หัวข้อ: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2557 11:25:28 .
สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย ของ จอมปราชญ์-นักปราชญ์-กวีไทย (http://www.sookjaipic.com/images_upload/32259030308988_1.png) (http://www.sookjaipic.com/images_upload/56831387264860_2.png) หนูน้อยกับคุณแม่ ที่ริมหาดชะอำเหนือ จังหวัดเพชรบุรี • เมื่อแก่เฒ่าหมายเจ้าช่วยรับใช้ เมื่อยามไข้หมายเจ้าเฝ้ารักษา เมื่อยามถึงวันตายวายชีวา หวังลูกช่วยปิดตาเมื่อสิ้นใจ ฯ "วิวาห์พระสมุทร" บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) (http://www.sookjaipic.com/images_upload/24109569812814_1.jpg) • ความรักเหมือนโรคา บันดาลตาให้มืดมน ไม่ยินและไม่ยล อุปสัคคะใดๆ ความรักเหมือนโคถึก กำลังคึกผิขังไว้ ก็โลดจากคอกไป บยอมอยู่ ณ ที่ขัง ถึงหากจะผูกไว้ ก็ดึงไปด้วยกำลัง ยิ่งห้ามก็ยิ่งคลั่ง บ่หวนคิดถึงเจ็บกาย ฯ "มัทนะพาธา" พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) (http://www.sookjaipic.com/images_upload/23484509686628_1.png) ภาพวาด ครูเหม เวชกร • ถึงกลางวันสุริยันแจ่มประจักษ์ ไม่เห็นหน้านงลักษณ์ยิ่งมืดใหญ่ ถึงราตรีมีจันทร์อันอำไพ ไม่เห็นโฉมประโลมใจก็มืดมน ฯ "วิวาห์พระสมุทร" พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) • หนาวลมห่มผ้าอุ่น สบายใจ หนาวฤดูผิงไฟ อุ่นได้ หนาวอกพึ่งสิ่งใด บ่อุ่น ได้เลย หนาวอื่นหมื่นแสนไซร้ ไป่สู้ หนาวอารมณ์ ฯ "ลิลิตพายัพ" พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) (http://www.sookjaipic.com/images_upload/85765752154919_1_1.png) • อันลมใดในโลกโยกมนุษย์ สิ่งที่สุดลมลิ้นไม่สิ้นหวาน น้ำผึ้งรวงรสอร่อยน้ำอ้อยตาล ไม่เปรียบปานชิวหาโอชารส ฯ "คำกลอนสุภาษิต เรื่อง พาลีสอนน้อง" พระนิพนธ์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (http://www.sookjaipic.com/images_upload/48418337148096_9.jpg) ภาพวาด ครูเหม เวชกร • อันของสูงแม้ปองต้องจิต ถ้าไม่คิดปีนป่ายจะได้หรือ มิใช่ของตลาดที่อาจซื้อ หรือแย่งยื้อได้โดยไม่ยอม ไม่คิดสอยมัวคอยดอกไม้ร่วง คงชวดดวงบุปชาติสะอาดหอม ดูแต่ภุมรินเที่ยวบินดอม จึ่งได้ออมอบกลิ่นสุมาลี ฯ บทละคอน เรื่อง "ท้าวแสนปม" พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) * คำ "บทละคอน" สะกดตามต้นฉบับเดิม ปัจจุบันเขียน "บทละคร"...ผู้โพสต์ (http://www.sookjaipic.com/images_upload/30645047997434_1.png) • อันคลื่นใหญ่ในมหาชลาสินธุ์ ถึงฝั่งสิ้นสาดหายเข้าในฝั่ง เสียงกลองดังฟังดูเพียงหูฟัง ปากคนดังอึงจริงยิ่งกว่ากลองฯ "อิสสริญาณภาษิต" พระนิพนธ์ พระองค์เจ้าอิศริญาณ (โอรสกรมหมื่นอินทรพิพิธ) (ทรงนิพนธ์ขณะทรงผนวชอยู่ที่วัดบวรนิเวศฯ) (http://www.sookjaipic.com/images_upload/38097427868180_15.jpg) ภาพวาด ครูเหม เวชกร • ในโลกนี้ จะหาสิ่งไรที่ชื่นใจเท่าผู้หญิงที่รักไม่มีแล้ว "เกินต้องการ" (น.๖๖) พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) (http://www.sookjaipic.com/images_upload/93270238281952_14.png) • ยามอาภัพอับจนเชื่อตนเถิด ไหนประเสริฐทำนั่นอย่าหวั่นไหว เมื่อเคราะห์ร้ายตายไหนก็ตายไป อย่าหวั่นไหวงันงกไม่ตกลง "ปกิณกสุภาษิต" (http://www.sookjaipic.com/images_upload/52438247576355_11.jpg) ภาพวาด ครูเหม เวชกร • อันการเลือกหาผัวตัวไม่รัก ทุกข์จะหนักฟูมฟกโอ้อกเอ๋ย ถึงจะยวนชวนชมภิรมย์เชย ใจก็เฉยอึ้งอ้ำไม่นำพา ฯ "หนามยอกเอาหนามบ่ง" พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) (http://www.sookjaipic.com/images_upload/18973597304688_13.png) ภาพวาด ครูเหม เวชกร • อันนารีรูปงามทรามสวาท ถ้าแม้ไร้มารยาทอันงามสม คงไม่มีชายดีจะอบรม มีแต่ชมเพื่อพลางแล้วร้างไป ฯ "พระร่วง" (บทละครร้อง) พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) (http://www.sookjaipic.com/images_upload/84855763696961_14.jpg) ภาพวาด ครูเหม เวชกร • แม้นกุศลเราสองเคยร่วมสร้าง ขอร่วมห้องอย่าได้ห่างเสน่หา เสี่ยงผลที่ได้เพิ่มบำเพ็ญมา ขอร่วมชีวาร่วมวางชีวาวาย เกิดไหนขอให้ได้ถนอมพักตร์ ความรักอย่าได้ร้างอารมณ์สลาย รักนุชอย่าได้สุดเสน่ห์คลาย ขอสมหมายที่ข้ามาดสมาทานฯ "เพลงยาวเจ้าฟ้ากุ้ง" พระนิพนธ์ เจ้าฟ้ากรมขุนเสนาพิทักษ์ (เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐสุริยวงศ์ หรือ เจ้าฟ้ากุ้ง) (http://www.sookjaipic.com/images_upload/37597292330529_5.jpg) ภาพวาด ครูเหม เวชกร • เป็นทหารจะพะวงหลงเชย ละเลยราชกิจไม่บังควร สงบศึกก็ได้อยู่เคหา เคียงคู่ภรรยาเฝ้าสงวน เมื่อต่อตีไพรีที่มากมวล จะมัวหวนห่วงเมียย่อมเสียการ ฯ "พญาราชวังสัน" พระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) (http://www.sookjaipic.com/images_upload/70316460976997_7.jpg) • "วาสิฏฐี, เราขอให้ภาวนาบทธรรมนี้ไว้... ...ที่ใดมีความรัก, ที่นั้นมีความทุกข์" "กามนิต (วาสิฏฐี)" โดย...เสฐียรโกเศศ และ นาคะประทีป (http://www.sookjaipic.com/images_upload/76650388124916_8.jpg) ภาพวาด ครูเหม เวชกร • ...เพราะข้อความในพระเวทบทหนึ่งที่ยังเจนใจข้าพเจ้ามีว่า "ศาสดาย่อมไม่กระหายอยากได้ศิษย์ แต่ศิษย์ต้องกระหายอยากได้ศาสดาเอง ... ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าอยากได้ศาสดาผู้พ้นแล้วจากความร่านกระหายเช่นนั้น"ฯ... "กามนิต - วาสิฏฐี" เสฐียรโกเศศ และ นาคะประทีป (http://www.sookjaipic.com/images_upload/83985492380128_16.png) ภาพวาด ครูเหม เวชกร • บรมบุรพะการีอันประเสริฐยิ่งกว่าบุรพะการีอื่นๆ ของเรา คือ สมเด็จพระโลกะนาถศาสดาของเรานั้นแล, แต่คนเราโดยมาก หาใครได้นึกถึงพระพุทธเจ้าในฐานะเช่นนี้ไม่. โดยมากมักนึกถึงเสียว่า พระพุทธเจ้าก็คือพระพุทธรูปที่ตั้งไว้ในอุโบสถและสถานที่ต่างๆ, หรือบนที่บูชาในเรือนของตนนั้นเอง. ที่จริงนึกเช่นนี้ไม่ถูกเลย, เพราะถ้าพระพุทธเจ้าเป็นแต่เพียงรูปที่ทำด้วยโลหะหรือศิลา หรืออิฐปูนหรือไม้ฉะนั้นแล้ว, จะเป็นของน่ากราบไหว้อย่างไร? วัตถุอย่างใดเล่าจะประเสริฐยิ่งไปกว่าเราตัวเองผู้เป็นมนุษย์;...ฯ" "พระบรมราชานุศาสนีย์" ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) แสดงคุณานุคุณ (คุณของบรมบุรพะการี) เมื่อวันวิศาขบูชา ณ ค่ายหาดหลวงเจ้าสำราญ แขวงเพชรบุรี, ณ วันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๑ (คัดโดยคงตัวสะกดเดิม) หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 05 มิถุนายน 2557 13:49:40 .
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/18921716221504_17.jpg) ภาพวาด ครูเหม เวชกร • ความรู้คู่เปรียบด้วย กำลัง กายแฮ สุจริตคือเกราะบัง ศาสตร์พ้อง ปัญญาประดุจดัง อาวุธ กุมสติต่างโล่ป้อง อาจแกล้วกลางสนาม ฯ "บทพระราชนิพนธ์โคลงสุภาษิต" ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) พระราชทานแก่ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา (http://www.sookjaipic.com/images_upload/97630116550458_2.png) (http://www.sookjaipic.com/images_upload/27044044641984_2.jpg) ภาพวาด ครูเหม เวชกร • ร้อนอากาศอาบน้ำ บรรเทา ร้อนแดดพอแฝงเงา ร่มได้ ร้อนในอุระเรา เหลือหลีก ร้อนอกราคหมกไหม้ หม่นเพี้ยงเพลิงรุมฯ" "ลิลิตพายัพ" พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) (http://www.sookjaipic.com/images_upload/24109569812814_1.jpg) ภาพจาก : 'กามนิต' เว็บไซต์สุขใจดอทคอม • โอ้โอ๋กระไรเลย บมิเคย ณ ก่อนกาล! พอเห็นก็ทราบซ่าน ฤดิรักบหักหาย ยิ่งยลวะนิดา ละก็ยิ่งจะร้อนคล้าย เพลิงรุมประชุมกาย ณ อุรา บลาลด "มัทนะพาธา" พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) (* คัดโดยคงตัวสะกดเดิม) (http://www.sookjaipic.com/images_upload/15345624503162_2.png) ภาพวาด ครูเหม เวชกร • ชมโฉมประโลมสวาท วรราชนารินทร์ รื่นรมยะสมจิน ตนะพร้อมพระไภมี เนาแนบสุดาดวง จนล่วงลับซึ่งราตรี ใสแสงพระสุรศรี พยับเยี่ยมยุคันธร "พระนลคำหลวง" พระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖) (http://www.sookjaipic.com/images_upload/12284159411986_d1.gif) ภาพวาด ครูเหม เวชกร •...โคมีแอก ม้ามีบังเหียน และเหยี่ยวมีกระดิ่ง ฉันใด บุรุษก็มีกาม ฉันนั้น... "ตามใจท่าน" พระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖) (http://www.sookjaipic.com/images_upload/38097427868180_15.jpg) เจ้าเงาะขับเสภา รจนาปั่นฝ้าย ภาพวาด ครูเหม เวชกร • ความเอยความรัก เริ่มสมัครชั้นต้น ณ หนไหน? เริ่มเพาะเหมาะกลางวางหัวใจ, หรือเริ่มในสมองตรองจงดี? แรกจะเกิดเป็นไฉนใครรู้บ้าง? อย่าอำพรางตอบสำนวนให้ควรที่ ใครถนอมกล่องเกลี้ยงเลี้ยงรตี ผู้ใดมีคำตอบขอบใจเอยฯ... "เวนิสวาณิช" พระราชนิพนธ์แปล ใน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖) จากบทละครเรื่อง 'The Merchant of Venice' ของ วิลเลียม เชกสฺเปียร์ นักกวีชาวอังกฤษ (http://www.sookjaipic.com/images_upload/26168765293227_4.jpg) ภาพวาด ครูเหม เวชกร • เรืองเรืองไตรรัตน์พ้น พันแสง รินรสพระธรรมแสดง ค่ำเช้า เจดีย์ระดะแซง เสียดยอด ยลยิ่งแสงแก้วเก้า แก่นหล้าหลากสวรรค์ ฯ. โคลงนิราศ เรื่อง "นิราศนรินทร์" นายนรินทรธิเบศร (นรินทร อิน) แต่ง เมื่อคราวตามเสด็จ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ เสด็จยกทัพไปปราบพม่าข้าศึก ที่เมืองถลางและชุมพร เมื่อต้นรัชกาลที่ ๒ ในปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๕๒ (http://www.sookjaipic.com/images_upload/79790055379271_18.jpg) • อันว่าความกรุณาปรานี จะมีใครบังคับก็หาไม่ หลั่งมาเองเหมือนฝนอันชื่นใจ จากฟากฟ้าสุราลัยสู่แดนดินฯ. "เวนิสวานิช" พระราชนิพนธ์แปล ใน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖) จากบทละครเรื่อง 'The Merchant of Venice' ของ วิลเลียม เชกสฺเปียร์ นักกวีชาวอังกฤษ • ทรามวัยอย่าร้องร่ำ กำศรวล อยู่แม่อย่าเสวยครวญ ลห้อย บ่นานบ่หน่าย*นวล แหนงเสน่ห์ นุชนา เสรจ์ทับกลับถนอมสร้อย อย่าเศร้าเสียศรี ฯ" "ลิลิตตะเลงพ่าย" พระนิพนธ์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปรมานุชิตชิโนรส * สมุดไทยเลขที่ ๔๓ ว่า แหนง (http://www.sookjaipic.com/images_upload/40455107473664_6.png) 'หุ่นขี้ผึ้ง' พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้ง จ.นครปฐม •"การที่จะลงพระราชอาญาด้วยอาการใดๆ มีตีและขังเป็นต้น...น่าจะไม่เป็นประโยชน์ เพราะลูกผู้ดีไม่ใช่สัตว์เดียรัจฉาน ที่จะบังคับบัญชาได้ด้วยอาญา” ฯ ประกาศกระแสพระราชดำริในเรื่อง เป็นลูกผู้ชาย ใน พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖) (https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTAFWugS5bIDxWpBmJ6k5-Q-mlpwYDeUPEna6GhEbvYJNrOsFJ3VQ) พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) • "...ฉันขอลาท่านทั้งหลายไปจากภพนี้ ในวันนี้แล้ว ฉันขอฝากลูกของฉันด้วย อย่าให้มีภัยอันตรายเป็นที่กีดขวางในการแผ่นดิน ถ้าจะมีความผิดสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นข้อใหญ่ ขอแต่ชีวิตไว้ ให้เป็นแต่โทษเนรเทศ ขอให้ท่านเป็นที่พึ่งแก่ลูกของฉันต่อไปด้วยเถิด.” ฯ พระราชดำรัสจากพระโอษฐ์ เหตุการณ์วันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) มีพระราชดำรัสฝากฝังพระราชโอรสและพระราชธิดาต่อขุนนางผู้ใหญ่และพระราชวงศ์ผู้ทรงอำนาจ ทรงรับสั่งให้เจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (สมุหกลาโหม ภายหลังต่อมาได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์) และพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงวงศาธิราชสนิท พระราชวงศ์ผู้ใหญ่ที่สุดที่ทรงรับราชการ เข้าเฝ้าเพื่อรับสั่งราชการเป็นครั้งสุดท้าย และรับสั่งลา... (https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRPYiiOYgN2UBFRTgudLWBYbjRfp0WP2m4jmCT06y-3FUPyoJCJ) ภาพวาดของ ครูเหม เวชกร • หนูตายตัวเดียว สามารถจะทำให้น้ำทั้งสระเป็นพิษได้ ฉันใด อ้ายพวกยุแหย่ก็อาจจะทำให้คนร่วมชาติทั้งหมดเสียชื่อเสียง สิ้นความนับถือของคนทั้งปวงได้ ฉันนั้น. อัศวภาษิต ภาษิตของ "อัศวพาหุ" พระนามแฝง หรือนามปากกา ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ (http://www.sookjaipic.com/images_upload/94116764060325_6.jpg) "ดูดอุ" (เหล้าไห) ภาพจาก : ผนังหอไตร วัดธาตุหลวงใต้ นครเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ภาพ : ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ • บุคคลบางจำพวก เมื่อนึกไปถึงความยากลำบากของตนแล้ว ก็มักหันเข้าหาความเพลิดเพลิน และความหลงใหลในสุรา. อัศวภาษิต ภาษิตของ "อัศวพาหุ" พระนามแฝง หรือนามปากกา ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (http://www.sookjaipic.com/images_upload/29925543111231_DSC_0244.JPG) จิตรกรรมฝาผนัง วัดป่าภูก้อน ต.บ้านก้อง อ.นายูง จ.อุดรธานี • พุทธศาสนิกชนย่อมได้รับความสั่งสอน ให้เผื่อแผ่เมตตาจิต และมีความปรานี สังเวช ไม่ชั่วแต่แก่ผู้ที่ร่วมศาสนา ย่อมทั่วถึงไปยังเวไนยสัตว์ทั้งหลาย ไม่ว่าศาสนาใดหรือลัทธิใด. อัศวภาษิต ภาษิตของ "อัศวพาหุ" พระนามแฝง หรือนามปากกา ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/thumb/e/ea/Inscription_of_Siamanusati.jpg/250px-Inscription_of_Siamanusati.jpg) "โคลงสยามานุสติ" ลายพระราชหัตถ์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ฯลฯ • หากสยามยังอยู่ยั้ง ยืนยง เราก็เหมือนอยู่คง ชีพด้วย หากสยามพินาศลง ไทยอยู่ ได้ฤๅ เราก็เหมือนมอดม้วย หมดสิ้นสกุลไทย สยามานุสติ คำโคลงพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๗ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๖๑ (http://www.sookjaipic.com/images_upload/97134204415811_DSC_0008.JPG) • พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ความอยากรู้-อยากทำ เป็นรุ่งอรุณของการศึกษา" วจนะภาษิตธรรม คัดจาก กระดานผลงาน ณ ชาติภูมิสถาน ปอ.ปยุตฺโต อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี (http://www.sookjaipic.com/images_upload/42343392471472__3588_3619_3641_.gif) ภาพวาด - ครูเหม เวชกร? • เคยตระโบมบัวมาดแก้ว กับกร เกี้ยวตระกองบงงอร อุ่นเนื้อ ปางร้างนิราสมร มาเทวศ ถวิลบวายรสเกื้อ กอดเกี้ยวก่ายเขนย. ลิลิตตะเลงพ่าย พระนิพนธ์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส * ผู้ทรงพระนิพนธ์ได้นำเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงมีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชาของพม่า มาเรียบเรียงเป็นวรรณคดียอพระเกียรติ (http://www.sookjaipic.com/images_upload/21415233446491__3585_3635_3652_3621_.gif) ภาพวาด - ครูเหม เวชกร • กำไลมาศชาตินพคุณแท้ ไม่ปรวนแปรเป็นอื่นยั่งยืนสี เหมือนใจตรงคงคำร่ำพาที จะร้ายดีขอให้เห็นเช่นเสี่ยงทาย ตาปูทองสองดอกตอกสลัก ตรึงความรักรัดไว้อย่าให้หาย แม้รักร่วมสวมใส่ไว้ติดกาย เมื่อใดวายสวาสดิ์วอดจึงถอดเอย. บทกลอนพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว * สลักไว้บริเวณด้านบนของกำไล พระราชทานแด่เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ลดาวัลย์ เจ้าจอมคนสุดท้ายในรัชกาลที่ ๕ (http://www.sookjaipic.com/images_upload/67352477005786_r.gif) ภาพพระปฐมสมโพธิ์ ของ ครูเหม เวชกร • พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ พระนิพนธ์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส * คชสารแม้ม้วยมีงา โคกระบือมรณาเหลือเขาหนัง มนุษย์ถึงกาลอาสัญ สูญสิ้นสารพัน คงไว้แต่ "ความชั่ว-ความดี". p. 7-9 p. 32/32 หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 19 พฤษภาคม 2558 15:28:07 .
. (http://www.sookjaipic.com/images_upload/65427685487601_K6608031_13_1_.jpg) ภาพวาด ครูเหม เวชกร • สิ่งใดๆ ในโลกนี้อันเป็นที่น่าปรารถนา จะได้มาโดยไม่ต้องสละสิ่งอื่นแลกเปลี่ยนบ้างนั้น ไม่มีเลย ถ้าวัตถุใดได้มาโดยง่าย และโดยไม่ต้องสละสิ่งอื่นแลกเปลี่ยนเลยนั้น แท้จริงเป็นวัตถุอันไม่มีราคาเลย จาก อัศวภาษิต พระราชนิพนธ์ ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ (http://www.sookjaipic.com/images_upload/16581945493817__3617_3627_3634_3605_3632_3617.gif) ภาพวาด ครูเหม เวชกร • คนโดยมาก ดูรูปมากกว่าดูใจ นิยมในเครื่องประดับประดาภายนอก มากกว่าสติปัญญาและความสามารถ ซึ่งเป็นเครื่องประดับภายใน • คนโดยมากนิยมในรูปอยู่มาก ถ้าให้ภายนอกสุกใสอยู่แล้ว ถึงภายในจะเป็นโพรงบ้างก็ไม่ใคร่ถือ จาก...บทละครพูด เรื่อง มหาตมะ พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) (http://www.sookjaipic.com/images_upload/25178415204087_1291559595_1_.jpg) ภาพวาด ครูเหม เวชกร • "กาก็ดำ นกดุเหว่าก็ดำ" อะไรเล่า! เป็นเครื่องแตกต่างระหว่างกาและนกดุเหว่านั้น ...เมื่อถึงฤดูใบไม้ผลิ กาก็ร้องเสียงกา..กา... นกดุเหว่าก็ร้องเสียงนกดุเหว่า อันไพเราะ บัณฑิตผู้ฉลาด อาศัยฟังเสียงร้องประกอบการพิจารณานั้น จึงทราบได้ว่าใครเป็นผู้สะอาดบริสุทธิ์ ใครเป็นผู้สกปรกโสมมเต็มไปด้วยเปือกตมคือกิเลสตัณหา พระพุทธองค์จึงตรัสว่า "ที่ใดไม่มีสัตบุรุษที่นั้นไม่ชื่อว่าสภา ผู้พูดไม่เป็นธรรม ไม่ชื่อว่าเป็นสัตบุรุษ" จาก..."ภาษิตโบราณ" (http://www.sookjaipic.com/images_upload/93288569110963__3614_3619_3632_3624_3640_3609.gif) ภาพวาด ครูเหม เวชกร • ผู้ที่เกิดมาในตระกูลต่ำแล้ว แต่ประพฤติตนดี ก็เสมอกับยกตนเองให้ขึ้นสู่ชาติอันสูง จาก เรื่อง พระศุนหเศป (เศานห์ เศปาขยานัม์) พระราชนิพนธ์แปล ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) (ทรงแปลจากนิทานโบราณ ซึ่งมีในคัมภีร์เก่าแก่ของศาสนาพราหมณ์ ต้นฉบับภาษาอังกฤษ (http://www.sookjaipic.com/images_upload/89686503012975__3623_3633_3621_3621_3616_3634.gif) ภาพวาด พระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี
บทกลอนพระราชนิพนธ์ ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) แสดงถึงความรักที่ทรงมีต่อพระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี - พระคู่หมั้น (http://www.sookjaipic.com/images_upload/45361642042795__3586_3634_3623_.gif) ภาพวาด พระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี • แสนเสียดายดวงจันทร์อันทรงกลด งามหมดไม่มีราคีหมอง พิศพักตร์วิไลลักษณ์น่าประคอง นวลละอองลออเอี่ยมสำอางค์องค์... บทกลอนพระราชนิพนธ์ ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) แสดงถึงความอาลัยที่ทรงมีต่อพระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี จากการที่พระองค์ทรงประกาศถอนหมั้น เมื่อเดือนมีนาคม ปีพุทธศักราช ๒๔๖๓ (http://www.sookjaipic.com/images_upload/92148112629850__3585_3634_3585_3637_1.gif) ภาพวาด ครูเหม เวชกร
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/39836131243242__3585_3634_3585_3637_2.gif) ภาพวาด ครูเหม เวชกร
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/89016956629024_IMG_2855.JPG) วัดพระศรีสรรเพชญ์ พระนครศรีอยุธยา
พระราชนิพนธ์ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท (http://www.sookjaipic.com/images_upload/42718355771568_p19_1_.jpg) ภาดวาดครูเหม เวชกร พระพุทธองค์เสด็จไปศึกษากับคณาจารย์ต่างๆ ในที่สุดทรงเห็นว่ามิใช่หนทางตรัสรู้ จึงละเลิกเสีย
p. 7-9 หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 24 พฤศจิกายน 2559 16:45:10 (http://www.sookjaipic.com/images_upload/94053048102392__3609_3585_3604_3629_3585_3652.gif)
หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 01 ธันวาคม 2559 15:00:45 (http://www.sookjaipic.com/images_upload/41514951239029_sangaraj20.jpg) (http://www.sookjaipic.com/images_upload/57984951428241_r5_2.jpg) (http://www.sookjaipic.com/images_upload/36986049968335_rama9_mainpage.jpg) (http://www.sookjaipic.com/images_upload/74023331536187_ror_10.jpg) หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 01 ธันวาคม 2559 15:34:29 (http://www.sookjaipic.com/images_upload/44548767556746__3609_3585_1.gif)
บทพระราชนิพนธ์เพลงยาวปลงสังขาร ใน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) ทรงให้แง่คิด "ธรรมะ" แก่ผู้อ่านโดยตรง คือให้พิจารณาถึงภัยใน ขันธ์ ๕ (เบญจขันธ์) อันประกอบด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. ว่าเป็นตัวก่อให้เกิดทุกข์ (http://www.sookjaipic.com/images_upload/80789381638169_039.jpg)
"มัทนะพาธา" พระราชนิพนธ์ร้อยกรอง ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) (http://www.sookjaipic.com/images_upload/55364853019515_1..jpg) จิตรกรรมพระวิหารวัดภูมินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน
จากพระราชนิพนธ์ "หนามยอกเอาหนามบ่ง" ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) (http://www.sookjaipic.com/images_upload/89686503012975__3623_3633_3621_3621_3616_3634.gif)
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) (http://www.sookjaipic.com/images_upload/71765561567412__3623_3634_3626_3636_3599_3600.gif)
จาก "สาวิตรี" พระราชนิพนธ์ ใน สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราวุธ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 08 กุมภาพันธ์ 2560 12:51:46 (http://www.sookjaipic.com/images_upload/41280338789025_18.jpg)
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/39836131243242__3585_3634_3585_3637_2.gif)
จากเรื่อง : อาหรับราตรี ของ เสฐียรโกเศศ - นาคะประทีป (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/16037266991204__3618_1.gif)
เมื่อข้าพเจ้ากล่าวจบลง นางกล่าวตอบว่า:-
ตอนที่ ๓๐ เรื่องของคนต้นเครื่องของสุลต่าน ของ เสฐียรโกเศศ - นาคะประทีป (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/30451295649011__3629_3623_3618_3614_3619_1.gif) ภาพวาดลายเส้นจากปากกาลูกลื่นสีดำ+ดินสอ 6B
หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 20 มีนาคม 2560 08:31:58 (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/27943046391010_112.jpg)
พอธันวันตริผุดขึ้นพ้นทะเลน้ำนม เหล่ายักษ์ทั้งหลายก็กรูกันเข้าไปใกล้ พระนารายณ์ได้สติจึงแปลงกายเป็นหญิงงาม ---------------------------- จากเรือง "ลิลิตนารายณ์สิบปาง" พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานเพื่อสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจี พระบรมราชินี เนื่องจากสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจีสนพระทัยเรื่องอวตารปางต่างๆ ของพระนารายณ์มาก (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/27519939839839__3617_3637_3609_3634_3588_3617.gif) ภาพวาดลายเส้น โดยปากกาลูกลื่นสีดำ + ดินสอ HB และ 4B
---------------------------- จาก "กาพย์เห่เรือ ล่องเรือพระนคร" พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพลงสีชัง เป็นเพลงที่นำเนื้อร้องมาจาก “กาพย์เห่เรือฯ” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ พระราชทานแก่หนังสือสมุทรสาร ซึ่งเป็นวรรณคดีปลุกใจให้รักชาติ สง่า อารัมภีร อัญเชิญมาใส่ทำนองเพลง บรรเลงโดยวงสุนทราภรณ์ ขับร้องครั้งแรกโดย หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัฒน์ หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 23 มีนาคม 2560 15:47:47 (http://www.sookjaipic.com/images_upload/68827125512891__3623_3634_3626_3636_3600_3598.gif) ทวยเทพเจ้าขา! นี่รูปใคร? รูปวาสิฏฐี ธิดาเศรษฐีช่างทองทีเดียวนี่นา! ภาพวาดลายเส้น ประกอบการโพสท์วรรณกรรมเรื่อง "กามนิต วาสิฏฐี"
---------------------------- จาก โคลงสุภาษิตบางปะอิน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับที่พระราชวังบางปะอิน เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๒๐ ตรงกับวันศุกร์ แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๖ ปีฉลู นพศก จ.ศ.๑๒๓๙ ในการเสด็จครั้งนั้นมีเจ้านายและข้าราชบริพารตามเสด็จมากมาย ระหว่างประทับที่บางปะอิน ทรงเกรงว่าเจ้านายที่ตามเสด็จจะเหงาอ้างว้าง ด้วยงานราชการไม่ค่อยจะมีราชกิจ จึงทรงหาเหตุชวนเจ้านายให้แต่งโคลงตามกระทู้ที่ทรงคิด แต่ละกระทู้ ทรงกำหนดว่าด้วยคุณและโทษของความดีทั้งหลาย เช่น ความรัก ความชัง ความโทมนัส ความโสมนัส ความขลาด ความกลัว ความยุติธรรม ฯลฯ เมื่อทรงตั้งข้อใดยกขึ้นเป็นกระทู้แล้ว ก็ทรงพระราชนิพนธ์ด้วย และโปรดให้เจ้านายทรงแต่งบ้าง โดยให้อธิบายความหมายของกระทู้ตามแต่จะคิดเห็นเองไม่มีกำหนด และไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน เมื่อแต่งเสร็จแล้วก็ให้นำมาอ่านถวายในเวลาเสด็จออกทุกๆ วัน เมื่อจบกระทู้หนึ่งแล้วก็จะพระราชทานกระทู้ใหม่ให้เจ้านายแต่งอีก เป็นเช่นนี้ (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/67953943254219_9dc13bb94f3913b5fe6ed51a9f19d2.jpg) ภาพวาด "นางศกุนตลา" ในจินตนาการของครูเหม เวชกร
---------------------------- ท้าวทุษยันต์ชมโฉมนางศกุนตลา จาก "ศกุนตลา" พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) เรื่องศกุนตลานี้ ต้นเรื่องอยู่ในมหาภารต สมมติว่าเป็นเรื่องราวของกษัตริย์จันทรวงศ์องค์ที่ ๑ ซึ่งเป็นชนกแห่งกษัตริย์โกรพและปาณฑพ ผู้กระทำมหาภารตยุทธ์กันที่ตำบลกุรุเกษตร์ อันเป็นตัวเรื่องแห่งหนังสือมหาภารต (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/13799309854706_DSC_0048.jpg) จิตรกรรมผนังพระอุโบสถ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร บางกอกใหญ่ กทม.
---------------------------- จากเรื่อง นิราศเมืองนรก ผู้แต่งนิราศเรื่องนี้ได้บวชเป็นสามเณร ถือสิกขาบำเพ็ญภาวนา วันหนึ่งขณะนั่งหลับตาภาวนา ยมบาลได้มาชวนไปชมขุมนรกต่างๆ ได้เห็นพวกสัตว์นรกต่างๆ มากมายกำลังถูกลงทัณฑ์ ซึ่งยมบาลก็อธิบายถึงบาปกรรมของสัตว์นรกแต่ละประเภทให้ฟัง ผู้แต่งได้อาศัยโอกาสนี้ เล่าเรื่องสั่งสอนให้มนุษย์ที่มีชีวิตอยู่จงสร้างแต่กรรมดี ละเว้นกรรมชั่ว และให้ปฏิบัติธรรม (ต้นฉบับเดิมจารลงสมุดข่อยถูกทอดทิ้งให้ผุพังไปตามกาลเวลา รองศาสตราจารย์ - วิเชียร เกษประทุม ได้ปริวรรตเนื้อเรื่องจากอักขระเดิม เป็นอักขระปัจจุบัน. (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/18250246594349__MG_9473.jpg) จิตรกรรมผนังพระอุโบสถ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร บางกอกใหญ่ กทม.
---------------------------- จากเรื่อง นิทานเวตาล นิทานเรื่องนี้เป็นเรื่องภาษิตและคติทางโลกโบราณเก่าแก่ เดิมเป็นวรรณกรรมสันสกฤตโบราณ ต้นกำเนิดของเรื่องอยู่ในประเทศอินเดีย สมัยกว่า ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ (น.ม.ส.) พระนามเดิมว่า พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส ได้ทรงแปลจากฉบับที่แปลเป็นภาษาอังกฤษ ขอ งริชาร์ด ฟรานซิส เบอร์ตัน (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/38206761206189_SAM_5219.JPG) ภาพจาก : วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/85919655486941_IMG_3991.jpg) ภาพจาก : กว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา Three Things to wait for Change Decay Death อนิจจัง ชรา มรณะ
จาก โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/20857291461692__MG_6629.JPG)
จาก ลิลิตพายัพ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) (https://scontent.fbkk1-1.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/18342552_209286822920339_7454654346580459926_n.jpg?oh=415e7d594dcced6df95486649610083f&oe=59C02771) (https://scontent.fbkk1-1.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/18342603_209286982920323_4891821686768191340_n.jpg?oh=6323a634983ccf3be112e913573c116a&oe=59BFD921)
ภาพประกอบ : ภาพเขียน อาจารย์ จักรพันธุ์ โปษยกฤต (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/26181900832388_1.jpg) ภาพประกอบ : หลังฉากอุปรากรจีน "งิ้ว" เทศกาลตรุษจีนปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ 'ศุภมิตร' คำว่า ศุภมิตร นี้ แปลตามรูปศัพท์ได้ว่า 'มิตรที่ดีที่ประเสริฐ' พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้ความสำคัญกับคำนี้มาก ดังพระบรมราโชวาทที่พระราชทานไปยัง นายประสาท สุขุม บุตรเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกไปเล่าเรียนที่ต่างประเทศด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ตอนหนึ่งว่า "เจ้าจงพยายามให้มีเพื่อนไว้มากที่สุดที่จะมากได้ แต่ส่วนมิตรนั้นเจ้าต้องพยายาม เลือกเฟ้นไว้แต่เฉพาะ 'มิตรแท้' จริงๆ และมีไว้ให้น้อยที่สุด" (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/11855062097310__MG_3039.jpg) ภาพ : การแสดงเอ็งกอ พะบู๊ เทศกาลตรุษจีนปากน้ำโพ จ.นครสวรรค์ ปี ๒๕๖๐
จาก ลิลิตนิทราชาคริต พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว pg.50 al.22 (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/39584448105759_44.jpg) ภาพ : วัดมเหยงคณ์ ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
พระราชนิพนธ์โคลงสุภาษิต ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) พระราชทาน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) พระราชโอรส ครั้งดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อครั้งเสด็จประพาสอังกฤษ ใน พ.ศ.๒๔๔๐ นัยความหมายแห่งโคลง ทรงตักเตือน พระราชโอรสมิให้ทรงถือยศศักดิ์ ที่มีพระชาติกำเนิดประสูติภายใต้พระมหาเศวตฉัตร ทรงให้มองมนุษย์ว่าทุกคนย่อมมีกำเนิดที่เท่าเทียมกัน คือเป็น "คน" เหมือนกัน ส่วนฐานะ ความรู้ ตลอดจนยศฐาบรรดาศักดิ์ เป็นสิ่งที่ปรุงแต่งแสวงหากันได้ แต่สิ่งที่จะทำให้มนุษย์แต่ละรูปนามมีคุณค่าแตกต่างกันนั้นอยู่ที่ การประพฤติดีประพฤติชั่ว (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/90782085806131__3585_3634_3585_3637_.gif) ภาพวาด : ครูเหม เวชกร
นายตำรา ณ เมืองใต้ pg.50 al.22 หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 25 พฤษภาคม 2560 13:14:20 (http://www.sookjaipic.com/images_upload/16621708290444__3623_3634_3626_3636_3599_3600.gif)
เวนิสวานิช พระราชนิพนธ์ ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/19914167664117_068.jpg) ถ้าแม้ไม่ทำดีในแดนดิน จะถวิลถึงสวรรค์นั้นอย่าหา จากเรื่อง 'เวนิสวานิช' พระราชนิพนธ์สุภาษิต ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ (http://www.sookjaipic.com/images_upload/29663196785582_dk.gif) ธรรมชาติย่อมมีของคู่กัน
จากเรื่อง 'เงาะป่า' พระราชนิพนธ์ ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ความตอนนี้เป็นบทรำพึงของซมพลาตอนมาอยู่ในถ้ำที่ตนเลือกไว้ จัดไว้ว่าเป็นภาษิตและเป็นความจริงของโลก ให้แง่คิดว่า เมื่อมีสิ่งหนึ่งก็ต้องมีอีกสิ่งหนึ่งควบคู่กันไปเสมอ เมื่อมีชายก็มีหญิง มีสุขก็ต้องมีทุกข์ มีความรักก็ต้องมีความชัง มีการพบกันก็ต้องมีการพลัดพรากจากกัน ฯลฯ (http://www.sookjaipic.com/images_upload/39144341813193_w1.gif)
F.W.Bourdillon. ราตรีมีมากด้วยนัยนา
ศรีอยุธยา, แปล. ดุสิตสมิต เล่มที่ ๕ ฉบับที่ ๘๖ หน้า ๑ หมายเหตุ "ศรีอยุธยา" พระนามแฝง ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (http://www.sookjaipic.com/images_upload/49419991465078_1.gif)
จาก โคลงสุภาษิตบางปะอิน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 22 มิถุนายน 2560 16:33:26 วโส อิสฺสริยํ โลเก อำนาจเป็นใหญ่ในโลก ...สคาถวรรค สยุตตนิกาย (http://www.sookjaipic.com/images_upload/86510984806550_12.JPG) พระราชวังโบราณ-วัดพระศรีสรรเพชญ์ พระนครศรีอยุธยา (http://www.sookjaipic.com/images_upload/89016956629024_IMG_2855.JPG) พระราชวังโบราณ-วัดพระศรีสรรเพชญ์ พระนครศรีอยุธยา
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/49882464069459_1.JPG) ภาพประกอบ : สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา จิตรกรรมผนังพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร อ.เมือง จ.พิษณุโลก
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/60739254082242_a4.jpg) เจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคล อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธา อนุสรณ์สถานแห่งชัยชนะศึกยุทธหัตถีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/33613445278670_5.JPG) สมเด็จพระนเรศวรทรงได้รับการสถาปนาเป็นพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลก พ.ศ.๒๑๑๔
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/42475119150347_9.JPG) สมเด็จพระนเรศวรทรงนำทหารมานมัสการพระพุทธชินราช และสวดชยมงคลคาถาก่อนการรบ และภายหลังการรบได้นำศัตราวุธมาถวายเป็นพุทธบูชาทุกครั้ง (http://www.sookjaipic.com/images_upload/49882464069459_1.JPG) สมเด็จพระนเรศวรทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะพระมหาอุปราชา ณ หนองสาหร่าย เมืองสุพรรณบุรี พ.ศ.๒๑๓๕
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/49106435394949_1.jpg) สมเด็จพระนเรศวรทรงประกาศอิศรภาพ โดยหลั่งทักษิโณทกเหนือแผ่นพสุธา ด้วยพระสุวรรณภิงคาร ณ เมืองแครง พ.ศ.๒๑๒๗
จาก ลิลิตตะเพลงพ่าย พระนิพนธ์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ผู้ทรงนิพนธ์ได้นำเหตุการณ์ประวัติศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยา ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงมีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชาของพม่ามานิพนธ์ยอพระเกียรติ (คัดโดยคงอักขรวิธีการสะกด การันต์ตามเดิม) ภาพประกอบ : จิตรกรรมผนังพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร อ.เมือง จ.พิษณุโลก หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 25 มิถุนายน 2560 17:14:03 (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/12789221066567__MG_0050.jpg)
พระอภัยมณี - สุนทรภู่ ภาพจาก : พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย (MUSEUM OF CONTEMPORARY ART) กรุงเทพมหานคร (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/52544604200455_1.jpg)
ภาพจาก : พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย (MUSEUM OF CONTEMPORARY ART) กรุงเทพมหานคร (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/11450890782806__MG_0061.jpg) ภาพจาก : พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย (MUSEUM OF CONTEMPORARY ART) กรุงเทพมหานคร
พระรามครวญถึงนางสีดา บทพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/47309744647807__MG_7740.jpg) ภาพจาก : พระตำหนักแดง ภายในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพมหานคร
ที่มา : อิเหนา ตอนอิเหนาลานางจินตะหรา บทพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/70243682505355_songkran2_1_.jpg)
ผู้แต่ง : พระราชครูพิเชต (กลัด) กวีเก่าเกิดครั้งรัชกาลที่ ๑ ภาพ : ภาพวาดฝีมือ อาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/40879698097705_22_l..gif) ภาพวาดด้วยปากกาลูกลื่นสีดำ ดินสอ 4B และ 6B
จากเรื่อง พระนลคำหลวง พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/62382688787248_21.jpg)
"โคลงสี่สุภาพ" หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 08 ธันวาคม 2560 15:38:28 (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/28014937539895_2.gif) ภาพวาดระบายสีน้ำ
เจ้าฟ้าสังวาลย์ ทรงเป็นพระธิดาของเจ้าฟ้าเทพ (พระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ) กับพระองค์เจ้าแก้ว (พระโอรสที่เกิดจากพระสนมในสมเด็จพระเพทราชา) ภายหลังต่อมา เจ้าฟ้าสังวาลย์ ตกเป็นพระสนมเอกของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงเป็นสตรีต้องห้าม ที่นำพาให้เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ (กุ้ง) เข้าสู่หายนะแห่งชีวิต ด้วยอาชญากรรมอันเป็นมหันตโทษ ดับสูญไปตามวิถีกรรม แม้หากเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ ทรงสามารถดำรงพระราชอิสริยยศต่อมาได้อีกประมาณ ๓ ปี ก็จักได้เสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยาสืบต่อจากสมเด็จพระราชบิดา (ภายหลังเจ้าฟ้ากุ้งสิ้นพระชนม์ประมาณ ๓ ปี - สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เสด็จสวรรคต ด้วยพระโรคชรา เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๐๑)
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/34222829755809_3.JPG)
พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ทรงเปรียบเทียบให้เห็นถึงวิกฤติแห่งปัญหาที่ยังแก้ไม่ตก ก่อให้เกิดความขัดข้อง ราวกับ ตะปูดอกใหญ่ตรึ้งบาทา อยู่เฮย (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/14277357442511__MG_7542.JPG)
คำฉันท์ หลักหัวใจนักปราชญ์ ใน หนังสือสอนอ่าน "ประถมมาลา"
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/68827125512891__3623_3634_3626_3636_3600_3598.gif)
พระราชนิพนธ์ ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/53153688295019_2.jpg) (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/18910535549123_1.jpg) ภาพวาด : ครู เหม เวชกร
สุภาษิตสอนหญิง : "ภู่" - (กรมพระยาดำรงราชานุภาพสันนิษฐานว่าคือ "สุนทรภู่") วรรณกรรมนี้ สะท้อนฐานะของอดีตสตรีไทยตามที่เป็นมาในประวัติศาสตร์ ส่องให้เห็นคุณค่าของผู้หญิงที่ถูกกำหนดให้มีฐานะเป็นเมียที่ดี เป็นช้างเท้าหลัง เป็นบุปชาติ และทาสรับใช้ผู้ซื่อสัตย์ของชายที่เป็นใหญ่ หาเลี้่ยงครอบครัว กุมอำนาจเหนือกว่า หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 30 พฤษภาคม 2561 19:39:11 (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/45537859822312__MG_2441_Copy_.jpg) (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/65324680879712__MG_2436_Copy_.jpg) Photo by Mckaforce (แอ็ดมิน www.SookJai.com (http://www.SookJai.com))
จากเรื่อง รามเกียรติ์ ตอน ศึกนาคบาศ "โขน" มรดกศิลป์แผ่นดินชั้นสูง ปัจจุบันคนไทยมักไม่ใคร่ให้ความสำคัญในด้านวัฒนธรรมของชาติ หากเรายังคงละเลย ไม่ส่งเสริมฟื้นฟูอนุรักษ์ศิลปแขนงนี้ไว้ ย่อมเป็นภัยอย่างใหญ่หลวงต่อการดำรงความ เป็นเอกลักษณ์ของชาติเรา จึงสมควรที่เราจักตระหนักในคุณค่าของสิ่งที่เป็นสมบัติ ทางวัฒนธรรมไทยให้ดำรงอยู่คู่ชาติไทยตลอดชั่วกาลนาน. (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/96595394238829_IMG_4687.jpg) จิตรกรรมฝาผนังวัดโอกาส ถ.สุนทรวิจิตร ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครพนม
จากเรื่อง พระเกียรติรถ สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าแผ่นดินสยาม ทรงพระราชนิพนธ์ พ.ศ.๒๔๕๙ พระราชนิพนธ์เรื่องนี้ไม่มีหมายเหตุ ไม่ทราบว่าทรงประดิษฐ์เรื่องขึ้นหรือทรงใช้เนื้อเรื่องมาจากไหน (http://www.sookjaipic.com/images_upload/90285049378871_4.jpg)
ที่มา "ตามใจท่าน" พระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 20 สิงหาคม 2561 19:20:56 (https://www.bloggang.com/data/r/rouenrarai/picture/1404061969.jpg) ขอขอบคุณภาพจาก : www.bloggang.com
พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โคลงพาลีสอนน้อง เป็นโคลงสี่สุภาพ พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งเป็นยุคกวีเฟื่องฟูหรือยุคทองแห่งวรรณคดี สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ทรงมีพระราชปรารถนาอบรมสั่งสอนข้าราชสำนักและข้าราชการทั่วไป มีถ้อยคำสำนวนโวหารไพเราะ มีคุณค่าทางสุภาษิต เป็นแบบอย่างการประพฤติปฏิบัติตนให้อยู่ในทำนองคลองธรรม มุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต พระองค์ทรงหยิบยกเอา “พาลี” ในวรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์ ขึ้นมาพระราชนิพนธ์ ในรามเกียรติ์ตอนนั้นมีอยู่ว่า พาลีผู้ครองเมืองขีดขิน เมื่อใกล้จะถึงแก่ความตายด้วยศรพระราม ได้เรียกสุครีพ (น้องร่วมมารดา) และองคต (ผู้เป็นบุตร) มาสั่งสอนข้อปฏิบัติในการที่จะรับราชการอยู่กับพระรามต่อไป (สุครีพและองคตนี้ คือทหารเอกของพระราม) ความสำคัญก็คือ เรียกทั้งน้องและลูกมาฟังคำสอน เช่นสอนว่า อย่าใฝ่ใจในเสน่ห์และห้ามทำชู้กับนางสนม นางใน ของพระเจ้าแผ่นดิน, ก่อนจะเข้าเฝ้าพระเจ้าแผ่นดินให้บริโภคอาหารแต่พอประมาณ อย่ากินมากเกินไป เพราะอาจทำให้ท้องปั่นป่วนในขณะเข้าเฝ้าได้ และไม่ยักยอก ฉ้อโกงทรัพย์ของหลวง เพราะจะได้รับโทษอย่างร้ายแรง เป็นต้น (http://lh5.ggpht.com/_REEBI8p4NjM/Sev-0SgU6tI/AAAAAAAAGvk/em-YzJgGZvM/s800/jakapun_20.jpg) ภาพเขียนอาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต ผู้หญิงที่เป็นผู้หญิงจริงๆ เท่านั้น ที่ข้าพเจ้าต้องการแต่งงานด้วย บ๊อบ โฮ้พ "Bob" Hope
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/14624511533313_P_20181007_100029.jpg) (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/48079966132839_P_20181007_100025.jpg) กระดึงพรวน ประดับศาลเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก วัดพนัญเชิงวรวิหาร จ.พระนครศรีอยุธยา
ของพระมหานาค วัดท่าท่าย (กล่าวถึง "กระดึงพรวน") กระดึงพรวน เป็นเครื่องลั่นทำให้เกิดเสียง ใช้แขวนตามชายคาพระอุโบสถ พระวิหาร มณฑป และริมปากบัวฝาละมีในพระสถูปเจดีย์ กระดึงพรวน ทำด้วยโลหะหล่อเป็นรูปทรงคล้ายถ้วยชาคว่ำ ห้อยลูกตุ้มอยู่ข้างใน (เรียกว่า ลูกเน่ง) ตอนปลายตุ้มติดห่วงห้อยใบพานทำด้วยแผ่นโลหะเป็นรูปใบโพธิ์ เป็นที่สำหรับพานลมให้กวัดไกว เมื่อตุ้มไปกระทบตัวกระดึงทำให้เกิดเสียงดังกังวาน ไพเราะ กระดึงพรวนนี้ นอกจากให้ใช้เป็นเครื่องให้เกิดเสียงแล้ว ยังเป็นเครื่องประดับอาคารอีกด้วย และในปัจจุบัน กระดึงพรวนยังได้รับความนิยมแพร่หลายไม่จำกัดอยู่แต่ภายในศาสนสถานอย่างสมัยโบราณเท่านั้น แต่มีการนำไปใช้แขวนตกแต่งบ้านเรือนและสถานที่ต่างๆ หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 08 ธันวาคม 2561 14:18:23 (http://www.sookjaipic.com/images_upload/37343269420994_6.JPG) วโส อิสฺสริยํ โลเก - อำนาจเป็นใหญ่ในโลก ...สคาถวรรค สยุตตนิกาย...
พระราชนิพนธ์ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท (คัดคงตัวสะกดเดิม) (http://www.sookjaipic.com/images_upload/89016956629024_IMG_2855.JPG)
ที่มา : กลอนเสภาขุนข้างขุนแผน คนแต่ก่อนถือลางชั่ว ลางร้ายบอกเหตุ หรือสิ่งอัปมงคลต่างๆ กันมาก บทเสภานี้เกิดเหตุต่างๆ ขึ้นที่บ้านขุนแผน เป็นเสภาตลกที่ได้กล่าวถึงสิ่งที่คนไทยแต่ก่อนถือเป็นลางบอกเหตุร้าย คัดจาก หนังสือธรรมคดี งานเขียนของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์ดอกหญ้า 2000 (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/45601743832230_2656d03dbb666ac_1_320x200_.jpg)
ดุสิตสมิต เล่ม ๑๑ ฉบับที่๑๒๖ (พ.ศ.๒๔๖๔) หน้า ๑๕๐ สุภาษิตพระราชนิพนธ์ ของ สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว คัดโดยคงพยัญชนะและตัวสะกดเดิม (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/42821075684494_hem_12_1_320x200_.jpg) ภาพวาด ครูเหม เวชกร
โคลงสุภาษิตประจำภาพในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สำนวนนี้หมายถึง การจะทำลายล้างคนพาลสันดานโกงให้สิ้นซาก ก็ต้องกำจัดให้หมดทั้งโคตรวงศ์ตระกูล ไม่ให้เหลือเชื้อสายที่จะเกิดใหม่ได้ จึงจะปราบศัตรูได้หมดสิ้น (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/46544381934735_P_20181002_130743_Copy_.jpg) ภาพจาก วัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขกสีลม) กรุงเทพฯ คนเรา จะเป็นผู้ถือสัญชาติใด และถือศาสนาใดก็ตาม ย่อมไม่ชอบและไม่ไว้ใจบุคคลที่ไร้ธรรม จากเรื่อง พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร พระราชนิพนธ์ ใน สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 28 มีนาคม 2562 18:24:31 (http://www.sookjaipic.com/images_upload/67187901462117__3620_3625_3637_.gif)
โคลงฤๅษีดัดตน (ดัดตนแก้เส้นมหาสนุกระงับ) (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/78824011277821__MG_9468_Copy_.JPG) ภาพจาก วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ
หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 18 พฤศจิกายน 2562 14:12:29 (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/66275213037927_g1_320x200_.jpg) (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/30244640674855_g2_320x200_.jpg) (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/68592657314406_g3_320x200_.jpg) (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/70917627298169_g4_320x200_.jpg) ภาพเขียนสีน้ำอย่างวิจิตร ๔ ภาพ ฝีมือนายริโกลี ประกอบโคลงภาษิตของนักรบโบราณ ภาษิตของนักรบโบราณ นักรบฝรั่งเศสโบราณมีภาษิต สำหรับเป็นบรรทัดฐานแห่งความประพฤติของเขา ๑ บท เป็นภาษิตที่น่าจับใจยิ่งนัก, มีข้อความดังต่อไปนี้
ภาษิตบทนี้เป็นที่จับพระราชหฤทัยแห่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวยิ่งนัก จึงได้ทรงพระราชนิพนธ์เป็นคำโคลงภาษาไทยขึ้นว่า
หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 22 พฤศจิกายน 2562 15:09:25 (http://www.sookjaipic.com/images_upload/73454750122295_r1_.gif) องค์สมเด็จพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณ อยู่บนรัตนบัลลังก์ใต้ควงไม้มหาโพธิ์ ในเย็นวันวิสาขะ ที่จะตรัสรู้ ภาพวาด ครูเหม เวชกร
พระราชนิพนธ์ ของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่หนังสือพิมพ์ดุสิตสมิต (ตีพิมพ์ในหนังสือ "ดุสิตสมิต" เล่ม ๒ ฉบับที่ ๒๒ วันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๖๒) (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/22566410278280_ramayana_2_1_320x200_.jpg) เมื่อทศกัณฐ์แปลงกายเป็นฤๅษี ไปซุ่มเงียบแอบดูนางสีดา ก็หลงใหลความงามของนาง ดังบทละครในเรื่อง รามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ ใน รัชกาลที่ ๑ ให้ทศกัณฐ์รำพันว่า
ทศกัณฐ์ชมโฉมนางสีดาว่า “พิศเนตรดังเนตรมฤคิน” มฤคิน คือ กวาง หรือ เนื้อ การเปรียบเทียบดวงตาของสตรีกับตากวาง ไม่ต่างจากบทละครสันสกฤต เรื่อง “มาลตีมาธว” ของ ภวภูติ กวีแขกที่พรรณนาว่า “...นับแต่วันที่ข้าเห็นมาลตีเป็นครั้งแรก ดวงตาที่งามประดุจตากวาง ทำให้ข้าบังเกิดความเสน่หาในตัวนางอย่างลึกล้ำ...” ที่เปรียบเทียบดวงตาสตรีกับตากวางเพราะถือว่าดวงตาที่งามควรมีลักษณะเหมือนตากวาง คือ กลมโต ดำสนิท ใสแจ๋ว ซื่อบริสุทธิ์ไร้เดียงสา จึงจะถือว่างามพร้อม นางสีดานับได้ว่าเป็นบุคคลสำคัญ ที่เป็นจุดเริ่มของเหตุการณ์ที่โยงไปสู่การรบกันระหว่างพระรามกับทศกัณฑ์ ก่อนที่จะลงมาเกิดเป็น นางสีดา เธอคือ พระลักษมี เป็นมเหสีเอกของพระนารายณ์ ที่อวตารลงมาเกิดเพื่อเป็นคู่ครองพระนารายณ์ หรือก็คือ พระราม นั้นเอง ขอขอบคุณที่มาภาพ-ข้อมูล : คอลัมน์ จ๋าจ๊ะ วรรณคดี "งาม-งอม" หนังสือ มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ ๒๙ พ.ย.- ๕ ธ.ค. ๒๕๖๒ และ เว็บไซต์ teen.mthai.com หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 08 ธันวาคม 2562 16:42:38 (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/36488620481557_1266307596_1_Copy_.jpg)
จากวรรณกรรมเรื่อง พระอภัยมณี : นางผีเสื้อสมุทรรำพันถึงความรัก ความจงรักภักดีที่มีต่อพระอภัยมณี พระอภัยมณีถูกพระบิดาไล่ออกจากเมือง ได้เดินทางดั้นด้นมาถึงริมทะเล ได้พบพราหมณ์ ๓ คน ชื่อ โมราผู้ชำนาญการผูกหญ้าเป็นสำเภายนต์ท่องทะเล วิเชียรผู้สามารถยิงธนูได้คราวละ ๗ ดอก และสานน ผู้สามารถเรียกลมฝนได้ตามใจปรารถนา พราหมณ์ทั้ง ๓ คนเกิดสงสัยในวิชาเป่าปี่ของพระอภัยว่าจะวิเศษสักเพียงใด พระอภัยมณีจึงเป่าปี่ให้ฟัง ทุกคนในที่นั้นถูกเสียงปี่สะกดจนหลับหมด ขณะนั้น นางผีเสื้อสมุทรซึ่งอาศัึยอยู่ในถ้ำใต้ทะเลผ่านมาเห็นพระอภัยมณีก็นึกรัก จึงสะกดพระอภัยมณีแล้วพาไปไว้ในถ้ำ แปลงตัวเป็นหญิงสาวสวยคอยปรนนิบัติ ส่วนพระอภัยดูดวงตา เห็นไม่มีแววก็รู้ว่าไม่ใช่มนุษย์ แต่ต้องจำทนอยู่กินกับนางผีเสื้อสมุทร จนมีลูกชื่อ สินสมุทร พระอภัยมณีเมื่อได้โอกาสจึงหนีนางผีเสื้อสมุทร โดยอาศัยลูกคือสินสมุทร ซึ่งมีอำนาจและพละกำลังเหมือนแม่ วางแผนออกอุบายให้นางผีเสื้อสมุทรไปจำศีลสะเดาะห์ แล้วสินสมุทรช่วยเปิดหินซึ่งปิดปากถ้ำออก แล้วพระอภัยมณีกับสินสมุทรก็มุ่งตรงไปยังเกาะแก้วพิสดารซึ่งมีพระโยคีผู้วิเศษพำนักอยู่. หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 16 มกราคม 2563 15:33:51 (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/58347219684057_008017_1_1_320x200_.jpg) ภาพวาดครูเหม เวชกร
จากวรรณคดีเรื่อง กำสรวลโคลงดั้น : กวีพรรณนาถึงนางอันเป็นที่รักด้วยความห่วงใย ความอาลัย ว่าเมื่อต้องจากกัน เขาจะต้องฝากนางไว้ที่ไหนดี จะฝากไว้กับฟากฟ้า ก็เกรงพระอินทร์จะนำนางไปเชยชม จะฝากไว้กับพระแม่ธรณี ก็เกรงพระเจ้าแผ่นดินจะนำนางไปครอบครอง จะฝากไว้กับพระแม่คงคา ก็เกรงพญานาคจะนำนางไปเชยชม เห็นทีจะต้องฝากนางไว้กับตัวนางนั่นแหละ ให้นางรักษาเนื้อรักษาตนให้ดี กำสรวลโคลงดั้น เคยเรียกกันว่า กำสรวลศรีปราชญ์ เป็นวรรณคดีสมัยอยุธยา เชื่อกันว่าศรีปราชญ์เป็นผู้แต่ง แต่งด้วยคำประพันธ์ชนิดร่ายดั้น ๑ บท และโคลงดั้น ๑๒๙ บท อย่างไรก็ดี ปัจจุบันนักวิชาทางวรรณคดีไม่เชื่อว่าศรีปราชญ์มีตัวตนและเป็นผู้แต่งวรรณคดีเรื่องนี้ และเห็นว่าผู้แต่งน่าจะเป็นเจ้านายผู้สูงศักดิ์ โดยพิจารณาจากสำนวนโวหารการใช้ถ้อยคำที่มีความไพเราะ มีความหมายลึกซึ้ง (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/26461617400248_15_Copy_.jpg) โบราณสถาน วัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ พระนครศรีอยุธยา ความรุ่งเรืองของอารยธรรมกรุงศรีอยุธยา
โคลงกำสรวลสมุทร แต่งขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น กล่าวพรรณนาความยิ่งใหญ่อลังการของราชธานีศรีอยุธยาด้วยงานพุทธศิลป์ทางพระพุทธศาสนา อันได้แก่ โบสถ์ วิหาร พระมหาธาตุเจดีย์ กุฏิ ฯลฯ ที่พระมหากษัติรย์ทรงสร้างสรรค์ศาสนวัตถุอย่างยิ่งใหญ่ด้วยพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา และเพื่อสำแดงความมั่งคงและวัฒนาของบ้านเมือง พระมหานครแห่งนี้ปรากฏความรุ่งโรจน์ เป็นที่กล่าวขวัญถึง ไม่เฉพาะแต่ในหมู่ชนชาวอยุธยาเอง แต่ยังรวมไปถึงชนต่างชาติที่มีโอกาสเข้ามาเยือนพระอาณาจักรแห่งนี้ด้วย (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/41199407560957_1398927652_Garuda_o_1_320x200_.jpg) ขอขอบคุณเว็บไซต์เจ้าของภาพ : พันทิปดอทคอม
หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 05 พฤษภาคม 2563 18:46:08 (http://www.sookjaipic.com/images_upload/42343392471472__3588_3619_3641_.gif) ภาพวาดฝีมือ ครูเหม เวชกร
บทร้องอันเดรกับอันโดรเมดา จากบทละครพูดเรื่อง 'วิวาหพระสมุท' พระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 29 ตุลาคม 2563 14:29:35 (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/73580552761753__640x480_.jpg)
ลิลิตพระลอ แต่งในสมัยอยุธยา เป็นนิทานเรื่องทางล้านนา ดูเหมือนพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใดพระองค์หนึ่งทรงพระราชนิพนธ์ ในขณะเมื่อดำรงพระยศเป็นพระราชโอรส วรรณคดีสโมสรยกย่องให้ "ลิลิตพระลอ" เป็นยอดลิลิต ถึงกับยกย่องเป็นตำรามาแต่โบราณ แม้หนังสือเรื่องจินดามณี ซึ่งพระโหราธิบดี แต่งเป็นตำราเรียนภาษาไทยเมื่อรัชกาลสมเด็จพระนาราณ์มหาราชก็คัดโคลงในเรื่องพระลอมาใช้เป็นแบบในหนังสือนั้น ครั้นถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงพระนิพนธ์ลิลิตตะเลงพ่ายขึ้น และคนทั้งหลายนับถือว่าแต่งดีอย่างยิ่งอีกเรื่อง ๑ ถึงกระนั้นก็ไม่ทำให้ลดความนับถือลิลิตพระลอลงกว่าแต่ก่อน จึงเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า ลิลิตพระลอ เป็นยอดลิลิตกว่าเรื่องอื่น ใครเป็นผู้แต่งลิลิตพระลอและแต่งเมื่อไร ปัญหานี้ดูเหมือนจะยังไม่เคยวินิจฉัยกันให้ถ้วนถี่ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ประทานอธิบายและเสนอความเห็นเกี่ยวกับหนังสือลิลืตพระลอไว้ว่า "ข้างท้ายลิลิตมีโคลงบอกชื่อผู้แต่งอยู่ ๒ บท บทหนึ่งว่า "มหาราชเจ้านิพนธ์" หมายความว่าพระเจ้าแผ่นดินทรงแต่ง แต่อีกบทหนึ่งว่า "เยาวราชบรรจง" หมายความว่า พระราชบุตรของพระเจ้าแผ่นดินทรงแต่ง ที่บอกแย้งกันดังนี้ส่อให้เห็นว่า ผู้แต่งโคลง ๒ บทนั้นเป็น ๒ คน และมิใช่ตัวผู้แต่งลิลิตพระลอ โคลง ๒ บทเป็นของแต่งเพิ่มขึ้นแต่ภายหลัง ส่วนผู้แต่งลิลิตเองได้กล่าวไว้ในโคลงบานแผนกข้างต้นเรื่องว่า
ปัญหาข้อที่ว่าหนังสือลิลิตพระลอแต่งเมื่อไร ข้อนี้ตัดสินใจได้ทันทีว่า แต่งก่อนรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพราะหนังสือจินดามณีที่พระโหราธิบดีแต่งในรัชกาลนั้น ได้คัดเอาโคลงลิลิตพระลอมาใช้เป็นแบบโคลงสี่ คือบทที่ว่า
จึงเห็นควรถือเป็นที่ยุติไว้ ว่าลิลิตพระลอนั้นแต่งในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ราวในระหว่าง พ.ศ.๑๙๙๑-๒๐๒๖ ส่วนผู้แต่งนั้น จะว่าพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใดยากอยู่ ด้วยจะเป็นพระบรมราชาหน่อพุทธางกูรพระองค์ใดพระองค์หนึ่งก็ได้ทั้งนั้นเป็นอันรู้ไม่ได้แน่"... หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 23 พฤศจิกายน 2563 15:35:13 (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/17626879819565__640x480_.jpg) "..ย่านท่าทรายมีร้านชำ ขายผ้าสมปักเชิงปูม ผ้าไหม ผ้าลายกุศราช ย่ำมะหวด สมปักเชิง สมปักล่องจวน สมปักริ้ว เมื่อข้าราชการทำหาย ไม่ทันจะมาหาเปลี่ยนก็ต้องซื้อนุ่งเข้าเฝ้า..ฯ ตอนหนึ่งในหนังสือ "คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม" ขอขอบคุณเฟชบุ๊ก ร้านธงทองไหมไทย (ที่มาภาพประกอบ)
(http://www.sookjai.com/Themes/default/images/post/xx.gif)
ผ้าสองปัก หรือ ผ้าสมปัก ในเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน เมื่อใดที่พระมหากษัตริย์มีรับสั่งให้เข้าเฝ้าฯ จะชักช้าร่ำไรไม่ได้ ตอนที่สมเด็จพระพันวษาให้ตำรวจไปแจ้งข่าวให้ ขุนแผน พลายงาม และพระไวย เข้าเฝ้า ดังกวีบรรยายว่า "นุ่งสมปักลนลาน" คือรีบร้อนเสียจนแทบจะทำอะไรไม่ถูก “ผ้าสองปัก” หรือ “ผ้าสมปัก” เป็นผ้าไหมหน้าแคบ ต้องต่อให้กว้างโดยใช้ผ้าสองผืนต่อกันเรียกว่า “เพลาะ” เมื่อเพลาะแล้วจะกว้างประมาณ ๑๖๐ เซนติเมตร ยาวกว่าผ้านุ่งธรรมดา ๑/๒ เปรียบเสมือนเครื่องแบบที่ขุนนางข้าราชการตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นต้นมา ใช้นุ่งเข้าเฝ้าฯ พระเจ้าแผ่นดิน หรือตามเสด็จพระราชดำเนิน เขาไม่นุ่งกันมาจากบ้าน ออกจากบ้านจะเข้าวังก็ใช้ผ้าอื่นนุ่งมาก่อน ให้ทนายถือตามมานุ่งในพระราชวังเวลาเตรียมตัวจะเข้าเฝ้า ออกจากเข้าเฝ้าแล้วก็ผลัดออก ผ้าสองปัก หรือ ผ้าสมปัก เป็นผ้ามีระดับ มิใช่ผ้าที่ใครอยากนุ่งก็นุ่งได้ เนื่องจากเป็นผ้านุ่งพระราชทานให้ขุนนางตามตำแหน่ง ใช้เป็นเครื่องแบบเวลาจะเข้าเฝ้าฯ สมัยโบราณผู้ทำความดีความชอบจะได้รับพระราชทานเสื้อหรือผ้านุ่งเป็นรางวัล ที่ต้องนุ่งกันในวังน่าจะเป็นดังที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเล่าไว้ในหนังสือ “บันทึกเรื่องความรู้ต่างๆ” ตอนหนึ่งว่า “...อันผ้าสมปักไหมนั้นเขาไม่นุ่งกันมาแต่บ้านมิได้ เขามานุ่งกันเอาในพระราชวังเวลาเตรียมตัวจะเข้าเฝ้า ออกจากเฝ้าแล้วก็ผลัด เห็นจะเพื่อรักษาไม่ให้ทรุดโทรมไปเสียเร็ว เห็นจะเป็นของหายาก...” ธรรมเนียมการนุ่งผ้าสองปัก หรือ ผ้าสมปัก เข้าเฝ้าฯ ที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ก็มาถึงจุดเปลี่ยน ประกาศการแต่งตัวในสมัยรัชกาลที่ ๕ ทำให้ทราบว่า “...ธรรมเนียมข้าราชการนุ่งสมปักปูม ปักเชิง ปักล่องจวน ปักริ้ว เข้าเฝ้านั้น ก็เป็นธรรมเนียมมาแต่โบราณ แต่ข้าราชการปลงใจเสียว่าเป็นผ้าหลวง ได้มาอย่างไรก็ใช้ไปอย่างนั้น หาใคร่เอาใจใส่บำรุงให้สะอาดไม่ เหม็นสาบสางเปื้อนเปรอะขะมุกขะมอมและฉีกขาด ก็ใช้นุ่งเข้ามาเฝ้าไม่เป็นที่เจริญพระเกียรติ...” จึงโปรดเกล้าฯ ให้งดเลิกสมปักยศตามธรรมเนียมทุกอย่างนั้นเสีย...” ข้อมูลอ้างอิง : มติชนสุดสัปดาห์ สองปัก-สมปัก หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 27 พฤศจิกายน 2563 16:29:38 (http://www.sookjaipic.com/images_upload/55382293669713_9.jpg) พระมหาธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน
ผู้รจนา บรรยายความวิจิตรงดงามของพระบรมธาตุเจดีย์สีทองอร่าม ฉัตรยอดเจดีย์สร้างด้วยทองคำประดับอัญมณี แลดูสว่างไสวไปทั่วอากาศและปฐพี .... ดังที่เราเห็นเป็นบุญตาสืบมาจนทุกวันนี้ โคลงนิราศหริภุญไชย แต่งขึ้นเพื่อถวาย “เจ้านาย” ระดับพระมหากษัตริย์ให้ทอดพระเนตร เป็นการเดินทางไปนมัสการพระบรมธาตุหริภุญไชยที่นครลำพูน ของยุวกษัตริย์เชียงใหม่ คือพระเมืองแก้ว ด้วยกระบวนยาตราขนาดใหญ่ มีการประโคมขับกล่อมมโหรีสลับกันตามรายทาง โคลงนิราศหริภุญชัย นับเป็นโคลงนิราศเรื่องแรกในวรรณคดีไทย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานไว้ว่า แต่งขึ้นประมาณสามร้อยปีเศษแล้ว คือแต่งในปี พ.ศ.๒๑๘๐ หรือก่อนนั้นขึ้นไป ทุกคนที่ได้อ่านโคลงนิราศหริภุญชัยแล้ว ย่อมยอมรับว่าเป็นโคลงที่เก่าแก่มาก ทั้งไพเราะจับใจและเป็นแบบฉบับที่โคลงนิราศชั้นหลังได้เลียนมาใช้เป็นอันมาก พระบรมธาตุหริภุญชัย มีลักษณะเป็นสีทองอร่าม พระเจ้ากาวิละ ได้ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ในปี พ.ศ.๒๓๒๙ และทรงสร้างฉัตรหลวงขึ้นสี่มุม พร้อมกับสร้างฉัตรยอดเจดีย์ด้วยทองคำเป็น ๙ ชั้น ฐานพระธาตุเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ ๑๐ วา และสร้างรั้วทองเหลืองล้อมรอบองค์เจดีย์ วัดพระธาตุหริภุญชัย เป็นวัดหลวงในจังหวัดลำพูนมาตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๗ ในองค์พระธาตุประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/86624693249662_Phumin_Temple2_1_640x480_.jpg)
เพียงแต่ที่พี่จากน้องมา ใจพี่เป็นห่วงเป็นทุกข์แทบจะสิ้นชีวิต ถึงแม้จะมองหญิงอื่นแต่งงดงาม แต่จะหาใครเหมือนน้องได้ ไม่มี ...
หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 29 พฤศจิกายน 2563 14:46:44 (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/96595394238829_IMG_4687.jpg) จิตรกรรมฝาผนังวัดโอกาส ถ.สุนทรวิจิตร ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครพนม
จากเรื่อง รามเกียรติ์ ตอน ท้าวมาลีวราชว่าความ หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 25 มกราคม 2564 15:40:55 (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/42301945967806_141337816_1076231599559186_131.jpg) ตัวอย่างท่ารำในสมุดไทยขาว "ท่าพรหมสี่หน้า"
ขอขอบคุณที่มา : ศิลปวิทยาการ จาก สาสน์นสมเด็จ "SAN SOMDET" กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม จัดพิมพ์ หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 06 พฤษภาคม 2564 20:09:31 (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/16963745363884_U12148366353853188351831401_1_.jpg) ภาพวาด ครูเหม เวชกร
พระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 06 พฤศจิกายน 2564 18:08:11 (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/93848570601807_unnamed_Copy_.jpg) ภาพวาดเรื่อง "ลิลิตพระลอ" โดย ครูเหม เวชกร
ฯลฯ
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/52538710170321_Dnz9fxCW0AEnPLU_Copy_.jpg) ภาพวาดเรื่อง "ลิลิตพระลอ" โดย ครูเหม เวชกร
ที่มา วรรณกรรมเรื่อง ลิลิตพระลอ เรื่องพระลอเป็นนิทานพื้นเมืองทางล้านนา นักปราชญ์แต่งเป็นกลอนลิลิตขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ราวระหว่าง พ.ศ.๑๑๙๑-๒๐๗๖ ก่อนรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 15 มกราคม 2565 20:50:24 (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/98446292099025_111_Copy_.jpg)
กล่าวถึงเมื่อท้าวพรหมทัตพบนางกากี ซึ่งพญาครุฑนำมาทิ้งไว้ที่พระลานหน้าพระมณเฑียร ถ้อยคำที่ท้าวพรหมทัตได้ทรงเอ่ย ล้วนแต่เสียดสีประชดประชันก่อนจะนำนางกากีไปลอยแพ • เรื่องกากีนี้เป็นนิทานชาดก ในนิบาตชาดก หรือที่เรียกว่า กากาติชาดก สุสันธีชาดก และ กุณาลชาดก ซึ่งภิกษุชาวลังการจนาขึ้น เป็นเรื่องเล่าที่พระพุทธเจ้าทรงนำมาเล่าแก่พุทธสาวกเพื่อให้เห็นข้อธรรม โดยกล่าวถึงทุกข์อันเกิดจากความประพฤติผิดในกาม ว่ามีพระราชาชื่อท้าวพรหมทัต ครองกรุงพาราณสี มีมเหสีรูปงามและมีกลิ่นกายหอมนามกากี และมีคนสนิทเป็นคนธรรพ์ชื่อนาฏกุเวร ต่อมามีพญาครุฑที่อาศัยที่วิมานฉิมพลีชื่อเวนไตย ได้ปลอมตัวเป็นมนุษย์มาเล่นสกาและพบกับนางกากี จึงเกิดความรักและลักพานางไปยังวิมานฉิมพลี นาฏกุเวรสังเกตเห็นจึงแปลงตัวเป็นไรแทรกไปในปีกตามไปยังฉิมพลี ในตอนกลางวันก็อยู่กับนางกากี กลางคืนก็แปลงกายมิให้พญาครุฑจับได้ ครั้นพอเวลาที่เวนไตยจะลงมาเล่นสกากับท้าวพรหมทัต นาฏกุเวรจึงแปลงเป็นไรแฝงมาในปีกพญาครุฑกลับมายังกรุงพาราณสี ขณะที่เล่นสกานาฏกุเวรก็ขับพิณถวาย โดยกล่าวถึงโฉมนางกากีและวิมานฉิมพลี ครั้นพอพญาครุฑได้ฟังก็ถามลองเชิงว่ารู้จักวิมานฉิมพลีได้อย่างไรเพราะไกลเกินกำลังมนุษย์จะไปถึง นาฏกุเวรเล่าว่าแปลงเป็นไรแทรกไปในขนปีกพญาครุฑ ก็ทำให้พญาครุฑเกิดความอับอาย และนำนางกากีมาคืน ซึ่งความในนิบาตชาดกจบเพียงเท่านี้ แต่เจ้าพระยาพระคลัง (หน) ได้นิพนธ์เพิ่มเติมให้นางกากีถูกลงโทษด้วยการลอยแพ. หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 16 มกราคม 2565 20:32:46 (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/74175836808151_K5346425_22.jpg) ภาพวาดฝีมือ ครูเหม เวชกร
จาก เพลงนกขมิ้น (ขับร้อง-มโหรี) อารมณ์ของเพลงนี้ สะท้อนความเหงาของคนจร โดยเปรียบเทียบกับลักษณะของนกขมิ้น ซึ่งเป็นนกที่พเนจรร่อนเร่ หรือเที่ยวไปโดยไร้จุดหมาย หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 23 มีนาคม 2565 12:08:56 (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/66972105329235_101876599_142775347373169_8217.jpg) ภาพวาด ดินสอ 2B
จากบทละครสันสกฤต เรื่อง "ปริยทรรศิกา" นาฏิกาสันสกฤต พระราชนิพนธ์ ใน พระเจ้าศรีหรรษวรรธนะ กษัตริย์ภารตวรรษ (อินเดีย) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย โดยเทียบกับบทเดิมที่เป็นภาษาสันสกฤตและปรากฤต ซึ่งได้แปลงแล้วจากอักษร เทวนาครีเป็นอักษรโรมัน เพื่อถ่ายทอดให้ได้ใกล้เคียงความเดิมของผู้แต่งมากที่สุด หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 24 มีนาคม 2565 15:55:56 (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/88607793922225_262862829_703541004367128_8777.jpg)
ที่มา : "อิเหนา" (ตอนอิเหนาประสูติ) พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) กริช เป็นอาวุธสำคัญของชาวชวา ซึ่งต่อมาชาวมลายูและชาวหมู่เกาะอินโดนีเซียอื่นๆ ได้มีค่านิยมในการนำมาใช้ด้วยเช่นกัน นอกจากถือว่าเป็นอาวุธสำคัญสำหรับต่อสู้ศัตรูป้องกันตัวแล้ว ชาวชวามลายูยังถือกันว่าเป็นเครื่องประดับอันสง่างามและทรงเกียรติ เช่นเดียวกับชาวยุโรปในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ ที่ถือว่าการคาดกระบี่นั้น ย่อมดูมีความงามสง่าและดูภาคภูมิ ด้วยเหตุนี้ชาวมลายู จึงถือเป็นคติว่า สมบัติ ๓ อย่างที่ผู้ชายสูงศักดิ์จำเป็นต้องมีอย่างขาดเสียไม่ได้ จึงประกอบไปด้วย ๑) บ้านดี ๒) ภรรยาดี และ ๓) กริชดี สำหรับเหตุผลที่เวลาแสดงละครใน เรื่องอิเหนา แล้วตัวละครต่าง ๆ ที่เกิดมาในวงศ์เทวัญ เช่น อิเหนา สียะตรา สุหรานากง ฯลฯ จะต้องเหน็บกริชนั้น เป็นเพราะว่าตัวละครทุกตัวในวงศ์เทวัญ เมื่อประสูติแล้วต่างได้กริชประทานประจำตัวพร้อมจารึกชื่อ จากองค์ปะตาระกาหลาเกือบทั้งสิ้น หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 04 เมษายน 2565 20:19:49 (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/36679565492603_p09_Copy_.jpg) ภาพวาดฝีมือครูเหม เวชกร ในคราวเสด็จประพาสพระราชอุทยานนอกเมืองด้วยรถม้าพระที่นั่ง พร้อมด้วยสารถี เจ้าชายสิทธัตถะทรงพบเทวฑูตทั้ง ๔ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช ทรงเกิดนิพพิทา คือ ความเบื่อหน่าย ก็ทรงเกิดพระทัยน้อมไปในทางบรรพชา
ที่มา เรื่อง "สามกรุง" พระนิพนธ์เรื่องสุดท้ายของพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงใช้นามปากกาว่า "น.ม.ส." โคลงบทนี้ แสดงความสามารถในตัวผู้นิพนธ์ ที่ทรงนำคาถาภาษาบาลีมาแปลเป็นโคลงสี่สุภาพ หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 11 มิถุนายน 2565 19:43:08 (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/68218358771668_7_Copy_.jpg) ภาพประกอบ : ภาพวาดฝีมือ ครูเหม เวชกร
ที่มา : "ลิลิตพระลอ" นิยายพื้นบ้านของไทยเหนือ ไม่ปรากฎนามผู้แต่ง แต่สันนิษฐานว่าอาจเป็นสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒
หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 25 สิงหาคม 2565 13:50:42 (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/16588945893777_301043987_1451998091982533_252.jpg) วิถีชีวิตในชนบท สปป.ลาว - ภาพจาก facebook
กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) หัวข้อ: Re: “กบและเขียดจะไล่กินงู” สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 18 กันยายน 2565 11:31:18 (https://jingjonews.com/wp-content/uploads/2020/03/2020-02-06-taipan-snake-3.jpg) ขอขอบคุณเว็บไซต์ jingjonews.com (ที่มาภาพประกอบ) กบเขียดไล่กินงู คำกล่าวนี้เป็นสำนวนโบราณของล้านนา แปลว่า กบและเขียดไล่กินงู ซึ่งเป็นปรากฏการณ์กลับตาลปัตรกับธรรมชาติ เปรียบเทียบว่า คนธรรมดาผู้ไม่มีอำนาจ หรือผู้ที่มีอำนาจน้อยสามารถเอาชนะผู้มีอำนาจมากได้ สำนวนนี้คนล้านนาพูดกันมานานนมเน เนื่องจากมีพุทธทำนายที่รู้กันทั่วไปในล้านนา เช่น ที่จารึกในคัมภีร์ใบลาน ที่วัดป่าสักน้อย ตำบลแม่ปูคา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ จารไว้เมื่อปี ๒๔๙๒ กล่าวว่า เมื่อพระพุทธองค์นิพพานไปแล้ว ๒,๕๐๐ ปี จะเกิดปัญหา “หมากน้ำเต้าจักจม หมากหินจักฟู” หมาจิ้งจอกจักไล่กัดเสือ ช้างจะพากันกินถ่านไฟแดง คนใจบุญใจกุศลจะต้องหาบ แต่คนใจบาปจะเดินตัวเปล่า พ่อค้าจะอาสาออกศึก น้ำไม่ลึกจะพากันทำที่ว่ายน้ำเล่น กบเขียดจะไล่กินงู พญาครุฑจะเป็นบริวารของกาดำ หมาจิ้งจอกจะกินอาหารจากถาดทอง และราชสีห์จะเป็นบริวารของหมาจิ้งจอก ทั้งยังมีอุปมาปรากฏในตำนาน หมากน้ำเต้าจม หมากหินฟู ของวัดดอกแดง ตำบลสง่าบ้าน อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีความตอนหนึ่งว่า “…ฅนทังหลายฝูงเป็นน้อยก็มักแพ้ผู้เป็นใหญ่ ไพร่น้อยมักจูงใจแก่ฅนเมือง ก็อุปมาเป็นดั่ง กบเขียดไล่กินงู นั้นแล” แสดงว่าสภาพบ้านเมืองในสมัยนั้นตกอยู่ในความเสื่อมถดถอยอย่างร้ายแรง คนในสังคมเกิดความแตกสามัคคี ผู้ปกครองหรือผู้มีอำนาจใช้อำนาจตามอำเภอใจ สังคมเกิดสับสนวุ่นวาย บ้านเมืองอยู่ในความไม่สงบ และผู้ปกครองไม่อาจควบคุมสถานการณ์ได้ เกิดความทุกข์ยากทั่วทุกหนระแหง ทำให้คนสามัญซึ่งไม่มีอำนาจอยู่ในมือตกเป็นฝ่ายเหนือกว่า และสามารถกำราบชนชั้นผู้ปกครองได้ ดังกบหรือเขียดที่ไล่เขมือบกินงู ฉันนั้น ตรงกับคำกล่าวทั่วไปที่ว่า กระเบื้องจะเฟื่องฟูลอย น้ำเต้าน้อยจะถอยจม ขอขอบคุณที่มา : ชมรมฮักตั๋วเมือง สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หัวข้อ: Re: นางสร้อยฟ้านางศรีมาลา ละเลงขนมเบื้อง : สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 24 ตุลาคม 2565 18:11:57 (http://www.sookjaipic.com/images_upload/91629818661345_311975351_1497569964092012_416.jpg) นางสร้อยฟ้า นางศรีมาลา ละเลงขนมเบื้อง จิตรกรรมฝาผนังเรื่องราวในวรรณคดี "ขุนช้างขุนแผน" ที่วัดป่าเลไลยก์ ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 02 พฤศจิกายน 2565 20:47:42 (http://www.sookjaipic.com/images_upload/52197043763266_a1.jpg)
กรุงศรีอยุธยา (สมัยอยุธยาวสาน) ปีกุญนพศก พ.ศ.๒๓๑๐ พระนิพนธ์ พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ (น.ม.ส.) คัดลอกโดยคงอักขระเดิม (ตัวหนังสือ, สระพยัญชนะ) หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 22 พฤศจิกายน 2565 14:14:32 (http://www.sookjaipic.com/images_upload/11250483410225_11_Copy_.jpg) ภาพวาด ครูเหม เวชกร
จากเรื่อง "เสือโค คำฉันท์"
ขอขอบคุณ มูลนิธิครูเหม เวชกร หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 18 ธันวาคม 2565 12:42:10 (http://www.sookjaipic.com/images_upload/13705810407797_c44bf96aa770bb22069d36ca223486.jpg) ภาพวาด ชูชก กับ นางอมิตดา (จิตรกร : ครูเหม เวชกร) "กินหลายท้องแตก แบกหนักหลังก่อง" (สำนวนล้านนา) แปลว่า บริโภคอาหารในปริมาณที่มากจนเกินไป จะทำให้กระเพาะแตก ถ้าแบกสิ่งของที่มีน้ำหนักมากเกินไป ก็จะทำให้หลังโกงหรือหลังค่อม เป็นคำสอนให้รู้จักประมาณตน อย่าคิดทำในสิ่งที่เกินกำลังหรือความสามารถของตน 650 หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 22 มกราคม 2566 14:14:27 (http://www.sookjaipic.com/images_upload/60472134293781_1_Copy_.jpg) ภาพวาด : ครูเหม เวชกร (มูลนิธิเหม เวชกร - ที่มา)
สามวันจากนารี เป็นอื่น สมเด็จพระเดชา ฯ หัวข้อ: Re: เพลงยาวเรื่องตีเมืองพม่า : สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 09 กุมภาพันธ์ 2566 17:35:42 (http://www.sookjaipic.com/images_upload/39067363987366_1_Copy_.jpg) ภาพวาด : ครูเหม เวชกร
เพลงยาวเรื่องตีเมืองพม่า พระบวรราชนิพนธ์ เพลงยาวเรื่องตีเมืองพม่า ของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท เป็นงานเขียนอีกเรื่องหนึ่งที่มีเนื้อความวิจารณ์ชนชนนำช่วงปลายสมัยอยุธยาค่อนข้างชัดเจน โดยอธิบายสาเหตุการเสียกรุงศรีอยุธยา ว่า มีปัจจัยสำคัญมาจากชนชั้นปกครอง พระมหากษัตริย์ตลอดจนกลุ่มชนชั้นปกครองเดิมมุ่งแสวงหาแต่อำนาจจนปล่อยปละละเลยราชการแผ่นดิน และระบบบริหารราชการงานเมืองยามศึกสงครามที่ไร้ประสิทธิภาพ ทั้งการที่สมเด็จพระเจ้าเอกทัศทรงชุบเลี้ยงและเลือกใช้แต่บรรดาข้าหลวงเดิมที่ไม่เหมาะสมกับงานราชการโดยไม่คำนึงถึงความรู้ความสามารถ แม้จะมีข้อคิดสุภาษิตโบราณเน้นย้ำว่าคนเหล่านี้ไม่ควรที่จะนำมารับราชการ รวมถึงการที่ชนชั้นปกครองมุ่งคำนึงถึงเรื่องยศศักดิ์ มิได้ใส่ใจในข้อราชการงานเมือง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการสงครามให้อ่อนกำลังลงไป กล่าวคือ ไม่มีการฝึกซ้อมยุทธวิธีการรบ เมื่อเกิดสงครามก็แตกทัพล่าถอยโดยง่าย สอดคล้องกับงานนิพนธ์ของสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เรื่อง สังคีติยวงศ์ และ พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ ที่เรียบเรียงขึ้น เมื่อ พ.ศ.๒๓๓๒ และ พ.ศ.๒๓๓๘ ตามลำดับ ปรากฎเนื้อความที่กล่าววิจารณ์พระราชจริยวัตรของสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ ภาพความแปรปรวนของสังคม รวมถึงความไร้ประสิทธิภาพในการรบอย่างเด่นชัดเช่นเดียวกัน "...สมเด็จพระเชษฐาธิราชเสวยราชย์ได้ ๘ ปีเศษ มีปรีชาน้อย มักหลงใหล ปราศจากความสมบูรณ์ด้วยหิริโอตตัปปะ ไม่มีวิจารณ์ในราชกิจทั้งหลาย ไม่มีใคร่ครวญในคุณแลโทษ ครั้งนั้นเสนาบดีแลอำมาตย์เป็นต้นก็ดี ชาวพระนครก็ดี พากันตั้งอยู่ในอสัตย์อธรรม ต่างก็เป็นคนทุจริตเบียดเบียนซึ่งกันและกัน ชาวชนบทแลชาวคามนิคมก็ได้บังเกิดความคับแค้น ด้วยเหตุทั้งหลายต่างๆ ชนทั้งปวงในบ้านในเมืองใหญ่เหล่านั้นก็พากันเสวยทุกข์มากมาย บังเกิดโรคมาก เกิดอุปัทวมาก ได้รับความโทมนัส อุปายาสเปนอันมาก ก็พากันมีอายุสั้น มหาภูติดินน้ำไฟลมทั้ง ๔ ก็วิปริตต่างๆ ผลหมากรากไม้ก็มีรศวิปริตไปหมด น้ำก็ปรากฏสีแดงดังเลือดนก..."๑ "...ลำดับนั้น มหาสุรโยธาก็พาพลนิกายมากมายมายังกรุงอโยธนคร ได้รบด้วยชาวพระนครทั้งหลาย แต่ชาวพระนครไม่รู้จักรบ ขี้ขลาดไม่เปนน้ำหนึ่งกัน ไม่เปนใจเดียวกัน ไม่ปลงงานเดียวกัน มีใจต่างๆ กัน ต่างพากันหนีเสีย..."๒ ๑ สังคีติยวงศ์ พงศาวดารเรื่องสังคายนาพระธรรมวินัย สมเด็จพระวนรัตนวัดพระเชตุพน ในรัชกาลที่ ๑ แต่งภาษามคธ พระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาลลักษมณ) เปรียญ แปลเปนภาษาไทย (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทย, ๒๔๖๖, ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานในงานพระศพสมเดจพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย ณะพระเมรุท้องสนามหลวง พ.ศ.๒๔๖๖), หน้า ๔๐๒-๔๐๓. ๒ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๔๐๗. ที่มา : ปกิณกศิลปวัฒนธรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (กรมศิลปากร พิมพ์เผยแพร่ พุทธศักราช ๒๕๖๕) หัวข้อ: Re: ปางนั้นยังมีครุฑราช สุริยชาติลํ้าสกุณปักษา : สำนวน-โวหาร-สุภาษิต ฯ เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 11 มีนาคม 2566 17:32:28 (http://www.sookjaipic.com/images_upload/33925058775477__MG_6187_Copy_.JPG) (http://www.sookjaipic.com/images_upload/11852480636702__MG_6182_Copy_.JPG)
จากเรื่อง กากี กลอนสุภาพ ของ เจ้าพระยาพระคลัง (หน) กวีเอกผู้หนึ่ง ในกรุงรัตนโกสินทร์
หัวข้อ: Re: พระมหาอุปราชาขาดคอช้าง : สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 12 สิงหาคม 2566 16:25:38 (http://www.sookjaipic.com/images_upload/49882464069459_1.JPG) "ยุทธหัตถี" สมเด็จพระนเรศวรทรงเข้าชนข้างกับพระมหาอุปราชา พระมหาอุปราชาขาดคอช้าง ภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) จังหวัดพิษณุโลก
จากเรื่อง "ลิลิตตะเพงพ่าย" สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงนิพนธ์ หัวข้อ: Re: สมเด็จพระนเรศวรฯ ทรงพระสุบิน : สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 14 สิงหาคม 2566 13:25:24 (http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/42233235802915_24_Copy_.jpg) จิตรกรรมพระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
สมเด็จพระนเรศวรทรงพระสุบิน จากเรื่อง "ลิลิตตะเพงพ่าย" สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงนิพนธ์ หัวข้อ: Re:พระอภัยมณีไปเยี่ยมนางเงือกสุพรรณมัจฉา : สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 15 สิงหาคม 2566 15:54:03 (http://www.sookjaipic.com/images_upload/52808442753222__1_Copy_.jpg) ภาพวาดพระอภัยมณีกับนางเงือก โดยอาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต (ขอบคุณภาพจาก blog.startdee.com)
จากเรื่อง พระอภัยมณี ของ สุนทรภู่ หัวข้อ: Re: สำนวน-โวหาร-สุภาษิต และคำพังเพย เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 11 กันยายน 2566 15:33:08 (http://www.sookjaipic.com/images_upload/43617680668830_88_Copy_.jpg) ภาพวาด ครูเหม เวชกร
โคลงสุภาษิตบางปะอิน พระราชนิพนธ์ ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ทรงพระราชนิพนธ์ เมื่อ พ.ศ.๒๔๒๐ ขณะที่ทรงประทับอยู่ที่พระราชวังบางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา. ที่มาภาพประกอบ : มูลนิธิ เหม เวชกร |