[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
16 มิถุนายน 2567 12:49:15 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก เวบบอร์ด ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

  แสดงกระทู้
หน้า:  1 ... 331 332 [333] 334 335 ... 1146
6641  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - เปิดใจ "แซม" กระบะออลนิว เครียดหนัก ต่อให้ขายรถยังไม่เหลือเงินซ่อมโรลส์-รอยซ เมื่อ: 17 สิงหาคม 2566 15:51:38
เปิดใจ "แซม" กระบะออลนิว เครียดหนัก ต่อให้ขายรถยังไม่เหลือเงินซ่อมโรลส์-รอยซ์
         


เปิดใจ "แซม" กระบะออลนิว เครียดหนัก ต่อให้ขายรถยังไม่เหลือเงินซ่อมโรลส์-รอยซ์" width="75" height="75
  
         

https://www.sanook.com/news/8984318/
         
6642  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - ฝ่ายสิทธิ์ สมาคมนักข่าวฯ ร้องทุกฝ่ายไม่ใช้ความรุนแรง-ก้าวร้าวต่อการทำหน้าที่ เมื่อ: 17 สิงหาคม 2566 14:53:17
ฝ่ายสิทธิ์ สมาคมนักข่าวฯ ร้องทุกฝ่ายไม่ใช้ความรุนแรง-ก้าวร้าวต่อการทำหน้าที่สื่อในรายงานข่าว
 


<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2023-08-17 14:23</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ฝ่ายสิทธิ์ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เรียกร้องทุกฝ่ายไม่ใช้ความรุนแรงแสดงกิริยาก้าวร้าวต่อการทำหน้าที่สื่อในรายงานข่าว เพื่อให้สื่อปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจสอบข้อมูลข้อเท็จจริงรอบด้าน</p>
<p>17 ส.ค.2566 เมื่อวันที่ 16 ส.ค.ที่ผ่านมา ชำนาญ ไชยศร อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากการที่อนุกรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพฯ ได้เฝ้าติดตามสถานการณ์ในการปฎิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชน ด้วยหลักการคำนึงถึงผลประโยชน์สาธารณะเป็นสำคัญ แต่กลับพบว่าในช่วงที่ผ่านมา มีสื่อมวลชนหลายสำนักถูกคุกคาม ถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพการทำหน้าที่ในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการถูกกระทำต่อร่างกาย หรือการใช้วาจาที่ไม่เหมาะสมที่อาจจะมองได้ถึงการไม่เคารพ และไม่ให้เกียรติในการทำหน้าที่สื่อมวลชนมาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นอนุกรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพฯ ต่างมีความห่วงใยต่อสถานการณ์ และขอเรียกร้องต่อทุกฝ่าย รวมถึงแหล่งข่าว และประชาชนดังนี้</p>
<p>1. ขอให้ทุกฝ่ายเข้าใจและเคารพการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนให้สามารถนำเสนอข่าวได้อย่างอิสระ เพื่อนำเสนอข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นอย่างครบถ้วน รอบด้าน และเป็นไปตามหลักจริยธรรมแห่งวิชาชีพสื่อมวลชน</p>
<p>ทั้งนี้ สื่อมวลชนมีหน้าที่รายงานข่าวและข้อเท็จจริง ไม่ได้เป็นคู่ขัดแย้งกับใคร จึงไม่ควรตกเป็นเป้าหมายของการข่มขู่ คุกคาม และแทรกแซงไม่ว่าจากฝ่ายใด ซึ่งอาจส่งผลให้ไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างอิสระจะส่งผลกระทบต่อสิทธิการรับรู้ข่าวสารข้อมูล และข้อเท็จจริงอย่างครบถ้วนของประชาชน</p>
<p>2. ขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายระมัดระวังในการแสดงพฤติกรรม การใช้วาจาการให้เกียรติ และเคารพศักดิ์ศรีในการทำหน้าที่ซึ่งกันและกัน เพราะสื่อมวลชนตั้งคำถามแทนประชาชนตามหลักวิชาชีพ ตามสิทธิเสรีภาพ ซึ่งผู้ถูกตั้งคำถามมีสิทธิ์ปฏิเสธที่จะตอบคำถามนั้นๆ ได้</p>
<p>3. ขอให้สื่อมวลชนทุกแขนง ทำหน้าที่การรายงานข่าวสารข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากทุกฝ่ายอย่างตรงไปตรงมา ไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง ไม่ส่งผ่านถ้อยคำความรุนแรงที่อาจจะสร้างความเกลียดชังระหว่างคนในสังคมและให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ประชาชนสามารถรับรู้ข้อมูลที่ถูกต้องรอบด้านมากที่สุด และต้องทำหน้าที่อย่างสุจริต ตรงไปตรงมา และให้เกียรติแหล่งข่าวด้วยเช่นกัน</p>
<p>4. หากผู้ใดที่ได้รับผลกระทบจากการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน กรณีเห็นว่าสื่อมวลชนใช้สิทธิเสรีภาพเกินขอบเขต สามารถฟ้องร้องดำเนินคดีได้ตามกฎหมาย หรือใช้กลไกควบคุมจริยธรรมขององค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนผ่านสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติหรือองค์กรวิชาชีพอื่นที่เกี่ยวข้อง แต่ต้องไม่ใช้ความรุนแรงคุกคามการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน</p>
<p>สุดท้ายนี้ในสถานการณ์ที่มีความแตกต่างทางความคิด ความเชื่อเช่นนี้ ซึ่งสื่อต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษในการรายงานข่าวโดยปราศจากอคติ ที่อาจมีประเด็นความเห็นที่แตกต่าง มีความขัดแย้งในทางความคิดของคนในสังคม แต่ในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนนั้นมิใช่คู่ขัดแย้งของฝ่ายใด สื่อมวลชนมีหน้าที่เพียงรายงานข่าวตามจริยธรรมวิชาชีพเท่านั้น และขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายได้เคารพบทบาทหน้าที่ซึ่งกันและกัน และแสวงหาหนทางที่จะคลี่คลายวิกฤติด้วยสันติวิธี</p>
<p>สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ มีความห่วงใยในสวัสดิภาพของเพื่อนนักข่าว ที่กำลังรายงานข่าวอยู่ในขณะนี้ เนื่องจากสถานการณ์มีความอ่อนไหว มีแนวโน้มในการใช้ความรุนแรง ดังนั้นนักข่าวพึงต้องระมัดระวังในสวัสดิภาพของตัวเองไปพร้อมกับการทำหน้าที่ตามจริยธรรมวิชาชีพอย่างเคร่งครัดต่อไป</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/08/105495
 
6643  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - กสม.ชี้ดำเนินคดีความผิดเกี่ยวกับเพศต่อเด็กล่าช้า ถือเป็นการละเมิดสิทธิฯ เมื่อ: 17 สิงหาคม 2566 13:22:35
กสม.ชี้ดำเนินคดีความผิดเกี่ยวกับเพศต่อเด็กล่าช้า ถือเป็นการละเมิดสิทธิฯ
 


<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2023-08-17 12:48</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>กสม. ร่วมภาคีเครือข่ายจัดสมัชชาสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2566 ขับเคลื่อนงาน 5 ประเด็นสิทธิสำคัญ ภายใต้แนวคิด “ศักดิ์ศรี เสรีภาพ ความเสมอภาค และความยุติธรรมสำหรับทุกคน” - ชี้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีการกระทำความผิดเกี่ยวกับเพศต่อเด็กล่าช้า เป็นการละเมิดสิทธิการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม</p>
<p>วันที่ 17 ส.ค. 2566 เวลา 10.30 น. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) โดยนายวสันต์  ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและนายพิทักษ์พล  บุณยมาลิก เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แถลงข่าวเด่นประจำสัปดาห์ครั้งที่ 30/2566 โดยมีวาระสำคัญ ดังนี้</p>
<h2><span style="color:#3498db;">1. กสม. ร่วมภาคีเครือข่ายจัดสมัชชาสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2566 ขับเคลื่อนงานสิทธิในกระบวนการยุติธรรม สิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อม สถานะบุคคล การขจัดการเลือกปฏิบัติ และการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว</span></h2>
<p>นายพิทักษ์พล  บุณยมาลิก เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดเผยว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) มีกำหนดจัดงานสมัชชาสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2566 : 75 ปี ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ภายใต้แนวคิด “ศักดิ์ศรี เสรีภาพ ความเสมอภาค และความยุติธรรมสำหรับทุกคน” ระหว่างวันที่ 23 – 24 สิงหาคม 2566 ณ ห้องวายุภักษ์ 3 – 4 ชั้น 4 โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทาราศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากองค์กรภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนต่อสถานการณ์สิทธิมนุษยชนและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างยั่งยืน รวมถึงเพื่อเป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในการขับเคลื่อนงานสิทธิมนุษยชนของประเทศ</p>
<p>ในปี 2566 นี้เป็นปีที่ 2 ของการจัดงานสมัชชาสิทธิมนุษยชนระดับชาติ โดย กสม. ได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายขับเคลื่อน 5 ประเด็นสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ ประกอบด้วย (1) สิทธิในกระบวนการยุติธรรม ว่าด้วยการผลักดันการบังคับใช้ พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 ให้มีประสิทธิภาพและการผลักดันการบริหารจัดการทะเบียนประวัติอาชญากร (2) สิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อม เป็นการระดมข้อเสนอแนะในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. .... และกฎหมายวิธีพิจารณาคดีสิ่งแวดล้อม การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมในระดับยุทธศาสตร์</p>
<p>(3) การแก้ไขปัญหากลุ่มสถานะบุคคล เป็นการระดมความคิดเห็นต่อแนวทางและกลไกการขับเคลื่อนนโยบายเพื่อขจัดความไร้รัฐไร้สัญชาติของประเทศไทย (4) การขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล ว่าด้วยการขับเคลื่อนกฎหมายกลางเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล การขับเคลื่อนกฎหมายคุ้มครองพนักงานบริการ (Sex worker) ข้อเสนอในการยกเลิกการตรวจหาเชื้อเอชไอวีในการทำงาน รวมทั้งการแก้ไขปัญหาการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลในใบรับรองแพทย์เกินความจำเป็น</p>
<p>และ (5) การแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เป็นการระดมความเห็นต่อปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมาย เช่น พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 พ.ร.บ. ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 ตลอดจนประเด็นการพัฒนากลไกในการให้ความคุ้มครอง ช่วยเหลือ และเยียวยาเหยื่อผู้ถูกกระทำความรุนแรงโดยสังคมมีส่วนร่วม รวมถึงแนวทางในการเสริมสร้างทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับปัญหาความรุนแรงในครอบครัว</p>
<p>“การขับเคลื่อน 5 ประเด็นสิทธิมนุษยชนที่สำคัญดังกล่าว เป็นการดำเนินงานของ กสม. ร่วมกับเครือข่ายภาคประชาสังคม ภาครัฐ และภาคเอกชน มาอย่างต่อเนื่องในปีที่ผ่านมา โดยในงานสมัชชาสิทธิมนุษยชนครั้งนี้ ภาคีเครือข่ายจะได้ร่วมกันนำเสนอข้อมติจากทั้ง 5 ประเด็น และจะมีการประกาศเจตนารมณ์รวมพลังขับเคลื่อนงานด้านสิทธิมนุษยชนร่วมกัน ซึ่งประชาชนหรือผู้ที่สนใจสามารถติดตามรับชมการถ่ายทอดสดประเด็นการพูดคุยและสาระในงานได้ทาง Facebook Live สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในวันที่ 24 สิงหาคม 2566 นี้ ”  นายพิทักษ์พล กล่าว</p>
<h2><span style="color:#3498db;">2. กสม. ชี้กรณีพนักงานสอบสวนดำเนินคดีความผิดเกี่ยวกับเพศต่อเด็กล่าช้า เป็นการละเมิดสิทธิฯ ให้ ตร. สอบสวนลงโทษผู้กระทำผิด ส่ง ป.ป.ช. พิจารณาดำเนินการฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่</span></h2>
<p>นายวสันต์  ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดเผยว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้รับเรื่องร้องเรียนจากมูลนิธิสายเด็ก ระบุว่า เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ผู้เสียหายซึ่งเป็นเยาวชนหญิงอายุ 13 ปี ได้ถูกเยาวชนชายรายหนึ่งล่วงละเมิดทางเพศ มารดาและผู้เสียหายได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจนครบาลร่มเกล้า (ผู้ถูกร้อง) แต่จนถึงวันที่ร้องเรียนตามคำร้องนี้เมื่อเดือนกันยายน 2565 ยังไม่มีความคืบหน้าในการดำเนินคดี ส่งผลให้ผู้เสียหายมีภาวะป่วยเป็นโรคซึมเศร้าและไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย จึงขอให้ตรวจสอบและเร่งรัดการดำเนินคดี  </p>
<p>กสม. พิจารณาแล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 68 กำหนดให้รัฐมีหน้าที่ในการจัดระบบบริหารงานในกระบวนการยุติธรรมทุกด้านให้มีประสิทธิภาพ สะดวก และรวดเร็ว ประกอบกับคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 419/2556 เรื่องการอำนวยความยุติธรรมในคดีอาญา การทำสำนวนการสอบสวน และมาตรการการควบคุม ตรวจสอบ เร่งรัดการสอบสวนคดีอาญา ลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2556 กำหนดให้มีการแจ้งความคืบหน้าของคดีให้ผู้แจ้งความร้องทุกข์ทราบ</p>
<p>จากการตรวจสอบข้อเท็จจริง รับฟังเป็นที่ยุติว่า นับตั้งแต่วันที่พนักงานสอบสวน สถานีตำรวจนครบาลร่มเกล้าได้รับแจ้งความลงบันทึกประจำวันเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2562 กระทั่งปัจจุบันระยะเวลาล่วงเลยมากว่า 4 ปี ผู้ถูกร้องไม่ได้ดำเนินการใด ๆ ตามหน้าที่และอำนาจที่กฎหมายกำหนดแม้มารดาผู้เสียหายและผู้เสียหายได้ติดตามขอทราบความคืบหน้าในการดำเนินคดีจากผู้ถูกร้องหลายครั้งก็ตาม เป็นเหตุให้มารดาผู้เสียหายและผู้เสียหายต้องร้องเรียนต่อมูลนิธิพิทักษ์สตรี และมูลนิธิสายเด็ก 1387 อันนำมาสู่การร้องเรียนต่อ กสม. เพื่อขอให้ตรวจสอบและเร่งรัดการดำเนินคดี อย่างไรก็ดี หลังจาก กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนได้ประสานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้แก่ผู้เสียหายโดยมีหนังสือขอทราบผลการดำเนินคดีไปยังผู้ถูกร้อง 3 ครั้ง แต่ก็ไม่ได้รับการตอบกลับ หรือแจ้งผลดำเนินการแต่อย่างใด</p>
<p>กสม. เห็นว่า การที่ผู้ถูกร้องไม่ดำเนินการสอบสวนคดีและไม่ปฏิบัติหน้าที่ในการอำนวยความยุติธรรม ทำให้ผู้เสียหายไม่ได้รับการช่วยเหลือเยียวยา และไม่ได้รับการคุ้มครองด้วยความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพและเป็นธรรม แม้ภายหลังจากที่มีการตรวจสอบกรณีตามคำร้องเรียนนี้ผู้ถูกร้องจะชี้แจงว่าได้ออกเลขคดีอาญา ลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2566 แจ้งสิทธิการขอรับค่าตอบแทนผู้เสียหายในคดีอาญา และออกหมายเรียกผู้ถูกกล่าวหาเพื่อมารับทราบข้อกล่าวหา พร้อมกับแจ้งว่าจะดำเนินการให้เสร็จสิ้นโดยเร็วแล้วก็ตาม ก็เป็นเพียงการดำเนินการในหน้าที่ที่ผู้ถูกร้องจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายอยู่แล้ว แต่ความล่าช้าที่ผู้ถูกร้องก่อให้เกิดขึ้นย่อมกระทบสิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของมารดาผู้เสียหายและผู้เสียหาย จึงเป็นการละเลยต่อหน้าที่อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน</p>
<p>นอกจากนี้ การที่ผู้ถูกร้องละเลยการปฏิบัติหน้าที่ ยังอาจเข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ที่ผู้ถูกร้องจะต้องดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด จึงเห็นควรส่งรายงานฉบับนี้ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ดำเนินการตามอำนาจและหน้าที่ต่อไป ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มาตรา 6 วรรคหนึ่ง</p>
<p>ด้วยเหตุผลข้างต้น กสม. ในคราวประชุมด้านการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2566 จึงเห็นควรมีข้อเสนอแนะไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) สรุปได้ดังนี้</p>
<p>ให้ ตร. เร่งรัดการสอบสวนคดีอาญาตามคำร้องกรณีนี้ โดยเร่งนำตัวผู้ถูกกล่าวหามาดำเนินคดี และสรุปสำนวนการสอบสวนเสนอพนักงานอัยการตามกระบวนการของกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยเร็ว ทั้งนี้ ให้แจ้งความคืบหน้าการสอบสวนคดีให้แก่ผู้เสียหายทราบตามกำหนดระยะเวลาในคำสั่ง ตร. ที่ 419/2556 ลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2556 พร้อมกันนี้ ให้ตรวจสอบให้ได้ข้อเท็จจริงว่า กรณีความล่าช้าดังกล่าวเป็นการกระทำในอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนผู้ใด และให้ดำเนินการทางวินัยตามกฎหมาย</p>
<p>นอกจากนี้ ให้ ตร. นำคู่มือการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามหลักสิทธิมนุษยชนที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ของสำนักงาน กสม. โดยเฉพาะในส่วนมาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากลและแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจไปซักซ้อม ทบทวน และอบรมให้ความรู้เจ้าหน้าที่ในสังกัด เพื่อเป็นการป้องกันการกระทำที่อาจนำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อไปในอนาคต ทั้งนี้ให้สั่งการสถานีตำรวจทั่วประเทศให้ตรวจสอบและเร่งรัดการดำเนินคดีที่อยู่ในการสืบสวนสอบสวนที่ล่วงเลยระยะเวลามานานแล้ว เพื่อให้ประชาชนได้รับการอำนวยความยุติธรรมตามกฎหมายต่อไป</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/08/105492
 
6644  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - พ่อหนุ่มคลั่งรัก "แน็ก" เปิดตัวคบ "เก๋ไก๋" ไม่ใช่คอนเทนต์ เขินหยอดหวานผ่าน เมื่อ: 17 สิงหาคม 2566 13:18:19
พ่อหนุ่มคลั่งรัก "แน็ก" เปิดตัวคบ "เก๋ไก๋" ไม่ใช่คอนเทนต์ เขินหยอดหวานผ่านสื่อ
         


พ่อหนุ่มคลั่งรัก &quot;แน็ก&quot; เปิดตัวคบ &quot;เก๋ไก๋&quot; ไม่ใช่คอนเทนต์ เขินหยอดหวานผ่านสื่อ" width="75" height="75
&nbsp;&nbsp;"แน็ก ชาลี" พ่อหนุ่มคลั่งรัก เปิดตัวคบ "เก๋ไก๋ สไลเดอร์" ไม่ใช่คอนเทนต์ เขินหยอดหวานผ่านสื่อ
         

https://www.sanook.com/news/8984050/
         
6645  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - กสทช. จับมือ สตช. กวาดล้างเสาสัญญาณแนวชายแดน เอื้อแก๊งคอลเซ็นเตอร์ เมื่อ: 17 สิงหาคม 2566 11:52:15
กสทช. จับมือ สตช. กวาดล้างเสาสัญญาณแนวชายแดน เอื้อแก๊งคอลเซ็นเตอร์
 


<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2023-08-17 11:30</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>กสทช. จับมือ สตช. กวาดล้างสถานีโทรคมนาคมและเสาสัญญาณเถื่อนแนวชายแดน เอื้อแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกลวงคนไทย</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53122428298_8faa8c61c9_o_d.jpg" /></p>
<p>สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) แจ้งข่าวว่าเมื่อวันที่ 16 ส.ค.66 เวลา 10.00 น. พล.ต.อ.ดร.ณัฐธร เพราะสุนทร กสทช.ด้านกฎหมายและประธานอนุกรรมการบูรณาการบังคับใช้กฎหมายความผิดทางเทคโนโลยีฯ, พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รอง ผบ.ตร. รับผิดชอบงานด้านป้องกันและปราบปราม, นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รักษาการ เลขาธิการ กสทช. , พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช. สอท., นายสุธีระ พึ่งธรรม ผอ.สำนักกิจการภูมิภาค, นายจาตุรนต์ โชคสวัสดิ์ ผอ.สำนักกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม,  พล.ต.ต.ณัฐกร ประภายนต์ ผบก.สอท.2 และพ.ต.อ.จักรกฤช ศรีโรจนากูร ผกก.2 บก.สอท.2 พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ สำนักงาน กสทช. และ สอท. ร่วมกันแถลงผลการจับกุมสถานีวิทยุคมนาคมและเสาสัญญาณผิดกฎหมายตามแนวชายแดนไทย- กัมพูชา ด้านจังหวัดสระแก้ว ซึ่งที่ผ่านมาพบว่ามีการลักลอบส่งสัญญาณโทรคมนาคมและอินเทอร์เน็ตไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาอาชญากรรมด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะแก๊งคอลเซ็นเตอร์ และเว็บพนันออนไลน์ ที่กำลังเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมไทยในปัจจุบัน</p>
<p>เนื่องจากเป็นที่แน่ชัดว่ากลุ่มแก๊งมิจฉาชีพได้อาศัยตะเข็บชายแดนเป็นแหล่งกบดานและเป็นฐานก่ออาชญากรรมทางเทคโนโลยีต่อคนไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งแก๊งคอลเซ็นเตอร์และพนันออนไลน์ โดยอาศัยสัญญาณอินเทอร์เน็ตและสัญญาณมือถือที่กระจายสัญญาณจากฝั่งไทย โดยมีการลักลอบตั้งสถานีวิทยุคมนาคมเถื่อน กระจายสัญญาณมือถือและอินเทอร์เน็ตเกินเขตราชอาณาจักร กสทช. ได้ร่วมมือกับ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ติดตามตรวจสอบการประกอบกิจการโทรคมนามคมของผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตจาก กสทช. และตรวจค้นจับกุมการตั้งสถานีวิทยุคมนาคมที่ไม่ได้รับอนุญาตตามแนวชายแดน เพื่อตัดปัจจัยอันเป็นนองค์ประกอบสำคัญของการก่ออาชญากรรมทางเทคโนโลยี ตรวจพบว่า พื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา ด้าน จ.สระแก้ว มีการตั้งสถานีโทรคมนาคมและเสาสัญญาณผิดกฎหมายหลายแห่ง จึงได้ดำเนินการสืบสวนรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อขอหมายศาล จนนำไปสู่การจับกุมในวันนี้ โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้</p>
<p>กรณีที่ 1 เข้าจับกุมสถานีวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต และหันทิศทางสายอากาศไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ในพื้นที่ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว จำนวน 4 สถานี เป็นความผิดฐาน “มีและใช้ซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคมและตั้งสถานีวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับใบอนุญาต” ตามมาตรา 6 และ 11 แห่ง พรบ.วิทยุคมนาคมฯ มีโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือจำคุกไม่เกินห้าปี หรือทั้งปรับทั้งจำ และความผิดฐาน “ประกอบกิจการโทรคมนาคมซึ่งต้องได้รับใบอนุญาตแบบที่หนึ่งโดยไม่ได้อนุญาต” ตามมาตรา 67 (1) แห่งพรบ.ว่าด้วยการประกอบกิจการโทรคมนาคมฯ มีโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท พร้อมทั้งจับกุมผู้กระทำผิด จำนวน 2 ราย ในการนี้ สำนักงาน กสทช. ได้ทำการรื้อถอนสถานีวิทยุคมนาคมผิดกฎหมายดังกล่าวทั้งหมด และทำการยึดอุปกรณ์โทรคมนาคมที่ใช้กระทำความผิดได้เป็นจำนวนมาก นำส่งพนักงานสอบสวน สภ. คลองลึก เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป  </p>
<p>กรณีที่ 2 พบการตั้งสถานีฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ และหันทิศทางสายอากาศไปยังประเทศ</p>
<p>เพื่อนบ้าน ซึ่งทำให้คลื่นสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ข้ามเข้าไปในประเทศเพื่อนบ้าน เป็นเหตุให้พื้นที่การให้บริการ (Service Area) ของผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมเกินกว่าอาณาเขตพื้นที่ประเทศไทย และล่วงล้ำไปยังอาณาเขตประเทศข้างเคียง โดยตรวจสอบพบสถานีฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่เข้าลักษณะดังกล่าว จำนวน ๒๓ สถานี ในกรณีนี้ สำนักงาน กสทช. ได้ดำเนินการแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมทั้งหมด เร่งแก้ไขปรับปรุงหรือปฏิบัติให้ถูกต้อง โดยให้ถอนการติดตั้งสายอากาศบางจุด หรือ ปรับทิศทางสายอากาศ หรือ ดำเนินการด้วยวิธีอื่นใด มิให้แพร่สัญญาณคลื่นความถี่ออกนอกเขตพื้นที่ประเทศไทย เพื่อให้พื้นที่การให้บริการ (Service Area) อยู่ภายในอาณาเขตพื้นที่ประเทศไทย</p>
<p>นอกจากนี้ ชุดปฎิบัติการ สำนักงาน กสทช. และ สอท. ได้ตรวจสอบพบการจำหน่ายซิมการ์ดโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ลงทะเบียนการใช้งานโดยใช้ชื่อบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้ใช้งานที่แท้จริงเพื่อจำหน่ายให้กับบุคคลอื่น จำนวน 50 ซิมการ์ด ในพื้นที่ตลาดโรงเกลือ จึงได้เข้าตรวจยึดซิมการ์ดดังกล่าว และดำเนินคดีกับผู้จำหน่ายซิมการ์ด ซึ่งเป็นความผิด ตาม พรก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีฯ ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อช่วงต้นที่ผ่านมา</p>
<p>ภายหลังเสร็จสิ้นภารกิจ สำนักงาน กสทช. จะร่วมกันปฏิบัติการกับ สอท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบ สแกนพื้นที่บริเวณชายแดนในเขตจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อดำเนินการบังคับใช้กฎหมายกับผู้กระทำผิด และขยายผลถึงผู้ร่วมขบวนการที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงตรวจสอบเส้นทางการเงิน เพื่อสกัดกั้นไม่ให้แก๊งอาชญากรรมทางเทคโนโลยีที่เคลื่อนไหวอยู่ตามแนวชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน เข้าถึงสัญญาณโทรคมนาคมและอินเทอร์เน็ตได้ เป็นตัดแขนตัดขาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ไม่ให้กระทำการได้สะดวก ลดการก่ออาชญากรรมทางเทคโนโลยีที่สร้างความเสียหายต่อประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/08/105490
 
6646  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [การเมือง] - “จุรินทร์” ย้ำชัดยังไม่คุยโหวตนายกฯ และตอนนี้ไม่คิดร่วมรัฐบาล เมื่อ: 17 สิงหาคม 2566 11:01:16
“จุรินทร์” ย้ำชัดยังไม่คุยโหวตนายกฯ และตอนนี้ไม่คิดร่วมรัฐบาล
         


“จุรินทร์” ย้ำชัดยังไม่คุยโหวตนายกฯ และตอนนี้ไม่คิดร่วมรัฐบาล" width="75" height="75
&nbsp;&nbsp;“จุรินทร์” ย้ำอีกรอบยังไม่คุยโหวตนายกฯ รอความชัดเจน ศาล รธน. ยันปชป.ไม่ได้คิดจะไปรวมตั้งรัฐบาลเพื่อไทย ชี้ “เดชอิศม์” คุย”ทักษิณ”เรื่องส่วนตัว
 
         

https://www.sanook.com/news/8982614/
         
6647  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - "นิวเคลียร์-เพชรจ้า" พร้อมใจฟาด เพจปลอมกุข่าวโยงปมเลิกกันกับคดี Forex-3D เมื่อ: 17 สิงหาคม 2566 10:48:12
"นิวเคลียร์-เพชรจ้า" พร้อมใจฟาด เพจปลอมกุข่าวโยงปมเลิกกันกับคดี Forex-3D
         


&quot;นิวเคลียร์-เพชรจ้า&quot; พร้อมใจฟาด เพจปลอมกุข่าวโยงปมเลิกกันกับคดี Forex-3D" width="75" height="75
&nbsp;&nbsp;นิวเคลียร์-เพชรจ้า พร้อมใจฟาดทันที ถูกเพจปลอมกุข่าวปมเลิกกันเกี่ยวกับคดี Forex-3D
         

https://www.sanook.com/news/8983878/
         
6648  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - กวีประชาไท: โลกนี้คือละคร แต่ที่นี่มีคนถูกยิงตายจริง ๆ เมื่อ: 17 สิงหาคม 2566 10:21:39
กวีประชาไท: โลกนี้คือละคร แต่ที่นี่มีคนถูกยิงตายจริง ๆ
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2023-08-16 19:17</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ธุลีดาวหาง</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><div class="poet-box">
<p> </p>
<p> </p>
<p>ประชาชนมีสิทธิ์นอกใจพรรคแต่พรรคมีสิทธิ์นอกใจประชาชนหรือ?</p>

<p>เสียง 312 ของ MOU ดูปริบ ๆ
ถูกเขาหยิบคะแนนไปใช่หมดท่า
เปรียบเมียหลวง,น้อยอย่างต่าง ๆ นา ๆ
เพื่อจะพาผ่าทางตันดันทางไป</p>
<p>ถูกบันทึกในประวัติรัฐของเรา
ครั้งไหน ๆ ก็ไม่เท่ามันส์เข้าไส้
นวนิยายสามก๊กยกกันใหญ่
เรื่องเก่าในถิ่นจีนไร้ศีลธรรม</p>
<p>กรุงศรีอยุธยาแตกก็แยกก๊ก
มีถึงหกชุมนุมรุมระส่ำ
พระยาตากมุ่งตรงชิงธงนำ
ชนะคว่ำทุกก๊กตกม้าตาย ............</p>
<p>จาก 2325 มา 2566
ก็เจอก๊กเจอกิ๊กอีกมากหลาย
ทำมือรูปหัวใจไม่เอียงอาย
งมงาย งันงงสงครามรัก</p>
<p>เรื่องเมียหลวงกับเมียน้อยคล้อยคาวหวาน
เพื่อไทยการละครตอนกระอัก
สลายขั้วยั่วเมียหลวงราษฎร์ท้วงทัก
เกี้ยเซี้ยกักขฬะเด็ก " นะจ้ะ "</p>
<p>เรื่องเกี้ยเซี้ยมาเฟียชอบระบอบเปรต
ข้อเสนอ ยากปฏิเสธเหตุผงะ
เขาไม่เอา " ก้าวไกล " ออกไปซะ
เอ็งควรจะสลายขั้ว ..กลัวแอ้งแม้ง</p>
<p>เพื่อไทยเอ๋ยเพื่อไทยเพื่อใครกันเล่า
ต้องกลืนเลือดรักเก่าเงาแสยง
ประนีประนอมรอมชอมยอมแสดง
หลายปีแล้งรายได้มาภาษีอากร</p>
<p>เงินภาษีกี่ล้าน ๆ บ้านเมืองนี้
รัฐมนตรีมีพรรคใดไม่ขย้อน
เป็นฝ่ายค้านไม่เป็นเห็นทุกตอน
เพื่อไทยการละครใครถอนใจ?</p>
<p>เพื่อไทยการละครตอนใช่หรือ?
ถ้าหากคือ...ความจริงสิ่งที่ใช่
คะแนนเสียงนับดูให้ชู้ไป
ไม่แลนด์สไลด์ใครจะไม่ เจ็บใจเอย.</p>
</div>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">บทควhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/08/105481
 
6649  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - กวีประชาไท: เพื่อไทยการละคร เมื่อ: 17 สิงหาคม 2566 08:48:32
กวีประชาไท: เพื่อไทยการละคร
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2023-08-16 19:20</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ตระกองขวัญ</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><div class="poet-box">
<p> </p>
<p> </p>
<p>เล่นละครย้อนยุคสนุกไหม
ดั่งคนไทยทั่วถิ่นล้วนกินหญ้า
ลิ้นลวงเรื่อยเจื้อยแจ้วแย้งแววตา
ปั้นสีหน้าซื่อใสแต่ไม่เนียน</p>
<p>ทั้งพระเอกนางเอกน่าเขกหัว
เล่นเป็นตัวตลกลนลกเลี่ยน
ตัวประกอบร่วมก๊วนก็ชวนเอียน
ว้าวนเวียนตอแหลแถวุ่นวาย</p>
<p>ผู้กำกับเดินเรื่องจากเมืองนอก
บทจึงออกนอกลู่ดูน่าหน่าย
โดนก่นด่าไม่เลี่ยงไม่เอียงอาย
ขอย่างกรายกลับบ้านสานละคร</p>
<p>ทิ้งคำมั่นสัญญาประชาชน
เพื่อประโยชน์ส่วนตนด้นคว้าก่อน
ที่ผ่านมาผ่านไปไม่อาวรณ์
ใครทุกข์ร้อนไม่แคร์ไม่แลมอง</p>
<p>เล่นละครย้อนยุคสนุกนัก
บ้านเมืองเกือบพ้นปลักถึงปลายปล่อง
กลับมาฉุดเมืองบ้านลงคลานคลอง
ยุคสนองนักกินเมืองเฟื่องกลับมา
...</p>
</div>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">บทควhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/08/105482
 
6650  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - สภาพอากาศวันนี้ กรมอุตุฯ เตือน ฝนถล่ม 41 จังหวัด กทม. เตรียมเจอฝนช่วงบ่ายถึงค่ำ เมื่อ: 17 สิงหาคม 2566 08:18:09
สภาพอากาศวันนี้ กรมอุตุฯ เตือน ฝนถล่ม 41 จังหวัด กทม. เตรียมเจอฝนช่วงบ่ายถึงค่ำ
         


สภาพอากาศวันนี้ กรมอุตุฯ เตือน ฝนถล่ม 41 จังหวัด กทม. เตรียมเจอฝนช่วงบ่ายถึงค่ำ" width="75" height="75
&nbsp;&nbsp;พยากรณ์อากาศวันนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา เตือน มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ฝนถล่ม 41 จังหวัด มี กทม. บ่ายถึงค่ำฝนมาแน่
         

https://www.sanook.com/news/8983698/
         
6651  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - สุรพศ ทวีศักดิ์: เมื่อ ‘เพื่อไทย’ ยึดจุดยืนอุดมการณ์ขวาจัด พรุ่งนี้จะเป็นอย่าง เมื่อ: 17 สิงหาคม 2566 07:18:15
สุรพศ ทวีศักดิ์: เมื่อ ‘เพื่อไทย’ ยึดจุดยืนอุดมการณ์ขวาจัด พรุ่งนี้จะเป็นอย่างไร
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2023-08-16 19:31</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>สุรพศ ทวีศักดิ์</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ความคิดพื้นฐานอย่างหนึ่งของพรรคเพื่อไทย คือ “ทำการเมืองที่อยู่กับความจริง” และเคยทำสำเร็จมาแล้วเมื่อทักษิณ ชินวัตรก่อตั้ง “พรรคไทยรักไทย” และทำการเมืองแบบอยู่กับความจริงของสภาวะทางการเมืองในเวลานั้น ด้วยการรวมเอาบรรดานักการเมือง “เขี้ยวลากดิน” จากพรรคการเมืองต่างๆ มารวมตัวเป็นสมาชิกไทยรักไทย เพื่อใช้เป็น “เสียงข้างมาก” ในการผลักดันนโยบายแก้ปัญหาปากท้องประชาชนให้ประสบความสำเร็จ จนทำให้ไทยรักไทยกลายเป็น “รัฐบาลพรรคเดียว” ได้ในการเลือกตั้งสมัยที่สอง ซึ่งเป็นความสำเร็จรวดเร็วมาก เมื่อเทียบกับประวัติศาสตร์พรรคการเมืองอื่นๆ ที่ก่อตั้งมายาวนาน แต่ไม่เคยได้เป็นรัฐบาลพรรคเดียว</p>
<p>แต่ความจริงทางการเมืองยุคนั้น คือการเมืองที่ “ไม่มีการต่อสู้ทางความคิดและอุดมการณ์” เป็นการเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญ 2540 ที่เชื่อกันว่ามี “ความเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด” ฉบับหนึ่งที่เอื้อให้นายกรัฐมนตรีหรือฝ่ายบริหารเข้มแข็ง และเป็นการเมืองท่ามกลาง “ความคาดหวัง” ของประชาชนที่ต้องการผู้นำประเทศเก่งในเรื่องแก้ปัญหาเศรษฐกิจ หลังจากผิดหวังกับประสิทธิภาพการบริหารเศรษฐกิจของพรรคการเมืองเก่าๆ ในยุคนั้น </p>
<p>ทว่าแทนที่ความสำเร็จของรัฐบาลพรรคเดียวไทยรักไทยภายใต้ “นโยบายประชานิยม” จะเดินหน้าต่อไปเรื่อยๆ ผ่านการถ่วงดุลตรวจสอบและพิสูจน์ตัวเองตามกระบวนการประชาธิปไตย กลับเผชิญหน้ากับ “การเมืองเชิงอุดมการณ์” เมื่อเกิดขบวนการ “เสื้อเหลือง” (ซึ่งเชื่อมโยงกับ “เครือข่ายอำนาจนอกระบบเลือกตั้ง” และ “อำนาจเหนือ รธน.”)  ใช้ “อุดการณ์ขวาจัด” ภายใต้วาทกรรมการเมือง (political discourse) “เราจะสู้เพื่อในหลวง” ต่อต้านรัฐบาลไทยรักไทย </p>
<p><strong>ที่ว่าเป็น “อุดมการณ์ขวาจัด” เพราะเป็นอุดมการณ์ทางการเมืองที่อ้าง “ประชาธิปไตย” แต่ยืนยันและปกป้องเชิดชูสถาบันกษัตริย์ที่ “แตะต้องไม่ได้” ซึ่งขัด “หลักเสรีภาพ” ในการพูด การแสดงออก หรือการวิจารณ์ตรวจสอบ อันเป็นหลักการพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่หรือเสรีประชาธิปไตย</strong></p>
<p>แน่นอนว่า ในสังคมเสรีประชาธิปไตยของประเทศที่เจริญแล้ว ก็มี “ฝ่ายขวา” ที่เชื่อในคุณค่าเชิงอนุรักษ์นิยมมากกว่าที่จะเชื่อในความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ และความก้าวหน้า เชื่อในระบบทุนนิยมมากกว่าจะเชื่อในความเท่าเทียมทางสังคมและเศรษฐกิจ หรือนโยบายสวัสดิการของรัฐที่โน้มเอียงไปทางสังคมนิยมเป็นต้น แต่ฝ่ายขวาดังกล่าวก็ยังยืนยัน “หลักเสรีภาพ” ในฐานะเป็นหลักการพื้นฐานที่ขาดไม่ได้ของระบอบเสรีประชาธิปไตย พวกเขาจึงไม่ปกป้องหรือเชิดชูประมุขของรัฐหรือสถาบันใดๆ ให้มีสถานะและอำนาจที่ “แตะต้องไม่ได้” หรือวิจารณ์ตรวจสอบไม่ได้ ทว่าอุดมการณ์ขวาจัดแบบไทย คือการยอมรับ ยืนยัน และปกป้องเชิดชูสถานะและอำนาจที่แตะต้องไม่ได้ของสถาบันกษัตริย์ให้อยู่เหนือหลักเสรีภาพอันเป็นหลักการพื้นฐานของระบอบเสรีประชาธิปไตย</p>
<p>ยิ่งกว่านั้น อุดมการณ์ขวาจัดไม่เพียงแค่ยืนยันและปกป้องเชิดชูสถานะและอำนาจเหนือหลักเสรีภาพของสถาบันกษัตริย์เท่านั้น หากแต่ยังอ้างอิงสถาบันกษัตริย์ในการเคลื่อนไหวต่อสู้ทางการเมืองของมวลชนบนท้องถนน, อ้างในการทำรัฐประหาร, การเพิ่มอัตราโทษในกฎหมายอาญา มาตรา 112, ในกระบวนการพิจารณาและตัดสินคดี 112, กฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายอื่นๆ ที่เน้นความสำคัญและเพิ่มอำนาจสถาบันกษัตริย์มากขึ้น กระทั่งพรรคการเมืองต่างๆ และสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ยังอ้างอิงใช้สถาบันกษัตริย์หาเสียง และกีดกันพรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์เอียงไปทาง “ฝ่ายซ้าย” อีกด้วย รวมทั้งอ้างการปกป้องสถาบันกษัตริย์ในการร้องยุบพรรคการเมืองเป็นต้น นี่คือลักษณะ “ขวาจัด” ของอุมการณ์ทางการเมืองแบบไทยที่นอกเหนือจากจะถูกนำมาใช้เป็น “เครื่องมือ” กดปราบประชาชนและพรรคการเมืองที่คิดต่างแล้ว ยังใช้ปลูกฝังครบงำ (dominate) กำกับความคิดและการกระทำของพลเมือง ตั้งแต่อนุบาลยันมหาวิทยาลัย ครอบงำกำกับความคิดทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งสื่อมวลชน</p>
<p>วิบากกรรมที่ไทยรักไทยเผชิญหน้ากับ “ความจริง” ของ “การเมืองอุดมการณ์ขวาจัด” ก็คือการถูกทำรัฐประหาร 2549 และถูกยุบพรรค 2 ครั้ง เกิดขบวนการคนเสื้อแดงที่ปลุกสังคมให้ “ตาสว่างทั้งแผ่นดิน” ซึ่งมีนัยสำคัญเป็นการต่อสู้กับอุดมการณ์ขวาจัด แต่วิธีคิดแบบทักษิณก็คือ “อยู่กับความจริง” ที่ต้องตระหนักว่าสู้อยู่กับ “ใคร” ซึ่งเขาน่าจะประเมินแล้วว่าสู้ด้วยแนวทางอุดมการณ์ประชาธิปไตยของมวลชนเสื้อแดงไม่มีทางชนะ ดังนั้น แนวทาง “เกี้ยเซียะ” จึงเป็น “ทางเลือก” ที่ทักษิณพยายามทำคู่ขนานไปกับการต่อสู้ของมวลชนเสื้อแดงมาตลอด จึงทำให้เกิด “สภาวะย้อนแย้ง” ระหว่างทักษิณ (เพื่อไทย) กับเสื้อแดงตลอดเวลา ทำให้เสื้อแดงเองตั้งแต่ระดับแกนนำไปถึงมวลชนหรือคนเสื้อแดงโดยรวม ก็ไม่เคยเป็นเอกภาพในเชิง “ความคิด” และ “อุดมการณ์” อย่างแท้จริง กระทั่งเกิดการย้ายขั้วในเวลาต่อมา </p>
<p><strong>แต่ในบริบทการเลือกตั้งและการตั้งรัฐบาลภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560 ขณะนี้ “การทำการเมืองแบบอยู่กับความจริง” ของเพื่อไทยกำลังเผชิญหน้ากับ “ความจริงที่ซับซ้อน” มากกว่ายุคที่ผ่านๆ มา </strong></p>
<p>หนึ่งคือความจริงของการเมืองภายใต้ “อุดมการณ์ขวาจัด” ที่มีอยู่อย่างเป็นรูปธรรมตาม รธน. 2560 โดยการผลิตสร้างและขับเคลื่อนของฝ่ายที่ทำรัฐประหาร ซึ่งแปรสภาพมาเป็นพรรครวมไทยสร้างชาติ และพลังประชารัฐ และมีพรรคแนวร่วมอื่นๆ รวมทั้ง ส.ว. ที่เป็น “นั่งร้าน” สืบทอดอำนาจฝ่ายทำรัฐประหาร </p>
<p>อีกหนึ่งคือความจริงของการต่อสู้ทางการเมืองบน “อุดมการณ์ฝ่ายซ้าย” คือ อุดมการณ์เสรีประชาธิปไตยที่ยืนยัน “เสรีนิยมทางการเมือง” (political liberalism) ที่ต้องยึดหลักเสรีภาพเป็นหลักการพื้นฐานของระบอบเสรีประชาธิปไตย ซึ่งแปลว่าต้องไม่สถาบันใดๆ อยู่เหนือหลักเสรีภาพในการพูด การแสดงออก หรือการวิจารณ์ตรวจสอบ และยืนยันแนวทางการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจเกิดความเท่าเทียมและเป็นธรรมมากขึ้น เน้นการพัฒนาโครงสร้างสวัสดิการพื้นฐานด้านต่างๆ มากขึ้น โดยอุดมการณ์ฝ่ายซ้ายมี “พรรคก้าวไกล” เป็นตัวแทน และมีประชาชน 14 ล้านเสียงสนับสนุนให้ก้าวไกลได้ที่นั่ง ส.ส. อันดับ 1 ในการเลือกตั้งสมัยที่ 2 ซึ่งเป็นการเติบโตเร็วผิดคาด (คล้ายกับที่ไทยรักไทยเคยเติบโตมาก่อน แม้จะมี “รายละเอียด” และเงื่อนไขทางการเมืองต่างกัน)</p>
<p>ยังมีอีกหนึ่ง “ความจริง” คือ ความจริงที่ว่าประชาชนจำนวนไม่น้อยที่เลือกเพื่อไทยเลือกตามที่หาเสียงไว้ว่าเพื่อไทยเป็น “พรรคฝ่ายประชาธิปไตย” และ “จะไม่จับมือกับฝ่ายทำรัฐประหารตั้งรัฐบาล” ความจริงนี้ปฏิเสธไม่ได้ เพราะถ้าเพื่อไทยประกาศตอนหาเสียงว่า “จะจับมือกับฝ่ายทำรัฐประหารตั้งรัฐบาลหากไม่แลนด์สไลด์” ย่อมไม่มีทางที่จะได้ที่นั่ง ส.ส. มากถึง 141 เสียง  </p>
<p><strong>แต่ในที่สุดเพื่อไทยก็เลือก “สลายขั้ว” แต่ไม่ใช่การทำให้ “ขั้วขวา-ซ้าย” หายไป ซึ่งทำไม่ได้ หากแต่เป็นการที่เพื่อไทยสลายจากการเป็นแนวร่วมตั้งรัฐบาลกับก้าวไกลและต่อสู้กับฝ่ายขวาจัดไปด้วยกัน แล้วไปร่วมตั้งรัฐบาลกับขั้วอุดมการณ์ขวาจัด คือพรรคภูมิใจไทย, พลังประชารัฐ, รวมไทยสร้างชาติ และพรรคเล็กอื่นๆ รวม 315 เสียง (ตามที่เป็นข่าวขณะนี้) </strong></p>
<p>ถ้าจะถามว่าสถานะเพื่อไทยขณะนี้ถือว่าเป็น “พรรคฝ่ายประชาธิปไตย” หรือไม่ ถ้าเราใช้อุดมการณ์ขวาจัดที่เป็นเกณฑ์ และเพื่อไทยก็ยอมรับและยืนยันอุดมการณ์ขวาจัดเช่นนี้ เพื่อไทยก็ย่อมไม่ใช่ “พรรคฝ่ายเสรีประชาธิปไตย” แต่จะเป็นฝ่ายประชาธิปไตยแบบไหน ต่างจากพรรคฝ่ายขวาจัดอย่างไร ก็ลองหา “คำนิยาม” กันเอาเอง</p>
<p>เรื่องที่เพื่อไทยยอมรับหรือยืนยันอุดมการณ์ขวาจัด เราเห็นได้จากข้อเท็จจริงที่ถูกเปิดเผยออกมาเรื่อยๆ คือ เพื่อไทยเพิ่มเติมข้อความที่เน้นความสำคัญของ “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ไว้ใน MOU ของ 8 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาลที่นำโดยก้าวไกล ทั้งๆ ที่ “ไม่จำเป็น” เพราะข้อความดังกล่าวมีในรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว ขณะที่ให้ตัดข้อเสนอ “แก้ 112 และการนิรโทษกรรมคดี 112” ออกจาก MOU ซึ่งเป็น “เกมการเมือง” ในการต่อรองทำ MOU ที่เพื่อไทยอ้าง “ประเด็น 112 และสถาบันกษัตริย์” เป็นเครื่องมือทางการเมืองกดดันก้าวไกล หรืออีกนัยหนึ่งก็เพื่อ “เอาใจ” ศักดินา และขั้วการเมืองฝ่ายขวาจัดที่ต่อต้านก้าวไกลอยู่แล้ว</p>
<p>ล่าสุดแกนนำจัดตั้งรัฐบาลเพื่อไทยอย่าง “ภูมิธรรม เวชยชัย” ออกมาประกาศ “จุดยืน” ในการปฏิเสธก้าวไกลอย่างชัดเจนว่า <span style="color:#2980b9;">“เรื่องที่เราไม่ให้คุณแน่นอน เพราะเป็นจุดยืนของเราคือเรื่องที่เรารับคุณร่วมรัฐบาลไม่ได้ เพราะเป็นข้อจำกัด และเรื่อง 112 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสถาบันหลักของชาติ”</span> (ดู https://www.facebook.com/photo?fbid=902562987897308&amp;set=pb.100044308452347.-2207520000.)
 
ประเด็นที่เราต้องคิดอย่างจริงจังคือ เพื่อไทยถูก “ฝ่ายขวาจัด” อ้างสถาบันกษัตริย์ทำรัฐประหารมาแล้ว 2 ครั้ง ทักษิณถูกกล่าวหาเป็นหัวขบวน “ล้มเจ้า” ตัวเขาเองก็ถูกแจ้งคดี 112 (แม้จะไม่ถูกดำเนินคดี) ในยุคการต่อสู้ของคนเสื้อแดงมีประชาชนโดน 112 กว่า 500 คดี และยังมีการใช้ 112 กดปราบประชาชนที่ต่อสู้เพื่อเสรีภาพและประชาชธิปไตยอย่างต่อเนื่อง และมากขึ้นเป็นทวีคูณจนถึงวันนี้ ซึ่งแน่นอนว่า เพื่อไทยย่อม “รู้อย่างชัดแจ้ง” อยู่แล้วว่าการอ้าง 112 และสถาบันกษัตริย์เป็น “เงื่อนไข” ในการแบ่งแยกพรรคการเมืองและประชาชนเป็นฝักฝ่ายย่อมเป็นสิ่งที่ “ไม่ถูกต้อง” และนำมาซึ่งการใส่ร้ายป้ายสีและ “ความอยุติธรรม” มากมาย แต่เพื่อไทยก็ยินดีรับเงื่อนไขนี้ของฝ่ายขวาจัดมาเป็น “จุดยืน” ในไม่รับก้าวไกลร่วมรัฐบาล</p>
<p>ถามว่า “จุดยืน” เช่นนี้เพิ่งเกิดขึ้นสองสามวันนี้ หรือเป็นจุดยืนของเพื่อไทยมาโดยตลอด หากย้อนไปจะเห็นว่าสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตรก็ปฏิเสธข้อเสนอแก้ 112 ทักษิณก็ยืนยันชัดว่า “112 ไม่ใช่กฎหมายที่มีปัญหาในตัวมันเอง ปัญหาอยู่ที่การใช้กลั่นแกล้งกันทางการเมือง” (แล้วที่เพื่อไทยอ้าง 112 เป็นเงื่อนไขไม่รับก้าวไกลร่วมรัฐบาลไม่ใช่ปัญหา “การใช้ 112 เป็นเครื่องมือทางการเมือง” หรอกหรือ) ตอนหาเสียงเลือกตั้งแกนนำเพื่อไทยบอก “ยินดีให้เอา 112 ไปพูดคุยกันในสภา” แต่นั่นก็คือคำโกหก</p>
<p>จึงทำให้เราเข้าใจได้ว่า ความหมายของ “ความจำเป็น” ในการจัดตั้งรัฐบาลให้สำเร็จของเพื่อไทย หมายถึง “ความจำเป็นบนอุดมการณ์ขวาจัด” ที่ถือว่า “การไม่แตะ 112 และกฎหมายเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์” คือ “ศูนย์กลางของความจำเป็น” จึงไม่แปลกที่เพื่อไทยใช้วาทกรรมการเมืองแบบฝ่ายขวาจัด เช่น จำเป็นต้องตั้งรัฐบาบลให้สำเร็จเพื่อประเทศชาติและประชาชน เพื่อให้ประเทศเดินหน้าต่อไปได้ เพื่อสร้างความปรองดองสมานฉันท์ เป็นการสลายขั้วความขัดแย้ง ฯลฯ แต่ทั้งหมดนั้นยึดการไม่แตะ 112 และสถาบันกษัตริย์เป็นความจำเป็นศูนย์กลางหรือสำคัญสูงสุด </p>
<p>เราจึงควรยอมรับ “ความจริง” ว่า ที่คนจำนวนไม่น้อยเคยเห็นใจและปกป้องเพื่อไทย เพราะเป็นพรรคที่ถูกทำรัฐประหาร และยึดมั่นการต่อสู้ผ่านการเลือกตั้ง กระทั่ง “คาดหวัง” ว่าเพื่อไทยอาจจะเป็น “พรรคตัวแทนฝ่ายประชาธิปไตย” นั้น ตอนนี้ไม่เป็นจริงตามที่คาดหวังแล้ว เพราะพรรคการเมืองใดๆ ที่ยึดอุดมการณ์ขวาจัดไม่แตะหรือห้ามแตะ 112 และสถาบันกษัตริย์ไม่มีทางจะเป็นพรรคการเมืองที่นำการเปลี่ยนแปลงเป็น “เสรีประชาธิปไตย” ที่มี “เสรีภาพทางการเมือง” (political liberty) ได้จริง</p>
<p><strong>พูดให้ชัดคือ การร่างรัฐธรรมนูญใหม่ภายใต้รัฐบาลผสมเพื่อไทย-ภูมิใจไทย-พลังประชารัฐ-รวมไทยสร้างชาติ ที่ยึดอุดมการณ์ขวาจัดห้ามแตะ 112 และสถาบันกษัตริย์ ไม่มีทางที่จะได้รัฐธรรมนูญใหม่ที่เป็นเสรีประชาธิปไตยได้ </strong></p>
<p>แต่ในบริบทโลกยุคศตวรรษที่ 21 จะหวังให้ประชาชนลุกฮือขึ้นปฏิวัติเหมือนปฏิวัติฝรั่งเศส (เป็นต้น) คงเป็นไปได้ยาก เพราะสรรพกำลัง เครื่องไม้เครื่องมือทางเทคโนโลยี และอาวุธยุทโธปกรณ์ของผู้ครองอำนาจรัฐมีประสิทธิมหาศาลกว่ายุคก่อนมาก ประชาชนมือเปล่าสู้ไม่ได้หรอก จึงจำเป็นต้องมี “พรรคการเมืองตัวแทนอุดมการณ์ประชาธิปไตย” รับข้อเรียกร้องของประชาชนไปสู้ต่อตามกระบวนการรัฐสภา เพื่อสร้างระบอบเสรีประชาธิปไตยให้เป็นจริง</p>
<p>เมื่อความจริงคือ เพื่อไทยเป็นแนวพรรคร่วมทางอุดมการณ์ของฝ่ายขวาจัดอย่างชัดแจ้งแล้ว เพื่อไทยจึงไม่ใช่คู่แข่งกับก้าวไกลในการหาเสียงเลือกตั้งเท่านั้น แต่เป็นคู่ต่อสู้ทางความคิดและอุดมการณ์ทางการเมืองไปแล้ว นี่คือ "ความจริง" ที่เราควรยอมรับ ไม่ควรหลอกตัวเองกันต่อไป</p>
<p><strong>จึงเหลือแต่ก้าวไกลเท่านั้นว่าจะรักษา "จุดยืน" ของความเป็นพรรคตัวแทนอุดมการณ์ประชาธิปไตยของประชาชนที่ต้องการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจรัฐให้เป็นเสรีประชาธิปไตยได้ยาวนานเพียงใด และประชาชนจะเป็นพลังสนับสนุนและปกป้องก้าวไกลให้เดินหน้าต่อเพื่ออนาคตที่ดีกว่าได้อย่างไร ท่ามกลางขวากหนามสารพัด</strong></p>
<p>แต่ถ้ามองอีกแง่หนึ่ง ก็ถือเป็นเรื่องดีที่พรรคการเมืองแบ่งขั้วอุดมการณ์เป็น 2 ขั้วอย่างชัดเจน คือ เพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาล รวมทั้งประชาธิปัตย์เป็นพรรคอุดมการณ์ “ฝ่ายขวา” ส่วนก้าวไกลเป็นพรรค “ฝ่ายซ้าย” ที่ยึดอุดมการณ์เสรีนิยมทางการเมืองแต่เน้นเศรษฐกิจโน้มไปทางรัฐสวัสดิการ สองขั้วนี้จะได้ต่อสู้ทางความคิด และเสนอ “นโยบายรูปธรรม” อย่างชัดเจนให้ประชาชนเลือกได้ง่ายขึ้นในการเลือกตั้งครั้งหน้า</p>
<p>ทว่าปัญหาอาจ “ซับซ้อน” กว่านั้นมาก เพราะก้าวไกลยัง “เสี่ยงจะถูกยุบพรรค” ขณะที่เพื่อไทยแม้จะเป็น “แนวร่วมทางอุดมการณ์ฝ่ายขวา” กับอำนาจเก่าและเครือข่าย แต่ก็ไม่แน่ว่าจะกลมกลืนเป็นเอกภาพได้จริง เพราะการรวมกันตั้งรัฐบาลเกิดจาก “เงื่อนไขเฉพาะหน้า” ที่ซับซ้อน มีทั้งเงื่อนไขไม่แตะ 112 และสถาบันกษัตริย์, อำนาจ สว., การลงจากอำนาจอย่างราบรื่นของพวกทำรัฐประหาร และการกลับบ้านของทักษิณ ที่เราเห็น “การแสดงละครผ่านสื่อ” ก็แยกยากว่าใครหลอกใคร กลุ่มไหนหลอกกลุ่มไหนบ้าง และยังมี “เบื้องหลัง” อีกมากที่เราไม่รู้</p>
<p>ขณะเดียวกันแม้ฝ่ายกุมอำนาจรัฐจะมีเครื่องไม้เครื่องมือทรงประสิทธิภาพควบคุมการเคลื่อนไหวของมวลชนที่ทำให้พวกเขาเชื่อว่า “เอาอยู่” แต่ประชาชนฝ่ายที่สู้เพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตยก็มีเครื่องมือที่ก้าวหน้าในการเผยแพร่ความคิดและอุดมการณ์ได้อย่างกว้างขวางกว่ายุคเก่าเช่นกัน ความคิด และอุดมการณ์ของคนรุ่นใหม่ที่เปลี่ยนไปแล้วจึงไม่มีอำนาจใดควบคุมได้ </p>
<p>ท่ามกลาง “ความจริงที่ซับซ้อน” ดังกล่าวมา ข้อจำกัดจริงๆ ของเราคือ ไม่มีใครรู้ล่วงหน้าว่า “พรุ่งนี้” จะเป็นอย่างไร หรือเพื่อไทยจะยืนอยู่ตรงไหนในการเลือกตั้งครั้งหน้า แต่วันนี้เพื่อไทยเลือกแล้วที่จะไปเป็นส่วนหนึ่งของพรรคการเมืองฝ่ายขวาจัดที่ทำให้ “ความหวัง” ว่าจะมีพรรคการเมืองตัวแทนอุดมการณ์เสรีประชาธิปไตยในสภาเข้มแข็งขึ้นต้องสะดุดลง</p>
<p><strong>แต่ท่ามกลางวิกฤตภายใต้อุดมการณ์ทางการเมืองขวาจัด ยังมีความเป็นไปได้เสมอที่ความคิดและอุดมการณ์ประชาธิปไตยของคนรุ่นใหม่จะเติบโต แข็งแรง และแพร่หลายมากขึ้นๆ จนหลอมรวมเป็นเจตจำนงร่วมของประชาชนส่วนใหญ่ที่สามารถเอาชนะอำนาจของฝ่ายขวาจัดได้ในที่สุด เรายังหวังว่าจะเป็นเช่นนั้น!</strong></p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">บทควhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/08/105483
 
6652  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - สมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานฯ จี้ 'ประยุทธ์' หยุดหลักเกณฑ์จ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู เมื่อ: 17 สิงหาคม 2566 05:46:00
สมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานฯ จี้ 'ประยุทธ์' หยุดหลักเกณฑ์จ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุฉบับใหม่
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2023-08-16 20:22</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>สมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย เรียกร้อง พล.อ.ประยุทธ์ ทบทวนยกเลิกหลักเกณฑ์จ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุฉบับใหม่ ระบุเป็นการทำลายหลักการรัฐสวัสดิการแบบถ้วนหน้า แนะรัฐบาลควรสร้างมาตรการการจัดเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า บริหารงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ จัดการแก้ไขปัญหาการทุจริตให้หมดไป สร้างรัฐสวัสดิการถ้วนหน้าเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี</p>
<p> </p>
<p>16 ส.ค2566 นักสื่อสารแรงงาน รายงานว่า สมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย (สสรท.) นำโดยนาย สาวิทย์ แก้วหวาน ประธาน สสรท. ยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รักษาการในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อขอคัดค้านการหลักเกณฑ์จ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุฉบับใหม่และขอให้ทบทวนยกเลิก</p>
<p>สาวิทย์ แถลงว่า ตามที่รัฐบาลโดยกระทรวงมหาดไทย ได้ออกระเบียบวิธีการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุใหม่โดยกำหนดให้ผู้ที่จะได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุต้องเป็นผู้ไม่มีรายได้หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุกำหนด ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 12 ส.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งลงนามโดย พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รักษาการในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มีการปรับเปลี่ยนเกณฑ์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุใหม่ สาระสำคัญคือ
 1. มีสัญชาติไทย
 2. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
 3. มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ซึ่งได้ยืนยันสิทธิขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
 4. เป็นผู้ไม่มีรายได้ หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ ตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุกำหนดผู้สูงอายุ </p>
<p>นอกจากนี้ ยังมีเรื่องสำคัญที่ระบุในบทเฉพาะกาลของระเบียบฯ ใหม่นี้ คือ ข้อ 17  บรรดาผู้สูงอายุที่ได้ขึ้นทะเบียนและรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อยู่ก่อนวันที่ระเบียบนี้บังคับใช้ ให้ยังมีสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นต่อไป ข้อ 18 ในระหว่างที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุยังมิได้ มีการกำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตามข้อ 6 (4) ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้คุณสมบัติผู้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพ ผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2552 และที่แก้ไขเพิ่มเติมไปพลางก่อน</p>
<p>เท่ากับว่าจากนี้ไปผู้สูงอายุที่จะได้รับก็ต้องแสดงตนพิสูจน์สิทธิว่า "จนจริง" ถึงจะได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุหากปรากฏว่ามีรายได้ก็จะไม่ได้รับ ซึ่งการเพิ่มคุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุดังกล่าวนี้จะทำลายหลักการรัฐสวัสดิการแบบถ้วนหน้า แต่จะตอกย้ำระบบรัฐสงเคราะห์ที่เลือกให้เฉพาะคนจน หรือคนอนาถา กฎระเบียบดังกล่าวเป็นการทำให้สวัสดิการผู้สูงอายุในไทย "ถอยหลัง" ไปจากปี 2552 ซึ่งขณะนั้นเป็นการปรับเปลี่ยนระบบสวัสดิการผู้สูงอายุ จากเดิมใช้ระบบ "พิสูจน์ความจน" มาใช้ระบบ "ถ้วนหน้า"  ซึ่งเป็นการกระทำดังกล่าวเป็นการทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และ หลักสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และแน่นอนว่าจะต้องเกิดปัญหาตามมาอีกมากมายในอนาคต แต่หากหลักเกณฑ์เดิมแบบถ้วนหน้าก็จะง่ายไม่สลับซับซ้อนเพราะรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีข้อมูลอยู่แล้ว</p>
<p>สาวิทย์ กล่าวอีกว่า สมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย ยึดมั่นในแนวคิดเรื่องรัฐสวัสดิการถ้วนหน้า ดังนั้นการดูแลคนทุกคนตั้งแต่เกิดจนกระทั่งเสียชีวิตถือเป็นภารกิจแห่งรัฐที่จะต้องมีหน้าที่ดูแล เยียวยาโดยเฉพาะการดูแลเด็ก และผู้สูงอายุ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งจำนวนผู้สูงอายุทั่วประเทศปัจจุบันประมาณ 12 ล้านคนนี้ เป็นชาย 5,622,074 คน และหญิง 7,076,288 คน โดยกลุ่มที่มากที่สุดประมาณครึ่งหนึ่งคือกลุ่มอายุ 60-69 ปี หากรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจ่ายเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุในอัตราเฉลี่ย อยู่ที่คนละ 800 บาทต่อเดือน จะใช้งบประมาณ 9,600 ล้านบาท ทั้งปี จะใช้งบประมาณ 115,200 ล้านบาท หากคิดเป็นสัดส่วนจากงบประมาณแผ่นดินปีละประมาณ 3,200,000 ล้านบาท สัดส่วนประมาณร้อยละ 3.6 ซึ่งไม่มากเลย และที่สำคัญเมื่อเงินจ่ายออกไปแล้วเงินก็จะหมุนกลับมาในรูปแบบของการจับจ่ายสินค้า เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ เกิดการผลิต เกิดการจ้างงาน และรัฐก็สามารถลดภาษีทั้งทางตรง และทางอ้อมได้เช่นภาษีมูลค่าเพิ่ม</p>
<p>ยิ่งไปกว่านั้นถ้ารัฐบาลกล้าพอที่จะเก็บภาษีในอัตราที่ก้าวหน้า ทั้งภาษีที่ดิน-ทรัพย์สิน ภาษีมรดก ภาษีการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ในแต่ละปีซื้อขายกันกว่า 20,000,000 ล้านบาท แต่ไม่เก็บภาษีกันเลยนับตั้งแต่ปี 2525 เป็นต้นมา รวมทั้งลดการอุดหนุนกลุ่มทุนภายใต้คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนปีหนึ่งกว่า 300,000 ล้านบาท หรือแม้กระทั่งการบริหารจัดการงบประมาณให้มีประสิทธิภาพ ไม่ให้มีการทุจริต รั่วไหลก็สามารถนำงบประมาณไปจัดรัฐสวัสดิการได้อย่างดีและเพียงพอ</p>
<p>ประธานสมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย ระบุต่อว่า ขอคัดค้านและไม่เห็นด้วยกับการไปสร้างเงื่อนไขขึ้นมาใหม่และไปทำลายหลักการรัฐสวัสดิการแบบถ้วนหน้า แต่รัฐบาลควรสร้างมาตรการการจัดเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า บริหารงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ จัดการแก้ไขปัญหาการทุจริตให้หมดไป สร้างรัฐสวัสดิการถ้วนหน้าเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี ของ เด็ก ผู้สูงอายุ จัดการเรื่องการศึกษา สาธารณสุข ฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย จัดการระบบ พลังงาน น้ำประปา ไฟฟ้า การขนส่ง การสื่อสารโทรคมนาคม การบริการสาธารณะที่ดีมีประสิทธิภาพที่ดำเนินการโดยรัฐเองไม่ถ่ายโอนภารกิจให้เอกชนดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน พร้อมกับควบคุมราคาสินค้าที่จำเป็นในการดำเนินชีวิตเพื่อลดรายจ่ายประชาชนลง เมื่อประชาชนอยู่ดีมีสุข ประเทศชาติก็สงบสุข และขอให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทบทวน ยกเลิก หลักเกณฑ์จ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุฉบับใหม่แล้วกลับไปใช้หลักเกณฑ์เดิมแบบถ้วนหน้าและปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ และ ประชาชนมากว่า หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคงได้รับการพิจารณา</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/08/105484
 
6653  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - อึ้งทุกบรรทัด อบต.หญิงสติหลุดร่ายยาวด่าชาวบ้าน "ไอ้ควาย" หลังถูกถามเรื่องซ่อ เมื่อ: 17 สิงหาคม 2566 05:45:59
อึ้งทุกบรรทัด อบต.หญิงสติหลุดร่ายยาวด่าชาวบ้าน "ไอ้ควาย" หลังถูกถามเรื่องซ่อมถนน
         


อึ้งทุกบรรทัด อบต.หญิงสติหลุดร่ายยาวด่าชาวบ้าน &quot;ไอ้ควาย&quot; หลังถูกถามเรื่องซ่อมถนน" width="75" height="75
&nbsp;&nbsp;อบต.หญิงสติหลุดโพสต์ด่าชาวบ้าน "ไอ้ควาย" ร่ายยาวจัดเต็ม หลังถูกถามเรื่องซ่อมถนน "ควาย 8 ฝูงยังมีความเป็นควายไม่เท่าพวกมึงแต่ละตัวเลย"


         

https://www.sanook.com/news/8983310/
         
6654  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [การเมือง] - วันนี้อารมณ์ดี “ประยุทธ์” ตอบทุกคำถาม ขออย่ายกวลีลืมอดีต 2 ลุงสร้างความขัดแย้ง เมื่อ: 17 สิงหาคม 2566 05:00:40
วันนี้อารมณ์ดี “ประยุทธ์” ตอบทุกคำถาม ขออย่ายกวลีลืมอดีต 2 ลุงสร้างความขัดแย้ง
         


วันนี้อารมณ์ดี “ประยุทธ์” ตอบทุกคำถาม ขออย่ายกวลีลืมอดีต 2 ลุงสร้างความขัดแย้ง" width="75" height="75
&nbsp;&nbsp;“ประยุทธ์” อารมณ์ดี ตอบสื่อ ย้ำรวมไทยสร้างชาติ ไม่ได้รายงานหลังเพื่อไทยส่งสัญญาณบวกร่วมรัฐบาล โยนหัวหน้าพรรคเป็นผู้ตัดสินใจ กั๊กตอบคุยการเมือง “ประวิตร” ขออย่ายกวลี ลืมอดีต – 2 ลุงสร้างความขัดแย้ง
         

https://www.sanook.com/news/8982862/
         
6655  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - รำลึก 2 ปี วาฤทธิ์ สมน้อย เยาวชนถูกยิงเสียชีวิต ขณะร่วมชุมนุมประท้วงรัฐบาล หน้า เมื่อ: 17 สิงหาคม 2566 03:52:29
รำลึก 2 ปี วาฤทธิ์ สมน้อย เยาวชนถูกยิงเสียชีวิต ขณะร่วมชุมนุมประท้วงรัฐบาล หน้า สน.ดินแดง
 


<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2023-08-17 01:49</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพโดย แมวส้ม</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>นักกิจกรรมจัดรำลึก 2 ปี วาฤทธิ์ สมน้อย เยาวชนถูกยิงเสียชีวิต ขณะร่วมชุมนุมประท้วงรัฐบาล หน้า สน.ดินแดง ขณะที่คดีนัดสืบพยาน ต.ค.นี้ </p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53121008446_c18225f1bc_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53120403482_5fd27b3f19_b.jpg" /></p>
<p>16 ส.ค.2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (16 ส.ค.66) ช่วงเย็นถึงค่ำ ที่หน้าสถานีตำรวจนครบาลดินแดง กรุงเทพฯ กล่มทะลุแก๊ซ ทะลุวัง และมวลชนอิสระ ร่วมจัดงานรำลึกในวาระครบรอบ 2 ปี เหตุ วาฤทธิ์ สมน้อย เยาวชนอายุ 15 ปี ถูกยิงบาดเจ็บสาหัส ระหว่างการร่วมชุมนุมประท้วงรัฐบาลในช่วงสถานการณ์โควิด บริเวณหน้า สน.ดินแดง เมื่อวันที่ 16 ส.ค. 2564 และเสียชีวิตในเวลาต่อมาวันที่ 28 ต.ค.2564</p>
<div class="more-story">
<ul>
<li>ปชช.ร่วมวางดอกไม้ไว้อาลัยครบรอบ 1 ปี 'วาฤทธิ์' เยาวชนอายุ 15 ปี ผู้เสียชีวิตจากคมกระสุนหน้า สน.ดินแดง</li>
<li>'ก้าวไกล' จี้รัฐอย่าเงียบ หลังเยาวชนที่ถูกยิงหน้า สน.ดินแดงเสียชีวิต ชี้คดีไม่คืบหน้า</li>
</ul>
</div>
<p>สำหรับความคืบหน้าคดี วอยซ์ออนไลน์ ประมวลไว้ว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้เวลาในการจับกุมผู้ต้องหาทั้งหมดเกือบ 2 เดือน (30 ก.ย.2564 )ในการจับกุมผู้ต้องหาหนึ่งราย คือ ชุติพงศ์ ทิศกระโทก ขณะที่ผู้ต้องหาอีกหนึ่งรายเจ้าหน้าที่ตำรวจเปิดเผยว่าได้ออกหมายจับกุมตัวโดยใช้ภาพจากกล้องวงจรปิดแล้ว แต่ไม่สามารถเปิดข้อมูลในทางสาธารณะได้ อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายการการจับกุมผู้ต้องรายดังกล่าว </p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53121413280_00604a759d_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53121008336_3101f769d9_b.jpg" /></p>
<p>คดีนี้เดินทางเข้ากระบวนการยุติธรรมโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ส่งสำนวนคดีให้กับอัยการเมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2564 และอัยการได้ยื่นฟ้องชุติพงศ์ ใน 6 ข้อหา เมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2565 โดยในระว่างนั้นอัยการได้ขอให้ตำรวจส่งสำนวนคดีเพิ่มเติมอีก 7 ครั้ง โดยสำนักงานคดีอาญา กอง 4 ได้ส่งฟ้องคดีต่อศาลอาญาแล้ว เป็นคดีหมายเลขดำที่ อ.1727/2565 ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ร่วมกันใช้กำลังทำร้ายผู้อื่น โดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ฯลฯ </p>
<p>22 ส.ค. 2565 ศาลได้นัดตรวจพยานหลักฐาน แต่ ชุติพงษ์ ทิศกระโทก จำเลยที่ 1 ไม่มีทนายมา ศาลจึงแต่งตั้งทนายอาสาเพื่อจัดการเรื่องเอกสารให้แก่จำเลย  ต่อมา 5 ก.ย. 2565 ศาลนัดตรวจพยานหลักฐานอีกครั้ง แต่จำเลยที่ 1 ก็ยังไม่มีทนายมา ศาลจึงตั้งทนายอาสาจัดการเรื่องเอกสารเพื่อนัดกำหนดวันสืบพยาน  จนกระทั้งเมื่อวันที่ 10 ต.ค. 2565 ศาลกำหนดวันนัดสืบพยาน ดังนี้  5, 6, 10, 11 ต.ค. 2566 ศาลนัดสืบพยานโจทย์ 15 ปาก โจทย์ร่วม 1 ปาก สืบพยาน 3 </p>
<p>อย่างไรก็ตามมีผู้เสียชีวิตจากการชุมนุมในช่วงที่ผ่านมาอีก 1 รายคือ มานะ หงษ์ทอง วัย 64 ปี ถูกยิงด้วยกระสุนยางเข้าที่ศีรษะขณะเดินทางกลับแฟลตดินแดง ระหว่างการสลายการชุมนุม 15 ส.ค. 2564 ทำให้ต้องกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง ก่อนเสียชีวิตเมื่อ 5 มี.ค. 2565 </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/08/105488
 
6656  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - หนุ่มวัย 17 กำลังจะกลับบ้าน ลงบันไดเลื่อนในห้างถึงขั้นสุดท้าย โดนหนีบขาบาดเจ็บ เมื่อ: 17 สิงหาคม 2566 03:08:04
หนุ่มวัย 17 กำลังจะกลับบ้าน ลงบันไดเลื่อนในห้างถึงขั้นสุดท้าย โดนหนีบขาบาดเจ็บ
         


หนุ่มวัย 17 กำลังจะกลับบ้าน ลงบันไดเลื่อนในห้างถึงขั้นสุดท้าย โดนหนีบขาบาดเจ็บ" width="75" height="75
&nbsp;&nbsp;หนุ่มวัย 17 กำลังจะกลับบ้าน ลงบันไดเลื่อนในห้างถึงขั้นสุดท้าย โดนหนีบขาบาดเจ็บ รองเท้ายังคาอยู่
         

https://www.sanook.com/news/8983246/
         
6657  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - The Memoirs of Haji Sulong : ‘ธงชัย’ ขออย่าทำลายคนที่ยินดี จะใช้วิธีการพูดคุยเจรจาอย่างสันติ เมื่อ: 17 สิงหาคม 2566 02:08:38
The Memoirs of Haji Sulong :  ‘ธงชัย’ ขออย่าทำลายคนที่ยินดี จะใช้วิธีการพูดคุยเจรจาอย่างสันติ
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2023-08-16 20:30</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>มูฮัมหมัด ดือราแม : รายงาน</p>
<p>ภาพจาก มูลนิธิฮัจยีสุหลง</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ธงชัย วินิจจะกูล ร่วมรำลึก 69 ปีที่หะยีสุหลงถูกอุ้มหายช่วยฉายให้เห็นภาพใหญ่ของความสัมพันธ์สยาม-ปาตานีใน 200 กว่าปี และเป็นตัวแทนของทุกความพยายามในความสัมพันธ์นั้น ทว่าถูกทำให้หายไป “ราวกับมันไม่มีอยู่ ทั้งๆที่ทุกคนก็รู้ว่ามันมี” การอุ้มหายได้สร้างเงาให้บันทึกไว้แทบตลอดกาล โปรดอย่าทำลายสายพิราบ อย่าทำลายคนที่ยินดีจะพูดคุย</p>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="autoplay; clipboard-write; encrypted-media; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="true" frameborder="0" height="429" scrolling="no" src="https://www.facebook.com/plugins/video.php?height=314&amp;href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2FHajiSulongFoundation%2Fvideos%2F661043779038539%2F&amp;show_text=true&amp;width=560&amp;t=2180" style="border:none;overflow:hidden" width="560"></iframe></p>
<p>ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ธงชัย วินิจจะกูล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน สหรัฐอเมริกา บรรยายหัวข้อ “หะยีสุหลงในความทรงจำของสังคมไทย” ในงาน “รำลึก 69 ปีการถูกบังคับสูญหายของหะยีสุหลง” 13 ส.ค. 2566 ณ บ้านหะยีสุหลง อ.เมือง จ.ปัตตานี ภายใต้แนวคิด “The Memoirs of HAJI SULONG” ร่องรอยความทรงจำต่อหะยีสุหลงผ่านบันทึกและจดหมาย</p>
<p>แม้ ศาสตราจารย์ฯธงชัย ออกตัวว่ามีความรู้เกี่ยวกับปาตานีและหะยีสุหลงไม่มาก เพราะเป็นเรื่องยากและซับซ้อนเกินกว่าที่ตนเองจะทุ่มเทให้ แต่กลับเป็นนักประวัติศาสตร์ชื่อดังที่คนปาตานี/ชายแดนใต้อย่างฟังมากที่สุดคนหนึ่งในสิ่งที่คนพื้นที่ก็ “รู้อยู่แล้ว แต่พูดไม่ได้..?”</p>
<p>อะไรที่ทำให้ศาสตราจารย์ฯ ธงชัย สนใจเรื่องปาตานีและหะยีสุหลง อีกทั้ง กรณีหะยีสุหลงสามารถบอกอะไรได้กว้างกว่ากรณีของหะยีสุหลงเองได้อย่างไร ในประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์สยาม-ปาตานีในช่วง 200 ปี</p>
<p>ธงชัย บอกว่า ความเข้าใจของตนเองต่อปาตานีนั้นตื้นเขินมาก แต่เริ่มสะกิดใจครั้งแรกตอนเริ่มศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในช่วงทศวรรษที่ 1980-2000 ที่มีการจัดสัมมนาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นทั่วประเทศกว่า 100 ครั้งในจังหวัดใหญ่ๆ แต่ตอนนั้นเริ่มสังเกตว่าทำไมจังหวัดปัตตานีไม่เคยจัด แต่ไม่พยายามหาคำตอบว่าทำไม</p>
<p>“คนจัดไม่อยากจัด หรือคนจัดอยากจัดแต่จัดไม่ได้ หรือคนจัดไม่อยากจัดเพราะถ้าจัดแล้วจะเกิดปัญหาเลยไม่อยากจัด อะไรก็แล้วแต่” ระหว่างนั้นก็อ่านไปเรื่อยๆ สำหรับคนที่ไม่ได้สนใจประวัติศาสตร์ปาตานีมากมาย แต่มีข้อมูลหรือวัตถุดิบที่เป็นภาษาอังกฤษให้อ่านพอสมควร</p>
<p>“ผมไม่ทราบว่า หนังสือของอิบรอฮิม ชุกรี Controversial (เป็นที่ถกเถียง) ผมอ่านเพราะมีในห้องสมุด ผมอ่าน Hikayat Patani เพราะมีให้อ่าน ผมอ่าน Sekarah Melayu โดยไม่สนใจไม่รับรู้ว่า ตอนนั้นเรื่องไหนสำคัญไม่สำคัญมาก”</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">พูดในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว แต่เขาพูดไม่ได้</span></h2>
<p>ธงชัย บอกว่า พยายามทำความเข้าใจว่าทำไมประวัติศาสตร์ปัตตานีไม่เคยจัดแต่ไม่ได้คำตอบ จนกระทั่งย้อนไปดูประวัติศาสตร์ไทยและอ่านประวัติศาสตร์ปาตานีมากขึ้น ส่วนหนึ่งเพราะมีลูกศิษย์ซึ่งเป็นเหลนของหมอ “บรัดเลย์” ชื่อ ซิสโก้ แบรดลี่ ซึ่งสนใจประวัติศาสตร์การค้าระหว่างอินเดียกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ปาตานีจากลูกศิษย์คนนี้</p>
<p>ธงชัย เล่าว่า ตนได้คำตอบเรื่องนี้ในปี 2545 เมื่อมีคนชวนให้มาพูดถึงเรื่องเล่าจากปัตตานี “ผมก็เล่าว่าทำไมประวัติศาสตร์ปาตานีจึงขัดฝืนกับประวัติศาสตร์ไทยในหลายมิติ เล่าจบก็มีคนมาแสดงความยินดีจนทำตัวเองรู้สึกงงว่าเกิดอะไรขึ้น ทั้งที่ตนเองก็ไม่ได้พูดอะไรที่แปลกประหลาดมาก</p>
<p>“ผมมาเข้าใจทีหลังนานพอสมควรว่า ผมพูดในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้วแต่เขาพูดไม่ได้ คนที่นี่นักวิชาการท้องถิ่นรู้อยู่แล้ว แต่พูดไม่ได้ นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าผมจะต้องรู้จักปาตานีให้มากขึ้น”</p>
<p>ธงชัย บอกว่า จากนั้นไม่นานเกิดเหตุการณ์ในปี 2547 ซึ่งชวนให้ถอยไปพักหนึ่ง เพราะตระหนักอย่างจริงจังว่า เรื่องเล่าสารพัดเกี่ยวกับปาตานีนั้น มีลักษณะบางอย่างที่รู้สึกว่าไม่เหมือนที่อื่น แต่ตอนนั้นยังอธิบายไม่ได้ว่ามีลักษณะพิเศษอย่างไร</p>
<p>“พอเกิดเหตุปี 2004(2547) ผมรู้เลยว่า เรื่องราวมันซับซ้อนและยากเกินกว่าผมจะเข้าใจ หลังจากนั้นสิ่งที่ผมทำได้ก็คือค่อยๆ อ่าน ค่อยๆ ติดตาม...จนเดี๋ยวนี้ก็ยังไม่กล้ากระโจนลงมา ผมเข้าใจว่าปัญหามันซับซ้อนเกินกว่าจะทุ่มเวลาให้อย่างมากมายถึงจะเข้าใจ”</p>
<p>ธงชัย บอกว่า ตนเองบอกไม่ได้ว่าความสนใจของสังคมไทยต่อหะยีสุหลงเป็นอย่างไร แต่บอกได้ว่าเขาไม่รู้เรื่องหรอก และบอกได้แค่ว่าตนเองเข้าใจเรื่องหะยีสุหลงอย่างไร ซึ่งตนก็ไม่ใช่ตัวแทนของสังคมไทย “แน่ๆ สิ่งที่ผมคิดหลายอย่างเป็นเรื่องที่สังคมไทยไม่ยอมรับ”</p>
<p>“ผมไม่ได้สนใจหะยีสุหลงในแง่การเป็นนักการศาสนาที่วิเศษวิโสคนหนึ่งหรือไม่ ผมไม่ได้สนใจหะยีสุหลงจะเป็นกรณีสำคัญที่สุดยิ่งกว่ากรณีอื่นๆหรือไม่ ผมไม่ได้สนใจว่าปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างกรุงเทพฯกับปาตานีในรอบ 200-300 ปีที่ผ่านมาเป็นเรื่องสำคัญที่สุดหรือไม่ ผมคิดว่าไม่สำคัญด้วยซ้ำไป”</p>
<p>ธงชัย กล่าวว่า ความสนใจที่ตนมีเป็นความสนใจเชิงกว้าง และพยายามจะเข้าใจว่าหะยีสุหลงพอก็จะบอกอะไรกับเราได้บ้าง โดยฝากให้คิดว่า กรณีหะยีสุหลงฉายให้เราเห็นภาพใหญ่ของเรื่องอะไร อย่างไรบ้าง ตนจะไม่ตอบเพราะยังเป็นการบ้านที่ยังตอบไม่ชัด แต่พอมีแนวที่จะเล่าให้ฟัง และไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ไม่จำเป็นต้องมีความทรงจำแบบเดียวกัน</span></h2>
<p>ธงชัย บอกว่า กรณีหะยีสุหลงไม่ใช่แค่ตัวหะยีสุหลงตัวคนเดียว รายละเอียดต่างๆ ในความทรงจำที่คุณเด่น (โต๊ะมีนา ลูกของหะยีสุหลง) เล่าให้ฟัง คือสิ่งที่ลูกหลานญาติมิตรต้องเก็บไว้และสำคัญมาก แต่สำหรับเขาและคนปาตานีที่เป็นคนนอกครอบครัวก็อาจไม่จำเป็นต้องมีความทรงจำแบบเดียวกัน แต่หาแง่มุมอื่นให้เห็นว่ากรณีนี้สำคัญมาก</p>
<p>ธงชัยให้เหตุว่า เพราะเรื่องเล่าเกี่ยวกับหะยีสุหลง เหมือนกับคำในภาษาอังกฤษ 2 คำง่ายๆ คือ Microcosm กับคำว่า Macrocosm (จักรวาล) โดยคำว่า Microcosm เป็นกรณีที่จะฉายให้เห็นเรื่องที่ใหญ่กว่าเรื่องของตัวเอง</p>
<p>(Microcosm ภาษาไทยแปลว่า พิภพเล็ก หมายถึง ชุมชน สถานที่ หรือสถานการณ์ที่ถือเป็นการสรุปคุณสมบัติหรือคุณสมบัติของสิ่งที่ใหญ่กว่ามากในลักษณะย่อส่วน)</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ฉายให้เห็นภาพใหญ่ของความสัมพันธ์สยาม-ปาตานีใน 200 กว่าปี</span></h2>
<p>ธงชัย อธิบายว่า กรณีหะยีสุหลงถึงจะมีรายละเอียดเฉพาะกรณีมากมาย ซึ่งต่างจากกรณีอื่นๆอีกเยอะเลย แต่เป็นหนึ่งในจำนวนไม่มากนักที่สามารถจะเป็น Microcosm หมายถึงใช้ให้เห็นภาพใหญ่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสยามกับปาตานีอย่างน้อยใน 200 กว่าปีที่ผ่านมา ผมเชื่อว่าได้</p>
<p>“ถ้าเราจับเรื่องนี้มาศึกษาในแง่ประวัติศาสตร์ ศึกษาความทรงจำในกรณีนี้ให้ดี ทั้งจากแง่มุมของญาติ จากแง่มุมของคนในท้องที่ที่ไม่ใช่ญาติ จากแง่มุมคนนอก จากแง่มุมของกรุงเทพ จากแง่มุมของหน่วยงานความมั่นคง ผมเชื่อว่า กรณีนี้จะช่วยฉายให้เราเห็นมิติที่สำคัญๆแบบแผนความสัมพันธ์ระหว่างกรุงเทพฯกับปาตานี ได้”</p>
<p>ธงชัยได้ยกตัวอย่าง เช่น ภูมิหลังของหะยีสุหลงที่เราอาจคิดว่าเป็นเรื่องครอบครัว แต่เคยคิดหรือไม่ว่า ความสำคัญของอูลามา(นักปราชญ์ทางศาสนาอิสลาม) ในปาตานีในยุคนั้นเป็นอย่างไร ในความสัมพันธ์กับเชื้อสายเครือญาติฝ่ายสุลต่านเก่าของปาตานีและในที่อื่นๆ และกับความสัมพันธ์ที่มีกับเครือข่ายอำนาจในกรุงเทพฯ</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เป็นตัวแทนของทุกความพยายามในความสัมพันธ์นั้น</span></h2>
<p>ธงชัย ย้ำว่ากรณีหะยีสุหลงไม่ใช่กรณีเฉพาะในมิติของการเป็นตัวแทนให้เห็นความสัมพันธ์นี้ แต่(เป็นตัวแทน)ในแง่ที่กว้างขึ้นกว่านั้นได้ ยกตัวอย่างเช่น ความพยายามของหะยีสุหลงในการที่จะสร้างและปรับปรุงการศึกษา โรงเรียนศาสนาและความพยายามนำข้อเรียกร้อง 7 ข้อยื่นเสนอไปยังกรุงเทพฯ</p>
<div class="more-story">
<p>อ่านข้อเรียกร้องของหะยีสุหลงทั้ง 7 ข้อ</p>
<ul>
<li>จัดรำลึก 69 ปี หะยีสุหลง เปิดจดหมายจากเรือนจำ บันทึกประวัติศาสตร์การเมืองไทย-ปาตานี </li>
</ul>
</div>
<p>เราอาจจะมองในแง่หนึ่งเป็นเรื่องเฉพาะ 7 ข้อ แต่คิดหรือไม่ว่า ความพยายามอันนี้ก็เหมือนกับหรือเป็นทำนองเดียวกับความพยายามอื่นๆ อีกจำนวนมาก ซึ่งเกิดขึ้นในความสัมพันธ์ระหว่างปาตานีกับกรุงเทพฯ และกรณีเหล่านั้นอาจจะมีแบบแผนและมีความเกี่ยวพันกัน จนกระทั่งรัฐที่กรุงเทพฯ เข้าใจผิด ไม่ไว้ใจหรือจนกระทั่งมองในแง่ร้าย</p>
<p>ธงชัยเห็นว่าข้อเรียกร้อง 7 ข้อไม่ได้เป็นเพียงข้อเรียกร้องของหะยีสุหลงโดยเฉพาะเท่านั้นแต่เห็นว่าเป็นข้อเรียกร้องที่คนในท้องถิ่นหลายรุ่นหลายกรณีพยายามเรียกร้องและยังพยายามมาจนถึงทุกวันนี้ เพราะฉะนั้น ความพยายามที่เกิดขึ้นก็ยังไม่ใช้ครั้งแรก แม้มีลักษณะเฉพาะแต่ก็เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามหลายครั้ง และเกิดขึ้นในความสัมพันธ์ระหว่างกรุงเทพฯ กับปาตานีซึ่งดำเนินมาอย่างน้อยถึง 200 ปี</p>
<p>ธงชัย กล่าวว่า ความพยายามของหะยีสุหลงนี้เกิดขึ้นในแบบแผนความสัมพันธ์ในรอบ 200 ปี และก่อนหน้านั้นประมาณ 2-3 แบบแผนใหญ่ๆ ที่นักวิชาการท่านหนึ่งได้แนะนำเพราะฉะนั้นแม้กระทั่งเรื่องเล็กๆไม่ใช่เรื่องเล็ก จุดเล็กๆที่เป็นเรื่องใหญ่มาก</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ทำให้สิ่งที่มีอยู่หายไป ราวกับมันไม่มีอยู่ ทั้งๆที่ทุกคนก็รู้ว่ามันมี</span></h2>
<p>“เรานึกถึงหะยีสุหลง ณ ปีนี้ พร้อมๆ กับแสดงความยินดีกับความสำเร็จของ พ.ร.บ. ป้องกันการซ้อมทรมานและอุ้มหาย”</p>
<p>ธงชัย ชวนคิดถึงในแง่ประวัติศาสตร์ทางกฎหมายว่า ถ้าไม่พูดถึงการอุ้มหายในแง่มุมกฎหมายแล้วการอุ้มหายคืออะไร แปลตรงตัวการอุ้มหายก็คือการเอาตัวไปสังหารและทำให้หายไป</p>
<p>“การอุ้มหาย” เรามักจะแปลแค่ว่า “การทำให้สิ่งที่มีอยู่หายไป ราวกับไม่มีอยู่ไม่มีอยู่” ที่จริงประโยคไม่จบแค่นี้ ประโยคที่ยาวก็คือ</p>
<p>“การทำให้สิ่งที่มีอยู่หายไป ราวกับมันไม่มีอยู่ ทั้งๆ ที่ทุกคนก็รู้ว่ามันมี”</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">การอุ้มหาย คือการสร้างเงาให้บันทึกไว้แทบตลอดกาล</span></h2>
<p>การอุ้มหาย คือ การสร้างเงาให้บันทึกไว้ แทบตลอดกาล เจ้าของผู้ทำให้เกิดเงา อาจจะถูกทำให้สูญหายไปแล้ว แต่เงากลับไม่หายไปด้วย ทุกคนรับรู้ถึงเงา และทุกคนเห็นสิ่งที่หายไปผ่านเงาของสิ่งที่ถูกทำให้หายไป</p>
<p>ธงชัยเห็นว่าเพราะฉะนั้นแล้วการอุ้มหายจึงไม่ได้แปลตามภาษาไทยว่า คือการลักพาและทำให้หายไป แต่การอุ้มหายคือภาวะตามที่เขาเขียนในหนังสือภาษาอังกฤษ เรียกว่า Silence Un forgetting (เงียบจนลืมไม่ลง) ก็คือทำให้เกิดภาวะที่ลืมไม่ได้ จำไม่ลง อยู่ตรงกลางระหว่างการลืมกับการจำ จะบอกว่าจำได้ 100% ก็ไม่ใช่ เพราะวัตถุของความทรงจำได้มันหายไปแล้ว จะบอกว่าเราลืมเราก็ไม่ลืม ก็เงาของมันกลับไม่หายไป</p>
<p>การอุ้มหาย คือการทำให้สิ่งที่มีอยู่ไม่มีอยู่ ทำให้เกิดภาวะของเงาหลอนต่อคนที่ยังอยู่ตลอดเวลา คือทำให้เห็นสิ่งนั้นโดยตระหนักถึงการไม่มีอยู่ของมัน เขาได้ศึกษาความเปลี่ยนแปลงของเงาตัวนั้น ตัวสิ่งนั้นได้หายไปแล้ว แต่ศึกษาว่าคนรับรู้เรื่องเงานั้นอย่างไร และตรงนี้บอกถึงสังคมนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี</p>
<p>จากกรณีของหะยีสุหลงนี้ธงชัยเห็นว่าอาจทำให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับปาตานีในรอบ 200 ปีก็เป็นไปได้</p>
<p>“ผมอยากชวนให้สนใจเรื่องหะยีสุหลง ไม่ใช่ในฐานะลูกหลานญาติพี่น้อง แต่ในฐานะกรณีของสังคมที่จะช่วยฉายให้เห็นเรื่องที่ใหญ่ มากกว่ากรณีของหะยีสุหลง ไม่ใช่เพียงกรณีเดียว แต่เป็นหนึ่งในไม่กี่กรณีที่ช่วยฉาย เป็น microcosm แบบนี้ได้”</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ผู้ไม่มีสุสาน ย่อมมีสุสานทุกหนแห่ง</span></h2>
<p>การอุ้มหายทำให้เกิดภาวะของการเป็นอมตะ การอุ้มหายทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า “ผู้ไม่มีสุสาน ย่อมมีสุสานทุกหนแห่ง” (บทกวีของ ซะการีย์ยา อมตยา 2558) บทกวีบทนี้คือ Ontology (ภววิทยา)ของภาวะอุ้มหายเพราะฉะนั้นอนาคตถ้าจะมีการศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับปาตานี หรือศึกษาปัญหาจังหวัดภาคใต้ เราสามารถศึกษาได้หลายแง่หลายมุมจากหลายกรณี</p>
<p>ธงชัยเชื่อว่ากรณีหะยีสุหลงน่าจะเป็นกรณีสำคัญที่ทำให้เกิด Microcosm ที่ฉายภาพที่ใหญ่กว่านั้นได้ หมายถึงการสร้างฐานข้อมูลและการเปิดเผยข้อมูลก็เป็นเรื่องสำคัญ การไล่ถามว่าญาติพี่น้องคนไหนมีความทรงจำอย่างไร หรือคนในท้องที่มีความทรงจำอย่างไร เป็นเรื่องสำคัญ และต้องไม่ปิด ใครจะชอบมาก ใครจะชอบน้อย ใครจะชอบปานกลาง ใครจะไม่ค่อยชอบก็ถือว่าเป็นข้อมูลที่จำเป็นสำหรับความเข้าใจทั้งหมด แล้วจะช่วยให้เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างสยาม-ปาตานีที่กว้างขึ้น ถ้ามีข้อมูลก็เปิดเผยออกมา</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">แบข้อมูลออกมาจากทุกฝ่ายให้ถกเถียงกัน</span></h2>
<p>ธงชัยเล่าถึงประสบการณ์ที่เคยไปเสวนาที่ ม.อ.ปัตตานีเมื่อ 10 กว่าปีก่อนว่า ให้แบข้อมูลออกมาจากทุกฝ่าย อย่าไปโกรธอย่าไปเกลียด และที่สำคัญเถียงกันได้ แต่อย่าตีหัวกันก็แล้วกัน แล้วก็ค่อยๆ เรียนรู้เรื่องเหล่านี้ด้วยกัน เพราะประวัติศาสตร์ที่ถูกต้องไม่ได้มีหนึ่งเวอร์ชั่น ประวัติศาสตร์ที่ถูกต้องมีหลายเวอร์ชั่นในขณะเดียวกันได้</p>
<p>เขากล่าวต่อว่าถ้าฝ่ายความมั่นคงจะเข้าใจเรื่องธรรมดาสามัญของมนุษย์ ก็ยอมให้ข้อมูลประวัติศาสตร์ของปาตานี ทุกกรณี รวมถึงกรณีหะยีสุหลง เปิดเผยเอามา แบออกมาในที่สาธารณะ แล้วมาแลกเปลี่ยนถกเถียงกัน บนหลักพื้นฐานแค่ว่า อย่าตีหัวกัน จะเป็นประโยชน์มาก</p>
<p>ส่วนใครจะหยิบยกประวัติของหะยีสุหลงขึ้นมาทบทวนขยายความ ในแง่ไหน ควรปล่อยให้ เกิดขึ้นโดยหลักที่ว่าอย่าตีหัวกัน หากใครจะเอาข้อเรียกร้อง 7 ข้อ กลับมาทบทวนใหม่ พิจารณาใหม่ เชื่อว่าไม่มีใครเอา 7 ข้อมาใช้อย่างเดิมโดยไม่มีการปรับ แต่ควรจะต้องถกเถียงกันพูดคุยกัน อย่าระแวงสงสัยกัน และไม่ใช้ความรุนแรงต่อกัน</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">อย่าทำลายสายพิราบ อย่าทำลายคนที่ยินดีจะพูดคุย</span></h2>
<p>ธงชัยย้ำว่าตั้งแต่การศึกษาประวัติศาสตร์ไปจนถึงการขบคิดถึงอนาคต และขอทุกฝ่ายโดยเฉพาะฝ่ายความมั่นคงได้ตระหนักว่าสิ่งที่ทำกับหะยีสุหลงเมื่อ 69 ปีก่อน คือการทำลายสายพิราบ สิ่งที่ฝ่ายความมั่นคงทำหลายกรณีในประเทศไทย เช่นการฟ้องการจับเด็ก ได้ 2-3 ปีที่ผ่านมาด้วยข้อหาสารพัดนี้กำลังทำร้ายคนที่ยินดีจะพูดคุยและทำลายสายพิราบ</p>
<p>กรณีที่เล่นงานพรรคก้าวไกลในปัจจุบัน คุณกำลังทำลายสายพิราบ ไม่ได้แปลว่าเราต้องเห็นด้วยกับพรรคก้าวไกล แต่อย่างน้อยอย่ารังแก อย่าเล่นนอกเกมนอกกติกา เราควรจะพูดคุยกันได้แลกเปลี่ยนกันได้ทะเลาะกันได้บนพื้นฐานว่าอย่าตีหัวกัน แค่นั้นเองซึ่งเป็นข้อเรียกร้องที่ต่ำมาก</p>
<p>ก่อนจะถึงวันนั้น ผมเชื่อว่าการสืบค้นและการศึกษาเรื่องหะยีสุหลงจะมีประโยชน์มากต่อการสร้างภาวะเช่นนั้น และเมื่อถึงวันนั้นการศึกษา การสืบค้นเรื่องหะยีสุหลงจะช่วยผลักดันความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับปาตานีเป็นไปในแง่ที่สร้างสรรค์มากขึ้น บนหลักพื้นฐานง่ายๆ อย่าตีหัวกัน</p>
<p>“ผมเชื่อว่าถึงวันนั้นมันมีทางออก ที่ทุกฝ่ายยินดีจะพร้อมรับ พร้อมปรับเข้าหากันคนละนิดคนละหน่อย และถึงวันนั้นถ้ามันมีจริง เราจะต้องขอบคุณหะยีสุหลง ขอบคุณบ้านโต๊ะมีนาที่มีส่วนช่วยให้เราได้เรียนรู้อดีตให้เรามีความหวังต่ออนาคต ให้เราค่อยๆ หาทางที่จะอยู่ร่วมกันในอนาคตอย่างมีสันติได้ “</p>
<p>ฟังบรรยายเต็มได้ระหว่างนาทีที่ 36.20-1.10.30 ที่</p>
<p>https://www.facebook.com/HajiSulongFoundation/videos/66104377903853</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/08/105485
 
6658  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - หนุ่มร้านชำไม่ยอมแพ้ ซื้อเลขเดิมเกือบครึ่งปี สุดท้ายฝันเป็นจริง ถูกรางวัลที่ 1 เมื่อ: 17 สิงหาคม 2566 00:34:47
หนุ่มร้านชำไม่ยอมแพ้ ซื้อเลขเดิมเกือบครึ่งปี สุดท้ายฝันเป็นจริง ถูกรางวัลที่ 1 รวย 6 ล้าน
         


หนุ่มร้านชำไม่ยอมแพ้ ซื้อเลขเดิมเกือบครึ่งปี สุดท้ายฝันเป็นจริง ถูกรางวัลที่ 1 รวย 6 ล้าน" width="75" height="75
&nbsp;&nbsp;หนุ่มร้านชำไม่ยอมแพ้ ตามซื้อเลขเดิมเกือบครึ่งปี งวดนึซื้อเป็นสิบๆ ใบ สุดท้ายฝันเป็นจริง ถูกรางวัลที่ 1 รวย 6 ล้าน
         

https://www.sanook.com/news/8983278/
         
6659  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - เสวนาหนังสือ "The Ruling Game": ศึกษาการเมืองเอเชียอุษาคเนย์ยุคจารีต-ร่วมสมัย ผ่านสาย เมื่อ: 17 สิงหาคม 2566 00:33:56
เสวนาหนังสือ "The Ruling Game": ศึกษาการเมืองเอเชียอุษาคเนย์ยุคจารีต-ร่วมสมัย ผ่านสายตาชนชั้นนำ
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2023-08-16 23:55</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพปก: หนังสือ The Ruling Game: ชนชั้นนำและอำนาจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><div class="summary-box">
<ul>
<li>คณะศิลปศาสตร์ มธ. จัดเสวนาเปิดตัวหนังสือ "The Ruling Game" เขียนโดย 'ดุลยภาค' ผู้เชี่ยวชาญด้านเอเชียอุษาคเนย์ ชวนผู้อ่านทำความเข้าใจนิยาม-บทบาทของชนชั้นนำทางการเมือง และมองการเมืองในเอเชียอุษาคเนย์ผ่านสายตาชนชั้นนำ 4 กลุ่ม ได้แก่ กษัตริย์ ทหาร นักการเมือง และนักธุรกิจ </li>
<li>ด้านนักวิชาการที่มาร่วมเสวนา มองหนังสือ The Ruling Game ในฐานะตำราที่ดี ใช้หลักฐานครอบคลุม อ่านทำความเข้าใจง่าย เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจ หรือต้องการศึกษาเรื่องเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อไปในอนาคต</li>
<li>ส่วนใหญ่เห็นตรงกัน หนังสือสามารถต่อยอดการศึกษาชนชั้นนำทางการเมืองอื่นๆ เพื่อให้เนื้อหาครอบคลุมมากยิ่งขึ้น เช่น ศิลปิน ข้าราชการ หรือนักศึกษา ที่มีบทบาททางการเมือง </li>
</ul>
</div>
<p>เมื่อ 6 พ.ค. 2566 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ท่าพระจันทร์ จัดเสวนาเปิดตัวหนังสือ “The Ruling Game” เขียนโดย ดุลยภาค ปรีชารัชช อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ และสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มธ. พิมพ์ครั้งแรกโดย สำนักพิมพ์มติชน ณ ประชุมริมแม่น้ำเจ้าพระยา ชั้น 1 คณะศิลปศาสตร์ มธ. ท่าพระจันทร์  โดยมีผู้ร่วมเสวนาหลายคน อาทิ ภูริ ฟูวงศ์เจริญ คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มธ. อรอนงค์ ทิพย์พิมล อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์และประธานเอเชียศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มธ. นภดล ชาติประเสริฐ อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มธ. และ ดุลยภาค ปรีชารัชช ผู้เขียนหนังสือ</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53121259248_81893846ef_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">(ซ้าย-ขวา) ภูริ ฟูวงศ์เจริญ นภดล ชาติประเสริฐ ดุลยภาค ปรีชารัชช และอรอนงค์ ทิพย์พิมล</span></p>
<p>ดุลยภาค กล่าวถึงที่มาที่ไปของหนังสือเล่มนี้ว่า ส่วนตัวได้แรงบันดาลใจมาจากการประพันธ์งานเขียนประวัติศาสต์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ชื่อดัง อาทิ ดี. อี. จี. ฮอลล์ นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ หรือมิลตัน ออสบอร์น นักประวัติศาสตร์จากออสเตรเลีย ผู้เขียนหนังสือชื่อ “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้: สังเขปประวัติศาสตร์” ซึ่งเป็นหนังสือประพันธ์เดี่ยวความหนาฉบับพ็อกเกตบุ๊ก พกพาสะดวก พูดถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเชิงประวัติศาสตร์ และชนชั้นนำตั้งแต่ยุคโบราณ จนถึงขบวนการเรียกร้องเอกราช </p>
<p>ดุลยภาค ระบุต่อว่า ตนจึงเริ่มเขียนงานเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาโดยแฝงเน้นแนวคิดรัฐศาสตร์ มองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านชนชั้นนำ และโครงสร้างอำนาจ ประกอบกับบริบทการเมืองในปัจจุบันอุษาคเนย์ก็มีความเปลี่ยนแปลง ชนชั้นนำแปรรูปเปลี่ยนร่างจากเผด็จการที่แข็งกระด้างใช้อำนาจเข้าปราบกลุ่มที่เป็นปฏิปักษ์ แต่มาวันนี้การเมืองเอเชียตะวันเฉียงใต้มีความเป็นเผด็จการผู้ช่ำชอง (Sophisticated Authoritarianism) สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากเอเชียอุษาคเนย์ไม่ได้มีประชาธิปไตยระดับสูง หรือเผด็จการเต็มรูปแบบ เป็นเผด็จการผสมประชาธิปไตย มีเลือกตั้ง และการที่มวลชนจะกระฉับกระเฉงเปลี่ยนสูตรเข้าสู่ประชาธิปไตยได้ต้องเข้าใจกลยุทธ์ของชนชั้นนำมีความช่ำชอง เข้าใจการใช้อำนาจอย่างแนบเนียน เขาคิดว่าอันนี้เป็นสิ่งจำเป็นและนำมาสู่การรังสรรค์ผลงาน หวังว่าจะให้เป็นผลงานชิ้นสำคัญเกี่ยวกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาให้ใกล้เคียงงานของมิลตัน ออสบอร์น </p>
<p>ดุลยภาค มองว่างานของเขามีความแตกต่างหรือเหนือกว่างานวิชาการก่อนหน้านี้ คือการใช้ทฤษฎีทางรัฐศาสตร์ และสังคมศาสตร์ เข้าไปสอดรับในงาน ซึ่งทำให้ทุกคนเห็นองค์ความรู้และพัฒนาการระบอบสังคมการเมืองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้อย่างแม่นยำมากขึ้น </p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53121115530_fac9a6ae57_b.jpg" /></div>
<div style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">(ซ้าย) มิลตัน ออสบอร์น นักประวัติศาสตร์ชาวออสเตรเลีย (ที่มา: เว็บไซต์ </span><span style="color:#d35400;">The Sydney Institute</span><span style="color:#d35400;">)</span></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">(ขวา) หนังสือ "เอเชียตะวันออกเฉียงใต้: สังเขปประวัติศาสตร์" (ที่มา: </span><span style="color:#d35400;">bookbun</span><span style="color:#d35400;">)</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ระบอบการปกครองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจุดเด่นที่การเป็นการเมืองแบ่งชนชั้น </span></h2>
<p>ดุลยภาค กล่าวถึงคอนเทนต์ในหนังสือ โดยเริ่มที่บทที่ 1 เป็นการพูดถึงทฤษฎีหรือคอนเซ็ปต์พื้นฐานในการนิยามชนชั้นนำทางการเมืองของนักรัฐศาสตร์แต่ละคน และบทที่ 2 จะขยับเข้ามาสู่บริบทของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น หรือชนชั้นนำในพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ </p>
<p>"สิ่งที่ผมอยากจะพิสูจน์ก็คือว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ทุกยุคทุกสมัย แบ่งชนชั้นเสมอ แบ่งเป็นชนชั้นปกครอง กับชนชั้นผู้ถูกปกครอง ตามทฤษฎีของนักรัฐศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ในบทที่ 1 มันสามารถพิสูจน์โดยหลักฐานเชิงประจักษ์ในเซาท์อีสต์เอเชีย (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้)" ดุลยภาค กล่าว</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53120168872_61d46289f1_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">(ซ้าย) ดุลยภาค ปรีชารัชช</span></p>
<p>นอกจากนี้ ดุลยภาค เสริมต่อว่า แม้แต่กระทั่งในสังคมชนชาติพันธุ์บนที่สูงของอุษาคเนย์ ก็มีการแบ่งการปกครองเป็นลำดับขั้น เมืองเอก เมืองโท หรือเมืองบริวาร สังคมที่สูงของชนเผ่าชิน ในเมียนมา หรือในมณฑลยูนนาน ก็แบ่งชนชั้นประมาณนี้ </p>
<p>อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีงานศึกษาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาของ ลิช เอ็ดมุนด์ (Leach Edmund) ศึกษาในเขตภูเขาคะฉิ่น ทำให้เห็นว่าในเขตดังกล่าวมีการเมืองที่ทั้งเป็นเผด็จการรวมศูนย์ และหน่วยการเมืองแนวระนาบที่ทุกคนเท่ากัน ไม่มีใครเป็นหัวหน้าเผ่าอย่างเด่นชัด แต่ดุลยภาค เสริมว่า เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณหน่วยการเมืองอื่นๆ ในพื้นที่อุษาคเนย์ ลักษณะเด่นของการปกครองยังเป็นการแบ่งชนชั้นทางสังคม แม้แต่การปกครองแบบจักพรรดิราช หรือการปกครองแบบรัฐแสงเทียน ถือเป็นการ 'Classification' หรือการจัดจำแนกประเภทเหมือนกัน </p>
<p>นอกจากการพูดถึงระบอบการปกครองแบบรัฐแสงเทียน (Mandara) แล้ว ผู้เชี่ยวชาญการเมืองเมียนมาอย่างดุลยภาค ระบุต่อว่า บทที่ 2 ยังมีการพูดถึงปกครองในยุคสมัยอาณานิคม และหลังอาณานิคม</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ไฮไลท์ของงาน คือการพูดถึงชนชั้นนำทางการเมืองในอุษาคเนย์</span></h2>
<p>ดุลยภาค ระบุต่อว่า ไฮไลท์ของหนังสือเล่มนี้คือการพูดถึงชนชั้นนำทางการเมืองในอุษาคเนย์ โดยยกมา 4 กลุ่ม ได้แก่ กษัตริย์ ทหาร นักการเมือง และนักธุรกิจ </p>
<p>อย่างไรก็ตาม ดุลยภาค ยอมรับว่า ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังมีชนชั้นนำอื่นๆ อย่างนักบวชทางศาสนา หรือพระสงฆ์ เพราะในหลายประเทศ กลุ่มคนเหล่านี้ยังมีบทบาทในกระบวนการเคลื่อนไหวทางการเมือง หรือแม้แต่นักแสดง หรือดารา ก็สามารถกระโจนเข้าสู่วงการการเมืองได้ แต่ที่เลือกมาเพียง 4 กลุ่ม เพื่อให้ปริมาณการนำเสนอในหนังสือมีเนื้อหาเหมาะสม และไม่มากจนเกินไปเมื่อเทียบกับบทอื่นๆ และมองว่าทั้ง 4 กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีพลังขับเคลื่อนสำคัญเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในประเทศต่างๆ ของเอเชียอุษาคเนย์ </p>
<div class="note-box">
<p>ทั้งนี้ ในเมียนมา กลุ่มพระสงฆ์ ศาสนาพุทธ นิกายเถรวาท ถือว่ามีบทบาททางการเมืองเมียนมา ตั้งแต่สมัยยุคจารีต แต่เหตุการณ์ที่สำคัญที่ทำให้เห็นบทบาททางการเมืองของพระสงฆ์เมียนมา เด่นชัดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ คือเหตุการณ์การประท้วงผ้าเหลือง (Saffron Revolution เมื่อปี พ.ศ. 2550) หรือการมีส่วนร่วมในการปลุกระดมสร้างความเกลียดชังต่อชาติพันธุ์ชาวโรฮีนจา รัฐยะไข่ หรือในฟิลิปปินส์ เราได้เห็นบทบาทของ โจเซฟ เอสตราดา ที่เคยเป็นนักแสดง ก่อนขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีในภายหลัง</p>
</div>
<p>ผู้เชี่ยวชาญการเมืองเมียนมา ระบุต่อว่า บทที่เขาภูมิใจมากที่สุด คือบทที่ 4 เนื่องจากต้องใช้ทฤษฎีทางรัฐศาสตร์เข้ามาวิเคราะห์ของ ลาร์รี ไดมอนด์ (Larry Jay Daimond) ซึ่งเป็นนักรัฐศาสตร์จากสหรัฐฯ ที่แบ่งระบอบการเมืองในโลกเป็นหลายกลุ่ม ประชาธิปไตยเต็มใบ ครึ่งใบ หรือเผด็จการประชาธิปไตยที่ทั้งโน้มเอียงมาทางเผด็จการ และโน้มเอียงไปทางประชาธิปไตย 5-6 ชนิด โดยดุลยภาค ได้นำเรื่องราวของชนชั้นนำในอุษาคเนย์ 11 ประเทศ สวมใส่เข้าไปการจัดแบ่งประเภทการปกครองตามแนวคิดของลาร์รี ไดมอนด์ ยกตัวอย่าง การอธิบายสิงคโปร์ เป็นเผด็จการการเลือกตั้งแบบครอบงำ เผด็จการแบบเมียนมา และอื่นๆ </p>
<p>รวมถึงมีการอธิบายบางกรณีที่มีความพิเศษในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยกตัวอย่างกรณีที่พรรคคอมมิวนิสต์ลาว สร้างอนุสาวรีย์พระเจ้าฟ้างุ้ม (กษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านช้าง) ที่พิเศษเพราะว่าไม่มีรัฐมาร์กซิสที่ไหนจะสร้างวีรกษัตริย์ หรือวีรชนขึ้นมาเชิดชู แต่ทำไมชนชั้นนำลาว ถึงคิดแบบนั้น </p>
<p>ท้ายสุด ดุลยภาค เน้นย้ำว่า หนังสือเล่มนี้จะฉายให้เห็นภาพเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากมุมมองของชนชั้นนำทางการเมือง และอำนาจ โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ และทฤษฎีสอดรับในทุกบท ครบ 11 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  </p>
<div class="note-box">
<p>อนึ่ง 11 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วย ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม เมียนมา มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ และติมอร์เลสเต </p>
</div>
<h2><span style="color:#2980b9;">จุดเด่นการใช้แนวคิดและข้อมูลประวัติศาสตร์ในหนังสือ</span></h2>
<p>ด้านอรอนงค์ ทิพย์พิมล อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ และประธานเอเชียศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มองเช่นกันว่า หนังสือเล่มนี้เหมาะสำหรับใช้ศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และสิ่งที่ค่อนข้างชอบคือเรื่องกรอบแนวคิด และประวัติศาสตร์ที่เอามาใช้ โดยเฉพาะบทที่ 2 เนื่องจากใช้ข้อมูลประวัติศาสตร์ค่อนข้างเยอะ </p>
<p>อรอนงค์ เสนอว่าอยากเห็นเพิ่มเติมคือช่วงประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมัยสงครามเย็น เนื่องจากช่วงสมัยยุคจารีต อาณานิคม และช่วงต่อสู้เพื่อเอกราช จะเห็นภาพค่อนข้างชัดในหนังสือ ซึ่งเธอมองด้วยว่ายุคสงครามเย็นมีความสำคัญต่อพัฒนาการของภูมิภาคนี้เช่นกัน</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">มองคุณค่าเชิงการศึกษา ต่อยอดการเมืองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้</span></h2>
<p>ภูริ ฟูวงศ์เจริญ คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มธ. แบ่งประเด็นอภิปรายหนังสือ “The Ruling Game” ออกเป็น 3 ประเด็น คือเป้าหมาย ความน่าสนใจ และข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในหนังสือ หรือนำไปต่อยอด</p>
<p>ภูริ มองว่า หนังสือเล่มนี้ในฐานะตำราเรียน ถือเป็นตำราเรียนที่ดี ทำเนื้อหาออกมาอย่างครอบคลุม กวาดองค์ความรู้ในปัจจุบันมาทำให้เข้าใจง่าย เหมาะกับนักศึกษา คนทั่วไป หรือใครก็ตามที่อยากจะศึกษาลงลึก สามารถตามอ่านในบรรณานุกรม หรือเชิงอรรถได้ ถ้าในอนาคตใครอยากจะทำวิจัยเรื่องนี้ ไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง อยากแนะนำเริ่มจากหนังสือเล่มนี้ได้</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53121179035_4e63ac3141_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">(ซ้ายสุด) ภูริ ฟูวงศ์เจริญ</span></p>
<p>ภูริ มองต่อว่า การเขียนหนังสือเล่มนี้ของดุลยภาค ถือว่ามีความท้าท้าย เพราะประเทศในอุษาคเนย์ มีด้วยกัน 11 ประเทศ ซึ่งมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม และภาษา เมื่อเปรียบเทียบกับยุโรปศึกษา สมมติ ถ้าเรารู้ภาษาฝรั่งเศส หรือละตินอเมริกา ก็สามารถทำงานศึกษาได้ในหลายประเทศ ซึ่งแตกต่างจากอุษาคเนย์ ทำให้ภูริ มองว่าการเขียนหนังสือ การศึกษา การใช้องค์ความรู้ และหลักฐานไม่ง่าย และต้องใช้ความอุตสาหะในการทำงาน</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เสนอศึกษาชนชั้นนำอื่นๆ ในเอเชียอุษาคเนย์</span></h2>
<p>คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มธ. มองว่า เขาชอบบทที่ 2 มากที่สุด ทำได้ดีมากในเชิงทฤษฎี และข้อมูล แต่อาจจะมีข้อท้วงติงเรื่องการเขียนสังคมยุคจารีตในประเทศต่างๆ ในอุษาคเนย์ </p>
<p>สำหรับบทที่ 3 ว่าด้วย “กลุ่มก้อนชนชั้นนำในการเมือง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มธ. มองว่าอาจจะเป็นบทที่ต้องเพิ่มเติมมากที่สุด เนื่องจากอาจจะมีชนชั้นนำทางการเมืองอื่นๆ ที่ควรระบุในหนังสือเพิ่ม เช่น ข้าราชการพลเรือน นักคิดนักเขียน (Intellectual) หรือดารานักแสดง ยกตัวอย่างในประเทศฟิลิปปินส์ เคยมี โจเซฟ เอสตราดา (Joseph "Erap" Ejercito Estrada) ดารานักแสดงที่กลายมาเป็นประธานาธิบดี ทำให้ตอนอ่านคิดว่ามีชนชั้นนำอีกหลายกลุ่มก้อนที่ไม่ถูกระบุในหนังสือ และมีข้อคำถามว่าอะไรคือเกณฑ์ในการเลือก </p>
<p>นอกจากนี้ ภูริ เสนอว่าอาจจะสามารถขยายการศึกษาได้หรือไม่ อาทิ บทบาทของกองทัพ ซึ่งในหนังสือพูดถึงบทบาทของกองทัพในอินโดนีเซีย ไทย และเมียนมา ซึ่งเขาเข้าใจได้ว่าทำไม ดุลยภาค ถึงเลือก 3 ประเทศนี้ แต่ส่วนตัวคิดว่ากองทัพในประเทศอื่นๆ น่าจะมีความสำคัญเหมือนกัน แต่ตรงนี้มันหายไป หรือบางประเทศอย่างสิงคโปร์ หนังสือเล่มนี้เจาะจงบทบาทนักการเมืองไปที่ลี กวนยู คนเดียว แต่มองว่ายังมีนักการเมืองอีกหลายคนที่มีอิทธิพลต่อสิงคโปร์ อย่างเช่น เอส.ราชารัตนัม ที่ร่วมก่อตั้งประเทศสิงคโปร์ขึ้นมา </p>
<p>ด้านอรอนงค์ กล่าวว่า เธอชอบการนิยามชนชั้นนำของดุลยภาค ที่ทำให้มองเห็นว่า ชนชั้นนำมีการผสมผสานบทบาท และเส้นแบ่งที่แพร่เลือน เวลานิยามชนชั้นนำ เขาอาจจะไม่ได้เป็นแค่หน่วยการเมืองเดียว บางคนเป็นทั้งทหาร และนักธุรกิจ ในเวลาเดียวกัน ซึ่งในการเมืองของอินโดนีเซีย ก็มีคนอย่าง “ปราโบโว ซูเบียนโต” ที่เป็นทั้งทหาร และนักการเมือง  </p>
<p>อย่างไรก็ตาม อรอนงค์ กล่าวสอดคล้องกับภูริ ว่า บทที่ 3 สามารถเสริมเรื่องชนชั้นนำอื่นๆ ได้อีก เช่น ผู้นำศาสนา โดยยกตัวอย่างในฟิลิปปินส์ เป็นประเทศที่ผู้นำทางศาสนามีบทบาททางการเมือง หรือในเมียนมา พระในพุทธศาสนาเถรวาทก็มีบทบาทในเชิงการเมืองและสังคม </p>
<p>นอกจากนี้ อรอนงค์ ตั้งคำถามด้วยว่าอย่างปัญญาชน หรือนักศึกษา นี่นับเป็นชนชั้นนำทางการเมืองหรือไม่ เนื่องจากในบางประเทศ เธอมองว่ากลุ่มนักศึกษาก็มีบทบาทนำทางการเมือง </p>
<p>ท้ายสุด อรอนงค์ มองว่า หนังสือ The Ruling Game เป็นหนังสือที่ดีมากๆ ในการทำความเข้าใจประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา โดยเฉพาะคนที่สนใจด้านอาณาบริเวณศึกษา  หรือเป็นผู้อ่านทั่วๆ ไป</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53121179025_2980219585_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">หนังสือ The Ruling Game ชนชั้นนำและอำนาจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้</span></p>
<p>ขณะที่ ภูริ ย้ำว่า ข้อวิจารณ์ที่กล่าวไปข้างต้นไม่ได้ทำให้คุณค่าเชิงวิชาการ และในฐานะตำราของหนังสือ “The Ruling Game” ลดน้อยถอยลงไปเลย พร้อมเชิญชวนให้คนที่ต้องการศึกษาเรื่องเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลองอ่านหนังสือของดุลยภาค เพื่อนำไปต่อยอดทำการวิจัยในอนาคตอีกด้วย</p>
<p>"หนังสือเล่มนี้ไปต่อ ต่อยอดได้  แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ผมย้ำอีกทีนี่ไม่ได้ทำให้คุณค่าของหนังสือเล่มนี้ที่ผมย้ำไปในตอนแรกลดลง …มันเป็นความพยายามที่น่าชื่นชม" คณบดีคณะรัฐศาสตร์ กล่าวย้ำ และเชื่อว่าในช่วงเวลาที่การเลือกตั้ง’66 การอ่านหนังสือเล่มนี้จะทำให้เห็นภาพมากขึ้น และอาจทำให้ผู้อ่านกลับมาคิด ต่อสิ่งที่กำลังจะเปลี่ยนไป หรืออาจจะเกิดขึ้นในอนาคต</p>
<p>ทั้งนี้ นอกจากอรอนงค์ และภูริ มาร่วมอภิปรายแล้ว นภดล ชาติประเสริฐ อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้มาร่วมอภิปรายประวัติศาสตร์การเมือง และชนชั้นนำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ต้องมีการปรับตัวตั้งแต่สมัยยุคจารีต การเข้ามาของอินเดีย และจีน จนถึงยุคจักรวรรดินิยม ผ่านปัจจัยและบริบทการเมืองจากภายนอกตลอดเวลา </p>
<p>นภดล กล่าวทิ้งท้าย ชื่นชมการเขียนหนังสือของดุลยภาค ที่มีการใช้คำอย่างชาญฉลาด และมีประสิทธิภาพ ทำให้หนังสือน่าอ่าน มีข้อวิจารณ์ถึงปริมาณข้อมูลของแต่ละประเทศ 11 ประเทศ อาจจะไม่เท่ากัน โดยเฉพาะของติมอร์ เลสเต อาจจะน้อยเกินไป เนื่องจากติมอร์ฯ เป็นตัวอย่างของประชาธิปไตยที่ก้าวหน้า มีภาคประชาสังคมที่แข็งแกร่ง มีการเลือกตั้งที่ฟรีและแฟร์ ก็น่านำมาพูดมากขึ้น แต่ภาพรวมของหนังสือยังคงน่าสนใจ</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B3" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ชนชั้นhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/08/105487
 
6660  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - The Memoirs of Haji Sulong : ‘ธงชัย’ ขออย่าทำลายคนที่ยินดี จะใช้วิธีการพูดคุยเจรจาอย่างสันติ เมื่อ: 16 สิงหาคม 2566 23:03:18
The Memoirs of Haji Sulong :  ‘ธงชัย’ ขออย่าทำลายคนที่ยินดี จะใช้วิธีการพูดคุยเจรจาอย่างสันติ
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2023-08-16 20:30</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพจาก มูลนิธิฮัจยีสุหลง</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ธงชัย วินิจจะกูล ร่วมรำลึก 69 ปีที่หะยีสุหลงถูกอุ้มหายช่วยฉายให้เห็นภาพใหญ่ของความสัมพันธ์สยาม-ปาตานีใน 200 กว่าปี และเป็นตัวแทนของทุกความพยายามในความสัมพันธ์นั้น ทว่าถูกทำให้หายไป “ราวกับมันไม่มีอยู่ ทั้งๆที่ทุกคนก็รู้ว่ามันมี” การอุ้มหายได้สร้างเงาให้บันทึกไว้แทบตลอดกาล โปรดอย่าทำลายสายพิราบ อย่าทำลายคนที่ยินดีจะพูดคุย</p>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="autoplay; clipboard-write; encrypted-media; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="true" frameborder="0" height="429" scrolling="no" src="https://www.facebook.com/plugins/video.php?height=314&amp;href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2FHajiSulongFoundation%2Fvideos%2F661043779038539%2F&amp;show_text=true&amp;width=560&amp;t=2180" style="border:none;overflow:hidden" width="560"></iframe></p>
<p>ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ธงชัย วินิจจะกูล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน สหรัฐอเมริกา บรรยายหัวข้อ “หะยีสุหลงในความทรงจำของสังคมไทย” ในงาน “รำลึก 69 ปีการถูกบังคับสูญหายของหะยีสุหลง” 13 ส.ค. 2566 ณ บ้านหะยีสุหลง อ.เมือง จ.ปัตตานี ภายใต้แนวคิด “The Memoirs of HAJI SULONG” ร่องรอยความทรงจำต่อหะยีสุหลงผ่านบันทึกและจดหมาย</p>
<p>แม้ ศาสตราจารย์ฯธงชัย ออกตัวว่ามีความรู้เกี่ยวกับปาตานีและหะยีสุหลงไม่มาก เพราะเป็นเรื่องยากและซับซ้อนเกินกว่าที่ตนเองจะทุ่มเทให้ แต่กลับเป็นนักประวัติศาสตร์ชื่อดังที่คนปาตานี/ชายแดนใต้อย่างฟังมากที่สุดคนหนึ่งในสิ่งที่คนพื้นที่ก็ “รู้อยู่แล้ว แต่พูดไม่ได้..?”</p>
<p>อะไรที่ทำให้ศาสตราจารย์ฯ ธงชัย สนใจเรื่องปาตานีและหะยีสุหลง อีกทั้ง กรณีหะยีสุหลงสามารถบอกอะไรได้กว้างกว่ากรณีของหะยีสุหลงเองได้อย่างไร ในประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์สยาม-ปาตานีในช่วง 200 ปี</p>
<p>ธงชัย บอกว่า ความเข้าใจของตนเองต่อปาตานีนั้นตื้นเขินมาก แต่เริ่มสะกิดใจครั้งแรกตอนเริ่มศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในช่วงทศวรรษที่ 1980-2000 ที่มีการจัดสัมมนาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นทั่วประเทศกว่า 100 ครั้งในจังหวัดใหญ่ๆ แต่ตอนนั้นเริ่มสังเกตว่าทำไมจังหวัดปัตตานีไม่เคยจัด แต่ไม่พยายามหาคำตอบว่าทำไม</p>
<p>“คนจัดไม่อยากจัด หรือคนจัดอยากจัดแต่จัดไม่ได้ หรือคนจัดไม่อยากจัดเพราะถ้าจัดแล้วจะเกิดปัญหาเลยไม่อยากจัด อะไรก็แล้วแต่” ระหว่างนั้นก็อ่านไปเรื่อยๆ สำหรับคนที่ไม่ได้สนใจประวัติศาสตร์ปาตานีมากมาย แต่มีข้อมูลหรือวัตถุดิบที่เป็นภาษาอังกฤษให้อ่านพอสมควร</p>
<p>“ผมไม่ทราบว่า หนังสือของอิบรอฮิม ชุกรี Controversial (เป็นที่ถกเถียง) ผมอ่านเพราะมีในห้องสมุด ผมอ่าน Hikayat Patani เพราะมีให้อ่าน ผมอ่าน Sekarah Melayu โดยไม่สนใจไม่รับรู้ว่า ตอนนั้นเรื่องไหนสำคัญไม่สำคัญมาก”</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">พูดในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว แต่เขาพูดไม่ได้</span></h2>
<p>ธงชัย บอกว่า พยายามทำความเข้าใจว่าทำไมประวัติศาสตร์ปัตตานีไม่เคยจัดแต่ไม่ได้คำตอบ จนกระทั่งย้อนไปดูประวัติศาสตร์ไทยและอ่านประวัติศาสตร์ปาตานีมากขึ้น ส่วนหนึ่งเพราะมีลูกศิษย์ซึ่งเป็นเหลนของหมอ “บรัดเลย์” ชื่อ ซิสโก้ แบรดลี่ ซึ่งสนใจประวัติศาสตร์การค้าระหว่างอินเดียกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ปาตานีจากลูกศิษย์คนนี้</p>
<p>ธงชัย เล่าว่า ตนได้คำตอบเรื่องนี้ในปี 2545 เมื่อมีคนชวนให้มาพูดถึงเรื่องเล่าจากปัตตานี “ผมก็เล่าว่าทำไมประวัติศาสตร์ปาตานีจึงขัดฝืนกับประวัติศาสตร์ไทยในหลายมิติ เล่าจบก็มีคนมาแสดงความยินดีจนทำตัวเองรู้สึกงงว่าเกิดอะไรขึ้น ทั้งที่ตนเองก็ไม่ได้พูดอะไรที่แปลกประหลาดมาก</p>
<p>“ผมมาเข้าใจทีหลังนานพอสมควรว่า ผมพูดในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้วแต่เขาพูดไม่ได้ คนที่นี่นักวิชาการท้องถิ่นรู้อยู่แล้ว แต่พูดไม่ได้ นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าผมจะต้องรู้จักปาตานีให้มากขึ้น”</p>
<p>ธงชัย บอกว่า จากนั้นไม่นานเกิดเหตุการณ์ในปี 2547 ซึ่งชวนให้ถอยไปพักหนึ่ง เพราะตระหนักอย่างจริงจังว่า เรื่องเล่าสารพัดเกี่ยวกับปาตานีนั้น มีลักษณะบางอย่างที่รู้สึกว่าไม่เหมือนที่อื่น แต่ตอนนั้นยังอธิบายไม่ได้ว่ามีลักษณะพิเศษอย่างไร</p>
<p>“พอเกิดเหตุปี 2004(2547) ผมรู้เลยว่า เรื่องราวมันซับซ้อนและยากเกินกว่าผมจะเข้าใจ หลังจากนั้นสิ่งที่ผมทำได้ก็คือค่อยๆ อ่าน ค่อยๆ ติดตาม...จนเดี๋ยวนี้ก็ยังไม่กล้ากระโจนลงมา ผมเข้าใจว่าปัญหามันซับซ้อนเกินกว่าจะทุ่มเวลาให้อย่างมากมายถึงจะเข้าใจ”</p>
<p>ธงชัย บอกว่า ตนเองบอกไม่ได้ว่าความสนใจของสังคมไทยต่อหะยีสุหลงเป็นอย่างไร แต่บอกได้ว่าเขาไม่รู้เรื่องหรอก และบอกได้แค่ว่าตนเองเข้าใจเรื่องหะยีสุหลงอย่างไร ซึ่งตนก็ไม่ใช่ตัวแทนของสังคมไทย “แน่ๆ สิ่งที่ผมคิดหลายอย่างเป็นเรื่องที่สังคมไทยไม่ยอมรับ”</p>
<p>“ผมไม่ได้สนใจหะยีสุหลงในแง่การเป็นนักการศาสนาที่วิเศษวิโสคนหนึ่งหรือไม่ ผมไม่ได้สนใจหะยีสุหลงจะเป็นกรณีสำคัญที่สุดยิ่งกว่ากรณีอื่นๆหรือไม่ ผมไม่ได้สนใจว่าปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างกรุงเทพฯกับปาตานีในรอบ 200-300 ปีที่ผ่านมาเป็นเรื่องสำคัญที่สุดหรือไม่ ผมคิดว่าไม่สำคัญด้วยซ้ำไป”</p>
<p>ธงชัย กล่าวว่า ความสนใจที่ตนมีเป็นความสนใจเชิงกว้าง และพยายามจะเข้าใจว่าหะยีสุหลงพอก็จะบอกอะไรกับเราได้บ้าง โดยฝากให้คิดว่า กรณีหะยีสุหลงฉายให้เราเห็นภาพใหญ่ของเรื่องอะไร อย่างไรบ้าง ตนจะไม่ตอบเพราะยังเป็นการบ้านที่ยังตอบไม่ชัด แต่พอมีแนวที่จะเล่าให้ฟัง และไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ไม่จำเป็นต้องมีความทรงจำแบบเดียวกัน</span></h2>
<p>ธงชัย บอกว่า กรณีหะยีสุหลงไม่ใช่แค่ตัวหะยีสุหลงตัวคนเดียว รายละเอียดต่างๆ ในความทรงจำที่คุณเด่น (โต๊ะมีนา ลูกของหะยีสุหลง) เล่าให้ฟัง คือสิ่งที่ลูกหลานญาติมิตรต้องเก็บไว้และสำคัญมาก แต่สำหรับเขาและคนปาตานีที่เป็นคนนอกครอบครัวก็อาจไม่จำเป็นต้องมีความทรงจำแบบเดียวกัน แต่หาแง่มุมอื่นให้เห็นว่ากรณีนี้สำคัญมาก</p>
<p>ธงชัยให้เหตุว่า เพราะเรื่องเล่าเกี่ยวกับหะยีสุหลง เหมือนกับคำในภาษาอังกฤษ 2 คำง่ายๆ คือ Microcosm กับคำว่า Macrocosm (จักรวาล) โดยคำว่า Microcosm เป็นกรณีที่จะฉายให้เห็นเรื่องที่ใหญ่กว่าเรื่องของตัวเอง</p>
<p>(Microcosm ภาษาไทยแปลว่า พิภพเล็ก หมายถึง ชุมชน สถานที่ หรือสถานการณ์ที่ถือเป็นการสรุปคุณสมบัติหรือคุณสมบัติของสิ่งที่ใหญ่กว่ามากในลักษณะย่อส่วน)</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ฉายให้เห็นภาพใหญ่ของความสัมพันธ์สยาม-ปาตานีใน 200 กว่าปี</span></h2>
<p>ธงชัย อธิบายว่า กรณีหะยีสุหลงถึงจะมีรายละเอียดเฉพาะกรณีมากมาย ซึ่งต่างจากกรณีอื่นๆอีกเยอะเลย แต่เป็นหนึ่งในจำนวนไม่มากนักที่สามารถจะเป็น Microcosm หมายถึงใช้ให้เห็นภาพใหญ่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสยามกับปาตานีอย่างน้อยใน 200 กว่าปีที่ผ่านมา ผมเชื่อว่าได้</p>
<p>“ถ้าเราจับเรื่องนี้มาศึกษาในแง่ประวัติศาสตร์ ศึกษาความทรงจำในกรณีนี้ให้ดี ทั้งจากแง่มุมของญาติ จากแง่มุมของคนในท้องที่ที่ไม่ใช่ญาติ จากแง่มุมคนนอก จากแง่มุมของกรุงเทพ จากแง่มุมของหน่วยงานความมั่นคง ผมเชื่อว่า กรณีนี้จะช่วยฉายให้เราเห็นมิติที่สำคัญๆแบบแผนความสัมพันธ์ระหว่างกรุงเทพฯกับปาตานี ได้”</p>
<p>ธงชัยได้ยกตัวอย่าง เช่น ภูมิหลังของหะยีสุหลงที่เราอาจคิดว่าเป็นเรื่องครอบครัว แต่เคยคิดหรือไม่ว่า ความสำคัญของอูลามา(นักปราชญ์ทางศาสนาอิสลาม) ในปาตานีในยุคนั้นเป็นอย่างไร ในความสัมพันธ์กับเชื้อสายเครือญาติฝ่ายสุลต่านเก่าของปาตานีและในที่อื่นๆ และกับความสัมพันธ์ที่มีกับเครือข่ายอำนาจในกรุงเทพฯ</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เป็นตัวแทนของทุกความพยายามในความสัมพันธ์นั้น</span></h2>
<p>ธงชัย ย้ำว่ากรณีหะยีสุหลงไม่ใช่กรณีเฉพาะในมิติของการเป็นตัวแทนให้เห็นความสัมพันธ์นี้ แต่(เป็นตัวแทน)ในแง่ที่กว้างขึ้นกว่านั้นได้ ยกตัวอย่างเช่น ความพยายามของหะยีสุหลงในการที่จะสร้างและปรับปรุงการศึกษา โรงเรียนศาสนาและความพยายามนำข้อเรียกร้อง 7 ข้อยื่นเสนอไปยังกรุงเทพฯ</p>
<div class="more-story">
<p>อ่านข้อเรียกร้องของหะยีสุหลงทั้ง 7 ข้อ</p>
<ul>
<li>จัดรำลึก 69 ปี หะยีสุหลง เปิดจดหมายจากเรือนจำ บันทึกประวัติศาสตร์การเมืองไทย-ปาตานี </li>
</ul>
</div>
<p>เราอาจจะมองในแง่หนึ่งเป็นเรื่องเฉพาะ 7 ข้อ แต่คิดหรือไม่ว่า ความพยายามอันนี้ก็เหมือนกับหรือเป็นทำนองเดียวกับความพยายามอื่นๆ อีกจำนวนมาก ซึ่งเกิดขึ้นในความสัมพันธ์ระหว่างปาตานีกับกรุงเทพฯ และกรณีเหล่านั้นอาจจะมีแบบแผนและมีความเกี่ยวพันกัน จนกระทั่งรัฐที่กรุงเทพฯ เข้าใจผิด ไม่ไว้ใจหรือจนกระทั่งมองในแง่ร้าย</p>
<p>ธงชัยเห็นว่าข้อเรียกร้อง 7 ข้อไม่ได้เป็นเพียงข้อเรียกร้องของหะยีสุหลงโดยเฉพาะเท่านั้นแต่เห็นว่าเป็นข้อเรียกร้องที่คนในท้องถิ่นหลายรุ่นหลายกรณีพยายามเรียกร้องและยังพยายามมาจนถึงทุกวันนี้ เพราะฉะนั้น ความพยายามที่เกิดขึ้นก็ยังไม่ใช้ครั้งแรก แม้มีลักษณะเฉพาะแต่ก็เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามหลายครั้ง และเกิดขึ้นในความสัมพันธ์ระหว่างกรุงเทพฯ กับปาตานีซึ่งดำเนินมาอย่างน้อยถึง 200 ปี</p>
<p>ธงชัย กล่าวว่า ความพยายามของหะยีสุหลงนี้เกิดขึ้นในแบบแผนความสัมพันธ์ในรอบ 200 ปี และก่อนหน้านั้นประมาณ 2-3 แบบแผนใหญ่ๆ ที่นักวิชาการท่านหนึ่งได้แนะนำเพราะฉะนั้นแม้กระทั่งเรื่องเล็กๆไม่ใช่เรื่องเล็ก จุดเล็กๆที่เป็นเรื่องใหญ่มาก</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ทำให้สิ่งที่มีอยู่หายไป ราวกับมันไม่มีอยู่ ทั้งๆที่ทุกคนก็รู้ว่ามันมี</span></h2>
<p>“เรานึกถึงหะยีสุหลง ณ ปีนี้ พร้อมๆ กับแสดงความยินดีกับความสำเร็จของ พ.ร.บ. ป้องกันการซ้อมทรมานและอุ้มหาย”</p>
<p>ธงชัย ชวนคิดถึงในแง่ประวัติศาสตร์ทางกฎหมายว่าถ้า ถ้าไม่พูดถึงการอุ้มหายในแง่มุมกฎหมายแล้วการอุ้มหายคืออะไร แปลตรงตัวการอุ้มหายก็คือการเอาตัวไปสังหารและทำให้หายไป</p>
<p>“การอุ้มหาย” เรามักจะแปลแค่ว่า “การทำให้สิ่งที่มีอยู่หายไป ราวกับไม่มีอยู่ไม่มีอยู่” ที่จริงประโยคไม่จบแค่นี้ ประโยคที่ยาวก็คือ</p>
<p>“การทำให้สิ่งที่มีอยู่หายไป ราวกับมันไม่มีอยู่ ทั้งๆ ที่ทุกคนก็รู้ว่ามันมี”</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">การอุ้มหาย คือการสร้างเงาให้บันทึกไว้แทบตลอดกาล</span></h2>
<p>การอุ้มหาย คือ การสร้างเงาให้บันทึกไว้ แทบตลอดกาล เจ้าของผู้ทำให้เกิดเงา อาจจะถูกทำให้สูญหายไปแล้ว แต่เงากลับไม่หายไปด้วย ทุกคนรับรู้ถึงเงา และทุกคนเห็นสิ่งที่หายไปผ่านเงาของสิ่งที่ถูกทำให้หายไป</p>
<p>ธงชัยเห็นว่าเพราะฉะนั้นแล้วการอุ้มหายจึงไม่ได้แปลตามภาษาไทยว่า คือการลักพาและทำให้หายไป แต่การอุ้มหายคือภาวะตามที่เขาเขียนในหนังสือภาษาอังกฤษ เรียกว่า Silence Un forgetting (เงียบจนลืมไม่ลง) ก็คือทำให้เกิดภาวะที่ลืมไม่ได้ จำไม่ลง อยู่ตรงกลางระหว่างการลืมกับการจำ จะบอกว่าจำได้ 100% ก็ไม่ใช่ เพราะวัตถุของความทรงจำได้มันหายไปแล้ว จะบอกว่าเราลืมเราก็ไม่ลืม ก็เงาของมันกลับไม่หายไป</p>
<p>การอุ้มหาย คือการทำให้สิ่งที่มีอยู่ไม่มีอยู่ ทำให้เกิดภาวะของเงาหลอนต่อคนที่ยังอยู่ตลอดเวลา คือทำให้เห็นสิ่งนั้นโดยตระหนักถึงการไม่มีอยู่ของมัน เขาได้ศึกษาความเปลี่ยนแปลงของเงาตัวนั้น ตัวสิ่งนั้นได้หายไปแล้ว แต่ศึกษาว่าคนรับรู้เรื่องเงานั้นอย่างไร และตรงนี้บอกถึงสังคมนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี</p>
<p>จากกรณีของหะยีสุหลงนี้ธงชัยเห็นว่าอาจทำให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับปาตานีในรอบ 200 ปีก็เป็นไปได้</p>
<p>“ผมอยากชวนให้สนใจเรื่องหะยีสุหลง ไม่ใช่ในฐานะลูกหลานญาติพี่น้อง แต่ในฐานะกรณีของสังคมที่จะช่วยฉายให้เห็นเรื่องที่ใหญ่ มากกว่ากรณีของหะยีสุหลง ไม่ใช่เพียงกรณีเดียว แต่เป็นหนึ่งในไม่กี่กรณีที่ช่วยฉาย เป็น microcosm แบบนี้ได้”</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ผู้ไม่มีสุสาน ย่อมมีสุสานทุกหนแห่ง</span></h2>
<p>การอุ้มหายทำให้เกิดภาวะของการเป็นอมตะ การอุ้มหายทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า “ผู้ไม่มีสุสาน ย่อมมีสุสานทุกหนแห่ง” (บทกวีของ ซะการีย์ยา อมตยา 2558) บทกวีบทนี้คือ Ontology (ภววิทยา)ของภาวะอุ้มหายเพราะฉะนั้นอนาคตถ้าจะมีการศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับปาตานี หรือศึกษาปัญหาจังหวัดภาคใต้ เราสามารถศึกษาได้หลายแง่หลายมุมจากหลายกรณี</p>
<p>ธงชัยเชื่อว่ากรณีหะยีสุหลงน่าจะเป็นกรณีสำคัญที่ทำให้เกิด Microcosm ที่ฉายภาพที่ใหญ่กว่านั้นได้ หมายถึงการสร้างฐานข้อมูลและการเปิดเผยข้อมูลก็เป็นเรื่องสำคัญ การไล่ถามว่าญาติพี่น้องคนไหนมีความทรงจำอย่างไร หรือคนในท้องที่มีความทรงจำอย่างไร เป็นเรื่องสำคัญ และต้องไม่ปิด ใครจะชอบมาก ใครจะชอบน้อย ใครจะชอบปานกลาง ใครจะไม่ค่อยชอบก็ถือว่าเป็นข้อมูลที่จำเป็นสำหรับความเข้าใจทั้งหมด แล้วจะช่วยให้เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างสยาม-ปาตานีที่กว้างขึ้น ถ้ามีข้อมูลก็เปิดเผยออกมา</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">แบข้อมูลออกมาจากทุกฝ่ายให้ถกเถียงกัน</span></h2>
<p>ธงชัยเล่าถึงประสบการณ์ที่เคยไปเสวนาที่ ม.อ.ปัตตานีเมื่อ 10 กว่าปีก่อนว่า ให้แบข้อมูลออกมาจากทุกฝ่าย อย่าไปโกรธอย่าไปเกลียด และที่สำคัญเถียงกันได้ แต่อย่าตีหัวกันก็แล้วกัน แล้วก็ค่อยๆ เรียนรู้เรื่องเหล่านี้ด้วยกัน เพราะประวัติศาสตร์ที่ถูกต้องไม่ได้มีหนึ่งเวอร์ชั่น ประวัติศาสตร์ที่ถูกต้องมีหลายเวอร์ชั่นในขณะเดียวกันได้</p>
<p>เขากล่าวต่อว่าถ้าฝ่ายความมั่นคงจะเข้าใจเรื่องธรรมดาสามัญของมนุษย์ ก็ยอมให้ข้อมูลประวัติศาสตร์ของปาตานี ทุกกรณี รวมถึงกรณีหะยีสุหลง เปิดเผยเอามา แบออกมาในที่สาธารณะ แล้วมาแลกเปลี่ยนถกเถียงกัน บนหลักพื้นฐานแค่ว่า อย่าตีหัวกัน จะเป็นประโยชน์มาก</p>
<p>ส่วนใครจะหยิบยกประวัติของหะยีสุหลงขึ้นมาทบทวนขยายความ ในแง่ไหน ควรปล่อยให้ เกิดขึ้นโดยหลักที่ว่าอย่าตีหัวกัน หากใครจะเอาข้อเรียกร้อง 7 ข้อ กลับมาทบทวนใหม่ พิจารณาใหม่ เชื่อว่าไม่มีใครเอา 7 ข้อมาใช้อย่างเดิมโดยไม่มีการปรับ แต่ควรจะต้องถกเถียงกันพูดคุยกัน อย่าระแวงสงสัยกัน และไม่ใช้ความรุนแรงต่อกัน</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">อย่าทำลายสายพิราบ อย่าทำลายคนที่ยินดีจะพูดคุย</span></h2>
<p>ธงชัยย้ำว่าตั้งแต่การศึกษาประวัติศาสตร์ไปจนถึงการขบคิดถึงอนาคต และขอทุกฝ่ายโดยเฉพาะฝ่ายความมั่นคงได้ตระหนักว่าสิ่งที่ทำกับหะยีสุหลงเมื่อ 69 ปีก่อน คือการทำลายสายพิราบ สิ่งที่ฝ่ายความมั่นคงทำหลายกรณีในประเทศไทย เช่นการฟ้องการจับเด็ก ได้ 2-3 ปีที่ผ่านมาด้วยข้อหาสารพัดนี้กำลังทำร้ายคนที่ยินดีจะพูดคุยและทำลายสายพิราบ</p>
<p>กรณีที่เล่นงานพรรคก้าวไกลในปัจจุบัน คุณกำลังทำลายสายพิราบ ไม่ได้แปลว่าเราต้องเห็นด้วยกับพรรคก้าวไกล แต่อย่างน้อยอย่ารังแก อย่าเล่นนอกเกมนอกกติกา เราควรจะพูดคุยกันได้แลกเปลี่ยนกันได้ทะเลาะกันได้บนพื้นฐานว่าอย่าตีหัวกัน แค่นั้นเองซึ่งเป็นข้อเรียกร้องที่ต่ำมาก</p>
<p>ก่อนจะถึงวันนั้น ผมเชื่อว่าการสืบค้นและการศึกษาเรื่องหะยีสุหลงจะมีประโยชน์มากต่อการสร้างภาวะเช่นนั้น และเมื่อถึงวันนั้นการศึกษา การสืบค้นเรื่องหะยีสุหลงจะช่วยผลักดันความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับปาตานีเป็นไปในแง่ที่สร้างสรรค์มากขึ้น บนหลักพื้นฐานง่ายๆ อย่าตีหัวกัน</p>
<p>“ผมเชื่อว่าถึงวันนั้นมันมีทางออก ที่ทุกฝ่ายยินดีจะพร้อมรับ พร้อมปรับเข้าหากันคนละนิดคนละหน่อย และถึงวันนั้นถ้ามันมีจริง เราจะต้องขอบคุณหะยีสุหลง ขอบคุณบ้านโต๊ะมีนาที่มีส่วนช่วยให้เราได้เรียนรู้อดีตให้เรามีความหวังต่ออนาคต ให้เราค่อยๆ หาทางที่จะอยู่ร่วมกันในอนาคตอย่างมีสันติได้ “</p>
<p>ฟังบรรยายเต็มได้ระหว่างนาทีที่ 36.20-1.10.30 ที่</p>
<p>https://www.facebook.com/HajiSulongFoundation/videos/66104377903853</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/08/105485
 
หน้า:  1 ... 331 332 [333] 334 335 ... 1146
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.816 วินาที กับ 26 คำสั่ง