[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 เมษายน 2567 22:58:51 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก เวบบอร์ด ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

  แสดงกระทู้
หน้า:  1 ... 168 169 [170] 171 172 ... 274
3381  สุขใจในธรรม / พุทธวัจนะ - ภาษิตธรรม / Re: ข้อคิดจากธรรมะ โดย พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต) เมื่อ: 28 กันยายน 2558 16:23:35
.


ทำงานไม่ให้คั่งค้าง
การทำงาน จัดว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการก้าวไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตและทำชีวิตให้มีคุณค่า สามารถชักนำให้มนุษย์รู้จักสภาพอันแท้จริงของสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ในโลก ทำให้มนุษย์ดำเนินไปสู่ความโชคดีและร้าย และสามารถพัฒนาโลกให้เจริญก้าวหน้าไปได้ไกล

เมื่อทราบว่ามนุษย์มีความเป็นอยู่คู่กับการทำงานเช่นนี้ ผู้ที่มีความเกียจคร้าน ไม่รู้จักวิธีการทำงานหาเลี้ยงชีพ ทำงานให้คั่งค้างเหมือนดินพอกหางหมู บัณฑิตผู้รู้จึงเรียกคนเช่นนี้ว่า คนสิ้นคิด มีชีวิตความเป็นอยู่อันไร้ค่าเท่ากับเกิดมารกโลก เพราะไม่รู้จักใช้ชีวิตให้เป็นประโยชน์ ไม่รู้จักใช้ชีวิตให้มีค่า กลายเป็นคนอนาถาไร้ที่พึ่งพิง

ส่วนผู้ที่มีความอุตสาหะประกอบการงาน ไม่มีความเกียจคร้านและเบื่อหน่าย ทำงานให้สำเร็จไม่คั่งค้าง มีความมุ่งหมายในการทำงานด้วยศรัทธาอันแน่วแน่และมั่นคง ย่อมสามารถดำรงตนให้เป็นผู้มีทรัพย์สมบัติ ได้รับเกียรติยศ เพราะการกระทำหรือการทำงานนั้นย่อม แบ่งฐานะของมนุษย์ ให้ทราบว่าดี เลวมากน้อยกว่ากันอย่างไร

สำหรับผู้ที่เคยทำการงานมาแล้วย่อมทราบได้ดีว่างานที่ดีมีประโยชน์นั้นทำได้ยากมาก เพราะจะต้องตรากตรำลำบาก นอกจากต้องทุ่มเทกำลังความคิดและความสามารถแล้ว จะต้องใช้ความรอบคอบคอยสอดส่องถึงผลที่จะมากระทบว่าจะดีหรือชั่ว จะถูกหรือผิดประการใด จะต้องทำให้ถูกจังหวะและโอกาส รวมถึงเหมาะสมแก่สถานที่นั้นๆ

อีกประการหนึ่ง เพื่อให้การงานสำเร็จเรียบร้อย ยังต้องใช้ความเก่งกล้าสามารถไม่ย่อท้อต่ออันตรายและอุปสรรค ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในระหว่างอันจะเป็นเหตุให้ละการทำงาน เพราะไม่มีกำลังใจที่จะทำงานให้สำเร็จได้ ยิ่งการงานที่จะก่อให้เกิดชื่อเสียงและทรัพย์สมบัติ ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์อย่างสูงด้วยแล้วก็ยิ่งสำคัญมาก ถ้าหากไม่มีหลักการทำงานประจำใจก็ยากที่จะให้สำเร็จตามความมุ่งหมายได้

หลักของการทำงานให้เสร็จลุล่วงด้วยดี คือ มีความพอใจ มีใจรักในงานที่ทำ มีความพากเพียรไม่ละทิ้งในงานที่ทำ เอาใจใส่ในงานที่ทำ และใช้การคิดพิจารณาทบทวนงานนั้นๆ ด้วยปัญญา

คุณสมบัติของนายจ้างที่ดี จัดงานให้ลูกจ้างทำตามความเหมาะสม ให้ค่าจ้างรางวัลสมควรแก่งานและความสามารถ ให้สวัสดิการที่ดี มีอะไรได้มาก็แบ่งปันให้ ให้มีวันหยุดพักผ่อนตามสมควร

คุณสมบัติของลูกจ้างที่ดี เริ่มทำงานก่อนเลิกงานทีหลัง เอาแต่ของที่นายให้ ทำงานให้ดียิ่งขึ้น นำความดีของนายไปสรรเสริญ

อานิสงส์การทำงานไม่คั่งค้าง ทำให้ฐานะของตน ครอบครัว ประเทศชาติดีขึ้น ได้รับความสุข พึ่งตัวเองได้ เป็นที่พึ่งของคนทั้งหลายได้ สามารถสร้างบุญกุศลอื่นๆ ได้ง่าย เป็นผู้ไม่ประมาท ป้องกันภัยในอบายภูมิได้ มีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า เป็นนิสัยติดตัวไปข้ามภพข้ามชาติ ได้รับการยกย่องสรรเสริญจากคนทั่วไป

บุคคลใดไม่คำนึงถึงหนาวร้อน อดทนให้เหมือนหญ้า กระทำกิจที่ควรทำด้วยเรี่ยวแรงของลูกผู้ชาย บุคคลนั้นย่อมไม่เสื่อมจากสุข




สติมาปัญญาเกิด
สติ เป็นเครื่องกระตุ้นเตือนให้ขวนขวายในการสร้างความดี ไม่แชเชือนหยุดอยู่กับที่ ไม่ทอดธุระ ไม่เกียจคร้าน

สติ เป็นเครื่องเร่งเร้าให้มีความขะมักเขม้น คือเมื่อเตือนตัวเองให้ทำความดีแล้วก็ให้ทำอย่างเอาจริงเอาจัง

สติ เป็นเครื่องทำให้เกิดความละเอียดรอบคอบในการทำงาน ไม่สะเพร่า ไม่ชะล่า ใจว่าสิ่งนั้นๆ เป็นเรื่องเล็กน้อยไม่เป็นไร

สติเสมือนเสาหลัก เพราะปักแน่นในอารมณ์ คือ คนที่มีสติเมื่อจะไตร่ตรองคิดในเรื่องใด ใจก็ปักแน่นคิดไตร่ตรองในเรื่องนั้นอย่างละเอียดถี่ถ้วน ไม่คิดฟุ้งซ่านไปเรื่องอื่น คิดไตร่ตรองจนเข้าใจแจ่มแจ้ง ทะลุปรุโปร่ง

สติเหมือนนายประตู เพราะจะทำหน้าที่เสมือนนายประตู คอยเฝ้าดูสิ่งต่างๆ ที่ผ่านเข้ามากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตลอดจนเฝ้าดูถึงอารมณ์ที่ใจคิด ถ้าสิ่งใดเกิดขึ้นสติก็จะใคร่ครวญทันทีว่า ควรปล่อยให้ผ่านไปหรือไม่ หรือควรหยุดไว้ก่อน ปรับปรุงแก้ไขให้ดีเสียก่อน

สติเสมือนหางเสือ เพราะจะเป็นตัวควบคุมเส้นทางดำเนินชีวิตของเราให้มุ่งตรงไปตรงไปสู่ความสำเร็จ ตามเป้าหมายที่วางไว้ ไม่หลงไปทำในสิ่งที่ไม่ควร เหมือนคอยระวังไม่ให้เรือไปเกยตื้น

สติ มีประโยชน์ในการควบคุมรักษาสภาพจิตให้อยู่ในภาวะที่เราต้องการ โดยการตรวจตราความคิด เลือกรับสิ่งที่ต้องการไว้ กันสิ่งที่ไม่ต้องการออกไป ตรึงกระแสความคิดให้เข้าที่ ทำให้จิตเป็นสมาธิได้ง่าย เช่น จะดูหนังสือก็สนใจ คิดติดตามไปตลอด ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่คิดเรื่องอื่น จะทำสมาธิ ใจก็จรดนิ่ง สงบตั้งมั่น ละเอียดอ่อนไปตามลำดับ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่วอกแวก

สติ มีประโยชน์ทำให้ร่างกายและจิตใจอยู่ในสภาพเป็นตัวของตัวเอง ไม่เป็นทาสของอารมณ์ต่างๆ เช่น ความโกรธเคือง ความลุ่มหลงมัวเมา จึงมีความโปร่งเบา ผ่อนคลาย เป็นสุข โดยสภาพของมันเอง พร้อมที่จะเผชิญความเป็นไปต่างๆ และจัดการกับสิ่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้องเหมาะสม

สติ มีประโยชน์ทำให้ความคิดและการรับรู้ขยายวงกว้างออกไปได้โดยไม่มีสิ้นสุด เพราะไม่ถูกบีบคั้นด้วยกิเลสต่างๆ จึงทำให้ความคิดเป็นอิสระ มีพลัง แต่มีสติควบคุม เสมือนเรือที่หางเสือควบคุมอย่างดี ย่อมสามารถแล่นตรงไปในทิศทางที่ต้องการได้ ไม่วกวน

สติ มีประโยชน์ทำให้การพิจารณาสืบค้นด้วยปัญญาดำเนินไปได้เต็มที่ เพราะมีความคิดที่เป็นระเบียบ และมีใจซึ่งมีพลังเข้มแข็ง จึงเป็นการเสริมสร้างปัญญาให้บริสุทธิ์

การฝึกสติทำให้เป็นคนไม่ประมาท เพราะระลึกถึงการละเว้นทุจริตทางกายวาจา ใจ และประพฤติสุจริตทางกาย วาจา ใจ อยู่เนืองๆ มิได้ขาด จะไปทำชั่วทำบาปอะไรเข้า ก็มีสติระลึกได้ทันทีว่า สิ่งที่กำลังจะทำนั้นเป็นบาป ไม่ยอมทำโดยเด็ดขาด ทำแต่สิ่งที่เป็นบุญเป็นกุศลเท่านั้น

มีสติระลึกถึงความทุกข์ในอบายภูมิอยู่เนืองๆ มิได้ขาด มีสติระลึกได้เสมอว่า การเกิดในอบายภูมินั้นมีทุกข์มากเพียงไร เมื่อระลึกได้เช่นนี้แล้วก็ไม่ยอมทำชั่วเลย เพราะเกรงว่าจะต้องไปเกิดในอบายภูมิ เช่นนั้น

มีสติระลึกได้ว่า การที่เราจะทำดีหรือทำชั่วนั้นขึ้นอยู่กับใจของเราเป็นสำคัญ ว่าใจของเราจะเข้มแข็ง เอาชนะความอยากต่างๆ ได้หรือไม่ และวิธีที่จะฝึกใจได้ดีที่สุดคือการฝึกทำสมาธิ จึงต้องหาเวลาทำสมาธิภาวนาอย่างสม่ำเสมอ 





สำรวมจากการดื่มน้ำเมา
นํ้าเมาอาจทำมาจากแป้งข้าวสุก ปรุงโดยผสมเชื้อหรืออะไรก็แล้วแต่ที่ดื่มแล้วทำให้มึนเมา เช่น เบียร์ ไวน์ ไม่ใช่แค่เหล้าเท่านั้น ล้วนแล้วแต่ทำให้เกิดโทษทั้งสิ้น

เช่น ทำให้เสียทรัพย์ เพราะต้องนำเงินไปซื้อหามาทั้งๆ ที่เงินจำนวนเดียวกันนี้สามารถนำเอาไปใช้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างอื่นได้มากกว่า

ทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท ซึ่งนำไปสู่ความวุ่นวาย เจ็บตัว หรือถึงแก่ชีวิต และคดีความ เพราะน้ำเมาทำให้ขาดสติขาดการยับยั้งชั่งใจ

ทำให้เกิดโรค โรคที่เกิดเนื่องมาจากการดื่มน้ำเมา ล้วนแล้วแต่บั่นทอนสุขภาพกายจนถึงตายได้ เช่น โรคตับแข็ง โรคหัวใจ โรคความดัน

ทำให้เสียชื่อเสียง เมื่อคนเมาไปทำเรื่องไม่ดี เป็นต้นว่า ไปลวนลามสตรี ปล่อยตัวปล่อยใจ ก็ทำให้วงศ์ตระกูล และหน้าที่การงานเสื่อมเสียไปด้วย ทำให้ลืมตัวไม่รู้จักอาย คนเมาทำสิ่งที่ไม่ควรทำ

บั่นทอนกำลังปัญญา ดื่มแล้วทำให้เซลล์สมองเริ่มเสื่อมลง ก็จะทำให้สุขภาพและปัญญาเสื่อมถอย ความสามารถโดยรวมก็ด้อยลง

การดื่มน้ำเมาไม่ได้มีโทษเฉพาะชาตินี้เท่านั้น แต่ยังมีโทษติดตัวผู้ดื่มไปข้ามภพข้ามชาติมากมายหลายประการ ตัวอย่างเช่น

เกิดเป็นคนใบ้ ตายในขณะมึนเมา คนที่เมาสุราพูดไม่รู้เรื่อง ได้แต่ส่งเสียง พอตายแล้วก็ตกนรก จากนั้นกลับมาเกิดใหม่ เศษกรรมยังติดตามมาเลยเป็นใบ้

เกิดเป็นบ้า ในอดีตดื่มเหล้ามามาก เวลาเมาก็มีประสาทหลอน เวรนั้นติดตัวมา ในภพชาตินี้เกิดมาก็เป็นบ้า อยู่ดีๆ ก็ได้ยินเสียงคนมากระซิบบ้าง เห็นภาพหลอนว่าคนนั้นคนนี้จะมาฆ่าบ้าง

เกิดเป็นคนปัญญาอ่อน ดื่มสุรามากๆ ตอนเมาก็คิดอะไรไม่ออกอยู่แล้ว ด้วยเวรสุรานี้ก็ส่งผลให้เกิดเป็นคนปัญญาอ่อน

เกิดเป็นสัตว์เลื้อยคลาน ดื่มสุราเมามากๆ ก็ซ้อมคลานมาตั้งแต่ตอนเป็นคน พอตายเข้าก็ได้เกิดมาคลานสมใจตน

วิธีเลิกเหล้าให้ได้เด็ดขาดนั้น ต้องตรองให้เห็นโทษว่าสุรามีโทษมหันต์ ตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่าจะเลิกโดยเด็ดขาด ให้สัจจะกับผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ หรือกับพระภิกษุ สิ่งใดที่จะเป็นสื่อให้คิดถึงเหล้า เช่น ภาพโฆษณา เหล้าตัวอย่างขนไปทิ้งให้หมด ถือว่าเป็นของเสนียด นำอัปมงคลมาสู่บ้าน นึกถึงศักดิ์ศรีตัวเองให้มาก ว่าเราเป็นชาวพุทธเป็นผู้นับถือพระพุทธเจ้า เป็นศิษย์มีครู เป็นคนมีเกียรติยศ เป็นทายาทมีตระกูล นึกถึงศักดิ์ศรีตัวเองอย่างนี้แล้วจะได้เลิกเหล้าได้สำเร็จ เพื่อนนักเลงสุราทั้งหลาย ควรหลีกเลี่ยงออกห่าง ไม่อย่างนั้นเดี๋ยวสนิทสนมกับเพื่อนขี้เหล้าอยู่ยากจะเลิกเหล้าได้

อานิสงส์การสำรวมจากการดื่มน้ำเมา ทำให้เป็นคนมีสติดี ไม่ลุ่มหลง ไม่มัวเมา ไม่เกิดการทะเลาะวิวาท รู้กิจการทั้งในอดีต ปัจจุบัน อนาคตได้รวดเร็ว ไม่เป็นบ้าใบ้ ไม่เป็นคนปัญญาอ่อน มีแต่ความสุข มีแต่คนนับถือยำเกรง มีชื่อเสียงเป็นที่รักใคร่ของคนทั่วไป ไม่หลงทำร้ายผู้มีพระคุณ มีหิริโอตตัปปะ มีความเห็นถูกต้อง มีปัญญามาก

บรรลุมรรคผลนิพพานโดยง่าย




ธรรมมีอุปการะมาก
สติ คือ ความระลึกได้ คู่กับคำว่า สัมปชัญญะ คือ ความรู้ตัวอยู่เสมอ

สติ เป็นไปในกิริยาที่ทำ กิริยาที่พูด กิริยาที่นึกหรือคิด คือก่อนจะทำกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้ระลึกนึกได้ก่อนแล้วจึงทำ จึงพูด จึงคิด บุคคลผู้ที่ทำผิด พูดผิด คิดผิด ก็เพราะขาดสติ

สติเป็นไปในกิริยาที่จำ คือ กิจการใดที่ได้ทำไว้แล้ว ถ้อยคำใดที่ได้พูดไว้แล้ว เรื่องใดๆ ที่ได้คิดตกลงใจไว้แล้ว แม้ล่วงกาลเวลาช้านาน ก็ระลึกนึกถึงกิจที่ได้ทำ คำที่ได้พูด เรื่องที่ได้คิดไว้นั้นได้ ไม่ลืมเลือน

บุคคลที่ทำแล้ว พูดแล้ว ลืมเสีย ไม่อาจนำมาเทียบเคียงกับกิจที่จะทำ คำที่จะพูด เรื่องที่จะคิดต่อไป เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายได้ ก็เพราะขาดสติ

ส่วนสัมปชัญญะ ความรู้ตัวอยู่เสมอนั้น เป็นไปในขณะที่กำลังทำ กำลังพูด กำลังคิด คือรู้สึกตัวอยู่เสมอว่ากำลังทำ พูด และคิดอะไรอยู่ กล่าวคือทำ พูด คิดถูกก็รู้ หรือทำ พูด คิดผิดก็รู้

เมื่อรู้ว่ากำลังทำ พูด คิดถูก ก็ให้ทำ พูด คิดอย่างนั้นๆ ต่อไป เมื่อรู้สึกตัวว่ากำลังทำ กำลังพูด กำลังคิดในทางที่ผิด ก็ให้หยุดเสีย ไม่ให้ทำ พูด คิดอย่างนั้นๆ ต่อไปอีก

ความรู้สึกตัวอยู่เสมอว่า ตนมีภาวะเป็นอย่างไร มีหน้าที่ มีกิจที่จะต้องทำอะไรบ้าง ก็ให้ปฏิบัติให้สมกับภาวะและหน้าที่ที่ตนเป็นอยู่และมีอยู่นั้นๆ ไม่บกพร่อง ไม่ผิดพลาด บริบูรณ์ดี เพราะมีสัมปชัญญะควบคุมอยู่

บุคคลที่บกพร่องต่อหน้าที่ มีความเสียหายเกิดขึ้นทั้งแก่ตนและคนอื่น เพราะขาดสัมปชัญญะ ไม่มีความรู้สึกตัวอยู่เสมอว่า กำลังทำ กำลังพูด กำลังคิดอะไรอยู่ จึงทำให้ทำ พูด และคิดไปในทางที่ผิด เป็นเหตุให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนและคนอื่น สติและสัมปชัญญะนี้จึงมีประโยชน์แก่ทุกคน

สติและสัมปชัญญะทั้ง 2 ประการ เรียกว่า ธรรมมีอุปการะมาก คือ ผู้ที่มีใจอันสติสัมปชัญญะเข้ากำกับอยู่เสมอแล้ว ย่อมประพฤติกาย วาจา ในทางที่ถูก ที่ควร ย่อมได้รับผลคือความสุข ความเย็นใจไม่เดือดร้อน สติสัมปชัญญะเป็นธรรมที่มีอุปการะมากแก่คนทุกคน

ผู้มีปัญญาเป็นเลิศ มีการศึกษาดี มีสมรรถภาพในการทำงานดี แต่ถ้ามีปัญญาฟุ้งไป ไม่มีสติเป็นเครื่องยับยั้ง ก็จักเป็นคนฉลาดเกินควร เข้าลักษณะที่ว่า ฉลาดแต่ขาดเฉลียว กลายเป็นผู้ทะนงว่า ตนเท่านั้นสามารถ คนอื่นสู้ตนไม่ได้

เมื่อมีความทะนงตนอย่างนี้แล้ว ความผิดพลาดไม่รอบคอบนานาประการ ก็จะพึงเกิดมีขึ้น อันจะเป็นผลเสียหายแก่ตนและคนอื่น

ถ้าผู้มีปัญญาสามารถดี และมีสติเป็นเครื่องกำกับยับยั้งอยู่ด้วย ก็จักช่วยให้มีความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป ไม่มีความเสื่อม

สติที่เป็นเครื่องระลึก ก่อให้เกิดความนึกคิด ก่อนจะทำ ก่อนจะพูดเป็นเบื้องต้น เป็นเหตุให้รอบคอบ สามารถที่จะประกอบกิจน้อยใหญ่ให้เป็นไปด้วยดี ไม่มีความผิดพลาด



3382  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ไปเที่ยว / 'ปราสาทบ้านปราสาท' วัดปราสาท อ.ห้วยทับทัน จ.ศรีสะเกษ เมื่อ: 28 กันยายน 2558 15:53:47
.


ปราสาทบ้านปราสาท
วัดปราสาท ตำบลปราสาท อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ

ปราสาทบ้านปราสาท สร้างขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ สมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ ทรงครองราชย์  

สร้างขึ้นตามความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ เพื่อเป็นที่ประดิษฐาน เทพเจ้าตีมูรติ
 
มีลักษณะเป็นอาคารก่อด้วยอิฐ จำนวน ๓ องค์ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เรียงตามแนวทิศเหนือ-ใต้ บนฐานศิลาแลงเดียวกัน

องค์ปราสาทมีแนวกำแพงแก้ว ก่อด้วยศิลาแลงล้อมรอบ มีโคปุระหรือซุ้มประตูอยู่ทางด้านทิศตะวันออก ด้านทิศใต้มีห้องที่กำแพงนอกกำแพงทางทิศตะวันออกห่างออกไปประมาณ ๓๐๐ เมตร

มีบาราย (สระน้ำขนาดใหญ่) กำหนดอายุโบราณสถานราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๗

องค์ปราสาทที่เห็นในปัจจุบันเป็นการบูรณะดัดแปลงในสมัยหลังซึ่งมีลักษณะเป็นธาตุตามแบบศิลปะล้านช้าง ก่อด้วยอิฐถือปูนรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเพิ่มมุม

เหนือเรือนธาตุมีลักษณะเป็นชั้นจำลองอาคารขนาดลดหลั่นซ้อนกันขึ้นไป องค์กลางมีประตูทางเข้า-ออกเฉพาะด้านหน้า

อีกสามด้านก่อทึบเป็นประตูหลอก สำหรับองค์ด้านข้างทั้งสองหลังไม่มีประตูทางเข้าแต่จะก่อทึบเป็นประตูหลอกทั้งสี่ด้าน

การบูรณะดัดแปลงตัวปราสาทนี้ทำให้ปราสาทบ้านปราสาทมีลักษณะผิดแปลกไปจากปราสาทแห่งอื่นๆ









แผ่นป้ายสีน้เงินตัวอักษรสีขาว เขียนว่า “สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สตรีห้ามขึ้น.!”





พระอุโบสถ อยู่ระหว่างก่อสร้าง


โครงไม้ที่ปลูกค้างไว้ คิดจนหัวจะแตกก็คิดไม่ออก
ถามชาวบ้านจึงรู้ว่า วัดมีโครงการจะก่อสร้างศาลาแต่ขาดแคลนไม้ ทำได้เพียงเท่าที่เห็นในภาพ


'ลุยทุ่ง'...เส้นทางไปวัดปราสาท ที่ตั้งปราสาทบ้านปราสาท




ควายยังงง มาทำไมกัน!
3383  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / วิธีทำ ข้าวผัดปลาอินทรีย์เค็มทอด เมื่อ: 24 กันยายน 2558 10:26:58
.



ข้าวผัดปลาปลาอินทรีย์เค็ม

ส่วนผสม
- ข้าวสวย 3 ถ้วย
- หมูสับ 1 ขีด
- ปลาอินทรีย์เค็มทอด 1 ชิ้น
- ปลาช่อนเค็มหั่นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า ทอดกรอบ ½  ถ้วย (หรือปลาอื่นๆ ทอดกรอบ)
- ไข่ไก่ 3 ฟอง
- คะน้าลวกสุก แล้วหั่นหยาบ
- กระเทียมสับ 1 ช้อนโต๊ะ
- น้ำตาลทราย
- ซอสปรุงรส 


วิธีทำ
1.เจียวกระเทียมให้เหลืองหอม ใส่หมูสับผัดเกือบสุก ใส่ไข่ไก่
    ผัดให้ไข่ไก่กระจายทั่วกัน
2. ใส่ปลากุเลาเค็ม (แกะก้างกลางออก ยีให้เป็นชิ้นเล็ก) ใส่ปลาช่อนทอด
    ใบคะน้า ปรุงรสด้วยน้ำตาลทรายและซอสปรุงรส ชิมรสตามชอบ
3. จัดเสิร์ฟ รับประทานกับแกงจืด 



ข้าวผัดสูตรนี้ เปลี่ยนจากกระทะธรรมดา
เป็นกระทะที่เขาใช้ผัดราดหน้าขาย ข้าวผัดจะได้หอมกลิ่นน้ำมันจากไฟแรง



ขั้นต้น ใส่น้ำมันในกระทะ เปิดไฟให้แรงจนน้ำมันร้อนจัด มีควันลอยขึ้นตามขอบกระทะ
เราได้น้ำมันหอมจากไฟแรงแล้ว ปิดแก๊สชั่วคราว สักครู่เปิดไฟอ่อนๆ เจียวกระเทียมให้เหลือง
ใส่หมูสับลงไปผัด ใส่ไข่ไก่ ยีให้ไข่กระจายทั่วกัน


ใส่ปลาอินทรีย์ทอด (ยีให้เป็นชิ้นเล็กๆ ก่อน)
   

ใส่ปลาช่อนเค็มทอด (หั่นสี่เหลี่ยมลูกเต๋าแล้วทอดกรอบ) คะน้าหั่นหยาบ ปรุงรสด้วยน้ำตาลทรายขาว และซอสปรุงรส


ผัดให้เข้ากัน ชิมรสตามชอบ






ติดตามสูตรอาหารและเคล็ดลับการประกอบอาหารคาว-หวาน มากมายกว่า 200 สูตร
ได้ที่  "สุขใจในครัว" สุขใจดอทคอม
www.sookjai.com
3384  สุขใจในธรรม / เกร็ดศาสนา / พระอัมพปาลีเถรี เมื่อ: 18 กันยายน 2558 10:45:46
.


พระอัมพปาลีเถรี

ราชบัณฑิต เสฐียรพงษ์ วรรณปก อรรถาธิบายไว้ว่า พระอัมพปาลีเถรี อดีตนางคณิกา หรืออัมพปาลี นามนี้ชาวพุทธส่วนมากรู้จักดี เพราะเป็นนางคณิกาหรือโสเภณีที่สวยงามในเมืองไพศาลี แคว้นวัชชี แค่นั้นยังน้อยไป ที่สำคัญคือนางได้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง ได้ถวายสวนมะม่วงอันเป็นสมบัติของนางให้เป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ในปลายพุทธกาล

เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จพร้อมพระอานนท์ บ่ายพระพักตร์ไปยังเมืองกุสินาราเพื่อดับขันธปรินิพพาน ผ่านมาทางสวนมะม่วงของนางอัมพปาลี นางทราบเข้าจึงไปกราบทูลอาราธนาพระพุทธองค์เสด็จไปเสวยภัตตาหารที่บ้านของตน ขณะที่นางกำลังเดินทางกลับบ้านนั้น สวนทางกับเจ้าลิจฉวีจำนวนหนึ่ง เมื่อเจ้าลิจฉวีทราบว่านางอัมพปาลีได้อาราธนาพระพุทธเจ้าไว้ก่อนแล้ว จึงขอ "ซื้อ"กิจนิมนต์จากนาง หมายความว่าขอให้นางสละสิทธิ์การถวายภัตตาหารในวันรุ่งขึ้นมอบให้พวกเขาเสีย พวกเขาจะตอบแทนด้วยรถม้าสวยงาม ประดับประดาอย่างวิจิตรตระการตา (ถ้าเป็นสมัยนี้ก็คงจะเป็นรถเบนซ์ราคาแพง) นางปฏิเสธ แม้จะเสนอเงินทองให้มากมายเพียงใด นางก็ยังยืนกรานปฏิเสธ นางบอกว่าการได้ถวายภัตตาหารแด่พระพุทธเจ้ามีค่ามากกว่าสิ่งใด ในที่สุดพวกลิจฉวีต้องยอมแพ้

อัมพปาลีคนนี้มีประวัติอันพิสดาร อรรถกถากล่าวว่า นางเป็น "โอปปาติกะ" (ผุดเกิดที่โคนต้นมะม่วง) พวกราชกุมารแห่งเมืองไพศาลีมาพบนางเข้า ต่างจะเอาเป็นสมบัติของตน จึงถึงกับวิวาทกันใหญ่โต เมื่อเรื่องเข้าสู่ศาล ศาลให้พิพากษาว่า "ให้นางเป็นสมบัติของทุกคน" จึงได้แต่งตั้งนางให้เป็นนางนครโสเภณี (หญิงงามเมือง) เข้าใจว่าประวัตินางจะเว่อร์ไปหน่อย คงเพราะนางงดงามมาก จึงแต่งประวัติให้เป็นนางไม้ เป็นโอปปาติกะ ความจริงนางคงเป็นสตรีของใครคนใดคนหนึ่งในเมืองไพศาลีนั้นแหละ

ตำแหน่งนครโสเภณีสมัยก่อนโน้นเป็นตำแหน่งที่มีเกียรติ พระราชาแต่งตั้ง ดูเหมือนจะมีเงินเดือนกินด้วย มีสาวๆ ในความควบคุมดูแลอีกมาก แคว้นวัชชีหัวก้าวหน้ากว่ารัฐอื่น เป็นแคว้นแรกที่มีตำแหน่งนครโสเภณี เพื่อดูดเงินตราจากต่างประเทศ กษัตริย์เมืองเล็กเมืองน้อยได้ทราบข่าวว่าที่นครไพศาลีมีนางนครโสเภณีที่เป็นสมบัติของทุกคน ต่างก็ขนเงินมาทิ้งที่เมืองนี้กันปีละจำนวนไม่น้อย ว่ากันว่าค่าอภิรมย์กับนางอัมพปาลีคืนหนึ่งแพงหูฉี่ แต่ก็มีแขกต่างเมืองมาเยี่ยมสำนักเธอมิขาดสาย

ว่ากันอีกว่า พระเจ้าพิมพิสารเป็นแขกพิเศษของนางอัมพปาลี จนได้บุตรด้วยกันมาคนหนึ่ง นามวิมละ หรือวิมล หนุ่มน้อยวิมล เสด็จพ่อนำไปเลี้ยงไว้ในราชสำนักเมืองราชคฤห์ ต่อมาวิมลได้ออกบวชและได้บรรลุพระอรหัตผล หลังจากถวายสวนมะม่วงให้เป็นวัดในพระพุทธศาสนาแล้ว อัมพปาลีได้ฟังธรรมจากพระวิมลเถระ (บุตรชายของนาง) รู้สึกซาบซึ้งในรสพระธรรม จึงออกบวชในสำนักของนางภิกษุณี พิจารณาเห็นความเป็นอนิจจังแห่งสรีรร่างกายของตน ยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนาในไม่ช้าไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหัตผล

หลังจากบรรลุธรรม พระอัมพปาลีเถรีได้กล่าวคาถาแสดงถึงสัจจะชีวิตของนาง โดยพรรณนาความงามของสรรพางค์กาย ตั้งแต่ศีรษะจดปลายเท้า ว่าล้วนแต่งดงามเป็นที่ปรารถนาชื่นชมของชายทั่วไป แต่ถึงตอนนี้ (เมื่อนางมาบวช) อวัยวะที่งดงามเหล่านั้นทรุดโทรม เพราะชรา ไม่น่าดู ไม่น่าชมเลย เป็นเครื่องแสดงถึงความเป็นอนิจจัง

ยืนยันพระราชดำรัสของสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ตรัสสอนถึงความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ของสรรพสิ่ง
...นสพ.ข่าวสด
3385  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / สูตร ไส้กรอกอีสาน เมื่อ: 16 กันยายน 2558 19:06:33
.

 

ไส้กรอกอีสาน

ส่วนผสม
- หมูสับ 1 กิโลกรัม
- กระเทียมไทย 3 หัว (70 กรัม)
- ข้าวสุก 1/2 ถ้วย
- เกลือป่น 1/2 ช้อนชา
- ซีอิ๊วขาว 2 ช้อนโต๊ะ
- ไส้หมู

 
วิธีทำ
1.ล้างไส้หมูให้สะอาด กลับด้านเอาด้านในออกมาข้างนอก
   ใช้สันช้อนกลางขูดเมือกออกให้หมด ขยำกับเกลือแล้วล้างน้ำหลายๆ ครั้ง
   จนหมดกลิ่น พลิกกลับไส้หมูเอาด้านนอกออกมาให้เหมือนเดิม (กรณีใช้ไส้หมูสด แต่การทำครั้้งนี้ใช้ไส้หมูสำเร็จดองเกลือ จึงเพียงแต่ล้างน้ำหลายๆ ครั้ง)
2.โขลกกระเทียม ข้าวสวย และเกลือป่น
3.ผสมหมูสับกับเครื่องที่โขลก ใส่ซีอิ๊วขาว นวดให้เข้ากัน กรอกในไส้หมู ใช้ด้ายมัดให้เป็นเปราะเท่าๆ กัน
   (ขณะกรอกใช้ปลายเข็มหมุดหรือปลายมีดแหลมทิ่มที่ไส้หมูไล่อากาศด้วย)

4.หมักไว้ประมาณ 5-6 ชั่วโมง (ไม่เปรี้ยวมาก) หรือทิ้งไว้ 1 คืน นำไปทอดได้
  




ส่วนผสม กระเทียมไทย (3 หัวใหญ่ - น้ำหนัก 70 กรัม) และไส้หมูสำเร็จ(ดองเกลือ)


โขลกข้าวสวย กระเทียม และเกลือ


ผสมในหมูสับ


นวดให้เข้ากัน


วิธีง่ายๆ : ใช้ปากขวดน้ำโพลาลิสซึ่งปากขวดใหญ่แทนกรวย
กรอกหมูโดยใช้ปลายช้อนกลางกดให้ส่วนผสมเข้าไปในไส้หมู


ขณะกรอกส่วนผสม ใช้ปลายเข็มหรือปลายมีดคว้าน(มีดขนาดเล็ก) เจาะทิ่มที่ไส้หมูไล่อากาศด้วยค่ะ


ใช้ด้ายหรือเชือกเส้นเล็กๆ มัดไส้กรอกให้เป็นเปราะๆ
[ผู้ทำไม่ได้เตรียมเชือกเส้นเล็กไว้ เพราะไม่คิดมาก่อนว่าวันนี้จะต้องทำไส้กรอก
จึงไปดึงด้ายจากจักรเย็บผ้าพร้อมกรรไกรตัดด้ายแก้ขัด]


ทิ้งไว้ 1 คืน หรือถ้าไม่ต้องการรสชาติเปรี้ยวมาก หมักไว้ 6-7 ชั่วโมงก็นำไปทอดหรือย่างได้


วิธีทอดให้ไส้กรอกสุกทั่วถึงกัน และไส้หมูไม่แตก

ตั้งกระทะใส่น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ


วางไส้กรอกในกระทะ เติมน้ำสะอาดประมาณ 1/3 หรือ 1/4 ถ้วย
ใช้ปลายเข็มหรือปลายมีดแหลมจิ้มไส้หมูให้ทั่วชิ้น
วิธีนี้ทำให้ไส้หมูไม่แตก และนำไปใช้กับทอดกุนเชียงได้


เคี่ยวด้วยไฟอ่อนจนน้ำแห้ง เหลือแต่น้ำมันพืชและไขมันจากหมู
ให้ทอดต่อไป และหมั่นพลิกไปมาจนหนังหมูเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ตักใส่ตะแกรงผึ่งให้สะเด็ดน้ำมัน





ติดตามสูตรอาหารและเคล็ดลับการประกอบอาหารคาว-หวาน มากมายกว่า 200 สูตร
ได้ที่  "สุขใจในครัว" สุขใจดอทคอม
www.sookjai.com

3386  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / สูตร ถั่วกรอบแก้ว เมื่อ: 14 กันยายน 2558 17:44:36
.




ถั่วกรอบแก้ว

ส่วนผสม
- ถั่วลิสง 300 กรัม
- น้ำตาลทรายขาว 2 ถ้วย
- เกลือป่น ¼ ช้อนชา
- โอวัลติน 2 ช้อนโต๊ะ
- ขาขาว ½ ถ้วย
- น้ำเปล่า 2+½ ถ้วย


วิธีทำ
1.ล้างถั่วให้สะอาด ผสมกับน้ำตาลทราย เกลือ และน้ำเปล่าในกระทะทองเหลือง
2.เคี่ยวด้วยไฟแรงจนกระทั่งถั่วลิสงสุกและน้ำตาลแห้ง  ลดไฟอ่อน ใส่โอวัลติน และงาขาวผัดให้ส่วนผสมเข้ากันดี
3.ผัดจนน้ำตาลเริ่มเยิ้มอีกครั้ง ผัดเร็วๆให้น้ำตาลจับเกาะถั่วลิสงอีกครั้ง ยกลง
4.ตักถั่วใส่ภาชนะพักไว้ให้เย็น บรรจุใส่ขวดโหลที่ปิดสนิท.



เก็บเศษผงและถั่วลีบหรือเป็นราทิ้ง ล้างให้สะอาด


ผสมถั่วกับน้ำตาลทราย เกลือ (หนึ่งในสี่ช้อนชาเท่านั้น) และน้ำในกระทะทอง




เคี่ยวด้วยไฟแรงจนถั่วลิสงสุก


ใส่โอวัลติน


ใส่งาขาว ผัดให้เข้ากัน
น้ำตาลที่เคี่ยวในขั้นตอนนี้จะเกาะเมล็ดถั่ว และแห้งด้าน ไม่เป็นเงาใส
(น้ำตาลเริ่มแห้ง มือซ้ายควรจับไม้ยาวๆ ช่วยเขี่ยให้ถั่วกระจายด้วยก็ดี)


ผัดจนน้ำตาลเริ่มเยิ้ม  ผัดเร็วๆ ให้น้ำตาลจับเกาะถั่วลิสงอีกครั้ง ยกลง


ตักถั่วใส่ภาชนะพักไว้ให้เย็น บรรจุใส่ขวดโหลที่ปิดสนิท

เมื่อน้ำตาลเริ่มแห้ง ต้องผัดเร็วๆอย่าหยุดมือ
(มือซ้ายใช้ไม้ยาวๆ ช่วยเขี่ยให้ถั่วกระจายด้วยก็ดี) เพราะน้ำตาลไหม้ง่าย ถั่วจะขม
ผู้ทำ-(ผู้โพสท์) ทำอยู่คนเดียว และต้องถ่ายรูปมาประกอบกระทู้ด้วย จึงค่อนข้างทุลักทุเล



ติดตามสูตรอาหารและเคล็ดลับการประกอบอาหารคาว-หวาน มายมายกว่า 200 สูตร
ได้ที่  "สุขใจในครัว" สุขใจดอทคอม
www.sookjai.com
3387  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ จิบกาแฟ / Beautiful pictures เมื่อ: 14 กันยายน 2558 16:27:20
.
ภาพสวย
(ป้ากิมเล้ง เห็นสวยดี จึงขโมยภาพของนายซอสแม็กกี้มาโพสท์...ตั้งชื่อภาพให้ด้วย)

ชื่อภาพ : หลังฉาก
ภาพโดย : Mckaforce
หลังฉาก (หลังม่าน) เวทีการแสดงงิ้ว ที่เมืองนครสวรรค์ ปี พ.ศ.2558















"550.-550"
<font size="12">Photographer Mckaforce</font>

<font size="14">www.sookjai.com</font>
3388  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / วิธีทำ หมูสับทอดกระเทียมพริกไทย เมื่อ: 13 กันยายน 2558 19:24:07
.





หมูสับทอดกระเทียมพริกไทย

ส่วนผสม
- หมูสับ 3 ขีด
- ไข่ไก่ 1 ฟอง
- กระเทียมไทย 1/2 หัว
- พริกไทยขาว 1/4 ช้อนชา
- ซอสหอยนางรม 1 ช้อนชา
- ซีอิ๊วขาวหรือน้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ


วิธีทำ
1.โขลกพริกไทยให้ละเอียด ใส่กระเทียมโขลกพอหยาบ
2.ผสมกระเทียม พริกไทย กับหมูสับ ใส่ไข่ไก่ ซอสหอยนางรม และซีอิ๊วขาว
  นวดให้เหนียว หรือวิธีง่ายๆ ได้ผลดีมาก คือจับฟาดกับชามแรงๆ...ทำจนหมูเหนียวหนึบ
  (ส่วนผสมครั้งแรกจะเหลว เพราะมีไข่ไก่...ฟาดไปเรื่อยๆ หมูจะจับตัวเหนียวหนึบ)
3. ปั้นเป็นแผ่นกลมทอดในน้ำมัน ไฟปานกลางจนสุกเหลืองสองด้าน
4. จัดใส่จานเสิร์ฟ โรยกระเทียมเจียวกรอบ
    (กระเทียมไทยแกะกลีบ 2-3 หัว โขลกรวมกับแป้งข้าวโพด 1 ช้อนชา
    ทอดให้สุกเหลือง ใส่ตะแกรงผึ่งให้สะเด็ดน้ำมัน คลุกกับซีอิ๊วขาวให้มีรสเค็มเล็กน้อยนำไปโรยหน้าหมูทอด)












ติดตามสูตรอาหารและเคล็ดลับการประกอบอาหารคาว-หวาน มายมายกว่า 200 สูตร
ได้ที่  "สุขใจในครัว" สุขใจดอทคอม
www.sookjai.com
3389  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / วิธีทำ มะยมเชื่อม สีแดงใส เมื่อ: 13 กันยายน 2558 19:01:11
.





มะยมเชื่อม

ส่วนผสม
- มะเฟืองแก่จัด 3 กิโลกรัม
- น้ำตาลทรายขาว 1 กิโลกรัม
- เกลือป่น 1/2 ช้อนชา


วิธีทำ
1.ล้างมะยมให้สะอาด ใส่ตะแกรงหรือกระด้ง ฝัดให้ผิวมะยมแตก
2. แช่มะยมในน้ำเกลือเค็มปานกลาง ทิ้งไว้ 5-6 ชั่วโมง : โดย ละลายเกลือเม็ดในน้ำสะอาด คะเนให้น้ำพอเพียงกับการแช่มะยม
3. นำมะยมไปแช่ในน้ำปูนใส อีกประมาณ 20 นาที
4. ใส่มะยมในหม้อ ใส่น้ำตาลทราย และเกลือป่น
    ยกขึ้นตั้งไฟกลาง เชื่อมจนกว่าผลมะยมเป็นสีแดง (น้ำแห้ง เติมน้ำสะอาดทีละน้อย เคี่ยวต่อไป)
5. ตักผลมะยมใส่ตะแกรงโปร่ง พักทิ้งไว้จนสะเด็ดน้ำเชื่อม



ผลมะยมที่ถูกทุบหรือโขลก (เดาค่ะ) แต่ไม่ต้องถึงกับให้บอบช้ำ สะบักสะบอมขนาดนี้ค่ะ
ฝัดให้ผิวแตกเล็กน้อย ให้น้ำเกลือหรือน้ำตาลซึมซาบเข้าไปในเนื้อมะยมได้ทั่วถึงได้ง่าย


การฝัด คือ อาการกระดกภาชนะเช่นกระด้งขึ้น ๆ ลง ๆ ค่อนข้างเร็ว
ตามภาพคือการฝัดข้าว แยกฝุ่นละอองหรือผงออกจากเมล็ดข้าว
ภาพจาก : encrypted-tbn0.gstatic.com


ผลมะยมดิบ
ค้นหาภาพมะยมดิบประกอบกระทู้ พอเห็นภาพมะยมรู้สึกเข็ดฟันหยั่งกับกำลังแทะผลมะยม
ภาพจาก : encrypted-tbn0.gstatic.com

มะยมเชื่อมสูตรนี้ ได้รับการถ่ายทอดวิธีการทำจากคุณจินตนาฯ
เจ้าของสูตร "กระท้อนลอยแก้ว" และ "มะเฟืองหยี"
ที่นำเสนอวิธีการทำไปแล้ว

การทำมะยมเชื่อมครั้งนี้ ผู้โพสท์ได้รับเชิญให้ไปเก็บภาพขั้นตอนการทำ
แต่ด้วยภารกิจระยะนี้ ปลีกตัวค่อนข้างลำบาก
จึงได้แต่เพียงโทรศัพท์สอบถามวิธีการทำ พร้อมรับ "มะยมเชื่อม" ของฝาก
จากคุณจินตนา 2 ถุงขนาดใหญ่ ด้วยความขอบคุณ.



"มะเฟืองหยี" สูตรคุณจินตนา
กดดูขั้นตอนและวิธีการทำที่ตัวอักษรภาษาอังกฤษสีเทาด้านล่างค่ะ
http://www.sookjai.com/index.php?topic=156800.0



"กระท้อนลอยแก้ว" สูตรคุณจินตนา
กดดูขั้นตอนและวิธีการทำที่ตัวอักษรภาษาอังกฤษสีเทาด้านล่างค่ะ
http://www.sookjai.com/index.php?topic=151759.0


ติดตามสูตรอาหารและเคล็ดลับการประกอบอาหารคาว-หวาน มายมายกว่า 200 สูตร
ได้ที่  "สุขใจในครัว" สุขใจดอทคอม
www.sookjai.com
3390  นั่งเล่นหลังสวน / เพลงไทยเดิม / โน๊ตดนตรีเพลงไทยเดิม : เพลงลาวคำหอม (จะเข้) เมื่อ: 08 กันยายน 2558 13:08:37
.

เพลงลาวคำหอม (โน๊ตจะเข้)





โน๊ตเพลงลาวคำหอมนี้ ท่านอาจารย์สมพลได้กรุณาแต่งให้ผู้โพสท์เมื่อเกือบสิบปีที่ผ่านมา
ท่านส่งให้ทั้งต้นฉบับ จึงนับเป็นพระคุณอย่างสูงสำหรับศิษย์ (ทีไม่ค่อยได้เรื่องได้ราวสักเท่าไรนัก)
ต้นฉบับค่อนข้างจะเลอะ เพราะอาจารย์ขีดฆ่าบ้าง ใช้ลิควิดลบแก้คำบ้างค่ะ


..ขอกราบขอบพระคุณ ท่านอาจารย์สมพล  อนุตตรังกูร  ครูผู้ประสิทธิ์ประสาทความรู้ด้านดนตรีไทย
ที่อนุญาตให้นำทำนองดนตรีไทย ซึ่งท่านเป็นผู้ประพันธ์และเขียนด้วยลายมือของท่านเอง
เผยแพร่เป็นวิทยาทานใน www.sookjai.com
โดยวัตถุประสงค์ เพื่อให้คนไทยได้ตระหนักถึงคุณค่า และช่วยกันอนุรักษ์ศิลปะการดนตรีไทย
ให้สืบทอดยาวนานตลอดไป  มา ณ ที่นี้ ด้วยความเคารพสูงยิ่ง.



ตับวิวาหพระสมุท วงเครื่องสายผสมเปียโน Tab Viva Pra Sumat, Thai String Ensemble with Piano

เพลงลาวคำหอม
ลาวคำหอม วงเครื่องสายผสมเปียโน ณัชชา พันธุ์เจริญ บรรเลงเปียโน
วงเครื่องสาย มูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ ในคอนเสิร์ต "วิวาหพระสมุท"
ณ พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน วันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 เวลา 16.30-17.30 น.
จัดโดยมูลนิธิพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี


3391  สุขใจในธรรม / พุทธวัจนะ - ภาษิตธรรม / Re: ข้อคิดจากธรรมะ โดย พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต) เมื่อ: 07 กันยายน 2558 16:38:34

ได้ทำบุญมาก่อน
บุญเป็นเหตุนำมาซึ่งความสุขกายสุขใจ สามารถติดตามไปได้ทุกสถานที่ไม่ว่าชาตินี้หรือชาติหน้า เป็นของเฉพาะตนใครจะแย่งชิงเอาไปไม่ได้ ต้องทำเอาเอง เป็นที่หลั่งไหลมาแห่งโภคสมบัติทั้งหลาย เพราะผลของบุญจะบันดาลให้ได้มนุษย์สมบัติ ทิพย์สมบัติ และนิพพานสมบัติแก่ผู้มีบุญทั้งหลาย

บุญเป็นเกราะป้องกันภัยในวัฏสงสาร ในขณะที่ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่นั้น บุญจะคอยช่วยคุ้มครองให้เกิดในสถานที่ดีมีความสุขความเจริญในชีวิต แม้ในการประพฤติปฏิบัติธรรมก็ไม่มีความลำบาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกำลังแห่งบุญที่ได้บำเพ็ญมาจะมากหรือน้อยนั่นเอง

การทำความดีทุกอย่างล้วนมีผลออกมาเป็นบุญทั้งสิ้น มีแต่ผลของบุญเท่านั้นที่ต่างกันออกไป แล้วแต่ประเภทของบุญที่ได้บำเพ็ญไว้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงวิธีทำบุญไว้ เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ มี ๑๐ ประการ ได้แก่
๑.การบริจาคทรัพย์สิ่งของ
๒.การสำรวมกาย วาจา ให้สงบเรียบร้อย ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเองและผู้อื่น
๓.การสวดมนต์ เจริญสมถะและวิปัสสนากรรมฐาน ตลอดถึงการอ่านหนังสือธรรมะ
๔.การมีความเคารพอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้มีคุณธรรม หรือผู้ควรแก่การเคารพบูชา
๕.การขวนขวายช่วยเหลือในกิจการงานที่ชอบ
๖.การอุทิศส่วนบุญที่เราได้ทำแล้วให้แก่ผู้อื่น
๗.การอนุโมทนาในส่วนบุญที่ผู้อื่นทำ
๘.การฟังธรรม
๙.การแสดงธรรม
๑๐.การปรับปรุงความคิดเห็นของตนให้ถูกต้องด้วยปัญญา

ชีวิตนี้เป็นของน้อยนิดไม่ควรประมาท เราต้องรีบเร่งสร้างบุญกุศลตั้งแต่บัดนี้ จะได้มีบุญติดตัวไปในวันข้างหน้า โดยยึดหลักว่าถ้าในเวลาเช้ายังไม่ได้ทำทานก็อย่าเพิ่งทานอาหาร วันใดยังไม่ได้ตั้งใจรักษาศีลวันนั้นก็อย่าเพิ่งออกจากบ้าน คืนใดยังไม่ได้สวดมนต์เจริญสมาธิภาวนาคืนนั้นก็อย่ารีบนอน

เราต้องอดทนฝึกตนให้ได้สร้างความดีเรื่อยไป แม้จะต้องมีอุปสรรคมากมายเพียงใดก็ตาม ต้องมีใจมั่นคงไม่ย่อท้อต่อสู้ ทนทำความดีเรื่อยไปจนกว่าจะถึงซึ่งพระนิพพาน

ผู้มีบุญวาสนามาก่อน ทำให้ร่ำรวยมีทรัพย์สมบัติและปัจจัยต่างๆ พร้อมที่จะทำความดีได้โดยง่าย อำนวยประโยชน์สุขทุกอย่างให้ เป็นเหตุแห่งความสุขทุกประการ เป็นเสบียงติดตัวไปทั้งในชาตินี้และชาติหน้า จนกว่าจะได้บรรลุมรรคผลนิพพาน

อย่าดูหมิ่นบุญว่านิดหน่อยจักไม่มาถึงตน น้ำที่หยดลงมาทีละหยดยังทำตุ่มให้เต็มได้ คนมีปัญญาดีหมั่นสั่งสมบุญทีละน้อย ย่อมเต็มเปี่ยมด้วยบุญได้โดยแท้




ประพฤติธรรม
"ผู้ใดมีปกติประพฤติธรรมด้วยกาย วาจา และใจ เทวดาและปวงชนย่อมสรรเสริญผู้นั้นในโลกนี้ ผู้นั้นละไปแล้วย่อมบันเทิงในสุคติโลกสวรรค์"

ความดีและความชั่วเป็นของเที่ยงธรรม ไม่มีลำเอียง ใครทำดีย่อมได้รับผลดี ใครทำชั่วย่อมได้รับผลชั่ว หว่านพืชเช่นใดย่อมได้ผลเช่นนั้น ธรรมดีย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมเป็นปกติ ไม่ให้เดือดร้อนทุกข์ใจ ดังพุทธภาษิตที่ว่า "ธรรมย่อมรักษาผู้มีปกติประพฤติธรรม"

ธรรมในพุทธภาษิตนี้หมายถึง กุศลธรรม กล่าวคือ ธรรมที่เป็นความฉลาด ความดี บุคคลทำแล้วสุขใจ ไม่เดือดร้อน เป็นสุข นอนสบาย คนที่ทำแต่บาปกรรมย่อมอยู่ร้อนทุกข์ ไม่สุขใจ จะประกอบสัมมาอาชีพก็ไม่เจริญ มีแต่คนตำหนิติเตียน ไม่คบค้าสมาคมด้วย เพราะการคบค้าสมาคมกับคนชั่วพาตัวให้เดือดร้อน

ส่วนคนผู้ประพฤติธรรมเป็นปกติย่อมมีจิตใจเป็นบุญเป็นกุศลไม่คิดเบียดเบียนใคร เพราะจิตใจของเขาเต็มเปี่ยมไปด้วยคุณธรรม มีความเมตตารักใคร่ต่อคนทั่วไป

บุคคลผู้ตั้งอยู่ในศีล สมาธิ ปัญญา ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีธรรมและประพฤติธรรม บุคคลผู้ประพฤติธรรมชื่อรักษาตนและคุ้มครองตนให้พ้นจากภัยพิบัติในชาตินี้และชาติหน้าได้โดยแท้

บุคคลผู้ประพฤติธรรมสม่ำเสมอ ธรรมก็ย่อมคุ้มครองให้อยู่เย็นเป็นสุขเจริญงอกงามทั้งทางโลกและทางธรรม บุคคลผู้ประพฤติธรรมก็เหมือนคนอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดปราศจากมลทิน ฉันนั้น

บุคคลผู้เจริญงอกงามในชีวิตก็เพราะประพฤติธรรม ส่วนคนที่ยากลำบากยากจนไม่มีคนนับถือก็เพราะไม่ประพฤติธรรม เพราะธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมเท่านั้นให้อยู่เย็นเป็นสุขไม่ทุกข์ใจ ให้ได้มรรคผลและนิพพานตามสมควรแก่ความประพฤติ

การประพฤติธรรมแบ่งออกได้เป็น ๓ อย่าง
๑.กายสุจริต ไม่ฆ่าสัตว์ ตั้งแต่สัตว์เล็กถึงสัตว์ใหญ่และมนุษย์ ไม่ลักทรัพย์ ทำการคอร์รัปชั่น หลอกลวง ปล้นจี้ ชาวบ้าน ไม่ประพฤติผิดในกาม การคบชู้นอกใจภรรยา สามี และการข่มขืนทำอนาจาร

๒.วจีสุจริต ไม่พูดเท็จ พูดแต่ความจริง ไม่หลอกลวง ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดวาจาส่อเสียด นินทาว่าร้าย ไม่พูดเพ้อเจ้อ เหลวไหลไร้สารประโยชน์

๓.มโนสุจริต ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น คือไม่อยากได้ของเขามาเป็นของเรา ไม่คิดพยาบาทปองร้ายผู้อื่น ไม่ต้องการให้ผู้อื่นได้ประสบเคราะห์กรรม คิดอยากจะให้ผู้อื่นพ้นจากทุกข์ มีความเห็นชอบ มีความเชื่อความเข้าใจในความเป็นจริงความถูกต้อง ตาม หลักคำสอนในพระพุทธศาสนาที่ว่า ผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุขแท้

อานิสงส์การประพฤติธรรมเป็นมหากุศล เป็นผู้ไม่ประมาท เป็นผู้รักษาสัทธรรม เป็นผู้นำพระพุทธศาสนาให้เจริญ เป็นสุขในโลกนี้และโลกหน้า ไม่ก่อเวรก่อภัยกับใครๆ เป็นผู้ให้อภัยแก่สรรพสัตว์ เป็นผู้ดำเนินตามปฏิปทาของนักปราชญ์ สร้างความเจริญความสุขแก่ตนเองและส่วนรวม เป็นผู้สร้างทางมนุษย์ สวรรค์ พรหม นิพพาน




เลี้ยงดูพ่อแม่
พ่อแม่นั้น กล่าวกันว่าท่านเป็นทั้งพรหมของลูก เทวดาคนแรกของลูก ครูคนแรกของลูก และเป็นพระอรหันต์ของลูก ซึ่งขยายความไว้ว่า

พ่อแม่เป็นพรหมของลูก เพราะเหตุที่มีพรหมวิหารธรรม ๔ ประการ คือ
๑.มีเมตตา ความรักใคร่อันบริสุทธิ์ ปรารถนาดีต่อลูกไม่มีที่สิ้นสุด
๒.มีกรุณา ความหวั่นใจในความทุกข์ของลูก ไม่ทอดทิ้ง และคอยช่วยเหลือเสมอ
๓.มีมุทิตา เมื่อลูกมีความสุขประสบความสำเร็จ มีความปลาบปลื้มยินดีด้วยความจริงใจ
๔.มีอุเบกขา เมื่อลูกมีครอบครัวสามารถเลี้ยงตนได้แล้ว ก็ไม่วุ่นวายกับชีวิตครอบครัวลูกจนเกินงาม และหากลูกผิดพลาดก็ไม่ซ้ำเติม แต่คอยเป็นที่ปรึกษาให้ เมื่อลูกต้องการ
- พ่อแม่เป็นเทวดาคนแรกของลูก เพราะคอยปกป้องคุ้มภัย เลี้ยงดูลูกมาก่อนคนอื่นๆ
- พ่อแม่เป็นครูคนแรกของลูก เพราะคอยสั่งสอนอบรมทั้งคำพูดและกิริยามารยาทให้ลูกก่อนคนอื่นๆ
- พ่อแม่เป็นวิสุทธิเทพองค์แรกของลูก ไม่ถือสาในความผิดของลูก แม้ว่าบางครั้งลูกจะพลาดพลั้งล่วงเกิน ก็ให้อภัยเสมอ ปรารถนาประโยชน์แก่ลูกเสมอ
  ไม่ว่าลูกจะเป็นอย่างไร ก็ยังคงปรารถนาให้ลูกได้ดี มีความสุข
- เป็นเนื้อนาบุญของลูก เป็นผู้ที่ลูกควรทำบุญได้โดยแท้
- เป็นเหมือนพระที่ควรเคารพนับถือและได้รับการบูชา เพื่อเทิดทูนไว้เป็นแบบอย่าง
- เป็นผู้มีอุปการคุณต่อลูก เลี้ยงดูลูกมาด้วยความเหนื่อยยาก กว่าจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่
- เป็นผู้มีพระเดชพระคุณต่อลูก ให้ความอบอุ่นเลี้ยงดู ปกป้องจากอันตรายต่างๆ นานา

การทดแทนพระคุณพ่อแม่ เป็นสิ่งที่ลูกควรปฏิบัติในระหว่างเมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่ ก็ควรเลี้ยงดูท่านเป็นการตอบแทน ช่วยเหลือเป็นธุระเรื่องการงานให้ท่าน ดำรงวงศ์ตระกูลให้สืบไปไม่ทำเรื่องเสื่อมเสีย รวมทั้งประพฤติตนให้ควรแก่การสืบทอดมรดกจากท่าน ครั้นเมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ก็ทำบุญอุทิศกุศลให้ท่าน

ส่วนการเป็นลูกกตัญญูต่อพ่อแม่ ในคำสอนของพระพุทธเจ้ามีดังนี้คือ ถ้าท่านยังไม่มีศรัทธาให้ท่านถึงพร้อมด้วยศรัทธา พยายามให้ท่านมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา เชื่อในเรื่องการบุญกุศลทำความดี ถ้ายังไม่มีศีลให้ท่านถึงพร้อมด้วยศีล พยายามให้ท่านเป็นผู้รักษาศีล ๕ ให้ได้ ถ้าท่านเป็นคนตระหนี่ให้ท่านถึงพร้อมด้วยการให้ทาน ให้รู้จักการให้ด้วยเมตตาโดยไม่หวังผลตอบแทน ถ้าท่านยังไม่มีปัญญาให้ท่านถึงพร้อมด้วยปัญญา พยายามให้ท่านหมั่นเจริญวิปัสสนากรรมฐานให้ได้

การเลี้ยงดูพ่อแม่ทำให้มีความอดทน มีสติปัญญาดี มีเหตุผล พ้นทุกข์พ้นภัย ได้ลาภโดยง่าย แคล้วคลาดจากภัยอันตรายในยามคับขัน เทวดาช่วยรักษา ได้รับการยกย่องสรรเสริญ มีความเจริญก้าวหน้า ถ้ามีลูกก็จะได้ลูกที่ดี มีความสุข เป็นแบบอย่างอันดีแก่อนุชนรุ่นหลัง

บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญผู้ที่เลี้ยงดูพ่อแม่ในโลกนี้นี่เอง เขาละโลกนี้ไปแล้วย่อมบันเทิงในสวรรค์  




สงเคราะห์บุตรธิดา
โลกของเรานี้จะตั้งอยู่ได้ไม่ขาดมนุษย์ ก็เพราะมีบุตรสืบเชื้อสายต่อกันมาเป็นลำดับ เติบโตเจริญวัยขึ้นก็ทำหน้าที่แทนพ่อแม่ต่อไป

บุตรจึงเป็นสิ่งสำคัญที่โลกมนุษย์ต้องการอยู่เสมอ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า "บุตรย่อมเป็นวัตถุที่ตั้งของมนุษย์ทั้งหลาย" หมายความว่า คนเราเมื่ออยู่ร่วมกันเป็นสามีภรรยาแล้ว สิ่งที่สามีภรรยาปรารถนาที่สุดก็คือบุตร เมื่อมีบุตรแล้ว มงคลจะเกิดมีก็อยู่ที่การเป็นบุตรที่ดีและการเลี้ยงดูของพ่อแม่นั่นเอง

คำว่า บุตร หมายความได้ทั้งลูกชายลูกหญิง พระพุทธองค์ตรัสไว้ ๓ ประเภท คือ
ประเภทที่ ๑ เรียกว่า อภิชาตบุตร ได้แก่ ลูกที่เกิดมาดีกว่าพ่อแม่ เกิดมาเชิดชูวงศ์สกุล เกิดมาอุดหนุนค้ำจุนพ่อแม่
ประเภทที่ ๒ เรียกว่า อนุชาตบุตร ได้แก่ ลูกที่เกิดมาเสมอตัว คือไม่ดีไม่เลวกว่าพ่อแม่และไม่แย่ไปกว่าวงศ์สกุล มีกันอย่างไรก็อยู่กันอย่างนั้นชั่วนาน ดำรงวงศ์สกุลไว้ไม่ให้เสื่อมโทรม และไม่สามารถจะให้ดีขึ้นไปกว่าเดิม
ประเภทที่ ๓ เรียกว่า อวชาตบุตร ได้แก่ ลูกที่เกิดมาเลวต่ำกว่าพ่อแม่ ฉุดดึงเอาพ่อแม่ตกต่ำไปด้วย ลูกประเภทนี้ใครๆ ก็ไม่ปรารถนา ไม่อยากได้ ไม่อยากมี

ท่านที่มีลูกดี รอยที่ดีก็ประทับอยู่บนใบหน้าของพ่อแม่ ด้วยเหตุนี้ท่านจึงกล่าวว่า ลูกดีเป็นศรีสง่า ญาติวงศ์พงศาผ่องใสแม้ญาติสนิทมิตรสหายที่ใกล้ไกลก็พอใจสรรเสริญเจริญพร

วิธีการเลี้ยงลูกที่จะให้ดี ให้เป็นมงคลนั้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสหลักไว้ ๕ ประการ คือ ห้ามมิให้ทำความชั่ว แนะนำให้ตั้งอยู่ในความดี ให้การศึกษา หาคู่ครองที่สมควรให้ และมอบทรัพย์มรดกให้ในสมัยอันสมควร

ความปรารถนาของพ่อแม่ที่ต้องการมีบุตร คือ บุตรที่เราเลี้ยงมาแล้วจักเลี้ยงท่านตอบแทน บุตรที่เราเลี้ยงมาแล้วจักช่วยทำกิจแทนเรา จักดำรงวงศ์สกุลของเราให้ตั้งมั่นอยู่ได้นาน บุตรจักปกครองรักษาทรัพย์มรดกแทนเรา เมื่อเราละโลกไปแล้วบุตรจักบำเพ็ญทักษิณาทานให้

วิธีเลี้ยงดูลูกในทางธรรม พาลูกเข้าวัดเพื่อศึกษาหาความรู้ทางพระพุทธศาสนา ชักนำลูกให้สวดมนต์ก่อนนอนทุกคืน ชักนำให้ลูกทำบุญตักบาตร รักษาศีล เจริญเมตตาจิต ชักนำลูกให้ปฏิบัติสมาธิภาวนาร่วมกันเป็นประจำวัน

ถ้าลูกเป็นชายให้บวชเป็นสามเณรหรือบวชเป็นพระภิกษุแล้วให้เข้าปฏิบัติพระกรรมฐาน รวมทั้งการศึกษาพระปริยัติธรรม

การเลี้ยงดูบุตร พ่อแม่ได้รับความปีติภาคภูมิใจเป็นเครื่องตอบแทน ครอบครัวมีความสงบร่มเย็นเป็นสุข ประเทศชาติจะมีคนดีไว้ใช้ เป็นต้นแบบที่ดีงามของสังคมสืบไป

บัณฑิตทั้งหลายย่อมปรารถนาอภิชาตบุตร อนุชาตบุตร ไม่ปรารถนาอวชาตบุตรผู้ตัดสกุล บุตรเหล่าใดเป็นอุบาสกอุบาสิก มีศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล ปราศจากความตระหนี่ บุตรเหล่านั้นย่อมไพโรจน์ในบริษัททั้งหลายเหมือนพระจันทร์พ้นจากก้อนเมฆ ไพโรจน์อยู่

ด้วยเหตุนี้ การเลี้ยงลูกให้ดี จึงเป็นหน้าที่สำคัญสำหรับพ่อแม่ หากว่าเลี้ยงลูกให้ดีได้ก็เป็นศรีสง่า เป็นมงคลแก่ตนเอง




บำเพ็ญทาน
การแสดงออกซึ่งน้ำจิตน้ำใจอันดีงามโดยมีวัตถุสิ่งของเป็นสิ่งประกอบ ท่านเรียกว่า ทาน หมายถึง การให้ หรือเจตนาเป็นเครื่องให้ ให้ปันสิ่งของอันได้แก่ ปัจจัย ๔ คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรคภัยไข้เจ็บ

การให้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุแห่งความสุข เป็นรากเหง้าแห่งสมบัติทุกอย่าง เป็นที่ตั้งแห่งโภคทรัพย์ทั้งหมด เป็นเครื่องป้องกันภัยต่างๆ และเป็นที่พึ่งพิงอาศัยของเหล่าสัตว์ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

การบำเพ็ญทาน นับเป็นกิจเบื้องต้นที่ควรทำ แม้แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อทรงบำเพ็ญบารมีในสมัยเป็นพระโพธิสัตว์ก็ทรงบำเพ็ญทานคือการให้เป็นทีแรก

สำหรับการให้นั้นไม่ควรให้ของเลวหรือของที่ไม่ดี ควรเลือกของที่ตนชอบใจให้ ให้ของที่ดีประณีตดีกว่าที่ตนมีตนใช้

ผลที่เกิดจากการให้สิ่งของที่ดีนั้น ย่อมเป็นไปตามเหตุคือของที่ให้ เมื่อให้ของที่ถูกใจทั้งผู้ให้และผู้รับ ย่อมจะได้รับของที่ถูกใจตอบแทน เมื่อให้ของชั้นยอด ได้แก่ ของที่ยังไม่ได้ใช้สอยหรือบริโภคมาก่อน เช่น ข้าวปากหม้อ แกงปากหม้อ เป็นต้น ก็ย่อมได้รับของเช่นนั้นตอบแทน

สมดังพุทธภาษิตที่ตรัสเอาไว้ว่า "ผู้ให้ของที่พอใจ ย่อมได้รับผลที่พอใจ ผู้ให้ของที่เลิศ ย่อมได้รับผลที่เลิศตอบ ผู้ให้ของที่ดี ย่อมได้รับผลที่ดี และผู้ให้ของที่ดีที่สุด ย่อมเข้าถึงฐานะที่ดีที่สุด"

การให้ทาน แบ่งออกเป็น ๓ อย่าง ได้แก่
๑.การให้วัตถุสิ่งของ หรือทรัพย์สินเงินทองเป็นทาน
๒.การให้ธรรมะ ความรู้เป็นทาน
๓.การให้อภัยในบุคคลอื่นที่ทำ ไม่ดีกับเรา ไม่พยาบาทมาดร้ายหรือจองเวร

การบำเพ็ญทานให้ได้บุญมาก ต้องพร้อมด้วยองค์ ๓ คือ
๑.วัตถุบริสุทธิ์ ของที่จะให้ทานต้องเป็นของที่ได้มาด้วยความชอบธรรม ด้วยการทำงานบริสุทธิ์ไม่ใช่ได้มาด้วยการปล้น การลักขโมยหรือเบียดเบียนใครมา
๒.เจตนาบริสุทธิ์ มีเจตนาเพื่อกำจัดความตระหนี่ออกจากใจของตน ทำเพื่อเอาบุญไม่ใช่เอาหน้าเอาชื่อเสียง ไม่ใช่เอาความเด่นความดัง จะต้องมีเจตนาบริสุทธิ์ ในขณะก่อนให้ก็มีใจเลื่อมใสเป็นทุนเดิม เต็มใจที่จะทำบุญนั้น ขณะให้ก็ตั้งใจให้ด้วยใจที่เบิกบาน หลังให้ก็มีใจแช่มชื่น ไม่นึกเสียดายสิ่งของที่ให้ไปแล้ว
๓.บุคคลบริสุทธิ์ คือเลือกให้แก่ผู้รับ ที่เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ มีความสงบเรียบร้อย ตั้งใจประพฤติธรรม สำหรับผู้ให้ทานคือตัวเราเอง ก็ต้องมีศีลบริสุทธิ์ จึงจะได้บุญมาก

อานิสงส์การบำเพ็ญทานเป็นที่มาของสมบัติทั้งหลาย ผู้ให้ย่อมได้รับความสุข ผู้ให้ย่อมเป็นที่รักของคนหมู่มาก ผู้ให้ย่อมผูกไมตรีไว้ได้ เป็นที่น่าคบหาของคนดีเข้าสังคมได้คล่องแคล่ว แกล้วกล้าอาจหาญในทุกชุมชน มีชื่อเสียงเกียรติคุณดีแม้ตายก็ไปเกิดในสวรรค์

คนผู้ให้ทานย่อมได้ชื่อว่าสั่งสมความดีแก่ตน แม้ว่าทรัพย์สมบัติจะหมดไปบ้างก็หมดไปในทางที่ชอบที่ควร บุญกุศลคุณงามความดีต่างๆ ย่อมเพิ่มมากขึ้นทวีคูณทุกๆ ครั้งที่ได้ให้




ไม่ประมาทในธรรม
ธรรม คือ หลักปฏิบัติที่ทำแล้วมีผลในทางดี และเป็นจริงอย่างที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงโปรดแนะทางไว้
ประมาทในเวลา คือ ปล่อยให้เวลาล่วงเลยไปโดยไม่ทำอะไรให้เกิดประโยชน์ หรือผัดวันประกันพรุ่ง
ประมาทในวัย คือ คิดว่าอายุยังน้อย ไม่ต้องทำความเพียรก็ได้ เพราะยังมีชีวิตอยู่อีกนาน
ประมาทในความไม่มีโรค คือ คิดว่าตัวเองแข็งแรงไม่ตายง่ายๆ ก็ปล่อยละเลย
ประมาทในชีวิต คือ ไม่กำหนดวางแนวทางถึงอนาคต คิดว่ายังมีชีวิตอยู่อีกนาน
ประมาทในการงาน คือ ไม่ขยันตั้งใจทำให้สำเร็จ ปล่อยตามเรื่องตามราว หรือปล่อยให้ดินพอกหางหมู
ประมาทในการศึกษา คือ ไม่ศึกษาเล่าเรียนในวัยที่ควรเรียน หรือขาดความเอาใจใส่ที่เพียงพอ
ประมาทในการปฏิบัติธรรม คือ ไม่ปฏิบัติสมาธิภาวนา หรือศึกษาหลักธรรมให้ถ่องแท้ เพราะคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว

ผู้ที่ยังอยู่ในความประมาท มักจะไม่ทำเหตุดี แต่จะเอาผลดี เป็นพวกเกียจคร้าน เช่นเวลาเรียนไม่ตั้งใจเรียนแต่อยากสอบได้ งานการไม่ทำ แต่ความดีความชอบจะเอา ไม่ทำประโยชน์แก่ใคร แต่อยากให้คนทั้งหลายนิยมชมชอบ ทาน ศีล ภาวนาไม่ปฏิบัติ แต่อยากไปสวรรค์ ไปนิพพาน

รวมแล้วผู้ที่ยังประมาทอยู่มี ๓ ประเภท คือ ไม่ทำเหตุดีแต่จะเอาผลดี ทำเหตุเลวแต่จะเอาผลดี และทำเหตุน้อยแต่จะเอาผลมาก

ส่วนผู้ไม่ประมาทในธรรม มีคุณสมบัติตรงกันข้ามกับคน ๓ ประเภทดังกล่าว คือต้องทำแต่เหตุที่ดี ทำให้เต็มที่ และทำให้สมผล

ผู้ที่ไม่ประมาทจะต้องมีสติ คือความระลึกนึกคิดได้ถึงความผิดชอบชั่วดีอยู่เสมอ เป็นสิ่งกระตุ้นเตือนให้คิด พูด ทำ ในสิ่งที่ถูกต้อง ทำให้ไม่ลืมตัว ไม่เผลอตัว ใช้ปัญญาพิจารณา ใคร่ครวญสิ่งต่างๆ ได้

ธรรมชาติของจิตมีการคิดตลอดเวลา การคิดนี้ถ้าไม่มีสติกำกับก็จะกลายเป็นความคิดฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์ต่างๆ ใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้ แต่ถ้ามีสติกำกับแล้ว จะทำให้ไม่เผลอ ควบคุมความนึกคิดได้ ไม่ปล่อยใจให้เลื่อนลอย ไม่ปล่อยอารมณ์ให้เป็นไปตามสิ่งที่มากระทบ

อานิสงส์การไม่ประมาทในธรรม ทำให้ได้รับมหากุศล ได้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ตาย สมดังพระพุทธพจน์ที่ว่า ความไม่ประมาทเป็นทางอมตะ ไม่ตกไปสู่อบายภูมิ คลายจากความทุกข์ เพลิดเพลิน ไม่เบื่อหน่ายในการสร้างความดี มีสติอันเป็นทางมาแห่งการสร้างกุศลอื่นๆ ได้รับความสุขในการดำรงชีพ เป็นผู้ตื่นตัว ไม่เพิกเฉยละเลยในการสร้างความดี ความชั่วความไม่ดีต่างๆ ย่อมสูญสิ้นไปโดยเร็ว

เมื่อใด บัณฑิตผู้มีปัญญาปิดกั้นความประมาทด้วยความ ไม่ประมาท เมื่อนั้นนับว่าได้ขึ้นสู่ปราสาท คือ ปัญญา ไร้ความโศกเศร้า สามารถมองเห็นประชาชนผู้โง่เขลา ผู้ยังต้องเศร้าโศกอยู่ เสมือนคนยืนอยู่บนยอดเขา มองลงมาเห็นฝูงชนที่ยืนอยู่บนพื้นดิน ฉะนั้น



จากคอลัมน์ "ธรรมะวันหยุด" หนังสือพิมพ์ข่าวสด
โดย พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.๙) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร วรวิหาร กรุงเทพมหานคร
3392  สุขใจในธรรม / เกร็ดศาสนา / Re: ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต เมื่อ: 07 กันยายน 2558 15:31:17
.


๓.ทอดกฐิน
ก.วิธีทำและมูลเหตุ
พระบาลีและอรรถกถา แห่งกฐินขันธกมหาวรรคแห่งพระวินัยปิฎก อธิบายคำ “กฐิน” ไว้ว่า เป็นชื่อของไม้สะดึงที่กางออกสำหรับขึงเย็บจีวร ตัวอย่างที่เรียกว่า “ผ้าไตรครอง” สำหรับถวายแก่ภิกษุผู้มีจีวรเก่า มีพรรษามาก หรือมีความสามารถมาก บัดนี้มักใช้ผ้าที่สำเร็จมาแล้วเป็นผ้ากฐิน

ทอดกฐินอยู่ข้างจะเป็นบุญใหญ่สักหน่อย บางท่านอาจทอดด้วยตัวเองคนเดียวไม่ได้ จึงมีวิธีแนะนำได้อีกอย่างหนึ่ง “กฐินสามัคคี” คือรวมสิ่งของทอดด้วยกันในคราวหนึ่ง พระวัดหนึ่งจะทอดแก่พระวัดอื่นก็ได้ มีกำหนดไว้ในพระบาลี ให้ทอดได้ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ไปหมดเขตถึงวันเพ็ญเดือน ๑๒ จะเป็นวันหนึ่งวันใดซึ่งอยู่ในระหว่างกำหนดได้ทั้งสิ้น ถ้าพ้นจากเขตนี้ไปไม่เรียกว่าทอดกฐิน

มูลเหตุมีอยู่ว่า ครั้งหนึ่ง ภิกษุชาวเมืองปาวาหรือปาฐา ถือธุดงค์ด้วยกันทุกๆ รูป ได้ชวนกันไปเฝ้าพระบรมศาสดาที่พระนครสาวัตถี ถึงคราวไปไม่ทันพรรษา จึงจำพรรษาอยู่ที่เมืองสาเกต อันตั้งอยู่ในระหว่างทาง ครั้นออกพรรษาแล้ว จึงเข้ามาเฝ้าพระพุทธเจ้า กราบทูลเหตุที่มาไม่ทันพรรษา และความลำบากอีกหลายอย่างที่ต้องได้รับมาตลอดทาง จนจีวรเปียกชุ่มและเลอะเทอะด้วยโคลนให้ทรงทราบ ด้วยเหตุนี้จึงทรงอนุญาตให้มีการถวายผ้ากฐินแก่ภิกษุสาวกตลอดมา

ข. คำถวายกฐิน
“อิมํ ภนฺเต สปริวารํ กฐินทุสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยามิ (ถ้าหลายคนใช้ โอโณชยาม) สาธุ เม (ถ้าหลายคนใช้ โน)  ภนฺเต สงฺโฆ อิมํ สปริวารํ กฐินทุสฺสํ ปฏิคฺคณฺหาตุ ปฏิคฺคเหตฺวา จ อิมินา ทุสฺเสน กฐินํ อตฺถรตุ มม (ถ้าหลายคนใช้ อมฺหากํ)  ฆทีรตฺตํ หิตาย สุขาย” แปลว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอมอบถวายผ้ากฐินพร้อมด้วยของบริวารนี้ ท่านผู้เจริญ ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐินพร้อมด้วยของบริวารของข้าพเจ้านี้ อนึ่งเมื่อรับไว้แล้ว ขอพระสงฆ์จงกรานกฐินด้วยผ้าผืนนี้ เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าตลอดกาลนาน เทอญ”



๔.ทอดผ้าป่า
ก.วิธีทำและมูลเหตุ
ที่เรียกว่า “ผ้าป่า” นั้น เพราะครั้งพุทธกาล ผ้าชนิดนี้ถูกทิ้งอยู่ในป่าจริงๆ หรือบางทีก็ในบริเวณขยะมูลฝอย คือหมายความว่าเป็นผ้าที่ทิ้งแล้ว ภิกษุพบเข้าก็ชักบังสุกุลเอามาเพราะความยากจนไม่ฟุ่มเฟือยเหมือนในสมัยนี้ ภายหลังมีผู้นิยมทอดผ้าป่า โดยวิธีเอาผ้าไปวางไว้ในป่า สุดแต่ภิกษุรูปใดมาพบเข้าก็ชักเอาไป

วิธีทอดผ้าป่า ให้หาสิ่งของมาตามมากและน้อย แต่ให้ใจว่าผ้าเป็นของสำคัญอย่างยิ่งจะขาดเสียไม่ได้ มิฉะนั้นจะไม่เรียกว่าทอดผ้าป่า เมื่อได้มาแล้ววางทอดไว้ในที่ไกลตาคน คอยดูอยู่ ไม่ให้ตั้งใจจะถวายภิกษุรูปหนึ่งรูปใด สุดจะเป็นลาภของภิกษุรูปใด ให้ถวายแก่ภิกษุรูปนั้น บางครั้งใส่แพหยวกลอยน้ำไป ภิกษุรูปใดมาพบก่อนก็เป็นลาภของภิกษุรูปนั้นที่จะชักเอาไป

ข.คำถวายผ้าป่า
“เอตานิ อหํ (ถ้าหลายคนใช้ มยํ) ภนฺเต จีวรานิ สปริวารานิ สงฺฆสฺส โอโณชยามิ (ถ้าหลายคนใช้ว่า โอโณชยาม) สาธุ เม (ถ้าหลายคนใช้ว่า โน) ภนฺเต เอตานิ สปริวารานิ ปฏิคฺคณฺหาตุ มม (ถ้าหลายคนใช้ว่า อมฺหากํ) ทีฆรตฺตํ หิตาย สุขาย” (เทียบคำแปลเอาตามนัยก่อนๆ)



หอสวดมนต์ วัดตาปะขาวหาย อ.เมือง จ.พิษณุโลก

ค.การให้เสนาสนะ (ที่อยู่)
๑.ประวัติการถวายเสนาสนะ
ปรากฏมีขึ้นแต่ครั้งพุทธกาล เมื่อภิกษุยังไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง ตำนานทางพระพุทธศาสนาพรรณนาไว้ว่ากาลครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เป็นบริวาร เสด็จไปยังพระราชนิเวศน์ของพระเจ้าพิมพิสาร พระราชาทรงพระราชดำริถึงสถานอันควรเป็นที่เสด็จอยู่ของพระพุทธเจ้า ทรงเห็นว่าพระราชอุทยานเวฬุวันสวนไม้ไผ่ เป็นที่ไม่ไกลและไม่ใกล้บ้านนัก มีทางเป็นที่ไปมาได้สะดวก เป็นที่สงบสงัดสมควรเป็นที่อยู่ของผู้ปรารถนาความเพียร ควรเป็นที่ประทับอยู่ของพระพุทธเจ้าได้ เมื่อทรงพระราชดำริฉะนี้แล้ว ทรงจับพระเต้าทองเต็มด้วยน้ำ หลั่งลงถวายพระราชอุทยานเวฬุวันเป็นสังฆารามแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน   ในวันนั้น พระพุทธเจ้าทรงรับแล้ว และทรงอนุญาตให้ภิกษุรับอารามที่ทายกถวายตามปรารถนา การถวายเสนาสนะ (ที่อยู่) มีประวัติสืบต่อมาถึงบัดนี้

๒.พิธีการสร้างวัด
พุทธศาสนาในยุคก่อนๆ การจะถวายเสนาสนะแก่ภิกษุสงฆ์ นิยมกันแต่วิหารอย่างเดียว ต่อมาในยุคหลังๆ กิจการของสงฆ์มีมากขึ้นเป็นลำดับ ที่อยู่ของสงฆ์ก็ต้องขยายตัวออก วิหารที่เคยอยู่อาศัยก็ไม่เพียงพอแก่การอาศัย การสร้างที่อยู่ถวายแก่ภิกษุในชั้นหลังๆ จึงต้องเพิ่มจำนวนสถานที่อันจำเป็นขึ้นอีก ต้องมีโบสถ์ มีวิหาร มีกุฏิเป็นที่อยู่ มีสีมาเป็นเครื่องกำหนดเขตวัดให้ถูกระเบียบตามพุทธบัญญัติ

โบสถ์ เป็นคำย่อมาจากอุโบสถ เมื่อครั้งแรกๆ การสร้างเสนาสนะถวายสงฆ์ไม่มีการสร้างโบสถ์ไว้ด้วย เพราะกิจที่จะต้องเกี่ยวถึงไม่มี ต่อมาสงฆ์มีกิจที่จะต้องทำในสถานที่เช่นนี้หลายอย่างตามพุทธานุญาต เช่น การบวช การรับผ้ากฐินที่ทายกนำมาถวาย และสังฆกรรมอย่างอื่นอีก เหตุฉะนี้การสร้างเสนาสนะถวาย จึงสร้างโบสถ์ไว้ด้วย

สำหรับวิหาร พูดถึงสมัยก่อนก็จำเป็นต้องมีอยู่เอง เพราะภิกษุสงฆ์ไม่มีกุฏิอยู่เช่นเดี๋ยวนี้ ต้องถือเอาวิหารเป็นที่อยู่หลับนอน เพราะการสร้างเสนาสนะในยุคโน้นสร้างแต่วิหารอย่างเดียว ภิกษุสงฆ์ก็รวมอยู่ในวิหารแห่งเดียว ครั้นต่อมาเสนาสนะอื่นๆ เพิ่มขึ้นมากเป็นลำดับ ภิกษุสงฆ์ก็พากันไปอยู่ตามเสนาสนะอื่นๆ เช่นกุฏี ทิ้งวิหารเสีย ซึ่งที่จริงสำหรับสมัยนี้วิหารเป็นของไม่สำคัญอะไรเลย จะไม่ต้องมีไว้ก็ได้ ภิกษุมีกุฏีอยู่พอแล้ว ถึงกระนั้นเราก็ยังคงมีไว้เสมอ โดยถือว่าเป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า เราทำไว้เป็นที่ระลึกหรือเป็นของศักดิ์สิทธิ์ เหมือนอย่างเรามีศาลพระภูมิไว้ในบ้านนั่นเอง

สีมาที่มีไว้นั้น ก็เพื่อที่จะเป็นเครื่องกำหนดเขตแดนของวัดอย่าง ๑ (สำหรับวัดที่มีมหาสีมา คือมีสีมารอบวัด ดูตัวอย่างวัดราชประดิษฐ์ฯ)  สำหรับวัดที่มีวัตถุอื่นเป็นเขตวัด สีมามีไว้เพื่อกำหนดเขตกระทำสังฆกรรม ซึ่งมักกำหนดเอาตัวโบสถ์อีกอย่าง ๑ สีมาจึงตั้งอยู่รอบๆ โบสถ์ทั้งสิ้น

การฝังลูกนิมิต ไม่ใช่เพื่ออะไรอย่างอื่นเลย เพื่อเป็นแนวที่ปักเขตสีมาอย่างเดียว การที่จะทำเขตที่เรียกว่าสีมานั้นต้องถือเอาลูกนิมิตที่ฝังไว้เป็นเกณฑ์ ตลอดจนการผูกสีมาก็จำต้องชักแนวให้ติดต่อไปตามลูกนิมิตที่ฝังไว้นั้นด้วย

การถวายเสนาสนะ คือที่อยู่แก่สงฆ์นั้น กล่าวว่ามีอานิสงส์มาก เพราะเป็นสิ่งที่มีคนทำได้โดยยาก แต่มาถึงสมัยนี้เมื่อเรามีวัดมากมายแล้ว การสร้างวัดใหม่ไม่จำเป็นเลย ถ้าหากเราจะปฏิสังขรณ์วัดเก่าให้ดีขึ้น ก็คงมีอานิสงส์ดีเท่ากับสร้างวัดใหม่เหมือนกัน

สร้างเสนาสนะถวายสงฆ์ พึงใช้คำถวายดังต่อไปนี้
     "ยคฺเฆ ภนฺเต สงฺโฆ ชานาตุ มยํ สงฺฆสฺส จ ผาสุวิหารํ อากงฺขมานา วิหารทาเน จ อานิสํสํ สมฺปสฺสมานา อตฺตโน ธนํ ปริจฺจชิตฺวา อิมํ เสนาสนํ การาเปตฺวา สงฺฆสฺส นิยาเทม สาธุ โน ภนฺเต สงฺโฆ อิมํ เสนาสนํ ปฏิคฺคณฺหาตุ ปฏิคฺคเหตฺวา จ ยถาสุขํ ปริภุญชตุ อมฺหากํ ทีฆรตฺตํ หิตาย สุขาย"  แปลว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอพระสงฆ์จงทราบว่า พวกข้าพเจ้าหวังให้พระสงฆ์อยู่เป็นผาสุก และเห็นอานิสงส์ในอันถวายท่านผู้เจริญ ขอพระสงฆ์จงรับเสนาสนะของข้าพเจ้านี้ ก็และเมื่อรับแล้วขอจงใช้สอยตามความสบาย เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายตลอดกาลนาน เทอญ"

คำถวายอันนี้จะใช้ถวายในการปฏิสังขรณ์ ก็ไม่ขัดข้องประการใด อนึ่ง คำถวายข้างต้นสำหรับหลายคน ถ้าคนเดียวก็เปลี่ยนเพียง ๒-๓ คำ คือ มยํ เป็น อหํ, อากงฺขมานา เป็น อกงฺขมาโน, สมฺปสฺสมานา เป็น สมฺปสฺสมาโน, นิยาเทม เป็น นิยาเทมิ, โน เป็น เม, อมฺหากํ เป็น มม  ผู้ที่อ่านมาโดยความสังเกตมาแต่ต้นแล้ว แม้ไม่เคยเรียนบาลีก็คงเปลี่ยนได้



ง.ถวายยา
ยานั้นนิยมมาแต่ครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้าผู้เป็นเจ้าของพระพุทธศาสนาเห็นคุณประโยชน์ของยาว่าอาจรักษาโรคภัยไข้เจ็บให้หายได้ โรคหนักจักเป็นโรคเบา คนไม่เป็นโรคจัดเป็นลาภอย่างประเสริฐ พระองค์จึงทรงสั่งสอนให้พระสาวกหมั่นฉันยาที่เป็นของประจำ ยาที่ให้ฉันเสมอนั้นพระพุทธเจ้าตรัสบอกว่า ยาดองด้วยน้ำมูตรเน่าและยาที่ทรงอนุญาตไว้ในเวลาต่อมามีตามกำหนด ๕ อย่าง คือ เนยใส, เนยข้น, น้ำมัน, น้ำผึ้ง และน้ำอ้อย แต่อาจมีสิ่งอื่นๆ ที่อนุโลมเข้าหากันได้ ตลอดถึงยาที่ใช้รักษาโรคที่ปรากฏมีอยู่ในบัดนี้ ซึ่งปราศจากของเบื่อเมาเข้าเจือปน

ผู้ที่ถวายยาแก่สงฆ์ ควรเลือกหายาที่ทรงอนุญาตไว้ เลือกหาของที่ไม่มีรสและกลิ่นมึนเมา ตัวอย่าง ยาดองเหล้าจะถวายแก่สงฆ์ไม่ได้ คำถวายยาอย่างเดียวกับคำถวายในตอนหนึ่งว่าถึงเรื่องน้ำดื่ม ผู้ปรารถนาจะใช้พึงดูตามนั้น

ที่แล้วไปแล้ว ได้อธิบายและแนะนำถึงเรื่องทำบุญด้วยวิธีให้ทานมาให้เห็นพอเป็นตัวอย่าง พอได้เป็นทางให้เลือกเทียบเคียงดูได้ในทานชนิดอื่นๆ แล้ว บัดนี้ จะได้อธิบายถึงวิธีทำบุญอย่างที่ ๒ คือศีลต่อไป


.

๒.ศีล
ศีล คือการรักษากายวาจาให้เรียบร้อย แบ่งออกเป็นหลายชั้น คือศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ และศีล ๒๒๗ ในชีวิตของมนุษย์ตามปรกติ จะรักษาไปให้หมดทุกอย่างไม่ได้ แต่ศีล ๕ เป็นศีลที่คนทุกชั้นสามารถรักษาได้ทุกขณะตลอดชีวิต  ฉะนั้น ศีล ๕ นี้จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “นิจศีล” คือศีลที่อาจรักษาได้เป็นนิจ หรืออีกอย่างหนึ่งว่าศีลที่ควรรักษาอยู่เป็นนิจ ศีลทั้ง ๕ ประการนี้ คือ
๑.ไม่ให้ฆ่าสัตว์
๒.ไม่ให้ถือเอาสิ่งของๆ คนอื่นโดยที่ตนไม่มีสิทธิ
๓.ไม่ประพฤติผิดในกาม คือไม่เกี่ยวข้องในทางความรักกับผู้ที่ตนไม่มีสิทธิ
๔.ไม่ให้พูดเท็จ และ
๕.ไม่เสพย์ของมึนเมา

ศีล ๕ ข้อนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “มนุสสธรรม” คือธรรมของมนุษย์ ที่เรียกเช่นนี้เพราะธรรมทั้ง ๕ นี้ เป็นธรรมประจำโลกที่มนุษย์จำเป็นจะต้องมี ไม่ว่าในชาติใด ศาสนาใด

ศีล ๘ นั้น ๕ ข้อข้างต้นเหมือนกับศีล ๕ เป็นแต่เปลี่ยนข้อ ๓ ให้แรงขึ้น คือห้ามมิให้ประพฤติล่วงพรหมจรรย์ หมายความว่าติดต่อรักใคร่ร่วมประเวณีไม่ได้เลยเป็นอันขาด แม้กับภรรยาของตนก็ไม่ได้ และเดิม ๖.ห้ามไม่ให้รับประทานอาหารต้องห้ามในเวลาวิกาล คือตั้งแต่เที่ยงแล้วไปจนถึงย่ำรุ่ง  ๗.ห้ามมิให้ขับร้อง และประดับตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องหอม  และ ๘.ห้ามมิให้นอนบนที่นอนสูงใหญ่เกินไป

เหล่านี้เรียกว่าศีล ๘ หรืออุโบสถศีล คือศีลที่ควรรักษาในวันอุโบสถ (วันพระ) แต่ไม่ได้หมายความว่าห้ามไม่ให้รักษาเป็นนิจตลอดไป ถ้ามีศรัทธาจะรักษาเป็นนิจได้ ก็นับว่าประเสริฐ

ศีล ๑๐ เบื้องต้นเช่นเดียวกับศีล ๘ อยู่ ๕ ข้อ แต่ตอนปลาย ๕ ข้อ มีแปลกออกไป คือ
๖.ห้ามมิให้บริโภคอาหารต้องห้ามในเวลาวิกาล
๗.ห้ามมิให้ขับร้องประโคมดนตรี
๘.ห้ามมิให้ประดับแต่งตัวด้วยเครื่องหอม
๙.ห้ามมิให้นอนนั่งในที่ใหญ่สูงเกินกำหนด และ
๑๐.ห้ามรับเงินทอง

ความจริงก็เกือบเหมือนศีล ๘ เพิ่มเข้ามาอีก ๑ ข้อ ห้ามรับเงินทองเท่านั้น

ศีล ๑๐ นี้ ครั้งพุทธกาล ปรากฏว่าเป็นศีลสำหรับภิกษุ ต่อมาเมื่อราหุลกุมารพุทธโอรส เข้ามาบวชเป็นสามเณรองค์แรกในพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าจึงยกศีล ๑๐ ให้เป็นศีลปฏิบัติสำหรับสามเณรจนถึงทุกวันนี้ และทรงบัญญัติศีล ๒๒๗ ข้อ ให้เป็นศีลสำหรับภิกษุต่อมา

สำหรับผู้ที่มีอายุยังไม่ครบ ๒๐ ปี ถ้าปรารถนาจะบวชต้องบวชเป็นสามเณรก่อน ต่อเมื่ออายุ ครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์แล้ว จึงสมควรจะบวชเป็นภิกษุต่อไป การบวชเป็นสามเณรเรียกว่า “บรรพชา” การบวชเป็นภิกษุเรียกว่า “อุปสมบท” ที่จริงคำว่า “บรรพชา” ใช้สำหรับสามเณรก็ได้ แต่คำว่า “อุปสมบท” จะใช้สำหรับบวชเป็นสามเณรไม่ได้ เรื่องการบวชมีวิธีอย่างไรเราจะเขียนลงเป็นส่วนหนึ่งต่างหาก เพราะเป็นเรื่องใหญ่เกินกว่าที่จะเขียนลงในที่นี้ได้

การรักษาศีล ๕ และศีล ๘ นั้น จะตั้งใจรักษาเองก็ได้ แต่ตามปรกติเรามีวิธีขอศีลจากพระและพระก็บอกให้ อย่างที่เรียกว่าให้ศีล การที่จะต้องขอจากพระนั้นก็เพื่อประโยชน์อย่างเดียวคือ จะให้มีใจมั่นคงยิ่งขึ้น คำขอศีลนี้เรียกกันว่า อาราธนาศีล มีดังต่อไปนี้

คำอาราธนาศีล
อหํ (สำหรับหลายคนใช้ มยํ) ภนฺเต (วิสุํ วิสุํ) รกฺขณตฺถาย ติสรเณน สห ปญฺจ (ถ้าศีล ๘ เป็น อฎฐ) สีลานิ ยาจามิ (ถ้าสำหรับหลายคนใช้ ยาจาม) ทุติยมฺปิ อหํ (ถ้าหลายคนใช้ มยํ) ภนฺเต (ต่อไปนี้เหมือนกัน) ตติยมฺปิ อหํ (ถ้าสำหรับหลายคนใช้ มยํ) ภนฺเต (ต่อไปนี้เหมือนกันคือต้องว่า ๓ หน)

แปลว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอศีล ๕ ข้อ (หรือ ๘ ข้อ) พร้อมกับไตรสรณาคมน์ เพื่อต้องการจะรักษา (เป็นส่วนๆ ไป) ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอ ฯลฯ เป็นครั้งที่ ๒, ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอ ฯลฯ เป็นครั้งที่ ๓

คำว่า “วสุํ วิสุํ” ที่วงเล็บไว้ข้างบนนั้น แปลว่าเป็นส่วนๆ ไป จะใช้ก็ได้ ไม่ใช้ก็ได้ แต่การใช้กับไม่ใช้มีผลผิดกัน คือถ้าไม่ใช้ ศีลที่รับไปนั้น เป็นการรับผิดชอบร่วมกัน ถ้าขาดไปข้อเดียวก็ขาดหมด แต่ถ้าใช้คำว่า “วิสุํ วิสุํ” แล้ว ข้อหนึ่งขาด ข้ออื่นๆ ยังดีอยู่

นอกจากทานกับศีล อันเป็นที่ตั้งแห่งทางบำเพ็ญชนิดที่ ๑ และที่ ๒ ซึ่งได้อธิบายมาแล้ว ยังมีทางบำเพ็ญบุญวิธีที่ ๓ คือภาวนา


3393  สุขใจในธรรม / พุทธประวัติ แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า / Re: ประวัติบุคคลสำคัญของพระพุทธศาสนา โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก เมื่อ: 07 กันยายน 2558 14:42:09


หมอชีวกโกมารภัจจ์
พระเจ้าจัณฑปัชโชตทรงพระประชวร (๑)


คราวนี้ขอเชิญท่านผู้อ่านนึกไปถึงเมืองอีกเมืองหนึ่ง อยู่ห่างจากเมืองราชคฤห์ไปทางด้านทิศตะวันออกอีกไกลมาก เมืองนี้มีชื่อว่าอุชเชนี มีพระราชาทรงพระนามว่าปัชโชตครองราชสมบัติ ปัชโชตขึ้นชื่อลือชาว่าเป็นกษัตริย์ที่ดุร้ายมาก ใครทำอะไรขัดพระทัยนิดหน่อยก็จับตัดคอทันที

จนได้สมญานามว่า "จัณฑปัชโชต" แปลว่า "ปัชโชตผู้โหดร้าย"

ปัชโชตมีโรคร้ายประจำอยู่อย่างหนึ่งคือ "ปัณฑุโรค" (โรคดีซ่าน) ได้ทราบว่าที่เมืองราชคฤห์นี้มีหมอวิเศษอยู่คนหนึ่ง จึงทรงส่งพระราชสาส์นไปยังพระเจ้าพิมพิสาร ขอนายแพทย์มารักษาพระโรค

พระเจ้าพิมพิสารจึงส่งหมอชีวกไปถวายการรักษา พร้อมทั้งรับสั่งให้หมอระมัดระวังตัวให้ดีด้วย เพราะทราบว่าพระเจ้าแผ่นดินองค์นี้ดุนัก

พลาดท่าพลาดทางอาจโดนตัดหัวก็ได้

หมอชีวกเดินทางไปเมืองอุชเชนี เข้าเฝ้าพระเจ้าจัณฑปัชโชต ก็แจ้งประจักษ์แก่ใจว่า พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นี้มีพระนิสัยหงุดหงิดดุร้ายจริงตามคำเล่าลือ

เขาลงมือตรวจพระอาการเสร็จแล้วกราบทูลพระเจ้าแผ่นดินว่า ก่อนจะรักษาโรคร้ายให้หายได้ต้องขอให้ทรงสัญญาก่อน
"สัญญาอะไรวะ ข้าเอาแกมารักษาโรค มิใช้ให้มาสัญญา" ปัชโชตตวาดพระเนตรเขียวปัด

"ขอเดชะฯ พระอาการค่อนข้างน่าวิตก ข้าพระพุทธเจ้าจึงอยากจะกราบทูลพระกรุณาขอพระราชทานสัญญาว่าจะทรงเสวยพระโอสถที่ข้าพระพุทธเจ้าประกอบถวายพ่ะย่ะค่ะ" หมอหนุ่มกราบทูลพยายามทำเสียงให้เป็นปกติ

"ยาอะไรแกให้ข้ากินได้ทั้งนั้นแหละ ขออย่างเดียวอย่าให้มีเนยใส ข้ากินเนยใสไม่ได้ เข้าใจไหม"

หมอหนุ่มสะดุ้ง เพราะยาที่จะผสมให้เสวยจะต้องใส่เนยใสเสียด้วย ถ้าขาดเนยใสมาผสมเป็นกระสาย โรคอย่างนี้จะไม่หาย จึงสู้สะกดใจไว้ กราบทูลอีกว่า
"ข้าพระพุทธเจ้าขอกราบทูลพระกรุณาพระราชทานของสามสิ่ง คือ
๑.ห้องพิศษสำหรับปรุงยา
๒.ให้เปิดประตูวังไว้ตลอดคืน
๓.ขอช้างทรง หรือม้าทรงที่มีฝีเท้าเร็วที่สุดหนึ่งตัว"

"รักษาโรคสวรรค์วิมานอะไรของแกวะ ขอให้เปิดประตูวังตลอดคืน ขอช้างขอม้าฝีเท้าเร็ว ไอ้ข้อแรกก็พอมีเหตุผลอยู่หรอก แต่สองข้อหลังนี่ จะเอาไปทำไม" ปัชโชตทรงซักถามด้วยความขุ่นพระทัย

"ขอเดชะฯ หากเวลาต้องการเครื่องยาสมุนไพรที่จำเป็นบางอย่างกะทันหัน ข้าพระพุทธเจ้าจะได้ขึ้นช้างหรือม้าไปเอาพ่ะย่ะค่ะ"

"เออ ตกลง รักษามาไม่รู้กี่หมอแล้ว มีแก่นี่แหละยุ่งที่สุด" ทรงบ่นอุบอิบ


ข้อมูล : บทความพิเศษ หมอชีวกโกมารภัจจ์ โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก  หน้า ๗๑ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๘๒๙ ประจำวันที่ ๔-๑๐ กันยายน ๒๕๕๘


หมอชีวกโกมารภัจจ์
พระเจ้าจัณฑปัชโชตทรงพระประชวร (จบ)


เมื่อได้ของตามต้องการแล้ว หมอชีวกจึงเข้าห้องพิเศษ ปรุงยาตามที่เล่าเรียนมา ใส่เนยใสผสมเป็นกระสาย ก่อไฟตั้งเตา ปิดประตูหน้าต่างห้องอย่างมิดชิด ป้องกันกลิ่นเนยระเหยออกไปข้างนอก ใส่สมุนไพรดับกลิ่นเนยอย่างดี เคี่ยวยาอยู่เป็นเวลา ๗ วัน ได้ยาสกัดออกมาเป็นถ้วยขนาดใหญ่ ลองดมดู ไม่มีกลิ่นเนยหลงเหลืออยู่แม้แต่นิดเดียว

เสร็จแล้วนำเข้าถวายพระเจ้าแผ่นดิน กราบทูลวิธีเสวยและอาการหลังจากเสวยว่า “หลังจากที่เสวยยาแล้ว วันแรกจะมีอาการแน่น ถ้ามีพระอาการอย่างไรขอให้ทรงอดทน พอตกถึงวันที่สองจะทรงเรอออกมา แล้วอาการของโรคจะค่อยๆ หายไป”

เสร็จแล้วหมอหนุ่มรีบเข้าไปโรงช้าง ขึ้นช้างพังชื่อภัททวดีซึ่งมีฝีเท้าเร็ว วิ่งได้วันละ ๕๐ โยชน์ออกไปจากพระนคร สั่งมหาดเล็กให้กราบทูลพระเจ้าแผ่นดินว่า จะรีบเก็บสมุนไพรมาเพิ่มเติม

ออกจากวังได้ก็รีบไสช้างวิ่งหนีไปทางเมืองราชคฤห์ ไปได้หลายสิบโยชน์เห็นว่ามาไกลพ้นเขตอันตรายแล้ว จึงหยุดช้างลงไปนั่งพักเหนื่อยใต้ต้นมะขามป้อมต้นหนึ่ง

กล่าวถึงพระเจ้าจัณฑปัชโชต พอเสวยยาเข้าไปวันแรกเกิดอาการแน่นอึดอัดตามที่หมอบอก แต่ไม่มีอาการเจ็บปวดอะไรรุนแรงนัก

พอรุ่งเช้าขึ้นวันที่สอง ทรงเรอออกมาเนยใสที่ผสมเป็นกระสายยาระเหยออกมาแตะพระนาสิก รู้สึกว่าโดนหมอหลอกให้เสวยเนยใสเข้าแล้วเท่านั้น ก็ทรงอาเจียนโอ้กอ้ากทันที ได้พระสติจึงแหวออกมา ทั้งๆ ที่เกือบจะไม่มีพละกำลังอยู่แล้ว รับสั่งให้ตามมหาดเล็กชื่อกากะมาทันที

“มึงรีบไปตามไอ้หมอชีวกมาให้กูให้ได้ ไอ้หมอเจ้าเล่ห์ กูจะตัดหัวมันให้สมกับที่มันโกหกกู” ทรงตะโกนก้องด้วยความพิโรธ

กากะ มหาดเล็กผู้ซื่อสัตย์ ซึ่งวิ่งได้เร็ววันละ ๑๐ โยชน์ รีบวิ่งออกจากพระราชวังทันที
“เฮ๊ย เดี๋ยวก่อน” ทรงรับสั่งไล่หลังมหาดเล็ก
“ไอ้หมอคนนี้มันเล่ห์เหลี่ยมมาก มึงอย่าเสือกกินอะไรที่มันให้เป็นอันขาดนะ”

กากะวิ่งบ้างเดินบ้าง ตามรอยชีวกไปจนทันที่ป่ามะขามป้อม เห็นหมอชีวกผูกช้างไว้ข้างต้นไม้ นั่งกินอาหารอยู่ จึงจู่โจมเข้าไปจับแขนจะลากกลับเมืองอุชเชนีทันที
“ตายละสิ นึกว่ามาพ้นแล้ว เจ้าบ้านี่ตามมาจนได้”

หมอชีวกคิด ฉับพลันนั้นไวเท่าความคิด เขาจึงพูดขึ้นว่า
“เดี๋ยว ขออนุญาตผมกินข้าวอิ่มก่อนได้ไหม ข้าวยังมีอยู่แยะ เชิญกินข้าวด้วยกันก่อน ค่อยกลับไปเฝ้าพระเจ้าแผ่นดิน”
“ไม่” เขาสั่นศีรษะ “พระราชารับสั่งว่าคุณมารยามาก ห้ามกินอะไรที่คุณเอาให้เด็ดขาด”
“พระราชาคงทรงกลัวว่าผมจะวางยาพิษกระมัง ก็เราไม่ได้เป็นศัตรูอะไรกัน ผมจะวางยาคุณทำไม” หมอรบเร้าให้เขาร่วมวงให้ได้
“เชิญตามสบายเถิด คำสั่งต้องเป็นคำสั่ง ไม่งั้นหัวผมขาด” กากะกล่าวยืนยันความตั้งใจเดิม

เมื่อเห็นว่ากำลังจะเข้าตาจน เพราะเจ้าหมอนั่นรักษาคำสั่งของเจ้าเหนือหัวอย่างเคร่งครัด จึงคว้าผลมะขามป้อมที่หล่นอยู่มาผลหนึ่ง กัดกินแล้วดื่มน้ำพลางหยิบมะขามป้อมที่เพิ่งหล่นจากต้นไม้ส่งให้กากะ ชวนให้กินแก้กระหายน้ำบ้าง

กากะเห็นว่ามะขามป้อมเพิ่งหล่นจากต้นหยกๆ คงไม่เป็นไรจึงรับมากัดกินบ้าง หารู้ไม่ว่าก่อนส่งให้ หมอหนุ่มได้เอาเล็บจิกผิวมะขามป้อมนิดหนึ่ง ปล่อยยาซึ่งซ่อนอยู่ที่ปลายเล็บ ซึมเข้าไปในผลมะขามป้อม

พักเดียวได้เรื่อง เจ้าหมอนั่นรู้สึกปวดท้องกะทันหัน ไม่ทันกล่าวอะไรออกมา อุจจาระก็ไหลออกมาดั่งสายน้ำพุ่งออกจากท่อ
“โอย ได้โปรดช่วยชีวิตผมด้วยเถิด คุณหมอ” มหาดเล็กผู้น่าสงสารอ้อนวอน
“ไม่เป็นไรหรอกเพื่อนยาก ถ่ายออกหมดแล้วก็จะหายเองแหละ ไม่ใช่ยาพิษอะไรหรอก” หมอหนุ่มกล่าวพร้อมกับหัวเราะร่าเริง
“ฝากนำช้างไปถวายคืนเจ้านายด้วย ลาก่อนนะ”

เวลาผ่านไปประมาณ ๓๐ นาที มหาดเล็กชื่อกากะก็ค่อยมีกำลังขึ้นบ้าง เดินโผเผไปแก้ช้างออกจากโคนต้นมะขามป้อม ขี่ช้างกลับมายังพระราชวัง เข้าไปกราบทูลแด่พระเจ้าแผ่นดินด้วยอาการตัวสั่นงันงก  พระเจ้าจัณฑปัชโชตทอดพระเนตรเห็นมหาดเล็กรูปร่างอิดโรยผิดปกติ ก็ทรงรู้ทันทีว่าคงเสียทีหมอหนุ่มเสียแล้ว จึงรับสั่งด้วยอารมณ์ดีว่า “กูบอกแล้ว อย่ากินอะไรที่มันให้ มึงก็เสียทีมันจนได้ ปล่อยมันเถอะวะ กูหายดีแล้ว ยามันวิเศษจริงๆ”

พอหายประชวรแล้ว พระเจ้าจัณฑปัชโชตทรงนึกถึงบุญคุณของหมอชีวก คิดจะพระราชทานรางวัลให้สมใจ จึงทรงได้เลือกผ้าเนื้อสีทองอย่างดีสองผืนที่ทอที่ประเทศสีพี เป็นผ้าเนื้อละเอียดมาก คนธรรมดาไม่มีโอกาสได้ใช้ผ้าเช่นนี้ นอกจากพระเจ้าแผ่นดินเท่านั้น

พร้อมกับมีพระราชสาส์นไปขอบพระทัยพระเจ้าพิมพิสาร ที่ทรงประทานหมอวิเศษไปรักษาโรคให้จนหายสนิท.  


ข้อมูล : บทความพิเศษ หมอชีวกโกมารภัจจ์ โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก  หน้า ๗๑ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๘๓๐ ประจำวันที่ ๑๑-๑๗ กันยายน ๒๕๕๘


หมอชีวกโกมารภัจจ์
หมอชีวกถวายผ้าแด่พระพุทธเจ้า (๑)


หมอชีวกได้ผ้าเนื้อสีทองอย่างดีสองผืน แล้วนึกถึงสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าขึ้นมาทันที เห็นว่าผ้านี้เป็นผ้าเนื้อดี หาได้ยากควรจักนำไปถวายพระพุทธเจ้า จึงนำไปยังเวฬุวนาราม ตั้งใจจะถวายแด่พระพุทธองค์

แต่สมัยนั้นภิกษุสงฆ์ถือผ้าบังสุกุลอย่างเดียว คือท่านแสวงหาเศษผ้าที่ชาวบ้านเขาทิ้งแล้ว เช่น ผ้าห่อศพ (คนส่วนมากคิดว่า ผ้าห่อศพสกปรก เปื้อนเลือดและหนอง ทำไมพระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาตให้พระเอามาทำจีวร ความจริงแล้วชาวอินเดียวเขาเอาผ้าอย่างดี ยาวเป็นหูกๆ พันศพหลายๆ ชั้น นำไปทิ้งป่าช้า ผ้าเหล่านี้ชั้นนอกไม่เปื้อนอะไรเลย จึงตัดเอามาทำจีวรได้) มาเย็บทำจีวรเอง และใช้สอยเพียงสามผืนเท่านั้น พระพุทธองค์ไม่ทรงอนุญาตให้รับผ้าจีวรที่คฤหัสถ์ทำถวาย

หมอชีวกจึงขอพรพระพุทธเจ้า ให้ทรงรับผ้าเนื้อสีทองที่เขาน้อมถวาย และให้ทรงอนุญาตให้พระสงฆ์รับผ้า หรือจีวรของหมอชีวก และอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์รับคฤหบดีจีวรได้ตามคำขอของหมอชีวกแต่บัดนั้นมา

ชาวบ้านได้ทราบว่าพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระสงฆ์รับผ้าหรือจีวรที่ชาวบ้านถวายได้ ต่างดีใจ พากันนำจีวรมาถวายพระเป็นจำนวนมาก เนื้อดีบ้าง เนื้อหยาบบ้าง ทอด้วยวัตถุดิบต่างๆ กัน

พระสงฆ์เลยเกิดความสงสัยว่า จีวรชนิดไหนควรจักรับ ชนิดไหนไม่ควรจักรับจึงนำความเข้าทูลถามพระพุทธองค์

พระพุทธองค์ตรัสอนุญาตไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตจีวร ๖ ชนิด คือ จีวรทำด้วยเปลือกไม้ ๑ ทำด้วยฝ้าย ๑ ทำด้วยไหม ๑ ทำด้วยขนสัตว์ ๑ ทำด้วยป่าน ๑ ทำด้วยทอง (ทั้งห้าอย่างนั้น) เจือกัน ๑

ปัญหาของหมอชีวก
หมอชีวกเป็นผู้เลื่อมใสพระพุทธศาสนามาก มีเวลาว่างจากการดูแลคนไข้เมื่อไร เป็นถือโอกาสไปเฝ้าพระพุทธเจ้าทันที เขาจึงมักจะเทียวไปเทียวมาระหว่างตัวเมืองกับสวนมะม่วงของเขาเสมอ

สวนมะม่วงที่ว่านี้ เป็นสมบัติส่วนตัวของเขา เป็นสถานที่สงบสงัด เหมาะแก่ผู้ที่ใคร่วิเวกเป็นอย่างยิ่ง ภายหลังหมอชีวกได้มอบถวายให้เป็นวัดที่ประทับของพระพุทธเจ้า เมื่อว่างจากภารกิจเมื่อใด เขาก็ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ทูลถามข้อข้องใจในธรรมอยู่เสมอ

ในพระไตรปิฎกมีพระสูตรบันทึกบทสนทนาระหว่างพระพุทธเจ้ากับหมอชีวกอยู่หลายแห่ง เป็นเรื่องมีสาระน่ารู้ทั้งสิ้น จึงขอถือโอกาสถ่ายทอดให้ทราบเพียงสองแห่ง ดังต่อไปนี้
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนปฏิบัติ ได้แค่ไหน ถึงจะเรียกว่าเป็นอุบาสก”
“ผู้ที่นับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ จึงจะเรียกว่าเป็นอุบาสก”
“อุบาสกชนิดไหน เรียกว่าอุบาสกมีศีล”
“อุบาสกที่งดเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ผิดในกาม พูดเท็จ ดื่มสุราเมรัย เรียกว่าอุบาสกมีศีล”
“อุบาสกชนิดไหน เรียกว่าเอาตัวรอดคนเดียว”
“อุบาสกที่มีศรัทธา มีศีล มีทัศนะ (ความเห็นถูกต้อง) ใคร่เห็นพระสงฆ์ ใคร่สดับธรรม ฟังธรรมแล้วจดจำได้ จดจำได้แล้ว พิจารณาไตร่ตรอง รู้ข้อธรรมแล้วประพฤติปฏิบัติธรรมถูกต้อง อุบาสกชนิดนี้เรียกว่า เอาตัวรอดคนเดียว”
“แล้วอย่างไหนเรียกว่า เอาตัวรอดด้วย ช่วยคนอื่นด้วย”
“คนที่ประกอบด้วยคุณธรรมดังกล่าวข้างต้น แล้วชักชวนให้คนอื่นทำตาม ชื่อว่าช่วยตัวด้วย ช่วยคนอื่นด้วย”


ข้อมูล : บทความพิเศษ หมอชีวกโกมารภัจจ์ โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก  หน้า ๗๑ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๘๓๑ ประจำวันที่ ๑๘-๒๔ กันยายน ๒๕๕๘


หมอชีวกโกมารภัจจ์
หมอชีวกถวายผ้าแด่พระพุทธเจ้า (จบ)


คราวหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่สวนมะม่วง เช่นเดียวกัน หมอชีวกเข้าเฝ้าแล้วกราบทูลถามปัญหา ดังนี้
“ข้าพระพุทธเจ้าได้ยินคนเขาตำหนิพระองค์ว่า พระองค์ได้สอนให้คนอื่นงดฆ่าสัตว์ แต่เสวยอาหารที่เขาฆ่าถวาย เป็นความจริงเพียงไร”

พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า ถ้าได้เห็น ได้ยิน และสงสัยว่าเขาฆ่าเจาะจงถวาย พระองค์ไม่เสวยเนื้อนั้น แต่ถ้าไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน และไม่สงสัยว่าเขาฆ่าเจาะจงถวาย พระองค์เสวยเนื้อนั้น

พระองค์ตรัสอธิบายต่อไปว่า ภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนามีจิตประกอบด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา และแผ่คุณธรรมเหล่านี้ไปยังสรรพสัตว์ทั่วโลก อยู่ด้วยจิตไม่มีเวร ไม่มีพยาบาทต่อใคร เลี้ยงชีพด้วยอาหารบิณฑบาตที่ชาวบ้านเขาถวาย เมื่อมีคนเขานิมนต์ไปฉันอาหาร ท่านก็ไป เขาถวายอาหารชนิดใด จะเลวหรือประณีต ท่านก็ฉันพอดำรงอัตภาพ ไม่ติดหรือยึดมั่นในอาหารที่ฉันนั้น

เสร็จแล้วพระองค์ย้อนถามหมอชีวกว่า
“พระภิกษุที่ปฏิบัติเช่นนี้ จะเรียกว่าเบียดเบียนคนอื่นหรือไม่”
“ไม่ พระเจ้าข้า” หมอชีวกกราบทูล
“อาหารอย่างนี้ไม่มีโทษ (คือกินได้ ไม่เรียกว่าเป็นการสนับสนุนให้เขาฆ่าสัตว์) มิใช่หรือ”
“เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า”

พระองค์ตรัสต่อไปว่า ใครก็ตาม ถ้าฆ่าสัตว์เจาะจงถวายพระตถาคตหรือพระภิกษุสงฆ์สาวก ย่อมก่อบาปกรรมทั้งแก่ตนเองและคนอื่น ด้วยสถานะ ๕ ประการ คือ
๑) สั่งให้คนอื่นนำสัตว์ตัวโน้นตัวนี้มา (เท่ากับชักนำเอาคนอื่นมาร่วมทำบาปด้วย)
๒) สัตว์ที่ถูกนำมาฆ่า ถูกลากถูลู่ถูกังมาได้รับความเจ็บปวดเป็นอันมาก
๓) ออกคำสั่งให้เขาฆ่าสัตว์นั้น (ตัวเองก็บาป คนฆ่าก็บาป)
๔) สัตว์ที่ถูกฆ่าได้รับทุกขเวทนาจนสิ้นชีพ
๕) ทำให้คนอื่นเขาหาช่องว่าพระตถาคตและพระสงฆ์สาวกด้วยเรื่องเนื้ออันไม่ควร
(จริงอยู่ ถ้าพระไม่รู้ ไม่เห็น ไม่สงสัย ว่าเขาเจาะจงฆ่าถวาย ไม่ต้องอาบัติ แต่คนภายนอกอาจหาว่าพระรู้ แต่แกล้งทำไม่รู้ หรือปากว่าตาขยิบก็ได้)

หมอชีวกได้สดับวิสัชนาจากพระพุทธองค์จนแจ่มแจ้งหายสงสัยแล้ว ในที่สุดได้กล่าวขึ้นว่า ตนเคยแต่ได้ยินผู้หลักผู้ใหญ่เล่าว่า “พระพรหม” นั้นมีจิตประกอบด้วยพรหมวิหารสี่ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา แต่ไม่เคยเห็น “พระพรหม” ตัวจริงสักที ที่แท้ “พระพรหม” ก็คือพระพุทธองค์นั่นเอง เพราะพระองค์ทรงมีคุณธรรมเหล่านี้ในพระทัย เป็นพยานที่เห็นได้

พระพุทธเจ้าตรัสว่า
“พรหมที่ว่านี้ ถ้าชีวกหมายถึงผู้ที่ไม่มีความพยาบาท ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ ตถาคตเห็นด้วย เพราะตถาคตละกิเลสเหล่านี้ได้เด็ดขาดแล้ว”


ข้อมูล : บทความพิเศษ หมอชีวกโกมารภัจจ์ โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก  หน้า ๗๑ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๘๓๒ ประจำวันที่ ๒๕ ก.ย.-๑ ต.ค.๕๘



หมอชีวกโกมารภัจจ์
เหตุการณ์ระทึกใจในสวนมะม่วง (๑)


คราวหนึ่ง เหตุการณ์ที่ใครๆ ไม่คาดฝันก็อุบัติขึ้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถูกลอบทำร้ายโดยคนใจบาป

เจ้าวายร้ายนั้นปีนขึ้นไปบนเขาคิชฌกูฏ กลิ้งก้อนหินลงมา หมายใจจักให้หินทับพระพุทธองค์ ขณะที่กำลังนั่งเข้าฌานสมาบัติอยู่ในถ้ำมัททกุจฉิ เชิงเขาคิชฌกูฏ  แต่เดชะ พระบารมีของพระพุทธองค์ ก้อนหินก้อนนั้นกลิ้งลงมาปะทะชะง่อนผาเบื้องบนพระเศียรกระเด็นไปทางอื่น  

แต่กระนั้นสะเก็ดหินก็กระเด็นไปต้องพระบาททำให้ห้อพระโลหิต ได้รับทุกขเวทนาเป็นอันมาก  พระสงฆ์สาวกช่วยกันหามพระพุทธองค์ออกมายังสวนมะม่วงของหมอชีวก

หมอชีวกกำลังตรวจคนไข้อยู่ในเมือง พอได้ทราบข่าวว่าพระพุทธองค์ถูกทำร้ายอาการสาหัส วิ่งแจ้นไปสวนมะม่วงทันที ได้ถวายการรักษา โดยชะล้างและพันแผลให้พระพุทธองค์ แล้วทูลลาไปดูคนไข้ในเมืองต่อ

ขอย้อนกล่าวถึงสาเหตุที่พระพุทธองค์ถูกลอบทำร้าย ตัวการผู้ก่อมหันตกรรมครั้งนี้คือ พระเทวทัต

พระเทวทัตคือใคร?

พระเทวทัต โดยเชื้อสายดั้งเดิมเป็นชายในโกลิยวงศ์ ลูกพี่ลูกน้อง (บางแห่งว่าเป็นพี่) ของพระนางยโสธราหรือพิมพา เมื่อสิทธัตถะกุมารออกผนวช สำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ได้เสด็จไปโปรดพระราชบิดา และพระประยูรญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์

พวกเจ้าชายในตระกูลศากยะเป็นจำนวนมากได้ออกผนวชเป็นพุทธสาวก เทวทัตกุมารได้ถือโอกาสออกผนวช ปรากฏว่าได้บำเพ็ญสมณธรรมจนได้ฌานขั้นโลกีย์ สามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ ครั้นต่อมาเกิดขัดพระทัยเรื่องลาภสักการะเป็นเหตุ

เรื่องก็มีอยู่ว่า ชาวบ้านนำภัตตาหารบ้าง ของถวายอย่างอื่นบ้าง ไปถวายพระ ต่างก็หามหาพระองค์อื่นๆ ไม่มีใครถามหาพระเทวทัตเลย จึงเกิดมานะขึ้นในใจว่า พระเหล่านั้นก็เป็นกษัตริย์ออกบวช เราก็เป็นกษัตริย์เหมือนกัน ทำไมจึงไม่เห็นความสำคัญของเรา พวกนี้มันรู้จักเทวทัตน้อยไปเสียแล้ว

คิดดังนี้จึงวางแผนเข้าไปสนิทชิดเชื้อกับพระเจ้าอชาตศัตรู สมัยยังเป็นพระราชกุมาร แสดงฤทธิ์เดชให้ดู จนเจ้าชายเกิดความเลื่อมใส มอบตนเป็นศิษย์ก้นกุฏิ ตั้งแต่นั้นมาลาภสักการะก็ไหลมาเทมาสมเจตนานึก เพราะบารมีของศิษย์ก้นกุฏิ

เมื่อคนขนาดมกุฎราชกุมารยกย่องนับถือเป็นพระอาจารย์ เทวทัตก็ชักมองเห็นลู่ทางไปสู่ความยิ่งใหญ่ กำเริบเสิบสานถึงขึ้นคิดจะกุมอำนาจการปกครองคณะสงฆ์แทนพระบรมศาสดา ทูลขอให้พระองค์ทรงมอบอำนาจการปกครองคณะสงฆ์ให้ตน โดยอ้างว่าตนเองมีความปรารถนาดีต่อพระธรรมวินัย ใคร่จะจัดการให้พระศาสนาเจริญก้าวหน้า พระพุทธองค์ทรงพระชราภาพมากแล้ว ทั้งยังมีพระภารกิจอย่างอื่นที่ต้องทรงกระทำเป็นอันมาก ขอให้ประทานอำนาจการปกครองให้ตนเถิด จะได้ช่วยแบ่งเขาพระภาระ

พระพุทธเจ้าทรงมองเห็นเจตนาอันลามกของพระเทวทัต จึงไม่ประทานอำนาจการปกครองคระสงฆ์ให้  ทั้งยังทรงตักเตือนสั่งสอนด้วยถ้อยคำแรงๆ เพื่อให้สำนึก

แต่แทนที่พระเทวทัตจะสำนึก กลับผูกใจเจ็บ พระพุทธองค์หนักขึ้น หาว่าพระพุทธองค์ทำให้อับอายต่อหน้าธารกำนัล


ข้อมูล : บทความพิเศษ หมอชีวกโกมารภัจจ์ โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก  หน้า ๗๑ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๘๓๓ ประจำวันที่ ๒-๘ ต.ค.๕๘


หมอชีวกโกมารภัจจ์
เหตุการณ์ระทึกใจในสวนมะม่วง (จบ)


ด้วยเจตนาหยาบช้าอยากใหญ่ของพระเทวทัต ฤทธิ์โลกีย์ที่เคยมีเคยได้ก็เสื่อมหมด เมื่อแผนการขั้นแรกล้มเหลว จึงหันไปเดินวิธีใหม่ โดยยุให้อชาตศัตรูกุมารหาอุบายกำจัดพระราชบิดาเสีย แล้วตั้งตนเป็นพระเจ้าแผ่นดินเสียเอง ส่วนตนเองก็จะฆ่าพระพุทธเจ้า ตั้งตนเป็นพระพุทธเจ้าแทน

อชาตศัตรูกุมารตกหลุมพรางพระเทวทัต เห็นผิดเป็นชอบ จับพระเจ้าพิมพิสารผู้เป็นพระราชบิดาขังคุกทรมานให้อดพระกระยาหารจนสิ้นพระชนม์ ตั้งตนเป็นพระราชาสำเร็จ

ฝ่ายพระเทวทัตก็พยายามหาทางกำจัดพระพุทธองค์ให้ได้ ไปขอแรงพระเจ้าอชาตศัตรู ให้ส่งนายขมังธนูไปยิงพระศาสดา

แต่แผนการล้มเหลวอีก

“เมื่อแผนการที่วางไว้อย่างรัดกุมเช่นนี้ยังล้มเหลว คราวนี้เห็นทีจะต้องแสดงเอง” เจ้าคุณใจบาปคิด จึงค่อยๆ ด้อมๆ มองๆ หาโอกาสเหมาะ

พอดีวันหนึ่ง พระพุทธองค์เสด็จไปประทับอยู่ที่ถ้ำมัททกุจฉิ เชิงเขาคิชกูฏ  พระเทวทัตจึงแอบปีนเขาขึ้นไปผลักก้อนหินลงมา เพื่อให้ทับพระศาสดาให้สิ้นพระชนม์

แต่บังเอิญก้อนหินลงมาปะทะชะง่อนผาเหนือพระเศียรกระเด็นห่างออกไป สะเก็ดหินกระเด็นไปกระทบพระบาท ยังผลให้ห้อพระโลหิต ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น

หมอชีวกมัววุ่นวายกับการดูแลคนไข้ในเมืองจนถึงเย็น พลันนึกขึ้นมาได้ว่า ถึงเวลาแก้ผ้าพันแผลพระพุทธองค์แล้ว จึงรีบมุ่งหน้าไปยังสวนมะม่วง พอดีได้เวลาประตูเมืองปิด เขาจึงไม่สามารถออกไปเฝ้าพระพุทธองค์ได้

“ตายล่ะสิ ถึงเวลาแก้ผ้าพันแผลที่พระบาทแล้วด้วย ถ้าไม่แก้ คืนนี้ทั้งคืนพระองค์จักมีอาการร้อนใน”

เขาคิดเสียใจ ที่ได้ปฏิบัติต่อองค์พระศาสดาเอกของโลก เหมือนกับคนไข้ธรรมดาคนหนึ่ง

ขณะที่หมอชีวกคิดกลุ้มใจอยู่นั้น พระบรมศาสดาทรงทราบกระแสความคิดของเขา จึงตรัสเรียกพระอานนท์มาแก้ผ้าพันแผลออก

ตื่นเช้าขึ้นหมอชีวกได้รีบเข้าไปเฝ้าพระพุทธองค์ ทูลถามลำล่ำละลักว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อคืนนี้ พระองค์ทรงมีพระอาการร้อนในหรือเปล่า”

ทรงทราบดีว่าเขาหมายถึงอะไร แต่พระพุทธองค์ตรัสยิ้มๆ ว่า “ตถาคตดับความร้อนทุกชนิดได้สนิทแล้ว ตั้งแต่วันตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ ณ โคนต้นโพธิ์ ผู้ที่เดินมาจนสุดทางแห่งสังสารวัฏ หมดความโศก หลุดพ้น ไม่ยึดมั่นถือมั่นสิ่งใดๆ แล้ว ไม่มีความร้อนหรอกชีวก ไม่ว่าร้อนนอกหรือร้อนใน”

ตรัสจบก็ทรงยื่นพระบาทข้างที่บาดเจ็บให้หมอชีวกดู พร้อมทั้งตรัสบอกเขาว่าพระองค์ได้รับสั่งให้พระอานนท์แก้ผ้าพันแผลให้ตั้งแต่เย็นวานนี้ ตรงกับเวลาที่เขานั่งคิดกลุ้มใจอยู่หน้าประตูเมืองนั่นแหละ

หมอชีวกมองดูพระบาท เห็นแผลหายสนิทดีแล้วรู้สึกปลาบปลื้มที่ได้ถวายการรักษาพระบรมศาสดาจนหายประชวร

เรื่องราวหมอชีวกโกมารภัจจ์ เท่าที่เก็บปะติดปะต่อจากพระไตรปิฎกและอรรถกถามีเท่านี้

สังเกตดูตามประวัติจะเห็นได้ว่า ตลอดชีวิตเขายุ่งแต่กับการรักษาโรคคนทั้งเมืองจนแทบหาเวลาปฏิบัติธรรมไม่ได้

อาจเป็นเพราะเหตุนี้ก็ได้ที่เขาไม่ได้ออกบวชหรือบรรลุคุณธรรมแม้เพียงขั้นของโสดาปัตติผล แต่เขาได้ใช้วิชาความรู้ที่เล่าเรียนมาบำเพ็ญประโยชน์แก่คนหมู่มาก นับว่าเป็น “อุบาสกผู้ช่วยตัวเองด้วย และช่วยผู้อื่นด้วย” ตรงตามพุทธพจน์ทุกประการ

คนเช่นนี้ถือว่า ไม่เสียชาติเกิดโดยแท้ และคนเช่นนี้ เราควรเอาเยี่ยงอย่างเป็นอย่างยิ่ง มิใช่หรือ?


ข้อมูล : บทความพิเศษ หมอชีวกโกมารภัจจ์ โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก  หน้า ๗๐ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๘๓๔ ประจำวันที่ ๙-๑๕ ต.ค.๕๘
3394  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / วิธีทำ รากบัวเชื่อม เมื่อ: 05 กันยายน 2558 12:10:21
.



รากบัวเชื่อม

ส่วนผสม
- รากบัว (หั่นแฉลบ) ครึ่งกิโลกรัม
- น้ำตาลทรายขาว 1+½  ถ้วย


วิธีทำ
1. ปอกเปลือกรากบัว ล้างให้สะอาด หั่นแฉลบชั่งให้ได้น้ำหนักครึ่งกิโลกรัม
2. ใส่รากบัวในภาชนะที่ใช้เชื่อม ใส่น้ำตาลทราย ยกขึ้นตั้งไฟ โดยไม่ต้องผสมน้ำเคี่ยวด้วยไฟอ่อน
3. หากรากบัวยังไม่เปลี่ยนเป็นสีเข้ม ให้เติมน้ำสะอาดแล้วเคียวต่อไปเรื่อยๆ
    จนกว่าจะพอใจสีของรากบัวและน้ำเชื่อมข้นหนืด เหนียวใส
4. รับประทานเปล่าๆ (สูตรนี้ไม่หวานมาก) หรือเสิร์ฟกับน้ำแข็งบุบค่ะ




ใส่รากบัวในกระทะทองเหลือง หรือหม้อ ใส่น้ำตาลทราย (ไม่ต้องใส่น้ำ)


เมื่อถูกความร้อน น้ำในรากบัวจะซึมออกมาผสมให้น้ำตาลละลาย


เคี่ยวไปจนน้ำแห้งงวด จะเห็นได้ว่ารากบัวยังไม่ฉ่ำน้ำตาล
และสีรากบัวยังค่อนข้างซีด


เติมน้ำสะอาดให้เสมอกับรากบัว แล้วเคี่ยวต่อไปอีก
(ทำซ้ำอย่างนี้ไป จนกว่ารากบัวมีสีสวยและฉ่ำน้ำตาล)


ตักใส่ภาชนะ แช่เย็นไว้รับประทาน หรือใช้เป็นส่วนผสมของหวานหรือไอศกรีมถ้วยโปรด




การเชื่อมครั้งนี้ เป็นการเชื่อมครั้งแรก สีรากบัวจึงไม่แดงเข้ม
เพราะไม่มีส่วนผสมของน้ำเชื่อมทีเหลือจากการใช้ครั้งที่แล้ว
(น้ำเชื่อมที่เหลือจากการเชื่อมครั้งที่แล้วผสมลงไปด้วย จะทำให้สีของรากบัวมีสีแดงเพิ่มขึ้นๆ)






"เต้าทึง" ของหวาน ที่ใช้รากบัวเชื่อมเป็นส่วนผสม
กดดูสูตรและวิธีทำ ที่ตัวอักษรภาษาอังกฤษสีเทาด้านล่างนี้ค่ะ
http://www.sookjai.com/index.php?topic=155527.0
วิธีทำ เต้าทึง หอมหวานชื่นใจ อุดมด้วยธัญพืชเพื่อสุขภาพ



ติดตามสูตรอาหารและเคล็ดลับการประกอบอาหารคาว-หวาน มายมายกว่า 200 สูตร
ได้ที่  "สุขใจในครัว" สุขใจดอทคอม
www.sookjai.com


โปรดติดตามสูตรและวิธีทำ "มะยมเชื่อม" สีแดงใส
อีกหนึ่งผลไม้ไทย ที่ให้ฟรีไม่มีใครเอา.
(คิดว่าจะแนะนำการแปรรูปผลไม้ไปเรื่อยๆ..ๆ..ๆ...ๆ.. จนกว่าผลไม้จะหมดสวน)
หัวเราะลั่น

3395  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / Re: รอยบิ่นของพระพรหม (เอราวัณ) เมื่อ: 03 กันยายน 2558 15:24:59
.


ฟื้นมั่นใจ - กทม.จัดแสดงนางรำ หนึ่งในกิจกรรมในพิธีทำบุญ ๕ ศาสนา
จัดขึ้นที่ศาลท้าวมหาพรหม สี่แยกราชประสงค์เพื่อเรียกขวัญกำลังใจประชาชน
จากเหตุการณ์ลอบวางระเบิด ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต ๒๐ ราย เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๘
(ภาพจากรอยเตอร์ - คำบรรยายจากมติชน ฉบับวันอาทิตย์ที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๘ หน้า๑)

รำแก้บน ที่ศาลพระพรหม
โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ
หนังสือพิมพ์มติชน - ๒ กันยายน ๒๕๕๘

ศาลพระพรหม ราชประสงค์ มีรำแก้บน โดยนางรำจากคณะหรือกลุ่มต่างๆ หลายคณะ จึงต้องจัดรำสลับกันเป็นวันๆ และเป็นเวลาๆ กลางวัน-กลางคืน

คณะนางรำ ประกอบด้วยนางรำและคนปี่พาทย์ (ผู้ชาย) มีหลายคน

รายได้มี ๒ ทาง คือ
   (๑) จากคนแก้บนมาจ้างให้รำเป็นรอบๆ ตามราคามาตรฐานที่กำหนด และ
   (๒) จากค่าทิปต่างๆ ตามอัธยาศัย

เฉลี่ยรายได้จากคำบอกเล่าของนางรำเอง คนละประมาณ ๑,๐๐๐ บาทต่อวัน (ตามปกติ) แต่งานไม่ได้ทำทุกวัน เพราะต้องแบ่งสลับกัน

ครั้นหลังเหตุการณ์ระเบิด รายได้ลดลง แต่จะค่อยๆ คืนเหมือนเดิม สภาพอย่างนี้เคยเกิดมาแล้ว

ศาลหลักเมือง ใกล้สนามหลวง (มีสมัย ร.๔ ก่อนศาลพระพรหม) มีทั้ง รำแก้บน และ ละครแก้บน แต่รายได้เทียบไม่ติดศาลพระพรหม เพราะคนขึ้นไม่มาก

ต้นทางละคร

เลี้ยงผีแก้บน ด้วยรำ, ระบำ, ละคร การละเล่นดึกดำบรรพ์นับพันปีมาแล้ว เป็นต้นทางละคร (ในราชสำนักของรัฐจารีตโบราณ) ที่ยังสืบทอดถึงทุกวันนี้ (อยู่ในกรมศิลปากร)

เครื่องแต่งตัวละคร (รัดเครื่อง) และนางรำ ได้แบบจากละครในของหลวง (จะว่าละครนอกก็ได้ ซึ่งล้วนเลียนแบบโขนอีกทอดหนึ่ง) แต่ละครแก้บนดั้งเดิมแต่งอย่างชาวนาชาวบ้านทั่วไป

ตำราทางการพยายามบอกว่าดนตรีและนาฏศิลป์ของไทยมาจากอินเดียทั้งๆ งานวิจัยทางประวัติ ศาสตร์โบราณคดีจำนวนมากไม่พบว่าเกี่ยวข้องกับนาฏศิลป์อินเดีย

แก้บน เป็นคำกร่อนจาก แก้สินบน หมายถึงตอบแทนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนเคยสัญญาเอาไว้ สินบน คือทรัพย์หรือสิ่งของที่จะให้เป็นเครื่องตอบแทนผู้ที่จะช่วยให้สำเร็จตามประสงค์ (พจนานุกรมฉบับมติชน)

สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่จะช่วยให้สำเร็จตามประสงค์ คือ ผี(บรรพชน) เช่น ผีฟ้า, ผีแถน บางทีเรียกรวมว่า ผีฟ้าพญาแถน

[ผีฟ้า มีความหมายถึงพระเจ้าแผ่นดิน พบหลักฐานในศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ ๒ วัดศรีชุม]

3396  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ จิบกาแฟ / ความลับของ "ฮัมมิงเบิร์ด" ที่เข้าใจผิดมาเกือบ 200 ปี! เมื่อ: 03 กันยายน 2558 15:11:53


เครดิตภาพ-Charlesjsharp/Creative Commons

ความลับของ "ฮัมมิงเบิร์ด"
ที่เข้าใจผิดมาเกือบ 200 ปี!


"ฮัมมิงเบิร์ด" เป็นนกขนาดเล็กที่รู้จักกันดีมากชนิดหนึ่งเพราะความเล็กและสีสันสวยงามของมัน อาหารหลักของนกชนิดนี้คือน้ำหวานของดอกไม้ที่มันบินโฉบวนเวียนไปจ่อจงอยปากยาวแล้วใช้ลิ้นยาวดูดขึ้นมา

นับตั้งแต่ปี 1833 เรื่อยมานักวิทยาศาสตร์ "เข้าใจว่า" นกชนิดนี้ใช้ลิ้นดูดซึม "เนคทาร์" หรือน้ำหวานจากเกสรดอกไม้ด้วยหลักการ "แคพิลลารี แอ๊กชั่น" หรือการดูดซึมแบบเดียวกับที่รากของต้นไม้ดูดซึมน้ำจากพื้นดินสู่ลำต้น
 
แต่จากการศึกษาวิจัยด้วยการสังเกตการณ์ของทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยคอนเนคติกัต นำโดย อาเลฮันโดร นิโก-กูเอวารา พบว่าความเป็นจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น แต่ "ฮัมมิงเบิร์ด" กลับใช้วิธีการดูดน้ำหวานเนคทาร์อย่างรวดเร็วโดยใช้หลักการคล้ายๆ กับที่เราดูดเครื่องดื่มจากหลอดดูดนั่นเอง

ทีมวิจัยพบวิธีการดังกล่าวโดยการติดตั้ง "ดอกไม้โปร่งใส" ที่เป็นหลอดแก้วใสภายในบรรจุเนคทาร์ไปวางไว้ในแหล่งที่อยู่อาศัยของ"ฮัมมิงเบิร์ด" ทั้งในคอนเนคติกัต, เท็กซัส, แคลิฟอร์เนีย, เอกวาดอร์, โคลอมเบีย และบราซิล พร้อมกับติดตั้งกล้องถ่ายภาพวิดีโอความเร็วสูงไว้ใกล้ๆ เพื่อจับภาพการดูดน้ำหวาน ได้ภาพความยาว 96 ชั่วโมงมาศึกษาวิจัย

จากการสังเกตพบว่าลิ้นของนกฮัมมิงเบิร์ดทำหน้าที่เหมือนปั๊ม โดยมันจะบีบลิ้นให้แบนแทนที่จะเป็นท่อจนกว่าปลายลิ้นจะแตะกับน้ำหวาน หลังจากนั้นก็เปลี่ยนกลับมาเป็นท่อเหมือนเดิม ทำให้น้ำหวานไหลเข้ามาจนเต็มท่อดังกล่าว เมื่อต้องการดึงน้ำหวานเข้าสู่ปาก บริเวณบนสุดของลิ้น (ใกล้ปากที่สุด) จะงอโค้งก่อให้เกิดแรงดึงจากการยืดตัวส่งน้ำหวานในท่อลิ้นเข้าสู่ปากนั่นเอง

มันทำอย่างนี้ทำให้สามารถดูดกินน้ำหวานได้อย่างรวดเร็วในอัตราความเร็วถึง20ครั้งต่อวินาที

แต่ถ้าเป็นแคพิลลารีแอ๊กชั่นอย่างที่เข้าใจกันแต่เดิม อัตราความเร็วจะทำได้สูงสุดเพียงแค่ 5 ครั้งต่อวินาทีเท่านั้น



ที่มา : มติชนออนไลน์
3397  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / Re: สูตร มะเฟืองหยี...มีใครสักกี่คนที่ได้ชิม...กัดแล้วฟิน กินแล้วใช่! เมื่อ: 03 กันยายน 2558 15:00:08
.




เม็ดสีน้ำตาลรีๆ คือเม็ดมะเฟือง ส่วนนี้รสชาติเหมือนเม็ดแตงโมอบ เป็นส่วนที่ "อร่อยที่สุด"

ห่วงหน้าพะวงหลัง...ยังวนเวียนกับมะเฟืองหยี
เอาภาพมะเฟืองหยีมาให้ชม

จะเห็นว่า 'มะเฟืองหยี' ครั้งนี้ มีสีแดงเข้มจัด
เกิดจากการนำน้ำเชื่อมที่ใช้เชื่อมมะเฟืองจากคราวที่แล้ว
มาผสมในการเชื่อมครั้งหลังนี้ด้วย ทำให้เนื้อมะเฟืองมีสีแดง

การเชื่อมกล้วยน้ำว้าที่มีสีแดงก็เช่นเดียวกัน
จะเห็นว่ากล้วยที่แม่ค้าเชื่อมขาย มีสีแดงเข้มมากกว่าเราเชื่อมกินกันบ้าน
นั่นเพราะการใช้น้ำเชื่อมที่เหลือจากการเชื่อมครั้งที่แล้วๆ มาผสมลงไปด้วย
(ยิ่งเชื่อมนาน น้ำตาลยิ่งออกสีแดงเข้มขึ้นๆ)




3398  สุขใจในธรรม / เสียงธรรมเทศนา / ปล่อยวาง ว่างสบาย โดย หลวงปู่ชา สุภัทโธ (พระโพธิญาณเถร) เมื่อ: 31 สิงหาคม 2558 09:59:39
.


หลวงปู่ชา-ปล่อยวาง ว่างสบาย


ปล่อยวาง ว่างสบาย
หลวงปู่ชา สุภัทโท (พระโพธิญาณเถร)
3399  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / Re: บันทึกไว้ในแผ่นดิน เมื่อ: 30 สิงหาคม 2558 10:08:38

ภาพจาก : เว็บไซท์ encrypted-tbn3.gstatic.com

รัฐยะไข่ บ้านโรฮีนจา
คนไทยคุ้นเคยเรียก“ยะไข่” ชื่อในพงศาวดารสยามมานาน แต่ภาษาอังกฤษเขียนตามสำเนียงพม่าว่า “Rakhine” เมื่อเปิดฟังการออกเสียง ได้ยินว่า “ยะคาย”

(บทความพิเศษของนิตยสาร “ทางอีศาน” ฉบับเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๘ง ปัญหาประวัติศาสตร์ของชาว โรฮีนจา แห่งรัฐยะคาย (ยะไข่)

คำยะคาย เชื่อกันว่ามาจากภาษาบาลี “รากขะบุรี” ที่แปลว่า ดินแดนของรากษส ซึ่งอาจจะหมายถึงชนเผ่าดั้งเดิมที่สุด คือ นิกริโต

คำคุ้นเคยรองลงไปคือ “อาระกัน” หรือรัฐอาระกัน ชาวอังกฤษยุคอาณานิคม เรียกดินแดนนี้ว่า อาระกัน ตามสำเนียงโปรตุเกส ที่ถ่ายเสียงยะคายไปผิดๆ

ตำนานชาวยะไข่ เล่ากันว่า รัฐนี้รุ่งเรืองมาแต่ครั้งดึกดำบรรพ์ เมื่อเกือบห้าพันปีที่แล้ว มีกษัตริย์ปกครองต่อเนื่องกันมา ๒๒๗ องค์ และเพิ่งล่มสลายไปโดยกองทัพพระเจ้าปดุง กษัตริย์เมียนมา ใน ค.ศ.๑๗๘๔

เรื่องดินแดนที่ปกครองในแต่ละยุคตำนานเล่าไว้ต่างกัน บางยุคว่า ครอบครองไปถึงอังวะ แถบลุ่มแม่น้ำอิรวดี ถึงเมืองตานลยิล หรือเมืองสิเรียม จุดสบกันระหว่างแม่น้ำหงสากับแม่น้ำย่างกุ้ง

เคยเป็นเมืองท่าสำคัญของพ่อค้าโปรตุเกส ข้ามทะเลไปถึงภาคตะวันออกของรัฐเบงกอล

แต่เรื่องเล่าเหล่านี้ ไม่เคยมีเอกสารประวัติศาสตร์ฉบับใดรองรับยุคประวัติศาสตร์ที่มีหลักฐานทางโบราณคดีรองรับมั่นคง คือ ยุคธัญวดี และยุคทองของยะไข่ คือ “ยุคมลุคก อู”

แต่กระนั้นก็ยังมีเรื่องก่อให้เกิดข้อขัดแย้งสำคัญก็คือ ยุคต้นกำเนิดแห่งธัญวดีนั้น ราษฎรที่อาศัยอยู่...เป็นชนเผ่าใด ซึ่งโยงมาถึงปัญหาที่ถกเถียงกันถึงวันนี้...

คนเชื้อสายโรฮีนจาเชื่อว่า พวกเขาเป็นชนพื้นเมืองอยู่ที่ธัญวดีมาแต่สมัยดึกดำบรรพ์ นักวิชาการบางส่วนว่า ชาวโรฮีนจาเชื้อสายอินโด-อารยันปกครองและอยู่อาศัยในดินแดนนี้ นักวิชาการบางส่วนว่า ชาวโรฮีนจาสืบเชื้อสายชาวเปอร์เซีย

A.S.Nayaka เสนอไว้ในบทความว่า อาระกันโบราณ เป็นชาวอินโด-อารยัน จากสามเหลี่ยมปากแม่น้ำคงคา เข้าไปตั้งหลักแหล่งอาศัยในหุบเขากาลดาน โดยก่อนที่จะเคลื่อนย้ายไปอาระกัน ชาวอินโด-อารยันเหล่านี้ แต่งงานเป็นดองผสมผสานกับพวกเผ่ามองโกลอยด์ (ชนผิวเหลือง) ในอินเดียตะวันออก

นักโบราณคดีชาวอาระกัน ชื่อ U san shwe เสนอว่า พวกอินโด-อารยันที่มาอยู่ในอาระกันนั้น ไปจากริมฝั่งแม่น้ำคงคา ไปตั้งเมืองหลวงอยู่ที่ธัญวดี

Pamera Gutman เสนอความเห็นว่า แหล่งโบราณคดีที่เก่าที่สุดที่ทราบกันคือธัญวดี ตั้งลึกเข้าไปตามแม่น้ำ ห่างชายฝั่งทะเล ๙จ กิโลเมตร อยู่ในเส้นทางคมนาคมระหว่างเขตภูเขาสูงภาคเหนือกับอ่าวเบงกอล

ธัญวดี เป็นศูนย์กลางทางการค้าในยุคโบราณ วัดมหามุนี (พระมหามัยมุนี) น่าจะเป็นแหล่งจารึกแสวงธรรมอันสำคัญในเอเชียอาคเนย์ พระมหามุนี ถูกย้ายออกไปโดยกษัตริย์อาณาจักรข้างเคียง (พระเจ้าปดุง)

รูปแบบประติมานวิทยา แม้จะมีส่วนสัมพันธ์กับศิลปะยุคคุปตะ แต่ก็ไม่มีหลักฐานแสดงชี้ชัดถึงความโยงใยโดยตรงกับศิลปะตระกูลช่างอินเดีย

เป็นไปได้ว่า ช่างประติมากรรมท้องถิ่นจะสร้างสรรค์กันเองโดยตีความจากคัมภีร์ประติมานวิทยาของอินเดีย

การค้นพบทางโบราณคดีในยะไข่ แสดงถึงความสำคัญของยะไข่ที่มีบทบาทเป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างอินเดียกับสุวรรณภูมิ

เมืองธัญวดี ร่วมสมัยกับศรีเกษตร ในลุ่มแม่น้ำอิรวดี แต่ธัญวดีอยู่ใกล้ทะเลมากกว่าศรีเกษตร จึงติดต่อสัมพันธ์กับอินเดียได้สะดวกมากกว่า

Kway Minn Htin เสนอเรื่องธัญวดีไว้ว่า ธัญวดี เป็นเพื่อนบ้านร่วมสมัยกับศรีเกษตร นอกจากมีความแตกต่าง ยังมีลักษณะร่วมกัน ตั้งแต่ลักษณะการก่อสร้างด้วยอิฐตามพื้นที่ภายนอก พื้นที่ภายในและกำแพงเมือง แผนผังเมือง และโครงสร้างอาคารของชาวพยู (ศรีเกษตร) และชาวยะไข่ คล้ายคลึงกัน

แต่เมืองสองเมืองนี้ มีความแตกต่างด้านภูมิอากาศ และขนาดของเมือง

เมืองยะไข่ในช่วงสหัสวรรษแรก ตั้งอยู่ใกล้ฝั่งทะเล ในขณะเมืองของชาวพยู ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่แห้ง ในหุบเขาอิรวดี เมืองชาวยะไข่ตั้งด้านรับลมของเทือกเขาอาระกันกับโบมา จึงมีปริมาณน้ำฝนมากกว่าถึงปีละ ๕๐๐ เซนติเมตรต่อปี

ขณะที่เมืองศรีเกษตร ตั้งอยู่ในด้านอับลม และมีปริมาณน้ำฝนเพียงปีละ ๙๐-๑๕๐ เซนติเมตรต่อปี

รัฐอาระกันหรือยะไข่ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวยะไข่ บางส่วนเป็นชาวอินเดียและบังกลาเทศ ชาวยะไข่เป็นเชื้อสายเดียวกับชาวพม่า ภาษาที่ใช้พูดก็เป็นภาษาพม่า ส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา ส่วนน้อยนับถือศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่

ชาวยะไข่มุสลิมเหล่านี้เอง ที่เรียกว่า โรฮีนจา ส่วนใหญ่สืบเชื้อสายจากชาวอินเดียมุสลิมในเบงกอล อยู่ทางตอนเหนือของยะไข่ ส่วนชาวยะไข่นับถือพุทธฯ อยู่กันมากทางภาคใต้

ปี พ.ศ.๒๕๒๓ มุสลิมจากรัฐยะไข่ หนีเข้าไปบังกลาเทศสองแสนคน รัฐบาลบังกลาเทศกล่าวหารัฐบาลพม่าผลักดันให้มุสลิมเหล่านั้นลี้ภัย เรียกร้องให้พม่ารับคืนไป แต่พม่าไม่ยอม อ้างว่าชาวมุสลิมเหล่านั้นลักลอบเข้าเมือง

เหตุการณ์ทำนองนี้ เกิดขึ้นอีกในปี ๒๕๓๔-๒๕๓๕ ชาวโรฮีนจา กล่าวหาว่าทหารพม่าทำทารุณกรรม...เป็นเหตุให้พวกเขาอีกสามแสนคนต้องหนีไปบังกลาเทศ

ปัญหานี้เรื้อรังมาจนถึงปีนี้ ปี ๒๕๕๘ ชาวโรฮีนจาอพยพไปประเทศอาเซียนมากขึ้นๆ รัฐบาลแต่ละประเทศพยายามแก้ไขปัญหา โดยวิธีประนีประนอม จนบัดนี้ ปัญหานี้ก็ยังไม่เป็นที่ยุติ  
นสพ.ไทยรัฐ



เมืองโบราณอู่ทอง
ภาพจาก : เว็บไซท์ oknation.net

อู่ทอง ที่รอการฟื้นคืน
นักอ่านเรื่องประวัติศาสตร์โบราณคดี ที่ยังมีข้อเคลือบแคลงสงสัย...ระหว่างเมืองออกแก้วของญวน และเมืองอู่ทองของไทย...เมืองใดมีอายุเก่าแก่ จนเป็น“ฟูนัน” ตามการสันนิษฐานและถกเถียงของผู้รู้หลายท่าน...มาเนิ่นนานนั้น

หากได้อ่านหนังสืออู่ทองที่รอการฟื้นคืน ผ่านรอยลูกปัด และพระพุทธศาสนาแรกเริ่ม ในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง-ท่าจีน จัดพิมพ์โดยองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์กรมหาชน) และมูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญญา

แล้วจะเกิดปัญญา ได้ข้อยุติว่า ออกแก้ว ก็คือออกแก้ว อู่ทอง ก็คืออู่ทอง

ในกรอบพื้นที่ที่จำกัด ขออนุญาตคัดย่อ บทนำของ...ศาสตราจารย์ผาสุข อินทราวุธ...บางตอน ดังต่อไปนี้

เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๖ สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จเมืองโบราณอู่ทอง ทรงเล่าเรื่องเมืองอู่ทองว่า อาจจะเป็นเมืองที่พระเจ้าอู่ทององค์ที่สร้างกรุงศรีอยุธยาเคยครองราชย์อยู่ก่อน

พ.ศ.๒๔๗๓ สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ชักชวน ยอร์ช เซเดส์ ได้เข้าสำรวจขุดค้นศึกษาเมืองโบราณอู่ทอง เซเดส์สันนิษฐานว่า อู่ทองอาจเคยเป็นราชธานีของอาณาจักรทวารวดี ซึ่งมีที่ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

แต่นักวิชาการส่วนใหญ่ ลงความเห็นต่อมาว่า เมืองอู่ทองเก่าแก่ยิ่งเมืองโบราณสมัยทวารวดีอื่นๆ เช่น นครปฐมโบราณ และเมืองคูบัว

ศาสตราจารย์ พอล วิทลีย์ ลงความเห็นว่ารัฐ “จินหลิน” ในจดหมายเหตุจีนราชวงศ์เหลียง เป็นรัฐสุดท้ายที่ฟันมัน กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งอาณาจักรฟูนัน ปราบได้ในราวพุทธศตวรรษที่ ๙ นั้น น่าจะตั้งอยู่ที่เมืองอู่ทอง

คำ“จินหลิน” หมายถึงดินแดนแห่งทองหรือสุวรรณภูมิ เป็นรัฐที่ตั้งอยู่ห่างอาณาจักรฟูนันมาทางตะวันตกประมาณ ๒,๐๐๐ ลี้ (๘๐๐ กิโลเมตร) ซึ่งตรงกับบริเวณเมืองอู่ทอง

ข้อสันนิษฐานในบทความของศาสตราจารย์ ฌอง บัวเซลีเยร์...เมืองอู่ทองเป็นเมืองหลวงของรัฐทวารวดี เมืองอู่ทองเป็นเมืองเดียวที่พบจารึกกล่าวถึงพระนามของกษัตริย์ทวารวดี คือพระเจ้าหรรษวรมัน อันเป็นพระนามของกษัตริย์ที่ไม่รู้จักกันในราชวงศ์เจนละ

ในหัวข้อเรื่อง ทฤษฎีใหม่เกี่ยวกับสถานที่ตั้งอาณาจักรฟูนัน ศาสตราจารย์ ฌอง บัวเซ–ลีเยร์ กล่าวว่า ราชธานีของอาณาจักรฟูนัน อาจจะอยู่ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณเมืองอู่ทอง

ดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำโขง เป็นดินแดนที่ถูกปราบปราม เนื่องจากวัฒนธรรมแบบฟูนันที่เมืองออกแก้ว ไม่ได้สืบต่อลงไปในวัฒนธรรมแบบเจนละ แต่ขาดหายไป

เครื่องประดับทองแดง–ดีบุก–ลูกปัดจำนวนมาก และเครื่องปั้นดินเผาแบบต่างๆ ที่พบในเมืองออกแก้ว ไม่ปรากฏมีในอาณาจักรเจนละ

ตรงกันข้ามกับอาณาจักรทวารวดี ซึ่งเป็นผู้สืบต่อโดยตรงจากอาณาจักรฟูนัน มีการสืบต่อในการใช้โบราณวัตถุแบบเดียวกัน เครื่องปั้นดินเผาแบบเดียวกัน ลงไปจนถึงสมัยทวารวดี

ศาสตราจารย์ผาสุข อินทราวุธ บอกว่าผลการศึกษาและตีความจากหลักฐานทางโบราณคดีที่ได้จากการสำรวจและขุดค้นประกอบกับหลักฐานด้านโบราณวัตถุโบราณสถานและหลักฐานด้านจารึก นำไปสู่ข้อสรุปได้ว่า

รัฐทวารวดี ไม่ได้เจริญสืบต่อมาจากรัฐฟูนันตามที่เคยเข้าใจกัน หากแต่รัฐทวารวดีนั้นมีพัฒนาการสืบต่อมาจากชุมชนระดับหมู่บ้านในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย (ยุคเหล็ก) ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณภาคกลางของประเทศไทย

ชุมชนดังกล่าวนี้มีความเจริญทางเทคโนโลยีหลายด้าน มีการติดต่อแลกเปลี่ยนสินค้ากับชุมชนร่วมสมัยในเวียดนามและจีนตอนใต้ ในขณะเดียวกันได้เริ่มติดต่อค้าขายกับกลุ่มประเทศทางตะวันตก โดยเฉพาะกับชาวอินเดีย

เมืองโบราณอู่ทองเป็นเมืองที่มีความเก่าแก่กว่าเมืองโบราณสมัยทวารวดีเมืองอื่น และเป็นเมืองที่มีบทบาททั้งด้านเป็นเมืองท่าและศูนย์กลางการค้าสำคัญของรัฐทวารวดี และมีบทบาทเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนารุ่นแรกของรัฐทวารวดี

ส่วนเมืองท่าโบราณที่กลายเป็นศูนย์กลางของศาสนาพราหมณ์ คือเมืองออกแก้ว ในประเทศเวียดนามตอนใต้ซึ่งมีพัฒนาการมาจากเมืองท่าโบราณจนกลายเป็นเมืองท่าสำคัญของรัฐฟูนัน และเป็นเมืองที่ศาสนาพราหมณ์เจริญรุ่งเรืองสืบต่อมา

ในประเทศพม่ายังได้พบว่า เมืองเบะถาโน เมืองโบราณและศูนย์กลางการค้าสำคัญของรัฐปยู ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำอิรวดีตอนกลางของพม่า ได้กลายเป็นศูนย์กลางของศาสนาพราหมณ์ไวษณพนิกาย อยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง (เบะถาโน แปลว่า เมืองของพระวิษณุ)

ศาสตราจารย์ผาสุข อินทราวุธ สรุปว่าข้อสมมติฐานอู่ทองเป็นเมืองหลวงรุ่นแรกของรัฐทวารวดีก็คือการพบแม่พิมพ์เหรียญรูปหม้อปูรณฆฏ สำหรับผลิตเหรียญที่มีจารึกและแม่พิมพ์รูปสังข์และรูปพระอาทิตย์กำลังขึ้น สำหรับผลิตเหรียญที่ไม่มีจารึก ทั้งยังได้พบชิ้นแร่เงิน วัตถุดิบในการผลิตเหรียญ ซึ่งเข้าใจว่านำมาจากรัฐฉานประเทศพม่า

หลักฐานเหล่านี้ช่วยชี้ให้เชื่อว่า เมืองอู่ทองเป็นเมืองหลวงรุ่นแรกของรัฐทวารวดี เด่นชัดยิ่งขึ้น.
นสพ.ไทยรัฐ



ภาพจาก : เว็บไซท์ siamintelligence.com

ตำนาน...ตำรวจหญิง

อนุสาวรีย์ตำรวจ ที่เคยอยู่หน้ากรมตำรวจ ที่ผมเขียนไปว่าอุ้มผู้หญิงนั้น พ.ต.อ.(พิเศษ) สมพร จารุมิลินท กรุณาบอกมาว่าไม่ใช่ผู้หญิงครับแต่ “อุ้มผู้ชาย”

คุณสมพรอยู่กรมตำรวจมานาน...จนรู้ว่าเดิมทีอนุสาวรีย์เป็นสีดำ แต่ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีทอง ตามความชอบความเชื่อเรื่องฮวงจุ้ย ของ อ.ต.ร.ท่านหนึ่ง

ตำรวจรุ่นเก่า ไหว้และปฏิญาณตัว จะทำหน้าที่อย่างซื่อตรงกับอนุสาวรีย์ทุกวัน วันเกษียณได้รูปหล่ออนุสาวรีย์ย่อส่วนมาไหว้ต่อที่บ้าน ถึงวันนี้ อนุสาวรีย์ก็ยังมีความหมายกับท่านอยู่

ผมไม่รู้ว่าเมืองไทยเรามีตำรวจหญิงเมื่อไหร่ ตำรวจหญิงมาขึ้นหน้าขึ้นมาเอาก็ตอนผมเป็นนักข่าว ราวปี ๒๕๑๙ สมัย พล.ต.อ.ณรงค์ มหานนท์ เป็น อ.ต.ร. มีตำรวจหญิงหน้าตาสะสวย เป็นประชาสัมพันธ์

นางหนึ่งสวยมากเก่งมาก ยิงปืนแม่นระดับเหรียญทอง ยูโดสายดำ บ้านอยู่สามพราน ตอนลงรถเมล์เดินกลับบ้าน ตอนสงกรานต์คนเล่นสาดน้ำ ไม่มีใครกล้าสาดน้ำเธอเลย เพราะรู้จักเธอดี

ผมพยายามค้นประวัติตำรวจเก่าสมัยอยุธยา ขุนแผนสะท้าน ปลัดซ้าย คู่กับขุนพิศฉลูแสน ปลัดขวา ศักดินา ๔๐๐ จากหนังสือเก่าเล่มหนึ่ง แต่หาไม่เจอ

มาเจอ ประวัติตำรวจหญิง ในสารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า “โขลน”


คำ “โขลน” แรกปรากฏในจารึกวัดศรีชุม สมัยสุโขทัย “โขลนลำพง” เป็นคำเรียกคนทำงานประจำเทวสถานสมัยอยุธยา ตำแหน่งโขลนปรากฏในพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน และกฎมณเฑียรบาล

ในกฎหมายตราสามดวง เป็นนักพฤติชรานางสนองพระโอษฐ์ ตำแหน่งท้าวศรีสัจจา นา ๑,๐๐๐ ไร่ มีหน้าที่บังคับบัญชาจ่าโขลนทวาร ตรวจตราดูแลรักษาประตูวัง และเขตพระราชฐานชั้นใน

มีหญิงชาววังอยู่ในบังคับบัญชาตำแหน่งลดหลั่นกันไป นับแต่หลวงแม่เจ้า นา ๕๐๐ จ่าโขลน ๔ คน มีจ่าก้อนแก้ว จ่าก้อนทอง จ่าราชภักดี และจ่าศรีพนม นาคนละ ๔๐๐

นางชาวพระคลังและนางเสมียน นา ๓๐๐ นางราชยานแห่แหน นางใช้ประจำการ และนางทนายเรือน นา ๒๐๐

พนักงานกลางนา ๒๐๐ นาง โขลนและนางนายประตู นา ๘๐ นางเตี้ย นางค่อม นางเทย นางเผือก นา ๕๐ หญิงตักน้ำ หญิงหามวอ และหญิงตีนคลัง นา ๒๐

พวกโขลนและจ่าโขลน นอกจากดูแลรักษาประตูวัง ดูแลความสงบเรียบร้อยในวัง ยังมีหน้าที่ดูแลความเป็นอยู่พระสนม หากมีเหตุเจ็บป่วยหรือตาย ต้องกราบบังคมทูลโดยด่วน

ในสมัยรัชกาลที่ ๕ พ.ศ.๒๔๑๕ มีการจัดราชการโขลนให้เป็นระเบียบยิ่งขึ้น โปรดให้ตรา พ.ร.บ.ฝ่ายใน ใช้บังคับบัญชาจ่าทนายเรือนโขลน พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการฝ่ายใน วางหลักเกณฑ์ราชการโขลนเป็นธรรมเนียมคล้ายโปลิศ

นอกจากดูแลความสงบเรียบร้อย เก็บขยะมูลฝอยแล้วยังต้องป้องกันผู้ร้ายและอัคคีภัย

เมื่อเสด็จกลับจากยุโรป โปรดให้เพิ่มอำนาจการบังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายในให้มากขึ้น ทรงตั้งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงทิพยรัตนกิริฏกุลินี เป็นอธิบดีกรมโขลน มีท้าวศรีสัจจาเป็นผู้ช่วยอธิบดี

ตำแหน่งอธิบดีโขลน ต่อมาเรียกว่าอธิบดีฝ่ายใน สังกัดกระทรวงวัง แต่ในทางปฏิบัติขึ้นตรงต่อพระองค์

หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงทิพยรัตนกิริฏกุลินีเสด็จไปประทับกับพระนัดดาสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ที่เมืองบันดุง อินโดนีเซีย ปรากฏชื่อกรมโขลน สังกัดศาลาว่าการพระราชวัง

ปีต่อมา หลังประกาศ พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.๒๔๘๖ กรมโขลนก็ถูกยุบ

       ฯลฯ


นสพ.ไทยรัฐ ฉบับประจำวันเสาร์ที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๘



พระฉายาลักษณ์ของพระเจ้าธีบอ (ขวา) พระราชินีศุภยาลัต (กลาง)
และพระกนิษฐาของพระนางคือพระนางศุภยาคยี (ซ้าย)
ที่พระราชวังหลวง เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
ภาพจาก : เว็บไซท์ วิกิพีเดีย

ความเชื่อ
เห็ด (เมา) บาน อังคาร-เสาร์

พรานป่าหรือนักเดินป่า สั่งสอนสืบต่อกันมา เห็ดเมาในป่านั้นกินได้ แต่เห็ดเมาเดียวกัน บานในวันอังคารหรือวันเสาร์ ขืนไปเก็บกินอาจถึงตายได้

ความเชื่อของนักเดินป่า ไปในทางเดียวกับความเชื่อเดิมๆ ของคนโบราณ หากจะเลือกทำการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับของมีคมอย่าเลือกวันแข็ง คือวันอังคาร และวันเสาร์

ความเชื่อนี้ คนเกิดวันอังคาร เกิดวันเสาร์ ในกรุงมัณฑะเลย์ของพม่า สมัยพระเจ้ามินดง...จึงเคราะห์ร้าย

“พลูหลวง” เล่าไว้ในหนังสือ รหัสวิทยา พลังเร้นลับ (สำนักพิมพ์ ข้าวฟ่าง พิมพ์ครั้งที่ ๔ พ.ศ.๒๕๔๓) ว่า เมื่อพระเจ้ามินดง หนีการคุกคามจากอังกฤษ ย้ายเมืองหลวงมาอยู่กรุงมัณฑะเลย์ ก็เริ่มสร้างพระราชวังใหม่

ในการก่อฤกษ์กำแพงเมือง ราชสำนักมีคำสั่งลับให้เลือกจับชายหญิงที่เกิดวันอังคารและวันเสาร์ ๕๒ คน เท่ากับจำนวนอายุของพระเจ้ามินดง มาทำอาถรรพ์ ด้วยการฝังทั้งเป็นใต้ปราสาท ใต้พระแท่นในพระที่นั่ง และตามมุมกำแพงเมือง

ชายที่ถูกเลือกต้องมีร่างกายบริสุทธิ์ ไม่มีรอยสักในตัวเป็นมลทิน ผู้หญิงนอกจากเป็นสาวสวยก็ต้องยังไม่เจาะหู

แต่การจะใช้ทหารไปเลือกจับซึ่งหน้า เอาคนมาจากบ้าน กว่าจะได้ครบ ๕๒ คน คงจะทำได้ยาก เพราะเมื่อข่าวแพร่ออกไป ผู้คนจะแตกตื่นหนี

จึงต้องใช้อุบาย หาละครมาเล่นกลางแจ้ง ล่อให้คนมาดู แล้วก็ล้อมจับเอาตามสบาย

คนเคราะห์ดี ชายที่มีรอยสัก หญิงที่เจาะหู ก็รอดตัวไป คนเคราะห์ร้าย คุณสมบัติตรงตามเป้าหมาย ก็ถูกเอาตัวไป

ความโหดร้ายทารุณของพม่าในครั้งนี้ ผลกรรมตามสนองกับพระเจ้ามินดงไม่ทัน แต่กลับตามสนองกับทายาทราชวงศ์

เมื่อพระเจ้าธีบอ พระเจ้าลูกเธอองค์หนึ่ง ขึ้นเสวยราชย์ คนแวดล้อมกษัตริย์องค์ใหม่ เกิดความหวาดระแวงพระเจ้าลูกเธอพระองค์อื่นจะชิงอำนาจ ก็ได้มีคำสั่งจับพระเจ้าลูกเธอ ๘๓ องค์ ไปขังไว้ท้ายพระราชวัง

๒-๓ องค์ หนีรอดไปทางภาคใต้ หลบซ่อนอยู่กับอังกฤษ ที่เหลือ ๘๐ องค์ รอวันประหาร

มีบันทึกเป็นทางการ (๒๐ ก.พ.๒๔๒๒)  พระเจ้าลูกเธอ ๘๐ องค์ ก็ถูกจับยัดเข้ากระสอบสีแดง แล้วเพชฌฆาต ก็เริ่มใช้ท่อนจันทน์ ประหารด้วยการทุบ ทีละองค์ๆ

การประหารเลือกเวลากลางวัน มีการจัดแสดงดนตรีประโคมเสียงดัง *

เรื่องที่ “พลูหลวง” ไม่ได้เขียน แต่คนไทยคงเคยได้อ่านจากพม่าเสียเมือง ของอาจารย์หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช…พระเจ้าธีบอ ถูกเชิญเสด็จไปทอดพระเนตรละคร มือหนึ่งพระนางสุภยลัต พระมเหสีถวายน้ำจัณฑ์ อีกมือให้สัญญาณดนตรี โหมประโคม กลบเสียงจากลานประหาร

การแสดงละคร การโหมประโคมดนตรี ประสานไปกับกิจกรรมการประหาร จำนวนคน ๘๐ คน ต้องใช้เวลาตลอดวัน

คนที่ถูกตายแล้ว ก็ถูกนำออกจากกระสอบโยนศพลงหลุม เมื่อทุกศพอยู่ในหลุมใหญ่ครบ ก็ใช้กระสอบทับ แล้วก็ใช้ดินกลบ

“การนำราษฎรผู้ไม่มีความผิด มาฝังทั้งเป็น ตามลัทธิไสยศาสตร์อันชั่วร้าย ย่อมสะท้อนถึงทายาทโดยตรง  เรื่องกรรมเรื่องเวรนั้น ไม่เคยละเว้นใคร “พลูหลวง” ทิ้งท้ายสำทับ

เรื่อง คนเกิดวันอังคาร เกิดวันเสาร์ ที่เคราะห์ร้าย ถูกจับไปฝังทั้งเป็น คนเกิดสองวันนี้ คงไม่ได้ก่อกรรมทำเวรกับใครในชาตินี้ แต่ก็มีความเชื่อว่า คงก่อกรรมทำเวรกับใครไว้ในชาติก่อน

ความเชื่อนี้ พิสูจน์ไม่ได้ คล้ายๆ กับความเชื่อเรื่องเห็ดเมาบานวันอังคาร วันเสาร์ กินแล้วอาจถึงตาย แต่ก็ไม่โหดร้ายเหมือนความเชื่อว่า ชีวิตมนุษย์ ช่วยส่งเสริมอำนาจบารมีให้ตัวเอง
       ฯลฯ


นสพ.ไทยรัฐ ฉบับประจำวันศุกร์ที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๘




ย่านตะแลงแกง
ลานประหาร...ย่านประจานผู้กระทำผิด

จากงานเขียนของ สุจิตต์ วงษ์เทศ อธิบายว่า ตรงจุดที่ถนนศรีเพชญ์ตัดกับถนนป่าโทนในเกาะเมืองอยุธยาปัจจุบันเป็นสี่แยกเรียกว่า "ตะแลงแกง"

ที่มาของชื่อ "ตะแลงแกง" ศานติ ภักดีคำ อาจารย์แห่งภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร เคยบอกไว้ในบทความตีพิมพ์ในศิลปวัฒนธรรม ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๓ (มกราคม ๒๕๔๖) ว่า มาจากภาษาเขมร "ตรแฬงแกง" อ่าน "ตรอแลงแกง" พจนานุกรมภาษาเขมรฉบับของพุทธศาสนบัณฑิตย์ กรุงพนมเปญ ให้ความหมายว่า "ที่มี ๔ หน้า หรือที่แยกเป็นสี่ (ชื่อปราสาท, วิหาร, หนทาง)"

บริเวณตะแลงแกงเป็นย่านสำคัญที่คนแต่ก่อนถือกันว่าเป็นกลางพระนคร มีถนนสายสำคัญและเป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญหลายแห่ง

ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๖๓ เรื่องกรุงเก่ากล่าวว่า "ในกรุงเทพมหานครมีถนนหลวงกว้างห้าวา สำหรับมีการแห่พระกถินหลวงนากหลวงตั้งพยุห์บาตรา สระขนานช้างม้าพระที่นั่งปตูไชย ชักจะเข้ใส่ ศภพระราชาขณะอธิการ"

เนื้อความตอนนี้ พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) อธิบายไว้ในหนังสือ อธิบายแผนที่พระนครศรีอยุธยา กับคำวินิจฉัยของพระยาโบราณราชธานินทร์ ฉบับชำระครั้งที่ ๒ และภูมิสถานกรุงศรีอยุธยา พิมพ์โดยสำนักพิมพ์ต้นฉบับครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.๒๕๕๐

สรุปว่า ถนนหลวงดังกล่าว (ในเอกสารคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม เอกสารจากหอหลวง บอกชื่อว่า มหารัถยา ปัจจุบันคือถนนศรีสรรเพชญ์) คือถนนใหญ่ตรงไปจากหน้าพระราชวัง ไปหักเลี้ยวที่มุมกำแพงพระราชวังด้านใต้แล้วเลี้ยวซ้ายตรงไปทางใต้ถึงประตูไชยที่อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา

เป็นถนนที่เคยใช้แห่รับพระราชสาส์นพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ กรุงฝรั่งเศส ถนนสายนี้ตามแผนที่เป็นถนนขวางอยู่กึ่งกลางพระนคร แต่เหนือไปใต้และมีถนนรีแต่ด้านตะวันออกตรงไปทางตะวันตกถึงหลังวังหลัง เป็นถนนสายรีที่อยู่กึ่งกลางพระนครเหมือนกัน ตรงที่ถนนสายนี้ผ่านกันเป็นทาง ๔ แพร่ง เรียกว่า ตะแลงแกง




ตรงสี่แยกตะแลงแกงนี้เอง มักถูกใช้เป็นที่ประหารหรือประจานผู้ที่กระทำผิด ดังมีบันทึกไว้ในเอกสารพงศาวดารและระบุลงโทษไว้ในกฎหมายสมัยอยุธยา เช่น ในกฎหมายพระไอยการลักษณะผัวเมีย กล่าวถึงโทษของหญิงมีชู้ว่า

"...ส่วนหญิงนั้นให้โกนศีศะเปน ตะแลงแกง เอาขึ้นขาหย่างประจาน แล้วให้ทเวนรอบตลาดแล้วให้ทวนด้วยลวดหนัง ๒๐ ที" หรือในกฎหมายพระไอยการลักขณโจรว่า "เอาบุตรภรรยาเปนคนน้ำร้อน แล้วให้ฆ่าโจรแลพวกโจรซึ่งลงมือ ตัดศีศะเศียบไว้นะตะแลงแกง..."

หรือแม้แต่วรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน นางวันทองก็ถูกนำตัวมาประหารชีวิตที่ตะแลงแกงเช่นกัน

แต่นอกจากการลงโทษแล้ว ย่านตะแลงแกงยังเป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญอีกหลายแห่ง และเป็นที่ชุมชนมีย่านค้าขาย ดังเอกสารคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม กล่าวถึงว่า "ถนนย่านตะแลงแกงมีร้านขายของสดเช้าเย็น ชื่อตลาดน่าคุก ๑ ถนนย่านน่าศาลพระกาฬ มีร้านชำขายศีศะในโครงในที่ปั่นฝ้ายชื่อตลาดศาลพระกาฬ ๑..."

ย่านตะแลงแกงมีสถานที่สำคัญๆ ได้แก่ หอกลอง คุก ที่ตั้งของคุกนี้พระยาโบราณฯ อธิบายว่า "...ห่างจากหอกลองเข้าไปด้านหลังมีวัดเรียกกันว่าวัดเกศ ต่อจากหลังวัดเกศไปเป็นคุก..." จึงเชื่อกันว่าน่าจะเป็นแถวๆ บริเวณที่ตั้งคุ้มขุนแผนในปัจจุบัน ศาล

"...ข้ากฟากถนนตะแลงแกงทางใต้ด้านตะวันตก มีศาล พระกาฬหลังคาเป็นซุ้มปรางค์ และมีศาลอยู่ต่อกันไปเข้าใจว่าจะเป็นศาลพระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระหลักเมือง ที่ตรงตะแลงแกงเห็นจะถือกันว่าเป็นกลางพระนคร..."

(คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ฯ: ๒๕๓๔) ที่ตั้งศาลทั้งสองแห่งยังไม่มีหลักฐานแน่ชัด แต่เชื่อกันว่าอยู่บริเวณใกล้ๆ กับหัวมุมตะแลงแกงฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ ตรงข้ามกับวัดเกศ และสนามจักรวรรดิและลานพระเมรุ

ย่านตะแลงแกงถือกันว่าเป็นย่านกลางพระนคร จึงมีการจัดตั้งสถานที่สำคัญเกี่ยวกับบ้านเมืองดังกล่าว โดยเฉพาะสนามหลวงที่ที่อาจเกี่ยวข้องกับ "ลานกลางบ้าน" ของชุมชนยุคก่อนที่ใช้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ประกอบพิธีกรรมของชุมชนหมู่บ้าน ที่อาจรวมไปถึงสี่แยกตะแลงแกง สถานที่ประหารกลางเมือง ทั้งวัตถุประสงค์เพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างและหรือนัยว่าเป็นการเซ่นสรวงไปด้วยผสมปนเปกัน

สำหรับบริเวณที่เห็นว่าเป็นสี่แยกนี้แต่เดิมอาจเคยเป็นทางสามแพร่งหรือมีความสำคัญอะไรบางอย่าง จึงได้สืบต่อกลายมาเป็นย่านศูนย์กลางสำคัญของพระนครที่เรียกว่าตะแลงแกงแห่งนี้
...หนังสือพิมพ์ข่าวสด


http://upic.me/i/fc/0ixuz.jpg

ภาพจาก : เว็บไซท์ upic.me/i/fc/0ixuz.jpg

ปริศนาดาบโค้ง วงพระจันทร์

               ฯลฯ
ดูหนังจีนมาหลายเรื่อง เห็นอาวุธพิสดารแปลกตามากมายก็คิดว่าแบบอาวุธเกิดจากจินตนาการของนักเขียน

ลองอ่าน ราชกิจจานุเบกษา ประกาศในสมัยรัชกาลที่ ๕ แล้วจะรู้ว่าไม่ใช่

เมื่อเดือนยี่ ปีชวด อัฐศก ๑๒๓๘ พระเทพผลู (ตำรวจ) ได้ความว่ามีอ้ายผู้ร้ายฟันจีนเล็กตาย ให้นายอำเภอกำนันไปสืบจับผู้ร้าย ได้ตัวผู้ร้ายมาคืออ้ายจีนซุนหยู แซ่เหลา อายุ ๓๒ ปี

อ้ายจีนซุนหยูให้การรับสารภาพว่าอาศัยอยู่ในสวนของอีสี ตำบลคลองสาน ฝั่งธนบุรี วันหนึ่งอีสีบอกอ้ายจีนซุนหยูว่า มีอ้ายผู้ร้ายมาฟันต้นทุเรียนเสียเป็นอันมาก ให้อ้ายจีนซุนหยูคอยจับตัวฟันฆ่าเสียให้ได้

ฝ่ายอ้ายจีนซุนหยู รับคำตามที่อีสีสั่ง  อีสีบอกว่า “เหลียนเหล็กมีคมของเรามีอยู่” ให้จีนซุนหยูถือไปสำหรับตัว

พอถึงเวลาพลบค่ำ อ้ายจีนซุนหยูก็ถือเหล็กมีคมออกจากบ้านสวนไปยืนยังที่มืด

ฝ่ายจีนเล็ก อายุ ๓๔ ปี เคราะห์หามยามร้าย ไปซื้อยาฝิ่น ได้ยาฝิ่นแล้ว พอเดินออกจากโรงยามาประมาณ ๙-๑๐ วา  ทันใดนั้น อ้ายจีนซุนหยูก็ตรงเข้าฟันจีนเล็กทีหนึ่ง โดยไม่ทันได้ต่อว่าหรือสอบถามอะไรทั้งสิ้น

ไม่รู้ว่าจีนเล็กเป็นคนมาฟันทุเรียนจริงหรือไม่

ฝ่ายจีนเล็กฉวยได้ผมเปียของอ้ายจีนซุนหยู กระหมวดพันไว้กับมือ พลางร้องเรียกให้ชาวบ้านช่วย ฝ่ายจีนซุนหยูก็เอาเหลียนฟันจีนเล็กอีกเป็นอันมาก จีนเล็กแม้ถูกฟันก็ยังไม่ยอมปล่อยผมเปีย

อ้ายจีนซุนหยูพอได้ยินเสียงจีนเล็กร้องเรียกชาวบ้าน กลัวว่าชาวบ้านจะมาแล้วตัวเองหนีไม่ได้ เพราะจีนเล็กคว้าผมเปียไว้แน่น ก็ตัดสินใจเอาเหลียนตัดผมตัวเองทิ้งเสีย  จากนั้น อ้ายจีนซุนหยู ก็วิ่งหนีไป

ผลปรากฏว่า จีนเล็กถูกฟันถึง ๔๗ แผล ไม่สามารถทนความเจ็บปวดได้ ก็ล้มขาดใจทันที

เรื่องถึงพระเทพผลูๆ สอบถามอีสี  อีสีให้การแบ่งรับว่า ใช้อ้ายจีนซุนหยูไปฟันแต่ต้นทุเรียน หาได้ให้ฟันจีนเล็กไม่

ลูกขุน ณ ศาลหลวง ขุนหลวงพระยาไกรสี เห็นพร้อมกันว่า อ้ายจีนซุนหยูบังอาจกระทำจีนเล็ก ซึ่งไม่เคยมีความผิดหรือเคยวิวาทสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาก่อน อ้ายจีนซุนหยูเป็นคนพาลสันดานหยาบ ไม่เกรงกลัวพระราชอาญา

ต้องด้วยบทพระอัยการให้ริบราชบาตร บุตร ภรรยา ทรัพย์สิ่งของเป็นของแผ่นดิน

กับให้ลงพระราชอาญาเฆี่ยน ๓ ยก ๙๐ ที แล้วเอาอ้ายจีนซุนหยูไปประหารชีวิตเสียตามบทพระอัยการ ที่วัดพลับพลาชัย อย่าให้คนดูเยี่ยงอย่างสืบไป

ส่วนอีสี ให้การว่า อ้ายจีนซุนหยูไปฟันแต่ต้นทุเรียนเล็ก ลูกขุนถือว่าเป็นใจให้กับอ้ายจีนซุนหยู ยังมีความผิด ขอให้อีสีเสียเบี้ยปลุกตัวจีนเล็ก ตามเกษียณอายุ ๓๔ ปี เป็นเงินตรา ๑๔ ตำลึง  โดยมอบให้จีนแตกผู้เป็นโจทก็เอาไปทำบุญให้จีนเล็ก และให้เฆี่ยนอีสี ๒๕ ที ให้เข็ดหลาบ

หลังการตัดสิน ปรากฏว่าอีสีป่วยตกเลือดตายในที่จองจำ จึงให้ผู้รับมรดกอีสีใช้เบี้ยปรับปลุกตัวแทน

ส่วนโทษนั้นก็เป็นอันแล้วกันไป

เรื่องทั้งหมดนี้ คุณอเนก นาวิกมูล เอารวมพิมพ์ไว้ในหนังสือสยามคดี ๒๔๒๐ (สำนักพิมพ์แสงดาว พ.ศ.๒๕๔๗) คุณอเนก ตั้งข้อสงสัย เหลียน มีคำแปลหรือไม่  หรือช่างเรียง เรียงพิมพ์ผิด หรือ เหลียนเป็นคำเดียวกับแหลน

เปิดพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ก็พบว่า “เหลียน” เป็นคำที่ถูกต้อง มีคำแปลว่า มีดรูปโค้งเล็กน้อย มีด้ามยาวสำหรับใช้หวดหญ้า  อ่านตรงนี้จึงได้รู้ว่า ดาบโค้งวงพระจันทร์ เป็นดาบของชาวบ้านธรรมดา แต่ก็เป็นดาบที่มีอานุภาพ อยู่ในมือจีนหยู ยังฟันจีนเล็กได้ถึง ๔๗ แผล
               ฯลฯ


ที่มา : คอลัมน์ชักธงรบ "ปริศนาดาบโค้ง วงพระจันทร์" น.๓ นสพ.ไทยรัฐ ฉบับประจำวันพุธที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙
3400  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / ผัดหน่อไม้สดกับหมูสามชั้น และเคล็ดลับการต้มหน่อไม้สด เมื่อ: 28 สิงหาคม 2558 15:44:46
.


ผัดหน่อไม้สดกับหมูสามชั้น

ส่วนผสม
- หน่อไม้ต้มหั่นชิ้นยาว 1 ถ้วย
- หมูสามชั้นหั่นตามขวาง ½ ถ้วย
- พริกขี้หนูจินดาสีแดง 10-15 เม็ด (พริกขี้หนูเม็ดใหญ่สีแดง)
- กระเทียมไทยแกะกลีบ 1 หัว
- ใบโหระพา
- พริกชี้ฟ้าเขียว-แดง หั่นแฉลบ
- กะปิใต้ ¼ ช้อนชา
- น้ำตาลทราย
- ซอสหอยนางรม
- น้ำปลาดี



วิธีทำ
1. โขลกพริกขี้หนูสีแดง กระเทียมไทย และกะปิ ให้เข้ากัน
2. ผัดเครื่องที่โขลกในน้ำมันให้หอม  ใส่หมูสามชั้นผัดพอสุก
2. ใส่หน่อไม้  พริกชี้ฟ้า ปรุงรสด้วยน้ำตาลทราย ซอสหอยนางรม น้ำปลา ชิมรสตามชอบ
3. ใส่ใบโหระพา ผัดให้เข้ากัน ตักใส่จานเสิร์ฟ



วิธีต้มหน่อไม้สดให้รสหอม และอ่อนนิ่ม (รับรองไม่ขม)
1. ปอกเปลือกหน่อไม้สด ตัดส่วนที่แก่หรือแข็งทิ้ง
2. หั่นเป็นชิ้นบาง ล้างน้ำเกลืออ่อนๆ ผึ่งให้สะเด็ดน้ำ
3. ตั้งกระทะให้ร้อน ใส่หน่อไม้ลงไปผัดโดยไม่ต้องใส่น้ำมัน จนอ่อนนิ่ม ถ้าเป็นเนื้อสัตว์เรียกวิธีนี้ว่าการรวน
    (เคล็ดลับที่น้อยคนจะรู้ วิธีนี้ทำให้หน่อไม้อ่อนนิ่ม หากนำไปต้มโดยไม่ผ่านการผัด หน่อไม้จะแข็ง)
4. ต้มน้ำใบหญ้านาง พอน้ำร้อนใส่หน่อไม้่ผัด รอให้น้ำเดือดใส่ใบเตยฉีกเคี่ยวไปด้วยกัน
    อุ่นเช้า-เย็น นำไปปรุงอาหารได้หลากหลาย เช่น ต้มจืด แกง ผัด จิ้มน้ำพริกกะปิ หรือทำซุปหน่อไม้













-------------------------


หน่อไม้ต้มใบหญ้านาง ใส่ใบเตยเพิ่มความหอมน่ารับประทาน
รอให้น้ำเดือด จึงฉีกใส่ใบเตยใส่
* พืชผักสมุนไพรที่มีกลิ่น/น้ำมันหอมระเหย เช่น ข่า ตะไคร้  ใบเตย ฯลฯ
ควรต้มให้น้ำเดือดจึงค่อยใส่ลงหม้อ/กระทะ บางครั้งการใส่ขณะน้ำยังเย็นแทนที่จะให้กลิ่นหอม กลับมีกลิ่นแปลกๆ
(น้ำหญ้านางทำโดยโขลกหรือปั่นใบหญ้านางให้ละเอียด ผสมน้ำสะอาด แล้วคั้นเอาแต่น้ำ)






ติดตามสูตรอาหารและเคล็ดลับการประกอบอาหารคาว-หวาน
ได้ที่  "สุขใจในครัว" สุขใจดอทคอม
หน้า:  1 ... 168 169 [170] 171 172 ... 274
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.249 วินาที กับ 27 คำสั่ง

Google visited last this page วานนี้