[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
27 เมษายน 2567 10:50:41 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก เวบบอร์ด ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

  แสดงกระทู้
หน้า:  1 ... 150 151 [152] 153 154 ... 273
3021  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ อนามัย / Re: สมุนไพรเพื่อสุขภาพ เมื่อ: 23 สิงหาคม 2559 17:48:48
.


“เหง้ากะทือ” ดูดพิษเข่าเสื่อม

ทุกอย่าง แบบแห้งน้ำหนักอย่างละ 30 กรัมเท่ากันดองกับเหล้าขาว 40 ดีกรี ปิดฝาทิ้งไว้ 3 เดือน จากนั้นกรองเอาน้ำใช้สำลีชุบพอเปียก พอกหัวเข่าที่เพิ่งจะมีอาการใหม่ๆ ไม่ใช่เป็นมานานแล้ว โปะไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง ทำทุกวัน วันละครั้ง เวลาไหนก็ได้ตามสะดวกจนกว่าจะหาย นอกจากดูดพิษเข่าเสื่อมแล้วยังแก้ช้ำในอักเสบ ลดบวมได้ด้วย

กะทือ หรือ ZINGIBER ZERUMBET ขิง หรือ ZINGIBER OFFICINALE ROSC ผักเสี้ยนผี หรือ PLANISIA VICOSA ว่านน้ำ หรือ ACORUS CALAMUS, L., ไพล หรือ ZINGIBER CASSUMUNAR เปราะหอม หรือ KAEMPFERIA GALANGA แต่ละอย่างมีสรรพคุณเฉพาะต่างกัน เมื่อนำทั้งหมดดองเหล้าเอาน้ำปฏิบัติตามที่กล่าวข้างต้น จะมีสรรพคุณดูดพิษเข่าเสื่อมได้




“รากยอป่า” แก้ผื่นคันผิวพรรณดี

โรคผิวหนัง เป็นแล้วจะทำให้ผิวพรรณดูไม่ดี โดยเฉพาะหนุ่มสาวจะเป็นปมด้อยไม่มีความมั่นใจในตัวเอง ทางสมุนไพรให้เอา “รากยอป่า” แบบแห้งหั่นบางๆประมาณหยิบมือ ต้มกับน้ำ 1 ลิตร จนเดือด 5-10 นาที ดื่มขณะอุ่นวันละครั้ง ครั้งละ 1 แก้ว ต้มดื่มเรื่อยๆ จะทำให้เม็ดผื่นคันตามตัวค่อยๆ ยุบและหายได้ เมื่อหายแล้วผิวพรรณจะเปล่งปลั่งเองเป็นธรรมชาติ

ยอป่า หรือ MORINDA ELLIPTICA RIDL. อยู่ในวงศ์ RUBIACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร ดอกสีขาว “ผล” ค่อนข้างกลม มีชื่อเรียกอีกคือ “ยอเถื่อน” รากแก้เบาหวาน แก่นต้มน้ำดื่มบำรุงเลือด ผลสุกขับระดู ขับลม ใบอังไฟพอสลบปิดหน้าอกหน้าท้องแก้ไอแก้จุกเสียด หรือตำพอกศีรษะฆ่าเหา มีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ




“สเปียร์มิ้นท์” ประโยชน์สรรพคุณดี

สเปียร์มิ้นท์ เป็นพืชตระกูลมิ้นท์คล้ายๆ สะระแหน่ทั่วไป มีถิ่นกำเนิดจากสหรัฐอเมริกา มีชื่อเฉพาะคือ SPEARMINT หรือ MENTHA SPICATA เป็นพืชล้มลุก สูง 1 ฟุต ใบตรงกันข้าม ปลายแหลม โคนมน ผิวใบคล้ายสะระแหน่ ดอกสีขาวขนาดเล็ก ออกเป็นกระจุกตามซอกใบและปลายยอด “ผล” กลม มีเมล็ด ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและปักชำต้น ทางอาหาร ใบสดใช้โรยหน้าอาหารดับกลิ่นคาว มีกลิ่นหอมเย็นเหมือนใบสะระแหน่ ทางยา ใบสดจำนวนเล็กน้อยต้มน้ำพอประมาณจนเดือด จะมีกลิ่นน้ำมันหอมระเหยโชยขึ้นจมูก สูดดมเป็นยาแก้หวัด ภูมิแพ้ หอบหืด วิงเวียน ท้องอืดได้ หรือใบสดขยี้ดมทำให้รู้สึกสดชื่นดีมาก แต่ไม่เหมาะที่จะขยี้ทาผิวเพราะจะทำให้ระคายเคือง สตรีมีครรภ์หรือกำลังให้นมลูกควรหลีกเลี่ยง มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 21 ราคาสอบถามกันเอง



บัวหลวง แก้ร้อนในกระหายน้ำ

สูตรดังกล่าว เป็นวิธีหนึ่งที่นิยมใช้กันมาแต่โบราณและได้ผลดีมาก โดยให้เอา เหง้า ของ “บัวหลวง” แบบสดจำนวนตามต้องการ ฝานเป็นแว่นบางๆ ต้มกับน้ำให้ท่วมเนื้อจนเดือดแล้วใส่น้ำตาลทรายแดงลงไปเล็กน้อยไม่ต้อง หวานนัก กินทั้งน้ำและเนื้อวันละ 2 ครั้งเช้าเย็น ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ จะช่วยทำให้อาการร้อนในกระหายน้ำ ปากแห้ง ริมฝีปากแตกประจำหายได้ สามารถต้มกินได้เรื่อยๆ ไม่มีอันตรายอะไร

บัวหลวง หรือ NELUMBO NUCIFERA GAERTN. อยู่ในวงศ์ NELUMBONACEAE เหง้า ไหล ใบอ่อน และเมล็ดเป็นอาหาร ใบใช้ห่อของ ดอกใช้ในพิธีทางศาสนา กลีบดอกเป็นยาฝาดสมาน เหง้าเป็นยาเย็น “ดีบัว” ต้นอ่อนในเมล็ดออกฤทธิ์ขยายเส้นเลือดไปเลี้ยงสมอง หัวใจ เกสรใช้เข้ายาหอมบำรุงหัวใจ เป็นส่วนหนึ่งในเกสรทั้ง 5 ทั้ง 7 และทั้ง 9




บวบขม กับสรรพคุณน่ารู้

สมัยก่อน ใครมีรังแคและคันหนังศีรษะ หมอยาแผนไทยจะใช้รังสดของ “บวบขม” ไปฟอกหรือขยี้เส้นผมบนศีรษะครั้งละ 1 รัง 2–3 วันติดต่อกัน รังแคจะไม่มีและหายคันศีรษะ ส่วนรัง “บวบขม” แบบแห้ง หั่นเป็นฝอยๆ ผสมยาเส้นมวนด้วยใบตองแห้งจุดสูบ เป็นยาฆ่าเชื้อริดสีดวงจมูกน้ำมูกมีกลิ่นเหม็นดีมาก ผลสดตำพอละเอียด พอกฆ่าตัวโลนในที่ลับ เมล็ดสดกินเล็กน้อยขับเสมหะแก้หืด แก้ไอ ใบสดขยี้ทาแก้โรคผิวหนังกลากเกลื้อน รากสด 1 กิโลกรัม ต้มน้ำจนเดือด ดื่มขณะอุ่นเรื่อยๆ แก้ไมเกรนได้

บวบขม หรือ LUFFA ACUTANGULA อยู่ในวงศ์ CUCURBITACEAE เป็นไม้เถาล้มลุกพบขึ้นเองตามธรรมชาติในที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป ไม่นิยมปลูกและนิยมรับประทาน เพราะมีรสขมมาก ส่วนใหญ่มีปลูกเฉพาะชาวเขาบนดอยสูงและสวนสมุนไพรบางแห่งเท่านั้น เพื่อใช้เป็นยาตามที่กล่าวข้างต้น




ตะลิงปลิง กับวิธีรักษาโรคคางทูม

ในยุคสมัยก่อน คนเป็นโรคคางทูมกันเยอะ เป็นแล้วบริเวณลำคอใต้คางจะนูนขึ้นมองเห็นอย่างชัดเจน ซึ่งในยุคนั้น คนที่มีอาการของโรคดังกล่าวจะเดินทางไปพบแพทย์เฉพาะทางลำบากมาก เนื่องจากบ้านอยู่ห่างไกลโรงหมอหรือสุขศาลา ส่วนใหญ่จึงอาศัยหมอพื้นบ้านให้เจียดสมุนไพรรักษาให้ โดยเอาใบสดของ “ตะลิงปลิง” ประมาณ 1 กำมือล้างนํ้าให้สะอาด ตำหรือโขลกพอละเอียดใส่นํ้าลงไปเล็กน้อย จากนั้นเอาทั้งนํ้าและเนื้อพอกบริเวณที่เป็นคางทูม 2 เวลา เช้าเย็น พร้อมเปลี่ยนตัวยาไปเรื่อยๆทุกวัน ประมาณ 1 อาทิตย์จะหายได้ ปัจจุบันโรคคางทูมแทบไม่พบอีกแล้ว แนะนำให้เป็นความรู้

ตะลิงปลิง หรือ AVERRHOA BILIMBI LINN. ชื่อสามัญ BILIMBI, CUCUMBER TREE อยู่ในวงศ์ AVERRHOACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง 12 เมตร ใบประกอบ ออกสลับ มีใบย่อย 25-35 ใบ เป็นรูปขอบขนาน ปลายแหลม โคนสอบและมีขนนุ่มทั้งใบ ดอก ออกเป็นช่อตามโคนต้นและกิ่งแก่ มีกลีบดอก 5 กลีบ เป็นสีแดงอมม่วง ใจกลางดอกเป็นสีนวล ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกเมื่อบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-1.5 ซม. มีเกสรตัวผู้ 10 อัน สั้นยาวอย่างละ 5 อัน “ผล” รูปกลมรีกว้างประมาณ 2 ซม. ยาวประมาณ 4 ซม. ผลแบ่งเป็นพูตื้นๆ 5 พู เนื้อผลฉ่ำนํ้า รสเปรี้ยวจัด ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่หรือสุกจะเป็นสีเขียวอมเหลือง ภายในมีเมล็ด มีดอกและติดผลเกือบทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง มีถิ่นกำเนิดจากประเทศมาเลเซีย อเมริกาเขตร้อน ในประเทศไทยมีปลูกมาแต่โบราณแล้ว จนกลายเป็นไม้ไทยไปโดยปริยาย มีชื่อเรียกอีกคือปลีมิง (มาเลเซีย-นราธิวาส) และหลิงปลิง (ภาคใต้)

ทางอาหาร ผลสดปรุงอาหารที่ต้องการให้มีรสเปรี้ยว แปรรูปเป็นผลไม้แห้ง แช่อิ่ม ส่วนประโยชน์ทางสมุนไพร ใบสดรักษาโรคผิวหนัง ขับเสมหะครับ.




กะทกรก ฆ่าตัวหิด

โรคหิด เป็นกันเยอะในยุคสมัยก่อน เป็นแล้วผิวหนังตามร่างกายดูน่าเกลียดมาก สังคมไม่ต้อนรับเนื่องจากเป็นโรคติดต่อกันได้ ในทางสมุนไพร ให้เอาใบสดของ “กะทกรก” ตามต้องการล้างน้ำให้สะอาด ตำจนละเอียดใส่น้ำลงไปเล็กน้อย แล้วเอาน้ำทาบริเวณที่เป็นหิดวันละ 3 เวลา เช้า กลางวัน เย็น ประมาณ 1 อาทิตย์จะแห้งหายได้ เพราะตัวหิดจะตายเกลี้ยง

กะทกรก หรือ PASSIFLORA FOETIDAL. อยู่ในวงศ์ PASSIFLORACEAE เป็นไม้เลื้อยล้มลุก มีมือเกาะ คนส่วนใหญ่จะรู้จักดี เพราะมีขึ้นตามที่รกร้างทั่วไป ใบเป็น 3 แฉก ดอกเป็นสีเขียวอ่อน “ผล” รูปทรงกลมและพองลมสีเขียวอ่อน ผลสุกสีแดง มีเมล็ดจำนวนมากกินได้ รสเปรี้ยวปนหวาน ยอดอ่อนเป็นอาหาร ประโยชน์ทั้งต้นเป็นยาแก้เหน็บชา โดยให้เอาไปสับเป็นชิ้นเล็กๆ ตากแดดพอสลบหรือสดก็ได้ ใช้ 1 กำมือต้มกับน้ำ 4 แก้ว เคี้ยวจนเหลือ 2 แก้ว กินเช้า เย็น อาการเหน็บชาจะหายได้




ผักคราดหัวแหวน กับวิธีแก้ปวดฟัน

การปวดฟัน ที่เกิดจากฟันเป็นรูเพราะถูกแมงกินฟัน เป็นแล้วทรมานมาก กินอะไรไม่ได้ มันปวดร้าวไปหมดถึงน้ำตาร่วงเลยทีเดียว ในทางสมุนไพรช่วยได้คือให้เอาต้นสดของ “ผักคราด หัวแหวน” 2 ต้นไม่รวมรากตำให้ละเอียด ใส่เกลือป่นลงไป 1 ช้อนชา ใช้ผ้าขาวบางห่อบีบคั้นเอาน้ำแล้วใช้สำลีพันปลายไม้จิ้มฟันจุ่มกับน้ำดังกล่าวให้เปียก นำไปอุดรูฟันที่ปวดจะหายปวดทันที ทำวันละ 2–3 ครั้ง อาการปวดจะดีขึ้นและอาจหายได้

ผักคราดหัวแหวน หรือ PARA CRESS SPILANTHES ACMELLA MURR อยู่ในวงศ์ COMPOSITAI ต้นสดตำผสมเหล้าขาวหรือผสมกับน้ำสมสายชูเล็กน้อย อมแก้ฝีในลำคอ ใช้อุดรูฟันที่ถูกแมงกินฟัน แก้ปวดฟันได้ ช่อดอก ก้านช่อดอกมีสาร SPILANTHOL มีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่ สารสกัดจากต้นสดด้วยแอลกอฮอล์เทียบกับยาชา LIDOCAINE ได้ผลเร็วกว่า แต่ระยะออกฤทธิ์สั้นกว่า




พีพวนน้อย ผลอร่อย สรรพคุณดี

ตำรายาพื้นบ้านภาคอีสาน ระบุว่า รากของต้น “พีพวนน้อย” เอาไปผสมกับรากหญ้าคา เหง้าต้นเอื้องหมายนา และลำต้นของอ้อยแดงจำนวนเท่ากันตามต้องการต้มกับนํ้ามากหน่อยจนเดือดดื่ม สำหรับสตรีที่ผอมแห้งแรงน้อย เป็นยาบำรุงเลือดทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น ผิวพรรณเปล่งปลั่งมีนํ้ามีนวล รากของต้น “พีพวนน้อย” สดหรือแห้งก็ได้จำนวนตามต้องการต้มกับนํ้าจนเดือดดื่มก่อนอาหารเช้าและก่อนนอน 2 เวลา ครั้งละ 1 แก้ว รักษาโรคไตพิการที่เพิ่งจะเป็นใหม่ๆดีมาก โรคดังกล่าวเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะขุ่นเหลืองหรือแดง และมีอาการแน่นท้องกินอาหารไม่ได้ ต้มดื่มแล้วอาการจะค่อยๆกระเตื้องและดีขึ้นเรื่อยๆ

พีพวนน้อย หรือ UVARIA RUTA BLUME ชื่อพ้อง UVARIA RIDLEYI KING อยู่ในวงศ์ ANNONACEAE เป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็ง ลำต้นหรือเถาใหญ่ แตกกิ่งก้านน้อย ใบเดี่ยวออกสลับรูปรี ปลายแหลมโคนเว้าเล็กน้อย ดอก ออกเป็นช่อสั้นตามซอกใบ มีกลีบดอก 6 กลีบ เรียงเป็น 2 ชั้น กลีบดอกเป็นสีแดงอมม่วง “ผล” เป็นกลุ่มและเป็นช่อห้อยลง แต่ละช่อประกอบด้วยผลย่อยจำนวนมาก ผลรูปกลมรี ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่เป็นสีเหลือง สุกเป็นสีแดงอมส้ม เปลือกผลมีขนละเอียดทั่ว เนื้อหุ้มเมล็ดนํ้า รสหวานปนเปรี้ยว รับประทานได้ สมัยก่อนนิยมกันอย่างกว้างขวาง มีเมล็ดเยอะ ดอกออกเดือนเมษายน-มิถุนายน ทุกปี และจะติดผลแก่หรือสุกหลังจากนั้น 4 เดือน คนหาของป่าจะรู้เวลาดีและจะเข้าไปเก็บผลออกมาวางขายตามตลาดสดในชนบททั่วไป ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด มีชื่อเรียกอีกเยอะคือ นมแมว, บุหงาใหญ่, นมควาย, นมแมวป่า, หำลิง, ติงตัง, ตีนตั่งเครือ, พีพวนน้อย และ สีม่วน


ปัจจุบัน “พีพวนน้อย” มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 18 ในชื่ออื่นคือ นมวัว นมควาย ราคาสอบถามกันเองครับ


ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
3022  สุขใจในธรรม / เกร็ดศาสนา / เขาพระสุเมรุ เมื่อ: 23 สิงหาคม 2559 16:18:10



เขาพระสุเมรุ

ตามคติพราหมณ์ เขาพระสุเมรุ คือภูเขาที่เป็นหลักของโลก ภูเขานี้ตั้งอยู่ในจุดศูนย์กลางของโลกหรือจักรวาลอันยิ่งใหญ่ เป็นที่อยู่ของสิ่งมีวิญญาณในภพและภูมิต่างๆ

ตำนานกล่าวว่า พระอิศวรทรงสร้างน้ำด้วยพระเสโท (เหงื่อ) สร้างแผ่นดินด้วยเมโท (ไคล) ของพระองค์ (บางตำนานว่าทรงสำรอกพระมังสะในพระอุระออกมาบันดาลให้เป็นแผ่นดิน) และด้วยมีพระประสงค์จะประดิษฐานภูเขาใหญ่ให้เป็นหลักของโลก จึงทรงเอาพระจุฑามณี (ปิ่นปักผม) ปักลงที่ใจกลางของพื้นภพ บันดาลให้เป็นเขาพระสุเมรุ แล้วเอาพระสังวาลมาสร้างเป็นทิวเขาสวมรอบเขาพระสุเมรุอีก ๗ ทิว เรียกว่า สัตบริภัณฑคีรี ให้เป็นที่อาศัยของทวยเทพ

เขาพระสุเมรุตั้งอยู่เหนือพื้นน้ำ ๘๔,๐๐๐ โยชน์ เบื้องล่างมีปลาอานนท์หนุนอยู่ และมีภูเขารองรับเป็นฐาน ๓ ลูก เรียกว่า ตรีกูฏ มีภูเขาล้อมรอบ ๗ ทิว เรียกว่า สัตบริภัณฑคีรี แต่ละทิวมีความสูงลดหลั่นกันลงไปทีละครึ่ง เป็นที่สถิตของเทวดาจตุมหาราชิกและบริวาร

ดังนี้ ทิวเขายุคนธร (ขอบเขาพระสุเมรุ เป็นที่ของพระอาทิตย์และพระจันทร์), กรวิก (นกกรวิก), อิสินธร (มหิสรเทวบุตร), สุทัศนะ (ว่านยาวิเศษ), เนมินธร (ปทุมชาติขนาดใหญ่), วินันตก (มารดาพญาครุฑ) และอัสกัณ (ไม้กำยาน) แต่ละทิวเขาคั่นด้วยแม่น้ำทั้งเจ็ด ถัดออกไปเป็นมหานทีสีทันดร ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ จากนั้นมีภูเขาเหล็กกั้นทะเลนี้ไว้รอบ เรียกว่าขอบจักรวาล พ้นไปเป็นนอกขอบจักรวาล

มีมหาทวีปอยู่ตรงทิศทั้งสี่ของเขาพระสุเมรุ (แต่ละมหาทวีปมีทวีป น้อยๆ เป็นบริวารอีก ๒,๐๐๐ ทวีป) ได้แก่ อุตรกุรุทวีป ทิศเหนือ มีมหาสมุทรชื่อ ปิตสาคร มีน้ำสีเหลือง, ปุพพวิเทหทวีป ทิศตะวันออก มีมหาสมุทรชื่อ ขีรสาคร เกษียรสมุทร มีน้ำสีขาว, ชมพูทวีป ทิศใต้ มีมหาสมุทรชื่อ นิลสาคร มีน้ำสีเขียว และ อมรโคยานทวีป ทิศตะวันตก มีมหาสมุทรชื่อ ผลิกสาคร มีน้ำใสสะอาดเหมือนแก้วผลึก

ชมพูทวีป รูปเหมือนเกวียน มีต้นหว้ามาก ด้านตะวันออกมีต้นชมพู่ (บ้างเรียกไม้หว้า) สูง ๑,๐๐๐ โยชน์ กว้าง ๑,๐๐๐ โยชน์ น้ำของชมพู่ไหลลงมาเป็นน้ำกายสิทธิ์ ถูกสิ่งใดสิ่งนั้นกลายเป็นสีทอง เรียก พังครนที ผู้คนกินน้ำนี้แล้วจะไม่เกิดโรคภัยไข้เจ็บ ไม่มีกลิ่นตัว ไม่เหนื่อย ไม่ชรา, ปุพพวิเทหทวีป รูปเหมือนพระจันทร์เต็มดวง กว้าง ๗,๐๐๐ โยชน์ มีเกาะ ๔๐๐ เกาะ คนหน้ากลมเหมือนดวงจันทร์, อมรโคยานทวีป รูปเหมือนพระจันทร์ครึ่งซีก กว้าง ๙,๐๐๐โยชน์ ประกอบด้วยเกาะและแม่น้ำใหญ่น้อย และมีไม้กระทุ่ม คนหน้าเหมือนดั่งเดือนแรม จมูกโด่ง คางแหลม

และอุตรกุรุทวีป กว้าง ๘,๐๐๐ โยชน์ เป็นที่ราบมีต้นไม้นานา คนรูปร่างงาม และมีต้นกัลปพฤกษ์ อยากได้อะไรก็ไปนึกเอาที่ต้นไม้นี้

เหนือเขาพระสุเมรุขึ้นไป มีไพชยนต์ปราสาทตั้งอยู่กลางสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีนครแห่งเทพชื่อ นครไตรตรึงษ์ พระอินทร์เป็นผู้ปกครอง ทำหน้าที่เป็นเทวราชผู้อภิบาลโลกและพิทักษ์คุณธรรมให้มนุษย์

ตรงกลางไพชยนต์มหาปราสาทเป็นที่ประดิษฐานแท่นบัณฑุกัมพลอันเป็นทิพยอาสน์ ยามที่โลกเกิดความเดือดร้อน ทิพยอาสน์จะแข็งดั่งศิลาเพื่อบอกให้พระอินทร์ทราบและลงมาช่วยเหลือมนุษย์

สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เป็นสวรรค์ชั้นหนึ่งของฉกามาพจร (สวรรค์ที่เกี่ยวข้องกับความรัก) ประกอบด้วย

๑.จตุมหาราชิก เป็นที่อยู่ของท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ มี ท้าวกุเวร (ท้าวเวสสุวรรณ) รักษาทิศอุดร มีพวกยักษ์เป็นบริวาร, ท้าวธตรฐ รักษาทิศบูรพา มีพวกคนธรรพ์เป็นบริวาร, ท้าววิรุฬหก รักษาทิศทักษิณ มีพวก กุมภัณฑ์ (อสูรจำพวกหนึ่ง) เป็นบริวาร และ ท้าววิรุฬปักษ์ รักษาทิศประจิม มีฝูงนาคเป็นบริวาร

๒.ดาวดึงส์ พระอินทร์เป็นใหญ่

๓.ยามา มีท้าวสยามเทวราชปกครอง

๔.ดุสิต ท้าวสันนุสิตเป็นใหญ่ เป็นที่เกิดแห่งพระโพธิสัตว์ในชาติที่กำลังบำเพ็ญบารมี และยังเป็นสวรรค์ชั้นที่พุทธบิดามารดา และผู้มีบุญวาสนาอื่นๆ เคยถือกำเนิดเป็นเทวดา

๕.นิมมานรดี ท้าวสุนิมมิตปกครอง เทวดาผู้สถิตในสวรรค์ชั้นนี้มีบุญญานุภาพมาก มีความประสงค์สิ่งใดก็เนรมิตได้สมความปรารถนา

๖.ปรนิมมิตวสวัสดี ท้าวปรินิมมิตวสวัสดีปกครอง สวรรค์ชั้นนี้มีความเป็นอยู่สุขสบายกว่าทุกชั้น จะเนรมิตอะไรก็มีเทวดาชั้นที่ ๕ เนรมิตให้ มีป่าหิมพานต์ เป็นที่อยู่ของสัตว์ชนิดต่างๆ มีสระอยู่ ๗ สระ คือ สระอโนดาต มันทากินี กุณาล สหัปปดาต กัณมุณฑ์ รดาการ ฉัททันต์

มีภูเขาล้อมรอบ ๕ ลูก คือ เขาสุทัศนกูฏ ล้วนไปด้วยทอง, เขาจิตรกูฏ ล้วนไปด้วยแก้ว, เขากาลกูฏ ล้วนไปด้วยนิลมณี, เขาไกรลาส ล้วนแล้วด้วยเงิน ที่สถิตของพระอิศวร และคันธมาทกูฏ ล้วนแล้วด้วยแก้วมณีและไม้หอม


ที่มา (เรื่อง-ภาพ) : หนังสือพิมพ์ข่าวสด
3023  นั่งเล่นหลังสวน / เกร็ดความรู้ งานบ้าน งานครัว / Re: เสน่ห์ปลายจวัก ตามตำรับโบราณ เมื่อ: 23 สิงหาคม 2559 15:42:11
.



การเลือกเนื้อสัตว์ประกอบอาหาร

เนื้อสัตว์แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ
๑.เนื้อสัตว์เลี้ยง ได้แก่ วัว หมู ไก่ ไก่งวง กระต่าย เป็ด ห่าน
๒.เนื้อสัตว์ล่าต่างๆ ได้แก่ กวาง เก้ง ไก่ป่า นก ฯลฯ ตามปกติ สัตว์ล่าต่างๆ เหล่านี้มักจะไม่ใช้บริโภคสด เพราะเนื้อแข็งกระด้าง ฉะนั้นจึงต้องทิ้งไว้ให้นุ่มเสียก่อน แต่ต้องระวังอย่าให้เน่า

วิธีสังเกตเนื้อสัตว์ที่ดี
ไก่ ไก่งวง นกพิราบ เป็ด ห่าน ต้องเลือกตัวที่สด ตาแจ่มใส ลูกตาไม่ลึกลงไปมากและไม่เป็นฝ้าฟางขาว ขาและเท้าอ่อนงอพับได้ง่าย หน้าอกเนื้อแข็ง กระดูกอ่อนเกาะกันแน่นจับดูไม่รู้สึกหยุ่นเหมือนวุ้น เวลาผ่าไม่เป็นริ้วรอยสีเขียว  ถ้าจะดูไก่อ่อน สำหรับตัวผู้ตัวเมียผิวอ่อนเกลี้ยง เท้านุ่ม และเดือยสั้น ใต้ผิวหนังมีมันสีเหลืองติดในท้อง ถ้าผ่าออกจะเห็นมีมันและรอยตัดจะไม่เป็นสีเขียวสด  ถ้าตัวใดที่คอมีรอยช้ำ ตาลึก และท้องมีรอยช้ำเป็นสัตว์ที่ไม่สดแท้ ไก่ที่ขาสีขาว เนื้อจะขาว เหมาะสำหรับใช้ต้มเป็นอาหาร ไก่ที่ดีขาดำหรือเหลือง เนื้อจะดำ ถ้าเป็นไก่แก่ เหมาะสำหรับทอดหรืออบ แต่ไม่ควรเลือกที่แก่เกินไป เนื้อจะเหนียวมาก  ไก่แก่ที่ไม่มีมันมากเหมาะสำหรับต้ม ทอดหรืออบ และต้มเคี่ยวไว้ทำน้ำซุปได้ดี  ไก่งวง เป็ด ห่าน ต้องเลือกอายุกลางๆ จึงจะรับประทานดี โดยดูที่เท้า ถ้าเท้าคายมากเป็นตุ่มๆ แหลมๆ ออกมาที่เท้า และกระดูกหน้าอกแข็งมาก แสดงว่าแก่เกินไป

ไก่งวง เนื้อสีขาวย่อยง่าย การสังเกต ไก่อ่อนขานิ่ม เดือยสั้นและสีดำ เนื้อจะขาว อกเต็มและคอยาว

เป็ดและห่าน  ถ้าอ่อน จะงอยปากและเท้าสีเหลือง ถ้าแก่สีจะดำ

นกพิราบ ถ้าอ่อน ขาเล็กเป็นสีชมพู แก่ตาใหญ่และดำ

เนื้อวัว เนื้อวัวที่ดีควรจะมีสีแดงสด เนื้อแน่นละเอียด มีน้ำขัง มีเนื้อมันเกาะแน่นหนา มันสีเหลือง เนื้อที่ซีดขาวเขียวดำเป็นเนื้อที่ใช้ไม่ได้ ส่วนเนื้อลูกวัว เนื้อที่ดีย่อมมีสีค่อนข้างขาวหรือชมพูอ่อน แต่ไม่ใช่แข็งกระด้าง ส่วนที่เหมาะในการทำน้ำซุปคือเนื้อตอนขา  เนื้อจำพวกนี้ย่อยยาก ผู้ที่มีการย่อยอาหารไม่ปกติไม่ควรรับประทาน  เนื้อที่จะใช้ทำซุปจงเลือกซื้อเอาส่วนขาและคอ ถ้าจะทำอย่างสะเต๊ะหรืออบให้เลือกตรงส่วนบนใต้กระดูกสันหลัง และถ้าจะทำสตูควรใช้เนื้อส่วนตรงคอ

ข้อสังเกต
-ลิ้นวัวมักมีพยาธิ เช่น ตัวตืดอยู่ที่โคนต้นลิ้น ฉะนั้นจะต้องทำให้สุกมากที่สุด มิฉะนั้นอาจเกิดโทษได้

-เนื้อที่ดีนั้นคือ เนื้อตะโพก เนื้อสันนอก เนื้อสันใน เนื้อหน้าขา เนื้อขาหลัง เนื้อคอ เนื้อหัวไหล่ เนื้อหน้าอก เนื้อซี่โครง

-เครื่องใน คือ อวัยวะบางส่วนของสัตว์ซึ่งเราใช้ประกอบอาหารบริโภคได้ ได้แก่
    ไขในกระดูก มีไขมันมากให้ประโยชน์ในไขข้อ เข่าถึงเท้าได้ดีมาก
    ตับ เป็นอาหารที่ดี ย่อยง่ายแต่ต้องทำให้สุกดี มิฉะนั้นจุลินทรีย์ซึ่งอยู่ในตับอาจไม่ตาย ทำให้เกิดอันตรายได้
    ไต จากสัตว์ตัวอ่อนและสัตว์กินหญ้า เป็นอาหารที่ดี ถ้าเป็นไตของสัตว์ที่กินเนื้อเป็นอาหารที่ไม่ดี
    เลือด เลือดหมูมีเฮโมโกลบิน เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ต้องทำให้สุกดี
    ปอดและม้าม ใช้ประกอบอาหาร ไม่ดีต่อสุขภาพ
    หัวใจ มีธาตุไข่ขาวและไขมัน ให้ประโยชน์แก่ร่างกายมาก

เนื้อแกะ  เนื้อที่ดีต้องละเอียด สีชมพู หนังลอกออกได้ง่าย เนื้อลูกแกะมีเนื้อเหมือนเนื้อแกะใหญ่ ต่างกันที่กระดูกมีสีชมพูอยู่ทั่วไป

เนื้อควาย  มีลักษณะคล้ายเนื้อวัว สังเกตได้ที่เนื้อหยาบกว่าและมันมีสีขาว เวลาปรุงอาหารเนื้อเหนียวกว่าเนื้อวัว

เนื้อหมู  ที่นิยมกันว่าดีนั้น ต้องเลือกเนื้อสีแดงอ่อนนุ่ม มันขาวและแข็ง หนังหนานุ่ม ต้องมีมันมาก มันสีขาว เนื้อสามชั้นต้องมีเนื้อเป็นชั้นๆ จริงๆ ไม่มีพังผืดระหว่างเนื้อ  ถ้าเนื้อหมูสีดำหรือเข้มมากและมีมันสีเหลือง เป็นหมูแก่ ถ้าเนื้อขาวเปื่อยยุ่ยหรือมีกลิ่นไม่ดี เป็นหมูที่มีเชื้อโรค  ถ้าหมูหนังหนาและแข็งมันน้อย เนื้อสีแดงเข้มมักจะเป็นหมูเลี้ยงตามบ้านนอก เป็นเพราะเลี้ยงอาหารไม่พอต้องปล่อยให้หากินตามลำพังนอกคอกมาก จึงมีหนังหนามันน้อย และโตช้า เนื้อรับประทานสู้หมูเลี้ยงในฟาร์มหรือคอกไม่ได้

ข้อระวัง เนื้อหมูต้องทำให้สุกดี เนื้อหมูดิบอาจมีเชื้อวัณโรค และเนื้อหมูย่อยยาก ไม่สมควรให้คนป่วยรับประทาน

เคล็ดลับในการประกอบอาหาร
-การทำซุปจากไก่
ล้างไก่ทั้งชิ้นใหญ่ๆ ก่อน อย่าล้างภายหลังที่สับกระดูกแล้ว เพราะจะทำให้เลือดไก่ภายในกระดูกหายไปกับน้ำเสียหมด เหลือแต่สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์   การเตรียมต้องทุบเนื้อไก่ให้ช้ำ แล้วบุบกระดูกจนทั่ว ใส่ลงในหม้อเคลือบ ใส่น้ำสะอาดกับเกลือป่น (๑ ช้อน) กานพลู (๓-๕ ดอก) พริกไทยเม็ด (๗-๙ เม็ด) บุบๆ พอแตก  หอมหัวใหญ่ (๒-๓ หัว) ปอกเปลือกแข็งออก จะใช้ทั้งหัวหรือผ่า ๒ ซีกยกขึ้นตั้งไฟต้ม โดยใช้ไฟรุมอ่อนๆ ถ้าจะทำซุปน้ำใส ใช้ไก่ทั้งตัวล้างทำให้สะอาดแล้วเอาลงหม้อ ใส่น้ำตั้งไฟเคี่ยวจนเนื้อไก่เปื่อยยุ่ยและหลุดออกจากกระดูกเอง

-การทำซุปจากเนื้อวัว (เนื้อ ๑-๒ กิโล) ล้างน้ำทั้งชิ้นให้สะอาด แล้วหั่นเป็นชิ้นใหญ่ๆ ใส่ลงในหม้อเคลือบแกง ตักน้ำสะอาดใส่ลงในหม้อให้ท่วมเนื้อก่อนที่จะยกขึ้นตั้งไฟ  ใช้ความร้อนอ่อนๆ รุมๆ ต้มเคี่ยวไป (คอยช้อนฟองทิ้ง) จนเนื้อเปื่อยยุ่ย น้ำข้นและใส

-แกงจืด  ก่อนที่จะทำน้ำแกงจืด ต้องเอากระดูกไก่ กระดูกหมู ล้างน้ำให้สะอาดแล้วเอาสันมีดทุบและบุบๆ ให้แตก ใส่ลงในหม้อเคลือบแกง ใส่น้ำยกขึ้นตั้งไฟเคี่ยวไปให้น้ำหวานในกระดูกออก จนน้ำต้มข้นเป็น “น้ำเชื้อ” แล้วจึงใช้ผ้ากรอง กรองน้ำเชื้อใส่ลงในหม้อเคลือบใหม่อีกหม้อหนึ่ง ยกขึ้นตั้งไฟ เวลาจะแกงต้องให้น้ำเชื้อเดือดพล่านแล้วจึงใส่เนื้อใส่ผัก ผักที่จะใช้ต้องเลือกว่าอย่างไหนสุกเร็วหรือจะต้องเคี่ยวนาน ถ้าเป็นผักที่ต้องเคี่ยวให้เปื่อยก็ใส่รวมลงต้มพร้อมกับเนื้อก็ได้ ผักที่สุกง่ายเช่น ตังโอ๋ ผักกาดหอม ฯลฯ ใส่ทีหลัง พอใส่ลงแล้วจึงปลงลงจากเตาทันที

-แกงปลาต่างๆ ต้องปรุงเครื่องแกงโขลกไว้ให้เสร็จเสียก่อน ใช้ผัดให้หอมหรือละลายน้ำสะอาดเทใส่หม้อยกขึ้นตั้งไฟ พอเดือดจึงใส่เนื้อปลา อย่าคน เนื้อจะสุกแหลกและทำให้เหม็นคาว  สำหรับปลาสดที่นำมาปรุง มีคาวจัด ต้องเคล้ากับน้ำเกลือ ๒-๓ ครั้งเสียก่อน แล้วจึงล้างให้สะอาดและหมดกลิ่นคาว

-อาหารจำพวกผัด ต้องเตรียมซีอิ๊วขาว ซอสปรุงรส น้ำปลาญี่ปุ่น น้ำปลาไทย (อย่างดี) เต้าเจี้ยวอย่างดี พริกไทยป่น ผงปรุงรสหรือผงชูรส  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “น้ำเชื้อ” (น้ำต้มกระดูกไก่ กระดูกขา คอ ปีกไก่ และกระดูกหมู) ควรตั้งหม้อต้มเคี่ยวไว้ประจำ เพื่อใช้เป็นน้ำเชื้อหรือทำเป็นน้ำแกงจืด

-เนย เมื่อนำไปผัดหรือทอดอาหารมักมีกลิ่น ควรซอยหอมลงเจียวพอเหลืองเสียก่อน
3024  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / หอยแมลงภู่ผัดใบโหระพา สูตร/วิธีทำ เมื่อ: 19 สิงหาคม 2559 17:32:13



หอยแมลงภู่ผัดใบโหระพา

• ส่วนผสม
- หอยแมลงภู่ต้มแกะเปลือก 200 กรัม
- ใบโหระพาเด็ดเอาแต่ใบ
- ต้นหอมหั่นท่อนยาว  2 ต้น
- พริกสดสีแดงหั่นแฉลบ 5-6 เม็ด
- กระเทียมไทย 6-7 กลีบ (สับหยาบ)
- ซอสปรุงรส
- ซอสหอยนางรม
- น้ำปลาดีหรือซีอิ๊วขาว
- น้ำตาลทราย


• วิธีทำ
1.นำหอยแมลงภู่ต้มแกะเปลือกแช่น้ำทิ้งไว้อย่างน้อย 1 ชั่วโมง
   แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งหนึ่ง (หอยต้มแกะเปลือกซื้อสำเร็จ มีความเค็มมาก เพราะผู้ขายใส่เกลือไม่ให้เน่าเสียง่าย)
2.ตั้งกระทะใส่น้ำมัน 1 ช้อนโต๊ะ พอร้อนใส่กระเทียมสับลงไปเจียวจนเหลือง ใส่หอยแมลงภู่ ใบโหระพา พริกแดงหั่นแฉลบ
   และใบโหระพา ลงไปผัดพร้อมๆ กัน
3.ปรุงรสด้วยซอสปรุงรส ซอสหอยนางรม น้ำปลา และน้ำตาลทรายเล็กน้อย ผัดให้เข้ากัน ตักใส่จานเสิร์ฟ







3025  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ไปเที่ยว / นำชม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ "เรือพระราชพิธี" เมื่อ: 19 สิงหาคม 2559 15:18:15



นำชม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
เรือพระราชพิธี
ปากคลองบางกอกน้อย เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร

ก่อนคริสตกาล ชาวกรีกเป็นชนชาติที่เดินเรือค้าขายระหว่างเมืองต่างๆ ในทะเลอิเจียน รอบๆ ประเภทกรีซในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังเดินเรือติดต่อกับอาณาจักรโรมันและเมืองอื่นๆ ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแอฟริกาเหนือ  ชาวโรมันก็เป็นอีกชนชาติหนึ่งที่เดินเรือค้าขายติดต่อกับประเทศต่างๆ ในดินแดนดังกล่าวมาแล้ว

คนไทย รู้จักใช้เรือเป็นพาหนะมานานนับพันปี เพราะโดยสภาพภูมิศาสตร์ที่มีแม่น้ำลำคลองอยู่แทบทั่วอาณาจักรสยาม เรือจึงเป็นยานพาหนะอย่างเดียวที่เหมาะและใช้กันมากที่สุด หลักฐานที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเดินเรือของคนไทยปรากฏอยู่ในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช (พ.ศ.๑๘๒๒-๑๘๔๓) แห่งกรุงสุโขทัย หลักที่ ๔ ด้านที่ ๔ กล่าวว่าการเดินทางด้วยเรือและถนน แสดงว่ามีการสร้างเรือมาแต่สมัยสุโขทัยแล้ว  สันนิษฐานว่าในสมัยนั้นมีการต่อเรือจากไม้ซุงท่อนเดียวทั้งต้น รวมไปถึงเรือที่ใช้ไม้กระดานต่อกันแล้วชันยา เดินทางไปมาหาสู่กันอย่างแพร่หลาย และเชื่อกันว่าการสร้างเรือเป็นพาหนะนี้เป็นพัฒนาการของมนุษย์ซึ่งเริ่มต้นจากการรู้จักผูกต่อซุงให้เป็นแพใช้กันมาก่อน

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังไม่มีรถยนต์และถนนหนทางเป็นทางคมนาคมบนแผ่นดินดังเช่นในปัจจุบัน ประกอบกับกรุงศรีอยุธยาและกรุงเทพฯ มีทำเลที่ตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มไม่ไกลจากทะเล มีแม่น้ำลำคลองล้อมรอบ ผู้คนตั้งถิ่นฐานอยู่ตามริมน้ำ   “เรือ” จึงเป็นพาหนะสำคัญชนิดเดียวที่ใช้ในการใช้สัญจร ขนส่งสัตว์เลี้ยง พืชผัก สินค้าต่างๆ ไปค้ามาขายระหว่างแม่น้ำลำคลองและทะเล ซึ่งเป็นปกติในการใช้เรือ นอกจากนี้ยังเป็นพาหนะสำหรับเคลื่อนย้ายกำลังพลเป็นกองทัพไปทำศึกสงคราม ป้องปรามอริราชศัตรูทั้งภายในและภายนอก

วิวัฒนาการการเดินเรือของไทยรุ่งเรืองมากในสมัยกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากขณะนั้นไทยมีการติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศในแถบยุโรป ได้แก่ โปรตุเกส ฮอลันดา อังกฤษ และฝรั่งเศส ทำให้เกิดเรือเดินทะเลขนาดใหญ่ เช่นเรือสำเภาและเรือกำปั่น มีอู่ต่อเรือหลวงเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ในขณะที่ประชาชนต่างอาศัยเรือเล็กเรือน้อยสัญจรไปมาหนาตา ถึงขนาดที่บาทหลวงชาวฝรั่งเศสบันทึกเอาไว้ว่า “ในแม่น้ำลำคลองเต็มไปด้วยเรือ จะไปไหนต่อไหนไหนก็เจอแต่เรือแน่นขนัดไปหมด จนไม่สามารถแหวกทางผ่านกันได้หากไม่ชำนาญ ทั้งที่เรือแน่นขนัดจอแจเช่นนี้ก็ไม่ปรากฏว่าเกิดอุบัติเหตุแต่อย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องอัศจรรย์อย่างยิ่ง”

เรือไทยเมื่อสมัยก่อน มีทั้งเรือขุดและเรือต่อ นิยมทำด้วยไม้ เช่น ไม้ตะเคียน ไม้สัก ไม้เคี่ยมหรือไม้ประดู่ เพราะเป็นไม้เนื้อแข็งลอยน้ำได้ดี ไม่ผุง่ายแม้จะแช่อยู่ในน้ำนานๆ  โดยทั่วไปมักจะเป็นเรือขุด เช่น เรือพระที่นั่ง เรือยาว เรือพาย เรือหมู เป็นต้น




ภาพจาก เว็บไซต์ palungjit.org


เรือกระแชง หรือ เรือ "เอี้ยมจุ๊น"

ยังมีเรืออีกชนิดหนึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยถาวร เรียกว่า "เรือกระแชง" หรือ “เรือเอี้ยมจุ๊น” โดยทำหลังคากันแดดกันฝนคลุมไปตามยาวของลำเรือ  ปูกระดานเต็มท้องเรือคล้ายเพดานเรือน ผนังเรือเจาะเป็นช่องประตูเข้าออก มีหน้าต่างช่วยระบายลม แล้วใช้ชีวิตกินอยู่หลับนอนอยู่ในเรือนั้นตลอด โดยพื้นที่ในลำเรือใช้เป็นทั้งที่นั่งเล่น ที่หลับนอน มีห้องน้ำเล็กๆ พื้นที่ของส่วนท้ายเรือซึ่งโล่งโปร่งมักใช้เป็นพื้นที่ประกอบอาหาร  เรือที่กล่าวนี้มักจอดเรียงรายปักหลักปักฐานอาศัยอยู่เป็นประจำตามลำแม่น้ำในย่านชุมชุนเมือง ดูคล้ายชุมชนในลำน้ำย่อมๆ ชุมชนหนึ่ง ในสมัยก่อนมีให้เห็นได้ในจังหวัดแถบภาคกลาง บริเวณต้นน้ำเจ้าพระยา ซึ่งในอดีตเป็นเส้นทางคมนาคมในการสัญจรของชาวบ้าน และเป็นเส้นทางขนส่งสินค้านานาชนิดที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่งของภาคกลาง  

เรือประเภทนี้จัดอยู่ในประเภท “บ้าน” ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎรฯ คือเป็นโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างสำหรับใช้เป็นที่อยู่อาศัยประจำ มีเจ้าบ้านครอบครอง มีการออกเลขที่บ้าน (เลขที่เรือ)  ปัจจุบันไม่มีเรือเอี้ยมจุ๊นให้เห็นในบริเวณต้นน้ำเจ้าพระยาอีกแล้ว...(ด้วยสาเหตุใดขอยกไว้ไม่กล่าวถึง) จึงเป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง เพราะถ้าอนุญาตให้ราษฎรได้อาศัยเรือแทนบ้านอย่างในอดีตอยู่ต่อไป โดยกำหนดให้มีมาตรการที่เข้มงวดให้ผู้อยู่อาศัยในเรือช่วยกันบำรุงรักษาสภาพแวดล้อมและสุขอนามัยของการดำรงชีวิตในลำน้ำแล้ว สถานที่นี้จะเป็นแหล่งที่ควรค่าแก่การศึกษาถึงวิถีชีวิตของคนไทยที่ผูกพันกับสายน้ำมาตั้งแต่บรรพกาล และเป็นสิ่งที่หาดูชมได้ยากในปัจจุบันสมัย






เรือพระราชพิธี

ประวัติความเป็นมาของเรือพระราชพิธี
เรือพระราชพิธี เป็นคำเรียกเรือที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้โดยเสด็จในการพระราชกรณียกิจต่างๆ มาแต่ครั้งโบราณ เช่น เป็นพาหนะทรงพระกฐิน การจัดกระบวนเรือรับราชทูต และในการเสด็จนมัสการรอยพระพุทธบาทสระบุรี การจัดกระบวนเรือดังกล่าว เรียกว่า “กระบวนพหยุหยาตราทางชลมารค”  ซึ่งเป็นการจัดรูปกระบวนเรือรบในแม่น้ำตามตำราพิชัยสงคราม  

การจัดกระบวนเรือพระราชพิธีสืบเนื่องมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาและถือเป็นพระราชพิธีโดยเสด็จ กระบวนพยุหยาตราที่สำคัญในปัจจุบัน คือ กระบวนพยุหยาตราชลมารคเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินหลวงวัดอรุณราชวราราม

ในสมัยอยุธยา เรือที่นำมาใช้ในกระบวนเรือพระราชพิธีส่วนมากจะเป็นเรือที่มีขนาดใหญ่รูปเพรียวยาว ใช้ฝีพาย พายไปได้เร็ว เดิมใช้เป็นเรือรบประเภทขับไล่ทางแม่น้ำซึ่งมี ๔ ชนิดคือ
๑.เรือแซ คือ เรือกรรเชียงยาวแบบโบราณของไทย ใช้ในแม่น้ำ แล่นช้าเรียกว่าเรือแซ สำหรับใช้ในการลำเลียงพล เสบียงอาหาร และเครื่องศัตราวุธสำหรับกองทัพ (กรรเชียง เป็นลักษณะการนั่งหันหลังแจวเรือ ๒ มือ)
๒.เรือไชย คือ เรือยาวเช่นเดียวกับเรือแซ ใช้ฝีพาย แล่นได้เร็วกว่าเรือแซ
๓.เรือรูปสัตว์ คือ เรือที่มีโขนเรือสลักเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ทั้งสัตว์จริงและสัตว์ในเทพนิยายเช่น ครุฑ พญานาค เป็นต้น ใต้โขนเรือกว้างเจาะเป็นช่องติดตั้งปืนใหญ่
๔.เรือกราบ คือ เรือโบราณที่ใช้ฝีพาย ลักษณะคล้ายเรือไชย แล่นเร็วกว่าเรือทุกประเภท

กระบวนเรือโบราณ
สมัยโบราณจัดทำเป็น ๒ สำรับ คือ เรือทอง หมายถึงเรือที่สลักลวดลายลงรักปิดทองสำรับหนึ่ง สำหรับใช้เวลาเสด็จในกระบวนที่เป็นพระราชพิธี ส่วนอีกสำรับหนึ่งเป็นเรือไม้ มักใช้ทรงในเวลาปกติ ไม่ปะปนกัน ลักษณะหน้าที่ของเรือพระราชพิธี แบ่งเป็น ๒ เหล่า คือ เรือเหล่าแสนยากร และเรือพระที่นั่ง

ประเภทของเรือในกระบวนเรือ
๑.เรือต้น คือ เรือพระที่นั่งของพระมหากษัตริย์ แต่ในสมัยหลังความหมายของเรือประเภทนี้ได้เปลี่ยนไป คือ เรือที่พระมหากษัตริย์โดยเสด็จลำลองเป็นการประพาสต้นไปทรงตรวจทุกข์สุขของราษฎรโดยมิให้คนอื่นรู้

๒.เรือที่นั่ง คือเรือพระที่นั่งซึ่งเรียกอย่างย่อ เป็นเรือพระที่นั่งของพระบรมวงศานุวงศ์

๓.เรือพระที่นั่งทรง เรือพระที่นั่งรอง คือ เรือลำที่พระมหากษัตริย์ประทับและมีเรือพระที่นั่งรองในกรณีเรือพระที่นั่งทรงชำรุด

๔.เรือพระที่นั่งรอง คือ เรือพระที่นั่งลำที่สำรองไว้ในกรณีเรือพระที่นั่งทรงชำรุด สันนิษฐานว่าพระที่นั่งสำรองคงพายร่วมไปในขบวนเสด็จด้วย

๕.เรือพลับพลา คือ เรือสำหรับพระมหากษัตริย์ทรงใช้เปลื้องเครื่องทรง (เครื่องราชกกุธภัณฑ์)

๖.เรือเหล่าแสนยากร หรือเรือศีรษะสัตว์ (เรือพิฆาต) คือ เรือรบที่อยู่ในขบวน เรือศีรษะสัตว์นี้มิใช่แต่จะเป็นเรือพิฆาตเท่านั้น อาจใช้เป็นเรือพระที่นั่งก็ได้  ศีรษะสัตว์ที่ใช้ในเรือแสนยากรนั้นต้องเป็นรูปศีรษะสัตว์ชั้นรอง และเขียนรูปด้วยสีธรรมดามิใช่เขียนด้วยสีทอง
   
๗.เรือดั้ง คือ เรือทำหน้าที่ป้องกันหน้าขบวนเรือ เป็นเรือไม้เขียนลายลงรักปิดทอง มีทวนหัวตั้งสูงและงอนขึ้นไป “ดั้ง” แปลว่า หน้า ฉะนั้นเรือดั้งก็คือเรือนำหน้านั่นเอง  “เรือดั้ง” นี้เป็นศัพท์ที่เพิ่งเรียกกันใหม่ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ครั้งสมเด็จพระนารายณ์มหาราชพบศัพท์นี้เฉพาะ “ดั้ง” ของเรือพระที่นั่งทรงและใช้เรือพระที่นั่งกิ่งเป็นเรือดั้ง

๘.เรือโขมดยา  คือ เรือไชยที่เขียนหัวด้วยน้ำยา หัวท้ายงอนคล้ายเรือกัญญา เรือโขมดยาเป็นเรือพาหนะแสดงสมณศักดิ์ของเจ้าอาวาส หรือเป็นเรือประจำยศของพระราชาคณะ

๙.เรือแซง คือ เรือโขมดยา ๔ ลำที่อยู่ขบวนหน้าชั้นใน อยู่หน้าขบวนเรือพระราชยาน เรือแซงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้มักใช้เรือกราบ

๑๐.เรือประตู คือ เรือคั่นระหว่างขบวนย่อย ลักษณะเป็นเรือกราบ กลางลำมีกัญญา ทำหน้าที่เป็นเรือริ้วกระบวน

๑๑.เรือพิฆาต เป็นเรือที่แล่นเร็ว ทำหน้าที่นำกระบวนเป็นลำดับแรก เป็นเรือที่มีหัวเรือเขียนลายหน้าเสือ ไม่ปิดทอง ได้แก่ เรือเสือทะยานชลและเรือเสือคำรณสินธุ์

๑๒.เรือคู่ชัก เป็นเรือชัย ทำหน้าที่ลากจูงเรือพระที่นั่งซึ่งมีขนาดใหญ่และหนักมาก เรือคู่ชักมีชื่อว่า “เรือทองบ้าบิ่น และทองขวานฟ้า” เป็นเรือที่แล่นเร็ว

๑๓.เรือตำรวจ เป็นเรือที่พระตำรวจ หรือข้าราชการในพระราชสำนักลงประจำทำหน้าที่เป็นองครักษ์ มีทั้งตำรวจนอก-ตำรวจใน

๑๔.เรือกลองนอก-กลองใน คือ เรือสัญญาณ เพื่อให้เรืออื่นหยุดพายหรือจ้ำ ต่อมาเมื่อมีแตรฝรั่งเข้ามาในเมืองไทยแล้ว เสียงแตรได้ยินไกลกว่าเสียงกลอง จึงได้เลิกใช้สัญญาณจากเสียงกลอง แต่คงเรียกเรือกลองเช่นเดิม และเพื่อรักษาประเพณีเดิมเอาไว้ ในปัจจุบันเมื่อมีการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคจึงยังมีทั้งเรือกลองนอกและเรือกลองในอยู่  

๑๕.เรือกัน เป็นเรือป้องกันศัตรู มิให้จู่โจมมาถึงเรือพระที่นั่งอยู่แนวที่ใกล้เรือพระที่นั่งมากกว่าเรือแซง

๑๐.เรือรูปสัตว์ มีโขนเรือเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ในสมัยโบราณเคยมีเรือรูปสัตว์หลายชนิด เช่น ราชสีห์ คชสีห์ ม้า เลียงผา นกอินทรี สิงโต มังกร นาค ครุฑ ปักษี หงส์ เหรา กระโห้ ฯลฯ เรือรูปสัตว์อาจจัดเป็นเรือพิฆาต หรือเหล่าแสนยากร หรือเรือพระที่นั่งได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความวิจิตรงดงาม ความสำคัญของโขนเรือนั้นๆ และพระราชดำริของพระมหากษัตริย์ที่จะมีพระราชประสงค์เพื่อใช้ในพระราชพิธี หรือพระราชกรณียกิจต่างๆ

๑๑.เรือริ้ว คือ เรือที่อยู่ในริ้วขบวนที่แล่นตามกันไปในริ้วขบวน



เรือบัลลังก์แบบต่างๆ ภาพใกล้ที่สุดคือเรือพระที่นั่งสมเด็จพระเจ้ากรุงสยาม
ภาพนี้ ชาวฝรั่งเศสที่มากับคณะมัชชันนารีเขียนจากเรือพระที่นั่งต่างๆ
ตามที่บุคคลเหล่านั้นได้เข้ามาพบเห็น ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

เรือพระที่นั่ง

เรือที่สำคัญที่สุดในกระบวนพยุหยาตราชลมารค คือ “เรือพระที่นั่ง”

เรือพระที่นั่งเป็นพระราชพาหนะที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้ในการเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำ ที่เรียกว่า “ชลมารค” เช่นเดียวกับประชาชนทั่วไปในอดีตซึ่งต้องใช้การคมนาคมทางน้ำเป็นหลักมากกว่าทางบก เนื่องจากในขณะนั้นยังไม่มีถนนหนทางที่สะดวกสบายดังเช่นในปัจจุบัน  การเดินทางการขนส่งจึงอาศัยเรือ หรือแพ ซึ่งมีขนาดใหญ่ สามารถใช้บรรทุกคน สัตว์ และสัมภาระต่างๆ ได้มากกว่าเกวียน ช้าง ม้า และรวดเร็วกว่าการเดินทางทางบก ฉะนั้น ผู้คนในอดีตตั้งแต่พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน แม้จนกระทั่งนักบวช เช่น พระภิกษุสามเณร ล้วนใช้เรือเป็นพาหนะแทบทั้งสิ้น

เรือที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้ประทับในการเสด็จพระราชดำเนินทางไปทางน้ำนี้ เรียกว่า เรือพระที่นั่ง หากเป็นเรือของพระบรมวงศานุวงศ์หรือเจ้านายองค์อื่นๆ ประทับก็มีชื่อเรียกต่างกันไปตามตำแหน่งฐานานุศักดิ์หรือชั้นยศ

เรือพระที่นั่งสำหรับพระมหากษัตริย์ทรงนั้นมีอยู่หลายประเภท หลายแบบ ตามลักษณะของการใช้งาน หรือมีพระราชประสงค์ให้สร้างเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น การเสด็จไปในการพระราชสงคราม เรือพระที่นั่งจะเป็นเรือสำคัญที่สุด เพราะเป็นเรือที่พระมหากษัตริย์ทรง หรือประทับเป็นแม่ทัพหลวงหรือจอมทัพ เรือพระที่นั่งจะอยู่ตรงตำแหน่งของแม่ทัพตามรูปผังขบวนทัพตามหลักหรือตำราพิชัยสงคราม ถ้าในขบวนมีการอัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญไปด้วย เช่น พระชัย จะต้องมีเรือพระที่นั่งอีกลำหนึ่ง มักเป็นเรือพระที่นั่งรอง แต่ให้นำหน้าเรือพระที่นั่งทรง เพราะเป็นการถวายพระเกียรติสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ขบวนแบบนี้เรียก “ขบวนพยุหยาตรา” คือขบวนทัพที่ใช้ทางน้ำเป็นเส้นทางเดินทัพ จึงเรียกขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เช่น เมื่อคราวรบพม่าที่เมืองกาญจนบุรี ปรากฏในหนังสือพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ความว่า “ครั้งถึงวันศุภวารมหาพิชัยมงคลฤกษ์ ในมฤคศิรมาศศุกรปักษ์ดิถี จึงสมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ก็ถวายบังคมลาสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชเจ้า เสด็จทรงเรือพระที่นั่งบัลลังก์แก้วจักรพรรดิ์ ปิดทองทึบเรือพระที่นั่งสวัสชิงไชยประกอบพื้นดำทรงพระไชยนำเสด็จฯ พร้อมด้วยเรือท้าวพระยาข้าทูลละอองธุลีพระบาทโดยเสด็จดาษดาดำเนินพยุหโยธาทัพหลวงจากกรุงเทพฯ โดยทางชลมารค” ในขณะที่ทำการรบกับพม่าติดพันอยู่นั้น ทรงมีหนังสือบอกข้อราชการสงครามมากราบถวายบังคมทูลแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงทราบและทรงเกรงว่าจะเอาชนะข้าศึกไม่ได้โดยเร็ว จึงยกทัพหนุนขึ้นไปช่วยสมเด็จกรมพระราชวังบวรฯ "เสด็จทรงเรือพระที่นั่งบัลลังก์บุษบกพิศาลประกอบพื้นแดง เรือพระที่นั่งพิมานเมืองอินทร์ประกอบพื้นดำ ทรงพระไชยนำเสด็จพร้อมด้วยเรือท้าวพระยาข้าทูลละอองธุลีพระบาท โดยเสด็จพระราชดำเนินเป็นอันมากและพลโยธาทหารในกระบวนทัพหลวง เป็นคน ๒๐,๐๐๐ เสด็จยาตราพลนาวาพยุหออกจากกรุงเทพมหานคร รอนแรมโดยทางชลมารคถึงเมืองกาญจนบุรี” ตามเหตุการณ์ที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารที่ได้ยกมานี้แสดงให้ทราบได้ชัดเจนว่า เรือพระที่นั่งในขบวนเรือพระราชพิธีเดิมใช้ในขบวนพยุหยาตราทัพเป็นภารกิจหลักที่สำคัญ
 


หมู่เรือบัลลังก์และขบวนเรือต่างๆ ในพระนครศรีอยุธยา สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช


เรือบัลลังก์พระที่นั่งของสมเด็จพระเจ้ากรุงสยาม มีฝีพายหนึ่งร้อยยี่สิบคน
ทั้งสองภาพนี้ ชาวฝรั่งเศสที่มากับคณะมัชชันนารีเขียนจากเรือพระที่นั่งต่างๆ
ตามที่บุคคลเหล่านั้นได้เข้ามาพบเห็น ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคนี้ นอกจากจะจัดเป็นขบวนทัพเพื่อยกหรือเคลื่อนไปรณรงค์สงครามทำการรบแล้ว ในยามบ้านเมืองปกติพระมหากษัตริย์มักจะให้ซ้อมริ้วขบวนเพื่อการพระราชพิธีต่างๆ เช่น การทอดผ้าพระกฐิน พระราชพิธีลงสรงในงานโสกันต์ พระราชพิธีแห่อัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญ พระราชพิธีอัญเชิญพระศพ พระราชพิธีลอยพระอังคาร หรือพระราชพิธีฟันน้ำในสมัยกรุงศรีอยุธยา  พระราชพิธีเหล่านี้ใช้ขบวนเรือมากบ้างน้อยบ้างตามความสำคัญของพระราชพิธี ขบวนเรือเหล่านี้มักจะเรียกขบวนเรือพระราชพิธี

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี  กรุงเก่ามีสภาพเป็นเกาะล้อมรอบด้วยแม่น้ำกว้างใหญ่ ๓ สาย ได้แก่ แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำลพบุรี ในยามบ้านเมืองสงบสุข ปรากฏการสร้างเรือมากมายในกรุงศรีอยุธยา ตามบันทึกจดหมายเหตุรายวัน ของ บาทหลวง เดอ ชัวซีย์  ผู้ช่วยทูตมาในคณะของเชอวาลิเอร์ เดอ โชมองต์ ซึ่งเป็นราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ พระเจ้ากรุงฝรั่งเศส เชิญพระราชสาสน์มายังสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้พรรณนาสภาพความเป็นอยู่ของพระนครศรีอยุธยา ว่า สิ่งที่น่าชมที่สุดที่ได้เห็นก็คือ บรรดาค่ายหรือหมู่บ้านที่ชาวชาติต่างๆ แต่ละชาติ รวมกันอาศัยอยู่สองฟากฝั่งของเกาะนี้ เรือนแพทุกหลังสร้างด้วยไม้ วัวควายกับหมูเลี้ยงไว้ในคอกยกพื้นสูงพ้นน้ำท่วม ทางขึ้นล่องไปมาค้าขายเป็นทางน้ำใสและไหลแรงไปสุดสายตาฯ ...และเหนือยอดไม้นั้นขึ้นไป เราจะเห็นหลังคาพระอุโบสถกับยอดพระเจดีย์ปิดทองอร่ามลงพื้นถึงสามชั้นตั้งอยู่เป็นระยะๆ ข้าพเจ้าไม่ทราบว่าจะบรรยายให้ท่านเห็นจริงตามภาพพจน์นี้ได้บ้างหรือไม่แต่ที่แน่นอนที่สุดก็คือข้าพเจ้าไม่เคยประสบทัศนียภาพที่งดงามเห็นปานฉะนี้มาแต่ก่อนเลยฯ ...ในแม่น้ำมีเรือสินค้าฝรั่งเศส อังกฤษ ฮอลันดา จีน ญี่ปุ่น สยาม กับเรือบัลลังก์นับไม่ถ้วน เรือพายปิดทองและมีฝีพายถึงลำละหกสิบคน  พระเจ้าแผ่นดินทรงให้สร้างเรือสินค้าตามแบบยุโรปฯ

... สมเด็จพระเจ้ากรุงสยามทรงมีเรือบัลลังก์ที่งดงามที่สุดในโลก และทรงมีเป็นจำนวนมาก เป็นเรือขนาดย่อม ทำขึ้นจากซุงท่อนเดียวซึ่งความยาวมากอย่างน่าพิศวง หัวเรือท้ายเรืองอนสูงมาก และผู้ควบคุมเรือหรือนายท้ายนั้นกระทืบเท้าลงที่เรือ ทำให้เรือสะท้านไปทั้งลำ เรือบัลลังก์นั้นปิดทองเกือบทั่วทั้งลำ และประดิดประดับด้วยงานแกะสลักที่งดงามมาก ตรงกลางลำมีที่นั่งคล้ายบัลลังก์มียอดแหลม  สมเด็จพระเจ้ากรุงสยามเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคโดยประทับไปในเรือบัลลังก์พระที่นั่ง ขบวนเสด็จพระราชดำเนินนั้นประกอบด้วยเรือบัลลังก์กว่าสองร้อยลำ จัดลำดับกันไปตามฐานานุกรมฯ...เรือบัลลังก์พระที่นั่งของพระเจ้าแผ่นดินนั้นวิจิตรและสง่างามเหลือจะพรรณนา มีฝีพายประจำเรือประมาณหนึ่งร้อยห้าสิบคนกับพายปิดทองทั้งเล่ม พระเจ้าแผ่นดินทรงเครื่องฉลองพระองค์ประดับล้วนด้วยเพชรนิลจินดา   ฝีพายของพระองค์ทุกคนสวมเสื้อเกราะอ่อนมีผ้าพันแขนเป็นเครื่องหมาย และสวมลอมพอกทองคำเนื้อตัน และที่เท้าของเขาแต่ละคนมีหอก, ดาบและปืนคาบศิลาวางอยู่ฯ



3026  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / เครื่องราง ของขลัง พุทธคุณ / ‘ไสยศาสตร์’ ไม่ใช่เรื่อง ‘งมงาย’ เมื่อ: 17 สิงหาคม 2559 17:58:57



‘ไสยศาสตร์’ ไม่ใช่เรื่อง ‘งมงาย’

เคยสงสัยตัวเองไหมว่า ขณะดูข่าวคนแห่ไปจุดธูปจุดเทียนขอโชคขอลาภกับต้นไม้ประหลาด สัตว์พิลึก นางไม้ กุมารทอง เรานั่งหัวเราะหึๆ พร้อมกับโยนคำว่า ‘งมงาย’ ใส่หน้าคนเหล่านั้นทันที แต่! ขณะเดียวกันเราก็ยังคงไหว้ศาลพระภูมิเจ้าที่ พระพุทธรูป สิ่งศักดิ์สิทธิ์นานัปการ ด้วยกิริยาวาจาแบบติดสินบน ขอให้ร่ำให้รวย มีโชค มีลาภ ทำมาค้าคล่อง สมหวังดั่งขอเมื่อไหร่ลูกช้างจะสรรหาเครื่องบนบานมาถวาย ซึ่งเราก็ต่างไม่เอะใจเลยว่ามันคือ ‘วิธีการเดียวกัน’ 

หาก ‘ไหว้พระและไหว้ผี’ ด้วยวิธีเช่นนี้แล้ว จะเชื่อใจได้อย่างไรว่า ‘ตัวเรามาไกลกว่าบรรพบุรุษ?’

มาไขข้อสงสัยในปรากฏการณ์ความเชื่อของสังคมไทยกับ คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง อาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้เชี่ยวชาญปรัชญาอินเดีย ศาสนาฮินดู และศาสนาในสังคมปัจจุบัน ว่าเหตุใดไสยศาสตร์ยังคงอยู่? และเอาเข้าจริง เราบูชาพุทธ พราหมณ์ หรือผีกันแน่?

เครื่องรางของขลังมาพร้อมศาสนาโบราณ
“ผมเข้าใจว่าพวกเครื่องรางของขลังมันเป็นของที่มีอยู่แล้วดั้งเดิมในวัฒนธรรมเรา อาจจะไม่ใช่ของที่รับมาจากอินเดียด้วยซ้ำ เป็นของที่มันมีอยู่แล้ว เป็นส่วนหนึ่งของศาสนาโบราณ ซึ่งเราอาจจะนิยามเรียกในปัจจุบันว่าศาสนาผีก็ตามแต่ ในศาสนาโบราณมันก็มีลักษณะของการเคารพธรรมชาติ หรือความเชื่อในพลังอะไรบางอย่างของธรรมชาติ ซึ่งสมัยโบราณไม่มีวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของพวกนี้มันก็คือเทคโนโลยีโบราณ

“การที่เขาจะรู้สึกมีความสะดวกสบายก็อาศัยความเชื่อเป็นหลัก เพราะฉะนั้นกุมารทอง รักยม หรือพูดรวมๆ ว่าไสยศาสตร์ มันก็คือเทคโนโลยีโบราณนั่นแหละ เช่น เมื่อก่อนมีการผูกหุ่นพยนต์ ซึ่งเชื่อว่าสามารถเฝ้าที่ เฝ้าบ้านได้ ถามว่าเมื่อก่อนมันไม่มีสัญญาณกันขโมย หุ่นพยนต์มันถูกสร้างมาตอบสนองความรู้สึกความต้องการแบบนี้ แต่พอวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมันเจริญ เรื่องนั้นก็ถูกมองเป็นอีกด้านหนึ่ง สุดท้ายเทคโนโลยีมันขึ้นอยู่กับวิทยาศาสตร์ มันเห็นได้จริง แต่แบบนั้น (เครื่องราง) ขึ้นอยู่กับความเชื่อ แต่มันมีฟังก์ชั่นคล้ายกันก็คือเป็นเครื่องอำนวยความสะดวกหรือตอบสนองความต้องการอะไรบางอย่างโดยอาศัยความรู้แบบโบราณ แต่ไม่ใช่ความรู้แบบวิทยาศาสตร์เท่านั้นเอง ผมเข้าใจว่ามันถูกพัฒนาความรู้มาแบบนี้”

 

     
ลัทธินับถือเด็กมีอยู่จริง
“อย่างกรณีกุมารทอง ถ้าเราศึกษาศาสนาโบราณ โดยเฉพาะในอินเดีย เราจะเห็นว่ามันมีลัทธิการนับถือเด็กอยู่ในสมัยโบราณ เรียกว่าลัทธิการนับถือกุมาร พอศาสนาฮินดูเข้ามาปุ๊บ ลัทธิการนับถือเด็กทารกก็ค่อยๆ พัฒนามาอีกรูปแบบหนึ่ง กลายเป็นการนับถือเทพบางองค์ เช่น ‘ขันธกุมาร’ ที่อยู่ในรูปเด็กอยู่เสมอ ผมเข้าใจว่ามันแมตช์กับลัทธิการนับถือเด็กของไทย เพราะคนโบราณเชื่อว่าเด็กมีพลังอำนาจอะไรบางอย่างอยู่ เด็กไม่เหมือนเรา คือหนึ่ง-เราจะเห็นพัฒนาการการเติบโตของเด็กอย่างรวดเร็ว สอง-เสียงร้องของเด็ก ความดึงดูดไม่เหมือนเรา ความเยาว์วัยมีพลังบางอย่างที่คนโบราณมองเห็นว่ามีพลังอำนาจอะไรบางอย่างที่พิเศษ เลยกลายเป็นลัทธินับถือเด็ก ซึ่งมีในทุกพื้นที่ ไม่ใช่แค่ในอินเดีย แล้วค่อยๆ พัฒนากลายเป็นคนละรูปแบบ อินเดียอาจจะค่อยๆ รวมกับศาสนาฮินดู กลายเป็นลัทธิการนับถือพระขันธกุมาร ส่วนของเราก็จะกลายเป็นการนับถือกุมารทอง ตรงนี้ผมถือว่ามันบังเอิญเหมือนกัน เพราะจริงๆ โดยพื้นฐานของอุษาคเนย์มันมีบางอย่างใกล้เคียงกัน มันอาจจะไม่จำเป็นว่าเราลอกจากอินเดีย อาจจะเป็นสิ่งที่เรามีอยู่แล้วในวัฒนธรรมเรา”
       
ความเป็นมนุษย์โบราณยังอยู่ในตัวเรา
“มีนักวิชาการบางคน เช่น คาร์ล ยุง (Carl Gustav Jung เป็นนักจิตบำบัดและจิตแพทย์ชาวสวิส ผู้ก่อตั้งสำนักจิตวิทยาวิเคราะห์) บอกว่าเรามี Collective Consciousness (ความไร้สำนึกสะสมร่วม เป็นรอยของความไร้สำนึกของเชื้อชาติและบรรพบุรุษที่เก็บสะสมมาตั้งแต่อดีต) บางอย่าง ซึ่งมันไม่หาย มันอยู่ในเราทุกคน เรานึกว่าเรามาไกลจากโลกโบราณกันมาก ไม่มีมูลธาตุของความเป็นมนุษย์โบราณ ที่ไหนได้เรามี! เพราะเราก็เป็นมนุษย์เหมือนมนุษย์โบราณ แขนขาเท่าเขา มีชีวิตเหมือนเขา แม้เทคโนโลยีจะเจริญไปแค่ไหนก็ตาม แต่ลึกๆ ในใจเรามันยังคงเป็นแบบมนุษย์โบราณอยู่ ฉะนั้นสิ่งเหล่านี้ถึงไม่หายไป

“เรามาถึง พ.ศ. เท่านี้แล้ว รายการผีก็ยังขายได้ ทำไมมันยังขายได้ เพราะสุดท้ายมันยังเป็นอะไรที่อยู่ใน Subconscious (จิตใต้สำนึก) เรายังเป็นมนุษย์โบราณอยู่ครึ่งหนึ่ง ยังไงก็ไม่หาย อนาคตจะยังอยู่ไหม? ผมว่าไม่หาย นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมไสยศาสตร์ถึงค่อยๆ เปลี่ยนรูปแบบ โดยที่ยังคงความเป็นไสยศาสตร์อยู่”

  เทคโนโลยีตอบความสะดวกสบาย แต่ไสยศาสตร์ตอบทุกความสำเร็จในชีวิต?
        “ผมคิดว่ามันมีหลายปัจจัยที่ไสยศาสตร์เริ่มกลับมาตอบสนองความต้องการอะไรบางอย่าง เรามาอยู่ในโลกสมัยใหม่ที่ หนึ่ง-ความมั่นคงในชีวิตกลายเป็นเรื่องยากลำบาก คนที่มีอายุตั้งแต่ 20-40 ปี เป้าหมายหลักคือต้องการแสวงหาความมั่นคงในชีวิต ซึ่งมันหายากมาก มันมีความผันผวนทางเศรษฐกิจและสังคมตลอดเวลา สอง-เราเห็นโลกมันแตกออกเป็นเสี่ยงๆ คือสุดท้ายปฏิสัมพันธ์ที่เรามีต่อกันมันเริ่มผ่านช่องทางอื่นเยอะขึ้น เรามีโซเชียลมีเดียเยอะขึ้น คนกลับมาสู่ความเป็นปัจเจกมากขึ้น แต่อีกด้านหนึ่งก็ยังโหยหาอยากกลับไปในสังคมแบบอดีต สุดท้ายไม่รู้จะทำยังไง เพราะทุกคนทำงานในระบบอย่างที่เห็น มีเงินเดือนแล้วรอว่าวันหนึ่งจะรวย ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลย หวังว่าจะเจอคู่ครองที่มีความสุข สุดท้ายก็หากันไม่เจอ เพราะอยู่แต่โลกโซเชียลกัน ไสยศาสตร์จึงกลายมาเป็นคำตอบอีกแบบหนึ่งที่เชื่อว่าช่วยให้เข้าถึงความต้องการพวกนี้ได้”
       
ยินดีต้อนรับสู่ยุคไสยศาสตร์สตรี และของขลัง Transgender

“พอวันหนึ่งกลายเป็นสังคมที่เท่าเทียมกัน ผู้หญิงเริ่มมีปากมีเสียงมากขึ้น สุดท้ายพอไสยศาสตร์กลับมามันทำให้ผู้หญิงเข้ามาช่วงชิงพื้นที่ เข้ามาครอบครองความรู้ทางไสยศาสตร์ได้ สังคมยุคใหม่มันเปิดพื้นที่ให้ผู้หญิงเข้ามามีส่วนร่วมทางความเชื่อ ศาสนา และพิธีกรรมมากขึ้น เมื่อก่อนเป็นเรื่องของผู้ชาย ผู้หญิงเรียนรู้เรื่องพวกนี้ไม่ได้เลย อาจจะเป็นมุมมองผู้หญิงด้วยที่ว่าถ้าไปเรียนรู้เรื่องพวกนี้อาจจะถูกมองเป็นแม่หมอ เป็นผีปอบ แต่วันหนึ่งโลกเปลี่ยนไป ความเชื่อแบบนี้มันยังอยู่ ผู้หญิงก็ตีเข้าชิงพื้นที่ความเชื่อแบบนี้มากขึ้น และอาจจะเป็นแง่มุมทางการตลาดด้วยนะ

“เดี๋ยวนี้ถ้าเราไปเห็นตลาดวัตถุมงคล มันหลากหลายมาก มีกระทั่งของเพศที่สาม อย่างเมื่อก่อนทางเหนือจะมีเครื่องรางชนิดหนึ่งที่เรียกว่าอิ้น เป็นรูปผู้ชายผู้หญิงกอดกันอยู่ในน้ำมัน อยู่ในขี้ผึ้ง ทำกันมาแต่โบราณ อยู่มาวันหนึ่งอาจารย์ทั้งหลายก็ทำผู้ชายกับผู้ชาย ผู้หญิงกับผู้หญิง เพื่อตอบสนองความแตกต่างหลากหลาย การตลาดแบบเดิมที่ออกสินค้ามาให้คนกลุ่มใหญ่ๆ ใช้ เดี๋ยวนี้มันใช้ไม่ได้แล้ว การตลาดของโลกยุคใหม่คือทำอะไรให้คนแต่ละกลุ่มใช้ได้ สินค้าจะมีความจำเพาะมากขึ้น”
       
ของขลังรุ่นใหม่ ‘สิ่งไหนเร็วสิ่งนั้นดี’
“โลกปัจจุบันกลายเป็นว่าความเร็วเป็นความดี เพราะคนไม่มีความอดทน ไสยศาสตร์มันมาตอบโจทย์ตรงนี้เป๊ะ ถ้าเรามัวแต่ทำงาน กว่าเราจะรวยเป็น 10 ปี แต่วันหนึ่งฉันซื้อกุมารทองในราคาไม่กี่บาท เดี๋ยวกูรวยเลย มันกลายเป็นตัวช่วยที่แมตช์กับคุณค่าโลกสมัยใหม่พอดี โดยเฉพาะคนที่อยู่ในเมืองกรุง คนชั้นกลางต้องการสิ่งนี้มาก ชีวิตในกรุงเทพฯ เราก็รู้ว่าถ้าไม่เร็วชีวิตแย่เลย อะไรที่ทำให้เร็วกลายเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามาก ผมมองว่ามันเป็นปัญหา เพราะมันไม่ได้มองชีวิตตามความเป็นจริง อยากได้เร็วทุกอย่าง แม้กระทั่งความรวย สุดท้ายของพวกนี้เลยกลับมาบูม”
       
‘ศรัทธา’ หรือ ‘งมงาย’?
“ถ้าเรามองเรื่องนี้แบบนักสังคมวิทยาหรือนักมานุษยวิทยา มันไม่มีความงมงาย มันเป็นแค่ปรากฏการณ์ของความเชื่อ ทุกปรากฏการณ์ไม่มีความงมงาย เพียงแต่เวลามันมีคำว่างมงาย มันจะขึ้นอยู่กับสองอย่างคือ หนึ่ง-ความคิดแบบวิทยาศาสตร์ สอง-ความคิดแบบพุทธศาสนา อะไรที่มันไม่เข้าเกณฑ์จะกลายเป็นงมงาย เช่น พุทธศาสนาบอกว่าต้องมีเหตุมีผล ใช้เกณฑ์นี้ปุ๊บ สิ่งที่ไม่ได้อยู่ในเกณฑ์จะเป็นงมงาย ใช้วิทยาศาสตร์ปุ๊บ มันพิสูจน์ไม่ได้ทางประสาทสัมผัส ทดลองไม่ได้ มันก็งมงาย เพราะฉะนั้นอยู่ที่เราจะมองแบบไหน สุดท้ายถามว่าการที่คนกลุ่มหนึ่งไปไหว้ต้นไม้ กับคนกลุ่มหนึ่งไปไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในศาสนา มันต่างกันยังไง?”

เราไหว้พระและไหว้ผี ด้วยวิธีคิดแบบเดียวกัน
“การที่เราไหว้ต้นไม้แล้วไปไหว้พระธาตุสักองค์ เราไหว้แบบเดียวกันนะ ขอให้รวย ขอให้ดี ผมถามหน่อยว่ามันต่างกันยังไง? คนก็จะมองว่าพระธาตุเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในพระพุทธศาสนา แต่อีกอันไม่ใช่สิ่งในพระพุทธศาสนา ก็จะตีตกเป็นงมงาย แต่ประเด็นคือคนไหว้เขาไหว้แบบเดียวกัน จุดธูป จุดเทียน ขอหวย ใครไปตัดสินได้ว่าอันไหนงมงายหรือไม่งมงาย จริงๆ ไม่ต่างกันเลย เพราะไม่ได้ไหว้เพื่อแสดงความนบนอบต่อพระรัตนตรัย ซึ่งเป็นท่าทีแบบชาวพุทธ

“กระทั่งพุทธศาสนาในประเทศไทยเราก็ทรีตให้กลายเป็นศาสนาผี เรารู้ว่าหลวงพ่อโสธรชอบฉันไข่ต้ม พระพุทธรูปฉันไข่ต้มได้ไง? หรือพระแก้วมรกต เราต้องไปบนด้วยปลาร้า เพราะว่าเคยอยู่เวียงจันทน์ แล้วการบนคือการต่อรอง ซึ่งเป็นวิธีที่เราปฏิบัติต่อผีนะ พระพุทธเจ้าคิดแบบชาวพุทธ เคยตรัสรู้แล้วปรินิพพาน สุดท้ายก็ไม่เหลืออะไรก็เป็นแค่พระพุทธคุณ เพราะฉะนั้นเราต้องทรีตพระพุทธรูปในฐานะสิ่งที่จำลองพระพุทธคุณ ให้คุณให้โทษอะไรไม่ได้หรอก แต่กลายเป็นว่าเราก็ไปทรีตพระพุทธรูปเป็นผี แล้วเราไม่รู้ตัวด้วย ความเป็นศาสนาผีมันหยั่งลึกในใจเรามาก ผีมันแข็งแรง มันอยู่ในจิตใต้สำนึกของเรา เราหนีสัญชาตญาณตัวเองไม่พ้น เราก็เลยไปทรีตพระพุทธรูปแบบผีโดยที่เราไม่รู้ตัว จริงๆ เราก็คือพุทธ พราหมณ์ ผี นั่นแหละ นับถือสามศาสนารวมกันในตัวเรา ถามว่าเป็นปัญหาไหม? สำหรับผมไม่เป็นนะ แต่ลึกๆ แล้วเหมือนเราหลอกตัวเองว่าเป็นแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง”
       
‘ไม่เชื่ออย่าลบหลู่’ วลีอมตะแห่งยุคกลาง
“คำว่าไม่เชื่ออย่าลบหลู่ ผมว่ามันเป็นคำครอบงำ มันคือท่าทีแบบยุคกลาง (ยุคกลาง (Medieval Ages) หรือที่เรียกกันว่าสมัยกลาง (Middle Ages) เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15) มึงไม่เชื่อได้แต่มึงห้ามพูด อย่าลบหลู่ คือมันห้ามพูดไม่เหมือนกับที่เขาเชื่อ มันคือทัศนะครอบงำ แต่ฝรั่งไม่ใช่ ฝรั่งไม่เชื่อต้องลบหลู่ แต่การลบหลู่ของฝรั่งมันเป็นคำสีสัน ไม่ได้แสดงว่าเราไม่เคารพ มันมีท่าทีของการศึกษาวิเคราะห์ ไม่ใช่เกลียดแล้วด่า แต่เข้าไปเจาะลึก วิเคราะห์แยกแยะให้เห็นข้อผิดข้อถูก อย่างกรณีคนไทยเราเชื่อเรื่องพระพุทธเจ้าหรือพุทธศาสนา จะพูดอะไรบางอย่างลำบาก เราจะตั้งคำถามกับสิ่งที่มันเกิดขึ้นก็ลำบาก เพราะมีคนพร้อมจะฟาดฟันเราให้ตาย ในความเชื่อเรายังอยู่ยุคผี ในวิถีปฏิบัติเรายังอยู่ยุคกลาง แต่เราหลอกตัวเองว่าเราศิวิไลซ์มาก”
       
รู้จริงในสิ่งที่เชื่อ
“ผมว่าจุดยืนของโลกสมัยใหม่ควร educate คุณได้รับความรู้ปุ๊บ สุดท้ายคุณเลือกที่จะเชื่อ เราไม่ว่ากันตอนเลือก แต่ว่าคุณต้อง educate และผมคิดว่านี่เป็นปัญหาสำคัญของสังคมไทย เพราะสังคมไทยเลือกที่จะเชื่อโดยไม่ educate ยังไม่รู้เลยว่าตัวเองกำลังไหว้อะไร ยังไม่รู้เลยว่ามันมาจากไหน ยังไม่รู้เลยว่ามันคืออะไร เราไม่ได้หนีไป ไม่ได้เป็นคนยุคใหม่อย่างที่เราคิด ที่ต้องมาพูดเรื่องพวกนี้เพราะเรารู้สึกว่ามันขัดหูขัดตา อย่างเรื่องโหราศาสตร์คุณเชื่อได้ ไม่ผิด ประเด็นคือรู้ให้จริงก่อน อย่างดาวเสาร์มันย้ายราศีที่ผ่านมาแล้วทุกคนก็ไหว้กัน คุณต้องรู้ว่าการที่ดาวดวงหนึ่งมันย้าย มันไม่มีอิทธิพลต่อทุกคนเหมือนกัน คุณจะรู้ได้ยังไง คุณต้องไปตรวจดวงของตัวเองแล้วค่อยไปจัดการ แต่นี่คือทุกคนไม่รู้อะไรเลย รู้แค่ว่าดาวเสาร์ย้ายคุณก็แห่ไปไหว้กัน ประเด็นคือทุกคนไม่ฟัง ทุกคนกลัวพระเสาร์มา ราหูมา กูขอไหว้ก่อน พอผมพูดแบบนี้ก็จะมีอีกกลุ่มเถียงขึ้นมาว่าทำเพื่อความสบายใจ ผมก็จะบอกไปอีกว่า ดี สบายใจ แล้วเวลาไหว้ก็กินของที่มึงไหว้นั่นแหละ ดาวกินหรือเปล่าไม่รู้ แต่มึงได้กินแน่นอน” (หัวเราะ)
       
รีรอและไตร่ตรองก่อนที่จะเชื่อ
“โลกกำลังจะเป็นโลกยุคใหม่ สิ่งสำคัญของโลกยุคใหม่คือเราต้องเคารพความแตกต่าง เราไม่ไปตัดสินก่อนว่าสิ่งที่คุณทำหรือที่คุณเป็นมันเป็นยังไง แต่เปิดพื้นที่กัน มาคุยกันอย่างมีเหตุมีผล สร้างข้อถกเถียงกันได้ ประเด็นที่เรากำลังคุยกันเรื่องไสยศาสตร์ในสังคมไทยตอนนี้ เรากำลังสร้างพื้นที่เพื่อถกเถียงกัน ท่าทีที่จำเป็นอีกอย่างก็คือการรีรอ อย่าเพิ่งรีบเชื่อ และอย่าเพิ่งรีบไม่เชื่อ เราชอบรีบกระโดดไปอยู่ข้างใดข้างหนึ่ง เชื่อก็เชื่อไปเลย ไม่เชื่อก็ไม่เชื่อ เราไม่มีท่าทีของการรีรอ ยิ่งสังคมออนไลน์ยิ่งเหมือนสงครามสื่อ ถ้าเราไม่กรองเราก็จะเชื่อ แต่นี่เราไม่มีท่าทีของการรีรอเลย ไม่พิสูจน์ หาเหตุผลก่อน เราต้องบ่มเพาะ spirit ของวิทยาศาสตร์ สุดท้ายมันจะมีทั้งคนเชื่อหรือไม่เชื่ออะไรก็ตามแต่ แต่มันอยู่ด้วยกันได้ ผมหวังอย่างนั้น”
       
ไทยคือตลาดส่งออกเครื่องรางของขลังมากที่สุดในเอเชีย?
“ลูกค้ากลุ่มใหญ่ที่สุดสำหรับวัตถุมงคลในประเทศไทยคือมาเลเซีย สิงคโปร์ และจีน มันเกี่ยวโยงกับสภาพสังคมเลยครับ รวมถึงธุรกิจสีเทาด้วย แล้วสภาพสังคมก็เหมือนกับของเรา เผลอๆ อาจมีความกดดันในชีวิตมากกว่าเราอีก ประเทศเหล่านี้มันเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมาก ในขณะเดียวกันมันยิ่งบีบรัดคนให้ยิ่งมีความใฝ่ฝันที่จะมีวิถีชีวิตแบบ millionaire สุดท้ายมันเหมือนกับเราเลย เห็นคนอื่นประสบความสำเร็จก็อยากจะเป็นแบบนั้น ไม่มีใครมีอุดมคติชีวิตแบบเรียนจบไปทำสวนเลย ทุกคนอยากจะมุ่งไปสู่ความร่ำรวย แล้วประเทศเหล่านี้มันยิ่งกว่าเราอีก ของขลังบ้านเขาซึ่งไม่มีหรืออาจจะมีน้อย สุดท้ายเขาก็มาเอาที่เรานี่แหละ เราคือผู้ผลิตและส่งออกรายใหญ่ทางความเชื่อในภูมิภาคนี้ แต่สังเกตไหมว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชา ลาว ไม่เอาจากเรา เพราะเขาไม่ได้มีสภาพเศรษฐกิจแบบมาเลเซีย สิงคโปร์ ไต้หวัน จีน จึงไม่จำเป็นจะต้องรีบเร่งหาตัวช่วย”


ที่มา : เว็บไซต์ .manager.co.th
3027  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / ไขตำนาน - ประวัติศาสตร์ - การค้นพบ อารยธรรม / หมอบกราบในวัฒนธรรมอินเดีย เมื่อ: 17 สิงหาคม 2559 17:44:27


หมอบกราบในวัฒนธรรมอินเดีย

ที่จริง คุณสุจิตต์ วงษ์เทศ เคยพูดไว้ชัดเจนไม่ต้องพูดอะไรต่อ ว่าการไหว้หรือกราบนั้นเป็นของที่เรารับมาจากวัฒนธรรมอินเดีย ไม่ใช่ของดั้งเดิมและไม่ได้เอาไว้ไหว้คน เพราะคนสมัยก่อนเวลาเด็กไหว้ยังพูดว่า “ไหว้พระเถอะลูก”

ท่านว่า สมัยก่อนใช้การเอามือป้องหูซึ่งยังมีร่องรอยในประเพณีของหมอลำ-ร้องอยู่ และสรุปว่าการไหว้ที่มีการแบ่งเป็นระดับต่างๆ ดังที่ทำในปัจจุบันนี้ เป็นประเพณีใหม่ไม่น่าเกินร้อยปีนี้เอง

จากบทความของคุณสุจิตต์ ผมจึงลองไปค้นดูว่าการเคารพกราบไหว้ของอินเดียมีแบบไหนอย่างไรบ้าง เผื่อว่าที่เราบอกว่าเรารับรูปแบบมาจากแขก เผลอๆ ปรุงแต่งจนแขกก็จำไม่ได้เสียแล้ว

ในฐานะคุ้นเคยกับคนอินเดีย ผมมักพบว่า เวลาพี่น้องชาวอินเดียพบครูบาอาจารย์ทางศาสนาหรือบิดามารดาของตัวแต่ละคนก็จะแสดงความเคารพต่างกันไปเพราะเขาไม่ถือว่ามีการแสดงออกที่ถูกต้องแบบเดียว ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์และที่สำคัญ “ความรู้สึก” เช่นความเคารพรักด้วย

นั่นทำให้การแสดงความเคารพจึงมีโครงสร้างกว้างๆ เช่น ถ้าเคารพมากหรืออีกฝ่ายอาวุโสมากๆ ก็ต้องโน้มตัวมากและสัมพันธ์กับ “เท้า” ของอีกฝ่ายให้มาก  ดังนั้น จะก้มลงเพียงเอามือแตะเท้า ก้มกราบเท้า เอาศีรษะจรดที่เท้า จุมพิตเท้า นอนราบกับพื้นเอามือแตะเท้า กราบแล้วหยิบฝุ่นผงธุลีที่เท้าท่านมาไว้บนศีรษะ ฯลฯ ก็ถือว่าเป็นการให้ความเคารพอย่างสูงทั้งนั้น

การแสดงความเคารพโดยสัมผัสเท้านี้เรียกว่า “จรณสปรศะ” จรณะแปลว่าเท้า สปรศะแปลว่าสัมผัส

แต่หากอาวุโสใกล้เคียงและคุ้นเคยกัน จะแค่ยกมือประนมที่อก ยกไหว้ที่หน้าผาก ยกไว้ก้มหน้าเล็กน้อย ฯลฯ อ่อนแก่กว่ากันไหว้ก่อนไหว้หลังก็ไม่ผิด

ที่ผมประทับใจคือสิ่งที่ครูของผมและพี่น้องชาวอินเดียทำเสมอ คือหากพบผู้มีความรู้สูงโดยเฉพาะทางศาสนา หรือมีคุณธรรมสูง เขาก็จะแสดงความเคารพทันที โดยไม่สนใจอายุหรือเศรษฐสถานะใดๆ

แม้ในทางปฏิบัติคนอินเดียจะมีการแสดงความเคารพกันอย่างหลากหลาย โดยมีรูปแบบกว้างๆ คือการประนมมือ (ท่านี้เรียกว่า อัญชลีมุทรา) การกราบ การสัมผัสเท้า ซึ่งดูเหมือนว่าไม่ได้มีกฎเกณฑ์อะไรมากนัก แต่ในคัมภีร์โบราณต่างๆ เช่น อปัสตัมพธรรมสูตร มนูธรรมศาสตร์ ฯลฯ ได้พูดถึงรูปแบบและรายละเอียดในการแสดงความเคารพไว้ค่อนข้างมาก เช่น
“อภิวันทนะ” หมายถึงการแสดงความเคารพบุคคลทั่วไป มักประนมมือและแนะนำตัวเองต่อคนนั้น หรือบางกรณีคือการลุกขึ้นยืน

“อุปสังครหะ” คือการใช้มือสัมผัสที่เท้าของครูหรือบุคคลที่เคารพ
“ปรัตยาภิวันทนะ” คือการแสดงความเคารพตอบ โดยมากมักกล่าวว่า “ขอให้มีอายุยืน”
“นมัสการ” คือการประนมมือและกล่าวคำว่า นมัสการ หรือ นมะ แปลว่าขอความนอบน้อมจงมี
“ษัษฐางค” หมายถึงองค์ทั้งหก ได้แก่ การหมอบกราบ ด้วยศีรษะ มือทั้งสอง เท้าทั้งสอง และหน้าอกหรือใจ (บางทีว่าหัวแม่เท้า หัวเข่า มือ คาง จมูก ขมับ) คือท่านอนราบกราบไปกับพื้น ถือว่านี่คือรูปแบบของการแสดงความเคารพสูงสุด โดยประเพณีปฏิบัติมักใช้กับพระเป็นเจ้า นักบวชที่เคารพอย่างสูงและคุรุทางจิตวิญญาณของตนเท่านั้น

การคุกเข่าลงก้มกราบเฉยๆ เรียกว่า “ปัญจางคประณาม” (ประณามหมายถึงการเคารพอย่างสูง) คือฝ่ามือ ๒ หัวเข่า ๒ และหน้าผาก (รวมเป็นห้า) แบบเดียวกับเบญจางคประดิษฐ์ในบ้านเรา โดยประเพณีปฏิบัติ ใช้ได้ทั้งกับเทพเจ้า บุคคลที่เคารพ เช่นบิดามารดาและครูอาจารย์

ในมนูธรรมศาสตร์ยังกล่าวว่า เมื่อวรรณะทั้งสี่แสดงความเคารพคือทำอภิวันทนะ (เคารพและแนะนำตัวต่อตัวบุคคลทั่วไป) ให้มีระดับต่างกันคือ พราหมณ์ยกมือไหว้ผู้อื่นในระดับหูของตน  กษัตริย์ยกไหว้ระดับแก้ม ไวศยะระดับเอว และศูทรระดับเท้าของตน

กล่าวอย่างง่ายๆ คือ ยิ่งวรรณะต่ำเท่าใดก็ไหว้ต่ำลงเท่านั้น

น่าสนใจครับที่คัมภีร์ไม่บอกว่าหากผู้ถูกไหว้เป็นใครต้องไหว้แบบไหน แต่กลับบอกว่าผู้ไหว้เป็นใครต้องไหว้แบบไหน ผมคิดว่านี่จึงอาจเปิดโอกาสให้หลังจากได้ “อภิวันทนะ” หรือเคารพและแนะนำตัวกันเป็นครั้งแรกแล้ว ต้องไปคิดต่อเอาเองว่าจะเคารพผู้นั้นในแบบใดมากน้อยแค่ไหน

การแสดงความเคารพในอินเดียจึงหลากหลาย และไม่มีประกวดไหว้งามกราบสวย ชนิดมีกรรมการมาเล็งองศาไหว้ ระดับมือ ฯลฯ อย่างบ้านเรา เพราะมันตีความสำหรับการปฏิบัติได้กว้างขวาง และยืดหยุ่นได้มาก

คัมภีร์มหาภารตะ กล่าวถึงผู้ควรกราบไหว้เป็นนิตย์คือ ครู บิดามารดา และผู้ที่อาวุโสกว่า

ในคัมภีร์อื่นๆ ก็มักกล่าวถึง “ครู” (ทางศาสนา ศิลปวิทยาและจิตวิญญาณ) ว่าเป็นผู้สมควรกราบไหว้มากที่สุด และมักกล่าวถึงการแสดงความเคารพต่อครูมากกว่าบุคคลอื่นๆ ทั้งหมด

ผมยังไม่พบรูปแบบของการแสดงความเคารพต่อผู้ปกครองแว่นแคว้น เช่น จักรพรรดิราชหรือพระราชาในอินเดียโดยเฉพาะดังเช่นที่ปรากฏในวัฒนธรรมไทย อาจเพราะคติโบราณของเรามีความเชื่อถือเรื่องกษัตริย์เป็นสมมติเทวราช ซึ่งคตินี้แม้จะมีเค้ามาจากอินเดีย เช่นในมนูธรรมศาสตร์พูดถึงเทวภาวะของกษัตริย์ แต่บางท่านว่าเป็นเพียงอุปมาอุปไมยเท่านั้น

คติเทวราชของเราจึงเป็นผลผลิตของขอมมากกว่าอินเดีย และได้พัฒนาจนเข้มข้นและแตกต่างไปกว่าอินเดียมาก  ที่เรารับเอาธรรมเนียมการเคารพเทพเจ้าแบบแขกมาใช้กับกษัตริย์ของเรามาแต่โบราณ เพื่อเน้นย้ำสภาวะพิเศษศักดิ์สิทธิ์ และในสมัยโบราณอินเดียเป็นศูนย์กลางจักรวาลและเป็น  “สากล”

ไม่ใช้แบบอินเดียก็ไม่ได้เพราะจะไม่ “สากล” ทัดเทียมที่อื่น  แต่เราก็ปรุงแต่งผสมผสานอะไรของเราเองอีกมาก จนสิ่งที่เรารับมาแทบไม่มีเค้าเดิม

ไม่ใช่แค่รูปแบบ แต่โดยความคิดความเชื่อด้วย



ที่มา : คอลัมน์ ผี พราหมณ์ พุทธ โดย คมกฤช อุ่ยเต็กเค็ง หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ หน้า ๘๑ ฉบับที่ ๑๘๗๖ ประจำวันที่ ๒๙ กรกฎาคม - ๔ สิงหาคม ๒๕๕๙
3028  สุขใจในธรรม / เกร็ดศาสนา / Re: ‘ฮินดู’ กิน ‘วัว’ ใครก็รู้ว่า ฮินดูมีข้อห้ามรับประทานเนื้อวัว เมื่อ: 17 สิงหาคม 2559 17:30:27



เรื่องวัวๆ ควายๆ

ดังที่เคยกล่าวแล้วว่า ฮินดูนั้นยกย่องวัวเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ โดยปัจจัยทางสังคม การเมือง ทั้งที่แต่เดิมก็ฆ่าเพื่อบูชายัญและกินเนื้อวัว ซึ่งในปัจจุบันกลายเป็นเรื่องต้องห้ามร้ายแรง

แต่ “ควาย” แม้จะคล้ายวัวกลับไม่ได้รับสถานภาพพิเศษในสังคมอินเดีย ทั้งที่เป็นสังคมเกษตรกรรมเหมือนบ้านเรา การฆ่าและกินควายจึงไม่ได้เป็นเรื่องร้ายแรงอะไรในสังคมฮินดู

ลองสังเกตในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแลกนาขวัญของเรานะครับ ทั้งที่บ้านเราทำนาโดยใช้ควาย เพราะควายเป็นสัตว์ใช้งานสำหรับที่ลุ่มตามภูมิประเทศของเรา แต่เรากลับไม่เอาควายไปใช้ในพระราชพิธีสำคัญนี้ ทั้งที่ชาวบ้านแรกนาหรือทำนาตาแฮกกันเองแบบชาวบ้านก็ใช้ควาย

อาจเพราะวัวตัว “ขาวๆ” (ต้องขาวด้วยนะครับ) เป็นสัญลักษณ์ของศาสนาพราหมณ์หรือวัฒนธรรมฮินดู แม้พระราชพิธีนี้จะมีรากเหง้าของเราเองคือศาสนาผี (ความเชื่อเรื่องขวัญ) แต่การใช้วัวไถนาเป็นการสร้างภาพความเป็นศาสนาพราหมณ์จากอินเดีย ซึ่งทำให้พิธีพื้นเมืองของเราดูแกรนด์ขึ้นมาก เหมาะจะเป็นพระราชพิธีหรือพิธีหลวง

ส่วนควายตัว “ดำๆ” นั้นเป็นของชาวบ้านโดยแท้ ในหนังสือ Buffalo Nationalism : A Critique of Spiritual Fascism ของ Kancha Itaiah บอกว่า ในอินเดียโบราณควายสีดำนั้นเหมือนกับพวกฑราวิฑหรือชนพื้นเมืองที่มีผิวดำ ด้วยเหตุนี้ควายจึงไม่อาจเป็น “ยัชญปศุ” หรือสัตว์เลี้ยงสำหรับการบูชายัญในระบบพระเวทของชาวอารยันได้

คัมภีร์พระเวทจึงไม่มีการให้ความสำคัญกับควายแต่อย่างใด เทพในพระเวทไม่เสวยควาย ไม่โปรดเนื้อควาย นอกจากเหตุผลดังกล่าวแล้ว ผมว่าที่จริงก็เพราะควายเป็นสัตว์ในที่ลุ่มโดยเฉพาะในเขตศูนย์สูตรที่มีน้ำมาก เช่น ในอินเดียภาคตะวันตกและภาคใต้ ซึ่งชาวอารยันไม่คุ้นเคย

กินวัวจึงบาปหนัก แต่กินควายกลับไม่บาปหนักซะงั้น

ในยุคสมัยที่เทวตำนานแพร่หลาย ควายจึงกลายเป็นตัวร้ายหรือสัญลักษณ์ของความชั่วร้าย เช่นตำนานพระแม่ทรุคาทรงสิงห์หรือเสือ เสด็จไปปราบอสูรร้ายคือ “มหิษาสูร” หรือ อสูรควายซึ่งเทวดาทั้งหลายก็ปราบลงไม่ได้

พระนางจึงได้ชื่อว่า “มหิษาสุรมรทินี” พระแม่ผู้ปราบอสูรควาย

พระยมในเทวตำนานของแขกก็ทรงควาย พระองค์เป็นเทพแห่งความตายและผู้ใช้ชีวิตในปรโลก

แม้ว่า ควายอาจไม่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับชาวอารยัน แต่สำหรับศาสนา “ผี” ของอินเดีย (ซึ่งทุกวันนี้กลายเป็นฮินดูแบบพื้นบ้าน) และชาวบ้านนั้นต่างออกไปมาก

ในบรรดาสัตว์บูชายัญในปัจจุบัน ควายนั้นถือว่าเป็นสัตว์บูชายัญที่สำคัญที่สุด

ชาวบ้านโดยเฉพาะภาคใต้ ภาคตะวันตก และเขตพังคละ (เบงคอล) ทางตะวันออก รวมทั้งเนปาลซึ่งล้วนแต่เป็นเขตแดนเดิมอันเข้มแข็งของศาสนาผีพื้นเมืองอินเดีย (ปัจจุบันอยู่ในรูปศาสนา “เจ้าแม่” หรือ ศักตินิกาย) ต่างใช้ควายตัวผู้บูชายัญเจ้าแม่ โดยเฉพาะปางที่ดุร้าย เช่น ทุรคา กาลี และเจ้าแม่พื้นบ้านอื่นๆ

น่าสนใจว่าพวกเราชาวอุษาคเนย์ก็ฆ่าควายถวายผีด้วย เช่น ในลาวใต้และในภาคเหนือของไทย ในพม่าเองก็มีผีนัตเจ้าแม่หัวควายที่คนเคารพมากอยู่ตนหนึ่ง

“คนกับควาย” จึงผูกพันกันลึกซึ้ง ในภาพเขียนสีโบราณก่อนประวัติศาสตร์ หลายครั้งก็ปรากฏภาพคนกับควาย หรือแม้แต่การใช้ “เสนง” (เขาควาย) ในพิธีกรรมชาวบ้าน ขณะที่พราหมณ์ใช้สังข์

ใช้ควายทำมาหากิน ใช้แรงงาน นับถือเคารพ บูชายัญและนำมาปันกันกินด้วย

ศีลธรรมแบบก่อนประวัติศาสตร์ สถานะของสัตว์เลี้ยงก็เป็นงี้แหละครับ ใช้งาน รักใคร่ แต่ก็ฆ่าและกิน เพราะการฆ่าในโลกโบราณคือหนทางนำพืชพันธุ์ไปสู่ความมืดเพื่อมีชีวิตใหม่ “ไม่มีการตายก็ไม่มีการเกิด” ส่วนการกินนั้นคือการหลอมรวมของผู้กินและสิ่งที่กินเข้าไป “ชีวิตหนึ่งประสานต่อเติมอีกชีวิตหนึ่ง”

ทั้งฆ่าและกินไม่ใช่เรื่องปากท้องเท่านั้น แต่เป็นพิธีกรรมด้วย  ผิดกับ “วัว” ซึ่งฮินดูค่อยๆ สร้างศีลธรรมอีกแบบมาครอบไว้แล้วตั้งแต่ยุคกลาง เป็นศีลธรรมระบบอารยธรรมหรือศีลธรรมแบบศาสนา ไม่ใช่แบบดึกดำบรรพ์ กล่าวคือ ศีลธรรมที่ใช้หลักคิดเมตตาธรรมและความสงสาร วัวจึงต้องได้รับการพิทักษ์รักษา

รูปและตำนานพระแม่มหิษาสุรทรทินี หรือเจ้าแม่ฆ่าควาย สำหรับผมคือการจำลองความสัมพันธ์ของควายและเจ้าแม่ รวมทั้งการบูชายัญควายเพื่อเจ้าแม่เอาไว้มากกว่าอย่างอื่น

ที่จริงผมยังคิดไกลไปอีกนะครับว่า ควายในพิธีบูชายัญคงเอาไว้แทน “คน” อีกด้วย อย่างตำนานเลี้ยงดงฆ่าควายถวายปู่แสะย่าแสะในเชียงใหม่ และตำนานในอินเดียเอง

อินเดียมี “เทพควาย” ซึ่งชาวบ้านโดยเฉพาะชาวนาชาวสวนและผู้เลี้ยงควายนับถือ เรียกว่า มหโสพา (อ่าน มะ โซบา หรือ มุโซบา) (Mhasoba) ซึ่ง Mhaso มาจากคำว่า มหิษา หรือมหิสาที่แปลว่าควาย ส่วน Ba เป็นคำลงท้าย ใช้เรียก ผู้ชายหรือพ่อ ในภาษามาราฐี

มหโสพาเป็นที่นับถือโดยทั่วไปในรัฐมหาราษฎร์ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดียเรื่อยไปถึงทางภาคใต้บางส่วน รูปเคารพมักทำอย่างง่ายๆ เช่น ใช้หิน หรือรูปปั้นง่ายๆ วางไว้ตามแนวป่าหรือริมสวน

ในช่วงหลังโรคระบาดสงบลง มหโสพาจะได้รับการเซ่นสรวงจากชาวบ้านด้วยพืชผลต่างๆ ถือกันว่าเธอเป็นหัวหน้าภูตผีในหมู่บ้าน

มหโสพาเป็นตัวอย่างของเทพ หรือที่จริง “ผี” ที่ถูกกลืนเข้าระบบฮินดู ถ้าอธิบายตามระบบฮินดูที่ชาวบ้านเชื่อ มหโสพาเป็นภาคหนึ่งของพระศิวะ เพราะพระศิวะมีปางที่เป็นเจ้าที่เจ้าทางอย่างไภรวะ

มหโสพากับพระศิวะ ยังชวนให้ผมระลึกถึงตราแกะสลัก “ปศุปติ” ที่ค้นพบในอารยธรรมโมเหนโชทะโร (Mohenjo-daro) เป็นรูปคนหรือเทพนั่งในท่าสมาธิ มีเขาควายบนศีรษะ แวดล้อมด้วยสัตว์นานาชนิด ซึ่งนักวิชาการยุคแรกคิดว่านี่เป็นภาพของพระศิวะในโหมด “ปศุปตินาถ” หรือเจ้าแห่งสัตว์ทั้งหลาย

แม้ความคิดนี้จะได้รับการถกเถียงอย่างมาก บางท่านว่านี่คือ เทพมหิษาหรือเทพควายด้วยซ้ำ แต่อย่างน้อยๆ ก็แสดงให้เห็นว่าคนพื้นเมืองตั้งแต่โบราณ ให้ความสำคัญกับควายเพียงใด

ในตำนานของคนแคว้นมหาราษฎร์ มหโสภา (ในชื่อมัตตาพา) มีชายาคือเจ้าแม่ โชคุไบ (Jogubai) แต่เป็นการครองคู่ที่น่าประหลาด เพราะสำหรับชาวบ้าน เจ้าแม่โชคุไพเป็นปางหนึ่งของพระโยเคศวรีหรือพระแม่ทุรคาผู้ฆ่าควายตามคติฮินดู!

เจ้าแม่ผู้ฆ่าสามีของตนเองจึงสะท้อนความตายของ “ผัว” หรือเทพและมนุษย์ผู้ชาย นี่เป็นมโนทัศน์ของศาสนาแบบผู้หญิงที่เจ้าแม่ (ในฐานะความตาย) มีอำนาจเหนือทุกสิ่ง

ครูไมเคิล ไรท เคยเสนอเรื่อง “เจ้าข้าวเจ้าปี” (corn King-year King) ว่าในโลกโบราณก่อนประวัติศาสตร์ ผู้ชายถูกเลือกเป็นผัวของเจ้าแม่ดิน และถูกนำไปฆ่าบูชายัญ

ผมคิดว่า ตำนานมหโสภาและโชคุไพ รวมถึงการใช้ควาย (ตัวผู้) ที่นำไปฆ่าเซ่นเจ้าแม่นั้น จึงแทนมนุษย์ที่จะต้องถูกฆ่า เพื่อเป็นผัวของเจ้าแม่เช่นเดียวกับระบบเจ้าข้าวเจ้าปี

ไปศาลเจ้าแม่ที่ไหนในอินเดีย โดยมากก็ต้องฆ่าควายบูชายัญครับ เว้นแต่จะงานเล็กกว่าหน่อยก็ใช้แพะ  แต่ทุกสิ่งที่กล่าวมาอยู่ในวิถีชาวบ้านและเป็นเรื่องพื้นเมือง ซึ่งศาสนาฮินดูและวัฒนธรรมส่วนกลางกระแสหลัก ไม่สนใจและว่าป่าเถื่อน

เรายังคงถกเถียงกันต่อได้เรื่องการใช้เรื่องการใช้สัตว์บูชายัญนะครับว่ายังเหมาะสมไหม แต่อย่างน้อยๆ เราก็น่าจะต้องสนใจศึกษาควายและวิถีพื้นบ้านมากกว่านี้

สภาพการณ์ที่กล่าวมา ควาย (อันมีเกียรติสำหรับชาวบ้าน) จึงไร้ศักดิ์ศรี ถึงขนาดมีการเสนอให้ส่งเสริมการเลี้ยงควายเอาเนื้อเพื่อผลิตอาหารในอินเดีย เพราะไม่บาปมาก และไม่เป็นเรื่องร้อนแรงอย่างวัว

สัตว์ไม่ศักดิ์สิทธิ์ในสายตาชนชั้นนำอย่างควาย แต่เป็นสิ่งผูกพันทางใจยิ่งกับชาวบ้านจึงถูกดูแคลน

ย้อนมองมาดูอุษาคเนย์และสังคมไทยที่มีความผูกพันกับควายไม่น้อยกว่าอินเดีย ที่เหมือนกันคือควายเป็นของชาวบ้าน ของคนรากหญ้า

มิน่าเล่า เวลาชนชั้นสูงโดยเฉพาะในเมืองเขาถึงด่าคนอีกฝ่ายทางการเมืองว่า “ควายแดง” ซึ่งเหยียดหยามกว่าคำว่า “สลิ่ม” มากนัก (โดยตัวความหมายของคำเอง)  

แต่อย่าลืมครับว่า วัวอาจศักดิ์สิทธิ์สำหรับอารยัน แต่ควายนั้นศักดิ์สิทธิ์สำหรับชาวบ้านและเก่าแก่ลึกซึ้งกว่ามาก

การเหยียดควาย หรือใช้ควายไปเหยียดคน คือการดูถูกรากเหง้าตัวเอง


ที่มา :  คอลัมน์ ‘ผี พราหมณ์ พุทธ’ โดย คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง, หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ น.๘๑ ฉบับที่ ๑๘๗๘ ประจำวันที่ ๑๒-๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๙
3029  สุขใจในธรรม / พุทธประวัติ แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า / Re: สิ่งแรกในพระพุทธศาสนา โดย ศาสตราจารย์พิเศษเสฐียรพงษ์ วรรณปก เมื่อ: 16 สิงหาคม 2559 17:56:52
.



สิ่งแรกในพระพุทธศาสนา (๖)
พระอุทานแรกที่ทรงเปล่งหลังตรัสรู้


อุทาน คือ คำที่เปล่งออกมาจากแรงบันดาลใจ เช่น บุคคลได้บรรลุธรรมแล้วเปล่งอุทานออกมา ส่วนมากเป็นบทกวี หรือไม่ก็เป็นร้อยแก้ว ที่มีถ้อยคำสละสลวยคล้ายบทกวี  อุทาน ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของขุททกนิกาย ในสุตตันตปิฎก (พระไตรปิฎก เล่มที่๒๕) เป็นพระสูตรสั้นๆ บอกที่มาที่ไปของอุทานนั้นๆ เช่นพระพุทธองค์ประทับที่ไหน ทรงพบใคร เปล่งอุทานว่าอย่างไร มีทั้งหมด ๘๒ สูตร นอกจากนี้แล้วยังมีในที่อื่นด้วย เช่น ธรรมบทบ้าง สังยุตตนิกายบ้าง

ถ้าถามว่า หลังตรัสรู้ใหม่ๆ พระพุทธองค์ทรงเปล่งอุทานอะไรออกมาเป็นอุทานแรก ตอบได้ว่า มี ๒ อุทาน

ไม่ทราบแน่ชัดว่าอย่างไหนเป็นอุทานแรก อย่างไหนเป็นอุทานหลัง

ในอรรถกถาธรรมบท (ธัมมปทัฏฐกถา) กล่าวว่า ทันทีที่ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ พระพุทธองค์ทรงเปล่งอุทานว่า
อเนกชาติสํสารํ      สนฺธาวิสฺสํ อนิพฺพิสํ
คหการํ คเวสนฺโต    ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุนํ
คหการก ทิฏฺโฐสิ    ปุน เคหํ น กาหิสิ
สพฺพา เต ผาสุกา   ภคฺคา  คหกูฏํ วิสงฺขตํ
วิสงฺขารคตํ จิตฺต็     ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา
     แปลว่า
เราตามหานายช่างผู้สร้างเรือน เมื่อไม่พบ จึงเวียนเกิดเวียนตายอยู่สังสารวัฏมากมายหลายชาติ การเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์

นายช่างผู้สร้างเรือนเอย บัดนี้เราพบท่านแล้ว ท่านจะเรือนไม่ได้อีกแล้ว จันทันอกไก่เราทำลายแล้ว เรือนยอดเราก็รื้อแล้ว จิตของเราเข้าถึงพระนิพพาน เราได้บรรลุความสิ้นตัณหาแล้ว

“นายช่างผู้สร้างเรือน” ในที่นี้หมายถึงตัณหา เพราะตัณหาความอยาก ๓ ประเภทนี้เองที่ทำให้คนต้องเวียนว่ายตายเกิดในชาติภพต่างๆ ไม่จบสิ้น เรียกว่าวงจรแห่งสารวัฏไม่มีทางสิ้นสุด ถ้าไม่บรรลุพระนิพพาน “จันทัน อกไก่” หมายถึง กิเลสน้อยใหญ่อื่นๆ ส่วน “เรือนยอด” หมายถึง อวิชชา

พระพุทธองค์ทันทีที่ตรัสรู้ ก็ทรงเปล่งอุทานว่า บัดนี้ เราได้ทำลายกิเลสตัณหา พร้อมอวิชชาได้แล้ว ได้บรรลุพระนิพพานแล้ว
ส่วนในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ ได้กล่าวว่าหลังจากตรัสรู้แล้ว พระพุทธองค์ได้พิจารณาปฏิจจสมุปบาท/อิทัปปัจจยตา ทั้งโดยอนุโลม (ตามลำดับ) และปฏิโลม (ย้อนลำดับ) ทั้งฝ่ายเกิดทุกข์ และฝ่ายดับทุกข์ ทรงเปล่งอุทาน ๓ บท ในปฐมยามบทหนึ่ง มัชฌิมยามบทหนึ่ง และปัจฉิมยามบทหนึ่ง

ในปฐมยามทรงเปล่งอุทานว่า
(๑) ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺนา
อาตาปิโณ ฌายโต พฺราหฺมณสฺส
อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา
ยโต ปชานาติ สเหตุธมฺมํ
ในมัชฌิมยามทรงเปล่งอุทานว่า
(๒) ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา
อาตาปิโณ ฌายโต พฺราหฺมณสฺส
อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา
ยโต ขยํ ปจฺจยานํ อเวทิ
ในปัจฉิมยามทรงเปล่งอุทานว่า
(๓) ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา
อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส
วิธูปยํ ติฏฺฐติ มารเสนํ
สูโรว โอภาสยมนฺตลิกฺขํ
     แปลว่า
(๑)เมื่อใดธรรมทั้งหลาย (สิ่ง) ทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้เพียรพินิจอยู่ เมื่อนั้นความสงสัยทั้งปวงย่อมหมดไป เพราะรู้ความดับสิ้นแห่งปัจจัยทั้งหลาย
(๒)เมื่อใดธรรม (สิ่ง)ทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้เพียรพินิจอยู่ เมื่อนั้นความสงสัยทั้งปวงย่อมหมดไป  เพราะรู้ความดับสิ้นแห่งปัจจัยทั้งหลาย
(๓)เมื่อใดธรรมทั้งหลาย (สิ่ง) ทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้เพียรพินิจอยู่ เมื่อนั้นเขาย่อมขจัดมารและเสนามารดำรงอยู่ ดุจพระอาทิตย์อุทัยขจัดความมืด ยังท้องฟ้าให้สว่างไสวฉะนั้น

ถ้าปุจฉาว่า ระหว่างอุทานบทแรก (อเนกชาติสํสารํ...) กับอีก ๓ บท (ยทา หเว...) บทไหนเป็นบทแรกที่พระพุทธองค์เปล่งหลังตรัสรู้ ก็เห็นจะวิสัชนาว่า ไม่ทราบครับ
ก็เห็นจะมีแต่เณรน้อยอิกคิวซังเท่านั้นที่จะตอบได้.


ข้อมูล : บทความพิเศษ สิ่งแรกในพระพุทธศาสนา (๖) พระอุทานแรกที่ทรงเปล่งหลังตรัสรู้ โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก หน้า ๖๗ มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๘๗๖ ประจำวันที่ ๒๙ กรกฎาคม - ๔ สิงหาคม ๒๕๕๙


http://www.bloggang.com/data/v/vinitsiri/picture/1291465914.jpg


สิ่งแรกในพระพุทธศาสนา (๗)
บุคคลแรกที่พระพุทธเจ้าพบเมื่อเสด็จไปโปรดปัญจวัคคีย์


ตามหลักฐานในพระไตรปิฎกบอกว่า เมื่อพระพุทธเจ้าตัดสินพระทัยจะไปโปรดเวไนยสัตว์นั้น ทรงนึกถึงดาบสผู้เป็นอาจารย์ทั้งสอง คือ อาฬารดาบส กาลามโคตร กับอุททกดาบส รามบุตร แต่ท่านทั้งสองสิ้นชีวิตไปก่อนหน้านั้น ๗ วัน จึงทรงตั้งพระทัยจะไปเทศน์โปรดปัญจวัคคีย์ ศิษย์เก่าที่เคยอุปัฏฐากดูแลพระองค์ขณะบำเพ็ญทุกรกิริยา

จึงเสด็จพุทธดำเนินมุ่งหน้าไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน (ปัจจุบันคือสารนาถ) ซึ่งอยู่ในเขตเมืองพาราณสี ระยะทางห่างจากพุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ประมาณ ๒๓๐ กว่ากิโลเมตร

ระหว่างทางทรงพบอาชีวก (นักบวชประเภทหนึ่ง) นามว่า อุปกะ อุปกะเห็นบุคลิกอันสง่างามของพุทธองค์ ก็ประทับใจ ใคร่จะรู้ว่าเป็นใคร จึงทูลถามว่าท่านเป็นใคร ท่านบวชเจาะจงใจ ใครเป็นอาจารย์ของท่าน

พระพุทธเจ้าตรัสตอบอุปกะเป็น “คาถา” คือบทกวีว่า
“เราเอาชนะสรรพสิ่ง เรารู้สรรพสิ่ง ไม่ติดอยู่ในสิ่งทั้งปวง
ละกิเลสทุกอย่าง หลุดพ้นเพราะหมดตัณหา
เมื่อเราตรัสรู้เองแล้ว ควรจะอ้างใครว่าเป็นอาจารย์เล่า”

อุปกะได้ยินดังนั้น ก็กล่าวต่อไปว่า “ถ้าเช่นนั้น ท่านก็เป็นอนันตชินะ สิ” อนันตชินะ ของอุปกะนี้แปลว่า “ผู้ชนะไม่มีที่สิ้นสุด” คงเป็นคำที่รู้กันดีในสมัยนั้น พระพุทธองค์ตรัสว่า “เป็นเช่นนั้น”

อุปกะจึงสั่นศีรษะ กล่าวว่า “หุเวยฺยาวุโส” แล้วก็หลีกทางไป

ที่ยกคำพูดของอุปกะมา ยังไม่แปล ก็เพราะคำพูดประโยคนี้เป็น “รหัส” ไขข้อข้องใจว่า อุปกะเชื่อพระพุทธเจ้าหรือไม่ รายละเอียดเป็นจะไดเดี๋ยวได้รู้เอง ตามผมมาก็แล้วกัน

ผู้แต่งพุทธประวัติในยุคต่อมามักจะพูดเหมือนกันว่า อุปกะ ไม่เชื่อพระพุทธเจ้า จึงสั่นศีรษะ บางฉบับเพื่อให้เห็นว่าไม่เชื่อมากขึ้น กล่าวว่า นอกจากสั่นศีรษะแล้ว อุปกะแกแลบลิ้นปลิ้นตาหลอกด้วย

ผมว่าตรงนี้ เราตีความผิด เพราะเราเอาวัฒนธรรมไทยไปตัดสินวัฒนธรรมอินเดีย จริงอยู่วัฒนธรรมไทยเรามีอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมอินเดีย แต่ในเรื่องสั่นศีรษะนี้แขกกับไทยถือไม่เหมือนกัน

ไทยสั่นศีรษะ แสดงว่าปฏิเสธ แต่แขกสั่นศีรษะแปลว่าเขายอมรับครับ

อ้าว ถ้าไม่เชื่อผม ไปคุยกับชาวอินตะระเดียดูสิครับ ไม่ต้องไปถึงอินเดียก็ได้ แถวๆ พาหุรัดก็ได้ ลองไปต่อราคาผ้าเขาแล้วลองสังเกตดู ถ้าเขาสั่นศีรษะด๊อกแด๊กๆ ก็สบายใจได้ว่าตกลงครับ

นอกจากตัดสินจากวัฒนธรรม ยังมีเหตุผลสนับสนุนอีกอย่างหนึ่ง คือ คำพูดของอุปกะเองนั้นแหละบ่งชี้ข้อนี้ด้วย คือแกพูดว่า หุเวยฺยาวุโส (หุเวยฺย-อาวุโส) แปลตามตัวอักษรว่า “ดูก่อนผู้มีอายุ คำที่ท่านพูดนั้นพึงมีพึงเป็นได้” แปลความง่ายๆ ว่า “คุณ ที่ท่านพูดนั้นเป็นไปได้” น้ำเสียงของอุปกะแสดงว่าแกเชื่อพระพุทธเจ้าเกิน ๗๐ เปอร์เซ็นต์แล้วครับ

เพราะเหตุนี้ฝรั่งจึงแปลว่า “I see” เวลาเราไอซีกับใครแสดงว่าเราเห็นด้วย

ผมเป็นคนขี้สงสัย เมื่อสงสัยอะไรแล้วก็ไม่อยากให้ค้างคาอยู่เช่นนั้น อยากรู้ว่าหลังจากพบพระพุทธเจ้าแล้วแกไปไหน ก็ได้ทราบจากอรรถกถาว่า อุปกะแกไปยังหมู่บ้านนายพรานริมน้ำแห่งหนึ่ง (หมู่บ้านริมน้ำน่าจะเป็นหมู่บ้านชาวประมง แต่เขาบอกว่าหมู่บ้านนายพรานล่าเนื้อจริงๆ) หัวหน้าหมู่บ้านเลื่อมใสจึงนิมนต์ให้อยู่ที่นั่น แล้วก็นำอาหารบิณฑบาตไปถวายทุกวัน วันไหนไม่ว่างก็ให้จาปาลูกสาวของตนไปส่ง

เด็กหญิงจาปาก็ทำหน้าที่นำอาหารไปถวายหลวงพ่อเป็นประจำ แรกๆ ก็ไม่มีอะไร แต่พอนานเข้าหลวงพ่อก็เปลี่ยนไป มองดูสีกาวัยรุ่นแล้วก็หลงรัก พยายามปลงอนิจจัง ยุบหนอ พองหนอ อย่างไรก็ไม่ไหว เพราะกามเทพซุกซนแผลงศรปักอกหลวงพ่อดังฉึก

วันหนึ่งหลวงพ่อไม่ยอมฉันอาหาร เอาแต่นอนคลุมโปง ครางฮือๆ อยู่  จาปาไปรายงานให้พ่อทราบ หลวงพ่อเป็นอะไรไม่รู้ ข้าวปลาไม่ฉัน เอาแต่ครางฮือๆ

พ่อรู้ทันทีว่าเกิดอะไรขึ้น จึงรีบไปหา จับเข่าถามตรงๆ ว่า เป็นอะไรไปท่าน ข้าวปลาไม่ยอมฉัน  อุปกะจึงบอกว่าอาตมาคงจะบวชต่อไปไม่ไหวแล้วละ เพราะหลงรักลูกสาวโยม

นายพรานบอกว่า ถ้ารักจริงก็สึกมาสิ เห็นว่าได้รับอนุญาตแล้ว อุปกะจึงสึกออกมาแต่งงานกับลูกสาวนายพราน พ่อตาใหม่ๆ หมาดๆ ถามว่า “ท่านได้เรียนศิลปะวิทยาอะไรบ้าง”

อุปกะตอบว่า ไม่เรียนอะไรเลย มัวแต่บวชอยู่  “อ้าว แล้วจะเอาอะไรทำมาหาเลี้ยงชีพ” พ่อตาร้อง เมื่อเห็นลูกเขยหน้าเจี๋ยมเจี้ยม จึงบอกว่า “ไม่เป็นไร ถ้าเช่นนั้นมาช่วยข้าก็แล้วกัน” ตั้งแต่นั้น เมื่อนายพรานล่าเนื้อได้ แล่เนื้อแล้ว อุปกะก็จะหาบเนื้อนั้นตามพ่อตาไปขายนำเงินมาเลี้ยงครอบครัว จนกระทั่งมีบุตรชายคนหนึ่งชื่อ สุภัททะ

เวลาเนิ่นนานไป ระยะข้าวใหม่ปลามันหมดไป สองสามีภรรยามักระหองระแหงกันเสมอ เวลาเมียโมโหมาก็จะด่าลูกกระทบพ่อว่า “ไอ้ลูกฤๅษีขี้เกียจอย่างมึง...” ทำให้อุปกะสลดสังเวชใจ พลันก็นึกถึง “อนันตชินะ” ขึ้นมาได้ จึงลงเรือนไป ตั้งใจจะไปบวชเป็นสาวกของอนันตชินะ  ภรรยาพูดไล่หลังว่ามึงไปแล้วไม่ต้องกลับ

พอสามีไปไม่กลับจริง จึงตามไป พบสามีกำลังจะบวชอยู่พอดี ขอร้องให้กลับบ้าน อุปกะไม่ยอม นอกจากจะไม่กลับแล้วยังร่ายโศลกด่าภรรยา ลามไปถึงสตรีอื่นด้วย อย่างสาดเสียเทเสีย เรียกว่าฉุนขาด

ท้ายที่สุด อุปกะก็ได้อุปสมบทเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา ส่วนจาปา เมื่อสามีไม่กลับ ก็ตัดสินใจไปยังสำนักภิกษุณีบวชเป็นภิกษุณีอีกคน

ถ้าดูตามนี้แสดงว่า อุปกะแกเชื่อพระพุทธเจ้าตั้งแต่ต้นแล้ว เมื่อมีความทุกข์ขึ้นมาก็ยังนึกถึงพระพุทธเจ้าจนกระทั่งตามมาบวชเป็นสาวกของพระพุทธองค์ ด้วยประการฉะนี้แล


ข้อมูล : บทความพิเศษ สิ่งแรกในพระพุทธศาสนา (๗) บุคคลแรกที่พระพุทธเจ้าพบเมื่อเสด็จไปโปรดปัญจวัคคีย์ โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก หน้า ๖๗ มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๘๗๗ ประจำวันที่ ๕-๑๑ ๒๕๕๙




สิ่งแรกในพระพุทธศาสนา (๘)
พระธรรมเทศนากัณฑ์แรก


พระธรรมเทศนาครั้งแรกที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงหลังตรัสรู้คือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์ อันมีโกณฑัญญะเป็นหัวหน้า ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี แคว้นกาสี ณ วันที่พระจันทร์เสวยฤกษ์อาสาฬหะ (ตรงกับวันเพ็ญเดือนแปด) ซึ่งต่อมาได้กำหนดเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาขึ้นอีกวันหนึ่ง ชื่อว่า วันอาสาฬหบูชา

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แปลตามตัวอักษรว่า “พระสูตรว่าด้วยการหมุนกงล้อคือพระธรรม” เนื้อหาว่าด้วยอริยสัจสี่ประการที่พระองค์ได้ตรัสรู้  ก่อนจะพูดถึงเนื้อหาพระสูตร ขอ “แวะข้างทาง” สักเล็กน้อย

ความหมายของพระสูตรนี้ คงเลียนความหมายทางโลก คือเวลาพระเจ้าจักรพรรดิต้องการกฤษดาภินิหารจะยกกองทัพไปโจมตีเจ้าเมืองที่ไม่ยอมอ่อนข้อ ไม่สยบต่ออำนาจของตน ล้อรถศึกของพระมหาจักรพรรดิผู้เกรียงไกร หมุนไปทางทิศใด ยากที่จะมีใครต้านทานได้ อุปมาฉันใด เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศสัจธรรมสูงสุดที่ได้ตรัสรู้ ก็เท่ากับ “ทรงหมุนล้อธรรม” เพื่อปราบตัณหาอวิชชาออกจากจิตใจของเวไนยสัตว์ให้ราบคาบ “(ล้อแห่งสัจธรรม” นี้หมุนไปยังทิศทางใด จึงยากที่ใครๆ จะคัดค้าน หรือยับยั้งได้ อุปไมยก็ฉันนั้น)

เพราะฉะนั้น ตอนท้ายพระสูตร ผู้บันทึกจึงกล่าวว่า “เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมุนกงล้อคือพระธรรมแล้ว ไม่มีใครๆ ในโลก สามารถยับยั้งได้ ไม่ว่าจะเป็น สมณะ พราหมณ์ มาร เทพ พรหม”

เนื้อหาของธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แบ่งได้แบ่ง ๕ ตอน คือ

ตอนที่ ๑ พูดถึงทางที่ไม่พึงดำเนิน หรือข้อปฏิบัติที่ไม่พึงทำ ๒ ทาง คือ ความติดอยู่ในความสุขทางเนื้อหนังมังสา เพราะ “เป็นของต่ำ เป็นกิจกรรมของชาวบ้าน เป็นเรื่องของปุถุชน ไม่ประเสริฐ และไม่มีประโยชน์”

ทางนี้เรียกตามศัพท์ว่า “กามสุขัลลิกานุโยค” ถือว่าเป็นทางสายที่หย่อนเกินไป

อีกทางหนึ่งคือ การทรมานตนด้วยตบะวิธีต่างๆ ทางนี้เรียกว่า “อัตตกิลมถานุโยค” ถือเป็นทางที่ตึงเกินไป

ตอนที่ ๒ ทรงแสดง “ทางสายกลาง” ไม่ตึงเกินไป ไม่หย่อนเกินไป คืออริยมรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฐิ (ความเห็นชอบ) เป็นต้น มีสัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ) เป็นที่สุด

ตอนที่ ๓ ทรงแสดงอริยสัจสี่ประการ คือ (ทุกข์ หรือ ปัญหาของชีวิต) สมุทัย (เงื่อนไขปัจจัยที่ทำให้เกิดทุกข์) นิโรธ (ภาวะดับทุกข์ หรือภาวะหมดปัญหาโดยสิ้นเชิง) และมรรค (แนวทางปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ หรือทางแก้ไขปัญหา)

ทรงอธิบายว่าพระองค์ตรัสรู้อริยสัจทั้งสี่ประการนี้ผ่านญาณ (การหยั่งรู้) ทั้ง ๓ ระดับ  คือ
(๑)ทรงรู้สภาพของปัญหา เหตุปัจจัยของปัญหา ภาวะหมดปัญหา และวิธีแก้ปัญหาคืออะไร อย่างไรบ้าง (สัจจญาณ=รู้ความจริงเกี่ยวกับเรื่องนั้น)
(๒)ทรงรู้ว่าควรจะจัดการอย่างไรกับเรื่องนั้น (กิจจญาณ=รู้ว่าควรทำอย่างไร)
(๓)ทรงรู้ว่าเมื่อทรงทำตามนั้นแล้วเกิดผลอะไร (กตญาณ=รู้ว่าทำเสร็จสิ้นแล้ว)

ตอนที่ ๔ โกณทัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม เมื่อทรงแสดงธรรมจบแล้ว อาจารย์ผู้รวบรวมพระสูตรกล่าวว่า โกณฑัญญะได้ “ดวงตาเห็นธรรม” คือ เข้าใจแจ่มแจ้งถึงธรรมชาติและธรรมดาของสรรพสิ่ง ว่ามีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา มีความดับเป็นธรรมดา

พระพุทธองค์ทรงเปล่งพระอุทานว่า “โกณฑัญญะรู้แล้วหนอๆ” (อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญๆ) คำว่า “อัญญา” ในคำว่า “อญฺญาสิ” จึงกลายมาเป็นคำนำหน้าชื่อของท่านว่า “อัญญาโกณฑัญญะ”

ตอนที่ ๕ เหล่าเทพร้องบอกต่อๆ กัน พวกเทพทั้งหลาย ตั้งแต่ภุมมเทวดา ได้ร้องบอกต่อๆ กันไป จนถึงหมู่พรหมว่าพระพุทธเจ้าได้ทรงหมุนกงล้อคือพระธรรมอันประเสริฐ

ยากที่ใครๆ ไม่ว่าสมณะ พราหมณ์ มาร เทวดา พรหม จะสามารถยับยั้งได้

สรุปเนื้อหาของพระสูตรอีกที พระพุทธเจ้าตรัสรู้อริยสัจสี่ครบวงจร จึงสามารถหลุดพ้นจากกิเลสได้ คือ
รู้ว่าความจริงคืออะไร (สัจจญาณ)
รู้ว่าควรจะจัดการกับมันอย่างไร (กิจจญาณ)
รู้ว่าเมื่อจัดการกับมันแล้วได้ผลอย่างไร (กตญาณ)

รู้อริยสัจ ๓ ขั้นตอนนี้ รวมเป็น ๑๒ (๓x๔=๑๒) เพราะเหตุฉะนี้ ท่านจึงกล่าวว่า “รู้อริยสัจสี่ อันมี ๓ รอบ ๑๒ อาการ” แล


ข้อมูล : บทความพิเศษ สิ่งแรกในพระพุทธศาสนา (๗) บุคคลแรกที่พระพุทธเจ้าพบเมื่อเสด็จไปโปรดปัญจวัคคีย์ โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก หน้า ๖๗ มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๘๗๗ ประจำวันที่ ๕-๑๑ ๒๕๕๙




สิ่งแรกในพระพุทธศาสนา (๙)
สาวกรูปแรก


หลังจากพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจักกัปปวัตตนสูตร อันว่าด้วยแนวทางที่ไม่พึงดำเนินและแนวทางที่พึงปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ แล้วต่อท้ายด้วยการอธิบายอริยสัจครบวงจรจบลง หัวหน้าปัญจวัคคีย์ คือ โกณฑัญญะ ก็ได้ “ดวงตาเห็นธรรม”

ดวงตาเห็นธรรม แปลมาจากบาลีว่า ธัมมจักขุ การที่โกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม ก็คือได้เกิดความรู้เห็นตามเป็นจริงซึ่งธรรมชาติและธรรมดาของสิ่งทั้งหลาย ว่ามีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา มีการดับสลายเป็นธรรมดา

พระบาลีตรงนี้ว่า ยํ กิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ = สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีการดับไปเป็นธรรมดา

ความรู้เห็นอย่างนี้เป็นความรู้เห็นด้วย “ตาใน” มิใช่ด้วยตาเนื้อ ทางพระพุทธศาสนาบอกว่า เป็นความรู้ระดับโสดาปัตติผล ผู้รู้เห็นอย่างนี้เรียกว่าเป็น พระโสดาบัน พระอริยบุคคลระดับที่ ๑

พระอริยบุคคลมีระดับด้วยหรือ? บางท่านอาจคิดเช่นนี้ มีครับ มีถึง ๔ ระดับแน่ะ คือ (๑)พระโสดาบัน  (๒) พระสกทาคามี หรือสกิทาคามี  (๓) พระอนาคามี  และ (๔) พระอรหันต์

ระดับสุดท้ายนี้นับว่าสูงสุดยิ่งกว่าเหรียญทองโอลิมปิก อ่านว่า “พระ-อะ-ระ-หัน”  พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถานฉบับปรับปรุงใหม่ให้อ่านว่า “ออ-ระ-หัน” พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถานฉบับปรับปรุงใหม่ให้อ่านว่า “ออ-ระ-หัน” ได้ บังเอิญผมไม่เชื่อพจนานุกรม ผมไม่อ่านตาม กลัวคนจะเข้าใจว่า “พระอรหันต์” ไม่ต่างอะไรกับ “อรหัน” สัตว์ในนิยายชนิดหนึ่งมีลักษณะครึ่งนกครึ่งคน

อรหันต์ประเภท ด่าพ่อล่อแม่คน ท้าเตะปลายคางคนก็มีแล้วไม่อยากให้เลอะเทอะไปกว่านี้

หมายเหตุไว้ในแง่วิชาการว่า “ดวงตาเห็นธรรม” นั้น เป็นการรู้ความจริงระดับ พระอนาคามี ได้ด้วย พูดอีกนัยหนึ่งผู้มีดวงตาเห็นธรรม เป็นไปทั้งพระโสดาบันและพระอนาคามี

หลักฐานก็คือ เมื่อพระพุทธองค์เสด็จพุทธดำเนินจะไปโปรดชฎิลสามพี่น้องนั้น ทรงพบ “ภัททวัคคีย์” เด็กหนุ่มเจ้าสำราญ ๓๐ คน กำลังตามหาสตรีที่ “ยกเค้า” เครื่องประดับของพวกเขาไป ขณะไปแสวงหาความสำราญอยู่ในสวนแห่งหนึ่ง

พระพุทธองค์ตรัสเตือนว่า ให้แสวงหา “ตนเอง” ดีกว่าแสวงหาสตรี

เมื่อพวกเขาได้ฟังธรรมเทศนาจากพระองค์แล้วก็ได้ “ดวงตาเห็นธรรม” แล้วทูลขอบวช

ตรงนี้พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่า พวกภัททวัคคีย์ ได้บรรลุเป็นพระอนาคามี

เรื่องมันเป็นเช่นนี้แหละครับท่าน ผมจึงสรุปว่า “ดวงตาเห็นธรรม” มีทั้งระดับพระโสดาบันและระดับพระอนาคามี

กล่าวถึง ท่านโกณฑัญญะ เมื่อได้ดวงตาเห็นธรรมแล้ว พระพุทธองค์จึงตรัสเปล่งพระอุทานว่า อญฺญา สิ วต โภ โกณฺฑญฺโญๆ = โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอๆ

จากนั้นโกณฑัญญะก็ได้ทูลขอบวช พระพุทธองค์ก็ประทานการบวชที่เรียกว่า “เอหิภิกขุ อุปสัมปทา” ให้ พิธีกรรมไม่มี เพียงตรัสสั้นๆ ว่า “เอ หิ ภิกฺขุ = จงมาเป็นภิกษุเพื่อทำที่สิ้นสุดทุกข์เถิด” (ตรงนี้ถ้าผู้ขอบวชเป็นพระอรหันต์ ก็ไม่ต้องมีคำว่า “เพื่อทำที่สุดทุกข์” พระโสดาบันอย่างพระโกณฑัญญะ ยังไม่หมดกิเลสโดยสิ้นเชิง จึงตรัสอย่างนี้)

ท่านโกณฑัญญะ จึงนับได้ว่าบวชเป็นพระสาวกรูปแรกในพระพุทธศาสนา คำว่า “อัญญา” ในคำว่า “อญฺญาสิ” ได้กลายมาเป็นคำนำหน้าชื่อของท่าน ท่านจึงปรากฏนามว่า “อัญญาโกณฑัญญะ” แต่บัดนั้นมา

การเกิดพระสาวกขึ้นครั้งแรก ทำให้เกิดพระรัตนตรัยครบ ก่อนหน้านี้มีเพียงพระพุทธเจ้าและพระธรรม เมื่อเกิดพระสงฆ์ขึ้น จึงเป็นพระรัตนตรัยครบด้วน

วันนี้จึงเป็นวันสำคัญในพระพุทธศาสนา คือเป็นกำเนิดแห่งวันอาสาหบูชาขึ้น ดังที่ชาวพุทธทราบกันดี

ที่คิดว่าทราบกันไม่ค่อยจะดีคือคำอ่าน  อ่านว่า”อา-สาน-หะ-บู-ชา” ไม่ใช่ “อา-สา-ละ-หะ-บู-ชา”ชา”


ข้อมูล : บทความพิเศษ สิ่งแรกในพระพุทธศาสนา (๙) สาวกรูปแรก โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก หน้า ๖๗ มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๘๗๙ ประจำวันที่ ๑๙-๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๙


สิ่งแรกในพระพุทธศาสนา (๑๐)
อุบาสกคู่แรกในพระพุทธศาสนา

ในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา มีอุบาสกอุบาสิกา ๒ คู่

คู่หนึ่งเป็นอุบาสกล้วน ถึงรัตนะ ๒ คือ พระพุทธและพระธรรมเป็นสรณะ

คู่ที่สองเป็นอุบาสกกับอุบาสิกา ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ

ขอเล่าโดยย่อดังนี้

(๑) ผู้ถึงรัตนะสองคู่แรก
อุบาสกคู่นี้มีนามว่าตปุสสะ กับ ภัลลิกะ ว่ากันว่าเธอทั้งสองมาจากอุกกลชนบท (หรืออุกกลาชนบท) อยู่แห่งหนตำบลใดไม่แจ้ง แต่น่าจะจากภาคเหนือของชมพูทวีปแถวตักสิลาโน่นแหละครับ

ทั้งสองคนนี้เป็นพ่อค้าเดินทางมาค้าขายผ่านมาทางตำบลคยา สถานที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ได้พบพระพุทธเจ้าขณะประทับเสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ต้นราชายตนะ (ต้นเกด) ในสัปดาห์ที่ ๔ หลังจากตรัสรู้ (หลักฐานฝ่ายอรรถกถาว่าเป็นสัปดาห์ที่ ๗)

เมื่อเห็นพระพุทธองค์ก็มีจิตเลื่อมใส ได้น้อมนำเอา “ข้าวสัตตุก้อน สัตตุผง” (ความจริงต้องพูดสับลำดับเป็น “สัตตุผง สัตตุก้อน”) ไปถวาย ขณะนั้นพระพุทธองค์ยังไม่มีบาตร ร้อนถึงท้าวโลกบาลทั้ง ๔ ได้น้อมนำบาตรมาถวายองค์ละใบ พระพุทธองค์ดำริว่าใบเดียวก็เพียงพอแก่เรา จึงทรงอธิษฐานให้บาตรทั้ง ๔ ใบ ประสานเป็นใบเดียว ทรงรับข้าวสัตตุผงและสัตตุก้อนจากพ่อค้าทั้งสอง เสวยเสร็จแล้วก็ประทานอนุโมทนา

สัตตุผงนั้นบาลีเรียกว่า “มันถะ” คือข้าวตากที่ตำละเอียด สัตตุก้อนบาลีเรียกว่า “มธุบิณฑิกะ” คือข้าวตากที่ผสมน้ำผึ้งแล้วปั้นเป็นก้อน

พ่อค้าทั้งสองได้เปล่งวาจาถึงพระพุทธและพระธรรมเป็นสรณะ ไม่ได้เปล่งวาจาถึงพระสงฆ์ เพราะสมัยนั้นยังไม่มีพระสงฆ์  ทั้งสองจึงเรียกว่าอุบาสกผู้ถึงรัตนะสองเป็นสรณะ เทววาจิกอุบาสก)

ในคัมภีร์พระไตรปิฎกพูดเพียงว่า เมื่อถวายสัตตุผง สัตตุก้อน แด่พระพุทธเจ้าแล้ว พ่อค้าทั้งสองก็กลับมาตุภูมิเรื่องจบแค่นี้ครับ  แค่นี้จริงๆ แต่พี่หม่องไม่ยอมให้จบ ได้แต่งต่อว่าพ่อค้าทั้งสองก่อนจะกลับได้กราบทูลขอของที่ระลึกเพื่อไปสักการบูชาเมื่อจากพระพุทธองค์ไป พระพุทธองค์ทรงเอาพระหัตถ์ลูบพระเศียร เส้นพระเกศา ๘ องค์หลุดติดพระหัตถ์มา พระพุทธองค์ประทานให้พ่อค้าทั้งสอง

พ่อค้าทั้งสองได้นำพระเกศาธาตุ ๘ องค์นั้นไปก่อเจดีย์บรรจุไว้บูชาที่บ้านเมืองของตน พระเจดีย์นั้นรู้จักกันในปัจจุบันนี้ว่า ชเวดากอง

ตปุสสะกับภัลลิกะจะเป็นใครไม่ได้นอกจากชาวพม่าหงสาวดี พี่หม่องอ้างปานนั้นแหละครับ ส่วนท่านจะเชื่อหรือไม่ก็แล้วแต่จะพิจารณา

การแต่งตำนานเพิ่มเติมจากต้นฉบับเดิมทำกันทั่วไป พี่ไทยเราก็แต่งเติมครับ อย่างเรื่องนาคแปลงกายเป็นคนมาบวช ภายหลังความลับเปิดเผยขึ้น พระพุทธองค์ทรงรับสั่งให้ลาสิกขา แล้วบัญญัติข้อห้ามว่าสัตว์เดียรัจฉานห้ามบวชเป็นภิกษุ ถึงกับมีคำซักถามตอนจะบวชว่า “มนุสฺโสสิ = เจ้าเป็นมนุษย์หรือไม่”

เรื่องเดิมมีแค่นี้ แต่พี่ไทยแต่งเพิ่มว่า นาคแกเสียอกเสียใจมากที่ไม่มีวาสนาบวชอยู่ในพระพุทธศาสนา จึงกราบขอพรพระพุทธองค์ขอฝากชื่อไว้ในพระพุทธศาสนา ต่อไปใครจะมาบวชขอให้เรียกว่า “นาค” เถิด พระพุทธองค์ก็ทรงรับ

เพราะเหตุนี้แล ผู้จะเข้ามาบวชจึงเรียกว่า นาค และการบวชเรียกว่าบวชนาค มิใช่บวช นาย ก. นาย ข. เห็นหรือยังครับพี่ไทยก็ “ตัดต่อ” เก่งไม่แพ้พี่หม่องเหมือนกัน

ดีเท่าไรแล้วที่ไม่แย่งเอาตปุสสะ ภัลลิกะมาเป็นคนไทย เพราะฟังชื่อแล้วน่าจะใกล้มาทางไทยมากกว่าพม่า

ตปุสสะ ก็ “ตาบุตร” ภัลลิกะ ก็ “ตาพัน” ยังไงละครับ

(๒) ผู้ถึงพระรัตนตรัยคู่แรก
บิดามารดาของยสกุมาร บิดาชื่อเรียงเสียงใดไม่แจ้ง บอกแต่ว่าเป็นเศรษฐีเมืองพาราณสี ส่วนมารดานั้น แม้พระไตรปิฎกจะไม่เอ่ยนาม แต่อรรถกถาก็โยงว่าคือนางสุชาดา ผู้ถวายข้าวมธุปายาสแด่พระบรมโพธิสัตว์ก่อนตรัสรู้นั้นแล (ดังได้เล่าไว้แล้วในตอนที่ ๓)

เมื่อยสกุมารผู้บุตร เกิดเบื่อหน่ายในเพศฆราวาส มองเห็นแต่ความทุกข์ที่รุมเร้าจิตใจ จึงตัดสินใจหนีออกจากบ้านกลางดึก หลังจากตื่นขึ้นมาเห็นภาพอันน่าสังเวชของเหล่านางรำที่นอนหลับใหล แสดง “ทัศนะอุจาด” ต่างๆ เช่น บางนางก็นอนกรนเสียงดัง น้ำลายไหลจากปาก บางนางก็กัดฟัน ละเมอฟังไม่ได้ศัพท์ บางนางก็ผ้าผ่อนหลุดลุ่ยเปิดอวัยวะที่ควรปิด เป็นต้น

ถ้าสมัยที่ยสกุมารยังสนุกอยู่กับความสุขทางกาม ก็คงเห็นภาพเหล่านั้นน่าดูน่าชม แต่บังเอิญว่าในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ยสกุมารเอือมกับความสุขทางเนื้อหนังมังสาเสียแล้ว ภาพเหล่านี้จึงปรากฏต่อเธอดุจซากศพในป่าช้า

จึงเดินลงเรือนไป พลางเปล่งอุทานด้วยความสลดใจว่า “อุปทฺทูตํ วต โภ อุปสฏฐ” สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงแปลว่า “ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ” ถ้าจะแปลให้ถึงใจก็ต้องว่า “วุ่นวายจริงโว้ย กลุ้มจริงโว้ย” ประมาณนั้น

เขาเดินบ่นไปจนถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ขณะพระพุทธองค์เสด็จจงกรมอยู่ พระองค์ตรัสตอบว่า “ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง มานี่สิ ยสะ เราจะแสดงธรรมให้ฟัง”  เขาจึงเข้าไปกราบพระบาท สดับพระเทศนาจนกระทั่งได้ดวงตาเห็นธรรมและทูลขอบวชเป็นพระภิกษุ

บิดามารดาของยสกุมารตามหาบุตรมายังป่าอิสิปตนมฤคทายวันพบพระพุทธองค์ ได้ฟังธรรมเทศนา ขณะที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมแก่บิดามารดาของตนนั้น พระยสะนั่งอยู่ ณ เบื้องพระปฤษฎางค์โดยต่างฝ่ายต่างก็มองไม่เห็นกัน ด้วยการบันดาลฤทธิ์ของพระพุทธองค์ เมื่อพระเทศนาจบลง พระยสะได้บรรลุพระอรหัต บิดามารดาได้ดวงตาเห็นธรรม

ทั้งสองได้เปล่งวาจาถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต นับเป็นอุบาสกอุบาสิกาคู่แรกที่ถึงพระรัตนตรัย


ข้อมูล : บทความพิเศษ สิ่งแรกในพระพุทธศาสนา (๑๐) อุบาสกคู่แรกในพระพุทธศาสนา โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก หน้า ๖๗ มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๘๘๐ ประจำวันที่ ๒๖ สิงหาคม- ๑ กันยายน ๒๕๕๙
3030  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ จิบกาแฟ / เรื่องแมวๆ & ตำราดูลักษณะแมว เมื่อ: 15 สิงหาคม 2559 19:34:04



ไม่ว่าแมวขาวหรือแมวดำ แค่ร้องเหมียวๆ ก็คือแมว
ประธานเหมาไม่ได้กล่าว แต่ประธานแม็คได้กล่าวไว้
3031  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / Re: สารคดี ชีวิตสัตว์โลก เมื่อ: 15 สิงหาคม 2559 18:33:14


ม้าลาย

ม้าลาย (Zebra) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกีบคี่ จัดอยู่ในสกุลม้า (Eguus) และสกุลย่อย Hippotigris (แปลว่า ม้าลายเสือ) และ Dolichohippus แบ่งออกได้เป็น ๓ ชนิด

ม้าลายเป็นม้าจำพวกหนึ่งที่มีขนาดเล็กกว่าม้า แต่มีปลายหางคล้ายลา มีแผงคอที่สั้นเหมือนขนแปรง ลักษณะเด่นคือมีลำตัวเป็นสีขาวสลับดำตลอดทั้งตัว เป็นที่มาของคำถามมาเป็นระยะเวลานานแล้วว่า แท้ที่จริงแล้วม้าลายเป็นสัตว์ที่มีพื้นลำตัวขาวและมีแถบสีดำพาดผ่าน หรือเป็นสัตว์ที่มีพื้นลำตัวสีดำและมีแถบสีขาวพาดผ่าน

ชาวพื้นเมืองแอฟริกาซึ่งเป็นพื้นถิ่นแผ่นดินเกิดของม้าลาย เชื่อว่าม้าลายเป็นสัตว์ที่มีสีดำและมีแถบสีขาวพาดผ่าน ซึ่งตรงกับการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่พบว่าม้าลายแท้ที่จริงเป็นสัตว์ที่มีพื้นลำตัวสีดำและมีลายแถบสีขาวพาดผ่านลำตัว ลายแถบสีขาวนั้นเกิดจากเซลล์ประสาทที่เรียงรายตามแนวกระดูกสันหลังที่ส่วนหนึ่งจะเปลี่ยนสภาพไปเป็นเซลล์ผลิตเม็ดสีสีดำ เรียกว่าเมลาโนไซต์ หลังจากนั้นเมลาโนไซต์เหล่านี้จะเคลื่อนออกไปด้านข้างของกระดูกสันหลังในแนวตั้งฉาก แล้วเปลี่ยนสภาพไปเป็นผิวหนังที่มีเม็ดสีสีดำ

ทั้งนี้ รูปแบบของเม็ดสีในสัตว์แต่ละชนิดขึ้นอยู่กับการกระตุ้น ทางพันธุกรรมในการเปลี่ยนสภาพและการเคลื่อนที่ของเมลาโนไซต์ โดยจากการศึกษาพบว่าตัวอ่อนของม้าลายที่อยู่ในท้องแม่จะเป็นตัวสีดำก่อน จากนั้นลายแถบสีขาวจึงค่อยๆ พัฒนาขึ้น ซึ่งม้าลายแต่ละตัวก็จะมีลายเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนกัน

ปัจจุบันยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าม้าลายมีลายแถบสีขาวไว้เพื่ออะไร ทัศนะของชาร์ลส์ ดาร์วิน นักธรรมชาติวิทยาคนสำคัญ เชื่อว่าม้าลายมีลายเพื่อจดจำกันได้ และตัวผู้ใช้เกี้ยวพาตัวเมีย นอกจากนั้นยังมีที่เชื่อว่ามีไว้ป้องกันแมลง โดยเฉพาะแมลงวัน มีหลักฐานว่าม้าลายดึงดูดแมลงน้อยกว่าสัตว์กินพืชชนิดอื่นๆ ในแอฟริกา จากการทดลองของนักวิทยา ศาสตร์ชาวฮังการีกลุ่มหนึ่ง โดยการนำหุ่นของม้า ๔ ตัว ที่มีสีสันแตกต่างกันไป รวมถึงม้าลาย ไปตั้งไว้ในทุ่งหญ้า พบว่าหุ่นม้าลายมีแมลงมาเกาะน้อยที่สุด ทั้งนี้ เชื่อว่าเพราะตาของแมลงเป็นระบบตารวมที่มีส่วนประกอบมากมาย และแมลงจะลงเกาะโดยการใช้แสง โพลาไรซ์ช่วย เป็นไปได้ว่าลายทางของม้าลายไปรบกวนแสง โพลาไรซ์ในการมองของแมลง ทำให้ยากในการลงเกาะบนตัวของม้าลาย ขณะที่บางฝ่ายเชื่อว่าใช้ในการพรางตัวจากศัตรู และทำให้ศัตรูซึ่งได้แก่สัตว์กินเนื้อต่างๆ ตาลายเมื่อได้พบเจอม้าลายที่อยู่รวมกันเป็นฝูงในทุ่งหญ้ากว้าง ทำให้จับระยะทางที่จะโจมตีผิดพลาดไป

โดยทั่วไปม้าลายชอบอยู่ตามที่ราบโล่งที่เป็นหญ้า มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง ฝูงหนึ่งมีหลายร้อยตัวจนถึงเป็นพัน โดยจะเล็มหญ้าหากินร่วมกับสัตว์อื่นในทุ่งกว้าง เช่น นกกระจอกเทศ ยีราฟ แอนทีโลป และสัตว์กีบชนิดอื่นๆ โดยมักจะมีนกจับเกาะอยู่บนหลัง ช่วยระวังภัยและจับกินพวกแมลงที่มารบกวน ทั้งมีนกกระจอกเทศและยีราฟช่วยเป็นป้อมยามคอยเตือนภัยและระวังภัยให้ เพราะม้าลายสายตาไม่ค่อยดี แต่จมูกและหูไวมาก ฟันของม้าลายค่อนข้างคม จึงแทะเล็มในส่วนที่เป็นโคนและลำต้นของหญ้าได้ ขณะที่สัตว์อื่นๆ เช่น แอนทีโลป จะกินยอดหญ้า นับเป็นการแบ่งปันอาหารกันตามธรรมชาติ

ม้าลายมีอายุยืน ๒๕-๓๐ ปี โดยเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุประมาณ ๒ ปี ตั้งท้องนาน ๓๔๕-๓๙๐ วัน ออกลูกครั้งละ ๑ ตัว ลูกม้าลายแรกเกิดจะมีขนปุกปุยและมีแถบสีน้ำตาลสลับขาว ใช้เวลาไม่นานในการยืนและวิ่งได้ทันทีหลังคลอด

ม้าลายพบได้ทั่วไปในทวีปแอฟริกาแถบที่ราบโล่งทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาร่า โดยแบ่งได้เป็น ๓ ชนิด และแบ่งออกได้เป็นหลายชนิดย่อย ทั้งนี้ ในอดีตการจำแนกประเภทของม้าลายแบ่งออกได้เป็นกว่า ๑๐ ชนิด โดยแบ่งออกตามถิ่นที่อยู่อาศัย แต่ปัจจุบันหลงเหลืออยู่เพียง ๓ ชนิด และไม่สามารถแบ่งตามที่อยู่อาศัยได้เหมือนเดิมอีกแล้ว เนื่องจากสภาพแวดล้อมและสภาวะความเป็นอยู่ที่เปลี่ยนไป และจากที่เคยมีกันอยู่ไม่น้อยม้าลายในธรรมชาติจะถูกล่าเพื่อเอาเนื้อเป็นอาหารและหนังเพื่อทำเป็นเครื่องประดับและเครื่องนุ่งห่ม ทำให้บางชนิดสูญพันธุ์ไปแล้ว เหลือกันอยู่แค่ ๓ ชนิดใหญ่ ได้แก่

๑.Equus zebra หรือ ม้าลายภูเขา (Mountain zebra) เป็นม้าลายที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ มีถิ่นอาศัยอยู่ในทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศแองโกลา, นามิเบีย และแถบแอฟริกาใต้ มี ๒ สปีชีส์ย่อย คือ ม้าลายภูเขาเคป (Cape Mountain Zebra) และ ม้าลายภูเขาฮาร์ตมันน์ (Hartmann Mountain Zebra)

๒.Equus quagga ม้าลายควากกา หรือ ม้าลายธรรมดา หรือม้าลายทุ่งหญ้า (Plains zebra, Common zebra) พบกระจายพันธุ์มากที่สุดในบรรดาม้าลายด้วยกัน จากตอนใต้ของประเทศเอธิโอเปียตลอดจนฝั่งตะวันออกของทวีปแอฟริกา ไกลจนถึงตอนใต้ของแองโกลาและทางตะวันออกของประเทศแอฟริกาใต้ มันมีลายแตกต่างจากม้าลายชนิดอื่นตรงที่มีลายขนาดใหญ่สีดำพาดยาวสลับกับลายสีขาวจากหลังลงไปทั้งสองข้างของลำตัวจนถึงใต้ท้อง และแต่ละตัวก็มีลายไม่เหมือนกัน เป็นม้าลายที่มีปฏิสัมพันธ์กันในระหว่างสมาชิกในฝูง มีการตกแต่งร่างกายและทำความสะอาดเนื้อตัวให้กันและกัน จะอยู่รวมฝูงกันทั้งในทุ่งหญ้าที่เป็นที่ราบหรือป่าละเมาะ บางครั้งจะรวมกันเป็นฝูงใหญ่ที่มีสมาชิกถึงหมื่นตัว

ทุกปี ราวเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูแล้ง ม้าลายมากกว่า ๕๐๐,๐๐๐ ตัว จะออกเดินทางร่วมกับฝูงวิลเดอบีสต์ที่มีจำนวน ๑.๘-๒ ล้านตัว (มันคอยระวังภัยให้กัน เพราะม้าลายประสาทตาไม่ดี แต่ประสาทหูดีเยี่ยม ขณะที่วิลเดอบีสต์ประสาทตาดี แต่ประสาทหูไม่ดี) ไปตามเส้นทางอพยพระยะยาวกว่า ๑,๕๐๐ กิโลเมตร ระหว่างอุทยานแห่งชาติเซเรงเกติในแทนซาเนีย กับเขตอนุรักษ์แห่งชาติมาไซมาราในเคนยา เพื่อแสวงหาแหล่งอาหาร คือทุ่งหญ้าใหม่ๆ และแหล่งน้ำ จะอยู่กันที่นั่นราว ๒ เดือนจนถึงเดือนกันยายน-ตุลาคม ก็พากันอพยพกลับไปที่ทุ่งหญ้าเซเรงเกติที่จะมีหญ้าขึ้นใหม่เต็มท้องทุ่ง ระหว่างการอพยพทั้งไปและกลับ ม้าลายกับวิลเดอบีสต์จะล้มตายมากมาย ทั้งจากการเบียดเสียด จมน้ำและถูกจระเข้กินขณะข้ามแม่น้ำมารา ส่วนตัวที่อ่อนแรงก็จะถูกสัตว์กินเนื้ออย่างสิงโต เสือดาว ชีตาห์ ไฮยีน่า ล่าเป็นอาหาร

ม้าลายสปีชีส์ย่อยตัวสำคัญของสายพันธุ์ธรรมดา คือ ม้าลายเบอร์เชลล์ (Burchell zebra) แพร่กระจายพันธุ์ในทวีปแอฟริกาตอนใต้ เช่น บอตสวานา สวาซิแลนด์ แอฟริกาใต้ ชื่อของมันตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแด่วิลเลียม จอห์น เบอร์เชลล์ วิศวกรและนักสำรวจธรรมชาติชาวอังกฤษ เป็นม้าลายอีกชนิดหนึ่งที่ใกล้สูญพันธุ์ โดยฝีมือของมนุษย์ที่ล่าเอาเนื้อหนัง ทั้งถูกบุกรุกถิ่นที่อยู่อาศัย

๓.quus grevy ม้าลายเกรวี หรือ ม้าลายอิมพีเรียล (Grevy zebra, Imperial zebra) เป็นม้าลายที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และเป็นม้าป่าที่ใหญ่ที่สุด พบได้เฉพาะถิ่นในป่าของเคนยาและเอธิโอเปีย ชื่อของสายพันธุ์ตั้งเป็นเกียรติแด่ชูเลส เกรวี ประธานาธิบดีฝรั่งเศส โดยรัฐบาลของแอบบินซินเนีย ม้าลายเกรวีมีลายแคบและเบียดชิดกันมาก และจากลวดลายที่แปลกจากม้าลายชนิดอื่นๆ นี่เองที่ทำให้มันถูกล่าอย่างหนักจนเกือบจะสูญพันธุ์ กว่าจะมีกฎหมายอนุรักษ์ออกมาคุ้มครองก็เกือบจะสายไปแล้ว ม้าลายเกรวีไม่ได้มีสังคมในฝูงที่ใกล้ชิดเหมือนกับม้าลายธรรมดา มีการเกื้อกูลช่วยเหลือกันน้อยมาก อีกคุณสมบัติเด่นคืออดน้ำได้นานถึง ๓ น





ผีเสื้อกลางวัน-กลางคืน

จากบทความทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ว่า ผีเสื้อแบ่งออกเป็น ๒ กลุ่มใหญ่ คือ ผีเสื้อกลางวันและผีเสื้อกลางคืน ซึ่งหากดูเพียงผิวเผินจะเห็นว่าทั้งผีเสื้อกลางวันและผีเสื้อกลางคืนไม่มีอะไรแตกต่างกันเลย

แต่ในทางอนุกรมวิธานผีเสื้อกลางวันกับผีเสื้อกลางคืนอยู่ในอันดับย่อย (suborder) ต่างกัน คือ อันดับย่อย ผีเสื้อกลางวัน (butterfly) และ อันดับย่อยผีเสื้อกลางคืน (moth) หรือเรียกว่า แมลงมอธ

ในจำนวนผีเสื้อนับแสนชนิดในโลกนี้พบว่าส่วนใหญ่เป็นผีเสื้อกลางคืน ส่วนผีเสื้อกลางวันมีเพียงประมาณ ๑๐% ของผีเสื้อทั้งหมด แต่ด้วยสีสันอันสวยงามสะดุดตา และโอกาสที่พบเห็นได้ง่ายคือเวลากลางวัน ผีเสื้อกลางวันจึงเป็นที่รู้จักมากกว่า

อย่างไรก็ตาม ในการจะชี้ชัดลงไปว่าเป็นผีเสื้อกลางวันหรือผีเสื้อกลางคืน จะต้องใช้หลักเกณฑ์หลายๆ อย่างประกอบการพิจารณา หากจะให้ละเอียดลงไปต้องอาศัยลักษณะทางกายวิภาคและพฤติกรรมอื่นๆ มาประกอบด้วย

สำหรับลักษณะสำคัญที่พอจะสังเกตได้ง่ายๆ มีดังนี้
๑.หนวด ผีเสื้อกลางวันมีปลายหนวดพองโตออกคล้ายกระบอง บางพวกมีปลายหนวดโค้งงอเป็นตะขอ เวลาเกาะจะชูหนวดขึ้น เป็นรูปตัววี (V) ส่วนผีเสื้อกลางคืนมีหนวดรูปร่างต่างกันหลายแบบ เช่น รูปเรียวคล้ายเส้นด้าย รูปฟันหวี หรือแบบพู่ขนนก เวลาเกาะพักจะวางแนบไปกับขอบปีกคู่หน้า แต่บางชนิดคล้ายผีเสื้อกลางวัน

๒.ลำตัว ผีเสื้อกลางวันมีลำตัวค่อนข้างยาวเรียวเมื่อเปรียบเทียบกับความกว้างของปีก ไม่มีขนปกคลุม หรือมีเพียงบางๆ เห็นไม่ชัดเจน ในขณะที่ผีเสื้อกลางคืนมีลำตัวอ้วนสั้น มีขนปกคลุมมากและเป็นเส้นยาวเห็นได้ชัดเจน

๓.การออกหากิน ผีเสื้อกลางวันส่วนใหญ่จะออกหากินในเวลากลางวัน แต่มีบางชนิดออกหากินในเวลาเช้ามืดและเวลาใกล้ค่ำ ในขณะที่ผีเสื้อกลางคืนออกหากินในเวลากลางคืน ดังที่พบเห็นบินมาเล่นแสงไฟตามบ้านเรือน แต่ก็มีบางชนิดที่ออกหากินกลางวัน เช่น ผีเสื้อทองเฉียงพร้า ซึ่งมีสีสันฉูดฉาดสวยงามไม่แพ้ผีเสื้อกลางวัน

๔.การเกาะพัก ผีเสื้อกลางวันขณะเกาะพักมักหุบปีกขึ้นตั้งตรง ยกเว้นกรณีที่ปีกเปียกฝนอาจกางปีกออกผึ่งแดด แต่ก็มีบางชนิดที่กางปีกตลอดเวลา เช่น ผีเสื้อในสกุลผีเสื้อกะลาสี ส่วนผีเสื้อ กลางคืนจะกางปีกออกแนบกับพื้นที่เกาะ ขอบปีกด้านหน้าอยู่ข้างลำตัวต่ำกว่าระดับของหลัง เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว หรือคล้ายกระโจม และคลุมปีกคู่หลังจนมิด

๕.ปีก โดยทั่วไปผีเสื้อกลางวันจะมีปีกกว้างเมื่อเทียบกับขนาดของลำตัว ส่วนผีเสื้อในวงศ์ผีเสื้อกลางคืนจะมีปีกขนาดเล็กใกล้เคียงกับลำตัว แต่ก็มีบางชนิดที่ปีกมีขนาดใหญ่มากๆ เช่น ผีเสื้อหนอนกท้อน

๖.การเชื่อมติดของปีก เพื่อให้ปีกกระพือไปพร้อมกันเวลาบินของผีเสื้อกลางวัน ปีกคู่หลังจะขยายกว้างยื่นเข้าไปซ้อนทับและแนบสนิทอยู่ใต้ปีกคู่หน้า แต่ในผีเสื้อกลางคืนจะมีขนแข็งจากปีกคู่หลัง ซึ่งอาจจะมี ๑ หรือ ๒ เส้น สอดเข้าไปเกี่ยวกับตะขอเล็กๆ ที่โคนปีกด้านใต้ของปีกคู่หน้า

โดยสรุปข้อสังเกตง่ายๆ ผีเสื้อกลางวันมีสีสันสวยงามสดใส ปากมีลักษณะเป็นงวง ลำตัวเรียวยาว ปีกไม่มีขนปกคลุมหรือถ้ามีก็จะบางมากๆ เวลาเกาะปีกจะยกพับขึ้นตั้งฉากกับลำตัว ส่วนหนวดจะชูเป็นรูปตัววี โดยที่ปลายหนวดมีตุ่มเล็กๆ คล้ายกระบองให้สังเกต

ส่วนผีเสื้อกลางคืนส่วนมากสีสันออกโทนเรียบๆ ไม่มีลวดลายเด่นชัดสวยงาม ลำตัวกลมอ้วน ปีกมีขนปกคลุมอยู่เป็นจำนวนมากเป็นเส้นยาวๆ มองเห็นชัดเจน เวลาเกาะจะกางปีกขนานกับลำตัว พร้อมเอาลำตัวซ่อนไว้ใต้ปีก ส่วนหนวดมีขนเหมือนแปรงลวดหรือขนนก บางชนิดมีปากลดรูปไปจนไม่สามารถกินอาหารได้ เช่น ผีเสื้อยักษ์




ช้างแกลบ

ความรู้นำมาจากการสืบค้นของ เอนก นาวิกมูล ผู้เชี่ยวชำนาญประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภาคใต้ ว่า "ช้างแกลบ" เป็นช้างที่มีขนาดเล็ก คนจึงเรียกว่าช้างแกลบ ซึ่งแปลว่าช้างขนาดย่อม เหมือนเรียกม้าแกลบ วิหารแกลบ หรือบางทีก็เรียกช้างแคระ หรือช้างค่อม ซึ่งหมายถึงช้างตัวเตี้ย หลังงอ บางทีเรียกตามถิ่นที่ช้างหากินว่าช้างโพระ หรือช้างพรุ คือหากินตามบริเวณที่ลุ่มมีน้ำท่วมขัง อาหารของช้างพันธุ์นี้คือหญ้าพื้นเมืองที่ขึ้นอยู่ตามพรุ เช่นหญ้ากก หญ้าปรือ ใครจับมันไปเลี้ยงเพื่อใช้งานก็เลี้ยงไม่ได้ ช้างจะตายเพราะผิดน้ำผิดอาหารทุกตัว

ทั้งนี้ จากการบันทึกของเอนก นาวิกมูล ระบุด้วยว่า นายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล นักนิยมไพรคนสำคัญของไทย ได้กล่าวถึงเรื่องช้างแคระในหนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย ฉบับวันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๐๖ ว่า เมื่อสิบปีก่อนนั้นเคยพบช้างแคระ หรือช้างค่อม ๒ ครั้ง บริเวณทิศเหนือของทะเลสาบสงขลา โดยครั้งแรกพบ ๗ เชือก ครั้งที่ ๒ พบ ๔ เชือก ขณะที่ยืนกินหญ้าอยู่ตามหนองน้ำ เห็นได้ชัดว่ารูปร่างสูงใหญ่เหมือนควายตามบ้าน มีนิสัยไม่ดุร้ายเหมือนช้างป่า ต่อมาใกล้ๆ ถึงปีพ.ศ.๒๕๐๖ ได้ออกไปสำรวจอีกครั้ง แต่ไม่พบช้างประเภทนี้ สืบสวนได้ความว่าสาเหตุเพราะส่วนหนึ่งชาวบ้านไล่ล่ามากินต่างหมู

ส่วนหนังสือ Five Year in Siam ของ เฮอร์เบิร์ต วาริงตัน สมิธ ชาวอังกฤษ กล่าวว่า ในปี พ.ศ.๒๔๙๓ สมิธได้ไปสำรวจดินแดนชายฝั่งภาคใต้ซีกอ่าวไทย พบว่าในทุ่งระโนดซึ่งแทบจะไม่มีต้นไม้ใหญ่ และมีบ้านเรือนเพียงน้อยหลัง มีฝูงช้างที่มีขนาดเล็กอย่างประหลาด เรียกกันว่าช้างแดง ตามสีขนของมัน ขนาดสูงราว ๘ ฟุต หัวและเท้าเล็ก ลำตัวอ้วนใหญ่ เป็นที่หวาดกลัวในความดุดันของมันเช่นเดียวกับช้างป่าทั่วไป ช้างแดงพวกนี้ไม่ตื่นตกใจง่ายๆ ชอบบุกรุกเอาบ้านและทุ่งแทนป่า หากจับมาแล้วมักตายง่าย เพราะช้างพวกนี้คุ้นเคยกับน้ำกร่อยในหนองน้ำ ถ้าเปลี่ยนไปอยู่กับน้ำใสๆ จากภูเขาก็จะตาย นอกจากนี้ยังพบว่ากระดูกช้างแกลบถูกนำมาดัดแปลงทำกระต่ายขูดมะพร้าว ด้ามมีดจักตอก
 
ยังมีข้อมูลจากโครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภาคใต้ โรงเรียนสตรีพัทลุง สืบค้นศึกษาเกี่ยวกับช้างแคระ หรือช้างแกลบ ไว้ว่า มีหลักฐานจากหลายแหล่งชี้ชัดว่า ประมาณทศวรรษ ๒๔๘๐ ในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทยมีช้างที่มีขนาดเล็กกว่าช้างทั่วไปอยู่โขลงหนึ่ง จำนวนประมาณ ๓๐-๔๐ เชือก อาศัยอยู่ในบริเวณทุ่งหญ้าและป่าพรุรอบๆ ทะเลสาบตอนบน ชาวบ้านในท้องถิ่นเรียกว่า ช้างค่อม ช้างแคระ ช้างแกลบ ช้างพรุ

เล่ากันว่าช้างชนิดนี้มีรูปร่างลักษณะอย่างช้างทั่วไป แต่ขนาดเล็กกว่า ลำตัวสูงประมาณควายป่าคือราวๆ ๗-๘ ฟุต หัวและเท้าเล็ก ลำตัวอ้วนใหญ่ คุ้นเคยกับสภาพน้ำกร่อยและหนองน้ำในทุ่งหญ้าริมทะเล หรือภูมิประเทศแบบกึ่งป่ากึ่งน้ำเป็นอย่างดี ชอบรวมตัวกันเป็นฝูงหรือโขลง มีนิสัยดุร้ายเป็นที่หวาดกลัวของชาวบ้านในชุมชนรอบทะเลน้อย (ช่วงต้นของทะเลสาบสงขลา คาบเกี่ยวอยู่กับ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช และ อ.ระโนด จ.สงขลา)

มีการตั้งข้อสังเกตว่าเรื่องเล่าและ/หรือการพบเห็นช้างค่อมในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ ถึงทศวรรษ ๒๕๐๐ น่าจะเป็นเรื่องราวช่วงสุดท้ายของพวกมัน เพราะเรื่องเล่าในทุ่งชุ่มน้ำทางทิศตะวันออกของทะเลน้อยเมื่อปลายทศวรรษ ๒๔๘๐ ช้างค่อมถูกเอ่ยถึงในฐานะศัตรูสำคัญที่ออกจากป่ามาทึ้งกินเหยียบย่ำทำลายนาข้าว ชาวบ้านจึงช่วยกันขับไล่พวกมันออกจากพื้นที่โดยไม่จำกัดวิธีการ

โดยเฉพาะเรื่องเล่าที่ยังเป็นที่จดจำกันว่า ชาวบ้านรอบทะเลน้อยระดมแรงกันออกล่าศัตรูนาข้าวชนิดนี้เพื่อใช้เป็นอาหารด้วยแล้วก็น่าจะเชื่อได้ว่ายุคสุดท้ายของพวกมันได้ผ่านไปแล้วจริงๆ เพราะเมื่อนายแพทย์บุญส่งลงมาสำรวจอีกครั้งเมื่อปี ๒๕๐๖ ก็ไม่ปรากฏร่องรอยของช้างค่อมในทุ่งหญ้าและป่าพรุรอบทะเลน้อยอีกเลย



ลิงธรรมชาติไทย

มารู้จักลิงที่มีในธรรมชาติประเทศไทยกันเถอะ ซึ่งทุกชนิด ปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.๒๕๓๕

ลิงอ้ายเงียะ, ลิงอัสสัม หรือลิงภูเขา (Assam macaque ; ชื่อวิทยาศาสตร์ : Macaca assamensis) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับวานร (Primates)

มีรูปร่างอ้วนเทอะทะ แขน-ขาสั้น ขนปุย ขนตามลำตัวมี สีเหลืองปนเทา บางตัวอาจมี สีเข้มมากจนดูคล้ายสีน้ำตาลดำ ส่วนที่หัวไหล่ หัวและแขนมี สีอ่อนกว่าบริเวณอื่นๆ

ขนหัวและหางมักมีสีเทา ในบางฤดูกาลผิวหนังจะเปลี่ยนเป็นสีเทาอมฟ้า

มักอาศัยในป่าบนภูเขาสูงหรือตามที่ราบสูงซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๕๐๐-๓,๕๐๐เมตร ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่บนต้นไม้ซึ่งมีเรือนยอดสูงจากพื้นดิน ๑๐-๑๕ เมตร

มักอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็กๆ ฝูงหนึ่งมีสมาชิก ๔๐-๖๐ ตัว จัดเป็นลิงนิสัยดุร้าย ทั้งกระดิกหางได้เหมือนสุนัข อาหาร ได้แก่ ผลไม้ ยอดไม้อ่อน แมลง และสัตว์เลื้อยคลานจำพวกกิ้งก่า

ลิงเสน
การกระจายพันธุ์พบในเนปาล ภูฏาน สิกขิม รัฐอัสสัมของอินเดีย ภาคใต้ของจีน ภาคเหนือของพม่าและเวียดนาม รวมถึงภาคตะวันตกและภาคอีสานของไทย ซึ่งปัจจุบันพบได้เพียง ๙ แห่ง ที่วัดถ้ำปลา และวัดถ้ำผาแลนิภาราม เชียงราย, บ้านป่าไม้ เชียงใหม่, เขตห้ามล่าสัตว์ป่า ถ้ำผาท่าพล พิษณุโลก, อุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองลาน กำแพงเพชร, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง ตาก, อุทยานแห่งชาติภูเขียว ชัยภูมิ, เขื่อนเขาแหลม และอุทยานแห่งชาติน้ำตกเอราวัณ กาญจนบุรี

ลิงเสน หรือลิงหมี (Stump-tailed macaque, Bear macaque; ชื่อวิทยาศาสตร์ : Macaca arctoides) จัดอยู่ในวงศ์ลิงโลกเก่า (Cercopithecidae) ลำตัวยาว หลังสั้น หางสั้นมากจนดูเหมือนกับไม่มีหาง หน้ากลม เมื่ออายุมากหน้าจะเป็นสีแดง ก้นแดง หน้าท้องมีขนน้อย ขนตามตัวมีสีเทาออกแดง ขนบนหัวจะขึ้นวนเป็นก้นหอย ขนที่แก้มชี้ไปทางหลังและคลุมหูไว้

พฤติกรรมชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ หากินตอนกลางวัน เป็นลิงที่หากินตามพื้นดินมากกว่าบนต้นไม้ ชอบอยู่ป่าทึบมากกว่าป่าโปร่ง และพบทั้งป่าสูงและป่าต่ำ เวลาตกใจจะวิ่งขึ้นต้นไม้อย่างรวดเร็ว

ลิงแสม
พบได้ในป่าทุกชนิดของเขตร้อนและกระจายกันอยู่แถบตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ตะวันออกเฉียงใต้ของจีน ตะวันตกของมาเลเซีย แหลมมลายู พม่า ไทย เวียดนาม และตะวันออกของบังกลาเทศ สำหรับประเทศไทย เดิมพบได้ทุกภูมิภาค แต่ปัจจุบันมีสถานะในธรรมชาติลดลงเป็นจำนวนมากจนเหลือเพียงไม่กี่ฝูงเท่านั้น อาทิ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง, อุทยานแห่งชาติแก่งกรุง, อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง, อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง เป็นต้น

ลิงแสม (Long-tailed macaque, Crab-eating macaque ; ชื่อวิทยาศาสตร์ : Macaca fascicularis) จัดอยู่ในวงศ์ลิงโลกเก่า เป็นลิงขนาดกลาง ขนตามลำตัวสีน้ำตาล หางยาวกว่าความยาวของลำตัว ขนตรงกลางหัวตั้งแหลมชี้ขึ้น ขนใต้ท้องสีขาว โดยสีขนจะเปลี่ยนแปลงไปตามอายุ ฤดูกาล และถิ่นที่อยู่อาศัย มีการแพร่กระจายพันธุ์ค่อน ๑๐ ชนิด เป็นลิงอีกชนิดหนึ่งที่พบได้แทบทุกภูมิประเทศ ทั้งในป่าชายเลนใกล้ทะเล โดยลิงฝูงที่อาศัยที่นี่จะว่ายน้ำและดำน้ำเก่ง หากินสัตว์ทะเลขนาดเล็กเป็นอาหาร แต่บางครั้งก็พบอาศัยอยู่ในป่าดิบชื้นและพื้นที่สูงประมาณ ๒,๐๐๐ เมตร จากระดับน้ำทะเล หรือพื้นที่เกษตรกรรม

ลิงแสมในประเทศไทยมีอยู่หลายชนิด ชนิดที่พบทางอ่าวไทยมีขนยาวเป็นจุกอยู่บนหัว ขนมีสีเหลือง ส่วนชนิดที่พบทางฝั่งทะเลอันดามันมีขนาดเล็กกว่าและหน้าดำ

โดยทั่วไปมันพยายามจะปรับตัวให้สามารถอยู่ในพื้นที่บริเวณขอบนอกของป่า มากกว่าอยู่ในป่าลึก และปรับตัวให้เข้ากับมนุษย์ในบางโอกาส ดังที่มักพบเห็นทั่วไปตามศาลพระกาฬ ลพบุรี หรือศาลเจ้าแม่เขาสามมุข ชลบุรี ซึ่งมักจะอยู่กันเป็นฝูงใหญ่ อาจมีสมาชิกถึง ๒๐๐ ตัว ทั้งยังพบเห็นได้แม้ในเขตกรุงเทพมหานคร

ลิงวอก (Rhesus macaque ; ชื่อวิทยาศาสตร์ : Macaca mulatta) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับวานร เป็นลิงที่มีร่างกายอ้วนสั้น ลำตัวส่วนหลังสีน้ำตาล ส่วนอื่นเป็นสีน้ำตาลเทา หางยาวประมาณครึ่งหนึ่งของความยาวลำตัว ขนหางค่อนข้างยาวและฟู โคนหางค่อนข้างใหญ่และเรียวเล็กลงไปทางปลายหาง แต่หางสั้นกว่าลิงแสม ขนบริเวณสองข้างแก้มม้วนวนเป็นก้นหอย ผลัดขนประมาณช่วงเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม โดยจะเริ่มที่บริเวณปากก่อน หลังจากนั้นจึงจะเริ่มผลัดขนที่หลัง ตัวเมียอาจมีขนสีแดงในฤดูผสมพันธุ์ ขนที่หัวของลิงวอกจะชี้ตรงไปด้านหลัง

มีพฤติกรรมชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ตั้งแต่ ๕๐ ตัวขึ้นไป มีตัวผู้แก่เป็นจ่าฝูง ชอบอยู่ตามป่าที่มีโขดหินหรือหน้าผา และเป็นป่าที่ค่อนข้างแห้งแล้ง ออกหากินบริเวณใกล้เคียงกับที่อาศัย ชอบลงมาเดินบนพื้นดิน เป็นลิงที่เชื่องและไม่ค่อยกลัวคน จากการศึกษาพบว่าลิงวอกมีความสัมพันธ์กับชุมชนมนุษย์มาเป็นเวลานาน แต่การที่มันมักเข้ามาอาศัยและใช้ประโยชน์ในพื้นที่เกษตรกรรม ทำให้บางครั้งถูกจับฆ่าเพื่อนำมาทำเป็นอาหารและฆ่าเพื่อลดความรำคาญ

ลิงวอกมีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่อัฟกานิสถาน ภาคเหนือของอินเดีย เนปาล พม่า ภาคใต้ของจีน ลาว เวียดนาม ภาคตะวันตก ภาคเหนือของไทย โดยในประเทศไทย เชื่อว่าเหลือฝูงสุดท้ายที่วัดถ้ำผาหมากฮ่อ อ.วังสะพุง จ.เลย

ลิงลม หรือนางอาย หรือลิงจุ่น
(Slow loris, Loris ; ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nycticebus)
เป็นสกุลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสกุลหนึ่งในวงศ์ Lorisidae ในอันดับไพรเมต โดยปกติเคลื่อนไหวได้เชื่องช้ามาก แต่จะว่องไวในเวลากลางคืน และแว้งกัดได้รวดเร็ว เมื่อหาอาหาร และเวลาที่โดน ลมพัด อันเป็นที่มาของชื่อลิงลม และเมื่อตกใจมันจะเอาแขนซุกใบหน้าไว้ อันเป็นที่มาของชื่อนางอาย

ลิงลมมีขนนุ่มสั้นหนาเป็นปุย ลำตัวกลมอ้วน หน้าสั้น ตากลมโต ใบหูเล็กจมอยู่ในขน มีเส้นสีน้ำตาลเข้มจากหัวไปตลอดแนวสันหลัง หรือขีดคาดตามใบหน้า ส่วนหัว ดวงตา และ เส้นกลางหลัง อันเป็นลักษณะสำคัญในการแบ่งแยกชนิด มีส่วนหางที่สั้นมากจนดูเหมือนไม่มีหาง ไม่มีนิ้วหัวแม่มือ นิ้วเท้าอันที่สองมีเล็บเป็นตะของอโค้งไว้จับกิ่งไม้ได้แน่นในขณะมันลุกขึ้นยืนเพื่อจับแมลงกินเป็นอาหาร ทั้งสภาพของขนและสียังสามารถแฝงตัวให้กลมกลืนกับธรรมชาติได้ด้วย

ทุกชนิดพบกระจายพันธุ์อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดีย จนถึงหมู่เกาะต่างๆ ในอินโดนีเซีย มีพฤติกรรมหากินตามลำพังในเวลากลางคืน เว้นแต่ตัวที่มีลูกอ่อนจะเอาลูกเกาะติดอกไปด้วย กลางวันจะซ่อนหน้าเพื่อหลบแสงสว่าง โดยใช้ใบไม้บังหรืออยู่ในโพรงไม้ อาหารที่ลิงลมปีนป่ายหากินตามต้นไม้ คือแมลง สัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก และไข่นก แต่ก็กินสัตว์ขนาดใหญ่ เช่น ค้างคาว หรือนกที่หลับบนกิ่งไม้เป็นอาหารได้ด้วย ลิงลมมีกระดูกสันหลังแบบพิเศษ คือบิดตัวได้คล้ายงู ใช้ปีนป่ายต้นไม้ได้เป็นอย่างดี และมีมือที่เก็บซ่อนนิ้วเพื่อให้จับเหยื่อและเคลื่อนที่ไปทั่วได้โดยไม่เป็นที่สังเกต นิ้วชี้ของขาหลังมีเล็บยาวปลายแหลมเห็นได้ชัด ขาหน้าและขาหลังสั้นแต่แข็งแรง

ลิงกัง
(Pig-tailed Macaque ; ชื่อวิทยาศาสตร์ : Macacanemestrina) วงศ์ Cercopithecidae
อันดับไพรเมต เป็นลิงที่มีรูปร่างอ้วนสั้น ขนสั้นสีเทาหรือสีน้ำตาล หน้าค่อนข้างยาว ขนบนหัวสั้นและขึ้นวนเป็นก้นหอย ขนตรงส่วนใต้ท้องมีสีจางจนเกือบขาว หางค่อนข้างสั้น ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่า และมีขนปรกหน้าผากน้อยกว่าตัวผู้ ชอบกินผลไม้ เมล็ดพืช และแมลงเป็นอาหาร เวลากินอาหารมักชอบเก็บไว้ข้างแก้มแล้วค่อยๆ เอามือดันอาหารที่เก็บไว้ออกมากินทีละน้อย

ชอบอาศัยอยู่ตามป่าทึบบริเวณเชิงเขา ชอบท่องเที่ยวไปเรื่อย ไม่ค่อยอยู่เป็นที่ บางตัวออกหากินตัวเดียว ไม่รวมฝูง ชอบลงมาอยู่ตามพื้นดินมากกว่าอยู่บนต้นไม้ แต่เวลานอนขึ้นไปนอนบนต้นไม้ ชอบส่งเสียงร้องและมักร้องรับกันทั้งฝูง ลิงกังพบในอัสสัม พม่า ไทย มาเลเซีย สุมาตรา บอร์เนียว สำหรับประเทศไทยพบทั่วไปแทบทุกภาค พบมากตั้งแต่ราชบุรี เพชรบุรี จนถึงภาคใต้



จระเข้ : น้ำจืด-น้ำเค็ม

จากข้อมูลเผยแพร่ของกรมประมงซึ่งแยกความแตกต่างของจระเข้ ๒ ชนิดไว้ว่า จระเข้น้ำจืด (Crocodylus siamensis) จระเข้น้ำจืดในสภาพธรรมชาติมักอยู่เดี่ยวๆ อาศัยตามแหล่งน้ำนิ่ง บึง หรือวังน้ำที่สงบ มีความลึกไม่เกิน ๕ ฟุต มีร่มเงาพอสมควร เพราะจระเข้เป็นสัตว์เลือดเย็น ถ้าอากาศร้อนมันจะแช่อยู่ในน้ำมากกว่าอยู่บนบก แต่ถ้าอากาศหนาวจะขึ้นมานอนผึ่งแดดบนบกในตอนกลางวันโดยจะนอนนิ่งอ้าปากกว้างเพื่อปรับอุณหภูมิในร่างกาย

โดยเฉลี่ยแล้วจระเข้น้ำจืดมีความยาวตลอดลำตัวประมาณ ๓-๔ เมตร แต่ถึงแม้จะมีขนาดใหญ่กลับเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่ว ว่องไว วิ่งในระยะทางสั้นๆ ได้เร็วพอๆ กับคนเลยทีเดียว จระเข้มีสายตาไวมากมันงับนกที่บินผ่าน รืออาหารที่คนโยนให้ไว้ได้ก่อนตกถึงพื้น ตาของมันมองเห็นได้รอบทิศเป็นมุม ๑๘๐ องศา จึงมองเห็นวัตถุเหนือหัวได้ด้วย หรือแม้แต่เมื่ออยู่ในน้ำก็สามารถมองเห็นได้โดยมีม่านตาใสอีกชั้นหนึ่งปิดทับลูกตา

นอกจากจมูกเป็นปุ่มกลมนูนที่ปลายปากแล้ว จระเข้ยังมีกระเปาะเป็นโพรงภายในปาก จึงรับรู้กลิ่นได้ทั้งบนบกและในน้ำ ประสาทสัมผัสพิเศษอีกอย่างหนึ่งคือการรับรู้ทางผิวหนังเมื่อมีแรงสั่นสะเทือนพื้นดินหรือน้ำ และสามารถรับรู้เหตุการณ์ทางธรรมชาติได้ล่วงหน้า เช่น ฝนตก พายุ แผ่นดินไหว จะส่งเสียงร้องในลำคอคล้ายเสียงคำรามและมีอาการตื่นตระหนกตกใจ

เพศของจระเข้จะเห็นได้ชัดในจระเข้ที่มีอายุ ๓ ปีขึ้นไป โดยสังเกตได้จากหลายแห่งด้วยกัน คือ ลำตัว จระเข้ตัวผู้จะมีช่วงลำตัวยาวกว่า มีสีเข้มกว่าเป็นสีเกือบดำ ในขณะที่ตัวเมียลำตัวจะสั้นและป้อมกว่า เกล็ดตัวผู้มีเกล็ดใหญ่กว่า ที่ท้ายทอยมีเกล็ดขนาดใหญ่สองข้าง ข้างละ ๒ เกล็ด ซึ่งเป็นลักษณะประจำพันธุ์ของจระเข้น้ำจืด และจะมีเกล็ดอยู่ที่ด้านบนของส่วนคอเป็นกลุ่มเกล็ดขนาดใหญ่ประมาณ ๖ เกล็ด ส่วนหัว ตัวผู้มีโหนกหลังตาสูงคมเด่นชัด

ส่วนจระเข้น้ำเค็ม (Crocodylus porosus) ธรรมชาติของจระเข้น้ำเค็ม จระเข้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเมื่อโตเต็มที่มีความยาวถึง ๙ เมตร ชอบอาศัยอยู่ตามปากแม่น้ำหรือป่าชายเลน ลักษณะแตกต่างจากจระเข้น้ำจืดคือไม่มีเกล็ด ๔ เกล็ดที่ท้ายทอย ปากเรียวยาวกว่า ตีนคู่หลังมีพังผืดระหว่างนิ้วตีนมากกว่า บางครั้งจึงเรียกว่าจระเข้ตีนเป็ด สีลำตัวออกสีเหลืองอ่อน และการเรียงตัวของลายที่ส่วนหางดูคล้ายตาหมากรุก และมีนิสัยดุร้าย

ความแตกต่างของเพศผู้และเพศเมีย ส่วนที่สังเกตได้ชัดเจนคือลำตัว จระเข้น้ำเค็มตัวผู้จะมีลำตัวผอมยาว ตัวเมียจะมีลำตัวอ้วนสั้นกว่า ขนาดตัวโดยรวมดูเล็กกว่าตัวผู้ที่อายุเท่ากัน และหางจระเข้น้ำเค็มตัวผู้จะมีหางยาวกว่าจระเข้ตัวเมีย หัวตัวผู้ระยะห่างของโหนกหลังตาจะกว้างกว่า หัวของตัวผู้จะดูป้อมสั้นในขณะที่ตัวเมียจะดูหัวยาวเรียวกว่า

มีความรู้จากวิกิพีเดียเพิ่มเติมว่า จระเข้ (Crocodile) เป็นวงศ์ของสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Crocodylidae อยู่ใน อันดับจระเข้ (Crocodilia) มีลักษณะโดยรวมคือ ส่วนปลายของหัวแผ่กว้างหรือเรียวยาว ขากรรไกรยาวและกว้าง เมื่อหุบปากแล้วจะเห็นฟันซี่ที่ ๔ ของขากรรไกรล่างเนื่องจากขอบปากบนตรงตำแหน่งนี้เป็นรอยหยักเว้า ส่วนปลายของขากรรไกรล่างข้างซ้ายและข้างขวาเชื่อมต่อกันเป็นพื้นที่แคบ มีก้อนเนื้อที่ปลายปากนูนสูงที่ช่องเปิดรูจมูกเรียกว่า "ก้อนขี้หมา" ซึ่งแตกต่างตามชนิดและเพศหรือขนาด โคนหางเป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่ แข็งแรงเรียกว่า "บ้องตัน" หางแบนยาวใช้โบกว่ายน้ำ

ถือเป็นสัตว์ที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหาร เนื่องจากเป็นสัตว์ผู้ล่ากินเนื้อขนาดใหญ่ที่ไม่มีศัตรูตามธรรมชาติ แต่จระเข้ก็ไม่ใช่สัตว์กินจุ กินอาหารวันละครั้งคิดเป็นน้ำหนักประมาณ ๓-๕% ของน้ำหนักตัวเท่านั้น จระเข้ไม่สามารถกินอาหารใต้น้ำได้ เพราะจะทำให้น้ำไหลเข้าหลอดลม จระเข้ตัวโตเต็มวัยจะมีพฤติกรรมกินอาหารแบบหมุนตัว มันจะใช้ปากที่มีฟันอยู่กว่า ๖๐ ซี่ งับเหยื่อแล้วหมุนตัวเองพร้อมสะบัดเหยื่ออย่างแรงจนฉีกเป็นชิ้นๆ ก่อนกลืนลงคอ ส่วนเหยื่อตัวเล็กจะถูกบดแหลกด้วยลิ้นขนาดใหญ่ โดยใช้ลิ้นดัน เหยื่ออัดแน่นกับเพดานของอุ้งปาก นอกจากนี้จระเข้ยังกลืนก้อนกรวดหรือก้อนหินเข้าไปในกระเพาะเพื่อช่วยในการบดอาหารด้วย

จระเข้พบได้ในเขตอบอุ่นและเขตร้อนทั่วโลก นับเป็นสัตว์ที่มีจำนวนสมาชิกมากและหลากหลายที่สุดของอันดับจระเข้ที่ดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน


เรื่อง : หนังสือพิมพ์ข่าวสด
3032  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ไปเที่ยว / Re: วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม : แหล่งสรรพวิทยาการ มหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดในเมือ เมื่อ: 15 สิงหาคม 2559 17:29:14



พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
โปรดฯ ให้จารึกวิชาว่าด้วยการบริหารร่างการแก้โรคลมต่างๆ

การบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ จนกลายเป็นวัดขนาดใหญ่ มีพระพุทธรูป เจดีย์ พระอุโบสถ พระวิหาร ตลอดจนภาพเขียนบนฝาผนัง ซึ่งช่างศิลป์ได้สร้างสรรค์ผลงานอันสูงเยี่ยมและงดงามจับตาจนเป็นสัญลักษณ์ของสถาปัตยกรรมทางศาสนาในเขตพระนครหลวงจนถึงปัจจุบันนี้แล้ว  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีรับสั่งให้ช่างสลักหิน สลักภาพไว้บนแผ่นหินอ่อน เป็นตำรับตำรา ไว้ตามพระระเบียงโบสถ์ภายในวัดพระเชตุพนฯ เป็นอันมาก ฝีมือสลักภาพหินเหล่านั้นประกอบด้วยภาพพระธรรมคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ภาพเขียนที่แสดงถึงขนบประเพณีต่างๆ ของไทย ตำรับพิชัยสงคราม ตำรายา ตำราโหราศาสตร์ ตำราโคลงฉันท์กาพย์กลอน สุภาษิต ตำราพฤกษศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และมานุษยวิทยา  เพื่อให้ไพร่ฟ้าประชากรได้เข้าไปศึกษาหาความรู้ในสรรพวิทยาการแขนงต่างๆ และเป็นสิ่งแสดงถึงวัฒนธรรมอันสูงส่งของชาติไทยเราสืบไป

พระฤๅษีดัดตน
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีเรื่องราวเกี่ยวกับฤๅษีเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย คือพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดฯ ให้จารึกวิชาว่าด้วยการบริหารร่างกายแก้โรคลมต่างๆ ตลอดจนแก้อาการปวดเมื่อยในร่างกายโดยให้เอาดีบุกและสังกะสีมาหลอมหล่อเป็นรูปฤๅษีดัดตนในลักษณะต่างๆ รวม ๘๐ รูป แต่ละรูปมีโคลงสี่สุภาพจารึกไว้ว่า ฤๅษีตนนั้นๆ ชื่ออะไร ดัดตนท่าอะไร แก้เมื่อยแก้ลมอย่างไร ฯลฯ  พระราชดำริในการนี้ปรากฏอยู่ในจารึกเรื่องการบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ ดังความว่า

“ลุจุลศักราชพ้น        พันปี เศษเฮย
น้อยกับเก้าสิบแปดปี    วอกตั้ง
นักษัตรอัฐศกรวี        วารกติก มาศแฮ
สุกรปักษ์ห้าค่ำครั้ง      เมื่อไท้บรรหารฯ”

“ให้พระประยุรราชผู้     เป็นกรม หมื่นแฮ
ณรงค์หริรักษ์รดม        ช่างใช้
สังกสีดีบุกผสม           หล่อรูป
นักสิทธิ์แปดสิบให้        เทิดถ้าดัดตนฯ”

“เสร็จเขียนเคลือบภาคพื้น   ผิวกาย
ตั้งทุกศาลาราย           รอบล้อม
อาวาสเชตวันถวาย       นามทั่ว องค์เอย
จารึกแผ่นผาพร้อม       โรคแก้หลายกลฯ”

“เป็นประโยชน์นรชาติสิ้น    สบสถาน
เฉกเช่นโอสถทาน         ท่านให้
พูนเพิ่มพุทธสมภาร       สมโพธิ์ พระนา
ประกาศพระเกียติยศไว้    ตราบฟ้าดินศูนย์ฯ”

พระฤๅษีดัดตน แต่เดิมมีจำนวนมากถึง ๘๐ รูป เป็นรูปซึ่งปั้นแล้วหล่อด้วยโลหะเจือประกอบด้วยสังกะสี เมื่อทำขึ้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้มีการตกแต่งด้วยการเขียนระบายสีให้มีสภาพสมจริงเพื่อชวนให้คนทั่วไปสนใจชม  ปัจจุบันสีที่ระบายแต่งแต้มโลหะลบเลือนไม่เหลือติดให้เห็น

รูปหล่อโลหะพระฤๅษี ๘๐ รูปนี้ กรมหมื่นณรงคหริรักษ์ พระประยุรราชวงศ์ผู้ใหญ่ในรัชกาลที่ ๓ เป็นผู้ดำเนินงานสองพระราชดำริ

กรมหมื่นณรงคหริรักษ์ ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ลำดับที่ ๓๕ พระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าชายดวงจักร ประสูติเมื่อวันจันทร์เดือน ๘ แรม ๖ ค่ำ ตรงกับวันที่ ๙ กรกฎาคม ปีชวด พุทธศักราช ๒๓๓๕ ในรัชกาลที่ ๓ ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นณรงคหริรักษ์ โปรดให้ทรงกำกับกรมช่างหล่อ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ เมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๑๐ แรม ๘ ค่ำ ปีมะเมีย พุทธศักราช ๒๓๘๙ พระชนม์ ๕๕ พรรษา เป็นต้นราชสกุลดวงจักร

รูปพระฤๅษีดัดตน ทำขึ้นโดยอาศัยลักษณะนามและรูปของพระฤๅษีที่มีอยู่ในพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เรื่อง รามเกียรติ์ อาทิ พระฤๅษีอัจนะคาวี พระฤๅษียุทธ พระฤๅษีโคดม พระฤๅษีอิสีสิงค์ เป็นแนวคิดในการสร้างรูป แต่ในหมู่รูปพระฤๅษีจำนวน ๘๐ รูปนี้ ยังมีรูปพระฤๅษีที่เป็นนักพรตต่างภาษาปนอยู่ด้วย ๒ รูป ซึ่งในปัจจุบันรูปทั้ง ๒ ไม่ปรากฏให้เห็นเสียแล้ว ยังจะทราบได้ก็เพียงอาศัยความในโคลงจารึกพรรณนาลักษณะรูปนักพรตทั้ง ๒ ดังนี้

“ปริพาชกนี้ชื่อ      โยฮัน แลเฮย
น้ำพึ่งตั๊กแตนฉัน     เช่นเข้า
อยู่ยังฝั่งโยระดัน       หนังอูฐ ครองนา
นั่งดัดหัตถ์ถ่างเท้า    ขัดแข้งขาหายฯ”

“ผู้ผนวชจีนแจ้งชื่อ   หลีเจ๋ง
อยู่เขตรเขาซ่าเหล็ง  ตึ่งสิ้ว
ลัทธิท่านเคร่งเขม็ง   เมืองท่าน ถือฮอ
มือเหวี่ยงผวาท่างิ้ว   รงับเส้นสลักทรวงฯ”



เขามอ หรือสวนหย่อม เป็นสวนหินปลูกไม้ประดับที่รัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้รื้อขนก้อนศิลาใหญ่ และเล็กซึ่งก่อเป็นภูเขาในสวนขวาในพระบรมมหาราชวัง แต่ครั้งรัชกาลที่ ๒ มาก่อนเป็นภูเขาเป็นสวนประดับรอบวัด ปลูกต้นไม้ไว้ตามเชิงเขาและบนเขา มีทั้งสถูปและเสาโคมแบบจีน รูปตุ๊กตาจีนและรูปสัตว์จัตุบาท (สัตว์สี่เท้า) ต่างๆ เรียงรายอยู่ทั่วไปทั้งบนเขา และเชิงเขา เขามอมีทั้งหมด ๒๔ ลูก เช่น เขาประดู่ เขาสะเดา เขาอโศก เขาสมอ เขาฤๅษีดัดตน เขาศิวลึงค์ เป็นต้น พรรณไม้ที่ปลูกประดับส่วนใหญ่ตายลงทางวัดได้ปรับปรุงเป็นสวนหิน ประดับด้วยไม้ดอกไม้ใบนับเป็นมุมนั่งพักผ่อนที่เพลิดเพลินตาเย็นกายสบายใจ

เขาฤๅษีดัดตน คือสวนสุขภาพแห่งหนึ่งอยู่ใกล้กับพระวิหารทิศใต้ เป็นพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมการแพทย์แผนโบราณ และศิลปวิทยาการครั้งกรุงศรีอยุธยาไว้ ทรงพระราชดำริเอาท่าดัดตนอันเป็นการพักผ่อนอิริยาบถ แก้ปวดเมื่อยตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ประยุกต์รวมกับคติไทยที่ยกย่องฤๅษีเป็นครูผู้ประสิทธิ์ประสาทศิลปวิทยาการต่างๆ เป็นรูปปั้นฤๅษีดัดตน แสดงท่าต่างๆ ไว้ที่วัดเพื่อให้ราษฎรทั่วไปได้ศึกษาเล่าเรียน และรักษาโรคได้อย่างกว้างขวาง สมัยแรกสร้างนั้นปั้นด้วยดิน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๓ หล่อเป็นเนื้อชินอยู่จนถึงปัจจุบันเดิมมีทั้งหมด ๘๐ ท่า แต่ปัจจุบันคงเหลืออยู่ ๒๔ ท่า

รูปปั้นฤาษีดัดตน เป็นท่าตรงตามหลักโยคะ ของโยคีอินเดียเป็นการออกกำลังกายที่ใช้ศิลปะ เพื่อการมีสุขภาพที่แข็งแรง นอกจากนั้นยังมีโคลงสี่สุภาพ ซึ่งจารึกไว้ในแผ่นศิลาประดับอยู่ตามศาลาราย ปัจจุบันได้รวบรวมไว้ที่ศาลาราย เช่น ศาลาเปลื้องเครื่อง (โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ) เป็นต้น โคลงภาพฤๅษีดัดตน เป็นตำรากายภาพบำบัดของแพทย์ไทย แผนโบราณอันเป็นพระราชประสงค์ ขององค์พระพุทธบุรพมหากษัตริย์ที่ทรงพระราชดำริให้วัดนี้เป็นแหล่งรวมวิชาการ



สมัยโบราณคนไทยสมัยก่อนมักไม่ค่อยได้รู้หนังสือ
เพราะไม่มีสถานที่เรียน รัชกาลที่ ๓ จึงโปรดฯ ให้นักปราชญ์ราชบัณฑิต
ที่มีความรู้ความชำนาญแต่ละสาขาวิชา จดตำราให้นายช่าง
จารึกไว้ในแผ่นศิลา หรือปั้นรูปแสดงท่าทางต่างๆ ให้เห็นเด่นชัด
เพื่อจะได้เป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจ แม้คนที่อ่านหนังสือไม่ออก
ก็สามารถเรียนรู้หรือทำได้ถูกต้อง เท่ากับสร้างอุปกรณ์ทำการสอนไว้
แก่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน















ท่าทางแสดงอาการดัดตนเพื่อแก้โรคต่างๆ ด้วยท่วงท่าอาการไม่ซ้ำกัน
โดยตั้งแสดงแก่คนทั่วไปได้อาศัยดูเป็นแบบอย่างและจำไปดัดตน
แก้โรคภัยต่างๆ ตามอาการของโรคภัยที่เป็นอยู่


ควรจะมีตอนต่อไปอีกหลายตอน
แต่ได้พรรณามามากจนไม่เป็นอันได้โพสท์ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวอื่น
ไว้โอกาสอันเหมาะควร ค่อยมาต่อกันใหม่

ผู้เรียบเรียง : Kimleng
อ้างอิง : ๑.พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่๓ ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี, กรมศิลปากรจัดพิมพ์เผยแพร่
          ๒.แผ่นดินพระนั่งเกล้าฯ, วอลเตอร์ เอฟ.เวลลา แต่ง, พันเอก นิจ ทองโสภิต แปล, กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร จัดพิมพ์เผยแพร่
          ๓.ภูมิศาสตร์วัดโพธิ์, กาญจนาคพันธุ์, สำนักพิมพ์สาส์นสวรรค์
          ๔.สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมหาราช,  ณัฐวุฒิ  สุทธิสงคราม เรียบเรียง, จัดพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๘
          ๕.สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง, หน้า ๕๗๓๔-๕๗๓๗, มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ จัดพิมพ์เผยแพร่
          ๖.เว็บไซท์ watpho.com
          ๗.เว็บไซท์ dooasia.com
          ๘.เว็บไซท์ th.wikipedia.org


3033  สุขใจในธรรม / เกร็ดศาสนา / ‘ฮินดู’ กิน ‘วัว’ ใครก็รู้ว่า ฮินดูมีข้อห้ามรับประทานเนื้อวัว เมื่อ: 12 สิงหาคม 2559 12:10:18



‘ฮินดู’ กิน ‘วัว’

ใครก็รู้ว่า ฮินดูมีข้อห้ามรับประทานเนื้อวัว ซึ่งรวมถึงไม่ให้ฆ่าวัวด้วย การฆ่า (และกิน) วัวถือกันว่าเป็นบาปหนัก (ปาตกะ) แต่ก็ไม่ใช่บาปที่สุดแบบอนันตริยกรรม ที่เรียกว่า “มหาปาตกะ” เท่าฆ่าพราหมณ์ (เรียกว่า พราหมณะทหัน)

แม้จะไม่ใช่บาปที่สุด แต่ก็ถือเป็นเรื่องร้ายแรงอย่างมากในปัจจุบัน

ชาวฮินดูในประเทศอินเดียกว่าเจ็ดสิบเปอร์เซ็นต์เป็นมังสวิรัติ โดยเฉพาะวรรณะสูงกินแต่ถั่วงานมเนย ที่ทานเนื้อสัตว์ก็ทานปลา ไก่ และแกะ แต่ก็มีจำนวนไม่มากนัก

เนื้อหมูเขาก็ไม่ค่อยกินกันครับ การไม่กินหมูเป็นคติเดิมของฮินดูเอง เพราะในคัมภีร์มนูธรรมศาสตร์ ระบุว่าไม่ควรกินหมูบ้าน แต่ไม่เห็นว่าหมูบ้านนั้นสกปรกมากกว่าหมูป่า

ต่อเมื่ออิสลามเข้ามาในดินแดนอินเดีย การกินหมูยิ่งกลายเป็นสิ่งต้องห้ามขึ้นไปอีก  

แต่ในคัมภีร์มนูธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นกฎหมายหลักปฏิบัติของฮินดูโบราณ กล่าวว่า “นมางฺสภกฺษเณ โทโษ น มทฺเย น จ ไมถุเน, ปฺรวฤติเรษา ภูตานำ นิวฤติสฺตุ มหาผลา” แปลว่าการกินเนื้อสัตว์ ดื่มสุราและเสพเมถุนไม่เป็นโทษ เพราะเป็นปกติของสัตว์ทั้งหลาย แต่การละเว้นย่อมเป็นผลบุญใหญ่

มีหลักฐานจากคัมภีร์และวัฒนธรรมหลายกลุ่ม แสดงให้เห็นว่าคนฮินดูแต่เดิมจึงไม่ใช่นักมังสวิรัติ และกินเนื้อสัตว์กันโดยทั่วไปไม่ว่าวรรณะไหน

การกลายเป็นนักมังสวิรัติ มาจากสองสาเหตุ เรื่องแรก คืออิทธิพลของพุทธศาสนา ซึ่งเน้นหลักอหิงสาและเมตตาธรรม เช่นเดียวกับศาสนาไชนะ และทำให้พราหมณ์ต้องปรับตัวอย่างมากจนเริ่มคติการถือมังสวิรัติกันแพร่หลาย

อีกส่วนคือ เรื่องความจำเป็นด้านเศรษฐกิจและสภาพทรัพยากรธรรมชาติ เนื่องจากการกินมังสวิรัติเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและทรัพยากรที่มีจำกัดในอินเดีย โดยเฉพาะภาคเหนือ

ปัจจุบันพราหมณ์พังคลีและพราหมณ์ภาคใต้บางพวกยังกินปลาบางชนิด เช่น ปลาตะเพียน โดยไม่ถือว่าผิดบาปอะไร เพราะเขาว่ามันเป็นของบริสุทธิ์ (ศัพท์พราหมณ์ว่า ปริตระ) และบรรพบุรุษก็กระทำสืบมาแบบนี้

ที่จริงผมควรจะบอกด้วยว่ามีรัฐเดียวในอินเดียปัจจุบันที่ชาวฮินดูเขากินวัวกันเป็นเรื่องปกติครับ และยังเป็นรัฐที่อนุญาตให้ฆ่าวัวอย่างถูกต้องตามกฎหมาย คือ รัฐเกรละ ในภาคใต้ของอินเดีย

ชาวเกรละ บอกว่าการกินเนื้อวัวเป็นประเพณีของเขามายาวนานแล้ว ซึ่งโดยวัฒนธรรมก็เป็นรัฐที่รักษาขนบดั้งเดิมแบบก่อนฮินดูไว้มาก  อีกทั้งรัฐเกรละมีการปกครองระบบสังคมนิยมและเป็น ฆราวาสนิยม (secularism) เข้มข้น รัฐจึงไม่เข้ามายุ่มย่ามกับเรื่องความเชื่อของประชาชน

นอกนั้นเกือบทุกรัฐมีกฎหมายเกี่ยวกับการฆ่าวัวเข้มงวดมากน้อยแตกต่างกันไป บางรัฐห้ามการฆ่าวัวเด็ดขาด บางรัฐผ่อนปรนให้มีการจำกัดการฆ่า โดยเฉพาะในส่วนชุมชนมุสลิม บางรัฐอนุญาตแค่การนำเข้า

แต่หลักฐานทางประวัติศาสตร์ชี้ให้เห็นว่า คนฮินดูกินเนื้อวัวกันมาก่อนอยู่แล้ว และยังฆ่าวัวเพื่อบูชายัญต่อเทพเจ้า ในคัมภีร์ฤคเวทมีหลายแห่งที่แสดงว่าชาวอารยันฆ่าและกินวัว และมีเทพบางองค์ที่โปรดปรานเนื้อวัว อย่างพระอินทร์ (ในพระเวท)

นอกจากคัมภีร์พระเวท คัมภีร์อื่นๆ เช่น อปัสตัมพคฤหยสูตร ซึ่งเป็นคัมภีร์แสดงพิธีกรรมสำหรับคฤหัสถ์ ยังกล่าวว่าให้เจ้าบ้าน “ล้มวัว” เมื่อมีแขกมาเยือน เมื่อมีพิธีศราทธ และมีพิธีการแต่งงาน หรือในคัมภีร์แพทยศาสตร์ยังแนะนำให้มีการปรุงเนื้อวัวเพื่อรักษาโรคบางอย่าง

แม้แต่พิธีกรรมบูชาเทพเจ้าของชาวฮินดูในปัจจุบัน เมื่อถึงขั้นตอนที่จะถวายอาหาร (ไนเวทยํ) ซึ่งล้วนเป็นขนมมังสวิรัติและผลไม้ ในสายที่ครูบาอาจารย์ของผมเรียนมา พราหมณ์จะทำ “มุทรา” หรือ “ท่ามือ” สองท่าเบื้องหน้าเทพ ถือเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมถวายอาหาร ได้แก่ มัสยมุทรา และ เธนุมุทรา

“มัสยะ” แปลว่า “ปลา” ส่วน “เธนุ” หมายถึง “โค”

อันนี้ชัดเลยครับว่าทุกวันนี้ชาวฮินดูส่วนมากไม่ได้ถวาย “เนื้อและปลา” จริงๆ ต่อเทพแล้ว จึงใช้การทำมุทราถวายสองสิ่งนี้โดยจินตภาพแทน แต่เพราะเป็นธรรมเนียมโบราณ จะทิ้งก็ไม่ได้ จะถวายจริงก็ไม่ได้อีก เลยมีทางออกแบบนี้

จึงเป็นหลักฐานอีกอย่าง ว่าสมัยก่อนนั้นทั้งเนื้อและปลาเป็นของในพิธีกรรมและกินกันโดยทั่วไป

วัวสำหรับชาวอารยัน มีสถานะเป็น “ปศุสัตว์” คือสัตว์เลี้ยงในระบบครัวเรือน และถือเป็นทรัพย์สมบัติที่แสดงเศรษฐสถานะได้

แม้จะมีบางแห่งในพระเวท เขียนว่าแม่วัวเป็นสิ่งไม่ควรถูกฆ่า แต่ก็มิใช่เป็นห้ามการกินเนื้อวัวอย่างเด็ดขาด เพียงแต่เป็นการปรามไว้ในเชิงประโยชน์ด้านต่างๆ เช่นใช้ในการกสิกรรม แรงงาน และในแง่ผลผลิตมากกว่า

แม่โคให้ผลผลิตที่สำคัญต่อครัวเรือนอินเดีย ให้นมซึ่งนำมาทำเนยและโยเกิร์ต ฉี่ (โคมูตร) ใช้รักษาโรค และมูล (โคมัย) ใช้เป็นเชื้อเพลิงและสมุนไพร

พราหมณ์มีชื่อเรียกของทั้งห้าอย่างนี้ว่า “ปัญจคัภย์” หรือของจากโคห้าอย่าง นอกจากมีประโยชน์สารพัดนับถือกันว่าบริสุทธิ์สะอาด ชำระบาปได้

แล้วเหตุใจวัวจึงกลายมาเป็น “สัตว์ศักดิ์สิทธิ์” กลายเป็น “โคมาตา” ของฮินดู อีกทั้งการฆ่าการกินกลายเป็นเรื่องร้ายแรง

มีความเข้าใจที่ไม่ครบถ้วนในสังคมไทยว่า ที่ชาวฮินดูถือว่าวัวเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ ไม่กินไม่ฆ่า เพราะวัวเป็นสัตว์พาหนะของพระศิวะ และเป็นเทพนนทิ

ถ้าใช้เหตุผลเดียวกันนี้ จะมีของที่ชาวฮินดูกินใช้ไม่ได้อีกมาก ไม่ว่าจะหมูป่า (วราหาวตาร) ปลากราย (มัสยาวตาร) แพะ (พระทักษะ มีหัวเป็นแพะ) ไก่ (พาหนะของพหุชละเทวี) ต้นกะเพรา (พระแม่ตุลสี) ต้นไม้อีกมากมายหลายชนิด น้ำจากแม่น้ำ (ล้วนแต่เทวี) ฯลฯ

แต่เขาก็กินใช้สิ่งเหล่านี้กันเป็นปกติ ดังนั้นลำพังแค่เทวตำนานอาจไม่ใช่เหตุผลมากพอที่จะทำให้วัวศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมาได้ เพราะเป็นเพียงแต่ตัวช่วยส่งเสริมและสร้างพื้นฐานรองรับความสำคัญของวัวในทางศาสนามากกว่า

เหตุที่วัวกลายเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ ที่จริงเป็นการเมืองเรื่องศาสนาด้วย  

ในเดือนกันยายนปีที่แล้ว (๒๕๕๘) มีการฆาตกรรมชายมุสลิมคนหนึ่งที่ฆ่าและกินเนื้อวัวในเดลี มีการทำร้ายผู้หญิงมุสลิมคนหนึ่งขณะที่เธอหิ้วถุงที่คนเข้าใจว่าเป็นเนื้อวัวบนรถไฟ ยังไม่นับม็อบประท้วงกฎหมายและการอนุญาตให้มีการฆ่าวัว ที่เกิดขึ้นเสมอในอินเดีย

ความรุนแรงเช่นที่ว่านี้ค่อยๆ บ่มเพาะขึ้นด้วยปัจจัยทางประวัติศาสตร์และการเมืองอินเดีย

ดร.DN Jha นักประวัติศาสตร์เห็นว่าหลังราชวงศ์เมายะและสมัยคุปตะ พราหมณ์เริ่มไม่ค่อยเห็นด้วยกับการฆ่าวัว เหตุผลหนึ่งคือต้องการแข่งขันกันกับพุทธศาสนา จึงต้องแสดงให้เห็นว่าพราหมณ์เองมีท่าทีเมตตาธรรมเช่นเดียวกัน

อีกทั้งการส่งเสริมอำนาจของพราหมณ์และความแตกต่างระหว่างวรรณะ ทำให้กฎเกณฑ์เกี่ยวกับความบริสุทธิ์มีความสำคัญยิ่งขึ้น การฆ่าและการกินวัวกลายเป็นเรื่องของคนวรรณะต่ำ (และเป็นมาจนบัดนี้) ในขณะที่พราหมณ์ละเลิกเนื้อสัตว์บนโต๊ะอาหาร เพื่อแสดงถึงความสูงส่งของตน

ช่วงยุคกลางของอินเดียซึ่งมีการเข้ามาของผู้ปกครองชาวมุสลิม การกินและไม่กินวัวกลายเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่แยกชาวฮินดูกับมุสลิมออกจากกัน และการฆ่าวัวได้กลายเป็นเรื่องร้ายแรงที่ผู้ปกครองรัฐเองยังต้องระมัดระวัง

ต่อมาในช่วงรุ่งเรืองของอาณาจักรฮินดูมาราฐา นำโดยฉัตรปติศิวาจีผู้ต่อต้านจักรพรรดิโมกุล ศิวาจีได้ชื่อว่า “ผู้รับใช้พราหมณ์และวัว” วัวก็ยิ่งกลายเป็นสัญลักษณ์ของอารมณ์ความรู้สึกทางศาสนามากขึ้น

ครั้นถึงช่วงอังกฤษปกครองอินเดียในปลายศตวรรษที่ ๑๙ ชาวสิกข์นามธารีและฮินดูใช้วัวเป็นสัญลักษณ์ร่วมกันในการต่อต้านอังกฤษ ซึ่งออกกฎหมายอนุญาตให้มีการฆ่าวัวในรัฐปัญจาบ

หลังได้รับเอกราชจนถึงทุกวันนี้ กลุ่มศาสนานิยมและชาตินิยมฮินดู เช่น RSS  หรือ VHP ยังคงใช้วัวเป็นสัญลักษณ์ในการขับเคลื่อนประเด็นทางการเมือง โดยเฉพาะการส่งเสริม “ฮินดุสฺตวะ” (Hindustva) หรือการปกครองแบบฮินดูและใช้เป็นข้ออ้างในการจัดการกลุ่มความเชื่ออื่นๆ เช่น มุสลิม

การผลิตซ้ำเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของวัวจึงเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า รวมทั้งแง่มุมทางอารมณ์ เช่น ความสงสารและโกรธแค้นเมื่อมีการทำร้ายวัว (แบบเดียวกับที่สังคมไทยมักมีต่อกรณีการทารุณสุนัข)


ที่มา :  คอลัมน์ ‘ผี พราหมณ์ พุทธ’ โดย คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง, หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ น.๘๑ ฉบับที่ ๑๘๗๗ ประจำวันที่ ๕-๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๙
3034  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ไปเที่ยว / Re: วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม : แหล่งสรรพวิทยาการ มหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดในเมือ เมื่อ: 11 สิงหาคม 2559 14:18:07


รื้อฟื้นการสร้างพระพุทธรูปขึ้นใหม่
ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๓

ในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี (สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) ตลอดมาจนสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒ หากมีการสร้างวัดวาอารามขึ้นมาใหม่ พระประธานประจำโบสถ์หรือประจำพระวิหารก็มิได้หล่อขึ้นมาใหม่  แต่ได้ไปอัญเชิญพระพุทธปฏิมากร หล่อด้วยทองเหลือง ทองสัมฤทธิ์ มาจากกรุงศรีอยุธยา กรุงสุโขทัย เมืองพิษณุโลก เมืองลพบุรี และหัวเมืองประเทศราช ได้แก่ อาณาจักรล้านนา และอาณาจักรล้านช้าง มาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ ประจำพระวิหาร เช่น เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โปรดให้อัญเชิญพระแก้วมรกตจากเวียงจันทน์ เมื่อ พ.ศ.๒๓๒๗ ครั้งนั้นโปรดให้อัญเชิญพระบางอันเป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่เมืองหลวงพระบางลงมาพร้อมกับพระแก้วมรกต เข้ามาประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สถิตอยู่เป็นเวลา ๓ ปีเศษ ก็โปรดเกล้าฯ ให้เจ้านันทเสนอัญเชิญพระบางไปประดิษฐานไว้ ณ เมืองเวียงจันทน์

การที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเชื่อว่าการสร้างพระพุทธรูปเป็นมหากุศลอันยิ่งใหญ่ ฉะนั้น ในระหว่างรัชสมัยจึงได้มีการรื้อฟื้นการสร้างพระพุทธรูปขึ้นใหม่อีกครั้ง โปรดฯ ให้สร้างพระพุทธรูปสำคัญหลายพระองค์ด้วยกัน เช่น พระประธานในพระอุโบสถวัดราชโอรส วัดราชนัดดา วัดสุทัศนเทพวราราม วัดเฉลิมพระเกียรติ และวัดปรินายก กับในพระวิหารวัดกัลยาณมิตร และวัดพระเชตุพน



พระนอนวัดพระเชตุพนมีขนาดยาวเป็นอันดับสามของประเทศไทย
รองลงมาจากพระนอนจักรสีห์ จ.สิงห์บุรี และพระนอนวัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง

พระพุทธรูปที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ มีแบบและลักษณะคล้ายคลึงกับพระพุทธรูปสมัยอยุธยาตอนปลาย ไม่อ่อนช้อยเหมือนกับที่สร้างในสมัยกรุงสุโขทัยและเมืองพิษณุโลก  แต่จะเป็นแบบเรียบๆ ดูเข้มแข็ง และมักนิยมสร้างพระพุทธรูปปางมารวิชัย ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางคว่ำลงที่พระชานุ

โดยเหตุที่การหล่อพระพุทธรูปปางมารวิชัยมีจำนวนมากแล้ว รัชกาลที่ ๓ ทรงมีพระราชดำริว่า พระพุทธรูปปางสำคัญได้สร้างขึ้นในวัดนี้หลายปางแล้ว ขาดแต่ปางปรินิพพาน หรือเรียกโดยทั่วไปว่า "ปางไสยาสน์"  จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระนอน หรือพระพุทธไสยาสน์ ไว้ที่วัดพระเชตุพนองค์ ๑  เป็นพระก่ออิฐถือปูน ลงรักปิดทองทั้งองค์ พุทธลักษณะบรรทม (นอน) ตะแคงเบื้องขวา พระเศียรหนุนพระเขนย (หมอน) พระหัตถ์ซ้ายทอดทาบไปตามพระวรกาย พระหัตถ์ขวาวางหงายอยู่ข้างพระเขนย พระบาทซ้ายทับซ้อนพระบาทขวา ฝีมือช่างสิบหมู่ของหลวง พระองค์เจ้าลดาวัลย์ (กรมหมื่นภูมินทรภักดี) เป็นผู้ควบคุมการสร้าง มีความยาว ๑ เส้น ๓ วา สูง ๑๕ เมตร เฉพาะพระพักตร์วัดจากไรพระศกถึงพระหนุยาว ๑๐ ศอก กว้าง ๕ ศอก พระบาทยาว ๕ เมตร สูง ๓ เมตร จำหลักด้วยมุกเป็นภาพอัฎฐตดรสตมงคล หรือมงคล ๑๐๘ ล้อมรอบด้วยกงจักร ประดับที่พื้นฝ่าพระบาท ฝีมืองดงามมาก

อัฎฐตดรสตมงคลหรือมงคล ๑๐๘ ประการ เป็นคติความเชื่อที่ปรากฏในคัมภีร์ชินาลังการฎีกาของลังกา โดยระบุว่าเป็นมงคลที่พราหมณ์ได้เห็นจากฝ่าพระบาทของเจ้าชายสิทธัตถะเมื่อประสูติได้ ๕ วัน แต่ปรากฏว่าไม่มีการสร้างพระพุทธบาทรูปลักษณ์นี้ในลังกา หากแต่พบที่พุกาม ประเทศพม่า กล่าวกันว่า มงคล ๑๐๘ ประการนี้ เป็นการพัฒนาแนวความคิด และสืบทอดมาจากรูปมงคล ๘

มงคล ๑๐๘ ประการ ประกอบด้วยมงคลต่างๆ แบ่งประเภทได้ดังนี้
   ๑.เป็นลักษณะแห่งโชคลาภและความอุดมสมบูรณ์ เช่นหม้อน้ำ ปลาคู่ สวัสดิกะ พวงมณี ดอกบัว เป็นต้น
   ๒.เป็นเครื่องประกอบพระบารมีของกษัตริย์และพระเจ้าจักรพรรดิ เช่น สัตตรัตนะ ๗ ประการ เครื่องราชกกุธภัณฑ์ บัลลังก์ เครื่องสูง เครื่องยศ เครื่องตันต่างๆ และราชพาหนะ เป็นต้น
   ๓.เป็นส่วนประกอบของพระภูมิในจักรวาลตามความเชื่อของพระพุทธศาสนา เช่น เขาจักรวาล มหาสมุทร ทวีปทั้ง ๔ เขาพระสุเมรุ เขาสัตตบริภัณฑ์ ป่าหิมพานต์ เป็นต้น
 



พระพุทธโลกนาถ พระประธานในพระวิหารทิศตะวันออกมุขหลัง
พุทธลักษณะประทับยืน หล่อด้วยโลหะ สูง ๒๐ ศอก
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ถวายพระนามพระพุทธรูปประธาน
ในพระวิหารทิศใหม่ และจารึกพระนามไว้ที่ผนังด้านหลังพระพุทธรูปว่า
" พระพุทธโลกนารถ ราชมหาสมมุติวงษ์ องคอนันตญาณสัพพัญญู
สยัมภูพุทธบพิตร" ดังปรากฏอยู่ทุกวันนี้

พระพุทธโลกนาถ หรือพระโลกนาถ พระนามเดิมว่า "พระโลกนาถศาสดาจารย์" พระประธานในพระวิหารทิศตะวันออกมุขหลัง เป็นพระพุทธรูปยืน หล่อด้วยโลหะ สูง ๒๐ ศอก  เดิมเคยประดิษฐานอยู่ภายในวัดพระศรีสรรเพชญ์ กรุงศรีอยุธยา ต่อมาได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดพระเชตุพน ตั้งแต่สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช น่าจะพร้อมกับการอัญเชิญพระพุทธรูปพระศรีสรรเพชญ เมื่อราวปี พ.ศ.๒๓๓๒ ในศิลาจารึกกล่าวว่า “พระพุทธรูปยืนสูงยี่สิบศอก ทรงพระนามว่าพระโลกนาถศาสดาจารย์ ปรักหักพัง เชิญมาแต่วัดพระศรีสรรเพ็ชญ์กรุงเก่า ปฏิสังขรณ์เสร็จแล้วเชิญประดิษฐานในพระวิหารทิศตะวันออกมุขหลัง บรรจุพระบรมธาตุด้วย”  

พระพุทธโลกนาถเป็นพระพุทธรูปที่สำคัญในวัดพระเชตุวิมลมังคลารามที่มีหลักฐานเกี่ยวกับที่มาดั้งเดิมว่าอัญเชิญมาจากวัดพระศรีสรรเพชญ กรุงเก่า ซึ่งเป็นวัดในพระราชวังหลวงของกรุงศรีอยุธยา สร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๐๔๓ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ โปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระพุทธรูปพระศรีสรรเพชญ เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ.๒๓๑๐

พระพุทธโลกนาถ นับถือกันว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ในทางขอลูก มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ดังปรากฏเรื่องเล่ากันว่า เจ้าจอมแว่น (พระนามเดิมว่า เจ้านางคำแว่น เป็นพระบรมวงศานุวงศ์จากนครเวียงจันทน์) หรือที่เรียกกันว่า “คุณเสือ” พระสนมเอกในรัชกาลที่ ๑ ได้เคยมาบูชากราบทูลอธิษฐานความปรารถนาใคร่จะขอบุตรและได้ถวายตุ๊กตาศิลาไว้ ๑ คู่ ปัจจุบันนี้ก็ยังติดอยู่ที่ผนังพระวิหาร

เรื่องนี้มีโคลงจารึกในรัชกาลที่ ๓ ว่า
รจนาสุดารัตนแก้ว       กุมารี หนึ่งฤา
เสนอธิบายบุตรี           ลาภไซร้
บูชิตเชตชินศรี           เฉลาฉลัก หินเฮย
บุญส่งจงลุได้              เสร็จด้วยดังถวิล

กุมารหนึ่งพึงฉลักตั้ง     ติดผนัง
สถิตย์อยู่ทิศเบื้องหลัง    พระไว้
คุณเสือสวาดิหวัง        แสวงบุตร ชายเฮย
เฉลยเหตุธิเบศร์ให้      สฤษดิ์แสร้งแต่งผลฯ
 
แต่ตามประวัติของคุณเสือนั้น ปรากฏว่ามิได้ประสูติพระราชบุตร คือไม่สมหวังในเรื่องขอบุตรนี้



พระพุทธรูปองค์สำคัญในวัดพระเชตุพนฯ


พระพุทธเทวปฏิมากร พระประธานประจำพระอุโบสถ


พระพุทธโลกนาถศาสดาจารย์


พระพุทธรูปปางปรินิพพาน หรือปางไสยาสน์ หรือเรียกกันทั่วไปว่า "พระนอนวัดโพธิ์"


กล่าวกันว่าพระบาทมุก เป็นผลงานอันยอดเยี่ยมหาที่ติมิได้
พระพุทธไสยาสวัดพระนอน จึงเป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้น
ด้วยฝีมือช่างในยุคแห่งศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ที่รุ่งโรจน์ที่สุด


ลวดลายอันประณีต วิจิตรงดงาม ที่ข่างศิลป์สมัยรัชกาลที่ ๓
ฝากฝีมือไว้ที่พระเขนย หรือหมอนหนุนพระเศียรพระนอนวัดพระเชตุพน




พระโปรดปัญจวัคคีย์ ปางมารวิชัยสมัยสุโขทัย
พระประธานประจำพระวิหารทิศใต้ มีหน้าตักกว้าง ๕ ศอก ๑ คืบ ๑ นิ้ว
ได้อัญเชิญมาจากสุโขทัย  ส่วนพระปัญจวัคคีย์นั้น โปรดฯ ให้หล่อขึ้นใหม่
ที่ฐานพระพุทธรูปมีจารึกซึ่งเข้าใจว่าจารึกในสมัยรัชกาลที่ ๔
ได้พระราชทานสร้อยพระนามเพิ่มว่า
“พระพุทธชินราช วโรวาทธรรมจักร อัครปฐมเทศนา นราศภบพิตร”


"พระปาเลไลย์" ภาพจาก : เว็บไซต์วัดพระเชตุพนฯ
พระปาเลไลยก์ หรือ พระปาลิไลยก์  มีพระนามว่า
พระพุทธปาลิไลยก์ ภิรัติไตรวิเวก เอกจาริกสมาจารวิมุตติญาณบพิตร
พระประธานประจำวิหารทิศเหนือ พุทธลักษณะประทับนั่งห้อยพระบาท
มีความสูง ๘ ศอก ๑ คืบ ๕ นิ้วมีลิงและช้างอยู่เบื้องหน้า
สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๑ เมื่อทรงสถาปนาวัดพระเชตุพนฯ


พระพุทธชินศรี

พระพุทธชินศรี หรือ พระนาคปรก พระประธานพระวิหารทิศตะวันตก เดิมเป็นพระพุทธรูปขนาดหน้าตักสามศอกคืบสิบนิ้ว อัญเชิญมาจากเมืองลพบุรี ครั้นบูรณปฏิสังขรณ์แล้ว จึงประดิษฐานไว้เป็นพระประธานพระวิหารทิศตะวันตก และได้สร้างพญานาคแผลงฤทธิ์และต้นจิกไว้ด้านหลังพระประธานด้วย จึงเรียกว่า "พระนาคปรก" ดังปรากฏความใน "จารึกเรื่องทรงสร้างวัดพระเชตุพนครั้งรัชกาลที่ ๑ ว่า

"...พระพุทธรูปน่าตักสามศอกคืบสิบนิ้ว เชิญมาแต่ลพบุรีปติสังขรณ์เสรจ์แล้ว ประดิษถานไว้ในพระวิหารทิศตะวันตกบันจุพระบรมธาตุ์ถวายพระนามว่าพระนาคปรก มีพญานาคแผลงฤทธิ์เลิกพังพานมีต้นจิกด้วยแลผนังนั้นเขียนเรื่องระเกษธาตุ์..."


โปรดติดตามตอนต่อไป
3035  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ไปเที่ยว / Re: วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม : แหล่งสรรพวิทยาการ เก่าแก่ที่สุดในเมืองไทย เมื่อ: 10 สิงหาคม 2559 18:00:52



โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะพระอุโบสถวัดพระเชตุพน

ดังได้กล่าวไว้แล้วว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชศรัทธาในพระบวรพุทธศาสนาอย่างมั่นคง ทั้งทรงมีพระราชปณิธานยึดมั่นอยู่ว่า การสร้างถาวรวัตถุและเสนาสนะเป็นการบุญการกุศลอย่างยิ่ง  ตามจดหมายเหตุที่มีผู้บันทึกไว้ในรัชสมัยของพระองค์ว่า พระองค์ไม่เพียงแต่ทรงสร้างวัดวาอารามด้วยพระองค์เองแต่อย่างเดียว ยังได้ทรงบอกบุญไปยังบรรดาเชื้อพระวงศ์ ขุนนางและเศรษฐีให้ทำบุญทำกุศลโดยการสร้างโบสถ์วิหารด้วย ครั้งนั้นจึงได้มีการสร้างวัดขึ้นใหม่ ๙ วัด วัดสำคัญๆ ที่ได้สร้างในรัชสมัยของพระองค์มีวัดราชนัดดา วัดเทพธิดา วัดเฉลิมพระเกียรติ วัดบวรนิเวศ วัดประยุรวงศ์ วัดบวรสถาน และวัดกัลยาณมิตร  

ส่วนที่ทรงปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมก็มี วัดพระโพธิ์หรือวัดพระเชตุพน วัดสุทัศน์ วัดราชบุรณะหรือวัดเลียบ วัดสระเกศ วัดอรุณราชวราราม และวัดยานนาวา

ในส่วนของวัดโพธิ์หรือวัดพระเชตุพน ทรงมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้พระยาศรีพิพัฒน์กับพระยาเพ็ชร์พิไชย เป็นแม่กองจัดการปฏิสังขรณ์รื้อพระอุโบสถเก่า หลังจากทรงเสด็จไปพระราชทานพระกฐินที่วัดพระเชตุพน โดยกระบวนพยุหะยาตรา เมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๗๔  เสร็จแล้วเสด็จทอดพระเนตรทั่วพระอาราม เห็นบูชนียสถานในเขตพุทธาวาสซึ่งสมเด็จพระไอยกาธิราชเจ้า ทรงสถาปนาไว้ล่วงมาแล้ว ๓๑ ปี ชำรุดทรุดโทรมปรักหักพังเป็นอันมาก เพื่อเชิดชูพระเกียรติยศและเป็นการแสดงกตัญญูต่อสมเด็จพระบุรพการี จึงโปรดเกล้าฯ ให้ทำนุบำรุงให้คงอยู่สิ้นกาลนาน

การซ่อมพระอุโบสถวัดพระเชตุพน ให้จัดการรื้อพระอุโบสถเก่า ครั้นเมื่อยกเครื่องบนพระอุโบสถครั้งแรก ผนังพังทลายลงทับคนตาย ต้องจัดการยกกันใหม่  เหตุการณ์นี้บันทึกไว้ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ว่า “การพระอุโบสถวัดพระเชตุพนนั้นทำใหม่ มาถึง ณ วันจันทร์เดือน ๔ แรม ๔ ค่ำ (เป็นวันอังคาร ตรงกับวันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ.๒๓๗๗) ยกเครื่องบนขึ้น ผนังทลายพังทับคนตาย ๕๐ คน ลำบากเป็นหลายคน เป็นเหตุด้วยพระอุโบสถใหญ่เสารายในเล็ก ไม่มีเสาแกน หนักตัวเข้าจึ่งได้ท้อลงมา โปรดให้ทำใหม่ ใส่แกนเสาก็มั่นคงดี”

พระอุโบสถวัดพระเชตุพนที่สร้างขึ้นมาใหม่นั้นมีขนาดใหญ่และสวยงาม ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ผนังก่ออิฐถือปูน มีหลังคาลาดเป็นชั้น มุงกระเบื้องสี และมีเสาใหญ่รายรอบรับชายคา บนฝาผนังโบสถ์ระหว่างช่องหน้าต่างได้มีรับสั่งให้ช่างเขียนภาพไว้มากมาย เรื่องราวที่เขียนเป็นเรื่องชาดกทางพระพุทธศาสนา เทพนิยายทางศาสนาพราหมณ์ วิถีความเป็นอยู่ของผู้คนพลเมือง ตึกรามบ้านช่อง ตลอดจนภาพวาดกระหนก ภาพลวดลายเป็นรูปดอกไม้ใบไม้ต่างๆ นานา



ภาพเขียนสีสด บรรจุเรื่องราวต่างๆ บนผนังที่กว้างใหญ่หลังพระพุทธเทวปฏิมากร
พระประธานประจำพระอุโบสถวัดพระเชตุพน


ผูกพัทธสีมาพระอุโบสถวัดพระเชตุพน
พระอุโบสถวัดโพธิ์ปัจจุบันนี้ไม่ใช่ของเดิม เป็นพระอุโบสถที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างขึ้นใหม่ โดยรื้อของเก่าขยายให้ใหญ่กว่าเดิม  โดยได้เสด็จวางรากฐานพระอุโบสถ ณ วันพฤหัสบดีขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๕ ปีมะเมีย พ.ศ.๒๓๗๘  เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จทรงพระราชดำริว่า พระอุโบสถวัดพระเชตุพนทำขึ้นใหม่มีขนาดใหญ่กว่าของเดิม ต้องผูกพัทสีมาใหม่  ได้ฤกษ์ ณ เดือน ๒ ขึ้น ๑๓ ค่ำ (ตรงกับวันศุกร์ที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ.๒๓๘๒) โปรดฯ ให้ตั้งการสวดพระพุทธมนต์ตั้งแต่ ณ วันเดือน ๒ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ๑๒ ค่ำ โดยนิมนต์พระสงฆ์ ๑๐๐ รูป ทั้งสวดทั้งฉัน  และ ณ วันเดือน ๒ ขึ้น ๑๓ ค่ำ ได้เพิ่มเติมพระเข้าไปอีก ๒๐๐ รูป รวมพระสงฆ์ ๓๐๐ รูป  เวลาบ่ายหลังสวดพระพุทธมนต์จบแล้ว ให้ผูกพัทธสีมาในค่ำวันนั้น  

ฉลองวัดพระเชตุพน
ครั้นมาถึงวันเดือน ๖ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ในปีวอก สัมฤทธิศกนั้น (ตรงกับวันศุกร์ที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๓๙๑ ) โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ฉลองวัดพระเชตุพน เป็นการมหรสพอย่างใหญ่  มี ผ้าไตรจีวรถวายพระสงฆ์ แพรเม็ดพริกไทย ไตรแพรทั้งไตร ๕,๐๐๐ ไตร บาตร ย่าม พัด เครื่องบริขารเป็นอันมาก สิ่งละ ๕,๐๐๐  ของไทยทานครั้งนั้นมีจำนวนมาก ทรงตระเตรียมมาหลายปีแล้ว ขอแรงข้าราชการรับเงินไทยทานทำข้าวกระทงๆ* ละ ๒ สลึง ถวายพระสงฆ์ฉันทั้ง ๓ วัน แล้วก็ฉลองอีก ๓ วัน การฉลองมีโขนโรงใหญ่ติดรอกที่หน้าวังกรมหมื่นสวัสดิ์วิไชย มีเครื่องเล่นทุกสิ่ง มีพระสงฆ์ทำดอกไม้พุ่มประกวดประชันกันสิ้นฝีมือ  เสร็จการฉลองแล้ว ก็ทิ้งทานต้นกัลปพฤกษ์และโปรยทานที่หน้าพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ มีฉลากต่างๆ เหมือนอย่างฉลองวัดราชโอรส
 (* ข้าวกระทง คือ ภัตตาหารถวายพระที่บรรจุในกระทงใบตองซ้อนกัน โดยใส่ข้าวสุกไว้ในกระทงล่าง ปิดใบตองคั่น ซ้อนด้วยกระทงของคาวและของหวาน ปิดด้วยใบตอง แล้วปักธง – กวป.)



พระประธานในพระอุโบสถเป็นพระปางสมาธิ หน้าตักกว้าง ๕ ศอก ๑ คืบ ๔ นิ้ว
สูงตลอดพระรัศมี ๗ ศอกคืบ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา
ในชั้นเดิมเป็นพระประธานอยู่ที่วัดศาลาสี่หน้า หรือ วัดคูหาสวรรค์ ภาษีเจริญ กรุงธนบุรี  
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้โปรดให้อัญเชิญมาเป็นพระประธานแทนองค์เดิม
และถวายพระนามว่า “พระพุทธเทวปฏิมากร”





โปรดติดตามตอนต่อไป
3036  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / ก๋วยเตี๋ยวหลอดไส้กุยช่าย สูตร/วิธีทำ เมื่อ: 10 สิงหาคม 2559 15:15:05



ก๋วยเตี๋ยวหลอดไส้กุยช่าย
ที่ถูกต้องควรเรียกว่า "ก๋วยเตี๋ยวแผ่นไส้กุยช่าย"
เพราะผู้ทำไม่ได้ม้วนเป็นหลอดกลม แต่พับเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
แต่ได้อนุโลมให้เป็นประโยชน์แก่ตัวเองเสร็จสรรพ ด้วยการตั้งชื่อว่า "ก๋วยเตี๋ยวหลอดไส้กุยช่าย"
เพื่อสะดวกแก่การค้นหาข้อมูลค่ะ

• ส่วนผสม
- แผ่นก๋วยเตี๋ยวสด ½ กิโลกรัม
- กุยช่ายหั่นท่อนสั้นๆ 200 กรัม
- หมูสับ 100 กรัม
- หมูยออย่างดีหั่นชิ้นเล็กๆ ½ ถ้วย
- ซีอิ๊วขาว 2 ช้อนชา
- ซอสหอยนางรม 1 ช้อนโต๊ะ


• วิธีทำ
1.ตั้งกระทะใส่น้ำมัน 1 ช้อนโต๊ะ พอร้อนใส่หมูสับและหมูยอลงไปผัด
   ใส่ผักกุยช่าย ผัดให้เข้ากัน ปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาว และซอสหอยนางรม
2.ตักไส้กุยช่ายลงบนแผ่นก๋วยเตี๋ยว 3 ช้อนโต๊ะ แล้วพับให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
   หรือม้วนเป็นแท่งกลม
3.จัดวางบนภาชนะที่ทาด้วยน้ำมันพืช นำไปนึ่งไฟปานกลาง 2 นาที
4.ทาน้ำมันพืชหรือน้ำมันกระเทียมเจียวที่แผ่นก๋วยเตี๋ยวนึ่งสุกแล้วให้ทั่วกัน
5.จัดวางใส่จาน โรยด้วยกระเทียมเจียวกรอบ เสิร์ฟพร้อมซอสเปรี้ยวหวาน


• ส่วนผสมซอสราดก๋วยเตี๋ยวหลอด
- น้ำตาลทราย ½ ถ้วยตวง
- น้ำส้มสายชู 3 ช้อนโต๊ะ
- น้ำสะอาด 2 ช้อนโต๊ะ
- พริกสีแดงโขลกหยาบ 2-3 เม็ด
- เกลือป่น ½ ช้อนชา
* ผสมน้ำตาลทราย น้ำส้มสายชู น้ำสะอาด และเกลือป่น ยกขึ้นตั้งไฟ เคี่ยวให้ข้น
  ใส่พริกสีแดงโขลกหยาบ คนให้ละลายเข้ากันดี ยกลงจากเตา พักไว้ให้เย็น


ส่วนผสมไส้กุยช่าย ควรใช้หมูยออย่างดี ถ้าหมูยอคุณภาพไม่ดี ควรใส่แต่หมูสับอย่างเดียวก็ได้
* ผู้ทำเพิ่งกลับจาก จ.อุบลราชธานี
ซึ่งหลายๆจังหวัดในภาคอีสานมีชื่อเสียงเรื่องหมูยอและกุนเชียงอร่อยๆ
จึงได้หมูยออย่างดีติดไม้ติดมือกลับบ้าน








3037  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ไปเที่ยว / Re: วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม : แหล่งสรรพวิทยาการ มหาวิทยาลัยหินสลักในเมืองไทย เมื่อ: 10 สิงหาคม 2559 14:23:04



พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓)
ทรงสร้าง พระมหาเจดีย์ดิลกธรรมนิทาน
และ พระมหาเจดีย์มุนีปัตตบริขาร

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชศรัทธาแรงกล้าในพระบวรพุทธศาสนามากยิ่งนัก จนมีคำกล่าวกันว่า “ใครสร้างวัดก็โปรด” ที่โปรดก็เพราะต้องด้วยพระราชอัชฌาสัยและพระราชศรัทธาของพระองค์ นั่นเอง  

ในรัชสมัยของพระองค์ ได้ทรงประกอบการพระราชกุศลต่างๆ ไว้เป็นจำนวนมากตั้งแต่ยังไม่ได้ขึ้นครองราชสมบัติ เช่น ทรงบาตรในพระราชวังทุกๆ เช้า  นิมนต์พระสงฆ์เข้ามาถวายพระธรรมเทศนาในพระบรมมหาราชวังเป็นนิจสิน ถึงวันพระก็ทรงให้ปล่อยสัตว์ที่ถูกกักขังหรือจะถูกนำไปฆ่าให้รอดจากความตาย และทรงให้ทำเก๋งโรงทานหลวงสำหรับทรงแจกทานแก่ยาจกวณิพกที่ริมกำแพงพระราชวังด้านข้างแม่น้ำ จนเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงทราบ ก็ทรงอนุโมทนาและมีพระราชดำรัสว่า เป็นแต่เพียงพระเจ้าลูกเธอยังทำทานอยู่เนืองนิตย์ ควรที่พระองค์จะทรงบำเพ็ญทานให้ยิ่งกว่า

นอกจากพระราชหฤทัยอันเปี่ยมล้นด้วยพระเมตตาและปฏิบัติพระองค์ตามคำสอนในหลักพุทธศาสนาแล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังทรงสนพระทัยและสนับสนุนให้มีการสร้าง-บูรณะซ่อมแซม พระพุทธรูป อาราม เจดีย์ โบสถ์ วิหาร ขยายเขตวัด และประดับประดาอารามอย่างสวยงามไว้มากมาย หากมีการซ่อมแซม หรือต่อเติม พระองค์จะทรงกำชับให้แบบการก่อสร้างคงอนุโลมตามศิลปะที่ได้กระทำไว้แล้ว และให้ระมัดระวังรักษาแบบดั้งเดิมเอาไว้ให้ดี  ดังนั้นจึงมีข้อสังเกตอยู่อย่างหนึ่งว่า งานทางศิลปะในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีลักษณะประณีตงดงาม “สูงเด่นเป็นเยี่ยมในวงของศิลปะไทย” เมื่อเปรียบเทียบกับสมัยเริ่มสร้างกรุงเทพฯ หรือในสมัยหลังๆ ต่อมา  เนื่องจาก นับแต่รัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมา อิทธิพลของยุโรปได้หลั่งไหลเข้ามาสู่ประเทศสยาม ได้มีผู้พยายามดัดแปลงให้ศิลปะไทยมีลักษณะผสมผสานกับศิลปะของชาวยุโรป  ฉะนั้น งานช่างในยุครัชกาลที่ ๓ จึงเป็นยุครุ่งโรจน์สุดท้ายที่รักษาแบบดั้งเดิมของไทยเอาไว้  

ในวาระสุดท้ายแห่งพระชนมชีพ ขณะทรงพระประชวรอยู่ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงแสดงความเป็นห่วงเป็นใยในพระบวรพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก ได้มีพระราชดำรัสกับข้าราชบริพารที่ไว้วางพระราชหฤทัยว่า ถ้าผู้ใดเป็นพระเจ้าแผ่นดินแล้ว ให้ช่วยบอกแก่เขา ขอเงินในพระคลังที่เหลือจับจ่ายใช้ราชการแผ่นดินมีอยู่ ๔ หมื่นชั่ง ขอสัก ๑ หมื่นเถิด เอาไปทำบุญบำรุงวัดวาอารามที่ทรงสร้างไว้ใหญ่โตหลายวัดที่ยังค้างอยู่ก็มี ให้สำเร็จเสร็จสิ้นไป


 

การพระศาสนาในวัดพระเชตุพน
ในส่วนการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา เฉพาะที่จะกล่าวถึง “วัดพระเชตุพนฯ” นั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระเจดีย์ในวัดพระเชตุพนขึ้นเคียงข้างพระเจดีย์ศรีสรรเพ็ชดาญาณ ซึ่งสร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑ ข้างละองค์ องค์ทางทิศเหนือประดับกระเบื้องสีขาว พระราชทานนามว่า “พระมหาเจดีย์ดิลกธรรมนิทาน” (หรือ “ดิลกธรรมกรกนิธาน”) เพื่อพระราชอุทิศถวายสมเด็จพระบรมชนกนาถ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒)  องค์ด้านใต้ประดับกระเบื้องสีเหลือง พระราชทานนามว่า “พระมหาเจดีย์มุนีปัตตบริขาร” เป็นเจดีย์ส่วนพระองค์เอง  หลักฐานเรื่องราวตอนนี้ปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) (กรมศิลปากรจัดพิมพ์เผยแพร่ พุทธศักราช ๒๕๓๘) ดังนี้ “...จึ่งทรงพระราชดำริว่า แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ ทรงสถาปนาพระเจดีย์ในวัดพระเชตุพนองค์ ๑ สูง ๒๐ วา ๒ ศอก บรรจุพระศรีสรรเพ็ชญ์ซึ่งได้มาแต่กรุงเก่า ที่พม่าเอาเพลิงสุมเอาทองคำหุ้มนั้น ยังเหลืออยู่แต่ทองเหลืองชำรุด ปรุไปทั้งพระองค์จะแก้ไขก็ไม่ได้ จึ่งเชิญเข้าบรรจุไว้ พระราชทานชื่อว่า มหาเจดีย์ศรีสรรเพชดาญาณ หุ้มด้วยดีบุก จะก่อสร้างขึ้นถวายในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิราชเจ้าองค์ ๑ และเป็นส่วนในแผ่นดินปัตยุบันนี้องค์ ๑ เรียงกันเป็นแถวไป  จึ่งโปรดให้ช่างทำต่อองค์กลางข้างเหนือขึ้นองค์ ๑ ประดับกระเบื้องขาวอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิราช พระราชทานชื่อว่า พระมหาเจดีย์ดิลกธรรมกรกนิทาน (ในทำเนียบภาค ๑ ชื่อ พระมหาเจดียดิลกธรรมนิทาน) องค์กลางของพระบาทสมเด็จพระบรมอัยกาธิราช ให้ประดับด้วยกระเบื้องเขียว องค์ข้างใต้ให้ประดับด้วยกระเบื้องเหลือง อุทิศเป็นส่วนในพระองค์ พระราชทานชื่อ พระมหาเจดีย์มุนีปัตะปริกขาร (ในทำเนียบนามภาค ๑ ชื่อ พระมหาเจดียมุนีปัตตบริกขา ปัจจุบันเรียก พระมหาเจดีย์มุนีบัตรบริขาร)

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) โปรดฯ ให้สร้างเพิ่มตรงพระมหาเจดีย์ศรีสรรเพ็ชญ์อีกองค์หนึ่ง อยู่ทางทิศตะวันตก ประดับกระเบื้องสีม่วงแก่ โดยถ่ายแบบจาก พระเจดีย์วัดสวนหลวงสบสวรรค์  หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า พระเจดีย์ศรีสุริโยทัย จ.พระนครศรีอยุธยา

พระมหาเจดีย์ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสร้างปฏิสังขรณ์ใหม่นั้น ต่อมาในเดือน ๘ ปีกุน พ.ศ.๒๓๘๒ ยอดพระเจดีย์ทั้ง ๓ องค์ ก็เอนเอียงไปองค์ละหนึ่งศอกบ้าง ศอกเศษบ้าง เป็นเหตุให้ทรงไม่สบายพระทัย เสด็จขึ้นบนพระแท่นที่ใหญ่ หลับพระเนตรนิ่งอยู่ หาตรัสกับผู้ใดไม่ ทรงระงับการให้ขุนนางเข้าเฝ้าถวายข้อราชการ   ความเสียพระราชหฤทัยในเหตุการณ์นี้ทำให้ทรงพระประชวรอยู่หลายวัน  ซึ่งเรื่องราวตอนนี้ปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุหลวงอุดมสมบัติ ที่เล่าเรื่องภายในกรุงออกไปให้พระยาศรีพิพิฒน์ (ต่อมาได้เป็น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ) ในครั้งนั้นมีหน้าที่เข้าเฝ้าถวายแบบพระอารามต่างๆ  ซึ่งได้ยกกองทัพไปปราบกบฏทางหัวเมืองปักษ์ใต้ ดังนี้ “ครั้น ณ วันเดือน ๘ ขึ้น ๑๓ ค่ำ (ตรงกับวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๘๒) เพลากลางวัน พระองค์เจ้าชุมสาย (กรมขุนราชสีหวิกรม) กราบทูลว่า ยอดพระเจดีย์ใหญ่วัดพระเชตุพนนั้นเอียงไปตั้งแต่คอระฆังขึ้นไปทั้ง ๓ องค์ องค์เหนือเอียงมาข้างเหนือ องค์กลางเอียงมาข้างตวันตก องค์ใต้เอียงไปข้างใต้ เอียงไปองค์ละศอก ๑  ศอกเศษ บ้าง  ทรงตรัสถามว่า ทำอย่างไรจึงเอียงไปหมดทั้ง ๓ องค์ พระองค์เจ้าชุมสายกราบทูลว่า เอียงด้วยหนักบัวกลุ่ม ทรงตรัสว่า พระยาศรีพิพัฒน์ยังอยู่ก็ได้อาศัยให้ไปดูแลทำอยู่ ก็หาเป็นเหตุการสิ่งใดไม่  ครั้นออกมาเสียแล้วก็แล้วกันเท่านั้น ถ้ายังอยู่แล้ว ที่ไหนจะเป็นไปถึงอย่างนี้ จะหาใครช่วยดูแลเข้าบ้างก็ไม่มี พระยาเพ็ชร์พิไชยก็เปล่าๆ ทั้งนั้น ไม่เอาใจใส่ดูแลเลย ทำการใหญ่การโตทีเดียวยังเป็นไปได้ ไม่พอที่จะให้อายเขาเปล่าๆ แล้วทรงนิ่งไปจนเสด็จขึ้น......

......ครั้น ณ วันเดือน ๘ แรม ๕ ค่ำ (ตรงกับวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๓๘๒) เพลาเช้า จึงเสด็จออกเจ้าต่างกรม หากรมมิได้ ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย เข้าเฝ้าพร้อมกัน แต่ยังไม่ขึ้นพระแท่น ทรงตรัสถึงยอดพระเจดีย์ว่า ช่างกระไรเลยเอียงไปหมดทั้ง ๓ องค์ทีเดียว จะเหลือให้สักองค์ ๑ ก็ไม่ได้ พระยาศรีพิพัฒน์ออกมาเสียแล้ว จะอาศัยพระยาเพ็ชร์พิไชยช่วยดูแลให้ดีหน่อยหนึ่งก็ไม่ได้ ของทำไปจนแล้วๆ ทีเดียวยังเป็นไปได้ ถึงจะเป็นเมื่อกำลังทำอยู่ก็ไม่น้อยพระไทยเลย นี่มาเป็นเอาเมื่อแล้วอย่างนี้น่าอายเขานักหนา  ทรงคิดขึ้นมาแล้วเสียพระไทยไปทีเดียว พระวาโยก็กำเริบเอาวิงเวียนไป ไม่สบายพระไทยเอาเลย แล้วรับสั่งๆ เจ้าคุณหาบนว่า จะคิดจัดแจงแก้ไขอย่างไรก็จัดแจงทำเสียให้ดี อย่าให้เป็นเหตุเป็นการต่อไปได้ฯ”

นอกจาก การสร้างพระมหาเจดีย์ที่งามเด่นสององค์ไว้ที่วัดโพธิ์หรือวัดพระเชตุพนแล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังได้โปรดฯ ให้สร้างพระอุโบสถ  วิหารพระพุทธไสยาสน์ หล่อพระพุทธรูปประธานในโบสถ์วัดพระเชตุพน ซ่อมแซมปฏิสังขรณ์และขยายบริเวณวัดให้กว้างขวางออกไป ทั้งมีรับสั่งให้ช่างสลักหินเป็นตำรับตำราและวาดภาพไว้ตามฝาผนัง จนวัดพระเชตุพนได้ชื่อว่าเป็น “มหาวิทยาลัยหินสลัก” ที่ศิลปินได้ผลิตผลงานทางศิลปะที่สำคัญทางศาสนาขึ้นไว้มากหลายด้วยกัน



ในระหว่างรัชกาลที่ ๓ ได้มีการสร้างเจดีย์ขึ้นมาก เจดีย์สององค์ซึ่งสร้างไว้ที่วัดโพธิ์หรือวัดพระเชตุพน
เป็นเจดีย์ที่งดงามมาก ได้สร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมแทนรูปมนกลม ทำให้เป็นแบบที่นิยมสร้างกันในสมัยนั้น






โปรดติดตามตอนต่อไป
3038  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ใต้เงาไม้ / Re: พงศาวดารจีน เปาเล่งถูกงอัน 'เปาบุ้นจิ้น' เมื่อ: 09 สิงหาคม 2559 15:59:02
.


     พงศาวดารจีน
     เรื่อง
     เปาเล่งถูกงอั้น  เปาบุ้นจิ้น
     ราชวงศ์ซ้อง (พ.ศ. ๑๕๐๓-๑๘๑๙)

     เรื่องที่ ๑๑ รองเท้าข้างเดียว

มีความว่าที่เมืองกังจิวเสีย ยังมีชายผู้หนึ่งชื่อเตียเต๊กฮั๊วๆ มีภรรยาชื่อนางหันหลันเอ็ง นางเป็นบุตรของหันเอ้งสิว อยู่บ้านตำบลน่ำเฮียง เตียเต๊กฮั้วอยู่กินกับนางหันหลันเอ็งมาก็ช้านาน แต่ไม่เกิดบุตรด้วยกันถ้าถึงวันพระข้างขึ้นและข้างแรม เตียเต๊กฮั้วก็ตั้งพิธีบวงสรวงนิมนต์หลวงจีนหงออ้วนเสี่ย สำนักวัดย่งเนงยี่มาสวดมนต์อธิษฐานขอให้มีบุตร

หลวงจีนหงออ้วนเสี่ยมาสวดมนต์ครั้งใด แลเห็นนางหันหลันเอ็งมีลักษณะรูปร่างมารยาทสะอาดหมดจด ก็มีใจประหวดผูกพันธ์ปฏิพัทธ์ เกิดความกำหนัดนึกรักไม่รู้เสื่อมคลาย อยู่มาวันหนึ่งหลวงจีนหงออ้วนเสี่ยมาสวดมนต์ที่บ้านเตียเต๊กอั้ว วันนั้นเตียเต๊กฮั้วไม่อยู่บ้าน ไปจ่ายเครื่องแจช่ายที่ตลาด เพื่อจะได้หุงต้มเลี้ยงหลวงจีนหงออ้วนเสี่ยๆ คิดอุบายได้อย่างหนึ่ง จึงให้หญิงเด็กคนใช้ของนางหันหลันเอ็งไปลักเอารองเท้าของนางหันหลันเอ็งมาได้ข้างหนึ่ง แล้วหลวงจีนก็เอารองเท้านั้นไปยังวัด ทำเป็นเอารองเท้านั้นขึ้นชูชมเชยแล้วก็วางลง

ขณะนั้นพอเตียเต๊กฮั้วมา จะนิมนต์หลวงจีนหงออ้วนเสี่ยไปเลี้ยงเจ ครั้นเตียเต๊กฮั้วเห็นหลวงจีนหงออ้วนเสี่ยถือรองเท้าเชิดชูชมเชยอยู่ดังนั้น ก็จำได้ว่าเป็นรองเท้าของนางหันหลันเอ็ง เตียเต๊กฮั้วให้มีความสงสัยสนเท่ห์ว่า หลวงจีนหงออ้วนเสี่ยจะเป็นชู้กัน จนถึงทำการสังวาสขาดจากศีลสมณะแล้ว นางหันหลันเอ็งจึงได้ปลงใจให้รองเท้ามาดังนี้ เตียเต๊กฮั้วคิดเห็นดังนั้นแล้วก็มีความโกรธยิ่งนัก จึงกล่าวความหยาบช้าแก่หลวงจีนนั้นเป็นอันมาก ครั้นกลับมาถึงบ้านก็ตีด่านางหันหลันเอ็งผู้ภรรยา ด้วยความโกรธหึงหวง แล้วจึงพูดว่ามึงเป็นหญิงไม่ซื่อสัตย์ต่อสามี ไปเป็นชู้ทำการชั่วอันมิดีกับด้วยหลวงจีนแล้วให้รองเท้ากันไปข้างหนึ่งเป็นสำคัญกูได้รู้เห็น

นางหันหลังเอ็งภรรยาจึงเถียงว่า เมื่อเวลากลางวันข้าพเจ้านอนหลับไป ครั้นตื่นขึ้นมารองเท้าข้าพเจ้าหายไปข้างหนึ่งเป็นการดังนี้ นางหันหลันเอ็งพูดชี้แจงสักเท่าใดๆ เตียเต๊กฮั้วก็มิได้เชื่อฟัง เตียเต๊กฮั้วก็ขับไล่นางหันหลันเอ็งมิให้อยู่ในบ้านด้วยต่อไป นางหันหลันเอ็งก็ร้องไห้ลาเตียเต๊กอั้วกลับไปอยู่บ้านเดิมของนางกับด้วยบิดามารดา

ฝ่ายหลวงจีนหงออ้วนเสี่ย ครั้นแจ้งว่าเตียเต๊กฮั้วขับไล่นางหันหลันเอ็งกลับไปยู่บ้านเดิมแล้ว หลวงจีนหงออ้วนเสี่ยก็หนีออกจากสำนักกลับมาอยู่ตำบลไซเฮียง แขวงอำเภอไทหงวนบ้านเดิม หลวงจีนหงออ้วนเสี่ยก็แปลงเพศเป็นคฤหัสถ์ไว้ผมยาวเกล้ามวย แล้วเปลี่ยนแซ่และชื่อเสียใหม่ ชื่อพังหยินๆ จึงวานอ๊วงคิม ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านเป็นสื่อไปขอนางหันหลันเอ็งต่อเอ้งสิวผู้บิดาๆ ก็ยอมยกนางหันหลันเอ็งผู้บุตรให้แก่พังหยิน แล้วก็นัดวันแต่งงานให้นางหันหลังเอ็งอยู่กินเป็นสามีภิริยากันกับพังหยิน ครั้นอยู่มาถึงฤดูสารทเดือนสิบในวันนั้น พังหยินนั่งเสพสุราอยู่ด้วยกันกับนางหันหลันเอ็ง พังหยินก็พูดสัพยอกนางหันหลันเอ็งว่าเจ้ากับพี่ได้กันเป็นภิริยาสามีทุกวันนี้ ก็เพราะคุณของนางเส่ยหมุยลักเอารองเท้าของเจ้ามาให้พี่ พี่จึงได้เจ้าเป็นภรรยาสมความปรารถนารักใคร่

นางหันหลันเอ็ง ได้ฟังดังนั้นก็ยังมีความสงสัยอยู่ จึงถามพังหยินๆ ก็เล่าตามความจริงว่าด้วยเรื่องรองเท้าข้างหนึ่ง จนถึงเตียเต๊กฮั้วขับไล่ให้นางหันหลันเอ็งฟังทุกประการ

ครั้นนางหันหลันเอ็งได้ทราบความตลอดต้นจนปลายดังนั้น ก็มีความเสียใจว่าเสียรู้เล่ห์กลของหลวงจีน จึงมิได้อยู่กินด้วยกันกับสามีเดิม ครั้นคิดเห็นดังนั้นแล้ว นางหันหลันเอ็งก็ยิ่งมีความโกรธพังหยินยิ่งนัก แต่แสร้างกระทำหน้าชื่นมิให้พังหยินรู้ ครั้นเวลาดึกพังหยินนอนหลับสนิท นางหันหลันเอ็งก็เอามีดเชือดคอของตัวเองถึงแก่ความตาย

ครั้นรุ่งขึ้นเวลาเช้า หันเอ้งสิวผู้บิดาของนางหันหลันเอ็งแจ้งว่าบุตรตาย แต่ไม่ทราบว่าจะตายด้วยเหตุใด หันเอ้งสิวก็ทำฟ้องไปยื่นต่อเปาเล่งถู ใจความว่าเดิมได้ยกนางหันหลันเอ็งผู้บุตรให้แก่เตียเต๊กฮั้วเป็นภรรยา ครั้นอยู่มาเตียเต๊กฮั้วเกิดหึงหวง คิดสงสัยภรรยาว่ามีชู้ เพราะด้วยรองเท้าข้างหนึ่งซึ่งหลวงจีนวัดย่งเนงยี่ลักเอาไป เตียเต๊กฮั้วจึงได้ตีขับไล่นางหันหลันเอ็งจนถึงขาดจากผัวเมีย ข้าพเจ้าจึงได้ยกนางหันหลันเอ็งให้เป็นภรรยาพังหยิน  มาบัดนี้ด้วยเหตุอย่างไรกันขึ้นนางหันหลันเอ็งบุตรของข้าพเจ้าจึงได้ตายด้วยคมอาวุธฉะนี้ ขอท่านได้พิจารณาให้ได้ความจริงโดยยุติธรรม

เปาเล่งถูครั้นอ่านฟ้องแจ้งความดังนั้นแล้ว จึงให้ผู้คุมขังทั้งโจทก์ทั้งจำเลยไว้ ครั้นเวลาค่ำเปาเล่งถูนั่งตรึกตรองเรื่องความนางหันหลันเอ็งอยู่เคลิ้มหลับไป ฝันเห็นว่ามีหญิงคนหนึ่งมาคุกเข่าลงคำนับที่ตรงหน้าเปาเล่งถู แล้วก็เล่าความซึ่งพังหยินเมื่อยังบวชเป็นหลวงจีน คิดอุบายให้นางหันหลันเอ็งขาดจากผัวเมียกัน ตั้งแต่ต้นจนปลายให้เปาเล่งถูฟังทุกประการ แล้วปีศาจนางหันหลันเอ็งก็อันตรธานหายไป

เปาเล่งถูได้สติตื่นขึ้นทันที ครั้นรุ่งเช้าเวลาเช้าเปาเล่งถูจึงให้ผู้คุมๆ ตัวทั้งโจทก์ทั้งจำเลยมาถาม เปาเล่งถูยกกรณีเหตุเรื่องรองเท้าขึ้นถามพังหยินว่า เหตุใดจึงคิดอุบายกระทำให้สามีภิริยาเขาขาดจากผัวเมียกัน ภายหลังตัวจึงย้อนไปสู่ขอเอามาเป็นภรรยา จนถึงนางหันหลันเอ็งได้ความเจ็บแค้นถึงแก่เชือดคอตาย จงให้การไปแต่ตามความจริงที่ตนได้กระทำมาโดยดีทุกประการ อย่าให้ต้องผูกถือเฆี่ยนตีเลย

พังหยินมีความกลัวสะทกสะท้าน คิดเห็นว่าเป็นความจริงโดยจะไม่รับ เปาเล่งถูก็คงจะเฆี่ยนตีผูกทำให้ได้ความลำบากมากไปเปล่าๆ ที่ไหนเราจะทนไปได้ ประการหนึ่งก็เป็นความจริงอยู่ด้วย พังหยินก็ให้การรับเป็นสัตย์โดยชื่นตา

เปาเล่งถูจึงตัดสินปรับโทษของพังหยิน ข้อที่บวชเป็นชีบาณาสงฆ์แล้ว มาคิดอุบายกระทำให้เขาขาดจากผัวเมียกัน แล้วกลับมาย้อนขอกระทำให้เขาเสียตัวโดยที่ไม่รู้กล โทษของพังหยินถึงเชือดเนื้อให้กากินจนถึงแก่ความตาย ครั้นตัดสินแล้วเปาเล่งถูจึงสั่งเพชฌฆาตให้นำตัวพังหยินไปทำโทษตามคำตัดสิน




     พงศาวดารจีน
     เรื่อง
     เปาเล่งถูกงอั้น  เปาบุ้นจิ้น
     ราชวงศ์ซ้อง (พ.ศ. ๑๕๐๓-๑๘๑๙)

     เรื่องที่ ๑๒ ทำคุณบูชาโทษ

มีความว่า ที่ตำบลซินเอียแขวงเมืองตังเกีย ตำบลนั้นระยะทางห่างเมืองตังเกีย ๒๐ ลี้ มีเศรษฐีผู้หนึ่งชื่อชินติดหงวนๆ ได้นางสิวหมึงเป็นภรรยา  นางสิวหมึงเป็นบุตรของซ้องเตร็กๆ อยู่ตำบลน่ำถวน  นางสิวหมึงเป็นผู้ได้เล่าเรียนหนังสือความรู้ลึกซึ้ง อายุได้ ๑๙ ปี จึงได้มาเป็นภรรยาชินติดหงวน นางสิวหมึงมีกิริยามารยาทเรียบร้อย ราษฎรชาวบ้านตำบลนั้น พากันพูดสรรเสริญนางสิวหมึงเป็นอันมาก

ครั้นอยู่มาวงศ์ญาติของชินติดหงวนกระทำการวิวาห์มงคล แต่งงานบ่าวสาว จึงมีเทียบมาเชิญชินติดหงวนไปนั่งโต๊ะกินเลี้ยง ชินติดหงวนสั่งเสียนางสิวหมึงภรรยาแล้ว ก็ออกจากบ้านไปช่วยการของวงศ์ญาติ ครั้นชินติดหงวนไปจากบ้านได้สองสามวันแล้ว นางสิวหมึงไม่เห็นสามีกลับมา นางสิวหมึงตั้งตาคอยแลดูต้นทางอยู่จึงออกไปคอยมองดูว่า ชินติดหงวนผู้สามีจะกลับมาหรือยัง

ยังมีหลวงจีนรูปหนึ่งเดินมาแต่ไกล แลเห็นนางสิวหมึงยืนอยู่ที่ประตูบ้าน มัวแลดูนางไม่วางตาจนเท้าถลำตกลงในคูริมคันถนน เสื้อกางเกงเปียกน้ำทั้งสิ้น ด้วยฤดูนั้นเป็นฤดูหนาว

ฝ่ายนางสิวหมึงครั้นเห็นหลวงจีนขึ้นมาจากคู เสื้อกางเกงเปียกเนื้อตัวเปื้อนดังนั้น ก็มีความสงสาร นางสิวหมึงจึงเข้าไปในโรงครัวก่อไฟใส่อั้งโล่มาให้หลวงจีนผิง แล้วเอาน้ำร้อนมาให้หลวงจีนกิน

หลวงจีนจึงพูดว่า ข้าพเจ้าเดินถลำตกลงไปในคูจนเนื้อตัวเสื้อกางเกงเปียกเปื้อนหมดทั้งสิ้น ท่านเป็นผู้ใจบุญเอาไฟมาให้ผิงและได้ย่างเสื้อกางเกงให้แห้ง และทั้งได้รับประทานน้ำชาด้วย ข้าพเจ้ามีความขอบใจท่านยิ่งนัก

นางสิวหมึงจึงว่าท่านย่างเสื้อกางเกงแห้งแล้ว ก็เชิญไปเสียเถิด ถ้าอยู่ช้าสามีข้าพเจ้ากลับมาเห็นท่านอยู่ที่นี้จะมีความเคลือบแคลงใจว่า ข้าพเจ้าเป็นคนไม่ดีคบหาแก่ท่านดูหาสมควรไม่ หลวงจีนก็รับคำว่าจะไป ในทันใดนั้นพอดีชินติดหงวนมาถึงเข้า แลเห็นหลวงจีนกับนางสิวหมึงนั่งผิงไฟอยู่ด้วยกัน ชินติดหงวนมีความสงสัยกระทบจิตคิดหึงก็มึนตึงขึ้งโกรธอยู่ในใจ  ครั้นหลวงจีนได้เห็นกิริยาชินติดหงวนทำอาการมึนตึงนั้นก็ตกใจกลัว ลุกขึ้นทันทีรีบเดินหลีกไปเสียให้พ้น

ชินติดหงวนครั้นเห็นหลวงจีนลุกขึ้นเดินไปโดยด่วนดังนั้น ก็โกรธจึงด่านางสิวหมึงว่า ตัวเป็นผู้หญิงมีสามีชอบแต่จะอยู่ดูแลแต่ในการบ้านเรือนจึงจะถูกต้องตามธรรมเนียมผู้หญิงๆ อะไรเช่นนี้ ออกไปนั่งลอยหน้าอยู่กับหลวงจีน ชะรอยจะกระทำการชั่วเป็นชู้กันเป็นแน่ ชินติดหงวนว่าดังนั้นแล้ว ก็ขับไล่นางสิวหมึงมิให้อยู่ต่อไป

นางสิวหมึงก็ร้องไห้ มิได้โต้ตอบแก่ชินติดหงวนผู้สามีประการใด  นางสิวหมึงก็กลับไปอยู่กับบิดามารดาที่บ้านเรือนของนาง และนางสิวหมึงก็มิได้เล่าบอกความซึ่งสามีหึงหวงด้วยเรื่องก่อไฟให้หลวงจีนผิงให้บิดามารดาฟังไม่

ฝ่ายหลวงจีนนั้นกลับมาอยู่สำนักวัดไซเลมยี่ ครั้นสืบรู้ว่านางสิวหมึงนั้น ชินติดหงวนผู้สามีขับไล่ กลับมาอยู่กับบิดามารดาประมาณได้ปีหนึ่งแล้ว หลวงจีนนั้นจึงหนีเจ้าวัดกลับมาบ้านเดิม กลับแปลงเพศเป็นฆราวาสไว้ผมมวยตามเดิม เปลี่ยนชื่อเสียใหม่เรียกว่าเล่าอี้ๆ จึงวานลี้ โอว เป็นสื่อไปพูดจากับซ้องเตร๊กผู้บิดาของนางสิวหมึง ขอนางสิวหมึงเป็นภรรยาเล่าอี้

ซ้องเตร๊กจึงพูดว่าบุตรของข้าพเจ้า ชินติดหงวนสามีขับไล่มาอยู่บ้าน จะเป็นเพราะบุตรของข้าพเจ้าทำความผิดประการใดข้าพเจ้าก็หาทราบไม่ แต่ดูน้ำใจของบุตรข้าพเจ้า พิเคราะห์ดูกิริยาเขายังซื่อตรงรักสามีของเขาอยู่ หรือเขาจะตัดขาดกันประการใด ข้อนี้ข้าพเจ้าก็ไม่สามารถจะหยั่งรู้น้ำใจของเขาได้ ครั้นข้าพเจ้าจะยกให้ไว้ปันก็จะเป็นการข่มขืนน้ำใจบุตรของข้าพเจ้าไป ดูเป็นการหาสมควรไม่ ว่าดังนั้นแล้วซ้องเตร๊กก็หัวเราะ

ลี้โอวผู้แม่สื่อได้ฟังดังนั้นแล้วก็มิได้ว่าประการใด จึงไปหามารดาของนางสิวหมึง แล้วก็เล่าความตามที่เล่าอี้วานให้เป็นสื่อมาขอนางสิวหมึงนั้นให้มารดานางสิวหมึงฟัง ฝ่ายมารดาของนางสิวหมึงได้ฟังเล่าอี้บอกดังนั้น ก็มีความยินดีด้วยปรารถนาแต่จะให้บุตรมีสามีเท่านั้นตามวิสัยน้ำใจหญิง จึงพูดแก่เล่าอี้ว่าสามีของนางสิวหมึงได้ขับไล่นางสิวหมึงมาอยู่บ้านข้าพเจ้าช้านานประมาณได้ปี ๑ แล้ว หาได้เลี้ยงดูกันตามธรรมเนียมภรรยาสามีไม่ อีกประการหนึ่ง ข้าพเจ้าก็ได้ทราบว่า ชินติดหงวนก็มีภรรยาใหม่แล้ว เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าจะยอมยกให้นางสิวหมึงมีสามีต่อไปก็ได้ เจ้าจงไปบอกนัดแก่เล่าอี้เถิดว่า ให้เล่าอี้หาวันดีฤกษ์ดีมาแต่งงานตามธรรมเนียมเถิด

ลี้โอวได้ฟังดังนั้นก็มีความยินดี จึงไปแจ้งความแก่เล่าอี้ว่า บัดนี้มารดาของนางสิวหมึง ยอมยกนางสิวหมึงให้แล้วให้ท่านคิดหาวันดีฤกษ์ดีเถิด เมื่อเล่าอี้ได้ฟังลี้โอวบอกดังนั้น มีความยินดีเป็นที่ยิ่ง

ฝ่ายนางสิวหมึงครั้นแจ้งความว่า มารดาจะยกให้มีสามีต่อไป นางสิวหมึงไม่เต็มใจ ด้วยยังมีความอาลัยถึงสามีของตนอยู่จึงพิไรรำพันบ่นโดยความเสียใจที่มารดาจะข่มขืนให้มีสามีใหม่

ครั้นวันฤกษ์ดีเล่าอี้ก็จัดสิ่งของมาแต่งงานตามธรรมเนียม ฝ่ายนางสิวหมึงโดยขัดมารดาไม่ได้ ก็จำใจเป็นภรรยาอยู่กินด้วยกับเล่าอี้ ครั้นอยู่มาเวลาวันหนึ่งเล่าอี้ไปเสพสุรามา มานั่งเคียงนางสิวหมึงแล้วพูดสัพยอกว่า เจ้าจำข้าไม่ได้หรือ นางสิวหมึงตอบว่า เดิมท่านเป็นคนชาวบ้านใด ข้าพเจ้าจำท่านไม่ได้  เล่าอี้จึงบอกว่าเดิมข้าพเจ้าเป็นหลวงจีนอยู่วัดไซเลมยี่ เดินมาตามทางมัวแลชมเจ้าจนลืมสติพลัดตกลงในคูถนน เจ้าได้สงเคราะห์ให้ผิงไฟและซักเสื้อกางเกง กินน้ำชา  ตั้งแต่ต้นจนปลายให้นางสิวหมึงฟังทุกประการ

นางสิวหมึงได้ฟังดังนั้นก็มีความแค้นยิ่งนัก ครั้นอยู่มาได้สองสามวัน นางสิวหมึงก็หนีกลับบ้าน เล่าความให้ซ้องเตร๊กผู้บิดาฟังทุกประการ  ซ้องเตร๊กจึงทำฟ้องไปยื่นต่อเปาเล่งถู กล่าวโทษเล่าอี้ตามความที่นางสิวหมึงเล่าบอกแก่ซ้องเตร๊กทุกประการ เปาเล่งถูจึงหาตัวเล่าอี้มาถามว่า ตัวไปบวชเป็นหลวงจีนอยู่วัดวาอาราม เป็นชีบาณาสงฆ์ฝ่ายสมณะแล้วเหตุใดจึงแปลงเพศคืนมาเป็นคฤหัสถ์ไปมีภรรยานั้นจริงหรือหาไม่

เล่าอี้ได้ฟังเปาเล่งถูถามดังนั้นก็ไม่รับ เปาเล่งถูจึงให้นักการไปสืบที่วัดไซเลมยี่ ได้ความว่าเล่าอี้บวชอยู่วัดไซเลมยี่แล้ว หนีไปแปลงเพศเป็นฆราวาส ครั้นสืบได้ความจริงดังนั้นแล้ว เล่าอี้ก็รับเป็นสัตย์สมแก่ฟ้องของซ้องเตร๊กทุกประการแล้ว เปาเล่งถูจึงสั่งให้เอาตัวเล่าอี้ไปจำขังไว้ ณ คุก แล้วตัดสินให้เนรเทศเล่าอี้ไปอยู่เสียเมืองไกลกำหนดพันลี้ ส่วนนางสิวหมึงก็กลับไปอยู่กับบิดามารดาตามเดิม

ฝ่ายชินตัดหงวนครั้นหายโกรธนางสิวหมึงแล้ว จึงให้คนใช้ไปรับนางสิวหมึงกลับมาเลี้ยงเป็นภรรยาต่อไปตามเดิม


3039  สุขใจในธรรม / เกร็ดศาสนา / Re: ปกิณกธรรม เมื่อ: 08 สิงหาคม 2559 11:02:09



• ปฐมบัญญัติ - ศีล ๒๒๗

.....ฯลฯ ใครๆ ก็ทราบว่าพระสงฆ์นั้นท่านมีศีลถึง ๒๒๗ ข้อ

แต่ความจริงนั้นเมื่อพระพุทธเจ้าเริ่มประกาศศาสนา และพระสงฆ์สาวกยังมีแต่พระอรหันต์นั้น พระพุทธเจ้ามิได้ทรงบัญญัติศีล ๒๒๗ ข้อนี้ไว้ก่อนเลย เพราะศีลนั้นแปลว่าปรกติ  

ศีลทั้ง ๒๒๗ ข้อนั้นเป็นปรกติของพระอรหันต์ ผู้ใดสำเร็จอรหันต์แล้วก็ไม่สามารถล่วงศีลทั้งปวงนั้นได้  กล่าวคือ ไม่สามารถฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ กล่าวเท็จ ร่วมประเวณี หรือดื่มน้ำเมาได้  ตลอดจนไม่สามารถทำของเขียวให้ขาดจากกัน หรือกินมูมมามเคี้ยวดังจับๆ หรือโยนขยะมูลฝอยออกทางหน้าต้่างกุฏิได้  ทั้งหมดนี้เป็นปรกติของพระอรหันต์

และตราบใดที่พระอรหันต์ยังอยู่กับพระอรหันต์  ศีลและวินัยทั้งปวงก็ไม่จำเป็นต้องมี เพราะท่านไม่ทำสิ่งที่ผิดศีลเป็นปรกติอยู่แล้ว และไม่มีความประสงค์ที่จะทำผิดเกิดขึ้นในใจเลย  

แต่เมื่อต่อมามีผู้ยังมิได้บรรลุอรหันต์เข้าบวชในพระศาสนา เป็นต้นว่าลูกกษัตริย์เจ้าสำราญบ้าง พราหมณ์หนุ่มๆ ทรงจิ้งเหลนบ้าง อาเสี่ยลูกนายวาณิชที่เป็นมหาเศรษฐีบ้าง  คนเหล่านี้ ย่อมไม่มีอะไรเป็นปรกติเหมือนพระอรหันต์เลย มีแต่จะทำสิ่งที่ผิดปรกติทั้งสิ้น  พระพุทธเจ้าจึงต้องทรงกำหนดศีลทีละข้อตามเรื่องที่จิ้งเหลนทั้งปวงเข้ามาแผลงฤทธิ์จนครบ ๒๒๗ ข้อ  จึงอุดช่องโหว่ได้หมด

พระสงฆ์ทั้งที่อยู่ในภูมิพระอรหันต์และภูมิจิ้งเหลน จึงอยู่ร่วมกันด้วยความผาสุก.


ที่มา : วรรณกรรม "คนรักหมา" โดย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์  ปราโมช





• ยาในสมัยพุทธกาล

เวลาได้ยินผู้เฒ่าผู้แก่นั่งคุยฟื้นความหลังกัน ใจหนึ่งก็อิ่มเอมที่ได้ฟังเรื่องน่ารู้ต่างๆ ในครั้งเก่าก่อนเป็นบุญหู

อีกใจก็พาให้ดีใจที่โชคดีได้เกิดมาในยุคที่บ้านเมืองเจริญแล้ว เพราะความเจริญทำให้อะไรๆ สะดวกสบายขึ้นมาก ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ การแพทย์

อีกใจก็พาให้ดีใจที่โชคดีได้เกิดมาในยุคที่บ้านเมืองเจริญแล้ว เพราะความเจริญทำให้อะไรๆ สะดวกสบายขึ้นมาก ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ การแพทย์

สมัยนี้เมื่อเจ็บป่วยก็มีหมอและพยาบาลคอยดูแลรักษา มีหยูกยากินให้ความเจ็บป่วยทุเลาลง ผิดกับสมัยปู่ย่าตาทวด ที่ไม่มีทั้งหมอและยาดีๆ มากมายอย่างทุกวันนี้

เวลาใครเป็นอะไรสาหัสสากรรจ์ขึ้นมาที ก็ต้องเข้าเมืองเพื่อไปให้หมอตรวจรักษา บางรายไปไม่ทันเวลา เสียชีวิตไปก็มี

ส่วนที่ไม่ได้เจ็บป่วยร้ายแรงมากก็คงใช้ยากลางบ้าน หรือไม่ก็พืชสมุนไพรต่าง ๆ มาปรุงเป็นยารักษากันเองตามอาการ

แต่ถ้าจะนึกย้อนไปนานกว่านั้นอีก อย่างในสมัยพุทธกาล ก็มียาที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุใช้รักษาอาการอาพาธได้อยู่หลายชนิด ซึ่งสารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน อธิบายไว้ดังนี้...

มหาวิกัฏเภสัช หรือ ยามหาวิกัฏ ๔ ได้แก่ มูตร (น้ำปัสสาวะ) คูถ (อุจจาระ) เถ้า (ขี้เถ้า) และดิน พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุฉันเพื่อแก้พิษงูขบกัด

มูลเภสัช [มูนละ-] คือ รากหรือหัวพืชที่เป็นยาแก้โรค ได้แก่ ขมิ้น ขิง ข่า ว่านน้ำ ว่านเปราะ อุตพิษ แฝก และแห้วหมู นำมาต้มหรือตากแห้ง บดด้วยลูกหินบด ทำเป็นลูกกลอน พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้ให้ภิกษุรับประเคน แล้วเก็บไว้ฉันเป็นยาแก้โรคได้ตลอดชีวิต

ปัณณเภสัช คือ ใบไม้ที่เป็นยา ได้แก่ ใบสะเดา ใบโมกมัน ใบกระดอม ใบกะเพรา ใบแมงลัก หรือใบไม้อื่นๆ ที่มีสรรพคุณเป็นยา พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุเก็บไว้ฉันได้ตลอดชีวิต

กสาวเภสัช [กะสาวะ-] คือ น้ำฝาดเป็นกระสายยา ได้แก่ น้ำฝาดสะเดา น้ำฝาดโมกมัน น้ำฝาดกระดอม น้ำฝาดบอระเพ็ด น้ำฝาดพญามือเหล็ก น้ำฝาดกถินพิมาน หรือน้ำฝาดจากพืชอื่นๆ ที่มีสรรพคุณเป็นยา ซึ่งภิกษุสามารถรับประเคนแล้วเก็บไว้ฉันได้ตลอดชีวิต.


ที่มา : คอลัมน์ องค์ความรู้ ภาษา วัฒนธรรม "ยาในสมัยพุทธกาล" โดย สนง.ราชบัณฑิตยสภา, หนังสือพิมพ์เดลินิวส์


http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph___paragraph_104_163.jpg

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ทรงกราบนมัสการและสนทนาธรรมกับ “หลวงปู่ฝั้น อาจาโร”
ภาพจาก เว็บไซต์ธรรมจักรดอทเน็ต
 
• เชิงธรรม

พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ทรงพระผนวช ๑๕ วัน เมื่อทรงลาสิกขาก็ยังทรงเป็นพุทธมามกะที่เคร่งครัด เข้าวัดรับศีลฟังธรรมตามวาระไม่ขาด 

แต่เวลาการเข้าวัดขาดหายไป เพราะพระราชภารกิจแก้ปัญหาให้ราษฎร

ครั้งหนึ่ง ก่อนปี พ.ศ.๒๕๒๐ ช่วงเวลาที่เสด็จฯ อีสาน โดยไม่มีหมายกำหนดการล่วงหน้า ทรงขอให้ ฮ.พระที่นั่งลงจอดที่วัดป่าพรรณานิคม  อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

ที่จริงทุกครั้งที่เสด็จพระราชดำเนินในถิ่นไกลกันดาร ผู้ที่ตามเสด็จฯ เพิ่งมาเปิดเผยภายหลัง ทุกสถานที่ที่พระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯไป ไม่มีหมายกำหนดการล่วงหน้า

พระราชภารกิจ...จึงมีเรื่องเล่าระทึก อัศจรรย์ ไม่คาดฝันอยู่หลายเรื่อง

เรื่องอัศจรรย์ ขณะเสด็จฯ วัดป่าพรรณานิคม หลวงพ่อฝั้น อาจาโร จัดเสนาสนะในโบสถ์น้ำ เตรียมการรับเสด็จไว้เรียบร้อย ซุบซิบกันหลวงพ่อฝั้น ท่านรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า

บทสนทนาหนึ่ง ระหว่างพระเจ้าอยู่หัวกับพระบ้านนอกธรรมดา ไม่มีสมณศักดิ์ กระทั่งชั้นพระครู
“ทำไมคนสมัยนี้ไม่ค่อยเข้าวัด” พระราชปุจฉา 
“พระมหาบพิตร ควรเข้าวัดเป็นตัวอย่างก่อน” หลวงพ่อฝั้นวิสัชนา   
“ที่บ้าน (วังสวนจิตรฯ) กับที่วัด (วัดบวรฯ) ไกล จะไปแต่ละครั้งไม่ง่าย”
“ขอถวายพระพร วัด...ไม่ใช่วัดบวรฯ”
“ที่ไหน”
หลวงพ่อฝั้นวิสัชนาภาษากาย ยกฝ่ามือไปแปะไว้ที่กลางอก สื่อความหมาย “วัด หมายถึง ใจ”

บทสนนาระหว่างพระมหากษัตริย์ นักปราชญ์ฉลาดรู้เชิงธรรม ล้ำลึก กับพระป่า ที่ลูกศิษย์บันทึกไว้และเล่าขานกันต่อๆ มาจบแค่นี้ ทิ้งปมให้ตีความกันตามอัธยาศัย

ในหนังสือ “ทรงพระผนวช” หนังสือในโครงการสืบสานมรดกวัฒนธรรม บันทึกข้อธรรมะที่พระพรหมมุนี และพระโสภนคณาภรณ์ แสดงถวายวันที่ ๔ พฤศจิกายน  วันที่ ๑๔ ที่ทรงพระผนวชไว้ในหัวข้อ จิต-รู้

จิต คือ ธรรมะที่ให้สำเร็จความคิด แต่ความคิดกับจิตไม่ใช่อันเดียวกัน

รู้ แบ่งออกเป็น ๑ รู้มีอาการ ตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกได้กลิ่น รู้ซึ่งอารมณ์ รู้คุณ รู้โทษ รู้เหตุ รู้ผล จิตเข้าสู่มโนทวาร ๒ รู้ไม่มีอาการ รู้นิ่ง ไม่มีอารมณ์เลย รู้วาง รู้โปร่ง รู้ปล่อย รู้อย่างนี้จิตไม่มาเกี่ยวกับทวาร

เมื่อจิตไม่เข้าเกี่ยวกับทวาร อารมณ์ตามไปไม่ถึง รู้ตัวเองทางธรรม โดยภาวะเรียกว่า “ปัญญา” หรือไม่เป็นภาวะก็เรียกว่า มุนี คือ ผู้รู้

พุทโธ คือ ผู้ตื่น  ตถาคโต คือ ผู้บรรลุสัจธรรม  วิมุติโต คือ ผู้หลุดพ้น

พระเจ้าอยู่หัวทรงเข้าใจแจ่มแจ้ง “วัดอยู่ที่ใจ” จากบทสนทนาหลวงพ่อฝั้น เพราะท่านเป็นศิษย์มีครู

ผมเป็นนักข่าวคนหนึ่ง ไปทำข่าวที่วัดป่าพรรณนานิคมวันที่หลวงพ่อฝั้นมรณภาพ หลังเสด็จฯ พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ มีพระมหากรุณา โปรดให้ประชาชนได้เข้ารดน้ำต่อ

พระเจ้าอยู่หัวพระราชทานหีบทองแท่งทึบ บรรจุศพหลวงพ่อฝั้น

ตามโบราณราชประเพณี หีบทองแท่งทึบ พระราชทานอิสริยยศเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า ถ้าเป็นพระสมณศักดิ์ ก็เจ้าคุณชั้นเทพ

ตามประวัติหลวงพ่อฝั้น ท่านหนีการตั้งสมณศักดิ์หลายครั้ง แต่ครั้งนี้ท่านหนีไม่พ้น
          ฯลฯ


ที่มา : คอลัมน์ ชักธงรบ "เชิงธรรม" น.๓, หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับประจำวันศุกร์ที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๙
3040  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / แกงป่าหมูกับวุ้นเส้น - สูตรและวิธีทำ เมื่อ: 07 สิงหาคม 2559 11:03:46



แกงป่าหมูกับวุ้นเส้น


เครื่องปรุง
- สันคอหมู 100 กรัม
- มะเขือเปราะ (มะเขือเจ้าพระยา) 3 ผล
- วุ้นเส้นสด ½ ถ้วย
- พริกสดสีแดง
- ใบกระเพรา
- กระชาย 1 ราก
- น้ำปลาดี
- น้ำตาลทราย
- น้ำพริกแกงเผ็ด 1 ช้อนโต๊ะ


เครื่องปรุงน้ำพริกแกง
- พริกขี้หนูแห้ง 3-5 ม็ด
- พริกไทยเม็ดขาว 5 เม็ด
- กระเทียมไทย ½ หัว
- หอมแดง 1 หัว
- ข่าหั่นหั่นบาง 2 แว่น
- ตะไคร้ ½ ช้อนโต๊ะ
- ผิวมะกรูด ¼ ช้อนชา
- กะปิอย่างดี ¼ ช้อนชา

* โขลกเครื่องแกงทั้งหมดรวมกันให้ละเอียด ตามด้วยกะปิโขลกพอเข้ากัน


วิธีทำ
1.ล้างหมูให้สะอาด หั่นชิ้นพอคำ
2.ผัดพริกแกงกับน้ำมันเล็กน้อยด้วยไฟอ่อนๆ  พอหอมดีใส่น้ำสะอาดหรือน้ำซุป 1 ด้วย
3.ใส่กระชาย เคี่ยวให้น้ำเดือด จึงใส่เนื้อหมู มะเขือเปราะ และกระชาย
4.ปรุงรสด้วยน้ำปลาดี น้ำตาลทราย...ใส่วุ้นเส้น ใบกระเพรา และพริกสีแดงหั่นแฉลบ
   คนให้เข้ากัน ตักใสชามเสิร์ฟ (ไม่ต้องเคี่ยว วุ้นเส้นจะเปื่อย)



เครื่องปรุง อาจเพิ่มผักอื่นๆ ตามชอบ เช่น ถั่วฝักยาว มะเขือพวง เห็ดฟาง ฯลฯ และพริกไทยสด
(ผู้ทำใส่เครื่องปรุงตามที่มีอยู่ในตู้เย็นเท่านั้น)






พริกแห้งกะเหรี่ยง...น้ำซีดๆ แต่เผ็ดลมออกหู...
หน้า:  1 ... 150 151 [152] 153 154 ... 273
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.732 วินาที กับ 27 คำสั่ง

Google visited last this page 21 ชั่วโมงที่แล้ว