[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4 => ข้อความที่เริ่มโดย: 時々๛कभी कभी๛ ที่ 19 กันยายน 2553 11:46:05



หัวข้อ: อวิชชาสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: 時々๛कभी कभी๛ ที่ 19 กันยายน 2553 11:46:05
(http://lh6.ggpht.com/_AYFPNs1xf64/TBm9JvOufdI/AAAAAAAABDc/8hlOwfG0czU/24.jpg)

http://www.fungdham.com/download/song/allhits/21.wma



พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสกนิบาต เล่ม  ๓๘  หน้าที่ ๑๙๗  -  ๒๐๐


ยมกวรรคที่  ๒ ๑.อวิชชาสูตร


{ว่าด้วยโพชฌงค์ ๗ เป็นอาหารของวิชชาวิมุตติ}


{๖๑}ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเงื่อนต้นแห่งอวิชชาย่อมไม่ปรากฏในกาลก่อน

แต่นี้อวิชชาไม่มีแต่ภายหลังจึงมีเพราะเหตุนั้นเราจึงกล่าวคำนี้อย่างนี้ว่าก็เมื่อ

เป็นเช่นนั้นอวิชชามีข้อนี้เป็นปัจจัยจึงปรากฏ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราย่อมกล่าวอวิชชาว่ามีอาหารมิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของอวิชชาควรจะกล่าวว่า นิวรณ์ ๕

แม้นิวรณ์ ๕ เราก็กล่าวว่ามีอาหารมิได้กล่าวว่าไม่มีอาหารก็อะไรเป็นอาหาร

ของนิวรณ์ ๕ ควรกล่าวว่า  ทุจริต  ๓

แม้ทุจริต ๓ เราก็กล่าวว่ามีอาหารมิได้กล่าวว่าไม่มีอาหารก็อะไรเป็นอาหาร

ของทุจริต ๓ ควรกล่าวว่า การไม่สำรวมอินทรีย์  

แม้การไม่สำรวมอินทรีย์ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหารก็อะไร

เป็นอาหารแห่งการไม่สำรวมอินทรีย์ควรกล่าวว่าความไม่มี{สติสัมปชัญญะ}

แม้ความไม่มีสติสัมปชัญญะ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไร

เป็นอาหารของความไม่มี สติสัมปชัญญะ ควรกล่าวว่า การกระทำไว้ในใจโดยไม่

แยบคายแม้การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายควรกล่าวว่า ความไม่มี{ศรัทธา}

แม้ความไม่มีศรัทธาเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหารก็อะไร

เป็นอาหารของความไม่มีศรัทธาควรกล่าวว่าการไม่ฟังสัทธรรม  

แม้การไม่ฟังสัทธรรม เราก็กล่าวว่ามีอาหารมิได้กล่าวไม่มีอาหารก็อะไร

เป็นอาหารของการไม่ฟังสัทธรรม ควรกล่าวว่า การไม่คบสัปบุรุษ



หัวข้อ: Re: อวิชชาสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: 時々๛कभी कभी๛ ที่ 19 กันยายน 2553 11:55:29
(http://lh6.ggpht.com/_AYFPNs1xf64/TBm9JvOufdI/AAAAAAAABDc/8hlOwfG0czU/24.jpg)


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้ การไม่คบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการ
 
ไม่ฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์การไม่ฟัง{สัทธรรมที่บริบูรณ์}ย่อมยังความไม่มีศรัทธาให้

บริบูรณ์ความไม่มีศรัทธาที่บริบูรณ์ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายให้บริบูรณ์,

การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายที่บริบูรณ์ย่อมยังความไม่มีสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์,

ความไม่มีสติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ย่อมยังการไม่สำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์การไม่

สำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ย่อมยังทุจริต ๓ ให้บริบูรณ์ ทุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ย่อมยัง

นิวรณ์ ๕ ให้บริบูรณ์ นิวรณ์ ๕ ที่บริบูรณ์ ย่อมยัง{อวิชชาให้บริบูรณ์}อวิชชานี้มีอาหาร

อย่างนี้และบริบูรณ์อย่างนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดหยาบตกลงเบื้องบนภูเขาเมื่อฝน

ตกหนัก ๆ อยู่ น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่มย่อมยังซอกเขาลำธารและห้วยให้เต็ม

ซอกเขา ลำธารและห้วยที่เต็มย่อมยังหนองให้เต็มหนองที่เต็มย่อมยังบึงให้เต็ม

บึงที่เต็มย่อมยังแม่น้ำน้อยให้เต็มแม่น้ำน้อยที่เต็มย่อมยังแม่น้ำใหญ่ให้เต็มแม่น้ำใหญ่

ที่เต็มย่อมยังมหาสมุทรสาครให้เต็มมหาสมุทรสาครนั้นมีอาหารอย่างนี้และเต็ม

เปี่ยมอย่างนี้แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การไม่คบสัปบุรุษที่บริบูรณ์

ย่อมยังการไม่ฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์........นิวรณ์  ๕ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังอวิชชาให้บริบูรณ์

อวิชชานี้มีอาหารอย่างนี้และบริบูรณ์อย่างนี้ ฉันนั้นเหมือนกันแล

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเรากล่าว{วิชชาวิมุตติ}ว่ามีอาหารมิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของวิชชาวิมุตติ ควรกล่าวว่า{โพชฌงค์ ๗}  

แม้โพชฌงค์ ๗ เราก็ควรกล่าวว่ามีอาหารมิได้กล่าวว่าไม่มีอาหารก็อะไรเป็น

อาหารของโพชฌงค์ ๗ ควรกล่าวว่า{สติปัฏฐาน ๔}

แม้สติปัฏฐาน ๔ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหาร

ของสติปัฏฐาน ๔  ควรกล่าวว่า สุจริต ๓

แม้สุจริต ๓ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร  มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหารก็อะไรเป็นอาหาร

ของสุจริต ๓ ควรกล่าวว่า{การสำรวมอินทรีย์}  

แม้การสำรวมอินทรีย์เราก็กล่าวว่ามีอาหารมิได้กล่าวว่าไม่มีอาหารก็อะไร

เป็นอาหารของการสำรวมอินทรีย์ ควรกล่าวว่า สติสัมปชัญญะ

แม้สติสัมปชัญญะ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหารก็อะไรเป็น

อาหารของสติสัมปชัญญะ ควรกล่าวว่า การทำไว้ในใจโดยแยบคาย



หัวข้อ: Re: อวิชชาสูตร
เริ่มหัวข้อโดย: 時々๛कभी कभी๛ ที่ 19 กันยายน 2553 12:04:35
(http://lh6.ggpht.com/_AYFPNs1xf64/TBm9JvOufdI/AAAAAAAABDc/8hlOwfG0czU/24.jpg)


แม้การทำไว้ในใจโดยแยบคายเราก็กล่าวว่ามีอาหารมิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของการกระทำไว้ในใจโดยแยบคายควรกล่าวว่า{ศรัทธา}

แม้ศรัทธาเราก็กล่าวว่าอาหารมิได้กล่าวว่าไม่มีอาหารก็อะไรเป็นอาหารของ

{ศรัทธา}ควรกล่าวว่าการฟัง สัทธรรม

แม้การฟังสัทธรรม เราก็กล่าวว่ามีอาหารมิได้กล่าวว่าไม่มีอาหารก็อะไรเป็น

อาหารของการฟังสัทธรรมควรกล่าวว่าการคบสัปบุรุษ  

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้ การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ย่อมยังการฟัง

สัทธรรมให้บริบูรณ์การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ย่อมยังศรัทธาให้บริบูรณ์ศรัทธาที่

บริบูรณ์ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยแยบคายให้บริบูรณ์การทำไว้ในใจโดยแยบคายที่

บริบูรณ์ ย่อมยังสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์{สติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์}ย่อมยังการ

สำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์การสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์,

สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์

ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ - โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ย่อมยัง{วิชชาวิมุตติ}ให้

บริบูรณ์ วิชชาวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้และบริบูรณ์อย่างนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดหยาบตกลงเบื้องบนภูเขาเมื่อฝน

ตกหนัก ๆ อยู่น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่มย่อมยังซอกเขา ลำธารและห้วยให้เต็มซอกเขา

ลำธารและห้วยที่เต็มย่อมยังหนองให้เต็มหนองที่เต็มย่อมยังบึงให้เต็มบึงที่เต็ม

ย่อมยังแม่น้ำน้อยให้เต็ม แม่น้ำน้อยที่เต็มย่อมยังแม่น้ำใหญ่ให้เต็มแม่น้ำใหญ่ที่เต็ม

ย่อมยังมหาสมุทรสาครให้เต็มมหาสมุทรสาครนั้นมีอาหารอย่างนี้และเต็มเปี่ยมอย่างนี้

แม้ฉันใดดูก่อนภิกษุทั้งหลายการคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้

บริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาวิมุตติให้บริบูรณ์ วิชชาวิมุตตินี้

มีอาหารอย่างนี้และบริบูรณ์อย่างนี้ฉันนั้นเหมือนกันแล...........................................


{จบอวิชชาสูตรที่ ๑ ยมกวรรคที่ ๒}


นำสนทนาโดย ท่านอาจารย์ สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และคณะวิทยากร


มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

สำนักงานเลขที่ 174/1 ซอย เจริญนคร 78

ดาวคะนอง ธนบุรี