[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
27 เมษายน 2567 06:47:08 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก เวบบอร์ด ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

  แสดงกระทู้
หน้า:  1 [2]
21  สุขใจในธรรม / เสียงธรรมเทศนา / มหาโคปาลสูตร พระสูตรว่าจะทำให้ภิกษุไม่ควรถึงหรือควรถึงความเจริญงอกงามในพระธรรมวินัยนี เมื่อ: 16 ธันวาคม 2554 14:12:21
มหาโคปาลสูตร 



ดาวโหลด http://www.mediafire.com/?81h3783hs6bff1j

๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม ตรัสแสดงถึงการขาดและความสมบูรณ์ด้วยคุณธรรมของภิกษุ ๑๑ อย่าง
เทียบเคียงด้วยการขาดหรือการมีความสมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติของคนเลี้ยงโค ๑๑ ข้อ ว่าจะทำให้ภิกษุไม่ควรถึงหรือควรถึงความเจริญงอกงามในพระธรรมวินัยนี้.

๒. คุณสมบัติของคนเลี้ยงโค เทียบด้วยคุณธรรมของภิกษุดังต่อไปนี้ ( การขาดคุณสมบัติ พึงรู้โดยตรงกันข้าม )

๑. รู้จักรูป เทียบด้วยรู้จักรูปใหญ่และรูปอาศัย
๒. รู้จักลักษณะ เทียบด้วยรู้จักลักษณะพาล ลักษณะบัณฑิต เพราะการกระทำของคนเหล่านั้น
๓. เขี่ยไข่ขัง ( เมื่อแมลงวันหยอดไข่ขังที่แผลโค ) เทียบด้วยละ , บันเทา , ทำให้สิ้นไป ซึ่งความคิดฝ่ายชั่ว ( อกุศลวิตก)
๔. ปิดแผล เทียบด้วยสมรวมอินทรีย์ คือ ตา หู เป็นต้น มิให้อกุศลบาปธรรมท้วมทับจิต.
๕. สุมควัน เทียบด้วยแสดงธรรมที่ฟังแล้ว เล่าเรียนแล้วแก่ผู้อื่นได้ โดยพิสดาร
๖. รู้จักท่าน้ำ เทียบด้วยรู้จักเข้าไปหาภิกษุผู้เชี่ยวชาญทางต่าง ๆ เช่น ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ( แม่บทของธรรม เช่น บทตั้งของธรรม ) แล้วไต่ถาม
๗. รู้จักน้ำดื่ม เทียบรู้อรรถรู้ธรรม เมื่อมีผู้แสดงธรรมที่พระตถาคตประกาศแล้ว
๘. รู้ทาง ( วิถี ) เทียบด้วยรู้จักอริยมรรคมีองค์ ๘ ( มีความเห็นชอบเป็นต้น ) ตามเป็นจริง
๙. ฉลาดในโคจร ( ทำเลที่โคควรเที่ยวไป ) เทียบด้วยรู้จักสติปัฏฐาน ( การตั้งสติ ) ๔ อย่าง ตามความจริง ( ดูที่พระสุตตันตะปิฎกเล่ม ๒ ) หน้าที่ ๔
๑๐. ไม่รีดนมจนหมด เทียบด้วยรู้จักประมาณในการรับเมื่อผู้มีศรัทธาอนุญาตให้นำปัจจัย ๔ ไปได้
๑๑. บูชาโคผู้ ที่เป็นพ่อโค เป็นผู้นำฝูง เทียบด้วยแสดงความเคารพนับถือ พระภิกษุผู้เป็นเถระบวชนาน เป็นบิดาสงฆ์ เป็นผู้นำของสงฆ์.
22  สุขใจในธรรม / เสียงธรรมเทศนา / คำภีร์ ชินาลังการะฎีกา mp3 ครับ เมื่อ: 16 ธันวาคม 2554 14:04:15
คำภีร์ ชินาลังการะฎีกา


เจดีย์อภัยคีรี ที่วัดอภัยคีรีวิหาร เมืองอนุราธปุระ ประเทศศรีลังกา

คำภีร์ พรรณนาคาถา
  แสดงความนอบน้อม, จุดประสงค์ในการแต่งชินาลังการะ ๙ ข้อ, อาเวณิกธรรม ๑...
    ทรงเป็นเผ่าพันธุ์ผู้เดียวของโลกทั้งปวง, พระโพธิสัตว์ทรงเปล่งอาสภิวาจา บันลือสี...
    พรรณนากุลบุตรผู้เป็นโยคาวจร, จตุปาริสุทธิศีล, อเนสนา ๒๑, เจริญพุทธานุสสติเป็นบ...
    พรรณนาคาถาชำระเรื่อง, ปัญหา ๔ ข้อ ใครคือพระพุทธเจ้าเป็นต้น, อาเวณิกธรรม ๑๘, ตถ...
    ตถาคตพละ ๑๐, สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณที่ ๒, อเนกธาตุนานาธาตุญาณที่ ๓, นานาธิมุต...
    ตถาคตพละ ๑๐ ,อาสวักขยญาณที่ ๑๐, มหากรุณาสมาปัตติญาณ
    มหากรุณาสมาปัตติญาณและอรรถกถาในปฏิสัมภิทามรรค
    มหากรุณาสมาปัตติญาณและอรรถกถาในปฏิสัมภิทามรรค ต่อ
    มหากรุณาสมาปัตติญาณและอรรถกถาในปฏิสัมภิทามรรค ต่อ
    ปฏิสัมภิทา ๔, ญาณวัตถุ ๗๗ (ในปฏิจจสมุปบาท ๑๑ คูณ ๗), อจินไตย
    คำถามเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ๑๒ ข้อ เกี่ยวกับรูปกาย พระญาณ พระวจนะ พระฤทธิ์
    พระสุรเสียงประกอบด้วยองค์ ๘ ดุจเสียงพรหม ดังเสียงนกการเวก, พุทธกิจ ๕ ประการ, จ...
    พรรณนาพุทธเขต, สัณฐานและขนาดจักวาฬ, สัณฐานและขนาดภูเขาสิเนรุ
    พรรณนาพุทธเขต, ขนาดภูเขาสิเนรุ, ขนาดภูเขาสัตตบริภัณฑ์, สระใหญ๋ ๗ สระ, ต้นไม้กั...
    สันฐานและอายุของมนุษย์ ๔ ทวีป, พรรณนาสัตว์ดิรัจฉาน, เปรต, อายุเทวดาเทียบกับอาย...
    อุสสทนรก ๑๖ ขุม, สุคติภูมิ ๗, สมบัติของท้าวสักกเทวราช
    สมบัติของท้าวสักกะ ต่อ
    พรหมโลก ๑๖ อรูปพรหม ๔ โลก ๑ - โลก ๓๑
    กัปป์พินาศ, กำเนิดโลกในอัคคัญญสูตร ที. ปา., กัปป์ ๔ อย่าง, พุทธเขต ๓
    อสาธารณญาณ, วิปัลลาส ๑๒, สิ่งที่ปิดบังไตรลักษณ์
    อสาธารณญาณ, สิ่งที่ปิดบังไตรลักษณ์, นิยาม ๕
    อสาธารณญาณ, เญยธรรม ๕, อาสภิวาจา, เวสารัชชญาณ ๔
    เรื่องอภินิหารในกาลก่อน, เรื่องสุเมธดาบสออกบวช, ได้อภิญญา ๕ สมาบัติ ๘, กระทำทา...
    เรื่องอภินิหารในกาลก่อน, ค้นคว้าธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า (ปารมีปวิจยญาณ ,พุ...
    พรรณนาการพยากรณ์ จากพระพุทธเจ้า ๒๔ พระองค์
    พรรณนาโพธิสมภาร, การสละทรัพย์ อวัยวะ ชีวิต บำเพ็ญบารมี ๓๐
    พรรณนาโพธิสมภาร, ชาติที่บำเพ็ญปรมัตถบารมี
    จุดประสงค์ในการให้ทาน ๓๐ ประการ, พรรณนาการหยั่งลงสู๋พระครรภ์พระมารดา
    บุพพนิมิต ๓๒ ประการ, พรรณนาสิริสมบัติแห่งพระโพธิสัตว์ผู้ประสูติ
    มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ,
    กรรม ผลที่สมกับกรรม ลักษณะ อานิสงส์แห่งมหาปุริสลักษณะ, อนุพยัญชนะ ๓๒ ประการ
    พรรณนาสมบัติของพระโพธิสัตวเมื่อครองฆราวาส, ปราสาท ๓ หลัง, ทรงแสดงศิลปที่มีอยู่...
    พรรณนามหาภิเนษกรมณ์ เนกขัมมัชธยาศัย การสละจักรพรรดิสมบัติ พระมเหสี พระโอรส นาง...
    คาถาแสดงความอัศจรรย์ในการย่างพระบาทพ้นพระทวารและพรรณนา, คาถาแสดงการเสด็จไปไม่เ...
    การตัดใจจากความรักภายนอก, คาถาแสดงความไม่สงสัย, การตัดความรักภายใน
    พรรณนาการตัดความรักภายในของพระโพธิสัตว์
    พรรณนาการตัดความรักภายใน, นยะ ๕ มูลบท ๑๘ จากเนตติปกรณ์
    พรรณนาการตัดความรักภายใน, อธิบาย คาถาเป็นคู่ (ยมก) โดยนัยต่าง ๆ
    พรรณนาการตัดความรักภายใน, อธิบาย คาถาเป็นคู่ (ยมก) โดยนัยต่าง ๆ
    พรรณนาการตัดความรักภายใน, อธิบาย คาถาเป็นคู่ (ยมก) โดยนัยต่าง ๆ แสดงความไม่สงส...
    พรรณนาการปราชัยของมาร
    พรรณนาการปราชัยของมาร, นารายนพละ-กำลังของพระนารายน์, ปล่อยฝน ๙ ประการ
    พรรณนาการตรัสรู้
    พรรณนาการการตรัสรู้ (ต่อ) อนุปัสสนา ๗, วิสุทธิ ๗
    พรรณนาเทสนาญาณ ทรงประกาศพระธรรมจักร
    ปาฏิหาริย์ ๓ อย่าง, ธรรม ๓๗ ประการ สงเคราะห์ลงในปาฏิหาริย์ ๓
    ทรงแสดงยมกปาฏิหาริยญาณ แสดงพระอภิธรรมปิฎกโปรดพระพุทธมารดา, เสด็จลงจากเทวโลกที่...
    พรรรณนาพระพุทธคุณ ๙ บท, อรหัง
    พรรณนาพระพุทธคุณ ๙ บท, บทว่า สัมมาสัมพุทโธ, พระสัพพัญญุตญาณ พระอนาวรณญาณ พระพุ...
    พรรณนาพระพุทธคุณ ๙ บท, บทว่า วิชชาจรณสัมปันโน, สุคโต
    พรรณนาพระพุทธคุณ ๙ บท, บทว่า โลกวิทู, อนุตตโร ปุริสทัมมสารถิ,(มหาปัญโญ ปุถุปัญ...
    พรรณนาการบูชาพระพุทธเจ้า, คาถาแสดงความปราถนา, คาถาแสดงคำลงท้าย จบ


มี 3 พาสครับ

พาสที่ 1 http://www.mediafire.com/?62a1e204zt3mqny

พาสที่ 2 http://www.mediafire.com/?ej6p9gs12s5jq06

พาสที่ 3 http://www.mediafire.com/?ds01d4m7xfh5j0h
23  สุขใจในธรรม / เสียงธรรมเทศนา / อาจารย์เสถียร โพธินันทะ ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาคนหนึ่งของไทย เมื่อ: 16 ธันวาคม 2554 14:02:40


อาจารย์เสถียร โพธินันทะ ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาคนหนึ่งของไทย ผู้บุกเบิกการศึกษาพระพุทธศาสนามหายาน และอดีตเลขาธิการคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย เกิดที่กรุงเทพมหานคร เมื่อวันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2472 ที่บ้านในตรอกอิศรานุภาพ บริเวณตลาดเก่าเยาวราช ใกล้ ๆ กับวัดกันมาตุยาราม บิดาเป็นชาวจีนชื่อนายตั้งเป็งท้ง มารดาชื่อนางมาลัย กมลมาลย์ มีพี่สาวสองคน ตามประวัติกล่าวว่าเมื่อมารดาตั้งครรภ์อาจารย์เสถียร บิดาก็มีเหตุจำเป็นต้องเดินทางกลับไปประเทศจีนและได้ถึงแก่กรรมในเวลาต่อมา ในวัยเด็ก เด็กชายเสถียรใช้นามสกุลว่า “กมลมาลย์” ตามมารดา จนกระทั่ง พ.ศ. 2491 เมื่อมีอายุได้ 20 ปี จึงได้เปลี่ยนนามสกุลตนเองเป็น “โพธินันทะ” อันหมายถึงผู้ยินดีในความรู้แจ้ง ด้วยประสงค์จะให้ใกล้ชิดกับพระศาสนาและได้ใช้นามสกุลนี้ตลอดมาจนถึงแก่กรรม

ชีวิตในวัยเด็ก

เมื่อมีอายุพอจะรับการศึกษาได้ มารดาจึงได้นำไปฝากให้เรียนในโรงเรียนราษฎรเจริญของครูชม เปาโรหิตย์ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ ๆ กับวัดจักรวรรดิราชาวาส หลังจากนั้นได้ศึกษาต่อชั้นมัธยมที่โรงเรียนมัธยมวัดบพิตรพิมุขจนจบการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 5 จึงได้ลาออก การลาออกทั้งที่มีโอกาสและทุนทรัพย์พอที่จะศึกษาต่อในระดับสูงต่อไปได้นั้น เป็นความประสงค์ของอาจารย์เสถียรเองที่ต้องการความเป็นอิสระ และปรารถนาจะมีเวลาทำการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ที่ต้องการด้วยตนเอง โดยเฉพาะความรู้ทางพระพุทธศาสนาอย่างเต็มที่
นายแพทย์ตันม่อเซี้ยงได้เล่าว่า “คุณเสถียรเริ่มรู้จักกับข้าพเจ้าเมื่ออายุ 15 ปี ครั้งนั้นคุณเสถียรกำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนวัดบพิตรพิมุข เป็นเด็กฉลาดเฉียบแหลม มีปฏิภาณดีมาก และมีความจำยอดเยี่ยมด้วย ทั้งนี้จะเห็นได้จากการที่คุณเสถียรได้รู้จักคุ้นเคยกับอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ แต่ครั้งยังอุปสมบทอยู่ที่วัดกันมาตุยาราม ซึ่งคุณเสถียรได้ศึกษาหาความรู้ทางพระพุทธศาสนาเถรวาทจากอาจารย์ท่านนี้ เพียงระยะเวลาไม่นานก็มีความรู้ในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี ทั้งนี้ได้จากอาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถเป็นเยี่ยมท่านหนึ่ง ประกอบกับสติปัญญาอันเฉียบแหลมของคุณเสถียรเองด้วย”ในเรื่องนี้มารดาของอาจารย์เสถียร โพธินันทะก็ได้เล่าว่าอาจารย์เสถียรสนใจทางพระศาสนามาตั้งแต่เล็ก เมื่ออายุประมาณได้ 3 ขวบก็เริ่มนำดอกไม้ธูปเทียนไปไหว้พระแล้ว
ในสมัยเด็ก เมื่ออยู่ในที่แวดล้อมเป็นคนจีนเด็กชายเสถียรก็ชอบเล่นแต่งกายเป็นพระจีน การวาดเขียนที่ชอบมากคือเขียนรูปพระพุทธเจ้าและรูปบุคคลประกอบเรื่องราวทางพระพุทธศาสนา เมื่ออายุได้ 13–14ปีก็ชอบท่องเที่ยวไปตามวัดต่าง ๆ ทั้งวัดจีน วัดญวน และวัดไทย วัดไทยที่ชอบไปคือวัดจักรวรรดิราชาวาส เพื่อไปสนทนาไต่ถามเรื่องราวต่าง ๆ ทางศาสนากับพระสงฆ์ โดยเฉพาะวัดจีนและวัดญวนนั้นชอบไปดูพิธีทิ้งกระจาด การทำกงเต๊ก และการสวดมนต์ ส่วนในด้านความรู้นั้นก็ได้ศึกษาความรู้เรื่องพระพุทธศาสนามหายานจากหนังสือลัทธิของเพื่อน ของเสฐียรโกเศศและนาคะประทีป แต่ก็รู้จักใช้ถ้อยคำสำนวนได้ถูกต้องตามหลักวิชา ประกอบกับมีความจำเป็นเลิศจึงจดจำเรื่องราวที่อ่านไว้ได้มาก สามารถอธิบายรูปปฏิมาต่าง ๆ ในวัดมังกรกมลาวาส (เล่งเน่ยยี่) ได้ถูกต้องและถี่ถ้วน ยิ่งกว่านั้นการซักถามพระจีนพระญวนที่มีความรู้โดยละเอียดก็เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้มีความรู้ในเรื่องของจีนและญวนแตกฉานขึ้น
ภายหลังจบชั้นมัธยมปีที่ห้าแล้ว จึงได้เข้าศึกษาภาษาจีนที่โรงเรียนเผยอิง ชั่วเวลาเพียงสองปีก็มีความรู้ภาษาจีนแตกฉาน สามารถใช้ศัพท์สูง ๆ ยาก ๆ ในภาษาจีนกลางได้ดี สามารถอ่านพระไตรปิฎกจีนซึ่งอุดมไปด้วยสำนวนโวหารโบราณที่ลึกซึ้งได้อย่างเข้าใจ ทักษะทางด้านภาษาจีนนี้ถือเป็นอัจฉริยภาพอีกประการหนึ่งของอาจารย์เสถียร โพธินันทะ ซึ่งนายแพทย์ตันม่อเซี้ยงได้เล่าว่า "เมื่อครั้งที่ข้าพเจ้าไปแสดงปาฐกถาที่พุทธสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ คุณเสถียรได้ทำหน้าที่ล่ามให้ถึง 3 ครั้ง ครั้งแรกคุณเสถียรมีอายุเพียง 17 ปีเท่านั้น แต่ก็สามารถถ่ายทอดคำปาฐกถาจากภาษาจีนสู่พากย์ไทยได้อย่างดียิ่ง สามารถแปลได้ถูกต้องและครบถ้วนตามเจตจำนงของข้าพเจ้าทุกกระบวนความ คุณเสถียรได้แสดงความเป็นปราชญ์ให้เป็นที่ปรากฏแก่คนทั้งหลายแต่เยาว์วัยทีเดียว และได้แสดงปาฐกถาด้วยตนเองครั้งแรกที่พุทธสมาคมแห่งประเทศไทยเมื่ออายุ 18 ปี"
[แก้]อุปนิสัยรักการศึกษาค้นคว้า

อาจารย์เสถียร โพธินันทะ มีความจำเป็นเลิศมาแต่วัยเยาว์ เมื่ออ่านหนังสืออะไรก็สามารถเล่าได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน ในขณะที่เป็นนักเรียนอยู่เพื่อน ๆ จึงชอบตีวงล้อมฟังเด็กชายเสถียรเล่านิทานและเรื่องราวต่าง ๆ อย่างสนุกสนาน กระทั่งเมื่อ “ยาขอบ” แต่งเรื่อง “ผู้ชนะสิบทิศ” ลงพิมพ์ในสมัยนั้น เด็กชายเสถียรก็เป็นผู้หนึ่งที่มีความสามารถเล่าเรื่องผู้ชนะสิบทิศตามสำนวนของยาขอบได้ดีอย่างแทบไม่น่าเชื่อ เมื่อไปที่บ้านไหนที่มีเด็กมาก ๆ จึงมักถูกขอร้องให้เล่าเรื่องต่าง ๆ จากหนังสือที่ได้อ่านมาให้ฟัง และเป็นที่ถูกอกถูกใจกันทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ทำให้เกียรติคุณด้านปาฐกถาของอาจารย์เสถียรเลื่องลือมาตั้งแต่อายุยังน้อย นอกจากวิชาการทางศาสนาแล้ว หนังสืออีกประเภทหนึ่งที่ท่านชอบมาตั้งแต่เด็กคือเรื่องประวัติศาสตร์ ซึ่งท่านกล่าวว่าศึกษาอย่างสนุกสนานเพลิดเพลินที่สุด ใครอ่านหนังสือตำราประวัติศาสตร์เล่มหนา ๆ กินเวลาหลายวัน แต่เด็กชายเสถียรจะใช้เวลาเพียง 2-3 ชั่วโมงเท่านั้นก็อ่านจบแล้วเล่าเรื่องได้ตลอด ถ้าตรงส่วนไหนชอบมากก็จะอ่านซ้ำ ๆ จนขึ้นใจหรือท่องจำเอาไว้เลย ไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ไทยยุคไหน ตั้งแต่สมัยน่านเจ้า สุโขทัย กรุงศรีอยุธยา หรือรัตนโกสินทร์ เมื่อเล่าประวัติศาสตร์สมัยไหนก็คล้ายตนเองได้เกิดและได้พบเห็นเรื่องราวนั้นด้วยตนเอง ทั้งยังจดจำชื่อบุคคลและลำดับเหตุการณ์ได้ตรงตามรายละเอียดในตำราทุกอย่างจนแทบไม่น่าเชื่อ เป็นเหตุให้ผู้ฟังปาฐกถาในระยะหลัง ๆ มักจะรู้สึกอัศจรรย์ไปตาม ๆ กันว่าเหตุไฉนจึงจำได้แม่นยำนัก ความจำเรื่องราวทางประวัติศาสตร์เหล่านี้สืบมาแต่สมัยที่ยังเป็นเด็กเป็นส่วนมาก
[แก้]พบกับอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ

ในช่วงเรียนอยู่โรงเรียนวัดบพิตรพิมุขอาจารย์เสถียร โพธินันทะ มีโอกาสได้พบกับปราชญ์สำคัญทางพุทธศาสนาของไทยอีกท่านหนึ่งคือ อาจารย์ สุชีพ ปุญญานุภาพ หรืออดีตพระสุชีโว ภิกขุ แห่งวัดกันมาตุยาราม เนื่องจากมีเพื่อนอยู่คนหนึ่งเป็นศิษย์ของท่านสุชีโว ภิกขุ จึงได้มีโอกาสได้ติดตามไปที่วัดและรู้จักท่านสุชีโวภิกขุจากการแนะนำของเพื่อนคนนั้น จนในที่สุดก็มากลายเป็นศิษย์คอยติดตามสุชีโว ภิกขุไปกิจนิมนต์ต่าง ๆ เป็นส่วนมาก ประวัติตอนนี้ อาจารย์ สุชีพ ปุญญานุภาพ ได้เล่าไว้ในหนังสือที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพของอาจารย์เสถียรว่า
"วันแรกที่นายเสถียร โพธินันทะ ไปที่วัดกันมาตุยาราม ได้ตั้งปัญหาถามเกี่ยวกับข้อความที่สำคัญในพระสูตรหลายสูตร เช่น โปฏฐปาทสูตร ในทีฆนิกาย สีลขันธวรรค และอัคคัญญสูตร ในทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ซึ่งได้ทำความแปลกใจให้แก่ผู้ถูกถามเป็นอย่างยิ่งว่าเด็กอายุยังน้อย เหตุไฉนจึงมีความรู้ความสนใจในพระพุทธศาสนามากอย่างนั้น ความรู้สึกประทับใจและเอ็นดูในเด็กชายผู้แสดงปรีชาสามารถให้ปรากฏในวันแรกที่ได้พบปะและรู้จักกันนั้น เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ไปหาและผู้ต้อนรับทั้ง 2 มีความเกี่ยวข้องกันทั้งในทางส่วนตัวและในทางพระพุทธศาสนา จนกระทั่งวาระสุดท้ายที่นายเสถียร โพธินันทะ ได้จากไป…"
[แก้]ก่อตั้งยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย

เมื่ออาจารย์เสถียร โพธินันทะมีอายุราว 17 ปี ท่านสุชีโว ภิกขุ หรืออาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ ได้เชิญให้อาจารย์เสถียร โพธินันทะซึ่งเป็นศิษย์ในวัดกันมาตุยารามไปบรรยายธรรมะให้พุทธศาสนิกชนฟัง ที่ตึกมหามกุฏราชวิทยาลัย หน้าวัดบวรนิเวศวิหาร (ปัจจุบันใช้เป็นสำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง) อาจารย์เสถียรไปถึงที่บรรยายทั้งๆ ที่ใส่ชุดนักเรียน โดยที่ท่านสุชีโว ภิกขุได้ตามไปเป็นพี่เลี้ยงให้ด้วย การบรรยายในวันนั้น สร้างความประทับใจแก่ผู้ฟังเป็นอย่างมาก ที่เห็นวัยรุ่นอายุยังไม่ครบ 20 ปีสามารถบรรยายธรรมได้อย่างแตกฉาน ทำให้เกิดกระแสความต้องการของประชาชนที่จะก่อตั้งเป็นกลุ่มเยาวชนพุทธขึ้นมา เพื่อสร้างศาสนทายาทในฝ่ายฆราวาสขึ้น ผู้เป็นตัวตั้งตัวตีอีกคนในยุคนั้น คือ นายบุญยง ว่องวาณิช นายห้างอังกฤษตรางู ซึ่งสมัยนั้น ติดตามฟังปาฐกถาของสุชีโว ภิกขุและอาจารย์เสถียร โพธินันทะเป็นประจำ
ต่อมา สุชีโว ภิกขุก็นำเรื่องนี้ไปปรึกษาพระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ) วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่ออาจารย์เสถียร โพธินันทะอายุได้ 20 ปีเพื่อขอจดทะเบียนเป็นสมาคม พระพรหมมุนี จึงตั้งชื่อให้ว่ายุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ตั้งแต่บัดนั้น อาจารย์เสถียร ก็ทำหน้าที่ระดมชาวพุทธวัยหนุ่มสาวให้มาทำงานเพื่อพระพุทธศาสนาร่วมกัน ผลการก่อตั้งยุวพุทธิกสมาคม ปรากฏว่ามีนักศึกษามหาวิทยาลัย พ่อค้า ข้าราชการ ที่มีความเห็นตรงกันจำนวนมากสนใจในพระพุทธศาสนา ต่อมา ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งเป็นองค์กรทางศาสนาที่มีบทบาทสำคัญและมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วประเทศและมีชื่อเสียงไปถึงระดับนานาชาติ ภายใต้นายกสมาคมคนใหม่ กล่าวคือ อนุรุทธ ว่องวาณิช ซึ่งเป็นบุตรชายของบุญยง ว่องวาณิชมาจนทุกวันนี้
[แก้]เป็นอาจารย์ในสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย

เกียรติคุณด้านความรอบรู้ในทางวิชาการพระพุทธศาสนาของอาจารย์เสถียร โพธินันทะ ได้แผ่ขยายออกไปสู่สังคม เมื่ออายุได้ 23 ปีจึงได้รับเชิญจากสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย ให้ไปเป็นอาจารย์ผู้บรรยายวิชาประวัติศาสตร์พุทธศาสนา และวิชาพุทธศาสนามหายาน เป็นอาจารย์ที่มีอายุน้อยที่สุดในสภาการศึกษา ฯ แต่ก็ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างดียิ่ง และในระหว่างที่เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยสงฆ์นี้ อาจารย์เสถียรได้เขียนบทความและหนังสือไว้เป็นอันมาก ซึ่งผลงานเหล่านี้มีความสำคัญยิ่งต่อวงการศึกษาพุทธศาสนา ที่ใช้เป็นตำราประกอบการศึกษาค้นคว้าและอ้างอิงมาจนทุกวันนี้ หนังสือเล่มสำคัญ ๆ ได้แก่ ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา , พระพุทธศาสนาในราชอาณาจักรไทย , ปรัชญามหายาน , พุทธศาสนาในอาเซียกลาง และบทความทั้งสั้นและยาวรวมเล่มอีกเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2508 หนังสือเมธีตะวันออกของอาจารย์เสถียร โพธินันทะ ก็ได้รับรางวัลหนังสือดีเด่นจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) และมีการพิมพ์ซ้ำเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน และผลงานสำคัญที่สุดที่ถือได้ว่าเป็นผลงานอมตะคืองานแปลพระสูตรฝ่ายมหายานจากภาษาจีน คือ วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร และ วิมลเกียรตินิทเทศสูตร
[แก้]เกียรติคุณด้านปาฐกถา

นอกจากหน้าที่ในการเป็นอาจารย์แล้ว อาจารย์เสถียร โพธินันทะ ยังเป็นนักปาฐกถาอีกด้วย งานสำคัญที่ปฏิบัติตลอดมาคือการแสดงปาฐกถาเกี่ยวกับวิชาการทางด้านพระพุทธศาสนา ปรัชญา และประวัติศาสตร์ และก็เป็นนักปาฐกถาชั้นเยี่ยมที่มีคนนิยมมาก เพราะเป็นผู้มีความรู้กว้างขวาง มีความจำดี ชอบค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ ทั้งยังชอบขบคิดหรือค้นคว้าเรื่องยาก ๆ เ รื่องอะไรที่เห็นว่าสำคัญพอจะท่องจำไว้ได้ก็ท่องจำไว้ทีเดียว และด้วยมีความรู้หลายภาษาจึงสามารถศึกษาได้กว้างขวางลุ่มลึก เป็นที่ถูกอกถูกใจแก่บรรดาปัญญาชนผู้ใฝ่หาความรู้ เมื่อมีประกาศทางหนังสือพิมพ์ว่าอาจารย์เสถียรจะไปพูด ณ ที่ใด ก็จะมีคนติดตามไปฟังแน่นขนัดเสมอ งานแสดงปาฐกถานี้เป็นงานที่กระทำต่อเนื่องกว่าสิบปี ทั้งที่ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย และที่พุทธสมาคมอื่น ๆ หลายแห่ง รวมถึงตามมหาวิทยาลัยและตามโรงเรียนต่าง ๆ ซึ่งปรากฏว่าเด็กและเยาวชนให้ความสนใจกันมาก
[แก้]มรณกรรม

วันที่ 9 ธันวาคม 2509 อาจารย์เสถียร โพธินันทะได้กลับมาบ้านในเวลา 21.00 น. แล้วอาบน้ำชำระร่างกาย จากนั้นเมื่อเลยเที่ยงคืนไปแล้วจึงได้เข้านอน ถึงวันรุ่งขึ้นในเวลาเช้า เด็กรับใช้ขึ้นไปเรียกเห็นเงียบก็ลงมาบอก มารดาเข้าใจว่ายังหลับอยู่จึงออกไปซื้อของนอกบ้าน จนสายราว 8.00 น. กลับมาเห็นยังไม่ตื่นจึงได้ขึ้นไปดูเห็นอาการนอนนิ่ง เมื่อเข้าไปดูใกล้ ๆ ก็ตกใจ จึงให้หลานชายไปตามแพทย์มาตรวจ แพทย์สันนิษฐานว่าสิ้นลมมาราว 6-7 ชั่วโมงแล้ว ลักษณะการถึงแก่กรรมของท่านเหมือนคนนอนหลับธรรมดา หน้าตาเปล่งปลั่งมีรอยยิ้มน้อย ๆ ไม่มีร่องรอยว่ามีทุกขเวทนาใด ๆ แม้เมื่อนำศพไปตั้งบำเพ็ญกุศลที่วัดจักรวรรดิราชาวาสแล้วและยังมิได้ปิดฝา ในหัวค่ำวันที่ 10 ธันวาคมนั้น ใคร ๆ ไปเยี่ยมศพก็จะเห็นว่าร่างท่านสมบูรณ์ ยังมีหน้าตาเปล่งปลั่งมีเลือดฝาดเหมือนกับคนนอนหลับ นับได้ว่าจากไปด้วยอาการอันสงบ ต่อมาได้มีการจัดงานพระราชทานเพลิงศพขึ้น ณ วัดเทพศิรินทราวาส รวมสิริอายุได้ 38 ปี ตลอดมาได้ดำรงตนเป็นฆราวาสมุนี ถือพรหมจรรย์ และประพฤติธรรมตราบจนสิ้นอายุขัย.


ผลงานของท่านมี 60 ตอน ที่ได้บันทึกเอาไว้แบ่งเป็น 3แผ่น CD มีให้โหลด 9 พาส

แผ่นที่ 1 พาส 1 http://www.mediafire.com/?jo467y432554svk

แผ่นที่ 1 พาส 2 http://www.mediafire.com/?92u4czj3j4ae1ll

แผ่นที่ 1 พาส 3 http://www.mediafire.com/?u3dl2leaj850272


แผ่นที่ 2 พาส 1 http://www.mediafire.com/?xr4ams4q77wyq7r

แผ่นที่ 2 พาส 2 http://www.mediafire.com/?pd19ktt7p50c4d4

แผ่นที่ 2 พาส 3 http://www.mediafire.com/?u6xvxd7jqgms7i5


แผ่นที่ 3 พาส 1 http://www.mediafire.com/?m17a8ygr59q7o5w

แผ่นที่ 3 พาส 2 http://www.mediafire.com/?901q14d234r1a9b

แผ่นที่ 3 พาส 3  http://www.mediafire.com/?3pw4ejd9yvjj939
24  สุขใจในธรรม / เสียงธรรมเทศนา / ธรรมคีตะ-ปลุก-ปลง-ธรรม เมื่อ: 16 ธันวาคม 2554 13:59:56
ธรรมคีตะ-ปลุก-ปลง


ดาวโหลด..เสียงธรรม


ดาวโหลด..เสียงปลุก


ดาวโหลด..เสียงปลง

25  สุขใจในธรรม / เสียงบทสวดมนต์ / บทสวดมนต์ทำวัตรสวดามนต์แปล (ภาคเช้า-เย็น) เมื่อ: 16 ธันวาคม 2554 13:56:12


บทสวดมนต์ทำวัตรสวดามนต์แปล (ภาคเช้า-เย็น)


http://www.4shared.com/file/dqs-01Iu/__-_.html?
26  สุขใจในธรรม / เสียงบทสวดมนต์ / บทสวดมนต์รวม มหานิกาย (เหมาะสำหรับภิกษุ-สามเณร ไว้หัดสวดครับ) เมื่อ: 16 ธันวาคม 2554 13:54:47



บทสวดมนต์รวม มหานิกาย

1.เจริญพระพุทธมนต์ ๗ ตำนาน
2.ให้พร
3.ธรรมจักร
4.ธัมมนิยามสูตร
5.อนัตลักขณสูตร-อาทิตปริยายสูตร
6.อภิธรรม ๗ คัมภีร์-สวดแจง-มาติกา และอื่นๆ


http://www.4shared.com/file/pRAV9OWg/_online.html?
27  สุขใจในธรรม / เสียงบทสวดมนต์ / บทสวดมนต์รวม ธรรมยุตินิกาย (เหมาะสำหรับภิกษุ-สามเณร ไว้หัดสวดครับ) เมื่อ: 16 ธันวาคม 2554 13:53:11
บทสวดมนต์รวม ธรรมยุตินิกาย


1.เจริญพระพุทธมนต์ ธรรมยุติ
2.ธรรมจักรกัปวัตนสูตร ธรรมยุติ
3.อนัตตะลักขณสูตร ธรรมยุติ
4.อาทิตตะยะสูตร ธรรมยุติ

ดาวโหลด http://www.4shared.com/file/pCUQ19_u/__online.html?
28  สุขใจในธรรม / เสียงบทสวดมนต์ / ภิกขุปาฏิโมข์ (เหมาะสำหรับภิกษุ-สามเณร ไว้หัดสวดครับ) เมื่อ: 16 ธันวาคม 2554 13:51:24


ภิกขุปาฏิโมข์ (เหมาะสำหรับภิกษุ-สามเณร ไว้หัดสวดครับ)

http://www.4shared.com/file/M3g6esJy/_online.html?
29  สุขใจในธรรม / สมถภาวนา - อภิญญาจิต / อภิญเญยธรรม - ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง(ไม่ใช่วิธีทำฤทธิ์น่ะครับ) เมื่อ: 16 ธันวาคม 2554 13:47:53
อภิญเญยธรรม - ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง(ไม่ใช่วิธีทำฤทธิ์น่ะครับ)




โหลดหมด 4 พาสครับ

30  สุขใจในธรรม / เสียงธรรมเทศนา / เล่านิทานเซ็น ธรรมสภา.mp3 ครับ ฟังแล้วได้แนวคิดที่แตกต่างครับ เมื่อ: 16 ธันวาคม 2554 13:45:42
เล่านิทานเซ็น ธรรมสภา.mp3 ครับ ฟังแล้วได้แนวคิดที่แตกต่างครับ.

31  สุขใจในธรรม / เสียงธรรมเทศนา / นิทานธรรมบท ๑๔๒ เรื่อง เต็มชุด เมื่อ: 16 ธันวาคม 2554 13:34:52


นิทานธรรมบท ๑๔๒ เรื่อง เต็มชุด

http://www.4shared.co
32  สุขใจในธรรม / เสียงธรรมเทศนา / ไตรภูมิพระร่วง / ไตรภูมิกถา / เตภูมิกถา เมื่อ: 16 ธันวาคม 2554 13:31:55


ลักษณะการประพันธ์


1. เป็นวรรณคดีเล่มแรก ที่ได้มีการรวบรวมเนื้อหาสาระจากคัมภีร์ต่าง ๆ ในพุทธศาสนา, พระไตรปิฎก, อรรถกถา และ อื่น ๆ มากกว่า 30 คัมภีร์ โดย พญาลิไททรง

2. การใช้ถ้อยคำที่มีสัมผัสและความคล้องจอง ได้อย่างไพเราะ และ สละสลวย

3. ศาสนาโวหารและพรรณนาโวหาร

4. มีการเปรียบเทียบเชิงอุปมา อุปไมย และ การใช้ภาษาจินภาพ ที่ทำให้เห็นภาพได้อย่างชัดเจน อีกทั้งยังทำให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกคล้อยตามเป็นอย่างดี


5. วิธีการจัดเรียบเรียง

- เริ่มต้นด้วยคาถานมัสการเป็นภาษาบาลี

- บานแพนกบอกชื่อผู้แต่ง

- วันเดือนปีที่แต่ง

- ชื่อคัมภีร์ต่าง ๆ

- บอกจุดมุ่งหมายในการแต่ง

---------------------------------------------------------------------
จุดเด่น

1. - เป็นวรรณคดีโบราณที่ใช้ภาษาไทยแบบเก่า
และมีการใช้ศัพท์ทางศาสนาและภาษาไทยโบราณอยู่มาก

2. มีการใช้ภาษาตลอดจนสำนวนโวหารต่าง ๆ
ในสมัยกรุงสุโขทัย


3. อธิบายได้อย่างละเอียดและชัดเจน

ความสำคัญ


1. ให้คนรุ่นหลังได้รับความรู้ทางวรรณคดี อันเป็นความคิดของคนโบราณ


2. เป็นพื้นฐานของวรรณคดีไทย เช่น พระอินทร์ แท่นบัณพุกัมพล ช้างเอราวัณ เขาพระสุเมรุ ป่าหิมพานต์ ต้นปาริชาติ ต้นนารีผล นรก สวรรค์ เป็นต้น


3. สอนเรื่องบาปบุญคุณโทษ ทำดีขึ้นสวรรค์ ทำบาปจะตกนรก เชื่อในผล แห่งกรรม


4. ค่านิยมในสังคม คือ การเป็นคนใจบุญ มีเมตตากรุณา รักษศีล บำเพ็ญทาน รู้จักเสียสละ


5. จิตกรนิยมนำเรื่องราวในไตรภูมิพระร่วงไปวาดเป็นภาพสีไว้ที่ผนังในโบสถ์วิหาร ตรงบริเวณด้านหลังพระประธาน โดยจะเขียนภาพสวรรค์ไว้ด้านบนและภาพนรกไว้ด้านล่าง เป็นต้น


6. เป็นวรรณคดีที่สำคัญทางศาสนา ในสมัยสุโขทัย ที่มีอิทธิพลต่อคนไทยมาก

---------------------------------------------------------------------
เนื้อหา


การกล่าวถึง 3 ภูมิ รวมทั้งหมด 8 หมวด คือ

1. กามภูมิ 3 หมวด

2. รูปภูมิ 4 หมวด

3. อรูปภูมิ 1 หมวด

---------------------------------------------------------------------
รายละเอียดของเนื้อหา


1. แสดงให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง

2. ความไม่แน่นอน ของ มนุษย์, สัตว์, อีกทั้ง สิ่งที่ไม่มีชีวิต เช่น ภูเขา แม่น้ำ แผ่นดิน ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์

3. ความเปลี่ยนแปลงนี้กวีไทยเรียกว่า “ อนิจจลักษณะ ”

---------------------------------------------------------------------
ประวัติผู้แต่ง


- พญาลิไท หรือ พระมหาธรรมราชาที่ 1

- กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งกรุงสุโขทัย

- ทรงพระนามว่า พระเจ้าศรีสุริยพงสรามมหาธรรมราชาธิราช

- ครองราชย์ใน พ.ศ. 1890

- เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 1911

- ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นหลังจากที่ทรงผนวชแล้ว

- หลังจากขึ้นครองราชย์ได้ 6 ปี

- ทรงประพันธ์ ประมาณ ปี พ.ศ. 1896

- ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนากระทั่งเจริญขึ้นเป็นอย่างมาก

- พญาลิไท ได้ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จึงได้ส่งคนไปอาราธนานิมนต์พระสงฆ์ชาวลังการะดับพระเถระเข้ามาพำนักที่กรุงสุโขทัย โดยได้แต่งตั้งให้เป็นพระสังฆราช ของกรุงสุโขทัย พ.ศ. 1902

- ได้สละราชสมบัติออกทรงผนวชที่วัดป่ามะม่วง นอกเมืองสุโขทัยทางทิศตะวันตก จึงทำให้พญาลิไททรงมีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎก

----------------------------------------------------------

วัตถุประสงค์ของผู้แต่ง


1. เพื่อเทศนาโปรดพระมารดา เป็นการเจริญธรรมกตัญญูประการหนึ่ง

2. ใช้สั่งสอนประชาชนให้มีคุณธรรม เข้าใจพุทธศาสนา และช่วยกันดำรงพุทธศานาไว้ให้มั่นคง
 


มี 6 พาสครับ ดาวโหลด

พาสที่ 1
http://www.mediafire.com/?v1jrjstg81kjqp5

พาสที่ 2
http://www.mediafire.com/?fjv4yt9fmy3zbg7

พาสที่ 3
http://www.mediafire.com/?deyviwlremtzbrq

พาสที่ 4
http://www.mediafire.com/?h7dhtbba735sfzw

พาสที่ 5
http://www.mediafire.com/?z1nc749iynu9836

พาสที่ 6
http://www.mediafire.com/?5jclk5mdhs1aap9
33  สุขใจในธรรม / เอกสารธรรม / หนังสือสมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐาน 4 ยุค เมื่อ: 16 ธันวาคม 2554 13:30:24


หนังสือสมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐาน 4 ยุค

http://www.4shared.com/document/OpD-ypGT/000_.html?

หนังสือสมถะและวิปัสสนาของเก่าหลายสำนวน ได้มาจากต่างถิ่นต่างทาง คือได้มาจาก จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่เป็นของเนื่องมาจากแต่นครเวียงจันทร์
อันพระเถระเจ้าทั้งหลายชาวนครเวียงจันทร์แด่โบราณกาลได้รจนาขึ้นไว้บ้าง ได้มาจากจังหวัดลพบุรีบ้าง ได้มาจากทางพระนครกรุงศรีอยุธยาบ้าง
ได้ที่พระนครกรุงเทพฯ นี้บ้าง หนังสือปวงนี้ พระมหาโชติปญฺโญ ป.๕ วัดบรมนิวาส เป็นผู้รวบรวบจัดพิมพ์ขึ้นไว้เป็นหนังสือ

34  สุขใจในธรรม / เสียงธรรมเทศนา / การบำเพ็ญทานบารมีของโพธิสัตว์ - พระเวสสันดรชาดก .mp3 ครับ เมื่อ: 16 ธันวาคม 2554 13:28:18
พระเวสสันดรชาดก


มี 2 พาสครับ




หน้า:  1 [2]
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.762 วินาที กับ 26 คำสั่ง

Google visited last this page 25 กุมภาพันธ์ 2567 09:46:21