[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สยาม ในอดีต => ข้อความที่เริ่มโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 15 กันยายน 2553 01:21:53



หัวข้อ: วันสำคัญต่าง ๆ ของ สยามในอดีต (วัน เดือน ปี)
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 15 กันยายน 2553 01:21:53
เดือนนี้ (ที่ตั้งกระทู้ตอนนี้) เดือนกันยายน

เรามาดูกันดีกว่าว่าเดือนกันยายนของสยามเราในอดีต มีเหตุการณ์สำคัญอะไรบ้าง



1 กันยายน 2411   ออกหนังสือพิมพ์รายวันฉบับแรกของไทย  โดยพิมพ์ที่โรงพยาบาลหมอสมิท
                      ชื่อ Siam Daily Advertiser
1 กันยายน 2439   ตั้งโรงเรียนราชวิทยาลัย  ที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยามหาศรีสุริยวงศ์  (ช่วง  บุนนาค)
1 กันยายน 2452   เริ่มงานการทำบัญชีสำมะโนครัวในเมืองไทย คือ (การจดบัญชีคนเกิดคนตาย คนย้ายที่อยู่)



2 กันยายน 2385   วางศิลาฤกษ์เสริมสร้างพระปรางค์วัดอรุณ ฯ จากความสูง 8 วา เป็นสูง 1 เส้น
                      13 วา หรือ 66 เมตร
2 กันยายน 2454   มีพิธีเข้าประจำกองลูกเสือเป็นครั้งแรกที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (วชิราวุธวิทยาลัย) 
                      กิจการลูกเสือเกิดขึ้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2454 และได้พระราชทานธงประจำกองลูกเสือ
                      เมื่อ 16 กันยายน 2454  กิจการลูกเสือเกิดขึ้นหลังกิจการ "เสือป่า"
2 กันยายน 2456   ตรากฎสำหรับทหารกองหนุน



3 กันยายน 2428   ตั้งกรมแผนที่



4 กันยายน 2351   วันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว  พระนามเดิมเจ้าฟ้าน้อย 
                      พระราชโอรสใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  และเป็นองค์ที่ 2 ใน
                      สมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์
4 กันยายน 2428   ยุบกองทหารวังหน้า  มารวมกับกองทหารวังหลัง  บางส่วนจัดเป็นกองตระเวนทางน้ำ



5 กันยายน 1863   ที่กลางเวียงเชียงใหม่  เกิดฟ้าผ่าต้องพ่อขุนเม็งราย  สวรรคต  รวมพระชนมายุ 81 พรรษา
5 กันยายน 2415   ตั้งห้างแรมเซเวกฟิลด์  ที่ตึกกรมประชาสัมพันธ์หลังเก่า  ต่อมาเป็นห้างแบดแมน 
                      เป็นห้างสรรพสินค้าแห่งแรก
5 กันยายน 2419   ตั้งหอมิวเซี่ยม (พิพิธภัณฑ์)  ที่ศาลาสหทัยสมาคมในพระบรมมหาราชวัง  ให้ทหารมหาดเล็ก
                      รับผิดชอบ
5 กันยายน 2482   ไทยได้ประกาศตัวเป็นกลางในสงครามโลกครั้งที่ 2  หลังจากที่อังกฤษและฝรั่งเศส 
                      ประกาศสงครามกับ เยอรมันนี เมื่อ 3 กันยายน 2482  แล้วคู่สงครามทั้งสองฝ่าย 
                      ต่างมีหนังสือยืนยันว่า  จะเคารพความเป็นกลางของไทยอย่างบริบูรณ์



6 กันยายน 2458   ตั้งมณฑลมหาราษฎร์  ตั้งศาลาว่าการมณฑลที่จังหวัดแพร่  โดยแยก  จังหวัดลำปาง 
                      แพร่  น่าน  ออกจากมณฑลพายัพ ต่อมาได้ยุบมณฑลมหาราษฎร์ เมื่อ 1 มกราคม 2459
6 กันยายน 2487   ญี่ปุ่นระดมเชลยศึกสร้างสะพานข้ามแม่น้ำแคว  กาญจนบุรี



7 กันยายน 2333   ชาวเมืองยอง 585 ครัวเรือน  ในแคว้นไทยใหญ่อพยพมาอยู่เมืองน่าน
7 กันยายน 2352   ร.1  เสด็จสวรรคต  พระชนมายุ 74 พรรษา  ครองราชย์ 27 ปี เศษ
7 กันยายน 2488   ประกาศยกเลิกคำว่า  "ประเทศไทย" (ไทยแลนด์) ให้ใช้คำว่า  "สยาม" "ไทย" กับ "สยาม" 
                      ต่างกัน ไทยเป็นชื่อเชื้อชาติ คำว่า "สยาม" เป็นชื่อดินแดน



9 กันยายน 2367   อังกฤษได้เมืองทะวาย  โดยการทำสงครามกับพม่า  เมืองทะวายเคยเป็นพระราชอาณาเขต
                      ตั้งแต่กรุงสุโขทัย  ตกไปเป็นของพม่า เมื่อ พ.ศ. 2302  สมัยอยุธยากลับมาอยู่ในอิทธิพลไทย
                      เมื่อ 10 มีนาคม 2334  ต่อมาพม่าตีคืนไป เมื่อ 16 มกราคม 2336  กองทัพไทยต้องถอยจาก
                      เมืองทะวาย
9 กันยายน 2421   กำหนดมาตราฐานการตวงข้าว 1 เกวียนเท่ากับ 100 ถัง แต่ก่อนถือ 22 หาบ เป็น 1 เกวียน



10 กันยายน 2484   ตั้งภาคการปกครอง แบ่งพื้นที่ออกเป็น 5 ภาค โดยรวมจังหวัดต่าง ๆ เป็นหน่วยงาน เรียกว่า "ภาค" ดังนี้



11 กันยายน 2352   พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  ได้ราชสมบัติต่อจาก  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช



12 กันยายน 2479   รถไฟสายปากน้ำหมดสัมปทาน รถไฟสายนี้เป็นของเอกชน เปิดเดินเมื่อ 11 เมษายน 2436 
                        ลงนามในสัญญาสัมปทาน

$

13 กันยายน 2322   เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง)  แม่ทัพไทยสมัยกรุงธนบุรี  ยึดเมืองเวียงจันทน์ได้
13 กันยายน 2367   พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ  ทรงสถาปนา กรมหมื่นศักดิพลเสพ  พระปิจตุฉาธิราช
                        ขึ้นดำรงตำแหน่งที่ 
                        กรมพระราชวังบวรสถานมงคล
13 กันยายน 2456   ยกกรมตำรวจภูธรขึ้นเป็น  กรมชั้นอธิบดี ให้ตำรวจภูบาลมาขึ้นกับ ตำรวจภูธร



14 กันยายน 2400   วันเริ่มขุดคลองมหาสวัสดิ์  ตั้งแต่วัดชัยพฤกษ์มาลา  ไปออกแม่น้ำท่าจีน
14 กันยายน 2488   รัฐบาลไทยได้ประกาศยกเลิกกติกาพันธไมตรีกับประเทศญี่ปุ่น  และต่อมาได้ประกาศ
                        ยับยั้งความสัมพันธกับญี่ปุ่น



15 กันยายน 2328   เป็นวันตั้งชื่อ "กรุงเทพมหานคร"



16 กันยายน 2347   เจ้าฟ้าเชียงตุงลงมากรุงเทพ ฯ  เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช 
                        ขณะนั้นเชียงตุง เป็นขัณฑสีมา อยู่ชั่วระยะหนึ่ง
16 กันยายน 2465   พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  พระราชทานที่ดินหวงห้ามที่สัตหีบให้ใช้เป็นฐานทัพเรือ 
                        ตามที่นายพลเรือเอก กรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์ได้ขอพระราชทาน
16 กันยายน 2485   ลงนามข้อตกลงระหว่างไทยกับญี่ปุ่น เพื่อสร้างทางรถไฟสายพม่า (สายมรณะ) ญี่ปุ่นขอยืม
                        เงินไทย 4 ล้านบาท สร้างเสร็จเมื่อ 25 ตุลาคม 2486 เป็นระยะทางยาว 302 ก.ม. มีสถานี 37 สถานี
                        ใช้แรงงานกรรมกรและเชลย 60,000 คน เชลยตาย 8,722 คน ทางรถไฟสายนี้เมื่อเสร็จสงครามแล้ว
                        รัฐบาลไทยต้องจ่ายเงินให้กับอังกฤษเป็นเงิน 50 ล้านบาท เพื่อซื้อมาเป็นของไทย เมื่อ มกราคม 2490



17 กันยายน 2312   โปรดเกล้า ฯ ให้พระยาอินทวงศา มาจัดการปักเขตที่ดินให้แก่พวกคริสตังที่บางกอก คือ ตำบลกุฎีจีน
17 กันยายน 2403   ประกาศใช้เงินเหรียญบาท และเงินแป (1 สลึง 2 สลึง เงินเฟื้อง)  กำหนดออกใช้ใน 23 กันยายน 2403
17 กันยายน 2464   เปิดเดินรถไฟจากสถานี ตันหยงมาส ไป สุไหงโกลก



18 กันยายน 2399   พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ  เลื่อนพระยาเมืองแก้วหมานสุริยวงศ์
                        ขึ้นเป็นพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ ฯ เจ้านครเชียงใหม่
18 กันยายน 2406   เริ่มใช้  อัฐดีบุก  เป็นเงินตราแทน หอยเบี้ย
18 กันยายน 2439   ตั้งกรมป่าไม้  อธิบดีคนแรกเป็นชาวต่างประเทศ  ชื่อ เอช.สะเล็ด
18 กันยายน 2444   ตัดถนนราชดำเนินกลาง



19 กันยายน 2399   พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงมีพระราชสาส์นจารึกในแผ่นพระสุพรรณบัตรถึง
                        พระเจ้านโปเลียนที่ 3 แห่งพระราชอาณาจักรกรุงฝรั่งเศส  มีใจความว่าขอเจริญทางพระราชไมตรี
                        มายังสำนักสมเด็จพระเจ้านโปเลยอนที่สาม  และการจัดแจงสัญญาการไมตรีและการค้าขายคืนต่อ
                        กับการซึ่งได้เป็นแล้วแต่หนหลัง  ครั้งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
19 กันยายน 2403   สร้างพระปฐมเจดีย์
19 กันยายน 2432   กองทัพเมืองเชียงใหม่  ยกไปปราบพระยาปราบสงคราม  ที่เมืองฝาง
19 กันยายน 2449   ตรา พ.ร.บ. ศักดินาตำรวจภูธร
19 กันยายน 2493   ได้มีการลงนามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและเทคนิค  ระหว่างสหรัฐอเมริกา
                        กับไทย และต่อมาเมื่อ 17 ต.ค. 2493  ในด้านการทหาร  หลังจากที่ไทยได้ส่งกำลังทหาร
                        ไปร่วมรบกับกองกำลังสหประชาชาติ เมื่อ มิ.ย. 2493
19 กันยายน 2517   โอนโรงกษาปณ์สิทธิการเป็นหอศิลปแห่งชาติ กรมศิลปากร



20 กันยายน 2396   เป็นวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว



21 กันยายน 2439   เริ่มกิจการ ผู้ใหญ่บ้าน  ตามระเบียบการปกครองอย่างใหม่  ที่บางปะอิน



22 กันยายน 2151   สมเด็จพระเอกาทศรถ  โปรดให้ทูตานุทูตอัญเชิญพระราชสาส์น และเครื่องราชบรรณาการ
                        ไปเจริญ  ทางพระราชไมตรีกับพระเจ้ามอริสในราชวงศ์ ออเรนซ์ แห่งประเทศฮอลันดา 
                        นับเป็นคณะทูตไทยคณะแรกที่เดินทางไปทวีปยุโรป
22 กันยายน 2334   โปรดเกล้า ฯ  ให้เจ้าหน้าบุตรพระตา  เป็นพระยาพิชัยราชสุริยวงศ์ขัตติยราช  เมืองจำปาศักดิ์ 
                        ขึ้นกรุงเทพ ฯ นครจำปาศักดิ์ เคยเป็นพระราชอาณาเขต  ต้องเสียให้แก่ฝรั่งเศส เมื่อ
                        12 กุมภาพันธ์ 2446  เพื่อให้ฝรั่งเศสคืนจังหวัดจันทบุรีให้ไทยซึ่งได้ยึดไว้แต่เมื่อกรณี ร.ศ.112
22 กันยายน 2431   รถรางได้ออกรับผู้โดยสารเป็นครั้งแรกในไทย  และในทวีปอาเซีย
22 กันยายน 2460   ไทยประกาศสงครามต่อประเทศเยอรมันนี และออสเตรีย  ฮังการี  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ-
                        พระมงกุฎเกล้า ฯ
22 กันยายน 2488   ไทยได้ส่งมอบรัฐเชียงตุง และรัฐเมืองพาน  ให้กับกองพลอินเดียที่ 7
22 กันยายน 2493   ประกาศพระบราราชโองการให้ส่งทหารไปร่วมรบในสงครามเกาหลี ได้ส่งกรมผสมที่ 21 มีกำลัง
                        1 กองพัน ไปร่วมรบเมื่อ 22 ตุลาคม 2493 สงครามเกาหลีมีทหาร 13 ชาติ ไปร่วมรบ รบกันอยู่ 6 ปี
                        ไทยผลัดเปลี่ยนกันไปถึง 11,786 คน รุ่นสุดท้ายถอนกำลังกลับเมื่อ 23 มิถุนายน 2515



23 กันยายน 2228   เชวาเลีย เดอ โชมอง  ราชทูตฝรั่งเศส และบาดหลวงเดอชัวซี อุปทูต  เชิญพระราชสาส์น
                        กับเครื่องราชบรรณาการ จากพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 มาเจริญทางพระราชไมตรียังสมเด็จพระนารายณ์ 
                        เดินทางถึงปากน้ำเจ้าพระยา
23 กันยายน 2445   ออกธนบัตรใบละ 5 บาท  10 บาท  20 บาท  100 บาท  1,000 บาท
23 กันยายน 2479   รัฐบาลไทยได้ตั้งหน่วยยุวชนทหารขึ้น  เป็นการฟื้นฟูการจัดตั้งกองกำลังกึ่งทหารขึ้น  เพื่อทำการ
                        ฝึกวิชาทหารให้แก่นักเรียนนิสิตนักศึกษา โดยให้กระทรวงกลาโหมรับผิดชอบ  โดยมีแผนกที่ 6
                        ในกรมจเรทหารบก  มีหน้าที่ฝึกวิชาทหารให้แก่ยุวชนทหาร  ต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็น กรมยุวชนทหาร
                        เมื่อปี พ.ศ. 2480  หน่วยนี้ถูกยุบเลิกไป เมื่อปี พ.ศ. 2488
23 กันยายน 2488   ข้าหลวงใหญ่ประจำสี่รัฐมาลัยของไทย  ได้ทำพิธีมอบสี่รัฐมาลัยให้กับฝ่ายทหารอังกฤษ



24 กันยายน 2390   พระเจดีย์ใหญ่สร้างที่วัดสระเกศ  เพื่อฉลองชัยชนะสงครามไทยกับญวน  ขณะที่ยังสร้างไม่เสร็จ 
                        ได้พังลงมาในวันนี้ เลยกลายเป็นภูเขาทอง
24 กันยายน 2431   วันนี้ทหารบกได้ร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี  ถวายพระพุทธเจ้าหลวงเป็นครั้งแรก  ที่กรมยุทธนาธิการ
                        (กระทรวงกลาโหม)
24 กันยายน 2435   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  เสด็จเปิดอาคารโรงเรียนนายร้อยที่วังสราญรมย์  คือ
                        อาคารกรมแผนที่ในปัจจุบัน และในวันนี้ได้มีการพระราชทานธงไชยเฉลิมพลแก่ทหาร 5 กรม



25 กันยายน 2480 เริ่มมีเครื่องโทรศัพท์อัตโนมัติในเมืองไทย



26 กันยายน 2227   ราชทูตไทยชุดที่ 2  ได้เข้าเฝ้า พระเจ้าชาร์ลที่ 2 แห่งอังกฤษ  นับเป็นทูตคณะแรกที่ไปขอเจริญ
                        สัมพันธไมตรี  กับราชสำนักอังกฤษ
26 กันยายน 2416   พนะบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้ายู่หัว  ทรงผนวช  นับเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรก 
                        ในพระราชวงศ์จักรี  ที่ทรงผนวชเมื่อเสวยราชย์



27 กันยายน 2230   คณะราชทูตไทยมีออกพระวิสูตรสุนทร (ปาน)  เป็นหัวหน้า  พร้อมด้วยคณะราชทูตฝรั่งเศส 
                        ชุดที่สองมี  ม.เดอลาลูแบร์ เป็นหัวหน้า มาถึงประเทศไทย
27 กันยายน 2346   ราชทูตไทยไปเมืองญวน  นำเครื่องยศกษัตริย์ 18 อย่าง ไปพระราชทานให้พระเจ้าเวียดนาม 
                        ยาลอง (องเชียงสือ) พระเจ้าเวียดนามรับของ 17 อย่าง  เว้นแต่พระมาลาเบี่ยงถวายคืน
                        ไม่กล้ารับพระราชทาน อ้างว่าเป็นของสูง สมัยก่อนญวนเป็นเขตอิทธิพลของกรุงรัตนโกสินทร์ 
                        ต้องถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทอง



30 กันยายน 2410   พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ  ตั้งเซอร์ยอน บาวริ่ง 
                        เป็นอัคราชทูตพิเศษไทย  ประจำกรุงลอนดอน
30 กันยายน 2484   หลังสงครามเรียกร้องดินแดนคืน เมื่อ พ.ศ. 2483-2484  มีการปักปันเส้นเขตแดน
                        ระหว่างไทยกับ อินโดจีนฝรั่งเศส ทำให้ไทยได้เกาะต่าง ๆ ในลำน้ำโขง 77 เกาะ มาเป็นของไทย





นี่แค่เดือนเดียวแบบคร่าว ๆ ไว้เดือนหน้ามาต่อกันใหม่

http://www.payakorn.com/pastmonth.php (http://www.payakorn.com/pastmonth.php)


หัวข้อ: Re: วันสำคัญต่าง ๆ ของ สยามในอดีต (วัน เดือน ปี)
เริ่มหัวข้อโดย: ▄︻┻┳═一 ที่ 17 พฤศจิกายน 2553 01:52:23
ที่ใดจะน่าอยู่เท่าประเทศไทยเรา
ดินแดนอันอุดมไปด้วยทรัพย์ในดินสินในน้ำ วัฒนธรรมดีงามหลากหลาย