนิดนี้มีต้นขายมีดอกเป็นช่อห้อยเป็นพวงสีสันสวยงามมาก ซึ่งทีแรกที่เห็นรูปทรงของดอกคิดว่าเป็นดอกอัญชันพันธุ์ใหม่ เพราะลักษณะดอกเหมือนกันทุกอย่าง แต่ผู้ขายยืนยันว่าเป็นคนละต้นกัน พร้อมบอกชื่อว่า “คลิทอเรีย” มีถิ่นกำเนิดจากประเทศออสเตรเลีย ถูกนำเข้ามาปลูกในประเทศไทยนานหลายปีแล้ว สามารถเจริญเติบโตได้ดีและมีดอกงดงามเหมือนปลูกในถิ่นเกิด จึงขยายพันธุ์ตอนกิ่งวางขาย แต่ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร เนื่องจากคนคิดว่าเป็นต้นอัญชันนั่นเอง

คลิทอเรีย มีชื่อเฉพาะตามที่ผู้ขายเขียนไว้คือ CLITORIA FAIRCHILDIANA แต่ไม่ระบุวงศ์ ลักษณะเป็นไม้พุ่ม สูง ๒-๓ เมตร ไม่ใช่ไม้เถาเลื้อย เช่นอัญชัน ใบเดี่ยว ออกสลับ รูปรีแกมขอบขนาน ปลายและโคนใบแหลม ส่วนใบของอัญชันเป็นใบประกอบและใบกลมมนขนาดเล็กกว่าเยอะ แตกต่างกันอย่างชัดเจน  ดอกออกเป็นช่อขนาดใหญ่ตามซอกใบใกล้ปลายยอด และปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก ช่อดอกยาวและห้อยลงตามภาพประกอบคอลัมน์ ต่างจากดอกอัญชันที่ออกเป็นดอกเดี่ยวๆตามซอกใบ ลักษณะดอกของ “คลิทอเรีย” เหมือนกับดอกอัญชันทุกอย่าง แต่จะมีกลีบดอกหลายชั้นและขนาดของดอกใหญ่กว่า ดอกเป็นสีม่วงเข้มอมแดงเช่นเดียวกัน ทำให้เวลามีดอกดกเต็มต้นช่อดอกห้อยลงดูสวยงามยิ่ง ดอกออกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง   มีกิ่งตอนขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒๑ ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ในดินทั่วไป เหมาะจะปลูกประดับในบริเวณบ้าน สำนักงาน สวนสาธารณะ และรีสอร์ททั่วไป หลังปลูกรดน้ำพอชุ่มเช้าเย็น บำรุงปุ๋ยสูตร ๑๖-๑๖-๑๖ เดือนละครั้ง ตัดแต่งกิ่งสม่ำเสมอจะมีดอกสวยงามทั้งปีครับ.   นสพ.ไทยรัฐ  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/77588513741890_10_3604_3629_3609_3597_3656_36.jpg)   ดอนญ่าแดง
“ดอนญ่าแดง” ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยบ้านเรานานมากแล้ว มีชื่อวิทยาศาสตร์เฉพาะคือ MUSSAENDA ERYTHROPHLLA SCHUM.ET THOONN. อยู่ในวงศ์ RUBIACEAE มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาเขตร้อน มีลักษณะเป็นไม้พุ่ม ต้นสูง ๒.๕-๓ เมตร แตกกิ่งก้านสาขาหนาแน่น รูปทรงกลม ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงกันข้ามรูปไข่หรือรูปรีกว้าง ปลายใบแหลม โคนใบมน มีขนนุ่มละเอียดทั่วทั้งใบ  ดอกออกเป็นช่อขนาดใหญ่ที่ปลายยอด ลักษณะดอกมี กลีบเลี้ยงเป็นสีแดงเข้มขนาดใหญ่คล้ายกลีบดอก แยกเป็น ๕ กลีบ รูปค่อนข้างกลม ปลายแหลมเป็นติ่งโคนมน กลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด สีแดงเข้ม ยาวประมาณ ๒.๕ ซม. ปลายแยกเป็นกลีบดอก ๕ กลีบ สีเหลือง กลางดอกเป็นสีแดงเลือดนก เมื่อดอกบานเต็มที่เส้น ผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑.๕-๒ ซม. มีเกสรตัวผู้ ๕ อัน เวลามีดอกบานพร้อมกันทั้งต้นจะดูสวยงามเจิดจ้ามาก ดอกออกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำกิ่ง และตอนกิ่ง

ที่พบต้น “ดอนญ่าแดง” วางขาย ผู้ขายบอกว่าเป็นสายพันธุ์นำเข้าจากรัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา และบอกด้วยว่านำเข้ามาได้ประมาณ ๒-๓ ปีเท่านั้น โดย “ดอนญ่าแดง” เป็นไม้ปลูกกลางแจ้งและธรรมชาติชอบดินร่วนซุย เหมาะจะปลูกเป็นไม้ประดับชมความสวยงามของดอกแบบลงดินและปลูกลงกระถางขนาดใหญ่ ตั้งประดับในที่มีแสงแดดส่องถึงตลอดทั้งวัน รดน้ำบำรุงปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอจะมีดอกและกลีบเลี้ยงสีสันงดงามไม่ขาดต้น ปัจจุบัน “ดอนญ่าแดง” ที่เป็นสายพันธุ์จากรัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผงหน้าตึกกองอำนวยการเก่า ราคาสอบถามกันเองครับ.  นสพ.ไทยรัฐ  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/77934492751955_11_3594_3656_3629_3617_3634_36.jpg)   ช่อมาลี
ในยุคสมัยก่อน นิยมปลูกต้น “ช่อมาลี” ในบริเวณบ้านเกือบทุกครัวเรือน เนื่องจากเวลามีดอกตามฤดูกาล ดอกจะดกเต็มต้นดูสวยงามและส่งกลิ่นหอมเป็นที่ชื่นใจยิ่งนัก โดยเฉพาะสตรีในยุคนั้น จะชอบหักเอากิ่งที่มีดอกของ “ช่อมาลี” ไปเสียบผมทำให้ส่งกลิ่นหอมเวลาเดินไปไหนต่อไหนผู้เข้าใกล้จะชื่นชอบสวยงามแบบไทยๆ น่ารักน่ามองมาก ปัจจุบัน “ช่อมาลี” ไม่ค่อยได้รับความนิยมปลูกเท่าที่ควร แต่ยังมีผู้ขยายพันธุ์ตอนกิ่งออกวางขายเป็นประจำ จึงแนะนำให้ปลูกอนุรักษ์ก่อนที่ “ช่อมาลี” จะสูญพันธุ์ไปในอนาคต

ช่อมาลี หรือ PARAMERIA LAEVI-GATA (JUSS) MOLDENKE อยู่ในวงศ์ APOCYNACEAE เป็นไม้เถาเลื้อย สามารถเลื้อยได้ยาวกว่า ๖-๑๐ เมตร เนื้อไม้เหนียว เปลือกต้นสีน้ำตาล แตกกิ่งก้านโปร่ง ใบประกอบแบบขนนก ปลายคู่ รูปใบหอก ใบย่อยออกเรียงสลับ สีเขียวสดและเป็นมันเล็กน้อย  ดอก ออกเป็นช่อขนาดใหญ่ที่ซอกใบและปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก บางช่อชูตั้งขึ้น บางช่อห้อยลง ดอกเป็นสีขาว มีกลิ่นหอมเย็นเฉพาะตัว เวลามีดอกจะดกเต็มต้นและดอกบานพร้อมกันจะดูสวยงามพร้อมส่งกลิ่นหอมฟุ้งกระจายทั่วบริเวณใกล้เคียงเป็นที่ชื่นใจยิ่ง ดอกออกปีละครั้งช่วงระหว่างเดือนตุลาคม ต่อเนื่องไปจนถึงเดือน กุมภาพันธ์ ปีถัดไป ดอกบานได้ทน ๑-๒ อาทิตย์ ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง มีชื่อเรียกอีกคือ เครือเขามวก, เครือซูด, ส้มเย็น และ สร้อยสุมาลี ปัจจุบัน “ช่อมาลี” มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๕ ราคาอยู่ที่ขนาดของต้น ปลูกได้ในดินทั่วไป เหมาะจะปลูกให้ต้นเลื้อยซุ้มประตูหรือเลื้อยซุ้มดอกเห็ด ทำม้านั่งรอบโคนต้น รดน้ำพอชุ่มเช้าเย็น บำรุงปุ๋ยขี้วัวขี้ควายแห้งรอบโคนต้น ๒ เดือนครั้ง จะมีดอกดกส่งกลิ่นหอมชื่นใจเมื่อถึงฤดูกาลครับ.  นสพ.ไทยรัฐ  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/57959831671582_12_3621_3635_3604_3623_3609_.jpg)   ลำดวน
ในยุคสมัยก่อน “ลำดวน” เป็นไม้ยอดนิยมปลูกประดับกันอย่างกว้างขวาง ทั้งตามบ้าน สำนักงาน หน่วยราชการ และโดยเฉพาะตามวัดวาอาราม เวลามีดอกบานจะเป็นสีเหลืองอร่ามทั้งต้นดูสวยงาม และส่งกลิ่นหอมฟุ้งกระจายทั่วบริเวณใกล้เคียงเป็นที่ชื่นใจยิ่งนัก ปัจจุบันค่านิยมในการปลูก “ลำดวน” ได้ลดน้อยถอยลงไปตามกาลเวลา ทำให้แทบไม่พบเห็นต้น “ลำดวน” อีกเลย เป็นสาเหตุให้คนรุ่นใหม่รู้จัก “ลำดวน” น้อยมาก และอยากทราบว่าเป็นอย่างไร มีต้นวางขายที่ไหน

ลำดวน จัดเป็นไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลแก่จังหวัดศรีสะเกษ มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ MELODORUM FROTICOSUM LOUR. อยู่ในวงศ์ ANNONACEAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้ยืนต้น สูง ๘-๑๐ เมตร แตกกิ่งก้านสาขาแน่นเป็นรูปกรวยคว่ำ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับรูปใบหอกหรือรูปขอบขนาน ปลายและโคนใบแหลม สีเขียวสด ใบดกให้ร่มเงาดีมาก  ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ ตามซอกใบ มีกลีบดอก ๒ ชั้น กลีบชั้นนอก ๓ กลีบ แผ่ออก กลีบชั้นใน ๓ กลีบ หุบเข้าหากัน ทั้ง ๖ กลีบ หนาและแข็ง เป็นสีเหลืองนวล ดอกมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เมื่อดอกบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒ ซม. เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้น จะดูงดงามและส่งกลิ่นหอมประทับใจเป็นอย่างยิ่งตามที่กล่าวข้างต้น “ผล” เป็นผลกลุ่ม ผลสุกเป็นสีดำ มีเมล็ด ดอกออกตลอดปี จะดกมากในช่วงเดือนตุลาคม ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด และตอนกิ่ง มีชื่อเรียกอีกคือ “หอมนวล” ประโยชน์ทางยา ดอกแห้ง เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต แก้ลม จัดอยู่ในจำพวก เกสรทั้งเก้า  มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๘ ราคาสอบถามกันเองครับ.  นสพ.ไทยรัฐ  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/50294519878095_13_3614_3640_3604_3649_3605_36.jpg)   พุดแตรงอนแอฟริกา
พุดชนิดนี้ พบมีต้นวางขายปลูกในกระถางดำ ขนาดกว้าง ๑๒ นิ้วฟุต แต่ละต้นสูงประมาณ ๑ เมตร มีดอกบานสะพรั่งดูงดงามแปลกตามาก ผู้ขายบอกว่าชื่อ “พุดแตรงอนแอฟริกา” เป็นไม้นำเข้ามาจากประเทศแอฟริกาหลายปีแล้ว สามารถปลูกประดับและขยายพันธุ์ในประเทศไทย บ้านเราได้ดีมีดอกดกเหมือนกับปลูกในถิ่นกำเนิดเดิมทุกอย่าง มีความแตกต่างจากพุดแตรงอนทั่วไปคือ ขนาดของดอกจะเล็กกว่าและเป็นไม้พุ่มไม่ใช่ไม้เลื้อย ดอกดกมากจึงกำลังเป็นที่นิยมปลูกอย่างกว้างขวางอยู่ในเวลานี้

พุดแตรงอนแอฟริกา จัดเป็นไม้ในสกุล GARDENIA อยู่ในวงศ์ RUBIACEAE และไม้ในสกุลนี้มีมากมายหลายชนิด มีทั้งเป็นไม้พุ่มและไม้เลื้อย ซึ่ง “พุดแตรงอนแอฟริกา” อยู่ในกลุ่มเป็นไม้พุ่ม ต้นสูง ๒-๓ เมตร แตกกิ่งก้านสาขาหนาแน่น ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้ามหรือเหลื่อมกันเล็กน้อย ใบเป็นรูปรี ปลายแหลม โคนมน ขอบใบหยักและเป็นคลื่น ใบมีขนาดใหญ่ สีเขียวเข้ม เวลามีใบดกจะน่าชมยิ่ง  ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ และเป็นช่อ ๑-๓ ดอก ออกที่ปลายยอด ลักษณะดอกและกลีบเลี้ยงโคนเชื่อมกันเป็นหลอดยาว ตัวหลอดเป็นสีเขียวปนขาว กลีบเลี้ยงเป็นรูประฆัง กลีบดอกโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็นกลีบดอก ๖ กลีบ กลีบดอกรูปรี ปลายกลีบมน สีขาวสดใสใจกลางดอกเป็นสีเขียวอ่อน มีเกสรตัวผู้เป็นกระจุกสีเขียวอ่อนหรือสีขาว ดอกบานเต็มที่ จะมีขนาดเล็กกว่าดอกของพุดแตรงอนทั่วไปอย่างชัดเจน แต่ดอกของ “พุดแตรงอนแอฟริกา” จะดกกว่า จึงทำให้เวลามีดอกบานพร้อมกันทั้งต้นดูสวยงามมาก ดอกออกตลอดทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง  ปัจจุบัน “พุดแตรงอนแอฟริกา” มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒ ราคาสอบถามกันเองครับ.  นสพ.ไทยรัฐ  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/88249950152304_14_3652_3629_3619_3636_3626_36.jpg)   ไอริสม่วง
ไอริส เป็นไม้ในสกุลใหญ่ทั่วโลกมีมากกว่า ๓๐๐ ชนิด แต่ละชนิดจะมีลักษณะดอก สีสันของดอกต่างกันไปตามแหล่งกำเนิด ในประเทศไทยถูกนำเข้ามาปลูกประดับและขยายพันธุ์นานแล้ว ส่วนใหญ่ที่เห็นจนชินตาเป็นไอริสดอกสีเหลือง ซึ่งจะมีทั้งชนิดมีกลิ่นหอมและไม่หอม เป็นพันธุ์จากทวีปอเมริกาเขตร้อน ยุโรป บราซิล แอฟริกา บางส่วน และประเทศญี่ปุ่น  ส่วน “ไอริสม่วง” ในประเทศไทยนานๆ จะมีผู้นำต้นออกวางขายและจะถูกผู้ซื้อไปปลูกประดับแบบเหมาหมดทันที ไอริสจัดเป็นไม้สกุลใหญ่ตามที่กล่าวข้างต้น รวมทั้งไอริสลูกผสมสายพันธุ์ใหม่ๆด้วย และไอริสมีทั้งเป็นไม้มีหัว (BULB) และเป็นไม้มีเหง้า (RHIZOME) โดย “ไอริสม่วง” น่าจะอยู่ในกลุ่มลูกผสมใหม่ แต่ไม่ทราบรายละเอียดว่าเป็นลูกผสมระหว่างพันธุ์ไหนกับพันธุ์ไหน

ไอริสม่วง อยู่ในวงศ์ IRIDACEAE มีหัวหรือเหง้าใต้ดิน ใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับรอบลำต้น รูปแถบยาว ปลายแหลม โคนเป็นกาบหุ้มลำต้น สีเขียวสด ใบยาวได้เกือบ ๑ เมตร ดอก ออกเป็นช่อแทงขึ้นจากซอกใบบริเวณโคนต้นหรือหัว ก้านช่อยาวหรือสูงได้กว่า ๑ ฟุต ปลายช่อมีดอกเดี่ยวๆ มีกลีบเลี้ยง ๓ กลีบ รูปรีกว้าง ขนาดใหญ่ ปลายแหลม สีขาว กลีบดอกแยกเป็นอิสระกัน รูปกลมมน โคนกลีบคอดเล็ก มีด้วยกัน ๓ กลีบ ช่วงโคนกลีบจะเป็นสีน้ำตาลแดง แผ่นกลีบส่วนบนเป็นสีม่วง เส้นกลางใบเป็นลายสีขาวรูปก้างปลามองเห็นชัดเจน ทำให้เวลา “ไอริสม่วง” มีดอกบานจะดูสวยงามมาก ดอกออกช่วงฤดูหนาวต่อเนื่องไปจนถึงฤดูร้อนของปีถัดไป ขยายพันธุ์ด้วยหัวและเหง้า มีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผงตรงกันข้ามโครงการ ๑๕ ราคาสอบถามกันเอง  

ไอริส เป็นสัญลักษณ์แทนความบริสุทธิ์ หรือการล้างบาป กลีบดอก ๓ กลีบ หมายถึง พระบิดา พระบุตร และพระจิต เป็นดอกไม้แห่งแสงสว่าง ปลูกเป็นกลุ่มเวลามีดอกงดงามมากครับ.  นสพ.ไทยรัฐ  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/64299704879522_15_3614_3641_3656_3592_3629_36.jpg)   พู่จอมพลออสเตรเลีย
ไม้ต้นนี้ มีถิ่นกำเนิดจาก ประเทศออสเตรเลีย ถูกนำเข้ามาปลูกประดับและขยายพันธุ์ขายในประเทศไทยเกือบ ๒ ปีแล้ว มีข้อเด่นกว่าพู่จอมพลทั่วไปคือ ขนาดของดอกใหญ่กว่า มีดอกดกไม่ขาดต้น สีสันของดอกแดงเข้มกว่าด้วย จึงทำให้เวลามีดอกบานพร้อมกันจะดูสวยงามเจิดจ้าน่าชมยิ่ง ที่สำคัญต้นจะเตี้ยแจ้ แตกกิ่งก้านแผ่กว้างออกทางด้านข้าง ไม่ตั้งตรงหรือสูงขึ้นดูเหมือนไม้เลื้อยหรือไม้คลุมดินเป็นเรื่องแปลกและแตกต่างจากพู่จอมพลทั่วไปอย่างชัดเจน

พู่จอมพลออสเตรเลีย จากการดูต้นและดอกจริง น่าจะอยู่ในกลุ่มเดียวกับต้นพู่ชมพูที่มีถิ่นกำเนิดจากอเมริกาใต้ อยู่ในวงศ์ย่อยเดียวกันคือ MIMOSOIDEAE ซึ่ง “พู่จอมพลออสเตรเลีย” เป็นไม้พุ่มเตี้ยแจ้ ต้นสูงเต็มที่ไม่เกิน ๑ เมตร พู่ชมพูสูง ๓-๕ เมตร เป็นไม้ไม่ผลัดใบเหมือนกัน แตกกิ่งก้านแผ่กระจายกว้างทางด้านข้างและกิ่งอ่อนลู่ลงไม่ตั้งตรงหรือสูงขึ้นตามที่กล่าวข้างต้น เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลเกือบเข้ม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้นปลายคู่ ออกเรียงสลับมีใบย่อยขนาดเล็กเกินกว่า ๑๐ คู่ขึ้นไป ใบเป็นรูปขอบขนาน ปลายแหลม โคนเบี้ยวเกือบมน สีเขียวสด เวลาใบดกน่าชมมาก  ดอก ออกเป็นช่อกระจุกคล้ายดอกจามจุรี โดยดอกออกตามซอกใบใกล้ปลายยอดและที่ปลายยอด ส่วนที่เห็นเป็นฝอยๆสีแดงไม่ใช่กลีบดอก แต่เป็นเกสรตัวผู้จำนวนมากแผ่กระจายกว้างเป็นวงกลมและมีขนาดใหญ่ดูสวยงามมาก “ผล” เป็นฝักแบน ยาวประมาณ ๔-๖ ซม. เมื่อผลแก่จะแตกอ้า ภายในมีเมล็ดสีน้ำตาล ๔-๖ เมล็ด ดอกออกตลอดปี และดอกดกเต็มต้นโดยธรรมชาติแบบไม่ขาดต้น ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดหรือตอนกิ่ง  มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผงหน้าตึกกองอำนวยการเก่า ราคาสอบถามกันเองครับ.  นสพ.ไทยรัฐ  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/38814439127842_16_3621_3636_3605_3648_3605_36.jpg)   ลิตเติ้ลเจมส์
ไม้ต้นนี้มีต้นวางขายมีภาพถ่ายดอกจริงโชว์ให้ชมด้วย ผู้ขายกิ่งตอนบอกว่า “ลิตเติ้ลเจมส์” เป็นไม้ในวงศ์ MAGNOLIACEAE อยู่ในกลุ่มเดียวกับจำปี จำปา มณฑา และยี่หุบ ซึ่ง “ลิตเติ้ลเจมส์” มีถิ่นกำเนิดจากประเทศออสเตรเลีย ถูกนำเข้ามาปลูกประดับในประเทศไทยบ้านเรานานแล้ว สามารถเจริญเติบโตและมีดอกได้ดีไม่แพ้ปลูกในประเทศบ้านเกิด มีข้อโดดเด่นคือ ดอกมีขนาดใหญ่ มีกลิ่นหอมแรง ขนาดของต้นไม่สูงใหญ่นัก ดอกดกไม่ขาดต้น จึงทำให้เป็นที่นิยมปลูกอย่างกว้างขวางเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน

ลิตเติ้ลเจมส์ มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้พุ่มต้น สูง ๒-๓.๕ เมตร แตกกิ่งก้านกว้าง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับหนาแน่นบริเวณปลายยอด ใบรูปใบหอก ปลายแหลม โคนสอบ ขนาดใบใหญ่ ผิวใบเป็นคลื่นเล็กน้อย เนื้อใบค่อนข้างหนาและกรอบ ขอบใบเรียบ  ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ หรือเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายยอด ลักษณะดอกตูมทรงกลมป้อม มีกลีบรองดอก ๓ กลีบ หนาและแข็ง กลีบดอกมี ๖-๑๒ กลีบ เรียงซ้อนกัน ๒-๔ ชั้น ชั้นละ ๓ กลีบ แต่ละกลีบเป็นรูปกลมมนหรือแหลมเล็กน้อย กลีบดอกสีขาว ดอกขนาดใหญ่ มีดอกดกเต็มต้น มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียจำนวนมาก เวลามีดอกบานพร้อมกันทั้งต้นจะดูสวยงามและส่งกลิ่นหอมฟุ้งกระจายทั่วบริเวณใกล้เคียงเป็นที่ชื่นใจยิ่ง “ผล” เป็นผลกลุ่ม สีเขียว มีเมล็ดจำนวนมาก ดอกออกทั้งปีและดอกดกเต็มต้นโดยธรรมชาติ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอดกับตอแมกโนเลียพันธุ์พื้นเมือง  ปัจจุบันมีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๑ ปลูกได้ในดินทั่วไปและทุกพื้นที่ในประเทศไทย เหมาะจะปลูกประดับทั้งแบบลงดินกลางแจ้งและปลูกลงกระถางขนาดใหญ่ตั้งในที่มีแสงแดดส่องถึงตลอดวัน รดน้ำพอชุ่มวันละครั้ง บำรุงปุ๋ยสูตร ๑๖-๑๖-๑๖ เดือนละครั้ง จะทำให้มีดอกดกเต็มต้นสวยงามและส่งกลิ่นหอมชื่นใจมาก ราคาสอบถามกันเองครับ.  นสพ.ไทยรัฐ  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/73817157745361_17_3586_3636_3591_3621_3635_36.jpg)   ขิงลำปี
ขิงลำปี เป็นไม้ล้มลุกจำพวกเดียวกันกับกระทือ ขิง และข่า มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์มีหัวหรือเหง้าใต้ดินเป็นสีขาวอมเขียว หัวหรือเหง้ามีกลิ่นหอมฉุนเฉพาะตัวเล็กน้อย ลำต้นแทงขึ้นจากหัวสูงประมาณ ๒-๒.๕ เมตร แตกเป็นกอ ๕-๑๐ ต้น ใบออกสลับซ้อนกันคล้ายใบดาหลา เป็นรูปรีแกมขอบขนาน ปลายแหลม โคนเป็นกาบหุ้มลำต้น สีเขียวสด  ดอกออกเป็นช่อแทงขึ้นจากหัวใต้ดินโดยตรง ก้านช่อยาว ๒-๓ ฟุต หรืออาจยาวได้มากกว่านี้อยู่ที่ความสมบูรณ์ของดิน ปลายช่อประกอบด้วยกลีบเลี้ยงขนาดใหญ่จำนวนมากเรียงซ้อนกันเหมือนกลีบเลี้ยงของดอกกระทือ เพียงแต่ช่อดอกของ “ขิงลำปี” จะยาวกว่ามาก คือ ยาวประมาณ ๑-๒ ฟุต ความใหญ่ของช่อโตเต็มที่ประมาณลำแขนผู้ใหญ่ เวลาช่อยาวจะโค้งงอดูสวยงามแปลกตามาก มีด้วยกันหลายสีคือ เหลืองสด สีส้ม เหลืองอมส้ม ชมพูหม่น และแดงหม่น ที่สำคัญคือ กลีบเลี้ยงดังกล่าวยังสามารถอุ้มน้ำไว้ได้ทำให้เป็นที่พึ่งพาอาศัยของเหล่าแมลงชนิดต่างๆ เข้าไปวางไข่ขยายพันธุ์ สร้างระบบนิเวศได้ดีอีกด้วย

ส่วนของกลีบดอกเป็นสีเหลืองสด รูปปากมีลายประเป็นจุดสีน้ำตาลอมม่วงกระจายทั่วกลีบ มีเกสรตัวผู้ ๑ อัน เป็นสีดำ กลีบดอกจะแลบออกมาตามซอกของกลีบเลี้ยงสวยงามยิ่ง “ผล” รูปกลม ขนาดเล็กซ่อนอยู่ในซอกกลีบเลี้ยง มีเมล็ด ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยหัวหรือเหง้า พบขึ้นทั่วไปเฉพาะถิ่นทางภาคใต้ โดยจะขึ้นอยู่ในป่าดิบชื้นบนเขาสูง ซึ่งแต่ละแห่งที่พบสีของกลีบเลี้ยงจะแตกต่างกัน ชาวบ้านในพื้นที่บางแห่งเรียกว่า “กระทือช้าง”   นิยมตัดดอกนำไปปักแจกันขนาดใหญ่ ตั้งประดับตามบ้านสำนักงานห้องประชุมหรือประดับตามโรงแรมใหญ่ๆ และร้านอาหาร อยู่ได้นานกว่า ๑-๒ อาทิตย์ สร้างบรรยากาศและสีสันให้ดูงดงามเป็นที่ชื่นชอบยิ่งนัก   นสพ.ไทยรัฐ  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/28519723605778_18_3594_3617_3614_3641_3649_36.jpg)   ชมพูแสนสวย
ไม้ต้นนี้ พบมีต้นวางขายมีป้ายชื่อเขียนติดไว้ว่า “ชมพูแสนสวย” พร้อมมีภาพถ่ายของดอกโชว์ให้ชมด้วย ลักษณะดอก สีสันของดอกและขนาดของต้นแปลกตาไม่เคยพบเห็นมาก่อน ดอกจะคล้ายกับดอกเสือโคร่งและดอกชงโคที่เป็นไม้ยืนต้นสวยงามน่าชมมาก ผู้ขายบอกได้เพียงว่า “ชมพูแสนสวย” มีถิ่นกำเนิดจาก ประเทศออสเตรเลีย ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานกว่า ๒ ปีแล้วสามารถเจริญเติบโตและมีดอกสวยงามได้เป็นอย่างดีในสภาพอากาศบ้านเรา ผู้นำเข้าจึงขยายพันธุ์ออกจำหน่ายดังกล่าว

สำหรับลักษณะต้นและดอกที่ดูด้วยสายตาประกอบกับผู้ขายบอก พอระบุได้ว่า “ชมพูแสนสวย” เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ต้นสูงเต็มที่ผู้ขายบอกว่าไม่เกิน ๑ เมตร ลำต้นเป็นไม้เนื้อแข็งไม่ใช่ไม้ล้มลุก แตกกิ่งก้านสาขาไม่หนาแน่นนัก ใบเดี่ยว ออกเวียนสลับรอบกิ่งก้าน ใบเป็นรูปรีหรือรูปแถบแคบ ปลายและโคนใบแหลม เนื้อใบค่อนข้างหนาและแข็ง สีเขียวสด  ดอก ออกเป็นช่อกระจุก ๑-๓ ดอก ตามซอกใบและปลายยอด มีกลีบดอก ๔ กลีบ แยกเป็นอิสระกัน เป็นรูปรีเกือบมน ปลายกลีบแหลม โคนกลีบดอกคอดหรือกิ่วเหมือนกลีบดอกเสือโคร่งและกลีบดอกชงโค เป็นสีชมพูดูหวานๆ โคนกลีบมีแต้มแทงขึ้นจากโคนกลีบเป็นสีชมพูอมแดงเข้ม ใจกลางดอกมีเกสรตัวผู้ยาวสีขาวโผล่พ้นกลีบดอกหลายอัน ทำให้เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้นดูงดงามน่ารักยิ่ง ผู้ขายจึงตั้งชื่อตามลักษณะสีดอกว่า “ชมพูแสนสวย” ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง กำลังเป็นที่นิยมของผู้ปลูกอยู่ในเวลานี้  มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผงหน้ากองอำนวยการเก่า ราคาสอบถามกันเองครับ นสพ.ไทยรัฐ   <


หัวข้อ: Re: พรรณไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้มงคล
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 21 กรกฎาคม 2558 17:52:43
.
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/32314300619893_20_3592_3629_3585_3627_3641_35.jpg)   จอกหูช้าง
ไม้ชนิดนี้ พบมีต้นขาย ปลูกในกระถางไม้น้ำขนาดกว้าง ๑๒ นิ้วฟุต ลำต้นลอยเหนือผิวน้ำ แตกใบเป็นชั้นๆ ซ้อนกันดูสวยงามแปลกตามาก ผู้ขายบอกไม่ได้ว่า “จอกหูช้าง” มีถิ่นกำเนิดจากที่ไหน บางคนบอกว่าเป็นไม้นำเข้าจากต่างประเทศ แต่บอกไม่ถูกว่าประเทศอะไร และบางคนบอกว่า “จอกหูช้าง” มีแหล่งที่พบตามธรรมชาติทางภาคเหนือของประเทศไทย ส่วนใหญ่จะปลูกเป็นไม้น้ำประดับในพื้นที่จำกัด เวลาแตกต้นและใบลอยเหนือน้ำจะกระจายเต็มภาชนะที่ปลูกน่าชมยิ่ง

จอกหูช้าง เป็นไม้น้ำในสกุลเดียวกับ จอกทั่วไป คืออยู่ในวงศ์ ARACEAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้มีเหง้าหรือรากยาวใต้น้ำ ต้นเป็นกอหรือเป็นกระจุก ๑-๓ ต้น แล้วงอกขึ้นตามเหง้าหรือไหลลอย กระจายเหนือผิวน้ำอย่างรวดเร็ว ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับถี่ซ้อนกันตามกิ่งก้านหรือลำต้น ใบเป็นรูปรี ปลายใบแหลม โคนใบเป็นกาบติดกิ่งก้านหรือลำต้น เนื้อใบค่อนข้างหนาและแข็ง สีเขียวสด  ดอกออกเป็นช่อขนาดเล็กตามซอกใบ ลักษณะดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกันเหมือนกับดอกจอกทั่วไป ดอกเป็นสีขาวหรือสีเขียวอ่อน “ผล” รูปทรงกลมขนาดเล็ก ในผลมีเมล็ดหลายเมล็ด ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยการแยกต้น  ปัจจุบันมีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒  ราคาสอบถามกันเอง นิยมปลูกเป็นไม้น้ำประดับบ่อปลาหรือปลูกประดับในกระถางไม้น้ำตามที่กล่าวข้างต้น เวลาแตกต้นกระจายลอยเหนือผิวน้ำจะดูสวยงามมาก ที่สำคัญเหง้าหรือรากยาวใต้น้ำจะช่วยให้ปลาที่เลี้ยงไว้อยู่อาศัยเป็นธรรมชาติดียิ่ง  อย่างไรก็ตาม “จอกหูช้าง” เป็นไม้น้ำที่กระจายต้นได้อย่างรวดเร็วเหมือนกับจอกทั่วไป จึงไม่ควรนำไปปลูกหรือทิ้งในห้วยหนองคลองบึง จะทำให้ยากต่อการกำจัดในภายหลังครับ.   นสพ.ไทยรัฐ  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/44222098713119_21_3613_3634_3591_.jpg)   ฝาง
ฝางแต่ละชนิด จะมีสีของแก่นแตกต่างกัน แต่มีชื่อวิทยาศาสตร์และลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกันหมดคือ CAESAL-PINIA SAPPAN, L.HAEMA TOXYLIN COMPECHIANUM อยู่ในวงศ์ CAESAL PINEAE ทุกชนิดเป็นไม้พุ่ม สูง ๕-๘ เมตร ลำต้นกิ่งก้านมีหนาม ใบประกอบขนนก ๒ ชั้น ออกเรียงสลับรูปไข่หรือรูปขอบขนาน โคนใบเฉียง ดอก ออกเป็นช่อที่ซอกใบใกล้ปลายยอดและปลายยอด กลีบดอกเป็นสีเหลือง เวลามีดอกจะดูสวยงามมาก “ผล” เป็นฝักแบนสีน้ำตาลมีเมล็ดดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง แก่นไม้เป็นสีแดง มีวัตถุผลึกไม่มีสี ชื่อ HAEMATOXYLIN อยู่ ๑๐ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งวัตถุดังกล่าวเมื่อถูกอากาศอาจจะกลายเป็นสีแดงและมีเทนนิน, เรซิน และน้ำมันหอมระเหย ใช้เป็นยาสมานอย่างอ่อน แก้ท้องเดิน ใช้ทำเป็นยาต้ม ๑ ใน ๒๐ หรือยาสกัดสำหรับ “เฮมาท็อกซลิน” ใช้เป็นสีสำหรับย้อมNUCLEI  ของเซลล์

ประโยชน์ทางยา แก่น “ฝาง” ทุกสีมีรสขื่นขมและฝาด กินเป็นยาบำรุงโลหิตสตรี แก้ปอดพิการ ขับหนอง ทำให้โลหิตเย็น แก่นต้มน้ำดื่มแก้ท้องร่วง แก้ธาตุพิการ แก้ร้อน แก้โลหิตออกทางทวารหนักและเบา นอกจากนั้นแก่น ยังต้มดื่มแก้คุดทะราด แก้เสมหะ แก้โลหิต แก้เลือดกำเดาด้วยการใช้ทำน้ำยาอุทัยแก่นของ “ฝาง” ทุกสี ชนิดสีไหนก็ได้ ปรุงเป็นยาหัวหน้า และมีบางตำรับกล่าวว่า เนื้อไม้ของ “ฝาง” ทุกสียังเป็นยาขับเลือดประจำเดือนสตรีอย่างแรงได้เช่นกัน

ฝางอีกชนิดแก่นเป็นสีแดงเข้ม เรียกว่า “ฝางเสน” กับชนิดแก่นเป็นสีเหลือง เรียกว่า “ฝางส้ม” ทุกชนิดมีชื่อเรียกอีกคือ ง้าย (กะเหรี่ยงกาญจนบุรี) หนามโค้ง (แพร่) และ โซบั๊ก (จีน) มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ โครงการ ๒๑ ราคาสอบถามกันเองครับ.   นสพ.ไทยรัฐ  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/28608156450920_22_3588_3635_3649_3626_3604_.jpg)   คำแสด  
ในตำรายาแผนไทยระบุสรรพคุณว่า เปลือกของราก ต้น “คำแสด” กะจำนวนพอประมาณต้มกับน้ำจนเดือดดื่มขณะอุ่นวันละ ๒ เวลา ก่อนหรือหลังอาหารเช้าเย็น เป็นยาแก้ไข้มาลาเรีย ใบ ต้มน้ำดื่มแก้ไข้ แก้บิด ขับปัสสาวะ ผล ใช้เป็นยาฝาดสมาน เปลือกช่องเมล็ดมีสาร BIXIN ให้สีแดงใช้แต่งสีอาหารได้ เนื้อเมล็ด นำไปเข้ายาหอม ยาฝาดสมานแก้ไข้ แก้โรคหนองใน ได้ทั้งบุรุษและสตรี แก้ไข้มาลาเรีย ใช้ถอนพิษที่เกิดจากพิษมันสำปะหลังและต้นสบู่แดง

คำแสด หรือ BIXA ORELLANA LINN. ชื่อสามัญ ANNATO, ARNATTO, ROUCOU อยู่ในวงศ์ BIXACEAE มีถิ่นกำเนิดอเมริกาเขตร้อน ในประเทศไทยมีปลูกแพร่หลายทั่วไป เคยพบมากที่สุดในแถบจังหวัดสิงห์บุรี มีลักษณะเป็นไม้ยืนต้น สูง ๕-๑๐ เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มทรงสามเหลี่ยมหรือทรงฉัตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปไข่หรือรูปหัวใจ ปลายแหลม โคนเว้า สีเขียวสด  ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก ลักษณะดอกมีกลีบดอก ๕ กลีบ เป็นสีขาวหรือสีชมพูอ่อน ใจกลางดอกมีเกสรตัวผู้เป็นกระจุกจำนวนมาก เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้นจะงดงามยิ่ง “ผล” เป็นรูปไข่หรือรูปทรงกลม มีขนสีแดงคล้ายผลเงาะ เวลาติดผลทั้งต้นจะดูแปลกตามาก ผลแก่แตกได้ ภายในมีเมล็ดเยอะ มีเปลือกหุ้มสีแดง ดอกและผลออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด มีชื่อเรียกตามพื้นที่ต่างๆ ในประเทศไทยคือ คำเงาะ, คำแงะ, คำไท, คำแฝด (กรุงเทพฯ) ชาด (ภาคใต้) ซิติหมัก (เลย) มะกายหยุม และ แสด (ภาคเหนือ)   คำแสด มีต้นขาย ทั่วไปที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แต่ละแผงราคาไม่เท่ากันอยู่ที่ขนาดของต้น เหมาะจะปลูกเป็นทั้งไม้ประดับและใช้ประโยชน์ตามที่กล่าวข้างต้นคุ้มค่ามากครับ.  นสพ.ไทยรัฐ  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/17155989714794_23_3604_3629_3585_3615_3641_35.jpg)   ดอกฟูจิ (วิสทีเรีย)  
ช่วงฤดูใบไม้ ผลิ ที่ประเทศญี่ปุ่นไม่เพียงแต่จะ มีซากุระให้ชม อีกหนึ่งดอกไม้งามที่ผลิบานห้อยพวงระย้าคือดอกฟูจิ หรือวิสทีเรีย หนึ่งในเจ็ดต้นไม้มหัศจรรย์ของโลก ไม้เถาที่มีกลิ่นหอมนี้มีถิ่นกำเนิดในเอเชีย เช่น เกาหลี จีน ญี่ปุ่น รวมถึงทางฝั่งตะวันออกของสหรัฐ ตำราบอกว่ามีประมาณสิบ สายพันธุ์ ดอกสีขาว ชมพู ม่วงคราม รวมถึงพันธุ์ไฮเบิร์ดสีแดงที่เริ่มมีให้เห็น แต่สายพันธุ์ที่นิยมปลูกกันมากที่สุดคือ เจแปนนิส วิสทีเรีย และ ไชนีสวิสทีเรีย ที่แทบจะไม่มีอะไรแตกต่าง ยกเว้นลักษณะการพันของเถา เจแปนนิสวิสทีเรียจะพันเถาตามเข็มนาฬิกา ส่วนไชนีสวิสทีเรียจะพันทวนเข็มนาฬิกา

ต้นวิสทีเรียจะเริ่มออกดอกประมาณปลายเดือนเมษายนถึงกลางเดือนพฤษภาคม สามารถไต่สูงได้ถึง ๒๐ เมตรเหนือพื้นดิน แผ่กระจายออกไป ๑๐ เมตรโดยรอบ ขนาดของดอกที่ห้อยจะมีขนาดประมาณ ๑๐-๘๐ ซ.ม.  

ด้วยความที่วิสทีเรียเป็นไม้ตระกูลถั่ว บางคนเชื่อว่าเป็นดอกไม้กินได้ แต่ในความเป็นจริงวิสทีเรียเป็นต้นไม้พิษอันดับหนึ่ง ในสิบอันดับดอกไม้อันตราย หากกินเข้าไปจะมีอาการคลื่นเหียน อาเจียน เป็นตะคริวและท้องร่วง  นสพ.ข่าวสด  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/79837668149007_24_3585_3634_3610_3627_3629_36.jpg)   กาบหอยแครง  
กาบหอยแครง หรือ Venus Flytrap เป็นพืชกินสัตว์ที่ดักจับและย่อยกินเหยื่อที่จับได้ซึ่งส่วนมากเป็นแมลงและแมง มีโครง สร้างกับดักคล้ายบานพับแบ่งออกเป็น ๒ กลีบอยู่ที่ปลายใบของแต่ละใบ มีขนกระตุ้นบางๆ บนพื้นผิวด้านในกับดัก เมื่อแมลงมาสัมผัสขนกระตุ้นสองครั้งกับดักจะงับเข้าหากัน

ชื่อ Venus Flytrap อ้างอิงถึงเทพีวีนัส เทพีแห่งความรักของชาวโรมัน ขณะที่ชื่อสกุล Dionaea เป็นสกุลที่มีเพียงชนิดเดียวและเป็นญาติใกล้ชิดกับ Aldrovanda vesiculosa และสกุลหยาดน้ำค้าง

เครื่องปลูก ใช้ขุยมะพร้าว ควรหมั่นเปลี่ยนเครื่องปลูกใหม่ทุกๆ ๑-๒ ปี ระวังอย่ารดน้ำมากจนเกินไป เจริญเติบโตได้ดีภายใต้สภาพอากาศของประเทศไทย ในแสงแดดพรางแสง ๕๐-๖๐% นสพ.ข่าวสด  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/71091299172904_25_3592_3635_3611_3641_3609_.jpg)   จำปูน  
จําปูน ดอกไม้ประจำจังหวัดพังงา พบทางภาคใต้ของไทย บริเวณคาบ สมุทรมลายู และยังพบในภาคตะวันออกเฉียงใต้แถบจังหวัดจันทบุรี ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anaxagorea java- nica เป็นพรรณไม้ดอกมีกลิ่นหอมหวาน ดอกมีขนาดเล็ก กลีบหนา อูม ลักษณะคล้ายดอกบัวตูม  เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก ต้นใบและกิ่งคล้ายกระดังงา ลำต้นสูงราว ๒-๔ เมตร ทรงพุ่มค่อนข้างโปร่ง กิ่งก้านเกลี้ยง ลำต้นตรง เปลือกเรียบมีสีเทาคล้ำ ใบสีเขียวเป็นมัน พื้นใบเกลี้ยง ยาวประมาณ ๔-๖ นิ้ว ดอกเดี่ยวออกตามยอดหรือโคนก้านใบ ลักษณะดอกจะแข็ง มีสีขาวนวลเป็นมัน มี ๓ กลีบ โคนกลีบสีเขียว เมื่อบานเต็มที่ประมาณ ๑นิ้ว มีกลิ่นหอมแรงในช่วงกลางคืนและหอมอ่อนในช่วง เช้า ดอกบานวันเดียวแล้วร่วง ออกดอกตลอดปี แต่ดกในฤดูฝน

ผลเป็นผลกลุ่ม มีผลย่อย ๔-๑๐ ผล เมื่อผลแก่แล้วเมล็ด จะแตกตัว กระเด็นไปได้ไกล ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและ ตอนกิ่ง ชอบแสงแดดรำไร ควรปลูกในดินร่วนระบายน้ำดี  นสพ.ข่าวสด  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/49807020276784_26_3605_3637_3609_3605_3640_36.jpg)   ตีนตุ๊กแก
ตีนตุ๊กแก เป็นไม้ล้มลุก ออกดอกตลอดปี ถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนของทวีปอเมริกา ในประเทศไทยพบทุกภาคบริเวณที่ชื้นทั่วไปหรือชื้นแฉะริมน้ำ เป็นพืชที่ทนแล้งได้ดี ลำต้นทอดนอนไปตามพื้น ชูยอดและดอกขึ้นตามต้นและใบ  ข้อของต้นที่แตะพื้นจะมีรากและเจริญเป็นต้นใหม่ได้ ลำต้นเล็กเรียวสีขาวแกมเขียว แตกแขนงเล็กน้อย มีขนปกคลุม ใบเดี่ยวเรียงตัวแบบตรงข้าม ก้านใบยาว ๕-๑๕ ม.ม. ด้านบนก้านใบเป็นร่อง ใบรูปไข่หรือรูปข้าวหลามตัด ขอบใบหยัก โคนใบแหลม ปลายใบแหลม ผิวใบมีขนเล็กๆ ปกคลุม ท้องใบและหลังมีขนสีน้ำตาลปกคลุม

ช่อดอกเป็นแบบ ovoid head เกิดที่ปลายกิ่ง ก้านช่อดอกเล็กเรียวยาว ๑๐-๒๕ ซ.ม. ผลรูปหอก ๒ อันประกบกัน เมล็ดรูปยาวรี ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและปักชำกิ่ง  นสพ.ข่าวสด


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/75950927121771_27_3604_3629_3585_3585_3619_36.jpg)   ดอกกระเจียว  
ช่วงนี้ดอกกระเจียวเริ่มบานสวยงาม ชื่อเรียกอื่นๆ คือปทุมมา บัวสวรรค์ ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cercuma alismatifolia Gagnep มีถิ่นกำเนิดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ลักษณะทั่วไป ทรงพุ่มสูงประมาณ ๕๕ ซ.ม. กว้างประมาณ ๕๐ ซ.ม. ลำต้นเทียมสูงประมาณ ๓๐ ซ.ม. กาบใบสีเขียวโคนสีแดง ก้านใบยาวประมาณ ๑๐ ซ.ม. ใบเป็นรูปรีค่อนข้างแคบ แผ่นใบเรียบไม่มีขน บริเวณเส้นกลางใบอาจมีสีแดง ไม่มีเส้นลอย

ช่อดอกเกิดจากปลายลำต้นเทียม ใบประดับสีเขียว บางครั้งอาจมีสีม่วงชมพูแต้มบ้าง ใบประดับไม่มีขน ส่วนบนมีสีชมพูอมม่วง ดอกสีขาวปากสีม่วง ปากมีสันตามแนวยาว ๒ สัน ด้านในของสันเป็นสีเหลือง กลีบสเตมิโนดมีสีขาวขนานกัน อับละอองเรณูป่องตลอดอัน  ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด แยกเหง้า ผ่าเหง้า เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ชอบดินร่วนระบายน้ำดี อินทรียวัตถุสูง แสงจัด ดอกอ่อนกินสดได้หรือนำมาลวกจิ้มกับน้ำพริก มีรสเผ็ดร้อน สรรพคุณช่วยขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ  นสพ.ข่าวสด  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/71398284493221_28_3617_3636_3585_3585_3637_36.jpg)   มิกกี้เมาส์  
ได้ยินชื่อปุ๊บ เชื่อว่าเพื่อนๆ คงอยากรู้จักพันธุ์ไม้ชนิดนี้กันแล้ว มิกกี้เมาส์เป็นไม้พื้นเมืองของทวีปแอฟริกา ชื่อสามัญว่า Mickey Mouse Plant เป็นไม้พุ่มสูงได้ถึง ๓ เมตร กิ่งก้านเยอะ พุ่มทึบ ใบแข็งหนาสีเขียวเข้ม รูปมนรี ปลายแหลม ออกดอกเป็นช่อสั้นๆ ตามปลายกิ่ง ดอกจะเติบโตเป็นสองช่วง ในช่วงที่ดอกบานระยะแรกจะมีกลีบบางสีเหลืองสด ๕ กลีบ หลังจากดอกเหลืองโรยไปแล้วกลีบรองดอกจะกลายเป็นสีแดงสด ในดอกมีเม็ด ๓-๔ เม็ด พอแก่กลายเป็นสีดำ มองรวมแล้วเหมือนหน้าหนูมิกกี้เมาส์ในการ์ตูนวอลต์ดิสนีย์

ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด ขึ้นง่าย แต่โตช้า นสพ.ข่าวสด  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/65045015513896_29_3592_3636_3585_3607_3632_36.jpg)   จิกทะเล
จิกทะเล ต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรสงคราม ถิ่นกำเนิดตามหาดทรายชายทะเลทั่วไป ชื่อวิทยาศาสตร์ Barringtonia asiatica (Linn.) Kurz วงศ์ MRY TACEAE ชื่อเรียกอื่นๆ เช่น จิกเล โคนเล อามุง เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นสูง ๑๐ เมตร แผ่กิ่งก้านสาขาไปทั่วต้น กิ่งมีขนาดใหญ่ มีรอยแผลอยู่ทั่วไป เป็นรอยแผลที่เกิดจากใบที่ร่วงหล่นไป เปลือกต้นสีน้ำตาลหรือสีเทา ใบเดี่ยวสีเขียวเข้มสลับกันไปตามข้อต้น ผิวใบเกลี้ยงเป็นมัน ขอบใบเรียบ ออกดอกเป็นช่อสั้นๆ อยู่ตามปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว เกสรสีชมพูอยู่ตรงกลาง ออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ผลขนาดใหญ่ โคนเป็นสี่เหลี่ยมป้าน ปลายสอบ  

เป็นไม้กลางแจ้ง ชอบดินร่วนปนทราย หรือดินทราย ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด  นสพ.ข่าวสด  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/35542334905928_32_3614_3636_3591_3585_3660_36.jpg)   พิงก์มอส  
ช่วงนี้ใครไปเที่ยวญี่ปุ่นคงจะได้ชมทุ่งพิงก์มอส อวดสีสันบานสะพรั่งสวยงามสุดสายตาในหลากหลายภูมิภาคทั่วแดนปลาดิบ พิงก์มอสมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ชิบะซากุระ (Shibazakura) หรือชื่อเป็นทางการว่า Moss Phlox/Phlox Subulata เป็นดอกไม้พันธุ์เล็กขนาดประมาณ ๑.๕ ซ.ม. มีทั้งสีชมพู แดง ม่วง และขาว

ชิบะซากุระเป็นพันธุ์ที่มาจากอเมริกาเหนือ เรียกว่า Tweet มีลักษณะคล้ายดอกซากุระแต่บานและออกดอกบนพื้นดิน จึงเป็นที่มาของชื่อ Shiba (พื้นดิน) + Zakura (ซากุระ)

ดอกพิงก์มอสหรือชิบะซากุระชอบอยู่บนดินที่ระบายน้ำได้ดีและมีแดดส่องทั่วถึง นิยมปลูกบนกำแพงหินหรือที่ลาดชันเป็นลักษณะคล้ายสโลป จึงกลายเป็นเสน่ห์ของสวนที่ปลูกดอกชนิดนี้ นสพ.ข่าวสด  


(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSrfuJUUkSnpLwRfEncBrKyCzKMBiicqggq2ezEapYkW7NFpsty)   นมแมว    
นมแมวเป็นไม้พุ่มขนาดกลางเข้าข่ายเป็นไม้เลื้อย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rauwenhoffia siamensis scheff. ขึ้นตามชายป่าชื้นและป่าเบญจ พรรณในภาคกลางและภาคใต้ นำมาปลูกเป็นไม้ประดับบ้างแต่ไม่แพร่หลาย ปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันน้อยและหาชมยาก ทั้งๆ ที่เป็นพันธุ์ไม้ที่ปลูกเลี้ยงได้ง่าย ดอกมีกลิ่นหอมเย็นชื่นใจ คนไทยจึงเรียกน้ำหอมปรุงกลิ่นขนมว่า น้ำนมแมว

พันธุ์ไม้ชนิดนี้มีขนละเอียดนุ่มตามกิ่งอ่อนซึ่งมีสีเขียวปนน้ำตาล กิ่งมักจะหักคดไปมาเล็กน้อย ใบเป็นใบเดี่ยวและดกเรียงสลับ รูปขอบขนานแกมรูปรี ยาว ๑๐-๑๒ ซ.ม. กว้าง ๓-๔ ซ.ม. ปลายมน สีใบด้านล่างอ่อนกว่าด้านบน ดอกมักจะออกเดี่ยวๆ จากซอกใบ และห้อยลงขนาดประมาณ ๑.๕ ซ.ม. สีเหลืองอ่อนหรือเหลืองอมน้ำตาล กลีบวงนอกและวงในวงละ ๓ กลีบ รูปไข่ ขอบกลีบจรดกัน ปลายตรง เกสรตรงกลางสีเหลืองอมส้ม มักจะมีน้ำหวานเหนียวๆ แทรกอยู่ ดอกหอมตอนเย็นไปจนถึงกลางคืน ผลเล็กขนาดปลายนิ้ว ติดกันเป็นพวง ผลสุกสีเหลืองอมส้ม รับประทานได้

ถึงแม้ว่านมแมวจะไม่มีดอกเด่นสะดุดตา แต่มีกลิ่นหอมชวนดม จึงเป็นที่นิยมและกล่าวถึงกันมานาน  นสพ.ข่าวสด  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/54317332886987_1_3617_3656_3634_3609_.jpg)   ม่านบาหลี
ม่านบาหลี เป็นไม้เลื้อย ทิ้งรากเป็นเส้นสีแดงดูสวยงาม ชื่อวิทยาศาสตร์ Centella asiatica Urban ชื่อวงศ์ UMBELIFERAE ดอกสีขาวอมเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ เป็นไม้เลื้อยที่มีรากอากาศ ใบสีเขียวเข้ม รากอากาศเมื่อแตกใหม่จะมีสีชมพู แต่เมื่อแก่แล้วจะเป็นสีน้ำตาล ชอบแดดจัด เจริญเติบโตได้เร็ว หากได้รับน้ำดี ขยายพันธุ์โดยการปักชำ นิยมเลี้ยงเป็นไม้ประดับซุ้มเพื่อความร่มรื่น ใช้ประดับตกแต่งสวน ปลูกบริเวณประตู หน้าต่าง หรือปลูกเป็นซุ้ม   นสพ.ข่าวสด  


(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRFnYIVLtqdiWe_VoOlDj-TSjhYfSP4132p1eZWMABmvF-2kN1q)   ม่วงเทพรัตน์
ดอกม่วงเทพรัตน์ หรือ Persian Violet ได้รับพระราชทานชื่อภาษาไทยว่า “ม่วงเทพรัตน์” เมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Exacum affine เป็นไม้ล้มลุก เดิมเป็นพืชท้องถิ่นของเกาะ Socotra หมู่เกาะ  Yemen ในมหาสมุทรอินเดีย ใบสีเขียวเข้มรูปไข่ ยาว ๔ ซ.ม. ความสูงในสภาพธรรมชาติประมาณ ๖๐ ซ.ม. ออกดอกในช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน ดอกมีสีม่วงอมฟ้า รูปร่างของดอกเมื่อบานเต็มที่แล้วมีทรงคล้ายดาว มีเกสรตัวผู้สีเหลืองเห็นได้ชัดเจน มีกลิ่นหอมอ่อนๆ

การขยายพันธุ์คล้ายๆ กับดอกคุณนายตื่นสาย คือ ใช้กิ่งปักชำ แม้ตอนเพาะเนื้อเยื่อต้องมีห้องปรับอากาศ แต่เมื่อต้นแข็งแรงสมบูรณ์ดีแล้วสามารถออกมาปลูกในสภาพธรรมชาติได้แม้จะเป็นไม้ต่างประเทศก็ตาม  นสพ.ข่าวสด  


หัวข้อ: Re: พรรณไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้มงคล
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 22 กรกฎาคม 2558 15:07:29
.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/24660098304351_2_3617_3603_3601_3636_3619_363.jpg)   มณฑิรา
ไม้ต้นนี้ มีวางขาย มีป้ายชื่อเขียนติดไว้ว่า “มณฑิรา” และมีภาพถ่ายของดอกจริงแขวนโชว์ให้ชมด้วย ทีแรกที่เห็นคิดว่าเป็นมณฑาป่าหรือมณฑาดอยที่เคยแนะนำในคอลัมน์ไปแล้ว แต่ผู้ขายยืนยันว่าเป็นคนละชนิดกัน เพียงแต่ลักษณะดอก สีสันของดอกจะคล้ายกันเท่านั้น และผู้ขายบอกต่ออีกว่าถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่ารูปทรงของดอก “มณฑิรา” จะกลมป้อมกว่าดอกของมณฑาป่าหรือมณฑาดอยที่ดอกจะกลมรีและยาวกว่าอย่างชัดเจน

จากการดูต้นจริงที่วางขาย ประกอบกับภาพถ่ายของดอกแล้ว “มณฑิรา” น่าจะอยู่ในสกุล MAGNOLIACEAE ซึ่งผู้ขายบอกว่าถูกต้องและบอกลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้ยืนต้น สูง ๑๐-๑๕ เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับถี่บริเวณปลายยอด เนื้อใบหนา คล้ายแผ่นหนังเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ใบมีขนาดใหญ่ สีเขียวสด เวลาใบดกให้ร่มเงาดีมาก  ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ ตามซอกใบใกล้ปลายยอด ดอกขณะตูมเป็นรูปกลมป้อมหรืออาจรีเล็กน้อย ดอกเป็นสีชมพูอมแดงตั้งแต่ดอกยังตูมอยู่ เรื่อยไปจนกระทั่งดอกแก่และร่วงโรยไป กลีบดอกเป็นรูปกระทง มี ๓ กลีบ เรียงซ้อนกันหลายชั้น กลีบชั้นนอกสุดเมื่อบานจะกางออกตามภาพประกอบคอลัมน์ เนื้อกลีบดอกค่อนข้างหนาและอวบน้ำ ดอกมีขนาดใหญ่มาก มีเกสรตัวผู้หลายอัน เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันจะดูสวยงามยิ่งนัก “ผล” เป็นผลรวม รูปไข่ป้อม มีผลย่อยจำนวนมาก เมล็ดเยอะ ตามจำนวนของผลย่อย ดอกออกได้เรื่อยๆ อยู่ที่ความสมบูรณ์ของต้น ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง และเสียบยอด  มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๑ ผู้ขายบอกว่า “มณฑิรา” สามารถปลูกได้ทั้งลงกระถางขนาดใหญ่และปลูกลงดินกลางแจ้งมีดอกสวยงามเหมือนกัน ราคาสอบถามกันเองครับ.  นสพ.ไทยรัฐ  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/99527993384334_11_3617_3603_3601_3634_3611_36.jpg)   มณฑาป่า
ไม้ต้นนี้ เป็นไม้เฉพาะถิ่น พบขึ้นในหลาย ประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีขึ้นกระจายตามป่าดิบเขาที่ระดับความสูงตั้งแต่ ๑ พันเมตรขึ้นไป ในประเทศไทยพบมากที่สุดทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคอื่นพบประปราย เป็นไม้ยืนต้นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวคือดอกมีขนาดใหญ่และดอกดกเต็มต้น สีสันของดอกสวยงามประทับใจมาก กำลังเป็นที่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับอย่างแพร่หลายทั้งตามบ้าน สำนักงาน สวนสาธารณะทั่วไป สามารถเติบโตและมีดอกได้ดีในพื้นที่ราบต่ำ เหมือนกับที่พบตามธรรมชาติในพื้นที่สูง

มณฑาป่า มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า MANG-LIETIA GARRETTII CRAIB อยู่ในวงศ์ MAGNOLIACEAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้ยืนต้น สูง ๑๐-๒๐ เมตร แตกกิ่งก้านสาขาเป็นพุ่มกว้าง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับถี่บริเวณปลายยอด ใบเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายแหลม โคนมน ก้านใบยาว ๓-๕ ซม. โคนก้านใบบวมพอง เนื้อใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ใบมีขนาดใหญ่ สีเขียวสด ใบดกให้ร่มเงาดีมาก   ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ ที่ปลายยอด ดอกตูมรูปกลมป้อม ยาวประมาณ ๖-๖.๕ ซม. กว้าง ๒-๒.๕ ซม. ก้านดอกยาว ๒.๕-๓ ซม. กลีบดอกเป็นรูปกระทง หนาและอวบน้ำ เป็นสีชมพูอมแดงหรือแกมม่วง กลีบดอกกว้างประมาณ ๓ ซม. ยาว ๖-๖.๕ ซม. มีเกสรตัวผู้ยาว ๑-๑.๕ ซม. เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้น จะดูสวยงามประทับใจยิ่งนัก “ผล” เป็นกลุ่ม รูปไข่ป้อม มีผลย่อย จำนวนมาก เมื่อผลแก่จะแยกกัน ส่วนบนมีจะงอยสั้น ดอกออกได้เรื่อยๆ เกือบทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอด มีชื่อเรียกอีกคือ “มณฑาดอย”   มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ราคาสอบถามกันเองครับ.  นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/19782285640636_6_3618_3637_3656_3627_3640_361.jpg)   ยี่หุบสวรรค์
ยี่หุบสวรรค์ เกิดจากการเขี่ยเกสรผสมระหว่าง ดอกมณฑาสวรรค์ เป็นไม้ในสกุลหรือวงศ์ MAGNOLIACEAE มีดอกเป็นสีชมพู กับเกสรของดอกยี่หุบทั่วไป เป็นไม้อยู่ในสกุลหรือวงศ์เดียวกัน มีดอกเป็นสีเหลืองอ่อนหรือสีขาวนวล ทั้งสองชนิดมีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากนั้นก็นำเอาเมล็ดที่ได้จากผลที่เขี่ยเกสรผสมไปเพาะเป็นต้นกล้า คัดเอาต้นที่ดีที่สุดไปปลูกเลี้ยงจนต้นเจริญเติบโตมีดอก ปรากฏว่าดอกดกเต็มต้น และดอกชูตั้งขึ้นเหมือนกับดอกมณฑาสวรรค์ที่เป็นพันธุ์แม่ สีสันของดอกเป็นสีชมพู มีกลีบดอก ๙ กลีบ เรียงซ้อนกันเป็น ๓ ชั้น ชั้นละ ๓ กลีบ ดูงดงามมาก  ดอกมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ช่วงที่กลีบดอกเริ่มแย้มบาน ทำให้ได้สูดดมกลิ่นหอมแล้วรู้สึกสดชื่นยิ่งนัก ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปช้อน ดอกมีขนาดใหญ่ มีดอกได้ง่ายและมีดอกดกแบบไม่ขาดต้น หรือมีดอกตลอดทั้งปีเหมือนกับดอกของยี่หุบพันธุ์พ่อ ผู้เขี่ยเกสรเชื่อว่าเป็นไม้สกุลหรือวงศ์ MAGNOLIACEAE พันธุ์ใหม่ เลยขยายพันธุ์ปลูกทดสอบความนิ่งอยู่หลายวิธี และหลายครั้ง ปรากฏว่าทุกอย่างยังคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง เป็นไม้กลายพันธุ์แบบถาวรแน่นอนแล้ว จึงตั้งชื่อว่า “ยี่หุบสวรรค์” ดังกล่าว

ยี่หุบสวรรค์ มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้พุ่มยืนต้น สูง ๓-๕ เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับถี่หรือหนาแน่นบริเวณปลายยอด ใบเป็นรูปใบหอก ขอบใบมักบิดพลิ้วคล้ายกับใบของมณฑาสวรรค์ เนื้อใบหนา สีเขียวเข้ม ดอกออกเป็นดอกเดี่ยวๆ ตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกเป็นสีชมพูมีกลิ่นหอม ดอกออกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยวิธีเพาะเมล็ดและทาบกิ่ง  ปัจจุบัน “ยี่หุบสวรรค์” มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๑ ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ในดินทั่วไป เหมาะจะปลูกทั้งแบบลงดินกลางแจ้งและปลูกลงกระถางขนาดใหญ่ ตั้งในที่มีแดดส่องถึงตลอดทั้งวัน เวลามีดอกทั้งต้นจะสวยงามและส่งกลิ่นหอมชื่นใจมากครับ นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/87124584491054_3_3588_3609_3607_3637_3626_362.jpg)   คนทีสอญี่ปุ่น
ไม้ต้นนี้ พบมีวางขาย แต่ละต้นปลูกในกระถางขนาดกลาง ต้นสูงไม่ถึง ๑ เมตร มีดอกดกเต็มต้น สีสันของดอกสวยงามคล้ายช่อดอกคนทีสอทั่วไปมาก ซึ่งในตอนแรกที่เห็นคิดว่าเป็นต้นคนทีสอ แต่พอสังเกตให้ละเอียดจึงพบว่า ใบจะมีลักษณะไม่เหมือนใบคนทีสอทั่วไป โดยใบจะไปเหมือนกับใบต้นเมเปิ้ลแปลกตามาก ผู้ขายบอกว่าไม้ต้นนี้มีถิ่นกำเนิดจากประเทศญี่ปุ่นและเพิ่งจะนำออกวางขายเป็นครั้งแรก ในชื่อภาษาไทยว่า “คนทีสอญี่ปุ่น” ส่วนชื่อเฉพาะภาษาอังกฤษผู้ขายบอกต่อว่าคือ VITEX อยู่ในวงศ์อะไรบอกไม่ได้ และที่แปลกได้แก่ใบของต้น “คนทีสอญี่ปุ่น” ดังกล่าวเมื่อเด็ดขยี้ดมจะมีกลิ่นหอมเฉพาะตัวแตกต่างจากใบของคนทีสอทั่วไปที่จะไม่มีกลิ่นหอมเลย

คนทีสอญี่ปุ่น ผู้ขายบอกว่า เป็นไม้พุ่มสูง ๒-๓ เมตร ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือออกตรงกันข้ามหรือออกเรียงสลับ ใบรูปรีเป็นแฉก ๕แฉก ปลายแหลมคล้ายใบเมเปิ้ลตามที่กล่าวข้างต้น สีเขียวสดน่าชมยิ่งนัก  ดอก ออกเป็นช่อแบบเชิงลดที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก กลีบเลี้ยงเป็นรูปถ้วย กลีบดอกเป็นหลอดปลายแยกเป็น ๒ ส่วน ส่วนบนมี ๒ กลีบ ส่วนล่าง ๓ กลีบ ลักษณะของดอกโดยรวมแล้วจะคล้ายกับกลีบดอกของคนทีสอทั่วไปทุกอย่าง ดอกเป็นสีฟ้าอมม่วง มีเกสรตัวผู้ ๔ อัน เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้นจะดูสวยงามมาก ส่วน “ผล” ผู้ขายบอกว่ายังไม่เคยพบเห็น แต่ยืนยันว่าดอกออกตลอดทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง  ปัจจุบันต้น “คนทีสอญี่ปุ่น” มีขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒ ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ในดินทั่วไป เหมาะจะปลูกประดับทั้งแบบลงดินกลางแจ้งและปลูกลงกระถางตั้งในที่มีแสงแดดส่องถึงตลอดทั้งวัน เวลามีดอกบานจะดูสวยงามมากครับ. นสพ.ไทยรัฐ  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/65273313721020_4_3649_3629_3627_3609_3633_359.jpg)   แอหนัง
ไม้ต้นนี้มีถิ่นกำเนิดจากประเทศจีน ถูกนำเข้ามาปลูกประดับและขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานมากแล้ว ส่วนใหญ่นิยมปลูกเป็นพืชคลุมหน้าดินประเภทจัดสวนหย่อมจำนวนหลายๆ ต้น เป็นไม้ประดับรวมกับไม้สวยงามชนิดอื่นๆ เวลาแตกต้นและมีใบดกหนาแน่นจะดูโดดเด่นมาก แต่มักเกิดเชื้อราที่ใบ แล้วจะทิ้งใบจนเกลี้ยงต้น ทำให้ดูแลได้ยาก จึงเป็นสาเหตุให้ต้น “แอหนัง” ไม่ได้รับความนิยมปลูกประดับตามบ้านเท่าที่ควร

แอหนัง หรือ CROSSOSTEPHIUM CHINENSIS (L.) MAK อยู่ในวงศ์ COMPOSITAE หรือ ASTERACEAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ต้นสูง ๓๐-๕๐ ซม. ลำต้นตั้งตรงหรือเอนทอดเลื้อยได้ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ เป็นรูปซ้อน รูปไข่กลับ หรือรูปใบหอกกลับ ถึงรูปรี ใบยาวประมาณ ๓-๔ ซม. เนื้อใบอวบหนา ปลายใบเรียวแหลม โคนสอบหรือป้านยาว ใบดกและหนาแน่นมาก ผิวใบเป็นสีเทาเงินถึงสีเขียวอมเทา มีขนสั้นนุ่มสีขาวปกคลุมทั่วทั้งใบ ใบที่อยู่ด้านล่างสุดหรือใบแก่จะเป็นแฉกลึกเกือบถึงเส้นกลางใบ ปลายใบบางครั้งอาจมีเว้าเป็น ๓ แฉก ปลายแฉกป้าน ก้านใบสั้น เวลามีใบดกหนาแน่นจะดูสวยงามโดดเด่นมาก โดยเฉพาะถ้าปลูกปลายๆ ต้น หลายๆ กระถางรวมกัน  ดอก ออกเป็นช่อกระจุกกลมตามซอกใบใกล้ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยขนาดเล็กหลายดอก ดอกเป็นสีเหลืองสด ออกปีละครั้ง เมื่อต้นเจริญเติบโตเต็มที่ เป็นไม้ชอบแดดจัด อากาศเย็น ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำกิ่ง มีชื่อเรียกอีกคือ ปากหลาน (กรุงเทพฯ) เล่านั่งฮวย และ นั่งฮวย (จีน)  ปัจจุบันต้น “แอหนัง” มีขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒๔ ราคาสอบถามกันเองครับ. นสพ.ไทยรัฐ  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/83415512368082_7_3610_3633_3623_3626_3623_361.jpg)   บัวสวรรค์ดอกขาว
โดยปกติ ดอกของบัวสวรรค์ จะเป็นสีชมพู ดอกไม่มีกลิ่นหอม ส่วนใหญ่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับเพื่อชมความสวยงามของดอกเท่านั้น มีถิ่นกำเนิดจากประเทศในแถบตะวันออกกลางและประเทศแอฟริกาตะวันออก จากนั้นได้กระจายพันธุ์ปลูกตามเขตร้อนไปทั่วโลก มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ GUSTAVIA GRACILLIMA MIERS อยู่ในวงศ์LECYTHIDACEAE เป็นไม้พุ่ม สูง ๑.๕-๔ เมตร ดอกออกทั้งปี “ผล” มีรูปทรงเหมือนลูกข่าง มีเมล็ด ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง มีชื่ออีกคือ กัสตาเวีย (กทม.)

ส่วน “บัวสวรรค์ดอกขาว” ผู้ขายกิ่งตอนบอกว่า เกิดจากการนำเอาเมล็ดของบัวสวรรค์ชนิดดอกสีชมพูไปเพาะเป็น ต้นกล้าแล้วนำไปปลูกเลี้ยงจำนวนหลายต้นจนต้นโตมี ดอก ปรากฏว่ามี บางต้นดอกกลายเป็นสีขาวแตกต่างจากพันธุ์ดั้งเดิมอย่างชัดเจน และที่สำคัญดอกยังมีกลิ่นหอมอ่อนๆเฉพาะตัวอีกด้วย ถือเป็นเรื่องแปลกมาก เชื่อว่าเป็นบัวสวรรค์ตัวใหม่ เกิดจากการกลายพันธุ์อย่างแน่นอน จึงขยายพันธุ์ปลูกทดสอบความนิ่งอยู่หลายวิธีและหลายครั้งทุกอย่างยังคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงอีก ได้กลายพันธุ์อย่างถาวรแล้ว จึงตั้งชื่อว่า “บัวสวรรค์ดอกขาว” ดังกล่าว

บัวสวรรค์ดอกขาว มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับบัวสวรรค์ชนิดดอกชมพูเกือบทุกอย่าง ต้นสูง ๑.๕-๓ เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มหนาแน่นมาก ใบเดี่ยวออกเรียงสลับ รูปใบหอก ปลายแหลม โคนสอบ ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ ตามซอกใบใกล้ปลายยอด มีกลีบดอก ๗-๙ กลีบ เนื้อกลีบหนา เป็นสีขาวหรือสีขาวนวล ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ตามที่กล่าวข้างต้น ดอกเมื่อบานจะมีขนาดใหญ่กว่าดอกบัวสวรรค์ชนิดดอกสีชมพูอย่างชัดเจน มีเกสรจำนวนมาก ดอกออกทั้งปี “ผล” คล้ายลูกข่าง มีเมล็ด ขยายพันธุ์ด้วย เมล็ดและตอนกิ่ง   นสพ.ไทยรัฐ  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/30383499215046_8_3614_3640_3604_3585_3640_362.jpg)   พุดกุหลาบฮอลแลนด์
พุดกุหลาบฮอลแลนด์ มีถิ่นกำเนิดจากประเทศเนเธอร์แลนด์ หรือฮอลแลนด์ นำเข้ามาปลูกขยายพันธุ์ในบ้านเรานานแล้ว มีลักษณะเด่นเฉพาะตัวคือ มีกลีบดอกเรียงซ้อนกันหลายชั้นจนทำให้ดูคล้ายดอกกุหลาบสีขาวสวยงามมาก จึงถูกตั้งชื่อภาษาไทยว่า “พุดกุหลาบฮอลแลนด์” และที่สำคัญดอก จะมีกลิ่นหอมแรงมาก เวลามีดอกดกเต็มต้นและดอกบานพร้อมกัน จะส่งกลิ่นหอมฟุ้งกระจายเป็นที่ชื่นใจยิ่งนัก  ส่วนพุดสายพันธุ์ที่มีดอกลักษณะใกล้เคียงกับ “พุดกุหลาบฮอลแลนด์” คือ พุดฮาวายกับพุดเวียดนาม ทั้ง ๒ ชนิดนี้มีข้อแตกต่างกับ “พุดกุหลาบฮอลแลนด์” คือ มีกลีบดอกเรียงซ้อนกัน ๒ชั้น หรือไม่เกิน ๓ ชั้น ขนาดของดอกใหญ่ใกล้เคียงกัน จึงทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดเสมอว่าเป็นพุดต้นเดียวกัน

พุดกุหลาบฮอลแลนด์ หรือ GRADENIA JASMINOIDES อยู่ในวงศ์ RUBIACEAE เป็นไม้พุ่มสูง ๑.๕-๒ เมตร ใบเดี่ยว ออกตรงกันข้ามรูปไข่กลับ ปลายแหลม โคนสอบ สีเขียวสด ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ ที่ปลายยอด มีกลีบดอก ๕-๗ กลีบ เรียงซ้อนกันหนาแน่นหลายชั้นเกินกว่า ๕-๖ ชั้น เนื้อกลีบดอกหนาแข็ง เป็นสีขาว ดอกมีกลิ่นหอมแรง โดยเฉพาะตอนพลบค่ำ ดอกแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ดอกบานได้ทนนาน ๕ วัน เมื่อบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๓-๔ นิ้วฟุต ดอกออกได้เรื่อยๆ และดกมาก ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำกิ่ง และตอนกิ่ง  มีกิ่งตอนรุ่นใหม่ขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผงหน้าตึกกองอำนวยการเก่า ราคาสอบถามกันเองครับ.  นสพ.ไทยรัฐ  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/87320409342646_9_3629_3650_3624_3585_3586_363.jpg)  อโศกขาว
อโศกชนิดนี้ มีถิ่นกำเนิดจาก นิวกินี ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ขายในประเทศไทยบ้านเรานานหลายปีแล้ว โดย “อโศกขาว” มีชื่อทางวิทยาศาสตร์เฉพาะคือ MANILTOA GRANDIFLORA SCHEFF., WHITE HANDKERCHIEF อยู่ในวงศ์ LEGUMINOSAE หรือ FABACEAE มีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดย่อม ต้นสูงเต็มที่เฉลี่ยระหว่าง ๔-๕ เมตรเท่านั้น ไม่ผลัดใบ แตกกิ่งก้านเป็นทรงพุ่มหนาแน่น   ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกชนิดปลายคู่ มีใบย่อย ๑-๓ คู่ เป็นรูปขอบขนานหรือรูปรี ปลายใบแหลม โคนใบสอบหรือป้าน ใบยาวประมาณ ๙-๑๗ ซม. และที่เป็นจุดเด่นคือเมื่อแตกใบอ่อน ใบอ่อนดังกล่าวจะเป็นพู่ หรือเป็นจีบเรียงซ้อนกันเป็นระเบียบยาวห้อยลงเป็นระย้า และเป็นสีขาวหรือสีชมพูทำให้ดูเหมือนดอก เวลาแตกยอดอ่อนทั้งต้นยอดอ่อนห้อยลงลองหลับตานึกภาพดูว่าจะสวยงามน่าชมขนาดไหน ผู้นำเข้าจึงตั้งชื่อเป็นภาษาไทยว่า “อโศกขาว” ดังกล่าว ซึ่งหลังจากใบอ่อนแก่ขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวตามธรรมชาติ จากนั้นก็จะแตกยอดอ่อนเป็นสีขาวหรือสีชมพูให้ ชื่นชมอย่างต่อเนื่องไม่ขาดต้น  

ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ ที่ปลายยอด หรือออกตามกิ่งก้านใกล้ก้านใบ มีใบประดับหุ้มหลายชั้น มีกลีบดอก ๕ กลีบ ขนาดเล็กไม่เท่ากัน มีเกสรตัวผู้สีขาวจำนวนมาก “ผล” เป็นฝักยาว ภายในมีเมล็ด ๑-๒ เมล็ด ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง   ปัจจุบัน “อโศกขาว” มีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ หลายแผงหลายเจ้า มีทั้งต้นขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ราคาอยู่ที่ขนาดของต้น ปลูกได้ในดินทั่วไป เหมาะจะปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป เวลาแตกยอดอ่อนจะดูสวยงามมากครับ นสพ.ไทยรัฐ  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/80057830694648_12_3592_3629_3585_.jpg)   จอก
ถ้าพูดถึง “จอก” แล้วหลายคนจะไม่ชอบและคิดว่าเป็นวัชพืชไร้คุณค่า แต่ในความเป็นจริง “จอก” สามารถปลูกเป็นไม้ประดับแบบเฉพาะกาลได้สวยงามไม่แพ้ไม้น้ำชนิดใดๆ โดยส่วนใหญ่นิยมปลูกในบ่อเลี้ยงปลาขนาดเล็กหรือปลูกลงกระถางน้ำเล็กๆ ให้ปลาที่เลี้ยงไว้ได้ว่ายเข้าไปหลบซ่อนตัวตามรากของ “จอก” เป็นธรรมชาติและดูสวยงามมาก แต่มีข้อห้ามไม่ควรปล่อย “จอก” ลงสู่ห้วยหนองคลองบึงหรือแม่น้ำอย่างเด็ดขาด เพราะ “จอก” เป็นไม้แพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็วนั่นเอง

จอก หรือ PISTIA STRATIOTES L. อยู่ในวงศ์ ARACEAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้น้ำขนาดเล็ก มีรากเป็นกระจุกยาวได้ถึง ๔๐ ซม. ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับเป็นกระจุกแบบกลีบกุหลาบซ้อนกันหลายชั้น ใบเป็นรูปลิ่ม รูปช้อน หรือรูปลิ้น กว้างได้ถึง ๘ ซม. ยาว ๙ ซม. ปลายใบกว้าง โคนใบรูปลิ่ม เนื้อใบหนา มีนวลสีขาวคล้ายแป้งทั่วทั้งใบ ดูสวยงามมาก   ดอก ออกเป็นช่อแบบเชิงลด ออกตาม ซอกใบ ลักษณะเป็นดอกแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ก้านช่อดอกเป็นสีขาวแกมเขียว “ผล” รูปทรงกลมขนาดเล็ก ภายในมีเมล็ดจำนวนหลายเมล็ด ดอกออกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

สรรพคุณทางสมุนไพร ตำรายาพื้นบ้านภาคอีสาน ใช้ทั้งต้นรวมรากแบบสดหรือตากแห้งจำนวนตามต้องการ ต้มกับน้ำท่วมยามากหน่อยจนเดือด ๑๐-๑๕ นาที ดื่มครั้งละ ๑ แก้ว วันละ ๒ ครั้ง เช้าเย็น ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้เป็นยาขับปัสสาวะดีมาก   ปัจจุบันมีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒ ราคาสอบถามกันเอง ผู้ปลูกส่วนใหญ่นิยมซื้อไปปลูกประดับเป็นไม้น้ำในกระถางบัวเลี้ยงปลาทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ และเพื่อไว้ใช้ประโยชน์ทางยาตามที่กล่าวข้างต้นครับ. นสพ.ไทยรัฐ  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/92983978821171_13_3592_3629_3585_3627_3641_35.jpg)   จอกหูช้าง
ไม้ชนิดนี้พบมีต้นขาย ปลูกในกระถางไม้น้ำขนาดกว้าง ๑๒ นิ้วฟุต ลำต้นลอยเหนือผิวน้ำ แตกใบเป็นชั้นๆ ซ้อนกันดูสวยงามแปลกตามาก ผู้ขายบอกไม่ได้ว่า “จอกหูช้าง” มีถิ่นกำเนิดจากที่ไหน บางคนบอกว่าเป็นไม้นำเข้าจากต่างประเทศ แต่บอกไม่ถูกว่าประเทศอะไร และบางคนบอกว่า “จอกหูช้าง” มีแหล่งที่พบตามธรรมชาติทางภาคเหนือของประเทศไทย ส่วนใหญ่จะปลูกเป็นไม้น้ำประดับในพื้นที่จำกัด เวลาแตกต้นและใบลอยเหนือน้ำจะกระจายเต็มภาชนะที่ปลูกน่าชมยิ่ง

จอกหูช้าง เป็นไม้น้ำในสกุลเดียวกับ จอกทั่วไป คืออยู่ในวงศ์ ARACEAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้มีเหง้าหรือรากยาวใต้น้ำ ต้นเป็นกอหรือเป็นกระจุก ๑-๓ ต้น แล้วงอกขึ้นตามเหง้าหรือไหลลอย กระจายเหนือผิวน้ำอย่างรวดเร็ว ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับถี่ซ้อนกันตามกิ่งก้านหรือลำต้น ใบเป็นรูปรี ปลายใบแหลม โคนใบเป็นกาบติดกิ่งก้านหรือลำต้น เนื้อใบค่อนข้างหนาและแข็ง สีเขียวสด   ดอก ออกเป็นช่อขนาดเล็กตามซอกใบ ลักษณะดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกันเหมือนกับดอกจอกทั่วไป ดอกเป็นสีขาวหรือสีเขียวอ่อน “ผล” รูปทรงกลมขนาดเล็ก ในผลมีเมล็ดหลายเมล็ด ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยการแยกต้น   ปัจจุบันมีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒  ราคาสอบถามกันเอง นิยมปลูกเป็นไม้น้ำประดับบ่อปลาหรือปลูกประดับในกระถางไม้น้ำตามที่กล่าวข้างต้น เวลาแตกต้นกระจายลอยเหนือผิวน้ำจะดูสวยงามมาก ที่สำคัญเหง้าหรือรากยาวใต้น้ำจะช่วยให้ปลาที่เลี้ยงไว้อยู่อาศัยเป็นธรรมชาติดียิ่ง  อย่างไรก็ตาม “จอกหูช้าง” เป็นไม้น้ำที่กระจายต้นได้อย่างรวดเร็วเหมือนกับจอกทั่วไป จึงไม่ควรนำไปปลูกหรือทิ้งในห้วยหนองคลองบึง จะทำให้ยากต่อการกำจัดในภายหลังครับ. นสพ.ไทยรัฐ  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/71398973961671_14_3649_3617_3656_3630_3657_36.jpg)   แม่ฮ้างสามสิบสองผัว
ไม้ต้นนี้ มีวางขายมีป้ายชื่อติดไว้ว่า “แม่ฮ้างสามสิบสองผัว” ซึ่งผู้ขายบรรยายสรรพคุณทางสมุนไพรให้ฟังว่า บางส่วนของต้น “แม่ฮ้างสามสิบสองผัว” เป็นยาดีสำหรับสตรีโดยเฉพาะ เมื่อกินแล้วจะทำให้แข็งแรง ทำงานไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย และที่สำคัญจะช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศให้ผู้หญิงที่เบื่อเรื่องบนเตียงหรือเรื่องเพศ ให้กลับดีขึ้นเหมือนกับสาวแรกรุ่นอีกครั้ง และช่วยเพิ่มน้ำหล่อลื่นให้ผู้หญิงที่ช่องคลอดแห้ง โดยเฉพาะสตรีสูงอายุที่ผู้ขายบอกต่อว่าจะทำให้เลือดลมเดินดี ผิวพรรณเปล่งปลั่งมีน้ำมีนวลดูอ่อนกว่าวัย บำรุงหัวใจอีกด้วย

ส่วนวิธีกิน ผู้ขายบอกว่าให้เอารากหรือทั้งหัวของต้น “แม่ฮ้างสามสิบสองผัว” จำนวน ๑กำมือ หรือขยุ้มหนึ่ง ต้มกับน้ำท่วมยา หรือมากหน่อยจนเดือด ดื่มขณะน้ำอุ่นๆ เป็นประจำทุกวัน วันละ ๑-๒ แก้ว ก่อนหรือหลังอาหารหรือตอนไหนก็ได้ จะทำให้สตรีมีร่างกายแข็งแรงสุขภาพดีทุกอย่างตามที่กล่าวข้างต้น

แม่ฮ้างสามสิบสองผัว หรือ GOMPHOSTEMMA LUCIDUM VAR. LUCIDUM อยู่ในวงศ์ LABIA-TAE (LAMIACEAE) เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรง สูงประมาณ ๑-๑.๕ เมตร ใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ผิวใบเป็นคลื่นและมีขนทั่ว สีเขียวสด   ดอก ออกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ ลักษณะดอกโคนเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นปาก ๒ กลีบ สีขาวอมเหลือง หรือ สีครีม “ผล” รูปทรงกลม มีเมล็ด ดอกออกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด  มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผงหน้าตึกกองอำนวยการเก่า  ราคาสอบถามกันเองครับ นสพ.ไทยรัฐ  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/78168995761209_15_3649_3610_3621_3655_3588_36.jpg)   แบล็คมิ้นต์
ไม้ต้นนี้ เป็นพืชที่นิยมใช้ประกอบอาหารอย่างแพร่หลายในประเทศแถบยุโรปและอเมริกา โดยส่วนใหญ่จะใช้ใบสดดับกลิ่นคาวของอาหารจำพวกเนื้อวัว แพะ แกะ และอาหารทะเลชนิดต่างๆ เพื่อช่วยเพิ่มกลิ่นหอมทำให้รับประทานอร่อยยิ่งขึ้น  นอกจากนั้น ใบสดของต้น “แบล็คมิ้นต์” ยังถูกนำไปสกัดเป็นสมุนไพรใช้รักษาโรคได้หลายอย่าง เช่น แก้ปวดท้อง โรคกระเพาะอาหาร ลำไส้อักเสบ และ กลิ่นหอมจากใบสด เมื่อเด็ดขยี้สูดดมจะช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลายได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

แบล็คมิ้นต์ เป็นพืชในตระกูลเดียวกับเปปเปอร์ม้ินต์ มีลักษณะคล้ายกันมาก มีข้อแตกต่างที่ลำต้นกิ่งก้านของ “แบล็คมิ้นต์” จะเป็นสีแดงคล้ำหรือสีม่วงเข้มเกือบดำ จึงถูกตั้งชื่อตามสีสันของลำต้นกิ่งก้านว่า “แบล็คมิ้นต์” ดังกล่าว มีชื่อเฉพาะคือ MENTHA PIPERITAL. อยู่ในวงศ์ LABIATAE เป็นวงศ์เดียวกับสะระแหน่ที่คนไทยชอบรับประทานนั่นเอง ซึ่ง “แบล็คมิ้นต์” เป็นพันธุ์ถูกนำเข้ามาจากประเทศในแถบยุโรป เป็นพืชล้มลุก ลำต้นทอดเลื้อยตามหน้าดิน สามารถยาวได้ ๒-๓ ฟุต แตกกิ่งก้านหนาแน่นมาก ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม เป็นรูปรี ปลายแหลม โคนมน ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย เนื้อใบค่อนข้างหนา มีน้ำหอมระเหยกระจายทั่ว เมื่อเด็ดใบสดขยี้ดมจะมีกลิ่นหอมแรงมาก โดยกลิ่นจะหอมเหมือนกลิ่นหมากฝรั่งที่เคี้ยวอยู่ในปากอย่างชัดเจน แตกต่างจากใบของเปปเปอร์มิ้นต์ ที่จะมีกลิ่นหอมเย็น และกลิ่นจะอ่อนกว่าเยอะ ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำต้น

ปัจจุบัน “แบล็คมิ้นต์” มีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒ ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ในดินทั่วไป เหมาะจะปลูกเพื่อใช้ประโยชน์ทางอาหาร และเป็นสมุนไพรตามที่กล่าวข้างต้น หรือปลูกเพื่อเก็บใบสดไปตากแห้งบรรจุถุงจำหน่ายได้ราคาดีมากครับ. นสพ.ไทยรัฐ  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/90767455390757_16_3627_3623_3657_3634_.jpg)   หว้า
หว้า เป็นไม้ป่าที่พบขึ้นตามป่าโปร่ง ป่าแล้ง และป่าเบญจพรรณทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยพันธุ์ดั้งเดิมจะมีผลขนาดเล็ก แต่ปัจจุบันมีผู้นำเอาต้นพันธุ์ที่มีผลขนาดใหญ่จากต่างประเทศเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์เก็บผลขาย ได้รับความนิยมรับประทานอย่างแพร่หลาย ซึ่งไม่ว่าจะเป็น “หว้า” สายพันธุ์ไหนจะมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ และสรรพคุณทางสมุนไพรเหมือนกันทุกอย่างคือ เปลือกต้นมีรสฝาด ต้มน้ำดื่มเป็นยาแก้บิด แก้ปากเปื่อย คอเปื่อยเป็นเม็ด แก้น้ำลายเหนียว ใบสดอ่อนกินแก้บิด ผลกินแก้ท้องร่วง เมล็ดแก้ปัสสาวะมาก แก้ท้องร่วง ใบต้มเอาน้ำสระล้างแผลสด ตำทาแก้โรคผิวหนัง เมล็ดต้มหรือบดกินแก้โรคเบาหวาน เปลือกต้นต้มน้ำสระล้างบาดแผลสมานดีมาก

หว้า ทั้งพันธุ์ไทยและพันธุ์ผลใหญ่จากต่าง ประเทศมีชื่อวิทยาศาสตร์เหมือนกันคือ BLACK PLUM EUGENIA CUMINI (L.) DRUCE อยู่ในวงศ์ MYRTACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง ๑๐-๒๐ เมตร ใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปรีหรือรูปไข่กลับ ปลายใบแหลม โคนเกือบมน แผ่นใบมีจุดน้ำมันบริเวณขอบใบ  ดอก ออกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อย ๓-๘ ดอก กลีบดอกสีขาว มีเกสรเป็นเส้นฝอยๆ สีขาวนวลจำนวนมาก “ผล” เป็นผลสด รูปกระสวย ซึ่งสายพันธุ์ไทยจะมีขนาดเล็กเท่าปลายนิ้วก้อยมือผู้ใหญ่ หากเป็นสายพันธุ์ต่างประเทศผลโตเต็มที่เท่าปลายนิ้วหัวแม่มือผู้ใหญ่ ต่างกันอย่างชัดเจน ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีม่วงอมแดงหรือสีม่วงคล้ำเกือบดำ รสชาติหวานฝาด รับประทานอร่อยมาก ๑ ผล มี ๑ เมล็ด มีดอกและติดผลปีละครั้งตามฤดูกาลช่วงฤดูฝน ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง  ปัจจุบัน “หว้า” สายพันธุ์ต่างประเทศที่มีผลขนาดใหญ่ มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๗ ราคาสอบถามกันเองครับ. นสพ.ไทยรัฐ  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/53258310879270_17_3623_3656_3634_3609_3585_36.jpg)   ว่านกระแจะจันทร์
สมัยก่อนคนไทยรู้จักนำเอา “ว่านกระแจะจันทร์” ไปใช้ประโยชน์มาแต่โบราณแล้ว โดยแรกทีเดียวนิยมเฉพาะในราชสำนักก่อนจะแพร่หลายสู่ภายนอก ส่วนใหญ่จะเอาหัวของ “ว่านกระแจะจันทร์” จำนวนตามต้องการ ไปสกัดด้วยกรรมวิธีต่างกันทำเป็นเครื่องประทินผิวสตรี เรียกกันว่า “เครื่องหอมกระแจะจันทร์อบร่ำ” นิยมกันมากในยุคสมัยนั้น เพราะจะมีกลิ่นหอมรัญจวนใจยิ่งนัก   นอกจากนั้น ในการทำพระเครื่องจำพวกเนื้อผง หัว “ว่านกระแจะจันทร์” จะต้องเป็นหนึ่งในมวลสารทั้งหมดที่ทำพระเครื่องรวมอยู่ด้วย บ้านไหนเรือนไหน หรือร้านค้าร้านขาย ให้ความนับถือกันว่า “ว่านกระแจะจันทร์” เป็นว่านเสน่ห์มหานิยมระดับแถวหน้า และมักจะปลูกหรือเอาหัวไปแช่น้ำมันจันทร์แล้วว่าคาถา “นะโม พุทธายะ” ๓ จบกำกับก่อนพกติดตัวเดินทางไปติดต่อธุรกิจเข้าพบผู้หลักผู้ใหญ่ประสบความสำเร็จในการเจรจาดีมาก

ว่านกระแจะจันทร์ เป็นพืชล้มลุกตระกูลเดียวกับเปราะหอม ใบเป็นรูปรีเกือบกลม ปลายใบแหลม โคนมน สีใบด้านหน้าเขียว ท้องใบและขอบใบเป็นสีแดงหรือแดงอมม่วง โดยเฉพาะขณะที่ใบยังเล็กอยู่สีจะเข้มจัด หัว รูปทรงกลม โตเต็มที่ประมาณปลายนิ้วหัวแม่มือผู้ใหญ่ เนื้อในเป็นสีนวลหรือสีขาว มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เมื่อนำไปตากแห้งแล้วบดเป็นผงกลิ่นหอมจะยังคงอยู่เหมือนเดิม แตกต่างจากหัวของว่านชนิดอื่นที่ตากแห้งแล้วบดเป็นผงกลิ่นจะจางลง หรือไม่มีกลิ่นหอมเหลืออยู่เลย ดอกสีขาวมีแต้มสีแดงชัดเจน ออกดอกช่วงฤดูฝน ขยายพันธุ์ด้วยหัว อีกชนิดหนึ่งเรียกว่า “กระแจะ” เป็นไม้พุ่ม เปลือกต้นต้มน้ำดื่มแก้ไข้ บำรุงหัวใจ ทำให้สดชื่นดีนัก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า OCHNA WALLICHII ดอกเป็นสีเหลือง  ส่วน “ว่านกระแจะจันทร์” มีหัวสดหรือต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๓ ราคาสอบถามกันเองครับ  นสพ.ไทยรัฐ  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/57097840971416_24_3623_3656_3634_3609_3585_36.jpg)   ว่านกาบหอยแครง
ไม้ต้นนี้ มีถิ่นกำเนิดจากประเทศเม็กซิโก คิวบา อเมริกากลาง ได้แพร่กระจายปลูกไปทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย มีชื่อ วิทยาศาสตร์ว่า TRADESCANTIA SPATHACEA SWARTZ อยู่ในวงศ์ COMMELINACEAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้ล้มลุก สูง ๒๐-๖๐ ซม. ลำต้นอวบใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงซ้อนกันเป็นวงรอบลำต้น ใบเป็นรูปใบหอก ปลายแหลม โคนใบตัดโอบติดลำต้น ขอบใบเรียบ แผ่นใบหนา ด้านบนเป็นสีเขียวเข้ม ด้านล่างเป็นสีม่วงแดง เวลามีใบดกจะสวยงามมาก

ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ มีทั้งเป็นช่อเดี่ยวและหลายช่อ แต่ละช่อประกอบด้วยใบประดับที่เป็นกาบ ๒ กาบ สีม่วงแซมเขียว รูปหัวใจโค้ง โคนกาบทั้งสองประกบเกยซ้อน และโอบหุ้มดอกสีขาวขนาดเล็กที่อยู่รวมกันเป็นกระจุก มีกลีบเลี้ยงสีขาวบางใส ๓ กลีบ กลีบดอก ๓ กลีบ สีขาวรูปไข่ แผ่นกลีบหนา มีเกสรตัวผู้ ๖ อัน “ผล” รูปรี มีเมล็ดขนาดเล็ก ขยายพันธุ์ด้วยไหล หรือยอด

สรรพคุณเฉพาะ ตำรายาแผนไทยใช้ใบเป็นยาแก้ร้อนในกระหายนํ้า ฟกชํ้า จีนใช้ดอกแก้อาการตกเลือดในลำไส้ แก้บิด แก้ไอ ในประเทศไต้หวันใช้ใบตำพอกแผลถูกมีดบาดและแก้บวม

ส่วนสูตรแก้กรดไหลย้อน ใช้ใบ “ว่านกาบหอย แครง” กับใบเตยสดกะจำนวนเท่ากัน ต้มกับนํ้าจนเดือดดื่มต่างนํ้าทั้งวันครั้งละครึ่งแก้ว ผสมนํ้าผึ้ง ๑ ช้อนชา นํ้ามะนาว ๑ ช้อนชา และเกลือป่นเล็กน้อย ดื่ม ๓-๔ วัน อาการกรดไหลย้อนจะค่อยๆ ดีขึ้น ถ้าต้องการให้หายขาดต้องต้มดื่ม ๓-๖ เดือนติดต่อกัน แต่มีข้อแม้ว่าหลังกินอาหารต้องออกกำลังเบาๆ ทุกครั้ง อย่ากินแล้วนอนอย่างเด็ดขาด   ปัจจุบัน “ว่านกาบหอยแครง” มีต้นขายทั่วไปที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ราคาสอบถามกันเองครับ. นสพ.ไทยรัฐ  



หัวข้อ: Re: พรรณไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้มงคล
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 22 กรกฎาคม 2558 15:14:06
.
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/45873479255371_untitled.png)  กระดังงาปักกิ่ง
ไม้ต้นนี้ มีวางขาย มีภาพถ่ายดอกจริงให้ชมด้วย ทีแรกที่เห็นคิดว่าเป็นต้นกระดังงาจีน ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนตอนใต้ อินเดีย และศรีลังกา มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งขนาดใหญ่ นิยมปลูกประดับแพร่หลายในเขตร้อนทั่วไป มีชื่อวิทยาศาสตร์ เฉพาะคือ ARTABOTRYS HEXAPETALUS (L.F.) BHANDARL. อยู่ในวงศ์ANNONACEAE ซึ่งถ้าบอกชื่อกระดังงาจีนจะไม่มีใครรู้จัก แต่หากบอกว่า การเวก หรือสะบันงาเครือ และสะบันงาจีน คนจะร้องอ๋อและรู้จักดีทันที

ส่วน “กระดังงาปักกิ่ง” ผู้ขายกิ่งตอนยืนยันว่าเป็นคนละต้นกับกระดังงาจีน เนื่องจาก “กระดังงาปักกิ่ง” เป็นไม้พุ่มต้น ไม่ใช่ไม้เถาเลื้อย เช่น กระดังงาจีน นำเข้าจากกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน นานกว่า ๕ ปีแล้ว ผู้ขายกิ่งตอนบอกลักษณะทางพฤกษศาสตร์ต่อว่า ลำต้นตั้งตรง ต้นสูง ๒-๔ เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกลม ใบเดี่ยว ออกสลับ รูปขอบขนาน ปลายแหลม โคนสอบหรือป้าน หน้าใบสีเขียว หลังใบสีจางกว่า   ดอก ออกเป็นช่อ ๑-๓ ดอก ออกตรงกันข้ามกับใบ และตามลำต้นมีกลีบดอกเรียงซ้อนกัน ๒ ชั้น ชั้นละ ๓ กลีบ รูปขอบขนาน ปลายกลีบแหลม โคนมน เนื้อกลีบหนา ดอกอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่เป็นสีเหลือง ดอกมีกลิ่นหอมแรง “ผล” เป็นกลุ่ม ๔-๒๐ ผล ก้านผลยาว ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกหรือแก่สีเหลือง แต่ละผลจะมีเมล็ด ๑-๒ เมล็ด ดอกออกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง ซึ่งผู้ขายบอกอีกว่า “กระดังงาปักกิ่ง” ปลูกลงดินตัดแต่งกิ่งให้เป็นพุ่ม เวลามีดอกดกเต็มต้นจะดูสวยงามและส่งกลิ่นหอมกระจายเป็นที่ประทับใจมาก    มีกิ่งตอนขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผงหน้าตึกกองอำนวยการเก่า ราคาสอบถามกันเองครับ. นสพ.ไทยรัฐ  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/43779920289913_22_3650_3617_3585_3649_3604_35.jpg)   โมกแดงเขาใหญ่
“โมกแดงเขาใหญ่” เป็นโมกแดงชนิดหนึ่งที่มีแหล่งพบครั้งแรกบนป่าเขาใหญ่ จ.นครราชสีมา มีความแตกต่างจากโมกแดงทั่วไปคือ รูปทรงของดอกและสีสันของดอกไม่เหมือนกันอย่างชัดเจน และ ที่สำคัญดอกของ “โมกแดงเขาใหญ่” จะมีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นข้าวใหม่เหมือนกลิ่นดอกชมนาด หรือกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นใบเตย โดยกลิ่นจะหอมแรงตั้งแต่พลบค่ำเรื่อยไปตลอดทั้งคืนจนรุ่งเช้ากลิ่นจะจางลงเป็นธรรมชาติ จึงทำให้ “โมกแดงเขาใหญ่” เป็นที่นิยมปลูกอย่างแพร่หลายอยู่ในปัจจุบัน ส่วนกลิ่นหอมของดอกโมกแดงทั่วไปกลิ่นจะฉุนเหมือนกับกลิ่นส่าเหล้า

โมกแดงเขาใหญ่ อยู่ในวงศ์APOCYNA-CEAE เป็นไม้พุ่ม สูง ๒-๓ เมตร ใบเดี่ยว ออกตรงกัน ข้ามรูปรี ปลายแหลม โคนเป็นรูปลิ่มถึงกลม ใบมีขนาดใหญ่ ดอก ออกเป็นช่อแบบกระจุกที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก กลีบเลี้ยงติดกัน ปลายแยกเป็นแฉก ๕ แฉก กลีบดอกเชื่อมกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็นกลีบดอก ๕ กลีบ รูปไข่ ปลายแหลม เนื้อกลีบดอกหนาแข็งกว่ากลีบดอกโมกแดงทั่วไป กลีบดอกเป็นสีโอลด์โรส หรือสีแดงอมส้ม ใจกลางดอกเป็นเส้าสีเหลือง ดอกมีกลิ่นหอมตามที่กล่าวข้างต้น เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้นจะดูสวยงามและส่งกลิ่นหอมแรงตลอดทั้งคืนเป็นที่ชื่นใจมาก “ผล” เป็นฝักคู่ เมล็ดมีปุยสีขาวติดที่ปลายเมล็ดด้านหนึ่ง ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง   มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๑ ราคาสอบถามกันเอง เหมาะจะปลูกประดับในบริเวณบ้านด้านเหนือลม เวลามีดอกถูกลมพัด เอากลิ่นหอมโชยเข้าบ้าน สร้างบรรยากาศเป็นธรรมชาติดีมากครับ. นสพ.ไทยรัฐ  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/53768413017193_23_3604_3637_3611_3621_3637_.jpg)   ดีปลี
อัมพฤกษ์ เพิ่งเริ่มเป็นใหม่ๆ ยังไม่ถึงขั้นรุนแรงมีวิธีรักษาหรือบรรเทาได้คือ ให้เอาดอก “ดีปลี” หรือรากแห้ง ๒๐ ดอก หรือหยิบมือหนึ่ง พริกไทยดำแห้ง ๒ ช้อนโต๊ะ ผักเสี้ยนผีแห้งพอประมาณ มะตูมอ่อนแห้ง ๑ ขีด ต้มรวมกันกับน้ำ ๑-๑.๕ ลิตร จนเดือด ๑๐ นาที ดื่มต่างน้ำครั้งละครึ่งแก้วก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ รสชาติจะเผ็ดร้อน ดื่ม ๔ วันแรกจะเฉยๆ พอวันที่ ๕ จะรู้สึกปวดมากจนแทบทนไม่ได้ โดยเฉพาะบริเวณที่มีอาการเยอะ ต้องทนให้ได้ หลังจากนั้นจะหลุดพ้นบรรเทาหรือหายได้เหมือนไม่เคยมีอาการมาก่อน ทดลองดูไม่ได้ผลเลิกได้ไม่อันตรายอะไร

ดีปลี หรือ LONG PEPPER PIPER RETROFRACTUM VAHL. อยู่ในวงศ์ PI-PERACEAE ผล ปรุงเป็นยาได้หลายชนิด เช่น แก้โรคนอนไม่หลับ รักษาอาการอักเสบ ราก ต้มน้ำดื่มแก้เส้นอัมพฤกษ์อัมพาต ประโยชน์ทางอาการ ผลสดหรือตากแห้งรสเผ็ดปรุงกับแกงเผ็ดแกงคั่วอร่อยมาก ยอดอ่อนใส่ข้าวยำปักษ์ใต้ดีมาก  นสพ.ไทยรัฐ  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/90072431663672_23_3612_3633_3585_3649_3623_36.jpg)   ผักแว่นกำมะหยี่
ผักแว่น เป็นพืชผักพื้นบ้านที่นิยมรับประทานกันอย่างแพร่หลายมาช้านานแล้ว โดยธรรมชาติจะพบขึ้นตามหนองน้ำและที่ชื้นแฉะทั่วไป จะเจริญเติบโตดีในช่วงฤดูฝนและจะมีวางขายตามแผงผักพื้นบ้านมากมาย ซึ่งในทางอาหาร นิยมเอายอดอ่อน เถาอ่อนที่มีรสชาติเปรี้ยวปนฝาดเล็กน้อยกินเป็นผักสดกับน้ำพริกชนิดต่างๆ ส้มตำ ลาบ ก้อย หรือนำไปปรุงเป็นแกงรวมใส่หอมแดง กะปิ กระเทียมโขลก และทำแกงอ่อมผักแว่น รสชาติอร่อยมาก

ประโยชน์ทางยา ทั้งต้นเป็นยาสมานแผลในช่องปากและคอ แก้ไข้ แก้อาการร้อนใน กระหายน้ำ ดับพิษร้อน แก้ดีพิการได้ ซึ่งผักแว่นชนิดกินได้ดังกล่าวมีชื่อวิทยาศาสตร์คือ MAR-SILEA CRENATA PRESL. อยู่ในวงศ์ MARSILEACEAE มีชื่อเรียกอีกคือ “ผักลิ้นปี่” (ภาคใต้) เนื่องจากใบย่อยมีลักษณะคล้ายกับลิ้นของปี่ที่ใช้เป่านั่นเอง  ส่วน “ผักแว่นกำมะหยี่” ที่พบมีต้นวางขาย ผู้ขายบอกว่าเป็นไม้นำเข้าจากต่างประเทศ มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับผักแว่นชนิดกินได้ทุกอย่าง จะแตกต่างกันคือ แผ่นใบของ “ผักแว่นกำมะหยี่” จะมีขนละเอียดสีขาวหนาแน่นคล้ายกำมะหยี่สีเงินสวยงามมาก จึงถูกตั้งชื่อว่า “ผักแว่นกำมะหยี่” และใบของ “ผักแว่นกำมะหยี่” จะหุบในช่วงเย็นพร้อมกับเริ่มกางออกในช่วงเช้าเป็นประจำทุกวัน ใบอ่อนและเถาอ่อนของ “ผักแว่นกำมะหยี่” รับประทานไม่ได้ จึงนิยมปลูกเป็นไม้ประดับเพียงอย่างเดียว

ผักแว่นกำมะหยี่ เป็นไม้ล้มลุกจำพวกเฟิร์น ลำต้นเป็นเหง้าทอดเลื้อย ใบเป็นใบประกอบมีใบย่อย ๔ ใบ ใบย่อยเป็นรูปพัด มีอัปสปอร์ ขยายพันธุ์ด้วยไหล และอัปสปอร์ ปัจจุบัน “ผักแว่นกำมะหยี่” มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒ แผงขายไม้น้ำ ราคาสอบถามกันเองครับ. นสพ.ไทยรัฐ

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/92955004548033_19_3585_3619_3623_3618_.jpg)  กรวย
กรวย ชนิดแรกเรียกชื่อสั้นๆ ว่า “กรวย” อีกชนิดคือ “กรวยป่า” ซึ่งทั้ง ๒ ชนิด มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ใกล้เคียงกันมากจนเกือบแยกไม่ได้ มีชื่อวิทยาศาสตร์และแหล่งที่พบเหมือนกันทุกอย่าง แต่สรรพคุณทางสมุนไพรแตกต่างกันอย่างชัดเจน โดย “กรวย” หรือ “กรวยป่า” มีชื่อเฉพาะคือ HORSFIELDIA IRYA (GAERTN.) WARB. อยู่ในวงศ์ MYRISTI-CACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง ๑๐-๒๕ เมตร โคนต้นเป็นพูพอน มักมีรากคํ้ายัน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนมนหรือแหลม ขอบใบเรียบ หน้าใบเป็นสีเขียวสด หลังใบสีนวล   ดอก ทั้ง ๒ ชนิด ออกเป็นช่อแบบแยกแขนงช่อตามซอกใบ เป็นดอกแยกเพศบนต้นเดียวกัน ช่อดอกตัวผู้แผ่กว้างกว่าช่อดอกตัวเมีย ดอกมีขนาดเล็กจำนวนมาก เป็นสีเหลือง วงกลีบรวมติดกัน ส่วนบนแยกเป็น ๒ กลีบ ดอกตัวผู้จะมีเกสรตัวผู้ ๖-๑๐ อัน ดอกตัวเมียไม่มีและจะมีขนาดใหญ่กว่าดอกตัวผู้อย่างชัดเจน ดอกมีกลิ่นหอมแรง เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกัน ทั้งต้นจะดูสวยงามและส่งกลิ่นหอมกระจายทั่วบริเวณใกล้เคียง ทำให้รู้สึกสดชื่นเป็นอย่างยิ่ง “ผล” รูปทรงกลม ติดผลเป็นพวง ๒-๕ ผล สุกเป็นสีส้มอมแดง ๑ ผล มี ๑ เมล็ด เนื้อหุ้มเมล็ดเป็นสีแดงอมส้ม รับประทานไม่ได้ ดอกออกเกือบทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง พบขึ้นตามที่ราบริมแม่นํ้าลำคลอง ใกล้ๆ กับพื้นที่ที่มีเขตติดต่อกับทะเลทั่วไป ประเทศไทยพบทางภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้ ในต่างประเทศพบตั้งแต่ศรีลังกา หมู่เกาะอันดามัน พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และมาเลเซีย

สรรพคุณทางสมุนไพร “กรวย” ชาวมาเลเซียใช้เปลือกต้นต้มนํ้าเดือดอมกลั้วในปากแล้วบ้วนทิ้ง เป็นยาบำบัดอาการเจ็บคอ ส่วน “กรวยป่า” ตำรายาไทยระบุว่า ใบสดตำละเอียดทาแก้โรคผิวหนังผื่นคันชนิดมีตัวดีมาก ใบสดหั่นตากแห้งผสมกับใบยาสูบมวนจุดสูบแก้ริดสีดวงจมูกดีมาก ปัจจุบัน “กรวยป่า” หาซื้อต้นได้ยากกว่า “กรวย” ครับ. นสพ.ไทยรัฐ  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/33392106038000_20_3618_3656_3634_3609_3634_35.jpg)  ย่านาง
ในทางอาหาร “ย่านาง” มีวางขายทั่วไป นิยมรับประทานแพร่หลายทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคอื่นประปราย ส่วนใหญ่เอาเถา ใบอ่อน หรือใบแก่ตำละเอียดคั้นเอาน้ำสีเขียวปรุงกับแกงหน่อไม้ ใส่แกงขนุน แกงอ่อม ห่อหมก ซุบหน่อไม้ แกงยอดหวายและอีกหลายอย่าง ใช้สยบความขมของผักอื่นๆ ในฐานะแหล่งธาตุอาหาร ทำให้ผักอื่นรับประทานอร่อยขึ้น ผักบางชนิดหากขาดน้ำใบ “ย่านาง” เมื่อรับประทานแล้วจะทำให้ขื่นลิ้น    

ในทางสมุนไพรตำรายาแผนไทยระบุว่า ใบสดของ “ย่านาง” ช่วยถอนพิษสุรา มีการทดสอบความเป็นพิษด้วยการสกัดใบด้วยแอลกอฮอล์ร้อยละ ๕๐ แล้วฉีดเข้าไปใต้ผิวหนังของหนูประมาณ ๑๐ กรัม ต่อน้ำหนักตัวหนู ๑ กิโลกรัม มีปริมาณมากกว่า ๖,๒๕๐ เท่าของปริมาณที่คนได้รับ ไม่แสดงความเป็นพิษ ส่วน รากสด มีฤทธิ์แก้ไข้เกือบทุกชนิด เคยมีเด็กอายุ ๙ ขวบเป็นไข้หวัดมีไข้สูงมาก แต่เด็กแพ้ยาแก้ปวดทุกชนิดแม้กระทั่งยาพาราเซตามอล แม่ของเด็กดังกล่าวได้เอารากสดของ “ย่านาง” ต้มน้ำให้ลูกดื่มต่างน้ำ ปรากฏว่าไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว ถือว่าได้ผลดีมาก นอกจากนั้น ทั้งต้นของ “ย่านาง” ยังสามารถปรุงเป็นยาแก้ไข้กลับ ใบสดเป็นยาถอนพิษได้อีกด้วย

ย่านาง หรือ TILIACORA TRIANDRA DIELS อยู่ในวงศ์ MENISPERMA เป็นไม้เถาเลื้อย ดอกสีเหลือง เป็นแบบแยกเพศอยู่คนละต้น ไม่มีกลีบดอก “ผล” กลมรี ขนาดเล็ก ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่เป็นสีเหลืองและแดงตามลำดับ มีเมล็ด ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและหัว มีชื่อเรียกอีกคือ ย่านนาง, หญ้าภคินี, เถาวัลย์เขียว, จ้อยนาง (เชียงใหม่) วันยอ (สุราษฎร์ธานี) เครือย่านาง, ปู่เจ้าเขาเขียว, ขันยอ และ แฮนกึม  มีต้นขายทั่วไปที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แต่ละแผงราคาไม่เท่ากัน หรืออยู่ที่ขนาดของต้นครับ.  นสพ.ไทยรัฐ  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/13767843693494_21_3606_3633_3656_3591_3648_35.jpg)   ถั่งเช่า
ข้อมูลงานวิจัยที่ได้จากภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กทม.โดยศาสตราจารย์ ดร.มณจันทร์ เมฆธน หัวหน้าภาควิชาดังกล่าว ระบุว่า “ถั่งเช่า” เป็นสมุนไพรจีน พบบนที่สูงจากระดับน้ำทะเล ๔,๐๐๐ เมตรขึ้นไป ในฤดูหนาวจะเป็นตัวหนอนและฤดูร้อนจะเป็นหญ้า เกิดจากหนอนผีเสื้อแถบที่ราบสูงทิเบต จำศีลใต้ดินช่วงฤดูหนาว จากนั้นจะถูกสปอร์ของเห็ดราในสกุล OPHIOCORDYCEPS อาศัยเป็น “ปรสิต” และเติบโตสร้างเส้นใยออกมาทางส่วนหัวของตัวหนอนในฤดูร้อน เห็ดชนิดนี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า OPHIOCORDYCEPS SINENSIS  และราชนิดดังกล่าวจะเกาะติดบนตัวด้วงจำพวกผีเสื้อ หนอน มอด ดักแด้ หรือด้วง ค้างคาว ซึ่งตัวหนอนอ่อนที่มีราเกาะอยู่ช่วงฤดูหนาวจะมุดลงไปอยู่ใต้ดินแล้วค่อยๆ กลายเป็นเชื้อราชื่อว่า OPHIOCORDYCEPS SINENSIS และในช่วงนี้เองเปลือกนอกตัวหนอนจะเป็นตัวสมบูรณ์ขึ้น และเมื่อถึงฤดูร้อน ราดังกล่าวจะค่อยๆ เจริญเติบโตขึ้นมีลักษณะคล้ายต้นหญ้า

พบมาก ในบริเวณภาคใต้ของมณฑลชิงไห่ เขตซองโควในทิเบต มณฑลกานซู และแถบเทือกเขาหิมาลัยในอินเดีย การเก็บเกี่ยวจะเก็บในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิ เมื่อขุดหญ้าหนอน หรือ “ถั่งเช่า” ขึ้นมาแล้ว ล้างน้ำให้สะอาดแล้วตากแห้งใช้เป็นยาสมุนไพรได้เลยสรรพคุณจากงานวิจัย “ถั่งเช่า” บำรุงไต ลดอาการปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน ช่วยยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปากมดลูก มะเร็งต่อมไทรอยด์ และมะเร็งเต้านม แก้ภูมิแพ้ บำรุงเลือด ปรับสมดุลของเซลล์เม็ดเลือดแดง ลดปริมาณผมร่วง เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยให้ผิวพรรณดี และสรรพคุณดีๆ อีกเยอะ นสพ.ไทยรัฐ  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/30519548596607_1_3626_3634_3608_3619_.jpg)
สาธร
สาธร เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดนครราชสีมา ชื่อวิทยาศาสตร์ Millettia leucantha Kurz อยู่ในวงศ์ LEGUMINOSAE ชื่ออื่น อาทิ กระเจาะ ขะเจาะ (ภาคเหนือ), กระพีเขาควาย (ประจวบคีรีขันธ์), กะเชาะ (ภาคกลาง), ขะแมบ คำแมบ (เชียงใหม่) เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง ๑๘-๑๙เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ ค่อนข้างกลมหรือทรงกระบอก

เปลือกสีเทาเรียบหรือแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ ใบประกอบเรียงสลับ ใบย่อยติดเป็นคู่ตรงกันข้าม ๓-๕ คู่ ปลายสุดเป็นใบเดี่ยว แผ่นใบย่อยรูปรี กว้าง ๓-๕ ซ.ม. ยาว ๕-๑๒ ซ.ม. ปลายใบแหลม โคนใบมน ใบและยอดอ่อนมีขนยาว ดอกสีขาว รูปดอกถั่ว สีชมพูอ่อน ออกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง ออกดอกระหว่างเดือนมี.ค.-พ.ค.

เป็นไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินร่วน ต้องการน้ำและความชื้นมาก ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด นสพ.ข่าวสด


(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQ4f7wRCxqD_rOL2AHFrztS5IqjYPavSLolsfJL98W9lJ23MwEq)     พญากาหลง ดอกเปลี่ยนสีความเชื่อดี
ไม้ต้นนี้ จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับต้น ชงโคดอกเหลือง หรือ โยทะกา และ เสี้ยวดอกเหลือง เพียงแต่ “พญากาหลง” จะมีความแตกต่างคือ เวลามีดอกครั้งแรกสีของดอกจะเป็นสีเหลืองเหมือนกัน จากนั้น ๓-๕ วัน สีเหลืองของดอกจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงเข้มมองเห็นชัดเจน ทำให้ “พญากาหลง” ต้นเดียวมีดอก ๒ สี ดูสวยงามมาก ซึ่งต้น “พญากาหลง” นิยมปลูกในบริเวณบ้านร้านค้าทั่วไป เนื่องจากมีความเชื่อว่า ปลูก “พญากาหลง” แล้วจะช่วยให้อยู่ดีมีสุขและค้าขายคล่องขึ้น นั่นเป็นความเชื่อมาแต่โบราณ ไม่เชื่อก็อย่าลบหลู่
 
พญากาหลง หรือ BAUHINIA TOMEN TOSA LINN. ชื่อสามัญ ST.THOMAS TREE, YELLOW ORCHID TREE อยู่ในวงศ์ LEQUMINOSAE เป็นไม้พุ่มสูง ๑.๕-๓ เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปค่อนข้างกลม ปลายเว้าลึกดูคล้ายใบชงโคหรือใบส้มเสี้ยว ด้านหลังมีขนเล็กน้อย ใบเมื่อขยี้จะมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว สีเขียวสด ใบดกน่าชมยิ่งนัก
 
ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อย ๒-๓ ดอก ห้อยลง มีกลีบดอก ๕ กลีบ เมื่อแรกมีดอกสีของดอกจะเป็นสีเหลือง จากนั้นสีของดอกจะค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีม่วงเข้มดูสวยงามตามที่กล่าวข้างต้น ดอกเมื่อบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๔-๔.๕ ซม. มีเกสรตัวผู้ ๑๐ อัน เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้นจะมีดอกเป็น ๒ สี แปลกตาน่าชมยิ่งนัก “ผล” เป็นฝักแบน มีหลายเมล็ด ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด และตอนกิ่ง
 
มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ


(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcScaRcKUs8g-Nq3naTWDmxHwJlqtPlfrMcNA95OqRNvIjl8F04U7w)    กระพี้จั่นปลูกประดับสวย
กระพี้จั่น” มีถิ่นกำเนิดทั่วไปในเอเชียเขตร้อน และในประเทศไทยพบเกือบทุกภาค พบมากที่สุดทางภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันตกเฉียงใต้ ขึ้นตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณที่มีความแห้งแล้ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า MILLETTIA BRAN DISIANA KURZ. อยู่ในวงศ์ LEGUMINOSAE PAPILIONOIDEAE
 
เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ สูง ๘-๑๕ เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มโปร่งและกว้าง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ก้านใบหลักออกเรียงสลับ ยาว ๓-๗ ซม. ใบย่อยออกตรงกันข้ามจำนวน ๖-๘ คู่ ใบอ่อนมีขนและขนจะร่วงหมดเมื่อใบแก่ ใบเป็นรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบมนหรือแหลม ด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีจางกว่า เวลามีใบดกจะให้ร่มเงาดีและน่าชมยิ่ง
 
ดอก ออกเป็นช่อขนาดใหญ่ที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก ลักษณะดอกมีกลีบเลี้ยงเป็นรูประฆังปลายแยกเป็น ๕ แฉก สีม่วงเกือบดำ กลีบดอกเป็นรูปดอกถั่ว มี ๕ กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน เป็นสีชมพูอมม่วง มีเกสรตัวผู้ ๑๐ อัน เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้น จะดูสวยงามมาก “ผล” เป็นฝักแบน มีเมล็ดหลายเมล็ด ดอกออกเกือบทั้งปี จะมีดอกดกในช่วงฤดูร้อนทุกปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง มีชื่อเรียกอีกคือ จั่น, ปี้จั่น และ ปี๊จั่น (ภาคเหนือ)
 
นิยมปลูก เป็นไม้ดอกสวยงามประเภทไม้ยืนต้นตามบ้าน ตามสำนักงาน สวนสาธารณะ รีสอร์ตทั่วไป เวลามีต้นสูงใหญ่จะให้ร่มเงาสร้างระบบนิเวศได้ดีและมีดอกสวยงามมาก ประโยชน์ทั่วไป ในยุคสมัยก่อน เนื้อไม้ใช้ทำฟืน ปัจจุบันมีต้นขายทั้งต้นขนาดเล็กและสูงใหญ่ ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ราคาอยู่ที่ขนาดของต้นครับ.


(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcS--tmkvcxxJ-mh-Q4ZYEU-3dsS_bdgwFVMolzprUDzzhjLYKFu)    ทองกวาวสรรพคุณดีหลายอย่าง
ทองกวาว นอกจากจะมีดอกงดงามแล้ว ในทางสมุนไพรบางส่วนของต้นยังมีสรรพคุณเป็นสมุนไพรด้วย โดยตำรายาแผนไทยระบุว่า ยางจากต้นนำไปปรุงเป็นยาแก้ท้องร่วง ใบสดตำพอกแก้ฝีและสิวบนใบหน้าชนิดที่เป็นเม็ดใหญ่ให้แห้งได้ ถอนพิษ แก้ปวด ใบสดนำไปเข้ายาชนิดอื่นเป็นยาบำรุงกำลัง ดอกเป็นยาถอนพิษ เมล็ดขับพยาธิตัวกลม บดละเอียดผสมน้ำมะนาวทาแก้คันตามร่างกายและแสบร้อน ดอกยังให้สีเหลืองใช้ย้อมผ้าได้ด้วย ส่วนเปลือกต้นทำเชือกและกระดาษ
 
ทองกวาว หรือ BUTEA MONO SPERMA (LAMK) O.KUNTZE อยู่ในวงศ์ LE GUMINOSAE เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ สูง ๘-๑๕ เมตร ใบประกอบมีใบย่อย ๓ ใบ รูปไข่ค่อนข้างกว้าง โคนเบี้ยว เวลามีดอกใบจะร่วงหมดเหลือเพียงดอกน่าชมยิ่ง ดอก ออกเป็นช่อตามกิ่งก้านและปลายยอด กลีบเลี้ยงเชื่อมกันเป็นรูปบาตรเล็กๆ มีขน กลีบดอกมี ๕ กลีบ ลักษณะคล้ายดอกถั่ว สีเหลืองถึงสีแดงแสด มีเกสร ๑๐ อัน คล้ายรูปเคียว เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้น ใบจะร่วงหมดดูสวยงามมาก “ผล” เป็นฝักแบน มีเพียงเมล็ดเดียว ดอกออกช่วงระหว่างเดือนธันวาคม-มีนาคม ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด พบขึ้นตามป่าผลัดใบ ป่าหญ้า ป่าละเมาะที่แห้งแล้ง พบมากทางภาคเหนือ ภาคอื่นกระจัดกระจาย
 
มีชื่อเรียกอีกคือ กวาว, ก้าว (ภาคเหนือ) จอมทอง (ใต้) จ้า (เขมร-สุรินทร์) จาน (อุบลราชธานี) ทองธรรมชาติ, ทองพรมชาติ (ภาคกลาง) และทองต้น (ราชบุรี) มีต้นขาย ทั่วไป ทั้งต้นขนาดเล็กและขนาดสูงใหญ่ ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ราคาอยู่ที่ขนาดของต้น เหมาะจะปลูกเป็นทั้ง ไม้ประดับและปลูกเพื่อใช้ประโยชน์ทางสมุนไพรตามสรรพคุณที่กล่าวข้างต้น เวลามีดอกตามฤดูกาลใบจะร่วงหมดทั้งต้นเหลือเพียงดอกสีสันเจิดจ้าสวยงามและใช้บางส่วนของต้น “ทองกวาว” เป็นสมุนไพรได้คุ้มค่ามากครับ.


(http://www.munjeed.com/image_news/2013-06-04/image_462013122021.jpg)    โมกแดงเขาใหญ่ ดอกกลิ่นข้าวใหม่
“โมกแดงเขาใหญ่” เป็นโมกแดงชนิดหนึ่งที่มีแหล่งพบครั้งแรกบนป่าเขาใหญ่ จ.นครราชสีมา มีความแตกต่างจากโมกแดงทั่วไปคือ รูปทรงของดอกและสีสันของดอกไม่เหมือนกันอย่างชัดเจน และ ที่สำคัญดอกของ “โมกแดงเขาใหญ่” จะมีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นข้าวใหม่เหมือนกลิ่นดอกชมนาด หรือกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นใบเตย โดยกลิ่นจะหอมแรงตั้งแต่พลบค่ำเรื่อยไปตลอดทั้งคืนจนรุ่งเช้ากลิ่นจะจางลงเป็นธรรมชาติ จึงทำให้ “โมกแดงเขาใหญ่” เป็นที่นิยมปลูกอย่างแพร่หลายอยู่ในปัจจุบัน ส่วนกลิ่นหอมของดอกโมกแดงทั่วไปกลิ่นจะฉุนเหมือนกับกลิ่นส่าเหล้า
 
โมกแดงเขาใหญ่ อยู่ในวงศ์ APOCYNA-CEAE เป็นไม้พุ่ม สูง ๒-๓ เมตร ใบเดี่ยว ออกตรงกัน ข้ามรูปรี ปลายแหลม โคนเป็นรูปลิ่มถึงกลม ใบมีขนาดใหญ่ ดอก ออกเป็นช่อแบบกระจุกที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก กลีบเลี้ยงติดกัน ปลายแยกเป็นแฉก ๕ แฉก กลีบดอกเชื่อมกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็นกลีบดอก ๕ กลีบ รูปไข่ ปลายแหลม เนื้อกลีบดอกหนาแข็งกว่ากลีบดอกโมกแดงทั่วไป กลีบดอกเป็นสีโอลด์โรส หรือสีแดงอมส้ม ใจกลางดอกเป็นเส้าสีเหลือง ดอกมีกลิ่นหอมตามที่กล่าวข้างต้น เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้นจะดูสวยงามและส่งกลิ่นหอมแรงตลอดทั้งคืนเป็นที่ชื่นใจมาก “ผล” เป็นฝักคู่ เมล็ดมีปุยสีขาวติดที่ปลายเมล็ดด้านหนึ่ง ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง
 
โมกแดงเขาใหญ่ มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๑   ราคาสอบถามกันเอง เหมาะจะปลูกประดับในบริเวณบ้านด้านเหนือลม เวลามีดอกถูกลมพัด เอากลิ่นหอมโชยเข้าบ้าน สร้างบรรยากาศเป็นธรรมชาติดีมากครับ.


(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcT3ySiixLN3PYxvx5oDwkc03QiNbvTAsF0Q52ZM0Md_VyTfd0tQ)    กาซะลองคำ ดอกสีสันงดงาม
ไม้ต้นนี้ พบขึ้นตามธรรมชาติบนเทือกเขาหินปูนที่มีสภาพค่อนข้างชื้น ทางภาคเหนือของประเทศไทย ภาคอื่นมีประปราย ซึ่งนอกจากชื่อ “กาซะลองคำ” แล้ว ยังมีชื่อเรียกตามพื้นที่ต่างๆ อีกคือ กากี (สุราษฎร์ธานี) แคะเป๊าะ, สำเภาหลามต้น (ลำปาง) จางจืด (เชียงใหม่) สะเภา, อ้อยช้าง (ภาคเหนือ) และ ปีบทอง (ภาคกลาง) มีชื่อวิทยาศาสตร์เฉพาะว่า RADERMACHERA IGNEA (KURZ) STEENIS ชื่อสามัญ TREE JASMINE อยู่ในวงศ์ BIGNONIACEAE เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง ๖-๒๐ เมตร ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกตรงกันข้าม ใบย่อย ๒-๕ คู่ รูปรีแกมรูปใบหอก ปลายใบแหลมเป็นติ่ง ส่วนโคนใบแหลม สีเขียวสด
 
ดอก ออกเป็นกระจุกตามกิ่งก้านและตามลำต้น กระจุกละ ๕-๑๐ ดอก ดอกจะทยอยบาน กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นแฉกสั้นๆ ๕ แฉก เป็นสีเหลืองอมส้ม ดอกเมื่อบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์ กลางประมาณ ๑.๕-๒ ซม. มีเกสรตัวผู้ ๔ อัน เวลามีดอกจะทิ้งใบหมดทั้งต้นตามสายพันธุ์ เหลือเพียงดอกเป็นสีเหลืองทองเต็มต้นดูสวยงามมาก “ผล” เป็นฝักยาว ๓๕-๙๐ ซม. ผลแก่แตกเป็น ๒ ซีก เมล็ดมีปีกสีขาวเป็นปุยติดที่บริเวณส่วนปลายเมล็ดด้านหนึ่ง ดอกออกช่วงระหว่างเดือนมกราคมต่อเนื่องไปจนถึงเดือนเมษายน ของทุกปี โดยจะผลัดใบก่อนออกดอกทุกครั้ง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำกิ่ง และหน่อ
 
ปัจจุบันต้น “กาซะลองคำ” มีขายทั่วไป ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ มีทั้งต้นขนาดเล็กสูงไม่เกิน ๑ เมตร และต้นขนาดใหญ่สูง ๕-๗ เมตร โดยเฉพาะในช่วงฤดูกาลมีดอก จะมีดอกติดตามกิ่งก้านและตามลำต้นให้ชมด้วย ราคาอยู่ที่ขนาดของต้น ปลูกได้ในดินทั่วไป สามารถปลูกในพื้นที่ราบต่ำได้ เมื่อต้นสูงใหญ่และมีดอกตามฤดูกาล จะดูสวยงามมากครับ.


(http://eweb.bedo.or.th/wp-content/uploads/2014/09/b090914_1.jpg)    หูกระจงแดง  กิ่งก้านสวยแปลก
ไม้ต้นนี้พบมีวางขาย แต่ละต้นปลูกในกระถางดำขนาดกว้าง ๑๐-๑๒ นิ้วฟุต ต้นสูงเกินกว่า ๒ เมตร ลำต้น ใบ และกิ่งก้านมีสีสันสวยงามแปลกตามาก แต่ไม่มีป้ายชื่อเขียนติดไว้ จึงสอบถามผู้ขาย ทราบว่าเป็นต้น “หูกระจงแดง” เป็นไม้นำเข้าจากต่างประเทศแต่บอกไม่ได้ว่าประเทศไหน ปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานกว่า ๒ ปีแล้ว สามารถเจริญเติบโตได้ดีในทุกสภาพอากาศในประเทศไทย ผู้นำเข้าจึงขยายพันธุ์นำต้นออกวางขายในชื่อ “หูกระจงแดง” ดังกล่าวและกำลังเป็นที่นิยมของผู้ปลูกอย่างกว้างขวางอยู่ในขณะนี้
 
หูกระจงแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์เฉพาะว่า TERMINALIA BENTZOL (L.) L.F. อยู่ในวงศ์ COMBERTACEAE เป็นไม้ยืนต้นสูง ๕-๑๐ เมตร ลำต้นตั้งตรง ลำต้นใบและกิ่งก้านเป็นสีแดงอมม่วงปนสีเขียวคล้ำเล็กน้อย แตกกิ่งก้านเป็นชั้นๆรูปทรงฉัตร หรือทรงสามเหลี่ยม น่าชมยิ่ง
 
ใบ เป็นใบประกอบ ก้านใบออกตรงกันข้าม ก้านใบยาว ใบเป็นรูปรีแคบและยาว ปลายใบแหลม โคนใบเป็นกาบ ใบแตกเป็นวงกลม ประกอบด้วยใบย่อย ๘-๑๒ ใบ ผิวใบเรียบ เป็นสีแดงอมม่วงปนสีเขียวคล้ำเล็กน้อยตามที่กล่าวข้างต้น เวลามีใบดกจะเป็นชั้นๆรูปทรงฉัตรหรือทรงสามเหลี่ยม ดูงดงามแปลกตามาก ที่สำคัญใบของ “หูกระจงแดง” จะไม่ร่วงง่ายเหมือนกับใบของต้นหูกระจงชนิดสีเขียวที่มีใบขนาดเล็ก ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง
 
ปัจจุบัน “หูกระจงแดง” มีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ในดินทั่วไป เหมาะจะปลูกประดับตามบ้าน สำนักงาน สวนสาธารณะ และรีสอร์ตทั่วไป ปลูกได้ทั้งแบบลงดินและปลูกลงกระถางตั้งประดับในที่แจ้ง เวลาต้นสูงใหญ่ได้แสงแดดอย่างสม่ำเสมอ สีสันของต้นใบและกิ่งก้านจะเข้มข้นขึ้นดูสวยงามมากครับ.


(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQfmmh9p3G6CFQxZhS_rNxnrB-qHZtRjr-X8kE4G1bDJRf8bq5mbA)    คูณสายรุ้ง บานทนสวยน่าปลูก
ไม้ต้นนี้ เคยแนะนำในคอลัมน์ไปแล้ว แต่ยังมีผู้อ่านไทยรัฐอีกจำนวนมากที่พลาดข้อมูลดังกล่าว อยากทราบว่า “คูนสายรุ้ง” เป็นอย่างไร และจะหาซื้อกิ่งพันธุ์ได้จากที่ไหน ซึ่งก็เป็นจังหวะที่พบว่ามีผู้นำเอากิ่งตอนรุ่นใหม่ออกวางขาย จึงแจ้งให้ทราบ พร้อมนำเรื่องแนะนำในคอลัมน์อีกครั้งตามระเบียบ
 
คูนสายรุ้ง อยู่ในวงศ์ LEGUMINOSAE มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมจาก รัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา ถูกนำเข้ามาปลูกประดับและขยายพันธุ์ขายในประเทศไทยบ้านเรานานหลายปีแล้ว มีลักษณะพิเศษ คือ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ต้นสูงไม่เกิน ๕-๖ เมตร ไม่ได้เป็นไม้ผลัดใบเหมือนกับคูนดอกสีเหลืองทั่วไป และหลังจากมีดอกร่วงแล้ว “คูนสายรุ้ง” ยังไม่ติดผลหรือฝัก เช่นคูนทุกชนิดอีกด้วย จึงถือเป็นเรื่องแปลกมาก
 
ส่วน ลักษณะทางพฤกษศาสตร์โดยรวมจะเหมือนกับคูนทั่วไปเกือบทุกอย่าง ดอก ออกเป็นช่อขนาดใหญ่ตามซอกใบ แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก ช่อดอกห้อยลง ลักษณะพิเศษของดอก เมื่อเริ่มแรกจะเป็นสีชมพูอ่อนปนสีครีม จากนั้นจะค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีชมพูเข้มปนสีเหลืองอย่างชัดเจน ทำให้ดูมีหลายสีในช่อเดียว เวลามีดอกดกช่อดอกห้อยลงจะดูสวยงามมาก จึงถูกผู้นำเข้าตั้งชื่อเป็นภาษาไทยว่า “คูนสายรุ้ง” ดังกล่าว ที่เป็นจุดเด่นของ “คูนสายรุ้ง” อีกอย่างคือ ช่อดอกจะบานได้ทนนานเป็นเดือน ดอกออกช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ต่อเนื่องไปจนถึงเดือนพฤษภาคมทุกปี ขยายพันธุ์ด้วยวิธีเสียบยอด
 
มีกิ่งตอนขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๕ ราคาสอบถามกันเองครับ.


(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTJkP2e-PDVVtd9gDUPJsDrmcLMBaF67AVpxXilPWp8vuFPFwZ4)    หางนกยูงไทย ไม่ใช่ไม้ไทย
หลายคน เข้าใจผิดคิดว่าต้น “หางนกยูงไทย” เป็นไม้ไทยและมีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย เพราะชื่อบอกตรงๆว่า “หางนกยูงไทย” แต่ความจริงแล้วไม้ต้นนี้มีถิ่นกำเนิดจากอเมริกาเขตร้อน และ หมู่เกาะเวสต์อินดีส จากนั้นได้แพร่กระจายปลูกในเขตร้อนไปทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยด้วย และเนื่องจากถูกนำเข้ามาปลูกเป็นเวลานานกับมีชื่อเรียกว่า “หางนกยูงไทย” ด้วย จึงทำให้กลายเป็นไม้ไทยไปโดยปริยาย
 
หางนกยูงไทย หรือ CAESAL PINIA PULCHERRIMA LINN.อยู่ในวงศ์ LEGU MINOSAE เป็นไม้พุ่ม สูง ๑-๒.๕ เมตร ไม่ผลัดใบ แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกลม ต้นเกลี้ยงหรือมีหนาม ใบประกอบแบบขนนก ๒ ชั้น ออกสลับ ใบย่อย ๗-๑๑ คู่ รูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ปลายมนหรือเว้า โคนเบี้ยว ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด มีกลีบดอก ๕ กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน เมื่อบานเต็มที่เส้นผ่า ศูนย์กลางประมาณ ๔ ซม. มีเกสรตัวผู้ ๑๐ อัน มีด้วยกันหลายสี คือ สีเหลือง แดง ส้ม ชมพูแก่ และ สีแดงประขาว มีดอกทั้งปี เวลามีดอกจะสวยงามมาก นิยมปลูกประดับกันอย่างแพร่หลาย “ผล” เป็นฝัก มีเมล็ด ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด มีต้นขายทั่วไป ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ราคาอยู่ที่ขนาดของต้น
 
สรรพคุณทางสมุนไพร ของ “หางนกยูงไทย” ราก ของต้นชนิดที่มีดอกเป็นสีแดง สีอื่นใช้ไม่ได้ นำไปปรุงเป็นยารับประทาน สำหรับขับประจำเดือนของสตรี
 
อีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า “หางนกยูงฝรั่ง” หรือ DELONIX REGIA (BOJER) RAF มีถิ่นกำเนิดจาก เกาะมาดากัสการ์ ต้นสูงใหญ่ ๑๐-๑๕ เมตร ดอกเป็นสีเหลืองแดง ออกดอกช่วงเดือน เมษายน–มิถุนายน เป็นไม้ผลัดใบก่อนจะมีดอก หรือ ออกดอกขณะแตกใบอ่อน แตกต่างจากชนิดแรกอย่างชัดเจนครับ.



หัวข้อ: Re: พรรณไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้มงคล
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 18 พฤศจิกายน 2558 15:05:45
(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTLlnszO5b0HvuEe3IFqZiNFaVF3ZC3MatVS5nAxQXzTL0OVnKG)  สร้อยมณีแดง
ไม้ชนิดนี้ เป็นไม้ในตระกูลเดียวกับสร้อยฟ้าชนิดที่มีดอกเป็นสีม่วงและนิยมปลูกประดับอย่างกว้างขวางมาช้านานแล้ว ซึ่งสร้อยฟ้าดอกสีม่วงดังกล่าว มีถิ่นกำเนิดจากประเทศอังกฤษเป็นพันธุ์ลูกผสมระหว่าง PALATA กับ PCAERULEA ไม่ใช่พันธุ์แท้

ส่วน “สร้อยมณีแดง” มีถิ่นกำเนิดจากรัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา ดอกเป็นสีแดง บางคนเรียกว่า สร้อยฟ้าฮาวาย ที่สำคัญถือเป็นจุดเด่นของ “สร้อยมณีแดง” ได้แก่ ดอกจะมีกลิ่นหอมเหมือนกลิ่นแป้งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ได้สูดดมแล้วจะรู้สึกชื่นใจยิ่ง

สร้อยมณีแดง หรือ PASSIFLORA X ALA- TO–CAERULEA LINDL. อยู่ในวงศ์ PASSI-FLORACEAE เป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็ง เถาเป็นเหลี่ยม มีมือออกตามซอกใบเลื้อยได้ไกลกว่า ๕-๗ เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับตามข้อ รูปรีกว้าง ปลายใบแหลม โคนมน ซึ่งจะแตกต่างกับใบของสร้อยฟ้าอังกฤษที่จะเป็นแฉกลึกรูปนิ้วมือ

ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ ตามซอกใบ มีกลีบเลี้ยง๕ แฉก กลีบดอกมี ๑๐ กลีบ คล้ายกลีบบัว ด้านหน้ากลีบเป็นสีแดงอมม่วง หลังกลีบเป็นสีขาวหม่น มีระยางเป็นเส้นจำนวนมาก เป็นสีม่วงเข้ม มีสีขาวแต้ม ซึ่งจะแตกต่างจากระยางของสร้อยฟ้าอังกฤษอย่างชัดเจน บริเวณใจกลางดอกมีเกสรตัวผู้ ๕ อัน ปลายเกสรตัวเมียเป็น ๕ แฉก ดอกมีกลิ่นหอมเหมือนกลิ่นแป้งตามที่กล่าวข้างต้น เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้น จะดูสวยงามและส่งกลิ่นหอมเป็นที่ประทับใจมาก “ผล” เป็นรูปรี ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ปักชำกิ่งและตอนกิ่ง

มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวน จตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผงหน้าตึกกองอำนวยการ  นสพ.ไทยรัฐ  

(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRFIl8mWUhZ3C6GcgfWypLddvQFehF-CA0kwQZYqIzAT7XKjDUGxA)  นมแมว
ไม้ต้นนี้พบขึ้นตามป่าทุกภาคของประเทศไทย ในยุคสมัยก่อนนิยมปลูกประดับกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในแถบชนบทเพื่อสูดดมกลิ่นหอมจากดอกในตอนพลบค่ำ ซึ่งดอกของ “นมแมว” จะส่งกลิ่นหอมแรงมากคล้ายกลิ่นน้ำหอมฟุ้งกระจายทั่วบริเวณใกล้เคียงให้ลมพัดโชยเข้าบ้านยามค่ำคืนเป็นที่รัญจวนใจยิ่งนัก และจากกลิ่นหอมดังกล่าวจึงเป็นหนึ่งในไม้ดอกหอมของไทยที่ถูกนำไปใส่ไว้ในบทเพลง “ชมสวน” ขับร้องโดยนักร้องหญิงชื่อดังในอดีตคือ “คุณวงษ์จันทร์ ไพโรจน์” โดยคนที่มีอายุระหว่าง ๕๐ ปีปลายๆ ขึ้นไปจะจำเพลงนี้ได้เป็นอย่างดี เพราะในยุคสมัยก่อนนิยมเปิดตามสถานีวิทยุกระจายเสียงเป็นประจำทุกวัน แต่ปัจจุบันหาฟังได้ยากแล้ว และคนรุ่นใหม่น้อยคนนักจะรู้จักต้น “นมแมว” หรือบทเพลงดังกล่าว
 
นมแมว หรือ MELODORUM SIAM-ENSE (SCHEFF.) BAN. อยู่ในวงศ์ ANNONACEAE เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย สูง ๒-๒.๕ เมตร แตกกิ่งก้านต่ำ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ปลายแหลมโคนป้าน ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ ตามซอกใบใกล้ปลายยอด มีกลีบเลี้ยง ๓ กลีบ รูปสามเหลี่ยม สีเขียวอ่อน กลีบดอก ๖ กลีบ เรียงซ้อนกัน ๒ ชั้น เป็นสีเหลืองนวล กลีบดอกเป็นรูปไข่ ดอกมีกลิ่นหอมแรงตั้งแต่พลบค่ำเรื่อยไปจนกระทั่งรุ่งเช้ากลิ่นจะจางลงเป็นธรรมชาติ “ผล” รูปกลมรี ผลสุกเป็นสีเหลืองมีเมล็ดสีดำแข็ง ดอกออกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด และตอนกิ่ง
 
ประโยชน์ รากสด “นมแมว” ตำผสมกับน้ำปูนใสทาถอนพิษแมลงกัดต่อย รากสดกะจำนวนพอประมาณต้มกับน้ำท่วมยาจนเดือดดื่มขณะอุ่นครั้งละ ๑ แก้ว แก้ประจำเดือนสตรีไม่ปกติ นอกจากนั้น รากสดของ “นมแมว” ยังนำไปผสมกับรากสดต้นไส้ไก่ และรากสดต้นหนามพรมจำนวนเท่ากันต้มน้ำเดือดดื่มขณะอุ่นวันละ ๑-๒ แก้ว แก้ริดสีดวงจมูกดีมาก
 
มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๘ ราคาสอบถามกันเองครับ. นสพ.ไทยรัฐ  

(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSLKmkLE0U5LJQPjzGJyQSgIK7zKZMbRXX1JbqvLpLI2KaOmTwf)  บุหงาส่าหรี
“บุหงาสาหรี” มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมจากหมู่เกาะเวสต์อินดีส ถูกนำเข้ามาปลูกประดับและขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานกว่า ๕๐-๖๐ ปี แล้ว โดยมีการเรียกชื่อเป็นภาษาไทยหลายชื่อคือ “บุหงาสาหรี” บุหงาบาหลี และ บุหงาแต่งงาน เป็นต้น

บุหงาสาหรี มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ CITHA-REXYLUM SPINOSUM LINN. อยู่ในวงศ์ VERBENACEAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้ต้น สูง ๓-๑๐ เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบมน

ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง ช่อดอกเป็นรูปแท่ง แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ลักษณะดอกโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น ๔-๕ กลีบ ดอกเป็นสีขาว มีเกสรตัวผู้ ๔ อัน ดอกเมื่อบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑ ซม. ดอกมีกลิ่นหอมแรง เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้น จะดูสวยงามและส่งกลิ่นหอมเป็นที่ประทับใจมาก ดอกออกตลอดทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยวิธีปักชำกิ่ง และตอนกิ่ง

สมัยก่อน “บุหงาสาหรี” นิยมปลูกประดับกันอย่างกว้างขวางทั้งตามบ้านและตามสถานที่ราชการทั่วไป ปัจจุบัน ค่านิยมที่มีต่อ “บุหงาสาหรี” ได้ลดน้อยลงไปตามกาลเวลาทำให้มีกิ่งตอนหรือต้นพันธุ์วางขายน้อยมาก จนเชื่อว่าอีกไม่นาน “บุหงาสาหรี” จะกลายเป็นไม้ที่ถูกลืมเหมือนกับไม้ดอกหอมโบราณหลายชนิดที่หาดูได้ยากแล้วในยุคนี้

อย่างไรก็ตาม “บุหงาสาหรี” ยังพอมีต้นขายประปราย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณแผงตรงกันข้ามโครงการ ๑๕ ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ในดินเกือบทุกชนิด ไม่ชอบนํ้าท่วมขังครับ. นสพ.ไทยรัฐ  

(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQewE9rKPm4gu3gwVwUDvmUEbjDjgJIj--IbXYnXBbeWcZhN8JQRA)  สายหยุด
โดยปกติของสายหยุดที่คนทั่วไปรู้จักและนิยมปลูกประดับมาแต่โบราณ เป็นสายพันธุ์ที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศจีนตอนใต้ ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยบ้านเรานานมากจนกลายเป็นไม้ไทยไปโดยปริยาย มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า DESMOS CHINENSIS LOUR. อยู่ในวงศ์ ANNONACEAE มีลักษณะเป็นไม้เถาเลื้อย หรือไม้กึ่งเลื้อย  ยอดมักเกาะพาดพันได้ไกล ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ ตรงกันข้าม ใบดอกห้อยลง มีกลีบเลี้ยงขนาดเล็ก ๓ กลีบ รูปสามเหลี่ยม มีกลีบดอก ๖ กลีบ แบ่งเป็น ๒ ชั้น ชั้นละ ๓ กลีบ ดอกขณะยังตูมจะเป็นสีเขียว เมื่อบานหรือแก่จัดเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอมแรงเฉพาะตอนเช้าพอสายกลิ่นหอมจะหายไป จึงถูกตั้งชื่อว่าสายหยุด “ผล” เป็นกลุ่ม ดอกออกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง มีต้นขายทั่วไป

ส่วน “สายหยุดต้น” ที่เพิ่งพบกิ่งตอนวางขาย ผู้ขายบอกว่าเป็นไม้พุ่มต้น ไม่ใช่ไม้เถาเลื้อยหรือรอเลื้อย ต้นสูงประมาณ ๓ เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกสลับ รูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ปลายแหลมเป็นติ่งสั้น โคนมน หรือเว้าเล็กน้อย สีเขียวสด

ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ ดอกห้อยลง มีกลีบดอก ๖ กลีบ แบ่งเป็น ๒ ชั้น ชั้นละ ๓ กลีบเหมือนกับชนิดแรก แต่ขนาดของดอก “สายหยุดต้น” จะมีขนาดใหญ่และหนากว่าอย่างชัดเจน ดอกเมื่อบานเต็มที่หรือแก่จัดเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอมแรงเฉพาะช่วงเช้าเหมือนกัน เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันจะสวยงามและส่งกลิ่นหอมประทับใจมาก “ผล” เป็นกลุ่ม ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง

ปัจจุบัน “สายหยุดต้น” มีขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ—พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒๑  ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ในดินทั่วไป เหมาะจะปลูกประดับในบริเวณบ้าน เวลามีดอกดกจะสวยงามส่งกลิ่นหอมมากครับ นสพ.ไทยรัฐ  


(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTqe5jhoNsr5jW_RlFklJxyve1oB-CIxKvZNrQ-f_bv7R4yX7pkNA)  การเวก
ลักษณะของการเวกที่นิยมปลูกประดับกันแพร่หลายมาช้านานแล้วนั้น เป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็ง พบขึ้นตามป่าเบญจพรรณหรือป่าดิบทางภาคเหนือและภาคกลางของประเทศไทย ในต่างประเทศพบที่พม่า อินโดนีเซีย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ARTABOTRYS SIAMENSIS MIQ อยู่ในวงศ์ ANNONACEAE นิยมปลูกให้ต้นไต่หรือเลื้อยพันซุ้มประตูหน้าบ้านและพันรั้วบ้าน เวลามีดอกบานพร้อมกันทั้งต้นจะดูสวยงาม และส่งกลิ่นหอมฟุ้งกระจายทั่วบริเวณใกล้เคียง เป็นที่ประทับใจมาก ซึ่งการเวกชนิดเถาเลื้อยนี้จะมีดอกช่วงเดือนมีนาคมเท่านั้น

ส่วน “การเวกต้น” ที่พบวางขาย ผู้ขายบอกว่าเป็นไม้พุ่มไม่ใช่ไม้เถาเลื้อยเหมือนชนิดที่กล่าวข้างต้น สูง ๒-๓ เมตร แตกกิ่งก้านสาขาหนาแน่น ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ เป็นรูปรีกว้างและใหญ่ ปลายใบแหลม โคนใบมน สีเขียวสด

ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ หรือเป็นกระจุก ๑-๓ ดอก ออกตามกิ่งก้านหรือตามซอกใบ มีกลีบเลี้ยงรูปสามเหลี่ยมขนาดเล็กสีเขียวอ่อน กลีบดอก ๖ กลีบ เรียงเป็น ๒ ชั้น ชั้นละ ๓ กลีบ กลีบด้านนอกรูปขอบขนาน ปลายกลีบแหลม กลีบด้านในเล็กกว่า ดอกอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่หรือสุกเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอมแรงมาก เวลามีดอกดกและดอกสุกบานพร้อมกันทั้งต้นจะดูสวยงาม พร้อมส่งกลิ่นหอมฟุ้งกระจายเป็นที่ชื่นใจยิ่ง “ผล” กลมรี ผลย่อย ๑๐-๑๕ ผล มีเมล็ด ๑-๒ เมล็ด ดอกของ “การเวกต้น” ออกทั้งปี แตกต่างจากการเวกเถาออกตามฤดูกาลปีละครั้ง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง

การเวกต้น มีขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผงหน้าตึกกองอำนวยการ ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ทั้งลงดินกลางแจ้งและลงกระถางขนาดใหญ่ เวลามีดอกจะส่งกลิ่นหอมแรงชื่นใจมากครับ. นสพ.ไทยรัฐ  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/71750659868121_1.jpg)  จำปีอะมาวะสี
จำปีชนิดนี้ มีถิ่นกำเนิดจากรัฐอะมาวะสี ประเทศอินเดีย มีลักษณะเด่นคือ “จำปีอะมาวะสี” ต้นจะไม่สูงมากนัก เวลามีดอกจะดกกว่าจำปีทั่วไป ดอกมีกลิ่นหอมแรง ที่สำคัญกลีบดอกของ “จำปีอะมาวะสี” จะหนากว่าจำปีทั่วไป ทำให้กลีบดอกไม่ร่วงง่าย สามารถบานได้ทนกว่าจำปีสายพันธุ์อื่น ซึ่ง “จำปีอะมาวะสี” ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานกว่า ๒-๓ ปีแล้ว ผู้นำเข้าเห็นว่า “จำปีอะมาวะสี” เติบโตได้ดีและมีดอกดกเหมือนกับปลูกในถิ่นกำเนิดเดิม จึงขยายพันธุ์ตอนกิ่งออกจำหน่ายโดยใช้ชื่อตามแหล่งนำเข้าว่า “จำปีอะมาวะสี” กำลังเป็นที่ชื่นชอบของผู้ปลูกไม้ดอกหอมอยู่ในขณะนี้

จำปีอะมาวะสี มีชื่อวิทยาศาสตร์เหมือนกับจำปีทั่วไปคือ MICHELIA ALBA DC. ชื่อสามัญ WHITE CHAMPAK อยู่ในวงศ์ MAGNOLIACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง ๕-๑๐ เมตร แตกกิ่งก้านสาขาโปร่ง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ เป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน หรือรูปใบหอก ปลายและโคนใบแหลม เนื้อใบค่อนข้างหนา หน้าใบเรียบ สีเขียวสดเป็นมัน หลังใบสีเขียวด้าน ใบจะ ดกและหนาแน่นในส่วนปลายกิ่ง

ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ ตามซอกใบใกล้ปลายยอด ลักษณะดอกเมื่อยังตูมอยู่จะเป็นรูปกระสวย ยาวประมาณ ๓-๕ ซม. มีกลีบดอก ๘-๑๒ กลีบ เนื้อกลีบดอกจะมีความหนามากกว่ากลีบดอกจำปีทั่วไป จึงทำให้เวลาดอกบานจะอยู่ได้ทนนานกว่าจำปีทั่วไป คือ บานได้ทนประมาณ ๒-๓ วัน กลีบดอกจึงจะร่วง เป็นสีขาวนวล มีกลิ่นหอมแรง มีเกสรตัวผู้จำนวนมาก เกสรตัวเมีย ๑๐-๑๒ อัน ดอกเมื่อบานจะมีขนาดใหญ่เท่ากับจำปีทั่วไป  เวลามีดอกจะดกเต็มต้น  และดอกบานพร้อมกันจะดูสวยงามส่งกลิ่นหอมฟุ้งกระจายทั่วบริเวณใกล้เคียงเป็นที่ชื่นใจยิ่ง ดอกออกตลอดปี  ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่งและเสียบยอด

โดยเฉพาะ ในช่วงที่ “จำปีอะมาวะสี” มีดอกกำลังตูมใกล้จะบานสามารถเก็บไปร้อยปลายมาลัยดอกมะลิ หรือเก็บดอกขายเพิ่มรายได้ดีมาก เพราะกลีบดอกจะไม่เหี่ยวหรือร่วงง่ายนั่นเอง

สรรพคุณทางสมุนไพรของจำปีทั่วไป ใบสดต้มน้ำเดือดดื่มขณะอุ่นเป็นยาระงับอาการไอเรื้อรัง และแก้อาการหลอดลมอักเสบได้ ปัจจุบันต้น “จำปีอะมาวะสี” มีขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณแผงหน้าตึกกองอำนวยการ ราคาสอบถามกันเอง เหมาะจะปลูกประดับทั่วไป เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้นจะดูสวยงาม และส่งกลิ่นหอมฟุ้งกระจายเป็นที่ประทับใจมากครับ. นสพ.ไทยรัฐ  


(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcT8PkIAl_zaNSIXY2P98mkErnzwof5iBMKccBM5hyA4ZOiyUGspJg)  พุดจีบ
พุดจีบเป็นไม้พุ่มเตี้ย ทรงพุ่มแน่น ใบมีรูปร่างมนรี สีเขียวเข้ม ปลายใบแหลมเป็นติ่งยาวตามลำต้นและใบมียางสีขาว มีกลีบดอกซ้อนกัน ๓ ชั้น ชั้นละ ๕ กลีบ กลีบดอกมีรอยยับย่นบิดเป็นริ้วๆ มีกลิ่นหอม ออกดอกตลอดปี ไม้-เป็นยาเย็น  ลดไข้  น้ำจากต้นขับพยาธิ ใบ-ในมาเลเซียนำมาชงกินกับน้ำตาลแก้ไอ  ในอินเดียนำน้ำตามใบใส่แผล ดอก-น้ำคั้นจากดอกผสมน้ำมัน ใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนัง ราก-ขับพยาธิ เคี้ยวแก้ปวดฟัน ใช้เป็นยาบำรุง

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ทำการศึกษาวิจัยและค้นพบสารสกัดจากต้นพุดจีบว่ามีสรรพคุณแก้โรคอัลไซเมอร์ในหนูทดลองพบว่าสารสกัดในต้นพุดจีบที่มีฤทธิ์เพิ่มสารสื่อประสาท และมีสรรพคุณใกล้เคียงกับยารักษาโรคอัลไซเมอร์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ โดยเป็นการทดลองในระดับเซลล์  ซึ่งการรักษาผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์คือการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะเซติลโคลีน เอสเทอเรสและเพิ่มปริมาณสารสื่อประสาท ซึ่งสารสกัดจากต้นพุดจีบสามารถให้ผลเช่นเดียวกับตัวยากาเลนทามินที่รับประทานแก้โรคอัลไซเมอร์เมื่อทดลองในหนูทดลองและนำเซลล์สมองมาวัดด้วยเครื่องมือ ซึ่งการศึกษานี้จะมีการต่อยอดเพื่อการพัฒนาขบวนการผลิตยาที่สกัดมาจากพุดจีบต่อไป. นสพ.เดลินิวส์  


(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRBOBO6pBWJlPwAzwaGRkV_ulhZdw7QRz43ahRbNhI3ElFEACIuFw)  ปัญจขันธ์
“เจียวกู่หลาน” ชื่อภาษาอังกฤษคือ Miracle grass, Southern ginseng หรือ 5-Leaf ginseng หรือภาษาไทยเรียกว่า “ปัญจขันธ์” มีสารที่มีฤทธิ์ในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระช่วยให้นอนหลับลดระดับไขมันในเลือดเสริมระบบภูมิคุ้มกัน  โดยปัญจขันธ์เป็นพืชล้มลุกชนิดเถาเลื้อยขนานกับพื้นดิน รากงอกออกจากข้อเป็นประเภทแตง น้ำเต้า มีใบ ๓-๕ ใบ ด้านบนและด้านล่างใบมีขนอ่อนสีขาวปกคลุมส่วนที่นำมาใช้คือส่วนเหนือดินของพืชที่มีอายุ ๔-๕ เดือนขึ้นไป

ตอนนี้ปัญจขันธ์แพร่หลายมากขึ้น  มีหลายหน่วยงานนำพืชชนิดนี้ไปวิจัยมากขึ้น คนที่นิยมสมุนไพรก็รู้จักสมุนไพรชนิดนี้กันมาก มีการนำปัญจขันธ์มาทำเป็นผลิตภัณฑ์กันหลากหลาย เช่น ชาปัญจขันธ์ ปัญจขันธ์แคปซูลหรือบางทีก็นำเอาสารสกัดจากปัญจขันธ์นี้ไปผสมกาแฟก็มี  มีคนบอกว่า ปัญจขันธ์เป็นสมุนไพรอมตะ บางคนว่าเป็นยาอายุวัฒนะก็มี แสดงว่ามีสรรพคุณดีแน่นอน ฉะนั้น ปัญจขันธ์จึงได้รับการประกาศยกย่องให้เป็นพืชสมุนไพรแห่งชาติปี ๒๕๔๘

มีผู้คนบอกว่า...ปัญจขันธ์ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความแก่ เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยให้นอนหลับ ช่วยคลายเครียด ช่วยป้องกันและรักษาโรคมะเร็ง ซ่อมแซม DNA ที่ถูกทำลายจากสารพิษ บุหรี่ แอลกอฮอล์ รักษาสมดุลของฮอร์โมนและเอนไซม์ ช่วยปกป้องหัวใจและระบบไหลเวียนของโลหิต  ช่วยรักษาความยืดหยุ่นและความชุ่มชื้นของผิวพรรณ ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางร่างกายและทางเพศ ปัญจขันธ์มี สารยิเพ็นโนไซด์ (Gypenosides) ที่พบในโสมแต่ในปัญจขันธ์มีมากกว่าโสม ๓-๔ เท่า เป็นสารที่ช่วยบำรุงร่างกาย เพิ่มความแข็งแกร่งให้กับเซลล์ ยับยั้งเซลล์มะเร็งต้านการอักเสบ ยับยั้งการก่อตัวของเกล็ดเลือด ช่วยลดระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด ลด LDL (ไขมันเสีย) เพิ่ม HDL (ไขมันดี ) ช่วยเพิ่มขบวนการเผาผลาญ แก้ปวด แก้ไอ  ขับเสมหะ  รักษาแผลในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ยังสามารถแก้ปวด-บวม ฟกช้ำดำเขียว ทำให้ผิวหนังเต่งตึง แก้ท้องผูก ลำไส้อักเสบ  โรคตับ  เชื้อราที่เท้า ผมหงอก ผมร่วง  ปวดหัว ไมเกรน  ความจำเสื่อม   คางทูม  ทอนซิล  หวัด ขับเสมหะ แก้ไอ หอบหืด  ลดกรด….เห็นไหมมีสรรพคุณที่ครอบคลุมและครอบจักรวาลดี

แต่ข้อมูลจากจดหมายข่าวผลิใบของกรมวิชาการเกษตร คอลัมน์ขอคุยด้วยคนโดย “มธุรส วงษ์ครุฑ” เขียนถึงการดื่มชาปัญจขันธ์ไว้ว่าห้ามดื่มติดต่อกันนานเกิน ๗ วัน โดยเมื่อดื่มครบ ๗ วันก็ให้หยุดดื่ม ๑-๒ วัน แล้วค่อยเริ่มต้นดื่มใหม่หรือถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น มึนงง ปวดศีรษะ ตาพร่าลายก็ต้องหยุดดื่มเช่นกัน...อันนี้เป็นสิ่งที่ควรทำตามนะครับ

ปัญจขันธ์ หรือเจียวกู่หลาน ปัจจุบันมีจำหน่ายตามร้านสมุนไพรทั่วไป หาซื้อได้ง่ายสะดวกสบายไม่ต้องเดินทางเสาะแสวงหาเฉกเช่นแต่ก่อนเก่าดังที่เล่ามา. นสพ.เดลินิวส์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/72768323289023_1.png)  ขนนก หรือ แผ่บารมีมหาเศรษฐี
ไม้ต้นนี้ พบมีต้นขายมีป้ายชื่อเขียนติดไว้ชัดเจนว่าต้น “แผ่บารมีมหาเศรษฐี” และชื่อรองว่า “ขนนก” ซึ่งทั้ง ๒ ชื่อ ผู้ขายเป็นคนตั้งขึ้นเอง เพื่อเรียกความสนใจจากผู้ซื้อไปปลูกประดับ ผมเองเห็นว่าลักษณะต้นและใบมีความแปลกตาและสวยงามมาก จึงสอบถามผู้ขายได้รับคำตอบว่า ต้น “ขนนก” หรือต้น “แผ่บารมีมหาเศรษฐี” มีถิ่นกำเนิดจากประเทศแอฟริกา ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ขายนานกว่า ๒-๓ ปีแล้ว แต่ผู้ขายไม่มีชื่อภาษาอังกฤษและชื่อวงศ์เฉพาะ บอกได้เพียงว่า ต้น “ขนนก” หรือต้น “แผ่บารมีมหาเศรษฐี” มีความพิเศษคือ ใบดก และใบ จะมีความอ่อนนุ่มมาก เมื่อทดลองใช้ฝ่ามือลูบรู้สึกได้อย่างชัดเจนเลยว่านุ่มสบายมือจริงๆ ไม่แข็งเหมือนใบไม้ทั่วไป ถ้าได้ลูบแล้วอยากจะลูบอีก เนื่องจากทำให้สบายฝ่ามือนั่นเอง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เท่าที่ดูจากสายตาที่เห็นคล้ายต้นหูกระจง แต่ผู้ขายบอกว่าต้นไม่สูง โตเต็มที่ไม่เกิน ๒ เมตร แตกกิ่งแขนงแผ่กว้างเป็นวงกลมเหมือนกับต้นหูกระจงและเป็นชั้นๆ ใบออกสลับหนาแน่นตามกิ่งแขนง รูปกลมรี ปลายแหลม โคนมน สีเขียวสด ใบมีความเป็นพิเศษและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวคือจะนุ่มไม่กระด้างตามที่กล่าวข้างต้น เวลามีใบดกใช้ฝ่ามือลูบจะทำให้รู้สึกสบายมือดีมาก ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง

ปัจจุบัน ต้น “ขนนก” หรือต้น “แผ่บารมีมหาเศรษฐี” มีขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒ ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ในดินทั่วไป เป็นไม้ชอบแดด ไม่ชอบนํ้าท่วมขัง นิยมปลูกประดับทั้งแบบลงดินกลางแจ้ง และปลูกลงกระถางขนาดใหญ่ตั้งประดับบ้านอาคารในมุมที่มีแสงแดดส่องถึงตลอดทั้งวัน หลังปลูกรดนํ้าพอชุ่มเช้าเย็น บำรุงปุ๋ยสูตร ๑๖-๑๖-๑๖ เล็กน้อยเดือนละครั้ง จะทำให้ต้น “ขนนก” หรือต้น “แผ่บารมีมหาเศรษฐี” มีใบดกสวยงามและนุ่มมือครับ นสพ.ไทยรัฐ  


(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcS8KDiYL1nypNJr1tZM-4j2zTL4TVEqXrVkbBMeViaSusSeawYD)  ลดาวัลย์ออสเตรเลีย
โดยปกติลดาวัลย์ที่นิยมปลูกประดับตามบ้านมาแต่โบราณเป็นสายพันธุ์ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย พม่า และ มาเลเซีย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า PORANA VOLUBILIS BURM.F. ชื่อสามัญ  BRIDAL CREEPER, SNOW CREE-PER, BRIDAL WREATH. อยู่ในวงศ์ CONVOLVULACEAE

มีลักษณะเป็นไม้เลื้อยเนื้อแข็ง สามารถเลื้อยได้ไกลกว่า ๘ เมตร ดอก ออกเป็นช่อ ตามซอกใบและปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก มีกลีบเลี้ยงสีเหลืองอ่อนแยกเป็น ๕ แฉก กลีบดอกโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็นกลีบดอก ๕ กลีบ รูประฆัง สีขาวนวล เมื่อดอกบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๐.๕-๐.๘ ซม. ดอกมีกลิ่นหอมเย็น เวลามีดอกจะดูสวยงามและส่งกลิ่นหอมเป็นที่ประทับใจยิ่ง “ผล” กลม มี ๑ เมล็ด ดอกออกตลอดทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง มีต้นขายทั่วไป

ส่วน “ลดาวัลย์ออสเตรเลีย” ที่เพิ่งพบมีต้นวางขาย มีดอกบานเต็มต้นสวยงามมาก ผู้ขายบอกว่าเป็นสายพันธุ์นำเข้าจากประเทศออสเตรเลียนานกว่า ๒-๓ ปีแล้ว มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับลดาวัลย์ที่กล่าวข้างต้นทุกอย่าง แตกต่างกันที่ดอกของ “ลดาวัลย์ออสเตรเลีย” ช่อใหญ่และดอกย่อยมีขนาดใหญ่กว่าอย่างชัดเจน ที่สำคัญ ดอกจะดกไม่ขาดต้น ดอกมีกลิ่นหอมเย็นเหมือนกัน ทำให้เวลามีดอกบานสะพรั่งดูงดงามและส่งกลิ่นหอมเป็นที่ชื่นใจมาก “ผล” รูปทรงกลม มีเมล็ด ๑ เมล็ด ดอกออกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง

ปัจจุบัน “ลดาวัลย์ออสเตรเลีย” มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒ ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ในดินทั่วไป เป็นไม้ชอบแดด ไม่ชอบนํ้าท่วมขัง เหมาะจะปลูกให้ต้นเลื้อยซุ้มต่างๆ เวลามีดอกดกจะสวยงามและส่งกลิ่นหอมชื่นใจมากครับ. นสพ.ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/45113483609424_EyWwB5WU57MYnKOuXqzn2VGiSM4U60.jpg)    กุหลาบยี่สุ่นญี่ปุ่น  ดอกหอมแรง
กุหลาบชนิดนี้ มีต้นวางขายมีดอกสีสันเข้มข้นสวยงามน่าชมยิ่ง ขนาดของดอกไม่ใหญ่โตนัก คิดว่าเป็นกุหลาบยี่สุ่นไทยที่เคยแนะนำในคอลัมน์ไปแล้ว แต่ผู้ขายบอกว่าเป็นคนละต้นกันมีชื่อภาษาไทยว่า “กุหลาบยี่สุ่นญี่ปุ่น” นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นนานหลายปีแล้ว มีลักษณะเด่นประจำพันธุ์คือ ดอกจะมีขนาดใหญ่กว่ากุหลาบยี่สุ่นของไทยอย่างชัดเจน และที่สำคัญผู้ขายยืนยันต่อว่า ดอกของ “กุหลาบยี่สุ่นญี่ปุ่น” จะมีกลิ่นหอมแรงกว่าด้วย สามารถสูดดมพิสูจน์กลิ่นได้เนื่องจากมีต้นกุหลาบยี่สุ่นไทยวางขายใกล้ๆ กัน ซึ่งเมื่อสูดดมกลิ่นแล้วเป็นอย่างที่ผู้ขายบอกทุกอย่างจริงๆ

กุหลาบยี่สุ่นญี่ปุ่น มีชื่อวิทยาศาสตร์เหมือน กับกุหลาบทั่วไปทุกอย่างคือ ROSA SPP AND HYBRID ชื่อสามัญ ROSE อยู่ในวงศ์ ROSA- CEAE เป็นไม้พุ่ม ต้นสูงเต็มที่ไม่เกิน ๑-๑.๕ เมตร ต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ มีใบย่อย ๕-๗ ใบ เป็นรูปไข่ ปลายแหลมโคนมน ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย หูใบแนบติดกับก้านใบ ใบอ่อนสีน้ำตาลแดงน่าชมมาก

ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ หรือเป็นช่อ ๑-๓ ดอก ที่ปลายกิ่ง ฐานรองดอกเป็นรูปถ้วย มีกลีบเลี้ยง ๕ แฉก กลีบดอกหลายชั้นเรียงซ้อนกันเป็นระเบียบ รูปกลมกว้าง ปลายกลีบเกือบมนหรือแหลมเล็กน้อย กลีบดอกเป็นสีชมพูเข้ม มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียจำนวนมาก ดอกมีกลิ่นหอมแรงตามที่กล่าวข้างต้น เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันจะดูสวยงามสดใสและส่งกลิ่นหอมกระจายเป็นที่ประทับใจมาก “ผล” รูปไข่ เมื่อสุกเป็นสีแดง มีเมล็ด ดอกออกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ปักชำกิ่ง ตอนกิ่ง และติดตามีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๘ ราคาสอบถามกันเองครับ.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/41017778010831_EyWwB5WU57MYnKOuXoiOINV53r2zQz.jpg)   ชงโคแคระดอกม่วง  ปลูกประดับสวย
ชงโคชนิดนี้ ผู้ขายต้นพันธุ์บอกว่ามีถิ่นกำเนิดจากประเทศออสเตรเลีย ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานกว่า ๔-๕ ปีแล้ว สามารถเจริญเติบโตได้ดี และมีดอกสีสันงดงามมาก กลีบดอกเป็นสีม่วงหรือสีน้ำเงินปนสีคราม เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ต้นสูงเต็มที่ไม่เกิน ๑.๕-๒.๕ เมตร เท่านั้น ผู้นำเข้าจึงตั้งชื่อเป็นภาษาไทยตามลักษณะต้นและสีสันของดอก ว่า “ชงโคแคระดอกม่วง” มีชื่อเฉพาะเรียกในประเทศออสเตรเลียว่า BLUE ORCHID กำลังเป็นที่นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทยเวลานี้

ชงโคแคระดอกม่วง อยู่ในวงศ์ LEGUMINOSAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์โดยรวมเหมือนกับชงโคดั้งเดิมเกือบทุกอย่าง แต่ต้นจะเตี้ยกว่า (ปกติชงโคดั้งเดิมต้นจะสูง ๕-๑๐ เมตร) ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปค่อนข้างกลม ปลายเว้าลึก โคนมนหรือเว้าเหมือนกัน เนื้อใบค่อนข้างหนา สีเขียวสด

ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยไม่น้อยกว่า ๓-๕ ดอกขึ้นไป มีกลีบดอก ๕ กลีบ เช่นเดียวกับดอกชงโคดั้งเดิม กลีบดอกเมื่อบานจะกางออกเห็นแล้วจะรู้ได้ทันทีว่าเป็นดอกชงโค กลีบดอกเป็นสีม่วงหรือสีน้ำเงินปนสีครามอย่างชัดเจน ใจกลางดอกมีเกสรตัวผู้หลายอันยื่นยาวพ้นกลีบดอก ปลายเกสรเป็นสีเหลืองเข้ม เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้น สีสันของกลีบดอกจะตัดกับสีสันของสีเกสรดูสวยงามมาก “ผล” เป็นฝักแบนและยาว ภายในมีเมล็ดหลายเมล็ด ผลแก่แตกอ้าเป็น ๒ ซีก ดอกออกช่วงระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคมทุกปี ขยายพันธุ์ทั่วไปด้วยเมล็ด

ปัจจุบันมีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒๑ ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ในดินทั่วไป เหมาะจะปลูกประดับในบริเวณบ้านทั้งปลูกลงดินกลางแจ้งและปลูกลงกระถางตั้งในที่มีแดดส่องถึงตลอดทั้งวัน รดน้ำพอชุ่มเช้าเย็น ใส่ปุ๋ยมูลสัตว์เดือนละครั้ง เวลามีดอกจะสวยงามมากครับ.   ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/86049389797780_EyWwB5WU57MYnKOuXq3p96ECvfnqZ4.jpg)   นีออน
นีออน หรือ LEUCOPHYLLUM FRU-TESCENS (BERL.) L.M. ชื่อสามัญ JOHNST., BAROMETER BUSH, ASH PLANT. อยู่ในวงศ์ SCROPHULARIACEAE มีถิ่นกำเนิดจากประเทศเม็กซิโก ถูกนำเข้ามาปลูกประดับและขยายพันธุ์ขายในประเทศไทยนานมากแล้ว เป็นไม้พุ่ม ต้นสูง ๑-๒ เมตร แตกกิ่งก้านหนาแน่นเป็นพุ่มกว้าง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับจำนวนมาก รอบกิ่งก้านตั้งแต่โคนต้นเรื่อยไปจนถึงปลายยอด ใบเป็นรูปไข่กลับหรือรูปรี สีเขียวอมเทา มีขนยาวและนุ่มปกคลุม ใบมักบิดหรือห่อขึ้นเล็กน้อย เวลาใบดกจะน่าชมยิ่งนัก ดอก ออกเป็นช่อกระจุกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยหลายดอก ลักษณะดอกโคนเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นกลีบดอก ๕ กลีบ หลอดดอกเป็นสีม่วงจางๆ ส่วนกลีบดอกเป็นสีม่วงสดถึงสีชมพูอมม่วงแดง ดอกออกทั้งปี เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกัน สีสันของดอกจะตัดกับสีของใบที่เป็นสีเขียวอมเทาสวยงามแปลกตามาก ขยายพันธุ์ปักชำกิ่ง

ปัจจุบันต้น “นีออน” มีขาย ทั่วไปที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ราคาแต่ละแผงไม่เท่ากัน หรืออยู่ที่ขนาดของต้น ปลูกได้ในดินทั่วไป เป็นไม้ชอบแดดจัด ไม่ชอบน้ำท่วมขังอย่างเด็ดขาด นิยมปลูกเป็นไม้ประดับทั้งลงดินกลางแจ้ง และปลูกลงกระถางขนาดใหญ่ตั้งประดับในที่มีแสงแดดส่องถึงตลอดทั้งวัน และมีลมพัดโกรกดีตลอดเวลา รดน้ำพอชุ่มเช้าเย็น บำรุงปุ๋ยมูลสัตว์หรือปุ๋ยคอกโรยรอบโคนต้นเล็กน้อยเดือนละครั้ง สลับกับใส่ปุ๋ยสูตร ๑๖-๑๖-๑๖ ครึ่งเดือนครั้ง ครั้งละ ๕-๗ เม็ด จะทำให้ต้นแข็งแรงมีดอกและใบดกสวยงามครับ.


หัวข้อ: Re: พรรณไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้มงคล
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 18 พฤศจิกายน 2558 16:18:44

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/84541624494724_1.png)  คูณแดง
ไม้ต้นนี้ เพิ่งพบมีกิ่งตอนวางขายเมื่อไม่นานมานี้ โดยมีภาพถ่ายของดอกจากต้นจริงโชว์ให้ชมด้วย และ มีชื่อ วิทยาศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษ ว่า RED SHOWER TREE CASSIA MARGINATA  พร้อมบอกวงศ์ว่า CAESALPINIACEAE ไม่มีรายละเอียดทางพฤกษศาสตร์ของลักษณะต้นและดอกแจ้งไว้ ผู้ขายบอกเพียงว่า “คูนแดง” มีถิ่นกำเนิดจาก ประเทศออสเตรเลีย เป็นไม้ยืนต้น สูง ๑๐-๑๕ เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มหนาแน่นมาก

ใบ ดูจากต้นกล้าที่วางขาย  เป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยออกตรงกันข้ามเป็นคู่ๆไม่ต่ำกว่า ๑๐-๑๒ คู่ ใบเป็นรูปรีคล้ายใบของต้น กระพี้จั่น คือ ปลายและโคนใบมน หรือเกือบแหลม สีเขียวสด ใบดกให้ร่มเงาดียิ่ง

ดอก ดูจากภาพถ่ายที่โชว์ไว้แต่ไม่ชัดเจนนัก ซึ่งพอจะบรรยายได้คือ ดอกออกเป็นช่อตั้งขึ้นตามซอกใบใกล้ปลายยอด และที่ปลายยอด  แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมากลักษณะดอกมองไม่ออกว่าเป็นแบบไหน  จากภาพเป็นสีแดงสดใส  เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้นตามภาพถ่ายจะดูงดงามมาก “ผล” ผู้ขายบอกว่าเป็นฝักยาว ภายในมีเมล็ด ดอกออกช่วงเดือนไหนของปีผู้ขายบอกไม่ได้อีกเช่นกัน ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด และตอนกิ่ง

ปัจจุบัน “คูนแดง” มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ที่บริเวณโครงการ ๙  เป็นกิ่งพันธุ์ที่เพาะด้วยเมล็ด ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ในดินทั่วไป เป็นไม้ชอบแดด ไม่ชอบน้ำท่วมขัง เหมาะจะปลูกประดับทั่วไปโดยเฉพาะตามสวนสาธารณะ ปลูกเป็นแถวตามริมถนนตลอดแนว หรือปลูกประดับตามรีสอร์ตเชิงเขา รีสอร์ตชายทะเล เมื่อต้นเติบโตเต็มที่ นอกจากจะให้ร่มเงาสร้างบรรยากาศร่มรื่นแล้ว เวลาถึงช่วงมีดอกบานสะพรั่งพร้อมๆ กันทั้งต้นจะดูสวยงามมากครับ. นสพ.ไทยรัฐ

(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRsEbVeqiXq7-AYhWsxQFHIYycD1d9T0ELv49yvo3M4KQcjQWG5)   มะยมแดง
มะยมแดง มีถิ่นกำเนิดจากประเทศบราซิล ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ขายได้รับความนิยมจากผู้ปลูกอย่างแพร่หลาย มาช้านานแล้ว และ “มะยมแดง” มีชื่อเรียกในบ้านเราอีกว่า “เชอร์รี่สเปน” มีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ EUGENIA UNIFLORA LINN. ชื่อสามัญ SURINAM CHERRY, CAYENNE CHERRY, PITANGA อยู่ในวงศ์ MYTACEAE

มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้ยืนต้น สูง ๓-๘ เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับรูปไข่ หรือรูปใบหอก ปลายแหลม โคนมน สีเขียวสด ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยหลายดอก กลีบดอกเป็นสีขาวอมชมพู มีกลิ่นหอมอ่อนๆ เวลามีดอกจะดูสวยงามและส่งกลิ่นหอมโชยเข้าจมูกตอนยืนใกล้ๆ เป็นที่ชื่นใจยิ่ง

ผล รูปทรงกลมแป้นคล้ายผลมะยม รอบผลแบ่งเป็นพูย่นๆ ๗-๘ พู ภายในมี ๑ เมล็ด ผลดิบเป็นสีเขียว เมื่อแก่หรือสุกเป็นสีเหลืองและแดงตามลำดับ ผลสุกรับประทานได้ รสชาติเปรี้ยวปน หวานชุ่มคออร่อยดี ส่วนใหญ่นิยมนำเอา ผลสุกไปแปรรูปเป็นเครื่องดื่ม หรือ ปั่นใส่นํ้าเชื่อมนํ้าแข็งอร่อยมาก ติดผลอย่างน้อยปีละ ๒ ครั้ง เวลาติดผลจะดกเต็มต้นดูสวยงามยิ่งนัก ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง

ปัจจุบัน “มะยมแดง” หรือ “มะยมฝรั่ง”-“เชอร์รี่สเปน” มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณแผงตรงกันข้ามกับโครงการ ๑๕ ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ในดินทั่วไป ชอบแดดไม่ชอบนํ้าท่วมขัง หลังปลูกรดนํ้าพอชุ่มเช้าเย็น บำรุงปุ๋ยสม่ำเสมอเดือนละครั้งจะติดผลดกเต็มต้นครับ. นสพ.ไทยรัฐ  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/98630729234880_1.png)  มังตาล ทะโล้
มังตาล ทะโล้ เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นตรงสูงประมาณ ๑๕-๒๕ เมตร ขนาดวัดรอบลำต้นได้ถึง ๑.๕ เมตร เปลือกนอกขรุขระและมักแตกเป็นร่องลึกตามยาว สีเทาปนน้ำตาลอ่อน เปลือกในสีน้ำตาลอมแดง มีเสี้ยนละเอียดสีขาว เป็นพิษต่อผิวหนัง ใบเป็นใบเดี่ยวรูปหอก ออกตามปลายกิ่งสลับกันไปและมักติดเป็นกระจุกตามปลายกิ่ง โคนและปลายใบสอบเรียว ขอบใบเรียบหรือบางมีหยักตื้นๆ ตามขอบ หลังใบมักมีสีเขียวเข้ม ท้องใบและเส้นกลางใบมีขนขึ้นประปราย

ดอกสีขาวหรือขาวนวล ออกดอกเดี่ยวตามง่ามใบ กลิ่นหอม ก้านดอกยาว กลีบดอกและกลีบรองกลีบดอกมีจำนวนเท่ากันอย่างละ ๕ กลีบ กลีบดอกล่างมักเล็กกว่ากลีบอื่น เกสรตัวผู้มีจำนวนมาก สีเหลือง เกสรตัวเมียมีอันเดียวสั้น ผลค่อนข้างกลม ผิวแข็งโตประมาณ ๒.๕-๓ ซม. เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาลเข้มและจะแตกออกตามรอยประสาน เป็น ๔-๕ ส่วน แต่ละส่วนมีเมล็ด ๔-๕ เมล็ดสรรพคุณทางแพทย์แผนไทย ต้นและรากนำมาต้มน้ำดื่มรักษาโรคนิ่วชาวกะเหรี่ยงในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่นิยมนำมารักษา เนื้อไม้ ใช้ทำโครงสร้างต่างๆ ของบ้าน เช่น ไม้กระดาน ฝาบ้าน ลำต้นชาวลั้วะนิยมเอามาทำฟืนสำหรับนึ่งเมี่ยง. นสพ.เดลินิวส์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/43206396823127_1.png)  ขิงจีน
โดยปกติต้นขิงที่นิยมปลูกเพื่อเก็บเหง้าหรือหัวขายนำไปปรุงเป็นอาหารอย่างแพร่หลายนั้นมี ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมจากประเทศอินเดีย ถูกนำเข้ามาปลูกในประเทศไทยนานตั้งแต่ดึกดำบรรพ์แล้ว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ZINGIBER OFFICINALE ROSCOE ชื่อสามัญ GINGER อยู่ในวงศ์ ZINGI-BERACEAE ออกดอกช่วงระหว่างเดือน ตุลาคม-ธันวาคม ทุกปี ขยายพันธุ์ด้วยเหง้าหรือหัว ซึ่งนอกจากจะเป็นอาหารแล้วยังใช้ประโยชน์เป็นสมุนไพรด้วย และขิงชนิดนี้ใบจะเรียบเป็นมัน

ส่วน “ขิงจีน” ที่พบมีต้นวางขายทีแรกคิดว่าเป็นเฟิร์น แต่ผู้ขายบอกว่าเป็นขิงชนิดหนึ่งนำเข้าจากยูนนาน ประเทศจีน นอกจากชื่อที่เรียกในประเทศ ไทยว่า “ขิงจีน” แล้ว ผู้ขายบอกว่ามีชื่อเรียกอีกคือ “ขิงไหหลำ” มีชื่อภาษาอังกฤษเฉพาะว่า ALPINIA RUGOSA อยู่ในวงศ์เดียวกับขิงที่กล่าวข้างต้นคือ ZINGIBERACEAE

มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ที่ผู้ขายบอกว่าเหมือนกับขิงชนิดแรกทุกอย่าง จะแตกต่างกันที่ใบของ “ขิงจีน” หรือ “ขิงไหหลำ” จะย่นและหยักเป็นคลื่นชัดเจนดูสวยงามแปลกตามาก ผู้นำเข้าจึงขยายพันธุ์ออกจำหน่ายเป็นไม้ปลูกประดับโชว์ความงามของใบ กำลังเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายอยู่ในเวลานี้ ส่วนเหง้าหรือหัวของ “ขิงจีน” จะรับประทานได้หรือไม่นั้น ผู้ขายให้คำตอบไม่ได้

ขิงจีน หรือ “ขิงไหหลำ” เป็นไม้ ล้มลุก ลำต้นเป็นเหง้าสีขาวนวล หรือสีเหลืองอ่อนอยู่ใต้ดิน ชูใบเหนือดินสูงกว่า ๑ เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปแถบ เนื้อใบหนา ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ผิวใบย่นและเป็นคลื่นตามภาพ ประกอบคอลัมน์ เป็นสีเขียวและเป็นมันสวยงามมาก ปัจจุบันมีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒๔  ราคาสอบถามกันเองครับ. นสพ.ไทยรัฐ  


(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRj1IIIzkEkw37AVRS7mMs4XONEmKDjfmnVqRRPKVsYgEc7cgc)  รากหญ้าคา-หนวดข้าวโพด-หญ้าหนวดแมว แก้วปวดข้อนิ้วมือข้อเท้า
แก้ปวดข้อนิ้วมือข้อเท้าอาการ ปวดตามข้อนิ้วมือและข้อเท้าอันเกิดจากมีกรดยูริกในเลือดสูง แต่ยังไม่ถึงขั้นเป็นโรคเกาต์ มีวิธีแก้ โดยให้เอา “รากหญ้าคา” ชนิดแห้ง ๓ กำมือ กับ “หนวดข้าวโพด” แห้ง ๖ กำมือ และต้น “หญ้าหนวดแมว” แห้งเช่นกัน จำนวน ๒ กำมือ ต้มน้ำรวมกันจนเดือดแล้วดื่มแทนน้ำ ครั้งละ ๑ แก้ว ๓ เวลา เช้า กลางวัน เย็น ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ จะช่วยให้อาการปวดตาม ข้อนิ้วมือและข้อเท้าตามที่กล่าวข้างต้นหายได้

อย่างไรก็ตาม หลังจากดื่มยาตามสูตรนี้แล้ว ผู้ดื่มจะต้องงดกินอาหารจำพวกที่มีกรดยูริกสูงควบคู่ไปด้วย ส่วนใหญ่จะเป็นพวกสัตว์ปีกและยอดผักชนิดต่างๆ  ถ้าปฏิบัติได้ จะไม่เป็นอีก

หญ้าคา หรือ IMPERATA CYLINDRICA BEAUV. อยู่ในวงศ์ GRA-MINAE รากหรือเหง้าเป็นยาขับปัสสาวะ แก้กระเพาะปัสสาวะ อักเสบ ปัสสาวะแดง บำรุงไต ขับระดูสตรี มีชนิดแห้งขายตามร้านยาแผนไทยทั่วไป

หญ้าหนวดแมว หรือ CAT’S WHISKER ORTHOSIPHON GRANDI- FLORUS BOLDING อยู่ในวงศ์ LABIATAE ทั้งต้นเป็นยาขับปัสสาวะแก้โรคปวดตามสันหลังและบั้นเอว ใบเป็นยารักษาโรค เบาหวาน และลดความดันโลหิต มีการทดลองใช้ใบแห้งเป็นยาขับปัสสาวะ ขับกรดยูริก ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเกาต์และรักษาโรคนิ่วในไตกับผู้ป่วย โดยใช้ใบแห้ง ๔ กรัม ชงกับน้ำเดือด ๗๕๐ ซีซี ดื่มต่างน้ำตลอดทั้งวัน ได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจ ใบมีเกลือโปแตสเซียมสูง ดังนั้น ผู้ป่วยโรคหัวใจไม่ควรใช้

ข้าวโพด หรือ ZEA MAYS LINN. อยู่ในวงศ์ GRAMINAE เมล็ดฝาดสมาน บำรุงหัวใจ ทำให้เจริญอาหาร ต้น ใบ และ “หนวดข้าวโพด” ตากแห้ง ต้มน้ำดื่มรักษานิ่วได้ ข้าวโพดที่เป็นฝักสดสามารถไปซื้อได้ที่แหล่งขายใหญ่ๆ เช่น ตลาดไท นำไปปอกเปลือกนำเอา “หนวดข้าวโพด” ตากแห้งใช้ประโยชน์ตามที่กล่าวข้างต้นครับ. นสพ.ไทยรัฐ  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/55494156976540_1.png)  ดาเลีย
ดาเลีย เป็นไม้ดอกเมืองหนาวที่มีรูปลักษณ์และสีสันที่สะดุดตา เป็นที่ดึงดูดความสนใจของผู้พบเห็นทั่วไป เป็นไม้ดอกซึ่งเป็นที่รู้จัก และปลูกเลี้ยงในเมืองไทยเป็นเวลานานแล้ว คาดว่ามีการนำเข้ามาจากต่างประเทศ ดาเลียส่วนใหญ่เป็นไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง ภายในลำต้นมีลักษณะกลวง บางชนิดเป็นไม้เลื้อย ในต่างประเทศนิยมปลูกเป็นไม้ประดับสวน ไม้กระถาง หรือใช้เป็นไม้ตัดดอก ซึ่งมีความนิยมมากขึ้น. นสพ.เดลินิวส์  


(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRGtFoFXztExRmfyeeSlA5IjpUDUtDgx43DJmlsArHFKbbTkC6HzA)  
ต้นพะยอมเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ลำต้นสูง ๑๕-๓๐ เมตร และมีเนื้อไม้แข็ง สีเหลืองอ่อนแกมสีเขียว ใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียว แผ่นใบรูปมนรี เรียงสลับ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ท้องใบเป็นเส้นแขนงใบนูนมองเห็นชัด ออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ สีเหลืองอ่อนและมีกลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ผลเป็นรูปรี กลีบเลี้ยงเจริญไปเป็นปีกคล้ายผลยาง

พบขึ้นทั่วไปในป่าเบญจพรรณเกือบทุกภาค เป็นพันธุ์ไม้วงศ์เดียวกับจันทน์กะพ้อมีชื่อเรียกตามท้องถิ่นมากมายหลายชื่อเช่น พะยอมดง พะยอมทอง กะยอม ขะยอม ขะยอมดง เชี่ยว เชียง แคน และยางหยวก พบมากทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นตรง สีน้ำตาล ผิวแตกเป็นร่องยาวแคบ เรือนยอดเป็นพุ่ม ใบเป็นใบเดี่ยวลู่ลง เรียงตัวแบบสลับ รูปใบรีแกมรูปใบหอก ยาว ๘-๑๒ ซม. กว้าง ๓-๔ ซม. ปลายและโคนใบมน เนื้อใบเหนียว ผิวใบด้านบนเขียวและมัน ด้านล่างเขียวนวล

เป็นไม้ผลัดใบ แต่แตกใบชุดใหม่เร็ว ใบอ่อนสีเขียวอ่อนอมเหลือง ผลิใบใหม่ก่อนช่อดอกเล็กน้อย ดอกดกออกเป็นช่อใหญ่แทบทุกกิ่ง สีขาวนวลอมเหลืองอ่อน ขนาดดอกประมาณ ๒ ซม. กลีบดอกมี  ๕ กลีบ โคนกลีบเรียงซ้อนเกยกันคล้ายรูปถ้วย ส่วนปลายกลีบแต่ละกลีบกางออกจากกัน ม้วนเรียวแคบลงและบิดเล็กน้อย  ผลมีกลีบเลี้ยงคลุมและส่วนปลายของกลีบเลี้ยงเจริญเป็นปีก ยาว ๓ ปีกช่วยในการกระจายพันธุ์  ช่วงฤดูออกดอกระหว่างเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ จะสังเกตเห็นต้นพะยอมได้ง่าย โดดเด่นจากพืชอื่นเนื่องจากมักจะมีดอกดกเต็มต้นสีขาวนวลและมีใบสีเขียวอ่อนสวยงามขยายพันธุ์โดยเพาะเมล็ด  เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้าง ทำเครื่องมือ เปลือกมีรสฝาดใช้กันบูด ฟอกหนังและเป็นยา ยางหรือชันใช้ยาเรือและเป็นยา ดอกใช้ประกอบอาหารและเป็นสมุนไพร แก้ไข้ เปลือกใส่เครื่องหมักดองเพื่อกันบูด ฟอกหนังและกินแทนหมากแก้ลำไส้อักเสบ ท้องร่วงคนโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นพะยอมไว้ประจำบ้าน จะทำให้มีอุปนิสัยที่อ่อนน้อม เพราะพะยอม คือ การยินยอม ตกลง ผ่อนผันประนีประนอม นอกจากนี้ยังเชื่ออีกว่า จะไม่ขัดสน เพราะบุคคลทั่วไปมีความเห็นใจและยอมให้สิ่งที่ดีงาม.
 นสพ.เดลินิวส์  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/57702922614084_1.png)  กระพังโหม
กระพังโหม เป็นต้นเดียวกันกับต้นตูดหมูตูดหมา ต่อมาชื่อ ตูดหมูตูดหมา ฟังแล้วหยาบคายไม่น่าฟัง จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อในปทานุกรมใหม่ว่า “กระพังโหม” มีด้วยกัน ๒ ชนิด แตกต่างกันที่ลักษณะของใบเท่านั้นคือ เรียวแหลมและยาว กับเรียวแหลมและสั้นกว่า ทั้ง ๒ ชนิด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า PAEDERIA TOMENTOSA, BLUME, VAR GLALAR, KURZ- PAEDERIA FOETIDA อยู่ในวงศ์ RUSIACEAE เป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น ใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปเรียวยาว ปลายแหลม โคนสอบ ใบสดมีกลิ่นเหม็นเนื่องจากมีสาร METHGL–MEAREAPTAN เป็นสารระเหยได้ บางพื้นที่นิยมรับประทานเป็นผักสด เช่น ข้าวยำปักษ์ใต้ ลวกจิ้มน้ำพริกชนิดต่างๆ อินเดีย ปรุงในซุปให้คนชราที่ฟื้นไข้กินดีมาก ดอก เป็นช่อออกตามซอกใบ เป็นสีชมพูอมม่วง “ผล” รูปกลม ภายในมีเมล็ด ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
 
ประโยชน์ ใบและเถาสดมีกลิ่นเหม็นตามที่กล่าวข้างต้น กินแก้ตานซาง แก้ดีรั่ว เป็นยาอายุวัฒนะ แก้ธาตุพิการ แก้ท้องเสีย แก้ตัวร้อน เป็นยาขับไส้เดือนในเด็ก “กระพังโหม” ทั้ง 2ชนิด ทั้งต้นรวมรากแบบสดบดละเอียดทาหรือพอกบาดแผลที่ถูกงูกัดเป็นยาถอนพิษ ก่อนนำผู้ถูกงูกัดไปให้แพทย์ช่วยเหลือ ในบางพื้นที่ใช้ใบสดตำอุดรูฟันแก้รำมะนาด รากสดฝนกับน้ำหยอดตาแก้พิษ ตาฟาง ตาแฉะ ตามัวดีมาก สมัยก่อนนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเกือบทุกจังหวัด
 
เป็นพืช ที่มีขึ้นตามธรรมชาติในที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป มีชื่อ เรียก ในประเทศไทยอีกคือ กระพังโหม ตูดหมูตูดหมา (ภาคกลาง) ตดหมา หญ้าตดหมา ตืดหมา ขี้หมาคารั้ว (ภาคเหนือ, พายัพ, อีสาน) พาโหมต้น ย่าน (ภาคใต้) และ ย่านพาโหม (สุราษฎร์ธานี)
 
ปัจจุบัน “กระพังโหม” ไม่มีต้นขายที่ไหน ส่วนใหญ่จะหาปลูกตามบ้านกันเองเพื่อใช้ประโยชน์เป็นอาหารและเป็นยาตามที่กล่าวข้างต้นครับ. นสพ.ไทยรัฐ  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/18260910568965_1.png)  ตะคร้อ กับประโยชน์น่ารู้
คนรุ่นใหม่ น้อยคนนักจะรู้จักต้น “ตะคร้อ” แต่ถ้าเป็นคนรุ่นเก่าที่มีภูมิลำเนาอยู่ตามชนบทจะรู้จักดี เพราะ ผลแกะเปลือกจะมีเนื้อในฉ่ำน้ำ มีรสชาติเปรี้ยวจัดนำไปปรุงเป็นส้มตำ รับประทานอร่อยมาก หรือเอาเนื้อฉ่ำน้ำติดเมล็ดแช่ซีอิ๊วหมักไว้ ๑-๒ อาทิตย์กินกับข้าวต้มร้อนๆ สุดยอดมาก ประโยชน์ทางยา แก่นของต้นต้มน้ำดื่มเป็นยาแก้ปวดหลัง เปลือกผลเป็นยาสมานแผลในลำไส้ เปลือกต้นบดละเอียดเป็นยาสมานแผล ห้ามเลือด ขูดเปลือกต้นตำใส่มดแดงมะม่วงกินแก้ท้องร่วง ใบขยี้พอกศีรษะหรือหลังเท้าแก้ปวดหัวได้ เนื้อไม้แข็งใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ทำครกกระเดื่องทนทานมาก
 
ตะคร้อ หรือ SCHLEICHERA OLEOSA MERR. อยู่ในวงศ์ SAPINDACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง ๑๐-๒๐ เมตร เปลือกต้นสีเทาอมน้ำตาล แตกเป็นสะเก็ดตามยาว ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย ๔ ใบ เนื้อใบหยาบ ใบอ่อนเป็นสีน้ำตาลแดง เวลาแตกใบอ่อนทั้งต้นจะสวยงามน่าชมยิ่งนัก ใบแก่เป็นสีเขียวสด
 
ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกเป็นสีเหลือง “ผล” รูปทรงกลม ติดผลเป็นพวงจำนวนมาก เปลือกผลเรียบและหนา สีเขียวคล้ำ หรือสีเขียวปนน้ำตาล ผลโตเต็มที่ประมาณปลายนิ้วหัวแม่มือผู้ใหญ่ เนื้อในหุ้มเมล็ดเป็นสีเหลืองอมส้มหรือสีแดง ฉ่ำน้ำ รสเปรี้ยวจัด เมล็ดสีน้ำตาลเป็นรูปโค้งงอ ตอนเป็นเด็กบ้านนอกนิยมนำเอาเมล็ดดังกล่าวเสียบบริเวณติ่งหูทำเป็นต่างหูดูสวยงามและสนุกตามสไตล์ของเด็กชนบทในยุคนั้น ซึ่ง “ตะคร้อ” จะมีดอกและติดผลแก่จัดในช่วงฤดูฝนทุกปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด พบขึ้นตามป่าเกือบทุกภาคของประเทศไทย มีชื่อเรียกอีกคือ เคาะจ้ก, มะจ้ก, มะโจ้ก (ภาคเหนือ) หมากค้อ (ภาคอีสาน) ปั้นรัว (สุรินทร์) ปั้นโรง (บุรีรัมย์) และตะคร้อไข่ (ภาคกลาง) มีต้นขายทั้งต้นเล็กและต้นใหญ่ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ราคาสอบถามกันเองครับ  นสพ.ไทยรัฐ  


(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcR-9KvXHRSduWndYckpI62cUm6Gc1cP692tiJLWhdt36OolRphN)  กุหลาบมอญสุโขทัย
กุหลาบชนิดนี้ไม่มีใครระบุได้ว่ามีที่มาของสายพันธุ์เป็นเช่นไร ผู้ขายกิ่งตอนบอกได้เพียงว่าเป็นกุหลาบโบราณชนิดหนึ่งที่นิยมปลูกทั่วไปมาช้านานแล้ว และมีชื่อเรียกว่า “กุหลาบมอญสุโขทัย” เรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน มีลักษณะประจำพันธุ์ครองใจผู้ปลูกคือ ดอกมีขนาดใหญ่ มีกลิ่นหอมแรง สีสันของดอกสวยงาม เวลามีดอกบานพร้อมกันหลายๆดอก จะส่งกลิ่นหอมกระจายทั่วบริเวณใกล้เคียง ทำให้ผู้ปลูกรู้สึกสดชื่นเมื่อเข้าไปยืนใกล้ๆ เป็นที่ประทับใจยิ่งนัก
 
กุหลาบมอญสุโขทัย หรือ ROSA DAMAS CENA MILL. ชื่อสามัญ DAMASE ROSE SUMMER DAMASE ROSE อยู่ในวงศ์ ROSA CEAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับกุหลาบทั่วไปคือ เป็นไม้พุ่ม สูง ๑-๒ เมตร ลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลม ใบเป็นใบประกอบ ออกเรียงสลับ มีใบย่อย ๕-๗ ใบ รูปไข่ ปลายแหลม โคนมนหูใบแนบติดกับก้านใบ สีเขียวสด ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด มีดอกย่อย ๑-๓ ดอก อาจมีมากกว่านั้นได้อยู่ที่ความสมบูรณ์ของต้น ลักษณะดอกมีฐานรองดอกเป็นรูปถ้วย มีกลีบดอกหลายชั้น เป็นรูปกลมมน กลีบดอกชั้นนอกสุดจะมีขนาดใหญ่กว่ากลีบดอกที่อยู่ในชั้นถัดไปอย่างชัดเจน เมื่อแรกบานเป็นสีชมพูอ่อน หลังจากนั้นเมื่อดอกแก่จะเปลี่ยนเป็นสีชมพูเข้มขึ้นหรือเป็นสีชมพูอมม่วงสวยงามมาก ดอกบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๕.๗-๖ ซม. ดอกมีกลิ่นหอมแรงตามที่กล่าวข้างต้น “ผล” รูปไข่ เมื่อผลสุกเป็นสีแดง มี ๑ เมล็ด ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำกิ่ง ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอด
 
มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผงหน้าตึกกองอำนวยการเก่า ราคาสอบถามกันเองครับ. นสพ.ไทยรัฐ  


(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRb3wWAdooV72R-BIYU_l3nQcxCCt8e4ZRiMaEOLmkM7e3yGJvtGw)  จำปีแดง
ไม้ต้นนี้ มีกิ่งตอนวางขายพร้อมมีภาพถ่ายของดอกจากต้นจริงโชว์ให้ชมด้วย ผู้ขาย บอกว่า “จำปีแดง” มีถิ่นกำเนิดจากประเทศออสเตรเลีย เป็นลูกผสมระหว่างไม้ดอกสวยงามในวงศ์แมกโนเลียด้วยกัน แต่บอกไม่ได้ว่าเป็นระหว่างตัวไหนกับตัวไหน ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานหลายปีแล้ว สามารถเจริญเติบโตและมีดอกดกสีสันงดงามมากในทุกสภาพอากาศของบ้านเรา
 
โดยเฉพาะ ผู้ขายบอกต่อว่า “จำปีแดง” ปลูกได้ทั้งลงกระถางขนาดใหญ่ตั้งในที่มีแสงแดดส่องถึงตลอดทั้งวันและปลูกลงดินกลางแจ้ง เป็นไม้ดูแลง่ายเพราะ “จำปีแดง” ไม่ชอบน้ำเยอะหรือน้ำท่วมขัง เนื่องจากจะทำให้รากเน่า ต้นตายยืน เป็นไม้ชอบแดดจัดและ “จำปีแดง” เป็นสายพันธุ์ที่แตกใบอ่อนพร้อมมีดอกได้ตลอดเวลาหรือบ่อยที่สุด ทำให้เวลามีดอกดกและดอกบาน พร้อมกันทั้งต้นดูสีสวยงามมาก
 
จำปีแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ตามที่ผู้ขายกิ่งตอนเขียนติดไว้คือ MAGNOLIA LILIIFLORA อยู่ในวงศ์ MAGNOLIACEAE เป็นไม้ต้น สูงเพียง ๒-๔ เมตรเท่านั้น ไม่ได้สูงใหญ่เหมือนกับไม้สกุลเดียวกันที่จะสูงกว่า ๕ เมตรขึ้นไป ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนเกือบมน สีเขียวสด ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆตามซอกใบ ดอกตูมรูปกระสวย มีกลีบดอกหลายชั้น รูปกลีบรีกว้าง สีชมพูเข้ม ดอกมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ดอกออกทั้งปีขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง
 
ปัจจุบัน “จำปีแดง” มีกิ่งตอนขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๑ เป็นกิ่งที่ขยายพันธุ์ด้วยระบบเสียบยอดกับตอจำปาพื้นเมืองของไทย มีรากแก้วแข็งแรงทุกต้น เมื่อนำไปปลูกจะทำให้เติบโตเร็ว แข็งแรงและมีดอกดกสวยงามตามภาพ ประกอบคอลัมน์ ราคาสอบถามกันเองครับ. นสพ.ไทยรัฐ  


(https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcR-8KkmF9YnBL4W04wO9QUtq-nh7dsbxDfZEZPYOlhGv4DJ-tTi)  ลิตเติ้ลเจมส์
ไม้ต้นนี้ มีต้นวางขายมีภาพถ่ายดอกจริงโชว์ให้ชมด้วย ผู้ขายกิ่งตอนบอกว่า “ลิตเติ้ลเจมส์” เป็นไม้ในวงศ์ MAGNOLIACEAE อยู่ในกลุ่มเดียวกับจำปี จำปา มณฑา และยี่หุบ ซึ่ง “ลิตเติ้ลเจมส์” มีถิ่นกำเนิดจากประเทศออสเตรเลีย ถูกนำเข้ามาปลูกประดับในประเทศไทยบ้านเรานานแล้ว สามารถเจริญเติบโตและมีดอกได้ดีไม่แพ้ปลูกในประเทศบ้านเกิด มีข้อโดดเด่นคือ ดอกมีขนาดใหญ่ มีกลิ่นหอมแรง ขนาดของต้นไม่สูงใหญ่นัก ดอกดกไม่ขาดต้น จึงทำให้เป็นที่นิยมปลูกอย่างกว้างขวางเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน
 
ลิตเติ้ลเจมส์ มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้พุ่มต้น สูง ๒-๓.๕ เมตร แตกกิ่งก้านกว้าง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับหนาแน่นบริเวณปลายยอด ใบรูปใบหอก ปลายแหลม โคนสอบ ขนาดใบใหญ่ ผิวใบเป็นคลื่นเล็กน้อย เนื้อใบค่อนข้างหนาและกรอบ ขอบใบเรียบ
 
ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆหรือเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายยอด ลักษณะดอกตูมทรงกลมป้อม มีกลีบรองดอก ๓ กลีบ หนาและแข็ง กลีบดอกมี ๖-๑๒ กลีบ เรียงซ้อนกัน ๒-๔ ชั้น ชั้นละ ๓ กลีบ แต่ละกลีบเป็นรูปกลมมนหรือแหลมเล็กน้อย กลีบดอกสีขาว ดอกขนาดใหญ่ มีดอกดกเต็มต้น มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียจำนวนมาก เวลามีดอกบานพร้อมกันทั้งต้นจะดูสวยงามและส่งกลิ่นหอมฟุ้งกระจายทั่วบริเวณใกล้เคียงเป็นที่ชื่นใจยิ่ง “ผล” เป็นผลกลุ่ม สีเขียว มีเมล็ดจำนวนมาก ดอกออกทั้งปีและดอกดกเต็มต้นโดยธรรมชาติ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอดกับตอแมกโนเลียพันธุ์พื้นเมือง
 
ปัจจุบันมีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๑  ปลูกได้ในดินทั่วไปและทุกพื้นที่ในประเทศไทย เหมาะจะปลูกประดับทั้งแบบลงดินกลางแจ้งและปลูกลงกระถางขนาดใหญ่ตั้งในที่มีแสงแดดส่องถึงตลอดวัน รดน้ำพอชุ่มวันละครั้ง บำรุงปุ๋ยสูตร ๑๖-๑๖-๑๖ เดือนละครั้ง จะทำให้มีดอกดกเต็มต้นสวยงามและส่งกลิ่นหอมชื่นใจมาก ราคาสอบถามกันเองครับ. นสพ.ไทยรัฐ  


(http://3.bp.blogspot.com/-922GgLaM6tc/VGyyCN32pjI/AAAAAAAAAdA/qcbQIlCC09c/s1600/Pud-Boonraksa.jpg)  พุดบุญรักษา
ไม้ต้นนี้ มีต้นวางขาย ผู้ขายบอกว่าชื่อ “พุดบุญรักษา” มีถิ่นกำเนิดจาก เกรนาด้า ในแถบหมู่เกาะทะเลแคริบเบียน ถูกนำเข้ามาปลูกประดับและขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานกว่า ๓-๔ ปีแล้ว สามารถเจริญเติบโตได้ดีและมีดอกสวยงามในสภาพภูมิอากาศของบ้านเรา โดยผู้ขายบอกต่อว่า “พุดบุญรักษา” เป็นชื่อไทยที่ถูกผู้นำเข้าตั้งขึ้น มีชื่อวิทยาศาสตร์เฉพาะคือ POSOGNERIA LATIPOLIA อยู่ในตระกูลพุดทั่วไป
 
มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ประจำพันธุ์คือ เป็นไม้พุ่มต้น สูงเต็มที่ไม่เกิน ๒.๕-๓ เมตร แตกกิ่งก้านสาขาเป็นพุ่มโปร่งๆ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ๆ ตรงข้ามกันตามข้อ ใบเป็นรูปรีแกมรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบสอบ เนื้อ ใบค่อนข้างหนาและแข็ง หน้าใบเป็นสีเขียวเข้ม หลังใบสีเขียวหม่นทั้งต้นใบ และดอกคล้ายต้นสาวสันทราย
 
ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายยอดและปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก ช่อดอกมีทั้งตั้งขึ้นและห้อยลง ลักษณะดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว ปลายแยกเป็นกลีบดอก ๕ กลีบ รูปรี ปลายกลีบดอกมน สีขาวสดใส ดอกมีกลิ่นหอมแรงเฉพาะตัว เวลามีดอกช่อดอกจะดูคล้ายทั้งดอกเข็มและดอกปีบ แต่ไม่ใช่ไม้ในวงศ์เข็มและปีบ เวลามีดอกดกและดอกบานทั้งต้นจะดูสวยงามแปลกตาและส่งกลิ่นหอมฟุ้งกระจายเป็นที่ประทับใจมาก “ผล” ผู้ขายไม่ได้บอกว่าเป็นอย่างไร ดอกออกตลอดทั้งปีไม่ขาดต้น ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง
 
ปัจจุบันต้น “พุดบุญรักษา” มีขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณแผงตรงกันข้ามโครงการ ๑๕ ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ในดินทั่วไป เหมาะจะปลูกประดับทั้งแบบลงดินกลางแจ้งและลงกระถางขนาดใหญ่ ตั้งในที่มีแดดส่องทั้งวัน เวลามีดอกจะสวยงามและส่งกลิ่นหอมชื่นใจครับ. นสพ.ไทยรัฐ  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/62381725882490_EyWwB5WU57MYnKOuXq4IkFlzrLxiSK.jpg)  เหลืองจันทน์
ไม้ต้นนี้ พบขึ้นตามป่าทุกภาคของประเทศ ไทย พบมากที่สุดทางภาคเหนือและภาคใต้ มีชื่อ วิทยาศาสตร์เฉพาะคือ POLYALTHIA SP. อยู่ในวงศ์ ANNONACEAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ต้นสูงเต็มที่ระหว่าง ๓-๕ เมตรเท่านั้น เปลือกต้นเป็นสีเทาหรืออมน้ำตาลแดง แตกกิ่งก้านน้อย ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน ใบเป็นรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน ปลายแหลม โคนสอบ ขอบเป็นคลื่นเล็กน้อย สีเขียวสด เวลามีใบดกจะดูแปลกตายิ่งนัก
 
ดอก ออกเป็นช่อกระจุก ๓-๕ ดอก หรือออกเป็นดอกเดี่ยวตามลำต้นและกิ่งก้านบริเวณเหนือรอยแผลใบที่ร่วงไป ดอกห้อยลง ลักษณะดอกมีกลีบเลี้ยงสีเขียวจำนวน ๓ กลีบ เป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายกลีบเลี้ยงมักกระดกขึ้น ส่วนกลีบดอกมี ๖ กลีบ เรียงซ้อนกันเป็น ๒ ชั้น ชั้นละ ๓ กลีบ ขณะดอกยังอ่อนจะเป็นสีเหลืองอมเขียว เมื่อดอกแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทองสวยงามน่าชมมาก ดอกมีกลิ่นหอมแรงเฉพาะในช่วงสายๆ จากนั้นกลิ่นหอมจะจางลงเป็นธรรมชาติ กลีบดอกชั้นนอกจะมีขนาดเล็กกว่ากลีบดอกที่อยู่ชั้นในอย่างชัดเจน ดอกบานทนได้ประมาณ ๒-๓ วัน จึงร่วงโรย “ผล” เป็นกลุ่ม มีผลย่อยจำนวนมากประมาณ ๑๐-๒๐ ผลต่อช่อ ผลเป็นรูปกลมรี ใน ๑ ผล จะมีเมล็ด ๑ เมล็ด ดอกออกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง
 
ปัจจุบันต้น “เหลืองจันทน์” มีขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒๑  ราคาอยู่ที่ขนาดของต้นหรือสอบถามต่อรองกันเอง นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ทั้งลงดินกลางแจ้งและปลูกลงกระถางขนาดใหญ่ ตั้งประดับในที่มีแสงแดดส่องถึงตลอดทั้งวัน เป็นไม้ไม่ชอบน้ำท่วมขัง จึงต้องทำทางระบายน้ำก้นกระถางให้ดีอย่าให้มีน้ำท่วมขังอย่างเด็ดขาด รดน้ำพอชุ่มวันละครั้ง บำรุงปุ๋ยคอกโรยรอบโคนต้นเล็กน้อย เดือนละครั้งสลับกับใส่ปุ๋ยสูตร ๑๖-๑๖-๑๖ ครึ่งเดือนครั้ง พร้อมตัดแต่งกิ่งประจำ จะทำให้ “เหลืองจันทน์” มีดอกสวยงามและส่งกลิ่นหอมไม่ขาดต้นครับ. นสพ.ไทยรัฐ  

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/58188078511092_EyWwB5WU57MYnKOuXogj9XKtyDSfcG.jpg)     ถังทอง  สวยกับความเชื่อดีๆ
ถังทอง เป็นกระบองเพชรชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดในแถบทิศตะวันออกของประเทศเม็กซิโก ถูกขึ้นบัญชีว่าเป็นไม้ที่มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ได้สูง ที่เกิดตามธรรมชาติและจัดอยู่ในจำพวกไม้หายากในธรรมชาติ มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ ECHINOCACTUS GRUSONII ชื่อสามัญ GOLDEN BARREL CACTUS ลำต้นเป็นรูปทรงกลมดูคล้ายถัง มีหนามแหลมเป็นสีเหลืองทองกระจายทั่วทั้งต้นสวยงามน่าชมยิ่ง

ในประเทศไทยถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์นานหลายปีแล้ว มีต้นวางขายทั้งต้นขนาดกะทัดรัดปลูกในกระถางเล็ก ยกเคลื่อนย้ายได้ง่าย และต้นขนาดใหญ่ปลูกในกระถางใหญ่ โดย ผู้ขายบอกว่า ปัจจุบันนักจัดสวนนิยมนำเอาต้นขนาดใหญ่ไปปลูกจัดสวนในบริเวณบ้าน สำนักงาน บริษัทห้างร้านอย่างแพร่หลาย ใช้ดินปลูกแคคตัสเฉพาะมีขายทั่วไปลงก่อนที่จะนำต้น “ถังทอง” ลงปลูก เวลาต้นมีขนาดใหญ่และมีหนามแหลมเป็นสีเหลืองทองทั้งต้นจะดูงดงามยิ่งนัก หากปลูกเลี้ยงไปนานๆ ต้นสามารถสูงได้ถึง ๑ เมตร และถ้ามีอายุได้ ๒๐ ปี จะมีดอกบริเวณส่วนยอดของลำต้น กลีบดอกเป็นแฉกสีเหลืองทอง ขอบกลีบเป็นสีน้ำตาลดูคล้ายแสงอาทิตย์รุ่งอรุณสดใสมาก การปลูกต้นขนาดเล็กลงกระถาง เครื่องปลูกจะต้องโปร่งระบายน้ำได้ดีทั้งดินที่ผสมเอง หรือดินปลูกแคคตัสโดยเฉพาะ เป็นไม้ชอบแดด ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ หลังปลูกรดน้ำให้ชุ่ม ๕ วันครั้ง นอกจากปลูกเพื่อความสวยงามแล้ว “ถังทอง” ยังมีความเชื่อว่าปลูกไว้ในบ้านจะช่วยให้มีโชคลาภ เพราะต้นคล้ายถังและหนามสีเหลืองทองช่วยป้องกันเภทภัยต่างๆ ด้วย

มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ โครงการ ๔ ราคาสอบถามกันเองครับ.   ไทยรัฐ




หัวข้อ: Re: พรรณไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้มงคล
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 29 พฤศจิกายน 2558 18:08:25
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/90644497258795_EyWwB5WU57MYnKOuXq8FQQLwd3wL35.jpg)     กระบองเพชรสว่าน   ไม้สวยแปลกที่หายไป
ผมเคยแนะนำต้น “กระบองเพชรสว่าน” ไปหลายปีแล้ว โดยในขณะนั้นผู้ขายบอกได้เพียงว่าเป็นต้นกระบองเพชรสายพันธุ์เดียวกับกระบองเพชรชนิดที่มีต้นสูงใหญ่และคนทั่วไปรู้จักเป็นอย่างดีนั่นเอง แต่กระบองเพชรชนิดนี้ผู้ขายบอกต่อว่าเป็นกระบองเพชรกลายพันธุ์จากต้นดั้งเดิมแล้วมีลักษณะแตกต่างกันอย่างชัดเจนคือ ลำต้นจะเล็กลงโตหรืออ้วนประมาณท่อนแขนของเด็ก และลำต้นจะบิดเป็นเกลียวคลายเกลียวสว่าน (ตามภาพประกอบคอลัมน์) ซึ่งผู้ขายบอกว่าจำชื่อวิทยาศาสตร์ไม่ได้ และไม่มีชื่อภาษาไทยอย่างเป็นทางการด้วย เป็นไม้นำเข้าจากต่างประเทศ จึงพร้อมใจเรียกกระบองเพชรดังกล่าวตามลักษณะต้นว่า “กระบองเพชรสว่าน”

กระบองเพชรสว่าน หากเป็นไม้กลายพันธุ์จากต้นกระบองเพชรชนิดที่มีต้นสูงใหญ่และคนทั่วไปรู้จักตามที่ผู้ขายบอกข้างต้น พอจะระบุได้ว่า เป็นกระบองเพชรในกลุ่ม CE-REUS HEXAGONUS (LINN.) MILL อยู่ในวงศ์ CACTACEAE มีลักษณะเป็นไม้พุ่ม ต้นดั้งเดิมสูง ๓-๕ เมตร แต่ “กระบองเพชรสว่าน” สูงแค่ ประมาณ ๑ ฟุต ลำต้นกลม อวบน้ำ มีรอยหยักเป็นร่องลึกและมีสันสูงบิดเป็นเกลียวเหมือนสว่าน โดยส่วนที่เป็นสันสูงจะมีหนามแหลมแข็งออกเป็นกระจุก กระจุกละ ๕-๗ หนาม เว้นระยะห่างกันประมาณ ๑.๕-๒ นิ้วฟุต เรียงตลอดแนวสันของต้น ต้นเป็นสีเขียว นอกจากต้นจะดูคล้ายเกลียวสว่านแล้วยังดูเหมือนกับ “เทียนวันเกิด” ที่ใช้ปักบนขนมเค้กแล้วจุดเป่าฉลองวันเกิดอีกด้วย  

ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆหรือเป็นช่อ ๑-๓ ดอกบริเวณปลายยอด ดอกขนาดใหญ่ กลีบดอกเป็นสีเขียว มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกมักจะบานตอนกลางคืน ดอกสามารถออกได้เรื่อยๆ เมื่อต้นสมบูรณ์เต็มที่ ขยายพันธุ์ด้วยต้น

ปัจจุบันต้น “กระบองเพชรสว่าน” ไม่พบมีขายหรือหายไปจากวงการไม้สวยแปลกหลายปีแล้ว สมัยก่อนเคยมีขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒๓ ครับ.ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/26082748133275_147936_1_.jpg)     ปาล์มเจ้าชาย  สวยพลิ้ว
ปาล์มชนิดนี้ มีถิ่นกำเนิดจากประเทศออสเตรเลีย ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานกว่า ๑๐ ปีแล้ว โดยในช่วงแรกๆมีต้นวางขายได้รับความนิยมปลูกกันอย่างแพร่หลาย แต่ในปัจจุบันไม่พบว่ามีต้นขายอีกแล้ว ซึ่งต้น “ปาล์มเจ้าชาย” มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ARCHONTOPHOENIX ALEXANDRAE (F.J.MUELL.) H.A. WENDL.–DURDE อยู่ในวงศ์ PALMAE มีชื่อสามัญ KING PALM มีชื่อเรียกในท้องถิ่น ปาล์มสามเหลี่ยมเขียว

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ทั่วไป ลำต้นสูง ๑๑-๑๓ เมตร อาจสูงได้ถึง ๒๐ เมตร ลำต้นเห็นปล้องชัดเจน ลำต้นตั้งตรง สีของลำต้นเป็นสีเทาปนน้ำตาล ขนาดลำต้นเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๐-๑๕ ซม. ใบเป็นรูปขอบขนานคล้ายทางมะพร้าว ใบยาว ๓-๕ ฟุต ใบย่อยออกเรียงสลับ มี ๓๐-๔๐ คู่ ปลายใบแหลมแผ่กางออก สีใบเป็นสีเขียวเป็นมัน หลังใบเป็นสีเทาเงินดูงดงามมาก

ดอก ออกเป็นช่อขนาดใหญ่ตามซอกใบช่วงปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก เป็นสีขาวครีม “ผล” กลมรียาวประมาณ ๑ นิ้วฟุต ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่จะเป็นสีแดง ๑ ผล จะมีเพียง ๑ เมล็ด ดอกและผลจะมีเรื่อยๆอยู่ที่ความสมบูรณ์ของต้น ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

นิยมปลูก ประดับตามสำนักงาน สวนสาธารณะและปลูกริมถนนสองข้างทางเป็นแถวยาว เวลาต้นเจริญเติบโตใบของต้นจะพลิ้วไหวน่าชมยิ่ง ปลูกได้ในดินทั่วไป เป็นไม้ชอบแดดจัดตลอดทั้งวัน เป็นปาล์มที่ปลูกแล้วเติบโตได้เร็วกว่าปาล์มชนิดใดๆ ใครต้องการต้นไปปลูกต้องเสาะหากันเอง เพราะที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ที่เปิดขายเฉพาะไม้ดอกไม้ผลเพียงอย่างเดียวทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ไม่พบมีวางขายอีกแล้วตามที่กล่าวข้างต้นครับ.ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQraTvSX5NIH1X-1wQ9-fioMW1A1ec3ok-ArwfY_jTG8MEEyOxA2g)     ปาล์มกะพ้อ  ใบอ่อนห่อตูป๊ะ
ปาล์มกะพ้อ พบทั่วไปตามริมทะเลที่ความสูง ๒๕๐ เมตร เหนือระดับน้ำทะเล และขึ้นได้หลายรูปแบบทั้งริมบึงที่ราบ มีเขตกระจายพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชายแดนไทยมาเลเซีย หมู่เกาะอันดามัน มาเลเซีย เกาะนิโคบา เกาะสุมาตรา เกาะชวา เกาะบอเนียว และฟิลิปปินส์ ส่วนใหญ่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ทั้งในที่ร่มและกลางแจ้ง คนท้องถิ่นภาคใต้ของไทยและมาเลเซียนิยมตัดเอาใบอ่อนที่ยังไม่คลี่มาฉีกออกเอาเฉพาะใบ นำไปห่อข้าวเหนียวผัดใส่ถั่วขาว หรือถั่วดำนึ่งเป็นข้าวต้มมัดใต้ หรือเรียกชื่อตามภาษายาวีว่า “ตูป๊ะ” หมายถึงข้าวต้มมัดใบกะพ้อรับประทานเฉพาะถิ่นอร่อยมาก

ปาล์มกะพ้อ หรือ LICUALA SPINOSA THUNB เป็นปาล์มกอ ต้นสูงได้ ๕ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น ๕ ซม. เป็นกอรวมกันหนาแน่นจนหนาทึบ จัดเป็นไม้พื้นล่างของป่า ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือตั้งขึ้นและแผ่ออก ๑๐-๑๕ ทาง กาบใบแยกออกจากกัน แต่จะมีใยหยาบๆสานกันชัดเจน ก้านใบยาว ๒-๓ เมตร ขอบก้านใบมีหนามรูปสามเหลี่ยมแคบๆและงอยาว ๑-๒ ซม. ตลอดทั้งก้าน ใบเรียงกันเกือบกลม ขนาด ๘๐-๑๕๐ ซม. ฉีกเป็นแฉกลึกถึงกลางใบ ๑๕-๒๕ แฉก แต่ละแฉกมีขนาด ๓.๕-๑๔ คูณ ๔๐-๗๕ ซม. แฉกกลางมีขนาดใหญ่ที่สุด ปลายใบตัดและหยักไม่เท่ากัน

ดอก ออกเป็นช่อตั้งขึ้น โค้งและแผ่ออก ๒-๓ ช่อ มักมีความยาวกว่าใบ ช่อดอกรวมสามารถยาวได้ถึง ๓ เมตร แตกกิ่งย่อย ๗-๑๐ กิ่ง ยาว ๕๐ ซม. กิ่งแขนงย่อยอีก ๔ กิ่ง ยาว ๒๐-๔๐ ซม. “ผล” รูปทรงกลม เมื่อผลสุกเป็นสีส้มหรือสีแดง ๑ ผล มี ๑ เมล็ด ดอกและผลทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและแยกต้น

ปัจจุบันมีต้นขายทั่วไปที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แต่ละแผงราคาต่างกันต้องเดินสำรวจก่อนตัดสินใจซื้อไปปลูกประดับครับ.ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcR-6vkhITFz11Hg1ypUzE2W6x7tcnH1oZGDTzN_8E1hPgN1Il-UnA)     กันภัยมหิดล  ดอกสวยกับที่มาชื่อและพันธุ์
ไม้ต้นนี้ถูกค้นพบโดยเจ้าหน้าที่ของกองพืชฯ กรมวิชาการเกษตร เมื่อวันที่ ๑๔ ก.ย.๑๐ บริเวณเขาหินปูนเตี้ยๆ หลังสถานีรถไฟวังโต จ.กาญจนบุรี เป็นไม้เถาเลื้อยสกุลเดียวกับถั่วแปบช้าง แต่สีสันของดอกไม่เหมือนกัน เจ้าหน้าที่จึงเก็บเอาเมล็ดจากฝักไปปลูกที่กรุงเทพฯ ในวันที่ ๑๕ พ.ย. ปีเดียวกันพร้อมกับนำตัวอย่างส่งไปพิสูจน์ชื่อที่ประเทศสกอตแลนด์ ได้รับการยืนยันว่าเป็นคนละต้นกับถั่วแปบช้าง แต่อยู่ในสกุลเดียวกันและเป็นพันธุ์ใหม่ จึงได้ทำเรื่องขอพระราชทานชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่พระชนนีศรีสังวาลย์ในขณะนั้น โดยมีคำแนะนำให้ใช้คำว่า ศรีสังวาลย์ หรือมหิดล เลยได้ชื่อว่า “กันภัยมหิดล” ดังกล่าวและเรียกกันเรื่อยมาจนปัจจุบัน

กันภัยมหิดล หรือ SCIENTIFIC NAME, AFGEKIA MAHIDOLAE BURTTET CHERMSIRIXATHANA อยู่ในวงศ์ FABACEAE, LEGUMINOSAE, PAPILIONOIDEAE เป็นไม้เถาเลื้อยมีขนนุ่มหนาแน่น ใบประกอบขนนก ออกเรียงสลับ มีใบย่อย ๙-๑๑ ใบ เป็นรูปไข่กลับ ปลายมนเป็นติ่ง โคนมน ใบดกและเยอะมาก

ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกเป็นรูปดอกถั่ว ยาว ๒ ซม. กลีบเลี้ยงโคนซ้อนกัน ปลายแยกเป็น ๕ แฉก ก้านช่อดอกยาว กลีบดอกเป็นสีม่วง ลักษณะดอกคล้ายกับดอกถั่วแปบช้าง เวลามีดอกดกดอกจะชูตั้งขึ้นสวยงามน่าชมยิ่งนัก มีเกสรตัวผู้ ๑๐ อัน โคนเชื่อมกัน ๙ อัน “ผล” เป็นฝักแบน มีหลายเมล็ด ดอกออกช่วงระหว่างเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายนทุกปี ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด

ปัจจุบันต้น “กันภัยมหิดล” มีขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ราคาแต่ละแผงไม่เท่ากันหรืออยู่ที่ขนาดของต้น ปลูกได้ในดินทั่วไป เหมาะจะปลูกเป็นไม้ประดับให้ต้นหรือเถาเลื้อยพันรั้วและไต่ซุ้มดอกเห็ดทำม้านั่งรอบโคนต้น เวลามีดอกดกตามฤดูกาลจะดูสวยงามมากครับ. ไทยรัฐ


(https://skypic.files.wordpress.com/2009/07/f7a470064815b47f9851258632e34261.jpg?w=300)     พุดกุหลาบฮอลแลนด์
พุดกุหลาบฮอลแลนด์ มีถิ่นกำเนิดจากประเทศเนเธอร์แลนด์ หรือ ฮอลแลนด์ นำเข้ามาปลูกขยายพันธุ์ในบ้านเรานานแล้ว มีลักษณะเด่นเฉพาะตัวคือ มีกลีบดอกเรียงซ้อนกันหลายชั้นจนทำให้ดูคล้ายดอกกุหลาบสีขาวสวยงามมาก จึงถูกตั้งชื่อภาษาไทยว่า “พุดกุหลาบฮอลแลนด์” และที่สำคัญดอกจะมีกลิ่นหอมแรงมาก เวลามีดอกดกเต็มต้นและดอกบานพร้อมกันจะส่งกลิ่นหอมฟุ้งกระจายเป็นที่ชื่นใจยิ่งนัก

ส่วนพุดสายพันธุ์ที่มีดอกลักษณะใกล้เคียงกับ “พุดกุหลาบฮอลแลนด์” คือ พุดฮาวายกับพุดเวียดนาม ทั้ง ๒ ชนิดนี้มีข้อแตกต่างกับ “พุดกุหลาบฮอลแลนด์” คือ มีกลีบดอกเรียงซ้อนกัน ๒ ชั้น หรือไม่เกิน ๓ ชั้น ขนาดของดอกใหญ่ใกล้เคียงกัน จึงทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดเสมอว่าเป็นพุดต้นเดียวกัน

พุดกุหลาบฮอลแลนด์ หรือ GRADENIA JASMINOIDES อยู่ในวงศ์ RUBIACEAE เป็นไม้พุ่มสูง ๑.๕-๒ เมตร ใบเดี่ยว ออกตรงกันข้ามรูปไข่กลับ ปลายแหลม โคนสอบ สีเขียวสด ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆที่ปลายยอด มีกลีบดอก ๕-๗ กลีบ เรียงซ้อนกันหนาแน่นหลายชั้นเกินกว่า ๕-๖ ชั้น เนื้อกลีบดอกหนาแข็ง เป็นสีขาว ดอกมีกลิ่นหอมแรง โดยเฉพาะตอนพลบค่ำ ดอกแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ดอกบานได้ทนนาน ๕ วัน เมื่อบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๓-๔ นิ้วฟุต ดอกออกได้เรื่อยๆ และดกมาก ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำกิ่งและตอนกิ่ง
มีกิ่งตอนรุ่นใหม่ขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ    ไทยรัฐ


(http://www.sompothpanmai.com/images/catalog_images/1424708334.jpg)     "อโศกขาว" ใบอ่อนสวยเหมือนดอก

อโศกชนิดนี้ มีถิ่นกำเนิดจาก นิวกินี ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ขายในประเทศไทยบ้านเรานานหลายปีแล้ว  “อโศกขาว” มีชื่อทางวิทยาศาสตร์เฉพาะคือ MANILTOA GRANDIFLORA SCHEFF., WHITE HAND- KERCHIEF อยู่ในวงศ์ LEGUMINOSAE หรือ FABACEAE มีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดย่อม ต้นสูงเต็มที่เฉลี่ยระหว่าง ๔-๕ เมตรเท่านั้น ไม่ผลัดใบ แตกกิ่งก้านเป็นทรงพุ่มหนาแน่น

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกชนิดปลายคู่ มีใบย่อย ๑-๓ คู่ เป็นรูปขอบขนานหรือรูปรี ปลายใบแหลม โคนใบสอบหรือป้าน ใบยาวประมาณ ๙-๑๗ ซม. และที่เป็นจุดเด่นคือเมื่อแตกใบอ่อน ใบอ่อนดังกล่าวจะเป็นพู่ หรือเป็นจีบเรียงซ้อนกันเป็นระเบียบยาวห้อยลงเป็นระย้า และเป็นสีขาวหรือสีชมพูทำให้ดูเหมือนดอก เวลาแตกยอดอ่อนทั้งต้นยอดอ่อนห้อยลงลองหลับตานึกภาพดูว่าจะสวยงามน่าชมขนาดไหน ผู้นำเข้าจึงตั้งชื่อเป็นภาษาไทยว่า “อโศกขาว” ดังกล่าว ซึ่งหลังจากใบอ่อนแก่ขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวตามธรรมชาติ จากนั้นก็จะแตกยอดอ่อนเป็นสีขาวหรือสีชมพูให้ ชื่นชมอย่างต่อเนื่องไม่ขาดต้น

ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆที่ปลายยอด หรือออกตามกิ่งก้านใกล้ก้านใบ มีใบประดับหุ้มหลายชั้น มีกลีบดอก ๕ กลีบ ขนาดเล็กไม่เท่ากัน มีเกสรตัวผู้สีขาวจำนวนมาก “ผล” เป็นฝักยาว ภายในมีเมล็ด ๑-๒ เมล็ด ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง

ปัจจุบัน “อโศกขาว” มีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ หลายแผงหลายเจ้า มีทั้งต้นขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ราคาอยู่ที่ขนาดของต้น ปลูกได้ในดินทั่วไป เหมาะจะปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป เวลาแตกยอดอ่อนจะดูสวยงามมากครับ   ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRgtNYWPZRQHSH_VlH-PTTOPRxQ9-QhK6Ccdk9KkDYG3dkxk-wJfw)     โมกหลวงสีชมพู สวยหอม อมตะ
โมกหลวงชนิดนี้ เกิดจากการเอาเมล็ดของโมกหลวงพันธุ์ดั้งเดิมที่มีดอกเป็นสีขาวไปเพาะเป็นต้นกล้าหลายเมล็ดและหลายต้น จากนั้นก็ปลูกเลี้ยงจนต้นโตมีดอก ปรากฏว่ามีอยู่ ๒-๓ ต้นที่สีสันของดอกเป็นสีชมพูแตกต่างจากสีสันของดอกโมกหลวงพันธุ์แม่ที่เป็นสีขาวอย่างชัดเจน ผู้ขยายพันธุ์เชื่อว่าเป็นไม้กลายพันธุ์ จึงทำการขยายพันธุ์ปลูกทดสอบความนิ่งของพันธุ์หลายวิธีและหลายครั้ง ปรากฏว่าทุกอย่างยังเหมือนเดิม คือ สีสันของดอกยังคงเป็นสีชมพูไม่กลับไปเป็นสีขาวเช่นโมกหลวงพันธุ์แม่อีก ทำให้มั่นใจว่าได้กลายพันธุ์ถาวรอย่างแน่นอนแล้ว จึงตั้งชื่อว่า “โมกหลวงสีชมพู” พร้อมขยายพันธุ์ตอนกิ่งวางขายได้รับความนิยมปลูกอย่างแพร่หลายขณะนี้

โมกหลวงสีชมพู หรือ HOLARRHENA ANTIDYSENTERICA WALL อยู่ในวงศ์ APOCYNACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง ๘-๑๕ เมตร เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาลเข้ม ทุกส่วนมียางขาวข้น ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปรีกว้าง ปลายใบแหลม โคนมน หน้าใบสีเขียว ท้องใบมีขนสีขาวละเอียด ขอบใบเรียบ

ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก ลักษณะดอกโคนเชื่อมกันเป็นหลอดยาว ปลายแยกเป็นกลีบดอก ๕ กลีบ รูปรียาว ปลายกลีบมน เนื้อกลีบค่อนข้างหนา กลีบดอกเป็นสีชมพูอ่อนจนถึงชมพูเข้ม ดอกมีกลิ่นหอมแรงเหมือนกับดอกโมกหลวงชนิดดอกสีขาวที่เป็นพันธุ์แม่ทุกอย่าง เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้นจะดูสวยงาม และส่งกลิ่นหอมมากแบบเป็นอมตะไม่เสื่อมคลาย “ผล” เป็นฝักยาว มีเมล็ดแบน มีปีกสีขาวคล้ายปุยนุ่นติดที่บริเวณส่วนปลายของเมล็ดด้านหนึ่ง ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง และเสียบยอด

มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๑ ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ในดินทั่วไป เหมาะจะปลูกประดับในบริเวณบ้าน เวลามีดอกจะสวยงามและส่งกลิ่นหอมชื่นใจครับ. ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQjEC4yB5RuyyN4SY_jnhV2E5K4Gffwy_LndW-84rQozYW1rjt8eg)     เหลืองอินเดีย อร่ามตาฤดูร้อน
ในช่วง ระหว่างเดือน มีนาคม ต่อเนื่องไปจน ถึงเดือนเมษายน ของทุกๆปี ใครที่เป็นคนช่างสังเกตจะพบว่าตามริมถนนหลายสายทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดบางจังหวัดที่ปลูกต้น “เหลืองอินเดีย” ๒ ข้างทางเป็นแนวยาวตลอดทั้งถนนจะมีดอกบานสะพรั่งเป็นสีเหลืองอร่ามสวยงามน่าชมมาก ซึ่งหลายคนอยากทราบว่าต้น “เหลืองอินเดีย” เป็นอย่างไร มีถิ่นกำเนิดจากที่ไหน และหาซื้อต้นไปปลูกได้จากแหล่งใด

เหลืองอินเดีย มีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศเม็กซิโกถึงตอนเหนือของประเทศเวเนซุเอลา จากนั้นมีผู้นำพันธุ์ไปปลูกในเขตร้อนทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วยที่ถูกนำเข้ามาปลูกประดับตั้งแต่โบราณแล้วในชื่อว่า “เหลืองอินเดีย” มีชื่อวิทยาศาสตร์เฉพาะว่า TABEBUIA CHRY-SANTHA (JACQ.) NICHOLS ชื่อสามัญ GOLDEN TREE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ สูง ๕-๙ เมตร ใบเป็นประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อย ๕ ใบ รูปรีแกมขอบขนานหรือรูปขอบขนานปลายเรียวแหลมและเป็นติ่งสั้นๆ โคนมนด้านล่างใบมีขนสีขาว

ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อย ๓-๑๐ ดอก กลีบเลี้ยงมีขน ส่วนกลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว ๔-๗ ซม. ปลายแยกเป็นรูปปากแตรหรือเป็นกลีบดอก ๕ กลีบ เป็นสีเหลืองสดใส ดอกบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลาง ๓-๔ ซม. มีเกสรตัวผู้ ๔ อัน สั้น ๒ อัน ยาว ๒ อัน โคนก้านเกสรมีขน เวลามีดอกจะทิ้งใบหมดทั้งต้น เหลือเพียงดอกเป็นสีเหลืองอร่ามงดงามจับใจมาก ดอกออกช่วงฤดูร้อนตามที่กล่าวข้างต้น ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง

ปัจจุบันต้น “เหลืองอินเดีย” มีทั้งต้นขนาดเล็กและต้นขนาดใหญ่วางขายทั่วไปที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ราคาอยู่ที่ขนาดของต้น ปลูกได้ในดินทั่วไป ทนแล้งได้ดี นิยมปลูกประดับในบริเวณบ้านสำนักงาน สวนสาธารณะ ริมถนนสองข้างทางเวลามีดอกจะทิ้งใบหมดเหลือเพียงดอกเหลืองอร่ามงดงามยิ่งครับ.  ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/17964517987436_untitled.png)     “บอทเทิลทรี” ต้นกักน้ำดอกสวย
ไม้ต้นนี้ มีวางขายมีภาพถ่ายของต้นและดอกจริงแขวนโชว์ให้ชมด้วย และยังมีป้ายชื่อภาษาไทยติดไว้ว่า “บอทเทิลทรี” กับชื่อภาษาอังกฤษ BRACHYCHITON POPULNEUS, BOTTLE TREE แต่ผู้ขายบอกลักษณะทางพฤกษศาสตร์ไม่ได้ รู้เพียงว่าเป็นไม้นำมาจากประเทศออสเตรเลีย มีดอกสีสันงดงามมากเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลที่ได้จากเพื่อน ช่วยเหลือมอบให้พอจะบอกได้ว่า ต้น “บอทเทิล-ทรี” มีถิ่นที่พบจากรัฐควีนส์แลนด์ นิวเซาท์เวลส์ ของประเทศออสเตรเลีย และมีชื่อวิทยาศาสตร์คือ BRACHYCHITON POPULNEUS ชื่อสามัญ LACEBARK KURRATONG หรือ “ต้นไม้ขวด” อยู่ในวงศ์ STERCULIACEAE เป็นไม้ยืนต้นสูง ๑๐-๑๕ เมตร พบขึ้นตามธรรมชาติหลากหลายรูปแบบ ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่แห้งแล้งหรือทะเลทรายทั่วไป

บอทเทิลทรี หรือ “ต้นไม้ขวด” จะมีความเป็นพิเศษคือ ลำต้นสามารถเก็บกักเอาน้ำไว้ในลำต้นเพื่อใช้หล่อเลี้ยงตัวเองได้ในช่วงที่เจอสภาพอากาศแห้งแล้งจัด โดยในช่วงที่ลำต้นกักเก็บน้ำนั้นจะมีลักษณะอ้วนป่องขนาดใหญ่ทำให้ดูคล้ายขวดโบราณ จึงถูกตั้งชื่อตามลักษณะดังกล่าวว่า “ต้นไม้ขวด” ส่วนปลายของลำต้นจะแตกกิ่งก้านสาขาเช่นต้นไม้ทั่วไป ใบมี ๒ แบบ คือใบกลมรีขนาดใหญ่และใบเรียวแหลมขนาดเล็ก ดอก ออกเป็นช่อขนาดใหญ่ที่ปลายยอด มีดอกย่อยจำนวนมาก ดอกโคนเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นกลีบดอกรูประฆัง ๕ แฉก แต่ละแฉกแหลม ภายในหลอดดอกมีเกสรสีเหลืองเป็นกระจุก กลีบดอกเป็นสีชมพูเข้ม หรือสีชมพูอ่อน เวลามีดอกเต็มต้นและดอกบานพร้อมกันจะดูสวยงามมาก “ผล” รูปทรงกลม ภายในมีเมล็ด ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ชาวพื้นเมืองของออสเตรเลียนิยมเอาเมล็ดไปคั่วก่อนกินเป็นอาหาร
มีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒๑ ราคาสอบถามกันเองครับ.  ไทยรัฐ


(http://img15.shop-pro.jp/PA01084/894/product/30629020.jpg?20120119112236)     “ไดโนซอรัส” ไม้ประดับใบสวย
ต้น “ไดโนซอรัส” หรือ ไดโนเสาร์ ที่เคยแนะนำไปนั้น เป็นไม้นำเข้าจากต่างประเทศ แต่ผู้ขายบอกไม่ได้ว่าเป็นประเทศอะไร มีลักษณะเป็นไม้เถาเลื้อยขนาดเล็ก มีเหง้าใต้ดิน เถาสามารถเลื้อยหรือพาดพันต้นไม้อื่นได้ยาวกว่า ๓ เมตร เถารูปทรงกลม มีขนละเอียดทั่ว แตกกิ่งก้านน้อย เถาเป็นสีแดงอมม่วง เถาอ่อนจะเป็นสีเขียวก่อนเปลี่ยนเป็นสีแดงอมม่วงเมื่อแก่ขึ้น

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับห่างๆ ก้านใบยาวเป็นสีแดงอมม่วง ใบเป็นรูปนิ้วมือ ปลายใบเว้าหรือหยักเป็น ๓ แฉก ปลายแต่ละแฉกแหลม แฉกตรงกลางจะยาวกว่า ๒ แฉกที่อยู่ด้านข้างอย่างชัดเจน โคนใบมน แผ่นใบอ่อนเป็นสีเขียว มีลายสีขาวแทงขึ้นจากโคนใบไปจนจดปลายแฉกทั้ง ๓ แฉก ทำให้ดูเหมือนกับรอยเท้าของตัวไดโนเสาร์สวยงามมาก หลังใบเป็นสีม่วงเข้ม ใบเมื่อแก่ขึ้นหน้าใบจะเป็นสีแดงอมม่วง จึงเป็นที่มาของชื่อที่ผู้นำเข้าตั้งให้คือ “ไดโนซอรัส” และ “ไดโนเสาร์” เวลาเถาเลื้อยพาดพันโครงหรือห้อยเป็นสายยาวและมีใบดกจะงดงามแปลกตาแก่ผู้พบเห็นเป็นอย่างยิ่ง

ส่วนดอก ผู้ขายบอกไม่เคยพบเห็น จึงไม่มั่นใจว่าต้น “ไดโนซอรัส” หรือไดโนเสาร์จะมีดอกหรือไม่ ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำต้น เหมาะจะปลูกทั้งลงดินทำโครงให้เถาไต่ หรือปลูกลงกระถางแขวนให้เถาห้อยลงเป็นสายยาว เวลามีใบจะสวยงามมากครับ.   ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/25894662944806_EyWwB5WU57MYnKOuX2Jq6DO1VXqQgI.jpg)     “สตรอเบอรี่แคคตัส” สวยแปลก
ผู้อ่านไทยรัฐจำนวนมากที่ชอบปลูกไม้ประดับจำพวกต้นกระบองเพชร อยากทราบว่าต้น “สตรอเบอรี่แคคตัส” เป็นอย่างไร ซึ่งก็เป็นต้นกระบองเพชรชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเด่นเฉพาะพันธุ์คือ ขนาดของต้นเล็ก แตกต้นเป็นกอกระจายหลายสิบต้นต่อกอ ลำต้นเป็นสีม่วงอมแดง เวลาแตกต้นเป็นกอจำนวนหลายๆต้นทำให้ดูคล้ายผลสตรอเบอรี่เป็นกระจุกสวยงามน่าชมมาก จึงถูกตั้งชื่อตามลักษณะว่า “สตรอเบอรี่แคคตัส” ดังกล่าว เป็นไม้นําเข้าจากต่างประเทศนานกว่า ๒ ปีแล้ว ระบุไม่ได้ว่าเป็นพันธุ์ลูกผสมใหม่หรือพันธุ์แท้ กำลังนิยมแพร่หลายในปัจจุบัน

สตรอเบอรี่แคคตัส มีชื่อเฉพาะคือ SULCOREBUTIA RAUSCHII ลำต้นเป็นรูปทรงกลมขนาดเล็ก ต้นสูงไม่เกิน ๒-๒.๕ นิ้วฟุต ตามลำต้นมีหนามแหลมสั้นกระจายทั่ว แตกต้นเป็นกอเบียดกันหนาแน่นจำนวนมากกว่า ๒๐-๓๐ ต้น
ขึ้นไป ลำต้นเป็นสีแดงอมม่วง

ดอก ออกบริเวณปลายยอดของต้น กลีบดอกเป็นสีแดงอมม่วง เวลามีดอกพร้อมๆกันหลายๆ ต้น จะมีสีสันสวยงามน่าชมยิ่งนัก “ผล” กลมขนาดเล็ก มีเมล็ด ดอกออกได้เรื่อยๆ อยู่ที่ความสมบูรณ์ของต้น ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด และเสียบยอดกับตอต้นแก้วมังกร

การปลูก “สตรอเบอรี่แคคตัส” เป็นไม้ชอบแดดจัด ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ไม่ชอบนํ้ามากนักจะทำให้รากเน่าตาย หลังปลูกรดนํ้า ๗-๑๐ วันครั้ง ในช่วงฤดูฝนต้องยกหลบไม่ให้โดนฝน เพราะไม่ชอบฝน บำรุงปุ๋ยละลายช้าสูตรเสมอ ๓-๔ เดือนครั้ง จะทำให้ต้น “สตรอเบอรี่แคคตัส” แตกเป็นกอจำนวนมากและมีดอกสวยงาม
ปัจจุบัน “สตรอเบอรี่แคคตัส” กำลังเป็นที่นิยมปลูกอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นแคคตัสหรือต้นกระบองเพชรขนาดเล็กสามารถยกไปตั้งประดับบนโต๊ะทำงานหรือเคลื่อนย้ายได้ง่ายนั่นเอง

มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณตรงกันข้ามกับโครงการ ๑๓ หรือโครงการ ๑๕ ผู้ขายมีวิธีปลูกแนะนำให้ด้วย ราคาสอบถามกันเองครับ   ไทยรัฐ


(http://www.jittraflorist.com/images/sub_1240579282/1240579673.jpg)     พวงแก้วกุดั่น ดอกสวยหอมแรง
หลายคนอยากทราบว่า “พวงแก้วกุดั่น” เป็นอย่างไรและจะหาซื้อต้นไปปลูกประดับได้จากที่ไหน ซึ่ง “พวงแก้วกุดั่น” ถูกระบุว่าเป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศอินเดีย แล้วกระจายพันธุ์ปลูกในเขตร้อนไปทั่วโลก ในประเทศไทยถูกนำเข้ามาปลูกแพร่หลายช้านานแล้วจนกลายเป็นไม้ไทยไปโดยปริยาย ส่วนใหญ่จะปลูกให้ต้นหรือเถาเลื้อยพันรั้วหน้าบ้านหรือปลูกให้เลื้อยซุ้มประตูทางเข้าบ้าน เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันตามฤดูกาลนอกจากจะดูสวยงามแล้ว ดอกยังส่งกลิ่นหอมแรงฟุ้งกระจายทั่วบริเวณใกล้เคียงเป็นที่ชื่นใจยิ่ง

พวงแก้วกุดั่น หรือ CLEMATIS SMILACIFOLIA WALL. อยู่ในวงศ์ RANUNCULACEAE เป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งอายุหลายปี ต้นหรือเถาสามารถเลื้อยได้ยาวกว่า ๕ เมตร ลำต้นกลมสีเขียวหรือสีคลํ้าดำเกือบม่วง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปไข่ ปลายและโคนใบแหลม เนื้อใบค่อนข้างหนา ผิวใบและขอบใบเรียบเป็นมัน สีเขียวสด ใบดกน่าชมมาก

ดอก ออกเป็นช่อกระจุก ๒-๓ ดอกต่อช่อ ออกตามซอกใบ มีกลีบเลี้ยง ๔-๖ แฉก รูปแถบยาว ปลายแฉกแหลม สีม่วงแดง ปลายกลีบเลี้ยงจะม้วนงอลงชัดเจน กลีบดอกไม่มี ส่วนที่เป็นฝอยๆ สีขาวจำนวนมากนั้นคือเกสรไม่ใช่กลีบดอก ดอกจะทยอยบานไม่พร้อมกัน ดอกมีกลิ่นหอมแรงตลอดทั้งวัน จะส่งกลิ่นจัดจ้านยิ่งขึ้นในช่วงพลบคํ่า ทำให้เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันหลายๆ ดอก นอกจากจะดูงดงามแล้ว ดอกยังส่งกลิ่นหอมฟุ้งกระจายเป็นที่ประทับใจมาก “ผล” รูปทรงกลม มีขนาดเล็ก ภายในมีเมล็ดเยอะ ดอกออกช่วงระหว่างเดือนมกราคม ต่อเนื่องไปจนถึงเดือนเมษายนของทุกปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและปักชำต้น มีชื่อเรียกในประเทศไทยอีกคือ เครือจางหลวง และจางน้อย

มีต้นขายทั่วไปที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ราคาอยู่ที่ขนาดของต้น เป็นไม้ชอบแดดจัด ไม่ชอบนํ้าท่วมขังครับ.  ไทยรัฐ


(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQKet8M966vYvSy8XGNa9a7xTk4uE0KQ7xTLs5dGfRj81o6K2_N)     บัวรัตติกาล บานกลางคืนสีสวย
บัวชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดจากประเทศสหรัฐอเมริกา ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานแล้ว จัดเป็นบัวสายชนิดหนึ่งที่ดอกจะบานสะพรั่งตอนกลางคืนตั้งแต่พลบคํ่าเรื่อยไปจนถึงรุ่งเช้าประมาณสิบโมงเช้าดอกจะหุบลง จึงถูกตั้งชื่อเป็นภาษาไทยว่า “บัวรัตติกาล” หรืออีกชื่อหนึ่ง “บัวราตรี” ซึ่งก็เป็นตัวเดียวกันกับบัวเรดแฟร์ ที่เคยแนะนำในคอลัมน์ไปแล้ว เวลามีดอกบานยามคํ่าคืนถูกแสงจันทร์ในคืนพระจันทร์เต็มดวงหรือแสงไฟสาดส่องกระทบสีสันของกลีบดอกจะดูสวยงามยิ่งนัก

บัวรัตติกาล หรือ บัวเรดแฟร์ อยู่ในวงศ์ MYMPHAEACEAE เป็นไม้ล้มลุก มีลำต้นใต้ดินคล้ายหัวเผือก ใบเดี่ยวออกสลับลอยเหนือผิวนํ้าเรียงเป็นวงกว้าง แผ่นใบค่อนข้างกลม โคนเว้าลึก ขอบจัก ผิวใบเป็นสีแดงอมม่วงเกือบดำ มีขนนุ่ม ก้านใบหรือเรียกว่าสายบัวเป็นสีแดงเข้ม เมื่อหักจะมีใยสีขาวยาวยืดเรียกว่า “ใยบัว” ที่คนมักจะเอาไปเปรียบเทียบเป็นคำพังเพยว่า “ตัดบัวแล้วยังเหลือเยื่อใย” ซึ่งก็หมายถึง “ตัดไม่ขาด” นั่นเอง

ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ บานเหนือนํ้าเล็กน้อย มีกลีบเลี้ยง ๔ กลีบ ด้านหลังกลีบเลี้ยงเป็นสีเขียว ด้านในเป็นสีเดียวกับกลีบดอก ซึ่งกลีบดอกจะมีจำนวนมากเรียงซ้อนกันหลายชั้น เป็นสีแดงเข้มหรือสีแดงอมม่วงตามภาพประกอบคอลัมน์ ดอกมีขนาดใหญ่กว่าดอกบัวสายสายพันธุ์ไทยทั่วไป ดอกจะบานเฉพาะตอนกลางคืนและจะหุบตอนเช้าประมาณสิบโมงเช้าตามที่กล่าวข้างต้น ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยหน่อ

ปัจจุบัน “บัวรัตติกาล” หรือบัวเรดแฟร์ และ “บัวราตรี” มีขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒ ราคาสอบถามกันเอง นิยมปลูกลงกระถางบัวตั้งประดับในที่แจ้ง บำรุงปุ๋ยสูตร ๑๖-๑๖-๑๖ ห่อด้วยกระดาษชำระ ๕-๗ เม็ด กดลงใต้ดินในกระถางเดือนละครั้งจะทำให้ “บัวรัตติกาล” มีดอกสวยงามยามราตรีครับ.  ไทยรัฐ


(http://www.rmutp.ac.th/web2558/wp-content/uploads/2015/03/rmutp.flower-300x199.jpg)     บัวคิงออฟสยาม ชื่อมงคลสวยหอม
ผู้อ่านไทยรัฐจำนวนมาก อยากทราบว่า “บัวคิงออฟสยาม” มีความเป็นมาอย่างไร ซึ่ง บัวดังกล่าวจัดอยู่ในกลุ่มของ บัวผัน ที่มีการเจริญจากหัวหรือเหง้าใต้ดินในแนวตั้ง เป็นบัวที่เกิดจากการขยายพันธุ์โดยฝีมือของ อ.ชัยพล ธรรมสุวรรณ มีลักษณะเด่นประจำพันธุ์คือ สีสันของดอกสวยงามน่าชมยิ่ง และดอกยังมีกลิ่นหอมอ่อนๆ อีกด้วย จึงตั้งชื่อเป็นมงคลว่า “บัวคิงออฟสยาม” หรืออีกชื่อหนึ่งว่า “บัวฉลองขวัญ” ดังกล่าว

บัวคิงออฟสยาม หรือ “บัวฉลองขวัญ” อยู่ในสกุล NYMPHAEA และอยู่ในวงศ์ NYMPHAEACEAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้ล้มลุก มีลำต้นใต้ดินเป็นหัวหรือเหง้า ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับถี่ลอยบนผิวน้ำ เป็นวงกลม แผ่นใบเป็นรูปไข่ โคนเว้า ฐานใบเปิดครึ่งหนึ่ง ขอบเรียบและเป็นคลื่น ด้านบนสีเขียวมัน ด้านล่างสีม่วงอมน้ำเงิน ในก้านใบมีน้ำยางใส เมื่อหักจะเป็นใยติดยาวยืด เรียกว่า “ใยบัว” ซึ่งคนมักจะนำไปเปรียบเปรยว่า “ตัดบัวแล้วยังมีเยื่อใย” หมายถึงยังตัดไม่ขาดนั่นเอง

ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆตามซอกใบ บานเหนือน้ำ ปลายกลีบดอกแหลมเรียงซ้อนกันหลายชั้น เป็นสีม่วงเข้มหรือสีม่วงอมชมพู ใจกลางดอกมีเกสรจำนวนมากเป็นสีเหลืองสด ดอกบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๐-๑๒ ซม. ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ เวลามีดอกบานเหนือน้ำหลายๆดอกจะดูสวยงามและส่งกลิ่นหอมโชยเข้าจมูกเมื่อเข้าไปใกล้ๆ เป็นที่ชื่นใจมาก “ผล” ค่อนข้างกลม อยู่ในน้ำ มีเมล็ด จำนวนมาก ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและหน่อ นิยมปลูกประดับ ทั้งลงกระถางบัวและปลูกลงสระน้ำจำลองที่มีน้ำไม่สูงนัก เนื่องจาก “บัวคิงออฟสยาม” หรือ “บัวฉลองขวัญ” เป็นสายพันธุ์ที่ชอบน้ำตื้นและลึกปานกลาง ชอบแดดจัด ๕-๖ ชั่วโมงต่อวัน บำรุงปุ๋ยสม่ำเสมอจะมีดอก สวยงามและส่งกลิ่นหอมประทับใจยิ่ง

มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒  ราคาสอบถามกันเองครับ.  ไทยรัฐ



หัวข้อ: Re: พรรณไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้มงคล
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 18 พฤศจิกายน 2559 16:25:03
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/92132776768671_BKQKpJhBMGGYXC7vP6ZFloKOYllMJY.jpg)     โป๊ยเซียนแอฟริกา สวยแปลกน่าปลูก
บางครั้งการแนะนำต้นไม้ในคอลัมน์แล้วผู้อ่านตามไปซื้อในแหล่งที่บอกไว้ แต่ปรากฏว่าผู้ขายบอกว่าต้นหมดหรือไม่มีแล้ว ทำให้เสียความรู้สึกได้เช่นกัน และ “โป๊ยเซียนแอฟริกา” เป็นอีกต้นหนึ่งที่มีต้นวางขาย มีป้ายชื่อติดไว้ชัดเจน แต่ผู้ขายบอกไม่ได้ว่ามีชื่อวิทยาศาสตร์และวงศ์อย่างไร ระบุเพียงว่าเป็นไม้นำเข้าจากประเทศแอฟริกาและอยู่ในวงศ์โป๊ยเซียน ซึ่งดูแล้วลำต้นสวยงามแปลกตามาก เนื่องจากส่วนใหญ่ต้นโป๊ยเซียนที่คนทั่วไปรู้จักและนิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายนั้น จะไม่มีเหง้าหรือหัว ส่วนดอก ผู้ขายบอกต่อว่ายังไม่เคยเห็นเช่นกัน เลยขอแนะนำให้รู้จักเป็นความรู้เท่านั้น

โป๊ยเซียนแอฟริกา เท่าที่ดูจากต้นจริงและผู้ขายบอกเพิ่มเติมพอจะบอกลักษณะได้ดังนี้คือ เป็นไม้พุ่มมีหัวหรือเหง้าขนาดใหญ่ เปลือกเหง้าเรียบสีน้ำตาลเทา เหง้าหรือหัวจะสูงประมาณเกือบครึ่งฟุต บริเวณส่วนปลายของเหง้าหรือหัวจะมีต้นแทงขึ้นจำนวนหลายต้น ลำต้นเป็นสีเขียวเขียวสด และเป็นสันเหลี่ยมเหมือนกับลำต้นของโป๊ยเซียนหรือลำต้นของตะบองเพชรทั่วไป แต่ที่แปลกคือลำต้นจะบิดเป็นเกลียวสวยงามน่าชมมาก ตามสันเหลี่ยมจะมีหนามแหลมเป็นกระจุก ๔-๕ หนามแหลม และทิ้งระยะห่างกันอย่างชัดเจนคล้ายต้นโป๊ยเซียนหรือตะบองเพชรทั่วไปทุกอย่าง ลำต้นของ “โป๊ยเซียนแอฟริกา” ผู้ขายบอกว่าสามารถยาวได้กว่า ๑ ฟุต

ส่วนดอกที่ผู้ขายบอกในตอนแรกแล้วว่าไม่เคยเห็น จึงไม่รู้ว่าลักษณะดอกเป็นอย่างไรและสีอะไรด้วย ดอกจะออกบริเวณไหนของลำต้น เป็นช่อหรือเป็นดอกเดี่ยวๆ ก็ไม่รู้ ผู้ขายบอกได้เพียงว่า ขยายพันธุ์ด้วยเหง้าหรือหัว

โป๊ยเซียนแอฟริกา ปลูกได้ในดินผสมสำหรับปลูกต้นตะบองเพชรทั่วไป เป็นไม้ทนแล้งโดยธรรมชาติ ชอบแสงแดดได้เต็มวัน รดน้ำอาทิตย์ละครั้ง เหมาะจะปลูกกระถางกะทัดรัด ตั้งประดับโต๊ะทำงาน สามารถยกเข้ายกออกได้ง่ายๆ สวยงามมาก เคยมีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แถวบริเวณโครงการ ๒๔ แต่ปัจจุบันจะยังมีต้นขายอยู่หรือไม่ต้องเดินสำรวจดูครับ.


(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRh77-vIDCyN6hlgXRRd2rE4ujPjh12QhlgXEunGH00cMPhhJRJ)     จำปูน ไม้ดอกหอมใต้
ไม้ต้นนี้พบมีขึ้นตามธรรมชาติมากมายในแถบเทือกเขาบรรทัดทางภาคใต้ของประเทศไทย สมัยก่อนนิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายเฉพาะถิ่นในบริเวณบ้านมาช้านาน จนทำให้ต้น “จำปูน” ได้ชื่อว่าเป็นไม้ดอกหอมของภาคใต้ และเป็นสัญลักษณ์ของชาวใต้โดยปริยาย ปัจจุบันคนรุ่นใหม่น้อยคนนักจะรู้จักต้น “จำปูน” เนื่องจากค่านิยมปลูกได้ลดน้อยลงไปตาม

กาลเวลา ซึ่งต้น “จำปูน” มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ ANAXAGOREA JAVANICA BL. อยู่ในวงศ์ ANNONACEAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดเล็ก ต้นสูงเต็มที่ประมาณ ๒-๔ เมตรเท่านั้น แตกกิ่งก้านสาขาหนาแน่น ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบเกือบมน ผิวใบเกลี้ยงเป็นมัน ด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีจางกว่า เวลามีใบดกผู้ปลูกตัดแต่งกิ่งอย่างสม่ำเสมอจะทำให้เป็นพุ่มน่าชมยิ่ง

ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆตามกิ่งก้านตรงกันข้ามกับใบและปลายกิ่ง มีกลีบดอก ๖ กลีบ เนื้อกลีบหนาและแข็ง กลีบดอกเรียงซ้อนกันเป็น ๒ ชั้น ชั้นละ ๓ กลีบ กลีบดอกเป็นสีขาวนวล โคนกลีบดอกเป็นสีเขียว ปลายกลีบสีอ่อนกว่า ดอกมีกลิ่นหอมแรงมาก ดอกบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒ ซม. มีเกสรตัวผู้และ เกสรตัวเมียจำนวนมาก เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้นจะดูสวยงามแปลกตาพร้อมส่งกลิ่นหอมฟุ้งกระจายทั่วบริเวณใกล้เคียงเป็นที่ชื่นใจและประทับใจยิ่ง “ผล” เป็นผลกลุ่ม รูปร่างค่อนข้างกลม ภายในมีเมล็ดสีดำจำนวนมาก ดอกออกตลอดทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง

ปัจจุบันต้น “จำปูน” มีขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณแผงขายไม้ไทยโครงการ ๕ ใกล้ทางออกประตู ๓ ราคาสอบถามกันเอง เหมาะจะปลูกในบริเวณบ้าน ๒-๓ ต้น เวลามีดอกถูกลมพัดเอากลิ่นหอมโชยเข้าบ้านจะสร้างบรรยากาศเป็นธรรมชาติดีมากครับ  ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/57300645485520_EyWwB5WU57MYnKOuhxKLv68ULv9iEr.jpg)     จำปีแดงพันธุ์ใหม่
ปกติไม้ในสกุลจำปีต้น จะสูงใหญ่ ๗-๑๐ เมตรขึ้น แต่ “จำปีแดงพันธุ์ใหม่” ที่พบมีกิ่งตอนวางขายมีภาพถ่ายของดอกจริงโชว์ให้ชมด้วยนี้ ผู้ขายยืนยันว่าเป็นไม้พุ่มโดยธรรมชาติของสายพันธุ์ไม่ใช่ไม้ยืนต้นเช่นจำปีทั่วไป ต้นสูงเต็มที่ไม่เกิน ๔ เมตร ผู้ขายบอกต่อว่าสามารถปลูกลงกระถางขนาดใหญ่แล้วตัดแต่งกิ่งให้ต้นสูงเพียง ๒ เมตร รดน้ำบำรุงปุ๋ยสม่ำเสมอ จะมีดอกดกสีสันของดอกสวยงามและส่งกลิ่นหอมเป็นที่ชื่นใจได้ทั้งปีเหมือนกับปลูกลงดินทุกอย่าง

จำปีแดงพันธุ์ใหม่ เท่าที่ดูด้วยสายตาจากต้นที่วางขายพอระบุได้ว่าเป็นไม้อยู่ในวงศ์แม็กโนเลียทั่วไป ผู้ขายบอกว่าเป็นไม้นำเข้าจากต่างประเทศนานกว่า ๕ ปีแล้ว เป็นไม้พุ่มสูง ๔ เมตรตามที่ผู้ขายบอกตอนต้น ใบเดี่ยวออกสลับหนาแน่นช่วงปลายยอด ใบรูปใบหอกแกมขอบขนาน ปลายแหลมโคนสอบ เนื้อใบหนา ใบมีขนาดใหญ่ ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย สีเขียวสด

ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ ตามซอกใบใกล้ปลายยอด มีกลีบดอก ๘-๑๒ กลีบ เรียงซ้อนกันหลายชั้น เนื้อกลีบดอกหนา เป็นสีแดงเข้มอมสีม่วงตลอดทั้งกลีบดอก ดอกขณะยังตูมเป็นรูปกระสวย ดอกมีขนาดใหญ่มาก มีเกสร ๑๐-๑๓ อัน ดอกมีกลิ่นหอมแรง เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้น สีสันของดอกจะดูเจิดจ้าสวยงามและส่งกลิ่นหอมเป็นที่ประทับใจมาก ดอกออกตลอดทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอด ปลูกได้ในดินทั่วไปและ ปลูกเจริญเติบโตได้ดีทั้งในพื้นที่ราบต่ำและพื้นที่สูง เป็นไม้ไม่ชอบน้ำมากนัก รดน้ำวันละครั้งหรือวันเว้นวันได้ บำรุงปุ๋ยมูลสัตว์สลับกับใส่ปุ๋ยสูตร ๑๖-๑๖-๑๖ ครึ่งเดือนครั้ง จะทำให้ต้น “จำปีแดงพันธุ์ใหม่” แข็งแรงมีดอกสีสันงดงามและส่งกลิ่นหอมไม่ขาดต้น ปัจจุบันมีกิ่งตอนแท้ขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ   ไทยรัฐ


(http://www.singhakr.com/image/595.jpg)  จำปาสีทอง กับที่มาพันธุ์สวยหอม
จำปาชนิดนี้ เกิดจากการนำเอาเมล็ดของจำปาสายพันธุ์พื้นเมืองของไทยจำนวนหลายเมล็ดไปเพาะเป็นต้นกล้า แล้วแยกปลูกเลี้ยงจนโตมีดอกและติดผล ปรากฏว่าลักษณะดอกใหญ่และดีกว่าดอกจำปาสายพันธุ์พื้นเมืองหรือพันธุ์แม่อย่างชัดเจน จึงคัดเอาต้นดีที่สุดไปปลูกเลี้ยงและขยายพันธุ์ปลูกทดสอบความนิ่งของสายพันธุ์อยู่หลายวิธีจนมั่นใจได้ว่าเป็นจำปาพันธุ์ใหม่ที่กลายพันธุ์ถาวรแล้วแน่นอน เนื่องจากยังเหมือนเดิมทุกอย่าง เลยตั้งชื่อว่า “จำปาสีทอง” ดังกล่าว พร้อมขยายพันธุ์ออกขายได้รับความนิยมจากผู้ปลูกอย่างแพร่หลายในเวลานี้

จำปาสีทอง อยู่ในวงศ์ MAGNOLIACEAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้ยืนต้นสูง ๑๐-๒๐ เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มแน่น ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับรูปรี รูปไข่หรือรูปไข่แคบ ปลายใบแหลม หรือเป็นติ่งแหลม โคนกลมมน หรือแหลม ใบมีขนาดใหญ่ สีเขียวสด เวลามีใบดกจะหนาทึบให้ร่มเงาดีมาก

ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆตามซอกใบเกือบทุกซอกใบ มีกลีบดอก ๑๒-๑๕ กลีบ เรียงซ้อนกันหลายชั้น กลีบด้านนอกสด จะมีขนาดใหญ่และยาวกว่ากลีบที่อยู่ชั้นถัดไปตามลำดับ ปลายกลีบดอกแหลม เนื้อกลีบดอกหนากว่าเนื้อของกลีบดอกจำปาทั่วไปเยอะ ดอกตูมเป็นรูปกระสวย เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดใหญ่ กว่าดอกจำปาทั่วไป ๒ เท่า มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียเยอะ สีของกลีบดอกเป็นสีเหลืองเข้มหรือสีเหลืองทอง ดอกจะมีกลิ่นหอมแรงในช่วงเช้า พอตกบ่ายกลิ่นหอมจะจางลง เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้น จะดูสวยงามอร่ามตาและสิ่งกลิ่นหอมตอนเช้าตรู่เป็นที่ชื่นใจยิ่ง “ผล” เป็นกลุ่ม มีผลย่อยจำนวนมาก ผลย่อยเป็นรูปค่อนข้างกลมและแข็ง ผิวผลสีน้ำตาลอ่อน มีแต้มหรือจุดด่างสีขาว มีเมล็ดจำนวนมาก ดอกออกตลอดทั้งปี ขยายพันธุ์ทั่วไปด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง และเสียบยอด

ปัจจุบันมีกิ่งตอนวางขายทั่วไปที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ราคาอยู่ที่ขนาดของต้น เหมาะจะปลูกประดับในบริเวณบ้านมากครับ.  ไทยรัฐ

(https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQ-m5WNYtQ4fKZIefWEfnb7Rv3YvwODu76tsGNloNW91LtSduWsIQ)     อโศกระย้า ดอกสวยน่าปลูก
เมื่อประมาณ ๖-๗ ปีที่ผ่านมา “อโศกระย้า” มีกิ่งตอนวางขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ที่เปิดขายเฉพาะไม้ดอกและไม้ผลทุกวันพุธ–พฤหัสฯ ได้รับความนิยมจากผู้ซื้อไปปลูกอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเวลามีดอกจะดูสวยงามมากนั่นเอง แต่ปัจจุบันไม่พบว่ามีกิ่งตอนวางขายอีกแล้ว เลยทำให้ “อโศกระย้า” กลายเป็นไม้หายากไปโดยปริยาย

อโศกระย้า หรือ AMHERSTIA NOBILIS WALL. ชื่อสามัญ ORCHID FLOWER, PRIDE OF BURMA, QUEEN OF FLOWERING TREE อยู่ในวงศ์ LEGUMINOSAE, FABACEAE วงศ์ย่อย CAESALPINIOIDEAE มีถิ่นกำเนิดจากประเทศพม่า เป็นไม้ยืนต้น สูง ๑๐-๑๕ เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดทรงกลมหนาทึบ กิ่งห้อยลง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ปลายคู่มีใบย่อย ๖-๘ คู่ รูปขอบขนาน

ดอก ออกเป็นช่อห้อยลงที่ปลายกิ่งหรือออกตามลำต้น ช่อยาวประมาณ ๕๐-๘๐ ซม.แต่ละช่อมีดอกย่อยหลายดอกเรียงห่างกันอย่างเป็นระเบียบ ใบประดับและก้านดอกเป็นสีแดง หรือ สีแดงอมชมพู มีกลีบเลี้ยง ๔ กลีบ กลีบดอกมี ๕ กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน คู่ล่างเล็ก คู่ข้างดูคล้ายรูปช้อน เป็นสีแดง ปลายสีเหลือง กลีบบนแผ่กว้าง ขอบจัก มีจุดแดงและปื้นสีเหลืองบริเวณปลายกลีบ เวลามีดอกจะเป็นช่อห้อยระย้าทั้งต้นดูสวยงามมาก “ผล” เป็นฝักโค้ง สีแดงมีเมล็ดกลมแบน ๔-๖ เมล็ด ดอกออกเกือบทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง

ปัจจุบันหากิ่งตอนวางขายยากมาก หากใครต้องการไปปลูกจะต้องเดินสำรวจให้ละเอียดอาจเจอได้ แต่หากหาไม่ได้สามารถสั่งผู้ค้าให้จัดหาให้ได้ ส่วนราคาต้องตกลงกันเอง ซึ่งต้น “อโศกระย้า” เหมาะที่จะปลูกประดับทั้งในบริเวณบ้านสำนักงานสวนสาธารณะทั่วไป เพราะต้น “อโศกระย้า” ได้ชื่อว่าเป็นไม้ยืนต้นที่มีดอกสวยที่สุดครับ.   ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/51584477639860_image_324201422245PM_1_.jpg)     กระดังงาไต้หวัน หอมแรงดกสวย
ผู้อ่านไทยรัฐ จำนวนมากที่พลาดอ่านข้อมูลเกี่ยวกับต้น “กระดังงาไต้หวัน” ที่เคยแนะนำในคอลัมน์ไปนานแล้ว อยากทราบว่ามีความเป็นมาอย่างไรและมีต้นขายที่ไหน ซึ่งต้น “กระดังงาไต้หวัน” มีลักษณะเป็นไม้พุ่ม ต้นสูงเต็มที่ประมาณ ๒.๕-๓ เมตรเท่านั้น ไม่ใช่ไม้เถาเลื้อย แตกกิ่งก้านหนาแน่น ลำต้นอวบอ้วนและใหญ่ในช่วงโคนต้น ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายแหลม โคนสอบเกือบมน ผิวใบเรียบ สีเขียวสดเป็นมัน เนื้อใบหนา ใบมีขนาดใหญ่

ดอก ออกเป็นช่อกระจุกตามปุ่มตาของลำต้นและกิ่งก้าน แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยขนาดใหญ่หนาแน่นจำนวนมาก ลักษณะดอกมีกลีบดอก ๖ กลีบ เรียงซ้อนกันเป็น ๒ ชั้น เหมือนกลีบดอกกระดังงาทั่วไป หรือกลีบดอกการเวก กลีบดอกเป็นสีเขียว เมื่อดอกแก่หรือนิยมเรียกว่า “กลีบสุก” จะเป็นสีเหลืองอมเขียว ดอกมีกลิ่นหอมแรงแบบเฉพาะตัว เมื่อดอกบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๔-๕ ซม. ดอกออกเกือบทั้งปี โดยดอกจะออกตั้งแต่โคนต้นเรื่อยขึ้นไปตามลำต้นและกิ่งก้าน

ที่สำคัญ จุดที่เคยออกดอกครั้งแรกจะออกดอกซ้ำที่เดิมหรือจุดเดิมตลอดไปและจะมีจำนวนดอกเพิ่มมากขึ้นตามอายุของต้นด้วย จึงทำให้เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้น จะดูสวยงาม และส่งกลิ่นหอมฟุ้งกระจายทั่วบริเวณใกล้เคียงเป็นที่ประทับใจมาก “ผล” ผู้ขายระบุว่ายังไม่เคยเห็นว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง เหมาะจะปลูกประดับทั้งในบริเวณบ้านและสำนักงานทั่วไป เวลามีดอกจะสวยงามและส่งกลิ่นหอมชื่นใจมากครับ.   ไทยรัฐ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/59577854391601_EyWwB5WU57MYnKOuhlByBJV0mOZKln.jpg)     “แองเจิ้ลวิง” ไม้ดอกหอมที่หายไป
ไม้ต้นนี้ มีถิ่นกำเนิดจากประเทศออสเตรเลีย ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ขายในประเทศไทยนานกว่า ๒๐ ปีแล้ว โดยในช่วงแรก “แองเจิ้ลวิง” ได้รับความนิยมจากผู้ซื้อไปปลูกอย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีดอกดกและดอกมีกลิ่นหอมแรงเป็นที่ประทับใจมาก ปัจจุบัน “แองเจิ้ลวิง” หาซื้อไปปลูกได้ยากมาก เนื่องจากผู้ขายดั้งเดิมได้เลิกขายไม้ดอกหอมไปหลายปีแล้ว แต่ยังมีผู้อ่าน ไทยรัฐที่ชื่นชอบปลูกไม้ดอกหอมตามหา “แองเจิ้ลวิง” ไปปลูกประดับอยู่ จึงแจ้งให้ทราบอีกตามหน้าที่

แองเจิ้ลวิง เป็นไม้ในกลุ่มเดียวกันกับจัสมินทั่วไป มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้พุ่มเตี้ย ต้นสูงเต็มที่ไม่เกิน ๑-๒ เมตร เนื้อลำต้นไม่แข็งนัก แตกกิ่งก้านสาขาหนาแน่น กิ่งเปราะ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้ามเป็นคู่ๆ รูปใบหอก ปลายแหลม โคนมน ยอดอ่อนเป็นสีม่วงแกมน้ำตาล เมื่อใบแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้ม ทำให้ดูสวยงามแปลกตาสองรูปแบบ

ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อย เป็นพวง ๑๐-๑๕ ดอก ลักษณะดอกโคนเชื่อมกันเป็นหลอดสีม่วงอมแดง ปลายแยกเป็นกลีบดอก ๙-๑๒ กลีบ ดูคล้ายกลีบของดอกมะลิงาช้าง ปลายกลีบแหลมและบิดงอเล็กน้อย กลีบดอกเป็นสีขาว เมื่อดอกบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑-๑.๕ ซม. หลังกลีบดอกจะมีเส้นสีม่วงลากยาวจากโคนกลีบถึงปลายกลีบ ดอกมีกลิ่นหอมแรงคล้ายกลิ่นหอมของดอกมะลิทั่วไปทุกอย่าง เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้นจะดูสวยงามและส่งกลิ่นหอมเป็นที่ชื่นใจมาก ดอกออกตลอดทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยวิธีตอนกิ่ง

ไม่พบว่ามีกิ่งตอนหรือต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ตามที่ระบุข้างต้น ใครต้องการจะต้องเดินเสาะหาหรือบอกกล่าวให้ผู้ขายไม้ดอกหอมจัดหาให้ ราคาต่อรองกันเอาเอง เหมาะจะปลูกเป็นไม้ประดับในบริเวณบ้านหลายๆ ต้น เวลามีดอก นอกจากจะดูสวยงามและส่งกลิ่นหอมชื่นใจแล้ว ยังสามารถเก็บเอาดอกบูชาพระได้อีกด้วย   ไทยรัฐ


(http://www.nanagarden.com/Picture/Product/400/139314.jpg)     “ตันหยง” หอมช่วงวสันต์
ผู้อ่านจำนวนมากเข้าใจว่า “ตันหยง” เป็นไม้ไทยและเชื่อว่ามีถิ่นกำเนิดทางภาคใต้ของไทยด้วย เพราะชื่ออ่านแล้วน่าจะเป็นอย่างที่คิด แต่ความจริงแล้ว “ตันหยง” เป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมจากประเทศสหรัฐอเมริกาเขตร้อนทั่วไป ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในบ้านเราตั้งแต่สมัยคุณปู่คุณย่าแล้ว จนทำให้กลายเป็นไม้ไทยไปโดยปริยาย มีชื่อเรียกในประเทศไทยว่า “ตันหยง” เรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน นิยมปลูกตามบ้านตามสวนสาธารณะอย่างแพร่หลาย มีลักษณะประจำพันธุ์คือ ดอกดกสวยงามน่าชมยิ่ง ดอกมีกลิ่นหอมแรง และจะหอมจัดจ้านเต็มที่ในช่วงฤดูฝน หรือยุคสมัยก่อนชอบเรียกว่าหอมช่วงฤดูวสันต์นั่นเอง

ตันหยง หรือ CAESALPINIA CORIARIA WILLD ชื่อสามัญ DIVI-DIVI อยู่ในวงศ์ LEGUMINOSAE เป็นไม้ยืนต้น สูง ๕-๑๐ เมตร ลำต้นเดี่ยว แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกว้างรูปดอกเห็ด ใบเป็นใบประกอบขนนก ออกเรียงสลับ ใบย่อยขนาดเล็ก รูปขอบขนานแคบ ปลายมน ออกเป็นคู่ๆ ใบย่อยไม่มีก้านใบ สีเขียวสด

ดอก ออกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบและปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก มีกลีบดอก ๖ กลีบ เป็นสีขาวอมเขียว หรือ สีเขียวอมเหลืองอ่อน เมื่อดอกบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลาง ๐.๓-๐.๕ ซม. ดอกมีกลิ่นหอมแรงเป็นธรรมชาติ และจะมีกลิ่นหอมที่สุดในช่วงฤดูฝนหรือฤดูเหมันต์ ตามที่กล่าวข้างต้น เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกัน จะส่งกลิ่นหอมฟุ้งกระจายทั่วบริเวณใกล้เคียงเป็นที่ชื่นใจมาก “ผล” เป็นฝักแบนและบิดงอ กว้างประมาณ ๑.๕ ซม. ยาวประมาณ ๓.๕ ซม.ภายในมีเมล็ด ดอกออกช่วงระหว่างเดือนมิถุนายนต่อเนื่องไปจนถึงเดือนกรกฎาคมของทุกปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง มีต้นขายทั่วไปที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ราคาอยู่ที่ขนาดของต้นประโยชน์ เนื้อฝักของ “ตันหยง” มีสารพัด TANNIN ๔๐-๕๐ เปอร์เซ็นต์ตำละเอียด พอกแผลสดแผลเปื่อยให้แห้งได้ และนำไปย้อมหนังสัตว์ได้อีกด้วยครับไทยรัฐ

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/53977400768134_1_77_696x383_1_.jpg)
อินทนิล-เสลา-ตะแบก

ดอกไม้ที่ใกล้เคียงกัน ๓ ชนิด คือ อินทนิล เสลา (อ่านว่า สะ-เหลา) ตะแบก ดร.ธวัชชัย สันติสุข ราชบัณฑิต ประเภทวิทยาศาสตร์ชีวภาพ สาขาวิชาพฤกษศาสตร์ อธิบายให้เข้าใจ ดังนี้

เมื่อลมร้อนเริ่มโชยจะสังเกตเห็นว่าต้นไม้บางชนิดที่ปลูกตามถนนหนทาง สวนสาธารณะ สถานที่ทำการบางแห่งในเมือง ผลิใบพร้อมกับช่อดอกขนาดใหญ่ สีม่วงสด ม่วงอมชมพู หรือชมพูเด่นสะดุดตา ต้นไม้เหล่านี้มีทั้ง ตะแบก เสลา อินทนิลน้ำ และอินทนิลบก ซึ่งดูผิวเผินมีลักษณะคล้ายคลึงกัน จึงทำให้เกิดความสับสนว่า ต้นใดเป็น ตะแบก เสลา อินทนิล

พรรณไม้จำพวก ตะแบก เสลา อินทนิล เป็นไม้ในสกุลเดียวกัน คือ Lagerstroemia วงศ์ Lythraceae ชนิดที่เป็นพรรณไม้พื้นเมืองของไทยนำมาปลูกประดับเรียงลำดับตามความนิยม ได้แก่ อินทนิลน้ำ เสลา ตะแบก และอินทนิลบก ตามถนน  ในกรุงเทพมหานคร มักจะปรากฏพรรณไม้ชนิดใดชนิดหนึ่ง ดังกล่าวปลูกแทรกอยู่เสมอ เช่น สองฟากถนนเพชรบุรี มีอินทนิลน้ำ เสลา และตะแบก และปลูกกันประปรายในเมืองต่างๆ ทางภาคเหนือและภาคอีสาน พรรณไม้ทั้ง ๔ ชนิด มีลักษณะเด่นแตกต่างกันพอสังเกตได้ดังนี้

อินทนิลน้ำ (Lagerstroemia speciosa (Linn.) Pers.) เปลือกลำต้นสีเทาหรือน้ำตาลอ่อน ค่อนข้างเรียบ อาจจะตกสะเก็ดเป็นแผ่นบางๆ บ้างเล็กน้อย ใบเกลี้ยง ปลายใบเรียวแหลม ผลิใบอ่อนเต็มต้นพร้อมช่อดอก สังเกตได้ง่ายที่ตำแหน่งช่อดอกเป็นพุ่มทรงเจดีย์ชูตั้งขึ้นเหนือเรือนยอดโดยรอบ ขนาดของดอกบานกว้าง ๕-๘ เซนติเมตร ออกชิดกันเป็นกลุ่ม สีม่วงสด ม่วงอมชมพูจนถึงชมพู และสีจะซีดจางลงเล็กน้อย เมื่อดอกโรย ผลมีผิวขรุขระ สีคล้ายเนื้อไม้ ออกดอกช่วงฤดูร้อน (มีนาคม -พฤษภาคม)

อินทนิลบก (L. macrocarpa Wall. ex Kurz) ลักษณะคล้ายอินทนิลน้ำมาก แต่ใบ ดอก และผลมีขนาดใหญ่กว่า ใบป้อมและกว้างกว่าใบอินทนิลน้ำ ปลายใบมนกว้างหรือแหลมเป็นติ่งสั้นๆ ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ช่อดอก ไม่ชูตั้งขึ้นเหนือเรือนยอด ขนาดของดอกบานกว้าง ๑๐-๑๓ เซนติเมตร แต่ละดอกจะชิดกันเป็นกลุ่ม ดอกสีม่วงอมชมพู และสีจะจางซีดลงเป็นสีขาวอมชมพู ออกดอกช่วงฤดูร้อน มีชื่ออื่นๆ ว่า กาเสลา จ้อล่อ จะล่อ

เสลา (L. loudonii Teysm. et Binn.) เปลือกลำต้นสีน้ำตาลดำหรือสีคล้ำ แตกเป็นร่องตื้นๆ ตามยาว ปลายกิ่งย้อยลู่ลงสู่พื้น ใบมีขนปกคลุมประปราย ช่อดอกออกตามกิ่ง ตามง่ามใบและปลายกิ่ง แต่ช่อไม่ชูตั้งขึ้น เมื่อดอกในช่อบานจะชิดกัน ดอกสีชมพูอมม่วง ออกดอกช่วงฤดูร้อน ผลผิวเรียบเป็นมันสีน้ำตาลไหม้ มีชื่ออื่นๆ ว่า เสลาใบใหญ่ อินทรชิต

ตะแบก (L. floribunda Jack) เปลือกลำต้นสีเทา เรียบ ลื่น เป็นมัน มักมีรอยแผลเป็นหลุมตื้นคล้ายเปลือกต้นฝรั่ง ใบอ่อนมีขนปกคลุม ใบแก่เกลี้ยง ช่อดอกออกตามปลายกิ่ง โค้งชูเหนือเรือนยอด มีดอกจำนวนมาก ดอกขนาดเล็ก บานเต็มที่กว้าง ๔-๕ เซนติเมตร ดอกในช่อเรียงกันห่างๆ ทำให้ช่อดอกโปร่ง ดอกสีม่วงอมชมพู และสีจะจางซีดลงเกือบเป็นสีขาวเมื่อดอกโรย ผลผิวเรียบเป็นมันสีน้ำตาลเข้ม มีขนปกคลุมบางๆ ที่ส่วนปลาย ออกดอกในช่วงฤดูฝน (มิถุนายน-กันยายน)



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/86069177173905_1_315_1_.jpg)(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/82333771553304_3_139_696x466_1_.jpg)

โกจิเบอร์รี่
จากบทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชนของภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ผศ.ดร.ภญ.วีณา นุกูลการ และ น.ส.ธันย์ชนก ปักษาสุข ว่า โกจิเบอร์รี่ (Goji berry) หรือ Wolfberry มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lycium barbarum วงศ์ Solanaceae หรือรู้จักกันในอีกชื่อว่า เก๋ากี้ เป็นผลไม้ชนิดหนึ่งในตระกูลเบอร์รี่ มีถิ่นกำเนิดแถบทวีปเอเชีย ผลของโกจิเบอร์รี่มีสีแดงอมส้ม ขนาดเล็ก รสชาติเปรี้ยวอมหวาน มีสรรพคุณหลากหลาย ได้รับขนานนามว่าเป็น ซูเปอร์ฟรุต (super fruit)

โกจิเบอร์รี่เป็นพืชที่มีใยอาหารสูงถึงร้อยละ ๒๐ ประกอบด้วยกรดอะมิโนหลายชนิด มีแร่ธาตุต่างๆ เช่น สังกะสี เหล็ก ทองแดง แคลเซียม ฟอสฟอรัส ซีลีเนียม เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสารสำคัญจำพวก ซีแซนทิน (zeaxanthin) และลูทีน (lutein) สูงมากกว่าผักและผลไม้ทั่วไป ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสร้างสารทั้งสองนี้ได้ จำเป็น ต้องได้รับจากอาหาร ซึ่งพบว่า ซีแซนทินและลูทีนเป็นสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ ๒ ชนิดเท่านั้นที่พบในจุดรับภาพของจอตา

มีการศึกษาพบว่า ภายในจอประสาทตาของคนเรา มีร่องเล็กๆ อยู่จุดหนึ่งที่มีเซลล์รับภาพในจอประสาทตา เป็นจุดที่แสงตกกระทบและทำให้คนเราสามารถมองเห็นภาพที่ชัดเจนในแต่ละวัน ซึ่งบริเวณเซลล์รับภาพนี้มีสารสีเหลือง หรือลูทีน อยู่หนาแน่นมากที่สุด จะพบได้ตรงชั้นเนื้อเยื่อที่หล่อเลี้ยงเส้นประสาท หากบริเวณดังกล่าวเสื่อมหรือเสียไปอาจทำให้สูญเสียการมองเห็นได้ โดยสารลูทีนในเซลล์รับภาพในจอประสาทตานี้จะทำหน้าที่สำคัญคือ คอยกรองแสงสีฟ้าซึ่งเป็นอันตรายต่อจอประสาทตา เป็นแสงที่หลีกเลี่ยงได้ยากเพราะมีอยู่ทั่วไปรอบๆ ตัวเรา ทั้งแสงแดดจากดวงอาทิตย์ แสงจากโทรทัศน์ แสงจากจอคอมพิวเตอร์ แสงจากหลอดไฟ ฯลฯ

จากการศึกษาพบว่า ระดับลูทีน ๒.๐-๖.๙ มิลลิกรัมต่อวัน จะช่วยป้องกันความเสื่อมของจุดด่างในดวงตาได้ ทั้งลูทีนยังทำหน้าที่เป็นสารต้านออกซิเดชั่นในดวงตาของคนเราอีกด้วย เพราะในดวงตาของเราจะมีสารอนุมูลอิสระอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นตัวทำลายเซลล์รับภาพและทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับจอประสาทตา ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ได้

ส่วนซีแซนทิน พบในโกจิเบอร์รี่ปริมาณสูง มากกว่าสาหร่ายเกลียวทองถึง ๕ เท่า ซีแซนทินเป็นองค์ประกอบสำคัญในจอตา โดยเฉพาะส่วนที่เรียกว่า macular ซึ่งเป็นชั้นของเม็ดสี ทำหน้าที่กรองแสงที่จะผ่านเข้าสู่จอตาและช่วยลดการสะท้อนของแสง ป้องกันรังสีจากแสงแดดที่เป็นอันตรายต่อดวงตา ทำให้มีคุณสมบัติช่วยป้องกันโรคหลายชนิด เช่น โรคต้อกระจก โรคจอรับภาพเสื่อม โรคหัวใจและหลอดเลือด

นอกจากนี้ ผลโกจิเบอร์รี่ยังมีเบต้าแคโรทีน (beta carotene) ซึ่งเป็นสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์อีกชนิดหนึ่ง พบว่าในผลโกจิเบอร์รี่มีปริมาณเบต้าแคโรทีนสูงกว่าแครอต เบต้าแคโรทีนมีคุณสมบัติเป็นโปร วิตามินเอ คือเป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ และจะถูกเปลี่ยนไปเป็นวิตามินเอจากเอนไซม์ที่ตับ วิตามินเอจัดเป็นวิตามินที่มีส่วนช่วยในการมองเห็น บำรุงสายตา

จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่าในชีวิตประจำวันเราอาจหลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงสีฟ้าได้ยาก เนื่องจากเป็นแสงที่อยู่รอบๆ ตัว รวมทั้งจากอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นการบำรุงสุขภาพตาทั้งเด็กและผู้ใหญ่ รวมทั้งการปกป้องสายตาจากแสงสีฟ้า นอกจากการหลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงสีฟ้านานๆ การพักสายตาจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ แล้ว การรับประทานสารที่มีฤทธิ์ปกป้องและบำรุงสายตา เช่น โกจิเบอร์รี่ ลูทีน และวิตามินเอ จะมีผลให้มีสุขภาพตาที่ดี โดยรับประทานได้จากอาหาร ผัก ผลไม้ นม



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/94239435510502_view_resizing_images_1_.jpg)

สารภี
สารภี ชื่อสามัญ Negkassar ชื่อวิทยาศาสตร์ Mammea siamensis T.Anderson จัดอยู่ในวงศ์ CALOPHYLLACEAE ชื่อท้องถิ่นอื่นมีเช่น สารภีแนน (เชียงใหม่), ทรพี สารพี (จันทบุรี), สร้อยพี (ภาคใต้) เป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในพม่า ไทย อินโดจีน และคาบสมุทรมาเลเซีย ในธรรมชาติพบในป่าเบญจพรรณและป่าดงดิบที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๒๐-๔๐๐ เมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด หรือตอนกิ่ง ปลูกได้ดีทั้งในที่ร่มรำไรและที่กลางแจ้ง ในดินทุกสภาพ ชอบดินร่วนซุย ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง

เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ ความสูงประมาณ ๑๐-๑๕ เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ แตกกิ่งก้านแผ่กว้าง เปลือกลำต้นเป็นสีเทาอมน้ำตาลถึงดำ แตกล่อนเป็นสะเก็ดตลอดลำต้น เปลือกในเป็นสีน้ำตาลแดง มียางสีครีมหรือสีเหลืองอ่อนเล็กน้อย ส่วนเนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลปนแดง เนื้อละเอียด เสี้ยนตรง ถี่ และสม่ำเสมอ แข็ง ทนทาน

ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ลักษณะใบเป็นรูปไข่กลับ หรือรูปรีแกมขอบขนาน ปลายใบมนกว้างๆ บางทีอาจมีติ่งสั้นๆ หรือหยักเว้าแบบตื้นๆ โคนใบสอบเรียว ขอบใบเรียบ ใบมีความกว้าง ๒-๕.๗ เซนติเมตร ยาว ๗.๕-๒๕ เซนติเมตร แผ่นใบหนาเกลี้ยงสีเขียวเข้มเป็นมัน ท้องใบสีอ่อนกว่า เนื้อใบหนาและค่อนข้างเรียบ เส้นแขนงของใบไม่มี แต่เห็นเส้นใบย่อยเป็นแบบเส้นร่างแหชัดทั้งสองด้าน ก้านใบยาว ๐.๕-๑.๕ เซนติเมตร

ดอกสีขาวอมเหลือง ออกดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อกระจุกตามกิ่ง ดอกย่อยเป็นสีขาว มีกลิ่นหอมมาก ดอกมีกลีบดอก ๔ กลีบ กลีบเลี้ยงมี ๒ กลีบ มีเกสรตัวผู้สีเหลืองจำนวนมาก ออกดอกช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคม ผลสารภีลักษณะเป็นรูปกระสวย หรือกลมรี ขนาด ๒.๕-๕ เซนติเมตร ผิวผลเรียบ ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีเหลืองอมส้ม เนื้อผลนิ่ม รับประทานได้ มีเมล็ดเดียว เป็นผลในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน

สารภีมีสรรพคุณ ดอกรสหอมเย็นใช้ผสมในยาหอม บำรุงหัวใจ บำรุงเส้นประสาท แก้วิงเวียนหน้ามืดตาลาย ชูกำลัง ช่วยทำให้เจริญอาหาร รักษาธาตุไม่ปกติ โลหิตพิการ ช่วยแก้ไข้มีพิษร้อน มีฤทธิ์ขับลม ใช้เป็นยาฝาดสมาน ทั้งนี้ ดอกสารภีจัดอยู่ในตำรับยา "พิกัดเกสรทั้งห้า" (ดอกสารภี ดอกพิกุล ดอกมะลิ ดอกบุนนาค เกสรบัวหลวง), ตำรับยา "พิกัดเกสรทั้งเจ็ด" (เพิ่มดอกกระดังงา ดอกจำปา) และในตำรับยา "พิกัดเกสรทั้งเก้า" (เพิ่มดอกลำดวน ดอกลำเจียก) เป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณช่วยบำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ บำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น ทำให้ชื่นใจ แก้ลมกองละเอียด แก้อาการหน้ามืดตาลาย วิงเวียนศีรษะ แก้โรคตา แก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ และช่วยบำรุงครรภ์

ใบสารภีช่วยบรรเทาอาการปวดตามข้อ ช่วยขับปัสสาวะ, ผลสุกมีรสหวาน นอกจากรับประทานเป็นผลไม้ ยังช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยขยายหลอดเลือด, เกสรหอมเย็น ใช้เป็นยาแก้ไข้ บำรุงครรภ์ ส่วนยางไม้ของต้นสารภีนำมาใช้แก้อาการแพ้คันจากพิษของต้นหมามุ่ย หรือจากน้ำลายของหอยบางชนิด

ดอกตูมของสารภีใช้สกัดทำสีย้อมผ้าสีแดง ดอกแห้งใช้ทำน้ำหอม โดยเพิ่มดอกคำฝอย ส้มป่อยเผา แช่ในน้ำจะได้น้ำหอมสำหรับใช้สรงน้ำพระในเทศกาลสงกรานต์ ส่วนดอกสดนำมา สกัดเป็นน้ำมันหอมระเหยนำไปใช้แต่งกลิ่นเครื่องสำอาง

โบราณเชื่อว่า หากบ้านใดปลูกต้นสารภีไว้ จะทำให้มีอายุยืนยาวเหมือนเช่นต้นสารภีที่มีเนื้อไม้แข็งแรง ทนทาน เป็นไม้ไทยที่มีอายุยืน ทั้งเชื่อว่าดอกสารภีช่วยบำรุงสุขภาพจิต เพราะเป็นเครื่องยาบำรุงหัวใจ ทำให้ร่างกายเกิดอารมณ์เยือกเย็น มีอายุยืนยาวเช่นกัน และเพื่อความเป็นสิริมงคล ควรปลูกในวันเสาร์ (โบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เอาคุณให้ปลูกในวันเสาร์) และปลูกไว้ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ป้องกันเสนียดจัญไร และผู้ปลูกควรเป็นสตรี เพราะสารภีเป็นชื่อที่เหมาะกับสตรี


ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด


หัวข้อ: Re: พรรณไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้มงคล
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 08 กุมภาพันธ์ 2561 18:10:04
(http://sukkaphap-d.com/wp-content/uploads/2017/05/Gooseberry-3.jpg)
เคป กูสเบอร์รี่

เคป กูสเบอร์รี่ (cape gooseberry) หรือ เรียกอีกชื่อว่า โทงเทง ฝรั่ง เป็นพืชในวงศ์ Solanaceae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับมะเขือ มะเขือเทศ มะเขือยาว และมันฝรั่ง เป็นไม้ล้มลุก กิ่งสีม่วง มีลักษณะเป็นครีบ มีขนปกคลุมหนาแน่น

ดอกเดี่ยวออกตามซอกใบ ดอกห้อยลง ก้านผลยาวกว่าก้านดอก ผลสดแบบเบอร์รี่ รูปผล กลม สีเหลืองส้ม ผิวเกลี้ยง มีกลีบเลี้ยงติดทนจนเป็นผล เนื้อผลฉ่ำน้ำ มีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก

เคป กูสเบอร์รี่ มีถิ่นกำเนิดจากพื้นที่สูงเขตร้อนในประเทศโคลัมเบีย เอกวาดอร์ เปรู ชิลี บราซิล

มีคำตอบจากสำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ว่า โทงเทงฝรั่ง หรือ เคป กูสเบอร์รี่ มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Physalis peruviana L. ขณะที่โทงเทงไทยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า P. angulata L. และ P. minima L. ทั้งโทงเทงฝรั่งและโทงเทงไทยเป็นพืชจัดอยู่ในวงศ์ Solanaceae พวกเดียวกับมะเขือ มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ใกล้เคียงกัน แต่ผลโทงเทงฝรั่งมีลักษณะโตกว่า ผลสุกสีเหลืองส้ม รสชาติหวานอมเปรี้ยว รับประทานได้ แต่โทงเทงไทยผลมีขนาดเล็ก กลิ่นและรสชาติไม่เป็นที่นิยมนำมารับประทาน

ผลสุกของโทงเทงฝรั่งอุดมไปด้วยวิตามินต่างๆ มีคุณค่าทางโภชนาการ จัดเป็นผลไม้ที่ให้พลังงานต่ำ ใน ๑ ถ้วย ๑๔๐ กรัม ให้พลังงานประมาณ ๗๔ กิโลแคลลอรี มีคาร์โบไฮเดรตจากความหวานของน้ำตาลและไฟเบอร์ มีโปรตีน อุดมไปด้วยวิตามินเอ และวิตามินซี

นอกจากนี้ ยังพบสารกลุ่ม ฟลาโวนอยด์ส (flflavonoids) และ โพลีฟีนอลส์ (polyphenols) และมีข้อมูลระบุว่าน้ำมันที่สกัดจากเมล็ด เนื้อและผิวเปลือกของโทงเทงฝรั่งประกอบไปด้วยสารกลุ่ม ไฟโตสเตอ รอล (phytosterols) ซึ่งสารสำคัญต่างๆ เหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการต้านอนุมูลอิสระ รวมทั้งมีกากใยช่วยในการขับถ่าย

ในต่างประเทศนิยมนำผลที่ต้มแล้วใส่ในพาย พุดดิ้ง ชัตนีย์ (chutney; เป็นเครื่องปรุงรสที่มีต้นกำเนิดจากอินเดียตะวันออก) และไอศกรีม มีการแปรรูปเป็นแยมหรือเยลลี่ สำหรับในประเทศไทยมีการแปรรูปเป็นน้ำคั้นบรรจุขวดออกมาจำหน่าย

นอกจากนี้ โทงเทงฝรั่งยังมีกลิ่นเฉพาะตัว จึงมีการศึกษาเพื่อพัฒนานำกลิ่นและน้ำมันจากผลโทงเทงฝรั่งมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร

สำหรับข้อควรระวัง มีงานวิจัยพบว่า หนูเพศผู้ในกลุ่มที่ได้รับผงแห้งจากน้ำคั้นขนาด ๕,๐๐๐ ม.ก./ก.ก. จะมีระดับ troponin T และโพแทสเซียมสูงขึ้น และหนูเพศผู้ที่ได้รับผงแห้งจากน้ำคั้นทุกขนาดมีระดับ troponin I สูงขึ้น

ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ว่ามีการตายของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ แสดงว่า โทงเทงฝรั่ง ในขนาดสูงอาจมีผลทำให้เกิดความเป็นพิษต่อหัวใจในหนูแรทได้ ดังนั้น อาจจะต้องระมัดระวังการรับประทานโทงเทงฝรั่งในปริมาณสูงในผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ อย่างไรก็ตาม ควรมีการศึกษาทางคลินิกเพิ่มเติมต่อไป

ยังมีข้อมูลจากศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ สภาเภสัชกรรม ว่า เคป กูสเบอร์รี่ การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่ามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ป้องกันความเป็นพิษ และต้านเซลล์มะเร็ง เป็นต้น

สารสำคัญที่ออกฤทธิ์คือ สารในกลุ่ม withanolides เคป กูสเบอร์รี่ เป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งด้านคุณค่าทางอาหาร เพราะอุดมไปด้วยวิตามินเอและวิตามินซี และยังเป็นผลไม้ที่ให้พลังงานต่ำ



(http://www.afmgroup.com/afmgroup/catalog/picture/MAR060-03-001.jpg)

ดาวเรือง

ดาวเรือง ชื่อวิทยาศาสตร์ Tagetes erecta L. ชื่อสามัญ African marigold, American marigold, Aztec marigold, Big marigold จัดอยู่ในวงศ์ทานตะวัน มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า ดาวเรืองใหญ่, คำปู้จู้หลวง (ภาคเหนือ), พอทู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), บ่วงซิ่วเก็ก (จีนแต้จิ๋ว), ว่านโซ่วจวี๋ (จีนกลาง), บ่วงลิ่วเก็ก เฉาหู่ย้ง กิมเก็ก (จีน) เป็นต้น

เป็นพันธุ์ไม้พื้นเมืองของเม็กซิโก จัดเป็นไม้ล้มลุก มีอายุได้ราว ๑ ปี ลำต้นตั้งตรงมีความสูงประมาณ ๖๐-๑๐๐ เซนติเมตร แตกกิ่งก้านมากที่โคนต้น ลำต้นเป็นสีเขียวและเป็นร่องทั้งต้น

เมื่อนำมาขยี้จะมีกลิ่นเหม็น จึงทำให้แมลงไม่ค่อยมารบกวน ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดเป็นหลัก (อาจใช้การปักชำก็ได้ แต่ต้นที่ได้จะมีขนาดเล็กกว่า) เจริญเติบโตได้เร็ว ชอบดินร่วน ระบายน้ำได้ดี มีความชื้นปานกลาง ชอบแสงแดดแบบเต็มวัน

ดาวเรืองที่พบเห็นและปลูกกันมากในปัจจุบันมี ๕ ชนิด ได้แก่ ดาวเรืองอเมริกัน (Tagetes erecta) ดาวเรืองฝรั่งเศส (Tagetes patula) ดาวเรืองนักเก็ต (Triploid Marigold) ดาวเรืองซิกเน็ต (Tagetes tenuifolia หรือ Tagetes signata pumila) และดาวเรืองใบ (Tagetes filifolia)

นางเอกของดาวเรืองคือดอกสวยงาม ดอกเป็นดอกเดี่ยวตามปลายยอด สีเหลืองสดหรือเหลืองปนส้ม กลีบดอกมีขนาดใหญ่เรียงซ้อนกันหลายชั้นเป็นวงกลม เส้นผ่านศูนย์กลางดอกประมาณ ๕-๑๐ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๑.๕-๒ เซนติเมตร ปลายกลีบดอกเป็นฟันเลื่อย มีเกสรเพศผู้ ๕ ก้าน

ดอกจะแบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะ คือ ดอกวงนอกมีลักษณะคล้ายลิ้นหรือเป็นรูปรางน้ำซ้อนกันแน่น บานแผ่ออก ปลายม้วนลง มีจำนวนมาก เป็นดอกที่ไม่สมบูรณ์เพศ โคนกลีบดอกเป็นหลอดเล็ก ส่วนดอกวงในเป็นหลอดเล็กอยู่ตรงกลางช่อดอก มีจำนวนมากและเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยงดอกเป็นสีเขียวเชื่อมติดกันหุ้มโคนช่อดอก ก้านชูดอกยาว

ประโยชน์ ที่โดดเด่นคือนำดอกมาใช้ในงานการมงคลต่างๆ รวมถึงร้อยห้อยคอเป็นการต้อนรับบุคคล และปลูกประดับที่ทางให้สวยงามขึ้น ทั้งยังอาจปลูกเป็นเกราะป้องกันแมลงศัตรูพืชให้แก่พืชอื่นๆ ได้อีกด้วย เพราะดาวเรืองมีสารที่มีกลิ่นเหม็นฉุน แมลงไม่ชอบ

นอกจากนี้ ต้นและรากของดาวเรืองมีสารที่ช่วยป้องกันและกำจัดไส้เดือนฝอยในดิน โดยใช้วิธีการไถกลบทั้งต้นและรากลงในแปลงปลูกพืชที่มีปัญหาดังกล่าว เช่น แปลงยาสูบ มะเขือเทศ เยอบีร่า สตรอว์เบอร์รี่ และต้นดาวเรืองสามารถสะสมสารหนูได้มากถึง ๔๒% จึงมีประโยชน์ในการนำมาฟื้นฟูดินที่มีการปนเปื้อนสารหนูได้ดี

ดอกยังนำมาประกอบอาหารรับประทานได้ เช่น ดอกตูมลวกจิ้มกับน้ำพริก แกล้มกับลาบ หรือใช้ดอกบานปรุงแบบยำใส่เนื้อ ทำน้ำยำแบบรสหวานคล้ายน้ำจิ้มไก่หรือน้ำจิ้มทอดมัน เป็นต้น

ทางภาคใต้นิยมนำเป็นผักผสมในข้าวยำ ทั้งนี้ ดาวเรืองมีสารเบตาแคโรทีนจากธรรมชาติ ซึ่งคุณสมบัติของเบตาแคโรทีนจะทำหน้าที่โปรวิตามินเอ เมื่อได้รับเข้าสู่ร่างกายแล้วจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ ทั้งยังเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งในตับและปอด

นอกจากนี้ดอกยังสามารถนำมาสกัดทำเป็นสีย้อมผ้า โดยจะให้สีเหลืองทอง และปัจจุบันยังมีการปลูกดาวเรืองเพื่อนำมาผลิตเป็นดอกดาวเรืองแห้ง ใช้เป็นส่วนผสมในอาหารของไก่ไข่ จากที่มีผลงานวิจัยระบุว่า อาหารไก่ที่ผสมดอกดาวเรืองแห้งจะช่วยเพิ่มความเข้มสีของไข่แดง



(https://www.bansuanporpeang.com/files/images/user1048/DSC02178.jpg)
ดอกเข้าพรรษา-หงส์เหิน

“ดอกเข้าพรรษา” นั้นหรือคือไม้ที่เรียกกันทั่วไปว่า “หงส์เหิน”

ตำนานเล่าว่า ครั้งสมัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในกรุงราชคฤห์ มีช่างจัดดอกไม้นาม สุมนะ ทุกเช้าจะนำดอกมะลิ ๘ ทะนานไปถวายพระเจ้าพิมพิสาร โดยจะได้ทรัพย์เป็นค่าดอกไม้วันละ ๘ กหาปณะ วันหนึ่งขณะจะนำดอกไม้ไปถวายพระราชา เป็นช่วงเวลาพระบรมศาสดาเสด็จมาบิณฑบาตพร้อมด้วยหมู่ภิกษุสงฆ์ ทรงเปล่งฉัพพรรณรังสีออกจากพระวรกาย นายสุมนะ เห็นแล้วเกิดความเลื่อมใสศรัทธามากอยากจะถวายดอกมะลิทั้ง ๘ ทะนานเป็นพุทธบูชา

สุมนะคิดว่า “ถ้าหากพระราชาไม่ได้รับดอกไม้ในวันนี้ เราอาจถูกประหารหรือถูกเนรเทศ แต่ถึงพระราชาจะทรงอนุเคราะห์เราด้วยการพระราชทานทรัพย์เป็นค่าดอกไม้ก็คงพอเลี้ยงชีวิตได้แค่ในภพชาตินี้ แต่การบูชาพระบรมศาสดาด้วยดอกไม้เหล่านี้ จะทำให้เราได้รับความสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า”

คิดแล้วก็ตัดสินใจสละชีวิต เขาโปรยดอกไม้ทั้ง ๘ ทะนาน บูชาพระบรมศาสดาทันที ทันใดนั้นสิ่งอัศจรรย์บังเกิดขึ้น ดอกมะลิทั้ง ๘ ทะนานไม่ได้ตกถึงพื้นดินเลย ดอกมะลิ ๒ ทะนาน กลายเป็นเพดานดอกไม้แผ่อยู่เหนือพระเศียรของพระบรมศาสดา อีก ๒ ทะนานแผ่เป็นกำแพงดอกไม้ลอยอยู่ข้างขวา และ ๒ ทะนานอยู่ข้างซ้าย ส่วนอีก ๒ ทะนานอยู่ข้างหลัง กำแพงดอกไม้ทั้งหมดนี้ลอยไปพร้อมกับพระบรมศาสดา เมื่อทรงพระดำเนิน กำแพงดอกมะลิทั้งหมดก็ลอยตามไป เมื่อประทับยืนกำแพงดอกมะลิก็หยุดอยู่กับที่เหมือนกัน

สุมนะเกิดความปีติปราโมทย์ยิ่ง และเมื่อพระเจ้าพิมพิสารทราบเรื่อง ก็ทรงชื่นชมและปูนบำเหน็จรางวัล ทำให้นายมาลาการสุมนะมีชีวิตสุขสบายขึ้น และคือที่มาของประเพณีตักบาตรดอกไม้ในวาระเข้าพรรษา

โดยเฉพาะที่อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ที่ประเพณีตักบาตรดอกไม้นับเป็นเอกลักษณ์ หนึ่งในดอกไม้ที่นิยมใช้ในการนี้ คือ “ดอกเข้าพรรษา” หรือท้องถิ่นอื่นๆ เรียกว่า “หงส์เหิน” ตามรูปร่างของดอกและเกสรที่ดูเหมือนตัวหงส์กำลังจะบินในลีลาสง่างาม ทั้งมีกลีบประดับเรียงตามช่อดอก ไม้เดียวกันนี้ยังมีชื่อเรียกว่า กล้วยจ๊ะก่า (ตาก) กล้วยจ๊ะก่าหลวง (ลำพูน) กล้วยเครือคำ (เชียงใหม่) ก้ามปู (พิษณุโลก) ขมิ้นผี กระทือลิง (ภาคกลาง) ว่านดอกเหลือง (เลย)

ดอกเข้าพรรษาเป็นพืชวงศ์ขิง ในสกุล Globba sp. พืชในสกุลนี้แต่ละชนิดจะมีกลีบประดับขนาดใหญ่สีสันสวยงาม ตั้งแต่ขาว ชมพู ม่วง เหลือง ดอกจะบานในช่วงพฤษภาคมถึงกรกฎาคม ในประเทศไทยมีรายงานว่าพบพืชในสกุลนี้จำนวน ๔๐ ชนิด ชนิดที่นิยมนำมาตักบาตรเข้าพรรษาคือชนิดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Globba winitii C.H.Wright. ซึ่งตั้งเป็นเกียรติแก่พระยาวินิจวนันดร (พระยาวินิจวนันดร (โต โกเมศ) บิดาวงการพฤกษศาสตร์ไทย)

ดอกเข้าพรรษามีถิ่นกำเนิดอยู่ในป่าเขตร้อน เป็นไม้พื้นล่างที่พบตามป่าโปร่งทั่วไป มีลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน มีรากสะสมอาหารลักษณะอวบน้ำเรียงอยู่รอบหัว ส่วนของลำต้นที่อยู่เหนือดินคือส่วนของกาบใบที่อัดกันแน่นทำหน้าที่เป็นต้นเทียม ใบเป็นใบเดี่ยวเรียวยาว รูปใบหอกออกเรียงสลับซ้ายขวาเป็นสองแถวในระนาบเดียวกัน ดอกเป็นช่อแทงออกมาจากยอดของลำต้นเทียม ช่อจะโค้งและห้อยตัวลงอย่างอ่อนช้อยสวยงาม มีก้านดอกย่อยเรียงอยู่โดยรอบ

ประกอบด้วยดอกจริง ๑-๓ ดอกมีสีเหลืองสดใส ลักษณะคล้ายรูปตัวหงส์ยืนกำลังจะเหินบิน มีลีลาสง่างาม มีกลีบประดับที่แตกต่างกันหลายรูปทรงและหลายสี ช่อดอกยาวประมาณ ๑๐-๒๐ ซ.ม.

ข้อมูลจากกระทรวงวัฒนธรรมเพิ่มเติมว่า ดอกเข้าพรรษาชอบขึ้นตามไหล่ภูเขาโพธิลังกา หรือเขาสุพรรณบรรพต เทือกเขาวง และภูเขาในเขตอำเภอพระพุทธบาท และที่น่าแปลกคือการผลิดอก ถ้ามิใช่เป็นฤดูกาลเข้าพรรษาแล้ว จะไม่ผลิดอกออกมาให้เห็นเลย ชาวบ้านจึงเรียกว่า ต้นเข้าพรรษา และดอกเข้าพรรษา โดยจะผลิดอกงอกใบออกมารับน้ำฝนก็ในฤดูกาลเข้าพรรษาของทุกๆ ปี

ชาวอำเภอพระพุทธบาทนิยมชมชอบที่จะเอาดอกเข้าพรรษาตักบาตรดอกไม้ถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ในวันเข้าพรรษา ณ ลานวัดพระพุทธบาท เมื่อพระภิกษุสงฆ์รับบิณฑบาตแล้วจะนำไปเป็นเครื่องสักการะวันทารอยพระพุทธบาทในพระมณฑป แล้วนำออกไปวันทาพระเจดีย์จุฬามณีที่บรรจุพระเขี้ยวแก้วองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งไปสักการะพระองค์ใหญ่ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ก่อนนำเข้าโบสถ์ประกอบพิธีสวดอธิษฐานเข้าพรรษา


ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด


หัวข้อ: Re: พรรณไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้มงคล
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 07 พฤศจิกายน 2561 16:08:19

ลำดวน (White cheesewood)
Melodolum fruticosum Lour.
ANNONACEAE


ไม้พุ่มหรือไม้ต้น ขนาดเล็ก สูง ๖-๑๒ เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาล แตกกิ่งและใบจำนวนมาก เนื้อไม้เหนียว

ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีแกมรูปขอบขนาน โคนใบรูปลิ่ม ปลายใบเรียวแหลม ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ผิวใบด้านล่างสีอ่อนกว่าและมีนวลแขนง ๑๒-๑๕ คู่ เห็นไม่ชัดเจนทั้งสองด้าน

ดอกเดี่ยว มีกลิ่นหอม ออกที่ปลายยอดหรือตามซอกใบ โคนกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยปลายแยกเป็นสามเหลี่ยมป้อม กลีบดอกเรียงเป็นสองชั้น กลีบดอกสีเหลือง เนื้อกลีบหนา รูปไข่ ปลายแหลม กลีบดอกชั้นในหนาและแข็งกว่ากลีบดอกชั้นนอก ห่อตัวเรียงชิดกันเป็นวงกลม

ผลเป็นแบบผลกลุ่ม มีผลย่อย ๑๕-๒๐ผล ผลกลมรี ปลายผลมีติ่งสั้น ผลอ่อนสีเขียวเปลี่ยนเป็นสีแดง แต่ละผลมีเมล็ดเดียว

ดอกแห้ง มีสรรพคุณ บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต แก้ลม  จัดอยู่ในเกสรทั้งเก้า คือ มะลิ พิกุล บุนนาค สารภี บัวหลวง จำปา กระดังงาไทย ลำเจียก และลำดวน
มติชนสุดสัปดาห์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/35442196701963_2_3610_3629_3609_3648_3605_365.jpg)
บอนเต่า
Hapaline benthamiana Schott
ARACEAE

บอนเต่า ไม้ล้มลุก สูง ๑๕-๓๐ เซนติเมตร มีลำต้นเป็นหัวใต้ดิน รูปทรงกลม

ใบเดี่ยว ออกจากหัวใต้ดิน รูปหัวใจ ปลายใบแหลม โคนใบรูปคล้ายติ่งหู ขอบใบหยักซี่ฟัน ออกจากหัวใต้ดิน ดอกช่อเชิงลด แยกเพศอยู่ร่วมต้น รูปทรงกระบอกยาว ก้านช่อดอกยาว ๑๕-๒๕ เซนติเมตร กาบหุ้มช่อดอกส่วนบนรูปแถบ ยาว ๑๒-๑๘ เซนติเมตร ไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก เกสรเพศผู้และเพศเมียสีขาว
ผลแบบ ผลสด

ตำรายาพื้นบ้านใช้หัวฝนทาถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อย
  ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/77306672020090__3626_3617_3640_3609_1_696x477.jpg)
ลำเจียก
(Screw-pine, Padang)
Pandanus odorifer (Forssk.) Kuntze
PANDANACEAE

ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก ลำต้นจะแตกเป็นกอใหญ่ สูง ๓-๖ เมตร บริเวณโคนต้นมีรากอากาศโผล่ออกมา ลำต้นสีน้ำตาลอ่อน เกลี้ยง

ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปแถบยาว ปลายใบเรียวแหลมยาวคล้ายหาง สีเขียว คล้ายแผ่นหนัง ลักษณะคล้ายกับใบสับปะรด คือใหญ่ ยาวและหนา ขอบใบเป็นจัก มีหนามแหลม ท้องใบมีแกนกลาง  ดอกช่อ แยกเพศอยู่ต่างต้น กาบสีขาว เรียวแหลมยาวคล้ายหาง โผล่ออกมาจากกลางลำต้นพอดี   ซึ่งดอกนี้จะเริ่มบานในเวลาตอนเย็นและมีกลิ่นหอมฉุน

ดอกย่อยขนาดเล็ก รวมกันเป็นดอกช่อเชิงลดมีกาบคล้ายช่อแบบหางกระรอก ไม่มีก้านดอกย่อย  ช่อเชิงลดมีกาบหลักจำนวนมาก ช่อเชิงลดรูปทรงกระบอก หุ้มด้วย  กาบ เกสรเพศผู้จำนวนมาก อับเรณูเป็นติ่งแหลมติดรวมกับส่วนบน ช่อเชิงลดมีกาบเพศเมียหุ้มด้วยกาบ รังไข่ ๑ ช่อง เชื่อมติดกับดอก ไร้ยอดชูเกสรเพศเมีย ออวุลเดี่ยว ตั้ง

ผลรวม ทรงกลมแกมขอบขนาน สีแดง เปลือกแข็ง เมล็ดขนาดเล็ก   ราก รสเย็นและหวานเล็กน้อย  ตำรับยาโบราณ ปรุงเป็นยาแก้พิษเสมหะ พิษไข้ พิษเลือด ขับปัสสาวะ

รากอากาศที่โผล่ออกมาจากโคนต้นนั้น ปรุงเป็นยาแก้หนองใน แก้ปัสสาวะพิการ แก้กษัยไตพิการ ขับปัสสาวะ แก้ไข้ ขับนิ่ว แก้หนองใน แก้หมาดขาว (ระดูขาว) มีกลิ่นเหม็น ขับเสมหะ  ดอก แก้ลม บำรุงหัวใจ แก้ไข้

ใบใช้ในการทำสาด (เสื่อ)
  ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/76346235680911_4_3585_3619_3632_3614_3637_365.jpg)
กระพี้เครือ
Dalbergia rimosa Roxb. var. foliacea (Wall. ex Benth.) Thoth.
FABACEAE (LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE)

ไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งขนาดใหญ่ ยาวได้ถึง ๑๐ เมตร  กิ่งอ่อนมีขนเล็กน้อย  ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ รูปขอบขนาน รูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน

ดอกช่อแยกแขนง ออกที่ปลายกิ่งและใกล้ปลายกิ่ง ดอกย่อยมาก ขนาดเล็ก ใบประดับรูปไต ใบประดับย่อยทรงรี มน ร่วงง่าย ดอกรูปดอกถั่ว สีนวลแกมชมพูอ่อน  ผลเป็นฝัก รูปขอบขนานถึงขอบขนานแกมแคบ แบน ไม่แตก เมล็ดรูปไต แบน สีน้ำตาล

ยาพื้นบ้านอีสานใช้ลำต้นต้มน้ำดื่ม แก้ผิดสำแดง (กินอาหารแสลงไข้ ทำให้โรคกำเริบ อาจมีอาการท้องเสีย) ตกเลือด
   ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/50036517075366__3627_3597_3657_3634_696x348_1.jpg)
หญ้าสองปล้อง
Desmodium velutinum (Willd.) DC. subsp. velutinum
FABACEAE

ไม้พุ่ม สูง ๖๐-๑๐๕ เซนติเมตร ลำต้นกึ่งตั้งกึ่งแผ่คลุมดิน ยอดของทรงพุ่มจะแผ่ออกด้านข้าง ลำต้นสีเขียวเข้ม โคนต้นหรือต้นแก่สีม่วงดำถึงน้ำตาลปนม่วงดำ ลำต้นมีขนสีน้ำตาลถึงขาวนวลปกคลุมหนาแน่น

ใบประกอบมีหนึ่งใบ ใบย่อยรูปไข่ หน้าใบและท้องใบมีขนปกคลุมหนาแน่น ขอบใบเป็นขนครุยสีน้ำตาล ดอกช่อกระจุกแยกแขนงออกตามซอกใบ กลีบดอกสีชมพูแกมม่วง
ผลเป็นฝักยาว มีขนสีน้ำตาลปกคลุมหนาแน่นมาก ในแต่ละช่อมี ๑๒-๓๖ ฝัก หักออกเป็นข้อๆ ในแต่ละฝักมี ๑-๗ ข้อ

สารสกัดน้ำจากใบ มีฤทธิ์ต้านอาการอักเสบ
  ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/13578002072042__3626_1_1_.jpg) (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/98978366826971__3626_2_1_.jpg)
หลีงัน
Flemingia brevipes Craib
FABACEAE

ไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง  ใบประกอบ มี ๓ ใบย่อย ใบย่อยบนรูปไข่ โคนใบสอบ ปลายใบแหลมติ่ง ใบคู่ล่างทั้งสองมีโคนใบเบี้ยว ช่อดอกแบบช่อกระจะ ๑๓-๒๗ ดอกต่อช่อ   ดอกรูปดอกถั่ว กลีบดอกกลาง สีเขียวมีลายเส้นสีม่วงแดงพาดตามยาว กลีบคู่ข้าง สีชมพูแก่ กลีบคู่ล่างสีเขียวอมน้ำตาลมีสีชมพูปน

ผลเป็นฝัก รูปค่อนข้างกลม ฝักสดสีน้ำตาลแดงมีเขียวปน ฝักแก่สีน้ำตาลเข้ม

ตำรายาพื้นบ้าน ราก ฝนทา แก้สารพัดพิษ แก้พิษงู

เป็นแหล่งอาหารสัตว์ตามธรรมชาติสำหรับแทะเล็มของโค กระบือ และสัตว์ป่า
   ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/13928380111853_4_3627_3634_3591_3648_3626_363.jpg) (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/21899886222349_4_3627_3634_3591_3648_3626_363.jpg)
หางเสือ
Flemingia stricta Roxb. ex Aiton
FABACEAE

ไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง สูง ๑-๒ เมตร ใบประดับย่อยมีปริซึมรูปสามมุมและขนแนบแน่น

ใบประกอบ ใบย่อย ๓ ใบ รูปนิ้วมือ หูใบรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหลมติดทน โคนใบรูปลิ่มกว้างถึงรูปกลมเบี้ยว ปลายใบเรียวแหลม

ดอกช่อรูปทรงกระบอกมีขนสั้นนุ่มหนาแน่น กลีบดอกสีม่วง กลีบกลางสีม่วงเข้ม กลีบดอกขนาดเกือบเท่ากัน กว้าง รูปขอบขนานถึงรูปเกือบทรงกลม รูปติ่งใบแคบ คล้ายก้าน

กลีบ เกลี้ยง ปลายเว้าตื้น กลีบคู่ข้างรูปไข่เบี้ยว คล้ายก้านกลีบยาว รูปติ่งใบ แหลม กลีบคู่ล่างรูปคล้ายทรงกลม คล้ายก้านกลีบยาว

ผลเป็นฝัก รูปรี มีขนสั้นนุ่ม ปลายเป็นติ่งหนามเบี้ยว ๒ เมล็ด สีน้ำตาลหรือดำ รูปขอบขนานหรือรูปทรงกลม

ยาพื้นบ้านอีสานใช้ทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม แก้เลือดเสีย
  ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/59329062907232_1_3585_3619_3632_3604_3633_359.jpg)
กระดังงาไทย
Fragrant Cananga
Cananga odorata (Lam.) Hook. f. & Thomson var. odorata
ANNONACEAE

ไม้ต้น สูง ๖-๓๓ เมตร ลำต้นตรง เรือนยอดรูปกรวย ปลายกิ่งลู่ลง เปลือกต้นเกลี้ยงสีเทา

ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน รูปใบหอก รูปรีกว้างหรือรูปไข่

ดอกช่อแบบช่อกระจุก ออกเป็นกลุ่มตามกิ่ง ดอกอ่อนมีสีเขียว เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือเหลืองแกมเขียว มี ๖ กลีบ กลีบดอกอ่อนนุ่ม เรียวยาวและบิด กลิ่นหอมแรง

ผลกลุ่ม ผลย่อยรูปยาวรี เปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีดำ เมล็ด ๔-๕ เมล็ด เมล็ดกลมแบน

ดอก มีสรรพคุณ บำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต บำรุงธาตุ

ใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาสามัญประจำบ้าน ได้แก่ ยาหอมทิพโอสถ ยาหอมอินทจักร์
  ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/76753141110142_1_3617_3632_3621_3636_2_1_.jpg) (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/55640568377243__3617_3632_3621_3636_3_1_.jpg)
มะลิลา
Jasminum sambac (L.) Aiton
OLEACEAE

ไม้พุ่มตั้งหรือไม้พุ่มรอเลื้อย แขนงคล้ายทรงกระบอกหรือแบนข้างเล็กน้อย มีขนสั้นนุ่มประปราย

ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงกลมถึงรูปรีหรือรูปไข่กลับ คล้ายกระดาษ เกลี้ยง

ดอกช่อแบบช่อกระจุก ออกที่ปลายยอด ดอกสีขาว มีใบประดับรูปลิ่มแคบ มีกลิ่นหอมมาก วงกลีบเลี้ยงรูปแถบ ๘-๙ พู ผลเป็นแบบผลสดมีเนื้อหลายเมล็ด รูปทรงกลม สีม่วงดำ  ในยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ พ.ศ.๒๕๕๖ ใช้ดอก เป็นตัวยาตรง แก้ลมวิงเวียน ยาประสะจันทน์แดง แก้ไข้ตัวร้อน กระหายน้ำ ยาเขียวหอม แก้ตัวร้อน ร้อนใน กระหายน้ำ ละลายน้ำสุก หรือน้ำดอกมะลิ ยาหอมเทพจิตร แก้ลมวิงเวียน หน้ามืดตาลาย บำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่นยาหอมทิพโอสถ แก้ลมวิงเวียน ละลายน้ำดอกไม้หรือน้ำสุก ยาหอมอินทจักร์ แก้ลมบาดทะจิต ใช้น้ำดอกมะลิ

ข้อควรระวังในการใช้ : ดอก เป็นยารสหอมเย็น อย่าใช้มากเกินไป เพราะจะไปแสลงกับโรคลมจุกเสียดแน่น

การดื่มน้ำลอยดอกมะลิเป็นสิ่งที่ควรระมัดระวังอย่างยิ่ง เพราะในปัจจุบันการปลูกและการดูแลรักษามะลิก็เพื่อการค้าเป็นส่วนใหญ่  จึงอาจมีการใช้สารเคมีชนิดต่างๆ เป็นจำนวนมาก 
  ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/83328445504109_2_3592_3635_3611_3634_3_1_.jpg) (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/61189300028814_2_3592_3635_3611_3634_2_1_.jpg)
จำปา 
Magnolia champaca (L.) Baill. ex Pierre var. champaca
MAGNOLIACEAE

ไม้ต้น สูง ๑๐-๓๐ เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มโปร่ง ลำต้นตรง เปลือกต้นสีขาวปนเทา ค่อนข้างเรียบ ยอดอ่อนมีหูใบหุ้ม

ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ แผ่นใบรูปรีแกมขอบขนาน ถึงรูปใบหอก

ดอกเดี่ยว สีเหลืองส้ม ออกตามง่ามใบ มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกรวมกัน ๑๒-๑๕ กลีบ กลีบด้านนอกรูปหอกกลับ ปลายเรียวแหลม กลีบดอกชั้นในสั้นและแคบกว่าชั้นนอก เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก รังไข่รวมกันเป็นแท่ง

ผลแห้ง รูปรี หรือรูปไข่ เปลือกแข็ง ออกเป็นกลุ่ม เปลือกผลมีจุดสีขาวขรุขระโดยรอบ ผลแก่สีน้ำตาล แตกด้านข้าง

เมล็ดสีดำ ค่อนข้างกลม มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงส้ม

ดอก มีน้ำมันหอมระเหย มีสรรพคุณ บำรุงหัวใจ บำรุงประสาท บำรุงโลหิต แก้คลื่นไส้ แก้ไข้ ขับปัสสาวะ จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งเจ็ดและเกสรทั้งเก้า

ใช้ในตำรับยาไทย ได้แก่ ยาหอมทิพโอสถ ยาหอมอินทจักร์
   ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/75560584415992__3626_3617_3640_3609_3652_3614.jpg)
ตีนฮุ้งดอย
Daiswa polyphylla (Sm.) Raf. var. chinensis (Franch.) M. N. Tamura
MELANTHIACEAE

ไม้ล้มลุก มีหัวใต้ดิน สูงได้ถึง ๑ เมตร

ใบเดี่ยว เรียงเวียนรอบข้อ ๔-๙ ใบ รูปรีแกมรูปขอบขนาน โคนใบสอบ ปลายใบแหลม

ดอกเดี่ยว สีเหลืองแกมส้ม ออกที่ปลายยอด มีก้านดอกยืดยาว ๕-๓๐ เซนติเมตร ใบประดับ ๔-๖ ใบ กลีบดอกเป็นเส้นเล็กสีเขียว เกสรเพศผู้ ๑๐-๒๒ อัน แตกตามยาว

ผลลักษณะเป็นก้อนกลม ผิวเรียบ เมล็ดสีแสดแดง

ตำรายาพื้นบ้าน ใช้ หัวใต้ดิน รักษาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ เป็นยาบำรุงกำลัง ห้ามเลือด รักษาแผลในกระเพาะ  รักษาโรคริดสีดวงทวาร แก้ปวดหลังปวดเอว รักษาแผล และอาการฟกช้ำ 
   ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/61236786842346_3_3610_3640_3609_3609_3634_358.jpg)
บุนนาค
Mesua ferrea L.
CALOPHYLLACEAE (GUTTIFERAE, CLUSIACEAE)

ไม้ต้น สูงได้ถึง ๓๐ เมตร เรือนยอดคล้ายกรวย ลำต้นตรง โคนลำต้นมักเป็นร่องคล้ายพูพอน ยอดอ่อนสีแดงออกชมพู

ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรีหรือขอบขนานแกมใบหอก ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบมน ใบด้านล่างมีนวลขาว

ดอกเดี่ยวหรือออกเป็นคู่ ออกที่ยอดหรือซอกใบ กลีบดอกสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม กลีบดอกสี่กลีบ รูปไข่กลับ ปลายเว้าตื้น โคนสอบ สีขาวหรือขาวแกมชมพู ผลสด ทรงรี

ยาสามัญประจำบ้าน ใช้ดอกบุนนาค ในสรรพคุณ บำรุงหัวใจ โดยเป็นส่วนผสมในตำรับยา ได้แก่ ยาประสะจันทน์แดง ยาเขียวหอม ยาหอมทิพโอสถ ยาหอมอินทจักร์ ยาหอมนวโกฐ เป็นต้น
  ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์


หัวข้อ: Re: พรรณไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้มงคล
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 09 พฤศจิกายน 2561 14:22:05
(https://4.bp.blogspot.com/-Wd0jPgBLJhk/Vzgx40lp32I/AAAAAAAA1DQ/UwUbMXEbkcoZaHY2DNGVHTUUlsAdUTnUACLcB/s640/IMG_9506_resize.jpg)

พรรณไม้ใกล้ฝั่ง...
รุ่ย หรือถั่วขาว

รุ่ย (Blume)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bruguiera cylindrica (L.) Bume.

ชื่อพื้นเมือง : ถั่วขาว

ชื่ออื่น : ถั่วแดง, ประสักขาว (จันทบุรี); โปรง, โปรย (มลายู – ใต้); ปรุ้ย (มลายู – สตูล); รุ่ย(เพชรบุรี)

วงศ์ : RHIZOPHORACEAE

ต้นรุ่ยเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก – ขนาดกลาง สูง   ๕- ๑๐  เมตร พูพอนน้อยแต่บริเวณโคนต้นขยายออก สำหรับช่วยพยุงลำต้น เรือนยอดแน่นทึบรูปปิรามิด

ใบ : ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับทิศทาง แผ่นใบรูปรี ฐานใบรูปลิ่ม ปลายใบแหลมขอบใบม้วนลง เส้นกลางใบสีเขียว เส้นใบเว้าลงมองเห็นได้ชัดเจน เส้นใบ  ๗  คู่ ผิวใบด้านบน สีเขียวเข้มท้องใบสีจางกว่า เกลี้ยงทั้งสองด้าน

ดอก : ออกเป็นช่อ กระจุกที่ง่ามใบ ช่อละ   ๓  ดอก ก้านช่อดอก สีเขียวอ่อน มีก้านดอกย่อย วงกลีบเลี้ยงรูประฆัง โคนกลีบติดกันเป็นหลอด ผิวเรียบสีเขียว ปลายแยกเป็น  ๘  แฉก กลีบเลี้ยงยาวเท่าหลอด ปลายกลีบโค้งกลับ กลีบดอก  ๘  กลีบ สีขาวรูปขอบขนาน ปลายแยกเป็น   ๒  แฉก ขอบกลีบมีขนสีขาว ปลายกลีบมีขนแข็งสีน้ำตาล   ๒-๓ เส้น  เกสรเพศผู้มีจำนวน สองเท่าของกลีบ ติดอยู่บนขอบของ กลีบเลี้ยง ก้านเกสร สั้นมาก เกสรเพศเมียรังไข่ใต้วงกลีบ ภายในมี  ๒- ๕ ห้องติดกัน มีเม็ดไข่ห้องละ  ๒  เม็ด ยอดเกสรมีสภาพคงทน

ผล : เป็นผลแบบงอกตั้งแต่ติดอยู่บนต้น ผลสีเขียว กลีบเลี้ยงหุ้มผลรูปดาว กลีบโค้งกลับงอขึ้นไม่หุ้มผล ลำต้นใต้ใบเลี้ยงหรือ”ฝัก” รูปทรงกระบอกเรียวโค้ง ผลอ่อนสีเขียว และเป็นสีน้ำตาลอมม่วงและเมื่อฝักแก่เต็มที่มีร่องตามความยาวของฝัก

ลักษณะเด่น หนึ่งช่อดอกมีเพียง  ๓   ดอกเท่านั้น และผลมีกลีบเลี้ยงงอขึ้น

ออกดอกและผลเกือบตลอดทั้งปี


รุ่ย เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มักขึ้นอยู่บริเวณน้ำกร่อยแถบป่าชายเลน แทรกตัวอยู่กับต้นโกงกาง มองจากภายนอกต้นรุ่ยกับโกงกางจะมีลักษณะไม่ค่อยแตกต่างกันนัก

ต้นรุ่ยมักขึ้นอยู่ริมฝั่งตามคันวังของชาวบ้าน คนเก่าแก่หลายคนบอกว่านับวันรุ่ยเริ่มหายากขึ้นทุกที คนรุ่นใหม่เริ่มไม่ค่อยรู้จักแล้ว แม้รุ่ยจะนำมาประกอบอาหารทั้งคาวหวานได้แต่ก็ไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่าไรนัก เพราะทำยาก แต่ลำต้นนิยมนำมาทำเป็นฟืนใช้ประกอบอาหาร คุณสมบัติเหมือนกับฟืนที่ทำจากต้นโกงกาง

เปลือกของลำต้นรุ่ยค่อนข้างหยาบ รากจะโผล่ขึ้นเหนือดิน ดอกออกเป็นช่อมีสีเขียวอ่อน ผลของรุ่ยยาวเรียวเป็นฝักคล้ายฝักถั่ว ถ้าผลยังอ่อนจะเป็นสีเขียว เมื่อแก่จนร่วงลงใต้โคนต้นจะเป็นสีน้ำตาลอมม่วง รสชาติของฝักรุ่ยแบบอ่อนจะขม ฝาด คนไม่นิยมกินเพราะรสขมที่ติดลิ้นเหมือนกับบอระเพ็ดนั่นเอง  แม้ฝักแก่ที่ร่วงอยู่ตามโคนต้นจะนำมาประกอบอาหารได้แต่ก็ต้องผ่านการทำให้รสฝาดที่หลงเหลืออยู่หายไปเสียก่อน ที่นิยมทำมากที่สุดคือการนำไปเชื่อม

ในการนำฝักรุ่ยไปประกอบอาหารทุกครั้งต้องผ่านการขูดเปลือกออกเสียก่อนจนเห็นเนื้อข้างในฝัก การขูดเปลือกก็แสนยากเพราะต้องใช้กระเบื้องที่แตกขูดออก หากใช้มีดที่มีความคมมากกว่ากระเบื้องจะเฉือนเนื้อของฝักรุ่ยออกไปหมดเสียก่อน จากนั้นนำไปแช่น้ำปูนใสก่อนเอาไปต้มจนความฝาดนั้นหาย  เราถามชาวบ้านว่าเมื่อไรจะรู้ว่าหายฝาด คำตอบที่ได้คือต้มไปสัก ๓ น้ำก็รู้เรื่องแล้ว แถมยังให้เคล็ดลับว่าควรใส่ขี้เถ้าลงไปในน้ำด้วย เพราะขี้เถ้ามีคุณสมบัติช่วยทำให้รุ่ยนั้นหายฝาดได้ บางคนก็กะเวลาเป็นวันเพื่อให้ฝักรุ่ยลาขาดจากความฝาดของมัน ก่อนนำไปประกอบอาหารตามกรรมวิธี

แม้ส่วนต่างๆ ของรุ่ยจะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้แต่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักนัก  


ที่มา :
- หนังสือแนะนำแหล่งท่องเที่ยวและของดี จังหวัดสมุทรปราการ  ฉบับประจำเดือนสิงหาคม-กันยายน ๒๕๖๑, จัดทำโดย องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ
- เว็บไซต์ bangpakongramsar.blogspot.com


หัวข้อ: Re: พรรณไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้มงคล
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 23 พฤศจิกายน 2561 15:09:01

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/24149215386973_2_3623_3656_3634_3609_3648_361.jpg) (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/33848211872908_2_3623_3656_3634_3609_3648_361.jpg)
ว่านเปรี้ยว  
Boesenbergia collinsii Mood & L. M. Prince
ZINGIBERACEAE

ไม้ล้มลุกหลายปี สูง ๕๐-๖๐ เซนติเมตร รากตั้งตรง
ใบ เดี่ยว เรียงสลับ สีเขียว รูปไข่ ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบรูปหัวใจ ผิวบนเกลี้ยงเป็นมัน ท้องใบสีจางกว่า
ดอก ช่อออกจากเหง้าไร้ใบ มีก้านช่อดอกหุ้มด้วยกาบกว้าง จำนวนน้อย กาบยาวที่สุดยาวประมาณ ๔ เซนติเมตร ดอกย่อย ๓-๖ ดอก ทยอยบานครั้งละดอก วงกลีบดอกยาวได้ถึง ๔ เซนติเมตร พูกลีบรูปใบหอก
ผล แห้งแตก รูปขอบขนาน มี 3 ลิ้น เมล็ดสีดำ เยื่อหุ้มเมล็ดจักเป็นครุย
สรรพคุณ เหง้า ช่วยขับลม 
 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/49602677797277_1_3594_3591_3650_3588_3586_363.jpg) (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/53810616458455_1_3594_3591_3650_3588_3586_363.jpg)
ชงโคขี้ไก่  
Lasiobema harmsianum (Hosseus) de Wit var. harmsiana
FABACEAE

ไม้เถาเนื้อแข็ง มีมือเกาะ กิ่งอ่อนมีขนกำมะหยี่ เปลี่ยนเป็นเกลี้ยง
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมรูปคล้ายทรงกลม ปลายใบเป็นพูกลม โคนใบรูปหัวใจ ผิวบนเป็นเกลี้ยง ท้องใบเกลี้ยงถึงมีขนประปรายโดยเฉพาะที่เส้นใบ หูใบร่วงง่าย ก้านใบเกลี้ยง
ดอกช่อกระจะ ออกที่ปลายยอดและซอกใบ เป็นช่อเดี่ยว ก้านช่อดอกยาว ดอกย่อยมาก ขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาวแกมสีเหลือง รูปช้อน ขอบใบเป็นคลื่นถี่ ก้านกลีบสั้น
ผลเป็นฝักแบน ๖-๗ เมล็ด
ตำรายาไทยใช้ เถา ถอนพิษ แก้ไข้
เมล็ด ถ่ายพยาธิ แก้ไข้เซื่องซึม มีอาการหน้าหมองเนื่องจากพิษไข้ แก้ร้อนใน ขับเหงื่อ แก้พิษฝี
ยาพื้นบ้านอีสานใช้ ลำต้น ต้มน้ำหรือฝนน้ำดื่ม แก้บิด 



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/16799456915921_3_3610_3640_3625_3610_3591_3_6.jpg)
บุษบง  
Boesenbergia pulcherrima (Wall.) Kuntze
ZINGIBERACEAE

ไม้ล้มลุกมีเหง้า ลำต้นเรียวยาว สูง ๓๐ เซนติเมตรหรือมากกว่า
มีกาบ ใบมีได้ถึง ๖ ใบ
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรี ปลายใบเรียวแหลมสั้น โคนใบรูปลิ่มและเป็นครีบ
ดอกช่อกระจุก ออกที่ปลายยอด หุ้มด้วยใบประดับ กลีบข้างแต่ละด้านถึงโคนของกลีบปาก สีขาว
ผลแห้งแตก ทรงรี เปลือกหนา
เหง้า ต้มน้ำดื่ม ขับลม
ใบอ่อน รสเปรี้ยว รับประทานได้ ปลูกเป็นไม้ประดับ 



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/43020553555753__3626_2_1_1_1024x768_.jpg)
เพชรสังฆาต  
Cissus quadrangularis L.
VITACEAE

ไม้ล้มลุกเลื้อย แตกกิ่งมาก ยาว ๑-๒ เมตร กิ่งเป็นสันสี่เหลี่ยม สีเขียว ผิวเรียบ มีรอยคอดตามข้อ
ใบเดี่ยว เรียงสลับ บริเวณปลายเถา รูปหัวใจ รูปไข่ หรือรูปสามเหลี่ยม เนื้อใบค่อนข้างหนา ตรงข้ามใบมีมือเกาะ ปลายใบมน โคนใบรูปหัวใจ ขอบใบหยักซี่ฟัน
ดอกช่อกระจุกแยกแขนง ออกที่ตรงข้ามใบ ดอกย่อยขนาดเล็ก สมบูรณ์เพศ กลีบดอกสีเขียวแกมเหลือง
ผลสดมีเนื้อ หลายเมล็ด รูปกลม
ยาสามัญประจำบ้านใช้เถาเพชรสังฆาตเป็นยาบรรเทาริดสีดวงทวารหนัก
ตำรายาไทยใช้ เถาสด กินแก้ริดสีดวงทวาร วันละ ๑ ปล้อง จนครบสามวัน
โดยหั่นบางๆ ใช้เนื้อมะขามเปียกหรือเนื้อกล้วยสุกหุ้ม กลืนทั้งหมด เพราะว่าเถาสดอาจทำให้คันคอ 



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/79199253560768__3626_3617_3640_3609_3_2_1_102.jpg)
ขิงขาว  
Globba substrigosa King ex Bake
ZINGIBERACEAE

ไม้ล้มลุก หลายปี สูง ๑๐-๒๐ เซนติเมตร
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีกว้าง ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบมนกว้าง ผิวบนมีขนละเอียด ผิวใบล่างนวลมีขนละเอียด เกือบไร้ก้านใบ ขอบใบย่นเล็กน้อย ลิ้นใบและกาบใบสีขาว ใบประดับคล้ายใบ
ดอกช่อเชิงลด หุ้มด้วยกาบใบด้านในสองกาบ ส่วนวงกลีบดอกรูปไข่ กลีบปากสีขาวนวล ปลายมนเว้า
ผลแห้งแตก ทรงรี มีขนสั้นนุ่ม
ตำรายาพื้นบ้านใช้ เหง้า ป้องกันอาการท้องอืด 



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/79732439046104__3626_2_1_1024x768_.jpg)
หมูกลิ้ง  
Eulophia andamanensis Rchb. f.
ORCHIDACEAE

ไม้ล้มลุกชนิดกล้วยไม้ดิน สูงได้ถึง ๑๐ เซนติเมตร
ใบ รูปแถบ เรียงสลับ โคนใบรูปลิ่ม ปลายใบแหลม
ดอก ช่อกระจะ ออกที่เป็นช่อตั้ง กลีบดอกรูปแถบแกมใบหอก สีเขียวแกมน้ำตาลแดง กลางกลีบมีสามสัน ขอบกลีบบิดงอเป็นคลื่น
ผล แห้งแตก ทรงแบน ขอบขนานแต่กว้างออกที่ส่วนบน ปลายตัดกว้างมีจะงอยแหลมอยู่ตรงมุมส่วนล่างของฝัก สีน้ำตาล
ตำรายาพื้นบ้านใช้ ทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม แก้ฝีหนอง



(https://medthai.com/wp-content/uploads/2014/03/%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD.jpg)
ตะคร้อ  
ตะคร้อ ชื่อวิทยาศาสตร์ Schleichera oleosa (Lour.) Merr ผลไม้พื้นบ้านของไทย เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นทรงพุ่ม ใบประกอบแบบขนนก ก้านยาวออกเรียงสลับบนกิ่ง ใบย่อยออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะทรงขนานยาว ก้านใบย่อยสั้น ขอบใบเรียบ ใบอ่อนสีน้ำตาลแเดง มีขนอ่อนๆ ใบแก่สีเขียว ดอกออกเป็นช่อ กลีบดอกสีเหลืองนวล ผลอยู่เป็นพวง ลักษณะทรงกลม ปลายจะงอยแหลมแข็ง ผิวเปลือกหนาเรียบ เปลือกล่อน ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีเขียวอมน้ำตาลหรือสีน้ำตาล เนื้อสีเหลืองใสนุ่มฉ่ำน้ำ มีเมล็ดแข็งอยู่ข้างในเนื้อ รสชาติเปรี้ยวจัด ปลูกตามท้องถิ่นในประเทศไทย

ปลูกได้ในดินทุกชนิด ชอบดินร่วน ดินร่วนปนทราย ทนต่อความแห้งแล้งได้ดี ชอบแสงแดด
ที่มา อาทิตย์ละต้น นสพ.ข่าวสด

(https://www.leaderplant.com/media/catalog/product/cache/1/image/400x/9df78eab33525d08d6e5fb8d27136e95/c/e/cedratier49.jpg)
มะงั่ว  
มะงั่ว  ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrus ichangensis Swingle เป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านต่ำ มีหนามแหลมยาว เปลือกต้นสีน้ำตาลปนเทา ใบประกอบมีใบย่อย ๑ ใบ ออกเรียงสลับ รูปไข่แกมรูปใบหอก ปลายใบมน โคนใบสอบ ขอบใบจักมน แผ่นใบเรียบสีเขียวเข้มและมีจุดน้ำมัน ดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบ ๓-๔ ดอก สีชมพูอมม่วง กลีบดอกมี ๕ กลีบ ผลค่อนข้างกลม ผิวมีจุดน้ำมัน ข้างในผลแบ่งเป็นช่อง เนื้อผลเป็นเม็ดใส รสเปรี้ยว

สรรพคุณ น้ำในผลฟอกโลหิตระดู แก้ไอ กัดเสมหะ แก้เลือดออกตามไรฟัน รากกระทุ้งพิษ แก้พิษผิดสำแดง แก้พิษฝีภายใน แก้เสมหะ 
   ที่มา อาทิตย์ละต้น นสพ.ข่าวสด

(http://pennfamilycare.com/wp-content/uploads/2017/03/ia.jpg)
แก้วมังกร  
แก้วมังกร หรือ Dragon Fruit ชื่อวิทยาศาสตร์ Hylocereus undatus (Haw) Britt.Rose. เป็นผลไม้ชนิดหนึ่ง เป็นพืชล้มลุกในตระกูลกระบองเพชร เป็นไม้เลื้อยอายุยืน ผลลักษณะทรงกลมหรือทรงรี ผิวเปลือกหนาสีแดงหรือสีเหลือง มีกลีบเลี้ยงอยู่บนผล เนื้อสีขาวหรือสีแดงตามสายพันธุ์ เนื้อนุ่มชุ่มน้ำ ข้างในเนื้อมีเมล็ดสีดำเล็กๆ มากมาย รสชาติหวานเย็น มีกลิ่นหอม นิยมปลูกสามสายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์เนื้อขาวเปลือกแดง พันธุ์เนื้อขาวเปลือกเหลือง และพันธุ์เนื้อแดงเปลือกแดง

ลำต้นคล้ายต้นกระบองเพชร มีลักษณะสามเหลี่ยมเป็นแฉกๆ เปลือกผิวลื่นอวบน้ำ ขอบเหลี่ยมมีรอยหยักมีหนาม ลำต้นเป็นปล้องต่อกันสีเขียวเข้ม รากฝอย ลักษณะกลมขนาดเล็กสีน้ำตาลแทงลงในดินหรือออกตามกิ่งข้างบน ดอกเดี่ยวรูปทรงกรวย เมื่อดอกบานคล้ายปากแตร กลีบดอกสีขาว กลีบเลี้ยงแข็งสีเขียวอ่อน กลิ่นหอม ออกดอกที่ปลายยอดของกิ่ง
   ที่มา อาทิตย์ละต้น นสพ.ข่าวสด


หัวข้อ: Re: พรรณไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้มงคล
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 01 กุมภาพันธ์ 2562 16:03:54
.

(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTggc1SMWL4E0zc3i2j9IuTQRLLMz0rCnNhUN4B9MsjKg4PUYdJ)
การะเกด

การะเกด ชื่อวิทยาศาสตร์ Pandanus tectorius Blume ชื่ออื่น การะเกดด่าง ลำเจียกหนู เตยดง เตยด่าง เป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ต้น สูง ๓-๗ เมตร ลำต้นมักแตกกิ่งก้านสาขา มีรากอากาศค่อนข้างยาว และใหญ่ ใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับกันเป็น ๓ เกลียวที่ปลายกิ่ง รูปรางน้ำ กว้าง ๐.๗-๒.๕ ซ.ม. ยาว ๓-๙ ซ.ม. ค่อยๆ เรียวแหลมไปหาปลาย ขอบมีหนามแข็งยาว ๐.๒-๑ ซ.ม. แผ่นใบด้านล่างนวล ดอกแยกเพศ อยู่ต่างต้นกัน ออกตามปลายยอด มีจำนวนมาก ติดบนแกนของช่อ ไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก ช่อดอกเพศผู้ตั้งตรง ยาว ๒๕-๖๐ ซ.ม. มีกาบสีนวลหุ้ม กลิ่นหอม ผลเบียดกันแน่นเป็นก้อนกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง ๑๐-๒๐ ซ.ม. เมื่อสุกหอม โคนสีเหลือง ตรงกลางสีแสด ตรงปลายยอดสีน้ำตาลอมเหลือง ผลที่สุกแล้วมีโพรงอากาศจำนวนมาก

สรรพคุณ ดอก ปรุงยาหอม ทำให้ชุ่มชื่นหัวใจ ดอกหอมรับประทานมีรสขมเล็กน้อย แก้โรคในอก เช่น เจ็บคอ แก้เสมหะ บำรุงธาตุ อบกลิ่นเสื้อผ้าให้หอม วิธีใช้ นำดอกไปเคี่ยวกับน้ำมันมะพร้าวหรือมันหมู ปรุงเป็นน้ำมันใส่ผม นำดอกเข้ายาหอมบำรุงหัวใจ



(https://scontent-fbkk5-7.us-fbcdn.net/v1/t.1-48/1426l78O9684I4108ZPH0J4S8_842023153_K1DlXQOI5DHP/dskvvc.qpjhg.xmwo/w/data/741/741806-img.sd3um9.11p.jpg)
กาหลง

กาหลง ชื่อวิทยาศาสตร์ Bauhinia acuminata Linn. ชื่อเรียกอื่น กาแจ๊ะ กูโด ส้มเสี้ยว เป็นไม้พุ่มสูงได้ถึง ๓ เมตร กิ่งอ่อนมีขนนุ่มปกคลุม ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปมน ปลายแยกเป็น ๒ แฉก ปลายใบแหลมเป็นสามเหลี่ยม ด้านล่างมีขนสีน้ำตาลเทาปกคลุมตามเส้นใบ ขนาดใบกว้างได้ถึง ๑๓ ซ.ม. ก้านใบยาว ๓-๔ ซ.ม. มีขนประปราย ดอกสีขาวออกเป็นช่อที่ด้านข้างและปลายกิ่ง แต่ละช่อมีประมาณ ๓-๑๐ ดอก โดยจะเปลี่ยนกันบานคราวละ ๒-๓ ดอก กลีบดอก ๕ กลีบซ้อนเหลื่อมกัน ดอกบานกว้าง ๕-๘ ซ.ม. ผลเป็นฝักแคบแบน กว้าง ๑.๕ ซ.ม. ยาว ๑๑ ซ.ม. เมล็ดมี ๕-๑๑ เมล็ด ลักษณะแบน

ปลูกทั่วไปในประเทศไทยแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ศรีลังกา อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ในประเทศไทยขึ้นได้ดีทุกภาค เป็นต้นไม้ที่ชอบขึ้นกลางแจ้ง ออกดอกตลอดปี

ชาวบ้านทางภาคเหนือนิยมปลูกเพราะถือกันว่ามีคุณแก่เจ้าของ โดยนำมาปลูกเป็นไม้ในบ้านและประดับตามข้างทาง



(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/42/27042/images/kasalong_350.JPG)
ปีบ-กาสะลอง

ปีบ-กาสะลอง
กาสะลอง คือชื่อในภาษาล้านนาของ ปีบ ชื่อสามัญ Cork tree, Indian cork ชื่อวิทยาศาสตร์ Millingtonia hortensis L.f. จัดอยู่ใน วงศ์แคหางค่าง (BIGNONIACEAE) และมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีกเช่น เต็กตองโพ่ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), กาสะลอง กาดสะลอง กาสะลองคำ (ภาคเหนือ), ปีบ ก้องกลางดง (ภาคกลาง) กางของ (ภาคอีสาน) เป็นพันธุ์ไม้พื้นเมืองของพม่าและไทยที่ขึ้นกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปตามป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้งทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ปีบเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ความสูงประมาณ ๑๐-๒๐ เมตร ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มทรงกระบอก กิ่งก้านมักจะย้อยลง เปลือกต้นสีน้ำตาลแตกเป็นร่องลึกตามยาวลำต้นอย่างไม่เป็นระเบียบ เนื้อหยุ่นคล้ายไม้ก๊อก รากเกิดเป็นหน่อเจริญเป็นต้นใหม่ได้ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ๒-๓ ชั้น ใบย่อยรูปไข่แกมรูปหอก ยาว ๒.๕-๘ ซ.ม. กว้าง ๑.๕-๓ ซ.ม. แผ่นใบบางเรียบ ขอบใบหยัก ฐานใบมน ปลายใบแหลม

ดอกสีขาวนวล หรืออมชมพู กลิ่นหอม ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกซ้อนตามปลายกิ่ง ช่อดอกขนาดใหญ่ ยาว ๑๐-๓๕ ซ.ม. มีขน กลีบเลี้ยงมีขนาดเล็ก โคนติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยก ๕ แฉก ปลายมนกว้างม้วนลง เป็นหลอดยาวปลาย ๔ แฉก มี ๑ กลีบที่ปลายเป็น ๒ แฉก ดอกบานเต็มที่กว้าง ๓.๕-๔ ซ.ม. ออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนพฤษภาคม ผลแห้งแตกเป็นฝักแบนและตรง สีน้ำตาล หัวท้ายแหลม กว้าง ๑.๕-๒.๓ ซ.ม. ยาว ๒๕-๓๐ ซ.ม. เมล็ดแบนมีปีกเป็นเยื่อบางใส

สรรพคุณ ดอก รสหวานขมหอม เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงโลหิต เพิ่มการหลั่งน้ำดี ใช้เป็นยารักษาไซนัสอักเสบ ช่วยรักษาริดสีดวงจมูก โดยใช้ดอกที่ตากแห้งแล้วนำมามวนเป็นบุหรี่สูบเพื่อรักษาอาการ ทั้งช่วยขยายหลอดลม รักษาอาการหอบหืด หอบเหนื่อย ทำให้ระบบการหายใจดีขึ้น และใช้เป็นยาแก้ลม, รากรสเฝื่อน บำรุงปอด ช่วยรักษาวัณโรค แก้ไอ

นอกจากนี้ยังมีข้อมูลจากโครง การสมุนไพรเพื่อ การพึ่งตนเอง มูลนิธิสุขภาพไทย www.thaiof.org ระบุว่า ปีบ ไม้ดอกหอมไทยเป็นทางเลือกใหม่ของคนเลิกเหล้า โดยสรรพคุณของปีบที่หมอไทยทุกภาครู้จักกันดีก็คือ ดอกปีบนำมาตากแห้งประมาณ ๑๐ ดอก แล้วมวนเป็นบุหรี่แก้หืดหอบ รักษาริดสีดวงจมูกและไซนัสอักเสบได้ผลดีเป็นที่ประจักษ์มาช้านาน ก่อนที่จะมีการพบว่าในดอกปีบมีสารหอมระเหย ฮีสไปดูลิน (Hispidulin) ที่มีฤทธิ์ขยายหลอดลมได้ดีกว่ายาอะมิโนฟิลลีน (Aminophyllin) ซึ่งเป็นยาแผนปัจจุบันที่ใช้รักษาโรคหืด และข้อดีอีกประการหนึ่งก็คือ สารสำคัญในดอกปีบไม่พบความเป็นพิษเลย

แต่เรื่องที่หมอยาชาวไทยน้อยอย่างเราๆ ยังไม่ค่อยรู้ แต่หมอชาวไทยใหญ่และหมอชาวล้านนารู้จักกันดีก็คือ ฤทธิ์ยับยั้งการดื่มสุราของกาสะลอง โดยนำกิ่งแก่หรือแก่นต้นสดมาสับให้ป่นเท่าที่ทำได้ ตากแห้งแล้วตำเป็นผงเก็บไว้กินกับกระสายน้ำผึ้ง ครั้งละ ๑ ช้อนชา วันละ ๑-๒ ครั้ง หรือจะปั้นเป็นลูกกลอน กินเป็นประจำครั้งละ ๕ เม็ด วันละ ๒ ครั้ง ภายใน ๗ วัน อาการอยากเหล้าจะคลายไปเองโดยไม่มีอาการลงแดง มือสั่น ใจสั่น ยังช่วยลดความดันโลหิตสูงด้วย ถ้าไม่ทำเป็นผงหรือลูกกลอนก็อาจนำแก่นแห้งมาต้มกินก็ได้



(http://book.baanlaesuan.com/wp-content/uploads/2016/07/wild-cane2-198x300.jpg)
เลา

เลา ชื่อวิทยาศาสตร์ Saccharum spontaneum L. เป็นไม้ล้มลุก อายุปีเดียวหรือหลายปี ความสูง ๑-๒ เมตร ลำต้นขึ้นเป็นกอและมีเหง้าแตกแขนงเป็นวงกว้าง ใบแคบเรียว ยาว ๑.๐-๑.๕ เมตร ปลายเรียวแหลม ช่อดอกใหญ่ แตกแขนงเป็นช่อย่อยจำนวนมาก มีขนยาวสีขาวเงิน เมื่อติดเมล็ดจะหลุดปลิวไปกับลมได้ง่าย ออกดอกช่วงฤดูหนาว

เจริญเติบโตได้ดีในดินทั่วไป น้ำปานกลาง ไม่ขังแฉะ แสงแดดตลอดวัน ขยายพันธุ์โดยการแยกเหง้าหรือเพาะเมล็ด พบได้ริมทาง ข้างถนนและริมน้ำทั่วไปในที่ราบต่ำ เป็นสมุนไพร ต้นต้มน้ำกินแก้ฝีหนอง รากต้มกินเป็นยาเย็น ขับปัสสาวะแก้โรคผิวหนัง คำเปรียบเปรย "สีดอกเลา" ก็มาจากหญ้าต้นไม้นี้



(https://medthai.com/wp-content/uploads/2015/06/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%AC%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C.jpg)
กาฬพฤกษ์

กาฬพฤกษ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassia grandis L.f. เป็นไม้ต้น ผลัดใบ สูงถึง ๒๐ เมตร โคนมีพูพอน เปลือกสีดำ แตกเป็นร่องลึก กิ่งอ่อนหรือช่อดอกมีขนสีน้ำตาล ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยมี ๑๐-๒๐ คู่ ใบอ่อนสีแดง แผ่นใบย่อยรูปขอบขนาน กว้าง ๑-๒ ซ.ม. ยาว ๓-๕ ซ.ม. ด้านบนเป็นมัน ด้านล่างมีขน ดอกเริ่มบานสีแดงแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพู

ผลเป็นฝัก ฝักแก่แห้งไม่แตก ค่อนข้างกลม รูปทรงกระบอก โคนและปลายสอบ เปลือกหนาแข็ง ขรุขระ ที่ขอบฝักเป็นสันตามแนวยาวทั้ง ๒ ข้าง เมล็ดอ่อนสีครีม เมล็ดแก่สีน้ำตาล มีจำนวน ๒๐-๔๐ เมล็ด มีถิ่นกำเนิดมาจากอเมริกากลาง นำมาปลูกกันอย่างแพร่หลายในเขตร้อน ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม

เนื้อในฝักปรุงรับประทานเป็นยาระบายอ่อนๆ เปลือกและเมล็ดรับประทานทำให้อาเจียน เป็นยาถ่ายพิษไข้ได้ดี



(http://www.สมุนไพร-ไทย.com/wp-content/uploads/2015/05/%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3.jpg)
กุ่มน้ำ

กุ่มน้ำ ชื่อวิทยาศาสตร์ Crateva religiosa G.Forst. เป็นไม้ยืนต้นสูงได้ถึง ๒๐ เมตร เปลือกลำต้นค่อนข้างเรียบ สีเทา จะผลัดใบร่วงหมดทั้งต้นเมื่อจะออกดอก ใบประกอบแบบนิ้วมือ ใบย่อย ๓ ใบ รูปวงรีหรือรูปไข่ ออกเรียงสลับ กว้าง ๒.๕-๗ ซ.ม. ยาว ๕.๕-๑๖ ซ.ม. ปลายกว้างแหลม โคนสอบแคบ ขอบใบเรียบ ผิวใบบางและนิ่ม หลังใบสีเขียวเป็นมัน ท้องใบมีขนอ่อนสีเทา เส้นกลางใบอมแดง ปลายก้านใบมีต่อมน้ำตาล ใบที่อยู่ด้านข้างโคนจะเบี้ยวเล็กน้อย หลังใบและท้องใบเรียบ ดอกช่อออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ ยาว ๔-๖ นิ้ว ติดดอก ๒๐-๖๐ ดอก กลีบดอกเมื่อแรกบานสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน กลีบรองดอกรูปไข่ปลายแหลม ผลสดรูปร่างค่อนข้างกลมรี เปลือกหนา ผลอ่อนผิวมีสะเก็ดสีเหลืองอมเทา เมื่อสุกสีเทา ผลแก่ผิวเรียบยาว ๕-๘ ซ.ม. เมล็ดรูปเกือกม้ายาว ๖-๙ ม.ม. มีหลายเมล็ด

พบตามข้างลำธาร ริมแม่น้ำ ที่ชื้นแฉะ ในป่าเบญจพรรณ ออกดอกราวเดือนกุมภาพันธ์ถึงมิถุนายน ยอดอ่อนใช้ปรุงอาหารได้ แต่ต้องนำมาดองน้ำเกลือตากแดด ทิ้งไว้ประมาณ ๒-๓ วัน แล้วจึงนำไปปรุงอาหารโดยผัดหรือแกง



(https://www.nanagarden.com/Picture/Product/400/285140.jpg)
พุดน้ำบุษย์

พุดน้ำบุษย์ ชื่อวิทยาศาสตร์ Gardenia carinata Wallich เป็นดอกพุดอีกชนิดหนึ่งที่สวยงาม มีกลิ่นหอมแรง ส่งกลิ่นหอมไปได้ไกลประมาณ ๒-๓ เมตรตลอดทั้งวัน แต่จะหอมมากที่สุดในตอนค่ำ เป็นไม้ทรงพุ่มเตี้ย แน่น แตกกิ่งก้านตามข้อของลำต้นแบบต่ำๆ มากมาย กิ่งเปราะหักได้ง่าย ลำต้นเป็นสีน้ำตาล กิ่งอ่อนมีสีเขียว

ความสูงของลำต้นประมาณ ๑-๓ เมตร ใบรูปทรงรี ออกเป็นใบเดี่ยวแบบตรงกันข้าม ผิวใบมัน ส่วนบนใบมี สีเขียวเข้ม หลังใบสีเขียวอ่อน ความกว้างยาวของใบประมาณ ๕-๑๑ ซ.ม. มีเส้นกลางใบเด่นชัด แผ่นใบหนา ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ ดอกเดี่ยวออกบริเวณซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอกมีลักษณะคล้ายช้อน ยาวประมาณ ๒ ซ.ม. มีประมาณ ๗-๘ กลีบ

เมื่อดอกแรกบานสีขาวนวลและมีกลิ่นหอมมาก ในวันต่อๆ มาจะค่อยๆ กลายเป็นสีเหลืองอ่อนไปจนถึงสีเหลืองเข้ม ดอกจะบานอยู่บนต้นได้นานถึง๗ วัน ออกดอกตลอดทั้งปี ช่วงฤดูฝนให้ดอกมากที่สุด

ขยายพันธุ์โดยวิธีการปักชำ ตอนกิ่ง หรือเพาะเมล็ด



(http://i1251.photobucket.com/albums/hh558/moveetwanida/rosemary.jpg)
โรสแมรี่

โรสแมรี่ ชื่อวิทยาศาสตร์ Rosmarinus officinalis L. มีถิ่นกำเนิดในแถบเมดิเตอร์เรเนียน ยุโรปตอนใต้ เป็นไม้ดอกอายุหลายปี ลำต้นพุ่มสูง ๑-๒ เมตร มีทั้งชนิดพุ่มและชนิดเลื้อย ลำต้นและใบมีขนนุ่มสั้นสีขาว ใบรูปแถบ ปลายแหลมคล้ายเข็ม ใบสีเขียวสดหรือเขียวอมเทา ก้านใบสั้น มีกลิ่นหอม ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกรูปปากเปิด ขนาด ๑ ซ.ม. กลีบดอกสีฟ้าอมม่วง (พบบ่อย) ขาว และชมพู ผลมีเปลือกแข็งสีน้ำตาลอ่อน มี ๑ เมล็ด

ชอบดินร่วนระบายน้ำดี ไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์ ทนดินเค็ม แสงแดดเต็มวัน ชอบอากาศเย็น น้ำปานกลาง ขยายพันธุ์โดยการปักชำกิ่ง เพาะเมล็ด

การใช้งาน ปลูกเป็นไม้กระถาง ไม้ประดับแปลง ไม้คลุมดิน (ชนิดเลื้อย) ใบใช้สกัดน้ำมันหอมระเหย เป็นส่วนผสมของยา เครื่องสำอาง มีกลิ่นหอม รสเผ็ดร้อน ใช้แต่งกลิ่นอาหารจำพวกเนื้อ ชา และไวน์ นิยมปลูกเป็นสมุนไพรในสวนครัว



(http://club.sanook.com/wp-content/uploads/2014/12/iStock_000030942246_s.jpg)
พอยน์เซตเทีย

พอยน์เซตเทีย หรือที่คนไทยเรียกว่าต้นคริสต์มาส ชื่อวิทยาศาสตร์ Euphorbia pulcherrima ชื่ออื่นๆ โพผัน บานใบ สองระดู อยู่ในวงศ์ใกล้เคียงกับโป๊ยเซียน แต่ไม่มีหนาม

เป็นไม้พุ่มสูง ๑-๓ เมตร ใบคล้ายรูปไข่ปลายแหลม ขอบใบหยัก ๒-๓ หยัก ดอกสีเหลืองออกเป็นช่อที่ยอดโดยมีดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่บนช่อเดียวกัน เป็นไม้พุ่มเนื้ออ่อน ขนาดต้นมีความสูงตั้งแต่ ๐.๖ ถึง ๔ เมตร ลำต้น มีน้ำยาง ใบสีเขียวแก่ เมื่ออากาศเย็นยอดใบจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม แต่อาจมีพันธุ์ผสมสีอื่นๆ เช่น สีเขียวอ่อน สีครีม สีชมพู สีส้ม สีขาว สีม่วง

เป็นไม้ดอกพื้นเมืองของอเมริกาใต้ แถบเม็กซิโกและกัวเตมาลา เข้ามาแพร่หลายในสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี ค.ศ.๑๘๒๘ โดยโจเอล โรเบิร์ตส์ พอยเซตต์ อดีตทูตสหรัฐอเมริกาประจำเม็กซิโก ในประเทศไทยต้นคริสต์มาสมีแหล่งเพาะพันธุ์ในเขตพื้นที่อากาศเย็น เช่นที่ภูเรือ จังหวัดเลย



(https://thiwarad.files.wordpress.com/2012/09/imagescakd06wy.jpg?w=870)
รักเร่

รักเร่ ชื่อวิทยาศาสตร์ Dahlia hybrids ถิ่นกำเนิดในเม็กซิโก โคลัมเบีย มีทั้งชนิดอายุหลายปี และชนิดอายุสั้น ชนิดอายุหลายปี มีพุ่มสูง ๐.๗๐-๑.๒๐ เมตร ชนิดอายุสั้นมีพุ่มสูง ๓๐-๔๕ ซ.ม. ใบรูปไข่แกมรี ขอบจักฟันเลื่อยหรือหยักลึกสุดแบบขนนก แผ่นใบหนา สีเขียวเข้ม ดอกชั้นเดียวและดอกซ้อน ขนาด ๔-๑๕ ซ.ม. ดอกวงนอกมักแทนที่ดอกวงใน กลีบดอกรูปไข่ ปลายแหลม สีขาว เหลือง ชมพู ส้ม แดง และสองสีในดอกเดียวกัน ปัจจุบันมีการปรับปรุงพันธุ์จนได้พันธุ์ลูกผสมที่มีลักษณะดอกหลายแบบ

ชอบดินร่วนปนทราย แสงแดดจัด น้ำปานกลาง ปลูกเป็นไม้ตัดดอก ไม้กระถาง ไม้ประดับแปลง ทางสมุนไพรนำหัวมาต้มกับหมู กินทั้งน้ำและเนื้อ ช่วยรักษาโรคหัวใจ



(https://medthai.com/wp-content/uploads/2013/10/กุ่มบก.jpg)
กุ่มบก

กุ่มบก ชื่อวิทยาศาสตร์ Crateva adansonii DC. เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ สูงได้ถึง ๒๐ เมตร แตกกิ่ง ก้านโปร่ง กิ่งก้านมักคดงอ เปลือกสีน้ำตาลอ่อน ใบประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อย ๓ ใบ ออกเรียงสลับ ใบรูปไข่ กว้าง ๒-๖ ซ.ม. ยาว ๒-๑๐ ซ.ม. ปลายใบแหลมมีติ่งสั้น โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ เนื้อใบหนานุ่ม ผิวใบมัน แผ่นใบเรียบทั้งสองด้าน

ดอกออกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบใกล้ปลายยอด ดอกสีขาวเมื่อแรกบาน แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือสีชมพู กลีบดอกมี ๔ กลีบ รูปรี ปลายมน โคนสอบเรียว ก้านเป็นเส้นสีม่วง ผลสดรูปทรงกลม เปลือกแข็ง ผลอ่อนมีสีเขียว พอสุกมีสีน้ำตาลแดง พบตามป่าผสมผลัดใบ ป่าเต็งรัง ไร่นา ป่าเบญจพรรณ เขาหินปูนและป่าไผ่ ออกดอกราวเดือน ก.พ.-มี.ค. ติดผลราวเดือน ก.ย.-ธ.ค.

ตำรายาไทยใช้ใบรสร้อนต้มน้ำดื่มบำรุงหัวใจและขับลม ใบสดตำทาแก้กลากเกลื้อน เปลือกต้นผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่ม เป็นยาเจริญอาหาร ดอกเป็นยาเจริญอาหาร ผล แก้ท้องผูก ยอดอ่อนและช่อดอกนำมาดอง รับประทานเป็นผักได้ ผักกุ่มมีกรดไฮดรอไซยานิกซึ่งเป็นสารพิษ จึงต้องนำไปทำให้สุกหรือดองก่อนรับประทาน



(https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSLiNpSJasO3FS77-jKmtWPiGua7aNiZJG8rZ1HnGjVBMbYePH_)
โคลงเคลง

โคลงเคลง ชื่อวิทยาศาสตร์ Melastoma villosun Lodd. พบทั่วไป ในบริเวณขอบพรุที่โล่งแจ้ง เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง ๑-๒ เมตร ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามเป็นคู่สลับ แผ่นใบรูปขอบขนาน แกมรูปรีถึงรูปขอบขนานแกมรูปหอก ยาว ๗-๑๐ ซ.ม. กว้าง ๓-๔ ซ.ม. ผิวใบมีเกล็ดเล็กแหลมสั้นๆ ปลายใบแหลมถึงเรียวแหลม โคนใบแหลม เส้นใบ ๓ เส้น เด่นออกจากโคนใบไปจรดที่ปลายใบ เส้นใบอื่นไม่เด่นชัด ก้านใบยาว ๑-๒ ซ.ม. มีเกล็ดเรียบและขนสั้น

ดอกสีชมพูแกมม่วงสด ถ้วยรองดอกมีเกล็ดเล็กเรียวแหลมสีม่วง ค่อนข้างเรียบ เส้นผ่านศูนย์กลางดอก ๕ ซ.ม. ออกดอกเกือบตลอดทั้งปี ผลรูปถ้วยปากผาย กว้างยาวประมาณ ๑.๕ ซ.ม. มีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดเล็กเนื้อสีดำ ผลสุกรสหวานกินได้


ที่มาข้อมูล นสพ.ข่าวสด


หัวข้อ: Re: พรรณไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้มงคล
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 25 เมษายน 2562 16:03:20


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/95582047642933_c1_320x200_.jpg)
ข้าวสารดอกเล็ก  
Raphistemma hooperianum Decne.
APOCYNACEAE
 
ไม้เลื้อย
ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่ หรือรูปไข่แกมขอบขนานหรือรูปหัวใจ ฐานใบเว้า ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ เนื้อใบบาง
ดอก เป็นดอกช่อ ดอกย่อยช่อละ ๔-๗ ดอก ออกตามซอกใบ ขนาดเล็ก กลิ่นหอม กลีบดอกรูปไข่ ปลายมน สีขาวและกลายเป็นสีเหลืองอ่อนหรือสีนวล
ผลเป็นฝัก รูปไข่แถบขอบขนาน
ตำรายาโบราณ ใช้ ราก ถอนพิษ ทำให้อาเจียน ปรุงเป็นยารักษาแก้ตาแดง ตาแฉะ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/13140906807449_c_320x200_.jpg)
มะป่วน  
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Mitrephora tomentosa Hook. f. & Thomson
วงศ์ : ANNONACEAE
ไม้ต้นสูง ๑๐-๑๕ เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มค่อนข้างกลม เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาล กิ่งอ่อนและใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลหนาแน่น
ใบเดี่ยว เรียงสลับสองข้างของกิ่งในระนาบเดียวกัน แผ่นใบรูปรี ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเว้า ผิวใบมีขนสีน้ำตาล เส้นแขนงใบ ๑๐-๑๔ คู่ ก้านใบยาว
ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกตรงข้ามใบ ดอกย่อย ๒-๓ ดอก กลีบดอกสีเหลือง ๖ กลีบ เรียงเป็น ๒ ชั้นๆ ละ ๓ กลีบ รูปขอบขนานปลายแหลมและโค้ง ขอบกลีบหยักเว้า กลีบดอกชั้นในรูปช้อน เรียงตัวชิดกันเป็นรูปโดม
ผลเป็นแบบผลกลุ่ม กลุ่มละ ๑๖-๒๔ ผล แต่ละผลรูปกลมรี ผลสุกสีเหลือง มีขนสีน้ำตาลคลุม มี ๓-๗ เมล็ด
ยาพื้นบ้านอีสานใช้ แก่น ประมาณ ๑๕-๓๐ กรัม ต้มน้ำดื่ม วันละ ๓ ครั้ง หลังอาหาร บำรุงกำลัง



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/47482064200772__3_1_320x200_.jpg)
กลึงกล่อม
Polyalthia suberosa (Roxb.) Thwaites
ANNONACEAE

ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง ๒-๕ เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม เปลือกต้นสีน้ำตาลเข้ม ย่นเป็นสันนูนขรุขระ
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานหรือรูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบสอบเรียวเล็กน้อย
ดอกเดี่ยว ออกตามกิ่งหรือตรงข้ามใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม
ผลกลุ่ม ผลกลมสุกสีม่วงดำ
รากและเนื้อไม้ แก้ไข้ แก้ร้อนใน ขับพิษ
ใบและกิ่ง มีฤทธิ์ต้านเชื้อโรคเอดส์ ในหลอดทดลอง



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/20766604691743__1_1_320x200_.jpg)
ข่าหด
Fissistigma polyanthoides (A. DC.) Merr.
ANNONACEAE

ไม้เลื้อยขนาดใหญ่ ยาวได้ถึง ๒๐ เมตร กิ่งอ่อนมีขนหนาแน่น
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรี หรือรูปรีแกมขอบขนาน มีขนสีน้ำตาลที่เส้นใบ
ดอกช่อแยกแขนง ออกเป็นกระจุกสั้นๆ ที่ซอกใบ ดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกสีเหลือง โคนกลีบสีแดง กลิ่นหอม
ผลกลุ่ม ผลย่อยรูปทรงกลมสีน้ำตาลเป็นมัน เปลือกหนา
ตำรายาพื้นบ้านใช้เปลือกต้น แก้ผิดสำแดง อาหารเป็นพิษ ใช้ข่าหด ๒-๓ กีบ ต้มกิน กินครั้งละ ๑ กลืน วันละ ๓ เวลา ช่วยทำให้มดลูกกระชับขึ้น หรือ ข่าหด ๑-๒ กีบ ว่านชักมดลูก ๑ ฝาน ตะไคร้ ๑-๒ กีบ ข่าหัวแก่  ๒-๓ ท่อน ต้มน้ำดื่มกิน เช้า-เย็น ช่วยรัดมดลูก
ทำให้มดลูกกระชับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/82642200216650__1_1_320x200_.jpg)
ข้าวหลามดง  
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Goniothalamus laoticus (Finet & Gagnep.) 
วงศ์ : ANNONACEAE
ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง ๔-๘ เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มโปร่ง เปลือกหนาสีเทาอมดำ
ใบเดี่ยว เรียงสลับสองข้างกิ่งในระนาบเดียวกัน แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ปลายเรียวแหลม โคนใบสอบ ใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีอ่อนกว่า ก้านใบยาว
ดอกเดี่ยวหรือออกเป็นกระจุก ๒-๕ ดอก ตามลำต้น กิ่งและตามง่ามใบ ก้านดอกยาว กลีบดอกยาวสีเหลืองนวลถึงสีชมพู
ผลกลุ่ม ๖-๑๒ ผล รูปกลมรี หรือทรงกระบอก ไม่มีก้านผล สีเขียวแกมเหลือง
ประโยชน์ : แก่น แก้ซางเด็ก แก่น ราก บำรุงกำลัง



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/68367769196629_untitled_320x200_.png)
ข้าวหลาม
ชื่อท้องถิ่น : จำปีหิน นมงัว
 
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Goniothalamus tamirensis Pierre ex Finet & Gagnep.
วงศ์ : ANNONACEAE
ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง ๒-๓ เมตร
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ
ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ สีเขียวเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแกมเขียว มีกลิ่นหอม
ผลกลุ่ม มี ๘-๑๕ ผลย่อย รูปรี เมื่อสุกสีแดง
ตามตำรายาพื้นบ้านใช้ แก่น ผสมแก่นส้านดิน รากเคด แช่น้ำดื่ม แก้ซางเด็ก
ผสมกับสมุนไพรอื่น ดองเหล้าหรือต้มน้ำดื่ม บำรุงกำลัง



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/88319387907783__3_1_320x200_.jpg)
บุหงาเซิง  
ชื่อท้องถิ่น : เครือติดต่อ ส่าเหล้า สายหยุด (สุราษฎร์ธานี) สาวสะดุ้ง (ชุมพร) บุหงาแต่งงาน (ภาคกลาง ภาคใต้)
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Friesodielsia desmoides (Craib) Steenis
วงศ์ : ANNONACEAE
ไม้พุ่มรอเลื้อยขนาดเล็ก
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ โคนใบมนและหยักเว้า ปลายใบแหลม เส้นแขนงใบมี ๑๒-๑๖ คู่
ดอกเดี่ยวหรือดอกช่อออกเป็นกระจุก ๒ ดอก ออกนอกซอกใบ กลีบเลี้ยง ๓ กลีบ กลีบดอก ๖ กลีบ เรียงเป็น ๒ ชั้น ชั้นละ ๓ กลีบ กลีบดอกชั้นในรูปไข่ สีส้มหรือส้มแกมน้ำตาล กลีบดอกชั้นนอกรูปขอบขนาน ปลายมนหรือค่อนข้างแหลม สีเหลือง
ผลกลุ่ม ก้านช่อผลยาว ๘ มิลลิเมตร ผลย่อย ๘-๑๒ ผล ผลย่อยรูปกลมรี สีแดง มีเมล็ดเดียว
ยาพื้นบ้านภาคใต้ใช้ราก แก้เหงือกอักเสบ ลำต้น ผสมรากกล้วยน้ำ รากกล้วยตีบ หัวคล้า และไม้ไผ่สีสุก ต้มน้ำดื่ม แก้ไข้ทับระดู



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/29038833785388__3_1_320x200_.jpg)
มะป่วน    
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Mitrephora tomentosa Hook. f. & Thomson
วงศ์ : ANNONACEAE
ไม้ต้นสูง ๑๐-๑๕ เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มค่อนข้างกลม เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาล กิ่งอ่อนและใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลหนาแน่น
ใบเดี่ยว เรียงสลับสองข้างของกิ่งในระนาบเดียวกัน แผ่นใบรูปรี ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเว้า ผิวใบมีขนสีน้ำตาล เส้นแขนงใบ ๑๐-๑๔ คู่ ก้านใบยาว
ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกตรงข้ามใบ ดอกย่อย ๒-๓ ดอก กลีบดอกสีเหลือง ๖ กลีบ เรียงเป็น ๒ ชั้นๆ ละ ๓ กลีบ รูปขอบขนานปลายแหลมและโค้ง ขอบกลีบหยักเว้า กลีบดอกชั้นในรูปช้อน เรียงตัวชิดกันเป็นรูปโดม
ผลเป็นแบบผลกลุ่ม กลุ่มละ ๑๖-๒๔ ผล แต่ละผลรูปกลมรี ผลสุกสีเหลือง มีขนสีน้ำตาลคลุม มี ๓-๗ เมล็ด
ยาพื้นบ้านอีสานใช้ แก่น ประมาณ ๑๕-๓๐ กรัม ต้มน้ำดื่ม วันละ ๓ ครั้ง หลังอาหาร บำรุงกำลัง



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/17190587355030__2_1_1_320x200_.jpg)
สลิด หรือ ขจร  
Telosma cordata (Burm. f.) Merr.
APOCYNACEAE

ไม้เลื้อย สีเขียวแกมเหลือง มีขนสั้นนุ่มเมื่อยังอ่อนอยู่ เปลี่ยนเป็นสีเทาจางเกือบเกลี้ยง
ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม โคนใบรูปหัวใจกว้าง มีส่วนเว้าแคบ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมีเส้นใบสามเส้น
ดอกช่อแบบช่อกระจุกคล้ายช่อซี่ร่ม ดอกย่อย ๑๕-๓๐ ดอก วงกลีบดอกสีเขียวแกมเหลือง
ผลเป็นแบบผลแตกแนวเดียวรูปคล้ายรูปใบหอก เกลี้ยง มักเป็นแบบมนสี่เหลี่ยม เมล็ดรูปไข่กว้าง แบน ปลายตัด ขอบเป็นเยื่อ
ตำรายาไทย ใช้ ดอกอ่อน ยอดอ่อน และผลอ่อน ลดไข้ แก้อาการหวัด ขับเสมหะ ลดอาการระคายคอ บำรุงโลหิต บำรุงธาตุ บำรุงตับ บำรุงไต บำรุงปอด แก้เสมหะเป็นพิษ บำรุงหัวใจ บำรุงสายตา ป้องกันสายตาเสื่อม แก้อาการคลื่นเหียน อาเจียน แก้อาการหน้ามืด ตาลาย แก้อาการท้อผูก ช่วยเจริญอาหาร
ลำต้น เจริญอาหาร และช่วยบำรุงร่างกาย แก้แก้อาการท้องเสีย ขับปัสสาวะ ขับสารพิษ
ราก บำรุงเลือด ทำให้อาเจียน ขับปัสสาวะ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/28559901358352__1_696x364_1_320x200_.jpg)
กล้วยเต่า  
Polyalthia debilis Finet & Gagnep.
ANNONACEAE

ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง ๑ เมตร ตามกิ่งอ่อนมีขนอ่อนขึ้นปกคลุมอย่างหนาแน่น ส่วนกิ่งแก่เรียบเป็นสีน้ำตาลใบเดี่ยว เรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปขอบขนานถึงรูปไข่กลับแกมรูปใบหอก ปลายใบแหลมหรือมนและมีติ่งแหลม โคนใบมนหรือหยักเว้าเล็กน้อย แผ่ใบแคบ กว้าง ๒-๕ เซนติเมตร ยาว ๕-๑๓ เซนติเมตร หลังใบเป็นสีเขียวเข้มเกลี้ยงเป็นมัน ท้องใบมีขนและมีสีจางกว่าดอกเดี่ยวขนาดเล็กออกตามซอกใบ ก้านดอกสั้น ดอกเป็นสีเหลืองอ่อน กลีบดอกเรียงสลับกันมี ๒ ชั้น ชั้นละ ๓ กลีบ ผลกลุ่ม อยู่บนแกนตุ้มกลม รูปทรงกระบอก คอดระหว่างเมล็ด ปลายเรียวแหลมตำรายาพื้นบ้านใช้ ราก ลำต้น แก้ปวดท้อง



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/93194756325748__1_1_1_320x200_.jpg)
เถาประสงค์  
Streptocaulon juventas (Lour.) Merr.
APOCYNACEAE

ไม้เถา มีขนหยาบแข็งสีน้ำตาลแกมส้มยกเว้นที่วงกลีบดอก ทุกส่วนมีน้ำยางขาว
ใบประกอบแบบขนนก เรียงตรงข้าม รูปไข่กลับ หรือรูปรี คล้ายแผ่นหนัง โคนใบกลมถึงรูปหัวใจ ปลายใบแหลมหรือกลมและเป็นติ่งแหลมอ่อน
ดอกช่อแบบช่อกระจุกแยกแขนง กลีบดอกสีเขียวแกมเหลืองด้านนอก สีน้ำตาลแกมเหลืองด้านใน เกลี้ยง หลอดดอกสั้น พูรูปไข่
ผลแตกแนวเดียว รูปขอบขนาน หรือรูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน เป็นแนวนอน เมล็ดรูปขอบขนาน กระจุกขน
ตำรายาไทยโบราณ ใช้ ราก รสสุขุม แก้ไข้เพื่อโลหิต แก้ลมปลายไข้ ยาพื้นบ้านใช้ ลำต้น ราก ผสมลำต้นโมกหลวง เถาย่านาง รากส้มลม แก้หอบหืดอย่างแรง ชาวเขาเผ่าอาข่า (อีก้อ) กะเหรี่ยงใช้ ทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม แก้ท้องเสีย แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง
ความเป็นพิษ เนื่องจากมีน้ำยางขาว อาจทำให้ระคายเคืองผิวหนัง



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/18785667791962__696x364_1_320x200_.jpg)
บวบลม    
Dischidia major (Vahl) Merr.
APOCYNACEAE

ไม้ล้มลุกที่มีลำต้นเลื้อยทอดไปตามต้นไม้ เถากลมสีเขียว
ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ หรือออกเป็นใบเดี่ยวๆ ใบมี ๒ แบบ ลักษณะแตกต่างกันมาก ซึ่งจะอยู่บนต้นเดียวกัน
แบบแรกมีลักษณะรูปร่างคล้ายถุงปากแคบ แบนเป็นเหลี่ยมๆ ผิวด้านนอกเกลี้ยงเป็นสีเขียวหรือสีเหลือง ส่วนด้านในเป็นสี
แบบที่สองเป็นแบบใบธรรมดา รูปค่อนข้างกลม ปลายใบมน มีติ่งแหลมสั้นๆ เนื้อใบหนาและอวบน้ำ
ดอกเป็นช่อสั้นๆ ขนาดเล็ก ช่อละ ๖-๘ ดอก ออกตามซอกใบตรงข้ามกับใบ ดอกขนาดเล็ก กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้นๆ และป่องเบี้ยวไปอีกข้างหนึ่ง ส่วนตรงปลายเป็นรูปกรวย ที่ปลายปากดอกแต้มไปด้วยสีม่วงและมีขนอยู่ด้านนอก
ผลเป็นฝัก สีเหลืองแกมสีส้ม ผิวขรุขระ
ตำรายาโบราณ ใช้ทั้งต้น แก้ปวดท้อง ผล ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ราก แก้อาการอ่อนเพลีย ช่วยบำรุงกำลัง แก้ไข้เพื่อโลหิต แก้ลมปลายไข้
ความเป็นพิษ : มีน้ำยางขาวอาจทำให้ระคายเคืองผิวหนัง



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/44735958137445__3_1_1_320x200_.jpg)
กะเจียน    
Hubera cerasoides (Roxb.) Chaowasku
ANNONACEAE

ไม้ต้นขนาดกลาง สูง ๑๒-๒๐ เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาลแกมดำ กิ่งเกือบตั้งฉากกับลำต้น กิ่งอ่อนมีขนนุ่ม กิ่งแก่เกลี้ยง กิ่งแก่และลำต้นมีช่องอากาศสีเหลืองอ่อนทั่วไป
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอก รูปขอบขนานแกมรูปใบหอกหรือรูปรี ปลายใบเรียวแหลม โคนใบรูปมนเบี้ยว ขอบใบเรียบ
ดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ ๒-๓ ดอก แยกแขนง ออกที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง กลีบดอกสีเขียวแกมเหลืองหรือเขียวอ่อน กลีบดอกเรียงเป็น ๒ ชั้น ชั้นละ ๓ กลีบ รูปไข่ หนา
ผลกลุ่ม รูปกลมป้อม ปลายผลเป็นติ่ง ผลอ่อนสีเขียวเมื่อสุกสีแดง มี ๑ เมล็ด
รากแห้ง แก้กษัย (อาการป่วยที่เกิดจากหลายสาเหตุ ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม ซูบผอม โลหิตจาง ปวดเมื่อย) คุมกำเนิดในสตรี บำรุงกำลังสำหรับบุรุษ แก้ไข้


ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์


หัวข้อ: Re: พรรณไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้มงคล
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 28 พฤศจิกายน 2562 16:06:38
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/17202769757972__1_320x200_.jpg)
พลองเหมือด    
ชื่อวิทยาศาสตร์ Memecylon edule Roxb.  
จัดอยู่ในวงศ์โคลงเคลง MELASTOMATACEAE  
ไม้ต้น : สูง ๕-๑๐ เมตร 
ใบเดี่ยว : เรียงตรงข้าม รูปไข่ถึงรูปรี ปลายแหลมถึงเรียวแหลม โคนมนถึงแหลม
ดอก : สีม่วง ออกเป็นช่อกระจุกที่ซอกใบ วงกลีบดอกรูประฆัง กลีบดอกรูปไข่หรือกลม
ผล : มีเนื้อ รูปทรงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๘-๑๐ ม.ม. สุกสีดำแกมม่วง
ยาพื้นบ้าน : ใช้รากผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่มแก้ประดง ต้นผสมกับแก่นพลับพลา ต้นกำแพงเจ็ดชั้น ต้นสบู่ขาว แก่นจำปา แก่นโมกหลวง ต้มน้ำดื่มแก้หืด
ต้นและใบ : ต้มน้ำดื่ม ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะขัด
….. มติชนสุดสัปดาห์ 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/29804922598931__2_1_1_320x200_.jpg)
น้อยโหน่ง    
Annona reticulata L.
ANNONACEAE
ไม้พุ่ม : ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง ๕-๘ เมตร เปลือกต้นสีเทา
ใบเดี่ยว : เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมรูปใบหอก โคนใบแหลม ใบสีเขียวสด
ดอกเดี่ยว :  หรือออกเป็นช่อกระจุก ๒-๓ ดอก กลีบดอกค่อนข้างหนา กลีบดอก ๓ กลีบ สีเหลืองแกมเขียว มีกลิ่นหอมแบบเอียนๆ
ผลกลุ่ม : ขนาดใหญ่กว่าน้อยหน่า รูปกลมหรือรูปทรงหัวใจ ผิวเปลือกบางเรียบแต่เหนียว ผลดิบเปลือกมีสีเขียวจางๆ ปนแดงเรื่อๆ แต่เมื่อสุกจะเป็นสีแดงแกมน้ำตาลเข้ม เมล็ดจำนวนมาก รสหวานแต่ไม่เท่าน้อยหน่า
สรรพคุณตามตำรายาโบราณ : ผลดิบ แก้ท้องร่วง ขับพยาธิ ใบ ตำพอกแก้อาการฟกบวม
….. มติชนสุดสัปดาห์ 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/44352480024099__2_1_320x200_.jpg)
มะนาวผี    
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Atalantia monophylla (L.) DC.
ชื่อวงศ์ : RUTACEAE
ลักษณะพืช : ไม้ต้นขนาดเล็ก ลำต้นและกิ่งมีหนามแหลม เรือนยอดเป็นพุ่มกลมแน่นทึบ ลำต้นมักคดงอ
ใบเดี่ยว : เรียงสลับ รูปไข่ ปลายใบหยักเว้า มีต่อมน้ำมันเป็นจุดโปร่งใส เมื่อขยี้มีกลิ่นคล้ายส้ม
ดอกช่อกระจุก : ออกตามง่ามใบ กลีบเลี้ยงแยก ๒ แฉก ขนาดไม่เท่ากัน กลีบดอก ๓ กลีบ กลีบดอกสีขาว เกสรเพศผู้ ๖ อัน ก้านเกสรเพศผู้รวมกันเป็นหลอด
ผลสด : กลมขนาดเล็ก ผิวขรุขระมากหรือน้อย ผิวหนาคล้ายหนัง เมล็ดรูปไข่
ตำรายาโบราณ : ใบ รักษาโรคทางเดินหายใจ
เนื้อไม้เหนียวทนทาน : ใช้ทำด้ามเครื่องมือกสิกรรม
….. มติชนสุดสัปดาห์ 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/50301844047175__3_1_1_320x200_.jpg)
กะเจียน    
Hubera cerasoides (Roxb.) Chaowasku
ANNONACEAE
 
ไม้ต้นขนาดกลาง : สูง ๑๒-๒๐ เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาลแกมดำ กิ่งเกือบตั้งฉากกับลำต้น กิ่งอ่อนมีขนนุ่ม กิ่งแก่เกลี้ยง กิ่งแก่และลำต้นมีช่องอากาศสีเหลืองอ่อนทั่วไป
ใบเดี่ยว : เรียงสลับ รูปใบหอก รูปขอบขนานแกมรูปใบหอกหรือรูปรี ปลายใบเรียวแหลม โคนใบรูปมนเบี้ยว ขอบใบเรียบ
ดอก :เ ดี่ยวหรือดอกช่อ ๒-๓ ดอก แยกแขนง ออกที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง กลีบดอกสีเขียวแกมเหลืองหรือเขียวอ่อน กลีบดอกเรียงเป็น ๒ ชั้น ชั้นละ ๓ กลีบ รูปไข่ หนา
ผลกลุ่ม : รูปกลมป้อม ปลายผลเป็นติ่ง ผลอ่อนสีเขียวเมื่อสุกสีแดง มี ๑ เมล็ด
รากแห้ง : แก้กษัย (อาการป่วยที่เกิดจากหลายสาเหตุ ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม ซูบผอม โลหิตจาง ปวดเมื่อย) คุมกำเนิดในสตรี บำรุงกำลังสำหรับบุรุษ แก้ไข้
….. มติชนสุดสัปดาห์ 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/16295155882835__1_1_320x200_.jpg)
มะไฟจีน    
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Clausena lansium (Lour.) Skeels
ชื่อพ้อง : Quinaria lansium Lour.
วงศ์ : RUTACEAE
ลักษณะพืช : ไม้ต้น สูง ๘-๑๒ เมตร ไม่ผลัดใบ กิ่งอ่อนมีขนสั้นนุ่ม ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ใบย่อย ๕-๑๑ ใบ รูปไข่ถึงรูปไข่แกมรูปรี
ดอกช่อ : สีขาวแกมเหลือง แบบช่อแยกแขนง ออกที่ปลายยอด ตาดอกรูปร่างคล้ายดาว กลีบดอกรูปขอบขนาน
ผลสด : รูปทรงกลม ทรงรี หรือทรงรูปไข่กว้าง สีเขียวถึงน้ำตาล
ตำรายาโบราณ : ใบใช้ทำยาสระผม แก้รังแคและรักษาสีผม
ผลสุก : รับประทานได้ เนื้อใช้ทำแยมหรือพาย ผลดิบเปรี้ยวใช้ทำเยลลี่ ไวน์
ชาวจีนกล่าวว่า : ผลตากแห้งหรือเชื่อมแห้งสามารถใช้รับประทานแก้หวัด แก้ไอ หรือแก้พิษร้อน
….. มติชนสุดสัปดาห์ 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/74959023710754__2_320x200_.jpg)
ส่าเหล้าต้น    
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Bridelia stipularis (L.) Blume
ชื่อพ้อง : Clutia stipularis L., Bridelia scandens (Roxb.) Willd., Bridelia dasycalyx Kurz
วงศ์ : PHYLLANTHACEAE (EUPHORBIACEAE)
ใบเดี่ยว : เรียงสลับ รูปรี
ดอก : เป็นแบบช่อกระจุก แยกเพศ ออกตามกิ่งที่ไม่มีใบ สีเขียวแกมเหลืองหรือครีม กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปสามเหลี่ยม กลีบดอก ๕ กลีบ โคนดอกสอบแคบหรือเป็นรูปช้อน ปลายดอกกลม เกสรเพศผู้ ๕ อัน ยอดเกสรเพศเมียจักเป็น ๒ แฉก
ผล : เป็นแบบผลสดคล้ายผลเมล็ดเดียวแข็ง ทรงรีหรือค่อนข้างกลมหรือทรงรูปไข่ สีดำหรือดำแกมแดง เมล็ดรูปไข่ สีน้ำตาลแกมแดง
ยาพื้นบ้านอีสาน : ใช้ ใบ ต้มน้ำดื่ม เป็นยาถ่าย
ตำรายาไทย : ใช้ ใบ แก้ปวด ตำผสมเทียนแดง แก้แผลกามโรค ดอก แก้โลหิตออกจากตา ลำต้น ฟอกโลหิต ราก ขับประจำเดือน ผล แก้พิษ ต่อ แตน
….. มติชนสุดสัปดาห์ 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/13959092150131__2_1_320x200_.jpg)
หนาด    
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Blumea balsamifera (L.) DC. (1)
วงศ์ : Compositae (Asteraceae)
ไม้พุ่มหรือไม้พุ่มขนาดเล็ก : หลายปี ตั้ง สูง ๑-๓ เมตร กิ่งแขนงเรียงแบบช่อเชิงหลั่น แขนงตั้ง มีขนแบบขนแกะแกมมีขนอุยหนาแน่นสีขาวแกมเหลือง
ใบ : เดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานแคบ ใกล้แกนมีรอยย่นและมีขนยาวห่างพร้อมขนซ้อนทู่ โคนใบรูปติ่งหูแคบ เส้นใบ ๑๐-๑๒ คู่
ดอก : เป็นดอกช่อกระจุกแน่น รวมเป็นแบบช่อแยกแขนงรูปพีระมิดกาง มีก้านช่อดอก วงใบประดับรูประฆัง วงใบประดับ ๓ หรือ ๔ ชุด
ผล : เป็นแบบผลแห้งเมล็ดล่อน สีน้ำตาล รูปขอบขนาน ขนาดประมาณ ๑ มิลลิเมตร มีขนหยาบแข็งประปราย แพบพัสสีแกมแดง ขนาด ๔-๖ มิลลิเมตร
ตำรายาไทยและยาพื้นบ้าน : ใช้ใบ ขับลม แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้ปวดท้อง ขับเหงื่อ ขับเสมหะ ตำรายาไทยใช้ ใบสด หั่นเป็นฝอยเหมือนยาเส้น ผึ่งแดดพอหมาดๆ มวนกับยาฉุนสูบ แก้ริดสีดวงจมูก ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อที่เกิดในจมูก ทำให้หายใจขัด มีฝีหนองในจมูก โพรงจมูกอักเสบ ยาพื้นบ้านใช้
ใบ : บดผสมกับต้นข่อย แก่นก้ามปู พิมเสน และการบูร มวนด้วยใบตองแห้ง สูบ รักษาโรคหืด
ในใบ : พบสาร cryptomeridion ซึ่งมีฤทธิ์ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบ เช่น กล้ามเนื้อหลอดลม
….. มติชนสุดสัปดาห์ 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/11685649057229__2_1_320x200_.jpg)
เต็งหนาม    
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Bridelia retusa (L.) A. Juss.
วงศ์ : PHYLLANTHACEAE (EUPHORBIACEAE)
ไม้ต้น : ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ผลัดใบ ใบประดับย่อย เปลือกต้นสีน้ำตาลเข้ม แตกเป็นสะเก็ดสี่เหลี่ยม
ใบ : เดี่ยว เรียงสลับ รูปรี
ดอก : ช่อคล้ายช่อเชิงลด ออกที่ซอกใบ แยกเพศ มีเพศเดียวอยู่ร่วมต้น ช่อดอกเพศผู้สีเขียวแกมเหลืองอ่อนถึงน้ำตาล ช่อดอกเพศเมียสีน้ำตาลแกมแดง กลีบเลี้ยงรูปไข่แกมสามเหลี่ยม
กลีบดอก : มีหลายขนาด
ผลสด : รูปคล้ายผลเมล็ดเดียวแข็ง เมื่อสุกสีเกือบดำหรือน้ำเงินดำ เมล็ดรูปเกือบกลม สีน้ำตาลแดง
สรรพคุณโบราณ : เปลือกต้น ต้มน้ำดื่ม เป็นยาฝาดสมาน ปิ้งไฟ แช่น้ำเกลือ ดื่มแก้ท้องร่วง ตำผสมหัวแห้วหมูและผักเสี้ยนผีทั้งต้น ทำเป็นลูกประคบ แก้ปวดหัวเข่า
มีข้อมูลงานวิจัย : พบว่า สารสกัดแอลกอฮอล์จากใบและลำต้น เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวและต้านเชื้อไวรัสเอดส์ได้ในหลอดทดลอง
สารสกัดแอลกอฮอล์ : จากเปลือกต้นมีฤทธิ์ต้านเนื้องอกและลดความดันโลหิต
….. มติชนสุดสัปดาห์ 


หัวข้อ: Re: พรรณไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้มงคล
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563 16:46:10
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/47458932507369_view_resizing_images_8_Copy_.jpg)     เขี้ยวงู

เขี้ยวงู หรือ สำมะงา ชื่อวิทยาศาสตร์ Clerodendrum inerme (L.) Gaertn. เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย สูง ๑-๒ เมตร ลำต้นทอดนอน แผ่กระจัดกระจายโดยรอบ มีขนนุ่มปกคลุมตามส่วนอ่อนๆ ทั้งหมด ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปหอกหรือรูปรี ขนาด ๑.๕-๔ X ๓-๘ ซ.ม. ปลายใบแหลมหรือทู่ ฐานใบแหลม ขอบใบเรียบ เนื้อใบค่อนข้างหนา ผิวใบเกลี้ยง

ดอกออกตามง่ามใบและปลายกิ่งเป็นช่อกระจุก มี ๓ ดอก สีขาวอมชมพู กลีบดอก ๕ กลีบ ผลกลมหรือรูปไข่กลับ กว้าง ๑.๒-๑.๘ ซ.ม. เมื่อแห้งจะมีร่องตามยาว ๔ ร่อง ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่สีออกดำ ผิวเกลี้ยง มีกลีบเลี้ยงติดอยู่ที่ขั้วผล เมล็ดแข็งมาก มี ๑-๔ เมล็ด ออกดอก-ผลเกือบตลอดปี

ขึ้นตามบริเวณที่ชื้นแฉะและตอนบนของป่าชายเลน ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ใบสดรักษาโรคผิวหนัง บรรเทาอาการบวม ฟกช้ำ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/75895668938755_view_resizing_images_10_Copy_.jpg)     ขอบชะนาง

ขอบชะนาง ชื่ออื่น หนอนขาว หนอนแดง หญ้าหนอนตาย หญ้ามูกมาย ตาสียายเก้อ ชื่อวิทยาศาสตร์ Pouzolziapentandra Benn. เป็นพรรณไม้ล้มลุกจำพวกหญ้า เลื้อยแผ่ไปตามดินแต่ยอดตั้งขึ้น มี ๒ ชนิด คือขอบชะนางแดงและขอบชะนางขาว ลำต้นขนาดโตกว่าก้านไม้ขีดไฟเล็กน้อย ใบเดี่ยวออกสลับกัน รูปปลายหอกในขอบใบชะนางแดง ส่วนใบของขอบใบชะนางขาวค่อนข้างมนและกลม เส้นใบของทั้งสองชนิดเห็นเด่นชัดเป็น ๓ เส้น ใบจะโตประมาณ ๒ กระเบียดนิ้ว ยาวประมาณ ๑ นิ้วครึ่ง ถึง ๑ นิ้วฟุต มีขนเล็กน้อยบนต้นและแผ่นใบ

สรรพคุณ ทั้งต้นปิ้งไฟชงกับน้ำเดือดแก้พยาธิในเด็ก



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/86900735149780_view_resizing_imagesZ7RXOF5R_C.jpg)     คงคาเดือด

คงคาเดือด ชื่ออื่น หมากเล็กหมากน้อย ช้างเผือก ตะไล ตะไลคงคา สมุยกุย ชื่อวิทยาศาสตร์ Arfeuillea arborescens Pierre ไม้ต้น สูง ๘-๒๐ เมตร ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อย ๕-๙ ใบ รูปไข่หรือรูปใบหอก ดอกช่อออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีน้ำตาล ผลแห้ง แตกได้ มีปีก ๓ ปีก

สรรพคุณแก่น ฝนกับน้ำกินเป็นยาฆ่าพยาธิ เปลือกต้น ต้มน้ำดื่ม แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ไข้ และช่วยให้เจริญอาหาร ต้มน้ำอาบ ช่วยรักษาอาการคัน แสบร้อนตามผิวหนัง และโรคซาง



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/67834325879812_view_resizing_images_7_Copy_.jpg)     พุทธรักษาสีเหลือง

พุทธรักษาสีเหลือง ดอกไม้ประจำวันพ่อแห่งชาติ ชื่อวิทยาศาสตร์ Cannandica L. ชื่ออื่น พุทธศร ดอกบัวละวง สาคูมอญ สาคูหัวข่า อะตาหลุด มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาเขตร้อน เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นใต้ดินเป็นเหง้า เนื้ออ่อนอวบน้ำ แตกกอขึ้นเหนือพื้นดิน กาบใบเรียงอัดซ้อนกันแน่นตั้งตรงเป็นลำต้นเทียน

ใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับ ใบรูปรีถึงรูปไข่ ยาว ๓๐-๖๐ ซ.ม. ปลายแหลม โคนสอบ ขอบเรียบ แผ่นใบสีเขียว กลางใบเป็นเส้นนูน เห็นชัด ช่อดอกแบบช่อกระจะเกิดที่ปลายกิ่ง ช่อละ ๘-๑๐ ดอก กลีบเลี้ยงขนาดเล็ก ๓ กลีบ ใบประดับย่อยสีเขียว

วงกลีบดอก ๓ กลีบ รูปเรียวยาวปลายแหลม ขอบม้วนงอเข้าหากัน เกสรเพศผู้ที่เป็นหมันเปลี่ยนรูปคล้ายกลีบดอก มีขนาดใหญ่ สีเหลือง มีจุดประสีส้มที่บริเวณตรงกลาง เชื่อมติดกับเกสรเพศผู้ที่ไม่เป็นหมันและเกสรเพศเมียออกดอกตลอดทั้งปี

ปลูกในดินเหนียว แสงแดดจัดหรือแดดปานกลาง ขยายพันธุ์โดยการแยกเหง้า เพาะเมล็ด



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/52197680125633_view_resizing_imagesF0CFLDBJ_C.jpg)     คนทา

คนทา ชื่อทางพฤกษศาสตร์ Harrisonia perforate (Blanco) Merr. เป็นไม้พุ่มแกมเถา พบขึ้นทั่วไปตาม ที่โล่งในป่าผลัดใบ ป่าละเมาะ และป่าเขาหินปูน ตามเถาและกิ่งก้านมักมีหนามแข็ง เมื่อใบยังอ่อนมีสีแดง ใบประกอบเรียงสลับกันแบบขนนก ก้าน และแกนใบแผ่ออกเป็นปีกแคบๆ มีใบย่อย ๑-๑๕ ใบ รูปไข่หรือรูปรี กว้าง ๑-๑.๕ ซ.ม. ยาว ๒-๒.๕ ซ.ม.

ขอบใบย่อยมีหยักห่างๆ ดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบ ใกล้ปลายกิ่ง มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ ๔-๕ กลีบ รูปขอบขนาน กลีบดอกที่อยู่ด้านนอกสีม่วงแดง ด้านในสีขาวนวล ผลค่อนข้างกลม ผิวด้านนอกคล้ายแผ่นหนัง เมล็ดแข็ง ขนาด ๑-๒ ซ.ม. ใบ ผล และรากมีรสขม

สรรพคุณ เปลือกและรากต้มน้ำกินแก้ท้องเสีย แก้บิด เป็นยาลดความร้อนในร่างกาย ใช้กระทุ้งพิษไข้ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ

ในสมัยโบราณ มักใช้กิ่งไม้คนทาขนาดโตเท่านิ้วก้อยปอกเปลือกออกให้เห็นเนื้อขาว ด้านหนึ่งเหลาให้แหลม แล้วจักตอนปลายอีกด้านหนึ่ง ยีเนื้อไม้ส่วนปลายให้อ่อน เพื่อใช้เป็นไม้สีฟันกับไม้จิ้มฟันถวายพระภิกษุสงฆ์เมื่อถวายพุ่มเทียนพรรษา มักเรียกกันว่า "ไม้สีฟันคนทา" หรือที่ชาวอีสานเรียกกันว่า "ไม้โกทา"



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/91771208246548_view_resizing_imagesA85U5OOJ_C.jpg)     เล็บครุฑลังกา

เล็บครุฑลังกา ชื่อวิทยาศาสตร์ Polyscias fruticosa (L.) Harms เป็นไม้ประดับ ต้นทรงพุ่ม สูงประมาณ ๑-๓ เมตร ใบสีเขียวมัน ใบใหญ่ ลักษณะงอขึ้นเป็นหลุมคล้ายถ้วย มีลวดลายสวยงาม จึงนำใบมาใช้เป็นภาชนะใส่อาหาร ต้นเล็บครุฑมีใบที่นำมารับประทานได้ด้วย เช่น ภาคเหนือรับประทานคู่กับลาบหรือจิ้มน้ำพริก ทางภาคใต้นิยมนำมาใช้ใส่ในห่อหมกแทนใบยอ

นิยมปลูกทั้งในกระถางและปลูกลงดินทั่วไป ชอบดินร่วนปนทราย แสงแดดรำไร หรือแสงแดดในช่วงเช้า เป็นไม้เนื้ออ่อนตัดแต่งทรงพุ่มง่าย ขนาดของใบขึ้นอยู่กับขนาดของลำต้น



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/43007345870137_view_resizing_imagesB0XVZYQ3_C.jpg)     สนฉัตร

สนฉัตร ชื่อวิทยาศาสตร์ Araucaria heterophylla (Salisb.) Franco เป็นไม้ต้น อายุหลายปี เมื่อต้นยังเล็กกิ่งก้านจะแผ่ออกเป็นแผงรูปสามเหลี่ยมเป็นชั้นๆ เมื่อโตเต็มที่ลำต้นจะมีเนื้อไม้ ทรงพุ่มเป็นรูปกรวย ยอดเรียวแหลม ต้นอายุน้อยใบสีเขียวอ่อน ใบแก่สีเขียวเข้ม อัตราการเจริญเติบโต ช้า-ปานกลาง

ปลูกในดินทั่วไปที่มีอินทรียวัตถุ ระบายน้ำและอากาศได้ดี ชอบน้ำปานกลาง ทนแล้ง แสงแดดรำไรหรือตลอดวัน ต้นที่โตเล้วต้องการแสงแดดเต็มวัน ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง ปลูกเลี้ยงง่าย นิยมปลูกในกระถางตั้งประดับบ้านหรือปลูกในมุมสวน



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/95810618417130_view_resizing_images98QEJPQX_C.jpg)     คนทีสอขาว

คนทีสอขาว ชื่ออื่นๆ โคนดินสอ สีสอมูดเพิ่ง ผีเสื้อน้อย เทียนขาว ชื่อวิทยาศาสตร์ Vitex trifolia L. เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง สูง ๓-๖ เมตร ทั้งต้นมีกลิ่นหอม เปลือกลำต้นเรียบ สีเทา เป็นกระสีดำ แตกเป็นร่องตื้นตามยาว ใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกตรงกันข้าม ใบย่อยรูปไข่ปลายแหลม ๓ ใบ ขอบใบเรียบ ปลายแหลม โคนใบสอบ ท้องใบและ หลังใบเรียบ หลังใบสีเขียว ท้องใบเป็นสีนวลขาวมีขน ก้านใบยาว ๑-๓ ซ.ม. ดอกช่อแยกแขนง ดอกขนาดเล็กสีฟ้าอมม่วงเป็นช่อยาว ออกที่ยอดหรือตาม ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ผลแห้ง ผิวเรียบ มีเมล็ดเดียวสีเขียวนวล เป็นพวงช่อ เมล็ดเดี่ยวกลม สีน้ำตาล เมื่อสุกมี สีคล้ำหรือดำ เกิดตามป่าดงดิบเขา ป่าเบญจพรรณ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

สรรพคุณ ตำรายาไทย ใบ รสร้อนสุขุมหอม บำรุงน้ำดี ขับเสมหะ บำรุงธาตุ รักษาโรคตับ ขับลม แก้ไอ แก้หืด ฆ่าพยาธิ แก้ริดสีดวงจมูก แก้ลำไส้พิการ ขับเหงื่อ แช่น้ำอาบแก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/59696454968717_view_resizing_imagesP5UQFIFE_C.jpg)     คนทีสอทะเล

คนทีสอทะเล ชื่อวิทยาศาสตร์ Vitex trifolia subsp. litoralis Steenis จัดอยู่ในวงศ์กะเพรา ชื่อท้องถิ่นอื่นๆ คนที กูนิง คนทิสอทะเล คนทิ เป็นไม้เถาเลื้อยไปตามพื้นทรายริมทะเล มีถิ่นกำเนิดในเอเชียไปจนถึงประเทศออสเตรเลีย พบมากทางภาคใต้ตามป่าชายเลน ริมน้ำ ลำคลองใกล้ชายทะเล

ลำต้นสีน้ำตาล สูงประมาณ ๕๐ ซ.ม. ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามาก เมื่อมีอายุมากขึ้น จะมีสะเก็ดหลุดร่วงออกมา กิ่งมักโค้งงอลง ใบเดี่ยวออกเรียงสลับบริเวณปลายยอดแบบถี่ๆ ใบรูปรี ปลายใบและโคนใบแหลม กว้าง ๑.๕-๓ ซ.ม. ยาว ๓-๖ ซ.ม. ผิวใบเรียบ เนื้อใบค่อนข้างหนาสีเขียวเข้ม หลังใบสีอ่อนจนถึงสีนวล

ดอกออกเป็นช่อ แยกแขนงตามปลายกิ่งหรือปลายยอด ในแต่ละ ช่อดอกมีดอกย่อยอยู่จำนวนมาก ดอกสีม่วง สีฟ้าอมม่วง หรือสีคราม กลีบดอกลักษณะเป็นหลอด ดอกจะบานจากโคนช่อไปจนถึงปลายช่อ ออกดอกตลอดทั้งปี ผลสดแบบเดี่ยว สีเขียวหรือสีม่วง ลักษณะผลกลม

ขยายพันธุ์ด้วยการใช้เมล็ดและตอนกิ่ง



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/64399220339126_view_resizing_images44AP5CN9_C.jpg)     คนทีเขมา

คนทีเขมา ชื่อวิทยาศาสตร์ Vitex negundo L. ชื่อเรียกอื่น กุโนกามอ กูนิง เป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ต้นขนาดเล็ก สูง ๑-๕ เมตร ใบประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อย ๓-๗ ใบ รูปหอกแคบ ขนาดกว้าง ๑-๓ ซ.ม. ยาว ๔-๑๐ ซ.ม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ดอกสีขาวแกมม่วงอ่อน ออกเป็นช่อจากซอกใบหรือปลายกิ่ง ยาวประมาณ ๑๕ ซ.ม. ดอกย่อยขนาดเล็กมีจำนวนมาก กลีบรองดอกเชื่อมกันเป็นถ้วย ปลายแยก ๕ แฉก มีขนด้านนอก กลีบดอก ๕ กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน เชื่อมกันที่โคน ปลายกลีบล่างแผ่โค้ง เกสรผู้ ๔ อัน ผลรูปทรงกลม ขนาดเล็ก

สรรพคุณ ใบขับเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ไข้ รักษาโรคผิวหนัง อาการอักเสบและติดเชื้อ รากแก้ไข้ รักษาโรคตับ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/30721391075187_view_resizing_images936JLHRZ_C.jpg)     คัดลิ้น

คัดลิ้น ขี้อ้ายดง หรือ ลำไยป่า ชื่อวิทยาศาสตร์ Walsura trichostemonMiq. เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง ๕-๘ เมตร ขึ้นในป่าเบญจพรรณและตามป่าราบทั่วไป

ใบประกอบแบบขนนก ด้านบนสีเขียว ด้านล่างสีอ่อนกว่า ปลายเรียวแหลม โคนสอบ ออกดอกเป็นช่อแบบแยกแขนงที่ง่ามใบและปลายยอด

ดอกมีกลิ่นหอม ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามปลายกิ่ง ยาว ๕-๑๐ ซ.ม. ดอกเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลาง ๘ ม.ม. ผลเป็นแบบช่อ ลักษณะกลมรี ผิวผลเกลี้ยง มีสันตื้นๆ ปลายผลมีติ่งแหลม ผนังผลบางคล้ายหนัง เมื่อสุกสีเหลือง เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑.๕ ซ.ม. เมล็ดกลม

รากรสร้อนจัดฝาด สรรพคุณแก้เส้นเอ็นพิการ บำรุงเส้นเอ็น บำรุงธาตุ แก้จุกเสียด (ห้ามใช้กับคนเส้นประสาทพิการ) ผลสุก เนื้อหุ้มเมล็ดสีขาวรับประทานได้ รสหวาน ถ้ารับประทานมากทำให้ระคายลิ้น นิยมนำไปทำส้มตำรวมกับผลไม้ที่มีรสฝาด เช่น ตะโกนา กล้วยดิบ เพื่อลดการระคาย



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/40383512071437_view_resizing_imagesL2TFYJBA_C.jpg)     ฟอร์เก็ตมีน็อต

ฟอร์เก็ตมีน็อต (Forget me not) "อย่าลืมฉัน" อีกหนึ่งสัญลักษณ์ดอกไม้แห่งความรัก ชื่อสามัญ ANGELFACE PIN ชื่อวิทยาศาสตร์ Cynoglossum Lanceola tum Forssk

ถิ่นกำเนิดในประเทศแคนาดา ลำต้นแข็ง สูงประมาณ ๐.๕-๑ เมตร กิ่งก้านแตกแขนงรอบลำต้น ใบเล็กเรียวปลายโค้งมน มีขนอ่อนปกคลุมทั้งสองด้าน ออกดอกเป็นช่อ ช่อหนึ่งยาวประมาณ ๒๐-๓๐ ซ.ม. มีลักษณะเป็นดอกไม้สีฟ้า ๕ แฉก ขนาดเล็ก ออกดอกตามปลายยอดส่วนโคน กลีบจะเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้นๆ


ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด


หัวข้อ: Re: พรรณไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้มงคล
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 05 เมษายน 2564 22:04:17
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/32134211146169_1._Copy_.jpg)   นมสวรรค์ต้น"

นมสวรรค์ต้น พรรณไม้หายากจากป่าตะวันออก

นมสวรรค์ต้น Clerodendrum smitinandii Moldenke วงศ์ : LAMIACEAE

เป็นพรรณไม้หายาก ไม้พุ่มกึ่งไม้ต้นขนาดเล็ก ในป่าตะวันออกพบในป่าดิบชื้นและป่าดิบเขาต่ำ ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาวและอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี

ที่ระดับความสูง ๘๐๐-๑,๕๐๐ ม.
...ที่มา : สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/99252245161268_2._Copy_.jpg)   บอระเพ็ด

บอระเพ็ด Tinospora crispa (L.) Miers ex Hook.f. & Thomson วงศ์ : MENISPERMACEAE

ชื่ออื่น : เครือเขาฮอ, จุ่งจิง, เจตมูลหนาม, ตัวเจตมูลยาน, เถาหัวด้วน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถา ลำต้นมีปุ่มปม ใบเดี่ยว เรียงสลับ ดอกสีเหลืองอมเขียว ผลสด รูปกลม เมื่อสุกสีเหลือง ทุกส่วนมีรสขม

สรรพคุณ : เถา บำรุงหัวใจ ลดน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน เป็นยาอายุวัฒนะ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ช่วยเจริญอาหาร แก้ไข้ แก้ผมหงอกก่อนวัย ผล ขับเสมหะ/size]...ที่มา :สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/29129172820183_3._Copy_.jpg)   เอื้องนางตายภูวัว

เอื้องนางตายภูวัว Peristylus phuwuaensis Kurzweil (Orchidaceae)

กล้วยไม้ดินขึ้นตามที่ชื้นแฉะริมลำธารในป่าเต็งรัง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว จังหวัดบึงกาฬ

เป็นกล้วยไม้ชนิดใหม่ของโลกที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nordic Journal of Botany ฉบับที่ ๒๘ (๑) หน้าที่ ๒๖ เมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ปี ๒๐๑๐

เป็นพรรณไม้ถิ่นเดียวของไทย
(endemic)


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/43089857283565_4._Copy_.jpg)   นารีเริงระบำ

นารีเริงระบำ สะเดาหิน Pentasachme caudatum Wall. ex Wight (Apocynaceae)

ไม้พุ่มเตี้ย จากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัวและอุทยานแห่งชาติภุลังกา พบตามที่ค่อนข้างร่มในลำธารที่พื้นเป็นหินทราย



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/20562331088715_5._Copy_.jpg)  ดุสิตา หญ้าข้าวก่ำน้อย
ดุสิตา หญ้าข้าวก่ำน้อย Utricularia delphinioides Thorel ex Pellegr. (Lentibulariaceae)

พืชกินแมลงจากอุทยานแห่งชาติภูลังกา พบขึ้นตามที่ชื้นแฉะ ใบติดผิวดินมีกับดักแมลงขนาดเล็ก

คำระบุชนิด “delphinioides” หมายถึงดอกที่มีลักษณะคล้ายดอกเดลฟิเนียม



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/23067964903182_6._Copy_.jpg)   เห็มรัตน์ภูลังกา

เห็มรัตน์ภูลังกา Platostoma hemratianum Suddee, Puudjaa & Kiewbang (Lamiaceae, Labiatae)

พืชชนิดใหม่ของโลก  ไม้ล้มลุกจากอุทยานแห่งชาติภูลังกา พืชชนิดใหม่ของโลกที่เพิ่งตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ Thai Forest Bulletin (Botany)

คำระบุชนิด “hemratianum” ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่นายจันดี เห็มรัตน์ เจ้าหน้าที่หอพรรณไม้



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/46032712732752_7.1_Copy_.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/81344438509808_7.3_Copy_.jpg)   บัวผุด

บัวผุด ดอกไม้ยักษ์ หนึ่งปีมีครั้งเดียว

บัวผุด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Rafflesia kerri) เป็นกาฝากชนิดหนึ่ง

อาศัยอยู่บนรากของพืชจำพวกสกุลเครือเขาน้ำ (Tetrastigma) ซึ่งชาวบ้านเรียกว่าย่านไก่ต้ม

มีลักษณะเด่นที่ดอกซึ่งเป็นดอกเดียวขึ้นจากพื้นดินมีขนาดใหญ่ มีให้เห็นในช่วงฤดูฝน ดอกของบัวผุดใช้เวลาตั้งแต่เป็นดอกตูมจนบานถึง ๙ เดือน

ดอกจะบานอยู่ได้เพียง ๔-๕ วันเท่านั้น หลังจากนั้นก็จะค่อยๆ ดำเน่าไป

ทั้งนี้ ดอกนี้บานอยู่พิกัดบ้านถ้ำผึ้ง ม.๖ ต.คลองศก อ.พนม จ.สุราษฎร์ธานี



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/49406477933128_8._Copy_.jpg)  ตองแห้งบะไห

ตองแห้งบะไห พรรณไม้บนลานหิน

ตองแห้งบะไห Hedyotis bahaii J. F. Maxwell (Rubiaceae)

พืชล้มลุกบนลานหินทราย คำระบุชนิด 'bahaii' หมายถึงบ้านบะไห ตำบลห้วยยาง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี

แหล่งที่พบพืชชนิดนี้เป็นครั้งแรก เป็นพืชถิ่นเดียว (Endemic) ของไทย



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/26627464964985_9._Copy_.jpg)   เอื้องน้ำต้นขนดก

เอื้องน้ำต้นขนดก กล้วยไม้ดิน ขึ้นใกล้ลำธาร

เอื้องน้ำขนดก Calanthe hirsuta Seidenf. (Orchidaceae) จากอุทยานแห่งชาติภูเรือ จังหวัดเลย เดือนพฤศจิกายน

กล้วยไม้ดินหรืออิงอาศัยขึ้นใกล้ลำธาร ดอกออกเป็นช่อที่โคนลำลูกกล้วย ช่อดอกมีขนหนาแน่น ดอกบานเต็มที่ก่อนโรยสีส้มอมแดง


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/91550116447938_10._Copy_.jpg)   กาตาฉ่อ

กาตาฉ่อ ชื่อกล้วยไม้ ภาษากะเหรี่ยงที่ใช้เรียกแถบกาญจนบุรี Phalaenopsis deliciosa Rchb. f. (Orchidaceae) [syn. Kingidium deliciosum (Rchb. f.) H. R. Sweet]

กล้วยไม้อิงอาศัยจากอุทยานแห่งชาติภูลังกา มักพบขึ้นบนต้นไม้ตามลำธารที่มีความชื้น มีเขตการกระจายพันธุ์ตั้งแต่เอเชียใต้ถึงเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ชื่อพื้นเมือง ‘กาตาฉ่อ’ เป็นภาษากะเหรี่ยงที่ใช้เรียกแถบกาญจนบุรี
...ที่มา ทีมสำรวจพรรณไม้ภูลังกาภูวัว


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/90571220053566_11._Copy_.jpg)   บัวฮาดำ

บัวฮาดำ กระดูกไก่ดำ เฉียงพร้าดำ Justicia ventricosa Wall. ex Hook. f. (Acanthaceae)

ไม้พุ่มจากอุทยานแห่งชาติภูลังกา ใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ช่อดอกมีใบประดับขนาดใหญ่

มีสรรพคุณด้านสมุนไพร ใช้ใบเข้ายาแก้ไข้ ลดความร้อน เป็นยาเย็นถอนพิษ
...ที่มา ทีมสำรวจพรรณไม้ภูลังกา-ภูวัว


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/51015301379892_12._Copy_.jpg)   ประกายฉัตรภูลังกา

ประกายฉัตรภูลังกา Phyllocyclus petelotii (Merr.) Thiv (Gentianaceae)

ไม้ล้มลุกจากอุทยานแห่งชาติภูลังกา เป็นพืชรายงานการพบใหม่ (new record) ที่รอการเขียนรายงานอย่างเป็นทางการจากผู้ศึกษา

ในต่างประเทศพบที่ลาว คำระบุชนิด ‘petelotii’ ตั้งให้เป็นเกียรติแก่ Paul Alfred Pételot นักพฤกษศาสตร์และนักกีฏวิทยาชาวฝรั่งเศส ผู้เก็บตัวอย่างต้นแบบ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/69250228835476_13._Copy_.jpg)   ดาดหินทราย (บีโกเนีย)

ดาดหินทราย (บีโกเนีย)  เป็นพืชล้มลุกพวกส้มกุ้ง พบขึ้นบนหินทราย ประมาณปลายเดือนมิถุนายนเป็นต้นไป

และจะออกดอกในเดือนสิงหาคม บีโกเนียจะพบเห็นได้จนกว่าจะหมดฤดูฝนราวเดือนตุลาคม
…ที่มา อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/23538189050223_14._Copy_.jpg)   เอื้องดินปากเหลือง

เอื้องดินปากเหลือง Cyrtosia integra (Rolfe ex Downie) Garay (กล้วยไม้หายาก)
: การดำรงชีวิตอาศัยราในดิน
: แต่ก่อนมักเรียกว่ากล้วยไม้กินซาก เป็นกล้วยไม้ที่ไม่มีใบ : ออกดอกช่วงต้นฝน
: ติดฝักประมาณช่วงกลางฤดูฝน
: เอื้องดินปากเหลืองมีเขตการกระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดียถึงแถบอินโดจีน พบได้ตามป่าสมบูรณ์ที่มีเศษพืชทับถมมาก
...ที่มา อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/27510558192928_15._Copy_.jpg)   ชิงชี่

ชิงชี่
ชื่อวิทยาศาสตร์: Capparis micracantha
วงศ์: Capparaceae
สกุล: Capparis
ข้อมูลทั่วไป : ลักษณะเป็นไม้พุ่มหรือรอเลื้อย มีหนาม ใบรูปขอบขนาน รูปใบหอกหรือแกมรูปไข่ ยาว ๑๐-๓๐ เซนติเมตร โคนใบมนหรือกลม ก้านใบยาว ๑-๒ เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อสั้นๆ ตามซอกใบ มี ๒-๗ ดอก ก้านดอกยาว ๐.๖-๒ เซนติเมตร มีขนสั้นนุ่ม กลีบเลี้ยงรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ยาว ๐.๖-๑ เซนติเมตร กลีบดอกสีขาว กลีบคู่บนรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก มีสีเหลืองหรือสีม่วงแซม ยาว ๑-๒ เซนติเมตร ปลายกลีบดอกกลม โคนกลีบเรียวแคบ ก้านชูอับเรณูยาว ๑.๕-๒.๕ เซนติเมตร รังไข่เกลี้ยง ก้านชูเกสรเพศเมียยาว ๑.๕-๓ เซนติเมตร ออกดอกช่วงเดือนเมษายน-สิงหาคม ผลรูปกลมหรือรี ยาว ๓-๗ เซนติเมตร ผนังหนาสีส้มแดง มีริ้วตื้นๆ หรือเรียบ ภายในมีเมล็ดรูปไตสีแดงเข้ม ยาวประมาณ ๗ มิลลิเมตร จำนวนมาก
...ที่่มา อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/12365119945671_16._Copy_.jpg)   เอื้องคำกิ่ว

เอื้องคำกิ่ว (เอื้องตีนเป็ด,เอื้องตีนนก)
ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrobium signatum
วงศ์ : Orchidaceae
สกุล : Dendrobium
ข้อมูลทั่วไป : ลำต้นเจริญแบบแตกกอ มีลำลูกกล้วย เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ระบบรากเป็นแบบรากอากาศ แผ่นใบค่อนข้างหนา ก้านช่อดอกสั้น

บางพันธุ์ดอกสีเหลืองล้วน บางพันธุ์มีแต้มสีม่วงเข้ม ขอบกลีบเป็นคลื่นเล็กน้อย ออกดอกช่วงมีนาคมถึงพฤษภาคม
...ที่มา อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/34914429692758_17._Copy_.jpg)   คำขาวเชียงดาว

คำขาวเชียงดาว หรืออีกชื่อ กุหลาบขาวเชียงดาว,กุหลาบขาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhododendron ludwigianum Hoss.
ชื่อวงศ์ : ERICACEAE
ข้อมูลทั่วไป : กุหลาบขาวบานบนลานหินปุ่มภูหินร่องกล้า ดอกกุหลาบขาวจะออกดอกช่วงเดือนเมษายน-กลางพฤษภาคม ของทุกปี

เชิญชมกุหลาบขาวบานได้ที่ลานหินแตก และจะพบเยอะที่บริเวณลานหินปุ่ม อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า จังหวัดพิษณุโลก



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/82729715646968_18_Copy_.jpg)   เอื้องชะนี

เอื้องชะนี
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobium senile Par. & Rchb. f.
ชื่อวงศ์ : ORCHIDACEAE
ออกดอกช่วง : กุมภาพันธ์ – มีนาคม
...ที่มา อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/35054407227370_19.1_Copy_.jpg)   กล้วยไม้รองเท้านารีช่องอ่างทอง

กล้วยไม้รองเท้านารีช่องอ่างทอง (Ang Thong Lady’s Slipper)

ชื่อวิทยาศาสตร์: Paphiopedilum godefroyae (God.-Leb.) Stein var. ang-thong (Fowlie) Braem

เป็นกล้วยไม้เฉพาะถิ่น ที่มีถิ่นกำเนิดบริเวณหมู่เกาะในทะเลอ่าวไทย โดยคาดว่าเป็นการผสมกันตามธรรมชาติของรองเท้านารีขาวสตูลกับรองเท้านารีเหลืองตรัง

เป็นกล้วยไม้ที่มีปลายใบมน หลังใบมีสีเขียวคล้ำประลาย ท้องใบสีม่วงแก่ ก้านดอกยาวมีขนปกคลุม มีดอกขนาดเล็กไม่สม่ำเสมอกัน กลีบหนาสีขาวมีจุดประกระจาย

จากโคนกลีบ ออกดอกช่วงเดือนเมษายน - สิงหาคม โดยพบได้ทั่วไปบนเขาหินปูนในพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง บริเวณเกาะวัวตาหลับ เกาะพะลวย เกาะแม่เกาะ และเกาะสามเส้า
...ที่มา สำนักอุทยานแห่งชาติ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/94381552644901_20._Copy_.jpg)   ชมพูภูคา

ชมพูภูคา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า : Bretschneidera sinensis เป็นไม้ยืนต้นชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Bretschneideraceae

มีต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง ๑๐-๒๕ เมตร  เป็นพันธุ์ไม้ที่ได้ชื่อว่าหายากที่สุดในโลก เพราะเคยมีการสำรวจพบทางตอนใต้ของประเทศจีน และ ทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม

จากนั้นก็ไม่มีรายงานการค้นพบต้นไม้ชนิดนี้อีกเลย จนต่อมาเมื่อปี ๒๕๓๒ มีการค้นพบต้นชมพูภูคาอีกครั้งที่ อ.ปัว จ.น่าน ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ในประเทศไทยนี่เอง

ชมพูภูคา จะออกดอกและบานสะพรั่งในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม ของทุกปี เพราะเป็นไม้ที่ชอบอากาศหนาว

สำหรับปีนี้ที่ อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ช่วงนี้ชมพูภูคากำลังออกดอกบานอย่างสวยงาม ซึ่งภาพประกอบชุดนี้เป็นภาพที่เพิ่งถ่ายมาเมื่อเช้าวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔
...ที่มา สำนักอุทยานแห่งชาติ


หัวข้อ: Re: พรรณไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้มงคล
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 12 เมษายน 2564 15:49:52
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/29566492926743_163324714_2522948074517330_179.jpg)   ดาวล้อม

"ดาวล้อม" ความสวยงามของดาวบนดินพรรณไม้หายากในธรรมชาติ

ดาวล้อม Hoya vaccinioides Hook. วงศ์​ Apocynaceae (เดิม Asclepiadaceae) ความสวยงามของดาวบนดิน ช่างน่าดึงดูดสายตาของนักสำรวจพรรณไม้ยิ่งนัก ดาวล้อมเป็นพรรณไม้ที่หาพบได้ยากในธรรมชาติ มีเขตการกระจายพันธุ์ในแถบผืนป่าฝั่งตะวันตก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย พบตามป่าดิบเขาที่สูงจา​ก​ระดับทะเลปานกลาง ๑,๐๐๐-๑,๔๐๐ ม. ออกดอกและเป็นผลช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน

ลักษณะเด่น : พืชอิงอาศัยบนต้นไม้ ลำต้นเรียวยาว ๒๐-๓๐ ซม. ห้อยลง มีรากตามข้อ มีขนสั้นนุ่มสีเขียวถึงสีน้ำตาลอมเทากระจายทั่วไปตามกิ่ง ใบเดี่ยว ขนาดเล็ก เรียงตรงข้าม รูปขอบขนานแกมรูปไข่ แผ่นใบด่านล่างมีนวล สีขาวอมเขียว ช่อดอกคล้ายช่อซี่ร่ม ออกตามปลายกิ่งหรือซอกใบ แต่ละช่อดอกมี ๕-๗ ดอก กลีบเลี้ยงและกลีบดอกจำนวน ๕ กลีบ ดอกสีขาว กะบังสีชมพูอมขาว แยกเป็นแฉก ๕ แฉก เกสรเพศผู้เชื่อมติดกันมี ๕ เกสร ผลแบบผลแตกแนวเดียวรูปแถบ

ที่มา : ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/99375355285074_160897968_2516639435148194_758.jpg)   แสดสยาม

แสดสยาม พรรณไม้หายากจากป่าตะวันออก

แสดสยาม​ Goniothalamus repevensis Pierre ex Finet & Gagnep. วงศ์ : ANNONACEAE พรรณไม้หายาก ไม้พุ่ม ดอกสีเหลืองนวล แล้วเปลี่ยนเป็นสีแสด ในป่าตะวันออกพบที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว และอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฎ จังหวัดจันทบุรี ในป่าดิบชื้น ที่ระดับความสูง ๖๐๐-๙๐๐ เมตร

ที่มา : ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/28519117873575_157545304_2504782343000570_634.jpg)   ประดับหินใบเดี่ยว

ประดับหินใบเดี่ยว พรรณไม้หายากจากป่าตะวันออก
ประดับหินใบเดี่ยว Argostemma siamense Puff วงศ์: RUBIACEAE พรรณไม้หายาก​ ไม้ล้มลุก มีใบ ๑-๒ คู่ มี ๑ ใบที่มีขนาดใหญ่กว่าใบอื่นอย่างชัดเจน ดอกสี๑๐๐-๕๐๐ เมตร

ที่มา : ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/19112563174631_156176913_2502819006530237_848.jpg)   โฮย่าสอยดาว
พรรณไม้หายากจากป่าตะวันออก

โฮย่าสอยดาว Hoya soidaoensis Kidyoo​ อยู่ในวงศ์ : APOCYNACEAE​ เป็นไม้เถาขนาดเล็ก มีน้ำยางสีขาว กลีบดอกสีครีมถึงขาวอมเหลือง เป็นพรรณไม้ชนิดใหม่ของโลก พรรณไม้ถิ่นเดียวและหายาก พบเพียงแห่งเดียวที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี อิงอาศัยอยู่บนต้นไม้ ในป่าดิบเขาต่ำ ที่ระดับความสูงประมาณ ๑,๔๐๐ เมตร

ที่มา : ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/37165305970443_153627629_2496114340534037_123.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/58910975605249_152046166_2496114350534036_200.jpg)   ปุดขาว

พรรณไม้หายากจากป่าตะวันออก...

“ปุดขาว” Etlingera littoralis(J.König) Giseke วงศ์ : ZINGIBERACEAE

พรรณไม้หายาก ไม้ล้มลุก สูง ๒.๕-๓ เมตร ดอกสีขาว คาดว่าจะเป็นพันธุ์ (variety) หรือฟอร์ม (forma) หนึ่งของปุดคางคก  Etlingera littoralis(J.König) Giseke ในป่าตะวันออกพบเพียงแห่งเดียว ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว ขึ้นในป่าดิบชื้น ที่ระดับความสูง ๖๐๐-๗๐๐ เมตร...

ที่มา : ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช



หัวข้อ: Re: พรรณไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้มงคล
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 22 เมษายน 2564 16:25:03
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/77446878080566_175084461_3801259806618052_136.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/15819500096970_174200136_3801259636618069_161.jpg)    ต้นช้างร้อง

ต้นช้างร้องต้นไม้มีพิษ ภายนอกอาจดูปกติเหมือนพืชทั่วไป แต่ใต้ใบของมันนั้นมีเข็มขนาดเล็กจิ๋วนับไม่ถ้วนพร้อมทิ่มแทงเราหากไปสัมผัสมัน ช่วงนี้สังเกตง่ายเพราะกำลังออกดอก ออกผล ถ้าหากโดนขึ้นมาจะมีอาการแสบร้อน คัน สำหรับคนที่โดนเยอะและแพ้อาจจะถึงชีวิตได้ รักษาเบื้องต้นด้วยการล้างน้ำสะอาดให้เยอะๆ แล้วพบแพทย์นะคะ ที่มา เพจ "คนรักอุทยานแห่งชาติ"


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/23744276538491_171059045_10159524191630827_29.jpg)    พิศวงตานกฮูก หรือ พิศวงไทยทอง

พิศวงตานกฮูก หรือ พิศวงไทยทอง พืชไซส์จิ๋วสีเขียวมรกต แห่งตระกูลพิศวงที่แสนลึกลับ พืชขนาดจิ๋วเท่าหัวไม้ขีด รูปทรงแปลกประหลาดที่มีลักษณะคล้ายนกฮูก ถูกพบบนดอยหัวหมดอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก และยังเป็นพืชถิ่นเดียวที่พบตามภูเขาหินปูน ที่ระดับความสูงประมาณ ๗๐๐-๘๐๐ เมตร จะออกดอกช่วงปลายฝนต้นหนาว เดือนกันยายน – ตุลาคม

พรรณไม้ชนิดนี้อยู่ในกลุ่มพืชล้มลุกอาศัยราในการดำรงชีวิต (mycoheterotrophic) โดยการแย่งอาหารจากราที่พวกมันอาศัยอยู่ ช่วงชีวิตส่วนใหญ่จะหลบอยู่ใต้ดิน มีช่วงเวลาสั้นๆ ให้ได้สังเกตเพียงช่วงระยะดอกเท่านั้น และมีแมลงขนาดจิ๋วอย่าง "บั่วรา" (fungus gnats) ช่วยในการผสมเกสรอีกด้วย
 ที่มา - มูลนิธิสืบนาคะเสถียร, ภาพ: วรพจน์ บุญความดี


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/24811986378497_174398305_1087989488377851_399.jpg)
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/72427821407715_173461734_1087989441711189_325.jpg)    ต้นโยนีปีศาจ หรือมะกอกโคก

โยนีปีศาจพันธุ์ไม้หายากที่พบในอุทยานแห่งชาติภูเวียง

ต้นโยนีปีศาจ หรือมะกอกโคก (Schreberas wietenioides Roxb.) มีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น หีผี มะกอกดอน สำโรง มะกักป่า มะกอกเผือก เป็นต้น โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานนามว่า “โยนีปีศาจ” อันแสดงถึงพระอัจฉริยภาพด้านอักษรศาสตร์ของพระองค์ เนื่องจากผลที่แก่จัดจะแตกเป็น ๒ ซีก มองดูคล้ายอวัยวะเพศหญิง เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูงประมาณ ๑๐-๑๕ เมตร ผลเป็นรูปไข่กลับ เปลือกแข็ง เมล็ดมีปีก

ตามตำนานเรื่องเล่า ท้าวปาจิตโอรสแห่งนครธม กับนางอรพิมหญิงสาวสามัญชน ทั้งสองมีความรักต่อกันแต่มีเหตุให้ต้องพลัดพรากจากกันผจญภัยในป่าเป็นเวลากว่า ๗ ปี ในระหว่างนั้นนางอรพิมเกรงว่าจะเกิดอันตรายกับตัวเอง จึงอธิษฐานจิตขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์แปลงร่างให้เธอเป็นชาย โดยขอให้บางส่วนที่เป็นหญิงหลุดหายไปจากร่าง จากนั้นนางจึงนำโยนีหรืออวัยวะเพศหญิงไปฝากไว้ที่ต้นโยนีปีศาจ เมื่อรอดชีวิตจึงได้นำอวัยวะเพศจากต้นโยนีปีศาจกลับมาใส่ร่าง กลายเป็นหญิงและครองรักกับท้าวปาจิตดังเดิม
ที่มา เพจอุทยานแห่งชาติภูเวียง

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/48106928004158_167685132_3841143522660522_651.jpg)     เห็ดร่างแห (ภาพจาก เพจอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน)


หัวข้อ: Re: พรรณไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้มงคล
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 20 กรกฎาคม 2564 20:36:39
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/62936571240425_218378578_2888172811497608_899.jpg)โมกส้ม

โมกส้ม พรรณไม้หายากจากป่าตะวันออก

โมกส้ม Wrightia coccinea (Roxb.) Sims วงศ์ : APOCYNACEAE

พรรณไม้หายาก ไม้ต้น สูงได้ถึง ๗ เมตร ดอกสีส้ม มีกลิ่นหอมเอียน ในป่าตะวันออกพบที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ขึ้นในป่าดิบ ริมลำธาร ที่ระดับความสูง ๔๕๐-๗๐๐ เมตร  
ที่มา : สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช

ฝอยหิน : Cyanotis arachnoidea Wight

วงศ์ Commelinaceae

กระจายตามป่าพื้นหิน สูงกว่าระดับน้ำทะเลตั้งแต่ ๒๐๐-๒,๓๐๐ เมตร เป็นหญ้าสมุนไพร ขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ ออกดอกตามโคนซอกใบ  รากใช้เป็นส่วนกระกอบในยาจีน มีฤทธ์ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อและไขข้ออับเสบ
ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/99483454931113_215242524_2886763661638523_683.jpg)     ไคร้หางนาค

ไคร้หางนาค : Phyllanthus taxodiifolius Beille วงศ์ : PHYLLANTHACEAE

ชื่ออื่น : ตะไคร้หางสิงห์ (สุพรรณบุรี), เสียว (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), เสียวน้อย เสียวเล็ก (ขอนแก่น), เสียวน้ำ (ปราจีนบุรี)

ไคร้หางนาคเป็นไม้พุ่ม ใบเดี่ยว เรียงสลับระนาบเดียว ดอกช่อขนาดเล็ก ออกที่ซอกใบ ผลกลม มี ๓ พู

สรรพคุณ : ราก ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ แก้ไตพิการ แก้ไข้ แก้บวมน้ำ แก้เลือดออกตามไรฟัน ลำต้น ฟอกปัสสาวะ ล้างถ่ายปัสสาวะ แก้กระษัย บำรุงไต แก้ดีพิการ

อ้างอิง : ความหลากหลายทางชีวภาพพืชสมุนไพรในประเทศไทย เล่ม ๑ หน้า ๖๔. สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. ๒๕๕๙
ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/76603507747252_210208050_2885375331777356_916.jpg)     ว่านหัวสืบ เนียมฤๅษี

ว่านหัวสืบ เนียมฤๅษี : Disporum calcaratum D. Don วงศ์ Colchicaceae

ไม้ล้มลุก เหง้าทอดเลื้อย ใบเรียงเวียน มีเส้นใบตามยาวชัดเจน ช่อดอกแบบช่อซี่ร่ม ก้านช่อดอกสั้น ดอกสีชมพูอมม่วงถึงม่วงเข้ม ผลกลม สุกสีม่วง ผิวเป็นมัน

พบที่อินเดีย ภูฏาน เนปาล จีนตอนใต้ พม่า เวียดนาม ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ขึ้นใต้ร่มเงาในป่าดิบแล้งและป่าดิบเขา ระดับความสูงจนถึงประมาณ ๑,๕๐๐ เมตร
ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/39651881282528_206058863_2883944821920407_674.jpg)     ใคร่หอม

ใคร่หอม : Breynia thorelii (Beille) Welzen & Pruesapan วงศ์ : PHYLLANTHACEAE

ชื่ออื่น : สะเลียมหอม (แม่ฮ่องสอน)

ใคร่หอม เป็นไม้พุ่ม กิ่งซิกแซก ใบเดี่ยว เรียงสลับ ดอกช่อ ออกตามลำต้น สีแดงเลือดนก ผลมี ๓-๕ พู

สรรพคุณ : ใบ ต้มน้ำดื่มหรือเคี้ยวสด รักษาโรคภูมิแพ้ หอบหืด หวัดเรื้อรัง ไซนัสอักเสบ ดอก รักษาโรคกระเพาะ ความดันสูง เบาหวาน อาการอักเสบ

อ้างอิง : ความหลากหลายทางชีวภาพพืชสมุนไพรในประเทศไทย เล่ม ๑ หน้า ๖๓. สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. ๒๕๕๙.
ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/20755788808067_211888143_2883171325331090_633.jpg)     เอื้องเทียนปากน้ำตาล

[size=11ptเอื้องเทียนปากสีน้ำตาล กล้วยไม้ จากอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า

เอื้องเทียนปากน้ำตาล : Coelogyne phuhinrongklaensis Ngerns. & Tippayasri

กล้วยไม้ชนิดใหม่ของโลก จากอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า จังหวัดพิษณุโลก ตีพิมพ์ในวารสาร Thai Forest Bulletin (Botany) ฉบับที่ ๔๐ ปี ๒๐๑๒ เป็นพืชถิ่นเดียว (endemic) ของไทย

เป็นกล้วยไม้อิงอาศัยหรือขึ้นบนหิน เจริญทางด้านข้าง ทุกส่วนเกลี้ยง เหง้า ทอดนอน รูปทรงกระบอก มีเกล็ดบางคล้ายกระดาษติดทนเรียงซ้อนเหลื่อมหุ้มเหง้า รากออกตามข้อ หัวเทียมสีเขียว มีขนาดดอกค่อนข้างใหญ่ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีขาวบริสุทธิ์ กลีบปากสีขาว มีแถบและแต้มสีน้ำตาล จึงเรียกว่าเอื้องเทียนปากสีน้ำตาล][/size] ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/76932566364606_215795976_2881662965481926_148.jpg)    ง่วงชุม

ง่วงชุม : Combretum pilosum Roxb. Ex G.Don วงศ์ : COMBRETACEAE

ชื่ออื่น :  เครือเขามวก (หนองคาย), ตีนตั่งตัวแม่ (ลำปาง)

งวงชุ่มเป็นไม้พุ่มหรือไม้เถาเนื้อแข็ง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ดอกช่อแยกแขนงสั้น  สีชมพูม่วง ผลแห้ง รูปรี มี ๕ ครีบ

สรรพคุณ : ราก แก้ไข้ ใบ ขับพยาธิ
ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/45766955365737_212020388_2880956455552577_313.jpg)     งิ้วแดง

งิ้ว : Bombax ceiba  L.

วงศ์ : MALVACEAE

ชื่ออื่น : งิ้วแดง (กาญจนบุรี), งิ้วบ้าน (ทั่วไป); Cotton tree, Kapok tree, Red cotton tree, Shaving brush, Silk cotton tree

งิ้วเป็นไม้ต้น ผลัดใบ ลำต้นมีหนาม ใบประกอบแบบนิ้วมือ มี ๕ ใบย่อย ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง สีแดงหรือเหลือง ผลแห้งแตก

สรรพคุณ : ราก บำรุงกำลัง ขับปัสสาวะ แก้บวม เปลือก แก้ตกโลหิต แก้ท้องเสีย ทำให้อาเจียน หนาม แก้ไข้ ลดความร้อน ใบ แก้อักเสบ ฟกช้ำ แก้ต่อมทอลซิลอักเสบ ดอก ระงับประสาท แก้ปวด ทาแก้น้ำร้อนลวก
ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/31777905548612_202887966_2878789212435968_388.jpg)     ตีนตั่งเตี้ย

ตีนตั่งเตี้ย พืชป่าสมุนไพร  รักษาเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด แก้มือเท้าชา

ชื่อท้องถิ่น : เปาะแปะ (อุดรธานี)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Strobilanthes quadrifaria (Wall. ex Nees) Y. F. Deng

ชื่อวงศ์ : ACANTHACEAE

ตีนตั่งเตี้ย เป็นไม้ล้มลุก สูงถึง ๑ ม. ตามกิ่งและใบมีขนสั้นสากคาย  ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามตั้งฉาก รูปไข่-รี ยาว ๑๐-๒๐ ซม.

ช่อดอกออกที่ปลายกิ่ง มีใบประดับสีเขียวอ่อนเรียงซ้อนกันหนาแน่น ๔ มุม รูปไข่-ใบหอก และมีขนยาวแข็งจำนวนมาก

ดอกเป็นหลอดสีม่วงอมชมพู ยาว ๒.๕-๓ ซม. ผลเป็นฝักคล้ายฝักต้อยติ่ง ซ่อนอยู่ในใบประดับ
ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/46017904331286_212249687_2878037255844497_891.jpg)    สร้อยเมืองน่าน

สร้อยเมืองน่าน พืชถิ่นเดียวของไทย พบเฉพาะที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคา จ.น่าน

สร้อยเมืองน่าน : Didymocarpus formosus  Nangngam & D.J.Middleton

วงศ์ : Gesneriaceae

ไม้ล้มลุกขึ้นบนหิน มีขนหลายเซลล์ประปรายหรือหนาแน่นตามลำต้น เส้นแขนงใบด้านล่าง ก้านใบ และช่อดอก ใบเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก มี ๓-๔ คู่ รูปไข่ ยาว ๗-๑๙ ซม. ปลายแหลมยาว โคนเว้า เบี้ยว ขอบจักฟันเลื่อย เส้นแขนงใบขางละ ๖-๘ เส้น ก้านใบยาว ได้ถึง ๑๒ ซม.

ช่อดอกแบบช่อกระจุก ออกเดี่ยวๆ ตามปลายยอด ยาวได้ประมาณ ๑๔ ซม. ก้านช่อยาวประมาณ ๑๒ ซม. ดอกรูปแตร สีแดงเข้มอมน้ำตาล ห้อยลง ก้านดอกยาว ๒-๓ ซม. ใบประดับสีม่วงอมชมพู ออกเป็นคู่ กลมๆ ขนาดประมาณ ๗ มม. ร่วงเร็ว  กลีบเลี้ยงสีชมพูอมม่วง รูประฆังกว้าง ยาวประมาณ ๑.๓ ซม. ปลายแยกเป็น ๕ แฉก ตื้นๆ รูปสามเหลี่ยม กว้างประมาณ ๒ มม. หลอดกลีบดอก ยาวประมาณ ๖ ซม. หลอดกลีบเรียวแคบ ช่วงกว้างประมาณ ๓ ซม. ช่วงโคนสีชมพูอมม่วง กลีบปากล่าง ๓ กลีบ รูปกลมๆ ขนาดประมาณ ๑ ซม. กลีบปากบน ๒ กลีบ รูปรีกว้าง ยาวประมาณ ๘ มม.

เกสรเพศผู้ ๒ อัน ติดเหนือโคนหลอดกลีบประมาณ ๓.๕ ซม. ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ ๑ ซม. อับเรณูรูปขอบขนาน ยาวประมาณ ๔ มม. มีขนเคราสีขาว เกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน ๓ อัน ก้านชูอับเรณูยาว ๒-๓ มม. จานฐานดอกรูปทรงกระบอก ยาวประมาณ ๒ มม. ขอบจักไม่เป็นระเบียบ รังไข่รูปทรงกระบอก ยาวประมาณ ๕ ซม. มีขนประปราย ก้านเกสรเพศเมียเกลี้ยง ยอดเกสรเป็นตุ่ม  ผลแห้งแตก

การกระจายพันธุ์ : พืชถิ่นเดียวของไทย พบเฉพาะที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่าน ขึ้นตามโขดริมริมลำธารในป่าดิบเขา ความสูงประมาณ ๑,๓๐๐ เมตร
ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/54267000200019_211772466_2877352362579653_743.jpg)    ม่วงพนาวัน หรือ เครือม่วง

ม่วงพนาวัน หรือ เครือม่วง ไม้พุ่มจาก อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า

ม่วงพนาวัน  Craspedolobium unijugum (Gagnep.) Z. Wei & Pedley

วงศ์ Fabaceae

ไม้พุ่มหรือไม้พุ่มรอเลื้อยจากอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า จังหวัดพิษณุโลก มีเขตการกระจายพันธุ์ทางภาคเหนือ มักพบตามป่าดิบเขาที่สูง ต่างประเทศพบที่พม่า (เมียนมาร์) จีนตอนใต้ และลาว
ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/82076289835903_202024114_2876646905983532_447.jpg)     ฝนแสนห่า

ฝนแสนห่า ใบใช้ประคบแผลฟกช้ำ

ฝนแสนห่า : Argyreia capitiformis (Poir.) Ooststr. วงศ์ Convolvulaceae
ชื่ออื่น  กระดึงช้าง (ภาคกลาง); จิงจ้อหลวง (ประจวบคีรีขันธ์); ดูลาน (ยะลา); ฝนแสนห่า (จันทบุรี); ย่านขน (สงขลา); ลูกช้าง (กาญจนบุรี); เอ็นขน (สุราษฎร์ธานี); เอ็นน้ำนม (ตรัง)

ชื่อพ้อง Convolvulus capitiformis Poir.

ไม้เถาล้มลุก มีขนหยาบตามลำต้น แผ่นใบ ใบประดับ ช่อดอก กลีบเลี้ยงและกลีบดอกด้านนอก  ใบรูปไข่ รูปขอบขนาน หรือเกือบกลม ยาว ๘-๑๘ ซม. ปลายแหลมหรือแหลมยาว โคนรูปหัวใจ ก้านช่อดอกยาว ๖-๓๐ ซม. ใบประดับรูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาว ๑.๕-๒.๕ ซม. ติดทน ก้านดอกสั้นมากหรือไร้ก้าน กลีบเลี้ยงรูปขอบขนาน ปลายแหลมยาว ๓ กลีบนอกยาว ๑.๕-๑.๗ ซม. กลีบคู่ในยาว ๑-๒ ซม.

ดอกสีชมพูหรือม่วงอ่อน รูปปากแตร ยาว ๔.๕-๕.๕ ซม. เกสรเพศผู้ไม่ยื่นพ้นปากหลอดกลีบดอก ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ ๑.๕ ซม. โคนมีต่อมขนยาว รังไข่เกลี้ยง  ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ ๓ ซม. ไม่ยื่นพ้นปากหลอดกลีบดอก

ผลกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๘ มม. สุกสีส้มแดง ส่วนมากมี ๔ เมล็ด รูปไข่แกมสามเหลี่ยม ยาวประมาณ ๗ มม. (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ เครือพุงหมู, สกุล)

พบที่อินเดีย จีน พม่า ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ในไทยพบทุกภาค ขึ้นตามชายป่า ที่โล่ง ความสูงถึงประมาณ ๑,๔๐๐ เมตร ใบใช้ประคบแผลฟกช้ำ
ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/96001177819238_200399960_2875916672723222_808.jpg)     งาขี้ม่อน

งาขี้ม่อน : Perilla frutescens (L.) Britton

วงศ์ : LAMIACEAE

งาขี้ม่อนเป็นไม้ล้มลุก ใบเดี่ยว มีกลิ่นหอม เรียงตรงข้าม มีขน ดอกช่อกระจะ ออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง ผลรูปทรงไข่กลับ ผลแห้งไม่แตก

สรรพคุณ : ใบ และยอดอ่อน ใช้แต่งรสอาหาร แก้ไอ แก้หวัด และช่วยย่อย เมล็ด บำรุงกำลัง ทำให้ร่างกายอบอุ่น และแก้ท้องผูก
ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/61095320640338_205789217_2875181659463390_191.jpg)     พุดโกเมน

พุดโกเมน ไม้ประดับในเขตร้อน ผลและเมล็ดให้สีใช้แต้มตามร่างกาย

พุดโกเมน : Rothmannia longiflora  Salisb. วงศ์ Rubiaceae

ไม้พุ่มหรือไม้ต้น สูงได้ถึง ๑๐ เมตร หูใบรูปสามเหลี่ยม ยาวประมาณ ๓ มิลลิเมตรร่วงเร็ว  

ใบเรียงตรงข้าม รูปรี ยาว ๖-๑๘ เซนติเมตร ปลายแหลมยาว โคนรูปลิ่ม เส้นแขนงใบข้างละ ๔-๕ เส้น มีตุ่มใบ ก้านใบยาว ๐.๓-๑ เซนติเมตร

ดอกออกเดี่ยวๆ ที่ปลายกิ่งสั้นด้านข้าง รูปแตร มีกลิ่นหอม ก้านดอกยาวได้ถึง ๑ ซม. มีใบประดับย่อยคล้ายเกล็ด ๕-๙ อัน หลอดกลีบเลี้ยงยาว ๑-๒ เซนติเมตร มี ๕ กลีบ รูปสามเหลี่ยม ยาว ๑-๔ มิลลิเมตร ติดทน

ดอกรูปลำโพงแคบ ยาวได้ถึง ๒๔ เซนติเมตร กลีบรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ๕ กลีบ ยาว ๑-๔ เซนติเมตร สีม่วงอมแดง มีปื้นสีเขียวด้านนอก ด้านในสีขาวมีจุดมีม่วงกระจาย  

เกสรเพศผู้ ๕ อัน ติดบนปากหลอดกลีบดอก ไม่ยื่นพ้นปากหลอดหรือปลายอับเรณูยื่นเล็กน้อย รังไข่ใต้วงกลีบ มี ๒ ช่อง

ก้านเกสรเพศเมียยาว ๑๒-๒๐ เซนติเมตร ยอดเกสรจัก ๒ พู ยาวได้ถึง ๓ เซนติเมตร ยื่นพ้นปากหลอดกลีบดอกเล็กน้อย  

ผลสดมีหลายเมล็ด รูปรีเกือบกลม ยาว ๓.๕-๗ เซนติเมตร สีเขียวเข้มอมดำ มี ๑๐ สัน  

เมล็ดสีน้ำตาลแดง แบน เว้า เส้นผ่านศูนย์กลาง ๖-๘ มิลลิเมตร

การกระจายพันธุ์:  มีถิ่นกำเนิดที่แอฟริกาแถบประเทศแกมเบีย ซูดาน เคนย่า แทนซาเนีย และแองโกล่า เป็นไม้ประดับในเขตร้อน ผลและเมล็ดให้สีใช้แต้มตามร่างกาย หรือเป็นสีย้อม ผลรับประทานได้
ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/58388938713404_209006857_2874462939535262_766.jpg)     โสกเหลือง ศรียะลา

โสกเหลือง ศรียะลา เปลือกช่วยต้านอนุมูลอิสระ

โสกเหลือง ศรียะลา : Saraca thaipingensis Cantley ex Prain

วงศ์ Fabaceae

ไม้ต้น สูงได้ถึง ๒๕ ม. หูใบขนาดเล็กเชื่อมติดกัน ร่วงเร็ว  ใบประกอบชั้นเดียว เรียงเวียน แกนใบประกอบยาว ๒๐-๗๕ เซนติเมตร ใบย่อยมี ๔-๘ คู่ รูปไข่ รูปขอบขนาน หรือรูปใบหอก ยาว ๗-๓๒ เซนติเมตร  ปลายแหลมหรือแหลมยาว โคนรูปลิ่มหรือกลม ก้านใบย่อยยาว ๑-๑.๕ เซนติเมตร

ช่อดอกแบบช่อเชิงหลั่น ออกตามกิ่งและลำต้น ช่อกว้าง ๑๕-๓๕ เซนติเมตร  ยาวได้ถึง ๔๕ เซนติเมตร  ใบประดับรูปไข่ ยาว ๑-๓.๕ เซนติเมตร  ร่วงเร็ว  ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศหรือดอกเพศผู้ ใบประดับย่อย ๒ อัน รูปใบหอก ยาว ๐.๖-๑.๗ เซนติเมตร  ร่วงเร็ว ก้านดอกยาวประมาณ ๑ เซนติเมตร  ฐานดอกรูปหลอด ยาว ๑-๒.๕ เซนติเมตร  กลีบเลี้ยงคล้ายกลีบดอก มี ๔ กลีบ เรียงซ้อนเหลื่อม รูปไข่ ยาว ๐.๕-๑ เซนติเมตร  สีเหลืองหรืออมส้ม จานฐานดอกติดที่ปลายหลอดกลีบเลี้ยง เปลียนเป็นสีแดงอมน้ำตาล ไม่มีกลีบดอก  

เกสรเพศผู้ ๓-๗ อัน ติดบนจานฐานดอก อับเรณูติดด้านหลัง แตกตามยาว รังไข่มีขน  ก้านเกสรเพศเมียรูปเส้นด้าย ยอดเกสรเป็นตุ่ม ฝักรูปใบหอก ยาว ๑๕-๔๐ ซม. แบน โค้งทั้งสองด้าน ปลายมีจะงอย ยาวประมาณ ๑.๕ เซนติเมตร  ฝักอ่อนสีม่วง มี ๖-๘ เมล็ด   เมล็ดรูปรี ยาวประมาณ ๓.๕ เซนติเมตร

การกระจายพันธุ์ : พบที่พม่าตอนใต้ คาบสมุทรมลายู และชวา ในไทยพบทางภาคใต้ที่ภูเก็ต ตรัง ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ขึ้นตามริมลำธารในป่าดิบชื้น ความสูงถึงประมาณ ๑,๐๐๐ เมตร

เปลือกมีสรรพคุณต้านอนุมูลอิสระ ดอกมีกลิ่นหอม โดยเฉพาะตอนกลางคืน  
ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/31637379320131_205712337_2873764376271785_835.jpg)     หางหมาจอก

หางหมาจอก พืชป่าสมุนไพร สรรพคุณมากมาย

ชื่อท้องถิ่น : กายสิทธิ์ (พิษณุโลก), ขี้หนอน (อุดรธานี)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Uraria crinita (L.) Desv. ex DC.

ชื่อวงศ์ : FABACEAE

ไม้ล้มลุก สูงถึง ๑ เมตร ตามกิ่ง ก้านใบ และแผ่นใบด้านล่างมีขนสั้นสากคาย มีหูใบและหูใบย่อย ใบเรียงเวียน ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ใบย่อย ๕-๙ ใบ เรียงตรงข้าม รูปใบหอก ยาว ๙-๑๕ เซนติเมตร

ช่อดอกคล้ายหางกระรอกแกมรูปไข่-แท่งยาว ตั้งขึ้น ยาว ๑๐-๔๐ เซนติเมตรมดอกย่อยเรียงชิดกันแน่น สีชมพู-ม่วง ยาว ๑ เซนติเมตร มีขนยาวสีน้ำตาลทองตามขอบใบประดับและกลีบเลี้ยงจำนวนมาก

ทั้งต้น : ช่วย ถอนพิษ แก้โรคภูมิแพ้

ราก : ยาถ่าย ฆ่าพยาธิ รักษาโรคมะเร็ง

ใบและเปลือก : รักษาเลือดเป็นพิษ และอาการคัน
ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/22240997561150_203372436_2873035246344698_424.jpg)     ปัด

ปัด ไม้พุ่มจากป่าดิบเขา อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า

ปัด : Lasianthus sp. (Rubiaceae) ไม้พุ่มจากป่าดิบเขา อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า จังหวัดพิษณุโลก

พบขึ้นในที่ค่อนข้างร่ม ดอกสีขาวบริสุทธิ์ ด้านนอกหลอดกลีบดอกเกลี้ยง ด้านในมีขนสีขาวหนาแน่น แฉกกลีบดอกกางออกเป็นรูปดาว ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีม่วงอมน้ำเงิน
ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/84077517646882_197254469_2872311426417080_149.jpg)     มวนบุหรี่

มวนบุหรี่ พืชถิ่นเดียวของประเทศไทย พบได้ในป่าแคระ และตามเขาหินปูนที่เปิดโล่ง

มวนบุหรี่ : Neoalsomitra plena (Craib) Hutch. วงศ์ Cucurbitaceae

ไม้เถาล้มลุก อายุ ๑-๒ ปี ยาว ๑-๕ เมตรลำต้นมีขนต่อม แยกเพศต่างต้น ใบรูปไข่หรือรูปขอบขนานแกมรี จักเป็นพูตื้น ๓-๕  พู เส้นแขนงใบ ๓-๕ คู่ ก้านใบยาว ๐.๕-๓ เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง ๒-๓ มิลลิเมตร

ช่อดอกเพศผู้แบบแยกแขนงแคบๆ  ยาว ๕-๑๕ เซนติเมตร  ใบประดับรูปแถบยาว ๑-๓ มิลลิเมตร ร่วงง่าย  ดอกเพศผู้มักอยู่บนก้านช่อดอกย่อยที่ไม่แตกแขนง ก้านดอกย่อยยาว ๐.๕-๑.๒ เซนติเมตร ดอกตูมที่ปลายดอกจัก ๕ แฉก วงกลีบดอกเส้นผ่านศูนย์กลาง ๖-๘ มิลลิเมตร ฐานรองดอกตื้น เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑.๕ มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงรูปสามเหลี่ยมแคบ ยาว ๑.๕-๒ มิลลิเมตร กลีบดอกรูปไข่ถึงรูปขอบขนาน ขนาด ๒.๕-๔ x ๒.๕ มิลลิเมตร มีเส้นกลางกลีบนูนที่โคนด้านใน ก้านชูอับเรณูแยกกัน โค้งงอกลับ ยาว ๐.๕-๐.๗ มิลลิเมตร อับเรณูยาว ๐.๕มิลลิเมตร

ดอกเพศเมียส่วนมากมีดอกเดียว ก้านดอกย่อยยาว ๓-๗ มิลลิเมตร เป็นข้อเล็กน้อยและมีขนประปราย รังไข่ขนาด ๔.๕–๐.๖ มิลลิเมตร ยอดเกสรเพศเมียยาว ๐.๕ มิลลิเมตร

ผลเดี่ยว รูปขอบขนาน ขนาด ๐.๕-๑ x ๒.๕-๓ เซนติเมตร เกลี้ยง ปลายผลตัด  

เมล็ดมีเส้นสีน้ำตาลอ่อนหรือดำ รูปรี ขนาด ๒.๕-๓.๕ x ๔-๕ มิลลิเมตร มีปีกรอบ แผ่กว้างด้านเดียว ขนาด ๔.๕x๘ มิลลิเมตร

การกระจายพันธุ์ :  พืชถิ่นเดียวของประเทศไทย พบกระจายห่างๆ ทั่วไปแถบทุกภูมิภาค จนถึงภาคใต้ ที่ จ. สุราษฎร์ธานี ขึ้นอยู่ตามป่าที่เป็นทุ่งหญ้าสลับ ป่าไม้พุ่มเตี้ยๆ (ป่าแคระ) และตามเขาหินปูนที่เปิดโล่ง ความสูงจนถึงประมาณ ๖๐๐ เมตร
ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/58922816067933_206647344_2871576673157222_690.jpg)
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/55866126757528_204409224_2871576669823889_575.jpg)     เก็ดเข้  แคนหิน

เก็ดเข้  แคนหิน ไม้ต้นขนาดใหญ่จากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว
เก็ดเข้ แคนหิน : Parashorea densiflora Slooten & Symington subsp. kerrii (Tardieu) Pooma (Dipterocarpaceae)

ไม้ต้นขนาดใหญ่จากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว จังหวัดบึงกาฬ ต้นที่มีขนาดใหญ่โคนต้นมีพูพอน ผลดูเผินๆ คล้ายผลในสกุล Diospyros  พบในไทยและลาว ในไทยพบเฉพาะที่ภูวัว
ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/34059960477881_205425225_2870855226562700_293.jpg)     ติ้วเกลี้ยง

ติ้วเกลี้ยง สมุนไพรในพื้นที่ป่าอนุรักษ์

ชื่อท้องถิ่น : ติ้ว (พิษณุโลก) ติ้ว ติ้วเกลี้ยง (อุดรธานี)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cratoxylum cochinchinense (Lour.) Blume

ชื่อวงศ์ : HYPERICACEAE

ไม้พุ่ม-ไม้ต้นผลัดใบ สูงถึง ๑๕ เมตร เปลือกแตกล่อนเป็นแผ่นบางและเป็นหลุมตื้น สีน้ำตาลแดง

ต้นอายุน้อยเปลือกมีหนาม เปลือกในมีน้ำยางเหนียวสีแดงคล้ำ ยอดรสฝาดไม่เปรี้ยวนัก ไม่มีขน  ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรี ยาว ๕-๑๐ เซนติเมตร ผิวใบเกลี้ยง แผ่นใบด้านล่างค่อนข้างเรียบสีเขียวนวล กลีบดอกสีแดง มี ๕ กลีบ ผลรูปไข่ปลายแหลม ยาว ๑.๕-๒ เซนติเมตร เมื่อแห้งจะแตก ๓ ซีก มีกลีบเลี้ยงหุ้มโคนผล

เปลือก : สมานแผลภายใน หรือแผลภายนอก, น้ำยาง : รักษาโรคหิด รักษาแผลส้นเท้าแตก , ต้นและราก : ต้มผสมกับกำแพงเจ็ดชั้น แก้กระษัยเส้นและเป็นยาระบาย,  ใบอ่อนและยอด : รับประทาน มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ,  น้ำยางจากเปลือก : ใช้ทารักษาโรคหิด และน้ำกัดเท้า , ใบ เปลือก และน้ำยาง : รักษาโรคผิวหนัง แผลสด แก้ฝ่าเท้าแตก
ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/80414643055862_196716200_2868703496777873_624.jpg)     สันดานหิน

สันดานหิน พืชล้มลุกขึ้นบนหินแกรนิต อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ จังหวัดพังงา

สันดานหิน : Begonia sinuata Wall. ex Meisn. วงศ์ Begoniaceae
ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/43638631453116_200708956_2867969126851310_326.jpg)
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/53934135412176_201167600_2867969130184643_636.jpg)     มณฑาเครือ

มณฑาเครือ ไม้เถาเลื้อยสูงถึงยอดไม้จากป่าดิบเขาอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า จังหวัดพิษณุโลก

มณฑาเครือ : Kadsura heteroclita (Roxb.) Craib (Schisandraceae)
 
เป็นไม้เถาเลื้อยสูงถึงยอดไม้ พบเห็นค่อนข้างยาก เนื่องจากมักออกดอกออกผลอยู่บนยอดไม้ การเก็บตัวอย่างอ้างอิงทางพฤกษศาสตร์ต้องอาศัยเก็บดอกร่วง และดูเถาเพื่อเก็บใบจากกิ่งต่ำๆ เป็นชนิดและวงศ์ที่มีตัวอย่างอ้างอิงในหอพรรณไม้น้อยมาก
ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/79901689332392_201944122_2865998117048411_721.jpg)     ว่านดอกสามสี

ว่านดอกสามสี Christisonia siamensis Craib (Orobanchaceae) ไม้ล้มลุกไม่มีใบที่ชัดเจน พบในป่าที่มีไผ่หนาแน่น มักพบขึ้นใกล้กอไผ่ คำระบุชนิด ‘สี siamensis’ หมายถึงสยามหรือประเทศไทย หมายความว่าพืชชนิดนี้พบครั้งแรกในประเทศไทย ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/41465144231915_199572308_2865313950450161_329.jpg)    ต้นข้าวจี่

ต้นข้าวจี่ ไม้พุ่มจากริมโขง สวยแปลกตา

ต้นข้าวจี่ Codariocalyx gyroides (Roxb. ex Link) Hassk. วงศ์ Fabaceae

ไม้พุ่มจากริมโขง อำเภอบุ่งคล้า จังหวัดบึงกาฬ ชื่อพื้นเมือง "ข้าวจี่" น่าจะมีที่มาจากลักษณะของดอก
ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/31891581540306_201608475_2863914273923462_638.jpg)
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/61069988252388_201332452_2863914280590128_873.jpg)     ไม้แดง

ไม้แดง :  Xylia xylocarpa (Roxb.) W. Theob

มีชื่ออื่นที่เรียกที่หลากหลาย กร้อม : (ชาวบน-นครราชสีม ) คว้าย : (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี, เชียงใหม่); ไคว :(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) จะลาน, จาลาน :(เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) แดง :(ทั่วไป)  ตะกร้อม :(ชอง-จันทบุรี)  ปราน :(ส่วย-สุรินทร์)  ไปรน์ :(เขมร-ศรีสะเกษ) ผ้าน :(ละว้า-เชียงใหม่)  เพ้ย :(กะเหรี่ยง-ตาก) เพร่ :(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) สะกรอม: (เขมร-จันทบุรี)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น ผลัดใบ สูงได้ถึง ๓๐ เมตร มีขนตามกิ่งอ่อน แผ่นใบด้านล่าง และก้านช่อดอก หูใบรูปเส้นด้าย ยาวประมาณ ๓ มิลลิเมตร ใบประกอบ ๒ ชั้น แกนกลางยาว ๓-๗ เซนติเมตร ใบประกอบย่อยมี ๑ คู่ ยาว ๑๐-๓๐ เซนติเมตร มีต่อมระหว่างใบประกอบย่อย ใบย่อยมี ๓-๖ คู่ รูปรี รูปไข่ หรือแกมรูปขอบขนาน ยาว ๔-๑๔ เซนติเมตร ก้านใบย่อยยาว ๒-๓ มิลลิเมตร ช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่น ทรงกลม ออกเดี่ยวๆ หรือเป็นกระจุก ก้านช่อโดดยาวได้ถึง ๙ เซนติเมตร ดอกสมบูรณ์เพศ มีขนสั้นหนานุ่ม หลอดกลีบเลี้ยงยาว ๓-๔ มิลลิเมตร ปลายแยกเป็น ๕ กลีบ รูปสามเหลี่ยมขนาดเล็ก กลีบดอก ๕ กลีบ รูปขอบขนาน ยาว ๓.๕-๔.๕ มิลลิเมตร เกสรเพศผู้ ๑๐ อัน รังไข่มีขน

ผล : เป็นฝักโค้งคล้ายบูมเมอแรง ยาว ๑๒-๑๗ เซนติเมตร กว้าง ๓.๕-๖ เซนติเมตร เนื้อแข็งคล้ายเนื้อไม้ เมื่อแห้งแตกอ้าออก มี ๗-๑๐ เมล็ด รูปรี แบน ยาวประมาณ ๑ เซนติเมตร

ประโยชน์ : ไม้เนื้อแข็ง ลวดลายสวย แข็งแรงทนทานต่อการผุ-ปลวก-มอด แปรรูป ก่อสร้าง เครื่องเรือน

พื้นที่ที่เหมาะสมแก่การปลูก : ทั่วประเทศ ภาคใต้ปลูกได้ตามพื้นที่ดินปนทรายใกล้ชายทะเล

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูก : ชั้นดินลึกมากกว่า ๐.๕ เมตร ที่ราบ-ที่ลาดชัน ไม่เหมาะกับที่ราบลุ่มที่มีน้ำท่วมขังเป็นประจำ ระดับความสูงไม่เกิน ๑,๒๐๐ เมตร

ชนิดป่าที่พบตามธรรมชาติ : ป่าเต็งรัง/ป่าเบญจพรรณ/ป่าดิบแล้ง
ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/58115413909157_192734745_2863246280656928_176.jpg)
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/36711070231265_197650324_2863246293990260_178.jpg)     ตะเคียนชันตาแมว

ตะเคียนชันตาแมว ไม้มีค่าน่าในปลูกภาคใต้

ตะเคียนชันตาแมว : Neobalanocarpus heimii (King) P. S. Ashton

ชื่ออื่น : จีงามาส, จีรามัส, จืองา (มาเลย์-นราธิวาส) ตะเคียนชัน, ตะเคียนชันตาแมว (ภาคใต้) ตะเคียนทราย (ตรัง)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูงได้ถึง ๔๐ เมตร  โคนมีพูพอน เปลือกแตกตามยาวล่อนเป็นสะเก็ด เปลือกในสีเหลืองแกมเขียว ชันสีขาวใส หูใบรูปแถบยาวประมาณ ๑ เซนติเมตร ใบเรียงเวียน รูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ยาว ๖-๑๕ เซนติเมตร ปลายแหลมยาว โคนเบี้ยว เส้นแขนงใบเรียงจรดขอบใบ เส้นแขนงใบย่อยแบบขั้นบันได ก้านใบยาว ๐.๕-๑ เซนติเมตร ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ยาว ๖-๘ เซนติเมตร แต่ละช่อแขนงมี ๕-๗ ดอก ตาดอกกลม มีขนหนาแน่น เกือบไร้ก้าน กลีบเลี้ยง ๕ กลีบ เรียงซ้อนเหลื่อม รูปไข่กว้าง ยาวประมาณ ๒.๕ มิลลิเมตร ดอกสีครีมอมเหลือง มี ๕ กลีบ รูปขอบขนาน ยาว ๕-๖ มิลลิเมตร ด้านนอกมีขนหนาแน่น เกสรเพศผู้ ๑๕ อัน ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ ๒ มิลลิเมตร โคนแผ่กว้าง อับเรณูมี ๔ พู แกนอับเรณูปลายเป็นติ่งแหลม รังไข่เกลี้ยง เรียวเป็นฐานก้านเกสรเพศเมีย ยาว ๒-๓ มิลลิเมตร ยอดเกสรเพศเมียเป็นตุ่ม

ผล : เปลือกแข็งเมล็ดเดียว รูปขอบขนาน โค้งเล็กน้อย ยาว ๔-๕ เซนติเมตร ปลายมีติ่งแหลม แตกเป็น ๓ ซีก กลีบเลี้ยงรูปไข่สั้นกว่าผล โคนหนา ยาวประมาณ ๑.๕ เซนติเมตร ก้านผลยาว ๑-๕ มิลลิเมตร

ประโยชน์ : เนื้อไม้แข็ง เนื้อเหนียวมาก ทนทานต่อการผุพังมาก แปรรูป ก่อสร้าง ต่อเรือ-รถ ทำสะพาน

พื้นที่ที่เหมาะสมแก่การปลูก : ภาคใต้

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูก : ชั้นดินลึกมากกว่า ๑ เมตร ดินร่วน-ร่วนเหนียว ที่ราบลูกคลื่น-ที่ลาดชันในเขตภูเขา ที่มีการระบายน้ำดี, ระดับความสูงไม่เกิน ๑,๐๐๐ เมตร

ชนิดป่าที่พบตามธรรมชาติ : ป่าดิบชื้น
ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/40384729703267_192013073_2860247657623457_592.jpg)     ปุดเต็ม

ปุดเต็ม พืชหายากและเป็นพืชถิ่นเดียวของไทย

ปุดเต็ม : Geostachys smitinandii  K. Larsen (ZINGIBERACEAE) พืชล้มลุกอายุหลายปี มีเหง้าชูขึ้นสูงเหนือผิวดินประมาณ ๒๕ เซนติเมตร ใบเดี่ยว รูปรีแกมรูปขอบขนาน เกลี้ยง ด้านบนสีเขียว ด้านล่างสีม่วง ช่อดอกจำนวน ๒-๓ ช่อ ดอกขนาดใหญ่ สีขาวมีแต้มสีชมพู

พบตามซอกหินหรือที่ที่มีดินและอินทรีย์วัตถุสะสมในป่าดิบเขาโปร่ง ที่ความสูงจากระดับทะเล ๑,๐๐๐-๑,๒๐๐ เมตร

เป็นพืชหายากและเป็นพืชถิ่นเดียวของไทย Prof. Kai Larsen ตั้งชื่อให้เป็นเกียรติแก่ ศ.ดร. เต็ม สมิตินันทน์ ผู้มีคุณูปการแก่สำนักงานหอพรรณไม้และวงการพฤกษศาสตร์ไทย
ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/59977116891079_192466634_2858795317768691_496.jpg)     ช้องรำพัน

ช้องรำพัน พรรณไม้จากภูลังกา รูปร่างแปลกตา ชื่อแปลกหู

ช้องรำพัน : Buxus cochinchinensis Pierre ex Gagnep. (Buxaceae) ไม้พุ่มจากอุทยานแห่งชาติภูลังกา จังหวัดนครพนม คำระบุชนิด “cochinchinensis” หมายถึงตอนใต้เวียดนาม (Tonkin เวียดนามตอนบน Annam ตอนกลาง Cochinchine ตอนใต้) ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/85227697839339_196426229_2858126207835602_662.jpg)     ยางเหียง

ยางเหียง  ไม้มีค่าน่าปลูก

Dipterocarpus obtusifolius Teijsm. ex Miq.

ชื่ออื่น กุง (Malay-Peninsular); เกาะสะเตียง (Lawa-Chiang Mai); คราด (So-Nakhon Phanom); ซาด (Northeastern); ตะแบง (Eastern); ตะลาอ่ออาหมื่อ (Karen-Chiang Mai); ตาด (Chanthaburi, Phitsanulok); ยางเหียง (Chanthaburi, Ratchaburi); ล่าทะยอง (Karen-Chiang Mai); สะแบง (Northeastern, Uttaradit); สาละอองโว (Karen-Kanchanaburi); เห่ง (Lue-Nan); เหียง (ทั่วไป); เหียงพลวง, เหียงโยน (ประจวบคีรีขันธ์)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นผลัดใบ สูงได้ถึง ๓๐ เมตร เปลือกแตกเป็นร่องลึกตามยาว มีขนยาวและขนรูปดาวตามกิ่ง หูใบด้านนอก แผ่นใบด้านล่าง ก้านใบ ก้านดอก และกลีบเลี้ยงด้านนอก หรือเกลี้ยง หูใบรูปใบหอก ยาวได้ถึง ๗ เซนติเมตร ใบรูปรี รูปขอบขนาน หรือแกมรูปไข่ ยาว ๑๐-๓๐ เซนติเมตร ปลายมน โคนรูปลิ่มกว้างหรือเว้าตื้น เส้นแขนงใบข้างละ ๑๐-๒๐ เส้น ก้านใบยาว ๒.๕-๖.๕ เซนติเมตร ช่อดอกยาว ๓-๑๐ เซนติเมตรช่ออ่อนมีใบประดับหุ้ม มี ๔-๗ ดอก เรียงซิกแซ็กด้านเดียว ก้านดอกหนา ยาว ๑-๒ มิลลิเมตร หลอดกลีบเลี้ยงยาวประมาณ ๕ มิลลิเมตร กลีบยาว ๒ กลีบ รูปใบหอก ยาว ๑-๒ ซม. กลีบสั้น ๓ กลีบ รูปสามเหลี่ยม ยาว ๔-๖ มิลลิเมตร ดอกสีขาวอมชมพู มีสีเข้มด้านใน กลีบรูปใบหอก ยาว ๔-๖ เซนติเมตร ด้านนอกมีขนสั้น เกสรเพศผู้มีประมาณ ๓๐ อัน ก้านชูอับเรณูสั้น โคนแผ่กว้าง อับเรณูยาวประมาณ ๕ เซนติเมตร.

ยางค์รูปเส้นด้าย ยาวประมาณกึ่งหนึ่งของอับเรณู รังไข่มีขนสั้นนุ่ม  หลอดกลีบเลี้ยงหุ้มผลเรียบ เส้นผ่านศูนย์กลาง ๑.๕-๓.๕ เซนติเมตร ปีกยาว ๒ ปีก ยาว ๘-๑๕ เซนติเมตร ปีกสั้น ๓ ปีก รูปรีกว้าง ยาว ๑.๕-๒ เซนติเมตร ขอบพับกลับ

ประโยชน์ : ไม้เนื้อแข็ง ทนทานต่อการผุพัง แปรรูป ก่อสร้าง

พื้นที่ที่เหมาะสมแก่การปลูก : ทั่วประเทศ ภาคใต้ปลูกได้ตามพื้นที่เนินทรายหรือดินลูกรังใกล้ชายทะเล

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูก : ชั้นดินลึกมากกว่า ๐.๕ เมตร ที่ราบลูกคลื่น-ที่ลาดชันบนภูเขา  ชอบดินร่วนปนทราย-ดินทราย-ดินลูกรัง ที่มีการระบายน้ำดี, ระดับความสูงไม่เกิน ๑,๓๐๐ เมตร

ชนิดป่าที่พบตามธรรมชาติ : ป่าเต็งรัง
ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.



หัวข้อ: Re: พรรณไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้มงคล
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 24 กรกฎาคม 2564 18:02:36
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/17667583417561_188844924_2856675244647365_134.jpg)
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/34419705925716_189350336_2856675241314032_649.jpg)     ยางปาย

ยางปาย” ไม้มีค่าน่าปลูก

ยางปาย Dipterocarpus costatus C. F. Gaertn.  

ชื่ออื่น : กวู  ยางกระเบื้องถ้วย ยางกราย ยางแกน ยางเจาะน้ำมัน ยางแดง ยางบาย ยางเบื้องถ้วย  ยางใบเอียด ยางพราย  ยางหัวแหวน  ยางฮอก  ยางฮี  ยางฮี้  สะแฝง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง ๒๐-๔๐ เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกหนาสีน้ำตาลปนเทาถึงน้ำตาลเข้ม แตกเป็นสะเก็ด เรือนยอดแผ่ค่อนข้างกลม

ใบเป็นใบเดี่ยว ขนาดเล็ก รูปไข่ กว้าง ๔-๘ เซนติเมตร  ยาว ๘-๑๔ เซนติเมตร โคนใบมนกว้าง ปลายใบแหลม หลังใบเกลี้ยง ท้องใบมีขนสีน้ำตาลอ่อน โดยเฉพาะตามเส้นแขนงใบ ซึ่งมี ๑๐-๑๔ คู่ ใบแก่ออกสีน้ำตาลแดง ดอกสีครีม ออกเป็นช่อสั้นๆ กลีบรองดอกมีสันตามยาว ๕ สัน ปลายมี ๕ แฉก ยาว ๒ แฉก สั้น ๓ แฉก กลีบดอก ๕ กลีบ ปลายบิดเวียนตามกัน มีเกสรผู้ ๒๙-๓๐ อัน อยู่ในหลอดดอก  ผลกลม ขนาดผ่าศูนย์กลาง ๑.๘-๒ เซนติเมตร  มีสันคมยาวตลอดตัวผล ๕ สัน คลุมด้วยขนสีเทาหรือสีทอง ปีกคู่ รูปขอบขนาน กว้าง ๒-๒.๕ เซนติเมตร  ยาว ๙-๑๒ เซนติเมตร  มีเส้นปีก ๕ เส้น

ประโยชน์ : ไม้เนื้อแข็ง เนื้อเหนียว ทนทานต่อการพุพังปานกลาง ได้เนื้อไม้ปริมาณมาก แปรรูปก่อสร้าง

พื้นที่ที่เหมาะสมแก่การปลูก : ทั่วประเทศ

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูก : ชั้นดินลึกมากกว่า ๑ เมตร ที่ราบลูกคลื่น-ที่ลาดชันบนภูเขา,ชอบดินร่วน-ดินปนทราย ที่มีการระบายน้ำดี  ระดับความสูง ๒๐๐-๑,๓๐๐ เมตร

ชนิดป่าที่พบตามธรรมชาติ :ป่าดิบแล้ง/ป่าดิบเขา
ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/79516591462824_192819381_2855238838124339_406.jpg)     ยางขน

ยางขน  ไม้มีค่าน่าปลูก

ยางขน : Dipterocarpus baudii Korth

ชื่ออื่น :ยางกล่อง (ตราด); ยางขน (จันทบุรี, ตราด); ยางแดง (ตรัง); ยางมดคัน (นครศรีธรรมราช); ยางเยือง (ภาคใต้); ยูงกระเบื้อง (ชุมพร); ยูงขน (จันทบุรี, ตราด); ยูงแดง, ยูงใบใหญ่ (ระนอง, สุราษฎร์ธานี); ยูงหัวแหวน (ระนอง); ยูงเหียง (ตรัง)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :ไม้ต้น ส่วนต่างๆ มีขนกระจุกยาวสีน้ำตาลแดงหนาแน่น ขนยาว ๓-๔ มิลลิเมตร หูใบรูปแถบ ยาวได้ถึง ๑๕ เซนติเมตร  ใบรูปรีกว้าง ยาว ๑๕-๓๕ เซนติเมตร ปลายแหลมยาว โคนแหลม กลม หรือเว้าตื้น เส้นแขนงใบข้างละ ๑๒-๑๘ เส้น ก้านใบยาว ๓-๖ เซนติเมตร  ช่อดอกยาว ๓-๕ เซนติเมตร  มี ๓-๖ ดอก ก้านดอกสั้นมาก หลอดกลีบเลี้ยงยาวประมาณ ๑ เซนติเมตร  กลีบยาวยาวประมาณ ๑.๕ เซนติเมตร  กลีบสั้นยาว ๓-๕  มิลลิเมตร กลีบดอกยาว ๔-๖ เซนติเมตร  ด้านนอกมีขนรูปดาวสั้นประปราย เกสรเพศผู้ ๓๐ อัน อับเรณูยาว ๗-๙  มิลลิเมตร หลอดกลีบเลี้ยงหุ้มผลเรียบ ยาว ๒-๒.๕ เซนติเมตร  ปีกยาวยาว ๑๐-๒๐ เซนติเมตร  ปีกสั้นยาว ๑.๕-๓ เซนติเมตร  ปีกสั้นขอบพับกลับเล็กน้อย

ประโยชน์ : ไม้เนื้อแข็ง ทนทานต่อการพุพังปานกลาง ได้เนื้อไม้ปริมาณมาก แปรรูป ก่อสร้าง

พื้นที่ที่เหมาะสมแก่การปลูก : ภาคใต้  ภาคตะวันตก ภาคตะวันออก

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูก : ชั้นดินลึกมากกว่า ๑ เมตร ที่ราบ-ที่ลาดชันบนภูเขา, ที่มีการระบายน้ำดี, ระดับความสูงไม่เกิน ๑,๐๐๐ เมตร ปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า ๒,๐๐๐ มิลลิเมตร/ปี

ชนิดป่าที่พบตามธรรมชาติ : ป่าดิบชื้น
ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/67870275138152_220678331_2891763907805165_469.jpg)     ส้มกุ้งมะตะบัน

ส้มกุ้งมะตะบัน พืชล้มลุกจากอุทยานแห่งชาติภูพาน


ส้มกุ้งมะตะบัน : Begonia martabanica A. DC.  พืชล้มลุกในวงศ์ส้มกุ้งหรือบีโกเนีย (Begoniaceae) จากอุทยานแห่งชาติภูพาน จังหวัดสกลนคร พบขึ้นบนก้อนหินในลำธาร

คำว่า "ส้มกุ้ง"มาจากรสเปรี้ยวของต้น พืชหลายชนิดในสกุลนี้ใช้ประกอบอาหารเวลาเดินป่าได้
ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/24021751226650_220279658_2891026097878946_330.jpg)      เทพมาศ

เทพมาศ พืชหายาก ถิ่นเดียวของไทย

เทพมาศ : Flemingia sirindhorniae Mattapha, Chantar. & Suddee

วงศ์ Fabaceae

เทพมาศ ค้นพบในปี พ.ศ.๒๕๖๐ บนเขาหินปูนความสูง ๙๐๐ เมตร ที่ดอยหัวหมด อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก จัดเป็นพืชหายาก (rare plants) และเป็นพืชถิ่นเดียว (endemic plants) ของประเทศไทย  ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Thai Journal of Botany 9(1): 8. 2017.

โดยได้ขอพระบรมราชานุญาต ตั้งชื่อเป็นพรรณไม้ในพระนามของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อีกทั้งยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อเป็นภาษาไทยว่า "เทพมาศ"
ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.
  

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/91165873201356_220066407_2890274094620813_132.jpg)     โกเมษ

โกเมษ พรรณไม้หายากจากป่าตะวันออก
 
โกเมษ : Hedychium gomezianum Wall.

วงศ์ : ZINGIBERACEAE

พรรณไม้หายาก เป็นไม้ล้มลุก ขึ้นบนก้อนหินหรืออิงอาศัยบนต้นไม้ ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ในป่าตะวันออกพบในป่าดิบเขาต่ำ ที่อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี ที่ระดับความสูง ๙๐๐-๑,๐๐๐  เมตร

ที่มา : สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช
ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/87627495245801_218845501_2889546308026925_758.jpg)      จันทน์กะพ้อ

จันทน์กะพ้อ พืชสมุนไพรน่ารู้

จันทน์กะพ้อ  Vatica diospyroides Symington

วงศ์ : DIPTEROCARPACEAE

ชื่ออื่น : เขี้ยวงูเขา (พังงา), จันทน์พ้อ (ภาคใต้)

จันทน์กะพ้อเป็นไม้ต้น ใบเดี่ยว เรียงสลับ ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง สีเหลืองนวลหรือขาวนวล มีกลิ่นหอมแรง ผลรูปทรงไข่กว้าง ปกคลุมด้วยขนสีน้ำตาล มีกลีบประดับ ๕ กลีบ สั้นกว่าตัวผล

สรรพคุณ :  เนื้อไม้ แก้ไข้เพื่อลม แก้สันนิบาต ขับเสมหะ ขับโลหิต ขับลม และแก้ลมวิงเวียน ดอก บำรุงหัวใจ
ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/95893591269850_219452103_2888871811427708_547.jpg)      คงคาเดือด

คงคาเดือด พืชสมุนไพรมากสรรพคุณ

คงคาเดือด  : Arfeuillea arborescens Pierre

วงศ์ : SAPINDACEAE

ชื่ออื่น : ช้างเผือก (ลำปาง), ตะไล (ราชบุรี), ตะไลคงคา (ชัยนาท), สมุยกุย (นครราชสีมา), หมากเล็กหมากน้อย (ภาคกลาง)

คงคาเดือดเป็นไม้ต้น ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ เรียงสลับ ใบย่อยขอบใบเป็นคลื่น ดอกช่อแยกแขนง ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว กลีบเลี้ยงสีน้ำตาลแกมม่วง ผลแห้งแตก มีปีก ๓ ปีก

สรรพคุณ : ลำต้นและใบ ขับพยาธิ แก้ไอ แก้ไข้ เปลือก แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ไอ แก้คัน แก้ไข้ ช่วยเจริญอาหาร แก้แสบร้อนตามผิวหนัง และแก้ตานซาง
ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.


หัวข้อ: Re: พรรณไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้มงคล
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 30 กรกฎาคม 2564 19:40:53
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/98080235926641_227509443_2897096423938580_423.jpg)
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/30979093412558_227350936_2897096420605247_579.jpg)      นมตำเลียโกเมน

นมตำเลียโกเมน ไม้เถาเลี้อย
 
นมตำเลียโกเมน : Hoya lobbii Hook. f.  

วงศ์ : Apocynaceae

ไม้เถาเลื้อย ลำต้นหนา แข็ง สีเขียว กิ่งก้านค่อนข้างอวบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรีหรือรูปไข่ กว้าง ๒.๕-๕ ซม. ยาว ๕-๗.๕ ซม. โคนเว้ารูปหัวใจ ขอบเรียบ ปลายแหลมหรือเรียวแหลม เส้นใบโค้ง ๖-๘ คู่ แผ่นใบอวบหนา เกลี้ยงทั้ง ๒ ด้าน ก้านใบสั้น โค้ง เกลี้ยง

▫ ช่อดอกแบบช่อซี่ร่มออกที่ปลายกิ่ง
▫ กลีบเลี้ยงขนาดเล็ก เชื่อมเป็นวง ปลายแยกเป็น ๕ แฉก รูปใบหอกแกมรูปไข่เกลี้ยง
▫ กลีบดอกเชื่อมกันเป็นรูปกงล้อ เส้นผ่านศูนย์กลาง ๑.๒๕-๔.๒ ซม. ปลายแยกเป็น ๕แฉก ปลายแหลม สีแดงเข้ม มีขนสั้นกระจายทั่วกลีบ กระบังรอบเกสรเพศผู้ขนาดใหญ่ หนา กลม ปลายมนหรือแหลม สีแดงเข้ม เกลี้ยง เป็นเงา
▫ กลุ่มเรณูสีส้มอมเหลือง

เลื้อยพันตามต้นไม้หรือทอดเลื้อยตามโขดหิน เขาหินปูน ที่ความสูงจากระดับทะเลประมาณ ๕๐๐ ม. ออกดอกและเป็นผลในช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม พบบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : เลย ภาคตะวันออกเฉียงใต้ : จันทบุรี ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/95497561328940_225502884_2894814967500059_713.jpg)
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/35265429938832_226906960_2894814964166726_387.jpg)      มะยมป่า

มะยมป่า พรรณไม้ในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน

มะยมป่า : Ailanthus triphysa (วงศ์ SIMAROUBACEAE) เป็นไม้ต้นผลัดใบ ต้นสูง เรือนยอดโปร่ง ใบเป็นใบประกอบขนาดใหญ่ ออกแน่นที่ปลายกิ่ง ใบย่อยออกตรงข้าม ใบแก่เปลี่ยนเป็นแดงสด ดอกสีเขียวอมเหลืองแยกเพศ ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่คนละต้นกัน ดอกมีกลีบเลี้ยงกลีบดอกอย่างละ ๕ กลีบ ออกเป็นช่อห้อยลง กลีบเลี้ยงและกลีบดอกเล็ก กลีบดอกแยกจากกัน

ดอกเพศผู้มีเกสรเพศผู้ ๑๐ อันติดที่ใต้ขอบนอกของจานฐานดอกที่ผลิตน้ำหวาน ดอกเพศเมียมีเกสรเพศเมีย (คาร์เพล) ๒-๕ อัน แยกกัน ยอดเกสรเพศเมียจักเป็นพู ผลสีแดง หรือสีอมชมพู เป็นผลเปลือกแข็งย่อย ๒-๕ ผล แบนและบิดเล็กน้อย มีปีก แต่ละผลย่อยมีเมล็ดรูปไข่แบน ๑ เมล็ด บางครั้งพบเป็นเพียงผลเดียวเนื่องจากคาร์เพลอื่นฝ่อไป พบค่อนข้างมากในป่าผลัดใบผสมและป่าดิบแล้ง ออกดอกติดผลหน้าแล้ง
ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/19318019598722_222344250_2893257230989166_599.jpg)
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/45839979665146_224345755_2893257227655833_681.jpg)      ว่านดอกเหลือง

ว่านดอกเหลือง พืชถิ่นเดียวของไทย พบได้ที่เขาสอยดาวใต้ จันทบุรี

ว่านดอกเหลือง : Aeginetia flava  J.Parn.

วงศ์ : Orobanchaceae

พืชรากเบียนล้มลุก สูง ๑๕-๒๐ ซม. ลำต้นออกเดี่ยวๆ หรือแตกกิ่งใกล้โคน สีแดงอมเหลือง ใบขนาดเล็กคล้ายเกล็ดรูปแถบ ออกเป็นคู่ ยาวประมาณ ๑ ซม. ติดใกล้โคน ดอกออกเดี่ยวๆ สีเหลือง กลีบเลี้ยงจักไม่ชัดเจน แฉกข้างเดียวรูปใบพาย ยาว ๒.๕-๔ ซม. ปลายแหลม โค้งงอ ดอกรูปปากเปิด ยาว ๓.๕-๕.๕ ซม. โคนหลอดกลีบดอกหักเป็นข้อ กลีบบน ๒ กลีบ กลีบล่าง ๓ กลีบ แผ่นกลีบเส้นผ่านศูนย์กลาง ๐.๕-๑ ซม. บานออก ขอบกลีบจักฟันเลื่อยไม่เป็นระเบียบ

 เกสรเพศผู้ ๔ อัน ไม่ยื่นพ้นปากหลอดกลีบดอก ติดประมาณจุดที่หลอดกลีบงอ ก้านชูอับเรณูโป่งด้านเดียว มีปุ่มใกล้อับเรณู อับเรณูอันสมบูรณ์มีเดือยชัดเจน มีรูเปิดด้านบน มี ๒ คาร์เพล ก้านเกสรเพศเมียโค้ง ยาวจรดปากหลอดกลีบดอก ติดทน ยอดเกสรเพศเมียรูปจาน ผลแห้งแตก รูปไข่ ยาวประมาณ ๑.๖ ซม.  เมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก ผิวเป็นร่างแหละเอียด

การกระจายพันธุ์:  พืชถิ่นเดียวของไทย พบเฉพาะทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ที่เขาสอยดาวทั้งเหนือและใต้ จังหวัดจันทบุรี ขึ้นเบียนพืชในสกุล Strobilanthes ในป่าดิบเขา ความสูง ๑,๔๐๐-๑,๕๐๐ เมตร
ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/31462985070215_218396195_2892491551065734_658.jpg)     เรือนยอดไม้

เรือนยอดไม้ ในป่าพรุโต๊ะแดง ความสวยงามของผืนป่าธรรมชาติแดนใต้

ป่าพรุ จัดเป็นป่าที่ไม่ผลัดใบและแตกต่างจากป่าดิบชื้นอื่นๆ เพระโครงสร้างของลำต้นและรากอยู่บนดินที่มีความยืดหยุ่น  ดินที่มีน้ำขังแบบไหลเอื่อยตลอดปี  ดินที่เกิดจากการทับถมของซากพืชที่ยังไม่สลายตัว ความหนาของชั้นดิน ตั้งแต่ ๑-๑๐ เมตร  มีพรรณไม้แปลกๆ รวมๆ กัน ไม่ต่ำกว่า ๓๐๐ ชนิด ชนิดไม้ที่เด่นๆที่ พบในป่าพรุ เช่น มะฮัง อ้ายบ่าว ช้างไห้ ตารา ขี้หนอนพรุ ตีนเป็ดพรุ เป็นต้น
 
ด้วยความที่ดินป่าพรุเป็นดินเลน ลักษณะพิเศษของป่าพรุอีกอย่างที่เห็นชัดคือ ความสูงของต้นไม้เมื่อมองจากที่สูงจะเห็นว่าเรือนยอดจะเท่าๆ กัน โดยไม้ในป่าพรุจะมีความสูงไม่เกิน ๒๕ เมตร 

ปริมาณน้ำฝนที่ตกในป่าพรุ อยู่ระหว่าง ๓,๐๐๐-๔,๕๐๐ มิลลิเมตรต่อปี  บางปีที่มีฝนตกน้อย หรือขาดช่วงไปนานก็จะเกิดไฟป่า  ปกติก็จะไหม้ในป่าพรุที่มีความลึกของน้ำต่ำ  ส่วนใหญ่จะเป็นพรุเสม็ด ในส่วนของพรุดั้งเดิมที่มีความลึกของน้ำสูงก็จะไม่ค่อยได้รับผลกระทบมากนัก  แต่พรุดั้งเดิมที่ยังเหลืออยู่มีจำนวนไม่มากแล้ว  มีพรุที่ยังคงความสมบูรณ์หลงเหลืออยู่เพียงประมาณ ๕๐,๐๐๐-๖๐,๐๐๐ ไร่ 

ป่าพรุที่สมบูรณ์ที่สุดอยู่ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  พื้นที่คุ้มครองมีประมาณ ๑๖๕,๐๐๐ ไร่  ดังนั้น พื้นที่พรุดั้งเดิมคิดเป็น ๑ ใน ๓ ของพื้นที่คุ้มครอง อีกสองในสามคือป่าพรุเสม็ดและพรุทุ่งหญ้าที่ถูกเปลี่ยนสภาพไปจากพรุดั้งเดิม
ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/31348662409517_194583831_2854544338193789_667.jpg)
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/84760969008008_194704822_2854544334860456_381.jpg)      มะค่าโมง

มะค่าโมง  ไม้มีค่าน่าปลูก

มะค่าโมง : Afzelia xylocarpa (Kurz) Craib
 
ชื่ออื่น : เขง (เขมร-สุรินทร์); บิง (ชอง-จันทบุรี); เบง (เขมร-สุรินทร์); ปิ้น (ชาวบน-นครราชสีมา); มะค่าโมง (ภาคกลาง); มะค่าหลวง, มะค่าหัวคำ (ภาคเหนือ); มะค่าใหญ่ (ภาคกลาง)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูงได้ถึง ๓๐ เมตร ลำต้นคดงอ มีขนสั้นนุ่มสีเทาตามช่อดอก ฐานดอก กลีบเลี้ยง โคนกลีบดอก ก้านชูอับเรณู และรังไข่  ใบประกอบปลายคู่ มีใบย่อย ๓-๕ คู่ รูปไข่ ยาว ๕-๙ เซนติเมตร ปลายมน เว้าตื้น ก้านใบย่อยยาว ๓-๕ มิลลิเมตร

ช่อดอก : แบบช่อแยกแขนง ยาว ๕-๑๕ เซนติเมตร ใบประดับรูปไข่ ยาว ๖-๙ มิลลิเมตร ใบประดับย่อยคล้ายใบประดับ ติดเหนือจุดกึ่งกลางก้านดอก ติดทน ก้านดอกยาว ๐.๗-๑ เซนติเมตร กลีบเลี้ยง ๔ กลีบ รูปรี คู่นอกขนาดเล็กกว่าคู่ในเล็กน้อย ยาว ๑-๑.๒ เซนติเมตร กลีบดอกมีกลีบเดียว สีชมพูอมแดง รูปขอบขนาน ยาว ๑.๒-๒ เซนติเมตร โคนเรียวแคบเป็นก้านกลีบ ปลายเว้าตื้น เกสรเพศผู้ที่สมบูรณ์ ๗ อัน ก้านชูอับเรณูยาว ๒-๓ เซนติเมตร เกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน ๓ อัน รูปเส้นด้าย รังไข่มีก้านสั้น ก้านเกสรเพศเมีย ยาว ๒-๒.๕ เซนติเมตร ยอดเกสรมีขนาดเล็ก 

ฝัก : แบนรูปขอบขนาน เบี้ยว ยาว ๑๕-๒๐ เซนติเมตรปลายเป็นจะงอยสั้นๆ เปลือกหนา เมล็ดรูปรี ยาว ๒.๕-๓ เซนติเมตร มีผนังกั้น ขั้วเมล็ดมีเยื่อหุ้มหนาสีเหลืองอมส้ม

ประโยชน์ : ไม้เนื้อแข็ง แข็งแรงทนทานต่อการผุ-ปลวก-มอด แปรรูป ก่อสร้าง เครื่องเรือน

พื้นที่ที่เหมาะสมแก่การปลูก : ทั่วประเทศ ภาคใต้ปลูกได้ตามพื้นที่ดินปนทรายใกล้ชายทะเล

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูก : ชั้นดินลึกมากกว่า ๑ เมตร ที่ราบ-ที่ลาดชัน, ไม่เหมาะกับที่ราบลุ่มที่มีน้ำท่วมขังเป็นประจำ ระดับความสูงไม่เกิน ๑,๒๐๐ เมตร

ชนิดป่าที่พบตามธรรมชาติ : ป่าเบญจพรรณ และป่าดิบแล้ง
ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/33257365516490_193415679_2853126848335538_356.jpg)      มะค่าแต้ 

มะค่าแต้  ไม้มีค่าน่าปลูก

มะค่าแต้ (Sindora siamensis Teijsm. ex Miq.)

ชื่ออื่น : กรอก๊อส (เขมร-พระตะบอง); กอกก้อ (ชาวบน-นครราชสีมา); ก่อเก๊าะ, ก้าเกาะ (เขมร-สุรินทร์); แต้ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); มะค่าแต้ (ทั่วไป); มะค่าหนาม (ภาคกลาง, ภาคเหนือ); มะค่าหยุม (ภาคเหนือ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :ไม้ต้นผลัดใบ สูงได้ถึง ๑๕ เมตร เปลือกเรียบหรือแตกเป็นสะเก็ด มีขนสั้นนุ่มตามกิ่งอ่อน แผ่นใบด้านล่าง และช่อดอก  ใบประกอบปลายคู่ ก้านใบประกอบยาว ๒-๔ เซนติเมตร ใบย่อยมี ๓-๔ คู่ รูปรี ยาว ๖-๑๕ เซนติเมตรปลายกลมหรือเว้าตื้นๆ จุดเด่นอยู่ที่ขอบใบมีเส้นใบนูนรอบขอบใบ ก้านใบย่อยยาวประมาณ ๕ มิลลิเมตร ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ยาว ๑๐-๒๕ เซนติเมตร ใบประดับรูปไข่ ยาว ๓-๖ มิลลิเมตร ติดทน  กลีบเลี้ยงมี ๔ กลีบ รูปเรือ ๑ กลีบ รูปใบหอก ๓ กลีบ ยาวประมาณ ๗ มิลลิเมตร มีตุ่มกระจาย ปลายกลีบมีหนามเล็กๆ กลีบดอกมีกลีบเดียว สีเหลืองอมแดง ยาวเท่าๆ กลีบเลี้ยง เกสรเพศผู้ ๑๐ อัน  รังไข่มีขนหยาบและหนามเล็กๆ  ฝักแบน คล้ายรูปไข่ ยาว ๔.๕-๑๐ เซนติเมตร ปลายมีจะงอย ยาว ๕-๗ มิลลิเมตรผิวมีหนามแหลมจำนวนน้อย-มาก ปลายหนามมีชันสีขาวกลิ่นหอมติด หายากที่จะพบว่าผิวฝักเกลี้ยง ฝักเมื่อแก่แห้งแตก ๒ ซีก มี ๑-๓ เมล็ดรูปกลมรีและแบนเล็กน้อย กว้าง ๑.๕-๒ เซนติเมตร ขั้วเมล็ดมีเยื่อหุ้มหนาสีเหลืองคล้ำ

ประโยชน์ : ไม้เนื้อแข็ง แข็งแรงทนทานต่อการผุ-ปลวก-มอด แปรรูป ก่อสร้าง เครื่องเรือน

พื้นที่ที่เหมาะสมแก่การปลูก : ทั่วประเทศ ภาคใต้ปลูกได้ตามพื้นที่ดินปนทรายใกล้ชายทะเล

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูก :  ชั้นดินลึกมากกว่า ๐.๕ เมตร ที่ราบ-ที่ลาดชัน ที่มีการระบายน้ำดี, ระดับความสูงไม่เกิน ๑,๒๐๐ เมตร 

ชนิดป่าที่พบตามธรรมชาติ : ป่าเบญจพรรณ/ป่าเต็งรัง/ป่าดิบแล้ง
ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/70833735043803_186508465_2851001005214789_480.jpg)
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/79221062072449_187144766_2851001031881453_156.jpg)      รัง ไม้มีค่าน่าปลูก

รัง (Shorea siamensis Miq)

ชื่ออื่น : เปา, เปาดอกแดง (ภาคเหนือ); รัง (ภาคกลาง); เรียง, เรียงพนม (เขมร-สุรินทร์); ลักป้าว (ละว้า-เชียงใหม่); แลบอง, เหล้ท้อ, เหล่บอง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); ฮัง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น ผลัดใบ สูง ๑๐-๓๐ ม. เปลือกแตกเป็นร่องลึกตามยาวและหนา สีเทาอมน้ำตาล หูใบรูปไข่ ยาว ๑-๒ เซนติเมตร ติดทน ใบรูปไข่หรือแกมรูปขอบขนาน ยาว ๖.๕-๒๐ เซนติเมตร ปลายแหลมหรือมน โคนเว้าลึก แผ่นใบเกลี้ยงหรือมีขนสั้นนุ่ม เส้นแขนงใบข้างละ ๑๕-๒๐ เส้น ก้านใบยาว ๑.๕-๔ เซนติเมตร ช่อดอกยาว ๕-๑๕ เซนติเมตร กลีบเลี้ยง ๕ กลีบ ยาวประมาณ ๐.๕ มิลลิเมตร มีขนละเอียด ดอกสีขาวครีมหรือเหลืองอ่อน กลีบดอก ๕ กลีบ รูปรี ปลายกลีบม้วนพับกลับ รูปทรงดอกคล้ายหม้อดินเผา ดอกบานกว้าง ๑-๑.๓ เซนติเมตร ผลรูปรีกว้าง ยาว ๑.๕-๒ เซนติเมตร ผิวเกลี้ยงมันเงา ปลายมีติ่งเรียวแหลม ยาว ๒-๓ มิลลิเมตร  ปีกยาว ๓ ปีก ยาว ๕-๙ เซนติเมตร ปีกสั้น ๒ ปีก ยาว ๓-๖ เซนติเมตร ผลอ่อนปีกสีแดง ผลแก่ปีกสีจางลงและแห้งเป็นสีน้ำตาลแดง โคนปีกโอบหุ้มผลเฉพาะที่โคนไม่เกิน ๑/๒ ของความยาวผล

จุดเด่นของต้นรัง สังเกตจากการแตกของเปลือกลำต้น รูปโคนใบ ใบแก่ก่อนร่วงในช่วงฤดูหนาวจะเปลี่ยนเป็นสีส้ม-สีแดง รูปทรงดอกบาน และโคนปีกที่โอบหุ้มผลแก่

ประโยชน์ :  ไม้เนื้อแข็ง ทนทานต่อการผุพังมาก แปรรูป ก่อสร้าง เครื่องเรือน

พื้นที่ที่เหมาะสมแก่การปลูก :  สามารถปลูกทั่วประเทศ ภาคใต้ปลูกได้ตามพื้นที่ดินทราย-ดินลูกรังใกล้ชายทะเล หรือบนเขาหินปูน

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูก : ชั้นดินลึกมากกว่า ๐.๕ เมตร  ที่ราบ-ที่ลาดชัน ที่มีการระบายน้ำดี แต่จะชอบดินปนทราย หรือดินร่วนปนทรายเป็นพิเศษ, ความสูงไม่เกิน ๑,๒๐๐ เมตรจากระดับทะเลปานกลาง

ชนิดป่าที่พบตามธรรมชาติ : ป่าเต็งรัง/ป่าเบญจพรรณ/ในภาคใต้พบในป่าดิบแล้งบนเขาหินปูน
ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/86294450486699_185993919_2848801458768077_815.jpg)      ยางวาด

ยางวาด  ไม้มีค่าน่าปลูก

ยางวาด : Dipterocarpus chartaceus Symington  หรือ ยางตัง (ชุมพร); ยางมันข้น (สงขลา); ยางมันหมู (นราธิวาส); ยางวาด (นครศรีธรรมราช, สุราษฎร์ธานี); ยางเสียน (สุราษฎร์ธานี)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้ต้น ตายอดมีขนสีน้ำตาลหนาแน่น หูใบรูปใบหอก ยาวได้ถึง ๘ เซนติเมตร  ใบรูปรีหรือรูปไข่ ยาว ๘-๑๓ เซนติเมตร ปลายแหลม โคนรูปลิ่ม เส้นแขนงใบข้างละ ๑๐-๑๕ เส้น ก้านใบยาว ๒-๓ เซนติเมตร ใบแห้งสีน้ำตาลแดง  ช่อดอกยาว ๒-๖ เซนติเมตร มี ๓-๖ ดอก ก้านดอกสั้น หลอดกลีบเลี้ยงยาว ๑.๕-๒ เซนติเมตร กลีบยาวยาว ๑-๑.๕ เซนติเมตร กลีบสั้นยาวประมาณ ๒ มิลลิเมตร กลีบดอกรูปใบหอก ยาวประมาณ ๒.๕ เซนติเมตร ด้านนอกมีขนกระจุกละเอียด เกสรเพศผู้ ๓๐ อัน อับเรณูยาวประมาณ ๕ มิลลิเมตร หลอดกลีบเลี้ยงหุ้มผลเรียบ ยาว ๒-๒.๕ เซนติเมตร ปีกยาวยาว ๘-๑๓ เซนติเมตร ปีกสั้นยาว ๔-๕มิลลิเมตร ขอบพับกลับ

ประโยชน์ : ไม้เนื้อแข็ง ทนทานต่อการพุพังปานกลาง ได้เนื้อไม้ปริมาณมาก แปรรูป ก่อสร้าง 

พื้นที่ที่เหมาะสมแก่การปลูก : ภาคใต้ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูกชั้นดินลึกมากกว่า ๑ เมตร ที่ราบดินตะกอน-ที่ราบลูกคลื่น หรือเนินทรายชายทะเล, ที่มีการระบายน้ำดี, ระดับความสูงไม่เกิน ๑๐๐ เมตร

ชนิดป่าที่พบตามธรรมชาติป่าดิบแล้ง/ป่าดิบชื้น
ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.


หัวข้อ: Re: พรรณไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้มงคล
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 06 สิงหาคม 2564 20:18:59
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/44593257912331_227423364_2902320276749528_718.jpg)     เอื้องสายสร้อยพะเนินทุ่ง

เอื้องสายสร้อยพะเนินทุ่ง : Pholidota longibulba Holttum วงศ์ Orchidaceae
กล้วยไม้ บริเวณพะเนินทุ่ง อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เป็นพรรณไม้กลุ่มมาเลเซียที่กระจายพันธุ์ขึ้นมาถึง ตีพิมพ์รายงานในวารสาร Thai Forest Bulletin (Botany) เล่มที่ ๔๓ หน้า ๓๙-๔๒ ปี ๒๐๑๕

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :กล้วยไม้อิงอาศัย ลำลูกกล้วยผิวเป็นมัน ใบออกที่ปลายลำลูกกล้วย แผ่กว้างมีเส้นใบตามยาว ช่อดอกออกที่ปลายลำลูกกล้วย เป็นช่อยาวโค้งห้อยลง มีดอกจำนวนมาก ดอกสีขาว โคนดอกมีใบประดับหุ้ม



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/40613632731967_226022999_2901599456821610_182.jpg)     จันทน์หอม

จันทน์หอม นอกจากจะใช้ไม้ทำพระบรมโกศหรือพระโกศแล้ว ยังเป็นพืชสมุนไพรที่ทรงคุณค่าอีกด้วย

จันทน์หอม : Mansonia gagei J.R.Drumm. ex Prain

วงศ์ : MALVACEAE

ชื่ออื่น : จันทน์ จันทน์ชะมด (ประจวบคีรีขันธ์), จันทน์ขาว จันทน์พม่า (ภาคกลาง), Kalamet

จันทน์หอมเป็นไม้ต้น ผลัดใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ ดอกออกเป็นช่อแยกแขนง ออกที่ปลายกิ่ง สีขาว ผลรูปทรงกระสวย มีปีกรูปสามเหลี่ยม ๑ ปีก

สรรพคุณ : ลำต้น ขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้ปวดท้อง แก้ธาตุพิการ บำรุงหัวใจ เนื้อไม้และแก่น แก้คลื่นเหียนอาเจียน บำรุงหัวใจ แก้ลมวิงเวียน บำรุงกำลัง แก้ไข้ ใบ บำรุงผิวพรรณ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้จุกเสียด



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/88058254743615_231604571_2900841146897441_626.jpg)     เจ็ดช้างสารใหญ่

พืชสมุนไพรน่ารู้  เจ็ดช้างสารใหญ่

เจ็ดช้างสารใหญ่ : Lasianthus cyanocarpusJack  วงศ์ : RUBIACEAE

เป็นไม้พุ่ม กิ่งและใบมีขนสากปกคลุม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ดอกออกเป็นช่อกระจุก ออกที่ซอกใบ สีขาว ผลสด รูปทรงรี เมื่อสุกสีน้ำเงิน

สรรพคุณ :  ลำต้น หรือราก แก้ปวดเมื่อย แก่น บำรุงกำลัง



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/75811081048515_226435967_2899370213711201_105.jpg)
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/68565075596173_217988167_2899370217044534_246.jpg)     ลำดวนดอย  พรรณไม้งามจากดอยตุง

ลำดวนดอย : Mitrephora wangii Hu

วงศ์ : Annonaceae

▫️ ไม้ต้น สูงได้ถึง ๒๐ ม.
▫️ เปลือกเรียบ กิ่งอ่อนมีขนสั้นนุ่ม
▫️ ใบรูปขอบขนานถึงรูปใบหอก ขนาด ๕-๗ x ๑๓-๒๐ ซม. ปลายเรียวแหลม โคนแหลม เส้นแขนงใบ ๑๐-๑๔ คู่ ด้านบนเป็นมันเงา ด้านล่างมีขนสั้นนุ่มประปราย ก้านใบยาวประมาณ ๘ มม.
▫️ ช่อดอกออกตามซอกใบหรือตามรอยแผลใบของกิ่งแก่ มี ๑-๓ ดอกย่อย ก้านดอกย่อยยาวประมาณ ๒ ซม. กลีบเลี้ยง ๓ กลีบ รูปไข่ ขนาดประมาณ ๓ x ๓.๕ มม. มีขนสั้นหนานุ่น
▫️ กลีบดอก ๖ กลีบ มี ๒ วง วงนอก ๓ กลีบ รูปไข่ ขนาดประมาณ ๒.๕ x ๓ ซม. ขอบเป็นคลื่น สีขาวถึงเหลือง ด้านนอกมีขนสั้นหนานุ่น วงใน ๓ กลีบ โค้งงอคล้ายกงเล็บ ขนาดประมาณ ๑.๕ x ๒ ซม. โคนแคบ ปลายกลีบโค้งจรดกันคล้ายโคม สีม่วง มีขนสั้นนุ่มประปราย
▫️ เกสรเพศผู้จำนวนมาก แกนอับเรณูปลายตัด ยาวประมาณ ๑ ซม. มี ๘-๑๐ คาร์เพล แยกกัน ยาวประมาณ ๒ มม. ออวุล ๖-๘ เม็ด
▫️ ผลกลุ่มมีผลย่อย ๕-๗ ผล รูปขอบขนาน ขนาด ๒-๒.๕ x ๔-๖ ซม. มีขนสั้นนุ่มและสันตามยาว ก้านผลยาว ๑-๑.๓ ซม.
▫ เมล็ดมีประมาณ ๘ เมล็ด ขนาดประมาณ ๖ x ๑๐ มม.
การกระจายพันธุ์:  พบที่จีนตอนใต้และภาคเหนือตอนบนของไทยที่ดอยตุง จังหวัดเชียงราย ขึ้นในป่าดิบเขาระดับต่ำ ที่เป็นหินปูน ความสูงประมาณ ๑,๓๐๐ เมตร



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/28781074699428_218060995_2898664193781803_295.jpg)     ว่านดอกสามสี

ว่านดอกสามสี ไม้ล้มลุกพบได้ในกอไผ่

ว่านดอกสามสี : Christisonia siamensis Craib (Orobanchaceae)  ไม้ล้มลุกไม่มีใบที่ชัดเจน
พบในป่าที่มีไผ่หนาแน่น มักพบขึ้นใกล้กอไผ่ คำระบุชนิด ‘siamensis’ หมายถึงสยามหรือประเทศไทย หมายความว่าพืชชนิดนี้พบครั้งแรกในประเทศไทย


ขอขอบคุณ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (ที่มาข้อมูล/ภาพ)


หัวข้อ: Re: พรรณไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้มงคล
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 25 สิงหาคม 2564 21:18:22
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/52619082522061_238745749_2916058955375660_455.jpg)      ไก่แจ้
ไก่แจ้ ไม้ล้มลุกขนาดเล็ก พบลานทรายในที่โล่ง
ไก่แจ้ : Polygala polifolia C. Presl
วงศ์ Polygalaceae
ไม้ล้มลุกขนาดเล็กจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว มักพบขึ้นในที่โล่งตามลานหินทราย ลักษณะดอกดูเผินๆ คล้ายดอกของพืชในวงศ์ถั่ว



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/50239819826351_234733987_2915336035447952_603.jpg)      งาช้าง
งาช้าง ไม้ประดับจากอุทยานแห่งชาติภูลังกา
งาช้าง : Hibiscus grewiifolius Hassk. (Malvaceae)
ชื่ออื่น : พันตะวัน หรือ ตะวันพันดวง
ไม้ต้นจากอุทยานแห่งชาติภูลังกา จังหวัดนครพนม เป็นไม้ต้นที่มีศักยภาพเป็นไม้ประดับได้ ดอกมีขนาดใหญ่มา



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/88689430678884_235284490_2914652418849647_258.jpg)      หัวลิง
หัวลิง ไม้เถาเลื้อยเกาะพันต้นไม้อื่น
หัวลิง : Sarcolobus globosus Wall.
วงศ์ : Apocynaceae
ชื่ออื่น :  บาตูบือแลกาเม็ง
หัวลิง เป็นไม้เถาเลื้อยเกาะพันต้นไม้อื่น ส่วนต่างๆ มีน้ำยางสีขาวข้น ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรีแกมขอบขนาน ปลายแหลม โคนเว้ารูปหัวใจ ขอบเรียบ ผิวใบมีขนสั้นนุ่มปกคลุมประปราย ดอกช่อกระจะคล้ายช่อซี่ร่ม ออกที่ซอกใบ สีเหลือง มีจุดประสีแดงด้านในวงกลีบดอก ผลแบบแก่แห้งแตกแนวเดียว รูปทรงกลม สีน้ำตาล มีเส้นสันนูนตามยาว ๑ เส้น
พบตามริมฝั่งแม่น้ำ พื้นที่เปิดโล่งน้ำทะเลท่วมถึง พบตั้งแต่อินเดียตะวันออก พม่า หมู่เกาะมลายูและบอร์เนียว
เมล็ด เป็นพิษต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ชาวพื้นเมืองในทวีปเอเชียนิยมนำมาใช้เป็นยาเบื่อหมา แมว และสัตว์ป่า



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/89003758629163_239529357_2913945642253658_853.jpg)      หญ้าดีควาย
หญ้าดีควาย พบได้ที่ดอยหัวหมด อุ้มผาง
หญ้าดีควาย : Swertia angustifolia Buch.-Ham. ex D. Don
วงศ์ Gentianaceae
ชื่ออื่น : ผักหอมโคก, หูกระต่ายโคก , หญ้าดอกลาย, หญ้าดีควาย, หญ้าดีแฟน
ไม้ล้มลุก ใบรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก  ปลายแหลม โคนสอบ ไร้ก้าน กลีบเลี้ยงและกลีบดอกจำนวนอย่างละ ๔ กลีบ
ดอกสีขาวอมม่วง มีจุดสีม่วงเข้มกระจาย กลีบรูปรี  ปลายแหลม ขอบเว้าเล็กน้อย โคนกลีบมีต่อมน้ำต้อย ๑ ต่อม มีเกล็ดเป็นแผ่นกลมรอบ ขอบจักชายครุยสั้นๆ ผลรูปไข่แกมรูปขอบขนาน  ขึ้นตามที่โล่งบนเขาหินปูน ความสูง ๒๐๐-๑,๐๐๐ เมตร



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/85618230907453_239666589_2913247452323477_816.jpg)      ประดับหิน
ประดับหิน พรรณไม้จากเขาพระบาท อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ จันทบุรี
ประดับหิน : Damrongia trisepala (Barnett) D. J. Middleton & A. Weber
วงศ์ Gerneriaceae
ชื่อสกุล Damrongia ตั้งให้เป็นเกียรติแก่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/16800073741210_239216846_2912508259064063_835.jpg)      โคคา
โคคา ...พืชสมุนไพรน่ารู้
โคคา : Erythroxylum coca Lam.
วงศ์ : ERYTHROXYLACEAE
ชื่ออื่น : Coca
โคคาเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ใบเดี่ยว เรียงสลับ ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ สีขาว ผลสด รูปรี เมื่อสุกสีแดงสด
สรรพคุณ : ใบ แก้ผิวหนังอักเสบ แก้ผื่นคันจากสัมผัสพืชมีพิษ กระตุ้นประสาทส่วนกลาง แก้ปวดประสาทส่วนหน้า ใช้เป็นยาชาเฉพาะที่ในการ ผ่าตัด รักษาริดสีดวงทวาร



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/69302233722474_239465515_2911765849138304_885.jpg)     ขาวปั้น
ขาวปั้น พืชถิ่นเดียวของไทย พบได้ตามเขาหินปูนที่เปิดโล่ง
ขาวปั้น :  Pterocephalodes siamensis (Craib) V. Mayer & Ehrend.
วงศ์ DIPSACACEAE
ไม้ล้มลุก สูง ๓๐-๖๐ ซม. ลำต้นอวบหนา ใบเดี่ยว ออกเป็นกระจุกรอบโคนต้น รูปพาย กว้าง ๔-๘ ซม. ยาว ๖-๑๘ ซม. ปลายแหลม โคนสอบ ขอบจักฟันเลื่อยหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบสั้น ช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่น เส้นผ่านศูนย์กลาง ๔-๖ ซม. ก้านช่อดอกยาว ๕-๒๐ ซม. มีขนปกคลุม ใบประดับเรียง ๒-๓ วง รูปขอบขนาน ออกที่โคนช่อ กลีบเลี้ยงเป็นขนแข็ง ประมาณ ๑๕ กลีบ กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดรูปกรวย ปลายแยกเป็น ๔ กลีบ เกสรเพศผู้ ๔ เกสร เกสรเพศเมียยาวพ้นหลอดดอก ยอดเกสรเพศเมียเป็นตุ่มสีขาว ผลแห้งเมล็ดล่อน ติดแน่นกับวงใบประดับ
การกระจายพันธุ์และนิเวศวิทยา ขึ้นตามเขาหินปูนที่เปิดโล่ง พบเฉพาะที่ดอยหัวหมด จังหวัดตาก และดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ที่ความสูง ๙๐๐-๒,๒๐๐ เมตร จากระดับทะเล ออกดอกและเป็นผลประมาณเดือนตุลาคมถึงมกราคม เป็นพืชถิ่นเดียวของไทย



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/80316823513971_235418004_2908886209426268_691.jpg)     มะขามป้อมดินหัวหมด
มะขามป้อมดินหัวหมด พืชถิ่นเดียวของไทย พบเฉพาะที่ดอยหัวหมด เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง
มะขามป้อมดินหัวหมด :Phyllanthus huamotensis  Pornp., Chantar. & J. Parn. วงศ์   Phyllanthaceae
▫ ไม้พุ่มเตี้ย สูงได้ถึง ๓๐ ซม. แยกเพศร่วมต้น ลำต้น กิ่ง หูใบ เส้นแขนงใบ ก้านใบ ก้านดอก ใบประดับ ดอก และผล มีสีแดง
▫ หูใบขนาดเล็ก รูปสามเหลี่ยมแคบ
▫ ใบเรียงสลับระนาบเดียว รูปรีหรือรูปไข่กว้าง ยาวได้ประมาณ ๑ ซม. โคนเบี้ยว ปลายแหลมสั้นๆ ขอบใบม้วนเข้า แผ่นใบเกลี้ยง เส้นแขนงใบข้างละ ๔-๖ เส้น ก้านใบยาวประมาณ ๐.๕ มม.
▫ ดอกออกตามซอกใบ ใบประดับรูปลิ่มแคบ ขนาดเล็ก ไม่มีกลีบดอก ก้านดอกรูปเส้นด้าย ดอกเพศเมียออกเป็นกระจุก ๒-๔ ดอก ตามซอกใบช่วงล่าง กลีบเลี้ยง ๔ กลีบ รูปไข่ ยาว ๑.๕-๒ มม. ขอบเป็นชายครุยยาว จานฐานดอกมี ๔ ต่อม
▫ เกสรเพศผู้ ๔ อัน เส้าเกสรยาวประมาณ ๐.๒ มม. อับเรณูแตกตามขวาง ก้านดอกยาว ๐.๔-๑ ซม.
▫ ดอกเพศเมียออกเดี่ยวๆ ช่วงปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง ๕-๖ กลีบ รูปขอบขนานแกมรูปไข่ ยาว ๑.๕-๓ มม. ขอบเป็นชายครุยยาว ติดทน จานฐานดอก ๕-๖ ต่อม
▫ รังไข่มี ๓ ช่อง มีปุ่มขนละเอียด ก้านเกสรเพศเมียแยก ๓ แฉก ยาวประมาณ ๐.๑ มม. ยอดเกสรแยก ๒ แฉก ก้านดอกยาว ๐.๗-๑.๗ ซม.
▫ ผลแห้งแตก มี ๓ พู ตื้นๆ เส้นผ่านศูนย์กลาง ๒.๕-๓ มม. มีปุ่มขนละเอียด
▫ มี ๒ เมล็ดในแต่ละช่อง รูปสามเหลี่ยม ยาว ๑.๕-๑.๘ มม. มีริ้วตามขวาง
การกระจายพันธุ์ :  พืชถิ่นเดียวของไทย พบเฉพาะที่ดอยหัวหมด เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง จังหวัดตาก ขึ้นตามเขาหินปูนที่เปิดโล่ง ความสูงประมาณ ๙๐๐ เมตร



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/82928515722354_227532246_2908169699497919_121.jpg)      ประดับหินเขาพระบาท
ประดับหินเขาพระบาท พรรณไม้จากเขาพระบาท อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ จันทบุรี
ประดับหินเขาพระบาท : Didymocarpus newmanii B. L. Burtt
วงศ์ Gesneriaceae
พืชชนิดใหม่ของโลกตีพิมพ์เมื่อปี ๒๐๐๑ จากเขาพระบาท อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ จันทบุรี ชื่อคำระบุชนิด newmanii ตั้งให้เป็นเกียรติแก่ Dr.Mark Newman นักพฤกษศาสตร์แห่งสวนพฤกษศาสตร์เอดินเบอระ ผู้ที่พบพืชชนิดนี้เป็นครั้งแรก



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/28460866171452_235824686_2905971413051081_287.jpg)      นางอั้วตีนกบ
นางอั้วตีนกบ กล้วยไม้ดินดอกหอม ปัจจุบันมีเหลือในธรรมชาติน้อย เนื่องจากถูกเก็บจากป่าเพื่อการค้า
ชื่ออื่น  นางกราย (นางอั้ว) นางอั้ว (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) พอเจพะดู่, พอเจ๊าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ว่านนะราช, ว่านนาคราช (สุราษฎร์ธานี) เอื้องตีนกบ, เอื้องนางก๋าย, เอื้องเสาวนา (ภาคเหนือ)
Pecteilis susannae (L.) Rafin.
กล้วยไม้ดิน สูงได้ถึง ๑.๕ ม. หัวใต้ดินขนาดใหญ่ ใบเรียงเวียนรอบลำต้น ๖-๑๐ ใบ รูปรีถึงรูปใบหอก หรือแกมรูปไข่กลับ ยาว ๔-๑๘ ซม. แกนช่อยาวได้ถึง ๒๐ ซม. ก้านช่อยาว ๒๐-๕๐ ซม. มี ๒-๑๐ ดอก ใบประดับคล้ายใบ ยาว ๓.๕-๘.๕ ซม.
ดอกสีเขียวอมขาวหรืออมเหลือง กลีบเลี้ยงบนรูปไข่กว้าง ยาว ๒-๓ ซม. กลีบคู่ข้างแคบและยาวกว่าเล็กน้อย กลีบดอกรูปใบหอก ยาว ๐.๗-๑.๓ ซม. กลีบปากแยก ๓ พู พูข้างกางออก รูปพัด ยาว ๒-๓.๕ ซม. ขอบจักชายครุยลึก พูกลางรูปใบหอกถึงรูปแถบ ยาว ๓-๔.๕ ซม. เดือยโค้ง ยาว ๗-๑๕.๕ ซม. เส้าเกสรยาว ๑-๑.๓ ซม. รังไข่รวมก้านดอกยาว ๒.๕-๖ ซม.
พบที่อินเดีย เนปาล พม่า จีนตอนใต้ ภูมิภาคอินโดจีน คาบสมุทรมลายู ชวา ติมอร์ ซูลาเวซี และโมลุกกะ ในไทยพบทุกภาค ขึ้นตามทุ่งหญ้า ชายป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น ป่าเบญจพรรณ และป่าดิบเขา ความสูงถึงประมาณ ๑,๑๐๐ เมตร



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/67274909011191_234888172_2905231253125097_482.jpg)      เอื้องศิริชัย  
เอื้องศิริชัย  กล้วยไม้ดิน จากอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี
นายศิริชัย รักซื่อ เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการของอุทยานแก่งกระจาน ได้นำตัวอย่างพันธุ์ไม้ที่ดองไว้ มาให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบที่หอพรรณไม้ เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นกล้วยไม้อาศัยราจัดอยู่ในสกุล Didymoplexis ซึ่งเป็นชนิดที่ไม่เคยพบมาก่อน จึงได้ตั้งเป็นพืชชนิดใหม่ของโลกโดยใช้ชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Didymoplexis sirichaii Suddee ซึ่งเป็น วงศ์  Orchidaceae
โดยตีพิมพ์ในหนังสือพรรณพฤกษชาติประเทศไทยกล้วยไม้ Flora of Thailand เล่ม ๑๒ (๒) ปี ๒๐๑๔ คำระบุชนิด "sirichaii" ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่นายศิริชัย รักซื่อ เจ้าหน้าที่ผู้ศึกษากล้วยไม้ในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน  
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : กล้วยไม้ดิน เป็นกล้วยไม้อาศัยรา (holomycotrophic orchid) สร้างอาหารเองไม่ได้ ไม่มีใบ มีหัวใต้ดินในแนวระนาบ รูปกระสวย รากมีจำนวนน้อย เรียวเล็กคล้ายเส้นลวด
ช่อดอกตั้งขึ้น มี ๓-๕ ดอกต่อช่อ ใบประดับรูปไข่ ร่วงง่าย ดอกรูประฆังแคบ บานครั้งละ ๑ ดอก ต่อเนื่องกัน
กลีบเลี้ยงบนและกลีบดอกเชื่อมกัน ปลายแยกเป็น ๓ พู กลีบเลี้ยงข้างเชื่อมกัน ปลายแยกเป็น ๒ พู รูปไข่เบี้ยว ปลายแหลมหรือมน โค้งออกด้านนอกและเกยซ้อนทับกันเล็กน้อย ทั้งกลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีสีขาว ผิวด้านนอกมีปุ่มปม กลีบปากรูปไข่กลับ สีเหลืองอ่อน ปลายกลีบตัด ขอบหยักละเอียดไม่เป็นระเบียบ กลางกลีบมีแถบสีเหลืองตามยาว ไม่มีปุ่มปม โคนกลีบปากมีก้านสั้นๆ และมีต่อมขนาดใหญ่  เส้าเกสรสีขาว ปลายแผ่เป็นปีกและโค้งเล็กน้อย มีคางเส้าเกสรชัดเจน



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/96104783813158_235344686_2904489753199247_685.jpg)      ปาหนันร่องกล้า
ปาหนันร่องกล้า พบครั้งแรกที่อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า
ปาหนันร่องกล้า : (Goniothalamus rongklanus R.M.K. Saunders & Chalermglin)  วงศ์ Annonaceae
ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง ๕-๗ เมตร เปลือกต้นสีขาวหนา  ทรงพุ่มกลมโปร่ง ใบรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ยาว ๔-๑๘ เซนติเมตร ดอกเดี่ยว ออกตามกิ่ง และลำต้น ก้านดอกเรียวยาว กลีบดอกหนาฉ่ำน้ำ สีเหลือง เส้นผ่านศูนย์กลางดอกบาน ๒-๓ เซนติเมตร ผลกลุ่ม มี ๕-๙ ผล ผลกลมรี มี ๑-๒ เมล็ด ชอบขึ้นในป่าดิบชื้นและป่าดิบเขาที่ระดับความสูง ๘๐๐-๑,๓๐๐ เมตร เหนือระดับทะเล พบตามริมลำธาร ภูเขาที่มีอากาศเย็น
ประโยชน์ : ดอกสวยงาม บานนาน ๒-๓ วัน มีกลิ่นหอมอ่อนๆ เหมาะสำหรับปลูกเป็นไม้ประดับ
ชื่อปาหนันร่องกล้า บ่งบอกถึงสถานที่พบพรรณไม้ชนิดนี้ ที่ อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า จ. พิษณุโลก



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/69396913341349_199282965_2903768053271417_398.jpg)      ว่านหาวนอน
ว่านหาวนอน บานช่วงต้นฤดูฝน ที่
ว่านหาวนอน : Kaempferia simaoensis Y. Y. Qian  วงศ์ Zingiberaceae
ไม้ล้มลุกออกดอกก่อนใบ บานช่วงต้นฤดูฝน ที่ดอยหัวหมด อุ้มผาง  เป็นไม้ส้มลุก มีเหง้าใต้ดิน สีน้ำตาล ผ่าออกเนื้อในสีขาว มีกลิ่นเฉพาะตัว ใบเดี่ยว สีเขียวอ่อน หลังใบมีลายม่วงสลับเขียว ดอกสีม่วงอ่อน ออกเป็นช่อสั้นจากเหง้าใต้ดิน ออกดอกแล้วจึงแตกใบ
หัวใต้ดิน : มีสรรพคุณด้านสมุนไพรใช้ไล่แมลงในตู้เสื้อผ้า ขับลมในสำไส้ แก้ไข้ และใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/20434464058942_232739133_2903060520008837_691.jpg)    หมากขี้อ้ายแก่งกระจาน
หมากขี้อ้ายแก่งกระจาน พบครั้งแรกที่พะเนินทุ่ง
หมากขี้อ้ายแก่งกระจาน :Cryptocarya kaengkrachanensis M. Z. Zhang, Yahara & Tagane
วงศ์ Lauraceae
ไม้ต้นชนิดใหม่จากอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานบริเวณพะเนินทุ่ง ตีพิมพ์ในวารสาร PhytoKeys เล่มที่ ๑๔๐ หน้า ๑๕๐ ปี ๒๐๒๐
คำระบุชนิด “kaengkrachanensis” หมายถึงอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน แหล่งที่พบพืชชนิดนี้
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น กิ่งอ่อนมีขนสีเหลืองถึงสีน้ำตาลปกคลุม ใบรูปใข่ รูปรี หรือรูปรีแคบ ปลายใบมน เว้าตื้น หรือปลายแหลมในใบอ่อน โคนมนกว้าง แผ่นใบหนาคล้ายผ่นหนัง ด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างมีนวล ผลรูปใข่ ก้านผลป่องพองเล็กน้อย


ขอขอบคุณ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (ที่มาข้อมูล/ภาพ)


หัวข้อ: Re: พรรณไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้มงคล
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 03 กันยายน 2564 20:42:29
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/79966998721162_241013071_2921830341465188_461.jpg)      อังกาบ
อังกาบ ก้านชั่ง คันชั่ง พรรณไม้งามจากดอยเชียงดาว
อังกาบ ก้านชั่ง คันชั่ง : Barleria cristata L.
วงศ์ Acanthaceae
พบได้ที่เขาหินปูนเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ลักษณะเป็นไม้พุ่ม ลำต้นกลม ใบเรียงตรงข้าม ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด ใบประดับย่อยจำนวนมาก ขอบมีหนาม ดอกสีม่วง กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด มีเขตการกระจายพันธุ์ ตั้งแต่ปากีสถาน อินเดีย ศรีลังกา เนปาล ภูฏาน ถึงเมียนมา จีนตอนใต้ ไทย ภูมิภาคอินโดจีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ก้านชั่ง คันชั่ง พรรณไม้งามจากดอยเชียงดาว



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/57196399321158_240119376_2919575385024017_658.jpg)      ตะขบฝรั่ง
ตะขบฝรั่ง  สรรพคุณมากประโยชน์
ตะขบฝรั่ง : Muntingia calabura L.
วงศ์ MUNTINGIACEAE
ชื่ออื่น : ครบฝรั่ง (สุราษฎร์ธานี) ตะขบ (ภาคกลาง) Bajelly tree, Jamaican cherry, Panama berry, Strawberry tree
ไม้พุ่มหรือไม้ต้น ๕-๗ เมตร อาจสูงได้ถึง ๑๐ เมตร แตกกิ่งก้านแผ่ขนานกับพื้นดิน เปลือกต้น เรียบ สีเทา ตามกิ่งมีขนนุ่มขึ้นปกคลุม ยอดอ่อนเมื่อจับดูจะรู้สึกเหนียวมือ ใบเดี่ยว เรียงสลับ ขอบใบหยัก แผ่นใบมีขนนุ่มปกคลุมทั้ง สองด้าน ดอกเดี่ยว ออกที่ง่ามใบ สีขาว ผลสด รูปกลม เปลือกบาง ผลอ่อน สีเขียว เมื่อสุกสีแดง ผลมีรสหวาน เมล็ด แบน ขนาดเล็กจำนวนมาก
ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ประดับหรือไม้ผล และเป็นพืชสมุนไพร เมื่อผลสุก มีรสหวานเย็นหอมสามารถ ใช้รับประทานเป็นผลไม้สดได้ และยังใช้เป็นอาหารของนกและสัตว์หลายชนิด ในปัจจุบันยังมีการนำผลสุกของตะขบฝรั่งมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ใช้นำมาหมักไวน์ตะขบ ซึ่งจะให้รสหวาน กลิ่นหอมและให้แอลกอฮอล์เช่นเดียวกันกับไวน์ผลไม้ชนิดอื่นๆ หรือใช้ไปทำเป็นแยมได้อีกด้วย
ตามตำรายาไทยระบุไว้ว่า ราก มีรสฝาด ใช้ขับเสมหะ ช่วยกล่อมเสมหะ และอาจม เป็นยาขับเหงื่อ แก้โรคผิวหนัง และผื่นคันตามตัว  เนื้อไม้ ใช้เป็นยาแก้ท้องร่วง บิดมูกเลือด ใช้เป็นยาแก้ตานขโมย  เปลือกต้น มีรสฝาดใช้เป็นยาระบาย รักษาอาการปวดเมื่อยตามตัว แก้โรคเหน็บชา รักษาอาการปวดข้อ แก้เส้นเอ็นพิการ ดอก มีรสฝาด แก้ปวดศีรษะ แก้หวัด ลดไข้ แก้ปวด แก้อักเสบ  ใบ มีรสฝาดเอียด ใช้เป็นยาขับเหงื่อ  ผลสุก มีรสหวานเย็นหอม มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง ทำให้ชุ่มชื่นหัวใจ แก้ท้องร่วง แก้บิด



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/33830558384458_239144349_2918876318427257_573.jpg)      ดรุณีวัลย์
ดรุณีวัลย์ พรรณไม้จากทุ่งหญ้าบนลานหิน อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า
ดรุณีวัลย์ : Ceropegia cochleata Kidyoo
วงศ์ Apocynaceae
จากทุ่งหญ้าบนลานหิน อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า จังหวัดพิษณุโลก พืชชนิดใหม่ของโลกตีพิมพ์ในวารสาร Nordic Journal of Botany ฉบับที่ ๓๓ หน้า ๖๖๘-๖๗๒ ปลายปี ๒๐๑๕ ปลายหลอดกลีบดอกมีแฉกกลีบบิดเวียน สวยงามคล้ายนิ้วสตรีวัยเยาว์ที่กำลังรำฟ้อนเล็บ :



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/15783885038561_240798837_2918190831829139_656.jpg)
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/35462009617023_240708488_2918190828495806_589.jpg)      เหยือกน้ำดอย
เหยือกน้ำดอย : Acanthophippium striatum Lindl.
วงศ์ : Orchidaceae
จากอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก
กล้วยไม้ดินพบขึ้นในป่าที่ค่อนข้างชื้นใกล้น้ำตก มีเขตการกระจายพันธุ์กว้างในเอเชียตั้งแต่เนปาลด้านตะวันออกถึงจีน ญี่ปุ่น และลงมาถึงภูมิภาคมาเลเซีย
ชื่อสกุล ‘: Acanthophippium’ ที่ปรากฏตามเอกสารต่างๆ พบได้ ๒ แบบ ที่สะกดต่างกัน คือ ‘ Acanthophippium’ และ ‘Acanthephippium’ คือต่างกันที่ ‘Acantho’ และ ‘Acanthe
ในเอกสารการตีพิมพ์ชื่อสกุลครั้งแรกโดย Blume ในปี ค.ศ.๑๘๒๕ ได้ใช้คำว่า ‘Acanthophippium’ แต่นักพฤกษศาสตร์บางท่านเห็นว่าน่าเป็นการสะกดที่ไม่ถูกต้องจึงได้แก้เป็น ‘ Acanthephippium
เรื่องนี้ได้สอบถามไปยังเจ้าหน้าที่แห่งสวนพฤกษศาสตร์คิว (Royal Botanic Gardens, Kew) สหราชอาณาจักร ผู้รับผิดชอบเรื่องชื่อในฐานข้อมูล ‘ipni.org ได้รับคำตอบว่า‘ Blume เอง เวลาอ้างอิงในเอกสารต่อ ๆ มา ก็ยังใช้ตัวสะกดเช่นเดิมคือ ‘Acanthophippium
ฉะนั้นถ้าจะแก้เป็น ‘Acanthephippium’ ต้องเขียน proposal เพื่อขอแก้ไขชื่อตามหลักเกณฑ์ที่ปรากฏในกฏ ICN (International Code of Nomenclature for algae, fungi, and plants)
ฉะนั้นชื่อสกุลที่ถูกต้อง ณ ปัจจุบันควรใช้เป็น ‘Acanthophippium’ ดังปรากฎในฐานข้อมูล http://www.ipni.org, World Checklist of Selected Plant Families (WCSP) และหนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ (๒๐๑๔)



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/61332367029454_240048803_2917492835232272_368.jpg)      สร้อยพิสุทธ์
สร้อยพิสุทธ์ ขึ้นตามที่รกร้างในป่าดิบเขา
สร้อยพิสุทธ์ : Thunbergia lutea  T.Anderson, J. Linn. Soc. Bot. 9: 448. 1867.
วงศ์  : Acanthaceae
ไม้เถา ยาวกว่า ๕ เมตร ลำต้นเป็นเหลี่ยม ใบเรียงตรงข้าม รูปรี รูปขอบขนาน หรือแกมรูปไข่ ยาว (๔-) ๑๐-๑๔ ซม. ปลายแหลมยาว โคนรูปลิ่มกว้าง เรียวแคบจรดก้านใบ ขอบใบจักตื้นๆ แผ่นใบมีขนสากด้านบน เส้นใบแบบขนนก มีข้างละ ๔-๕ เส้น ก้านใบยาว ๑.๕-๓(-๗.๕) ซม. ดอกออกเดี่ยวๆ ตามซอกใบ ดอกยาว ๔-๕ ซม. ก้านดอกยาว ๗-๙ ซม. ใบประดับหุ้มกลีบเลี้ยง สีแดงเรื่อๆ หรืออมม่วง แยกด้านเดียว รูปรี ยาว ๒-๒.๓ ซม. ด้านนอกมีขนต่อม มีเส้นกลีบ ๕-๗ เส้น ปลายมีติ่งแหลม กลีบเลี้ยงรูปถ้วยขนาดเล็ก จักตื้นๆ ๑๐-๑๔ จัก มีต่อมน้ำต้อย ดอกรูปแตร สีขาวหรืออมม่วงอ่อนๆ ด้านในเส้นสีน้ำตาล หลอดกลีบดอกยาว ๔-๕ ซม. ช่วงโคนมีขนสาก ปลายแยกเป็นกลีบบน ๒ กลีบ กลีบล่าง ๓ กลีบ กลมๆ กว้าง ๑.๒-๑.๕ ซม. ปลายเว้าตื้น เกสรเพศผู้มี ๒ คู่ ไม่เท่ากัน ติดใกล้โคนหลอดกลีบดอก คู่ล่างก้านชูอับเรณู ยาว ๐.๕-๐.๗ ซม. คู่บนยาว ๑-๑.๒ ซม. อับเรณูยาวเท่าๆ ยาว ๐.๗-๑ ซม. มีขนเคราที่โคนเดือยและขนยาวที่ปลายหลอดอับเรณู จานฐานดอกหนารังไข่เกลี้ยง รูปไข่ จัก ๔ พู ยาว ๒-๓ มม. มี ๒ ช่อง แต่ละช่องมีออวุล ๒ เม็ด ก้านเกสรเพศเมียาว ๒.๕-๓ ซม. ยื่นพ้นปากหลอดกลีบดอกเล็กน้อย ยอดเกสรเพศเมียสีเหลือง จัก ๒ พู ตื้นๆ ผลแห้งแตก กลมๆ ยาว ๑.๘-๒ ซม. จะงอยยาว ๑.๕-๒.๕ ซม. เมล็ดรูปไต ยาวประมาณ ๘ มม.
การกระจายพันธุ์:  พบที่อินเดีย เนปาล ภูฏาน จีนตอนใต้ พม่า และภาคเหนือของไทยที่แม่ฮ่องสอนและเชียงใหม่ ขึ้นตามที่รกร้างในป่าดิบเขา ความสูง ๑.๒๐๐-๒,๐๐๐ เมตร



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/51481008446878_240699215_2916766608638228_573.jpg)      บั้งม่วงเชียงดาว
บั้งม่วงเชียงดาว พืชถิ่นเดียวของไทย
พบตามยอดเขา หรือสันเขาหินปูนดอยเชียงดาว
บั้งม่วงเชียงดาว : Cicerbita chiangdaoensis H. Koyama
ไม้ล้มลุก เหง้าหนาประมาณ ๑.๕ซม. ยาว ๕-๘ ซม. ลำต้นตอนล่างทอดเลื้อย ตอนบนตั้งตรง ใบเดี่ยว ออกเป็นกระจุกที่โคนต้น รูปหัวใจถึงรูปไต กว้าง ๔-๖ ซม. ยาว ๔-๕ ซม. ปลายทู่หรือมน โคนรูปหัวใจแคบหรือกว้าง ขอบเรียบ หรือเป็นติ่งหนาม แผ่นใบด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนสั้นหนานุ่ม โดยเฉพาะบริเวณเส้นใบมีขนสีน้ำตาล ก้านใบยาว ๓-๗ ซม.
ช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่น ก้านช่อยาว ๓-๖ ซม. วงใบประดับ กว้าง ๔ มม. ยาว ๑๓ มม. วงใบประดับเรียงซ้อนเหลื่อมกัน ๓-๔ ชั้น วงนอกสุดรูปสามเหลี่ยม วงในสุดรูปใบหอก กว้างประมาณ ๒ มม. ขอบบาง สีขาว ปลายทู่ ฐานดอกลักษณะคล้ายร่างแหดอกย่อย ๑๒-๑๔ ดอก รูปลิ้น สีฟ้า กว้าง ๔ มม. ยาว ๒๐-๒๒ มม. ขนสั้นหนานุ่ม อับเรณูยาวประมาณ ๒.๕ มม. เกสรเพศเมียยาว ๒.๓ มม. ผลแบบผลแห้งเมล็ดล่อน รูปกระสวย แพปพัส ยาวประมาณ ๖ มม.
พบตามยอดเขาหรือสันเขาหินปูนดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ที่ความสูง ๑,๗๐๐-๒,๐๐๐ ม. จากระดับทะเล ออกดอกและเป็นผลประมาณเดือนกันยายนถึงธันวาคม เป็นพืชถิ่นเดียวของไทย


ขอขอบคุณ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (ที่มาข้อมูล/ภาพ)


หัวข้อ: Re: พรรณไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้มงคล
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 07 พฤศจิกายน 2564 20:02:02
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/24117608658141_240570364_2922585974722958_782.jpg)     • เอื้องสารภี  
เอื้องสารภี เอื้องช้างสารภี เอื้องตีนเต่า เอื้องเจ็ดปอย  : Acampe rigida (Buch.-Ham. ex Sm.) P. F. Hunt   วงศ์ Orchidaceae  

จากสถานีวิจัยสัตว์ป่าเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ กล้วยไม้อิงอาศัย  ออกดอกเป็นช่อ ที่ซอกใบ จำนวน  ๕-๑๒ ดอก กว้าง ๑.๕ ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกหนาสีเหลืองและมีลายสีน้ำตาลแดงพาด กลีบปากส่วนโคน เป็นถุงสั้น กลีบปากส่วนปลายสีขาวมีแต้มสีม่วงแดงมีกลิ่นหอมเอื้องช้างสารภี เอื้องตีนเต่า เอื้องเจ็ดปอย  : Acampe rigida (Buch.-Ham. ex Sm.) P. F. Hunt  
วงศ์ Orchidaceae  

จากสถานีวิจัยสัตว์ป่าเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ กล้วยไม้อิงอาศัย  ออกดอกเป็นช่อ ที่ซอกใบ จำนวน  ๕-๑๒ ดอก กว้าง ๑.๕ ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกหนาสีเหลืองและมีลายสีน้ำตาลแดงพาด กลีบปากส่วนโคน เป็นถุงสั้น กลีบปากส่วนปลายสีขาวมีแต้มสีม่วงแดงมีกลิ่นหอม
 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/36083804112341_241214828_2923342677980621_743.jpg)     •สำเภางาม  
สำเภางาม กล้วยไม้ดินจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง

สำเภางาม : Cymbidium seidenfadenii (P. J. Cribb & Du Puy) P. J. Cribb  
วงศ์ Orchidaceae  กล้วยไม้ดินจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จังหวัดเลย บานช่วงหน้าหนาวถึงต้นหน้าร้อน เป็นกล้วยไม้ที่มีดอกสวยงาม ที่ภูหลวงดอกมีหลายสี ช่วงที่บานมากในหน้าหนาวจะเป็นนางเอกของภูหลวงเลยทีเดียว

กล้วยไม้ชนิดนี้แต่ก่อนรู้จักกันในชื่อพฤกษศาสตร์ Cymbidium insigne Rolfe แต่ภายหลังผู้ศึกษากล้วยไม้สกุลนี้ทั่วโลกคือ ด๊อกเตอร์ฟิลิป คริบ จากสวนพฤษศาสตร์คิว สหราชอาณาจักร มีความเห็นว่าสำเภางามที่พบที่ภูหลวงมีความแตกต่างจาก Cymbidium insigne Rolfe ที่พบในเวียดนาม ท่านจึงตั้งเป็น Cymbidium insigne Rolfe subsp. seidenfadenii P. J. Cribb & Du Puy แต่ในหนังสือพรรณพฤกษชาติประเทศไทยเล่มกล้วยไม้ ๑๒(๒) ปี ๒๐๑๔ ท่านได้ตีพิมพ์ยกระดับเป็นชนิดไปเลยคือ
Cymbidium seid  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/55817226817210_240871455_2924073027907586_442.jpg)     • กันภัยมหิดล  
กันภัยมหิดล พรรณไม้หายาก ขึ้นตามป่าเต็งรัง และภูเขาหินปูน

กันภัยมหิดล : Afgekia mahidolae Burtt et Chermsirivathana  

ชื่อวงศ์ : FABACEAE (LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEA)

เป็นไม้เถา ขนาดกลาง มีขนประปรายทั่วต้น ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก  

ใบ : รูปไข่หรือรูปไข่กลับ  โคนใบมน ปลายแหลมและมักมีติ่งสั้น

ดอก : มีสีม่วง ออกเป็นช่อใหญ่ที่ปลายกิ่ง โคนก้านดอกมีริ้วประดับ กลีบตั้งด้านในมีสีม่วงแดง ที่โคนกลีบมีแถบสีเหลือง

ผล : เป็นฝักแบน  เมล็ดค่อนข้างกลม

การกระจายพันธุ์ : มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย เป็นพรรณไม้หายาก ขึ้นตามป่าเต็งรัง และภูเขาหินปูน ในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศไทย นำมาปลูกได้ทั่วไป ออกดอกเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

 

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/47247051323453_241092413_2924751041173118_514.jpg)     • พังแหรใหญ่ ... สมุนไพรสู้ไวรัส  
พังแหรใหญ่ชื่อท้องถิ่น : พังแหร (ตรัง)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Trema orientalis (L.) Blume  

ชื่อวงศ์ : CANNABACEAE  

ลักษณะเด่น : ไม้ต้น สูงถึง ๒๐ เมตร ตามส่วนต่าง ๆ มีขนสั้นสากคาย ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่-ใบหอก ยาว ๘-๑๖ ซม. ปลายแหลมถึงเรียวแหลม มีเส้นแขนงใบออกจากโคนใบ ๑ คู่ โคนรูปหัวใจและเบี้ยว ขอบจักฟันเลื่อยถี่ แผ่นใบด้านบนมีขนสาก ด้านล่างมีขนยาวและขนสั้นนุ่มสีเทาเงินหนาแน่น (จุดเด่น) ช่อดอกกระจุกสั้นๆ ตามซอกใบ ดอกขนาดเล็กมากสีขาวอมเขียว ผลทรงกลม กว้าง ๓-๕ มม. สุกสีดำอมม่วง พบตามพื้นที่รกร้างว่างเปล่า ชายป่าเบญจพรรณและป่าดงดิบทั่วประเทศ เป็นไม้เบิกนำ โตเร็ว แต่ปกติอายุไม่เกิน ๓๐ ปีก็จะหักล้ม

สรรพคุณ   แก่นและราก : แก้ร้อนใน; เปลือกต้น เนื้อไม้ กิ่ง หรือใบ : บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อและกระดูก ปวดฟัน; ผลและดอก : รักษาหลอดลมอักเสบ ปอดบวม เยื่อหุ้มปอดอักเสบ
 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/58930241068204_240929856_2925464687768420_875.jpg)     •กาตาฉ่อ กล้วยไม้อิงอาศัยจากอุทยานแแห่งชาตภูลังกา  

กาตาฉ่อ : Phalaenopsis deliciosa Rchb. f. (Orchidaceae) [syn. Kingidium deliciosum (Rchb. f.) H. R. Sweet]

กล้วยไม้อิงอาศัยจากอุทยานแห่งชาติภูลังกา มักพบขึ้นบนต้นไม้ตามลำธารที่มีความชื้น มีเขตการกระจายพันธุ์ตั้งแต่เอเชียใต้ถึงเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชื่อพื้นเมือง ‘"กาตาฉ่อ" เป็นภาษากะเหรี่ยงที่ใช้เรียกแถบกาญจนบุรี
 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/96371860305468_241390110_2926167281031494_912.jpg)     •สร้อยสยาม รูปงามนามเพราะ ไม้เลื้อยถิ่นเดียวของไทย  
สร้อยสยาม  รูปงามนามเพราะ ไม้เลื้อยถิ่นเดียวของไทย

สร้อยสยาม Phanera siamensis (K. Larsen & S. S. Larsen ) Mackinder & R. Clark (Fabaceae-Cercidoideae) พืชปลูกจากบริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า จังหวัดพิษณุโลก เดือนพฤศจิกายน ไม้เลื้อย ดอกออกเป็นช่อห้อยลง เป็นพรรณไม้ถิ่นเดียวของไทย (endemic]) พบบริเวณจังหวัดพิษณุโลกและอุตรดิตถ์
 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/91509533921877_241654896_2926921270956095_109.jpg)     • ช้างน้าว  
ช้างน้าว : Ochna integerrima (Lour.) Merr. วงศ์ : OCHNACEAE ชื่ออื่น : กระแจะ (ระนอง), กำลังช้างสาร (ภาคกลาง), ขมิ้นพระต้น (จันทบุรี), แง่ง (บุรีรัมย์), ช้างโน้ม (ตราด), ช้างโหม (ระยอง), ตานนกกรด (นครราชสีมา), ตาลเหลือง (ภาคเหนือ), ฝิ่น (ราชบุรี)

ช้างน้าวเป็นไม้ต้น ใบเดี่ยว เรียงสลับ ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อยตื้น ๆ ดอกออกเป็นช่อ ออกที่ปลายกิ่ง สีเหลือง ผลสด เมื่อสุกสีดำ

สรรพคุณ :  ราก ขับพยาธิ แก้น้ำเหลืองเสีย เปลือก แก้ปวดตา แก้ตาเคือง เนื้อไม้ แก้กระษัย ขับพิษเสมหะและโลหิต แก้ปวดเมื่อย ถ่ายพิษตับ แก้ปวดท้อง คลายอาการเกร็งของกล้ามเนื้อท้อง และรักษาโรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ

อ้างอิง : ความหลากหลายทางชีวภาพพืชสมุนไพรในประเทศไทย เล่ม ๑ หน้า ๗๘. สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. ๒๕๕๙.
 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/13106803140706_241708833_2927659630882259_845.jpg)     • แจง  
แจง :  Maerua siamensis (Kurz) Pax วงศ์ : CAPPARACEAE

ชื่ออื่น :  แกง (นครราชสีมา)

แจงเป็นไม้ต้น ใบประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อย ๑-๕ ใบ ดอกออกเป็นช่อ ที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง  ไม่มีกลีบดอก ผลสด รูปทรงรีหรือกลม เมื่อสุกสีเหลืองเข้ม

สรรพคุณ : ราก บำรุงกำลัง ขับปัสสาวะ แก้ปวดเมื่อย แก้ปัสสาวะพิการ แก้กระษัย ราก เปลือก และใบ แก้ดีซ่าน แก้อาการหน้ามืด แก้ตาฟาง แก้ไข้มาลาเรีย ลำต้น แก้ปวดหลัง บำรุงธาตุ ใบและยอด แก้แมงกินฟัน แก้ไข้

อ้างอิง : ความหลากหลายทางชีวภาพพืชสมุนไพรในประเทศไทย เล่ม ๑ หน้า ๗๔. สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. ๒๕๕๙.
 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/22058709255523_241690301_2928163890831833_387.jpg)     • เอื้องทำทาน เอื้องดอกไม้เงิน กล้วยไม้จากภูหินร่องกล้า  
เอื้องทำทาน เอื้องดอกไม้เงิน : Mycaranthes floribunda (D. Don) S. C. Chen & J. J. Wood (Orchidaceae) กล้วยไม้ดินจากป่าดิบเขาอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า จังหวัดพิษณุโลก ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด มีเขตการกระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดียถึงภูมิภาคอินโดจีน  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/47385711471239_241263743_2928376087477280_685.jpg)     • เอื้องกุหลาบกระเป๋าเปิด กล้วยไม้อิงอาศัย จากภูหินร่องกล้า  
เอื้องกุหลาบกระเป๋าเปิด : Aerides falcata Lindl. & Paxton  วงศ์ Orchidaceae

จากอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า จังหวัดพิษณุโลก กล้วยไม้อิงอาศัย ดอกดก ทน และดอกหอม มีเขตการกระจายพันธุ์ตั้งแต่จีนตอนใต้ถึงไทย และภูมิภาคอินโดจีน
 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/69362396539913_241568982_2929135577401331_870.jpg)     • ลิ้นมังกร
  
ลิ้นมังกร กล้วยไม้งาม พบขึ้นบนก้อนหินในลำธาร

ลิ้นมังกร ปัดแดง สังหิน : Habenaria rhodocheila Hance (Orchidaceae)

กล้วยไม้ขึ้นบนก้อนหินในลำธาร จากอุทยานแห่งชาติภูลังกาและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว กลีบเลี้ยง กลีบดอก และกลีบปาก มีสีแดง  
 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/89403320641981_240600634_2930515110596711_596.jpg)     • กำมะหยี่เชียงดาว  
กำมะหยี่เชียงดาว : Corallodiscus lanuginosus (Wall. ex DC.) B. L. Burtt (Gesneriaceae) จากเขาหินปูนเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ไม้ล้มลุก ใบเรียงเวียนถี่แบบกระจุกซ้อน (rosette) ติดผิวดินหรือหิน ใบคล้ายกำมะหยี่ ดอกออกเป็นช่อ มีดอกในช่อจำนวนน้อย กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด สีม่วงอมชมพู ออกดอกช่วงหน้าฝน มีเขตการกระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดีย เนปาล ภูฏาน ถึงจีนตอนใต้ และตอนเหนือของไทยที่ดอยเชียงดาว    


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/57950998966892_242006821_2931220340526188_217.jpg)     • ช้างรอบคอ  

ช้างรอบคอ ช้างฮ้องคอ เสือเหลือง เสือดาว

ช้างรอบคอ ช้างฮ้องคอ เสือเหลือง เสือดาว : Gastrochilus obliquus (Lindl.) Kuntze

วงศ์ Orchidaceae พรรณไม้จากสถานีวิจัยสัตว์ป่าเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ กล้วยไม้อิงอาศัย ดอกออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกสั้น กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีเหลือง โคนกลีบมีประสีน้ำตาลขนาดเล็กหรือไม่มี กลีบปากขอบจัก มีแต้มสีเหลืองและจุดสีน้ำตาลตรงกลาง
 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/85307514667510_241338916_2931935120454710_496.jpg)     •เอื้องพวงองุ่น
เอื้องพวงองุ่น : เอื้องมันปู : เอื้องระย้าทอง

Robiquetia succisa (Lindl.) Seidenf. & Garay Kuntze  วงศ์ Orchidaceae
พรรณไม้จากสถานีวิจัยสัตว์ป่าเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ กล้วยไม้อิงอาศัย ดอกออกเป็นช่อห้อยลง ต้นหนึ่งมักมีหลายช่อ แต่ละช่อมีดอกจำนวนมาก


  
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/76964948823054_242048417_2933398546975034_753.jpg)     • ช้าแป้น  
ช้าแป้น :  Callicarpa arborea Roxb.

วงศ์ : LAMIACEAE

ชื่ออื่น : กะตอกช้าง ตาโมงปะสี (ยะลา), ทับแป้ง (สระบุรี), เตน (เลย), ผ้า (เชียงใหม่ ภาคกลาง), ผ้าลาย (ภาคใต้), ฝ้า ฝ้าขาว พ่าขาว (ภาคเหนือ), พ่า (ภาคกลาง), มะผ้า (แม่ฮ่องสอน), สักขี้ไก่ (ลำปาง), เสี้ยม (จันทบุรี), หูควาย (ตรัง ภาคเหนือ), หูควายขาว (สุราษฎร์ธานี), หูควายใหญ่ (ชุมพร)

ช้าแป้นเป็นไม้ต้น ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม มีขนปกคลุมทั้งสองด้าน ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีม่วง ผลสด รูปทรงกลม เมื่อสุกสีม่วง

สรรพคุณ :  เปลือก ต้มน้ำดื่ม วันละ ๓ ครั้ง และนั่งแช่รักษาอัมพาตระยะที่เป็นใหม่ ๆ แก่น ผสมสมุนไพรอื่นรวม ๓๕ ชนิด ฝนน้ำดื่ม แก้ไข้เปลี่ยนฤดูหรืออีสุกอีใส

อ้างอิง : ความหลากหลายทางชีวภาพพืชสมุนไพรในประเทศไทย เล่ม ๒ หน้า ๘๗. สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.๒๕๖๑.
 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/92119005239672_242217441_2934044760243746_303.jpg)     • สิงโตชมพูเชียงดาว  
สิงโตชมพูเชียงดาว : Bulbophyllum sp.

วงศ์ : Orchidaceae

สิงโตชมพูเชียงดาว พรรณไม้งามจากเขาหินปูนเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ กล้วยไม้อิงอาศัย ลำลูกกล้วยหรือหัวเทียม รูปไข่ มีใบ ๑ ใบ ดอกเดี่ยวออกที่โคนลำลูกกล้วย กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีชมพู มีเส้นสีชมพูเข้มตามยาว กลีบปากรูปสามเหลี่ยม อวบน้ำ สีชมพู มีร่องลึกตรงกลางตามยาว ผิวข้างร่องยับย่น โคนกลีบมีขอบจักคล้ายมีขน
 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/83008243557479_241812184_2937533913228164_483.jpg)    • ศรีพายัพ  
ศรีพายัพ : Paraboea glanduliflora Barnett

วงศ์ Gesneriaceae

ไม้ล้มลุกขึ้นตามซอกเขาหินปูนอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่  ใบมีขนสั้นนุ่นหนาแน่น กลีบเลี้ยงสีม่วงแดง ดอกสีม่วงอมชมพูอ่อน กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น ๕ แฉก แฉกล่าง ๓ แฉก แฉกบน ๒ แฉก ดอกบานช่วงฤดูฝน เป็นพรรณไม้ถิ่นเดียวของไทย
(endemic)

 
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/57202273234724_242822405_2938926803088875_814.jpg)     • ข่าไฟ ตาเหินไฟ ข่าดง พรรณไม้จากเชียงดาว  
ข่าไฟ ตาเหินไฟ ข่าดง : Hedychium coccineum Buch.-Ham. ex Sm. (Zingiberaceae) จากเขาหินปูนเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีเหง้า ช่อดอกออกที่ปลายยอด ดอกสีแดง ดอกบานช่วงฤดูฝน มีเขตการกระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดีย เนปาล บังคลาเทศ เมียนมา จีน ตอนเหนือของไทย และเวียดนาม  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/46110141939586_242973703_2939616573019898_744.jpg)     • สุวรรณภา ไข่ขาง พรรณไม้จากเชียงดาว  
สุวรรณภา ไข่ขาง : Senecio craibinnus Hosseus
วงศ์ Asteraceae, Compositae

จากเขาหินปูนเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ไม้ล้มลุกอายุหลายปี ดอกออกเป็นช่อสีเหลืองสด เป็นพรรณไม้ถิ่นเดียวของไทย (endemic)

คำระบุชนิด ‘craibinnus’ Dr. Carl Curt Hosseus นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันซึ่งสำรวจและเก็บตัวอย่างพรรณไม้ทางภาคเหนือของไทย ตั้งให้เพื่อเป็นเกียรติแก่ Prof. W. G. Craib ศาสตราจารย์ด้านพฤกษศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัย Aberdeen, Scotland ผู้ศึกษาตัวอย่างพรรณไม้ไทยที่เก็บรักษาไว้ที่สวนพฤกษศาสตร์คิว
 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/93957395561867_243124328_2940302409617981_219.jpg)     • เอื้องศรีไพล เอื้องดินจีน เอื้องดินปากลาย  
เอื้องศรีไพล เอื้องดินจีน เอื้องดินปากลาย Bletilla foliosa (King & Pantl.) Tang & F. T. Wang (Orchidaceae) ชื่อพ้อง Bletilla sinensis (Rolfe) Schltr. จากเขาหินปูนเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ กล้วยไม้ดิน ใบคล้ายหญ้า ดอกออกเป็นช่อ กลีบเลี้ยงสีขาว กลีบดอกสีขาวปลายมีแต้มสีม่วง กลีบปากสีขาวมีแต้มและประสีม่วง มีเขตการกระจายพันธุ์ในเมียนมา จีนตอนใต้ และตอนเหนือของไทย  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/43500968441367_243882043_2941736539474568_746.jpg)     • สายน้ำผึ้งน้อย พบได้ตามชายป่าดิบแล้ง และป่าดิบเขา  
สายน้ำผึ้ง : Lonicera bournei  Hemsl. ex Forb. & Hemsl.

วงศ์ : Caprifoliaceae

ไม้เถา ขนโค้งงอสีน้ำตาลอมเหลืองกระจายหรือหนาแน่นตามกิ่ง เส้นแขนงใบด้านล่าง ก้านใบ กลีบเลี้ยง ก้านช่อดอก และใบประดับ ใบเรียงตรงข้าม รูปรี รูปขอบขนาน หรือแกมรูปไข่ ยาว ๒-๗.๕ ซม. ปลายแหลมหรือแหลมยาว โคนตัด กลม หรือเว้าตื้น เส้นแขนงใบมี ๓-๕ เส้น ก้านใบยาว ๐.๔-๑.๓ ซม.

ช่อดอกแบบช่อกระจุก ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง เรียงชิดกัน ก้านช่อสั้น ดอกส่วนมากเป็นคู่ ใบประดับรูปลิ่ม ยาว ๐.๕-๓ มม. ใบประดับย่อยรูปไข่กลับหรือรูปขอบขนาน ยาวประมาณ ๑.๒ มม. กลีบเลี้ยง ๕ กลีบ รูปสามเหลี่ยม ขนาดประมาณ ๐.๕ มม. ขอบมีขน กลีบดอกสีขาวเปลี่ยนเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอม ด้านนอกเกลี้ยงหรือมีขนสั้นนุ่ม รูปปากเปิด มี ๕ กลีบ ด้านอกเกลี้ยงหรือมีขน หลอดกลีบเรียวแคบ โค้งเล็กน้อย ยาว ๓.๕-๖ ซม. กลีบบน ๔ กลีบ ยาวประมาณ ๓ มม. กลีบล่างแฉกลึก ยาวประมาณ ๘ มม. พับงอกลับ

เกสรเพศผู้ ๕ อัน เชื่อมติดหลอดกลีบดอกเกือบตลอดความยาว ช่วงแยกกันเกลี้ยง ยื่นพ้นปากหลอดกลีบดอกเล็กน้อย อับเรณูติดด้านหลัง อับเรณูยาวประมาณ ๓ มม. รังไข้ใต้วงกลีบ ขนาดประมาณ ๒ มม. ช่วงล่างมี ๓ ช่อง ช่วงบนมีช่องเดียว แต่ละช่องมีออวุล ๔-๘ เม็ด ก้านเกสรเพศเมียรูปเส้นด้าย ช่วงบนมีขนยาว ยื่นพ้นปากหลอดกลีบดอกเล็กน้อย ยอดเกสรเป็นตุ่ม
 
ผลสดมีหลายเมล็ด กลมๆ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๕ มม. สุกสีแดง

การกระจายพันธุ์ :  พบที่จีน พม่า และลาว ในไทยพบทางภาคเหนือที่เชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เลย ชัยภูมิ ภาคตะวันออกและภาคกลางที่เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมาและนครนายก ขึ้นตามชายป่าดิบแล้งและป่าดิบเขา ความสูง ๗๐๐-๑,๕๐๐ เมตร
 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/26374461005131_242737850_2943823365932552_720.jpg)     • โด่ไม่รู้ล้ม  
โด่ไม่รู้ล้ม : Elephantopus scaber L.

วงศ์ : ASTERACEAE

ชื่ออื่น : ขี้ไฟนกคุ่ม (เลย), คิงไฟนกคุ่ม (ชัยภูมิ), หญ้าไก่นกคุ่ม หญ้าปราบ หญ้าไฟนกคุ้ม หญ้าสามสิบสองหาบ หนาดผา (ภาคเหนือ), หนาดมีแคลน (สุราษฎร์ธานี), Prickly leaved elephant's foot

โด่ไม่รู้ล้ม เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นแข็ง ตั้งตรง ใบเดี่ยว เรียงเวียนที่โคนใกล้ผิวดิน ขอบใบหยัก มีขนปกคลุมทั้งสองด้าน ดอกเป็นช่อกระจุก สีม่วงแดงหรือขาว ผลแห้งแตก

สรรพคุณ :  รากและใบ แก้บิด ขับปัสสาวะ ขับระดู คุมกำเนิด รักษาโรคบุรุษ ขับพยาธิ ทั้ง ๕ แก้ไอ รักษาวัณโรค แก้เหน็บชา บำรุงหัวใจ บำรุงกำหนัด

อ้างอิง : ความหลากหลายทางชีวภาพพืชสมุนไพรในประเทศไทย เล่ม ๑ หน้า ๘๕. สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. ๒๕๕๙.



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/41936346060699_243484523_2944508065864082_739.jpg)      • ฮ่อมดินเชียงดาว พรรณไม้เชียงดาว  

พรรณไม้เชียงดาว : ฮ่อมดินเชียงดาว เนียมดอย

ฮ่อมดินเชียงดาว เนียมดอย : Ajuga macrosperma Wall. ex Benth. (Lamiaceae, Labiatae) จากเขาหินปูนเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ไม้ล้มลุก ใบเรียงตรงข้าม ช่อดอกออที่ปลายยอด ดอกสีม่วง โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นแฉกซีกบนและซีกล่าง มีเขตการกระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดีย เนปาล บังคลาเทศ เมียนมา จีน ตอนเหนือของไทย ลาว และเวียดนาม
 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/72104820567700_243405923_2945041082477447_447.jpg)     • ดองดึง  
ดองดึง : Gloriosa superba

วงศ์ : COLCHICACEAE

ชื่ออื่น : ก้ามปู (ชัยนาท), คมขวาน บ้องขวาน หัวขวาน (ชลบุรี), ดาวดึงส์ ว่านก้ามปู (ภาคกลาง), พันมหา (นครราชสีมา), มะขาโก้ง (ภาคเหนือ), หมอยหีย่า (อุดรธานี), Climbing lily

ดองดึง เป็นไม้เถาล้มลุก มีลำต้นเป็นหัวใต้ดิน ใบเดี่ยว เรียงสลับ ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบใกล้ปลายยอด สีเหลือง ปลายกลีบสีแดง ผลแห้งแตก

สรรพคุณ : หัว รักษาโรคเรื้อน คุดทะราด แก้ปวดข้อ รักษากามโรค รักษามะเร็ง แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ถ้าใช้ในปริมาณมากอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ราก แก้ลมจุกเสียด ขับเสมหะ รักษาโรคผิวหนัง แก้ปวดข้อ

อ้างอิง : ความหลากหลายทางชีวภาพพืชสมุนไพรในประเทศไทย เล่ม ๑ หน้า ๘๓. สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. ๒๕๕๙.
 
 

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/50188206715716_244345898_2946437239004498_318.jpg)    • ดอกแตรวง พรรณไม้จากเชียงดาว  
ดอกแตรวง : Lilium primulinum Baker var. burmanicum (W.W.Sm.) Stearn

ชื่อสามัญ  Primulinum lily

ชื่ออื่น ดอกแตรวง, เด็งช้างเผือก (เชียงใหม่), โพ้แม่ลา (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่); อินทง (เชียงใหม่)

วงศ์ Liliaceae

ไม้ล้มลุก สูงได้ถึง ๒ ม. หัวใต้ดินยาว ๕-๖ ซม. เนื้อในสีขาวอมเหลือง ใบรูปใบหอก ยาว ๕.๕-๑๒ ซม. เส้นโคนใบ ๓ เส้น เรียงขนานกัน ช่อดอกมี ๔-๙ ดอก สีเหลืองหรืออมเขียว มีปื้นสีม่วงอมน้ำตาลแซม กลีบรูปขอบขนานหรือแกมรูปใบหอกกลับ ยาว ๖.๕-๙ ซม. กลีบในกว้างกว่าเล็กน้อย ก้านชูอับเรณูยาว ๔.๕-๕.๕ ซม. อับเรณูยาวประมาณ ๑ ซม. รังไข่รูปแถบ ยาวประมาณ ๑.๕ ซม. ก้านเกสรเพศเมียยาว ๔.๕-๕.๕ ซม. ฝักรูปขอบขนาน ยาว ๔-๗ ซม. มีสันตามยาว

พบที่จีนตอนใต้ พม่า และภาคเหนือของไทยที่ดอยสุเทพ และดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ขึ้นตามป่าดิบเขา ป่าสน ที่โล่งบนเขาหินปูน ความสูง ๘๐๐-๑,๕๐๐ เมตร แยกเป็น var. ochraceum (Franch.) Stearn พบที่จีน หัวใต้ดินขนาดเล็ก ใบและกลีบรวมสั้น ส่วน var. primulinum พบที่พม่า กลีบดอกไม่มีปื้น  
 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/67133526338471_244666837_2947144658933756_162.jpg)     • ตรีชะวา พืชสมุนไพรน่ารู้  
ตรีชะวา : Justicia betonica L.

วงศ์ : ACANTHACEAE

ชื่ออื่น : หางกระรอก หางแมว (กรุงเทพฯ)

ตรีชะวาเป็นไม้พุ่ม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ใบประดับสีขาว มีลายสีเขียว กลีบดอกสีขาว หลอดกลีบดอกมีจุดประสีม่วง ดอกช่อ ออกที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่งและปลายกิ่ง

สรรพคุณ : ทั้ง ๕ ดับพิษทั้งปวง สมานบาดแผล รักษาริดสีดวง ขับปัสสาวะ

อ้างอิง : ความหลากหลายทางชีวภาพพืชสมุนไพรในประเทศไทย เล่ม ๑ หน้า ๘๖. สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. ๒๕๕๙.


 
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/65593164662520_245075334_2948110745503814_666.jpg)     • ดาราพิลาส  

พบพืชชนิดใหม่ของโลก 'ดาราพิลาส' สกุลเดียวกับกำลังเจ็ดช้างสาร ในพื้นที่ อช.น้ำตกหงาว จ.ระนอง  โดยนายอรุณ สินบำรุง นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ กลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๔ (สุราษฎร์ธานี)  ค้นพบเมื่อช่วงต้นเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๓ และลงพื้นที่เก็บตัวอย่างดอกอีกครั้งเมื่อ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ก่อนส่งตัวอย่าง มาตรวจสอบยังหอพรรณไม้ (BKF) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดยได้ประสานงานและร่วมตรวจสอบข้อมูลกับ นายมานพ ผู้พัฒน์ นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ และดร.ทิวธวัฒ นาพิรุณ อาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์    


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/60919398400518_245272055_2950466368601585_636.jpg)     • ชมพูราชสิริน  
"กรมอุทยานฯ ร่วมกับ ม.มหิดล ค้นพบ ‘ชมพูราชสิริน’ พืชชนิดใหม่ของโลก"  พืชชนิดใหม่นี้ถูกค้นพบโดยทีมงานนักพฤกษศาสตร์หอพรรณไม้ ระหว่างทำการสำรวจความหลากหลายของพืชบริเวณภูเขาในพื้นที่อุทยานธรรมชาติวิทยาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ในเดือนสิงหาคม ๒๕๖๓ โดยมีชื่อพฤกษศาสตร์ที่ขอพระราชทานนามว่า Begonia sirindhorniana Phutthai, Thanant., Srisom & Suddee คำระบุชนิด “sirindhorniana” ตั้งขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยพระองค์ท่านมีพระกระแสรับสั่งให้ดำเนินการสำรวจชนิดพรรณไม้ในพื้นที่ดังกล่าว เมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๖๒  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/59177863018380_246933507_2955455554769333_118.jpg)    • สิงโตกลอกตา กล้วยไม้จากอุทยานแห่งชาติภูลังกา  
สิงโตกลอกตา : Bulbophyllum blepharistes Rchb. f.

วงศ์ Orchidaceae

กล้วยไม้อิงอาศัยหรือขึ้นบนหินจากอุทยานแห่งชาติภูลังกา ลำลูกกล้วยมีใบ ๒ ใบ ก้านช่อดอกยาวมาก ปลายก้านมีดอกเรียงกันคล้ายช่อซี่ร่ม
 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/25103655995594_247410277_2956885834626305_709.jpg)     • ลดาดง พบได้ตามเขาหินปูนในป่าเบญจพรรณ  
ลดาดง : Tridynamia spectabilis (Kurz)Parmar

วงศ์ Convolvulaceae

ไม้เถา ลำต้นมีขนหรือเกลี้ยง ใบเรียงเวียน รูปไข่กว้างหรือเกือบกลม กว้าง ๔-๑๘ ซม. ยาว ๗-๑๙.๕ ซม. โคนเว้า แผ่นใบด้านล่างมีขน ก้านใบยาว ๑.๕-๗ ซม.

ช่อดอกแบบช่อกระจุกแยกแขนง ใบประดับรูปไข่ ใบประดับย่อยคล้ายกลีบเลี้ยง มี ๓ ใบ ขนาดไม่เท่ากัน ก้านดอกยาว ๐.๘-๑ ซม. ดอกมีกลิ่นหอม กลีบเลี้ยงแยกจรดโคน เรียงซ้อนกัน ขนาดไม่เท่ากัน คู่นอก ๓ กลีบ รูปขอบขนานแกมรูปไข่ ยาว ๓-๔ มม. มีสันตามยาว มีขน กลีบคู่ในขนาดเล็ก ดอกรูปแตรแคบ สีขาว ยาว ๒-๓ ซม. ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑.๗-๒.๗ ซม. มี ๕ กลีบไม่ชัดเจน หลอดกลีบดอกกว้างจากโคนสู่ปลาย

เกสรเพศผู้ ๕ อัน ติดภายในหลอดกลีบ ยาวไม่เท่ากัน ยาว ๐.๘-๑.๒ ซม. อับเรณูเป็นเงี่ยง ติดไหวได้ ไม่เป็นหนาม ไม่มีจานฐานดอก รังไข่มีช่องเดียว เกลี้ยง ออวุลมี ๔ ออวุล ก้านเกสรเพศเมียยาว ๑-๑.๓ ซม. โคนก้านมีขนยาว ยอดเกสรจัก ๒ พู ย่น

ผลเป็นกระเปาะรูปไข่กลับ ยาวประมาณ ๖ มม. (ผลอ่อน) มีขน กลีบเลี้ยงหุ้มผล ๓ กลีบนอกขยายเป็นปีกรูปพาย ยาว ๕-๕.๕ ซม. มีเส้นปีก ๗-๑๑ เส้น โคนหนามีสัน มีเมล็ดเดียว สีน้ำตาลดำ รูปรี ขนาดประมาณ ๕ มม.

การกระจายพันธุ์:  พบที่อัสสัม พม่า ลาว ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตกเฉียงใต้ของไทยที่แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ น่าน ลำปาง แพร่ เพชรบูรณ์ และกาญจนบุรี ขึ้นตามเขาหินปูนในป่าเบญจพรรณ ความสูง ๑๐๐-๗๐๐ เมตร
 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/42908453527424_247238888_2957590457889176_684.jpg)     • จิงจ้อร่างแห หรือ เถาตดหมา  
จิงจ้อร่างแห หรือ เถาตดหมา ไม้เถาล้มลุก พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ

จิ้งจ้อร่างแห  : Xenostegia tridentata (L.) D. F. Austin & Staples

ไม้เถาล้มลุก พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ คำระบุชนิด ‘tridentata’ หมายถึงหยักซี่ฟันที่โคนใบในแต่ละข้างซึ่งส่วนใหญ่มี ๓ หยัก

พืชวงศ์ผักบุ้งในประเทศไทย (Thai Convolvulaceae)  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/78413313710027_247714857_2958989361082619_334.jpg)     • ตองแตก พืชสมุนไพรน่ารู้  
ตองแตก Baliospermum solanifolium (Burm.) Suresh

วงศ์ : EUPHORBIACEAE

ชื่ออื่น : ตองแต่ (ประจวบคีรีขันธ์), ถ่อนดี ทนดี (ตรัง ภาคกลาง), นองป้อม ลองปอม (เลย)

ตองแตกเป็นไม้พุ่ม ใบเดี่ยว เรียงเวียน ขอบใบหยัก ดอกช่อ แยกเพศ อยู่ร่วมต้น ออกที่ซอกใบ สีเหลืองแกมเขียว ผลแห้งแตก

สรรพคุณ : ราก เป็นยาถ่าย ขับลม ขับเสมหะ แก้บวมน้ำ แก้ดีซ่าน แก้ม้ามอักเสบ และรักษาโรคโลหิตจาง ใบ เป็นยาถ่าย รักษาโรคหืด เมล็ด เป็นยาถ่ายอย่างแรง แก้ปวดตามข้อ

อ้างอิง : ความหลากหลายทางชีวภาพพืชสมุนไพรในประเทศไทย เล่ม ๑ หน้า ๘๗. สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. ๒๕๕๙.
 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/25651316800051_248252782_2960336427614579_453.jpg)     • ส้มกุ้ง พรรณไม้น่ารู้  
ส้มกุ้ง : Begonia palmata D.Don

วงศ์ Begoniaceae

ไม้ล้มลุก สูงได้ถึง ๑ ม. เหง้าทอดเลื้อย มีขนยาวประปรายสีน้ำตาลแดงตามลำต้น แผ่นใบ และก้านใบ หูใบรูปไข่แคบ ยาวได้ถึง ๒.๕ ซม. ร่วงเร็ว ใบรูปไข่กว้าง ยาวได้ถึง ๓๐ ซม. จักเป็นพู ปลายแหลมยาว โคนรูปหัวใจ ขอบจักซี่ฟัน เส้นแขนงใบรูปฝ่ามือ ก้านใบยาวได้ถึง ๔ ซม.

ช่อดอกแยกแขนงสั้นๆ ก้านช่อยาวได้ถึง ๑๕ ซม. ใบประดับรูปไข่ ยาวประมาณ ๑.๕ ซม. ร่วงเร็ว ขอบมีขนครุย ดอกสีชมพู ดอกเพศผู้ กลีบรวมมี ๔ กลีบ คู่นอกรูปไข่กลับ ยาว ๑-๒.๕ ซม. คู่ในรูปรีถึงรูปใบหอก ยาว ๐.๗-๒ ซม.

ก้านชูอับเรณูแยกกัน ยาว ๑-๒.๕ มม. ดอกเพศเมีย กลีบรวมมี ๕-๖ กลีบ รูปกลม หรือรูปใบหอกแกมรูปไข่ ยาว ๐.๘-๒.๕ ซม. รังไข่มีขนยาว ก้านเกสรเพศเมีย ๒ อัน ยาวประมาณ ๕ มม. ปลายแฉกเป็นง่าม ยอดเกสรเพศเมียบิดเวียน

ผลรูปสามเหลี่ยม ปีกล่างรูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาว ๑.๕-๓ ซม. ปีกคู่ข้างยาวประมาณ ๕ มม.

พบที่อินเดีย เนปาล ภูฏาน บังกลาเทศ จีนตอนใต้ พม่า และภูมิภาคอินโดจีน ในไทยพบมากทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขึ้นตามป่าดิบเขา ความสูงถึงประมาณ ๒,๐๐๐ เมตร มีความผันแปรสูงโดยเฉพาะสิ่งปกคลุม
 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/36026129416293_248947553_2961372307510991_362.jpg)     • ระฆังแก้ว  
ระฆังแก้ว : Campanumoea javanica Blume

ไม้เถาล้มลุก  ดอกรูประฆัง กลีบดอกสีขาวครีมอมเขียว มีลายสีม่วงอ่อนๆ  พบอินเดีย ภูฏาน เนปาล จีนตอนใต้ พม่า ลาว เวียดนาม ชวา ในไทยส่วนมากพบทางภาคเหนือ ขึ้นตามชายป่าดิบเขาหรือป่าสน ระดับความสูง ๑,๐๐๐-๒,๐๐๐ เมตร
 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/43976856188641_246898596_2962988587349363_113.jpg)     • นมช้าง ไม้รอเลื้อย  
นมช้าง Fissistigma sp. ไม้รอเลื้อย (Scandent) จากป่าดิบชื้น จังหวัดกระบี่ เป็นพืชในวงศ์กระดังงา (Annonaceae) เป็นพืชป่าที่มีศักยภาพในการนำมาขยายพันธุ์เป็นไม้ประดับได้  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/47657872198356_250581144_2963821607266061_484.jpg)     • เนียมป่า พรรณไม้จากเขาหินปูนเชียงดาว  
เนียมป่า ผักอีหลืน ม่วงดอย Elsholtzia griffithii Hook. f. (Lamiaceae, Labiatae) จากเขาหินปูนเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ไม้ล้มลุก ใบเรียงตรงข้าม ช่อดอกออที่ปลายยอด เป็นช่อรูปทรงกระบอก ดอกสีม่วง โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นแฉกซีกบนและซีกล่าง มีเขตการกระจายพันธุ์ทางเมียนมา และทางตอนเหนือของไทย  


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/13333206747968_250631533_2964547337193488_828.jpg)     • ชมพูยูนนาน ไม้ล้มลุกขึ้นตามป่าดิบเขา และบนเขาหินปูน  
ชมพูยูนาน : Begonia modestiflora Kurz

วงศ์ Begoniaceae

ไม้ล้มลุก สูงได้ถึง ๕๐ ซม. มีรากตามข้อ หูใบรูปไข่ ยาว ๕-๗ มม. ใบรูปสามเหลี่ยม เบี้ยว ยาว ๓.๕-๘ ซม. ขอบจักซี่ฟันถี่ ก้านใบยาว ๑.๘-๕.๕ ซม.

ช่อดอกออกตามปลายกิ่งและซอกใบ ปลายช่อเป็นดอกเพศผู้ โคนช่อเป็นดอกเพศเมีย ช่อดอกที่ออกตามซอกใบมีดอกเพศเมีย ๑-๒ ดอก ใบประดับรูปไข่ ยาว ๖-๗ มม. ขอบจัก มีขนครุย ดอกสีชมพู ดอกเพศผู้ ก้านดอกยาว ๐.๖-๑ ซม. กลีบรวม ๔ กลีบ คู่นอกรูปไข่ ยาว ๕-๗ มม. มีขนด้านนอก คู่ในรูปขอบขนาน ยาวประมาณ ๓ มม.

ก้านชูอับเรณูเชื่อมติดกันที่โคน ดอกเพศเมียก้านดอกยาวกว่าดอกเพศผู้ กลีบรวม ๕ กลีบ กลีบใหญ่รูปไข่ ยาว ๗-๘ มม. ปลายแหลม กลีบเล็กรูปใบหอก ยาว ๖-๗ มม. ปลายมน รังไข่เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมีย ๓ อัน เชื่อมติดกันที่โคน ยอดเกสรจัก ๒ พู บิดเวียน ผลห้อยลง กว้างประมาณ ๖ มม. ยาวประมาณ ๑ ซม. ปีกกลางรูปสามเหลี่ยม ยาวประมาณ ๑.๕ ซม. ปีกคู่ข้างขนาดเล็ก

พบที่อินเดีย เนปาล จีนตอนใต้ พม่า และภาคเหนือของไทยที่แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน อุตรดิตถ์ แพร่ ตาก ขึ้นตามป่าดิบเขา และบนเขาหินปูน ความสูงถึงประมาณ ๑,๘๐๐ เมตร


ขอขอบคุณที่มา (ข้อมูล-ภาพ) : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช  


หัวข้อ: Re: พรรณไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้มงคล
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 04 กุมภาพันธ์ 2565 16:11:19
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/17339473962783_248791186_2964360540545501_869.jpg)     • ชมพูยูนนาน
 
ชมพูยูนนาน ไม้ล้มลุกขึ้นตามป่าดิบเขา และบนเขาหินปูน

ชมพูยูนาน : Begonia modestiflora Kurz
วงศ์ : Begoniaceae

ไม้ล้มลุก สูงได้ถึง ๕๐ ซม. มีรากตามข้อ หูใบรูปไข่ ยาว ๕-๗ มม. ใบรูปสามเหลี่ยม เบี้ยว ยาว ๓.๕-๘ ซม. ขอบจักซี่ฟันถี่ ก้านใบยาว ๑.๘-๕.๕ ซม.

ช่อดอกออกตามปลายกิ่งและซอกใบ ปลายช่อเป็นดอกเพศผู้ โคนช่อเป็นดอกเพศเมีย ช่อดอกที่ออกตามซอกใบมีดอกเพศเมีย ๑-๒ ดอก ใบประดับรูปไข่ ยาว ๖-๗ มม. ขอบจัก มีขนครุย ดอกสีชมพู ดอกเพศผู้ ก้านดอกยาว ๐.๖-๑ ซม. กลีบรวม ๔ กลีบ คู่นอกรูปไข่ ยาว ๕-๗ มม. มีขนด้านนอก คู่ในรูปขอบขนาน ยาวประมาณ ๓ มม.

ก้านชูอับเรณูเชื่อมติดกันที่โคน ดอกเพศเมียก้านดอกยาวกว่าดอกเพศผู้ กลีบรวม ๕ กลีบ กลีบใหญ่รูปไข่ ยาว ๗-๘ มม. ปลายแหลม กลีบเล็กรูปใบหอก ยาว ๖-๗ มม. ปลายมน รังไข่เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมีย ๓ อัน เชื่อมติดกันที่โคน ยอดเกสรจัก ๒ พู บิดเวียน ผลห้อยลง กว้างประมาณ ๖ มม. ยาวประมาณ ๑ ซม. ปีกกลางรูปสามเหลี่ยม ยาวประมาณ ๑.๕ ซม. ปีกคู่ข้างขนาดเล็ก

พบที่อินเดีย เนปาล จีนตอนใต้ พม่า และภาคเหนือของไทยที่แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน อุตรดิตถ์ แพร่ ตาก ขึ้นตามป่าดิบเขา และบนเขาหินปูน ความสูงถึงประมาณ ๑,๘๐๐ เมตร  
 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/23529806153641_252917665_2968635096784712_833.jpg)     • ตะลิงปลิง
  
ตะลิงปลิง : Averrhoa bilimbi L. วงศ์ : OXALIDACEAE

ชื่ออื่น : หลิงปลิง (ภาคใต้); Bilimbi, Cucumber tree

ตะลิงปลิงเป็นไม้ต้น ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงเวียน ดอกช่อ ออกที่ลำต้นและกิ่งใหญ่ สีแดงคล้ำ มีกลิ่นหอม ผลสด ฉ่ำน้ำ สีเขียว รสเปรี้ยว

สรรพคุณ : ราก แก้พิษร้อนใน กระหายน้ำ ใบ รักษาลำไส้ใหญ่อักเสบ ไขข้ออักเสบ รักษากามโรค รักษาสิว แก้คัน แก้คางทูม
 
ดอก แก้ไอ ผล ช่วยเจริญอาหาร ลดไข้ ขับเหงื่อ แก้ปวดกระดูก แก้เลือดออกตามไรฟัน และรักษาริดสีดวงทวาร  
 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/49617371625370_254129914_2969302033384685_195.jpg)     • มาลัยอารยา
  
มาลัยอารยา Damrongia orientalis (Craib) C. Puglisi พืชวงศ์ชาฤๅษีจากเขาหลวง สุโขทัย      


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/89637579520543_254028694_2970075519974003_603.jpg)     • มหาพรหมราชินี  

มหาพรหมราชินี Mitrephora sirikitiae Weerasooriya, Chalermglin & R.M.K.Saunders Annonaceae

คำระบุชนิด “sirikitae” ตั้งเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ มหาราชินี ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Nordic Journal of Botany เล่ม ๒๔ ฉบับที่ ๒ หน้า ๒๐๑-๒๐๖ ปี ค.ศ.๒๐๐๔ จากพรรณไม้ต้นแบบ Chalermglin ๔๖๐๕๐๕ (holotype: QBG; isotypes: AAU, BK, BKF, C, CMU, HKU, K, L, TISTR) ที่เก็บจากอุทยานแห่งชาติน้ำตกแม่สุรินทร์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ ๕-๖ ม. กิ่งอ่อนมีขนสั้นนุ่มหนาแน่น ใบเรียงเวียน รูปใบหอก ยาว ๖-๒๒ ซม. ปลายแหลมหรือแหลมยาว โคนแหลมหรือมน แผ่นใบหนา ด้านล่างเป็นมันวาว มีขนกระจาย เส้นแขนงใบข้างละ ๘-๑๑ เส้น ก้านใบยาว ๐.๕-๑ ซม. ช่อดอกแบบช่อกระจุกสั้นๆ ออกตามซอกใบหรือตามรอยแผลใบของกิ่งแก่ มีขนกำมะหยี่หนาแน่น มี ๑-๓ ดอก ก้านดอกยาว ๑.๘-๒.๗ ซม. ใบประดับรูปไข่ ใบประดับยาว ๕-๗ มม. กลีบเลี้ยง ๓ กลีบ รูปไข่กว้าง ยาว ๑.๓-๑.๕ ซม. มีขนสีน้ำตาลแดงหนาแน่น ดอกสีชมพูแกมม่วง มี ๖ กลีบ เรียง ๒ วง วงนอกรูปไข่กว้าง ยาว ๔-๕.๕ ซม. วงในรูปไข่ มีก้านกลีบ โคนรูปเงี่ยงลูกศร ปลายมน ปลายเชื่อมติดกันรูปคล้ายหมวก สั้นกว่ากลีบวงนอกเล็กน้อย เกสรเพศผู้จำนวนมาก รังไข่มีหลายคาร์เพล แยกกัน ผลมี ๑๐-๑๕ ผลย่อย ก้านช่อผลยาว ๒.๕-๗ ซม. ผลย่อยรูปขอบขนาน ยาว ๒-๖ ซม. มีขนละเอียด ก้านผลย่อยยาว ๑.๕-๒.๕ ซม. เมล็ดจำนวนมาก รูปไข่เกือบกลม แบน ยาว ๑.๒-๑.๗ ซม.

พืชถิ่นเดียวของไทย พบที่แม่ฮ่องสอน บริเวณอุทยานแห่งชาติน้ำตกแม่สุรินทร์ ขึ้นในป่าดิบเขาที่เป็นหินปูน ความสูง ๑,๐๐๐-๑,๑๐๐ เมตร  
 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/33080983948376_252351070_2970757756572446_671.jpg)     • ส้มป่อย สมุนไพรมากประโยชน์  

ชื่อท้องถิ่น : ส้มป่อย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acacia concinna (Willd.) DC.

ชื่อวงศ์ : FABACEAE

ลักษณะเด่น : ไม้เถาเนื้อแข็ง หรือพุ่มรอเลื้อย ยาวได้ถึง ๒๐ ม. ตามกิ่งและลำต้นมีหนามแหลมคม ตามกิ่งอ่อน ช่อดอก และใบอ่อนมีขนสั้นหนานุ่ม ใบแก่ค่อนข้างเกลี้ยง ใบประกอบแบบขนนก ๒ ชั้น (คล้ายใบชะอม แต่ไม่มีกลิ่นฉุน และใบอ่อนของส้มป่อยจะมีรสเปรี้ยว) เรียงสลับ ก้านใบมีต่อมนูน ๑ ต่อม ติดค่อนมาทางโคนก้านใบ ใบประกอบย่อย ๕-๑๐ คู่ ใบย่อย ๑๐-๓๕ คู่ รูปขอบขนานแกมรูปแถบยาว ยาว ๓.๕-๑๑ มม. ปลายใบกลมและไม่สมมาตร และมีติ่งสั้น โคนใบตัดและไม่สมมาตร ไม่มีก้านใบย่อย ช่อดอกทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลางดอกประมาณ ๑.๕-๒ ซม. มีดอกย่อย ๒๐-๓๕ ดอก กลีบเลี้ยงสีแดงเข้มมี ๕ แฉก กลีบดอกและเกสรเพศผู้สีขาวครีม คล้ายพู่ขน ผลแบบฝักค่อนข้างแบน รูปแถบยาว ยาว ๑๐-๑๕ ซม. กว้าง ๒ ซม. มีรอยหยักเป็นคลื่นตามแนวเมล็ด ผิวเกลี้ยง ฝักแก่สีแดงอมสีน้ำตาล เปลือกฝักมีรสขมอมเปรี้ยว

ถิ่นอาศัย : พบตามป่าเบญจพรรณ ชายป่าดิบแล้ง หรือตามป่าเสื่อมโทรม ที่ระดับความสูงไม่เกิน ๑,๔๐๐ ม. ทั่วประเทศ

สรรพคุณ : ใบอ่อนสดมีรสชาติเปรี้ยว ทานเป็นผัก ช่วยกัดเมือกมันในลำไส้ ขับเสลด ขับเสมหะในลำคอ, ใบสดหรือตากแห้งใช้เข้ายาลูกประคบ แก้ปวดเมื่อย

แก้อาการคันตามผิวหนัง แก้ปวดเมื่อยเส้นเอ็น แก้ปวดเมื่อยตามเส้นเอ็น เส้นเอ็นอักเสบ บรรเทาอาการอัมพฤกษ์-อัมพาต แก้ไอ ขับเสมหะ แก้เจ็บคอ เป็นยาถ่าย ยาระบาย แก้ท้องผูก แก้จุกเสียดแน่นท้อง ช่วยฟอกเลือด ช่วยขับและฟอกเลือดเสีย เลือดไม่ดี บำรุงสตรีที่กำลังจะหมดประจำเดือน เลือดจะไปลมจะมา (อาการร้อนวูบวาบ นอนไม่หลับ) รักษาอาการวัยทอง บำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่ง  
 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/94873354666762_248052534_2972928843022004_228.jpg)     • เครือเทพรัตน พรรณไม้เกียรติประวัติ  

เครือเทพรัตน Thepparatia thailandica Phuph.

ชื่อสกุล “Thepparatia” ตั้งเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ส่วนคำระบุชนิด “thailandica” ตั้งตามชื่อประเทศไทย ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร Thai Forest Bulletin (Botany) เล่มที่ ๓๔ หน้า ๑๙๕-๒๐๐ ปี ค.ศ.๒๐๐๖ จากตัวอย่างพรรณไม้ต้นแบบ Pooma et al. ๔๙๘๑ (holotype: BKF) ที่เก็บอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้เถาเนื้อแข็ง ยาวได้ถึง ๒๐ ม. เส้นผ่านศูนย์กลาง ๑๐-๑๕ ซม. มีขนรูปดาวกระจายตามแผ่นใบด้านบน ก้านใบ ช่อดอก ริ้วประดับ และกลีบเลี้ยง ใบเรียงเวียน รูปฝ่ามือ มี ๓-๕ แฉกตื้นๆ ขอบจักฟันเลื่อยห่างๆ แผ่นใบด้านบนมีต่อมทั่วไป ก้านใบยาว ๕-๑๐ ซม. ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกตามปลายกิ่ง ยาว ๒๐-๓๐ ซม. ดอกจำนวนมาก ริ้วประดับติดทน มี ๕-๗ กลีบ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีจำนวนอย่างละ ๕ กลีบ ดอกสีเหลืองอ่อนหรือสีครีม มีแถบสีแดง กลีบรูปไข่กลับ ยาว ๓-๓.๕ ซม. ปลายกลีบม้วนออก เส้าเกสรเพศผู้ยาว ๑.๕-๒ ซม. อับเรณูรูปเกือกม้า ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ ๑.๖ ซม.

พืชถิ่นเดียวของไทย พบที่ตาก ใกล้ชายแดนพม่า และเชียงใหม่ (เชียงดาว) ขึ้นตามหุบเขาที่ลาดชันใกล้ลำธาร หรือเขาหินปูน ในป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณ ความสูง ๓๕๐-๗๐๐ เมตร  
 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/94056702363822_254539427_2970749103239978_568.jpg)     • มะลิเฉลิมนรินทร์ พรรณไม้เกียรติประวัติ  

มะลิเฉลิมนรินทร์
Jasminum bhumibolianum
Chalermglin

คำระบุชนิด "bhumipoliana" ตั้งเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๔ ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Blumea เล่มที่ ๕๘ ฉบับที่ หน้า ๘๐ ปี ค.ศ. ๒๐๑๓ จากตัวอย่างพรรณไม้ต้นแบบ Chalermglin ๕๒๐๗๐๕ (holotype: BKF; isotypes: BK, K, KEP, L, QBG) ที่เก็บจากจังหวัดเลย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้เถา ใบประกอบมีใบเดียว รูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาว ๖-๘ ซม. ปลายแหลมยาว โคนเว้า แผ่นใบหนา เส้นแขนงใบแบบขนนก มีข้างละ ๓-๔ เส้น โค้งจรดกัน ก้านใบยาว ๔-๕ มิลลิเมตร ช่อดอกแบบช่อกระจุกสั้นๆ ออกที่ปลายกิ่ง ใบประดับรูปขอบขนาน ๕-๖ มม. มี ๗-๑๓ ดอก ใบประดับย่อยมี ๒ อัน รูปเส้นด้ายขนาดเล็ก หลอดกลีบเลี้ยงสั้น มี ๔-๕ กลีบ รูปสามเหลี่ยม ยาว ๓-๔ มม. หนาแข็ง ปลายแหลม ดอกสีขาว มีกลิ่นหอม หลอดกลีบดอกยาว ๑.๒-๑.๕ ซม. มี ๖-๘ กลีบ รูปใบหอก ยาว ๑-๑.๒ ซม. โคนกลีบมีสีเหลืองอ่อน ปลายกลีบแหลม เกสรเพศผู้ ๒ อัน ไม่ยื่นพ้นปากหลอดกลีบดอก ก้านชูอับเรณูสั้น อับเรณูยาว ๓.๕-๔ มม. แกนอับเรณูมีรยางค์เป็นติ่งแหลม รังไข่รูปถัง ก้านเกสรเพศเมียยาว ๔-๕ มม. ผลรูปรีกลมๆ ยาวประมาณ ๑ ซม. สุกสีดำ

พืชถิ่นเดียวของไทย พบเฉพาะทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดเลย ขึ้นตามเขาหินปูน ความสูงประมาณ ๗๐๐ เมตร    
 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/58001553639769_255917998_2973687256279496_255.jpg)     • เอื้องศรีเชียงดาว พรรณไม้เกียรติประวัติ  

"เอื้องศรีเชียงดาว" Sirindhornia pulchella H.A.Pederson & Indham.

ชื่อสกุล “” ตั้งเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร Nordic Journal of Botany เล่มที่ ๒๒ หน้า ๓๙๓-๔๐๒ ค.ศ.๒๐๐๒ และเอื้องศรีเชียงดาวได้ตั้งชื่อเป็นพืชชนิดในคราวเดียวกัน จากตัวอย่างพรรณไม้ต้นแบบ Watthana & Suksathan ๑๒๗๔ ที่เก็บจากดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ (holotype: QBG)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ กล้วยไม้ขึ้นตามซอกหิน มี ๑-๒ ใบ รูปรี รูปไข่ หรือรูปใบหอก ยาว ๔.๕-๑๓ ซม. ปลายแหลมหรือแหลมยาว แผ่นใบหนาสีเขียว มีแต้มสีเข้มกระจายทั่วไป ช่อดอกแบบช่อกระจะ ยาวได้ถึง ๒๐ ซม. ก้านและแกนช่อมีขนประปราย ใบประดับรูปใบหอก ปลายแหลม ยาว ๐.๕-๑.๘ ซม. ดอกจำนวนมาก บานจากโคนสู่ปลายช่อ ดอกบานเส้นผ่านศูนย์ประมาณ ๑.๕ ซม. กลีบเลี้ยงอันบนสีชมพูหรือม่วงอ่อน รูปขอบขนานแกมรูปรี ยาว ๖-๗ มม. ปลายกลม กลีบเลี้ยงด้านข้างสีเขียวอ่อน ขอบสีม่วงอ่อน รูปรีแกมรูปไข่ ยาว ๖.๕-๗ มม. ปลายมนหรือแหลม กลีบดอกด้านข้างรูปขอบขนานหรือรูปรี ยาว ๖-๗ มม. ปลายกลม หรือตัด ซ้อนเหลื่อมกันคลุมเส้าเกสร กลีบปากแยก ๓ แฉกตื้นๆ กว้าง ๑-๑.๕ ซม. สีชมพู มีแต้มสีม่วงแดงกระจายทั่วไป พืชถิ่นเดียวของไทย พบที่ดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ขึ้นบนที่โล่งบนเขาหินปูน ความสูง ๑,๘๐๐-๒,๐๐๐ เมตร  
 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/13385582301351_257268411_2975166319464923_557.jpg)     • เอื้องศรีอาคเนย์ พรรณไม้เกียรติประวัติ
 
เอื้องศรีอาคเนย์
Sirindhornia monophylla
H.A.Pederson & Suksathan

ชื่อสกุล “Sirindhornia” ตั้งเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร Nordic Journal of Botanyเล่มที่ ๒๒ หน้า ๓๙๓-๔๐๒ ปี ค.ศ. ๒๐๐๒ และเอื้องศรีอาคเนย์ที่เดิมมีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Habenaria monophylla Collett & Hemsl. ได้ถูกย้ายมาสกุลใหม่ด้วย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ กล้วยไม้ขึ้นตามซอกหิน มี ๑-๒ ใบ รูปรีหรือรูปไข่ ยาว ๓-๑๒ ซม. ปลายใบแหลมหรือแหลมยาว แผ่นใบหนาสีเขียว มีแต้มเข้มกระจาย ดอกออกเป็นช่อแบบช่อกระจะ ยาวได้ประมาณ ๓๕ ซม. ก้านและแกนช่อมีขนประปราย ใบประดับรูปใบหอก ปลายแหลมหรือแหลมยาว ยาว ๐.๕-๑.๕ ซม. ดอกจำนวนมาก บานจากโคนสู่ปลายช่อ ดอกบานเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๗ มม. กลีบเลี้ยงอันบนสีม่วงอ่อน รูปขอบขนานแกม ยาว ๒.๕-๔.๕ มม. ปลายมนหรือกลม กลีบเลี้ยงด้านสีเขียว ขอบสีม่วงอมชมพู รูปไข่ ยาว ๓.๕-๕ มม. ปลายกลมหรือมน กลีบดอกด้านข้างรูปขอบขนานหรือแกมรูปไข่ ยาว ๓-๕ มม. ปลายกลมหรือตัด ซ้อนเหลื่อมกันคลุมเส้าเกสร กลีบปากแยก ๓ แฉก กว้าง ๔-๘ มม. สีม่วงอ่อน มีจุดประสีม่วงอมแดงกระจายพบที่จีนตอนใต้ พม่า และภาคเหนือของไทย ขึ้นตามที่โล่งเขาหินปูน ความสูง ๘๐๐-๒,๒๐๐ เมตร  
 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/82311015824476_255932354_2973689849612570_693.jpg)     • เอื้องศรีประจิม พรรณไม้เกียรติประวัติ  

เอื้องศรีประจิม
Sirindhornia mirabilis
H.A.Pederson & Suksathan
 

ชื่อสกุล “Sirindhornia” ตั้งเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร Nordic Journal of Botany เล่มที่ ๒๒ หน้า ๓๙๓ ปี ค.ศ.๒๐๐๒ และเอื้องศรีประจิมได้รับการตั้งชื่อเป็นพืชชนิดใหม่พร้อมกัน จากตัวอย่างพรรณไม้ต้นแบบ Suksathan ๓๐๐๐ ที่เก็บจากดอยหัวหมด อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก (holotype: QBG)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ กล้วยไม้ขึ้นตามซอกหิน มีใบเดียว รูปรีแกมรูปไข่ ยาว ๘-๑๒ ซม. ปลายแหลม แผ่นใบหนาสีเขียว มีแต้มสีเข้มกระจายทั่วไป ช่อดอกแบบช่อกระจะ ยาวได้ถึง ๓๐ ซม. ก้านและแกนช่อมีขนประปราย ใบประดับรูปไข่ ปลายแหลม ยาวได้ถึง ๑ ซม. ดอกจำนวนมาก บานจากโคนสู่ปลายช่อ ดอกบานเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑.๕ ซม. กลีบเลี้ยงสีม่วงอมแดง กลีบเลี้ยงอันบนรูปขอบขนาน ยาว ๘-๙ มม. ปลายมนหรือกลม กลีบเลี้ยงด้านข้างรูปไข่ ยาวประมาณ ๙ มม. ปลายกลมหรือมน กลีบดอกด้านข้างรูปขอบขนานหรือรูปแถบ ยาวประมาณ ๙ มม. ปลายมน กลม หรือปลายตัด กลีบปากแยกเป็น ๓แฉก กว้าง ๐.๗-๑ ซม. โคนสีชมพู ปลายกลีบสีขาว คอกลีบปากสีชมพู หูกลีบปากสีเขียว

พืชถิ่นเดียวของไทย พบที่ดอยหัวหมด อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ขึ้นตามเขาหินปูนที่เปิดโล่ง ความสูง ๙๐๐-๑,๐๐๐ เมตร  
 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/39180758305721_255887319_2973694089612146_105.jpg)     • สิรินธรวลี พรรณไม้เกียรติประวัติ  

สิรินธรวลี
Phanera sirindhorniae
(K.Larsen & S.S.Larsen)
Mackinder & R.Clark
วงศ์ Fabaceae-Cercidoidae

คำระบุชนิด "sirindhorniae" เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร Nordic Journal of Botany เล่มที่ ๑๗ หน้า ๑๑๓-๑๑๘ ปี ค.ศ.๑๙๙๗ จากตัวอย่างพรรณไม้ต้นแบบ Niyomdham ๔๔๗๑ ที่เก็บจากภูทอกน้อย อำเภอบุ่งคล้า จังหวัดหนองคาย (holotype: BKF; isotypes: AAU, K)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้เถาเนื้อแข็ง กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง หูใบรูปขอบขนานแกมรูปรี ยาว ๕-๗ มม. ร่วงง่าย ใบรูปไข่ ยาว ๕-๑๘ ซม. ปลายแยก ๒ แฉกตื้น ๆ หรือแฉกลึกจนจรดโคน แผ่นใบหนา เหนียว เส้นแขนงใบออกจากโคน ๙-๑๑ เส้น ก้านใบยาว ๒-๖.๕ ซม. ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกตามซอกใบ มีขนสั้นนุ่มสีน้ำตาลแดงหนาแน่น แกนกลางช่อยาว ๒-๑๐ ซม. ก้านดอกยาว ๑.๕-๒ ซม. ตาดอกรูปรี ปลายแหลม ใบประดับรูปใบหอก ยาวประมาณ ๕ มม. มีขนด้านนอก ฐานดอกรูปหลอดหรือแตรแคบๆ ยาว ๑-๑.๕ ซม. มีริ้วและขนหนาแน่น กลีบเลี้ยงยาวประมาณ ๑ ซม. แยกจรดโคนด้านเดียว ด้านตรงข้ามแฉกเฉพาะที่ปลายกลีบ ติดทน กลีบดอกมีขนสีน้ำตาลแดงหนาแน่นด้านนอก รูปใบหอก ยาว ๑-๑.๓ ซม. รวมก้านกลีบ เกสรเพศผู้ ๓ อัน ก้านชูอับเรณูและอับเรณูเกลี้ยง เกสรที่เป็นหมันมี ๒ อัน รูปสามเหลี่ยมแคบ ยาวไม่เกิน ๑ มม. รังไข่มีขนสีน้ำตาลแดง ยาว ๐.๗-๑ ซม. ก้านรังไข่ยาวประมาณ ๑ มม. ก้านเกสรเพศเมียยาว ๐.๗-๑ ซม. มีขน ฝักรูปใบหอก ยาว ๑๕-๑๘ ซม. มีขนนุ่มสีน้ำตาลแดงหนาแน่น มี ๕-๗ เมล็ด สีน้ำตาลเข้ม แบน เส้นผ่านศูนย์กลาง ๑.๕-๒ ซม.

สิรินธรวลี ประดงแดง หรือสามสิบสองประดง เป็นพืชถิ่นเดียวของไทย พบขึ้นตามชายป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรังทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนที่หนองคาย นครพนม (ภูลังกา) และสกลนคร (ภูพาน) ความสูง ๑๕๐-๒๐๐ เมตร และอาจพบในประเทศลาวฝั่งตรงข้ามจังหวัดหนองคาย  
 

 (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/33143900127874_257700017_2976925662622322_356.jpg)    • ต้างหลวง  

"ต้างหลวง"
Trevesia palmata (Roxb. ex Lindl.) Vis.
วงศ์ : ARALIACEAE
ชื่ออื่น : ต้างป่า ต้างผา (ภาคเหนือ)
ต้างหลวงเป็นไม้ต้น ลำต้นมีหนาม ใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ เรียงเวียน ดอกช่อ ออกที่ลำต้นใกล้ปลายกิ่ง สีเหลือง ผลสุกสีน้ำเงินดำ
สรรพคุณ : ดอกอ่อน ช่วยเจริญอาหาร  
 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/86377600539061_259448396_2980824878899067_646.jpg)     • ลำดวน  

ลำดวน
Sphaerocoryne lefevrei (Baill.) D. M. Johnson & N. A. Murray

"ลำดวน" เป็นไม้ดอกหอม เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดศรีสะเกษ จัดอยู่ในวงศ์กระดังงา (Annonaceae) ลำดวนเคยถูกใช้ชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Melodorum fruticosum Lour. ซึ่งตีพิมพ์ตั้งแต่ปี ค.ศ.๑๗๙๐ ภายหลังทีมงานผู้เชี่ยวชาญได้ตรวจสอบอย่างละเอียด พบว่าลำดวนมีการใช้ชื่อพฤกษศาสตร์ที่ผิดมาอย่างยาวนาน

ชื่อ Melodorum fruticosum Lour. นั้น แท้จริงแล้วเป็นชื่อพ้องของนมแมวที่มีชื่อพฤกษศาสตร์ที่ถูกต้องว่า Uvaria siamensis (Scheff.) L. L. Zhou, Y. C. F. Su & R. M. K. Saunders (ในไทยส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับชื่อพ้อง Rauwenhoffia siamensis Scheff.) ซึ่งต่างชนิดกันกับลำดวน

ชื่อพฤกษศาสตร์ที่ถูกต้องของลำดวนในปัจจุบันคือ Sphaerocoryne lefevrei (Baill.) D. M. Johnson & N. A. Murray ตามเอกสารอ้างอิงด้านล่าง หน่วยงานต่างๆ คงต้องทำการเปลี่ยนป้ายชื่อให้ถูกต้องต่อไป    

 

ขอขอบคุณที่มา (ข้อมูล-ภาพ) : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
400


หัวข้อ: Re: พรรณไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้มงคล
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 02 มีนาคม 2565 11:16:32
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/23917208198043_260775663_2983012638680291_318.jpg)     • กระดังงาดง

กระดังงาดง "เติม" Bischofia javanica Blume

วงศ์ : PHYLLANTHACEAE

ชื่ออื่น : กระดังงาดง (สุโขทัย), จันบือ (พังงา), ประดู่น้ำ ประดู่ส้ม (ชุมพร), ยายตุหงัน (เลย), ยายหงัน (ปัตตานี), ส้มกบ ส้มกบใหญ่ (ตรัง)

เติมเป็นไม้ต้น ใบประกอบแบบนิ้วมือ เรียงเวียน ดอกช่อ แยกเพศต่างต้น ออกที่ซอกใบแลปลายกิ่ง สีเขียวแกมเหลือง ผลสุกสีส้มแกมน้ำตาล

สรรพคุณ : ลำต้น ต้มน้ำดื่ม แก้เจ็บคอ เสียงแหบ และแก้บิด เปลือก ตำผสมกับอาหาร ป้องกันท้องเสีย เนื้อไม้ บำรุงโลหิต แก้ไข้เพื่อโลหิตและกำเดา ดอก แก้ลมจุกเสียด แก้ท้องขึ้น ขับเสมหะ ขับลม  



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/56147452402445_266160322_2994106957570859_244.jpg)     • แตงหนู

แตงหนู Mukia maderaspatana (L.) M. Roem.

วงศ์ : CUCURBITACEAE

ชื่ออื่น : แตงนก (กาญจนบุรี), แตงผีปลูก (ชัยนาท), แตงหนูขน (ประจวบคีรีขันธ์)

แตงหนูไม้เถา มีมือเกาะออกตั้งฉากกับก้านใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียน ดอกแยกเพศร่วมต้น ออกที่ซอกใบ สีเหลือง ผลสด รูปกลม มีลายตามยาว เมื่อสุกสีแดงสด

สรรพคุณ : ราก ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้ปวดฟัน แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ เถา ยอด และใบอ่อน แก้ตับอักเสบ แก้หลอดลมอักเสบ แก้หอบหืด ดอก ขับระดูและฟอกเลือด ผล แก้ไข้พิษ



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/58082559953133_267684505_2997736163874605_746.jpg)     • แห้วชะครู กล้วยไม้ดินจากอุ้มผาง

แห้วชะครู Pachystoma pubescens Blume (Orchidaceae) กล้วยไม้ดินจากอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก มีเขตการกระจายพันธุ์กว้างตั้งแต่เขตร้อนและเขตกึ่งร้อนเอเชียถึงออสเตรเลียและนิวแคลิโดเนีย มีความผันแปรของสีดอกแต่มีความสวยงามทั้งหมด เป็นกล้วยไม้ที่มีชื่อพฤกษศาสตร์พ้องเกือบ ๔๐ ชื่อ ในไทยกล้วยไม้สกุลนี้พบเพียงชนิดเดียวและพบทั่วประเทศ


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/79922940747605_267784474_2998416373806584_556.jpg)     • ถั่วดอยขนต่อมเชียงดาว

ถั่วดอยขนต่อมเชียงดาว Campylotropis decora (Kurz) Schindl. (Fabaceae, Leguminosae) จากเขาหินปูนดอยหัวหมด อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ไม้พุ่มขึ้นตามที่ค่อนข้างโล่งแจ้ง ลำต้นและกิ่งมีขนหนาแน่น ใบประกอบมี ๓ ใบย่อย ช่อดอกมีขนที่มีต่อม ดอกสีม่วง มีเขตการกระจายพันธุ์ในเมียนมา จีนตอนใต้ ตอนเหนือของไทย และลาว ประชากรที่ดอยหัวหมดจะพบที่ระดับความสูงต่ำกว่าที่พบที่ดอยเชียงดาวมาก


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/53110310145550_267607430_2999839096997645_402.jpg)     • ไอยริศ ไม้ล้มลุกจากเขาหินปูน

ไอยริศ Zingiber sirindhorniae Triboun & Keerat. (Zingiberaceae) ไม้ล้มลุกจากเขาหินปูนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศของประเทศไทย ตีพิมพ์ในวารสาร The Thailand Natural History Museum Journal 10(1): 1. 2016 ดอกมีกลิ่นหอม เป็นพืชถิ่นเดียวของไทย (endemic)

ชื่อไทย ‘ไอยริศ’ เป็นนามพระราชทาน คำระบุชนิด ‘sirindhorniae’ ตั้งขึ้นเพื่อเทิดพพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี



 (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/22347073960635_269604094_3001171670197721_138.jpg)    • ดีลาม้อน ต่างหูขาว หนาดโคก

ดีลาม้อน ต่างหูขาว หนาดโคก ไม้ล้มลุก ดอกสวยงามคล้ายเดซี่

Duhaldea nervosa (Wall. ex DC.) Anderb. (Asteraceae, Compositae) จากเขาหินปูนดอยหัวหมด อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ไม้ล้มลุก ดอกสวยงามคล้ายเดซี่ ดอกย่อยวงนอกสีขาว เป็นดอกเพศเมีย ดอกย่อยวงในสีเหลือง เป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีเขตการกระจายพันธุ์ตั้งแต่แถบหิมาลัยจนถึง เมียนมา จีนตอนใต้ ไทย เวียดนาม และลาว ในไทยมักพบตามดอยสูงทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ที่สูงจากระดับทะเลปานกลางมากกว่า ๑,๐๐๐เมตร ที่ดอยหัวหมดจะพบในระดับที่ต่ำกว่า ตั้งแต่ ๗๕๐-๑,๐๐๐ เมตร

ดีลาม้อนเป็นชื่อในภาษากระเหรี่ยง



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/41514932074480_268926259_3001894596792095_387.jpg)     • มะแปบวอ

มะแปบวอ มะแปบวอ ขามผีน้อย มะแปบกวาง แปบกวางใหญ่ ไม้พุ่มกึ่งเลื้อย จากเขาหินปูนดอยหัวหมด จ.ตาก

มะแปบวอ ขามผีน้อย มะแปบกวาง แปบกวางใหญ่

Haymondia wallichii (DC.) A. N. Egan & B. Pan (Fabaceae, Leguminosae) จากเขาหินปูนดอยหัวหมด อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ไม้พุ่มหรือไม้พุ่มกึ่งเลื้อย ใบประกอบแบบมีใบย่อย ๓ ใบ หูใบรูปใบหอก ปลายแยกเป็น ๒ แฉก ดอกสีออกขาว มีแต้มสีเขียวที่ด้านในกลีบบน และมีแต้มสีม่วงที่ปลายกลีบคู่ข้าง มีเขตการกระจายพันธุ์ตั้งแต่แถบหิมาลัยถึงบังกลาเทศ เมียนมา จีนตอนใต้ ตอนเหนือของไทย และลาว ที่ดอยเชียงดาวจะพบในระดับความสูงมากกว่าที่พบที่ดอยหัวหมด



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/74823257161511_268986798_3002622936719261_110.jpg)     • กำลังช้างพลาย พืชล้มลุกจากอุ้มผาง

กำลังช้างพลาย Psammosilene tunicoides W. C. Wu & C. Y. Wu (Caryophyllaceae) พืชล้มลุกหลายปีจากดอยหัวหมด อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก มีรากใต้ดินเป็นรูปกรวยยาว กึ่งมีเนื้อ เป็นสกุลและชนิดรายงานการพบใหม่สำหรับประเทศไทย สกุล Psammosilene เป็นสกุล monotypic หมายความว่าทั้งสกุลมีเพียงชนิดเดียว พืชชนิดนี้แต่ก่อนมีรายงานการพบเฉพาะทางจีนตอนใต้และมีการนำรากมาใช้เป็นสมุนไพรอย่างแพร่หลายจนทำให้ประชากรในธรรมชาติลดลงอย่างมาก การพบในประเทศไทยเป็นครั้งแรกที่มีรายงานการพบนอกจีน


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/21544286650088_269688722_3003316226649932_319.jpg)     • คางเลือยตะนาวศรี

คางเลือยตะนาวศรี Scutellaria tenasserimensis A. J. Paton (Lamiaceae, Labiatae) ไม้ล้มลุกขึ้นตามที่โล่งบนเขาหินปูนดอยหัวหมด อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก เป็นพืชชนิดใหม่ของโลกตีพิมพ์ในวารสาร Kew Bulletin 71(1)-3: 2 ของสวนพฤกษศาสตร์คิว สหราชอาณาจักร ปี ๒๐๑๖ เป็นพืชถิ่นเดียวของไทย (endemic) ตัวอย่างต้นแบบ Suddee & Puudja 113 เก็บจากดอยหัวหมดเมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน ปี ๑๙๙๘


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/82655740363730_269876183_3004042626577292_786.jpg)     • เอื้องคาวมัจฉา

เอื้องคาวมัจฉา : Ipsea thailandica Seidenf.

กล้วยไม้ขึ้นบนหิน จากเขาในจังหวัดตาก ดอกมีกลิ่นเหมือนคาวปลา ตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือ Contributions to the Orchid Flora of Thailand XIII ปี ๑๙๙๗ โดยระบุว่าเป็นกล้วยไม้ดินมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยซึ่งไม่ทราบแหล่งที่แน่ชัด การสำรวจพบครั้งนี้เป็นการยืนยันการพบในไทย ข้อมูล ณ ปัจจุบันเป็นพืชถิ่นเดียว (endemic) ของไทย ยังไม่มีข้อมูลลักษณะใบเนื่องจากใบและดอกออกไม่พร้อมกัน ตัวอย่างต้นแบบ Thaithong ๑๒๘๙ (C).

ชื่อพ้อง Ancistrochilus thailandicus (Seidenf.) Szlach. & Marg., Polish Botanical Journal 46(2): 113. 2002.  



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/81712789874937_269822208_3004745586506996_330.jpg)     • กำลังช้างสาร

กำลังช้างสาร "ซ้ามักข้าวดอย" Maesa montana A. DC. (Primulaceae)

ไม้พุ่มถึงไม้ต้นขนาดเล็กกิ่งห้อยย้อยลงจากป่าดิบเขา เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง จังหวัดตาก ใบบาง ค่อนข้างเกลี้ยง ช่อดอกแบบช่อกระจะหรือช่อแยกแขนง ออกตามซอกใบ ดอกสีขาว ผลรูปทรงเกือบกลม รูปไข่ หรือรูปขอบขนาน มีเขตการกระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดียถึงภูมิภาคอินโดจีน ในไทยพบได้เกือบทุกภาคยกเว้นภาคใต้  



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/32947303189171_270040097_3005410893107132_231.jpg)     • ปอมแดง

ปอมแดง Euphorbia capillaris Gagnep. (Euphorbiaceae) ไม้ล้มลุกอายุปีเดียว จากเขาหินปูนดอยหัวหมด อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ลำต้นแตกกิ่งก้านมาก กิ่งก้านเรียวเล็ก ใบบาง มีทั้งขอบเรียบและขอบจักฟันเลื่อย พบมีการกระจายพันธุ์ในไทยและภูมิภาคอินโดจีน ตัวอย่างจากไทยเก็บครั้งแรกโดย Dr C. C. Hosseus นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน หมายเลข Hosseus ๑๕๓ เมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม ปี ๑๙๐๔ ระบุไว้ว่าจาก Kau Phra Dang ซึ่งไม่ทราบแน่ชัดว่าคือที่ใด [น่าจะตำบลประดาง วังเจ้า ซึ่งอยู่ห่างจากตากไปทางใต้ตามลำแม่น้ำปิง, ๑๐ Meilen unterhalb Raheng (Tak)]


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/47025419606102_269920591_3006124983035723_305.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/86306878800193_269852069_3006124913035730_312.jpg)     • กลางหิน

กลางหิน Lysimachia fletcheri C. M. Hu & Bennell (Primulaceae) จากเขาหินปูนดอยหัวหมด อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ไม้ล้มลุก ดอกสีเหลือง มีเขตการกระจายพันธุ์ทางตอนเหนือของไทยและเมียนมา ในไทยพบที่ดอยเชียงดาวในระดับความสูง ๑,๖๐๐-๒,๑๐๐ เมตร ส่วนที่ที่ดอยหัวหมดจะพบในระดับที่ต่ำกว่า ตั้งแต่ ๘๐๐-๙๐๐ เมตร ตัวอย่างต้นแบบหมายเลข H. J. Lace ๕๒๓๖๓ เก็บจาก Maymyo Plateau เมียนมา เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน ปี ๑๙๑๑ คำระบุชนิด ‘fletcheri’ ตั้งให้เป็นเกียรติแก่ Dr Harold Roy Fletcher นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ อดีตภัณฑารักษ์หอพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์เอดินบะระ ซึ่งท่านได้ศึกษาพรรณไม้ไทยหลายวงศ์


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/87993804448180_270146906_3007489689565919_725.jpg)     • ช้องเจ้าฟ้า

ช้องเจ้าฟ้า Buxus sirindhorniana W. K. Soh, M. von Sternburg, Hodk. & J. Parn. (Buxaceae) ไม้ต้นในสกุลช้อง ‘Buxus’ จากเขาหินปูนดอยหัวหมด อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ไม้ต้นทรงสวยงาม เปลือกสีเทา หนา ตีพิมพ์เป็นพืชชนิดใหม่ของโลกในวารสารทางพฤกษศาสตร์ของประเทศเดนมาร์ก Nordic Journal of Botany ฉบับที่ ๓๒ หน้า ๔๕๒-๔๕๘ ปี ๒๐๑๔ โดยทีมงานนักพฤกษศาสตร์จากทรินิตี้ คอลเลจ มหาวิทยาลัยแห่งกรุงดับลิน ไอร์แลนด์ ในการตีพิมพ์ยังคงใช้คำบรรยายลักษณะสำคัญ (diagnosis) เป็นภาษาละตินอยู่ถึงแม้กฏเกณฑ์ใหม่จะให้ใช้ภาษาอังกฤษแทนได้ก็ตาม โดยได้ระบุไว้ว่า ‘Buxo rupicola Ridl. foliis sine venis intramarginalibus et inflorescentia pubescente similis, sed ab ea foliis lanceolatis apice acuto, floribus bicarpellatis differt’ ซึ่งชนิดนี้รังไข่จะมี ๒ ช่อง ต่างจากพืชสกุลช้องทั่วไปที่รังไข่มี ๓ช่อง ช้องเจ้าฟ้ามีการกระจายพันธุ์ห่าง ๆ ตั้งแต่ดอยเชียงดาว เชียงใหม่ ถึงแจ้ซ้อน ลำปาง ดอยหัวหมด ตาก และด่านเจดีย์สามองค์ กาญจนบุรี ตัวอย่างต้นแบบ Hennipman ๓๑๙๔ เก็บจากดอยเชียงดาว เชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ปี ๑๙๖๕ ส่วนบริเวณดอยหัวหมด อุ้มผาง ตาก จะพบประชากรมากที่สุด โดยตัวอย่างที่เก่าที่สุดคือตัวอย่าง Kerr ๖๑๓๑ เก็บจากบริเวณนี้โดยหมอคาร์ เมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน ปี ๑๙๒๒ หมอคาร์ได้เดินทางเข้าอุ้มผางผ่านมาทางแม่วงก์ ทำการเก็บตัวอย่างที่ดอยหัวหมด ๒ วัน ระหว่างวันที่ ๑๒-๑๓ มิถุนายน ๑๙๒๒ ได้ตัวอย่างหมายเลข Kerr ๖๑๑๘-๖๑๓๔

คำระบุชนิด ‘sirindhorniana’ ตั้งขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยทีมงานผู้ตีพิมพ์ได้ระบุไว้ว่า ‘The specific epithet is chosen to honour Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn of Thailand, who is a strong advocate for the preservation of biodiversity in the country



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/78216473054554_270122557_3009056942742527_290.jpg)     • ประทัดสุเทพ

ประทัดสุเทพ  "ประทัดสุเทพ" ไม้พุ่มอิงอาศัยจากป่าดิบเขา

Agapetes thailandica Watthana (Ericaceae) ไม้พุ่มอิงอาศัยจากป่าดิบเขา เส้นทางลอยฟ้า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง จังหวัดตาก ทุกส่วนของลำต้นเกลี้ยง ดอกออกตามกิ่ง กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด สีแดงสด คำระบุชนิด ‘thailandica’ หมายถึงประเทศไทย ตัวอย่างต้นแบบ S. Watthana, P. Suksathan & G. Argent ๕๘๗ เก็บจากอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ประทัดสุเทพเป็นพืชถิ่นเดียวของไทย (endemic) พบมีการการจายพันธุ์แถบเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน การพบที่อุ้มผางถือเป็นจุดต่ำสุดที่กระจายพันธุ์ลงมาถึง



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/82045133784413_270299823_3009380089376879_567.jpg)     • เทพทาโร

เทพทาโร Cinnamomum porrectum (Roxb.)Kosterm.

วงศ์ : LAURACEAE

ชื่ออื่น : การบูร (หนองคาย), จวง จวงหอม (ภาคใต้), จะไคต้น จะไคหอม (ภาคเหนือ), พลูต้นขาว (เชียงใหม่)

เทพทาโรเป็นไม้ต้น ใบเดี่ยว เรียงสลับ ดอกช่อ ออกที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง สีขาวหรือเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม ผลแก่สีม่วงดำ

สรรพคุณ : เปลือกและเนื้อไม้ แต่งกลิ่นอาหาร เป็นยาบำรุง แก้ลมจุกเสียด ขับลม บำรุงธาตุ ขับผายลม แก้ปวดท้  



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/28535949273241_270231026_3010387895942765_235.jpg)     • วาสุกรีอุ้มผาง

วาสุกรีอุ้มผาง : ไม้ล้มลุก จากเขาหินปูนดอยหัวหมด

Viola umphangensis S. Nansai, Srisanga & Suwanph. (Violaceae) ไม้ล้มลุก จากเขาหินปูนดอยหัวหมด อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ขึ้นในที่ค่อนข้างร่มและชื้นใต้ต้นไม้ใหญ่ เป็นพืชถิ่นเดียวของไทย (endemic) ปัจจุบันพบเฉพาะที่อุ้มผาง ตีพิมพ์เป็นพืชชนิดใหม่ของโลกในวารสารทางพฤกษศาสตร์ของประเทศเดนมาร์ก Nordic Journal of Botany ในปี ๒๐๒๐ ตัวอย่างต้นแบบ S. Nansai ๑๐ เก็บเมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๐๑๘

คำระบุชนิด ‘umphangensis’ หมายถึงอำเภออุ้มผาง แหล่งที่พบและเก็บตัวอย่างต้นแบบของพืชชนิดนี้



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/96572874113917_271164860_3011162725865282_687.jpg)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/27937255013320_271133214_3011162615865293_617.jpg)     • "มะแฮะเลือด

"มะแฮะเลือด" "มะแฮะป่า"

Rhynchosia avensis Benth. ex Baker (Fabaceae, Leguminosae) จากเขาหินปูนดอยหัวหมด อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ไม้พุ่มขึ้นในที่ค่อนข้างโล่งแจ้ง ใบประกอบแบบมีใบย่อย ๓ ใบ ดอกเหลืองทั้งต้นเวลาออกดอก มีเขตการกระจายพันธุ์แคบในเมียนมาและตอนเหนือของไทย

ขอขอบคุณ ผศ. ดร.สไว มัฐผา ผู้เชี่ยวชาญพืชวงศ์ถั่วของไทยสำหรับชื่อพฤกษศาสตร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/34484690096643_271236799_3011824149132473_654.jpg)     • ตืดแมว : หางกะหรอด : หญ้าสองปล้อง

ตืดแมว : หางกะหรอด : หญ้าสองปล้อง

Polhillides velutina (Willd.) H. Ohashi & K. Ohashi (Fabaceae, Leguminosae) [ชื่อพ้องที่พบบ่อย Desmodium velutinum (Willd.) DC.] จากเขาหินปูนดอยหัวหมด อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ไม้พุ่มเตี้ยพบตามที่ค่อนข้างโล่ง ใบประกอบลดรูปเหลือใบเดียวคล้ายใบเดี่ยว พบบ้างที่มีใบย่อย ๓ ใบ ดอกสีม่วงถึงชมพู มีเขตการกระจายพันธุ์กว้างตั้งแต่เขตร้อนแอฟริกาถึงเขตร้อนเอเชียและออสเตรเลีย

ชื่อสกุล ‘Polhillides’ ตั้งให้เป็นเกียรติแก่ Roger Marcus Polhill อดีตนักพฤกษศาสตร์สวนพฤกษศาสตร์คิว สหราชอาณาจักร

ขอขอบคุณ ผศ. ดร.สไว มัฐผา ผู้เชี่ยวชาญพืชวงศ์ถั่วของไทยสำหรับชื่อพฤกษศาสตร์



(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/17650586242476_271278797_3012496849065203_102.jpg)     • ผักแว่นต้น

"ผักแว่นต้น" "กำลังวัวเฉลิม"

Crotalaria medicaginea Lam. (Fabaceae, Leguminosae) ไม้ล้มลุกอายุหลายปีจากเขาหินปูนดอยหัวหมด อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ใบประกอบแบบมีใบย่อย ๓ใบ รูปไข่กลับ ทั้งต้นมีสรรพคุณด้านสมุนไพรแก้ปวดเมื่อย เมาค้าง บำรุงกำลัง มีเขตการกระจายพันธุ์กว้างตั้งแต่แถบตะวันออกกลางถึงอินเดีย จีน ภูมิภาคมาเลเซีย และออสเตรเลีย


ขอขอบคุณที่มา (ข้อมูล-ภาพ) : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
400