[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 เมษายน 2567 12:51:45 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก เวบบอร์ด ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

  แสดงกระทู้
หน้า:  1 ... 152 153 [154] 155 156 ... 273
3061  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ตลาดสด / อัศจรรย์ 'ไม้ล้มแบ่ง' ... มันแบ่งอะไรกันล่ะ?...เอ้า ตีวงกันเข้ามา เมื่อ: 12 กรกฎาคม 2559 15:13:16

สภาพของไม้ล้มแบ่ง สเก็ตจากของจริง จะเห็นได้จากการขึ้นเป็นแถวแนว ผ่านไปบนสันเขาถึงเจ็ดลูก
มันเป็นอาณาเขตแบ่งแผ่นดิน
ระหว่างต้นพระวงศ์ ราชวงศ์จักรี กับ 'องค์เชียงสือ' ต้นตระกูลเผ่านักรบญวน...ในกาลกระโน้น...

'ไม้ล้มแบ่ง'

ชีวิตคนเราบางทีมันก็ประสบกับสิ่งมหัศจรรย์เหลือเชื่อต่างๆ นานาจนบางครั้งเอามาเล่าให้ใครฟังก็ถูกกล่าวหาว่านำเรื่องไร้สาระโกหกพกลมมาพ่น ทั้งๆ ที่ความจริงทั้งสายตาและประสาทสัมผัสได้ลูบคลำสิ่งเหล่านั้นมาแล้ว

ผู้เขียน มีอดีตและประสบการณ์เหมือนฉากเขียนของจิตรกร มานั่งนึกภาพเหล่านั้นยังอดมหัศจรรย์ในชีวิตของตนเองไม่หาย พาชีวิตรอดตลอดมาจนถึงปัจจุบันนี้ได้อย่างไรกันหนอ  อย่างเช่นในช่วงหนึ่งของชีวิตได้ตระเวนท่องเที่ยวไปจนสุดเขตแดนลาวด้านใต้   สุดอาณาเขตลาวภาคใต้ มีสิ่งมหัศจรรย์หลายอย่างแอบเร้นแฝงฝังในภูมิประเทศแถบนั้น อย่างเช่น “หลี่ผี” น้ำตกกั้นแม่น้ำโขงทั้งแม่น้ำ,  “ไม้ล้มแบ่ง” ต้นไม้ที่เกิดมาเรียงเป็นแถวแนวต้นหนึ่งเอนไปข้างทิศตะวันออก อีกต้นหนึ่งเอนไปทางทิศตะวันตก มีระยะยาวร่วมสามสิบกิโลเมตร ผ่านไปบนสันเขาติดต่อกันถึงเจ็ดลูก

ชาวบ้านแถบนั้นเล่าสืบเนื่องกันมาหลายชั่วอายุคน แม้ว่าจะมีสิ่งเหลือเชื่อฝอยมากับคำบอกเล่าเหล่านั้น แต่เมื่อเทียบดูกับพงศาวดารแล้ว มันก็ทำให้อดทึ่งและอดคล้อยตามไปในทางที่ค่อนข้างจะเชื่อเอามากๆ ไม่ได้   อย่างเช่น “หลี่ผี” น้ำตกกั้นแม่น้ำโขง เกิดขึ้นเพราะทหารเอกของพระเจ้าตากสินมหาราชยกทัพข้ามแม่น้ำโขงช่วงนั้นไปรบกับองเชียงสือ  นักรบคู่แผ่นดินญวนผู้มีฝีมือเกรียงไกรถึงเจ็ดวันเจ็ดคืน  ทหารเอกของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชย์คือ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกต้นปฐมวงศ์แห่งราชวงศ์จักรีนั่นเอง หรือ ที่เรียกกันในขณะที่ออกแผ่เดชานุภาพว่า เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ทรงกรีฑาทัพไปถึงแม่น้ำโขงช่วงนั้น ก็เกณฑ์ไพร่พลรบขนเอาหินลงถมในลำน้ำโขงแล้วก็เดินทัพข้ามไป  ด้วยบุญญาธิการของพระองค์หินเหล่านั้นก็เลยคั่งค้างอยู่แถวนั้นจนกระทั่งกลายเป็นน้ำตกที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ที่เรียกว่า “หลี่ผี” ก็เพราะว่า หินเหล่านั้นเมื่อนานๆ เข้าก็หลุดลอยลงไปเรียงกันอยู่ในช่องหนึ่งที่เป็นช่องทางน้ำที่เชี่ยวจัดกว่าทุกช่อง เรียงสลับฟันปลาเหมือน “หลี” เครื่องมือจับปลาชนิดหนึ่ง ความแหลมคมของแง่หินที่ถูกน้ำเซาะผ่านอยู่ชั่วนาตาปี เป็นเหตุให้ถูกขนานนามว่า “หลีผี” อันน่าสยดสยอง เพราะว่าซุงทั้งต้นขนาดเจ็ดแปดคนโอบ หากว่าหลุดลอยลงไปยังช่องที่ว่านี้ มันจะแหลกละเอียดเหมือนกับเจ๊กเอามีดสับหมูบะช่อไม่มีผิด  ดังนั้น ไม่ว่าสิงสาราสัตว์หรือวัตถุอื่นใดก็ตามหากพลัดลงไปในช่อง “หลีผี” นี้แล้วเป็นอันไม่ต้องห่วงในการติดตามหาซาก...

จะอย่างไรก็ตาม มันจะเกิดเองโดยธรรมชาติ หรือว่าเกิดเพราะบุญญาธิการ หรืออย่างไรก็แล้วแต่ แต่ว่าที่แน่ๆ ก็คือพงศาวดารระบุว่าพระองค์ท่านข้ามทัพในช่วงนั้นจริงๆ ระบุบ่งวันเดือนปีไว้แน่ชัดจะแจ้ง เมื่อข้ามทัพไปแล้ว อีกสองคืนก็ได้เปิดศึกกับองค์เชียงสืออย่างสมพระทัย

เล่ากันว่า เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกกับองค์เชียงสือ รบกันถึงเจ็ดวันเจ็ดคืน ไม่แพ้ไม่ชนะกัน ทั้งสองฝ่ายตั้งทัพเผชิญหน้ากันคนละข้างของเขาลูกหนึ่ง ใช้สันเขาเป็นเวทีรบ รบกันไปรบกันมาจนเขาลูกนั้นราบเรียบเป็นลานกว้างขนาดบรรจุไพร่พลได้ประมาณสองพันคน จนกระทั่งทุกวันนี้ก็ยังไม่มีต้นไม้ต้นไร่อะไรงอกเงยขึ้น จะมีก็แต่ต้นสาบเสือและหญ้าคาเท่านั้นที่ขึ้นปกคลุมเขาลูกนั้นทั้งลูก ชาวบ้านเรียกเขาลูกนั้นว่า “ภูเสิก” (เสิก เป็นภาษาพื้นเมือง แปลตรงตัวว่า “ศึก” แปลโดยรวมแล้วก็หมายความว่าภูเขาที่เกิดการรบกันขึ้นนั่นเอง)

ต่อจากเขาที่เป็นเวทีรบระหว่างองค์เชียงสือกับเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ไปอีกเพียงชั่วเขาอีกลูกหนึ่ง ก็เป็นที่ตั้งต้นของ “ไม้ล้มแบ่ง” ซึ่งมันได้เกิดและได้แบ่งกันเอนไปคนละด้านดังได้กล่าวยาวเหยียดพาดผ่านไปบนสันเขาติดต่อกันถึงเจ็ดลูก เขาจึงเรียกว่า “ไม้ล้มแบ่ง” แต่ว่ามันแบ่งอะไรกันล่ะ?...

สมัยนั้น ลาว เขมร มลายูเป็นขอบเขตขันฑสีมาของไทยเกือบหมดสิ้นทั้งแหลมทอง ด้วยเดชานุภาพอันอาจหาญเกรียงไกรของเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ซึ่งต่อมาได้เป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เป็นนักรบทหารเอกที่แกร่งกร้าวที่สุดของกรุงสยาม ซึ่งลาว เขมร และพม่ายังต้องยอมสยบ ทรงออกเผยแผ่เดชานุภาพไปแทบทุกสารทิศ แทบจะเรียกได้ว่าแว่นแคว้นแดนดินที่อยู่ใต้เบื้องบาทบารมีพระองค์ท่าน จักต้องย่ำทัพกรีฑาพลไปปกป้องผองภัยให้เขาเหล่านั้นอยู่ทุกกาลเวลา

มันเป็นสมัยเดียวกับ “องค์เชียงสือ” ทหารเอกคู่บารมีของพระเจ้าแผ่นดินญวน ได้แผ่อิทธิพลเข้ามาในแว่นแคว้นแดนลาว รุกล้ำและถอยออกเป็นเชิงล่อเหมือนหมาหยอกไก่ จนกระทั่งสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทนไม่ไหวเมื่อได้รับใบบอก จึงขอพระบรมราชานุญาตออกไปเผชิญหน้ากับสิงห์ผยองแห่งแคว้นญวน และก็เป็นเวลาเดียวกันกับเขมรชักทำท่ากระด้างกระเดื่องยโสขึ้นมาอีกทางหนึ่ง พระองค์ท่านเลยยกทัพไปเหยียบเสียราบเป็นการกำราบเอาฤกษ์ ต่อจากนั้นก็ยกทัพมุ่งหน้าเข้าไปพบกับองค์เชียงสือผู้ซึ่งร่ายเพลงดาบญวนท้าทายอยู่แถบริมรั้วบ้าน

อย่างว่า สมัยนั้นเป็นยุคที่องค์เชียงสือกำลังผยองเพราะฝีมือเป็นเลิศในแคว้นนั้น องค์เชียงสือได้แผ่เดชานุภาพเข้าไปในจีนจนกระทั่งได้ตังเกี๋ยเข้ามาอยู่ในบารมี แล้วก็เลยหันมาแหย่ทางลาวเพื่อจะอวดศักดาหาบริวารไปประดับบารมีเจ้านายแห่งตน

รายการเสือพบสิงห์จึงได้เปิดฉากขึ้นที่ “ภูเสิก” ดังได้กล่าวข้างต้น  สามวันแรกเป็นการยกพลเข้ารบตามแบบฉบับพิชัยสงครามของแต่ละฝ่าย ผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ เสมอกันไปทั้งสองฝ่าย สามวันหลังเป็นการประลองฝีมือของแม่ทัพ ซึ่งเป็นทหารเอกของกรุงสยามและกรุงญวนเรียกว่า เดี่ยวกันตัวต่อตัว  ไพร่ราบพลเลวก็พากันนั่งดูเจ้านายฝ่ายใครฝ่ายมัน ทั้งสามวันสามคืน รับกันแต่เช้ายันเย็นอยู่อย่างนั้นไม่มีใครเหนือกว่าใคร เรียกว่ากินกันไม่ลง

พอตกเย็นของวันที่สาม ฝ่ายองค์เชียงสือก็ให้สัญญาณเลิกรบ ขอเป็นพันธมิตรและผูกน้ำมิตรกับทหารเอกกรุงสยาม  สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกก็ไม่ทรงขัดข้อง วันรุ่งขึ้นพิธีกรรมให้สัตยปฏิญาณต่อกันก็เริ่มขึ้น ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนเครื่องบรรณาการ หลั่งอุทกให้สัตยปฏิญาณโอมอ่านพระเวทย์อัญเชิญเทพยดาฟ้าดิน ภูตผีปีศาจ เจ้าป่าเจ้าเขา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในบริเวณนั้นจงมาร่วมเป็นสักขีพยาน ว่าญวนและไทยจะไม่รุกรานซึ่งกันและกันสืบแต่มื้อนี้ตลอดไปจนมือหน้าชั่วกัลป์

แล้วทั้งสองฝ่ายก็ตั้งสัตย์อธิษฐาน ปลูกต้นไม้ลงบนผืนธรณี ชี้นิ้วไปเบื้องหน้าประกาศเป็นโองการว่า เราทั้งสองจะขอแบ่งแผ่นดินกัน ณ ที่ตรงนี้  ไม้ต้นใดที่โน้มยอดไปเบื้องบูรพาทิศให้ถือเป็นอาณาเขตของญวน  ต้นใดที่โน้มมาเบื้องอาคเนย์ให้ถือว่าเป็นอาณาเขตของสยามเทวาธิราช แม้นฝ่ายใดไม่ตั้งอยู่ในสัตย์อธิษฐาน ละเมิดล้ำล่วงทะลวงแดนซึ่งกันและกัน จบประสบแต่ความวิบัตินานัปการเทอญ....

“ไม้ล้มแบ่ง” เกิดขึ้นที่ตรงนี้ ด้วยเหตุนี้   ท่านอาจพึมพำหัวเราะว่า ฮีโธ่...เท่านี้ก็เห็นเป็นของอัศจรรย์ไปได้ ก็เมื่อทั้งสองฝ่ายได้เกณฑ์ไพร่พลปลูกมันลงไปเป็นแถวเป็นแนวทำไมมันจะเป็นไปไม่ได้ล่ะ  แต่ถ้าท่านรู้ว่าโดยหลักของพฤกษศาสตร์นั้น  ไฉน “ไม้ล้มแบ่ง” จึงโน้มยอดของมันโดยผิดธรรมชาติเป็นแถวเป็นแนวยาวไกลถึงร่วมๆ สามสิบกิโลเมตรอย่างนั้นล่ะ หากว่า...ไม่เป็นเพราะบุญญาธิการ...

ชะรอยกาลเวลาอันเนิ่นนาน แรงสาปที่สยามเทวาธิราชได้อ่านโองการประกาศเหนือ “ไม้ล้มแบ่ง” แต่ครั้งกระโน้นจะสร่างคลายหายจางไปตามสายเลือดขององค์เชียงสือกระมัง ญวนเหนือจึงได้ล้ำล่วงทะลวงแดนเข้ามาในราชอาณาจักรลาว เลยเส้นประกาศโองการ “ไม้ล้มแบ่ง” เข้ามา เขาเหล่านั้นจึงได้รับภัยพิบัติอยู่ในขณะนี้

ที่อัศจรรย์เหนือไปยิ่งกว่านั้นก็คือ “ไม้ล้มแบ่ง” ทุกต้นที่เกิดบนสันเขาเจ็ดลูกดังกล่าวนั้นทุกต้นเป็นสมุนไพร หรือเป็นยาที่วิเศษที่สุดเท่าที่เคยเห็นมา เกี่ยวกับโรคท้องร่วง เป็นบิด ถ่ายเป็นมูกเลือด และเป็นโรคผิวหนังทุกชนิด โดยที่ชาวบ้านไปถากเอาเปลือกมันมาต้มกินและอาบ  แต่ทว่า...มันมีเคล็ดนิดเดียวในขณะไปเอา ราวกับว่ามันได้เป็นเครื่องเตือนสติของมนุษยชาติเผ่าพันธุ์ให้รักใคร่ผูกพันซึ่งกันและกันสืบไป ตามเจตนารมณ์ของผู้อ่านโองการแผ่บารมีฝากไว้

นั่นคือ หากเป็นชาวบ้านที่อยู่ในอาณาเขตแห่งสยามเทวาธิราช จะต้องไปถากเปลือกต้นที่โน้มกิ่งไปทางทิศตะวันออกมาต้มกิน ต้มอาบ  โรคจะหายดังปลิดทิ้งภายในสองวัน  และทำนองเดียวกัน ชาวบ้านที่อยู่ในดินแดนญวนจะต้องมาถากเอาเปลือกต้นที่โน้มกิ่งมาทางทิศตะวันตก ซึ่งอยู่ในอาณาเขตสยามเทวาธิราช ความเจ็บไข้ได้ป่วยของมนุษยชาติเผ่าพันธุ์ ไม่ว่าชาติใดเผ่าใดย่อมเป็นทุกข์อันมหัศจรรย์ของชีวิตด้วยกันทั้งนั้น  ดังนั้น “ไม้ล้มแบ่ง” จึงเหมือนกับสิ่งเตือนอนุสติทุกชีวิตให้อยู่ใกล้เคียงกันให้โอบอ้อมช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ดีกว่าที่จะมุ่งหน้าเป็นศัตรูกันไม่รู้สร่างซา มันจึงเป็นต้นไม้อัศจรรย์ด้วยประการฉะนี้

ไม้ล้มแบ่งอยู่ห่างนครจำปาศักดิ์ออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ ๘๐ กิโลเมตร แต่มันห่างจากนครหลวงกรุงเทพ ประเทศไทยออกไปนับเป็นพันๆ ไมล์ขึ้นไป แม้ว่าปัจจุบันนี้จะมีการคมนาคมย่นแผ่นดินดีสักปานใดก็ตาม เส้นทางที่จะไปดู “ไม้ล้มแบ่ง” นั้นยังมองไม่เห็นทางที่จะไปได้เลย

“สิงห์โห”





น้ำตก "หลี่ผี"
ภาพจาก tourlaotai.com
3062  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / เรื่องราว จากนอกโลก / Re: รบกวนขอความรู้ ด้านที่พักและกิจกรรมที่เชากะลาหน่อยคับ (ขอบคุณมากคับ) เมื่อ: 12 กรกฎาคม 2559 12:03:27
.

ที่พักในตำบลเขากะลา "ไม่มี" ค่ะ
...ต้องมาพักที่ตัวจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งอยู่ห่างจากจุดหมายที่คุณจะไป
ประมาณ 40 กิโลเมตร...โรงแรมจังหวัดนครสวรรค์มีเกือบ 130 แห่ง
หรือ ถ้าต้องการรายละเอียด แนะนำให้ถามข้อมูลจนท.องค์การบริหารส่วนตำบลเขากะลา
ซึ่งปฏิบัติงายในพื้นที่ (ในวัน เวลาราชการ)



องค์การบริหารส่วนตำบลเขากะลา
ตำบลเขากะลา อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
โทรศัพท์ : ๐๕๖-๐๐๙-๗๕๙,๐๘๖-๓๓๑-๓๕๖๙
3063  สุขใจในธรรม / เกร็ดศาสนา / Re: พระวินัย ๒๒๗ พุทธบัญญัติจากพระไตรปิฎก (ปาราชิก ๔ สิกขาบท) เมื่อ: 11 กรกฎาคม 2559 16:07:27

นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ปัตตวรรคที่ ๓ สิกขาบทที่ ๓
(พระวินัยข้อที่ ๔๒)
ภิกษุเก็บเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ไว้ได้ ๗ วัน
เกินกว่านั้น ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์ (ต่อ)

      ๖.อธิบายเภสัชว่าด้วยน้ำอ้อย
          น้ำอ้อยชนิดที่ยังไม่ได้เคี่ยว หรือที่เคี่ยวแล้วไม่มีกาก หรือที่ไม่มีกากแม้ทั้งหมด จนกระทั่งน้ำอ้อยสด พึงทราบว่า “น้ำอ้อย”, น้ำอ้อยที่ภิกษุรับประเคนก่อนฉัน แม้เจืออามิสก็ควรในเวลาก่อนภัต แต่หลังภัตไปไม่เจืออามิสเลย จึงควรตลอด ๗ วัน, ล่วง ๗ วันไป เป็นนิสสัคคีย์ตามจำนวนวัตถุ, ก้อนน้ำอ้อยแม้มาก ภิกษุย่อยให้แหลกแล้วใส่ไว้ในภาชนะเดียวกัน ย่อมจับรวมกันแน่น เป็นนิสสัคคีย์ตัวเดียว, น้ำอ้อยที่เป็นอุคคหิตถ์ พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้ว พึงน้อมไปในกิจมีการอบเรือนเป็นต้น
          น้ำอ้อยที่เขาทำด้วยน้ำอ้อยสดที่ยังไม่ได้กรอง ภิกษุรับประเคนในเวลาก่อนฉัน ถ้าอนุปสัมบันทำ แม้เจืออามิสก็ควร, ถ้าภิกษุทำเอง ไม่เจืออามิสเลย จึงควร, จำเดิมแต่หลังภัตไป ไม่ควรกลืนกิน เพราะเป็นการรับประเคนทั้งวัตถุ, แม้ล่วง ๗ วันไป ก็ไม่เป็นอาบัติ, แม้ที่เขาทำด้วยน้ำอ้อยสด ที่ภิกษุรับประเคน ทั้งที่ยังไม่ได้กรองในเวลาหลังภัต ก็ไม่ควรกลืนกินเหมือนกัน แม้ล่วง ๗ วันไป ก็ไม่เป็นอาบัติ แม้ในผาณิต (น้ำอ้อย) ที่ภิกษุรับประเคนอ้อยเป็นลำทำ ก็มีนัยนี้
          ก็ผาณิตที่ทำด้วยน้ำอ้อยสด ที่กรองและรับประเคนไว้ในกาลก่อนฉัน ถ้าอนุปสัมบันทำ แม้เจืออามิสก็ควรในเวลาก็ภัต แต่หลังภัตไป ไม่เจืออามิสเลย จึงควรตลอด ๗ วัน, ที่ทำเองไม่เจืออามิสเลยย่อมควรแม้ในก่อนภัต แต่หลังภัตไปไม่เจืออามิส ควรตลอด ๗ วัน,  แต่ผาณิตทำด้วยน้ำอ้อยสด ที่กรองและประเคนแล้วในหลังภัตปราศจากอามิสเท่านั้น จึงควรตลอด ๗ วัน ผาณิตที่เป็นอุคคหิตถ์มีดังกล่าวแล้วเช่นกัน
          -ผาณิต (รสหวาน) ของดอกมะซางที่เขาทำด้วยน้ำเย็น แม้เจืออามิสก็ควรในเวลาก่อนภัต หลังภัตไปไม่เจืออามิส จึงควรตลอด ๗ วัน ล่วง ๗ วันไป เป็นทุกกฎตามจำนวนวัตถุ, ส่วนผาณิตมะซางที่เขาเติมนมสดทำเป็นยาวกาลิก แต่ชนทั้งหลายตักเอาฝ้า (ฟอง) นมสดออกแล้วๆ ชำระขัณฑสกรให้สะอาด เพราะฉะนั้นขัณฑสกรนั้นก็ควร, ส่วนดอกมะซางสดย่อมควรแม้ในเวลาก่อนภัต คั่วแล้วก็ควร, คั่วแล้วตำผสมด้วยของอื่น มีเมล็ดงาเป็นต้น หรือไม่ผสม ก็ควร
          แต่ถ้าว่า ชนทั้งหลายถือเอามะซางนั้นประกอบกันเข้า (ปรุง) เพื่อต้องการเมรัย ดอกมะซางที่ปรุงแล้วนั้นย่อมไม่ควรตั้งแต่พืช, ผาณิต (รสหวาน) แห่งผลไม้ที่เป็นยาวกาลิกทั้งหมด มีกล้วย ผลอินทผลัม (เป้งก็ว่า) มะม่วง ลิเก ขนุน และมะขาม เป็นต้น เป็นยาวกาลิกเหมือนกัน
          ถ้าภิกษุรับประเคนเภสัช ๕ อย่าง มีเนยเป็นต้นแม้ทั้งหมด เก็บไว้ไม่แยกกันในหม้อเดียว ล่วง ๗ วันไป เป็นนิสสัคคีย์เพียงตัวเดียว, เมื่อแยกเก็บเป็นนิสสัคคีย์ ๕ ตัว
       ๗.อธิบายข้อที่ทรงอนุญาตไว้เฉพาะ ๗ อย่าง
          (๑) ทรงอนุญาตเฉพาะอาพาธ ได้แก่ ข้อที่ทรงอนุญาตเฉพาะอาพาธอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเนื้อสด เลือดสด ในเพราะอาพาธอันเกิดจากอมนุษย์ เนื้อสดและเลือดสดนั้นควรแก่ภิกษุผู้อาพาธทั้งหลาย ไม่ควรแก่ภิกษุอื่น ก็แลเนื้อสดและเลือดสดนั้นเป็นกัปปิยะก็ดี เป็นอกัปปิยะก็ดี ย่อมควรทั้งนั้น ทั้งในกาลและทั้งในวิกาล
          (๒) ทรงอนุญาตเฉพาะบุคคล ได้แก่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการเรออวก แก่ภิกษุผู้มักเรออวก  ภิกษุทั้งหลาย แต่ที่เรออวกออกมานอกทวารปากแล้ว ไม่ควรกลืนกิน การเรออวกนั้นควรแก่ภิกษุผู้มักเรออวกนั้นเท่านั้น ไม่ควรแก่ภิกษุอื่น
          (๓) ทรงอนุญาตเฉพาะกาลที่ภิกษุถูกงูกัด ได้แก่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยามหาวิกัฏ ๔ คือ คูถ มูตร เถ้า ดิน ยามมหาวิกัฎนั่น เฉพาะในกาลนั้นแม้ไม่รับประเคนก็ควร ในกาลอื่นหาควรไม่
          (๔) ทรงอนุญาตเฉพาะสมัย ได้แก่ อนาบัติทั้งหลายที่ทรงอนุญาตไว้เฉพาะสมัยนั้นๆ โดยมีนัยว่า (เป็นปาจิตตีย์) ในเพราะคณโภชนะ เว้นแต่สมัย ดังนี้เป็นต้น
          (๕) ทรงอนุญาตเฉพาะประเทศ ได้แก่ สังฆกรรมมีการอุปสมบทเป็นต้น ที่ทรงอนุญาตเฉพาะในปัจจันตประเทศ อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการอุปสมบทด้วยคณะมีพระวินัยธรเป็นที่ ๕ ในปัจจันตชนบทเห็นปานนี้ สังฆกรรมมีอุปสมบทเป็นต้นนั้น ย่อมควรเฉพาะในปัจจันตชนบทเท่านั้น ในมัชฌิมประเทศหาควรไม่
          (๖) ทรงอนุญาตเฉพาะมันเปลว ได้แก่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเปลวมันเป็นเภสัช เปลวมันเภสัชนั้นของจำพวกสัตว์ มีเปลวมันเป็นกัปปิยะและอกัปปิยะทั้งหลาย เว้นเปลวมันของมนุษย์เสีย ย่อมควรเพื่อบริโภคอย่างบริโภคน้ำมัน แก่ภิกษุผู้มีความต้องการด้วยน้ำมันนั้น
          (๗) ทรงอนุญาตเฉพาะเภสัช ได้แก่ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ที่สามารถแผ่ไปเพื่อให้สำเร็จกิจ คือ อาพาธ ซึ่งทรงอนุญาตไว้โดยชื่อแห่งเภสัชอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเภสัช ๕ เภสัช  เภสัช ๕ เหล่านั้น ภิกษุรับประเคนแล้ว พึงบริโภคได้ตามสบายในปุเรภัตในวันนั้น ตั้งแต่ปัจฉาภัตไป เมื่อมีเหตุพึงบริโภคได้ตลอด ๗ วัน
       ๘.ภิกษุอย่าพึงเอาเภสัชที่เป็นนิสสัคคีย์ทาร่างกาย หรือทาแผลที่ร่างกาย แม้บริขารมีผ้ากาสาวะ ไม้เท้า รองเท้า เขียงเช็ดเท้า เตียงและตั่ง เป็นต้น หากถูกเภสัชนั้นแล้ว เป็นของไม่ควรบริโภคใช้สอย, แม้จะทาที่จับมือแห่งบานประตูและหน้าต่าง ก็ไม่ควรทา
          -ในภายใน ๗ วัน ภิกษุอธิษฐานเนยใส น้ำมัน และเปลวมัน ไว้เป็นน้ำมันทาศีรษะ หรือเป็นน้ำมันสำหรับหยอด, อธิษฐานน้ำผึ้งไว้เป็นยาทาแผล น้ำอ้อยเป็นเครื่องอบเรือน ย่อมไม่เป็นอาบัติ
          -ถ้าเภสัชนั้นเป็นของ ๒ เจ้าของ ภิกษุรูปหนึ่งรับประเคนไว้ แต่ยังไม่ได้แบ่งกัน เมื่อล่วง ๗ วันไป ไม่เป็นอาบัติทั้ง ๒ รูป แต่ไม่ควรบริโภค, ถ้ารูปใดรับประเคนไว้ รูปนั้นกล่าวกะอีกรูปหนึ่งว่า ท่านผู้มีอายุ น้ำมันนี้ถึง ๗ วันแล้ว ท่านจงบริโภคน้ำมันนั้นเสีย ดังนี้  และเธอก็ไม่ทำการบริโภค จะเป็นอาบัติแก่ใคร?  ตอบว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ใครๆ ทั้งนั้น  เพราะเหตุไร? เพราะรูปที่รับประเคนก็สละแล้ว อีกรูปหนึ่งก็ไม่ได้รับประเคน (นี้เป็นคำอธิบายอนาบัติว่าด้วยถือวิสาสะ)
          -เภสัชอันภิกษุสละแล้ว ไม่มีความห่วงใย ให้แล้วแก่สามเณร, ท่านพระมหาสุมเถระกล่าวว่า ตรัสไว้เพื่อแสดงว่าไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ให้แล้วในภายใน ๗ วัน ภายหลังได้คืนมาแล้วฉัน
          ส่วนท่านพระมหาปทุมเถระกล่าวว่า น้ำมัน (ที่สละแล้ว) นี้ ภิกษุไม่ควรขอ ด้วยว่าในเพราะการบริโภคใหม่ซึ่งน้ำมันที่ให้ไปแล้วในภายใน ๗ วัน ไม่มีอาบัติเลย  แต่ตรัสคำนี้ก็เพื่อแสดงว่าไม่เป็นอาบัติในเพราะการบริโภคน้ำมันที่ล่วง ๗ วันไป เพราะเหตุนั้นเภสัชที่เขาถวายแล้วอย่างนี้ ถ้าสามเณรปรุงแล้ว หรือไม่ได้ปรุงถวายแก่ภิกษุนั้น เพื่อกระทำการนัตถุ์, ถ้าสามเณรเป็นผู้เขลา ไม่รู้เพื่อจะถวาย ภิกษุอื่นพึงบอกเธอว่า แน่ะสามเณร เธอมีน้ำมันหรือ เธอรับว่า ขอรับ มีอยู่  ภิกษุพึงบอกเธอว่า นำมาเถิด เราจักทำยาถวายพระเถระ น้ำมันย่อมควรแม้ด้วยการถือเอาอย่างนี้
       ๙.สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๒ คือ กายวาจา ๑ กายวาจากับจิต ๑ เป็นอกิริยา อจิตตกะปัณณัตติวัชชะ, กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓      




อิธ โมทติ เปจฺจ โมทติ  กตปุญฺโญ อุภยตฺถ โมทติ
โส โมทติ ดส ปโมทติ  ทิสฺวา กมฺมวิสุทฺธิมตฺตโน ฯ ๑๖ ฯ

คนทำดีย่อมร่าเริงในโลกนี้ คนทำดีย่อมร่าเริงในโลกหน้า
คนทำดีย่อมร่าเริงในโลกทั้งสอง คนทำดีย่อมร่าเริง เบิกบานใจยิ่งนัก
เมื่อมองเห็นแต่กรรมบริสุทธิ์ของตน 

Here he rejoices, hereafter he rejoices, In both worlds the well-doer rejoices;
He rejoices, exceedingly rejoices, Seeing his own pure deeds.
.
 ... ศาสตราจารย์ เสฐียรพงษ์ วรรณปก

คัดจาก คัดจาก พระวินัย ๒๒๗ พุทธบัญญัติจากพระไตรปิฎก,
          ธรรมสภา และ สถาบันบันลือธรรม จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนา
          (ฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า)


3064  สุขใจในธรรม / เกร็ดศาสนา / Re: พระวินัย ๒๒๗ พุทธบัญญัติจากพระไตรปิฎก (ปาราชิก ๔ สิกขาบท) เมื่อ: 11 กรกฎาคม 2559 16:04:59

นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ปัตตวรรคที่ ๓ สิกขาบทที่ ๒
(พระวินัยข้อที่ ๔๑)
ภิกษุมีบาตรมีแผลน้อยกว่า ๕ แผล ขอบาตรใหม่จากคฤหัสถ์
ไม่ใช่ญาติ ไม่ใช่ปวารณา ได้มา ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์

      นายช่างหม้อในนครกบิลพัสดุ์ผู้หนึ่ง กล่าวปวารณาแก่ภิกษุทั้งหลายว่า พระคุณเจ้าเหล่าใดต้องการบาตร กระผมจักถวายแก่พระคุณเจ้านั้น
       ภิกษุทั้งหลายไม่รู้จักประมาณ ขอบาตรเขาเป็นอันมาก ที่มีบาตรเล็กก็ขอบาตรใหญ่ ที่มีบาตรใหญ่ก็ขอบาตรเล็ก เขาหมดเวลาไปกับการทำบาตร ครอบครัวเดือดร้อน เป็นอยู่ลำบาก
       ชาวบ้านเพ่งโทษติเตียน...ภิกษุผู้มักน้อยทั้งหลายเพ่งโทษติเตียน... แล้วกราบทูล... รับสั่งแก่ภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุไม่ควรขอบาตร ภิกษุใดขอ ต้องอาบัติทุกกฎ”
       สมัยต่อมา บาตรของภิกษุรูปหนึ่งแตก เธอรังเกียจที่จะขอบาตร เพราะมีบัญญัติห้าม จึงได้ใช้มือทั้งสองเที่ยวบิณฑบาต ชาวบ้านติเตียนว่าเหมือนพวกเดียรถีย์ ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูล ทรงมีพระพุทธานุญาตว่า “เราอนุญาตให้ภิกษุผู้มีบาตรหาย หรือบาตรแตก ขอบาตรเขาได้”
       พระฉัพพัคคีย์มีบาตรแตกเพียงเล็กน้อย ทะลุเพียงเล็กน้อย กะเทาะเพียงเล็กน้อย มีรอยขัดเพียงเล็กน้อย ไม่รู้จักประมาณ พากันขอบาตรมาไว้เป็นอันมาก นายช่างหม้อเป็นอยู่ลำบาก ชาวบ้านเพ่งโทษติเตียน... ภิกษุได้ยิน... จึงกราบทูล... ทรงมีพระบัญญัติว่า
       “อนึ่ง ภิกษุใด มีบาตรมีแผลหย่อนห้า ให้จ่ายบาตรอื่นใหม่ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภิกษุนั้นพึงสละบาตรใบนั้นให้ในภิกษุบริษัท บาตรใบสุดแห่งภิกษุบริษัทนั้น พึงมอบให้แก่ภิกษุนั้นสั่งว่า ภิกษุนี้บาตรของท่าน พึงทรงไว้จนกว่าจะแตก นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น”

อรรถาธิบาย
       -บาตร ที่ชื่อว่า มีแผลหย่อนห้า คือ ไม่มีแผล มีแผล ๑ หรือมีแผล ๔
       -บาตร ที่ชื่อว่า ไม่มีแผล ได้แก่ บาตรที่มีรอยร้าวยาวไม่ถึงสององคุลี, บาตรที่มีแผล ได้แก่ บาตรที่มีรอยร้าวถึงสององคุลี
       -บาตร ที่ชื่อว่า ใหม่ ตรัสหมายเอาบาตรที่ขอเขามา
       -ให้จ่าย คือ ขอเขา เป็นทุกกฎในขณะขอ เป็นนิสสัคคีย์เมื่อได้บาตรมา จำต้องเสียสละในท่ามกลางสงฆ์
       ภิกษุทุกรูปพึงถือบาตรที่อธิษฐานแล้วไปประชุม อย่าอธิษฐานบาตรเลวด้วยหมายจะได้บาตรที่มีราคามาก ถ้าอธิษฐานบาตรเลวด้วยหมายจะได้บาตรที่มีราคามาก ต้องอาบัติทุกกฎ

วิธีเสียสละบาตร
       ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์... กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านเจ้าข้า บาตรใบนี้ของข้าพเจ้ามีแผลหย่อนห้า ให้จ่ายมาแล้ว เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละบาตรใบนี้แก่สงฆ์”
       ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดพึงรับอาบัติ แล้วสงฆ์พึงสมมติผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ให้เป็นผู้เปลี่ยนบาตร
       องค์ ๕ คือ ๑.ไม่ถึงความลำเอียงเพราะชอบพอ  ๒. ...เพราะเกลียดชัง  ๓. ...เพราะงมงาย  ๔. ...เพราะกลัว  ๕.รู้จักว่าทำอย่างไร เป็นอันเปลี่ยนหรือไม่เป็นอันเปลี่ยน จากนั้นสงฆ์พึงสมมติภิกษุผู้เปลี่ยนบาตร โดยขอภิกษุให้รับตกลงก่อนแล้ว ภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า

คำสมมติ
       “ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้ ให้เป็นผู้เปลี่ยนบาตร นี้เป็นญัตติ
       ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้เปลี่ยนบาตร การสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้เปลี่ยนบาตร ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ภิกษุมีชื่อนี้ สงฆ์สมมติให้เป็นผู้เปลี่ยนบาตรแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความไว้อย่างนี้”
       ภิกษุผู้รับสมมติแล้ว พึงให้เปลี่ยนบาตร พึงกราบเรียนพระเถระว่า ท่านเจ้าข้า ขอพระเถระจงเปลี่ยนบาตร ถ้าพระเถระเปลี่ยนพึงถวายบาตรพระเถระ ให้พระทุติยเถระเปลี่ยน อันภิกษุจะไม่เปลี่ยน เพราะความสงสารภิกษุนั้นไม่ได้ ภิกษุใดไม่ยอมเปลี่ยน ต้องอาบัติทุกกฎ ไม่พึงให้ภิกษุผู้ไม่มีบาตรเปลี่ยน พึงให้เปลี่ยนเลื่อนลงมา โดยอุบายนี้แลตลอดจนถึงพระสังฆนวกะ ก็แลบาตรใดเป็นใบสุดท้ายแห่งภิกษุบริษัทนั้น พึงมอบบาตรนั้นแก่ภิกษุผู้ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ แล้วสั่งกำชับว่า ดูก่อนภิกษุ นี้บาตรของเธอ พึงใช้ไปจนกว่าจะแตก  ดังนี้ ภิกษุนั้นอย่าเก็บบาตรใบนั้นไว้ในที่อันไม่ควร อย่าใช้โดยอาการอันไม่ควร อย่าทอดธุระว่าบาตรใบนี้จะเป็นอย่างไรก็ตาม คือ จะหายก็ช่าง จะฉิบหายก็ช่าง จะแตกก็ช่าง ถ้าเก็บไว้ในที่ๆ ไม่ควรก็ดี ใช้อย่างที่เขาไม่ใช้กันก็ดี ปล่อยทิ้งเสียก็ดี ต้องอาบัติทุกกฎ
      นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น คือ นี้เป็นความถูกต้องในเรื่องนั้น

อาบัติ
       ๑.ภิกษุมีบาตรไม่มีแผล ขอบาตรที่ไม่มีแผล เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
       ๒.ภิกษุมีบาตรไม่มีแผล ขอบาตรที่มีแผล ๑ ถึง ๔ แห่ง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
       ๓.ภิกษุมีบาตรมีแผล ๑ ขอบาตรที่ไม่มีแผล เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
       ๔.ภิกษุมีบาตรมีแผล ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๑ ถึง ๔ แห่ง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
       ๕.ภิกษุมีบาตรมีแผล ๒ ถึง ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๒ ถึง ๔ แห่ง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
       ๖.ภิกษุมีบาตรไม่มีแผล ขอบาตรไม่มีท่าจะมีแผล เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
       ๗.ภิกษุมีบาตรไม่มีแผล ขอบาตรที่ท่าจะมีแผล ๑ ถึง ๔ แห่ง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
       ๘.ภิกษุมีบาตรมีแผล ๑ ถึง ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๑ ถึง ๔ แห่ง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
       ๙.ภิกษุมีบาตรมีแผล ๑ ถึง ๔ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีท่าจะมีแผล เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
      ๑๐.ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๑ ถึง ๔ แห่งขอบาตรที่ไม่มีท่าจะมีแผล เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
      ๑๑.ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๑ ถึง ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๑ ถึง ๔ แห่ง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์

อนาบัติ
       ภิกษุมีบาตรหลาย ๑  ภิกษุมีบาตรแตก ๑  ขอต่อญาติ ๑  ขอต่อคนปวารณา ๑  ขอเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุอื่น ๑  จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑  วิกลจริต ๑  อาทิกัมมิกะ ๑

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย. มหาวิ.๑/๓/๑๐๒๑-๑๐๒๕
       ๑.ช่างหม้อนั้นเป็นพระอริยสาวกโสดาบัน ถึงแม้ถูกรบกวนเป็นอันมาก ก็หาเสียใจไม่
       ๒.ภิกษุใดมีบาตรมีแผลครบ ๕ แห่ง บาตรของภิกษุนั้นไม่จัดเป็นบาตร เพราะฉะนั้นจึงควรขอบาตรใหม่ได้
          -บาตรที่มีรอยร้าวรอยเดียว พึงเอาเหล็กเจาะบาตร เจาะที่สุดริมล่างของรอยร้าวนั้น ระบมแล้วผูกรัดด้วยเชือกด้ายและเชือกปอเป็นต้น หรือด้วยลวดดีบุก พึงอุดแผลนั้นด้วยแผ่นดีบุก หรือด้ายยาว สำหรับติดบางอย่างเพื่อกันอามิส (มีข้าวเป็นต้น) ติด และพึงอธิษฐานไว้ใช้เถิด,  อนึ่ง พึงผูกทำช่องให้เล็ก; แต่จะยาด้วยขี้ผึ้ง ครั่ง และยางสนเป็นต้นล้วนๆ ไม่ควร, จะเคี่ยวน้ำอ้อยด้วยผงหิน ควรอยู่
       แต่บาตรที่ภิกษุเอาเหล็กเจาะบาตร เจาะในที่ใกล้ขอบปากบาตรจะแตก เพราะแผ่นเหล็กหนา เพราะฉะนั้นจึงควรเจาะข้างล่าง, สำหรับบาตรที่มีรอยร้าว ๒ แห่ง หรือเพียงแห่งเดียวแต่ยาวถึง ๔ องคุลี ควรให้เครื่องผูก ๒ แห่ง, พึงให้เครื่องผูก ๓ แห่ง แก่บาตรที่มีรอยร้าว ๓ แห่ง หรือมีเพียงแห่งเดียว แต่ยาวถึง ๖ องคุลี, พึงให้เครื่องผูก ๔ แห่ง แก่บาตรที่มีรอยร้าว ๔ แห่ง หรือเพียงแห่งเดียวแต่ยาวถึง ๘ องคุลี บาตรที่มีรอยร้าว ๕ แห่ง หรือมีเพียงแห่งเดียวแต่ยาวถึง ๑๐ องคุลี จะผูกก็ตาม ไม่ผูกก็ตาม ไม่จัดเป็นบาตรเลย ควรขอบาตรใหม่ ที่วินิจฉัยมานี้เป็นบาตรที่ทำด้วยหิน
       ๓.ส่วนวินิจฉัยในบาตรเหล็ก มีดังนี้
          ถ้าแม้มีช่องทะลุ ๕ แห่งหรือเกินกว่า และช่องทะลุเหล่านั้นอุดด้วยผงเหล็ก ด้วยหมุด หรือด้วยก้อนเหล็กกลม, เป็นของเกลี้ยงเกลา ควรใช้สอยบาตรนั้นนั่นแล ไม่ควรขอบาตรใหม่, แต่ถ้ามีช่องทะลุแม้ช่องเดียว แต่เป็นช่องใหญ่ แม้อุดด้วยก้อนเหล็กกลมก็ไม่เกลี้ยงเกลา, อามิสติดที่บาตรได้ เป็นอกัปปิยะ บาตรนี้ไม่ใช่บาตร ควรขอบาตรใหม่ได้
       ๔.ภิกษุผู้ได้สมมติ พึงเรียนถามพระเถระว่า ท่านขอรับ บาตรใบนี้มีขนาดถูกต้อง สวยดี สมควรแก่พระเถระ ขอท่านโปรดรับบาตรนั้นไว้เถิด, เมื่อพระเถระไม่รับไว้เพื่ออนุเคราะห์เป็นทุกกฎ แต่เพราะความสันโดษไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่รับ ด้วยคิดว่าจะมีประโยชน์อะไรแก่เราด้วยบาตรใบอื่น
     ๕.ผู้ได้บาตรใบสุดท้ายมาไม่พึงเก็บบาตรใบนั้นไว้ มีบนเตียง ตั่ง ร่ม หรือไม้ฟันนาค เป็นต้น  พึงเก็บไว้ในที่ที่ตนเก็บบาตรดีใบก่อนไว้นั้นแล หรือเก็บตามที่ตรัสว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเชิงรองบาตร” ดังนี้
         -ไม่พึงใช้บาตรโดยการใช้ไม่สมควร มีการต้มข้าวหรือต้มน้ำย่อมอยู่เป็นต้น แต่เมื่อเกิดอาพาธในระหว่างทาง เมื่อภาชนะอื่นไม่มี จะเอาดินเหนียวพอกแล้วต้มข้าวต้ม หรือต้มน้ำร้อน ควรอยู่
         -ไม่ควรให้แก่คนอื่น แต่ถ้าว่าสัทธิวิหาริกหรืออันเตวาสิกวางบาตรที่ดีใบอื่นไว้แทน ถือเอาไปด้วยคิดว่าบาตรนี้ควรแก่เรา บาตรนี้ควรแก่พระเถระ ดังนั้นควรอยู่, หรือภิกษุอื่นถือเอาบาตรใบนั้นแล้วถวายบาตรของตน ก็ควร
       ๖.ในกุรุนทีกล่าวว่า ภิกษุมีบาตรเป็นแผลเพียง ๕ แห่ง จะขอบาตรใหม่ในที่ที่เขาปวารณาไว้ ด้วยอำนาจแห่งสงฆ์ ควรอยู่ ถึงมีบาตรเป็นแผลหย่อน ๕ แห่ง จะขอในที่ที่เขาปวารณาไว้ด้วยอำนาจแห่งบุคคล ก็ควร
        ๗.สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๖ เป็นกิริยา เป็นอจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ, กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓      



นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ปัตตวรรคที่ ๓ สิกขาบทที่ ๓
(พระวินัยข้อที่ ๔๒)
ภิกษุเก็บเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ไว้ได้ ๗ วัน
เกินกว่านั้น ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์

      ท่านพระปิลันทวัจฉะให้คนชำระเงื้อมเขาในเขตพระนครราชคฤห์ ประสงค์จะทำเป็นสถานที่หลีกเร้น พระเจ้าพิมพิสารเสด็จมาพบเข้า รับสั่งถามว่า พระคุณเจ้าต้องการคนทำการวัดบ้างไหม? พระปิลันทวัจฉะทูลว่า โปรดทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วบอกให้ข้าพเจ้าทราบ
       พระราชาเข้าเฝ้าทูลถาม พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้มีคนทำการวัด” พระราชาจึงเสด็จไปบอกท่านปิลันทวัจฉะ ตรัสว่า จักถวายคนทำการวัด, แล้วทรงลืม
       วันหนึ่งพระองค์ทรงระลึกได้ ตรัสถามอำมาตย์ว่า เวลาผ่านมากี่ราตรีแล้ว อำมาตย์ทูลว่า ๕๐๐ ราตรีพระพุทธเจ้าข้า รับสั่งว่า ถ้าเช่นนั้นจงถวายไป ๕๐๐ คน
       คน ๕๐๐ คน เดินทางไปดูแลทำความสะอาดประจำแก่ท่านพระปิลันทวัจฉะ หมู่บ้านที่คน ๕๐๐ คนอยู่นั้น คนทั้งหลายเรียกว่า ตำบลบ้านอารามิกบ้าง ตำบลบ้านปิลันทวัจฉะบ้าง
       ครั้งหนึ่ง ท่านปิลันทวัจฉะเข้าไปบิณฑบาต ขณะนั้นหมู่บ้านมีมหรสพ พวกเด็กๆ ตกแต่งกายประดับดอกไม้ ธิดาของสตรีผู้ทำการวัดคนหนึ่งร้องขอดอกไม้ เครื่องตกแต่งกาย พระเถระถามมารดาเด็กนั้นว่า เด็กร้องอยากได้อะไร นางตอบว่า อยากได้ดอกไม้ เครื่องตกแต่งกาย ดิฉันบอกว่า เราเป็นคนจน จักได้มาแต่ที่ไหน
       พระเถระจึงนิรมิตหมวกฟางให้เป็นระเบียงดอกไม้ทองคำ มอบให้เด็กนั้น ชาวบ้านกราบทูลพระเจ้าพิมพิสารว่า บ้านโน้นคงโจรกรรมมา รับสั่งให้จองจำตระกูลคนทำการวัดนั้น พระปิลันทวัจฉะทราบแล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระเจ้าพิมพิสาร ถามสาเหตุที่ตระกูลนั้นถูกจองจำ พระราชาตรัสว่า เพราะที่เรือนของเขามีระเบียงดอกไม้ทองคำน่าดูน่าชม แม้ในวังก็ยังไม่มี เขาเป็นคนจน ต้องได้มาด้วยโจรกรรมแน่นอน
       ขณะนั้น พระปิลันทวัจฉะอธิษฐานให้ปราสาทของพระราชาเป็นทองทั้งหมด ทูลถามว่า นี่ทองมากมาย มหาบพิตรได้มาแต่ไหน
       พระราชาทราบว่าเป็นอิทธานุภาพของพระเถระ รับสั่งให้ปล่อยตระกูลนั้น
       คนทั้งหลายทราบข่าวว่าท่านแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ต่างเลื่อมใส ได้นำเภสัช ๕ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย มาถวายท่านพระเถระ ท่านได้แบ่งให้ภิกษุบริษัท แต่ภิกษุบริษัทมักมาก เก็บเภสัชไว้มากมาย เก็บไว้ในกระถางบ้าง หม้อน้ำบ้าง ถุงย่ามบ้าง แขวนไว้ที่หน้าต่างบ้าง เภสัชเหล่านั้นเยิ้มซึม พวกหนูพากันมาเกลื่อนกล่นทั่ววิหาร ชาวบ้านติเตียน ภิกษุผู้มักน้อยพากันติเตียน แล้วกราบทูล... ทรงมีพระบัญญัติว่า  “อนึ่ง มีเภสัชอันควรลิ้มของภิกษุผู้อาพาธ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ภิกษุรับประเคนของนั้นแล้ว พึงเก็บไว้ฉันได้ ๗ วันเป็นอย่างยิ่ง ภิกษุให้ล่วงกำหนดนั้นไป เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์”

อรรถาธิบาย

       -ที่ชื่อว่า เนยใส ได้แก่ เนยใสที่ทำจากน้ำนมโคบ้าง น้ำนมแพะบ้าง น้ำนมกระบือบ้าง มังสะของสัตว์เหล่าใดเป็นของควร เนยใสที่ทำจากน้ำนมสัตว์เหล่านั้นก็ใช้ได้
       -ที่ชื่อว่า เนยข้น ได้แก่ เนยข้นที่ทำจากน้ำนมสัตว์เหล่านั้น
       -ที่ชื่อว่า น้ำมัน ได้แก่ น้ำมันอันสกัดออกจากเมล็ดงาบ้าง เมล็ดพันธุ์ผักบ้าง เมล็ดมะซางบ้าง เมล็ดละหุ่งบ้าง จากเปลวสัตว์บ้าง
       -ที่ชื่อว่า น้ำผึ้ง ได้แก่ รสหวานที่แมลงผึ้งทำ
       -ที่ชื่อว่า น้ำอ้อย ได้แก่ รสหวานที่เกิดจากอ้อย
       -ภิกษุรับประเคนของเหล่านั้นแล้ว พึงเก็บไว้ฉันได้ ๗ วันเป็นอย่างมาก ภิกษุให้ล่วงกำหนดเมื่ออรุณที่ ๘ ขึ้นมา เภสัชนั้นเป็นนิสสัคคีย์ คือ เป็นของจำต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล

วิธีเสียสละแก่สงฆ์
       ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์... กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านเจ้าข้า เภสัชนี้ของข้าพเจ้าล่วง ๗ วัน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละเภสัชนี้แก่สงฆ์”  ครั้นแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดพึงรับอาบัติ แล้วพึงคืนเภสัชให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ดังนี้ “ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เภสัชนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้เภสัชนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้”

วิธีเสียสละแก่คณะ
       ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป... “ท่านเจ้าข้า... ข้าพเจ้าสละเภสัชนี้แก่ท่านทั้งหลาย”  ครั้นแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดพึงรับอาบัติ แล้วพึงคืนให้ด้วยญัตติกรรมวาจาว่า “ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า เภสัชนี้... ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่านทั้งหลายพึงให้เภสัชนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้”

วิธีเสียสละแก่บุคคล
       ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง... “ท่านเจ้าข้า เภสัชนี้... ข้าพเจ้าสละเภสัชนี้แก่ท่าน”  ครั้นแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละพึงรับอาบัติ แล้วพึงคืนให้ด้วยคำว่า “ข้าพเจ้าให้เภสัชนี้แก่ท่าน” ดังนี้

อาบัติ
       ๑.เภสัชล่วง ๗ วันแล้ว ภิกษุรู้ว่าล่วงแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
       ๒.เภสัชล่วง ๗ วันแล้ว ภิกษุสงสัย เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
       ๓.เภสัชล่วง ๗ วันแล้ว ภิกษุคิดว่ายังไม่ล่วง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
       ๔.เภสัชยังไม่ได้ผูกใจ ภิกษุสำคัญว่าผูกใจแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
       ๕.เภสัชยังไม่ได้แจกจ่ายไป ภิกษุคิดว่าแจกจ่ายไปแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์
       ๖.เภสัชยังไม่สูญหายไป ยังไม่เสีย ยังไม่ถูกไฟไหม้ ยังไม่ถูกชิงไป ภิกษุคิดว่าสูญหายแล้ว เสียแล้ว ถูกไฟไหม้แล้ว ถูกชิงไปแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์ทั้งสิ้น
       ๗.เภสัชยังไม่ล่วง ๗ วัน ภิกษุคิดว่าล่วงแล้ว บริโภค ต้องทุกกฎ
       ๘.เภสัชยังไม่ล่วง ๗ วัน ภิกษุสงสัย ต้องทุกกฎ
       ๙.เภสัชยังไม่ล่วง ๗ วัน ภิกษุรู้ว่ายังไม่ล่วง ๗ วัน บริโภค ไม่ต้องอาบัติ
          เภสัชที่เสียสละแล้ว ภิกษุนั้นได้คืนมา ไม่พึงใช้ด้วยกิจที่เกี่ยวกับกาย และไม่ควรฉัน พึงน้อมเข้าไปในการตามประทีปหรือในการผสมสี ภิกษุอื่นจะใช้ด้วยกิจที่เกี่ยวกับกายได้อยู่ แต่ไม่ควรฉัน

อนาบัติ
       ภิกษุผูกใจไว้ว่า จะไม่บริโภค ๑  ภิกษุแจกจ่ายให้ไป ๑  เภสัชนั้นสูญหาย ๑  เภสัชนั้นเสีย ๑  ถูกไฟไหม้ ๑  ถูกโจรชิงเอาไป ๑   ภิกษุถือวิสาสะ ๑  ในภายในเจ็ดวัน ภิกษุให้แก่อนุปสัมบันด้วยจิตคิดสละแล้ว ทิ้งแล้ว ปล่อยแล้ว ไม่ห่วงใย กลับได้คืนมา ฉันได้ ๑  วิกลจริต ๑  อาทิกัมมิกะ ๑

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ.๑/๓/๑๐๓๖-๑๐๕๔
       ๑.อธิบายวิธีปฏิบัติในการรับประเคนเภสัชต่างๆ
          จะกล่าวถึงเนยใสก่อน ที่ภิกษุรับประเคนก่อนฉัน ควรจะฉันเจืออามิส (ภัตตาหาร) ก็ได้ ปราศจากอามิสก็ได้ ตั้งแต่ภายหลังฉัน (ภัต) ไป พึงฉันปราศจากอามิสในวันนั้นได้ตลอด ๗ วัน, แม้เพราะล่วง ๗ วันไป ถ้าภิกษุเก็บไว้ในภาชนะเดียว เป็นนิสสัคคีย์ตัวเดียว ถ้าเก็บไว้ในภาชนะมากหลาย เป็นนิสสัคคีย์หลายตัวตามจำนวนวัตถุ
          เนยใสที่ภิกษุรับประเคนภายหลังฉัน ควรฉันได้ไม่เจืออามิสเลยตลอด ๗ วัน ภิกษุจะกลืนกินเนยใสที่ตนทำให้เป็นอุคคหิตถ์ (ภิกษุจับต้องของนั้นก่อนที่ทายกจะประเคน) จะเก็บไว้ในเวลาก่อนฉัน หรือหลังฉัน ย่อมไม่ควร, พึงน้อมไปใช้ในกิจอื่น มีการใช้ทาเป็นต้น แม้เพราะล่วง ๗ วันไป ก็ไม่เป็นอาบัติ เพราะถึงความเป็นของไม่ควรกลืนกิน
          -ถ้าอนุปสัมบันทำเนยใสด้วยเนยข้นที่รับประเคนไว้ในเวลาก่อนฉันถวาย จะฉันกับอามิสในเวลาก่อนฉัน ควรอยู่ ถ้าภิกษุทำเอง ฉันไม่เจืออามิสเลย ย่อมควรแม้ตลอด ๗ วัน แต่เนยใสที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งทำด้วยเนยข้นที่รับประเคนในเวลาหลังฉัน ควรฉันได้ไม่เจืออามิสตลอด ๗ วันเหมือนกัน
       ๒.อธิบายวิธีปฏิบัติในเนยใสและเนยข้น
          เนยใสทำด้วยนมสดที่ภิกษุรับประเคนไว้ก่อนฉันก็ดี ด้วยนมส้มก็ดี ที่อนุปสัมบันทำ ควรฉันได้ แม้เจืออามิสในเวลาก่อนฉันวันนั้น ที่ภิกษุทำเอง ควรฉันปราศจากอามิสอย่างเดียว ในภายหลังฉันไม่ควร, ตั้งแต่หลังฉันไปก็ไม่ควรเหมือนกัน ไม่เป็นอาบัติแม้ในเพราะล่วง ๗ วันไป เพราะรับประเคนในเวลาฉัน ควรน้อมไปใช้ในกิจ มีการทาตัวเป็นต้น, เนยใสที่ทำด้วยนมสด นมส้ม ซึ่งเป็นอุคคหิตถ์ แม้ในเวลาก่อนฉัน (ก็ควรน้อมเข้าไปใช้ในกิจ มีการทาตัวเป็นต้น) ไม่เป็นอาบัติ แม้เนยใสทั้งสองจะล่วง ๗ วัน ในเนยใสของพวกสัตว์ที่มีมังสะเป็นอกัปปิยะ ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน
       ๓.อธิบายวิธีปฏิบัติในเภสัช คือ น้ำมัน
          บรรดาจำพวกน้ำมัน จะว่าถึงน้ำมันงาก่อน ที่รับประเคนก่อนฉัน แม้เจืออามิส ย่อมควรในเวลาก่อนฉัน, ตั้งแต่หลังฉันไป ปราศจากอามิสเท่านั้น จึงควร, ผู้ศึกษาพึงทราบความที่น้ำมันงานั้นเป็นนิสสัคคีย์ด้วยจำนวนภาชนะ เพราะล่วง ๗ วันไป, น้ำมันงาที่รับประเคนภายหลัง ฉันปราศจากอามิสเท่านั้น จึงควร ตลอด ๗ วันไป ไม่เป็นอาบัติ, น้ำมันงาที่ภิกษุรับประเคนเมล็ดงาในเวลาก่อนภัต เจืออามิสย่อมควรในก่อนภัต, ตั้งแต่หลังภัตไป เป็นของไม่ควรกลืนกิน พึงน้อมไปในกิจมีการทาศีรษะ เป็นต้น แม้เกิน ๗ วัน ก็ไม่เป็นอาบัติ, น้ำมันที่ภิกษุรับประเคนเมล็ดงาในเวลาหลังภัตแล้วทำ เป็นของไม่ควรกลืนกินเหมือนกัน เพราะรับประเคนทั้งวัตถุ (รับประเคนพร้อมอาหาร) พึงน้อมไปในการทาเป็นต้น, แม้ในน้ำมันที่ทำด้วยเมล็ดงาที่ภิกษุจับต้องในก่อนภัตหรือหลังภัต ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน
         น้ำมันที่คั่วเมล็ดงา ซึ่งภิกษุรับประเคนในเวลาก่อนภัต แล้วนึ่งแป้งงา หรือให้ชุ่มด้วยน้ำอุ่นทำ ถ้าอนุปสัมบันทำ แม้เจืออามิสย่อมควรในก่อนภัต, ที่ตนทำเอง เพราะปล้อนวัตถุออกแล้ว ไม่มีอามิสเลย (แยกน้ำมันออกจากอาหาร) จึงควรในก่อนภัต เพราะเป็นน้ำมันที่เจียวเองเจืออามิส จึงไม่ควร, ก็เพราะเป็นของที่รับประเคนพร้อมวัตถุ แม้ทั้งสองอย่าง จึงไม่ควรกลืนกิน จำเดิมแต่หลังภัตไป พึงน้อมไปในการทาศีรษะเป็นต้น แม้จะล่วง ๗ วันไปก็ไม่เป็นอาบัติ, แต่ถ้าว่า น้ำอุ่นมีน้อย น้ำนั้นเพียงแต่ว่าพรมลงเท่านั้น เป็นอัพโพหาริก (มีแต่ไม่ปรากฏ, ก็เหมือนไม่มี) ย่อมไม่ถึงการนับว่าเป็นสามปักกะ, แม้ในน้ำมันเมล็ดพันธุ์ผักกาดเป็นต้น ที่ภิกษุรับประเคนพร้อมทั้งวัตถุ ก็มีวินิจฉัยเช่นเดียวกับที่กล่าวแล้วในน้ำมันงาที่ไม่มีวัตถุนั่นแล
          ก็ถ้าว่า ภิกษุอาจเผื่อทำน้ำมันจากผงแห่งเมล็ดพันธุ์ผักกาดเป็นต้น ที่รับประเคนไว้เวลาก่อนภัต โดยเจียวด้วยแสงแดด, น้ำมันนั้นแม้เจือด้วยอามิส ย่อมควรในก่อนภัต ตั้งแต่หลังภัตไปไม่เจืออามิสเลย จึงควร, ล่วง ๗ วันไป เป็นนิสสัคคีย์
          อนึ่ง เพราะภิกษุทั้งหลาย นึ่งผงเมล็ดพันธุ์ผักกาดและมะซางเป็นต้น และคั่วเมล็ดละหุ่ง แล้วกระทำน้ำมันอย่างนี้, ฉะนั้น น้ำมันของภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นที่พวกอนุปสัมบันทำ แม้เจืออามิสก็ควรในเวลาก่อนฉัน ก็เพราะวัตถุเป็นยาวชีวิก จึงไม่มีโทษ, ในการรับประเคนพร้อมทั้งวัตถุ ฉะนี้แล, น้ำมันเมล็ดพันธุ์ผักกาดเป็นต้นที่ตนเองทำ พึงบริโภคโดยการบริโภคปราศจากอามิสอย่างเดียวตลอด ๗  วัน น้ำมันที่ทำด้วยเมล็ดพันธุ์ผักกาดเป็นต้น ที่เป็นอุคคหิตถ์ ไม่ควรกลืนกิน ควรแก่การใช้สอยภายนอก, แม้ล่วง ๗ วันไป ก็ไม่เป็นอาบัติ
          น้ำมันที่ภิกษุรับประเคนเมล็ดพันธุ์ผักกาด มะซาง และเมล็ดละหุ่ง เพื่อต้องการจะทำน้ำมัน แล้วทำในวันนั้นนั่นเอง เป็นสัตตาหกาลิก, ทำในวันรุ่งขึ้นควรบริโภคได้ ๖ วัน, ทำในวันที่ ๓ ควรบริโภคได้ ๕ วัน แต่ที่ทำในวันที่ ๔ ควร ๓ วัน  ในวันที่ ๕ ควร ๒ วัน  ในวันที่ ๖ ควร ๑ วัน  ในวันที่ ๗ ควรในวันนั้นเท่านั้น, ถ้ายังคงอยู่จนถึงอรุณขึ้นเป็นนิสสัคคีย์, ที่ทำในวันที่ ๘ ไม่ควรกลืนกินเลย แต่ควรใช้ภายนอกเพราะเป็นของยังไม่เสียสละ, แม้ถ้าว่าไม่ทำ ในเมื่อเมล็ดพันธุ์ผักกาดที่ตนรับไว้เพื่อประโยชน์แก่น้ำมันเป็นต้น ล่วงกาล ๗ วันไป ก็เป็นทุกกฎอย่างเดียว
          อนึ่ง น้ำมันผลไม้มะพร้าว เมล็ดสะเดา สะคร้อ เล็บเหยี่ยว และสำโรง (บางแห่งว่าเมล็ดฝ้าย) แม้เหล่าอื่นที่ไม่ได้มาในพระบาลี ก็ยังมี  เมื่อภิกษุรับประเคนน้ำมันเหล่านั้นแล้วให้ล่วง ๗ วันไป เป็นทุกกฎในมะพร้าวเป็นต้นเหล่านี้ มีความแปลกกัน ดังนี้  พึงกำหนดวัตถุแห่งยาวกาลิกที่เหลือแล้ว ทราบวิธีการแห่งสามปักกะ (ให้สุกเอง) สวัตถุ (ของที่รับทั้งวัตถุ) ของที่รับประเคนในก่อนภัต ประเคนในหลังภัต และอุคคหิตวัตถุ (ของที่ยังไม่ได้รับประเคนภิกษุจับต้อง) ทั้งหมด ตามนัยที่กล่าวแล้ว
       ๗.อธิบายน้ำมันที่ทำจากเปลวสัตว์ต่างๆ
          ที่ทรงอนุญาตไว้ใน วินย.มหาวิ. ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเปลวมัน ๕ ชนิด คือ เปลวหมี เปลวปลา เปลวปลาฉลาม เปลวสุกร เปลวลา
          ก็บรรดาเปลวมัน ๕ ชนิดนี้ ด้วยคำว่า เปลวหมี  พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตเปลวมันแห่งสัตว์ที่มีมังสะเป็นอกัปปิยะทั้งหมด เว้นเปลวมันแห่งมนุษย์เสีย,  อนึ่ง แม้ปลาฉลาม ก็เป็นอันพระองค์ทรงถือเอาแล้วด้วยศัพท์ว่า ปลา แต่เพราะปลาฉลามเป็นปลาร้าย พระองค์จึงตรัสแยกไว้ต่างหาก ในบาลีนี้ทรงอนุญาตเปลวมันแห่งสัตว์มีมังสะเป็นกัปปิยะทั้งหมด ด้วยศัพท์ว่า ปลา เป็นต้น
          ในจำพวก (เนื้อ) มังสะแห่งมนุษย์ ช้าง ม้า สุนัข งู สีหะ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี เสือดาว รวม ๑๐ ชนิด เป็นอกัปปิยะ, บรรดาเปลวมัน เปลวมันของมนุษย์อย่างเดียวเป็นอกัปปิยะ, บรรดาอวัยวะอย่างอื่นมีน้ำนมเป็นต้น ชื่อว่าเป็นอกัปปิยะ ไม่มี, น้ำมันเปลวที่พวกอนุปสัมบันทำและกรองแล้ว ภิกษุรับประเคนก่อนฉัน แม้เจืออามิส ก็ควรก่อนฉัน  ตั้งแต่หลังฉันไปไม่เจืออามิสเลว จึงควรตลอด ๗ วัน, วัตถุใดที่คล้ายกับธุลีอันละเอียด เป็นมังสะก็ดี เอ็นก็ดี กระดูกก็ดี เลือดก็ดี ปนอยู่ในเปลวมันนั้น วัตถุนั้นจัดเป็นอัพโพหาริก
       ก็ถ้าว่า ภิกษุรับประเคนเปลวมัน กระทำน้ำมันเอง รับประเคนแล้วเจียว กรองเสร็จในเวลาก่อนภัต พึงบริโภคโดยบริโภคปราศจากอามิสตลอด ๗ วัน, แท้จริงทรงหมายถึงการบริโภคปราศจากอามิส จึงตรัสคำนี้ว่า รับประเคนในกาล เจียวเสร็จในกาล กรองในกาล ควรเพื่อบริโภคอย่างบริโภคน้ำมันมังสะที่ละเอียดเป็นต้น แม้ในน้ำมันที่รับประเคนเปลวมัน แล้วเจียวกรองนั้น ก็เป็นอัพโพหาริก, แต่จะรับประเคนหรือเจียวในหลังภัต ไม่ควรเลย สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุรับประเคนเปลวมันในเวลาวิกาล เจียวในเวลาวิกาล กรองในวิกาล ถ้าภิกษุบริโภคน้ำมันนั้น ต้องทุกกฎ ๓ ตัว, ถ้าภิกษุรับประเคนในกาล เจียวในกาล กรองในวิกาล ถ้าบริโภคน้ำมันนั้นต้องทุกกฎ ๒ ตัว, ถ้าภิกษุรับประเคนในกาล เจียวในกาล กรองในวิกาล ถ้าบริโภคน้ำมันนั้นต้องทุกกฎ ๑ ตัว, ถ้ารับประเคนในกาล เจียวในกาล กรองในกาล ถ้าบริโภคน้ำมันนั้น ไม่เป็นอาบัติ ดังนี้
       ๕.อธิบายเภสัชว่าด้วยน้ำผึ้ง
          น้ำหวานที่พวกผึ้งใหญ่ แมลงผึ้งตัวเล็ก และจำพวกแมลงภู่ ซึ่งมีชื่อว่า แมลงทำน้ำหวาน (น้ำผึ้ง) ทำแล้ว, น้ำผึ้งนั้น ภิกษุรับประเคนก่อนฉัน แม้จะบริโภคเจืออามิสในก่อนภัตก็ควร แต่หลังภัตไปควรบริโภคปราศจากอามิสอย่างเดียวตลอด ๗ วัน, ล่วง ๗ วันไป ถ้าน้ำผึ้งชนิดหนามากเป็นเช่นกับยาง (เคี่ยวให้ข้น) ทำเป็นชิ้นเล็กชิ้นใหญ่เก็บไว้ หรือน้ำผึ้งชนิดบาง นอกนี้เก็บไว้ในภาชนะต่างๆ กัน เป็นนิสสัคคีย์มากตามจำนวนวัตถุ มีเพียงชิ้นเดียวเท่านั้น หรือน้ำผึ้งบางนอกนี้ก็เก็บรวมไว้ในภาชนะเดียว เป็นนิสสัคคีย์เพียงตัวเดียว น้ำผึ้งที่เป็นอุคคหิตถ์พึงทราบตามที่กล่าวแล้ว  พึงน้อมไปในกิจมีทาแผลเป็นต้น รังผึ้งหรือขี้ผึ้ง ถ้าน้ำผึ้งไม่ติด บริสุทธิ์ เป็นยาวชีวิก, แต่ที่มีน้ำผึ้งติดอยู่เป็นดังน้ำผึ้ง, ในรังของแมลงผึ้ง มีน้ำผึ้งคล้ายยาง น้ำผึ้งนั้นเป็นยาวชีวิก
 
3065  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / ขนมปังนิ่ม-เนยสดหวาน สูตรและวิธีทำ เมื่อ: 10 กรกฎาคม 2559 12:10:08
.





 

ขนมปังนิ่ม เนยสดหวาน

section: 1
ส่วนผสม  
- แป้งขนมปัง 1 ช้อนโต๊ะ
- นมสด 1+¼ ถ้วย


วิธีทำ
ผสมแป้งขนมปังกับนมสด ยกขึ้นตั้งไฟ กวนให้เข้ากันด้วยไฟอ่อน จนส่วนผสมข้น ยกลงพักไว้ให้เย็น




section: 2
ส่วนผสม  
- ยีสต์แห้ง 1 ช้อนโต๊ะ
- น้ำตาลทราย 3 ช้อนโต๊ะ
- น้ำอุ่น¼ ถ้วย


วิธีทำ
ผสมน้ำตาลทรายในน้ำอุ่นคนให้น้ำตาลละลาย ใส่ยีสต์ คนให้เข้ากัน พักไว้ให้ยีสต์ทำงานได้อย่างเต็มที่
(ถ้ายีสต์ขึ้นฟูแสดงว่ายีสต์มีประสิทธิภาพ ทำให้เนื้อขนมปังเกิดรูพรุนจนฟูขึ้น แต่ถ้ายีสต์ไม่ขึ้นฟู แสดงว่าเชื้อราตายแล้ว ยีสต์นั้นใช้ไม่ได้)





ยีสต์เริ่มขึ้นฟูแล้วค่ะ ส่วนในถ้วยแก้วสีเหลืองคือเนยสดละลาย ชั่งเนยตามสัดส่วนที่กำหนด
นำเข้าเตาอบไมโครเวฟใช้เวลาประมาณ 20 วินาที


section: 3
ย้อนกลับมาทำต่อในส่วนที่ 1  แป้งที่กวนไว้คงจะเย็นแล้ว...  
ส่วนผสม
- ไข่ไก่ 1 ฟอง
- เนยสดละลาย 80 กรัม
- นมผง 2 ช้อนโต๊ะ
- วิปปิ้งครีม ¼ ถ้วยตวง


วิธีทำ
1.นำส่วนผสมของแป้งที่กวนกับนมสด ในขั้นตอนแรก หรือ section 1 โดยตวงแป้งให้ได้ 1 ถ้วยตวง
2.ใส่ไข่ไก่ วิปปิ้งครีม นมผง และเนยสดละลาย ใช้ตะกร้อมือคนให้ส่วนผสมเข้ากันจนเนียน




ส่วนผสมในหม้อสีขาวๆ คือแป้งที่กวนกับนมสดค่ะ...พักไว้ให้เย็นสนิท


ตวงแป้งกวนใหได้ 1 ถ้วยตวง ใส่วิปปิ้งครีม


ใส่ไข่ไก่ นมผง เนยสดละลาย


แล้วใช้ตะกร้อมือคนให้เข้ากันจนเนียน


นำไปเทใส่ในโถแป้งที่เกลี่ยแป้งให้เป็นหลุมตรงกลาง ตีด้วยความเร็วต่ำพอเข้ากัน จึงใส่ส่วนผสมของยีสต์ที่หมักไว้
ตีไปเรื่อยๆ ด้วยความเร็วระดับ 2 หรือ 3 ของเครื่อง โดยใช้เวลาตีนาน 20 นาที

section: 4
ส่วนผสม  
- แป้งขนมปัง 450 กรัม
- เคเอส 505 (สารเสริมคุณภาพ) 1 ช้อนชา
- เกลือป่น ½ ช้อนชา
- น้ำตาลทราย5 ช้อนโต๊ะ


วิธีทำ
1.ร่อนแป้งขนมปัง สารเสริมคุณภาพ และเกลือป่น นำใส่โถผสมอาหาร แล้วใส่น้ำตาลทราย ใช้พายยางคนให้เข้ากัน
2.ทำแป้งให้เป็นบ่อหรือหลุมตรงกลาง ใส่ส่วนผสมของแป้ง ไข่ไก่ และเนยสด ลงในโถแป้ง ใช้หัวตีรูปตะขอ ตีด้วยความเร็วต่ำพอเข้ากัน
3.ใส่ส่วนผสมของยีสต์ ตีด้วยความเร็วระดับ 2 หรือ 3 ใช้เวลาประมาณ 20 นาที
4.นำแป้งที่ได้คลึงให้เป็นก้อนกลม นำไปใส่ในภาชนะสำหรับหมักแป้งที่ทาด้วยเนยขาว คลุมด้วยผ้าขาวบาง แล้วปิดฝาให้มิดชิด
   หมักไว้จนกว่าแป้งจะขึ้นฟูเป็นสองเท่า (ใช้เวลาประมาณ 30 นาที...บางทีไปได้ยีสต์ที่ใกล้เสื่อมคุณภาพ ต้องใช้เวลาหมักเป็นชั่วโมง)
5.นำแป้งขึ้นวางบนกระดาน ตัดแป้งชั่งน้ำหนักให้ได้ 30 กรัม คลึงให้เป็นก้อนกลม...วางในพิมพ์ที่ทาด้วยเนยขาว
6.ใช้ผ้าขาวบางหรือแผ่นพลาสติก คลุมหมักแป้งให้ขึ้นฟูเป็นสองเท่า
7.ใช้แปรงจุ่มนมข้นจืดระเหย ทาหน้าขนม
8.นำเข้าอบด้วยไฟอุณหภูมิ 170° (ไฟล่าง-บน) ใช้เวลาอบ 15-20 นาที
9.นำออกจากเตาอบ วางบนตะแกรง แล้วรีบทาหน้าขนมด้วยนมข้นจืดระเหยอีกครั้ง พักไว้ให้ขนมเย็น
10.ทาหน้าขนมปังด้วยเนยมาการีน แล้วโรยน้ำตาลไอซิ่ง



แป้งที่ตีจนได้ที่แล้ว นำไปใส่ในภาชนะสำหรับหมักแป้งที่ทาด้วยเนยขาว
ใช้ผ้าขาวบางคลุมแป้ง แล้วหาฝาปิดภาชนะไว้ด้วย


ใช้ได้แล้ว...แป้งขึ้นฟูเป็นสองเท่า




ตัดแป้งชั่งน้ำหนักประมาณก้อนละ 30 กรัม


คลึงให้เป็นก้อนกลม


จัดวางเรียงในถาดอบที่ทาด้วยเนยขาว โดยเว้นระยะให้แป้งขึ้นฟูพอประมาณ
(กลมบ้างเบี้ยวบ้าง...ให้อภัยกัน)


คลุมด้วยพลาสติกป้องกันผิวหน้าขนมแห้ง และช่วยให้ขึ้นฟูได้เร็ว
(คนทำเป็นอาชีพ เขามีตู้บ่มขนมให้ขึ้นฟู...ของเราทำกินกันในบ้านจึงนำถุงพลาสติกปิดไว้)


ขนมขึ้นฟูเต็มที่ ก่อนนำเข้าอบ ให้ทาด้วยนมข้นจืด




พอออกจากเตาแล้ว รีบทาด้วยนมข้นจืดอีกครั้งหนึ่ง ให้หน้าขนมเป็นเงามัน
(บางคนประหยัด ใช้เนยขาวแทนก็ได้)
รับประทานได้เลยค่ะ ขนมปังนิ่มมากๆ หอมหวานมันเนย

 
อาจเพิ่มรสชาติด้วยการทาหน้าขนมด้วยเนยสดผสมมาการีน แล้วโรยด้วยน้ำตาลไอซิ่ง
(เนยสดมาการีน): ทำโดยผสมเนยสดกับมาการีนอย่างละเท่าๆ กัน ใช้ตะกร้อมือคนให้ขึ้นฟู)



 หัวข้อแนะนำ : ขนมปังไส้สังขยาใบเตย สูตร/วิธีทำ
ดูสูตรและวิธีทำโดยกดที่ภาษาอังกฤษสีเทาด้านล่างค่ะ

http://www.sookjai.com/index.php?topic=175805.0



3066  สุขใจในธรรม / พุทธวัจนะ - ภาษิตธรรม / Re: พระสูตรน่าสนใจ : ข้อคิดจากคอลัมน์ "ฟ้าสางเมื่อใกล้ค่ำ เมื่อ: 08 กรกฎาคม 2559 11:59:05


โปรดภิกษุหนุ่มผู้ตกหลุมรัก (๑)

ใช้ชื่ออย่างนี้คงไม่ว่ากัน เพราะตรงกับเนื้อหาของเรื่อง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับภิกษุหนุ่มรูปนี้ มีบันทึกไว้ในอรรกถาแห่งธรรมบท (ธัมมปทัฎฐกถา) สาเหตุมาจากนางนครโสเภณี นามว่า สิริมา ผู้เป็นน้องสาวหมอชีวกโกมารภัจจ์

เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า พระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์แห่งมคธรัฐ ได้สถาปนาตำแหน่ง "นครโสเภณี" เลียนแบบเหล่ากษัตริย์ลิจฉวี แห่งแคว้นวัชชี นางนครโสเภณีคนแรกคือ นางสาลวดี ต่อจากนางสาลวดีก็นางสิริมา แรกเริ่มเดิมที สิริมา ก็มิได้เป็นสาวิกาของพระพุทธเจ้า แต่เพราะความกรุณาของนางอุตตรา ภริยาเศรษฐีคนหนึ่งนางจึงได้รู้จักพระพุทธเจ้า และพระพุทธศาสนา

อุตตราเป็นสาวิกาของพระพุทธองค์ ปรารถนาจะได้เข้าวัดฟังธรรมบ่อยขึ้น จึงไปจ้างนางสิริมา มาทำหน้าที่ภรรยาชั่วคราว ซึ่งก็เป็นที่พอใจของสามี สิริมานั้น เมื่ออยู่กับสามีคนอื่นนานเข้าก็ลืมตัวนึกว่าเป็นภรรยาจริงๆ จึงรังแกนางอุตตรา ด้วยการเอาน้ำมันเดือดราดลงบนตัวของนางอุตตรา บังเอิญบรรดาคนใช้ของนางอุตตราเห็นเข้า จึงตรูกันเข้าไปทำร้ายสิริมา อุตตราได้ห้ามปรามพวกคนใช้ มิให้ทำอะไรสิริมา สิริมาจึงสำนึกผิด กล่าวคำขอขมา

อุตตราบอกว่า ให้ไปขอขมา "บิดา" ของนาง ถ้าบิดายอมยกโทษให้ ก็เป็นอันเลิกแล้วต่อกัน "บิดา" ที่ว่านี้นางหมายถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สิริมามีโอกาสพบพระพุทธองค์ กราบขอขมาในความผิดที่ตนทำต่ออุตตรา พระพุทธองค์ทรงยกโทษให้ ทรงแสดงพระธรรมเทศนาสั้นๆ ในที่สุดแห่งพระธรรมเทศนาสิริมาได้บรรลุโสดาปัตติผล ถวายตนเป็นสาวิกา ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต

วิถีชีวิตของสิริมา นางนครโสเภณี ได้เปลี่ยนแปลงตั้งแต่วินาทีนั้น นางกลายเป็นคนใจบุญสุนทาน ใส่บาตรพระวันละ ๘ รูปเป็นประจำ ภิกษุหนุ่มเณรน้อยที่ไปรับบาตร (หมายถึงรับอาหารบิณฑบาต) ที่บ้านสิริมา กลับมาก็พากันกล่าวสรรเสริญความเป็นคนมีศรัทธามั่นคง และแน่นอน กล่าวขวัญถึงความงามของเธอด้วย

ภิกษุหนุ่มนิรนาม ได้ยินกิตติศัพท์ว่าสิริมาเธองามเหลือเกิน อยากเห็นด้วยตาว่าจะงามปานใด รุ่งขึ้นวันหนึ่งจึงนุ่งสบงทรงจีวร ถือบาตร ตรงดิ่งไปยังคฤหาสน์ของสิริมา เธอไม่รู้ดอกว่าคืนนั้นสิริมาเธอป่วยกระทันหัน แต่พอรุ่งเช้านางก็ให้คนใช้พยุงลงมาใส่บาตรดังเช่นทุกวัน

ภิกษุหนุ่มเห็นเธอ ก็เกิดความรักขึ้นมาทันที แสดงว่ากามเทพแผลงศรดอกเบ้อเร่อปักอกเธอดังฉึกเลยทีเดียว อาการหน้ามืดก็เกิดครับ สมดังบทกวีพระราชนิพนธ์ในล้นเกล้าฯรัชกาลที่ ๖ (จำถูกหรือเปล่าหนอ!) ว่า "ความรักเหมือนโรคา บันดาลตาให้มืดมน ไม่ยินและไม่ยลอุปสรรค (ะ) ใดใด"



ปางโปรดภิกษุหนุ่ม ผู้ตกหลุมรัก (จบ)
เธอรับข้าวจากนางแล้วก็ตรงดิ่งกลับวัด ขึ้นกุฏิ วางบาตรไว้แล้วก็นอนคลุมโปงครางฮือๆ ข้าวปลาไม่สนใจ มิไยเพื่อนพรหมจรรย์ (เพื่อนพระภิกษุ) ด้วยกันจะอ้อนวอนอย่างไรก็ไม่สนใจ ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าคืนวันที่เธอใส่บาตรนั้นแล สิริมาได้เสียชีวิต

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบเรื่อง จึงมีพุทธบัญชาไปยังพระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์แห่งเมืองราชคฤห์ว่า อย่าเพิ่งเผาศพนางสิริมา ให้นำศพไปทิ้งไว้ที่ "อามกสุสาน" (ป่าช้าผีดิบ) ก่อน พระเจ้าพิมพิสารก็ทรงจัดการตามพุทธประสงค์

ในวันที่สี่ พระพุทธองค์รับสั่งให้ป่าวประกาศทั่วพระอารามว่า พระองค์จะเสด็จไปทอดพระเนตรนางสิริมา ใครมีความประสงค์จะโดยเสด็จก็ให้เตรียมตัว เพื่อนพระภิกษุไปบอกภิกษุหนุ่มผู้เป็นไข้รัก นอนครางฮือๆ อยู่นั้นว่า "มัวแต่ครางอยู่ นั่นแหละ พระพุทธองค์จะเสด็จไปทอดพระเนตรนางสิริมา คุณไม่อยากไปบ้างหรือ" พอได้ยินคำว่า "สิริมา" ภิกษุหนุ่มก็กระโดดผึงจากที่นอน ล้างบาตรเช็ดให้แห้งแล้ว ก็ห่มจีวร รีบลงจากกุฏิตามเหล่าพุทธบริษัทไป

เสียงราชบุรุษประกาศก้องต่อที่ชุมนุมนั้นว่า "ท่านผู้เจริญ ใครอยากได้นางสิริมา นางนครโสเภณีผู้เลอโฉมแห่งเมืองราชคฤห์ ไปอภิรมย์ด้วย ขอให้จ่ายเงินมาหนึ่งพันกหาปณะ" ไม่มีเสียงตอบ ราชบุรุษคนเดิมประกาศอีกว่า "ห้าร้อยกหาปณะ"

เงียบ

"สองร้อยกหาปณะ"

เงียบอีกเช่นกัน คราวนี้เสียงประกาศราคาลดลงตามลำดับ ร้อยห้าสิบ...หนึ่งร้อย...ห้าสิบ...ยี่สิบ...สิบ...มาสกหนึ่ง...กากณิกหนึ่ง ก็ไม่มีผู้แสดงความจำนงจะรับนางไป

"ถ้าเช่นนั้น ให้เปล่าๆ ใครจะเอาไปเชิญเลย" เสียงประกาศดังกังวาน

เงียบเช่นเคยครับ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงชำเลืองไปยังภิกษุหนุ่ม ซึ่งยืนอยู่เบื้องพระปฤษฎางค์ ตรัสกับพุทธบริษัททั้งหลายว่า

"ดูเอาเถิด ท่านทั้งหลาย เมื่อก่อนนี้คนเขายินดีจ่ายหนึ่งพันกหาปณะ เพื่ออภิรมย์กับนางสิริมาแม้เพียงคืนเดียว แต่บัดนี้ให้เปล่าๆ ก็ไม่มีใครปรารถนาจะรับร่างกายที่ว่างามแสนงาม ในที่สุดก็หาราคาค่างวดอะไรมิได้" แล้วได้ตรัสพระคาถา (โศลก) สอนธรรมบทหนึ่งว่า

     จงดูร่างกายที่ว่างามนี้ ที่เต็มไปด้วยแผล สร้างด้วยโครงกระดูก
     มากด้วยโรค มากด้วยความครุ่นคิดปรารถนา หาความยั่งยืนมิได้

ภิกษุหนุ่ม ตื่นจากภวังค์ สลัดความลุ่มหลงด้วยอำนาจราคะออกหมดสิ้น บรรลุโสดาปัตติผล เพราะฟังพระธรรมเทศนาจากพระพุทธองค์ จากนั้นก็ตั้งหน้าปฏิบัติธรรมเพื่อทำความสิ้นสุดทุกข์ต่อไป.





ปางทรงสุบินนิมิต

ความฝันท่านว่าเกิดจากหลายสาเหตุ คือ
๑.กินมากธาตุกำเริบ
๒.บุพนิมิต คือ จิตรับรู้เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นกับตัวเราในอนาคต
๓.จิตอาวรณ์ คือจิตคิดถึงเรื่องเก่าๆ ที่ผ่านมา
๔.เทพสังหรณ์ คือเทวดาหรือมารมาดลใจให้ฝัน

และยังกล่าวต่อไปว่า ประการที่ ๑ และ ๓ ไม่จริง ประการที่ ๒ จริงโดยถ่ายเดียว ประการที่ ๔ จริงบ้าง เท็จบ้าง

ว่ากันว่า นโปเลียน โบนาปาร์ต ฝันเห็นเกาะแห่งหนึ่งบ่อยครั้งมาก จนจำได้ติดตา ต่อมาเมื่อบั้นปลายแห่งชีวิต ถูกเนรเทศไปอยู่เกาะ เกาะที่ฝันเห็นนั้นเอง ทุกอย่างเหมือนในฝันเปี๊ยบเลย

เพื่อนศิลปินของผมคนหนึ่ง ฝันเห็นยอดเขาสวยงามมากจำได้ติดตา จึงวาดภาพเหมือนไว้ ต่อมาเขาได้ไปต่างจังหวัดทางภาคเหนือ ได้ขึ้นเขาแห่งนี้ พอไปนั่ง ณ มุมหนึ่ง เขาก็ตาเหลือกตรงนั้นเหมือนกับที่เขาฝันเห็นหลายครั้ง และได้วาดภาพไว้แล้ว

ฝันของใครเป็นเพราะสาเหตุอย่างไหน คิดเอาก็แล้วกัน ตัวท่านผู้อ่านเองก็คงมีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องฝันมากันทุกคน

หลวงวิจิตรวาทการกล่าวว่า จิตมักมีหน้าที่จำเอาเหตุการณ์มาบรรยาย จิตเปรียบเหมือนคน "ขี้โม้" ยกตัวอย่างเวลาเรานอนหลับกลางวัน ถ้ามีคนมาตอกตะปูโป๊กๆ ข้างๆ เรา จิตจะรับเอาเสียงนั้นมาบรรยายเป็นความฝัน ฝันว่ากำลังต่อสู้กับข้าศึก ยิงกันตูมตามๆ พอตื่นขึ้นมาจึงรู้ว่า ที่แท้ก็คือเสียงคนตอกตะปูนั้นเอง

ถามว่าฝันนี้มีส่วนจริงไหม ตอบว่ามีส่วนจริงเล็กน้อย แต่ส่วนมากก็คือจิตมันโม้สะบั้นหั่นแหลก

ว่ากันอีกแหละว่า ปุถุชนเท่านั้นที่ฝัน พระอรหันต์ไม่ฝัน เพราะฉะนั้นความฝัน หรือสุบินนิมิต ที่พระพุทธเจ้าทรงเห็นที่จะกล่าวถึงนี้ เห็นตอนยังเป็นพระโพธิสัตว์ ยังมิได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ตำราเล่าไว้ และให้พระพุทธองค์ทรงพยากรณ์เองเสร็จ ขอนำมาเล่าให้ฟัง (ความจริงควรจะเขียนถึงปางนี้นานแล้ว แต่เพิ่งนึกได้ จึงนำมาเล่าแทรกไว้ตอนนี้)

พระมหาบุรุษหลังจากทรงเลิกทำทุกรกิริยาแล้ว ทรงหันมาบำเพ็ญเพียรทางจิต โดยทรงเปรียบเทียบอุปมา ๓ ข้อ คือ ๑.สมณพราหมณ์ที่กายและใจไม่ปลีกออกจากกาม เปรียบดุจไม้สดแช่น้ำ คนเอามาก่อไฟไม่ติด ๒.สมณพราหมณ์ที่ออกจากกามแต่กายใจไม่ออก เปรียบดุจไม้สดอยู่บนบก เอามาก่อไฟไม่ติด และ ๓.สมณพราหมณ์ที่ออกจากกามทั้งกายและใจ เปรียบดุจไม้แห้งบนบก จุดไฟติด

อุปมาทั้ง ๓ นี้เป็นกำลังสนับสนุนให้พระองค์ทรงบำเพ็ญเพียรต่อไป เพื่อบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ จนถึงราตรีขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๖ ขณะบรรทมหลับ ก็ทรงพระสุบินเป็นบุพนิมิต ๕ประการคือ
    ๑.ทรงพระสุบินว่า พระองค์บรรทมหงายเหนือปฐพี พระเศียรหนุนภูเขาหิมพานต์ พระหัตถ์ซ้ายหยั่งลงในมหาสมุทรทางทิศตะวันออก พระหัตถ์ขวาและพระบาททั้งสองหยั่งลงในมหาสมุทรทางทิศใต้
     ๒.หญ้าแพรกงอกขึ้นจากพระนาภี พุ่งสูงจรดท้องฟ้า
     ๓.หมู่หนอนทั้งหลาย สีดำบ้าง ขาวบ้าง ไต่ยั้วเยี้ยขึ้นมาจากพื้นพระบาททั้งคู่ จนถึงชาณุมณฑล (เข้า)
     ๔.ฝูงนก ๔ จำพวก มีสีต่างๆ กันคือสีเหลือง เขียว แดง ดำ บินมาจากสี่ทิศ ลงมาจับแทบพระบาทแล้วกลับกลายเป็นสีขาวหมดสิ้น
     ๕.เสด็จขึ้นเดินจงกรมบนยอดเขาอันเต็มไปด้วยอาจม แต่อาจมนั้นไม่เปรอะเปื้อนพระยุคลบาท

พระสุบินนิมิตนั้น มีการไขความว่า
     ๑.พระมหาบุรุษจะได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าผู้เลิศสูงส่งกว่าใครๆ ในโลกทั้งสาม
     ๒.จะได้ประกาศสัจธรรมเผยมรรคผลนิพพานแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งปวง
     ๓.คฤหัสถ์ สมณพราหมณ์จะมาเลื่อมใสในพระพุทธองค์จำนวนมาก
     ๔.ชาวโลกทั้งมวล ทั้งกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร เมื่อมาสู่สำนักของพระองค์แล้ว จะเป็นผู้เข้าถึงธรรมเป็นผู้บริสุทธิ์ทั้งสิ้น
     ๕.ถึงพระองค์จะมากด้วยอามิสที่ชาวโลกน้อมนำถวาย พระองค์ก็ไม่ติดอยู่ในอามิสเหล่านั้นแม้แต่น้อย

เมื่อพระพุทธองค์ทรงตื่นบรรทม ทรงดำริถึงข้อพระสุบินนิมิตนั้นแล้วก็ทรงแน่พระทัยว่าจักได้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นแน่แท้






ปางโปรดพราหมณ์เฒ่า (๑)

พราหมณ์เฒ่านิรนาม แห่งเมืองสาวัตถี อดีตเป็นคหบดีมั่งมีทรัพย์แปดร้อยล้านกหาปณะ มอบให้ลูกๆ ไปหมด เลยตกระกำลำบาก เพราะลูกๆ (ลูกสะใภ้) ไล่ออกจากบ้าน ท้ายที่สุดต้องมาขอพึ่งพระมหากรุณาของพระพุทธองค์ เรื่องราวน่าระทึกใจครับ โปรดติดตามสดับ ณ บัดนี้

พราหมณ์คนนี้มีบุตรชายสี่คน แต่งงานแต่งการเรียบร้อยทุกคน ตามธรรมเนียมของชาวชมพูทวีป ผู้หญิงก็มาอยู่ตระกูลสามี ตระกูลใหญ่ อยู่รวมกันในบริเวณใหญ่ บรรดาภรรยาของสามีก็กระซิบถามสามีของพวกตนว่า "เมื่อไหร่ปะป๊าจะแบ่งทรัพย์สมบัติสักที"

ประดาสามีซึ่งเป็นลูกที่ดีของพ่อก็ตาเขียวใส่ว่า พูดอะไรอย่างนั้น ทรัพย์ของพ่อก็เหมือนของพวกเรานั่นแหละ ถึงเวลาอันสมควรพ่อก็จะแบ่งให้เอง นั่นเป็นช่วงแรกๆ แต่พอภรรยารบเร้าหนักเข้าก็ชักเห็นด้วยว่า "เออ จริงนะ พ่อก็แก่แล้ว ไม่น่าหวงทรัพย์ไว้คนเดียว แบ่งให้ลูกๆ แล้ว ลูกๆ ก็จะดูแลเองแหละ"

ในที่สุดลูกชายทั้งสี่ (แน่นอนรวมภรรยาอีกสี่ด้วย) ก็ไปอยู่ต่อหน้าพราหมณ์เฒ่าผู้เป็นพ่อ ขอร้องให้แบ่งสมบัติเท่าๆ กัน พราหมณ์เห็นว่าลูกชายและลูกสะใภ้ล้วนเป็นลูกกตัญญู เชื่อฟัง จึงแบ่งสมบัติให้เท่าๆ กัน ไม่เหลือไว้สำหรับตนเลย โดยบรรดาลูกๆ รับปากว่าจะผลัดเวรกันปรนนิบัติบิดาอย่างดี

แรกทีเดียวก็ไปอยู่ที่เรือนของบุตรชายคนโต ไม่ทันไรลูกสะใภ้ก็บ่นว่า "พ่อก็แบ่งสมบัติให้ทุกคนเท่ากันแล้วทำไมมาอยู่กินเฉพาะที่บ้านลูกชายคนโต ถ้าอยากอยู่บ้านนี้เลย ทำไม ม่แบ่งให้อีกส่วนหนึ่งสำหรับเลี้ยงดูพ่อ"

พราหมณ์เฒ่าได้ยินลูกสะใภ้พูดเช่นนั้นหููร้อน หน็อยแน่ ก่อนนี้มันพูดว่าจะดูแลข้าอย่างดี พอได้สมบัติแล้วเห็นข้าเป็นอะไร ไม่อยากให้อยู่ก็ไม่อยู่วะ ว่าแล้วก็ลงเรือนไปอยู่กับบ้านลูกชายคนที่สอง โดยที่ลูกชายคนแรกเพียงยืนดูพ่อลงจากเรือนมิได้ทัดทานอะไร

อยู่กับลูกชายคนที่สองไม่นาน ก็เข้า "อีหรอบเดิม" อีก ถูกสองสามีภรรยาพูดทำนองไม่พอใจ พราหมณ์ผู้มากด้วยทิฐิมานะ จึงออกจากเรือนลูกชายคนที่สองไปยังเรือนของลูกชายคนที่สามแล้วก็ที่สี่ตามลำดับ

เมื่อถูกลูกชายคนเล็กและลูกสะใภ้ไล่ออกจากบ้าน พราหมณ์เฒ่ามืดแปดด้าน ทิฐิมานะหายไปหมด ไม่รู้จะไปไหน จะยังชีพอย่างไร ท้ายที่สุดเมื่อคิดว่าหมายังไม่อดตาย ก็ถืออาชีพขอทาน เที่ยวขออาหารจากผู้ใจบุญประทังชีวิตไปวันๆ ค่ำไหนนอนนั่น น่าสมเพชเวทนานัก

เรื่องราวของพราหมณ์เฒ่า คงมีคนรู้บ้าง วันหนึ่งผู้มีใจกรุณาคนหนึ่ง แนะนำให้ไปขอความช่วยเหลือจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เขาจึงเดินเข้าไปในพระเชตวัน



ปางโปรดพราหมณ์เฒ่า (จบ)

พระพุทธองค์คล้ายประทับรอการมาของพราหมณ์เฒ่าอยู่แล้ว จึงทรงทักทายด้วยอัธยาศัยไมตรีอันดี พราหมณ์ได้ยินเท่านั้นก็ปลาบปลื้ม ร้องอุทานด้วยความยินดีว่า "พระสมณโคดมนั้นพระขนงไม่ขมวด พระพักตร์เบิกบาน ทรงทักทายก่อน ตรัสคำไพเราะ ฟังแล้วชื่นใจ ทรงฉลาดในปฏิสันถาร"

เขาคลานเข้าไปใกล้ กราบทูลเรื่องราวอันรันทดใจให้ทรงทราบ พลางขอพระมหากรุณาเป็นที่พึ่ง พระพุทธองค์ทรงปลอบใจให้เขาคลายทุกข์โศกแล้ว ตรัสว่า "พราหมณ์ ท่านจงท่องคาถาที่ตถาคตให้นี้ให้ขึ้นใจ เมื่อได้โอกาสเหมาะให้ไปท่องให้ที่ประชุมสภาฟัง แล้วทุกอย่างจะเรียบร้อย"

คาถาที่ประทานให้พราหมณ์ท่องนั้นมีความว่า
     ข้าเลี้ยงลูกชายเหล่าใดมา หวังความเจริญเพลิดเพลินใจ
     ลูกชายเหล่านั้นพอถูกเมียยุยง ไล่พ่อมันดุจหมาไล่สุกร
     ไอ้ลูกชั่ว สารเลว มันเรียกกูว่า "พ่อ พ่อ" แต่มันก็คือรากษส
     ในร่างบุตร พวกมันทิ้งพ่อที่แก่เฒ่า
     พวกมันปล่อยให้พ่อของพวกมันสิ้นไร้ไม้ตอก ดุจม้าแก่น่าสงสารตัวหนึ่ง
     พ่อแก่เฒ่าของไอ้พวกเลวทรามเหล่านั้น ต้องเที่ยวขอทานเขายังชีพ
     ไม้เท้าของข้า ประเสริฐกว่า ไอ้ลูกอกตัญญูทั้งหลาย
     มันไล่วัวดุได้ ไล่สุนัขดุได้ ช่วยคลำทางในที่มืดได้ หยั่งน้ำลึก
     เวลาข้ามน้ำได้ เมื่อพลาดล้ม ก็อาศัยไม้เท้ายันลุกขึ้นได้

พราหมณ์เฒ่าท่องคาถานั้นจนขึ้นใจ เมื่อสบโอกาสเหมาะ ขณะที่พวกลูกๆ ของแกเข้าประชุมสภาของพวกพราหมณ์ แกก็เดินยักแย่ยักยันเข้าไปในสภา ขอโอกาสร่ายโศลกให้ที่ประชุมฟัง ที่ประชุมซึ่งประกอบด้วยพราหมณ์ผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย ได้ฟังดังนั้นก็ส่งเสียงอื้ออึง ทำนองว่า "มีเรื่องอย่างนี้ด้วยหรือ"

บุตรชายทั้งสี่ของพราหมณ์ อดรนทนไม่ได้ จึงก้มลงกราบแทบเท้าบิดา กล่าวขอขมาพร้อมรับปากกับที่ประชุมว่า จะนำบิดากลับไปดูแลอย่างดี ขอที่ประชุมได้อภัยในความผิดของพวกตนด้วย พราหมณ์ได้กลับไปสู่อ้อมอกของลูกๆ บรรยากาศแห่งความสุขก็กลับคืนมาดังเดิม พราหมณ์เฒ่ารู้สำนึกในพระมหากรุณาของพระบรมศาสดาได้ประกาศตนนับถือพระรัตนตรัยถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์เป็นประจำจนตลอดชีวิต





ปางโปรด นางอัมพปาลี (๑)

นางอัมพปาลี เป็นนางคณิกา หรือ นครโสเภณี เมืองไพศาลี แคว้นวัชชี คงทราบกันทั่วไปว่า นางนครโสเภณีเป็นตำแหน่งที่พระราชาหรือคณะพระราชาผู้ครองนครแต่งตั้ง คัดเลือกสาวงามผู้เพียบพร้อมไปด้วยรูปสมบัติและความสามารถพิเศษในด้านฟ้อนรำ ขับร้อง เป็นต้น เรียกว่าเก่งในด้านเอนเตอร์เทน ว่าอย่างนั้นเถอะ

เมืองที่เป็นต้นตำรับแห่งนครโสเภณีก็คือเมืองไพศาลี แคว้นวัชชี ของเหล่ากษัตริย์ลิจฉวีนี้แล จนพระมหาราชแห่งแคว้นมคธมาพบเห็นเข้า ประทับพระทัย เอาแบบอย่างไปทำบ้าง ดังได้แต่งตั้งนางสาลวดีเป็นนางนครโสเภณีแห่งแคว้นมคธ (ถ้าจำผิดอย่าว่ากัน เพราะเวลาเขียนต้นฉบับ ขี้เกียจเปิดตำรา)


นางอัมพปาลี ไม่รู้เป็นลูกใคร นายอุทยานบาล (ผู้เฝ้าสวน) พบเห็นนั่งอยู่ใต้ต้นมะม่วงในอุทยานแห่งหนึ่ง นำไปเลี้ยงไว้ โตมาก็มีความสวยงามหยาดฟ้ามาดิน ใครเห็นก็หลงใหลใฝ่ฝันชื่อว่า "อัมพปาลี" แปลว่า รักษาต้นมะม่วง หรือ มะม่วงรักษาไว้ ทำนองจะบอกว่า เทพที่สิงอยู่ในต้นมะม่วงรักษาไว้ เป็นสัญลักษณ์บอกว่านางมีที่ไปที่มาอย่างไร

ว่ากันว่ากษัตริย์ลิจฉวีหนุ่มๆ ทั้งรุ่นกระทงและรุ่นแก่ ต่างหลงใหลนาง ถึงขั้นยื้อแย่งกันเพื่อเป็นเจ้าของครอบครอง เหล่ากษัตริย์ลิจฉวีเห็นว่าจะเป็นเหตุให้แตกสามัคคีกัน จึงแต่งตั้งนางให้เป็น "สมบัติกลาง" เสีย โดยให้ดำรงตำแหน่ง "นางนครโสเภณี" ทีนี้ใครใคร่อภิรมย์กับนางก็เชิญ มีเงินทองมีความประสงค์ก็ไปหานางได้ตามสบาย

เมื่อได้รับแต่งตั้งเป็นนางนครโสเภณีแล้ว นางก็รับใช้ประเทศชาติเป็นอย่างดีเสมอมา (รับรองแขกเมือง นำเงินตราต่างประเทศเข้ามาปีละไม่น้อย) พระราชามหากษัตริย์ต่างเมือง อาทิ พระเจ้าพิมพิสาร เป็น "ขาประจำ" ตั้งหลายองค์ พระเจ้าพิมพิสารนั้น ว่ากันว่า เที่ยวไล้เทียวขื่อเป็นประจำ จนมีพยานรัก (ซึ่งเกิดจากความพลั้งเผลอ) หนึ่งคนชื่อ วิมละ (ต่อมามีชื่อว่า วิมลโกณฑัญญะ) วิมละ นี้แล ภายหลังได้ฟังธรรมจากพระพุทธองค์ ออกบวชเป็นสาวกของพระพุทธองค์ ข้อมูลกระแสหนึ่งบอกว่าตอนยังเด็ก แม่ส่งไปยังพระราชสำนักเมืองราชคฤห์ พระบิดาเห็นธำมรงค์ที่หัตถ์ของเด็กก็ระลึกได้จึงยอมรับเป็นโอรสแล้วเลี้ยงไว้ในพระราชสำนัก

เมื่อคราวพระพุทธเจ้าเสด็จไปยังเมืองไพศาลี ในช่วงสุดท้ายแห่งพระชนมายุ นางอัมพปาลีไปเฝ้าพระพุทธองค์ อาราธนาพระพุทธองค์พร้อมภิกษุสงฆ์ไปเสวยภัตตาหารที่คฤหาสน์ของตน ขณะนั่งรถกลับ สวนทางกับเหล่ากษัตริย์ลิจฉวีจำนวนหนึ่ง ได้ทักทายปราศรัยกันตามประสาคนคุ้นเคย (คงคุ้นเคยกันทุกคน เพราะต่างก็เป็น "ขาประจำ" ของนาง)



ปางโปรดนางอัมพปาลี (จบ)
เหล่ากษัตริย์ลิจฉวีทราบว่านางเพิ่งกลับมาจากไปกราบทูลอาราธนาพระพุทธองค์ไปเสวยพระกระยาหาร จึงขอให้นางสละสิทธิ์นั้นให้กับพวกตน นางไม่ยินยอม เหล่ากษัตริย์ลิจฉวีกล่าวว่านางจะเอาอะไร ไม่ว่ารถที่สวยงามเหล่านี้และข้าวของเงินทองเท่าไรก็ยินดีมอบให้ ขอให้มอบพระพุทธองค์ให้พวกตน (คือขอให้พวกเขาได้ถวายภัตตาหารแก่พระพุทธองค์ในวันรุ่งขึ้น)

อัมพปาลีไม่ยินยอม บอกว่าพระพุทธองค์ทรงรับคำอาราธนาของนางแล้ว แต่ถ้าพระพุทธองค์ทรงมีพระพุทธประสงค์จะไปเสวยที่วังของพวกท่านก็แล้วแต่พระองค์ เหล่ากษัตริย์ลิจฉวีจึงเดินทางไปเฝ้าพระพุทธองค์ กราบทูลอาราธนาให้เสด็จไปเสวยภัตตาหารที่วังของพวกตน พระพุทธองค์ตรัสว่า พระองค์ได้รับคำอาราธนาของนางอัมพปาลีแล้ว เหล่ากษัตริย์ลิจฉีก็ได้แต่ผิดหวังกลับไป

มีเรื่องแทรกตรงนี้เล็กน้อย ขณะที่เหล่ากษัตริย์ลิจฉวีขี่รถเข้าไปยังพระวิหารที่ประทับนั้น พระพุทธเจ้าทรงชี้ให้ภิกษุสงฆ์ดูว่า "ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธออยากรู้ว่าเทวดาบนดาวดึงส์สวรรค์เป็นอย่างไร พวกเธอจงดูกษัตริย์ลิจฉวีเหล่านี้เถิด" เท่ากับบอกว่า กษัตริย์ลิจฉวีเหล่านี้แต่งตัวหรููหราฟุ่มเฟือย นั่งรถใหญ่โตวิจิตรตระการตาดุจเหล่าเทพยดาไม่ผิดเพี้ยน พูดอีกนัยหนึ่งพวกนี้ก็คือเทวดาบนดินนั้นแล

ในวันรุ่งขึ้น พระพุทธองค์พร้อมภิกษุสงฆ์ เสด็จไปยังคฤหาสน์นางอัมพปาลี เสวยภัตตาหารแล้วทรงแสดงธรรมให้นางฟัง นางได้ถวายสวนมะม่วงของนางให้เป็นที่ประทับของพระพุทธองค์และภิกษุสงฆ์ เรียกว่า "อัมพปาลีวัน" ทำนองเดียวกับ เวฬุุวันที่พระเจ้าพิมพิสารถวายนั้นแล

จากนั้นพระพุทธองค์ก็เสด็จไปยังเวฬุวคาม ทรงจำพรรษาสุดท้ายที่นั่น จากนั้นก็เสด็จต่อไปยังที่อื่นๆ จนไปปรินิพพานที่เมืองกุสินาราดังที่ทราบกันแล้ว

พิเคราะห์ตามนี้ แสดงว่าการถวายอัมพปาลีวันนี้เกิดขึ้นในช่วงท้ายพุทธกาล คืนก่อนเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานเล็กน้อย แต่ข้อเท็จจริงนางคงได้พบพระพุทธองค์และได้เป็นสาวกของพระองค์มาก่อนหน้านั้น หาไม่นางคงไม่ไปกราบทูลอาราธนาให้ไปเสวยภัตตาหาร และแน่วแน่มั่นคงในพระพุทธองค์จนกระทั่งไม่ยอม "ขายกิจนิมนต์" แก่เหล่ากษัตริย์ลิจฉวีเป็นแน่

นางอัมพปาลี ในช่วงสุดท้ายแห่งชีวิตได้ฟังธรรมจากพระลูกชาย (พระวิมลโกณฑัญญะ) ได้ออกบวชเป็นภิกษุณี พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแท้แห่งสรีระร่างกายของตน เห็นประจักษ์ถึงอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้บรรลุพระอรหัตในที่สุด





ปางชี้มาร (๑)

ในพุทธประวัติ หรือพูดให้ชัดในพระไตรปิฎก มีพูดถึงมารบ่อยครั้งมาก บ่อยเสียจนไม่คิดว่าเป็นการกล่าวถึงโดยบังเอิญ แต่มารคือใคร หรือคืออะไร เป็นเรื่องที่เราพึงพินิจพิจารณาด้วยความรอบคอบ

คำว่า มาร ตามรูปศัพท์แปลว่า "ผู้หรือสิ่งให้ตาย" ให้ใครตาย ก็ให้มนุษย์เราทุกคนนี้แหละตาย ตายจากอะไร อาจตายจากความดี หรือตายจากชีวิตก็ย่อมได้ ท่านให้คำจำกัดความอย่างนี้แล้ว ก็แบ่งประเภทมารออกเป็น ๕ คือ
     ๑.กิเลสมาร มารคือกิเลส กิเลสคือโลภ โกรธ หลง ก็ให้ผู้ที่ตกอยู่ในอำนาจมันตายทั้งเป็น ดังเช่นรัฐมนตรี พระสงฆ์องค์เจ้า ประชาชนที่มีชื่อเสียงดังๆ และไม่ดัง "ตายทั้งเป็น" มานักต่อนัก
     ๒.อภิสังขารมาร มารคือบุญบาป บาปเป็นมาร พอเข้าใจได้ แต่บุญเป็นมารอย่างไร พระพุทธเจ้าตรัสว่า คนเราเวียนว่ายตายเกิดในสุคติภพบ้าง ทุคติภพบ้าง เพราะอำนาจบุญและบาป ตราบใดที่ยังตกอยู่ในวงจรของบุญ-บาป ก็ขึ้นสวรรค์ลงนรกอยู่ร่ำไป ไม่มีทางบรรลุพระอรหัตผลได้ การจะตัดวงจรแห่งการเวียนเกิดเวียนตายได้ ต้องบรรลุพระอรหัตผล เหนือบุญเหนือบาป เพราะฉะนั้นบาปเป็นมารได้ บุญก็เป็นมารได้เช่นเดียวกัน
     ๓.มัจจุมาร มารคือความตาย บางคนกำลังรุ่งเรือง เขาจะแต่งตั้งเป็นสมเด็จพระราชาคณะอยู่แล้ว เกิดตายเสียนี่ อย่างนี้เรียกว่าความตายเป็นมาร ตัดรอนมิให้ได้รับตำแหน่ง
     ๔.เทวปุตตมาร เทวดาเป็นมาร เทพที่อันธพาลคอยแกล้งคนก็มีไม่น้อย เทพอันธพาลระดับเจ้าพ่อก็คือ วสวัตตีมาร อยู่บนสวรรค์ชั้นหกโน่นแน่ครับ วสวัตตีมารเป็นมารคอยกลั่นแกล้งพระพุทธเจ้ามาตลอด ท้ายที่สุดพ่ายแพ้โดยราบคาบ เมื่อครั้งพระพุทธองค์ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ
     ๕.ขันธมาร มารคือขันธ์ร่างกาย ร่างกายคนเราก็เป็นมาร ขัดขวางมิให้เจริญก้าวหน้า เช่น คนเกิดมาพิการ จะเข้าทำงานอะไรเขาก็ไม่รับ หาว่าอวัยวะไม่สมประกอบ คนร่างกายอ่อนแอจะไปสมัครแบกกระสอบ เขาก็ปฏิเสธกลัวกระสอบทับตาย คนแก่หง่อมจะมาเข้าพรรคการเมืองดัง เขาก็ไม่รับ กลัวจะเป็นลมตายตอนหาเสียง คนรูปร่างขี้ริ้วขี้เหร่ ไปสมัครเป็นเทพี เขาเห็นหน้าก็ไล่แล้ว ร่างกายเป็นมารด้วยประการฉะนี้

มารมีหลายประเภท แล้วมารที่ขับเคี่ยวกับพระพุทธเจ้าคือมารประเภทใด

ผู้รู้ตอบว่า อาจหมายถึง ๓ ประเภท ประเภทใดประเภทหนึ่งคือ
     (๑) กิเลสมาร ใต้ต้นโพธินั้น คงจะเป็นกิเลสคือโลภโกรธหลง ที่ผุดขึ้นในพระทัยของพระโพธิสัตว์ พระองค์ทรงเอาชนะมันได้ราบคาบ ก็มีผู้อธิบายว่า มารในที่นี้คือกิเลส หรือไม่ก็อาจเป็นประเภทที่สอง
     (๒) มารคือเทพ ได้แก่ วสวัตตีมาร เจ้าตัวนี้ เป็น being ชนิดหนึ่ง มีตัวตนจริง คอยเล่นงานพระพุทธองค์ตั้งแต่เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ (ออกผนวช) ถ้าไม่หมายถึงกิเลส ก็คงจะเป็นมารตัวนี้ก็ได้ และ/หรือ
     (๓) ขันธมาร มารคือร่างกาย มารที่มาอัญเชิญปรินิพพาน ว่าถึงเวลาจะปรินิพพานละโลกนี้ไปแล้ว กิจที่พึงทำในฐานะเป็นพระพุทธเจ้าก็ทำหมดแล้ว ปรินิพพานเสียเถอะ ก็อาจหมายถึงขันธ์ร่างกายก็ได้ คือพระพุทธองค์ทรงแก่หง่อมแล้ว ร่างกายไปไม่ไหวแล้ว มันบอกสัญญาณว่า ควรจะ "ตาย" ได้แล้ว อาจเป็นอย่างนี้ก็ได้

เพราะฉะนั้น "มารผจญพระพุทธองค์" อาจหมายถึงอย่างใดอย่างหนึ่งในสามอย่างนี้ แล้วแต่เรื่องแล้วแต่กรณี



ที่มา คอลัมน์ "ฟ้าสางเมื่อใกล้ค่ำ"
โดย ศาสตราจารย์ เสฐียรพงษ์ วรรณปก
หนังสือพิมพ์รายวันข่าวสด
3067  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / Re: 'อาเซียน' เรื่องน่ารู้..ที่คนไทยควรรู้ เมื่อ: 07 กรกฎาคม 2559 17:25:21
.

 ผลไม้อาเซียน

คำว่า ผลไม้ นั้น เพื่อนบ้านอาเซียนแต่ละประเทศเรียกแตกต่างกันออกไป พม่าใช้คำว่า "ติดตี่" ลาวเรียก "หมากไม้" เวียดนาม คือ "ฮวากว๋า จ๊ายเกย" ชาวกัมพูชาเรียก "พแล เชอ" ในมาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน ซึ่งใช้ภาษามลายู ผลไม้ คือ "บูอา บัวฮัน" สิงคโปร์เรียก "กั่ว" และฟิลิปปินส์ คือ "อั๊ง พรูตัส"

เริ่มจาก "ขนุน" ผลไม้รสหวานเนื้อกรอบสีเหลืองอ่อน เปลือกด้านนอกมีสีเขียว และปกคลุมไปด้วยหนามทู่ คาดว่ามีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้ ก่อนนำมาปลูกจนได้รับความนิยมไปทั่วอาเซียน เนื้อขนุนสุกรับประทานเป็นผลไม้ ไม่ก็ใช้ทำขนมหรือปรุงอาหาร

ชาวมาเลเซียและอินโดนีเซียเรียกขนุนว่า "นังกา" ในภาษาฟิลิปปินส์ และตากาล็อก ใช้คำว่า "ลางกา" ภาษาเขมร คือ "ขนอร์" ชาวลาวเรียก "หมาก มี้" หรือ "เมมี้" ซึ่งละม้ายคล้ายคำว่าบักมี้ในภาษาอีสานบ้านเรา เวียดนาม คือ "มี้ต"

ผลไม้อีกชนิดที่ได้รับความนิยมสุดๆ โดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อน คือ "มะพร้าว" หรือ "เคลาปา" ในภาษามลายูซึ่งใช้ทั้งในมาเลเซียและอินโดนีเซีย ส่วนพม่าเรียกว่า "มากูน" ชาวฟิลิปปินส์ใช้คำว่า "เนียก" และ "เหยือ" ในภาษาเวียดนาม เป็นพืชตระกูลปาล์มสารพัดประโยชน์ น้ำมะพร้าวใช้ดื่ม เนื้ออ่อนใช้รับประทาน เนื้อในของผลแก่นำไปขูดทำกะทิ แถมกะลายังประดิษฐ์เป็นของใช้-ของประดับตกแต่ง



  สับปะรด

มาทำความรู้จักกับ "สับปะรด" ผลไม้อร่อยในอาเซียน เพราะต้นกำเนิดของผลไม้แต่ละชนิดไม่อาจฟันธงได้ว่ามาจากประเทศไหน ข้อมูลบางแห่งบอกว่าคำว่า "ไพน์แอปเปิ้ล" ในภาษาอังกฤษที่เป็นสากลนั้น มีรากศัพท์มาจากภาษาฟิลิปปินส์ เพราะสมัยก่อนฟิลิปปินส์เรียกสับปะรดว่า "ปินาง" ต่อมาสเปนยึดฟิลิปปินส์เป็นเมืองขึ้น และเรียกใหม่ว่า "ปินยา"

อีกข้อมูลระบุว่าสับปะรดน่ะปลูกกันในอเมริกาใต้ ก่อนได้รับความนิยมในสเปน ซึ่งนำมาปลูกในฟิลิปปินส์ที่ยึดเป็นเมืองขึ้นในเวลาต่อมา

ไม่ว่าสับปะรดจะมาจากไหน แต่ปัจจุบันขึ้นแท่นเป็นผลไม้ยอดนิยมของชาวอาเซียน ไปที่ไหนเป็นต้องเห็นและหาซื้อได้ ง่ายแสนง่าย สำหรับ ชาวเวียดนามเรียกสับปะรดว่า "เยื้อ" ลาว คือ "หมากนัด" พม่าเรียก"น่า หนัด" กัมพูชาใช้คำว่า "มน็อฮ์" จีนกลางในสิงคโปร์เรียก ว่า "โปหลัว" ส่วนมาเลเซีย อินโดนีเซีย และบรูไนซึ่งใช้ภาษามลายู เรียก "นานัส"

ขณะที่ "มะละกอ" ผลไม้ช่วยย่อย และเครื่องปรุงสำคัญของอาหารจานเด็ดอย่างส้มตำของไทย เริ่มเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เวียดนามเรียกว่า "ดูว ดูว" ลาว คือ "หมากหุ่ง" พม่าเรียก "ตีน บอ ตี" กัมพูชาใช้คำว่า "มะกะ" จีนกลางในสิงคโปร์เรียกว่า "มู่กวา" ส่วนภาษามลายูใช้ "เพพายา"

สำหรับ "กล้วย" ผลไม้สารพัดประโยชน์มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้และอาเซียน ชาวเวียดนามเรียกกล้วยว่า "โจ่ย" ลาว คือ "หมากก้วย" พม่าเรียก "แฮง่ด ปยอ ตี" กัมพูชาใช้คำว่า "เจก" จีนกลางในสิงคโปร์เรียกว่า "เซียงเจียว" ส่วนภาษามลายูใช้ "พิซาง"





มารู้จักผลไม้ ฤดูร้อนรสอร่อยในอาเซียน เริ่มจาก "มะม่วง" ผลไม้ประจำชาติฟิลิปปินส์ ที่มีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคเอเชีย ตั้งแต่เอเชียใต้ อินเดีย ปากีสถาน บังกลาเทศ เรื่อยมาจนถึงแดนตากาล็อก มีหลากหลายสายพันธุ์แตกต่างกันไปในแต่ละท้องที่ รับประทานได้ทั้งดิบและสุก แถมยังนำไปทำเป็นอาหาร ขนมหวาน และเครื่องดื่มได้ด้วย

มะม่วงในภาษาฟิลิปปินส์เรียกว่า "มางกา" สำหรับมาเลเซีย อินโดนีเซีย และบรูไน เรียกคล้ายๆ ฟิลิปปินส์ คือ "มังฆา" ชาวเวียดนามใช้คำว่า "สว่าย" ใกล้เคียงกับ "ซวาย" ในภาษากัมพูชา ส่วนชาวลาวเรียก "หมากม่วง" ในพม่าเรียก "ตะแย่ดตี" และสิงคโปร์ซึ่งใช้ภาษาจีนกลางเป็นหลักเรียกว่า "หมางกั่ว"

หากพูดถึงราชาแห่งผลไม้ หรือ "ทุเรียน" แล้ว ก็ต้องกล่าวถึง "มังคุด" ราชินีผลไม้ สองสุดยอดผลไม้อาเซียนที่โด่งดังไปทั่วโลก ทั้งยังมีสรรพคุณเกื้อกูลกัน คือเมื่อกินทุเรียนมากๆ จะมีอาการร้อนใน การกินมังคุดซึ่งมีฤทธิ์แก้ร้อนในจึงช่วยได้มาก

ทุเรียนเป็นพืชพื้นเมืองของมาเลเซีย อินโดนีเซีย และบรูไน ชื่อมาจากคำว่า "ดูรี" ในภาษามาเลย์ซึ่งแปลว่า หนาม กัมพูชาเรียก "ทุเรน" พม่าเรียกว่า "ดูยินตี" เวียดนามใช้คำว่า "เสิ่วเรียง" ลาวเรียก "หมากทั่วเลียน" จีนกลางในสิงคโปร์เรียก "หลิวเหลียน" ขณะที่ฟิลิปปินส์มีทุเรียนเทศ และเรียกว่า "กูยาบาโน"

ส่วน มังคุด ในมาเลเซีย อินโดนีเซีย และบรูไน คือ "มังกีส" ชาวฟิลิปปินส์เรียก "มังกุสตาน" พม่าเรียก "มิงกุทธี" เวียดนามใช้คำว่า "มังกุด" ลาวเรียก "หมากมังคุด" และสิงคโปร์เรียก "ซานจู่"




"แตงโม" เดิมทีจะมีถิ่นกำเนิดทางภาคใต้ของทวีปแอฟริกา ต่อมาเป็นที่นิยมปลูกไปทั่วโลก โดยเฉพาะเอเชียซึ่งมีสภาพภูมิอากาศ ร้อนระอุคล้ายๆ กัน แตงโมซึ่งชุ่มน้ำจึงกลายมาเป็นผลไม้หน้าร้อนตั้งแต่เอเชียตะวันออกเรื่อยมาจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ชาวพม่าเรียกแตงโมว่า "พแยตี" เวียดนามใช้คำว่า "เยือเหิว" ลาวเรียก "หมากโม" กัมพูชาคือ "โอวเลิก" มาเลเซีย อินโดนีเซียและบรูไนซึ่งใช้ภาษามลายู เรียกว่า "เติมบีไก" ฟิลิปปินส์ใช้คำว่า "พักวัน" และภาษาจีนกลางในสิงคโปร์เรียก "ซีกวา"

อีกหนึ่งผลไม้ฉ่ำน้ำอย่าง "ชมพู่" เป็นผลไม้ที่เสียงเรียกเพี้ยนมาจากภาษามลายู คำว่า "จัมบู" หรือ "จามู" มีถิ่นกำเนิดแถบมลายู แต่บางตำราก็ว่ามาจากอินเดีย

นอกจากชมพู่และจัมบูแล้ว เวียดนามใช้คำว่า "เหมิน รอย" ลาวเรียก "หมากเกียง" หรือ "หมากจอม" กัมพูชาใช้คำคล้ายกันคือ "จมปู" จีนกลางในสิงคโปร์เรียก "เหลียนอู้" และ "โรเซ มานซานัส" ในภาษาฟิลิปปินส์



  สงกรานต์อาเซียน

เรื่องราวชาติสมาชิกอาเซียนที่เฉลิมฉลองขึ้นปีใหม่ในช่วงเดือนเมษายนเช่นเดียวกับไทยเรา

เริ่มที่ชาติสมาชิกอาเซียนตอนบน ทั้งพม่า ลาว กัมพูชา และไทย ต่างมีเทศกาลขึ้นปีใหม่อันเป็นประเพณีร่วมทางพุทธศาสนาในเดือนเมษายน ที่สำคัญคือเฉลิมฉลองด้วยการทำบุญ รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ และเล่นสาดน้ำเช่นเดียวกัน เพราะเชื่อว่าน้ำจะช่วยชะล้างโรคภัย ไข้เจ็บ และเคราะห์ร้าย

วันปีใหม่ พม่า เรียกว่า "ตะจาน" หรือ "เทศกาลตะจังเหย่ตะเบงบะแวด่อ" เรียกสั้นๆ ว่า "เหย่บะแวด่อ" โดยเริ่มเฉลิมฉลองในวันที่ ๑๒ เม.ย. และจะเล่นสาดน้ำนาน ๕ วัน ก่อนจะฉลองวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ ๑๗ เม.ย. เมื่อสิ้นวันตะจานชาวพม่านิยมจัดงานบวชเณรให้ลูกหลานผู้ชาย และจัดงานเจาะหูให้กับลูกหลานผู้หญิง ปัจจุบันพม่าเป็นหนึ่งในประเทศที่มีวันหยุดปีใหม่อย่างเป็นทางการยาวที่สุดในโลก โดยรัฐบาลกำหนดให้หยุดได้ตั้งแต่วันที่ ๑๒-๒๒ เม.ย.

ข้ามไปบ้านพี่เมืองน้องของไทยคือ ประเทศลาว กันบ้าง ปีใหม่ลาวเรียกเหมือนไทยว่า "วันปีใหม่" และ "วันสงกรานต์" ตรงกับวันที่ ๑๔-๑๖ เม.ย. โดยวันแรกของปีใหม่คือ "วัน สังขานล่วง" คล้ายกับ "วันสงกรานต์ล่อง" หรือวันสังขานล่องของชาวไทยล้านนาภาคเหนือ โดยชาวลาวจะทำความสะอาดบ้านเรือนเพื่อรับสิ่งดีๆ ที่จะเข้ามาในปีใหม่

วันที่สองเรียก "วันเนา" ชาวบ้านจะเดินทางไปทำบุญ สรงน้ำพระ รดน้ำดำหัวผู้หลักผู้ใหญ่และเล่นสาดน้ำ ส่วน "วันสังขาน ขึ้น" หรือวันฉลองปีใหม่ ส่วนใหญ่จะนิมนต์พระมาฉันภัตตาหารที่บ้าน รดน้ำมนต์เป็นสิริมงคล ก่อนไปก่อเจดีย์ทรายที่วัด



 รามเกียรติ์อาเซียน

ย้อนกลับไปราว ๑,๕๐๐ ปีก่อน คนค้าขายและเหล่านักบวชจากอินเดียเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อมีการติดต่อสื่อสาร การเผยแพร่วัฒนธรรมก็เกิดขึ้น อาเซียนจึงรับเอามหากาพย์ชิ้นเอก ๒ เรื่อง คือ มหาภารตะŽ และ รามายณะŽ จากอินเดียโดยปริยาย

ประเทศอาเซียนที่ได้รับอิทธิพลของมหากาพย์อินเดียอย่างมากคงหนีไม่พ้นอินโดนีเซีย โดยเฉพาะบาหลีซึ่งยังรักษาวัฒนธรรมฮินดูเอาไว้ ทั้งยังมี บารองŽ นาฏศิลป์ที่ผสมผสานเรื่องราวในมหาภารตะกับตำนานพื้นเมือง ขณะที่กัมพูชามีภาพศิลปะเล่าเรื่องราวจากรามายณะตามวัดวาอารามเก่าแก่ ส่วนไทยก็รับเอารามายณะมาจากกัมพูชาผ่านพิธีกรรมการเล่นโบราณ อาทิ หนังใหญ่ จนมาถึงการแสดงโขนที่ได้รับการยกย่องเป็นศิลปะการแสดงชั้นสูงในปัจจุบัน

ช่วงต้นเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา ไปรษณีย์ไทยจับมือไปรษณีย์อินโดนีเซีย จัดทำแสตมป์ความร่วมมือสองชาติหัวข้อ รามายณะŽ มรดกร่วมทางวรรณกรรมที่มาจากรากเหง้าเดียวกัน เป็นภาพ รามเกียรติ์Ž ออกจำหน่ายพร้อมกันทั้งสองประเทศ

ขณะที่ลาว พม่า และมาเลเซีย ต่างได้รับอิทธิพลจากรามายณะและมหาภารตะ นำไปดัดแปลงเป็นวรรณคดีประจำชาติที่มีรายละเอียดแตกต่างเพื่อเพิ่มความเป็นเอกลักษณ์ แต่โครงเรื่องยังคงเกี่ยวกับการทำศึกสงครามระหว่างฝ่ายพระรามกับทศกัณฐ์



 รามเกียรติ์ไทย

วรรณคดีเรื่อง "รามเกียรติ์" ของไทย ดัดแปลงมาจากมหากาพย์ "รามายณะ" ที่ฤๅษีวาลมีกิแต่งขึ้นเมื่อกว่า ๒,๐๐๐ ปีก่อน ในไทยปรากฏเป็นวรรณคดีตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีพระราชนิพนธ์ให้ใช้เล่นเป็นละครหลวง เข้าสู่ยุครัตนโกสินทร์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ พระราชนิพนธ์ขึ้นเพื่อรวบรวมเรื่องรามเกียรติ์จนครบสมบูรณ์

โครงเรื่องเริ่มต้นจากนนทก ซึ่งมีหน้าที่ล้างเท้าเทวดาอยู่ที่เชิงเขาไกรลาศ แต่เพราะถูกบรรดาเทวดาข่มเหง จึงไปเฝ้าพระอิศวรเพื่อขอสิ่งตอบแทนที่ทำงานรับใช้มานาน พระอิศวรจึงประทานนิ้วมีฤทธิ์ชี้ผู้ใดก็ให้ผู้นั้นถึงตาย ต่อมานนทกใช้นิ้วชี้เพื่อแก้แค้นจนเทวดาจำนวนมากตาย พระอิศวรจึงส่งพระนารายณ์ไปปราบ

พระนารายณ์จำแลงเป็นนางฟ้า พร้อมออกอุบายชวนให้นนทกร่ายรำ เมื่อนนทกกรีดกรายนิ้วชี้เข้าหาตัวเองจึงล้มตึง ก่อนตายนนทกเห็นนางแปลงคืนร่างเป็นพระนารายณ์ จึงต่อว่าพระนารายณ์ที่มี ๔ กร แต่ทำอุบายหลอกตน พระนารายณ์จึงให้นนทกไปเกิดใหม่ มี ๒๐ มือ ส่วนพระองค์จะตามไปเกิดเป็นมนุษย์มีแค่ ๒ มือ และจะเอาชนะให้ได้

พระนารายณ์อวตารเป็นพระราม ขณะที่นนทกเกิดเป็นทศกัณฐ์และช่วงชิงตัวนางสีดาคู่ครองของพระราม จนเกิดเป็นศึกใหญ่ แต่สุดท้ายทศกัณฐ์ก็ถูกพระรามฆ่าตาย

การแสดงรามเกียรติ์ของไทยมีทั้งโขน หนังใหญ่ และหุ่นกระบอก ตอนที่นิยมนำมาเล่น คือนางลอย จองถนน และศึกไมยราพ



  รามายณะสิงคโปร์-บรูไน  

สัปดาห์นี้ถึงคิวรามายณะฉบับสิงคโปร์และบรูไน บรูไนนั้นได้รับอิทธิพล รามายณะเวอร์ชั่นมลายูไปแบบเต็มๆ ด้วยพื้นฐานวัฒนธรรม ภาษา และศิลปะที่คล้ายคลึงกันมาก รามายณะของบรูไนจึงเป็นการรับต่ออีกทอดจากมาเลเซีย โดยเน้นใช้สำหรับแสดงวาลิต กูยัง หรือหนังเชิด หนังตะลุงแบบมาเลย์นั่นเอง

ขณะที่สิงคโปร์ซึ่งมีประชากรชาวอินเดียเป็นอันดับ ๓ ของประชากรทั้งประเทศ จึงรับเอาวรรณกรรมเรื่องนี้มาจากฉบับภาษาสันสกฤตของอินเดียทั้งหมด เรื่องราวของ รามายณะในสิงคโปร์จึงมีตัวละครและการดำเนินเรื่องเหมือนต้นฉบับ ส่วนที่แตกต่างจริงๆ คือรูปแบบการแสดง

ในส่วนของโมเดิร์นนั้นผู้เล่นนิยมสวมเสื้อผ้าที่เป็นสมัยนิยมมากกว่าชุดที่ตัดขึ้นเฉพาะแบบการแสดงของประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะเป็นโขนรามเกียรติ์ของไทยที่วิจิตรบรรจงทั้งชุดและหัวโขนซึ่งประดิษฐ์ขึ้นอย่างประณีต เช่นเดียวกับเรียมเกร์ของกัมพูชา ยามะแซทดอว์ในพม่า และพะลักพะลามของลาว รวมถึงแตกต่างจากชุดที่ผสมผสานวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างกากวนิรามายณะของอินโดนีเซีย ฮิกายัต เซรีราม ของมาเลเซีย และมหาราเดีย ลาวานาในฟิลิปปินส์

ขณะที่การแสดงอิงตามต้นฉบับจากอินเดียมีการเต้นแบบ "ภารตะนาฏยัม" จากรัฐทมิฬนาฑู ซึ่งเน้นใช้เท้ามากกว่ามือและแขนแบบศิลปะการร่ายรำเต้นระบำของประเทศอาเซียนในลุ่มแม่น้ำโขง นอกจากนี้ยังมีการแสดง "กถักกฬิ" การร่ายรำแบบเก่าที่ผู้แสดงจะสวมหน้ากากด้วย



  กากวนิรามายณะ

อินโดนีเซียรับเอาเค้าโครงเรื่องรามายณะมาประพันธ์ใหม่ด้วยภาษาชวาโบราณในช่วงการปกครอง ของกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์สัญชัย ราว พ.ศ.๑๔๑๓ มีชื่อเรียกว่า "กากวนิรามายณะ" หรือรามายณะที่แต่ง เป็นกาพย์กลอน

ช่วงต้นแทบจะเหมือนกับรามายณะแบบถอดความจากฉบับภาษาสันสกฤต มีตัวละครหลักๆ คือ ราม ลักษมณะ สีดา และหนุมานราชันย์แห่งลิงผู้มีบทบาทนำทัพประมือกับ "ราวณะ" หรือทศกัณฐ์แห่งเมืองลงกาที่บังอาจลักตัวสีดาไป ครึ่งแรกจบลงด้วยความตายของราวณะ ส่วนรามพาลักษมณะและสีดากลับไปครองบัลลังก์ ตามเดิม

ขณะที่ช่วงหลังของเรื่องกลับต่างออกไปเกือบสิ้นเชิง มีการผสมผสานความเชื่อ "เทพธยนะ" เทพเจ้าสำคัญของชวา ผ่านเรื่องราวของเทพผู้พิทักษ์แห่งชวา "ซางฮยัง อิสมายา" ที่อวตารลงมาเป็นมนุษย์ชื่อ "เซมาร์" มีบุตรชาย ๓ คน ได้แก่ "กาเร็ง" "เปตรุก" และ "บาก็อง" ด้วยรูปลักษณ์ที่ผิดแผกแปลกตา พ่อลูกเลยถูกเรียกว่า "ปูโนกาวันทั้ง ๔" มีความหมายว่าตัวตลกทั้ง ๔ แม้ความเป็นจริง เทพผู้พิทักษ์และพระโอรสจะเปี่ยมไปด้วยอัจฉริยภาพและคุณงามความดี

ด้วยพล็อตน่าติดตามของเซมาร์และลูกๆ จึงนิยมนำเรื่อง กากวนิรามายณะครึ่งหลังมาแสดงหนังตะลุงเงา "วายังกูลิต" อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชาวอินโดนีเซียนั่นเอง



    รามเกียรติ์-รามายณะ

รามเกียรติ์ มีที่มาจากเรื่อง รามยณะ เชื่อว่าเป็นนิทานที่เล่าสืบต่อกันมายาวนานในหลากหลายพื้นที่ของชมพูทวีป กระทั่ง ฤๅษีวาลมิกิ ชาวอินเดีย รวบรวมแต่งขึ้นเป็นภาษาสันกฤต เมื่อราว ๒,๔๐๐ ปีมาแล้ว และแพร่หลายจากอินเดียไปยังประเทศใกล้เคียง รวมถึงอาเซียน เช่น ไทย ลาว พม่า เขมร มาเลเซีย อินโดนีเซีย ซึ่งแต่ละพื้นที่เพิ่มเติมรายละเอียดเข้าไปจนแตกต่างออกไปจากต้นฉบับเดิม

รามยณะเป็นปางหนึ่งในสิบปางของการอวตารมาปราบยุคเข็ญของพระนารายณ์ ที่มีชื่อว่า รามาวตาร โดยประพันธ์ไว้เป็นบทร้อยกรองประเภทฉันท์ เรียกว่า โศลก จำนวน ๒๔,๐๐๐ โศลก แบ่งเป็น ๗ ภาค หรือกัณฑ์ ได้แก่ พาลกัณฑ์ อโยธยากัณฑ์ อรัณยกัณฑ์ กีษกินธกัณฑ์ สุนทรกัณฑ์ ยุทธกัณฑ์ อุตตรกัณฑ์

รามายณะเมื่อแพร่หลายมาไทย คนไทยแต่งใหม่เรียกว่า รามเกียรติ์ ซึ่งมีหลายฉบับด้วยกัน เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการทำศึกสงครามระหว่างฝ่ายพระราม กับฝ่ายทศกัณฐ์ เพื่อชิงตัวนางสีดา ทางฝ่ายพระรามมีน้องชาย ชื่อ พระลักษมณ์ และหนุมาน (ลิงเผือก) เป็นทหารเอกช่วยในการทำศึก รบกันอยู่นานท้ายที่สุดฝ่ายยักษ์ก็ปราชัย

รามเกียรติ์มีมาแต่สมัยอยุธยา ในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงพระราชนิพนธ์สำหรับให้ละครหลวงเล่น ปัจจุบันมีอยู่ไม่ครบ

ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเพื่อรวบรวมเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งมีมาแต่เดิมให้ครบถ้วน สมบูรณ์ตั้งแต่ต้นจนจบ

จากนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์เพื่อให้ละครหลวงเล่น ทรงเลือกมาเป็นตอนๆ รามเกียรติ์นี้มีสำนวนกลอนที่ไพเราะที่สุด

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ โดยดัดแปลงจากพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ เพื่อใช้ในการเล่นโขน ซึ่งจะมีอยู่เพียงบางตอนที่คัดเลือกไว้เท่านั้น เช่น ตอนนางลอย ตอนหักคอช้างเอราวัณ ตอนสีดาลุยไฟ เป็นต้น

รามเกียรติ์เป็นวรรณคดีที่สำคัญของไทย เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เนื้อเรื่องและสำนวนกลอน ในเรื่องรามเกียรติ์มีความไพเราะ มีคติสอนและแง่คิดในด้านต่างๆ อยู่เป็นอันมาก สอดแทรกเอาไว้ตลอดทั้งเรื่อง ตามหลักนิยมของอินเดียในเนื้อเรื่อง และหลักนิยมของไทยในสำนวนกลอน

จิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ ที่รอบพระระเบียงวัดพระแก้ว เขียนขึ้นมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ จำนวน ๑๗๘ ห้อง โดยจิตรกรที่มีฝีมือยอดเยี่ยมของไทย เป็นภาพวิจิตรงดงาม ทรงคุณค่าทางศิลปกรรมเป็นอย่างยิ่ง

จากข้อมูลในวิกิพีเดียระบุถึงความแตกต่างระหว่างรามายณะและรามเกียรติ์ ว่า
     ๑.ในรามายณะ หนุมานเป็นอวตารปางหนึ่งของพระอิศวร ชื่อรุทรอวตาร หนุมานในรามายณะไม่เจ้าชู้เหมือนหนุมานในรามเกียรติ์
     ๒.ในรามายณะ ชาติก่อน ทศกัณฐ์กับกุมภกรรณเป็นนายทวารเฝ้าที่อยู่ของพระนารายณ์ ชื่อชัยกับวิชัย ซึ่งพระนารายณ์ห้ามใครเข้าในเวลาที่ทรงเกษมสำราญ ต่อมามีฤๅษีมาขอเข้าพบพระนารายณ์ นายทวารทั้งสองไม่ยอมให้เข้า ฤๅษีจึงสาปให้ชัยกับวิชัยต้องไปเกิดในโลกมนุษย์ได้รับความทรมาน  ชัยกับวิชัยจึงไปขอความเมตตาจากพระนารายณ์ ว่าตนเพียงทำตามคำสั่งเท่านั้น พระนารายณ์บอกว่าแก้คำสาปฤๅษีไม่ได้แต่บรรเทาให้ได้ โดยให้ทั้งสองไปเกิดเป็นยักษ์เพียงสามชาติ และทั้งสามชาติพระนารายณ์จะลงไปสังหารทั้งสองเองเพื่อให้หมดกรรม
     ๓.กุมภกรรณในรามายณะมีลักษณะคล้ายกุมภกรรณในรามเกียรติ์ คือเป็นคนซื่อสัตย์เที่ยงธรรม แต่ในรามายณะ กุมภกรรณเคยขอพรพระพรหมให้ตนเองมีสภาพคล้ายพระวิษณุ คือนอนหลับอยู่เป็นเวลานานจึงตื่นเพียงวันเดียว และหยั่งรู้ความเป็นไปของโลกในการนอนหลับนั้น ดังนั้นเมื่อทศกัณฐ์ปลุกกุมภกรรณให้ไปรบกับพระนารายณ์นั้น ย่อมรู้ว่าพระรามนั้นที่แท้คือพระวิษณุ ไม่มีทางรบชนะเด็ดขาด แต่ด้วยหน้าที่ของการเป็นทหาร กุมภกรรณยังคงตัดสินใจไปรบ
     ๔.ในรามายณะไม่มีตัวละครหลายตัวที่รามเกียรติ์แต่งเพิ่มขึ้นมา เช่น ท้าวจักรวรรดิ ท้าวสหัสเดชะ ท้าวมหาชมพู และมีตัวละครหลายตัวที่รวมเป็นตัวเดียว





  "รามายณะ"ไทย-อินโดนีเซีย

ไปรษณีย์ไทย จับมือไปรษณีย์อินโดนีเซีย จัดทำแสตมป์ความร่วมมือสองชาติหัวข้อ "รามายณะ" มรดกร่วมทางวรรณกรรมที่มาจากรากเหง้าเดียวกัน โดยกรุง จากาตาร์เชิญทูตไทยร่วมเปิดตัวยิ่งใหญ่ ๑๐ พ.ค.

ภาพแสตมป์สองดวงที่ออกเหมือนกันทั้งสองประเทศ เป็นภาพรามเกียรติ์" โดยของไทยจากจิตรกรรมฝาผนังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตอน "นิลนนท์จับพิเภกมาเฝ้าพระราม" คู่กับภาพวาด "รามายณะ" จากผืนผ้าใบของอินโดนีเซีย ตอน "นางสีดากลับมาอยู่กับพระราม ด้วยความช่วยเหลือของหนุมาน" ราคาดวงละ ๓ บาท ซองวันแรกจำหน่ายราคา ๑๕ บาท ส่วนแสตมป์ของอินโดนีเซียเป็นชนิดราคา ๘๐๐๐ รูเปียทั้งสองดวง กำหนดออกจำหน่ายพร้อมกันทั้งสองประเทศ ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙



  พะลัก พะลาม

สัปดาห์นี้พาไปทำความรู้จักรามเกียรติ์ฉบับเพื่อนบ้านอย่างประเทศลาวกัน ชาวลาวเรียกวรรณคดีเรื่องนี้ว่า "พะลัก พะลาม" มาจากชื่อของพระรามและพระลักษณ์แบบไทย

เค้าโครงเรื่องคล้ายคลึงกันมาก ในช่วงแรกว่าด้วยเหตุการณ์ของทศกัณฐ์ หรือ "ท้าวฮาบมะนาสวน" (ท้าวราพณาสูร) ซึ่งเป็นญาติกับพะลาม ก่อการทำศึกกับพ่อของพะลาม ผู้เป็นลุง จนได้รับชัยชนะและชิงพี่สาวของพะลามไป ต่อมาเมื่อพะลามกับ พะลักเติบใหญ่มีวิชาแกร่งกล้าก็ชวนกันนำกำลังไปชิงพี่สาวกลับมา

ขณะที่ช่วงหลังเป็นเรื่องของการช่วงชิง "นางสีดา" ซึ่งเวอร์ชั่นลาวเป็น นางสุชาดา มเหสีของพระอินทร์ อวตารลงมาโลกมนุษย์เพื่อแก้แค้นท้าวฮาบมะนาสวน ที่เหิมเกริมใช้ใบหน้าที่เหมือนพระอินทร์หลอกหลับนอนด้วยจนนางสุชาดาเจ็บแค้นมาก ส่วนที่เหมือนกันกับรามเกียรติ์ไทย คือนางสีดาในภาคมนุษย์เป็นลูกของท้าวฮาบมะนาสวน

ตัวละครหลักที่แตกต่างออกไป ยังมี "ท้าวหุนละมาน" หรือหนุมาน ซึ่งฉบับลาวเป็นลูกแท้ๆ ของพะลาม และถือกำเนิดขึ้นตอนพะลามกินผลไม้ต้องห้าม และท้าวฮาบมะนาสวนไม่ได้ตายเพราะถูกขยี้กล่องดวงใจ แต่ตายเพราะโดนปืนใหญ่ยิงจนร่างแหลกละเอียด

ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์เชื่อว่าลาวรับเอาวรรณคดีที่มี ต้นเรื่องจากมหากาพย์รามายณะผ่านอิทธิพลทางวัฒนธรรมของกัมพูชาอีกทอดหนึ่ง โดยพระเจ้าโพทิสะลาดทรงนำรามายณะ มาปรับเนื้อหาและประพันธ์เป็นภาษาลาวในศตวรรษที่ ๑๕ และยังมีนาฏศิลป์ที่เกิดจากวรรณคดีเรื่องนี้ ในชื่อ "ฟ้อนพะลักพะลาม" ซึ่งได้รับการอนุรักษ์และถ่ายทอดต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน



  รามายณะปินส์

สัปดาห์นี้ตามไปทำความรู้จักรามายณะฉบับฟิลิปปินส์กันบ้าง จากบทความของศาสตราจารย์ฆวน ฟรานซิสโก ผู้เชี่ยวชาญด้านภารตวิทยาในฟิลิปปินส์ ระบุว่าวรรณคดีเรื่อง "มหาราเดีย ลาวานา" ที่ประพันธ์ขึ้นโดยชนเผ่ามาราเนา มีเค้าโครงเรื่องจากรามายณะของอินเดีย แต่เนื้อเรื่องปรับเปลี่ยนให้เข้ากับวิถีชีวิต จากวัฒนธรรมแบบชาวฮินดูกลายมาเป็นมหากาพย์เวอร์ชั่นอิสลาม

มหาราเดีย ลาวานา เล่าเรื่องของสองดินแดน ฝั่งหนึ่งเป็นเรื่องของ "มหาราเดีย ลาวานา" หรือทศกัณฐ์ในรามเกียรติ์ของไทย แต่มี ๘ พักตร์แทนที่จะเป็น ๑๐ พักตร์ ๒๐ กร แบบทศกัณฐ์ และเพราะประพฤติตัวไม่ถูกไม่ควร สุลต่านแห่งปูลู บันเดียร์มาซีร์ พะราชบิดา จึงขับไล่มหาราเดีย ลาวานา ออกจากเมืองและให้ไปอยู่ที่เกาะปูลู นาการา แทน

ตัดไปที่อีกเมือง "ราเดีย มันกันดิรี" และ "ราเดีย มันกาวา" ซึ่งก็คือ พระราม และพระลักษมณ์ เป็นพระราชโอรสของสุลต่านแห่ง อกามา นีอ๊ก ออกเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลนานกว่า ๑๐ ปี เพื่อไปขอและเสกสมรสกับ "ตุวัน ปอเตร มาไลลา ติไฮอา" หรือนางสีดา พระราชธิดาในสุลต่านแห่งปูลู นาบันดัย ระหว่างพาพระชายาเสด็จกลับบ้านเกิด มาไลลาเกิดถูกใจกวางเขาทองในป่า จึงทูลขอให้พระสวามีและพระอนุชาจับกวางเขาสวยตัวดังกล่าว เป็นเหตุให้ลาวานาซึ่งถูกอกถูกใจในเสน่ห์ของมาไลลา ลอบลักพาตัวนางไปยังเกาะปูลู นาการา

ต่อมาราเดีย มันกันดิรี สุบินว่าได้พบกับลูกลิงนาม "ลักษมานา" หรือหนุมาน ปรากฏว่ากลายเป็นความจริง ลักษมานาจึงช่วยมันกันดิรีบุกชิงตัวมาไลลากลับ คืนมา

ตอนจบของเรื่องลงเอยที่มันกันดิรีได้พระชายากลับมาอยู่ในอ้อมอก และขึ้นครองเมืองอกามา นีอ๊กอย่างมีความสุข ลักษมานาเมื่อเติบใหญ่กลายเป็นมนุษย์ และลาวานากลับตัวกลับใจเป็นสุลต่านที่ปกครองเมืองอย่างเป็นธรรม





ที่มา: หนังสือพิมพ์ข่าวสด
3068  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / น้ำระกำดอง : สูตร-วิธีทำ หวานอมเปรี้ยว กลมกล่อม ชุ่มคอ หอมกลิ่นระกำ เมื่อ: 05 กรกฎาคม 2559 16:55:04
.





น้ำระกำดอง
หวานอมเปรี้ยว กลมกล่อม ชุ่มคอ หอมกลิ่นระกำ

ส่วนผสม
- ระกำ (แกะเปลือกออกแล้ว)  ½ กิโลกรัม
- เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ
- น้ำตาลทราย 1+½ ถ้วย
- น้ำสะอาด 2 ถ้วย  


วิธีทำ
1.ปอกเปลือกระกำ ชั่งน้ำหนักเนื้อผลไม้ให้ได้ครึ่งกิโลกรัม นำไปล้างน้ำให้สะอาด
2.โรยเกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ เคล้าให้เข้ากัน  หมักดองเกลืออย่างน้อย 2 วัน
3.ตั้งน้ำสะอาด ใส่น้ำตาลทราย ใส่ผลระกำดอง 7-9 ผล เคี่ยวสักครู่ พักไว้ให้เย็น
4.เวลาเสิร์ฟ ตักราดบนน้ำแข็งทุบ...ช่วยให้ชุ่มคอ ดับกระหาย คลายร้อน










ระกำดอง 3 วัน ช่วยให้ความเปรี้ยวลดลง
เมื่อจะนำไปต้มกับน้ำตาล ให้ตักแต่ผลระกำ น้ำดองไม่ต้องใส่ไปด้วยเพราะเค็มมาก
และเมื่อต้มสักครู่ ความเค็มในผลระกำจะออกมา...
น้ำระกำจึงให้รสชาติ หวาน หอมกลิ่นระกำ และเค็มเล็กน้อย



สูตรนี้มาไกล
ไกลจากถิ่นที่อยู่ เป็นพันกิโลเมตร

ขอขอบคุณชาวอำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ที่ถ่ายทอดวิธีทำ น้ำระกำดอง ของอร่อยหาทานยาก
ให้ผู้โพสท์ เมื่อเดือนเมษายน 2559 ที่ผ่านมาค่ะ

  
3069  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / Re: วัฒนธรรมร่วมอาเซียน เมื่อ: 05 กรกฎาคม 2559 15:48:35

วัฒนธรรมร่วมอาเซียน
ตอน ตุ๊กตาเสียกระบาน บุญกลางบ้าน, บุญซำฮะ, บุญเบิกบ้าน
(ประเพณี ๑๒ เดือน)

ตุ๊กตาเสียกระบาน หมายถึงรูปจำลองคนและสัตว์ตามจำนาวนในครอบครัว ใส่ในกะบานผี ในงานเลี้ยงผีบ้าน เพื่อขอความคุ้มครองจากผีร้าย

มีพิธีในเดือน ๖ ต่อเนื่องเดือน ๗ ทางภาคกลางเรียกบุญกลางบ้าน แต่ในอีสานเรียก บุญเบิกบ้าน, บุญซำฮะ

อ.สมชาย นิลอาธิ (จ. มหาสารคาม) ลงพื้นที่ร่วมงานบุญ แล้วมีรายงานพร้อมรูปถ่าย ดังต่อไปนี้
 
บุญเลี้ยงบ้าน
บุญซำฮะ (คือบุญชำระ) เป็นชื่อเรียกบุญประจำเดือน ๗ ในฮีต ๑๒ (แม้จะเป็นงานบุญประจำเดือน ๗ แต่บางแห่งก็จะเลื่อนมาจัดร่วมหรือติดๆ กันกับบุญบั้งไฟ เดือน ๖ ก็มี)

แต่ชาวบ้านอีสานรวมทั้งกลุ่มผู้ไท, ญ้อ เรียกแตกต่างกันอีกหลายชื่อ เช่น บุญเบิกบ้าน, บุญเลี้ยงบ้าน ฯลฯ เกี่ยวข้องกับความเชื่อผีปู่ตาและบือบ้าน

หลักบ้านของผีปู่ตา หรือเจ้าปู่ ตั้งอยู่ริมหมู่บ้าน มีข้อห้ามหลายอย่างในบริเวณที่กำหนดให้เป็นที่ดินของเจ้าปู่และเป็นเจ้าของผู้รักษาทั้งต้นไม้และสัตว์ทุกชนิดจนหนาทึบเป็นป่าปู่ตา หรือดอนปู่ตา ซึ่งมักเรียกกันว่าหลักบ้าน

บือบ้านอยู่กลางชุมชน โดยมีหมอสูด (สูตรสวด) เป็นผู้ทำพิธีตอกหลักเสาไม้เป็นสัญลักษณ์ไว้ เรียกว่า บือบ้าน (สะดือบ้าน) หรือ หลักบือบ้าน ปรกติจะเป็นบริเวณลานดินกว้างใช้ประโยชน์ร่วมกันในหลายๆ โอกาส โดยเฉพาะในงานบุญซำฮะ

เสาหลักไม้ที่ปักอยู่ในลานกว้างกลางบ้านคือสัญลักษณ์ศูนย์กลางร่วมของชุมชน ทำพิธีกรรมเลี้ยงบ้านประจำปี แต่เดิมชาวบ้านจะช่วยกันทำความสะอาดสถานที่และสร้างตูบผาม (ปะรำ) ชั่วคราว เพื่อเป็นที่พักร่มทำพิธีกรรมที่มักเรียกภายหลังว่า ศาลากลางบ้าน

โดยจัดเตรียมเครื่องพิธีต่างๆ เพื่อวางบูชาอย่างน้อย ๕ แห่ง คือ เครื่องพิธีสำหรับเสาหลักบือบ้าน และเครื่องทำพิธีสำหรับวางไว้ ๔ ทิศ รอบหมู่บ้านซึ่งบางแห่งก็จะวางไว้ตามทางแยกริมๆ หมู่บ้านก็มีบ้าง
      
เตรียมหินกรวดและทราย กับช่วยกันขึงโยงฝ้ายสายสิญจน์อ้อมโยงไปตามหลังคาเรือนต่างๆ ให้ครอบคลุมทุกหลังคาเรือน หรือโยงอ้อมรอบหมู่บ้านเพื่อเป็นสัญลักษณ์การร่วมพิธีกรรมที่จะขับไล่ผีร้าย และสิ่งชั่วร้ายต่างๆ ที่จะเข้ามาในหมู่บ้าน

ต้องโยนหว่านหินกรวด เข้าในบริเวณบ้านหรือหลังคาเรือนให้เกิดเสียงขับไล่ผีร้ายไปด้วย

เครื่องพิธีสำคัญคือ ขันห้า มีดอกไม้ ๕ คู่ และเทียนขี้ผึ้ง ๕ คู่ สำหรับหมอสูดใช้ทำพิธีเกี่ยวกับผีวิญญาณทั้งผีดีและผีร้าย

พิธีกรรมเลี้ยงบ้านหรือเลี้ยงกลางบ้านมีสูด (สวด) มุงคุล โดยหมอสูดในตอนเย็น-ค่ำ ๓ วัน ติดต่อกัน เมื่อยอมรับศาสนาพุทธแล้วจึงมีการนิมนต์พระสงฆ์สวดพุทธมนต์เย็น ๓ วัน

หลายแห่งจะปรับการสร้างตูบผามชั่วคราวให้ถาวรด้วยการยกพื้นต่างระดับคล้ายจะเลียนแบบหอแจกคือศาลาการเปรียญในวัดจนเรียกว่าศาลากลางบ้าน

รุ่งเช้าของวันที่ ๔ ชาวบ้านร่วมถวายจังหันที่บริเวณหลักบือบ้าน จากนั้นร่วมขบวนกันไปตบประทายรอบๆ หมู่บ้าน และตามสี่แยก และให้ไปจบสุดที่บริเวณศาลปู่ตา ซึ่งตอนนี้จะมี “ควายจ่า” หรือ “ควายฮ้า” เข้าร่วมเล่นถวายบูชาเจ้าปู่ตา ร่วมกับชาวบ้าน ตบประทายด้วย

จบพิธีบุญเบิกบ้าน ด้วยการถวายเพลพระ
 
เครื่องพิธีบุญเบิกบ้าน
แต่เดิมทำกระทง ๙ ห้อง ด้วยกาบกล้วย ในแต่ละห้องปั้นดินเหนียวรูปคนและสัตว์ มีวัวควายใส่ไว้โดยไม่กำหนดจำนวน ทางภาคกลางเรียกตุ๊กตาเสียกระบาน ต่อภายหลังจึงเปลี่ยนมาใช้กาบกล้วยปาดแทงเป็นรูปคนสัตว์แทนดินเหนียว
 
สิ่งอื่นๆ ที่จัดใส่ในกระทง ๙  ห้อง มี เหมี้ยว, หมากคำ, ยากอก, ข้าวขาว, ข้าวดำ, ข้าวแดง, พริก, เกลือ, ปลาแดก, หอม, กระเทียม, เป็นต้น

ในอดีตเคยเชิญหมอสูตรทำพิธีสูตรเฉพาะในวันแรกเท่านั้น ภายหลังจึงนิมนต์พระสวดมงคลทั้ง ๓ วัน

ปัจจุบันตั้งเสาไม้ไผ่สูง ๔ เสาทำเป็นหอยกพื้นเหนือหลักบือบ้าน วางเครื่อง “คุรุพัน” เป็นเสมือนหลักประธานไว้กลางพื้นหอ ตบประทายไว้ ๔ มุมของเครื่องคุรุพัน, แต่งเสาทั้ง ๔ ต้นด้วยต้นกล้วย, อ้อย, ธงซ้อ (ธงหน้างัว), ฉัตร (กระดาษ), มุมเสาหอทั้ง ๔ วางเครื่องบูชามีขันหมากเบ็ง, กระทง, เครื่องคาว, กระทงหมากคำและยากอก, ดอกไม้

พื้นรอบหลักบือบ้าน ขึงราวเทียนรอบ ๔ ด้าน ยึดกับเสาหอ, โคนเสาวางอ่างใส่ใบบัว และจอกแหน, มะพร้าวแก่ออกงอกหน่อ
 
ทำพิธีบุญเบิกบ้าน
ชาวบ้านทยอยกันไปร่วมพิธีพร้อมเครื่องพิธีมีขัน ๕ บูชาหลักบือบ้านและบูชาพระพุทธรูป

แต่ละครอบครัวเตรียมหินย่อย, หินกรวด, หินแลง, หรือทราย แล้วแต่จะหาได้ของใครของมันมาวางไว้รอบๆ พื้นหลักบือบ้าน

เมื่อเสร็จพิธีบุญแล้ว ต่างนำหินและทรายไปหว่านที่ประตูรั้วบ้านหรือหน้าบันไดเรือนของตน



หลักบือบ้าน ตั้งอยู่มุมสี่แยกในชุมชน บ้านหวายหลึม ต.พระเจ้า อ.เชียงขวัญ จ.ร้อยเอ็ด
(ขวา) ชาวบ้านร่วมพิธีเลี้ยงบุญกลางบ้าน หน้าศาลากลางบ้าน เวลาประมาณ ๕ โมงเย็น
เสร็จพิธีประมาณ ๑๖.๔๐ น. (๑ ชั่วโมง ๔๐ นาที)


(ซ้าย) หอหลักบือบ้าน (ด้านล่าง) ชาวบ้านแต่ละครอบครัวต่างเตรียมก้อนหิน,
กรวดหิน, กรวดหินแลง, ทรายมาวางร่วมพิธี รอบๆ หลักบือบ้านตลอดงาน ๓ วัน (ตอนเย็น)

ชั้นบนของหอที่สร้างเพิ่มเติมเฉพาะงานแต่ละปีวางเครื่อง “คุรุพัน” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์
ของงานบุญผะเหวด ตั้งเป็นประธานไว้กลางหอ, ทั้ง ๔ เสารอบหอแต่งด้วยต้นกล้วย
 อ้อย ฉัตร และธงช่อ (ธงหน้างัว) โคนเสาทั้ง ๔ วางขันหมากเบ็ง, กระทงเครื่องคาว,
กระทงยากอก+หมากคำ, ประทายทราย และวางดอกไม้บูชา

(ขวา) โคนเสาวางอ่าง (กระโถน) ใส่ใบบัว, จอก, แหน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์
ของพระอุปคุต (สถิตอยู่ในน้ำ) และมะพร้าวแก่งอก, บนพื้นวางก้อนหิน, กรวดหิน ฯลฯ
ที่ต่างเตรียมมาเข้าร่วมพิธี เมื่อเสร็จพิธีในตอนเช้าของวันที่ ๔ แล้ว ต่างจะนำกลับไปหว่าน
ที่บ้านของตน, เหนือพื้นใช้กาบกล้วยยึดรอบ ๔ เสา ทำเป็นราวเทียนจุดบูชา


(ซ้าย) หอพระอุปคุต ยกพื้นสูงตั้งอยู่เหนือหลักบือบ้าน
(ขวา) ขันห้าที่ชาวบ้านต่างเตรียมมาบูชามีดอกไม้และเงินเหรียญ




วัฒนธรรมร่วมอาเซียน
ตอน ขอฝนของชาวบ้าน เป็นพระราชพิธีพรุณศาสตร์
(ประเพณี ๑๒ เดือน)

ขอฝน ชาวบ้านทั่วไปทุกชุมชนร่วมกันทำพิธีตอนเดือน ๖ ต่อเนื่องเดือน ๗ เพื่อหาน้ำทำนาเริ่มฤดูการผลิตใหม่ เพราะแล้งน้ำมาตั้งแต่เดือน ๕

ประเพณีขอฝนของชาวบ้านมีหลายอย่าง ขึ้นอยู่กับท้องถิ่นจะเชื่อแล้วทำตามคติแบบไหน? อย่างไร? เช่น ภาคอีสาน จุดบั้งไฟ ฯลฯ แต่ภาคกลางมีปั้นเมฆ, แห่นางแมว ฯลฯ
 
ปั้นเมฆ
ปั้นเมฆ หมายถึง พิธีขอฝนโดยทำรูปจำลองหญิงชายเปลือยแสดงอวัยวะเพศ หรือสมสู่ร่วมเพศกัน แล้วจัดวางกลางแจ้งในที่สาธารณะให้คนเห็นทั่วไป แล้วเรียกรูปจำลองนั้นว่ารูปปั้นเมฆ

[รูปจำลองทำได้หลายอย่าง เช่น หล่อโลหะ, แกะสลักไม้, ปั้นดินเหนียวแล้วทาปูนขาวหรือไม่ทาก็ได้]



ปั้นเมฆ แสดงอวัยวะเพศหญิง (รูปที่ทำวงกลมล้อมรอบ) ราว ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว
(ภาพเขียนสีพบที่ถ้ำเขาปลาร้า เขตติดต่อ อ.ลานสัก-อ.หนองฉาง จ.อุทัยธานี)

ปลาช่อน อวัยวะเพศชาย
ปลาช่อน เป็นสัญลักษณ์ของอวัยวะเพศชาย มีน้ำอสุจิสีขาวเป็นน้ำเชื้อให้กำเนิดใหม่ แสดงความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ว่านยา ข้าวปลาอาหาร

คนดึกดำบรรพ์ราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว เซ่นวักเลี้ยงผีขอฝนด้วยปลาช่อน

นักโบราณคดีขุดพบซากปลาช่อนทั้งตัวในภาชนะดินเผา ฝังรวมในหลุมศพที่บ้านโนนวัด อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา



ซากปลาช่อนในหม้อไหดินเผา ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว
ขุดพบในหลุมศพดึกดำบรรพ์ที่บ้านโนนวัด ต.พลสงคราม อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา

ความเชื่อเกี่ยวกับปลาช่อน ยังมีสืบเนื่องจนปัจจุบันในพิธีปั้นเมฆขอฝน ต้องนิมนต์พระสวดคาถาปลาช่อน มีบทร้องของชาวบ้านว่า
     ๏ นิมนต์พระมา    สวดคาถาปลาช่อน
     ปั้นเมฆสองก้อน    มีละครสามวัน
     จับคนชนกัน       ฝนก็เทลงมา—-
[มีคำอธิบายอย่างพิสดารเรื่องคาถาปลาช่อน ในพระราชพิธีพรุณศาสตร์ เดือน ๙ หนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน พระราชนิพนธ์ ร.๕]



พระสงฆ์สวดคาถาปลาช่อน ในพิธีปั้นเมฆขอฝน
[แก้บน-ชาวบ้าน ต. แม่พูล และ ต.หัวดง อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ นำหัวหมู
พร้อมเครื่องบายศรี เซ่นไหว้หุ่นดิน “พ่อเมฆ” และ “แม่หมาก” หลังทำพิธีขอฝน
ตามพิธีโบราณ จากนั้นฝนก็ตกติดต่อกันเป็นเวลา ๓ วัน เมื่อวันที่ ๖ พ.ค.
(ภาพและคำบรรยายจาก นสพ.ข่าวสด ฉบับวันอาทิตย์ที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๙ หน้า ๑๑)]

พรุณศาสตร์
พรุณศาสตร์ เป็นพระราชพิธีขอฝน (ที่เชื่อว่า) ตามตำราพราหมณ์ มีในหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน แต่จัดไว้เดือน ๙

ร.๕ ทรงอธิบายว่าเป็นพิธีจร หมายความว่า “ปีใดฝนบริบูรณ์ ก็ยกเว้นไม่ทำ” ต่อปีที่ฝนแล้ง จึงทำตามตำรา

หมายความว่าจนเดือน ๙ แล้ว ฝนไม่ตก และไม่มีน้ำให้ชาวบ้านทำนาทำไร่ ก็ต้องทำพระราชพิธีพรุณศาสตร์ เหตุนี้จึงลงพระราชพิธีนี้ในเดือน ๙
 
พระราชพิธีขอฝน มีปั้นเมฆ
ขอฝนโดยปั้นเมฆสัญลักษณ์สมสู่กัน น่าจะมีในราชสำนักยุคอยุธยา แต่ไม่พบหลักฐานตรงๆ

ครั้นล่วงถึงยุครัตนโกสินทร์ มีร่องรอยปั้นเมฆในหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน พระราชนิพนธ์ ร.๕ ทรงเล่าว่าปั้นเมฆในพระราชพิธีพรุณศาสตร์ (เดือน ๙) เป็นพิธีพราหมณ์ “อยู่ข้างจะเร่อร่าหยาบคาย” แต่ถูกทำให้ศักดิ์สิทธิ์อย่างยิ่ง จะคัดมา (โดยจัดย่อหน้าใหม่) ดังนี้

“การตบแต่งโรงพระราชพิธีและเทวรูป ก็คล้ายกันกับพิธีอื่นๆ คือปลูกโรงพิธี——-”
“ขุดสระกว้าง ๓ ศอก ยาว ๓ ศอก ลึกศอกหนึ่ง มีรูปเทวดาและนาคและปลาเหมือนสระที่สนามหลวง ยกเสียแต่รูปพระสุภูต

ตรงหน้าสระออกไปปั้นเป็นรูปเมฆสองรูป คือปั้นเป็นรูปบุรุษสตรีเปลือยกายแล้วทาปูนขาว

การที่จะปั้นนั้นต้องตั้งกำนลปั้นพร้อมกันกับที่พิธีสงฆ์ มีบายศรีปากชามแห่งละสำรับ เทียนหนักเล่มละบาทแห่งละเล่ม เงินติดเทียนเป็นกำนลแห่งละบาท เบี้ย ๓๓๐๓ เบี้ย ข้าวสารสี่สัด ผ้าขาวของหลวงจ่ายให้ช่างปั้นช่างเขียนนุ่งห่ม ช่างเหล่านั้นต้องรักษาศีลในวันที่ปั้น”

ทั้งหมดเป็นนาฏกรรมที่รัฐพัฒนาขึ้นจากประเพณีขอฝนของชาวบ้าน



ที่มา (เรื่อง-ภาพ) : "วัฒนธรรมร่วมอาเซียน" โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์
3070  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / Re: วัฒนธรรมร่วมอาเซียน เมื่อ: 04 กรกฎาคม 2559 16:39:45

วัฒนธรรมร่วมอาเซียน
ตอน แห่นางแมว แล้วปั้นเมฆ ขอฝน เดือน ๖
(ประเพณี ๑๒ เดือน


ขอฝน เดือน ๖ ไม่มีกำหนดรูปแบบตายตัวว่าต้องอย่างนี้ อย่างนั้น อย่างโน้น

จะทำยังไง? เมื่อไร? แค่ไหน? ฯลฯ แท้จริงแล้วขึ้นอยู่กับชุมชนท้องถิ่นนั้นๆ จะตกลงร่วมกัน เช่น ขอแล้วขอเล่าฝนก็ไม่ตก ท้ายสุดต้องจุดบั้งไฟ ง่ายสุดคือแห่นางแมว กับปั้นเมฆ



ขบวนแห่นางแมวที่บ้านหัวสำโรง กิ่ง อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา
(รูปจากรายการพื้นบ้านสัญจร พิมพ์ในหนังสือเพลงนอกศตวรรษ
ของ เอนก นาวิกมูล สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งที่ ๔ พ.ศ.๒๕๕๐)


“ตุ๊กตาโดเรมอนก็เป็นแมวเหมือนกัน” ที่ชาวบ้านต้องใช้ตุ๊กตาโดเรมอนแทนแมวจริงๆ
เพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายทารุณกรรมสัตว์ ที่เคยเกิดปัญหาในหลายพื้นที่ นับเป็นพลังสร้างสรรค์
ด้วยอารมณ์ขันยอดเยี่ยม ที่หลีกเลี่ยงกระทำทารุณแมว ขณะเดียวกันก็ไม่ละทิ้งประเพณีแห่นางแมว

แห่โดเรมอน–ชาวบ้าน ๕ หมู่บ้าน ต.วังหลวง อ.หนองม่วงไข่ จ.แพร่ รวมตัวกันแห่นางแมวขอฝน
หลังพื้นที่การเกษตรกว่า ๔,๗๕๐ ไร่ ประสบปัญหาภัยแล้งอย่างหนัก โดยใช้ตุ๊กตาแมวโดเรมอนแทน
 เพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายทารุณกรรมสัตว์ เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน
(ภาพและคำอธิบายภาพจากมติชน ฉบับวันจันทร์ที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๘ หน้า ๑๑)

คาถาปลาช่อน
 แห่นางแมว ต้องมีคาถาปลาช่อนของชาวบ้านภาคกลางมีบทร้องขอฝนด้วย แต่มีหลายสำนวน จะยกตัวอย่าง ๒ สำนวน ดังนี้

“นิมนต์พระมา สวดคาถาปลาช่อน ปั้นเมฆเสียก่อน —–”

“นิมนต์ขรัวชั่ว สวดคาถาปลาช่อน ขี้เมฆสองก้อน มีละครสามวัน จับคนชนกัน ฝนเทลงมา ฝนเทลงมา…”

ปลาช่อน เป็นสัญลักษณ์ของอวัยวะเพศชาย ที่มักรู้จักทั่วไปในนามปลัดขิก

ถ้าอวัยวะเพศหญิง บางทีเป็นปลาสลิด, ปลากระดี่ มีรูปร่างแบนๆ แต่มักจะใช้หอย เพราะพบเปลือกหอยบ่อยๆ ในแหล่งโบราณคดี ๒,๐๐๐-๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว




ขอฝน – ชาว อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา แต่งกายชุดสีขาวร่วมกันประกอบพิธี
สวดพุทธมนต์ขอฝนพระพุทธไสยาสน์ หน้าองค์พระพุทธไสยาสน์
วัดธรรมจักรเสมาราม อ.สูงเนิน (พระนอน) พร้อมโยงสายสิญจน์กับอ่างปลาช่อน ๙ ตัว
“สวดคาถาปลาช่อน” ตามความเชื่อท้องถิ่นในการขอฝน เพื่อให้มีน้ำเพียงพอ
ต่อการต่อปลูกข้าวนาปี เมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน (ภาพและคำอธิบายภาพจากมติชน
ฉบับวันเสาร์ที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๘ หน้า ๑๑)

ปั้นเมฆขอฝน
ชาวบ้านปั้นเมฆขอฝนด้วยดินเหนียว ขนาดเท่าคนจริง ชาย ๑ คน หญิง ๑ คน ร่วมเพศกัน โดยมีผู้ชายอีก ๑ คนนั่งดู บริเวณทางสามแพร่ง ปากทางเข้าบ้านนาตะกรุด ต.ศรีเทพ อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์

ชาวบ้านบอกว่าทำเป็นประเพณีสืบทอดมากว่า ๑๐๐ ปีแล้ว

หุ่นผู้ชายชื่อนายเมฆ และหุ่นผู้หญิงชื่อนางฝน และหุ่นผู้ชายที่นั่งดู หรือรอต่อคิว ชื่อนายหมอก

ภาพอุจาดประจานต่อสายตาผู้คนที่ผ่านไปมา เชื่อว่าทำให้เกิดอาเพศ เทวดาทนดูไม่ได้ จึงดลบันดาลให้ฝนตกลงมา ชะล้างหุ่นดินเหนียวให้ละลายหายไป

(ข่าวสด ฉบับวันพุธที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๘ หน้า ๑๔)

“ปั้นเมฆ” กับ “เมฆสองก้อน” ในประเพณีดั้งเดิมของชาวบ้าน คือปั้นหอยกับหำขนาดใหญ่ แล้วตั้งไว้ที่โล่งแจ้งให้คนเห็นทั้งชุมชน

หรือมิฉะนั้นก็ปั้นหญิงกับชายเปลือยกายปี้กัน แล้ววางไว้กลางทุ่งนา หรือลานกลางบ้านก็ได้

ปั้นเมฆ เป็นคำเก่าแก่ดั้งเดิม หมายถึงพิธีขอฝน โดยทำรูปอวัยวะเพศหญิงกับชายไว้กลางแจ้งขนาดใหญ่และอุจาดที่สุด บางทีปั้นรูปหญิงชายร่วมเพศ เพราะเชื่อว่าทำให้มีน้ำฝนพุ่งหล่นจากเมฆบนฟ้า

เคยพบรูปหล่อสำริดหญิงชายเฮ็ดกันในวัฒนธรรมดองซอน (อยู่ภาคเหนือของเวียดนาม) ราว ๒,๕๐๐  ปีมาแล้ว




พิธีโบราณ–ชาวบ้านนาตะกรุด อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์
ปั้นดินเหนียวเป็นรูปชาย-หญิงเสพสังวาส ตั้งไว้กลางสามแยกทางเข้าหมู่บ้าน
ระบุเป็นพิธีกรรมขอฝนแบบโบราณกว่า ๑๐๐ ปี หลังจากแห่นางแมวแล้ว แต่ฝนไม่ตก
(ภาพและคำบรรยายภาพจากข่าวสด ฉบับวันพุธที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๘ หน้า ๑)


พิธีร่วมเพศขอฝน เพื่อความอยู่รอดของคนทั้งเผ่าพันธุ์ ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว
(ซ้าย เส้นทึบ) ภาพเขียนสีที่ผาลาย ของชาวจ้วง มณฑลกวางสี จีน
(ขวา เส้นโปร่ง) ประติมากรรมสัมฤทธิ์ ประดับภาชนะสัมฤทธิ์ พบที่เวียดนาม

ร่วมเพศ เป็นพิธีกรรม
นอกเหนือจากเพื่อสืบพันธุ์หรือดำรงเผ่าพันธุ์ ร่วมเพศยุคดึกดำบรรพ์เป็นพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์เพื่อขอฝนด้วย

เพื่อขอความงอกงามอุดมสมบูรณ์ให้พืชพันธุ์ธัญญาหาร และเพื่อความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์ มีหลักฐานโบราณคดีจำนวนไม่น้อย แสดงพิธีร่วมเพศ

คำขับบอกเล่าเรื่องราวบรรพชนในพิธีเลี้ยงผี มีพรรณนาการร่วมเพศเพื่อขอฝน เช่น คำเล่าความเมืองของผู้ไทในเวียดนาม เป็นต้น

ตำนานเมืองพระนครหลวง (นครธม) ในกัมพูชา เชื่อว่าทุกคืนนางนาคแปลงร่างเป็นสาว เพื่อร่วมเพศสมพาสกับพระราชาบนปราสาท ถ้าคืนใดพระราชาไม่ร่วมเพศสมพาสกับนางนาคคราวนั้นพระราชาก็จะถึงกาลวิบัติ และบ้านเมืองจะล่มจม

กฎมณเฑียรบาลกรุงศรีอยุธยา ระบุว่าพระราชพิธีเบาะพกที่พระเจ้าแผ่นดินต้องเสด็จไปบรรทมกับแม่นางเมือง (เรียกแม่หยัวพระพี่) ในพระตำหนักศักดิ์สิทธิ์

[หมายถึงพระเจ้าแผ่นดินต้องทรงร่วมเพศสมพาสกับนางนาค ซึ่งเป็นแบบแผนดั้งเดิมที่สืบจากกัมพูชา]






วัฒนธรรมร่วมอาเซียน
ตอน บุญกลางบ้าน เลี้ยงผีบ้าน
(ประเพณี ๑๒ เดือน

บุญกลางบ้าน ปัจจุบันหมายถึงทำบุญเลี้ยงพระกลางหมู่บ้านเพื่อสะเดาะเคราะห์ เดือน ๖ ต่อเนื่องเดือน ๗ (ราวพฤษภาคม)

กำหนดเวลาไม่ตายตัว โดยขึ้นกับหมู่บ้านจะนัดหมายกัน เพราะเป็นงานเฉพาะชุมชนหมู่บ้าน

เช้า นิมนต์พระสงฆ์สวดมนต์ฉันเช้า เสร็จแล้วเอากระทงเครื่องเซ่นไปพลีไว้ที่ใดที่หนึ่งของหมู่บ้าน เช่น ทางสามแพร่ง ฯลฯ

 
เลี้ยงผีบ้าน
บุญกลางบ้าน มีต้นเค้าหรือรากเหง้าเก่าแก่จากพิธีเลี้ยงผีบ้านบริเวณลานกลางบ้าน ซึ่งเป็นศูนย์กลางของชุมชนยุคแรกเริ่มมากกว่า ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว (ก่อนรับศาสนาจากอินเดีย) เพื่อป้องกันโรคภัยไข้เจ็บจากผีร้ายและการกระทำต่างๆ จากผีเลว

ผีบ้าน หมายถึงผีบรรพชนเจ้าที่ คอยปกป้องคุ้มครองชุมชนหมู่บ้าน

บ้าน ยุคดั้งเดิมหมายถึงหมู่บ้าน, ชุมชน ตรงกับ village, community

เรือน หมายถึงที่อยู่อาศัยเป็นหลังๆ ตรงกับ house, home แต่ละหลังมีผีเรือน คือ ผีบรรพชนของตระกูล หรือครอบครัวนั้นๆ

ลานกลางบ้าน
ลานกลางบ้านยุคดึกดำบรรพ์ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาผี เป็นที่ฝังศพของตระกูลหมอมด, หมอผี, หัวหน้าเผ่า

ที่ฝังศพ
ที่ฝังศพของหัวหน้าเผ่า ซึ่งเป็นหมอมด, หมอผี อยู่ลานกลางบ้าน บางทีอยู่ใต้ถุนเรือนของใครของมัน

ตัวอย่างสำคัญเป็นพยาน ได้แก่ บ้านเชียง (จ. อุดรธานี) นักโบราณคดีขุดพบโครงกระดูกมนุษย์ มีเครื่องมือเครื่องใช้ และเครื่องประดับจำนวนมากฝังรวมด้วย ล้วนเป็นของมีค่าในยุคนั้น และทำด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง เช่น สำริด, เหล็ก อายุราว ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว

โครงกระดูกเหล่านี้เป็นของตระกูลหมอมด, หมอผี, หัวหน้าเผ่า เพราะคนทั่วไปไม่มีสมบัติมากอย่างนั้น และไม่มีพลังขุดหลุมฝังศพ เพราะไม่มีบริวาร ต้องทิ้งศพไว้ในป่าดงให้แร้งกากิน

ที่ฝังศพยุคดึกดำบรรพ์ไม่เรียกป่าช้าสถานที่น่ารังเกียจเหมือนปัจจุบัน เพราะแนวคิดเกี่ยวกับคนตายต่างจากปัจจุบัน


ตุ๊กตาเสียกระบาน ไม่ใช่ตุ๊กตาคอหัก
ตุ๊กตาเสียกระบาน เป็นความเชื่อในศาสนาผีเมื่อหลายพันปีมาแล้ว ก่อนรับศาสนาพราหมณ์-พุทธจากอินเดีย หรือก่อน พ.ศ.๑๐๐๐

เก่าสุดเท่าที่พบขณะนี้ทำด้วยดินเผา มีขนาดเล็กๆ ทั้งรูปคน, สัตว์ ราว ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว และอายุหลังลงมาพบจากการขุดค้นที่เมืองอู่ทอง (อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี)

[มีในบทความเรื่องประติมากรรมพื้นบ้านของอู่ทอง ของ เขียน ยิ้มศิริ (อดีตคณบดีคณะจิตรกรรมประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร) พิมพ์ในหนังสือโบราณวิทยาเรื่องเมืองอู่ทอง (กรมศิลปากร รวบรวมจัดพิมพ์ เนื่องในงานเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี วันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๙ หน้า ๖๑-๗๐)]

ตุ๊กตาเสียกระบาน หมายถึงตุ๊กตาที่ใส่ลงกะบานผี พร้อมเครื่องเซ่นสังเวยในพิธีสะเดาะเคราะห์ ไปทิ้งตรงทางแยก, ตามโคนต้นไม้, ในป่าช้า ฯลฯ หรือลอยน้ำ (พจนานุกรม ฉบับมติชน พ.ศ.๒๕๔๗ หน้า ๓๗๙ และ ๘๘๘)

ตุ๊กตา คือรูปปั้นขนาดเล็กทำจากดินเหนียว เป็นรูปคน, สัตว์, สิ่งของ ฯลฯ ที่เจ้าภาพหรือเจ้าบ้านต้องการสะเดาะเคราะห์ให้พ้นโรคภัยไข้เจ็บจากการกระทำของผีร้าย

เสีย แปลว่า ทิ้ง

กระบาน หมายถึง กระบะ หรือภาชนะเป็นสี่เหลี่ยมใส่เครื่องเซ่นสังเวย เรียก กะบานผี (บางทีเขียนปะปนเป็น กบาล หรือ กระบาล ก็มี)

ทุกวันนี้ยังทำเสียกะบาน (แต่บางแห่งเรียกกระทง) ใส่เครื่องเซ่นสังเวยโดยไม่มีตุ๊กตาวางไว้ตามที่ต่างๆ ทั้งในกัมพูชา, ลาว, และไทย

แต่ก่อนมักเขียนว่า ตุ๊กตาเสียกระบาล แล้วเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าหมายถึงตุ๊กตาคอหัก หรือพระดินเผาขนาดเล็กคอหักเหมือนตุ๊กตาที่ใช้ทำบุญใส่บาตรว่าตุ๊กตาเสียกระบาล โดยเชื่อว่าต้องทำให้เศียรพระหักหรือคอหักเสียก่อน เท่ากับเสียเคราะห์หรือฟาดเคราะห์

ในความจริงเหตุที่หักเพราะตรงลำคอของรูปปั้นหรือหินแกะสลัก เป็นส่วนเปราะบางที่สุด แม้ขนาดใหญ่แกะด้วยหินก็ชำรุดตรงคอทั้งนั้น มีหลักฐานมากมายตามเมืองโบราณ โดยเฉพาะที่เมืองพะเยา (จ.พะเยา) มีพระพุทธรูปหินทรายเศียรหักเกลื่อนกลาด

กระบาล แปลว่า หัว, กะโหลกของหัว (แผลงจากคำเขมรว่ากฺบาล) ไม่เกี่ยวกับเรื่องตุ๊กตาเสียกระบานในการสะเดาะเคราะห์ แต่เสียงพ้องกับคำว่ากระบานที่ถูกลืมความหมายไปแล้ว เลยเอามาปนกัน




ตุ๊กตาเสียกระบาน ยุคดึกดำบรรพ์
(บน) ควายดินเผา ขุดพบในหลุมศพ ราว ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว บ้านนาดี อ.หนองหาน จ.อุดรธานี
(ล่างซ้าย) ควายดินเผา ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว ขุดพบที่บ้านใหม่ชัยมงคล ใกล้เมืองจันเสน ต.จันเสน อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์
(ล่างขวา) วัวดินเผา อายุราว ๑,๐๐๐ ปีมาแล้ว พบที่บ้านโนนหมากลา จ.ลพบุรี



บุญกลางบ้าน ต.เนินพระธาตุ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี เมื่อเช้าตรู่วันอาทิตย์ที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๙
มีที่โรงเรียนวัดหน้าพระธาตุ อยู่ในเขตเมืองพระรถ (ยุคทวารวดี ราวหลัง พ.ศ.๑๐๐๐)
เพราะแต่เดิมเป็นบริเวณเนินสูงกลางหมู่บ้าน (ก่อนสร้างโรงเรียน)  ของสำคัญบุญกลางบ้าน
ที่คนไปร่วมต้องถือไปด้วย คือ กระทงกาบกล้วยรูปสี่เหลี่ยม ใบตองรองพื้น แต่ทำรูปสามเหลี่ยม
ก็ได้ตามถนัด แล้วมีห้องกั้นเล็กๆ ใส่ของ สำหรับใส่เครื่องสะเดาะเคราะห์ให้พ้นจากโรคภัยไข้เจ็บ

ห้องต่างๆ ใส่เครื่องเซ่น เช่น อาหารคาวหวาน, ข้าวขาว, ข้าวดำ, ข้าวแดง ฯลฯ
ที่สำคัญคือปั้นดินเหนียวรูปคนและสัตว์ เช่น วัว, ควาย ที่มีในครอบครัวเป็นตัวแทน
ของครอบครัวนั้นๆ ทุกวันนี้เมื่อไม่เลี้ยงวัวควาย แต่เลี้ยงสัตว์อื่น ก็ปั้นสัตว์นั้นแทน
เช่น แมว, หมา, หมู, กระต่าย ฯลฯ ปัจจุบันหาดินเหนียวไม่ได้ หรือไม่อยากเลอะมือปั้น
ก็ใช้ดินน้ำมัน หรือซื้อตุ๊กตาสำเร็จรูป

ที่มา (เรื่อง-ภาพ) : "วัฒนธรรมร่วมอาเซียน" โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์
3071  สุขใจในธรรม / บทสวด - คัมภีร์ คาถา - วิชา อาคม / Re: พระปริตรธรรม ๑๒ ตำนาน เมื่อ: 04 กรกฎาคม 2559 14:18:55


ภาพประกอบตำนานชัยปริตร
จากหนังสือที่ระลึกงานสวดพระปริตรมหากุศลเฉลิมพระเกียรติฯ
มูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ จัดพิมพ์

ตำนานชัยปริตร
ชัยปริตร คือปริตรที่กล่าวถึงชัยชนะของพระพุทธเจ้า แล้วอ้างสัจวาจานั้นมาพิทักษ์คุ้มครองให้มีความสวัสดี คาถา ๑-๓ แสดงชัยชนะของพระพุทธเจ้า เป็นคาถาที่โบราณาจารย์ประพันธ์ขึ้นภายหลัง คาถา ๔-๖ เป็นพระพุทธพจน์ที่นำมาจากอังคุตตรนิกาย ปุพพัณหสูตร

อนึ่ง บทสวดมนต์ของไทยบางฉบับมีคาถาเพิ่มอีก ๒ บท ว่า โส อัตถะลัทโธ...สา อัตถะสัทธา...ผู้แปลเห็นว่าไม่มีในพระสูตรนั้น แม้ในฉบับพม่าก็ไม่พบคาถาดังกล่าว จึงแปลเฉพาะคาถาที่มีในพระสูตร

ชัยปริตร
๑.มะหาการุณิโก นาโถ      หิตายะ สัพพะปาณินัง
   ปูเรตฺวา ปาระมี สัพพา      ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง
   เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ   โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา.

พระโลกนาถผู้ทรงพระมหากรุณาธิคุณ ทรงบำเพ็ญบารมีครบถ้วนเพื่อประโยชน์แก่สรรพสัตว์ ทรงบรรลุพระสัมโพธิฌาณอันยอดเยี่ยม ด้วยสัจวาจานี้ขอข้าพเจ้าจงมีความสวัสดีทุกเมื่อเทอญ

๒.ชะยันโต โพธิยา มูเล      สักฺยานัง นันทิวัฑฒะโน
   เอวะเมวะ ชะโย เหตุ     ชะยามิ ชะยะมังคะเล.

ขอข้าพเจ้าจงชนะเหมือนพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นที่เคารพรักของเจ้าศากยะ ทรงชนะ ณ ควงไม้โพธิ์ ขอข้าพเจ้าจงชนะได้รับชัยมงคลเถิด

๓.อะปะราชิตะปัลลังเก     สีเส ปุถุวิปุกขะเล
   อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง     อัคคัปปัตโต ปะโมทะติ.

ขอให้ข้าพเจ้าบรรลุถึงความเป็นเลิศ เบิกบานใจ เหมือนพระพุทธเจ้าบรรลุธรรมอันประเสริฐ เบิกบานพระทัยเหนือบัลลังก์แห่งชัยชนะ ณ พ่างพื้นปฐพีอันประเสริฐเลิศแผ่นดิน เป็นที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์

๔.สุนักขัตตัง สุมังคะลัง     สุปปะภาตัง สุหุฏฐิตัง
   สุขะโณ สุมุหุตโต จะ     สุยิฏฐัง พฺรหฺมะจาริสุ.

[วันที่ทำความดีทางกาย วาจา ใจ] เป็นฤกษ์ดี มงคลดี ยามรุ่งดี ยามตื่นดี ขณะดี ครู่ดี ทานที่ถวายแก่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ [ในวันนั้น] เป็นทานดี

๕.ปะทักขิณัง กายะกัมมัง     วาจากัมมัง ปะทักขิณัง
   ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง     ปะณิธี เต ปะทักขิณา
   ประทักขิณานิ กัตฺวานะ     ละภันตัตเถ ปะทักขิเณ.

กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม และความตั้งใจ [ที่ทำในวันนั้น] เป็นสิ่งที่ดี เมื่อทำความดีแล้วย่อมได้รับผลดี

๖.เต อัตถะลัทธา สุขิตา     วิรูฬหา พุทธะสาสะเน
   อะโรคา สุขิตา โหถะ    สะหะ สัพเพหิ ญาติภิ.

ขอให้คนทั้งหลายพร้อมทั้งญาติมิตรทั้งปวงได้รับประโยชน์ มีความสุข รุ่งเรืองในพระศาสนาของพระพุทธเจ้า เป็นผู้ปราศจากโรค มีความสุขเทอญ




ภาพประกอบตำนานรัตนปริตร
จากหนังสือที่ระลึกงานสวดพระปริตรมหากุศลเฉลิมพระเกียรติฯ
มูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ จัดพิมพ์

ตำนานรัตนปริตร

รัตนปริตร คือปริตรที่กล่าวถึงคุณของพระรัตนตรัย แล้วอ้างคุณนั้นมาพิทักษ์คุ้มครองให้มีความสวัสดี มีประวัติเล่าว่า ในสมัยหนึ่งเมืองเวสาลีเกิดฝนแล้ง ขาดแคลนอาหาร มีคนอดอยากล้มตายมากมาย ซากศพถูกโยนทิ้งนอกเมือง พวกอมนุษย์ได้กลิ่นศพก็พากันเข้ามาในเมือง ทำอันตรายคนให้ตายมากขึ้น และยังเกิดอหิวาตกโรคระบาดอีกด้วย ทำให้เมืองเวสาลีประสบภัย ๓ อย่าง ได้แก่ ทุพภิกขภัย คือข้าวยากหมากแพง อมนุสสภัย คืออมนุษย์ และโรคภัย คือโรคระบาด

ในขณะนั้นชาวเมืองดำริว่า เมืองนี้ไม่เคยเกิดภัยพิบัติเช่นนี้ถึง ๗ รัชสมัย จึงกราบทูลเจ้าผู้ครองนครว่า ภัยนี้อาจเกิดจากการที่พระองค์มิได้ทรงธรรม เจ้าผู้ครองนครจึงรับสั่งให้ชาวเมืองประชุมกันพิจารณาหาความผิดของพระองค์ แต่ชาวเมืองไม่อาจหาพบได้  ทั้งหมดจึงปรึกษากันว่า ควรนิมนต์ศาสดาองค์หนึ่งมาดับทุกข์ภัยนี้ บางคนกล่าวว่าควรนิมนต์เดียรถีย์ บางคนกล่าวว่าควรนิมนต์พระพุทธเจ้า ในที่สุดทุกฝ่ายมีความเห็นตรงกันว่าควรนิมนต์พระพุทธเจ้าให้เสด็จมาโปรด  ดังนั้นจึงได้ส่งเจ้าลิจฉวีสองพระองค์มาทูลนิมนต์ เพื่อระงับภัยพิบัตินั้น

เมื่อพระพุทธองค์เสด็จถึงเมืองเวสาลี พระอินทร์พร้อมด้วยเทพบริวารเป็นอันมากได้มาเฝ้าในสถานที่นั้น ทำให้พวกอมนุษย์ต้องหลบหนีออกจากเมือง หลังจากนั้นพระพุทธองค์ได้ตรัสสอนพระปริตรนี้แก่พระอานนท์ และรับสั่งให้ท่านสาธยายรอบเมืองที่มีกำแพงสามชั้นตลอดสามยาม พวกอมนุษย์ที่ยังเหลืออยู่ได้หลบหนีไปหมด เพราะกลัวอานุภาพพระปริตร  ครั้นอมนุษย์หนีไปและโรคระบาดสงบลงแล้ว ชาวเมืองได้มาประชุมกันที่ศาลากลางเมือง และได้นิมนต์พระพุทธองค์เสด็จมาแสดงธรรม ในเวลานั้นพระพุทธองค์ได้ตรัสรัตนปริตรนี้แก่พุทธบริษัทที่มาประชุมกันในที่นั้น

อนึ่ง คาถา ๓ บทสุดท้าย คือคาถาที่ ๑๖-๑๘ เป็นคาถาที่พระอินทร์ตรัสขึ้นเอง โดยดำริว่าพระพุทธเจ้าทรงกระทำให้ชาวเมืองประสบสุข โดยอ้างสัจวาจาที่กล่าวถึงคุณของพระรัตนตรัย เราก็ควรจะกระทำให้ชาวเมืองประสบสุข โดยอ้างคุณของพระรัตนตรัยเช่นเดียวกัน ท้าวเธอจึงตรัสคาถาเหล่านั้น

รัตนปริตร

๑.ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
   ภุมมานิ วา ยานิ วะ อันตะลิกเข
   สัพเพวะ ภูตา สุมะนา ภะวันตุ
   อะโถปิ สักกัจจะ สุณันตุ ภาสิตัง.

ขอเทวดาบนพื้นดินและในอากาศทั้งหลาย ผู้มาประชุมกันอยู่ในที่นี้ทั้งหมด จงเป็นผู้เบิกบานใจ รับฟังถ้อยคำด้วยความเคารพเถิด

๒.ตัสฺมา หิ ภูตา นิสาเมถะ สัพเพ
   เมตตัง กะโรถะ มานุสิยา ปะชายะ
   ทิวา จะ รัตโต จะ หะรินติ เย พะลิง
   ตัสฺมา หิ เน รักขะถะ อัปปะมัตตา.

ดังนั้น ขอเทวดาทั้งปวงจงฟังข้าพเจ้า จงมีเมตตาจิตในหมู่มนุษย์ เพราะเขาเซ่นพลีกรรมทั้งกลางวันและกลางคืน ท่านจงอย่าประมาท คุ้มครองพวกเขาด้วยเถิด.

๓.ยังกิญจิ วิตตัง อิธะ วา หุรัง วา
   สัคเคสุ วา ยัง ระตะนัง ปะณีตัง
   นะ โน สะมัง อัตถิ ตะถาคะเตนะ
   เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.

ทรัพย์ในโลกนี้หรือโลกอื่น หรือรัตนะอันประณีตในสวรรค์ มีสิ่งใดที่จะเสมอกับพระตถาคตนั้นไม่มีเลย ข้อนี้เป็นพระรัตนคุณอันประเสริฐของพระพุทธเจ้า ด้วยสัจวาจานี้ ขอจงมีความสวัสดี

๔.ขะยัง วิราคัง อะมะตัง ปะณีตัง
   ยะทัชฌะคา สักฺยะมุนี สะมาหิโต
   นะ เตนะ ธัมเมนะ สะมัตถิ กิญจิ
   อิทิมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง
   เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.

พระศากยมุนีผู้มีพระทัยตั้งมั่น ทรงบรรลุธรรมอันสิ้นกิเลส ปราศจากราคะ ไม่ตายและประณีต มีสิ่งใดที่จะเสมอด้วยพระธรรมนั้นไม่มีเลย ข้อนี้เป็นพระรัตนคุณอันประเสริฐของพระธรรม ด้วยสัจวาจานี้ขอจงมีความสวัสดี

๕.ยัง พุทธะเสฏโฐ ปะริวัณณะยี สุจิง
   สะมาธิมานันตะริกัญญะมาหุ
   สะมาธินา เตนะ สะโม นะ วิชชะติ
   อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง
   เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.

พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ทรงสรรเสริญสมาธิอันผ่องแผ้ว นักปราชญ์ทั้งหลายสรรเสริญสมาธิอันประเสริฐให้ผลทันที มีสิ่งใดที่จะเสมอด้วยสมาธินั้นไม่มีเลย ข้อนี้เป็นพระรัตนคุณประเสริฐของพระธรรม ด้วยสัจวาจานี้ขอจงมีความสวัสดี

๖.เย ปุคคะลา อัฏฐะ สะตัง ปะสัตถา
   จัตตาริ เอตานิ ยุคานิ โหนติ
   เต ทักขิเณยยา สุคะตัสสะ สาวะกา
   เอเตสุ ทินนานิ มะหัปผะลานิ
   อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
   เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.

พระสาวกของพระสุคตเจ้า ผู้เป็นพระอริยบุคคล ๘ จำพวก อันแบ่งเป็น ๔ คู่ ที่สัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญ ท่านเหล่านั้นเป็นผู้ควรแก่ทักษิณาทาน ทานที่ถวายแก่พระอริยบุคคลเหล่านั้นมีผลมาก ข้อนี้เป็นพระรัตนคุณอันประเสริฐของพระสงฆ์ ด้วยสัจวาจานี้ขอจงมีความสวัสดี

๗.เย สุปปะยุตตา มะนะสา ทัฬเหนะ
   นิกกามิโน โคตะมะสาสะนัมหิ
   เต ปัตติปัตตา อะมะตัง วิคัยหะ
   สัทธา มุธา นิพพุติง ภุญชะมานา
   อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
   เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.

พระอรหันต์ผู้บำเพ็ญเพียรด้วยจิตอันเข้มแข็งในพระศาสนาของพระโคดม เป็นผู้ปราศจากกิเลส ผู้เข้าถึงอมตธรรม ผู้บรรลุพระนิพพาน และผู้เสวยสันติสุขเอง ข้อนี้เป็นพระรัตนคุณอันประเสริฐของพระสงฆ์ ด้วยสัจวาจานี้ขอจงมีความสวัสดี

๘.ยะถินทะขีโล ปะฐะวิสสิโต สิยา
   จะตุพภิ วาเตหิ อะสัมปะกัมปิโย
   ตะถูปะมัง สัปปุริสัง วะทามิ
   โย อะริยะสัจจานิ อะเวจจะ ปัสสะติ
   อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
   เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.

พระตถาคตตรัสเปรียบสัตบุรุษผู้เห็นแจ้งเข้าถึงพระอริยสัจสี่ ว่าเหมือนกับเสาใหญ่ปักลงดินอันไม่ไหวติงเพราะแรงลมทั้งสี่ด้าน ข้อนี้เป็นพระรัตนคุณอันประเสริฐของพระสงฆ์ ด้วยสัจวาจานี้ขอจงมีความสวัสดี

๙.เย อะริยะสัจจานิ วิภาวะยันติ
   คัมภีระปัญเญนะ สุเทสิตานิ
   กิญจาปิ เต โหนติ ภุสัง ปะมัตตา
   นะ เต ภะวัง อัฏฐะมะมาทิยันติ
   อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
   เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.

บุคคลเหล่าใดเจริญอริยสัจสี่ ที่พระพุทธเจ้าผู้ทรงพระปัญญาอันลึกซึ้งตรัสไว้ดีแล้ว แม้ว่าท่านเหล่านั้นยังเป็นผู้หลงเพลิงอย่างมากอยู่ แต่ท่านก็จะไม่เกิดในชาติที่แปดอีก ข้อนี้เป็นพระรัตนคุณอันประเสริฐของพระสงฆ์ ด้วยสัจวาจานี้ขอจงมีความสวัสดี

๑๐.สะหาวัสสะ ทัสสะนะสัมปะทายะ
   ตะยัสสุ ธัมมา ชะหิตา ภะวันติ
   สักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉิตัญจะ
   สีลัพพะตัง วาปิ ยะทัตถิ กิญจิ.

ท่านเหล่านั้นคือพระโสดาบันผู้ละสังโยชน์ ๓ ประการ ได้แก่ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส ละกิเลสอื่นๆ ได้ในขณะที่เห็นธรรม

๑๑.จะตูหะปาเยหิ จะ วิปปะมุตโต
   ฉัจจาภิฐานานิ อะภัพพะ กาตุง
   อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
   เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.

ท่านเหล่านั้นเป็นผู้พ้นแล้วจากอบายทั้ง ๔ ไม่กระทำการอันไม่สมควร ๖ ประการ (คืออนันตริยกรรม ๕ และการนับถือศาสดาอื่น) ข้อนี้เป็นพระรัตนคุณอันประเสริฐของพระสงฆ์ ด้วยสัจวาจานี้ขอจงมีความสวัสดี

๑๒.กิญจาปิ โส กัมมะ กะโรติ ปาปะกัง
   กาเยนะ วาจา อุทะ เจตะสา วา
   อะภัพพะ โส ตัสสะ ปะฏิจฉะทายะ
   อะภัพพะตา ทิฏฐะปะทัสสะ วุตตา
   อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
   เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.

แม้ท่านเหล่านั้นยังทำความผิดด้วยกาย วาจา หรือใจอยู่บ้างก็ตาม แต่ท่านก็ไม่ปกปิดความผิดนั้น พระพุทธเจ้าตรัสว่าผู้เห็นพระนิพพานเป็นผู้ไม่ปกปิดความผิด ข้อนี้เป็นพระรัตนคุณอันประเสริฐของพระสงฆ์ ด้วยสัจวาจานี้ขอจงมีความสวัสดี

๑๓.วะนัปปะคุมเพ ยะถะ ผุสสิตัคเค
   คิมหานะมาเส ปะฐะมัสฺมิง คิมเห
   ตะถูปะมัง ธัมมะวะรัง อะเทสะยิง
   นิพพานะคามิง ปะระมัง หิตายะ
   อิทิมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง
   เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.

พุ่มไม้ในป่าที่แตกยอดอ่อนในเดือนต้นแห่งคิมหันตฤดูมีความงามฉันใด พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมให้ถึงพระนิพพานเพื่อประโยชน์สูงสุดมีความงามฉันนั้น ข้อนี้เป็นพระรัตนคุณอันประเสริฐของพระพุทธเจ้า ด้วยสัจวาจานี้ขอจงมีความสวัสดี

๑๔.วะโร วะรัญญู วะระโท วะราหะโร
   อะนุตตะโร ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ
   อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง
   เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.

พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ทรงรู้แจ้งพระนิพพานอันเลิศ ทรงประทานธรรมอันยอดเยี่ยม ทรงแนะนำข้อปฏิบัติที่ดี พระองค์ผู้ไม่มีใครยิ่งกว่า ทรงแสดงธรรมอันสูงสุดแล้ว ข้อนี้เป็นพระรัตนคุณอันประเสริฐของพระพุทธเจ้า ด้วยสัจวาจานี้ของจงมีความสวัสดี

๑๕.ขีณัง ปุราณัง นะวะ นัตถิ สัมภะวัง
  วิรัตตะจิตตายะติเก ภะวัสฺมิง
   เต ขีณะพีชา อะวิรูฬหิฉันทา
   นิพพันติ ธีรา ยะถายัง ปะทีโป
   อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
   เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.

พระอรหันต์ผู้สิ้นเชื้อแล้ว ไม่ยินดีภพอีก มีจิตหน่ายภพเบื้องหน้า สิ้นกรรมเก่า ปราศจากกรรมใหม่ที่จะส่งไปเกิดอีก ท่านเหล่านั้นเป็นปราชญ์ ดับสิ้นไปเหมือนประทีปดวงนี้ ข้อนี้เป็นพระรัตนคุณอันประเสริฐของพระสงฆ์ ด้วยสัจวาจานี้ขอจงมีความสวัสดี

๑๖.ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
   ภุมมานิ วา ยานิ วะ อันตะลิกเข
   ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง
   พุทธัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ.

ขอเทวดาบนพื้นดินและในอากาศทั้งหลาย ผู้มาประชุมกันอยู่ในที่นี้ จงร่วมกันนมัสการพระพุทธเจ้าผู้เสด็จไปอย่างงาม อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายบูชาแล้ว ขอจงมีความสวัสดี

๑๗.ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
   ภุมมานิ วา ยานิ วะ อันตะลิกเข
   ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง
   ธัมมัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ.

ขอเทวดาบนพื้นดินและในอากาศทั้งหลาย ผู้มาประชุมกันอยู่ในที่นี้ จงร่วมกันนมัสการพระธรรมอันเป็นไปอย่างงาม อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายบูชาแล้ว ขอจงมีความสวัสดี

๑๘.ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
   ภุมมานิ วา ยานิ วะ อันตะลิกเข
   ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง
   สังฆัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ.

ขอเทวดาบนพื้นดินและในอากาศทั้งหลาย ผู้มาประชุมกันอยู่ในที่นี้ จงร่วมกันนมัสการพระสงฆ์ผู้ดำเนินไปอย่างงาม อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายบูชาแล้ว ขอจงมีความสวัสดี


3072  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ไปเที่ยว / Re: ตำนานการสร้างพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.พิษณุโลก เมื่อ: 03 กรกฎาคม 2559 20:10:38


พระพุทธชินราช พระพุทธรูปที่สง่างามทรงคุณอันประเสริฐสุด
เป็นมรดกอันล้ำค่าของโลก ที่ชาวไทยต่างหลังไหลมานมัสการกันมากมายทุกๆ วัน

ประวัติการสร้างพระพุทธชินราช
รวบรวมโดย
พระสุธรรมมุนี (สมบูรณ์ ปญฺญาวุโธ)
รองเจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก

พระพุทธชินราช ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ใกล้ฝั่งแม่น้ำน่านทิศตะวันออก ผันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันตก

ตำนานการสร้างพระพุทธชินราช  ตามตำนานที่มีไว้แล้วแย้งกันเป็น ๒ นัยอยู่  นัยหนึ่งว่าสร้างเมื่อราวจุลศักราช ๓๑๙ (พ.ศ.๑๕๐๐) แต่อีกนัยหนึ่งกล่าวว่าสร้างเมื่อราวจุลศักราช ๗๑๙ (พ.ศ.๑๙๐๐) ตำนานที่อ้างถึงพระพุทธชินราชหล่อขึ้น ในจุลศักราช ๓๑๙ (พ.ศ.๑๕๐๐) นั้น เป็นตำนานที่กล่าวไว้ในพงศาวดารเหนือ ปรากฏอยู่ในพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ (รัชกาลที่ ๔) ว่าด้วยเรื่องพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา และพระราชปรารภของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ (รัชกาลที่ ๕) เรื่องพระพุทธชินราช ความว่า

เมื่อพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกผู้ครองนครเชียงแสงได้ยกกองทัพลงมีตีเมืองศรีสัชนาลัย ซึ่งมีพระเจ้าพสุจราชปกครองอยู่ ทหารทั้งสองฝ่ายรบราฆ่าฟันกันตายลงเป็นอันมากมิได้แพ้ชนะกัน พระพุทธโฆษาจารย์ ซึ่งเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ มีความเศร้าสลดใจในการศึกครั้งนี้ จึงเข้าทำการไกล่เกลี่ยให้พระราชาทั้งสองนี้เป็นสัมพันธไมตรีกัน พระราชาทั้งสองก็ยอมปฏิบัติตาม พระเจ้าพสุจราชได้ทรงยกพระนางประทุมราชเทวี ราชธิดา อภิเษกให้เป็นมเหสีแห่งพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกมีพระราชโอรสด้วยพระนางประทุมราชเทวี ๒ พระองค์ ทรงพระนามว่า เจ้าไกรสรราชกับเจ้าชาติสาคร พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกมีพระราชประสงค์จะป้องกันการรุกรานของชาติขอม ซึ่งขณะนั้นมีอำนาจอยู่ทางละโว้หรืออีกนัยหนึ่งเป็นการแผ่ราชอาณาจักรให้ไพศาลออกไป จึงได้สร้างเมืองพิษณุโลก เพื่อให้ราชโอรสขึ้นครองเมือง

ตามพงศาวดารกล่าวว่าได้สร้างเมืองพิษณุโลกเมื่อจุลศักราช ๓๑๕ (พ.ศ.๑๔๙๖) เมื่อสร้างเสร็จแล้ว พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก ได้เสด็จลงมาอภิเษกเจ้าไกรสรราชขึ้นครองเมือง พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกนี้ทรงพระปรีชาสามารถรอบรู้แตกฉานพระไตรปิฎกมาก จึงได้รับเฉลิมพระนามาภิไธย ดังนั้นขณะที่เสด็จประทับอยู่ ณ เมืองพิษณุโลก ที่ได้สร้างขึ้นใหม่ ก็มีพระราชประสงค์จะบำเพ็ญบุญกุศลทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและให้พระเกียรติศัพท์พระนามปรากฏในภายหน้า จึงตรัสให้สร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุขึ้นเป็นคู่กับเมือง สร้างพระมหาธาตุเป็นรูปปรางค์ สูงราว ๘ วา ตั้งกลางแล้วสร้างพระวิหารรอบปรางค์ทั้งสี่ทิศ มีระเบียง ๒ ชั้น พระองค์ต้องการจะสร้างพระพุทธรูปขึ้น ๓ องค์ เพื่อเป็นพระประธานในพระวิหาร

ในเวลานั้นที่เมืองศรีสัชนาลัย ทั้งสวรรคโลกและสุโขทัย เป็นที่เลื่องลือปรากฏในการฝีมือช่างต่างๆ ทั้งการทำพระพุทธรูปว่าฝีมือดียิ่งขึ้น จึงมีพระราชสาส์นไปยังกรุงศรีสัชนาลัย เพื่อขอช่างมาช่วยปั้นหุ่นพระพุทธรูป  สมเด็จพระเจ้ากรุงศรีสัชนาลัยจึงส่งช่างพราหมณ์ที่มีฝีมือดี ๕ นาย ชื่อ บาอินทร์ บาพราหมณ์ บาพิษณุ บาราชสิงห์ และ บาราชกุศล  พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก โปรดให้ช่างสวรรคโลก สมทบกับช่างชาวเชียงแสนและช่างหริภุญไชย ช่วยกันหล่อพระพุทธรูปขนาดใหญ่ทั้ง ๓ องค์ มีทรวดทรงสัณฐานคล้ายกัน แต่ประมาณนั้นเป็น ๓ ขนาด คือ
     - พระองค์ที่ ๑ ตั้งพระนามไว้ว่า “พระพุทธชินราช” มีขนาดหน้าตักกว้าง ๕ ศอก ๑ คืบ ๕ นิ้ว มีเศษสูง ๗ ศอก พระเกศสูง ๑๕ นิ้ว เป็นปางมารวิชัย
     - พระองค์ที่ ๒ ตั้งพระนามเริ่มไว้ว่า “พระพุทธชินสีห์” มีขนาดหน้าตักกว้าง ๕ ศอก ๑ คืบ ๔ นิ้ว เป็นปางมารวิชัย
     - พระองค์ที่ ๓ ตั้งพระนามไว้ว่า “พระศรีศาสดา” มีขนาดหน้าตักกว้าง ๔ ศอก ๑ คืบ ๖ นิ้ว เป็นปางมารวิชัย



"...ข้าพเจ้าได้เห็นพระพุทธรูปมานักแล้ว ไม่ได้เคยรู้สึกว่าดูปลื้มใจจำเริญตาเท่าพระพุทธชินราชเลย
ที่ตั้งอยู่นั้้นก็เหมาะนักหนา วิหารพอเหมาะกับพระ มีที่ดูได้ถนัด และองค์พระก็ตั้งต่ำพอดูได้ตลอดองค์
ไม่ต้องเข้าไปดูจ่อนจ่อเกินไปและไม่ต้องแหงนคอตั้งบ่าฯ...ถ้าพระพุทธชินราชยังคงอยู่ที่พิศณุโลกตราบใด
เมืองพิศณุโลกจะเป็นเมืองที่ควรไปเที่ยวอยู่ตราบนั้น ถึงเมืองพิศณุโลกจะไม่มีชิ้นอะไรเหลืออยู่อีกเลย
ขอให้มีแต่พระพุทธชินราชเหลืออยู่แล้ว ยังคงจะต้องอวดได้อยู่เสมอว่า มีของควรดูควรชมอย่ายิ่งในเมืองเหนือ
หรือจะว่าในเมืองไทยทั้งหมดก็ได้..."
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง "เที่ยวเมืองพระร่วง" (พ.ศ.๒๔๕๐)

พระศรีธรรมไตรปิฎกทรงเลือกลักษณะอาการตามชอบพระทัยให้ช่างทำคือ สัณฐานอาการนั้นอย่างพระพุทธรูปเชียงแสน ไม่เอาอย่างพระพุทธรูปในเมืองศรีสัชนาลัยสวรรคโลก และเมืองสุโขทัยที่ทำนิ้วสั้นยาวไม่เสมอกันอย่างมือคน  ทรงรับสั่ง ให้ทำนิ้วให้เสมอกันตามที่พระองค์ทรงทราบว่าเป็นพุทธลักษณะ พระลักษณะอื่นๆ ก็ปนๆ เป็นอย่างเชียงแสนบ้าง อย่างศรีสัชนาลัยสวรรคโลก สุโขทัยบ้าง

จวบจนวันพฤหัสบดี ขั้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ปีเถาะ สัปตกศก จุลศักราช ๓๑๗ ได้มงคลฤกษ์ กระทำพิธีเททองหล่อพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์ และเมื่อเททองหล่อเสร็จแล้ว กระทำการแกะพิมพ์ออกมาปรากฏว่า พระองค์ที่ ๒ คือ พระพุทธชินสีห์ และองค์ที่ ๓ คือพระศรีศาสดา องค์พระบริบูรณ์ดีมีน้ำทองแล่นติดตลอดเสมอกันสวยงาม ๒ องค์เท่านั้น ส่วนรูปพระพุทธชินราชนั้นทองแล่นติดไม่เต็มองค์ ไม่บริบูรณ์ นับว่าเป็นอัศจรรย์ของช่างและผู้มาร่วมพิธีเป็นอันมาก ช่างได้ช่วยกัน ทำหุ่น และเททองหล่ออีกถึง ๓ ครั้ง ก็ไม่สำเร็จเป็นองค์พระได้ คือทองแล่นไม่ติดเต็มองค์

พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกทรงรู้สึกประหลาดพระทัยยิ่งนัก พระองค์จึงทรงตั้งสัตยาธิษฐานเสี่ยงเอาบุญบารมีของพระองค์เป็นที่ตั้ง อีกทั้งขอให้ทวยเทพยดาจงช่วยดลใจให้สร้างพระพุทธรูปสำเร็จตามพระประสงค์เถิด แล้วให้ช่างปั้นหุ่นใหม่อีกครั้งหนึ่ง  ในครั้งหลังนี้ปรากฏว่ามีตาปะขาวคนหนึ่ง ไม่มีผู้ใดทราบว่าชื่อไรมาจากไหนเข้ามาช่วยปั้นหุ่นและช่วยเททอง ทำการงานอย่างแข็งแรงทั้งกลางวันและกลางคืนจนเสร็จโดยไม่พูดจากับผู้ใด

ครั้นได้มหามงคลฤกษ์ ณ วันพฤหัสบดี ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง นพศกจุลศักราช ๓๑๙ (พุทธศาสนากาลล่วงแล้ว ๑๕๐๐ หย่อนอยู่ ๗ วัน) ก็ประกอบพิธีเททองหล่อพระพุทธชินราช คราวนี้น้ำทองที่เทก็แล่นเต็มบริบูรณ์ตลอดทั่วองค์พระ พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกทรงปีติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง จึงตรัสสั่งให้หาตาปะขาวผู้มาช่วยปั้นหุ่นและช่วยเททองนั้น แต่มิได้พบ ปรากฏว่าเมื่อหล่อพระเสร็จแล้วก็เดินทางออกประตูเมืองข้างทิศเหนือ พอถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่งก็หายไปไม่มีใครพบเห็นอีก จึงพากันเข้าใจว่าตาปะขาวผู้นั้นคือเทพยดาแปลงกายลงมาหล่อพระพุทธชินราชอันเป็นเหตุทำให้เลื่อมใสศรัทธา ในพระพุทธรูปองค์นี้ยิ่งขึ้น ตำบลบ้านที่ตาปะขาวหายไปนั้นได้ชื่อว่า “บ้านตาปะขาวหาย” ต่อมาจนถึงทุกวันนี้



เทพตาปะขาว ประดิษฐานที่ศาลเทพตาปะขาว
วัดตาปะขาวหายอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก


เมื่อแกะพิมพ์ออกหรือกะเทาะหุ่นออกมาเป็นที่ประหลาดใจ และตื่นเต้นของชาวพุทธบริษัทเป็นอย่างยิ่ง คือ เมื่อกะเทาะหุ่นออกคราวนี้ทองแล่นติดเต็มองค์พระงดงามสมบูรณ์ดั่งสวรรค์เนรมิต เนื้อทองสำริดสุกสกาวสดใสงามจนหาที่ติไม่ได้ จึงพากันเชื่อว่า พระพุทธชินราชองค์นี้น่าจะเป็นเทวดามาสร้างให้เป็นแน่แท้ ถึงได้มีพุทธลักษณะสวยงามที่สุดในแดนสยาม พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก โปรดให้เชิญเข้าประดิษฐานไว้ในสถานที่ทั้ง ๓ คือ พระพุทธชินราช อยู่ในพระวิหารใหญ่ผันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันตก พระพุทธชินสีห์อยู่ทิศเหนือ และพระศรีศาสดาอยู่ทิศใต้  สำหรับพระวิหารใหญ่ ทิศตะวันออกนั้นเป็นที่ฟังธรรมสักการะที่ถวายนมัสการพระมหาธาตุและเป็นที่ชุมนุมสงฆ์

อนึ่ง เมื่อเวลาหล่อพระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดาเสร็จแล้วนั้น ทองชลาบและชนวนของพระพุทธรูป ๒ องค์ที่เหลืออยู่ พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกรับสั่งให้รวมลงในทองซึ่งจะหล่อพระพุทธชินราช หล่อองค์พระใหม่เรียกว่า “พระเหลือ” ส่วนชนวนและชลาบของพระที่เรียกว่าพระเหลือนั้นก็หล่อรูปพระสาวก ๒ องค์ สำหรับพระเหลือนั่นเอง  ครั้นเมื่อการหล่อพระเสร็จแล้วจึงรับสั่งให้เก็บอิฐซึ่งก่อเป็นเตาหลอมและเตาสุม หุ้มหล่อพระทั้งปวงนั้นมาก่อเป็นชุกชี สูง ๓ ศอก และให้ขุดดินที่อื่นมาผสมกับดินพิมพ์ที่ต่อยจากพระพุทธรูปถมในชุกชีนั้นแล้วทรงปลูกต้นมหาโพธิ์ ๓ ต้น หันหน้าต่อทิศอุดรแล้วเชิญพระเหลือกับสาวกอีก ๒ องค์เข้าไว้ในที่นั้น ให้เป็นหลักฐานแสดงที่ซึ่งหล่อพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์

ที่กล่าวมาแล้วนี้เป็นความในพงศาวดารเหนือที่ปรากฏอยู่ในพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระราชปรารภของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ส่วนอีกนัยหนึ่งมีกล่าวว่าสร้างเมื่อประมาณ จุลศักราช ๗๑๙ นั้นเป็นพระราชวิจารณ์แห่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในหนังสือ “เที่ยวเมืองพระร่วง” มีความดังต่อไปนี้ “เรื่องตำนานการสร้างเมืองพิษณุโลกและการสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์นั้น สอบสวนหลักฐานเห็นว่ารูปเรื่องจะเป็นดังกล่าวในพงศาวดารเหนือ เป็นแต่พงศาวดารเหนือลงนามเป็นของพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกนั้น มิใช่ผู้อื่น คือพระมหาธรรมราชาพญาลิไท รัชกาลที่ ๔ ในราชวงศ์พระร่วงนั่นเอง

มีเรื่องในศิลาจารึกว่า เมื่อเป็นพระมหาราชครองเมืองศรีสัชนาลัย ก่อนจะได้รับราชสมบัติมีศัตรูยกกองทัพลงมาติดเมืองสุโขทัยในเวลาพระราชบิดาประชวรหนัก จึงได้ครองราชอาณาจักรตรงกับที่ว่าพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกยกทัพมาติดเมืองสวรรคโลกได้ราชสมบัติในเมืองนั้น และพระมหาธรรมราชาพญาลิไท ทรงรอบรู้พระไตรปิฎกจึงสามารถแต่งเรื่อง “พระไตรปิฎก” หรือไตรภูมิ ตรงกับที่เรียกว่าพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกมีแต่พระองค์เดียวเท่านั้น

อีกประการหนึ่งโบราณวัตถุที่สร้างไว้ ณ เมืองพิษณุโลก เป็นแบบอย่างครั้งกรุงสุโขทัย เมื่อรับลัทธิพระพุทธศาสนาลังกาวงศ์มาแล้ว ยกตัวอย่างดังเช่น พระพุทธรูป พระชินราช พระชินสีห์ คงจะเชื่อได้ดังกล่าวในพงศาวดารเหนือว่า เป็นประชุมช่างอย่างวิเศษ ทั้งที่มณฑลพายัพและในอาณาเขตสุโขทัยมาให้ช่วยกันถอดแบบอย่าง แต่พึงสังเกตที่ได้ที่ทำปลายนิ้วพระหัตถ์เท่ากันทั้ง ๔ นั้น เป็นความคิดที่เกิดขึ้นด้วยวินิจฉัยคัมภีร์มหาปุริสลักขณะกันอย่างถ้วนถี่ ในชั้นหลัง พระพุทธรูปชั้นก่อนหาทำนิ้วพระหัตถ์เช่นนั้นไม่

ในที่สุดยังมีหลักฐานอีกอย่างหนึ่ง ด้วยในพงศาวดารเมืองเชียงแสนมิได้มีปรากฏว่าพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก หรือพระเจ้าเชียงแสนองค์ใดได้ลงมาตีเมืองสวรรคโลกเหมือนอย่างกล่าวในพงศาวดารเหนือด้วยมีหลักฐานต่างๆ ดังกล่าวมาก จึงสันนิษฐานว่า พระมหาธรรมราชาพญาลิไท เป็นผู้สร้างเมืองสองแควขึ้นเป็นเมืองลูกหลวงและหล่อพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์เมื่อราว พ.ศ.๑๙๐๐







พระศรีธรรมไตรปิฎก (พญาลิไท) ทรงมีรับสั่งให้ช่างให้ทำนิ้วพระหัตถ์พระพุทธชินราช
ให้เสมอกันตามที่พระองค์ทรงทราบว่าเป็นพุทธลักษณะ  ไม่เอาอย่างพระพุทธรูป
ในเมืองศรีสัชนาลัยสวรรคโลก และเมืองสุโขทัยที่ทำนิ้วสั้นยาวไม่เสมอกันอย่างมือคน


พระพุทธชินสีห์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.พิษณุโลก


พระศรีศาสดา วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.พิษณุโลก


พระเหลือ ประดิษฐานในวิหารน้อย วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.พิษณุโลก
เมื่อเวลาหล่อพระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดาเสร็จแล้วนั้น ทองชลาบและชนวนของพระพุทธรูป ๒ องค์ที่เหลืออยู่
พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกรับสั่งให้รวมลงในทองซึ่งจะหล่อพระพุทธชินราช หล่อองค์พระใหม่เรียกว่า “พระเหลือ”
ส่วนชนวนและชลาบของพระที่เรียกว่าพระเหลือนั้นก็หล่อรูปพระสาวก ๒ องค์ สำหรับพระเหลือนั่นเอง
3073  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / พรมตาน : พ่นน้ำมนต์เป่าตานขโมย เมื่อ: 01 กรกฎาคม 2559 17:30:02



พรมตาน (พ่นน้ำมนต์-ส่วย)

พรมตาน เป็นชื่อในภาษาเขมรท้องถิ่นสุรินทร์ แปลว่า เป่าตานขโมย หรือ เป่าซาง ในภาษาไทยอีสาน

เด็กที่เป็นตานขโมยจะต้องให้หมอเป่าจึงจะหาย ความเชื่อนี้ ชาวบ้านในภาคอีสานปฏิบัติสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากหมอเป่าตานขโยที่เป็นกรณีศึกษานี้ เป็นชาวเขมรอพยพมาจากเมืองพระตะบอง จึงใช้ชื่อเป็นภาษาเขมรท้องถิ่นสุรินทร์ว่า พรมตาน

สาเหตุ : ชาวบ้านเชื่อว่าเด็กที่เกิดมาในช่วงวัยทารกกระหม่อมจะบาง จึงเกิดมีอาการเป็นตานขโมย หรือ เกิ๊ดตาน เด็กจึงมีอาการต่างๆ เช่น น้ำลายไหล ตาแฉะ ปากเปื่อย และท้องเดิน เป็นต้น  พ่อแม่ของเด็กที่มีอาการดังกล่าวจะพาไปเป่ากับหมอเป่าตานขโมย ซึ่งส่วนใหญ่จะมีอายุตั้งแต่แรกเกิดได้ ๑๕ วันขึ้นไปจนถึง ๓ ปี

การทำพิธี : พ่อแม่ที่พาเด็กไปจะต้องนำดอกไม้ ๑ คู่ ธูปเทียน ๑ คู่ เงิน ๓๐ บาท ไปหาหมอเป่าในวันแรก ซึ่งจะเป็นวันใดก็ได้

เมื่อเริ่มพิธี พ่อหรือแม่เด็กจะนำพานดอกไม้ ธูปเทียน และเงิน ๓๐ บาท ให้กับหมอเป่า  หมอเป่าจะเริ่มพิธีสวดคาถา โดยตั้งนะโม ๓ จบ แล้วบริกรรมคาถาเป็นภาษาเขมรปนกับภาษาบาลีอยู่ประมาณ ๒ นาที  หมอเป่าจะเคี้ยวหมาก แล้วเป่าที่กระหม่อมเด็กและวนไปรอบๆ ศีรษะ

ขั้นที่ ๒ หมอเสกคาถาเป็นภาษาเขมรประมาณ ๒-๓ คาถา แล้วเป่าที่ปากเด็ก ที่กระหม่อม และที่ปากเด็กอีกเป็นครั้งที่ ๒ หมอเป่าจะบริกรรมคาถาเป็นภาษาเขมรอีกเป็นครั้งที่ ๓ แล้วเป่าที่กระหม่อม ที่ปาก และเป่าวนไปรอบๆ ศีรษะ ก่อนที่จะผูกด้ายที่คอเด็กซึ่งเป็นด้ายที่มัดรากยาไว้จนกว่าจะหายขาดจึงเอาด้ายผูกคอออก บางคนอาจผูกคอไว้เป็นปี เพื่อกันไม่ให้เด็กเป็นตานขโมยอีก พ่อแม่เด็กจะต้องนำเด็กไปให้หมอเป่า ๓ ครั้ง (วันละครั้ง) จึงจะครบตามกำหนดของหมอเป่า

ยาที่ผูกคอเด็กเป็นเถาวัลย์ชนิดหนึ่ง  เรียกว่า ต้นลิ้นแรด หรือ ต๊ะละม๊ะ ในภาษากวย  ส่วนมากจะขึ้นบริเวณที่ใกล้แหล่งน้ำ เช่น ตามริมฝั่งห้วย เครือเถาวัลย์ลิ้นแรดจะออกดอกเป็นสีขาว หมอเป่าจะไปตัดเถาวัลย์นี้มาทำยา  เมื่อตัดเครือเถามาตากให้แห้ง ผ่าซีกแล้วตัดเป็นชิ้นเล็กๆ ขนาดความกว้างยาว ¼ หรือ ½ เซนติเมตร แล้วนำไปมัดด้วยด้ายที่เตรียมไว้

การเป่าตานขโมยโดยหมอเป่าตามตำรับของเขมรนี้ ได้รับความนิยมในเขตอำเภอจอมพระ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ และอำเภอใกล้เคียง  ส่วนใหญ่พ่อแม่เด็กจะนำเด็กไปให้เป่าในเวลาเช้าหรือบ่าย และมีการเป่าตานขโมยอยู่จนกระทั่งถึงปัจจุบัน


ไพฑูรย์ มีกุศล - เรียบเรียง
หนังสือสารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคอีสาน
3074  สุขใจในธรรม / นิทาน - ชาดก / พญาคันคาก : ชาดกนอกนิบาต ที่มาของประเพณีขอฝนจากเทวดา เมื่อ: 01 กรกฎาคม 2559 16:37:49



พญาคันคาก
ชาดกนอกนิบาต : วรรณกรรมทางศาสนา
ที่มาของประเพณีขอฝนจากเทวดา

พญาคันคาก เป็นวรรณกรรมชาดกนอกนิบาต (ชาดกที่ไม่ปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎก) เป็นเรื่องความเชื่อของชาวภาคอีสาน ที่นิยมนำเรื่องพญาคันคากมาใช้เทศน์ในพิธีกรรมขอฝนต่อพระยาแถน เพื่อให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล เช่นเดียวกับความเชื่อเรื่องผีตาแฮก และการแห่บั้งไฟ เป็นต้น

ความจริงแล้ว ชาดกนอกนิบาตเรื่องพญาคันคาก เป็นเรื่องของความเชื่ออันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น มากกว่าเป็นธรรมะในพระพุทธศาสนา แต่ชาวอีสานได้ปรับเปลี่ยนให้เข้าเป็นส่วนหนึ่งในพิธีกรรมทางพุทธศาสนามาแต่สมัยอดีต  การเทศน์เรื่องพญาคันคากนี้ ชาวบ้านจะจัดเป็นพิธีใหญ่และถือเป็นประเพณีเช่นเดียวกับการเทศน์ในงาน “บุญผะเหวส” หรือเทศมหาชาติภาคอีสาน ซึ่งเป็นงานบุญอันศักดิ์สิทธิ์  โดยชาวบ้านจะมาช่วยกันจัดเตรียม-ตกแต่งสถานที่ จัดเตรียมเครื่องสักการะ ดอกไม้ ธูปเทียน และนิมนต์พระสวดพระคาถาปลาค่อ หรือปลาช่อนเรียกฝน วันละ ๑๐๘ จบ เป็นเวลา ๓วัน และนิมนต์พระมาเทศน์ ๒ ธรรมาสน์

ต้นฉบับเรื่องพญาคันคากมีปรากฏอยู่ทั่วไปเกือบทุกวัดในภาคอีสาน เพราะว่ายังใช้เทศน์อยู่ในพิธีกรรมขอฝน ถ้าฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลหรือต้องการน้ำในการทำการเกษตร  ชาวอีสานเชื่อว่าเป็นเพราะพระยาแถนไม่ยอมให้ฝนตกมายังมนุษยโลก พญาคันคากจึงชักชวนบรรดาสัตว์ทั้งหลาย ไปปราบพระยาแถน พระยาแถนจึงยอมสั่งให้ฝนตกลงมาตามปกติ ความเชื่อในเรื่องนี้ถ้าปีใดฝนไม่ตกชาวบ้านจะร่วมกันจัดพิธีขึ้นอย่างยิ่งใหญ่เลยทีเดียว


เนื้อเรื่อง พญาคันคาก
นายผ่าน วงศ์อ้วน ได้ปริวรรตจากตัวอักษรไทยน้อย จำนวน ๕ ผูก มาเป็นอักษรไทยปัจจุบัน
พิมพ์เผยแพร่โดยศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม วิทยาลัยครูมหาสารคาม จำนวน ๘๙ หน้า
(เอกสารอัดสำเนา) เมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๕ ดังนี้

พระยาหลวงเอกราชและนางสีดา ปกครองเมืองอินทปัตถ์มานาน ประชาชนมีความสุขสมบูรณ์กันถ้วนหน้า พระโพธิสัตว์ได้ถือกำเนิดในครรภ์นางสีดาในร่างของ คันคาก (คางคก)

ในคืนหนึ่งนางสีดาฝันว่าดวงอาทิตย์ได้ตกลงมาจากฟากฟ้าแล้วลอยเข้ามาในปากของนาง เมื่อนางกลืนลงท้อง เนื้อตัวของนางได้กลายเป็นสีเหลืองสดใสประดุจดังทองคำ ในความฝันยังแสดงให้เห็นว่า นางมีอิทธิฤทธิ์สามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ นางได้เหาะไปยังเขาพระสุเมรุแล้วจึงเดินทางกลับมายังปราสาทราชวังในเมืองอินทปัตถ์ดังเดิม  ครั้นสะดุ้งตื่นนางได้เล่าความฝันถวายแก่พระยาหลวงเอกราชพระสวามี พระยาหลวงล่วงรู้ในนิมิตความฝันว่าพระองค์จะมีโอรสที่จะสืบราชสมบัติต่อไป
 
เมื่อครบสิบสองเดือนนางสีดาได้ให้กำเนิดกุมารเป็นตัวคันคาก (คางคก) มีรูปร่างเหลืองอร่ามดั่งทองคำ พระยาหลวงเอกราชดีใจมากได้สั่งให้จัดหาอู่ทองคำมาให้นอน และจัดหาแม่นมมาดูแลอย่างใกล้ชิด ต่อมาท้าวคันคากเจริญวัยเป็นหนุ่ม อายุได้ ๒๐ ปี คิดอยากจะมีคู่ครอง  พระบิดาได้พยายามหาผู้ที่เหมาะสมมาให้แต่ก็หาไม่ได้ ด้วยมีเหตุขัดข้องที่ท้าวคันคากมีรูปกายที่อัปลักษณ์ผิดแผกไปจากมนุษย์คนอื่นๆ พระยาหลวงเอกราชรู้สึกสงสารโอรสเป็นอันมากจึงปลอบใจว่า ขอให้สร้างสมบุญบารมีต่อไปอีก จนกว่าจะกลายร่างเป็นมนุษย์เมื่อใด จะยกทรัพย์สมบัติให้ปกครองบ้านเมืองสืบต่อไป ท้าวคันคากจึงตั้งจิตอธิษฐานว่า หากตนมีบุญบารมีขอให้ได้หญิงงามมาเป็นคู่ครอง

ดังนั้น พระอินทร์จึงได้ลงมาเนรมิตปราสาทแก้วไว้กลางเมือง ปราสาทนี้มีขนาดใหญ่โตมาก มีเสาเป็นหมื่นๆ ต้น มีห้องใหญ่น้อยจำนวนหนึ่งพันห้อง พร้อมทั้งเครื่องประดับตกแต่ง ปราสาทหลังนี้เต็มไปด้วยอัญมณีที่มีค่ายิ่ง นอกจากนี้พระอินทร์ได้ให้นางแก้วมาเป็นชายาท้าวคันคากและได้เนรมิตกายท้าวคันคากให้มีรูปกายงดงามอีกด้วย เสร็จแล้วพระอินทร์จึงเสด็จกลับสู่สวรรค์อันเป็นที่ประทับของพระองค์

ท้าวคันคากและนางแก้วอาศัยอยู่ในปราสาทที่พระอินทร์เนรมิตงามดังไพชยนต์ปราสาทแห่งนี้ ต่อมาเมื่อพระยาหลวงเอกราชและนางสีดาทราบข่าว ได้เสด็จมาเยี่ยมยังปราสาท พร้อมทั้งได้จัดทำพิธีอภิเษกให้ท้าวคันคากเป็นเจ้าเมืองปกครองไพร่ฟ้าประชาราษฎร์สืบไป นับตั้งแต่พญาคันคากขึ้นครองเมือง บรรดาพญาทั้งหลายตลอดจนบรรดาสัตว์เดรัจฉานได้เข้ามาขอเป็นบริวารอีกมากมาย

พระยาแถน ทราบว่าพญาคันคากได้ขึ้นครองเมืองจึงคิดอิจฉาและไม่พอใจ จึงคิดหาทางกลั่นแกล้ง แต่ก็รู้ดีว่าพญาคันคากมีบุญญาธิการและมีอิทธิฤทธิ์มากเกรงจะเป็นภัยแก่ตน จึงได้วางแผนการโดยที่ไม่ให้ฝนตกลงมายังมนุษยโลก ทำให้สิ่งมีชีวิตเดือดร้อนกันไปทั่วพิภพ นานถึง ๗ ปี พญาคันคากไม่ทราบว่าจะหาทางแก้ปัญหานั้นได้อย่างไร จึงลงไปยังใต้พิภพเพื่อปรึกษากับพญานาค พญาหลวงนาโคบอกกับพญาคันคากว่า พระยาแถนประทับอยู่ยังปราสาทเมืองยุคันธร ที่เมืองนี้มีแม่น้ำคงคาอันกว้างใหญ่ไพศาล พระยาแถนมีหน้าที่ดูแลรักษาแม่น้ำยุคันธรแห่งนี้ นอกจากนี้ยังมีเขาสัตบริภัณฑ์ตั้งอยู่รายล้อมเขาพระสุเมรุถึง ๗ ลูก เมื่อครบกำหนดเวลาบรรดานาคจะลงมาเล่นน้ำกันอย่างสนุกสนาน ฝนฟ้าก็จะตกต้องตามฤดูกาล แต่บัดนี้พระยาแถนไม่ยอมให้นาคลงไปเล่นน้ำดังแต่ก่อน จึงทำให้เมืองมนุษย์แห้งแล้ง ผู้คน สัตว์ และพืช ล้มตายเป็นอันมาก

พญาคันคากได้ฟังดังนั้นจึงคิดหาทางไปเมืองแถน ได้ไปตามพวกครุฑ นาค ปลวก มาก่อภูเขาเพื่อทำทางขึ้นไปรบกับพระยาแถน  เมื่อทุกอย่างเตรียมพร้อมสรรพแล้ว จึงยกพลไปรบกับพระยาแถน โดยต่างฝ่ายต่างก็มีคาถาอาคม พญาคันคากได้ร่ายเวทมนตร์ให้บังเกิดมีกบเขียดอย่างมากมาย ทำให้ชาวเมืองแถนตกใจกลัวเป็นอย่างยิ่ง พระยาแถนเองก็ใช้คาถาอาคมเป่าให้เกิดมีงูร้ายมากมายหลายชนิด เพื่อมาจับกบและเขียดกิน พญาคันคากได้ให้ครุฑและกามาจิกกินงูที่เกิดจากอาคมพระยาแถน  จนกระทั่งงูเหล่านั้นต้องล้มตาย พระยาแถนจึงให้สุนัขมาวิ่งไล่จับครุฑและกากินเป็นอาหาร พญาคันคากได้ให้เสือโคร่งออกมาจับสุนัขกิน พระยาแถนได้ยิงธนูให้กลายเป็นห่าฝนหอกดาบตกลงมาเสียบคนล้มตายเป็นจำนวนมาก พญาครุฑได้ให้เสือโคร่งออกมาจับสุนัขกิน พระยาแถนได้ยิงธนูให้กลายเป็นห่าฝนหอกดาบตกลงมาเสียบคนล้มตายเป็นจำนวนมาก พญาครุฑได้เนรมิตปีกให้แผ่กว้างเพื่อกำบังห่าฝนหอกดาบ และมีการร่ายเวทมนตร์คาถาอาคมให้ผู้คนที่ล้มตายกลับฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง

การสู้รบกันระหว่างพญาคันคากกับพระยาแถนเป็นไปอย่างดุเดือด ต่างคนต่างก็มีคาถาอาคมเพื่อต่อสู้กับศัตรูอย่างฉกาจฉกรรจ์ ปรากฏว่าไม่มีใครแพ้ใครชนะ จึงได้มาชนช้างกัน ในที่สุดพระยาแถนแพ้พญาคันคาก พญาคันคากจึงมีบัญชาให้พระยาแถนยอมให้นาคมาเล่นน้ำ ฝนจะได้ตกบนพื้นพิภพดังเดิม ครั้งนี้นับเป็นการสู้รบที่เรียกว่า มหายุทธ เลยทีเดียว ต่อมาสัตว์ต่างๆ เหล่านี้จึงเป็นศัตรูกันนับตั้งแต่นั้นมา.
3075  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ไปเที่ยว / Re: ปราสาทหินพิมาย จ.นครราชสีมา : สถาปัตยกรรมต้นแบบปราสาทนครวัด กัมพูชา เมื่อ: 01 กรกฎาคม 2559 11:20:20

ปรางค์ประธาน







ปรางค์ประธาน ตั้งอยู่ภายในวงล้อมของระเบียงคด เป็นศูนย์กลางของศาสนสถาน หันหน้าไปทางทิศใต้
สร้างด้วยหินทรายสีขาวทั้งองค์ ต่างจากซุ้มประตู(โคปุระ) กำแพงชั้นในและกำแพงชั้นนอกที่สร้างด้วยหินทรายสีแดงเป็นส่วนใหญ่ 
องค์ปรางค์สูง ๒๘ เมตร ตั้งอยู่บนฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมไม้สิบสอง ยาวด้านละ ๒๒ เมตร  มีมณฑปสร้างเชื่อมต่อ
กับองค์ปรางค์โดยมีฉนวนกั้น  ทั้งองค์ปรางค์และมณฑปตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ประกอบด้วยฐานเขียงและฐานบัว เป็นชั้นๆ
มีรูปแกะสลักเป็นลายกลีบบัว และลายประจำยาม ส่วนด้านอื่นๆ อีกสามด้านมีมุขยื่นออกไป มีบันไดและประตู
ขึ้นลงสู่องค์ปรางค์ทั้งสี่ด้าน ภายในมีห้องสี่เหลี่ยมอยู่ตรงกลาง เรียกว่า ห้องครรภคฤหะ  (GARBHAGRIHA)
ใช้เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพสูงสุด จึงจัดเป็นห้องที่สำคัญที่สุดของศาสนสถาน  ซึ่งในครั้งอดีตผู้ที่จะเข้ามาในห้องนี้ได้
คือ กษัตริย์และนักบวชเพียงเท่านั้น    ปัจจุบัน คงเหลืออยู่แต่ร่องรอยของร่องน้ำมนต์ที่มุมห้องด้านทิศตะวันตก
ที่ต่อท่อลอดออกไปยังด้านนอกขององค์ปรางค์ ส่วนสัญลักษณ์สูงสุดหรือรูปเคารพที่ได้เคยประดิษฐานได้สูญหายไปจากห้องนี้นานแล้ว



ครุฑแบก


เรือนยอด หรือ ส่วนยอด ซึ่งเป็นส่วนของหลังคา ทำเป็นชั้นเชิงบาตร คือสร้างเป็นชั้นๆ ลดหลั่นกันขึ้นไป มี ๕ ชั้น
ที่เชิงหลังคาสลักเป็นรูปครุฑแบกอยู่ตรงกลาง โดยรอบด้วยกลีบขนุน รูปเทพต่างๆ และมีเศียรนาคอยู่ที่
มุมกลางของแต่ละมุมเหนือชั้นเชิงบาตร


ชั้นบนสุดของส่วนยอดสลักเป็นรูปดอกบัว



บราลี รูปหัวเม็ด กลึงเป็นลูกแก้ว ซ้อนเป็นชั้นๆ
ใช้ติดประดับรายๆ ไปตามอกไก่หลังคาหรือหลังบันแถลงบนหลังคาเครื่องยอด



มณฑป มุงหลังคาด้วยแผ่นหินซ้อนเหลื่อมกันขึ้นไปเป็นรูปโค้งลดชั้น ประดับสันหลังคาด้วยบราลี













ปรางค์ประธานของปราสาทหินพิมาย มีการตกแต่งอย่างดงาม โดยแกะสลักลงในเนื้อหิน
เป็นลวดลายประดับตามผนังด้านนอกของอาคารทั้งช่วงล่างและช่วงบน เสาติดผนัง เสาประดับ กรอบประตู
หรือเสารับทับหลังและกรอบหน้าบัน  โดยแกะสลักเป็นลวดลายพันธุ์พฤกษา ผูกเป็นลวดลายต่างๆ
เช่น ลายประจำยาม ลายกรุยเชิง ลายก้านต่อดอก ลายใบไม้ม้่วน ฯลฯ

แต่ที่หน้าบันและทับหลังมักแกะสลักเป็นภาพเล่าเรื่องเกี่ยวกับศาสนา จากคัมภีร์ในศาสนาฮินดู
เช่น เรื่องรามายะณะ และเรื่องราวทางพุทธศาสนาในคติมหายาน
3076  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / ปลาส้ม - สูตรและวิธีทำ : อร่อย สะอาด ถูกหลักอนามัย เมื่อ: 30 มิถุนายน 2559 18:55:10
.





ปลาส้ม

• เครื่องปรุง
- ปลาตะเพียน 6 ขีด (น้ำหนักชั่ง หลังควักไส้และตัดหัวออกแล้ว)
- เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ
- กระเทียมไทย 2-3 หัว
- ข้าวสวย ½ - 1 ถ้วย
- พริกไทยป่นละเอียด ¼ ช้อนชา


วิธีทำ
1. ขอดเกล็ดปลาตะเพียน ฝ่าท้องควักไส้-ตัดหัวทิ้งไป แล้วกรีดตามยาวเฉียงๆ ล้างน้ำให้สะอาด
   เอาพริกไทยป่นทาให้ทั่วตัวปลา โรยเกลือให้ทั่วแล้วเคล้าผสมกับกระเทียมที่โขลกพอหยาบให้หนักมือ
   โดยเคล้านานสักพักใหญ่ เพื่อให้เครื่องซึมเข้าเนื้อปลา และให้เนื้อปลานิ่ม
2.ใส่ข้าวสวยเคล้าให้เข้ากัน และหยิบข้าวที่เคล้าแล้วบรรจุในท้องปลา
3.เรียงปลาให้เรียบร้อยใส่ในภาชนะก้นลึก กดให้แน่น แล้วปิดฝาหมักไว้ 2-3 วัน
   หรือใส่ถุงพลาสติกมัดปากถุงให้แน่นก็ได้เช่นกัน
4.เมื่อจะรับประทานนำไปทอดให้สุกเหลืองด้วยไฟร้อนปานกลาง รับประทานกับหอมแดงซอยทอดกรอบ
   และพริกแห้งทอดกรอบ






โรยพริกไทยป่นละเอียดให้ทั่วตัวปลา ใส่เกลือป่น และกระเทียมโขลกหยาบ
เคล้าให้หนักๆ มือ เพื่อให้เครื่องซึมเข้าเนื้อปลา และเนื้อปลานิ่ม


ขั้นตอนสุดท้าย ใส่ข้าวสวยประมาณครึ่งถ้วย หรือหนึ่งถ้วย ผสมให้เข้ากัน
(ผู้ทำใส่ข้าวครึ่งถ้วย เพราะปลาตะเพียนมีไข่เต็มท้อง จึงไม่ต้องใช้ข้าวสวยบรรจุในท้องปลา)


บรรจุในถุงพลาสติก มัดปากถุงให้แน่น หมักไว้ในตู้เย็นประมาณ 4-5 วัน
ถ้าไม่นำเข้าแช่ในตู้เย็น ให้วางไว้ในที่ร่มและเย็น หมักทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน


เมื่อจะรับประทานนำไปทอดให้สุกเหลืองด้วยไฟร้อนปานกลาง
รับประทานกับหอมแดงซอยทอดกรอบและพริกแห้งทอดกรอบ
(หอมแดงให้ซอยแล้วคลุกกับแป้งข้าวโพดให้ทั่ว
นำไปทอดด้วยไฟปานกลาง แป้งข้าวโพดจะทำให้หอมแดงกรอบอยู่ได้นาน)


ปลาตะเพียนมีไข่เต็มท้อง จึงไม่ต้องใส่ข้าวสวยบรรจุในท้องปลา
3077  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ใต้เงาไม้ / ชุดภาพ 'เงาะป่า' ภาพและคำบรรยาย โดย เหม เวชกร เมื่อ: 30 มิถุนายน 2559 14:29:40


ชุดภาพ เรื่อง 'เงาะป่า'
ภาพและคำบรรยาย โดย
เหม เวชกร



หน้า ๑


หน้า ๒


หน้า ๓


หน้า ๔


หน้า ๕


หน้า ๖


หน้า ๗


หน้า ๘


หน้า ๙


หน้า ๑๐


หน้า ๑๑


หน้า ๑๒


หน้า ๑๓


หน้า ๑๔


หน้า ๑๕


มีต่อ
3078  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ใต้เงาไม้ / Re: โคลงโลกนิติ : คาถาสุภาษิตจากคัมภีร์โบราณ กับคำอธิบายความ เมื่อ: 29 มิถุนายน 2559 15:39:46
.


พราหมณ์เฒ่าชูชก พานางอมิตตดาไปอยู่กินด้วยกันที่หมู่บ้านทุนวิฐ
ภาพวาดฝีมือ ครูเหม เวชกร

สังขารหวัวผู้ว่า         ตนทระนง
ทรัพย์ย่อมหวัวคนจง      ว่าเจ้า
หญิงหวัวแก่ชายหลง      ชมลูก
มัจจุราชหวัวผู้เถ้า         บ่รู้วันตายฯ  



         อธิบายความ
         สังขาร (ร่างกาย จิตใจ) หัวเราะเยาะเย้ยคนที่หลงตัว อวดดี
         ทรัพย์  เยาะหยันผู้เป็นเจ้าของ ที่จิตใจเฝ้าแต่เป็นกังวลกับทรัพย์สมบัติ
         หญิง  เยาะหยันชายที่หลงใหลภรรยาอายุอ่อนคราวลูกคราวหลาน
         พญามัจจุราช  เยาะเย้ยผู้เฒ่าที่ยังประมาท ไม่พิจารณามรณสติ หรือระลึกถึงความตายที่รออยู่เบื้องหน้า
    
         อธิบายศัพท์
         สังขาร - ร่างกาย ตัวตน สิ่งมีชีวิต มีจิตวิญญาณ สามารถเคลื่อนไหว รับ จำ คิด รู้อารมณ์ได้
         หวัว - หัวเราะ หัวร่อ
         ทระนง - อวดดี ถือตัว หยิ่งทะนง
         ว่าเจ้า - ว่าเป็นเจ้าของ
         มัจจุราช - พญายม ราชาแห่งความตาย
         ผู้เถ้า - ผู้เฒ่า คนแก่ คนชรา



จิตรกรรมฝาผนัง วัดเนรมิตวิปัสสนา อ.ด่านซ้าย จ.เลย

มือด้วนคิดจะมล้าง   เขาหมาย
ปากด้วนถ่มน้ำลาย     เลียบฟ้า
หิ่งห้อยแข่งแสงฉาย     สุริเยศ
คนทุพพลอวดกล้า      แข่งผู้มีบุญฯ  



         อธิบายความ
         คนมือกุด-มือขาด คิดจะเข่นฆ่าผู้อื่น
         คนปากแหว่งเพดานโหว่ อวดดีถ่มน้ำลายรดฟ้า
         หิ่งห้อย บังอาจชูก้นส่องแสงริบหรี่แข่งกับดวงอาทิตย์
         คนพิการ อวดหาญแข่งบารมีกับผู้ที่มีบุญญาธิการหรือผู้มีวาสนาสูง
        
         โบราณท่านสอนให้รู้จักประมาณตน ไม่มักใหญ่ใฝ่สูงเกินตัว
         เตือนสติให้ยั้งคิดถึงสภาพฐานะของตนเอง
         ว่าเราต่ำต้อยน้อยวาสนา อย่าคิดทำการใหญ่เกินกำลังความสามารถของตนเอง
         ทำนองให้ “ตักน้ำใส่กะโหลกชะโงกดูเงา” นั่นเอง

    
         อธิบายศัพท์
         ด้วน - กุด แหว่ง ขาด สั้นเข้า
         เลียบ - ไปตามขอบ ริม (รด)
         สุริเยศ, สุริยง, สุริยา, สุริเยนทร์, สุริโย - พระอาทิตย์
         ทุพพล - กระจอกงอกง่อย, พิการ, หย่อนความสามารถที่จะประกอบการงานตามปรกติได้.
        
            
http://www.motiveblog.com/wp-content/uploads/2014/05/%E0%B8%8A%E0%B8%B21.jpg


แว่นตามาใส่ผู้      อันธการ
คนหนวกฟังสำนาน    ขับร้อง
คนใบ้ใฝ่แสดงสาร      โคลงกาพย์
เฉกเครื่องประดับซ้อง   ใส่ให้วานร ฯ  



         อธิบายความ
         เอาแว่นตา มาใส่ให้คนตาบอด
         บรรเลงขับร้องเพลง ให้คนหูหนวกฟัง
         เอาโคลงกาพย์ มาให้คนใบ้อ่าน
         อุปมา ไม่ต่างกับการเอาเครื่องประดับเพชร พลอย มาสวมใส่ให้ลิง
         ...ไม่เกิดประโยชอันใดเลยทั้งผู้ให้ และผู้รับ....
        



วัดช้างเบื้องบาทรู้     จักสาร
วัดอุทกชักกมุทมาลย์    แม่นรู้
ดูครูสดับโวหาร          สอนศิษย์
ดูตระกูลเผ่าผู้            เพื่อด้วยเจรจา ฯ  



         อธิบายความ
         รอยเท้าช้าง บ่งบอกว่าเป็นช้างขนาดใหญ่หรือขนาดเล็ก
         ก้านบัว หรือ สายบัว เป็นสิ่งบอกให้เรารู้ว่าน้ำตรงนั้นมีความลึกตื้นเท่าใด
         ครูดี ครูดีรู้ได้จากความรู้ที่สอนศิษย์...ต้องมีทั้งศาสตร์และศิลป์เหนือกว่าบรรดาลูกศิษย์ และสามารถสอนลูกศิษย์ให้รู้ได้จริง ทำได้จริง
         คำพูด บ่งบอกสติปัญญา กิริยามารยาท และชาติตระกูลของผู้พูด ว่ามีชาติตระกูลสูงหรือต่ำเพียงไร

        
         อธิบายศัพท์  
         สาร : ช้างใหญ่ หรือช้างสาร
         อุทก : น้ำ
         กมุทมาลย์ :  สายบัว ก้านบัว ดอกบัว
         แม่นรู้ :  รู้ได้อย่างถูกต้อง
         สดับโวหาร, สดับตรับฟัง : ได้ยินคำเจรจา
         เพื่อด้วยเจรจา : ด้วยการสนนาปราศรัย
                

  ภาพวาดครูเหม เวชกร

ไม้ล้มควรค่ามได้      โดยหมาย
คนล้มจักข้ามกราย      ห่อนได้
ทำชอบชอบห่อนหาย    ชอบกลับ สนองนา
ทำผิดผิดจักให้           โทษแท้ถึงตน ฯ  



         อุปมา-อุปไมย
         ๑.ไม้ล้มจึงข้ามได้ คนล้มอย่าเดินข้าม
         และ ๒.ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

         อธิบายความ
         ไม้ล้มจึงข้ามได้ คนล้มอย่าเดินข้าม หมายถึงเห็นคนอื่นล้มเหลวหรือตกต่ำลง จงอย่าได้ไปซ้ำเติมเขา เพราะในชั่วชีวิตของคนเราย่อมมีทั้งความสำเร็จและความล้มเหลว
         ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว หมายถึงบุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น...ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้รับผลชั่ว          
        
         อธิบายศัพท์  
          ไม้ล้ม : ต้นไม้ล้ม
          ค่าม : ข้าม
          กราย : เฉียดเข้าไปใกล้อย่างไม่มีสัมมาคารวะ
          ห่อน : ไม่ (ในคำประพันธ์บางคราว "ห่อน" ใช้ในความหมายว่า "ไม่")
          ชอบห่อนหาย :  ความดีไม่สูญหาย

              
  ภาพวาดครูเหม เวชกร

ไม้ล้มจักค่ามให้      ดูการ
คนท่าวล้มข้ามพาล     ห่อนได้
เสือผอมอย่าอวดหาญ   เข้าผลัก เสือแฮ
พาลประทุษฐ์ตกไร้       อย่าได้ทำคุณ ฯ  




         อธิบายความ
         - ไม้ล้ม ถ้าจะข้ามให้พิจารณาดูให้ดีเสียก่อน (ไม้มีหลายประเภท 'ไม้ล้ม' นั้น อาจเป็นไม้มงคลอันมีปรากฏนามอยู่ในพระพุทธประวัติ เช่น โพธิ์ สาละ และไทร เป็นต้น
            เป็นสัญลักษณ์ตามธรรมชาติอีกอย่างหนึ่งที่ชาวพุทธน้อมนำมาเป็นเครื่องรำลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และไม่ควรก้าวข้าม)          
         - คนล้ม อย่าก้าวข้าม หมายถึง ห้ามดูถูก เหยียดหยาม ซ้ำเติม คนที่พลาดพลั้ง ประสบเคราะห์กรรม เนื่องจากชะตาชีวิตตกต่ำลง            
         - เห็นเสือผอมโซ อย่าได้อวดกล้าเข้าไปจับต้องเสือ เสือเป็นสัตว์ดุร้าย แข็งแรง เขี้ยวเล็บแหลมคม แม้ร่างกายจะผ่ายผอม แต่เผลอเมื่อไหร่ "เสือกิน สิ้นทั้งขน"
         - อย่าได้ทำคุณกับคนพาล หลีกเลี่ยงการทำความชั่ว คบคนดี หลีกหนีคนพาล ภาษิตนี้ยังสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ดี

         อธิบายศัพท์    
          ไม้ล้ม : ต้นไม้ล้ม
          ค่าม : ข้าม
          ท่าว : (ในกาพย์กลอน) หมายถึง ล้มลง ยอบลง หรือ ก้าวเดิน
          ห่อน : ในคำประพันธ์บางคราว "ห่อน" ใช้ในความหมายว่า "ไม่"
          พาล ประทุษฐ์ :  คนชั่ว คนพาล


  ภาพวาดครูเหม เวชกร

ทรชนยากไร้อย่าทำคุณ
อย่าหยิบทรัพย์อุดหนุน หย่อนให้
ก่อเกื้อเกือบเกินทุนมันมั่ง มีนา
ครั้นค่อยคลายวายไร้ กลับสู้ดูแคลน ฯ


         อธิบายความ
         ขึ้นชื่อว่า คนชั่วหรือคนพาล ย่อมเป็นคนเนรคุณ ไม่รู้คุณคน
         จงอย่าเกื้อกูล หรือให้ความช่วยเหลือ และอย่าหยิบยื่นทรัพย์สินเงินทองให้
         คนพาลสันดานชั่วเช่นนี้ เมื่อพ้นจากความทุกข์ยาก ลืมตาอ้าปากได้
         ย่อมไม่สํานึกบุญคุณ.
         อุมาอุปไมย  “ทำคุณบูชาโทษ  โปรดสัตว์ได้บาป”
         หมายถึง ทำคุณแต่กลับได้โทษ ทำดีแต่กลับส่งผลร้ายมาให้


  ภาพวาดครูเหม เวชกร

แม้นทำคุณท่านได้ถึงพัน
ครั้นโทษมีแต่อัน หนึ่งไซร้
ติฉินหมิ่นคำหยันเยาะกล่าว
กลบลบคุณหลังได้ ยิ่งด้วยพันทวี ฯ


         อธิบายความ
         ทำความดีมากมายนับพันครั้ง
         พลาดพลั้งทำผิดเพียงครั้งเดียว
         กลับถูกดูหมิ่นเหยียดหยาม
         ลบล้างคุณความดีที่เคยกระทำไว้มากมายจนหมดสิ้น...


 
พระเทวทัต ผู้เป็น "มิจฉาทิฐิ" เห็นผิดเป็นชอบ
ประพฤติตนจะเป็นพระศาสดาแทนพระพุทธเจ้าเสียเอง

ทำคุณท่านห่อนรู้คุณสนอง
ท่านบ่แทนคุณปอง โทษให้
กลกาแต่งยูงทองลายเลิศ
ยูงเอาหมึกหม้อไล้ ลูบสิ้นสรรพางค์ ฯ


         อุปมา : ทำคุณคนไม่ขึ้น

         อธิบายความ
         ทำประโยชน์ คุณงามความดีให้แก่เขา
         เขาไม่สำนึกในบุญคุณ ซ้ำร้ายยังกล่าวร้ายป้ายสี นำโทษทุกข์มาให้
         เปรียบดัง นิทานเรื่อง "กากับนกยูง" ที่กล่าวว่า กาช่วยแต่งตัวให้นกยูงจนงามเลิศ
         นกยูงไม่สำนึกถึงบุญคุณของกา แต่กลับตอบแทนด้วยการนำดินหม้อซึ่งมีสีดำ มาละเลงลูบไล้ตัวกาจนดำมืดไปทั้งตัว




         อธิบายศัพท์
         ปอง : ประสงค์ ต้องการ มุ่งหวัง
         โทษให้ : ให้โทษ ให้ร้ายป้ายสี ให้ทุกข์เดือดร้อน
         กล : เล่ห์เหลี่ยม หลอกให้เข้าใจผิด หลอกลวง
         หมึกหม้อ : เขม่าดำที่ติดอยู่ก้นหม้อ
         สรรพางค์ : ทั่วทั้งตัว ทั่้วทั้งกาย



  ภาพวาดครูเหม เวชกร

เทพาพันเทพเรื้องฤทธิรงค์
บ่เท่าพระอินทร์องค์ หนึ่งได้
คุณพันหนึ่งดำรง ความชอบ ไว้นา
มีโทษอันหนึ่งไซร้ กลบล้ำพันคุณ ฯ


         อธิบายความ
         พันเทพเทวา (เทวดา ๑,๐๐๐ องค์) มีฤทธิไม่เท่าหนึ่งองค์อมรินทร์ (พระอินทร์) ผู้เป็นประดุจจอมเทพทั้งปวง
         ผู้ทำคุณความดีไว้นับจำนวนพันครั้ง  เมื่อถึงคราวทำผิดพลาดเพียงครั้งเดียว
         ความผิดพลาดหรือโทษในครั้งนี้ได้ลบล้างคุณความดีที่กระทำไว้มากมายจนหมดสิ้น


  ภาพวาดครูเหม เวชกร

ใครซื่อซื่อต่อตั้งตามกัน
ใครคดคดผ่อนผัน ตอบเต้า
ทองแดงว่าสุวรรณ ยังถ่อง เหมือนฤๅ
ดุจลูกสูสองเถ้า ว่าโอ้เป็นลิง ฯ


         อธิบายความ
         ตรงกับวลี ตาต่อตา ฟันต่อฟัน ใครทำกับบุคคลอื่นเช่นไร ต้องได้รับการสนองตอบแบบเดียวกันเป็นการตอบแทน
         ใครซื่อตรง ทำดีกับเรา เราตอบแทนเขาด้วยซื่อ ความดี....ใครคดต่อเรา ทำร้ายเรา เราให้ร้ายเขาตอบแทนเช่นเดียวกัน
         ทองแดงจะขัดจะถูอย่างไร ไม่มีวันแวววาวระยิบระยับผ่องใสเท่าทองคำแท้  
         ดุจลูกที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็น "คน" ผู้ประเสริฐแท้ๆ ยังดื้อรั้นคล้ายลูกลิงไปได้.
        


  ภาพวาดครูเหม เวชกร

ใครทำโทษโทษนั้นแทนทด
ใครคิดจิตคดคด ต่อบ้าง
ใครจริงจึ่งจริงจรด รักต่อ กันนา
ใครใคร่ร้างเร่งร้าง รักร้างแรมไกล ฯ


         อธิบายความ
         ตรงกับวลี ตาต่อตา ฟันต่อฟัน
         ใครทำร้ายให้เรา เราก็จะทำร้ายตอบ
         ใครคดต่อเรา ทำร้ายเรา เราให้ร้ายเขาตอบแทนเช่นเดียวกัน
         ใครสุจริตจริงใจต่อเรา เราก็จะให้ความจริงใจตอบ  
         ใครคลายรักจากเรา เราก็จักไม่สนใจใยดีอีกต่อไป.


  ภาพวาดครูเหม เวชกร

นายรักไพร่ไพร่พร้อมรักนาย
มีศึกสู้จนตาย ต่อแย้ง
นายเบียนไพร่กระจาย จากหมู่
นายบ่รักไพร่แกล้ง ล่อล้างผลาญนาย ฯ


         อธิบายความ
         เจ้านายดี มีเมตตา ข้าทาสบริวารหรือบ่าวไพร่จะให้ความเคารพรักใคร่และเต็มใจทำงานให้อย่างเต็มอกเต็มใจ
         มีศึกเสือเหนือใต้บ่าวไพร่พร้อมอาสาสู้ศึก พลีชีพตายแทนเจ้านายได้  แต่เจ้านายที่โหดร้ายทารุณ ขาดเมตตาธรรม
         จะถูกบ่าวไพร่หลอกล่อ กลั่นแกล้งล้างผลาญ จนถึงกับสูญเสียวงศ์วารหรือหมดเนื้อหมดตัว        
        



ข้าท้าวเอาจิตท้าวแม่นหมาย
บ่าวท่านเอาใจนาย แม่นหมั้น
ศิษย์ท่านผ่อนผันผาย โดยจิต ครูนา
อยู่ที่เรือนตัวนั้น แต่น้ำใจเอง ฯ


         อธิบายความ
         เป็นลูกน้อง ข้าทาสบริวาร ต้องฝึกฝนตนเอง ขยันแข็งแข็ง รู้จักเอาใจเจ้านาย ทำให้เจ้านายรักและไว้วางใจให้ได้
         เป็นลูกศิษย์ก็ต้องทำตนให้เป็นลูกศิษย์ที่ดี ประพฤติตนให้ถูกต้อง ให้เป็นที่ที่รักใคร่ประทับใจของครูอาจารย์
         เมื่ออยู่ที่บ้านของตนเองนั้น ท่านนึกอยากจะทำอะไรก็ทำตามใจที่ตนชอบ ไม่มีใครเขาว่า
        
      


รักกันอยู่ขอบฟ้าเขาเขียว
เสมออยู่หอแห่งเดียว ร่วมห้อง
ชังกันบ่แลเหลียว ตาต่อ กันนา
เหมือนขอบฟ้ามาป้อง ป่าไม้มาบัง ฯ


         อธิบายความ
         คนรักกัน แม้ตัวจะอยู่ห่างไกลกันจนสุดหล้าฟ้าเขียว ก็เหมือนอยู่ใกล้ชิดร่วมเรือนเดียวกัน
         เพราะจิตใจระลึกถึงกันตลอดเวลา   แต่ถ้าต่างฝ่ายต่างหมดเยื่อใยความผูกพันต่อกันแล้ว
         แม้จะอยู่ร่วมบ้านเดียวกัน ดูเหมือนว่ามีขอบฟ้ามากางกั้น มีป่าไม้่กว้างใหญ่มาบังไว้ ฉะนั้นแล
        



ภาพจาก : พระวิหารวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร บางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร

ให้ท่านท่านจักให้ตอบสนอง
นบท่านท่านจักปอง นอบไหว้
รักท่านท่านควรครอง ความรัก เรานา
สามสิ่งนี้เว้นไว้ แต่ผู้ทรชน ฯ


         อธิบายความ
         ให้สิ่งใดท่าน ท่านจักให้สิ่งนั้นตอบแทนเรา
         ให้ความเคารพนบไหว้ท่าน ท่านจักไหว้ตอบ
         ให้ความรักท่าน ท่านก็ให้ความรักต่อเรา
         "สามสิ่งดังกล่าวนี้" คนชั่วคนพาลไม่สามารถกระทำได้อย่างคนดีทั้งหลายเขาประพฤติปฏิบัติต่อกัน


ภาพจาก : วัดมเหยงคณ์ ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธย จ.พระนครศรีอยุธยา

แม้นมีความรู้ดั่งสัพพัญญู
ผิบ่มีคนชู ห่อนขึ้น
หัวแหวนควรค่าเมืองตรู ตราโลก
ทองบ่รองรับพื้น ห่อนแก้วมีศรี ฯ


         อธิบายความ
         แม้มีความรู้ดุจดังพระพุทธเจ้าผู้เป็น 'สัพพัญญู' รู้แจ้งโลก
         หากความรู้นั้นเก็บไว้กับตนมิได้นำไปเผยแพร่หรือก่อให้เกิดประโยชน์อันใดแก่ชนหมู่มาก ย่อมไม่มีคนยกย่องเชิดชู
         เปรียบดัง เพชรพลอยจะมีค่าควรเมือง ต้องมีเรือนทองรองรับ เพชรพลอยนั้นจึงจะงดงามมีสง่าราศี
 



ราชรถปรากฎด้วยธงชัย
ควันประจักษ์แก่ไฟ เที่ยงแท้
ราชาอิสระใน สมบัติ
ชายย่อมเฉลิมเลิศแล้ ปิ่นแก้วเกศหญิง ฯ

         อธิบายความ
         ราชรถ วิจิตร สง่างามระหง ด้วยแอกงอนประดับธงงอนรถ (ธง ๓ ชาย)
         มีควันไฟปรากฏที่ใด ณ ที่นั้นย่อมมีกองไฟเป็นแน่แท้
         พระมหากษัตริย์ผู้มีบุญญาธิการสูงส่งย่อมครองราชสมบัติและปกครองข้าแผ่นดินให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขและไม่นำพาประเทศให้ตกเป็นเมืองขึ้นแก่ใคร
         ชายที่ยกย่องเชิดชูให้เกียรติภรรยา เป็นผู้ชายที่ดีเลิศประดุจปิ่นแก้วอันมีค่า ประดับกั้นเกศให้แก่หญิงผู้เป็นภรรยา

        


กระเหว่าเสียงเพราะแท้ แก่ตัว
หญิงเลิศเพราะรักผัว   แม่นหมั้น
นักปราชญ์มาตรรูปมัว หมองเงื่อน งามนา
เพราะเพื่อรสธรรมนั้น ส่องให้เห็นงาม ฯ

         อธิบายความ
         - นกกระเหว่าหรือนกดุเหว่า มีสีดำ ลายพร้อยไปทั้งตัว ไม่สวยงาม
           แต่เป็นสัตว์ที่ผู้อื่นรักใคร่ เพราะมีเสียงร้องอันไพเราะ
         - หญิงได้รับการสรรเสริญว่าเป็นหญิงดี เพราะมีความซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อสามี
         - บุคคลจะได้รับการยกย่องว่าเป็นนักปราชญ์ เพราะเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยความรู้ มีปัญญา
           มีคุณงามความดี มีคุณธรรมของปราชญ์ มิใช่เป็นนักปราชญ์ได้เพราะรูปร่างหน้าตา

 


ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต - ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก
ธีโร จ  พลวา สาธุ ยูถสฺส ปริหารโก - ปราชญ์ มีสติปัญญาบริหารให้ประโยชน์สำเร็จได้.

นารายณ์วายเว้นจาก อาภรณ์
อากาศขาดสุริยจร                . แจ่มหล้า
เมืองใดบ่มีวร นักปราชญ์
แม้ว่างามล้นฟ้า ห่อนได้งามเลย ฯ

         อธิบายความ
         - พระนารายณ์หากปราศจากเครื่องประดับองค์และประดับพระหัตถ์ มีอาทิ ฉลองพระองค์ดั่งกษัตริย์ มงกุฎทอง
            มี ๔ กร ถือสังข์ จักร์ คทา ส่วนอีกกรอาจถือดอกบัว  ย่อมไม่ต่างจากนภากาศอันย่อมมืดสนิท ยามไร้แสงอาทิตย์ฉายแสง
         - เมืองใดมีแต่คนโง่เขลาเบาปัญญา ขาดผู้รู้ ขาดนักปราชญ์ที่จะนำพาบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองเสียแล้ว  เมืองนั้นแม้จะงดงามดั่งเมืองสวรรค์ ก็หาความสง่างาม หรือหาความสงบเรียบร้อยมิได้เลย





เขาใดไร้ถ้ำราชสีห์หมาง
สระโหดหงส์ละวาง                . วากเว้
พฤกษ์ใดบกใบบาง นกหน่าย
สาวซัดชู้โอ้เอ้ เพราะชู้ชายทราม ฯ

         อธิบายความ
         ขุนเขาแห่งใดไร้ถ้ำที่พึงอาศัย เสือสิงห์ย่อมหมางเมิน
         สระแห่งใดไม่มีความอุดมสมบูรณ์ ไม่เป็นที่เกษมสำราญ หงส์ย่อมไม่มาพำนักอาศัย
         ต้นไม้ที่มีใบไม่ดกหนาแน่น เหล่านกกาก็พากันบินหนี
         หญิงมีชู้ ชู้นั้นก็เป็นคนเลวทรามไปด้วยกัน
        
         กล่าวสรุปให้ได้ใจความสั้นๆ โคลงสุภาษิตนี้หมายถึง สิ่งใดที่หมดประโยชน์ หรือหมดอำนาจวาสนา ผู้คนนำพาก็ลาจาก ไม่ให้ความสำคัญอีกต่อไป


 

ภาพจาก วัดมเหยงคณ์ ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

ป่าใดไกลพยัคฆ์ร้ายราวี
ไม้หมดม้วยบ่มี                . ร่มชื้อ
หญิงยศงดงามดี ผัวหน่าย
เป็นที่หมิ่นชายยื้อ หยอกเย้าเสียตน ฯ

         อธิบายความ
         ผืนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ แต่ไม่มีเสือสิงห์อยู่อาศัย
        ไม่ช้าไม่นานไม้ใหญ่ย่อมถูกตัดทำลายจนหมดป่า        
        หญิงมียศศักดิ์ รูปร่างหน้าตาสวยงามหมดจด แต่สามีเบื่อหน่าย ไม่ยกย่องเชิดชู
        หญิงนั้นย่อมเป็นที่ดูหมิ่นของชายทั้งหลาย และหวังได้เชยชมสนองตัณหาราคะเพียงชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น




ภาพจาก : พระตำหนักแดง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร

พลูหมากจากโอษฐ์โอ้เสียศรี
หญิงจากจอมสามี                . ครอบเกล้า
เรือนปราศจากบุตรี ดรุณเด็ก
เมืองจากจอมภพเจ้า สี่นี้ฤๅงาม ฯ

         อธิบายความ
         โคลงสุภาษิตนี้ท่านกล่าวถึง ๔ สิ่งที่ไม่เป็นสิริ ไม่งดงาม ไม่เจริญ ไม่อาจนำความสุขมาให้ ได้แก่

         พลูหมากที่เคี้ยวจนจืดชืด เมื่อคายออกจากปาก เรียกว่า “ชานหมาก”  เป็นสิ่งสกปรก ปนเปื้อนไปด้วยน้ำลาย
         หญิงปราศจากสามี ที่จะให้ความรัก ความอบอุ่น คอยปกป้องคุ้มครองดูแล และเป็นผู้นำสร้างฐานะครอบครัวให้มีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น
         ครอบครัวที่ไม่มีบุตรสืบวงศ์ตระกูล  คอยเป็นตัวเชื่อมให้ครอบครัวมีความสัมพันธ์เหนียวแน่น และความรู้สึกผูกพันทางสายเลือด
         บ้านเมืองที่ไม่มีกษัตริย์เป็นประมุข เป็นศูนย์รวมจิตใจประชาชน และผู้นำในการสร้างความมั่นคงแก่ประเทศชาติ

 


ภาพ : หลังฉากอุปรากรจีนปากน้ำโพ เทศกาลตรุษจีน ปีพุทธศักราช ๒๕๖๐

เจ็ดวันเว้นดีดซ้อมดนตรี
อักขระห้าวันหนี                . เนิ่นช้า
สามวันจากนารี เป็นอื่น
วันหนึ่งเว้นล้างหน้า อับเศร้าศรีหมอง ฯ

         อธิบายความ
         ฝึกฝนซ้อมดนตรีหนึ่งวัน หยุดซ้อมไปเจ็ดวัน
         ร่ำเรียนวิชาการได้หนึ่งวัน ขาดเรียนไปห้าวัน
         หายออกจากบ้านไปสามวัน ภรรยาอาจปันใจให้ชายอื่น
         เราศีคนเราอยู่ที่ใบหน้า ... เว้นล้างหน้าเพียงหนึ่งวัน ทำให้หน้าตาเศร้าหมอง สิ้นสง่าราศี

 
         โคลงสุภาษิตนี้ท่านกล่าวถึง สี่สิ่งที่ไม่เป็นไปเพื่อความสำเร็จและไม่เป็นมงคลแก่ตน
         ท่านเตือนสติให้มีความอดทน มีความเพียรพยายาม...ความรู้ ความสามารถ และความชำนาญการในเรื่องใดๆ ก็ตาม เกิดจากการฝึกฝนอบรมทักษะอย่างสม่ำเสมอ





ดอยใดมีถ้ำราช-สีห์ประสงค์
เหมืองมาบมีบัวหงส์                . หากใกล้
ต้นไม้พุ่มพัวพง นกมาก มีนา
สาวหนุ่มตามชู้ไซร้ เพราะชู้ชอบตา ฯ

         อธิบายความ
         ภูเขาที่มีถ้ำ เสือสิงห์ก็มาอยู่อาศัย
         สระน้ำที่สมบูรณ์ด้วยพรรณบัว สระนั้นย่อมเป็นที่เกษมสำราญของหมู่หงส์
         ต้นไม้ที่มีร่มใบหนาทึบ เป็นที่อาศัย ที่หลบภัยให้กับมวลหมู่นกกา
         หญิงชายเพียงสบตาก็รู้ถึงหัวใจ ว่าเราต่างผูกพัน รักกัน พร้อมที่ก้าวเดินไปด้วยกัน



รูปหล่อ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
ภาพจาก : วัดป่าบ้านหนองผือ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

เปือกตมชมชื่นเชื้อกาสร
หงส์กับบุษบากร                . ชื่นช้อย
ภิกษุเสพสังวร - ศีลสุข ไซร้นา
บุรุษรสรักร้อย เท่าน้อมในหญิง ฯ

         อธิบายความ
         โคลนตม เป็นที่ชื่นชอบของควาย นอนแช่ให้คลายความร้อน
         มวลดอกไม้ ทำให้หงส์เบิกบานแจ่มใส
         พระภิกษุที่น้อมประพฤติตามพระวินัย จะจำเริญไปด้วยความสุข หลุดพ้นจากความทุกข์
         ผู้หญิง เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ชายที่หลงรัก น้อมใจ โอนอ่อนผ่อนตาม



ใครจักผูกโลกแม้รัดรึง
เหล็กเท่าลำตาลตรึง       . ไป่หมั้น
มนต์ยาผูกนานหึง หายเสื่อม
ผูกเพื่อไมตรีนั้น แน่นเท้าวันตาย ฯ

         อธิบายความ
         เอาเหล็กขนาดเท่าลำตาลไปผูกมัดโลกไว้ ก็ไม่อาจทำให้โลกหยุดหมุนได้
         การทำอาถรรพ์มนต์ดำเสน่ห์ยาแฝดให้คนลุ่มหลงในตัวผู้กระทำ ก็มีผลได้เพียงชั่วคราว นานวันไปเวทย์มนต์ก็เสื่อมสลาย ไม่จีรังยั่งยืน
         แต่การมีกัลยาณมิตรที่ดี มิตรจะนำแต่ความสุขความเจริญมาให้ตลอดกาล
         ฉะนั้น หากเราปรารถนาความสุข ความมั่นคง พึงสมาคมกับปราชญ์หรือกัลยาณมิตร




จำสารสับปลอกเกี้ยวตีนสาร
จำนาคมนต์โอฬาร       . ผูกแท้
จำคนเพื่อใจหวาน ต่างปลอก
จำโลกนี้นั่นแล้ แต่ด้วยไมตรี ฯ

         อธิบายความ
         ห้ามช้าง ไม่ให้ช้างหนีหรือออกไปหากินไกล ให้จำปลอก หมายถึงให้สวมปลอกที่เท้าคู่หน้าของช้างไว้
         สยบนาค นาคเป็นสัตว์มีอิทธิฤทธิ์ มีพิษร้าย จะปราบพญานาคให้สิ้นพยศ ต้องใช้ทิพยมนต์อาลัมภายน์ เป็นโอสถทิพย์ที่มาจากครุฑ สะกดให้นาคหมดแรง
         จำคน สร้างเสน่ห์ให้คนรักด้วยจิตเมตตา ด้วยถ้อยคำที่อ่อนหวาน วางตนเสมอต้นเสมอปลาย
         จำโลก การมีกัลยาณมิตร คือ เพื่อนที่ดี มีน้ำใจไมตรีต่อกัน ทำเป็นอาจิณ ตนเองและเพื่อนมนุษย์จะมีชีวิตอยู่อย่างเป็นสุข ห่างไกลจากสิ่งอันเป็นข้าศึก
        

ขอเชิญร่วมอธิบายความตามโคลงโลกนิติ เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา
และแก้ไขสิ่งที่ผู้โพสท์อาจตีความคลาดเคลื่อน  เผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป (b)


400-al22
3079  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / Re: ขนมปังไส้สังขยาใบเตย สูตร/วิธีทำ : ขนมปังเนื้อฟู นุ่ม เหนียว เมื่อ: 27 มิถุนายน 2559 15:40:58


แป้งที่ตีจนได้ที่แล้ว นำไปใส่ในภาชนะสำหรับหมักแป้งที่ทาด้วยเนยขาว
ใช้ผ้าขาวบางคลุมแป้ง แล้วหาฝาปิดภาชนะไว้ด้วย


ใช้ได้แล้ว...แป้งขึ้นฟูเป็นสองเท่า ขนมปังจะนุ่มเนียนหรือไม่ ให้สังเกตดูที่เนื้อแป้งก็จะรู้ได้ไม่ยาก
หน้าตาอย่างนี้การันตีได้...นุ่ม เหนียว!


ตัดแป้ง ชั่งน้ำหนักให้ได้ก้อนละ 30 กรัม คลึงให้กลม แล้วใส่ในพิมพ์ที่ทาด้วยเนยขาว
สังเกตให้ดีๆ จะเห็นแป้งกลมๆ มีอยู่ครึ่งลูก นอกนั้นบิดๆ เบี้ยวๆ ตามอารมณ์ผู้ทำ


ใช้ผ้าขาวบางหรือแผ่นพลาสติกคลุมให้แป้งขึ้นฟูเป็นสองเท่า
ใช้แปรงจุ่มนมข้นจืดทาหน้าขนม นำเข้าอบไฟล่าง-บน ด้วยอุณหภูมิ 170° ใช้เวลา 15-20 นาที


พอนำออกจากเตา ทาหน้าขนมอีกครั้งด้วยนมข้นจืด (ช่วยให้หน้าขนมเป็นมันเงา)




----------------------------------



สังขยาใบเตย

• ส่วนผสม  
- นมข้นจืดระเหย 1+½ ถ้วย
- หัวกะทิคั้นไม่ผสมน้ำ ½ ถ้วย
- ไข่ไก่ 2 ฟอง
- น้ำใบเตยคั้นข้น ¼ ถ้วย
- น้ำตาลทราย 1 ถ้วย
- แป้งข้าวโพด 2 ช้อนโต๊ะ


• วิธีทำ
1.ผสมส่วนผสมทุกอย่าง (ยกเว้นน้ำตาลทราย) คนให้เข้ากัน
2.กรองส่วนผสมด้วยกระชอนตาถี่ ใส่น้ำตาลทราย นำไปตุ๋นโดยกวนส่วนผสมตลอดเวลาจนข้น
3.พักไว้ให้เย็น นำไปบีบเป็นไส้ขนมปัง







วิธีการตุ๋น ใส่น้ำในหม้อ ยกขึ้นตั้งไฟให้เดือด นำหม้อที่ใส่ส่วนผสมของสังขยาวางในน้ำร้อน
ใช้ตะกร้อมมือกวนไปเรื่อยๆ จนส่วนผสมข้น (วิธีนี้ช่วยให้ขนมที่กวนที่เป็นลูกหรือเป็นก้อน)


ยกลงจากเตา พักไว้ให้เย็น นำไปเป็นไส้ขนมปัง หรือนำขนมปังมาจิ้มรับประทาน


 หัวข้อแนะนำ : ขนมปังนิ่ม-เนยสดหวาน สูตร/วิธีทำ
ดูสูตรและวิธีทำโดยกดที่ตัวอักษรภาษาอังกฤษสีเทาด้านล่างค่ะ

http://www.sookjai.com/index.php?topic=176729.0




3080  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / ขนมปังไส้สังขยาใบเตย สูตร/วิธีทำ : ขนมปังเนื้อฟู นุ่ม เหนียว เมื่อ: 27 มิถุนายน 2559 15:39:35
.





ขนมปังไส้สังขยาใบเตย
ขนมปัง เหนียว นุ่ม...ยุ่งนิดหน่อยแต่อร่อยเกินคุ้ม
แหม! แค่จะเรียบเรียงส่วนผสม-ขั้นตอนการทำ ก็ยังยุ่ง จะเขียนยังไงดีหว่า?..ผู้อ่านจึงจะเข้าใจ
เอางี้แล้วกัน สับสนอย่างไรตั้งกระทู้ถามมาค่ะ ยินดีตอบคำถาม

section: 1
ส่วนผสม  
- แป้งขนมปัง 1 ช้อนโต๊ะ
- นมสด 1+¼ ถ้วย


วิธีทำ
นำแป้งขนมปัง ผสมกับนมสด ยกขึ้นตั้งไฟ กวนให้เข้ากันด้วยไฟอ่อน จนส่วนผสมข้น ยกลงพักไว้ให้เย็น




section: 2
ส่วนผสม  
- ยีสต์แห้ง 1 ช้อนโต๊ะ
- น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ
- น้ำเย็นจัด ¼ ถ้วย


วิธีทำ
ผสมน้ำตาลทรายในน้ำเย็นจัด คนให้น้ำตาลละลาย ใส่ยีสต์ คนให้เข้ากัน พักไว้ให้ยีสต์ทำงานได้อย่างเต็มที่
(ถ้ายีสต์ขึ้นฟูแสดงว่ายีสต์มีประสิทธิภาพ ทำให้เนื้อขนมปังเกิดรูพรุนจนฟูขึ้น แต่ถ้ายีสต์ไม่ขึ้นฟู แสดงว่าเชื้อราตายแล้ว ยีสต์นั้นใช้ไม่ได้)



เราไม่ได้มีอาชีพทำมาค้าขาย ใช้ยีสต์ซองเล็กๆ ก็พอค่ะ ราคาแพงแต่ไม่ต้องเหลือทิ้ง
(ผู้โพสท์เคยซื้อห่อขนาดใหญ่ ใช้ไม่กี่ครั้งก็ไม่ได้ทำอีก ต้องทิ้งไป)


ส่วนผสมในหม้อสีขาวๆ คือแป้งที่กวนกับนมสดค่ะ...พักไว้ให้เย็นสนิท

section: 3
ย้อนกลับมาทำต่อในส่วนที่ 1  แป้งที่กวนไว้คงจะเย็นแล้ว...  
ส่วนผสม
- ไข่ไก่ 2 ฟอง
- เนยสดละลาย 80 กรัม


วิธีทำ
1.นำส่วนผสมของแป้งที่กวนกับนมสด ในขั้นตอนแรก หรือ section 1 โดยตวงแป้งให้ได้ 1 ถ้วยตวง
2.ใส่ไข่ไก่ และเนยสดละลาย ใช้ตะกร้อมือคนให้แป้ง ไข่ และเนยสดละลายเข้ากันจนเนียน



ตวงแป้งกวนใหได้ 1 ถ้วย (สีขาวในชามแก้ว) ใส่ไข่ไก่ เนยสดละลาย แล้วใช้ตะกร้อมือคนให้เข้ากันจนเนียน


มุมขวาของภาพคือส่วนผสมของแป้งกวน ไข่ไก่ และเนยสดละลาย ที่คนเข้ากันจนเนียน
แล้วนำไปเทใส่ในโถแป้งที่เกลี่ยแป้งให้เป็นหลุมตรงกลาง ตีด้วยความเร็วต่ำพอเข้ากัน จึงใส่ส่วนผสมของยีสต์ที่หมักไว้
ตีไปเรื่อยๆ ด้วยความเร็วระดับ 2 หรือ 3 ของเครื่อง โดยใช้เวลาตีนาน 20 นาที


section: 4
ส่วนผสม  
- แป้งขนมปัง 500 กรัม
- เคเอส 505 (สารเสริมคุณภาพ) 1 ช้อนชา
- เกลือป่น ½ ช้อนชา
- น้ำตาลทราย 4 ช้อนโต๊ะ
- นมผง ¼ ถ้วย


วิธีทำ
1.ร่อนแป้งขนมปัง นมผง สารเสริมคุณภาพ และเกลือป่น นำใส่โถผสมอาหาร แล้วใส่น้ำตาลทราย ใช้พายยางคนให้เข้ากัน
2.ทำแป้งให้เป็นบ่อหรือหลุมตรงกลาง ใส่ส่วนผสมของแป้ง ไข่ไก่ และเนยสด ลงในโถแป้ง ใช้หัวตีรูปตะขอ ตีด้วยความเร็วต่ำพอเข้ากัน
3.ใส่ส่วนผสมของยีสต์ ตีด้วยความเร็วระดับ 2 หรือ 3 ใช้เวลาประมาณ 20 นาที
4.นำแป้งที่ได้คลึงให้เป็นก้อนกลม นำไปใส่ในภาชนะสำหรับหมักแป้งที่ทาด้วยเนยขาว คลุมด้วยผ้าขาวบาง แล้วปิดฝาให้มิดชิด
   หมักไว้จนกว่าแป้งจะขึ้นฟูเป็นสองเท่า (ใช้เวลาประมาณ 30 นาที...บางทีไปได้ยีสต์ที่ใกล้เสื่อมคุณภาพ ต้องใช้เวลาหมักเป็นชั่วโมง)
5.นำแป้งขึ้นวางบนกระดาน ตัดแป้งชั่งน้ำหนักให้ได้ 30 กรัม คลึงให้เป็นก้อนกลม...วางในพิมพ์ที่ทาด้วยเนยขาว
6.ใช้ผ้าขาวบางหรือแผ่นพลาสติก คลุมหมักแป้งให้ขึ้นฟูเป็นสองเท่า
7.ใช้แปรงจุ่มนมข้นจืดระเหย ทาหน้าขนม
8.นำเข้าอบด้วยไฟอุณหภูมิ 170° (ไฟล่าง-บน) ใช้เวลาอบ 15-20 นาที
9.นำออกจากเตาอบ วางบนตะแกรง แล้วรีบทาหน้าขนมด้วยนมข้นจืดระเหยอีกครั้งหนึ่ง
10.แกะขนมออกจากพิมพ์  พักไว้ให้เย็น แล้วจึงบีบไส้สังขยาใส่ในขนมปัง

หน้า:  1 ... 152 153 [154] 155 156 ... 273
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.119 วินาที กับ 27 คำสั่ง

Google visited last this page 22 มีนาคม 2567 22:28:37