[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 เมษายน 2567 12:38:11 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก เวบบอร์ด ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

  แสดงกระทู้
หน้า:  1 ... 145 146 [147] 148 149 ... 274
2921  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ไปเที่ยว / ปรางค์สามยอด แดนดินถิ่นวานรของฝูงลิงอารมณ์ดี : อ.เมือง จ.ลพบุรี เมื่อ: 22 พฤศจิกายน 2559 20:34:06

เชิญชมภาพอิริยาบถอันน่ารักของบรรดาลิงๆ
ที่อาศัยอยู่ในพระปรางค์สามยอด จ.ลพบุรี

ลิงที่พระปรางค์สามยอด เป็นลิงอารมณ์ดี ไม่ดุร้าย ไม่กลัวคน...คนก็ไม่กลัวลิง
เพราะเขาคุ้นเคยกับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาชมปรางค์สามยอด
และกราบไหว้บูชาเจ้าพ่อพระกาฬ ที่ศาลพระกาฬไม่ขาดสาย

ภาพ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙


































พระปรางค์สามยอด อ.เมือง จ.ลพบุรี ตั้งอยู่ตรงข้ามศาลพระกาฬ
ถิ่นอาศัยของฝูงลิงขนาดใหญ่ ที่อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขมาช้านาน

มีต่อ
2922  นั่งเล่นหลังสวน / สยาม ในอดีต / ประชุมพงษาวดาร เรื่อง ตำนานพระโกษฐ (คัดจากหนังสือเก่า พิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ 6) เมื่อ: 22 พฤศจิกายน 2559 19:44:32



. ประชุมพงษาวดาร .

เรื่อง  ตำนานพระโกษฐ
---------✼----------

คำนำ

ฯลฯ

เรื่องตำนานพระโกษฐนั้น เดิมพระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ แต่ยังดำรงตำแหน่งเปนสภานายกหอพระสมุดสำหรับพระนคร ทรงค้นพบบาญชีพระนามที่ได้ทรงพระโกษฐทองใหญ่ มีจดไว้ในห้องอาลักษณ มีรายพระนามตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ ลงมาจนต้นรัชกาลที่ ๔ กรมพระสมมตฯ ทรงเรียบเรียงเพิ่มเติมต่อมาจนถึงรัชกาลปัจจุบันนี้ ประทานไว้ในหอพระสมุดฯ ข้าพเจ้าเห็นสมควรจะพิมพ์บาญชีนี้ให้รากฎ ด้วยเปนของโจทย์กันอยู่เนืองๆ ว่าพระศพเจ้านายพระองค์ไหนได้ทรงพระโกษฐทองบ้าง  ครั้นเมื่อเอาบาญชีของกรมพระสมมตฯ มาตรวจดู เกิดความคิดขึ้นว่า ควรจะเรียงตำนานพระโกษฐอื่นๆ ขึ้นด้วย พิมพ์รักษาไว้อย่าให้ความรู้ในเรื่องพระโกษฐสูญเสีย ข้าพเจ้าจึงขยายเรื่องเรียบเรียงเปนตำนานพระโกษฐ เมื่อแต่งแล้วส่งไปถวายสมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัติวงษ์ ขอให้ทรงช่วยตรวจแก้ไขให้เรียบร้อย ได้ทรงพระอุตสาหะเสด็จไปตรวจดูโดยทางฝีมือช่าง แล้วทรงแก้ไขเรื่องตำนานพระโกษฐที่ข้าพเจ้าเรียงไป สำเร็จรูปเปนอย่างที่พิมพ์ไว้ในประชุมพงษาวดารเล่มนี้ เรื่องตำนานพระโกษฐ จึงเปนเรื่องที่ได้แต่งด้วยกัน ๓ คน ดังจ่าน่าบอกไว้ในตอนตำนานด้วยประการฉะนี้

ฯลฯ
ดำรงราชานุภาพ. สภานายก
หอพระสมุดวชิรญาณ
วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๖๐


ตำนานพระโกษฐ
กรมพระสมมตอมรพันธุ์ กรมพระดำรงราชานุภาพ
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัติวงษ์
ช่วยกันทรงสืบสวนเรียบเรียง
--------------------------

พระโกษฐที่ทรงพระบรมศพ แลพระศพเจ้านาย กับโกษฐที่พระราชทานสำหรับศพข้าราชการผู้มีบันดาศักดิ์สูง ซึ่งมีอยู่เวลานี้ รวมเบ็ดเสร็จมี ๑๔ อย่าง เรียงโดยลำดับยศเปนดังนี้
๑ พระโกษฐทองใหญ่
๒ พระโกษฐทองรองทรง นับเสมอพระโกษฐทองใหญ่
๓ พระโกษฐทองเล็ก
๔ พระโกษฐทองน้อย
๕พระโกษฐกุดั่นใหญ่
๖ พระโกษกุดั่นน้อย
๗ พระโกษฐมณฑปใหญ่
๘ พระโกษฐมณฑปน้อย
๙ พระโกษฐไม้สิบสอง
๑๐ พระโกษฐพระองค์เจ้า เดิมเรียกว่าโกษฐลังกา
๑๑ โกษฐราชินิกูล
๑๒ โกษฐเกราะ
๑๓ โกษฐแปดเหลี่ยม
๑๔ โกษฐโถ

ตำนานพระโกษฐทั้งปวงนี้ มีปรากฏในหนังสือพระราชพงษาวดารบ้าง บอกเล่าต่อกันสืบมาบ้าง ต้องสันนิฐานบ้าง มีตำนานดังแสดงต่อไปนี้ เรียงลำดับตามสมัยที่สร้าง

ที่ ๑ โกษฐแปดเหลี่ยม มีอยู่ ๔ โกษฐด้วยกัน แต่โกษฐหนึ่งนั้นเก่ามาก ไม่ทราบตำนานว่าสร้างครั้งไร สังเกตทำนองลวดลายเห็นเปนอย่างเดียวกับช่างครั้งรัชกาลที่ ๑ แต่ฝีมือทำนั้นหยาบมาก ถ้าจะกะเอาว่าสร้างแต่ครั้งกุรงธนบุรี ก็เห็นว่าจะเปนการสมควร ด้วยเหตุข้อ ๑ ยุคนั้นเวลาว่างการทัพศึกมีน้อย งานพระเมตุต้องรีบชิงทำในเวลาว่างอันเปนเวลาสั้น จึงต้องเร่งทำเอาแต่พอให้ใช้ได้ทันงาน จะให้งดงามถึงที่ไม่ได้ ข้อ ๒ โกษฐแปดเหลี่ยมนี้ เปนอย่างเดียวกันกับพระโกษฐกุดั่น อันมีตำนานปรากฏว่าสร้างเปนครั้งแรก ในรัชกาลที่ ๑  โกษฐแปดเหลี่ยมต้องมีอยู่ก่อนแล้ว พระโกษฐกุดั่นทำเอาอย่างจึงจะเปนได้ ซึ่งโกษฐแปดเหลี่ยมจะทำทีหลัง เอาอย่างพระโกษฐกุดั่นนั้นเปนไปไม่ได้ ใช้ประกอบศพที่ต่ำศักดิเปนกรรโชก เข้าใจว่าโกษฐแปดเหลี่ยมนี้เก่าแก่กว่าโกษฐชนิดอื่นหมด ด้วยยอดเปนหลังคา คงเปนแบบแรกที่แปลงมาจากเหมตั้งแต่ครั้งกรุงเก่า ยังอิก ๓ โกษฐนั้น โกษฐหนึ่งก็ไม่ทราบแน่ว่าสร้างเมื่อไร แต่สังเกตฝีมือเห็นว่าคงทำราวรัชกาลที่ ๓ ฤๅที่ ๔ อิกโกษฐหนึ่งกรมหมื่นปราบปรปักษ์ทำขึ้นในรัชกาลที่ ๕ ใช้ประกอบศพหม่อมแม้น ในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงษ์วรเดชเปนคราวแรก อิกโกษฐหนึ่งกรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ ขอพระบรมราชานุญาตทำถวายในรัชกาลนี้ ใช้ประกอบศพเจ้าจอมมารดาสังวาลเปนประเดิม

ที่ ๒ โกษฐโถ มีอยู่ ๒ โกษฐ  โกษฐหนึ่งนั้นเก่ามาก ลวดลายแลฝีมือเหมือนกับโกษฐแปดเหลี่ยมใบเก่า เห็นได้ว่าทำรุ่นราวคราวเดียวกัน ไม่ปรากฏตำนานว่าสร้างเมื่อไร ได้ยินแต่กล่าวกันว่าเปนโกษฐเก่าแก่ ใช้มาแต่รัชกาลที่ ๑ แล้ว คำกล่าวเช่นนี้ ประกอบกับฝีมือที่ทำรุ่นเดียวกับโกษฐแปดเหลี่ยม ชักให้น่าเชื่อขึ้นอิก ว่าโกษฐแปดเหลี่ยมแลโกษฐโถทั้งสองอย่างนี้ สร้างแต่ครั้งกรุงธนบุรี ทำไมจึงเรียกโกษฐโถก็เข้าใจไม่ได้ รูปก็เห็นเหมือนโถ ทรงอย่างโกษฐแปดเหลี่ยมนั้นเอง แต่ถากแปลงเปนกลม ยอดแก้เปนทรงมงกุฎเหมือนชฎาลคร คงจะทำทีหลังโกษฐแปดเหลี่ยม แลเห็นจะใช้เปนยศสูงกว่าโกษฐแปดเหลี่ยม ด้วยยอดทรงมงกุฎพาให้เข้าใจไปเช่นนั้น แต่เดี๋ยวนี้ถือว่าต่ำกว่าโกษฐแปดเหลี่ยม ใช้สำหรับพระราชทานพระราชาคณะแลข้าราชการที่มีบันดาศักดิ์ได้รับพระราชทานโกษฐเปนชั้นต้น อิกโกษฐหนึ่งเปนของทำเติมขึ้นใหม่ พระวรวงษ์เธอ พระองค์เจ้าอลังการเปนผู้ทำ โดยรับสั่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ เมื่อในรัชกาลที่ ๕

ที่ ๓ พระโกษฐกุดั่น ๒ พระโกษฐ สร้างในรัชกาลที่ ๑ เมื่อปีมะแม จุลศักราช ๑๑๖๑ (พ.ศ.๒๓๔๒) ทรงพระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี แลเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ เมื่อทรงพระศพสมเด็จพระพี่นาง เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี แลเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ เมื่อทรงพระศพสมเด็จพระพี่นางหุ้มทองคำทั้งสองพระโกษฐ  ตามคำที่ว่ากันว่าพระโกษฐกุดั่นนั้น ชำรุดหายไปเสียองค์หนึ่ง  สมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ ทรงค้นหาได้มาแต่ตัวพระโกษฐ จึงทรงทำฝาแลฐานใหม่ประกอบเข้า พระโกษฐองค์นี้เรียกว่า “กุดั่นใหญ่” ฝีมือทำซึ่งปรากฏอยู่ที่กาบพระโกษฐนั้นงามอย่างยิ่ง สมกับที่มีตำนานว่าเปนของทำในรัชกาลที่ ๑ อิกองค์หนึ่งเรียกว่า “กุดั่นน้อย” องค์นี้ที่ว่าไม่ได้ชำรุดสูญหาย แต่ดูทำนองลายในกาบไม่ค่อยเทียมทันเสมอกันกับพระโกษฐกุดั่นใหญ่ อันมีตำนานว่าทำพร้อมกัน อาจจะเปนตัวแทนเสียแล้วก็ได้  พระโกษฐทั้งสององค์นี้เกียรติยศใช้ต่างกัน ทุกวันนี้ถือว่าพระโกษกุดั่นใหญ่เกียรติยศสูงกว่าพระโกษกุดั่นน้อย แลพระโกษฐกุดั่นน้อยนี้ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ได้ทรงสร้างเติมขึ้นเมื่อในรัชกาลที่ ๕ อิกองค์ ๑

ที่ ๔ พระโกษฐไม้สิบสอง มีตำนานว่าสร้างในรัชกาลที่ ๑ เมื่อปีกุญ จุลศักราช ๑๑๖๕ (พ.ศ.๒๓๔๖) ทรงพระศพกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท  ครั้งนั้นหุ้มทองคำ ในบัดนี้พระโกษฐไม้สิบสองมี ๒ องค์ ว่าเปนของเก่าองค์หนึ่ง เปนของสร้างเติมขึ้นใหม่อิกองค์หนึ่ง แต่ไม่ได้ความว่าสร้างเติมขึ้นเมื่อไร สังเกตดูรูปทรงลวดลายทั้งสององค์ ไม่เห็นสมเปนฝีมือช่างในรัชกาลที่ ๑ สักองค์เดียว

ที่ ๕ พระโกษฐทองใหญ่ สร้างในรัชกาลที่ ๑ เมื่อปีมะโรง จุลศักราช ๑๑๗๐ (พ.ศ.๒๓๕๑) พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ โปรดให้รื้อทองที่หุ้มพระโกษฐกุดั่น มาทำพระโกษฐทองใหญ่ขึ้นไว้ สำหรับพระบรมศพของพระองค์ เมื่อทำพระโกษฐองค์นี้สำเร็จแล้ว โปรดให้เอาเข้าไปตั้งถวายทอดพระเนตรในพระที่นั่งไพศาลทักษิณ  ในปีนั้น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงศรีสุนทรเทพสิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ ทรงพระอาไลยมาก แลจะใคร่ทอดพระเนตรพระโกษฐทองใหญ่ออกพระเมรุตั้งพระเบญจา จึงโปรดให้เชิญพระโกษฐทองใหญ่ไปประกอบพระศพสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงศรีสุนทรเทพเปนครั้งแรก จึงเลยเปนประเพณีในรัชกาลต่อมา ที่พระราชทานพระโกษฐทองใหญ่ให้ทรงพระศพอื่นเปนพิเศษ นอกจากพระบรมศพได้  มีบาญชีจดไว้ในห้องพระอาลักษณลงมาจนถึงรัชกาลที่ ๔ กรมพระสมมตอมรพันธ์พบบาญชีนี้ที่ได้ทรงจดต่อมาจนรัชกาลปัจจุบัน มีอย่างนี้

พระโกษฐทองใหญ่ ทรงพระบรมศพ แลพระศพ
(ตามที่จดไว้เดิมในห้องพระอาลักษณ์)

ในรัชกาลที่ ๑
๑ กรมหลวงศรีสุนทรเทพ

ในรัชกาลที่ ๒
๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์
๓ กรมพระราชวัง ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย
๔ สมเด็จพระสังฆราชวัดราชสิทธาราม
๕ กรมหลวงพิทักษมนตรี
๖ กรมหลวงเทพวดี

ในรัชกาลที่ ๓
๗ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย
๘ กรมหมื่นสุรินทรรักษ์
๙ กรมขุนอิศรานุรักษ์
๑๐ กรมพระราชวังในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
๑๑ พระองค์เจ้าลักขณานุคุณ
๑๒ สมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์
๑๓ สมเด็จพระศรีสุลาไลย
๑๔ กรมหลวงเทพพลภักดิ์
๑๕ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์
๑๖ กรมหมื่นอัปศรสุดาเทพ

ในรัชกาลที่ ๔
๑๗ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
๑๘ สมเด็จพระนางเธอ พระองค์เจ้าโสมนัศ
๑๙ กรมสมเด็จพระปรมานุชิต
๒๐ กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร      เมื่อชัก
๒๑ กรมสมเด็จพระเดชาดิศร
๒๒ กรมหลวงมหิศวรินทร ฯ         เมื่อชัก
๒๓ พระนางเธอ พระองค์เจ้ารำเพอย
๒๔ กรมหมื่นวิศณุนารถนิภาธร
(จดหมายห้องพระอาลักษณหมดเท่านี้ ต่อนี้กรมพระสมมตอมรพันธุ์ทรงจด)

ต่อจากบาญชีนี้ที่ทราบ
กรมพระพิทักษ์เทเวศร์ทราบว่าไม่ได้เปลี่ยนลองสี่เหลี่ยม ทรงพระโกษฐมณฑปตลอดงาน
๒๕ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
๒๖ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศ

ในรัชกาลที่ ๕
๒๗ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
๒๘ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท       เมื่อชัก
๒๙ กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์        เมื่อชัก
๓๐ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน
๓๑ สมเด็จเจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน
๓๒ พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์
๓๓ กรมสมเด็จพระบำราบปรปักษ์
๓๔ กรมสมเด็จพระปวเรศวริยาลงกรณ์
๓๕ สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
๓๖ กรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร
๓๗ สมเด็จเจ้าฟ้าสมมติวงษ์วโรไทย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ

ในรัชกาลปัจจุบัน
๓๘ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
๓๙ กรมหลวงวรเสรฐสุดา
๔๐ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนพิจิตรเจษฎ์จันทร์
                         (จดต่อเมื่อจะลงพิมพ์นี้)
๔๑ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช          เมื่อชัก
๔๒ กรมพระสมมตอมรพันธุ์               เมื่อชัก

ที่ ๖ พระโกษฐพระองค์เจ้า เรียกกันแต่แรกว่าโกษฐลังกา  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริห์สร้างขึ้น แต่ครั้งยังทรงผนวช เปนลองสี่เหลี่ยมหุ้มผ้าขาว ยอดเปนฉัตรระบายผ้าขาว เมื่อในรัชกาลที่ ๔ ทรงพระศพพระเจ้าลูกเธอที่ยังทรงพระเยาว์อยู่ (ก่อนมีพระโกษฐมณฑปน้อย) ต่อมาพระโกษฐนี้ สำหรับทรงพระศพพระองค์เจ้าวังน่า แลพระองค์เจ้าตั้ง มาถึงในรัชกาลที่ ๕ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ จึงทรงคิดทำประกอบนอกขึ้น ต่อมากรมหมื่นปราบปรปักษ์ทำเติมขึ้นใหม่อิกพระโกษฐหนึ่ง จึงมีอยู่ในเวลานี้ ๒ พระโกษฐด้วยกัน

ที่ ๗ พระโกษฐทองน้อย โปรดให้กรมพระเทเวศร์วัชรินทรสร้างขึ้นตามแบบอย่างพระโกษฐทองใหญ่เมื่อในรัชกาลที่ ๔ ปีกุญ จุลศักราช ๑๒๑๓ (พ.ศ.๒๓๙๔) สำหรับทรงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อผลัดพระโกษฐทองใหญ่ไปแต่งก่อนออกงานพระเมรุ เมื่อทรงพระบรมศพ ฤๅจะตั้งงานพระศพคู่กับพระโกษฐทองใหญ่แล้วหุ้มทองคำ ถ้าใช้งานอื่นไม่หุ้ม กรมพระสมมตอมรพันธุ์ ทรงจดคราวที่ได้หุ้มทองคำใช้นั้นไว้ มีอยู่ในท้ายบาญชีพระโกษฐทองใหญ่ อย่างนี้

พระโกษฐทองน้อยหุ้มทองชั่วคราว
๑ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
๒ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
๓ สมเด็จเจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์

พระโกษฐทองน้อยนี้ เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (ม.ร.ว.ปุ้ม มาลากุล ณ กรุงเทพ) สร้างเมื่อในรัชกาลที่ ๕ อิกองค์หนึ่ง

ที่ ๘ พระโกษฐมณฑปน้อย โปรดให้สมเด็จเจ้าพระบรมมหาพิไชยญาติสร้างขึ้นแต่ในรัชกาลที่ ๔ สำหรับทรงพระศพพระเจ้าลูกเธอที่ยังทรงพระเยาว์ ถ้าทรงพระศพสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระโกษฐนี้หุ้มทองคำเฉภาะงาน

ที่ ๙ พระโกษฐมณฑปใหญ่ โปรดให้กรมขุนราชสีหวิกรมคิดอย่างสร้างขึ้นแต่ในรัชกาลที่ ๔ เมื่อปีกุญ จุลศักราช ๑๒๒๕ (พ.ศ.๒๔๐๖) เอาแบบมาแต่พระโกษฐมณฑปน้อย ทรงพระศพกรมพระพิทักษ์เทเวศร์ก่อน ด้วยกรมพระพิทักษ์เทเวศร์พระรูปใหญ่โต พระศพลงลองพระโกษฐสามัญไม่ได้ ต้องทำลองสี่เหลี่ยมขึ้นโดยเฉภาะ  จึงโปรดให้สร้างพระโกษฐมณฑปนี้สำหรับประกอบลองสี่เหลี่ยม พระโกษฐมณฑปใหญ่นี้ ต่อมาสร้างขึ้นอิกองค์หนึ่ง แต่จะสร้างขึ้นเมื่อใดไม่ทราบแน่

ที่ ๑๐ โกษฐเกราะ สร้างขึ้นเมื่อในรัชกาลที่ ๔ เมื่อปีกุญ จุลศักราช ๑๒๒๕ (พ.ศ.๒๔๐๖) สำหรับศพเจ้าพระยานิกรบดินทร ด้วยท่านอ้วน ศพลงลองสามัญไม่ได้ ต้องทำลองสี่เหลี่ยม จึงโปรดให้ทำโกษฐเกราะขึ้นประกอบ ที่เรียกว่า “โกษฐเกราะ” เพราะลายสลักเปนเกราะรัด

ที่ ๑๑ โกษฐราชินิกูล โปรดให้กรมขุนราชสีหวิกรม สร้างขึ้นแต่ในรัชกาลที่ ๔ เมื่อปีขาล จุลศักราช ๑๒๒๘ (พ.ศ.๒๔๐๙) พระราชทานให้ประกอบศพพระยามนตรีสุริยวงษ์ (ชุ่ม บุนนาค) ก่อนผู้อื่น

ที่ ๑๒ พระโกษฐทองเล็ก โปรดให้กรมหมื่นปราบปรปักษ์ สร้างขึ้นแต่ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อปีกุญ จุลศักราช ๑๒๔๙ (พ.ศ.๒๔๓๐) ทรงพระศพสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ เปนที่แรก แล้วได้ใช้ทรงพระศพเจ้านายต่อมา มีบาญชีกรมพระสมมตอมรพันธุ์ ทรงจดไว้ ในท้ายบาญชีพระโกษฐทองใหญ่อย่างนี้

พระโกษฐทองเล็ก
๑ สมเด็จเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์
๒ สมเด็จเจ้าฟ้าตรีเพชรรุตม์ธำรง
๓ เจ้าฟ้านภาจรจำรัสศรี
๔ กรมขุนสุพรรณภาควดี
๕ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช

ที่ ๑๓ พระโกษฐทองรองทรง โปรดให้กรมหมื่นปราบปรปักษ์ สร้างขึ้นแต่ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อปีชวด รัตนโกสินทรศก ๑๑๙ (พ.ศ.๒๔๔๓) พระโกษฐองค์นี้ นับเหมือนกับพระโกษฐทองใหญ่ สำหรับใช้แทนที่พระโกษฐทองน้อย เวลาที่จะต้องหุ้มทองคำ เพื่อจะไม่ให้ต้องหุ้มเข้าแลรื้อออกบ่อยๆ มีบาญชีคราวที่ได้ใช้ทรงพระบรมศพแลพระศพกรมพระสมมตอมรพันธุ์ ทรงจดไว้ในท้ายบาญชีพระโกษฐทองใหญ่อย่างนี้

พระโกษฐทองรองทรง
ในรัชกาลที่ ๕

๑ กรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร
๒ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระจักรพรรดิพงษ์
๓ สมเด็จเจ้าฟ้าศิราภรณ์โสภณ

ในรัชกาลปัจจุบัน
๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เวลาแต่งพระโกษฐทองใหญ่
๕ พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค
๖ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนสวรรคโลกย์ลักษณวดี

ยังมีเครื่องประดับสำหรับพระโกษฐอิก เช่นพระโกษฐทองใหญ่ มีดอกไม้เพ็ชร เปนพุ่มเข้าบิณฑ์ ดอกไม้ไหว เฟื่อง ดอกไม้เอว ของเหล่านี้ประดับครบทุกอย่างแต่พระบรมศพ ถ้าพระราชทานให้ทรงพระศพเจ้านาย โดยปรกติไม่มีเครื่องประดับ ถ้าพระราชทานเครื่องประดับด้วย มีเปนชั้นๆ กัน ชั้นต้นประดับพุ่มเข้าบิณฑ์กับเฟื่อง ชั้นสูงรองแต่พระบรมศพ ประดับดอกไม้เอวด้วยอิกอย่างหนึ่ง พระโกษฐเจ้านายก็มีเครื่องประดับคือยอดพุ่มเข้าบิณฑ์แลเฟื่อง ต่อที่ทรงบันดาศักดิสูง จึงใช้เครื่องประดับ ถ้าพระราชทานให้ทรงศพเจ้านายชั้นต่ำลงมา ฤๅขุนนาง ไม่ใช้เครื่องประดับ


คัดโดยคงพยัญชนะและตัวสะกดเดิม
จาก
: หนังสือประชุมพงษาวดารภาคที่ ๘
เรื่อง ตำนานพระโกษฐ
พิมพ์ที่โรงพิมพ์ไทย ณ ถนนรองเมือง
ปีมเสง พ.ศ.๒๔๖๐

(พิมพ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว)

2923  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / Re: ราชยาน ราชรถ และพระเมรุมาศ ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ เมื่อ: 22 พฤศจิกายน 2559 19:16:29


พระยานมาศสมัยอยุธยา (ง.๒๓๕๒) พระที่นั่งภิมุขมณเฑียร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร    


. องค์ประกอบและความงามทางศิลปกรรม .

พระราชยานที่ยังคงเหลืออยู่ในปัจจุบันนับเป็นงานประณีตศิลป์ ซึ่งมีความวิจิตรงดงามด้วยรูปทรงลวดลาย และการประดับตกแต่ง ดังได้กล่าวมาแล้วว่า พระราชยานที่เก่าที่สุดมีอายุอยู่ในสมัยอยุธยา ได้แก่ พระยานมาศไม้แกะสลักในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก และพระยานมาศ (หมายเลข ง๒๓๕๒) ในพระที่นั่งภิมุขมณเฑียร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ทั้ง ๒ องค์มีลักษณะบางประการต่างจากพระราชยานสมัยรัตนโกสินทร์อย่างเห็นได้ชัด เป็นต้นว่าความอ่อนโค้งของเส้นฐานซึ่งเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา ดังจะเห็นได้จากฐานพระอุโบสถ ฐานชุกชีพระพุทธรูปและฐานบุษบกธรรมาสน์ เป็นต้น นอกจากนี้ก็คือความสูงโปร่งของชั้นฐาน และจังหวะช่องไฟหรือระยะความห่างของกระจังที่ดูโปร่งตากว่าของสมัยรัตนโกสินทร์ แต่ ๒ องค์นี้ยังแตกต่างกันในรายละเอียดดังนี้


ยานมาศที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระพุทธชินราช
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

ยานมาศที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก

ทำด้วยไม้แกะสลักปิดทองประดับกระจก ตัวยานทำเป็น ๓ ชั้น ฐานเจาะโปร่ง ลักษณะฐานแอ่นโค้งดังฐานสำเภา มีครุฑประดับที่กึ่งกลางฐานชั้นที่ ๒ ทั้ง ๔ ด้าน และที่มุมฐานประดับด้วยเศียรนาค ฐานแต่ละชั้นแกะสลักลวดลายอย่างงดงาม ชั้นบนสุดประดับด้วยกระจังปฏิญาณขนาดใหญ่ทั้ง ๓ ด้าน ยกเว้นด้านหน้าและด้านหลัง ส่วนพนักพิงเป็นกระหนกตัวใหญ่ที่สุด ซึ่งแกะสลักลวดลายซ้อนหลายชั้น ยานมาศนี้มีคานหาม ๒ คาน ทำด้วยไม้แกะสลักเช่นกัน มีลักษณะคดโค้ง ๔ จังหวะ ดุจลำตัวของนาค ส่วนหัวและหางนาคด้านปลายชำรุดหักหายไป ยานนี้อาจใช้ในพิธีอุปสมบทสำหรับพระอุปัชฌาย์นั่ง หรือเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปเข้ากระบวนแห่ในเทศกาลสำคัญ

ลักษณะของยานมาศดังกล่าวนี้ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ได้ทรงพบหลายครั้งในวัดต่างๆ ตามเส้นทางขณะเมื่อเสด็จขึ้นไปตรวจการปั้นหุ่นจำลองพระพุทธชินราช ณ จังหวัดพิษณุโลก ใน พ.ศ.๒๔๔๔ ได้ทรงพรรณนาถึงลักษณะและร่างภาพที่น่าสนใจไว้ในบทพระนิพนธ์ เรื่อง จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก ซึ่งต่อมาได้พิมพ์เผยแพร่เป็นอนุสรณ์ในการฉลองวันประสูติครบ ๑๐๐ ปีของพระองค์ เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ.๒๕๐๖ ทรงกล่าวว่าทรงพบยานมาศหักทิ้งอยู่ข้างกุฏิพระที่วัดใหญ่ ตำบลบ้านต้นไทร จังหวัดชัยนาท ลักษณะเป็นฐานสิงห์ ๒ ชั้น และฐานหน้ากระดานบัวหงาย ๑ ชั้น ข้างบนมีพนักและมีคานพร้อม ทรงเห็นว่ามีรูปทรงงดงามดีและเป็นฝีมือเก่า พระภิกษุในวัดกราบทูลว่าเดิมใช้สำหรับหามพระอุปัชฌาย์ลงโบสถ์ในพิธีอุปสมบทและเป็นของเก่ามีคู่วัดมานาน เมื่อพม่าตีกรุงศรีอยุธยาได้เลยมาที่วัดนี้ เห็นยานมาศงดงามเข้าใจว่าหุ้มด้วยทองจึงใช้ดาบฟันที่กงเพื่อพิสูจน์ ทำให้มีรอยดาบปรากฏอยู่ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงเห็นว่าเป็นงานศิลปกรรมที่ควรเก็บรักษาไว้ จึงให้พระวิสูตรโยธามาตย์ถอดเป็นชิ้นๆ บรรทุกเรือมาไว้ที่กรุงเทพฯ แต่ไม่ได้นำคานลงมาด้วย

นอกจากที่วัดใหญ่ดังกล่าว ยังทรงพบยานมาศที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก พบที่วัดท่าเสา จังหวัดอุตรดิตถ์ ๒ หลัง และที่วัดคีรีเชิงเขา อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ๑ หลัง โดยเฉพาะที่วัดท่าเสานั้นได้ทรงบรรยายลักษณะและร่างภาพไว้ ดังนี้


“...ใต้หอไตรนี้มีของสำคัญคือยานมาศแห่พระ มีถึง ๒ อัน
ยานมาศที่นี้สูงมาก หลังคานมีตัวนาคฐานเป็นสิงห์สองชั้น
แล้วบัวหงายสูงจนตีนต้องมีบัวรอง สองอันรูปไม่ผิดกันแต่
คันในผิดกัน รูปมีทำนองนี้ แต่กงไม่สู้แน่ เดาผสมไว้ เพราะ
ของเดิมหักไม่มีอยู่พอจะเทียบได้ ลายที่คันในควรสังเกตมี
สองสามอย่างคือ
๑.บัวหลังสิงห์กลับขึ้นเช่นเขียนรูปไว้นี้
๒.ที่อกไก่สลัก ชั้นล่างเป็นแข้งสิงห์ ชั้นบน
    เป็นกลีบบัว เช่นที่เขียนไว้นี้
๓.บัวหงาย อันหนึ่งบากรวนกลีบห้ามกลางกลับลง แปลกจาก
    ที่เคยเห็นอยู่ แต่ว่าเหลวอีกอันหนึ่งกลีบแซกเป็นตัวผักบุ้งก้านขด
    เช่นที่เขียนไว้ทั้งสองอย่างนี้”
 


ส่วนยานมาศที่วัดคีรีเชิงเขา อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย นั้น ทรงกล่าวว่าลักษณะเช่นเดียวกับวัดท่าเสา แต่มีลักษณะแปลกไปเล็กน้อยตรงที่ย่อเป็นกะเปาะออกไปแบบไม้สิบสอง

จากข้อมูลที่กล่าวมาทั้งหมดนี้อาจสรุปได้ว่า ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์นับแต่รัชกาลที่ ๑ จนถึงตอนกลางรัชกาลที่ ๕ ยังมียานคานหามฝีมือเก่าครั้งสมัยอยุธยาตอนปลายหลงเหลือกระจายอยู่ในที่ต่างๆ ไม่น้อย ต่อมาในปัจจุบันได้ผุพังสูญหายไปเหลือเพียงไม่กี่ชิ้น และสุนทรีภาพของงานศิลปกรรมเหล่านั้นเกิดจากลักษณะอันน่าประทับใจตั้งแต่พบเห็น ประการแรกคือ รูปทรงที่ได้สัดส่วนและโปร่งงามตา  ประการที่สองคือ ลวดลายประดับตกแต่งซึ่งแสดงความคิดสร้างสรรค์ของช่าง มีความชาญฉลาดในการกำหนดลายประดับในตำแหน่งที่เหมาะสม หรือบางครั้งอาจมีความแตกต่างจากแบบแผนไปบ้างดังที่สมเด็จฯ เจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุดวัดติวงศ์ทรงสังเกตเห็น  ประการที่สามคือ การลงรักปิดทองประดับกระจกหรือการปิดทองล่องชาด ซึ่งเพิ่มความโอ่อ่าสง่างามจับตา

พระยานมาศ (หมายเลข ง ๒๓๕๒) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
พระยานมาศองค์นี้ได้มาจากวัดสนามไชย อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี กว้าง ๗๕.๕ เซนติเมตร ยาว ๘๔.๗ เซนติเมตร สูง ๙๐ เซนติเมตร

ทำด้วยไม้แกะสลักปิดทองประดับกระจกสี มีคานหาม ๒ คาน ปลายลำคานแกะสลักเป็นบัวตูม ตัวพระยานมาศมีฐานสิงห์ ๒ ชั้น มีลักษณะเส้นฐานอ่อนโค้งตามแบบอยุธยา ฐานสิงห์ชั้นล่างแกะสลักลวดลายเฉพาะกาบสิงห์ ปาก และจมูกสิงห์ บัวหลังสิงห์เรียบเกลี้ยงไม่สลักลวดลาย ท้องไม้ประดับกระจกสี ตอนบนประดับด้วยกระจังเจิม ฐานสิงห์ชั้นบนแกะสลักลวดลาย กาบเท้าสิงห์แกะเป็นหัวนาค ส่วนท้องสิงห์แกะสลักเป็นกระจังเจิม บัวหลังสิงห์เรียบเกลี้ยงไม่แกะสลักลวดลาย ท้องไม้ประดับกระจกสี ตอนบนประดับด้วยกระจังเจิม เหนือกระจังเจิมเป็นบัวหงาย หน้ากระดานแกะเป็นลายประจำยามประกอบเม็ดเนื่องไข่ปลา และประดับกระจกสี ด้านบนก็ประดับกระจกสี ขอบบนของพระยานมาศประดับด้วยกระจังปฏิญาณที่มีลายคมชัดงดงาม มีขนาดเล็กไปหาใหญ่ โดยเรียงจากขอบด้านข้างทั้ง ๒ ด้านไปยังด้านหลัง กระจังตัวกลางซึ่งตรงกับด้านหลังพนักพิงจะใหญ่ที่สุด ถัดจากกระจังเข้ามาเป็นพนักหรือกง ซึ่งทำด้วยไม้สลักส่วนปลาย ๒ ข้างเป็นหัวนาค มีเสากลมรองรับ ๔ ต้น หัวเสาสลักเป็นบัว พื้นที่นั่งทำด้วยไม้แผ่นทึบ

งานศิลปกรรมสมัยอยุธยาทั้ง ๒ ชิ้นนี้นับว่าเป็นมรดกอันทรงคุณค่าอย่างยิ่งในปัจจุบันเนื่องจากอายุการสร้าง เป็นศิลปวัตถุที่หายากไม่ปรากฏที่ใดอีก ตลอดจนฝีมืออันเยี่ยมยอดของช่าง

พระราชยานสมัยรัตนโกสินทร์แม้จะสืบทอดรูปแบบและชื่อมาจากสมัยอยุธยา แต่มีลักษณะบางประการที่แตกต่างออกไปและแสดงเอกลักษณ์ของตนเอง คือการรักษาระเบียบและสัดส่วนของงาน ความละเอียดและความกระชั้นของการวางลายประดับ ตลอดจนกฎเกณฑ์ที่ค่อนข้างแน่นอนในการกำหนดตำแหน่งลวดลายเครื่องประดับที่เหมาะสม พระราชยานองค์สำคัญของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศ์ชั้นสูงจึงมีความวิจิตรงดงามเป็นพิเศษ โดยเฉพาะพระราชยานของพระมหากษัตริย์จะมีรูปเทพนมและครุฑประดับที่ฐานด้วย ดังเช่นพระที่นั่งราเชนทรยานซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นงานประณีตศิลป์ชั้นเยี่ยมของสมัยรัตนโกสินทร์ และมีสัดส่วนสวยงามที่สุด พระราชยานในแต่ละประเภททั้งที่ใช้ในพระราชพิธีและใช้ในเวลาปกติยังมีความงดงามแตกต่างกันดังจะขอกล่าวถึงองค์ที่สำคัญต่อไปนี้





พระที่นั่งราเชนทรยาน

พระที่นั่งราเชนทรยาน
เป็นพระที่นั่งราชยานทรงบุษบก สร้างด้วยไม้แกะสลักลงรักปิดทองประดับกระจกทั้งองค์ และมีคานหาม ๔ คาน ขนาดกว้าง ๑.๐๓ เมตร ยาว ๕.๔๘ เมตร (รวมคานหาม) สูง ๔.๒๓ เมตร มีรายละเอียดส่วนต่างๆ ดังนี้

ด้านล่างสุดเป็นชั้นคานหาม ทำด้วยไม้เป็นแคร่ทึบรองรับพระราชยาน มีคานหามประจำ ๔ คาน ทั้งหมดทาสีแดง ลำคานกลึงกลมมีปลายกลึงเป็นหัวเม็ดทรงมัณฑ์ปิดทองประดับกระจกสี องค์บุษบกประกอบด้วยฐาน ๒ ชั้น หน้ากระดานเชิงฐานชั้นล่าง เรียบเกลี้ยงไม่มีลวดลาย ตอนบนประดับด้วยเส้นลวด เหนือขึ้นไปประดับด้วยกระจังตาอ้อยปิดทองประดับกระจก ชั้นฐานสิงห์มีลายแกะสลักที่กาบเท้า ปาก และจมูกสิงห์ บัวหลังสิงห์เรียบไม่สลักลาย ประดับกระจังตาอ้อยตอนบน ถัดไปเป็นท้องไม้ประดับกระจกสีเขียวและขาวเป็นลายประจำยาม ตอนบนประดับกระจังตาอ้อยห้อยลงโดยรอบ เหนือกระจังตาอ้อยเป็นบัวหงาย แกะสลักลายปิดทองประดับกระจกและเส้นลวดปิดทอง ต่อขึ้นมาเป็นฐานหน้ากระดานซึ่งขยายส่วนท้องไม้ให้สูงขึ้น ส่วนหน้ากระดานล่างของช่วงนี้สลักเป็นลายลูกฟักก้ามปูใบเทศปิดทอง ประดับกระจกสีประกอบ ตอนบนประดับกระจัง ๒ ชั้น ชั้นนอกเป็นกระจังตาอ้อยชั้นในเป็นกระจังเจิม ท้องไม้แกะสลักเป็นลายหน้าสิงห์และลายก้านขดอยู่ในกรอบอย่างงดงาม และมีเครื่องประดับอันเป็นองค์ประกอบสำคัญแสดงถึงพระราชอำนาจคือรูปครุฑยุดนาค ๑๔ ตัว ประดับโดยรอบ เหนือท้องไม้เป็นกระจังรวนทั้งซ้ายและขวาประกอบเส้นลวดเล็กๆ เหนือเส้นลวดเป็นบัวหงาย ถัดขึ้นไปเป็นหน้ากระดานบน แกะสลักเป็นลายลูกฟักก้ามปูใบเทศประดับกระจกสี ตอนบนหน้ากระดานประดับกระจัง ๒ ชั้น ชั้นในเป็นกระจังเจิม ชั้นนอกเป็นกระจังตาอ้อย ชั้นถัดขึ้นไปประดับด้วยกระจังปฏิญาณขนาดใหญ่เรียง ๓ ด้าน เว้นด้านหน้ากระจังนี้มีความงดงามเป็นพิเศษด้วยความละเอียดประณีตคมชัดของฝีมือช่าง ที่สามารถแกะสลักเป็นลักษณะซ้อนกันเป็นชั้น ๔-๕ ชั้น ได้อย่างอ่อนไหว และยังมีรูปเทพนมอยู่กลางกระจังทุกตัว ขอบฐานตอนบนสุดซึ่งบางส่วนถูกบดบังด้วยกระจังนั้นแกะสลักเป็นลายบัวเกษรหรือบัวปากปลิง

พระที่นั่งราเชนทรยานมีพนักกงและพนักพิงหลังเช่นเดียวกับพระราชยานอื่นๆ พนักพิงเป็นทรงกลีบขนุน ด้านหน้าเรียบ ด้านหลังแกะสลักเป็นลายก้านขดแวดล้อมเทพนมตรงกลาง

หลังคาพระราชยานเป็นทรงจอมแหรองรับด้วยเสา ๔ ต้น ลักษณะเป็นเสาย่อมุมไม้สิบสอง โดนเสาประดับด้วยกาบพรหมศร มีลายเนื่องประกอบขอบเสาและประดับกระจกเป็นลายดอกพิกุล มีความละเอียดสวยงามมาก กลางเสามีลายประจำยามรัดอกอยู่กลางเสาทั้ง ๔ เสา ที่หัวเสามีคันทวยรองรับชายคารวม ๑๒ คัน หลังคาย่อเก็จประดับเครื่องยอดทั้ง ๕ ชั้น ประกอบด้วยช่อฟ้า บราลี นาคปัก ซุ้มรังไก่ หรือบันแถลง องค์ระฆังลงรักปิดทองประดับกระจก เหมแกะสลักย่อมุมไม้สิบสองลงรักปิดทองประดับกระจกบัวกลุ่มแกะสลักลายลงรักปิดทองประดับกระจก ปลียอดปิดทองเรียบ บัวลูกแก้วแกะสลักลายรักปิดทองประดับกระจก ยอดประดับด้วยเม็ดน้ำค้าง รอบเชิงชายประดับด้วยเฟื่องอุบะโดยรอบ เพดานบุษบกทาสีแดงประดับด้วยดาวเพดานซึ่งปิดทองประดับกระจก ด้านหน้าและหลังองค์บุษบกมีเตียงลายื่นออกไปเป็นแท่นสำหรับเจ้าพนักงานภูษามาลานั่งประคองพระโกศพระบรมอัฐิ ลักษณะการประดับตกแต่งเช่นเดียวกับฐาน



องค์ประกอบพระที่นั่งราเชนทรยาน
๑.เม็ดน้ำค้าง
๒.ปลียอด
๓.ลูกแก้ว
๔.บัวกลุ่ม
๕.เหม
๖.บัวคอเสื้อ
๗.องค์ระฆัง
๘.บราลี
๙.บันแถลง
๑๐.เฟื่อง
๑๑.อุบะ
๑๒.ประจำยามรัดอก
๑๓.เสาไม้สิบสอง
๑๔.พนักพิง
๑๕.กง
๑๖.กาบพรหมศร
๑๗.กระจังปฏิญาณ
๑๘.บัวท้องไม้เชิงบาตร
๑๙.หน้ากระดาน
๒๐.บัวหงาย
๒๑.ครุฑยุดนาค
๒๒.ฐานสิงห์






โปรดติดตามตอนต่อไป
2924  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / ข้าวหมูแดงย่างและน้ำราดหมูแดง สูตร/วิธีทำ เมื่อ: 20 พฤศจิกายน 2559 15:09:22




ข้าวหมูแดงย่าง

ส่วนผสม
- สันใน หรือสันนอกหมู     300 กรัม
- น้ำตาลปีบ     2 ช้อนชา
- ซอสหอยนางรม1 ช้อนโต๊ะ
- เหล้าจีน     ¼ ช้อนชา
- ซอสมะเขือเทศ     1 ช้อนโต๊ะ
- ซอสแดง (สำหรับใส่เย็นตาโฟ)     1 ช้อนโต๊ะ
- แบะแซ     2 ช้อนชา

วิธีทำ
1.ผสมเครื่องปรุงทุกอย่าง (ยกเว้นแบะแซ) หมักรวมกับเนื้อหมู ทิ้งไว้อย่างน้อย 1 ชั่วโมง
2.นำหมูไปย่างบนเตาถ่าน ด้วยไฟอ่อนๆ ระหว่างย่างให้ทาหมูด้วยน้ำหมักหมูไปเรื่อยๆ
3.พอหมูเกือบสุก ให้ทาด้วยแบะแซ แล้วย่างต่อจนผิวนอกแห้งเป็นมันเงา
4.วิธีเสิร์ฟ หั่นหมูตามขวางค่อนข้างบาง จัดวางในจานข้าว แล้วราดด้วยน้ำหมูแดง


ส่วนผสมน้ำหมูแดง (ปริมาณขนาดชามใส่ก๋วยเตี๋ยว - ดูภาพประกอบ)
- หอมแดงไทย     5 หัว
- ขิงแก่หั่นละเอียด     ½ ช้อนชา
- รากผักชีหั่นละเอียด     ½ ช้อนชา
- ผงพะโล้¼ ช้อนชา
- เต้าเจี้ยว1 ช้อนโต๊ะ
- เต้าหู้ยี้ (ก้อนเล็ก)¼ ก้อน
- น้ำตาลทราย2 ช้อนชา
- น้ำตาลปีบ1 ช้อนโต๊ะ
- ซีอิ๊วดำหวาน2 ช้อนชา
- ซอสมะเขือเทศ1 ช้อนโต๊ะ


วิธีทำ
1.ปอกเปลือกหอมแดง ล้างให้สะอาด แล้วหั่นบางตามขวาง
2.เจียวหอมแดงกับน้ำมันพืชจนหอมเหลือง แล้วตักเอาแต่หอมที่เจียวขึ้นจากกระทะ (พักไว้) น้ำมันเจียวหอมอย่าทิ้ง
3.ทอดขิงและรากผักชีจนหอมเหลือง
4.โขลกหอมแดง ขิง รากผักชี เต้าเจี้ยว (ล้างน้ำสักสองครั้ง เอาแต่เนื้อหรือเมล็ดถั่วเหลือง) และเนื้อเต้าหู้ยี้
   จนละเอียด
5.ยกกระทะขึ้นตั้งไฟ ใส่น้ำมันที่เราใช้เจียวหอมแดง ใส่เครื่องที่โขลกในข้อ 4 น้ำตาลปีบ น้ำตาลทราย ซอสมะเขือเทศ และซีอิ๊วดำหวาน
   ผัดด้วยไฟอ่อนๆ
6.ใส่น้ำซุปกระดูกหมูเข้มข้น ประมาณ 2 ถ้วยตวง คนให้เข้ากัน  พอน้ำเดือดใส่ผงพะโล้ ชิมรสตามชอบ (ถ้าอ่อนเค็ม ปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาว)
7.ละลายแป้งมันหรือแป้งข้าวโพดในน้ำสะอาดใส่ผสมลงไป คนให้เข้ากัน และให้น้ำหมูแดงเหนียวข้น เป็นอันใช้ได้




หมักหมูกับเครื่องปรุง (ยกเว้นแบะแซ) ทิ้งไว้อย่างน้อย 1 ชั่วโมง
และควรใช้ปลายมีดแหลมเล็กๆ แทงเนื้อหมู เพื่อให้เครื่องปรุงซึมเข้าไปในเนื้อหมู


นำไปย่างบนตะแกรงวางบนเตาถ่าน ด้วยไฟอ่อน


เคล็ดลับ : ใช้ฝารังถึงปิดครอบชิ้นหมู
วิธีนี้ช่วยให้หมูสุกง่าย ไร้ควัน และไม่มีเปลวไฟลุกโชน


ใช้ช้อนตักน้ำหมักหมูค่อยๆ ราดไปบนชิ้นหมู เรื่อยๆ แล้วปิดฝาครอบไว้ดังเดิม
ทำเช่นนี้จนน้ำหมักหมูหมด จึงนำแบะแซทาให้ทั่วชิ้นหมู แล้วย่างต่อจนผิวหมูแห้งเป็นมันเงา




น้ำหมูแดง ทำตามขั้นตอนที่อธิบายไว้แล้ว
เต้าเจี้ยวใช้แต่เนื้อเมล็ดถั่วเหลือง นำไปล้างให้สะอาด แล้วจึงนำไปโขลก
(เพื่อไม่ให้น้ำหมูแดงมีรสเปรี้ยว)









 
  
2925  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ไปเที่ยว / Re: "ศาลหลักเมือง" พิธีฝังเสาหลักเมือง เมื่อ: 18 พฤศจิกายน 2559 19:29:28

               หลักเมืองกรุงเทพมหานคร

หลักเมือง (ต่อ)

• พิธีฝังเสาหลักเมือง
คัดจาก หนังสือสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง
(มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์)

พิธีฝังเสาหลักเมือง มีปรากฏในหนังสือจดหมายเหตุการปรับปรุงศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร พุทธศักราช ๒๓๒๕-๒๕๒๙ สรุปความได้ดังนี้...เมื่อจะประกอบพิธีฝังเสาหลักเมืองนั้น ให้ปลูกโรงพิธีสงฆ์กลางเมือง ๕ ห้องโรงหนึ่ง ขื่อกว้าง ๘ ศอก มีเฉลียงรอบ และที่ ๔ ทิศเมือง ๓ ห้อง ๔ โรง ขื่อกว้าง ๖ ศอก มีเฉลียงรอบ พื้นสูง ๒ ศอก เสมอกันทั้งในประธานทั้งเฉลียง ความสูงพอสมควรกับขื่อ ให้ตั้งราชวัติ ปักฉัตรธง ผูกต้นกล้วยต้นอ้อยรอบโรงพิธีเหมือนกันทั้ง ๕ โรง ส่วนโรงพิธีกลางเมืองนั้นให้ทำศาลเทวดา ๔ ศาล สำหรับบูชาพระอาทิตย์ พระพรหม พระอิศวร และพระนารายณ์ ส่วนที่โรงพิธี ๔ ทิศเมือง ให้ตั้งศาลเทวดาโรงละหนึ่งศาล สำหรับบูชาท้าวจตุโลกบาล นอกจากนั้นให้ปลูกโรงพิธีพราหมณ์กลางเมืองตรงที่จะฝังหลักเมือง ๒ โรง โรงละ ๓ ห้อง ขื่อกว้าง ๕ ศอก พื้นในประธานสูงศอกคืบ พื้นเฉลียงสูงศอกหนึ่ง ให้ตั้งราชวัติ ปักฉัตรธง ผูกต้นกล้วยต้นอ้อยรอบโรงพิธีเหมือนกันทั้ง ๒ โรง ให้ขุดหลุมที่จะฝังหลักเมือง ขุดเป็นหลุมปาก ๑๒ เหลี่ยม กว้างเหลี่ยมละ ๑๐ นิ้ว ความลึกพอกับแผ่นศิลาที่รองต้นเสาหลักเมือง ลึกแต่หลังแผ่นศิลาถึงปากหลุม ๗๙ นิ้ว ให้ตั้งราชวัติ ปักฉัตรธงล้อมทั้ง ๔ ด้าน ให้มีศาลเทวดาที่หลักเมือง ๒ ศาล ให้มีเตียงสำหรับรองพระพุทธรูป อัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานในโรงพิธีทั้ง ๕ โรง และที่โรงพิธีกลางเมืองให้ตั้งกระโจมเทียนไชย สูง ๔ ศอก กว้าง ๖ นิ้ว ให้เอาผ้าขาววง ให้อัญเชิญหลักเมืองกับแผ่นศิลารองต้นหลักเมือง พร้อมด้วยดวงชาตาเมืองเข้าไว้ในมณฑลพิธีกลางเมือง ให้ขุดเอาดินมาแต่ทิศทั้ง ๔ ปั้นให้เป็นก้อนโตขนาดเท่าผลมะตูมทาด้วยดินสอพองทั้ง ๔ ก้อน ให้เอาเข้าไว้ในมณฑลโรงพิธีด้วย ให้ตั้งบาตรน้ำบาตรทรายทุกโรงพิธี ให้วงด้ายสายสิญจน์รอบเมือง รอบโรงพิธีสงฆ์ และรอบโรงพิธีพราหมณ์ รอบหลุมที่จะฝังหลักเมืองและสำหรับพระสงฆ์ถือสวดด้วย และรอบเมืองนั้นให้วงสายสิญจน์คาด้วยอีกชั้นหนึ่ง ให้นิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์  โรงพิธีกลางเมือง ๒๐ รูป โรงพิธี ๔ ทิศเมือง โรงละ ๑๐ รูป รวมเป็นพระสงฆ์ ๖๐ รูป

พิธีวันแรก เวลาบ่าย เมื่อพระสงฆ์มาพร้อมกันแล้วให้สมาทานศีล แล้วให้เจ้าเมืองเอาเทียนชนวนถวายแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งที่เป็นมหาเถระจุดเทียนไชย เมื่อพระสงฆ์รับเทียนชนวนไปจุดเทียนไชย เมื่อจุดให้ว่าคาถาดังนี้


”พุทฺโธ สพฺพญฺญุตญาโณ       ธมฺโม โลกุตฺตโร นว
สงฺโฆ จ มคฺคผลโถ       อิจฺเจตํ รตฺนตฺยํ
เอเตสํ อานุภาเวน       อนฺตรายาปิ วินสฺสนฺตุ
อเสสโต”    ว่า ๓ ครั้ง      

เมื่อพระสงฆ์จุดเทียนไชยแล้ว พระสงฆ์ทั้งหมดจึงพร้อมกันเจริญพระปริตร วันแรกเจริญพระสัตตปริตร วันที่สองเจริญพระทวาทสปริตร วันที่ ๓ เจริญพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร และมหาสมัยสูตร  เมื่อเจริญพระปริตรจบแล้ว ให้พระสงฆ์ผลัดเปลี่ยนกันอยู่โรงพิธีกลางเมือง เพื่อเจริญนครฐานสูตร และที่โรงพิธี ๔ ทิศเมืองเจริญพระจตุภาณวาร ทั้งกลางวันและกลางคืนทั้ง ๕ โรงพิธี

ครั้นเวลาเช้า พระสงฆ์พร้อมกันถวายพรพระจบแล้วจึงฉัน เวลาเพลฉันที่โรงพิธี โรงละ ๕ รูป เหมือนกันทั้ง ๓ วัน

อนึ่ง ในเวลาบ่ายเมื่อจะเจริญพระปริตรนั้น ให้ตั้งบายศรีตอง ๓ ชั้น พร้อมด้วยกระยาบวชบนศาลที่หลักเมืองทั้ง ๒ ศาล  ครั้นได้ฤกษ์เจ้าพนักงานประโคมดุริยางค์ดนตรี พระสงฆ์ทั้งหมดพร้อมกันเจริญชัยมงคลปริตรทั้ง ๕ โรง ให้โหรผู้หนึ่งพร้อมกับคนผู้ใหญ่อีก ๔ คน นุ่งขาวห่มขาวทั้ง ๕ คน ให้คนผู้ใหญ่ทั้ง ๔ ไปเอาก้อนดิน ๔ ก้อน ที่เข้ามณฑลพิธีไว้นั้นนำมาถือยืนอยู่ที่หลุมทั้ง ๔ ทิศ ให้โหรถามเป็นอุทิศเทวสังหรณ์แก่ผู้ถือก้อนดินในทิศลำดับที่ ๑ ว่า

ท่านถือสิ่งอันใด ผู้ถือบอกว่า ข้าพเจ้าถือก้อนดิน ก้อนดินนี้คือ ปถวีธาตุ เป็นสารวัฒนะ ให้ถามต่อไปว่า สารวัฒนะนี้มีคุณประการใด ผู้ถือบอกว่า ปถวีธาตุสารวัฒนะนี้ มีพระคุณที่จะทรงไว้ซึ่งอายุเมืองให้สมบูรณ์ด้วยคามนิคม เป็นที่ประชุมประชาชนพลพาหนะตั้งแต่ประถมตราบเท่าถึงอวสาน

ให้ถามผู้ถือก้อนดินในทิศที่ ๒ ว่า ท่านถือสิ่งอันใด ผู้ถือบอกว่า ข้าพเจ้าถือก้อนดิน ก้อนดินนี้ถือ อาโปธาตุ เป็นมหาวัฒนะ ให้ถามต่อไปว่า มหาวัฒนะนี้มีพระคุณเป็นประการใด ผู้ถือบอกว่า อาโปธาตุ มหาวัฒนะนี้มีคุณอาจให้ผู้ครองเมือง กรมการเมือง และราษฎรทั้งปวง เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ และสิริสวัสดิมงคลต่างๆ ตั้งแต่ประถมตราบเท่าถึงอวสาน

ให้ถามผู้ถือก้อนดินในทิศที่ ๓ ว่า ท่านถือสิ่งอันใด ผู้ถือบอกว่า ข้าพเจ้าถือก้อนดิน ก้อนดินนี้ คือวาโยธาตุ เป็นอลังการวัฒนะ ให้ถามต่อไปว่า อลังการวัฒนะนี้มีคุณเป็นประการใด ผู้ถือบอกว่า อลังการวัฒนะนี้มีพระคุณอาจให้เจริญด้วยโภคสมบัติ ธนธัญญาหาร กสิกรรม วานิชกรรมต่างๆ ในเมืองนี้

เมื่อบอกจบทั้ง ๔ คนแล้ว ให้ทิ้งก้อนดินทั้ง ๔ ทิศลงในหลุมตามลำดับกัน แล้วอัญเชิญแผ่นศิลารองต้นเสาหลักเมืองลงในหลุม แล้วอัญเชิญเสาหลักเมืองลงประดิษฐานเหนือหลังแผ่นศิลา ให้ลึกอยู่ในดิน ๗๙ นิ้ว สูงพ้นดินขึ้นมา ๑๐๘ นิ้ว ยัดดินให้แน่นอย่าให้เสาหลักเมืองเอนเอียงไปได้ทั้ง ๘ ทิศ  จากนั้นให้เอาแผ่นยันต์ชาตาเมืองเข้าบรรจุบนยอดหลักเมืองแล้วอัญเชิญเทวดาเข้าประจำรักษาหลักเมือง เสร็จแล้วให้พระสงฆ์มหาเถระผู้จุดเทียนไชยมาดับเทียนไชย เมื่อจะดับให้เอาใบพลูที่งามดี ๗ ใบ ชุบน้ำพระพุทธมนต์ แล้วว่าคาถา


”สพฺพโรควินิมุตฺโต       สพฺพสนฺตาปวชฺชิโต
สพฺพเวรมติกฺกนฺโต       จ ตุวํ ภว”  ว่า ๓ ครั้ง

แล้วเอาใบพลูดับเพลิงเทียนไชยให้สิ้นทั้งเปลวทั้งถ่าน แล้วให้นิมนต์พระสงฆ์ออกมาประน้ำพระพุทธมนต์ โปรยทรายให้รอบเมืองและที่หลักเมืองด้วย

ครั้นเวลาบ่าย ให้เจ้าพนักงานตั้งบายศรีสมโภชเวียนเทียนหลักเมือง นับเป็นเสร็จพิธีว่าด้วยการฝังหลักเมืองตามตำราฝังหลักเมือง

นอกจากตำราฝังหลักเมืองตามที่กล่าวสรุปมานั้น ยังมีตำราการฝังหลักเมืองอยู่อีก ๓ ฉบับ คือ ตำราพระราชพิธีนครฐาน ฉบับที่ ๑ พระราชพิธีนครฐาน จบบริบูรณ์ ฉบับที่ ๒ และพระราชพิธีฝังหลักพระนคร ฉบับที่ ๓ มีสาระที่พอสรุปเป็นความสังเขปตามลำดับดังนี้

ตำราพระราชพิธีนครฐาน เป็นตำราแบบแผนสำหรับที่จะฝังอาถรรพ์สร้างพระมหานครขึ้นใหม่ ให้ตั้งโรงพระราชพิธี ณ ท่ามกลางพระนครที่ใกล้กับจะฝังหลักเมือง โรง ๑ ให้ตั้งราชวัติ ปักฉัตรธงโดยรอบ และหลุมที่จะฝังหลักเมืองให้ขุดลึก ๗๙ นิ้ว ขุดเป็นหลุมมีปากหลุมเป็น ๑๒ เหลี่ยม กว้างเหลี่ยมละ ๖ นิ้ว เสาหลักเมืองให้ทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ ขนาดความยาวของเสา ๑๘๗ นิ้ว ฝังลึกลงดิน ๗๙ นิ้ว พ้นดินขึ้นมาสูง ๑๐๘ นิ้ว ให้ตั้งศาลเทวดา ๘ ทิศ สำหรับบูชาเทวดา ๘ พระองค์ และบูชาพระอิศวร พระนารายณ์ พระอินทร์ พระพรหม ให้ขุดเอาดินมาจากทิศทั้ง ๔ ทิศละ ๑ ก้อน เท่าผลมะตูม ให้ปั้นเป็นรูปท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ สมมติให้เป็นดิน ๑ น้ำ ๑ ไฟ ๑ ลม ๑ ให้เอาแผ่นทอง แผ่นเงิน และแผ่นทองแดงเป็นรูปจัตุรัสกว้างยาว ๑๒ นิ้ว สำหรับลงดวง “พระชันษาพระนคร” บรรจุในยอดเสาหลักเมืองให้จัดหาแผ่นศิลา ๑ แผ่น ลง “ยันต์โสฬสมหามงคล” สำหรับรองเสาหลักเมืองในหลุม สิ่งของทั้งหมดให้นำเข้าไว้ในมณฑลโรงพระพิธี ให้เจ้าพนักงานนิมนต์พระสวดพระปริตรและสวด “นครฐานสูตร”

เมื่อถึงวันกำหนดฤกษ์ ให้โหร ๔ คน ถือก้อนดินคนละ ๑ ก้อน ยืนที่ปากหลุมฝังหลักเมืองทั้ง ๔ ทิศ ให้โหรผู้ใหญ่ ๑ คน ถามเป็นอุเทศทิศเทวสังหรณ์ว่า ท่านถือสิ่งอันใด ผู้ถือบอกว่า ข้าพเจ้าถือก้อนดินนี้ คือ ปถวีธาตุ เป็นสาระวัฒนะ ถามต่อไปว่า สาระวัฒนะนั้นมีคุณเป็นประการใด ผู้ถือบอกว่า ปถวีธาตุสาระวัฒนะนี้มีคุณจะทรงไว้ซึ่งอายุพระนคร ให้บริบูรณ์ด้วยคามนิคม เป็นที่ประชุมประชาชนพลพาหนะ ตั้งแต่ประถมตราบเท่าถึงอวสาน

ให้ผินหน้าไปถามผู้ที่ถือก้อนดินในทิศคำรบ ๒ ว่า ท่านถือสิ่งอันใด ผู้ถือบอกว่าข้าพเจ้าถือก้อนดินนี้ คือ อาโปธาตุ เป็นมหาวัฒนะ ถามต่อไปว่า มหาวัฒนะนั้นมีคุณเป็นประการใด ผู้ถือบอกว่า อาโปธาตุมหาวัฒนะนี้ มีพระคุณให้สมเด็จพระบรมมหากษัตริย์ และเสนาอำมาตย์ราษฎรทั้งหลายเจริญอายุ วรรณะ สุขะ พละ สิริสวัสดิมงคลทั้งปวงต่างๆ

ให้ผินหน้าไปถามผู้ถือก้อนดินในทิศคำรบ ๓ ว่า ท่านถือสิ่งอันใด ผู้ถือบอกว่า ข้าพเจ้าถือก้อนดินนี้ คือ เตโชธาตุ เป็นเตชะวัฒนะ ถามต่อไปว่า เตชะวัฒนะนั้นมีคุณเป็นประการใด ผู้ถือบอกว่า เตโชธาตุ เตชะวัฒนะนี้ มีพระคุณอาจให้โยธาทหารทั้งปวงแกล้วกล้า มีตบะเดชะแก่หมู่ข้าศึกในทิศต่างๆ

ให้ผินหน้าไปถามผู้ที่ถือก้อนดินในทิศคำรบ ๔ ว่า ท่านถือสิ่งอันใด ผู้ถือบอกว่า ข้าพเจ้าถือก้อนดินนี้ คือ วาโยธาตุเป็นอลังการวัฒนะ ถามต่อไปว่า อลังการวัฒนะนี้มีคุณเป็นประการใด ผู้ถือบอกว่า วาโยธาตุอลังการวัฒนะนี้ มีพระคุณจะให้เจริญสมบัติธนธัญญาหาร กสิกรรม วานิชกรรมต่างๆ

เมื่อผู้ถือดินกล่าวจบแล้ว ให้ทิ้งก้อนดินอันสมมติเป็นธาตุทั้ง ๔ ลงในหลุมฝังหลักเมืองโดยลำดับกัน แล้วเชิญแผ่นศิลายันต์โสฬสมงคลลงในหลุม แล้วเชิญเสาหลักเมืองลงในหลุมตั้งบนแผ่นศิลา แล้วอัญเชิญเทวดาเข้าประจำรักษาหลักเมือง แล้วจึงกระทำการสักการบูชาด้วยเทียนธูป ดอกไม้ต่างๆ นับเป็นการเสร็จพิธีการฝังหลักเมือง

นอกจากข้อความที่กล่าวสรุปนั้นแล้ว ตำราพระราชพิธีนครฐานยังได้กล่าอธิบายถึงรายละเอียดว่า
ให้ปลูกโรงพิธีอาถรรพ์ ๖ โรง ที่ป้อมทั้ง ๖ ป้อม และป้อมใหญ่ให้ขุดหลุมอาถรรพ์ใหญ่มุมหนึ่งกว้างยาวศอกจัตุรัส ลึก ๖ ศอก และให้ขุดหลุมบริวาร ๘ ทิศ ล้อมหลุมอาถรรพ์ใหญ่จำนวน ๘ หลุม กว้างยาวจัตุรัส ลึก ๔ ศอก ให้ตั้งราชวัติ ปักฉัตรธง วงสายสิญจน์เช่นเดียวกัน ให้ตั้งศาลอีก ๒ ศาล ให้มีเครื่องสักการบูชาเหมือนกัน สำหรับบูชาเจ้ากรุงพาลีศาลหนึ่ง บูชาพระภูมิศาลหนึ่ง ให้เชิญหลักเมืองและดิน ๔ ก้อน แผ่นศิลารองต้นหลักเมืองนำเข้าไว้ในมณฑลโรงพระราชพิธี ให้ตั้งเตียงพระไชยและเทียนไชย เครื่องนมัสการสำรับหนึ่ง ให้ตั้งหม้อน้ำ ๕ หม้อ บาตรทราย ๕ บาตร ให้นิมนต์พระสงฆ์ ๒๐ รูป นั่งปรก ๔ คู่สวด ๑๖ ที่โรงพิธีอาถรรพ์ใหญ่นั้นให้เชิญแผ่นอาถรรพ์ทองแดง แผ่นอาถรรพ์ศิลา และบริวาร รูปราชสีห์ รูปช้าง รูปเต่า เอาเข้าไว้ในมณฑลพิธี ให้มีเตียงรองพระพุทธรูปและเครื่องนมัสการ หม้อน้ำ ๓ หม้อ บาตรทราย ๓ บาตร นิมนต์พระสงฆ์ ๑๐ รูป นั่งปรก ๒ คู่สวด ๘ และให้ปลูกโรงพิธีน้อย ๕ โรง ทั้ง ๕ ป้อม ให้ขุดหลุมอาถรรพ์โรงละ ๑ หลุม กว้างศอก ๑ ลึก ๔ ศอก ให้เชิญแผ่นศิลาอาถรรพ์เข้ามณฑลโรงพิธี โรงละ ๑ แผ่น ให้มีเตียงรองพระพุทธรูปและเครื่องนมัสการ หม้อน้ำ ๓ หม้อ บาตรทราย ๑ บาตร ให้นิมนต์พระสงฆ์สวดทั้ง ๗ โรงพิธี จำนวน ๘๐ รูป วันต้นสวดเจ็ดตำนาน วันกลางสวดสิบสองตำนาน วันสุดท้ายสวดพระธรรมจักรและพระมหาสมัย ที่โรงพิธีใหญ่นั้นสวดท้องภาณ แบ่งเป็น ๒ ร้าน ข้างละ ๒ รูป สวดภาณวารร้าน ๑ สวดนครฐานสูตรร้าน ๑ ที่โรงพิธีป้อม ๒ โรงนั้น สวดนครฐานสูตรร้านเดียว สวดครบ ๓ วัน ๓ คืน

อนึ่ง เวลาเย็นเมื่อจะสวดมนต์ทั้ง ๓ วันนั้น ให้โหรบูชาเทวดาด้วยเครื่องกระยาบวชทุกๆ ศาล ให้เจ้าพนักงานประโคมปี่พาทย์ฆ้องไชยแตรสังข์ ครั้นรุ่งขึ้นเป็นวันคำรบ ๔ เป็นฤกษ์ ให้ตั้งบายศรี และเครื่องพลีกรรมมัจฉะมังสาหารบูชาเทวดาทุกๆ ศาล ให้นิมนต์พระสงฆ์ประน้ำพระพุทธมนต์และโปรายทรายไปรอบที่ขุดรากจะก่อกำแพงเมือง ครั้นถึงเวลาฤกษ์จึงให้ทิ้งก้อนดินทั้ง ๔ ก้อนลงในหลุม แล้วเชิญแผ่นศิลารองต้นหลักและหลักเมืองลงหลุมป้อมทั้ง ๖ ป้อม ให้เชิญอาถรรพ์ลงหลุมพร้อมกัน ให้เจ้าพนักงานประโคมปี่พาทย์ฆ้องชัยแตรสังข์ โห่ร้อง ยิงปืนเอาฤกษ์ พระสงฆ์ทั้งหมดสวดมหาชัยมงคลปริตร แล้วผูกตรึงหลักเมืองและอาถรรพ์ นับเป็นสำเร็จการพระราชพิธีนครฐานบริบูรณ์

สำหรับพระตำราพระราชพิธีนครฐาน นับเป็นอีกตำราหนึ่ง ที่ว่าด้วยการฝังหลักเมือง มีสาระที่พอสรุปเป็นความสังเขปดังนี้

สิทธิการิยะ ซึ่งการที่จะฝังหลักพระนครนั้น ให้เอาไม้ชัยพฤกษ์มาทำเป็นเสาหลักเมือง เอาไม้แก่นประกอบนอกให้เสาหลักเมืองสูงพ้นดินขึ้นมา ๑๐๘ นิ้ว ลึกลงดิน ๗๙ นิ้ว คิดเป็นความยาวของเสาหลักเมือง ๗ ศอก ๑ คืบ ๗ นิ้ว มีเม็ดยอดสวมบนปลายหลัก ลงรักปิดทองให้ทำเป็นช่องสำหรับเป็นที่บรรจุดวงชาตาเมือง ครั้นถึงวันฤกษ์ ให้เอาแผ่นทอง แผ่นเงิน หนักแผ่นละ ๑ ตำลึง กว้างยาว ๑๒ นิ้วจัตุรัส สำหรับลงดวงชาตาเมืองในพระอุโบสถ มียันต์ล้อม เมื่อจะลงยันต์ให้มีบายศรี เทียนทอง ๕ ธูป เงิน ๕ และเครื่องบูชาพร้อม ให้เจ้าพนักงานประโคมแตรสังข์ แล้วบรรจุในยอดหลักเมือง และลงยันต์แผ่นศิลา ๑ แผ่น สำหรับรองหลักเมืองในหลุม ให้เอาแผ่นเงินหนัก ๑ บาท ๒ แผ่น ลงยันต์ปิดต้นหลักเมือง ให้ขุดหลุมลึก ๖ ศอก ทำปากหลุมเป็น ๑๒ เหลี่ยม กว้างเหลี่ยมละ ๒ ศอก ให้ไปพลีเอามูลดินมาจากทิศทั้ง ๔ ทิศพระนคร ทิศละ ๑ ก้อน ก้อนเท่าลูกนิมิต ทาด้วยดินสอพองและโคมัยแป้งหอมน้ำมันหอม ให้ปลูกโรงพระราชพิธีในที่ใกล้หลุมซึ่งจะฝังหลักเมือง ให้ตั้งศาลท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ ทิศ ศาลพระอินทร์อยู่ท่ามกลาง ให้ตั้งราชวัติ ปักฉัตรธง ผูกต้นกล้วยต้นอ้อยให้รอบโรงพระราชพิธี และที่หลุมฝังหลักเมืองนั้น ให้มีโรงพิธีพราหมณ์บูชาเทวรูปพระไสยศาสตร์โรงหนึ่ง

ให้เจ้าพนักงานฟั่นเทียนไชย ขี้ผึ้งหนัก ๔ ชั่ง ให้มีเครื่องนมัสการสำรับหนึ่ง ครั้งถึงวันจะสวดพระราชพิธี จึงให้อัญเชิญพระไชย พระธรรม มาตั้งในโรงพระราชพิธี พร้อมทั้งหลักเมือง แผ่นศิลาสำหรับรองเสาหลักเมืองและแผ่นยันต์สำหรับปิดต้นปิดปลายหลักเมืองก้อนดิน ๔ ก้อน บาตรน้ำ ๓ บาตร บาตรทราย ๑ บาตร ให้นำเอามาเข้าไว้ในมณฑลโรงพระราชพิธี ให้วงสายสิญจน์รอบสองชั้น ให้นิมนต์พระสงฆ์สวดพระปริตร ๓ วัน คู่สวด ๔ สำรับ สำรับละ ๕ รูป สวดพระจตุภาณวาร ๒ สวดนครฐานสูตร ๒ รวมเป็นพระสงฆ์ ๒๐ รูป และพระสงฆ์ราชาคณะ ๑๕ รูป รวมเป็นพระสงฆ์ ๓๕ รูป ให้มีบายศรีตองวันละ ๒ สำรับ เทียนเงิน เทียนทอง วันละ ๒ คู่ มีเครื่องกระยาบวชธูปเทียนตั้งบนศาลทั้ง ๕ ศาล ให้โหรบูชาเทวดาเวลาเย็นทั้ง ๓ วัน ให้เจ้าพนักงานประโคมปี่พาทย์ ฆ้องชัย แตร สังข์

ครั้นรุ่งขึ้นเป็นวันคำรบ ๔ เป็นวันพระฤกษ์ ให้ตั้งบายศรีแก้ว บายศรีทอง บายศรีเงิน ๓ สำรับ และเทียนเงิน เทียนทอง สิ่งละ ๓ เล่ม สำหรับบูชาพระฤกษ์ ให้ตั้งเครื่องมัจฉะมังสาหารและบายศรีศีรษะสุกร ธูปเทียนทั้ง ๕ ศาล สำหรับโหรบูชาเทวดา แล้วเชิญหลักเมืองและแผ่นศิลาพร้อมกับก้อนดินทั้ง ๔ ก้อน บาตรน้ำ บาตรทราย ไปสู่ที่ใกล้หลุมให้โหรทั้ง ๔ คนถือก้อนดินคนละก้อนยืนอยู่ที่ปากหลุมทั้ง ๔ ทิศ ครั้นถึงเวลาฤกษ์ให้โหรผู้ใหญ่คนหนึ่งบ่ายหน้าไปสู่บูรพาทิศ แล้วกล่าวประกาศเป็นอุทิศเทพสังหรณ์ว่า

ท่านถือสิ่งอันใด โหรผู้ถือก้อนดินอยู่ฝ่ายบูรพาทิศบอกว่า ข้าพเจ้าถือก้อนดินก้อนนี้ คือ ปถวีธาตุ สารวัฒนะ อาจยังสรรพธัญญาหารและพืชผลพฤกษาลดาชาติทั้งปวงต่างๆ ให้ผลิตผลงามบริบูรณ์ทั่วพื้นภูมิภาคในบริเวณจังหวัดพระราชอาณาเขตทั้งสิ้น

โหรผู้ใหญ่จึงบ่ายหน้าไปสู่ทักษิณทิศแล้วถามว่า ท่านถือสิ่งอันใด โหรผู้ถือก้อนดินยืนอยู่ฝ่ายทักษิณทิศบอกว่า ข้าพเจ้าถือก้อนดินก้อนนี้ คือ อาโปธาตุมหาวัฒนะ อาจยังห่าฝนให้ตกต้องควรแก่ฤดูกาล เป็นอุปการะแก่สรรพสิ่งธัญญาหารและพืชผลพฤกษาลดาวัลย์สรรพมัจฉาชาติให้บริบูรณ์ทั่วบริเวณจังหวัดพระราชอาณาเขตทั้งสิ้น

โหรผู้ใหญ่จึงบ่ายหน้าไปสู่ปัจฉิมทิศแล้วถามว่า ท่านถือสิ่งอันใด โหรผู้ถือก้อนดินยืนอยู่ฝ่ายปัจฉิมทิศบอกว่า ข้าพเจ้าถือก้อนดินก้อนนี้ คือ เตโชธาตุชะวัฒนะ อาจยังเสนาอำมาตย์ราชจตุรงคโยธาหารทั้งปวง ให้มีเดชานุภาพปราบอริราชไพรีให้ปราชัยมิได้มาย่ำยีบีฑาในบริเวณจังหวัดพระราชอาณาเขตทั้งสิ้น

โหรผู้ใหญ่บ่ายหน้าไปสู่อุดรทิศ แล้วถามว่า ท่านถือสิ่งอันใด โหรผู้ถือก้อนดินฝ่ายอุดรทิศบอกว่า ข้าพเจ้าถือก้อนดินนี้ คือ วาโยธาตุอลังการวัฒนะ อาจยังพ่อค้าวานิชในนานาประเทศให้นำมาซึ่งสำเภานาวาบรรทุกสรรพวัตถุสั่งของเครื่องอุปโคบริโภคต่างๆ อันเป็นของประดับพระนครให้บริบูรณ์ในบริเวณจังหวัดพระราชอาณาเขตทั้งสิ้น

เมื่อโหรผู้ถือก้อนดินฝ่ายอุดรทิศบอกจบแล้ว ให้โหรทั้ง ๔ ที่ถือก้อนดินยืนอยู่ทิศทั้ง ๔ ทิ้งก้อนดินลงในหลุมฝังเสาหลักเมืองโดยลำดับ แล้วจึงเชิญแผ่นศิลาวางบนก้อนดินในหลุม แล้วเชิญเสาหลักเมืองลงในหลุมตั้งบนแผ่นศิลา กลบดินให้แน่น ห้ามอย่าให้กลบด้วยเท้า เจ้าพนักงานประโคมดุริยางค์ดนตรี ฆ้องไชย แตรสังข์ และยิงปืนใหญ่ทั้ง ๔ ทิศ แล้วประน้ำโปรยทราย เอาผ้าสีชมพูห้อยทำขวัญเสาหลักเมือง ให้ปิดยันต์ที่ปลายเสาหลักเมืองและต้นเสาหลักเมืองบนดิน แล้วเจิมด้วยแป้งหอมน้ำมันหอม ห้อยพวงดอกไม้ มีเงินกำนัล ๓ ตำลึง เงินนี้ให้ได้แก่โหร แล้วอัญเชิญเทวดาเข้าสิงสถิตในเสาหลักเมือง นับเป็นเสร็จการพระราชพิธีนครฐานฝังเสาหลักเมือง

ตำราต่างๆ ตามที่ได้นำมากล่าวแสดงไว้ข้างต้นนั้น ผู้ที่ใส่ใจด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีคงจะทราบแล้วว่า เสาหลักเมืองหรือหลักพระนครนั้นมีความสำคัญมากน้อยเพียงไร และคงจะไม่ทำขึ้นโดยปราศจากเหตุผล ทั้งนี้ก็เพื่อหวังความเจริญสิริสวัสดิพิพัฒนมงคลแก่บ้านแก่เมืองเท่านั้น



ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร


ภาพจากศาลหลักเมืองพระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

คำขอขมากรรม – องค์พระหลักเมือง
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธธัสสะ (๓ จบ)
อิติสุคะโต อะระหังพุทโธ นะโมพุทธายะ
พระเสื้อบ้าน ทรงบ้าน พระเสื้อเมือง ทรงเมือง องค์พระหลักเมือง
นายอิน นายจัน นายมั่น นายคง ดวงวิญญาณบรรพบุรุษขมามิหัง
ลูกกราบขมาลาโทษ ที่เคยสบประมาทพลาดพลั้ง ล่วงเกินสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ตั้งแต่อดีตชาติ จนถึงปัจจุบัน ในวันนี้  ด้วยกาย วาจา ใจ ก็ดี  รู้หรือไม่ ก็ดี
ตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจ ก็ดี ระลึกได้ หรือระลึกไม่ได้ ก็ดี โปรดอภัยโทษ อโหสิกรรม
ให้แก่ลูกหลานด้วย ขอให้ลูกปราศจากทุกข์ โศก โรคภัยและอันตรายทั้งปวง
คิดทำกิจการงานใดขออย่าได้ขัด ได้คล่อง ขอให้สัมฤทธิ์ผลดังใจปรารถนา
ลูกขอน้อมถวายแด่ องค์พระหลักเมือง  ๒๓ ต.ค.๒๕๕๕


ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการสร้างเสาหลักเมืองสำหรับพระนคร มีอยู่ด้วยกัน ๒ คราว คือ

ครั้งแรก ในคราวสร้างพระนครรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีฝังหลักเมืองตามพระฤกษ์ที่กำหนด เมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๖ ปีขาล จัตวาศก จ.ศ.๑๑๔๔ ตรงกับวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕ เวลา ๐๖.๕๔ นาฬิกา

ครั้งที่ ๒ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาหลักเมืองขึ้นใหม่ ด้วยทรงพระราชดำริว่า เสาหลักเมืองที่ได้สร้างขึ้นไว้แต่ครั้งรัชกาลสมเด็จพระบรมอัยกาธิราชเจ้า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชนั้น ได้ชำรุดไปตามสภาพกาลเวลาสมควรที่จะได้สถาปนาขึ้นใหม่ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเสาหลักเมืองด้วยไม้สักเป็นแกนอยู่ภายใน ส่วนนอกนั้นประกอบด้วยไม้ไชยพฤกษ์ ๖ แผ่น ขนาดกว้างแผ่นละ ๘ นิ้ว ยอดเสาทำเป็นเม็ดทรงมัณฑ์ ลงรักปิดทอง และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีจารึกดวงชาตาพระนครบนแผ่นทองคำ หนัก ๑ บาท แผ่นกว้าง ๕ นิ้ว เมื่อวันอาทิตย์แรม ๙ ค่ำ เดือน ๑ ปีชวด จัตวาศก จ.ศ.๑๒๑๔ ตรงกับวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๓๙๕ มีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส (พระองค์เจ้าวาสุกรี) ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปรมานุชิตชิโนรส และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ (พระองค์เจ้าฤกษ์) ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นกรมหมื่นบวรรังสีสุริยพันธุ์ พร้อมกับพระสงฆ์ราชาคณะอีก ๓ รูป รวมเป็น ๕ รูป เจริญพระปริตร

ตามหมายรับสั่งรัชกาลที่ ๔ (เอกสารหมู่พระราชพิธี เลขที่ ๑๔๗๖) ปีฉลู เบญจศก จ.ศ.๑๒๑๕ พระฤกษ์บรรจุเสาหลักเมือง ณ วันอาทิตย์ แรม ๙ ค่ำ เดือน ๖ ตรงกับวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๓๙๖ เวลาย่ำรุ่งแล้ว ๒ โมง กับ ๘ บาท

ครั้นเวลาพระฤกษ์ โหรบูชาฤกษ์ พระยาโหราธิบดีอัญเชิญดวงชาตาพระนครรัตนโกสินทร์ เข้าบรรจุในยอดหลักเมืองแล้วติดรูปเทวดาพระหลักเมืองที่ใต้เม็ดยอดหลักเมือง ขณะนั้นชาวพนักงานประโคมปี่พาทย์ กลองแขก ฆ้องชัย แตร สังข์ ทหารยิงปืนใหญ่พระมหาฤกษ์ พระมหาชัย มหาจักร มหาปราบ ทั้ง ๔ ทิศ พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา พระยาโหราธิบดีประน้ำโปรยทราย ผูกผ้าชมพูที่หลักเมือง แล้วเวียนเทียนเจิมด้วยแป้งหอม น้ำมันหอม ห้อยพวงดอกไม้

ครั้นเวลา ๗ ทุ่ม ๓ บาท พระยาโหราธิบดี อ่านประกาศอัญเชิญเทวดาเข้าประดิษฐานในเทวรูปบนยอดหลักเมือง อ่านจบแล้วพระยาโหราธิบดีสวมเม็ดทรงมัณฑ์ที่ยอดหลักเมืองแล้วตรึงเหล็ก เป็นเสร็จพิธี

ครั้นรุ่งขึ้น ณ วันจันทร์ที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๓๙๖ ตรงกับวันแรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๖ ปีฉลู เบญจศก จ.ศ.๑๒๑๕ รัตนโกสินทรศก ๗๒ ที่ศาลหลักเมืองเวลาเช้ามีพิธีเวียนเทียนสมโภชหลักเมือง และได้ป่าวประกาศให้ราษฎรมาร่วมพิธีสมโภชหลักเมืองในครั้งนั้นด้วย และคอยรับแว่นเวียนเทียน มีปี่พาทย์เชลยศักดิ์ ๔ วง พันจันทนุมาศเป็นผู้เกณฑ์มา และหมื่นเทวาจัดฆ้องชัยมาคอยประโคมขณะเวียนเทียนสมโภชหลักเมือง กรมวังจัดเพลงมา และกรมเมืองจัดละครแสดงสมโภชหลักเมืองด้วย

ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พ.ศ.๒๔๒๕ ตรงกับปีมะเส็ง จัตวาศก การประดิษฐานพระนครรัตนโกสินทร์ มาครบ ๑๐๐ ปี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานสมโภชพระนครครบ ๑๐๐ ปี ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเป็นครั้งใหญ่ รวม ๓ วัน คือ วันอังคารที่ ๑๘ ถึงวันพฤหัสบดีที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ.๒๔๒๕ เวลาเช้า

วันรุ่งขึ้นถวายภัตตาหารทั้ง ๓ วัน เฉพาะที่ศาลหลักเมือง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อาราธนาพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์วันละ ๓๐ รูป

ครั้นถึงปีวอก จัตวาศก จ.ศ.๑๒๙๔ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ พระนครรัตนโกสินทร์ประดิษฐานมาครบ ๑๕๐ ปี ในเดือนเมษายน พ.ศ.๒๔๗๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีฉลองกรุงรัตนโกสินทร์และมีงานสมโภชหลักเมืองเป็นการเนื่องในพระราชพิธีคราวนั้นด้วย


โปรดติดตามตอนต่อไป
2926  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / Re: พรรณไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้มงคล เมื่อ: 18 พฤศจิกายน 2559 16:25:03
    โป๊ยเซียนแอฟริกา สวยแปลกน่าปลูก
บางครั้งการแนะนำต้นไม้ในคอลัมน์แล้วผู้อ่านตามไปซื้อในแหล่งที่บอกไว้ แต่ปรากฏว่าผู้ขายบอกว่าต้นหมดหรือไม่มีแล้ว ทำให้เสียความรู้สึกได้เช่นกัน และ “โป๊ยเซียนแอฟริกา” เป็นอีกต้นหนึ่งที่มีต้นวางขาย มีป้ายชื่อติดไว้ชัดเจน แต่ผู้ขายบอกไม่ได้ว่ามีชื่อวิทยาศาสตร์และวงศ์อย่างไร ระบุเพียงว่าเป็นไม้นำเข้าจากประเทศแอฟริกาและอยู่ในวงศ์โป๊ยเซียน ซึ่งดูแล้วลำต้นสวยงามแปลกตามาก เนื่องจากส่วนใหญ่ต้นโป๊ยเซียนที่คนทั่วไปรู้จักและนิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายนั้น จะไม่มีเหง้าหรือหัว ส่วนดอก ผู้ขายบอกต่อว่ายังไม่เคยเห็นเช่นกัน เลยขอแนะนำให้รู้จักเป็นความรู้เท่านั้น

โป๊ยเซียนแอฟริกา เท่าที่ดูจากต้นจริงและผู้ขายบอกเพิ่มเติมพอจะบอกลักษณะได้ดังนี้คือ เป็นไม้พุ่มมีหัวหรือเหง้าขนาดใหญ่ เปลือกเหง้าเรียบสีน้ำตาลเทา เหง้าหรือหัวจะสูงประมาณเกือบครึ่งฟุต บริเวณส่วนปลายของเหง้าหรือหัวจะมีต้นแทงขึ้นจำนวนหลายต้น ลำต้นเป็นสีเขียวเขียวสด และเป็นสันเหลี่ยมเหมือนกับลำต้นของโป๊ยเซียนหรือลำต้นของตะบองเพชรทั่วไป แต่ที่แปลกคือลำต้นจะบิดเป็นเกลียวสวยงามน่าชมมาก ตามสันเหลี่ยมจะมีหนามแหลมเป็นกระจุก ๔-๕ หนามแหลม และทิ้งระยะห่างกันอย่างชัดเจนคล้ายต้นโป๊ยเซียนหรือตะบองเพชรทั่วไปทุกอย่าง ลำต้นของ “โป๊ยเซียนแอฟริกา” ผู้ขายบอกว่าสามารถยาวได้กว่า ๑ ฟุต

ส่วนดอกที่ผู้ขายบอกในตอนแรกแล้วว่าไม่เคยเห็น จึงไม่รู้ว่าลักษณะดอกเป็นอย่างไรและสีอะไรด้วย ดอกจะออกบริเวณไหนของลำต้น เป็นช่อหรือเป็นดอกเดี่ยวๆ ก็ไม่รู้ ผู้ขายบอกได้เพียงว่า ขยายพันธุ์ด้วยเหง้าหรือหัว

โป๊ยเซียนแอฟริกา ปลูกได้ในดินผสมสำหรับปลูกต้นตะบองเพชรทั่วไป เป็นไม้ทนแล้งโดยธรรมชาติ ชอบแสงแดดได้เต็มวัน รดน้ำอาทิตย์ละครั้ง เหมาะจะปลูกกระถางกะทัดรัด ตั้งประดับโต๊ะทำงาน สามารถยกเข้ายกออกได้ง่ายๆ สวยงามมาก เคยมีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แถวบริเวณโครงการ ๒๔ แต่ปัจจุบันจะยังมีต้นขายอยู่หรือไม่ต้องเดินสำรวจดูครับ.


    จำปูน ไม้ดอกหอมใต้
ไม้ต้นนี้พบมีขึ้นตามธรรมชาติมากมายในแถบเทือกเขาบรรทัดทางภาคใต้ของประเทศไทย สมัยก่อนนิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายเฉพาะถิ่นในบริเวณบ้านมาช้านาน จนทำให้ต้น “จำปูน” ได้ชื่อว่าเป็นไม้ดอกหอมของภาคใต้ และเป็นสัญลักษณ์ของชาวใต้โดยปริยาย ปัจจุบันคนรุ่นใหม่น้อยคนนักจะรู้จักต้น “จำปูน” เนื่องจากค่านิยมปลูกได้ลดน้อยลงไปตาม

กาลเวลา ซึ่งต้น “จำปูน” มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ ANAXAGOREA JAVANICA BL. อยู่ในวงศ์ ANNONACEAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดเล็ก ต้นสูงเต็มที่ประมาณ ๒-๔ เมตรเท่านั้น แตกกิ่งก้านสาขาหนาแน่น ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบเกือบมน ผิวใบเกลี้ยงเป็นมัน ด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีจางกว่า เวลามีใบดกผู้ปลูกตัดแต่งกิ่งอย่างสม่ำเสมอจะทำให้เป็นพุ่มน่าชมยิ่ง

ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆตามกิ่งก้านตรงกันข้ามกับใบและปลายกิ่ง มีกลีบดอก ๖ กลีบ เนื้อกลีบหนาและแข็ง กลีบดอกเรียงซ้อนกันเป็น ๒ ชั้น ชั้นละ ๓ กลีบ กลีบดอกเป็นสีขาวนวล โคนกลีบดอกเป็นสีเขียว ปลายกลีบสีอ่อนกว่า ดอกมีกลิ่นหอมแรงมาก ดอกบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒ ซม. มีเกสรตัวผู้และ เกสรตัวเมียจำนวนมาก เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้นจะดูสวยงามแปลกตาพร้อมส่งกลิ่นหอมฟุ้งกระจายทั่วบริเวณใกล้เคียงเป็นที่ชื่นใจและประทับใจยิ่ง “ผล” เป็นผลกลุ่ม รูปร่างค่อนข้างกลม ภายในมีเมล็ดสีดำจำนวนมาก ดอกออกตลอดทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง

ปัจจุบันต้น “จำปูน” มีขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณแผงขายไม้ไทยโครงการ ๕ ใกล้ทางออกประตู ๓ ราคาสอบถามกันเอง เหมาะจะปลูกในบริเวณบ้าน ๒-๓ ต้น เวลามีดอกถูกลมพัดเอากลิ่นหอมโชยเข้าบ้านจะสร้างบรรยากาศเป็นธรรมชาติดีมากครับ  ไทยรัฐ


    จำปีแดงพันธุ์ใหม่
ปกติไม้ในสกุลจำปีต้น จะสูงใหญ่ ๗-๑๐ เมตรขึ้น แต่ “จำปีแดงพันธุ์ใหม่” ที่พบมีกิ่งตอนวางขายมีภาพถ่ายของดอกจริงโชว์ให้ชมด้วยนี้ ผู้ขายยืนยันว่าเป็นไม้พุ่มโดยธรรมชาติของสายพันธุ์ไม่ใช่ไม้ยืนต้นเช่นจำปีทั่วไป ต้นสูงเต็มที่ไม่เกิน ๔ เมตร ผู้ขายบอกต่อว่าสามารถปลูกลงกระถางขนาดใหญ่แล้วตัดแต่งกิ่งให้ต้นสูงเพียง ๒ เมตร รดน้ำบำรุงปุ๋ยสม่ำเสมอ จะมีดอกดกสีสันของดอกสวยงามและส่งกลิ่นหอมเป็นที่ชื่นใจได้ทั้งปีเหมือนกับปลูกลงดินทุกอย่าง

จำปีแดงพันธุ์ใหม่ เท่าที่ดูด้วยสายตาจากต้นที่วางขายพอระบุได้ว่าเป็นไม้อยู่ในวงศ์แม็กโนเลียทั่วไป ผู้ขายบอกว่าเป็นไม้นำเข้าจากต่างประเทศนานกว่า ๕ ปีแล้ว เป็นไม้พุ่มสูง ๔ เมตรตามที่ผู้ขายบอกตอนต้น ใบเดี่ยวออกสลับหนาแน่นช่วงปลายยอด ใบรูปใบหอกแกมขอบขนาน ปลายแหลมโคนสอบ เนื้อใบหนา ใบมีขนาดใหญ่ ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย สีเขียวสด

ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ ตามซอกใบใกล้ปลายยอด มีกลีบดอก ๘-๑๒ กลีบ เรียงซ้อนกันหลายชั้น เนื้อกลีบดอกหนา เป็นสีแดงเข้มอมสีม่วงตลอดทั้งกลีบดอก ดอกขณะยังตูมเป็นรูปกระสวย ดอกมีขนาดใหญ่มาก มีเกสร ๑๐-๑๓ อัน ดอกมีกลิ่นหอมแรง เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้น สีสันของดอกจะดูเจิดจ้าสวยงามและส่งกลิ่นหอมเป็นที่ประทับใจมาก ดอกออกตลอดทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอด ปลูกได้ในดินทั่วไปและ ปลูกเจริญเติบโตได้ดีทั้งในพื้นที่ราบต่ำและพื้นที่สูง เป็นไม้ไม่ชอบน้ำมากนัก รดน้ำวันละครั้งหรือวันเว้นวันได้ บำรุงปุ๋ยมูลสัตว์สลับกับใส่ปุ๋ยสูตร ๑๖-๑๖-๑๖ ครึ่งเดือนครั้ง จะทำให้ต้น “จำปีแดงพันธุ์ใหม่” แข็งแรงมีดอกสีสันงดงามและส่งกลิ่นหอมไม่ขาดต้น ปัจจุบันมีกิ่งตอนแท้ขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ   ไทยรัฐ


 จำปาสีทอง กับที่มาพันธุ์สวยหอม
จำปาชนิดนี้ เกิดจากการนำเอาเมล็ดของจำปาสายพันธุ์พื้นเมืองของไทยจำนวนหลายเมล็ดไปเพาะเป็นต้นกล้า แล้วแยกปลูกเลี้ยงจนโตมีดอกและติดผล ปรากฏว่าลักษณะดอกใหญ่และดีกว่าดอกจำปาสายพันธุ์พื้นเมืองหรือพันธุ์แม่อย่างชัดเจน จึงคัดเอาต้นดีที่สุดไปปลูกเลี้ยงและขยายพันธุ์ปลูกทดสอบความนิ่งของสายพันธุ์อยู่หลายวิธีจนมั่นใจได้ว่าเป็นจำปาพันธุ์ใหม่ที่กลายพันธุ์ถาวรแล้วแน่นอน เนื่องจากยังเหมือนเดิมทุกอย่าง เลยตั้งชื่อว่า “จำปาสีทอง” ดังกล่าว พร้อมขยายพันธุ์ออกขายได้รับความนิยมจากผู้ปลูกอย่างแพร่หลายในเวลานี้

จำปาสีทอง อยู่ในวงศ์ MAGNOLIACEAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้ยืนต้นสูง ๑๐-๒๐ เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มแน่น ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับรูปรี รูปไข่หรือรูปไข่แคบ ปลายใบแหลม หรือเป็นติ่งแหลม โคนกลมมน หรือแหลม ใบมีขนาดใหญ่ สีเขียวสด เวลามีใบดกจะหนาทึบให้ร่มเงาดีมาก

ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆตามซอกใบเกือบทุกซอกใบ มีกลีบดอก ๑๒-๑๕ กลีบ เรียงซ้อนกันหลายชั้น กลีบด้านนอกสด จะมีขนาดใหญ่และยาวกว่ากลีบที่อยู่ชั้นถัดไปตามลำดับ ปลายกลีบดอกแหลม เนื้อกลีบดอกหนากว่าเนื้อของกลีบดอกจำปาทั่วไปเยอะ ดอกตูมเป็นรูปกระสวย เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดใหญ่ กว่าดอกจำปาทั่วไป ๒ เท่า มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียเยอะ สีของกลีบดอกเป็นสีเหลืองเข้มหรือสีเหลืองทอง ดอกจะมีกลิ่นหอมแรงในช่วงเช้า พอตกบ่ายกลิ่นหอมจะจางลง เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้น จะดูสวยงามอร่ามตาและสิ่งกลิ่นหอมตอนเช้าตรู่เป็นที่ชื่นใจยิ่ง “ผล” เป็นกลุ่ม มีผลย่อยจำนวนมาก ผลย่อยเป็นรูปค่อนข้างกลมและแข็ง ผิวผลสีน้ำตาลอ่อน มีแต้มหรือจุดด่างสีขาว มีเมล็ดจำนวนมาก ดอกออกตลอดทั้งปี ขยายพันธุ์ทั่วไปด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง และเสียบยอด

ปัจจุบันมีกิ่งตอนวางขายทั่วไปที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ราคาอยู่ที่ขนาดของต้น เหมาะจะปลูกประดับในบริเวณบ้านมากครับ.  ไทยรัฐ

    อโศกระย้า ดอกสวยน่าปลูก
เมื่อประมาณ ๖-๗ ปีที่ผ่านมา “อโศกระย้า” มีกิ่งตอนวางขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ที่เปิดขายเฉพาะไม้ดอกและไม้ผลทุกวันพุธ–พฤหัสฯ ได้รับความนิยมจากผู้ซื้อไปปลูกอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเวลามีดอกจะดูสวยงามมากนั่นเอง แต่ปัจจุบันไม่พบว่ามีกิ่งตอนวางขายอีกแล้ว เลยทำให้ “อโศกระย้า” กลายเป็นไม้หายากไปโดยปริยาย

อโศกระย้า หรือ AMHERSTIA NOBILIS WALL. ชื่อสามัญ ORCHID FLOWER, PRIDE OF BURMA, QUEEN OF FLOWERING TREE อยู่ในวงศ์ LEGUMINOSAE, FABACEAE วงศ์ย่อย CAESALPINIOIDEAE มีถิ่นกำเนิดจากประเทศพม่า เป็นไม้ยืนต้น สูง ๑๐-๑๕ เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดทรงกลมหนาทึบ กิ่งห้อยลง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ปลายคู่มีใบย่อย ๖-๘ คู่ รูปขอบขนาน

ดอก ออกเป็นช่อห้อยลงที่ปลายกิ่งหรือออกตามลำต้น ช่อยาวประมาณ ๕๐-๘๐ ซม.แต่ละช่อมีดอกย่อยหลายดอกเรียงห่างกันอย่างเป็นระเบียบ ใบประดับและก้านดอกเป็นสีแดง หรือ สีแดงอมชมพู มีกลีบเลี้ยง ๔ กลีบ กลีบดอกมี ๕ กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน คู่ล่างเล็ก คู่ข้างดูคล้ายรูปช้อน เป็นสีแดง ปลายสีเหลือง กลีบบนแผ่กว้าง ขอบจัก มีจุดแดงและปื้นสีเหลืองบริเวณปลายกลีบ เวลามีดอกจะเป็นช่อห้อยระย้าทั้งต้นดูสวยงามมาก “ผล” เป็นฝักโค้ง สีแดงมีเมล็ดกลมแบน ๔-๖ เมล็ด ดอกออกเกือบทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง

ปัจจุบันหากิ่งตอนวางขายยากมาก หากใครต้องการไปปลูกจะต้องเดินสำรวจให้ละเอียดอาจเจอได้ แต่หากหาไม่ได้สามารถสั่งผู้ค้าให้จัดหาให้ได้ ส่วนราคาต้องตกลงกันเอง ซึ่งต้น “อโศกระย้า” เหมาะที่จะปลูกประดับทั้งในบริเวณบ้านสำนักงานสวนสาธารณะทั่วไป เพราะต้น “อโศกระย้า” ได้ชื่อว่าเป็นไม้ยืนต้นที่มีดอกสวยที่สุดครับ.   ไทยรัฐ


    กระดังงาไต้หวัน หอมแรงดกสวย
ผู้อ่านไทยรัฐ จำนวนมากที่พลาดอ่านข้อมูลเกี่ยวกับต้น “กระดังงาไต้หวัน” ที่เคยแนะนำในคอลัมน์ไปนานแล้ว อยากทราบว่ามีความเป็นมาอย่างไรและมีต้นขายที่ไหน ซึ่งต้น “กระดังงาไต้หวัน” มีลักษณะเป็นไม้พุ่ม ต้นสูงเต็มที่ประมาณ ๒.๕-๓ เมตรเท่านั้น ไม่ใช่ไม้เถาเลื้อย แตกกิ่งก้านหนาแน่น ลำต้นอวบอ้วนและใหญ่ในช่วงโคนต้น ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายแหลม โคนสอบเกือบมน ผิวใบเรียบ สีเขียวสดเป็นมัน เนื้อใบหนา ใบมีขนาดใหญ่

ดอก ออกเป็นช่อกระจุกตามปุ่มตาของลำต้นและกิ่งก้าน แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยขนาดใหญ่หนาแน่นจำนวนมาก ลักษณะดอกมีกลีบดอก ๖ กลีบ เรียงซ้อนกันเป็น ๒ ชั้น เหมือนกลีบดอกกระดังงาทั่วไป หรือกลีบดอกการเวก กลีบดอกเป็นสีเขียว เมื่อดอกแก่หรือนิยมเรียกว่า “กลีบสุก” จะเป็นสีเหลืองอมเขียว ดอกมีกลิ่นหอมแรงแบบเฉพาะตัว เมื่อดอกบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๔-๕ ซม. ดอกออกเกือบทั้งปี โดยดอกจะออกตั้งแต่โคนต้นเรื่อยขึ้นไปตามลำต้นและกิ่งก้าน

ที่สำคัญ จุดที่เคยออกดอกครั้งแรกจะออกดอกซ้ำที่เดิมหรือจุดเดิมตลอดไปและจะมีจำนวนดอกเพิ่มมากขึ้นตามอายุของต้นด้วย จึงทำให้เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้น จะดูสวยงาม และส่งกลิ่นหอมฟุ้งกระจายทั่วบริเวณใกล้เคียงเป็นที่ประทับใจมาก “ผล” ผู้ขายระบุว่ายังไม่เคยเห็นว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง เหมาะจะปลูกประดับทั้งในบริเวณบ้านและสำนักงานทั่วไป เวลามีดอกจะสวยงามและส่งกลิ่นหอมชื่นใจมากครับ.   ไทยรัฐ


    “แองเจิ้ลวิง” ไม้ดอกหอมที่หายไป
ไม้ต้นนี้ มีถิ่นกำเนิดจากประเทศออสเตรเลีย ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ขายในประเทศไทยนานกว่า ๒๐ ปีแล้ว โดยในช่วงแรก “แองเจิ้ลวิง” ได้รับความนิยมจากผู้ซื้อไปปลูกอย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีดอกดกและดอกมีกลิ่นหอมแรงเป็นที่ประทับใจมาก ปัจจุบัน “แองเจิ้ลวิง” หาซื้อไปปลูกได้ยากมาก เนื่องจากผู้ขายดั้งเดิมได้เลิกขายไม้ดอกหอมไปหลายปีแล้ว แต่ยังมีผู้อ่าน ไทยรัฐที่ชื่นชอบปลูกไม้ดอกหอมตามหา “แองเจิ้ลวิง” ไปปลูกประดับอยู่ จึงแจ้งให้ทราบอีกตามหน้าที่

แองเจิ้ลวิง เป็นไม้ในกลุ่มเดียวกันกับจัสมินทั่วไป มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้พุ่มเตี้ย ต้นสูงเต็มที่ไม่เกิน ๑-๒ เมตร เนื้อลำต้นไม่แข็งนัก แตกกิ่งก้านสาขาหนาแน่น กิ่งเปราะ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้ามเป็นคู่ๆ รูปใบหอก ปลายแหลม โคนมน ยอดอ่อนเป็นสีม่วงแกมน้ำตาล เมื่อใบแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้ม ทำให้ดูสวยงามแปลกตาสองรูปแบบ

ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อย เป็นพวง ๑๐-๑๕ ดอก ลักษณะดอกโคนเชื่อมกันเป็นหลอดสีม่วงอมแดง ปลายแยกเป็นกลีบดอก ๙-๑๒ กลีบ ดูคล้ายกลีบของดอกมะลิงาช้าง ปลายกลีบแหลมและบิดงอเล็กน้อย กลีบดอกเป็นสีขาว เมื่อดอกบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑-๑.๕ ซม. หลังกลีบดอกจะมีเส้นสีม่วงลากยาวจากโคนกลีบถึงปลายกลีบ ดอกมีกลิ่นหอมแรงคล้ายกลิ่นหอมของดอกมะลิทั่วไปทุกอย่าง เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้นจะดูสวยงามและส่งกลิ่นหอมเป็นที่ชื่นใจมาก ดอกออกตลอดทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยวิธีตอนกิ่ง

ไม่พบว่ามีกิ่งตอนหรือต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ตามที่ระบุข้างต้น ใครต้องการจะต้องเดินเสาะหาหรือบอกกล่าวให้ผู้ขายไม้ดอกหอมจัดหาให้ ราคาต่อรองกันเอาเอง เหมาะจะปลูกเป็นไม้ประดับในบริเวณบ้านหลายๆ ต้น เวลามีดอก นอกจากจะดูสวยงามและส่งกลิ่นหอมชื่นใจแล้ว ยังสามารถเก็บเอาดอกบูชาพระได้อีกด้วย   ไทยรัฐ


    “ตันหยง” หอมช่วงวสันต์
ผู้อ่านจำนวนมากเข้าใจว่า “ตันหยง” เป็นไม้ไทยและเชื่อว่ามีถิ่นกำเนิดทางภาคใต้ของไทยด้วย เพราะชื่ออ่านแล้วน่าจะเป็นอย่างที่คิด แต่ความจริงแล้ว “ตันหยง” เป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมจากประเทศสหรัฐอเมริกาเขตร้อนทั่วไป ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในบ้านเราตั้งแต่สมัยคุณปู่คุณย่าแล้ว จนทำให้กลายเป็นไม้ไทยไปโดยปริยาย มีชื่อเรียกในประเทศไทยว่า “ตันหยง” เรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน นิยมปลูกตามบ้านตามสวนสาธารณะอย่างแพร่หลาย มีลักษณะประจำพันธุ์คือ ดอกดกสวยงามน่าชมยิ่ง ดอกมีกลิ่นหอมแรง และจะหอมจัดจ้านเต็มที่ในช่วงฤดูฝน หรือยุคสมัยก่อนชอบเรียกว่าหอมช่วงฤดูวสันต์นั่นเอง

ตันหยง หรือ CAESALPINIA CORIARIA WILLD ชื่อสามัญ DIVI-DIVI อยู่ในวงศ์ LEGUMINOSAE เป็นไม้ยืนต้น สูง ๕-๑๐ เมตร ลำต้นเดี่ยว แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกว้างรูปดอกเห็ด ใบเป็นใบประกอบขนนก ออกเรียงสลับ ใบย่อยขนาดเล็ก รูปขอบขนานแคบ ปลายมน ออกเป็นคู่ๆ ใบย่อยไม่มีก้านใบ สีเขียวสด

ดอก ออกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบและปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก มีกลีบดอก ๖ กลีบ เป็นสีขาวอมเขียว หรือ สีเขียวอมเหลืองอ่อน เมื่อดอกบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลาง ๐.๓-๐.๕ ซม. ดอกมีกลิ่นหอมแรงเป็นธรรมชาติ และจะมีกลิ่นหอมที่สุดในช่วงฤดูฝนหรือฤดูเหมันต์ ตามที่กล่าวข้างต้น เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกัน จะส่งกลิ่นหอมฟุ้งกระจายทั่วบริเวณใกล้เคียงเป็นที่ชื่นใจมาก “ผล” เป็นฝักแบนและบิดงอ กว้างประมาณ ๑.๕ ซม. ยาวประมาณ ๓.๕ ซม.ภายในมีเมล็ด ดอกออกช่วงระหว่างเดือนมิถุนายนต่อเนื่องไปจนถึงเดือนกรกฎาคมของทุกปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง มีต้นขายทั่วไปที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ราคาอยู่ที่ขนาดของต้นประโยชน์ เนื้อฝักของ “ตันหยง” มีสารพัด TANNIN ๔๐-๕๐ เปอร์เซ็นต์ตำละเอียด พอกแผลสดแผลเปื่อยให้แห้งได้ และนำไปย้อมหนังสัตว์ได้อีกด้วยครับไทยรัฐ


อินทนิล-เสลา-ตะแบก

ดอกไม้ที่ใกล้เคียงกัน ๓ ชนิด คือ อินทนิล เสลา (อ่านว่า สะ-เหลา) ตะแบก ดร.ธวัชชัย สันติสุข ราชบัณฑิต ประเภทวิทยาศาสตร์ชีวภาพ สาขาวิชาพฤกษศาสตร์ อธิบายให้เข้าใจ ดังนี้

เมื่อลมร้อนเริ่มโชยจะสังเกตเห็นว่าต้นไม้บางชนิดที่ปลูกตามถนนหนทาง สวนสาธารณะ สถานที่ทำการบางแห่งในเมือง ผลิใบพร้อมกับช่อดอกขนาดใหญ่ สีม่วงสด ม่วงอมชมพู หรือชมพูเด่นสะดุดตา ต้นไม้เหล่านี้มีทั้ง ตะแบก เสลา อินทนิลน้ำ และอินทนิลบก ซึ่งดูผิวเผินมีลักษณะคล้ายคลึงกัน จึงทำให้เกิดความสับสนว่า ต้นใดเป็น ตะแบก เสลา อินทนิล

พรรณไม้จำพวก ตะแบก เสลา อินทนิล เป็นไม้ในสกุลเดียวกัน คือ Lagerstroemia วงศ์ Lythraceae ชนิดที่เป็นพรรณไม้พื้นเมืองของไทยนำมาปลูกประดับเรียงลำดับตามความนิยม ได้แก่ อินทนิลน้ำ เสลา ตะแบก และอินทนิลบก ตามถนน  ในกรุงเทพมหานคร มักจะปรากฏพรรณไม้ชนิดใดชนิดหนึ่ง ดังกล่าวปลูกแทรกอยู่เสมอ เช่น สองฟากถนนเพชรบุรี มีอินทนิลน้ำ เสลา และตะแบก และปลูกกันประปรายในเมืองต่างๆ ทางภาคเหนือและภาคอีสาน พรรณไม้ทั้ง ๔ ชนิด มีลักษณะเด่นแตกต่างกันพอสังเกตได้ดังนี้

อินทนิลน้ำ (Lagerstroemia speciosa (Linn.) Pers.) เปลือกลำต้นสีเทาหรือน้ำตาลอ่อน ค่อนข้างเรียบ อาจจะตกสะเก็ดเป็นแผ่นบางๆ บ้างเล็กน้อย ใบเกลี้ยง ปลายใบเรียวแหลม ผลิใบอ่อนเต็มต้นพร้อมช่อดอก สังเกตได้ง่ายที่ตำแหน่งช่อดอกเป็นพุ่มทรงเจดีย์ชูตั้งขึ้นเหนือเรือนยอดโดยรอบ ขนาดของดอกบานกว้าง ๕-๘ เซนติเมตร ออกชิดกันเป็นกลุ่ม สีม่วงสด ม่วงอมชมพูจนถึงชมพู และสีจะซีดจางลงเล็กน้อย เมื่อดอกโรย ผลมีผิวขรุขระ สีคล้ายเนื้อไม้ ออกดอกช่วงฤดูร้อน (มีนาคม -พฤษภาคม)

อินทนิลบก (L. macrocarpa Wall. ex Kurz) ลักษณะคล้ายอินทนิลน้ำมาก แต่ใบ ดอก และผลมีขนาดใหญ่กว่า ใบป้อมและกว้างกว่าใบอินทนิลน้ำ ปลายใบมนกว้างหรือแหลมเป็นติ่งสั้นๆ ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ช่อดอก ไม่ชูตั้งขึ้นเหนือเรือนยอด ขนาดของดอกบานกว้าง ๑๐-๑๓ เซนติเมตร แต่ละดอกจะชิดกันเป็นกลุ่ม ดอกสีม่วงอมชมพู และสีจะจางซีดลงเป็นสีขาวอมชมพู ออกดอกช่วงฤดูร้อน มีชื่ออื่นๆ ว่า กาเสลา จ้อล่อ จะล่อ

เสลา (L. loudonii Teysm. et Binn.) เปลือกลำต้นสีน้ำตาลดำหรือสีคล้ำ แตกเป็นร่องตื้นๆ ตามยาว ปลายกิ่งย้อยลู่ลงสู่พื้น ใบมีขนปกคลุมประปราย ช่อดอกออกตามกิ่ง ตามง่ามใบและปลายกิ่ง แต่ช่อไม่ชูตั้งขึ้น เมื่อดอกในช่อบานจะชิดกัน ดอกสีชมพูอมม่วง ออกดอกช่วงฤดูร้อน ผลผิวเรียบเป็นมันสีน้ำตาลไหม้ มีชื่ออื่นๆ ว่า เสลาใบใหญ่ อินทรชิต

ตะแบก (L. floribunda Jack) เปลือกลำต้นสีเทา เรียบ ลื่น เป็นมัน มักมีรอยแผลเป็นหลุมตื้นคล้ายเปลือกต้นฝรั่ง ใบอ่อนมีขนปกคลุม ใบแก่เกลี้ยง ช่อดอกออกตามปลายกิ่ง โค้งชูเหนือเรือนยอด มีดอกจำนวนมาก ดอกขนาดเล็ก บานเต็มที่กว้าง ๔-๕ เซนติเมตร ดอกในช่อเรียงกันห่างๆ ทำให้ช่อดอกโปร่ง ดอกสีม่วงอมชมพู และสีจะจางซีดลงเกือบเป็นสีขาวเมื่อดอกโรย ผลผิวเรียบเป็นมันสีน้ำตาลเข้ม มีขนปกคลุมบางๆ ที่ส่วนปลาย ออกดอกในช่วงฤดูฝน (มิถุนายน-กันยายน)





โกจิเบอร์รี่
จากบทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชนของภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ผศ.ดร.ภญ.วีณา นุกูลการ และ น.ส.ธันย์ชนก ปักษาสุข ว่า โกจิเบอร์รี่ (Goji berry) หรือ Wolfberry มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lycium barbarum วงศ์ Solanaceae หรือรู้จักกันในอีกชื่อว่า เก๋ากี้ เป็นผลไม้ชนิดหนึ่งในตระกูลเบอร์รี่ มีถิ่นกำเนิดแถบทวีปเอเชีย ผลของโกจิเบอร์รี่มีสีแดงอมส้ม ขนาดเล็ก รสชาติเปรี้ยวอมหวาน มีสรรพคุณหลากหลาย ได้รับขนานนามว่าเป็น ซูเปอร์ฟรุต (super fruit)

โกจิเบอร์รี่เป็นพืชที่มีใยอาหารสูงถึงร้อยละ ๒๐ ประกอบด้วยกรดอะมิโนหลายชนิด มีแร่ธาตุต่างๆ เช่น สังกะสี เหล็ก ทองแดง แคลเซียม ฟอสฟอรัส ซีลีเนียม เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสารสำคัญจำพวก ซีแซนทิน (zeaxanthin) และลูทีน (lutein) สูงมากกว่าผักและผลไม้ทั่วไป ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสร้างสารทั้งสองนี้ได้ จำเป็น ต้องได้รับจากอาหาร ซึ่งพบว่า ซีแซนทินและลูทีนเป็นสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ ๒ ชนิดเท่านั้นที่พบในจุดรับภาพของจอตา

มีการศึกษาพบว่า ภายในจอประสาทตาของคนเรา มีร่องเล็กๆ อยู่จุดหนึ่งที่มีเซลล์รับภาพในจอประสาทตา เป็นจุดที่แสงตกกระทบและทำให้คนเราสามารถมองเห็นภาพที่ชัดเจนในแต่ละวัน ซึ่งบริเวณเซลล์รับภาพนี้มีสารสีเหลือง หรือลูทีน อยู่หนาแน่นมากที่สุด จะพบได้ตรงชั้นเนื้อเยื่อที่หล่อเลี้ยงเส้นประสาท หากบริเวณดังกล่าวเสื่อมหรือเสียไปอาจทำให้สูญเสียการมองเห็นได้ โดยสารลูทีนในเซลล์รับภาพในจอประสาทตานี้จะทำหน้าที่สำคัญคือ คอยกรองแสงสีฟ้าซึ่งเป็นอันตรายต่อจอประสาทตา เป็นแสงที่หลีกเลี่ยงได้ยากเพราะมีอยู่ทั่วไปรอบๆ ตัวเรา ทั้งแสงแดดจากดวงอาทิตย์ แสงจากโทรทัศน์ แสงจากจอคอมพิวเตอร์ แสงจากหลอดไฟ ฯลฯ

จากการศึกษาพบว่า ระดับลูทีน ๒.๐-๖.๙ มิลลิกรัมต่อวัน จะช่วยป้องกันความเสื่อมของจุดด่างในดวงตาได้ ทั้งลูทีนยังทำหน้าที่เป็นสารต้านออกซิเดชั่นในดวงตาของคนเราอีกด้วย เพราะในดวงตาของเราจะมีสารอนุมูลอิสระอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นตัวทำลายเซลล์รับภาพและทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับจอประสาทตา ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ได้

ส่วนซีแซนทิน พบในโกจิเบอร์รี่ปริมาณสูง มากกว่าสาหร่ายเกลียวทองถึง ๕ เท่า ซีแซนทินเป็นองค์ประกอบสำคัญในจอตา โดยเฉพาะส่วนที่เรียกว่า macular ซึ่งเป็นชั้นของเม็ดสี ทำหน้าที่กรองแสงที่จะผ่านเข้าสู่จอตาและช่วยลดการสะท้อนของแสง ป้องกันรังสีจากแสงแดดที่เป็นอันตรายต่อดวงตา ทำให้มีคุณสมบัติช่วยป้องกันโรคหลายชนิด เช่น โรคต้อกระจก โรคจอรับภาพเสื่อม โรคหัวใจและหลอดเลือด

นอกจากนี้ ผลโกจิเบอร์รี่ยังมีเบต้าแคโรทีน (beta carotene) ซึ่งเป็นสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์อีกชนิดหนึ่ง พบว่าในผลโกจิเบอร์รี่มีปริมาณเบต้าแคโรทีนสูงกว่าแครอต เบต้าแคโรทีนมีคุณสมบัติเป็นโปร วิตามินเอ คือเป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ และจะถูกเปลี่ยนไปเป็นวิตามินเอจากเอนไซม์ที่ตับ วิตามินเอจัดเป็นวิตามินที่มีส่วนช่วยในการมองเห็น บำรุงสายตา

จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่าในชีวิตประจำวันเราอาจหลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงสีฟ้าได้ยาก เนื่องจากเป็นแสงที่อยู่รอบๆ ตัว รวมทั้งจากอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นการบำรุงสุขภาพตาทั้งเด็กและผู้ใหญ่ รวมทั้งการปกป้องสายตาจากแสงสีฟ้า นอกจากการหลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงสีฟ้านานๆ การพักสายตาจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ แล้ว การรับประทานสารที่มีฤทธิ์ปกป้องและบำรุงสายตา เช่น โกจิเบอร์รี่ ลูทีน และวิตามินเอ จะมีผลให้มีสุขภาพตาที่ดี โดยรับประทานได้จากอาหาร ผัก ผลไม้ นม





สารภี
สารภี ชื่อสามัญ Negkassar ชื่อวิทยาศาสตร์ Mammea siamensis T.Anderson จัดอยู่ในวงศ์ CALOPHYLLACEAE ชื่อท้องถิ่นอื่นมีเช่น สารภีแนน (เชียงใหม่), ทรพี สารพี (จันทบุรี), สร้อยพี (ภาคใต้) เป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในพม่า ไทย อินโดจีน และคาบสมุทรมาเลเซีย ในธรรมชาติพบในป่าเบญจพรรณและป่าดงดิบที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๒๐-๔๐๐ เมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด หรือตอนกิ่ง ปลูกได้ดีทั้งในที่ร่มรำไรและที่กลางแจ้ง ในดินทุกสภาพ ชอบดินร่วนซุย ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง

เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ ความสูงประมาณ ๑๐-๑๕ เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ แตกกิ่งก้านแผ่กว้าง เปลือกลำต้นเป็นสีเทาอมน้ำตาลถึงดำ แตกล่อนเป็นสะเก็ดตลอดลำต้น เปลือกในเป็นสีน้ำตาลแดง มียางสีครีมหรือสีเหลืองอ่อนเล็กน้อย ส่วนเนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลปนแดง เนื้อละเอียด เสี้ยนตรง ถี่ และสม่ำเสมอ แข็ง ทนทาน

ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ลักษณะใบเป็นรูปไข่กลับ หรือรูปรีแกมขอบขนาน ปลายใบมนกว้างๆ บางทีอาจมีติ่งสั้นๆ หรือหยักเว้าแบบตื้นๆ โคนใบสอบเรียว ขอบใบเรียบ ใบมีความกว้าง ๒-๕.๗ เซนติเมตร ยาว ๗.๕-๒๕ เซนติเมตร แผ่นใบหนาเกลี้ยงสีเขียวเข้มเป็นมัน ท้องใบสีอ่อนกว่า เนื้อใบหนาและค่อนข้างเรียบ เส้นแขนงของใบไม่มี แต่เห็นเส้นใบย่อยเป็นแบบเส้นร่างแหชัดทั้งสองด้าน ก้านใบยาว ๐.๕-๑.๕ เซนติเมตร

ดอกสีขาวอมเหลือง ออกดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อกระจุกตามกิ่ง ดอกย่อยเป็นสีขาว มีกลิ่นหอมมาก ดอกมีกลีบดอก ๔ กลีบ กลีบเลี้ยงมี ๒ กลีบ มีเกสรตัวผู้สีเหลืองจำนวนมาก ออกดอกช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคม ผลสารภีลักษณะเป็นรูปกระสวย หรือกลมรี ขนาด ๒.๕-๕ เซนติเมตร ผิวผลเรียบ ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีเหลืองอมส้ม เนื้อผลนิ่ม รับประทานได้ มีเมล็ดเดียว เป็นผลในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน

สารภีมีสรรพคุณ ดอกรสหอมเย็นใช้ผสมในยาหอม บำรุงหัวใจ บำรุงเส้นประสาท แก้วิงเวียนหน้ามืดตาลาย ชูกำลัง ช่วยทำให้เจริญอาหาร รักษาธาตุไม่ปกติ โลหิตพิการ ช่วยแก้ไข้มีพิษร้อน มีฤทธิ์ขับลม ใช้เป็นยาฝาดสมาน ทั้งนี้ ดอกสารภีจัดอยู่ในตำรับยา "พิกัดเกสรทั้งห้า" (ดอกสารภี ดอกพิกุล ดอกมะลิ ดอกบุนนาค เกสรบัวหลวง), ตำรับยา "พิกัดเกสรทั้งเจ็ด" (เพิ่มดอกกระดังงา ดอกจำปา) และในตำรับยา "พิกัดเกสรทั้งเก้า" (เพิ่มดอกลำดวน ดอกลำเจียก) เป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณช่วยบำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ บำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น ทำให้ชื่นใจ แก้ลมกองละเอียด แก้อาการหน้ามืดตาลาย วิงเวียนศีรษะ แก้โรคตา แก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ และช่วยบำรุงครรภ์

ใบสารภีช่วยบรรเทาอาการปวดตามข้อ ช่วยขับปัสสาวะ, ผลสุกมีรสหวาน นอกจากรับประทานเป็นผลไม้ ยังช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยขยายหลอดเลือด, เกสรหอมเย็น ใช้เป็นยาแก้ไข้ บำรุงครรภ์ ส่วนยางไม้ของต้นสารภีนำมาใช้แก้อาการแพ้คันจากพิษของต้นหมามุ่ย หรือจากน้ำลายของหอยบางชนิด

ดอกตูมของสารภีใช้สกัดทำสีย้อมผ้าสีแดง ดอกแห้งใช้ทำน้ำหอม โดยเพิ่มดอกคำฝอย ส้มป่อยเผา แช่ในน้ำจะได้น้ำหอมสำหรับใช้สรงน้ำพระในเทศกาลสงกรานต์ ส่วนดอกสดนำมา สกัดเป็นน้ำมันหอมระเหยนำไปใช้แต่งกลิ่นเครื่องสำอาง

โบราณเชื่อว่า หากบ้านใดปลูกต้นสารภีไว้ จะทำให้มีอายุยืนยาวเหมือนเช่นต้นสารภีที่มีเนื้อไม้แข็งแรง ทนทาน เป็นไม้ไทยที่มีอายุยืน ทั้งเชื่อว่าดอกสารภีช่วยบำรุงสุขภาพจิต เพราะเป็นเครื่องยาบำรุงหัวใจ ทำให้ร่างกายเกิดอารมณ์เยือกเย็น มีอายุยืนยาวเช่นกัน และเพื่อความเป็นสิริมงคล ควรปลูกในวันเสาร์ (โบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เอาคุณให้ปลูกในวันเสาร์) และปลูกไว้ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ป้องกันเสนียดจัญไร และผู้ปลูกควรเป็นสตรี เพราะสารภีเป็นชื่อที่เหมาะกับสตรี


ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด
2927  สุขใจในธรรม / พุทธประวัติ แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า / Re: สิ่งแรกในพระพุทธศาสนา โดย ศาสตราจารย์พิเศษเสฐียรพงษ์ วรรณปก เมื่อ: 16 พฤศจิกายน 2559 19:46:31



สิ่งแรกในพระพุทธศาสนา (๑๔)
การประชุมสงฆ์จำนวนมากที่สุดเป็นครั้งแรก

การประชุมใหญ่ครั้งประวัติศาสตร์นี้เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต (การประชุมใหญ่ อันประกอบด้วยองค์ ๔) มีขึ้นในวันเพ็ญเดือนสาม ต่อมาถูกกำหนดให้เป็นวันสำคัญวันหนึ่งในพระพุทธศาสนาเรียกว่า “วันมาฆบูชา”

คงต้องเท้าความสักเล็กน้อย หลังจากบวชให้ปัญจวัคคีย์ ทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดให้บรรลุพระอรหัตทุกรูปแล้ว ทรงบวชให้ยสกุมารและสหายอีก ๕๕ ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์หมดทุกรูป

เป็นอันว่าได้เกิดมีพระอรหันต์สาวกจำนวน ๖๐ รูปในเวลาอันรวดเร็ว

พระพุทธองค์ทรงเห็นว่ามีจำนวนพอสมควรแล้ว จึงทรงส่งให้แยกย้ายกันไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังแคว้นต่างๆ

พระองค์เองเสด็จมุ่งหน้าไปยังเมืองราชคฤห์ เพื่อโปรดพระเจ้าพิมพิสาร  ระหว่างทางได้โปรดภัททวัคคีย์ให้ได้ดวงตาเห็นธรรม  ประทานอุปสมบทให้ แล้วส่งไปเผยแผ่พระศาสนายังแว่นแคว้นต่างๆ ประทานอุปสมบทให้แก่ชฎิลสามพี่น้องพร้อมบริวารหนึ่งพันและทรงแสดงธรรมให้ฟังจนได้บรรลุพระอรหัตแล้วประทับยับยั้งอยู่ที่เวฬุวัน ที่พระเจ้าพิมพิสารสร้างถวาย

ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว พระสาวกที่ไปประกาศพระศาสนายังถิ่นต่างๆ คงพากันมาเพื่อเฝ้าพระพุทธองค์ ทำนองมารายงานผลการปฏิบติงาน ประมาณนั้น กระจายอยู่รอบเมืองราชคฤห์ พระอัสสชิน้องสุดท้องของปัญจวัคคีย์ก็เช่นกัน ได้เดินทางมายังเมืองราชคฤห์เพื่อเฝ้าพระพุทธเจ้า  วันหนึ่งขณะท่านเดินบิณฑบาตอยู่ อุปติสสมาณพเห็นเข้าประทับใจในบุคลิกอันงามสง่าสงบสำรวมของท่าน จึงเกิดความเลื่อมใส ใคร่จะสนทนาธรรมด้วย รอจนได้โอกาสแล้ว จึงเข้าไปไต่ถาม รู้ว่าท่านเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าจึงขอให้ท่านแสดงธรรมให้ฟัง

พระอัสสชิกล่าว “หัวใจ” ของพระพุทธศาสนาคือคาถา เยธัมมาฯ สรุปใจความของอริยสัจสี่  

อุปติสสิได้ดวงตาเห็นธรรม ไปบอกโกลิตะสหายรักทราบ โกลิตะก็ได้ดวงตาเห็นธรรมเช่นกัน ทั้งสองคนจึงพากันไปบวชเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า อุปติสสะปรากฏนามภายหลังว่า พระสารีบุตร โกลิตะปรากฏนามว่า พระโมคคัลลานะ

คืนวันนั้นเป็นวันเพ็ญเดือนสาม วันที่พระสารีบุตรบรรลุพระอรหัตพอดี เกิดเหตุการณ์พิเศษขึ้น ๔ ประการในวันเดียวกันคือ
๑.พระภิกษุจำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมกันที่วัดพระเวฬุวันโดยมิได้นัดหมาย
๒.ท่านเหล่านั้นเป็นเอหิภิกขุล้วน (พระพุทธเจ้าทรงบวชให้เอง)
๓.ท่านเหล่านั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ทรงอภิญญา
๔.วันนั้นเป็นวันพระจันทร์เสวยฤกษ์มาฆะ ตรงกับวันเพ็ญเดือนสาม

พระพุทธเจ้า ทรงเห็นเหตุการณ์ทั้ง ๔ อย่าง ปรากฏในวันเดียวกัน เห็นเป็นโอกาสเหมาะจึงทรงแสดง “โอวาทปาติโมกข์” (พระโอวาทอันเป็นหลักสำคัญ) ๑๓ ประการดังนี้
“การไม่ทำชั่วทั้งปวง
การทำความดีให้พร้อม
การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ขันติคือความอดทนเป็นตบะอย่างยิ่ง
พระนิพพาน พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า สูงสุด
ผู้ยังทำร้ายผู้อื่นอยู่ไม่นับว่าเป็นบรรพชิต
ผู้ยังเบียดเบียนผู้อื่นอยู่ไม่นับว่าเป็นสมณะ
การไม่ว่าร้ายเขา
การไม่เบียดเบียนเขา
การเคร่งครัดในระเบียบวินัย
การรู้จักประมาณในการบริโภค
การอยู่ในสถานสงบสงัด
และการฝึกจิตให้มีสมาธิอย่างสูงเสมอ
นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย”

โอวาทปาติโมกข์นี้มีทั้งหมด ๑๓ หัวข้อ สรุปได้ ๔ ประเด็นคือ
๑.กล่าวถึงอุดมการณ์ของพระพุทธศาสนา คือพระนิพพาน
๒.กล่าวถึงหลักการทั่วไป คือไม่ทำชั่วทั้งปวง ทำดีให้พร้อม และทำจิตให้ผ่องแผ้ว
๓.กล่าวถึงคุณสมบัติของผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนา คือจะต้องมีความเป็นอยู่เรียบง่าย ไม่เห็นแก่กิน อยู่ในสถานสงบสงัด ฝึกจิตอยู่เสมอ
๔.กล่าวถึงเทคนิควิธีการเผยแผ่ศาสนาคือ ไม่ว่าร้ายผู้อื่น ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ใช้สันติวิธีในการเผยแผ่ รู้จักประสานประโยชน์

ดูตามเนื้อหาของโอวาทปาติโมกข์ น่าจะเป็นการปัจฉิมนิเทศแก่พระธรรมทูตรุ่นแรก และปฐมนิเทศแก่ชุดใหม่ที่จะส่งไปเผยแผ่พระพุทธศาสนามากกว่าอย่างอื่น

มากกว่าเหตุผลอื่นใดดังที่นักวิชาการบางท่านพยายามอธิบาย

คือมีนักวิชาการบางท่านตั้งคำถามเองและตอบเองเสร็จว่า ทำไมพระสาวกเป็นพันๆ รูป มาเฝ้าพระพุทธเจ้าโดยมิได้นัดหมายกันและจำเพาะเจาะจงมาประชุมกันในวันเพ็ญเดือนสามด้วย

ตอบว่า ท่านเหล่านั้นมาด้วยความเคยชิน เคยชินอะไร ก็ท่านเหล่านั้นล้วนเป็นพราหมณ์มาก่อน พราหมณ์นั้นเมื่อถึงวันเพ็ญเดือนสามเขาจะมาชุมนุมทำพิธีกรรมทางศาสนาของเขา เรียกว่า วันศิวาราตรี  เมื่อท่านเหล่านั้น แม้จะมาบวชเป็นพระในพระพุทธศาสนาแล้ว เมื่อถึงวันเช่นนี้ก็รู้สึกเหงา เพราะเคยทำอะไรมาก่อน บังเอิญพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่ใกล้ๆ นี้ด้วย จึงพากันมาเฝ้าด้วยความเคยชิน พระพุทธเจ้าทรงเห็นเป็นโอกาสสำคัญจึงทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์

พระสาวก ๑,๒๕๐ รูป มิได้เป็นพราหมณ์มาก่อนก็มี จะเอาความเคยชินอะไรมาเล่าครับ อีกอย่างพระอรหันต์ ขนาดกิเลสที่ละได้แสนยากท่านก็ละได้หมดไม่เหลือหลอ แล้วความเคยชินธรรมดาๆ ยังจะเหลืออยู่อีกหรือ การพูดว่าท่านพากันมาด้วยความเหงา ยิ่งไม่ควร อย่าว่าแต่มาพูดเลย แม้แต่คิดก็ไม่ควร

เดี๋ยวใครไม่รู้จะเข้าใจว่า วันมาฆบูชา ของชาวพุทธเกิดขึ้นเพราะอารมณ์เหงาของพระอรหันต์


ข้อมูล : บทความพิเศษ สิ่งแรกในพระพุทธศาสนา (๑๔) การประชุมสงฆ์จำนวนมากที่สุดเป็นครั้งแรก โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก หน้า ๖๗ มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๘๘๔ ประจำวันที่ ๒๓-๒๙ กันยายน ๒๕๕๙




สิ่งแรกในพระพุทธศาสนา (๑๕)
ตำแหน่งที่ทรงแต่งตั้งครั้งแรก

มีคำในพระพุทธศาสนาเรียกว่า “เอตทัคคะ” (มาจาก เอต=นั้น บวก อัคคะ=เลิศ) แปลตามตัวอักษรว่า นั้นเป็นเลิศ หรือเลิศในทางนั้น ทางนั้นน่ะ ทางไหน ก็ทางที่ผู้นั้นเป็นเลิศทั้งนั้นแหละ

ตอบแบบนี้ ก็ไม่ได้ความกระจ่างแต่อย่างใด คือสมัยพุทธกาลในยุคต้นๆ ก็มิได้มีตำแหน่งแห่งที่อะไร เมื่อมีพระสาวกอรหันต์เกิดขึ้นจำนวนมาก แต่ละรูปก็มีคุณสมบัติพิเศษเฉพาะตัวแตกต่างกันไป

พระพุทธองค์ทรงเห็นว่า แต่ละท่านต่างก็มีความสามารถหรือความถนัดแตกต่างกัน ล้วนแต่เป็นประโยชน์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้งนั้น

จึงทรงประกาศให้ทราบว่า พระสาวกรูปนั้นๆ เป็นผู้มีคุณสมบัติเลิศกว่าผู้อื่นในทางนั้นๆ ให้เป็นที่รับทราบโดยทั่วไป

ในพระไตรปิฎกส่วนที่ว่าด้วยอังคุตตรนิกาย เอกนิบาต ได้ประมวลตำแหน่งเอตทัคคะที่ทรงประกาศแต่งตั้งทั้งภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หลายตำแหน่ง แต่เมื่อตรวจดูแล้วก็มีไม่ครบจำนวนเท่าที่เรารับทราบกัน

อย่างตำแหน่งพระเถระก็มีเพียง ๔๗ รูป (เท่าที่รับทราบกันมีถึง ๘๐ รูป เรียก อสีติมหาสาวก) เข้าใจว่า การประกาศแต่งตั้งคงมิได้ประกาศครั้งเดียว คงทยอยประกาศเป็นระยะๆ เมื่อมีบุคคลผู้มีคุณสมบัติพิเศษเกิดขึ้น

ตำแหน่งอัครสาวกเบื้องขวา-เบื้องซ้าย เข้าใจว่าคงทรงประกาศแต่งตั้งในยุคแรกๆ ที่ประกาศพระพุทธศาสนาที่แคว้นมคธ เพราะในช่วงแรกที่ประกาศพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ทรงต้องการ “มือ” ช่วยทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา

เมื่อเห็นท่านอุปติสสะกับโกลิตะเดินเข้าสำนักมา ยังมิทันได้รับการอุปสมบทเลย พระองค์ก็ทรงชี้ให้พระสงฆ์ดูพร้อมตรัสว่า “สองคนนั้นจะได้เป็นคู่แห่งอัครสาวกของเรา”

ขอเท้าความเรื่องที่เคยเขียนถึงมาหลายครั้งอีกครั้งหนึ่ง อย่าหาว่าเขียนแบบ “พูดติดอ่าง” เลยขอรับ เมื่ออุปติสสะกับโกลิตะ สองสหายเห็นความไร้สาระแห่งชีวิต อยากแสวงหาสิ่งที่ประเสริฐเหมาะสำหรับชีวิตของตน ทั้งสองจึงพากันออกจากบ้านไปแสวงหาครูอาจารย์ที่จะช่วยบอกทางสว่างให้

แม้ว่าตอนหลังจะมาศึกษาปฏิบัติอยู่กับอาจารย์สัญชัย เวลัฏฐบุตร เจ้าลัทธิปรัชญาที่มีชื่อเสียง ก็รู้สึกว่ามิใช่แนวทางที่ตนต้องการ จึงแยกย้ายกันไปเพื่อแสวงหาอาจารย์ต่อ โดยสัญญากันว่าใครพบก่อนก็ให้มาบอกอีกฝ่ายหนึ่ง

เช้าวันหนึ่ง อุปติสสะมาณพได้พบพระอัสสชิ น้องสุดท้องของปัญจวัคคีย์ กำลังเดินบิณฑบาตอยู่ ประทับใจในความสงบสำรวมของท่าน คิดในใจว่า ท่านผู้นี้ต้อง “มีดี” แน่นอน จึงรีรอโอกาสจะเข้าไปสนทนา เห็นว่าท่านยังเดินภิกขาจารย์อยู่จึงมิกล้าเข้าไปสนทนา

ต่อเมื่อท่านเดินออกจากเมือง กำลังหาทำเลจะฉันอาหาร จึงเข้าไปสนทนาด้วย ขอร้องให้ท่านสอนธรรม

พระอัสสชิได้กล่าวคาถา “เยธัมมาฯ” อันแสดงถึงหัวใจแห่งอริยสัจสี่ให้ฟังแต่ย่อๆ

อุปติสสะได้ฟังก็เกิด “ดวงตาเห็นธรรม” รู้ว่าท่านอัสสชิเป็นสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ดีใจอยากจะไปบวชเป็นสาวกของพระองค์บ้าง จึงรีบไปบอกแก่โกลิตะผู้สหาย กล่าวคาถานั้นให้โกลิตะฟัง โกลิตะก็ได้เกิด “ดวงตาเห็นธรรม” เช่นกัน

ทั้งสองจึงพากันไปเฝ้าพระพุทธองค์เพื่อทูลขอบวช

ขณะนั้นพระพุทธองค์ประทับนั่งท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ทอดพระเนตรเห็นสองท่านกำลังเดินเข้าพระวิหารเวฬุวันมา จึงทรงชี้ไปที่ท่านทั้งสองพร้อมตรัสข้อความดังกล่าวมาแล้วข้างต้น คงไม่ต้องคิดว่า ทำไมพระพุทธองค์ตรัสว่าจะตั้งให้ท่านทั้งสองเป็นพระอัครสาวก เพราะทรงเห็นแก่หน้าหรือเพราะทรงมีพระเมตตาเป็นพิเศษหรืออะไร เหตุผลที่สำคัญก็คือพระพุทธองค์ทรงเห็นว่าทั้งสองนั้นมีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะช่วยงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา เพราะ
๑.ท่านทั้งสองเป็นพราหมณ์ผู้จบไตรเพทมาก่อน
๒.ท่านทั้งสองจบปรัชญาลัทธิ “อมราวิกเขปิกา” จาก อาจารย์สัญชัย เวลัฏฐบุตร ที่เน้นการโต้ตอบใช้วาทะหักล้างกัน และ
๓.ท่านทั้งสองเมื่อมาบวชในพระพุทธศาสนาได้บรรลุพระอรหัตแล้ว ก็จะเป็นผู้มีคุณสมบัติประเภทที่เรียกว่า “รู้เขา-รู้เรา” เหมาะสมในการทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี

หลังจากท่านอุปติสสะและโกลิตะได้อุปสมบทแล้ว อุปติสสะได้นามเรียกขานในหมู่สงฆ์ว่า พระสารีบุตร โกลิตะได้นามว่า พระโมคคัลลานะ ๗ วันหลังจากอุปสมบท พระโมคคัลลานะได้บรรลุพระอรหัต ๑๔ วันหลังจากอุปสมบท พระสารีบุตรก็ได้บรรลุพระอรหัต

พระพุทธองค์ได้ทรงประกาศแต่งตั้งทั้งสองท่านเป็นอัครสาวกขวาซ้าย โดยพระสารีบุตรเป็นเอตทัคคะ (เลิศกว่าผู้อื่น) ทางด้านมีปัญญามาก เป็นอัครสาวกเบื้องขวา พระโมคคัลลานะเป็นเอตทัคคะทางด้านมีฤทธิ์มากเป็นอัครสาวกเบื้องซ้าย

พระบาลีใน อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต มีว่าดังนี้ “เอตทคฺคํ ภิกฺขเว มม สาวกานํ ภิกฺขุนํ มหาปญฺญานํ ยทิทํ สารีปุตฺโต อิทฺธิมนฺตานํ ยทิทํ มหโมคคลฺลาโน ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุสาวกของเรา ผู้มีปัญญามาก สารีบุตรเป็นเลิศ บรรดาภิกษุสาวกของเรา ผู้มีฤทธิ์ มหาโมคัลลานะเป็นเลิศ”

ตำแหน่งอัครสาวกเบื้องขวาเบื้องซ้าย เข้าใจว่าเป็นตำแหน่งแรกที่พระพุทธองค์ทรงแต่งตั้ง


ข้อมูล : บทความพิเศษ สิ่งแรกในพระพุทธศาสนา (๑๕) ตำแหน่งที่ทรงแต่งตั้งครั้งแรก โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก หน้า ๖๗ มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๘๘๕ ประจำวันที่ ๓๐ กันยายน - ๖ ตุลาคม ๒๕๕๙




สิ่งแรกในพระพุทธศาสนา (๑๖)
สามเณรรูปแรก


เป็นที่รู้กันว่า สามเณรรูปแรกในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา คือ ราหุล พระราชโอรสเจ้าชายสิทธัตถะหรือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในเวลาต่อมา

เรื่องราวของสามเณรราหุล มีบางอย่างที่น่าสังเกต บางอย่างอะไรบ้าง ขอพูดไว้ตอนท้าย  ตอนนี้ขอเล่าความเป็นมาก่อน

ว่ากันว่า เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวชหลังจากราหุลกุมารประสูติใหม่ๆ พระองค์ทรงบำเพ็ญเพียรรวมทั้งทรงทำทุกรกิริยา เป็นเวลา ๖ ปี จึงได้ตรัสรู้ เมื่อทรงประกาศพระพุทธศาสนา  วางรากฐานพระพุทธศาสนาที่เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธแล้ว ไม่นานก็เสด็จนิวัติพระนครกบิลพัสดุ์เพื่อโปรดพระยุรญาติ ในการเสด็จครั้งนี้ ราหุลกุมารถูกพระมารดาสั่งให้ไปทูลขอ “ทายัชชะ” กับพระพุทธเจ้า ขณะเสด็จออก “โปรดสัตว์” ในเมืองกบิลพัสดุ์ (นี้เป็นภาษาพระ หมายถึงออกบิณฑบาต) ราหุลน้อยในเรื่องนี้ ไม่ค่อยประสีประสานัก ได้ร้องขอว่า "สมณะ ขอทายัชชะ  สมณะ ขอทายัชชะ"

โดยตามเสด็จพระพุทธองค์ต้อยๆ ออกจากเมืองไปจนถึงป่าไทร (นิโครธาราม) นอกเมืองอันเป็นสถานที่ประทับชั่วคราว

คะเนว่าราหุลน้อยอายุไม่เกิน ๗-๘ ขวบ แล้ว “ทายัชชะ” ที่ว่านี้ครูบาอาจารย์สอนว่าหมายถึง “ขุมทรัพย์” เพราะขุมทรัพย์เกิดมาเพื่อผู้มีบุญญาธิการนั้น ถ้าเจ้าของไม่อยู่แล้ว ก็จะจมลงดินไม่มีใครสามารถเอาไปใช้ได้ ว่าอย่างนั้นสำนวนหนึ่ง

อีกสำนวนหนึ่งว่า “ทายัชชะ” แปลว่า ความเป็นทายาท ราหุลน้อยขอความเป็นทายาท หมายความว่า เจ้าชายสิทธัตถะนั้นทรงเป็นรัชทายาทที่จะสืบราชสมบัติแทนพระเจ้าสุทโธทนะอยู่แล้ว  เมื่อพระองค์เสด็จออกผนวช แม้ว่าจะแสดงให้โลกรู้ว่าทรงละโลกียวิสัยแล้ว แต่ก็ยังไม่ถือว่าสละเด็ดขาด อย่างน้อยพระเจ้าสุทโธทนะแหละที่ไม่อยากให้พระราชโอรสของพระองค์ทิ้งราชบัลลังก์ ดังจะเห็นว่าไม่ทรงตั้งใครเป็นรัชทายาทสืบแทน และ (จากข้อความแวดล้อมในคัมภีร์เถรวาท และข้อมูลจากฝ่ายมหายาน) มีความพยายามให้คนไปทูลเชิญเสด็จกลับพระนครหลายครั้ง

ขณะทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ พระนางยโสธราพิมพา ก็อยากให้ทุกอย่าง “ชัดเจน” จึงทรงส่งพระโอรสตามไปขอให้พระพุทธองค์ “ทรงมอบความเป็นทายาท” ให้แก่พระโอรสของพระองค์ อะไรประมาณนั้น

พระพุทธองค์ทรงดำริว่า ทรัพย์ ภายนอกไม่ปลอดภัย อาจพิบัติฉิบหายไปเพราะโจรภัย อัคคีภัย ราชภัย เป็นต้น  แต่ทรัพย์ภายในอันเป็นทรัพย์ประเสริฐ ไม่มีทางสูญหายไป จึงรับสั่งให้พระสารีบุตร อัครสาวกบวชให้ราหุลกุมาร

พระสารีบุตรทูลถามว่า จะให้บวชแบบไหน  พระพุทธองค์ตรัสว่า ให้รับไตรสรณคมน์ก็พอ

ตรงนี้หมายถึง การกล่าววาจาถึงพระรัตนตรัยสามครั้งว่า พุทธัง สรณัง คัจฉามิ  ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ  สังฆัง สรณัง คัจฉามิ  ทุติยัมปิ พุทธัง...ธัมมัง...สังฆัง สรณัง คัจฉามิ  ตติยัมปิ พุทธัง...ธัมมัง...สังฆัง สรณัง คัจฉามิ เปล่งวาจาถึงไตรสรณคมน์แล้ว กล่าวสมาทานศีล ๑๐ ก็เป็นสามเณรโดยสมบูรณ์

พระสารีบุตรจึงบวชให้ราหุลกุมารตามพุทธบัญชา ราหุลกุมาร จึงเป็นสามเณรรูปแรกในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา

ว่ากันว่า พระเจ้าสุทโธทนะทรงเสียพระทัยมากที่พระพุทธองค์ทรงบวชให้ราหุลกุมาร เพราะหลังจากพระราชโอรสเสด็จออกผนวชแล้วก็ทรงหวังไว้ว่าพระราชนัดดานี้แลจะได้สืบราชสมบัติแทน เมื่อบวชเสียแล้วก็ไม่มีผู้สืบราชบัลลังก์ จึงเสด็จไปขอพรว่า ต่อไปภายหน้า ใครจะบวชขอให้เขาผู้นั้นได้รับอนุญาตจากบิดามารดาก่อน

พระพุทธองค์ก็ประทานอนุญาตตามนั้น

ข้อที่น่าสังเกต (พร้อมด้วยเครื่องหมายคำถาม) ก็คือ การบวชราหุลกุมาร คงเป็นระยะต้นๆ แห่งการประกาศพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ยังคงประทานอุปสมบทด้วยวิธี “เอหิภิกขุ” ด้วยพระองค์เองอยู่ แต่การซักถามว่าผู้บวชได้รับอนุญาตจากบิดามารดาหรือยังเป็นตอนที่ทรงมอบภาระการบวชให้อยู่ในความรับผิดชอบของพระสงฆ์แล้ว ซึ่งน่าจะเป็นช่วงเวลาหลังจากนั้นพอสมควร

ในพิธีอุปสมบทต่อมา จึงมีการซักถามจากพระคู่สวดว่า อนุญญาโตสิ มาตาปิตูหิ = เธอได้รับอนุญาตจากบิดามารดาแล้วหรือ นาคหรือผู้จะบวชจะต้องตอบว่า อามะ ภันเต = อนุญาตแล้วของรับ

ปัจจุบันนี้ เพิ่มภรรยาด้วย ภรรยาต้องอนุญาตด้วย หาไม่เดี๋ยวโบสถ์อาจพังเอาง่ายๆ


ข้อมูล : บทความพิเศษ สิ่งแรกในพระพุทธศาสนา (๑๖) สามเณรรูปแรก โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก หน้า ๖๗ มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๘๘๖ ประจำวันที่ ๗ -๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙




สิ่งแรกในพระพุทธศาสนา (๑๗)
ภิกษุณีรูปแรก

ในช่วงต้นๆ ไม่มีภิกษุณี ภิกษุณีสงฆ์เกิดขึ้นหลังจากพระนางมหาปชาบดีโคตมี บวช  เพราะฉะนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีจึงเป็นภิกษุณีสงฆ์รูปแรก

เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จนิวัติกรุงกบิลพัสดุ์ (ครั้งที่เท่าไร ลืมตรวจสอบ) รู้แต่ว่าเจ้าชายในศากยวงศ์และโกลิยวงศ์ อาทิ เจ้าชายอานนท์ เจ้าชายภัททิยะ เจ้าชายมหานาม และเจ้าชายเทวทัต ได้ออกบวชเป็นสาวกพระพุทธองค์แล้ว ช่วงนั้นมีวัดพระเชตวันในเมืองสาวัตถี แล้ว

พระนางมหาปชาบดีโคตมี อยากบวชเหมือนเจ้าชายทั้งหลายบ้าง แต่ถูกพระองค์ปฏิเสธ เมื่อพระพุทธองค์พร้อมภิกษุสงฆ์เสด็จกลับจากนครกบิลพัสดุ์ ไปประทับอยู่ที่ป่ามหาวัน นอกเมืองไพศาลี แคว้นวัชชี พระนางมหาปชาบดีโคตมี พร้อมเหล่าสากิยานีจำนวนมากปลงผมนุ่งห่มผ้ากาวพัสตร์ พากันเดินเท้าเปล่ามุ่งหน้าไปยังป่ามหาวันเพื่อทูลขออุปสมบท

พระนางแจ้งความประสงค์ให้พระอานนท์ทราบ พระอานนท์นำความกราบทูลพระองค์ทรงทราบ พระพุทธองค์ทรงปฏิเสธว่า อย่าเลยอานนท์ การบวชสตรี อย่าเป็นที่ชอบใจของเธอเลย

ในที่สุดพระอานนท์กราบทูลถามว่า บุรุษกับสตรีมีความสามารถไม่ทัดเทียมกันใช่หรือไม่ สตรีไม่สามารถบรรลุธรรมชั้นสูงเฉกเช่นบุรุษใช่หรือไม่ พระพุทธองค์ตรัสว่า ในเรื่องนี้ไม่มีความแตกต่างกันแต่อย่างใด สตรีก็มีศักยภาพที่จะบรรลุที่สิ้นสุดทุกข์เช่นเดียวกับบุรุษ พระอานนท์กราบทูลถามว่า ถ้าเช่นนั้น เพราะเหตุใดพระพุทธองค์จึงไม่ทรงอนุญาตให้พระนางมหาปชาบดีโคตมีบวช สตรีก็มีความสามารถที่จะบรรลุธรรมขั้นสูงได้

พระพุทธองค์จึงทรงยินยอมตามที่พระอานนท์กราบทูลขอ  แต่ก็ทรงวางกฎเหล็กอันเรียกว่า “ครุธรรม ๘ ประการ” ไว้ว่า ถ้าปชาบดีโคตมีสามารถปฏิบัติครุธรรม ๘ ประการนี้ได้ พระองค์ก็ทรงยินดีประทานอุปสมบทให้

เมื่อพระอานนท์นำความแจ้งพระนางมหาปชาบดีโคตมี พระนางก็ยินดีปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ครุธรรม ๘ ประการนั้นคือ
๑.ภิกษุณีแม้จะมีพรรษา ๑๐๐ ก็ต้องกราบไหว้ภิกษุแม้บวชในวันนั้น
๒.ภิกษุณีจะอยู่ในวัดที่ไม่มีภิกษุไม่ได้
๓.ภิกษุณีจงถามวันอุโบสถและฟังโอวาทจากภิกษุ
๔.ภิกษุณีอยู่จำพรรษาแล้ว ต้องปวารณาในสงฆ์สองฝ่าย
๕.ภิกษุณีที่ต้องอาบัติหนัก ต้องประพฤติมานัตในสงฆ์สองฝ่าย (คือลงโทษกักบริเวณตัวเอง ตามกรรมวิธีของสงฆ์)
๖.ภิกษุณีจะต้องได้รับอุปสมบทจากสงฆ์สองฝ่าย
๗.ภิกษุณีไม่พึงด่า ไม่พึงบริภาษภิกษุไม่ว่ากรณีใดๆ
๘.ภิกษุณีไม่พึงตักเตือนภิกษุ แต่ภิกษุตักเตือนภิกษุณีได้

ฟังดูแล้วเป็น กฎเหล็ก จริงๆ ที่เป็นเช่นนี้คงเพราะพระพุทธองค์ไม่มีพระประสงค์จะให้สตรีบวช ทรงคำนึงถึงความปลอดภัยของสตรี ความซับซ้อนเกี่ยวกับสุขภาพร่างกายของสตรี  ที่สำคัญที่สุดทรงเกรงว่า ถ้าอยู่ใกล้ชิดกันมาก จะมีปัญหาในหมู่ภิกษุและภิกษุณี เพราะ “พรหมจรรย์” จะต้องเว้นขาดจากความเกี่ยวข้องทางกามารมณ์

พระภิกษุและภิกษุณีที่ยังมีภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรงพอ ก็อาจเผลอไผลละเมิดสิกขาบทได้  

พระพุทธองค์ตรัสว่า สำหรับบุรุษ สตรีเป็นอันตรายต่อพรหมจรรย์ และสำหรับสตรี บุรุษก็เป็นอันตรายต่อพรหมจรรย์เช่นเดียวกัน

เมื่อพระนางมหาปชาบดีโคตมียืนยันจะบวชให้ได้ และยินดีปฏิบัติตามกฎเหล็กทั้ง ๘ ประการอย่างเคร่งครัด พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตให้พระนางบวช การบวชของพระนางสำเร็จได้ด้วยการยอมรับครุธรรม ๘ ประการ

พูดง่ายๆ ทันทีที่พระนางรับปากปฏิบัติครุธรรมอย่างเคร่งครัดก็เป็นภิกษุณีแล้ว การบวชของพระนางเรียกว่า บวชด้วยการรับครุธรรม(ครุธัมมปฏิคคหณอุปสัมปทา)

เมื่อพระนางได้บวชแล้ว พระนางกราบทูลถามว่า แล้วจะให้ทำอย่างไรกับสตรีที่ตามพระนางมา พระพุทธองค์จึงตรัสว่า ให้ภิกษุสงฆ์จัดการบวชให้เสีย การบวชสตรีบริวารของพระนางมหาปชาบดีโคตมี  จึงกระทำขึ้นโดยภิกษุสงฆ์ฝ่ายเดียว (เพราะตอนนั้นยังไม่มีภิกษุณีสงฆ์)

มีเรื่องเล่าต่อมา เมื่อสตรีเหล่านี้ได้รับการบวชจากภิกษุสงฆ์ ตามพุทธบัญชาแล้ว พวกเธอจึงสำคัญว่า พวกตนเป็นภิกษุณีแท้ แต่พระนางมหาปชาบดีโคตมี มิใช่ภิกษุณีเพราะมิได้ผ่านการอุปสมบทเหมือนพวกตน

ความทราบถึงพระองค์ พระพุทธองค์ตรัสว่า ก็การรับครุธรรม ๘ ประการนั้นแหละเป็นการอุปสมบทของมหาปชาบดีโคตมี

หลังอุปสมบทแล้ว พระนางมหาปชาบดีโคตมีเถรีรับเอากรรมฐานจากพระพุทธองค์ไปปฏิบัติ ไม่นานก็บรรลุพระอรหัต พระนางมหาปชาบดีโคตมีทรงเคารพในพระพุทธองค์มาก ถึงกับกล่าวว่า รูปกายของพระพุทธองค์ นางเป็นผู้เลี้ยงให้เจริญเติบโต นับเป็น “มารดา” ของพระพุทธองค์ทางร่างกาย แต่ธรรมกายของพระนาง พระพุทธองค์ทรงเลี้ยงให้เจริญ  พูดภาษาสามัญก็ว่า ในทางโลก พระนางมหาปชาบดีโคตมีเป็น “แม่” ของพระพุทธเจ้า แต่ในทางธรรม พระพุทธองค์เป็น “พ่อ” ของพระนาง เท่านั้น เท่านั้นจริงๆ ไม่ใช่ “ธรรมกาย ธรรมเกิน” ดังที่บางพวกบางเหล่าพยายามจะลากความไปเพื่อสนองตัณหาของพวกตน

พระนางมหาปชาบดีโคตมีได้รับยกย่องใน “เอตทัคคะ” (ความเป็นเลิศกว่าผู้อื่น) ในทาง “รัตตัญญู” แปลกันว่า “ผู้รู้ราตรีนาน” คงมิได้หมายความว่าผู้แก่เฒ่าเพราะอยู่นานดอกนะครับ

ความหมายที่แท้จริงน่าจะหมายถึง “ผู้มีประสบการณ์มาก” มากกว่า


ข้อมูล : บทความพิเศษ สิ่งแรกในพระพุทธศาสนา (๑๗) ภิกษุณีรูปแรก โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก หน้า ๖๗ มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๘๘๗ ประจำวันที่ ๑๔-๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๙





สิ่งแรกในพระพุทธศาสนา (๑๘)
ภิกษุที่อุปสมบทด้วยพระสงฆ์รูปแรก

ที่จริงต้องพูดว่า ภิกษุสงฆ์อุปสมบทให้ด้วย “ญัตติจตุตถกรรมวาจา” เป็นรูปแรก จึงจะถูก เพราะการบวชโดยพระสงฆ์เป็นผู้กระทำให้ ก่อนหน้านั้นมีมาแล้ว แต่เป็นการบวชโดยวิธีอื่น

สมัยต้นๆ พระพุทธเจ้าทรงทำหน้าที่รับผู้เข้ามาบวชด้วยพระองค์เอง การรับเข้าไม่มีพิธีรีตองอะไร เพียงตรัสสั้นๆ (ถ้ายังไม่บรรลุพระอรหัต) ว่า “จงมาเป็นภิกษุ เพื่อทำที่สิ้นสุดทุกข์เถิด” (เอหิ ภิกฺขุ ทุกฺขสฺส อนฺตกิริยาย) และ (ถ้าเป็นพระอรหันต์ หลังฟังธรรมจบ) ว่า “จงมาเป็นภิกษุเถิด” (เอหิ ภิกฺขุ) วิธีนี้เรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา (การอุปสมบทด้วยตรัสว่าเอหิภิกขุ)

ต่อมามีกรณีเจ้าชายราหุลอายุประมาณ ๗-๘ ขวบ มาขอ “ทายัชชะ” (แปลกันว่าขุมทรัพย์) พระพุทธองค์มีพุทธประสงค์จะประทานอริยทรัพย์ให้ จึงมีพุทธบัญชาให้พระสารีบุตรทำการบวชแก่เจ้าชายราหุล วิธีบวชแบบนี้เรียกว่า “ติสรณคมนูปสัมปทา” (การอุปสมบทด้วยการรับไตรสรณคมน์)

การบวชแบบนี้ทรงอนุญาตให้พระสงฆ์นำไปบวชให้แก่กุลบุตรผู้มาขอบวชด้วย ต่อมาการบวชแบบนี้นำมาใช้สำหรับการบวชสามเณรเท่านั้น

ต่อมามีพราหมณ์สูงวัยคนหนึ่งมาขออาศัยพระอยู่ เกิดอยากบวชขึ้นมา พระพุทธเจ้าจึงทรงรับสั่งให้พระสงฆ์จัดการบวชให้

พราหมณ์คนนี้ชื่อ ราธะ ตะแกมิใช่คนสิ้นไร้ไม้ตอก หากเป็นคหบดีชาวเมืองราชคฤห์ มีความเป็นอยู่อย่างสุขสบาย แกมีบุตรหลายคน เมื่อบุตรเจริญเติบโตก็จัดการให้มีเหย้ามีเรือนกันหมดทุกคน แรกๆ บุตรภรรยาก็ดูแลดี ต่อมา พวกเขาไม่สนใจไยดีเท่าที่ควร จึงน้อยใจตามประสาคนแก่ จึงไปขออยู่ที่วัด อาศัยข้าวก้นบาตรจากพระยังชีพ แกก็ช่วยปัดกวาดบริเวณวัด ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ ปรนนิบัติพระตามกำลังสามารถ

พราหมณ์อาวุโส (ผมพยายามเลี่ยงคำว่า แก่  เพราะคนวัยผู้เขียนคอลัมน์นี้ไม่ค่อยชอบฟัง) อยากบวชขอบวช พระท่านไม่ยอมบวชให้หาว่าแก่ไป (เอาเข้าจนได้ ฮิฮิ) จะบำเพ็ญสมณกิจไม่ไหว จึงเฉยเสีย พราหมณ์ก็ไม่ท้อถอย ตั้งใจปรนนิบัติพระสงฆ์อย่างดี เผื่อท่านจะเห็นใจอนุญาตให้บวชบ้าง

พระพุทธเจ้าทรงตรวจดูสัตว์โลกที่จะไปโปรดด้วยพระญาณ ในค่อนรุ่งวันหนึ่ง พราหมณ์ปรากฏในข่ายคือพระญาณ พระองค์ทรงทราบว่าพราหมณ์คนนี้มีอุปนิสัยสมควรที่จะโปรดให้บรรลุธรรมได้ จึงเสด็จไปยังสถานที่แกอยู่ ตรัสถามว่า ราธะ เธอมาทำอะไรอยู่ที่นี่
“มารับใช้พระสงฆ์ พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอต้องการอะไร จึงมารับใช้พระสงฆ์”
“ต้องการอุปสมบท พระพุทธเจ้าข้า แต่พระสงฆ์ไม่บวชให้”

พระพุทธเจ้า จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ในวันหนึ่ง ตรัสถามว่า มีใครรู้จักราธพราหมณ์คนนี้บ้างไหม

พระสารีบุตรกราบทูลว่า ท่านรู้จัก ราธพราหมณ์คนนี้เคยใส่บาตรท่านทัพพีหนึ่ง

พระพุทธเจ้าตรัสว่า สารีบุตรเธอรู้อุปการคุณที่คนอื่นกระทำ เธอนั้นแหละจงจัดการให้ราธพราหมณ์อุปสมบท เท่ากับทรงให้พระสารีบุตรรับรองให้พราหมณ์บวช ด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา

เมื่อมีผู้รับรอง การอุปสมบทของราธพราหมณ์ก็เป็นไปโดยง่าย พระสารีบุตรรับหน้าที่เป็นอุปัชฌาย์บวชให้ด้วย “ญัตติจตุตถกรรม”

การบวชแบบนี้ ต้องมีอุปัชฌาย์ มีกรรมวาจาจารย์ (พระคู่สวด) มีอนุสาวนาจารย์ (ผู้ให้อนุศาสน์หรือสั่งสอน) มีพระสงฆ์ทำหน้าที่เป็นคณะปูรกะ (พระสงฆ์ร่วมทำพิธี ภาษาชาวบ้านเรียกว่า “พระอันดับ”)

ในการบวชนี้ จะต้องมีการซักถามว่ามีคุณสมบัติครบบวชไหม แล้วท่านจะเสนอประชุมสงฆ์ (ข้อเสนอว่า ท่านผู้นี้อยากบวช ได้ซักถามแล้ว มีคุณสมบัติครบถ้วน พระสงฆ์เห็นอย่างไร จะให้บวชไหม) ข้อเสนอนี้เรียกว่า “ญัตติ”

เมื่อพระสงฆ์ไม่มีใครคัดค้าน พระคู่สวดก็จะสวดกรรมวาจา (สวดทำพิธีกรรม) ๓ ครั้ง เป็นอันว่าเสร็จพิธีการบวชโดยพระสงฆ์

สวดกรรมวาจา ๓ ครั้ง กับ ญัตติ ๑ ครั้ง รวมเป็น ๔ ครั้งพอดี จึงเรียกการบวชแบบนี้ว่า ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา แปลตามตัวอักษรว่า “การอุปสมบทด้วยกรรมวาจาอันมีญัตติเป็นที่สี่” หมายความว่า สวดทำพิธีสามครั้ง รวมกับข้อเสนอ (ญัตติ) ครั้งหนึ่ง เป็นสี่

การบวชด้วยวิธีนี้ พระสงฆ์กระทำแก่พระราธะเป็นรูปแรก ด้วยประการฉะนี้แล หลังจากมีพิธีบวชแบบนี้เกิดขึ้น การบวชแบบให้รับไตรสรณคมน์ที่ทรงอนุญาตให้พระสงฆ์กระทำมาก่อนหน้านี้ได้ยกเลิก ให้เอามาใช้สำหรับการบวชสามเณรเท่านั้น ในเวลาต่อมา

ต่ออีกนิด พระหลวงตารูปนี้ เป็นคนว่านอนสอนง่ายมาก จนได้รับยกย่องใน “เอตทัคคะ” (ความเป็นเลิศกว่าผู้อื่น) ในทางเป็นผู้ว่าง่าย ไม่ถือตัวว่าเป็นผู้อาวุโส มีประสบการณ์ มีความรู้มาก

พูดสั้นๆ ว่า ไม่ใช่คนประเภทตวาดคนอื่นแว้ดๆ ว่าอย่างนั้นเถอะ


ข้อมูล : บทความพิเศษ สิ่งแรกในพระพุทธศาสนา (๑๘) ภิกษุที่อุปสมบทด้วยพระสงฆ์รูปแรก โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก หน้า ๖๗ มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๘๘๘ ประจำวันที่ ๒๑-๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๙
2928  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / เค้กหน้าท็อฟฟี่ สูตร/วิธีทำ ต้นทุนน้อย อร่อยขั้นเทพ! เมื่อ: 13 พฤศจิกายน 2559 19:27:20



เค้กหน้าท็อฟฟี่

ส่วนผสม
- แป้งเค้ก     200 กรัม
- ไข่ไก่ (เบอร์ 0)     6 ฟอง
- เนยสดละลาย100 กรัม
- โกโก้ผง 1/3 ถ้วย
- น้ำตาลทราย     1 ถ้วย + 2 ช้อนโต๊ะ
- ผงฟู     1+½ ช้อนชา
- เกลือป่น     ¼ ช้อนชา
- โอวาเล็ต หรือ เอสพี     1 ช้อนโต๊ะ
- โซดา     ½ ช้อนชา
- กลิ่นวานิลลา     1 ช้อนชา
- กลิ่นช็อกโกแลต     ½ ช้อนชา

วิธีทำ
1.ร่อนแป้งเค้ก เกลือป่น ผงฟู เข้าด้วยกัน
2.ผสมโซดาในโกโก้ผง ร่อนให้เข้ากัน (ร่อนแยกต่างหากจากส่วนผสมของแป้ง)
3.เทส่วนผสมของแป้งที่ร่อนแล้วในโถผสมอาหาร ใส่ไข่ไก่ น้ำตาลทราย และโอวาเล็ต หรือเอสพี ตีให้เข้ากันด้วยความเร็วต่ำครึ่งนาที
4.เร่งความเร็วของเครื่องให้สูงสุด ตีส่วนผสมนาน 3 นาที ปิดเครื่อง ใช้พายยางปาดส่วนล่างของโถผสมอาหารให้ขึ้นมาข้างบน
   ใส่กลิ่นวานิลลาและกลิ่นช็อกโกแลต แล้วตีต่อด้วยความเร็วสูงสุดของเครื่องอีก 3 นาที
5.ใส่ส่วนผสมของโกโกผง ตีด้วยความเร็วต่ำสุด จนส่วนผสมเข้ากัน
6.ใส่เนยสดละลายตีด้วยความเร็วต่ำสุดจนส่วนผสมเป็นเนื้อเดียวกัน
7.เทใส่พิมพ์สี่เหลี่ยม ขนาด 12x12 นิ้ว (หรือถาดกลมขนาด 5 ปอนด์) ทาเนยขาวรองกระดาษไข นำไปอบไฟ 160°C = 30-40 นาที หรือจนสุก
8.เคาะขนมออกจากพิมพ์ ลอกกระดาษไขออก แล้วนำไปใส่ในถาดเหมือนเดิม เคลือบหน้าด้วยท็อฟฟี่ขณะร้อนๆ
9.นำเข้าอบให้หน้าขนมเกิดสี อีกครั้งหนึ่ง โดยใช้ไฟบน อบนานประมาณ 20 นาที



ส่วนผสมหน้าท็อฟฟี่
- เนยสด     120 กรัม
- นมข้นจืด     1 ถ้วย
- น้ำตาลทราย1+¼ ถ้วยตวง
- แป้งเค้ก 8 ช้อนโต๊ะ
- แป้งข้าวโพด     1 ช้อนโต๊ะ
- เม็ดมะม่วงหิมพานต์อบ     ½ ถ้วย

  วิธีทำ
ผสมนมข้นจืด แป้งเค้ก และแป้งข้าวโพด คนให้แป้งละลาย แล้วนำไปกรองด้วยกระชอน (ไม่ให้แป้งเป็นเม็ด)
แล้วใส่น้ำตาลทรายและเนยสด ยกขึ้นตั้งไฟ กวนจนส่วนผสมมีความข้นหนืด จึงใส่เม็ดมะม่วงหิมพานต์อบ คนให้เข้ากัน
แล้วนำไปปาดลงบนหน้าเค้กที่อบสุกแล้ว ใช้สปาตูล่าเกลี่ยให้เรียบ นำไปอบให้หน้าท็อฟฟี่เกิดสีอีกครั้งหนึ่ง โดยใช้เฉพาะไฟบน อบนานประมาณ 20 นาที ทิ้งไว้จนเย็น ตัดเสิร์ฟเป็นชิ้นๆ






ตีส่วนผสมของแป้ง ไข่ไก่ น้ำตาลทราย และโอวาเล็ต หรือเอสพี ให้เข้ากันด้วยความเร็วต่ำครึ่งนาที
แล้วเร่งความเร็วของเครื่องให้สูงสุด ตีส่วนผสมนาน 3 นาที ปิดเครื่อง ใส่กลิ่นวานิลลาและกลิ่นช็อกโกแลต
แล้วตีต่อด้วยความเร็วสูงสุดของเครื่องอีก 3 นาที


ใส่ส่วนผสมของโกโกผง ตีด้วยความเร็วต่ำสุด จนส่วนผสมเข้ากัน


ใส่เนยสดละลาย ตีด้วยความเร็วต่ำสุดจนส่วนผสมเป็นเนื้อเดียวกัน




เทใส่พิมพ์ที่ทาเนยขาวรองกระดาษไข  อบไฟ  160°C = 45-50 นาที หรือจนสุก


เค้กที่อบสุกแล้ว


วิธีทำหน้าท็อฟฟี่


ผสมนมข้นจืด แป้งเค้ก และแป้งข้าวโพด คนให้แป้งละลาย แล้วนำไปกรองด้วยกระชอน (ไม่ให้แป้งเป็นเม็ด)
แล้วใส่น้ำตาลทรายและเนยสด ยกขึ้นตั้งไฟ กวนจนส่วนผสมมีความข้นหนืด ใส่เม็ดมะม่วงหิมพานต์อบ คนให้เข้ากัน


แล้วนำไปปาดลงบนหน้าเค้กที่อบสุกแล้ว


ใช้สปาตูล่าเกลี่ยให้เรียบ นำไปอบให้หน้าท็อฟฟี่เกิดสีอีกครั้งหนึ่ง
โดยใช้เฉพาะไฟบน อบนานประมาณ 20 นาที








ทิ้งไว้ให้เย็น แล้วตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยม
2929  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ไปเที่ยว / Re: "ศาลหลักเมือง" พิธีฝังเสาหลักเมือง เมื่อ: 13 พฤศจิกายน 2559 13:09:59
.

หลักเมือง (ต่อ)

• หลักเมืองกรุงรัตนโกสินทร์

เมื่ออาณาจักรอยุธยาล่มสลาย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้กอบกู้เอกราชคืนจากพม่าได้แล้ว ทรงเห็นว่ากรุงเก่าถูกพม่าเผาทำลายจนไม่สามารถบูรณะให้คืนดีได้ จึงได้เสด็จมาสร้างกรุงธนบุรีขึ้นเป็นราชธานี แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าทรงทำพิธีกลบบาตรฝังหลักเมืองหรือไม่ ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๓๒๕ ได้เกิดเหตุการณ์จลาจลขึ้นในกรุงธนบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งขณะนั้นดำรงพระยศเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ได้ทำการปราบปรามจลาจลในกรุงธนบุรีจนบ้านเมืองสงบ ได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ปกครองกรุงธนบุรี เมื่อเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว มีพระราชดำริว่า กรุงธนบุรีไม่เหมาะที่จะใช้เป็นเมืองหลวง เพราะกรุงธนบุรีนั้น “เป็นเกาะ” มีน้ำล้อมรอบถึง ๔ ด้าน ด้านหน้ามีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน ขวามือมีคลองบางกอกน้อย ซ้ายมือมีคลองบางกอกใหญ่ ด้านหลังเป็นคลองชักพระ  ลักษณะเหมือนกับกรุงศรีอยุธยา ทรงเกรงว่าหากพม่ายกทัพเข้ามาล้อม ชาวธนบุรีจะไม่มีทางออก เหมือนที่พม่าเคยมาล้อมกรุงศรีอยุธยาแล้วตัดเสบียง ข้าวปลาอาหารส่งเข้ามาในเกาะไม่ได้ คนในเกาะหนีออกไปไม่ได้ กรุงศรีอยุธยาจึงถูกพม่าตีแตกในปีพุทธศักราช ๒๓๑๐  

ดังนั้น จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชนิเวศน์มณเฑียรสถานขึ้นใหม่ ให้ย้ายเมืองหลวงข้ามฟากไปยัง “เมืองบางกอก” ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกรุงธนบุรีทางทิศตะวันออก  “บางกอก” มิได้มีสภาพเป็นเกาะเหมือนกรุงธนบุรี แต่มีภูมิสถานเป็นแหลมโค้ง บางแห่งมีสภาพเป็นเกาะ ไม่มีน้ำล้อมรอบแต่มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน เมื่อหากพม่ายกกองทัพเข้ามาตีจะไม่สามารถเข้าล้อมเมืองหลวงไว้ได้  

เมื่อมีพระราชดำริจะสร้างพระนครแห่งใหม่ที่บางกอก ซึ่งคือ กรุงเทพมหานคร ในปัจจุบันนั้น  จำเป็นต้องยกเสาหลักเมือง นัยเดียวกับการจะสร้างบ้านหลังใหม่ต้องยกเสาเอก จะสร้างอาคารที่ทำการต้องทำพิธีวางศิลาฤกษ์  จึงมีรับสั่งให้โหรฯ ไปเสาะหาชัยภูมิอันเหมาะสมที่จะสร้างเสาหลักเมือง เมื่อได้แล้วจึงโปรดฯ ให้ขุดหลุมลึก แล้วให้คำนวณหาพระฤกษ์ว่าจะเสด็จฯ มายกเสาหลักเมือง (ซึ่งหมายถึงเป็นฤกษ์สร้างกรุงเทพฯ)

และพระฤกษ์ฝังเสาหลักเมืองที่โหรฯ ได้ผูกถวาย คือวันที่ ๒๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๒๕ เวลา ๖.๕๔ นาฬิกา  แล้วเสด็จฯ มาที่หลุมหลักเมืองเมื่อ ณ วันอาทิตย์ เดือน ๖ ปี เสาหลักเมืองกรุงรัตนโกสินทร์เป็นไม้ชัยพฤกษ์ ฝังลงไปในดิน ลึก ๗๙ นิ้ว โผล่ขึ้นมาจากผิวดิน ๑๐๘ นิ้ว เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒๙.๕ นิ้ว ฐานเป็นแท่นกว้าง เส้นผ่าศูนย์กลาง ๖๙.๕ นิ้ว ปลายเสาเป็นหัวเม็ด ทรงมัณฑ์ บรรจุดวงชะตากรุงรัตนโกสินทร์ แล้วทรงตั้งชื่อเมืองว่า กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์* มหินทรา อยุธยามหาดิลก ภพนพรัตนราชธานี บุรีรมย์อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์ ซึ่งเป็นชื่อเมืองหลวงที่ยาวที่สุดในโลก มีความหมายว่า พระนครอันกว้างใหญ่ ดุจเทพนคร

*รัชกาลที่ ๔ ทรงเปลี่ยนเป็น “อมรรัตนโกสินทร์"


หลักเมืองกรุงเทพมหานคร






รัชกาลที่ ๔ ทรงเป็นโหร ทรงถือว่าดวงฤกษ์เวลา ๖ นาฬิกา ๕๔ นาที ที่รัชกาลที่ ๑
ให้ลงเสาหลักเมืองนั้น เป็นดวงที่ไม่ดี จึงโปรดให้ผูกดวงใหม่ กับให้ถอนเสาหลักเมือง
ของรัชกาลที่ ๑ ขึ้น แล้วให้ลงหลักเมืองใหม่เป็นเสาที่ ๒ และเปลี่ยนชื่อกรุงรัตนโกสินทร์
จาก “บวรรัตนโกสินทร์” เป็น “อมรรัตนโกสินทร์” เพื่อแก้เคล็ดบางอย่าง
(อ้างอิง ประวัติศาสตร์การเมืองไทย – ศ.ดร.วิษณุ เครืองาม)



โปรดติดตามตอนต่อไป
2930  สุขใจในธรรม / เกร็ดศาสนา / วัสการพราหมณ์ เมื่อ: 13 พฤศจิกายน 2559 11:18:47



วัสการพราหมณ์

ความสามัคคีเป็นกำลังที่สำคัญมากของประเทศ เมื่อใดที่คนในชาติแตกความสามัคคีกัน ก็อาจนำมาซึ่งความสูญเสียอันใหญ่หลวงเหมือนแคว้นวัชชีในสมัยพุทธกาลได้

โดยในครั้งนั้น วัสการพราหมณ์ คือพราหมณ์ผู้นำความแตกแยกมาสู่แคว้นวัชชี จนทำให้ต้องสูญเสียเอกราชในที่สุด สาเหตุก็เนื่องมาจากการแตกความสามัคคีของบรรดากษัตริย์ลิจฉวีทั้งหลาย

สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่าไว้ว่า วัสการพราหมณ์เป็นอัครมหาเสนาบดีของพระเจ้าอชาตศัตรู กษัตริย์แห่งแคว้นมคธ พระเจ้าอชาตศัตรูมีความประสงค์ที่จะแผ่เดชานุภาพ โดยการรุกรานแคว้นวัชชีของบรรดากษัตริย์ลิจฉวีทั้งหลาย

จึงให้สร้างหมู่บ้านปาฏลิคามใกล้แม่น้ำคงคา เป็นเมืองหน้าด่านสำหรับเป็นที่รวบรวมพลเพื่อยกทัพไปตีเมืองเวสาลี แต่ยังกริ่งเกรงอำนาจของกษัตริย์ลิจฉวีอยู่ จึงส่งวัสการพราหมณ์ไปทูลถามพระพุทธเจ้าว่า แคว้นวัชชีมีอำนาจเพราะอะไร

พระพุทธเจ้าทรงอธิบายว่า ที่แคว้นวัชชีมีความเจริญและมีอำนาจมาก ก็เพราะกษัตริย์ลิจฉวีทั้งหลาย มีความสมัครสมานสามัคคีกันอย่างดีเลิศ และปฏิบัติตามหลักอปริหานิยธรรม ๗ ประการ หรือธรรมะอันยังผู้ประพฤติปฏิบัติ มิให้ถึงความเสื่อมอย่างสม่ำเสมอ

อปริหานิยธรรม ๗ ประการนี้ พระพุทธองค์ทรงแสดงแก่กษัตริย์ลิจฉวีทั้งปวง มีใจความว่า

ข้อ ๑) ชาววัชชีจักประชุมกันเนืองนิตย์
ข้อ ๒) ชาววัชชีจักพร้อมเพรียงกันในการประชุม เลิกประชุม และกระทำกิจที่ควรกระทำ
ข้อ ๓) ชาววัชชีจักไม่บัญญัติสิ่งที่ยังไม่ได้บัญญัติ จักไม่ตัดรอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว และยอมรับศึกษาในธรรมะของชาววัชชีตามที่บัญญัติไว้แล้ว
ข้อ ๔) ชาววัชชีจักเคารพนับถือชาววัชชีที่เป็นผู้ใหญ่ ผู้เฒ่า
ข้อ ๕) ชาววัชชีจักไม่ข่มเหงล่วงเกินสตรีที่มีสามีแล้วและสตรีสาว
ข้อ ๖) ชาววัชชีจัก สักการะ เคารพเจดีย์ของชาววัชชี และ...
ข้อ ๗) ชาววัชชีจักจัดแจงให้การอารักขาคุ้มครองอันเป็นธรรมในพระอรหันต์ และปรารถนาให้พระอรหันต์ที่ยังไม่มาได้มา ที่มาแล้วขอให้อยู่เป็นสุข

เมื่อวัสการพราหมณ์ได้ทราบหลักอปริหานิยธรรม ๗ ประการ ก็มากราบทูลพระเจ้าอชาตศัตรูให้ทำลายความสามัคคีของกษัตริย์ลิจฉวีลงเสีย

หลังจากที่วัสการพราหมณ์ได้ทราบถึงหลักอปริหานิยธรรม ๗ ประการ หรือธรรมะอันยังผู้ประพฤติปฏิบัติมิให้ถึงความเสื่อมที่กษัตริย์ลิจฉวีทั้งหลายยึดถือและปฏิบัติตาม จนทำให้แคว้นวัชชีเป็นแคว้นมีความเจริญ และมีอำนาจมากแล้ว วัสการพราหมณ์จึงได้แนะอุบายทำลายความสามัคคีของบรรดากษัตริย์ลิจฉวีลงเสีย

โดยวัสการพราหมณ์แกล้งโต้เถียงพระเจ้าอชาตศัตรูในที่ประชุม จนพระเจ้าอชาตศัตรูโกรธมาก สั่งให้ลงโทษวัสการพราหมณ์โดยการเฆี่ยนตีอย่างหนัก ให้โกนศีรษะ แล้วขับไล่เนรเทศวัสการพราหมณ์ออกจากเมืองไป

หลังจากนั้น วัสการพราหมณ์ได้เดินทางไปขอเข้าเฝ้ากษัตริย์ลิจฉวีเมืองเวสาลี แล้วกราบทูลถึงเหตุที่ตนถูกพระเจ้าอชาตศัตรูลงโทษอย่างรุนแรง และเนรเทศออกจากแว่นแคว้นนั้น เป็นเพราะไปคัดค้านพระเจ้าอชาตศัตรูไม่ให้ยกทัพมาตีแคว้นวัชชี ตนไม่มีที่พึ่งจึงเดินทางมาเมืองเวสาลี เพื่อขอลี้ภัยและขอรับใช้กษัตริย์ลิจฉวีอย่างเต็มสติปัญญาความสามารถ

กษัตริย์ลิจฉวีเห็นว่าวัสการพราหมณ์มีความภักดีต่อตน หนีร้อนมาพึ่งเย็น ประกอบกับวัสการพราหมณ์เป็นผู้มีวิชาความรู้สูง อาจจะใช้เป็นประโยชน์แก่ราชการได้ จึงรับวัสการพราหมณ์ไว้

โดยวัสการพราหมณ์ก็ได้ใช้วิชาความรู้ช่วยบ้านเมืองจนทำให้กษัตริย์ลิจฉวีไว้ใจขึ้นเรื่อยๆ จนแต่งตั้งให้วัสการพราหมณ์เป็นครูสอนหนังสือแก่ราชกุมารลิจฉวีทั้งปวง

เมื่อได้โอกาสวัสการพราหมณ์ก็ค่อยๆ ดำเนินการตามอุบายให้แตกความสามัคคี โดยการยุแหย่ให้ราชกุมารที่ตนสอนหนังสือเหล่านั้นเกิดความระแวงสงสัยซึ่งกันและกัน และเมื่อเหล่ากุมารต่างนำเรื่องไปแจ้งแก่บิดา เรื่อย ๆ จึงทำให้กษัตริย์ลิจฉวีเกิดความกินแหนงแคลงใจกัน จนไม่อาจจะคบหากันด้วยความสนิทใจเหมือนแต่ก่อนได้

วัสการพราหมณ์ดำเนินงานตามแผนอยู่ถึง ๓ ปี จนแน่ใจว่ากษัตริย์ลิจฉวีต่างแตกความสามัคคีกันหมดแล้ว จึงแจ้งให้พระเจ้าอชาตศัตรูยกทัพเข้าตีเมืองเวสาลี กษัตริย์ลิจฉวีต่างก็ไม่ต่อสู้ต้านทานแต่ประการใด เพราะมีความเห็นผิดว่ามิใช่หน้าที่ของตน พระเจ้าอชาตศัตรูจึงเข้ายึดเมืองเวสาลีและแคว้นวัชชีได้โดยง่าย.


กนกวรรณ ทองตะโก/เรียบเรียง
#องค์ความรู้ภาษาวัฒนธรรม - นสพ.เดลินิวส์
2931  สุขใจในธรรม / ห้องประชาสัมพันธ์ ทั้งทางโลก และทางธรรม / ฟรี! กรมศิลปากร เปิดให้ชมพิพิธภัณฑสถานและอุทยานประวัติศาสตร์ทั่วประเทศ เมื่อ: 11 พฤศจิกายน 2559 19:22:55

2932  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / Re: นางนพมาศ หรือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ และประเพณีในสมัยกรุงสุโขทัย เมื่อ: 11 พฤศจิกายน 2559 11:49:16


ครั้นรุ่งเช้าเป็นวันศุกร์ เดือน ๑๒ ขึ้น ๑๐ ค่ำ จุลศักราช ๘๒๖ ปีมะโมง ฉศก
อันเป็นเวลาที่นางมีอายุนับปีได้ ๑๗ ปี  นับเดือนได้ ๑๕ ปี ๘ เดือน ๒๔ วัน  
นางเรวดีผู้มารดาได้ให้แต่งกายอันประดับด้วยอาภรณ์นานาชนิด มาคำนับลา
บิดาและบรรดาญาติ แล้วขึ้นระแทะไปกับมารดา มีบ่าวไพร่ติดตามไปพอสมควร
เข้าไปในพระราชวังเพื่อเฝ้าถวายตัวแด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพานข้าวตอก
ดอกมะลิ พานข้าวสาร พานเมล็ดพันธุ์ผักกาด พานดอกหญ้าแพรกขึ้นทูลเกล้าฯ
ถวายด้วย และได้ทรงพระกรุณาโปรดให้รับราชการอยู่ในตำแหน่งนางพระสนม
นับแต่วันนั้นเป็นต้นมา

ต่อจากนั้น นางนพมาศได้เล่าถึงพระราชพิธีต่างๆ ในราชสำนัก มีลำดับดังนี้คือ

๑.พิธีจองเปรียง  กระทำในเดือน ๑๒ เป็นพิธีตบแต่งโคมชัก โคมแขวน และโคมลอย เพื่อถวายให้สมเด็จพระเจ้าอยู่ ได้ทรงพระราชสักการะบูชาพระเกศธาตุจุทามณีในชั้นดาวดึงส์ นางนพมาศได้ทำโคมรูปดอกบัวเป็นที่พอพระทัยมาก ถึงกับทรงบัญญัติว่า ในปีต่อๆ ไป ให้ทำโคมรูปดอกบัวตามเยี่ยงอย่างนางนพมาศ เสร็จแล้วก็เสด็จลงเรือขนานทอดพระเนตรโคมไฟ นางนพมาศผู้หนึ่งที่ได้ตามเสด็จไปในเรือพระที่นั่งทรงด้วยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเบิกบานพระทัย จึงรับสั่งให้นางนพมาศผูกกลอนให้พวกนางบำเรอขับถวาย นางนพมาศแต่งกลอนถวายมีความว่า


ข้าน้อยนพมาศ
อภิวาท      บาทบงส์     ด้วยจงจิต
ยังนิพนธ์      กลกลอน     อ่อนความคิด
อันชอบผิด      ขอจงโปรด     ซึ่งโทษกรณ์
เป็นบุญตัว      ได้ตาม     เสด็จประพาส
นักขัตฤกษ์      ประชาราษฎร์     สโมสร
สว่างไสว      ไปทั่ว     พระนคร
ทิฆัมพร      ก็แจ่มแจ้ง     แสงจันทร์ เอย.

น่าแสนสำราญจิต
ทั้งสิบทิศ      รุ่งเรือง     ดังเมืองสวรรค์
สงสารแต่      พระสนม     กำนัล
มิได้เห็น      เป็นขวัญ     นัยนา
แม้เสด็จ      ด้วยที่นั่ง     บรรลังก์ขนาน
เวรอยู่งาน      และเจ้าจอม     มาพร้อมหน้า
จะชวนกัน      เกษม     เปรมปรีดา
ขอประทาน      โทษา     ข้าน้อย เอย.

ได้ฟังกลอนจึงรับสั่งถามว่า ต้องการให้พวกเจ้าจอมหม่อมห้ามมาด้วยนั้น เห็นว่าจะได้ประโยชน์อย่างใด นางก็กราบทูลสนองว่า เพื่อเปิดโอกาสให้นางเหล่านั้นได้แต่งกายด้วยเสื้อผ้าแพรพรรณที่สวยงาม ได้ออกหน้าสักครั้งหนึ่งก็จะชื่นชมยินดีมีความสุขและจะรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอยู่ไม่รู้วาย บรรดาเครื่องอาภรณ์ที่ได้ทรงโปรดพระราชทานไปแล้วนั้น ก็จะได้มีโอกาสตกแต่งกันในครั้งนี้ ได้ทรงฟังดังนั้นก็พอพระทัย

ในคืนต่อมาก็ทรงโปรดให้บรรดานางในได้ตามเสด็จโดยทั่วหน้ากัน และเป็นประเพณีนับแต่นั้นมา

๒.พิธีตรียัมปวายและพิธีตรีปวาย กระทำในเดือน ๑ เป็นนักขัตฤกษ์ ประชุมชายหญิงหน้าเทวสถาน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยนางในเสด็จทอดพระเนตรโล้ชิงช้าและราแขนงในตอนบ่าย กับทอดพระเนตรแห่พระอิศวรและพระนารายณ์ในตอนกลางคืน

๓.พิธีบุษยาภิเษก กระทำในเดือน ๒ เป็นพิธีพระโคกินเลี้ยง และมีการชักว่าวหง่าว เสียงว่าวร้องเสนาะทั้งกลางวันและกลางคืน

๔.พิธีธานย์เทาะห์ กระทำกันเดือน ๓ เป็นพิธีขนข้าวเข้าลาน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับพลับพลา โปรดให้พวกนางในชักระแทะทอง ระแทะเงิน และระแทะสีต่างๆ เป็นคู่ๆ ๑๐ คู่ ลากฟ่อนข้าวเข้าสู่บริเวณพิธี แล้วมีมหรสพสมโภช

๕.พิธีสัมพัจฉรฉินท์ กระทำกันในเดือน ๔ เรียกว่าพิธีตรุษ เป็นการทำบุญสิ้นปีทางจันทรคติ มีการยิงปืนอาฏานา ๑๐๘

๖.พิธีคเชนทรัศวสนาน กระทำกันในเดือน ๕ ในพิธีนี้มีสิ่งสำคัญ ๓ ประการคือ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกรับเครื่องราชบรรณาการจากเจ้าเมืองขึ้น และรับดอกไม้ธูปเทียนทอง-เงินจากพระบรมวงศ์ และข้าราชการเศรษฐีคหบดีนี้อย่างหนึ่ง อีกอย่างมีขบวนแห่คเชนทรสนาม ประกอบไปด้วยช้างม้าเป็นขบวน และทหารแต่งกายด้วยเสื้อหมวดสีต่างๆ มี ฆ้อง กลอง แตรสังข์ เดินผ่านหน้าพระที่นั่งถวายให้ทอดพระเนตร อีกอย่างหนึ่งคือ การรับพระราชทานน้ำพระพิพัฒน์

๗.พิธีแรกนา กระทำกันในเดือน ๖ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเครื่องต้น ทรงม้าพระที่นั่ง ประทับพลับพลาทอดพระเนตรออกญาพหลเทพแรกนา ในเดือนนี้มีพิธีวิสาขบูชาด้วย มีการทำบุญและฟังเทศน์แจกทาน และปล่อยสัตว์

๘.พิธีเคณฑะ กระทำกันในเดือน ๗ เป็นพิธีทิ้งลูกข่างเสี่ยงทาย ถ้าลูกข่างหนุนนอนวันอยู่นาน และมีเสียงดังก็จะเป็นสิริมงคล

๙.พิธีเข้าพรรษา กระทำในเดือน ๘ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถวายผ้า และเทียนจำนำพรรษา และถวายเครื่องสักการะพระพุทธปฏิมากร ถวายสมณบริขารแก่พระภิกษุสงฆ์

๑๐.พิธีพิรุณศาสตร์ กระทำในเดือน ๙ เป็นพิธีขอฝน

๑๑.พิธิภัทรบทหรือพิธีกวนข้าวทิพย์ กระทำในเดือน ๑๐ เพราะในเดือน ๑๐ นี้ข้าวออกรวงใหม่ๆ มีกลิ่นหอม จึงเด็ดเอารวงอ่อนมาทำข้าวมธุปายาส หรือข้าวยาคู ถวายพระภิกษุสงฆ์และเลี้ยงพวกพราหมณ์

๑๒.พิธีอาศยุช กระทำในเดือน ๑๑ เป็นพิธีแข่งเรือ เพราะเดือนนี้มีน้ำมาก

นอกจากนี้ นางนพมาศได้กล่าวถึงความประพฤติของนางสนมซึ่งมีทั้งประพฤติดีและชั่วเช่นสามัญชนทั้งหลาย กล่าวถึงพระเกียรติและพระราชจรรยาของสมเด็จพระร่วงเจ้าเป็นกล่าวเฉลิมพระเกียรติด้วยความจงรักภักดีอย่างสูงสุด กล่าวถึงสถานที่ต่างๆ ในเมืองสุโขทัย ซึ่งล้วนเป็นสถานที่ในพระราชวังและวัดหน้าพระธาตุ กล่าวถึงตระกูลต่างๆ ว่าฝ่ายทหารมี ๔ ตระกูล ฝ่ายพลเรือนก็มี ๔ ตระกูล และกล่าวถึงความเป็นอยู่ของชาวเมืองตามสมควร ความรู้ในทางโลกได้กล่าวถึงชาติและภาษาต่างๆ กล่าวถึงการแบ่งอาณาเขตในชมพูทวีป ส่วนในทางศาสนาได้กล่าวถึงพุทธศาสนา ศาสนาพราหมณ์และลัทธิศาสนาอื่นบ้าง





พระราชพิธีจองเปรียง

พระราชพิธีจองเปรียงนี้ เป็นพิธีพราหมณ์ทำ เริ่มในสมัยสุโขทัย เป็นพิธียกโคมตามประทีปบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระพรหม พระนารายณ์ ตามกำหนดยกโคมนั้น คือ เดือน ๑๒ ถ้าปีใดมีอธิกมาส ให้ยกโคมตั้งแต่ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ เป็นต้นไป จนถึงวันแรม ๒ ค่ำ จึงเป็นวันลดโคม และถ้าปีใดไม่มีอธิกมาสให้ยกโคมขึ้นในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือนอ้าย ขึ้นค่ำหนึ่ง เป็นวันลดโคมลง  อนึ่ง ตามกำหนดโหราศาสตร์ว่า พระอาทิตย์โคจรถึงราศีพิจิก พระจันทร์อยู่ราศีพฤษภเมื่อใด เป็นวันกำหนดที่จะยกโคม อีกอย่างหนึ่งว่า เมื่อใดเห็นดาวกติกาแต่หัวค่ำจนตลอดรุ่งเมื่อใด เมื่อนั้นเป็นวันกำหนดที่จะยกโคม ในพิธีนี้พราหมณ์เป็นผู้ทำในพระบรมมหาราชวัง คือ พราหมณ์ประชุมกันผูกพรต พระราชครูฯ ต้องกินถั่วกินงาสิบห้าวัน ส่วนพราหมณ์นอกนั้นกิน ๓ วัน เวลาเช้าพราหมณ์ต้องถวายน้ำมหาสังข์ทุกวัน จนถึงวันลดโคมลงเทียนที่จะจุดในวันนั้น ต้องเอามาถวายให้ทรงทาเปรียงเสียก่อน

ในหนังสือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ กล่าวว่า ถึงพิธีจองเปรียง ซึ่งมีการชักโคมและลอยโคมอันเป็นที่มาของประเพณีลอยกระทงด้วย แต่จะยกแต่ข้อความเกี่ยวกับพระราชพิธีจองเปรียงส่วนใหญ่ที่ยังถือปฏิบัติมาก่อน จนถึงสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เพิ่มพิธีสงฆ์เข้ามาด้วย ในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์กล่าวถึงพิธีนี้ดังนี้

“พอถึงการพระราชพิธีจองเปรียง ในวันเพ็ญเดือน ๑๒ เป็นนักขัตฤกษ์ชักโคมลอยโคม บรรดาประชาชนชายหญิงต่างตกแต่งโคมชัก โคมแขวน โคมลอยทุกตระกูลทั่วทั้งพระนคร แล้วก็ชวนกันเล่นมหรสพสิ้นสามราตรีเป็นเยี่ยงอย่างแต่บรรดาข้าเฝ้าฝ่ายราชบุรุษนั้น ต่างทำโคมประเทียบบริวารวิจิตรด้วยลวดลายวาดเขียนเป็นรูป และสัณฐานต่างๆ ประกวดกันมาชักมาแขวน เป็นระเบียบร้อยร้อยตามแนวโคมชัยเสาระหงตรงหน้าพระที่นั่งชลพิมาน



พิธีลอยกระทง

พิธีลอยกระทง มีการเข้าใจว่า พิธีลอยกระทงนี้เริ่มมีขึ้นครั้งแรกในสมัยนี้ ผู้ริเริ่มการทำกระทงประดิษฐ์เป็นรูปโคมลอยประดับดอกประทุม คือนางนพมาศนี้เอง วันอันสำคัญนี้เป็นวันพระราชพิธีเดือนสิบสอง อันถือว่าเป็นพระราชพิธีนักขัตฤกษ์ที่ยิ่งใหญ่ประจำปีแห่งราชสำนัก เป็นเวลาที่เสด็จลงประพาสลำน้ำตามพระราชพิธีในเวลากลางคืน พระอัครมเหสีและพระสนมฝ่ายในเสด็จในเรือพระที่นั่ง ทอดพระเนตรการนักขัตฤกษ์ซึ่งราษฎรเล่นในแม่น้ำตามกำหนดปี นางนพมาศจึงคิดอ่านทำกระทงถวายพระเจ้ารามคำแหงเป็นรูปดอกบัวและรูปต่างๆ ได้ลอยไปตามสายน้ำ และคิดขับร้องขึ้นถวายให้พระเจ้าแผ่นดินทรงดำริจัดเรือพระที่นั่งเทียบขนาดให้ใหญ่กว้างสำหรับสนมฝ่ายในจะได้ตามเสด็จมากๆ ขึ้นกว่าก่อน

ประเพณีลอยกระทง มาจากพระราชพิธีจองเปรียง อันเป็นที่มาของศาสนาพราหมณ์ พวกพราหมณ์มีพระราชพิธีจองเปรียง เพื่อบูชาพระอิศวร พระพรหม ด้วยการชักโคม บูชาพระนารายณ์ด้วยการลอยโคมทางน้ำ แต่ในสมัยสุโขทัยพุทธศาสนาได้เข้ามามีอิทธิพลในอาณาจักร บางทีเลยถือว่าเป็นการบูชาพระบรมพระพุทธบาทที่ประดิษฐานอยู่ในแม่น้ำก็ย่อมเป็นได้ หรืออาจเป็นการขออภัยต่อแม่พระคงคาในการที่ได้กินได้ใช้น้ำ ซ้ำยังถ่ายมูตคูถลงไปอีกด้วย มีปรากฏในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์รวมกับพระราชพิธีจองเปรียง คือ “ครั้นวันเพ็ญเดือน ๑๒ ข้าน้อยก็กระทำโคมลอย คิดตกแต่งให้งามประหลาดกว่าโคมพระสนมกำนัลทั้งปวง จึงเลือกผกาเกสรต่างๆ มาประดับเป็นรูปกระมุท กลีบบานรับแสงจันทร์ใหญ่ประมาณกงระแทะ ล้วนแต่พรรณดอกไม้ซ้อนสีสลับให้เป็นลวดลาย ครั้นเวลาพลบค่ำ สมเด็จพระร่วงเจ้าทรงเสด็จลงพระที่นั่งชลพิมานพร้อมด้วยพระอัครชายา พระบรมวงศ์และพระสนมกำนัลนาง ท้าวชาวชะแม่ทั้งปวง พราหมณ์ก็ถวายเสียงสังข์อันเป็นมงคล ชาวพนักงานก็ชักโคมชัยโคมประทีปบริวารขึ้นพร้อมกัน เพื่อจะให้ทรงพระราชอุทิศสักการะพระจุฬามณี ครั้นถึงโคมของข้าน้อย สมเด็จพระร่วงเจ้าทรงทอดพระเนตรพลางตรัสชมว่า โคมลอยอย่างนี้งามประหลาด ยังหาเคยมีไม่เป็นโคมของผู้ใดคิดทำ ข้าน้อยก็กราบทูลว่า ข้าพระองค์สำคัญใจคิดเห็นว่าเป็นนักขัตฤกษ์ วันเพ็ญเดือน ๑๒ พระจันทร์ก็เต็มดวง ปราศจากเมฆหมอกมลทิน อันว่าดอกระมุทนี้มักจะบานรับแสงจันทร์ ผิดกว่าพรรณดอกไม้อื่น ข้าพระองค์ได้ทำโคมลอยดอกกระมุท ซึ่งบังเกิดมีอยู่ยังนัมมหานที อันเป็นที่พระบรมพระพุทธบาทประดิษฐานอยู่ และมีประทีปเปรียงเจือด้วยไขข้อพระโค ถวายในการทรงพระอุทิศครั้งนี้ ด้วยจะให้ถูกต้องสมกับนักขัตฤกษ์ วันเพ็ญ เดือน ๑๒ พระราชพิธีจองเปรียง โดยพุทธศาสตร์ ไสยศาสตร์

พิธีลอยกระทงจึงเริ่มมีตั้งแต่บัดนั้นมาด้วยประการฉะนี้แล.



พิธีตรียำปวายและพิธีตรีปวาย

ที่มาของพิธีตรียำปวายและพิธีตรีปวาย มาจากศาสนาพราหมณ์ ซึ่งกล่าวไว้ในคัมภีร์เฉลิมไตรภพว่า พระอิศวรผู้เป็นเจ้าได้สร้างโลกกับพระเป็นเจ้าทั้งสอง คือพระนารายณ์ พระพรหม เสร็จลงแล้ว พระอุมาเทวีก็มีจินตนาไปว่า โลกที่พระอิศวรสร้างขึ้นมีแผ่นดินน้อยกว่ามหาสมุทรเป็นแน่ อุปมาเหมือนดังดอกจอกน้อยลอยอยู่ในมหาสมุทร ครั้นเมื่อพระองค์มีความคิดอย่างนี้เกิดขึ้น พระองค์ก็มีความสลดพระทัย ที่มนุษย์และสรรพสัตว์ที่พระอิศวรทรงสร้างขึ้นนั้น จะต้องถึงกาลวิบัติ พระองค์จึงไม่ยอมบรรทม ไม่ยอมเสวย จนพระวรกายซูบผอม พระอิศวรทรงทอดพระเนตรเห็นพระอุมาเทวีผิดพระเนตรไปเช่นนั้น พระอิศวรจึงตรัสถามพระอุมาเทวีว่า โลกทั้งสามเป็นประการใด พระอุมาเทวีเมื่อได้ยินพระอิศวรตรัสถามเช่นนั้น พระนางจึงทูลตอบไปดังความคิดแต่หนหลัง พระอิศวรครั้นได้ทราบเรื่อง ความปริวิตกของพระอุมาเทวีแล้วพระองค์ก็ตรัสปลอบพระอุมาเทวี ถึงแม้พระองค์จะตรัสปลอบสักเท่าไรก็ไม่ได้ผล เพราะพระอุมาเทวียังไม่คลายความวิตกนั้นไปได้ ฉะนั้นพระเป็นเจ้าทั้งสองจึงเกิดพนันกันขึ้น คือให้พระยานาคเอาหางเกี่ยวกับต้นพุทราที่ริมแม่น้ำฟากนี้ เอาหัวเกี่ยวต้นพุทราฟากโน้น แล้วให้พระยานาคไกวตัว ครั้นแล้วให้พระอิศวรยืนเท้าเดียวในลักษณะไขว่ห้าง ถ้าโลกที่พระอิศวรสร้างขึ้นนั้นไม่มั่นคงแน่นหนาแล้ว เมื่อได้รับความกระทบกระเทือนจากการแกว่งไกวของพระยานาค เท้าพระอิศวรที่ยืนไขว่ห้างนั้นจะตก พระอิศวรก็จะแพ้พนัน แต่ถ้าไม่ตก พระอุมาเทวีก็จะแพ้พนัน แต่ครั้นเมื่อพระยานาคแกว่งไกวตัว โลกที่พระอิศวรสร้างขึ้นนั้นก็มั่นคงถาวรดี เมื่อพระเจ้าทั้งสองตกลงกันเรียบร้อยแล้ว ทั้งสองพระองค์ก็เสด็จไปยังริมแม่น้ำ ตรัสให้พระยานาคแกว่งไกวตัว ครั้นพระยานาคแกว่งไกวตัวแล้ว โลกที่พระอิศวรสร้างขึ้นไม่สะเทือน พระยานาคดีใจ จึงลงน้ำดำผุดดำว่าย เล่นน้ำพ่นน้ำกันเป็นการใหญ่ ทีนี้จะเปรียบเทียบตำนานกับพิธีดู ก็จะได้รู้ว่า เสาชิงช้าทั้งคู่ สมมุติเป็นต้นพุทรา ขันสาครที่ตั้งอยู่ระหว่างเสาชิงช้า สมมติว่าเป็นแม่น้ำ พวกสาลีวันที่สวมหัวนาคที่ขึ้นโล้ชิงช้านั้น สมมติว่าเป็นพระยานาค พระยายืนชิงช้าที่นั่งไขว่ห้างอยู่บนไม้เบญจมาศ (ไม้เบญจมาศนั้น คือไม้โตเท่าเข็ม ปักลงดินสี่เสา ให้สูงต่ำเสมอกัน มีไม้พาดสำหรับนั่งอันหนึ่ง พิงอันหนึ่ง)

พิธีตรียำปวายและพิธีตรีปวาย เป็นพิธีใหญ่ของพราหมณ์ เพราะถือว่าเป็นวันที่พระอิศวรเสด็จเยี่ยมโลก มีกำหนด ๑๐ วัน มีการแห่พระยายืนชิงช้า ถือว่าเป็นการต้อนรับพระอิศวร มีการรำแขนงประกอบพิธี พิธีนี้กล่าวในหนังสือตำหรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ว่า “ครั้นล่วงมาถึงเดือนอ้าย การกำหนดพระราชพิธีตรียำปวายแลพิธีตรีปวาย เป็นการนักขัตฤกษ์ประชุมหมู่ประชาชนชายหญิงยังหน้าพระเทวสถานหลวง บรรดาหมู่ชะแม่นางในทั้งหลาย ก็ตกแต่งกรัชกายไปตามเสด็จสมเด็จพระร่วงเจ้าดูไกวนางกระดาน สาดน้ำรำแขนง และทัศนาชีพ่อพราหมณ์แห่พระอิศวร พระนารายณ์ในเพลาราตรี ณ พระที่นั่งไชยชุมพล เกษมศานต์สำราญใจถ้วนทุกหน เป็นธรรมเนียมพระนคร”


2933  สุขใจในธรรม / เกร็ดศาสนา / เปรตปากเหม็น เมื่อ: 10 พฤศจิกายน 2559 15:23:21


เปรตหมู่ต่างๆ จากสมุดภาพไตรภูมิ ฉบับกรุงศรีอยุธยา-ฉบับกรุงธนบุรี เล่ม ๑
(เปรตหนอนเจาะปากอยู่ที่ ๒ ทางซ้ายแถวบน)

เปตรปากเหม็น

“มีเปรตจำพวกหนึ่งตัวงามดังทอง และปากนั้นเหม็นหนักหนา หนอนออกเต็มปาก และหนอนนั้นย่อมชอนกินปาก เจาะกินหน้าตาเขา เขามีตัวงามดังทองนั้น เพราะเขาได้รักษาศีลเมื่อก่อนแล ปากเขาเหม็นเป็นหนอนกินปากนั้น เพราะว่าเขาได้ติเตียนยุยงสงฆ์เจ้าให้ผิดใจกัน”

ข้อความข้างต้น ผมคัดมาจากหนังสือวรรณคดีพระพุทธศาสนาที่เก่าแก่เล่มหนึ่งและเล่มเดียวที่เขียนเป็นภาษาไทย มีอายุเป็นพันปีนั่นคือหนังสือไตรภูิกถา หรือไตรภูมิพระร่วง

โบราณท่านสอนนักสอนหนา พ่อแม่ครูอาจารย์สมณชีพราหมณ์ผู้ทรงศีลเป็นปูชนียบุคคล ไม่ควรดุด่านินทาหรือว่าร้าย คนที่ด่าพระสงฆ์องคเจ้า ตายไปตกนรกหมกไหม้ ออกจากนรกแล้วยังต้องเสวยผลกรรมต่อเนื่อง เกิดเป็นเปรตปากเหม็นอีกต่างหาก

ขณะยังไม่ตายก็ตกนรกทางใจ คือถูกคนเขาตำหนิติเตียน

บังเอิญได้อ่านหนังสือรางวัลซีไรต์เล่มหนึ่ง มีบทกวีด่าพระสงฆ์โดยทั่วไปซึ่งใช้ข้อความรุนแรง ได้ทราบว่าถูกท่านผู้รู้ตำหนิ และไม่ทราบว่าตายไปแกจะลงขุมไหน

“ฉิว…ฉิวเมื่อกี้ผ่านหน้า สงฆ์สมัยนี้ซ่า อ้ายห่าควบมอเตอร์ไซค์เฆี่ยนฉิวอย่างกับสายฟ้า โคตรแม่มันตายห่ารึยังไง”

ผมไม่ถามดอกนะว่าเขาให้รางวัลกันได้ยังไง คงมีบทอื่นที่ดีกว่าจึงถูกคัดเลือกให้รางวัล ผมเองก็เคยเป็นกรรมการเลือกวรรณกรรมรางวัลซีไรต์ ถ้าปีที่ว่านี้ผมเป็นกรรมการก็คงไม่ให้ผ่าน

ชาวบ้านควรรู้ด้วยว่า พระในชนบทห่างไกลการคมนาคมไม่สะดวก สมัยก่อนท่านขี่ม้ากัน ต่อมาก็อาศัยจักรยานยนต์เพราะไม่มีรถ เดินก็ไม่ทันเวลา พระในกรุงเทพฯ เวลาออกบิณฑบาตท่านก็พายเรือเอง

พูดถึงพระวินัยท่านมิได้ผิดอะไร เพียงแต่ไม่เหมาะในสายตาชาวบ้านเท่านั้น การด่าพระขี่มอเตอร์ไซค์ด้วยคำว่า “ไอ้ห่า ไอ้ห้า” อะไรก็ไม่มีใครว่า

การใช้คำว่า “พระสงฆ์” กลางๆ หมายถึงพระสงฆ์ทั้งหมดนับตั้งแต่สมเด็จพระสังฆราชลงมาจนถึงพระเล็กพระน้อย ไม่ถูกฟ้องจำคุกก็บุญแล้ว

มีเรื่องในพระคัมภีร์มาเล่าให้ฟังหนึ่งเรื่องคือ ชาวประมงเมืองสาวัตถีทอดแห ได้ปลาประหลาดมาตัวหนึ่งเป็นสีทอง สวยงามมาก แกอยากได้รางวัลจากพระเจ้ากรุงสาวัตถี จึงนำปลาตัวนั้นไปถวาย

พระเจ้าแผ่นดินเห็นเป็นเรื่องประหลาด จึงนำปลานั้นไปยังพระเชตวัน เพื่อให้พระพุทธองค์ทอดพระเนตร และถามสาเหตุว่าทำไมปลาจึงมีสีเป็นทอง

ขณะที่คนเขาวางมันลงบนพื้น ปลาทองตัวนั้นก็อ้าปาก กลิ่นเหม็นคลุ้งได้แผ่กระจายกลบทั่วพระเชตวันเลยทีเดียว

พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า เพราะเหตุใดปลาจึงมีสีทอง และเพราะเหตุใดจึงปากเหม็นเหลือประมาณ พระเจ้าข้า

พระพุทธองค์ทรงเล่าเรื่องเบื้องหลังให้ฟังว่า ในอดีตกาลนานมาแล้วสมัยพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปะ มาตรัสโปรดโลก พี่น้องสองคนออกบวชเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าองค์นั้น ภิกษุพี่ชายตั้งใจปฏิบัติสมาธิวิปัสสนาเข้าป่าเดินธุดงค์ ไม่เกี่ยวข้องกับโลก หวังหลุดพ้นจากกิเลสตัณหา

ส่วนองค์น้องชายได้ศึกษาพระพุทธวจนะท่องบ่นสาธยายพระธรรมวินัยจนแคล่วคล่อง ได้รับยกย่องว่าเป็นพหูสูตรอบรู้ มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย เมื่อได้รับยกย่องว่าเป็นผู้รู้ก็เลยลืมตน นึกว่าตนนั้นเก่งที่สุด ไม่มีใครเทียบเท่า จึงไม่สนใจปฏิบัติขัดเกลาจิตใจ

พระผู้พี่ชายได้มาเตือนสติว่า อันการท่องบ่นพุทธวจนะจนจำได้คล่องแคล่วนั้น มิใช่ทางพ้นทุกข์ที่แท้จริง ถ้าเพียงแต่รู้แล้วไม่ปฏิบัติตามก็เสมือนคนเลี้ยงโคให้คนอื่นรับค่าจ้างเลี้ยงไปวันๆ แต่มิได้เป็นเจ้าของโคที่แท้จริง

เธอไม่ยอมฟัง หาว่าพี่ชายไม่ได้เรียน มัวแต่นั่งหลับตาภาวนาจะไปรู้อะไร

เมื่อมัวเมาหนักเข้าก็ดูถูกพระสงฆ์องค์อื่นๆ ที่ไม่รู้เหมือนตนว่าเลวทราม ในที่สุดก็อวดรู้เหนือพระพุทธเจ้า อธิบายบิดเบือนเอาตามใจชอบจนยากที่ใครๆ จะรั้งไว้ได้เสียแล้ว

พระสงฆ์ผู้ทรงศีลต่างก็ผละหนีไป ไม่คบหาสมาคมด้วย

เมื่อเธอสิ้นชีพแล้วไปเกิดในนรก ทนทุกข์ทรมานนานนับไม่ถ้วน พ้นจากนรกแล้วเศษกรรมยังเหลือ จึงได้มาเกิดเป็นปลาสีทองตัวนี้

เล่าจบพระพุทธองค์ตรัสต่อว่า

“เพราะเธอบวชเป็นพระครองผ้ากาสาวพัสตร์อันอร่ามเรืองรองถือศีลเคร่งครัดในตอนบวชใหม่ๆ ท่องบ่นพุทธวจนะอย่างตั้งใจ จึงส่งผลให้เธอมีสีดุจดังทอง

แต่เพราะภายหลังเธอหลงลืมตน นึกว่าตนเก่งกว่าใครหมดจึงด่าว่าพระสงฆ์ผู้ทรงศีลทั้งหลาย ผลของการด่าพระสงฆ์ผู้ทรงศีลจึงทำให้เธอมีปากเหม็นหึ่ง อ้าปากหาวทีไร คนต้องอุดจมูก”

พุทธบริษัทมีพระเจ้าปเสนทิโกศลเป็นประธาน ได้ฟังพระพุทธดำรัส ต่างสะท้านใจนึกกลัวเกรงบาปกรรมกันทั่วหน้า

โชคดีนะครับ ปลาตัวนี้สมัยก่อนยังได้บวชได้ท่องพุทธวจนะจึงมีสีดังทองดูงามตาบ้าง แต่คนที่บวชก็ไม่ได้บวช พุทธวจนะก็ไม่ได้ท่อง แล้วแต่งกวีด่าพระสงฆ์อย่างเดียว หลุดจากนรกแล้วคงเกิดเป็นสัตว์ขี้ริ้วสักอย่าง แถมปากเหม็นอีกต่างหากด้วย

จึงมิบังควรล้อเล่นกับเรื่องบาปเรื่องกรรมเป็นอันขาด



ที่มา: “เปรตปากเหม็น”. เสฐียรพงษ์ วรรณปก. ผีสางคางแดง พิมพ์ครั้งที่ ๓ พ.ศ.๒๕๕๔
2934  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / ดูดวง ทำนายทายทัก / “ตำรานรลักษณ์” สาวมีไฝใต้นม-ที่ลับ ควรที่ชายจะเอาเป็นเมีย? เมื่อ: 10 พฤศจิกายน 2559 14:05:58



“ตำรานรลักษณ์”
สาวมีไฝใต้นม-ที่ลับ ควรที่ชายจะเอาเป็นเมีย?

ตำราดูลักษณะคนมีอยู่แพร่หลายไปทั่วทั้งตะวันตกและตะวันออก แต่ตอนนี้ศาสตร์ที่ว่านี้ในตะวันตกได้ถูกมองว่าเป็น “วิทยาศาสตร์เทียม” และไม่ได้รับการยอมรับอีกต่อไป ขณะที่ในตะวันออกวิชาดูลักษณะยังคงได้รับความนิยมอยู่

ที่ยังคงแพร่หลายในยุคนี้ก็คือวิชาดูโหงวเฮ้งของจีน ซึ่งได้รับการยอมรับอย่างมากในเมืองไทย ขนาดที่ผู้บริหารของบริษัทใหญ่ๆ ยังต้องจ้างซินแสมาให้คำปรึกษาในการคัดคนเข้าทำงานด้วย

ของไทยเองก็มีศาสตร์ทำนองนี้เหมือนกัน ซึ่งผู้เขียนต้องยอมรับว่า “ไม่รู้” ว่าไทยเราไปรับเอามาจากข้างไหน (หรือคิดค้นขึ้นเอง, มิตรรักผู้อ่านมีความรู้ก็ฝากแบ่งปันผ่านโซเชียลกันมาได้นะครับ) ตำราที่ผู้เขียนอยากจะกล่าวถึงคือตำราที่ชื่อว่า “นรลักษณ์” หรือลักษณะของนารี ที่เคยถูกนำมาตีพิมพ์ใน “บานไม่รู้โรย” ฉบับ กรกฎาคม ๒๕๒๘ ซึ่งปัจจุบันก็ไม่ค่อยได้ยินคนพูดถึงเท่าใดนัก แต่ผู้เขียนก็อยากยกมาให้ท่านผู้อ่านได้ลองดูว่าคุณลักษณะที่ถูกอ้างถึงเหล่านี้ จะทำให้ผู้หญิงมีพฤติกรรมตรงตามที่เขาว่าหรือไม่ เช่น

๑.หญิงใดมีหนวดเครา และมีขนหน้าแข้งเหมือนผู้ชาย เป็นหญิงอัปลักษณ์ ชอบทำลายทรัพย์สมบัติของผัว หญิงเช่นนี้ไม่ควรที่ชายจะเอาเป็นเมีย

๒.หญิงใดมีสะโพกเอียง หรือเวลาเดินไปข้างใดข้างหนึ่ง เป็นหญิงอัปลักษณ์ หาผัวยาก หญิงเช่นนี้ไม่ควรที่ชายจะเอาเป็นเมีย

๓.หญิงใดที่แก้มมีลักยิ้มบุ๋มทั้งสองข้าง เป็นหญิงหลายใจ รักง่ายหน่ายเร็ว หญิงเช่นนี้ไม่ควรที่ชายจะเอาเป็นเมีย

๔.หญิงใดชอบนอนคว่ำนอนหงายเป็นประจำ เป็นหญิงที่ชอบนอกใจผัวไม่น่าไว้วางใจ หญิงเช่นนี้ไม่ควรที่ชายจะเอาเป็นเมีย

๕.หญิงใดมีหลังมือหลังเท้านูนเหมือนหลังเต่า และมีนิ้วมือชิดสนิทกัน เป็นหญิงเจ้าทรัพย์ ใครได้เป็นเมียจะมีแต่ความสุขความเจริญ หญิงเช่นนี้ควรที่ชายจะเอาเป็นเมีย

๖.หญิงใดมีปานดำที่ฝ่ามือ หน้าอก และในที่ลับ หรือปานแดง ไฝแดง ที่ฝ่ามือฝ่าเท้า เป็นหญิงที่มั่งมีด้วยทรัพย์สมบัติ หญิงเช่นนี้สมควรที่ชายจะเอาเป็นเมีย

๗.หญิงใดมีไฝที่ของลับหรือในที่ลับ เป็นหญิงมีชื่อเสียง มียศฐาบรรดาศักดิ์ หญิงเช่นนี้สมควรที่ชายจะเอาเป็นเมีย

๘.หญิงใดมีไฝที่ใต้นม เป็นหญิงมีเสน่ห์มีคนรักใคร่ มีโชคลาภเป็นประจำ หญิงเช่นนี้สมควรที่ชายจะเอาเป็นเมีย

๙.หญิงใดมีไฝที่หูข้างขวา เป็นหญิงที่มีจิตใจอารี เป็นที่เคารพนับถือของคนทั่วไป หญิงเช่นนี้สมควรที่ชายจะเอาไปเป็นเมีย

๑๐.หญิงใดมีไฝที่ขมับข้างขวาเป็นหญิงที่มีใจรวนเร ชอบนอกใจผัวหญิงเช่นนี้ไม่ควรที่ชายจะเอาเป็นเมีย

๑๑.หญิงใดมีไฝที่ลูกกระเดือกเป็นหญิงที่มีใจอำมหิตโหดร้าย หญิงเช่นนี้ไม่ควรที่ชายจะเอาเป็นเมีย

๑๒.หญิงใดมีไฝที่ริมฝีปากล่างเป็นหญิงอาภัพ พึ่งพาอาศัยใครไม่ได้ต้องช่วยตัวของตัวเอง หญิงเช่นนี้ไม่ควรที่ชายจะเอาเป็นเมีย

๑๓.หญิงใดมีไฝที่ริมฝีปากบนเป็นหญิงที่ชอบเล่นชู้ มีผัวบ่อยๆ หญิงเช่นนี้ไม่ควรที่ชายจะเอาเป็นเมีย

๑๔.หญิงใดมีไฝที่ดั้งจมูกเป็นหญิงที่หงุดหงิดง่าย โกรธ่าย เอาแต่ใจตัวเอง หญิงเช่นนี้ไม่ควรที่ชายจะเอาเป็นเมีย

๑๕.หญิงใดมีไฝที่หน้าผาก หรือระหว่างคิ้ว เป็นหญิงอาภัพ ลูกและผัวมักจะตายจากกัน หญิงเช่นนี้ไม่ควรที่ชายจะเอาเป็นเมีย

นี่ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของตำราดูสาวแบบไทยๆ ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่า ข้อสรุปดังกล่าวได้มาจากการเก็บสถิติ หรือนั่งทางใน เพราะมิได้มีการอธิบายที่มาที่ไปเป็นที่ชัดแจ้ง แต่ได้ตัดสินสาวๆ จากรูปลักษณ์เพียงภายนอกออกเป็น ดี-เลว ไปแล้ว

ใครเที่กิดมาโชคดีมีลักษณะดีๆ (ตามตำราเขาว่า) ก็ดีไป แต่ใครได้ในทางไม่ดีก็คงต้องเดือดร้อน หากเชื่อก็คงต้องเสียสะตุ้งสะตัง ไปเอาไอ้นู่นเข้าไอ้นี่ออกกันอีก ยังดีที่ความเชื่อ “ทำนองนี้” ค่อยๆ หมดความเชื่อถือไปแล้วในยุคปัจจุบัน (แม้จะยังเหลืออยู่บ้างในหมู่ผู้บริหารบริษัทใหญ่ๆ ก็ตาม)


[/ ที่มา : silpa-mag.comsize]
2935  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / Re: นางนพมาศ หรือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ และประเพณีในสมัยกรุงสุโขทัย เมื่อ: 09 พฤศจิกายน 2559 16:32:27


http://www.sookjaipic.com/images_upload/60349452123045_45.jpg



ข้อต้น พระศรีมโหสถได้ตั้งปัญหาถามว่า นกเบ็ญจวรรณอันประดับด้วยขนห้าสี เป็นที่งดงาม มีสำนักลำเนาอยู่ในป่าใหญ่ ครั้นมนุษย์ดักนกเบ็ญจวรรณมาได้ก็นำมาเลี้ยงไว้ในบ้านจนเป็นที่รัก เพราะมีขนสีงดงามถึงห้าสี ก็เจ้าเป็นมนุษย์เมื่อเข้าไปอยู่ในพระราชฐาน ยังจะประพฤติตนให้บรรดาคนในพระราชฐานรักใคร่เจ้าได้เช่นนกเบ็ญจวรรณอยู่ละหรือ นางนพมาศก็ตอบว่า นางสามารถจะประพฤติตนให้เป็นที่รักใคร่แก่บุคคลเหล่านั้นได้ โดยสุภาษิต ๕ ประการ เช่นเดียวกับนกเบ็ญจวรรณ ๕ สี คือ

ประการที่ ๑ นางจะเจรจาถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน ไม่ให้เป็นที่รำคาญระคายโสตผู้ใด
ประการที่ ๒ นางจะกระทำตนให้ละมุนละม่อม ไม่เย่อหยิ่งจองหองทั้งจะตกแต่งร่างกายให้สะอาดและสุภาพเรียบร้อย
ประการที่ ๓ นางจะมีน้ำใจบริสุทธิ์สะอาด ไม่อิจฉาพยาบาทปองร้ายหมายมาตรหรือดูหมิ่นดูแคลนผู้ใด
ประการที่ ๔ ถ้าปรากฏว่าผู้ใดเมตตารักใคร่นางโดยสุจริตใจ นางก็จะรักใคร่มีไมตรีตอบมิให้เกิดการกินแหนงแคลงใจได้
ประการที่ ๕ ถ้าได้เป็นผู้ใดทำความดีความชอบในราชการ และทำถูกต้องขนบธรรมเนียมทั้งคดีโลก คดีธรรม นางก็จะจดจำไว้เป็นเยี่ยงอย่าง แล้วประพฤติตนและปฏิบัติตามสิ่งที่ดีนั้น

ถ้านางกระทำได้อย่างนี้แล้ว ก็จะมีผู้เอ็นดูรักใคร่นาง ขอท่านบิดาอย่าวิตกเลย พระศรีมโหสถและบรรดาญาติมิตรทั้งหลาย เมื่อได้ฟังถ้อยคำนางนพมาศดังนั้นแล้ว ก็ชื่นชมยินดีชวนกันสรรเสริญอยู่ทั่วไป

ลำดับที่สอง พระศรีมโหสถได้ตั้งปัญหาถามต่อไปว่า การที่นางจะเข้าไปอยู่ใกล้ชิดพระเจ้าแผ่นดินนั้น ยังจะสามารถประพฤติตนให้ถูกอัธยาศัยในขัติยะตระกูลอันสูงศักดิ์นั้นได้ละหรือ เฉพาะอย่างยิ่งในองค์พระมหากษัตริย์ เพราะธรรมดาพระมหากษัตริย์นั้นย่อมทรงพระราชอาชญาดุจกองเพลิง มีพระเดชานุภาพดังอสรพิษ ย่อมเป็นภัยแก่ผู้ประมาท นางจะครองตัวให้พ้นภัยละหรือ  อนึ่ง สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินมีพระอัครมเหสีถึงสองพระองค์และนางพระสนมกำนับอีกเป็นอันมาก ล้วนเป็นคู่แข่งอย่างสำคัญ นางจะกระทำตนให้ทรงพระเมตตาได้อยู่ละหรือ นางนพมาศตอบว่า นางสามารถกระทำได้อยู่ เพราะใจของนางเองนั้น หาคำนึงว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงพระเมตตานางหรือไม่ แต่นางจะอาศัยสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้ เป็นเครื่องช่วยเหลือให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเมตตานางเอง กล่าวคือ
     ๑.นางจะอาศัยปุพเพกตปุญญตา ซึ่งนางได้สร้างสมมาแต่ชาติก่อนสนับสนุน
     ๒.นางตั้งใจจะประกอบความเพียรอย่างสุดความสามารถ ไม่เกียจคร้านในราชกิจการงานทั้งปวง
     ๓.นางจะใช้สติปัญญาของนาง พิจารณาสิ่งผิดและชอบ แล้วเว้นไม่กระทำสิ่งที่ผิด มุ่งแต่ประพฤติในสิ่งที่ชอบ
     ๔.นางจะใช้ความพินิจพิจารณา สอดส่องให้รู้พระราชอัธยาศัย แล้วจะประพฤติให้ต้องตามน้ำพระทัยทุกประการ มิถือเอาใจตัวเป็นประมาณ
     ๕.จะประพฤติและปฏิบัติการงานโดยสม่ำเสมอ ไม่ทำงานลุ่มๆ ดอนๆ
     ๖.นางจะรักตัวของนางเองยิ่งกว่ารักผู้อื่น
     ๗.นางจะไม่เกรงกลัวผู้ใดยิ่งไปกว่าเจ้านายของนาง
     ๘.นางจะไม่เข้าด้วยกับผู้กระทำผิด
     ๙.จะไม่เพ็ดทูลข้อความใดๆ นางจะกราบทูลแต่ข้อความที่เป็นความจริงเท่านั้น
     ๑๐.นางจะไม่นำพระราชดำริอันใด ที่เป็นความลับออกเปิดเผยเป็นอันขาด
     ๑๑.นางจะวางใจให้มั่นคงต่อกิจการงานทั้งปวง ไม่โลเลและแชเชือน
     ๑๒.นางจะจงรักภักดีต่อองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมิเสื่อมคลาย นางหวังว่า ถ้าได้ประพฤติตนและได้ปฏิบัติตามที่ได้กล่าวแล้วนี้โดยสมบูรณ์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงเมตตานางเป็นเที่ยงแท้  อนึ่ง นางเป็นคนใหม่เพิ่งจะเข้าไปถวายตัว ยังหารู้ขนบธรรมเนียมสิ่งใดไม่ เพราะฉะนั้น นางจำจะต้องสนใจในการงานเป็นพิเศษ เพื่อให้รอบรู้ในกิจการในเวลาอันรวดเร็ว เพื่อสามารถปฏิบัติการงานในหน้าที่ให้ลุล่วงไปจนได้ นางจึงจะวางวิธีการของนางไว้ดังนี้

     ๑.ในขั้นต้น นางจะต้องระวังรักษาตัวกลัวต่อความผิด ไม่ทำอะไรวู่วามลงไป
     ๒.จะต้องคอยสังเกตผู้ที่โปรดปรานคุ้นเคยพระราชอัธยาศัย ว่าประพฤติและปฏิบัติอย่างไร จักได้จดจำนำมาปฏิบัติต่อไป
     ๓.เมื่ออยู่นานไป ได้รู้เช่นเห็นช่องในกิจการบ้างแล้ว ก็จะได้พากเพียรเฝ้าแหนมิให้ขาดได้
     ๔.เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงดำรัสใช้การงานแม้เพียงเล็กน้อย ก็จะกระทำด้วยความตั้งใจให้ดีที่สุด สมพระราชหฤทัยประสงค์ให้จงได้
     ๕.ต่อไปถ้าเห็นว่า ทรงพระเมตตาขึ้นบ้างแล้ว แม้สิ่งใดจะมิทรงรับสั่งใช้แต่สามารถจะกระทำได้ ก็จะกระทำโดยมิได้คิดเหนื่อยยากเลย
     ๖.เมื่อตระหนักแน่แก่ใจว่า ทรงโปรดอย่างใดแล้ว ก็จะได้ชักชวนคนทั้งหลายให้ช่วยกันกระทำในสิ่งที่ชอบพระอัชฌาศัย
     ๗.เมื่อได้กระทำดังนี้แล้ว หากจะไม่ทรงพระเมตตาก็จะไม่น้อยเนื้อต่ำใจอย่างใด จะนึกเพียงว่า เป็นอกุศลกรรมที่ได้กระทำไว้แต่ปางก่อนเท่านั้น และจะคงกระทำความดีเช่นนั้นโดยมิเสื่อมคลาย แล้วนางได้ยกอุทาหรณ์นิทานเรื่องนกกระต้อยติวิดและเรื่องช้างแสนงอนมาเล่าประกอบด้วย พระศรีมโหสถและญาติมิตรทั้งหลาย ได้ฟังก็มีความยินดีในสติปัญญาของนางเป็นอันมาก และพากันสรรเสริญอำนวยพรอยู่ทั่วกัน

ในสุดท้ายพระศรีมโหสถได้ตั้งปัญหาถามว่า นางจะคิดสนองพระเดชพระคุณสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างไร ให้ตนเองมีชื่อเสียงปรากฏอยู่ในแผ่นดิน นางนพมาศก็ตอบว่า อันจะทำการสนองพระเดชพระคุณพระเจ้าแผ่นดิน จนมีชื่อเสียงเลื่องลือปรากฏนั้น สำหรับสตรีกระทำได้ยากนัก ถ้าเป็นบุรุษอาจจะกระทำได้หลายประการ เช่น ทำการรณรงค์สงคราม ทำกิจการงานพระนคร ในสิ่งที่ยากลำบากให้สำเร็จได้ด้วยดี หรือวินิจฉัยถ้อยความให้เป็นไปโดยยุติธรรม หรือหาของวิเศษอัศจรรย์มาทูลเกล้าฯ ถวาย เหล่านี้เป็นต้น แต่ราชการฝ่ายสตรีก็คือ ราชการในพระราชวัง ซึ่งก็ตกเป็นพระราชภาระของพระอัครมเหสีทั้งสองอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น ในส่วนตัวของนางก็จะมีแต่ความจงรักภักดี ตั้งใจสนองพระเดชพระคุณด้วยความกตัญญูกตเวทีอันสะอาดบริสุทธิ์ แม้ในการนั้นหากจำเป็นจะต้องเสียทรัพย์สินส่วนตัวมากเพียงใด หรือแม้แต่จะต้องเสียสละเลือดเนื้อหรือชีวิต ก็เต็มใจอุทิศถวายสนองพระเดชพระคุณโดยมิได้อาลัย  อนึ่ง ในการปฏิบัติตนให้ทรงเมตตานั้น นางปรารถนาที่จะให้ทรงโปรดปรานแต่ในความดีของนางเท่านั้น การที่จะใช้เสน่ห์เล่ห์กลเวทมนต์คาถาและกลมารยาต่างๆ เพื่อให้ทรงเมตตาโปรดปรานนั้น นางจะละเว้นไม่ประพฤติเป็นอันขาด หรือแม้นางจะได้มียศถาบรรดาศักดิ์เพียงใดก็ดี ก็จะยิ่งกระทำความดีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป จะไม่กำเริบใจว่า ทรงรักใคร่แล้วเล่นตัวหรือกดขี่เหยียดหยามผู้อื่น แล้วนางได้ยกอุทาหรณ์นิทานเรื่องนางนกกะเรียนคบนางนกไส้ช่างยุมาประกอบด้วย ในที่สุดนางก็สรุปว่า อันนิทานที่นางยกมากล่าวนี้ ก็เพื่อให้ผู้ฟังจำไปสอนใจตนเองว่า อย่าประพฤติเป็นคนต้นตรงปลายคด และการคบมิตรก็ต้องที่เป็นกัลยาณมิตร นักปราชญ์จึงจะสรรเสริญ อันว่าการคิดถูกและคิดผิด พูดจริงและพูดเท็จ ใจซื่อและใจคด ยั่งยืนและโลเล เรียบร้อยและเล่นตัว สุภาพและดีดดิ้น ปกติและมารยามักตื่นและมักหลับ มีสติและลืมหลง อุตสาหะและเกียจคร้าน ทำดีและทำชั่ว กัลยาณมิตรและบาปมิตร บรรดาของคู่เหล่านี้ นางจะประพฤติอย่างหนึ่งและละเสียอย่างหนึ่งเช่นนี้  นางก็สามารถจะเป็นผู้มีชื่อเสียงปรากฏอยู่ในแผ่นดินได้  พระศรีมโหสถและบรรดาญาติมิตรผู้นั่งฟังอยู่ ณ ที่นั้นก็แซ่ซร้องสาธุการอยู่ทั่วกัน

ในคืนวันนั้น นางเรวดีผู้มารดาก็ได้ให้โอวาทแก่นางอีกเป็นอันมาก กล่าวคือมิให้ตั้งอยู่ในความประมาท ให้เคารพแก่ผู้ควรเคารพ ให้ประพฤติจริตกิริยาในเวลาเฝ้าแหนหมอบคลานให้เรียบร้อย ให้แต่งกายให้เรียบร้อยงามและสะอาดต้องตาคน ประพฤติตนให้ถูกใจคนทั้งหลาย ฝากตัวแก่เจ้าขุนมูลนาย คอยระวังเวลาราชการอย่าให้ต้องเรียกหรือต้องคอย ต้องหูไวจำคำให้มั่น อย่าถือตัวหยิ่งจองหอง ให้เกรงกลัวอัครมเหสีทั้งสองเป็นต้น นางนพมาศก็รับคำเป็นอันดี


โปรดติดตามตอนต่อไป
2936  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / Re: ราชยาน ราชรถ และพระเมรุมาศ ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ เมื่อ: 09 พฤศจิกายน 2559 16:25:38


พระวอสีวิกากาญจน์ เชิญพระราชสรีรางคารกลับพระบรมมหาราชวัง

. พระราชยานที่ยังคงอยู่ในปัจจุบัน  .

พระราชยานต่างๆ ของยุครัตนโกสินทร์ ซึ่งมีอายุการสร้างตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ยังคงอยู่ในปัจจุบันมีจำนวนประมาณ ๓๐ องค์ บางองค์อยู่ในสภาพดีและยังใช้ในพระราชพิธี บางองค์ชำรุดไม่ได้ใช้งาน พระราชยานดังกล่าวเก็บรักษาไว้ ณ สถานต่างๆ กัน ส่วนหนึ่งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง อาทิ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย และอาคารต่างๆ ของสำนักพระราชวัง ส่วนหนึ่งจัดแสดงให้ประชาชนชม ณ พระตำหนักสวนฝรั่งกังไส และพระที่นั่งวิมานเมฆ พระราชวังดุสิต บางส่วนจัดแสดงให้ประชาชนชม ณ พระที่นั่งภิมุขมณเฑียร และโรงราชรถ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร นอกจากนี้ยังมีที่วัดเบญจมบพิตรอีกองค์หนึ่ง ได้แก่ พระเสลี่ยงน้อย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอุทิศถวายเป็นธรรมาสน์ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ ณ พระที่นั่งทรงผนวช วัดเบญจมบพิตร พระราชยานบางองค์มีประวัติการก่อสร้าง ลักษณะและการใช้งาน ดังนี้

๑.พระที่นั่งราเชนทรยาน
เป็นพระที่นั่งทรงบุษบกย่อมุมไม้สิบสอง หลังคาทำเป็นชั้นซ้อนกัน ๕ ชั้น สร้างด้วยไม้แกะสลักปิดทอง มีคานสำหรับหาม ๔ คาน ใช้คนหาม ๕๖ คน เวลาตั้งไว้ปกติจะถอดคานออกเสีย ๒ คาน คงจะมีประจำอยู่ ๒ คาน เวลาประทับพระราชยานนี้จะต้องนั่งห้อยพระบาท ความสูงของพระที่นั่งตั้งแต่ฐานจดยอด ๔.๑๕ เมตร

พระที่นั่งราเชนทรยานสร้างขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ลักษณะรูปทรงวิจิตรงดงามมาก เป็นงานฝีมือที่ช่างบรรจงสร้างอย่างประณีตสุดฝีมือ พระที่นั่งองค์นี้จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นศิลปกรรมชิ้นเอกชิ้นหนึ่งของยุครัตนโกสินทร์ ดังจะเห็นได้จากพนักพิงและกระจังปฏิญาณจะสลักเป็นภาพเทพนมไว้ตรงกลางทุกอัน ครุฑยุดนาคซึ่งประดับที่ฐานทั้ง ๑๔ ตัว นอกจากจะแสดงถึงสัญลักษณ์ของพระราชอำนาจในพระมหากษัตริย์แล้ว ยังมีสัดส่วนและความง่างามในทรวดทรงด้วย

พระที่นั่งราเชนทรยานเป็นพระราชยานสำหรับพระมหากษัตริย์ทรงในเวลาเสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนแห่อย่างใหญ่ที่เรียกว่า ขบวนสี่สาย เช่น เสด็จพระราชดำเนินจากพระราชมณเฑียรไปถวายสักการะพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นต้น โดยที่พระราชยานมีขนาดใหญ่และหนักจึงไม่ค่อยใช้ในการเสเด็จพระราชดำเนินระยะทางไกล ปรากฏว่าในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เคยประทับพระที่นั่งราเชนทรยานไปเพียงด้านตะวันออกของท้องสนามหลวงในพระราชพิธีฉลองพระนคร ๑๐๐ ปี ซึ่งนับว่าเป็นการเสด็จพระราชดำเนินที่ค่อนข้างไกล นอกจากใช้ในการเสด็จพระราชดำเนินแล้ว ยังใช้ในการเชิญพระบรมโกศพระบรมอัฐิพระมหากษัตริย์ และสมเด็จพระบรมราชินีจากพระเมรุมาศท้องสนามหลวงเข้าสู่พระบรมมหาราชวังด้วย ปัจจุบันพระที่นั่งราเชนทรยาน เก็บรักษาไว้ ณ พระที่นั่งภิมุขมมณเฑียร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร อยู่ในความดูแลของกรมศิลปากร และซ่อมบูรณะเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๗ เชิญออกมาใช้ครั้งหลังสุดในการเชิญพระโกศพระบรมอัฐิสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ จากพระเมรุมาศท้องสนามหลวงกลับสู่พระบรมมหาราชวัง ในเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๒๘ และในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พ.ศ.๒๕๓๙ ได้กำหนดให้พระที่นั่งราเชนทรยานเป็นพระราชยานเชิญพระโกศพระบรมอัฐิจากพระเมรุมาศท้องสนามหลวงกลับสู่พระบรมมหาราชวัง



พระที่นั่งราเชนทรยาน


พระยานมาศสามลำคาน ในโรงราชรถ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

๒.พระยานมาศ
เป็นพระราชยานสำหรับพระมหากษัตริย์ประทับราบและพิงได้ ทำด้วยไม้สลักปิดทอง มีพนักวางแขน มีคานหามคู่และแอกหน้าหลัง เวลาหามใช้เชือกหุ้มผ้าผูกแอกแล้วคล้องกับลูกไม้ซึ่งเป็นคานหาม ใช้พนักงานหาม ๘ คน สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงกล่าวว่า คนสามัญทั่วไปจะสังเกตความแตกต่างระหว่างพระยานมาศกับพระเสลี่ยงกงได้ยาก เพราะต่างกันที่ชั้นที่นั่งอันเป็นกระบวนของช่างและพนักพระยานมาศในสมัยโบราณอาจเป็นเหลี่ยมตามแท่นที่นั่งแบบพระที่นั่งพุดตาลก็ได้

๓.พระยานมาศสามลำคาน
เป็นคานหามขนาดใหญ่ กลางตั้งแท่นทำด้วยไม้สลักปิดทองประดับกระจกสี ลักษณะเป็นแท่นซ้อนลด ๔ ชั้น ย่อมุมไม้สิบสอง ชั้นบนสุดทำเป็นแผงราชวัติจำหลักลายประดับกระจกกั้น เว้นช่องที่ส่วนหน้าและส่วนหลัง และมีมุขยื่นออกมา ฐานชั้นที่ ๓ ประดับรูปครุฑโดยรอบ ๓๘ ตัว ชั้นที่ ๔ ประดับเทพนม ๒๖ องค์ ตัวแท่นยานมาศตั้งยึดติดกับลำคานทั้ง ๓ บนยานมีแผ่นไม้ขนาดใหญ่รูปแปดเหลี่ยมพร้อมขอเกี่ยว ๔ ตัว ติดไว้ พื้นไม้ด้านบนทาสีแดง รอบข้างสลักลายปิดทอง เป็นที่สำหรับตั้งพระโกศให้มั่นคง คานทั้ง ๓ เป็นไม้กลึงกลมทาสีแดง ปลายสลักเป็นหัวเม็ดปิดทองประดับกระจกสี ใช้พนักงานหาม ๖๐ คน เวลาหามจริงใช้คน ๒ ผลัด พระยานมาศสามลำคานองค์แรกสร้างขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เดิมเพื่ออัญเชิญพระโกศพระบรมศพพระมหากษัตริย์ โดยกระบวนพยุหยาตราสี่สายจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง ไปประดิษฐานบนพระมหาพิชัยราชรถ ณ บริเวณหน้าวัดพระเชตุพน และใช้ในการเชิญพระโกศพระบรมศพเวียนรอบพระเมรุมาศท้องสนามหลวง ๓ ครั้งตามพระราชประเพณี ต่อมาใช้เชิญพระโกศพระบรมศพสมเด็จพระบรมราชินี และสมเด็จพระบรมราชชนนีด้วย ได้แก่ งานพระบรมศพ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗

พระยานมาศสามลำคานที่เก็บรักษาไว้ ณ โรงราชรถ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร มีจำนวน ๕ องค์ ส่วนใหญ่อยู่ในสภาพชำรุด ใน พ.ศ.๒๕๒๗ ได้มีการสำรวจและซ่อมองค์ที่ค่อนข้างสมบูรณ์ที่สุดเพื่อใช้ในงานพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ และซ่อมบูรณะขึ้น ซึ่งเป็นคนละองค์กับที่เคยใช้ในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า การซ่อมบูรณะได้เสริมความมั่นคงเพิ่มเติมส่วนชำรุดหายไป ทาสี ปิดทอง และประดับกระจกใหม่ทั้งองค์ ดำเนินการโดยกองหัตศิลป์ กรมศิลปากร ตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๒๗ แล้วเสร็จในเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๒๘ ในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๓๙ ได้ซ่อมบูรณะพระยานมาศสามลำคาน ๒ องค์ เพื่อนำออกเชิญพระโกศพระบรมศพตามพระราชประเพณี

๔.พระราชยานกง
ทำด้วยไม้แกะสลักปิดทอง ประดับภาพที่ฐาน มีกงสำหรับวางแขนและมีพนักพิง เป็นพระราชยานแบบประทับห้อยพระบาท มีคานหาม ๒ คาน กับแอกและลูกไม้สำหรับหาม ใช้คนหาม ๘ คน ใช้สำหรับทรงในเวลาปกติ และการเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนราบ

๕.พระราชยานถม
เป็นพระราชยานสำหรับประทับราบ มีพนักและกระดานพิง มีคานหาม ๒ คาน ทำด้วยไม้หุ้มด้วยเงินถมลงยาทาทอง ประดับด้วยกระจังปฏิญาณทองคำลงยาราชาวดี ใช้คนหาม ๘ คน ด้วยวิธีเดียวกับพระยานมาศ เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) สร้างถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คู่กับพระแท่นถม นำเข้ามาน้อมเกล้าฯ ถวายใน พ.ศ.๒๓๖๑ ปัจจุบันอยู่ในพระบรมมหาราชวัง

๖.พระราชยานงา
ลักษณะเช่นเดียวกับราชยานถม เว้นแต่ทำด้วยงาช้างสลักลวดลายทั้งส่วนฐาน กระจัง พนัก และกระดานพิง พื้นพระราชยานทำด้วยไม้ตีเป็นตารางทาสีแดง คานหาม ๒ ข้างหุ้มงาช้างตลอดถึงหัวเม็ด สร้างในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพลเรือโท พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ รองเสนาบดีกระทรวงวัง ผู้บัญชาการกรมพระคชบาล และผู้บังคับบัญชากรมช่างสิบหมู่ขณะนั้น ทรงออกแบบและทรงทำร่วมกับพระยาจินดารังสรรค์ (รอด รัตนศิลปิน) ในปี พ.ศ.๒๔๓๒ เป็นงานที่ละเอียดมาก นับเป็นศิลปกรรมชิ้นเอกชิ้นหนึ่งของกรุงรัตนโกสินทร์ การหามใช้วิธีเดียวกับพระยานมาศ และใช้คนหาม ๘ คน ปัจจุบันอยู่ในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง

๗.พระราชยานทองลงยา
เป็นพระราชยานประทับราบลักษณะเช่นเดียวกับพระราชยานถม ตัวพระราชยานเป็นไม้หุ้มด้วยทองลงยา กระจัง พนัก และกระดานพิงเป็นทองลงยา คานทั้งสองเป็นไม้หุ้มด้วยโลหะสลักลาย หัวเม็ดปลายคานหุ้มทองลงยา ใช้คนหาม ๘ คน ด้วยวิธีใช้สาแหรกและลูกไม้เช่นเดียวกับพระราชยานงา สร้างในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระรัตนโกษาเป็นนายช่าง ปัจจุบันอยู่ในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง

๘.พระที่นั่งราชยานพุดตาลถม
สร้างด้วยไม้หุ้มเงินสลักลายพุดตาลถมยาทาทอง ลักษณะคล้ายพระที่นั่งกง แต่งดงามกว่า และมีกระหนกใบปรือติดอยู่ ๒ ข้างซ้ายขวา และมีภาพประดับ ๒ ชั้น เดิมสร้างขึ้นเป็นพระราชอาสน์ที่ประทับประจำพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และใช้เป็นพระราชยานได้ คือ มีห่วงและคานสำหรับหาม สร้างโดยพระยาเพชรพิชัย (จีน) บิดาพระรัตนโกษา ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันเป็นพระราชบัลลังก์ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร ณ ท้องพระโรงกลาง พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

๙.พระที่นั่งพระราชยานพุดตาลทอง
สร้างด้วยไม้แกะสลักหุ้มทอง มีภาพเทพนมและครุฑประดับ ๒ ชั้น ลักษณะเช่นเดียวกับพระที่นั่งราชยานพุดตาลถม สร้างขึ้นสำหรับเป็นพระที่นั่งพุดตาลกาญจนสิงหาสน์ที่ทอดเหนือพระราชบัลลังก์ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร เป็นพระราชอาสน์ที่ประทับในงานพระราชพิธีใหญ่และสำคัญ ได้แก่ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พิธีเปิดสภาผู้แทนราษฎร เนื่องจากสร้างให้ดัดแปลงเป็นพระราชยานได้ จึงมีห่วงและคานสำหรับหาม ใช้เป็นพระราชยานในการเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราสถลมารค เช่น การเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร การเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานผ้าพระกฐิน การเสด็จพระราชดำเนินทางเปิดปฐมบรมราชานุสรณ์และสะพานพุทธยอดฟ้า (ในรัชกาลที่ ๗) เป็นต้น เมื่อแต่งเป็นพระราชยานนั้นมีแอกผูกติดกับคานทั้งหน้าหลัง มีแอกผูกลูกไม้ สำหรับหามทั้งซ้ายขวาและหน้าหลัง มีคานหามขึ้นบ่าประจำที่คานและที่ลูกไม้ ปัจจุบันอยู่ในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท  พระบรมมหาราชวัง ใช้คนหามผลัดละ ๑๖ คน และต้องผลัดทุกระยะ ๕๐๐ เมตร พระที่นั่งราชยานพุดตาลทองนี้สร้างในรัชกาลที่ ๑ หุ้มทองในรัชกาลที่ ๔



พระเสลี่ยงกง


พระเสลี่ยงแว่นฟ้า พระตำหนักสวนฝรั่งกังไส พระราชวังดุสิต

๑๐.พระเสลี่ยงกง
เป็นพระราชยานแบบประทับราบ ทำด้วยไม้แกะสลักปิดทองประดับกระจก มีกงหรือที่วางแขนเป็นวงโค้ง และมีพนักหรือกระดานพิง มีกระจังรวนและกระจังปฏิญาณอยู่ด้านนอกของกง พื้นที่นั่งเป็นไม้หวายเส้นผูกเรียงกัน หรือหวายสาน ด้านล่างมีห่วงโลหะ ๔ ห่วง สำหรับสอดคาน ๒ คาน การหามใช้วิธีผูกเชือกเป็นสาแหรกกับคานน้อย ใช้คนหาม ๘ คน ใช้ทรงในเวลาปกติ หรือเจ้านายทรงตามเสด็จ และใช้อัญเชิญพระโกศหรือพระสรีรางคารพระบรมวงศานุวงศ์ ตั้งแต่หม่อมเจ้าจนถึงพระองค์เจ้า ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พระตำหนักสวนฝรั่งกังไส พระราชวังดุสิตหลายองค์

๑๑.พระเสลี่ยง
เป็นพระราชยานแบบประทับราบ สร้างด้วยไม้สลักปิดทอง มีพนักและกระดานพิง ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ทรงยามปกติ และเจ้านายทรง พื้นเป็นหวายเส้นผูกเรียงกัน หวายสาน หรือพื้นไม้กระดาน มีห่วงโลหะ ๔ ห่วงด้านล่างสำหรับสอดคานหาม การหามใช้เชือกผูกคานเป็นสาแหรกกับคานน้อย หากเป็นที่ประทับบางครั้งมีขนาดใหญ่ ใช้คนหาม ๘ คน และเรียกว่า พระราชยาน หากเป็นของเจ้านายทรง ขนาดย่อมลงมาใช้คนหาม ๔ คน ปัจจุบันยังมีเก็บรักษาไว้ที่พระที่นั่งวิมานเมฆ พระตำหนักสวนฝรั่งกังไส พระราชวังดุสิต และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร

พระเสลี่ยงที่ปรากฏชื่อในเอกสารประวัติศาสตร์และจดหมายเหตุต่างๆ มีชื่อเรียกต่างๆ กันคือ

พระเสลี่ยงกลีบบัว
เรียกตามลายสลักที่ประดับฐาน เป็นพระราชยานแบบประทับราบ มีคาน ๒ คาน สร้างด้วยไม้สลักปิดทองประดับกระจก ใช้เป็นยานเกียรติยศแก่พระยาแรกนาในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ และใช้สำหรับสมเด็จพระสังฆราช หรือสมเด็จพระราชาคณะ ประทับอ่านพระอภิธรรมนำโกศพระบรมศพ แห่เชิญโดยกระบวนพระราชอิสริยยศจากพระบรมมหาราชวังไปยังหน้าวัดพระเชตุพน เพื่อเชิญขึ้นประดิษฐานบนพระมหาพิชัยราชรถ และนำในกระบวนแห่พระโกศพระบรมศพเวียนรอบพระเมรุมาศ ณ ท้องสนามหลวง ปัจจุบันเก็บรักษาพระเสลี่ยงกลีบบัวไว้ที่พระตำหนักสวนฝรั่งกังไส พระราชวังดุสิต

พระเสลี่ยงแว่นฟ้า
มีลักษณะเป็นฐานแท่นไม้สี่เหลี่ยมสลักลาย ปิดทองประดับกระจกทั้งองค์ มีคาน ๒ คาน ปลายคานเป็นหัวเม็ดปิดทองเรียบ ระหว่างคานทั้งสองทั้งด้านหน้าและด้านหลัง คล้องเชือกมนิลาหุ้มผ้าแดง สำหรับเจ้าพนักงานใช้คล้องคอขณะยกพระเสลี่ยง ใช้คนหาม ๘ คน ใช้สำหรับเชิญพระโกศพระบรมศพจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ไปยังเกยเทียบพระยานมาศสามลำคานที่นอกกำแพงแก้วพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทด้านทิศตะวันตก

เสลี่ยงแปลง
คือเสลี่ยงที่ขยายส่วนให้สูงกว่าเสลี่ยงสามัญ หามพาดบ่าเช่นเดียวกับพระยานมาศ ใช้สำหรับผู้แทนพระองค์ในพระราชพิธี ได้แก่ พระยาแรกนาในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ และพระยายืนชิงช้าในพระราชพิธีตรียัมปวาย เป็นต้น

พระเสลี่ยงหิ้ว
เป็นพระเสลี่ยงขนาดเล็ก มีกระดานพิงและขอบไม้สูงประมาณ ๑ นิ้ว ทางด้านหลังและด้านข้างๆ ละครึ่ง สำหรับกันเบาะให้อยู่กับที่ มีคานหาม ๒ คาน การหามใช้ผ้าแถบผูกคานสำหรับสะพาย ใช้คนหาม ๒ คน ใช้สำหรับประทับเสด็จฯ ในพระราชวัง หรือใช้ทรงพระโกศพระบรมศพ และเจ้านายทรงในโอกาสต่างๆ เช่น พิธีโสกันต์ และพิธีบวชนาคหลวง ปัจจุบันที่สมบูรณ์ที่สุด ได้แก่ พระเสลี่ยงหิ้วในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระที่นั่งภิมุขมณเฑียร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร

พระเสลี่ยงน้อย
เป็นพระราชยานแบบประทับราบ ทำด้วยไม้แกะสลักปิดทอง มีขอบราวและพนักพิง พื้นเป็นหวายเส้นผูก เดิมเป็นของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์ทรงสร้างขึ้น ภายหลังได้ตกทอดมาถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ ต่อมาได้ทรงถวายพระเสลี่ยงนี้แด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อทรงรับพระสุพรรณบัฏ ใน พ.ศ.๒๔๐๔ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระเสลี่ยงองค์นี้สืบมาจนเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ และในวันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ.๒๔๔๒ ได้ทรงพระราชอุทิศพระเสลี่ยงให้เป็นธรรมาสน์สำหรับสวดพระปาฏิโมกข์ หรือแสดงพระธรรมเทศนาในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร เพื่อจะทอดพระเนตรเห็นบ่อยๆ และทรงพระราชอุทิศส่วนพระราชกุศลแด่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ทั้ง ๒ พระองค์ผู้เป็นเจ้าของเดิม ปัจจุบันพระเสลี่ยงน้อยประดิษฐานอยู่ในพระที่นั่งทรงผนวช วัดเบญจมบพิตร

เสลี่ยงป่า
ลักษณะเหมือนแคร่ แต่ขอบสลักลายปิดทอง มีคานหาม ๒ คาน เป็นยานสำหรับพระราชวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า



พระวอสีวิกากาญน์

๑๐.พระวอประเวศวัง
เป็นพระราชยานประทับราบ ทำด้วยไม้แกะสลักปิดทองประดับกระจก มีเสาสี่เสาและหลังคาทรงคฤห์ดาดด้วยผ้าตาดปักทองแผ่ลวด มีระบายโดยรอบ ๓ ชั้น และมีม่านผูกที่เสาทั้งสี่ พื้นพระวอทำด้วยหวายเส้นผูกเรียงกัน มีกงสำหรับวางแขนและกระดานพิง มีกระจังประดับฐานด้านหน้าและหลัง เว้นเฉพาะด้านข้างทั้ง ๒ ด้าน เป็นทางขึ้นลง มีคาน ๒ คาน ใช้เจ้าพนักงานหาม ๑๖ คน พระวอประเวศวังองค์แรก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างขณะยังดำรงพระอิสริยยศพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ในรัชกาลที่ ๒

พระวอประเวศวังองค์ที่ยังสมบูรณ์ในปัจจุบัน สร้างในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๐ มีจารึกว่า ปี ๑๑๖ อยู่ที่กระดานพิงด้านใน และจั่วหลังคาทั้ง ๒ ด้าน ปักทองเป็นลายรูปพระเกี้ยวประดิษฐานเหนือพานแว่นฟ้า ประกอบด้วยฉัตรเบญจา ๒ ข้าง ท่ามกลางลายก้านขดเปลว ใช้เป็นที่ประทับสำหรับพระอัครมเหสี หรือพระเจ้าลูกเธอ ในงานพระราชพิธีต่างๆ และงานพระเมรุมาศ

๑๑.พระวอสีวิกากาญจน์
พระราชยานประทับราบสำหรับเจ้านายฝ่ายในและพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ องค์ที่เก็บรักษาในพระที่นั่งภิมุขมณเฑียร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กว้าง ๘๔.๕ เซนติเมตร ยาว ๑๔๕ เซนติเมตร สูง ๑๐๙ เซนติเมตร เป็นพระที่นั่งโถง มี ๔ เสา มีม่านผูกทั้ง ๔ เสา หลังคาประกอบด้วยช่อฟ้าใบระกาหางหงส์ลงรักปิดทอง มีพนักพิงและขอบราวพนัก ๓ ด้าน ยกเว้นด้านหน้า มีสาแหรกสำหรับหาม ใช้คนหาม ๘ คน นอกจากใช้เสด็จพระราชดำเนินในพระราชพิธีแล้ว ยังใช้ในงานพระบรมศพสมเด็จพระบรมราชินีด้วย คือเชิญพระราชสรีรางคารจากพระเมรุมาศท้องสนามหลวงกลับเข้าพระบรมมหาราชวัง

พระวอสีวิกากาญจน์อีกองค์หนึ่งอยู่ในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เป็นไม้แกะสลักปิดทอง ประดับกระจก ด้านล่างฐานมีห่วงสำหรับสอดคานหาม ๒ คาน ปลายคานเป็นหัวเม็ดทำด้วยงา องค์พระวอมีพนักกงเป็นวงโค้งและมีกระดานพิง ด้านนอกมีกระจังล้อมรอบ ด้านหน้าทำขอบพนักเตี้ยๆ และมีกระจังโอบมาทางด้านข้าง ๒ ด้าน เว้นช่องตรงส่วนที่เป็นทางขึ้นลง เสาทั้ง ๔ ที่รองรับหลังคาเป็นไม้สลักปิดทองประดับกระจก หลังคาทำเป็นชั้นลด ประกอบด้วยช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ และมีบราลีบนสันหลังคา หน้าบันทั้ง ๒ ด้าน ปักทองเป็นลายพระเกี้ยวประดิษฐานเหนือพานแว่นฟ้า กระหนาบ ๒ ข้างด้วยฉัตรเบญจา ใช้เป็นพระราชยานสำหรับพระอัครมเหสีในการพระราชพิธี และใช้ในการพระบรมศพด้วย การหามใช้พนักงานหาม ๘ คน     

ปัจจุบันพระราชยานที่ยังคงอยู่ดังกล่าวมาแล้วนี้ ส่วนใหญ่มักเก็บรักษาตั้งประจำที่เนื่องจากมีโอกาสนำมาใช้น้อย และบางองค์ก็ไม่ได้นำออกใช้งานใดเลย พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีในปีพุทธศักราช ๒๕๓๙ เป็นอีกวาระหนึ่งที่ได้เชิญพระราชยานบางองค์ออกร่วมในกระบวนแห่พระราชอิสริยยศพระบรมศพ จากพระบรมมหาราชวังสู่พระเมรุมาศท้องสนามหลวง และกระบวนเชิญพระบรมอัฐิและพระราชสรีรางคารจากพระเมรุมาศกลับเข้าพระบรมมหาราชวัง โดยพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมราชชนนี พระราชยานที่ใช้ในงานพระบรมศพ มีดังนี้
     -พระเสลี่ยงแว่นฟ้า สำหรับเชิญพระโกศพระบรมศพจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ไปขึ้นพระยานมาศสามลำคาน
     -พระยานมาศสามลำคาน เชิญพระโกศพระบรมศพโดยกรบวนจากเกยด้านหลังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทออกจากพระบรมมหาราชวัง ไปขึ้นพระมหาพิชัยราชรถ ณ บริเวณหน้าวัดพระเชตุพน และเชิญพระโกศพระบรมศพเวียนรอบพระเมรุมาศก่อนเชิญขึ้นสู่พระเมรุมาศ ในงานนี้ใช้ ๒ องค์
     -พระที่นั่งราเชนทรยาน เชิญพระโกศพระบรมอัฐิจากพระเมรุมาศ เข้ากระบวนแห่กลับสู่พระบรมมหาราชวัง เพื่อประดิษฐานบำเพ็ญพระราชกุศล ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และเชิญไปประดิษฐาน ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
     -พระวอสีวิกากาญจน์ เชิญพระผอบพระราชสรีรางคารจากพระเมรุมาศท้องสนามหลวงกลับเข้าพระบรมมหาราชวัง โดยอยู่เป็นลำดับถัดมาจากพระที่นั่งราเชนทรยาน

นอกจากพระราชยานเชิญพระโกศพระบรมศพ พระบรมอัฐิ และพระราชสรีรางคารแล้ว ยังมีพระราชยานซึ่งเป็นที่นั่งของสมเด็จพระราชาคณะอ่านพระอภิธรรมนำในการเคลื่อนพระบรมศพ คือ
     -พระเสลี่ยงกลีบบัว สำหรับสมเด็จพระราชาคณะนั่งอ่านพระอภิธรรมนำกระบวนพระราชอิสริยยศ เมื่อเชิญพระบรมศพจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ออกจากพระบรมมหาราชวังไปยังพระมหาพิชัยราชรถ ณ บริเวณวัดพระเชตุพนครั้งหนึ่ง และนำกระบวนพระราชอิสริยยศเชิญพระบรมศพเวียนพระเมรุมาศอีกครั้งหนึ่ง
 

โปรดติดตามตอนต่อไป
2937  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / นางนพมาศ (ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์) และประเพณีในสมัยกรุงสุโขทัย เมื่อ: 07 พฤศจิกายน 2559 19:51:28



.  ประเพณีในสมัยสุโขทัย  .

• นางนพมาศ หรือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์

วรรณกรรมเรื่องนางนพมาศ สำนวนนี้ ยังเป็นปัญหาถกเถียงกันอยู่มาก เนื่องจากผู้แต่งอ้างว่าแต่งสมัยสุโขทัย จึงจำเป็นต้องค้นคว้าหลักฐานกันต่อไปอีก ความขัดแย้งดังกล่าว คือ สมัยที่แต่ง ผู้แต่งและเนื้อเรื่อง  อย่างไรก็ตาม บางคนเชื่อว่า แต่งในสมัยสุโขทัย เพราะมีเนื้อเรื่องและท้องเรื่องตอนหนึ่งอ้างถึง สถานที่ต่างๆ ในเมืองสุโขทัย อีกตอนหนึ่งกล่าวถึง พระราชจรรยาของสมเด็จพระร่วงเจ้า และในประวัติของนางนพมาศยังกล่าวอีกว่า นางได้เป็นพระสนมของสมเด็จพระร่วงเจ้า การบรรยายว่าด้วยขนบธรรมเนียมนางสนมในราชสำนัก ทำให้หลายคนเชื่อว่า เป็นเหตุการณ์ที่เกิดในสมัยสุโขทัยจริงๆ บางคนเชื่อว่ามาแต่งขึ้นใหม่ในสมัยรัตนโกสินทร์ (ไม่เกินสมัยรัชกาลที่ ๓) แม้แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงอ้างไว้ในหนังสือ พระราชนิพนธ์เรื่องพระราชพิธีสิบสองเดือนหลายแห่ง แต่มีบางตอน พรรณนาเรื่องชาติภาษากล่าวถึงมะริกันภาษา ซึ่งยังไม่เกิดขึ้นในสมัยสุโขทัย นอกจากนั้นยังมีอีกหลายข้อที่ควรนำมาพิจารณา

นางนพมาศ เป็นธิดาของผู้มีบรรดาศักดิ์ผู้หนึ่งในรัชสมัยพระร่วงเจ้า แล้วได้เป็นสนมในพระร่วงเจ้าพระองค์นั้น จนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ตำแหน่งพระสนมเอก นางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์นี้เองที่เป็นผู้ประพันธ์เรื่องนี้ขึ้นด้วยน้ำมือของนางเอง รวมทั้งการเขียนประวัติของตนเองด้วยอย่างละเอียด เรื่องต่างๆ ในหนังสือเล่มนี้ส่วนมากเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เพราะส่อถึงความสามารถ และสติปัญญาอันเฉลียวฉลาดของนางซึ่งควรแก่การเป็นสตรีตัวอย่างได้ผู้หนึ่ง

สำนวนโวหารในเรื่องนางนพมาศ ซึ่งนางนพมาศเป็นผู้แต่งเองนั้น ไม่ควรจะเชื่อเลยว่า เป็นคนครั้งสุโขทัยแต่งขึ้น เพราะเป็นสำนวนโวหารใหม่ๆ เช่นตอนหนึ่งความว่า “สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินต่างประพฤติตามราชประเพณี ย่อมนับถือว่าเป็นราชสัมพันธ์ไมตรีและมิตรไมตรีซึ่งกันและกัน ต่างแต่งทูตานุทูตจำทูลพระราชสาร ส่งเครื่องราชบรรณาการไปมาจำเริญทางพระราชไมตรี เยี่ยมเยียนกันตามกำหนดมิได้ขาดทั้งสองฝ่ายฟ้า โดยน้ำพระทัยไม่มีความรังเกียจว่าต่างชาติต่างภาษา ความสวัสดีจำเริญก็บังเกิดแก่พระมหานคร” ข้อเท่าที่ยกมานี้ จะเห็นได้ว่าเป็นสำนวนใหม่  สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า “เป็นหนังสือแต่งในกรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง และแต่งในระหว่างรัชกาลที่ ๒ กับที่ ๓ ไม่ก่อนนั้นขึ้นไป และไม่หลังนั้นลงมาเป็นแน่”

ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ คนส่วนมากจึงไม่ค่อยจะเชื่อถือข้อความในหนังสือเรื่องนางนพมาศเท่าใดนัก บางท่านก็ว่านางนพมาศนี้หามีตัวจริงไม่ เป็นชื่อที่อ้างสมมุติขึ้นเท่านั้นเอง แม้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงดำริว่า ในหนังสือเล่มนั้นกล่าวถึงพิธีต่างๆ ประจำเดือน ซึ่งชั้นเดิมคงจะมีเพียง ๙ เดือน คือวันเว้นในพรรษา ๓ เดือน ๙ เดือน ก็นพมาศ นพะแปลว่า เก้า มาศะแปลว่า เดือน หาใช่เป็นชื่อคนไม่

อย่างไรก็ดี ยังมีเหตุผลและหลักฐานอีกหลายประการ ที่พอจะเชื่อได้ว่า นางนพมาศนั้นมีตัวจริง และเป็นผู้ประพันธ์เรื่องนี้จริง ดังนี้
๑.พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราชาธิบายไว้แก่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ว่า หนังสือเรื่องนางนพมาศนี้ แม้ว่าจะเป็นหนังสือที่แต่งใหม่ในชั้นกรุงรัตนโกสินทร์นี้ ดังมีผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยทรงพระราชนิพนธ์แทรกลงไปบ้างบางตอนก็ดี แต่ท่านผู้ศึกษาโบราณคดีแต่ก่อนๆ เช่น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และกรมหลวงวงศาธิราชสนิทเป็นต้น ก็ทรงนับถือหนังสือเรื่องนี้อยู่ ชะรอยเรื่องเดิมของเขาจะมีอยู่ แต่ฉบับเดิมบกพร่องหรือวิปลาสขาดหายไป คนในชั้นกรุงรัตนโกสินทร์นี้จึงแต่งขึ้นใหม่โดยตั้งใจจะปฏิสังขรณ์ให้เรียบร้อย แต่ผู้แต่งมิได้ถือเอาความจริงเท็จในพงศาวดารเป็นสำคัญอย่างทุกวันนี้ มุ่งหมายแต่จะให้ไพเราะเพราะพริ้งเท่านั้น เรื่องหนังสือจึงวิปลาสไป

๒.สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงรวบรวมหนังสือต่างๆ เพื่อจัดเป็นหอสมุดสำหรับพระนคร เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๘ ได้หนังสือเรื่องนางนพมาศนี้จากพระยารัตนบดินทร์ ๑ เล่มสมุดไทย กับฉบับของกรมหลวงวรเสรฐสุดา และกรมสมมตอมรพันธ์ทรงได้มาอีก ๓ เล่ม เมื่อรวมกันเข้าแล้ว ก็ได้พอเต็มเรื่องแต่ต้นจนปลายบริบูรณ์ซึ่งพอจะสันนิษฐานได้ว่า เรื่องเดิมคงจะมีจริง คงจะไม่มีผู้ใดกล้าสมมุติเรื่องขึ้นเองได้ เช่นเรื่องที่เกี่ยวกับพิธีพราหมณ์ เป็นต้น เว้นแต่ถ้อยคำสำนวนซึ่งอาจจะมีผู้ดัดแปลงแก้ไขให้ไพเราะเพราะพริ้ง ดังกระแสพระบรมราชาธิบายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นเป็นแน่

๓.นายธนิต อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร เคยให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับนางนพมาศไว้ว่า ถ้านางนพมาศมีจริง ก็จะต้องมีตัวอยู่ในราชสำนักของพระมหาธรรมราชาที่ ๑ อันเป็นกษัตริย์พระองค์ที่ ๕ แห่งกรุงสุโขทัย และหนังสือเรื่องนางนพมาศก็น่าจะได้แต่งขึ้นในสมัยแห่งกษัตริย์พระองค์นั้น

นางนพมาศ ได้เขียนบอกวันเกิดของนางไว้ว่า เกิดเมื่อวันเพ็ญ เดือน ๓ ปีชวด สัปตศก (แต่ศักราชนั้นยังใช้โบราณศักราช  สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินยังหาได้ลบศักราช  ตั้งจุลศักราชขึ้นใหม่ไม่ หมายความว่า นางเกิดก่อนลบศักราช)  มารดาของนางชื่อ เรวดี ได้นำนางเข้าเฝ้าถวายตัวเป็นพระสนม เมื่อวันศุกร์ เดือน ๑๒ ขึ้น ๑๐ ค่ำ จุลศักราช ๖ ปีมะโรงฉศก ตรงกับจุลศักราช ๗๒๖  นางมีอายุนับตามปีได้ ๑๗ ปี นับตามเดือนได้ ๑๕ ปี ๘ เดือน ๒๔ วัน  เพราะฉะนั้น เมื่อนับถอยหลังไปหาวันเกิดของนางก็จะตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ปีชวด สัมฤทธิศก จุลศักราช ๗๑๐

บิดามารดาของนางนพมาศอยู่ในตระกูลพราหมณ์มหาศาลชาติเวรามเทศร์ บิดาชื่อโชตรัตน์ มารดาชื่อเรวดี  สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินทรงชุบเลี้ยงให้ดำรงตำแหน่งพระมหาปุโรหิต มีนามบรรดาศักดิ์ว่า ออกพระศรีมโหสถ ยศกมเลศครรไลยหงส์มหาพฤฒาจารย์ มีเกียรติยศยิ่งกว่านักปราชญ์ราชบัณฑิตทั้งปวง มีหน้าที่บังคับบัญชากิจการตกแต่งพระมหานคร มีการทำพระราชพิธี ๑๒ เดือน เป็นต้น เมื่อนางเรวดีจะตั้งครรภ์นั้น ฝันว่าได้เยี่ยมพระบัญชรสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินชมแสงจันทร์จนตกใจตื่น แม้พระศรีมโหสถก็ฝันว่าได้เห็นดอกไม้นานาพันธุ์ แย้มบานเกสรอยู่พรั่งในมิใช่ฤดูกาล และมีกลิ่นหอมระรื่นตระหลบอบอวล ความฝันทั้งสองนี้พยากรณ์ว่า จะได้บุตรเป็นหญิง จะมีวาสนาพรั่งพร้อมไปด้วยสติปัญญาและเกียรติยศ เป็นที่พึ่งแก่วงศ์ญาติทั้งหลาย ครั้นถึงวันจันทร์ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ปีชวด จุลศักราช ๗๑๐ สัมฤทธิศกพุทธศักราช ๑๘๙๑ อันเป็นเวลาที่พ่างพื้นอากาศปราศจากเมฆ พระจันทร์ทรงกลดแสงประภัสสรรัศมีขาวเจือสีเหลืองอ่อน นางก็คลอดจากครรภ์มารดา หมู่ญาติมิตรทั้งหลายก็นำสิ่งของทองชนิดต่างๆ มาทำขวัญ ท่านบิดาจึงให้นามว่านพมาศ แล้วอาราธนาพระมหาเถรานุเถระ ๘๐ องค์ มาจำเริญพระพุทธมนต์ในมงคลสูตร รัตนสูตร และพระมหาสมัยสูตรครบ ๗ วัน แล้วอัญเชิญพราหมณาจารย์ผู้ชำนาญในไตรเพทอีก ๖๐ คน มากระทำพิธีชัยมงคลอีก ๓ วัน สมโภชธิดาผู้เกิดใหม่ให้ความสวัสดิมงคล เสร็จแล้วก็ถวายไทยธรรมแก่พระเถระเจ้าด้วยไตรจีวรสมณบริขารกับปิยการทั่วทุกองค์ และสักการะหมู่พราหมณ์ด้วยทรัพย์เป็นอันมาก ครั้นจำเริญวัย อายุได้ ๗ ปี บิดาก็ให้ศึกษาวิชาต่างๆ เป็นต้นว่า อักษรไทย อักษรสันสกฤต ภาษาบาลี พอแปลได้ เรียนคัมภีร์ไตรเพท แต่งกลบทกลอนกาพย์ โคลง ฉันท์ และลิลิต เรียนตำราโหราศาสตร์ ดาราศาสตร์ และตำราพยากรณ์ จนอายุได้ ๑๕ ปี ก็มีความรู้ชำนิชำนาญเฉลียวฉลาดรู้คดีโลก คดีธรรม นับเป็นสตรีนักปราชญ์ได้ผู้หนึ่ง

ฝ่ายหมู่ญาติมิตรทั้งหลายเห็นว่า นางนพมาศเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยรูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ และปัญญาสมบัติ ก็ชวนกันพูดจาพาสรรเสริญทุกเช้าค่ำ กิตติศัพท์นี้ก็แพร่หลายเล่าลือต่อๆ กันไปจนมีทิศาปาโมกข์ผู้หนึ่งผูกกลอนสรรเสริญนางนพมาศขึ้นไว้ว่า



พระศรีมโหสถ
ยศ      กมเลศ     ครรไลหงส์
มีธิดา      ประเสริฐ     เฉิดโฉมยง
ชื่ออนงค์      นพมาศ     วิลาศลักษณ์
ละไมละม่อม      พร้อมพริ้ง     ยิ่งนารี
จำเริญศรี      สมบูรณ์     ประยูรศักดิ์
เนื้อเหลือง      เล่ห์ทอง     ผ่องผิวพักตร์
เป็นที่รัก      ดังดวงจิต     บิดรเอย

โฉมนวลนพมาศ
เป็นนักปราชญ์      ฉลาดด้วย     บิดาสอน
ซึ่งกล่าวถ้อย      มธุรส     บทกลอน
ถวายพร      พรรณา     พระพุทธคุณ
สารพัด      จะพึงใจ     ไปครบสิ่ง
เป็นยอดหญิง      ยิ่งธิดา     ทุกหมื่นขุน
แต่ปางก่อน      สร้างกุศล     ผลบุญ
มาเกื้อหนุน      ให้งาม     วิไลเอย

ดวงดอกอุทุมพร
ทั่วนคร      หายาก     ฉันใดไฉน
จะหาสาร      ศรีเสวต     ในแดนไพร
ยากจะได้      ดังประสงค์     ที่จงจินต์
จะหานาง      กัลยาณี     นารี ปราชญ์
ประหนึ่งอนงค์      นพมาศ     อย่าหมายถวิล
จะหาได้      ในท้อง     พระธรนินท์
ก็ด้วยบุญ      เจ้าแผ่นดิน     อย่างเดียว เอย.

อันกลอนทั้งสามบทนี้ บรรดาหญิงชายทั้งหลายต่างก็พากันขับร้องและดีดพิณบรรเลงรับทั่วไปทุกแห่ง ทุกตำบล จนแม้นางพนักงานบำเรอสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินก็จำได้ จนวันหนึ่งได้ขับเพลงพิณบทนี้บำเรอถวาย สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินได้ทรงสดับก็พอพระทัย จึงรับสั่งถามนางบำเรอ นางบำเรอก็กราบบังคมทูลถวายตามความจริงโดยละเอียด สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงรับสั่งให้ใช้ท้าวจันทรนาถภักดีผู้เป็นใหญ่ฝ่ายในไปรับนางนพมาศมาเป็นพระสนมอยู่ในพระราชวัง เพื่อเป็นเกียรติยศแก่ออกพระศรีมโหสถผู้บิดา ท้าวจันทรนาถฯ รับพระราชบัญชาก็มาแจ้งให้ออกพระศรีมโหสถทราบทุกประการ

เมื่อพระศรีมโหสถได้ทราบดังนั้น ก็รู้สึกอาลัยธิดาอย่างยิ่ง แต่ก็ได้ทราบมาแล้วแต่ต้นว่า นางนี้เกิดมาสำหรับผู้มีบุญ จึงยินยอมตามพระราชประสงค์ และจะได้เลือกหาวันอันเป็นมงคล เพื่อนำธิดาขึ้นทูลถวายต่อไป  พระศรีมโหสถได้นิมนต์พระภิกษุสงฆ์และเชิญพราหมณ์มาทำพิธีให้เป็นสวัสดิมงคล แล้วเชิญหมู่ญาติมิตรมาประชุม นางนพมาศก็ทำการเคารพญาติมิตรทั้งหลายนั้น บรรดาญาติมิตรต่างก็พากันอวยพรชัยให้พรแก่นางนพมาศนานาประการ ครั้นแล้วพระศรีมโหสถก็ไต่ถามนางนพมาศ เพื่อจะทดลองความสามารถว่า จะสมควรเข้าไปเป็นบาทบริจาในราชสำนักแห่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือไม่


โปรดติดตามตอนต่อไป
2938  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / ช็อคโกแลตฟัดจ์เค้ก สูตร/วิธีทำ เมื่อ: 05 พฤศจิกายน 2559 20:34:00



ช็อคโกแลตฟัดจ์เค้ก

ส่วนผสม
- แป้งเค้ก     200 กรัม
- ไข่ไก่ (เบอร์ 1)     6 ฟอง
- เนยสดละลาย100 กรัม
- โกโก้ผง 4 ช้อนโต๊ะ
- น้ำตาลทราย     1 ถ้วย + 2 ช้อนโต๊ะ
- ผงฟู     1+½ ช้อนชา
- เกลือป่น     ¼ ช้อนชา
- โอวาเล็ตหรือเอสพี     1 ช้อนโต๊ะ
- โซดา     ½ ช้อนชา
- กลิ่นวานิลลา     1 ช้อนชา
- กลิ่นช็อกโกแลต     ½ ช้อนชา

วิธีทำ
1.ร่อนแป้งเค้ก เกลือป่น ผงฟู เข้าด้วยกัน
2.ผสมโซดาในโกโก้ผง ร่อนให้เข้ากัน (ร่อนแยกต่างหากจากส่วนผสมของแป้ง)
3.เทส่วนผสมของแป้งที่ร่อนแล้วในโถผสมอาหาร ใส่ไข่ไก่ น้ำตาลทราย และโอวาเล็ต หรือเอสพี ตีให้เข้ากันด้วยความเร็วต่ำครึ่งนาที
4.เร่งความเร็วของเครื่องให้สูงสุด ตีส่วนผสมนาน 3 นาที ปิดเครื่อง ใช้พายยางปาดส่วนล่างของโถผสมอาหารให้ขึ้นมาข้างบน
   ใส่กลิ่นวานิลลาและกลิ่นช็อกโกแลต แล้วตีต่อด้วยความเร็วสูงสุดของเครื่องอีก 3 นาที
5.ใส่ส่วนผสมของโกโกผง ตีด้วยความเร็วต่ำสุด จนส่วนผสมเข้ากัน
6.ใส่เนยสดละลายตีด้วยความเร็วต่ำสุดจนส่วนผสมเป็นเนื้อเดียวกัน
7.เทใส่พิมพ์ที่ทาเนยขาวรองกระดาษไข  อบไฟ  160°C = 45-50 นาที หรือจนสุก
8.เคาะขนมออกจากพิมพ์ ตั้งทิ้งไว้ให้เย็น เคลือบหน้าด้วยช็อกโกแลตฟัดจ์ขณะร้อนๆ



ส่วนผสมช็อกโกแลตฟัดจ์
- เนยสด     3 ช้อนโต๊ะ
- นมข้นจืด     3/4 ถ้วย
- วุ้นผง1+½ ช้อนชา
- โกโก้ผง 1+½ ช้อนโต๊ะ
- น้ำตาลทราย     3/4 ถ้วย
- แป้งข้าวโพด     1 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ
1.ผสมวุ้นกับน้ำ ตั้งไฟให้วุ้นละลายจึงใส่น้ำตาลทราย
2.ผสมนมข้นจืด แป้งข้าวโพด โกโก้ผง จนเข้ากันดี เทลงในวุ้นเติมเนยสด คนจนเข้ากันดี
3.เทช็อกโกแลตฟัดจ์ลงบนเค้ก ใช้สปาตูล่าเกลี่ยให้เรียบ ทิ้งไว้จนเย็น ตัดเสิร์ฟเป็นชิ้นๆ






ตีส่วนผสมของแป้ง ไข่ไก่ น้ำตาลทราย และโอวาเล็ต หรือเอสพี ให้เข้ากันด้วยความเร็วต่ำครึ่งนาที
แล้วเร่งความเร็วของเครื่องให้สูงสุด ตีส่วนผสมนาน 3 นาที ปิดเครื่อง ใส่กลิ่นวานิลลาและกลิ่นช็อกโกแลต
แล้วตีต่อด้วยความเร็วสูงสุดของเครื่องอีก 3 นาที


ใส่ส่วนผสมของโกโกผง ตีด้วยความเร็วต่ำสุด จนส่วนผสมเข้ากัน


ใส่เนยสดละลาย ตีด้วยความเร็วต่ำสุดจนส่วนผสมเป็นเนื้อเดียวกัน


เทใส่พิมพ์ที่ทาเนยขาวรองกระดาษไข  อบไฟ  160°C = 45-50 นาที หรือจนสุก

วิธีทำหน้าช็อกโกแลตฟัดจ์


ผสมนมข้นจืด แป้งข้าวโพด โกโก้ผง จนเข้ากันดี เทลงในวุ้นเติมเนยสด คนจนเข้ากันดี


ผสมวุ้นกับน้ำ ตั้งไฟให้วุ้นละลายจึงใส่น้ำตาลทราย


กรองส่วนผสมนมข้นจืด แป้งข้าวโพด โกโก้ผง ด้วยกระชอนตาถี่ลงในหม้อวุ้น
คนให้เข้ากันจนเหนียวข้น


เทช็อกโกแลตฟัดจ์ลงบนเค้ก ใช้สปาตูล่าเกลี่ยให้เรียบ
(ภาพนี้แสงมาก สีช็อกโกแลตฟัดจ์จึงออกน้ำตาลอ่อน)


ทิ้งไว้จนเย็น ตัดเสิร์ฟเป็น




ตกแต่งหน้าเล็กน้อยด้วยไวท์ช็อกโกแลต ขูดเป็นแผ่นแล้วตัดเป็นรูปดอกไม้

2939  สุขใจในธรรม / เกร็ดศาสนา / Re: ปกิณกะทางพุทธศาสนา เมื่อ: 04 พฤศจิกายน 2559 19:52:07


 
• ผ้าห่มของพราหมณ์

พราหมณ์สองสามีภรรยาคู่หนึ่ง มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างแร้นแค้น พวกเขามีผ้าห่มเพียงผืนเดียว สำหรับห่มปกปิดร่างกายออกไปนอกบ้าน

คืนวันหนึ่ง พราหมณ์ผู้เป็นสามีออกจากบ้านไปฟังเทศน์ของพระพุทธเจ้า ขณะนั่งฟังเทศน์อยู่นั้น ก็รู้สึกซาบซึ้งในรสพระธรรมอย่างยิ่ง จึงอยากจะบริจาคสิ่งของถวายพระพุทธเจ้า เพื่อบูชาธรรม แต่เขาไม่มีสิ่งของอย่างอื่นที่จะทำบุญได้เลยนอกจากผ้าห่มเพียงผืนเดียว เขาคิดจะถวายผ้าห่มผืนเดียวที่มีอยู่ แต่อีกใจหนึ่งก็นึกเสียดาย เพราะเมื่อถวายผ้าห่มแก่พระพุทธเจ้าไปแล้วตนเองกับภรรยาก็จะต้องเดือดร้อน

พราหมณ์ผู้นี้คิดลังเล ตัดสินใจไม่ได้สักที จนในที่สุดพอถึงเวลาปัจฉิมยาม (ยามสุดท้ายคือเวลาใกล้รุ่ง) เขาก็ตัดสินใจได้เด็ดขาดที่จะถวายผ้าห่มแด่พระพุทธเจ้า จึงตะโกนออกมาด้วยความดีใจว่า “ข้าชนะแล้ว ข้าชนะแล้ว” แล้วก็นำผ้าห่มของตนไปถวายพระพุทธเจ้า

ในที่ประชุมนั้นยังมีพระราชาพระองค์หนึ่งประทับอยู่ด้วย เมื่อพระราชาได้สดับเสียงตะโกนของพราหมณ์ก็ทรงสงสัยว่า เขาชนะอะไร จึงรับสั่งให้พราหมณ์มาเข้าเฝ้าแล้วตรัสถาม

พราหมณ์กราบทูลว่าเขาได้ชนะความตระหนี่ที่ต่อสู้มาตั้งแต่ตอนหัวค่ำจึงประกาศชัยชนะออกมา

นอกจากนี้ พราหมณ์ก็ได้กราบทูลให้พระราชาทรงทราบถึงความยากจนของตน ที่มีผ้าห่มเพียงผืนเดียวด้วย

พระราชาได้สดับเช่นนั้น ก็ทรงอนุโมทนาในน้ำใจเสียสละของพราหมณ์ และพระราชทานทรัพย์สินเงินทองจำนวนมากแก่พราหมณ์ผู้มีน้ำใจเสียสละ ตั้งแต่นั้นมาพราหมณ์ก็อาศัยอยู่กับภรรยาอย่างมีความสุขตลอดไป

เรื่องนี้ปรากฏอยู่ในหนังสือสอนพระพุทธศาสนาแก่เด็ก เรื่อง “ทาน การเสียสละ” สำนวนของ พันตรี วัชระ คงอดิศักดิ์ (ได้รับพระราชทานรางวัลชั้นที่ ๑ ในการประกวดแต่งหนังสือสอนพระพุทธศาสนาแก่เด็กประจำ พ.ศ.๒๕๑๖)

ซึ่งสำนักงานราชบัณฑิตยสภาได้รวมเล่มจัดพิมพ์เนื่องในโอกาสครบรอบ ๑๒๐ ปีพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นตัวอย่างของคนมีน้ำใจเสียสละที่แม้จะยากจนทรัพย์สินเงินทอง แต่ก็ไม่ได้จนน้ำใจ

แสดงให้เห็นว่าความตั้งใจเสียสละนั้นชนะความตระหนี่ได้อย่างเด็ดขาด ดังที่พระพุทธ เจ้าตรัสไว้ว่า “พึงเอาชนะความตระหนี่ด้วยการให้ทาน”
...เดลินิวส์ออนไลน์
2940  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / เรื่องแปลก - ประสบการณ์ทางจิต - เรื่องลึกลับ / ลัทธิกินเนื้อมนุษย์ เมื่อ: 04 พฤศจิกายน 2559 19:25:27



ลัทธิกินเนื้อมนุษย์

เคยคิดสงสัยกันบ้างหรือไม่คะว่า ในโลกนี้มีมนุษย์กินคนอยู่จริงหรือ วันนี้เราจะไปหาคำตอบจากคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์มานุษยวิทยา สำนักงานราชบัณฑิตยสภากันค่ะ

ลัทธิกินเนื้อมนุษย์ (cannibalism) หมายถึง ความเชื่อที่คนกินเนื้อคนด้วยกัน อาจเพื่อเป็นอาหาร เพื่อจุดประสงค์ทางพิธีกรรม หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่น

วรรณกรรมในยุโรปสมัยก่อนเชื่อว่า เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมของกลุ่มชนป่าเถื่อนก่อนที่จะมีอารยธรรม ความเชื่อนี้ปรากฏในบันทึกประวัติศาสตร์ยุคแรกๆ

ดังจะเห็นว่าในศตวรรษที่ ๕ ก่อนคริสต์ศักราช เฮโรโดทุส (Herodotus) ซึ่งเป็นบิดาแห่งประวัติศาสตร์และชาติพันธุ์วรรณนา กล่าวถึงชนกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ใกล้กับชาวซิเทียน (Scythians) ทางตะวันออกของกรีก ว่าเป็นพวกกินเนื้อมนุษย์ ก่อนที่ศาสนาคริสต์จะแพร่เข้าไปถึงชาวไอริชและชาวสก็อต ก็เคยถูกถือว่าเป็นพวกกินเนื้อมนุษย์เช่นกัน

นักวิเคราะห์เชื่อว่า การกล่าวว่าชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นพวกถือลัทธิกินเนื้อมนุษย์นั้น เป็นการกล่าวหา หรือเป็นข้ออ้างที่จะเข้าไปกดขี่หรือยึดครองโดยกลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเข้มแข็งมากกว่า ดังนั้น ข้อกล่าวหาทำนองนี้จึงเกิดขึ้นแม้กับชนกลุ่มน้อยบางกลุ่มในยุโรป

มองในอีกแง่หนึ่ง ความเชื่อในเรื่องลัทธิกินเนื้อมนุษย์นี้ อาจเป็นเพียงจินตนาการของนักเดินทางชาวยุโรปในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ ๑๕ เมื่อพบกับคนชาวพื้นเมืองที่มีหน้าตาและการปฏิบัติทางวัฒนธรรมที่แปลกประหลาด ก็ทึกทักเอาว่า คนพื้นเมืองเหล่านั้นเป็นมนุษย์กินคน

ดังนั้น ในศตวรรษต่อ ๆ มา แทบจะทุกกลุ่มชนที่พวกนักเดินทางเหล่านี้ไปพบเห็น จึงมักถูกตีตราว่ามีการปฏิบัติในเรื่องกินคน เช่น ชนเผ่าคาริบ (Caribs) ชนเผ่าแอซเต็กส์ (Aztecs) ชนเผ่าพื้นเมืองในอเมริกาเหนือ

ที่น่าแปลกก็คือว่า พวกคนพื้นเมืองหลายต่อหลายเผ่าที่ได้ติดต่อกับชาวยุโรปใหม่ ๆ ก็มีแนวโน้มที่จะคิดว่า ชาวยุโรปก็เป็นพวกกินคนเหมือนกัน โดยนัยนี้การเชื่อว่า ชนบางเผ่าเป็นพวกกินคน จึงเป็นรูปแบบหนึ่งของความคิดความเชื่อเกี่ยวกับคนอื่น (others) ซึ่งเกิดจากการเข้าใจผิดทางวัฒนธรรมบางประการเป็นสำคัญ


จินดารัตน์ โพธิ์นอก/เรียบเรียง

หน้า:  1 ... 145 146 [147] 148 149 ... 274
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.728 วินาที กับ 27 คำสั่ง

Google visited last this page 15 เมษายน 2567 04:11:46