[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน => ข้อความที่เริ่มโดย: 時々๛कभी कभी๛ ที่ 28 กันยายน 2553 19:56:52



หัวข้อ: ศีล - วาจา และกำลังใจ
เริ่มหัวข้อโดย: 時々๛कभी कभी๛ ที่ 28 กันยายน 2553 19:56:52
(http://lh6.ggpht.com/_3F1lshAWYBc/TBcBYhAAiOI/AAAAAAAAAXk/MFy4aQdVrKM/23510200707241554111.jpg)

http://www.se-ed.com/ads/pr/sile/song/08.%20TracK%208.wma



ขอน้อบน้อมแด่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุก ๆ ท่าน


ถาม..................ได้ยินคำกล่าวว่า............................

ผู้มีศีล --->ทราบได้โดยการคลุกคลี

ผู้มีกำลังใจ --->ทราบได้ขณะที่มีอันตราย

ผู้มีปัญญา --->ทราบได้โดยการสนทนา

แต่ผู้ที่มีวาจาดี--->ทราบได้อย่างไร ?

และคำกล่าวนี้มีอยู่ในพระสูตรหรืออรรถกถาใดหรือไม่.........?

ตอบ.........................ศีลพึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน

ความสะอาดพึงรู้ได้ด้วยถ้อยคำ

กำลังใจพึงรู้ได้ในอันตราย

ปัญญาพึงรู้ได้ด้วยการสนทนา

{๑๙๒}ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๔ ประการนี้ พึงรู้ด้วย

ฐานะ ๔ ฐานะ ๔ เป็นไฉน ?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ศีลพึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกันและศีลนั้น

พึงรู้ได้ด้วยกาลนาน ไม่ใช่เล็กน้อย{มนสิการ}อยู่จึงจะรู้ไม่มนสิการ

อยู่หารู้ไม่คนมีปัญญาจึงจะรู้คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่

ความสะอาดพึงรู้ได้ด้วยถ้อยคำและความสะอาดนั้นพึงรู้ได้

โดยกาลนาน ไม่ใช่เล็กน้อย{มนสิการ}อยู่จึงจะรู้ไม่มนสิการหารู้ไม่

คนมีปัญญาจึงจะรู้คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่

กำลังใจพึงรู้ได้ในอันตรายและกำลังใจนั้นแลพึงรู้ได้โดย

กาลนานไม้ใช่เล็กน้อย{มนสิการ}จึงจะรู้ไม่มนสิการหารู้ไม่คนมี

ปัญญาจึงจะรู้คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่  

ปัญญาพึงรู้ได้ด้วยการสนทนาและปัญญานั้นแลพึงรู้ได้

โดยกาลนาน ไม่ใช่เล็กน้อย{มนสิการ}จึงจะรู้ ไม่มนสิการหารู้ไม่คน

มีปัญญาจึงจะรู้ คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรากล่าวว่า{ศีล}พึงรู้ได้ด้วยการ

อยู่ร่วมกันคนมีปัญญาทรามหารู้ไม่ดังนี้นี้เรากล่าวแล้วเพราะ

อาศัยอะไร ? บุคคลในโลกนี้เมื่ออยู่ร่วมกับบุคคลย่อมรู้อย่างนี้ว่า

ท่านผู้นี้มักทำศีลให้ขาดมักทำให้ทะลุมักทำให้ด่างมักทำให้พร้อย

ตลอดกาลนานแลไม่กระทำติดต่อไปไม่ประพฤติติดต่อใน{ศีล}ทั้ง

หลายท่านผู้นี้เป็นคนทุศีลหาใช่เป็นคนมีศีลไม่ อนึ่ง......บุคคลใน

โลกนี้เมื่ออยู่ร่วมกับบุคคลย่อมรู้อย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้มีปกติไม่ทำศีลให้

ขาดไม่ทำให้ทะลุไม่ทำให้ด่างไม่ทำให้พร้อยตลอดกาลนานมี

ปกติทำติดต่อไปประพฤติต่อในศีลทั้งหลายท่านผู้นี้เป็นผู้มีศีลหา

ใช่เป็นผู้ทุศีลไม่ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำที่เรากล่าวว่า ศีลพึงรู้ได้ด้วย

การอยู่ร่วมกัน..........คนปัญญาทรามหารู้ไม่ดังนี้นี้เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้



หัวข้อ: Re: ศีล - วาจา และกำลังใจ
เริ่มหัวข้อโดย: 時々๛कभी कभी๛ ที่ 28 กันยายน 2553 20:08:17
(http://lh6.ggpht.com/_3F1lshAWYBc/TBcBYhAAiOI/AAAAAAAAAXk/MFy4aQdVrKM/23510200707241554111.jpg)


ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็คำที่เรากล่าวว่าความสะอาดพึงรู้ได้

ด้วยถ้อยคำ..................คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่ดังนี้นี้เรากล่าวแล้วเพราะ

อาศัยอะไร ? บุคคลในโลกนี้ สนทนาอยู่กับบุคคลย่อมรู้อย่างนี้ว่าท่าน

ผู้นี้พูดกันตัวต่อตัวเป็นอย่างหนึ่ง พูดกันสองต่อสองเป็นอย่างหนึ่ง - พูด

กันสามคนเป็นอย่างหนึ่ง พูดกันมากคนเป็นอย่างหนึ่งท่านผู้นี้พูดคำ

หลังผิดแผกไปจากคำก่อน ท่านผู้นี้มีถ้อยคำไม่บริสุทธิ์ ท่านผู้นี้หามี

ถ้อยคำบริสุทธิ์ไม่อนึ่ง บุคคลในโลกนี้ เมื่อสนทนาอยู่กับบุคคลย่อม

รู้อย่างนี้ว่าท่านผู้นี้พูดกันตัวต่อตัวเป็นอย่างไรพูดกันสองคนสาม

คนมากคนก็อย่างนั้นท่านผู้นี้พูดคำหลังไม่ผิดแผกจากคำก่อนมี

ถ้อยคำบริสุทธิ์ ท่านผู้นี้หามีถ้อยคำไม่บริสุทธิ์ไม่ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

คำที่เรากล่าวว่า ความสะอาดพึงรู้ได้ด้วยถ้อยคำ..........คนมีปัญญาทราม

หารู้ไม่ดังนี้นี้เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็คำที่เรากล่าวว่ากำลังใจพึงรู้ได้ใน

อันตรายคนมีปัญญาทรามหารู้ไม่ดังนี้นี้เรากล่าวแล้วเพราะ

อาศัยอะไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้กระทบความเสื่อมญาติกระทบ

ความเสื่อมโภคทรัพย์หรือกระทบความเสื่อมเพราะโรคย่อมไม่

พิจารณาอย่างนี้ว่าโลกสันนิวาสนี้เป็นอย่างนั้นเองการได้อัตภาพ

เป็นอย่างนั้นในโลกสันนิวาสตามที่เป็นแล้วในการได้อัตภาพตามที่

เป็นแล้วโลกธรรม ๘ คือ

ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑

ยศ ความเสื่อมยศ ๑

นินทา ๑ สรรเสริญ ๑ สุข ๑

ทุกข์ ๑ ย่อมหมุนเวียน

ไปตามโลกและโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม ๘ ดังนี้บุคคลนั้น

กระทบความเสื่อมญาติกระทมความเสื่อมโภคทรัพย์หรือกระทบ

ความเสื่อมเพราะโรคย่อมเศร้าโศกลำบากใจร่ำไรทุนบอกคร่ำ

ครวญ ถึงความหลงใหล ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้กระทบความ

เสื่อมญาติ กระทบความเสื่อมโภคทรัพย์ หรือกระทบความเสื่อมเพราะ

โรคย่อมพิจารณาอย่างนี้ว่าโลกสันนิวาสนี้เป็นอย่างนั้นเองการได้

อัตภาพเป็นอย่างนั้น ในโลกสันนิวาสตามที่เป็นแล้วในการได้อัตภาพ

ตามที่เป็นแล้ว โลกธรรม ๘ คือ.......................................

ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑

ยศ ๑ ความเสื่อมยศ ๑ นินทา ๑

สรรเสริญ ๑ สุข ๑ ทุกข์ ๑ หมุน

เวียนไปตามโลกและโลกย่อมหมุนเวียนตามโลกธรรม ๘ ดังนี้.......................................

บุคคลนั้นกระทบความเสื่อมญาติกระทบความเสื่อมโภคทรัพย์หรือ

กระทบความเสื่อมเพราะโรคย่อมไม่เศร้าโศกไม่ลำบากใจไม่ร่ำไร

ไม่ทุบบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความหลงใหล ดูก่อนภิกษุทั้งหลายคำที่

เรากล่าวว่ากำลังใจพึงรู้ได้ในอันตรายคนมีปัญญาทรามหารู้ไม่

ดังนี้นี้เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้



หัวข้อ: Re: ศีล - วาจา และกำลังใจ
เริ่มหัวข้อโดย: 時々๛कभी कभी๛ ที่ 28 กันยายน 2553 20:18:35
(http://lh6.ggpht.com/_3F1lshAWYBc/TBcBYhAAiOI/AAAAAAAAAXk/MFy4aQdVrKM/23510200707241554111.jpg)



ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็คำทำเรากล่าวว่าปัญญาพึงรู้ได้ด้วย

การสนทนา..........คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่ดังนี้นี้เรากล่าวแล้วเพราะ

อาศัยอะไรบุคคลบางคนในโลกนี้สนทนากับบุคคลย่อมรู้อย่างนี้

ว่า ความลึกซึ้งของท่านผู้นี้เพียงไรอภินิหารของท่านผู้นี้เพียงไร

และการถามปัญหาของท่านผู้นี้เพียงไร ท่านผู้นี้ปัญญาทราม ท่านผู้นี้

ไม่มีปัญญา ข้อนั้นเพราะเหตุไรเพราะท่านผู้นี้ไม่อ้างบทความอันลึก

ซึ้ง อันสงบ ประณีตที่สามัญชนคาดไม่ถึงละเอียดอันบัณฑิตพึง

รู้ได้อนึ่ง ท่านผู้นี้กล่าวธรรมอันใด ท่านผู้นี้ไม่สามารถจะบอกแสดง

บัญญัติ แต่งตั้งเปิดเผยจำแนกกระทำให้ตื้นซึ่งเนื้อความแห่ง

ธรรมเป็นได้โดยย่อหรือโดยพิสดารท่านผู้นี้มีปัญญาทรามท่าน

ผู้นี้ไม่มีปัญญาดูก่อนภิกษุทั้งหลายบุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่ที่ฝั่งห้วงน้ำ

พึงเห็นปลาเล็ก ๆ ผุดอยู่ เขาพึงทราบได้ว่ากิริยาผุดของปลาตัวนี้

เป็นอย่างไรทำให้เกิดคลื่นเพียงไหนและมีความเร็วเพียงไรปลา

ตัวนี้เล็กไม่ใช่ปลาตัวใหญ่ ดังนี้ ฉันใด บุคคลเมื่อสนทนากับบุคคล

ก็ฉันนั้นเหมือนกันย่อมรู้อย่างนี้ว่าความลึกซึ้งของท่านผู้นี้เพียงไร

ฯลฯ ท่านผู้นี้มีปัญญาทรามท่านผู้นี้ไม่มีปัญญาดังนี้ส่วนบุคคล

ในโลกนี้สนทนาอยู่กับบุคคลย่อมรู้อย่างนี้ว่าความลึกซึ้งของท่าน

ผู้นี้เพียงไรอภินิหารของท่านผู้นี้เพียงไรการถามปัญหาของท่าน

ผู้นี้เพียงไรท่านผู้นี้มีปัญญาท่านผู้นี้ไม่ใช่ทรามปัญญาข้อนั้น

เพราะเหตุอะไรเพราะท่านผู้นี้ย่อมอ้างบทความลึกซึ้ง สงบ ประณีต

สามัญชนคาดไม่ถึง ละเอียด อันบัณฑิตพึงรู้ได้และท่านผู้นี้ย่อม

กล่าวธรรมใด ท่านผู้นี้เป็นผู้สามารถเพื่อจะบอกเพื่อแสดงบัญญัติ

แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนกกระทำให้ตื้น ซึ่งเนื้อความแห่งธรรมนั้นทั้ง

โดยย่อหรือพิสดารได้ท่านผู้นี้เป็นผู้มีปัญญาท่านผู้นี้หาใช่เป็นผู้มี

ปัญญาทรามไม่ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่ที่ฝั่ง

ห้วงน้ำ พึงเห็นปลาตัวใหญ่กำลังผุด เขาพึงรู้อย่างนี้ว่ากิริยาผุดของ

ปลาตัวนี้เป็นอย่างไรทำให้เกิดคลื่นได้เพียงไหนมีความเร็วเพียงไร

ปลาตัวนี้ใหญ่ หาใช่ปลาตัวเล็กไม่ดังนี้ ฉันใดบุคคลสนทนาอยู่

กับบุคคลก็ฉันนั้นเหมือนกันย่อมรู้อย่างนี้ว่า ความลึกซึ่งของท่านผู้นี้

เพียงไร ฯลฯ ท่านผู้นี้มีปัญญา หาใช่เป็นผู้มีปัญญาทรามไม่ดังนี้ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลายคำที่เรากล่าวว่า ปัญญาพึงรู้ได้ด้วยการสนทนา...

คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่ ดังนี้ - นี้เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายฐานะ ๔ ประการนี้แลอันบุคคลพึง

รู้ได้ด้วยฐานะ ๔ นี้


..........................จบฐานสูตรที่ ๒...........................



หัวข้อ: Re: ศีล - วาจา และกำลังใจ
เริ่มหัวข้อโดย: 時々๛कभी कभी๛ ที่ 28 กันยายน 2553 20:30:58
(http://lh6.ggpht.com/_3F1lshAWYBc/TBcBYhAAiOI/AAAAAAAAAXk/MFy4aQdVrKM/23510200707241554111.jpg)



.........................อรรถกถาฐานสูตร....................



พึงทราบวินิจฉัยในฐานสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้............................................

บทว่า ฐานานิ  คือเหตุทั้งหลาย บทว่า ฐาเนหิ คือ ด้วย

เหตุทั้งหลาย ความสะอาดชื่อ โสเจยฺยํ บทว่า สํวสมาโน แปล

ว่า เมื่ออยู่ร่วมกัน บทว่า น สตตการี น สตตวุตฺตี สีเลสุ ความ

ว่า ท่านผู้นี้จะมีชีวิตเป็นอยู่ด้วยศีลอยู่เนืองนิตย์ทุกเวลาก็หามิได้

บทว่า สํโวหรมาโน คือ เมื่อพูด บทว่า เอเกน เอโก โวหรติ ความ

ว่า ท่านผู้นี้พูดกันตัวต่อตัว บทว่า โวกฺกมติ คือพูด บทว่า{ปุริม}

โวหารา ปจฺฉิมโวหารํ คือ ท่านผู้นี้พูดคำหลังผิดแผกไปจากคำก่อน

อธิบายว่า คำหลังกับคำก่อนและคำก่อนกับคำหลังไม่สมกันในบท

เป็นต้นว่า{ญาติพฺยสเนน} คือเ สื่อมญาติ อธิบายว่า.....เสียญาติแม้

ในบทที่สองก็นัยนี้แล ส่วนในการเกิดโรค โรคนั้นแล ชื่อว่าเสียเพราะ

ทำความไม่มีโรคให้เสียไป
    
บทว่า{อนุปริวตฺตนฺติ} คือ ติดตาม ในบทว่า{ลาโภ จ}เป็น

อาทิพึงนำนัยไปอย่างนี้ว่า ลาภย่อมหมุนไปตามอัตภาพหนึ่งความ

เสื่อมลาภย่อมหมุนไปตามอัตภาพหนึ่งบทว่า{สากจฺฉายมาโน}

ความว่า......เมื่อทำการสนทนาด้วยอำนาจการถามและการตอปัญหา

บทว่า{ยถา}แปลว่า โดยอาการใด อุโมงค์แห่งปัญญา ชื่อ

อุมมังคะ อภินิหารแห่งจิตด้วยอำนาจการแต่งปัญหา ชื่อ อภินิหาร

การถามปัญหา ชื่อ สมุทาหารบทว่า สนฺตํ ความว่าไม่กล่าวให้

สงบ เพราะข้าศึกสงบ บทว่า{ปณีตํ}ได้แก่ ถึงความล้ำเลิศ บทว่า

{อตกฺกาวจรํ} ความว่า ท่านผู้นี้ไม่กล่าวโดยประการที่อาจถือเอาได้ด้วย

การเดาด้วยการคาดคะเน.

บทว่า นิปุณํ แปลว่า ละเอียด บทว่า{ปณฺฑิตเวทนียํ}

แปลว่าอันพวกบัณฑิตพึงรู้ได้บทที่เหลือในที่ทุกแห่งพึงทราบ

ดยทำนองที่กล่าวแล้วนั้นแล...............................



....................จบอรรถกถาฐานสูตรที่ ๒.......................



หมายเหตุ......................บทว่า ปุริมโวหารา ปจฺฉิมโวหารํ คือ..............................

ท่านผู้นี้พูดคำหลับ หลัง ผิดแผกไปจากคำก่อน




หัวข้อ: Re: ศีล - วาจา และกำลังใจ
เริ่มหัวข้อโดย: 時々๛कभी कभी๛ ที่ 28 กันยายน 2553 20:40:59
(http://lh6.ggpht.com/_3F1lshAWYBc/TBcBYhAAiOI/AAAAAAAAAXk/MFy4aQdVrKM/23510200707241554111.jpg)


.................................ข้อความโดยสรุป.........................


ฐานสูตรว่าด้วยฐานะ ๔ ที่พึงรู้ด้วยฐานะ ๔ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงฐานะ ๔ ประการที่พึงรู้ได้ด้วยฐานะ ๔ ประการ


ดังนี้คือ...........................................

๑.ศีล  พึงรู้ได้ ด้วยการอยู่ร่วมกัน{เมื่ออยู่ร่วมกันนาน ๆ ย่อมจะรู้ได้ว่าใครเป็นผู้มีศีล หรือ ไม่มีศีล}

๒.ความสะอาด พึงรู้ได้ ด้วยถ้อยคำ{บุคคลผู้ที่พูดไม่ว่าจะกับคนกี่คนก็ตามไม่เป็น

อย่างเดียวกัน เป็นอย่างอื่น ถ้อยคำของผู้นี้ย่อมไม่สะอาดไม่บริสุทธิ์ส่วนผู้ที่มีถ้อยคำ

สะอาดบริสุทธิ์ถึงแม้ว่าจะพูดกับคนกี่คนก็ตามย่อมเป็นอย่างเดียวกัน ไม่เป็นอย่างอื่น}

๓.กำลังใจ พึงรู้ได้ใน{คราวมีอันตราย}บุคคลผู้ที่ไม่มีกำลังใจที่เข้มแข็งเมื่อประสบ

กับโลกธรรมฝ่ายเสื่อมไม่ว่าจะเป็นเสื่อมลาภ เสื่อมยศเสื่อมเพราะโรคเป็นต้นย่อม

เศร้าโศกเสียใจส่วนผู้มีกำลังใจที่เข้มแข็งเมื่อประสบกับโลกธรรมฝ่ายเสื่อมเป็นผู้

พิจารณาเข้าใจความจริงของโลกธรรม ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่เสียใจ

๔.ปัญญา พึงรู้ได้ ด้วยการสนทนา บุคคลผู้ที่มีปัญญา ย่อมสามารถรู้ถึงความลึก

ซึ้งของปัญญาของผู้ที่ตนสนทนาด้วยได้โดยพิจารณาจากการถามปัญหา การอ้างบท

ธรรมที่ละเอียดลึกซึ้งสามารถอธิบายจำแนกเปิดเผย ทั้งโดยย่อและโดยละเอียดได้

ฐานะทั้ง ๔ ประการนี้ต้องอาศัยกาลเวลาอันยาวนานไม่ใช่เวลาอันเล็กน้อย  

ต้องใส่ใจและผู้มีปัญญาเท่านั้น ถึงจะรู้ได้

มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

สำนักงานเลขที่ 174/1 ซอย เจริญนคร 78

ดาวคะนอง ธนบุรี


ขอน้อมอาจาริยบูชาท่าน อาจารย์ สุจินต์ บริหารวนเขตต์และคณะวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทุก ๆ ท่าน



หัวข้อ: Re: ศีล - วาจา และกำลังใจ
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 28 กันยายน 2553 22:56:54


(http://www.oregonstreetcandleco.com/images/candle3lantern.gif)

 (:88:)  (:88:)  (:88:)


หัวข้อ: Re: ศีล - วาจา และกำลังใจ
เริ่มหัวข้อโดย: 時々๛कभी कभी๛ ที่ 29 กันยายน 2553 08:40:07



(:SL:) (:SL:) (:SL:)


อรุณสวัสดิ์ พี่ แป๋ม


(http://img1.imagehousing.com/1/986766a56ba9e3a9122fa1c35af05bbb.jpg)