[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
18 เมษายน 2567 17:08:43 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก เวบบอร์ด ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

  แสดงกระทู้
หน้า:  1 ... 65 66 [67]
1321  สุขใจในธรรม / ไขปัญหาโลก ธรรม และความรัก / หลวงพ่อพุธตอบปัญหาธรรมะ เมื่อ: 16 ธันวาคม 2552 14:13:44
หลวงพ่อพุธตอบปัญหาธรรมะ 

คำถาม :    มิจฉาสมาธิ ถ้าทำแล้วจะเสื่อมบ้างไหม เช่น  พวกคุณ พวกไสย เป็นต้น

หลวงพ่อพุธตอบ :  พวกคุณ  พวกไสย ฯลฯ  ผู้ฝึกยึดถือครูบาอาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้เป็นสำคัญ  ตราบใดที่เขายังเคารพนับถือครูบาอาจารย์  ผู้สอนวิชาให้แก่เขาไม่หมิ่นประมาท และไม่ประมาทวิชาความรู้ของตัวเอง  แม้จะเป็นเรื่องมิจฉาสมาธิผิดศีลธรรม   แต่ก็ยังใช้การได้    และวิชาอันนี้ก็ย่อมมีความเสื่อมความเจริญเป็นครั้งเป็นคราว ถ้าจะเทียบกับสมาบัติทางศาสนาพราหมณ์ เขาถือการบำเพ็ญสมาบัติ  ๘  เป็นหลักสำคัญในศาสนาของพราหมณ์  ผู้ที่บำเพ็ญเพียรบรรลุถึงสมาบัติ  ๘  แล้ว ยังมีเสื่อมมีเจริญ ถ้าไปทำผิดอะไรเล็ก ๆ น้อย ๆ ฌานก็เสื่อม  ทางไสยศาสตร์ก็เหมือนกัน ถ้าไปละเมิดครูหรือหมิ่นประมาทครู หรือไปละเมิดสิ่งที่ครูเขาห้าม     วิชาก็เสื่อมลงเป็นครั้งเป็นคราวในเมื่อเขาขอขมาและยกเครื่องสักการะบูชาขึ้นมาใหม่  วิชาก็กลับมามีประสิทธิภาพได้อีก ทีนี้เรื่องสัมมาสมาธิและมิจฉาสมาธิ  เกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติตามหลักของพระพุทธศาสนานั้น  เราถือเอากิเลสของเราเป็นเกณฑ์  ทีนี้เรามีขอบเขตที่จะใช้กิเลสให้เกิดประโยชน์  อิทธิฤทธิ์ซึ่งเกิดจากสมาธิถ้าเราจะใช้อะไรให้เกิดประโยชน์  เราเอาศีล  ๕  ข้อเป็นเครื่องวัด  ถ้าการใช้พลังจิตในทางที่ไม่ชอบธรรม เช่น อย่างพระทำสมาธิเก่งแล้ว  ใช้พลังจิตไปบังคับจิตของพวกเศรษฐีให้เอาเงินมาให้สร้างวัด อันนี้เป็นมิจฉาสมาธิ    สิ่งใดที่เราใช้อำนาจทางใดทางหนึ่งไปกดขี่ข่มเหงน้ำใจคนซึ่งเขาไม่เกิดศรัทธาโดยเหตุผล  เป็นเรื่องการใช้สมาธิในทางที่ผิดเป็นมิจฉาสมาธิทั้งนั้น 

สัมมาสมาธิของพระพุทธเจ้ามีแต่มุ่งตรงต่อการฝึกฝนอบรมจิตใจให้เกิดความรู้ตามสายแห่งวิชาการในแง่ความรู้ยิ่งเห็นจริง เพื่อมุ่งตรงต่อความปฏิบัติชอบ เพื่อกำจัดกิเลส เพื่อบรรลุมรรคผลนิพพานเท่านั้นส่วนอื่น ๆ นั้นเป็นผลพลอยได้ วันหนึ่งอยู่ที่วัดมีเรื่องขำขัน มีโยมคนหนึ่งไปถามว่า อ่านประวัติหลวงพ่อแล้วว่าหลวงพ่อหัดภาวนามาตั้งแต่อายุ ๑๕ - ๑๖  ปี ภาวนามานานแล้วหลวงพ่อแสดงฤทธิ์ได้ไหม หลวงพ่อก็บอกว่าแสดงได้ เอ้าถ้าแสดงได้ลองแสดงฤทธิ์ให้ดูซิ ก็แสดงแล้วไง  ไหน……ไม่เห็นได้แสดง อาคารหลังนี้เกิดขึ้นมาด้วยบุญฤทธิ์ หลวงพ่อแสดงบุญฤทธิ์ เพราะหลวงพ่อมีคุณงามความดีเป็นที่เลื่อมใสของปวงชน เขาจึงมาสร้างกุฎิให้อยู่ อันนี้เรียกว่าบุญฤทธิ์ ฤทธิ์ตามความหมายของคุณเช่น ดำดินบินบนเหาะเหินเดินอากาศ มันจะเกิดประโยชน์อะไรสำหรับคุณ พระเทวทัตเก่งแสนเก่ง เข้าฌานแล้วอธิษฐานฤทธิ์  เอาเขาพระสุเมรุติดใต้ฝ่าพระบาท  เหาะไปขู่พระเจ้าอชาตศัตรูให้ยอมจำนน จนกระทั่งปลงพระชนม์พระราชบิดาจนสิ้นพระชนม์ ผลลัพธ์ก็คือว่าลงนรก เทวทัตผู้เป็นอาจารย์ก็ถูกธรณีสูบที่ซึ่งธรณีสูบพระเทวทัต หลวงพ่อยังได้ไปดูเลย ทีนี้สิ่งอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในวัดนี้ทั้งหมดก็เกิดขึ้นด้วยบุญฤทธิ์  อย่างคุณถ้าสามารถที่จะสร้างบ้านสร้างช่องอยู่ได้เอง โดยลำพังตัวเองนั่นแหละฤทธิ์ของคุณ  คุณแสดงฤทธิ์ได้แล้ว ไม่เฉพาะแต่หลวงพ่อ คุณก็แสดงฤทธิ์ได้ บางสิ่งบางอย่างคุณแสดงได้เก่งกว่าอาตมาเสียอีก คุณแสดงฤทธิ์สร้างคนก็ได้ อาตมาสร้างคนไม่เป็น…….

 
1322  สุขใจในธรรม / ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4 / Re: 40 สุดยอดสถานที่ปฏิบัติกรรมฐาน เมื่อ: 16 ธันวาคม 2552 14:05:21
๓๑. วัดถ้ำผาบิ้ง
ต. ทรายขาว อ. วังสะพุง จ. เลย
วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่หลุย จันทสาโร
เมื่อไปถึงจะพบศาลาสร้างด้วยไม้ที่โปร่งสะอาดน่านั่งสมาธิ มีกุฏิหลายหลัง
มีถ้ำอยู่ไม่สูงจากเชิงเขา มีบันได้ขึ้นสะดวก เป็นที่สงบวิเวกมาก
เหมาะแก่การปฏิบัติอย่างอุกฤษฎ์ พระในสายพระอาจารย์มั่นมักมากจำพรรษา
และปฏิบัติธรรมที่นี่ เพราะเป็นที่สัปปายะ บรรยากาศเงียบสงบ ห่างจากเมือง

๓๒. วัดถ้ำกองเพล
ต. โนนทัน อ. เมือง จ. หนองบัวลำภู ๓๙๐๐๐
โทร. (๐๔๒) ๓๑๒-๓๗๗
วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่ขาว อนาลโย
แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ”
เป็นวัดป่ากว้างขวาง พร้อมศาลาปฏิบัติธรรมสร้างภายในถ้ำ
ทางไปถ้ำสะดวกอยู่ริมถนน รถเข้าถึงปากถ้ำได้ ไม่ต้องปีน
บางกุฏิก็ซ่อนอยู่ตามเหลือบผาต่าง ๆ เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม
เมื่อไปถึงให้ติดต่อศาลาประชาสัมพันธ์เพื่อขออนุญาตก่อน ปฏิบัติธรรมอย่างเข้ม

๓๓. วัดป่าบ้านตาด
ต. บ้านตาด อ. เมือง จ. อุดรธานี
วิปัสสนาจารย์ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ”
ในวัดมีกุฏิที่พักหลายกุฏิ มักจะมีลูกศิษย์มาอยู่ปฏิบัติกันมาก
แต่ผู้มาปฏิบัติที่นี่ต้องกินน้อย นอนน้อย ปฏิบัติมาก
กลางคืนมักจะเดินจงกรม นั่งสมาธิ จนดึก หรือโต้รุ่งก็มี
ไม่ใช้ไฟฟ้าในตอนกลางคืน ผู้ปฏิบัติจึงควรจำไฟฉายหรือเทียนติดตัวไปด้วย
เพื่อใช้ส่องทางเดิน ทางจงกรม ซึ่งมักจะเป็นทางดิน
และอาจมีสัตว์ เช่น งู อยู่บ้าง ต้องเจริญเมตตาไม่เบียดเบียนต่อกัน

๓๔. วัดหินหมากเป้ง
บ้านไทยเจริญ หมู่ ๔ ต. พระพุทธบาท อ. ศรีเชียงใหม่ จ. หนองคาย
วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ”
ในวัดมีกุฏิเรือนรับรองอยู่มาก บริเวณกว้างขวาง ประกอบด้วยป่าโปร่ง ป่าไผ่
ทะเลสาบใหญ่ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง เหมาะแก่การอยู่ปฏิบัติ

๓๕. วัดเจติยาคีรีวิหาร (ภูทอก)
อ. บึงกาฬ จ. หนองคาย
วิปัสสนาจารย์ พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ
แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ”
วัดตั้งอยู่บนภูทอก ทางขึ้นค่อนข้างชัน
สร้างด้วยความอัศจรรย์และด้วยจิตที่เด็ดเดี่ยวของพระเณร
ท่านพระอาจารย์จวนได้ทำทางขึ้นเป็นขั้นบันไดและทางเดินด้วยไม้รอบภูจนถึงยอด
บริเวณหน้าผา ท่านใช้ไม้ ๒ ลำมัดให้แน่นยื่นออกไป ๔ เมตร
เอาเชือกบังสุกุลผูกปลายไม้ที่ยื่นออกไป ตรึงใส่เสาที่ปักไว้ แล้วไปนั่งที่ปลายไม้นั้น
เพื่อตอกหินเจาะหลุมที่หน้าผา ปรากฏว่า ถ้าให้ฆราวาสไปนั่งปลายไม้ครั้งใด
ก็ไม่สามารถควบคุมสติสมาธิได้ เพราะมองไปข้างบ่างก็เกิดความหวั่นไหว
จนไม่สามารถตอกหินได้สำเร็จ ผู้สร้างจึงเป็นพระและเณร สิ่งปลูกสร้างนี้มี ๗ ชั้น
มีกุฏิที่พักเชิงเขาที่ชั้น ๒ หรือจะพักกุฏิว่างรอบเขาก็ได้ (ต้องขออนุญาตก่อน)
เหมาะกับผู้ปฏิบัติที่ฝึกมาดีพอสมควร มีความเข้มแข็งพึ่งตนเองได้
เนื่องจากเปลี่ยวและสูงอยู่บนภูเขา แต่บรรยากาศเย็นสบาย เงียบสงบ

๓๖. วัดดอยธรรมเจดีย์
บ้านทาสีนวล หมู่ ๓ ต. ตองโขบ อ. ศรีสุพรรณ จ. สกลนคร
วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ
แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ”
ปกติจะปฏิบัติที่ศาลา ส่วนที่พักมีกุฏิ และอาคารคึกสะอาดทันสมัย

๓๗. วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม
ถนน รพช หมู่ ๑ ต. ปทุมวาปี อ. ส่องดาว จ. สกลนคร
แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภาวนา “พุทโธ”
ที่นี่มีหลายถ้ำ มีถ้ำหนึ่งชื่อถ้ำพวง ซึ่งพระอาจารย์มั่นเคยเล่าให้ฟังว่า
เป็นถ้ำที่ศักดิ์สิทธิ์มาก เคยมีพระอรหันต์ชื่อ พระนรสีห์ มานิพพานที่นี่

๓๘. วัดป่าสุทธาวาส
๑๓๙๖ บ้านคำสะอาด หมู่ ๑๐ ต. ธาตุเชิงชุม อ. เมือง จ. สกลนคร
แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ”
มีอาคารเป็นตึกปูน ๓ ชั้นหลังใหญ่ จุคนได้หลายร้อยคน เย็นสบาย

๓๙. วัดคำประมง
เลขที่ ๒๐ หมู่ ๔ บ้านคำประมง ต. สว่าง อ. พรรณนานิคม จ. สกลนคร ๔๗๑๓๐
วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่สิม พุทธจาโร
เนื่องจากเป็นวัดที่มีพระจำพรรษาอยู่น้อยในฤดูนอกพรรษา จึงเงียบสงบ
มีเจ้าหน้าที่ตัดหญ้า ปลูกดอกไม้สวยงามอย่างดี
มีพระพุทธรูปปางต่าง ๆ และสิ่งก่อสร้างสวยงาม มีสระน้ำทะเลสาบใหญ่
ฝูงปลามากมาย มีนักท่องเที่ยวแวะเวียนเข้ามาเยี่ยมและให้อาหารปลาอยู่เสมอ

๔๐. สำนักปฏิบัติธรรมศิริธรรม (ถ้ำชี)
เขากิ่ว ต. ไร้ส้ม อ. เมือง จ. เพชรบุรี ๗๖๐๐๐
โทร. (๐๓๒) ๔๒๘-๕๒๒
วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อกนฺตสิริ
แนวปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ และอานาปานสติ
เขากิ่วเป็นภูเขาเตี้ย ๆ มีต้นไม้หนาแน่นมาก อยู่ใกล้เมือง เดินทางสะดวก
บนเขามีลิงอยู่บ้าง แต่ไม่ทำร้ายคน บนสำนักฯ มีเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
ศาลา ถ้ำชี ซึ่งใช้เป็นอุโบสถ กุฏิที่พัก ห้องน้ำ-ส้วม พอสะดวกสบายแก่การปฏิบัติ
ที่นี่เน้นการปฏิบัติเคร่งครัด กินน้อย นอนน้อย ปฏิบัติมาก
 
 
1323  สุขใจในธรรม / ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4 / Re: 40 สุดยอดสถานที่ปฏิบัติกรรมฐาน เมื่อ: 16 ธันวาคม 2552 14:04:12
๒๑. สำนักวิปัสสนาสมมิตร – ปราณี
จ. ชลบุรี โทร. พระอาจารย์ใหญ่ (๐๑) ๙๒๑-๑๑๐๑
เป็นสถานที่ซึ่งมีผู้บริจาคเพื่อขยับขยายมาจากวิเวกอาศรม
แนวปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ ใช้คำบริกรรม “ยุบหนอ พองหนอ”
สถานที่ล้อมรอบด้วยทุ่งและธรรมชาติ มีกุฏิสงฆ์สร้างในแบบธรรมชาติมุงจาก
อาคารปฏิบัติธรรมขนาดกลางและอุโบสถ ยังรับผู้ปฏิบัติธรรมได้ไม่มากนัก

๒๒. วัดเขาสุกิม
ต. เขาบายศรี อ. ท่าใหม่ จ. จันบุรี
วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อสมชาย ฐิตวิริโย
แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ใช้คำบริกรรม “พุทโธ”
วัดตั้งอยู่สูงขึ้นไปบนเชิงเขา กว้างขวางกว่า ๓,๒๘๐ ไร่
มีทางบันได และรถรางขึ้นไปบนวัด บริเวณร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่น้อย
มีศาลาที่พักที่สะดวกสบาย เป็นห้องมุ้งลวด มีเตียง ที่นอน หมอนให้
หรือพักที่กุฏิว่างต่าง ๆ

๒๓. วัดจันทาราม (วัดท่าซุง)
๖๐ บ้านท่าซุง หมู่ ๑ ต. น้ำซึม อ. เมือง จ. อุทัยธานี
วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ
แนวปฏิบัติ มโนมยิทธิ บริกรรม “นะ มะ พะ ธะ” และสอนอนุสติ บริกรรม “พุทโธ”

๒๔. สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง
อ. เชียงดาว จ. เชียงใหม่
วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่สิม พุทธจาโร
สำนักสงฆ์แห่งนี้อยู่บนดอย ทางขึ้นลงเทปูนเป็นบันไดเดินได้สะดวกแต่ค่อนข้างสูง
หลวงปู่เคยเล่าไว้ว่าที่ถ้ำผาปล่อง และถ้ำเชียงดาวนี้ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
ให้สำรวมระวัง รักษาความสงบ ไม่ร้องรำทำเพลง เล่นตลกคะนอง
เพราะเคยมีพระอรหันต์ตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้ากกุสันโธ
พระอรหันต์สมัยพระพุทธเจ้าโกนาคม พระอรหันต์สมัยพระกัสสโป
และพระอรหันต์สมัยพระพุทธโคดม มาบำเพ็ญเพียรและละสังขารอยู่หลายองค์
การนั่งภาวนาที่นี่จะทำเหมือนสมัยที่หลวงปู่ยังอยู่ คือ
ท่านจะให้ทุกคนที่ไปภาวนานั่งสมาธิเพชรฟังเทศน์ ด้วยเหตุผลว่า
”การนั่งสมาธิเพชรนั้นเป็นการฝึกฝนคนเราให้เกิดความตั้งใจมั่น”

๒๕. วัดป่าสาละวัน
อ. เมือง จ. นครราชสีมา
วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
วันที่ ๑-๕ ของทุกเดือน จะมีการอบรมการปฏิบัติแก่อุบาสกอุบาสิกา
ที่ใต้ศาลา และบนวิหารชั้น ๒ โดยจะมีพระให้การอบรม

๒๖. วัดสมเด็จแดนสงบ (แสงธรรมเวฬุราราม)
๙๙ ซอย ๑๙ ถ. มิตรภาพ อ. เมือง จ. นครราชสีมา ๓๐๐๐๐
โทร. (๐๔๔) ๒๑๔-๑๓๔, ๒๑๔-๘๖๙-๗๐
วิปัสสนาจารย์ พระครูภาวนาวิสิฐ
แนวปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔

๒๗. วัดป่าวะภูแก้ว
ต. มะเกลือใหม่ อ. สูงเนิน จ. นครราชสีมา
แนวปฏิบัติ แนวหลวงปู่เสาร์ - หลวงปู่มั่น ภาวนา “พุทโธ”
วัดอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ มีต้นไม้ใหญ่น้อยมาก สถานที่เงียบสงบ สวยงาม
มีอาคารอบรมขนาดใหญ่ สำหรับผู้มาทำสมาธิเป็นหมู่คณะ

๒๘. วัดหนองป่าพง
๔๖ หมู่ ๑๐ ต. โนนผึ้ง อ. วารินชำราบ จ. อุบลราชธานี
วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อชา สุภทฺโท
แนวปฏิบัติ เน้นให้มีสติสม่ำเสมอ ฝึกสมาธิแบบอานาปานสติ

๒๙. ศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวัน จ. ขอนแก่น
บ้านเนินทาง ต. บ้านค้อ อ. เมือง จ. ขอนแก่น ๔๐๐๐๐
โทร. (๐๔๓) ๒๓๗-๗๘๖, ๑๒๗-๗๙๐
เป็นสถานปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานสาขา ของหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน
แนวปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ เช่นเดียวกับวัดอัมพวัน จ. สิงห์บุรี

๓๐. วัดป่าวิเวกธรรมวิทยาราม
ซ. ศรีจันทร์ ๑๓ ถ. ศรีจันทร์ ต. ในเมือง อ. เมือง จ. ขอนแก่น ๔๐๐๐๐
โทร. (๐๔๓) ๒๒๒-๐๔๒
วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม
แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ”
1324  สุขใจในธรรม / ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4 / Re: 40 สุดยอดสถานที่ปฏิบัติกรรมฐาน เมื่อ: 16 ธันวาคม 2552 14:02:02
๑๑. วัดป่านานาชาติ
บ้านบุ่งหวาย หมู่ ๗ ต. บุ่งหวาย อ. วารินชำราบ จ. อุบลราชธานี
(สาขา ๑๑๙ ของวัดหนองป่าพง)
เป็นวัดป่าที่มีต้นไม้ใหญ่มาก มียุงและแมลงต่าง ๆ มาก
คนที่แพ้ยุงก็ควรหายากันยุงไปด้วย อากาศเย็นสบาย ทานอาหารวันละ ๑ มื้อ
การไป ให้เขียนจดหมายไปขออนุญาตจากเจ้าอาวาส แล้วจึงเดินทางไปอยู่

๑๒. วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร
ถ. พระราม ๑ ปทุมวัน กรุงเทพฯ ๑๐๓๓๐
โทร. ๒๕๑-๒๓๑๕, ๒๕๒-๕๔๖๕
วิปัสสนาจารย์ พระอาจารย์ถาวร จิตฺตถาวโร
แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ”
นั่งปฏิบัติในศาลาพระราชศรัทธา มีอาสนะและผ้าคลุมตักให้หยิบใช้ได้
บริเวณโดยรอบมีการปลูกแต่งด้วยต้นไม้ใหญ่น้อย ร่มรื่นสวยงาม
กำหนดการปฏิบัติธรรมที่ศาลาฯ ประจำวันจันทร์ – ศุกร์ วันละ ๓ เวลา
เช้า ๗.๐๐ – ๘.๐๐ น. กลางวัน ๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. เย็น ๑๗.๐๐ – ๒๐.๐๐ น.

๑๓. วัดปากน้ำภาษีเจริญ
เลขที่ ๘ แขวงปากคลองภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ
วิปัสสนาจารย์ พระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อสด)
แนวปฏิบัติ ตามแนวธรรมกาย ใช้คำบริกรรม “สัมมาอรหัง”
สถานที่ปฏิบัติ ๑. หอเจริญวิปัสสนาฯ ชั้น ๒ เป็นห้องแอร์ปูพรม
๒. หอสังเวชนีย์มงคลเทพนิมิต ๓. ตึกบวรเทพมุนี

๑๔. วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์
เลขที่ ๓ ท่าพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ
แนวปฏิบัติ ตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ใช้คำบริกรรม “ยุบหนอ พองหนอ”
สถานที่ปฏิบัติ คณะ ๕ สำนักงานกลาง กองการวิปัสสนาธุระ
เปิดทุกวัน สอนเดินจงกรมและนั่งสมาธิ
เช้า ๐๗.๐๐ – ๑๐.๐๐ น. กลางวัน ๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. เย็น ๑๘.๐๐ – ๑๙.๐๐ น.

๑๕. วัดอินทรวิหาร
อาคารปฏิบัติธรรม “เฉลิมพระเกียรติ” วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม
กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๖๒๘-๕๕๕๐-๒
แนวการปฏิบัติ แนวหลักสูตรของคุณแม่สิริ กรินชัย ๘ วัน ๗ คืน หรือ ๔ วัน ๓ คืน
เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมขยายผล จากผู้ปฏิบัติธรรมกับคุณแม่สิริ กรินชัย
เป็นอาคารทันสมัย ๕ ชั้น จุได้ประมาณ ๕๐๐ คน

๑๖. สำนักงานพุทธมณฑล
พุทธมณฑล ถ. พุทธมณฑลสาย ๔ ต. ศาลายา อ. พุทธมณฑล จ. นครปฐม
โทร. ๔๔๑-๙๐๐๙, ๔๔๑-๙๐๑๒
แนวปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ กำหนดรู้อารมณ์ บริกรรม “ยุบหนอ พองหนอ”
สถานที่ปฏิบัติ ชั้น ๒ ของหอประชุม มีเครื่องปรับอากาศ ห้องนอน
มีเครื่องนอน เช่น หมอน มุ้ง ผ้าห่มให้พร้อม หรือนำไปเองก็ได้ ทานอาหาร ๒ มื้อ

๑๗. ศูนย์วิปัสสนายุวพุทธฯ เฉลิมพระเกียรติ
คลองสาม จ. ปทุมธานี โทร. ๙๘๖-๖๔๐๔-๕
เป็นสาขาของยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย – ภาษีเจริญ

๑๘. วัดอโศการาม
๑๓๖ หมู่ ๒ กม. ๓๑ ถ. สุขุมวิท (สายเก่า) ต. ท้ายบ้าน อ. เมือง จ. สมุทรปราการ
วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อลี ธมฺมชโช
บริเวณกว้างขวาง มีสระน้ำใหญ่ในบริเวณวัด
กุฏิพระ แม่ชี และที่พักแยกเป็นสัดส่วนเรียงรายรอบวัดเป็นร้อย ๆ หลัง
ส่วนมากอยู่ติดริมทะเลซึ่งเป็นป่าชายเลน

๑๙. วัดญาณสังวรารามวรวิหาร
ต. ห้วยใหญ่ อ. บางละมุง จ. ชลบุรี โทร. (๐๓๘) ๒๓๗-๖๔๒
สถานที่ปฏิบัติ เป็นอาคารคอนกรีต ๒ ชั้น มีอาคาร ญส. ๗๒ ชาย และ ญส. ๗๒ หญิง
ชั้นละ ๑๐ ห้อง มีห้องน้ำในตัว เรือนปฏิบัติธรรมมี ๑๗ หลัง

๒๐. สำนักวิปัสสนาวิเวกอาศรม
ซ. ประชานุกูล ๗ ถ. ชลบุรี-บ้านบึง ต. บ้านสวน อ. เมือง จ. ชลบุรี
โทร (๐๓๘) ๒๘๓-๗๖๖
วิปัสสนาจารย์ พระอาจารย์ภัททันตะ อาสภมหาเถระ
แนวปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ ใช้คำบริกรรม “ยุบหนอ พองหนอ”
มีเรือนพักปฏิบัติธรรมทั้งหญิงชายแยกเป็นสัดส่วนอยู่จำนวนมาก
การอยู่ปฏิบัติให้พักคนเดียว เน้นการเก็บอารมณ์ ไม่พูดคุยกัน อย่างเคร่งครัด
การรับประทานอาหารจะมีปิ่นโตส่งถึงห้อง ๒ มื้อ
ทุกวันจะมีการสอบอารมณ์กรรมฐานโดยพระอาจารย์
ค่าน้ำไฟ อาหาร วันละ ๕๐ บาท หรือเดือนละ ๑,๕๐๐ บาท ห้ามอยู่เกิน ๙๐ วัน
 
 
1325  สุขใจในธรรม / ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4 / 40 สุดยอดสถานที่ปฏิบัติกรรมฐาน เมื่อ: 16 ธันวาคม 2552 14:00:29
สุดยอดสถานที่ปฏิบัติกรรมฐาน
คู่มือสำหรับผู้แสวงหาที่ปฏิบัติธรรม



๑. วัดธรรมมงคล
ซอยปุณณวิถี ๒๐ ถ. สุขุมวิท ๑๐๑ บางจาก พระโขนง กรุงเทพฯ
โทร. ๗๔๑-๗๘๒๑-๒, ๓๓๒-๒๘๒๖-๗
วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร
แนวการปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ”
สถานที่ปฏิบัติมีหลายแห่ง คือ ๑. ศาลาปฏิบัติธรรม เป็นห้องมุ้งลวด
๒. ถ้ำวิปัสสนา (จำลอง) ๓. ศูนย์สมาธิวิริยานุภาพ มี ๘๐ ห้องพัก
ทุกห้องมีเครื่องปรับอากาศ ๔. ห้องสำหรับทำสมาธิ
๕. สถานปฏิบัติธรรม จ. เชียงราย ๖. สำนักสงฆ์น้ำตกแม่กลาง

๒. วัดอัมพวัน
๕๓ บ. อัมพวัน ถ. เอเชีย กม. ๑๓๐ หมู่ที่ ๔ ต. พรหมบุรี อ. พหรมบุรี จ.สิงห์บุรี
โทร. (๐๓๖) ๕๙๙-๓๘๑), (๐๓๖) ๕๙๙-๑๗๕
วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม
แนวการปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ บริกรรม “ยุบหนอ พองหนอ”

๓. ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
๕๘/๘ ถ.เพชรเกษม ๕๔ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ ๑๐๑๖๐
โทร. ๔๑๓-๑๗๐๖, ๘๐๕-๐๗๙๐-๔
วิปัสสนาจารย์ คุณแม่สิริ กรินชัย
แนวการปฏิบัติ แนวสติปัฏฐาน ๔ เจริญสติอย่างต่อเนื่อง
ตามแนวพระธีรราชมหามุนี วัดมหาธาตุ
สถานที่เป็นตึกทันใหม่ทันสมัยหลายหลัง โดยทั่วไปการอบรมใช้เวลา ๘ วัน ๗ คืน

๔. สวนโมกขพลาราม
๖๘ หมู่ ๖ ต. เลเม็ด อ. ไชยา จ. สุราษฎร์ธานี ๘๔๑๑๐
วิปัสสนาจารย์ ท่านพุทธทาสภิกขุ
แนวการปฏิบัติ อานาปานสติภาวนา

๕. วัดป่าสุนันทวราราม
บ้านลิ่นถิ่น ต. ท่าเตียน อ. ไทรโยค จ. กาญจนบุรี
วิปัสสนาจารย์ พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
แนวการปฏิบัติ อานาปานสติภาวนา
เปิดอบรม “อานาปานสติภาวนา” แก่ผู้สนใจ ครั้งละ ๙ วัน
เปิดรับครั้งละ ๑๐๐-๑๕๐ คน เป็นการปฏิบัติที่เคร่งครัด กินอาหารวันละ ๑ มื้อ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่คุณดารณี บุญช่วย (๐๒) ๓๒๑-๖๓๒๐

๖. วัดภูหล่น
๙ ต. สงยาง อ. ศรีเมืองใหม่ จ. อุบลราชธานี
ปฐมวิปัสสนาหลวงปู่มั่นฯ (สถานที่หลวงปู่มั่นออกธุดงค์ครั้งแรกกับหลวงปู่เสาร์)
วัดนี้ค่อนข้างจะห่างจากตัวเมือง บรรยากาศดีมาก เย็นสบาย และเงียบสงบ
มีสิ่งปลูกสร้างที่อยู่บนเขาไม่สูงนักสามารถกางกลดอยู่ได้
มีโบสถ์บนเขาและมีกุฏิโดยรอบ บ้างก็ซ่อนอยู่ตามซอกเขา
ที่นี่เหมาะกับผู้เคยปฏิบัติธรรมมาแล้ว ต้องการมาปฏิบัติขั้นอุกฤษฎ์

๗. วัดถ้ำขาม
บ้านคำข่า หมู่ที่ ๔ ตำบาลไร่ อ. พรรณานิคม จ. สกลนคร
วิปัสสนาจารย์ อาจารย์ฝั้น อาจาโร
วัดมีเนื้อที่ ๘๔๐ ไร่ พื้นที่จรดเขตอุทยานป่าแนวเทือกเขาภูพาน วัดอยู่บนเขาสูง
แต่ก็มีบันไดขึ้นลงสะดวก มีลิงป่า และไก่ป่า
ที่พัก มีที่พักเป็นกุฏิ (กุฏิละ ๑ คน) หรือพักรวมบนศาลาก็ได้
เหมาะสำหรับไปปฏิบัติแบบอุกฤษฎ์

๘. สำนักปฏิบัติกรรมฐาน วัดมเหยงคณ์
ต. หันตรา อ. พระนครศรีอยุธยา จ. พระนครศรีอยุธยา
แนวปฏิบัติ เดินจงกรม นั่งสมาธิ กำหนดรู้ รูป-นาม

๙. สำนักปฏิบัติธรรมแสงธรรมส่องชีวิต
ต. โคกแย้ อ. หนองแค จ. สระบุรี ๑๘๒๓๐
โทร. (๐๓๖) ๓๗๙-๔๒๘
แนวปฏิบัติ เน้นให้ผู้ฝึกมีสติรู้ในอิริยาบท
ทุกวันเสาร์ อาทิตย์ และวันสำคัญทางศาสนา
จะมีการจัดอบรมฝึกวิปัสสนากรรมฐาน บวชชีพราหมณ์ เนกขัมมะ
ดูเพิ่มเติม:


๑๐. วัดสนามใน
๒๗ ต. วัดชลอ อ. บางกรวย จ. นนทบุรี
โทร. ๔๒๙-๒๑๑๙, ๘๘๓-๗๒๕๑
วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อเทียน จิตตฺสุโภ
แนวปฏิบัติ เน้นการเจริญสติ วิธีที่เป็นที่นิยมคือวิธีสร้างจังหวะ
เป็นวิธีสร้างสติแบบนั่งทำสมาธิแต่ไม่ต้องหลับตา
 
1326  สุขใจในธรรม / บทสวด - คัมภีร์ คาถา - วิชา อาคม / พุทธชัยมงคลคาถา (คาถาปราบมาร) เมื่อ: 16 ธันวาคม 2552 13:48:17

คาถาปราบมาร พุทธชัยมงคลคาถา
วิธีต่อสู้ที่ทำให้ได้รับชัยชนะในแบบของพระพุทธองค์


พุทธชัยมงคลคาถา เป็นบทสวดมนต์ที่ชาวพุทธนิยมนำมาใช้ในการสวดมนต์ภาวนาอย่างแพร่หลาย เป็นบทสวดที่กล่าวถึงชัยชนะของพระพุทธเจ้า ๘ ครั้ง ที่มีต่อ
๑. พระยามาร
๒. อาฬวกยักษ์
๓. ช้างนาฬาคีรี
๔. องคุลีมาล
๕. นางจิญจมาณวิกา
๖. สัจจกนิครณห์
๗. นันโทปนันทนาคราช
๘. ท้าวพกพรหม
หรือเป็นชัยชนะต่ออริศัตรู ๘ ประเภท คือ
๑. ชนะศัตรูหมู่มาก
๒. ชนะใจคนกระด้างกระเดื่อง
๓. ชนะสัตว์ร้าย
๔. ชนะโจร
๕. ชนะการกลั่นแกล้ง ใส่ร้ายป้ายสี
๖. ชนะการโต้ตอบ
๗. ชนะเล่ห์เหลี่ยม
๘. ชนะทิฏฐิมานะของคน




บทที่ 1

พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท,
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต(เม) ชะยะมังคะลานิ ฯ


(พระจอมมุนี ได้เอาชนะพระยามารผู้เนรมิตแขนมากตั้งพัน ถืออาวุธครบทุกมือ ขี่ช้างครีเมขละ มาพร้อมกับเหล่าเสนามารซึ่งโห่ร้องกึกก้อง ด้วยวิธีอธิษฐานถึงทานบารมี เป็นต้น, ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน (ข้าพเจ้า) ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ)

บทที่ 2

มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท,
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต(เม) ชะยะมังคะลานิ ฯ


(อนึ่ง พระจอมมุนี ได้เอาชนะยักษ์ชื่อ อาฬวกะ ผู้มีจิตหยาบกระด้าง ผู้ไม่มีความอดทน มีความพิลึกน่ากลัวกว่าพระยามาร ซึ่งได้เข้ามาต่อสู้อย่างยิ่งยวดจนตลอดคืนยันรุ่ง ด้วยวิธีทรมานอันดี คือขันติความอดทน, ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน (ข้าพเจ้า) ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ)

บทที่ 3

นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง
ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท,
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต(เม) ชะยะมังคะลานิ ฯ


(พระจอมมุนี ได้เอาชนะช้างตัวประเสริฐชื่อ นาฬาคิรี ที่เมายิ่งนัก และแสนจะดุร้ายประดุจไฟป่าและจักราวุธและสายฟ้า ด้วยวิธีรดลงด้วยน้ำคือ ความมีพระทัยเมตตา, ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน (ข้าพเจ้า) ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ)

บทที่ 4

อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะ สุทารุณันตัง
ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท,
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต(เม) ชะยะมังคะลานิ ฯ


(พระจอมมุนี ทรงคิดจะแสดงฤทธิ์ปาฏิหารย์ จึงได้เอาชนะโจรชื่อ องคุลิ-มาล ผู้แสนจะดุร้าย มีฝีมือ ถือดาบวิ่งไล่พระองค์ไปสิ้นระยะทาง ๓ โยชน์, ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน (ข้าพเจ้า) ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ)

บทที่ 5

กัตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท,
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต(เม) ชะยะมังคะลานิฯ


(พระจอมมุนี ได้เอาชนะคำกล่าวใส่ร้ายของ นางจิญจมาณวิกา ซึ่งทำอาการเหมือนดั่งมีครรภ์ เพราะเอาท่อนไม้กลมผูกไว้ที่หน้าท้อง ด้วยวิธีทรงสมาธิอันงาม คือความกระทำพระทัยให้ตั้งมั่นนิ่งเฉย ในท่ามกลางหมู่ชน, ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน (ข้าพเจ้า) ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ)

บทที่ 6

สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง
วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท,
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต(เม) ชะยะมังคะลานิ ฯ


(พระจอมมุนีผู้รุ่งเรืองด้วยแสงสว่างคือปัญญา ได้เอาชนะ สัจจกะนิครนถ์ ผู้มีความคิดมุ่งหมายในอันจะละทิ้งความสัตย์ มีใจคิดจะยกถ้อยคำของตนให้สูงประดุจยกธง และมีใจมืดมนยิ่งนัก ด้วยการแสดงเทศนาให้ถูกใจ, ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน (ข้าพเจ้า) ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ)

บทที่ 7

นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง
ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท,
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต(เม) ชะยะมังคะลานิ ฯ


(พระจอมมุนี ได้เอาชนะพญานาคราชชื่อ นันโทปนันทะ ผู้มีความรู้ผิดมีฤทธิ์มาก ด้วยวิธีบอกอุบายให้พระโมคคัลลานเถระพุทธชิโนรส แสดงฤทธิ์เนรมิตกายเป็นนาคราช ไปทรมานพญานาคชื่อ นันโทปนันทะนั้น, ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน (ข้าพเจ้า) ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ)

บทที่ 8

ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง
พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท,
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต(เม) ชะยะมังคะลานิ ฯ
(พระจอมมุนี ได้เอาชนะพระพรหมผู้มีนามว่า ท้าวพกาพรหม ผู้มีฤทธิ์ คิดว่าตนเป็นผู้รุ่งเรืองด้วยคุณอันบริสุทธิ์ ผู้ถูกพญานาครัดมือไว้แน่น เพราะมีจิตคิดถือเอาความเห็นผิด ด้วยวิธีวางยาคือทรงแสดงเทศนาให้ถูกใจ, ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน (ข้าพเจ้า) ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ)

บทสรุป

เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา
โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ
โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญฯ


(บุคคลใดมีปัญญา ไม่เกียจคร้าน สวดและระลึกถึงพระพุทธชัยมงคล ๘ คาถาเหล่านี้ทุก ๆ วัน บุคคลนั้นจะพึงละความจัญไรอันตรายทั้งหลายทุกอย่างเสียได้ และเข้าถึงความหลุดพ้นคือ พระนิพพานอันบรมสุขแล ฯ)


ถ้าสวดให้คนอื่นใช้คำว่า เต สวดให้ตัวเองใช้คำว่า เม
(เต แปลว่าท่าน เม แปลว่าข้าพเจ้า)


ปรกติแล้ว “พุทธชัยมงคลคาถา” เป็นบทสวดที่พระท่านใช้ในการทำบุญตักบาตรในมงคลพิธี เช่นการทำบุญขึ้นบ้านใหม่หรือพิธีงานฉลองต่างๆงานแต่งงาน, งานฉลองพระ เป็นต้น


ที่มาของพระคาถาและคำแปล


http://www.agalico.com/board/showthread.php?do=post_thanks_add&p=20908


http://www.navy.mi.th/navy_admin/maolee/5-pahung.html


 

 
1327  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / หมูกรอบ เมื่อ: 16 ธันวาคม 2552 13:38:39
หมูกรอบ

เครื่องปรุง ชุดที่ ๑

◊ หมูสามชั้นติดหนัง ๕๐๐ กรัม (ถ้าใช้แบบที่ไม่มีหนังไม่อร่อยนะ ไม่แนะนำค่ะ)
◊ น้ำส้มสายชู ๒ ช้อนโต๊ะ
◊ เกลือ ๑ ช้อนโต๊ะ
◊ น้ำ ประมาณ ๒-๓ ถ้วย หรือว่ากะดูว่าใส่ในหม้อแล้วพอท่วมเนื้อหมู

เครื่องปรุง ชุดที่ ๒

◊ น้ำส้มสายชู ๑ ช้อนโต๊ะ
◊ เกลือ ๑/๒ ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ

◊ เอาน้ำใส่หม้อตั้งไฟ ใส่เกลือ และน้ำส้มสายชู ในเครื่องปรุงชุดที่ ๑ ลงไป พอน้ำเดือด ใส่หมูลงไปค่ะ รอจนหมูสุก ก็ใช้เวลาประมาณเกือบๆ ๒๐-๓๐ นาทีได้น่ะค่ะ เพราะเราต้มทั้งชิ้น หลังจากหมูสุกแล้ว ตักขึ้นแล้วตั้งให้สะเด็ดน้ำ รอจนหมูเย็น ทีนี้ก็เอาอุปกรณ์ คือ ส้อมค่ะ จิ้มลงไปที่หนังหมู ทำแบบไม่ต้องยั้งเลยค่ะ ประมาณว่าพรุนไปทั่วๆ ต้องจิ้มไปมากๆนะคะ เพราะว่าเวลาเอาไปทอดมันจะไม่กระเด็นค่ะ
◊ หลังจากเสร็จภารกิจจิ้มหนังหมูแล้ว ก็เอาหมูมาผ่าแบ่งตามยาวออกเป็นสองชิ้นค่ะ ผสมเครื่องปรุงชุดที่ ๒ แล้วเอาหมูมาคลุกเคล้าให้ทั่วค่ะ จากนั้นเอาหมูไปตากแดด หรือเอาไปผึ่งลมก็ได้ค่ะ จนแห้งค่ะ (แห้งในที่นี้หมายถึงสะเด็ดน้ำหมดนะคะ ไม่ใช่แห้งเป็นปลาเค็มนะ ประมาณ ๓-๔ ชั่วโมงนะคะ) ตรงนี้เป็นเคล็ดลับเลยนะคะ เพราะว่าเคยทำแบบเร่งด่วน ไม่ผึ่งแดดผึ่งลมให้แห้งสนิท ปรากฏว่าหมูออกมาไม่กรอบ แล้วก็น้ำมันกระเด็นเป็นระเบิดปรมาณูเลยค่ะ
◊ หลังจากนั้นก็เอามาทอดได้ค่ะ หลังจากทอดเสร็จแล้ว ตักขึ้นวางบนกระดาษซับน้ำมัน

ขอบคุณ พิเศษ อ.ยิ่งศักดิ์

1328  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ใต้เงาไม้ / บทกลอนสอนใจ เมื่อ: 16 ธันวาคม 2552 13:22:41
อย่านอนตื่นสาย อย่าอายทำกิน
อย่าหมิ่นเงินน้อย อย่าคอยวาสนา
อย่าเสาวนาคนชั่ว อย่ามั่วอบายมุข
อย่าสุกก่อนห่าม อย่าพล่ามก่อนทำ
อย่ารำก่อนเพลง อย่าข่มเหงผู้น้อย
อย่าคอยแต่ประจบ อย่าคบแต่เศรษฐี
อย่าดีแต่ตัว อย่าชั่วแต่คนอื่น
อย่าฝืนกฏระเบียบ อย่าเอาเปรียบสังคม
อย่าชื่นชมคนผิด อย่าคิดเอาแต่ได้
อย่าใส่ร้ายคนดี อย่ากล่าววจีมุสา
อย่านินทาพระเจ้า อย่าขลาดเขลาเมื่อมีทุกข์
อย่าสุขจนลืมตัว อย่าเกรงกลัวงานหนัก
อย่าพิทักษ์พาลชน อย่าลืมตนเมื่อมั่งมี


เครดิต http://www.pantown.com/board.php 
หน้า:  1 ... 65 66 [67]
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.313 วินาที กับ 26 คำสั่ง

Google visited last this page 05 กรกฎาคม 2566 06:54:00