[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => รู้ เพื่อ รอด (การเตรียมการ) => ข้อความที่เริ่มโดย: 【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪ ที่ 22 มกราคม 2553 17:24:05



หัวข้อ: หากคุณรักโลกใบนี้ จงหยุดกินเนื้อ
เริ่มหัวข้อโดย: 【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪ ที่ 22 มกราคม 2553 17:24:05
"ถ้าจะรักษาโลกใบนี้ไว้สำหรับตัวเองและลูกหลาน จงเลิกกินเนื้อตั้งแต่วันนี้"
ประโยคนี้ผมไม่ได้พูดเอง ไม่ได้คิดเอง แต่พอได้ยินก็รู้สึกว่านี่เป็นสัจจธรรมแห่ง พ.ศ. 2552
ที่กำลังย่างเข้า 2553 อย่างถูกต้องแม่นยำเป็นยิ่งนัก

(http://campus.sanook.com/story_picture/b/05967_002.jpg)


คนที่ประกาศออกมาอย่างจะแจ้งเช่นนี้เป็นคนใหญ่คนโตที่ดูแลเรื่อง "โลกร้อน" หรือ "Climate Change" เสียด้วย ฉะนั้นจะต้องมีคนหยุดฟังและวิเคราะห์อย่างกระทันหันทีเดียวครับ

ลอร์ดสเทิร์น แห่งแบรนด์ฟอร์ด (Lord Stern of Brenford) ท่านให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ The Times ของอังกฤษเมื่อเร็วๆ นี้ว่า หากผู้คนบนโลกใบนี้จะต้องการเอาชนะปัญหาโลกร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพเต็มที่ คนส่วนใหญ่จะต้องกลายเป็นคนกินเจ คือ ต้องเลิกกินเนื้อสัตว์ด้วยประการทั้งปวง ต้องเป็นชาวมังสวิรัติกันอย่างทั่วถึง

ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ท่านลอร์ดซึ่งได้ถือเอาการสู้กับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างน่ากลัวเป็นภารกิจหลักบอกว่า เนื้อเป็นการใช้น้ำอย่างเปลืองเปล่าของมนุษย์ และทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์อย่างยิ่ง

แกบอกว่า การที่คนกินเนื้อก็เท่ากับเป็นการสร้างแรงกดดันต่อทรัพยากรของโลก การกินเนื้อก็เท่ากับเป็นการสร้างแรงกดดันต่อทรัพยากรของโลก การกินอาหารที่เป็นผักผลไม้ ไม่กินเนื้อนั่นแหละจะเป็นหนทางแห่งความอยู่รอดของมนุษย์ในระยะกลางและระยะยาว

ท่านลอร์ด อธิบายต่อว่า วัวและหมูปล่อยก๊าซมีเทนออกมาและเป็นสาเหตุแห่งการเกิดก๊าซเรือนกระจกโดยตรง จงรับรู้ด้วยว่าก๊าซมีเทนนั้นมีผลร้ายในการก่อให้เกิดสภาวะโลกร้อนมากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 23 เท่า

แปลง่ายๆ ว่า ถ้าลดก๊าซมีเทนไปหนึ่งหน่วย ก็ทำให้ลดการเกิดพิษจากคาร์บอนไดออกไซด์ได้หลายสิบเท่า

ลอร์ดสเทิร์นเป็นผู้สันทัดกรณีเรื่องนี้เป็นการเฉพาะ เพราะเป็นคนเขียนรายงานเรื่อง "ค่าใช้จ่ายอันแพงลิ่ว" ของการสู้กับภาวะโลกร้อนเมื่อปี 2006 จนกลายเป็น "คัมภีร์" ที่ใช้ในการรณรงค์ปัญหานี้ทั่วโลก

การประชุมระดับโลกว่าด้วยเรื่องโลกร้อนที่โคเปนเฮเกนในเดือนธันวาคมจะเป็นอีกครั้งหนึ่งที่ผู้นำทั้งโลกจะต้องมาวางเป้าของการลดการปล่อยก๊าซอันตรายขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศอีกรอบหนึ่งและท่านลอร์ดก็เชื่อว่า ผลจากการประชุมครั้งนี้จะทำให้ราคาของเนื้อและอาหารทุกอย่างที่มีส่วนทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกสูง ต้องมีราคาถูกลงอย่างมาก

แปลว่า ถ้าทุกคนบนโลกได้รับรู้ถึงผลของการกินเนื้อที่ทำให้โลกร้อนจนผิดธรรมชาติ ก็จะตัดสินใจเลิกกินเนื้ออย่างแน่นอน ยกเว้นคนหัวดื้อที่ไม่ยอมรับความจริงว่าการที่มนุษย์กินเนื้อนั้นคือหนทางแห่งการฆ่าตัวตายอย่างช้าๆ เท่านั้นเอง

ทัศนคติของคนในเรื่องนี้จะต้องเริ่มเปลี่ยน แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าจะต้องใช้เวลานานเท่าไร วัฒนธรรมการกินเนื้อจึงจะหายไปจากโลกใบนี้ และจะทันกับความเสื่อมสลายอันเกิดจากโลกร้อนหรือไม่

ท่านลอร์ดยกตัวอย่างที่ผมเห็นว่าน่าฟังมาก ท่านบอกว่าตอนนี้อายุ 61 ปี จึงพอจะบอกได้ว่าได้เห็นโลกมามากพอ โดยเฉพาะทัศนคติของคนต่อการดื่มเหล้าและสูบบุหรี่ ตอนที่ท่านเป็นนักเรียน การกินเหล้าสูบบุหรี่เป็นเรื่องธรรมดาและทำกันอย่างกว้างขวาง ไม่มีใครรู้ซึ้งถึงอันตราย และแวดวงการแพทย์ก็ยังไม่มีการศึกษาวิจัยถึงความเสี่ยงอันเกิดจาก "นิสัยไม่ดี" สองเรื่องนี้แต่อย่างไร

ใครจะเชื่อว่าภายใน 20 ปี ความเชื่อและความนิยมต่อการดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่กลายเป็นคนละเรื่องโดยสิ้นเชิง เมื่อมีการรณรงค์ให้ประชาชนได้รับรู้ถึงอันตรายอันเกิดจากนิสัยสองอย่างนี้อย่างจริงจังและต่อเนื่อง ประกอบกับผลการศึกษาวิจัยที่พิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์ ผู้คนจึงเปลี่ยนทัศนคติต่อเรื่องนี้อย่างหน้ามือเป็นหลังมือ

วันนี้ ใครสูบบุหรี่หรือกินเหล้าอย่างไม่รับผิดชอบจะกลายเป็นคนนอกคอก ไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม เพราะทุกคนรู้ว่าสองอย่างนี้เป็นอันตรายต่อสุขภาพของตัวเองและคนอื่นอย่างไร อีกไม่นาน ผู้คนก็จะเริ่มมองเห็นอันตรายที่เกิดจากการกินเนื้อสัตว์

ท่านลอร์ดบอกว่า "นับวันคนก็จะยิ่งถามว่า อาหารที่กินเข้าไปนั้นมีส่วนที่เป็นคาร์บอนมากน้อยแค่ไหน เหมือนที่ทุกวันนี้คนถามว่าบุหรี่มีนิโคตินที่ทำให้เป็นมะเร็งมากแค่ไหน หรือเหล้าทำให้เป็นโรคหัวใจได้อย่างไร..."

อีกหน่อยคงมีป้ายขึ้นเต็มบ้านเต็มเมืองว่า "กินเนื้อมาก โลกร้อนมาก กินเนื้อน้อย โลกร้อนน้อย"

ตัวเลขของสหประชาชาติรายงานว่า กระบวนการผลิตเนื้อเป็นอาหารนั้นมีส่วนทำให้เกิดการปล่อยก๊าซพิษเข้าไปในชั้นบรรยากาศถึง 18 เปอร์เซ็นต์

ยังไม่นับที่ต้องโค่นไม้ทำลายป่าเพื่อจัดหาที่เลี้ยงวัวและเพื่อปลูกพืชสำหรับผลิตอาหารสัตว์ ซึ่งล้วนแต่มีส่วนทำให้อุณหภูมิของโลกขยับขึ้นอย่างต่อเนื่องและไม่มีทีท่าว่าจะคงที่หรือลดลงแต่อย่างไร





ที่มา นิตยสาร ชีวจิต
เรื่องโดย สุทธิชัย หยุ่น