[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
26 เมษายน 2567 07:08:09 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก เวบบอร์ด ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

  แสดงกระทู้
หน้า:  1 [2] 3 4 ... 51
21  สุขใจในธรรม / ไขปัญหาโลก ธรรม และความรัก / Re: ศาสนา โดย พระภาวนาสุตาภิรัต (ชอบ พุทฺธสโร) วัดพิชโสภาราม จ.อุบลราชธานี เมื่อ: 26 มีนาคม 2567 17:07:35

ศาสนา
โดย พระภาวนาสุตาภิรัต (ชอบ พุทฺธสโร)
วัดพิชโสภาราม ต.แก้งเหนือ อ.เขมราฐ อ.อุบลราชธานี


          แต่ถ้าทำจิตทำใจให้มีสมาธิได้ เข้าฌานได้ ความโกรธมันก็ระงับไปชั่วคราว ในอารมณ์ที่เราอยู่ในฌาน ความโกรธมันก็ไม่มี หรือว่าขณะที่เราเกิดถีนะ ถีนะก็คือความท้อแท้ ความง่วงเหงาหาวนอน แต่ถ้าเราเข้าฌานได้ จิตใจของเราก็จะไม่มีความง่วงเหงาหาวนอน บางครั้งมีญาติโยมบางคนมาถามว่า อาจารย์ เวลาประพฤติปฏิบัติธรรมไปแล้ว มันสว่าง จิตใจมันสว่าง อิ่มอยู่ตลอดเวลา สมองนี้มันใส จะง่วงก็ไม่ง่วง ไม่อยากนอน อยากจะเดินจงกรมนั่งภาวนาทั้งคืน มันเป็นอะไร มันเป็นอย่างนี้เป็นเพราะอะไร อันนี้ก็แสดงว่าจิตใจของบุคคลนั้นมันเกิดปีติ เกิดปัสสัทธิ เกิดสมาธิขึ้นมามาก เกิดโอภาส แสงสว่างขึ้นมาทำให้จิตใจของบุคคลนั้นมันตื่น

          หรือว่าบุคคลใดที่เกิดปีติ เวลาปีติมันเกิดขึ้นมามากๆ จิตใจมันจะอิ่ม อิ่มแล้วตามันจะสว่างใส เราหลับตาลงสมองนี้มันจะใส เรากำหนดอาการพองอาการยุบเห็นต้นพอง กลางพอง สุดพอง ต้นยุบ กลางยุบ สุดยุบดี แต่มันไม่สงบเป็นสมาธิ เพราะว่าปีติมันมีกำลังกล้า เวลาเราเดินจงกรมนี่เราเห็นต้นยก กลางยก สุดยก ต้นเหยียบ กลางเหยียบ สุดเหยียบดี แต่ว่ามันไม่สงบ เพราะว่าอะไร เพราะว่าปีติมันมีกำลังกล้า บางครั้งปีติเกิดทั้งคืนก็มี เกิดตั้งแต่ ๕ โมงเย็น ๖ โมงเย็นโน้นกว่าที่ปีติมันจะคลายลงก็ตอน ๓ โมงเช้า ๔ โมงเช้าก็มีด้วยอำนาจของสมาธิมันมากมันน้อยต่างกัน

          เพราะฉะนั้นถ้าบุคคลใดมีปีติแล้วความง่วงเหงาหาวนอนมันจะไม่มี หรือว่าบุคคลผู้ที่เข้าฌานได้ อุททัจจะ กุกกุจจะ คือความฟุ้งก็ดี ความซ่านก็ดี มันจะไม่เกิดมี ความฟุ้งก็คือในขณะที่เรานั่งไปนี้ จิตใจมันคิดไปถึงอารมณ์ข้างนอกอันนี้เรียกว่าฟุ้งแล้ว เราก็ดึงกลับมา ถ้ามันดึงกลับมาแล้วมันคิดไปอีกถ้ามันคิดไปอีกเราดึงกลับมาอีก อย่างนี้เรียกว่ามันฟุ้ง แต่ที่ว่าซ่าน อารมณ์ที่ว่าซ่านนั้นหมายความว่าเรานั่งไปแล้วเราคิด ปรุงแต่งไปเรื่อย คิดถึงบ้านแล้วก็คิดว่าบ้านนี้ใครจะกวาดแล้วเราจะเก็บของอย่างไร เราจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร เราจะตกแต่งอย่างไร เราจะต่อเติมตรงนั้น ทำตรงนี้ คิดไปเป็นเรื่องเป็นราวนี้เรียกว่า ซ่าน ไปแล้ว เหมือนกับรถที่มันวิ่งผ่านฝุ่นในเวลาฤดูแล้ง เวลารถวิ่งไปแล้วฝุ่นมันก็ฟุ้งขึ้นมา ขณะฟุ้งขึ้นมาแล้วมันก็ซ่านออกไป แผ่ออกไป

          อารมณ์ของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติธรรมก็เหมือนกัน ถ้าคิดแล้วดึงกลับมานี้ถือว่าฟุ้ง แต่ว่าถ้าคิดไปแล้วก็ปรุงแต่งไปด้วยนี้ถือว่า ซ่าน ถ้าเราเข้าอยู่ในปฐมฌานแล้วอารมณ์เหล่านี้มันจะไม่ปรากฏขึ้นมา เรียกว่าข่มได้ หรือว่าบุคคลผู้ที่อยู่ในฌานนั้นสามารถที่จะตัดวิจิกิจฉา คือความลังเลสงสัยได้ แต่ก่อนเราลังเลสงสัยว่าพระพุทธเจ้านี้มีจริงหรือเปล่า พระธรรมนี้สามารถที่จะนำบุคคลที่ประพฤติตามนั้นไปสู่สุคติโลกสวรรค์ ได้ถึงสันติสุขคือการบรรลุมรรคผลนิพพานจริงมั้ย พระสงฆ์นี้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบปฏิบัติตรงมั้ย เป็นเนื้อนาบุญของโลกจริงมั้ย บาปมีมั้ย บุญมีมั้ย นรกมีมั้ย สวรรค์มีมั้ย การประพฤติปฏิบัติธรรม คุณของศีล คุณของสมาธิ คุณของปัญญามีมั้ย เกิดความสงสัย

          แต่ถ้าเราได้ฌาน สิ่งเหล่านี้มันจะระงับไว้แต่ยังไม่สงสัย เพราะอำนาจของฌานมันจะระงับไว้แต่ยังไม่สงสัย เพราะอำนาจของฌาน เรียกว่า  วิกขัมภนปหาน เราสามารถข่มได้ด้วยการเข้าสมาธิ อันนี้เป็นลักษณะของการเบียดเบียนกิเลสอย่างกลาง

          แต่ถ้าเราจะเบียดเบียนกิเลสอย่างละเอียด เราก็ต้องเจริญวิปัสสนากรรมฐาน เหมือนอย่างคณะครูบาอาจารย์ ที่กำลังเดินจงกรมนั่งภาวนานี้แหละ ถือว่าเรามาเบียดเบียนกิเลสอย่างละเอียด ถ้าเราสามารถได้บรรลุมรรคผลนิพพานเราก็จะเบียดเบียนกิเลส คือเบียดเบียนอนุสัยที่ดองเนื่องอยู่ในขันธสันดาน คือจะเบียดเบียนอนุสัย ๗ ประการ คือกามานุสัยคือ เครื่องหมักดองคือกามคุณ แล้วก็เบียดเบียนภวานุสัย คือเบียดเบียนอนุสัยคือภพ แล้วก็เบียดเบียนทิฏฐานุสัย คือเครื่องหมักดองคือความเห็นผิดอยู่ในขันธสันดานของเรา แล้วก็เบียดเบียนมานานุสัย คือความมีมานะ ความถือตัวว่าเราเกิดก่อน ว่าเรามีอายุมาก ว่าเรามีความรู้มาก หรือว่าเราเกิดในตระกูลที่ดี เกิดในตำบลอำเภอที่ดีอะไรทำนองนี้ เรียกว่ามีมานะทิฏฐิขึ้นมา เราเจริญวิปัสสนานี้ก็เบียดเบียนมานานุสัยนี้ให้หมดไป ให้สิ้นไปตามกำลังของมรรคของผลของเรา แล้วก็เบียดเบียนปฏิฆานุสัย คือปฏิฆะคือความโกรธนั้นให้หมดไปให้สิ้นไปจากจิตจากใจของเรา แล้วก็เบียดเบียนวิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยให้หมดไปสิ้นไปจากจิตจากใจของเรา แล้วก็เบียดเบียนอวิชชา คือความไม่รู้ให้หมดไปจากจิตจากใจของเรา

          คือขณะที่เราเดินจงกรมนั่งภาวนานี้แหละ ถ้าบุคคลใดประพฤติปฏิบัติธรรมถึงพระอนาคามี ก็สามารถที่จะละกามราคะได้ เรียกว่าสามารถที่จะกำจัดกามราคานุสัยให้หมดไปจากจิตจากใจได้ แต่ถ้าบุคคลใดประพฤติถึงพระอรหันต์นั้นแหละ จึงจะสามารถที่จะตัดภวาราคานุสัยคืออนุสัยในภพนั้นให้สิ้นไปจากจิตจากใจได้ ถ้าบุคคลใดได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน จึงสามารถที่จะละความเห็นผิดให้หมดไปจากจิตจากใจได้ แต่ถ้าบุคคลใดปฏิบัติถึงพระอรหันต์ จึงสามารถที่จะละมานานุสัยได้ ถ้าบุคคลใดปฏิบัติถึงพระอนาคามี จึงสามารถที่จะละความโกรธได้ ถ้าบุคคลใดปฏิบัติบรรลุเป็นพระโสดาบันก็สามารถที่จะละความสงสัยเรื่องพระพุทธ สงสัยเรื่องพระธรรม สงสัยเรื่องพระสงฆ์ให้หมดสิ้นไปจากจิตจากใจได้ หรือว่าบุคคลใดที่ประพฤติถึงพระอรหันต์ จึงสามารถละความไม่รู้คืออวิชชานั้นออกไปจากจิตจากใจ

          อันนี้เป็นการละเครื่องอนุสัยเครื่องหมักดอง ด้วยอำนาจของมรรค ของผล ของบารมีที่เราได้สั่งสมอบรมมา เป็นความหมายของศาสนาในข้อที่ ๔ ในคำว่าเบียดเบียน

          ศาสนาข้อที่ ๕ ท่านแปลว่า อาคมะ ซึ่งแปลว่าเป็นที่มาประชุมแห่งกุศลทั้งหลายทั้งปวง คือพระศาสนาของเรานี้เป็นที่เกิด เป็นบ่อเกิดแห่งบุญ เป็นบ่อเกิดแห่งกุศล เป็นบ่อเกิดแห่งศีล แห่งสมาธิ แห่งปัญญา หรือว่าใครอยากจะได้บุญอะไรๆ ก็มาทำเอาที่พระพุทธศาสนานี้แหละ

          ใครอยากจะมีอายุยืนก็มาทำเอาที่ศาสนาของเรานี้แหละ ใครอยากจะเป็นเศรษฐีก็มาทำเอาที่ศาสนาของเรานี้แหละ ใครอยากจะเป็นมหาเศรษฐี เป็นพระมหากษัตริย์ก็มาทำเอาที่ศาสนาของเรานี้แหละ ใครอยากจะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิก็มาทำเอาที่ศาสนาของเรานี้แหละ ใครอยากจะเป็นเทวดาก็มาทำเอาที่พระศาสนาของเรา ใครอยากจะเป็นพรหมก็มาทำเอาที่พระศาสนาของเรา ใครอยากจะเป็นอสีติมหาสาวก ก็มาทำเอาที่พระศาสนาของเรา ใครอยากจะเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าก็มาทำเอาที่พระศาสนาของเรา ใครอยากจะเป็นพระอัครสาวก เหมือนพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ ก็มาทำเอาที่พระศาสนาของเรา หรือ ใครอยากจะเป็นพระพุทธเจ้าตรัสรู้เป็นพระอนุตรสัมมาสัมพุทธเจ้าก็มาทำเอาที่พระศาสนาของเรานี้แหละ

          คือมาบำเพ็ญศีล บำเพ็ญสมาธิ บำเพ็ญปัญญา บำเพ็ญบารมีทั้ง ๓๐ ทัศ ทานบารมี สีลบารมี เนกขัมมะบารมี ปัญญาบารมี ขันติบารมี วิริยะบารมี สัจจะบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี อุเบกขาบารมี เรียกว่ามาบำเพ็ญอยู่ที่นี่ อยู่ที่พระศาสนานี้แหละ

          เพราะฉะนั้นศาสนาของเรานั้นจึงถือว่าเป็นบ่อเกิดแห่งบุญ เป็นบ่อเกิดแห่งกุศลทั้งหลายทั้งปวง เพราะฉะนั้นพระศาสนานั้นจึงเปรียบเสมือนกับทะเล ทะเลนั้นเป็นที่น้ำทั้งหลายทั้งปวง จะเป็นแม่น้ำชี แม่น้ำมูล แม่น้ำโขง แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำเล็ก แม่น้ำน้อยทั้งหลายทั้งปวงก็ไหลลงไปรวมที่ทะเล พระศาสนาของเราก็เหมือนกัน เป็นที่รวมแห่งบุญแห่งกุศลทั้งหลายทั้งปวงฉันนั้นเหมือนกัน

          เพราะฉะนั้น พระศาสนานั้นท่านจึงถือว่า เป็นที่เกิดแห่งบุญแห่งกุศลทั้งหลาย เพราะฉะนั้นญาติโยมทั้งหลายที่นับถือพระพุทธศาสนาก็คงจะเข้าใจพระพุทธศาสนาบ้างตามสมควร ก็จะไม่ขอพูดพิสดารมากไปกว่านี้เพราะว่ากินเวลามามากแล้ว

          ก็จะขอสรุปว่า พระศาสนาของเรานั้น เมื่อสรุปโดยย่อแล้วก็มีอยู่ ๓ ประการ คือปริยัติศาสนา ปฏิบัติศาสนา แล้วก็ปฏิเวธศาสนา ปริยัติศาสนาก็คือการเล่าเรียน ศึกษาพระไตรปิฎก ตามที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้ก็คือเรียนนักธรรมตรี นักธรรมโท นักธรรมเอก เรียนเปรียญธรรมประโยค ๑-๒ ประโยค ๓ ประโยค ๔ ประโยค ๕ ประโยค ๖ ประโยค ๗ ประโยค ๘ ประโยค ๙ เรียนอภิธรรมบัณฑิตคือ จุลตรี จุลโท จุลเอก มัชฌิมตรี มัชฌิมโท มัชฌิมเอก แล้วก็เรียนจนจบมหาอภิธรรมบัณฑิตเรียกว่าจบ อภิธรรมบัณฑิต อันนี้เป็นหลักสูตรของการเรียนปริยัติในทุกวันนี้

          ส่วนปฏิบัตินั้นท่านหมายถึงว่า การยังกาย วาจา ใจ ของผู้ปฏิบัตินั้นให้เข้าถึงเฉพาะซึ่งคุณงามความดี คือยังกาย วาจา ใจของบุคคลผู้ปฏิบัตินั้นให้เข้าถึงศีล เข้าถึงสมาธิ เข้าถึงปัญญา อันนี้หมายถึงปฏิบัติศาสนา

          ส่วนปฏิเวธศาสนานั้นท่านหมายถึงการแทงตลอดซึ่งอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค กล่าวโดยย่อก็คือ การบรรลุ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ เรียกว่า นวโลกุตรธรรม ๙ ประการ อันนี้หมายถึงปฏิเวธธรรมคือการบรรลุมรรคผลนิพพาน

          เมื่อเราจะอุปมาอุปไมยปริยัติก็ดี ปฏิบัติก็ดี ปฏิเวธก็ดี เพื่อที่จะให้เข้าใจ

          ปริยัตินั้นเปรียบเสมือนกับการเรียนแผนที่ อย่างเราจะไปกรุงเทพ เราจะไปต่างจังหวัด ไปภาคเหนือ เราก็ดูแผนที่ว่าจะไปอำเภอไหนก่อน ไปทางหลวงหมายเลขที่เท่าไหร่ เราก็เรียนเป็นอย่างดี อันนี้หมายถึงปริยัติ   

          แต่เมื่อปฏิบัติก็คือ เราเดินทางตามแผนที่ ที่เราได้ศึกษามาดีแล้วนั้นแหละ ไปตามทางหลวงหมายเลขที่เราศึกษาดีแล้วแต่เรายังไปไม่ถึง อันนี้เป็นปฏิบัติ

          ส่วนปฏิเวธนั้นหมายถึงว่าเรานั้นไปถึงแล้ว ถ้าเราจะไปเชียงใหม่เราก็ไปเห็นเชียงใหม่ ว่าเชียงใหม่นั้นมีถนน ๔ เลนมีบ้านช่องตึกรามเป็นอย่างไร เรียกว่าเราไปเห็นกับหูดูกับตามาแล้ว

          แล้วก็ปริยัตินั้นท่านเปรียบเสมือนกับการเรียนตำราอาหาร คือปริยัตินั้นเปรียบเสมือนกับการเล่าเรียนตำราอาหารว่า แกงนี้เราจะใส่น้ำ ใส่ปลาเท่าไหร่ ใส่ไก่เท่าไหร่ ใส่เห็ดเท่าไหร่ ใส่น้ำพริกเท่าไหร่ ใส่น้ำปลา ใส่เกลือเท่าไหร่ เราต้องต้มไฟเดือดอย่างไร นานขนาดไหน เราเรียนเป็นอย่างดีแต่เรายังไม่เคยทำสักที ครั้งเดียวเราก็ไม่เคยทำ

          ส่วนปฏิบัตินั้นก็หมายเอาวิชา คือการเรียนต้มนั้นแหละมาใส่น้ำเท่าไหร่ ใส่ผักเท่าไหร่ ใส่ปลา ใส่เนื้อเท่าไหร่ ใส่พริก ใส่เกลือ ใส่น้ำตาล ต้มใช้ไฟแรงขนาดไหน เอามาทำ เราทำเสร็จเรียบร้อยแต่เรายังไม่ซด เรายังไม่ดื่ม เรายังไม่กิน เรายังไม่ฉัน

          ส่วนปฎิเวธนั้นหมายถึงว่า ตักเอาแกงมาใส่ถ้วยแล้วก็ชิมดูว่ามันมีรสชาติอย่างไร รู้เฉพาะตนเอง บุคคลใดชิมบุคคลนั้นก็รู้ว่ามันเอร็ดอร่อยอย่างไร มันมีรสเปรี้ยวหวานอย่างไร คนที่ไม่ชิมก็ไม่รู้ อันนี้เป็นปฏิเวธ

          แล้วก็ปริยัติธรรมนั้นท่านเปรียบเสมือนกับการเรียนลายแทงว่าที่วัดป่าน้ำท่วม มีขุมทรัพย์ ที่ฝังไว้อยู่ตรงโน้น อยู่ตรงนี้ แล้วก็เรียนลายแทงว่ามันมีต้นไม้ใหญ่อยู่ เป็นต้นบากหรือต้นอะไร มันฝังอยู่ตรงทิศตะวันออกหรือทิศตะวันตกเรียนอย่างดี เรียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่ลงมือขุด ยังไม่ลงมือไปตามลายแทง

          แต่ปฏิบัตินี้นี่ลงมือขุดลงไปๆ แต่ยังไม่ถึงสมบัติที่ตนเองศึกษาตามลายแทง

          ปฏิเวธธรรมนั้นหมายถึง ขุดถึงแล้ว แล้วก็ยกเอาสมบัติ มีเพชร นิล จินดา มีพระทองคำอะไรขึ้นมาเชยชม อันนี้เป็นความหมายของปฏิเวธ

          แล้วก็ปริยัตินั้นท่านเปรียบเสมือนกับการเรียนตำรายา ว่ายานี้แก้โรคปวดหัว แก้โรคท้อง แก้โรคตับ แก้โรคหอบเหลือง ต้องฝนยารากไม้ตรงนี้ เอาตัวนี้มาผสมกับตัวนี้เรียนเป็นอย่างดี แต่ยังไม่เคยทำซักที ยังไม่เคยปรุงซักที

          ปฏิบัตินั้นหมายถึงเอาตำราเอารากไม้เอาส่วนประกอบของยามาผสมกัน แต่ยังไม่เอาไปใช้ทา ยังไม่เอาไปใช้กิน ยังไม่เอาไปใช้รักษา

          ความหมายของปฏิเวธนั้นก็คือ เอายาอันนั้นไปใช้ทา ไปใช้กิน ไปใช้รักษาคนป่วยแล้วคนป่วยก็หายจากโรค อาจจะเป็นโรคปวดหัว โรคตับก็ดี โรคหอบเหลืองก็หายจากโรคนั้น อันนี้เป็นความหมายของปฏิเวธ

          เพราะฉะนั้นพระศาสนาของเรานั้นจะเจริญรุ่งเรืองได้ก็ต้องอาศัยทั้งปริยัติ อาศัยทั้งปฏิบัติ อาศัยทั้งปฏิเวธ แต่ถ้าเราไม่ช่วยกันรักษา พระศาสนาของเราก็จะเสื่อมไปๆๆ ในที่สุดพระศาสนาของเราก็จะหมดไป รุ่นลูกรุ่นหลานก็ไม่สามารถที่จะได้มาอยู่ใต้ร่มพุทธธรรมให้ได้รับความร่มเย็น ประชาชนคนทั้งหลายก็จะเดือดร้อนด้วยอำนาจของกิเลส คือ ราคะ โทสะ โมหะ มีแต่ความเห็นแก่ตัว แก่งแย่งชิงกัน ได้รับความเดือดร้อนนานาประการ เพราะอะไร เพราะว่าไม่มีศาสนาเป็นเครื่องร่มเย็น ให้ประชาชนทั้งหลายมีความสุข มีความสบาย ศาสนาของเราก็จะสิ้นไป เสื่อมไป สูญไป

          เหมือนกับสมัยก่อน ศาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ เสื่อมสิ้นไป คือในสมัยนั้นมีชาวบ้าน ๒ คน มีชาวตระกูล ตระกูลหนึ่ง พี่กับน้องออกบวชด้วยกัน ผู้พี่ชื่อว่าโสธนะ ส่วนน้องชายชื่อว่า กปิละมารดาของชนทั้ง ๒ นั้นชื่อว่า สาธนี น้องสาวของชนทั้ง ๒ ชื่อว่า ตาปนา คนทั้ง ๔ นั้นได้ออกบวชด้วยกัน ทางโสธนะก็ดี กปิละก็ดี ก็บวชเป็นพระ ส่วนมารดาคือนางสาธนีและน้องสาวชื่อตาปนาก็บวชเป็นภิกษุณี

          ภิกษุทั้ง ๒ รูปบวชแล้วก็อุปถัมภ์อุปัฏฐากอุปัชฌาย์นั้นครบ ๕ ปี แล้วทั้ง ๒ ก็เข้าไปกราบเรียนอุปัชฌาย์ว่า ท่านขอรับ ในพุทธศาสนานี้นี่มีธุระที่จะต้องศึกษากี่อย่าง อุปัชฌาย์ก็ว่ามีอยู่ ๒ อย่างคือ วิปัสสนาธุระแล้วก็คันถธุระ คือการศึกษาเล่าเรียน

          ภิกษุผู้เป็นพี่ชายชื่อว่า โสธนะ คดว่าตนเองบวชเมื่อแก่เราคงจะไม่มีเรี่ยวแรงจะศึกษาปริยัติธรรม ก็เลยศึกษาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เมื่อเรียนเอากรรมฐานจากพระอุปัชฌาย์แล้วก็ไปพากเพียรอยู่ในป่า เดินจงกรม นั่งภาวนา ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ตัดกิเลสขาดจากขันธสันดานของตน

          ส่วนกปิละน้องชายคิดว่าเรายังหนุ่มยังแน่นเราจะเรียนพระไตรปิฎก เรียนคันถธุระเสียก่อน ต่อเมื่อเราแก่เราเฒ่าเราจึงจะเรียนวิปัสสนากรรมฐาน ก็เริ่มตั้งความเพียร ศึกษาพระสูตร ศึกษาพระวินัย พระอภิธรรมจนเป็นผู้แตกฉานช่ำชองคล่องปาก สามารถที่จะอธิบายพระสูตรพระอภิธรรมนั้นได้ชำนิชำนาญมากมาย พิสดารมากก็เลยมีบริวารมาศรัทธามาอุ้มมาล้อมมาศึกษาเล่าเรียนเป็นจำนวนมาก คนก็ศรัทธา

          กปิละภิกษุนั้นก็เลยมัวเมาในลาภ ในความสรรเสริญ เมื่อมัวเมามากขึ้นๆ คนมีกิเลสอยู่ก็เลยหลงตัวเอง เมื่อหลงตัวเองก็ไม่ยอมที่จะเชื่อฟังใคร บุคคลอื่นว่าอย่างไรก็ไม่ฟัง เพราะว่าตนเองนั้นเป็นอาจารย์สอนคนอื่นแล้ว คนอื่นจะมาเตือน คนอื่นเป็นลูกศิษย์จะมาเตือนเราได้อย่างไร เราเป็นอาจารย์ใครจะมาเตือนเราได้ เกิดมานะทิฏฐิความพองตัวเหมือนกับอึ่งอ่างมันพองตัว ก็คิดว่าตนเองนั้นเป็นผู้ที่มีความรู้มาก แต่ที่ไหนได้ตนเองมีความรู้แค่ปริยัติธรรมเท่านั้น ส่วนปฏิบัติหารู้ไม่ ส่วนปฏิเวธไม่ได้แทงตลอด ก็เหมือนกับว่า กบมันมีดินติดหัวนิดเดียวก็คิดว่าเป็นหงอนพญานาค ก็คิดว่าเป็นเกล็ดของพญานาค พองตัวขึ้นมา บุคคลผู้มีแต่ปริยัติก็เหมือนกัน ศึกษาได้รู้นิดๆ หน่อยๆ ก็คิดว่าตนเองนั้นเป็นผู้รู้มาก พองตัวเหมือนกับกบที่มีดินติดหัวนึกว่าเกล็ดของพญานาค นึกว่าหงอนของพญานาคก็อวดลำพองตัวเอง ในที่สุดภิกษุผู้มีศีลก็ไม่ค่อยจะชอบ ไม่อนุโมทนา ก็กล่าวพระธรรมวินัยคลาดเคลื่อนไป กล่าวสิ่งที่เห็นสมควรว่าไม่สมควร

          ภิกษุทั้งหลายว่าสิ่งนี้มันสมควรนะท่าน กปิละก็ว่าไม่สมควร

          ภิกษุกล่าวว่าสิ่งนี้มันไม่สมควรนะท่าน กปิละก็กล่าวว่าสมควร

          ภิกษุทั้งหลายว่าสิ่งนี้มันเป็นโทษท่านอย่าทำนะกปิละก็กล่าวว่าถูก เพราะว่าตนเองไม่ยอม มีแต่มานะทิฏฐิ ภิกษุทั้งหลายก็เลยไปฟ้องพี่ชายชื่อว่าโสธนะ

          พี่ชายก็มาตักเตือนน้องชายว่าท่านการประพฤติปฏิบัติดี ภิกษุอย่างท่านนี่ ถ้าประพฤติปฏิบัติดีแล้วจะชื่อว่าเป็นอายุของพระศาสนา จะเป็นการสืบทอดพระศาสนาเพราะท่านมีความรู้มาก ท่านจงปฏิบัติให้ตรงต่อพระธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเถิด แต่ภิกษุชื่อว่า กปิละก็ไม่สนใจ พี่ชายก็มาเตือน ๒ ครั้ง ๓ ครั้ง น้องชายก็ไม่สนใจ พี่ชายก็เลยคิดว่า ท่าน ถ้าท่านไม่เชื่อคำของกระผม ท่านจะปรากฏด้วยกรรมของตนเอง แล้วพี่ชายก็เลยทิ้งน้องชายไป น้องชายก็เสียคน เมื่อเสียคนเพราะพี่ชายทิ้งแล้วก็ประมาท เมื่อประมาทแล้วก็วันหนึ่งคิดว่าตนเองจะลงอุโบสถ ก็ขึ้นไปอุโบสถประชุมพระสงฆ์ สามเณร แล้วก็จับพัตรอันวิจิตร คิดว่าจะแสดงอุโบสถก็ถามว่าอุโบสถนั้นเป็นไปในท่านทั้งหลายแล้วหรือ คือพวกท่านทั้งหลายตั้งใจจะฟังอุโบสถไหม ภิกษุทั้งหลายก็ไม่ตอบ ก็เพราะว่าจะตอบไปทำไม ไม่รักษาพระธรรมวินัย ไม่รู้จะฟังไปเพื่ออะไร ตนเองไม่ได้ประพฤติปฏิบัติตามวินัย

          ในที่สุดพระกปิละก็เลยพูดขึ้นในท่ามกลางสงฆ์ว่า พระธรรมไม่มี วินัยไม่มี พระศาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะก็เสื่อมสิ้นไปตั้งแต่บัดนั้นมา พี่ชายของพระกปิละคือ พระโสธนะก็ปรินิพพานในวันนั้นเอง เมื่อกปิละมรณภาพจากนั้นแล้วก็ไปเกิดในอเวจีมหานรก หมกไหม้อยู่ในอเวจีมหานรกสิ้นพุทธันดรหนึ่ง

          ในสมัยนั้นก็มีโจรห้าร้อย โจรห้าร้อยนี้เป็นคนที่ไปปล้นไปฆ่าคนอื่นมาเป็นประจำ วันหนึ่งพระราชาประชุมให้ทหารตามล่า พอทหารตามล่าโจร ๕๐๐ คนก็หลบหนีไปอยู่ในป่า ไม่รู้ว่าจะไปพึ่งใคร ก็ไปเห็นพระรูปหนึ่งกำลังนั่งบำเพ็ญธรรมอยู่ก็เลยว่า ท่านจงเป็นที่พึ่งของพวกกระผมทั้งหลายเถิด พระเถระรูปนั้นก็เลยบอกว่า ที่พึ่งอื่นยิ่งไปกว่าศีลไม่มี ถ้าท่านอยากจะได้ที่พึ่งพวกท่านจงสมาทานศีลเถิด หัวหน้าโจรพร้อมกับโจร ๕๐๐ ก็เลยสมาทานศีล เมื่อสมาทานศีลแล้ว พระเถระก็เลยบอกว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์แล้ว ต่อไปนี้อย่าทำศีลของตนให้ขาด ให้ทะลุ ให้เศร้าหมอง แม้ชีวิตก็อย่าให้มันเศร้าหมอง แม้คิดร้ายก็อย่าไปคิดร้ายกับบุคคลอื่น

          พอดีทหารของพระราชาตามมา เมื่อตามมามาเห็นโจรแล้วก็ฆ่าโจรทั้งหลายตาย โจรที่เป็นหัวหน้าก็ไปเกิดเป็นเทวดา โจรทั้งหลายที่เป็นลูกน้องก็ไปเกิดเป็นบริวารในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ด้วยอานุภาพของการรักษาศีล ๕ ชั่วครู่ เทวดาทั้งหลายก็ท่องเที่ยวไปในมนุษย์บ้าง เทวดาบ้าง สิ้นพุทธันดรหนึ่ง ก็มาเกิดอยู่ที่หมู่บ้านชาวประมงทางเข้าประตูเมืองสาวัตถี

          ทางฝ่ายพระกปิละซึ่งตายไปเกิดในอเวจีมหานรกพุทธันดรหนึ่ง พ้นจากนรกนั้นก็มาเกิดในแม่น้ำ อจิรวดี อยู่หน้าทางเข้าเมืองสาวัตถีเหมือนกัน พอดีชาวประมงเหล่านั้นโตขึ้นมาแล้ว หัวหน้าโจรก็ไปเกิดเป็นลูกของหัวหน้าชาวประมง บริวารก็ไปเกิดเป็นลูกน้องของชาวประมง พอโตขึ้นมาแล้วก็ไปหว่านแหหาปลา ขณะที่หว่านแหลงครั้งแรกนั้นแหละ ไปถูกปลาตัวหนึ่งที่มีตัวใหญ่ มีสีเหมือนกับทองคำ ชาวประมงทั้งหลายก็มีเสียงเอ็ดอึงกันว่าปลานี้ มีสีแปลก มีสีเหมือนกับทองคำก็เลยยกปลานั้นขึ้นมาใส่เรือแล้วก็เรียกคนมาดู ผู้ที่เป็นชาวประมงก็คิดว่าปลานี้แปลก เราจะเอาไปถวายพระราชา พระราชาก็คงจะพระราชทานทรัพย์เป็นอันมากก็เลยเอาไปถวายพระราชา พระราชาเห็นแปลกก็เลยคิดว่าจะเอาไปกราบทูลองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าปลานี้ทำไมจึงเป็นสีเหมือนทอง ก็เลยเอาปลานี้ไปสู่พระเชตวัน

          ขณะที่ไปสู่พระเชตวัน ปลาก็อ้าปาก ขณะที่ปลาอ้าปากนั้นกลิ่นเหม็นก็ฟุ้งออกไปจากปากของปลาตลบอบอวลทั้งพระเชตวันทั้งสิ้น พระเจ้าปเสนทิโกศลซึ่งครองเมืองสาวัตถีในครั้งนั้นก็ไปกราบทูลองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญทำไมหนอ ปลานี้จึงมีสีเหมือนทองคำ ทำไมหนอปลานี้จึงปากเหม็นเหลือเกิน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์จึงตรัสว่า มหาบพิตรต้องการจะฟังไหม ถ้ามหาบพิตรต้องการจะฟังตถาคตจะเล่าให้ฟัง แล้วพระตถาคตก็เลยเล่าให้ฟังว่า

          ปลานี้ชื่อว่า กปิละในสมัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ แล้วพุทธเจ้าก็เลยตรัสถามว่า เธอชื่อว่ากปิละใช่ไหม ปลาก็ตอบว่าพระเจ้าข้า ข้าพเจ้าชื่อว่ากปิละแล้วเธอมาจากไหน ปลานั้นก็บอกว่า ข้าพเจ้ามาจากอเวจีมหานรก พี่ชายของเธอชื่อว่า โสธนะนั้นไปแล้ว ณ ที่ไหน ปลาก็ตอบว่าพี่ชายของข้าพเจ้าพระองค์นั้นปรินิพพานไปแล้ว มารดาของเธอชื่อว่าสาธนีล่ะไปไหน ปลาก้บอกว่า มารดาของข้าพเจ้าไปเกิดในอเวจีมหานรกเพราะไปด่าภิกษุถือทิฏฐานุคติตามข้าพระองค์ ไปด่าภิกษุด่าผู้มีศีลก็เลยไปเกิดในนรก แล้วก็ถามปลาว่าน้องสาวของเธอชื่อว่า ตาปนาล่ะไปเกิดในที่ไหน ปลาก็บอกว่าน้องสาวของข้าพระองค์ไปเกิดในนรกชื่อว่าอเวจีเพราะไปด่าภิกษุ ตามที่กระผมได้ด่าภิกษุทั้งหลายในคราวที่มีชีวิตอยู่

          แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ก็ถามต่อไปว่า แล้วเธอล่ะจะไปที่ไหนต่ออีก ปลานั้นก็บอกว่าข้าพระองค์นั้นจะไปเกิดในอเวจีมหานรกอีก พูดจบแล้วก็เกิดความเดือดร้อน เมื่อเกิดความเดือดร้อนก็เอาหัวของตนเองฟาดลงที่เรือก็เลยตาย ตายแล้วก็ไปเกิดในอเวจีมหานรก

          ชนเป็นอันมากกำลังยืนมุงดูอยู่ก็เกิดขนพองสยองเกล้า เกิดขนชูชันมีจิตใจสลดสังเวช และคิดว่าบาปกรรมนี้มันมีจริงหนอๆ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ก็ทรงพิจารณาจิตใจของพุทธบริษัททั้งหลายว่า จิตใจของพุทธบริษัททั้งหลายมีความสลดสังเวชแล้ว พระองค์ก็ทรงแสดงกปิลสูตรในสุตตนิบาต เป็นใจความว่านักปราชญ์ทั้งหลาย สรรเสริญว่าการประพฤติธรรมก็ดี การประพฤติพรหมจรรย์ก็ดีเป็นแก้วอันประเสริฐ

          เมื่อพระองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนาจบแล้วก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ชาวประมงทั้ง ๕๐๐ เบื่อหน่ายในเพศของฆราวาส ออกบวช เมื่อออกบวชแล้วก็เจริญสมณธรรม ในที่สุดก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ตัดกิเลสขาดจากขันธสันดานทั้ง ๕๐๐

          อันนี้เป็นการเสื่อมเสียของพระศาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากัสสปะ เพราะฉะนั้นเราทั้งหลายก็ขอให้ตั้งจิตตั้งใจ รักษาพระศาสนาของเราตราบเท่าที่เราจะรักษาได้ ตราบเท่าที่เรายังมีชีวิตอยู่ เท่าที่กระผมได้น้อมนำเอาธรรมะ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาบรรยายก็เห็นว่าพอสมควรแก่เวลา ในท้ายที่สุดนี้ก็ขอให้ญาติโยมผู้ประพฤติปฏิบัติธรรมทั้งหลายจงเป็นผู้เพียบพูน สมบูรณ์ไปด้วยจตุรพิธพรชัยทั้ง ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ ธนสารสมบัติ ธรรมสารสมบัติ ปรารถนาสิ่งใดก็ขอให้ได้สิ่งนั้นสมความมุ่งมาดปรารถนา ขอให้มีโอกาสได้มาประพฤติวัตรปฏิบัติธรรมนำตนให้พ้นจากทุกข์ ถึงสุขอันไพบูลย์ กล่าวคือมรรคผลนิพพานด้วยกันจงทุกท่านทุกคนเทอญ.
22  สุขใจในธรรม / ไขปัญหาโลก ธรรม และความรัก / ศาสนา โดย พระภาวนาสุตาภิรัต (ชอบ พุทฺธสโร) วัดพิชโสภาราม จ.อุบลราชธานี เมื่อ: 26 มีนาคม 2567 17:05:51



ศาสนา
โดย พระภาวนาสุตาภิรัต (ชอบ พุทฺธสโร)
วัดพิชโสภาราม ต.แก้งเหนือ อ.เขมราฐ อ.อุบลราชธานี

          ขอโอกาสคณะสงฆ์ ขอเจริญพรญาติโยมสาธุชนทั้งหลาย ผู้ใฝ่ในการประพฤติปฏิบัติธรรมทุกท่าน วันนี้ก็ถือว่าเป็นการประพฤติปฏิบัติธรรมในราตรีของวันที่ ๘ พรุ่งนี้ก็ถือว่าเป็นราตรีของวันที่ ๙ มะรืนนี้เราก็จะต้องลาจากกันไป เพราะฉะนั้นค่ำคืนนี้ถือว่าเป็นคืนสุดท้ายที่เราจะต้องเดินจงกรม นั่งภาวนารวมกัน ถือว่าเป็นการประพฤติปฏิบัติในค่ำคืนสุดท้าย เพราะฉะนั้นวันนี้กระผมก็จะได้น้อมนำเอาธรรมะในเรื่อง ศาสนา มาบรรยายประกอบการประพฤติปฏิบัติธรรมของท่านทั้งหลายตามสมควรแก่สติและปัญญา

          คำว่า ศาสนา นั้นก็มีอยู่ทั่วไป ตามที่เราได้เห็นปรากฏ ตามข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ ตามตำรับตำรา ตามปราชญ์อาจารย์ทั้งหลายได้กล่าวไว้ว่า ศาสนาทั่วโลกนั้นมีมาก จะเป็นศาสนาพุทธก็ดี ศาสนาซิกข์ก็ดี ศาสนาคริสต์ก็ดี ศาสนาพราหมณ์ก็ดี ศาสนาฮินดูก็ดี หรือว่าศาสนาอิสลาม ที่เราได้ยินข่าวเกรียวกราวที่ภาคใต้นี้ก็ดี ศาสนาเหล่านี้ก็ถือว่าเป็นทางเดินของศาสนิกชนทั้งหลาย ศาสนิกชนก็คือ ชนผู้นับถือศาสนา

          ถ้านับถือศาสนาพุทธ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงสอนอย่างไร ก็ต้องปฏิบัติตามทางที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์สอนไว้ ศาสนาคริสต์สอนอย่างไร พระเยซูสอนให้เว้นจากบาปอย่างไร เวลาทำบาปแล้วไปล้างบาป สารภาพกับพระเยซูแล้วหายจากบาปอย่างไรนี้ท่านสอนไว้ ศาสนาอิสลามสอนอย่างไน ศาสนาพราหมณ์สอนอย่างไร เวลาทำบาปแล้วลงไปล้างน้ำล้างตา แต่ละศาสนานั้นก็ถือว่าเป็นทางเดินของศาสนิกชนคือ ชนผู้นับถือศาสนานั้นๆ

          แต่ถ้าศาสนาใดเป็นศาสนาที่เป็นประเภท เทวนิยม คือศาสนาในโลกนี้มีอยู่ ๒ อย่าง คือศาสนาเทวนิยม กับศาสนาที่เป็นกรรมนิยม ศาสนาที่เป็นเทวนิยมก็คือศาสนาที่ถือเทพเจ้า

          อย่างศาสนาคริสต์ก็ถือว่าเป็นเทวนิยม ทำไมจึงถือว่าเป็นเทวนิยม เพราะว่าบุคคลผู้ที่ทำตามที่พระเยซูสอนแล้ว ตายแล้วก็จะได้ไปเกิดบนสวรรค์อยู่ร่วมกับพระเจ้า คืออยู่ร่วมกับพระเยซูนั้นเอง

          หรือว่าศาสนาอิสลาม ถ้าทำร้ายศาสนาอื่นให้ได้รับความเสียหาย หรือได้รับความตายไปข้างหนึ่ง บุคคลนั้นก็จะได้ไปเกิดอยู่บนสวรรค์อยู่กับพระเจ้า หรือว่าบุคคลใดพลีชีพเพื่อพระศาสนา จะเป็นการทำร้ายบุคคลอื่นให้ตายก็ตาม แต่เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ศาสนาของตนเองนั้นแพร่หลายก็จะไปเกิดกับพระเจ้า อันนี้ก็ถือว่าเป็นเทวนิยม

          หรือว่าศาสนาพราหมณ์ที่บูชาพระเจ้าอิศวร หรือพระเจ้าศิวะ ที่อยู่ต้นน้ำ แม่น้ำคงคาอยู่บนภูเขาหิมาลัยเพราะว่าแม่น้ำคงคานั้นต้นกำเนิดนั้นไหลมาจากภูเขาหิมาลัย ก็บูชาพระเจ้าอิศวรตอนนี้ถือว่าล้างบาปเวลาทำบาปทำกรรม ฆ่าเป็ด ฆ่าไก่ ลักวัว ลักควาย หรือด่าพ่อ ด่าแม่ ฆ่าพ่อ ฆ่าแม่ ปล้นสะดมต่างๆ ก็สามารถที่จะลงอาบน้ำแม่น้ำคงคาแล้วก็ล้างบาปได้ อันนี้ก็ถือตามเทวนิยม ศาสนาในโลกนี้ส่วนมากเป็นเทวนิยม

          แต่พระพุทธศาสนาของเรานั้นเป็นกรรมนิยม คือนิยมกรรมเรียกว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

               ยาทิสํ วปเต พีชํ           ตาทิสํ ลภเต ผลํ

               กลฺยาณการี กลฺยาณํ      ปาปการี จ ปาปกํ

         แปลว่า บุคคลหว่านพืชเช่นใดย่อมได้รับผลเช่นนั้น บุคคลทำกรรมดีย่อมได้รับผลดี บุคคลทำกรรมชั่วก็ย่อมได้รับผลชั่ว

          กรรมอันนี้ทางพุทธศาสนาของเราสอนอย่างนี้ เพราะฉะนั้นศาสนาในโลกนี้มีพุทธศาสนาของเราเท่านั้นที่เป็นกรรมนิยม ถ้าใครทำดีก็ได้รับผลดี เหมือนกันกับเราปลูกถั่ว เราก็ได้ถั่ว ปลูกมะละกอเราก็ได้มะละกอ ปลูกมะม่วงเราก็ได้มะม่วง ปลูกอ้อยเราก็ได้อ้อย ปลูกมันสำปะหลังเราก็ได้มันสำปะหลัง ปลูกยางพาราเราก็ได้ยางพารา เพราะอะไร เพราะว่าทำเหตุอย่างไรย่อมได้อย่างนั้น นี้เป็นเหตุที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์สอนไว้

          ถ้าบุคคลใดรักษาศีลบุคคลนั้นก็ย่อมไม่มีความเดือดร้อน บุคคลใดเจริญสมถะกรรมฐานก็ได้ฌาน เรียกว่าเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย

          เมื่อเรามาพิจารณาศาสนา ๒ ศาสนา คือศาสนาฝ่ายกรรมนิยม เทวนิยม เราจะเห็นว่าถ้าเอาเทวนิยมมาเปรียบเทียบกับกรรมนิยม เทวนิยมนั้นก็จะเป็นศาสนาที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ คือสอนผิดจากครรลองคลองธรรม สอนผิดจากพระธรรมคำสั่งสอนที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงตรัสรู้ ตามที่เราศึกษาในพระไตรปิฎก เราจะเห็นพวกเทพ พวกพรหม พวกพญามารต่างๆ นั้นมาขอฟังธรรม กับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำไมจึงมาขอฟังธรรม เพราะว่าเทพทั้งหลาย จะเป็นท้าวสักกะก็ดี ท้าวยามาก็ดี ท้าวสันดุสิตก็ดี ท้าวนิมมานรดีก็ดี ท้าวปรนิมมิตวสวัตตีก็ดี ที่ครองสวรรค์ทั้ง ๖ ชั้น หรือว่าท้าวมหาพรหมนับไปจนถึงท้าวอกนิฏฐพรหมนั้นแหละ ก็มาขอฟังธรรมกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

          เพราะเทวดาเหล่านี้ยังไม่ได้บรรลุธรรม ยังไม่ได้บรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นผู้มีปัญญาน้อย ปัญญาของเทวดาก็ดี ปัญญาของเทพ ของพรหมก็ดี เปรียบเสมือนกับแสงหิ่งห้อย ปัญญาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเสมือนกับดวงเดือน ดวงอาทิตย์ เรียกว่ามีปัญญามากกว่ากัน เพราะฉะนั้นชนทั้งหลายที่นับถือเทพนั้น ที่เราศึกษาดูมาเปรียบเทียบกับพุทธศาสนา ก็ถือว่าเป็นศาสนามิจฉาทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐินี้มีบาปมาก มีโทษมาก มีโทษมากกว่าอนันตริยกรรม อนันตริยกรรมคือ การฆ่าพ่อก็ดี ฆ่าแม่ก็ดี ฆ่าพระอรหันต์ก็ดี ยังโลหิตตุปบาท โลหิตขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ห้อ หรือว่ายังสงฆ์ให้แตกจากกัน ถือว่าเป็นบาปหนักในทางพุทธศาสนา

          แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัสว่า อนันตริยกรรมนั้นยังมีวันพ้น แต่ว่ามิจฉาทิฏฐินี้ไม่มีวันพ้น เป็นกรรมที่ดิ่งลงไปในฝ่ายเดียวคือ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เราไปเกิดในโลกันตมหานรก อนันตริยกรรมนี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เราไปเกิดในอเวจีมหานรก เหมือนกับพระเทวทัต พระเทวทัตนั้นไปเกิดในอเวจีมหานรก แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ก็ทรงตรัสว่า พระเทวทัตพ้นจากอเวจีมหานรกแล้วจะได้มาตรัสรู้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าชื่อว่าอัฏฐิสสระ นี้เรียกว่ายังมีวันพ้น

          แต่บุคคลใดที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ อย่าง มักขลิ โคสาล อชิตะ เกสกัมพล นิครนถ์ นาฏบุตร พวกนี้ถือว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิที่ดิ่งลงไปฝ่ายเดียว พวกนี้จะไปเกิดในโลกันตมหานรกที่มีแต่ความมืด ไม่มีแสงสว่าง มีน้ำเย็นเหมือนกับน้ำกรดถ้าตกลงไปแล้วก็เหมือนกับน้ำกรดเทราด มันจะเกิดความทุกข์ทรมานแล้วก็เดือดร้อน ไต่หนีน้ำกรดขึ้นไปตามหน้าผา อยู่ในความมืด มีเล็บเหมือนกับมีด ถ้าคลำเจอกันแล้วก็คิดว่าเป็นอาหารก็กัดกินกันตายลงไปๆ ก็เกิดขึ้นมาใหม่ แล้วก็กัดกินกันแล้วก็ตกลงไปในน้ำได้รับความทุกข์ทรมาน เป็นอยู่อย่างนี้ โลกันตมหานรกนั้นเลยลงจาก อเวจีมหานรกนั้นลงไปอีก ขุมนรกที่ลึกที่สุด อันนี้ท่านกล่าวไว้ในเรื่องนรก ในมาลัยสูตร

          เพราะฉะนั้นศาสนาพุทธของเรานั้นจึงถือว่าเป็นศาสนาที่เป็นกรรมนิยม แล้วก็ถ้าเราแปล ศาสนานั้นแปลว่าอะไร ศาสนานั้นแปลได้หลายอย่าง อย่างเช่นที่ท่านกล่าวไว้ว่าแปลว่าวาจา เครื่องพร่ำสอน ดังที่มีบทวิเคราะห์ว่า สาสติ เอเตนาติ สาสนํ ชื่อว่าศาสนา เพราะเป็นวาจา เป็นเครื่องพร่ำสอน คือเราจะสอนบุคคลอื่น เราก็ต้องมีเครื่องสอน อะไรเป็นเครื่องสอน ก็คือพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระองค์ทรงแสดงไว้ทั้ง ๔๕ พรรษา ถ้านับเป็นพระสูตร ก็ได้ ๓ พระสูตร คือ พระสุตตันตปิฎก พระวินัยปิฎก แล้วก็พระอภิธรรมปิฎก ถ้านับตามธรรมขันธ์ ก็ได้ถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เรียกว่าได้สอน ๔๕ พรรษา นับเป็นพระธรรมขันธ์ได้ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์

          ถ้าย่อลงในหลักธรรมหมวดใหญ่ๆ ก็หมายถึงโพธิปักขิยธรรมทั้ง ๓๗ ประการ คือสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘ แต่ถ้าเราย่อจริงๆ ก็คือ โอวาทปาติโมกข์ คือ

          สพฺพปาปสฺส อกรณํ การไม่ทำบาปทั้งปวง

          กุสลสฺสูปสมฺปทา การทำกุศลให้ถึงพร้อม

          สจิตฺตปริโยทปนํ  การทำจิตของตนให้ขาวรอบ

          ถ้าย่อให้ง่ายๆ ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา อันนี้เป็นคำสั่งสอนรวมทั้งหมดเป็นคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ถ้าเราย่อ ศีล ย่อสมาธิ ย่อปัญญา ก็คือ ขันธ์ ๕ นั้นเอง ก็คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ศีลมันก็อยู่ที่รูป อยู่ที่เวทนา อยู่ที่สัญญา อยู่ที่สังขารนี้ เมื่อย่อขันธ์ ๕ ก็คือ รูปกับนาม คือกายกับใจนั้นแหละ เมื่อย่อลงไปอีก ก็คืออาการพอง อาการยุบ ที่เรากำหนดอยู่นี้แหละ

          ขณะที่เราเดินจงกรม ขวาย่างหนอ นี้เรียกว่าเรากำหนดถูกทั้งพระสูตร ทั้งพระวินัย ทั้งอภิธรรม ขณะที่เรากำหนดอาการพอง อาการยุบ พองหนอ ยุบหนอ ครั้งหนึ่งนี้ เราถือว่าเรากำหนดถูกทั้งพระสูตร ทั้งพระวินัย ทั้งพระอภิธรรม ถูกทั้งศีล ถูกทั้งสมาธิ ถูกทั้งปัญญา ถูกทั้งมรรค ถูกทั้งผล เพราะอะไร เพราะว่า ขณะที่มรรคผลมันจะเกิดนั้น ธรรมะทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ โพธิปักขิยธรรม ทั้ง ๓๗ ประการก็มารวมกัน มารวมกันแล้วก็เกิดอนุโลมญาณขึ้นมา เกิดโคตรภูญาณ แล้วก็เกิดมรรคเกิดผลขึ้นมา

          เพราะฉะนั้นธรรมะทั้งหลายทั้งปวงก็รวมอยู่ที่อาการพอง อาการยุบ เราบรรลุธรรมด้วยการกำหนดอาการพอง อาการยุบก็ได้ หรือขณะที่เราเดินจงกรมนี้ก็ถูกทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เพราะอะไร เพราะเราสามารถที่จะได้สมาธิในขณะที่เดินจงกรมก็ได้ เราสามารถที่จะบรรลุมรรคผลในขณะที่เดินจงกรมก็ได้ เพราะฉะนั้นการเดินจงกรมนั้นจึงถือว่าเราประพฤติปฏิบัติตามวินัยทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์แล้ว

          เพราะฉะนั้นญาติโยมที่มาประพฤติปฏิบัติ ครูบาอาจารย์ที่มาประพฤติปฏิบัตินี้ถือว่าเราเรียนพระพุทธศาสนาโดยทางลัด ไม่มีทางอื่นที่ลัดไปกว่านี้แล้ว พุทธศาสนาถ้าเราเรียนทางลัดอย่างนี้เราได้สมาธิ แล้วเราได้บรรลุมรรคผลนิพพานเป็นพระโสดาบันเป็นต้น เขาจะมากล่าวว่าเรานั้นไม่รู้พระศาสนาไม่ได้ จะมากล่าวว่าเราไม่เข้าถึงพระพุทธศาสนาไม่ได้ เราเข้าถึงพุทธศาสนาแล้ว เพราะอะไร เพราะเรานั้นได้เข้าถึงแก่นโดยการประพฤติปฏิบัติธรรม ยังปฏิเวธธรรมให้เกิดขึ้นมาแล้ว เพราะฉะนั้นพระศาสนานั้นจึงมีวาจาเป็นเครื่องพร่ำสอน คืออาศัยพระสูตร อาศัยพระวินัย อาศัยพระอภิธรรม อาศัยพระไตรปิฎกทั้งหมดนี้แหละ มาสั่งสอนญาติโยมออกตนทั้งหลายให้เข้าใจในเรื่องพระศาสนา เพราะฉะนั้นศาสนาจึงแปลว่า วาจาเป็นเครื่องพร่ำสอน

          ประการที่ ๒ ศาสนานั้นแปลว่าเครื่องหมายหรือป้ายบอกทาง เครื่องหมายหรือป้ายบอกทางนั้นถือว่าเป็นสัญลักษณ์ ให้คนเดินทางไม่ผิด ให้คนเดินทางได้ถูกต้องแม่นยำ แล้วก็ใช้กาลเวลารวบรัด คือไม่ต้องเนิ่นช้า ไม่ต้องหลงทาง เสียเวลา หลงอารมณ์ก็เสียคนไป

          เพราะฉะนั้นเราจะไปอุบลก็ดี เราจะไปกรุงเทพก็ดี เราจะเห็นป้ายบอกทางว่าไปอุบลนะ ๔๐ กิโล หรือ ๕๐ กิโล ไปกรุงเทพกี่ร้อยโล เราจะมีบอกตามหลัก ตามถนนที่เป็นสายที่จะมุ่งไปสู่กรุงเทพ เขาจะบอกเป็นระยะๆ บอกเป็นจังหวัดไปว่าเหลืออีกกี่กิโลจะถึงจังหวัด เหลืออีกกี่กิโลจะถึงอำเภอ เหลืออีกกี่กิโลจะถึงหมู่บ้านนี้ก็จะบอกไปตามลำดับๆ

          บุคคลผู้เดินทางก็จะเดินไปตามทางที่เขาบอก หรือเขาบอกว่าไปอุบลเลี้ยวขวา ไปนครราชสีมาเลี้ยวซ้ายอะไรทำนองนี้เราก็ไปตามลูกศรของเขา อันนี้ป้ายบอกทางในทางโลก แต่ว่าป้ายบอกทางในพระธรรมวินัยนี้ก็เหมือนกัน บอกว่าโทสะนี้แหละเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ไปเกิดในนรกนะ ถ้าบุคคลใดที่ประกอบไปด้วยโทสะชอบโกรธ เพื่อนว่านิดหน่อยก็ไม่ได้ ลูกว่านิดว่าหน่อยก็ไม่ได้ สามีว่านิดว่าหน่อยก็ไม่ได้ ชอบโมโห ชอบโทโสชอบใช้อารมณ์ต่างๆ ถ้าเราตายด้วยจิตที่ประกอบไปด้วยโทสะ ก็จะเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เราเกิดในนรก เพราะอะไร เพราะว่าโทสะนั้นมีชาติหยาบ เราก็ไปเกิดในนรกที่มีชาติหยาบ

          หรือพุทธศาสนาของเรามีป้ายเขียนบอกไว้ว่า บุคคลใดผู้มีความโลภมาก เป็นคนตระหนี่ถี่เหนียว ไม่อยากจะทำบุญทำทาน มีที่ไร่ที่นาก็ไม่แบ่งให้ลูกให้หลาน มีที่ไร่ที่นาก็ไม่แบ่งให้พี่ให้น้อง โลภเอาเป็นของตัวเอง บางครั้งที่ของวัดก็โลภเอา บางครั้งที่ของคนอื่นก็โลภเอา เรียกว่ากอบโกยโกงกินเอาของบุคคลอื่นมาโดยที่มิชอบธรรม ในลักษณะอย่างนี้ตายไปแล้วก็ไปเกิดเป็นเปรต อสุรกาย มีปากเท่ารูเข็ม มีท้องเท่าภูเขา มีมือเท่าใบตาล ที่ท่านกล่าวไว้ในมาลัยสูตร มีไฟลุกขึ้นอยู่ในท้องหิวกระหายอยู่ตลอดเวลา กินเท่าไหร่ก็ไม่เต็ม เพราะอะไร เพราะว่าท้องมันเท่ากับภูเขาปากเท่ากับรูเข็ม กินทั้งวันทั้งปีก็ไม่เต็ม เพราะว่าท้องมันใหญ่ถึงขนาดนั้น แม้แต่ท้องของเราเล็กนิดเดียว กินเท่าไหร่มันก็ไม่เต็มเหมือนกับเราทิ้งลงเหว เปรตมันมีท้องใหญ่เท่ากับภูเขาแล้วก็มีปากเท่ารูเข็ม คิดดูสิว่ามันจะทุกข์ทรมานขนาดไหน ท้องของเปรตนั้นมีไฟร้อน เผาอยู่ตลอดเวลา เพราะอะไร เพราะอำนาจของความโลภ ที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ตนเองนั้นต้องไปเกิดเป็นเปรตอสุรกาย

          หรือว่าถ้าบุคคลใดที่ประกอบไปด้วยโมหะ ลุ่มหลงมากมาย ลุ่มหลงในกามคุณ หมกมุ่นอยู่ในกามคุณ ลุ่มหลงอยู่ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัส ในอารมณ์ต่างๆ พอตายไปแล้วบุคคลประเภทนี้ก็จะไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน สัตว์เดรัจฉานนี้มีมากกว่ามนุษย์ มีมากกว่าเทวดา มีมากกว่าพรหม สัตว์น้ำมีมากกว่าสัตว์บก สัตว์บกนั้นมีน้อยกว่าสัตว์น้ำ บุคคลผู้ลุ่มหลงมากก็ไปเกิดเป็นสัตว์น้ำ เกิดเป็นสัตว์เล็กๆ ที่ห่างไกลจากผู้คน ห่างไกลจากเสียงของธรรมะ ห่างไกลจากศีล จากสมาธิ จากปัญญา ก็ห่างไกลจากการที่จะได้บำเพ็ญคุณงามความดี แม้แต่หมาก็ยังเกิดเป็นเทวดาได้ อย่างที่เราได้เห็นในเรื่อง โกตุหลิกะนั้นแหละ อนุโมทนาพระปัจเจกพุทธเจ้า ยินดีในพระปัจเจกพุทธเจ้าก็ได้เป็นเทวดา หรือว่าในอานิสงส์ของการฟังธรรม

          มัณฑูกเทพบุตร เป็นกบ อาศัยอยู่ที่สระโบกธรณีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฟังเสียงที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงธรรม ก็เกิดศรัทธา เกิดความเลื่อมใส เกิดความยินดีในเสียง ส่งจิตส่งใจไปในที่สุดก็ถูกไม้เท้าของคนเลี้ยงโคฆ่าตาย ตายไปแล้วก็เกิดเป็นเทพบุตรในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ชื่อว่ามัณฑูกเทพบุตร อันนี้สัตว์ที่เกิดอยู่ใกล้คนจะได้อานิสงส์

          หรือว่าแม่ไก่อาศัยพระที่ท่านสอนธรรมะ แม่ไก่หากินอยู่ที่ข้างศาลา หากินไปคุ้ยเขี่ยกินไป หากินไปหูก็ฟังธรรมไปเรื่อยในที่สุดก็ถูกแม่เหยี่ยวมาเฉี่ยวเอาไปแล้วก็ เอาไปเป็นอาหาร ขณะตายนั้นจิตยินดีในพระธรรมก็ได้เกิดเป็นธิดาของกษัตริย์ในเมืองนั้น ตายจากธิดาของกษัตริย์แล้วก็เวียนว่ายตายเกิด จนเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ได้บรรลุมรรคผลเป็นพระอรหันต์ในชาติสุดท้าย อันนี้ก็เพราะอาศัยของสิ่งที่อาศัยอยู่ใกล้มนุษย์

          แต่ถ้าบุคคลใดมีโมหะมากก็จะไปเกิดเป็นสัตว์น้ำที่ไม่มีโอกาสที่จะได้ฟัง ได้เห็นพระพุทธเจ้า ถ้าเกิดเป็นสัตว์บกก็มีโอกาสที่จะได้เห็น ได้ฟัง หรือว่าได้อนุโมทนาในบุญในกุศล เหมือนกับนกเค้าที่มันเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ขณะที่พระปัจเจกพุทธเจ้าจะไปบิณฑบาต นกฮูก หรือนกเค้านี้มันเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าครองจีวรเป็นปริมณฑล มีใบหน้าผ่องใส เพราะออกจากสมาบัติใหม่ๆ เดินด้วยอาการสำรวม สัตว์มันก็เกิดความเคารพมันก็ผงกหัวให้ ผ่านมาก็ผงกหัวให้ๆ ด้วยความยินดี ตายไปแล้วก็ยังจะได้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า

          คิดดูซิว่าสัตว์ที่เขามีความเลื่อมใสเขาก็ยังได้อานิสงส์ขนาดนั้น เพราะฉะนั้นบุคคลผู้ที่เกิดขึ้นมานั้นถ้าตายเป็นสัตว์น้ำ เป็นกุ้ง เป็นหอย เป็นปู เป็นปลา โอกาสที่จะบำเพ็ญบารมีนั้นไม่มี เพราะฉะนั้นบุคคลที่ลุ่มหลงต่างๆ นั้นจึงเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานได้รับความทุกข์ทรมาน เราเกิดเป็นหมาชาติหนึ่งมันก็เกิดความทุกข์ทรมานมาก เกิดเป็นเป็ด เป็นไก่ เป็นวัว เป็นควายชาติหนึ่งก็ได้รับความทุกข์ทรมานมาก หวาดเสียวต่อการที่เขาจะเอาไปปาดคอ หวาดเสียวต่อการที่เขาจะเอาไปต้มไปแกง เรียกว่าเป็นสัตว์ที่มีความสะดุ้งอยู่เป็นประจำ

          แต่ถ้าบุคคลใดเป็นประเภทที่รักษากรรมบถ ๑๐ ประการ คือรักษาศีล ๕ ดีตายไปแล้วก็มาเกิดเป็นมนุษย์แต่รักษาศีล ๕ ไม่บริสุทธิ์บริบูรณ์ ตายไปแล้วก็มาเป็นมนุษย์เหมือนกัน แต่เป็นมนุษย์ที่ไม่สมบูรณ์ เป็นคนขาเป๋มั่ง เป็นคนหูหนวก ตาบอด เป็นใบ้ บ้า หรือว่าเสียจริตนิสัยต่างๆ ก็เพราะอานิสงส์ของศีล ๕ นั้นไม่บริสุทธิ์

          เพราะฉะนั้น เราจึงพยายามรักษาศีล ๕ นั้นให้บริสุทธิ์เพื่อเราจะเกิดมาแล้วมีอวัยวะครบ ๓๒ ประการ บริสุทธิ์บริบูรณ์ ไม่เป็นง่อยเปลี้ยเสียขา ไม่เป็นใบ้บ้าหนวกบอด หรือว่าเป็นผู้ที่มีสมบัติ ๓๒ ประการนี้เหมือนกับบุคคลอื่น จะไม่อายขายหน้าบุคคลอื่น อันนี้เป็นอานิสงส์ของการรักษาศีล ๕ เรียกว่าเป็นป้ายบอกทางว่าใครอยากจะมาเกิดเป็นมนุษย์ก็รักษาศีล ๕ กรรมบถ ๑๐ ให้บริบูรณ์

          พระศาสนาของเรานั้นถือว่าเป็นป้ายบอกทางว่า ถ้าใครอยากจะไปเกิดบนสวรรค์ชั้นจาตุมก็ดี ชั้นดาวดึงส์ก็ดี ชั้นดุสิตก็ดี ชั้นยามาก็ดี นิมมานรดีก็ดี ปรนิมมิตวสวัตตีก็ดี เราก็ต้องไหว้พระ ทำวัตร สวดมนต์ ทำบุญทำทานเจริญวิปัสสนากรรมฐาน แต่ยังไม่ได้ฌาน ยังไม่ได้บรรลุเป็นพระอนาคามี เราก็สามารถที่จะไปเกิดในสวรรค์ชั้นนั้นๆ ได้

          เหมือนกับท้าวสักกะ ท้าวสักกะที่จะไปเกิดเป็นพระอินทร์ เป็นท้าวสหัสนัย เป็นท้าวสักกะ ที่มีชื่อหลายชื่อก็หมายถึงผู้เดียวกัน พระอินทร์หรือท้าวสักกะหรือท้าวสหัสนัยนี้ก็บำเพ็ญวัตตบถ มีการเลี้ยงบิดามารดา มีการอ่อนน้อมถ่อมตน มีการไม่โกรธ มีการพูดวาจาอ่อนหวาน มีการเสียสละทำถนนหนทาง ทำศาลาที่พักริมทางเป็นต้น ให้แก่บุคคลผู้เดินผ่านไปผ่านมา ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ไปเกิดเป็นท้าวสักกะ

          คือในสมัยหนึ่ง กระผมได้มีโอกาสได้เดินไปธุดงค์ ขณะที่เดินไปๆ ก็ไปพบหลวงตารูปหนึ่งกำลังถากหญ้าอยู่ที่ทาง ก็สังเกตดูว่าทางที่หลวงตาถากอยู่นี้มันไม่ใช่เขตวัด หลวงตานี้มาทำอะไรที่นี่หนอก็เกิดความสงสัยว่าหลวงตาแก่ๆ ทำไมมาถากทางอยู่ที่นี่ก็เลยไปถามว่า หลวงตาจะทำอะไร ทำไมถึงมาทำทางให้มันเรียบให้มันเตียนอย่างนี้

          หลวงตารูปนั้นตอบว่าผมตายไปแล้วไม่อยากจะเป็นเทวดานะ แล้วหลวงตาอยากจะเป็นอะไรครับผม กระผมอยากเป็นราชาของเทวดาเป็นท้าวสักกะ พอท่านพูดเช่นนี้ก็เข้าใจทันทีว่า หลวงตารูปนี้ปรารถนาเป็นท้าวสักกะหรือว่าปรารถนาเป็นเทพ ตั้งแต่บวชมาก็เห็นหลวงตารูปนี้แหละปฏิบัติธรรมเพื่อที่ปรารถนาความเป็นเทพ ถือว่าเป็นเมถุนสังโยชน์ เป็นการประพฤติปฏิบัติธรรมเพื่อที่จะได้รูป ได้เสียง ได้กลิ่น ได้รส ปฏิบัติธรรมเพื่อที่จะเป็นเหตุให้เวียนว่ายตายเกิดในมหรรณพภพสงสาร ท่านเรียกว่าเมถุนสังโยชน์

          อันนี้ก็เรียกว่าเป็นความปรารถนา ถ้าเราปรารถนาจะเป็นเทวดาเป็นอะไรในพุทธศาสนานี้ก็มีให้เลือก หรือว่าเราจะปรารถนาเป็นพรหม ว่าเราตายแล้วเราจะเกิดเป็นพรหม เป็นท้าวมหาพรหมก็ดี ไล่ไปจนถึงชั้น อวิหา อตัปปา สุทัสสี สุทัสสา อกนิษฐกาพรหม เราก็ประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้อง ตามหลักคือต้องให้ได้ฌาน ถ้าเราได้ฌาน ปฐมฌาน ปฐมฌานนี้ก็จะแบ่งออกเป็นอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด ถ้าอย่างหยาบก็ไปเกิดเป็นพรหมมีผิวพรรณมีแสงสว่างน้อย แต่ถ้าอย่างกลางก็มีผิวพรรณมีแสงสว่างมากขึ้นไปอีก ถ้าอย่างละเอียดก็จะมีอำนาจมีอะไรมากกว่านั้นอีก ถ้าเป็นทุติยฌานอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างประณีตก็มีแสงสว่างรุ่งเรืองไปอีก ไล่จนไปถึง เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ไล่ไปจนถึงพรหมลูกฟัก

          ถ้าเราอยากไปเกิดในพรหมลูกฟักก็เข้าฌานแล้วก็อธิษฐานเข้าไป ถ้าเรานั่งมรณภาพเราก็จะไปอยู่ท่านั่งอยู่อย่างนั้นไปเป็น ๘๐,๐๐๐ ปี ๑๐๐,๐๐๐ ปี ในพรหมโลก หรือว่าถ้าเรามาเจริญวิปัสสนากรรมฐานจนเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ได้บรรลุเป็นพระอนาคามี เมื่อเราได้บรรลุเป็นพระอนาคามีแล้วเราก็ไปเกิดในสุทธาวาสพรหม สุทธาวาสพรหมนี้ก็มีชั้นอวิหา ชั้นอตัปปา ชั้นสุทัสสี ชั้นสุทัสสาแล้วก็ อกนิษฐพรหม

          ถ้าเป็นพระอนาคามีที่มากด้วยศรัทธาก็จะไปเกิดในชั้นอวิหา ถ้าเป็นผู้มากด้วยความเพียรก็ไปเกิดในชั้นอตัปปา แต่ถ้ามากไปด้วยสติคือ อาศัยสติมากจึงเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ได้บรรลุเป็นพระอนาคามีก็ไปเกิดในชั้นสุทัสสา แต่ถ้าบุคคลใดที่มากไปด้วยสมาธิ คืออาศัยสมาธิจึงเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ได้บรรลุเป็นพระอนาคามีก็ไปเกิดในชั้นสุทัสสี แต่ถ้าบุคคลใดที่มีปัญญามากตายไปแล้วก็จะไปเกิดในชั้นอกนิษฐ์พรหม เราแบ่งเขตของพระอนาคามี

          แต่ถ้าบุคคลผู้ที่ตายไปแล้วไปเกิดในชั้นอวิหาก็ดี อตัปปาก็ดี ถ้าไม่ปรินิพพานในชั้นนั้นก็จะเลื่อนขั้นขึ้นไปๆ จากชั้นอวิหาก็ไปชั้นอตัปปา ชั้นอตัปปาก็ไปชั้นสุทัสสา จากชั้นสุทัสสาก็ไปชั้นสุทัสสี จากชั้นสุทัสสีก็จะไปเกิดในชั้นอกนิษฐ์พรหมแล้วก็ปรินิพพานในชั้นอกนิษฐ์พรหม อันนี้เป็นหนทางที่จะไปสู่พรหมโลก

          หรือว่าบุคคลใดที่จะไปสู่พระนิพพานก็ต้องเจริญวิปัสสนากรรมฐานเหมือนกับคณะครูบาอาจารย์กำลังทำอยู่นี้แหละ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ได้บรรลุมรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ ก็จะเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เรานั้นไปถึงพระนิพพานได้ อันนี้เป็นความหมายของคำว่า ป้ายบอกทาง

          ประการที่ ๓ ศาสนานั้นท่านถือว่าเป็นมรดก มรดกนั้นแบ่งออกเป็น ๒ ประการ คือมรดกภายนอก และมรดกภายใน มรดกภายนอกอย่างเช่น แก้วแหวนเงินทอง รัตนแก้ว ๗ ประการ นพรัตน์แก้ว ๙ ประการ เรือกสวนไร่นาต่างๆ นี้ก็ถือว่าเป็นมรดกภายนอก

          มรดกภายนอกนี้ไม่สามารถที่จะนำเรามาสู่ความเป็นมนุษย์ได้ ไม่สามารถที่จะนำเราไปสู่ความเป็นเทพ เป็นเทวดา เป็นพรหม หรือว่าไม่สามารถที่จะทำให้เราบรรลุมรรคผลนิพพานได้ เป็นเพียงแต่อุปการะ ถ้าเราใช้เป็นมันก็เป็นประโยชน์ แต่ถ้าเราใช้ไม่เป็นมันก็ไม่เป็นประโยชน์ เพราะฉะนั้นทรัพย์ภายนอกหรือมรดกภายนอกนี้ ถ้าบุคคลใดใช้เป็นก็จะได้คุณมาก ได้คุณอนันต์ ถ้าใครใช้ผิดก็ได้โทษมหันต์ เรียกว่ามีทั้งคุณทั้งโทษอยู่ในตัวของมันเอง

          แต่ว่ามรดกในที่นี้นี่หมายถึงมรดกภายใน ไม่ได้หมายถึงมรดกภายนอก พระธรรมคำสั่งสอนนี้เป็นมรดกภายใน มรดกภายในนี้สามารถที่จะทำให้บุคคลนั้นไปเกิดเป็นมนุษย์อีกก็ได้ เกิดบนสวรรค์ก็ได้ ไปเกิดเป็นพรหมก็ได้ ทำให้บุคคลนั้นไม่เดือดร้อน ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่คิดถึงลูกเมียผัวเขา ไม่คิดเป็นชู้กับภรรยาสามีของบุคคลอื่น เพราะว่าผัวใคร ใครก็รัก แฟนใคร ใครก็หวง ก็ไม่อยากจะไปยุ่งเกี่ยว เราไม่พูดเท็จพูดเพ้อเจ้อพูดเหลวไหลไร้สาระ ไม่ดื่มสุราเมรัย ถ้าพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ เป็นคนไม่โหดร้าย ไม่มือไว ไม่ใจเร็ว ไม่พูดปด ไม่หมดสติ อันนี้เป็นคำของศีล ๕

          บุคคลผู้ที่ได้รับมรดกธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาประดับกาย ประดับวาจา ประดับใจแล้วจะเป็นผู้ห่างเหินจากความชั่ว เพราะฉะนั้นมรดกธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นสิ่งที่มีค่ามากกว่าเงินกว่าทอง เงินทอง เรายังหาได้จากการค้าการขาย เรามีเงินเราก็ไปซื้อทองได้ ไปซื้อเพชรได้

          แต่คำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ ซื้อไม่ได้ ใครทำใครได้ ใครปฏิบัติใครถึง เป็นปัจจัตตัง รู้เฉพาะตน เพราะฉะนั้นคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นจึงเป็นมรดกที่มีค่า ที่เราทั้งหลายจะได้ช่วยกันจรรโลงรักษา เราช่วยกันจรรโลงรักษาโดยอะไร โดยประการใด คือญาติโยมก็ช่วยกันมาสนับสนุน ข้าวปลาอาหารนี้ก็ถือว่าช่วยกันจรรโลงพระศาสนา ปะขาว แม่ชี มาช่วยกันฟังเทศน์ฟังธรรม มาช่วยกันเดินจงกรม นั่งภาวนานี้ก็ถือว่าช่วยกันจรรโลงพระศาสนา พระสงฆ์ สามเณร มาประพฤติวัตรปฏิบัติธรรม ครูบาอาจารย์มาสอนกรรมฐานก็ถือว่าช่วยกันจรรโลงพระพุทธศาสนา

          เพราะว่าการที่เรามารวมกันอยู่นี้นี่เป็นเหตุเป็นเป็นปัจจัยให้ศีล สมาธิ ปัญญา มันเกิดขึ้นมาในจิตในใจ เราก็เผยแผ่ ศีล สมาธิ ปัญญา ที่ตนเองรู้ ตนเองได้ถึง ให้บุคคลอื่นได้รู้ ได้เข้าใจ ได้ถึง แล้วพระศาสนาก็จะเจริญแพร่หลาย

          แล้วก็ความหมายของพระศาสนาประการที่ ๔ ก็คือ ศาสนานั้นแปลว่าเบียดเบียน ดังที่มีบทวิเคราะห์ว่า หึสติ เอเตนาติ สาสนํ ชื่อว่าศาสนาก็เพราะว่าเป็นเครื่องเบียดเบียนกิเลสพันห้า ตัณหาร้อยแปด ให้เบาไป ให้ลดไป ให้หมดไป จากขันธสันดาน เรียกว่าพระศาสนาที่มีอยู่ในจิตในใจของบุคคลใดแล้ว บุคคลนั้นก็ย่อมเบียดเบียน ความโกรธ ความโลภ ความหลง เบียดเบียนมานะ ทิฏฐิ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เรียกว่าเบียดเบียนกิเลสพันห้า ตัณหาร้อยแปด ตามอำนาจของความเพียรบารมีของตัวเอง

          คือถ้าเรามารักษาศีล อย่างญาติโยมมารักษาศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ ข้อนี้ก็ถือว่าเรามาเบียดเบียนกิเลสแล้ว คือเบียดเบียนกิเลสอย่างหยาบที่จะร่วงออกมาทางกาย ที่จะร่วงออกมาทางวาจา แต่ถ้าเรามาน้อมกายวาจาของเรามาเจริญสมถะกรรมฐานเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ได้ฌาน ก็ถือว่าเรามาเบียดเบียน นิวรณ์ ทั้ง ๕ ประการ คือ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจะกุกกุจจะ วิจิกิจฉา เรียกว่าเรามาเบียดเบียนกิเลส ๕ ประการนี้ ให้มันอ่อนลง ให้มันลดลง ให้มันหมดไป

          คือในขณะที่จิตใจของเราอยู่ในปฐมฌานเป็นต้น กามฉันทะคือความพอใจในกามคุณ ความพอใจในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัสนั้นจะไม่มี เรียกว่าจิตใจของเราจะมีฌานเป็นอารมณ์ เรียกว่าอยู่ในอารมณ์ของฌาน จะไม่มีความพอใจ ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ถ้าจิตใจของเราพอใจในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรสเมื่อไหร่แสดงว่าจิตใจของเราออกจากฌานแล้ว เรียกว่าตกลงมาจากฌานแล้ว เคลื่อนออกมาจากฌานแล้ว

          เพราะฉะนั้นบุคคลผู้ที่อยู่ในปฐมฌาน จึงไม่มีความใคร่ ไม่เกิดความรักในรูป ไม่เกิดความพอใจในเสียง หรือว่าบุคคลผู้อยู่ในฌานนั้นจะไม่เกิดความพยาบาท คือไม่เกิดความโกรธ แต่ก่อนเราโกรธ เห็นพระรูปนี้เราก็โกรธ เห็นหลวงปู่รูปนี้ก็โกรธ เห็นพระลูกพระหลานก็โกรธ ในลักษณะอย่างนี้ ก็ไม่พอใจ

          แต่ถ้าทำจิตทำใจให้มีสมาธิได้ เข้าฌานได้ ความโกรธมันก็ระงับไปชั่วคราว ในอารมณ์ที่เราอยู่ในฌาน ความโกรธมันก็ไม่มี หรือว่าขณะที่เราเกิดถีนะ ถีนะก็คือความท้อแท้ ความง่วงเหงาหาวนอน แต่ถ้าเราเข้าฌานได้ จิตใจของเราก็จะไม่มีความง่วงเหงาหาวนอน บางครั้งมีญาติโยมบางคนมาถามว่า อาจารย์ เวลาประพฤติปฏิบัติธรรมไปแล้ว มันสว่าง จิตใจมันสว่าง อิ่มอยู่ตลอดเวลา สมองนี้มันใส จะง่วงก็ไม่ง่วง ไม่อยากนอน อยากจะเดินจงกรมนั่งภาวนาทั้งคืน มันเป็นอะไร มันเป็นอย่างนี้เป็นเพราะอะไร อันนี้ก็แสดงว่าจิตใจของบุคคลนั้นมันเกิดปีติ เกิดปัสสัทธิ เกิดสมาธิขึ้นมามาก เกิดโอภาส แสงสว่างขึ้นมาทำให้จิตใจของบุคคลนั้นมันตื่น

          หรือว่าบุคคลใดที่เกิดปีติ เวลาปีติมันเกิดขึ้นมามากๆ จิตใจมันจะอิ่ม อิ่มแล้วตามันจะสว่างใส เราหลับตาลงสมองนี้มันจะใส เรากำหนดอาการพองอาการยุบเห็นต้นพอง กลางพอง สุดพอง ต้นยุบ กลางยุบ สุดยุบดี แต่มันไม่สงบเป็นสมาธิ เพราะว่าปีติมันมีกำลังกล้า เวลาเราเดินจงกรมนี่เราเห็นต้นยก กลางยก สุดยก ต้นเหยียบ กลางเหยียบ สุดเหยียบดี แต่ว่ามันไม่สงบ เพราะว่าอะไร เพราะว่าปีติมันมีกำลังกล้า บางครั้งปีติเกิดทั้งคืนก็มี เกิดตั้งแต่ ๕ โมงเย็น ๖ โมงเย็นโน้นกว่าที่ปีติมันจะคลายลงก็ตอน ๓ โมงเช้า ๔ โมงเช้าก็มีด้วยอำนาจของสมาธิมันมากมันน้อยต่างกัน
23  สุขใจในธรรม / เกร็ดศาสนา / อานิสงส์แห่งศีลสมบัติ 5 ประการ เมื่อ: 26 มีนาคม 2567 16:55:01


อานิสงส์แห่งศีลสมบัติ 5 ประการ

     คหบดีทั้งหลาย ศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล มีอานิสงส์ 5 ประการนี้

      อานิสงส์ 5 ประการ คือ

      1. บุคคลผู้มีศีล มีศีลสมบัติในโลกนี้ ย่อมได้โภคทรัพย์เป็นอันมาก ซึ่งมีความไม่ประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ 1 แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล

      2. กิตติศัพท์อันงามของบุคคลผู้มีศีล มีศีลสมบัติ ย่อมขจรไป นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ 2 แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล

      3. บุคคลผู้มีศีล มีศีลสมบัติ จะเข้าไปยังบริษัทใดๆ จะเป็นขัตติยบริษัทก็ตาม พราหมณบริษัทก็ตาม คหบดีบริษัทก็ตาม หรือสมณบริษัทก็ตาม ย่อมแกล้วกล้า ไม่เก้อเขินเข้าไป นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ 3 แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล

      4. บุคคลผู้มีศีล มีศีลสมบัติ ย่อมไม่หลงลืมสติตาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ 4 แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล

      5. บุคคลผู้มีศีล มีศีลสมบัติ หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ 5 แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล คหบดีทั้งหลาย ศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีลมีอานิสงส์ 5 ประการนี้แล” หลังจากนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้อุบาสกอุบาสิกาชาวปาฏลิคามเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาจนดึกดื่นแล้วทรงส่งกลับด้วยรับสั่งว่า “คหบดีทั้งหลาย ราตรีใกล้จะสว่าง ขอท่านทั้งหลาย จงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด” ลำดับนั้น อุบาสกอุบาสิกาชาวปาฏลิคามต่างชื่นชมอนุโมทนาพระธรรมเทศนาที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง แล้วลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคทำประทักษิณแล้วจากไป เมื่ออุบาสกอุบาสิกาชาวปาฏลิคามจากไปไม่นานพระผู้มีพระภาคก็เสด็จเข้าไปยังเรือนว่าง

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๖. ปาฏลิคามิยสูต
24  สุขใจในธรรม / บทสวด - คัมภีร์ คาถา - วิชา อาคม / บทสวด อะริยะธะนะคาถา เมื่อ: 26 มีนาคม 2567 16:51:01
.



อะริยะธะนะคาถา

        ยัสสะ  สัทธา  ตะถาคะต                 อะจะลา  สุปะติฏฐิตา

        สีสัญจะ  ยัสสะ  กัลยาณัง              อะริยะกันตัง  ปะสังสิตัง

        สังเฆ  ปะสาโท  ยัสสัตถิ                อุชุภูตัญจะ  ทัสสะนัง

        อะทะสิทโทติ  ตัง  อาหุ                  อะโมฆันตัสสะ ชีวิตัง

        ตัสมา  สัทธัญจะ  สีลัญจะ              ปะสาทัง  ธัมมะทัสสะนัง

        อะนุยุญเชถะ  เมธาวี                     สะรัง  พุทธานะ  สาสะนันติ ฯ               
       
ที่มา วัดโพรงจระเข้ จ.ตรัง
25  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / ไขตำนาน - ประวัติศาสตร์ - การค้นพบ อารยธรรม / มนุษย์โทลลุนด์ เมื่อ: 21 มีนาคม 2567 16:18:03




มนุษย์โทลลุนด์


มนุษย์โทลลุนด์ (Tollund Man) เป็นมัมมีที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติที่เรียกว่ามนุษย์พรุพีต

มนุษย์โทลลุนด์เป็นร่างของชายที่มีชีวิตอยู่ราวระหว่างศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศตวรรษ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ในสแกนดิเนเวียจัดอยู่ในสมัยยุคเหล็กโรมัน

ร่างของมนุษย์โทลลุนด์พบที่พรุใกล้หมู่บ้านโทลลุนด์ในเดนมาร์ก เมื่อปี่ ค.ศ.1950  ศีรษะและใบหน้าอยู่ในสภาพที่ดีจนกระทั่งเมื่อแรกพบเข้าใจกันว่าเป็นร่างของเหยื่อฆาตกรรมที่เพิ่งจะเกิดขึ้น ร่างของชายสองพันปี ผู้มิได้สวมอะไรเลยนอกจากเข็มขัดหนังกับหมวกหนังแกะผู้นี้ นอนขดคู้เข่าขึ้นในท่าที่ดูสบายๆ ใบหน้าไม่มีริ้วรอยความเจ็บปวดทรมานแต่อย่างใด และมีเชือกแขวนคอที่ฟั่นด้วยเส้นหนังสองเส้นที่รอบคอ เขาตายเมื่อประมาณปี 400 ก่อน ค.ศ. ศพของเขาถูกฝังลึกลงไปจากพื้นดินถึง 50 เมตร (Cr.ภาพ sciencehistory.org/)

26  สุขใจในธรรม / นิทาน - ชาดก / ๑. อปัณณกชาดก ว่าด้วยการรู้ฐานะและมิใช่ฐานะ เมื่อ: 21 มีนาคม 2567 15:56:11
https://static.wixstatic.com/media/d91922_d52e12eb12ea418da95f64b3e68e36d7.png/v1/fill/w_343,h_506,al_c,lg_1,q_85,enc_auto/d91922_d52e12eb12ea418da95f64b3e68e36d7.png


ขุททกนิกายภาค ๑
เอกนิบาต
๑. อปัณณกวรรค

อปัณณกชาดก ว่าด้วยการรู้ฐานะและมิใช่ฐานะ



พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อเสด็จเข้าไปอาศัยพระนครสาวัตถี ประทับอยู่ ในพระเชตวันมหาวิหาร ตรัสอปันณกธรรมเทศนานี้ก่อน ถามว่า ก็เรื่องนี้เกิดขึ้นเพราะปรารภใคร  ตอบว่า เพราะปรารภสาวกของเดียรถีย์สหายของท่านเศรษฐี.

ความพิสดารมีว่า วันหนึ่ง ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ชักพาพวกสาวกของอัญญเดียรถีย์ ๕๐๐ คน ผู้เป็นสหายของตน ให้ถือดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้เป็นอันมาก และนํ้ามัน นํ้าผึ้ง นํ้าอ้อย และผ้าเครื่องปกปิด ไปยังพระเชตวัน ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า บูชาด้วยของหอม และดอกไม้เป็นต้น สละเภสัชและผ้าถวายแก่ภิกษุสงฆ์ แล้วนั่ง ณ ส่วนสุดข้างหนึ่ง

สาวกของอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น ถวายบังคมพระตถาคตแล้ว แลดูพระพักตร์ของพระศาสดาอันงามสง่า ดุจพระจันทร์ในวันเพ็ญ แลดูพระวรกายดุจกายพรหมอันประดับด้วยพระลักษณะและพระอนุพยัญชนะ แวดวงด้วยพระรัศมีด้านละวา

ลำดับนั้น พระศาสดาได้ตรัสธรรมกถาอันไพเราะ วิจิตรด้วยนัยต่าง ๆ ด้วยพระสุรเสียงประดุจเสียงพรหม น่าสดับฟัง แก่สาวกของอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น  สาวกของอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว มีจิตเลื่อมใส ลุกขึ้นถวายบังคมพระทศพล ทำลายสรณะของอัญญเดียรถีย์แล้ว ได้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ จำเดิมแต่นั้น พวกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น มีมือถือของ หอมและดอกไม้เป็นต้น ไปพระวิหาร ฟังธรรม ให้ทาน รักษาศีล กระทำ อุโบสถกรรม พร้อมกับท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นนิตยกาล

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จจากกรุงสาวัตถีกลับไปกรุงราชคฤห์อีกแล ในเวลาที่พระตถาคตเสด็จไปแล้ว สาวกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นก็ได้ทำลายสรณะนั้นเสีย กลับไปถึงอัญญเดียรถีย์เป็นสรณะอีก ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นเค้ามูลเดิมของตนนั่นเอง ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยับยั้งอยู่ ๗ - ๘ เดือน ได้เสด็จกลับไปยังพระเชตวันเหมือนเดิมอีก ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีก็พาสาวกอัญญเดียรถีย์ เหล่านั้นไปเฝ้าพระศาสดาอีก บูชาพระศาสดาด้วยของหอมและดอกไม้เป็น ต้น ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง พวกสาวกอัญญเดียรถีย์แม้เหล่านั้น ก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง

ลำดับนั้น ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงความที่พวกสาวกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น เมื่อพระตถาคตเสด็จหลีกจาริกไปแล้ว ได้ทำลายสรณะที่รับไว้ กลับไปถืออัญญเดียรถีย์เป็นสรณะ ดำรงอยู่ในฐานะเดิมอีก

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสถามว่า

"ได้ยินว่า พวกท่านผู้เป็นอุบาสก ทำลายสรณะ ๓ เสียแล้วถึงอัญญเดียรถีย์เป็นสรณะ จริงหรือ "

ลำดับนั้น เมื่อพวกสาวกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นไม่อาจปกปิดไว้ได้พากันกราบทูลว่า "จริง พระเจ้าข้า"

พระศาสดาจึงตรัสว่า "ดูก่อนอุบาสกทั้งหลาย ในโลกธาตุ เบื้องล่างจดอเวจี มหานรก เบื้องบนจดภวัคคพรหม และตามขวางหาประมาณมิได้ ชื่อว่าบุคคล เช่นกับพระพุทธเจ้าโดยพระคุณทั้งหลาย ย่อมไม่มี บุคคลที่ยิ่งกว่าจักมีมาแต่ไหน"

แล้วทรงประกาศคุณของพระรัตนตรัยที่ทรงประกาศไว้ด้วย พระสูตรทั้งหลายแล้วจึงตรัสว่า

"บุคคลจะเป็นอุบาสกหรืออุบาสิกาก็ตาม ผู้ถึงพระรัตนตรัยอัน ประกอบด้วยอุดมคุณอย่างนี้ ชื่อว่าจะเป็นผู้บังเกิดในนรกย่อมไม่มี อนึ่งพ้นจากการบังเกิดในอบายแล้ว ยังจะเกิดขึ้นในเทวโลกได้เสวยมหาสมบัติ เพราะเหตุไร พวกท่านจึงพากันทำลายสรณะเห็นปานนี้ แล้วถึงอัญญเดียรถีย์ เป็นสรณะ กระทำกรรมอันไม่สมควรเลย"

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงโอวาทอุบาสกทั้งหลาย โดยประการต่าง ๆ อย่างนี้แล้ว ได้ตรัสว่า

"ดูก่อนอุบาสกทั้งหลาย แม้ในกาลก่อน มนุษย์ทั้งหลาย ถือเอา สิ่งที่ไม่ใช่สรณะ ว่าเป็นสรณะ โดยการถือเอาด้วยการคาดคะเน โดยการถือ เอาผิด ได้ตกเป็นภักษาหารของยักษ์ในทางกันดาร ซึ่งอมนุษย์หวงแหนแล้ว ถึงความพินาศอย่างใหญ่หลวง ส่วนเหล่ามนุษย์ผู้ถือการยึดถือชอบธรรม ยึด ถือความแน่นอน ยึดถือไม่ผิด ได้ถึงความสวัสดีในทางกันดารนั้นนั่นเอง"

ครั้นตรัสแล้วได้ทรงนิ่งเสีย

ลำดับนั้นแล ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีลุกขึ้น จากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า กล่าวชมเชยแล้ว ประคองอัญชลี เหนือเศียรเกล้า กราบทูลอย่างนี้ว่า

"บัดนี้ การที่พวกอุบาสกเหล่านี้ ทำลายสรณะอันอุดมแล้ว ถือสรณะยึดถือเอาด้วยการคาดคะเน ยึดถือเอาอย่างผิด ๆ ปรากฏแก่พระองค์ก่อน ส่วนในปางก่อนพวกมนุษย์ผู้ยึดถือด้วยการคาดคะเน มีความพินาศ และพวกมนุษย์ผู้ยึดถือโดยชอบธรรม มีความสวัสดีในทางกันดารที่อมนุษย์หวงแหนยังลี้ลับสำหรับข้าพระองค์ ไม่ปรากฏแก่ข้าพระองค์เลย ดังข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงกระทำเหตุนี้ ให้ปรากฏ เหมือนยังพระจันทร์เต็มดวงให้เด่นขึ้นในอากาศฉะนั้น."



ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

"ดูก่อนคฤหบดี เราแลบำเพ็ญบารมี ๑๐ ทัศในกาลหาปริมาณมิได้ ได้แทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณ ก็เพื่อจะตัดความสงสัยของชาวโลกนั่นแล" ท่านจงเงี่ยโสตฟังโดยเคารพ แล้วได้ทรงเล่าอดีตนิทานไว้ดังนี้

             ในอดีตกาล ได้มีพระราชาพระนามว่าพรหมทัตอยู่ในพระนครพาราณสี แคว้นกาสิกรัฐ ในกาลนั้นพระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิในตระกูลพ่อค้าเกวียน ครั้นเติบใหญ่ได้เที่ยวกระทำการค้าด้วยเกวียน ๕๐๐ เล่ม ในการเดินทางไปค้าขายของพระโพธิสัตว์นั้น บางครั้งจากเดินทางจากต้นแดนไปยังปลายแดน บางครั้งจากปลายแดน ไปยังต้นแดน

ในเมืองพาราณสีนั่นเองมีบุตรพ่อค้าเกวียนอีกคนหนึ่ง บุตรพ่อค้าเกวียนคนนั้น เป็นคนเขลา เป็นคนไม่มีปัญญา ไม่ฉลาดในอุบาย ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์มาเอาสินค้ามีค่ามาจากเมืองพาราณสีบันทุกเต็มเกวียน ๕๐๐ เล่ม เตรียมการจะเดินทางแล้วพักอยู่ ฝ่ายบุตรพ่อค้าเกวียน ผู้เขลานั้นก็บรรทุกเต็มเกวียน ๕๐๐ เล่ม เตรียมการจะเดินทางแล้วพักอยู่เหมือนกัน พระโพธิสัตว์คิดว่า ถ้าบุตรพ่อค้าเกวียนผู้เขลานี้จักไปพร้อมกับเราทีเดียวไซร้ เมื่อเกวียนพันเล่มไปพร้อมกัน แม้ทางก็จักไม่พอเดิน ฟืน และน้ำเป็นต้น ของพวกมนุษย์ก็ดี หญ้าของพวกโคก็ดี จักหาได้ยาก บุตรพ่อค้าเกวียนผู้เขลานี้หรือเรา ควรจะไปข้างหน้าจึงจะสมควร

พระโพธิสัตว์นั้นจึงเรียกบุตรพ่อค้าเกวียนนั้นมาบอกเนื้อความนั้นแล้วกล่าวว่า

"เราทั้งสองไม่อาจไปรวมกัน ท่านจักไปก่อนหรือจะให้เราไปก่อน"

บุตรพ่อค้าเกวียนนั้นคิดว่า เมื่อเราไปข้างหน้าจะมี อานิสงส์มาก เราจักไปโดยหนทางยังไม่แตกเลย พวกโคจักได้เคี้ยวกินหญ้าที่ยังไม่มีใครถูกต้อง พวกผู้คนจักมีผักอันเกื้อกูลแก่แกงซึ่งยังไม่ได้จับต้อง น้ำจักใส เราเมื่อไปตามชอบใจ จักตั้งราคาขายสินค้าได้ บุตรพ่อค้าเกวียนนั้นจึงกล่าวว่า

"สหาย เราจักไปก่อน"

พระโพธิสัตว์ได้เห็นการไปทีหลังว่ามีอานิสงส์มาก โดยทรงคิดอย่างนี้ว่า คนเหล่านี้เมื่อไปก่อน จักกระทำหนทางขรุขระที่ให้เรียบเตียน เราจักเดินทางไปตามทางที่คนเหล่านี้ไปแล้ว เมื่อโคงานซึ่งเดินทางไปก่อนกินหญ้าแก่และแข็ง โคทั้งหลายของเราจักเคี้ยวกินหญ้าอร่อยซึ่งงอกขึ้นมาใหม่ ผักซึ่งใช้ทำแกงของพวกมนุษย์ ซึ่งงอกขึ้นจากที่ที่ถูกเด็ดเอาไปจักแตกยอดออกมาใหม่ จักเป็นของอร่อย ในที่ที่ไม่มีน้ำ คนเหล่านี้จักขุดบ่อทำให้น้ำเกิดขึ้น เราจักดื่มน้ำในบ่อที่คนเหล่านี้ขุดไว้ การตั้งราคาสินค้า เราไปข้างหลังจักขายสินค้า ตามราคาที่คนเหล่านี้ตั้งไว้ พระโพธิสัตว์นั้นเห็นอานิสงส์มีประมาณเท่านี้จึงกล่าวว่า

"ดูก่อนสหาย ท่านจงไปก่อนเถิด"

บุตรพ่อค้าเกวียนผู้เขลารับคำแล้ว จึงเทียมเกวียนทั้งหลายเป็นการใหญ่ ออกไปล่วงพ้นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์ ถึงปากทางกันดาร โดยลำดับ.

ชื่อว่ากันดารมี ๕ อย่าง คือ กันดารเพราะโจร ๑ กันดารเพราะสัตว์ร้าย ๑ กันดารเพราะขาดน้ำ ๑ กันดารเพราะอมนุษย์ ๑ กันดารเพราะอาหารน้อย ๑ กันดารในที่นี้นั้นหมายเอากันดารเพราะการขาดน้ำและกันดารเพราะมีอมนุษย์สิงอยู่ เพราะฉะนั้น บุตรพ่อค้า เกวียนผู้เขลานั้นจึงตั้งตุ่มใหญ่ ๆ ไว้บนเกวียนทั้งหลาย บรรจุเต็มด้วยน้ำ เดินทางกันดาร ๖๐ โยชน์.

ครั้นในเวลาที่บุตรพ่อค้าเกวียนผู้เขลานั้นถึงท่ามกลางทางกันดาร ยักษ์ผู้อาศัยอยู่ในทางกันดารคิดว่า เราจักให้พวกมนุษย์เหล่านี้ ทิ้งน้ำที่บรรทุกมาเสีย ทำให้อ่อนเพลียกระปลกกระเปลี้ยแล้วกินมันทั้งหมด จึงนิรมิตยานน้อย น่ารื่นรมย์ เทียมด้วย โคหนุ่มขาวปลอด ห้อมล้อมด้วยอมนุษย์ ๑๒ คน ชุ่มด้วยน้ำและโคลน ถืออาวุธพร้อมทั้งโล่เป็นต้น ประดับดอกอุบลและโกมุท มีผมเปียกและผ้าเปียกนั่งมาบนยานน้อยนั้น มีล้อยานเปื้อนเปีอกตม เดินสวนทางมา

ธรรมดาว่าพ่อค้าเกวียนทั้งหลาย เมื่อใดที่ลมพัดมาข้างหน้า เมื่อนั้นก็จะนั่งบนยานน้อยคันหน้า ห้อมล้อมด้วยคนอุปัฏฐาก เพื่อหลีกเลี่ยงฝุ่นที่เกิดขึ้น ในกาลใด ลมพัดมาข้างหลัง ในกาลนั้น ก็หลีกยานไปอยู่ทางข้างหลัง ก็ในกาลนั้น ลมพัดได้มาข้างหน้า เพราะฉะนั้น บุตรพ่อค้าเกวียนผู้เขลานั้น จึงได้ไปข้างหน้า ยักษ์นั้นเห็นบุตรพ่อค้าเกวียนนั้นกำลังมาอยู่ จึงให้ยานน้อยของตนหลีกลงจากทาง และได้ทำการปฏิสันถารกับบุตรพ่อค้าเกวียนนั้นว่า

"ท่านทั้งหลายจะไปไหน"

ฝ่ายบุตรพ่อค้าเกวียนนำยานน้อยของตนหลีกลงจากทาง  เพื่อให้ให้เกวียนสินค้าทั้งหลายที่ตามหลังอยู่ไปก่อน แล้วยืนกล่าวกะยักษ์ว่า

"ท่านผู้เจริญ พวกเรามาจากเมืองพาราณสี ส่วนท่านทั้งหลายประดับดอกอุบลและโกมุท ถือดอกปทุมและบุณฑริกเป็นต้น เคี้ยวกินเหง้าบัว เปื้อนด้วยเปือกตม มีหยดน้ำไหล พากันเดินมา ในหนทางที่ท่านทั้งหลายผ่านมา ฝนตกหรือหนอ มีสระน้ำอันดารดาษด้วยดอกอุบลเป็นต้นหรือ"

ยักษ์ได้ฟังถ้อยคำของบุตรพ่อค้าเกวียนนั้น แล้วจึงกล่าวว่า

"สหาย ท่านพูดอะไร ที่นั่น ราวป่าเขียวปรากฏอยู่ ตั้งแต่ที่นั้นไป ป่าทั้งสิ้นมีน้ำอยู่ทั่วไป ฝนตกเป็นประจำ แม้แต่ซอกเขาก็เต็มไปด้วยน้ำ ในที่นั้น ๆ มีสระน้ำดารดาษด้วยดอกปทุม"

แล้วยักษ์จึงถามว่า

"ท่านพาเกวียนเหล่านี้มา จะไปไหนกัน"

บุตรพ่อค้าเกวียนกล่าวว่า "จะไปยังชนบทชื่อโน้น"

ยักษ์กล่าวว่า "ในเกวียนเหล่านี้บรรทุกสินค้าอะไรหรือ ?"

บุตรพ่อค้าจึงตอบชื่อสินค้าให้ทราบ

ยักษ์กล่าวว่า "เกวียนที่มากำลังข้างหลังดูเป็นเกวียนที่หนักมาก ในเกวียนนั้นมีสินค้าอะไร"

บุตรพ่อค้าเกวียนกล่าวว่า "ในเกวียนนั้นมีน้ำ"

ยักษ์กล่าวว่า "ท่านทั้งหลายนำน้ำมาข้างหลังด้วย ได้กระทำความเนิ่นช้าแล้ว ก็ตั้งแต่นี้ไป ความกังวลเรื่องน้ำย่อมไม่มี ข้างหน้ามีน้ำมาก ท่านทั้งหลายจงทุบตุ่ม เทน้ำทิ้งเสีย จงไปด้วยเกวียน เบาเถิด"

ก็แหละครั้นกล่าวอย่างนี้แล้วจึงพูดว่า "ท่านทั้งหลายจงไปเถอะ ความชักช้าจะมีแก่พวกเรา แล้วเดินไปหน่อยหนึ่ง ถึงที่ที่คนเหล่านั้นมองไม่เห็น ก็ได้ไปยังนครยักษ์ของตนนั่นแล."

ฝ่ายพ่อค้าเกวียนผู้เขลานั้น เพราะความที่ตนเป็นคนเขลาจึงเชื่อคำของยักษ์นั้น จึงให้ทุบตุ่มทั้งหลายทิ้งทั้งหมดไม่เหลือน้ำแม้สักฟายมือเดียว แล้วขับเกวียนไป แต่ว่าในทางข้างหน้าน้ำแม้แต่นิดเดียวก็มิได้มี มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อไม่ได้น้ำดื่ม ก็พากันลำบากแล้ว คนเหล่านั้นพากันไปจนพระอาทิตย์อัสดง จึงปลดเกวียน พักเกวียนให้เป็นวงแล้วผูกโคที่ล้อเกวียน น้ำก็ไม่มีให้แก่พวกโค ข้าวปลาอาหารก็ไม่มีแก่พวกมนุษย์ พวกพ่อค้าเกวียนเหล่านั้นก็มีกำลังเปลี้ยลง ไม่ใส่ใจในการงาน พากันนอนหลับไปในนั้น ๆ

ครั้นถึงเวลากลางคืน ยักษ์ทั้งหลายพากันมาจากที่อยู่ ฆ่าโคและมนุษย์ทั้งหมดนั้นให้ถึงแก่ความตาย แล้วกินเนื้อ ของโคและมนุษย์เหล่านั้น ไม่มีเหลือแม้แต่กระดูก แล้วจึงพากันไป ชนเหล่านั้นแม้ทั้งหมดถึงความพินาศ เพราะอาศัยบุตรพ่อค้าเกวียนผู้โง่เขลาคนเดียว ด้วยประการอย่างนี้ กระดูกทั้งหลายก็ได้กระจัดกระจายไปในทิศน้อยใหญ่ เกวียน ๕๐๐ เล่มได้ตั้งอยู่ตามที่บรรทุกไว้เต็มอย่างเดิมแล.

ฝ่ายพระโพธิสัตว์แล จำเดิมแต่วันที่บุตรพ่อค้าเกวียนโง่ออกไปแล้ว ก็ยับยั้งอยู่ประมาณกึ่งเดือน จึงพากันออกจากพระนครพร้อมกับเกวียน ๕๐๐ เล่ม ถึงปากทางกันดารโดยลำดับ พระโพธิสัตว์นั้นจึงให้ใส่น้ำให้เต็มตุ่ม ณ ปากทางกันดารนั้น แล้วให้เที่ยวตีกลองป่าวร้องภายในกองค่าย ประกาศให้พวกชนประชุมกันแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า

"ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ถ้าพวกท่านยังไม่ได้รับอนุญาตจากข้าพเจ้า อย่าได้เทน้ำ แม้สักเท่าฟายมือหนึ่งทีเดียว ชื่อว่าต้นไม้มีพิษ ย่อมมีในทางกันดาร ใบไม้ดอกไม้หรือผลไม้ ท่านทั้งหลายไม่เคยกินมาก่อนมีอยู่ พวกท่านถ้ายังไม่ได้ไต่ถามข้าพเจ้า ก็จงอย่าได้เคี้ยวกิน"

ครั้นให้โอวาทแก่คนทั้งหลายอย่างนี้แล้วจึงเดินทางกันดารด้วยเกวียน ๕๐๐ เล่ม.

เมื่อพระโพธิสัตว์ถึงท่ามกลางทางกันดาร ยักษ์นั้นได้แสดงตนใน หนทางสวนกันแก่พระโพธิสัตว์ โดยนัยก่อนนั่นแหละ พระโพธิสัตว์พอเห็นยักษ์นั้นเท่านั้นก็ได้รู้ว่า ในทางกันดารนี้แหละ ไม่มีน้ำ นี้ชื่อว่ากันดารเพราะ ไม่มีน้ำ อนึ่ง ผู้นี้ไม่มีท่าทีเกรงกลัว มีนัยน์ตาแดง แม้เงาของเขาก็ไม่ปรากฏ บุตรพ่อค้าเกวียนผู้เขลาพร้อมทั้งบริวารคงถูกยักษ์นี้กินเสียแล้วโดยไม่ต้องสงสัย แต่ยักษ์นี้เห็นจะไม่รู้ความที่เราเป็นบัณฑิต และความที่เราเป็นผู้ฉลาดในอุบาย.

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์นั้นกล่าวกะยักษ์นั้นว่า

"พวกท่านจงไปเถิด พวกเราชื่อว่าเป็นพ่อค้า ยังไม่เห็นน้ำอื่นจะไม่ทิ้งน้ำที่บรรทุกเอามา แต่เราทั้งหลายจะทิ้งในที่ที่ได้เห็นแล้ว"

ทำเกวียนทั้งหลายให้เบาแล้วจึงไป ฝ่ายยักษ์ ไปได้หน่อยหนึ่ง เข้าถึงที่ที่มองไม่เห็น แล้วไปนครยักษ์ของตนทีเดียว

เมื่อยักษ์ไปแล้ว คนทั้งปวงจึงเข้าไปหาพระโพธิสัตว์แล้วกล่าวว่า

"ข้าแต่เจ้านาย คนเหล่านี้กล่าวว่า นั่นแนวป่าเขียวปรากฏอยู่ จำเดิมแต่นั้นไป ฝนจักตกเป็นนิตย์ เป็นผู้สวมมาลัยดอกอุบลและโกมุท ถือกำดอกปทุมและบุณฑริก เคี้ยวกินเหง้าบัว มีผ้าเปียก และมีผมเปียก มีหยาดน้ำและโคลนไหลหยดมา พวกเราจักทิ้งน้ำ มีเกวียนเบาจะไปได้เร็ว"

ฝ่ายพระโพธิสัตว์ได้ฟังคำของคนเหล่านั้นแล้วจึงให้พักเกวียน ให้คนทั้งหมดประชุมกันแล้วถามว่า

"พวกท่านเคยฟังมาจากใคร ๆ หรือว่า ในที่กันดารนี้ มีสระน้ำหรือสระโบกขรณี"

คนทั้งหลายกล่าวว่า "ข้าแต่เจ้าน้อย ไม่เคยได้ยิน"

พระโพธิสัตว์กล่าวว่า "นี้ชื่อว่ากันดารเพราะไม่มีน้ำ บัดนี้ คนพวกหนึ่งพูดว่า เบื้องหน้าแต่แนวป่า เขียวนั่น ฝนตก ธรรมดาว่าลมฝนจะพัดไปถึงที่มีประมาณเท่าไร "

คนทั้งหลายกล่าวว่า "พัดไปได้ประมาณ ๓ โยชน์ ขอรับ เจ้านาย"

พระโพธิสัตว์ ถามว่า "ลมกับฝนกระทบร่างกายของบุคคลแม้คนหนึ่ง บรรดาพวกท่าน มีอยู่หรือ "

คนทั้งหลายกล่าวว่า "ไม่มีขอรับ"

พระโพธิสัตว์ถามว่า "ธรรมดา ก้อนเมฆย่อมปรากฏในที่มีประมาณเท่าไร "

คนทั้งหลายกล่าวว่า "ในที่ประมาณ ๓ โยชน์ ขอรับ "

พระโพธิสัตว์ถาม "ก็บรรดาท่านทั้งหลาย ใคร ๆ เห็น ก้อนเมฆก้อนหนึ่ง มีอยู่หรือ ?"

คนทั้งหลายกล่าวว่า "ไม่มีขอรับ"

พระโพธิสัตว์  "ธรรมดาสายฟ้าปรากฏในที่มีประมาณเท่าไร "

คนทั้งหลาย  "ในที่ประมาณ ๔ - ๕ โยชน์ ขอรับ."

พระโพธิสัตว์  "ก็บรรดาท่านทั้งหลาย ใคร ๆ ที่เห็นแสงสว่างของสายฟ้า มีอยู่หรือ "

คนทั้งหลาย "ไม่มีขอรับ."

พระโพธิสัตว์ "ธรรมดาเสียงฟ้าร้องจะได้ยินในที่ประมาณเท่าไร "

คนทั้งหลาย "ในที่ ๑ - ๒ โยชน์ ขอรับ. "

พระโพธิสัตว์ "ก็บรรดาท่านทั้งหลาย ใคร ๆ ที่ได้ยินเสียงฟ้าร้อง มีอยู่ หรือ "

คนทั้งหลาย "ไม่มีขอรับ."

พระโพธิสัตว์ "ท่านทั้งหลายรู้จักคนเหล่านี้หรือ "

คนทั้งหลาย "ไม่รู้จักขอรับ."

พระโพธิสัตว์กล่าวว่า "คนเหล่านี้ไม่ใช่มนุษย์ คนเหล่านี้เป็นยักษ์ พวกมันจักมาเพื่อยุให้พวกเราทิ้งน้ำ กระทำให้อ่อนกำลังแล้วจะเคี้ยวกิน บุตรพ่อค้าเกวียนผู้เขลาซึ่งไปข้างหน้า ไม่ฉลาดในอุบาย เขาคงถูกยักษ์เหล่านี้หลอกให้ทิ้งน้ำ ปล่อยให้ลำบากแล้วเคี้ยวกินเสียเป็นแน่ เกวียน ๕๐๐ เล่ม จักจอดอยู่ตามที่บรรทุกไว้เต็มนั่นแหละ วันนี้ พวกเราจักเห็นเกวียนเหล่านั้น ท่านทั้งหลาย อย่าได้ทิ้งน้ำแม้แต่ฟายมือหนึ่ง จงรีบขับเกวียนไปเร็ว ๆ"

เมื่อพระโพธิสัตว์นั้นมาถึง ก็เห็นเกวียน ๕๐๐ เล่ม ตามที่บรรทุกไว้เต็มนั่น แหละ กระดูกของมนุษย์ทั้งหลายและของเหล่าโคกระจัดกระจาย อยู่ในทิศน้อยใหญ่ จึงให้ปลดเกวียน ให้ตั้งกองค่ายโดยเอาเกวียนวงรอบ ให้คนและโคกินอาหารเย็น ต่อเวลายังวันให้โคทั้งหลายนอนตรงกลางกลุ่มคนทั้งหลาย ตนเองพาเอาคนผู้มีกำลังแข็งแรง มือถือดาบ ตั้งการอารักขาตลอดราตรีทั้ง ๓ ยาม จนอรุณขึ้น วันรุ่งขึ้น พระโพธิสัตว์ทำกิจทั้งปวงให้เสร็จแต่เช้าตรู่ ให้โคทั้งหลายกินแล้วให้ทิ้งเกวียนที่ไม่แข็งแรงเสีย ให้เอาแต่เกวียนที่แน่นหนา ให้ทิ้งสิ่งของที่มีราคาน้อยเสีย ให้ขนสิ่งของที่มีค่ามากขึ้น ไปยังที่ตนปรารถนา ขายสิ่งของด้วยมูลค่า ๒ เท่า ๓ เท่า ได้พาบริษัท ทั้งหมดไปยังนครของตน นั่นแลอีก.

พระศาสดาครั้นตรัสธรรมกถานี้แล้วตรัสว่า

"ดูก่อนคฤหบดี ในกาล ก่อน คนผู้มีปรกติยึดถือโดยการคาดคะเน ถึงความพินาศใหญ่หลวงด้วย ประการอย่างนี้ ส่วนคนผู้มีปรกติยึดถือตามความจริง พ้นจากเงื้อมือของ พวกอมนุษย์ ไปถึงที่ที่ปรารถนา ๆ โดยสวัสดี แล้วกลับมาเฉพาะยังที่อยู่ของตนได้"

พระศาสดา ครั้งทรงแสดงพระธรรมเทศนานี้แล้ว ทรงประมวลชาดกมาแสดงทรงทำพระเทศนาให้จบ ลงว่า...

"บุตรพ่อค้าเกวียนผู้โง่เขลาในสมัยนั้น ได้เป็น พระเทวทัต ในบัดนี้ แม้บริษัทของบุตรพ่อค้าเกวียนโง่นั้นก็ได้เป็นบริษัทของเทวทัต ในบัดนี้ บริษัทของบุตรพ่อค้าเกวียนผู้เป็นบัณฑิต ในครั้งนั้น ได้เป็นพุทธบริษัท ในบัดนี้ ส่วนบุตรของพ่อค้าเกวียนผู้เป็นบัณฑิตในครั้งนั้น ได้เป็น เราตถาคต."

 

คาถาประจำชาดก

อาปัณณะกะฐานะเมเก ทุติยัง อาหุ ตักกิกา

เอตะทัญญายะ เมธาวี ตัง คัณเห ยะทะปัณณะกัง

 การตัดสินใจโดยการถือวิธีการคาดคะเนเดาเอา จัดว่าถือผิด

ควรถือตามเหตุผลเป็นจริง จึงจัดว่าถูก


ที่มา วัดโพรงจระเข้ จ.ตรัง
27  สุขใจในธรรม / บทสวด - คัมภีร์ คาถา - วิชา อาคม / บทสวด ปัพพะโตปะมะคาถา เมื่อ: 21 มีนาคม 2567 15:50:23
.



ปัพพะโตปะมะคาถา

        ยะถาปิ  เสลา  วิปุลา                       นะภัง  อาหัจจะ  ปัพพะตา

        สะมันตา  อะนุปะริเยยยุง                 นิปโปเถนตา  จะตุททิสา

        เอวัง  ชะรา  จะ  มัจจุ  จะ                อะธิวัตตันติ  ปาณิโน

        ขัตติเย  พราหมะเณ  เวสเส            สุทเท  จัณฑาละปุกกุเส

        นะ  กิญจิ  ปะริวัชเชติ                     สัพพะเมวาภิมัททะติ

        นะ  ตัตถะ  หัตถีนัง  ภูมิ                  นะ  ระถานัง นะ  ปัตติยา

        นะ  จาปิ  มันตะยุทเธนะ                  สักกา  เชตุง  ธะเนนะ  วา

        ตัสมา  หิ ปัณฑิโต  โปโส                 สัมปัสสัง  อัตถะมัตตะโน

        พุทเธ  ธัมเม  จะ สังเฆ  จะ               ธีโร  สัทธัง  นิเวสะโย

        โย  ธัมมะจารี  กาเยนะ                    วาจายะ  อุทะ  เจตะสา

        อิเธวะ  นัง  ปะสังสันติ                      เปจจะ  สัคเค  ปะโมทะติ ฯ       
       
ที่มา วัดโพรงจระเข้ จ.ตรัง
28  สุขใจในธรรม / เกร็ดศาสนา / พิธีบวชชี - ชีพราหมณ์ เมื่อ: 17 มีนาคม 2567 14:01:38


พิธีบวชชี - ชีพราหมณ์


สิ่งที่ต้องเตรียมในพิธี
    1. ดอกบัว
    2. ดอกดาวเรือง
    3. ธูป เทียน
    4. ข้าวตอก

เบื้องต้น ให้ผู้บวชนุ่งขาวห่มขาว (ยังไม่ต้องพาดสไบ) และเตรียมพานดอกไม้ เครื่องสักการะให้เรียบร้อย แล้วมาพร้อมกันรอพระอุปัชฌาย์ตามเวลาและสถานที่กำหนด เมื่อถึงเวลาพึงปฏิบัติตามลำดับดังนี้


๑. จุดธูปเทียนบูชา พระรัตนตรัย กราบ ๓ ครั้ง

    บูชาพระรัตนตรัย
        อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ (กราบ)
        สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
        สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ)

    ขอขมาพระรัตนตรัย
        (ก้มกราบครั้งที่ 1)
        กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา,พุทเธ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง,พุทโธ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง,กาลันตะเร สังวะริตุง วะ พุทเธ,

        (ก้มกราบครั้งที่ 2)
        กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา,ธัมเม กุกัมมัง ปะกะตัง มายา ยัง,ธัมโม ปฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง,กาลันตะเร สังวะริตุง วะ ธัมเม

        (ก้มกราบครั้งที่ 3)
        กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา,สังเฆ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง,สังโฆ ปฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง,กาลันตะเร สังวะริตุง วะ สังเฆ

๒. จัดเครื่องสักการะ มีดอกไม้ ธูป เทียน ใส่พานเข้าไปถวาย

๓. กล่าวคำปฏิญาณตนขอบวช

    คำขอบวชชี (แบบ ๑ คน)
        เอสาหัง ภันเต, สุจิระปะรินิพพุตัมปิ, ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ, ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ, ปัพพัชชัง มัง ภันเต , สังโฆ ธาเรตุ อัชชะตัคเค ปาณุเปตัง, สะระณัง คะตัง

    คำแปล
        ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอถึงสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้เสด็จดับขันธปรินิพพานนานแล้ว  กับทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึก ขอพระสงฆ์ จงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นผู้บวชในพระธรรมวินัยผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปเทอญฯ

    คำขอบวชชี (แบบ ๒ คน ขึ้นไป)
        เอตา มะยัง ภันเต, สุจิระปะรินิพพุตัมปิ, ตัง ภะคะวันตัง
        สะระณัง คัจฉามะ, ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ, ปัพพัชชัง โน ภันเต,
        สังโฆ ธาเรตุ อัชชะตัคเค ปาณุเปตัง, สะระณัง คะตา

    คำแปล
        ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอถึงสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้เสด็จดับขันธปรินิพพานนานแล้ว กับทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึก ขอพระสงฆ์ จงจำข้าพเจ้าทั้งหลายไว้ว่า เป็นผู้บวชในพระธรรมวินัย ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

๔. กล่าวคำอาราธนาศีล ๘
    มะยังภันเต ติสะระเณ นะสะหะ อัฏฐะสีลานิ ยาจามะ
    ทุติยัมปิมะยังภันเต ติสะระเณ นะสะหะ อัฏฐะสีลานิ ยาจามะ
    ตะติยัมปิมะยังภันเต ติสะระเณ นะสะหะ อัฏฐะสีลานิ ยาจามะ
    (สมาทานคนเดียว เปลี่ยนคำว่า “มะยัง” เป็น “อะหัง” และ “ยาจามะ” เป็น “ยาจามิ”)

๕. กล่าวตามคำพระเถระผู้เป็นประธาน ตามลำดับดังนี้
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

    บทไตรสรณคมน์
        พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
        ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
        สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
        ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
        ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
        ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
        ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
        ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
        ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

    เมื่อพระเถระว่า “ติสะระณะคะมะนัง นิฎฐิตัง”  ให้กล่าวคำว่า “อามะ ภันเต”

    คำสมาทานศีล 8 หมายถึง คำรับศีลจากพระภิกษุ

        1. ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
           ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เจตนา เว้นจากการฆ่าด้วยตนเอง และใช้ให้ผู้อื่นฆ่า

        2. อทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
           ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้แล้ว,ด้วยตัวเอง และใช้ให้ผู้อื่นฉ้อฉล

        3. อพรัหมะจะริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
           ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการประพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์

        4. มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
           ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการพูดเท็จ คำล่อลวงผู้อื่น

        5. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฺฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
           ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการ ดื่มน้ำเมา สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งของความประมาท

        6. วิกาละโภชะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
           ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล ( ตั้งแต่เที่ยงจนถึงรุ่งอรุณของวันใหม่ )

        7. นัจจะคีตะวาทิตะ วิสูกะทัสสะนามาลาคันธะวิเลปะนะ ธาระณะ มัณฑะนะ วิภูสะนัฏฺฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
           ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการตนาเป็นเครื่องเว้นจากการฟ้อนรำขับร้องและประโคมเครื่องดนตรีต่างๆและดูการละเล่นชนิดเป็นข้าศึกต่อกุศล และลูบทาทัดทรวงประดับตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้และของหอม อันเป็นที่ตั้งแห่งความยินดี
 
        8. อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
           ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการนั่งนอนบนเตียงตั่งมีเท้าสูงเกินประมาณและที่นอนสูงใหญ่ภายในมีนุ่นและสำลี และเครื่องปูลาดอันวิจิตรงดงามต่างๆ

        แล้วพระสงฆ์จะบอกอานิสงส์ของศีลต่อไป ดังนี้ 
        สีเลนะ สุคะติง ยันติ
        (บุคคลจะมีความสุขเพราะศีล)

        สีเลนะ โภคสัมปะทา
        (บุคคลจะมีโภคทรัพย์เพราะศีล)

        สีเลนะ นิพพุติงยันติ
        (บุคคลจะตรัสรู้เข้าสู่นิพพานได้เพราะศีล)

        ตัสมา สีลัง วิโสธะเยฯ
        (จงพากันทำศีลให้บริสุทธิ์ แล้วจะมีความสุขตลอดไป)

บทสวดกรวดน้ำ (อิมินา)
        อิมินา ปุญญะกัมเมนะ อุปัชฌายา คุณุตตะรา
        อาจะริยูปะการา จะ มาตาปิตา จะ ญาตะกา
        สุริโย จันทิมา ราชา คุณะวันตา นะราปิ จะ
        พ์รัห์มะมารา จะ อินทา จะตุ- โลกะปาลา จะ เทวะตา
        ยะโม มิตตา มะนุสสา จะ มัชฌัตตา เวริกาปิ จะ
        สัพเพ สัตตา สุขี โหนตุ ปุญญานิ ปะกะตานิ เม
        สุขัญจะ ติวิธัง เทนตุ ขิปปัง ปาเปถะ โว มะตัง

        อิมินา ปุญญะกัมเมนะ อิมินา อุททิเสนะ จะ
        ขิปปาหัง สุละเภ เจวะ ตัณหุปาทานะเฉทะนัง
        เย สันตาเน หินา ธัมมา ยาวะ นิพพานะโต มะมัง
        นัสสันตุ สัพพะทาเยวะ ยัตถะ ชาโต ภะเว ภะเว
        อุชุจิตตัง สะติปัญญา สัลเลโข วิริยัมหินา
        มารา ละภันตุ โนกาสัง กาตุญจะ วิริเยสุ เม
        พุทธาทิปะวะโร นาโถ ธัมโม นาโถ วะรุตตะโม
        นาโถ ปัจเจกะพุทโธ จะ สังโฆ นาโถตตะโร มะมัง
        เตโสตตะมานุภาเวนะ มาโรกาสัง ละภันตุ มา ฯ

        ปัญจะมาเรชิเน นาโถ ปัจจุสัม โพธิมุตตะมัง สุจจุสัตจัง ปกาเสติ มหาวิรัง สัพพะ พุทเทนะมิหัง มาราเสนัง มาราวิสุง


๘. คำแผ่เมตตา เมื่อจบแล้วกราบ ๓ ครั้ง  เป็นเสร็จพิธี
        สัพเพ สัตตา             สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์  เกิดแก่เจ็บตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
        อะเวรา โหนตุ            จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด  อย่าได้มีเวรต่อกันและกันเลย
        อัพยาปัชฌา โหนตุ      จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
        อะนีฆา โหนตุ            จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด  อย่าได้มีความทุกข์กายทุกใจเลย
        สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ  จงมีความสุขกายสุขใจ  รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด

        ท่านทั้งหลายที่ท่านได้ทุกข์ ขอให้ท่านมีความสุข
        ท่านทั้งหลายที่ท่านได้สุข ขอให้สุขยิ่งๆ
        สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เกิดเป็นชราภุชะ
        ที่เกิดเป็นอัณทชะ ที่เกิดเป็นสัณเสนทะชะ
        ที่เกิดเป็นโอปาติกะ จงมารับกุศลผลบุญ
        ให้ถ้วนทั่วทุกตัวสัตว์เทอญ



ที่มา วัดโพรงจระเข้ จ.ตรัง
29  สุขใจในธรรม / บทสวด - คัมภีร์ คาถา - วิชา อาคม / บทสวด ตายะนะคาถา เมื่อ: 17 มีนาคม 2567 13:42:30
.



ตายะนะคาถา

       
        ฉินทะ  โสตัง  ปะรักกัมมะ         กาเม  ปะนูทะ  พราหมะณะ

        นัปปะหายะ  มุนิ  กาเม            เนกัตตะมูปะปัชชะติ

        กะยิรา เจ  กะยิราเถนัง            ทัฬหะเมนัง  ปะรักกะเม

        สิถิโล  หิ ปะริพพาโช              ภิยโย  อากิระเต  ระชัง

        อะกะตัง  ทุกกะฏัง เสยโย          ปัจฉา ตัปปะติ  ทุกกะฏัง

        กะตัญจะ  สุกะตัง  เสยโย          ยัง  กัตวา  นานุตัปปะติ

        กุโส ยะถา  ทุคคะหิโต             หัตถะเมวานุกันตะติ

        สามัญญัง  ทุปปะรามัตถัง         นิระยายูปะกัฑฒะติ

        ยังกิญจิ  สิถิลัง  กัมมัง            สังกิลิฏฐัญจะ  ยัง  วะตัง

        สังกัสสะรัง  พรัมหะจะริยัง          นะ ตัง โหติ  มะหัปผะลันติ ฯ      


ที่มา วัดโพรงจระเข้ จ.ตรัง
30  สุขใจในธรรม / บทสวด - คัมภีร์ คาถา - วิชา อาคม / บทสวด สีสุทเทสะปาฐะ เมื่อ: 10 มีนาคม 2567 10:25:49
.



สีสุทเทสะปาฐะ

       ภาสิตะมิทัง เตนะ ภะตะวะตา ชานะตา ปัสสะตา อะระหะตา

       สัมมาสัมพุทเธนะ สัมปันนะสีลา ภิกขะเว วิหะระถะ สัมปันนะปาฏิ-

       โมกขา ปาฏิโมกขะสังวะระสังวุตา วิหะระถะ อาจาระโคจะระสัมปันนา

       อะณุมัตเตสุ วัชเชสุ ภะยะทัสสาวี สะมาทายะ   สิกขะถะ สิกขา-

       ปะเทสูติ ฯ ตัสมาติหัมเหหิ สิกขิตัพพัง สัมปันนะสีลา วิหะริสสามะ

       สัมปันนะปาฏิโมกขา ปาฏิโมกขะสังวะระสังวุตา วิหะริสสามะ อาจา-

       ระโคจะระสัมปันนา อะณุมัตเตสุ วัชเชสุ ภะยะทัสสาวี สะมาทายะ

       สิกขิสสามะ สิกขาปะเทสูติ ฯ เอวัญหิ โน สิกขิตัพพัง ฯ


ที่มา วัดโพรงจระเข้ จ.ตรัง
31  สุขใจในธรรม / ไขปัญหาโลก ธรรม และความรัก / Re: วันเทโวโรหณะ โดย พระภาวนาสุตาภิรัต (ชอบ พุทฺธสโร) วัดพิชโสภาราม จ.อบลราชธานี เมื่อ: 10 มีนาคม 2567 10:20:10
วันเทโวโรหณะ
โดย พระภาวนาสุตาภิรัต (ชอบ พุทฺธสโร)
วัดพิชโสภาราม ต.แก้งเหนือ อ.เขมราฐ อ.อุบลราชธานี


         เพราะฉะนั้นอาตมภาพก็ได้นำเรื่อง วันเทโวโรหณะมาตักเตือนให้ญาติโยมทั้งหลาย ได้คิดถึงว่าความอัศจรรย์ในพระพุทธศาสนานั้นก่อนโน้นมันเป็นอย่างไร แล้วก็ไม่ให้ประมาท ให้หมั่นบำเพ็ญคุณงามความดี เพื่อที่จะเป็นเสบียงเดินทางในภพหน้าชาติหน้า เหมือนกับครั้งพุทธกาลที่สัตว์นรกทั้งหลาย มนุษย์ทั้งหลาย เทวดาทั้งหลาย พรหมทั้งหลาย มองเห็นกันนั้นแหละ จะได้รู้ว่า อานุภาพของบาปมันเป็นอย่างไร อานุภาพของบุญมันเป็นอย่างไร ไม่ให้ประมาท

          เพราะฉะนั้นเมื่อเราได้ฟังธรรม ได้ฟังเหตุฟังปัจจัยดังอาตมภาพกล่าวมาแล้วก็เป็นผู้หมั่นบำเพ็ญคุณงามความดี อย่าประมาท อย่าเป็นผู้เดือดร้อนใจในภายหลังเลย

          เพราะฉะนั้นก็ขอกล่าวเรื่อง วันเทโวโรหณะโดยย่อเพียงเท่านี้ก่อน เพราะว่าเวลามันก็ล่วงเลยมาแล้ว เพราะฉะนั้นวันนี้จึงถือว่าเวลานั้นพอสมควรแก่เวลาแล้ว ในท้ายที่สุดนี้จึงขอให้ญาติโยมทั้งหลายจงเป็นผู้ที่มีความสุขทุกทิวาราตรีกาล แล้วก็มีโอกาสได้มาประพฤติวัตรปฏิบัติธรรม นำตนให้พ้นจากทุกข์ถึงสุขอันไพบูลย์ด้วยกันจงทึกท่านทุกคนเทอญ.
32  สุขใจในธรรม / ไขปัญหาโลก ธรรม และความรัก / วันเทโวโรหณะ โดย พระภาวนาสุตาภิรัต (ชอบ พุทฺธสโร) วัดพิชโสภาราม จ.อบลราชธานี เมื่อ: 10 มีนาคม 2567 10:19:07



วันเทโวโรหณะ
โดย พระภาวนาสุตาภิรัต (ชอบ พุทฺธสโร)
วัดพิชโสภาราม ต.แก้งเหนือ อ.เขมราฐ อ.อุบลราชธานี

        เจริญพรญาติโยมสาธุชนผู้ใคร่ในธรรมทั้งหลาย วันนี้ธรรมะก่อนนอนก็เวียนมาบรรจบครบรอบอีกครั้งหนึ่ง ที่ญาติโยมทั้งหลายจะได้รับฟังเพื่อที่จะนำไปเป็นเครื่องเตือนจิต สะกิดใจ เป็นหลักยึดของชีวิตต่อไป

          วันนี้ถือว่าเป็นวันสำคัญในทางพระพุทธศาสนาอีกวันหนึ่ง ซึ่งวันนี้ตามประเพณีนิยมที่ดี เรียกกันทั่วไปก็เรียกกันว่า เป็นวันมหาปวารณา คือพระสงฆ์ในพุทธศาสนาที่เป็นฝ่ายเถรวาทก็จะพากันปวารณาในวันนี้ คือพระสงฆ์ที่บวชเข้ามาในพุทธศาสนา ก็จะอธิษฐานจำพรรษาในวันเพ็ญ ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ เมื่อเริ่มอธิษฐานแล้ว เมื่อถึงวันเพ็ญ ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ก็ถือว่าเป็นวันมหาปวารณา คือการปวารณาของพระสงฆ์นั้นเป็นการดำริ ตามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

          คือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุ ผู้อยู่จำพรรษาถ้วนไตรมาศในอาวาส ๓ เดือนแล้ว ก็ให้ปวารณากันได้ คือเมื่ออยู่ร่วมกันแล้วก็มีการกระทบกระทั่ง มีการประมาทพลาดพลั้งกันไปด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี ก็เลยเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มีปวารณาต่อกัน อดโทษอโหสิกรรม ไม่ให้เป็นบาปเป็นกรรม เป็นเวร เป็นภัยต่อกันไปในวันที่จะต้องจากกัน

          คือภิกษุผู้ที่มาจำพรรษาในสมัยก่อนนั้น มาจากเมืองสาวัตถีบ้าง มาจากเมืองไพสาลีบ้าง มาจากกรุงราชคฤห์บ้าง มาจำพรรษาอยู่กับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อมาจำพรรษาแล้วก็มาฟังธรรม มาประพฤติปฏิบัติธรรม มาเรียนปริยัติธรรม มาประพฤติปฏิบัติเพื่อที่จะยังศีล สมาธิ ปัญญา มรรคผลให้เกิดขึ้นมาในขันธสันดาน เมื่อออกพรรษาแล้วก็ได้รับความรู้ทั้งด้านปฏิบัติทั้งด้านปริยัติ ปฏิเวธธรรมแล้วก็กลับไปสู่ภูมิลำเนา เพื่อที่จะเผยแผ่พระสัทธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่อไปอีก

          เพราะฉะนั้นก่อนที่จะจากกันนั้นมีการกล่าวลา หรือว่าปวารณาต่อกัน อดโทษอโหสิกรรมไม่ให้เกิดมีแก่กันและกัน อันนี้เป็นธรรมเนียมที่ละเอียดอ่อน ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นมหาบัณฑิต ผู้เป็นเลิศในทางพระพุทธศาสนา ผู้มีปัญญามากกว่ามนุษย์ทั้งปวง ผู้มีปัญญามากกว่าเทวดาทั้งปวง ผู้มีปัญญามากกว่าพรหมทั้งปวง ได้ทรงบัญญัติประเพณีอันละเอียดอ่อนเพื่อที่จะเป็นเหตุเป็นปัจจัย ไม่ให้เกิดเวรเกิดกรรมต่อไปในภายภาคหน้า

          เพราะฉะนั้นวันมหาปวารณานั้นจึงเวียนมาบรรจบ ซึ่งถือว่าเป็นวันสำคัญไม่ใช่แต่พระสงฆ์สามเณรที่จะทำการขอขมาลาโทษหรือปวารณาต่อกัน แม้ญาติโยมก็สามารถที่จะอนุโลม นำไปใช้ได้ ว่าในพรรษานี้เราล่วงเกินพ่อล่วงเกินแม่ ล่วงเกินผัว ล่วงเกินเมีย ล่วงเกินครูอุปัชฌาย์อาจารย์อย่างไร เราก็สามารถที่จะเอาประเพณีที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติใช้แก่พระสงฆ์นี้แหละ มาอนุโลมใช้ในชีวิตประจำวันได้ ว่าเราผิดพลาดประการใดต่อผู้มีพระคุณเราก็ให้ท่านอดโทษอโหสิกรรมให้ ครอบครัวของเราก็จะเป็นครอบครัวที่มีความสุข มีความเจริญก้าวหน้า มีความปรองดองสามัคคี มีความเกรงอกเกรงใจกัน ในที่สุดครอบครัวของเราก็มีความสุข

          เพราะฉะนั้น ในวันมหาปวารณานี้จึงถือว่าเป็นวันสำคัญที่ชาวพุทธทั้งหลายนั้นควรที่จะยึดถือ แล้วก็ประพฤติปฏิบัติไม่ให้เสื่อมไม่ให้คลาย เป็นประเพณีที่เราต้องช่วยกันรักษา

          วันมหาปวารณานี้มีสาเหตุมีมูลมีเค้ามาตั้งแต่สมัยที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีพระชนชีพอยู่นั้นแหละ ในสมัยนั้นก่อนที่จะมีวันมหาปวารณา วันออกพรรษาในปีนั้น เป็นปีที่พวกเดียรถีย์ทั้งหลายต้องการที่จะลองดีกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประกาศท้าแสดงฤทธิ์กับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พวกเดียรถีย์ พวกครูทั้ง ๖ มี สัญชัยนาฏบุตร เป็นต้น มาท้าแข่งกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ใครจะแสดงฤทธิ์ได้มากกว่ากัน ได้ดีกว่ากัน ได้เยี่ยมกว่ากัน ก็เลยท้าแสดงฤทธิ์กับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วพระองค์ก็ทรงให้รวมกันที่เมืองราชคฤห์แล้วก็ทรงแสดงฤทธิ์ เมื่อพระองค์ทรงแสดงฤทธิ์แก่พวกเดียรถีย์ทั้งหลายนั้นแหละ แสดงฤทธิ์ในครั้งนั้นท่านเรียกว่า ยมกปาฏิหาริย์ คือพระองค์ทรงแสดงฤทธิ์นั้นเป็นคู่ๆ

          แสดงฤทธิ์เป็นคู่ๆ อย่างไร คือ ขณะที่พระองค์ทรงแสดงฤทธิ์เช่นพระองค์ให้สายน้ำไหลออกจากรูขุมขนของพระองค์ ให้แสงแห่งไฟนั้นไหลออกจากรูขุมขนของพระองค์ คือขุมขนหนึ่งนั้นมีสายน้ำสายไฟไหลออกไปเป็นคู่ๆ กัน อันนี้เรียกว่ายมกปาฏิหาริย์ คือแสดงปาฏิหาริย์เป็นคู่ๆ เมื่อพระองค์ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ มีการเดินจงกรมบนอากาศ มีการเหาะ การนอนบรรทมบนอากาศ มีการแสดงฤทธิ์ปาฏิหาริย์นานาประการบนอากาศเรียบร้อยแล้ว พระองค์ก็ทรงพิจารณาใคร่ครวญว่า องค์สมเด็จพระผู้มีพะภาคเจ้าในครั้งก่อนๆ โน้นแหละ

          เมื่อแสดงยมกปาฏิหาริย์แล้วพระองค์ทรงทำอะไรต่อไป องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ก็ทรงระลึกถึงอดีตพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในครั้งก่อนโน้นว่า เมื่อแสดงยมกปาฏิหารย์แล้วจะทำอย่างไรต่อไป เมื่อแสดงยมกปาฏิหาริย์แล้วพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ นั้นจะต้องเสด็จไปที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ของท้าวสักกะ เมื่อคิดได้อย่างนั้นพระองค์ก็ทรงเสด็จไปจำพรรษาอยู่ที่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ของท้าวสักกะเทวราชในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อที่จะไปโปรดพระพุทธมารดา คือพระพุทธมารดาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อประสูติเจ้าชายสิทธัตถะมาแล้วได้ประมาณ ๗ วันก็สวรรคต เมื่อสวรรคตแล้วก็ไปเกิดบนสวรรค์ชั้นดุสิต อยู่ในวิมานอันเป็นทิพย์ เสวยความสุขอันเป็นทิพย์อยู่บนสวรรค์ชั้นดุสิต

          องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ไม่สามารถที่จะโปรดพระพุทธมารดาได้ทัน เพราะว่าพระพุทธมารดานั้นสวรรคตก่อน ก็เลยถือโอกาสนั้นเสด็จไปโปรดพุทธมารดา แต่พระองค์ไม่เสด็จไปถึงชั้นดุสิต ทำไมพระองค์ไม่เสด็จไปถึงชั้นดุสิต เพราะว่าสวรรค์ชั้นดุสิตนั้นเป็นสวรรค์ชั้นที่ รื่นเริงบันเทิงเพลิดเพลินเป็นอย่างมาก เสียงเพลงอันเป็นทิพย์ กลิ่นอันเป็นทิพย์ ทุกอย่างอันเป็นทิพย์นั้นมันดึงดูดจิตใจของทวยเทพของชั้นดุสิตนั้นให้ลุ่มหลง ให้เพลิดเพลินยิ่งนัก เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เทพชั้นดุสิตนั้น ไม่สามารถที่จะปลงรูป ปลงเสียง ปลงกลิ่น ปลงรส ปลงโผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์นั้นให้เห็นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาได้ ก็เลยไม่สามารถที่จะเข้าใจธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่แสดงให้ฟังนั้นได้ง่าย นอกจากบุคคลผู้มีวาสนาบารมีมากจริงๆ

          เหตุนั้นพระองค์จึงเสด็จไปโปรดพระพุทธมารดาที่ชั้นดาวดึงส์ ให้พระพุทธมารดาเสด็จจากชั้นดุสิต มาฟังพระอภิธรรมที่ชั้นดาวดึงส์ เพราะสวรรค์ชั้นดุสิตนั้นสูงกว่าชั้นดาวดึงส์ แล้วพระองค์ทรงตรัสว่า ถ้าพระองค์ทรงเสด็จไปโปรดพุทธมารดาชั้นดุสิตแล้ว พุทธมารดาก็ไม่ได้อานิสงส์ คือไม่ได้อานิสงส์ในการที่จะเสด็จมาฟังธรรม เพราะการเสด็จมาฟังธรรมนั้นย่อมได้อานิสงส์มาก

          คือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัสว่า บุคคลเมื่อเกิดศรัทธาขึ้นมาแล้ว ที่ใคร่อยากจะฟังธรรม ก็น้อมดอกไม้ธูปเทียนเพื่อที่จะบูชาธรรมนั้นแหละ สักการะที่จะบูชาธรรมเดินทางมาฟังธรรม ขณะที่เดินทางมาฟังธรรมนั้นก็ได้รับอานิสงส์ทุกก้าวเดินเราจะเดินมาก้าวหนึ่งอานิสงส์มันก็เกิดขึ้นมา เดินมาอีกก้าวหนึ่งอานิสงส์มันก็เกิดขึ้นมาระดับหนึ่งเพิ่มขึ้นไปตามลำดับๆ เรียกว่าอานิสงส์เกิดขึ้นทุกก้าวเดิน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประสงค์อยากจะให้พุทธมารดานั้นได้รับอานิสงส์ในการเสด็จมาฟังธรรม ได้รับบุญกุศลเพิ่มขึ้นอีกจึงมาแสดงธรรมอยู่ที่ชั้นดาวดึงส์

          อีกอย่างหนึ่งพระองค์ทรงเมตตาทวยเทพชั้นดาวดึงส์ เพื่อที่จะได้ฟังธรรม เพื่อที่จะได้เห็นธรรม รู้แจ้งธรรม บรรลุธรรม จึงมาแสดงธรรมที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

          เหตุนั้นเมื่อพระองค์ทรงแสดงพระอภิธรรมโปรดพุทธมารดา แทนค่าป้อนน้ำนมแก่พุทธมารดาเรียบร้อยแล้ว ในวันเพ็ญ ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ วันนี้แหละ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโปรดพุทธมารดาเรียบร้อยแล้วพระองค์ทรงดำริต่อไปว่า พระองค์จะทรงไปที่ไหนหนอ พระองค์ทรงดำริว่าจะเสด็จลงที่เมือง สังกัสสะนคร ในกรุงราชคฤห์ ก่อนที่พระองค์จะทรงดำริว่าจะเสด็จลงเมืองสังกัสสะนครนั้น พระมหาโมคคัลลานะซึ่งเป็นอัครสาวกเบื้องซ้าย ซึ่งเป็นผู้มีฤทธิ์อันเลิศ ก่อนที่จะถึงวันมหาปวารณานี้ ๗ วัน พระมหาโมคคัลลานะก็ขึ้นไปบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ กราบบังคมแทบพระยุคลบาทขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทูลถามว่าพระองค์จะทรงเสด็จลงตรงไหน พระองค์ก็ทรงตรัสบอกตามที่ดำรินั้นแหละว่า เสด็จลงที่เมืองสังกัสสะนคร

          แล้วพระมหาโมคคัลลานะนั้นก็ลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เที่ยวบอกประชาชน บอกภิกษุสามเณรบอกประชาชนให้รู้สิ้นเวลาเป็น ๗ วันว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เลิศ ผู้ประเสริฐกว่ามนุษย์และเทวดาทั้งหลาย พระองค์ทรงเสด็จไปโปรดพระพุทธมารดาบนชั้นดาวดึงส์แล้วพระองค์จะเสด็จลงจากเทวดาชั้นดาวดึงส์นั้นอีก ๗ วันข้างหน้า พระองค์จะทรงเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มนุษย์ทั้งหลายก็ดี เทวดาทั้งหลายก็ดี ภิกษุสามเณรทั้งหลายก็ดี พรหมทั้งหลายก็ดี ต่างก็ได้รับข่าวที่พระโมคคัลลานะนั้นแจ้ง ด้วยฤทธิ์ของพระมหาโมคคัลลานะนั้น ก็ดลบันดาลให้หนทางที่จะเดินทางมาเมืองสังกัสสะนครนั้น เป็นหนทางที่ราบรื่น เป็นหนทางที่ปลอดจากโจร ปลอดจากภัยอันตรายทั้งหลายทั้งปวง ให้เดินทางมาเมืองสังกัสสะนครนั้นด้วยความปลอดภัย ด้วยความสะดวกสบาย

          มนุษย์ทั้งหลายเป็นอันมาก พระสงฆ์องค์เณรทั้งหลายเป็นอันมาก เทวดาทั้งหลายเป็นอันมาก พรหมทั้งหลายเป็นอันมาก ในวันเพ็ญ ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ นั้นก็มาประชุมกันที่ประตูเมืองสังกัสสะนคร รอรับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่จะเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

          เศรษฐีทั้งหลายมีอนาถบิณฑิกเศรษฐีก็ดี จุลลอนาถบิณฑิกเศรษฐี คือน้องชายของอนาถบิณฑิกเศรษฐีก็ดี นางวิสาขามหาอุบาสิกาก็ดี นางอุตราอะไรต่างๆ ที่เป็นผู้ที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนานั้น ก็มากันปักหลักตั้งโรงทานถวายให้แก่พระภิกษุสงฆ์สามเณร ญาติโยมผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในพุทธศาสนาในครั้งนั้น ที่มาปักหลักนอนแรมเพื่อที่จะถวายบังคมองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อที่จะชมพระรัศมี พระรังสีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะห่างจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปนาน ๓ เดือน คิดถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอันมากก็มาประชุมกัน

          เมื่อมาประชุมกัน เศรษฐีทั้งหลาย มีอนาถบิณฑิกเศรษฐี จุลลอนาถบิณฑิกเศรษฐี นางวิสาขาเป็นต้น ก็บำรุงบำเรอถวายตั้งโรงทานเลี้ยงอาหารแก่ญาติโยมเหล่านั้นให้ได้รับความอิ่มหมีพีมัน คำว่าอดอยากในสมาคมอันใหญ่ถึงขนาดนั้นไม่มี คนมาประชุมกันเป็นอันมากคำว่าอดอยากนั้นไม่มี เพราะเดชบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ของพุทธบริษัททั้งหลายที่ได้เข้าใจถึงธรรม ได้บรรลุธรรม มีอนาถบิณฑิกเศรษฐี และนางวิสาขาเป็นต้น ได้มาเกื้อกูล เหตุนั้นชุมนุมนั้นจึงเป็นชุมนุมที่ใหญ่มาก ในขณะนั้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ก็ทรงดำริกาลเวลาอันสมควร องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ก็ทรงเสด็จลงจากเทวโลก ซึ่งตรงกับวันเพ็ญ ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ คือวันนี้แหละ พระองค์ก็ทรงเสด็จลงจากเทวโลก

          สาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ที่ทรงเลื่อมใสในพุทธศาสนาก็ทรงดำริว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในครั้งแต่ก่อนโน้นเสด็จลงจากเทวโลกด้วยเหตุใดหนอแล เมื่อพิจารณาแล้วก็เข้าใจว่าพระองค์ทรงเสด็จลงด้วยบันไดแก้วแล้ว พระอินทร์นั้นก็ทรงเนรมิตบันไดให้สำเร็จด้วยทองคำบันไดหนึ่ง ให้สำเร็จด้วยแก้วมณีบันไดหนึ่ง ให้สำเร็จด้วยเงินบันไดหนึ่ง ทรงเนรมิตบันไดทั้ง ๓ บันได บันไดทอง บันไดแก้วมณี บันไดเงิน ถวายแก่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วทูลเสด็จองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้เสด็จลงที่บันไดแก้ว คือบันไดทองนั้นจะอยู่ทางด้านขวา บันไดแก้วนั้นจะอยู่ตรงกลาง บันไดเงินนั้นจะอยู่ทางด้านซ้าย บันไดทองนั้นจะเป็นบันไดที่พวกทวยเทพทั้งหลายทั้ง ๖ ชั้น จะเป็นชั้นจาตุม ชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี หรือว่าปรนิมมิตวสวัสตีนั้น เสด็จลงทางบันไดทอง คือก้าวลงทางบันไดทอง แต่บันไดแก้วมณีนั้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลง คือเสด็จพุทธดำเนินมาทางบันไดแก้วมณี

          บันไดเงินที่อยู่ทางซ้ายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเป็นบันไดที่ท้าวมหาพรหมทั้งหลายก้าวลง ในขณะที่ทรงเนรมิตบันไดด้วยฤทธิ์ของท้าวสักกะนั้นแหละ บันไดนั้นเป็นบันไดที่สูงและสวยงามมาก เป็นบันไดที่สูงจากพื้นดินนั้นวัดระยะทางได้ ๘๔,๐๐๐ โยชน์ คือเชิงของบันไดนั้นอยู่ที่เมืองสังกัสสะนคร หัวบันไดนั้นอยู่ที่ภูเขาสิเนรุราช องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงลีลาสเสด็จดำเนินมาตั้งแต่ภูเขาสิเนรุราช

          ขณะที่พระองค์ทรงดำเนินมานั้นแหละพระองค์ทรงเสด็จดำเนินด้วยพุทธลีลาอันงดงามมีฉัพพรรณรังสี ออกจากพระวรกายเป็นที่สง่างามยิ่งนัก

          มีปัญจสิขเทพบุตรบรรเลงเพลงทิพย์ ดีดพิณ เสียงเพลงอันเป็นทิพย์นั้นแหละ ดังกังวานไพเราะเสนาะโสตเป็นสิ่งที่น่าเกิดปีติยินดีเป็นยิ่งนัก แล้วปัญจสิขเทพบุตรนั้นก็ดีดพิณบรรเลงอยู่ด้านขวาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทางด้านซ้ายก็มีมาตลีเทพบุตรชูดอกไม้อันเป็นทิพย์ มีกลิ่นหอมอันเป็นทิพย์ ส่งกลิ่นหอมไปทั่วสากลพิภพตลบอบอวลไปหมด เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดปีติเกิดความชูชันของผม เกิดปีติได้ง่าย เพราะอะไร เพราะว่ากลิ่นอันเป็นทิพย์นั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้จิตใจของทวยเทพก็ดี จิตใจของพุทธบริษัทที่มาประชุมกันนั้นก็ดี เยือกเย็น สงบ ไม่เร่าร้อน จิตใจก็เป็นมหากุศล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดปีติขึ้นอย่างมาก ด้วยกลิ่นดอกไม้อันเป็นทิพย์ของมาตลีเทพบุตร

          ในด้านของท้าวมหาพรหมก็ทรงกั้นเศวตฉัตรถวายองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า กั้นเศวตฉัตรอันเป็นทิพย์ มีร่มเงาอันเป็นทิพย์ แผ่ความเย็นนั้นให้เกิดขึ้นแก่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วทางด้านท้าวสุยาม ซึ่งเป็นเทวราชชั้นยามาก็ไม่น้อยหน้า พระองค์ก็ทรงถือพัดชื่อว่า วารวีชนี พัดองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเคียงข้างองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ตลอดเวลา คือพัดอยู่ทางด้านบันไดทอง แล้วก็พัดองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้มีพระวรกายอันเย็นไปด้วยลมอันเป็นทิพย์ เพราะฉะนั้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงเสด็จลงจากเทวโลกนั้นด้วยอานุภาพอันยิ่งใหญ่ ด้วยบริวารอันยิ่งใหญ่ ด้วยเดชด้วยบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้หาใครเปรียบเทียบไม่ได้ ผู้หาใครทัดเทียมไม่ได้ ผู้หาใครเสมอเหมือนไม่ได้ เป็นผู้เลิศกว่ามนุษย์และเทวดา และพรหมทั้งหลาย ด้วยเดชบารมี ๓๐ ทัศของพระองค์

          ในขณะที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระอินทร์ เทวดา พรหมทั้งหลายได้เสด็จลงมาจากบันไดทั้ง ๓ นั้น ภาพที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงเสด็จมานั้นแหละก็ปรากฏแก่มนุษย์ แก่เทวดา แก่พรหมทั้งหลาย แก่สัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉานทั้งหลายนั้นปรากฏแก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน มนุษย์ เทวดา พรหม สามารถที่จะมองเห็นกันได้ เครื่องจองจำในมนุษย์มีโซ่ตรวนก็ดี มีขื่อคาก็ดี มีหอก มีหลาว มีเปลวเพลิงนรก ที่เผาผลาญสัตว์นรกก็ดี มีนายนิรยบาล อาวุธที่นายนิรยบาลห้ำหั่นสัตว์นรกทั้งหลายนั้น ก็หยุดชะงักชั่วคราว ด้วยเดชบารมีที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแผ่เมตตาไป

          สัตว์ทั้งหลายนับตั้งแต่โลกันตมหานรก อเวจีมหานรกขึ้นมาจนถึงพรหมโลกสามารถที่จะมองเห็นกันหมด เมื่อมองเห็นกัน มนุษย์ก็สามารถที่จะมองเห็นเทวดาว่าเทวดามีกายทิพย์อย่างไร มีอาหารทิพย์อย่างไร มีอารมณ์อันเป็นทิพย์อย่างไร อารมณ์อันเป็นทิพย์นั้นมันดีอย่างไร พรหมนั้นเสวยอารมณ์ฌานเป็นอย่างไร

          แล้วก็สัตว์นรกผู้ทำบาปกรรมมีการปาณาติบาตนั้น เมื่อได้รับบาปกรรมนั้นมันเป็นอย่างไร ผู้ที่ทำบาปกรรม อทินนาทาน ลักเล็กขโมยน้อยของบุคคลอื่น เมื่อทำแล้วตกนรกแล้วมันเป็นอย่างไร ก็สามารถที่จะมองเห็นกัน ผู้ที่ชอบทำชู้สู่สมกับสามีภรรยาคนอื่น เห็นสามีของคนอื่นหล่อๆ แล้วก็อดไม่ได้ เห็นภรรยาของบุคคลอื่นสวยๆ แล้วอดไม่ได้จำเป็นที่จะต้องหาทางที่จะทำชู้สู่สม เมื่อทำแล้วบาปกรรมมันเป็นอย่างไร ตกนรกขุมไหน มนุษย์ เทวดา พรหม สัตว์นรกเหล่าอื่นก็สามารถที่จะมองเห็นกันได้ เมื่อพูดเท็จ พูดเพ้อเจ้อ พูดเหลวไหล พูดไร้สาระ ยุยงให้คนแตกร้าวสามัคคีกัน ตายแล้วไปตกนรกแล้วมันเป็นอย่างไร มองเห็นกันได้ หรือว่าบุคคลผู้ที่ชอบดื่มสุราเมรัยเป็นต้น ชอบดื่มสุราเมรัย เสพติด กินยาบ้า สูบกัญชา ดมทินเนอร์อะไรเป็นต้น เมื่อตายไปแล้วมันเป็นอย่างไร ได้รับผลอย่างไรสามารถที่จะมองเห็นกันได้

          เมื่อมนุษย์ทั้งหลาย เทวดาทั้งหลาย พรหมทั้งหลายมองเห็นส่วนที่เป็นบาปเป็นกรรม มองเห็นส่วนที่เป็นบุญแล้วก็เกิดจิตใจที่จะหลีกเร้นพ้นไปจากอำนาจของบาป ยินดีต่อกุศลธรรมมีผลอันเลิศ ผลอันประเสริฐ ผลอันเป็นสุข จิตใจของสรรพสัตว์ทั้งหลายนั้นก็เป็นจิตใจที่อ่อนโยน เป็นจิตใจที่มุ่งตรงต่อกุศลธรรม ปลงธรรมสังเวชจากนรกแล้วก็เกิดมหากุศลอันยิ่งใหญ่ เพราะฉะนั้นในวันนั้นโบราณกาลท่านจึงเรียกว่า วันโลกวิวรณ์ ซึ่งเป็นภาษาบาลี แปลให้เข้าใจง่ายว่าเป็นวันที่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเปิดโลก ให้เห็นกันทั้งเทวโลก ทั้งมนุษย์โลก ทั้งพรหมโลก ทั้งอบายภูมิ คือนรกโลก เปรตโลก สัตว์เดรัจฉานโลกนั้นสามารถที่จะมองเห็นกันได้

          เหตุนั้นเมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงทำหัวใจของสรรพสัตว์ทั้งหลายนั้นให้เห็น บาป บุญโดยชัดเจน ให้เห็นผลของบุญโดยชัดเจน ให้เห็นผลของบาปโดยชัดเจนแล้ว หัวใจของสรรพสัตว์ทั้งหลายนั้นก็มุ่งตรงต่อบุญ ต่อกุศล มีจิตใจมุ่งตรงต่อบุญกุศลอย่างเดียว ความสงสัยในเรื่องบาปก็ดี ความสงสัยในเรื่องบุญก็ดี แม้ของสัตว์นรก แม้ของมนุษย์ ผู้คนหนึ่งก็ไม่มี แม้แต่มด แม้แต่แมลงก็ไม่สงสัยในเรื่องบุญเรื่องบาป มีจิตใจมุ่งตรงต่อบุญต่อบาป มีจิตใจเห็นความอัศจรรย์ใจของพระพุทธเจ้า เห็นความอัศจรรย์ใจของพระธรรมของพระสงฆ์อยู่ถ้วนทั่วทุกตัวสัตว์

          ในสมัยนั้นเมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลีลาสดำเนินมาใกล้จะถึงมนุษย์โลก พระสารีบุตรผู้เป็นอัครสาวกเบื้องขวา ผู้เลิศด้วยปัญญาจึงดำริว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นนาถของโลก เป็นที่พึ่งของโลก เมื่อจะเสด็จลงมาสู่โลกแล้วเราผู้เป็นสาวก ผู้เกิดขึ้นจากพระธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราไม่ควรที่จะนิ่งดูดาย พร้อมด้วยพระอรหันต์ ๕๐๐ เหาะขึ้นไปถวายบังคมองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในท่ามกลางอากาศ เป็นที่ประจักษ์แก่มหาชนอันมาก เป็นที่ประจักษ์แก่เทวดา พรหม สัตว์นรก ทั้งหลายเป็นอันมาก ก็ยังปีติโสมนัสให้เกิดขึ้นแก่บริษัทนั้นเป็นอย่างมาก

          ความอัศจรรย์ใจในพระพุทธ ได้ปรากฏขึ้นในขณะนั้น ความอัศจรรย์ใจในพระธรรมได้ปรากฏขึ้นในขณะนั้น ความอัศจรรย์ใจในพระสงฆ์สาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าเป็นผู้ประเสริฐ ผู้เลิศ เป็นพระอรหันต์จริงนั้นได้ปรากฏขึ้นมาในขณะนั้น จึงเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เพิ่มปสาทศรัทธา ให้แก่ญาติโยมพุทธบริษัทซึ่งมาประชุมกันใหญ่ เพิ่มทวีคูณขึ้นไปเรื่อยๆ

          ในขณะนั้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อเสด็จลงถึงประตูแห่งเมืองสังกัสสะนครแล้วก็ทรงแสดงพระธรรม ขณะที่พระองค์ทรงแสดงพระธรรมโปรดนั้นแหละ พระองค์ก็ทรงรู้ว่าจิตใจของสรรพสัตว์ทั้งหลายนั้นปราศจากนิวรณ์โดยสิ้นเชิง เพราะว่าเห็นความอัศจรรย์ในพุทธศาสนาควรที่จะแสดงธรรม นำจิตนำใจของสรรพสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ให้ได้บรรลุมรรคผลนิพพานเป็นอมตสุข ทำจิตทำใจของพุทธบริษัททั้งหลายเหล่านั้นแหละ ให้ดื่มซึ่งอมตธรรมซึ่งเป็นน้ำอมฤต คือการบรรลุมรรคผลนิพพาน

          และองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงเอื้อนเอ่ยพระโอษฐ์ แสดงธรรมอันไพเราะเหมือนนกการเวกที่เปล่งเสียงกังวานให้ป่าเขาลำเนาไพรให้หายความเงียบเหงา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ก็ทรงเปล่งเสียงอันกังวาน ให้พุทธบริษัทที่มาเฝ้ารอพระองค์ด้วยความเหน็ดเหนื่อย ให้หายจากความเหน็ดเหนื่อย ให้หายจากความเมื่อยล้า ให้จิตใจนั้นอิ่มเอิบไปด้วยปีติธรรม ขณะที่จิตใจของสรรพสัตว์ทั้งหลายนั้นอิ่มเอิบไปด้วยปีติธรรมมีหูเงี่ยฟังพิจารณาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเรื่อยๆๆ จิตใจมันก็สะอาดขึ้น ขาวขึ้น ผ่องใสขึ้น เมื่อจิตใจขาวสะอาดผ่องใสขึ้นตามลำดับๆ จิตใจก็เป็นสมาธิตั้งมั่น เมื่อจิตใจเป็นสมาธิตั้งมั่นก็เข้าใจความเป็นจริง เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างนั้นเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดวิปัสสนาญาณนับตั้งแต่นามรูปปริเฉทญาณได้ปัญญาขึ้นมา ปัจจยปริคคหปัญญา สัมมสนปัญญา อุทยัพพยปัญญา ภังคปัญญา ภยตูปัฏฐานปัญญา อาทีนวปัญญา นิพพิทาปัญญา มุญจิตุกัมยตาปัญญา ปฏิสังขารปัญญา สังขารุเปกขาปัญญา อนุโลมปัญญา โคตรภูปัญญา แล้วก็มรรคปัญญา ผลปัญญา แล้วก็ปัจจเวกขณปัญญาเกิดขึ้นมา เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน สำเร็จเป็นพระโสดาบัน

          องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงตรัสไว้ในพระไตรปิฎกว่า สัตว์ หรือว่าสรรพสัตว์ทั้งหลายที่มาเฝ้า จะเป็นมนุษย์ก็ดี เทวดาก็ดี พรหมก็ดี เฝ้ารับเสด็จองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นแหละบรรลุมรรคผลนิพพาน และดื่มอมตะรส ดื่มอมตะธรรมนั้นประมาณ ๓๐ โกฏิ คือได้บรรลุมรรคผลนิพานนั้นประมาณ ๓๐ โกฏิ ซึ่งน่าอัศจรรย์ใจยิ่งนัก เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพุทธบริษัทที่มาประชุมเป็นมหาสันนิบาต ซึ่งเป็นการประชุมใหญ่นั้น ให้ได้ดื่มอมตรส คือได้บรรลุมรรคผลนิพพานแล้ว ประชาชนทั้งหลายก็ทำบุญทำทานกับพระสงฆ์องค์เณรนั้นเป็นอันใหญ่ เรียกว่าประชาชนที่มาประชุมเป็นอันมากนั้น ต่างก็มีเครื่องสักการะ ต่างก็มีอาหารบิณฑบาตอะไรมาสมบูรณ์ คำว่าอดอยากในสมาคมนั้นไม่มี ก็เกิดความอัศจรรย์ใจในพระพุทธ ในพระธรรม ในพระสงฆ์ อย่างที่กล่าวมาแล้วว่าพระพุทธเจ้านั้นประเสริฐอย่างไรเลิศอย่างไรก็ปรากฏแล้ว พระธรรมนำจิตใจของบุคคลผู้ที่ ร้อนรุ่มไปด้วยความโลภ ความโกรธ ความหลง ร้อนรุ่มไปด้วยราคะ โทสะ โมหะนั้นให้เกิดความสุขด้วยการบรรลุมรรคผลนิพพานอย่างไร พุทธบริษัททั้งหลายก็ได้ลิ้มรส ได้ประจักษ์แล้ว ว่าพระธรรมนั้นประเสริฐเลิศเลออย่างไร สูงสุดอย่างไรก็ได้รู้แล้วในวันนั้น พระสงฆ์ผู้เป็นสาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงคุณวิเศษสุดอย่างไร พระโมคคัลลานะก็ดี พระอัครสาวกเบื้องขวา คือ พระสารีบุตรก็ดี พระอรหันต์ทั้ง ๕๐๐ รูปก็ทำให้ปรากฏแก่โยมทั้งหลายเหล่านั้นให้หายความสงสัยแล้ว

          เพราะฉะนั้นความสงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ไม่มี ศรัทธาอันบริสุทธิ์ ศรัทธาอันมุ่งตรงดิ่งต่อพระพุทธศาสนาจึงเกิดท่วมท้นจิตใจของพุทธบริษัททั้งหลาย การทำบุญนั้นจึงเป็นการทำบุญใหญ่ ญาติโยมทั้งหลายที่มาประชุมกันในที่นั้นก็ทำบุญกันเป็นโกลาหล ทำบุญใหญ่เพื่อที่จะตักตวงเอาบุญกุศล

          เพราะฉะนั้นในวันนั้นจึงเป็นวันที่ ประชาชนทั้งหลายบำเพ็ญบุญเป็นอันมาก บำเพ็ญบุญด้วยความยิ่งใหญ่ ด้วยความเลื่อมใส ด้วยความศรัทธา บุญไม่น้อยก็เกิดขึ้นแก่พุทธบริษัททั้งหลาย ทั้งบุญที่เป็นโลกียะ ทั้งบุญที่ทำบุญตักบาตร บุญที่เป็นโลกุตรที่ได้ฟังธรรมนั้น ได้บรรลุมรรคผลนิพพานนั้นเกิดขึ้นแก่พุทธบริษัทเป็นอันมาก

          เหตุนั้นในวันนี้ซึ่งเป็นวันเทโวโรหณะ ในครั้งพุทธกาลซึ่งตรงกับวันที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ จึงเป็นวันที่พวกเราทั้งหลายได้สืบสานประเพณีอันเป็นบุญ อันเป็นกุศล ให้ลูกหลานของเรานั้นระลึกถึงเหตุ ความอัศจรรย์ใจในครั้งพุทธกาลนั้น แล้วมาบำเพ็ญบุญ บำเพ็ญกุศล เพื่อที่จะเป็นเหตุเป็นปัจจัยเป็นเสบียงให้เราเกิดความสุข เกิดความเจริญงอกงามในภพหน้าชาติหน้า หรือว่าในชีวิตของเรา ในปัจจุบันภพนี้

          เหตุนั้นการบำเพ็ญทานบารมีก็มีหลักมีฐานดังที่อาตมภาพได้กล่าวมาแล้วนั้นแหละ เหตุนั้นวันนี้ญาติโยมทั้งหลายก็ไม่ควรที่จะประมาทนิ่งดูดาย เพราะการประมาท ก็ถือว่าเป็นการสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เพราะว่าการสูญเสียอะไร ก็ไม่เท่ากับการสูญเสียเวลา เพราะว่าเวลาที่เราสูญเสียนั้นเราจะทำทรัพย์ภายนอกให้เกิดขึ้นมาแก่เราก็ได้ เราจะทำทรัพย์ที่เป็นภายใน คือ อริยทรัพย์ให้เกิดขึ้นมาแก่เราก็ได้ เราจะทำทรัพย์ที่เป็นโลกุตระให้เกิดขึ้นมาแก่เราก็ได้ เราจะทำทรัพย์ที่เป็นกามาวจร เมื่อทำแล้วเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ท่องเที่ยวไปในสวรรค์ให้เกิดขึ้นมาแก่เราก็ได้ เราจะทำทรัพย์ที่เป็นรูปาวจรสวรรค์ คือเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดฌานเกิดสมาบัติเกิดขึ้นมาแก่เราก็ได้ เราจะทำทรัพย์ที่เป็นอรูปฌานให้เกิดขึ้นมาแก่เราก็ได้ เราจะทำทรัพย์ที่เป็นโลกุตระคือมรรคผลนิพพานให้เกิดขึ้นมาแก่เราก็ได้

          ถ้าเราเอาเวลาที่มีอยู่นั้นแหละ มาให้ทานรักษาศีล มาไหว้พระทำวัตรสวดมนต์ เจริญสมถะภาวนา มาเจริญวิปัสสนาภาวนา ก็จะเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ได้สำเร็จทรัพย์ตามที่อาตมภาพได้กล่าวไว้ในตอนต้น

          เหตุนั้นเราไม่ควรประมาท ควรที่จะบอกลูกบอกหลานตักเตือนตัวเองให้มาทำบุญทำทาน แต่ทุกวันนี้ตามที่ปรากฏอยู่ในปฏิทินที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้ เลื่อนวันที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์เรียกว่า เทโวโรหณะนี้แหละ จาก ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ มาเป็นแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ซึ่งเป็นวันพรุ่งนี้ แต่ตามปกติที่ปรากฏในพระไตรปิฎกนั้นเป็นวันเพ็ญ ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ แต่ทุกวันนี้เลื่อนเป็นวันออกพรรษา คือวันนี้เป็นวันปวารณา พรุ่งนี้เป็นวันออกพรรษาแล้วก็ถือว่าเป็นวัน เทโวโรหณะด้วย

33  สุขใจในธรรม / บทสวด - คัมภีร์ คาถา - วิชา อาคม / บทสวด สีสุทเทสะปาฐะ เมื่อ: 04 มีนาคม 2567 13:21:23
.



โคตะมะกะเจติยะธัมมะปะริยาโย

         ภาสิตะมิทัง เตนะ ภะตะวะตา ชานะตา ปัสสะตา อะระหะตา

          สัมมาสัมพุทเธนะ สัมปันนะสีลา ภิกขะเว วิหะระถะ สัมปันนะปาฏิ-

          โมกขา ปาฏิโมกขะสังวะระสังวุตา วิหะระถะ อาจาระโคจะระสัมปันนา

          อะณุมัตเตสุ วัชเชสุ ภะยะทัสสาวี สะมาทายะ   สิกขะถะ สิกขา-

          ปะเทสูติ ฯ ตัสมาติหัมเหหิ สิกขิตัพพัง สัมปันนะสีลา วิหะริสสามะ

          สัมปันนะปาฏิโมกขา ปาฏิโมกขะสังวะระสังวุตา วิหะริสสามะ อาจา-

          ระโคจะระสัมปันนา อะณุมัตเตสุ วัชเชสุ ภะยะทัสสาวี สะมาทายะ

          สิกขิสสามะ สิกขาปะเทสูติ ฯ เอวัญหิ โน สิกขิตัพพัง ฯ


ที่มา วัดโพรงจระเข้ จ.ตรัง
34  สุขใจในธรรม / ไขปัญหาโลก ธรรม และความรัก / ธรรมโอสถ โดย พอจ.สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี เมื่อ: 04 มีนาคม 2567 13:14:10


ธรรมโอสถ


ความกังวลใจ ความวุ่นวายใจ ความหวาดกลัวต่างๆ เป็นความทุกข์ที่พวกเรายังมีกันอยู่ทุกคน แต่เป็นสิ่งที่เราสามารถรักษาให้หายได้ ถ้านำเอาธรรมโอสถคือพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเข้ามาสู่ใจของเรา เราจึงต้องหมั่นศึกษาฟังเทศน์ฟังธรรม อ่านหนังสือธรรมะอยู่เรื่อยๆ เพราะธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ได้เป็นของปกปิด แต่เปิดเผยให้กับทุกคน สามารถศึกษาได้ เหมือนกับหนังสืออื่นๆที่เราอ่านกัน อ่านแล้วได้รับความรู้ต่างๆ ฉันใดหนังสือธรรมะก็เป็นเช่นนั้น อ่านแล้วเราก็ได้รับความรู้ ความรู้ที่จะมาช่วยกำจัดความทุกข์ต่างๆ ที่มีอยู่ในตัวของเราอยู่ในใจของเราให้หมดสิ้นไปได้ ถ้าต้องการพ้นจากความทุกข์ ก็ต้องเข้าหาพระธรรมคำสอน เพราะไม่มีอะไรในโลกนี้ที่จะสามารถรักษาความทุกข์ใจได้ นอกจากพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ที่จะทำให้หมดทุกข์ได้อย่างแท้จริง เมื่อได้นำสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนมาปฏิบัติแล้ว รับรองได้ว่าทุกข์ต่างๆภายในใจจะหมดสิ้นไปอย่างแน่นอน

ไม่ว่าจะเป็นความทุกข์ที่เกิดจากความแก่ก็ดี ความเจ็บไข้ได้ป่วยก็ดี ความตายก็ดี การพลัดพรากจากกันก็ดี จะไม่ปรากฏขึ้นมาในใจของเราเลย จะรู้สึกเป็นเรื่องธรรมดา เป็นเรื่องปกติ เหมือนกับวันนี้อากาศเย็นลง เราก็ไม่รู้สึกทุกข์กับความเย็นของอากาศ เพราะเรารู้ว่ามันเป็นเรื่องปกติ เป็นเรื่องธรรมดา เมื่อสองวันก่อนร้อนแต่วันนี้เย็น เราก็ไม่ได้เดือดร้อนกับการเปลี่ยนแปลง ฉันใดร่างกายของเราจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร จะแก่จะเจ็บจะตายจะเป็นอย่างไร เราก็จะไม่รู้สึกว่าเป็นเรื่องแปลกประหลาด เป็นเรื่องที่จะต้องทุกข์ต้องวุ่นวายใจเลย เพราะเป็นเรื่องปกติเป็นเรื่องธรรมดา ใจของเราไม่ได้เป็นร่างกาย จึงไม่ได้แก่ไปกับร่างกายไม่ได้เจ็บไปกับร่างกาย ไม่ได้ตายไปกับร่างกาย

ใจก็เป็นใจอยู่อย่างนั้น ไม่ว่าร่างกายจะเป็นอย่างไร ใจก็ไม่ได้เป็นอะไรไปกับร่างกาย แต่เหตุที่ทำให้ที่ใจวุ่นวาย ทุกข์ กังวล หวาดกลัวนั้น เพราะใจไม่ได้รับธรรมโอสถของพระพุทธเจ้าเข้าไปรักษานั่นเอง ทำให้ใจมืดบอด มีความเห็นผิดเป็นชอบ เห็นว่าร่างกายเป็นใจ เมื่อใจคิดว่าร่างกายเป็นใจแล้ว พออะไรเกิดขึ้นกับร่างกายก็ต้องมีความหวั่นไหว คิดว่าใจจะเป็นไปกับร่างกายด้วย เวลาเจ็บไข้ได้ป่วย ร่างกายเจ็บแล้วยังไม่พอ ใจยังต้องเจ็บตามไปด้วย เจ็บไปด้วยความวุ่นวายความกังวล กลัวจะรักษาไม่หาย กลัวจะตาย เป็นความเจ็บชั้นที่สอง คือเจ็บกายแล้วยังต้องมาเจ็บใจด้วย แต่ถ้ามีธรรมโอสถอยู่ในใจแล้ว จะเจ็บเพียงครึ่งเดียว คือเจ็บที่ร่างกายเท่านั้น ไม่เจ็บที่ใจ .



พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี
กำลังใจ ๒๕ กัณฑ์ที่ ๒๗๓      
วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๔๙
35  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / จักรพรรดิองค์สุดท้ายของเวียดนาม เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2567 14:20:37

พระบรมฉายาลักษณ์ : จักรพรรดิบ๋าว ดั่ย และจักรพรรดินีนาม เฟือง (ตัดต่อภาพ)

จักรพรรดิองค์สุดท้ายของเวียดนาม

การเกิดขึ้นของสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มขึ้นในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ.1939 ซึ่งตรงกับวันครบรอบที่ฝรั่งเศสยึดครองดานัง ในปี ค.ศ.1858 ฝ่ายอักษะของญี่ปุ่นรุกรานเวียดนามในวันที่ 22 กันยายน ค.ศ.1940 อันเป็นความพยายามที่จะสร้างฐานทหารเพื่อต่อสู้กับฝ่ายสัมพันธมิตรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในปี ค.ศ.1941 – ค.ศ.1945 กลุ่มขบวนการต่อต้านฝ่ายคอมมิวนิสต์ที่เรียกกันว่า เวียดมินห์ ภายใต้การนำของโฮจิมินห์ จาก ค.ศ.1944 ถึง ค.ศ.1945 ทางภาคเหนือของเวียดนามเกิดภาวะข้าวยากหมากแพงที่ประชากรกว่าหนึ่งล้านคนประสบปัญหาและอดอาหารจนตาย ในเดือนมีนาคม ค.ศ.1945 ด้วยความตะหนักถึงชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ญี่ปุ่นจึงได้กวาดล้างกลุ่มเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสไปจำคุก และได้ให้การรับรองให้เวียดนามมี "เอกราช" ภายใต้ "การคุ้มครอง" ของญี่ปุ่นโดยมีจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ทรงเป็นพระจักรพรรดิแห่งเวียดนาม

ญี่ปุ่นได้ยอมแพ้ในวันที่ 15 สิงหาคม และได้เกิดการลุกฮือโดยกลุ่มเวียดมินห์ หลังจากได้รับการร้องขอให้สละราชสมบัติ จักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ได้ทรงสละราชสมบัติในวันที่ 30 สิงหาคม และได้มอบอำนาจให้กับเวียดมินห์ ทรงได้รับตำแหน่ง "ที่ปรึกษาสูงสุด" ให้กับรัฐบาลชุดใหม่ หลังจากนั้นทรงหนีออกไปจากเวียดนามไม่นานเพราะทรงไม่เห็นด้วยกับนโยบายของเวียดมินห์และได้ทรงลี้ภัยไปยังฮ่องกง ตามมาด้วยการกลับมาของฝรั่งเศสในเดือนตุลาคม สงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง (ค.ศ.1946 – ค.ศ.1954) จึงเป็นการปะทะกันระหว่างฝรั่งเศสและเวียดมินห์

ในปี ค.ศ.1948 ฝรั่งเศสได้เชิญชวนจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ให้ทรงกลับมาในฐานะของ "ประมุขรัฐ" (Quốc Trưởng, โกว๊กเจื๋อง) ของรัฐเวียดนาม (Quốc Gia Việt Nam, โกว๊กซาเหวียตนาม) ที่ตั้งขึ้นโดยฝรั่งเศสในบริเวณพื้นที่ควบคุมของฝรั่งเศส ขณะที่สงครามเลือดกับกลุ่มเวียดมินห์ภายใต้การนำของโฮจิมินห์ยังดำเนินต่อไป จักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ใช้เวลาส่วนใหญ่ของพระองค์ในช่วงความขัดแย้งทรงเกษมสำราญกับการมีดำรงพระชนม์ชีพในพระตำหนักหรูหราที่ด่าหลัต (ในเขตสูงของเวียดนาม) หรือในปารีส จนกระทั่งฝรั่งเศสได้พ่ายแพ้ต่อเวียดมินห์ที่ เดียนเบียนฟู ในปี ค.ศ.1954

ฝรั่งเศสได้เจรจาต่อรองกับสหรัฐอเมริกา เพื่อแบ่งเวียดนาม โดยได้มีการแบ่งเวียดนามเหนือให้กับกลุ่มเวียดมินห์ และเวียดนามใต้ ให้กับรัฐบาลใหม่ นายกรัฐมนตรีของรัฐเวียดนาม โง ดิ่ญ เสี่ยม ได้โค่นล้มจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ในการลงประชามติในปี 1955 ซึ่งผู้มีสิทธิลงเลือกตั้งส่วนใหญ่กลับเพิ่มขึ้นมาอย่างโจ่งแจ้ง ไม่เพียงแต่มีผู้ลงมติให้เวียดนามใต้กลายเป็นสาธารณรัฐ ซึ่งมีอยู่ถึงร้อยละ 98 เท่านั้น แต่จำนวนผู้ลงมติให้เป็นสาธารณรัฐกลับมามากกว่าผู้มีสิทธิลงมติ เสี่ยมจึงได้เป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเวียดนาม (Việt Nam Cộng Hòa, เหวียตนามก่งฮหว่า) ซึ่งทำให้จักรพรรดิบ๋าวดั่ยทรงสิ้นสุดเรื่องราวทางการเมืองอีกครั้งและเป็นการถาวร

จักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ทรงลี้ภัยไปยังฝรั่งเศสและเสด็สวรรคตในปี ค.ศ.1997 และได้ฝังพระบรมศพที่สุสานปาซี มกุฎราชกุมารบ๋าว ล็อง จึงได้สืบทอดตำแหน่งพระประมุขแห่งราชวงศ์เหงียนหลังการเสด็จสวรรคตของพระบิดาในวันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ.1997 จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ในวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ.2007 หลังจากนั้นเจ้าชายบ๋าว ทั้ง ได้ทรงสืบทอดตำแหน่งพระประมุขราชวงศ์เหงียนจนถึงปัจจุบัน


ที่มา : บรรณาลัย https://bit.ly/3ssjkdU
36  สุขใจในธรรม / สมถภาวนา - อภิญญาจิต / Re: ถาม-ตอบปัญหาธรรม กับพระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2567 14:12:10



พิจารณา
ถาม : กลางคืนหลังจากสวดมนต์ทำวัตรแล้วก็นั่งภาวนาพุทโธๆ พอตื่นขึ้นมาตอนตีสองตีสาม จะพิจารณาได้ไหมคะ

พระอาจารย์ : ได้ พิจารณาว่าเกิดมาแล้วต้องแก่ ต้องเจ็บไข้ได้ป่วย ต้องตายเป็นธรรมดา ต้องพลัดพรากจากกันเป็นธรรมดา พิจารณาทั้งตัวเราเองและคนอื่น ไม่ใช่ร่างกายของเราเท่านั้น คนที่เรารักที่เรารู้จักก็เป็นเช่นเดียวกัน คนที่เราไม่รักเราไม่รู้จักก็เป็นเช่นเดียวกัน ต้องให้เห็นว่าทุกคนเป็นเหมือนกันหมด เกิดมาแล้วต้องแก่ต้องเจ็บต้องตาย ควรเจริญสติและพิจารณาทางปัญญาในชีวิตประจำวัน ถ้าไม่เจริญสติ ก็ควรพิจารณาทางปัญญา เห็นอะไรก็คิดว่าไม่เที่ยง อย่าไปอยากได้ ถ้าอยากได้ก็จะทุกข์ ก็จะตัดกิเลสได้.


ควรทำอย่างไร
ถาม : กราบเรียนถามพระอาจารย์ ปฏิบัติต่อเนื่องมา ๑๐ ปี ไม่มีความคืบหน้า ลองมาหลายวิธีจนงงไปหมด วิธีไหนก็ไม่ได้ผล ควรทำอย่างไรต่อไปครับ

พระอาจารย์ : ก็ต้องใช้สติแหละ วิธีไหนก็ต้องเป็นวิธีสติทั้งนั้น วิธีสติก็มี ๔๐ วิธี ลองไปลองให้หมดดูซิ แต่ส่วนใหญ่สำหรับผู้เริ่มต้นนี้ ท่านก็สอนแค่ ๑๐ วิธี อนุสสติ พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ อานาปานสติ มรณานุสสติ กายคตาสติ นี่เป็นวิธีเจริญสติ เราก็เลือกเอา จะเอาอันไหน พุทโธก็ได้ ธ้มโมก็ได้ สังโฆก็ได้ หรือจะสวดอิติปิโสก็ได้ แล้วแต่ว่าเราถนัดเราชอบอย่างไหน ปัญหาอาจจะไม่ใช่วิธีมั้ง ปัญหาอาจจะอยู่ที่ว่าเราทำแบบนกกระจอกกินน้ำหรือเปล่า ทำแบบทำปุ๊บ ซักวินาทีสองวินาทีหยุดทำแล้ว แล้วก็มาบอกว่าปฏิบัติ ๑๐ ปีไม่ได้ผล
ปฏิบัติอย่างนี้ ๑,๐๐๐ ปี ก็ไม่ได้ผล ถ้าปฏิบัติแบบนกกระจอกกินน้ำ มันต้องปฏิบัติแบบเป็นเวลายาวๆ มากๆ เดินจงกรมที ๒-๓ ชั่วโมงอย่างนี้ พุทโธ นั่งนานๆ อะไรอย่างนี้ หรือเวลาไม่ได้นั่งไม่ได้เดินก็ต้องมีสติอยู่กับการกระทำของเราเรียกว่า “กายคตาสติ” หรือไม่เช่นนั้นก็ต้องมีพุทโธคอยกำกับใจ อาบน้ำก็พุทโธ ล้างหน้าก็พุทโธ แปรงฟันก็พุทโธ ถ้าทำอย่างนี้อย่างต่อเนื่อง ถ้าไม่มีผลขึ้นมา มาเตะเราได้ เพราะใช้มาแล้วมันได้ผล ขอให้มันทำแบบจริงๆ จังๆ อย่าทำแบบลูบหน้าปะจมูก ทำแบบพอหอมปากหอมคอ ทำสักแป๊บหนึ่ง ไม่ได้ผล เลิกแล้ว เปลี่ยนวิธีอีกแล้ว วิธีนี้ก็ไม่ถูก วิธีนั้นก็ไม่ถูก มันไม่ใช่ที่วิธีหรอกที่ไม่ถูก มันอยู่ที่การกระทำของเรามันไม่ถูก ทำน้อยไป ทำไม่มากพอ มันก็เลยไม่เกิดผลขึ้นมา.


การทำตาชั่งให้อยู่ตรงศูนย์
ถาม : การทำสมาธิสลับกับการพิจารณา ไม่จำเป็นต้องเป็นสมาธิที่จิตรวมเป็นหนึ่งก่อนใช่หรือไม่ คือพิจารณาสลับไปสลับมาได้เลย ถึงแม้จิตยังไม่รวมก็ตาม

พระอาจารย์ : ถ้าไม่รวมจะไม่ได้ผลเท่าที่ควร การรวมของจิตนี้ เป็นเหมือนการทำตาชั่งให้อยู่ตรงศูนย์ ตรงอุเบกขา เวลาพิจารณาจะเที่ยงตรงเหมือนกับตาชั่ง ถ้าเอียงไปทางบวกหรือทางลบ เวลาเอาของไปชั่งน้ำหนัก จะไม่ได้น้ำหนักที่แท้จริง ถ้าของหนัก ๑๐ กิโลฯ แต่ตาชั่งเอียงไปทางบวก ๑ กิโลฯ เวลาชั่งจะหนัก ๑๑ กิโลฯ จะไม่ได้ ๑๐ กิโลฯ ถ้าลบ ๑ กิโลฯ เวลาชั่งจะได้ ๙ กิโลฯ ใจก็เหมือนกัน ถ้าไม่รวมเป็นอุเบกขา จะมีอคติทั้ง ๔ คือรักชังกลัวหลงอยู่ เวลาพิจารณาจะถูกอคติทั้ง ๔ นี้หลอกล่อ ทำให้ไม่สามารถตัดได้.


ผลพลอยได้
ถาม : ถ้ารักษาใจ ปล่อยวางร่างกาย อายุจะยืนขึ้นหรือไม่

พระอาจารย์ : ผลพลอยได้มักจะเป็นอย่างนั้น คนที่รักษาใจได้ดีอายุจะยืน หลวงตาตอนนี้ก็ ๙๖ ปีแล้ว เพราะใจของท่านไม่ไปกระทบกระเทือนกับการทำงานของร่างกาย


ต้องมีสติ
ถาม : การฝึกสตินี้ ควรฝึกให้ทำอะไรช้าๆหรือเปล่าคะ

พระอาจารย์ : ทำภารกิจตามปกติ เดินไปไหนมาไหนก็เดินตามปกติ สติไวกว่าร่างกายหลาย ๑๐๐ เท่า ให้มีสติรู้อยู่กับร่างกาย ให้รู้ว่ากำลังอยู่กับร่างกายหรือเปล่า หรือกำลังคิดเรื่องอื่นแล้ว ถ้าคิดเรื่องอื่นก็ดึงกลับมาที่ร่างกาย ดึงกลับมาเรื่อยๆ ส่วนการทำงานของร่างกายก็ทำอย่างปกติ ไม่ต้องช้า ไม่เหมือนกับที่สอนกัน ให้ยกหนอ ก้าวหนอ วางหนอ ไม่จำเป็นต้องทำช้าขนาดนั้น

ถาม : เวลาทำงานมีความรู้สึกว่า ทางโลกกับทางธรรมจะสวนกัน ทางธรรมให้ปล่อยวาง จะเสร็จหรือไม่เสร็จไม่เป็นไร แต่ทางโลกให้มีความรับผิดชอบ ต้องทำให้เสร็จ

พระอาจารย์ : ทำด้วยสติ จะสำเร็จอย่างรวดเร็ว ไม่ผิดพลาด ที่ผิดพลาดเพราะไม่ได้อยู่กับงานที่กำลังทำอยู่ มัวไปกังวลกับเป้าหมาย ก็เลยไม่ได้อยู่กับงาน ทำแบบผิดๆถูกๆ ยิ่งรีบก็ยิ่งผิด ไม่ได้อยู่ในปัจจุบัน ไม่ขัดกันหรอกทางธรรมกับทางโลก ต้องมีสติทั้งงานทางโลกและงานทางธรรม ถึงจะสำเร็จลุล่วงได้ ถ้าไม่มีสติก็จะผิดพลาด จะพลั้งเผลอ ไปคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ ก็เลยไม่รู้ว่าทำถูกหรือไม่ ทางธรรมกับทางโลกถ้าเกี่ยวกับสตินี้ ไม่ขัดกัน พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า สติมีความจำเป็นในทุกกรณี ไม่ว่าจะเป็นการงานทางโลกหรือการงานทางธรรม ต้องมีสติเสมอ ถึงจะทำได้อย่างไม่ผิดพลาด ถ้าไม่มีสติก็ทำไม่ได้ เวลาเมาเหล้าแล้วเย็บผ้าได้ไหม เย็บไม่ได้หรอก ต้องมีสติ.


คุมกิเลส สู้กิเลส
ถาม : เวลานั่งสมาธิจะติดฟังเทศน์ค่ะ นั่งเองจะไม่สงบ จะฟุ้งซ่านค่ะ

พระอาจารย์ : นั่งสมาธิแล้วฟังเทศน์ไปก็ทำได้ เป็นเหมือนการทำการบ้าน สร้างพลังจิตขึ้นมาก่อน สร้างสมาธิขึ้นมาก่อน พอมีสมาธิแล้วค่อยนั่งต่อสู้กับกิเลสตัณหา ตอนนั่งฟังเทศน์เป็นการทำการบ้าน ยังไม่ได้เข้าห้องสอบ พอได้สมาธิแล้ว ก็เข้าห้องสอบสู้กับความอยากที่จะไปตรงนั้นมาตรงนี้ วันนี้ไม่ต้องไปไหน ให้อยู่เฉยๆ อยู่จุดเดียว ดูว่าจะอยู่ได้ไหม ถ้าอยู่ได้ก็แสดงว่ากิเลสตัณหาไม่ค่อยแรงไม่ค่อยมาก พอควบคุมกิเลสได้ ถ้านั่งไม่ได้ก็แสดงว่ายังสู้กิเลสไม่ได้ เพียงแต่คิดก็กลัวกิเลสแล้วใช่ไหม

ถาม : เวลานั่งเฉยๆนี่ ถ้าจิตจะคิดโน่นคิดนี่ก็ปล่อยให้คิด

พระอาจารย์ : ถ้าปล่อยให้คิดก็ยิ่งฟุ้งซ่านใหญ่เลย

ถาม : ต้องไม่คิด

พระอาจารย์ : ถ้าไม่คิดก็จะสบายเหมือนเปิดแอร์ ถ้าร้อนเราก็เปิดแอร์ เราก็พุทโธๆไป เหมือนกับเปิดแอร์ จะช่วยสกัดความคิดที่อยากจะลุกไปไหนมาไหน ถ้าทำไม่ได้ก็ต้องใช้ความอดทน จะยากมาก ถ้าพุทโธได้จะง่าย ความจริงไม่ได้พุทโธไปทั้ง ๖ ชั่วโมงหรอก พุทโธไปสักระยะหนึ่ง พอรู้สึกสบายก็หยุดได้ พอกลับมาคิดใหม่ อยากจะลุกขึ้น ก็พุทโธใหม่ ก่อนจะเข้าห้องสอบควรจะมีสติสมาธิและปัญญาบ้าง ถ้าไม่มีก็จะไม่อยากเข้าห้องสอบ.


อย่าให้เลยเถิด
ถาม : ช่วงนี้ปฏิบัติไม่ดี หมกมุ่นกับเรื่องงานมากไป ไม่อยู่กับพุทโธ ชอบอยู่กับอนาคต พรุ่งนี้จะทำอะไร ไม่อยู่ในปัจจุบัน

ตอบ : ถ้าจำเป็นต้องคิดก็คิดไป แต่ควรมีขอบเขต มีเวลา ไม่ควรปล่อยให้คิดเลยเถิด ถ้าหมดความจำเป็นแล้ว ก็ควรกลับมาอยู่ที่ปัจจุบัน มาสร้างความสงบใจให้ได้ ถ้าไม่กลับมาสร้างความสงบ ทำให้จิตรวมลงได้ ก็จะวนอยู่ในอ่างอย่างนี้ จะไปไม่ถึงไหน พอร่างกายแก่ลงไปเรื่อยๆ ก็จะอ่อนกำลังลงไปเรื่อยๆ ต่อไปก็จะปฏิบัติไม่ได้ ถ้าจำเป็นต้องหมกมุ่นกับการงาน ก็ให้เป็นชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น อย่าให้เลยเถิด พอเสร็จแล้ว ก็ต้องดึงจิตกลับมาภาวนาอย่างจริงจัง ไม่เช่นนั้นแล้วจะไม่คืบหน้า จะไม่สำเร็จลุล่วงเพราะเถลไถล ไม่เห็นความสำคัญของการปฏิบัติเท่ากับงานอื่น ถ้าจำเป็นจริงๆ ก็ต้องทำไปก่อน แต่ไม่มีอะไรที่จำเป็นตลอดเวลา ถ้าต้องทำงานเพื่อเก็บเงินเก็บทองไว้ใช้กับการปฏิบัติ ก็ต้องทำไปก่อน พอบรรลุเป้าหมายแล้ว ก็ควรจะหยุดหรือทำให้น้อยลงไป มาทำงานทางจิตให้มากขึ้น.


อยู่ที่สติตัวเดียว
ถาม : ฟังดูง้ายง่าย แต่ทำย๊ากยาก

พระอาจารย์ : อยู่ที่สติตัวเดียว สติอยู่กับงานที่ทำอยู่อย่างต่อเนื่อง ไม่ไปคิดเรื่องอื่น.


ไม่มีภาชนะรองรับธรรม
ถาม : อยากจะเอาลูกมากราบท่าน แต่ไม่รู้จะเอามายังไง

พระอาจารย์ : ปล่อยเขาไปเถิด เป็นวิบากของเขา ไม่มีภาชนะที่จะรองรับธรรมะ ชอบกันคนละอย่าง ได้มาเจอกัน มาอาศัยอยู่บ้านเดียวกัน แต่ความรู้สึกนึกคิดต่างกัน เหมือนฟ้ากับดิน ช่วยไม่ได้ มันเป็นอย่างนั้น เข้าใจว่าแม่ของพระสารีบุตรหรือแม่ของพระโมคคัลลาน์ ก็ไม่ได้มีศรัทธา   ช่วยไม่ได้ เป็นเรื่องของการสะสมบุญบารมี สะสมมามากน้อยเพียงไรก็จะส่งผลให้เป็นไปดังที่เห็นกัน ตัดใจดีกว่า จะได้ไม่ทุกข์ใจ แต่ไม่ปล่อยปละละเลย ดูแลกันไป ถ้าจะดิ้นรนเข้ากองไฟก็ห้ามเขาไม่ได้ ไม่ได้เฝ้าตลอด ๒๔ ชั่วโมง ถ้าใจเขารักอะไรก็ต้องไปหาสิ่งนั้น.


ทำไมจิตที่บรรลุธรรมแล้วไม่กลับมาเป็นปุถุชน
คำถาม : ทำไมจิตที่บรรลุธรรมแล้วไม่สามารถกลับมาเป็นปุถุชนได้ครับ การปิดอบายภูมิหมายถึงอย่างไรครับ และสามารถทดสอบได้ไหมครับ

พระอาจารย์ : อ๋อ ไม่ใช่ไม่สามารถหรอก ไม่อยากมากกว่า เหมือนคนที่ออกจากกองไฟแล้วไม่อยากจะกลับเข้าไปในกองไฟใหม่ เหมือนคนที่เข้าไปอยู่ห้องแอร์แล้ว ไม่อยากจะออกมาอยู่ข้างนอกแล้ว เพราะคนที่บรรลุธรรมนี้จะเข้าสู่สภาพที่สุขที่เย็น จิตที่มีความสุขมีความเย็น จะไม่อยากกลับไปสู่สภาพของจิตที่ร้อนที่วุ่นวาย


วุ่นวายกับเรื่องภายนอก
ถาม : ช่วงนี้ภาวนาไม่ดี

พระอาจารย์ : เพราะไปวุ่นวายกับเรื่องภายนอก ต้องพิจารณาว่ามันเป็นธรรมดา อย่าไปกังวลกับมันมากเกินไป เราแก้มันไม่ได้ แก้ส่วนของเราดีกว่า ทำใจเราไม่ให้กระเพื่อม พอใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ขึ้นก็พอใจ ลงก็พอใจ อย่าเอาแต่ขึ้นอย่างเดียว พอลงก็จะไม่พอใจ.
37  สุขใจในธรรม / บทสวด - คัมภีร์ คาถา - วิชา อาคม / บทสวด โคตะมะกะเจติยะธัมมะปะริยาโย เมื่อ: 21 กุมภาพันธ์ 2567 12:29:02


โคตะมะกะเจติยะธัมมะปะริยาโย

อะภิญญายะ  โข โส  ภะคะวา ธัมมัง  เทเสติ  โน อะนะภิญญายะ

สะนิทานัง  ธัมมัง เทเสติ  โน  อะนิทานัง สัปปาฏิหาริยัง  ธัมมัง  เทเสติ

โน  อัปปาฏิหาริยัง  ตัสสะ โข  ปะนะ  ภะคะวะโต  อะภิญญายะ  ธัมมัง

เทสะยะโต  โน   อะนะภิญญายะ  สะนิทานัง  ธัมมัง  เทสะยะโต  โน

อะนิทานัง สัปปาฏิหาริยัง  ธัมมัง  เทสะยะโต โน  อัปปาฏิหาริยัง  กะระ-

ณีโย  โอวาโท  กะระณียา  อะนุสาสะนี  อะลัญจะ  ปะนะ  โน ตุฏฐิยา

อะลัง  อัตตะมะนะตายะ  อะลัง  โสมะนัสสายะ สัมมาสัมพุทโธ

ภะคะวา  สวากขาโต  ภะคะวะตา   ธัมโม  สุปะฏิปันโน  สังโฆติ ฯ


        มะหาการุณิโก  นาโถ                อัตถายะ  สัพพะปาณินัง

        ปูเรตวา  ปาระมี  สัพพา               ปัตโต  สัมโพธิมุตตะมัง

        เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ                  มา โหนตุ  สัพพุปัททะวา

        มะหาการุณิโก  นาโถ                   หิตายะ  สัพพะปาณินัง

        ปูเรตวา  ปาระมี  สัพพา                ปัตโต  สัมโพธิมุตตะมัง

        เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ                  มา โหนตุ  สัพพุปัททะวา

        มะหาการุณิโก นาโถ                    สุขายะ  สัพพะปาณินัง

        ปูเรตวา  ปาระมี  สัพพา                ปัตโต  สัมโพธิมุตตะมัง

        เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ                  มา โหนตุ สัพพุปัททะวา ฯ


ที่มา วัดโพรงจระเข้ ตรัง
38  สุขใจในธรรม / ไขปัญหาโลก ธรรม และความรัก / Re: พิจารณาให้เห็นตามเป็นจริง โดย พระภาวนาสุตาภิรัต (ชอบ พุทฺธสโร) เมื่อ: 21 กุมภาพันธ์ 2567 12:20:44


พิจารณาให้เห็นตามเป็นจริง
โดย พระภาวนาสุตาภิรัต (ชอบ พุทฺธสโร)
วัดพิชโสภาราม ต.แก้งเหนือ อ.เขมราฐ อ.อุบลราชธานี


            ถ้าบุคคลใดมีความเพียร บางครั้งเรายังมองไม่เห็นความสำเร็จ ขณะที่เรายังประพฤติปฏิบัติธรรม เหมือนว่าสมาธินั้นมันไกลเหลือเกิน เหมือนว่าการบรรลุมรรคผลมันไกลเหลือเกิน แต่เมื่อเราทำสมาธิได้ เราสามารถเข้าสมาธิได้ สมาธินั้นมันก็ถือว่าใกล้ ก่อนที่เรายังไม่ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน ก็เหมือนกับว่าโลกิยะกับโลกุตตระนั้นมันไกลกันเหลือเกิน มันไม่สามารถที่จะไปถึงกันได้ แต่ถ้าบุคคลใดมีความเพียรเจริญวิปัสสนากรรมฐานแล้ว ได้บรรลุมรรคผลนิพพานแล้วมันก็เหมือนกับใกล้ เพราะฉะนั้นก็ขอให้คณะครูบาอาจารย์ตลอดถึงญาติโยมทั้งหลายได้ตั้งอกตั้งใจในการประพฤติปฏิบัติธรรม วันนี้ก็ถือว่าเป็นราตรีที่ ๘ แล้ว ก็ขอให้ตั้งอกตั้งใจ พรุ่งนี้ก็จะได้ฟังการบรรยายแว่นธรรม ก็ถือว่าเป็นวันสรุปวันสุดท้าย ก็ขอให้คณะครูบาอาจารย์ได้ตั้งใจประพฤติปฏิบัติ
39  สุขใจในธรรม / ไขปัญหาโลก ธรรม และความรัก / พิจารณาให้เห็นตามเป็นจริง โดย พระภาวนาสุตาภิรัต (ชอบ พุทฺธสโร) เมื่อ: 21 กุมภาพันธ์ 2567 12:19:45



พิจารณาให้เห็นตามเป็นจริง
โดย พระภาวนาสุตาภิรัต (ชอบ พุทฺธสโร)
วัดพิชโสภาราม ต.แก้งเหนือ อ.เขมราฐ อ.อุบลราชธานี

            ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นพระอรหันต์ ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง แม้ปรินิพพานนานแล้ว พร้อมทั้งพระธรรม และพระสงฆ์ ด้วยเศียรเกล้า ขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูลผลจงบังเกิดมีแก่คณะครูบาอาจารย์ตลอดถึงญาติโยมทั้งหลายผู้มาประพฤติปฏิบัติธรรมร่วมกันทุกท่านทุกคน

            ก่อนที่จะได้กล่าวธรรมะในวันนี้ก็ขอทำความเข้าใจกับคณะครูบาอาจารย์ ขอให้คณะครูบาอาจารย์ทั้งหลายได้นั่งสมาธิฟัง ขอให้คณะครูบาอาจารย์ทั้งหลายจงยังจิตให้เกิดความเชื่อมั่นในตัวเอง คิดว่าเราทั้งหลายเกิดมาล้วนก็มีความทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น แต่โอกาสที่เราจะประพฤติปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นทุกข์นั้นก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ยากนักยากหนา โอกาสที่เราจะได้เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา หรือว่าเราเกิดมาแล้วเราทั้งหลายจะได้พบครูบาอาจารย์ผู้แนะนำพร่ำสอนหนทาง หลักการ หรือว่าวิธีการที่เราทั้งหลายจะได้บรรเทาทุกข์หรือว่าพ้นไปจากความทุกข์นั้น ถือว่าเป็นสิ่งยากนักยากหนา

            ขอให้คณะครูบาอาจารย์ทั้งหลายได้นั่งสมาธิฟัง ตั้งใจฟังแล้วก็ทำความเชื่อมั่นในตนเอง คิดว่าเราจะทำความพยายามที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ เรามีตามีหูมีจมูกมีลิ้นมีกายเท่ากัน เราควรที่จะทำสมาธิให้เกิดขึ้นมา เราควรที่จะทำวิปัสสนาญาณให้เกิดขึ้นมา เราควรที่จะทำปัญญาหรือว่าการบรรลุมรรคผลนิพพานให้เกิดขึ้นมา เมื่อเราทำจิตให้เกิดความอุตสาหะในลักษณะเช่นนี้ ความเพียรก็จะเกิดขึ้น ความอุตสาหะก็จะเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น ขอให้คณะครูบาอาจารย์ทั้งหลายได้ตั้งใจฟัง ก่อนอื่นก็ขออภัยที่ได้นำคณะครูบาอาจารย์ได้ไปสักการะพระเดชพระคุณหลวงพ่อ

            แล้วก็ขออภัยที่กระผมไม่สามารถที่จะมาบรรยายธรรมให้คณะครูบาอาจารย์ได้ฟังประจำทุกวัน ก็เพราะว่าได้เป็นพระของสังคม ได้เป็นรองเจ้าอาวาส ต้องรับหน้าที่ดูแลอะไรต่าง ๆ มากมาย เมื่อเจ้าอาวาสท่านได้เลื่อนสมณศักดิ์ เราผู้เป็นรองเจ้าอาวาสหรือเป็นลูกศิษย์ลูกหาก็ต้องขวนขวายสุดความสามารถเท่าที่เราจะทำได้ เพราะฉะนั้น ได้นำคณะครูบาอาจารย์ทั้งหลายไปสักการะพระเดชพระคุณหลวงพ่อก็ถือว่าเป็นบุญเป็นกุศล ครูบาอาจารย์บางรูปอาจจะคิดว่าเสียกรรมฐานหรือว่าเสียรูปแบบการปฏิบัติ ในลักษณะเช่นนี้ไม่เคยมีมาตั้งแต่เริ่มประพฤติปฏิบัติธรรม เรียกว่าตั้งแต่กระผมนำออกเผยแผ่ ไม่เคยมีว่านำคณะครูบาอาจารย์ไปสักการะรูปโน้นรูปนี้ แต่นี่ถือว่าเป็นกรณีพิเศษ

            พระเดชพระคุณหลวงพ่อถือว่าเป็นบิดาทางธรรมที่ชี้แนะหลักการต่าง ๆ ให้กระผมและคณะครูบาอาจารย์ทั้งหลายได้เข้าใจในหลักการประพฤติปฏิบัติ ฉะนั้นก็ถือว่าเป็นบุญของพวกเราทั้งหลายที่ได้ไปสักการะท่าน เพราะฉะนั้นก็ขอให้คณะครูบาอาจารย์ได้ดีอกดีใจ แล้วก็ขอประชาสัมพันธ์ให้คณะครูบาอาจารย์แล้วก็ทำความเข้าใจกับคณะครูบาอาจารย์ว่า พวกเราทั้งหลายที่มาประพฤติปฏิบัติธรรมรวมกันอยู่ในที่นี้ ทำไมเราทั้งหลายจึงมาประพฤติปฏิบัติธรรม ไหว้พระ ทำวัตร สวดมนต์ เจริญภาวนารวมกัน ก็เพราะว่าพวกเราทั้งหลายนั้นมีความทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น เป็นพระ เป็นเณร เป็นญาติเป็นโยม ก็มีความทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น แต่พวกเราทั้งหลาย บางรูปบางท่านอาจจะมีความทุกข์มาก บางท่านอาจจะมีความทุกข์น้อย บางท่านอาจจะมีความทุกข์กาย บางรูปบางท่านก็อาจจะมีความทุกข์ใจ ล้วนแต่มีความทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น เพราะฉะนั้น เมื่อเรามีความทุกข์ เราทั้งหลายก็มาประพฤติปฏิบัติธรรมเพื่อหาหนทางแห่งความพ้นทุกข์

            หลักการและวิธีการที่จะหาทางแห่งความพ้นทุกข์นั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัสให้เรานั้นเข้าหาบัณฑิต ใครเป็นบัณฑิต ? บัณฑิตนั้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัสว่า พระพุทธเจ้าเป็นบัณฑิต พระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นบัณฑิต พระอรหันต์และอริยสาวกทั้งหลายเป็นบัณฑิต หรือบุคคลผู้เจริญรอยตามพระพุทธเจ้า ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้านั้นถือว่าเป็นบัณฑิต

            พวกเราทั้งหลายได้มาสู่หนทางแห่งการประพฤติปฏิบัติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ถือว่าเป็นหนทางแห่งความพ้นทุกข์ เพราะว่าการประพฤติปฏิบัติธรรม ถ้าเราไม่รู้หลักการที่แท้จริง เวลาประพฤติปฏิบัติธรรม การที่จะได้บรรลุมรรคผลนิพพาน การที่จะพ้นไปจากความทุกข์นั้นก็เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก ในประเทศไทยของเราก็มีมากมายหลายสำนัก เรียกว่ามีมากเหลือกว่าที่เราจะมาพรรณนา บางสำนักก็คิดว่าตนเองปฏิบัติดีที่สุด แต่ถ้าเราไปอยู่ในสำนักใด

            เมื่อเราประพฤติปฏิบัติธรรมแล้วจิตใจของเรายังไม่สงบ จิตใจของเรายังไม่สามารถที่จะพ้นไปจากความทุกข์ได้ เราก็ควรที่จะเปลี่ยนกรรมฐาน อย่างเช่นกรรมฐานที่ท่านภาวนาว่า พุทโธ แต่ว่าจิตไม่สงบก็สามารถที่จะเปลี่ยนเป็นยุบหนอ พองหนอ ได้ แต่ถ้าเราบริกรรมยุบหนอ พองหนอ ไม่สงบ เราก็อาจจะเปลี่ยนเป็น นะมะพะธะ สัมมา อรหัง อย่างนี้ก็ได้ อันนี้เรียกว่าหลักการยังไม่แน่นอน

            แต่ที่นำมาแนะนำคณะครูบาอาจารย์นี้ถือว่าเป็นหลักการที่แน่นอน เรียกว่าเป็นสติปัฏฐาน ๔ คือการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน การเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั้นไม่เลือกจริต ไม่เลือกว่าเป็นโทสจริต ไม่เลือกว่าเป็นโมหจริต ไม่ว่าเป็นจริตอะไรก็สามารถที่จะประพฤติปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานได้ เพราะฉะนั้น คณะครูบาอาจารย์ที่มาประพฤติปฏิบัติธรรมนี้ก็ถือว่ามาประพฤติปฏิบัติตามหลักการที่คณะครูบาอาจารย์กลั่นกรองดีแล้ว คณะครูบาอาจารย์แนะนำมาดีแล้วได้พิสูจน์ดีแล้ว โดยเฉพาะการเดินจงกรม ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ ก็ดี หรือว่าการบริกรรมในลักษณะที่คณะครูบาอาจารย์บริกรรมพองหนอ ยุบหนอ ก็ดี ถือว่าได้พิสูจน์มาแล้วเป็นเวลาตั้งหลายปี

            ตั้งแต่เจ้าคุณพระธรรมธีรราชมหามุนีจนถึงพระเดชพระคุณหลวงพ่อที่สอนมาแล้วสามสิบกว่าปี การประพฤติปฏิบัติธรรมก็ปรากฏผลอย่างที่พวกเราทั้งหลายได้รู้ได้เห็นกัน เพราะฉะนั้น การประพฤติปฏิบัติ สิ่งสำคัญที่สุดเราต้องเข้าไปหาสำนักที่มีครูบาอาจารย์ผู้รู้แจ้งเห็นจริง นี่เป็นประการที่หนึ่ง อย่างเช่นพระเดชพระคุณหลวงพ่อเราที่ได้แนะนำพร่ำสอนก็ถือว่าเป็นบุคคลผู้ที่เคยประพฤติปฏิบัติมาก่อน

            ขอให้คณะครูบาอาจารย์ได้ดีอกดีใจที่เราทั้งหลายได้มาประพฤติปฏิบัติตามหลักของพระเดชพระคุณหลวงพ่อหรือตามหลักของครูบาอาจารย์ที่ท่านเคยเจริญมาแล้ว แล้วอีกประการหนึ่ง เวลาเรามาประพฤติปฏิบัติธรรมนั้นเราต้องมีหลัก หลักของการประพฤติปฏิบัติธรรมนั้นท่านกล่าวไว้ ๔ ประการ คือหนึ่ง เราต้องยึดกาย ต้องมีสติเห็นกายของเราอยู่ตลอดเวลา เรียกว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

            เราจะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน เราก็ต้องมีสติกำหนดพิจารณากายอยู่ตลอดเวลา เราจะคู้จะเหยียดจะก้มจะเงย ต้องพิจารณาอาการคู้ อาการเหยียด อาการก้ม อาการเงยนั้นอยู่ตลอดเวลา เรียกว่าพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป ในลักษณะอย่างนี้ เรากำหนดอาการพองอาการยุบ เรากำหนดเพื่ออะไร เรากำหนดเพื่อที่จะทำจิตทำใจของเราให้เป็นสมาธิ เมื่อจิตใจของเราเป็นสมาธิแล้ว เราจะได้เห็นรูปนามนั้นเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อันนี้เป็นจุดมุ่งหมายของการประพฤติปฏิบัติธรรม

            เพราะฉะนั้นเวลาประพฤติปฏิบัติธรรม ท่านจึงให้เรามีสติอยู่ที่กายตลอดเวลา ประการที่สอง ท่านให้เรามีสติพิจารณาเห็นเวทนาอยู่ตลอดเวลา ขณะที่จิตใจของเราเกิดความไม่ชอบใจเกิดความทุกข์ขึ้นมา เมื่อความทุกข์เกิดขึ้นมาก็ถือว่าเป็นทุกขเวทนา เช่น เกิดความโกรธขึ้นมา ก็ถือว่าเป็นทุกขเวทนาแล้ว เกิดราคะขึ้นมา ถูกไฟราคะมันแผดเผาก็เป็นทุกข์แล้ว กระวนกระวายกระสับกระส่าย

            เราต้องกำหนดที่เวทนานั้น กำหนดว่า โกรธหนอ ๆ หรือว่า ราคะหนอ ๆ พิจารณาเห็นความโกรธที่มันเกิดขึ้นมาในใจของเรา เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วมันตั้งอยู่อย่างไร เมื่อตั้งอยู่แล้วมันดับไปอย่างไร หรือเราเกิดราคะขึ้นมาเราต้องพิจารณาที่ใจของเราว่าราคะมันเกิดขึ้นมาอย่างไรแล้วมันดับลงไปอย่างไร เวลาเราเกิดมานะ ทิฏฐิ ตัณหา อะไรต่าง ๆ ก็เหมือนกัน ท่านให้พิจารณาดูที่จิตใจของเราว่า ทิฏฐิมันเกิดขึ้นมาเพราะเรานึกอย่างไร เราคิดอย่างไร เราเห็นอย่างไร เราได้ฟังอย่างไร ทิฏฐิมันเกิดขึ้นมา เมื่อทิฏฐิมันเกิดขึ้นมามันตั้งอยู่ด้วยอำนาจอย่างไร แล้วมันดับลงไปอย่างไร นี่ท่านให้พิจารณาดูที่จิตใจของเรา

            เราจะเห็นว่าสิ่งเหล่านี้มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เมื่อเราเห็นสิ่งเหล่านี้มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เราจะเข้าใจว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงแต่เวทนา เป็นเพียงแต่ความนึกคิด เป็นเพียงแต่จิตของเราปรากฏขึ้นตั้งอยู่ดับไป นี่ในลักษณะของการประพฤติปฏิบัติธรรม เมื่อเวทนาปรากฏชัดเราก็กำหนดเวทนา แต่เมื่อจิตของเราปรากฏชัดเราก็กำหนดจิตของเรา เรียกว่าเห็นความเกิดขึ้นของเวทนา เห็นความตั้งอยู่ของเวทนา เห็นความดับไปของเวทนา เห็นความเกิดขึ้นของจิต เห็นความตั้งอยู่ของจิต แล้วก็เห็นความดับไปของจิต นี่ในลักษณะอย่างนี้ก็ถือว่าเป็นการเจริญวิปัสสนาตามหลักของการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน

            หรือว่าเราพิจารณาธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เราพิจารณาขันธ์ ๕ พิจารณารูป พิจารณาเวทนา พิจารณาสัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าสิ่งเหล่านี้เปรียบเสมือนกับพยับแดด ปรากฏขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่มีอะไรเป็นสิ่งที่จีรังยั่งยืน นี่ถ้าเราพิจารณาเท่านี้ก็เพียงพอต่อการที่จะเบื่อหน่าย ต่อการที่จะคลายกำหนัด ว่าไม่มีอะไรเป็นของจีรังยั่งยืน นี่ถ้าเราพิจารณาเพียงเท่านี้จิตใจของเราก็จะสลดสังเวช

            แต่ถ้าเราไม่ตั้งใจพิจารณา ปล่อยจิตปล่อยใจไปตามอารมณ์ตามธรรมชาติ ความรู้แจ้งเห็นจริง ความเข้าใจในสัจจธรรมมันก็ไม่ปรากฏขึ้นมา เพราะว่าสิ่งเหล่านี้มันถูกปกปิดถูกซ่อนเร้นด้วยความชอบใจด้วยความพอใจ ถ้าเราชอบใจสิ่งใดพอใจสิ่งใด เราจะหลงไหลหมกมุ่นกับสิ่งนั้น แล้วเราจะไม่เห็นสิ่งนั้นตามความเป็นจริง

            เพราะฉะนั้นท่านจึงให้เราพิจารณาเพิกความพอใจเพิกความเสียใจนั้นออก เราจึงจะเห็นตามความเป็นจริง แล้วก็การประพฤติปฏิบัติธรรม นอกจากเราจะพิจารณาเห็นกายก็ดี เห็นเวทนาก็ดี เห็นจิตก็ดี เห็นธรรมก็ดี เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปแล้ว ท่านให้เรานั้นพิจารณาอายตนะ เรียกว่าพิจารณาอายตนะคือตา คือหู คือจมูก คือลิ้น คือกาย ของเรานั้นว่าเป็นที่เกิดของบุญและบาป แล้วก็เป็นที่เชื่อมโยงของบุญและบาป บุญบาปมันก็เกิดขึ้นที่ตรงนี้ ศีล สมาธิ ปัญญา ก็เกิดที่ตรงนี้

            ศีลก็ดี สมาธิก็ดี ปัญญาก็ดี จะว่าอยู่ใกล้ก็ใกล้ จะว่าอยู่ไกลก็ไกล แต่ว่าไม่เกินเอื้อม ไม่เกินความไขว่คว้าของเรา เพราะว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัสธรรมคือมรรคมีองค์ ๘ อริยสัจ ๔ นั้น ตรัสไว้ในโลกมนุษย์ของเรา ให้พวกเราทั้งหลายนี่แหละเป็นผู้ประพฤติปฏิบัติตามให้รู้แจ้งเห็นจริง

            หลักที่พระองค์ทรงตรัสไว้นั้นเหมาะพอดี สมควรพอดีแก่อุปนิสัยที่พวกเราทั้งหลายจะทำการรู้แจ้ง เพราะฉะนั้น ตาก็ดี หูก็ดี จมูกก็ดี ลิ้นก็ดี กายก็ดี ใจก็ดี อันนี้แหละถือว่าเป็นก้อนอริยสัจ เรียกว่าอริยสัจ ๔ เกิดที่ตรงนี้ มรรคมีองค์ ๘ เกิดอยู่ที่ตรงนี้ การบรรลุมรรคผลนิพพานต่าง ๆ ก็เกิดอยู่ที่ตรงนี้

            ขอให้คณะครูบาอาจารย์คิดว่าเรานั้นมีตา มีหู มีจมูก มีลิ้น มีกาย อันเป็นหลักแห่งการบรรลุมรรคผลนิพพานด้วยกันทั้งนั้น ก็ขอให้เราทั้งหลายอย่าได้ประมาท อย่าประมาทในการดู อย่าประมาทในการฟัง อย่าประมาทในการลิ้มรส อย่าประมาทในการสัมผัสทางกาย อย่าประมาทในการสัมผัสทางใจ นี้แหละเป็นหนทางแห่งนรก เปรต อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉาน หรือว่าเป็นหนทางแห่งมนุษย์ แห่งสวรรค์ แห่งพรหมโลก แล้วก็พระนิพพาน อยู่ตรงนี้เอง

            พวกเราทั้งหลายที่มาประพฤติปฏิบัติธรรม ถ้าพวกเราทั้งหลายไม่ประมาทในอายตนะดังกล่าวแล้ว ก็สามารถที่จะทำที่พึ่งของตนเองได้ ธรรมะทั้งแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์เกิดขึ้นมาที่อายตนะทั้งหกนี้ ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของกิเลส ก็เกิดขึ้นที่อายตนะทั้งหกนี้ ความดับไปของกิเลสก็เกิดขึ้นที่อายตนะทั้งหกนี้ เรียกว่าธรรมะทั้งแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ก็เกิดขึ้นที่อายตนะทั้งหกนี้

            สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่พวกเราทั้งหลายควรคิดควรพิจารณา ว่าพระพุทธเจ้าพระองค์ทรงบรรลุธรรมที่ไหน ก็ที่อายตนะนี้ พระปัจเจกพุทธเจ้าบรรลุธรรมที่ไหน ก็บรรลุที่อายตนะนี้ หรือพระอริยสาวกทั้งหลายก็บรรลุที่อายตนะนี้ จะเป็นเด็ก เป็นหญิง เป็นชาย เป็นพระ เป็นเณร ก็บรรลุที่อายตนะนี้ สิ่งที่พวกเราทั้งหลายมีถ้วนหน้ากัน มีพื้นฐานของวิปัสสนากรรมฐาน มีพื้นฐานของกรรมฐานด้วยกันทั้งนั้น แต่ว่าเราจะสามารถทำอายตนะของเรานั้นให้เป็นอายตนะที่เป็นสะพานเชื่อมโยงไปสู่สวรรค์ มรรคผลพระนิพพานได้หรือไม่ เราสามารถที่จะทำอายตนะที่เป็นโลกิยะให้เป็นอายตนะที่เป็นโลกุตตระได้หรือไม่ พระพุทธเจ้าพระองค์ก็ทรงมีอายตนะเหมือนกัน

            พระอรหันต์ก็มีอายตนะเหมือนกัน แต่เป็นโลกุตตระอายตนะ คืออายตนะที่เหนือโลกแล้ว เป็นอายตนะที่ถอนอุปาทาน เป็นอายตนะที่ถอนกิเลสพันห้าตัณหาร้อยแปดแล้ว เรียกว่าเห็นสักแต่ว่าเห็น ได้ยินสักแต่ว่าได้ยิน เป็นอายตนะเย็น ไม่ใช่เป็นอายตนะร้อน เป็นอายตนะที่ไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่ใช่เป็นอายตนะที่ยึดมั่นถือมั่น เพราะฉะนั้น อายตนะของท่านผู้ที่ประพฤติปฏิบัติธรรมคือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือเหล่าสาวกทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้น จึงเป็นอายตนะเพื่อที่จะทำประโยชน์ให้เกิดขึ้นแก่สังคม เป็นอายตนะเพื่อเกื้อกูลสรรพสัตว์ทั้งหลายให้เกิดความสุขเกิดความร่มเย็น เกิดความเจริญก้าวหน้าในทางศีลในทางธรรม ไม่ใช่เป็นอายตนะเพื่อเบียดเบียนบุคคลอื่น ไม่ใช่เป็นอายตนะเพื่อยังสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงให้เร่าร้อนด้วยอายตนะการกระทำของตนเอง เพราะฉะนั้น อายตนะของผู้ประพฤติปฏิบัติธรรมนั้น ท่านให้เป็นอายตนะเย็น คือดับเสียซึ่งความร้อนทั้งหลายทั้งปวง

            ความร้อนในโลกของเรานั้น พระองค์ทรงตรัสว่าความร้อนด้วยอำนาจของไฟคือราคัคคิ เรียกว่าไฟคือราคะนั้นร้อน ไม่ปรากฏเถ้า ไม่ปรากฏถ่าน ไม่ปรากฏควัน แต่เผาบุคคลผู้ถูกราคะเผานั้น เผาทั้งกลางวัน เผาทั้งกลางคืน เผาทั้งขณะที่ยืน ทั้งขณะที่เดิน ทั้งขณะที่นั่ง เผาทั้งในขณะที่นอน เรียกว่าโอกาสที่จะว่างเว้นจากการเผาของราคะนั้นหายาก เพราะฉะนั้นไฟคือดวงอาทิตย์ ร้อนเฉพาะกลางวัน กลางคืนก็ดับ เปลวเพลิงที่เกิดขึ้นมาจากถ่านจากเชื้อ ก็ร้อนเฉพาะในเวลาที่มีถ่านมีเชื้อ

            แต่ราคะนั้นเผาอยู่ตลอดเวลา ไฟคือโทสะเผาจิตเผาใจของบุคคลนั้นอยู่ตลอดเวลาไม่เหมือนกับไฟที่อยู่ข้างนอก เพราะฉะนั้นไฟคือกิเลสนี่แหละองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์จึงทรงตรัสว่าเป็นไฟที่น่ากลัว เรียกว่าเป็นภัยร้ายในวัฏฏสงสาร เพราะฉะนั้น พวกเราทั้งหลายที่มาประพฤติปฏิบัติธรรม

            ก็ขอให้พวกเราทั้งหลายจงพยายามเข้าใจว่าสิ่งเหล่านี้ มีความทุกข์เป็นต้นที่เกิดขึ้นมากับเรา ไม่ใช่เกิดขึ้นมาจากอย่างอื่น เกิดขึ้นมาจากจิตใจภายในของเรานี้เอง เพราะฉะนั้นขอให้เราทั้งหลายได้ตื่นตัว ถ้าเราอยากจะพ้นไปจากความทุกข์จริง ๆ ก็ต้องตื่นตัว หนทางแห่งความพ้นทุกข์นั้นมีจริง แต่พวกเราทั้งหลายจะประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นได้มากน้อยขนาดไหน อันนี้เป็นเรื่องที่คณะครูบาอาจารย์จะต้องพินิจพิจารณาต่อสู้ไป เรียกว่า วิริเยน ทุกขมจฺเจติ คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร ไม่มีอะไรที่เราทั้งหลายจะไม่สามารถที่จะทำได้ถ้าเรามีความเพียร

            ดังที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัสว่า ถ้าบุคคลใดมีความเพียร บุคคลนั้นก็ต้องประสบกับความสำเร็จ เหมือนกับบุรุษคนหนึ่ง ในสมัยนั้น พระโพธิสัตว์นั้นเป็นพ่อค้าเกวียน เป็นหัวหน้านำเกวียน ๕๐๐ เล่มเดินผ่านทะเลทราย ขี่เกวียนผ่านทะเลทราย แต่ในขณะเวลากลางวันนั้นไม่สามารถที่จะผ่านทะเลทรายได้ เพราะทะเลทรายนั้นร้อนเหลือเกิน ต้องจอดเกวียนแล้วก็พักผ่อนในเวลากลางวัน ถึงเวลากลางคืนก็เดินทาง แต่เมื่อพิจารณาว่าทะเลทรายนั้นมันเดินยากเหลือเกิน

            พระโพธิสัตว์คำนวณว่าเดินตลอดทั้งกลางคืนนี้ก็สามารถที่จะผ่านพ้นทะเลทรายได้ จึงได้เอาเสบียงมีน้ำมีอาหารเป็นต้นทิ้ง เพราะว่าเกวียนนั้นจะสามารถผ่านพ้นไปได้ จะไม่หนักจนเกินไป เมื่อทิ้งเสบียงทั้งหลายทั้งปวงแล้วก็ปล่อยโคเดินไป ขณะที่โคเดินไปนั้นพระโพธิสัตว์เกิดม่อยหลับไป เกวียนนั้นก็หมุนมาทางเดิม หลงทาง ก็ไม่สามารถที่จะผ่านพ้นไปได้ ในที่สุดก็อยู่ที่ทะเลทราย ไม่มีน้ำที่จะกิน

            พระโพธิสัตว์ก็สำรวจตรวจตราดู เห็นหย่อมหญ้าขึ้นมาหย่อมหนึ่ง คิดว่าที่นี่คงจะมีความชื้น เมื่อมีความชื้นข้างล่างน่าจะมีกระแสของน้ำ ลำธารของน้ำ ก็ขุดทะเลทรายลงไป โดยมีลูกจ้างคนหนึ่งอาสาขุด ขุดลงไปก็ไปเจอแผ่นหิน เมื่อเจอแผ่นหินคนทั้งหลายทั้งปวงก็ทอดอาลัย คิดว่าเราทั้งหลายทั้งปวงคงจะต้องตายอยู่ที่ทะเลทรายแล้ว แต่ทาสคนนั้นก็หาย่อท้อไม่ ก็เอาหูแนบลงที่แผ่นหิน รู้ว่ามีเสียงของน้ำ ก็ทำลายแผ่นหินนั้นด้วยกำลังของตน ทำให้น้ำนั้นพุ่งขึ้นมา ทำให้พ่อค้าทั้ง ๕๐๐ นั้นรอดพ้นจากความตายเพราะความเพียร

            ถ้าบุคคลใดมีความเพียร บางครั้งเรายังมองไม่เห็นความสำเร็จ ขณะที่เรายังประพฤติปฏิบัติธรรม เหมือนว่าสมาธินั้นมันไกลเหลือเกิน เหมือนว่าการบรรลุมรรคผลมันไกลเหลือเกิน แต่เมื่อเราทำสมาธิได้ เราสามารถเข้าสมาธิได้ สมาธินั้นมันก็ถือว่าใกล้ ก่อนที่เรายังไม่ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน ก็เหมือนกับว่าโลกิยะกับโลกุตตระนั้นมันไกลกันเหลือเกิน มันไม่สามารถที่จะไปถึงกันได้ แต่ถ้าบุคคลใดมีความเพียรเจริญวิปัสสนากรรมฐานแล้ว ได้บรรลุมรรคผลนิพพานแล้วมันก็เหมือนกับใกล้ เพราะฉะนั้นก็ขอให้คณะครูบาอาจารย์ตลอดถึงญาติโยมทั้งหลายได้ตั้งอกตั้งใจในการประพฤติปฏิบัติธรรม วันนี้ก็ถือว่าเป็นราตรีที่ ๘ แล้ว ก็ขอให้ตั้งอกตั้งใจ พรุ่งนี้ก็จะได้ฟังการบรรยายแว่นธรรม ก็ถือว่าเป็นวันสรุปวันสุดท้าย ก็ขอให้คณะครูบาอาจารย์ได้ตั้งใจประพฤติปฏิบัติ
40  สุขใจในธรรม / บทสวด - คัมภีร์ คาถา - วิชา อาคม / บทสวด เมตตานิสังสะสุตตะปาโฐ เมื่อ: 15 กุมภาพันธ์ 2567 18:24:43


เมตตานิสังสะสุตตะปาโฐ

               เอวัมเม  สุตัง ฯ  เอกัง  สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง

        วิหะระติ  เชตะวะเน  อะนาถะปิณฑิกัสสะ  อาราเม ฯ  ตัตระ  โข

        ภะคะวา ภิกขู  อามันเตสิ  ภิกขะโวติ ฯ  ภะทันเตติ  เต  ภิกขู

        ภะคะวะโต  ปัจจัสโสสุง  ภะคะวา  เอตะทะโวจะ

                เมตตายะ  ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา  อาเสวิตายะ  ภาวิตายะ

        พะหุลีกะตายะ  ยานีกะตายะ  วัตถุกะตายะ อะนุฏฐิตายะ  ปะริจิตายะ

        สุสะมารัทธายะ  เอกาทะสานิสังสา  ปาฏิกังขาฯ  กะตะเม  เอกาทะสะ ฯ

        สุขัง  สุปะติ  สุขัง  ปะฏิพุชฌะติ ฯ นะ  ปาปะกัง  สุปินัง  สุปินัง ปัสสะติ ฯ

        มะนุสสานัง  ปิโย โหติ,  อะมะนุสสานัง  ปิโย  โหติ ฯ  เทวะตา

        รักขันติ ฯ  นาสสะ  อัคคิ  วา วิสัง  วา สัตถัง วา  กะมะติ ฯ ตุวะฏัง

        จิตตัง  สะมาธิยะติ ฯ  มุขะวัณโณ  วิปปะสีทะติ ฯ  อะสัมมุฬโห  กาลัง

        กะโรติ ฯ  อุตตะริง  อัปปะฏิวิชฌันโต  พรัมหะโลกูปะโค  โหติ ฯ

                เมตตายะ  ภิกขะเว  เจโตวิมุตติยา  อาเสวิตายะ ภาวิตายะ

        พะหุลีกะตายะ  ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ  อะนุฏฐิตายะ  ปะริจิตายะ

        สุสะมารัทธายะ  อิเม  เอกาทะสานิสังสา  ปาฏิกังขาติ ฯ  อิทะมะโวจะ

        ภะคะวา  ฯ  อัตตะมะนา  เต ภิกขู  ภะคะวะโต  ภาสิตัง อะภินันทุนติ ฯ


ที่มา วัดโพรงจระเข้ จ.ตรัง
หน้า:  1 [2] 3 4 ... 51
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.438 วินาที กับ 26 คำสั่ง

Google visited last this page 04 เมษายน 2567 20:08:40