[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => สมถภาวนา - อภิญญาจิต => ข้อความที่เริ่มโดย: ไอย ที่ 17 มกราคม 2553 17:07:03



หัวข้อ: ศาสนาพุทธจะเสื่อม เพราะความหลง เพราะความรู้ไม่ทัน
เริ่มหัวข้อโดย: ไอย ที่ 17 มกราคม 2553 17:07:03

ทำไม ถึงได้ตั้งหัวข้อนี้หรือไม่ค่ะ ก็เพราะว่าปัจจุบันนี้
สังคมมนุษย์ได้เสื่อมทรามลงไปมาก เต็มไปด้วยความโลภ
ความกระสัน ทะยานอยาก ในเรื่องของปัจจัยและ
ผลประโยชน์ใส่ตัวและพวกพ้อง โดยเฉพาะในเรื่อง
ของศาสนา ที่มักจะสร้างศรัทธาไปในทางที่ผิด
ทำให้คนหลงยึดติดกับฤทธิ์อภิญญาของบรรดาอาจารย์
เจ้าสำนักต่าง ๆ  การใช้เล่ห์เพทุบายในการเอาศาสนามาบังหน้า
ลวงล่อหลอกให้ผู้บริสุทธิ์หลาย ๆ คนหลงทาง  หลอกลวง
เอาเงินทอง ทรัพย์สมบัติไม่พอ กลับลวงหลอกให้ยึดมั่น
ถือมั่น และบิดเบือนพุทธศาสนาโดยอ้างเทพบ้าง มนุษย์ต่างดาว
หรืออะไรต่าง ๆ บ้าง  อันผิดหลักพุทธศาสนา  หรือไม่ก็
บัญญัติภาษาต่าง ๆ ให้แยบคาย ไม่ว่าจะพูดแบบไหน
ก็ถูกต้องไปหมด ทำให้คนที่รู้ไม่รอบรู้ไม่จริง มักจะหลงทาง
ไปเป็นอันมาก อย่าว่าแต่คนธรรมดาทั่วไปเลย แม้กระทั่งผู้ปฏิบัติ
สมาธิอย่างเข้มข้น ก็ยังไม่วายหลงทางตามไปด้วย  
ซึ่งตรงนี้อันตรายมาก เพราะจะถือว่าตนเองเป็นผู้รู้
ผู้ปฏิบัติดี ปฏับัติชอบ ไม่มีทางจะพลาดไปง่าย ๆ  
 


หัวข้อ: Re: ศาสนาพุทธจะเสื่อม เพราะความหลง เพราะความรู้ไม่ทัน
เริ่มหัวข้อโดย: ไอย ที่ 17 มกราคม 2553 17:18:22

วันนี้เลยขอหยิบยกเรื่องราวจาก

คัมภีร์วิสุทธิมรรค ภาค 1 ตอน 1 หน้า 31-40       
หน้า ๓๑

ภิกษุใดในพระศาสนานี้คบแต่คนทุศีล ไม่คบคนมีศีล
ไม่เห็นโทษการล่วงวัตถุ เป็นผู้มากไปด้วยความดำริผิด
ไม่รักษาอินทรีย์ทั้งหลาย ศีลของภิกษุนั้นแล จัดเป็น
หานภาคิยศีล ( ศีลตั้งอยู่ในฝ่ายแห่งความเสื่อม )

ส่วนภิกษุใดในพระศาสนานี้เป็นผู้มีใจยินดีแต่ด้วยศีลสมบัติ
ไม่ยังความพอใจในการประกอบกัมมัฏฐานเนืองๆ ให้เกิดขึ้น
ศีลนั้นของภิกษุ ผู้พอใจอยู่ด้วยคุณเพียงศีล ไม่พยายามสืบต่อให้
ยิ่งขึ้นไปนั้นเป็น
ฐิติภาคศีล ( ศีลตั้งอยู่ในฝ่ายทรงตัว )

ส่วนภิกษุใดเป็นผู้มีศีลถึงพร้อมแล้ว พยายามสืบต่อให้ได้สมาธิ
ศีลของภิกษุนั้นเป็น
วิเสสภาคิยศีล ( ศีลตั้งอยู่ในฝ่ายวิเศษขึ้น )

ภิกษุใดไม่พอใจด้วยคุณเพียงศีล ประกอบนิพพิทาเนืองๆ อยู่
ศีลของภิกษุนั้นเป็น
นิพเพธภาคิยศีล ( ศีลตั้งอยู่ในฝ่ายชำแรกกิเลส )

ฉะนี้แล
พึงทราบศีลเป็น ๔ อย่าง โดยเป็นหานภาคิยศีลเป็นต้น ด้วยประการฉะนี้

จตุกกะที่ ๒

พึงทราบวินิจฉัยในจตุกะที่ ๒ ต่อไป
 
 


หัวข้อ: Re: ศาสนาพุทธจะเสื่อม เพราะความหลง เพราะความรู้ไม่ทัน
เริ่มหัวข้อโดย: ไอย ที่ 17 มกราคม 2553 17:22:18

สิกขาบทที่ทรงบัญญัติปรารภภิกษุทั้งหลาย และสิกขาบททั้งหลาย
ที่ภิกษุเหล่านั้นจำต้องรักษา โดยเป็นพระบัญญัติสำหรับภิกษุ
( หมายถึงสิกขาบทอื่นๆ ลางประเภท ซึ่งมิใช่สาธารณบัญญัติ )
นี้ชื่อว่า ภิกขุศีล

สิกขาบทที่ทรงบัญญติปรารภภิกษุณีทั้งหลาย และสิกขาบทที่
ภิกษุณีเหล่านั้นจำต้องรักษา โดยเป็นพระบัญญัติสำหรับภิกษุณี
นี้ชื่อว่า ภิกขุณีศีล  
ศีล ๑0 ของสามเณรและสามเณรีทั้งหลาย ชื่อว่า อนุปสัมปันนศีล  

สิกขาบท ๕ ( ศีล ๕ ) ของอุบาสอุบาสิกา โดยเป็นนิจศีล หรือเมื่อมี
อุตสาหะสิกขาบท ๑0 ( สิกขาบท ๑0ก็คือศีลของสามเณรนั่นเอง

คฤหัสถ์ผู้มีศรัทธาอุตสาหะ ลางคน เช่น ฆฏิการพราหมณ์ รับปฏิบัติ ) ( หรือ )
สิกขาบท ๘ โดยเป็นองค์อุโบสถ นี้ชื่อว่า คหัฏฐศีล  

พึงทราบศีลเป็น ๔ อย่างโดยเป็นภิกขุศีลเป็นต้น
ด้วยประการฉะนี้


หัวข้อ: Re: ศาสนาพุทธจะเสื่อม เพราะความหลง เพราะความรู้ไม่ทัน
เริ่มหัวข้อโดย: ไอย ที่ 17 มกราคม 2553 17:26:09

จตุกกะที่ ๓

พึงทราบวินิจฉัยในจตุกกะที่ ๓ ต่อไป ความไม่ล่วง ( ศีล ๕ )
ของมนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีป ชื่อ ปกติศีล  

มรรยาทและจารีตของตนๆ แห่งตระกูลแห่งเทสะและ
แห่งปาสัณฑะ ( ลัทธิ ) ชื่อว่า อาจารศีล ศีลของพระมารดา

พระโพธิสัตว์ ที่มีพระพุทธดำรัสไว้อย่างนี้ว่า " ดูกรอานนท์
ข้อนี้เป็นธรรมดา คือในกาลเมื่อพระโพธิสัตว์ก้าวลงสู่พระครรภ์
ของพระมารดาแล้ว ความพอใจอันเกี่ยวด้วยกามคุณในบุรุษทั้งหลาย
ย่อมไม่เกิดแก่พระมารดาของพระโพธิสัตว์ " ( ที.มหา.๑0/๑๔ )
ดังนี้ ชื่อว่า ธัมมตาศีล  

ส่วนศีลในชาตินั้นๆ ของสัตว์ผู้มีสันดานหมดจดทั้งหลาย
 

หน้า ๓๓

มีพระมหากัสสปะเป็นอาทิ และของพระโพธิสัตว์
ชื่อว่า ปุพพเหตุกศีล
( ศีลมีเหตุอันสำเร็จมาแต่ในชาติก่อนๆ )

พึงทราบศีลเป็น ๔ อย่าง โดยเป็นปกติศีลเป็นต้น
ด้วยประการฉะนี้



จตุกกะที่ ๔

พีงทราบวินิจฉัยในจตุกกะที่ ๔ ต่อไป




หัวข้อ: Re: ศาสนาพุทธจะเสื่อม เพราะความหลง เพราะความรู้ไม่ทัน
เริ่มหัวข้อโดย: ไอย ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2553 12:56:43

ปาฏิโมกขสังวรศีล

ศีลใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า " ภิกษุในศาสนานี้เป็น
ผู้สำรวมปาฏิโมกขสังวรอยู่ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร
มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษมาตรว่าเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน
สิกขาบททั้งหลาย " ( อภิ.วิ.๓๕/๓๒๘ ) ดังนี้ ศีลนี้ชื่อว่า
ปาฏิโมกขสังวรศีล อินทรียสังวรศีล

ส่วนศีลใดที่ตรัสไว้ว่า "ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว เป็นผู้ไม่ถือ
เอานิมิต ( เครื่องหมาย ) ไม่ถือเอาอนุพยัญชนะ ( รายละเอียดส่วนย่อย )
อภิชฌาโทมนัสทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายอันเป็นบาปเป็นอกุศล
จะพึงไหลไปตามภิกษุผู้ไม่สำรวมจักขุนทรีย์อยู่ เพราะเหตุ
ไม่สำรวมจักขุนทรีย์อันใด ย่อมปฏิบัติเพื่อปิดกั้นเสียซึ่งจักขุนทรีย์นั้น
รักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ เธอฟังสียงด้วยโสตะแล้ว ฯลฯ
ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ฯลฯ ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะ
ด้วยกายแล้ว ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ด้วยมนะแล้ว ไม่ถือเอานิมิต ไม่ถือเอา
อนุพยัญชนะ ฯลฯ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ " ( อง.ติก.๒0/๑๔๓ )
ดังนี้ศีลนี้ชื่อว่า อินทรียสังวรศีล
 
 [/b]


หัวข้อ: Re: ศาสนาพุทธจะเสื่อม เพราะความหลง เพราะความรู้ไม่ทัน
เริ่มหัวข้อโดย: ไอย ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2553 12:59:45

อาชีวปาริสุทธิศีล

ส่วนการงดเว้นจากมิจฉาอาชีวะ อันเป็นไปด้วยอำนาจ
แห่งการละเมิดสิกขาบท ๖ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติ
เพราะอาชีพเป็นเหตุ เพราะอาชีพเป็นตัวการณ์ และ ( ด้วยอำนาจ )
แห่งบาปธรรมทั้งหลายมีอย่างนี้คือ " การล่อลวง ( กุหนา )
การป้อยอ ( ลปนา ) การทำใบ้ ( เนมิตฺติกตา ) การบีบบังคับ
( นิปฺเปสิกตา ) การแสวงหาลาภด้วยลาภ ( ลาเภน ลาภํ นิชิคึสนตา ) "
ดังนี้เป็นต้น ศีลนี้ชื่อว่า อาชีวปาริสุทธิศีล ปัจจัยสันนิสิตศีล

การบริโภคปัจจัย ๔ อันบริสุทธิ์ด้วยการพิจารณา ที่พระศาสดา
ตรัสไว้โดยนัยว่า " ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้วเสพจีวรว่า
เพียงเพื่อบำบัดความหนาว " ( ม.มู.๑๒/๑๗ ) ดังนี้เป็นต้น นี้ชื่อว่า
ปัจจัยสันนิสิตศีล

แก้อรรถแห่งบทต่างๆ

( ต่อไป ) นี้ เป็นคำวินิจฉัยพร้อมด้วยพรรณนาความแห่งบท
โดยลำดับจำเดิมแต่ต้นในศีลเหล่านั้น :-
บทว่า อิธ คือในพระศาสนานี้ บทว่า ภิกฺขุ ได้แก่กุลบุตรผู้บวช
ด้วยศรัทธาอันได้โวหาร ( คำเรียก )อย่างนั้น เพราะภาวะคือ
เห็นภัยในสงสาร หรือนัยหนึ่งว่า เพราะความเป็นผู้ใช้ผ้าที่ฉีก
เป็นชิ้นแล้วเป็นต้น
 
 


หัวข้อ: Re: ศาสนาพุทธจะเสื่อม เพราะความหลง เพราะความรู้ไม่ทัน
เริ่มหัวข้อโดย: ไอย ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2553 13:01:45

ในบทว่า สำรวมด้วยปาฏิโมกขสังวรนี้ มีความว่า คำว่า
ปาฏิโมกข์ หมายเอาศีลที่เป็นสิกขาบท
เพราะว่าผู้ใดเฝ้าระวัง คือรักษาศีลนั้น ศีลนั้นย่อมยังผู้นั้นให้รอด
คือให้พ้นจากทุกข์ทั้งหลายมีทุกข์ในอบายเป็นต้น
เพราะเหตุนั้น ศีลนั้นท่านจึงเรียกว่า ปาฏิโมกข์
ความปิดกั้น ชื่อว่าสังวร คำว่า สังวรนี้
เป็นชื่อแห่งความไม่ละเมิดทางกายและทางวาจา
สังวรคือปาฏิโมกข์ ชื่อว่าปาฏิโมกขสังวร ภิกษุสำรวมแล้ว
คือเข้าถึงประกอบพร้อมแล้วด้วยสังวรคือปาฏิโมกข์นั้น
ชื่อว่าสำรวมด้วยปาฏิโมกสังวร บทว่า
วิหรติ คือผลัดเปลี่ยนอิริยาบถอยู่
อาจาระ อนาจาระ

เนื้อความแห่งคำว่า " ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร " เป็นต้น
พึงทราบตามนัยที่มาแล้วในพระบาลีนั่นแล
จริงอยู่ พระธรรมสังคาหกาจารย์ กล่าวคำนี้ว่า "
คำว่า ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร "
 
 


หัวข้อ: Re: ศาสนาพุทธจะเสื่อม เพราะความหลง เพราะความรู้ไม่ทัน
เริ่มหัวข้อโดย: ไอย ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2553 13:06:26

มีนิเทศว่า อาจาระก็มี อนาจาระก็มี ใน ๒ อย่างนั้น
อนาจาระเป็นไฉน ? ความละเมิดทางกาย
ความละเมิดทางวาจา ความละเมิดทั้งกายและวาจานี้
ท่านเรียกว่าอนาจาระ ความเป็นผู้ทุศีลแม้ทั้งหมด ก็ชื่อ
อนาจาระ ภิกษุลางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมเลี้ยงชีวิตด้วย
การให้ไม้ไผ่บ้าง ด้วยการให้ใบไม้บ้าง ด้วยการให้ดอกไม้
ผลไม้ เครื่องสนานและไม้สีฟันบ้าง ด้วยการทำตัวต่ำ
( เพื่อให้เขารัก ) บ้าง ด้วยพูด ( เล่นปนจริง )
เป็นแกงถั่วบ้าง * ด้วยทำตัวเป็นพี่เลี้ยงทารกบ้าง ด้วยการ
รับสื่อข่าวให้เขาบ้าง หรือด้วยมิจฉาชีวะอย่างอื่นๆ
ที่พระพุทธเจ้าทรงรังเกียจ นี้ก็ชื่อว่าอนาจาระ
ใน ๒ อย่างนั้น

อาจาระเป็นไฉน ? ความไม่ละเมิดทางกาย
ความไม่ละเมิดทางวาจา ความไม่ละเมิดทั้งทางกาย
และวาจา นี้ท่านเรียกว่าอาจาระ สีลสังวรแม้ทั้งหมด
ก็ชื่อว่าอาจาระ ภิกษุลางรูปในศาสนานี้ ไม่เลี้ยงชีพ
ด้วยการให้ใบไม้ก็ดี ไม่เลี้ยงชีพด้วยการให้ดอกไม้ ผลไม้
เครื่องสนาน และไม้สีฟันก็ดี ไม่เลี้ยงชีพด้วยการทำตัวต่ำ
( เพื่อจะให้เขารัก ) ก็ดี ไม่เลี้ยงชีพด้วยการพูด ( เล่นปนจริง )
เป็นแกงถั่วก็ดี ไม่เลี้ยงชีพด้วยการทำตัวเป็นพี่เลี้ยงทารกก็ดี
ไม่เลี้ยงชีพด้วยการรับสื่อข่าวให้เขาก็ดี ไม่เลี้ยงชีพด้วยมิจฉาชีวะอย่างอื่นๆ
ที่พระพุทธองค์ทรงรังเกียจก็ดี นี้เรียกว่าอาจาระ
 
 
* ท่านว่าแกงถั่วนั้นจะมีถั่วที่ไม่สุกปนอยู่บ้างนิดหน่อยเสมอฉันใด
คนพูดเล่นปนจริงก็ฉันนั้น ถ้อยคำของเขาไม่เป็นจริงส่วนมาก มีจริงปนอยู่นิดหน่อย
 




หัวข้อ: Re: ศาสนาพุทธจะเสื่อม เพราะความหลง เพราะความรู้ไม่ทัน
เริ่มหัวข้อโดย: ไอย ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2553 13:12:19

โคจร อโคจร

คำว่า โคจร มีนิเทศว่า โคจร ก็มี อโคจร ก็มี ใน ๒ อย่างนั้น
อโคจรเป็นไฉน ? ภิกษุลางรูปในศาสนานี้
เป็นผู้มีหญิงแพศยาเป็นโคจร หรือมีหญิงหม้าย สาวเทื้อ บัณเฑาะก์
ภิกษุณี และโรงสุราเป็นโคจร เป็นผู้คลุกคลีอยู่กับพระราชา
กับมหาอำมาตย์ กับเดียรถีย์ โดยการสังสรรค์กับคฤหัสถ์
อย่างไม่สมควร ก็หรือว่าย่อมเสพย่อมคบ ย่อมเข้าไปนั่งใกล้
ซึ่งตระกูลทั้งหลายที่ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส ที่ด่าว่าเอา
ที่มุ่งสิ่งอันไม่มีประโยชน์( ให้ ) มุ่งสิ่งที่ไม่เกื้อกูล
( ให้ ) มุ่งความไม่ผาสุก ( ให้ ) มุ่งความไม่เกษมจากโยคะ
( ให้ ) แก่พวกภิกษุณีอุบาสก อุบาสิกา นี้เรียกว่าอโคจร

ใน ๒ อย่างนั้น โคจรเป็นไฉน ? ภิกษุลางรูปในศาสนานี้
ไม่เป็นผู้มีหญิงแพศยาเป็นโคจร ฯลฯ ไม่เป็นผู้มีโรงสุรา
เป็นโคจร ไม่คลุกคลีกับพระราชา ฯลฯ กับสาวกของเดียรถีย์
โดยการไม่สังสรรค์กับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร ก็หรือว่าย่อมเสพ
ย่อมคบ ย่อมเข้าไปนั่งใกล้ซึ่งตระกูลทั้งหลายที่มีศรัทธาเลื่อมใส
เป็น ( ดุจ ) บ่อน้ำ
 



หัวข้อ: Re: ศาสนาพุทธจะเสื่อม เพราะความหลง เพราะความรู้ไม่ทัน
เริ่มหัวข้อโดย: ไอย ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2553 13:14:24
รุ่งเรืองด้วยผ้ากาสาวพัสตร์ มีกลิ่นอายฤษีเข้าออก*
มุ่งประโยชน์ ( ให้ ) ฯลฯ มุ่งธรรมที่เกษมจากโยคะ
( ให้ ) แก่พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา นี้เรียกว่า
โคจร ภิกษุผู้เข้าไปจนถึง เป็นผู้เข้ามาจนถึง
เป็นผู้ปฏิบัติจนถึง เป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยอาจาระนี้ด้วย
ด้วยโคจรนี้ด้วยโดยนัยที่กล่าวมานี้
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียก " อาจารโคจรสมฺปนฺโน "
( ผู้ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร )
อนาจาระ ๒ อย่าง

ในข้อนี้ บัณฑิตพึงทราบอาจาระและโคจร แม้โดยนัย
( ต่อไป ) นี้อีกนัยหนึ่ง ก็อนาจาระมี ๒ อย่าง คือ
อนาจาระทางกาย ๑ อนาจาระทางวาจา ๑ ใน ๒ อย่างนั้น
อนาจาระทางกายเป็นไฉน ?
 
-----------------------------------------

* มหาฎีกาแก้ว่า ตระกูลเช่นนั้น ย่อมมีพวกฤษีคือ ภิกษุ ภิกษุณี
เข้าออกกันอยู่เสมอ จึงมีลมจีวรและลม สรีระที่เกิดแต่การคู้แขน
เหยียดแขนเป็นต้น ของท่านเหล่านั้นกระพืออยู่เรื่อยๆ
 
 


หัวข้อ: Re: ศาสนาพุทธจะเสื่อม เพราะความหลง เพราะความรู้ไม่ทัน
เริ่มหัวข้อโดย: ไอย ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2553 13:19:18

ภิกษุลางรูปในศาสนานี้ แม้อยู่ในชุมนุมสงฆ์ ก็ไม่กระทำ
ความยำเกรง ยืนเบียดบ้าง นั่งเบียดบ้าง
ซึ่งภิกษุทั้งหลายผู้เถระ ยืนหน้า ( ท่าน ) บ้าง
นั่งหน้า ( ท่าน ) บ้าง นั่งอาสนะสูง ( กว่าท่าน ) บ้าง
นั่งคลุมศีรษะบ้าง ยืนค้ำศีรษะ ( ท่าน ) พูดบ้าง
ยกมือขวักไขว่พูดบ้าง เมื่อภิกษุผู้เถระไม่สวมรองเท้าจงกรมอยู่
ตนสวมรองเท้าจงกรมบ้าง เมือ่ท่านจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ
ตนจงกรมบนที่จงกรมสูงบ้าง เมื่อท่านจงกรมอยู่ที่พื้นดิน
ตนจงกรมบนที่จงกรมบ้าง ยืนแทรกบ้าง นั่งแทรกบ้าง
ซึ่งภิกษุผู้เถระ กันภิกษุใหม่ด้วยอาสนะบ้าง * ยังไม่ทัน
ขอโอกาสภิกษุผู้เถระ แม้ในเรือนไฟ ขนฟืนไป ปิดประตูไป
แม้ที่ท่าน้ำ เดินเสียดสีภิกษุผู้เถระลงไปบ้าง ลงก่อนบ้าง
เบียดอาบบ้าง อาบก่อนบ้าง เบียดขึ้นบ้าง ขึ้นก่อนบ้าง
แม้เข้าไปสู่ละแวกบ้านก็เดินเบียดเสียดภิกษุผู้เถระไปบ้าง
ไปก่อนท่านบ้าง หลีกขึ้นหน้าพระเถระไปบ้าง อนึ่ง
ห้องเรือนของตระกูลทั้งหลายที่เป็นห้องลับและเขาปิดไว้
ซึ่งเป็นที่กุลสตรีกุลกุมารีนั่งกัน ก็ผลุนผลันเข้าไปในห้องนั้นบ้าง
ลูบคลำศีรษะเด็กชายบ้าง นี้ เรียกว่าอนาจาระทางกาย
ใน ๒ อย่างนั้น อนาจาระทางวาจาเป็นไฉน ? ภิกษุลางรูป
ในศาสนานี้ แม้อยู่ในชุมนุมสงฆ์ก็ไม่ทำความยำเกรง
ยังมิได้ขอโอกาสภิกษุผู้เถระ กล่าวธรรมไป แก้ปัญหาไป
สวดปาฎิโมกข์ไป ยืนพูดบ้าง
 
------------------------------------

* คือไม่นั่งตามที่อันสมควรแก่ตน นั่งหลังไปหรือนั่งต่ำไป
เป็นเหตุให้ภิกษุใหม่หาที่นั่งไม่ได้ เพราะที่อันสมควรแก่ภิกษุใหม่
ท่านนั่งเสียแล้ว จะไปนั่งหน้านั่งเหนือท่านก็ไม่ได้


หัวข้อ: Re: ศาสนาพุทธจะเสื่อม เพราะความหลง เพราะความรู้ไม่ทัน
เริ่มหัวข้อโดย: ไอย ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2553 13:22:58

ยกมือขวักไขว่พูดบ้าง แม้เข้าไปสู่ละแวกบ้านกล่าวกะหญิง
หรือเด็กหญิงอย่างนี้ว่า " แน่ะแม่ผู้มีชื่ออย่างนี้ ผู้มีโคตรอย่างนี้
ข้าวต้มยังมีอยู่หรือ ของเคี้ยวมีอยู่หรือ " พูดพล่ามไปว่า "
อาตมาจักดื่มอะไร จักเคี้ยวอะไรจักฉันอะไร " หรือว่า "
ท่านทั้งหลายจักให้อะไรแก่อาตมา " ดังนี้ นี้เรียกว่า
อนาจาระทางวาจา

ส่วนอาจาระ พึงทราบโดยตรงข้ามกับอนาจาระนั้นเถิด
อีกนัยหนึ่ง ภิกษุผู้มีความเคารพ มีความยำเกรง ถึงพร้อมด้วย
หิริ โอตตัปปะ นุ่งเรียบร้อย ห่มเรียบร้อยมีกิริยาก้าวไป
ถอยกลับ แล เหลียว คู้แขน เหยียดแขน น่าเลื่อมใส
จักษุทอดลง ถึงพร้อมด้วยอิริยาบถ รักษาทวาร
ในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณในโภชนะ ประกอบเนืองๆ
ซึ่งชาคริยธรรม ( การประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่
คือ เพียรพยายามปฏิบัติธรรม ไม่เห็นแก่นอน ตื่นตัวอยู่
เป็นนิตย์ ชำระจิตไม่ให้มีนิวรณ์ ) กอบด้วยสติสัมปปชัญญะ
มักน้อย สันโดษ ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ปรารภความเพียร กระทำโดย
ความเคารพในอภิสมาจาริกสิกขาทั้งหลาย มากไปด้วยความเคารพ
และยำเกรงอยู่ ความเป็นผู้มีความเคารพเป็นอาทินี้
เรียกว่า อาจาระ พึงทราบอาจาระดังนี้ก่อน
 


หัวข้อ: Re: ศาสนาพุทธจะเสื่อม เพราะความหลง เพราะความรู้ไม่ทัน
เริ่มหัวข้อโดย: ไอย ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2553 13:24:24

โคจร ๓

อุปนิสัยโคจร

ส่วนโคจรมี ๓ อย่าง คือ อุปนิสัยโคจร อารักขโคจร
อุปนิพันธโคจร ในโคจร ๓ อย่างนั้น อุปนิสัย
โคจรเป็นไฉน ? กัลยาณมิตร ผู้กอบด้วยคุณอันเป็น
กถาวัตถุ ๑0 ซึ่งเป็นที่บุคคลได้อาศัยแล้วย่อมได้ฟังสิ่งที่
ยังไม่เคยฟัง





หัวข้อ: Re: ศาสนาพุทธจะเสื่อม เพราะความหลง เพราะความรู้ไม่ทัน
เริ่มหัวข้อโดย: ไอย ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2553 13:40:46

แต่ที่ศึกษากลุมนี้มานานปรากฎว่า การทำงานของระบบ
ไม่มีใครบอกว่ามาจากกฏแห่งกรรม
ตัวเราได้สนทนากับอาจาร์ยระบบหลายๆคนมา

ว่าขันธ์ของเรานั้นเมื่อตัวท่านคือคนของระบบท่านก็ต้อง
ทำงานระบบเพื่อช่วยเหลือมวลมนุษย์
การช่วยเหลือมวลมนุษย์อันนี้ขอโมทนา

แล้วสิ่งที่ท่านต้องทำเพื่อละวางอัตตา
บางท่านละวางถูกต้องตามหลักศาสนาพุทธ ขอโมทนา

แต่บางท่านรู้สึกจะเข้าใจแบบผิดๆอันนี้น่าเป็นห่วง

แต่ในระบบที่หลายๆคนที่เคยเห็นและก็แยกย้ายกันไปบ้าง
ปรากฏว่า ระบบที่เห็นอยู่นี้ คือระบบอ้าง หรือ อ้างระบบ

ท่านทังหลายเกิดมาเพื่อ ขันธ์5 เป็นอุปกรณ์ของระบบ
ท่านต้องมีงานทำที่ลำบากลง หรือท่าน จะบอกว่าทำงาน
เหมือนไม่ได้ทำ
เป็นเพราะระบบ จัดสรรไว้ ตามสมาพันแห่งจักรวาลนี้
แต่ไม่มีใครพูดว่า อุปกรณ์นี้เกิดมาจากกรรม
เกิดมาเป็นอุปกรณ์ แล้วมีไอ้จิตรู้ติดอยู่
ท่านก็มาดูการทำงานของขันธ์

แต่ถ้ามีคนถามว่า ทำไมท่านยังติดระบบ ยังต้องทำงานอยู่
ท่านก็บอกว่าท่านไม่ได้ติดขันธ์5มันทำงาน
แล้วที่พูดนั้นไม่ใช่ขันธ์5 หือ.........

ตามหลัก คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

แต่เขากะลา มีปัญญาเลยจากเวฟ

บางท่านเคยกล่าวว่าไม่จำเป็นต้องทำสมาธิก็ได้

แล้วปัญญาจะเกิดได้อย่างไร

การเอานิพพานมาอ้างโดยไม่มีใครกล่าวเรื่อง

มรรคผล๔ นิพพาน๑
มรรคผลนี้ พระพุทธองค์ทรงจำแนกไว้อยู่ ๔ ขั้นด้วยกัน
คือ มรรค ๔ ผล ๔ คือ ๑. โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล
๒. สกิทาคามิมรรค สกิทาคามิผล ๓. อนาคามิมรรค
อนาคามิผล ๔. อรหัตตมรรค อรหัตตผล แล้วจึงจะถึงพระนิพพาน
ทั้งหมดนี้รวมเป็น ๙ ขั้นด้วยกัน คือมรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑

นิพานหน่ะของสูงนะคุณ

โดยการอาศัยว่า
เมื่อมีคนที่มีจิตใจอันเป็นเมตตามีพลังพุทธานุภาพ

เมื่อพวกสัมผัสได้ของท่านก็ว่า นั้นคือคนระบบ
เป็นอุปกรณ์ของต่างดาว
เขาก็เชื่อเพราะเขามีใจอันเป็นเมตตาอยากช่วยเหลือ
พอเขามีความสามารถหน่อย ท่านก็ว่าอาจาร์ยระบบ
พอเขามีพลังหน่อยท่านก็ว่านั้นคือเวฟ

แต่ถ้ามันไม่ใช่ขึ้นมาท่านก็ว่าการพูดของขันธ์5คือ
สักแต่ว่าพูดสักแต่ว่าคิด

ท่านโดนระบบครอบงำ

พอมีคนไม่เชื่อระบบ

ท่านก็บอกว่าแจ้งเพื่อทราบ
แต่ถ้ามีคนเขาเริ่มสงสัยท่านก็บอกนั้นคือเวฟ

พวกท่านทุกคนโดนชักใยโดยระบบ ที่ไม่ใช่คน
โดยที่พวกท่านไม่เกี่ยว
ท่านทำไปด้วยความเมตตา
ขออณุโมทนากับการช่วยเหลือภัยพิบัติอันใกล้
แม้แต่ ท่านสุดใจก็ไม่เกี่ยวท่านมีความเมตตา

แต่ระบบที่ว่ามีคนเคยพบเคยเจอเคยเห็น
มันไม่เป็นอย่างเก่าแล้ว
มันเป็นอะไรที่น่าสงสัย
และไม่ใช่มนุยษ์และไม่ใช่ต่างดาว

การที่ละวางอัตตาตาแบบผิดหลักการ
ก็จะไม่มีอะไรยึดเหนี่ยวใจทั้งที่ใจไม่ใช่ทางนิพพาน
ขณะที่ท่านเคว้งก็จะโดนครอบงำ
และเพลิดเพลินกับการทำงานโดยไม่รู้ตัว
สุดท้ายระบบจะกลายเป็น สรณะ

นรกมีจริง กรรมมีจริง


ขอเลียนแบบคำว่าแจ้งเพื่อทราบนะ

ส่วนเรื่องการช่วยเหลือภัยพิภัย
ทั้งก่อน ขณะเกิด และหลัง
ข้าพเจ้าขออณุโมทนา

ขอให้นองไล้ พิจรณา อย่าไปลึกกว่านี้

สาธุ
 

บทความข้างต้นนี้เป็นของคุณวิถีคนจร
ซึ่งไอยเองก็ไม่รูจักหรอกค่ะว่าเป็นใคร
เผอิญมีผู้หวังดีและไม่ประสงค์ร้ายส่งมาให้
ทาง Email ก็เลยนำมาลง

อนุโมทนา..สาธุ กับคนเขียนด้วยนะค่ะ
ไอยเองรอคำตอบนี้มานานแล้ว
เพราะไอยเขียนไปก็โดนกลบเกลื่อนด้วย
การหาว่ามีผลประโยชน์แอบแฝงบ้าง อะไรบ้าง
สุดแต่จะหามาดิสเครดิตกัน
มาถึงวันนี้ มีคนอื่น ๆ เข้ามาเขียน และได้ศึกษา
กลุ่มนั้นมาพอสมควรแล้ว และเข้าใจตรงกัน
ขอบคุณจริง ๆ ค่ะ 

ไองเองศึกษาแต่ละคนมาพอสมควร และสรุปได้เลยว่า
คนที่เหลืออยู่ ถึงจะหลงบ้าง แต่ยังไม่เท่ากับเจตนา
ที่ต้องการจะเป็น ผู้มีฤทธิ์ มีเดช มีอิทธิฤทธิ์อภินิหาร
ต้องการชื่อเสียง ลาภยศ สักการะ ให้ตัวเองเป็นที่นับหน้าถือตา
โดยเลิกนำพากับความถูกต้องในหลักธรรมะ แต่กลบเกลื่อนด้วย
การให้คนหลงยึดติด พูดง่าย ๆ ก็คือ ให้คนหลง ยึดมั่น ถือมั่น
ในอิทธิปาฏิหารย์  ในพลังต่าง ๆ ซึ่งพระพุทธเจ้าท่านไม่เคยสรรเสริญ
มีปาฏิหารย์เดียวที่พระพุทธองค์ท่านตรัสสรรเสริญ นั่นคือ
อนุศาสนีย์ปาฏิหารย์ 
 


หัวข้อ: Re: ศาสนาพุทธจะเสื่อม เพราะความหลง เพราะความรู้ไม่ทัน
เริ่มหัวข้อโดย: ไอย ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2553 13:46:19
ที่ เสาร์ สิงหาคม 2552
 
OKnation

ทรงมีปาฏิหาริย์สามอย่าง ...

                 
เกวัฏฏะ ! นี่ปาฎิหาริย์สามอย่าง ที่เราได้ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้. สามอย่างอะไรเล่า? สามอย่างคือ
อิทธิปาฎิหาริย์
อาเทสนาปาฎิหาริย์ และ
อนุศาสนีปาฎิหาริย์.

                 (๑) เกวัฏฏะ ! อิทธิปาฎิหาริย์ นั้นเป็นอย่างไรเล่า? เกวัฏฏะ !
ภิกษุในศาสนานี้ กระทำอิทธิวิธีมีอย่างต่าง ๆ : ผู้เดียวแปลงรูปเป็นหลายคน,
หลายคนเป็นคนเดียว, ทำที่กำบังให้เป็นที่แจ้ง ทำที่แจ้งให้เป็นที่กำบัง, ไปได้
ไม่ขัดข้อง ผ่านทะลุฝา ทะลุกำแพง ทะลุภูเขา ดุจไปในอากาศว่าง ๆ, ผุดขึ้น
และดำลงในแผ่นดินได้เหมือนในน้ำ, เดินไปได้เหนือน้ำ เหมือนเดินบนแผ่นดิน,
ไปได้ในอากาศเหมือนนกมีปีก ทั้งที่ยังนั่งสมาธิคู้บัลลังก์. ลูกคลำพระจันทร์
และพระอาทิตย์อันมีฤทธิ์อานุภาพมาก ได้ด้วยฝ่ามือ. และแสดงอำนาจทางกาย
เป็นไปตลอดถึงพรหมโลกได้. เกวัฏฏะ ! กุลบุตรผู้มีศรัทธาเลื่อมใสได้เห็น
การแสดงนั้นแล้ว เขาบอกเล่าแก่กุลบุตรอื่นบางคน ที่ไม่ศรัทธาเลื่อมใส
ว่าน่าอัศจรรย์นัก. กุลบุตรผู้ไม่มีศรัทธาเลื่อมใสนั้น ก็จะพึงตอบว่า
วิชาชื่อคันธารีมีอยู่ ภิกษุนั้นแสดงอิทธิวิธีด้วยวิชานั่นเท่านั้น (หาใช่มีปาฎิหาริย์ไม่),
เกวัฏฏะ ! ท่านจะเข้าใจว่าอย่างไร : ก็คนไม่เชื่อ ไม่เลื่อมใส ย่อมกล่าวตอบ
ผู้เชื่อผู้เลื่อมใส ได้อย่างนั้น มิใช่หรือ ? “พึงตอบได้, พระองค์!”

เกวัฏฏะ ! เราเห็นโทษในการแสดงอิทธิปาฎิหาริย์ดังนี้แล จึงอึด อัดขยะแขยง
เกลียดชังต่ออิทธิปาฎิหาริย์

                 (๒) เกวัฏฏะ ! อาเทสนาปาฎิหาริย์ นั้น เป็นอย่างไรเล่า? เกวัฏฏะ !
ภิกษุในศาสนานี้ย่อมทายจิต ทายความรู้สึกของจิต ทายความตรึก ทาย ความตรอง
ของสัตว์เหล่าอื่น ของบุคคลเหล่าอื่นได้ ว่า ใจของท่านเช่นนี้ ใจของท่านมีประการนี้
ใจของท่านมีด้วยอาการอย่างนี้. ฯลฯ กุลบุตรผู้ไม่เชื่อ ไม่เลื่อมใส ย่อมค้าน
กุลบุตรผู้เชื่อผู้เลื่อมใส ว่า วิชา ชื่อ มณิกา มีอยู่ ภิกษุนั้น กล่าวทายใจได้เช่นนั้น ๆ
ก็ด้วยวิชานั้น (หาใช่มีปาฏิหาริย์ไม่), เกวัฏฏะ ! ท่านจะ เข้าใจว่าอย่างไร :
ก็คนไม่เชื่อไม่เลื่อมใส ย่อมกล่าวตอบผู้เชื่อผู้เลื่อมใสได้อย่างนั้น มิใช่หรือ ?
“พึงตอบได้, พระองค์ !”

เกวัฏฏะ ! เราเห็นโทษในการแสดงอาเทสนาปาฏิหาริย์ดังนี้แล จึง อึดอัด
ขยะแขยง เกลียดชัง ต่ออาเทสนาปาฏิหาริย์.

                 (๓) เกวัฏฏะ! อนุศาสนียปาฏิหาริย์ นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? เกวัฏฏะ !
ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมสั่งสอนว่า ท่านจงตรึกอย่างนี้ ๆ อย่าตรึกอย่างนั้น ๆ,
จงทำไว้ในใจอย่างนี้ ๆ อย่าทำไว้ในใจอย่างนั้น ๆ จงละสิ่งนี้ ๆ เสีย, จงเข้าถึง
สิ่งนี้ ๆ แล้วแลอยู่ ดังนี้ นี้เราเรียกว่า อนุศาสนีปาฎิหาริย์.
   


หัวข้อ: Re: ศาสนาพุทธจะเสื่อม เพราะความหลง เพราะความรู้ไม่ทัน
เริ่มหัวข้อโดย: ไอย ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2553 13:50:20

พุทธวิธีในการสอนหมายถึง  วิธีการที่พระพุทธเจ้าทรงสอนพุทธบริษัททั้ง  4  คือ  
ภิกษุ  ภิกษุณี   อุบสก  อุบาสิกา   หรือบุคคลทั่วไปทั้งเทวดาหรือมนุษย์  
ตามพระนามที่ได้รับยกย่องว่า  สตฺถา  เทวมนุสฺสานํ  ทรงเป็นศาสดาของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

1.  จุดมุ่งหมายในการที่ทรงสอน  3  อย่าง

       วศิน  อินทสระ  (2538,  หน้า  8-37)    กล่าวถึง  จุดมุ่งหมายในการที่
ทรงสอนของพระพุทธองค์นั้นประกอบไปด้วยลักษณะดังต่อไปนี้

      1)  อภิญญายธรรมเทศนา   ทรงสอนเพื่อให้ผู้ฟังรู้จริงเห็นแจ้งในสิ่งที่ควรรู้ควรเห็น  
หมายความว่า  สิ่งที่ทรงรู้แล้ว เห็นแล้ว  แต่เมื่อทรงว่าไม่จำเป็นสำหรับสาวกนั้น ๆ  
เหมือนครูที่มีความรู้สูงมาก  แต่ถึงกระนั้นก็ย่อมนำเอาเฉพาะความรู้เท่าที่จำเป็น
แก่ศิษย์ในขั้นนั้น ๆ มาสอนเท่าที่ศิษย์จะรับได้เพื่อประโยชน์แก่ศิษย์  อนึ่งเหมือน
บิดา/มารดา แม้มีทรัพย์มากปานใดก็ย่อมให้ทรัพย์แก่บุตรตามควรแก่วัย
และความจำเป็นของบุตรนั้น

      2)  สนิธรรมเทศนา   จุดมุ่งหมายในการสอน คือ  เพื่อให้ผู้ฟังตรองตาม
แล้วเห็นจริงได้  ทรงแสดงธรรมอย่างมีเหตุผลที่ผู้ฟังพอตรองตามให้เห็นด้วยตนเอง  
เพราะพระธรรมเทศนาของพระพุทธองค์ไม่ยากเกินไปจนถึงกับตรองตามแล้ว
ก็ไม่เห็นและไม่ง่ายเกินไปจนไม่ต้องตรองขบคิดก็เห็นได้ พุทธวิธีในการสอน
จึงอยู่ท่ามกลางระหว่างความยากเกินไปกับความง่ายเกินไป  ส่วนใหญ่ทรงสอน
ให้ใช้ปัญญาพิจารณาด้วยตนเอง เป็นต้น

       3)  ปาฏิหาริยธรรมเทศนา เพื่อให้ผู้ฟังได้รับผลแห่งการปฏิบัติ  ตามสมควร
ทรงแสดงธรรมมีคุณเป็นอัศจรรย์  สามารถยังผู้ปฏิบัติตามให้ได้รับผลตามสมควร
แก่กำลังแห่งการปฏิบัติของตนๆ  

ในบรรดาปาฏิหาริย์ทั้ง  3  นั้น  พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญ  
อนุศาสนียปาฏิหาริย์  ว่าดีที่สุด  ประณีตที่สุดและเป็นประโยชน์ที่สุด  
ข้อนี้เป็นความจริงอย่างยิ่ง พระพุทธศาสนาที่ดำรงเป็นประโยชน์แก่มหาชน
มาจนกระทั้งบัดนี้ก็ด้วยอานุภาพของ  อนุศาสนีปาฏิหาริย์ นั่นเอง  
ทรงเน้นการปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ เพื่อประโยชน์ของผู้ปฏิบัติ
ว่าเป็นการบูชาพระองค์อย่างยิ่ง  มีเรื่องราวที่เป็นหลักฐานในสมัยพุทธกาลนั้น