[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
10 มิถุนายน 2567 12:46:47 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก เวบบอร์ด ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

  แสดงกระทู้
หน้า:  1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 368
141  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ไปเที่ยว / Re: น้าแม๊คพาเที่ยว เก็บตกบรรยากาศประเพณีลอยกระทง สุโขทัย 2555 เมื่อ: 04 ธันวาคม 2555 14:41:37



ค่ะ ขอบคุณนะคะ...



142  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / Re: การอนุรักษ์พระพุทธรัตนสถาน เขตพระราชฐานชั้นกลาง เมื่อ: 04 ธันวาคม 2555 13:11:13




การอนุรักษ์พระพุทธรัตนสถาน เขตพระราชฐานชั้นกลาง พระบรมหาราชวัง

การอนุรักษ์พระพุทธรัตนสถาน พระพุทธรัตนสถานมนทิราราม เขตพระราชฐานชั้นกลาง พระบรมหาราชวัง (พ.ศ. ๒๕๓๗-๒๕๔๗) พระพุทธรัตนสถาน หรือ พระพุทธรัตนสถานมนทิราราม คือพระอุโบสถพระพุทธนิเวศน์แห่งพระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย ซึ่งเรียกโดยย่อว่าพระพุทธบุษยรัตน์

ตั้งอยู่ในสวนศิวาลัย เขตพระราชฐานชั้นกลาง พระบรมมหาราชวัง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้สถาปนาบริเวณสวนศิวาลัยเป็นเขตพุทธาวาส จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างพระพุทธรัตนสถานเพื่อเป็นพระวิหารสำหรับประดิษฐานพระพุทธบุษยรัตน์ และใช้เป็นสถานที่บำเพ็ญพระราชกุศลของฝ่ายใน โดยมีความสำคัญรองลงมาจากวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระพุทธรัตนสถานใช้เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีสำคัญต่างๆมาโดยตลอดจนถึงรัชกาลปัจจุบัน

พระพุทธรัตนสถานเริ่มมีการบูรณะปฏิสังขรณ์ ในปี พ.ศ.๒๔๙๒ และเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ.๒๔๙๖ แต่ทั้งนี้เนื่องจากผนังด้านทิศเหนือระหว่างช่องพระบัญชร ๔ ช่องเสียหายไปมาก ดังนั้นในปี พ.ศ.๒๕๐๔ สำนักพระราชวังจึงมอบหมายให้กรมศิลปากรดำเนินการเขียนภาพให้เต็ม โดยให้เขียนเรื่องเกี่ยวกับพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเป็นหลัก ซึ่งในครั้งนั้น ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี รับหน้าที่เป็นแม่กองในการดำเนินการเขียนภาพ ตลอดจนจัดหาช่างเขียนและกำหนดวางองค์ประกอบเรื่องทั้งหมด โดยจัดให้เขียนเป็นภาพพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาที่ ๘ และรัชกาลที่ ๙ ในระหว่างปี พ.ศ.๒๔๘๘-๒๔๙๙ และสิ้นสุดเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันทรงผนวช รวมเป็นภาพ ๘ ช่องเต็มพื้นที่ผนัง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสว่า “ จิตรกรรมฝาผนังในพระพุทธรัตนสถานนั้น เนื้อเรื่องมิได้เกี่ยวข้องกับพระพุทธรัตนสถาน ซึ่งคติช่างไทยแต่โบราณจะกำหนดภาพเขียนให้มีความสัมพันธ์กับประวัติและความสำคัญของอาคาร แนวศิลปกรรมและการใช้สีขัดแย้งกับภาพจิตรกรรมตอนบนที่เขียนเมื่อครั้งรัชกาลที่ ๔ อันเป็นการเขียนภาพแบบไทยประเพณี สมควรรักษาแนวคิดของช่างโบราณ” หากมีการปรับเปลี่ยนงานจิตรกรรมฝาผนังส่วนนี้ให้สอดคล้องกลมกลืนกับภาพตอนบน ก็จะเป็นการถูกต้อง ถือเป็นการเชิดชูงานศิลปกรรมของภูมิปัญญาบรรพชน ดังนั้นในวันที่ ๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๒ นายนิคม มุสิกะคามะ อธิบดีกรมศิลปากรในสมัยนั้นจึงได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อรับพระราชทานพระราชดำรัสเกี่ยวกับแนวทางการเขียนภาพโดยมีสาระสำคัญคือ “ขอให้รักษาลักษณะศิลปะอย่างกระบวนการช่างแต่โบราณ ยึดความถูกต้องตามข้อมูลที่เป็นจริง และไม่ควรสร้างสิ่งผิดให้ปรากฏ”


พระพุทธรัตนสถาน เป็นอาคารชั้นเดียว ยกพื้นสูง แบ่งเป็น ๓ ระดับ หลังคาทรงไทย มีมุขลดทั้งทางด้านทิศตะวันออก และด้านทิศตะวันตก หลังคามุงกระเบื้องดินเผาเคลือบสี ผนังประดับด้วยหินอ่อนสีเทา การบูรณะพระอุโบสถระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๓๗ – ๒๕๔๗ ประกอบไปด้วย การซ่อมแซมโครงสร้างหลังคา และการเปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคา การขัดล้างทำความสะอาดหินอ่อนที่ผนัง เสา ราวระเบียง พื้นบันได การซ่อมหินอ่อนในส่วนที่ชำรุดทั้งหมด และการปรับปรุงลานหินแกรนิตด้านหน้าพระอุโบสถ

การอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมฝาผนัง กรมศิลปากรได้รับสนองพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการดำเนินการอนุรักษ์และเขียนภาพจิตรกรรมบนพื้นผนังระหว่างช่องพระบัญชรทั้ง ๘ ผนัง ภายในพระอุโบสถพระพุทธรัตนสถานนั้นตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๗ เป็นต้นมา สำหรับแนวทางการเขียนภาพนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแนวพระราชดำริให้ยึดความสำคัญของพระพุทธรัตนสถานเป็นหัวใจของการกำหนดภาพ และในขั้นตอนของการร่างแบบนั้น  ทรงเน้นในเรื่องความถูกต้องในรายละเอียดของภาพ และได้ทรงแก้ไขภาพร่างอย่างละเอียดทุกขั้นตอน ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยและได้พัฒนามาเป็นรูปแบบที่สมบูรณ์นั้น เป็นภาพที่มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับพระอุโบสถพระพุทธรัตนสถานและพระราชกรณียกิจในพระมหากษัตริย์รัชกาลต่างๆ

จิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถพระพุทธรัตนสถานที่ได้เขียนขึ้นตามแนวพระราดำริ เป็นภาพขนาดกว้าง ๔ ฟุต  สูง ๘ ฟุต มีลักษณะเป็นรูปแบบการแสดงออกในมุมสูง เทคนิคการเขียนสีเป็นแบบจิตรกรรมไทยประเพณี ผสมผานไปกับการกำหนดน้ำหนักอ่อนแก่ แสงและเงา พร้อมทั้งการเขียนรูปทรงของบุคคลตามลักษณะที่เป็นธรรมชาติ และถูกต้องตามหลักกายวิภาค  ภาพสถาปัตยกรรมเขียนรายละเอียดตามลักษณะที่เป็นจริง แต่ใช้หลักทัศนียภาพแบบประเพณีของจิตรกรรมไทย ฉะนั้น จึงเป็นงานจิตรกรรมที่มีลักษณะเฉพาะตัวเป็นจิตรกรรมไทยแนวประเพณียุครัตนโกสินทร์สมัยรัชกาลที่ ๙ การเขียนภาพในขั้นตอนสุดท้ายนั้นใช้เวลาเพียง ๑ ปี คือ เริ่มต้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๖ และเสร็จสมบูรณ์ในเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๔๗



ที่มาภาพจิตรกรรมฝาผนังทั้ง ๘ ช่อง และข้อมูล การอนุรักษ์พระพุทธรัตนสถาน เขตพระราชฐานชั้นกลาง
นำมาจาก..*http://www.artbangkok.com/?p=6907
http://www.tairomdham.net/index.php/topic,8154.0.html

143  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / Re: ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ณ พระพุทธรัตนสถาน พระราชดำริ ร.๙ เมื่อ: 04 ธันวาคม 2555 13:04:29



ช่องที่ 8 เหตุการณ์ในรัชกาลที่ 9

เมื่อพุทธศักราช 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระผนวช ครั้งนั้นมีพระราชดำรัสแก่ประชาชนโดยเสด็จออกสีหบัญชรที่พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ การทรงพระผนวชได้เสด็จฯ ณ พระอุโบสถพระพุทธรัตนสถานตามโบราณราชประเพณีครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พุทธศักราช 2506 เมื่อทรงเจริญพระชนมพรรษา 3 รอบ ได้ประกอบพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา รัฐบาลได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดการพระราชพิธี โดยจัดพระราชพิธีเสด็จเลียบพระนครด้วยกระบวนพยุหยาตราทางสถลมารค

พุทธศักราช 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงช่วยเหลือราษฎรด้วยโครงการ "ทฤษฎีใหม่" ให้มีแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรอย่างเพียงพอ โดยรักษาแหล่งน้ำธรรมชาติ ขุดสระกักเก็บน้ำฝน ให้ความรู้ในการใช้น้ำกับดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยทำเกษตรแบบผสมผสาน หรือไร่นาสวนผสม

พุทธศักราช 2539 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดำรงสิริราชสมบัติครบ 50 ปี รัฐบาลได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดงานน้อมเกล้าฯ ถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกรับการถวายพระพรชัยมงคลจากข้าราชการทุกหมู่เหล่า และประชาชน ณ พระที่นั่งกาญจนาภิเษก มณฑลพระราชพิธีท้องสนามหลวง

พุทธศักราช 2540 และต่อมาอีกหลายปี ประเทศไทยเผชิญวิกฤติเศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแก้ไขปัญหาของประชาชนทั่วประเทศด้วยการพระราชทานแนวคิดเรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียง" ให้ประชาชนยึดถือเป็นแนวทางการดำเนินชีวิต เพื่อความอยู่รอดและมีศานติสุข

ภาพตอนบน โครงการพระราชดำริ เรื่องทฤษฎีใหม่ เศรษฐกิจพอเพียงและการเสด็จออกมหาสมาคม รับการถวายพระพรชัยมงคลในมหามงคลทรงดำรงสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พระที่นั่งกาญจนาภิเษก มณฑลพระราชพิธีท้องสนามหลวง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯไปทรงเยี่ยมราษฎรในชนบท โดยเฉพาะโครงการตามพระราชดำริทฤษฎีใหม่ เป็นการช่วยเหลือเกษตรกร รู้จักใช้น้ำและดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงกล่าวถวายพระพรชัยมงคลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในนามผู้แทนพระบรมวงศานุวงศ์ ในการเสด็จออกมหาสมาคม ณ พระที่นั่งกาญจนาภิเษก มณฑลพระราชพิธีท้องสนามหลวง วันที่ 9 มิถุนายน พุทธศักราช 2539

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ และ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ เมื่อดำรงพระยศหม่อมเจ้าสิริวัณณวรี เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท

ภาพตอนกลาง วันที่ 22 ตุลาคม พุทธศักราช 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชศรัทธาทรงผนวชตามโบราณราชประเพณี

เมื่อทรงผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามแล้ว เสด็จฯ ไปทรงประกอบพิธีทัฬหีกรรม ณ พระอุโบสถพระพุทธรัตนสถานอีกครั้ง หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช มัคนายกวัดบวรนิเวศวิหาร นำเสด็จฯ เข้าสู่พระอุโบสถพระพุทธรัตนสถาน

ภาพตอนล่าง พุทธศักราช 2506 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 3 รอบ มีพระราชพิธีสำคัญ คือ เสด็จเลียบพระนครตามโบราณราชประเพณีด้วยกระบวนพยุหยาตราทางสถลมารค วันที่ 7 ธันวาคม เป็นพระราชพิธียิ่งใหญ่ที่สุด ประกอบด้วย กระบวนพระราชอิสริยยศ ที่พระมหากษัตริย์ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ประทับเหนือพระที่นั่งราชยานพุดตานทอง เสด็จพระราชดำเนินจากพระบรมมหาราชวัง ไปทรงสักการบูชาพระรัตนตรัย ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร นับจากนั้นมามิได้จัดอีกเลย

*http://www.vcharkarn.com/vcafe/56712

144  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / Re: ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ณ พระพุทธรัตนสถาน พระราชดำริ ร.๙ เมื่อ: 04 ธันวาคม 2555 13:02:36



ช่องที่ 7 เหตุการณ์ในรัชกาลที่ 9

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จดำรงสิริราชสมบัติเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พุทธศักราช 2489 ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2493

ในรัชสมัยนี้ทรงฟื้นฟูราชประเพณีที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดการพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญที่ยกเลิกมาตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ 7 เพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่เกษตรกร ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมในพุทธศักราช 2503

ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างสำคัญตามโบราณราชประเพณี เมื่อมีช้างเผือกมาสู่พระบารมี

ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนานานาประการ สิ่งสำคัญ คือการฟื้นฟูกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคเพื่อนำผ้าพระกฐินถวาย ณ วัดอรุณราชวราราม อันแสดงแสนยานุภาพของกองทัพโบราณ เป็นราชประเพณีที่ทำให้ชาวโลกชื่นชมในวัฒนธรรมอันดีงามของชาวไทย

นอกจากนั้น เมื่อมีการจัดพระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี พุทธศักราช 2525 ทรงประกอบพระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า การพระราชพิธีทั้งปวงเสริมสร้างความสวัสดิมงคลแก่บ้านเมืองและประชาชนทั้งสิ้น เป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่ควรแก่การบันทึกไว้ในพระพุทธรัตนสถาน

ภาพตอนบน ในรัชกาลที่ 9 ได้มีการสร้างเรือพระราชพิธีประจำรัชกาลขึ้นระวาง เรียกว่า "เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9" เป็นเรือขนาด 50 ฝีพาย ได้เข้ากระบวนพยุหยาตราทางชลมารคเพื่อนำผ้าพระกฐินทอดถวาย ณ พระอุโบสถวัดอรุณราชวรารามในพระราชพิธีกาญจนาภิเษก พุทธศักราช 2535

ภาพตอนกลาง พระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างสำคัญ "พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ" เป็นช้างเผือกที่เสด็จมาสู่พระบารมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อพุทธศักราช 2502

วันที่ 6 เมษายน 2525 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี และ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า ณ พระมณฑปยอดนพปฎลเศวตฉัตร มณฑลพระราชพิธีท้องสนามหลวง

ภาพตอนล่าง พุทธศักราช 2503 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้รื้อฟื้นการพระราชพิธีที่เสริมสร้างสวัสดิมงคลแก่พืชพันธุ์ธัญญาหารของบ้านเมือง ด้วยชาวไทยส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งได้เลิกร้างไปตั้งแต่ปลายแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อบำรุงขวัญเกษตรกรไทยเช่นโบราณราชประเพณี

การพระราชพิธีจัด ณ มณฑลพระราชพิธีท้องสนามหลวง เป็นที่ชื่นชมโสมนัสแก่เกษตรกรไทยทั่วประเทศ ได้สืบสานต่อมาตราบถึงปัจจุบัน เป็นงานที่นอกจากจะสร้างขวัญแก่เกษตรแล้ว ยังเป็นเครื่องยืนยันความเป็นชาติที่รุ่งเรืองทางวัฒนธรรมที่ชาวต่างชาตินิยมมาชมกันกว้างขวาง

145  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / Re: ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ณ พระพุทธรัตนสถาน พระราชดำริ ร.๙ เมื่อ: 04 ธันวาคม 2555 13:01:44



ช่องที่ 6 เหตุการณ์ในรัชกาลที่ 8

พุทธศักราช 2488 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดี และ สมเด็จพระอนุชาธิราช ได้เสด็จนิวัตพระนครสู่ประเทศไทย ด้วยเครื่องบินเป็นพระราชพาหนะ

เมื่อระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 พระพุทธรัตนสถานชำรุดเสียหายที่ผนังด้านเหนือจากเครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรนำระเบิดมาทิ้งที่บริเวณสถานีรถไฟบางกอกน้อย ฝั่งธนบุรี ระเบิดบางส่วนตกลงในพระบรมมหาราชวัง บริเวณด้านเหนือพระพุทธรัตนสถานยังมิได้บูรณะตราบจนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จนิวัตพระนคร สมเด็จพระอนุชาธิราชทรงชี้ร่องรอยชำรุดทอดพระเนตรเพื่อเตรียมการบูรณะซ่อมแซมให้สมบูรณ์ดังเดิม

สืบเนื่องจากเหตุการณ์สงครามโลก เป็นผลกระทบทางการเมืองทำให้ชาวไทยและชาวจีนกระทบกระทั่งกัน มีการลอบทำร้ายถึงชีวิต และเริ่มรุนแรงขยายออกไปอย่างกว้างขวาง วันที่ 3 มิถุนายน พุทธศักราช 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระอนุชาธิราช เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมชาวจีนที่สำเพ็งเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ สามารถคลี่คลายปัญหา สลายความบาดหมางสิ้นไป และสร้างความเข้าใจอันดีต่อกันตราบจนปัจจุบัน

ภาพตอนบน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดี รัชกาลที่ 8 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระอนุชาธิราช และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ขณะดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ เสด็จนิวัตพระนครเมื่อพุทธศักราช 2488 เสด็จฯมาถึงพระที่นั่งบรมพิมานในพระบรมมหาราชวัง

ภาพตอนกลาง มุขหลังชั้นบนพระที่นั่งบรมพิมาน เป็นห้องพระบรรทม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบันขณะนั้น สามารถทอดพระเนตรเห็นพระอุโบสถพระพุทธรัตนสถานด้านทิศเหนือพังทลาย สมเด็จพระอนุชาธิราชทรงชี้ส่วนที่ชำรุด เพื่อเตรียมซ่อมบูรณะให้สมบูรณ์

ภาพตอนล่าง พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดี และสมเด็จพระอนุชาธิราช เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมราษฎรชาวจีนบริเวณสำเพ็ง เพื่อคลี่คลายปัญหากระทบกระทั่งทางการเมืองที่เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เหตุการณ์ยุติราบรื่น สร้างความกลมเกลียวให้บังเกิดขึ้นระหว่างชาวไทยและชาวจีนอย่างมั่นคงตราบจนถึงปัจจุบัน

ย่านที่พำนักอาศัยของชาวจีนคงนิยมนับถือผู้นำ คือเจียงไคเช็ค จึงมีธงประจำชาติจีนประดับคู่กับธงไตรรงค์ได้ปรากฏว่า เป็นที่ปีติยินดีแก่ชาวจีนทั้งหลายอย่างยิ่ง ทุกเคหสถานร้านค้าต่างแต่งตั้งโต๊ะเครื่องสักการะบูชา และออกมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทใกล้ชิดเนืองแน่น ด้วยเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่พระมหากษัตริย์เสด็จฯเยี่ยมสำเพ็ง

146  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / Re: ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ณ พระพุทธรัตนสถาน พระราชดำริ ร.๙ เมื่อ: 04 ธันวาคม 2555 13:00:52



ช่องที่ 5 เหตุการณ์ในรัชกาลที่ 7

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเคารพเลื่อมใสพระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัยสืบต่อมา เมื่อเสด็จพระราชดำเนินออกนอกพระนครครั้งใด จะเชิญเครื่องบูชามาสักการะสม่ำเสมอ พระราชหฤทัยห่วงใยเด็กเป็นพิเศษ มีพระราชปรารภให้ความสำคัญแก่เด็ก ปลูกฝังความรู้ให้มีการศึกษา โดยเฉพาะยึดมั่นพระพุทธศาสนา สั่งสมความดี เพราะเด็กคือเยาวชนที่จะเติบโตเป็นเป็นพลเมืองที่ดีของชาติในอนาคต พระองค์และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ทรงนำพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าทูลละอองธุลีพระบาทฝ่ายในเวียนเทียนรอบพระอุโบสถพระพุทธรัตนสถาน ในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวิสาขบูชา เป็นประจำทุกปี

พุทธศักราช 2475 กรุงรัตนโกสินทร์อายุครบ 150 ปี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดงาน "สมโภชพระนคร 150 ปี" ในการนี้ทรงสร้างปฐมบรมราชานุสรณ์ ประกอบด้วยพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และสะพานพระพุทธยอดฟ้าเชื่อมฝั่งพระนครและธนบุรีให้สามารถสัญจรถึงกัน เป็นการขยายความเจริญของบ้านเมืองให้กว้างขวางขึ้น อันเป็นอนุสรณ์แห่ง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระผู้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อพุทธศักราช 2325

ในพระราชพิธีเปิดปฐมบรมราชานุสรณ์ วันที่ 2 เมษายน พุทธศักราช 2475 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 8 รัชกาลที่ 9 ขณะยังทรงพระเยาว์ ได้เสด็จพระราชดำเนินร่วมในงานพระราชพิธีด้วย

ภาพตอนบน การสมโภชพระนคร 150 ปี พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อวันที่ 6 เมษายน พุทธศักราช 2475

ภาพตอนกลาง เมื่อทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวิสาขบูชาประจำปี ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามแล้ว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี จะเสด็จพระราชดำเนินมาสู่พระอุโบสถพระพุทธรัตนสถานเพื่อทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเวียนเทียนร่วมกับฝ่ายใน

ภาพตอนล่าง การเวียนเทียนในการพระราชกุศลวิสาขบูชาร่วมกับฝ่ายในนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ทรงให้เยาวราชวงศ์มาร่วมงานพระราชทานเลี้ยงและแจกหนังสือสอนพระพุทธศาสนาสำหรับเด็กที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แต่งประกวดเป็นประจำทุกปี

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระราชหฤทัยเด็กอย่างยิ่ง มีพระราชดำริว่า วัยเด็กจำเป็นต้องให้การศึกษาเกี่ยวกับหลักธรรมของพระพุทธศาสนาให้เป็นพื้นฐานจิตใจ เสมือนสร้างภูมิจิตใจให้แข็งแกร่ง เตรียมพร้อมกับภาระหน้าที่เมื่อเป็นผู้ใหญ่ กล่าวได้ว่า หนังสือธรรมมะของเด็กเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในรัชกาลที่ 7

147  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / Re: ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ณ พระพุทธรัตนสถาน พระราชดำริ ร.๙ เมื่อ: 04 ธันวาคม 2555 12:59:52



ช่องที่ 4 เหตุการณ์ในรัชกาลที่ 6

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอภิเษกสมรสกับ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ณ พระที่นั่งบรมพิมาน วันที่ 10 สิงหาคม พุทธศักราช 2467 แล้วเสด็จพระราชดำเนินมาสักการะพระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย ณ พุทธรัตนสถาน

พุทธศักราช 2460 ประเทศสยามประกาศสงครามโลกครั้งที่ 1 ร่วมกับสัมพันธมิตร และส่งกองทัพไทยไปร่วมรบ ณ สมรภูมิในยุโรปก่อนเดินทาง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพระราชพิธีตัดไม้ข่มนาม ตามโบราณราชประเพณี แสดงให้เห็นถึงพลังอำนาจอันศักดิ์สิทธิ์ ที่เป็นขวัญกำลังใจแก่เหล่าทหารหาญที่จะออกทำสงครามเพื่อความสวัสดิมงคลแก่กองทัพไทย

ทรงตระหนักว่า ประเทศจำเป็นต้องมีเรือรบที่ทันสมัย มีสมรรถนะสูงทัดเทียมกับเรือรบในประเทศที่เจริญแล้ว จึงโปรดเกล้าฯ เชิญชวนชาวไทยร่วมกันบริจาคทรัพย์สร้างเรือรบ "พระร่วง" ขึ้นไว้แก่แผ่นดินเพื่อป้องกันภัยในน่านน้ำทางทะเล

ในสมัยนี้ การแต่งกายมีอิทธิพลตะวันตกมากยิ่งขึ้น เห็นได้ชัดจากฉลองพระองค์ของพระมหากษัตริย์ พระวรราชเทวี พระบรมวงศานุวงศ์ และเครื่องแต่งกายของไพร่ฟ้าประชาชน

ภาพตอนบน ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพัฒนากองทัพเรือให้เข้มแข็ง ได้ซื้อเรือตอร์ปิโดด้วยเงินงบประมาณแผ่นดิน และเงินบริจาค เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของ เรือที่ซื้อด้วยงบประมาณแผ่นดิน คือ "เรือคำรณสินธุ์" และ "เรือทยานชล" ส่วนเรือที่เรี่ยไรจากประชาชนคือ "เรือพระร่วง" ขึ้นประจำการเมื่อพุทธศักราช 2463

ภาพตอนกลาง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตัดสินพระราชหฤทัยนำประเทศไทยร่วมกับสัมพันธมิตร ประกอบด้วย อังกฤษ ฝรั่งเศส รุสเซีย สหรัฐอเมริกา อิตาลีและญี่ปุ่น ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ทรงประกาศสงครามกับเยอรมันและออสเตรีย วันที่ 22 กรกฎาคม พุทธศักราช 2460 เมื่อมหาอำนาจเยอรมนีแพ้สงคราม กองทัพไทยได้เดินสวนสนามฉลองชัยชนะ ในกรุงปารีสด้วย

ภาพตอนล่าง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอภิเษกสมรสอย่างธรรมเนียมตะวันตก ทรงพระกรุณาให้ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี คล้องพระหัตถ์ในการเสด็จพระราชดำเนินมาสักการะพระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย ณ พระพุทธรัตนสถาน และธรรมเนียมที่ประชาชนเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการเสด็จพระราชดำเนินอย่างใกล้ชิด จะเห็นความจงรักภักดีที่ประชาชนมีต่อพระมหากษัตริย์ตลอดมา นั่งคอยเฝ้าฯ อย่างมีระเบียบ มีทั้งผ้ากราบเพื่อทรงประทับ และมาลัยข้อกร เพื่อทูลเกล้าฯ ถวาย

148  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / Re: ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ณ พระพุทธรัตนสถาน พระราชดำริ ร.๙ เมื่อ: 04 ธันวาคม 2555 12:58:55



ช่องที่ 3 เหตุการณ์ในรัชกาลที่ 5

พุทธศักราช 2416 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แปลงพระวิหารพุทธรัตนสถานเป็นพระอุโบสถ เพื่อทรงผนวชตามโบราณราชประเพณี ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพระราชพิธีผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิต พระอุโบสถพระพุทธรัตนสถานจึงเป็นพระอุโบสถประวัติศาสตร์ ที่พระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ในบรมราชจักรีวงศ์ต่อมาทรงผนวช

สมัยนี้ บ้านเมืองในต้นรัชกาล วิถีชีวิตของสังคมไทย โดยเฉพาะการแต่งกาย ยังมีลักษณะเหมือนกับสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่พระมหากษัตริย์และราชวงศ์เริ่มมีอิทธิพลตะวันตกบ้าง ส่วนการคมนาคมเริ่มมีรถลาก ซึ่งเรียกว่า 'รถเจ๊ก' เป็นพาหนะ

ภาพตอนบน แสดงวิถีชีวิตของสังคมไทยสมัยรัชกาลที่ 5 เด็กๆกำลังเล่นน้ำ อย่างสนุกสนาน บนตลิ่ง ในศาลาท่าน้ำ แสดงวัฒนธรรมการแต่งกาย เด็กหญิงไว้ผมจุก นุ่งโจง สวมเสื้อ ไม่มีรองเท้า ส่วนเด็กชายไว้ผมจุก ผมแกละ ผมโก๊ะ ผมเปีย นุ่งโจงไม่สวมเสื้อและไม่มีรองเท้า ส่วนการสัญจรไปมา เริ่มมีรถลาก มีชาวจีนรับจ้างเป็นสารถี

ภาพตอนกลาง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงผนวช เมื่อพุทธศักราช 2467 เสด็จพระราชดำเนินมายังพระอุโบสถพระพุทธรัตนสถาน ข้าราชบริพารที่พระระเบียงรอบพระพุทธรัตนสถานเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท

ภาพตอนล่าง พระราชพิธีผูกพัทธสีมาแปลงพระวิหารพระพุทธรัตนสถานเป็นพระอุโบสถ

149  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / Re: ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ณ พระพุทธรัตนสถาน พระราชดำริ ร.๙ เมื่อ: 04 ธันวาคม 2555 12:57:53



ช่องที่ 1 เหตุการณ์ในรัชกาลที่ 4

พุทธศักราช 2396 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพระราชพิธีวางศิลาก่อพระฤกษ์ สร้างพระวิหารพระพุทธรัตนสถานเป็นปฐม ในบริเวณพระพุทธรัตนสถานมีอาคารประกอบ ที่สำคัญคือ หอระฆัง ศาลาโถงทรงไทย 2 หลัง เบื้องหน้าเบื้องซ้าย

บรรดาช่างหลายประเภท อาทิ ช่างไม้ ช่างปูน ช่างแกะสลัก ช่างมุก ทั้งในการสร้างฐานชุกชีที่แกะจำหลักด้วยงาช้าง และสร้างบุษบกสำหรับประดิษฐานพระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย ภายในพระวิหาร ทุกคนขะมักเขม้นในภารกิจ เป็นบรรยากาศของการทำงานก่อสร้าง ที่สะท้อนให้เห็นสภาพพระบรมมหาราชวัง ชีวิตความเป็นอยู่ โดยเฉพาะช่างที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร การแต่งกาย และวัฒนธรรมการเข้าเฝ้าฯ



ช่องที่ 2 เหตุการณ์ในรัชกาลที่ 4

พุทธศักราช 2424 เมื่อก่อสร้างพระพุทธรัตนสถานเสร็จแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ประกอบพระราชพิธียกช่อฟ้าพระพุทธรัตนสถาน แล้วโปรดเกล้าฯให้อัญเชิญพระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัยจากหอพระสุลาลัยพิมาน ในพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ด้วยกระบวนพระอิสริยยศเข้ามาประดิษฐาน ณ พระพุทธรัตนสถาน
    ในการพระราชพิธีสมโภช มีมหรสพสมโภชตามแบบโบราณ ได้แก่ การละเล่นของไทย การแสดงอุปรากรจีน เป็นต้น

ภาพตอนบน เป็นภาพริ้วกระบวนพระอิสริยยศอัญเชิญพระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัยจากพระที่นั่งไพศาลทักษิณไปยังพระวิหารพระพุทธรัตนสถาน
    ริ้วนำหน้ากระบวนประกอบด้วย กลอง ปี่ชนะ ห้อมล้อมด้วยฝูงชน แสดงวิถีชีวิตของพุทธศาสนิกชนที่ศรัทธาในพระพุทธศาสนา ต่างมาเฝ้ากราบไหว้สักการะ เพื่อความเป็นสิริมงคลตามทางที่กระบวนผ่าน

ภาพตอนกลาง การละเล่นสมโภชตามโบราณราชประเพณีในรัชกาลที่ 4 ได้แก่ งิ้ว ไต่ลวด ไม้สูง ญวนหก เป็นต้น

ภาพตอนล่าง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงยกช่อฟ้าพระวิหารพระพุทธรัตนสถาน มี สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) เสด็จพระราชดำเนินในพระราชพิธีด้วย

150  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ณ พระพุทธรัตนสถาน พระราชดำริ ร.๙ เมื่อ: 04 ธันวาคม 2555 12:56:46


พระพุทธรัตนสถาน 

เมื่อเดือนก่อน ผมได้ติดตามรายการ จากจดหมายเหตุกรุงศรี ซึ่งนำเสนอในช่วงข่าวภาคค่ำทางช่องเจ็ดสี เป็นตอน ภาพจิตรกรรมบนฝาผนังพระพุทธรัตนสถาน ภายในพระบรมมหาราชวัง แต่พลาดชมตอนแรกๆ จึงเกิดสงสัยว่าอาคารหลังนี้ตั้งอยู่ส่วนไหนของพระบรมมหาราชวัง จึงลองค้นข้อมูลในอินเตอร์เน็ตดู พบแหล่งข้อมูลที่น่าสนใจจากเวบไซต์นิตยสารหญิงไทย *http://www.yingthai-mag.com/detail.asp?ytcolumnid=3328&ytissueid=723&ytcolcatid=2&ytauthorid=265 จึงอยากจะขออนุญาตนำมาเผยแพร่ให้อ่านต่อกันครับ นอกจากนี้ ผมยังต้องการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาศฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปีอีกด้วย เพราะภาพจิตรกรรมชุดนี้เกิดขึ้นจากพระราชดำริของพระองค์ท่านครับ :Bauhinia P.



ดังพระราชดำริที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้กรมศิลปากรเขียนจิตรกรรมฝาผนัง ณ พระพุทธรัตนสถาน บริเวณพื้นที่ระหว่างช่องพระบัญชรจำนวน 8 ช่อง เป็นศิลปกรรมที่อนุรักษ์กรรมวิธีดั้งเดิม สอดประสานกับวิวัฒนาการตามยุคสมัย ทำให้สามารถกำหนดลักษณะศิลปกรรมตามแนวพระราชดำรินี้ได้ว่า คือศิลปกรรมสมัยรัชกาลที่ 9 การสร้างสรรค์จิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถานตามแนวพระราชดำริครั้งนี้ กล่าวได้ว่า เป็นการฟื้นฟูวิชาช่างที่ห่างเหินไประยะหนึ่งให้คงไว้ เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติให้ยั่งยืนสืบไป

พระพุทธรัตนสถานตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นกลางของพระบรมมหาราชวัง เป็นอาคารทรงไทยชั้นเดียว ประดับด้วยหินอ่อนทั้งหลัง มีอาคารประกอบ ได้แก่ ศาลาโถง 2 หลัง เสาประทีป 4 ต้น


พระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย (พระแก้วขาว)

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างพระพุทธรัตนสถานขึ้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศิลปะล้านนา ปางสมาธิ ขนาดหน้าตักกว้าง 7.5 นิ้ว สูงเฉพาะองค์ 12.5 นิ้ว สูงจากฐานถึงพระรัศมี 20.4 นิ้ว ส่วนฐานรองด้วยดอกบัวทองคำเป็นกลีบ 3 ชั้น เกสรประดับด้วยเนาวรัตน์ ฐานแข้งสิงห์ทำด้วยทองคำจำหลักลายประดับพลอยสี เป็นพระพุทธรูปแก้วผลึกขาว ที่ช่างเรียกว่า เพชรน้ำค้างหรือบุษย์น้ำขาว น้ำใสบริสุทธ์เอกอุ อัญเชิญมาจากนครจำปาศักดิ์ เมื่อครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยฯ เดิมประดิษฐาน ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ

พระพุทธรัตนสถานจึงเป็นสถานที่บำเพ็ญพระราชกุศลของฝ่ายในตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา แม้ในสมัยต่อมา พระมหากษัตริย์จะมิได้ประทับอยู่ในพระบรมมหาราชวังเช่นแต่ก่อน เมื่อประกอบพระราชพิธีสำคัญในรัชกาล นอกจากจะทรงปฏิบัติบำเพ็ญ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามแล้ว มิได้เว้นที่จะมากระทำ ณ พระพุทธรัตนสถานตามธรรมเนียม ดังปรากฏพระราชกรณียกิจในหมายกำหนดการ

จนกระทั่งปี พ.ศ.2484 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝ่ายสัมพันธมิตรส่งเครื่องบินมาทิ้งระเบิดโจมตีกองทัพเรือ และสถานีรถไฟบางกอกน้อยเพื่อทำลายจุดยุทธศาสตร์ ระเบิดได้ตกลงที่พระบรมมหาราชวังข้างพระอุโบสถพระพุทธรัตนสถาน 1 ลูก ด้วยแรงสั่นสะเทือนและน้ำหนักของลูกระเบิดทำให้ชายคาและผนังด้านทิศเหนือชำรุด โครงสร้างและส่วนประกอบภายในชำรุดเสียหาย จนกระทั่ง พ.ศ.2492 สำนักพระราชวังจึงได้ซ่อมแซมส่วนที่เสียหายจากแรงระเบิดก่อน และบูรณะซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์เช่นเดิมในปี พ.ศ.2496

ต่อมาในปี พ.ศ.2536 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์ให้กรมศิลปากรเขียนถาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถพระพุทธรัตนสถานขึ้นใหม่ แทนภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนขึ้นเมื่อ พ.ศ.2504 ซึ่งเป็นเรื่องราวพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจใน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในรัชกาลปัจจุบัน ช่วงระหว่าง พ.ศ.2488-2499 ด้วยทรงเห็นว่าไม่สอดคล้องกับภาพจิตรกรรมฝาผนังตอนบนซึ่งเขียนในสมัยรัชกาลที่ 4 อันเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย พระประธานในพระอุโบสถ พระพุทธรัตนสถาน เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินไปในงานสมโภชวัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร จังหวัดนนทบุรี เนื่องในโอกาสเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 5 รอบ พ.ศ.2535 ทรงทราบว่ากรมศิลปากรสามารถดำเนินการลอกภาพจิตรกรรมฝาผนังและอนุรักษ์ของเดิมไว้ได้ กรมศิลปากรจึงรับพระราชกระแสมาดำเนินการ

สำหรับนิทรรศการจิตรกรรมฝาผนังพระพุทธรัตนสถาน ตามแนวพระผนังชุดนี้ ใช้ขั้นตอนการทำงานร่วม 10 ปี นับเป็นศิลปะจิตรกรรมไทยประเพณีแห่งยุคปัจจุบันอย่างแท้จริง สีสันที่ใช้นั้นสอดประสานกันทั้ง 8 ช่องพระบัญชร โดยใช้สีโบราณ เพราะพระองค์ท่านไม่โปรดสีทันสมัยอย่างสีอะครีลิค ขนาดของตัวบุคคลในภาพก็เป็นมุม ตานกมอง (Bird's Eye View) ให้เหมือนจริงตามบุคคลทั้งในอดีตและปัจจุบัน นับเป็นมิติใหม่ของงานศิลปกรรมไทยที่ทรงคุณค่ายิ่งนัก โดยจัดแสดง ณ หอศิลป เจ้าฟ้า ตั้งแต่วันที่ 4 พ.ค - 13 มิ.ย เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี

ปัจจุบันแนวการเขียนแบบโบราณนับวันจะหมดไป เพราะศิลปินยุคใหม่ได้รับอิทธิพลศิลปะสากลจากตะวันตกมาอย่างกว้างขวาง ทั้งรูปแบบ แนวคิด และการใช้สี อีกทั้งโอกาสที่จะสร้างศิลปกรรมแบบโบราณไม่มีแล้ว จึงดูเสมือนว่าศิลปินสมัยใหม่ได้ละทิ้งรูปแบบดั้งเดิมของช่างโบราณไปโดยไม่ตั้งใจ ฉะนั้น ภาพจิตรกรรมฝาผนังทั้ง 8 ช่อง ที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในโอกาสนี้ กล่าวได้ว่าเป็นการรักษาแบบแผนอันเป็นเอกลักษณ์ของศิลปกรรมประจำชาติไว้ ให้มีความเชื่อมต่อระหว่างยุคเก่าและยุคใหม่ สามารถยึดถือได้ว่า นี่คืองานศิลปกรรมสมัยรัชกาลที่ 9 ได้อย่างภาคภูมิ

                      ...มีต่อค่ะ

151  สุขใจในธรรม / ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4 / จิตเห็นจิตที่มีกิเลส เมื่อ: 01 ธันวาคม 2555 16:46:57


http://i896.photobucket.com/albums/ac167/PedrosIsland/2c15612f.gif


จิตเห็นจิตที่มีกิเลส

    ปกติแล้วในแต่ละวันจะต้องเกิดจิตที่มีกิเลส (จิตมีราคะ จิตมีโทสะ จิตมีโมหะ) อยู่ตลอดเวลา เช่น หากมีใครมาพูดอะไรไม่ถูกใจก็โกรธ (เกิดจิตมีโทสะ) หรือเมื่อตาไปมองเห็นรูปสวย ๆ เข้าของถูกใจเข้าก็พอใจ ติดใจ (เกิดจิตมีราคะ)
    เมื่อเกิดจิตที่มีกิเลสขึ้นแล้ว หากเป็นคนทั่วไปที่ไม่ได้หัดดูจิตที่มีกิเลสมาก่อน จิตที่มีกิเลสก็มักจะต่อเนื่องกันไปนานทีเดียว ยิ่งเกิดนานก็ยิ่งทำให้มีโอกาสในการทำชั่วมากขึ้น ยิ่งเกิดนานก็ยิ่งทำให้จิตหม่นหมอง จนแทบจะหาเวลาที่จิตจะปราศจากกิเลสไม่ได้เลย

    จิตที่ถูกกิเลสครอบงำหรือครอบครองอยู่บ่อย ๆ นี่เอง ที่ทำให้จิตไม่สามารถจะแจ่มแจ้งความจริงว่า อะไรเป็นทุกข์, อะไรเป็นเหตุให้เกิดทุกข์, อะไรเป็นการพ้นจากทุกข์, อะไรเป็นทางให้พ้นทุกข์ (ไม่แจ่มแจ้ง อริยสัจ)
เมื่อไม่แจ่มแจ้ง จิตก็จะยังเกิดดับอยู่อย่างเป็นทุกข์ต่อไป และหากจิตเกิดพลาดพลั้งไปทำชั่วตามอำนาจกิเลสที่ครอบงำอยู่ ต่อไปภายหน้าก็ต้องรับผลกรรมชั่วที่ทำไว้ ให้ต้องเดือดเนื้อร้อนใจไปไม่มีที่สิ้นสุด

    ดังนั้น ผู้ที่มีโอกาสได้เจอะเจอพระพุทธศาสนา ก็ไม่ควรละเลยที่จะ "หัดดูจิตที่มีกิเลส" ไม่ใช่เอาแต่เกลียดหรือไม่ชอบจิตที่มีกิเลส แล้วก็เอาแต่พยายามหาทางป้องกันไม่ให้เกิดกิเลส เพราะการพยายามหาทางป้องกันไม่ให้กิเลสเกิดขึ้นนั้น ไม่มีใครเลยที่จะสามารถทำได้อย่างแท้จริง ผู้ที่จิตท่านได้พ้นไปจากการครอบงำของกิเลสได้อย่างแท้จริงนั้น ท่านพ้นไปได้ด้วยการหัดดูจิตที่มีกิเลสกันทั้งนั้น
    การหัดดูจิตที่มีกิเลสนั้น ก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไร (เช่นเดียวกับที่หัดสังเกตุว่า หลงไป นั่นเอง คือ เมื่อใดเกิดจิตที่มีกิเลสให้รู้ได้ ตัวอย่างเช่น ถ้าเกิดจิตมีโทสะขึ้น ก็ไม่ต้องพยายามกดข่ม ไม่ต้องคิดหาเหตุผลกลบเกลื่อนให้โทสะดับไป แต่ให้หัดสังเกตุว่า จิตหลงไปรู้อยู่ในความโกรธ, หลงไปรู้อยู่ในความคิด, หลงไปรู้อยู่ในเรื่องราวที่ทำให้โกรธ หรือหัดสังเกตุแค่ว่า จิตมีโทสะ ก็ได้
    แต่ต้องหัดสังเกตุเบา ๆ สบาย ๆ ไม่เอาชนะโทสะ ไม่เพ่งจ้องไปทีโทสะ ไม่จัดการอะไรกับโทสะ เปรียบเหมือนกันหัดสังเกตุไปแบบเป็นคนดูละครไม่ใช่นักแสดง ผู้กำกับ นักพากษ์ และนักวิจารณ์ การหัดสังเกตุไปอย่างเบา ๆ สบาย ๆ ไม่เอาชนะ ไม่เพ่งจ้อง ไม่จัดการ ก็คือ การหัดดูจิตเป็นอย่างไรนั่นเอง


    การหัดสังเกตุจิตที่มีโทสะแบบเบา ๆ สบาย ๆ ไม่เอาชนะ ไม่เพ่งจ้อง ไม่จัดการ นี้ ในเบื้องต้นก็เพื่อให้เกิดสติ หรือให้รู้สึกตัวขึ้นมา (ขณะที่จิตกำลังมีโทสะ ไม่มีสติ ไม่รู้สึกตัว)
    การเกิดสติหรือรู้สึกตัวขึ้น ก็คือ เกิดจิตดวงใหม่ที่รู้สึกได้ว่า เมื่อกี้จิตมีโทสะ (จิตมีโทสะเพิ่งดับไปสด ๆ ร้อน ๆ) ดังนั้น จิตเห็นจิตในเบื้องต้นก็คือ ขณะที่เกิดรู้สึกตัว หรือเกิดขณะที่เกิดสติขึ้นนั่นเอง

    หากหัดดูจิตที่มีเกิดเลสเแล้ว แต่จิตที่มีกิเลสไม่ดับลง ก็ให้วางใจยอมรับสภาวะที่กำลังเป็นอยู่ว่า ยังไง ๆ จิตก็ต้องมีกิเลส (เพราะยังไม่ใช่พระอรหันต์) และไม่ต้องพยายามทำให้จิตที่มีกิเลสดับลงไป เพียงแค่รู้ว่าจิตมีกิเลสไปเท่านั้น (แค่ดูจิตที่มีกิเลสอยู่เท่านั้น) แล้วก็อย่าพยายามทำให้รู้สึกตัว หรือทำให้เกิดสติขึ้นมา เพราะความรู้สึกตัวที่แท้จริง หรือสติที่แท้จริงนั้น ต้องเกิดขึ้นเองโดยปราศจากการจงใจทำให้เกิด หากเกิดเพราะการจงใจทำให้เกิด จะเป็นความรู้สึกตัวปลอม ๆ เป็นสติปลอม ๆ เท่านั้น เมื่อเป็นสติปลอม ๆ ก็จะใช้ในการเจริญปัญญาต่อไปไม่ได้

คัดลอกจาก บันทึกดูจิตตอน จิตเห็นจิต (สุรวัฒน์ เสรีวิวัฒนา)
ธรรมรักษา ท่านผู้เจริญในธรรมทุกท่าน อนุโมทนาค่ะ
.....................................................
กายอ่อนน้อม ใจระลึกถึงพระคุณ
เปิดตาให้รับแสงแห่งพระธรรม เปิดหูให้ได้ยินเสียงสำเนียงธรรม เปิดปากพูดจาสนทนาธรรม

ขอบพระคุณที่มาจาก*http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=39884

152  สุขใจในธรรม / พุทธวัจนะ - ภาษิตธรรม / Re: ۞ ๚ เถระคาถา ๚ะ๛ ۞ เมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2555 22:51:04


                 

ธุดงคคุณทั้ง ๕ ถืออยู่ในป่าเป็นวัตร ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
ต่อค่ะ...
                             ถืออยู่ป่าช้าเป็นวัตร ถือนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ถือการไม่นอน
                             เป็นวัตร ตลอดกาลทุกเมื่อเถิด บุคคลผู้ต้องการผลไม้ ปลูกต้นไม้
                             ไว้แล้ว เก็บผลไม่ได้ ก็ประสงค์จะโค่นต้นไม้นั้นเสีย ฉันใด ดูกร
                             จิต ท่านแนะนำเราผู้ใดให้หวั่นไหวในความไม่เที่ยง ท่านจงทำเราผู้นี้
                             ให้เหมือนกับบุคคลผู้ปลูกต้นไม้ไว้ฉะนั้นเถิด ดูกรจิตผู้หารูปมิได้ ไป
                             ได้ในที่ไกล เที่ยวไปแต่ผู้เดียว บัดนี้เราจักไม่ทำตามคำของท่านแล้ว

                             เพราะว่ากามทั้งหลายล้วนเป็นทุกข์ มีผลเผ็ดร้อน เป็นภัยใหญ่หลวง
                             เราจักมีใจมุ่งนิพพานเท่านั้น เราไม่ได้ออกบวชเพราะหมดบุญ เพราะ
                             ไม่มีความละอาย เพราะเหตุแห่งจิต เพราะเหตุแห่งการทำผิดต่อชาติ
                             บ้านเมือง หรือเพราะเหตุแห่งอาชีพ ดูกรจิต ท่านได้รับรองกับเรา
                             ไว้ว่า จักอยู่ในอำนาจของเรามิใช่หรือ ดูกรจิต ท่านได้แนะนำเราไว้
                             ในครั้งนั้นว่า ความเป็นผู้มักน้อย การละความลบหลู่คุณท่าน และ

                             ความสงบระงับทุกข์ สัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญ
แต่บัดนี้ ท่านกลับเป็น
                             ผู้มีความมักมากขึ้น เราไม่อาจกลับไปสู่ตัณหา ราคะ ความรัก ความ
                             ชัง รูปอันสวยงาม สุขเวทนา และเบญจกามคุณ อันเป็นของ
                             ชอบใจที่เราคาย
เสียแล้วอีก
ดูกรจิต เราได้ปฏิบัติตามถ้อยคำของท่าน
                             ในภพทั้งปวงแล้ว เราไม่ได้มีความขุ่นเคืองต่อท่านหลายชาติมาแล้ว
                             เพราะความที่ท่านมีความกตัญญู จึงปรากฏมีอัตภาพนี้ขึ้นอีก ท่านทำ

                             ให้เราต้องท่องเที่ยวไปในกองทุกข์มาช้านานแล้ว
ดูกรจิต ท่านทำเรา
                             ให้เป็นพราหมณ์ก็มี เป็นพระราชามหากษัตริย์ก็มี เพราะอำนาจแห่งท่าน
                             บางคราวเราเป็นแพศย์ เป็นศูทร เป็นเทพเจ้าก็มี เพราะอำนาจแห่งท่าน
                             เพราะเหตุแห่งท่าน มีท่านเป็นมูลเหตุ เราเป็นอสูร บางคราวเป็น
                             สัตว์นรก บางคราวเป็นสัตว์ดิรัจฉาน บางคราวเป็นเปรต ท่านได้ประทุษ
                             ร้ายเรามาบ่อยๆ มิใช่หรือ บัดนี้ เราจักไม่ให้ท่านทำเหมือนกาลก่อนอีก

                             ละ แม้เพียงครู่เดียว ท่านได้ล่อลวงเราเหมือนกับคนคนบ้าได้ทำความผิด
                             ให้แก่เรามาแล้วมิใช่หรือ จิตนี้แต่ก่อนเคยเที่ยวจาริกไปในอารมณ์ต่างๆ
                             ตามความประสงค์ ตามความใคร่ ตามความสบาย
วันนี้ เราจักข่มจิตนั้นไว้
                             โดยอุบายอันชอบดังนายหัตถาจารย์ข่มช้างตัวตกมันไว้ด้วยขอ ฉะนั้น พระ
                             ศาสดาของเราได้ทรงตั้งโลกนี้ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน
                             ไม่เป็นแก่นสาร ดูกรจิต ท่านจงพาเราบ่ายหน้าไปในศาสนาของพระ

                             ชินสีห์ จงพาเราข้ามจากห้วงใหญ่ที่ข้ามได้แสนยาก ดูกรจิต เรือน
                             คืออัตภาพของท่านนี้ ไม่เป็นเหมือนกาลก่อนเสียแล้ว เพราะเราจัก
                             ไม่เป็นไปตามอำนาจของท่านอีกต่อไป
เราได้บวชในศาสนาของพระ
                             พุทธเจ้าผู้แสวงหาประโยชน์อันยิ่งใหญ่แล้ว สมณะทั้งหลายผู้ทรงความ
                             พินาศไม่เป็นเช่นเรา ภูเขา มหาสมุทร แม่น้ำคงคาเป็นต้น แผ่นดิน

                             ทิศใหญ่สี่ ทิศน้อยสี่ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และภพสาม ล้วน
                             เป็นสภาพไม่เที่ยง
มีแต่ถูกเบียดเบียนอยู่เสมอ
ดูกรจิต ท่านจะไป ณ
                             ที่ไหนเล่าจึงจะมีความสุขรื่นรมย์ ดูกรจิต เบื้องหน้าแต่จิตของเราตั้งมั่น
                             แล้ว ท่านจักทำอะไรแก่เราได้ เราไม่เป็นไปตามอำนาจของท่านแล้ว
                                         
                             บุคคลไม่ควรถูกต้องไถ้สองปาก คือร่างกายอันเต็มไปด้วยของไม่สะอาด
                             มีช่อง ๙ แห่ง เป็นที่ไหลออก น่าติเตียน ท่านผู้ไปสู่เรือนคือถ้ำที่เงื้อม
                             ภูเขาอันสวยงามตามธรรมชาติ เป็นที่อาศัยอยู่แห่งสัตว์ป่า คือ หมูและ
                             กวาง และในป่าที่ฝนตกใหม่ๆ จักได้ความรื่นรมย์ใจ ณ ที่นั้น ฝูงนกยูง
                             มีขนที่คอเขียว มีหงอนและปีกงาม ลำแพนหางมีแวววิจิตรนัก ส่ง

                             สำเนียงก้องกังวาลไพเราะจับใจ จักยังท่านผู้บำเพ็ญฌานอยู่ในป่าให้
                             ร่าเริงได้ เมื่อฝนตนหญ้างอกยาวประมาณ ๔ นิ้ว ท้องฟ้างามแจ่มใส
                             ไม่มีเมฆปกคลุม เมื่อท่านทำตนให้เสมอด้วยไม้แล้ว นอนอยู่เหนือหญ้า
                             ระหว่างภูเขานั้น จะรู้สึกอ่อนนุ่มดังสำลี เราจักกระทำให้เหมือนผู้ใหญ่
                             จะยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้ บุคคลผู้ไม่เกียจคร้าน ย่อมกระทำจิต
                             ของตนให้ควรแก่การงาน ฉันใด เราจักกระทำจิต ฉันนั้น
เหมือน

                             บุคคลเลื่อนถุงใส่แมวไว้ ฉะนั้นเราจักทำให้เหมือนผู้ใหญ่ จักยินดีด้วย
                             ปัจจัยตามมีตามได้ จักนำท่านไปสู่อำนาจของเราด้วยความเพียรเหมือน
                             นายหัตถาจารย์ผู้ฉลาด นำช้างที่ซับมันไปสู่อำนาจของตนด้วยขอ ฉะนั้น
                             เราย่อมสามารถที่จะดำเนินตามหนทางอันเกษมสุข ซึ่งเป็นทางอันบุคคล
                             ผู้ตามรักษาจิต ได้ดำเนินมาแล้วทุกสมัย ด้วยหทัยอันเที่ยงตรงที่ท่านฝึกฝน
                             ไว้ดีแล้ว มั่นคงแล้ว เปรียบเหมือนนายหัตถาจารย์ สามารถจะดำเนินไป

                             ตามภูมิสถานที่ปลอดภัย ด้วยม้าที่ฝึกดีแล้ว ฉะนั้น เราจักผูกจิตไว้ใน
                             อารมณ์ คือ กรรมฐานด้วยกำลังภาวนา
เหมือนนายหัตถาจรรย์ มัดช้างไว้
                             ที่เสาตลุงด้วยเชือกอันมั่นคง ฉะนั้น จิตที่เราคุ้มครองดีแล้ว อบรมดีแล้ว
                             ด้วยสติ จักเป็นจิตอันตัณหาเป็นต้น ไม่อาศัยในภพทั้งปวง
ท่านจงตัด
                             ทางดำเนินที่ผิดเสียด้วยปัญญา ข่มใจให้ดำเนินไปในทางที่ถูกด้วย
                             ความเพียร
ได้เห็นแจ้งทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป แล้วจัก

                             ได้เป็นทายาทของพระพุทธเจ้า ผู้มักแสดงธรรมอันประเสริฐ ดูกรจิต
                             ท่านได้นำเอาให้เป็นไปตามอำนาจของความเข้าใจผิด ๔ ประการ เหมือน
                             บุคคลจูงเด็กชาวบ้านวิ่งวนไป ฉะนั้น ท่านควรคบหาพระสัมมาสัม-
                             พุทธเจ้า ผู้ตัดเครื่องเกาะเกี่ยวและเครื่องผูกเสียได้ เพียบพร้อมด้วย
                             พระมหากรุณา เป็นจอมปราชญ์มิใช่หรือ มฤคชาติเข้าไปยังภูเขาอันน่า
                             รื่นรมย์ ประกอบด้วยน้ำและดอกไม้ เที่ยวไปในป่าอันงดงามตามลำพัง

                             ใจ ฉันใด ดูกรจิต ท่านก็จักรื่นรมย์อยู่ในภูเขาที่ไม่เกลื่อนกล่น ด้วย
                             ผู้คนตามลำพังใจ ฉันนั้น เมื่อท่านไม่ยินดีอยู่ที่ภูเขานั้น ท่านก็จักต้อง
                             เสื่อมโดยไม่ต้องสงสัย ดูกรจิต หญิงชายเหล่าใดประพฤติตามความ
                             พอใจ ตามอำนาจของท่านแล้วเสวยความสุขใดอันอาศัยเบญจกามคุณ
                             หญิงชายเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้โง่เขลา ตกอยู่ในอำนาจของมาร เป็นผู้
                             เพลิดเพลินอยู่ในภพน้อย ภพใหญ่ และชื่อว่าเป็นสาวกของท่าน.
   จบ ตาลปุฏเถรคาถา
                             พระตาลปุฏเถระองค์เดียวเท่านั้น ได้ภาษิตคาถาไว้ในปัญญาสนิบาตนี้
                             รวมเป็นคาถา ๕๕ คาถา ฉะนี้แล.


153  สุขใจในธรรม / พุทธวัจนะ - ภาษิตธรรม / Re: ۞ ๚ เถระคาถา ๚ะ๛ ۞ เมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2555 19:52:03


               

ตาลปุฏเถรคาถา
   คาถาสุภาษิตของพระตาลปุฏเถระ
                [๓๙๙]        เมื่อไรหนอ เราจึงจักได้อยู่แต่ผู้เดียว ไม่มีตัณหาเป็นเพื่อนสอง ณ
                             ภูเขาและซอกเขา เมื่อไรหนอ เราจึงจักพิจารณาเห็นแจ้งภพทั้งปวง
                             โดยความเป็นของไม่เที่ยง ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ
                             เมื่อไรหนอ เราจึงจักได้เป็นนักปราชญ์ นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์อัน
                             เศร้าหมอง ไม่มีความยึดมั่น ไม่มีความหวัง เป็นผู้ฆ่าราคะ โทสะ
                             และโมหะได้แล้ว
เที่ยวไปตามป่าใหญ่อย่างสบาย ความตรึกเช่นนี้

                             ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ เมื่อไรหนอ เราจึงจักได้เห็นแจ้งซึ่งร่างกายนี้
                             อันเป็นของไม่เที่ยง เป็นรังแห่งโรค คือความตาย ถูกความตายและความ
                             เสื่อมโทรมบีบคั้นแล้ว
เป็นผู้ปราศจากภัย อาศัยอยู่ในป่าแต่ผู้เดียว
                             ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ เมื่อไรหนอ เราจึงจักได้ถือ
                             เอาซึ่งดาบอันคมกริบ คืออริยมรรคอันสำเร็จด้วยปัญญา แล้วตัดเสีย
                             ซึ่ง
ลดาชาติ คือ ตัณหาอันก่อให้เกิดภัย นำมาซึ่งทุกข์ เป็นเหตุให้คิด

                             วนเวียนไปในอารมณ์ภายนอก
ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ
                             เมื่อไรหนอ เราจึงจักได้ถือเอาซึ่งศาตราอันสำเร็จด้วยปัญญา มีเดชานุภาพ
                             มากของฤาษี คือ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระอริยสาวก แล้ว
                             หักราญเสียซึ่งกิเลสมารพร้อมทั้งเสนาโดยเร็วพลัน เหนือเถรอาสน์มี
                             ลีลาศดังราชสีห์ ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ เมื่อไรหนอ
                             นักปราชญ์มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ผู้มีความหนักแน่นในธรรม ผู้คงที่มีปกติ

                             เห็น
ตามความเป็นจริง มีอินทรีย์อันชนะแล้ว
จักเห็นว่าเราบำเพ็ญเพียร
                             ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ เมื่อไรหนอ ความเกียจคร้าน
                             ความหิวกระหาย ลม แดด เหลือบ ยุง และสัตว์เสือกคลานทั้งหลาย
                             จึงจักไม่เบียดเบียนเรา ตามซอกเขา ข้อนั้นเป็นความประสงค์ของเรา
                             ความตรึกเช่นนี้ของเราสำเร็จเมื่อไรหนอ เมื่อไรหนอ เราจึงจักเป็นผู้มี
                             จิตมั่นคง มีสติ ได้บรรลุอริยสัจ ๔ ที่เห็นได้แสนยาก อันพระผู้มี

                             พระภาคผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ทรงทราบแล้วด้วยปัญญา ความตรึก
                             เช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ เมื่อไรหนอ เราจึงจักประกอบด้วย
                             ความสงบระงับ จากเครื่องเร่าร้อนใจในเพราะรูป เสียง กลิ่น รส
                             โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ ที่เรายังไม่รู้เท่าถึง พิจารณาเห็นด้วยปัญญา

                             ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ เมื่อไรหนอ เราเมื่อถูก
                             ว่ากล่าวติเตียนด้วยถ้อยคำชั่วหยาบแล้ว จักไม่เดือดร้อนใจเพราะถ้อยคำ

                             ชั่วหยาบนั้น อนึ่ง ถึงเขาจะสรรเสริญก็จักไม่ยินดี เพราะถ้อยคำ
                             เช่นนั้น ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ เมื่อไรหนอ
                             เราจึงจักพิจารณาเห็นสภาพภายใน กล่าวคือ เบญจขันธ์และรูปธรรม
                             เหล่าอื่น ที่ยังไม่รู้ทั่วถึง และสภาพภายนอก คือ
ต้นไม้ หญ้า และ
                             และลดาชาติ ว่าเป็นสภาพเสมอกัน ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จ
                             เมื่อไรหนอ เมื่อไรหนอ ฝนที่ตกในเวลาปัจจุสมัย จักตกรด

                             เราผู้นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ผู้ปฏิบัติอยู่ในมรรคปฏิปทาที่นักปราชญ์มี
                             พระพุทธเจ้าเป็นต้น ดำเนินไปแล้วด้วยน้ำใหม่อยู่ในป่า ความตรึกเช่น
                             นี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ เมื่อไรหนอ เราจึงจักได้ฟังเสียงร่ำ
                             ร้องแห่งนกยูง และทิชาชาติในป่าและซอกเขา ลุกขึ้นจากการนอน
                             แล้ว พิจารณาธรรมโดยความไม่เที่ยงเพื่อบรรลุอมตธรรม ความตรึก
                             เช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ เมื่อไรหนอ เราจึงจักข้ามพ้นแม่

                             น้ำคงคา ยมุนา สรัสสดี ที่ไหลไปกระทั่งถึงบาดาล เป็นปาก
                             น้ำใหญ่น่ากลัวนัก ไปได้ด้วยฤทธิ์โดยไม่ติดขัด ความตรึกเช่นนี้
                             ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ เมื่อไรหนอ เราจึงจักงดเว้นความเห็น
                             ว่านิมิตงามทั้งปวงเสียโดยเด็ดขาด ขวนขวายอยู่ในฌาน แล้วทำ
                             ลายความพอใจในกามคุณทั้งหลายเสียได้
เหมือนช้างทำลายเสาตลุง
                             และโซ่เหล็กแล้ว เที่ยวไปในสงคราม ฉะนั้น ความตรึกเช่นนี้ของ

                             เราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ เมื่อไรหนอ เราจึงจักละความพอใจในกาม
                             คุณ
ได้บรรลุคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
                             แล้วเกิดความยินดีเปรียบเหมือนลูกหนี้ผู้ขัดสน เมื่อถูกเจ้าหนี้บีบคั้น
                             แล้ว แสวงหาทรัพย์มาได้และชำระหนี้เสร็จแล้ว พึงดีใจ ฉะนั้น
                             ความตรึกเช่นนี้ของเราจักสำเร็จเมื่อไรหนอ ดูกรจิต ท่านได้อ้อน
                             วอนเราเป็นเวลาหลายปีแล้ว ว่าท่านไม่สมควรอยู่ครองเรือนเลย บัด

                             นี้เราก็ได้บวชสมประสงค์แล้ว เหตุไฉนท่านจึงละทิ้งสมถะวิปัสสนา
                             มัวแต่เกียจคร้านอยู่เล่า ดูกรจิต ท่านได้อ้อนวอนเรามาแล้วมิใช่หรือว่า
                             ฝูงนกยูงมีขนปีกอันแพรวพราว และเสียงกึกก้องแห่งธารน้ำตกตาม
                             ซอกเขา จักยังท่านผู้เพ่งฌานอยู่ในป่าให้เพลิดเพลิน เรายอมสละญาติ
                             และมิตรที่รักใคร่ในตระกูล สลัดความยินดีในการเล่นและกามคุณในโลก
                             ได้หมดแล้ว ได้เข้าถึงป่าและบรรพชาเพศนี้แล้ว ดูกรจิต ส่วน

                             ท่านไม่ยินดีต่อเราผู้ดำเนินตามเสียเลย เมื่อเราพิจารณาเห็นว่าจิตนี้เป็น
                             ของเรา ไม่ใช่ของผู้อื่น จะประโยชน์อะไรด้วยการร้องไห้ร่ำพิไร
                             ในเวลาทำสงครามกับกิเลสมาร เพราะจิตทั้งหมดนี้เป็นธรรมชาติหวั่น
                             ไหว
ดังนี้ จึงได้ออกบวช แสวงหาทางอันไม่ตาย พระสัมมาสัม-
                             พุทธเจ้าผู้ประเสริฐกว่าสัตว์ทั้งหลาย ผู้เป็นจอมท้าวสักกเทวราช เป็น
                             จอมสารถีฝึกนระ ตรัสสุภาษิตไว้ว่า จิตนี้กวัดแกว่งเช่นวานร ห้าม

                             ได้แสนยาก เพราะยังไม่ปราศจากความกำหนัด ปุถุชนทั้งหลายผู้ไม่รู้
                             เท่าทัน พัวพันอยู่ในกามทั้งหลาย
อันล้วนแต่เป็นของงดงาม มีรส
                             อร่อย น่ารื่นรมย์ใจ เขาเหล่านั้นเป็นผู้แสวงหาภพใหม่ กระทำ
                             แต่สิ่งไร้ประโยชน์ ชื่อว่าประสงค์ทุกข์ ย่อมถูกจิตนำไปสู่นรกโดย
                             แท้
ดูกรจิต แต่ก่อนท่านเคยแนะนำเราไว้ว่า ท่านจงเป็นผู้แวด
                             ล้อมด้วยเสียงร่ำร้องแห่งนกยูง และนกกระเรียน อีกทั้งเสือเหลือง

                             และเสือโคร่งอยู่ในป่า ท่านจงสละความห่วงใยในร่างกาย อย่ามีความ
                             อาลัย
เลย ดูกรจิต แต่ก่อนท่านเคยแนะนำเราว่า จงอุตส่าห์เจริญ
                             ฌาน อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ และสมาธิภาวนา จงบรรลุ
                             วิชชา ๒ ในพระพุทธศาสนา ดูกรจิต แต่ก่อนท่านเคยแนะนำเรา
                             ว่า จงเจริญอัฏฐังคิกมรรคเพื่อบรรลุนิพพาน อันเป็นทางนำสัตว์ออก
                             จากโลก ให้ถึงความสิ้นทุกข์ทั้งปวง เป็นเครื่องชำระล้างกิเลส

                             ทั้งปวง ดูกรจิต แต่ก่อนท่านเคยแนะนำเราว่า จงพิจารณาเห็นเบญจ-
                             ขันธ์
โดยอุบายอันแยบคายว่า เป็นทุกข์ จงละเหตุอันก่อให้เกิดทุกข์ จง
                             ทำที่สุดแห่งทุกข์ในอัตภาพนี้เถิด ดูกรจิต แต่ก่อนท่านเคยแนะนำเรา
                             ว่า จงพิจารณาเบญจขันธ์โดยอุบายอันแยบคายว่า เป็นของไม่เที่ยง
                             เป็นทุกข์ เป็นของว่างเปล่า หาตัวตนมิได้ เป็นของวิบัติและว่า
                             เป็นผู้ฆ่า จงดับมโนวิจารณ์เสียโดยแยบคายเถิด
ดูกรจิต แต่ก่อน
                             ท่านเคยแนะนำเราว่า จงปลงผมและหนวดแล้ว ถือเอาเพศสมณะมี

                             รูปลักษณะอันแปลก ต้องถูกเขาสาบแช่ง ถือเอาบาตรเที่ยวภิกษา
                             ตามตระกูล จงประกอบตนอยู่ในคำสอนของพระบรมศาสดาผู้แสวงหา
                             คุณอันยิ่งใหญ่เถิด ดูกรจิต แต่ก่อนท่านเคยแนะนำเราว่า จงสำรวม
                             ระวังเมื่อเวลาเที่ยวไปบิณฑบาตตามระหว่างตรอก อย่ามีใจเกี่ยวข้อง
                             ในตระกูลและกามารมณ์ทั้งหลาย
เหมือนพระจันทร์ในวันเพ็ญเว้นจาก
                             โทษ
ฉะนั้น ดูกรจิต แต่ก่อนท่านเคยแนะนำเราว่า จงยินดีใน
                             ธุดงคคุณทั้ง ๕ ถืออยู่ในป่าเป็นวัตร ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร



154  สุขใจในธรรม / พุทธวัจนะ - ภาษิตธรรม / Re: ۞ ๚ เถระคาถา ๚ะ๛ ۞ เมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2555 18:43:25


                 

มหากัสสปเถรคาถา
   คาถาสุภาษิตของพระมหากัสสปเถระ
                [๓๙๘]       ผู้มีปัญญาเห็นว่า ไม่ควรอยู่คลุกคลีด้วยหมู่ เพราะเป็นเหตุทำใจให้
                             ฟุ้งซ่าน ได้สมาธิโดยยาก การสงเคราะห์ชนต่างๆ เป็นความลำบาก
                             ดังนี้ จึงไม่ชอบใจหมู่คณะ นักปราชญ์ไม่ควรเกี่ยวข้องกับตระกูล
                             ทั้งหลาย เพราะเป็นเหตุทำใจให้ฟุ้งซ่าน ได้สมาธิโดยยาก ผู้ที่เกี่ยวข้อง
                             กับตระกูลนั้น ย่อมต้องขวนขวายในการเข้าไปสู่ตระกูล มักติด
                             รสอาหาร ย่อมละทิ้งประโยชน์อันจะนำความสุขมาให้ นักปราชญ์

                             ได้กล่าวการกราบไหว้และการบูชาในตระกูลทั้งหลาย ว่าเป็นเปือกตม
                             และเป็นลูกศรที่ละเอียดถอนได้ยาก
บุรุษผู้เลวทรามย่อมละสักการะได้
                             ยากยิ่ง เราลงจากเสนาสนะแล้วก็เข้าไปบิณฑบาตยังนคร เราได้เข้าไป
                             หาบุรุษโรคเรื้อน ผู้กำลังบริโภคอาหารด้วยความอ่อนน้อม บุรุษโรคเรื้อน
                             นั้น ได้น้อมเข้าซึ่งคำข้าวด้วยมือโรคเรื้อน เมื่อเขาใส่คำข้าวลง นิ้วมือ
                             ของเขาก็ขาดตกลงในบาตรของเรานี้ เราอาศัยชายคาเรือน ฉันข้าวนั้น

                             อยู่ ในเวลาที่กำลังฉันและฉันเสร็จแล้ว เรามิได้มีความเกลียดชังเลย

                             ภิกษุใดไม่ดูหมิ่นปัจจัยทั้งสี่ คือ อาหารบิณฑบาตที่จะพึงลุกขึ้นยืนรับ ๑
                             บังสุกุลจีวร ๑ เสนาสนะคือโคนไม้ ๑ ยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า ๑ ภิกษุ
                             นั้นแล สามารถจะอยู่ในจาตุรทิศได้ในเวลาแก่ ภิกษุบางพวกเมื่อขึ้นเขา
                             ย่อมลำบาก แต่พระมหากัสสปะผู้เป็นทายาทของพระพุทธเจ้า เป็นผู้มีสติ
                             สัมปชัญญะ แม้ในเวลาแก่เป็นผู้แข็งแรงด้วยกำลังแห่งฤทธิ์ ย่อมขึ้นไปได้

                             ตามสบาย พระมหากัสสปะผู้หมดอุปาทาน ละความหวาดกลัวภัยได้แล้ว
                             กลับจากบิณฑบาตแล้ว ขึ้นสู่ภูเขา เพ่งฌานอยู่ พระมหากัสสปะผู้หมด
                             อุปาทานเมื่อสัตว์ทั้งหลายถูกไฟไหม้อยู่ เป็นผู้ดับไฟได้แล้ว กลับจาก
                             บิณฑบาตแล้ว ขึ้นสู่ภูเขา เพ่งฌานอยู่ พระมหากัสสปะผู้หมดอุปาทาน
                             ทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ กลับจากบิณฑบาตแล้ว ขึ้นสู่ภูเขา เพ่งฌาน
                             อยู่ ภูมิภาคอันประกอบด้วยระเบียบแห่งต้นกุ่มทั้งหลาย น่ารื่นรมย์ใจ

                             กึกก้องด้วยเสียงช้างร้อง น่ารื่นรมย์ ล้วนแล้วด้วยภูเขา ย่อมทำให้เรา
                             ยินดี ภูเขามีสีเขียวดุจเมฆงดงาม มีธารน้ำเย็นใสสะอาด ดารดาษไป
                             ด้วยหญ้ามีสี เหมือนแมลงทับทิมทอง ย่อมยังเราให้รื่นรมย์ ภูเขา
                             อันสูงตระหง่านแทบจดเมฆเขียวชะอุ่ม เปรียบปานดังปราสาท กึกก้อง
                             ด้วยเสียงช้างร้อง น่ารื่นรมย์นัก ย่อมยังเราให้ยินดี ภูเขาที่ฝนตกรด
                             แล้ว มีพื้นน่ารื่นรมย์ เป็นที่อาศัยของเหล่าฤาษี เซ็งแซ่ด้วยเสียงนกยูง

                             ย่อมยังเราให้รื่นรมย์ สถานที่เหล่านั้นเหมาะสำหรับเราผู้ยินดีในการเพ่ง
                             ฌาน มีใจเด็ดเดี่ยว มีสติ เหมาะสำหรับเราผู้ใคร่ประโยชน์ รักษาตน
                             ดีแล้ว ผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร เหมาะสำหรับเราผู้ปรารถนาความผาสุก
                             มีใจเด็ดเดี่ยว เหมาะสำหรับเราผู้ปรารถนา ประกอบความเพียร มีใจ
                             แน่วแน่ ศึกษาอยู่ ภูเขาที่มีสีดังดอกผักตบ ปกคลุมด้วยหมู่เมฆบน
                             ท้องฟ้า เกลื่อนกล่นด้วยหมู่นกต่างๆ ย่อมยังเราให้รื่นรมย์ ภูเขาอัน

                             ไม่เกลื่อนกล่นด้วยผู้คน มีแต่หมู่เนื้ออาศัย ดารดาษด้วยหมู่นกต่างๆ
                             ย่อมยังเราให้รื่นรมย์ ภูเขาที่มีน้ำใสสะอาด มีแผ่นหินเป็นแท่งทึบ
                             เกลื่อนกล่นด้วยค่างและมฤคชาติ ดารดาษไปด้วยสาหร่าย ย่อมยังเรา
                             ให้รื่นรมย์ เราผู้มีจิตตั้งมั่น พิจารณาเห็นธรรมโดยชอบ ย่อมไม่มี
                             ความยินดีด้วยดนตรีเครื่อง ๕ เช่นนั้น ภิกษุไม่พึงทำการงานให้มากนัก
                             พึงเว้นคนผู้มิใช่กัลยาณมิตรเสีย ไม่ควรขวนขวายในลาภผล ท่านผู้

                             ปฏิบัติเช่นนั้น ย่อมจะต้องขวนขวายและติดในรสอาหาร ย่อมละทิ้ง
                             ประโยชน์อันจะนำความสุขมาให้ ภิกษุไม่พึงทำการงานให้มากนัก
                             พึงเว้นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เสีย เมื่อภิกษุขวนขวายในการงานมาก
                             ก็จะต้องเยียวยาร่างกายลำบาก ผู้มีร่างกายลำบากนั้น ย่อมไม่ได้
                             ประสบความสงบใจ ภิกษุไม่รู้สึกตนด้วยเหตุสักว่าการท่องบ่น
                             พุทธวจนะ ย่อมท่องเที่ยวชูคอ สำคัญตนประเสริฐกว่าผู้อื่น ผู้ใด

                             บิณฑบาตไม่ประเสริฐ เป็นพาล แต่สำคัญตนว่าประเสริฐกว่าเขาเสมอเขา
                             นักปราชญ์ทั้งหลายย่อมไม่สรรเสริญผู้นั้น ซึ่งเป็นผู้มีใจกระด้างเลย ผู้ใด
                             ไม่หวั่นไหวเพราะมานะ ๓ อย่าง คือ ว่าเราเป็นผู้ประเสริฐกว่าเขา ๑
                             เสมอเขา ๑ เลวกว่าเขา ๑
นักปราชญ์ทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญผู้นั้นแหละ
                             ว่า เป็นผู้มีปัญญา มีวาจาจริง ตั้งมั่นดีแล้วในศีลทั้งหลาย และว่าประกอบ
                             ด้วยความสงบใจ ภิกษุใดไม่มีความเคารพในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย

                             ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้เหินห่างจากพระสัทธรรม เหมือนฟ้ากับดิน ฉะนั้น
                             ภิกษุเหล่าใดเข้าไปตั้งหิริและโอตตัปปะไว้ชอบทุกเมื่อ มีพรหมจรรย์อัน
                             งอกงาม ภิกษุเหล่านั้นมีภพใหม่สิ้นแล้ว ภิกษุผู้ยังมีใจฟุ้งซ่าน กลับกลอก
                             ถึงจะนุ่งห่มผ้าบังสุกุล ภิกษุนั้นย่อมไม่งดงามด้วยผ้าบังสุกุลนั้น เหมือน
                             กับวานรคลุมด้วยหนังราชสีห์ ฉะนั้น ส่วนภิกษุผู้มีใจไม่ฟุ้งซ่าน ไม่
                             กลับกลอก มีปัญญา เครื่องรักษาตน สำรวมอินทรีย์ ย่อมงดงามเพราะ

                             ผ้าบังสุกุล ดังราชสีห์ในถ้ำ ฉะนั้น เทพเจ้าผู้มีฤทธิ์ มีเกียรติยศเป็นอันมาก
                             ประมาณหมื่นและพรหมทั้งปวง ได้พากันมายืนประนมอัญชลี นอบน้อม
                             ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ผู้มีปัญญามาก ผู้มีฌานใหญ่ มีใจตั้งมั่น
                             เปล่งวาจาว่า ข้าแต่ท่านบุรุษอาชาไนย ขอนอบน้อมแด่ท่าน ข้าแต่
                             ท่านผู้เป็นอุดมบุรุษ ขอนอบน้อมแด่ท่าน ท่านย่อมเข้าฌานอยู่ เพราะ
                             อาศัยอารมณ์ใด ข้าพเจ้าทั้งหลาย ย่อมรู้ไม่ถึงอารมณ์เหล่านั้นของท่าน

                             น่าอัศจรรย์จริงหนอ วิสัยของท่านผู้รู้ทั้งหลาย ลึกซึ้งยิ่งนัก ข้าพเจ้า
                             ทั้งหลายผู้มาประชุมกันอยู่ ณ ที่นี้ นับว่าเป็นผู้เฉียบแหลม ดุจนายขมังธนู
                             ก็ยังรู้ไม่ถึง ความยิ้มแย้มได้ปรากฏมีแด่ท่านพระกัปปินเถระ เพราะ
                             ได้เห็นท่านพระสารีบุตร ผู้ควรแก่สักการะบูชา อันหมู่ทวยเทพบูชาอยู่
                             เช่นนั้น ในเวลานั้น ตลอดทั่วพุทธอาณาเขต ยกเว้นแต่สมเด็จพระ
                             มหามุนีองค์เดียวเท่านั้น เราเป็นผู้ประเสริฐสุดในทางธุดงคคุณ ไม่มี

                             ใครเทียบเท่าเลย เราเป็นผู้คุ้นเคยกับพระบรมศาสดา เราทำคำสอนของ
                             พระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว ปลงภาระอันหนักลงแล้ว ถอนตัณหาเครื่องนำ
                             ไปสู่ภพขึ้นได้แล้ว พระสมณโคดมผู้ทรงพระคุณหาปริมาณมิได้ มีพระทัย
                             น้อมไปในเนกขัมมะ ทรงสลัดภพทั้ง ๓ ออกได้แล้ว ย่อมไม่ทรง
                             ติดอยู่ด้วยจีวรบิณฑบาตและเสนาสนะ เปรียบเหมือนบัวไม่ติดอยู่ด้วยน้ำ

                             ฉะนั้น พระองค์ทรงเป็นจอมนักปราชญ์ มีสติปัฏฐานเป็นพระศอ
                             มีศรัทธาเป็นพระอรหัตถ์ มีปัญญาเป็นพระเศียร ทรงพระปรีชามาก
                             ทรงดับเสียแล้วซึ่งกิเลสแลกองทุกข์ตลอดกาลทุกเมื่อ.
                             ในจัตตาฬีสนิบาตนี้ มีพระมหากัสสปเถระองค์เดียวเท่านั้น ได้ภาษิต
                             คาถาไว้ ๔๐ คาถา.


155  สุขใจในธรรม / พุทธวัจนะ - ภาษิตธรรม / Re: ۞ ๚ เถระคาถา ๚ะ๛ ۞ เมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2555 17:40:25


                 

 อานันทเถรคาถา
   คาถาสุภาษิตของพระอานันทเถระ
                [๓๙๗]       บัณฑิต ไม่ควรทำตนให้เป็นมิตรสหายกับคนที่ชอบส่อเสียด มักโกรธ
                             ตระหนี่ และผู้ปรารถนาให้ผู้อื่นพินาศ เพราะการสมาคมกับคนชั่ว
                             เป็นความลามก แต่บัณฑิตควรทำตนให้เป็นมิตรสหายกับคนผู้มีศรัทธา
                             มีศีลน่ารัก มีปัญญา และเป็นคนได้สดับเล่าเรียนมามาก เพราะการ
                             สมาคมกับคนดี ย่อมมีแต่ความเจริญอย่างเดียว เชิญดูร่างกายอันมี
                             กระดูก ๓๐๐ ท่อน ซึ่งมีเอ็นใหญ่น้อยผูกขึ้นเป็นโครงตั้งไว้ อันบุญกรรม
                             ตบแต่งให้วิจิตร มีแผลทั่วทุกแห่ง กระสับกระส่าย
คนโง่เขลาพากัน

                             ดำริเป็นอันมาก ไม่มีความยั่งยืนตั้งมั่น พระอานนทเถระผู้โคตมโคตร
                             เป็นผู้ได้สดับมามาก มีถ้อยคำไพเราะ เป็นผู้อุปฐากพระพุทธเจ้า
                             ปลงภาระลงแล้ว บรรลุอรหัต สำเร็จการนอน พระอานนทเถระสิ้นอาสวะ
                             แล้ว ปราศจากกิเลสเครื่องเกาะเกี่ยวแล้ว ล่วงธรรมเป็นเครื่องข้อง
                             แล้ว ดับสนิท ถึงฝั่งแห่งชาติและชรา ทรงไว้แต่ร่างกายอันมีในที่สุด
                             ธรรมทั้งหลายของพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ตั้งอยู่แล้ว
                             ในบุคคลใด บุคคลนั้น คือ พระอานนทเถระผู้โคตมะ ชื่อว่าย่อมตั้งอยู่

                             ในมรรคเป็นทางไปสู่นิพพาน พระอานนทเถระได้เรียนธรรมจาก
                             พระพุทธเจ้ามา ๘๒,๐๐๐ ธรรมขันธ์ ได้เรียนมาจากสำนักภิกษุมีพระธรรม
                             เสนาบดีเป็นต้น ๒,๐๐๐ ธรรมขันธ์ จึงรวมเป็นที่คล่องปากขึ้นใจ
                             ๘๔,๐๐๐ ธรรมขันธ์ คนที่เป็นชายมีการศึกษาเล่าเรียนมาน้อย ย่อม
                             แก่เปล่า
เหมือนกับโคที่กำลังแต่เขาไม่ได้ใช้งาน ฉะนั้น เนื้อย่อม
                             เจริญแก่เขา ปัญญาไม่เจริญแก่เขา ผู้ใดเล่าเรียนมามาก ดูหมิ่นผู้ที่
                             ศึกษาเล่าเรียนมาน้อยด้วยการสดับ แต่เขาไม่ได้ปฏิบัติตามที่เล่าเรียนมา

                             ย่อมปรากฏแก่เรา เหมือนคนตาบอดถือดวงไฟไป ฉะนั้น บุคคลควร
                             เข้าไปนั่งใกล้ผู้ที่ศึกษามามาก แต่ไม่ควรทำสุตะที่ตนได้มาให้พินาศ
                             เพราะสุตะที่ตนได้มานั้น เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์
เพราะฉะนั้น
                             จึงควรเป็นผู้ทรงธรรม บุคคลผู้รู้อักษรทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลาย รู้อรรถ
                             แห่งภาษิต ฉลาดในนิรุติและบท ย่อมเล่าเรียนธรรมให้เป็นการเล่าเรียนดี
                             และพิจารณาเนื้อความ เป็นผู้กระทำความพอใจ ด้วยความอดทน
                             พยายามพิจารณา ตั้งความเพียรในเวลาพยายาม มีจิตตั้งมั่นด้วยดี

                             ในภายใน
บุคคลควรคบหาท่านผู้เป็นพหูสูต ทรงธรรม มีปัญญา เป็น
                             สาวกของพระพุทธเจ้า หวังการรู้แจ้ง ธรรมเช่นนั้นเถิด บุคคลผู้เป็น
                             พหูสูต ทรงธรรม เป็นผู้รักษาคลังพระธรรมแห่งพระพุทธเจ้า ผู้ทรง
                             แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ เป็นดวงตาของโลกทั่วไป ผู้ที่เป็นพหูสูตนั้น
                             เป็นผู้อันมหาชนควรบูชา ภิกษุมีธรรมเป็นที่ยินดี ยินดีแล้วในธรรม
                             ค้นคว้าธรรม ระลึกถึงธรรม ย่อมไม่เสื่อมไปจากสัทธรรมเมื่อกายและ
                             ชีวิตของตนเสื่อมไป
  ภิกษุผู้หนักในความตระหนี่กาย ติดอยู่ด้วยความ

                             สุขทางร่างกาย ไม่ขวานขวายบำเพ็ญเพียร ความผาสุกทางสมณะจักมี
                             แต่ที่ไหน ทิศทั้งหมดไม่ปรากฏ ธรรมทั้งหลายไม่แจ่มแจ้งแก่ข้าพเจ้า
                             ในเมื่อท่านธรรมเสนาบดีผู้เป็นกัลยาณมิตร นิพพานแล้ว โลกทั้งหมด
                             นี้ปรากฏเหมือนความมืดมน กายคตาสติย่อมนำมาซึ่งประโยชน์โดย
                             ส่วนเดียว ฉันใด กัลยาณมิตรเช่นนั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้มีสหาย
                             ล่วงลับไปแล้ว มีพระศาสดานิพพานไปแล้ว ฉันนั้น
มิตรเก่าพากัน
                             ล่วงลับไปแล้ว จิตของเราไม่สมาคมด้วยมิตรใหม่ วันนี้เราจะเพ่งฌาน
                             อยู่ผู้เดียว เหมือนกับนกที่อยู่ในรังในฤดูฝน ฉะนั้น.

                พระผู้มีพระภาคตรัสกะพระอานนท์ด้วยพระคาถา ๑ พระคาถา ความว่า
                             เธออย่าห้ามประชาชนเป็นอันมาก ที่พากันมาแต่ต่างประเทศ ในเมื่อ
                             ล่วงเวลาเทศนาเลย เพราะประชุมชนเหล่านั้นเป็นผู้มุ่งจะฟังธรรม
                             จงเข้ามาหาเราได้ เวลานี้เป็นเวลาที่จะเห็นเรา.

                พระอานนทเถระจึงกล่าวเป็นคาถาต่อไปว่า
                             พระศาสดาผู้มีพระจักษุ ทรงประทานโอกาสให้ประชุมชนที่พากันมาแต่
                             ต่างประเทศ ในเมื่อล่วงเวลาเทศนา ไม่ทรงห้ามเมื่อเรายังเป็นพระเสข-
                             บุคคล
อยู่ ๒๕ ปี กามสัญญาไม่เกิดขึ้นเลย เชิญดูความที่ธรรมเป็นธรรมดี
                             เมื่อเรายังเป็นพระเสขบุคคลอยู่ ๒๕ ปี โทษสัญญาไม่เกิดขึ้นเลย เชิญดู
                             ความที่ธรรมเป็นธรรมดี เราได้อุปฐากพระผู้มีพระภาคด้วยเมตตากายกรรม
                             เหมือนพระฉายาติดตามพระองค์อยู่ ๒๕ ปี เราอุปฐากพระผู้มีพระภาค
                             ด้วยเมตตาวจีกรรม เหมือนพระฉายาติดตามพระองค์อยู่ ๒๕ ปี เรา

                             อุปฐากพระผู้มีพระภาคด้วยเมตตา มโนกรรม เหมือนพระฉายาติดตาม
                             พระองค์อยู่ ๒๕ ปี เมื่อพระพุทธองค์เสด็จดำเนินไป เราก็ได้เดินตาม
                             ไปเบื้องพระปฤษฎางค์ของพระองค์ เมื่อพระองค์ทรงแสดงธรรมอยู่
                             ฌานเกิดขึ้นแก่เรา เราเป็นผู้มีกิจที่จะต้องทำ ยังเป็นพระเสขะ ยังไม่
                             บรรลุอรหัต
พระศาสดาพระองค์ใดเป็นผู้ทรงอนุเคราะห์เรา พระศาสดา
                             พระองค์นั้น ได้เสด็จปรินิพพานไปเสียก่อนแล้ว เมื่อพระสัมมา
                             สัมพุทธเจ้าผู้ถือความเป็นผู้ประเสริฐโดยอาการทั้งปวง เสด็จปรินิพพาน
                             แล้ว ครั้งนั้น ได้เกิดมีความหวาดเสียวและได้เกิดขนพองสยองเกล้า.

                พระสังคีติกาจารย์เมื่อจะสรรเสริญพระอานนทเถระ ได้รจนาคาถา ๓ คาถา ความว่า
                             พระอานนทเถระเป็นพหูสูต ทรงธรรม เป็นผู้รักษาคลังพระธรรมของ
                             พระพุทธเจ้า ผู้ทรงแสวงหาพระคุณอันยิ่งใหญ่ เป็นดวงตาของโลก
                             ทั่วไป ปรินิพพานไปเสียแล้ว พระอานนทเถระเป็นพหูสูต ทรงธรรม
                             เป็นผู้รักษาคลังพระธรรม ของพระพุทธเจ้าผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
                             เป็นดวงตาของชาวโลกทั่วไป เป็นผู้กำจัดความมืดมนที่เป็นเหตุทำให้
                             ดังคนตาบอดได้แล้ว พระอานนทเถระเป็นผู้มีคติ มีสติและฐิติ เป็นผู้
                             แสวงคุณ เป็นผู้ทรงจำพระสัทธรรมไว้ได้ เป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะ.


                พระอานนทเถระ ก่อนแต่นิพพานได้กล่าวคาถา ความว่า
                             เรามีความคุ้นเคยกับพระศาสดา เราทำคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเสร็จ
                             แล้ว ปลงภาระหนักลงแล้ว ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพได้แล้ว.
   
                พระเถระ ๓ รูปนี้ คือ พระปุสสเถระ ๑ พระสารีบุตรเถระ ๑ พระอานนทเถระ ๑
                ท่านนิพนธ์คาถาไว้ในติงสนิบาตนั้น รวม ๑๐๕ คาถา ฉะนั้นแล.



156  สุขใจในธรรม / พุทธวัจนะ - ภาษิตธรรม / Re: ۞ ๚ เถระคาถา ๚ะ๛ ۞ เมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2555 16:12:06


               

   สารีปุตตเถรคาถา
   คาถาสุภาษิตของพระสารีบุตรเถระ
                พระสารีบุตรเถระ ครั้นสำเร็จแห่งสาวกบารมีญาณ ดำรงอยู่ในตำแหน่งพระธรรมเสนาบดี
                อย่างนี้แล้ว เมื่อจะทำประโยชน์แก่หมู่สัตว์ วันหนึ่งเมื่อพยากรณ์อรหัตผลโดยมุขะ คือ
                ประกาศความประพฤติของตนแก่เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย
จึงได้กล่าวคาถาความว่า

                [๓๙๖]   ผู้ใดสมบูรณ์ด้วยศีล สงบระงับ มีสติ มีความดำริชอบ ไม่ประมาท
                             ยินดีแต่เฉพาะกรรมฐานภาวนาอันเป็นธรรมภายใน มีใจมั่นคงอย่างยิ่ง
                             อยู่ผู้เดียว ยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้ ปราชญ์ทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่าภิกษุ
                             ภิกษุเมื่อบริโภคอาหารจะเป็นของสดหรือของแห้งก็ตาม ไม่ควรติดใจจน
                             เกินไป ควรเป็นผู้มีท้องพร่อง มีอาหารพอประมาณ มีสติอยู่

                             การบริโภคอาหารยังอีก ๔-๕ คำจะอิ่ม ควรงดเสีย แล้วดื่มน้ำเป็นการ
                             สมควรเพื่ออยู่สบายของภิกษุผู้มีใจเด็ดเดี่ยว อนึ่งการนุ่งห่มจีวรอันเป็น
                             กัปปิยะ นับว่าเป็นประโยชน์ จัดว่าพอ เป็นการอยู่สบายของภิกษุผู้มีใจ
                             เด็ดเดี่ยว การนั่งขัดสมาธินับว่าพอ เป็นการอยู่สบายของภิกษุ ผู้มีใจเด็ด
                             เดี่ยว ภิกษุรูปใดพิจารณาเห็นสุข โดยความเป็นทุกข์ พิจารณาเห็น

                             ทุกข์โดยความเป็นลูกศรปักอยู่ที่ร่าง ความถือมั่นว่าเป็นตัวเป็นตนใน
                             อทุกขมสุขเวทนา ไม่ได้มีแก่ภิกษุนั้น จะพึงติดอยู่ในโลกอย่างใด
                             ด้วยกิเลสอะไร ภิกษุผู้มีความปรารถนาลามก เกียจคร้าน มีความเพียร
                             เลวทราม ได้สดับน้อย ไม่เอื้อเฟื้อ อย่าได้มาในสำนักของเราแม้ใน
                             กาลไหนๆ เลย จะมีประโยชน์อะไรด้วยการให้โอวาทบุคคลเช่นนั้นใน

                             หมู่สัตว์โลกนี้
อนึ่ง ขอให้ภิกษุผู้เป็นพหูสูต เป็นปราชญ์ตั้งมั่นอยู่ใน
                             ศีล ประกอบใจให้สงบระงับเป็นเนืองนิตย์ จงมาประดิษฐานอยู่บน
                             ศีรษะของเราเถิด ภิกษุใดประกอบด้วยธรรมเครื่องเนิ่นช้า ยินดีใน
                             ธรรมเครื่องเนิ่นช้า ภิกษุนั้นย่อมพลาดนิพพานอันเป็นธรรมเกษมจาก
                             โยคะอย่างยอดเยี่ยม ส่วนภิกษุใด ละธรรมเครื่องเนิ่นช้าได้แล้ว ยินดี

                             ในอริยมรรคอันเป็นทางไม่มีธรรมเครื่องเนิ่นช้า ภิกษุนั้น ย่อมบรรลุ
                             นิพพานอันเป็นธรรมเกษม จากโยคะอย่างยอดเยี่ย
ม พระอรหันต์ทั้ง
                             หลาย อยู่ในสถานที่ใด เป็นบ้านหรือป่าก็ตามที่ดอนหรือที่ลุ่มก็ตาม
                             สถานที่นั้นเป็นภูมิสถานที่น่ารื่นรมย์ คนผู้แสวงหากามย่อมไม่ยินดีใน
                             ป่าอันน่ารื่นรมย์เช่นใด ท่านผู้ปราศจากความกำหนัด จักยินดีในป่า

                             อันน่ารื่นรมย์เช่นนั้น เพราะท่านเหล่านั้นไม่เป็นผู้แสวงหากาม
บุคคลควร
                             เห็นท่านผู้มีปัญญาชี้โทษมีปกติกล่าวข่มขี่ เหมือนผู้บอกขุมทรัพย์ให้
                             ควรคบบัณฑิตเช่นนั้น เพราะว่าเมื่อคบกับบัณฑิตเช่นนั้น ย่อมมีแต่
                             ความดีไม่มีชั่วเลย ปราชญ์ก็ควรโอวาทสั่งสอน ควรห้ามผู้อื่นจากธรรม
                             ที่มิใช่ของสัตบุรุษ แต่บุคคลเห็นปานนั้น ย่อมเป็นที่รักใคร่ของสัตบุรุษ

                             เท่านั้น ไม่เป็นที่รักใคร่ของอสัตบุรุษ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสรู้แล้ว
                             มีพระจักษุ ทรงแสดงธรรมแก่ผู้อื่นอยู่ เมื่อพระองค์กำลังทรงแสดง
                             ธรรมอยู่ เราผู้มุ่งประโยชน์ตั้งใจฟัง การตั้งใจฟัง ฟังของเรานั้น
                             ไม่ไร้ประโยชน์ เราเป็นผู้หมดอาสวะ เป็นผู้หลุดพ้นพิเศษ เราไม่
                             ได้ตั้งความปรารถนาเพื่อปุพเพนิวาสญาณ ทิพจักขุญาณ เจโตปริยญาณ

                             อิทธิวิธี จุตูปปาตญาณ ทิพโสตญาณ อันเป็นธาตุบริสุทธิ์ มาแต่ปางก่อน
                             เลย แต่คุณธรรมของสาวกทั้งหมด
ได้มีขึ้นแก่เรา พร้อมกับการบรรลุ
                             มรรคผล เหมือนคุณธรรม คือ พระสัพพัญญุตญาณ ได้มีแก่พระพุทธ-
                             เจ้า ฉะนั้น มียักษ์ตนหนึ่งมากล่าวว่า มีภิกษุหัวโล้นรูปหนึ่งชื่ออุปติสสะ
                             เป็นพระเถระผู้อุดมด้วยปัญญา ห่มผ้าสังฆาฏินั่งเข้าฌานอยู่ที่โคนไม้

                             สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้กำลังเข้าสมาบัติอันไม่มีวิตกในขณะ
                             ถูกยักษ์ตีศีรษะ ก็ยังประกอบด้วยธรรมคือความนิ่งอย่างประเสริฐ ภูเขา
                             หินล้วนตั้งมั่นไม่หวั่นไหว ฉันใด ภิกษุย่อมไม่หวั่นไหวเหมือน
                             ภูเขาเพราะสิ้นโมหะ ก็ฉันนั้น
ความชั่วช้าเพียงเท่าปลายขนทราย ย่อม
                             ปรากฏเหมือนเท่าก้อนเมฆที่ลอยอยู่บนท้องฟ้า แก่ภิกษุผู้ไม่มีกิเลส

                             เครื่องยั่วยวน แสวงหาความสะอาดเป็นนิตย์ เราไม่ยินดีต่อความตาย
                             และชีวิต
เราเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะจักละทิ้งร่างกายนี้ไป ไม่ยินดีต่อ
                             ความตายและชีวิต รอคอยเวลาตายอยู่ เหมือนลูกจ้างรอให้หมดเวลา
                             ทำงาน ฉะนั้น ความตายนี้มีแน่นอนในสองคราว คือ ในเวลาแก่
                             หรือในเวลาหนุ่ม ที่จะไม่ตายเลยย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลาย

                             จงบำเพ็ญแต่สัมมาปฏิบัติเถิด  ขอจงอย่าได้ปฏิบัติผิดพินาศเสียเลย
                             ขณะอย่าได้ล่วงเลยท่านทั้งหลายไปเสีย เมืองที่ตั้งอยู่ชายแดน เขาคุ้ม
                             ครองป้องกันดีทั้งภายนอกและภายในฉันใด ท่านทั้งหลายก็จงคุ้มครอง
                             ตนฉันนั้นเถิด ขณะอย่าได้ล่วงเลยท่านทั้งหลายไปเสีย เพราะผู้มีขณะ
                             อันล่วงเลยไปเสียแล้ว
ต้องพากันไปเศร้าโศกยัดเยียดอยู่ในนรก
ภิกษุ

                             ผู้สงบระงับ งดเว้นโทษเครื่องเศร้าหมองใจได้อย่างเด็ดขาด มีปกติพูด
                             ด้วยปัญญา
ไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมกำจัดบาปธรรมได้เหมือนลมพัดใบไม้ล่วง
                             หล่นไป ฉะนั้น ภิกษุผู้สงบระงับ งดเว้นจากโทษเครื่องเศร้าหมอง
                             ใจได้อย่างเด็ดขาด มีปกติพูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน ได้ลอยบาปธรรม
                             เสียได้
เหมือนลมพัดใบไม้ร่วงหล่นไป ฉะนั้น
ภิกษุผู้สงบระงับละเว้น

                             กองกิเลสและกองทุกข์ ที่เป็นเหตุทำให้เกิดความคับแค้น มีใจผ่องใส
                             ไม่ขุ่นมัว มีศีลงาม เป็นนักปราชญ์ พึงทำที่สุดทุกข์ได้ บุคคลไม่ควร
                             คุ้นเคย ในบุคคลบางพวกจะเป็นคฤหัสถ์หรือบรรพชิตก็ตาม หรือเบื้องต้น
                             เขาจะเป็นคนดี ตอนปลายเป็นคนไม่ดีก็ตาม นิวรณ์ ๕ คือกามฉันทะ ๑
                             พยาบาท ๑ ถีนมิทธะ ๑ อุทธัจจะ ๑ วิจิกิจฉา ๑ เป็นธรรมเครื่อง

                             เศร้าหมองจิต
สมาธิของภิกษุผู้มีปกติชอบอยู่ด้วยความไม่ประมาท
                             ไม่หวั่นไหวด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ ด้วยมีผู้สักการะ ๑ ด้วยไม่มี
                             ผู้สักการะ ๑
นักปราชญ์เรียกบุคคลผู้เพ่งธรรมอยู่เป็นปกติ พากเพียร
                             เป็นเนืองนิตย์ พิจารณาเห็นด้วยปัญญาสุขุม สิ้นความยึดถือและความ
                             ยินดีว่า เป็นสัตบุรุษ มหาสมุทร ๑ แผ่นดิน ๑ ภูเขา ๑ และ

                             แม้
ลม ๑
ไม่ควรเปรียบเทียบความหลุดพ้นกิเลสอย่างประเสริฐของพระ
                             ศาสดาเลย พระเถระผู้ยังพระธรรมจักรอันพระศาสดาให้เป็นไปแล้ว
                             ให้เป็นไปตาม ผู้มีปัญญามาก มีจิตมั่นคง เป็นผู้เสมอด้วยแผ่นดินและ
                             ไฟย่อมไม่ยินดียินร้าย ภิกษุผู้บรรลุปัญญาบารมีธรรมแล้ว มีปัญญา
                             เครื่องตรัสรู้มาก เป็นนักปราชญ์ผู้ใหญ่ ไม่ใช่เป็นคนเขลา ทั้งไม่เหมือน

                             คนเขลา เป็นผู้ดับความทุกข์ร้อนได้ทุกเมื่อ ท่องเที่ยวไปอยู่ เรามีความคุ้น
                             เคยกับพระศาสดามาก เราทำคำสอนของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว ปลง
                             ภาระหนักลงได้แล้ว ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพแล้ว ท่านทั้งหลาย
                             จงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด นี้เป็นอนุศาสนีย์ของเรา
เราพ้น
                             จากกิเลสทั้งปวงแล้ว จักปรินิพพาน.


157  สุขใจในธรรม / พุทธวัจนะ - ภาษิตธรรม / Re: ۞ ๚ เถระคาถา ๚ะ๛ ۞ เมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2555 15:25:34


                 

   ปุสสเถรคาถา
   คาถาสุภาษิตของพระปุสสเถระ
                [๓๙๕]       ฤาษีมีชื่อตามโคตรว่า ปัณฑรสะ ได้เห็นภิกษุเป็นอันมาก ที่น่าเลื่อมใส
                             มีตนอันอบรมแล้ว สำรวมด้วยดี จึงได้ถามพระปุสสเถระว่า ในอนาคต
                             ภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จักมีความพอใจอย่างไร มีความประสงค์อย่างไร
                             กระผมถามแล้วขอจงบอกความข้อนั้นแก่กระผมเถิด?

                พระปุสสเถระจึงกล่าวตอบด้วยคาถาเหล่านี้ ความว่า
                             ดูกรปัณฑรสฤาษี ขอเชิญฟังคำของอาตมา จงจำคำของอาตมาให้ดี
                             อาตมาจะบอกซึ่งข้อความที่ท่านถามถึงอนาคต คือในกาลข้างหน้า ภิกษุ
                             เป็นอันมากจักเป็นคนมักโกรธ มักผูกโกรธไว้ ลบหลู่คุณท่าน หัวดื้อ
                             โอ้อวด ริษยา มีวาทะต่างๆ กัน จักเป็นผู้มีมานะในธรรมที่ยังไม่รู้ทั่วถึง
                             คิดว่าตื้นในธรรมที่ลึกซึ้ง
เป็นคนเบา ไม่เคารพธรรม ไม่มีความเคารพ

                             กันและกัน
ในกาลข้างหน้า โทษเป็นอันมากจักเกิดขึ้นในหมู่สัตวโลก
                             ก็เพราะภิกษุทั้งหลายผู้ไร้ปัญญา จักทำธรรมที่พระศาสดาทรงแสดงแล้วนี้
                             ให้เศร้าหมอง
ทั้งพวกภิกษุที่มีคุณอันเลว โวหารจัด แกล้วกล้า มี
                             กำลังมาก
ปากกล้า ไม่ได้ศึกษาเล่าเรียน ก็จักมีขึ้นในสังฆมณฑล

                             ภิกษุทั้งหลายในสังฆมณฑล แม้ที่มีคุณความดี มีโวหารโดยสมควรแก่

                             เนื้อความ มีความละอายบาป ไม่ต้องการอะไรๆ ก็จักมีกำลังน้อย

                             ภิกษุทั้งหลายในอนาคตที่ทรามปัญญา ก็จะพากันยินดีเงินทอง ไร่นา
                             ที่ดิน แพะ แกะ และคนใช้หญิงชาย จักเป็นคนโง่มุ่งแต่จะยกโทษ
                             ผู้อื่น ไม่ดำรงมั่นอยู่ในศีล ถือตัว โหดร้าย เที่ยวยินดีแก่การทะเลาะ
                             วิวาท จักมีใจฟุ้งซ่าน นุ่งห่มแต่จีวรที่ย้อมสีเขียว แดง เป็นคนลวงโลก

                             กระด้าง เป็นผู้แส่หา
แต่ลาภผล เที่ยวชูเขา คือมานะ ทำตนดั่งพระ
                             อริยเจ้าท่องเที่ยวไปอยู่ เป็นผู้แต่งผมด้วยน้ำมัน ทำให้มีเส้นละเอียด
                             เหลาะแหละ ให้ยาหยอดและทาตา มีร่างกายคลุมด้วยจีวรที่ย้อมด้วยสี
                             งา สัญจรไปตามตรอกน้อยใหญ่ จักพากันเกลียดชังผ้าอันย้อมด้วยน้ำ
                             ฝาดเป็นของไม่น่าเกลียด พระอริยเจ้าทั้งหลายผู้หลุดพ้นแล้วยินดียิ่งนัก

                             เป็นธงชัยของพระอรหันต์
พอใจแต่ในผ้าขาวๆ จักเป็นผู้มุ่งแต่ลาภผล
                             เป็นคนเกียจคร้าน มีความเพียรเลวทราม เห็นการอยู่ป่าอันสงัดเป็น
                             ความลำบาก จักใคร่อยู่ในเสนาสนะที่ใกล้บ้าน ภิกษุเหล่าใดยินดีมิจฉา-
                             ชีพ จักได้ลาภเสมอๆ จักพากันประพฤติตามภิกษุเหล่านั้น (เที่ยวคบหา
                             ราชสกุลเป็นต้นเพื่อให้เกิดลาภแก่ตน) ไม่สำรวมอินทรีย์ เที่ยวไป

                             อนึ่ง ในอนาคตกาล ภิกษุทั้งหลายจะไม่บูชาพวกภิกษุที่มีลาภน้อย จัก
                             ไม่สมคบภิกษุที่เป็นนักปราชญ์มีศีลเป็นที่รัก จักทรงผ้าสีแดง ที่ชนชาว
                             มิลักขะชอบย้อมใช้ พากันติเตียนผ้าอันเป็นธงชัยของตนเสีย บางพวก
                             ก็นุ่งห่มผ้าสีขาวอันเป็นธงของพวกเดียรถีย์ อนึ่ง ในอนาคตกาล ภิกษุ
                             เหล่านั้นจักไม่เคารพในผ้ากาสาวะ จักไม่พิจารณาในอุบายอันแยบคาย

                             บริโภคผ้ากาสาวะ เมื่อทุกข์ครอบงำ ถูกลูกศรแทงเข้าแล้ว ก็ไม่
                             พิจารณาโดยแยบคาย แสดงอาการยุ่งยากในใจออกมา มีแต่เสียงโอด
                             ครวญอย่างใหญ่หลวง
เปรียบเหมือนช้างฉัททันต์ ได้เห็นผ้ากาสาวะ
                             อันเป็นธงชัยของพระอรหันต์ ที่นายโสณุตระพราน นุ่งห่มไปในคราว
                             นั้น ก็ไม่กล้าทำร้าย ได้กล่าวคาถาอันประกอบด้วยประโยชน์มากมาย

                             ว่า ผู้ใดยังมีกิเลสดุจน้ำฝาด ปราศจากทมะและสัจจะจักนุ่งผ้ากาสาวะ
                             ผู้นั้นย่อมไม่ควรนุ่งห่มผ้ากาสาวะ ส่วนผู้ใดคายกิเลสดุจน้ำฝาดออกแล้ว
                             ตั้งมั่นอยู่ในศีลอย่างมั่นคง ประกอบด้วยทมะและสัจจะ ผู้นั้นจึงสมควรจะ
                             นุ่งห่มผ้ากาสาวะโดยแท้ ผู้ใดมีศีลวิบัติ มีปัญญาทราม ไม่สำรวมอินทรีย์
                             กระทำตามความใคร่อย่างเดียว มีจิตฟุ้งซ่าน ไม่ขวนขวายในทางที่ควร

                             ผู้นั้นไม่สมควรจะนุ่งห่มผ้ากาสาวะ
ส่วนผู้ใดสมบูรณ์ด้วยศีล ปราศจาก
                             ราคะ มีใจตั้งมั่น มีความดำริในใจผ่องใส ผู้นั้นสมควรนุ่งห่มผ้ากาสาวะ
                             โดยแท้ ผู้ใดไม่มีศีล ผู้นั้นเป็นคนพาล มีจิตใจฟุ้งซ่าน มีมานะฟูขึ้นเหมือน
                             ไม้อ้อ ย่อมสมควรจะนุ่งห่มแต่ผ้าขาวเท่านั้น จักควรนุ่งผ้าห่มผ้ากาสาวะ
                             อย่างไร อนึ่ง ภิกษุและภิกษุณีทั้งหลายในอนาคต จักเป็นผู้มีจิตใจชั่ว
                             ร้าย ไม่เอื้อเฟื้อ จักข่มขี่ภิกษุทั้งหลายผู้คงที่ มีเมตตาจิต แม้ภิกษุ

                             ทั้งหลายที่เป็นคนโง่เขลา มีปัญญาทราม ไม่สำรวมอินทรีย์ กระทำ
                             ตามความใคร่ ถึงพระเถระให้ศึกษาการใช้สอยผ้าจีวร ก็จักไม่เชื่อฟัง
                             พวกภิกษุที่โง่เขลาเหล่านั้น อันพระเถระทั้งหลายให้การศึกษาแล้วเหมือน
                             อย่างนั้น จักไม่เคารพกันและกัน ไม่เอื้อเฟื้อในพระอุปัชฌายาจารย์
                             จักเป็นเหมือนม้าพิการไม่เอื้อเฟื้อนายสารถี ฉะนั้น ในกาลภายหลังแต่
                             ตติยสังคายนา ภิกษุและภิกษุณีทั้งหลาย ในอนาคต จักปฏิบัติอย่างนี้.


                ครั้นพระปุสสเถระแสดงมหาภัยอันจะบังเกิดขึ้น ในกาลภายหลังอย่างนี้แล้ว เมื่อจะ
                ให้โอวาทภิกษุที่ประชุมกัน ณ ที่นั้นอีก จึงได้กล่าวคาถา ๓ คาถา ความว่า

                             ภัยอย่างใหญ่หลวงที่จะทำอันตรายต่อข้อปฏิบัติ ย่อมมาในอนาคตอย่างนี้
                             ก่อน ขอท่านทั้งหลาย จงเป็นผู้ว่าง่าย จงพูดแต่ถ้อยคำที่สละสลวย
                             มีความเคารพกันและกัน มีจิตเมตตากรุณาต่อกัน จงสำรวมในศีล
                             ปรารภความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวบากบั่นอย่างมั่นเป็นนิตย์ ขอท่าน
                             ทั้งหลายจงเห็นความประมาท โดยความเป็นภัย และจงเห็นความไม่
                             ประมาทโดยความเป็นของปลอดภัย แล้วจงอบรมอัฏฐังคิกมรรค เมื่อ
                             ทำได้ดังนี้แล้ว ย่อมจะ
บรรลุนิพพานอันเป็นทางไม่เกิดไม่ตาย.


158  สุขใจในธรรม / ห้องประชาสัมพันธ์ ทั้งทางโลก และทางธรรม / Re: อิสระจากความคิด :พระอาจารย์นาวี ปิยทัสสี วัดถ้ำดอยน เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2555 16:35:33


อิสระจากความคิด(ช่วงเช้า) 31/8/55 (Saradhamlanna)
อิสระจากความคิด(ช่วงเช้า) 31/8/55 (Saradhamlanna)
เผยแพร่เมื่อ 26 ต.ค. 2012 โดย ชมรมสารธรรมล้านนา เชียงใหม่
พระอาจารย์นาวี ปิยทัสสี ภิกขุ แห่งวัดถ้ำดอยโตน อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่
ได้บรรยายและนำปฏิบัติธรรม
ในหัวข้อ"อิสระจากความคิด" ในโครงการ "ธรรมทัศน์เพื่อชีวิต"
ณ หอธรรมทัศน์ ชั้น 5 ตีกสงฆ์อาพาธ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
เมื่อวันศุกร์ ที่ 31 สิงหาคม 2555
โดย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โปรดติดตาม ช่วงที่2 ช่วงบ่ายได้ตามลิ้งค์


อิสระจากความคิด(ช่วงบ่าย) 31/8/55 (Saradhamlanna)
อิสระจากความคิด(ช่วงบ่าย) 31/8/55 (Saradhamlanna)

159  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / เครื่องราง ของขลัง พุทธคุณ / Re: วันลอยกระทง ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เมื่อ: 23 พฤศจิกายน 2555 17:10:41








http://img116.imageshack.us/img116/6356/60054917lm1.jpg

เชิญชวนทำกระทงใบตอง...ด้วยตัวเองแบบง่ายๆ
คลิ๊กค่ะ >>>
http://www.kroobannok.com/blog/21425


กระทงที่อาจารย์-นศ.อาชีวศึกษา ลำปาง ประดิษฐ์ถวาย “ในหลวง”

ภาพกระทงที่ อาจารย์-นศ.อาชีวศึกษา ลำปาง
นำมาถวายในการเดินทางมาลงนามถวายพระพร “ในหลวง”  
และถูกนำมาเป็นพระประทีปลอยแม่น้ำเจ้าพระยา
เมื่อวันลอยกระทงปีที่ผ่านมา

กระทงใบนี้ใช้เวลาประดิษฐ์ 2 สัปดาห์
ประดิษฐ์ด้วยวัสดุธรรมชาติจากใบตองตานี
และ ใบตองอ่อน จัดวางไล่ระดับสี
เพื่อให้การประดิษฐ์งานใบตอง
มีความสวยงาม และมีความนุ่มนวล
ตกแต่งด้วยดอกกล้วยไม้ย้อมสีชมพู

อ่านต่อค่ะ>>> - http://www.trueplookpanya.com/true/guidance_detail.php?cms_id=1616

งานประดิษฐ์ด้วยใบตอง >>> - http://www.arunsawat.com/board/index.php?topic=11798.0



ที่มาภาพ : ศักรินทร์  หงส์รัตนาวรกิจ. งานใบตอง.หน้า ๖๕.

แนะนำการพับใบตอง

การพับใบตองเป็นกลีบแบบต่าง ๆ นี้  ทุกคนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองและเข้าใจได้ง่าย
สามารถทำตามขั้นตอนได้เลยค่ะ

คลิ๊กค่ะ >>> http://www.sookjai.com/index.php?topic=1423.0

160  สุขใจในธรรม / ไขปัญหาโลก ธรรม และความรัก / Love & Time และ ความรักในทางพุทธศาสนา เมื่อ: 23 พฤศจิกายน 2555 13:09:22




Love & Time และ ความรักในทางพุทธศาสนา

อาจารย์วศิน อินทสระ เขียนไว้ในหนังสือ ชีวิตกับความรัก ไว้ว่า
..... ....พุทธศาสนาได้แสดงหลักเอาไว้มากมาย เพื่อให้ชาวโลกได้สมหวังในการดำเนินความรักให้ตลอดรอดฝั่ง ไม่ให้นาวาชีวิตต้องอัปปางลงกลางครัน เช่น การบำเพ็ญกรณียกิจที่เป็นหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ทั้งสองฝ่าย สามีและภรรยา ข้อสังเกตที่เห็นได้ประการหนึ่งก็คือ ควรจะทำความเข้าใจคู่สมรสของตนให้ถ่องแท้ และควรจะพยายามเข้าใจเขามากกว่าที่จะพยายามตั้งความหวังให้เขาเข้าใจเรา ควรทำหน้าที่ของเราให้สมบูรณ์ ดีกว่าที่จะพยายามให้เขาทำหน้าที่ของเขาให้สมบูรณ์ โดยที่ตัวเรายังบกพร่องอยู่นานาประการ ตัวเราก็ยังบกพร่องอยู่มากมาย แต่ว่าต้องการที่จะให้อีกคนหนึ่งหรืออีกฝ่ายหนึ่งทำหน้าที่ให้สมบูรณ์ หรือว่าถ้าเป็นเพื่อนกัน เราก็ควรจะตั้งความหวังว่า ทำอย่างไรเราจะเป็นเพื่อนที่ดีของใครสักคนหนึ่ง ไม่ได้คิดอยู่แต่ว่าทำอย่างไรเราจะได้เพื่อนที่ดีสักคนหนึ่ง   

แทนที่จะคิดว่าทำอย่างไรคนนั้น คนนี้ จะมาเป็นเพื่อนที่ดีของเรา เรากลับคิดเสียใหม่ว่า ทำอย่างไรเราจะเป็นเพื่อนที่ดีของใครสักคนหนึ่ง เมื่อคิดอย่างนี้เราควบคุมได้ แต่ถ้าคิดอีกอย่างหนึ่งว่า ทำอย่างไรคนคนนี้จะเป็นมิตรที่ดีของเรา อันนี้เราควบคุมไม่ได้ มันอยู่ที่ตัวเขา หรือถ้าเป็นสามีก็คิดว่า ทำอย่างไรเราจะเป็นสามีที่ดีของภรรยา ทำหน้าที่ของสามีที่สมบูรณ์ ไม่ให้เขาเดือดร้อนในเรื่องความเป็นอยู่ มีความรับผิดชอบ ภรรยาก็เหมือนกัน ให้คิดแต่ว่าทำอย่างไรเราจะเป็นภรรยาที่ดีของเขา อย่างนี้ต่างคนต่างคิด ก็จะเกื้อกูลกัน คิดปรับปรุงตัวเอง ปัญหามันจะค่อย ๆ น้อยลง   

อาการแปรแห่งรัก
คือความรักแบบเสน่หา ก็อาจจะแปรเป็นมิตรภาพได้ ในกรณีที่ความรักนั้นถูกขัดขวาง ไม่ได้ดำเนินไปตามทางที่มุ่งหมายไว้แต่แรก ความรักแบบเสน่หาจะกลับเป็นมิตรภาพได้ แต่จะเป็นอย่างนั้นได้ก็เฉพาะคนที่มีใจสูงเท่านั้น คนที่มีใจสูงไม่พอไม่อาจทำได้ ส่วนมากเมื่อไม่สมหวังในความรักเสน่หา ก็จะแตกหักไปเลย คือไม่เกี่ยวข้องกันอีก อาจจะด้วยความละอายต่อกัน หรือว่าอาจเป็นความช้ำใจ จึงไม่อยากจะพบเห็นกันอีก มีกรณีหนึ่งคือ มิตรภาพที่แปรเป็นความรักก็มี นี่ตรงกันข้ามนะครับ มิตรภาพที่แปรเป็นความรักอันนี้พบได้บ่อย และพบได้เสมอ ชายหญิงที่คบกันอย่างเพื่อน หรือนับถือกันอย่างเพื่อนหรือพี่น้อง ในระยะเริ่มต้น แต่พอนานเข้า ความเห็นอกเห็นใจ ความนิยมชมชอบ หรือความเสน่หาเพราะความใกล้ชิดอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม ก็จะทำให้ทั้งสองรักกันอย่างคู่รัก และก็ลงท้ายด้วยการแต่งงาน ความรักที่มีจุดมุ่งหมาย แสวงหาความรักจากผัสสะ จะลงเอยด้วยการแต่งงาน   

เมื่อแต่งงานนานไป ความรักอันตื่นเต้นทางประสาทสัมผัสก็จะลดลง เจือจางลง ถ้ามีคุณธรรมด้วยกันทั้งสองฝ่าย ก็จะกลับไปเข้มข้นทางมิตรภาพ จะเห็นอกเห็นใจกัน เป็นเพื่อนร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน ข้อนี้ทางศาสนาพระพุทธเจ้าก็ทรงรับรองว่า คู่ครองนั้นเป็นเพื่อนอย่างยิ่ง จะเป็นภรรยาหรือสามีก็ตามเถิด “ภริยา ปรมา สขา.....แปลว่า ภริยานั้นเป็นเพื่อนอย่างยิ่ง” และอันนี้ก็น่าจะหมายถึง ภริยาหรือสามีที่ดีเท่านั้น   

ภรรยาหรือสามีที่ไม่ดีก็จะเป็นศัตรูที่ร้ายกาจเหมือนกัน ดูไปแล้วก็คล้าย ๆ กับมีงูพิษอยู่ในบ้าน น่าระแวง น่าเกรงภัย มีตัวอย่างให้ดูมากมายอยู่แล้วเกี่ยวกับเรื่องนี้ ที่มีงูพิษอยู่ในบ้าน แทนที่จะเป็นเพื่อนอย่างยิ่งหรือเป็นกัลยาณมิตรที่ยอดเยี่ยม กลับกลายเป็นข้าศึกหรือศัตรูที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก ต้องทนทุกข์ทรมาน อกไหม้ไส้ขมไปตลอดชาติ การเข้าไปเกี่ยวข้องกับความรักก็เป็นเรื่องเสี่ยงมากในลักษณะนี้ แต่ถ้ามันจะต้องทนอยู่อย่างทุกข์ทรมาน จะต้องอยู่กับงูพิษ ก็เลิกไปจะอยู่ทำไม เราไม่ได้เกิดมาเพื่อที่จะเป็นทุกข์ ไม่ได้เกิดมาเพื่อจะทนทุกข์ทรมานกับเรื่องอย่างนี้ มันมีเรื่องอะไรที่ดี ๆ ที่ควรจะทำกว่านี้อีกมากมาย   

อาการแปรแห่งความรักที่มาจากความรักแบบเสน่หา ความรักแบบหญิงชายมาเป็นมิตรภาพหรือไมตรี อันนี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจ ไมตรีเป็นสิ่งที่น่าสนใจ คนที่เคยรักกันแบบหนุ่มสาว ถ้าเผื่อว่าการดำเนินความรักเป็นไปไม่ได้อีกต่อไป หรือเหตุใดเหตุหนึ่ง มันก็ควรจะแปรให้มันเป็นมิตรภาพ เพราะว่าความรักในแบบมิตรภาพนั้นเป็นความรักที่ดี ก็พยายามทำให้ได้ เป็นเพื่อนร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกัน ถึงอย่างไรก็รักสุข เกลียดความทุกข์ด้วยกัน แต่ว่านิสัย ใจคอ อุปนิสัยต่าง ๆ มันเป็นไปไม่ได้ เข้ากันไม่ได้ อะไรกันไม่ได้ บางคนต่างคนต่างก็ดีทั้งสองคน เขาก็ดีอย่างเขา เราก็ดีอย่างเรา แต่พอรวมกันแล้วไม่ดี มันก็แยกกัน พอแยกกันต่างคนต่างก็ดี รวมกันแล้วมันผิดพลาดไม่ตรงกัน จะไปดีกับคนอื่น เหมาะกับคนอื่น แต่ว่าไม่เหมาะกับเรา รวมความว่าจับคู่ผิด เพราะฉะนั้นก็เลิกไป ให้เหลือไมตรีจิตเอาไว้ ไม่ถึงกับต้องเป็นศัตรูกัน...


พระศรีญาณโสภณ (สุวิทย์ ปิยวิชฺโช) ได้เขียนบทความในหนังสืออภัยทาน รักบริสุทธิ์ ว่า
"สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนให้คนเข้าใจว่า ... ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์ ... มิได้หมายความว่าพระองค์ทรงปฏิเสธความรัก มองโลกในแง่ร้าย แต่เพราะพระองค์ทรงมองเห็นว่า โลกเป็นอนิจจัง มีการพลัดพราก หล่นหาย ไปจากกันได้ เมื่อเรารักสิ่งใด หากสิ่งนั้นหลุดมือเราไป เราก็เป็นทุกข์ เพียงสร้อยคอถูกโขมยไป เราก็เสียใจไปหลายเดือน นับประสาอะไรกับการค้องสูญเสียสิ่งอื่นที่มากกว่า

พระองค์จึงทรงสอนให้มีสติในรัก แม้จะเป็นรักที่บริสุทธิ์ เช่น รักของพ่อ แม่ ลูก ก็ตาม ทุกอย่างล้วนแฝงไว้ด้วยการพลัดพรากทั้งสิ้น ที่ใดมีรักที่นั่นมีทุกข์ จึงเป็นอมตวาจาที่ไม่มีทางคัดค้านได้

ขอให้เราทั้งหลายมาทำความเข้าใจในคำว่า "รัก" จะเป็นรักที่บริสุทธิ์ผุดผ่องของพ่อแม่ลูกก็ตาม หรือเป็นรักที่ร้อนแรง หรือร้อนรนก็ตาม เราต้องตามให้ทัน อารมณ์รักมักเป็นอารมณ์สุดโต่ง เป็นอารมณ์ที่อยู่เหนือความเป็นจริง ขอให้พิจารณาให้ดีว่า ทุกครั้งที่เรารักใคร หรือรักอะไร อารมณ์เราจะเบิกบาน ชื่นบาน ตัวเบา วาบหวิวผิดปรกติ เป็นอารมณ์ดีใจที่ได้มา เหมือนได้ครอบครองอะไรไว้ เหมือนมีทิพยสมบัติอยู่กับเรา แต่ไม่รู้ตัวเหมือนกันว่าได้อะไรมา ครอบครองอะไรไว้ ต่อเมื่อสิ่งนั้นหลุดลอยไปจึงฟื้นสติขึ้นมาได้ เสียใจ โศกเศร้า พิไรรำพัน อาลัยอาวรณ์ อารมณ์รักสุดโต่งอย่างนี้ท่านจึงบอกว่า รักมากทุกข์มาก ทุกข์เพราะตามอารมณ์ของตัวเองไม่ทัน... ... ..."


อ่านแล้วนึกถึง “ความรัก” ในอีกแง่มุมหนึ่งขอนำมาฝากครับ คัดย่อ เรียบเรียง จากบางส่วนของ
ความรักในทางพุทธศาสนา พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) จากธรรมกถาในวันมาฆบูชา ปี ๒๕๔๔ เรื่อง ความรักจากวาเลนไทน์สู่ความเป็นไทย

ความรัก...ในความหมายที่แท้คืออยากเห็นเขาเป็นสุข เหมือนอย่างพ่อแม่รักลูก ก็คืออยากเห็นลูกเป็นสุข แต่ยังมีความรักอีกแบบหนึ่ง คือความรักที่อยากได้เขามาทำให้ตัวเองเป็นสุข อย่างนี้ไม่ใช่รักเขาจริงหรอก เป็นความรักเทียม คือราคะนั่นเอง   

ความรักมี ๒ ประเภท คือ
๑. ความรักที่อยากได้เขามาทำให้ตัวเราเป็นสุข ความรักแบบนี้ ต้องได้ ต้องเอา ซึ่งอาจจะทำให้คนอื่นเป็นทุกข์ หรือต้องมีการแย่งชิงกัน ความรักประเภทนี้คนทั่วไปรู้เข้าใจกันว่าเป็น “ความรักระหว่างเพศ” หรือความรักทางเพศ มีจุดเด่นอยู่ที่ความชื่นชม ติดใจ หรือความปรารถนาในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสกายของผู้ที่ตนรัก อันนี้เป็นความรักสามัญของปุถุชน ซึ่งมีลักษณะสำคัญคือความต้องการหาความสุขให้แก่ตนเอง หมายความว่า ที่รักเขานั้นก็เพื่อเอาเขามาเป็นเครื่องบำเรอความสุขแก่ตน ต้องการเอาความสุขเพื่อตัวเอง ที่แท้แล้วคือการคิดจะเอาจากผู้อื่น จึงมีข้อเสียที่สำคัญติดมาด้วย คือถ้าหากว่าเขาผู้นั้นไม่อยู่ในภาวะที่จะสนองความปรารถนาให้เรามีความสุขได้ เราก็จะเบื่อหน่าย แล้วก็อาจจะรังเกียจ จึงเห็นได้ว่าไม่ยั่งยืน 

นอกจากนั้นเนื่องจากมุ่งจะเอาความสุขให้แก่ตัว ความรักแบบนี้จึงมีลักษณะจำเพาะเจาะจง โดยมีบุคคลที่ชอบใจถูกใจเป็นเป้า เป็นความยึดติดผูกพันเฉพาะตัว เมื่อลักษณะสองอย่างนี้มาผนวกกันเข้า ก็ทำให้เกิดปัญหาตามมาคือความหึงหวง ความรักแบบนี้จึงมาคู่กับความหึง มีการยึดถือเป็นของตัว ต้องการครอบครองเป็นเจ้าของแต่ผู้เดียว ไม่ต้องการให้ใครอื่นมายุ่งเกี่ยว หรือแม้แต่ได้รับความเอาใจใส่ ความหวงแหนผูกพันเฉพาะตัวและต้องการให้เขาหรือเธอให้ความสุขแก่ตัวผู้เดียวนี้ แสดงออกทั้งทางกายและทางใจ ทางกายก็ต้องการให้เป็นของตนผู้เดียว ไม่ให้ใครอื่นมายุ่งเกี่ยวอย่างที่เรียกว่า หวงผัสสะ ส่วนทางด้านจิตใจ ก็ต้องการความเอาใจใส่ ความมีใจภักดีให้ฉันคนเดียวเป็นผู้ครองหัวใจเธอ หรือให้ใจเธออยู่กับฉันอย่าปันใจให้คนอื่น 

ความรักแบบนี้มักจะมาด้วยกันกับความหวงแหน เห็นแก่ตัว หรือความหึงหวง จึงอาจทำให้เกิดการแย่งชิง ทะเลาะเบาะแว้ง แม้จะไม่ได้แย่งชิงทะเลาะเบาะแว้งกับใครก็มักจะเกิดความมัวเมาหมกมุ่น จนกระทั่งบางทีก็ถึงกับละทิ้งกิจหน้าที่ หรือความดีงามที่ควรจะทำ หรือไม่เช่นนั้นก็จะเป็นไปในอีกลักษณะหนึ่ง คือ ทำให้ยิ่งโลภ แล้วพยายามแสวงหาอะไรต่าง ๆ มุ่งแต่จะกอบโกยเอามาเพื่อตัวเอง และเพื่อคนที่ตนรักเท่านั้น โดยไม่เห็นแก่ผู้อื่นเลย จึงอาจทำให้เกิดการเบียดเบียนกันได้มาก 

ที่ว่ามานี้คือโทษประการต่าง ๆ ซึ่งในที่สุดแล้วจุดจบของมันก็คือความไม่ยั่งยืน เพราะว่าแท้จริงแล้วมันเป็นเรื่องของการหาความสุขให้แก่ตนเอง คนทั่วไปที่มีชีวิตอยู่กับความชอบใจ ไม่ชอบใจ ยังไม่ได้ขัดเกลาจิตใจ จะมีความรักประเภทนี้ก่อน แต่เมื่อความเป็นมนุษย์พัฒนาขึ้น ก็จะมีความรักที่แท้จริงในข้อต่อไปมากขึ้นคือ 

๒. ความรักที่อยากเห็นเขามีความสุข พออยากเห็นเขาเป็นสุข ก็อยากทำให้เขาเป็นสุข พอทำให้เขาเป็นสุขได้ ตัวเองก็เป็นสุขด้วย เหมือนพ่อแม่อยากเห็นลูกมีความสุข พอทำให้ลูกเป็นสุขได้ ตัวเองก็เป็นสุขด้วย จึงเป็นความรักที่พร้อมจะให้และสุขด้วยกัน ความรักที่อยากให้เขามีความสุข หรืออยากเห็นเขามีความสุข อย่างที่เรียกว่าเป็นความปรารถนาดี เรารักใครก็อยากให้คนนั้นมีความสุข อยากทำให้เขามีความสุข และอยากทำอะไร ๆ เพื่อให้เขามีความสุข 

                       

ลองถามตัวเองก่อนว่า เราต้องการความสุขเพื่อตัวเรา หรือเราอยากให้เขามีความสุข ถ้าเป็นความรักที่แท้ก็ต้องอยากให้เขามีความสุข การที่จะทำให้คนอื่นมีความสุขนั้น การกระทำที่สำคัญก็คือการให้ เป็นการทำให้เกิดความสุขจากการให้ ถ้าเรารักเขาโดยอยากให้เขามีความสุขแล้ว มันก็มีความยั่งยืนมั่นคง เมื่อเขาได้ความทุกข์ความเดือดร้อน แม้ว่าเขาจะไม่สามารถสนองความต้องการของเราได้ เราก็ยังรักเขา และเราจะเกิดความสงสาร ตอนแรกเรามีความรัก ความปรารถนาดี อยากให้เขามีความสุข พอเขาเกิดความทุกข์ มีความเดือดร้อนขึ้นมา ความรักของเราก็กลายเป็นความสงสาร อยากจะช่วยเหลือเขาให้พ้นจากความทุกข์ เราจะไม่เบื่อหน่ายรังเกียจ 

ความรักแบบที่หนึ่งนั้นทางพระท่านเรียกว่า “ราคะ” หรือ “เสน่หา” ส่วนความรักแบบที่สองทางพระท่านเรียกว่า “เมตตา” รวมทั้ง “ไมตรี” ทีนี้ ถ้าหากว่าคนที่เรารักนั้น เขาเกิดเปลี่ยนเป็นมีความทุกข์ ลำบาก เดือดร้อน เมตตานั้นก็เปลี่ยนไปเป็น “กรุณา” คือความสงสารคิดหาทางช่วยเหลือปลดเปลื้องทุกข์ จึงมี เมตตา – กรุณา เป็นคู่กัน 

นี่คือลักษณะของความรักสองแบบ รักแบบอยากให้เขามีความสุข กับ รักแบบจะหาความสุขจากเขา หรือเอาเขามาทำให้เรามีความสุข เรียกเป็นคำศัพท์ว่า รักแบบเมตตา กับ รักแบบราคะ/เสน่หา ความรักที่พึงประสงค์ คือความรักประเภทที่ ๒ ซึ่งเป็นความรักแท้ ได้แก่ ความรักที่อยากให้เขาเป็นสุข เวลานี้เรามีวันแห่งความรัก แต่ไม่รู้ว่าเป็นรักประเภทไหน รักจะได้เอาเพื่อตนเอง หรือ รักอยากให้เขาเป็นสุข ก็ไปพิจารณาให้ดี .........   

พระพุทธศาสนายอมรับธรรมชาติของมนุษย์ปุถุชนเป็นอันดับที่หนึ่งก่อน แต่ไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้น คือ มีการพิจารณาต่อไปว่า ในกรณีที่ธรรมชาติของปุถุชนนั้น มีข้อบกพร่องหรือมีโทษ ก็จะสอนถึงการปรับปรุงแก้ไข หรือทำให้ดียิ่งขึ้น เรียกว่า การศึกษา หรือการพัฒนาชีวิต อันนี้ก็ไปสอดคล้องกับธรรมชาติของมนุษย์อีกประการหนึ่ง ที่ว่ามนุษย์นั้นเป็นสัตว์ที่ฝึกได้ หรือพัฒนาได้ หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่าต้องพัฒนา และศักยภาพสูงสุดที่จะพัฒนาได้จนเป็นผู้ที่ประเสริฐอย่างยิ่ง เราก็เอาหลักการสองอย่างนี้มาใช้ โดยวางวิธีการว่าทำอย่างไรจะให้เกิดผลดี กรณีที่มีความรักแบบที่ว่าตามธรรมชาติของปุถุชนที่จะมีครอบครัว ก็กำหนดว่าทำอย่างไรจะให้เป็นไปในลักษณะที่ไม่เกิดโทษแก่ผู้อื่น แก่สังคม แต่ให้ดำเนินไปในทางที่ดีงาม ที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ชีวิตและแก่สังคมนั้น อย่างน้อยก็แก่ทั้งสองคนนั้นแหละ ให้เขาอยู่ด้วยกันด้วยดีมีสุข อันนี้เป็นขั้นที่หนึ่ง 

สำหรับขั้นนี้ก็มีคำแนะนำให้ว่าควรจะพัฒนาจิตใจอย่างไร พร้อมทั้งหลักการในการดำเนินชีวิตและในการปฏิบัติต่อกัน เพื่อให้มีผลดีทั้งต่อระหว่างสองคน และในแง่ของแต่ละคน โดยคำนึงถึงจิตใจของแต่ละคน โดยเฉพาะความสุขของแต่ละฝ่าย ตลอดจนประโยชน์ที่จะขยายออกไปสู่สังคมวงกว้างด้วย รวมทั้งถ้าเขามีบุตรก็ให้เป็นประโยชน์แก่บุตรหลานของเขาต่อไปด้วย 

ที่เหนือกว่านั้น ทำอย่างไรจะพัฒนาขึ้นไปให้สามารถมีความสุขที่สูงขึ้นไปอีก ให้มีความรู้สึกที่ประณีตดีงาม ชนิดที่เป็นคุณธรรมเข้ามาเสริมคุณค่าของความรักแบบแรกนี้ ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นความรักแบบที่สอง และเมื่อความรักแบบที่สองนี้เจริญงอกงามมากขึ้น ก็จะช่วยให้ความรักแบบที่หนึ่งประณีตงดงาม จนกระทั่งแม้เมื่อไม่สามารถอาศัยความรักแบบที่หนึ่งต่อไปได้ ก็ยังมีความรักประเภทที่สองหล่อเลี้ยงชีวิตร่วมกันอยู่ตลอดไป 

เป็นอันว่า สำหรับความรักประเภทที่หนึ่งนี้ ท่านก็ยอมรับแต่จะต้องให้อยู่ในกรอบ หรือในขอบเขตที่ดีงาม แล้วก็ใช้ให้เป็นประโยชน์ แต่ก็ว่ายังมีส่วนที่เป็นโทษ จึงต้องปรับปรุงพัฒนาต่อไป ในทางพุทธศาสนา ท่านพิจารณาทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งในแง่ข้อดีหรือคุณ และข้อเสียหรือโทษ คือข้อบกพร่อง แล้วก็บอกทางออกหรือทางแก้ไขให้ด้วย อันนี้เป็นหลักในการพิจารณาทุกอย่าง เพื่อให้เราปฏิบัติต่อทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องด้วยสติและปัญญาอย่างรอบคอบ ที่จะแก้ไขปัญหาได้และเข้าถึงประโยชน์สุขที่แท้จริง   



ขอบพระคุณที่มา :http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=27&t=26980
: http://www.tairomdham.net/index.php/topic,8138.msg32043/topicseen.html#msg32043

หน้า:  1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 368
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.886 วินาที กับ 22 คำสั่ง