[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 พฤษภาคม 2567 15:29:09 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก เวบบอร์ด ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

  แสดงกระทู้
หน้า:  1 ... 179 180 [181] 182 183 ... 1136
3601  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [การเมือง] - ไขให้กระจ่าง "องคมนตรี บิ๊กตู่" ได้รับค่าตอบแทนเท่าไหร่ น้อยกว่าตอนเป็นนายกฯ เมื่อ: 05 ธันวาคม 2566 04:29:58
ไขให้กระจ่าง "องคมนตรี บิ๊กตู่" ได้รับค่าตอบแทนเท่าไหร่ น้อยกว่าตอนเป็นนายกฯ จริงไหม?
         


ไขให้กระจ่าง "องคมนตรี บิ๊กตู่" ได้รับค่าตอบแทนเท่าไหร่ น้อยกว่าตอนเป็นนายกฯ จริงไหม?" width="100" height="100  “บิ๊กตู่” องคมนตรี ได้รับค่าตอบแทนเท่าไหร่

         

https://www.sanook.com/news/9124270/
         
3602  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - หวยลาว 4 ธันวาคม 2566 เลื่อน ตรวจหวยลาววันนี้ ออกอะไร เมื่อ: 05 ธันวาคม 2566 03:59:14
หวยลาว 4 ธันวาคม 2566 เลื่อน ตรวจหวยลาววันนี้ ออกอะไร
         


หวยลาว 4 ธันวาคม 2566 เลื่อน ตรวจหวยลาววันนี้ ออกอะไร" width="100" height="100  ผลหวยลาว หวยลาว งวดวันที่ 4 ธันวาคม 2566 (4/12/66) ผลหวยลาว 6 ตัววันนี้ ออกอะไร
         

https://www.sanook.com/news/9124794/
         
3603  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - ฝ่ายต่อต้านเปิดเกมรุกรอบทิศ นับเวลาถอยหลังกองทัพพม่า? เมื่อ: 05 ธันวาคม 2566 03:36:14
ฝ่ายต่อต้านเปิดเกมรุกรอบทิศ นับเวลาถอยหลังกองทัพพม่า?
 


<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2023-12-04 13:24</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพปก: กิตติยา อรอินทร์ </p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ร่วมพูดคุยวิเคราะห์การเมืองเมียนมาไปพร้อมกับ รศ.ดร.ดุลยภาค ปรีชารัชช อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ และรองผู้อำนวยการสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อกองกำลังชาติพันธุ์บุกค่ายกองทัพพม่ารอบทิศ โดยเริ่มจากปฏิบัติการ 1027 ของกองกำลังโกก้าง MNDAA กองกำลังปะหล่อง TNLA และกองกำลังอาระกัน AA ในการบุกยึดเลาก์กาย ก่อนกระจายการโจมตีไปยังรัฐกะเหรี่ยง รัฐกะเรนนี และรัฐยะไข่ </p>
<p>อะไรคือจุดมุ่งหมายของการบุกครั้งนี้ จะเป็นจุดจบของกองทัพพม่า และมินอ่องหล่าย หรือไม่ และนโยบายของรัฐบาลไทยควรจะเป็นอย่างไรต่อไป ในช่วงที่อิทธิพลบริเวณชายแดนของกองทัพพม่ากำลังตกต่ำลง ร่วมรับชมได้ในบันทึกไลฟ์สดนี้</p>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="" frameborder="0" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/3Gz4RRt7myI?si=qFTPuTgSBMvBL4cE" title="YouTube video player" width="560"></iframe></p><p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/12/107099
 
3604  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - ก่อนครบ 20 ปีเหตุปะทุที่ปาตานี อะไรทำให้คนดูเหินห่างกันในพื้นที่ชายแดนใต้ เมื่อ: 05 ธันวาคม 2566 01:52:34
ก่อนครบ 20 ปีเหตุปะทุที่ปาตานี อะไรทำให้คนดูเหินห่างกันในพื้นที่ชายแดนใต้
 


<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2023-12-04 14:16</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>พิชญ์สินี ชัยทวีธรรม : รายงาน</p>
<p>พิชญ์สินี ชัยทวีธรรม และ someone : ภาพ</p>
<p>รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งในซีรีย์ 'ศาสนาและสิทธิมนุษยชน' เป็นหนึ่งในซีรีส์ของโครงการวารศาสตร์ที่สร้างสะพานหรือ Journalism that Builds Bridges </p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><div class="summary-box">
<ul>
<li>ชวนอ่านมุมของนักเคลื่อนไหวชาวพุทธเรื่องสันติภาพในจังหวัดยะลาที่สะท้อนภาพอดีตซึ่งแตกต่างกับปัจจุบัน ย้ำ 'รัฐ' คือคนที่ทำให้เราเหินห่างด้วยการเลือกปฏิบัติต่อคนแต่ละศาสนา พร้อมเสนอ 'สิทธิ เสรีภาพ เท่าเทียมกัน' คือ กุญแจสำคัญสำหรับไขปัญหา</li>
<li>และเปิดมุมปาตานีในประวัติศาสตร์บอกเล่าของเขา ตอกย้ำเพราะปีนั้นมันเกิดตากใบ กรือเซะ มันจึงเป็นวันนี้ </li>
</ul>
</div>
<p>สามจังหวัดชายแดนใต้ จ.ปัตตานี จ.ยะละ จ.นราธิวาส และ 4 อำเภอสงขลา อ.จะนะ อ.เทพา อ.สะบ้าย้อย และ อ.นาทวี หลังเหตุการณ์กรือเซะ - ตากใบ ปี 2547 พื้นที่ดังกว่าวถูกจัดให้เป็นพื้นที่สีแดง หรือพื้นที่ประกาศกฎอัยการศึก ตั้งแต่ปี 2548 ในรัฐบาลของพล.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร  </p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53372225302_7b81283fe0_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">วันที่ 11 พฤศจิกายน วันรำลึกถึงเหตุการณ์สูญเสียเอกราชปาตานี การแต่งกายวัฒนธรรมมลายู เพื่อแสดงละครเหตุการณ์การสูญเสียเอกราชปาตานี  </span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">อดีตที่แตกต่างกับปัจจุบัน</span></h2>
<h3>“ในอดีตพุทธ มุสลิมในพื้นที่ไม่ได้แยกจากกัน เราก็โตมากับการวิ่งเล่นกับพวกเขา รากครอบครัวบางคนก็เป็นพุทธบ้าง บางรุ่นมุสลิมบ้างแล้วแต่รุ่น ความเชื่อร่วมเช่น ตูปะ กลับมาหาครอบครัว ทำขนมรากินกัน” รักชาติ สุวรรณ์ นักเคลื่อนไหวชาวพุทธเรื่องสันติภาพในจังหวัดยะลา กล่าว</h3>

<p>รักชาติเป็นชาวพุทธในพื้นที่ได้เล่าว่าในอดีต พื้นที่ตรงนี้ไม่ได้มีปัญหาเรื่องความแตกต่างทางศาสนา และยังมีวัฒนธรรมอาหารร่วมกัน เขาอธิบายว่าในอดีตพื้นที่นอกจากจะไม่มีความขัดแย้ง ประชาชนยังใช้ชีวิตร่วมกัน เติบโตมาด้วยกัน ไม่ได้มีช่องว่างทางศาสนาเหมือนในปัจจุบัน</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53373589145_fd171995f8_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพสตรีทอาร์ตจ.ยะลา รูปตูปะ อาหารท้องถิ่นที่เป็นวัฒนธรรมร่วมของพื้นที่จ.ยะลา </span></p>
<h3>“เราเคลื่อนไหวเรื่องความเท่าเทียม ลดความเหลื่อมล้ำ เพื่อให้วิถีชีวิตเรากลับมาเหมือนเดิม ในอดีตเรานั่งคุยกัน ปั่นจักรยานไปด้วยกันเหมือนเดิม” รักชาติกล่าว</h3>

<p>รักชาติเล่าว่า ตั้งแต่สมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร เขาเองก็ออกมาเคลื่อนไหวเรื่องสันติภาพ เช่น ร่วมกันออกแบบชุมชนร่วมกับคนมุสลิม เป็นกิจกรรมที่ทำเพื่อรักษาสันติภาพ รักชาติเล่าว่าเขายังคงจำชีวิตในวัยเด็กก่อนที่เกิดความขัดแย้งและเหตุการณ์ความรุนแรงได้ดีว่าศาสนาทุกศาสนาในพื้นที่นี้ไม่เคยมีปัญหากัน </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">รัฐ คือคนที่ทำให้เราเหินห่างด้วยการเลือกปฏิบัติต่อคนแต่ละศาสนา</span></h2>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53373589115_859b68bb84_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">รักชาติ สุวรรณ์ นักเคลื่อนไหวชาวพุทธเรื่องสันติภาพในจังหวัดยะลา</span></p>
<p>รักชาติอธิบายถึงความขัดแย้งทางศาสนาว่า สาเหตุที่คนในพื้นที่ห่างเหินกันไม่ใช่เพราะศาสนา แต่เพราะรัฐเลือกปฏิบัติระหว่างพุทธและมุสลิม จึงทำให้เกิดการเปรียบเทียบและทำให้ประชาชนเกลียดชังกันเอง</p>
<h3>“บริบทของพื้นที่เรานั้นมีทุกศาสนา เราสูญเสียกันทุกศาสนา คนพุทธก็เช่นกันที่สูญเสีย การที่รัฐเลือกปฏิบัติกับประชาชนเลยก่อให้เกิดความไม่พอใจระหว่างประชาชนต่างศาสนา ผ่านการไปดูงาน แล้วทำไมไม่พาคนพุทธไปด้วย เราก็สูญเสียเหมือนกัน” </h3>

<p>รักชาติเล่าว่าช่วงเริ่มต้นของการปะทะระหว่างทหารและกองกำลังนั้นยังไม่มีคนออกมาเคลื่อนไหวเรื่องสันติภาพมากนัก เพราะยังมีความกลัวต่อเหตุการณ์ปะทะกัน เช่น เหตุการณ์กราดยิงร้านน้ำชาที่ปัตตานี ทำให้ไม่มีคนพุทธกล้าออกมาเรียกร้อง </p>
<h3>“แต่ความรุนแรงมันเริ่มต้นที่รัฐ ทุ่มเทงาน งบประมาณต่างๆ ให้แก่มุสลิม พยายามเอาใจด้วยการไปดูงานต่างๆ พาไปซาอุดิอาระเบีย คนพุทธก็เกิดคำถามว่าทำไมรัฐไม่ดูแลให้เท่าเทียมกัน”</h3>

<p>รักชาติอธิบายว่าการพาคนมุสลิมไปดูงาน ไปแสวงบุญ แต่ไม่มีการดูแคนพุทธในพื้นที่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติต่อคนในพื้นที่ ทำให้เกิดภาพการเปรียบเทียบระหว่างสองศาสนา เลยเกิดการตั้งคำถามและความไม่วางใจระหว่างประชาชนต่างศาสนาภายในพื้นที่เดียวกัน</p>
<p>รักชาติเล่าว่ากระบวนการพูดคุยสันติภาพในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 2556 เกิดขึ้นและหลังจากการพูดคุยก็มีวงอัปเดทผลเจรจาที่มหาวิทยาลัยราชภัฏ จ.ยะลา </p>
<p>“เราออกมาเคลื่อนไหวเพื่อที่เราอยากกลับไปใช้ชีวิตแบบเดิม หลังจากออกมาเคลื่อนไหวก็เริ่มมีคนพุทธออกมาในประเด็นที่แตกต่างกันไป เช่น ไม่เอาฮาลาล พุทธต้องเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งจริงๆ มันไม่จำเป็น เราต้องเรียกร้องสิทธิให้คนพุทธเพื่อความเท่าเทียมทางสิทธิมนุษยชน ไม่ใช่การทำให้คนพุทธเหนือหรือเหินห่างจากคนในพื้นที่ต่างหาก”</p>
<h3>“รัฐจึงเป็นตัวแบ่งแยกคน คนพุทธสูญเสีย คนมุสลิมก็สูญเสีย คุณต้องไปดูไทม์ไลน์ว่าเกิดเหตุกับใคร ซึ่งมักเป็นเจ้าหน้าที่ที่ถืออาวุธ”</h3>

<p>รักชาติเล่าทุกวันนี้ค่ายทหารปักหลักถาวร และเขาเองก็ไม่อยากเห็นทหารถืออาวุธเดินอยู่ในพื้นที่ เพราะมันทำให้รู้สึกถึงความรุนแรง ทำให้พื้นที่เกิดภาพตั้งคำถามว่าทหารมาเพื่อปกป้องคนกลุ่มพุทธ และมองคนมุสลิมเป็นผู้ร้าย ประชาชนเลยระแวงกันเอง จนห่างเหินกัน </p>
<h3>“ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ปะทะกัน และรัฐเลือกปฏิบัติกับคนต่างศาสนา ทำให้คนพุทธไม่นับตัวเองว่าเป็นคนมลายูอีกเลย” รักชาติกล่าว</h3>

<p>สาเหตุที่รัฐไทยยังคงใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่ของตนเองนั้น รักชาติมองว่า “เพราะรัฐไทยมองจากเหตุตากใบกรือเซะว่าเป็นปัญหา เลยต้องไปแก้ที่ศาสนาอิลาม”</p>
<p>รักชาติอธิบายว่า รัฐไทยแก้ปัญหาที่คนมุสลิมด้วยเงินและโอกาสเพื่อซื้อใจคนมุสลิม แต่ไม่ได้มองว่าหน้าที่ของรัฐไทยคือการดูแลประชาชนทุกคน </p>
<p>“เช่น โควต้าการศึกษา ผมสมัย 2516 เพื่อนๆ มุสลิมจบ มส.3 เขาไม่ได้แข็งแรงทางภาษาไทย เขาเลยเลือกทำงานเกษตรต่อที่บ้านเขา รัฐเลยต้องส่งเสริมภาษา เลยต้องให้ทุกคนเข้าถึงการศึกษา โดยการให้โควต้าการเรียนมหาวิทยาลัย แต่พอเวลาผ่านมา พี่น้องเราภาษาไทยแข็งแรง เข้าถึงความรู้ได้ แต่คนพุทธก็ยังคงไม่ได้รับโควต้าแบบคนมุสลิม ทุกวันนี้อยากให้เปลี่ยนเป็นทุกศาสนาสามารถเข้าสอบโควต้ามหาวิทยาลัยได้แบบเดียวันได้”</p>
<p>รักชาติอธิบายถึงการเรียกร้องเรื่องความเท่าเทียม ลดความเหลื่อมล้ำ ผ่านเรื่องการเข้าถึงการศึกษาในพื้นที่ซึ่งในอดีตไม่ใช่ทุกคนที่เข้าถึงการศึกษาแกนกลางได้ แต่ทุกวันนี้แตกต่างออกไป ซึ่งโควต้าการเรียนมหาวิทยาลัยยังจำกัดสิทธิใหเฉพาะคนมุสลิมในพื้นที่ รักชาติมองว่านี่เป็นอีกหนึ่งความเหลื่อมล้ำ </p>
<p>“เช่น รัฐให้คนมุสลิมไปแสวงบุญที่ซาอุดิอาระเบีย คนพุทธก็ควรได้แสวงบุญที่อินเดียเหมือนกัน ไม่ใช่เรื่องค่าใช้จ่ายนะ แต่เป็นเรื่องโอกาส แค่ว่ารัฐไทยไม่ได้เข้าใจว่าสำหรับมุสลิมการไปแสวงบุญคือ คนที่เขาพร้อมไปแสวงบุญ แต่กับพุทธ ศาสนาเราไม่ได้บังคับ มันอยู่ที่สายตารัฐมองมุสลิมยังไงถึงได้ต้องพยายามปฏิบัติกับเขาให้แตกต่างกับคนพุทธในพื้นที่ และรัฐจะไม่สนใจคนพุทธก็ไม่ได้ เพราะคนในพื้นที่ต้องได้รับสิทธิเท่าเทียม ไม่เหลื่อมล้ำ เพราะเป็นหน้าที่ของรัฐในการดูแลประชาชนทุกคน นั่นคือความเท่าเทียม”</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53373589185_7cf04bff75_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพรักชาติกับเพื่อนมุสลิมของเขา</span></p>
<p>รักชาติยกตัวอย่างถึงความเท่าเทียมทางศาสนาในพื้นที่ว่า </p>
<p>“เราอยากเรียกร้องวันหยุดสารทเดือน 10 กลับมาทำตูป๊ะ กลับมาหาครอบครัว ทำขนมรากินกัน เพราะเป็นประเพณีที่คนใต้กลับบ้าน แต่ไม่ได้จำเป็นต้องเป็นวันหยุดชดเชยหากมันชนวันเสาร์ อาทิตย์ เพราะรายอมุสลิมก็ไม่ได้หยุดเช่นกัน แต่ทำให้ทุกศาสนามีพื้นที่เท่าเทียมกัน นอกจากนั้นยังมีศาสนาอื่นในพื้นที่ คริสต์ ฮินดู รัฐต้องดูแลทุกศาสนาต่างหาก”</p>
<p>และรักชาติมองว่าการมีกฎหมายพิเศษในพื้นที่เป็นเรื่องที่ไม่สมควรเกิดขึ้น“เช่น เราต้องเรียกร้องให้พื้นที่เรายกเลิกกฎหมายพิเศษ คนพุทธอาจไม่สบายใจเพราะเขาคิดว่ารัฐคุ้มครองเขา พอบอกยกเลิกอย่างไร เช่น อ.แม่ลาน และบางพื้นที่ในที่จ.นราธิวาส มีหลายพื้นที่ยกเลิกกฎหมายพิเศษไป เขาก็อยู่กันได้ปกติ”</p>
<p>รักชาติอธิบายว่าประชาชนอยู่ด้วยกันโดยไม่ต้องอาศัยกฎอัยการศึกก็ได้ เพราะเป็นสิ่งที่ทำให้ทหารและงบประมาณถูกเทลงมาในพื้นที่ และเป็นการแก้ปัญหาไม่ถูกจุด เพราะพื้นที่นี้มีปัญหาเรื่องความยากจน ความเหลื่อมล้ำ ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐในการดูแลประชาชนให้เข้าถึงสวัสดิการต่างๆ โดยเท่าเทียมกัน</p>
<h3>“ทุกวันนี้คนพุทธที่เขาไม่เห็นด้วยกับเราก็มี เช่นการชูธงปาเลสไตน์ ก็มีคนพุทธบางส่วนบอกว่า “พวกเดียวกันก็ย้ายออกไปเลย” ทั้งๆ ที่ในอดีตเราอยู่ด้วยกันได้ ”</h3>

<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53373588980_469d20c628_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพสตรีทอาร์ตจ.ยะลาเล่าถึงการละเล่นในอดีต เด็กด้านซ้ายเป็นมุสลิมเล่นกับเด็กด้านขวาไว้ผมแกละตามวัฒนธรรมเดิมของสยาม</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">สิทธิ เสรีภาพ เท่าเทียมกัน กุญแจสำคัญสำหรับไขปัญหา</span></h2>
<p>ในความเห็นของรักชาตินั้นมองว่า รัฐโดยเฉพาะ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร หรือ กอ.รมน. ว่าเป็นรัฐซ้อนรัฐ </p>
<p>“โดยเฉพาะการที่อดีตกอ.รมน.ออกมาบอกว่า ไม่ใช่รัฐซ้อนรัฐเป็นสิ่งที่ขัดแย้งมาก เพราะการทำกิจกรรมต่างๆ การรวมตัว การใช้ชีวิตของปาตานี ถูกควบคุมผ่านการนำของทหาร ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ปาตานีว่าจะทำได้หรือไม่ได้ ถูกตัดสินจาก กอ.รมน.ไม่ใช่ประชาชน เป็นรัฐซ้อนรัฐ”</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53373453129_cc5b22ea79_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพสนามแข่งนกกรงหัวจุก จ.ยะลา</span></p>
<p>“ที่ยะลาไม่ได้เน้นที่วัฒนธรรมของพุทธ กอ.รมน. ศอ.บต. (ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้) ) ก็อาจมีการส่งเสริมบ้าง ส่วนมากจะเป็นงาน นกเขาชวาเสียง อาเซียน ที่เทศบาลนครยะลา จะเป็นคนมุสลิมเข้าร่วมซะเยอะ มีคนพุทธเข้าร่วมแข่งบ้าง มีชมรมนกบินอิสระ ของยะลา มาประกวดนกสววยงามกัน ส่วนมากก็เป็นคนมุสลิม พุทธก็มี จะเป็นงานลักษณะที่ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนาที่เราออกมาอยู่ร่วมกัน ออกมาสนุกด้วยกันได้”</p>
<p>รักชาติเล่าถึงการรวมกลุ่มทำกิจกรรมว่ามักเป็นงานที่ไม่เกี่ยวข้องทางศาสนาถึงจะออกมาทำกิจกรรมด้วยกัน ซึ่งในอดีตรักชาติ เติบโตมากับปาตานี ได้เล่าว่าในอดีตก็เหมือนคนพื้นที่อื่น มีงานอะไรก็ช่วยกัน สนุกด้วยกัน ไม่ได้มีความห่างเหินทางศาสนาอย่างทุกวันนี้</p>
<p>“คนที่ออกมาบอกว่าพวกเราอยู่ร่วมกันไม่ได้ เราไม่เชื่อแบบนั้น เพราะทุกวันนี้เหตุการณ์เกิดเหตุความรุนแรงเกิดขึ้นกับกับคู่ต่อสู้ทางตรง คือคนติดอาวุธด้วยกัน ทุกวันนี้เด็กๆ ในพื้นที่อยากเรียนจบมีงานทำที่บ้านเรา แต่มันไม่มีงาน เช่น รือเสาะ เป็นเด็กผู้หญิงพุทธ จบนิติศาสตร์ ถามว่าเขาจะทำงานที่บ้านหรือไม่ เขาตอบว่าถ้าที่บ้านมีงานทำก็ทำ รากปัญหาอาจมาจากเหตุการณ์ความไม่สงบนะ เพราะมันไม่เกิดการลงทุนที่บ้านเรา แต่ราคาที่ดินที่นี่แพงมาก เป็นอะไรที่ย้อนแย้งมากกับรายได้คนในพื้นที่”</p>
<p>รักชาติอธิบายอีกหนึ่งปัญหาความยากจนคือ การไม่เกิดการลงทุนในพื้นที่ เพราะปาตานีถูก กอ.รมน.เป็นตัวตัดสินและควบคุมพื้นที่ และมีกฎอัยการศึกด้วย ทำให้กลายเป็นพื้นที่ที่พร้อมสู้รบกัน จนก่อให้เกิดปัญหาความยากจนเเละอัตราการจ้างงานในพื้นที่น้อย เกิดช่องว่างความเหลื่อมล้ำและยากจนในขณะที่ราคาทีดินในราคายะลาสูงมาก ขัดแย้งกับรายได้ประชาชนในพื้นที่ </p>
<h3>“การที่รัฐจะแก้ปัญหา ต้องมองทุกบริบทของพลเรือนในพื้นที่ เอาใจใส่ ไม่ใช่การเลือกปฏิบัติ”</h3>

<p>รักชาติกล่าวว่า การแก้ปัญหาต้องแก้ให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิ เสรีภาพ เท่าเทียมกัน รัฐไทยต้องมองหน้าที่ของตนเองว่ามีหน้าที่ดูแลประชาชน ไม่มองประชาชนเป็นศัตรูหรือไม่มองประชาชนเป็นปัญหา</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">โรงเรียนศาสนา ตาดีกา</span></h2>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53373453094_f85758f8a6_o.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพทหารไทยมาแทรกการสอนในโรงเรียนตาดีกาช่วงเวลาที่นักเรียนกำลังเรียนวิชาศาสนา ด้วยการศาลเกี่ยวกับธงชาติไทย ถ่ายโดย someone </span></p>
<h3>“เจ้าหน้าทหารเข้ามาสอนเรื่องเกี่ยวกับภาษาไทย สัญลักษณ์ไทย ความเป็นไทย มันส่งผลต่อเด็ก” เจ๊ะฆูคอลี ครูโรงเรียนตาดีกาในจังหวัดยะลาเล่าถึงเจ้าหน้าทหารที่เข้ามาสอนในคาบเรียนตาดีกา</h3>

<p>“การที่เจ้าหน้าที่ทหารมาสอนภาษาไทยเป็นเรื่องไม่จำเป็น เพราะจันทร์ถึงศุกร์เด็กๆ เรียนที่โรงเรียนเป็นภาษาไทย”</p>
<p>เจ๊ะฆูคอลีเล่าว่าประสบการณ์ของเขาที่เจอในชั้นเรียนตาดีกาคือ การที่เจ้าที่ทหารเข้ามาสอนเรื่องภาษาไทย สัญลักษณ์เกี่ยวประเทศไทยสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง ส่วนมากเป็นเวลาครึ่งวันเช้า เเละยังมีการห้ามครูสอนประวัติศาสตร์ปาตานี ทั้งๆ ที่โรงเรียนตาดีกามีการสอนประวัติศาสตร์ศาสดามูฮัมหมัด ซึ่งเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ศาสนาอิสลาม</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53372225142_df0fc5d1bf_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพทหารพร้อมอาวุธเข้ามาในโรงเรียนตาดีกา โดย someone </span></p>
<h3>“เป็นการรบกวนสมาธิเด็กๆ ต่อเรื่องการเรียนศาสนา เพราะเด็กๆก็จะเห็นภาพทารพร้อมปืน มันคือสัญลักษณ์ของความรุนแรง”</h3>

<p>เขาเล่าว่ามันเป็นภาพที่ไม่เหมาะให้เด็กเล็กได้เห็น เพราะเด็กๆที่เรียนในตาดีกาจะอยู่ในวัยอนุบาลถึงประถมศึกษาที่ 6 ซึ่งเด็กบางคนผ่านความรุนแรง เช่น การถูกเจ้าหน้าที่บุกเข้าบ้านและมีอาวุธ พอเห็นภาพทหารเข้ามาในโรงเรียนก็กระตุ้นความทรงจำของเด็ก</p>
<p>“ส่วนมากครูผู้ชายจะน้อย เพราะเจ้าหน้าที่จะโยงเกี่ยวกับความมั่นคง เพราะตาดีกาสอนศาสนา รัฐไทยมองมุสลิมในพื้นที่เป็นปัญหา จึงมาแก้ที่ครูสอนศาสนา”</p>
<p>เจ๊ะฆูคอลีเล่าว่าการที่ครูตาดีกาถูกเพ่งเล็งให้เกี่ยวกับความมั่นคง เพราะเจ้าหน้าที่มองว่าผู้ชายจะเกี่ยวข้องกับการแบ่งแยกดินแดน แม้ว่าสิ่งที่สอนจะการเรียนการอ่านอัลกุรอานของศาสนาอิสลามก็ตาม แต่ก็ถูกเจ้าหน้าที่รัฐขัดขวางช่วงเวลาสอนศาสนาอยู่ดี</p>
<p>“อสม.(อาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน) ก็มักมีโครงการเกี่ยวกับยาเสพติด ซึ่งพวกเขาเล็กเกินจะรู้จักยาเสพติด แต่มันคือการกินเวลาสอนศาสนาของเรา เลยไม่เห็นด้วยกับโครงการเหล่านี้” เจ๊ะฆูคอลีให้ความเห็นต่อการเข้ามาทำกิจกรรมของอสม.ว่าเป็นการแทรกแซงอย่างหนึ่ง ทำให้เด็กๆ มีเวลาเรียนศาสนาน้อยลง การเรียนการสอนภาษามลายูจึงน้อยลงไปด้วย </p>
<p>“ยกตัวอย่าง ภาษายาวี หรือบางที่เรียกยูมี เป็นภาษาที่ใช้เชื่อมต่อพูดคุยกับทางมาเลเซียได้ แต่พอถูกเข้าแทรกแแซงโดยเจ้าหน้าที่รัฐมากๆเข้า เด็กๆ มีเวลาเรียนภาษามลายูน้อยลงและเกิดความสับสน ในสิ่งที่เรียนจากครูในห้องเรียนตาดีกาและสิ่งที่ทหารสอน เราเป็นคนไทยโดยดั้งเดิมหรือปาตานีมีจริงหรือไม่ แม้ว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์จะมีอยู่มากก็ตาม”</p>
<p>เจ๊ะฆูคอลีอธิบายว่าความสับสนในคาบเรียนที่เกิดจากการแทรกแซงของเจ้าหน้าที่ทหารและอสม.ทำให้เวลาเรียนภาษามลายูน้อยลง ทำให้เด็กๆ เรียนภาษาลายูได้ไม่เต็มที่ ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ทั้งติดต่อสื่อสารกับประเทศมาเลเซีย ใช้ในการอ่านอัลกุรอาน และตัวอักษรมลายูหรือยาวีมีความใกล้เคียงกันภาษาอาหรับ ถ้าเด็กๆ อ่านภาษามลายูออก ก็เป็นเรื่องไม่ยากที่เด็กๆ จะเรียนภาษาอาหรับได้ </p>
<p>นอกจากนั้นความสับสนของเด็กๆ จากการแทรกแซงเวลาเรียนในตาดีกาโดยเจ้าที่ทหารและอสม.ยังลดความเชื่อถือต่อครูตาดีกา ทำให้ครูบางคนถูกเด็กๆ มองว่าทำไมพวกเขาต้องเรียนศาสนาอิสลาม เพราะเชื่อว่าตัวเองเป็นคนไทย ไม่จำเป็นต้องอ่านภาษามลายูก็ได้</p>
<h3>“เด็กๆ ไม่รู้จักปาตานีแล้ว”</h3>

<p>เจ๊ะฆูคอลีครูตาดีกาในจังหวัดยะลากล่าวทิ้งท้ายว่า “ถ้าจะมาสอนภาษาไทย ความเป็นไทยก็ไปสอนที่โรงเรียน ตามระบบของกระทรางศึกษาธิการ และถ้าสอนภาษาไทยแล้วเด็กๆ ฟัง อ่าน เขียนไม่ได้ ก็ไปแก้ที่ระบบการศึกษา ไม่ใช่ที่ตาฎีกา”</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ปาตานีในประวัติศาสตร์บอกเล่าของเขา</span></h2>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53373137931_991fd35755_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพการเล่นละครสมมติบอกเล่าประวัติศาสตร์ปาตานี ในช่วงรัชกาลที่ 5 การฆ่าผู้นำของราชวงศ์ปาตานีและประชาชนในช่วงเวลาดังกล่าว </span></p>
<p>“สงครามจารีตที่มันดำเนินมาเนิ่นนาน แล้ววันหนึ่งปาตานีก็แพ้ในรัชการที่ 1 และเพื่อถอนรากมลายูทิ้ง และรวมแผ่นดินให้เป็นหนึ่งเดียว ก็เกิดการกวาดล้างเชื้อพระวงศ์มลายู ปาตานีจึงไม่ได้สู้เพื่ออาณาจักร อีกต่อไป แต่เราสู้ด้วยศรัทธาและสู้เพื่อกำหนดชะตาชีวิตของพวกเราเอง”</p>
<p>ฮาซัน ยามาดีบุ กล่าว อีกหนึ่งนักเคลื่อนไหวด้านการศึกษา และสันติภาพปาตานี คนในพื้นที่มักเรียกเขาว่า อุสตะฮาซัน แปลว่า ครูฮาซัน อธิบายถึงสงครามจารีตและความขัดแย้งในประวัติศาสตร์ระหว่างรัฐไทยและปาตานีที่สะสมบาดแผลกันมาจนถึงปัจจุบัน และเขาได้เล่าถึงที่มาของคำว่าปาตานีว่า อาณาจักรปาตานีเป็นอาณาจักรตั้งอยู่ใจกลางคาบสมุทร มีการค้าขายกับต่างชาติ ตัวผู้ปกครองในอดีตเป็นมุสลิม ดังนั้นเลยใช้คำว่าสุลต่าน ที่ผ่านมามีการรบในอดีตที่เรียกว่าสงครามจารีต เป็นสงครามที่มีมาโดยตลอด เช่น กรุงศรีอยุธยาไปรบกับอาณาจักรล้านนา กับอาณาจักรต่างๆ ที่นี้ก็เช่นกัน ก็รบกันมาตลอด ก่อนจะล่มสลายไปในรัชกาลที่ 1 </p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53372225017_a7dceba41d_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพการเล่นละครสมมติเล่าประวัติศาสตร์ปาตานี ในช่วงรัชกาลที่ 5 การฆ่าผู้นำของราชวงศ์ปาตานี</span></p>
<p>“พอเข้ารัชสมัยของรัชกาลที่ 5 ปาตานีถูกปกครองโดยเจ้าอาณานิคมคือ อังกฤษ ปาตานีก็พยายามแสดงตัวตนว่าเรามีตัวตน แต่ก็ยังไม่ได้รับการยอมรับเพราะยังถูกมองเป็นเมืองประเทศราช แต่สยามก็พยายามแสดงตัวว่าตนว่าตัวเองก็เป็นเจ้าอาณานิคมในแถบนี้เช่นกัน”</p>
<p>อุสตะฮาซันอธิบายว่าความขัดแย้งระหว่างสยามกับปาตานีเรื้อรังกันมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เพราะถึงแม้ปาตานีจะพ่ายแพ้ สยบยอมแก่สยาม แต่ก็ยังคงมีความพยายามทวงคืนเอกราช แต่ไม่สำเร็จ นำไปสู่การกวาดล้างเชื้อพระวงศ์เดิมของมลายูก็สูญสิ้นไปในรัชการที่ 5 </p>
<p>เมื่อสิ้นสุดเชื้อพระวงศ์ สิ่งที่เข้ามาเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจคนกลายมาเป็นศาสนา เพาะเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวมากที่สุด เป็นความหวังที่ใช้ในการยืนยันตัวตนของเรา เลยนำไปสู่การเกิดผู้นำโดยโต๊ะครู และเป็นจุดกำเนิดการนำศาสนามาเป็นจุดนำในการต่อสู้ การใช้ศาสนานำการต่อสู้ การต่อสู้จึงเริ่มขึ้น จนเกิดเป็นกลุ่มต่อสู้รูปแบบต่างๆ ซึ่งมันหลากหลายรูปแบบทั้งรุนแรงและไม่รุนแรง แต่ความรุนแรงมันออกมาชัดเจนในเหตุการณ์ “ตากใบ กรือเซะ” </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ปาตานีคือผู้คน</span></h2>
<h3>“ปาตานีไม่ใช่แค่ประชาชนมุสลิม แต่หมายถึงทุกคน ไม่เคยทะเลาะกันเพราะต่างศาสนา แต่ปัญหามันเกิดมาตอนที่ทหารส่งลงมาปาตานี” อุสตะฮาซัน กล่าว</h3>

<p>อุสตะฮาซันอธิบายว่าการส่งทหารมายังพื้นที่สามจังหวัดได้เริ่มเข้มข้นขึ้นเป็นอย่างมากในสมัยนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร </p>
<p>ด้วยแนวคิดทางทหารที่พุ่งเป้าไปยังชาวมุสลิมว่าเป็นผู้สนับสนุนกลุ่มแบ่งแยกดินแดน โดยสันนิษฐานว่ามุสลิมเป็นคนร้ายไว้ก่อน แม้จะไม่มีหลักฐานก็ตาม </p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53373588940_f9f44fc500_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพเจ้าหน้าที่เดินตรวจตราตามซอยบ้านประชาชนในอ.เมืองยะลา จ.ยะลา พร้อมอาวุธ</span></p>
<p>“มีการพูดคุยกับคนต่างศาสนา เช่น ไทยพุทธ ว่าอย่าไปคบค้า เดี๋ยวเกิดเหตุร้าย ประกอบกับการเกิดเหตุยิงรายวัน ยิ่งทำให้คำพูดว่ามุสลิมเป็นคนร้ายยิ่งน่าเชื่อถือ คนไทยพุทธจึงหันไปสนิทกับทหารต่างพื้นที่ที่ถูกส่งเข้ามา มุสลิมก็ระแวงคนพุทธ จนตอนนี้แทบไม่มีปฏิสัมพันธ์กัน”</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53372225012_9804349128_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพการปิดถนนเวลากลางคืนของชุมชนพุทธในจ.ยะลาเพื่อควบคุมคนเข้าออกชุมชน</span></p>
<p>อุสตะฮาซันเล่าถึงความเหินห่างของคนในพื้นที่ที่ต่างศาสนากัน ถูกทำให้เข้ามาเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งโดยการส่งทหารเข้ามาควบคุมพื้นที่ นำไปสู่การแทรกแซงในศาสนาโดยทหาร เช่น การส่งโต๊ะครูที่สยามไว้เนื้อเชื่อใจมาสอนศาสนาหรือตามในโรงเรียน และทุกวันนี้ก็ยังเป็นอยู่</p>
<h3>“ปัจจุบันคนที่เป็นนักการศาสนาของสยามส่งมาไม่ใช่คนมีชื่อเสียง คนก็ไม่นับถือ เลยเกิดการกดดันกรรมการอิสลาม ครูสอนศาสนา” อุตะฮาซัน กล่าว</h3>

<p>อุตะฮาซันอธิบายว่า จากข้อมูลการคุกคามมนุษยชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เกิดการคุกคามโดยทหารต่อพลเรือน ซึ่งไม่ใช่แค่การมองหาตัวคนร้ายอย่างเดียว แต่การคุกคามยังเป็นวิธีการที่นำไปสู่การทำให้คนในพื้นที่ให้ไปสร้างความแตกแยกทางศาสนาจากภายในได้ เช่นการขู่เข็ญ การพยายามทำให้สารภาพ หรือแม้แต่การซ้อมทรมานเพื่อให้ออกมาแถลงถ้อยคำบางอย่างในสาธารณะ และโดยส่วนมากคนเหล่านี้มักถูกซ้อมทรมานมาก่อน เลยเกิดการจำใจต้องทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ เช่น การตีความอังกุรอานในแบบที่ไม่อยากทำ </p>
<p>“เขาก็หายไปจากบ้าน พอกลับมาเราอาจมองไม่เห็นแผลภายนอก แต่มันเกิดบางอย่างขึ้นแน่ๆ ความคิดหรือคำพูดบางอย่างที่เปลี่ยนไป คนเราก็รักชีวิต เขาจำใจต้องพูดตามคำสั่งรัฐไทย เพราะกลัวกระบอกปืน”</p>
<p>อุสตะฮาซันกล่าวว่าการอยู่ในสถายการณ์เช่นนี้เป็นเวลาหลายปี ไม่ใช่สิ่งที่คนในพื้นที่ต้องการ จึงไม่ใช่การกำหนดชะตาชีวิตของประชาชนในพื้นที่ แต่เป็นการถูกกำหนดให้กลายเป็นบางสิ่งบางอย่างที่ไม่ได้มาจากความต้องการของประชาชน</p>
<h3>“หลายคนถูกกระตุ้นจากเหตุการณ์ตากใบ มันเลยทำให้คนไม่อยากอยู่ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้” อุสตะฮาซันกล่าว</h3>

<h2><span style="color:#2980b9;">บงแปลว่าสหาย</span></h2>
<p>บงอลาดีหนึ่งในนักเคลื่อนไหวทางการเมืองเรื่องสันติภาพปาตานีได้เล่าถึงเหตุจูงใจในการปะทะระหว่างทหารไทยและขบวนการว่า</p>
<h3>“ทักษิณใช้คำว่า ตาต่อตา ฟันต่อฟัน มันทำให้เกิดการปะทะของคู่ขัดแย้งที่ชัดเจน” บงอลาดี กล่าว</h3>

<p>บงอลาดีอธิบายว่า สถานการณ์ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ทวีความรุนแรงขึ้นหลังเหตุการณ์ตากใบ และการที่นายกในสมัยนั้นคือ ทักษิณ ชินวัตร ได้ใช้คำว่าตาต่อตาฟังต่อฟัน จึงทำให่กลุ่มที่เชื่อเรื่องการปกป้องพื้นที่ของตนเองออกมาเคลื่อนไหว และโจมตีกันอย่างชัดเจน เช่น การที่ทหารได้ทำร้ายคนมุสลิมที่ร้านน้ำชาจนถึงแก่ชีวิต ก็ทำให้ชุมชนพุทธก็ถูกโจมตีกลับ เพราะคำว่า “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน”</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53373321053_85f3739bf6_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพป้ายประกาศจับคดีความมั่นคงที่สถานีรถไฟ อ.เทพา จ.สงขลา</span></p>
<p>“คนพุทธอาจรู้สึกสูญเสียในช่วงรัฐบาลทักษิณ แต่ในทางประวัติศาสตร์พื้นที่ปาตานีเราสูญเสียกันมาโดยตลอด” อลาดี กล่าว พร้อมเล่าถึงความขัดแย้งว่าเป็นปัญหาเรื้อรัง เพราะพื้นที่อื่นในอาณาเขตของไทยนั้นนับถือศาสนาพุทธเป็นหลัก ในอดีตเคยมีการส่งทหารจากภาคอื่นๆ เช่น อีสาน เหนือ ลงมาปฎิบัติการณ์ในพื้นที่เพื่อกลมกลืนและกลืนกินวัฒนธรรมมลายูและส่งเสริมความเป็นไทยให้มากขึ้น</p>
<p>“จะเห็นได้ชัดผ่านช่วงรัฐชาตินิยม อย่างสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ ที่พยายามบังคับให้ทุกคนอยู่ภายใต้วัฒนธรรมเดียวกันคือ วัฒนธรรมของสยาม”</p>
<p>ภายหลังได้มีการประกาศใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่สาจังหวัดชายแดนใต้ ในปี 2550 มีการส่งทหารจากภาคอื่นๆ ของไทยลงมาเช่นเคยและส่วนมากมักเสียชีวิตจากการปะทะกับขบวนการเคลื่อนไหว </p>
<p>“ช่วงหลังมานี้ทหารในพื้นที่จึงมักเป็นคนใต้ด้วยกัน เช่น จากสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ซึ่งพวกเขามีความเชื่อที่เข้มข้นเรื่องศาสนาพุทธเช่นเดียวกับคนปาตานี คู่ต่อสู้จึงยิ่งชัดเจน และเป็นความรุนแรงที่ไม่จบสิ้น”</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53373452949_5ca7256532_o.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพจากเฟซบุ๊ก ชนพุทธ กลุ่มน้อย ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้</span></p>
<p>“ช่วงหลังมานี้เราจะเห็นกลุ่มพุทธสุดโต่งที่เลือกใช้ความรุนแรงมากกว่าการเจรจา” อลาดี กล่าว และเล่าถึงการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนพุทธที่สนับสนุนความรุนแรงในพื้นที่ โดยช้คำว่า “แบ่งแยกดินแดน” มาเป็นความขัดแย้งระหว่างคนพุทธและมุสลิม ยิ่งทำให้ความขัดแย้งชัดเจนผ่านศาสนามากกว่าเดิม </p>
<h3>“เราต้องเจรจาเพื่อหาทางออก แต่หากเรายังมีรัฐบาลที่ไม่ได้เป็นรัฐบาลประชาธิปไตย การต่อสู้เช่นนี้ไม่มีคนชนะ ทั้งรัฐไทยและขบวนการ เราสูญเสียกันหมด เพื่ออะไร” อลาดี กล่าว</h3>

<p>อลาดีมองว่านี่เป็นความขัดแย้งที่ต้องใช้การเจรจาเพื่อหาทางออก แต่การเจรจาที่ผ่านมานั้นแทบไม่ได้รับความสำคัญจาก รัฐไทย โดยเฉพาะกอ.รมน. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สำคัญในพื้นที่ที่ใช้ทหารในการควบคุมสถานการณ์ </p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53372224832_172a688af1_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพจากโรงเรียนตาดีกา</span></p>
<p>“รัฐไทยไม่ให้ความสำคัญกับการเจรจาสันติภาพ เพราะรัฐไทยส่งคนจากข้างนอกพื้นมาตาย เพื่อครอบครองพื้นที่ที่ไม่ใช่ของตน” อลาดี กล่าวทิ้งท้าย</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เพราะเมื่อวานจึงมีวันนี้ เพราะปีนั้นมันเกิดตากใบ กรือเซะ มันจึงเป็นวันนี้</span></h2>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53373137576_f9537f6f6d_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพการแต่งกายวัฒนธรรมปาตานี</span></p>
<p>“ปัญหาปาตานีมันเรื้อรังสะสมมานาน เป็นวันนี้เพราะเมื่อวาน เมื่อวานเพราะปีก่อน เป็นพัฒนาการการต่อสู่ที่มันมาไกล ที่อื่นอาจจะแค่บางจังหวัดที่มีความต้องการปกครองตัวเอง แต่สามจังหวัดมันเป็นไปทั่วทุกหมู่บ้านแล้วมันมีพัฒนาการมาไกล”</p>
<p>อุสตะฮาซันอธิบายถึงทางออกของความขัดแย้งว่า การกระจายอำนาจอาจไม่เพียงพอ อาจไม่ใช่ยารักษาตรงจุด แต่ปัญหาความขัดแย้งจะแก้ไขได้นั้น ต้องให้ประชาชนในพื้นที่ได้มีสิทธิเลือกว่าเขาอยากได้การปกครองแบบไหน เช่น มีการปกครองเฉพาะพื้นที่ที่มันแตกต่างจากทีอื่น การจัดสรรทรัพยากร เรียนในภาษามลายู การรักษาอัตลักษณ์มลายู ไม่แทรกแซงและยอมรับอัตลักษณ์วัฒนธรรมภาษาของมาลายู รวมถึงคนทำงานราชการ ผู้ว่าฯจังหวัด ผู้นำทางการเมือง ควรมาจากคนในพื้นที่ แต่ไม่ได้เสียหายอะไรที่จะใช้เงินไทย ธงไทย </p>
<h3>“เพราะเราต้องการการยอมรับการมีตัวตนจริง เลิกแทรกแซงและให้ประชาชนในพื้นที่ได้เป็นผู้เลือกเองว่าต้องการให้พื้นที่เป็นแบบไหน” อุสตะฮาซันกล่าว </h3>

<p>เขาอธิบายถึงปัญหาที่เรื้อรังของความขัดแย้งนี้ว่า เพื่อรักษาไว้ซึ่งดินแดนสามจังหวัดให้อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐไทย ในการกำหนดทิศทางของพื้นที่ การใช้ทรัพยากรณ์ และการทำลายรากเหง้าวัฒนธรรม ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่ได้มาจากการเลือกของคนในพื้นที่ แ
3605  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - เลิกแล้วแต่ยังต้องทำงานร่วมกัน... ทำอย่างไร เมื่อต้องเผชิญหน้าแฟนเก่าในที่ทำงา เมื่อ: 05 ธันวาคม 2566 01:28:48
เลิกแล้วแต่ยังต้องทำงานร่วมกัน... ทำอย่างไร เมื่อต้องเผชิญหน้าแฟนเก่าในที่ทำงาน?
         


เลิกแล้วแต่ยังต้องทำงานร่วมกัน... ทำอย่างไร เมื่อต้องเผชิญหน้าแฟนเก่าในที่ทำงาน?" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;"คนไม่รัก ใกล้กันช้ำใจยิ่งกว่า" เลิกแล้วแต่ยังต้องทำงานร่วมกัน ทำอย่างไร เมื่อต้องเผชิญหน้าแฟนเก่าในที่ทำงาน

         

https://www.sanook.com/news/9124810/
         
3606  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - 6 ตัวประกันไทยที่ถูกปล่อยตัวชุดล่าสุด กลับถึงไทยแล้ว เมื่อ: 05 ธันวาคม 2566 00:12:42
6 ตัวประกันไทยที่ถูกปล่อยตัวชุดล่าสุด กลับถึงไทยแล้ว
 


<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2023-12-04 15:13</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ที่มาภาพปก: เฟซบุ๊ก Royal Thai Embassy, Tel Aviv</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>6 ตัวประกันไทยที่ได้รับการปล่อยตัวจากฉนวนกาซาชุดล่าสุด กลับถึงไทยแล้ว ด้านอิสราเอลยืนยันพร้อมรับกลับมาทำงานอีก</p>
<p>4 ธ.ค. 2566 วันนี้ (4 ธ.ค.) เวลาประมาณ 14.21 น. สื่อเดอะรีพอร์ตเตอร์ไลฟ์สด จากสนามบินสุวรรณภูมิ ระบุว่า 6 ตัวประกันไทยที่ได้รับการปล่อยตัวจากฉนวนกาซา เดินทางกลับถึงไทยแล้ว</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53374970660_d317732ac0_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">ที่มาภาพ: กระทรวงการต่างประเทศ</span></p>
<p>โดยก่อนหน้านี้กระทรวงการต่างประเทศเปิดเผยว่า แรงงานไทยกลุ่มดังกล่าวเป็นตัวประกันที่ได้รับการปล่อยตัวในรอบที่ 4 และ 5 มีรายชื่อดังนี้ </p>
<p><span style="color:#d35400;"><strong>ชุดที่ 4</strong></span></p>
<p>1.พัฒนายุทธ ตอนโสกรี</p>
<p>2.โอวาส สุริยะศรี</p>
<p><span style="color:#d35400;"><strong>ชุดที่ 5</strong></span> </p>
<p>1.ไพบูลย์ รัตนิล</p>
<p>2.กง แซ่เล่า</p>
<p>3.จักรพันธ์ สีเคนา</p>
<p>4.เฉลิมชัย แสงแก้ว</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">อิสราเอลยืนยันพร้อมรับกลับมาทำงานอีก</span></h2>
<p>วานนี้ (3 ธ.ค.) เฟซบุ๊ก สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลเอวีฟ โพสต์ว่า อาวี ดิชเตอร์ (Avi Dichter) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทของอิสราเอล ได้เข้าเยี่ยม 6 ตัวประกันไทยที่โรงพยาบาล Shamir Medical Center ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่ฝ่ายอิสราเอลจัดไว้ให้เพื่อตรวจสุขภาพ โดยมีพรรณนภา จันทรารมย์ เอกอัครราชทูตและคณะข้าราชการสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟและจากกระทรวงการต่างประเทศรอต้อนรับ</p>
<p>รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ของอิสราเอล กล่าวต้อนรับและให้กำลังใจกลุ่มคนไทยดังกล่าวคืนสู่อิสราเอล พร้อมกล่าวแสดงความชื่นชมแรงงานไทยในภาคการเกษตรซึ่งเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งสำหรับอิสราเอลและพร้อมต้อนรับแรงงานไทยกลับมา</p>
<p>ในโอกาสนี้ เอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ แสดงความขอบคุณต่อรัฐบาลอิสราเอล และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่ให้การดูแลกลุ่มคนไทยทั้งหมดที่ได้รับการปล่อยตัวออกมาเป็นอย่างดียิ่ง</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/12/107102
 
3607  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - ใจหาย ปิดตำนานแยกหมอมี ลอดช่องสิงคโปร์-คั้นกี่น้ำเต้าทอง เวนคืนที่สร้างอาคารพา เมื่อ: 04 ธันวาคม 2566 22:50:09
ใจหาย ปิดตำนานแยกหมอมี ลอดช่องสิงคโปร์-คั้นกี่น้ำเต้าทอง เวนคืนที่สร้างอาคารพาณิชย์
         


ใจหาย ปิดตำนานแยกหมอมี ลอดช่องสิงคโปร์-คั้นกี่น้ำเต้าทอง เวนคืนที่สร้างอาคารพาณิชย์" width="100" height="100&nbsp;&nbsp; “เขาให้เวลาถึงสิ้นปีเพื่อย้ายออก เขาบอกตึกนี้หมดอายุแล้ว ให้ไปหาที่อยู่ใหม่"  - เจ้าของร้านลอดช่องสิงคโปร์ วัย 75 ปี
         

https://www.sanook.com/news/9124806/
         
3608  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - 9 เดือน หลังพ.ร.บ.ซ้อมทรมานและอุ้มหายฯ บังคับใช้ พบ 4 หน่วยงานยังไม่ฟ้องใคร แม้เข้ เมื่อ: 04 ธันวาคม 2566 22:41:47
9 เดือน หลังพ.ร.บ.ซ้อมทรมานและอุ้มหายฯ บังคับใช้ พบ 4 หน่วยงานยังไม่ฟ้องใคร แม้เข้าข่ายผิดเพียบ
 


<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2023-12-04 20:40</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ผอ.มูลนิธิผสานวัฒนธรรม เผย พ.ร.บ.ซ้อมทรมานและอุ้มหายฯ บังคับใช้มา 9 เดือนแล้ว ยังไม่มีไม่มีการฟ้องร้องผู้กระทำผิดสักคดี ทั้งที่มีเหตุเข้าข่ายการกระทำที่โหดร้ายฯ เพียบ พร้อมร้องเรียนซ้ำทั้งกรณีถูกซ้อมทรมานและถูกอุ้มคนหาย โดยกฎหมายให้อำนาจถึง 4 หน่วยงาน อัยการ ตำรวจ ฝ่ายปกครอง และ DSI สามารถฟ้องคดีเพื่อลดภาระประชาชน แต่มาตรการต่างๆ ก็ได้ผล ป้องกันการกระทำอันโหดร้ายได้ ถ้าร้องเรียนทันทีมี “ม้าเร็ว” ช่วยหยุดการละเมิดสิทธิ์ได้ทันที ด้านอัยการตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนทุกจังหวัด ทุกอำเภอ</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ผ่านมา 9 เดือน ยังไม่มีการฟ้องคดีตาม พ.ร.บ.ซ้อมทรมาน</span></h2>
<p>พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรมและทนายความสิทธิมนุษยชน เปิดเผยว่า ขณะนี้การบังคับใช้ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ป้องกันปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 ( เรียกสั้นๆว่า พ.ร.บ.ซ้อมทรมานและอุ้มหายฯ) ผ่านมาแล้ว 9 เดือน ตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 แต่มีเหตุการณ์ที่เข้าข่ายการกระทำที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เกิดขึ้นแล้วหลายกรณี แต่ก็ยังไม่มีการฟ้องร้องต่อศาลตาม พ.ร.บ.นี้แม้แต่คดีเดียว</p>
<p>“มีเหตุการณ์ทหารเกณฑ์เสียชีวิตและบาดเจ็บ ที่เป็นข่าวและมีข้อมูลอยู่ในมือเราประมาณ 3-4 เคส แต่ยังไม่เป็นคดีสักคดีเลย” รวมถึงกรณีซ้อมทรมานในสถานสงเคราะห์เด็ก กรณีการทุบตีเด็กนักเรียนในโรงเรียน กรณีการเสียชีวิตในด่านตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) หรือกรณีการใส่โซ่ตรวนผู้ต้องขังมาที่ศาล คือกรณีทนายอานนท์ นำภา</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">มีเหตุเข้าข่ายการกระทำที่โหดร้ายฯ เพียบ</span></h2>
<p>นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายกรณีที่เกิดขึ้นในโรงเรียน ตามที่ปรากฏภาพข่าวตามสื่อสังคมออนไลน์แต่ยังไม่สามารถดำเนินคดีกับครูหรือโรงเรียนได้เลย หรือกรณีสถานสงเคราะห์ที่ให้เด็กผู้หญิงกินน้ำสกปรกในห้องน้ำที่ จ.สระบุรี หรือสถานที่บำบัดผู้ติดยาเสพติดที่มีการล่ามโซ่ ปล่อยให้อดอยาก เป็นต้น</p>
<p>พรเพ็ญ เปิดเผยด้วยว่า สำหรับเคสที่มูลนิธิผสานวัฒนธรรมกำลังช่วยเหลือเพื่อให้มีการฟ้องศาลตาม พ.ร.บ.ซ้อมทรมานและอุ้มหายฯ ขณะนี้ มี 4 กรณี เป็นกรณีทหารเกณฑ์ 2 กรณีคือที่ จ.เชียงรายและที่กรุงเทพมหานคร กรณีผู้ลี้ภัยต่างชาติและกรณีผู้ถูกจับตามกฎหมายพิเศษในจังหวัดชายแดนภาคใต้</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">กฎหมายให้อำนาจ 4 หน่วยงานรัฐฟ้องคดีลดภาระประชาชน</span></h2>
<p>ผอ.มูลนิธิผสานวัฒนธรรม อธิบายว่า การฟ้องร้องตาม พ.ร.บ.ซ้อมทรมานและอุ้มหายฯ นั้นได้ให้อำนาจ 4 หน่วยงานของรัฐ คืออัยการ ตำรวจ ฝ่ายปกครอง และ DSI (กรมสอบสวนคดีพิเศษ) แต่ยังไม่มีการฟ้องร้องดำเนินคดี แม้มีการร้องเรียนแล้วก็ตาม</p>
<p>“ส่วนเหยื่อหรือผู้เสียหายก็สามารถฟ้องร้องเองได้ แต่เนื่องจาก พ.ร.บ. ฉบับนี้ได้ให้อำนาจให้ 4 หน่วยงานดังกล่าวแล้วเพื่อที่จะแบ่งเบาภาระของประชาชนไม่ต้องไปฟ้องเอง” พรเพ็ญ กล่าว</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">มาตรการได้ผล ป้องกันการซ้อมทรมานได้</span></h2>
<p>ผอ.มูลนิธิผสานวัฒนธรรม เปิดเผยด้วยว่า มูลนิธิผสานวัฒนธรรมพยายามช่วยคดีที่เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.ซ้อมทรมานและอุ้มหายฯ แต่ก็มีหลายคดีที่มีการกระทำอันโหดร้ายทารุณที่อยู่นอกสายตาและเราตามไม่ทัน เช่น คดีเจ้าหน้าที่จับกุมวัยรุ่นด้วยวิธีการที่โหดร้าย คดีทะเลาะกันที่มีการใช้ความรุนแรง</p>
<p>“อย่างน้อยคดีที่เกี่ยวข้องกับ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้หลายคดีและคดีอื่นๆ สามารถที่จะป้องกันการซ้อมทรมานได้ด้วยการติดกล้องบันทึกการดำเนินการของเจ้าหน้าที่รัฐ การดำเนินมาตรการต่างๆ ที่เขียนไว้ พ.ร.บ.ฉบับนี้ก็ได้ผลในระดับหนึ่งแล้ว”</p>
<p>พรเพ็ญ กล่าวว่า การที่ พ.ร.บ.ซ้อมทรมานและอุ้มหายฯ จึงให้อำนาจตำรวจ อัยการ ฝ่ายปกครองและ DSI ทำหน้าที่ตั้งแต่เริ่มต้น คือรับเรื่องร้องเรียนแล้วสอบสวนได้เลย เพราะฉะนั้นขั้นตอนการเริ่มต้นค้นหาความจริงจึงสำคัญมากในคดีซ้อมทรมานและอุ้มหาย เพราะหากเริ่มช้าก็มีความเป็นไปได้ว่า จะมีการยืดการละเมิดสิทธิต่อไปได้</p>
<p>โดยกรณีตำรวจตรวจคนเข้าเมือง(ตม.)จับชาวต่างชาติ ทางมูลนิธิฯ พยายามใช้กรณีนี้เป็นกรณีตัวอย่างในการร้องเรียนให้อัยการและฝ่ายปกครองเข้าไปตรวจสอบสถานที่ควบคุมตัว เพราะมีการไล่จับผู้ลี้ภัยชาวต่างชาติโดยไม่แจ้งเหตุ จนสุดท้ายจึงรู้ว่ามีการคุมตัวไว้ที่ ตม.จริงๆ</p>
<p>อีกกรณี คือ การใส่โซ่ตรวนผู้ต้องขังคดี 112 คือทนายอานนท์ นำภา เพราะเห็นว่าเป็นการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ดิฉันไปฟ้องศาลเองและศาลก็เรียกไต่สวนทันที โดยศาลเรียกไต่สวน 2 ครั้ง แต่สุดท้ายศาลแขวงธนบุรีก็มีคำสั่งว่า กรมราชทัณฑ์ดำเนินการถูกต้องตามกฎหมายแล้ว </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ร้องเรียนทันที มี “ม้าเร็ว” ช่วยหยุดการละเมิดสิทธิ์ได้ทันที</span></h2>
<p>ผอ.มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ได้ยกตัวอย่างกรณีทนายอานนท์ว่า เป็นกรณีตัวอย่างที่อยากให้ทดลองใช้ เพราะจะมีการตรวจสอบทันที ตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้ ซึ่งจะช่วยได้เยอะเลย ถ้าทุกคนลุกขึ้นมาใช้สิทธิ์ตามกฎหมายนี้ แต่ตอนนี้ชาวบ้านก็รู้ถึงสิทธิตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้เยอะขึ้นแล้วเช่นกัน เช่นมีการถ่ายคลิปขณะเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องที่กระทบกับตัวเรา</p>
<p>อีกตัวอย่าง คือ มีการร้องเรียนว่า มีญาติถูกทำร้ายร่างกายในค่ายทหารที่ จ.ปัตตานี อัยการจังหวัดลงพื้นที่เข้าไปตรวจสอบทันที กระทั่งวันรุ่งขึ้นญาติก็แจ้งว่าผู้ถูกคุมตัวไม่ถูกทำร้ายแล้ว กรณีนี้อย่างน้อยก็ทำให้อัยการรู้ว่าต้องทำอะไรบ้างหลังจากรับเรื่องร้องเรียนแล้ว คือต้องแสวงหาข้อเท็จจริงทันที เพราะฉะนั้นถ้าอัยการทำหน้าที่ของตัวเองก็จะทำหน้าที่คุ้มครองประชาชนได้เยอะเลย </p>
<p>พรเพ็ญ กล่าวว่า เมื่อก่อนกลไกนี้เรียกว่าม้าเร็ว นั่นคือ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) แต่ตอนนี้เรามีม้าเร็วที่เป็นรัฐด้วยกันแล้ว ซึ่งสามารถป้องกันไม่ให้เกิดการทำร้ายร่างกายได้ สามารถหยุดการละเมิดสิทธิ์ได้</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ร้องเรียนซ้ำ 4 กรณีคนหาย เจ้าหน้าที่ยังไม่เข้าใจหลักการ</span></h2>
<p>ผอ.มูลนิธิผสานวัฒนธรรม เปิดเผยด้วยว่า ทางมูลนิธิยังนำกรณีคนหายก่อนจะบังคับใช้ พ.ร.บ.ฉบับนี้อีก 4 กรณีมาร้องเรียนหน่วยงานรัฐให้ดำเนินการตาม พ.ร.บ.ซ้อมทรมานและอุ้มหายฯ ด้วย ได้แก่ คดีวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์, คดีสยาม ธีรวุฒิ, คดีสุรชัย แซ่ด่าน และ คดีสหาย ภูชนะ</p>
<p>ส่วนใหญ่เป็นคดีที่อยู่ในการสืบสวนสอบสวนของรัฐอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่คืบหน้า จึงร้องเรียนซ้ำเพื่อให้นำมาตรฐานของกฎหมายใหม่มาปรับใช้</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53373945162_4d35d7c046_b.jpg" /></p>
<p>“แต่ความพยายามนี้ยังไม่ได้ผล เพราะเจ้าหน้าที่รัฐยังไม่เข้าใจหลักการสากลที่เกี่ยวข้องกับการอุ้มหายทั้งหมดมากนัก เราจึงต้องทำงานกับเหยื่อบ้าง หรือทำงานกับหมอบ้าง” พรเพ็ญ กล่าว</p>
<p>พรเพ็ญ กล่าวว่า แม้จะมีกรณีที่เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.นี้หลายกรณี แต่คนทำงานในเรื่องนี้มีไม่เยอะเท่าไหร่ ไม่ว่าจะเป็นทนาย นักสิทธิมนุษยชนหรือผู้เสียหายที่รู้สิทธิของตนเอง และยังไม่มีกลไกที่จะสนับสนุนการเรียกร้องสิทธิตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้มากนัก เพราะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่มาก</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">คดีพลทหารถูกซ้อมไม่ต้องขึ้นศาลทหารอีกต่อไปแล้ว</span></h2>
<p>ผอ.มูลนิธิผสานวัฒนธรรม กล่าวว่า กรณีพลทหารเสียชีวิตและบาดเจ็บจาการถูกลงโทษนั้น ซึ่งเข้าข่ายความผิดพ.ร.บ.ซ้อมทรมานและอุ้มหายฯนั้น จะไม่ขึ้นศาลทหารอีกแล้ว เพราะ พ.ร.บ.ฉบับนี้ บัญญัติให้ผู้ที่กระทำผิดดังกล่าวซึ่งเป็นคดีอาญาจะต้องขึ้นศาลพลเรือน แม้ผู้กระทำความผิดจะเป็นทหารก็ตาม โดยมูลนิธิผสานวัฒนธรรมจะนำไปร้องเรียนต่ออัยการเพื่อนำไปฟ้องผู้กระทำผิดต่อศาลอาญา</p>
<p>เพราะฉะนั้นคดีของพลทหารวิเชียร เผือกสม ที่ถูกซ้อมทรมานจนเสียชีวิตเมื่อ 13 ปีก่อนและศาลมณฑลทหารบกที่ 46 จ.ปัตตานีได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา ให้จำคุก ร.ท.ภูริ เพิกโสภณ พร้อมพวกรวม 9 คน ที่รุมซ้อมทรมานพลทหารวิเชียรจนเสียชีวิตเมื่อปี 2554 จะเป็นคดีสุดท้ายที่ขึ้นศาลทหาร</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">อัยการตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนทุกจังหวัด ทุกอำเภอ</span></h2>
<p>ปัจจุบันอัยการทุกจังหวัดได้ตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนการทรมานและการอุ้มหายแล้ว และทุกอำเภอก็ตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนด้วยเช่นกัน โดยมีเจ้าหน้าที่เวรประจำตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งเป็นมาตรการหนึ่งที่เกิดขึ้นจาก พ.ร.บ.ซ้อมทรมานและอุ้มหายฯ</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/12/107108
 
3609  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [การเมือง] - "วิโรจน์" เหน็บซอฟต์พาวเวอร์เมืองไทย หลังสื่อนอกตีแผ่ค้ากาม-จีนเทา-สินบน เมื่อ: 04 ธันวาคม 2566 22:23:23
"วิโรจน์" เหน็บซอฟต์พาวเวอร์เมืองไทย หลังสื่อนอกตีแผ่ค้ากาม-จีนเทา-สินบน
         


&quot;วิโรจน์&quot; เหน็บซอฟต์พาวเวอร์เมืองไทย หลังสื่อนอกตีแผ่ค้ากาม-จีนเทา-สินบน" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;หมูกระทะ ไม่ใช่ซอฟท์เพาเวอร์ แต่ “การคอร์รัปชั่น” นี่สิ กำลังจะกลายเป็นซอฟท์เพาเวอร์ ที่ดึงดูดแก๊งค์มาเฟียข้ามชาติ ให้มายึดประเทศไทย
         

https://www.sanook.com/news/9124626/
         
3610  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - 'ร้องเพลงชาติไทยได้ไหม' ละครเวทีที่เชื้อเชิญผู้ชมมาลองขบคิด-แก้ปมละเมิดสิ เมื่อ: 04 ธันวาคม 2566 21:10:38
'ร้องเพลงชาติไทยได้ไหม' ละครเวทีที่เชื้อเชิญผู้ชมมาลองขบคิด-แก้ปมละเมิดสิทธิแรงงานพม่าไปด้วยกัน
 


<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2023-12-04 19:08</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>"ร้องเพลงชาติไทยได้ไหม" ละครเวทีแทรกสดโดยคณะ 'มาร็องดู' สะท้อนชีวิตแรงงานพม่าที่ต้องระหกระเหินเข้ามาทำงานในไทย แต่ต้องเผชิญกับปัญหาการละเมิดสิทธิ การเลือกปฏิบัติ และการเข้าไม่ถึงสิทธิรักษาพยาบาล  แต่ความพิเศษของละครเรื่องนี้คือการเชื้อเชิญให้ผู้ชม 'ลองคิด' พินิจไตร่ตรอง สวมบทบาทเป็นตัวละคร เพื่อหาทางออกไปพร้อมๆ กันได้</p>
<p> </p>
<p>เมื่อ 12 พ.ย. 2566 ที่ชั้น 2 คาเฟ่ Yellow Lane อารีย์ซอย 1 กรุงเทพฯ คณะละคร ‘มาร็องดู’ ปีนี้อายุครบ 10 ขวบ ได้เปิดทำการแสดงละครเวทีแทรกสด (Forum Theatre) โดยมีชื่อเรื่องว่า "ร้องเพลงชาติไทยได้ไหม" (Can you sing national anthem?) เพื่อบอกเล่าเรื่องราวชีวิตของแรงงานข้ามชาติชาวพม่า ประเทศเพื่อนบ้านของเราเอง ที่ตั้งใจเดินทางออกจากบ้านเกิด เพื่อเข้ามาเป็นแรงงานในไทย ด้วยความฝันและความหวังจะได้ส่งเงินกลับไปให้ครอบครัว และหากโชคดีมีเงินเหลือ ก็จะได้ทำบุญเป็นกุศลให้ชีวิตในภพหน้า</p>
<p>ละเวทีเปิดม่านนักแสดงชาวพม่าสวมบทบาทเป็นแรงงานข้ามชาติที่เดินทางเข้ามาทำงานในไทย แต่เส้นทางเขาไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ  เพราะพวกเขาต้องเผชิญการถูกเอารัดเอาเปรียบ ถูกดูแคลน ตลอดจนการเลือกปฏิบัตินานับประการ ผ่านสถานการณ์ต่างๆ การทำงานในฐานะแม่บ้าน การทำงานในโรงงาน และเข้าไม่ถึงบริการสาธารณะสุขภายในประเทศที่เรียกตัวเองว่า 'สยามเมืองยิ้ม'</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53373778977_8f0698a90f_b.jpg" /></p>
<p><span style="color:null;">'การยึดพาสสปอร์ตของคนทำงาน'</span></p>
<p>'คนพม่าเป็นคนขี้ขโมย ไว้ใจไม่ได้ เสียงของคุณนายท่านหนึ่งคุยกับสามี ถึงเรื่องแม่บ้านชาวพม่าที่จ้างให้มาช่วยดูแลคุณแม่ของสามี พร้อมพ่นผรุสวาทมากมายคล้ายว่าคนที่พูดถึงไม่ใช่มนุษย์'</p>
<p>'ท้องใกล้คลอด แต่เมื่อไปโรงพยาบาล คุณหมอกลับบอก สามารถรอได้ เพราะว่าเด็กยังไม่คลอด'</p>
<p>'ประสบอุบัติเหตุหนัก กรรไกรคาอยู่ที่คอ ดูเหมือนเลือดไหลเป็นทาง แต่คุณหมอบอกจ่ายยาพาราเซตามอล'</p>
<p>'คุยกับพยาบาลไม่เข้าใจ เพราะใช้คนละภาษา ถูกไล่กลับบ้าน ทั้งที่ยังไม่ได้รับการรักษา'</p>
<p>การแสดงจะมี 2 รอบ รอบแรกเป็นไปตามบทละคร และรอบที่ 2 จะให้คนดูขึ้นมามีส่วนร่วมกับการแก้ไขปัญหา ผู้นำการแสดงจะชวนให้คนดูเข้ามามีส่วนร่วมกับการแสดงละคร โดยการสวมบทบาทเป็นตัวละครหลักในเรื่อง เพื่อร่วมขบคิดและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในละครดังกล่าวซึ่งในที่นี้คือการละเมิดสิทธิแรงงาน และทัศนคติของคนไทยต่อแรงงานเพื่อนบ้าน</p>
<p>ชาวพม่าที่มาร่วมรับชม ขึ้นมาแสดงให้เห็นการปรับตัวเมื่อต้องเผชิญการโต้เถียงกับนายจ้าง คนรุ่นใหม่ไทยไม่ทนกับเรื่องราวที่เกิดขึ้น ขอระบายอารมณ์เป็นภาษาที่ดุดัน บางคนเลือกเข้าเป็นตัวละครเพื่อใช้อำนาจในการเปลี่ยนแปลงบางเหตุการณ์ไปในแนวคิดที่ตัวเองเห็นว่าควรจะเป็น</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">จุดเริ่มต้นจากการต่อสู้หลัง รปห.</span></h2>
<p>หลังจบงาน เราคุยกับ ศรชัย ฉัตรวิริยะชัย ผู้ก่อตั้งคณะละครมาร็องดู และผู้กำกับละครเวที เล่าให้ฟังถึงจุดเริ่มต้นของละครเวทีนั้นมาจากการได้สนทนากับเพื่อนชาวพม่าที่เป็นผู้เข้าร่วมโครงการ "Equity Initiative" และเขาเริ่มติดตามสถานการณ์ของคนพม่าช่วงหลังการทำรัฐประหารปี 2564 ทำให้เขาทราบว่า ชาวพม่าไม่ได้เป็นอย่างที่เขาเคยเข้าใจ พม่าเผาเมือง ขโมยทองอยุธยา หรือเป็นคนไว้ใจไม่ได้ แต่เป็นคนที่กล้าหาญและลุกขึ้นสู้กับเผด็จการ นี่จึงเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญในการมองเพื่อนบ้านมุมใหม่ ก่อนนำไปสู่แรงบันดาลใจในการทำละครเวทีในเวลาต่อมา</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53373764582_8c4042f3a4_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">ศรชัย ฉัตรวิริยะชัย ผู้ก่อตั้งคณะละคร มาร็องดู</span></p>
<p>"สิ่งที่เราเคยคิดว่าคนพม่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้มันไม่ใช่ อย่างเช่น พม่านี่มันร้าย เผาอยุธยาเอาทองเราไปคือในอดีตยังจะจดจำอยู่ หรือในกรณีปัจจุบันคือชาวพม่ามันโหด มันจะฆ่าตัดคอเรา อย่างนี้มันเป็นสิ่งที่เราถูกหล่อหลอมมา แต่หลังการรัฐประหารมา ตัวเขายังกล้าหาญที่ยืนหยัดและต่อสู้ แม้กระทั่งทหารมา เขายังไม่กลัวที่จะเอาหม้อเอาอะไรมาเคาะ เป็นคนไทยเราไม่ทำหรอก คุณเอาความกล้ามาจากไหน สังคมไทยสอนให้เราสยบยอมมากเกินไปรึเปล่า ประทับใจแล้วในช็อตนี้ เราก็เออ สนใจได้ยินได้ฟังเรื่องเกี่ยวกับเพื่อนๆ เล่าให้ฟัง เรื่องเป็นอย่างไรบ้าง" ศรชัย กล่าว</p>
<div class="note-box">
<h2><span style="color:#2980b9;">รัฐประหารพม่า</span></h2>
<p>สำหรับการทำรัฐประหารเมียนมาล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อ 1 ก.พ. 2564 โดยกองทัพพม่า นำโดย พล.อ.อาวุโส มินอ่องหล่าย ผู้บัญชาการสูงสุดแห่งกองทัพพม่า โค่นล้มรัฐบาลพลเรือน นำโดยพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ NLD ทำให้เกิดการลุกฮือต่อต้านการทำรัฐประหาร ก่อนที่จะขยายกลายเป็นสงครามกลางเมือง แม้ว่าเวลาล่วงเลยผ่านมาเกือบ 3 ปีแล้ว แต่พม่ายังไม่เห็นวี่แววกลับมาเป็นประชาธิปไตยในเร็ววัน</p>
<p>รายงานของ สมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมืองพม่า (AAPP) เปิดเผยว่า ตั้งแต่มีการทำรัฐประหารเมื่อปี 2564 จนถึงปัจจุบัน (3 ธ.ค. 2566) มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 4 พันราย มีผู้ถูกจับกุมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 25,489 คน และยังถูกคุมขัง 19,701 คน</p>
<p>นอกจากนี้ จากสถานการณ์สงครามกลางเมืองที่เกิดขึ้นหลังการทำรัฐประหารเมื่อปี 2564 ส่งผลให้ประเทศพม่ากลายเป็นรัฐล้มเหลว ไม่สามารถให้บริการด้านสาธารณสุข และโครงการสร้างพื้นฐานแก่ประชาชน ขณะที่ผู้พลัดถิ่นภายในเพิ่มขึ้นราว 2 ล้านคน</p>
</div>
<h2><span style="color:#2980b9;">ออกแบบจากประสบการณ์จริงของนักแสดง</span></h2>
<p>ผู้ก่อตั้งคณะมาร็องดู กล่าวด้วยว่า ในด้านการออกแบบบทละคร และพลอตเรื่อง ไอเดียเนื้อหาหรือคอนเทนต์ไม่ได้มาจากเขาเลย แต่เป็นการเก็บข้อมูลผ่านภาพถ่ายของนักแสดงสมัครเล่นชาวเมียนมา โดยตั้งโจทย์ให้นักแสดงร่วมถ่ายภาพที่คิดว่า เขาเจอหรือเพื่อนเขาเจอแล้วหนักหนาสาหัส ช่วยถ่ายเป็นภาพนิ่งให้ดู เน้นภาพถ่ายเป็นอิมเมจเธียเตอร์ (Image Theatre) จากนั้น ก็รวบรวม และทำเป็นละครขึ้นมา</p>
<p>ก่อนหน้านี้ละครเรื่อง "จะร้องเพลงชาติไทยให้ใครฟัง" เคยเปิดการแสดงในวาระวันงานที่มีคุณค่า (Decent Work) เมื่อ 22 ต.ค. 2566 ที่ อ.แม่สอด จ.ตาก ที่ขึ้นชื่อว่ามีแรงงานข้ามชาติข้ามฝั่งเข้ามาทำงานในอุตสาหกรรมสิ่งทอ และมีเรื่องการละเมิดสิทธิแรงงานจำนวนมาก ซึ่งหนักกว่าใน กทม. </p>
<p>ความตั้งใจเดิมของศรชัย คือเขาอยากพานักแสดงชาวพม่าในแม่สอดลงมาทำการแสดงที่กรุงเทพฯ แต่ติดข้อจำกัดด้านกฎหมายที่ไม่อนุญาตให้ชาวพม่าเดินทางข้ามจังหวัด ทำให้ศรชัย ต้องเฟ้นหานักแสดงชาวพม่าจากกรุงเทพฯ อีกชุดหนึ่ง เพื่อมาทำการแสดงในกรุงเทพฯ โดยเฉพาะ</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53375126910_63d2619ffa_b.jpg" /></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">รู้จักละครแทรกสด หรือละครของผู้ถูกกดขี่ ที่เปิดให้ผู้ชมร่วมแสดง</span></h2>
<p>หลายคนอาจสงสัยว่าละครเวทีเรื่องนี้ทำไมถึงเปิดโอกาสให้ผู้ชมร่วมแสดง และแก้ไขปัญหา อะไรคือแนวคิดเบื้องหลังของการแสดงละครเวที ศรชัย กล่าวว่า การแสดงละครเวทีลักษณะนี้เรียกว่า "ละครของผู้ถูกกดขี่" คิดค้นโดย ออกัสโต บูอาล (Augusto Boal) นักการละครบราซิล ยุคทศวรรษ 1960 จุดเด่นคือเนื้อเรื่องที่สะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้าง และเขาจะไม่ให้แค่คนดูชมอย่างเดียว แต่เขาเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงจะทำได้จริง ต้องมีการแสดงมันออกมาด้วย </p>
<p>"ถ้าคุณคิดว่าคุณจะเปลี่ยนแปลงสังคม คุณต้องไม่แค่คิดในหัว คุณต้องทำออกมา คุณจะได้ทราบว่า สิ่งที่คุณคิดอยู่ และทำออกมา ทำได้หรือไม่ได้</p>
<p>"ศัพท์ของทาง Marxist คือ 'Praxis' ทั้งคิดและก็ทำ และก็คิดกลับมา ใคร่ครวญใหม่ และก็ทำอีก ไปเรื่อยๆ เป็นกระบวนการพัฒนาทางสติปัญญา" ผู้ก่อตั้งคณะละครมาร็องดู กล่าวถึงแนวคิดของละคร </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">แก้กฎหมายไม่พอ แต่ต้องแก้ไขทัศนคติ-ความคิดควบคู่กัน</span></h2>
<p>เมื่อม่านละครเวทีจบลง ศรชัย ให้คนดูช่วยกันเขียนถึงความรู้สึกหรือการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงานของแรงงานข้ามชาติในอุดมคติ หนึ่งในนักกฎหมายด้านแรงงาน มองว่า สำหรับเขาการแก้ไขกฎหมายอย่างเดียวอาจไม่พอ เพราะหากดูเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับแรงงาน มันเป็นปัญหาจากทัศนคติด้วย สำหรับผู้กำกับละครเวที มองว่า จุดเริ่มต้นต้องสร้างความตระหนักรู้ขึ้นมาก่อน ถ้าเราไม่เคยเห็น ไม่เคยรู้ว่ามันมีปัญหา เราก็ไม่สามารถคาดหวังความเปลี่ยนแปลงในอนาคต </p>
<p>"ถ้าให้เกิดความตระหนักรู้ (awareness) ตรงนี้ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้น ลองจินตนาการว่าเขาสามารถตั้งกลุ่มละคร และเสนอภาพเหล่านี้ไปเรื่อยๆ อย่างน้อยคนไทยไม่รู้ เขาจะได้เรียนรู้ในกลุ่มของเขาต่อ และผมยังมองเห็นว่าคนไทยเรารู้จักคนพม่าหรือคนลาว เพื่อนบ้านผิวเผินมากๆ หรือไม่รู้จักเลยดีกว่า เพราะเราไม่เคยเป็นเพื่อนกับเขาเลย เราไม่เคยดูงานของเขาเลย ผมคิดว่าเราควรจะมีอะไรแบบนี้เยอะๆ" ศรชัย กล่าว</p>
<p>เมื่อสอบถามในแง่ผลตอบรับ "ผลตอบรับน่าพอใจ" ศรชัย ระบุ และกล่าวว่า เขาดีใจที่ผู้ชมได้มีส่วนร่วม และออกมาแสดงความคิดเห็น บางคนบอกว่าเนื้อเรื่องในละครคือเรื่องจริง บางคนบอกว่าของจริงหนักกว่านี้ ส่วนที่หลายคนสงสัยว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่ คือเวลาที่ชาวเมียนมาที่ตั้งครรภ์ไปหาหมอที่โรงพยาบาล และถูกปฏิเสธรักษาหลายต่อหลายรอบนั้น อันนี้เป็นเรื่องจริงจากหนึ่งในผู้ทำการแสดง </p>
<p>ผู้กำกับระบุว่า เขาไม่ได้ต้องการคำตอบการแก้ไขปัญหาตายตัว แค่มาร่วมกันถือว่าเป็นเรื่องดีแล้ว</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ทางเลือกใหม่ของการผลักดันประเด็นสิทธิมนุษยชน </span></h2>
<p>ศรชัย ทิ้งท้ายว่า เขาอยากให้ภาคประชาสังคม หรือ NGO ลองใช้ศิลปะหรือละครเวที เป็นตัวเลือกใหม่ๆ ในการผลักดันประเด็นปัญหาสังคมร่วมกัน เพราะว่าละครเวทีสามารถเปิดบทสนทนา สร้างความตื่นเต้น และสร้างการมีส่วนร่วมได้ และเราอาจจะมีเวทีเสวนา ปิดท้าย ผลักดันร่วมกันได้</p>
<p>นอกจากนี้ เขาอยากเชิญชวนให้หลายคนเปิดใจลองชมการแสดงละครแทรกสด (Forum Theatre) มากขึ้น ไม่อยากให้คิดว่าเป็นละครผู้ถูกกดขี่แล้ว จะไม่เกี่ยวกับพวกเขา แต่ทุกคนสามารถถูกกดขี่ได้ มันเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมาก จึงอยากเชิญชวนผู้ชมลองเข้ามาสัมผัสกัน</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53374860728_67acc481a3_b.jpg" /></p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/12/107106
 
3611  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - ทนายเผย “เสี่ยแป้ง” ส่งสัญญานดีมอบตัว “ธนกฤต” ฟาดบางหน่วยงาน ใช้สมองทำงาน เมื่อ: 04 ธันวาคม 2566 20:16:10
ทนายเผย “เสี่ยแป้ง” ส่งสัญญานดีมอบตัว “ธนกฤต” ฟาดบางหน่วยงาน ใช้สมองทำงาน
         


ทนายเผย “เสี่ยแป้ง” ส่งสัญญานดีมอบตัว “ธนกฤต” ฟาดบางหน่วยงาน ใช้สมองทำงาน" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;“ทนายชัชวาลย์” เผย “แป้ง นาโหนด” ส่งข้อความสัญญานดีวางแผนมอบตัว รอฟังผลข้อเรียกร้องเป็นรูปธรรม ขณะ “ธนกฤต” ฟาด บางหน่วยงานอย่าทำตัวเป็นจระเข้ขวางคลอง ให้ใช้สมองทำงาน อย่าใช้แต่กำลัง ชี้เหลืออีก 20% เรื่องจบ

         

https://www.sanook.com/news/9124770/
         
3612  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - 'นักวิชาการ' เผยผลสำรวจ นักเรียน ม.ปลาย 504 คน พบ 76% ยังหวัง 'พิธา' เป็นนายกฯ  เมื่อ: 04 ธันวาคม 2566 19:39:28
'นักวิชาการ' เผยผลสำรวจ นักเรียน ม.ปลาย 504 คน พบ 76% ยังหวัง 'พิธา' เป็นนายกฯ 
 


<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2023-12-04 16:43</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>'ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์' เผยผลสำรวจ นักเรียน ม.ปลาย 504 คน พบ 76% ยังหวัง 'พิธา' เป็นนายกฯ ขณะที่ เศรษฐา และแพรทองธาร 3% สอดรับไปในทิศทางเดียวกันกับคน Gen Z ระดับมหาวิทยาลัย ปรารถนาให้ พิธา เป็นนายกฯ มากที่สุด 83.4%</p>
<p style="text-align: center;">
<iframe src="https://www.facebook.com/plugins/post.php?href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2Fpermalink.php%3Fstory_fbid%3Dpfbid02ShDbTRGmFsVhkubTFm779CefHHiLTrJQjmSRvMnHtQRQ7TPpB7FgK9YvH2asoMKzl%26id%3D100050549886530&amp;show_text=true&amp;width=500" width="500" height="537" style="border:none;overflow:hidden" scrolling="no" frameborder="0" allowfullscreen="true" allow="autoplay; clipboard-write; encrypted-media; picture-in-picture; web-share"></iframe></p>
<p>4 ธ.ค.2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 3 ธ.ค. ที่ผ่านมา เฟซบุ๊กแฟนเพจ 'ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์' ของ ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ รองศาสตราจารย์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต รายงานว่า สำรวจดังกล่าว เก็บข้อมูลแบบสอบถามจากคน Gen Z (ช่วงอายุ 15-19 ปี) ที่กำลังศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 504 คน เกี่ยวกับทัศนคติทางการศึกษา สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง เก็บแบบสอบถามระหว่าง 13 พ.ย. - 1 ธ.ค. 2566</p>
<p>ข้อคำถามว่า “ในวันนี้ ท่านปรารถนาให้ใครเป็นนายกรัฐมนตรีไทยมากที่สุด” (รายชื่อที่ระบุนี้คัดสรรจากที่เสนอชื่อให้เป็นนายกรัฐมนตรีโดยพรรคการเมืองในคราวเลือกตั้ง 14 พ.ค. 2566)</p>
<p>ผลการวิจัยพบว่า</p>
<p>1. คน Gen Z มัธยมปลาย ปรารถนาให้ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี มากที่สุดร้อยละ 76 (383 คน) เศรษฐา ทวีสิน ร้อยละ 3.0 (15 คน) แพรทองธาร ชินวัตร ร้อยละ 3.0 (15 คน) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ร้อยละ 1.4 (7 คน) อนุทิน ชาญวีรกูล ร้อยละ 1.0 (5 คน) และพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ร้อยละ 0.4 (2 คน) ส่วนที่ปรารถนาให้คนอื่นๆ ที่ไม่ปรากฏในรายชื่อแบบสอบถามนี้เป็นนายกรัฐมนตรีมีร้อยละ 2.4 (12 คน) ไม่แสดงความเห็น ร้อยละ 12.9 (65 คน)</p>
<p>2. สอดรับไปในทิศทางเดียวกันกับคน Gen Z ระดับมหาวิทยาลัย ปรารถนาให้ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี มากที่สุดร้อยละ 83.4 แพรทองธาร ชินวัตร ร้อยละ 8.0 นายเศรษฐา ทวีสิน ร้อยละ 2</p>
<p>3. ข้อสังเกต คน Gen Z มัธยมปลายที่ตอบแบบสอบถามนี้ราวร้อยละ 75 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด ยังอายุไม่ถึงเกณฑ์ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเมื่อ 14 พ.ค. 2566 คือยังไม่มีประสบการณ์การเลือกตั้ง แต่จากการสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่าคน Gen Z ที่นิยมนายพิธามีแนวโน้มสูงที่จะเผยแพร่สนับสนุนให้คนในครอบครัวเลือก ส.ส. และบัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกลในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา</p>
<p>4. คำอธิบายของคน Gen Z มัธยมปลาย ผู้ปรารถนาให้พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นคำอธิบายแบบเดียวกันกับคน Gen Z ระดับมหาวิทยาลัย เช่น มีกิมมิค, มีเสน่ห์, มีวาจาไพเราะ, มีรอยยิ้มที่อ่อนหวานตลอดเวลา, วิสัยทัศน์ก้าวไกล, เก่ง, ฉลาด, ทันสมัย, มีความสามารถ, มีความเป็นผู้นำ, ทัศนคติดี, สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดีมากๆๆๆ, มีคุณสมบัติการเป็นผู้นำที่เหมาะกับยุคสมัยของสังคมไทยมากที่สุด, มีความคิดที่เข้าใจคนรุ่นใหม่, มีเเนวคิดสมัยใหม่ เป็นผู้สื่อสารทางคำพูดได้ยอดเยี่ยม, ประชาชนเลือกเข้ามา, มาจากคะเเนนเสียงของประชาชนอย่างถูกต้อง, มีวุฒิภาวะ, นโยบายของพรรคก้าวไกลไม่ทำขึ้นเพียงแค่โฆษณาหาเสียงอย่างแน่นอน, เข้าใจปัญหาในยุคปัจจุบัน, พร้อมอธิบายวิธีแก้ไขปัญหาให้ประชาชนได้เข้าใจ</p>
<p>เชื่อมั่นว่าจะไม่ผิดคำพูดที่ให้ไว้กับประชาชน, ซื่อสัตย์ต่อประชาชน, ซื่อตรงต่อประชาชาชน, มีความจริงใจ, เข้าถึงได้ง่าย, เข้าใจคนสมัยใหม่, มีวิธีจัดการปัญหาแบบใหม่ๆ และมุ่งแก้ปัญหาได้ตรงจุด, มีวิสัยทัศน์ชัดเจน, เป็นคนรุ่นใหม่, อยากเห็นความเจริญของประเทศ เชื่อมั่นว่ายึดมั่นในประชาธิปไตย และต่อต้านการรัฐประหาร, ไม่ทิ้งอุดมการณ์, เป็นผู้ที่อยู่ฝั่งประชาชนอยู่ฝั่งประชาธิปไตยมาโดยตลอด, มีความโปร่งใส, มีความน่าเชื่อถือ เชื่อมั่นว่าเป็นผู้นำพรรคก้าวไกลที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศให้ไม่เหมือนเดิม, ให้ประเทศพัฒนาขึ้น, บ้านเมืองจะได้ไม่ล้าหลัง ไม่จมอยู่กับชีวิตแบบเดิมๆ, เห็นความพยายามจะแก้ปัญหาที่ต้นตออย่างแท้จริง</p>
<p>ประเด็นที่คน Gen Z ระดับมัธยมปลายและระดับมหาวิทยาลัยมีทัศนคติที่สอดคล้องกันคือรังเกียจนักการเมืองที่ไม่ซื่อสัตย์ คือไม่ทำตามที่หาเสียงไว้</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ข้อมูลพื้นฐาน</span></h2>
<p>เก็บข้อมูลแบบสอบถามจากโรงเรียนมัธยมปลายในเขตกรุงเทพฯและจังหวัดปริมณฑล สมุทรปราการ นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรสาคร รวม 6 จังหวัด</p>
<p>มีผู้ตอบคำถามข้อนี้ครบ 504 คน</p>
<p>เพศ : หญิง 235 คน (46.6%) ชาย 232 คน (46.0%) เพศหลากหลาย 37 คน (7.4%)</p>
<p>โรงเรียนมัธยมปลาย: กรุงเทพฯ 109 คน (21.6%) สมุทรปราการ 160 คน (31.7%) นครปฐม 90 คน (17.9%) ปทุมธานี 117 คน (23.2%) นนทบุรี 20 คน (4.0%) สมุทรสาคร 8 คน (1.6%)</p>
<p>(หมายเหตุ: ปี 2566 โรงเรียนมัธยมปลายทั้งประเทศ มี 2505 โรง มีนักเรียน 1,073,311 คน ส่วนมัธยมศึกษาตอนต้นมีนักเรียน 1,661,053 คน ประถมศึกษามีนักเรียน 2,956,023 คน ก่อนประถมศึกษามีนักเรียน 859,689 คน ที่มา: สถาบันนวัตกรรมและธรรมาภิบาลข้อมูล &lt;digi.data.go.th)</p>
<p>อายุ : อายุ 15 ปี 104 คน (20.6%) อายุ 16 ปี 136 คน (27.0%) อายุ 17 ปี 130 คน (25.8%) อายุ 18 ปี 95 คน (18.8%) อายุ 19 ปี 39 คน (7.8%)</p>
<p>ระดับชั้นการศึกษา : ม.4 จำนวน 182 คน (36.9%) ม.5 จำนวน 129 คน (26.2%) ม.6 จำนวน 182 คน (36.9%) (ระบุข้อนี้ 493 คน)</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/12/107103
 
3613  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - 'พริษฐ์' เผย 3 แนวทางที่มา 'สสร.' จากการเลือกตั้งหมด ตัวแทนพื้นที่ – ผู้เชี่ เมื่อ: 04 ธันวาคม 2566 18:07:55
'พริษฐ์' เผย 3 แนวทางที่มา 'สสร.' จากการเลือกตั้งหมด ตัวแทนพื้นที่ – ผู้เชี่ยวชาญ – ความหลากหลาย
 


<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2023-12-04 17:53</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>อนุ กมธ.ศึกษาฯ ระบบเลือกตั้ง สสร.สภาผู้แทนราษฎร เผย 3 แนวทางการได้มาซึ่ง สสร. ที่มาจากการเลือกตั้ง อาจเป็นตัวแทนพื้นที่ – สัดส่วนผู้เชี่ยวชาญ – ตัวแทนกลุ่มความหลากหลายทางสังคม ขณะที่ ปธ.อนุกรรมการ เกี่ยวกับแนวทางการทำประชามติ เพื่อแก้ไข รธน.ฯ เผย เตรียมแจกแบบสอบถามรับความเห็น สส. - สว. หลังเปิดสมัยประชุมสภา</p>
<p>4 ธ.ค.2566 พริษฐ์ วัชรสินธุ ประธานคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาการจัดทำข้อเสนอระบบการเลือกตั้งและแนวทางการทำงานของสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้ง ในคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับนักวิชาการเพื่อรับฟังข้อเสนอทางเลือกระบบการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ว่า การรับฟังความเห็นข้อเสนอทางเลือกระบบการเลือกตั้ง สสร.ของอนุ กมธ.เพื่อต้องการคลายข้อกังวลของกลุ่มบุคคลที่ยังไม่เห็นด้วยกับการ สสร.ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด เพื่อให้การได้มาซึ่ง สสร.มีความชอบธรรมมากขึ้น โดยที่ประชุมวันนี้ (4 ธ.ค.66) ได้เชิญนักวิชาการที่เคยยกร่างรัฐธรรมนูญ รวมถึงคณะกรรมการศึกษาจากรัฐบาล เพื่อให้ได้ความเห็นรอบด้านมากขึ้น อาทิ ศาสตราจารย์พิเศษธงทอง จันทรางศุ รองศาสตราจารย์กนกรัตน์ เลิศชูสกุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปริญญา เทวานฤมิตรกุล และพงศ์เทพ เทพกาญจนา</p>
<p>ภายหลังการพิจารณาเบื้องต้นที่ประชุมได้มีข้อเสนอแนวทางการสรรหา สสร.ที่มาจากการเลือกตั้ง อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ ประเภท X คือ สสร.ที่เป็นตัวแทนพื้นที่ / ประเภท Y คือ สสร.ที่เป็นสัดส่วนนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ หรือ ผู้มีประสบการณ์ ซึ่งอาจมาจากการเลือกตั้งโดยตรง หรือ ให้ สสร.ประเภท X ที่ได้รับคัดเลือก เป็นผู้สรรหาผู้เชี่ยวชาญ และ ประเภท Z คือ ส.ส.ร.ที่เป็นตัวแทนกลุ่มความหลากหลายทางสังคม อาทิ กลุ่มหลากหลายทางเพศ กลุ่มชาติพันธุ์ และกลุ่มคนพิการ ซึ่งขณะนี้ อนุ กมธ.อยู่ระหว่างการรวบรวมความเห็นและการประเมินข้อดีข้อเสีย บนเงื่อนไขว่า แนวทางได้มาซึ่ง สสร.ทุกประเภทดังกล่าว ล้วนมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ซึ่งหากรวบรวมข้อมูลข้อเสนอแนะครบถ้วนแล้วจะนำเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร และยื่นให้คณะกรรมการศึกษาของรัฐบาลนำไปพิจารณาต่อ ด้วยความหวังว่า เมื่อเห็นทางเลือกที่เป็นไปได้เหล่านี้ จะทำให้ทุกฝ่ายคลายข้อกังวล และเห็นตรงกันได้ว่า สสร. ควรมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด</p>
<p>ก่อนเข้าประชุม อนุกมธ. ดังกล่าวนั้น นิกร จำนง ประธานคณะอนุกรรมการ รับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับแนวทางในการทำประชามติ เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 เปิดเผยว่าที่ประชุมจะรับฟังข้อเสนอเกี่ยวกับประเด็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ยังมีความเห็นต่างกันเรื่องของสัดส่วนการได้มาซึ่งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ว่านอกจากส่วนที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนแล้ว ส่วนที่เหลือจะมาจากนักวิชาการ เช่นเดียวกับการร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 40 หรือไม่อย่างไร นอกจากนี้กล่าวถึงความคืบหน้าการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยว่า วันที่ 7 ธ.ค. นี้ เจือ ราชสีห์ และวิภูแถลง พัฒนภูมิไท ในฐานะคณะอนุกรรมการฯ จะนำทีมลงพื้นที่จังหวัดสงขลา เพื่อรับฟังความเห็นประชาชน หลังจากนั้นเมื่อเปิดสมัยประชุมแล้ว ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 13-14 ธ.ค. และการประชุมวุฒิสภา วันที่ 18-19 ธ.ค. นี้ จะได้แจกแบบสอบถามเพื่อรับฟังความเห็นจากทั้ง สส.และ สว. โดยวันนี้ (4 ธ.ค. 66) ตนได้ส่งหนังสือขออนุญาตแจกแบบสอบถามต่อสมาชิกทั้งสองสภา ไปยังวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร และศาสตราจารย์พิเศษ พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้มีประเด็นคำถามที่สอบถาม สส. และ สว. อาทิ เห็นด้วยหรือไม่กับการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับ เห็นด้วยหรือไม่กับกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา เนื้อหาส่วนใดบ้างที่ควรแก้ไข และที่มาของสสร.ควรมาจากการเลือกตั้งของประชาชนหรือสัดส่วนนักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญด้วย อย่างไรก็ตามหลังการรับฟังความคิดเห็นจาก สส.และสว. แล้ว วันที่ 21 ธ.ค. นี้ จะมีการประชุมคณะอนุกรรมการ เพื่อสรุปผลการดำเนินการ ก่อนจะรายงานต่อที่ประชุมคณะใหญ่ซึ่งมีภูมิธรรม เวชชยชัย รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนธ.ค. ต่อไป </p>
<p>นิกร กล่าวถึงกรณีการแก้ไข พ.ร.บ. ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2564 ด้วยว่าตนได้ตัดเรื่องเสียงเกินกึ่งหนึ่งสองชั้นออกไปแล้ว โดยลำดับถัดไปจะนำคณะเข้าหารือกับเอกอัครราชทูตสวิตเซอร์แลนด์ วันที่ 11 ธ.ค. เพื่อรับฟังแนวทางการทำประชามติของประเทศสวิตเซอร์แลนด์เนื่องจากเป็นประเทศที่มีการทำประชามติรับฟังความเห็นจากประชาชนมากที่สุด และเป็นประเทศที่ใช้ระบบประชาธิปไตยทางตรง ส่วนข้อถามถึงกรณีที่มีพรรคการเมืองต้องการเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ม.112 ว่าเห็นด้วยหรือไม่ นิกร กล่าวว่า ตนยึดแนวทางของพรรคชาติไทยพัฒนา โดยจุดยืนเดิมคือไม่สนับสนุนการนิรโทษกรรมความผิดที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายอาญา ม. 112 หรือความผิดร้ายแรงที่เกี่ยวข้องกับความเสียหายของบุคคลภายนอก รวมทั้งความผิดในคดีอาญา ในกรณีนี้ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เพียงชั่วข้ามคืนต้องค่อยเป็นค่อยไปในการดำเนินการ</p>
<p>ที่มา :  สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/12/107105
 
3614  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - ญี่ปุ่นยืนยันแล้ว "ไข้หวัดนกชนิดรุนแรง" ระบาดครั้งที่ 4 ของฤดูกาล กำจัดไก่กว่ เมื่อ: 04 ธันวาคม 2566 17:45:39
ญี่ปุ่นยืนยันแล้ว "ไข้หวัดนกชนิดรุนแรง" ระบาดครั้งที่ 4 ของฤดูกาล กำจัดไก่กว่า 2 หมื่นตัว
         


ญี่ปุ่นยืนยันแล้ว &quot;ไข้หวัดนกชนิดรุนแรง&quot; ระบาดครั้งที่ 4 ของฤดูกาล กำจัดไก่กว่า 2 หมื่นตัว" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;ญี่ปุ่นยืนยันไข้หวัดนกระบาดครั้งที่ 4 ของฤดูกาล
         

https://www.sanook.com/news/9124738/
         
3615  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - 6 ตัวประกันไทยที่ถูกปล่อยตัวชุดล่าสุด กลับถึงไทยแล้ว เมื่อ: 04 ธันวาคม 2566 16:36:57
6 ตัวประกันไทยที่ถูกปล่อยตัวชุดล่าสุด กลับถึงไทยแล้ว
 


<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2023-12-04 15:13</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ที่มาภาพปก: เฟซบุ๊ก Royal Thai Embassy, Tel Aviv</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>6 ตัวประกันไทยที่ได้รับการปล่อยตัวจากฉนวนกาซาชุดล่าสุด กลับถึงไทยแล้ว ด้านอิสราเอลยืนยันพร้อมรับกลับมาทำงานอีก</p>
<p>4 ธ.ค. 2566 วันนี้ (4 ธ.ค.) เวลาประมาณ 14.21 น. สื่อเดอะรีพอร์ตเตอร์ไลฟ์สด จากสนามบินสุวรรณภูมิ ระบุว่า 6 ตัวประกันไทยที่ได้รับการปล่อยตัวจากฉนวนกาซา เดินทางกลับถึงไทยแล้ว</p>
<p>โดยก่อนหน้านี้กระทรวงการต่างประเทศเปิดเผยว่า แรงงานไทยกลุ่มดังกล่าวเป็นตัวประกันที่ได้รับการปล่อยตัวในรอบที่ 4 และ 5 มีรายชื่อดังนี้ </p>
<p><span style="color:#d35400;"><strong>ชุดที่ 4</strong></span></p>
<p>1.พัฒนายุทธ ตอนโสกรี</p>
<p>2.โอวาส สุริยะศรี</p>
<p><span style="color:#d35400;"><strong>ชุดที่ 5</strong></span> </p>
<p>1.ไพบูลย์ รัตนิล</p>
<p>2.กง แซ่เล่า</p>
<p>3.จักรพันธ์ สีเคนา</p>
<p>4.เฉลิมชัย แสงแก้ว</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">อิสราเอลยืนยันพร้อมรับกลับมาทำงานอีก</span></h2>
<p>วานนี้ (3 ธ.ค.) เฟซบุ๊ก สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลเอวีฟ โพสต์ว่า อาวี ดิชเตอร์ (Avi Dichter) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทของอิสราเอล ได้เข้าเยี่ยม 6 ตัวประกันไทยที่โรงพยาบาล Shamir Medical Center ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่ฝ่ายอิสราเอลจัดไว้ให้เพื่อตรวจสุขภาพ โดยมีพรรณนภา จันทรารมย์ เอกอัครราชทูตและคณะข้าราชการสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟและจากกระทรวงการต่างประเทศรอต้อนรับ</p>
<p>รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ของอิสราเอล กล่าวต้อนรับและให้กำลังใจกลุ่มคนไทยดังกล่าวคืนสู่อิสราเอล พร้อมกล่าวแสดงความชื่นชมแรงงานไทยในภาคการเกษตรซึ่งเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งสำหรับอิสราเอลและพร้อมต้อนรับแรงงานไทยกลับมา</p>
<p>ในโอกาสนี้ เอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ แสดงความขอบคุณต่อรัฐบาลอิสราเอล และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่ให้การดูแลกลุ่มคนไทยทั้งหมดที่ได้รับการปล่อยตัวออกมาเป็นอย่างดียิ่ง</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/12/107102
 
3616  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [การเมือง] - "อัจฉริยะ" เปิดอีก แฉย้ายอธิบดี DSI จ่อยื่นหนังสือถึง สส.โรม หมูเถื่อน 140 ตู้ทำลาย เมื่อ: 04 ธันวาคม 2566 16:21:42
"อัจฉริยะ" เปิดอีก แฉย้ายอธิบดี DSI จ่อยื่นหนังสือถึง สส.โรม หมูเถื่อน 140 ตู้ทำลายล่าช้า
         


&quot;อัจฉริยะ&quot; เปิดอีก แฉย้ายอธิบดี DSI จ่อยื่นหนังสือถึง สส.โรม หมูเถื่อน 140 ตู้ทำลายล่าช้า" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;“อัจฉริยะ ” แฉ 3 ปมย้ายอธิบดีดีเอสไอ จ่อยื่นหนังสือถึง รังสิมันต์ โรม 7 ธ.ค.นี้ เพื่อตรวจสอบหมูเถื่อน 140 ตู้ มีการทำลายล่าช้า
         

https://www.sanook.com/news/9124630/
         
3617  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - สปสช. ให้สิทธิ "บัตรทอง" กลุ่ม LGBTQ+ ผ่าตัดแปลงเพศฟรี มีมานานแล้ว! เมื่อ: 04 ธันวาคม 2566 15:14:41
สปสช. ให้สิทธิ "บัตรทอง" กลุ่ม LGBTQ+ ผ่าตัดแปลงเพศฟรี มีมานานแล้ว!
         


สปสช. ให้สิทธิ &quot;บัตรทอง&quot; กลุ่ม LGBTQ+ ผ่าตัดแปลงเพศฟรี มีมานานแล้ว!" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;สปสช. เผยกลุ่ม LGBTQ+ สามารถใช้สิทธิ “บัตรทอง” ผ่าตัดแปลงเพศได้มาตั้งแต่ปี 2561 แล้ว เร่งหารือออกแพ็กเกจให้ชัดเจน หลังพบต้องทำ 8 - 9 หัตถการ คาดเสร็จใจ 1 - 2 เดือนนี้

         

https://www.sanook.com/news/9124646/
         
3618  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - รมว.ศธ. ผุดไอเดียให้ครูเขียนเรียงความ “ค.ภาคภูมิใจในการเดินตามรอยเบื้องพระยุค เมื่อ: 04 ธันวาคม 2566 15:05:38
รมว.ศธ. ผุดไอเดียให้ครูเขียนเรียงความ “ค.ภาคภูมิใจในการเดินตามรอยเบื้องพระยุคลบาท ร.9”
 


<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2023-12-04 14:32</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>รมว.ศธ. ลงพื้นที่หนองคาย ผุดไอเดียให้ครูเขียนเรียงความ “ความภาคภูมิใจในการเดินตามรอยเบื้องพระยุคลบาท รัชกาลที่ 9”</p>
<p>4 ธ.ค. 2566 ข่าวประชาสัมพันธ์กระทรวงศึกษาธิการ ระบุว่า วานนี้ (3 ธ.ค.) ที่โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร อ.เมือง จ.หนองคาย พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ลงพื้นที่เพื่อตรวจราชการและติดตามนโยบายการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) ครั้งที่ 1/2566 กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 (บึงกาฬ เลย หนองคาย หนองบัวลำภู และอุดรธานี)</p>
<p>รมว.ศธ. กล่าวว่า การลงพื้นที่ในครั้งนี้เพื่อย้ำนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยเน้นในการออกแบบวิธีจัดการเรียนการสอนของครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนมีความสุขและยกระดับทักษะของผู้เรียนอย่างรอบด้าน</p>
<p>ทั้งนี้ รมว.ศธ. ขอให้บุคลากรทุกคน รวมถึงผู้บริหารทุกระดับ ยึดแนวทางการปฏิบัติงานตามรอยพระยุคลบาท ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 มาเป็นแบบอย่างและหลักการในการทำงานเป็นข้าราชการที่ดีตามรอยพระยุคลบาท</p>
<p>นอกจากนี้ รมว.ศธ.ได้ริเริ่มการทำแซนด์บ็อกซ์ โดยขอให้ครูเขียนเรียงความ “ความภาคภูมิใจของข้า ในการเดินตามรอยเบื้องพระยุคลบาท” สอดรับกับบันทึกข้อตกลง แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทย และการพิจารณาการคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการเป็นพนักงานและเจ้าหน้าที่รัฐให้เป็นคนที่มีจิตสำนึกรักชาติและภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ชาติไทย เพื่อให้ผู้บริหารและครูได้แสดงออกและนำเสนอมุมมองความรู้เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจและความภาคภูมิใจในความเป็นชาติไทย ซึ่งบรรยากาศเป็นไปด้วยดี ครูและบุคลากรทางการศึกษาต่างออกมาถ่ายทอดความรู้สึกซาบซึ้งและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ พร้อมจะเป็นต้นแบบและปลูกฝังให้กับนักเรียนต่อไป</p>
<p>"จากการมอบโจทย์ให้เขียนเรียงความ ทำให้เห็นว่า ความสำเร็จของโรงเรียน เกิดจากครูทุกคน ทุกคนมีความสำคัญเสมอเหมือนกัน ตั้งแต่ผู้อำนวยการไปถึงภารโรง เมื่อทุกคนทำหน้าที่ของตัวเองอย่างเต็มที่ งานก็จะเดินหน้าไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ได้ ดังนั้นจึงขอให้ร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาการศึกษา สร้างเสริมให้เด็กเยาวชนรักชาติ สำนึกในความเป็นชาติ รู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย และอยากเห็นลูกๆ ทุกโรงเรียนในหนองคายได้เรียนอย่างที่อยากเรียนและมีความสุขเช่นเด็กที่นี่ ท้ายสุด ขอย้ำการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ซึ่งเชื่อว่าเด็กที่สื่อสารภาษาอังกฤษได้ดีมีอยู่จำนวนมาก ทำอย่างไรจะส่งเสริมให้ได้รับการทดสอบและวัดระดับความรู้ความสามารถให้มากขึ้น โดยเฉพาะในเวทีนานาชาติ ซึ่งยังจำเป็นจะต้องวัดผล เพื่อพัฒนาจุดอ่อนและส่งเสริมจุดเด่นให้ดียิ่งขึ้น" รมว.ศธ.กล่าว</p>
<p>ในโอกาสนี้ รมว.ศธ. นำผู้บริหาร ศธ. ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และนักเรียน ร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี ก่อนรับชมการแสดงและเยี่ยมนิทรรศการออนไลน์ ของโรงเรียนปทุมเทพวิทยาคารโดยนักเรียนนำเสนอ ในหัวข้อ ผลการจัดการเรียนรู้ เทียบเคียงมาตรฐาน สากล ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียน “เรียนดี มีความสุข” (Achieving Excellent Through Learning the Key Skills of  Management)</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/12/107101
 
3619  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าว ไอที] - Apple ประกาศสุดยอดแอปและเกมที่ชนะรางวัล App Store Award ประจำปี 2023 เมื่อ: 04 ธันวาคม 2566 14:57:23
Apple ประกาศสุดยอดแอปและเกมที่ชนะรางวัล App Store Award ประจำปี 2023
         


Apple ประกาศสุดยอดแอปและเกมที่ชนะรางวัล App Store Award ประจำปี 2023" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;Apple ได้ประกาศ App Store Award ประจำปี 2023 ซึ่งเป็นการยกย่อง 14 แอปและเกม
         

https://www.sanook.com/hitech/1593775/
         
3620  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - ‘วัชเรศร’ โพสต์ภาพถึงไทยแล้ว เตรียมทำกิจกรรมวันพ่อพรุ่งนี้ เมื่อ: 04 ธันวาคม 2566 13:35:34
‘วัชเรศร’ โพสต์ภาพถึงไทยแล้ว เตรียมทำกิจกรรมวันพ่อพรุ่งนี้
 


<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2023-12-04 11:56</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ที่มาภาพปก: เฟซบุ๊ก Vacharaesorn Vivacharawongs
(ซ้าย) ถ่ายโดย Joshua Nguyen</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>‘วัชเรศร’ โพสต์ภาพถึงไทยแล้ว เตรียมทำกิจกรรมวันพ่อพรุ่งนี้ นับเป็นการกลับไทยเป็นครั้งที่ 2 แบบเป็นการส่วนตัว </p>
<p>4 ธ.ค. 2566 หลายสำนักข่าวรายงานตรงกันว่า วัชเรศร วิวัชรวงศ์ หรือคุณอ้น โอรสคนที่ 2 ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เดินทางมาถึงประเทศไทยแล้ว นับเป็นการกลับไทยเป็นครั้งที่ 2 แบบเป็นการส่วนตัว </p>
<p>ก่อนหน้านี้ ผู้สื่อข่าวไทยรัฐประจำสหรัฐอเมริกา รายงานว่า วัชเรศรได้เปิดเผยกับคนใกล้ชิดว่า มีกำหนดเดินทางไปประเทศไทยอีกครั้ง โดยถึงไทยวันนี้ (4 ธ.ค.) และตั้งใจไปน้อมรำลึกพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในวันพรุ่งนี้ (5 ธ.ค.) </p>
<p>จากนั้นจัดโปรแกรมไปท่องเที่ยวในต่างจังหวัด เนื่องจากอยากไปเที่ยวหลายจังหวัด แต่อยากไปแบบเรียบง่าย จึงไม่ได้เปิดเผยว่าจะไปจังหวัดใดบ้าง และจะหลีกเลี่ยงการให้ผู้สื่อข่าวติดตาม ส่วนกำหนดมาประเทศไทยครั้งนี้ ตั้งใจว่าจะอยู่ประมาณ 2 สัปดาห์</p>
<p>ไทยรัฐออนไลน์รายงานด้วยว่า วัชเรศรเดินทางมาด้วยสายการบินแอร์ฟรานซ์ AF152 ถึงเวลา 08.50 น.</p>
<p>ขณะที่ วันนี้ (4 ธ.ค.) เมื่อเวลา 8.34 น. เฟซบุ๊ก Vacharaesorn Vivacharawongs โพสต์ภาพจากเครื่องบิน พร้อมแคปชั่นระบุว่า “ไกลสุดสายตา ขอบฟ้าสีคราม แผ่นดินสยาม” โดยแคปชั่นดังกล่าวเป็นท่อนหนึ่งจากเนื้อเพลงทหารอากาศขาดรัก</p>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="autoplay; clipboard-write; encrypted-media; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="true" frameborder="0" height="589" scrolling="no" src="https://www.facebook.com/plugins/post.php?href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2Fpermalink.php%3Fstory_fbid%3Dpfbid031toy4rkzGZ11uiJxt8QKpkcECEzhysFWQ6mC23kDg7g7x7JubLGjRFndEoinCfg9l%26id%3D100000959462480&amp;show_text=true&amp;width=500" style="border:none;overflow:hidden" width="500"></iframe></p><p> </p>
<p>อนึ่ง เมื่อวันที่ 7 ส.ค. ที่ผ่านมา วัชเรศร ได้เดินทางมาเยือนประเทศไทย ซึ่งเป็นการกลับแผ่นดินเกิดเป็นครั้งแรกในรอบ 27 ปี โดยมีการให้สัมภาษณ์สื่อทั้งในและต่างประเทศว่ากลับมาในฐานะสามัญชน</p>
<p>ต่อมาเมื่อวันที่ 13 ส.ค. เฟซบุ๊ก Wassana Nanuam ของวาสนา นาน่วม นักข่าวสายความมั่นคง ได้เผยแพร่ภาพ “จักรีวัชร  วิวัชรวงศ์” หรือ “คุณอ่อง” เดินทางไปยังโรงพยาบาลศิริราช เพื่อไหว้กรมหลวงสงขลานครินทร์ สมเด็จย่า และรัชกาลที่ 9</p>
<p>เฟซบุ๊ก Wassana Nanuam ระบุด้วยว่า เป็นการกลับประเทศไทยเป็นครั้งแรกของจักรีวัชร โดยจะมารับวัชเรศร ที่เดินทางมายังประเทศไทยก่อนหน้านี้ กลับสหรัฐฯ ด้วยกัน</p>
<div class="more-story">
<ul>
<li>'Bangkok Tuk-Tuk' ท่านอ้น โพสต์ภาพลงเฟซบุ๊ก หลังกลับไทย</li>
<li>เผยภาพ 'จักรีวัชร วิวัชรวงศ์' กลับไทยครั้งแรก</li>
<li>'ท่านอ้น' เผยอดีตประธานาธิบดีเยอรมนีหวังไทยได้รัฐบาลเคารพการตัดสินใจของประชาชน</li>
</ul>
</div>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/12/107098
 
หน้า:  1 ... 179 180 [181] 182 183 ... 1136
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.159 วินาที กับ 21 คำสั่ง