[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
27 เมษายน 2567 01:09:04 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก เวบบอร์ด ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

  แสดงกระทู้
หน้า:  1 [2] 3 4 ... 30
21  สุขใจในธรรม / ธรรมะ มิวสิค (เพลงธรรมทั่วไป) / ปางเมื่อพระองค์ปะระมะพุท พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเ­จ้าอยู่หัว เมื่อ: 09 มกราคม 2557 01:38:45
ปางเมื่อพระองค์ปะระมะพุท ร้องโดย ปาน ธนพร

"ปางเมื่อพระองค์ปะระมะพุทธ" (The Great Triumph of The Buddha)

คำสรภัญญะ : พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเ­จ้าอยู่หัว

เรียบเรียง : วงศ์วริศ อาริยวัฒน์

ศิลปิน : ธนพร แวกประยูร

บทเพลงฟังก่อนนอน จะได้หลับสบาย




ไพเราะมาก
22  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ อนามัย / บร็อกโคลี่ต้านมะเร็ง แนะวิธีกินเพิ่มคุณค่าสูง เมื่อ: 13 ธันวาคม 2556 11:49:57
บร็อกโคลี่ต้านมะเร็ง แนะวิธีกินเพิ่มคุณค่าสูง



บร็อกโคลี่เป็นผักที่มีประโยชน์ มีคุณค่าทางอาหารสูง อุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีน (betacarotene) เส้นใยอาหาร วิตามินซี รวมไปถึงสารอาหารต่างๆ อีกหลากหลายชนิด มีสารซัลโฟราเฟน (sulforaphane) ซึ่งเป็นตัวช่วยทำให้ตับขับสารพิษ ส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน และยับยั้งการเจริญของเนื้องอก อีกทั้งยังมีคุณสมบัติพิเศษในการต่อต้านมะเร็ง คือ สามารถป้องกันอนุมูลอิสระที่เข้าไปทำลายเซลล์และทำลาย ดีเอ็นเอ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งได้

โดยกลุ่มนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ของสหรัฐอเมริกา ทราบเรื่องนี้ดี และพบด้วยว่ามันมีสารที่ ต้านมะเร็งด้วย อย่างไรก็ตาม สารดังกล่าวเสื่อมสลายได้ง่ายเมื่อต้องผ่านกระบวนการต่างๆ ก่อนที่ผักจะไปวางขายถึงมือผู้บริโภค นักวิจัยจึงค้นหาวิธีรักษาสารตัวนี้เพื่อให้บร็อกโคลี่ยังมีคุณสมบัติต้านมะเร็งได้ดังเดิม

รายงานระบุว่า บร็อกโคลี่ที่วางขาย ไม่ใช่บร็อกโคลี่สด เพราะทางโรงงานอุตสาหกรรม จะลวกผักที่อุณหภูมิ 86 องศาเซลเซียสก่อนเสมอ เพื่อยับยั้งไม่ให้เอนไซม์ในผักทำงานจนส่งผลต่อสี กลิ่น และรสชาติขณะที่ขนส่งผักไปยังร้านค้า

อลิซาเบธ เจฟเฟอรี ศาสตราจารย์ด้านโภชนาการและทีมวิจัยพบว่า กระบวนการนี้จะทำลายเอนไซม์ "ไมโรซีเนส" (myrosinase) ซึ่งจะ ทำปฏิกิริยากับสารอีกตัว ชื่อ "กลูโคราฟานิน" (glucoraphanin) เมื่อมันถูกสับหรือเคี้ยว ซึ่งจะทำ ให้เกิดสารต้านมะเร็ง "ซัลโฟราเฟน"

ด้าน เอ็ดเวิร์ด ดอสซ์ นักศึกษาในคณะทดลองกล่าวว่า จากการนำตัวอย่างบร็อกโคลี่แช่เย็นที่วางขายมาตรวจสอบไม่พบเอนไซม์สำคัญตัวนี้เลยทั้งก่อนและหลังการทำให้สุก

จากการศึกษาต่อมา ทีมวิจัยทดลองลวกผักด้วยอุณหภูมิที่ต่ำลงที่ 76 องศาเซลเซียส และนำไปแช่เย็นพบว่าเอนไซม์ไมโรซีเนสยังเหลืออยู่ร้อยละ 82 เมื่อทดลองฉีดพรมน้ำที่ผสมเศษหัวไช้เท้าซึ่งเป็นผักอีกชนิดที่มีเอนไซม์ไมโรซีเนสพบว่า ช่วยรักษาสารต้านมะเร็งในบร็อกโคลี่ไว้ได้ แม้บร็อกโคลี่จะผ่านการปรุงอาหาร เมื่อทดลองให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 49 องศาเซลเซียสนาน 10 นาที

ทั้งนี้พบว่าหน่อหรือต้นอ่อนของบร็อกโคลี่มีเอนไซม์ไมโรซีเนส และมีปริมาณที่มากกว่าบร็อกโคลี่ต้นที่โตแล้ว ดังนั้นการกินทั้งบร็อกโคลี่และต้นอ่อนของมันจะให้ประโยชน์ที่เพิ่มมากขึ้นกว่าการกินอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว

การรับประทานบร็อกโคลี่เพื่อให้ได้ประโยชน์ในการต้านมะเร็งมากที่สุดนั้น จะต้องไม่ผ่านกรรมวิธีการปรุงอาหารที่มีระยะเวลานานเกินไป

 

23  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ จิบกาแฟ / Re: เหลือเชื่อ นักประดาน้ำ “สะกดจิต“ ฉลามอันตรายให้ “หลับ“ จับให้อยู่ในท่าเด็ด เมื่อ: 13 ธันวาคม 2556 11:45:06
24  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ จิบกาแฟ / เหลือเชื่อ นักประดาน้ำ “สะกดจิต“ ฉลามอันตรายให้ “หลับ“ จับให้อยู่ในท่าเด็ด เมื่อ: 13 ธันวาคม 2556 11:44:43
เหลือเชื่อ นักประดาน้ำ “สะกดจิต“ ฉลามอันตรายให้ “หลับ“ จับให้อยู่ในท่าเด็ด


สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า นักประดาน้ำผู้เชี่ยวชาญด้านการสะกดจิตฉลาม โชว์ทักษะดังอย่างเหลือเชื่อ ด้วยการสะกดจิตฉลามอันตรายให้หลับ เป็นเวลากว่า 15 นาที และจับมันให้อยู่ในท่าที่เขาต้องการ

รายงานระบุว่า นักประดาน้ำดังกล่าว ได้ดำดิ่งลงทะเลในเกาะบาฮามาส ระดับความลึก 45 ฟุต เพื่อเผชิญกับฝูงฉลามจำนวนหลายสิบตัว ก่อนที่เขาจะเลือกฉลามตัวหนึ่ง และ "สะกดจิต" ให้มันหลับ ด้วยการถูจมูกของฉลามดังกล่าวด้วยฝ่ามือ และจับมันให้ตั้งอยู่ในท่าตั้งตัวตรง โดยจมูกของมันอยู่บนฝ่ามือของเขา ขณะที่ฉลามตัวอื่นๆ ไม่ได้สนใจการกระทำดังกล่าว และดูเหมือนจะเป็นมิตรต่อนักประดาน้ำรายนี้ด้วย โดยเหตุการณ์ดังกล่าวถูกบันทึกไว้โดยนักประดาน้ำอีก 2 ราย

ด้านผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ตามธรรมชาติ ฉลามสามารถถูก "สะกดจิต" ได้จากนักประดาน้ำ ด้วยการใช้เทคนิคกระตุ้นให้ฉลามระงับการเคลื่อนไหว หรือ "ตายชั่วคราว" โดยภาวะดังกล่าวจะทำให้ฉลามเกิดภาวะเป็นอัมพาตชั่วคราวจากการถูกถูจมูก ซึ่งภาวะฉลามถูกสะกดจิตจะเกิดขึ้นเป็นเวลาราว 15 นาที อย่างไรก็ตาม ไม่เป็นที่ชัดเจนว่า เพราะเหตุใดฉลามจึงเกิดอาการดังกล่าวเมื่อถูกถูจมูก แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านท้องทะเลเชื่อว่า นี่อาจเป็นกลไกปกป้องตัวเองของฉลามก็ได้



25  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / ดูดวง ทำนายทายทัก / หลักการตั้งชื่อ ตั้งชื่ออย่างไรไม่ให้มีอักษรกาลกิณี เมื่อ: 13 ธันวาคม 2556 11:38:46
ตั้งชื่ออย่างไรไม่ให้มีอักษรกาลกีณี

การตั้งชื่อให้เกิดความเป็นมงคลถือเป็นความเชื่ออย่างหนึ่งของคนไทย ที่นิยมไม่ให้มีตัวอักษรกาลกีณีในชื่อของตน บางคนมีการหากำลังชื่อมีสูตรการคำนวณผลลัพธ์ออกมาแล้วไปหาคำทำนาย เพื่อดูความเป็นสิริมงคลตามความหมายของชื่อนั้นๆ ที่จะนำมาตั้ง


อักษรที่เป็นกาลกิณีตามวันเกิด

อักษรที่เป็นกาลกิณีของคนที่เกิดวันอาทิตย์ คือ ศ ษ ส ห ฬ ฮ

อักษรที่เป็นกาลกิณีของคนที่เกิดวันจันทร์ คือ อ สระทั้งหมด

อักษรที่เป็นกาลกิณีของคนที่เกิดวันอังคาร คือ ก ข ค ฆ ง

อักษรที่เป็นกาลกิณีของคนที่เกิดวันพุธกลางวัน คือ จ ฉ ช ซ ฌ ญ

อักษรที่เป็นกาลกิณีของคนที่เกิดวันพุธกลางคืน (ราหู) คือ บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม

อักษรที่เป็นกาลกิณีของคนที่เกิดวันพฤหัสบดี คือ ด ต ถ ท ธ น

อักษรที่เป็นกาลกิณีของคนที่เกิดวันศุกร์ คือ ย ร ล ว

อักษรที่เป็นกาลกิณีของคนที่เกิดวันเสาร์ คือ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ




26  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ไปรษณีย์ / พี่ๆ พี่ไปรังสิตไหม ? เมื่อ: 13 ธันวาคม 2556 11:25:28



 หัวเราะลั่น


27  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / ร้อยภูติ พันวิญญาณ / พระอาจารย์วิริยังค์ปราบผีปอบ เมื่อ: 13 ธันวาคม 2556 11:21:24
พระอาจารย์วิริยังค์ปราบผีปอบ


มีอยู่วันหนึ่ง หมู่บ้านที่อยู่ไม่ไกลจากบ้านนามนนี้เท่าไรนัก เกิดมีการลือว่าผีปอบกำลังอาละวาดและมีผีป่าเข้าผสม มีการตายกันไม่เว้นแต่ละวัน ชาวบ้านได้มีความเชื่อว่าผีอาละวาดจริง ต่างก็พากันครั่นคร้ามหวาดเสียว กลัวกันเป็นการใหญ่ พวกชาวบ้านได้ส่งตัวแทนมาที่ท่านอาจารย์มั่น ฯ ขอให้ไปไล่ผีให้พวกเขาด้วย เมื่อตัวแทนชาวบ้านนั้น มีอยู่ ๓-๔ คนมากราบพระอาจารย์แล้วก็เล่าถึงเหตุเภทภัยที่พวกเขากำลังได้รับอยู่ให้ท่านฟัง

เมื่อท่านได้ฟังแล้วจึงบัญชาให้ผู้เขียนไปจัดการแก้ไขพวกผีปอบ อันที่จริงผู้เขียนก็เคยจัดการเรื่องผีๆ มาหลายครั้งแล้ว มาคราวนี้ท่านอาจารย์มั่นฯมาใช้ให้ไปจัดการทั้งๆ ที่พระเถรอื่นๆ ที่มีความสามารถในทางนี้ตั้งหลายองค์ ทำไมท่านจึงไม่ใช้ให้ไปจัดการ แต่กลับมาให้ผู้เขียน ซึ่งขณะนั้นเป็นพระผู้น้อย มีพรรษาเพียง ๓ พรรษาเท่านั้น ก็คงจะเป็นการทดลองความสามารถหรือดูใจว่าจะเชื่อฟัง ก็สุดที่จะเดา แต่ขณะนั้นผู้เขียนก็เป็นผู้คอยดูแลอุปัฏฐากท่านตลอดเวลา ก็เป็นห่วงจะได้ใครมาแทนการอุปัฏฐาก สำหรับผู้ใคร่อุปัฏฐากก็มีมาก เพราะใคร ๆ ก็อยากอยู่ใกล้ชิดตัวท่าน แต่โอกาสไม่ให้เท่านั้น

เป็นอันว่าผู้เขียนเดินทางไป เพื่อจัดการกับผี ได้สามเณรไปเป็นเพื่อนหนึ่งองค์ ไปพักอยู่ที่ป่าใกล้ ๆ บ้านนั้นมีพวกญาติโยมมาแผ้วถางที่อยู่ เห็นเนินปลวกพอที่จะพักชั่วคราวได้ เมื่อพักอยู่ ตกกลางคืนได้มีประชาชนพากันมามากมาย ผู้เขียนสังเกตดูชาวบ้านที่มานั้นดูตื่นๆ คล้ายๆ จะตกใจ เพราะทุกคนเกรงกลัวผี ถึงมันไม่กินเรา มันอาจจะกินลูกเรา เขาคงคิดว่าอาจารย์องค์นี้จะสู้ผีไหวหรือไม่ เพราะดูแล้วก็ยังหนุ่มเด็กอยู่เลยถ้าไม่ไหวพวกเราอาจะถูกผีรุกพวกเราหนักยิ่งขึ้น แต่เขาก็ดูจะมั่นใจว่านี้เป็นศิษย์ของพระอาจารย์มั่น ฯ คงจะมีความสามารถจัดการกับผีได้ท่านจึงส่งมา

ในค่ำคืนวันนั้นผู้เขียนได้แสดงธรรมให้ชาวบ้านฟัง และให้เขารับพระไตรสรณคมน์ แนะนำความเชื่อถือผิดต่าง ๆ พอสมควรแล้วเขาก็พากันกลับบ้าน ตอนจะกลับผู้เขียนได้เตือนพวกโยมว่า

“โยม คืนนี้อาตมาจะไล่ผีที่มีอยู่หมู่บ้านนี้ จะเป็นผีปอบหรือผีอะไรจะไล่ออกให้หมด และขอให้ทุกคนจงบำเพ็ญภาวนาอย่างที่อาตมาสอนไว้โดยทั่วกัน และในคืนนี้ใครมีประสบการณ์อย่างไร ให้มาบอกอาตมาในวันพรุ่งนี้”

เป็นสิ่งที่น่าประหลาดใจ เมื่อวันรุ่งขึ้นพวกประชาชนในหมู่บ้านนี้ ได้มาเล่าความฝันและเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้ผู้เขียนฟังว่า เมื่อคืนนี้สุนัขมันเห่าหอนกันตลอดคืน ทำเอาชาวบ้านนั้นไม่ใคร่หลับกันทีเดียว ต่างก็เข้าใจว่าอาจารย์ได้ใช้วิชาอาคมปราบผีแน่นอนแล้ว และเขาก็เล่าความฝันของโยมหลายคนที่ปรากฏการณ์เช่นเดียวกัน เขาฝันว่า พวกผีนับจำนวนร้อย พากันหอบลูกจูงหลาน มีหน้าตาลักษณะต่าง ๆ กันเดินออกจากหมู่บ้านนี้ไป พลางก็พูดกันว่า อยู่ไม่ได้แล้วโว้ย ร้อนเหลือเกิน พวกกูก็อยู่กันมานานแล้ว ไม่เคยถูกใครบังอาจมารังควานเลย คราวนี้กูสู้ไม่ไหว ดูท่าทางของพวกผีบอกว่าเดินหนีกันอย่างรีบร้อน และในความฝันเขาบอกว่า เวลาเดิน ๆ ถอยหลังมิได้เดินไปข้างหน้า เหมือนคนเรา

มันเป็นการได้ผลรวดเร็วเกินคาด ทำให้จิตใจของชาวบ้านนี้เกิดความเชื่อมั่นในตัวผู้เขียนมากทีเดียว และเขาทั้งหลายก็เชื่อแน่ว่า พวกผีมันไปกันจริง ๆ โดยอาศัยความเชื่อมั่นนี้ ทำให้หมู่บ้านเกิดความสงบเงียบ ได้รับความสุขสบายอย่างยิ่งเพียงชั่ววันเดียว บรรยากาศที่เคยคุกรุ่นด้วยความหวาดเสียว และหวาดระแวงด้วยความกลัวผี ก็หายไปจากหมู่บ้านนี้ยังกะปลิดทิ้ง

ในครั้งนั้นปรากฏว่า ชาวบ้านที่อยู่กันเป็นหมู่ ๆ ใกล้เคียงยิ่งได้ร่ำลือกันว่าผีออกจากบ้านนี้แล้ว มันกำลังบ่ายโฉมหน้าไปโน้น หมายความว่าจะต้องผ่านหมู่บ้านใกล้เคียงเหล่านั้น ต่างก็ตกใจ นึกว่าคงจะมาอยู่กับพวกเรากระมัง พากันมายังผู้เขียนเป็นการใหญ่ ผู้เขียนก็พานั่งสมาธิและแสดงธรรมให้เขาฟัง แต่พวกเขาได้พูดว่า ขอให้ท่านช่วยส่งพวกผีให้พ้นหมู่บ้านของพวกผมด้วยเถิด ผู้เขียนเห็นเป็นโอกาสดี เลยบอกว่าต้องมาฟังเทศน์ทำสมาธิภาวนารักษาศีล พวกเขาเหล่านั้นก็ทำตามทุกอย่าง ซึ่งขณะนั้นจะให้เขาทำอะไรก็ยอม เป็นการให้พวกเขาได้รับธรรมจากผู้เขียนมากทีเดียว จึงนับว่าได้ประโยชน์ไม่น้อยเลย และในเวลาอันรวดเร็วด้วย เมื่อได้ทำพิธีต่าง ๆ เป็นการไล่ผีที่พวกเขาเข้าใจผิดจนรู้เหตุผลในเรื่องนี้ดีแล้ว อยู่กับเขาประมาณอาทิตย์เศษ เรื่องความวุ่นวายของ“ ผีปอบ” ได้สงบลง เป็นความยินดีปรีดาของชาวบ้าน

หายความหวาดผวาแล้ว ผู้เขียนก็ลาพวกเขากลับมาที่บ้านนามน เพื่อพบกับพระอาจารย์มั่น ฯ เข้าประจำหน้าที่เป็นอุปัฏฐากตามเดิม เมื่อพบพระอาจารย์ในวันนั้น ท่านได้ถามว่า

“วิริยังค์ได้แก้มิจฉาทิฏฐิสำเร็จหรือไม่”

ผู้เขียนตอบอย่างภาคภูมิว่า “ได้แก้สำเร็จแล้วทุกประการ”

ท่านได้พูดเสริมต่อไปว่า

“นี้แหละคือประโยชน์และพระภิกษุสามเณรผู้บวชมาแล้วในพระพุทธศาสนา นอกจากจะทำประโยชน์แก่ตนแล้ว ก็ควรจะได้ทำประโยชน์ผู้อื่นต่อไป จึงจะเป็นการเชิดชูไว้ซึ่งพระพุทธศาสนา บางคนเขาว่าพวกเราอยู่ในป่า บ้านนอกบ้านนา เอาแต่ความสุขส่วนตัว ได้รู้ธรรมเห็นธรรมแล้ว ก็หลบตัวซ่อนอยู่ในป่าเขา ไม่ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม ความจริงแล้วพวกเราก็ทำประโยชน์ส่วนรวมกันแล้วทุกองค์ เพราะชาวบ้านนอกบ้านนาที่ยังต้องการผู้เข้าใจในธรรมทั้งส่วนหยาบและละเอียดมาสอนเขา หากพวกเขาไม่มาแนะนำในทางที่ถูกอันเป็นส่วนหยาบและละเอียดแล้ว ก็จะหลงเข้าใจผิดกันอีกมาก นี้แหละคือการทำประโยชน์แก่คนบ้านนอกบ้านนา จะคอยให้เจ้าฟ้าเจ้าคุณผู้ทรงความรู้ในกรุงในถิ่นที่เจริญมาสอนนั้นเห็นจะไม่ไหว เพียงแต่ท่านเดินทางด้วยเท้าสักหนึ่งกิโลสองกิโล ก็ไม่เอาแล้ว พวกเราจึงได้ชื่อว่า ได้มีส่วนช่วยทำประโยชน์แก่ผู้อื่นอย่างลึกซึ้ง ที่ใครอื่นเขามองไม่ใคร่เห็น”

ผู้เขียนนั่งฟังท่านอธิบายก็ซาบซึ้งใจเป็นหนักหนาและเข้าใจอะไร ๆ หลายอย่าง เกี่ยวกับส่วนตัวและส่วนรวม




ประวัติพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ฉบับสมบูรณ์ โดยพระอาจารย์วิริยังค์
28  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ จิบกาแฟ / Re: “พลานาเรีย” ชีวิตอมตะที่ฆ่าไม่ตาย เมื่อ: 19 พฤศจิกายน 2556 12:23:20



Planaria




29  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ จิบกาแฟ / “พลานาเรีย” ชีวิตอมตะที่ฆ่าไม่ตาย เมื่อ: 19 พฤศจิกายน 2556 12:22:57
“พลานาเรีย” ชีวิตอมตะที่ฆ่าไม่ตาย

ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าในยุคนี้สมัยนี้ยังมีใครใฝ่ฝันเรื่องชีวิตอมตะอยู่หรือไม่ แต่ที่แน่ ๆ คือสิ่งมีชีวิตที่นอกจากชีวิตจะเป็นอมตะแล้ว
มันยังเจ๋งกว่าแมงกระพรุนที่ีมีชีวิตอมตะเหมือนกัน ตรงที่มีพลังชีวิตสุดมหัศจรรย์ ที่ต่อให้นำมาสับเป็นชิ้น ๆ มันก็ไม่ตาย
แถมแต่ละชิ้นที่ขาดออกมายังเกิดใหม่ซะอย่างงั้น และนี่แหล่ะคือความสามารถของ "พลานาเรีย"




พลานาเรีย เป็นสัตว์ในกลุ่มหนอนตัวแบน ที่อาศัยอยู่ใต้ก้อนหินก้นแม่น้ำ พวกมันมีร่างกายและสมองแบบง่าย ๆ
ที่เกิดจากเซลล์ประสาทจำนวนมากรวมตัวกัน และสิ่งที่ทำให้เจ้าหนอนพวกนี้เป็นอมตะก็เพราะมันไม่รู้จักแก่ ไม่รู้จักชรา
ซึ่งเป็นผลจากเซลล์ต้นกำเนิดหรือ Stem Cell ที่กระจายอยู่ทั่วร่างกายของมัีนนั่นเอง แถมยังมีสองเพศในตัวเดียวกันอีกต่างหาก
แต่ก็ใช่ว่ามันจะผลิตลูกหลานได้ด้วยตัวเอง เพราะมันยังต้องการน้ำเชื้อจากพลานาเลียตัวอื่นมาทำให้ไข่สุกเหมือนกัน

ก็เป็นธรรมดาของสัตว์ชั้นต่ำนี่หว่า แล้วมันน่าสนใจตรงไหน...นี่แหล่ะที่เป็นที่มาของการค้นพบความสามารถแบบสุดขั้วของมัน
เนื่องจากความเสียหายทางกายภาพนั้นนอกจากจะไม่สามารถฆ่ามันได้แล้ว ยังทำให้มันเพิ่มจำนวนไปในตัวอีกด้วย
และเมื่อนักวิจัยได้นำเจ้าหนอนชนิดนี้มาหั่นเป็นสองท่อน และพบว่าท่อนหัวก็ยังมีชีวิตได้ตามปกติและงอกหางออกมาใหม่ได้อีกด้วย
ส่วนท่อนหางก็สามารถงอกหัวออกมาใหม่ได้อีกต่างหาก ซึ่ง นักวิจัยเคยหั่นพวกมันได้สูงสุดถึง 20 ท่อนโดยไม่ตาย
แถมยังมีหนอนตัวใหม่เพิ่มขึ้นมาถึง 20 ตัว โดยที่ทุกตัวมีเซลล์ทุกอย่าง รวมทั้งอายุเหมือนตัวจริงทุกประการ!!!

แม้จะดูเป็นชีวิตที่เพียบพร้อมสมบูรณ์แบบ และเป็นอมตะ แต่ความเป็นอมตะของมันที่เกิดจาก Stem Cell นั้น
นักวิทยาศาสตร์บางแขนงมีข้อกังขาว่าไม่น่าเป็นไปได้ เพราะแม้แต่แมงกระพรุนที่บอกว่าชีวิตเป็นอมตะ
ก็สามารถสิ้นอายุขัยก่อนเกิดใหม่ ดังนั้นจึงมีการคำนวณความสามารถของ Stem Cell ของเจ้าหนอนชนิดนี้
และคาดว่าเซลล์ดังกล่าวน่าจะช่วยให้มันมีอายุได้นานถึง 200 ปี หรือนานกว่านั้น เพราะเซลล์ของมันมีการแบ่งตัวตลอดเวลา





ที่มา : animals.spokedark.tv
30  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / ไขตำนาน - ประวัติศาสตร์ - การค้นพบ อารยธรรม / พบฟอสซิล งูใหญ่สุดที่เคยอุบัติขึ้นบนโลกที่โคลัมเบีย (สูญพันธุ์ไปแล้ว) เมื่อ: 19 พฤศจิกายน 2556 12:07:43
พบฟอสซิล งูใหญ่สุดที่เคยอุบัติขึ้นบนโลกที่โคลัมเบีย



Biggest snake งูใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยอุบัติขึ้นมาในโลก คืองูที่มีชื่้อว่า Titanoboa cerrejonensis
มันมีความยาว 12.9 เมตร ลำตัวกว้างกว่า 0.9 เมตร มีน้ำหนักประมาณ 1.25 ตัน
(หนักประมาณรถยนต์ขนาดเล็กคันหนึ่ง) โดยมันมีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 60 ล้านปีที่ผ่านมา
ตอนนี้ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว โดยได้มีการค้นพบฟอสซิล (Fossil) กระดูกสันหลังที่ป่าฝนในอเมริกาใต้
ทางตอนเหนือของประเทศโคลัมเบีย ( Colombia )




ด้านซ้ายเป็นกระดูกงูอนาคอนด้า ขนาด 5.1 เมตร ในปัจจุบัน
ส่วนด้านขวาเป็นฟอสซิลกระดูกสันหลัง งูใหญ่ที่สุดในโลก (Titanoboa cerrejonensis)




งู Titanoboa cerrejonensis มีความเกี่ยวพันธุ์กับงู boa constrictor ในปัจจุบัน
มันมีความยาวพอๆกับ T-Rex ทีเดียว แต่เมื่อเจ้างู Titanoboa cerrejonensis
ปรากฎตัวขึ้นมาบนโลกเจ้า T-Rex ก็สูญพันธุ์ไปแล้ว 5 ล้านปี



31  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / ร้อยภูติ พันวิญญาณ / ตำนาน เนโกะมะตะ แมวผีแห่งเมืองอาทิตย์อุทัย และแมวกวัก เมื่อ: 19 พฤศจิกายน 2556 12:02:41

ตำนาน เนโกะมะตะ แมวผีแห่งเมืองอาทิตย์อุทัย


 
เนะโกะมะตะ หรือ แมวผี (ญี่ปุ่น: 猫又 Nekomata) มีเรื่องเล่ามาว่า เมื่อแมวบางตัวมีอายุมากจะมีตบะสูงขึ้น แล้วกลายเป็นแมวผี ที่เรียกว่าบะเกะเนะโกะ (化け猫) ซึ่งมีหลายวิธีที่มันจะสามารถกลายเป็นบะเกะเนะโกะได้ และเมื่อหางมันแยกออกเป็น 2 หาง มันถึงจะพัฒนากลายเป็นเนะโกะมะตะ ซึ่งเนะโกะมะตะสามารถขยายตัวได้ถึง 1 เมตร และส่วนมากจะเดินด้วยขาหลัง 2 ขา และมันเป็นผีที่ไม่ยอมให้ใครมาดูถูก ถ้าใครปฏิบัติกับมันไม่ดี มันจะจดจำอย่างฝังใจ เชื่อกันว่าการเต้นรำของเนะโกะมะตะสามาถควบคุมคนตายได้ และยังเชื่ออีกว่าเนะโกะมะตะเป็นสาเหตุของเพลิงไหม้ที่ผิดปกติ จึงมีความเชื่อบางอย่างที่จะตัดหางแมวออกซะ เพื่อป้องกันไม่ให้มันกลายเป็นเนะโกะมะตะ

เรื่องเล่าของเนะโกะมะตะ แตกต่างกันไปตามแต่ละพื้นที่ บ้างก็เชื่อว่าเนะโกะมะตะจะกินแม้กระทั่งเจ้านายของตัวเอง และการที่ทิ้งแมวไว้กับศพเป็นเรื่องที่เสี่ยงมาก เพราะมันอาจจะปลุกศพให้คืนชีพ และควบคุมศพได้ แต่ขณะเดียวกันก็มีเรื่องที่เล่าถึงเนะโกะมะตะซึ่งหลงรักเจ้านายของตนและแปลงร่างเป็นสาวงามเพื่อใช้ชีวิตด้วย





มะเนะกิเนะโกะ แมวกวัก (ญี่ปุ่น: 招き猫 maneki-neko) เป็นรูปปั้นแมวตามความเชื่อของชาวญี่ปุ่นว่าจะนำโชค นำลาภ สำหรับร้านค้าก็จะดึงดูดลูกค้าให้เข้าร้านเช่นเดียวกับนางกวักของไทย หน้าตาของแมวกวักคล้ายคลึงกับแมวพันธุ์พื้นเมืองของญี่ปุ่นชนิดหนึ่งที่ไม่มีหางที่เรียกว่า เชอแปนิสบ๊อบเทล (Japanese Bobtail)

ตำนานของแมวกวักมีหลายเรื่อง เรื่องที่ขึ้นชื่อ คือ เรื่องที่เล่ากันว่าเกิดขึ้นในยุคเอะโดะ มีหญิงชราคนหนึ่ง ยากจนมาก แต่นางมีแมวเลี้ยงอยู่ตัวหนึ่งและรักแมวมาก มีกินก็กินร่วมกับแมว อดก็อดพร้อมกับแมว จนในที่สุดก็ไม่สามารถเลี้ยงไหว จึงนำไปปล่อย คืนนั้นเอง นางก็นอนเสียใจร้องไห้ทั้งคืน กระทั่งฝันว่าแมว มาบอกกับนางว่า ให้ปั้นรูปแมวจากดินเหนียวแล้วนางจะโชคดี เช้าวันรุ่งขึ้น หญิงชราจึงตื่นขึ้นมาปั้นแมวจากดินเหนียว ไม่ทันไรก็มีคนแปลกหน้าเดินผ่านหน้าบ้านขอซื้อตุ๊กตาแมวตัวนั้นจากนางไป จากนั้นนางก็เพียรปั้นแมวขึ้นมาอีกตัวแล้วตัวเล่า ตุ๊กตาแมวจากการปั้นของนางก็มีผู้มาขอซื้อไปตลอดเวลา นางจึงเริ่มมีเงินทองจากการขายตุ๊กตาแมว และสามารถนำแมวเลี้ยงสุดที่รักของนางกลับมาเลี้ยงได้อีกครั้งหนึ่ง ตั้งแต่นั้นมา จึงเป็นที่ร่ำลือว่า แมวเป็นสัตว์นำโชค และมีการปั้นและวางแมวกวักไว้ตามที่ต่าง ๆ

ปัจจุบัน ในประเทศญี่ปุ่นหรือแม้แต่ในประเทศไทยเองก็ตาม สามารถพบเห็แมวกวักอยู่ทั่วไป มีหลากหลายขนาดและสีสัน บางส่วนก็ทำกลไกให้มือซ้ายสามารถขยับในลักษณะกวักเข้าหาตัวได้ด้วย ในขณะที่มืออีกข้างนึงก็ถือเหรียญไว้ เพราะมีความเชื่อว่า ถ้าแมวที่เลี้ยงไว้ยกขาหน้าขึ้นเสมอหูข้างซ้ายแล้ว จะมีคนมาหา ถ้าเป็นร้านค้าก็จะมีลูกค้าเข้าร้าน





ปีศาจแมวโคมะ เป็นปีศาจที่ปรากฏในตำนานของประเทศญี่ปุ่น เป็นปีศาจแมวผู้ภักดีต่อนาย ที่ปรากฏตัวในเรื่อง "คดีปีศาจแมวแห่งนาเบชิมะ" เป็นหนึ่งใน 3 ตำนานปีศาจแมวที่ได้รับการกล่าวขวัญถึงพอ ๆ กับที่โอกาซากิและอาริมะ มักจะเอามาเล่นเป็นละคร ละครเสภา และภาพยนตร์

ปีศาจแมวมักเป็นกึ่งภูติกึ่งสิ่งมีชีวิต หรือภูติจำแลง แต่โคมะเป็นปีศาจที่ได้รับถ่ายทอดความแค้นมาจากนาย แม้แต่หลังจากถูกปราบได้ ก็สามารถทำลายล้างตระกูลนาเบชิมะได้ เมื่อทำได้ 1 รุ่นก็จะมีหางเพิ่มขึ้นมา 1 หาง และก็ดูเหมือนจะทำได้ถึง 7 รุ่น จึงมีรูปสลักแมว 7 หางอยู่ที่สุสานแมวของวัดฮิเตบายาชิ หมุ่บ้านชิราอิชิ เมืองคินาชิมะ จังหวัดซากะ ประเทศญี่ปุ่น

เริ่มจากการที่ตะกูลนาเบชิมะเข้ายึดครองที่ดินซึ่งแสดงถึงศักดินาของตระกูลริวโซจิ ผู้นำตระกูลนาเบชิมะ ได้สังหารเจ้าบ้านริวโซจิ มาตาชิโร่ซึ่งตาบอด ตายเพราะสาเหตุที่ทะเลาะกันเรื่องการเล่นโกะ และนำศพของมาตาชิโร่ไปฝังเอาไว้ในกำแพงที่กำลังก่อสร้างในบ่อน้ำเก่า แล้วทำเป็นไม่รู้เรื่อง มาสึริผู้เป็นมารดาของมาตาชิโร่ซึ่งกำลังเป็นกังวลเรื่องของลูกชายได้เห็นโคมะคาบเอาหัวของเจ้าของมาก็ได้ฆ่าตัวตายไปพลางสาปแช่งนาเบชิมะอย่างไม่ขาดปาก โคมะได้ดื่มเลือดของมาสึริจึงได้สืบทอดเอาความอาฆาตมาจนกลายเป็นปีศาจแมวเพื่อแก้แค้น

 

ที่มาข้อมูล postjung ภาพจาก internet
32  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ อนามัย / สาเหตุของ รักแร้ดำ เกิดมาจากอะไร เมื่อ: 19 พฤศจิกายน 2556 11:53:27
สาเหตุของ รักแร้ดำ เกิดมาจากอะไร


 
ปัญหารักแร้ดำถือเป็นอีกปัญหาใหญ่ของสาวๆ หลายคนเลยมาดูสาเหตุกันดีกว่าว่าเกิดจากอะไรจะได้แก้ถูกทาง

1. เหงื่อ บางคนเพียงแค่อากาศร้อนนิดหน่อยก็เหงื่อไหลท่วมร่าง พอเป็นคนที่มีเหงื่อออกง่าย ก็กลัวว่ากลิ่นกายจะฟุ้งเตะจมูกคนอื่น เลยจัดหาผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายมาใช้ โดยที่ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของน้ำหอมหรือแอลกอฮอล์ผสมอยู่ เมื่อเหงื่อและน้ำหอมหรือแอลกอฮอล์มาเจอกัน จะเกิดเป็นปฏิกิริยาบางอย่างที่ทำให้ผิวบริเวณนั้นมีสีคล้ำขึ้นนั่นเอง

2. การเสียดสีของผิวหนัง สาวเจ้าเนื้อหรือสาวที่ชอบสวมใส่เสื้อฟิตพอดีตัว ทำให้ใต้วงแขนเกิดการเสียดสีกับเนื้อผ้าบ่อยครั้ง รวมไปถึงการเสียดสีระหว่างผิวใต้วงแขนกับใบมีดโกนด้วย หากว่าคุณเป็นคนหนึ่งที่ชอบใช้ใบมีดโกนขนรักแร้บ่อยๆ อาจจะต้องเปลี่ยนวิธีใหม่จะดีกว่า

3. ไม่เคยขัดผิว ลำพังแค่ผิวหน้ากับผิวกาย สาวๆ บางคนยังอิดออดที่จะคอยหมั่นสครับขจัดเซลล์ผิว เลยไม่แปลกที่พื้นผิวเล็กๆ และไม่โจ่งแจ้งอย่างใต้วงแขนจะไม่ได้รับการดูแลขัดผิว จนทำให้เซลล์ที่ตายแล้วเกิดการทับถมเป็นเวลานาน จนกลายเป็นสีดำหมองคล้ำไม่ขาวใส

4. รักษาความสะอาดไม่เพียงพอ การที่เราเกิดอาการคันหรือมีกลิ่นไม่พึงประสงค์นั้น อาจไม่ได้มาจากสาเหตุอะไร นอกจากการดูแลรักษาความสะอาดผิวใต้วงแขนไม่สะอาด ทำให้เชื้อแบคทีเรียเติบโตอย่างรวดเร็วในบริเวณนั้น ส่งผลให้เกิดการสร้างเม็ดสีผิวผิดปกติ มีผลทำให้ผิวใต้วงแขนมีสีดำคล้ำ

5. ใช้สารเคมีต่อเนื่องมานาน แม้ว่าจะไม่ได้มีเหงื่อหรือกลิ่นกายอะไร แต่สาวๆ หลายคนก็ไม่มั่นใจที่จะออกจากบ้านโดยปราศจากน้ำหอม โรลออนหรือผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย ทั้งที่จริงแล้วผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีส่วนทำให้ผิวใต้วงแขนของเราคล้ำได้ง่าย สาวคนไหนที่ไม่มีกลิ่นตัว อาจจะไม่จำเป็นต้องใช้ หรือถ้าไม่มั่นใจให้ใช้แบบที่ไม่มีสารสร้างกลิ่นหอมที่ระบุว่า "Fragrance-Free"



ที่มาข้อมูล teenee
33  สุขใจในธรรม / บทสวด - คัมภีร์ คาถา - วิชา อาคม / คาถาสักการะบูชา ร.5 วันปิยมหาราช เมื่อ: 22 ตุลาคม 2556 12:08:19
คาถาสักการะบูชา ร.5 วันปิยมหาราช


วันปิยมหาราช ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นที่รักใคร่อย่างล้นเหลือของพสกนิกรทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ พระองค์จึงได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า "สมเด็จพระปิยมหาราช" ซึ่งมีความหมายว่า "พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน" ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคม เป็น "วันปิยมหาราช" และเหตุนี้เองทำให้คนที่เคารพนับถือ สมเด็จพระปิยมหาราช ต่างพากับไปถวายเครืองสักการะ เพื่อขอพรให้ท่านคุ้มครอง ซึ่งนิยมไปกันที่ลานพระบรมรุปทรงม้า โดยสิ่งหลักๆ ที่นำไปสักการะบูชาได้แก่

เครื่องสักการะให้ถวาย
1. น้ำมะพร้าวอ่อน
2. กล้วยน้ำว้า
3. ทองหยิบ
4. ทองหยอด
5. บรั่นดี
6. ซิการ์
7. ข้าวคลุกกะปิ
8. ดอกกุหลาบสีชมพู

สำหรับผู้บูชาครั้งแรกให้จุดธูป 16 ดอก ส่วนครั้งต่อไปจุด 9 ดอก ว่าคาถาดังนี้...

พระคาถาบูชาดวงวิญญาณเสด็จพ่อรัชกาลที่ 5
"นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ) พระสะยามะมินโท วะโร อิติ พุทธะสังมิ อิติ อะระหัง สะหัสสะกายัง วะรัง พุทโธ นะโม พุทธายะ ปิยะ มะมะ นะโม พุทธายะ" (กล่าว 3 ครั้ง)


พระคาถาบูชาพระพุทธเจ้าหลวง แบบย่อ
"พระสะยามะมินโท วะโร อิติ พุทธะสังมิ อิติ อะระหัง สะหัสสะกายัง วะรัง พุทโธ นะโม พุทธายะ" หรือแบบเต็ม "นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)
อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะนาเมอิ อิเมนา พุทธะตังโสอิ อิโสตัง พุทธะปิติอิ พระสะยามะมินโท วะโร อิติ พุทธะสังมิ อิติ อะระหัง สะหัสสะกายัง วะรัง พุทโธ นะโม พุทธายะ มาสีสะมานัง"


พระคาถาอธิษฐานขอพร แต่ห้ามบนบาน
"นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ) พระสยามะมินโท วะโร อัตตัง พุทธะสังมิ อิติ อะระหัง วะรัง พุทโธ นะโม พุทธายะ ปิโย เทวามนุสสานัง"

จงเป็นที่รักของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ปิโย นาคะสัมปันนานัง จงบังเกิดความรักที่มีอนุภาคสูงสุด ปิโย พรหมานะมุตตะโม จงบังเกิดความรักกับผู้มีอำนาจท่านท้าวมหาพรหม เจ้าจอม อินทรา นาค ครุฑ และคนธรรพ์ ปินันทิยัง นะมามินัง ความรัก ความยินดี ความเมตตา จงบังเกิดในเรือนร่างข้าพเจ้าทุกส่วนแม้ปลายเส้นผม

"ปิยะ มะมะ นะโม พุทธายะ (5 จบ) ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาท ข้าพระพุทธเจ้า (นาย นาง นางสาว) ชื่อ...นามสกุล... ต้องการให้พระองค์ท่านช่วยเรื่อง... อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะ นาเมอิ อิเมนา พุทธะตังโสอิ อิโสตัง พุทธะปิติอิ ปิยะ มะมะ นะโม พุทธายะ (3 จบ) พระพุทธเจ้าขอรับด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะขอให้บุญบารมีขององค์เสด็จพ่อ ร.5 สูงยิ่งๆ ขึ้น และแกร่งกล้ายิ่งๆ ขึ้น"




34  สุขใจในธรรม / ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4 / วิธีทำสมาธิตามแบบพระอาจารย์เสาร์ - หลวงพ่อพุธ ฐานิโย เมื่อ: 08 ตุลาคม 2556 10:44:22
วิธีทำสมาธิตามแบบพระอาจารย์เสาร์
โดย หลวงพ่อพุธ ฐานิโย



ธรรมะที่จะนำออกสู่บรรดาท่านทั้งหลายในโอกาสนี้
เผื่อว่ามีอะไรที่ขาดตกบกพร่องก็ใคร่ที่จะถือโอกาสขออภัย
ท่านผู้รู้ทั้งหลายไว้ล่วงหน้าด้วย

เรื่องของธรรมะที่จะนำมาในโอกาสนี้
ก็ควรจะเป็นเรื่องประสบการณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม
ซึ่งปัญหาในการปฏิบัติธรรมในสมัยปัจจุบันนี้ รู้สึกว่าเป็นที่ตื่นอกตื่นใจ
หรือเป็นที่สนใจของบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายโดยทั่ว ๆ ไป

สมัยเมื่ออาตมายังเป็นศิษย์ท่านอาจารย์เสาร์อยู่ทางภาคอีสาน
คนที่สนใจในธรรมะและตั้งใจนั่งสมาธิภาวนากันส่วนมาก
มีแต่คนแก่ ๆ อายุมากแล้ว

ต่อมาในสมัยปัจจุบันนี้ คนหนุ่ม คนสาว คนแก่ มีความสนใจในการปฏิบัติธรรม
แสดงว่าชาวพุทธทั้งหลายมมีความตื่นตัว
และเริ่มจะรู้สึกสำนึกในการแสวงหาที่พึ่งให้แก่ตัวเองมากขึ้นทุกทีๆ

แต่บางครั้งก็ยังเป็น สิ่งที่น่าเป็นห่วง   เกี่ยวกับเรื่องการปฏิบัติธรรม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำสมาธิ เป็นปัญหาที่เราจะต้องทำความเข้าใจว่า
การทำสมาธิที่จัดว่าเป็นสัมมาสมาธินั้นมีความมุ่งหมายอยู่ที่ตรงไหน

ในหลักคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ในเมื่อพระองค์แสดงธรรม โดยมากมักจะมีธรรมเป็นของคู่กัน
เช่น สัมมาสมาธิ-มิจฉาสมาธิ หรือ สัมมาทิฏฐิ-มิฉฉาทิฏฐิ อะไรทำนองนี้
เรื่องความถูกกับความผิดนั้นพระองค์มักจะยกขึ้นมาแสดงคู่กัน

ดังนั้น ปัญหาเรื่องการทำสมาธิในสมัยปัจจุบันนี้
จะว่าลัทธิของใครถูกของใครผิดจะไม่ขอนำมากล่าว

เรื่องถูกหรือผิดอยู่ในความตั้งใจหรือเจตนาของผู้ทำ
ถ้าหากบำเพ็ญสมาธิ มุ่งจะให้จิตสงบ ให้มีจิตมั่นคงต่อการทำความดี
และเพื่อจะให้เกิดมีสมาธิ มีสติปัญญารู้แจ้งเห็นจริงในสภาวธรรมตามความเป็นจริง
เพื่อจะได้เป็นอุบายถ่ายถอนราคะ ความกำหนัดยินดี หรือกิเลสโลภ โกรธ หลง ให้หมดไปจากจิตใจ โดยไม่ได้มุ่งสิ่งอื่นนอกจากความบริสุทธิ์และความพ้นทุกข์
จัดว่าได้ชื่อว่าเป็น สัมมาสมาธิ
ความรู้ ความเห็นของท่านเหล่านั้นก็เป็น สัมมาทิฏฐิ

ทีนี้โดยวิสัยของการปฏิบัติ หรือภูมิจิต ภูมิธรรมที่ เกิดขึ้นนั้น
ในระดับต้นๆ นี้ ก็ย่อมมีทั้งผิด ทั้งถูก

แม้แต่ผู้ที่มีภูมิจิตก้าวขึ้นสู่ภูมิของความเป็นพระอริยบุคคลแล้ว
ก็ยังมีความเห็นผิด เห็นถูก ยกเว้นแต่พระอรหันต์ จำพวกเดียวเท่านั้น

ผู้ที่สำเร็จ โสดา สกิทาคา อนาคา แต่ยังไม่ได้สำเร็จพระอรหันต์   
และทำไมจึงยังไม่สำเร็จพระอรหันต์ื ?
ก็เพราะเหตุว่าัสัมมาทิฏฐิ ในขั้นพระอรหัตตมรรคยังไม่สมบูรณ์
จึงยังข้องอยู่   จึงยังไม่สำเร็จก่อน

เพราะฉะนั้น ความผิด ความถูกนั้น เราอย่าเพิ่งไปด่วนตัดสินว่า ใครผิด ใครถูก
เอากันตรงที่ว่า ใครสามารถทำสมาธิจิตลงไปให้สงบลงไปได้แล้วสามารถที่จะ
อ่านจิตใจของตัวเองให้รู้ซึ้งลงไปว่าสภาพจิตของเราเป็นอย่างไร
เรามีกิเลสตัวไหนมาก และควรจะแก้ไขอย่างไรนี้
เป็นจุดแรกที่เราจะต้องอ่านตัวของเราเองให้ออก

จะว่าสิ่งอื่นผิด สิ่งอื่นถูก นั้นไม่สำคัญ

แม้ว่าเราจะรู้อะไรผิด อะไรถูกแต่เป็นเรื่องนอกตัว นั้นไม่สำคัญ
สำคัญอยู่ที่ว่า   เราอ่านจิตใจของเรา แล้วก็ปรับโทษตัวเอง
แล้วก็ตัดสินตัวเองว่าตัวเองผิด   ตัวเองถูกนั่นแหละ เป็นเรื่องสำคัญที่สุด

ถ้าหากเราไม่สามารถจะจับจุดนี้ได้ เราจะปฏิบัติ หรือบำเพ็ญเพียรภาวนาแค่ไหน
ก็ไม่มีทางที่จะแก้ไขตัวเองได้

อันนี้ เป็นความคิดความเข้าใจของอาตมา ตัวผู้เทศน์ ที่นำมาเล่าสู่กันฟังกับท่านทั้งหลาย
ก็เผื่อว่าท่านทั้งหลายยังได้ช่วยพิจารณาว่าเป็นการเหมาะสมหรือไม่ประการใด

ในฐานะที่อาตมาเป็นลูกศิษย์พระอาจารย์เสาร์
ก็จะได้นำเรื่องการปฏิบัติสมาธิตามสายท่านอาจารย์เสาร์มาเล่าสู่กันฟัง

ท่านอาจารย์เสาร์เป็นพระเถระที่ไม่ได้ศึกษาพระปริยัติกว้างขวาง
ท่านเรียนรู้เฉพาะข้อวัตรปฏิบัติ    อันเป็นหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติโดยตรง

ท่านอาจารย์เสาร์สอบนักธรรมตรีก็ไม่ได้   เพราะท่านไม่สอบ   
แต่ความเข้าใจเรื่อง   พระธรรมวินัยซึ่งเป็นข้อปฏิบัตินั้น
รู้สึกท่านมีความเข้าใจ   ละเลียดละออดีมาก

และท่านอาจารย์เสาร์สอนกรรมฐาน หรือสอนคนภาวนานั้น
มักจะยึดหลักภาวนา พุทโธ เป็นหลัก

ยกตัวอย่าง ในบางครั้ง มีผู้ไปถามท่านว่า   
อยากจะเรียนกรรมฐานอยากจะภาวนาทำอย่างไร ?
ท่านอาจารย์เสาร์จะบอกว่า ภาวนา พุทโธ ซิ

ภาวนา พุทโธ แล้ว อะไรจะเกิดขึ้น ?   
ท่านจะบอกว่าอย่าถาม พุทโธ แปลว่าอะไร ถามไปทำไม
และท่านจะย้ำว่าให้ภาวนา พุทโธๆ ๆ อย่างเดียว

แล้วการภาวนาให้มากๆ ทำให้มากๆ ทำให้ชำนิชำนาญ
ในเมื่อตั้งใจจริง ผลที่เกิดขึ้นไม่ต้องถาม
ทีนี้เราไปถามว่า ภาวนาพุทโธแล้ว   อะไรจะเกิดขึ้น
ทั้งๆ ที่เรายังไม่ต้องลงมือทำ

แม้ว่า ผู้ทำเห็นผลมาแล้ว ท่านให้คำตอบไป
มันก็ไม่เกิดประโยชน์อะไรสำหรับเราผู้ถาม เพราะฉะนั้น ไม่จำเป็นต้องถาม

ถ้าหากว่าท่านอาจจะไปเป็นลูกศิษย์ของท่านอาจารย์องค์ใด องค์หนึ่ง
ที่ท่านสอนให้ภาวนาอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม
ถ้าท่านยังมีความลังเลสงสัยในโอวาทของท่านอาจารย์ของท่านอยู่
ท่านจะภาวนาอย่างไร เพียงไร แค่ไหน ท่านจะไม่ได้รับผลสำเร็จ

เพราะฉะนั้น ท่านจะไปเรียนกรรมฐานจากสำนักไหนก็ตาม
เช่นจะไปเรียนจากสำนัก สัมมาอรหัง ยุบหนอ พองหนอ
หรือกำหนด นาม รูป อะไรก็ตาม
ในเมื่อท่านเรียนมาแล้ว ท่านต้องตั้งใจปฏิบัติอย่างจริงจัง
ปฏิบัติตามคำแนะนำของท่านอย่างจริงจัง จะว่าเอาจริง เอาจัง เชื่อกันจริงๆ   

อย่างสมมติว่าอาจารย์ของท่าน หลังจากสอนบทภาวนาให้แล้ว
อาจารย์ของท่านอาจจะสั่งว่า
ให้ท่านไปนั่งสมาธิ บริกรรมภาวนา วันละ ๓ ครั้ง หรือ ๔ ครั้ง
แต่ละครั้งขอให้ทำได้ครั้งละ ๑ ชั่วโมง ถ้าท่านปฏิบัติตามคำสั่งของท่านอาจารย์ท่านได้
จะเป็นอาจารย์ใดก็ตาม ผลย่อมเกิดขึ้นอย่างแน่นอน   

แต่ถ้าท่านมีความรู้สึกว่า เชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง ทำไปแล้วก็ไม่ได้ผล อย่าทำดีกว่า

ทีนี้ใคร่ที่จะขอทำความเข้าใจกับบรรดาท่านผู้สนใจในการภาวนาทั้งหลาย
ท่านอาจารย์เสาร์สอนให้บริกรรมภาวนา พุทโธๆ ๆ   

พุทโธ นี้เป็นคำบริกรรมภาวนา ในอนุสสติ ๑๐ ข้อ
พุทธานุสสติ ธรรมานุสสติ สังฆานุสสติ
หรืออนุสสติอื่นๆ ที่มีคำบริกรรมภาวนา   ตั้งแต่ข้อ ๑-๘
เรียกว่าต้องใช้คำบริกรรมภาวนา ตามบทหรือตามแบบในการภาวนาในข้อนั้นๆ

การภาวนาอะไร
ที่นึกคำบริกรรมภาวนาในใจ เมื่อเราทำแล้ว จิตจะสงบลงไปได้แค่อุปจารสมาธิ
ใครจะภาวนาอย่างไหน แบบใดก็ตาม ในเมื่อนึกบริกรรมภาวนา   
จิตจะสงบลงไปแค่อุปจารสมาธิ

อุปจารสมาธิมีความหมายเพียงใด แค่ไหน
มีความหมายเพียงแค่ว่าบริกรรมภาวนาแล้ว
จิตมีอาการสงบเคลิ้มๆ ลงไปเหมือนจะนอนหลับ
แล้วจิตมีความสงบนิ่งสว่างขึ้นมา   
แต่ยังมีความรู้สึกเกี่ยวกับเรื่องของกาย ของลมหายใจอยู่
เรียกว่า กายยังปรากฏมีในความรู้สึก

พอมีอาการเคลิ้มๆ ลงไปเท่านั้น คำบริกรรมภาวนาหายไปแล้ว
เช่นอย่างว่าภาวนา พุทโธๆ ๆ   หรือ   ยุบหนอ พองหนอ ก็ตาม
ในเมื่อจิตสงบ เคลิ้ม ๆ ลงไป เกิดความสว่างขึ้นมา   จิตมีอาการนิ่ง
พอนิ่งปั๊บ คำบริกรรมภาวนาหายไปหมด   

เพราะฉะนั้น บริกรรมภาวนาทุกอย่างทำให้จิตนิ่งสงบ
เป็นสมาธิถึงอุปจารสมาธิเท่านั้น ไม่ถึงอัปปนาสมาธิ

ในเมื่อจิตไม่ถึงอัปปนาสมาธิ จิตก็ไม่ถึงสมถกรรมฐาน
เพราะฉะนั้น ผู้ที่กล่าวว่า ภาวนาพุทโธ หรือ บริกรรมภาวนา   จิตสงบลงไปได้
เพียงแค่ขั้นสมถกรรมฐานเท่านั้น   จึงเป็นการเข้าใจผิด
ขอทำความเข้าใจกับนักภาวนาทั้งหลายในเรื่องนี้

เมื่อบริกรรมภาวนาแล้ว จิตไม่ไปถึงอัปปนาสมาธิ   เราจะทำอย่างไร
ในตอนนี้ สิ่งที่จะปรากฏขึ้นในความรู้สึกอย่างที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือความรู้สึกที่มีกาย

นอกจากกวามรู้สึกที่จะมีกายปรากฏขึ้นแล้ว ลมหายใจจะปรากฏขึ้นมา
ถ้ากายปรากฏขึ้นมาให้เพ่งดูกาย เรียกว่า “กายคตาสติ”
ถ้าลมหายใจปรากฏขึ้นในความรู้สึก   ให้กำหนดรู้ลมหายใจ   

แล้วจิตผู้ภาวนายึดเอาอารมณ์อย่างนี้ อย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ปรากฏขึ้นตามจิตของผู้ปฏิบัติแล้ว
จิตตามรู้ในอารมณ์ดังที่กล่าวนั้น เช่น อย่างกายปรากฏ ก็ยึดเอา กายคตานุสสติ
กำหนดดูส่วนใดส่วนหนึ่ง ของร่างกาย หรือจะกำหนด   ผม   ขน   เล็บ   ฟัน   หนัง   เนื้อเอ็น กระดูก ไปจนครบอาการ ๓๒ ก็ได้   
แล้วจะเป็นอุบายทำให้จิตสงบไปถึงสมถกรรมฐาน คือ อัปปนาสมาธิ

ทีนี้ถ้าหากว่าไม่ทำอย่างนั้น   
ลมหายใจปรากฏขึ้นในความรู้สึกก็กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก
ตามรู้ลมหายใจไป   จนกว่าลมหายใจจะละเอียด   

แต่ถ้าลมหายใจละเอียดแล้วลมหายใจหายไป จิตจะสงบเข้าไปอยู่ในอัปปนาสมาธิ
โดยปราศจากความรู้สึก นึกคิด มีแต่จิตนิ่งอยู่เฉยๆ อันนี้จิตเข้าไปสู่สมถะ จิตอยู่ในจิต รู้อยู่เฉพาะในจิตอย่างเดียว   สิ่งที่เรียกว่า ความรู้ ย่อมไม่ปรากฏขึ้น
เพราะในขั้นนี้ ความรู้สึกว่ามีกายก็ไม่มี ความรู้สึกว่ามีลมหายใจก็ไม่มี
เจตนาที่จะน้อมนึกถึงอะไร ในขณะนั้น ไม่มีทั้งสิ้น
เป็นสภาวะจิตที่ไร้สมรรถภาพโดยประการทั้งปวง
อย่างดีก็แค่ทรงตัวอยู่ในความสงบนิ่ง

ถ้าผู้ภาวนาติดอยู่ในช่วงนี้   จิตของท่านจะติดอยู่ในอัปปนาสมาธิ
ถ้าหากว่ามีสมรรถภาพพอที่จะก้าวหน้าไปหน่อย ถ้าอย่างดีก็ไปเดินแบบฌานสมาบัต
ไปอากาสานัญจายตนะ วิญญานัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ
เนวสัญญานาสัญญายตนะ ไปเดินสายศาสนาพราหมณ์ไป   

แต่พุทธกับพราหมณ์ต้องอาศัยกัน ถ้าใครสามารถทำได้ก็ดีเหมือนกัน
อย่าไปปฏิเสธว่าไม่ดี   แต่เมื่อทำได้แล้ว อย่าไปติด
เพราะการเล่นฌานทำให้เกิดอิทธิฤทธิ์ต่างๆ ถ้ารู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ทำให้ติด   
ถ้าไปติดสมาธิในขั้นฌานแล้ว   ภูมิจิต   ภูมิใจ จะไม่เกิด   
ความรู้ก็จะไม่เดินถึงขั้นวิปัสสนา อันนี้เป็นเพียงทางแวะ

ถ้าหากว่า จิตเมื่อดูลมหายใจละเอียดยิ่งขึ้นไปทุกทีๆ
ตามหลักปริยัติท่านเตือนไว้อย่างหนึ่งว่า เมื่อลมหายใจทำท่าจะหายขาดไป
ให้นึกว่าลมหายใจยังมีอยู่ ถ้ากายจะหายไปท่านให้นึกว่ากายยังมีอยู่
ทั้งนี้ก็เพื่ออะไร .. เพื่อให้จิตของเรานั้นไม่ปราศจากสิ่งที่รู้   

ในเมื่อจิตเข้าไปสู่อัปปนาสมาธิอย่างไม่มีอะไร
มีแต่ความรู้สึกในจิตเป็นหนึ่งอย่างเดียว
จิตไม่มีเครื่องรู้ ในเมื่อจิตไม่มีเครื่องรู้ จิตก็ไม่มีฐานที่ตั้ง   
ในเมื่อจิตไม่มีฐานที่ตั้ง ก็ขาดมหาสติปัฏฐาน

เพราะมหาสติปัฏฐานเท่านั้น
ที่จะเป็นฐานสร้างพื้นฐานของจิตให้มีความมั่นคงในการปฏิบัติ   

ทีนี้จิตเข้าไปอยู่ในจิตอย่างเดียว กายก็ไม่มี ลมหายใจก็ไม่มี
มันก็เลยไม่มีที่ตั้ง จิตไม่มีที่ตั้ง ไม่มีที่ระลึก ไม่มีเครื่องรู้
สมรรถภาพทางจิตแม้จะนิ่งได้ก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร   
เพราะฉะนั้น ท่านจึงให้นึกว่ากายจะหายไป ก็ให้นึกว่ากายมีอยู่
ให้จิตมันรู้อยู่ที่กาย   กายเป็นเครื่องรู้ของจิต   เป็นเครื่องระลึกของสติ

ในเมื่อจิตมีกายเป็นเครื่องรู้   สติมีกายเป็นเครื่องระลึก ระลึกอยู่อย่างนั้น เป็นฐานที่ตั้งของสติ
เมื่อจิตมีความรู้ซึ้งเห็นความจริงของกายเมื่อไร เมื่อนั้นมหาสติปัฏฐานก็เกิดขึ้น
เรียกว่า มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ อันนี้คือ แนวทางที่ท่านอาจารย์เสาร์ได้สอนมา

ในตอนต้นๆ อาตมาได้พูดถึงอุปจารสมาธิ   
ในเมื่อผู้บริกรรมภาวนาจิตมีอาการสงบเคลิ้มๆ ลงไป แล้วเกิดสว่าง
ตรงนี้สำคัญมาก   เพราะการบริกรรมภาวนา
ถ้าจิตสงบแล้ว มีอาการเคลิ้มๆ ลงไป จิตเกิดสว่างขึ้นมา

ความสว่างในขั้นนี้ จะมีความรู้สึกว่า แสงสว่างมันพุ่งออกไปทางตา   ออกจากตา
แล้วความสว่างจะมุ่งตรงไปด้านหน้า ในขณะที่จิตสงบลงไปอยู่ในระดับอุปจารสมาธิ
ส่วนมากจะมีลักษณะครึ่งหลับครึ่งตื่น   มีสติบ้าง   ไม่มีสติบ้าง
บางทีก็หลงๆ ลืมๆ   แล้วก็มีความสว่างเป็นเครื่องหมาย   

ความสว่างนี้มีความรู้สึกส่งกระแสออกไปทางตา
ทีนี้ถ้าความสว่างมันส่งกระแสออกไปถึงไหนๆ จิตมันก็พุ่งไปตามแสงสว่างนั้น   
เมื่อจิตออกไปตามแสงสว่าง ย่อมเกิดภาพนิมิตต่างๆ ขึ้นมา

บางทีในตอนนี้ เราอาจจะเห็นภาพคน ภาพสัตว์ หรือบางทีเห็นภูต ผี ปีศาจ
ในเมื่อเห็นรูปภาพต่างๆ   เราก็จะเกิดความสำคัญมั่นหมายว่าสิ่งเหล่านั้นมาขอส่วนบุญ
แล้วก็จะไปตั้งอกตั้งใจ แผ่ส่วนบุญให้เขาทั้งหลายเหล่านั้น
ในเมื่อเกิดมีความตั้งใจขึ้นมา   สภาพจิตที่กำลังเริ่มสงบมันก็เปลี่ยน
คือ เปลี่ยนจากความเป็นสมาธิ จากความสงบ เป็นความไม่สงบ คือสมาธิถอนนั่นเอง

เมื่อสมาธิถอนขึ้นมาแล้ว   ภาพนิมิตต่างๆ ก็หายไปหมด
แม้ว่าเราจะนึกแผ่ส่วนกุศลให้เขาเหล่านั้น
มันจึงมีลักษณะคล้ายๆ กับว่า   เขากลัวบุญเรา   เขาเลยไม่ยอมรับ   เลยหายไปเสีย
แต่แท้ที่จริงแล้ว ภาพนิมิตต่างๆ ที่เรามองเห็นนั้น
ไม่ใช่สิ่งใดสิ่งหนึ่งมาแสดงให้เราเห็น   เป็นจิตของเราปรุงแต่งขึ้นมาเอง   

ทำไมจึงต้องปรุงแต่งขึ้นมาอย่างนั้น ก็เพราะเหตุว่า เราภาวนาแล้วเราอยากเห็น
และโดยส่วนมาก   ครูบาอาจารย์ที่สอนกรรมฐาน   สอนให้ลูกศิษย์นั่งภาวนา
พอเลิกภาวนาแล้วมักจะถามว่า เห็นอะไรบ้าง   

ทีนี้คำว่าเห็นอะไรบ้างนี้ มันก็เลยไปฝังอยู่ในความรู้สึก
ในเมื่อภาวนาลงไปแล้วทุกคนจะต้องเห็น
ถ้าภาวนาไม่เห็นแล้ว แสดงว่าภาวนาไม่ได้ผล
เพราะฉะนั้น เมื่อเรามีอุปาทาน   
อยากรู้อยากเห็นอยู่อย่างนี้ เมื่อภาวนาจิตสงบลงไปแล้ว
สัญญาในอดีตซึ่งมันอยากรู้อยากเห็นขึ้นมา มันก็ผุดขึ้นมาโดยอัตโนมัติ   
เสร็จแล้วมันก็แสดงภาพนิมิตต่างๆ ให้เราเห็น
อันนี้คือประสบการณ์ที่จะเกิดขึ้นภายในจิตของผู้ภาวนา

ถ้าหากผู้ภาวนาเห็นนิมิตแล้วไปเอะใจ สมาธิถอนภาพนิมิตนั้นหายไป ก็เป็นอันว่าแล้วไป
แต่ถ้าต่างว่าในเมื่อเห็นภาพนิมิตเห็นเทวดา เป็นต้น แล้วจิตไปติดอยู่กับเทวดา
ไปเห็นความสวยงามของเทวดา แล้วจะรู้สึกว่าธรรมดาเทวดานั้นจะต้องอยู่บนสวรรค์   

ในเมื่อเรานึกว่าเทวดาอยู่บนสวรรค์ เราก็นึกอยากจะไปดูเทวดาอยู่บนสวรรค์บ้างละ
ก็เลยติดสอยห้อยตามเทวดานั้นไป ซึ่งสุดแล้วแต่เทวดาเขาจะพาไปที่ไหน   
ถ้าหากสมาธิถอนขึ้นก็เป็นอันว่าแล้วไป

แต่ถ้าสมาธิไม่ถอนก็ไปติดกับภาพนิมิตของเทวดานั้น   
แล้วก็ตามหลังเทวดาไปในที่สุดผู้ภาวนาจะมีความรู้สึกคล้ายกับเดินตามหลังเทวดาไป
เมื่อเทวดาไปไหนเขาก็ตามไป ถ้าจิตใจเรานึกว่าจะไปดูสวรรค์
ภาพนิมิตของสวรรค์ก็ปรากฏขึ้น เลยกลายเป็นเรื่องไปเที่ยวสวรรค์
ถ้านึกถึงนรก ภาพนรกก็จะเกิดขึ้น แล้วก็กลายว่า ไปเที่ยวดูนรก
สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นทางผ่านของนักบำเพ็ญจิตบำเพ็ญูภาวนาทั้งนั้น   

เพราะฉะนั้น ครูบาอาจารย์จึงแนะนำสั่งสอนว่า
ในขณะที่เราทำสมาธิภาวนาอยู่นั้น ให้กำหนดรู้ลงที่จิต   
นิมิตภาพต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่าไปสำคัญมั่นหมายว่าเป็นของจริง
เป็นแต่ภาพนิมิตหลอกลวงเท่านั้น

แต่สำหรับผู้ที่มีสติปัญญาพอสมควร ก็สามารถจะน้อมเอานิมิตเหล่านั้น
มาเป็นเครื่องรู้ของจิต มาเป็นเครื่องพิจารณา มาเป็นเครื่องระลึกของสติ
ก็สามารถทำสติ สมาธิ ปัญญา ให้เกิดขึ้นได้
มีความมั่นคงมีความเฉลียวฉลาดในการปฏิบัติได้เหมือนกัน

แต่ส่วนมากจะหลง หลงนิมิตต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้วนั้น สำคัญว่าเป็นจริงเป็นจัง
และยิ่งกว่านั้น   บางทีอาจจะคิดว่า ภาพนิมิตต่าง ๆ ที่เห็นเหล่านั้นเราจะสำคัญว่า
สิ่งเหล่านั้นคือ เจ้ากรรม นายเวร เขาจะต้องมาทวงหนี้อะไรต่ออะไรทำนองนั้น
ซึ่งเป็นการเข้าใจผิด อย่างช่วยไม่ได้

เพราะฉะนั้น นักปฏิบัติทั้งหลาย
ขอให้มีสติสัมปชัญญะระมัดระวัง เรื่องภาพนิมิตต่างๆ
ขอยืนยันว่า ภาพนิมิตต่างๆ เหล่านั้น ไม่ใช่ของจริง เป็นมโนภาพที่เราสร้างขึ้นเอง
มโนภาพนั้นเราตั้งใจจะสร้างขึ้นหรือเปล่า...ไม่ได้ตั้งใจที่จะสร้างขึ้น
แต่เรามีอุปาทาน อยากรู้ อยากเห็น เมื่อจิตสงบลงไประดับอุปจารสมาธิ
แล้วจิตของเราอยู่ในลักษณะครึ่งหลับ ครึ่งตื่น บางครั้งก็มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์
บางครั้งก็ขาดสติ ในช่วงที่เราขาดสตินั้น
ภาพนิมิตจะเกิดขึ้นและภาพนิมิตอันนั้นไม่ใช่ของจริง

ทำไมจึงยืนยันว่าไม่ใช่ของจริง   ทำไมบางตำรับตำรายืนยันว่าเป็นของจริง
แล้วพระองค์นี้ปฏิเสธว่าไม่ใช่ของจริง

ก็เพราะเหตุว่า   ในบางครั้งอาตมาได้เคยพิจารณาดูความตายในตัวของตัวเอง
ก็อยากจะรู้ว่าความตายมันคืออะไร คนเราเกิดมาทั้งทีนี้ ไหน ๆ เราก็ต้องตายอยู่แล้ว
ควรจะรู้จักความตาย ก่อนที่จะตายจริง

พอเสร็จแล้วก็มาพิจารณากำหนดดูความตาย ในเมื่อความตายมันปรากฏขึ้น   
โดยลักษณะที่ว่าจิตมันออกจากร่าง   แล้วก็ไปลอยอยู่ส่วนหนึ่ง
ซึ่งห่างจากร่างกายประมาณ ๒ เมตร   

พอเสร็จแล้วจิตมันก็ส่งกระแสลงมาตรวจร่างกาย
ร่างกายที่นอนเหยียดยาวอยู่นั้น ค่อยๆ เน่าเปื่อยขึ้น อืด ผุพัง ไปตามขั้นตอนของมัน
ในที่สุดก็สลายตัวไม่มีอะไรเหลือ เหลือแต่ความว่าง

พอเสร็จแล้ว ความว่างอันนั้นมันก็กลับเป็นขึ้นมาอีก
เป็นกระดูก โครงกระดูก เป็นเนื้อ เป็นหนัง เป็นรูปร่างสมบูรณ์ กลับคืนมาอีก

แล้วก็สลายตัวลงไปอีก กลับไปกลับมาอยู่อย่างนั้น

ทีนี้สิ่งที่เป็นเครื่องหมายแห่งความตายพอให้เรารู้ว่า ตาย นั่นก็คือ ร่างกายของเรา   
เพราะร่างกายของเรามันนอนเหยียดยาวอยู่ ไม่ไหวติง และสิ่งที่ทำให้เรารู้ว่า ร่างกายเน่าเปื่อย ผุ พัง สลายตัวไป จิตมันออกมาจากความเป็นอย่างนั้นมาแล้ว
มันก็กลับมาเป็นร่าง เป็นตัว เป็นตน อย่างเดิม แล้วร่างกายที่มองเห็นว่าสลายตัวไปนั้น   มันก็ยังอยู่อย่างเก่า
หาได้สลายตัวลงไปไม่
เพราะฉะนั้น จึงยืนยันได้ว่า นิมิตทั้งหลายที่ปรากฏกับผู้ภาวนาในขั้นต้นนี้
คือนิมิตที่จิตของเราปรุงขึ้นมาเป็นภาพเองต่างหาก
ไม่ใช่เรื่องอื่นมาแสดงตัวให้เราเห็น

แม้แต่ร่างกายที่ตายแล้วเน่าเปื่อย ผุ พัง ลงไปก็ตาม ไม่ใช่ร่างกายเป็นตัวแสดง
แต่จิตตัวสังขารตัวปรุงขึ้นต่างหาก ที่มันปรุงแต่งให้เป็นไปอย่างนั้น   

ทำไมมันจึงปรุงแต่ง...เพราะเราอยากรู้   เราอยากเห็น อยากให้มันเป็นอย่างนั้น
อันนี้เป็นอุปาทานเดิมที่เราตั้งใจไว้ว่า   เราอยากจะรู้เห็นเป็นจริงอย่างนี้

ในเมื่อเราฝึกหัดจิตให้เป็นสมาธิ มีสติปัญญาพอที่จะน้อมนึกสิ่งเหล่านั้น
ให้เป็นไปได้ด้วยความแน่วแน่ เมื่อทำจนชำนิชำนาญมันก็ย่อมเป็นไปได้ตามที่ต้องการ

เราสร้างมโนภาพ สร้างนิมิตเหล่านั้นขึ้นมาทำไม...
ก็เพื่อจะเป็นอุบายสอนใจให้มันรู้จริง รู้ว่าเราจะตายจริง   
ตายแล้วมันต้องเน่าจริง เน่าแล้วมันจะต้องสลายตัวสาบสูญไปจริง
เพื่อให้จิตมันรู้สึกสำนึกว่าความตายนี้ใครจะเสียใจก็ตาม ไม่เสียใจก็ตาม   
ใครจะชอบก็ตาม ไม่ชอบก็ตาม ใครจะยินดีก็ตาม ไม่ยินดีก็ตาม   
ในเมื่อถึงวาระที่เขาจะต้องมีอันเป็นไป เขาจะต้องไปตามกฎธรรมชาติของเขา

พระพุทธเจ้าสอนให้พิจารณาความตาย   
ก็เพื่อมุ่งประสงค์จะให้ทุกคนยอมรับสภาพเป็นจริงว่า เราจะต้องตายจริง ๆ
ที่เรากลัวตาย   กลัวความแก่   กลัวภัย อะไรต่างๆ นี้
ที่เรากลัวก็เพราะว่า   เรายังไม่รู้ซึ้งเห็นจริง

ในเมื่อเราไม่รู้ซึ้งเห็นจริง เราก็ไม่ยอมรับสภาพความเป็นจริง
เมื่อเราไม่ยอมรับสภาพความเป็นจริง เราก็ยังปฏิเสธของจริงอยู่นั่นแหละ
ตราบใดที่เรายังปฏิเสธของจริง เราก็เป็นทุกข์วันยังค่ำ

เพราะฉะนั้น การปฏิบัติธรรมนี้ มีจุดมุ่งประสงค์ คือ
๑. เพื่อให้จิตสงบเป็นสมาธิ
๒. เพื่อให้เกิดสติ ปัญญา ซึ่งเกิดจากสมาธิ เรียกว่า สมาธิปัญญา
สมาธิปัญญานี้ คือปัญญาที่เกิดจากจิตสงบเป็นสมาธิ
สามารถที่จะบันดาลให้จิตเกิดความรู้ ภูมิจิต ภูมิธรรม เป็นลำดับ
ซึ่งสุดแล้วแต่สมรรถภาพของผู้บำเพ็ญนั้น   จะสามารถทำให้เป็นไปแค่ไหน

การทำสมาธิโดยทั่วๆ ไป เราไม่จำเป็นจะต้องมีศีลก็ได้
แต่สมาธิของผู้ไม่มีศีลนั้นไม่เป็นไปเพื่อตรัสรู้ มรรค ผล นิพพาน
เช่น สมาธิของนักไสยศาสตร์   

เขาอาจจะบริกรรมคาถาของเขาแล้ว สามารถปล่อยตะปูหรือหนัง
ทำให้คนเจ็บหรือตายได้   อันนี้ก็คืออำนาจสมาธิ
ถ้าสมาธิไม่มีแล้ว หนังแผ่นโตๆ เบ้อเริ่มจะทำให้เล็กได้อย่างไร

ตะปูซึ่งมันไม่มีจิตมีใจ    ไม่มีวิญญาณ
แล้วจะไปปล่อยเข้าท้องเข้าไส้คนได้อย่างไรถ้าไม่มีสมาธิ   
แต่สมาธิเป็นไปเพื่อความทำลายนี้ มุ่งที่จะทำลายนี้เป็นมิจฉาสมาธิ

อย่างที่ญาติโยมทั้งหลายที่พากันทำสมาธิภาวนานี้ ก็ตั้งใจจะภาวนาลงไปแล้ว
สาธุๆ ๆ ข้าพเจ้าภาวนาแล้วขอให้ถูกหวยเบอร์อย่างนี้เป็นมิจฉาสมาธิ
ขอให้ข้าพเจ้ามีคนนับถือมาก ๆ เป็นมิจฉาสมาธิ

สัมมาสมาธิ มุ่งให้จิตตั้งมั่นให้รู้จริง เห็นจริง ภายในจิตใจของตนเอง
อย่างน้อยก็ให้รู้ว่า ใจของเราจิตของเรามันเป็นอย่างไร   
มันเป็นคนขี้โลภ   ขี้โกรธ ขี้หลง   หรืออะไรก็แล้วแต่ อ่านตัวเองให้มันออก
นี้คือจุดที่ต้องการรู้   รู้สิ่งภายนอกนั้นรู้มากมายก่ายกองประการใดก็ตาม
ไม่เกิดประโยชน์สำหรับผู้รู้ ยิ่งรู้มากก็ยิ่งยากนาน

ท่านอาจารย์เสาร์ ท่านอาจารย์มั่น ท่านได้ทดสอบดูแล้ว ความรู้ที่ท่านเคยทำมานั้น
เช่น อย่างสมมติว่า ทำสมาธิได้ดีแล้ว เกิดมีอิทธิฤทธิ์ต่างๆ
ทำเครื่องรางของขลัง มันก็วิเศษ สามารถกระทั่งรู้จิตใจของคน
และบางทีสามารถที่จะนึกภาวนาอยู่ที่กุฏิแล้ว จะนึกให้ใครเป็นอย่างไรๆ ก็ได้
แต่เสร็จแล้ว ยิ่งเก่ง ก็ยิ่งกิเลสตัวโตขึ้น ท่านจึงเห็นว่า มันไม่ถูกทาง

เพราะฉะนั้น สมาธิซึ่งจัดว่าเป็นสัมมาสมาธินั้น
คือ มุ่งตรงต่อ...
- สุปฏิปันโน คือ ผู้ปฏิบัติดี
- อุชุปฏิปันโน ปฏิบัติตรง
- ญายปฏิปันโน ปฏิบัติเพื่อความรู้แจ้งเห็นจริง
- สามีจิปฏิปันโน ผู้ปฏิบัติชอบยิ่ง
ตามแนวทางแห่งสังฆคุณ จึงจะได้ชื่อ สัมมาสมาธิ

ตอนที่อาตมากล่าวว่า การทำสมาธิไม่จำเป็นจะต้องมีศีล
สมาธิที่ไม่มีศีลเป็นหลักประกันนั้นเป็นมิจฉาสมาธิ   
ผู้ภาวนาแล้วมักจะเกิดเป็นสัญญาวิปลาส
นักภาวนาที่ภาวนาเก่งแล้วบางที เสียสติไปก็เพราะศีลไม่บริสุทธิ์

ถ้าหากมีศีลสะอาดบริสุทธิ์ดีแล้ว
ภาวนาอย่างไรไม่เกิดความเห็นผิด สัญญาวิปลาสไม่มี
เพราะศีลตัวเดียวเท่านั้นเป็นเครื่องประกันความบริสุทธิ์ของผู้ปฏิบัติ

เพราะฉะนั้น สาธุชนที่มุ่งที่จะบำเพ็ญเพียรทางจิต   
เพื่อให้บรรลุมรรคผลกันจริงจัง จะต้องมั่นใจ หรือจะต้องตั้งใจให้แน่วแน่ว่า
เราจะต้องเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ตามขั้นภูมิของตนเอง

เพราะความเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์นั้น เป็นการตัดผลเพิ่มของกรรม
อย่างเมื่อวานนี้ เราอาจจะตบยุงอยู่หลายตัว แต่วันนี้เรามีศีลเราก็เลิกการฆ่าสัตว์
เมื่อเราเลิกการฆ่าสัตว์แล้ว ผลบาปที่เกิดจากการฆ่าสัตว์เป็นอันยุติตั้งแต่ที่เราสมาทานศีลมา
เพราะฉะนั้นศีลนี้นอกจากจะเป็นขอบเขตของการใช้กิเลสของคนแล้ว
ยังเป็นหลักประกันความบริสุทธิ์ เป็นการตัดผลเพิ่มของบาป

คนเรานี้สามารถที่จะคิดได้ทั้งดีและชั่ว
แต่เมื่อเราคิดดี เราทำดีนั้น เป็นผลดี
ถ้าเราคิดชั่ว แล้วทำชั่วด้วย อันนั้นเป็นผลเสียหาย
เรื่องของความคิดนี้ เราห้ามไม่ได้ เพราะมันติดมาเป็นนิสัยประจำสันดานแล้ว

แต่เมื่อเราคิดแล้ว เราก็นึกถึงศีลที่เราสมาทาน
คิดจะฆ่านึกถึง ปาณาติบาต คิดจะลักนึกถึงอทินนาทาน
คิดว่าจะละเมิดข้อไหน นึกถึงศีลข้อนั้น แล้วเราก็ไม่ทำลงไป
เป็นอันว่า ยุติการทำชั่วทางกาย ทางวาจาเสียที

ในเมื่อเราไม่มีการทำชั่ว ทางกาย ทางวาจา ผลวิบากที่จะเพิ่มปริมาณขึ้น
เรียกว่าเป็นบาปกรรมที่เราจะต้องไปรับผลสนองนั้น ...
ย่อมเป็นอันสิ้นสุดลงไปแค่นั้น   

ส่วนของเก่าปล่อยให้มันมีอยู่อย่างนั้น แล้วเราก็ทำความดีใหม่เรื่อยไป
เมื่อความชั่วที่เราไม่ได้ทำนั้น มันห่างไปนาน ๆ เข้า
จิตใจของเรามันก็ไม่นึกถึงบ่อยนัก มันก็ห่างจากความชั่วที่เรามีอยู่
เป็นโอกาสที่จะให้เราทำดีๆ ๆ เรื่อยๆ ไป

การทำดีนี้ หรือโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
การภาวนานี้
ถ้าใครไม่สามารถจะเข้าใจในเหตุผลต่างๆ
ก็ทำไปเถอะ

ทำไปอย่างที่ท่านอาจารย์เสาร์ว่า   ภาวนา พุทโธซิ   
ในเมื่อตั้งใจภาวนา พุทโธ อย่างจริงจังแล้ว อย่าไปกลัวว่าจิตจะไม่สงบ
อย่าไปกลัวว่าวิปัสสนากรรมฐานจะไม่เกิดขึ้น
ขอให้มีสมถะกันไว้ก่อนอย่าไปกลัวสิ่งที่เรายังไม่มี

อย่างสมมติว่า อย่างเราจะหาเงินหาทองให้มันร่ำรวย
แต่เรากลัวเป็นเศรษฐี เมื่อไรจะได้เป็นสักที

ทีนี้เราจะภาวนาให้จิตสงบแล้ว แต่ว่าเรากลัวว่าจะไปติดสมถะ
ทั้งๆ ที่จิตของเราไม่เคยผ่านสมถะเลย แล้วเมื่อไรมันจะถึงสมาธิสมถะสักที
เพราะฉะนั้น   อย่าไปกลัวขอให้ทำจริง.






ที่มา: ลานธรรมจักร
35  สุขใจในธรรม / ธรรมะจากพระอาจารย์ / Re: ปัญญาอบรมสมาธิ พระราชญาณวิสุทธิโสภณ (บัว ญาณสัมปันโน) เมื่อ: 08 ตุลาคม 2556 10:41:41


     ชื่อหนังสือ : “ปัญญาอบรมสมาธิ” จากฉบับเดือนมีนาคม 2542

     ผู้พิมพ์/ตรวจ : นุชนาฏ / ปาริชาติ เทียนตระกูล

     วันที่พิมพ์/ตรวจ : 20 กันยายน – 2 พฤศจิกายน 2544

     พิมพ์จากฉบับโรงพิมพ์เรือนแก้ว เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๔๒



36  สุขใจในธรรม / ธรรมะจากพระอาจารย์ / Re: ปัญญาอบรมสมาธิ พระราชญาณวิสุทธิโสภณ (บัว ญาณสัมปันโน) เมื่อ: 08 ตุลาคม 2556 10:41:00
ปัญญา

ทางที่ถูกและราบรื่นของผู้ปฏิบัติก็คือ เมื่อจิตได้รับความสงบพอเห็นทางแล้ว ต้องฝึกหัดจิตให้คิดค้นในอาการของกาย จะเป็นอาการเดียวหรือมากอาการก็ตาม ด้วยปัญญาคลี่คลายดูกายของตน เริ่มตั้งแต่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้น้อย ไส้ใหญ่ อาหารใหม่ อาหารเก่า ๆ ฯลฯ ที่เรียกว่า อาการ ๓๒ ของกาย สิ่งเหล่านี้ ตามปกติเต็มไปด้วยของปฏิกูลน่าเกลียดตลอดเวลา ไม่มีอวัยวะส่วนใดจะสวยงามตามโมหนิยม ยังเป็นอยู่ก็ปฏิกูล ตายแล้วยิ่งเป็นมากขึ้นไม่ว่าสัตว์ บุคคลหญิงชาย มีความเป็นอย่างนี้ทั้งนั้น ในโลกนี้เต็มไปด้วยของอย่างนี้ หาสิ่งที่แปลกกว่านี้ไม่มี ใครอยู่ในโลกนี้ต้องมีอย่างนี้ ต้องเป็นอย่างนี้ ต้องเห็นอย่างนี้ ความเป็นอนิจฺจํ ไม่เที่ยง ก็กายอันนี้ ทุกฺขํ ความลำบากก็กายอันนี้ อนตฺตา ปฏิเสธความประสงค์ของสัตว์ทั้งหลายก็กายอันนี้ สิ่งที่ไม่สมหวังทั้งหมดก็อยู่ที่กายอันนี้ ความหลงสัตว์หลงสังขารก็หลงกายอันนี้ ความถือสัตว์ถือสังขารก็ถือกายอันนี้ ความพลัดพรากจากสัตว์และสังขารก็พลัดพรากจากกายอันนี้ ความหลงรักหลงชังก็หลงกายอันนี้ ความไม่อยากตายก็ห่วงกายอันนี้ ตายแล้วร้องไห้หากันก็เพราะกายอันนี้ ความทุกข์ทรมานแต่วันเกิดจนถึงวันตายก็เพราะกายอันนี้ ทั้งสัตว์และบุคคลวิ่งว่อน ไปมาหาอยู่หากิน ไม่มีวันไม่มีคืน ก็เพราะเรื่องของกายอันเดียวนี้ มหาเหตุมหาเรื่องใหญ่โตในโลก ที่เป็นกงจักรผันมนุษย์และสัตว์ไม่มีวันลืมตาเต็มดวงประหนึ่งไฟเผาอยู่ตลอดเวลา ก็คือเรื่องของกายเป็นเหตุ กิเลสท่วมหัวจนเอาตัวไม่รอด ก็เพราะกายอันนี้ สรุปความเรื่องในโลก คือเรื่องเพื่อกายอันเดียวนี้ทั้งนั้น

เมื่อพิจารณากายพร้อมทั้งเรื่องของกายให้แจ้งประจักษ์กับใจ ด้วยปัญญาอยู่อย่างนี้ ไม่มีวันหยุดยั้ง กิเลสจะยกกองพลมาจากไหนใจจึงจะสงบลงไม่ได้ ปัญญาอ่านประกาศความจริง ให้ใจฟังอยู่อย่างนี้ตลอดเวลา ใจจะฝืนความจริงจากปัญญาไปไหน เพราะกิเลสก็เกิดจากใจ ปัญญาก็เกิดจากใจ เราก็คือใจ จะแก้กิเลสด้วยปัญญาของเราจะไม่ได้อย่างไร เมื่อปัญญาเป็นไปในกายอยู่อย่างนี้ จะไม่เห็นแจ้งในกายอย่างไรเล่า ? เมื่อเห็นกายแจ้งประจักษ์ใจด้วยปัญญาอย่างนี้ ใจต้องเบื่อหน่ายในกายตน และกายคนอื่นสัตว์อื่น ต้องคลายความกำหนัดยินดีในกาย แล้วถอนอุปาทานความถือมั่นในกาย โดยสมุจเฉทปหาน พร้อมทั้งความรู้เท่ากายทุกส่วน ไม่หลงรักหลงชังในกายใดๆอีกต่อไป

การที่จิตใช้กล้อง คือ ปัญญา ท่องเที่ยวในเมือง “กายนคร” ย่อมเห็น “กายนคร” ของตน และ “กายนคร” ของคนและสัตว์ทั่วไปได้ชัด ตลอดจนทางสามแพร่ง คือไตรลักษณ์ อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา และทางสี่แพร่ง คือ ธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ ทั่วทั้งตรอกของทางสายต่าง ๆ คือ อาการของกายทุกส่วน พร้อมทั้งห้องน้ำ ครัวไฟ (ส่วนข้างในของร่างกาย ) แห่งเมืองกายนคร จัดเป็น โลกวิทู ความเห็นแจ้งในกายนครทั่วทั้งไตรโลกธาตุก็ได้ด้วย ยถาภูตญาณทัสสนะ ความเห็นตามเป็นจริงในกายทุกส่วน หมดความสงสัยในเรื่องของกายที่เรียกว่า รูปธรรม

ต่อไปนี้ จะอธิบายวิปัสสนาเกี่ยวกับ นามธรรม คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ นามธรรมทั้งสี่นี้ เป็นส่วนหนึ่งของขันธ์ห้า แต่ละเอียดไปกว่ารูปขันธ์ คือ กาย ไม่สามารถมองเห็นด้วยตา แต่รู้ได้ทางใจ เวทนา คือ สิ่งที่จะต้องเสวยทางใจ สุขบ้าง ทุกข์บ้าง เฉยๆบ้าง สัญญา คือ ความจำ เช่น จำชื่อ จำเสียง จำวัตถุสิ่งของ จำบาลีคาถา เป็นต้น สังขาร คือ ความคิด ความปรุง เช่น คิดดี คิดชั่ว คิดกลางๆ ไม่ดี ไม่ชั่ว หรือ ปรุงอดีตอนาคต เป็นต้น และ วิญญาณ ความรับรู้ คือ รับรู้ รูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัส และธรรมารมณ์ ในขณะที่สิ่งเหล่านี้มากระทบ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ นามธรรมทั้งสี่นี้ เป็นอาการของใจ ออกมาจากใจ รู้ได้ที่ใจ และเป็นมายาของใจด้วย ถ้าใจยังไม่รอบคอบ จึงจัดว่า เป็นเครื่องปกปิดความจริงได้ด้วย การพิจารณานามธรรมทั้งสี่ ต้องพิจารณาด้วยปัญญา โดยทางไตรลักษณ์ล้วนๆ เพราะขันธ์เหล่านี้มีไตรลักษณ์ประจำตนทุกอาการที่เคลื่อนไหว แต่วิธีพิจารณาในขันธ์ทั้งสี่นี้ ตามแต่จริตจะชอบในขันธ์ใด ไตรลักษณ์ใด หรือทั่วไปในขันธ์ และไตรลักษณ์นั้นๆ จงพิจารณาตามจริตชอบในขันธ์และไตรลักษณ์นั้นๆ เพราะขันธ์และไตรลักษณ์หนึ่งๆ เป็นธรรมเกี่ยวโยงถึงกัน จะพิจารณาเพียงขันธ์หรือไตรลักษณ์เดียวก็เป็นเหตุให้ความเข้าใจหยั่งทราบไปในขันธ์และไตรลักษณ์อื่นๆ ได้โดยสมบูรณ์ เช่นเดียวกับพิจารณาไปพร้อม ๆ กัน เพราะขันธ์และไตรลักษณ์เหล่านี้มีอริยสัจเป็นรั้วกั้นเขตแดนรับรองไว้แล้ว เช่นเดียวกับการรับประทานอาหารลงในที่แห่งเดียว ย่อมซึมซาบไปทั่วอวัยวะน้อยใหญ่ของร่างกาย ซึ่งเป็นส่วนใหญ่รับรองไว้แล้ว ฉะนั้น เพราะฉะนั้นผู้ปฏิบัติจงตั้งสติและปัญญา ให้เข้าใกล้ชิดต่อนามธรรม คือ ขันธ์สี่นี้ ทุกขณะที่ขันธ์นั้นๆ เคลื่อนไหว คือ ปรากฏขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป และไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาประจำตน ไม่มีเวลาหยุดยั้งตามความจริงของเขา ซึ่งแสดงหรือประกาศตนอยู่อย่างนี้ ไม่มีเวลาสงบ แม้แต่ขณะเดียว ทั้งภายใน ทั้งภายนอก ทั่วโลกธาตุประกาศเป็นเสียงเดียวกัน คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ปฏิเสธความหวังของสัตว์ พูดง่ายๆ ก็คือ ธรรมทั้งนี้ไม่มีเจ้าของ ประกาศตนอยู่อย่างอิสรเสรีตลอดกาล ใครหลงไปยึดเข้าก็พบแต่ความทุกข์ ด้วยความเหี่ยวแห้งใจตรอมใจ หนักเข้ากินอยู่หลับนอนไม่ได้ น้ำตาไหลจนจะกลายเป็นแม่น้ำลำคลองไหลนองตลอดเวลา และตลอดอนันตกาลที่สัตว์ยังหลงข้องอยู่ ชี้ให้เห็นง่ายๆ ขันธ์ทั้งห้าเป็นบ่อหลั่งน้ำตาของสัตว์ผู้ลุ่มหลงนั่นเอง การพิจารณาให้รู้ด้วยปัญญาชอบในขันธ์และสภาวธรรมทั้งหลาย ก็เพื่อจะประหยัดน้ำตาและตัดภพชาติให้น้อยลง หรือให้ขาดกระเด็นออกจากใจผู้เป็นเจ้าทุกข์ ให้ได้รับสุขอย่างสมบูรณ์นั่นเอง

สภาวธรรมมีขันธ์เป็นต้นนี้ จะเป็นพิษสำหรับผู้ยังลุ่มหลง ส่วนผู้รู้เท่าทันขันธ์และสภาวธรรมทั้งปวงแล้ว สิ่งทั้งนี้จะสามารถทำพิษอะไรได้ และท่านยังถือเอาประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้ได้เท่าที่ควร เช่นเดียวกับขวากหนามที่มีอยู่ทั่วไปใครไม่รู้ไปโดนเข้าก็เป็นอันตราย แต่ถ้ารู้ว่าเป็นหนามแล้วนำไปทำรั้วบ้านหรือกั้นสิ่งปลูกสร้าง ก็ได้รับประโยชน์เท่าที่ควรฉะนั้น เพราะฉะนั้นผู้ปฏิบัติ จงทำความแยบคายในขันธ์และสภาวธรรมด้วยดี สิ่งทั้งนี้เกิดดับอยู่กับจิตทุกขณะ จงตามรู้ความเป็นไปของเขาด้วยปัญญาว่าอย่างไรจะรอบคอบและรู้เท่านั้น จงถือเป็นภาระสำคัญประจำอิริยาบถ อย่าได้ประมาทนอนใจธรรมเทศนาที่แสดงขึ้นจากขันธ์และสภาวธรรมทั่วไปในระยะนี้ จะปรากฏทางสติปัญญาไม่มีเวลาจบสิ้น และเทศน์ไม่มีจำนนทางสำนวนโวหาร ประกาศเรื่องไตรลักษณ์ประจำตลอดเวลา ทั้งกลางวัน กลางคืน ยืน เดิน นั่ง นอน ทั้งเป็นระยะที่ปัญญาของเราควรแก่การฟังแล้ว เหมือนเราได้ไตร่ตรองตามธรรมเทศนาของพระธรรมกถึกอย่างสุดซึ้งนั่นเอง ขั้นนี้นักปฏิบัติจะรู้สึกว่าเพลิดเพลินเต็มที่ ในการค้นคิดตามความจริงของขันธ์ และสภาวธรรมที่ประกาศความจริงประจำตน แทบไม่มีเวลาหลับนอน เพราะอำนาจความเพียรในหลักธรรมชาติ ไม่ขาดวรรคขาดตอน โดยทางปัญญาสืบต่อในขันธ์หรือสภาวธรรมซึ่งเป็นหลักธรรมชาติเช่นเดียวกัน ก็จะพบความจริงจากขันธ์และสภาวธรรม ประจักษ์ใจขึ้นมาด้วยปัญญาว่า แม้ขันธ์ทั้งมวลและสภาวธรรมทั่วไปตลอดไตรโลกธาตุ ก็เป็นธรรมชาติธรรมดาของเขาอย่างนั้น ไม่ปรากฏว่าสิ่งเหล่านี้เป็นกิเลสตัณหาตามโมหนิยมแต่อย่างใด อุปมาเป็นหลักเทียบเคียง เช่น ของกลางที่โจรลักไปก็พลอยเป็นเรื่องราวไปตามโจร แต่เมื่อเจ้าหน้าที่ได้สืบสวนสอบสวนดูถ้วนถี่ จนได้พยานหลักฐานเป็นที่พอใจแล้ว ของกลางจับได้ก็ส่งคืนเจ้าของเดิม หรือเก็บไว้ในสถานที่ควรไม่มีโทษแต่อย่างใด เจ้าหน้าที่ก็มิได้ติดใจในของกลาง ปัญหาเรื่องโทษก็ขึ้นอยู่กับโจร เจ้าหน้าที่จะต้องเกี่ยวข้องกับโจรและจับตัวไปสอบสวนตามกฎหมาย เมื่อได้ความตามพยานหลักฐานถูกต้องตามกฎหมายว่าเป็นความจริงแล้ว ก็ลงโทษผู้ต้องหาตามกฎหมายและปล่อยตัวผู้ไม่มีความผิดและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องออกไปเป็นอิสรเสรีตามเดิมฉันใด เรื่องอวิชชาจิตกับสภาวธรรมทั้งหลายก็ฉันนั้น ขันธ์และสภาวธรรมทั่วทั้งไตรโลกธาตุไม่มีความผิดและเป็นกิเลสบาปธรรมแต่อย่างใด แต่พลอยเป็นเรื่องไปด้วย เพราะจิตผู้ฝังอยู่ใต้อำนาจของอวิชชา ไม่รู้ตัวว่าอวิชชา คือ ใคร อวิชชากับจิตจึงกลมกลืนเป็นอันเดียวกัน เป็นจิตหลงไปทั้งดวง เที่ยวก่อเรื่องรัก เรื่องชัง ฝังไว้ตามธาตุขันธ์ คือ ตามรูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัส ตามตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ และฝังรักฝังชังไว้ตามรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตลอดไตรโลกธาตุ เป็นสภาวะที่ถูกจับจองและรักชังยึดถือจากใจดวงลุ่มหลงนี้ทั้งสิ้น เพราะอำนาจความจับจองยึดถือเป็นเหตุ ใจอวิชชาดวงนี้จึงเที่ยวเกิด แก่ เจ็บ ตาย หมุนเวียนไปได้ทุกกำเนิด ไม่ว่าสูง ต่ำ ดี ชั่ว ในภพทั้งสามนี้ แม้จะแยกกำเนิดของสัตว์ที่ต่างกัน ในภพนั้นๆ ไว้มากเท่าไร ใจดวงอวิชชานี้สามารถจะไปถือเอากำเนิดในภพนั้นๆ ได้ตามแต่ปัจจัยเครื่องหนุนของจิตดวงนี้ มีกำลังมากน้อย และดีชั่วเท่าไร ใจดวงนี้ต้องไปเกิดได้ตามโอกาสที่จะอำนวย ตามสภาวะทั้งหลายที่ใจดวงนี้มีความเกี่ยวข้อง จึงกลายเป็นเรื่องผิดจากความจริงของตนไปโดยลำดับ เพราะอำนาจอวิชชาอันเดียวเท่านี้ จึงก่อเหตุร้ายป้ายสีไปทั่วไตรโลกธาตุ ให้แปรสภาพ คือ ธาตุล้วนๆ ของเดิมไป เป็นสัตว์ เป็นบุคคล และเป็นความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ตามโมหะ (อวิชชา) นิยมเมื่อทราบชัดด้วยปัญญาว่า ขันธ์ห้าและสภาวธรรมทั้งหลาย ไม่ใช่ตัวเรื่องและตัวก่อเรื่อง เป็นแต่พลอยมีเรื่อง เพราะอวิชชาเป็นผู้เรืองอำนาจ บันดาลให้สภาวะทั้งหลายเป็นไปได้ตามอย่างนี้แล้ว ปัญญาจึงตามค้นลงที่ต้นตอ คือ จิตดวงรู้ อันเป็นบ่อเกิดของเรื่องทั้งหลายอย่างไม่หยุดยั้งตลอดอิริยาบถ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน โดยความไม่วางใจในความรู้อันนี้ เมื่อสติปัญญาที่ได้ฝึกซ้อมเป็นเวลานานจนมีความสามารถเต็มที่ ได้แผ่วงล้อมแลฟาดฟันเข้าไปตรงจุดใหญ่ คือ ผู้รู้ที่เต็มไปด้วยอวิชชาอย่างไม่รีรอ ต่อยุทธ์กันทางปัญญา เมื่ออวิชชาทนต่อดาบเพชร คือสติปัญญาไม่ไหวก็ทลายลงจากจิตที่เป็นแท่นบัลลังก์อันประเสริฐของอวิชชามาแต่กาลไหนๆ เมื่ออวิชชาได้ถูกทำลายตายลงไปแล้วด้วยอำนาจ “ มรรคญาณ” ซึ่งเป็นอาวุธทันสมัย เพียงขณะเดียวเท่านั้น ความจริงทั้งหลายที่ได้ถูกอวิชชากดขี่บังคับเอาไว้นานเป็นแสนกัปนับไม่ถ้วน ก็ได้ถูกเปิดเผยขึ้นมาเป็นของกลาง คือ เป็นความจริงล้วนๆ ทั้งสิ้น ธรรมที่ไม่เคยรู้ ได้ปรากฏขึ้นมาในวาระสุดท้าย “ ยถาภูตญาณทัสสนะ “ เป็นความรู้เห็นตามเป็นจริงในสภาวธรรมทั้งหลายอย่างเปิดเผยไม่มีอะไรปิดบังแม้แต่น้อย เมื่ออวิชชาเจ้าผู้ปกครองนครวัฏฏะไปแล้วด้วยอาวุธ คือ ปัญญาญาณ พระนิพพานจะทนต่อความเปิดเผยของผู้ทำจริง รู้จริง เห็นจริงไปไม่ได้ แม้สภาวธรรมทั้งหลาย นับแต่ขันธ์ห้า อายตนะภายใน ภายนอก ทั่วทั้งไตรโลกธาตุ ก็ได้เป็นธรรมเปิดเผยตามความจริงของตน จึงไม่ปรากฏว่าจะมีอะไรที่เป็นข้าศึกแก่ใจต่อไปอีก นอกจากจะปฏิบัติขันธ์ห้า พอให้ถึงกาลอันควรอยู่ ควรไป ของเขาเท่านั้น ก็ไม่เห็นมีอะไร เรื่องทั้งหมดก็มีอวิชชา คือความรู้โกหกอันเดียวเท่านั้น เที่ยวรังแกและกีดขวางต่อสภาวะให้เปลี่ยนไปจากความจริงของตน อวิชชาดับอันเดียวเท่านั้น โลก คือสภาวะทั่วๆไปก็กลายเป็นปกติธรรมดา ไม่มีใครจะไปตำหนิติชมให้เขาเป็นอย่างไรต่อไปได้อีกแล้ว เช่นเดียวกับมหาโจรผู้ลือนาม ได้ถูกเจ้าหน้าที่ฆ่าตายแล้ว ชาวเมืองพากันอยู่สบายหายความระวังภัยจากโจรฉะนั้น ใจทรงยถาภูตญาณทัสสนะ คือความรู้เห็นตามเป็นจริงในสภาวธรรมทั้งหลายอย่างสมบูรณ์ และเป็นความรู้ที่สม่ำเสมอไม่ลำเอียงตลอดกาล นับแต่วันอวิชชาได้ขาดกระเด็นไปจากใจแล้ว ใจย่อมมีอิสระเสรีในการนึกคิดไตร่ตรองรู้เห็น ในสภาวธรรมที่เกี่ยวกับใจได้อย่างสมบูรณ์ ตา หู จมูก ฯลฯ และรูป เสียง กลิ่น รส ฯลฯ ก็กลายเป็นอิสระเสรีในสภาพของเขาไปตามๆกัน ไม่ถูกกดขี่บังคับหรือส่งเสริมใดๆ จากใจอีกเช่นเคยเป็นมา ทั้งนี้เนื่องมาจากใจเป็นธรรม มีความเสมอภาคและให้ความเสมอภาคแก่สิ่งทั้งปวง จึงหมดศัตรูต่อกันเพียงเท่านี้ เป็นอันว่าจิตกับสภาวธรรมทั้งหลายในไตรโลกธาตุ ได้ประกาศสันติความสงบต่อกันลงในสัจจะความจริงด้วยกันอย่างสมบูรณ์ ภาระของจิตและเรื่องวิปัสสนาของนามธรรมที่เกี่ยวกับจิต จึงของยุติเพียงเท่านี้

ฉะนั้น จึงขออภัยโทษเผดียงท่านนักปฏิบัติทั้งหลาย เพื่อกำจัดกิเลสด้วยธรรมของพระพุทธเจ้า จงเห็นธรรมในคัมภีร์ทุกๆ คัมภีร์ชี้ตรงเข้ามาหากิเลสและธรรมในตัวของเราโดยไปซุ่มซ่อนอยู่ในที่ใดที่หนึ่ง ผู้ใดมี โอปนยิกธรรมประจำใจ ผู้นั้นจะเอาตัวรอดได้ เพราะศาสนธรรมสอนผู้ฟังให้เป็น โอปนยิกะ คือ น้อมเข้ามาสู่ตัวทั้งนั้น และอย่าพึงเห็นว่า ศาสนธรรมของพระพุทธเจ้า เป็นอดีต อนาคต โดยไปอยู่กับคนที่ล่วงลับไปแล้ว และไปอยู่กับคนที่ยังไม่เกิด จงทราบว่า พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนคนตายแล้ว และไม่สอนคนที่ยังไม่เกิด จงเห็นว่าพระองค์สอนคนเป็น คือ ยังมีชีวิตอยู่ เช่น พวกเราทั้งหลาย สมกับพระพุทธศาสนาเป็นปัจจุบันทันสมัยตลอดกาล

ขอความสวัสดีมงคล จงมีแต่ท่านผู้อ่านผู้ฟังทั้งหลายโดยทั่วหน้ากันเถิด ฯ






37  สุขใจในธรรม / ธรรมะจากพระอาจารย์ / Re: ปัญญาอบรมสมาธิ พระราชญาณวิสุทธิโสภณ (บัว ญาณสัมปันโน) เมื่อ: 08 ตุลาคม 2556 10:40:14
สมาธิ

สมาธิ ว่าโดยชื่อและอาการแห่งความสงบ มี ๓ คือ

ขณิกสมาธิ ตั้งมั่นหรือสงบชั่วคราวแล้วถอนขึ้นมา

อุปจารสมาธิ ท่านว่า รวมเฉียดๆ นานกว่า ขณิกสมาธิ แล้วถอนขึ้นมา จากนี้ขอแทรกทัศนะของ “ ธรรมป่า” เข้าบ้างเล็กน้อย อุปจารสมาธิ เมื่อจิตสงบลงไปแล้ว ไม่อยู่กับที่ถอยออกมาเล็กน้อย แล้วตามรู้เรื่องต่างๆ ตามแต่จะมาสัมผัสใจ บางครั้งก็เป็นเรื่องเกิดจากตนเอง ปรากฏเป็นนิมิตขึ้นมา ดีบ้าง ชั่วบ้าง แต่เบื้องต้นเป็นนิมิตเกิดกับตนมากกว่า ถ้าไม่รอบคอบก็ทำให้เสียได้ เพราะนิมิตที่จะเกิดขึ้นจากสมาธิประเภทนี้ มีมากเอาประมาณไม่ได้ บางครั้งก็ปรากฏเป็นรูปร่างของตัวเองนอนตายและเน่าพองอยู่ต่อหน้า เป็นผีตาย และเน่าพองอยู่ต่อหน้าบ้าง มีแต่โครงกระดูกบ้าง เป็นซากศพเขากำลังหามผ่านมาต่อหน้าบ้าง เป็นต้น ที่ปรากฏลักษณะนี้ ผู้ฉลาดก็ถือเอาเป็น อุคคนิมิตเพื่อเป็นปฏิภาคนิมิตได้ เพราะจะยังสมาธิให้แน่นหนา และจะยังปัญญาให้คมกล้าได้เป็นลำดับ สำหรับผู้กล้าต่อเหตุผล เพื่อจะยังประโยชน์ตนให้สำเร็จ ย่อมได้สติปัญญาจากนิมิตนั้นๆเสมอไป แต่ผู้ขี้ขลาดหวาดกลัวอาจจะทำใจให้เสียเพราะสมาธิประเภทนี้มีจำนวนมาก เพราะเรื่องที่น่ากลัวมีมาก เช่น ปรากฏมีคน รูปร่าง สีสัน วรรณะ น่ากลัว ทำท่าจะฆ่าฟัน หรือจะกินเป็นอาหาร อย่างนี้เป็นต้น แต่ถ้าเป็นผู้กล้าหาญต่อเหตุการณ์แล้ว ก็ไม่มีความเสียหายอะไรเกิดขึ้น ยิ่งจะได้อุบายเพิ่มขึ้นจากนิมิตหรือสมาธิประเภทนี้เสียอีก สำหรับผู้มักกลัว ปกติก็แส่หาเรื่องกลัวอยู่แล้ว ยิ่งปรากฏนิมิตที่น่ากลัวก็ยิ่งไปใหญ่ ดีไม่ดีอาจจะเป็นบ้าขึ้นในขณะนั้นก็ได้

ส่วนนิมิตนอกที่ผ่านมา จะรู้หรือไม่ว่าเป็นนิมิตนอก หรือนิมิตเกิดกับตัวนั้น ต้องผ่านนิมิตใน ซึ่งเกิดกับตัวไปจนชำนาญแล้วจึงจะสามารถรู้ได้ นิมิตนอกนั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ ของคนหรือสัตว์ เปรต ภูตผี เทวบุตร เทวดา อินทร์ พรหม ที่มาเกี่ยวข้องกับสมาธิในเวลานั้น เช่นเดียวกับเราสนทนากันกับแขกที่มาเยี่ยม เรื่องปรากฏขึ้นจะนานหรือไม่นั้น แล้วแต่เหตุการณ์จะยุติลงเมื่อใด บางครั้งเรื่องหนึ่งจบ เรื่องอื่นแฝงเข้ามาต่อกันไปอีกไม่จบสิ้นลงง่ายๆ เรียกว่า สั้นบ้างยาวบ้าง เมื่อจบลงแล้ว จิตก็ถอนขึ้นมา บางครั้งก็กินเวลาหลายชั่วโมง สมาธิประเภทนี้แม้รวมนานเท่าใดก็ตาม เมื่อถอนขึ้นมาแล้วก็ไม่มีกำลังเพิ่มสมาธิให้แน่นหนา และไม่มีกำลังหนุนปัญญาได้ด้วย เหมือนคนนอนหลับแล้วฝันไป ธาตุขันธ์ย่อมไม่มีกำลังเต็มที่ ส่วนสมาธิที่รวมลงแล้วอยู่กับที่ พอถอนขึ้นมาปรากฏเป็นกำลังหนุนสมาธิให้แน่นหนา เช่นเดียวกับคนนอนหลับสนิทดีไม่ฝัน พอตื่นขึ้นธาตุขันธ์รู้สึกมีกำลังดี ฉะนั้น สมาธิประเภทนี้ ถ้ายังไม่ชำนาญ และรอบคอบด้วยปัญญา ก็ทำให้เสียคน เช่นเป็นบ้าไปได้ โดยมากนักภาวนาที่เขาเล่าลือกันว่า “ ธรรมแตก “ นั้น เป็นเพราะสมาธิประเภทนี้ แต่เมื่อรอบคอบดีแล้วก็เป็นประโยชน์เกี่ยวกับเหตุการณ์ได้ดี ส่วนอุคคหนิมิตที่ปรากฏขึ้นจากจิตตามที่ได้อธิบายไว้ข้างต้นนั้น เป็นนิมิตที่ควรแก่การปฏิภาคในหลักภาวนา ของผู้ต้องการอุบายแยบคายด้วยปัญญาโดยแท้ เพราะเป็นนิมิตที่เกี่ยวกับอริยสัจ นิมิตอันหลังต้องน้อมเข้าหา จึงจะเป็นอริยสัจได้บ้าง แต่ทั้งนิมิตเกิดกับตน และนิมิตผ่านมาจากภายนอก ถ้าเป็นคนขลาดก็อาจเสียได้เหมือนกัน สำคัญอยู่ที่ปัญญาและความกล้าหาญต่อเหตุการณ์ ผู้มีปัญญาจึงไม่ประมาทสมาธิประเภทนี้โดยถ่ายเดียว เช่น งูเป็นตัวอสรพิษ เขานำมาเลี้ยงไว้เพื่อถือเอาประโยชน์จากงูก็ยังได้ วิธีปฏิบัติในนิมิตทั้งสองซึ่งเกิดจากสมาธิประเภทนี้ นิมิตที่เกิดจากจิตที่เรียกว่า “ นิมิตใน” จงทำปฏิภาค มีแบ่งแยก เป็นต้น ตามที่ได้อธิบายไว้ข้างต้นแล้ว นิมิตที่ผ่านมาอันเกี่ยวแก่คนหรือสัตว์ เป็นต้น ถ้าสมาธิยังไม่ชำนาญ จงงดไว้ก่อนอย่าด่วนสนใจ เมื่อสมาธิชำนาญแล้ว จึงปล่อยจิตออกรู้ตามเหตุการณ์ปรากฏ จะเป็นประโยชน์ที่เกี่ยวกับเรื่องราวในอดีตอนาคตไม่น้อยเลย สมาธิประเภทนี้เป็นสมาธิที่แปลกมาก อย่าด่วนเพลิดเพลินและเสียใจในสมาธิประเภทนี้โดยถ่ายเดียว จงทำใจให้กล้าหาญขณะที่นิมิตนานาประการเกิดขึ้นจากสมาธิประเภทนี้ เบื้องต้นให้น้อมลงสู่ไตรลักษณ์ ขณะนิมิตปรากฏขึ้นจะไม่ทำให้เสีย

แต่พึงทราบว่า สมาธิประเภทที่นิมิตนี้ ไม่มีทุกรายไป รายที่ไม่มีก็คือเมื่อจิตสงบแล้ว รวมอยู่กับที่ จะรวมนานเท่าไร ก็ไม่ค่อยมีนิมิตมาปรากฏ หรือจะเรียกง่ายๆก็คือ รายที่ปัญญาอบรมสมาธิ แม้สงบรวมลงแล้วจะอยู่นานหรือไม่นานก็ตามก็ไม่มีนิมิต เพราะเกี่ยวกับปัญญาแฝงอยู่กับองค์สมาธินั้น ส่วนรายที่สมาธิอบรมปัญญา มักจะปรากฏนิมิตแทบทุกรายไป เพราะจิตประเภทนี้ รวมลงอย่างเร็วที่สุด เหมือนคนตกบ่อตกเหวไม่คอยระวังตัว ลงรวดเดียวก็ถึงที่พักของจิต แล้วก็ถอนออกมารู้เหตุการณ์ต่างๆ จึงปรากฏเป็นนิมิตขึ้นมาในขณะนั้น และก็เป็นนิสัยของจิตประเภทนี้แทบทุกรายไป แต่จะเป็นสมาธิประเภทใดก็ตาม ปัญญาเป็นสิ่งสำคัญประจำสมาธิประเภทนั้นๆ เมื่อถอนออกมาแล้ว จงไตร่ตรองธาตุขันธ์ด้วยปัญญา เพราะปัญญากับสมาธิเป็นธรรมคู่เคียงกัน จะแยกจากกันไม่ได้ ถ้าสมาธิไม่ก้าวหน้าต้องใช้ปัญญาหนุนหลัง ขอยุติเรื่องอุปจารสมาธิแต่เพียงเท่านี้

อัปปนาสมาธิ เป็นสมาธิที่ละเอียดและแน่นหนามั่นคง ทั้งรวมอยู่ได้นาน จะให้รวมอยู่หรือถอนขึ้นมาได้ตามต้องการ สมาธิทุกประเภทพึงทราบว่า เป็นเครื่องหนุนปัญญาได้ตามกำลังของตน คือ สมาธิอย่างหยาบ อย่างกลาง และอย่างละเอียด ก็หนุนปัญญาอย่างหยาบ อย่างกลาง และอย่างละเอียดเป็นชั้นๆไป แล้วแต่ผู้มีปัญญาจะนำออกใช้ แต่โดยมากจะเป็นสมาธิประเภทใดก็ตามปรากฏขึ้น ผู้ภาวนามักจะติด เพราะเป็นความสุข ในขณะที่จิตรวมลงและพักอยู่ การที่จะเรียกว่าจิตติดสมาธิ หรือติดความสงบได้นั้นไม่เป็นปัญหา ในขณะที่จิตพักรวมอยู่ จะพักอยู่นานเท่าไรก็ได้ตามขั้นของสมาธิ ที่สำคัญก็คือ เมื่อจิตถอนขึ้นมาแล้วยังอาลัยในความพักของจิต ทั้งๆที่ตนมีความสงบพอ ที่จะใช้ปัญญาไตร่ตรองและมีความสงบจนพอตัว ซึ่งควรจะใช้ปัญญาได้อย่างเต็มที่แล้ว แต่ยังพยายามที่จะอยู่ในความสงบไม่สนใจในปัญญาเลย อย่างนี้เรียกว่า ติดสมาธิถอนตัวไม่ขึ้น






38  สุขใจในธรรม / ธรรมะจากพระอาจารย์ / Re: ปัญญาอบรมสมาธิ พระราชญาณวิสุทธิโสภณ (บัว ญาณสัมปันโน) เมื่อ: 08 ตุลาคม 2556 10:39:35
ปัญญาอบรมสมาธิ

ความจริงการภาวนาเพื่อให้ใจสงบ ถ้าสงบด้วยวิธีปลอบโยนโดยทางบริกรรมไม่ได้ ต้องภาวนาด้วยวิธีปราบปราม ขู่เข็ญ คือค้นคิดหาเหตุผลในสิ่งที่จิตติดข้องด้วยปัญญา แล้วแต่ความแยบคายของปัญญา จะหาอุบายทรมานจิตดวงพยศ จนปรากฏใจยอมจำนนตามปัญญาว่า เป็นความจริงอย่างนั้นแล้ว ใจจะฟุ้งซ่านไปไหนไม่ได้ ต้องหยั่งเข้าสู่ความสงบเช่นเดียวกับสัตว์พาหนะตัวคะนอง ต้องฝึกฝนทรมานอย่างหนักจึงจะยอมจำนนต่อเจ้าของ ฉะนั้น ในเรื่องนี้ จะขอยกอุปมาเป็นหลักเทียบเคียง เช่น ต้นไม้บางประเภท ตั้งอยู่โดดเดี่ยวไม่มีสิ่งเกี่ยวข้อง ผู้ต้องการต้นไม้นั้นก็ต้องตัดด้วยมีดหรือขวาน เมื่อขาดแล้ว ไม้ต้นนั้นก็ล้มลงสู่จุดที่หมาย แล้วนำไปได้ตามต้องการ ไม่มีความยากเย็นอะไรนัก แต่ไม้อีกบางประเภท ไม่ตั้งอยู่โดดเดี่ยว ยังเกี่ยวข้องอยู่กับกิ่งแขนงของต้นอื่นๆอีกมาก ยากที่จะตัดให้ลงสู่ที่หมายได้ ต้องใช้ปัญญาหรือสายตาตรวจดู สิ่งเกี่ยวข้องของต้นไม้นั้นโดยถี่ถ้วน แล้วจึงตัดต้นไม้นั้นให้ขาด พร้อมทั้งตัดสิ่งเกี่ยวข้องจนหมดสิ้นไป ไม้ย่อมตกหรือล้มลงสู่ที่หมายและนำไปได้ตามความต้องการฉันใด จริตนิสัยของคนเราก็ฉันนั้น

คนบางประเภท ไม่ค่อยมีสิ่งแวดล้อมเป็นภาระกดถ่วงใจมาก เพียงใช้คำบริกรรมภาวนา

พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ เป็นต้น บทใดบทหนึ่งเข้าเท่านั้น ใจก็ได้รับความสงบเยือกเย็นเป็นสมาธิลงได้ กลายเป็นต้นทุนหนุนปัญญา ให้ก้าวหน้าต่อไปได้อย่างสบายที่เรียกว่า สมาธิอบรมปัญญา แต่คนบางประเภทมีสิ่งแวดล้อมเป็นภาระกดถ่วงใจมาก และเป็นนิสัยชอบคิดอะไรมากอย่างนี้ จะอบรมด้วยคำบริกรรมอย่างที่กล่าวมาแล้วนั้น ไม่สามารถที่จะยังจิตให้หยั่งลงสู่ความสงบเป็นสมาธิได้ ต้องใช้ปัญญาไตร่ตรองเหตุผล ตัดต้นเหตุของความฟุ้งซ่านด้วยปัญญา เมื่อปัญญาได้หว่านล้อมในสิ่งที่จิตติดข้องนั้นไว้อย่างหนาแน่นแล้ว จิตจะมีความรู้เหนือปัญญาไปไม่ได้ และจะหยั่งลงสู่ความสงบเป็นสมาธิได้ ฉะนั้น คนประเภทนี้ จะต้องฝึกฝนจิตให้เป็นสมาธิได้ด้วยปัญญา ที่เรียกว่า ปัญญาอบรมสมาธิ ตามชื่อหัวเรื่องที่ให้ไว้แล้วในเบื้องต้นนั้น เมื่อสมาธิเกิดมีขึ้นด้วยอำนาจปัญญา อันดับต่อไป สมาธิก็กลายเป็นต้นทุนหนุนปัญญาให้มีกำลังก้าวหน้า สุดท้ายก็ลงรอยเดียวกันกับหลักเดิมที่ว่า สมาธิอบรมปัญญา

ผู้ต้องการอบรมใจให้เป็นไปเพื่อความฉลาด รู้เท่าทันกลมายาของกิเลส อย่ายึดปริยัติจนเกิดกิเลส แต่ก็อย่าปล่อยวางปริยัติจนเลยศาสดา ผิดพระประสงค์ของพระพุทธเจ้าทั้งสองนัย คือ ในขณะที่ทำสมาธิภาวนา อย่าส่งใจไปยึดปริยัติจนกลายเป็นอดีตอนาคตไป ให้ตั้งจิตลงสู่ปัจจุบัน คือ เฉพาะหน้า มีธรรมที่ตนเกี่ยวข้องเป็นอารมณ์เท่านั้น เมื่อมีข้อข้องใจ ตัดสินใจลงไม่ได้ว่าถูกหรือผิด เวลาออกจากที่ภาวนาแล้ว จึงตรวจสอบกับปริยัติ แต่จะตรวจสอบทุกขณะไปก็ผิด เพราะจะกลายเป็นความรู้ในแบบ ไม่ใช่ความรู้เกิดจากภาวนา ใช้ไม่ได้

สรุปความ ถ้าจิตสงบได้ด้วยอารมณ์สมถะ คือ คำบริกรรมด้วยธรรมบทใด ก็บริกรรมบทนั้น ถ้าจะสงบได้ด้วยปัญญาสกัดกั้นโดยอุบายต่างๆ ก็ต้องใช้ปัญญาเป็นพี่เลี้ยงเพื่อความสงบเสมอไป ผลรายได้จากการอบรมทั้งสองวิธีนี้ คือ ความสงบและปัญญา อันจะมีรัศมีแฝงขึ้นจากความสงบนั้นๆ







39  สุขใจในธรรม / ธรรมะจากพระอาจารย์ / Re: ปัญญาอบรมสมาธิ พระราชญาณวิสุทธิโสภณ (บัว ญาณสัมปันโน) เมื่อ: 08 ตุลาคม 2556 10:38:27
สมาธิ

ธรรมกรรมฐานทุกบทเป็นรั้วกั้นความคะนองของใจ ใจที่ไม่มีกรรมฐานประจำและควบคุม จึงเกิดความคะนองได้ทุกวัย ทั้งเด็กเล็ก หนุ่มสาว เฒ่าแก่ ชรา คนจน คนมี คนฉลาด คนโง่ คนมีฐานะสูง ต่ำ ปานกลาง คนตาบอด หูหนวก ตาดี หูดี ง่อยเปลี้ยเสียขา พิกลพิการ และอื่นๆ ไม่มีประมาณ ทางศาสนธรรมเรียกว่า ผู้ยังตกอยู่ในวัยความคะนองทางใจ หมดความสง่าราศีทางใจ หาความสุขไม่ได้ อาภัพความสุขทางใจ ตายแล้วขาดทุนทั้งขึ้นทั้งล่อง เช่นเดียวกับต้นไม้ จะมีกิ่งก้านดอกผลดกหนาหรือไม่ ไม่เป็นประมาณ รากแก้วเสียหรือโค่นลงแล้ว ย่อมเสียความเป็นสง่าราศีและผลประโยชน์ ฉะนั้น แต่ลำต้น หรือกิ่งก้านของต้นไม้ ก็ยังอาจจะมาทำประโยชน์อย่างอื่นได้บ้าง ไม่เหมือนมนุษย์ตาย

โทษแห่งความคะนองของใจ ที่ไม่มีธรรมะเป็นเครื่องรักษา จะหาจุดความสุขไม่พบตลอดกาล แม้ความสุขจะเกิดเพราะความคะนองของใจเป็นผู้แสวงหามาได้ ก็เป็นความสุขชนิดเป็นบทบาทที่จะเพิ่มความคะนองของใจ ให้มีความกล้าแข็งไปในทางที่ไม่ถูก มากกว่าจะเป็นความสุขที่พึงพอใจ

ฉะนั้น สมาธิ คือ ความสงบหรือความตั้งมั่นของใจ จึงเป็นข้าศึกต่อความคะนองของใจที่ไม่อยากรับ “ยา” คือ กรรมฐาน ผู้ต้องการปราบปรามความคะนองของใจ ซึ่งเคยเป็นข้าศึกต่อสัตว์มาหลายกัปนับไม่ถ้วน จึงจำเป็นต้องฝืนใจรับ “ยา“ คือ กรรมฐานการรับยาหมายถึง การอบรมใจของตนด้วยธรรมะ ไม่ปล่อยตามลำพังของใจ ซึ่งชอบความคะนองเป็นมิตรตลอดเวลา คือ น้อมธรรมเข้ามากำกับใจ ธรรมกำกับใจ เรียกว่า กรรมฐาน มี ๔๐ ห้อง ตามจริตนิสัยของบรรดาสัตว์ ไม่เหมือนกัน มี กสิณ ๑๐ อสุภ ๑๐ อนุสติ ๑๐ พรหมวิหาร ๔ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ จตุธาตุววัตถาน ๑ และ อรูป ๔ จะขอยกมาพอประมาณ ที่ใช้กันโดยมาก และให้ผลแก่ผู้ปฏิบัติเป็นที่พึงพอใจ คือ

อาการของกาย ๓๒ มี เกสา (ผม) โลมา (ขน) นขา (เล็บ) ทนฺตา (ฟัน) ตโจ (หนัง) ที่ท่านเรียกว่า กรรมฐาน ๕ หรือ พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ ฯลฯ หรืออานาปานสติ (ระลึกลมหายใจเข้าออก) บทใดก็ได้ ตามแต่จริตชอบ เพราะนิสัยไม่เหมือนกัน จะใช้กรรมฐานอย่างเดียวกัน ย่อมเป็นการขัดต่อจริต ไม่ได้ผลเท่าที่ควร เมื่อชอบบทใดก็ตกลงใจนำบทนั้นมาบริกรรม เช่น จะบริกรรมเกสา ก็นึกว่าเกสาซ้ำอยู่ในใจ ไม่ออกเสียงเป็นคำพูดให้ได้ยินออกมาภายนอก (แต่ลำพังนึกเอาชนะใจไม่ได้ จะบริกรรมทำนองสวดมนต์ เพื่อให้เสียงผูกใจไว้ จะได้สงบก็ได้ ทำจนกว่าใจจะสงบได้ด้วยคำบริกรรม จึงหยุด ) พร้อมทั้งใจให้ทำความรู้สึกไว้กับผมบนศีรษะ จะบริกรรมบทใด ก็ให้ทำความรู้อยู่กับกรรมฐานบทนั้น เช่นเดียวกับบริกรรมบทเกสา ซึ่งทำความรู้อยู่ในผมบนศีรษะ ฉะนั้น

ส่วนการบริกรรมบท พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ บทใดๆ ให้ทำความรู้ไว้จำเพาะใจไม่เหมือนบทอื่นๆ คือ ให้คำบริกรรมว่า พุทฺโธ เป็นต้น สัมพันธ์กันอยู่กับใจไปตลอดจนกว่าจะปรากฏ พุทฺโธ ในคำบริกรรมกับผู้รู้ คือ ใจเป็นอันเดียวกัน แม้ผู้จะบริกรรมบท ธมฺโม สงฺโฆ ตามจริต ก็พึงบริกรรมให้สัมพันธ์กันกับใจ จนกว่าจะปรากฏ ธมฺโม หรือ สงฺโฆ เป็นอันเดียวกันกับใจ ทำนองเดียวกับบท พุทฺโธ เถิดฯ

อานาปานสติภาวนา ถือลมหายใจเข้าหายใจออก เป็นอารมณ์ของใจ มีความรู้และสติอยู่กับลมหายใจเข้าออก เบื้องต้นการตั้งลม ควรตั้งที่ปลายจมูกหรือเพดานเพราะเป็นที่กระทบลมหายใจ พอถือเอาเครื่องหมายได้ เมื่อทำจนชำนาญ และลมละเอียดเข้าไปเท่าไร จะค่อยรู้หรือเข้าใจ ความสัมผัสของลมเข้าไปโดยลำดับ จนปรากฏลมที่อยู่ท่ามกลางอก หรือลิ้นปี่แห่งเดียว ทีนี้จงกำหนดลม ณ ที่นั้น ไม่ต้องกังวลออกมากำหนดหรือตามรู้ลมที่ปลายจมูกหรือเพดานอีกต่อไป การกำหนดลมจะตามด้วย พุท.โธ เป็นคำบริกรรมกำกับลมหายใจเข้า-ออกด้วยก็ได้ เพื่อเป็นการพยุงผู้รู้ให้เด่น จะได้ปรากฏลมชัดขึ้นกับใจ เมื่อชำนาญในลมแล้ว ต่อไปทุกครั้งที่กำหนด จงกำหนดลงที่ลมหายใจท่ามกลางอกหรือลิ้นปี่โดยเฉพาะ ทั้งนี้สำคัญอยู่ที่ตั้งสติ จงตั้งสติกับใจ ให้มีความรู้สึกในลมทุกขณะที่ลมเข้าและลมออก สั้นหรือยาว จนกว่าจะรู้ชัดในลมหายใจ มีความละเอียดเข้าไปทุกที และจนปรากฏความละเอียดของลมกับใจเป็นอันเดียวกัน ที่นี้ให้กำหนดลมอยู่จำเพาะใจ ไม่ต้องกังวลในคำบริกรรมใดๆทั้งสิ้น เพราะการกำหนดลมเข้าออกและสั้นยาวตลอดคำบริกรรมนั้นๆ ก็เพื่อจะให้จิตถึงความละเอียดที่สุด จิตจะปรากฏมีความสว่างไสว เยือกเย็นเป็นความสงบสุข และรู้อยู่จำเพาะใจ ไม่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ใดๆ แม้ที่สุดกองลมก็ลดละความเกี่ยวข้อง ในขณะนั้นไม่มีความกังวล เพราะจิตวางภาระ มีความรู้อยู่จำเพาะใจดวงเดียว คือ ความเป็นหนึ่ง (เอกคฺคตารมณ์) นี่คือผลที่ได้รับจากการเจริญอานาปานสติกรรมฐาน ในกรรมฐานบทอื่นพึงทราบว่า ผู้ภาวนาจะต้องได้รับผลเช่นเดียวกันกับบทนี้

การบริกรรมภาวนา มีบทกรรมฐานนั้นๆเป็นเครื่องกำกับใจด้วยสติ จะระงับความคะนองของใจได้เป็นลำดับ จะปรากฏความสงบสุขขึ้นที่ใจ มีอารมณ์อันเดียว คือรู้อยู่จำเพาะใจ ปราศจากความฟุ้งซ่านใดๆ ไม่มีสิ่งมากวนใจให้เอนเอียง เป็นความสุขจำเพาะใจ ปราศจากความเสกสรรหรือปรุงแต่งใดๆทั้งสิ้น เพียงเท่านี้ ผู้ปฏิบัติจะเห็นความอัศจรรย์ในใจ ที่ไม่เคยประสบมาแต่กาลไหนๆ และเป็นความสุขที่ดูดดื่มยิ่งกว่าอื่นใดที่เคยผ่านมา

อนึ่ง พึงทราบ ผู้บริกรรมบทกรรมฐานนั้นๆ บางท่านอาจปรากฏอาการแห่งกรรมฐาน ที่ตนกำลังบริกรรมนั้นขึ้นที่ใจ ในขณะที่กำลังบริกรรมอยู่ก็ได้ เช่น ปรากฏผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นต้น อาการใดอาการหนึ่ง ประจักษ์กับใจเหมือนมองเห็นด้วยตาเนื้อ เมื่อปรากฏอย่างนี้ พึงกำหนดดูอาการที่ตนเห็นนั้นให้ชัดเจนติดใจ และกำหนดให้ตั้งอย่างนั้นได้นาน และติดใจเท่าไรยิ่งดี เมื่อติดใจแนบสนิทแล้วจงทำความแยบคายในใจ กำหนดส่วนที่เห็นนั้น โดยเป็นของปฏิกูลโสโครก ทั้งอาการส่วนใน และอาการส่วนนอกของกายโดยรอบ และแยกส่วนของกายออกเป็นส่วนๆ หรือเป็นแผนกๆ ตามอาการนั้นๆ โดยเป็นกองผม กองขน กองเนื้อ กองกระดูก ฯลฯ เสร็จแล้วกำหนดให้เน่าเปื่อยลงบ้าง กำหนดไฟเผาบ้าง กำหนดให้ แร้ง กา หมา กินบ้าง กำหนดให้แตกลงสู่ธาตุเดิมของเขา คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ บ้างเป็นต้น การทำอย่างนี้เพื่อความชำนาญ คล่องแคล่วของใจในการเห็นกาย เพื่อความเห็นจริงในกายว่า มีอะไรอยู่ในนั้น เพื่อความบรรเทาและตัดขาดเสียได้ซึ่งความหลงกาย อันเป็นเหตุให้เกิดราคะตัณหา คือ ความคะนองของใจ ทำอย่างนี้ได้ชำนาญเท่าไรยิ่งดี ใจจะสงบละเอียดเข้าทุกที ข้อสำคัญเมื่อปรากฏอาการของกายขึ้น อย่าปล่อยให้ผ่านไปโดยไม่สนใจ และอย่ากลัวอาการของกายที่ปรากฏ จงกำหนดไว้เฉพาะหน้าทันที กายนี้เมื่อภาวนาได้เห็นจนติดใจจริงๆ จะเกิดความเบื่อหน่ายสลดสังเวชตน จะเกิดขนพองสยองเกล้า น้ำตาไหลลงทันที อนึ่ง ผู้ที่ปรากฏกายขึ้นเฉพาะหน้าในขณะภาวนา ใจจะเป็นสมาธิได้อย่างรวดเร็ว และจะทำปัญญาให้แจ้งไป พร้อมๆกันกับความสงบของใจที่ภาวนาเห็นกาย

ผู้ที่ไม่เห็นอาการของกาย จงทราบว่า การบริกรรมภาวนาทั้งนี้ ก็เป็นการภาวนาเพื่อจะยังจิตให้เข้าสู่ความสงบสุขเช่นเดียวกัน จึงไม่มีข้อระแวงสงสัยที่ตรงไหนว่า จิตจะไม่หยั่งลงสู่ความสงบ และเห็นภัยด้วยปัญญาในวาระต่อไป จงทำความมั่นใจในบทภาวนา และคำบริกรรมของตนอย่าท้อถอย ผู้ดำเนินไปโดยวิธีใด พึงทราบว่า ดำเนินไปสู่จุดประสงค์เช่นเดียวกัน และจงทราบว่า บทธรรมทั้งหมดนี้ เป็นบทธรรมที่จะนำใจไปสู่สันติสุข คือ พระนิพพาน อันเป็นจุดสุดท้ายของการภาวนาทุกบทไป ฉะนั้น จงทำตามหน้าที่แห่งบทภาวนาของตน อย่าพะวักพะวนในกรรมฐานบทอื่นๆ จะเป็นความลังเลสงสัย ตัดสินใจลงไปสู่ความจริงไม่ได้ จะเป็นอุปสรรคแก่ความจริงใจตลอดกาล จงตั้งใจทำด้วยความมีสติจริงๆ และ อย่าเรียง ศีล สมาธิ ปัญญา ให้นอกไปจากใจ เพราะกิเลสคือ ราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น อยู่ที่ใจ ใครไม่ได้เรียงรายเขา เมื่อคิดไปทางผิด มันก็เกิดกิเลสขึ้นมาที่ใจดวงนั้น ไม่ได้กำหนดหรือนัดกันว่า ใครจะมาก่อนมาหลัง มันเป็นกิเลสมาทีเดียว กิเลสชนิดไหนมา มันก็ทำให้เราร้อนได้เช่นเดียวกัน เรื่องของกิเลสมันจะต้องเป็นกิเลสเรื่อยไปอย่างนี้ กิเลสตัวไหนจะมาก่อนมาหลังเป็นไม่เสียผล ทำให้เกิดความร้อนได้ทั้งนั้น วิธีการแก้กิเลสอย่าคอยให้ศีลไปก่อน สมาธิมาที่สอง ปัญญามาที่สาม นี่เรียกว่า ทำสมาธิเรียงแบบ เป็นอดีต อนาคตเสมอไป หาความสงบสุขไม่ได้ตลอดกาล





40  สุขใจในธรรม / ธรรมะจากพระอาจารย์ / ปัญญาอบรมสมาธิ พระราชญาณวิสุทธิโสภณ (บัว ญาณสัมปันโน) เมื่อ: 08 ตุลาคม 2556 10:37:26
ปัญญาอบรมสมาธิ
พระราชญาณวิสุทธิโสภณ (บัว ญาณสัมปันโน)
วัดป่าบ้านตาด (วัดเกษรศีลคุณ) ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี



ศีล

ศีล เป็นรั้วกั้นความคะนองทางกายวาจา มีใจเป็นผู้รับผิดชอบในงานและผลของงานที่กายวาจาทำขึ้น คนที่ไม่มีศีลเป็นเครื่องป้องกันความคะนองเป็นผู้ที่สังคมผู้ดีรังเกียจ ไม่เป็นที่ไว้วางใจของสังคมทั่วไป แม้จะเป็นสังคมในวงราชการหรือสังคมใดๆก็ตาม ถ้ามีคนทุศีลไม่มียางอายทางความประพฤติแฝงอยู่ในสังคมและวงงานนั้นๆ แม้แต่คนเดียวหรือสองคน แน่ทีเดียวที่สังคมและวงงานนั้นๆ จะตั้งอยู่เป็นปึกแผ่นแน่นหนาไม่ได้นาน จะต้องถูกทำลายหรือบั่นทอนจากคนประเภทนั้น โดยทางใดก็ได้ ตามแต่เขาจะมีโอกาสทำได้ ในเวลาที่สังคมนั้นเผลอตัว เช่นเดียวกับอยู่ใกล้อสรพิษตัวร้ายกาจ คอยแต่จะขบกัดในเวลาพลั้งเผลอ ฉะนั้น

ศีล จึงเป็นธรรมคุ้มครองโลก ให้อยู่เย็นเป็นสุข ปราศจากความระแวงสงสัยอันเกิดแต่ความไม่ไว้ใจกันในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนเสียหาย นับแต่ส่วนเล็กน้อยไปถึงส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ใครๆไม่พึงปรารถนา ศีลมีหลายประเภท นับแต่ ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ถึงศีล ๒๒๗ ตามประเภทของบุคคลที่จะควรรักษาให้เหมาะแก่เพศและวัยของตน เฉพาะศีล ๕ เป็นศีลที่จำเป็นที่สุด สำหรับฆราวาสผู้เกี่ยวข้องกับสังคมหลายชั้น จึงควรมีศีลเป็นเครื่องรับรองความบริสุทธิ์ของตน และรับรองความบริสุทธิ์ของกันและกันต่อส่วนรวมที่เกี่ยวแก่ผลได้เสีย อันอาจเกิดมีได้ในวงงานและสังคมทั่วไป คนมีศีล ๕ ประจำตนคนเดียวหรือสองคน เข้าทำงานในวงงานหนึ่งวงงานใด จะเป็นงานบริษัท ห้างร้าน หรืองานรัฐบาล ซึ่งเป็นงานแผ่นดินก็ตาม จะเห็นได้ว่า คนมีศีล ๕ เพียงคนเดียวหรือสองคนนั้น จะได้รับความนิยมชมชอบ ความไว้วางใจในกิจการนั้นๆ เช่นการเงิน เป็นต้น จากชุมนุมชนในวงงานนั้นๆ เป็นอย่างยิ่ง ตลอดเวลาที่เขายังอยู่ หรือแม้เขาจะไปอยู่หนใด ก็ต้องได้รับความนิยมนับถือในที่ทั่วไป เพราะคนมีศีลก็แสดงว่าต้องมีธรรมประจำใจด้วย เช่นเดียวกับรสของอาหารกับตัวของอาหารจะแยกจากกันไม่ได้ ในขณะเดียวกัน คนมีธรรมก็แสดงว่าเป็นผู้มีศีลด้วย ขณะใดที่เขาล่วงเกินศีลข้อใดข้อหนึ่ง ขณะนั้นแสดงว่าเขาไม่มีธรรม เพราะธรรมอยู่กับใจ ศีลอยู่กับกายวาจา แล้วแต่กายวาจาจะเคลื่อนไหวไปทางถูกหรือผิด ต้องส่อถึงเรื่องของใจผู้เป็นหัวหน้ารับผิดชอบด้วย ถ้าใจมีธรรมประจำ กายวาจาต้องสะอาดปราศจากโทษในขณะทำและพูด ฉะนั้น ผู้มีกายวาจาสะอาดจึงเป็นเครื่องประกาศให้คนอื่นเขาทราบว่า เป็นคนมีธรรมในใจ คนมีศีลธรรมประจำกาย วาจา ใจ จึงเป็นคนมีเสน่ห์ มีเครื่องดึงดูดใจประชาชนทั่วโลกให้หันมาสนใจและนิยมรักชอบทุกยุคทุกสมัยไม่มีวันจืดจาง แม้ผู้ไม่สามารถกระทำกายวาจาให้เป็นอย่างเขาได้ ก็ยังรู้จักนิยมเลื่อมใสในคนผู้มีกาย วาจา ใจ อันมีศีลธรรม เช่นเดียวกับที่พวกเขาเคารพและเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าและสาวกทั้งหลาย ฉะนั้น จึงชี้ให้เห็นว่า ศีลธรรมคือความดีความงาม เป็นสิ่งที่โลกต้องการอยู่ทุกเวลา ไม่เป็นของล้าสมัย ทั้งมีคุณค่าเท่ากับโลกเสมอไป

จะมีอยู่บ้างก็เนื่องจากศีลธรรมได้ถูกแปรสภาพจากธรรมชาติเดิม ออกมาสู่ระเบียบลัทธิประเพณี ซึ่งแยกออกไปตามความนิยมของชาติ ชั้น วรรณะ จึงเป็นเหตุให้ศีลธรรมกลายเป็นของชาติ ชั้น วรรณะ ไปตามความนิยมของลัทธินั้นๆ อันเป็นเหตุให้โลกติชมตลอดมา นอกจากที่ว่านี้ ศีลธรรมย่อมเป็นคุณธรรมที่นำยุคนำสมัยไปสู่ความเจริญได้ทุกโอกาส ถ้าโลกยังสนใจที่จะนำเอาศีลธรรมไปเป็นเส้นบรรทัดดัดกาย วาจา ใจ ของตนให้เป็นไปตามอยู่

จะเห็นได้ง่ายๆ ก็คือ กาลใดที่โลกเกิดความยุ่งเหยิงไม่สงบ กาลนั้นพึงทราบว่าโลกเริ่มขาดความสมบูรณ์ทางศีลธรรม ถ้าไม่รีบปรับปรุงให้ตรงกับทางศีลธรรมแล้ว ไม่นานฤทธิ์ของโลกล้วนๆ จะระเบิดอย่างเต็มที่ แม้ตัวโลกผู้ทรงฤทธิ์เอง ก็ต้องแตกทลายลงทันทีทนอยู่ไม่ได้

เฉพาะอย่างยิ่งในครอบครัวหนึ่งๆ ถ้าขาดศีลธรรมอันเป็นหลักของความประพฤติแล้ว แม้คู่สามีภรรยาก็ไว้ใจกันไม่ได้ คอยแต่จะเกิดความระแวงแคลงใจว่า คู่ครองของตนจะไปคบชู้กับชายอื่นหญิงอื่น อันเป็นเหตุบ่อนทำลายความมั่นคง ของครอบครัวและทรัพย์สิน เพียงเท่านี้ความปวดร้าวภายในใจเริ่มฟักตัวขึ้นมาแล้ว ไม่เป็นอันกินอันนอน แม้การงานอันเป็นหลักอาชีพประจำครอบครัวตลอดลูกเล็กเด็กแดงก็จะเริ่มแตกแหลกลาญไปตามๆกัน ในขณะที่ครอบครัวนั้นๆ เริ่มทำลายศีลธรรมของตน ยิ่งได้แตกจากศีลธรรมโดยประพฤติอย่างที่กล่าวแล้ว แน่ทีเดียวสิ่งที่มั่นคงทั้งหลาย จะกลายเป็นกองเพลิงไปตามๆกัน เช่นเดียวกับหม้อน้ำที่เต็มไปด้วยน้ำ ได้ถูกสิ่งอื่นกระทบให้ตกลง น้ำทั้งหมดที่บรรจุอยู่ในหม้อจะต้องแตกกระจายไปทันที ฉะนั้น

ดังนั้น เมื่อโลกยังต้องการความเจริญอยู่ตราบใด ศีลธรรมจึงจำเป็นสำหรับโลกอยู่ตราบนั้น ใครจะคัดค้านหลักความจริง คือศีลธรรมอันเป็นสิ่งที่มีอยู่ประจำโลกมาแต่กาลไหนๆไม่ได้ คำว่าศีลธรรมในหลักธรรมชาตินั้น ไม่ต้องไปขอรับมาจากพระหรือจากใคร ตามวัดหรือตามสถานที่ต่างๆแล้ว จึงจะเกิดเป็นศีลธรรมขึ้นมา แม้เพียงแต่ผู้รักษาความถูกความดีงามประจำนิสัย แล้วประพฤติแต่สิ่งถูกและดีงามแก่ตนและแก่ผู้อื่น เว้นการประพฤติสิ่งที่เป็นข้าศึกต่อความถูกความดีงามของตน เพียงเท่านั้น ก็พอจะทราบได้แล้วว่า ผู้นั้นมีศีลธรรมขึ้นในตัวแล้ว

อนึ่ง เหตุที่จะเกิดศีลธรรมขึ้นในใจและความประพฤติ เกิดขึ้นจากหลักธรรมชาติที่กล่าวแล้วอย่างหนึ่ง เกิดจากการคบค้าสมาคมกับนักปราชญ์ มีสมณะชีพราหมณ์ เป็นต้น ได้ศึกษาไต่ถามจากท่านแล้วสมาทานนำมาปฏิบัติอีกอย่างหนึ่ง เพียงเท่านี้ก็พอจะยังศีลธรรมให้เกิดขึ้นในตน และกลายเป็นคนมีศีลธรรมได้พอแก่การทรงตัวและครอบครัวตลอดสังคมที่ตนเกี่ยวข้อง ให้เป็นไปได้โดยปราศจากความระแวงสงสัยในสิ่งที่ไม่น่าไว้ใจในครอบครัวและส่วนรวม ฆราวาสปฏิบัติได้เพียงศีล ๕ ก็สามารถทำความอุ่นใจให้แก่ตนและครอบครัว โดยประจักษ์ใจ ตลอดเวลาที่ตนมีความประพฤติอยู่ในกรอบของศีลธรรม

ส่วนศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ นั้น แยกจากศีล ๕ ขึ้นไปสู่ความละเอียดตามอัธยาศัย ของผู้ใคร่ประพฤติตนในศีลธรรมชั้นสูงขึ้นไป ทั้งด้านปฏิบัติรักษาและความเอาใจใส่ ย่อมมีกฎเกณฑ์หรือวิธีการต่างจากศีล ๕ ขึ้นไปเป็นชั้นๆ เมื่อสรุปความแล้ว ศีลทุกประเภทเป็นคุณสมบัติเพื่อที่รักษาความคะนองทางความประพฤติของกายและวาจาเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุขสบายใจ สำหรับท่านผู้ปฏิบัติถูก และเป็นสิ่งจำเป็นแก่ผู้เกี่ยวข้องที่ต้องการจะทำตนให้เป็นคนดีทุกรายไป แต่สำหรับผู้เลวทรามไม่เห็นว่าเป็นของจำเป็น เพราะไม่ต้องการอยากเป็นคนดีเหมือนโลกเขา แต่คอยจะทำลายความสุขของผู้อื่น ก่อความเดือดร้อนแก่โลกทุกเวลาที่ได้ช่องและโอกาส ศีลธรรมบางส่วน แม้แต่สัตว์ดิรัจฉานเขายังมีได้ อย่าว่าแต่มนุษย์จะเป็นเจ้าของศีลธรรมโดยถ่ายเดียวเลย เราพอจะสังเกตได้ว่า สัตว์ดิรัจฉานเขายังมีรัศมีแห่งธรรมแทรกอยู่ในใจและความประพฤติของเขาบ้าง เช่น สัตว์เลี้ยงในบ้านเรา

ผู้ที่มีศีลธรรมเป็นภาคพื้นประจำนิสัยและความประพฤติตลอดเวลา นอกจากจะเป็นผู้ให้ความอบอุ่นเป็นที่ไว้วางใจ และให้ความนิยมแก่ประชาชนตลอดกาลแล้ว ยังเป็นผู้มีความอบอุ่นในตนเอง ทั้งวันนี้ วันหน้า ชาตินี้และชาติหน้าอีกด้วย ศีลธรรมจึงเป็นคุณสมบัติอันจำเป็นของโลกตลอดกาล





หน้า:  1 [2] 3 4 ... 30
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.329 วินาที กับ 26 คำสั่ง

Google visited last this page 26 มกราคม 2567 05:46:27