[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 เมษายน 2567 04:50:09 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก เวบบอร์ด ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

  แสดงกระทู้
หน้า:  1 ... 169 170 [171] 172 173 ... 273
3401  สุขใจในธรรม / เกร็ดศาสนา / Re: การปลงศพ ในประเทศสยาม เมื่อ: 06 สิงหาคม 2558 11:37:10
.


ภาพจาก เว็บไซท์ oknation.net-
การปลงศพในประเทศสยาม

ชาวสยามปลงศพ (ต่อ)

เมื่อพิธีกรรมของชาวชมพูทวีปได้แพร่เข้ามาถึงดินแดนสุวรรณภูมิในยุคทวารวดีพร้อมกับศาสนาพราหมณ์ ก่อนพระพุทธศาสนานั้นราวหนึ่งพันปีมาแล้ว การปลงศพจะมี ๔ ประการ ต่างกันตามฐานะของคนตาย ได้แก่ ปลงศพด้วยดิน คือ ฝัง ปลงด้วยน้ำ คือ โยนทิ้งในแม่น้ำลำคลอง ปลงด้วยนก คือ ให้แร้งกากิน และปลงด้วยไฟ คือ เผา

แต่สมัยรัตนโกสินทร์ คนไทยก็จัดการปลงศพอย่างเป็นอารยะแล้ว เมื่อ มาร์ควิส เฮสติงค์ ผู้สำเร็จราชการอังกฤษในอินเดีย ได้ส่ง จอห์น ครอว์ฟอร์ด ที่คนไทยเรียกว่า นายยอนการะฝัด เป็นทูตนำเครื่องราชบรรณาการมาถวายเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีในรัชกาลที่ ๒ เมื่อมาถึงเมืองปากน้ำ การะฝัดได้รับเชิญไปในงานเลี้ยงรับรองในเรือนใหญ่แห่งหนึ่ง เขาเขียนเล่าไว้ว่า

ม่านซึ่งแขวนอยู่ทางสุดห้องกระตุ้นให้เราเกิดความอยากรู้อยากเห็น และเรารู้สึกประหลาดใจเป็นอย่างยิ่งเมื่อทราบว่า หลังม่านนั้นเองเป็นที่ตั้งศพของท่านข้าหลวงปากน้ำคนก่อนเพื่อให้คนมาคารวะ ท่านเป็นพี่ชายของข้าหลวงคนปัจจุบัน และเป็นบิดาของชายหนุ่มผู้เชิญเรามา ความจริงชายผู้นั้นได้เล่าให้เราฟังแล้วว่า บิดาของเขาถึงแก่กรรมเมื่อห้าเดือนก่อน ศพของท่านยังคงเก็บรักษาอยู่ในเมืองปากน้ำ และจะมีพิธีฌาปนกิจในสองสามวันนี้ อย่างไรก็ตาม เราไม่ได้คาดว่าผู้ตายจะให้เกียรติด้วยการที่ร่างของเขาก็อยู่ในงานรื่นเริงซึ่งเราได้รับเชิญมานั้นด้วย

ฟินเลย์สันและรูเทอร์ฟอร์ด ผู้เดินทางมาถึงที่นั่นในวันต่อมา เกิดมีความอยากรู้อยากเห็นเรื่องศพอย่างแรงกล้า ถึงขนาดถือวิสาสะถามบุตรของผู้ตายหลายประการ ซึ่งชายหนุ่มก็มิได้แสดงอาการไม่พอใจแต่อย่างใด ตรงกันข้ามกลับรีบนำชายทั้งสองไปคารวะศพโดยมิได้รอช้า

หีบศพนั้นถูกคลุมไว้ด้วยผ้าขาวโรยผงทอง เมื่อเปิดผ้าคุลมออกก็มองเห็นร่างห่อหุ้มไว้ด้วยผ้าขาวหลายชั้นคล้ายมัมมี่ของอียิปต์ เห็นได้ชัดว่าแห้งสนิทแล้ว และโปรยด้วยเครื่องเทศไว้หนามากจนกระทั่งไม่มีร่องรอยของกลิ่นเหม็นใดๆ ทั้งนั้น

ทว่า ในกรุงเทพฯ สมัยนั้นเอง ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวในทางน่ากลัวจนหัวหด ที่ฝรั่งขอบไปเยือนแห่งหนึ่งคือ วัดสระเกศ  สมัยที่ทางราชการห้ามเผาศพภายในกำแพงพระนครนั้น ใครตายก็ต้องเอาออกทางประตูฝีที่มีอยู่ประตูเดียว  วัดสระเกศอยู่ใกล้กับประตูที่ว่านั่นพอดี เรียกว่าเป็นทำเลทองสำหรับดักรับศพ ใครแบกผ่านประตูผีข้ามสะพานคลองโอ่งอ่างออกมาก็เจอป่าข้าใหญ่โตมโหฬารเลย เอาศพทิ้งเสียที่นี่เป็นสะดวกที่สุด ไม่ต้องเสียแรงเสียสตางค์เอาไปที่ไหนไกลๆ

เมืองไทยในฤดูแล้ง สมัยก่อนอหิวาตกโรคหรือโรคห่าก็ระบาดกันเป็นประจำ ช่วงที่น่าสะพรึงกลัวที่สุดในประวัติศาสตร์อยู่ในสมัยรัชกาลที่ ๒ สถิติคนตายตอนนั้นยังไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรงใดๆ ทำลายได้เลย แค่ ๑๕ วัน ตายไปสามหมื่นคน แม่น้ำ ลำคลองเต็มไปด้วยซากศพ จนใช้อาบ ใช้กินไม่ได้ทั้งสิ้น บนบกศพก็กองเละเทะไปทุกหนทุกแห่ง อย่าว่าแต่จะจัดพิธีปลงศพเลย จะเผาจะฝังให้ดีหน่อยก็ยังไม่ทันแล้ว ต้องใช้วิธีขุดหลุมใหญ่ๆ ที่วัดสระเกศ แล้วเอาศพมากองสุมลงไป รอให้เต็มก่อนจะกลบ ฝูงแร้งจากสารพัดทิศจึงบินมารวมกันอยู่ที่นั่น เยอะขึ้นๆ จนเป็นพันๆ ตัว อิ่มหนำสำราญแล้วขยายพันธุ์ออกลูกออกหลานกันต่อ ด้วยว่าอาหารการกินบริบูรณ์เหลือหลาย ป่าช้าที่ลึกเข้าไปถึงแม้นศรีก็อาณาเขตกว้างใหญ่รกชัฏ เป็นที่อยู่อาศัยชั้นดีของพวกมัน

ตั้งแต่นั้นมาบรรดาแร้งก็ตั้งหลักแหล่งอย่างถาวร วัดสระเกศเลยกลายเป็นที่ทิ้งศพ นอกจากศพคนตายด้วยโรคห่าที่นานปีมีครั้งแล้ว ก็ยังมีศพที่ตายตามปกติมาทิ้งให้กินกันเป็นประจำทุกวัน แม้สมัยรัชกาลที่ ๕ แล้ว ทางคุกยังเอาศพนักโทษที่ตายมาทิ้งรวมไว้กับศพคนจน หรือศพไร้ญาติที่นี่ และนอกจากแร้ง ก็ยังมีหมาวัด และสัตว์เลื้อยคลานจำพวกเหี้ย ที่มีหน้าที่กำจัดซากศพที่เหลือแล้วนั่นแหละ สัปเหร่อจึงจะเก็บรวบรวมไปฝังไปเผา

เดอห์ริงอ้างถึงบทความในหนังสือพิมพ์บางกอกรีคอร์เดอร์ ฉบับลงวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๔๐๙ อันอยู่ในรัชสมัยของรัชกาลที่ ๔ มีความบรรยายถึงการปลงศพของสามัญชนคนยากในยุคนั้นว่า   แรกทีเดียวก่อนที่ศพจะเป็นเหยื่อแก่แร้งนับจำนวนร้อย สัปเหร่อจะเปิดฝาโลงออก ฝูงสัตว์ที่น่ากลัวเหล่านี้จะพากันมารุมล้อมเต็มไปหมดเพื่อคอยกินซากศพ บางพวกที่เกาะอยู่บนหลังคาวัด หรือตามสุมทุมพุ่มไม้ใกล้ๆ หีบศพนั้น มันจะจ้องกินอย่างตะกละ จนกระทั่งสัปเหร่อและลูกน้องต้องช่วยกันไล่ไปให้พ้น จึงจะเปิดฝาโลงออกได้ ดูเหมือนพวกมันจะรู้ดีว่าจะได้กินก็แค่เพียงเศษเนื้อชิ้นเล็กๆ เท่านั้น เพราะศพดังกล่าวจะต้องถูกแบ่งให้แก่ฝูงสุนัขที่จ้องรอคอยอย่างตะกลามอยู่ข้างๆ โลงอีกด้วย  เมื่อศพถูกนำออกมาวางลงบนขอนไม้ พอคนถอยออกไป นกทั้งหลายก็จะพากันถลาลงมารุมซากศพ  

ชั่วเวลาเพียงครู่เดียวที่มันรุมจนมองไม่เห็นศพ มันจะใช้จะงอยปากและอุ้งเล็บฉีกทึ้งเนื้อออกแล้วบินไปขยอกกินตามลำพังบนกิ่งไม้ ยิ่งกว่านั้นสัปเหร่อยังคิดบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์โดยการตัดเฉือนชิ้นเนื้อโยนให้สุนัขที่หิวโซได้กินกันอีกด้วย ทั้งหมดนี้ เพื่อให้เป็นไปตามพินัยกรรมฉบับล่าสุดของผู้ตาย ที่ระบุอุทิศร่างให้เป็นทานแก่สัตว์ทั้งหลาย ฝ่ายแร้งมักไม่พอใจในส่วนที่ได้รับ มันจะพากันบินโฉบลงมาข้างล่างอีกและพยายามแย่งชิ้นเนื้อจากปากสุนัข ฝูงแร้งที่กินไม่อิ่มต่างพากันจับจ้องมองอยู่จนกระทั่งเห็นว่าไม่มีอะไรเหลืออีกแล้ว มันจะสั่นหัวอันน่าเกลียด กระโดดก้าวยาวๆ เพื่อเร่งความเร็ว แล้วก็กระพือปีกมหึมาของมันบินจากไป

ขณะเดียวกับพวกเจ้าภาพจะยืนถือธูปเทียนคอยอยู่ จนกระทั่งสัตว์เหล่านั้นจากไปเหลือทิ้งไว้แต่กระดูก ครั้นแล้วสัปเหร่อจึงรวบรวมกระดูกใส่โลง ให้คน ๔ คน หามเวียนเชิงตะกอน ๓ รอบ ต่อจากนั้นวางโลงบนกองเพลิง ใส่ฟืนเข้าไปอีกสองสามดุ้น เพื่อเร่งไฟให้แรงขึ้นแล้วญาติพี่น้องแต่ละคนจึงเอาเทียนที่จุดไว้เข้าไปเผาศพ

คนยากจนที่ไม่มีเงินพอทำศพ ได้แค่ฝังเอาไว้แล้วปล่อยให้เป็นเหยื่อแก่ฝูงแร้งและสุนัข ในสมัยก่อนซากศพเหล่านี้จะถูกโยนทิ้งน้ำ ต่อมารัฐบาลได้ออกคำสั่งห้ามการกำจัดศพด้วยวิธีนี้

กัปตันเวอร์เนอร์ ซึ่งร่วมมากับคณะสำรวจชาวปรัสเซีย เมื่อพุทธศักราช ๒๔๐๔ ได้แวะมาเยือนกรุงเทพฯ และไปที่วัดสระเกศ ได้เล่าให้ฟังว่า ‘เมื่อเดินผ่านประตูกำแพงที่ล้อมรอบเข้าไป จะไปสู่สถานที่แห่งที่สองซึ่งมีขนาดเล็กกว่าแห่งแรก ปรากฏว่า เป็นสวนป่าธรรมชาติอันน่ารื่นรมย์ ต้นไม้แถบเมืองร้อนขึ้นงอกงาม พื้นดินปกคลุมได้ด้วยหญ้าเขียวขจี ความสงัดทำให้ผู้ไปเยือนมีจิตใจหดหู่ ไม่มีมนุษย์อยู่แถวนั้นเลย ไม่มีนกร้องเพลงมาทำรังอยู่บนต้นไม้ จะมีก็แต่เสียงกระพือปีกพึ่บพั่บของแร้งตัวดำมหึมา ซึ่งบินจากต้นไม้ขึ้นไปคอยอยู่กลางอากาศ แล้วก็ถลากลับมาจับบนต้นไม้อีกพร้อมทั้งนั่งมองไปรอบๆ อย่างไม่น่าไว้ใจ

ใกล้กับประตู มียกพื้นหกแห่งสร้างเหนือระดับพื้นดินเล็กน้อย บนแต่ละแห่งมีสุนัขนอนผึ่งแดดอยู่สองสามตัว มันอ้วนและเชื่องช้าเสียจนกระทั่งเมื่อเอาก้อนหินขว้างปาก็แทบจะไม่วิ่งหนี สวนอันสงบเงียบและน่ารื่นรมย์นี้เป็นที่ฝังศพของพวกคนจน ซึ่งญาติพี่น้องไม่มีเงินจะจัดการเผา สุนัขและแร้งทั้งหลายจึงจัดการให้แทน ซากศพเปลือยถูกตัดออกเป็นท่อนๆ แล้ววางทิ้งไว้ขนยกพื้นนั้น ทันทีที่พวกแบกศพเดินพ้นจากประตู ฝูงแร้งจะกระพือปีกบินร่อนลงมา รวมทั้งฝูงสุนัขซึ่งวิ่งกรูกันเข้าไป ชั่วเวลาไม่เกินสิบนาทีจะมีเหลืออยู่ก็แต่เพียงกระดูกเท่านั้นให้ญาติพี่น้องมาเก็บเอาไปเผา’


โปรดติดตามตอนต่อไป


ที่มา : คอลัมน์ ประวัติศาสตร์มีชีวิต "ชาวสยามปลงศพ (๒)" โดย หม่อมหลวงชัยนิมิตร นวรัตน  นิตยสารสกุลไทยรายสัปดาห์  
3402  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ใต้เงาไม้ / Re: 'ผู้สละโลก' นวนิยายอิงประวัติพุทธสาวก โดย วศิน อินทสระ เมื่อ: 03 สิงหาคม 2558 15:18:21



       ผู้สละโลก
       เรื่อง พระสารีบุตร
       ๔. ปลดแอก

ฝ่ายพระสารีบุตร เมื่อบวชแล้วได้กึ่งเดือน พักอยู่กับพระศาสดา ณ ถ้ำสุกรขาตา บนภูเขาคิชฌกูฏ เขตเมืองราชคฤห์นั่นเอง ปริพาชกผู้หนึ่งชื่อทีฆนขะอัคคิเวสสนโคตร ผู้เป็นหลานของพระสารีบบุตร เที่ยวเดินตามหาลุงของตน มาพบพระสารีบุตรกำลังอยู่ถวายงานพัดพระศาสดาอยู่ เกิดความไม่พอใจ จึงกล่าวขึ้นว่า
“พระโคดม! ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่พอใจหมด”

ภราดา! คำกล่าวทำนองนี้ เป็นการกล่าวกระทบเป็นเชิงว่าเขาไม่พอใจพระศาสดาผู้ให้พระสารีบุตรลุงของเขาบวช เพราะพระศาสนาก็รวมอยู่ในคำว่า ‘สิ่งทั้งปวง’

พระผู้มีพระภาคผู้ทรงอนาวรณญาณ ทรงแตกฉานในถ้อยคำภาษา และความหมาย ตรัสตอบว่า “อัคคิเวสสนะ ถ้าอย่างนั้น ความเห็นอย่างนั้นก็ไม่ควรแก่ท่าน ท่านควรจะไม่ชอบความเห็นอย่างนั้นเสียด้วย”

พระดำรัสตอบของพระศาสดานั้นเรียกว่า ‘ถึงใจ’ เป็นอย่างยิ่ง ทีฆนขะไม่รู้จะตอบโต้ประการใด จึงก้มหน้านิ่งอยู่

พระตถาคตเจ้าจึงตรัสต่อไปว่า “อัคคิเวสสนะ! สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีทิฐิว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา เราไม่ชอบใจหมด พวกหนึ่งมีทิฐิว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา เราชอบใจหมด พวกหนึ่งมีทิฐิว่า บางสิ่งควรแก่เรา เราชอบใจ บางสิ่งไม่ควรแก่เรา เราไม่ชอบใจ

"อัคคิเวสสนะ! ทิฐิของสมณพราหมณ์พวกแรก เอียงไปทางความเกลียดชังสิ่งทั้งปวง ทิฐิของสมณพราหมณ์พวกที่สองเอียงไปทางความกำหนัดรักใคร่สิ่งทั้งปวง ทิฐิของสมณพราหมณ์พวกที่สามเอียงไปในทางกำหนัดยินดีบางสิ่ง และเกลียดชังบางสิ่ง ผู้รู้พิจารณาเห็นว่า ถ้าเราถือมั่นทิฐินั้นอย่างหนึ่งอย่างใด กล่าวว่าสิ่งนี้แลจริง สิ่งอื่นหาจริงไม่ก็ต้องถือผิดจากคนสองพวกที่มีทิฐิไม่เหมือนตน ครั้นถือผิดกันขึ้น การวิวาทเถียงกันก็มีขึ้น ครั้นวิวาทกันมีขึ้น การพิฆาตมาดหมายก็มีขึ้น เมื่อความพิฆาตมีขึ้น การเบียดเบียนกันก็มีขึ้น ผู้รู้เห็นอย่างนี้แล้วย่อมละทิฐินั้นเสียด้วย ไม่ทำทิฐิอื่นให้เกิดขึ้นด้วย”

ครั้นแล้วทรงแสดงอุบายแห่งการละความยึดมั่นถือมั่นว่า

“อัคคิเวสสนะ กายนี้เป็นของประชุมลงแห่งดิน น้ำ ลม ไฟ มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด เจริญขึ้นเพราะข้าวสุกและขนมนมเนย ต้องอบต้องอาบเพื่อกันกลิ่นเหม็น ต้องขัดสีมลทินอยู่เป็นนิตย์ มีความแตกกระจัดกระจายเป็นธรรมดา ผู้มีจักษุควรพิจารณาเห็นกายนี้ว่าเป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์ทนได้ยาก เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เพราะความยากลำบาก ชำรุดทรุดโทรม เป็นของว่างเปล่า ไม่ใช่ตัวตน เมื่อพิจารณาเห็นอย่างนี้ย่อมละความพอใจรักใคร่ความกระวนกระวายในกายเสียได้”

“ดูก่อนท่านผู้แสวงสัจจะ! ตลอดชีวิตของมนุษย์มีอะไรเล่าจะเป็นภาระหนักยิ่งไปกว่าการต้องประคับประคองกายให้อยู่รอดให้เป็นไปได้ มนุษย์ต้องเหน็ดเหนื่อย ต้องทนทุกข์ทรมานเหลือเกินเพื่อกายนี้ เพื่อความอยู่รอดปลอดภัยของกายนี้ มันเหมือนแผลใหม่ที่ต้องประคบประหงมต้องใส่ยาทาพอกกันอยู่เนืองนิตย์-----พระศาสดาจึงตรัสว่า “ไม่มีความทุกข์ใดเสมอด้วยการบริหารขันธ์”  ทั้งๆ ที่เป็นดังนี้ มนุษย์ทั้งหลายก็ยังพอใจในกายนี้ เห็นกายนี้เป็นของสวยของงามน่าอภิรมย์ชมชื่น ยื้อแย่งฆ่าฟันกันเพราะเหตุแห่งกายนี้ ต้องร้องไห้คร่ำครวญถึงกายอันเป็นดังหัวฝีเป็นดังแผลใหม่นี้ เพราะติดใจในความสวยงาม เข้าใจว่าจะให้ความสุขแก่ตนได้ อันที่จริงกายนี้มีน้ำเลือดน้ำเหลืองไหลเยิ้มอยู่ทั่วไป มีกระดูกเป็นโครง มีเส้นเอ็นเป็นเครื่องรึดรัด มีเนื้อเป็นเครื่องพอกและมีหนังบางๆ ปกปิดห่อหุ้มสิ่งปฏิกูลทั้งหลายพรางตาไว้ จึงปรากฏแก่คนทั้งหลายผู้มองอย่างผิวเผินว่าเป็นของสวยงาม น่าลูบคลำสัมผัส แต่อันที่แท้แล้ว ความสวยงามสิ้นสุดแค่ผิวหนังเท่านั้นเอง ถ้าลอกเอาผิวหนังออกแล้ว คนที่รักกันเหมือนจะกลืนกินคงวิ่งหนีเป็นแน่  อนึ่ง ผิวหนังที่ว่าสวยนั่นเองก็เปรอะเปื้อนด้วยฝุ่นและเหงื่อไคล ต้องคอยชำระขัดสีอยู่เนืองนิตย์ เว้นการชำระล้างและขัดสีแม้เพียงวันเดียวก็มีกลิ่นสาบเหม็น เป็นที่รังเกียจแหนงหน่ายแม้แห่งเจ้าของกายนั่นเอง  ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสอนให้พวกเราพิจารณาเนืองๆ ซึ่งกายคตาสติภาวนา คือการคำนึงถึงกายนี้ว่า ไม่งาม โสโครก เป็นที่ตั้งลงและไหลออกแห่งสิ่งปฏิกูลทั้งหลาย

“ดูก่อนอัคคิเวสสนะ” พระศาสดาตรัสต่อไป “อนึ่ง เวทนา ๓ อย่างคือ สุข ทุกข์ อุเบกขา เมื่อใดบุคคลเสวยสุข เมื่อนั้น เขาไม่ได้เสวยทุกข์และอุเบกขา เมื่อใดเสวยทุกข์ เมื่อนั้นไม่ได้เสวยสุขและอุเบกขา สุขทุกข์ อุเบกขาทั้ง ๓ อย่างไม่เที่ยง ปัจจัยปรุงแต่งเกิดขึ้นเพราะมีเหตุปัจจัย มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป เป็นธรรมดา สาวกของพระอริยะฟังดังนี้แล้ว เมื่อเห็นตามอย่างนี้ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในสุขทุกข์อุเบกขา เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนด เมื่อคลายกำหนดจิตย่อมหลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่น เมื่อพ้นแล้วก็เกิดญาณรู้ว่าพ้นแล้ว  อริยสาวกนั้น รู้ชัดว่าความเกิดสิ้นแล้ว---ผู้พ้นแล้วอย่างนี้ย่อมไม่วิวาททุ่มเถียงกับผู้ใดด้วยทิฐิของตน โวหารใดเขาพูดกันอยู่ในโลกก็พูดตามโวหารนั้น แต่ไม่ถือมั่นด้วยทิฐิ”

ท่านผู้แสวงสัจจะ! คนส่วนมาก เมื่อความทุกข์เกิดขึ้นหรือได้ประสบทุกข์ก็สำคัญมั่นหมายว่าความทุกข์ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานี้เป็นของเที่ยงยั่งยืน จึงมีความทุกข์มากขึ้น เพราะกลัวว่าความทุกข์อย่างนั้นๆ จะสถิตอยู่ในใจของตนตลอดไป จึงตีโพยตีพาย พร่ำเพ้อรำพัน ส่วนคนที่สบสุขเล่าก็เพลินในความสุขด้วยสำคัญมั่นหมายว่า สุขที่เกิดแก่เรานี้เป็นของเที่ยง ยั่งยืน จึงติดสุข พอสุขแปรปรวนก็เกิดทุกข์ขึ้น เหมือนคนเห็นเงาดวงจันทร์ในขันน้ำ จึงคว้าเอา ก็คว้าถูกขันน้ำนั่นเอง หาถูกดวงจันทร์ไม่

ภราดาเอย! อันที่จริงแล้ว ทั้งสุขและทุกข์เป็นของไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน เกิดขึ้นเพราะมีเหตุปัจจัย และแปรปรวนไปเพราะการแปรแห่งเหตุ ดับไปเพราะการดับแห่งเหตุ

ขณะนั้น พระสารีบุตรนั่งถวายงานพัดอยู่เบื้องพระปฤษฎางค์แห่งพระศาสดา ได้ฟังพระพุทธดำรัสที่ตรัสแก่ทีฆนขปริพาชก พลางดำริว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสให้ละความยึดมั่นถือมั่น ธรรมทั้งหลายมีทิฐิและเวทนาเป็นต้น เมื่อท่านพิจารณาไปตามกระแสพระธรรมเทศนาด้วยโยนิโสมนสิการ จิตก็พ้นจากอาสวะไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน

ส่วนทีฆนขปริพาชิกนั้นได้ดวงตาเห็นธรรม สิ้นความเคลือบแคลงสงสัยในพระพุทธศาสนา ทูลสรรเสริญพระธรรมเทศนาของพระศาสดาว่าเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง ส่องประทีปในที่มืดให้ผู้มีจักษุได้เห็นรูป แลแล้วแสดงตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึกตลอดชีวิต

บัดนี้ พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะได้สำเร็จอรหัตตผลเป็นพระอริยบุคคลขั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนาแล้ว ได้ย่ำยีความเมาทั้งปวงแล้ว ได้นำความกระหายทั้งปวงออกแล้ว ถอนอาลัยทั้งปวงออกได้แล้ว ตัดวัฏฏะได้แล้ว สิ้นตัณหาแล้ว สำรอกราคะได้แล้ว ดับกิเลสทั้งปวงได้สนิทแล้ว

อันว่า ภาวะแห่งอรหัตตผลนั้น ทำให้จิตลบเสียได้ซึ่งสมมติบัญญัติทั้งปวงที่เคยติดใจมานาน เพราะจิตได้หลุดพ้นจากความยึดมั่นในสมมติบัญญัติใดๆ แล้ว คงเรียกสิ่งนั้นสิ่งนี้ตามสมมติโวหารของโลก แต่ไม่ติดไม่มีอาลัยในสิ่งนั้นๆ

ผู้บรรลุแล้วซึ่งนิพพานนั้น เนื่องจากดับเหตุแห่งทุกข์ได้แล้วโดยสิ้นเชิง ความทุกข์จึงไม่เกิดขึ้น มีแต่ความสุขล้วนๆ เป็นสุขที่ไม่เจือด้วยอามิสคือเหยื่อของโลก แต่เป็นสุขและปราโมชซึ่งเกิดจากธรรมมีความเย็นฉ่ำในดวงจิตเพราะไม่ถูกกิเลสเผาลนให้เร่าร้อน กระแสดวงจิตของท่านไม่มีความเศร้าหมองหรือความชั่วหลงเหลือเจือปนอยู่เลย ความกระเสือกกระสนกระวนกระวายแห่งดวงจิตได้ดับลงสิ้นสุดลงตรงนิพพานนี้ และตรงนี้เองที่ความไข้ทางจิตได้ถูกเยียวยาให้หายขาด ไม่กำเริบขึ้นอีก ความระหกระเหินแห่งชีวิตในสังสารวัฏก็สิ้นสุดลงตรงนี้ และตรงนี้เองที่ให้ความมั่นใจ ความสงบราบเรียบ ความชื่นสุขอันละเอียดอ่อนละมุนละไม ความบริสุทธิ์และความสดชื่นที่แท้จริงแก่ชีวิต

โลกียสุข เหมือนสุขของคนไข้ที่ได้กินของแสลงมันให้สุขนิดหน่อยขณะกินเพื่อจะได้ทุกข์มากขึ้นและยืดเยื้อออกไป เมื่อมองดูด้วยปัญญาจักษุแล้ว โลกียสุขจึงเป็นของน่ากลัว น่าหวาดหวั่นระแวงไม่น่าไว้ใจ เต็มไปด้วยภัย เจือไปด้วยโทษทุกข์นานาประการ แต่ที่คนทั้งหลายชอบก็เพราะเป็นความสุขที่หาได้ง่ายและเพราะความไข้หรือความกระหายทางจิตผลักดันให้แสวงหา

ดูก่อนผู้แสวงสัจจะ! ท่านเห็นเรื่องต่อไปนี้เป็นอย่างไร-ควรชื่นชม หรือควรเศร้าสลด?

คนผู้หนึ่งถูกผลักดันให้ดั้นด้นเข้าไปในป่ารก มันระดะไปด้วยเรียวหนามและทางอันขรุขระ ขณะที่กำลังเหนื่อยจวนจะหมดกำลังอยู่นั้น เขาเผชิญหน้ากับช้างป่าที่ดุร้าย เขาออกวิ่งหนีด้วยความตกใจกลัวมาเจอสระใหญ่ซึ่งมีลักษณะคล้ายทะเลสาบน้อยๆ ในป่าลึก เขากระโดดลงไปในทะเลสาบน้อยๆ นั้น เขาคิดว่าคงพ้นอันตราย แต่ทันใดนั้นจระเข้ก็ปรากฏขึ้น เขากระโดดขึ้นจากน้ำรีบหนีขึ้นต้นไม้ใหญ่ได้พบรวงผึ้งซึ่งมีน้ำผึ้งหยดลงมาเป็นครั้งคราว เขากำลังจะอ้าปากรองรับหยดน้ำผึ้งก็บังเอิญเหลียวไปเห็นงูใหญ่สองตัวชูคอแผ่พังพานมองมายังเขาอย่างปองร้าย เขาตกใจจะวิ่งหนี แต่ด้วยความกระหายอยากในรสน้ำผึ้งจึงยอมเสี่ยงชีวิตอ้าปากรองรับหยดน้ำผึ้งท่ามกลางอสรพิษทั้งสอง เขาดื่มน้ำผึ้งด้วยกายและใจที่ประหวั่นพรั่นพรึง

ดูก่อนผู้แสวงสัจจะ! น้ำผึ้งท่ามกลางปากอสรพิษทั้งสองฉันใด โลกียสุขก็ฉันนั้น มันอยู่ระหว่างอันตรายนานาประการ ความตายเหมือนช้างใหญ่ที่ดักหน้าคนทุกคนอยู่ ทะเลสาบหรือป่าใหญ่อันชุกชุมด้วยสัตว์ร้ายคือสังสารวัฏ ภพอันเป็นที่เวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลายผู้มีกิเลสยังไม่สิ้น อสรพิษคืออันตรายรอบด้านแห่งผู้ซึ่งติดพันอยู่ในโลกียสุข น้ำผึ้งระหว่างปากงูคือโลกียสุขนั่นเอง โลกียสุข! น้ำผึ้งระหว่างปากงู!

บางคราวพระศาสดาตรัสเปรียบโลกียสุขเหมือนน้ำผึ้งซึ่งฉาบไล้อยู่ปลายศัตราอันแหลมคม ผู้ลิ้มเลียโดยไม่ระวังย่อมถูกคมศัสตราบาดปากบาดลิ้นอย่างแน่นอน มันเป็นภาวะที่น่าหวาดเสียว น่าสะพรึงกลัวมิใช่หรือ?

ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศกเศร้าเสียใจพิไรรำพัน ความทุกข์กาย ทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ความต้องพลัดพรากจากสิ่งของและบุคคลอันเป็นที่รัก ความต้องประสบกับสิ่งและบุคคลอันไม่เป็นที่รัก ความไม่ได้อย่างใจหวัง เหล่านี้มีประจำอยู่ในมวลมนุษย์และสัตว์โลกทั้งหลาย มันมิใช่โทษแห่งความติดพันในโลกียสุขดอกหรือ? มันมิใช่ภัยในสังสารวัฏดอกหรือ?

แต่ในนิพพานไม่มีโทษเหล่านี้ ไม่มีภัยเหล่านี้ นิพพานเป็นโลกุตรสุข=สุขที่อยู่เหนือโลก ไม่เกี่ยวกับโลก เป็นความสุขที่เกษมปลอดภัย สงบเยือกเย็น ชื่นฉ่ำเกินเปรียบ

บัดนี้ พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะได้ถึงแล้วซึ่งสุขนี้ ท่านรู้สึกเสมือนได้ถอนตนขึ้นจากหล่มเลน เหมือนได้ก้าวขึ้นจากกองถ่านเพลิงเหมือนเคยหลงป่าอันเต็มไปด้วยอันตรายแล้วออกจากป่าได้ดำรงอยู่ในแดนที่ปลอดภัย เชื่อแล้วที่พระบรมศาสดาตรัสว่า “พระนิพพานคือการกำจัดกิเลสเสียได้นั้นเป็นบรมสุข

แอกคู่อันทารุณของวัฏฏะซึ่งครอบใจของส่ำสัตว์และครูดสีให้ชอกช้ำระบมเสมือนแอกคู่บนคอโค ตัวที่เดินเวียนอยู่ในทุ่งกว้าง บัดนี้ได้ถูกปลดออกแล้ว

อะไรเล่าคือแอกคู่นั้น? มันคือความเป็นคู่แห่งโลกียธรรมซึ่งครอบงำจิตใจของโลกิยชนอยู่ เช่น ลาภ เสื่อมลาภ,  ยศ เสื่อมยศ,  นินทา สรรเสริญ,  สุขและทุกข์ ความสมหวัง ผิดหวัง เป็นต้น   ตราบใดที่บุคคลยังตกอยู่ภายใต้การครอบงำของความเป็นคู่แห่งโลกียธรรมนี้ ตราบนั้น ดวงจิตของเขาจะพบกับความสงบสุขที่แท้จริงไม่ได้ ดวงจิตของเขาจะไม่ได้รับอิสรเสรี เขาจะต้องมีดวงใจที่ชอกช้ำระบมเดินวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏภายใต้การครูดสีของโลกียธรรม เฉกเช่นโคคู่เดินวนเวียนอยู่ในทุ่งกว้างพร้อมกับการครูดสีของแอกบนคอ  โคที่ได้รับการปลดแอกแล้วย่อมมีเสรีภาพ, เบาสบาย ท่องเที่ยวไปในที่โคจรได้ตามใจปรารถนา   ทันใด บุคคลผู้ปลดแอกคือโลกียธรรมนี้ออกจากใจของตนได้ก็แล้วฉันนั้น ย่อมได้พบกับเสรีภาพทางจิตอันหาขอบเขตมิได้ มีความสุขสงบอย่างลึกล้ำ แจ่มใสเบิกบานสุดประมาณ แม้ร่างกายจะยังอยู่ในโลกแต่ใจของเขาอยู่เหนือโลกเป็น โลกุตตรจิต  คือจิตที่ถอนออกจากอารมณ์ของโลกได้แล้ว สงบนิ่ง ไม่ขึ้นลง อันโลกียารมณ์จะทำให้หวั่นไหวมิได้ เสมือนสิงโต ราชาแห่งสัตว์มิได้สะดุ้งหวั่นไหวด้วยเสียงแห่งสัตว์ไพร ท่านไม่ติดในลาภ ยศ นินทาและสรรเสริญ เสมือนลมไม่ติดตาข่าย ใบและดอกของปทุมชาติไม่ติดน้ำ ดำรงตนอยู่ในโลกอย่างอิสรเสรีอย่างแท้จริง อันอะไรๆ ครอบงำมิได้ ช่างน่าปรารถนาอะไรเช่นนั้น!  อา! อรหัตผล ยอดแห่งคุณธรรมของเทวดาและมนุษย์

บันทึกทางวิชาการท้ายบทที่ ๔

๑.สุกรขาตา ถ้ำซึ่งมีลักษณะเหมือนสุกรขุด อยู่ทางด้านพระคันธกุฎีที่พระพุทธองค์ประทับ
๒.ภูเขาลูกหนึ่งในห้าลูกที่แวดล้อมนครราชคฤห์อยู่ ราชคฤห์จึงมีนามอีกอย่างหนึ่งว่า เบญจคีรีนคร คำ ‘คิชฌกูฏ’ แปลว่ามียอดคล้ายนกแร้ง คิชฌกูฏห่างออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวเมืองเก่าประมาณ ๓ ไมล์ บางแห่งเรียก คิชฌกูฏ ว่า คิชฌปัพพตะหรือคิชฌบรรพต ปัจจุบันเรียกไศลคีรี
๓.อนาวรณญาณ แปลว่ามีพระญาณไม่ติดขัด, ไม่มีอะไรขวางกั้น, ทะลุปรุโปร่ง
๔.นิรุตติปฏิสัมภิทา เป็น ๑ ในปฏิสัมภิทา ๔
๕.ทิฐิ หรือทฤษฎีของสมณพราหมณ์พวกแรก เทียบลัทธิปรัชญาปัจจุบันคือ ทุนนิยม (Pessimism) พวกที่สองเทียบลัทธิจารวาก (Carvaka) ในอินเดีย หรือกลุ่มลัทธิวัตถุนิยม (Materialism) ทั่วไป ส่วนพวกที่สามเทียบลัทธิปรัชญาไซเรเนอิก (Cyrenaics) ของกรีกสมัยหลังโสกระตีสเล็กน้อย พวกนี้เชื่อว่าไม่มีสิ่งใดดี ไม่มีสิ่งใดเลว, ทุกอย่างมีไว้เพื่อสนองความพึงพอใจของแต่ละคนซึ่งไม่เหมือนกัน
๖.นตฺถิ ขนฺธสมา ทุกฺขา พระไตรปิฎกเล่ม ๒๕ หน้า ๔๒ ข้อ ๒๕
๗.โยนิโสมนสิการ = ตรึกตรองด้วยปัญญาอันสุขุมลุ่มลึก
๘.นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ  พระไตรปิฎกเล่ม ๒๕ หน้า ๔๒ ข้อ ๒๕
๙.มุนิสูตร สุตตนิบาต  พระไตรปิฎกเล่ม ๒๕ หน้า ๒๖๔ ข้อ ๓๑๓
3403  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / Re: วัฒนธรรมร่วมอาเซียน เมื่อ: 02 สิงหาคม 2558 19:51:48
.

วัฒนธรรมร่วมอาเซียน
ตอน นอบน้อม ถ่อมตน

นอบน้อม ถ่อมตน
คนอุษาคเนย์นอบน้อมถ่อมตน เหตุจากมีสำนึกบ่าวไพร่ข้าช่วงใช้ยอมจำนนต่ออำนาจเหนือธรรมชาติ (คือผี) และผู้เป็นนาย

ความนอบน้อมถ่อมตนนี่เอง ทำให้พร้อมยอมตนเป็นผู้น้อยคอยรับใช้ผู้อื่น ปัจจุบันเรียกมีสำนึกบริการ เป็นคุณต่อเศรษฐกิจภาคบริการ

นอบน้อมยอมจำนน
ลักษณะยอมจำนนต่ออำนาจเหนือกว่าของชาวสยาม มีหลักฐานในจดหมายเหตุลาลูแบร์ (ราชทูตฝรั่งเศสที่เดินทางไปอยุธยาเข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์ ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๒๑๙๙-๒๒๓๑) ดังนี้
“ความสุภาพเรียบร้อยเป็นสิ่งจำเป็นแก่ชาวสยาม…

เขาหลีกเลี่ยงต่อการที่จะพูดจาปราศรัยกับชาวต่างประเทศ เพราะพวกเขารู้ว่าถ้าเกิดเรื่องอะไรที่ไม่งามขึ้น พวกเขาจะต้องได้รับการพิจารณาว่าเป็นฝ่ายผิดทั้งนั้น และถ้าเกิดวิวาทกันขึ้นกับชาวต่างประเทศ พวกเขาก็จะเป็นฝ่ายถูกลงโทษเสมอไป

 ฉะนั้นชาวสยามจึงฝึกบุตรของตนให้มีความเสงี่ยมเจียมตัวอย่างที่สุด ด้วยเป็นสิ่งจำเป็นในด้านดำเนินการค้าขาย และจำเป็นจะต้องสงบเสงี่ยมเป็นอย่างยิ่งในยามที่ถูกเกณฑ์ไปทำงานหลวงปีละ ๖ เดือน หรือต่อขุนนางคนใดคนหนึ่งที่ปฏิบัติตามพระบรมราชโองการ.”

นั่ง
ลาลูแบร์บันทึกถึงกิริยาของชาวบ้านกรุงศรีอยุธยาว่าโดยทั่วไปจะนั่งขัดสมาธิ แม้จะมีผู้ยกเก้าอี้มาให้นั่ง เขาก็จะนั่งขัดสมาธิบนเก้าอี้ เพราะไม่กล้านั่งห้อยขาอย่างฝรั่ง ด้วยเห็นว่านั่งไม่เรียบร้อย

กิริยาอาการทั่วไปของชาวบ้านกรุงศรีอยุธยาที่ยอมจำนนอย่างสุภาพที่สุดนั้น ลาลูแบร์สังเกตว่า

“เมื่อตีวงกันอยู่ ชาวสยามจะไม่ลุกขึ้นยืนเป็นอันขาด แต่เขาจะไม่นั่งท่าขัดสมาธิ หากจะยอบกายหมอบลงเพื่อให้ความเคารพซึ่งกันและกัน พวกทาสและพวกบ่าวที่อยู่เบื้องหน้าเจ้าขุนมูลนายของตน และราษฎรสามัญที่อยู่เบื้องหน้าเจ้านาย จะจรดเข่าลงกับพื้นและนั่งทับส้น ศีรษะโน้มมาข้างหน้าเล็กน้อย และพนมมือยกขึ้นเสมอหน้าผาก ชาวสยามที่เดินผ่านบุคคลที่เขาปรารถนาจะให้ความเคารพนบนอบไป เขาจะเดินก้มตัว พนมมือสูงต่ำตามควร”

ยิ้มสยาม
 ยิ้มสยาม เป็นความนอบน้อมอย่างหนึ่ง มีความหมายหลายหลากมากมายไม่จำกัด มีทั้งความหมายดีและไม่ดีที่คนอื่นมักเข้าใจไม่ครบถ้วน ซึ่งต่างจากยิ้มของคนจำนวนมากในโลกที่มีความหมายจำกัด เช่น แสดงความพึงใจเท่านั้น ไม่มีความหมายเป็นอย่างอื่นอีก

เหตุที่ยิ้มสยามมีความหมายมากอย่างนั้น มาจากลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่อยู่ในเขตมรสุม ต้องยอมจำนนต่อธรรมชาติเพราะพึ่งพาน้ำฝนทำกสิกรรม ต้องมีพิธีกรรมแสดงความสุภาพอ่อนน้อมวิงวอนร้องขอต่ออำนาจเหนือธรรมชาติ ให้บันดาลความมั่นคงและความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ทางอาหารการกินให้แก่ตนเองและเผ่าพันธุ์ในชุมชน ซึ่งมียิ้มเป็นการแสดงความอ่อนน้อมอย่างหนึ่งที่สุภาพกว่าหัวเราะ

ยิ้มสุวรรณภูมิ
ยิ้ม เป็นกิริยาของคนทุกเพศทุกวัย แสดงออกทางริมฝีปากและดวงตา บอกความรู้สึกแรกสุดและเก่าแก่สุด คือ อ่อนน้อมถ่อมตัว  ต่อมาก็แสดงออกให้มีความรู้สึกต่างๆ เช่น รัก, ชอบ, เกลียด, เสียดสี, เยาะเย้ย ฯลฯ และมีความหมายต่างๆ กัน

ยิ้มสยาม หมายถึงกิริยาอาการยิ้มของชาวสยาม ที่ประกอบด้วยคนสุวรรณภูมิหลายชาติพันธุ์ที่ล้วนมีลักษณะสังคมวัฒนธรรมร่วมกัน  อย่างเป็นเนื้อเดียวกัน จนแยกออกจากกันไม่ได้ ฉะนั้น ยิ้มสยามย่อมมีที่มาและมีความหมายอย่างเดียวกับยิ้มสุวรรณภูมิ โดยจะแยกเป็นยิ้มสยามโดดๆ ไม่ได้  เพราะยังมียิ้มอื่นๆ ด้วย เช่น ยิ้มลาว, ยิ้มเขมร, ยิ้มพม่า, ยิ้มมอญ, ยิ้มข่า, ยิ้มละว้า, ยิ้มมลายู, ยิ้มจาม, ยิ้มเรอแดว, ฯลฯ

ล้วนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับยิ้มสยามที่มีพื้นฐานจากยอมจำนน มีเรื่องราวปัญหาอะไรก็ยิ้มไว้ก่อน เชื่อว่าปลอดภัย มั่นคง




ข้า, ข้อย
คำใช้เรียกแทนตัวเองที่แสดงความนอบน้อมอย่างยิ่งในประเพณีไทย-ลาว คือ ข้า, ข้อย

ข้า แปลว่า บ่าว, คนรับใช้ บางทีเรียกอย่างเหยียดหยามว่า ขี้ข้า หมายถึงต่ำต้อยยิ่งกว่าข้า

ข้อย แปลว่า ผู้น้อย, บ่าว, คนรับใช้ กร่อนจากคำว่า ข้าน้อย หมายถึงตัวผู้พูดเป็นข้า หรือขี้ข้า ซึ่งไม่มีศักดิ์ศรีอย่างยิ่ง ซ้ำยังเป็นขี้ข้าตัวน้อยๆ แทบไม่มีตัวตน



ที่มา (เรื่อง-ภาพ) : มติชนสุดสัปดาห์ "วัฒนธรรมร่วมอาเซียน (๒๗) นอบน้อม ถ่อมตน" โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ



วัฒนธรรมร่วมอาเซียน
ตอน สงกรานต์

สงกรานต์เป็นพิธีกรรมของศาสนาพราหมณ์ เกี่ยวกับการย้ายราศีของดวงอาทิตย์ จากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ ราวกลางเดือนเมษายนของทุกปี
ราชสำนักโบราณในอาเซียน รับประเพณีสงกรานต์จากพราหมณ์อินเดียเหมือนกันทุกแห่ง ทำพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์เพื่อเสริมอำนาจการปกครอง
สมัยแรกๆ มีอยู่ในราชสำนักเท่านั้น ราษฎรทั่วไปไม่รู้จักสงกรานต์ ครั้นนานเข้าถึงสมัยหลังๆ จึงแพร่หลายสู่ราษฎร แล้วผสมผสานกับประเพณีพื้นเมืองสืบจนปัจจุบัน เช่น รดน้ำ แล้วกลายเป็นสาดน้ำ

สงกรานต์เมษายน
สังกรานติในราศีเมษ คือ เมษสังกรานติ มีความสำคัญในความเชื่ออินเดีย โดยเฉพาะในทางโหราศาสตร์

เนื่องจากพระอาทิตย์ย้ายเข้าสู่ราศีเมษ อันอยู่ในตำแหน่งสูงสุดของจอมฟ้าเหนือศีรษะ พระอาทิตย์จะมีกำลังและความร้อนแรงสูงสุด   นอกจากนี้ราศีเมษยังเป็นราศีสถิตลัคนาของโลกและลัคนาของเมืองตามหลักโหราศาสตร์อินเดีย แต่ในปัจจุบันชาวฮินดูในอินเดียภาคเหนือเน้นความสำคัญของมกรสังกรานติมากกว่า

ส่วนการเปลี่ยนปีนั้น สำหรับปีวิกรามีสัมวัตซึ่งนิยมใช้มากในทางอินเดียภาคเหนือ จะมีการเปลี่ยนปีในช่วงเทศกาลนวราตรีหรือเทศกาลบูชาพระแม่ทุรคาในฤดูวสันต์ อยู่ในช่วงเดือนไจตระ ตกราวปลายมีนาคม-ต้นเมษายน แม้ว่าจะเป็นการเปลี่ยนศักราชของปีสัมวัตอย่างเป็นทางการ แต่พิธีกรรมถูกรวบไปอยู่ในส่วนการบูชาพระแม่ทุรคา ไม่ได้มีพิธีกรรมพิเศษแยกออกมา

สรุปจาก สงกรานต์ ปีใหม่ฮินดู สู่อุษาคเนย์ และไทย ต้นแบบจากชมพูทวีป ในอินเดีย โดย คมกฤช อุ่ยเต็งเค่ง (เชฟหมี) [อาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (ทับแก้ว) ลงใน มติชน ฉบับวันพฤหัสบดีที่ ๑๖เมษายน ๒๕๕๘ หน้า ๑๗]

สงกรานต์มีทุกเดือน
ชาวฮินดูมีสงกรานต์ทุกเดือน
     สงกรานต์ มาจากคำว่า สํกฺรานฺติ (สังกรานติ) ในภาษาสันสกฤตแปลว่า เคลื่อน หรือย้าย ซึ่งความหมายถึง การที่พระอาทิตย์ย้ายราศี
     ราศี คือการแบ่งท้องฟ้าออกเป็นสิบสิบสองส่วนเท่าๆ กัน จะได้ส่วนละ ๓๐ องศา แบ่งชื่อตามดาวจักรราศี
     พระอาทิตย์ เป็นดาวใหญ่ ศูนย์กลางของสุริยจักรวาล เมื่อพระอาทิตย์เคลื่อนย้าย จึงมีผลกระทบต่อสิ่งอื่นๆ ในโลก พระอาทิตย์จะอยู่ในราศีละสามสิบวันโดยประมาณ  ดังนั้น สงกรานต์จึงมีทั้งปี เดือนละหนึ่งครั้ง เรียกตามการย้ายเข้าไปในราศีนั้น ซึ่งจะย้ายประมาณวันที่ ๑๔ หรือ ๑๕ ของเดือน เช่น ย้ายเข้าราศีมังกร เรียก มกรสังกรานติ, เข้าราศีมีน ก็มีนสังกรานติ, เมษ ก็เมษสังกรานติ

สงกรานต์ในไทย ไม่มาจากโหลี
สงกรานต์ไม่ได้มาจากโหลี (Holi) หรือเทศกาลสาดสีในอินเดีย

อ.คมกฤช อุ่ยเต็งเค่ง (คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร) อธิบายว่า
   ๑.โหลี กำหนดวันตามจันทรคติ (ดวงจันทร์) ส่วนสงกรานต์ตามสุริยคติ (ดวงอาทิตย์)
   ๒.โหหลี ไม่เกี่ยวกับพิธีเปลี่ยนศักราช ส่วนสงกรานต์เกี่ยวโดยตรงกับเปลี่ยนศักราช
   ๓.โหลี มีสาดสี เป็นสัญลักษณ์ของพิธีเจริญพืชพันธุ์เพื่อความอุดมสมบูรณ์ ส่วนสงกรานต์อินเดียไม่มีสาดน้ำ เมื่ออุษาคเนย์รับมาสมัยแรก ก็ไม่มีสาดน้ำ
สาดน้ำเป็นของใหม่เพิ่งมีสมัยอาณานิคม ดั้งเดิมรดน้ำ (ดำหัว) ไม่สาดน้ำ



ชาวบ้านพากันไปยังริมน้ำเพื่อรับปีใหม่ โดยสักการะพระสุริยเทพ (เทพสำคัญที่สุดในช่วงปีใหม่ฮินดู)
บรรดาสตรีกำลังบันลือสังข์ เพื่อต้อนรับพระสุริยเทพและขับไล่สิ่งอัปมงคล ถือหม้อกลัศ
อันเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์และที่สถิตเทพแห่งน้ำหรือพระวรุณ
ภาพนี้จากริมแม่น้ำกษิประ เมืองอุชเชน รัฐมัธยประเทศ


พิธีฉลองปีใหม่ของชาวเตลุคุ (เมืองเชนไน) มีการตกแต่งพื้นด้วยผงสีต่างๆ เรียกว่า รังโคลี
เขียนว่า “นันทะนะ อุคาทิ” หมายความว่า สุขสันต์เทศกาลปีใหม่  ส่วนถาดในมือของหญิงสาว
บรรจุอาหารพิเศษสำหรับเทศกาลอุคาทิโดยเฉพาะ เรียกในภาษากรรนาฏ ว่า เพวุเพลลา (Bevu-Bella)
ประกอบด้วยอาหาร ๖ รส (ขม หวาน เผ็ด เค็ม เปรี้ยว และรสฉุนจัด) ได้แก่ หน่อสะเดา
น้ำตาลอ้อย พริก เกลือ น้ำมะขาม มะม่วงดิบ เพื่อสะท้อนรสชาติของชีวิต ๖ อย่าง
คือ ความเศร้า ความสุข ความโกรธ ความกลัว ความเกลียด และความประหลาดใจ ที่ต้องพบเจอ
ในชีวิตและวางใจให้เสมอในรสเหล่านี้


สตรีอยู่ในขบวนแห่ เรียกว่า “โศภณยาตรา” คือการแห่แหนตามประเพณีในงานมงคล
โดยทูนหม้อ “กลัศ” หรือหม้อแห่งความอุดมสมบูรณ์ ในภาพหม้อเหล่านี้เขียนคำมงคลต่างๆ
เช่น อาโรคยะ-ความไม่มีโรค,  เสวา-การปรนนิบัติรับใช้ เป็นต้น

[ภาพจากหนังสือพิมพ์ The New Indian Express www.newindianexpress.com  คำอธิบายโดย เชฟหมี]

ที่มา (เรื่อง-ภาพ) : มติชนสุดสัปดาห์ "วัฒนธรรมร่วมอาเซียน (๓๒) สงกรานต์" โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ น.๘๓ ฉบับที่ ๑๘๒๗ ประจำวันที่ ๒๑-๒๗ ส.ค.๕๘
3404  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ใต้เงาไม้ / Re: ชีวิต-ผลงาน ครู 'เหม เวชกร' เมื่อ: 02 สิงหาคม 2558 19:33:17
.

ภาพพุทธประวัติ
โดย ครูเหม  เวชกร


ภาพที่ ๑
 เทพเจ้าทุกชั้นฟ้าชุมนุมกันอัญเชิญเทพบุตรโพธิสัตว์ให้จุติมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า


ภาพที่ ๒
ทรงรับคำเชิญ แล้วจุติมากำเนิดในตระกูลกษัตริย์ศากยะ ณ กรุงกบิลพัสดุ์


ภาพที่ ๓
พอประสูติจากพระครรภ์พระมารดา ณ ป่าลุมพินีวัน ก็ทรงดำเนินได้ ๗ ก้าว


ภาพที่ ๔
อสิตดาบสมาเยี่ยม เห็นกุมารประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะก็ถวายบังคม


ภาพที่ ๕
พราหมณาจารย์รับพระลักษณะสมโภชพระกุมาร ถวายพระนามว่า พระสิทธัตถะ


ภาพที่ ๖
ทรงบรรลุปฐมฌานตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ขณะประทับใต้ร่มหว้าในพิธีแรกนาขวัญ


ภาพที่ ๗
ทรงประลองศิลปศาสตร์ยกศรอันหนัก ดีดสายศรเสียงสนั่นกระหึ่มเมือง


ภาพที่ ๘
พระบิดาทรงอภิเษกสมรสพระสิทธัตถะกับพระนางพิมพายโสธรา


ภาพที่ ๙
เสด็จประพาสสวน ทรงเห็นเทวฑูต ๔ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และบรรพชิต


ภาพที่ ๑๐
ทรงสรงสนานน้ำในสระ ราชบุรุษไปทูลว่า พระนางพิมพาประสูติพระโอรสแล้ว


ภาพที่ ๑๑
ทรงเปลื้องสังวาลประทานนางกีสาโคตมีซึ่งสดุดีพระคุณ ขณะเสด็จขึ้นสู่ประสาท


ภาพที่ ๑๒
ตื่นบรรทมกลางดึกเห็นสาวสนมกรมในนอนระเกะระกะ ระอาพระทัยใคร่ผนวช


ภาพที่ ๑๓
เสด็จไปเยี่ยมพระนางพิมพา ซึ่งกำลังบรรทมหลับสนิทเป็นนิมิตอำลาผนวช


ภาพที่ ๑๔
ทรงปลุกนายฉันนะให้ผูกม้ากัณฐกะ เพื่อประทับเป็นพาหนะเสด็จออกบรรพชา


ภาพที่ ๑๕
พระยามารห้ามบรรพชาว่า อีก ๗ วันจะได้เสวยสมบัติบรมจักรแต่ไม่ทรงฟัง


ภาพที่ ๑๖
ทรงตัดโมลีถือเพศบรรพชา ณ ฝั่งน้ำอโนมา ฆฏิการพรหมถวายอัฐบริขาร


ภาพที่ ๑๗
เสด็จจาริกผ่านกรุงราชคฤห์ มหาชนเห็นแล้วโจษจันกันทั่วเมือง


ภาพที่ ๑๘
พระเจ้าพิมพิสารเสด็จไปเฝ้า ทูลของปฏิญาณว่าถ้าตรัสรู้แล้วขอให้มาโปรดก่อน


ภาพที่ ๑๙
เสด็จไปศึกษาลัทธิฤาษีชีป่ากับอาฬารดาบส เห็นว่ามิใช่ทางตรัสรู้


ภาพที่ ๒๐
เสด็จถึงอุรุเวลาเสนานิคมอันสงัดเงียบ ทรงพอพระทัยประทับบำเพ็ญเพียรที่นั่น


ภาพที่ ๒๑
ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา ปัญจวัคคีย์เฝ้าปฎิบัติ พระอินทร์ดีดพิณถวายข้ออุปมา


ภาพที่ ๒๒
เช้าวันตรัสรู้ นางสุชาดากับทาสีมาถวายข้าวมธุปายาส โดยสำคัญว่าเทวดา


ภาพที่ ๒๓
ทรงลอยถาด ถาดจมลงไปกระทบกับถาดเดิม ๓ ใบ พญานาคก็รู้ว่าพระพุทธเจ้าจะมาตรัสรู้
 

ภาพที่ ๒๔
เสด็จกลับจากลอยถาด ทรงรับหญ้าคาซึ่งพราหมณ์โสตถิยะถวายในระหว่างทาง


ภาพที่ ๒๕
ทรงลาดหญ้าคาประทับเป็นโพธิบัลลังก์ ตกเย็นพญามารก็กรีฑาพลมาขับไล่


ภาพที่ ๒๖
แม่พระธรณีบิดพระเกศา เกิดเป็นสมุทรธารา พระยามารก็พ่ายแพ้แก่พระบารมี


ภาพที่ ๒๗
พอรุ่งอรุณก็ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เทวดาฝ่ายฟ้อนร่อนรำถวายเป็นพุทธบูชา


ภาพที่ ๒๘
เสด็จไปประทับโคนต้นไทร สามธิดามารมาประโลมล่อให้หลง ก็ไม่ทรงใยดี


ภาพที่ ๒๙
ย้ายไปประทับโคนไม้จิก ฝนตกพรำ พญานาคมาขดขนดปกพระกาย กำบังฝน


ภาพที่ ๓๐
ขณะประทับโคนไม้เกด ท้าวโลกบาลถวายบาตร เทวดาบอกสองพาณิชให้ไปเฝ้า


ภาพที่ ๓๑
สองพาณิชถวายข้าวสัตตุก้อนสัตตุผง แล้วทูลปฎิญาณตนเป็นอุบาสกคู่แรกในโลก


ภาพที่ ๓๒
กลับมาประทับโคนต้นไทร ท้อพระทัยในอันโปรดสัตว์ สหัสบดีพรหมต้องทูลวิงวอน


ภาพที่ ๓๓
ทรงคำนึงเห็นอุปนิสัยเวไนยสัตว์เปรียบด้วยดอกบัว ๔ เหล่าจึงรับอาราธนา


ภาพที่ ๓๔
เสด็จพระพุทธดำเนินไปโปรดเบญจวัคคีย์ พบอุปกาชีวกในระหว่างทาง


ภาพที่ ๓๕
ถึงป่าอิสิปตนะ เบญจวัคคีย์เห็นแต่ไกล นัดกันว่าจะไม่ต้อนรับ แต่แล้วก็กลับใจ


ภาพที่ ๓๖
สำแดงปฐมเทศนาธัมมจักกัปปวัตตนสูตรโปรดเบญจวัคคีย์ ให้ได้ดวงตาเห็นธรรม


ภาพที่ ๓๗
ยสกุลบุตรหน่ายสมบัติ เดินไปสู่ป่าอิสิปตนะ พบพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโปรด


ภาพที่ ๓๘
เสด็จไปหาชฎิลอุรุเวลากัสสป ขอพักในโรงไฟ ชฎิลบอกว่ามีนาคร้ายก็ไม่ทรงฟัง


ภาพที่ ๓๙
ทรงทรมานนาคราชร้าย ขดกายพญานาคใส่บาตรให้ชฎิลดู ชฎิลก็ยังไม่เลื่อมใส


ภาพที่ ๔๐
วันหนึ่ง ฝนตักหนัก น้ำท่วม แต่ไม่ท่วมที่ประทับ ชฎิลเห็นอัศจรรย์จึงทูลขอบรรพชา


ภาพที่ ๔๑
พระอุรุเวลกัสสปประกาศตนเป็นพุทธสาวกต่อหน้าพระเจ้าพิมพิสาร ณ สวนตาลหนุ่ม


ภาพที่ ๔๒
พระเจ้าพิมพิสารเลื่อมใส ทรงหลั่งน้ำถวายวัดเวฬุวันเป็นปฐมสังฆาราม


ภาพที่ ๔๓
ท้าวเธอทรงบำเพ็ญกุศลให้พระญาติที่เกิดเป็นเปรต เปรตทั้งหลายต่างโมทนารับส่วนบุญ


ภาพที่ ๔๔
พระโมคคัลลาน์ สารีบุตร อัครสาวกซ้าย-ขวามาทูลขอบรรพชาเป็นเอหิภิกขุ


ภาพที่ ๔๕
พระพุทธองค์ทรงประทาน โอวาทปาติโมกข์แก่พระอรหันต์สงฆ์ในวันเพ็ญมาฆบูชา


ภาพที่ ๔๖
เสด็จไปโปรดพระญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์ พระญาติผู้ใหญ่ถือว่าสูงอายุไม่ถวายบังคม


ภาพที่ ๔๗
ทรงแสดงปาฏิหารย์เหาะให้เห็น หมู่พระญาติก็สิ้นทิฐิมานะถวายบังคมพร้อมกัน


ภาพที่ ๔๘
เสด็จทรงบาตรในเมือง พระนางพิมพายโสธราเห็น จึงชี้ให้พระราหุลดู ตรัสว่า "นั่นคือบิดาของเจ้า"


ภาพที่ ๔๙
พระพุทธบิดาทราบข่าวก็เสด็จมาตัดพ้อ ทูลขอให้เสด็จไปประทับเสวยในวัง


ภาพที่ ๕๐
พระพิมพาพิลาปรำพันถึงพระพุทธองค์ เสด็จพุทธดำเนินไปโปรดถึงในปราสาท


ภาพที่ ๕๑
พระนันทะรับบาตรส่งเสด็จ นางคู่วิวาห์ร้องสั่งให้รีบกลับ พอถึงวัดกลับชวนให้ผนวช


ภาพที่ ๕๒
พระราหุลแสดงความรักซาบซึ้งในพระพุทธองค์ผู้เป็นบิดา จนลืมทูลขอราชสมบัติ


ภาพที่ ๕๓
ทรงมอบสมบัติพระนิพพานแก่พระราหุล โดยให้บรรพชาเป็นสามเณรองค์แรก


ภาพที่ ๕๔
ทรงพานันทะไปชมนางฟ้า พระนันทะใคร่จะได้เป็นชายา ทรงรับรองจะให้สมหวัง


ภาพที่ ๕๕
พระเทวทัตสำแดงฤทธิ์ให้อชาตศัตรูราชกุมารเลื่อมใส เพื่อให้รับเป็นโยมอุปัฏฐาก


ภาพที่ ๕๖
นายขมังธนูซึ่งพระเทวทัตส่งไปฆ่าพระพุทธองค์ ปลงอาวุธ ฟังธรรมสำเร็จมรรคผล


ภาพที่ ๕๗
พระเทวทัตได้สำนึกในความผิดของตน ใคร่ทูลขอขมา แต่ถูกธรณีสูบเสียก่อนเข้าเฝ้า


ภาพที่ ๕๘
พระแม่น้าทูลถวายเฝ้า โปรดให้ถวายอชิตภิกษุ ซึ่งต่อไปจะตรัสรู้


ภาพที่ ๕๙
ทรงห้ามพระญาติฝ่ายพระบิดากับฝ่ายพระมารดาซึ่งแย่งกันทดน้ำเข้านามิให้วิวาทกัน


ภาพที่ ๖๐
พระพุทธบิดาประชวร เสด็จไปโปรดกระทั่งสำเร็จพระอรหันต์แล้วนิพพาน


ภาพที่ ๖๑
พระแม่น้ามหาปชาบดีโคตมี นำนางกษัตริย์บริวารไปทูลขออุปสมบทเป็นภิกษุณี


ภาพที่ ๖๒
ทรงสำแดงยมกปาฏิหาริย์ข่มพวกเดียรถีย์ที่ต้นมะม่วงคัณฑามพฤกษ์


ภาพที่ ๖๓
แล้วเสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อโปรดพระพุทธมารดา


ภาพที่ ๖๔
ถึงวันมหาปวารณา เสด็จลงจากดาวดึงส์โดยบันไดแก้ว บันไดทอง บันไดเงิน


ภาพที่ ๖๕
ครั้นแล้วก็ทรงเปิดโลก บันดาลให้เทวดา มนุษย์ และสัตว์นรกแลเห็นซึ่งกันและกัน


ภาพที่ ๖๖
ครั้งหนึ่งเสด็จไปจำพรรษา ณ ป่าปาเลไล โดยมีช้างกับลิง เป็นพุทธอุปัฏฐาก


ภาพที่ ๖๗
ถึงเพ็ญเดือน ๓ พรรษาที่ ๔๕ พญามารเข้าเฝ้าทูลให้เสด็จปรินิพพานทรงรับอาราธนา


ภาพที่ ๖๘
มีพระพุทธฎีกาตรัสแก่พระอานนท์ว่า ทรงปลงอายุสังขารแล้ว อีกสามเดือนจะนิพพาน


ภาพที่ ๖๙
รุ่งเช้าเสด็จกลับจากทรงบาตร เยื้องพระกายดูกรุงไพศาลี เป็นครั้งสุดท้าย


ภาพที่ ๗๐
เช้าวันเพ็ญเดือน ๖ ทรงเสวยมังสะสุกรอ่อนที่บ้านนายจุนทะ นับเป็นปัจฉิมบิณฑบาต


ภาพที่ ๗๑
เสด็จไปกรุงกุสินารา ทรงกระหายน้ำ โปรดให้พระอานนท์ ไปตักน้ำมาถวาย


ภาพที่ ๗๒
ปุกกุสะบุตรแห่งมัลลกษัตริย์แวะเข้าเฝ้าถวายผ้าเนื้อเกลี้ยงสีทอง


ภาพที่ ๗๓
เสด็จถึงสาลวันกรุงกุสินารา โปรดให้พระอานนท์จัดที่บรรทมระหว่างไม้รังทั้งคู่


ภาพที่ ๗๔
พระอานนท์ไปยืนเหนี่ยวสลักเพชรพระวิหาร ร้องไห้รำพันถึงพระพุทธองค์


ภาพที่ ๗๕
ทรงแสดงธรรมโปรดสุภัททะปริพาชกให้สำเร็จมรรคผล นับเป็นปัจฉิมเวไนย


ภาพที่ ๗๖
ทรงยกพระธรรมวินัยไตรปิฎกเป็นศาสดา ประทานปัจฉิมโอวาทแล้วปรินิพพาน


ภาพที่ ๗๗
พระสงฆ์ปุถุชนได้ฟังข่าวปรินิพพานซึ่งอาชีวกบอกแก่พระมหากัสสปก็ร้องไห้


ภาพที่ ๗๘
พอพระมหากัสสปถวายบังคมบาทพระพุทธศพ เพลิงสวรรค์ก็บันดาล ลุกโชติช่วง


ภาพที่ ๗๙
โทณพราหมณ์แบ่งสรรพระบรมธาตุแก่พราหมณ์และกษัตริย์ ๗ พระนคร


ภาพที่ ๘๐
พระมหากัสสปกับพระอริยสงฆ์ยกปฐมสังคายนา สืบอายุพระศาสนามาถึงบัดนี้.
3405  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ใต้เงาไม้ / Re: ชีวิต-ผลงาน ครู 'เหม เวชกร' เมื่อ: 01 สิงหาคม 2558 18:16:00
.

รวมรูปวาด
ผลงานครูเหม เวชกร















3406  สุขใจในธรรม / เกร็ดศาสนา / การปลงศพ ในประเทศสยาม เมื่อ: 01 สิงหาคม 2558 16:26:39
.

การปลงศพในประเทศสยาม

ชาวสยามปลงศพ (๑)

ผมมีหนังสืออยู่เล่มหนึ่ง ศาสตราจารย์สมภพ ภิรมย์เมตตา ยื่นให้ด้วยมือของท่านเอง เป็นหนังสือเรื่องพระเมรุมาศ ที่ท่านเรียบเรียงขึ้นครั้งแรกสมัยที่ท่านเป็นอธิบดีกรมศิลปากร ท้ายเล่มนั้นมีบทความเขียนโดยศาสตราจารย์คาร์ล ซิกเฟรีด เดอร์ริง (Karl Siegfried Döhring) ใน ค.ศ.๑๙๒๔ หรือราว พ.ศ. ๒๔๖๗ อันเป็นปลายรัชกาลของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาถอดความเป็นภาษาอังกฤษโดย เจ.พี.เอ็ม.บลูมฮาร์ด และ รองศาสตราจารย์ศรีนวล บุณยวัฒน เคยแปลเป็นไทยไว้ ผมจะขอนำบางตอนในภาคไทยและอังกฤษมาใช้เป็นส่วนประกอบของเรื่องที่ผมเขียนขึ้นใหม่นี้ เพื่อเป็นภาคผนวกของเรื่อง “ศพในโกศ”

ศาสตราจารย์เดอห์ริง มาสมัครเข้ารับราชการในประเทศสยาม เป็นสถาปนิกในรัชสมัยรัชกาลที่ ๕ ขณะมีผลงานเยอะอยู่ก็เกิดล้มป่วยลงอย่างหนัก ต้องกลับไปทำการรักษาตัวที่ยุโรป เมื่อหายดีแล้วก็ยังติดใจที่จะกลับมาสยามอีก เพื่อศึกษาค้นคว้าทางด้านศิลปะและสถาปัตยกรรมไทย ตลอดจนการขุดค้นทางโบราณคดี แล้วเขียนหนังสือและบทความไว้ เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการด้านนี้เป็นอย่างสูงในต่างประเทศ ส่วนไทยเราก็ลองอ่านดูก่อนแล้วกันนะครับ

การที่ชอบเที่ยวซอกแซกไปด้วยความอยากรู้อยากเห็นนั้นเอง ทำให้เขามีประสบการณ์ที่ฝรั่งทั่วไปในเมืองไทยคงไม่คิดจะมี แล้วนำไปเขียนบทความเรื่อง “การเผาศพในประเทศสยาม” ซึ่งคนไทยเองยังไม่เคยบันทึกไว้ละเอียดขนาดนี้

คนไทยนั้นรับวัฒนธรรมประเพณีมาจากอินเดีย รวมถึงการเผาศพตามคติพุทธศาสนา ซึ่งพระพุทธสรีระก็ยังถวายพระเพลิงบนพระจิตกาธาน จึงเผาศพแล้วลอยเถ้ากระดูกอังคารลงแม่น้ำสำคัญ เช่น พวกพราหมณ์ หรือ ฮินดู แต่บางครั้งก็เอาศพทิ้งน้ำโดยไม่ได้เผา

แม้ว่าการเผาศพจะเป็นที่นิยมที่สุด แต่สมัยก่อนนั้นก็มีข้อยกเว้นในบางกรณี กล่าวคือผู้ที่เสียชีวิตด้วยโรคติดต่อ เช่น ไข้ทรพิษ อหิวาตกโรค หรือกาฬโรค จะต้องนำศพไปฝังไว้ก่อน หลังจากนั้นไม่เกินสามปีจึงขุดขึ้นมาแล้วเผา ทารกที่ตายในท้องแม่หรือตายก่อนฟันขึ้น รวมทั้งหญิงตายทั้งกลม ก็จะปฏิบัติเช่นเดียวกับที่กล่าวมาแล้ว แต่จะถูกฝังไว้ชั่วระยะเวลาที่สั้นกว่า ก่อนนำมาเผาเท่านั้น

แต่เดิม ศพพวกอาชญากรและพวกนักโทษประหาร ไม่มีการฝัง แต่จะถูกโยนลงแม่น้ำ อีกวิธีหนึ่งคือ ปล่อยศพทิ้งไว้กลางทุ่งเพื่อเป็นเหยื่อแก่ฝูงแร้ง สัตว์เลื้อยคลาน และสุนัขจรจัด แต่จากรัชสมัยรัชกาลที่ ๕ ก็อนุโลมให้มีการเผาศพบุคคลประเภทดังกล่าวด้วย แม้ว่าที่จริงแล้วไม่มีใครเต็มใจจะให้เกียรติจัดการเผาศพคนพวกนั้นเลย สำหรับพวกตายโหง เช่น ตายเนื่องจากโดนคมอาวุธ ตายเพราะจมน้ำ ฟ้าผ่า หรือจากภัยธรรมชาติอื่นๆ จะถูกฝังหมด เพราะในทางพระพุทธศาสนาเชื่อว่า คนที่ตายโหงนั่นเป็นเพราะผลอันเกิดจากการประพฤติชั่ว ทำบาปไว้ในชาตินี้หรือชาติก่อน แล้วผลของกรรมก็ติดตามมาจนหลีกเลี่ยงไม่พ้น

เมื่อบุคคลในครอบครัวป่วยหนักใกล้ตาย จะมีผู้นิมนต์พระสงฆ์มาสวดและแสดงธรรมเทศนาว่าด้วยเรื่องความไม่เที่ยงแท้ของสรรพสิ่งทั้งหลายในโลก พอผู้ป่วยใกล้สิ้นใจ พระจะกระซิบบอกคำว่า “อรหัง อรหัง” ที่ข้างหู ถ้าผู้ที่กำลังจะหมดลมสามารถมีสติเข้าใจได้ก็ถือว่าเป็นการดี เมื่อตายแล้วจะไปสู่สุคติ

ถ้าจิตเกิดหมกมุ่นกับกิเลส เป็นห่วงเป็นใยโน่นนั่นนี่ หรือโกรธแค้นคนโน้นคนนี้ จิตที่ดับระหว่างนั้นก็ไปสู่อบายแน่นอน  ดังนั้น ใครอย่าได้ไปร้องไห้พิร่ำพิไรให้คนที่กำลังจะตายได้ยินเป็นอันขาด เงียบๆ ไว้ ให้โอกาสท่านได้เจริญสติเป็นครั้งสุดท้าย อันนี้ผมว่าเองนะครับ เดอห์ริงไม่ได้ว่า แต่ถ้าหมดลมแล้วจะร้องไห้เป็นการใหญ่อย่างไรก็เชิญ เพราะคงไม่มีผลกับผู้ตายแล้ว

หลังมีการตายเกิดขึ้น คนโบราณจะจุดเทียนขี้ผึ้งปักไว้ที่เตียงเล่มนึง แต่ก่อนเมื่อยังไม่มีอะไรมายืนยันได้ว่าตายจริงหรือตายชั่วคราว อยู่ๆ อาจจะกลับหายใจขึ้นมาอีกก็ได้  ดังนั้น คนโบราณจะใช้การจุดเทียนขี้ผึ้งแล้วเฝ้ารอ ถ้าเทียนดับก็สามารถกระหน่ำเสียงร้องไห้อีกยกนึงได้ เพราะตายแน่ ยังไงๆ ก็ไม่ฟื้นแล้ว



Karl Siegfried Döring

เดอห์ริงเขียนว่า เมื่อเสียงแห่งการเศร้าโศกเสียใจสงบลงแล้ว จึงจะมีพิธีอาบน้ำศพด้วยน้ำเย็น สำหรับศพบุคคลสำคัญนั้น บรรดาญาติพี่น้องทุกคนจะยืนเรียงลำดับตามตำแหน่งยศถาบรรดาศักดิ์และความสำคัญในวงสังคม ทยอยกันเข้าอาบน้ำศพจากขันเงิน ครั้นเสร็จแล้วศพจะถูกขัดถู ลงขมิ้น เครื่องหอม ยางไม้หอม น้ำผึ้ง และขี้ผึ้ง จากนั้นก็กรอกปรอทจำนวนมากลงในปากของผู้ตาย เสร็จแล้วจึงห่อศพให้แน่นแล้วจึงบรรจุลงหีบ

แต่คำว่าอาบน้ำศพของคนโบราณ คือการอาบน้ำชำระล้างสิ่งสกปรกออกจากร่างกายทุกส่วนของศพ โดยจะต้มน้ำแล้วใส่สมุนไพรนานาชนิดที่ให้กลิ่นหอมลงไป หลังจากรอให้น้ำนั้นเย็นลงแล้วจึงเอามาอาบน้ำให้ศพ โดยลูกๆ หลานๆ จะช่วยกันทำ แล้วจึงจัดผ้าจัดผ่อนให้เรียบร้อย ก่อนเชิญญาติสนิทมิตรรักมาร่วมอาบน้ำเย็นธรรมดาอีกครั้ง ก่อนจะนำปรอทมากรอกลงทางปาก ป้องกันไม่ให้ศพเน่าเหม็น แล้วทาขมิ้นชันทั้งตัวให้เหลืองอร่ามเป็นอันเสร็จพิธี  ส่วนการเอาน้ำอบไทยมารดที่มือของศพเรียกว่ารดน้ำศพ นั่นสำหรับแขกทั่วๆ ไปที่มาร่วมแสดงความอาลัยก่อนจะนำเข้าโลง

เมื่อแขกหมดแล้ว พิธีกรจะให้ทายาทหวีผมศพตรงขมับ ขึ้นลง ๓ ครั้ง พร้อมกล่าวว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วหักหวีทิ้งเป็นสองส่วน กันไม่ให้ใครนำไปใช้ต่อ แล้วเอาใส่กระเป๋าเสื้อของศพ เดี๋ยวนี้ก็ยังกระทำกันอยู่ หลังจากนั้นก็นำผ้าขาวมาห่อ เสร็จแล้วมัดตราสังด้วยด้ายดิบเป็น ๕ เปลาะ ตั้งแต่คอเรื่อยลงไปถึงข้อเท้า เป็นปริศนาธรรมทางพระพุทธนา ให้เห็นขันธ์ทั้งห้าที่เป็นบ่วงมัดทุกคนตั้งแต่เกิดจนตาย แต่เหตุผลที่เป็นรูปธรรม คือต้องมัดศพให้แน่น จะได้ไม่ขึ้นอืดจนดันโลงแตก แล้วจึงอุ้มลงโลง
โลงศพส่วนใหญ่ทำจากไม้ทาด้วยน้ำมันชักเงาด้านนอก ส่วนของผู้ที่ร่ำรวยก็ปิดทอง และที่ทำด้วยตะกั่วก็มี เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ผู้ตาย หีบศพจะต้องตั้งไว้บนยกพื้นสูง เมื่อตั้งหีบศพ ประดับประดาด้วยดอกไม้สดและแห้งแล้ว คนมั่งมีก็จะจ้างนางร้องไห้มาพร่ำรำพันสรรเสริญคุณความดีของผู้ตาย ร่ำไห้สะอึกสะอื้นโอดครวญแสดงความเสียใจอย่างใหญ่หลวงที่ผู้นั้นต้องตายจากไป อันนี้เป็นธรรมเนียมที่รับมาจากวัฒนธรรมมอญ เรียกว่า มอญร้องไห้ จะร้องสลับกับวงปี่พาทย์มอญระหว่างที่พระหยุดพักการสวดศพ ทั้งนี้จนกว่าจะมีพิธีการปลงศพ

ทุกๆ วัน พระจากวัดในละแวกใกล้เคียงจะได้รับการนิมนต์มาสวดศพในตอนค่ำ โดยท่านจะนั่งหันหลังชิดฝาถัดจากหีบศพ แล้วก็สวดพระบทคัมภีร์เรื่อง “พระมาลัย” ตอนเดินทางไปสวรรค์และนรก เมื่อจบแล้วพระจะรับประเคนผ้าบังสุกุล ธูป เทียน พร้อมทั้งจตุปัจจัย อุทิศบุญกุศลให้ผู้ตาย

หลังจากนั้นวันสองวัน ศพจึงถูกนำออกมาทางช่องที่เจาะเป็นรูไว้ตรงข้างฝาบ้าน ต่อไปลูกหลานผู้ชายก็ช่วยกันแบกหีบศพ แล้วเดินด้วยก้าวยาวๆ เวียนซ้ายรอบบ้าน ๓ รอบ แล้วจึงรีบนำไปสู่ฌาปนสถาน โดยมากมักจะไปทางเรือ ในประเทศสยามเชื่อกันว่าผู้ตายที่ไปอบายจะเป็นผีกลับมารบกวนญาติพี่น้อง ถ้าไปทางบกผีจะจำทางกลับบ้านได้

เดอห์ริงเขียนต่อไปว่า ช่องที่เจาะไว้ตรงข้างฝาบ้านก็ต้องปิดเสียเพื่อว่าผีจะได้หาไม่พบ เพราะตามที่คนไทยเชื่อกันนั้น ภูตผี และวิญญาณของผู้ตายจะพยายามกลับเข้าบ้านทางช่องที่นำศพออกนั่นแหละ แต่ตามบ้านนอกคอกนาเท่านั้นที่ยังปฏิบัติเช่นนี้อยู่ ในเมืองซึ่งมีกำแพงเมืองใหญ่โตไม่จำเป็นต้องทำเช่นนั้นอีก เพราะผีจะใช้อิทธิฤทธิ์เดินทะลุไปไม่ได้ด้วยว่ามันหนา

เดอห์ริงกล่าวว่าเขาเอาเรื่องจริงมาเล่านะ เพราะมีหลักฐานคำไทยๆ ที่เกี่ยวกับประเพณีนี้อยู่ คือ “ฟันหักประตูผี” (Fan Hak Patupi)  ประตูผี คือช่องที่ถูกเจาะเพื่อนำศพออก ที่เดอห์ริงฟังเขาพูดแล้วนำมาอ้างเช่นนี้ออกจะสร้างความสับสนอยู่ เพราะประตูผีที่เป็นช่องเล็กๆ สำหรับแบกศพออกนอกกำแพงเมืองก็อย่างหนึ่ง แต่สำหรับบ้านก็เป็นอีกอย่าง สมัยก่อนบ้านคนไทยใช้ฝาปะกน ทำด้วยไม้เป็นแผ่นๆ สำเร็จรูปมาประกอบกัน จึงไม่เป็นต้องเจาะ เพียงแต่ถอดชิ้นส่วนบางชิ้นออกก็สามารถเปิดเป็นช่องให้นำศพออกได้ แต่ถ้าเป็นศพผู้หลักผู้ใหญ่แล้ว ก็สามารถถอดฝาเรือนด้านสกัด คือด้านแคบออกได้ทั้งฝาได้โดยไม่ยาก จะนำศพออกจากเรือนทั้งทีต้องให้สมเกียรติเจ้าของเรือนหน่อย ไม่ใช่เจาะช่องเล็กๆ เรียกว่า ประตูผี

ส่วนคำว่าฟันหักประตูผีนั้น คือเสนียดอย่างหนึ่ง หมายความถึงฟันซี่หน้าที่หักไปซี่นึง ยิ้มแล้วเหมือนมีประตูผีอยู่ประดับปาก เกิดขึ้นกับใครละก็ท่านว่าอัปรีย์จัญไรยิ่งนัก ควรจะให้เพื่อนเอาคมแฝกฟาดปากสักผัวะหนึ่ง ให้ฟันหมดไปทั้งแถบจะยังดีเสียกว่า สมัยก่อนคำนี้จะฮิตอย่างไรไม่ทราบ แต่สมัยมีฟันปลอมแล้ว คำว่าฟันหักประตูผีก็สาบสูญไป ผมต้องค้นคว้าซะนานกว่าจะเจอความหมาย

อันที่จริงช่องที่รื้อชั่วคราวเพื่อเอาศพออกจากบ้านโดยเฉพาะ เรียกว่าประตูป่า คนโบราณพอรื้อฝาบ้านออกแล้วยังเอากิ่งไม้ใบดกมาปักรวบเป็นซุ้มไว้ เสร็จสรรพจึงนำศพออกจากบ้านโดยเอาด้านปลายเท้าออกก่อน เพื่อไม่ให้ศพเห็นบ้านได้ ส่วนบันไดที่จะแบกศพลงก็เป็นบันไดชั่วคราวเรียกว่าบันไดผี พอเอาศพลงเสร็จปุ๊บ ก็จะรื้อประตูป่ากับบันไดผีทิ้งปั๊บ แล้วนำฝาบ้านมาประกอบปิดกลับทันที เชื่อว่าวิญญาณคนตายเมื่อเจอกลยุทธ์นี้เข้า ก็จะหาทางกลับเข้าบ้านไม่ได้ ต้องยอมไปอยู่ในโลกของวิญญาณโดยดี นี่แสดงถึงความกลัวผีอย่างขึ้นสมองของคนไทยสมัยโน้น ขนาดผีพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ของตัวเองแท้ๆ ยังโหดกับท่านถึงเพียงนี้

นอกจากนั้น พอเอาศพออกจากบ้านแล้ว ยังมีแถมด้วยการซัดข้าวสารที่ขอให้เกจิอาจารย์เสกให้ พร้อมว่าคาถาอาคมกำกับเพื่อปัดความอัปมงคลให้จากไปพร้อมๆ กับศพ



(ซ้าย) ประตูผี เมืองระนอง  (ขวา) เรือนไทยฝาประกน

ในประเทศสยามสีขาวเป็นสีไว้ทุกข์ บางทีก็สีดำด้วย อย่างไรก็ตามการใช้สีขาวเป็นส่วนใหญ่นั้นเช่นเดียวกับชาวจีนนั่นเอง ผู้ไว้ทุกข์รวมทั้งญาติผู้หญิงและผู้ที่อ่อนกว่าผู้ตายจะแต่งกายสีขาว ส่วนผู้ที่แก่กว่าจะสวม “ผ้านุ่ง” สีดำกับเสื้อสีขาว สมัยก่อนผู้หญิงจะโพกผ้าขาวรอบศีรษะด้วย เมื่อหัวหน้าครอบครัวถึงแก่กรรม สมาชิกในครอบครัวมีอายุน้อยกว่าจะโกนศีรษะทุกคน ถ้าพระเจ้าแผ่นดินสวรรคต คนทั้งประเทศจะแต่งขาว และพวกผู้ชายโกนศีรษะ อย่างไรก็ดี ประเพณีนี้ค่อยๆ หมดไปทุกที

เมื่อนำศพไปถึงเชิงตะกอนแล้ว เจ้าภาพจะมอบให้อยู่ในความดูและของวัด ถ้ามีหีบนอกก็เปลื้องออกก่อน ประเพณีดั้งเดิมต้องเอาเหรียญบาทที่เป็นเงินใส่ไว้ในปากผู้ตายด้วย ในปี ๑๙๒๓ นั้น ๑๐.๘๐ บาท มีค่าเท่ากับ ๑ ปอนด์ สำหรับจ่ายเป็นค่าเผาศพของวัด

เหรียญที่เดอห์ริงกล่าวถึงนี้เรียกว่าเงินปากผี คนไทยจะนำเงินใส่ไว้ในปากศพ ด้วยความเชื่อว่าจะเป็นปริศนาธรรมต่อคนเป็นว่า คนตายแล้วเอาอะไรไปไม่ได้เลยแม้แต่เงินทองที่อยู่ในปาก หากจิตเกิดสลดแล้ว จะได้ละความโลภโมโทสันลงเสียให้เหลือน้อยๆ หน่อย บ้างก็บอกว่า ใส่ไว้เป็นค่าผ่านประตูไปไหว้พระจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หรือใช้ทิปยมทูตผู้นำดวงวิญญาณไปสู่ปรโลก ใช่หรือเปล่าก็ไม่ทราบ แต่ที่แน่ๆ ก็คือ เป็นทิปให้กับสัปเหร่อนั่นแหละ แล้วเงินปากผีนี้ก็มีค่ามากกว่าที่ตัวเลขระบุไว้ เพราะพวกนักเลงจะพากันไปลงอาถรรพ์ทำวัตถุคุณไสยประเภทที่เป็นผลผลิตจากดิรัจฉานวิชาทั้งหลาย

นอกจากเงินปากผี คนโบราณยังมีหมากปากผีอีก โดยจะตำหมากใส่ปากศพเพื่อเป็นปริศนาธรรมว่า นอกจากเอาทรัพย์ไปไม่ได้แล้ว หมากที่คนสมัยก่อนต้องเคี้ยวตลอดทั้งวัน ขาดปากเมื่อไหร่เป็นหงุดหงิดทันทีนั้น พอตายแล้วหมากที่ป้อนเข้าปาก ก็ยังไม่สามารถจะเคี้ยวได้เช่นกัน

ถ้าผู้ตายเป็นผู้สร้างวัดนั้นในขณะยังมีชีวิตอยู่ หรือมีส่วนร่วมในการสร้างก็ดี ศพของผู้นั้นจะมีสิทธิ์ให้ทำการเผาได้บริเวณลานวัดนั้น แต่เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีเงินพอที่จะทำได้ การเผาศพก็ต้องกระทำกันตามวัดที่เคยไปทำบุญเป็นประจำ ในสถานที่ที่คนเอาพระพุทธรูปไปบริจาคไว้ ตรงนี้เดอห์ริงคงหมายถึงป่าช้า

เชิงตะกอนจะถูกทำขึ้นมาพร้อมทั้งมีหลังคาปิดข้างบน คาดไว้ด้วยผ้าดำและขาว แล้วประดับตกแต่งด้วยสีทองและเงิน ซึ่งแน่นอน หลังคาเชิงตะกอนมักเป็นยอดแหลมที่จะต้องสูงมาก จนกระทั่งเปลวไฟพลุ่งขึ้นไปไม่ถึง

ที่เรียกว่าเชิงตะกอนในย่อหน้าบน น่าจะหมายถึงเมรุลอย ที่มีผู้สร้างไว้ให้เช่า โดยทำเป็นชิ้นๆ นำมาประกอบ เสร็จงานก็รื้อไปเก็บไว้รองานหน้า คนธรรมดาคงไม่มีปัญญาจะสร้างเมรุเพื่อใช้เผาศพเพียงครั้งเดียว

เมื่อถึงเวลาเริ่มพิธี พระสงฆ์ก็สวดมนต์ และทันทีที่สวดจบจะมีผู้ต่อยเอาน้ำมะพร้าวอ่อนรดลงบนหน้าศพ แล้วเอากะลาไปวางไว้บนเชิงตะกอน

เดอห์ริงไม่ได้ให้เหตุผลตรงนี้ไว้ แต่ผมใช้อินทรเนตรหา พบว่ามีสองสำนวนสองเหตุผลด้วยกัน สำนวนหนึ่งว่า สมัยก่อนที่ผียังดุอยู่ไม่เหมือนสมัยนี้ สัปเหร่อจะทำพิธีสะกดวิญญาณไม่ให้ผีกลับเข้าร่าง โดยใช้ค้อนทุบลงไปบนกะโหลกคนตาย เพื่อให้ผีจำหน้าของตนเองไม่ได้หรือเห็นแล้วเกิดปลงตก วิญญาณจะได้ไปสู่ที่ชอบๆ ต่อมาญาติพี่น้องลูกหลานคงประท้วงไม่ยอมให้กระทำนี้ จึงเปลี่ยนไปใช้ลูกมะพร้าวเป็นเคล็ด สมมติว่าเป็นศีรษะของคนตาย ทุบลูกมะพร้าวให้แตกดังโพละ แทนพิธีสะกดวิญญาณเดิม ต่อมาคนทั้งปวงเห็นว่าเมื่อทุบแล้วน้ำมะพร้าวไหลลงบนใบหน้าศพ ก็นึกว่ามีจุดประสงค์ที่จะล้างหน้าให้ศพเป็นครั้งสุดท้ายด้วยน้ำอันบริสุทธิ์ แต่ที่ไหนได้พิธีกรรมนี้มีนัยะแอบแฝงที่พิลึกพิลั่นมาก

ส่วนอีกสำนวนหนึ่งผู้เขียนอ้าง หลวงพ่อพุธ ฐานิโย อริยสงฆ์แห่งโคราช เคยเล่าให้ฟังว่า ในสมัยพุทธกาล ครั้งหนึ่งมีเหตุให้พระพุทธองค์ต้องเสด็จผ่านไปยังสถานที่ที่เขากำลังจะเผาศพ แล้วทรงทราบด้วยพระญาณวิถีว่า ศพที่กำลังจะถูกเผานั้นยังไม่ตาย จึงทรงให้ชายผู้หนึ่งเอามะพร้าวอ่อนที่หาได้ ณ ตรงนั้น ทุบเอาน้ำราดลงบนหน้า ร่างที่แน่นิ่งอยู่ก็สำลักน้ำมะพร้าวฟื้นขึ้นมาหายใจได้อีกครั้ง จึงกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของชาวพุทธในเมืองไทย ที่ต้องทำเช่นนั้นก่อนการเผาศพมาจนทุกวันนี้



การเผาศพคนยากไร้ กับคนมีสตางค์ในวัดสระเกศ

เพราะโลงศพมีราคาแพง จึงต้องนำศพออกมาจากโลงก่อนแล้วจึงเผา แต่ถือกันว่าจะเป็นมงคลแก่ผู้ที่มาร่วมพิธีเผาหากจะเผาศพไปทั้งโลง แต่โลงที่ใช้เผานั้นไม่มีพื้นข้างใต้ มีเพียงตะแกรงบนเชิงตะกอนที่วางไว้สำหรับรองรับศพ จากนั้นญาติมิตรของผู้ตายจะพากันนำดอกไม้จันทน์ไปวางสุมไว้บนเชิงตะกอน เมื่อหัวหน้าครอบครัวจุดไฟแล้ว บรรดาญาติมิตรสหายจึงเดินกันเป็นแถว แต่ละคนจุดเทียนเข้าไปเผาศพ ซึ่งด้านข้างของโลงศพจะมีคนคอยฉีดน้ำให้เปียก เพื่อป้องกันมิให้ลุกไหม้มากเกินไปในตอนนั้น

ระหว่างการเผาศพกำลังดำเนินการอยู่ จะมีผู้หยอดน้ำมันหอมลงบนกองเพลิง อันที่จริงการเผากินเวลาค่อนข้างสั้นประมาณครึ่งชั่วโมงเท่านั้น เมื่อเผาเสร็จก็ถึงการเก็บอัฐิอังคาร ถือเป็นเกียรติอย่างสูงแก่ผู้ตาย ถ้าพิธีเผาศพนั้นได้กระทำโดยสมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม มีข้อยกเว้นอยู่บ้างสองสามประการ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ เนื่องจากจะต้องมีการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ พระบรมธาตุพิเศษ เช่น พระเขี้ยวแก้ว หรือพระนลาฏ อันเป็นที่เคารพบูชาสูงสุดจะต้องคงอยู่ในสภาพเรียบร้อย การป้องกันรักษาอัฐิบางชิ้นให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์เช่นนี้ กระทำกันสำหรับบุคคลที่สำคัญยิ่ง โดยเฉพาะเจ้านายชั้นสูงในราชตระกูลเท่านั้น

หลังการเผา อัฐิของผู้ตายจะถูกรวบรวมเก็บไว้ในโกศขนาดเล็ก แล้วนำไปตั้งไว้หน้าพระพุทธรูปในวัด หรือบนที่บูชาส่วนตัว อันนี้เดอห์ริงเข้าใจผิดไปมาก คงไม่มีพระบรมอัฐิหรือพระอัฐิใดๆ ไปตั้งไว้หน้าพระพุทธรูปในวัด นอกจากในเวลาที่อัญเชิญออกมาบำเพ็ญพระราชกุศลในพระบรมมหาราชวังเท่านั้น

สำหรับบุคคลทั่วไป หากผู้ใดมีฐานะการเงินดีพอ ก็มักจะสร้างเจดีย์ขึ้นตรงที่ตำแหน่งที่เผาศพ แล้วนำอัฐิบรรจุไว้ภายใน พระเจดีย์จึงเป็นเสมือนสุสานประจำตระกูลด้วยเวลาเดียวกัน เรามักจะเห็นป้ายหินอ่อนเป็นจำนวนมากบนถาวรวัตถุแบบนี้

ที่กรุงเทพฯ มีหลายวัดซึ่งมีเมรุใหญ่ถาวรสำหรับใช้ในการฌาปนกิจศพ โดยเฉพาะวัดสระเกศและวัดแจ้ง ภายในเมรุเป็นพื้นที่สี่เหลี่ยมจัตุรัสใหญ่ทำด้วยซีเมนต์ หลังคาเป็นยอดแหลมสูง มีทางเข้าออกกว้างขวางทั้งสี่ด้าน ตรงกลางเป็นยกพื้นก่อด้วยอิฐใช้เป็นที่วางกองฟืน ยิ่งกองฟืนสูงมากเท่าใดก็ยิ่งถือกันว่าเป็นเกียรติแก่ผู้ตายมากเท่านั้น

ด้านหลังเมรุปูนวัดสระเกศ จะมีประตูเข้าไปสู่บริเวณที่มีเชิงตะกอนมากมาย ซึ่งใช้เผาศพกันเป็นประจำ บุคคลผู้ไม่สู้ร่ำรวยมักนิยมนำศพไปวัดสระเกศ และเสียเงินค่าทำศพราวสองสามบาท


มีต่อ
ที่มา : คอลัมน์ ประวัติศาสตร์มีชีวิต "ชาวสยามปลงศพ (๑)" โดย หม่อมหลวงชัยนิมิตร นวรัตน  นิตยสารสกุลไทยรายสัปดาห์  
3407  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / Re: ดับคนดัง - วินาทีสังหารบุคคลสำคัญของโลก เมื่อ: 28 กรกฎาคม 2558 17:56:00
.

ดับคนดัง - วันสังหาร
อินทิรา  คานธี แห่งอินดีย (จบ)

อินทิรา คานธี แต่งงานกับ เฟโรย์ คานธี นักกฎหมายหนุ่มเผ่าปารี ซึ่งได้รับการคัดค้านจากบิดาเนห์รู และชาวอินเดียนับล้านคน เพราะเป็นธรรมเนียมของชาวฮินดู ที่ไม่สนับสนุนให้ชนเผ่าฮินดูไปแต่งงานกับชนเผ่าอื่น แต่อินทิราเป็นคนเชื่อมั่นในตัวเอง จึงได้แต่งงาน และเมื่อเธอกลับจากฮันนิมูนกับสามีหนุ่ม เธอก็ถูกอังกฤษจับเข้าคุก ๑๓ เดือน ในข้อหาก่อกวน บ่อนทำลาย

ต่อมาในปี ๒๕๐๓ สามีของเธอถึงแก่กรรม หลังจากที่มีบุตรแล้ว ๒ คน คือ ราจีป และสัญชัย ซึ่งขณะนั้น ทั้งสองมีอายุ ๒๒ และ ๒๐ ปีตามลำดับ และกำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์

เมื่อศาสตรี นายกรัฐมนตรีอินเดียถึงแก่อาสัญกรรม อินทิรา คานธี บุตรคนเดียวของเนห์รู ก็ได้รับเสียงจากพรรคอินเดียคอมเกรสให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค ด้วยคะแนนเสียง ๓๕๕ ต่อ ๑๖๙ การดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคย่อมหมายถึงความรับผิดชอบในการจัดตั้งรัฐบาลอินเดียชุดใหม่ด้วย  ดังนั้น อินทิรา คานธี ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอินเดียในคราวเดียวกัน

การที่ อินทิรา คานธี ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้น มิใช่ว่านางเป็นบุตรีของ เนห์รู หากแต่คุณสมบัติส่วนตัว ซึ่งเพราะเธอเป็นนักบริหารที่เปรื่องปราด เป็นนักการเมืองที่เฉลียวฉลาด เป็นผู้ที่มีศัตรูทางการเมืองน้อยที่สุด มีชื่อเสียงโด่งดัง อยู่ในความนิยมของสมาชิกพรรคคองเกรสโดยทั่วไป

สถานการณ์ที่อินเดียเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ทำให้รัฐบาลต้องแบกภาระหนักยิ่งกว่าสมัยบิดาของเธอ และทุกรัฐบาลที่ผ่านมา เกิดปัญหาความอดอยากของประชากรอินเดียไม่น้อยกว่า ๑๒ ล้านคน พร้อมๆ กับความแห้งแล้งทั่วประเทศ มิหนำซ้ำยังมีเรื่องวิวาทบาดหมางระหว่างกลุ่มศาสนามากมาย โดยเฉพาะอิสลามกับฮินดู และฮินดูกับซิกข์ ซึ่งขยายออกไปทุกขณะ

อีกทั้งภายนอกประเทศ อินเดียตกอยู่ในวงล้อมของศัตรู จีนคุกคามทางเหนือ ปากีสถานอยู่ทางตะวันตก  อย่างไรก็ดี อินทิรา คานธี ก็สามารถแก้ไขได้อย่างงดงาม และด้วยความสามารถเฉพาะตัว บางครั้งนุ่มนวล บางครั้งแข็งกร้าว จนกระทั่งปี ๑๙๘๔ หลังจากเกิดศึกวิหารทองคำ กับปฏิบัติการบลูสตาร์ ปราบจนราบคาบแล้ว กลับกลายเป็นรอยแค้นของชาวซิกข์ ที่ไม่ยอมให้ใครแตะต้องวิหารทองคำอันศักดิ์สิทธิ์ของเขา

ผลงานของอินทิรา คานธี จึงกลายเป็นเรื่องเศร้า และก่อให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงสะเทือนโลกไปในที่สุด เธอถูกมือปืนชาวซิกข์ ซึ่งเป็นหน่วยอารักขาคุ้มครองของเธอเองสังหาร

อินทิราจบชีวิตในบ้านพักของตัวเอง ปิดฉากชีวิตของนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของอินเดีย เป็นโศกนาฏกรรมที่โลกไม่เคยลืมเลือน





เยาหราล เนห์รู บิดาอินทิรา คานธี กับ มหาตมะ คานธี


อินทิรา คานธี  กับบุตรชายทั้งสอง คือ ราจีป และ สัญชัย คานธี


อินทิรา คานธี  เข้าพิธีแต่งงานกับ เฟโรย์ คานธี

ที่มา : คอลัมน์ บันทึกวันวาร โดย สังคีต จันทนะโพธิ นิตยสารสกุลไทย
3408  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / Re: ดับคนดัง - วินาทีสังหารบุคคลสำคัญของโลก เมื่อ: 28 กรกฎาคม 2558 17:49:53
.


อินทิรา  คานธี นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของอินเดีย

ดับคนดัง - วันสังหาร
อินทิรา  คานธี แห่งอินดีย

๓๑ ตุลาคม ๑๙๘๔
ขณะนั้น เพิ่งจะ ๐๙.๑๖ น. ที่บ้านพักของท่านนายกรัฐมนตรีอินเดีย ที่ถนนซิบดาจัง  อินทิรา คานธี ในชุดส่าหรีสีส้ม เดินออกจากบ้านพักพร้อมฝ่ายอารักขา และกลุ่มนักข่าวที่มารอทำข่าวสัมภาษณ์


นายกรัฐมนตรีแห่งอินเดียเดินนำหน้า มีนาเรนทร์ ซิงห์ ถือร่มกันแดดตามมาติดๆ อินทิรา คานธี เดนนำกลุ่มอย่างช้าๆ ผ่านโรงเก็บรถ ซึ่งอยู่ด้านขวามือเพื่อตรงไปยังสำนักงานด้านถนนอัคบา โดยที่ไม่ได้คาดคิดว่าจะมีเหตุร้ายสะเทือนโลกบังเกิดขึ้น แม้คนอื่นๆ ที่ตามมาด้วยก็มิได้คาดฝัน เพราะทุกคนอยู่ภายในบ้านท่านนายกรัฐมนตรีอินเดีย

ที่มุมขวา สี่แยกโรงเก็บรถที่นายกและคณะผ่านมานั้น มีทหารรักษาการณ์ซึ่งเป็นชาวอินโด-ทิเบตอยู่กลุ่มหนึ่งคอยให้การอารักขาอยู่อย่างเคร่งครัด

เมื่อมาถึงประตูที่เปิดออกไปสู่สำนักงานด้านถนนอัคบานั้นเอง บุรุษหนุ่มก็ก้าวออกมาเปิดประตู และทักทายตามปกติ  ณ เวลานั้น ด้านขวามือของกลุ่มท่านนายกรัฐมนตรี มีบุรุษหนึ่งยืนถือปืนสเตนอยู่ เพื่อรักษาความปลอดภัย

เสี้ยวหนึ่งของวินาที บุรุษคนแรกผู้เปิดประตูให้ ควักปืนสั้นขนาด.๓๘ สเปเชียล ออกมากระหน่ำยิงผู้นำอินเดียอย่างเผาขน ทุกคนตกตะลึงด้วยไม่มีใครคาดคิดมาก่อน

สามนัดซ้อนๆ ร่างในเสื้อคลุมส่าหรีของ อินทิรา คานธี ซวนเซไปทางซ้ายด้วยแรงปืน ขณะเดียวกันอีกบุรุษหนึ่ง ผู้ถือปืนสเตนอยู่ด้านขวา ก็กราดกระสุนซ้ำอีกถี่ยิบ เสียงปืนดังดุจเสียงข้าวตอกแตก

อินทิราเซถลาราวกับนกปีกหัก ล้มคว่ำลงกับพื้น เลือดสดทะลักสาดกระจายเต็มพื้นแดงฉาน

ราเมส วาตัส จากหน่วยคุ้มกัน ดูเหมือนจะได้สติก่อนใคร เขากระโดดเข้ามาขวางกั้นร่างของนายกรัฐมนตรีเอาไว้ กระสุนเจาะต้นขาเขา ๓ นัด ล้มคว่ำตามร่าง อินทิรา คานธี ไป  หน่วยคุ้มกันที่เหลือ พอได้สติต่างก็เข้ามาบังร่างของอินทิราไว้ แต่ท่านนายกรัฐมนตรีถูกกระสุนเจาะเข้าที่ร่างหลายสิบนัด และร่างที่ฟุบลงไปก็จมกองเลือด หายใจระรวยอยู่ อ่อนแรงเต็มที เกือบจะดับสิ้นอยู่แล้ว

ขณะเดียวกัน บุรุษเพชฌฆาตผู้ชักปืนมาจ่อยิงอินทิราอย่างเผาขนคนแรก ก็ทิ้งปืนลงกับพื้น พร้อมกับร้องขึ้นว่า
“เราได้ทำในสิ่งที่เราต้องการแล้ว ตอนนี้ท่านต้องทำในสิ่งที่ควรทำ”

แล้วหันมาดึงแขนมือสังหารอีกคน วิ่งหลบเข้าไปอยู่ในตู้ยามอย่างรวดเร็วพร้อมกับทิ้งปืน
“ตามจับมันให้ได้”  ดิเนส บัส หัวหน้าหน่วยคุ้มกันตะโกน
“มันยิงท่านนายก” สิ้นเสียงตะโกนสั่ง เหล่าทหารอินโด-ทิเบต ก็กระจายกำลังล้อมตู้ยาม แล้วกระหน่ำยิงจอมฆาตกรในนั้นล้มคว่ำลงไปทั้ง ๒ คน

ช่วงแห่งความเป็นความตายนั้น ดิเนส บัส รีบนำร่างของ อินทิรา คานธี ส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดที่ถนนซิปตาจัง โดยมีโซเนีย ลูกสะใภ้ตามมาด้วย  นายแพทย์โอเทปพยายามช่วยเหลือโดยปั๊มลมหายใจให้แก่ อินทิรา คานธี อย่างสุดความสามารถ แต่ร่างกายท่านนายกไม่มีอาการตอบสนองเอาเลย กระสุนปืนเปิดแผลเป็นรูกว้าง ทำให้เลือดไหลออกมามาก เป็นเรื่องน่าเศร้าที่สุด ด้วยโรงพยาบาลแห่งนี้ ไม่มีเลือดกรุ๊ปนี้อยู่เลยแม้แต่หยดเดียว

เพื่อต่อชีวิตให้ท่านนายกรัฐมนตรีอยู่รอดต่อไปได้ รถพยาบาลจากโรงพยาบาลรามาโนฮา ไลเชีย ถูกเรียกมารับคนไข้ไปที่สถาบันเอไอไอ เอ็มเอส ซึ่งอยู่ห่างออกไปถึง ๔ กิโลเมตร

และเมื่อไปถึง คนไข้ถูกนำเข้าห้องไอ.ซี.ยู อย่างรวดเร็ว แพทย์ผ่าตัดมือดี ดร.เจเอส กูเลอเรีย ซึ่งเชี่ยวชาญทางผ่าตัด หลังจากตรวจสอบหัวใจ กราฟบอกว่ายังพอมีทาง แพทย์จึงนำคนไข้ขึ้นไปชั้น ๘ ของตึกเป็นการด่วน

แต่คณะแพทย์ได้พยายามอย่างที่สุดโดยใช้เวลาหลายชั่วโมง ตั้งแต่เก้าโมงครึ่งตอนเช้าถึงบ่ายสองโมงครึ่ง ทั้งคลื่นหัวใจและสมองก็มิได้ดีขึ้น มีแต่ลดลงตามลำดับ ในที่สุดก็หยุดนิ่ง

อินทิรา คานธี นายกรัฐมนตรีอินเดีย เสียชีวิตด้วยฝีมือฆาตกรโหด ๒ คนในวันนั้น ทั้งๆ ที่เดินอยู่ในบ้านตัวเอง

ข่าวการเสียชีวิตอย่างโหดเหี้ยมของ อินทิรา คานธี กระจายไปทั่วกรุงเดลี ชาวอินเดียต่างร่ำไห้คร่ำครวญ บางคนทึ้งผมแสดงอาการเสียใจอย่างสุดซึ้ง
นายกของเราตายแล้ว

ห้างร้านต่างๆ พากันหยุดกิจการเพื่อไว้อาลัยแด่ อินทิรา คานธี กันหมดจนกรุงเดลีเงียบเหงาเหมือนเมืองร้าง  ธงชาติถูกลดลงครึ่งเสา สถานีวิทยุโทรทัศน์กระจายข่าวอย่างเศร้าสร้อย



มีชาวอินเดียหลายคนตัดสินใจฆ่าตัวตายตามด้วยการกระโดดเข้ากองไฟและผูกคอตาย บางคนช็อกสิ้นใจทันทีที่ทราบข่าวการตายของ อินทิรา คานธี  หลายคนพยายามฆ่าตัวตาย แต่ตำรวจช่วยเอาไว้ทัน พระผู้ใหญ่จากเมืองอมฤตสารตกตะลึงและเสียใจอย่างสุดซึ้ง

ขณะเดียวกันชาวซิกข์ในแคว้นปัญจาบและต่างประเทศต่างกระโดดโลดเต้นดีใจในการตายของ อินทิรา คานธี พวกเขาจัดงานเลี้ยงฉลองกันเป็นการใหญ่ ทำให้ชาวฮินดูที่กำลังเศร้าโศกโกรธแค้น รวมตัวกันออกลุยชาวซิกข์เป็นการใหญ่

กว่า ๓๐ เมืองที่มีการเข่นฆ่ากันระหว่างฮินดูและซิกข์ ชาวซิกข์ถูกสังหารเป็นจำนวนมาก บ้านเรือนถูกเผา ข้าวของถูกทำลาย ชาวซิกข์หลายคนถูกลากตัวออกมาตัดผม โกนหนวด โกนเคราจนเกลี้ยง แล้วจับเผาประจานทั้งเป็น เหตุร้ายครั้งนี้มีชาวซิกข์ถูกฆ่ากว่าสองพันคน ชาวฮินดูตามเมืองใหญ่ได้รวมตัวกันแล้วบุกเข้าสถานีรถไฟ หยุดรถทุกขบวน แล้วขึ้นไปลากผู้โดยสารที่เป็นซิกข์ลงมาเชือดคอและเผาทั้งเป็น

ชาวซิกข์ที่เหลืออยู่ต่างเข้าไปหลบซ่อนในค่ายลี้ภัยซึ่งมีเจ้าหน้าที่คุ้มกันอย่างแข็งขันในเมือง ถนนทุกสาย ไม่มีชาวซิกข์เดินให้เห็นเลยแม้แต่คนเดียว

ท่ามกลางความเศร้าโศกครั้งใหญ่ ราจีป คานธี บุตรชายของ อินทิรา คานธี ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสืบแทน เขาได้ประกาศภาวะฉุกเฉิน ห้ามผู้คนออกนอกบ้าน (ประกาศเคอร์ฟิวส์) เพื่อป้องกันเหตุร้ายรุกลาม

ประกาศถูกยกเลิกวันเสาร์ที่ ๓ พฤศจิกายน เวลาเช้า ๖ นาฬิกาตรง เป็นการชั่วคราว เพื่อให้ประชาชนได้ไปเคารพศพ อินทิรา คานธี ในวาระสุดท้าย





ร่างอันไร้วิญญาณของอินทิรา คานธี ณ เชิงตะกอนริมฝั่งแม่น้ำยมุนา

ร่างอันไร้วิญญาณของ อินทิรา คานธี นายกรัฐมนตรีผู้ยิ่งใหญ่ของอินเดีย แต่งกายสีขาวนวล คลุมด้วยธงชาติ โปรยด้วยดอกไม้สีขาว นำมาตั้งไว้ที่ คฤหาสน์ทีนมูรติ ซึ่งเป็นบ้านพักของ เยาวหะราล เนรูห์ ถึงวันเสาร์ที่ ๓ พฤศจิกายน เวลา ๑๕.๔๘ น. จึงเคลื่อนย้ายไปเชิงตะกอนริมฝั่งแม่น้ำยมุนา ซึ่ง ณ ที่นั้น ประชาชนกว่าสามล้านคน มายืนเรียงรายเพื่อเคารพศพเป็นระยะทางกว่า ๑๑ กิโลเมตร

แล้ว ราจีป คานธี ก็ใช้คบเพลิงทำจากไม้จันทน์ จุดเพลิงกองฟืนไม้จันทน์ซึ่งชโลมด้วยน้ำมันเนยเป็นคนแรก

เปลวเพลิงลุกไหม้ร่างสตรีเหล็กของอินเดียจนมอดไหม้ ท่ามกลางเสียงร่ำไห้คร่ำครวญอย่างโศกเศร้าแสนสาหัสของประชาชน

จากนั้น ราจีป คานธี ได้นำกระดูกของอินทิรา ขึ้นเครื่องบินไปโปรยบนยอดทิวเขาหิมาลัย สูงเสียดฟ้าที่เต็มไปด้วยน้ำแข็ง ละอองหิมะชั่วนาตาปี ตามความต้องการของมารดา

ส่วนฆาตกรมือปืนสังหาร ถูกทหารอินโด-ทิเบตยิงในป้อมยามนั้น ปรากฏว่าตายเพียงคนเดียว ชื่อ บินซิงห์ ซึ่งเป็นคนแรกที่ชักปืนสั้นออกมาสังหารอินทิรา ส่วนอีกคนที่ยิงซ้ำด้วยปืนกลมือสเตนนั้น อาการแค่สาหัส คนนี้ชื่อ สัตวันต์ เขาได้รับการเยียวยาอย่างดีจนพ้นขีดอันตรายและถูกสอบว่า

“ใครเป็นคนบงการ”

“เรื่องนี้ผมไม่รู้ว่าใครบงการเบื้องหลัง รู้แต่เพียงว่า ในวันที่ ๑๗ ตุลาคม บินซิงห์ได้พูดกับผมในห้องน้ำ ตรงข้ามห้องแต่งตัวของอินทิราว่า ตอนนี้ชาวซิกข์เจ็บแค้น เพราะแผนการบลูสตาร์ ซึ่งเรื่องนี้อินทิรา คานธี จะต้องรับผิดชอบ และเมื่อเป็นการแก้แค้นแทนชาวซิกข์ เราต้องสังหาร อินทิรา คานธี เสีย”

สัตวันต์ ให้การต่อว่า  “เขาเกลี้ยกล่อมผมอยู่หลายนาที ในที่สุดก็ตัดสินใจจะร่วมงานกับเขา  บินซิงห์ นัดให้ไปพบที่วิหารทองคำ ในวันที่ ๒๐ ตุลาคม และคงจะเห็นว่ารับปากกับเขาง่ายเกินไป เขาจึงไม่ยอมไว้ใจผมจนวินาทีสุดท้าย ก่อนจะยิงอินทิรา   บินซิงห์ เป็นคนบอกให้ผมยิง หากผมเปลี่ยนใจ เขาก็จะยิงผมเสีย ซึ่งตอนขณะนั้น บินซิงห์เอาปืนจ่อหัวผมตลอดเวลา จนท่านนายกอินทิราก้าวใกล้ประตู เขามากระซิบบอกผมว่า ‘มาแล้ว แกต้องยิง และระวังอย่าให้กระสุนพลาดไปถูกคนอื่น’ และทั้งๆ ที่ตกลงกับผมไว้เป็นอย่างดีแล้ว พอท่านนายกเดินผ่านประตูมา บินซิงห์ก็ยังไม่ไว้ใจผมอยู่นั่นเอง เขาลงมือยิงเสียเอง ก่อนที่ผมจะยิง ดังที่ทุกคนเห็น”

สิ้นสุดคำให้การของสัตวันต์ ก็สร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าให้แก่รัฐบาล เพราะไม่รู้อยู่ดีว่าใครอยู่เบื้องหลัง

มีการวิจารณ์กันว่า แผนสังหารโหดครั้งนี้ วางแผนที่ห่วยที่สุด แต่ที่ประสบความสำเร็จนั้น ก็เพราะหน่วยคุ้มกันรักษาความปลอดภัยของ อินทิรา คานธี ไร้คุณภาพอย่างที่สุดนั่นเอง

มือปืนทั้งสอง หลังจากลั่นกระสุนแล้วก็มิได้มีแผนหนี ยิงอย่างเดียว ยิงเสร็จแล้วก็หลบไปอยู่ในป้อมยาม หน่วยคุ้มกันก็มัวแต่พะวงนำอินทิราไปโรงพยาบาล ไม่มีใครสนใจฆาตกรแต่อย่างใด จนฆาตกรหลบเข้าไปในป้อมแล้วจึงออกติดตามไป ฆาตกรก็งี่เง่า ไม่ได้วางแผนหนีไว้ก่อนอยู่ซ่อนในป้อมให้ถูกยิง ถูกจับเอาง่ายๆ

เป็นคราวเคราะห์ที่ อินทิรา คานธี จะต้องปิดฉากการต่อสู้บนเวทีโลก เธอจึงจบชีวิตทั้งๆ ที่เดินอยู่ในบ้าน

ต้นตอสาเหตุการสังหารสะเทือนโลกนี้ พอลำดับเหตุการณ์ได้ดังนี้
รัฐเล็กๆ แห่งหนึ่งชื่อปัญจาบ อยู่ทางทิศเหนือของอินเดีย อาณาเขตทิศเหนือจรดรัฐหิมาลัย ตะวันออกจรดฮาร์ยานา ทางใต้จรดราชาสถาน ตะวันตกจรดปากีสถาน รัฐปัญจาบนี้แม้จะเป็นรัฐเล็กๆ แต่ก็เป็นหัวใจของอินเดีย เพราะที่นี่เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ ผลผลิตที่นำไปเลี้ยงคนในรัฐอื่นๆ เกือบทั่วประเทศอินเดีย

ชาวปัญจาบมีรูปร่างสูงใหญ่ ผิวขาว หน้าตาดี เฉพาะสตรีเพศนั้น สวยงามมาก นางเอกภาพยนตร์อินเดียหลายคนมาจากรัฐปัญจาบนี้

ประชากรปัญจาบส่วนใหญ่ ถือศาสนาซิกข์ ซึ่งพวกซิกข์นี้ไม่มีวรรณะ ทุกคนเสมอภาคเท่าเทียมกัน อยู่ร่วมกัน กินด้วยกัน สวดมนต์ร่วมกัน

ซิกข์เป็นขมิ้นกับปูนกับฮินดู ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากในอินเดีย และถูกพวกฮินดูข่มเหงและกลั่นแกล้งต่างๆ นานา เพราะไม่อยากให้มีศาสนาใหม่เกิดขึ้น ด้วยเหตุนี้ซิกข์จึงจำเป็นที่จะต้องป้องกันตัว โดยเริ่มสะสมอาวุธต่างๆ ไว้ รวมทั้งเริ่มการฝึกวิธีใช้อาวุธ เพื่อต่อต้านชาวฮินดูที่เข้ามารังแกด้วย

ต่อมาครูคนสำคัญของชาวซิกข์คนที่ ๔ ชื่อ ครูรามดัส ซึ่งกษัตริย์อัคบาได้พระราชทานทรัพย์ส่วนหนึ่งให้นำมาซื้อที่ดินผืนหนึ่ง มีอาณาเขตกว้างขวางใหญ่โตพอดู ครูรามดัส ลงมือขุดอ่างน้ำขนาดใหญ่ขึ้น แล้วเคลื่อนย้ายสถานที่ตั้งของศาสนาจากหมู่บ้านโตอินวัลมาที่ข้างอ่าง จนบริเวณรอบอ่างน้ำกลายเป็นเมืองใหม่ และเมืองนั้นก็เป็นศูนย์กลางของศาสนาซิกข์ ชาวบ้านเรียกว่า รามดัสจักร

ครูรามดัสได้สร้างวิหารไว้สำหรับประกอบพิธีทางศาสนาในอ่างน้ำนั้นด้วย แต่ก็ไม่ทันสำเร็จ ครูรามดัสสิ้นชีวิตเสียก่อน อาจุน บุตรชายคนเล็กของเขาได้รับตำแหน่งครูซิกข์ คนที่ ๕ และเมื่อได้รับตำแหน่ง อาจุนก็สร้างวิหารต่อจนสำเร็จ

วิหารแห่งนี้แตกต่างจากวิหารทั่วไป โดยฐานของวิหารในระดับที่ต่ำกว่าพื้นดิน มีทางเข้าออก ๔ ทาง ๔ ด้าน และเมื่อสร้างเสร็จพื้นของวิหารจะปริ่มน้ำในอ่างใหญ่พอดี จึงเรียกอ่างน้ำนั้นว่า อมฤตสาร หรือสระน้ำอมฤต ต่อมากลายเป็นชื่อเมือง

ชาวซิกข์ได้พัฒนาตัวเองให้เจริญขึ้นมาพร้อมกับการสะสมอาวุธและฝึกอาวุธไว้ป้องกันตัวเอง โดยเฉพาะปกป้องศาสนาอันเกิดจากการรุกรานทั้งทางตรงและนโยบายทางการเมือง

ศาสนาซิกข์ เป็นปึกแผ่นมั่นคง มีศาสนิกชนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนมากกว่าสิบล้านคนในปัจจุบัน

ในรัฐปัญจาบ มีพรรคการเมืองอยู่หลายพรรค แต่พรรคที่ได้รับเลือกให้เป็นรัฐบาลย่อยครั้งที่สุด คือ พรรคกาลีดาล พรรคนี้เป็นรัฐบาลของรัฐปัญจาบ เป็นปากเสียงให้ชาวซิกข์ เรียกร้องสิทธิต่างๆ มากมายจากรัฐบาลกลางที่เดลี ถ้าข้อเรียกร้องนั้นได้รับการตอบสนองที่ดี ทางพรรคก็จะหาข้อเรียกร้องใหม่มาเสมอๆ แต่ถ้าถูกปฏิเสธจากรัฐบาลกลาง ทางพรรคก็จะสร้างสถานการณ์เพื่อให้เกิดความวุ่นวายทันที

พรรคกาลีดาล เป็นหน้าม้าก่อความวุ่นวายต่างๆ ขึ้นเป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้รัฐบาลของ อินทิรา คานธี หันมาเจรจา แต่ถ้ายังทำเฉยเมย ไม่สนใจต่อไป ข้าราชการและประชาชนที่ไม่ได้รู้เห็นอะไรด้วย มักถูกจับเป็นตัวประกัน ถูกลอบทำร้าย ถูกลอบยิงตายเป็นหมู่ เป็นคณะก็มีหลายครั้งหลายคราว และเหตุการณ์ร้ายแรงนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจจะจัดการอย่างไรก็ไม่ได้ เพราะคนทำเป็นคนของพรรคการเมืองที่มีอำนาจ ใครไปแตะต้องมีหวังถูกย้ายไปอยู่ในป่า อีกประการหนึ่ง ฆาตกรผู้ก่อการร้ายทั้งหลาย เมื่อทำการเสร็จแล้วมักหนีไปซ่อนตัวอยู่ในวิหารต่างๆ ทางศาสนา  พวกตำรวจเข้าไปยุ่มย่ามไม่ได้ โดยเฉพาะในวิหารทองคำที่รัฐปัญจาบอันเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ใครเข้าไปยุ่งไม่ได้เลย



ในวัยเยาว์ อินทิรา คานธี มีความใกล้ชิดกับ มหาตมะ คานธี
เนื่องจาก เยาวหราล เนห์รู บิดาของเธอเป็นผู้ใกล้ชิด
และร่วมเรียกร้องเอกราชให้แก่อินเดีย ร่วมกับมหาตมะ คานธี

เรื่องเป็นเช่นนี้เรื่อยมา จนหนักเข้าเมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน ๑๙๘๔ มีการตกลงแบ่งเขตแดนรัฐปัญจาบ กับรัฐฮายาน่า ซึ่งเป็นปัญหาขัดแย้งกันมานาน โดยทั้งสองรัฐต่างก็เรียกร้องจะเอาเมืองจันดิการ์ ซึ่งมีเขตแดนติดต่อกันระหว่าง ๒ รัฐมาไว้กับตน และคราวนี้รัฐบาลกลางโดย อินทิรา คานธี ได้แบ่งใหม่ ให้ตัวเมืองเป็นของปัญจาบ ส่วนบางท้องที่ที่มีชาวฮินดูอยู่ให้เป็นของฮายาน่าไป แต่เรื่องก็ตกลงกันไม่ได้

นอกจากนั้นพรรคกาลีดาลยังเรียกร้องอีกหลายอย่างหลายประการ ที่สำคัญคือให้ประกาศว่า อมฤตสาร์ คือเมืองอันศักดิ์สิทธิ์ ต้องอยู่เหนือการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญของประเทศ ชาวซิกข์ทุกคนมีสิทธิพิเศษโดยเฉพาะเหมือนกับเป็นดินแดนอิสระ หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ให้แยกไปเป็นดินแดนอิสระ ไม่ต้องขึ้นกับรัฐบาลกลางนั่นเอง  

อินทิรา คานธี ไม่ยอมเล่นด้วย ถึงกระนั้นก็ยังเล่นไม้นวมโดยชวนให้มีการนั่งโต๊ะเจรจา และทบทวนข้อตกลงต่างๆ ในอดีตที่เคยทำเอาไว้สักครึ่งหนึ่งก่อน

พรรคกาลีดาล ปฏิเสธ ดึงดันจะทำตามใจที่ตั้งเอาไว้ให้ได้

อินทิราปฏิเสธเด็ดขาด

ดังนั้น แผนสกปรกทั้งหลายก็ถูกนำมาใช้ โดยพรรคกาลีดาล ตัวการสำคัญสร้างสถานการณ์วุ่นวายขึ้นทั้งภายในและภายนอกรัฐ ลอบฆ่านักการเมืองสำคัญ จี้เครื่องบิน ปล้นรถโดยสาร ลักพาตัวประกัน ฆ่าหมู่ชาวบ้าน ทำให้รัฐปัญจาบแตกแยกเป็นก๊ก เป็นเหล่า ตามที่นักการเมืองปั่นหัว และในที่สุดก็ขัดแย้ง ฆ่าฟันกันเอง

อินทิรา คานธี ผู้นำอินเดียก็ได้หาทางจัดการกับพวกก่อความวุ่นวายอย่างเอาจริงเอาจังแต่ไม่สัมฤทธิผล  ต่อมา ซิง ซาฮิบ เกียนี่ ประทับ ซิงห์  ผู้ยิ่งใหญ่ในวิหารศรีอกัลตักห์   ซาฮิบ ได้ถึงแก่ความตายโดยถูก ภิณ ดรันวัล หนึ่งในผู้ก่อการร้ายสังหาร และการตายของ ประทับ ซิงห์ นี่เอง ทำให้ตำแหน่งสำคัญทางศาสนาว่างลง ภิน ดรันวัล เลยถือโอกาสยึดวิหารทองคำไว้ทั้งหมด ทั้งกำลังคน และอาวุธ เขามีอำนาจสิทธิ์ขาดคนเดียวเหนือวิหารทองคำ เหล่าอาชญากร นักฆ่าอาชีพ ต่างเดินทางมายังวิหารทองคำเพื่อสมัครเป็นกำลังของ ภิน ดรันวัล

ภิน ดรันวัล ได้สร้างสถานศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาให้กลายเป็นปราการสำคัญการสู้รบ ที่รวมอาชญากรร้ายทั้งมวลตั้งแต่บัดนั้น

วาระนั้น การเจรจาต่างๆ จากรัฐบาลกลาง หรือรัฐบาลท้องถิ่นกับพวกคลั่งศาสนาพวกนี้ ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง สถานการณ์ตึงเครียดขึ้นทุกขณะ รัฐมนตรีมหาดไทยขอร้องให้หัวหน้าพรรคกาลีดาล จับตัว ภิน ดรันวัล ส่งทางการเสียเพื่อยุติเรื่องราวโหดต่างๆ ที่เกิดขึ้นติดต่อกันมาหลายปี

แต่คำขอเหล่านี้ไม่เป็นผล  การฆ่า-สังหารยังคงมีอยู่เป็นประจำ หลายศพถูกโยนออกมาจากวิหารทองคำ มาให้เป็นอาหารสุนัขข้างถนนภายนอก

บนดาดฟ้าของวิหาร แต่ละแห่งจะมีมือปืนระดับพระกาฬรักษาการณ์อยู่ พร้อมตลอดเวลาไม่ต่ำกว่า ๒๐๐ คน ที่เป็นมือปืนจากนรกจริงๆ นอกนั้นเป็นอาชญากรที่หนีมาจากรัฐอื่นๆ และพวกคนหนุ่มๆ ที่คลั่งคำสอนของ ภิน ดรันวัล มาสมทบกองกำลังโจรด้วย

เมื่อไม่ว่าทางใดก็ไร้ผล จึงประกาศเอาจริงเรื่องนี้ โดยกล่าวว่า:-
สองสามวันก่อนนั้นได้เกิดการนองเลือดขึ้นที่ปัญจาบ อันเป็นผลเกิดจากการกระทำของผู้ประสงค์ร้าย สร้างสถานการณ์สยองขวัญขึ้นทั่วไป เหมือนจะกดดันให้รัฐบาลสิ้นความอดกลั้น ทางรัฐบาลจึงขอเตือนว่า หากกลุ่มคนเหล่านี้ยังไม่หยุดยั้งการกระทำดังกล่าว ผู้กระทำผิดจะต้องได้รับการลงโทษ

เสียงประกาศขู่ของรัฐบาล ไม่ทำให้เหล่าร้ายในปัญจาบสะดุ้งหวาดกลัว สถานีรถไฟหลายแห่งถูกเผา ชาวฮินดูถูกฆ่าโหดหลายร้อยคน

ดังนั้น รัฐบาลจึงประกาศเคอร์ฟิวในเมืองอมฤตสาร์ เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ๑๙๘๔ และหลังจากประกาศ กำลังทหาร ๗๐,๐๐๐ คน เข้าประจำการจุดสำคัญต่างๆ ทั่วรัฐปัญจาบ โดยเฉพาะรอบๆ วิหารทองคำ มีทหารเข้าไปประจำหนาแน่นเป็นพิเศษ

ความจริงแล้วอินทิราต้องการเพียงแค่ขู่ให้พวกคลั่งศาสนาจนกลายเป็นโจรให้หยุดยั้งการกระทำอันบ้าคลั่ง รัฐบาลคิดผิด เหตุการณ์ร้ายต่างๆ ยังก่อเกิดขึ้นไม่หยุดยั้ง

อินทิราจึงประกาศทางวิทยุและโทรทัศน์ให้กลุ่มต่างๆ ในรัฐปัญจาบเลิกก่อเหตุร้ายเสียแต่ก็ไร้ผล ยังมีเหตุร้ายต่างๆ เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการฆาตกรรม วางเพลิง จี้ ปล้น ทำให้ชาวซิกข์และฮินดู ต้องเสียชีวิตลงเป็นจำนวนมาก และทำให้ประเทศชาติเสียหายใหญ่หลวง สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนามาบัดนี้ได้กลายเป็นแหล่งซ่อมสุมเหล่าอาชญากร คอยทำร้าย เข่นฆ่า ผู้เข้าไปสักการบูชา ทั้งๆ ที่พวกเขาไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้อง รัฐบาลจึงขอเตือนเป็นครั้งสุดท้าย ให้หันหน้าเข้าหากันสำหรับทุกกลุ่ม พูดจากัน และนี่คือโอกาสสุดท้ายแล้ว

เหล่าก่อการร้ายไม่สนใจในคำขู่ของอินทิรา พฤติกรรมเดิมๆ ถูกทำซ้ำเติมหนักเข้าไปอีก

เมื่อมีคำตอบเช่นนี้ รัฐบาลก็สิ้นความอดทน กองพันทหารราบหน่วยรบที่ ๑๒ จากรัฐพิหาร ถูกส่งเข้ามาปฏิบัติการในอมฤตสาร์ โดยคำสั่งของ นางอินทิรา คานธี

แรกๆ หน่วยทหารจากรัฐพิหาร เพียงใช้วิธีรายล้อม ต่อมาเปลี่ยนแผนเป็นไปซ่อนตัวบนยอดตึก ซึ่งมีความสูงไล่เลี่ยกับวิหารทองคำ ต่างฝ่ายต่างคุมเชิงกันอยู่ จนกระทั่ง ๓ มิถุนายน ๑๙๘๔  ฝ่ายรัฐต้องการให้ทุกสิ่งยุติลงโดยปราศจากการนองเลือด จึงประกาศขยายเสียงให้ออกมามอบตัว ประกาศซ้ำแล้วซ้ำอีก และแล้วก็มีคำตอบ คือกระสุนปืนทุกชนิดที่กราดยิงออกมา

นับแต่วินาทีนั้น การเจรจาสันติเป็นอันสิ้นสุดลง

เช้าวันที่ ๔ มิถุนายน ๑๙๘๔ ทางทหารเริ่มตอบโต้ โดยใช้ปืน ๓.๘๗ ซีเอ็ม เมาท์เท่น (C.M.Mountain) แรงทำลายสูง กระหน่ำครั้งแล้วครั้งเล่า แต่เหล่าร้ายกลับตอบโต้ด้วยจรวด อาร์.พี.จี.(Rocket Power Gum) ทำให้ฝ่ายทหารแตกกระเจิง

มาถึงตอนนี้ ทหารต้องใช้เฮลิคอปเตอร์กับรถถังเข้าถล่ม โดยรายล้อมเมืองอมฤตสาร์ไว้ทุกด้าน ปืน รถถัง หันปากกระบอกไปที่วิหารทองคำ พร้อมที่จะระเบิดวิหารศักดิ์สิทธิ์ให้พังทลายในพริบตา ศพเกลื่อนถนน

ชาวซิกข์พากันหวาดวิตกว่าวิหารศักดิ์สิทธิ์ของตนจะถูกทำลาย พากันทำร้ายทุกคนที่ขวางหน้า เล่นงานตำรวจ และทหาร ตำรวจได้รับคำสั่งให้ใช้กระสุนจริง เมื่อมีประชาชนเข้าร่วมด้วย

รัฐบาลเปลี่ยนแผนใช้หน่วยคอมมานโดปฏิบัติการ เข้าจับตัวผู้ก่อการร้ายในวิหารแบบสายฟ้าแลบ ไม่ให้วิหารทองคำเป็นอันตราย การปฏิบัติการเริ่มเมื่อตอนเที่ยงคืน วันที่ ๕ มิถุนายน ๑๙๘๔

คอมมานโด ๔๐ คน สามเสื้อเกราะกันกระสุน บุกเข้าด้านหลังของวิหาร ความมืดทำให้พวกซิกข์ ซึ่งอยู่บนยอดหอคอยมองไม่เห็น พยายามเล็ดลอดเข้าไปในวิหารครูรามดัสลังการ์ ในที่สุดก็จับได้หมด เมื่อตอนฟ้าสางพอดี ตอนนี้เหลือแต่ตัววิหาร และระเบียงรอบสระเท่านั้น ที่ยังยึดไม่ได้

เจ้าหน้าที่คอมมานโด ๔๐ คน เสียชีวิตไป ๓ คน บาดเจ็บ ๑๙ คน นอกนั้นปลอดภัย

คืนต่อมา หน่วยคอมมานโดถูกส่งเข้าไปปฏิบัติการ ณ วิหารทองคำ อันเป็นที่ซ่อนตัวของ ภิน ดรันวัล หัวหน้ากลุ่มผู้คลั่งศาสนา ขณะที่คอมมานโดบุกเข้ามายังวิหารอกัลดักห์ ก็พบกับ ภิน ดรันวัล เกิดการปะทะกัน ภิน ดรันวัล ถูกสะเก็ดระเบิดชิ้นหนึ่งตัดใบหน้า เสียชีวิตในที่ปะทะ

การต่อสู้ดำเนินการต่อไปจนถึงบ่ายวันที่ ๗ มิถุนายน ๑๙๘๔ พวกก่อการร้ายกลุ่มสุดท้ายชูธงขาวเดินออกจากวิหารทองคำ ยอมแพ้ รัฐบาลเป็นฝ่ายชนะ  เป็นอันว่าปฏิบัติการบลูสตาร์สิ้นสุดลงโดยสมบูรณ์

ยึดวิหารได้ พวกคลั่งศาสนาเสียชีวิตร่วมพันคน ทหารเสียชีวิตร่วมสองร้อยคน

รัฐบาลชนะ แต่ปัญหาเรื่องศาสนาของซิกข์ยังไม่จบ การเข้ายึดวิหารทองคำของอินทิราครั้งนี้ สร้างความแค้นเคืองให้แก่ชาวซิกข์เป็นอย่างมาก ซิกข์ทุกคนหาทางแก้แค้นแทนชาวซิกข์ที่เสียชีวิตไป

ฮารินเดอร์ ซิงห์ ทูตประจำกรุงออสโล เป็นชาวซิกข์ผู้หนึ่ง ทำงานให้รัฐบาลอินเดียมาสิบกว่าปี ทันทีที่แผนบลูสตาร์ประสบความสำเร็จเขายื่นใบลาออกทันที ด้วยต้องการล้างแค้นอินทิรา คานธี

ฮารินเดอร์ ซิงห์ เริ่มติดต่อกับ บีน ซิงห์ ฆาตกรคนแรกที่ยิงอินทิรา   บีน ซิงห์ เป็นญาติห่างๆ ซึ่งทำหน้าที่หน่วยรักษาความปลอดภัยของอินทิรา คานธี พร้อมกับส่งเงินมาให้หนึ่งแสนเหรียญดอลลาร์ เพื่อชำระแค้นของเขาให้สำเร็จ

นอกจาก บีน ซิงห์   ฮารินเดอร์ยังได้ทาบทาม บัลไบ ซิงห์ รองสารวัตรตำรวจ หน่วยคุ้มกันความปลอดภัย (รปภ.) ของ อินทิรา คานธี ให้ช่วยทำงานสำคัญให้อีกด้วย

ครั้งแรก วางแผนจะให้ บีน ซิงห์ นำระเบิดไปวางไว้ในห้องทำงาน ซึ่งนายกรัฐมนตรีนั่งเป็นประจำ แล้วใช้รีโมทคอนโทรล แต่ไม่สามารถจะหาได้ ประกอบกับ บัลไบ ซิงห์ เรียกร้องเงินในการนี้สูงเกินไป จึงต้องยกเลิก

อย่างไรก็ตาม การประชุมแบบลับๆ ระหว่างชาวซิกข์ทั้งหลาย มีการประชุมกันเป็นประจำ ที่จะหาทางสังหารนายกรัฐมนตรีอินทิรา คานธี ให้จงได้  ในที่สุด บีน ซิงห์ ก็ได้รับเลือกให้เป็นมือสังหาร

บีน ซิงห์ เป็นคนตำบลบาโลย่า เมืองจันดีการ์ ตามวรรณะ เขาเป็นคนชั้นต่ำ ร่างเตี้ย แต่โชคดีได้เรียนหนังสือจบปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยปัญจาบ ปี ๑๙๗๒ บีนได้รับเลือกให้มาเป็นหน่วยรักษาความปลอดภัยในบ้านพักของ อินทิรา คานธี ตลอดเวลาสิบกว่าปีที่เขาทำงานมา เขาได้รับความไว้วางใจจากผู้บังคับบัญชามาก จวบจนกระทั่ง…

ไม่มีใครคาดคิดว่า เขาจะร่วมมือกับพวกหัวรุนแรง คิดสังหารเจ้านายของตนเองได้

เนื่องจากเขาได้รับเงินจาก ฮารินเดอร์ ซิงห์ ถึงหนึ่งแสนเหรียญดอลลาร์ และถูกเป่าหูจาก บาฮาเดอร์ ซิงห์ ผู้เป็นลุง ซึ่งเป็นข้าราชการบำนาญจากกระทรวงเกษตร และเป็นคนเกลียดฝ่ายรัฐบาลรุนแรง พอวิหารทองคำถูกถล่ม บาฮาเดอร์ ซิงห์ ก็หาทางตอบโต้รัฐบาลโดยหันมายุให้หลานชายดำเนินการโหดครั้งนี้ด้วย

บีน ซิงห์ ได้เลือกเพื่อนร่วมงานคนหนึ่ง ชื่อ สัตวันต์ ซิงห์ หนุ่มวัย ๒๑ ปี จากตำบลอัตวัน ซึ่งเป็นอำเภอชายแดน ห่างจากปากีสถานเล็กน้อย

สัตวันต์ รับราชการเป็นตำรวจ กองพันที่ ๕ เมื่อปี ๑๙๘๒ ต่อมาถูกส่งไปฝึกหลักสูตรคอมมานโด สำเร็จแล้วย้ายมาอยู่กองพันที่ ๒ ซึ่งเป็นหน่วยรักษาความปลอดภัยของนายกรัฐมนตรี ซึ่งแม้สัตวันต์จะรักษาการณ์อยู่ด้านนอก แต่ก็สามารถเปลี่ยนเวรเข้ามารักษาการณ์ภายในได้

สัตวันต์ถูกเกลี้ยกล่อมจาก บีน ซิงห์ จนกระทั่ง ๑๗ ตุลาคม ๑๙๘๔ จึงตอบตกลง ทั้งๆ ที่ตอนนั้น เขากำลังจะแต่งงานอยู่แล้ว  ต่อมาวันที่ ๒๑ ตุลาคม บีนและสัตวันต์ มาพบกันที่วิหารทองคำ เพื่อรับทราบรายละเอียดต่างๆ ในที่ประชุมใหญ่ของพวกหัวรุนแรง พอประชุมเสร็จสัตวันต์ก็เดินทางกลับเดลี โดยมีชายแปลกหน้า ๕ คน ติดตามไปด้วย

เช้าวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๑๙๘๔  บีน ซิงห์ กับ สัตวันต์ ก็ร่วมกันปฏิบัติการโหด โดยลั่นกระสุนสังหารนายกรัฐมนตรีอินทิรา คานธี จนถึงแก่ความตายดังกล่าว  เขาได้ยุติบทบาทของนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของอินเดีย  แม้ตาย แต่โลกจะจดจำเธอไปตลอดกาล

อินทิรา คานธี เกิดในตระกูลสูง มีฐานะดี บิดาเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศอินเดีย ผู้นั้นคือ เยาวหราล เนรูห์  ส่วนมารดาชื่อ กมลา ซึ่งถึงแก่กรรม เมื่ออินทิราอายุ ๑๙ ปี

อินทิรา คานธี เกิด ค.ศ. ๑๙๑๗ ที่เมือง อัลลา ฮาบัต การสูญเสียมารดาไม่ได้ทำให้อินทิราขาดความอบอุ่นในชีวิตแต่อย่างใด เพราะเนรูห์บิดา ได้เอาใจใส่ดูแลเป็นอย่างดี ตั้งแต่วัยเด็ก อินทิรา คานธี ได้ดำเนินชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว ณ คฤหาสน์ของปู่ที่เมืองอัลลา ฮาบัต ในขณะนั้นทั้งบิดา และปู่ และญาติพี่น้อง ที่เป็นชายทุกคนถูกจับขังในเรือนจำ เพราะร่วมในการต่อสู้เพื่ออิสรภาพของอินเดีย

อินทิรา คานธี ได้รับการศึกษาอย่างดีที่สุดเท่าที่กุลสตรีซึ่งเกิดมาในตระกูลมั่งคั่งของอินเดียจะพึงได้รับ  อินทิราศึกษาภาษาต่างประเทศขั้นต้นในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ต่อมาได้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย “ศานตินิ เตตัน” ในอินเดีย หลังจากได้ไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ

แต่อย่างไรก็ตาม ความรู้ที่ได้จากสถานศึกษาต่างๆ ดูเหมือนจะมีความสำคัญน้อยกว่าความรู้ที่ได้รับจากจดหมายหลายฉบับที่บิดาของอินทิราเขียนถึงในระหว่างที่ถูกกักขังในเรือนจำ จดหมายเหล่านั้นพร่ำสอนด้วยวาทศิลป์อันซาบซึ้ง ได้อบรมบ่มนิสัยอย่างละเอียดอ่อน และถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด ตลอดจนอุปนิสัยใจคอจากบิดาไปสู่ลูก โดยที่อินทิราเองอาจไม่รู้สึกตัว

อินทิรา คานธี เล่นการเมืองอย่างจริงจังเมื่ออายุ ๒๑ ปี ได้จัดตั้งสิ่งที่เรียกว่า “หน่วยสื่อสารวานร” เป็นหน่วยที่ถือสารทางการเมืองเล็ดลอดผ่านแนวของอังกฤษ อันเป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้เพื่ออิสรภาพของอินเดีย


3409  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / Re: วัฒนธรรมร่วมอาเซียน เมื่อ: 28 กรกฎาคม 2558 16:07:38
.

วัฒนธรรมร่วมอาเซียน
ตอน ฟ้อนระบำรำเต้น


(แถวบน) คนเต้นท่ากบ รวบรวมจากภาพเขียนสีราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว ที่ผาลาย มณฑปกวางสี
(ภาพคัดลอกโดยสถาบันค้นคว้าทางวิชาการแห่งมณฑปกวางสี ในจีน)
(แถวกลาง) คนเต้นท่ากบ รวบรวมจากภาพเขียนสี ราว ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว พบที่อีสานในไทย
(ภาคคัดลอกของกรมศิลปากร)
(แถวล่าง) คนเต้นท่ากับ บนหัวมีขนนกประดับ นุ่งผ้าปล่อยชายยาวออกไป ๒ ข้าง
กำลังมีการละเล่นในพิธีกรรม ราว ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว ภาพเขียนสีที่ถ้ำ (เขา)
ผาแดง บ้านโป่งหวาย ต.ด่านแม่แฉลบ  อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี (ภาพคัดลอกของกรมศิลปากร)

ฟ้อนระบำรำเต้น
คนอุษาคเนย์กางแขน ถ่างขา ย่อเข่า เป็นหลักในการฟ้อนระบำรำเต้น เรียกสามัญลักษณะ ที่ศัพท์ละครไทยเรียกท่ายืด (ทำเข่าตรง) กับ ท่ายุบ (ทำย่อเข่า)
 
ท่าเต้น ถ่างขา ย่อเข่า เป็นมุมฉาก ได้จากทำเลียนแบบให้เหมือนกบศักดิ์สิทธิ์ เรียกท่ากบ ยกย่องเป็นท่าเต้นศักดิ์สิทธิ์
 
มีหลักฐานภาพสลักตามปราสาทหินในกัมพูชาและไทย เช่น ท่ารำศิวนาฏราช บนหน้าบันปราสาทพนมรุ้ง (บุรีรัมย์) และท่าโนรา, โขน, ละคร (พระ นาง ยักษ์ ลิง) กับ legon ของอินโดนีเซีย

เต้นท่ากบ
ยกมือสองข้าง กางแขนและถ่างขาตั้งฉากคล้ายกบ
 
กบ เป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่บรรพชนคนอาเซียนยกย่องอย่างสูงเมื่อไม่น้อยกว่า ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว เป็นสัญลักษณ์ของกำเนิด เพราะมีรูปร่างเหมือนมดลูกของแม่ และเป็นผู้บันดาลน้ำฝนให้ทำนา
 
มีภาพเขียนสีราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว พบมากที่มณฑลกวางสี ในจีนตอนใต้ หลักแหล่งของพวกจ้วง พูดภาษาตระกูลลาว-ไทย ทำนาข้าวเหนียว ปลูกเรือนเสาสูง
 
ภาพเขียนสีแบบนี้ ยังพบแพร่กระจายบนหน้าผาและผนังถ้ำในไทย ตั้งแต่ภาคอีสาน ถึงภาคกลาง
 
กลุ่มคนทั่วไปบริเวณสองฝั่งโขงบางแห่ง เช่น ในอีสาน ยังเต้นท่ากบทำก้นเตี้ย (โดยธรรมชาติ) เมื่อมีการละเล่นในงานประเพณีพิธีกรรม เช่น เซิ้งบั้งไฟ, โยนโคลน, มวยโบราณ, บวชควาย (คนเล่นเป็นควายในพิธีขอฝน ชื่อนี้ตั้งเรียกใหม่ สมัยโบราณเรียกอย่างอื่น)
 
ฟ้อนยืดยุบ
แอ่นมือสองข้าง กางแขน ย่อเข่า ทำท่าเหมือนยืดขึ้น ยุบลง สลับกัน

ฟ้อนยืดยุบเก่าสุด พบในภาพลายเส้นสลักบนภาชนะโลหะสัมฤทธิ์ ราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว เช่น ขวานสัมฤทธิ์, กลองทองสัมฤทธิ์ (มโหระทึก) ในภาคเหนือของเวียดนาม
 
แบบแผนนาฏยศาสตร์ของอินเดียโบราณ มิได้มีอิทธิพลเหนือแบบแผนการละเล่นเต้นฟ้อนที่มีพัฒนาการบริเวณสุวรรณภูมิในอุษาคเนย์มาแต่ดั้งเดิม
 
ท่าฟ้อนรำศิวนาฏราชที่หน้าบันปราสาทพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์ และที่ปราสาทอื่นๆ ทั้งที่อยู่ในดินแดนไทยและดินแดนกัมพูชา ล้วนแสดงลีลาแตกต่างจากท่ารำของอินเดีย แต่เป็นท่าฟ้อนรำของท้องถิ่น ดังที่มีปรากฏอยู่กับท่าฟ้อนรำของบรรดานางอัปสรทั้งที่ปราสาทนครวัดและปราสาทบายน
 
(ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล, ศาสนาพราหมณ์ในราชอาณาจักรขอม, เรียบเรียงจากบทความของ Kamaleswar Bhattacharya เรื่อง Les Religions Brahmaniques dans I’ Ancien Cambodge d’ apres I’ Epigraphie et I’ Iconographie, คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดพิมพ์, ๒๕๑๖.)
 
ท่ารำ ๑๐๘ จากเมืองจิทัมพรัม (อินเดียใต้) พบไม่มากในประติมากรรมของภูมิภาคอุษาคเนย์ และไม่มีอิทธิพลมากนักในท่าเต้นฟ้อนโขนละครในไทยและในเพื่อนบ้าน ถ้าจะมีบ้างก็เป็นเพียงท่าดิบ, ท่าตาย คล้ายท่านิ่งเล็กๆ น้อยๆ เป็นครั้งคราว ให้เข้ากับเนื้อเรื่องที่ต้องแสดงเป็นมหาเทพองค์สำคัญๆ
 
ฟ้อนรำในนาฏศิลป์อินเดีย แตกต่างกับฟ้อนรำของผืนแผ่นดินใหญ่ภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะมีลักษณะแตกต่างกับฟ้อนรำไทยมากทั้งในจังหวะซึ่งคล่องแคล่วว่องไวรวดเร็วกว่าของไทย และการใช้อวัยวะต่างๆ ซึ่งดูออกจะหนักหน่วงและเด็ดขาดกว่าการใช้อวัยวะในฟ้อนรำไทย ท่ารำต่างๆ ของอินเดียในสมัยก่อน ซึ่งปรากฏเป็นตำรับตำรานั้น หากจะพิจารณาแล้วก็เห็นว่าไม่มีความคล้ายคลึงกับท่ารำของไทย

 
(นาฏศิลป์ไทย โดย ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ธนาคารกรุงเทพ พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๒๖)


มวยโบราณอีสาน มีพื้นฐานเต้นท่ากบอุษาคเนย์


(ซ้าย) โนราตั้งเหลี่ยมเหมือนท่ากบอุษาคเนย์
(ขวา) แม่ทำยักษ์ แม่ทำลิง มีต้นแบบจากท่ากบบนภาพเขียนสี เมื่อ ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว
เป็นท่าพื้นเมืองของอาเซียน ไม่มาจากอินเดีย


ฟ้อนยืดยุบกับแคน ราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว แสดงการละเล่นในพิธีกรรมคือฟ้อนแคนแล้วขับลำนำ
คล้องจองเป็นทำนองง่ายๆ นุ่งผ้าปล่อยชายยาว ๒ ข้าง แล้วประดับขนนกหรือใบไม้ไว้บนหัว
ลายเส้นคัดลอกจากเครื่องมือสัมฤทธิ์ที่พบในเวียดนาม (ลายเส้นและรูปสำเนาขวานสัมฤทธิ์
ได้จากเอกสารวิชาการประวัติศาสตร์โบราณคดีของนักวิชาการฝรั่งเศสและเวียดนาม)


ฟ้อนย่อเข่าแสดงท่ายืดยุบแบบพื้นเมืองของอัปสรนางรำ
ในภาพสลักบนทับหลังปราสาทพิมาย ราวหลัง พ.ศ. ๑๖๐๐


ศิวนาฏราช ทำท่าทรงตัวเป็นสามัญลักษณะของรำพื้นเมืองสุวรรณภูมิในอุษาคเนย์ มีย่อเข่า
แสดงท่ายืดยุบเหมือนท่ากบ มีมืออ่อน นิ้วยาวเหมือนสวมนิ้วปลอมทำด้วยใบตอง ทั้งหมดนี้
ไม่มีในท่ารำของอินเดีย   ภาพสลักราวหลัง พ.ศ. ๑๖๐๐ บนหน้าบันปราสาทพนมรุ้ง บุรีรัมย์

ที่มา (เรื่อง-ภาพ) : มติชนสุดสัปดาห์ "วัฒนธรรมร่วมอาเซียน (๒๔) ฟ้อนระบำรำเต้น" โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ



วัฒนธรรมร่วมอาเซียน
ตอน ผ้าผืนเดียว

ผ้าผืนเดียว
ผ้าผืนเดียว เตี่ยวพันกาย เป็นวัฒนธรรมร่วมของอุษาคเนย์อาเซียนมาแต่ดึกดำบรรพ์ และอาจร่วมทั้งโลก

ผ้าเตี่ยว
เตี่ยว หมายถึง ผ้าผืนเล็ก แต่ยาว หรือผ้าแถบยาว แต่เล็กและแคบ ใช้ห่มพันรอบเอวแล้วตวัดลอดหว่างขาไปเหน็บไว้ข้างหลัง เป็นคำพูดเชิงดูถูกว่ายาจกยากจน

ผู้หญิงโบราณใส่เตี่ยวใช้ซับประจำเดือน



คนนุ่งผ้าปล่อยชายยาวออกไป ๒ ข้าง เป็นต้นเค้าผ้าผืนเดียว (แล้วเรียกผ้าขะม้าทุกวันนี้)
บนหัวมีขนนกประดับ กำลังมีการละเล่นในพิธีกรรม ราว ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว
[ลายเส้นคัดลอกของกรมศิลปากรจากภาพเขียนสีที่ถ้ำ (เขา) ผาแดง บ้านโป่งหวาย
ต.ด่านแม่แฉลบ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี]


ช่างฟ้อนกับแคน นุ่งผ้าปล่อยชายยาว ๒ ข้าง เหมือนผ้าขะม้า แล้วประดับขนนก
หรือใบไม้ไว้บนหัว ราว ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว แสดงการละเล่นในพิธีกรรม
(ลายเส้นคัดลอกจากเครื่องมือสัมฤทธิ์ที่พบในเวียดนาม)


คนนุ่งผ้าปล่อยชายยาว ๒ ข้าง ต้นทางผ้าขะม้า กำลังทำพิธีกรรมเมื่อ ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว
(ลายเส้นคัดลอกจากหน้ากลองมโหระทึกพบที่เวียดนาม)


ม้อยนุ่งเตี่ยว คนพื้นเมืองดั้งเดิม บริเวณพรมแดนลาว-เวียดนาม

ผ้าขะม้า
ผ้าผืนเดียว มีใช้ทั่วไป แต่เรียกชื่อต่างกันตามท้องถิ่น

ผ้าขะม้า เป็นชื่อไทย-ลาว เพี่ยนจากคำเขมรเรียก กรอมมา มีรากคำจากเปอร์เซีย (อิหร่าน) ว่า กะมัรฺ บันด์ (Kamar Band)

[ผ้าขะม้า มีคำอธิบายเก่าว่ากร่อนจากผ้าข่าวม้า เพราะใช้ผ้ามัดเอวห่อหนังสือข่าวสารขี่ม้าไปส่งข่าวอีกฟากหนึ่ง ซึ่งเป็นนิทาน]

คำ Kamar แปลว่า เอว, Band แปลว่า รัด, คาด ตรงกับ รัดประคด ใช้คาดเอว

[จากหนังสือ ความสัมพันธ์ของมุสลิม ทางประวัติศาสตร์และวรรณคดีไทย ของ ดิเรก กุลสิริสวัสดิ์ พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๐๕]



ม้อย กลุ่มชาติพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิมในเวียดนาม นุ่งผ้าปล่อยชายยาว ๒ ข้าง เหมือนผ้าขะม้า
(ภาพนี้เป็นแถวรับเสด็จรัชกาลที่ ๗ เสด็จเวียดนาม เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๓)

ผ้านุ่ง
ต่อมาเอาผ้าผืนเดียว เย็บชายติดกันเป็นถุง เรียก ผ้าถุง, ผ้าซิ่น, ผ้าโสร่ง

ถ้าเป็นผืนยาว เรียก ผ้าหาง ใช้นุ่งโจงกระเบนก็ได้

เป็นพยานว่าโสร่งมิได้เป็นสมบัติของพวกใดพวกหนึ่ง เช่น พม่า, มอญ, มลายู แต่เป็นวัฒนธรรมร่วมของอุษาคเนย์



เครื่องแต่งตัวขบวนเสียมกุกนุ่งโสร่ง บนภาพสลักที่ปราสาทนครวัด
ราว พ.ศ. ๑๖๕๐ (ก่อนมีสุโขทัย ราว ๑๐๐ ปี)

สยามนุ่งโสร่ง
โสร่ง มีทั้งเป็นผ้าพื้นเรียบและทั้งลายแบบผ้านุ่งผู้ไท ซึ่งนุ่งให้เชิงผ้าข้างล่างผายนิดๆ เหมือนโสร่งมอญ-พม่า

แต่สังเกตว่าไม่ได้เพลาะชายผ้าให้เป็นถุง หากเป็นผืน และนุ่งพันแบบมลายู

รอบเอวมีดอกไม้ห้อยเป็นระย้าลงมาเป็นสายยาวเกือบจรดเข่าเหมือนระย้าประดับเอวระบำฮาวาย มือถือหอกหรือทวน และดั้ง

สรุปจากจิตร ภูมิศักดิ์ อธิบายไว้ในหนังสือ ความเป็นมาของคำสยาม, ไทย, ลาว และขอม (มูลนิธิโครงการตำราฯ พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๑๙ หน้า ๑๓๐-๑๕๐)


ที่มา (เรื่อง-ภาพ) : มติชนสุดสัปดาห์ "วัฒนธรรมร่วมอาเซียน (๒๕) ผ้าผืนเดียว" โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ




วัฒนธรรมร่วมอาเซียน
ตอน นั่งยองๆ ชันเข่า

นั่งยองๆ ชันเข่า
คนอุษาคเนย์ในอาเซียน นั่งยองๆ นั่งชันเข่า ตั้งแต่ยุคดั้งเดิมดึกดำบรรพ์ ต่อเนื่องจนปัจจุบัน

นั่งยองๆ คือ นั่งโดยวิธีตั้งเข่าหรือชันเข่าทั้งสองข้างไม่ให้ก้นถึงพื้น

นั่งชันเข่า คือ นั่งก้นติดพื้นโดยวิธียกเข่าทั้งสองข้างตั้งขึ้น



คนพื้นเมืองดั้งเดิมสองฝั่งโขง นั่งยองๆ และนั่งชันเข่าตามสะดวก

นั่งยองๆ ของอุษาคเนย์

นั่งยองๆ เป็นวัฒนธรรมร่วมในการแสดงความนอบน้อมของคนอุษาคเนย์ในอาเซียนสืบมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์นับพันปีมาแล้ว

เมื่อนางมณฑาลงกระท่อมปลายนาของนางรจนากับเจ้าเงาะ เพื่ออ้อนวอนให้ช่วยออกตีคลีพนันในบทละครเรื่องสังข์ทอง พระราชนิพนธ์ ร.๔ เจ้าเงาะแสดงความนอบน้อมเคารพนางมณฑา (ซึ่งเป็นแม่ยาย) โดยนั่งยองๆ พนมมือเหมือนรับศีลจากพระสงฆ์ ดังมีกลอนพรรณนาว่า



นักโทษชาย ๕ คน นั่งยองๆ พนมมือ
[ที่คุกแห่งหนึ่งในย่างกุ้ง ค.ศ. ๑๙๑๐ (พ.ศ. ๒๔๕๓) ภาพจาก www.oldindianphotos.in]

๏ เมื่อนั้น                     เจ้าเงาะทำเหมือนถวายตัวใหม่
เฝ้าแต่แลมาแลไป             ไม่เข้าใจนบนอบหมอบกราน
นั่งยองยองมองดูแล้วปูผ้า      พนมมือเมินหน้าท่าแบกขวาน
ราวกับจะรับศีลสมภาร        พังพาบกราบกรานท่านแม่ยาย



พระสงฆ์นั่งยองๆ เหมือนปลงอาบัติในวันพระใหญ่ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ก่อนเข้าโบสถ์ทำวัตร
(จิตรกรรมฝาผนังใน หอพระไตรปิฎก สมัย ร.๓, ร.๔ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ)


นั่งชันเข่าข้างเดียวของเจ้านาย, ขุนนาง, ข้าราชการ เป็นท่านั่งอย่างนอบน้อมของคนชั้นสูง
ในราชสำนักกัมพูชา ราว พ.ศ. ๑๕๐๐ ในภาพสลักตามปราสาทหินในกัมพูชา
(ภาพโดย ประภัสสร์ ชูวิเชียร คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร)

ท่านั่งยองๆ ตะวันออก-ตะวันตก
คำว่า นั่งยองๆ นั่งพับเพียบ และนั่งงอตัว (รวมถึงการงอตัวของทารกในครรภ์มารดา) ใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษคำเดียวกันคือ squat (กริยา) หรือ squatting(นาม)

อาจเป็นเพราะในโลกตะวันตกไม่มีวัฒนธรรมการแยกท่านั่งในลักษณะดังกล่าว

ต่างจากตะวันออก ซึ่งมีคำศัพท์หลากหลาย แสดงถึงการให้ความสำคัญและการมีมาอย่างยาวนานของวัฒนธรรมการนั่งลักษณะนี้ เช่น

ผู้รู้ภาษามอญ อธิบายว่านั่งยองๆ มีศัพท์ว่า ฮะโจะฮะจุ่น มาจากคำว่า ฮะโจะ แปลว่า นั่ง ฮะจุ่น แปลว่า ยองๆ ซึ่งใช้เฉพาะท่านั่ง ไม่ใช้ในความหมายว่างอตัว

แม้ตะวันตกจะไม่ได้แยกศัพท์ แต่มองว่าท่านั่งลักษณะนี้เป็น ‘วัฒนธรรม’ อย่างหนึ่ง โดยเฉพาะเมื่อมีความเกี่ยวข้องกับทางแพทย์และสาธารณสุข

ดังปรากฏบทความและงานวิจัยจำนวนมากเกี่ยวกับสุขอนามัยของประเทศโลกที่สาม ซึ่งใช้ส้วมแบบที่เรียกว่า ‘ส้วมนั่งยอง'



(ซ้าย) ฤๅษี ๕ ตน นั่งท่าโยคาสนะ บนทับหลังชั้นใน ด้านทิศตะวันออก ของปราสาทประธานที่ปราสาทพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์
อายุราว พ.ศ. ๑๖๕๐ ทับหลังแผ่นนี้จำหลักรูปฤๅษี ๕ ตนประทับนั่งในท่าโยคาสนะ คือท่านั่งชันเข่าทั้งสองข้างแล้วเอาเท้าไขว้กัน
อย่างที่พบเห็นได้ทั่วไปในปราสาทขอม หลายครั้งมักพบว่าจะสลักรูปสายโยคปัฏฏ์รัดไว้ที่หน้าแข้ง แต่ไม่มีในภาพสลักรูปนี้
(คำอธิบายโดย ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ)
(ขวา) โภชาชานียชาดก—ท่านั่งชันเข่าแบบนักบวชและคนชั้นสูง จากลายสลักบนแผ่นหินเรื่องชาดก ในอุโมงค์วัดศรีชุม จ.สุโขทัย
(ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๕ ประมวลจารึกอักษรไทย ภาพลายเส้นจำหลักบนแผ่นหินเกี่ยวกับเรื่องชาดกต่างๆ ในชาดกห้าร้อยชาติ
ที่ประดับไว้ในเจดียย์วัดศรีชุม สุโขทัย, คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๑๕)

นั่งห้อยขา
คนชั้นสูงนั่งห้อยขาข้างหนึ่ง อีกข้างหนึ่งพับไว้ เพราะนั่งบนที่นั่งรองก้นสูงขึ้นกว่าพื้นปกติ เช่น จอมปลวก, โขดหิน, ตั่ง, เก้าอี้, ฯลฯ

ประเพณีอย่างนี้ นักวิชาการอธิบายว่าน่าจะมีต้นแบบจากวัฒนธรรมอินโด-เปอร์เซีย พบหลักฐานเก่าสุดในไทยคือพระพุทธรูปสลักหิน ประทับนั่งห้อยพระบาทสองข้าง (ยุคทวารวดี) พบที่วัดพระเมรุ จ. นครปฐม


ที่มา (เรื่อง-ภาพ) : มติชนสุดสัปดาห์ "วัฒนธรรมร่วมอาเซียน (๒๖) นั่งยองๆ ชันเข่า" โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ


3410  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / Re: 'อาเซียน' เรื่องน่ารู้..ที่คนไทยควรรู้ เมื่อ: 27 กรกฎาคม 2558 13:22:28
.

     บ้าน บรูไน 

หลังจากเปิดประสบการณ์ทำความรู้จักกับเพื่อนบ้านแต่ละประเทศ ที่มีความเชื่อมโยงหลายด้านหลากมิติจนน่าแปลกใจ ทั้งวิถีเทศกาล อาหารหลักอย่างข้าว และการทักทาย

อีกสิ่งหนึ่งซึ่งอาเซียนคล้ายกันมาก คือ "บ้าน"

เริ่มต้นกันที่ประเทศบรูไน แม้ปัจจุบันบ้านเรือนในบรูไนจะเป็นแบบผสมผสานตามค่านิยมตะวันตก แต่หลายพื้นที่ยังนิยมปลูกบ้านแบบ ท้องถิ่น เช่น "โปตองลิมัส" บ้านไม้ใต้ถุนสูงที่ได้รับอิทธิพลมาจากบ้านแบบมลายูของมาเลเซีย ใต้ถุนสูงราว ๑.๕ เมตร สร้างแบ่งเป็น ๕ ส่วน ประกอบด้วยนอกชาน หน้าบ้าน โถงกลาง หลังบ้านซึ่งมักเป็นห้องนอน และห้องครัว

ส่วนบ้านน้ำของเหล่าชาวเลและผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ ริมน้ำและทะเลจะคล้ายกับบ้านของชาวไทยในละแวกป่าชายเลน ทำจากไม้ไผ่และมีใต้ถุนสูง บ้านกลางน้ำที่ขึ้นชื่อและเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญคือ "หมู่บ้านกำปงอะเยอ" บนเกาะลาบวน เป็นหมู่บ้านน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก มี ๒ หมู่บ้าน ได้แก่ กัมปงเบบูลอห์ และ กัมปงปาเตา-ปาเตา มีประชากรราว ๓๐,๐๐๐ คน นอกจากบ้านเรือนแล้วยังมีโรงเรียน สถานที่ราชการ สถานีตำรวจ มัสยิด และปั๊มน้ำมัน



    บ้าน  เวียดนาม

แม้เวียดนามจะมีชนพื้นถิ่นมากกว่า ๕๔ ชาติพันธุ์ แต่บ้านส่วนใหญ่มีลักษณะคล้ายกันมาก นั่นรวมถึงบ้านในอาเซียนตอนบน ทั้งพม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม

ลักษณะเด่นๆ คือ เป็นบ้านไม้ใต้ถุนสูง บางพื้นที่มีหลังคาลาดเอียงและกว้างเพื่อป้องกันฝน บางพื้นที่ทำหลังคาทรงสูงชะลูดเพื่อระบายอากาศร้อนชื้น

บ้านของชาวไตและชาวนุง ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ นิยมปลูกบ้านบนเนินเขาใกล้พื้นที่เพาะปลูกเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาน้ำท่วม

ขณะที่บ้านใต้ถุนสูงแบบชาวเวียต หรือคนเวียดนามท้องถิ่น นิยมปลูกบ้านขนาดกว้างและผนังที่บางหรือทำจากวัสดุที่โปร่งกว่า เพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก เนื่องจากอยู่ในภาคกลางซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่ม บ้านส่วนใหญ่ของชาวเวียตมีบันไดขึ้นสู่ชานบ้าน ๒ ข้าง ซ้าย-ขวา ห้องขวามือมักแบ่งสรรไว้สำหรับจัดตั้งหิ้งบูชาสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่รับรองแขก หรือเป็นส่วนของสมาชิกผู้ชายในครอบครัว และแน่นอนว่าด้านซ้ายเป็นห้องหับที่จัดวางมิดชิดของผู้หญิง

ส่วนบ้านของชาวเหมื่องในเขตภูเขาทางภาคกลางค่อนไปทางเหนือมีลักษณะผสมผสานระหว่างบ้านดั้งเดิมของชาวเวียตและชาวไต



    บ้าน  กัมพูชา - เรือนแขมร์

กัมพูชาจัดเป็นหนึ่งในประเทศที่มีฝีมือการก่อสร้างระดับโลก ดูได้จากศาสนสถานที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก อย่า งนครวัด นครธม การันตีได้ถึงทักษะการปลูกสร้างของบรรพบุรุษชาวกัมพูชาและผู้คนในอาณาจักรเขมรได้เป็นอย่างดี เช่นเดียวกับบ้านแบบดั้งเดิมของชาวเขมรซึ่งแบ่งเป็น ๕ ประเภท ได้แก่ บ้านแขมร์หรือบ้านเขมร โรงหรือเรือนกันเตียง เรือนโรงโดล โรงเดือง และเรือนเพธ

โรงหรือเรือนกันเตียงนิยมสร้างในพื้นที่ติดลุ่มน้ำโขง มีรูปแบบผสมผสานกับวัฒนธรรมจีนที่ถ่ายทอดผ่านการค้าขายล่องแม่น้ำโขงของชาวจีนในอดีต กันตังเป็นภาษาขอมที่แผลงมาจากมณฑลกวางตุ้ง และใช้เรียกแทนชาวจีน เรือนกันตังมีหลังคาหน้าจั่วและเสาสูงเผื่อฤดูน้ำหลาก ด้านในเป็นโถงยาวและมีส่วนห้องแยกสองฝั่ง หรือหลายห้องต่อๆ กันสำหรับเจ้าของเรือนที่มีฐานะร่ำรวย ไม่ก็เป็นขุนนาง

เรือนเพธซึ่งมีหลังคาทรงปั้นหยานั้นได้รับความนิยมสร้างไปทั่วประเทศตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรษที่ ๑๙๕๐ เพราะมีผนังสูงและช่องลมระบายอากาศที่ช่วยให้ภายในบ้านปลอดโปร่ง ไม่ร้อนอบอ้าว

เรือนแขมร์สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่พำนักของขุนนางระดับสูงและพระสงฆ์

ขณะที่โรงโดลเป็นเรือนส่วนขยายด้านหน้าบ้าน ช่วยคลุมโถงและทางเชื่อมจากประตูบ้านสู่ด้านใน คล้ายกับโรงเดืองซึ่งทำหน้าที่เป็นทางเชื่อมเช่นเดียวกับส่วนตกแต่งนอกเรือน



   บ้าน ลาว - เฮือนลาว

เรือน หรือ "เฮือน" บ้านของชาวลาวคล้ายคลึงกับบ้านในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ คือ ไทย พม่า และลาว ส่วนใหญ่เป็นเรือนไม้ใต้ถุนสูงสำหรับหน้าน้ำ เหมาะกับสภาพอากาศร้อนชื้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

"เฮือน" ของชาวลาวจะมีขนาด ๕x๗ เมตร หรือ ๘x๑๒ เมตร ใต้ถุนสูงตั้งแต่ ๑.๕-๒ เมตร พื้นบ้านเป็นไม้แผ่นหรือไม้ไผ่เข้ากับผนัง หลังคามุงด้วยหญ้าและไม้ตามแต่ภูมิ ประเทศจะเอื้ออำนวย ภายในแบ่งเป็นห้องนอน ๒ ห้อง ห้องโถงกลาง ๑ ห้อง พื้นที่ส่วนครัวและชานบ้าน

สถาปัตยกรรมในแต่ละพื้นที่ของลาวแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะในกรุงเวียงจันทน์ หลวงพระบาง และเขตเชียงขวาง ในเวียงจันทน์นิยมสร้างบ้านด้วยไม้กระดานหรือไม้แผ่น เดิมเป็นบ้านชั้นเดียวใต้ถุนสูง แต่ปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ผสมผสานกับบ้านตะวันตก ชั้นล่างต่อเติมเป็นห้องแทนใต้ถุน บ้างใช้ไม้ บ้างใช้ปูน

ขณะที่บ้านของชาว "ลาวพวน" ในเชียงขวางยังคงเอกลักษณ์คือใต้ถุนสูง หลังคาทรงมะนิลามุงด้วยหญ้าคา ถ้ามีฐานะดีมุงด้วยกระเบื้องไม้ ไม้แป้นเกด หรือกระเบื้องดินเผา พื้นและฝาเรือนปูด้วยกระดานไม้ไผ่สีสุกสับแผ่ออกเป็นแผ่นๆ เรียกว่าฟาก



  หลายคนรู้จักหลวงพระบางในฐานะเมืองท่องเที่ยวสำคัญของลาว ด้วยความเป็นเมืองมรดกโลกที่ยูเนสโกขึ้นทะเบียนรับรองเมื่อปี ๒๕๓๘ จากการอนุรักษ์บ้านเรือนหรือ "เฮือน" อันเป็นเอกลักษณ์

ความโดดเด่นที่ว่านี้คือบ้านสไตล์โคโลเนียลที่ได้รับอิทธิพลในช่วงการยึดครองของฝรั่งเศสในช่วงศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ ส่งผลให้บ้านเรือนมีลักษณะผสมผสานระหว่างตะวันออกและตะวันตก บ้านบางหลังสร้างแบบดั้งเดิมตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๔ คือบ้านไม้มีใต้ถุนสูงละม้ายคล้ายเรือนไทยและบ้านโบราณที่ปลูกสร้างในอาเซียนตอนบน

ขณะที่บางหลังเป็นลูกครึ่ง ชั้นล่างก่ออิฐฉาบปูนแบบตะวันตก แต่ชั้นบนเป็นไม้ และอีกแบบถอดสถาปัตยกรรมบ้านโคโลเนียลของฝรั่งเศส โดยมีลักษณะสำคัญ ได้แก่ รูปทรงอาคารเป็นสี่เหลี่ยมแบบสมมาตร เน้นประตูทางเข้าที่กึ่งกลางอาคาร ใช้ชุดเสาสูงเป็นแนวรับชายคาสำหรับป้องกันฝนและแสงแดด ผนังไม้ตีซ้อนเกล็ดสลับกับโครงสร้างปูน และมีระเบียงรายเรียงโดยรอบ

ด้วยความหลากหลายและการอนุรักษ์บ้านแต่ละประเภทให้คงอยู่ในสังคมสมัยใหม่ที่หมุนตามโลก จึงไม่แปลกที่หลวงพระบางจะถูกยกย่องว่าเป็นเมืองที่ได้รับการปกปักรักษาดีที่สุดของภูมิภาคเอเชีย



    บ้าน  อินโดเนียเซีย - รูมาห์อาดัต

ด้วยภูมิประเทศที่เป็นหมู่เกาะน้อยใหญ่มากมาย วันนี้พามาทำความรู้จักบ้านดั้งเดิมของชาวอินโดนีเซีย

บ้านแบบโบราณท้องถิ่นและดั้งเดิมนั้น ชาวอินโดนีเซีย เรียกว่า "รูมาห์อาดัต" รูปแบบการปลูกบ้านส่วนใหญ่คล้ายคลึงกันไม่ว่าจะอยู่ในจังหวัดใดหรือเกาะไหน และยังคล้ายกับบ้านท้องถิ่นของอีกหลายประเทศอาเซียน คือ ใช้ไม้ มีใต้ถุน และหลังคาสูง

ยกตัวอย่างเช่น บ้านเกาะเนียส์ นิยมสร้างเป็นบ้านหลังยาวต่อเนื่องกัน ฐานเป็นไม้ซุงใหญ่หลายต้น ผนังบ้านเป็นไม้ฝาหรือไม้ไผ่ หลังคาทรงสูงมุงใบจาก ใบมะพร้าว หญ้า หรือฟางข้าว เพื่อระบายความร้อน เนื่องจากได้รับลมทะเลและไอร้อนอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี

อีกหลังเรียกว่า "บ้านโบราณปาดัง" หรือ "ปาดังปันจาง" ทางตะวันตกของเกาะสุมาตรา ด้วยเอกลักษณ์หลังคาหน้าจั่ว ทรงสูงปลายแหลม เพื่อให้ฝนไหลชะจากหลังคาได้อย่างรวดเร็ว

ส่วนหมู่บ้านโทราจาบนเกาะสุลาเวสีใต้ นอกจากจะโด่งดังจากพิธีกรรมศพเดินกลับบ้านตามความเชื่อแล้ว ยังมีบ้านรูปร่างสวยเป็นเอกลักษณ์มากๆ คือใต้ถุนสูง หลังคามีปลายหน้าจั่วทั้งหน้าและหลังบ้านสูงชะลูดขึ้นฟ้า เพื่อระบายอากาศให้ถ่ายเท ช่วยให้บ้านโปร่งไม่อับชื้น สามารถเก็บข้าว ปลาอาหารแห้งได้นาน



 มาติดตามเรื่องราวบ้านแบบดั้งเดิมในอินโดนีเซีย  "รูโมห์อาเจะห์" บ้านท้องถิ่นของจังหวัดอาเจะห์ สร้างขึ้นด้วยไม้แผ่นหรือไม้กระดาน หลักๆ แล้วมีส่วนประกอบสำคัญ ๓ ส่วน คือชานระเบียงหน้าบ้าน โถงกลางเรือน และส่วนหลังบ้าน ลักษณะภายนอกคล้ายเรือนไม้ของหลายประเทศในอาเซียน แม้จะไม่มีหลังคาสูงเป็นเอกลักษณ์เหมือนบ้านปาดังปันจางบนเกาะสุมาตรา แต่ชาวบ้านนิยมประดับตกแต่งลวดลายสีสันสดใสคงไว้ซึ่งวัฒนธรรมโดดเด่น

อีกหลังเป็นบ้าน "บาตักรูมา" ของชนชาวบาตักบนเกาะสุมาตราเหนือ ใช้ลักษณะท่าทางการยืนของควายมาเป็นรูปแบบสร้างบ้าน และนิยมใช้กะโหลกส่วนหัวของควายมาประดับไว้บนยอดหลังคา บาตักรูมาแบ่งได้เป็น ๒ แบบ แบบแรกเรียกว่า "ซีวาลูห์ จาบู" กับจุดเด่นของ "อโย อโย รูมาห์" และ "เตอร์เซก" หลังคามุงหญ้าที่มีหน้าจั่วเล็กๆ ซ้อนบนหลังคาอีกชั้นหนึ่ง ส่วนอีกแบบ คือ "บาตัก โตบา" ที่พบมากในเขตชนชาวซีมา ลุนกัน กับหลังคาหน้าจั่วแหลมสูง เล่นลวดลายด้วยสีธรรมชาติ แดง และดำ

ทิ้งท้ายด้วยบ้าน "โอโม นิฮา" บนเกาะเนียส กับรูปแบบหลังคามุงหญ้าที่มีส่วนกลางยกสูงเพื่อระบายอากาศ ส่วนใต้ถุนสูงและเสาไม้ซุงขนาดใหญ่หลายต้นออกแบบมาเพื่อรับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวโดยเฉพาะนั่นเอง



   บ้าน สิงคโปร์

ภาพรวมของสิงคโปร์เป็นสุดยอดประเทศไฮเทคโนโลยีติดระดับโลก มีตึกสูงเสียดฟ้าและสถาปัตยกรรมล้ำสมัย

แต่รู้หรือไม่ว่าอาคารบ้านเรือนจำนวนมากบนเกาะนี้ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมมลายู จีน และอังกฤษ ผสมผสานเป็นสไตล์บ้านเฉพาะตัวแบบสิงคโปร์ ซึ่งแบ่งได้เป็น ๒ ยุค คือยุคก่อนอาณานิคม และยุคอาณานิคม

เริ่มแรกเดิมทีสิงคโปร์อยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรมัชฌาปาหิตแห่งชวา ก่อนจะถูกประมุขแห่งมะละกาครอบครอง บ้านเรือนดั้งเดิมในสมัยนี้จึงมีลักษณะถอดแบบจากเรือนไม้มลายู คือมีตีนเสา ตอม่อ และหลังคามะนิลาหรือหลังคาแบบบรานอร์ บนยอดจั่วมีลวดลายแกะสลักไม้ ขณะที่ยุคอาณานิคม โดยเฉพาะในช่วงที่อังกฤษเข้าครอบครองสิงคโปร์ บ้านเรือนมีการผสมผสานสไตล์โคโลเนียล จากเรือนไม้เปลี่ยนเป็นอาคารปูน

และเนื่องจากสิงคโปร์เป็นเมืองท่าสำคัญ การติดต่อค้าขายจึงเข้ามามีบทบาทกับสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะจีนและอินเดีย อาทิ นากอร์ ดูรกาห์ ศาสนสถานศาสนาอิสลามที่มีกลิ่นอายมัสยิดทางตอนใต้ของอินเดีย วัดฟุกตั๊กกี่ วัดจีนที่เก่าแก่ที่สุดของสิงคโปร์ ส่วนโคโลเนียลสไตล์ที่ขึ้นชื่อและเก่าแก่ เช่น อาคารศาลฎีกาและรัฐสภาหลังเก่า ขณะที่ย่านอาคารร้านค้าขึ้นชื่อเป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานทั้งจีน มลายู และอังกฤษ



   บ้าน พม่า-ชาวชิน

บ้านดั้งเดิมในพม่า กับบ้านของชนพื้นถิ่น "รัฐชิน" ทางภาคตะวันตกของประเทศ

ลักษณะเด่นของเรือนโบราณสไตล์รัฐชิน คือ โครงสร้างหลังคาที่โน้มคลุมโถงหน้า หรือระเบียงด้านหน้าของบ้าน ต่างจากบ้านของชาติพันธุ์อื่น ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะชาวชินอาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าเขา เมื่อเข้าสู่ฤดูมรสุม พายุฝนจะตกหนัก หากใช้โครงสร้างหลังคาแบบหน้าจั่วทั่วไป อาจส่งผลให้ฝนสาดกระเซ็นเข้าบ้าน และก่อให้เกิดความชื้น เสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคภัยไข้เจ็บได้ง่าย

ส่วนประกอบอื่นๆ ของบ้านโดยรวมละม้ายคล้ายกับบ้านไม้ใต้ถุนสูงที่พบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไรก็ตาม ชาวชินนิยมวางบันไดขึ้นสู่ชั้นบนไว้หน้าสุดตรงทางเข้าบ้านและมีหน้าต่างบานใหญ่จนเกือบชิดพื้นเรือน

ดังที่กล่าวไปแล้วว่า เพราะชาวชินอยู่ในป่าซึ่งมีความชื้น ไม่ใช่แค่ชื้นแฉะช่วงหน้าฝนเท่านั้น แต่ยังร้อนชื้นในช่วงฤดูร้อนด้วย เฉลียง ระเบียง หรือชานหน้าบ้าน จึงมีลักษณะเปิดโล่งเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก

และอีกความโดดเด่นของบ้านชาวชิน (ยุคก่อน) จะขาดไม่ได้ คือ โครงกระดูกสัตว์สำหรับตกแต่ง และประกาศศักดาความเป็นพรานป่า อาชีพสำคัญของชาวชิน



    บ้าน  ฟิลิปปินส์

บ้านดั้งเดิมของฟิลิปปินส์ในยุคคลาสสิคและเป็นที่รู้จักกันดี คือ "บ้านโตโรกัน" ของชาวมาราเนา ทางตอนใต้ เรือนตั้งอยู่บนตอไม้หรือเสาไม้สลักขนาดใหญ่ฝังลงดินโดยมีหินกรวดถมทับเพื่อความแน่น ฝาเรือนตั้งสูงจากพื้นเพื่อถ่ายเทอากาศจากความร้อนชื้น หลังคาหน้าจั่วทรงแหลมสูงตั้งตระหง่านกลางเรือน มีชายคาทรงป้านครอบ คลุมพื้นที่ใช้สอยทั้งหมด

ขอบเรือนและพื้นประดับด้วย "ปาโนลอง" ศิลปะพื้นบ้าน เป็นไม้แกะสลักลวดลายต่างๆ ที่นิยมมากได้แก่งูและมังกร

ขณะที่บานหน้าต่างมีขนาดเล็กเพื่อป้องกันพายุฝนซัดสาด ส่วนบันไดขึ้นเรือนซ่อนอยู่ด้านข้างเรือนเพื่อความเป็นสัดส่วน

เรือนโบราณอีกแบบ คือ "บาเฮย์ คูโบ" หรือ "กระท่อมนิปา" เป็นลักษณะบ้านของชนชาวฟิลิปปินส์ท้องถิ่นส่วนใหญ่ก่อนการมาเยือนของจักรวรรดิสเปน ปัจจุบันยังคงพบเห็นกระท่อมนิปาได้ทั่วไปโดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท หลักๆ แล้ว กระท่อมนิปามักสร้างด้วยไม้ไผ่หรือหญ้าคามัดเป็นแผงใช้ทำเป็นหลังคา ผนัง และบานหน้าต่าง-ประตู มักมีขนาดเล็ก ๑-๒ ห้อง สูงจากพื้นไม่มาก และมีนอกชานใช้เป็นส่วนกินข้าวและรับแขก

นอกจากฟิลิปปินส์แล้ว อินโดนีเซีย มาเลเซีย และอีกหลายประเทศอาเซียน รวมถึงไทย มีบ้านท้องถิ่นที่คล้ายคลึงกับกระท่อมนิปาเช่นกัน



    บ้าน มาเลเซีย - รูมาห์ เมลายู

บ้านดั้งเดิมก่อนยุคอาณานิคมในมาเลเซีย เรียกว่า "รูมาห์ เมลายู" เป็นบ้านไม้ที่ปลูกสร้างด้วยเทคนิคเก่าแก่ อันชาญฉลาดของภูมิปัญญาท้องถิ่นเอเชีย คือ การเข้าเดือยไม้และลิ่ม ซึ่งช่วยยึดส่วนต่างๆ ของเรือนเข้าด้วยกันโดยไม่ต้องพึ่งตะปู บ้านแบบนี้ยังมีให้เห็นทั่วไปในพื้นที่ชุมชนชาวมลายูบริเวณคาบสมุทรมลายู รวมถึงเกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียว

องค์ประกอบหลักของบ้านรูมาห์ เมลายู มีด้วยกัน ๕ ส่วน คือ สร้างบนเสาไม้ มีบันได จัดสรรบ้านเป็นส่วนๆ ประดับตกแต่งด้วยลวดลายพื้นบ้าน และหลังคาทรงสามเหลี่ยม

ในส่วนหลังคานั้น แต่ละท้องที่ก็มีหลังคาซึ่งแตกต่างกันออกไปตามสภาพภูมิประเทศและอากาศ อาทิ บ้านรูมาห์ ลันคัง หรือบ้านรูมาห์ ลอนติก ในจังหวัดเรียวและจัมบี จะมีหลังคาโค้งเหมือนโครงสร้างของเรือ คล้ายกับบ้านมินัง รูมาห์ กาดัง ของอินโดนีเซีย แต่ปลายหลังคาไม่แหลมเท่า ขณะที่บ้านรูมาห์ ลิปัต กาจัง เน้นความเรียบง่าย ปลายด้านบนสุดของหน้าจั่วจะไขว้ไม้เป็นรูปกากบาท ใกล้เคียงกับเรือนรูมาห์ ลิมัส ซึ่งเป็นสไตล์การตกแต่งที่ประทับกษัตริย์ สุลต่าน เจ้าหน้าที่ระดับสูง และอาคารสำนักงาน


 

บ้านดั้งเดิมของมาเลเซีย อีกประเภทที่สนใจและได้รับการยกย่องให้เป็นสถาปัตยกรรมของประเทศ นั่นคือบ้านยาว และหมู่บ้านน้ำในรัฐซาบาห์และซาราวัก บ้านยาวหรือบ้านที่มีลักษณะเป็นเรือนปลูกต่อกันเป็นหลังยาวๆ ตั้งอยู่บนเสาไม้ค้ำในแม่น้ำ ตัวบ้านสร้างด้วยไม้ซุง ยึดด้วยเถาวัลย์ หลังคามุงใบจาก อยู่อาศัยได้ ๒๐-๑๐๐ คน บ้านแต่ละหลังยังเชื่อมด้วยไม้กระดานสำหรับใช้เป็นทางเดิน

บ้านท้องถิ่นแบบอื่นๆ ที่มีเอกลักษณ์ไม่แพ้กัน อาทิ รูมาห์ เมลากา ในรัฐยะโฮร์และมะละกา บ้านรูมาห์เบลาห์ บูบัง บนเกาะของรัฐเรียล บ้านรูมาห์ เปราบัง ลิมา ในรัฐกลันตันและตรังกานู บ้านรูมาห์ กาจาห์ เมนยูซู ของปีนัง บ้านรูมาห์ บัมบัง ปันจาง ในรัฐเกดะห์ ปะลิส เประ สลังงอร์และปะหัง และบ้านรูมาห์ เบอร์บัมบัง ลิมา ในจังหวัดเบิงกูลู

นอกจากนี้มาเลเซียยังมีบ้านลูกผสมที่ได้รับอิทธิพลจากชนชาติต่างๆ ซึ่งอาศัยอยู่ในประเทศด้วย

สถาปัตยกรรมจีนแบ่งได้เป็น ๒ ประเภท คือ สถาปัตยกรรมจีนดั้งเดิม และแบบบ้าบ๋า ย่าหยา ที่นิยมปูกระเบื้องสีสันสดใสและมีลานบ้านในร่ม พบมากในรัฐมะละกา และปีนัง

ขณะที่อาคารสไตล์อินเดียจะพบเห็นในลักษณะศาสนสถานมากกว่าบ้านสำหรับอยู่อาศัย นิยมตกแต่งด้วยเครื่องประดับ จากทองแกะสลัก ลวดลายเขียนสีสด และปูกระเบื้องจากอิตาลีหรือสเปน



    บ้าน เรือนไทย-ภาคกลาง

หลายๆ คนน่าจะเคยเห็นเคยผ่านตาเรือนไทยมาแล้ว มาทำความรู้จักและเข้าใจถึงที่มาของบ้านเรือนไทยกัน

เริ่มด้วย "เรือนไทยภาคกลาง" กับลักษณะเด่นของหลังคาทรงมะนิลา คือมีหน้าจั่วสูงและชายคายื่นยาว มุงด้วยแฝกหรือกระเบื้องดินเผาตามโครงซึ่งลาดเอียง เพื่อป้องกันน้ำฝนไหลซึมรั่วเข้าเรือน ทรงสูงของหลังคายังช่วยถ่ายเทอากาศ ช่วยลดความร้อนและทำให้เรือนเย็นสบาย ส่วนชายคาที่ยื่นออกมาชัดเจนมีไว้สำหรับกันแดดจ้า เพราะอากาศของภาคกลางมีแดดแรงจัดและร้อนอบอ้าว

การยกใต้ถุนสูงเป็นเอกลักษณ์อีกอย่างของบ้านเรือนไทย รวมถึงเรือนดั้งเดิมของเพื่อนบ้านในภูมิภาคอาเซียนอีก ๙ ประเทศนั้น หลักๆ แล้ว เพราะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีฤดูมรสุมและฝนตกค่อนข้างชุก หากไม่ยกเรือนสูง ในหน้าน้ำหลากบ้านอาจถูก น้ำท่วมได้ ส่วนความสูงของใต้ถุนก็แตกต่างกันออกไปตามสภาพอากาศของท้องถิ่น เรือนไทยภาคกลางและภาคใต้จึงมีใต้ถุนสูงกว่าเรือนภาคเหนือและอีสาน แต่ปกติแล้วจะสูงจากพื้นดินเสมอศีรษะคนยืน

นอกจากนี้ยังมีองค์ประกอบอื่นๆ อีกมากมาย เช่น เสาเรือน ซึ่งแบ่งได้อีก ๖ ประเภท ได้แก่ เสาหมอ เสานางเรียง เสาเอก เสาโท เสาตรี-เสาพล และเสาตอม่อ



 

ส่วนประกอบหลักของเรือน  เริ่มที่ส่วนหลังคา สิ่งแรกที่เห็นชัดและคุ้นเคยกับชื่อมากที่สุดคงหนีไม่พ้น "หน้าจั่ว" แผงฝาไม้หัวท้ายอุดโครงหลังคาเพื่อกันลมและแดดฝน หน้าจั่วที่นิยม ได้แก่ จั่วลูกฟัก หรือจั่วพรหมพักตร์ จั่วรูปพระอาทิตย์ และจั่วใบปรือ

รอบนอกเป็นไม้กรอบโครงหลังคาที่บังแนวเครื่องมุงเรียกว่า "ปั้นลม" มีลักษณะเป็นไม้แผ่นยาวคู่หนึ่งทอดเฉียงพนมปลายติดกันเป็นมุมแหลมตอนล่างบิดอ่อนงอนขึ้นเล็กน้อย มีหน้าที่ป้องกันไม่ให้ลมตีวัสดุมุงหลังคาจนเปิดร่อน

อีกส่วนคือ "อกไก่" หรือบางครั้งเรียกว่า "แปจอง" แต่เป็นไม้สักเหลี่ยมรูปข้าวหลามตัด ยาวตลอดเรือนและยื่นหัวท้าย ตำแหน่งของอกไก่จึงตั้งอยู่บนยอดสุดของหลังคานั่นเอง มีหน้าที่ยึดหน้าจั่ว ดั้ง และ "จันทัน" หรือไม้กรอบที่อยู่ระหว่างสองข้างของสามเหลี่ยมโครงหลังคา ทำหน้าที่รับน้ำหนัก จันทันจะมีเฉพาะส่วนของห้องซึ่งไม่มีหน้าจั่วและใช้กับดั้งแขวนเท่านั้น ส่วนห้องที่มีหน้าจั่วให้แผงหน้าจั่วรับน้ำหนักจากหลังคาแทนจันทัน

บ้านทรงไทยมีแป ๒ ชนิด ได้แก่ "แปลาน" ไม้เหลี่ยมที่พาดระหว่างจันทันกับแผงหน้าจั่ว มีความยาวตลอดเรือนเท่ากับอกไก่ ทำหน้าที่รับน้ำหนักจากกลอนถ่ายสู่จันทัน อีกชนิด คือ "แปหัวเสา" ไม้เหลี่ยมยาวตลอดหลังคาสำหรับยึดหัวเสาระหว่างห้อง โดยวางทับบากอมกับขื่อ และเป็นส่วนหยุดของฝาตอนบนด้านยาวของเรือนด้วย



  เรือนไทยภาคเหนือ

เรือนไทยยุคก่อนคล้ายคลึงกันเกือบทุกภาค ต่างกันบ้างตามสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น

และเพราะตอนเหนือของไทยมีอากาศหนาวเย็นกว่าภาคกลาง รูปทรงหลังคาและสัดส่วนของเรือนจึงเตี้ยคลุ่ม ขณะที่หน้าต่างเจาะเป็นช่องแคบเพื่อกันลมหนาว เรือนภาคเหนือแบ่งเป็น ๒ ส่วนใหญ่ๆ คือเรือนไทยดั้งเดิมและเรือนพื้นบ้าน

เรือนไทยดั้งเดิมเป็นเรือนยกใต้ถุนสูง หลังคาทรงจั่ว นิยมทำหลังคาแฝด และมีไม้ไขว้แกะสลักที่รู้จักกันดีในชื่อ กาแล ซึ่งไม่เพียงใช้สำหรับตกแต่งให้สวยงามแต่ยังเป็นความเชื่อเกี่ยวกับโชคลางด้วย

ส่วนประกอบของเรือนมีอาคารอย่างน้อย ๒ หลัง หลังใหญ่ใช้เป็นห้องนอนและระเบียงหรือเติ๋น ส่วนหลังเล็กใช้ทำเป็นห้องครัวและเชื่อมเรือนทั้งสองด้วยชานบ้าน ตามปกติเรือนจะตั้งหันหน้าไปทางทิศใต้เพื่อรับลมอุ่น ส่วนบันไดตั้งอยู่ด้านหน้าหรือด้านข้างเรือน และไม่นิยมหันบันไดลงทางทิศตะวันตกซึ่งใช้ตั้งส่วนครัว

การก่อสร้างเรือนของชาวเหนือมีความละเอียดประณีตสูง ทำให้เรือนแข็งแรงทนทานอยู่ได้นานเป็นร้อยๆ ปี เห็นได้จากเรือนเก่าแก่ที่ยังหลงเหลือในหลายจังหวัดทางภาคเหนือ เช่นเชียงใหม่ ลำปาง



   เรือนไทยภาคใต้

ลักษณะเด่นของเรือนไทยภาคใต้ คือหลังคาทรงสูงและมีความลาดเอียงเพื่อให้น้ำฝนไหลผ่านได้สะดวก ชายคาต่อยาวออกไปคลุมถึงบันไดเนื่องจากฝนตกชุกมาก ทั้งยังนิยมปลูกเรือนวางเสาบนตอม่อ ฐานเสาทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ศิลาแลง หรือก่ออิฐฉาบปูนรองรับเป็นตีนเสา เหตุที่ไม่ฝังเสาลงดินเพราะดินมีความชื้นจากสภาพอากาศฝนชุกเกือบทั้งปี หากวางเสาลงดินเสาจะผุเร็ว

เรือนไทยภาคใต้ที่พบเห็นทั่วไปแบ่งออกเป็น "เรือนเครื่องผูก" เป็นเรือนง่ายๆ ไม่ถาวร มักเป็นกระท่อมยกใต้ถุนสูง ใช้ไม่ไผ่เป็นโครงสร้างผูกด้วยหวาย หลังคามุงจากหรือแฝก มักปลูกติดกันเป็นหมู่บ้าน เพื่อช่วยกันสอดส่องดูแลความปลอดภัยในช่วงที่หัวหน้าครอบครัวต้องออกทะเลไปนานหลายวัน ส่วน "เรือนเครื่องสับ" เป็นบ้านสำหรับคนมีฐานะ ปลูกด้วยไม้เคี่ยมหรือไม้หลุมพอ ตัวเรือนยาวเป็นสองช่วงของความกว้าง มีพื้นระเบียงลดต่ำกว่าตัวเรือนใหญ่ และมีชาน หลังคาจั่วตั้งโค้งติดไม้แผ่นปั้นลมแบบหางปลามุงกระเบื้องและมีกันสาด

นอกจากประเภทของเรือนแล้ว หลังคาเรือนไทยภาคใต้ยังแบ่งเป็น ๓ ลักษณะ คือ "หลังคาจั่ว" รูปจั่วตรงมุงด้วยกระเบื้อง ประดับเชิงชายและช่องลมไม้ฉลุ ขณะที่ "หลังคาปั้นหยา" รูปทรงลาดเอียงสี่ด้านไม่มีจั่ว ตรงรอยตัดเหลี่ยมครอบด้วยปูนกันฝนรั่ว แข็งแรงและ ต้านลมพายุได้ดี พบมากในจังหวัดสงขลา และ "หลังคามนิลา" หลังคาจั่วผสมปั้นหยา ด้านล่างลาดเอียงลงมารับกับหลังคาด้านยาว

เรือนไทยอีสาน  ภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยมีอากาศร้อนและแห้งแล้ง บ้านส่วนใหญ่จึงมีใต้ถุนยกสูงเพื่อระบายอากาศ รวมถึงเป็นยุ้งข้าวเก็บข้าวของเครื่องใช้ในการหากินและไหหมักปลาร้า

หลังคานิยมมุงด้วยหญ้า ฝาเรือนเป็นฝาแถบตอง ใช้ใบกุงหรือใบชาดประกบกับไม้ไผ่สานเป็นตารางโปร่งๆ ส่วนหลักแบ่งเป็นเรือนนอน ส่วนที่ลดระดับจากเรือนนอนเรียกว่าเกย เป็นชานโล่งมีหลังคาคลุม มักใช้เป็นที่รับแขกและรับประทานอาหาร บันไดจะตั้งด้านหน้าเรือน รอบๆ บ้านไม่นิยมทำรั้วเพราะเป็นสังคมเครือญาติที่อยู่แบบพึ่งพา

เรือนอีสานแบ่งได้เป็น ๔ ประเภทตามลักษณะที่ปรากฏทางรูปทรง ได้แก่ เรือนทรงจั่วแฝดแบบดั้งเดิม เรือนที่มีเรือนโข่ง หรือเรือนโถงฝา ๓ ด้าน เรือนที่ไม่มีเรือนโข่ง และเรือนชั่วคราว

ในที่นี้จะขออธิบายถึงเรือนทรงจั่วแฝดซึ่งเป็นเรือนโบราณที่เก่าแก่ที่สุดในอีสาน ถึงเอกลักษณ์สำคัญ คือมีหลังคาทรงจั่วสูงกว่าเรือนอื่นๆ และเป็นเรือนถาวรของผู้มีฐานะ ลักษณะทั่วไปของเรือนทรงจั่วจะเป็นเรือนแฝด ชายคาของเรือนนอนและเรือนโข่งจรดกัน ไม่มีระเบียง มุงหลังคาด้วยกระเบื้องไม้ ตัวเรือนใช้ไม้แผ่นสร้างเป็นส่วนใหญ่ มีบันไดขึ้นลง ๒ ทาง


เรื่อง-ภาพ: หนังสือพิมพ์ข่าวสด
3411  สุขใจในธรรม / พุทธวัจนะ - ภาษิตธรรม / Re: พระสูตรน่าสนใจ : ข้อคิดจากคอลัมน์ "ฟ้าสางเมื่อใกล้ค่ำ เมื่อ: 26 กรกฎาคม 2558 15:52:34
.


ปางแสดงปฐมเทศนา (๑)  

จากพุทธคยาถึงสารนาถ ซึ่งในอดีตเรียกว่า ป่าอิสิปตน มฤคทายวัน อยู่ในเขตเมืองพาราณสี สิ้นระยะทางประมาณสองร้อยกว่ากิโลเมตร พระพุทธเจ้าเสด็จดำเนินโดยพระบาทไปเพื่อโปรดศิษย์เก่าทั้งห้าของพระองค์

คำว่า สารนาถ ย่อมาจากคำเต็มว่า สารังคนาค(สารังค = กวาง - นาถ = ที่พึ่ง) แปลว่าป่าอันเป็นที่พึ่งแห่งกวาง หรือป่าสวนกวาง อะไรทำนองนั้น มิใช่แปลว่า ป่าที่เป็นที่พึ่งอันเป็นแก่นสาร ดังบางคนอธิบายไม่

ปัญจวัคคีย์ศิษย์ผู้ปฏิเสธอาจารย์ เห็นแต่ไกลว่า พระพุทธเจ้ากำลังเสด็จดำเนินมา ก็ชี้ให้กันดูว่า "โน่นไง บุคคลผู้คลายความเพียร เวียนมาเป็น ผู้มักมากมาแล้ว คงไม่มีใครดูแลสิท่า จึงมาหาเรา เราอย่าลุกรับ อย่านมัสการ ปูแต่อาสนะไว้ให้ อยากนั่งก็นั่ง ไม่อยากนั่งก็ตามใจ"

แต่พอพระพุทธองค์เสด็จดำเนินมาใกล้ ปัญจวัคคีย์ลืมข้อตกลงกันโดยสิ้นเชิง เพราะพระบารมีพระพุทธองค์ จึงต่างลุกขึ้นต้อนรับ อัญเชิญเสด็จไปประทับบนอาสนะ แต่ปากยังแข็งอยู่เรียกพระพุทธองค์ว่า "อาวุโส โคตม" (คุณโคตม)

พระพุทธองค์ตรัสว่า อย่าพูดกับเราอย่างนั้น บัดนี้เราได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณแล้ว นั่งลง เราจะแสดงธรรมให้ฟัง

ปัญจวัคคีย์พูดว่า ไม่เชื่อ ท่านอดอาหารแทบตายยังไม่บรรลุเลย เมื่อกลับมาบริโภคอาหารจนอ้วนพีอย่างนี้ จะบรรลุได้อย่างไร

พระพุทธองค์ตรัสว่า พวกเธอจงรำลึกความหลังดูซิ พวกเธออยู่กับเรามาเป็นเวลานาน เคยได้ยินเราพูดว่าได้ตรัสรู้หรือไม่

เมื่อโดนไม้นี้ ปัญจวัคคีย์นิ่งอึ้งไปอยู่พักใหญ่ ยอมรับว่าพระพุทธองค์ไม่เคยตรัสว่าได้บรรลุเลย ขนาดทรมานพระองค์จนเกือบจะสิ้นพระชนม์ ก็ไม่เคยตรัสว่าใกล้บรรลุ หรือได้บรรลุแล้ว วันนี้ตรัสว่าได้บรรลุ น่าจะบรรลุจริง (แฮะ)

คิดได้ดังนี้ จึงพร้อมใจกันนั่งลงสดับพระธรรม พระพุทธองค์จึงทรงแสดง ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร (พระสูตรว่าด้วย การหมุนล้อธรรม) เนื้อหาว่าด้วย อริยสัจสี่ประการ และขั้นตอนของการตรัสรู้ของพระองค์

ข้อที่น่าสังเกตก็คือ ก่อนจะเข้าสู่เนื้อหาอริยสัจสี่ พระพุทธองค์ตรัสถึงทางที่ไม่ควรดำเนินสองทางก่อน แล้วชี้ถึงทางสายกลาง ถามว่าเพราะเหตุใด

เราน่าจะมาหาคำตอบดูนะครับ ก่อนจะตอบคำถามนี้ ก็ถามเพิ่มว่า ทำไมพระพุทธองค์จึงไม่ทรงแสดง อนุบุพพิกถา (แถลงธรรมที่ลึกลงตามลำดับ) เพื่อปูพื้นฐาน หรือเตรียมความพร้อมก่อน (ดังที่ทรงปฏิเสธเสมอ ในเวลาต่อมา) ทำไมทรงแสดงอริยสัจทันทีเลย

คำตอบสำหรับข้อแรก (ทำไมตรัสถึงทางที่ไม่ควรดำเนินก่อน) ก็คือ พระพุทธองค์ต้องการชำระข้อ "คาใจ" ของปัญจวัคคีย์ก่อน ปัญจวัคคีย์นั้นมีความเชื่อฝังใจอยู่ว่า การทรมานตนอย่างอุกฤษฏ์เท่านั้น ทำให้บรรลุความสิ้นกิเลสได้ เมื่อเห็นพระบรมโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา จึงเลื่อมใส คอยมาปรนนิบัติ เพราะเชื่อแน่ว่า พระองค์จะต้องบรรลุสัจธรรมสูงสุดแน่ แต่เมื่อพระองค์เลิกทุกรกิริยา หันมาเสวยพระกระยาหาร ปัญจวัคคีย์จึงผิดหวัง เชื่อแน่ว่าพระองค์ไม่มีทางบรรลุธรรมแน่นอน

เพราะเหตุนี้ ทันทีที่ปัญจวัคคีย์ยอมนั่งลงฟังธรรม พระพุทธองค์จึงแก้ข้อสงสัย หรือเรียกให้ถูก "ล้างความเชื่อเดิม" ของปัญจวัคคีย์ให้หมดไป ด้วยการตรัสยืนยันว่า การทรมานตัวเองด้วยการอดอาหารนั้นไม่ใช่ทางบรรลุ เป็น "ทางตัน" สายหนึ่งในจำนวนทางตันสองสายคือ (๑) อัตตกิลมถานุโยค (การทรมานตน) ที่กำลังกล่าวถึงนี้ (๒) กามสุขัล ลิกานุโยค (การหมกมุ่นในกาม) ดังลัทธิวัตถุนิยมประพฤติกันอยู่



ปางแสดงปฐมเทศนา (จบ)

เมื่อปฏิเสธทางตันทั้งสองนั้นแล้ว พระองค์ก็ทรงชี้ทางที่ไม่ตัน ทางที่นำไปสู่การรู้แจ้งเห็นจริงคือ "ทางสายกลาง" อันได้แก่ อริยมรรคมีองค์แปด มีสัมมาทิฐิ เป็นต้น มีสัมมาสมาธิ เป็นปริโยสาน (ปริโยสาน เท่ากับคำ อวสาน แปลว่าที่สุดครับ)

เมื่อชำระข้อค้างคาใจของปัญจวัคคีย์แล้ว พระองค์จึงทรงแสดงอริยสัจสี่ประการ โดยไม่เสียเวลาแสดงอนุบุพพีกถา เป็นการปูทางก่อน

ถึงตรงนี้มีคำถามว่า อนุบุพพีกถา คืออะไร คำตอบคือ เรื่องที่พึงเข้าใจ และปฏิบัติตามลำดับ ๕ เรื่องด้วยกันคือ (๑) ทาน (๒) ศีล (๓) สวรรค์ (๔) กามาทีนวะ (โทษของกาม) และ (๕) เนกขัมมะ (การออกจากกามหรือออกบวช)

ต้องไม่ลืมว่า ปัญจวัคคีย์เป็นนักพรต สละโลกีย์วิสัยมาถือเพศเป็นนักบวชแล้ว เห็นโทษของกาม และกำลังฝึกตนเพื่อละกิเลสทั้งหลายแล้ว มีความพร้อม มีพื้นพอที่จะเข้าใจสัจธรรมสูงสุดโดยไม่ต้องเริ่มนับหนึ่งที่ ทาน ศีล พระพุทธองค์จึงไม่ทรง เสียเวลา แสดงอนุบุพพีกถา ทรงเริ่มแสดงอริยสัจสี่เลยทีเดียว

ไม่เหมือนผู้ครองเรือนอย่างเช่น ยสกุมาร บิดามารดาของยสกุมาร หรือคนอื่นๆ ที่ทรงแสดงธรรมโปรดในภายหลัง

เนื้อหาของอริยสัจสี่เอาไว้พูดในคราวหน้า ขอพูดถึงเหตุการณ์หลังแสดงธรรมจบก่อน หลังจากพระพุทธองค์ทรงแสดงอริยสัจสี่ จบลง หัวหน้าปัญจวัคคีย์คือ โกณฑัญญะ ได้ "ดวงตาเห็นธรรม" ภาษาบาลีว่า ได้ ธัมมจักขุ คือได้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง เข้าใจว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้น เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับเป็นธรรมดา" (ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ)

ท่านว่าการรู้เห็นอย่างนี้ เป็นยถาภูตญาณ (การหยั่งรู้ตามเป็นจริง) เป็นความเข้าใจของพระอริยบุคคลระดับโสดาบัน อันเป็นระดับต้นในจำนวนพระอริยบุคคลทั้งสี่ (โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี อรหันต์) พระโสดาบันนั้น เป็นผู้มั่นคงในพระรัตนตรัยแล้ว ไม่มีทางหวนกลับ หรือกลับกลายเป็นอื่น มีแต่จะเดินหน้าสู่ความหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง

พระพุทธองค์ทรงทราบด้วยพระสัพพัญญุญาณว่า เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงแก่ท่านโกณฑัญญะแล้ว จึงทรงเปล่งพระอุทานว่า อญฺญาสิ วต โภ โกณฺทัญฺโญ (โกณฑัญญะรู้แล้วหนอ) ซ้ำถึงสองครั้ง

จากนั้น โกณฑัญญะทูลขอบวช พระพุทธองค์จึงตรัสว่า เอหิ ภิกขุ สวากฺขาโต ธมฺโม จร พรหมฺจริยํ สมฺมา ทุกฺขสฺส อนฺตกิริยายะ (จงมาเป็นภิกษุเถิด ธรรมเรากล่าวดีแล้ว จงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์เถิด) เพียงแค่นี้การบวชของท่านก็สำเร็จ ไม่มีพิธีรีตองอะไร

ต่อมาการบวชแบบนี้มีชื่อเรียกว่า บวชแบบเอหิภิกขุ (เอหิภิกขุอุปสัมปทา) ท่านโกณฑัญญะ จึงได้เป็นพระสาวกรูปแรก และเป็นพระอริยสงฆ์องค์แรก พระรัตนตรัยได้ครบจำนวนก็เมื่อคราวนี้ ก่อนหน้านี้มีแต่พระพุทธ และพระธรรม คราวนี้มีพระสงฆ์เพิ่มขึ้นเป็นพระรัตนตรัย

ชาวพุทธไทย (เน้นพุทธไทย) จึงบัญญัติวันนี้ วันที่ท่านโกณฑัญญะบวชนี้ เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง เรียกว่า วันอาสาฬหบูชา (อ่านว่า อา-สาน-หะ-บู-ชา)

อ้อ จากพระพุทธอุทานว่า อญฺญาสิ...นั้นแล คำว่า "อัญญา" จึงมาเป็นคำต้นชื่อท่านว่า อัญญาโกณฑัญญะ ตั้งแต่บัดนั้นมา




ปางโปรดปัญจวัคคีย์ (๑)  

ปัญจวัคคีย์ คือนักพรตห้ารูป มีโกณฑัญญะ อดีตโหราจารย์ชื่อดังเป็นหัวหน้า ทั้งห้าท่านนี้มาบวชรับใช้พระพุทธเจ้า เมื่อครั้งทรงทำทุกรกิริยา (คำนี้ แม้มหาเปรียญหลายประโยคก็เผลอเรียกทุกขกิริยา เสมอแฮะ ระวังไว้หน่อย) พอพระองค์ทรงเลิกอดพระกระยาหาร หันมาเสวยข้าวจนมีพระพลานามัยสมบูรณ์ เพราะทรงได้คิดว่า ต้องดำเนินทางสายกลาง ทั้งห้าท่านก็เสียใจ และเสื่อมศรัทธา พากันหนีมาอยู่ที่ป่าอันมีนามว่า "อิสิปตนะ มฤคทายวัน"

ชื่อยาวดีจัง อิสิปตนะ แปลว่าเป็นที่ประชุมของฤๅษี ส่วน มฤคทายวัน แปลว่าป่าแห่งเนื้อ เนื้อ ในที่นี้เน้นไปที่กวาง จึงมีคนแปลชัดๆ ว่า "ป่าสวนกวาง"

เฉพาะคำ ปตนะ นั้น ตามศัพท์จริงๆ แปลว่า "ที่ตกลงไป" ความหมายรองจึงหมายถึง "ที่ประชุม" หรือ "ที่อยู่" ความจริง ผู้แต่งคัมภีร์อรรถกถา ท่านหมายเอาตามตัวอักษรจริงๆ ท่านเล่าว่า บรรดาฤๅษี ที่ได้ฌานเหาะเหินเดินหาวได้ เวลาเหาะผ่านมาตรงนี้ มักจะตกลงมาที่นี่ทันที ดังหนึ่งต้องอาถรรพ์ เมื่อฤๅษี ก. ก็ตกลงมา ฤๅษี ข. ก็ตกลงมา ฤๅษี ค. ฯลฯ ก็ตกลงมา นานเข้าก็เลยเต็มไปด้วยฤๅษี ว่าไปโน่น สนุกดีเหมือนกัน

ยังไง ป่านี้ก็คงเป็นที่มีฤๅษีชีไพรชุกชุมตลอดเวลายาวนาน รวมทั้งบรรดาเนื้อทั้งหลายด้วย เพราะใครๆ จะมาล่าสัตว์ ก็ย่อมยำเกรงพระคุณเจ้าผู้มีอิทธิฤทธิ์เป็นธรรมดา

ป่านี้ต่อมาจึงเรียกชื่อว่า สารนาถ (ย่อมาจากคำเต็มว่า สารังคนาถ แปลว่า ป่าอันเป็น ที่พึ่ง หรือเป็นสถานที่ปลอดภัยของกวาง ทั้งหลาย) ระยะทางจากพุทธคยาถึงสารนาถ ประมาณสองร้อยกว่ากิโลเมตร พระพุทธองค์เสด็จดำเนินด้วยพระบาทมุ่งหน้ามา เพื่อโปรดศิษย์เก่า ดูจากข้อความแวดล้อม เป็นความมุ่งมั่นของพระพุทธองค์มาก อยากจะมาโปรดห้าท่านนี้จริงๆ คล้ายกับทรงมีเรื่อง "ค้างคาใจ" กันอยู่ ไม่สนพระทัยจะเทศน์สอนคนอื่นก่อน ทรงต้องการโปรดเอาทั้งห้าท่านนี้เป็นสาวกรุ่นแรกจริงๆ

ผมตั้งข้อสังเกตอย่างนี้ ใครจะว่าอะไร ก็ว่ามา ยินดีน้อมรับฟัง เพราะความคิดเห็นจากท่านผู้รู้เป็นประดุจน้ำทิพย์ชโลมใจให้ชื่นบาน ปานนั้นเชียวนะ

ทั้งห้าท่านนี้มีความเชื่อฝังหัวมาแต่แรกแล้วว่า การจะบรรลุมรรคผลได้ ต้องทรมานตัวเองให้ถึงที่สุด เพราะเชื่อเช่นนี้ เมื่อเห็นพระบรมโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญทุกรกริยา จึงพากันมาเฝ้าปรนนิบัติดูแล เรียกง่ายๆ ว่า มาเฝ้าดูเลยทีเดียว ดูไปก็ยิ้มด้วยความหวังไป ยิ่งเห็นพระองค์เป็นลมเป็นแล้งสลบลง ยิ่งยิ้มด้วยความดีใจว่า ใกล้แล้วๆ ใกล้จะบรรลุแล้ว ตาเป็นประกายด้วยความหวังว่า ตนเองจะได้รับอานิสงส์ (ผล) จากการบรรลุธรรมของพระองค์บ้าง

ครั้นเห็นพระองค์ทรงเลิกอดพระกระยาหาร จึงเสียใจ ผิดหวังเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะโกณฑัญญะผู้หัวหน้า เคยทายไว้ไม่มีเงื่อนไขว่าเจ้าชายจะออกบวช จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า พอมาถึงตอนนี้ จำต้อง "เผาตำรา" ทิ้ง เจ็บปวดขนาดไหน คิดเอาก็แล้วกัน



ปางโปรดปัญจวัคคีย์ (จบ)

บอกไว้ว่าจะนำคำแปล ธัมมจักกัปปวัตนสูตร มาให้อ่าน จึงขอนำมาลงไว้ ณ ที่นี้ เป็นพระสูตรสั้นๆ แต่ครอบคลุมคำสอนของพระพุทธองค์ทั้งหมด ว่าไปทำไมมี คำสั่งสอนทั้งหลายที่พรั่งพรูออกจากพระโอษฐ์ ในเวลาต่อมา ดังที่บันทึกไว้เป็นพระไตรปิฎก ๔๕ เล่มสมุด หนาถึง ๒๒,๓๙๐ หน้า ก็ขยายจากพระธรรมเทศนากัณฑ์แรกนี้แล

คำแปลธัมมจักกัปปวัตนสูตร
"ข้าพเจ้า (พระอานนท์) สดับมาดังนี้ เมื่อพระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนะ มฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี พระองค์ตรัสแก่ปัญจวัคคีย์ว่า มีทางตัน ๒ ทาง ที่บรรพชิตไม่พึงดำเนินคือ
(๑) การหมกมุ่นในกามารมณ์ อันเป็นสิ่งเลวทราม เป็นเรื่องของชาวบ้าน ของปุถุชน (คนมีกิเลสหนา) ไม่ประเสริฐ และไม่มีประโยชน์
(๒) การทรมานตนให้ลำบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ประเสริฐ และไม่มีประโยชน์

ตถาคต (คือพระพุทธเจ้า) ค้นพบทางสายกลาง ที่ไม่ข้องแวะเกาะเกี่ยวทางตัน ๒ อย่างนั้นเป็นทางที่ทำให้มองเห็น และรู้ความจริงอันสูงสุด เป็นที่เพื่อความสงบ ความรู้ยิ่งและความดับกิเลสได้สนิท ทางสายกลางนั้นคือ เห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ อาชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งมั่นชอบ

ทุกข์คือความเกิด ความแก่ ความตาย ความโศก ความคร่ำครวญ ความน้อยใจ ความคับแค้นใจ การประสบสิ่งไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก การไม่ได้ดังปรารถนา โดยสรุปขันธ์ ๕ อันเป็นเหตุให้ยึดมั่นถือมั่นนี้แหละเป็นทุกข์

เหตุเกิดทุกข์คือ ตัณหา ๓ ชนิด ที่เป็นตัวสร้างภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัดยินดีเป็นตัวทำให้ติดเพลินในเรื่องต่างๆ คือ กามตัณหา (อยากได้ อยากมี อยากเป็น) ภวตัณหา (อยากให้สิ่งที่ได้ ที่มี ที่เป็นคงอยู่นานๆ) วิภวตัณหา (อยากหนีหรือสลัดภาวะที่ไม่ชอบใจ)

ความดับทุกข์คือ ความดับตัณหา ๓ ชนิดโดยไม่เหลือ ความสลัดทิ้งไป ความสละคืน ความหลุดพ้น ความไม่มีเยื่อใยใดๆ

ทางดับทุกข์คือ อริยมรรคมีองค์แปด ได้แก่ เห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ อาชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจมั่นชอบ

เราเกิดการหยั่งรู้ ความรู้ทั่วถึง ความรู้แจ้ง ความสว่าง ในสิ่งที่เราไม่เคยได้สดับมาก่อนว่านี้ทุกข์ ทุกข์นี้ควรกำหนดรู้ตามความเป็นจริง และทุกข์นี้เราได้รู้แล้ว

นี้เหตุเกิดทุกข์ เหตุเกิดทุกข์นี้ควรละ และเหตุเกิดทุกข์นี้เราละได้แล้ว

นี้ความดับทุกข์ ความดับทุกข์นี้ควรทำให้แจ้ง และความดับทุกข์นี้ เราทำให้แจ้งแล้ว

นี้ทางดับทุกข์ ทางดับทุกข์นี้ควรทำให้เจริญ ทางดับทุกข์นี้เราทำให้เจริญแล้ว

ตราบใดการรู้เห็นตามเป็นจริง ในอริยสัจ ๔ อันมี ๓ รอบ ๑๒ อาการนี้ ยังไม่ชัดแจ้ง ตราบนั้น เรายังไม่ประกาศยืนยันว่า เราได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันประเสริฐ

ต่อเมื่อการรู้เห็นนั้นชัดแจ้ง เราจึงกล้าประกาศยืนยัน ท่ามกลางหมู่สัตว์ อันประกอบด้วย สมณะ พราหมณ์ มนุษย์ เทวดา มาร และพรหม การรู้เห็นนั้น เกิดขึ้นแก่เราจริง การหลุดพ้นนั้นเป็นของแท้จริง ชาตินี้เป็นหนสุดท้าย ไม่มีภพใหม่อีกต่อไป"

เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสจบ พระปัญจวัคคีย์ชื่นชมภาษิตของพระองค์ โกณฑัญญะได้ "ดวงตาเห็นธรรม" เป็นการรู้เห็นแจ่มกระจ่างว่า

"สรรพสิ่งมีการเกิดขึ้น และดับไปเป็นธรรมดา"

เมื่อพระพุทธองค์ทรงหมุนกงล้อธรรมแล้ว เหล่าภุมมเทวดาร้องบอกต่อกันว่า พระพุทธเจ้าทรงหมุนกงล้อธรรม ที่ป่าอิสิปตนะ มฤคทายวันแล้ว ไม่มีใครหมุนกลับได้ ไม่ว่าสมณะ พราหมณ์ มารหรือพรหม แล้วก็บอกต่อๆ กันไปจนถึงพรหมโลก หมื่นโลกธาตุ สะเทือนสะท้านหวั่นไหว ปรากฏแสงสว่างไปทั่วโลก หาประมาณมิได้ ยิ่งกว่าอานุภาพเทวดาบันดาลเสียอีก

พระพุทธองค์ทรงเปล่งพุทธอุทานว่า "โกณฑัญญะ รู้แล้วหนอๆ"

ดังนั้น โกณฑัญญะจึงได้นามต่อมาว่า อัญญาโกณฑัญญะ ด้วยประการฉะนี้แล



.


ปางโปรดยสะ (๑) 

ความจริงพระพุทธรูปปางโปรดยสะ ไม่มีเรียกดอก ส่วนมากจะเรียกว่า ปางภัตตกิจ คือ ปางเสวยพระกระยาหาร คือเสวยภัตตาหารที่บ้านบิดามารดาของยสะกุลบุตร การบวชของยสะกุลบุตรนั้น ทำให้พระพุทธศาสนาแพร่หลายรวดเร็ว เพราะหลังจากยสะมาบวช สหายของท่านและบริวารตามมาบวชด้วย จนเกิดมีพระอรหันตสาวกขึ้นจำนวนทั้งหมด ๖๐ รูป ชั่วระยะเวลาไม่นาน

ยสะ เป็นบุตรเศรษฐีเมืองพาราณสี ชื่อเสียงเรียงไร ไม่บอกไว้ มารดาของท่านนั้น คัมภีร์อรรถกถาได้แก่นางสุชาดา สุชาดาบุตรีแห่งนายบ้านอุรุเวลาเสนานิคม ที่พุทธคยาโน่นแหละครับ ไปยังไงมายังไงสุชาดาสาวสวยแห่งอุรุเวลาเสนานิคม ซึ่งอยู่คนละเมืองกับพาราณสี ได้มาอยู่ที่พาราณสี ดูเหมือนผมได้สันนิษฐาน (คอเดา) ไว้แล้วในที่อื่น จะไม่เขียนไว้ในที่นี้

เอาเป็นว่า นางเคยบนเทพที่ต้นไทรไว้ว่าถ้าได้บุตรชายจะมาแก้บน บนตั้งแต่ยังไม่แต่งงาน ต่อมาได้แต่งงาน (เดาเอาว่า) กับเศรษฐีเมืองพาราณสี แล้วได้มาอยู่กับตระกูลสามี มีลูกโตเป็นหนุ่มแล้ว เพิ่งนึกได้ว่าบนไว้ จึงกลับมาแก้บน (ตอนที่เอาข้าวมธุปายาสไปถวายพระโพธิสัตว์นั้นแหละครับ) แก้บนแล้วก็คงกลับเมืองพาราณสี

คืนวันหนึ่งลูกชายหัวแก้วหัวแหวนของเศรษฐีและคุณนายสุชาดา ตื่นขึ้นมากลางดึก เห็นภาพเหล่าสตรีที่มาประโคมดนตรี ฟ้อนรำ สร้างความสุขสนุกสนานให้ ตามที่เคยปฏิบัติมา นอนหลับมีอาการแปลกๆ เช่น บางนางก็นอนกรนเสียงดัง น้ำลายไหล บางนางก็กัดฟันกรอดๆ ละเมอไม่เป็นส่ำ บางนางผ้านุ่งห่มหลุดลุ่ย ปรากฏแก่ยสะ ดุจ "ซากศพในป่าช้า" ว่ากันอย่างนั้น

ยสะเห็นแล้วก็สลดสังเวชใจ เบื่อหน่ายเต็มที่ ถึงกับเปล่งอุทานว่า อุปัททูตัง วะตะ โภ อุปสัฏฐัง

วะตะ โภ ท่านแปลได้ความกระชับว่า "ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ" ทนดูต่อไปไม่ไหว จึงเดินลงจากคฤหาสน์กลางดึก

ไม่มีจุดหมายครับ แล้วแต่เท้าจะพาไป เข้าไปยังป่าอิสิปตนะมฤคทายวันโดยไม่รู้ตัว ขณะนั้นก็จวนสว่างแล้ว ประมาณตีสี่ พระพุทธองค์ตื่นบรรทม เสด็จจงกรมอยู่ ยสะผู้เบื่อโลกก็อุทานมาตลอดทางว่า "ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ"

พระพุทธองค์ตรัสว่า "อิทัง อะนุปัททูตัง อิทัง อะนุปะสัฏฐัง = ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง มานี่สิ เราจะแสดงธรรมให้ฟัง

หนุ่มยสะผู้เบื่อโลก พลันสะดุ้งตื่นจากภวังค์ จึงถอดรองเท้า เข้าไปกราบถวายบังคมแล้วนั่งเจี๋ยมเจี้ยม ณ ที่ควรข้างหนึ่ง

พระพุทธองค์ตรัสเทศนา อนุปุพพิกถา เป็นการปูพื้นให้ยสะก่อนแล้ว ตามด้วยอริยสัจสี่ประการโดยพิสดาร เมื่อจบพระธรรมเทศนา ยสะดวงตาเห็นธรรม คือบรรลุโสดาปัตติผล


ปางโปรดยสะ (จบ)

ขอแวะตรงนี้นิดหน่อย อนุบุพพิกถา คือการแสดงธรรมที่ลึกลงไปตามลำดับ เริ่มตั้งแต่เรื่องง่ายๆ แล้วก็ลึกลงไปเรื่อยๆ ง่ายๆ ที่ว่านี้คือง่ายที่คนทั่วไปจะทำได้ คือเริ่มด้วย ทาน (การให้) ศีล (ความประพฤติที่ดีงาม) สักกะ (เรื่องสวรรค์ ความสุขที่พึงได้ด้วยการให้ทานรักษาศีล) กามาทีนวะ (โทษของกามคุณ) และเนกขัมมะ (การไม่หมกมุ่นในกามารมณ์)

เมื่อปูพื้นดังนี้แล้ว ก็ทรงแสดงอริยสัจครบวงจรเป็นอย่างไร ดูเหมือนได้เล่าไว้แล้วในตอนโปรดปัญจวัคคีย์

กล่าวถึงมารดาบิดาของยสะ เมื่อลูกหายไป จึงตามมาจนถึงป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน พบพระพุทธองค์ ได้ฟังธรรมจากพระองค์ ขณะที่ยสะเอง ก็นั่งฟังอยู่ด้วย แต่พ่อแม่ลูกมองไม่เห็นกัน เพราะอิทธาภิสังขาร (การบันดาลฤทธิ์ของพระพุทธองค์ไม่ต้องการให้เห็นกัน) ขณะพ่อแม่ฟังธรรมอยู่ ยสะก็ส่งกระแสจิตไปตามพระธรรมเทศนานั้นด้วย เมื่อจบพระธรรมเทศนา พ่อแม่ของยสะได้ดวงตาเห็นธรรม ถวายตนเป็นอุบาสก อุบาสิกา ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ยสะได้บรรลุพระอรหัตผล

หลังจากนั้นพระองค์ทรงคลายฤทธิ์ สามพ่อแม่ลูกพบหน้ากัน ท่านเศรษฐีกล่าวกับยสะว่า ลูกรักตอนลูกหายไปมารดาเจ้าร้องไห้รำพันถึงเจ้าอยู่ จงกลับบ้านเถอะ พระพุทธองค์ตรัสว่า บัดนี้ยสะบรรลุอรหัตผลแล้ว ไม่สมควรครองเรือนอีก มีแต่จะบวชครองสมณเพศต่อไป

เศรษฐีกราบทูลว่า ถ้าเช่นนั้นก็เป็นลาภอันประเสริฐของข้าพระองค์ทั้งสอง แล้วทูลอัญเชิญพระพุทธองค์ไปเสวยภัตตาหารที่บ้านตนในวันรุ่งขึ้น

นี้คือที่มาของปางภัตกิจ ทำไมต้องเน้นช่วงนี้ ก่อนหน้านี้พระองค์มิได้เสวยภัตตาหารหรือ เสวยครับ หลังตรัสรู้แล้ว ก็ได้เสวยสัตตุผง สัตตุก้อน จากพ่อค้าสองพี่น้อง และจากที่อื่นด้วย  แต่การเสวยภัตตาหารที่คฤหาสน์เศรษฐีนี้ เป็นกิจนิมนต์เป็นกิจจะลักษณะ เป็นครั้งแรกหลังจากเสด็จออกประกาศพระพุทธศาสนา

ครูบาอาจารย์กล่าวว่า ประเพณีนิมนต์พระสงฆ์และพระบวชใหม่ไปฉันที่บ้าน อันเรียกว่าทำบุญฉลองพระใหม่ ที่ชาวพุทธไทยนิยมกระทำกันมานั้น มาจากพุทธประวัติตอนนี้เอง ว่ากันอย่างนั้น

อ้อ ลืมไป สองสามีภรรยา บิดามารดาท่านยสะเป็นอุบาสกอุบาสิกาคู่แรก ที่ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะนะครับ ก่อนนั้นพ่อค้าสองพี่น้อง ถึงพระพุทธกับพระธรรมเป็นสรณะเท่านั้น


ที่มา คอลัมน์ "ฟ้าสางเมื่อใกล้ค่ำ" โดย ศาสตราจารย์ เสฐียรพงษ์ วรรณปก หนังสือพิมพ์รายวันข่าวสด
3412  สุขใจในธรรม / พุทธวัจนะ - ภาษิตธรรม / Re: ข้อคิดจากธรรมะ โดย พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต) เมื่อ: 26 กรกฎาคม 2558 15:38:52
.


เข้าหาบัณฑิต

ผู้ที่มุ่งหวังความสุขความเจริญในชีวิต หน้าที่การงานของตนแล้ว จึงควรที่จะเข้าหาบัณฑิต

บัณฑิต หมายถึง ผู้ทรงคุณความรู้ดี มีปัญญาดี มีศีล มีสมาธิ มีจิตใจดีงาม และมีการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง รู้สิ่งที่เป็นประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ รู้อุบายวิธีแนะนำสั่งสอนในสิ่งที่เป็นประโยชน์ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

ลักษณะของบัณฑิต เป็นคนทำดี คือ ทำอาชีพสุจริต ประกอบคุณงามความดีที่ไม่มีโทษ มีการให้ทาน รักษาศีล เจริญจิตตภาวนา มีเมตตา มีมารยาทงดงาม เป็นต้น

เป็นคนพูดดี คือ มีวจีสุจริต พูดจริง ไม่โกหกหลอกลวง ไม่พูดคำหยาบคาย ไม่พูดคำเหลวไหลไร้สาระ ไม่นินทาว่าร้ายผู้อื่น

เป็นคนคิดดี คือ มีมโนสุจริต ไม่คิดละโมบโลภมาก ไม่คิดพยาบาทปองร้ายผู้อื่น รู้จักให้อภัย รู้จักบาปบุญคุณโทษประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ที่พึงกระทำด้วยกาย และพึงพูดด้วยวาจา

ผู้ที่เป็นบัณฑิตชอบชักนำในทางที่ถูกที่ควร เช่น ตักเตือนให้เลิกทำในสิ่งที่ผิด ชักชวนให้ทำความดี ทำในสิ่งที่เป็นหน้าที่ของตนให้สำเร็จลุล่วง ใช้เวลาที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์อย่างเต็มที่ ไม่ก้าวก่ายเรื่องของผู้อื่น เว้นแต่จะได้รับการร้องขอ หรือได้รับอนุญาตแล้ว

ชอบทำและแนะนำในสิ่งที่ถูกที่ควร ทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม มีการพูดและการทำอย่างตรงไปตรงมา หากมีใครมาว่ากล่าวตักเตือนก็รับฟังด้วยดีไม่โกรธตอบ ไม่ถือโทษ หรืออวดดี ยอมรับฟังด้วยดี แล้วนำไปพิจารณาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น

รู้กฎระเบียบ กติกา มารยาทที่ดี เช่น การรักษาระเบียบวินัยทางกายและวาจา มีมารยาท มีความสำรวม รักษาความสะอาด และเคารพกฎระเบียบของสถานที่ ไม่ทำตามใจตนเอง

การเข้าหาบัณฑิต ต้องหมั่นไปมาหาสู่ หมั่นเข้าไปนั่งใกล้ มีความจริงใจ ให้ความเคารพยำเกรงเสมอ รับฟังคำแนะนำ คำกล่าวสอน จดจำคำสอนเอาไว้เป็นคติเตือนใจเพื่อไว้สอนตน พิจารณาใจความตามที่ได้ฟังนั้นให้ดี พยายามปฏิบัติตามสิ่งที่ได้ฟังและใคร่ครวญให้ดี

การได้คบกับบัณฑิต ทำให้มีใจผ่องใสไม่มัวหมอง มีความกล้าในการทำความดียิ่งๆ ขึ้นไป ได้ปัญญาเพิ่มเติม มีเหตุผลดี เป็นคนหนักแน่น มีความคิดเห็นถูกต้อง เป็นสัมมาทิฐิ ไม่ต้องโศกเศร้าเดือดร้อนเพราะทำความผิด เป็นที่ยกย่องสรรเสริญของคนทั่วไป มีความสุข ปลอดภัยจากคนพาล

มีความเจริญก้าวหน้าในชีวิต สามารถตั้งตัวได้เร็ว แม้ตายจากโลกนี้ไปแล้วย่อมไปสู่สุคติโลกสวรรค์ สามารถบรรลุมรรค ผล นิพพานได้โดยง่าย

การอยู่ร่วมกับบัณฑิตเป็นสุข เหมือนสมาคมแห่งหมู่ญาติ จึงควรเข้าหาบัณฑิต คบกับผู้มีปัญญาดี เป็นพหูสูต มีศีล มีวัตรห่างไกลจากกิเลส เป็นสัตบุรุษ เปรียบดังพระจันทร์คบอากาศอันเป็นทางโคจรแห่งดวงดาวฉะนั้น

ด้วยเหตุนี้ควรคบหาบัณฑิตเป็นมิตรไว้ จะช่วยให้พ้นทุกข์ ประสบสุขสันต์ ความคิดดีเลิศล้ำเป็นสำคัญ ควรคบกันไว้ทุกวันเวลา อย่าลังเลใจ




กองขยะ ๓ กอง ของชีวิต

ขึ้นชื่อว่า ขยะ คงไม่มีใครต้องการ เพราะเป็นของที่ไร้ค่า ไร้ราคา หาประโยชน์ไม่ได้ แต่ขยะบางอย่างนั้น ยังสามารถที่จะนำมาใช้ประโยชน์ได้อีกครั้ง

ขยะในที่นี้ ไม่ได้หมายเอาขยะที่เหลือใช้จากสิ่งของต่างๆ แต่หมายถึงขยะที่มีอยู่ภายในใจของเรา คนเรานั้นถ้ามีขยะ ๓ กองนี้อยู่ในใจ ก็ไม่ต่างอะไรจากสิ่งของที่คนทั้งหลายใช้แล้วทิ้งกลายเป็นขยะ ก็จะเป็นคนที่ไม่มีคุณค่าขึ้นมาทันที

ขยะที่ว่านี้ คือ อกุศลมูล ๓ ได้แก่ โลภะ ความอยากได้ โทสะ ความประทุษร้าย โมหะ ความหลงไม่รู้จริง ขยะ ๓ กองนี้ไม่ว่าจะเกิดขึ้นกับบุคคล สถานที่ หรือองค์กรใดก็ตาม ก็จะทำให้บุคคล สถานที่ หรือองค์กรนั้น เกิดความเสียหายได้

อกุศลมูล แปลว่า รากเหง้าหรือต้นเหตุของความไม่ดี หมายถึงกิเลสที่อยู่ภายในใจ เป็นต้นกำเนิด เป็นบ่อเกิดแห่งความชั่ว เรียกกันทั่วไปว่า โลภ โกรธ หลง

กองที่ ๑ โลภะ หมายถึง ความอยากได้วัตถุสิ่งของของผู้อื่นมาเป็นของตนโดยทางทุจริตไม่ชอบธรรม เช่น ความเพ่งเล็ง มักมาก ตระหนี่ หลอกลวง ฉ้อโกง ลักขโมย ปล้นทรัพย์ ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น และประพฤติผิดในกาม เป็นต้น

กองที่ ๒ โทสะ หมายถึง ความคิดประทุษร้ายทำลายผู้อื่น คิดจะทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายหรือเกิดความเสียหาย โทสะนี้เมื่อเกิดขึ้นทางกาย ก็จะทำร้ายร่างกายให้บาดเจ็บ เดือดร้อน เมื่อเกิดขึ้นทางวาจา ก็ว่าร้าย พูดคำหยาบ พูดเท็จ เป็นต้น เมื่อเกิดขึ้นทางใจ ก็เกิดความขัดเคืองใจ จองล้างจองผลาญ จองเวรกันไม่จบสิ้น

โทสะ จัดเป็นกิเลสที่ร้ายแรง เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็จะทำอันตรายทุกสิ่งทุกอย่างในตัวของผู้นั้น เริ่มตั้งแต่ทำลายระบบความคิด ทำลายสุขภาพกาย สุขภาพจิต บุคคลที่ปล่อยให้โทสะครอบงำใจบ่อยๆ ก็จะกลายเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย ชอบทำอันตรายแก่สังคม

กองที่ ๓ โมหะ หมายถึง ความหลงโดยไม่รู้สภาพตามความเป็นจริง ว่าอะไรผิดหรือถูก เพราะอวิชชาคือความไม่รู้ปกปิดเอาไว้ โมหะนี้ท่านเปรียบเหมือนกับความมืด ถ้าความมืดปกคลุมในที่ใด คนที่ทำอะไรอยู่ในความมืดนั้น ก็อาจจะทำผิดพลาดได้หลายอย่าง คนที่ถูกโมหะครอบงำจิตใจก็มีอาการเช่นเดียวกัน อาจจะประกอบอกุศลกรรมได้ทุกอย่าง มีการทะเลาะวิวาทกัน เป็นต้น

การจัด โลภะ โทสะ โมหะ เป็นขยะ ๓ กองนั้น เพราะเมื่อเกิดขึ้นครอบงำใจของบุคคลใด ย่อมทำให้บุคคลนั้นประกอบกรรมทำชั่ว หรือประพฤติทุจริตได้ บุคคลที่ประพฤติชั่วทางกาย เป็นต้นดังกล่าวมาแล้ว ย่อมกลายเป็นคนที่ไร้ค่า ไร้ราคาเหมือนขยะที่ถูกทิ้ง เมื่อพิจารณาเห็นความพินาศของขยะ ๓ กองนี้แล้วหวังทำตนและหมู่คณะให้เจริญ ต้องหมั่นประกอบคุณงามความดี คือ กุศลมูล ๓ อย่าง ที่ตรงกันข้ามกับอกุศลมูล

บุคคลที่ดำรงตนมั่นคงอยู่ในศีลธรรม ประพฤติแต่กุศลธรรมคือคุณงามความดี ย่อมมีแต่คนสรรเสริญ มีคุณค่าต่อสังคม นั้นๆ และนำพาสังคมนั้นๆ ไปสู่ความเจริญได้ เมื่อพิจารณาเห็นโทษของอกุศลมูลและเห็นอานิสงส์ของกุศลมูลแล้ว พึงหมั่นประกอบแต่คุณงามความดี เพื่อความสงบผาสุกของตนและสังคม ตลอดถึงประเทศชาติเป็นที่สุด




วิธีระงับเวร

พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธการแสวงหาความสุขด้วยการเบียดเบียนว่า ไม่มีใครได้รับความสุขที่แท้จริง เพราะการที่คนเราจะทำอะไรให้แก่คนอื่น ไม่ว่าจะยื่นอาวุธ หรือดอกไม้ให้แก่ใครๆ สิ่งนั้นย่อมมีผลสะท้อนกลับมาหาตนเอง ท่านว่า ให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัว เช่น ฆ่าคนตาย อาจจะภูมิใจสักครู่หนึ่ง แต่ผลที่ตามมาจะกลายเป็นความทุกข์ร้อน

การลักทรัพย์ของผู้อื่น ได้มาก็เป็นสุข เพราะการมีทรัพย์และการจ่ายทรัพย์ชั่วครู่ชั่วยาม แต่ผลบาปทำให้เกิดความทุกข์ ที่สุดก็จะถึงความความเสื่อมทั้งตัวเองและทรัพย์นั้นๆ เหมือนคลื่นในมหาสมุทร ย่อมซัดกลับเข้าหาฝั่ง

การสร้างทุกข์ให้แก่คนอื่นด้วยการตั้งใจเบียดเบียน ชื่อว่า ก่อเวร ได้แก่ ฆ่าสัตว์ เบียดเบียนผู้อื่น ฆ่าคน ลักทรัพย์ เป็นต้น ผูกพยาบาทเมื่อถูกเขาทำร้าย อย่างนี้คือจองเวรผลัดกันแก้แค้น โต้ตอบกันไปมา

เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร การไม่จองเวรจะประสบผลคือ ความสงบสุขได้ จะต้องลดละการผูกอาฆาตพยาบาทจองเวรกัน ส่วนคนที่ถูกโมหะครอบงำ ไม่เห็นเหตุผลที่ถูกต้องที่ชอบธรรม คิดขวนขวายแต่ให้ได้แก้แค้นเท่านั้น จะดีจะชั่ว ไม่รับฟังทั้งนั้น ย่อมประสบแต่ความทุกข์ความเดือดร้อนใจ พระพุทธเจ้าตรัสว่า คนโกรธเป็นคนเลว แต่คนโกรธตอบเป็นคนเลวกว่า หมายความว่า คนทำร้ายเขาก่อนนั้นเป็นคนร้าย แต่คนที่ร้ายตอบกลับเขานั้นเป็นคนร้ายยิ่งกว่า ส่วนคนที่ถูกประทุษร้ายแล้วไม่ประทุษร้ายตอบ พระองค์ตรัสว่า เป็นผู้ชนะที่ควรแก่การสรรเสริญ เพราะได้ทำความสงบสุขให้เกิดขึ้นแก่ตนและคนอื่น

ความคิดแก้แค้นกัน นอกจากจะไม่เป็นที่สรรเสริญของคนดีทั่วไปแล้ว ชาวโลกยังตราหน้าว่าป่าเถื่อน ความคิดที่ว่า ตาต่อตา ฟันต่อฟัน ชีวิตต่อชีวิต ทำร้ายมาก็ต้องทำร้ายไป เมื่อมีคนนั้น ก็ต้องไม่มีคนโน้น เมื่อมีคนโน้น ก็ต้องไม่มีคนนี้ การอโหสิกรรมเป็นความอ่อนแอ ดังนี้ เหตุแห่งการล้างแค้นถึงชาติหน้าก็เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่มีที่สิ้นสุด

ความไม่จองเวรนั้น ย่อมทำสำเร็จได้ด้วยวิธีต่างๆ คือ แผ่เมตตา อดทน ใช้ปัญญาพิจารณาโดยชอบ และมีความเสียสละ การแผ่เมตตา หากเราแผ่เมตตากะทันหันเมื่อความโกรธเกิดขึ้นเป็นการทำได้ยาก ท่านจึงให้ฝึกหัดแผ่เมตตาเป็นประจำไว้ก่อนจนเป็นนิสัย เมื่อถูกประทุษร้ายก็ไม่โกรธ

ความอดทน อดทนต่อการทำร้ายของคนอื่น ย่อมตัดเหตุแห่งการทะเลาะวิวาทได้ รู้จักอดทนต่อ คำกล่าวร้ายล่วงเกิน เหมือนช้างศึกอดทนต่อลูกศรที่พุ่งมาจาก ๔ ทิศ ในสงคราม ไม่สะดุ้งสะเทือน ฉะนั้น

การใช้ปัญญาพิจารณาโดยชอบ พิจารณาให้เห็นโทษแห่งการจองเวร โดยพิจารณาว่า สัตว์ทั้งหลาย มีกรรมเป็นของตน เราถูกทำเพราะเคยทำเขามาก่อนแล้ว ไม่ชาตินี้ก็ชาติที่ผ่านมา ถ้าเราแก้แค้นเขา เราจะต้องประสบทุกข์ยิ่งขึ้นอีก

ความเสียสละ เมื่อถูกเขาประทุษร้ายและเกิดความเสียหาย ก็ยอมเสียสละทิฐิมานะที่จะเอาชนะเสียได้

ทั้ง ๔ ประการนี้ แต่ละอย่างเป็นวิธีที่จะทำให้เวรและการจองเวรสงบระงับได้




เตือนตนเอง

การพิจารณาตนเอง คือ การตรวจตราตนเอง สอบสวนตนเอง ใช้สติปัญญาให้รู้ว่า ขณะนี้ตนเองเป็นอย่างไร มีสถานภาพเป็นอย่างไร ทำอะไรอยู่ เหมาะสมแล้วหรือไม่ ติชมตนเองได้ ว่ายังขาดสิ่งใดที่ต้องเติมเต็ม สิ่งใดเพียงพอแล้วก็รักษาระดับไว้

เมื่อเห็นว่าสิ่งที่ทำ คำที่พูด เรื่องที่คิดไม่ถูกต้อง ก็ใช้สติเป็นเครื่องยับยั้งใจไว้ ไม่ปล่อยใจไปตามกระแสของอารมณ์ฝ่ายต่ำ คอยควบคุมพฤติกรรมที่เราแสดงออก ทางกายและทางวาจา เพราะพฤติกรรมนั้น ย่อมมีผลกระทบถึงผู้อื่นด้วย มากบ้าง น้อยบ้าง แล้วแต่ว่าพฤติกรรมนั้นไปกระทบต่อกฎเกณฑ์ของสังคมเท่าไร

การดำเนินชีวิตของคนเรา แม้จะเป็นส่วนที่เป็นกิจวัตรประจำวัน เช่น การกิน การนอน ก็เกี่ยวข้องกับผู้อื่น ต้องอาศัยผู้อื่นช่วย คือ ขณะที่ยังเป็นเด็ก ก็อาศัยพ่อแม่แนะนำ ฝึกฝนให้มีความรู้ ความสามารถในวิชาการต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้น เมื่อประกอบอาชีพก็ต้องมีการฝึกงาน ทดลองงานก่อน

ทุกขั้นตอนของชีวิต ต้องมีผู้อื่นเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ เพราะเราเป็นส่วนหนึ่งของสังคม เริ่มตั้งแต่สังคมเล็กๆ คือ ครอบครัว ต้องเกี่ยวข้องกับพ่อแม่ ญาติพี่น้อง และที่กว้างออกไป ก็เกี่ยวข้องกับเพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมโรงเรียน เพื่อนร่วมงาน ร่วมอาชีพ แต่การที่เราจะอยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างมีความสุขได้นั้น ต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้สอดคล้องกัน เป็นการละลายพฤติกรรมเข้าหากัน ยิ่งมีความสนิทสนมมากเพียงใด ก็จะมีลักษณะนิสัยใกล้เคียงกันเพียงนั้น

การใช้สติปัญญาพิจารณาใคร่ครวญตนให้ทราบชัด ว่าสิ่งที่กำลังทำ คำที่กำลังพูด ผิดหรือถูก ตนเองติเตียนตนเองได้หรือไม่ ท่านผู้รู้ติเตียนได้หรือไม่ ถ้ารู้ชัดว่าผิดพลาด ยังบกพร่องอยู่ ต้องรีบปรับปรุงแก้ไข ยอมลดมานะทิฐิไม่ถลำลึกต่อไป

เมื่อเราพิจารณาใคร่ครวญด้วยสติปัญญาของตนเอง ตักเตือนตนเอง ไถ่ถอนตนเองจากกิเลสตัณหาและความชั่วต่างๆ ได้เอง ปรับปรุงตนเองได้ นับว่าประเสริฐสุด เพราะคนส่วนมากมักเข้าข้างตนเอง มองไม่เห็นความผิดพลาดของตน เห็นแต่ความผิดพลาดของคนอื่น ดังภาษิตที่ว่า โทษของคนอื่นเห็นง่าย โทษของตนเห็นยาก

บุคคลผู้หวังความเจริญ จงทำใจให้เป็นกลาง น้อมรับคำแนะนำของผู้รู้ ไม่เข้าข้างตนเอง พิจารณาใคร่ครวญให้เห็นข้อดี ข้อเสียของตน แล้วปรับปรุงแก้ไข ไม่ปล่อยตัวปล่อยใจ ให้ถลำลึก ก็จะถึงความเจริญได้ดังประสงค์

มีคำสุภาษิตที่ท่านได้กล่าวเตือนตนเอาไว้ว่า
     "ตนเตือนตนของตนให้พ้นผิด ตนเตือนจิตตนได้ใครจะเหมือน
      ตนเตือนตนไม่ได้ใครจะเตือน ตนแชเชือนใครจะเตือนให้ป่วยการ"

เมื่อตนเตือนตนได้แล้ว ตนก็เป็นที่พึ่งแห่งตน นอกจากตนเป็นที่พึ่งแห่งตนแล้ว ก็ยังเป็นที่พึ่งของผู้อื่นได้ด้วย



อยู่ในถิ่นที่สมควร

การอยู่ในถิ่นที่สมควร ประกอบด้วยสิ่งแวดล้อมเป็นที่สบาย คือ อาวาสเป็นที่สบาย หมายถึง อยู่แล้วสบาย เช่น การเดินทางไปมาสะดวก ไม่มีภัยอันตราย สะอาด อากาศดี

อาหารเป็นที่สบาย หมายถึง อาหารการกินอุดมสมบูรณ์ เช่น มีแหล่งอาหารที่แสวงหามาได้ง่าย และสามารถจัดซื้อหามาได้ง่าย เป็นแหล่งชุมชน ไม่มีแหล่งอบายมุข

บุคคลเป็นที่สบาย หมายถึง ถิ่นที่มีคนดี จิตใจโอบอ้อมอารี พึ่งพาอาศัยกันได้ มีศีลธรรมไม่มีโจรผู้ร้าย นักเลงอันธพาล หรือใกล้แหล่งอิทธิพลผู้มีความเห็นผิดคิดผิด

ธรรมะเป็นที่สบาย หมายถึง มีที่พึ่งทางใจคือธรรมะ มีวัด สถานที่ฟังธรรม ปฏิบัติธรรม มีโรงเรียน หรือแหล่งศึกษาหาความรู้ อยู่ในละแวกนั้น

วิธีทำบ้านให้น่าอยู่ ดูแลบ้านให้สะอาด เป็นระเบียบ มีทางถ่ายเทอากาศได้สะดวก เลือกซื้อเลือกทำอาหารให้ถูกหลักอนามัย จูงใจคนในบ้านให้มีความเคารพเชื่อฟังซึ่งกันและกัน ละเว้นอบายมุข มีความขยันหมั่นเพียร มีน้ำใจต่อกัน โดยเริ่มปรับปรุงที่ตัวเราเองให้ดีก่อน แล้วจึงชักชวนผู้อื่นให้ปฏิบัติตาม

ชักนำกันไปวัดทำบุญ รักษาศีล ฟังเทศน์ ฝึกสมาธิจิต เป็นประจำ จัดบ้านให้มีอุปกรณ์เครื่องส่งเสริมทางใจ เช่น มีห้องพระหรือหิ้งพระ มีหนังสือธรรมะ เป็นต้น แล้วชักชวนกันให้ไหว้พระสวดมนต์ เจริญสมาธิภาวนาที่บ้านอย่างสม่ำเสมอ

การอยู่ในถิ่นที่เหมาะสม ได้รับความสุขกายสุขใจเต็มที่ มีความเจริญก้าวหน้าทั้งทางโลกและทางธรรม มีโอกาสบำเพ็ญบุญเต็มที่ ทั้งทาน ศีล ภาวนา
 - ได้ลาภอันประเสริฐ คือ ได้ความศรัทธาในพระรัตนตรัย
- ได้ฟังพระธรรมอันประเสริฐ คือ ได้ฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
- ได้เห็นอย่างประเสริฐ คือ ได้เห็นพระรัตนตรัย
- ได้รู้พระสัทธรรมอันประเสริฐ คือ ได้ศึกษาธรรมะ
- ได้การศึกษาอย่างประเสริฐ คือ ได้ศึกษาศีล สมาธิ ปัญญา
- ได้การบำรุงอันประเสริฐ คือ ได้บำรุงพระพุทธศาสนา
- ได้ระลึกถึงอย่างประเสริฐ คือ มีใจระลึกถึงพระรัตนตรัย ไม่ประมาทด้วยการปฏิบัติธรรม
- ได้ที่พึ่งอันประเสริฐสูงสุด คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
- ได้อริยทรัพย์อันประเสริฐ เป็นหนทางดำเนินไปสู่ พระนิพพาน

ผู้ที่อยู่อาศัยในสิ่งแวดล้อมเหมาะสม เพื่อประกอบสัมมาชีพตามความถนัดของแต่ละบุคคลได้อย่างสะดวกสบาย เป็นบ้านเมืองที่สงบเรียบร้อย ปราศจากภัยพิบัติอันตราย เป็นประชาธิปไตย ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน การคมนาคมไปมาสะดวก เป็นประเทศเป็นที่ประดิษฐานมั่นคงแห่งคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ผู้มีความมุ่งหมายจะประกอบอาชีพทางใด ก็สามารถดำเนินชีวิตให้เป็นไปทางนั้นตามความประสงค์


จากคอลัมน์ "ธรรมะวันหยุด" หนังสือพิมพ์ข่าวสด
โดย พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.๙) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร วรวิหาร กรุงเทพมหานคร

20-20
3413  สุขใจในธรรม / เกร็ดศาสนา / ความเป็นมาของวันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา เมื่อ: 26 กรกฎาคม 2558 15:22:32


http://www.sookjaipic.com/images/3911895466_4.JPG


ความเป็นมา
ของวันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา


วันอาสาฬหบูชา

วันอาสาฬหบูชา เกิดขึ้นเมื่อ ๔๕ ปี ก่อนพุทธศักราช ตรงกับวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘  ก่อนวันเข้าพรรษา ๑ วัน  ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นมคธ  พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แก่ปัญจวัคคีย์ เป็นครั้งแรกเป็นปฐมเทศนา

เมื่อจบพระธรรมเทศนา ธรรมจักษุ คือ ดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากธุลีมลทิน เกิดขึ้นแก่โกณฑัญญะ (๑ ใน ๕ ปัญจวัคคีย์) ว่า  “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา”  ได้ดวงตาเห็นธรรมบรรลุเป็นพระอริยบุคคลระดับโสดาบัน  ท่านได้กราบทูลขออุปสมบท พระพุทธองค์ทรงประทานการอุปสมบทให้ด้วยพระดำรัสว่า “เธอจงเป็นภิกษุ มาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด”  ด้วยพระวาจาเพียงเท่านี้ โกณฑัญญะ ก็สำเร็จเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา และการอุปสมบทด้วยวิธีนี้เรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา

และด้วยเหตุที่ท่านได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคล (อนุพุทธะ) เป็นคนแรก จึงทำให้ในวันนั้นมีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์เป็นครั้งแรกในโลก คือ มีพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้วันนี้ถูกเรียกว่า "วันพระธรรม" หรือ วันพระธรรมจักร อันเป็นวันวงล้อแห่งพระธรรมของพระพุทธเจ้าได้หมุนไปเป็นครั้งแรก และเป็นวันที่มีพระสงฆ์เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในโลกอีกด้วย

อาสาฬหบูชา  คือวันอาสาฬหปุรณมีดิถี หรือวันเพ็ญเดือนอาสาฬห ตรงกับวันเพ็ญ เดือน ๘ ตามปฏิทินจันทรคติของไทย เป็นวันที่พุทธศาสนิกชนแสดงความเคารพต่อพระสงฆ์ 

อาสาฬหเป็นชื่อเดือน ๘  อาสาฬหบูชาย่อมาจากคำว่าอาสาฬหบูรณมีบูชา แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน ๘ ถ้าปีใดมีเดือน ๘ สองครั้ง ก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘ หลัง

หลังจากสมเด็จพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้ในวันเพ็ญเดือน ๖ แล้ว ได้ทรงใช้เวลาทบทวนสัจธรรมและทรงคำนึงว่าธรรมะที่พระองค์ตรัสรู้นี้ลึกซึ้งมาก ยากที่ผู้อื่นจะรู้ตาม แต่อาศัยพระกรุณานี้เป็นที่ตั้ง จึงทรงพิจารณาแบ่งบุคคลออก
เป็น ๔ ประเภท (บัว ๔ เหล่า*) คือ
๑.อุคฆฏิตัญญู ดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ
๒.วิปัจจิตัญญู ดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำ
๓.เนยยะ ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ
๔.ปทปรมะ ดอกบัวที่จมอยู่กับโคลนตม
(*ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก ท่านยืนยันว่าในพระไตรปิฎก พระพุทธองค์ทรงจำแนกบุคคลไว้ ๓ จำพวกเท่านั้น)

จึงทรงมีพระกรุณาธิคุณ ระลึกถึงอาฬารดาบสและอุททกดาบสว่า มีกิเลสเบาบางสามารถตรัสรู้ได้ทันที แต่ท่านทั้ง ๒ ได้ตายแล้ว จึงทรงระลึกถึงปัญจวัคคีย์ ต่อมาได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ ทั้ง ๕ คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสชิ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผู้อุปฐากพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งยังทรงบำเพ็ญทุกข์กิริยาอยู่ พระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงเทศนาในครั้งนี้เรียกว่าธรรมจักกัปปวัตนสูตร ซึ่งมีอริยสัจ ๔ หรือความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการได้แก่
๑.ทุกข์ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ
๒.สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์
๓.นิโรธ ความดับทุกข์
๔.มรรค ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

และหลังจากแสดงพระธรรมเทศนาแล้ว ท่านโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นคนแรก ได้กราบฑูลขอบวชและพระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาต โดยทรงทำการอุปสมบทให้แบบเอหิภิกขุอุปสัมปทา นับเป็น"ปฐมสาวก" ของพระพุทธเจ้า ดังนั้นในวันนี้จึงเป็นวันแรกที่มีพระรัตนตรัยครบองค์สาม คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เนื่องจากพระพุทธองค์ทรงเทศนาเป็นกัณฑ์แรก จึงเรียกเทศฯกัณฑ์นี้ว่า "ปฐมเทศนา" หรืออีกนัยหนึ่งอาจจะกล่าวได้ว่านับเป็นวันแรกที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนา  ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเกิดปรากฏการณ์สำคัญๆ ในวันนี้ถึง ๔ ประการด้วยกันคือ
๑.เป็นวันแรกที่พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนา
๒.เป็นวันแรกที่พระพุทธองค์ทรงได้ปฐมสาวก
๓.เป็นวันแรกที่พระสงฆ์เกิดขึ้นในโลก
๔.เป็นวันแรกที่บังเกิดรัตนะสาม หรือพระรัตนตรัย คือ พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ และพระสังฆรัตนะ



แห่เทียนเข้าพรรษา สมัยรัชกาลที่ ๕ (ภาพ-หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)

วันเข้าพรรษา
วันเข้าพรรษา ถือเอาวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘  เป็นเดือนที่ภิกษุสงฆ์เริ่มเข้าจำพรรษา

ประเพณีวันทำบุญเข้าพรรษา ถือกันมาแต่โบราณครั้งพุทธกาล เพราะเป็นฤดูฝน เมื่อฝนตกเป็นการลำบากที่ภิกษุจะสัญจรไปมา ไม่ได้รับความสะดวก และบางครั้งพระภิกษุสงฆ์อาจเดินเข้าไปในเรือกสวนไร่นา เหยียบย่ำข้าวกล้า พืชผักของชาวบ้านได้รับความเสียหาย  ด้วยเหตุดังกล่าว จึงมีพุทธบัญญัติให้พระภิกษุสงฆ์อยู่ประจำที่หรือเข้าพรรษาเป็นเวลา ๓ เดือน ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ และในระหว่างเข้าพรรษา พระภิกษุสามเณรจะได้ถือโอกาสเล่าเรียนพระธรรมวินัยต่างๆ เพื่อปฏิบัติให้ถูกต้องดีงามและเข้มงวดตามพุทธบัญญัติ 

ในระหว่างเข้าพรรษาพระภิกษุสามเณรจะไปพักค้างคืนที่อื่นไม่ได้  การไปค้างคืนนอกวัดในระหว่างอยู่จำพรรษาของพระภิกษุสามเณรจะไปได้เมื่อมีเหตุจำเป็นด้วยสัตตาหกรณียะ* ได้ ๗ วัน ได้แก่
๑.ไปเพื่อพยาบาลสหธรรมิกหรือมารดาบิดาผู้เจ็บไข้
๒.ไปเพื่อระงับสหธรรมิกที่กระสันจะสึก
๓.ไปเพื่อกิจสงฆ์ เช่น ไปหาทัพพสัมภาระมาซ่อมวิหารที่ชำรุดลงในเวลานั้น
๔.ไปเพื่อบำรุงศรัทธาของทายกซึ่งส่งมานิมนต์เพื่อการบำเพ็ญกุศลของเขา และธุระอื่นจากนี้ที่เป็นกิจลักษณะอนุโลมตามนี้ได้
(* พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์  พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต))

แม้ธุระอื่นนอกจากนี้ที่เป็นกิจจะลักษณะอนุโลมตามนี้ก็ไปค้างที่อื่นได้ และการไปในกรณีดังกล่าวต้องกลับมาภายใน ๗ วัน หมายความว่าไปได้ไม่เกิน ๗ วันนั่นเอง

มูลเหตุที่มีพุทธบัญญัติให้พระภิกษุสงฆ์เข้าพรรษา
เรื่องมีอยู่ว่า ครั้งพุทธกาลเมื่อพระพุทธองค์เสด็จประทับอยู่เวฬุวันกลันทะกะนิวาปะสถาน ณ เมืองราชคฤห์ มีพระสงฆ์พวกหนึ่งเรียกว่า “ฉัพพัคคีย์” เที่ยวไปมาตลอดฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ไม่ได้หยุดพักเลย เมื่อคราวฝนตกแผ่นดินชุ่มด้วยน้ำฝน ก็เที่ยวเหยียบย่ำข้าวกล้าและหญ้าระบัดเขียว ทั้งสัตว์เล็กๆ เป็นอันตราย  ประชาชนทั่วไปต่างพากันติเตียนว่า แม้แต่พวกเดียรถีย์ปริพาชกเขายังหยุด ที่สุดแม้นกยังรู้จักทำรังอาศัยบนยอดไม้หลบหลีกฝน  แต่พระสมณะศากยะบุตรไฉนจึงเที่ยวอยู่ได้ทั้งสามฤดู เหยียบย่ำพืชผล และสัตว์เล็กๆ ให้เสียหายและล้มตายไปเป็นอันมากเช่นนี้  เมื่อภิกษุทั้งหลายได้ยินคำติเตียนเช่นนั้น จึงนำความมากราบทูลพระพุทธเจ้า  พระพุทธเจ้าจึงทรงให้พระภิกษุสงฆ์อยู่จำพรรษาเป็นเวลา ๓ เดือน คือไม่อนุญาตให้เดินทางไปค้างแรมที่อื่น ๓ เดือน  ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑  ซึ่งระยะเวลานี้เรียกว่า พรรษาแรก  แต่ถ้าภิกษุรูปใดไม่สามารถเข้าพรรษาได้ตามกำหนดดังกล่าว อาจเข้าพรรษาตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ เป็นต้นไปจนครบ ๓ เดือนก็ได้ เรียกว่า พรรษาหลัง  ในระหว่างเข้าพรรษาให้พระภิกษุอยู่ในวัดแห่งเดียว ไม่อนุญาตให้ไปพักแรมที่อื่นตลอด ๓ เดือน  ถ้าพระภิกษุเที่ยวไปกลางพรรษา หรืออธิษฐานจำพรรษาแล้วอยู่ครบ ๓ เดือนไม่ได้ ต้องอาบัติทุกกฎ เว้นแต่มีเหตุจำเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวแล้วข้างต้น แต่ปกติไปได้ไม่เกิน ๗ วัน

ประเพณีให้พระสงฆ์อยู่จำพรรษา คือ อยู่ในวัดแห่งเดียว ไปค้างที่ไหนไม่ได้ ๓ เดือน จึงเป็นธรรมเนียมปฏิบัติตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

การทำบุญเข้าพรรษา
เมื่อถึงวันทำบุญเข้าพรรษา ชาวบ้านผู้มีจิตศรัทธาต่างก็จัดอาหารคาวหวาน หมากพลู บุหรี่ ไปถวายพระสงฆ์ บางคนก็นำสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ มีไตรจีวร ตั่งเตียง ยารักษาโรค ผ้าห่มนอน ตะเกียง ธูปเทียน เป็นต้น ไปถวาย โดยเฉพาะของใช้ให้แสงสว่าง เช่น เทียน ตะเกียงน้ำมัน เป็นต้น ชาวบ้านถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเชื่อว่าการถวายทานแสงสว่างแด่พระภิกษุสงฆ์จะได้อานิสงส์แรง ทำให้ได้ตาทิพย์และปัญญาดี

เทียนพรรษา
ก่อนวันเข้าพรรษา ทางวัดจะเที่ยวบอกบุญชาวบ้านขอให้ไปหาขี้ผึ้งมาหล่อเป็นเทียน โดยจัดทำเป็นเล่มหรือแท่งขนาดใหญ่ และทำเป็นต้น เรียกว่า ต้นเทียน มีการประดับประดาอย่างสวยงาม พอถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ก็พากันแห่ไปถวายวัด บางแห่งแบ่งการหล่อเทียนออกเป็นคณะ มีการฟ้อนรำ และการละเล่นพื้นเมืองประกอบ สนุกสานเฮฮากัน  เมื่อไปถึงวัดก็มีการทำพิธีถวายเทียนพรรษา ผ้าอาบน้ำฝนและบริวารอื่นๆ  แด่พระภิกษุสามเณร และมีการฟังเทศน์ด้วย บางแห่งชาวบ้านชายหญิงสวดบทธรรมเป็นทำนองสรภัญญะ เริ่มแต่อาราธนาศีล อาราธนาธรรม ตลอดจนบทเกี่ยวกับการประพฤติปฏิบัติ และพรรณนาถึงคุณของผู้มีอุปการคุณ ซึ่งมีท่วงทำนองไพเราะจับใจมาก ทำให้ผู้สวดและผู้ฟังมีจิตใจสงบสุข

ผ้าอาบน้ำฝน
ผ้าอาบน้ำฝน คือผ้าที่พระภิกษุใช้นุ่งอาบน้ำ คืออนุโลมตามสีจีวร ขนาดยาว ๔ ศอก ๑ กระเบียด กว้าง ๑  ศอก ๑ คืบ ๑ กระเบียด ๒ อนุกระเบียด ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๗ ถึงกลางเดือน ๘ เป็นเวลาที่พระภิกษุแสวงหาผ้าอาบน้ำฝน ผู้มีศรัทธาอาจถวายผ้าอาบน้ำฝนได้ตามกำหนดนี้ แต่โดยมากนิยมถวายกันในวันเพ็ญเดือนแปด

มูลเหตุที่มีการถวายผ้าอาบน้ำฝน
สมัยก่อน พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระภิกษุใช้ผ้าเพียง ๓ ผืน คือเท่านั้น คือมีอุตราสงค์หรือจีวร (ผ้าห่ม)  อัตราวาสกหรือสบง (ผ้านุ่ง)  และสังฆาฏิ (ผ้าห่มซ้อน)   ครั้นถึงฤดูฝนพระภิกษุบางรูปจะอาบน้ำฝนไม่มีผ้าจะนุ่งอาบ จึงเปลือยกายอาบน้ำฝน วันหนึ่ง นางวิสาขาใช้สาวใช้ไปวัดขณะฝนตก สาวใช้เห็นพระภิกษุเปลือยกายอาบน้ำฝน จึงกลับมาเล่าให้นางวิสาขาฟัง  นางวิสาขาจึงกราบทูลพระพุทธเจ้าขอถวายผ้าอาบน้ำฝน พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตให้พระภิกษุใช้ผ้าอาบน้ำฝน และถือเป็นวัตรปฏิบัติตั้งแต่นั้นมา

คำถวายเทียนและผ้าอาบน้ำฝนมีดังต่อไปนี้
คำถวายเทียน
อิมานิ มะยัง ภันเต ปะทีปัง สะปะริวารัง ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุโน ภันเต  ภิกขุสังโฆ อิมานิ ปะทีปัง สะปะริวารัง ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ.

คำแปล
ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายเทียนกับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับเทียน และบริวารทั้งหลายเหล่านี้ เพื่อประโยชน์ และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย  สิ้นกาลนาน เทอญ.

คำถวายผ้าอาบน้ำฝน
อิมานิ มะยัง ภันเต วัสสิกะสาฏิกะจีวะรานิ  สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุโน ภันเต  ภิกขุสังโฆ อิมานิ วัสสิกะสาฏิกะจีวะรานิ ปะฏิคคันหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ

คำแปล
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าอาบน้ำฝน กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับผ้าอาบน้ำฝนกับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ เพื่อประโยชน์ และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ
3414  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ใต้เงาไม้ / ชีวิต-ผลงาน ครู 'เหม เวชกร' เมื่อ: 25 กรกฎาคม 2558 15:16:50
.

http://lankapra.com/images/2-1096.jpg


ชีวิต-ผลงาน
ครูเหม  เวชกร

เหม เวชกร เป็นจิตรกรสำคัญคนหนึ่งของเมืองไทย ฉายา “จิตรกรมือเทวดา” มีผลงานเป็นที่รู้จักแพร่หลาย  นอกจากเป็นจิตรกรแล้ว เหม เวชกร ยังมีความสามารถทางสังคีตศิลป์ โดยสีไวโอลินได้อย่างไพเราะ และยังเขียนหนังสือจนถึงขั้นเป็นนักประพันธ์ที่มีชื่อเสียง

ครูเหม เวชกร เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๖ ที่ปากคลองตลาด ตำบลพระราชวัง อำเภอพระนคร  จังหวัดพระนคร (กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน)  เป็นบุตรของของหม่อมราชวงศ์หุ่น ทินกร กับหม่อมหลวงสำริด พึ่งบุญ  ชีวิตในวัยเด็กของครูเหม เรียกได้ว่าขาดความอบอุ่น เมื่ออายุได้ ๘ ปี พ่อกับแม่แยกทางกันจึงไปอยู่กับหม่อมราชวงศ์แดง ทินกร ผู้เป็นลุง  ได้ย้ายติดตามหม่อมราชวงศ์แดงไปอยู่ที่จังหวัดภูเก็ตและจังหวัดพระนครศรีอยุธยาตามลำดับ  ต่อมาหม่อมราชวงศ์หุ่น ผู้เป็นบิดาได้มารับตัวครูเหมกลับไปอยู่ด้วย  แล้วได้ส่งเข้าเรียนที่โรงเรียนวัดเทพศิรินทร์และโรงเรียนอัสสัมชัญ แต่ครูเหมเรียนไม่จบเพราะชอบหนีเรียน  ด้วยมีใจรักในการวาดรูป จึงฝึกฝนตนเองหัดเขียนรูปเรื่อยมา

เมื่ออายุได้ ๑๐ ปี มีโอกาสพบและเป็นผู้ช่วย คาร์โล ริโกลี จิตรกรชาวอิตาเลียน ที่มาเขียนภาพบนเพดานโดมในพระที่นั่งอนันตสมาคม และเป็นคนสอนครูเหมให้วาดเส้นและลวดลายต่างๆ

สืบเนื่องจากหม่อมราชวงศ์แดง ผู้เป็นลุงได้มารับครูเหมไปอยู่ด้วยอีกครั้งที่บ้านในซอยวัดสามพระยา  หม่อมราชวงศ์แดงทำหน้าที่เป็นเลขานุการของเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ได้รับมอบหมายให้ดูแลบ้านริมแม่น้ำเจ้าพระยาหลังนี้  ในขณะนั้นเจ้าพระยายมราชได้เป็นแม่กองการก่อสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม ได้ว่าจ้างช่างชาวอิตาลีให้มาเขียนภาพสีน้ำมันขนาดใหญ่ภายในพระที่นั่งอนันตสมาคม  จิตรกรคณะนี้ได้มาพำนักอยู่ที่บ้านริมน้ำที่ซึ่งหม่อมราชวงศ์แดงดูแลอยู่  

วันหนึ่งมิสเตอร์คาร์โล ริโกลี เห็นครูเหมกำลังวาดรูปด้วยชอล์กบนสะพานท่าน้ำ จึงถามว่าไปเรียนวาดรูปมาจากไหน ครูเหมตอบว่าไม่ได้เรียนแต่มีใจรักและนึกอยากจะขีดเขียนก็เขียนออกมา  มิสเตอร์ริโกลีเห็นแววจิตรกรของครูเหม จึงขออนุญาตหม่อมราชวงศ์แดงสอนการวาดรูปให้ครูเหม  และให้ครูเหมเป็นผู้ช่วยเขียนรูปในพระที่นั่งอนันตสมาคมในครั้งนั้นด้วย   เมื่อภารกิจเสร็จเรียบร้อย   มิสเตอร์ริโกลีได้ขออนุญาตหม่อมราชวงศ์แดง พานายเหมไปศึกษาวิชาการศิลปะที่ประเทศอิตาลี  ซึ่งหม่อมราชวงศ์แดงก็อนุญาตและสนับสนุน  แต่ความฝันของครูเหมต้องสลายไป เพราะเมื่อบิดามารดาของครูเหมทราบเรื่อง ได้พาครูเหมไปหลบซ่อน  ทำให้ครูเหมต้องสูญเสียโอกาสที่จะได้เรียนในสิ่งที่ตัวรัก  ความเสียใจในครั้งนี้ทำให้ครูเหมตัดสินใจหนีออกจากบ้านไปเป็นลูกจ้างที่อู่ต่อเรือของชาวจีนกวางตุ้ง โดยทำงานทุกอย่างตั้งแต่โยนฟืนใส่เตา เป็นนายท้ายเรือโยง เป็นช่างเครื่องจักรไอน้ำ  เป็นผู้ช่วยช่างดูแลเรือที่แม่กลอง รับจ้างลากเรือวิ่งทวนน้ำไปจังหวัดราชบุรี จังหวัดกาญจนบุรี และไทรโยค  ทำงานจนอายุได้ ๑๙ ปี จึงเดินทางกลับบ้าน  ได้ทำงานเป็นผู้ช่วยช่างน้ำมันในโครงการขุดคลองและสร้างเขื่อนพระราม ๖ ที่ท่าหลวงจังหวัดสระบุรี เป็นเวลา ๓ ปี จึงลาออกแล้วมาเช่าบ้านอยู่กับเพื่อนๆ ที่ท่าพระจันทร์  ต่อมาได้ทำงานเป็นผู้เขียนภาพประกอบตำราที่กรมตำราทหารบก  ทำงานอยู่ไม่นานก็ถูกเกณฑ์ทหารไปรับใช้ชาติและปลดออกจากราชการไปเป็นทหารกองหนุนในปี พ.ศ. ๒๔๗๐

ในขณะนั้นกิจการทำหนังสือเฟื่องฟู  มีร้านทำบล็อกเกิดขึ้นหลายแห่ง ครูเหมได้ร่วมมือกับเพื่อนเปิดกิจการทำบล็อกขึ้น มีนามว่า “บล็อกสถาน” การทำบล็อกในครั้งนี้ทำให้ครูเหมได้แสดงฝีมือทางการเขียนภาพบ้าง  จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๗๓ ครูเหมได้รับการคัดเลือกให้เขียนซ่อมภาพจิตรกรรมเรื่องรามเกียรติ์ ตอนมังกรกรรฐ์ล้ม ที่ฝาผนังห้องที่ ๖๙ ระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทำให้ชื่อเสียงของครูเหม เป็นที่รู้จักมากขึ้น

นาม “เหม  เวชกร” นี้มิใช่นามปากกา หากเป็นชื่อจริง นามสกุลจริง ซึ่งครูเหมใช้ในบัตรประชาชน ที่มาของนามสกุล “เวชกร” นั้น เนื่องจากสมัยที่ครูเหมยังเร่ร่อนลำบาก  ครูเหมได้รับการอุปการะอย่างดียิ่งเสมือนประหนึ่งเป็นลูกหลานจากขุนประสิทธิ์เวชชกร อดีตสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์ และให้ครูเหมใช้นามสกุลร่วม  ครูเหมตัด “ช” ออกหนึ่งตัว จึงเป็น เวชกร มาจนถึงทุกวันนี้

ชื่อเสียงครูเหมเป็นที่รู้จักแพร่หลาย  จน พ.ศ. ๒๔๗๘ ครูเหมได้ตั้งสำนักพิมพ์ส่วนตัวชื่อว่า “คณะนายเหม” พิมพ์หนังสือรายสิบวันออกจำหน่าย โดยมีนายเหมเป็นบรรณาธิการ  สุมทุม บุญเกื้อ (กิ่ง พึ่งบุญ) เป็นผู้พิสูจน์อักษร  โพยม บุณยศาสตร์ เป็นผู้จัดหน้าเข้าเล่ม  ผู้เขียนนวนิยายคือ ก้าน พึ่งบุญ  ซึ่งต่อมารู้จักกันในนามปากกา “ไม้ เมืองเดิม” ต่อมาสำนักพิมพ์ประสบภาวะขาดทุนเนื่องจากเก็บเงินค่าหนังสือจากตัวแทนจำหน่ายไม่ได้ จนต้องเลิกกิจการไป  ในที่สุด พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ หรือ น.ม.ส. ได้ชวนครูเหมมาทำงานฝ่ายศิลป์ เขียนภาพประกอบวรรณคดีเรื่องต่างๆ ให้กับหนังสือพิมพ์ประมวญวัน ต่อมาเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ โรงพิมพ์ถูกทิ้งระเบิดจนต้องเลิกกิจการ  ครูเหมจึงอพยพจากฝั่งพระนครไปอยู่บ้านสวนฝั่งธน และรับงานเขียนภาพให้กรมประชาสัมพันธ์ โดยเขียนภาพวิจิตรเรื่องกามนิต ตามต้นฉบับของเสฐียรโกเศศและนาคะประทีป ซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือสร้างตนเองและได้เขียนภาพส่งเสริมวัฒนธรรมของสามัคคีไทยในยุคมาลานำไทย

ในปี พ.ศ. ๒๔๘๖ ได้เข้ารับราชการอีกครั้งที่กองตำรา ได้รับแต่งตั้งให้เป็นครูสอนวาดเขียนที่โรงเรียนเพาะช่าง มีลูกศิษย์เกิดขึ้นมากมาย ต่อมาได้ลาออกจากราชการ ไปเข้าร่วมคณะทำหนังสือโบว์แดงรายสัปดาห์ของอุดม ชาตบุตร โดยมีสันต์ เทวรักษ์ เป็นบรรณาธิการ   นายเหม เวชกร เป็นบรรณาธิการฝ่ายศิลป์ และรับเขียนภาพวิจิตรและภาพปกให้แก่นิตยสารและสำนักพิมพ์ทั่วไป  ๔ ปีต่อมาหนังสือโบว์แดงปิดกิจการลง เริ่มออกหนังสืออุดมสารรายปักษ์โดยมีประหยัด ชาตบุตร เป็นบรรณาธิการ  ออกไปได้ ๔๖ ฉบับก็ต้องปิดกิจการลงอีก  สำนักพิมพ์เพลินจิตต์ที่ครูเหมเคยร่วมงานด้วยได้ฟื้นตัว ครูเหมได้เขียนภาพปกและภาพประกอบให้ จนเปิดร้านทำบล็อกขึ้นอีกครั้งที่ถนนเจริญกรุง สี่กั๊กพระยาศรี ชื่อสำนักงานช่างนายเหม เวชกร  ต่อมากิจการเริ่มตกต่ำลง จึงมอบหมายให้ศิษย์ของครูเหมคือ สุชาติ ทองประไพ ดำเนินกิจการต่อ

ในปี พ.ศ. ๒๕๖๐  นายเปลื้อง ณ นคร บรรณาธิการสำนักพิมพ์วิทยาสาร และชัยพฤกษ์ ของสำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช ได้ชวนครูเหมร่วมงานเป็นช่างเขียนภาพวิจิตรประกอบเรื่องราวในวรรณคดีลงพิมพ์ในหนังสือชัยพฤกษ์




ภาพปฐมสมโพธิ ฝีมือ ครูเหม เวชกร

ภาพวาดชิ้นสำคัญในชีวิตของครูเหมคือ ภาพชุดชีวประวัติสุนทรภู่ ภาพชุดนางงามในวรรณคดี  ภาพชุดกากี  ภาพชุดราชาธิราช ประมาณ ๒,๖๐๐ ภาพ  ภาพชุดประวัติศาสตร์ไทย  ภาพชุดนิทานประจำเมือง  ภาพชุดเงาะป่า  ภาพชุดกามนิต ประมาณ ๒,๐๐๐ ภาพ  ภาพชุดขุนช้างขุนแผน และภาพชุดศรีธนญชัยประมาณ ๒,๐๐๐-๓,๐๐๐ ภาพ  ภาพชุดอิเหนา ประมาณ ๑,๓๒๐ ภาพ ส่วนภาพที่ครูเหม เวชกร รักมากที่สุดคือ ภาพชุดปฐมสมโพธิ จากผลงานชิ้นนี้เองทำให้ครูเหม เวชกร ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาโดยตลอด

งานด้านสังคีตศิลป์ ครูเหมสามารถสีไวโอลินได้อย่างไพเราะถึงขั้นแสดงออกในรายการโทรทัศน์และแสดงเป็นการกุศลเป็นประจำ

งานด้านวรรณกรรม ครูเหม เวชกร ได้รับยกย่องให้เป็นนักประพันธ์ที่มีชื่อเสียงคนหนึ่ง เรื่องที่ครูเหมเขียน คือเรื่องผี พิมพ์จำหน่ายเป็นชุดๆ เช่น ปีศาจของไทย วิญญาณที่เร่ร่อน ผู้ไม่มีร่างกาย และเขาเห็นเราข้างเดียว เป็นต้น

ด้านชีวิตสมรส  ครูเหม เวชกร ได้สมรสกับ นางสาวแช่ม คมขำ แห่งสำนักวังหลานหลวงของกรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ นักร้องส่งเพลงไทยที่มีชื่อเสียง แม้จะไม่มีทายาท แต่ชีวิตครอบครัวก็เป็นสุข

ครูเหม  เวชกร เป็นผู้มีจิตใจโอบอ้อมอารี ไม่ถือตัว รื่นเริงอยู่เป็นนิตย์ ไม่หวงวิชา ยินดีถ่ายทอดให้แก่ลูกศิษย์และผู้สนใจวิชาวาดภาพอย่างเปิดเผย จึงเป็นที่รักใคร่ของทุกคน

ครูเหม เวชกร ถึงแก่กรรมด้วยโรคหัวใจวาย เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๒ ที่บ้านตากสิน บ้านพักแห่งสุดท้าย สิริอายุได้ ๖๖ ปี


มีต่อ
3415  สุขใจในธรรม / พุทธประวัติ แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า / Re: ประวัติบุคคลสำคัญของพระพุทธศาสนา โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก เมื่อ: 24 กรกฎาคม 2558 15:38:20
.


หมอชีวกโกมารภัจจ์


หมอชีวกโกมารภัจจ์นั้น เป็นนายแพทย์ผู้มีชื่อเสียงมากในครั้งพุทธกาล  

สำเร็จการศึกษาวิชาแพทย์จากสำนักตักศิลา  ได้รับแต่งตั้งจากพระเจ้าพิมพิสาร เจ้าแห่งมคธรัฐ ให้ดำรงตำแหน่งแพทย์หลวงประจำพระราชสำนัก  ต่อมาเขาได้ถวายการรักษาพระโรคของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  

ด้วยความใกล้ชิดกับพระพุทธองค์นี่เอง เขาจึงเกิดศรัทธาในพระองค์เป็นอย่างยิ่ง ถวายตัวเป็นแพทย์ประจำพระองค์ ปรุงพระโอสถถวายทุกคราวที่ทรงพระประชวร  นอกจากนี้ เขายังได้ถวายสวนมะม่วงอันเป็นสมบัติของเขาให้เป็นอารามที่ประทับประจำของพระพุทธเจ้าอีกด้วย  ตลอดชีวิตเขาได้บำเพ็ญแต่คุณงามความดี ช่วยเหลือผู้เจ็บไข้ ไม่เลือกยากดีมีจน จนได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ว่าเป็นเอตทัคคะในทางเป็นที่รักของปวงชน

เรื่องราวชีวิตของเขามีกล่าวไว้ในพระวินัยปิฎก และคัมภีร์อรรถกถาเพียงกระท่อนกระแท่น  ผู้เขียนจึงขอเก็บรวบรวมมาแต่งเติมเสริมต่อให้เป็นเรื่องเป็นราวเพื่อประกาศเกียรติคุณของบุคคลคนหนึ่ง ซึ่งตลอดชีวิตมุ่งทำแต่ประโยชน์เพื่อคนอื่นในด้านที่ตนถนัด จนแทบไม่มีเวลาสำหรับตนเอง  

คนชนิดนี้ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม ทั้งในอดีต ปัจจุบัน อนาคต เป็นคนที่น่าสรรเสริญและเจริญรอยตามเป็นอย่างยิ่ง

แรงอธิษฐาน
ย้อนหลังจากภัทรกัปนี้เป็นแสนกัป สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตระ เสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระพุทธเจ้าพระองค์นี้ประสูติที่เมืองจัมปา เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าอสมะ กับพระนางอสมา  

ก่อนเสด็จออกผนวช ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางอุตตรา มีพระโอรสพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า รัมมะ  

ภายหลังทรงรู้สึกเบื่อหน่ายในเพศผู้ครองเรือน จึงเสด็จออกทรงผนวช บำเพ็ญพรต จนสำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วเสด็จไปประกาศพระศาสนา โดยได้แสดงธรรมเทศนา กัณฑ์แรก ชื่อ ธนัญชุยยานสูตร   ไม่นาน มีผู้เลื่อมใสมอบตนเป็นสาวกมากขึ้นตามลำดับ ในจำนวนนี้มีพระภราดาทั้งสองของพระองค์ คือ เจ้าชายสาละกับเจ้าชายอุปสาละรวมอยู่ด้วย ซึ่งต่อมาได้รับสถาปนาในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นพระอัครสาวกฝ่ายขวาและฝ่ายซ้าย ตามลำดับ

สมัยนั้นชีวกโกมารภัจจ์เกิดทันเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เขาเห็นชายคนหนึ่งท่าทางภูมิฐาน เดินเข้าเดินออกพระอารามที่ประทับของพระพุทธเจ้าอยู่เสมอ อยากรู้ว่าชายคนนี้ไปวัดทำไมบ่อยๆ วันหนึ่งจึงไปดักรออยู่นอกประตูวัด พอชายคนนั้นเดินออกมาจากประตู เขาจึงกรากเข้าไปถามว่า “นี่คุณ ผมเห็นคุณเดินเข้าเดินออกวัดทุกวัน ผมอยากทราบว่าคุณไปทำไม”

สุภาพบุรุษคนนั้นมองเขาแวบหนึ่ง แล้วตอบอย่างสุภาพว่า “ผมเป็นนายแพทย์ประจำพระองค์ของพระพุทธเจ้า ผมไปเฝ้าพระองค์ทุกวันเพื่อรับพระโอวาท และถวายการรักษาในคราวที่ทรงพระประชวร”
“แหม คุณช่างมีตำแหน่งน่าสรรเสริญจริงๆ ทำอย่างไรผมจะได้เป็นอย่างคุณบ้างนะ”
“หน้าที่อย่างนี้ ชั่วพุทธกาลหนึ่งก็มีเพียงคนเดียว ถ้าคุณอยากเป็นอย่างผม ก็ตั้งอธิษฐานไว้ชาติหน้าสิ ผมไปล่ะ จะรีบไปดูคนไข้ในเมือง”

แล้วหมอก็รีบผละไป ปล่อยให้เขายืนคิดอยู่คนเดียว “ถ้าคุณอยากเป็นอย่างผม ก็ตั้งอธิษฐานไว้ชาติหน้าสิ” คำพูดของหมอยังก้องอยู่ในใจ ชาติหน้ามีจริงหรือ? อธิษฐานจิตมีผลถึงชาติหน้าจริงหรือ? ฯลฯ คำถามเหล่านี้เรียงคิวเข้ามาสู่สมองของเขาเป็นทิวแถว

แต่ก็ให้คำตอบแก่ตัวเองไม่ได้

พลันนึกถึงพระพุทธเจ้าขึ้นมาได้ จึงไปเข้าเฝ้าพระองค์ยังพระอาราม กราบทูลถามข้อข้องใจต่างๆ พระองค์ก็ทรงประทานวิสัชนาให้เป็นที่หายสงสัยหมดสิ้น เป็นครั้งแรกที่เขามีโอกาสได้เข้าเฝ้าและสนทนาอย่างใกล้ชิดกับพระผู้เป็นศาสดาเอกในโลก ให้รู้สึกปีติดีใจเหลือพรรณนา   หลังจากได้รับรสพระธรรมจากพระองค์เป็นที่ชุ่มชื่นใจแล้ว เขาได้กราบทูลอาราธนาพระองค์ไปเสวยภัตตาหารที่บ้านของเขาพร้อมกับภิกษุสงฆ์ พระองค์ทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ

หลังจากถวายภัตตาหารแด่พระพุทธเจ้า และพระสงฆ์สาวกแล้ว เขาเข้าไปกราบแทบพระยุคลบาท กล่าวคำอธิษฐานต่อพระพักตร์ว่า  “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยอานิสงส์แห่งการถวายภัตตาหารครั้งนี้ ขอให้ข้าพระพุทธเจ้าจงเป็นแพทย์ประจำพระพุทธเจ้าในอนาคตเช่นเดียวกับนายแพทย์ผู้อุปัฏฐากพระองค์ด้วยเถิด”

“เอวัง โหตุ ขอให้สัมฤทธิ์ดังปรารถนาเถิด”
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงดำรัสตอบ ทรงประทานอนุโมทนาเสร็จแล้วเสด็จกลับไปยังพระอาราม

ดับขันธ์จากชาตินั้นแล้ว เขาได้เวียนว่ายตายเกิดในภพต่างๆ ดีบ้าง ชั่วบ้าง ตามแรงกรรมที่ก่อสร้างไว้ กาลผ่านไปเป็นระยะเวลานานนับได้แสนกัป  

ในที่สุด “แรงอธิษฐาน” ของเขาสัมฤทธิ์ผล เมื่อเขาได้มาถือกำเนิดเป็นชีวกโกมารภัจจ์โอรสบุญธรรมของเจ้าฟ้าอภัย พระราชโอรสของพระเจ้าพิมพิสารเจ้าแห่งมคธรัฐ

โปรดติดตามเรื่องราวของเขาต่อไปเถิด


ข้อมูล : บทความพิเศษ หมอชีวกโกมารภัจจ์ โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก   หน้า ๗๑ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๘๒๓ ประจำวันที่ ๒๔-๓๐ ก.ค.๕๘


กำเนิดชีวกโกมารภัจจ์

ขอกล่าวถึงเมืองไพศาลีก่อน ในครั้งพุทธกาล เมืองไพศาลีเป็นเมืองมั่งคั่ง มีประชาชนพลเมืองมากมาย อุดมสมบูรณ์ด้วยภักษาธัญญาหารนานาชนิด ในพระวินัยปิฎก ท่านพรรณนาถึงความยิ่งใหญ่แห่งเมืองนี้ว่า
“มีปราสาท ๗,๗๐๗ หลัง มีเรือนยอด ๗,๗๐๗ หลัง มีสวนดอกไม้ ๗,๗๐๗ แห่ง มีสระโบกขรณี ๗,๗๐๗ สระ”

ยิ่งกว่านั้นยังมีสิ่งที่แปลกและใหม่ที่เมืองอื่นไม่มี คือ นครโสเภณี หรือหญิงงามเมือง

ตำแหน่งนี้โบราณถือว่าเป็นตำแหน่งที่มีเกียรติมาก เพราะเป็นตำแหน่งที่พระราชาทรงตั้ง โดยคัดเอาสตรีที่มีเรือนร่างสะคราญตาที่สุด และชำนาญฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรีอย่างดีเยี่ยม

สตรีผู้มีเกียรติได้ดำรงตำแหน่งนครโสเภณีเป็นคนแรกชื่อ อัมพปาลี นัยว่า เป็นผู้ที่มีรูปร่างผิวพรรณเฉิดฉาน น่าเสน่หายิ่งนัก ราคาค่าตัวคราวละ ๕๐ กหาปณะ (ประมาณ ๒๐๐ บาท)

เกียรติศัพท์เมืองไพศาลี มีหญิงนครโสเภณีผู้เลอโฉมสำหรับบำเรอชาย ได้ยินไปยังแว่นแคว้นแดนไกล เป็นเหตุให้พ่อค้าคฤหบดีจากเมืองต่างๆ ขนเงินขนทองมาทิ้งให้เมืองไพศาลีเป็นจำนวนมาก

คราวหนึ่ง นายพาณิชจากเมืองราชคฤห์จำนวนหนึ่งเดินทางไปค้าขายที่เมืองไพศาลี ได้ทราบเรื่องนี้เข้า จึงคิดกันว่าตำแหน่งนครโสเภณี เป็นอุบายดึงดูดเงินตราจากต่างประเทศได้อย่างหนึ่ง สมควรที่จะกราบบังคมทูลพระราชาให้ทรงแต่งตั้งหญิงนครโสเภณีเหมือนอย่างเมืองไพศาลีบ้าง

กลับไปแล้ว พวกเขาได้เข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสาร กราบทูลความดำริของตนให้พระองค์ทราบ

พระองค์ทรงเห็นชอบด้วย จึงรับสั่งให้คัดเลือกสตรีงามเพื่อดำรงตำแหน่งนี้

ในที่สุดได้สตรีวัยรุ่นนางหนึ่ง ชื่อ สาลวดี โดยได้ตั้งอัตราค่าตัวสำหรับผู้ร่วมอภิรมย์ ๑๐๐ กหปณะ

นางสาลวดีครองตำแหน่งนี้ไม่นานก็ตั้งครรภ์โดยบังเอิญ มาสำนึกได้ว่า อันธรรมดาหญิงโสเภณี เมื่อตั้งครรภ์ย่อมเป็นที่เบื่อหน่ายของชาย รายได้ที่เคยได้ประจำก็ย่อมจะหมด จะทำแห้งหรือ ก็มีมโนธรรมพอที่จะไม่ทำบาปหยาบช้าถึงขั้นฆ่าลูกในไส้ จะทำอย่างไรดีล่ะ

ในที่สุดก็คิดอุบายได้ แสร้งทำเป็นป่วย บอกงดรับแขกชั่วคราว จนคลอดลูกออกมาเป็นชาย ตกดึกสงัดยามปลอดคน นางได้สั่งให้หญิงรับใช้คนสนิท เอาทารกน้อยผู้น่าสงสาร ใส่กระด้งไปทิ้งไว้ที่กองขยะนอกเมือง

อกุศลกรรมใดที่บันดาลให้ทารกน้อยผู้ไร้เดียงสาต้องถูกนำไปทิ้งอย่างน่าอนาถเช่นนี้ ก็สุดที่จะทราบได้ แต่เดชะบุญกุศลที่ทารกน้อยผู้นี้ได้ก่อสร้างไว้ในอดีตชาติ มีมากมายมหาศาล จึงบันดาลให้เจ้าฟ้าอภัย พระราชโอรสของพระเจ้าพิมพิสาร มีอันต้องเสด็จออกนอกเมืองแต่เช้า มุ่งพระพักตร์มายังกองขยะที่ทารกน้อยนอนอยู่

ฝูงแร้งกาที่มารุมกันอยู่ที่ขยะมูลฝอยกองนั้น เห็นคนเดินมาใกล้มากหน้าหลายตา พากันแตกฮือบินหนีไป เจ้าฟ้าอภัยทอดพระเนตรเห็นดังนั้น จึงรับสั่งถามมหาดเล็กที่ตามเสด็จว่า “นั่นแร้งกามันรุมกินอะไรที่กองขยะนั่น ไปดูซิ”

พวกมหาดเล็กวิ่งไปดู เห็นทารกน้อยนอนแบบอยู่ที่กระด้งบนกองขยะ จึงรีบมาทูลว่า
“แร้งกามันรุมกันเพื่อจะจิกกินทารกคนหนึ่ง ไม่ทราบว่าใครเอามาทิ้งไว้พ่ะย่ะค่ะ”
“ผู้หญิงหรือผู้ชาย”
“ผู้ชาย พ่ะย่ะค่ะ”
“ยังมีชีวิตอยู่ หรือตายแล้ว”
“ยังมีชีวิตอยู่ พะยะค่ะ”

ได้ฟังคำกราบทูลของมหาดเล็ก ทรงเกิดความสงสารขึ้นจับพระทัย “ใครหนอ ช่างใจร้าย เอาลูกในไส้มาทิ้งได้” ทรงรำพึงในพระทัย พลางรีบสาวพระบาทไปยังกองขยะ ทอดพระเนตรเห็นทารกน้อยดิ้นกระแด่วๆ ยื่นมือไขว่คว้ามายังพระองค์  จึงรับสั่งให้นำเด็กน้อยเข้าวัง สั่งให้พี่เลี้ยงนางนมเลี้ยงดูอย่างทะนุถนอม ทรงรับไว้เป็นโอรสบุญธรรมต่อมา

เพราะคำกราบทูลของมหาดเล็กว่า “ยังอยู่” (ชีวโก) เจ้าชายจึงทรงขนานนามทารกน้อยว่า “ชีวกโกมารภัจจ์” หรือเรียกตามภาษาไทยว่า “บุญยัง” (หมายความว่า ผู้ยังมีชีวิตรอดมาได้ เพราะบุญที่เจ้าฟ้าอภัยทรงนำมาเลี้ยงดู)

เจ้าบุญยังมีแววว่าเป็นเด็กฉลาดมาแต่น้อย หน่วยก้านจะได้ดีต่อไปภายหน้า ไม่ว่าจะเล่นอะไรกับลูกหลวงอื่นๆ เจ้าบุญยังสามารถเอาชนะเขาได้หมด จนพวกเขาขัดใจที่เอาชนะเจ้าบุญยังไม่ได้ ด่าเอาเจ็บๆ ว่า
“เจ้าลูกไม่มีพ่อไม่มีแม่นี่เก่งจริงโว้ย”
“เจ็บใจนัก เล่นสู้เจ้าเด็กข้างถนนไม่ได้” ฯลฯ

ทำเอาเจ้าหนูน้อยบุญยังสงสัยเป็นกำลัง จึงไปทูลถามเจ้าฟ้าอภัย ว่าใครเป็นพ่อแม่ของตน เจ้าฟ้าอภัยทรงอึดอัดที่ถูกถามอย่างจังเช่นนั้น จึงทรงชี้ไปที่พี่เลี้ยงนางนมทั้งหลายว่า “พวกโน้นแหละแม่เจ้า”

ครั้นเด็กน้อยย้อนถามอีกว่า “คนอื่นเขามีแม่คนเดียว ทำไมหนูมีแม่หลายคนนัก”

เจ้าชายตอบให้เธอหายสงสัยไม่ได้ ก็ได้แต่บ่ายเบี่ยงไปต่างๆ นานา  ครั้นถูกรุกถามหนักเข้า จึงตัดบทว่า
“ก็ข้าเลี้ยงเอ็งมาตั้งแต่เล็กๆ ข้านี่แหละเป็นทั้งพ่อทั้งแม่ของเจ้า”
“พวกเพื่อนๆ เขาว่าหนูเป็นเด็กข้างถนน เป็นความจริงเพียงไร” หนูน้อยบุญยังซัก
“เฮ้ย อย่าไปเอาใจใส่กับคำพูดเหลวไหลอย่างนั้น” เจ้าชายดุ

ยิ่งถามก็ยิ่งงง เสด็จพ่อไม่เคยให้ความกระจ่างอะไรเลย ชักจะแน่ใจแล้วว่า ตนเองไม่มีพ่อแม่ที่แท้จริง หาไม่เสด็จพ่อคงไม่บ่ายเบี่ยงเช่นนั้น และพวกเพื่อนๆ ลูกหลวงอื่นๆ คงไม่ด่าว่าเป็นเด็กข้างถนนหรอก เจ้าหนูน้อยนั่งคิด  “เจ้าเด็กข้างถนน...อา มันช่างเสียวแปลบขั้วหัวใจทุกครั้งที่นึกถึงคำดูถูกเหยียดหยามเช่นนี้” น้ำตาเจ้ากรรมมันจะไหลซึมออกมาให้ได้

ฉับพลันแรงแห่งมานะก็ฉายวาบขึ้นในใจ “สักวันหนึ่งเถอะ ไอ้ลูกไม่มีพ่อไม่มีแม่คนนี้จะหาวิชาความรู้ใส่ตัว เอาชนะลูกผู้ดีเหล่านี้ให้ได้”


ข้อมูล : บทความพิเศษ หมอชีวกโกมารภัจจ์ โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก   หน้า ๗๑ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๘๒๔ ประจำวันที่ ๓๑ ก.ค.- ๖ ส.ค.๕๘


ศึกษาวิชาแพทย์ที่กรุงตักสิลา

สมัยนั้นสำนักตักสิลาเป็นที่เลื่องลือว่า เป็นมหาวิทยาลัยแหล่งผลิตสรรพวิชาทั่วโลก

เจ้าบุญยังหรือชีวกโกมารภัจจ์ คอยสืบเสาะหาทางไปศึกษาวิชาที่เมืองนี้อยู่เสมอ

วันหนึ่งพบปะพวกพาณิชมาจากเมืองตักสิลา จึงพยายามตีสนิท ขออาศัยเดินทางไปกับพวกเขาด้วย โดยมิได้ทูลลาแม้กระทั่งเสด็จพ่อ ด้วยเกรงว่า ถ้าทรงทราบความประสงค์ของเขาคงจักไม่ทรงอนุญาตให้เขาไปเป็นแน่

เมื่อไปถึงเมืองตักสิลา เขาได้เข้าไปหาอาจารย์ทิศาปาโมกข์ มอบตัวถวายเป็นศิษย์ ขอเรียนวิชาแพทยศาสตร์

การศึกษาเล่าเรียนในสมัยนั้นมีอยู่สองประเภท คือประเภทหนึ่ง ถ้าเป็นคนยากจนไม่เสียเงินค่าเล่าเรียน ต้องอยู่รับใช้อาจารย์ ช่วยทำกิจสารพัด ตั้งแต่ตักน้ำ ผ่าฟืน หุงอาหาร บีบนวด ฯลฯ

อีกประเภทหนึ่ง ถ้ามีเงินเสียค่าเล่าเรียน ถึงแม้จะอยู่ในสำนักก็ไม่ต้องทำงานให้อาจารย์ นอกจากเรียนหนังสืออย่างเดียว

ชีวกโกมารภัจจ์ไม่มีเงินให้อาจารย์ จึงมอบตนเป็นศิษย์ประเภทแรก ช่วยทำงานทำการ รับใช้อาจารย์สารพัดอย่าง อาศัยว่าเป็นเด็กที่อ่อนน้อมถ่อมตน มีความเคารพเชื่อฟังโอวาทอาจารย์เป็นอย่างดี และมีความตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ไม่เกียจคร้าน จึงเป็นที่โปรดปรานของอาจารย์ วิชาความรู้เท่าไรอาจารย์ก็ถ่ายทอดให้จนหมด ไม่ปิดบังอำพราง

ชีวกเรียนวิชาแพทย์อยู่กับอาจารย์ ๗ ปี มีความรอบรู้ในสาขาวิชานี้เต็มตามที่อาจารย์ถ่ายทอดให้ แต่ไม่มีทีท่าว่าจะเรียนจบสักที ชักคิดถึงบ้าน คิดถึงเสด็จพ่อเต็มที วันหนึ่งจึงเข้าไปหาอาจารย์เรียนถามท่านว่า
“อาจารย์ครับ เมื่อไร่ผมจะเรียนจบเสียที”
“ทำไมหรือ” อาจารย์ถาม
“ผมคิดถึงบ้านเต็มทีแล้วครับ ผมตั้งใจเรียนตามที่อาจารย์เมตตาสั่งสอนเป็นเวลา ๗ ปีแล้ว ผมอยากทราบว่าเท่านี้ผมพอจะทำมาหากินได้หรือยัง”

“พ่อน่ะพอหรอก แต่วิชาแพทย์เป็นวิชาที่กว้างขวาง เรียนไม่รู้จบ อาจารย์ตั้งใจจะให้เธอเรียนอีก ๒” ปี แล้วจึงจะให้กลับ แต่ถ้าเธออยากกลับบ้านจริงๆ ก็ตามใจ”

อาจารย์มองหน้าศิษย์รักด้วยปรานี แล้วเอ่ยต่อไปว่า
“ก่อนอื่นอาจารย์ขอสอบความรู้เธอก่อน ถ้าเธอสอบผ่านจึงจะอนุญาตให้กลับ เธอจงไปสำรวจดูต้นไม้ต้นหญ้าทุกชนิด ทั่วทั้งสี่ทิศ ภายในรัศมี ๔๐๐ เส้น ให้ดูว่าหญ้าชนิดไหน ใบไม้เปลือกไม้ชนิดไหน ใช้เป็นยาอะไรได้บ้าง อย่างไหนใช้ทำยาไม่ได้เลย”

ชีวกเดินออกจากมหาวิทยาลัยตักสิลา ขึ้นเขาเข้าป่าไปสำรวจสมุนไพรทั่วทั้งสี่ทิศประมาณเจ็ดวัน จึงกลับมาหาอาจารย์ เมื่อถูกถาม เขาได้สาธยายต้นไม้ใบหญ้าต่างๆ ที่ไปสำรวจมาว่าชนิดนั้นๆ ใช้ผสมทำยาแก้โรคนั้นๆ ตามตำราที่ได้เล่าเรียนมา สุดท้ายเขาบอกแก่อาจารย์ว่า

“ต้นไม้ใบหญ้าและสมุนไพรใดๆ ในชมพูทวีปนี้ที่ใช้ทำยาไม่ได้ ไม่มี ทุกอย่างเป็นยาทั้งนั้น

อาจารย์เอื้อมมือมาลูบศีรษะเขาด้วยปรานี พร้อมกับเอ่ยขึ้นว่า “เป็นอันว่า เธอเรียนจบหลักสูตรวิชาแพทย์แล้ว กลับบ้านได้”

แล้วอาจารย์ได้มอบเงินจำนวนเล็กน้อย พร้อมทั้งกล่าวอวยพรแก่ศิษย์รักด้วยอาลัย เขากราบลาอาจารย์และเพื่อนๆ ออกเดินทางจากเมืองตักสิลา มุ่งหน้ามายังเมืองราชคฤห์ อันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของตน

ตรงนี้คัมภีร์อรรถกถากล่าวว่า เหตุที่อาจารย์ให้เงินและเสบียงเดินทางแก่ชีวกโกมารภัจจ์เพียงเล็กน้อย เพราะอาจารย์คิดว่าชีวกเป็นโอรสเจ้าฟ้า เจริญเติบโตในราชสกุลอันโอ่อ่า พอเรียนศิลปวิทยาจบ กลับไปก็ยังได้รับการยกย่องในฐานันดรอันสมเกียรติจากพระบิดา และพระอัยกา  เมื่อเป็นเช่นนี้เขาคงจักไม่รู้จักบุญคุณของครูบาอาจารย์ และไม่รู้คุณค่าแห่งวิชาการที่ได้เรียนมา

แต่ถ้าเสบียงเดินทางของเขาหมดในระหว่างทาง เขาจักดิ้นรนใช้วิชาความรู้หาเงินหาทองและเสบียงเดินทาง อันจักทำให้เขารู้จักซาบซึ้งในบุญคุณของอาจารย์และวิชาความรู้ยิ่งขึ้น


ข้อมูล : บทความพิเศษ หมอชีวกโกมารภัจจ์ โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก   หน้า ๗๑ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๘๒๕ ประจำวันที่ ๗-๑๓ ส.ค.๕๘


รักษาภรรยาเศรษฐีเมืองสาเกต

พอมาถึงเมืองสาเกต ซึ่งตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างเมืองตักสิลาและเมืองราชคฤห์ เสบียงเดินทางที่มีติดตัวมาก็หมดเกลี้ยง เจ้าบุญยังชักรู้สึกหิวขึ้นมาตงิดแล้ว จะได้ข้าวที่ไหนกิน?

กำลังคิดหนักใจอยู่พอดี ได้ยินเสียงคนพูดกันถึงเมียเศรษฐีคนหนึ่งในเมืองสาเกต เป็นโรคปวดศีรษะมา ๗ ปี รักษาจนหมดเงินทองมากมาย ไม่มีหมอคนไหนรักษาให้หายได้ จนหมดอาลัยตายอยากในชีวิต นอนรอความตายไปวันๆ

หมอหนุ่มจึงแสดงตัวเป็นหมอที่สำเร็จมาจากเมืองตักสิลา โรคของเมียเศรษฐีเขาสามารถรักษาให้หายได้ ขอให้ช่วยพาเขาไปยังบ้านเศรษฐีเถิด

คนฟังเห็นหมอหนุ่มพูดจาเอาจริงเอาจัง จึงพาเขาไปยังบ้านเศรษฐี แจ้งว่ามีหมอคนหนึ่งรับอาสาจะรักษาโรคให้เมียเศรษฐี “หมอแก่ๆ ยังไม่มีปัญญารักษาให้หายได้ เสียเงินเสียทองไม่รู้เท่าไหร่ต่อเท่าไร่ หมอหนุ่มจะเก่งอาจมาจากไหน บอกเขาเถิด ไม่ต้องมายุ่งกับฉัน” เมียเศรษฐีกล่าวด้วยความเบื่อหน่าย

“เขาบอกว่าถ้ารักษาไม่หายไม่เอาตังค์” เสียงคนใช้รายงานหลังจากนำความไปแจ้งแก่ชายหนุ่ม และได้รับคำมั่นสัญญาจากเขา
“ถ้างั้นบอกให้เขาเข้ามา” เมียเศรษฐีตัดบท

หมอหนุ่มเข้าไปตรวจอาการไข้ประเดี๋ยวเดียวก็รู้ทางแก้

จึงสั่งให้หาเนยในมาประมาณหนึ่งถ้วยตะไล กับเครื่องยาอีกสองสามชนิดมาผสมกัน ให้เมียเศรษฐีนอนหงาย แล้วให้นัตถุ์

พอนัตถุ์ยาเข้าไป เนยใสไหลเยิ้มออกมาทางปาก นางจึงถ่มลงกระโถน แล้วตะโกนสั่งให้สาวใช้เอาสำลีมาซับเนยใสไว้ กิริยาอาการเช่นนั้นทำให้หมอหนุ่มตะลึง คิดในใจว่า “เรามาเจอแม่ยอดตังเมเข้าแล้วสิ เนยใสที่ถ่มทิ้งแล้วยังอุตส่าห์เอาสำลีซับเก็บไว้อีก อย่างนี้แกจะให้ค่ารักษาเรากี่ตังค์”

เมียเศรษฐีดูเหมือนจะเข้าใจความคิดของหมอหนุ่ม จึงพูดขึ้นว่า “หมอคิดว่าฉันขี้เหนียว แต่หมออย่าลืมว่าฉันป่วยมาตั้ง ๗ ปี เสียค่ารักษาไปแล้วเท่าไหร่ สิ่งใดที่พอจะกระเหม็ดกระแหม่ได้ ก็ไม่ควรให้เสียเปล่า เนยใสที่ซับไว้นี้ ใช้ทามือ ทาเท้า แก้เมื่อยขบหรือใช้เป็นน้ำมันตามไฟก็ได้ หมอไม่ต้องกลัวว่าฉันจะไม่ให้ค่ารักษาแก่หมอหรอก ขอให้หายจริงเถอะ เท่าไหร่เท่ากัน”

“เปล่าหรอกครับคุณนาย ผมมิได้คิดในทำนองนั้น ผมเพียงสงสัยว่าคุณนายให้ซับเนยใสไว้ทำไมเท่านั้นแหละครับ” หมอหนุ่มแก้ตัว

ปรากฏว่าพอนัตถุ์ยาที่หมอชีวกประกอบให้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น โรคปวดศีรษะของเมียเศรษฐีได้หายไปดังปลิดทิ้ง นางรู้สึกปลาบปลื้มที่หมอหนุ่มได้บันดาลชีวิตใหม่ได้อีกครั้งหนึ่ง หลังจากทอดอาลัยตายอยากในชีวิตมานานแล้ว  จึงให้รางวัลเขาถึง ๔,๐๐๐ กหาปณะ (ประมาณหนึ่งหมื่นหกพันบาท)

ฝ่ายลูกเขย ลูกสะใภ้ ลูกชาย ต่างรู้สึกดีใจที่นางหายจากโรค ให้รางวัลหมออีกคนละหลายพัน ชื่อเสียงของหมอหนุ่มได้แพร่สะพัดไปทั่งเมืองสาเกตอย่างรวดเร็ว บ้างก็มาตามตัวไปรักษาโรคของญาติพี่น้องของตน

หมอหนุ่มรวบรวมเงินทองจากการใช้วิชาความรู้ที่ได้เล่าเรียนมาจากอาจารย์ได้มากเพียงพอแก่ความต้องการ ก็อำลาครอบครัวเศรษฐีและชาวเมืองสาเกต ออกเดินทางไปยังเมืองมาตุภูมิทันที

ไปถึงเมืองราชคฤห์ เขาได้รีบไปเฝ้าเสด็จพ่อ เจ้าฟ้าอภัยตกพระทัยที่จู่ๆ “เจ้าบุญยัง” ก็โผล่พรวดเข้ามา หลังจากหายหน้าไปตั้ง ๗ ปี ครั้งแรกทรงมีพระพักตร์บึ้งตึง ที่โอรสบุญธรรมไปไหนมาไหนไม่บอกกล่าว

เขาได้กราบทูลสาเหตุที่ต้องหลบหนีออกจากพระราชวังไปศึกษาวิชาแพทย์ที่เมืองตักสิลา จนมีความชำนาญรักษาโรคได้สารพัดโรค แล้วกราบทูลขอขมาโทษที่ทำการครั้งนี้ไปโดยพลการ เสมือนมิรู้บุญคุณข้าวแดงแกงร้อนที่ทรงเมตตาอุปถัมภ์ชุบเลี้ยงมา แล้วนำเงินทองที่เหลือจากที่ใช้จ่ายทั้งหมดมาถวายแด่เสด็จพ่อ

“เงินจำนวนนี้ หม่อมฉันได้จากการรักษาภรรยาเศรษฐีคนหนึ่งในเมืองสาเกต ขอทูลถวายเพื่อเป็นเครื่องบูชาพระเดชพระคุณที่ทรงเมตตาชุบเลี้ยงหม่อมฉัน”

ทอดพระเนตรเห็นดังนั้น ทรงแน่พระทัยว่าที่ “เจ้าบุญยัง” กล่าวมาทั้งหมดน่าจะเป็นความจริง

ทรงชื่นชมในความกตัญญูรู้คุณของโอรสบุญธรรม ไม่ทรงรับเงินจำนวนนั้น หากแต่รับสั่งให้เขาเก็บไว้เป็นสมบัติของตน

ตั้งแต่นั้นมาเขากลายเป็นนายแพทย์คนโปรดประจำพระองค์เสด็จพ่ออีกตำแหน่งด้วย


ข้อมูล : บทความพิเศษ หมอชีวกโกมารภัจจ์ โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก   หน้า ๗๑ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๘๒๖ ประจำวันที่ ๑๔-๒๐ ส.ค.๕๘


รักษาพระโรคพระเจ้าพิมพิสาร

เวลานั้น พระเจ้าพิมพิสารทรงประชวรเป็นโรค “ภคันธลาพาธ” (“ภคันธลา” ภาษาไทยแปลว่า โรคริดสีดวงทวาร แต่ฉบับภาษาฝรั่งแปลว่า fistula ได้แก่โรคที่เกิดเป็นโพรงระหว่างช่องอุจจาระกับผิวหนังที่ก้น คนละชนิดกับโรคริดสีดวงทวารและรักษายากกว่า) มีพระโลหิตไหลออกมาเปื้อนพระภูษา ทรงเป็นที่รำคาญพระทัยอยู่เสมอ

แพทย์หลวงถวายโอสถขนานใดๆ ก็มิได้หายขาด บางคราวต้องระงับพระราชกิจเป็นเวลานาน

เจ้าฟ้าอภัย พระราชโอรสได้กราบทูลแนะให้พระราชทานพระราชวโรกาสให้หมอชีวกถวายการรักษาสักครั้ง จึงทรงรับสั่งให้หมอชีวกเข้าเฝ้าตรวจพระอาการ

หมอหนุ่มวินิจฉัยโรคอย่างถี่ถ้วนแล้ว ประกอบพระโอรถถวายให้เสวยเพียงสองสามครั้ง อาการประชวรก็หายขาดเป็นปลิดทิ้ง จึงทรงโปรดปรานหมอชีวกมาก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้เขาดำรงตำแหน่งนายแพทย์ประจำพระราชสำนัก

รับพระราชทานเบี้ยหวัดเป็นจำนวนมาก

ผ่าตัดใหญ่สองรายซ้อน
ในเมืองพาราณสี มีบุตรเศรษฐีคนหนึ่งป่วยเป็นโรคเนื้องอกในลำไส้ รับประทานอาหารลงไปมีอาการจุกเสียด ได้รับทุกขเวทนามาก ผอมแห้งแรงน้อยลงทุกวัน

เศรษฐีได้ทราบข่าวว่า มีหมอผู้เชี่ยวชาญคนหนึ่งในราชสำนักพระเจ้าพิมพิสาร เมืองราชคฤห์ จึงไปกราบทูลขออนุญาตให้เขาไปรักษาบุตรชายของตน พระองค์ก็ทรงอนุญาตให้ตามประสงค์

หมอหนุ่มไปถึงบ้านเศรษฐีตรวจดูคนไข้ก็รู้ทันทีว่า ลำไส้เป็นเนื้องอก ต้องผ่าตัด แต่การที่จะลงมือผ่าตัดใดๆ ในสมัยที่ผู้คนยังไม่รู้จักศัลยกรรม และยังไม่ยอมรับกัน เป็นเรื่องยากลำบาก ดีไม่ดีเขาจะเข้าใจว่าฆ่าลูกเขาก็จะลำบาก

หมอชีวกจึงหันมาพูดกับพ่อของคนไข้ว่า
“ใต้เท้าอยากให้ลูกหายไหม”
“แล้วกัน ไม่อยากให้หายจะตามหมอมาทำไม ถามพิลึก” เศรษฐีเลิกคิ้วด้วยความสงสัย
“คือผมอยากจะขอคำมั่นสัญญาจากใต้เท้าก่อน โรคนี้ร้ายแรงมาก ถ้าใต้เท้าไม่ตกลงให้รักษาตามวิธีของผม ลูกชายใต้เท้าต้องตายแน่” หมอหนุ่มไซโค
“เอาเถอะ จะรักษาด้วยวิธีไหนยอมทั้งนั้น ขอชีวิตลูกฉันก็แล้วกัน” เศรษฐีให้คำมั่น
“เห็นจะต้องผ่าตัดเอาไส้ออก” หมอหนุ่มกล่าวเบาๆ
“หา หมอว่าอะไรนะ?” เศรษฐีตาค้าง
“อย่าลืมว่าใต้เท้าสัญญาไว้แล้ว ผมต้องผ่าตัดลูกชายใต้เท้า ไม่งั้นลูกชายใต้เท้าไม่รอดชีวิตแน่” หมอหนุ่มกล่าวเคร่งขรึม

พูดคำว่าตายบ่อยนัก เศรษฐีชักใจไม่ดี จึงหันหน้าไปมองเมีย แม่เด็กก็กลัวลูกชายตายไม่แพ้พ่อ จึงพยักหน้าอนุญาตให้หมอรักษาตามกรรมวิธีของหมอ เพราะไม่มีทางเลือกอย่างอื่น

หมอชีวกลงมือใช้วิชาผ่าตัดที่เรียนมาจากอาจารย์ วางยาสลบเสร็จ แล้วผ่าพุงคนไข้ล้วงลำไส้ออกมาชะล้างอย่างดี ตัดส่วนที่เสียออก เย็บลำไส้ เย็บพุงให้สนิท ทายาสมาน ชั่วเวลาไม่ถึงชั่วโมงก็เสร็จ จากนั้นมาไม่กี่วันคนไข้ก็หาย ได้รับรางวัลจากพ่อแม่ของคนไข้มากมาย

จากนั้นมา เกียรติคุณของหมอหนุ่มก็แพร่สะพัดไปทั่วเมือง ต่างก็โจษจันกันว่า
“หมอหนุ่มจากเมืองราชคฤห์ ผ่าท้องคน เอาไส้ออกมา แล้วนำกลับเข้าไปใหม่ได้ คนที่ถูกผ่าท้องกลับหายป่วยได้ น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก เขาเห็นจะเป็นหมอเทวดาเป็นแน่แท้”

เกียรติคุณเหล่านี้ก็ใช่ว่าจะนำความภูมิใจมาให้แก่เขาเท่านั้น แม้เจ้าฟ้าอภัยและพระเจ้าพิมพิสาร ก็ทรงโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง ได้มีหมอวิเศษเช่นเขาประดับพระราชสำนัก

การผ่าตัดใหญ่รายที่สองกระทำที่เมืองราชคฤห์ อันเป็นเมืองมาตุภูมิของเขานั่นเอง คราวนี้เขาผ่าตัดสมองเศรษฐีชาวเมืองราชคฤห์คนหนึ่ง เศรษฐีคนนี้เป็นโรคปวดศีรษะมานาน หมอไหนๆ มารักษาก็ไม่หาย จนใจที่สุด อาการทรุดหนักเหลือกำลังที่หมอจะรักษาได้ บางคนคาดว่าเขาจะต้องตายภายใน ๗ วัน บางคนก็ว่าเขาจะต้องตายภายใน ๕ วัน ครั้งสุดท้ายพวกญาติพี่น้องเศรษฐีได้มาตามหมอชีวกไปรักษา

หมอชีวกตรวจดูอาการของเศรษฐีอย่างละเอียดแล้วพูดขึ้นว่า
“โรคของใต้เท้าหนักนัก ถ้าอยากหายก็ต้องให้สัญญากันก่อนจะรักษา”
“เอาเถอะครับหมอ จะเรียกร้องเท่าไหร่ ผมยินดีจ่ายให้ทั้งนั้น ไม่ต้องเซ็นสัญญงสัญญาอะไรก็ได้ ผมไม่โกงหรอก” เศรษฐีกล่าวขึ้น

หมอหนุ่มโบกมือ ยิ้มละไม
“ใต้เท้าเข้าใจผิด ผมมิได้หมายถึงสัญญาอย่างนั้น”
“ถ้างั้นสัญญาอะไร”
“สัญญาว่า ใต้เท้าจะนอนตะแคงข้างขวา ๗ เดือน ข้างซ้าย ๗ เดือน นอนหงาย ๗ เดือน หลังจากผ่าตัด”
“ตกลง” เศรษฐียอมรับคำ เพราะอยากหาย

หมอชีวกสั่งให้จัดห้องพิเศษไว้ห้องหนึ่ง ห้ามใครเข้าไปนอกจากเมียเศรษฐีคนเดียว ผสมยาและเตรียมเครื่องไม้เครื่องมือในการผ่าตัดเรียบร้อยดีแล้ว ให้เศรษฐีนอนบนเตียง วางยาสลบ ถลกหนังศีรษะออก ผ่ารอยประสานกะโหลกศีรษะออกพบพยาธิสองตัว เล็กตัวหนึ่ง ใหญ่ตัวหนึ่ง เอาคีมคีบออกมา แล้วปิดแนวประสานศีรษะ เย็บหนังศีรษะแล้วทายาสมานแผล

หลังจากผ่าตัด เขาได้นำพยาธิสองตัวมาแสดงให้บรรดาญาติพี่น้องเศรษฐีดู ที่เขาคาดว่าจะตายภายใน ๕ วันนั้น เพราะเขาตรวจพบพยาธิตัวใหญ่นี้ ส่วนอีกคนที่คาดว่าเศรษฐีจักตายภายใน ๗ วัน เพราะเขาตรวจพบพยาธิตัวเล็กนี้

เศรษฐีนอนตะแคงขวาบนเตียงไปได้ประมาณ ๗ วัน ก็รู้สึกปวดเมื่อยไปทั้งตัว จึงกล่าวแก่หมอชีวกว่า จะขอเปลี่ยนท่านอนได้หรือยัง จึงอนุญาตให้เปลี่ยนมานอนตะแคงซ้าย เศรษฐีทนนอนไปได้ ๗ วัน ก็ขอเปลี่ยนอีก คราวนี้หมอให้เศรษฐีนอนหงายไปได้ ๗ วัน ก็ร้องว่า ทนต่อไปไม่ไหว

“ถ้าเช่นนั้น เชิญใต้เท้าลุกได้ ใต้เท้าหายแล้ว” หมอหนุ่มกล่าวยิ้มๆ เศรษฐีรีบผุดลุกขึ้นพลางเอามือลูบศีรษะตัวเองด้วยความเคยชิน ปรากฏว่าแผลหายสนิทและความเจ็บปวดปลาสนาการไปหมดสิ้น
“เป็นอันว่าหมอรักษาผมหายภายในสามสัปดาห์เท่านั้น แล้วทำไมหมอให้ผมสัญญาว่าจะต้องนอนถึง ๒๑ เดือน?” เศรษฐีถามขึ้น

“ถ้าผมไม่บอกจำนวนเกินไว้อย่างนี้ ใต้เท้าคงนอนได้ไม่ถึงข้างละสัปดาห์นะซีครับ” หมอหนุ่มอธิบาย

เศรษฐีรู้สึกดีใจเป็นล้นพ้นที่ตนได้พ้นจากโรคอันทรมานนี้ เขาจึงตกรางวัลแก่หมอชีวกโกมารภัจจ์อย่างมหาศาล


ข้อมูล : บทความพิเศษ หมอชีวกโกมารภัจจ์ โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก  หน้า ๗๑ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๘๒๗ ประจำวันที่ ๒๑-๒๗ ส.ค.๕๘
3416  นั่งเล่นหลังสวน / เกร็ดความรู้ งานบ้าน งานครัว / ชื่อพิลึก "เห็ดหำพระ" ของดีในป่า มากสรรพคุณ เมื่อ: 24 กรกฎาคม 2558 15:27:56
.


เห็ดหำพระ บำรุงสุขภาพสตรี

เห็ดเป็นสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ แม้เป็นเพียงพืชชั้นต่ำจำพวกรา (fungi) ที่ไม่สามารถสร้างอาหารโดยการสังเคราะห์แสงเหมือนพืชชั้นสูงสีเขียวอื่นๆ ที่มีคลอโรฟิลล์ (chlorophyll) ก็ตาม   แต่เห็ดก็ไม่เบียดเบียนอาศัยเกาะกินร่างคนเหมือนโรคเชื้อราร้ายอื่นๆ ตรงกันข้าม มันดำรงชีวิตอยู่ด้วยการดูดซึมสารอาหารจากซากอินทรียวัตถุและแร่ธาตุต่างๆ ในดิน แล้วก่อรูปเป็นเห็ดชนิดต่างๆ ทั้งที่มีพิษและไม่มีพิษ

เห็ดประเภทหลังนี้เองที่กลายมาเป็นเมนูอาหารเก่าแก่ก่อนที่มนุษย์จะรู้จักกินข้าวเสียอีก เพราะมนุษย์ยุคโบราณที่หาอยู่หากินตามป่าดง ย่อมรู้จักเก็บเห็ดกินก่อนที่จะรู้จักเพาะปลูกข้าวหลายพันปี โดยมีหลักฐานที่พบในโบราณสถานของชนเผ่าอินคาในชิลีว่า มนุษย์รู้จักการใช้ประโยชน์จากเห็ดมาไม่น้อยกว่า 13,000 ปี

ต่อมาเห็ดจึงพัฒนากลายมาเป็นยารักษาโรค และเมนูอาหารชั้นสูงขนาดขึ้นโต๊ะเสวยของจักรพรรดิโรมันและฮ่องเต้เมื่อราวหลายร้อยปีก่อนพุทธกาล

ในประเทศไทยเราเองก็เป็นแดนอุดมด้วยเห็ดนับพันชนิดให้เก็บกินเก็บขายได้ไม่มีวันหมด เฉพาะอีสานบ้านเฮาเองก็มีเห็ดป่าตามธรรมชาติที่ชาวบ้านสามารถเก็บมาบริโภคได้ถึงกว่า 600 ชนิด  ที่สำคัญคือมีเห็ดป่าที่สามารถนำมาใช้เป็นทั้งอาหารและยาตามภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านถึง 38 ชนิด  

ในที่นี้ขอแนะนำเห็ดป่าตัวหนึ่งที่นิยมใช้กินเป็นยาและอาหารรสเด็ด คือ เห็ดหำพระ

ฟังชื่อเห็ดชนิดนี้แล้ว ทั้งประสกและสีกาสมัยใหม่ก็คงสะดุ้งไปตามๆ กัน ว่าเห็ดอีสานชื่อพิลึกแบบนี้มีด้วยหรือ?

คนกรุงอาจจะฟังแปลกๆ แต่สำหรับชาวบ้านนั้น เขาเห็นเป็นเรื่องปกติเพราะชาวบ้านกับวัดเขาใกล้ชิดกัน การที่คนอีสานตั้งชื่อเห็ดชนิดนี้ว่า เห็ดหำพระ เขามิได้คิดลบหลู่พระสงฆ์องค์เจ้าแต่ประการใด เพียงแต่ต้องการบ่งบอกรูปลักษณ์ของเห็ดชนิดนี้อย่างตรงไปตรงมา ให้ง่ายต่อการแยกแยะไม่ผิดตัว

เนื่องจากเห็ดชนิดนี้ มีรูปกลมๆ หรือค่อนข้างกลม เส้นผ่าศูนย์กลางราว 2-3 ซม. ไม่มีครีบ ไม่มีโคนขาเหมือนฟองไข่ จึงเป็นที่มาของชื่อ “หำ” ในภาษาอีสาน

และเอกลักษณ์ที่โดนตาที่สุดคือ สีเหลืองอ๋อยเหมือนสีจีวรพระของเจ้าเห็ดชนิดนี้นี่เอง ทำให้มีการนำพระ-เณรเข้าไปเกี่ยวข้อง  

- ถ้าเห็ดดอกใหญ่ก็เอิ้นว่า เห็ดหำพระ
- ถ้าดอกเล็กก็เอิ้นว่า เห็ดหำเณร

เห็ดชนิดนี้พบเป็นดอกเดี่ยวกระจัดกระจายหรือเกาะเป็นกลุ่ม 3-4 ลูกบนพื้นดินที่มีใบไม้ผุพังทับถมอยู่ตามป่าโคก ป่าเบญจพรรณ ป่าแดงและป่าเต็งรัง ทั้งทางภาคอีสานและเหนือ

เนื่องจากเห็ดเป็นลูกสีเหลืองสังเกตเห็นได้ง่ายเรี่ยรายอยู่กลางดินสวยงาม จึงมีคนโรแมนติกตั้งชื่อให้ใหม่ว่า “ลูกทองคำแห่งแผ่นดินอีสาน”

ช่วงหาเห็ดชนิดนี้คือช่วงหน้าฝนตั้งแต่เดือนมิถุนายน-กันยายน

ในด้านคุณค่าอาหารก็เป็นที่รู้กันว่า เห็ดทุกชนิดเป็นแหล่งโปรตีน เกลือแร่ วิตามิน และใยอาหารที่มีปริมาณสูงกว่าที่พบในผักชนิดอื่นๆ  ส่วนสรรพคุณทางยาถ้ากล่าวเฉพาะเห็ดหำพระเอง หมอพื้นบ้านใช้เห็ดหำพระในการบำรุงรักษาสุขภาพ สตรีที่มีปัญหามดลูกหย่อนคล้อยและเต้านมหย่อนยาน ให้กลับมาฟิตและเฟิร์ม ช่วยขับประจำเดือนให้เป็นปกติ ยิ่งไปกว่านั้นยังพบว่าเห็ดชนิดนี้ช่วยทำให้ก้อนเนื้อมะเร็งยุบลงได้ด้วย

การปรุงเห็ดหำพระเป็นยาก็ง่ายมาก คือเพียงนำเห็ดสด (ไม่ต้องขัดเอาสีเหลืองออก) หนัก 100 กรัม ต้มกับน้ำประมาณ 1 ลิตร จนเห็ดสุก เอาแต่น้ำดื่มเป็นยา ครั้งละ 30 ซีซี วันละ 2 เวลา ก่อนอาหารเช้า-เย็น

เห็ดหำพระไม่มีพิษข้างเคียงใดๆ สามารถนำมาต้มน้ำดื่มบำรุงสุขภาพได้ทุกวัน ส่วนเนื้อเห็ดก็นำไปปรุงอาหารได้

เห็ดหำพระเป็นเห็ดที่สามารถนำมากินสดได้ไม่มีโทษ แต่ต้องขัดเอาผิวสีเหลืองออกเสียก่อน มิฉะนั้นจะมีรสขม

ชาวบ้านมีวิธีง่ายๆ ในการกินเห็ดหำพระ โดยนำมาล้างน้ำให้สะอาดแล้วเสียบไม้ย่างไฟอ่อนๆ เหมือนลูกชิ้นปิ้งจนสุกได้ที่แล้วจึงลูบเอาเปลือกสีเหลืองออก ชุบน้ำเกลือแล้วนำไปย่างไฟต่อพอแห้ง จะได้เห็ดตำรับบาร์บิคิวที่หอมกรุ่น เนื้อนุ่ม เคี้ยวหนึบอร่อย

คนอีสานเขาเรียกสูตรตำรับนี้ว่า “จ่ามเห็ดหำพระ” หรือบาร์บิคิวอีสานนั่นเอง





ถ้าอยากจะกินแซบขึ้นอีกขอแนะนำสูตรเด็ด แกงเห็ดหำพระ ประสกกินได้ สีกากินดี ดังนี้

ส่วนผสม
1. เห็ดหำพระอ่อนๆ ย่างไฟขัดเอาสีเหลืองออกหมดแล้ว 1 ขีด
2. พริกแห้ง 5 เม็ด
3. กระเทียมเผา 2 หัว
4. ข่าหั่น 1 หัว
5. ตะไคร้ซอย 2 ต้น
6. หอมเผา 4 หัว
7. ขิงเผา 1 หัว
8. เกลือ 1 หยิบมือ
9. เนื้อปลาที่หาได้ในท้องถิ่น 1 ถ้วย
10. ข้าวคั่ว 2-4 ช้อนโต๊ะ
11. ใบโหระพา 10-20 ใบ

วิธีปรุง
นำวัตถุดิบเครื่องแกงตั้งแต่รายการที่ 2-8 มาโขลกในครกให้แหลกเป็นเนื้อแกงเดียวกัน จากนั้นนำเห็ดหำพระย่างที่หั่นแล้วใส่ลงในหม้อ เติมน้ำเล็กน้อยพอท่วมเห็ด ต้มพอสุก ใส่พริกแกงและเนื้อปลาลงไปคลุกเคล้าเยาะน้ำปลาเล็กน้อยให้ได้รสชาติตามต้องการ ใส่ข้าวคั่ว แล้วต้มอีกสักพักเพื่อให้รสเข้มข้นหอมมัน  จากนั้นโรยใบโหระพาลงไปปิดฝาหม้อ ยกลงพร้อมเสิร์ฟได้เลย

เห็ดเป็นอาหารสุขภาพชั้นดีกินเท่าไรก็ไม่อ้วน มีสารอาหารโปรตีน วิตามินเกลือแร่พอสมควร  แต่ถ้าจะให้ได้สารอาหารครบถ้วน ควรได้แหล่งโปรตีนจากธัญพืชจำพวกถั่วด้วยสำหรับนักมังสวิรัติ

แต่สำหรับคนทั่วไปที่ต้องการลดน้ำหนักควรได้โปรตีนจากปลาเสริม เพราะเห็ดส่วนใหญ่มีโปรตีนเพียง 2-10% โดยน้ำหนัก ยกเว้นเห็ดหอมที่มีโปรตีนถึง 20%   วสันต์ฤดูนี้ ถ้ายังมีฝนตกหยิมๆ ให้เก็บเห็ดได้มากมาย เราก็คงจะได้เพลิดเพลินเจริญอาหารกับเมนูเห็ดป่าเลิศรสหลากหลายชนิดที่เป็นทั้งยาและอาหารสุขภาพชั้นดี โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งยาที่เป็นเคมีเภสัชเลยด้วยซ้ำไป


ที่มา : คอลัมน์ สมุนไพรเพื่อสุภาพ โครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเอง มูลนิธิสุขภาพไทยเห็ดหำพระ บำรุงสุขภาพสตรี” หน้า 102 หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ 1823 ประจำวันที่ 24-30 กรกฎาคม 2558
3417  สุขใจในธรรม / พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก / Re: พระประวัติ-บันทึกข้อคิด สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสนมหาเถระ) สมเด็จพระสังฆราช เมื่อ: 23 กรกฎาคม 2558 16:22:42
.

ม่านบังความสุข

เมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๔๙๔ ได้เดินทางกลับจากช่วยทอดกฐินที่วัดโพธิ์ทอง บ่อโพง อยุธยา โดยสารรถไฟขบวนนครราชสีมา – กรุงเทพฯ ประมาณเวลา ๑๖ น.เศษ ภายในรถโดยสารชั้นหนึ่ง เห็นมีคน ๓-๔ คน แต่งเครื่องแบบทหารเรือก็มี ทหารบกก็มี พลเรือนก็มี ร่วมโต๊ะดื่มสุรากันสนุกสนาน เมื่อมีพระเข้าไปนั่งมองดูอากัปกิริยาของเขาอยู่ใกล้ๆ ทำให้เขาเหล่านั้น ลดความสนุกลงไปบ้าง แต่เห็นว่าชั้นอื่นจะไม่มีที่นั่ง จึงต้องจำใจนั่งตามสิทธิของตน ผ่านการตรวจตั๋วและขออนุญาตให้พระผู้ติดตามได้นั่งชั้นหนึ่งด้วย เพราะที่ยังว่างอีกหลายที่นั่งแล้ว คงสงบนั่งชมภูมิประเทศอันเป็นทุ่งนาตลอดมา

พอรถออกจากสถานีอยุธยาสักครู่ มีพนักงาน ร.ส.พ. ซึ่งรวมอยู่ในกลุ่มนั้น เข้ามานั่งตรงกันข้าม แนะนำตนเองว่าเคยเห็น เพราะเคยผ่านมาในวัด คุ้นเคยกับพระรูปหนึ่ง ได้สนทนากันในเรื่องพระเครื่องรางของขลังบ้าง การปฏิบัติตัวตามพระศาสนาบ้าง การโต้ตอบได้เป็นไปอย่างสบอารมณ์ สักครู่ใหญ่ ผู้แต่งพลเรือนในกลุ่มนั้น ก็พลอยมานั่งร่วมสนทนาด้วย จากการแนะนำตัวเองของเขา จึงทราบว่าเขาเป็น พ.ร.ร.ประจำขบวน วันนี้เป็นวันพักผ่อนแล้วเลยออกตัวในการที่ต้องดื่มสุราบ้าง ก็เพื่อระงับความกลุ้มใจเสียดายเงิน ๖๐๐ บาทที่สูญหายไปเพราะความเผอเรอของตนเอง แต่การดื่มสุราของเขาเพียงระงับความกลุ้มอกกลุ้มใจเท่านั้น ไม่ดุร้ายรุนแรงเหมือนเมื่อก่อนๆ ได้สนทนาตอบเขาในขณะนั้นว่า ยังแก้ปมกลุ้มใจไม่ถูก กลุ้มอยู่ที่อารมณ์ กลับนำสุรามาย้อมใจ ทำอารมณ์ให้หลงเลือนไปชั่วคราว หายเมาแล้ว ความกลุ้มก็ยังอยู่ ควรแก้ที่อารมณ์ดีกว่า เพราะล่วงเลยมาแล้ว กลับคืนไม่ได้ เป็นเหตุให้ พ.ร.ร.นั้นสนใจขึ้นบ้าง ที่สุดเขายกย่องสุราว่ามีคุณดีมาก ยามจะไปหาผู้หญิงหรือเที่ยวเตร่ ถ้าได้ดื่มเสียบ้างแล้ว ทำให้สุขเกษมเปรมปรีด์กับผู้หญิงเป็นอย่างมากที่สุด

เนื่องจากรู้สึกตัวว่า คุยกับคนเมา เขาพูดถลากไถลตรงไปตรงมา ขาดความยับยั้งบ้าง เป็นเหตุให้ตอบอย่างตรงไปตรงมาเช่นกัน เมื่อได้ฟังเขาเอ่ยคุณของสุราเช่นนั้น จึงชวนให้พูดตอบกับเขาว่า “คุณว่าดื่มสุราเสียบ้างแล้ว คุยกับหญิงสนุกสนานดีนักนั้น ก็จริงของคุณ แต่อยากขอแนะนำว่า ถ้าคุณต้องการสนุกสนานกับหญิงได้เต็มที่จริงแล้ว คุณไม่ควรดื่มสุราเลยเป็นดีที่สุด เพราะเมื่อคุณดื่มสุราแล้ว รสเมามึนของสุราย่อมย้อมดวงใจของคุณให้ผิดปกติไป คล้ายกับว่าฤทธิ์สุราเป็นม่านกั้นใจเสียชั้นหนึ่งแล้ว ความรู้สึกสนุกสนานเบิกบานใจในขณะนั้น เป็นความสุขอยู่นอกม่านไม่ถึงหัวใจจริง ถ้าไม่มีฤทธิ์สุราเป็นม่านกั้นหัวใจแล้ว ความสนุกสนานที่เกิดขึ้น ก็กระทบถึงหัวใจจริงทีเดียว ไม่มีฤทธิ์สุราเป็นม่านกั้นเสียชั้นหนึ่งก่อน จึงขอแนะนำว่า ถ้าคุณอยากสนุกสนานให้ถึงใจจริงแล้ว ไม่ควรดื่มสุราไปก่อนเลย”

เขายกมือไหว้รับว่าจริง แล้วสนทนาต่อเนื่องไปอีกเล็กน้อย เกี่ยวกับโทษของสุรา ซึ่งเขารับว่า เดี๋ยวนี้เขาลดการดื่มลงมากแล้ว จึงวกเข้าหาเรื่องเดิมอีกครั้งว่า “คุณเห็นโทษของสุราด้วยตัวเอง แล้วลดการที่ดื่มให้น้อยลงได้อย่างนี้ ถ้าฉันจะขอบิณฑบาตให้เลิกดื่มในส่วนที่เหลืออยู่น้อยนั้นเสีย จะได้ไหม” เขายิ้มอยู่สักครู่แล้วยกมือไหว้อีกครั้งตอบว่า “ยังถวายไม่ได้ครับ” แล้วทุกคนก็หัวเราะ เริ่มสนทนาเรื่องอื่นแก้เหงากันต่อไป.  

บันทึก ๑๕ พ.ย. ๙๔



คนดี

ขณะนั่งฉันเพลตามปกติ เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๔ อารมณ์ก็น้อมไปถึงสามเณรบ้าง ศิษย์บ้าง ที่ต่างมักแก่งแย่งคอยแต่จะให้อีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติบำรุงตน ส่วนตนไม่ปฏิบัติบำรุงตอบ จึงเป็นเหตุให้ทะเลาะโต้เถียงเกี่ยงงอนกัน เพราะต่างก็สมัครจะเป็นอย่างเทวดาชั้นปรนิมิต ต้องการอะไรคนอื่นจัดแจงให้เสร็จ ไม่สมัครเป็นเทวดาชั้นนิมมานรดี จัดแจงหาด้วยลำพังตนเอง, ทำให้เกิดคติในใจว่า “คนเราทุกคน เมื่อถือตนตามอัธยาศัยของตัวแล้ว เป็นไม่มีคนผิด คนพาล คนบ้า คนเลว เพราะต่างก็ถือตนเป็นคนถูก คนฉลาด คนดี ทั้งนั้น  ถามใครก็ไม่มีใครรับว่าตนเป็นคนผิด คนโง่ ที่สุดคนบ้าในสถานพยาบาล เมื่อใครไปถามเขาจะตอบว่า เขาไม่บ้า กลับไปชี้ที่คนอื่นแล้วบอกว่า คนนั้นแน่บ้า ครั้นไปถามคนนั้นอีก เขาก็จะรับว่าเขาไม่บ้า แต่กลับชี้คนบ้าอื่นต่อไป, หรือในส่วนคนที่ทะเลาะโต้เถียงกัน ต่างก็ว่าอีกฝ่ายหนึ่งผิด ฝ่ายตนเป็นฝ่ายถูก แทบทุกราย, แม้นักโทษในเรือนจำก็ยังอดที่จะตอบว่าถูกเขาหา ถูกเขาใส่ความ ตนเองไม่ได้ทำผิดเลย, นี่เพราะอัธยาศัยของแต่ละคนชอบเป็นฝ่ายถูก ฝ่ายดี แต่คิดว่าถูกว่าดีเอาตามอัธยาศัยของตน ซึ่งถ้าย้อนตรวจอัธยาศัยตามแนวธรรมแล้วจะเห็นยังเต็มด้วยอคติ เต็มด้วยอกุศลกรรมบถ จึงหาคนดี คนถูก ตามแนวธรรมได้ยาก มีแต่คนดี คนถูก ตามอัธยาศัยของแต่ละคนมากกว่ามาก เรานับถือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นสรณะ จะไม่สมควรหรือที่จะถือพระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์เป็นหลักตัดสินความเป็นคนถูก ความเป็นคนดี กันเสียบ้าง ขืนหลงถือตามอัธยาศัยตัวดิ่งอยู่เสมอเช่นนี้ จะมิต้องทะเลาะโต้เถียงวิวาทกัน จะมิพลาดจากผลที่นับถือพระองค์เป็นสรณะ ตลอดชีวิตหรือ มิหนำซ้ำยังจะย้อนมาลำเลิกถึงว่า ทำบุญให้ทานมามากแล้ว ไม่เห็นบุญทานช่วยให้ร่ำรวยเจริญสุขอีกเล่า อย่างนี้จะสมควรหรือไม่ถ้าจะเรียกผู้เช่นนี้ว่า นับถือศาสนาไม่ถูก, แต่ตัวเองก็ยังไม่รู้จักตัวของตัว จะได้ผลจากพระศาสนาอย่างไร
บันทึก ๑๕ พ.ย.๙๔



ไม่รู้จัก+ไม่รู้จัก=อะไร

วันธรรมสวนะที่ ๓๑ ตุลาคม เมื่อสดับเทศน์กัณฑ์เช้าจบแล้ว มีการสนทนาปราศรัย กับอุบาสกอุบาสิกาตามเคย สักครู่คนงานของวัดก็นำจดหมายว่ารับจากศิษย์วัดมามอบให้หัวหน้าอุบาสกเพื่อช่วยส่งให้อุบาสิกาผู้หนึ่งและให้นำส่งผู้มีชื่อในหลังซองนั้นด้วย หัวหน้าอุบาสกไม่รู้จักอุบาสิกาผู้จะรับฝาก ต้องไต่ถามหา จึงได้ความว่ากลับไปเสียแล้ว จดหมายนั้นเป็นอันไม่ได้ผลอะไร

เมื่อลองสอบถามถึงจดหมายนั้นว่ามาอย่างไรกัน ก็ได้ความ ญาติของพระภิกษุในวัดรูปหนึ่ง วานพระภิกษุให้ช่วยส่งจดหมายติดต่อไปถึงญาติอีกคนหนึ่ง โดยให้ญาติผู้เป็นอุบาสิกาช่วยรับไปอีกต่อหนึ่ง พระภิกษุรูปนั้นจึงให้ศิษย์นำไปที่พระอุโบสถ ศิษย์ไม่รู้จักผู้รับฝากจึงวานคนงานของวัดซึ่งเป็นเชื้อจีนให้นำไปส่งอีกต่อหนึ่ง คนงานไม่ทราบเรื่องถนัดทั้งไม่รู้จักผู้รับด้วย จึงนำมามอบแก่หัวหน้าอุบาสก หัวหน้าอุบาสกก็ไม่รู้จักต้นสายปลายเหตุ ทั้งไม่รู้จักผู้รับเช่นเดียวกัน จึงไต่ถามกันวุ่น จนได้ความว่า อุบาสิกาผู้จะรับช่วยถือไปถึงผู้รับต้นเรื่องนั้นกลับไปเสียแล้ว เลยถือเป็นคติธรรมพูดให้อุบาสกอุบาสิกาฟังว่า “นี่ผลของของความไม่รู้ แม้จะรับช่วงกันมาเป็นทอดๆ ตั้ง ๓-๔ ทอดก็ตาม ผลที่มุ่งหมายในจดหมายก็ไม่สำเร็จอะไรเลย ควรหวนคิดถึงอย่างผู้เทศนากับผู้ฟังว่า ถ้าผู้แสดงก็แสดงไปตามปริยัติ ผู้ฟังก็ฟังอย่างปริยัติ ประดับความรู้เท่านั้น ต่างคนต่างไม่รู้จักธรรมด้วยกัน แล้วผลที่สุดจะเป็นอย่างไร ก็คงไม่ได้ผลอะไร อย่างรับช่วงติดต่อส่งจดหมายกันนั่นเอง คนที่รับช่วงส่งจดหมายคนที่ ๒ คือเด็ก จนถึงคนที่ ๔ หัวหน้าอุบาสก ต่างก็ไม่รู้จักผู้รับฝาก แม้ผู้รับฝากจะยังไม่กลับเสียก่อน ก็คงต้องไต่ถามกันวุ่นวาย ควรถือเป็นตัวอย่างได้ว่า เมื่อผู้แสดงธรรมก็ไม่รู้จักธรรม ผู้ฟังก็ไม่รู้จักธรรม ต่างก็ทำหน้าที่ไปตามพิธีการ ผลบวกก็เท่ากับไม่รู้ ไม่ได้รับผลของธรรมอยู่ตามเดิมนั่นเอง เสียเวลาไปเปล่าๆ

จึงควรฝึกฝนอบรมให้รู้จักธรรมจงได้ รู้จักแล้วจงบำเพ็ญให้เกิดมีอัธยาศัยสันดานเถิด ธรรมจึงจะรักษาผู้ประพฤติธรรมไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ตลอดกาลเป็นนิตย์.

๒๐ พ.ย.๙๔



อุปาทาน

เที่ยงเศษของวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๔๙๕ ขุนพยาพัฏสรรพกิจ (ประเสริฐ อังสโวทัย) ไวยาวัจกรของวัดนำบัญชีเบิกนิตยภัตมาให้ลงชื่อรับรอง ได้พบกับหลวงเทพดรุณานุศิษฏ์ (ทวี ธรมธัช ป.๙) ซึ่งเคยอุปสมบทร่วมสำนักเดียวกันมา ปรารภถึงการที่ท่านขุนมาช่วยเหลือกิจการของวัดเป็นการดีแล้ว ท่านขุนก็แสดงความปรารถนาของตนว่า ได้เคยตั้งใจไว้แต่สมัยรับราชการ รู้สึกวุ่นวายรำคาญใจมากว่า ถ้าออกรับบำนาญเป็นต้องเข้าวัดแน่ๆ.

เราผู้ฟังก็รับเอามานึกคิดชวนให้เห็นว่า เมื่อทำงานติดต่อในหน้าที่ราชการ ก็จำต้องวุ่นวายมาก เพราะต้องติดต่อกับคนมาก นับประสาอะไร เพียงแต่ในตัวของตัวเอง ยังต้องวิ่งเต้นแสวงหาเครื่องดำรงชีวิต วุ่นวายอยู่ทุกเวลานาที จะหาใครบอกว่าสบายสักคนได้ยาก ทั้งนี้ ก็แสดงว่า ถ้าติดต่อกับคนหมู่มาก หรือกิจการมาก อารมณ์ก็มากตามไปด้วย ถ้าติดต่อกับคนหมู่น้อย หรือกิจการน้อย อารมณ์ก็อาจน้อยไปตามกัน นี่หมายเอากิจการงานเป็นเกณฑ์

อีกนัยหนึ่ง ท่านขุนบ่นว่าเมื่อรับราชการ ลำบากใจมาก คงเป็นเพราะต้องเอาใจผู้บังคับบัญชาตามระเบียบหน้าที่เป็นสำคัญ ครั้นมาทำหน้าที่ไวยาวัจกรประจำวัดเป็นหน้าที่ตามสบายตัวเองเป็นส่วนมากเช่นนี้ ภาระรับผิดชอบที่จะต้องหนักใจก็มีน้อย แต่ตามหลักธรรมความยึดถือเป็นสิ่งสำคัญมาก ธุรกิจมากหรือน้อยไม่สำคัญ ความยึดถืออย่างมั่นคงหลงใหลนั่นเอง เป็นภาระที่หนักแก่ผู้ยึดถือด้วยขาดความรู้เช่นเห็นชนิดยิ่งนัก และยิ่งต้องปฏิบัติตามอารมณ์ของผู้ขาดหลักธรรม ก็เป็นอีกแง่หนึ่งที่ก่อกวนความวุ่นวายมิรู้จบ เพราะอารมณ์ของผู้เช่นนี้ ก็คือบทพากย์ของกิเลสนั่นเอง มิหนำซ้ำ ผู้รับปฏิบัติยิ่งนำกิเลสของตัวออกปฏิบัติอีกด้วย ก็เท่ากับกิเลส x กิเลส = ?.

๑๙ ม.ค.๙๕



ทำบุญ ทำบาป

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๘กุมภาพันธ์ ๒๔๙๔ เดินทางด้วยรถยนต์จากการอนุเคราะห์ของนายสวัสดิ์ สุกุมลจันทร์ พร้อมกับพระ ๑  สามเณร ๑  ศิษย์ ๑  รวมเป็น ๕ ทั้งผู้ขับ ออกจากวัดเวลา ๐๗.๓๐ น. เพื่อไปในการฌาปนกิจศพโยมหญิงของพระครูสมุห์วิชัย ฐานานุกรม ที่วัดสระกะเทียม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม  ถึงวัดสระกะเทียมเวลา ๐๙.๓๐ น. บ่ายพระปฐมนคราจารย์ วัดเสน่หา เทศนา แล้วเริ่มการฌาปนกิจ พอสมควรก็ลากลับ ออกเดินทางเวลา ๑๖.๒๐ น.  พระครูสังวรวินัย วัดท่าตำหนัก กับศิษย์๑ ร่วมโดยสารมาลงที่หน้าวัดด้วย

เมื่อรถผ่านถึงหลักกิโลที่ ๒๒ ถนนลาดยางเรียบร้อย รถวิ่งสะดวก จึงพิงเบาะพนักหลับตาสบาย ความคิดก็แล่นไปถึงงานฌาปนกิจนั้น มีหมู่ญาติมาประชุมฟังเทศน์และร่วมงานประมาณสัก ๒๐๐ คนเศษ ต่างสงบเสงี่ยมประนมมือฟังเทศน์และพระมาติกา ด้วยถือว่าเป็นบุญกุศลแก่ตน ในงานมีพิณพาทย์แตรวงมาบรรเลงอยู่ด้วย เลยน้อมความคิดไปถึงบุคคลบางคนชอบใช้มือเท้าทุบตีเตะต่อยผู้อื่น ใช้ลมปากพูด ดุด่า ว่าร้ายผู้อื่น เหล่านี้ล้วนแต่เป็นความชั่ว เป็นการผูกเวรกับผู้อื่น ก่อกรรมชั่วให้แก่ตัวเองสืบไป ทำไมไม่ดูตัวอย่างคนที่เขาใช้มือตีวัตถุบางอย่างให้เป็นเงินทองบ้าง ใช้ลมปากให้เป็นที่ชอบใจของคนฟัง ได้เงินทองมาเลี้ยงชีพบ้าง ดังคนตีพิณพาทย์ ใช้มือจับไม้เคาะลงบนไม้บ้าง โลหะบ้าง หนังบ้าง ให้เป็นเสียงสูงต่ำเกิดเป็นพลังฟังไพเราะ เร้าใจให้ตื่นเต้นก็มี เยือกเย็นเศร้าสลดก็มี อย่างนี้เพราะการฝึกหัดอบรม ใช้มือให้เป็นคุณ หาเงินทองเลี้ยงชีพ สะดวกกว่าใช้มือในทางประทุษร้ายผู้อื่น, คนเป่าปี่และพวกเป่าแตรเขาใช้ลมปากของเขา ประกอบกับใช้นิ้วแบ่งปิดเปิดลมให้เปล่งเสียงเป็นจังหวะฟังซาบซึ้งจับใจคน ก็เป็นการใช้ลมปากในทางเป็นคุณ ได้เงินทองเลี้ยงชีพ ทำให้อยู่ดีกินดี ส่วนคนที่ใช้ปากในทาง ดุ ด่า ว่าร้ายผู้อื่น มีแต่ก่อทุกข์เดือดร้อนให้ตนเองเสมอ ไม่เป็นทางแห่งความเจริญ เหล่านี้

ทำไมหนอ ชาวเราที่อยากได้บุญเป็นสุขกายสบายใจ ทำมาค้าขึ้น จึงไม่ใช้มือเท้าและลมปากของตนให้เป็นคุณแก่ตน อย่างพวกพิณพาทย์พวกแตรบ้าง มัวแต่หลงใช้มือเท้าและปาก ก่อกรรมทำเข็ญแก่ตนเองและผู้อื่นอยู่ตลอดมา จะได้สุขกายสบายใจมาแต่ไหน และญาติมิตรที่มาประชุมประนมมือให้เสียงพระผ่านหูไป รู้เรื่องบ้าง ไม่รู้เรื่องบ้าง ก็ถือว่าได้บุญ ครั้นเลิกพิธี ความสงบอย่างนั้นไม่มีอีก บุญก็คงอยู่ที่ศาลานั่นเอง ไม่ติดตามตัวไปถึงบ้านด้วยเลย เรื่องการบุญ ชาวเรามักรู้มาก ฉลาดหาบุญกันนัก แต่ก็สังเกตว่า มักไม่ได้ตัวบุญ จะได้ก็เพียงกิริยาบุญเป็นครั้งคราวเท่านั้น ส่วนการบาป รู้สึกว่า ชาวเราทำถูกตรงทุกครั้ง อย่างที่กำลังหลับตานึกคิดอยู่นี้

รถผ่านมาใกล้จะถึงสะพานข้ามคลองมอญ มีรถวิ่งนำหน้าห่างกันสัก ๑๐ เมตร คันหนึ่งประเดี๋ยวเห็นรถคันหน้าหลบเขาเลยไป จึงเห็นเด็กชายกลุ่มหนึ่ง ๖-๗ คน นั่งยืนอยู่ริมถนนด้านซ้าย แต่มีคนหนึ่งนั่งออกมากลางถนน เห็นรถวิ่งมาก็ไม่หลบ รถคันหน้าเห็นง่ายจึงหลบไปสะดวก ส่วนคันของเรา ตามมากระชั้น พอคันหน้าหลบ ก็มากระชั้นกับคนที่นั่งดูเฉยอยู่ ทำให้ต้องหักรถเลี้ยวขวากระชั้นชิด ห่างกันสัก ๓-๔ เมตรเท่านั้น พวกนั้นต่างก็หัวเราะต่อกระซิกกันเป็นที่สบายใจ อย่างนี้จะเรียกว่า เขาทำบุญคือคุณงามความดี หรือเขาทำบาปคือความชั่วเลวทราม ถึงกับเอาชีวิตร่างกายมาเสี่ยงกับอันตราย ส่วนตัวเจ้าเด็กหนุ่มคะนองนั้นเขาต้องภูมิใจว่าฉันเก่ง ทำให้รถต้องหลีกได้ หากจะนึกว่า ถ้าหลีกหลบไม่ทัน อย่างน้อยก็คงถลอกปอกเปิกเจ็บปวดไปเท่านั้น เพราะตัวทำผิดเองไม่ใช่ความผิดของคนขับรถ ด้วยมานั่งขวางอยู่กลางถนน ซึ่งเป็นทางจราจรของรถ แม้พวกเขาจะได้รับความสนุกสนาน แต่ในพวกเรา ก็นึกหยามในความเกเรของเขามาเกือบตลอดทาง ถึงวัดเวลา ๑๘.๐๐ น.

บันทึก ๒๕ ก.พ.๙๕



แก้ทีละอย่าง

เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๔๙๕ เวลา ๑๓.๐๐ น.เศษ ได้ไปหาทันตแพทย์ (ประพันธ์ พืชผล) เพื่อแก้ฟันเทียมที่ไปติดต่อมาหลายครั้งแล้ว เมื่อแพทย์ได้ตรวจดูความเหมาะสมและเริ่มแก้ จึงได้ชี้แจงเพื่อให้แพทย์แก้ ว่าซี่ฟันยังสูง ขบลงไม่เรียบ, ยังกดเจ็บด้านในเกือบตลอดแนว, นายแพทย์จึงตอบว่า ต้องแก้ทีละอย่าง

เมื่อได้ฟังตอบเช่นนั้น รู้สึกสะดุดความคิดเกิดความสนใจในคำว่าแก้ทีละอย่าง และเห็นจริงด้วยว่า ถ้าจะแก้พร้อมกันไปทั้ง ๒ อย่าง ย่อมตรวจความขัดข้องไม่ถนัด ขืนแก้ อาจไม่ได้ผลสะดวกพอเหมาะเจาะ เลยชวนให้นำประโยค “แก้ทีละอย่าง” มาเทียบกับเหตุการณ์ที่ต้องจัดต้องทำ หรือที่เกิดกับอารมณ์ว่า ถ้าจะแก้อุปสรรคหรือความผิดพลาดทั้งหลาย ควรพิจารณาแก้ให้ถูกปมของอุปสรรคทีละอย่างไปตามลำดับ ที่ควรแก้ก่อนแก้หลังอย่างไร เพราะความปรารถนาดีแก่ตนเองหรือแก่ผู้อื่น ถ้าตั้งความปรารถนาไม่ถูกเหมาะ เช่นไม่เหมาะแก่ถิ่นฐาน กาลสมัย และบุคคล ความปรารถนาดีนั้น ย่อมไม่ให้ผลสมปรารถนาก็ได้ ซ้ำร้ายอาจกลายเป็นโทษก็จะพึงมี โดยเฉพาะตนเอง จงอบรมแก้อัธยาศัยที่ไม่ดีไม่งามทีละอย่าง จากง่ายไปหายาก จากหยาบไปหาละเอียด จากพบเห็นบ่อยไปหาพบเห็นยาก จากส่วนที่มักลืมผ่านกันบ่อยๆ ไปหาส่วนที่ลืมผ่านนานๆ ครั้ง หรือจากส่วนกายวาจาไปหาส่วนใจ ก็คงไม่เสียผลเป็นแท้ เว้นแต่บางประการที่สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน ต้องแก้พร้อมกันก็มี ถึงกระนั้น โดยความละเอียด ก็คงต้องแก้ทีละอย่างอยู่นั่นเอง ไม่มีใครแก้พร้อมกันในคราวเดียวหลายอย่างได้.

บันทึก ๑๕ ก.ค.๙๕



บุญช่วยคนทำบุญ

จันทร์ที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๖ เวลาประมาณ ๑๖.๐๐ น. ได้เห็นพระสมจิตร์ วัดมัชฌันติการาม บางเขน ผู้เป็นสัทธิวิหาริก ในอุปการะของคุณนายเนื่อง อิ่มสมบัติ เจ้าของร้านเนืองสิน ถนนเฟื่องนคร พระนคร ในการอุปสมบท ถือตะลุ่มดอกไม้ธูปเทียนเข้ามาหา คาดถูกทีเดียวว่า กิริยาอาการทำนองนี้ ไม่มีอย่างอื่นนอกจากมาแจ้งการลาสิกขา เมื่อรับสักการะเรียบร้อยแล้ว ไม่ว่าอย่างไร บอกแต่เพียงว่า เมื่อบวชอยู่ไม่ได้จะลาสิกขาออกมาเป็นฆราวาสควรประพฤติตัวให้ดี ให้สมกับได้รับการศึกษาในทางดีมาแล้ว

พระสมจิตร์ อุปสมบทมาได้ ๕ พรรษาแล้ว ชาติภูมิอยู่ร้อยเอ็ด มาศึกษาได้นักธรรมชั้นโท เริ่มศึกษาบาลีพอมีความรู้ จึงถามต่ออีกว่า ลาสิกขาแล้วจะทำอะไร กลับขึ้นไปบ้านหรือจะอยู่ในกรุงเทพฯ เธอตอบว่า จะลองหางานดูก่อน ถ้าไม่ได้ก็กลับบ้าน ได้เตือนใจเธอว่า –

เราได้เคยศึกษาธรรมวินัย ดำรงตัวอยู่ให้ชาวบ้านเคารพบูชามาแล้ว เมื่อลาสิกขาออกไปเป็นฆราวาส ก็ควรนำคุณงามความดีที่เคยประพฤติแล้วนั้นๆ มาใช้ในเพศฆราวาสด้วย ไม่เป็นการเสียหายอย่างไร เพราะคนประพฤติคุณงามความดี ย่อมเป็นที่ประสงค์ทุกหมู่คณะ ทั้งบรรพชิตและฆราวาส อย่าหลงทิ้งคุณงามความดีเสีย ไปประพฤติในทางเลว อย่างอบายมุข เพราะในพวกฆราวาสเอง เขาก็รังเกียจกันมากอยู่แล้ว เราทำบุญคือคุณงามความดี บุญย่อมช่วยสนับสนุนส่งเสริมให้มีความสุขเจริญ ทำบาปคือความชั่วเสียหายต่างๆ บาปก็ย่อมเบียดเบียนให้ถึงทุกข์ยากเดือดร้อน จะทำบุญเพื่อแก้บาปไม่ได้ บุญช่วยได้แต่คนทำบุญ บาปก็ล้างผลาญได้แต่คนทำบาป เหมือนพระพุทธภาษิตว่า ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม อธรรมย่อมนำไปถึงนรก ธรรมนำไปถึงสุคติ ฉะนั้นจึงควรทำบุญที่เคยทำมาแล้ว ไปทำต่อในเพศฆราวาสอีก บุญที่ควรทำในที่นี้ ขอยกขึ้นอ้างเพียง ๓ ประการ คือ กตัญญูกตเวที ๑ ขยันหมั่นเพียร ๑ ซื่อสัตย์สุจริต ๑ เมื่อมั่นคงอยู่ในบุญทั้ง ๓ นี้ตลอดไปแล้ว ความสมบูรณ์พูนสุขในชีวิตย่อมเกิดมี จะเป็นมงคลคุ้มตัวในที่ทุกสถานตลอดกาลทุกเมื่อ

อนึ่ง เมื่อคืนวันที่ ๑๕ กุมภ์นี้ นายแพทย์กอบชัย พรหมินทะโรจน์ จักษุแพทย์ ผู้อุปสมบทในการพระราชทานเพลิงศพหลวงจำรัสฤทธิแพทย์ ผู้บิดา มีกำหนด ๑๕ วัน มาถวายดอกไม้ธูปเทียนเพื่อลาสิกขา ได้เตือนว่า เพราะมีเวลาศึกษาน้อย จึงขอให้ตั้งมั่นในกตัญญูกตเวที ๑ สติสัมปชัญญะใคร่ครวญรอบคอบก่อนจึงดำเนินกิจการทุกอย่าง ๑ ทำได้เท่านี้ ก็พอเป็นหลักยึดตามแนวของพระศาสนาได้.

๑๗ ก.พ.๙๖
3418  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ตลาดสด / Re: งานฝีมือ - แพทเทิร์น โครเชต์ เมื่อ: 23 กรกฎาคม 2558 14:37:02
.


 เสื้อกั๊ก ถักต่อดอก
วัสดุ
1. ด้ายถัก ขนาดบรรจุ 100 กรัม 3 กลุ่ม
2. เข็มโครเชต์ No.6

ขนาดดอก A  เส้นผ่าศูนย์กลาง 5.5 เซนติเมตร

ขนาดสำเร็จ
รอบอก 112 เซนติเมตร
เสื้อยาว 68 เซนติเมตร
รอบวงแขน 58 เซนติเมตร

ดอก A
ดอกแรก
ขึ้นต้น คล้องด้ายเป็นวงกลม
แถวที่ 1 ซ3 เป็นหลักแรก พ1ค 17 ครั้ง ในวงกลม ลห กับหลักแรก
แถวที่ 2 ซ3 เป็นหลักแรก *ซ1 พ1ค บนหลักถัดไป* ถักซ้ำใน *.....* จนรอบ จบด้วย ซ1 ลห กับหลักแรก
แถวที่ 3-5 ถักตามผังลาย

ดอกต่อๆ ไป
ขึ้นต้น คล้องด้ายเป็นวงกลม
แถวที่ 1-4 ถักเหมือนดอกแรก
แถวที่ 5 (แถวสุดท้าย) ถักต่อกับดอกแรกตามผังลาย

ดอก B
ขึ้นต้น คล้องด้ายเป็นวงกลม
แถวที่ 1 ซ3 เป็นหลักแรก พ1ค 10 ครั้ง ในวงกลม พลิกกลับ
แถวที่ 2-4 ถักตามผังลาย
แถวที่ 5 (แถวสุดท้าย) ถักต่อกับดอก A ตามผังลาย

ลายริม
แถวที่ 1 ซ1 เป็นหลักแรก คธ บนหลักเดิม ซ3 คธ บน ซ3 ถัดไป ซ3 คธ บน ซ3 ถัดไป
             ถักต่อไปเรื่อยๆ จนรอบ จบด้วย ซ3 ลห กับหลักแรก
แถวที่ 2 ซ1 เป็นหลักแรก คธ บนทุกหลักถัดไป จนรอบ ลห กับหลักแรก
แถวที่ 3-4 ถักเหมือนแถวที่ 2

วิธีประกอบ
1. นำดอก A และดอก B ถักต่อกันตามผังลายการต่อดอก
2 ถักลายริมจนรอบตัวเสื้อและรอบวงแขนทั้ง 2 ข้าง










 เสื้อถักโครเชต์

วัสดุ
1.ด้าย COTTON SUPIMA  ขนาดกลุ่มละ 50 กรัม 4 กลุ่ม
2.เข็มโครเชต์ No.2/0

ขนาดสำเร็จ
   รอบอก 96 ซม.
   ตัวยาว 52.5 ซม.
   แขนยาว 22.5 ซม.

วิธีถัก
   - เสื้อชิ้นหลัง
ขึ้นต้น ซ 176
แถวที่ 1 ซ1 คธ เป็นหลักแรก คธ หลักถัดไป ซ9 ลห ติดกัน ซ4 เว้น 4 หลัก (คธ หลักถัดไป ซ9 ลห ติดกัน คธ หลักถัดไป ซ9 ลห ติดกัน ซ4 เว้น 4 หลัก) ถักซ้ำในวงเล็บจนจบแถว ด้วย ซ9 ลห ติดกัน คธ บน 2 หลักสุดท้าย พลักกลับ
แถวที่ 2  ซ4 เป็นหลักแรก ซ2 คธ บน ซ9 ของแถวที่แล้ว (คธ บน ซ9 ถัดไป ซ4 คธ บน ซ9 ถัดไป) ถักซ้ำในวงเล็บจนจบแถวด้วย ซ2 พ2ค บนหลักสุดท้าย พลิกกลับ)
แถวที่ 3  ซ1 คธ เป็นหลักแรก ซ2 เว้น ซ2 (ลห หลักถัดไป ซ9 ลห บนหลักเดิม ซ9 ลห หลักถัดไป ซ4 เว้น ซ4) ถัก.ซ้ำในวงเล็บจนจบแถวด้วย ซ2 เว้น ซ2 คธ หลักสุดท้าย พลักกลับ
แถวที่ 4  ซ4 เป็นหลักแรก คธ บน ซ9 ของแถวที่แล้ว ซ4 (คธ บน ซ9 ถัดไป คธ บน ซ9 ถัดไป ซ4) ถักซ้ำในวงเล็บ จนจบแถวด้วย พ2ค บนหลักสุดท้าย พลิกกลับ
แถวที่ 5  ซ1 คธ เป็นหลักแรก ซ9 ลห บนหลักถัดไป (ซ4 เว้น ซ4 ลห หลักถัดไป ซ9 ลห บนหลักเดิม ซ9 ลห บนหลักถัดไป( ถักซ้ำในวงเล็บจนจบแถวด้วย คธ บนหลักสุดท้าย พลิกกลับ (แถวที่ 2-5 = 1 ช่วงลาย)
แถวที่ 6-46  ถักตามผังลาย จนครบทุกแถว พลิกกลับ
แถวที่ 47-80  ถักลดวงแขน และคอ หลัง ตามผังลายจนครบทุกแถว ตัดด้าย

   - เสื้อชิ้นหน้า
ขึ้นต้น  ซ 176
แถวที่ 1-46  ถักเหมือนชิ้นหลัง
แถวที่ 47-57  ถักตามผังลายจนครบทุกแถว พลิกกลับ
แถวที่ 58-80  ถักลดคอหน้าและลดวงแขนพร้อมกันตามผังลาย จนครบทุกแถว ตัดด้าย

   - แขนเสื้อ  (ถัก 2 ชิ้น)
ขึ้นต้น  ซ 116
แถวที่ 1-14  ถักใต้ท้องแขนตามผังลายจนครบทุกแถว พลิกกับ
แถวที่ 15-32  ถักวงแขนตามผังลายจนครบทุกแถว ตัดด้าย

วิธีประกอบ
1.นำเสื้อชิ้นหน้าและหลังเย็บไหล่และด้านข้างติดกัน
2.ติดแขนเสื้อเย็บตามตำแหน่ง
3.ถักลายริมคอเสื้อโดยรอบ
4.ถักปกเสื้อ แล้วนำมาเย็บติดโดยรอบคอเสื้อ
5.ถักลายริมชายเสื้อ และลายริมปลายแขนเสื้อโดยรอบ
6.ถักดอกไม้แล้วเย็บติดตรงกลางปกเสื้อด้านหน้า

ลายริมรอบคอเสื้อ
ขึ้นต้น  ต่อด้ายที่คอเสื้อ
แถวที่ 1-3 ถักตามผังลายโดยรอบคอเสื้อจนครบทุกแถว ตัดด้าย

ลายริมชายเสื้อและลายริมปลายแขนเสื้อ
   -แขนเสื้อ

ขึ้นต้น  ต่อด้ายตามตำแหน่ง
แถวที่ 1-4  ถักตามผังลายจนครบทุกแถว แล้วตัดด้าย

   - ปกเสื้อ
ขึ้นต้น  ซ.163 ตัดด้าย
แถวที่ 1  ต่อด้ายตามตำแหน่ง  ลห คธ เป็นหลักแรก ซ3 เว้น 1 หลัก คธ หลักถัดไป ซ4 เว้น 2 หลัก คธ หลักถัดไป ซ4 เว้น 2 หลัก คธ หลักถัดไป ถักตามผังลายจนถึงตำแหน่ง โยงด้าย พลิกกลับ
แถวที่ 2-11  ถักตามผังลายจนครบทุกแถว (ดูตำแหน่งโยงด้าย พลิกกลับ ตามผังลายที่กำหนดไว้) ต่อด้ายถักแถวที่ 1 ด้านล่างของปกตามผังลาย

   - ดอกไม้
ขึ้นต้น  ซ 4 ลห เป็นวงกลม
แถวที่ 1  ซ1 คธ 2 ครั้งในวงกลม (ซ7 คธ 3 ครั้งในวงกลม) ถักซ้ำในวงเล็กอีก 3 ครั้ง ซ7 คธ 1 ครั้งในวงกลม ลห กับหลักแรก
แถวที่ 2  ซ1 คธ เป็นหลักแรก **ซ4 พ2ค บน ซ7 ของแถวที่ 1 (ซ1 พ2ค บน ซ7 เดิม)* ซ1 พ3ค บน ซ7 เดิม  *ถักซ้ำใน *...* อีก 9 ครั้ง ถักซ้ำในวงเล็บอีก 2 ครั้ง ซ1 พ1ค บน ซ7 เดิม ซ1 พ1ค บน ซ7 เดิม ซ4 เว้น 1 หลัก คธ หลักถัดไป** ถักซ้ำใน **...** อีก 4 ครั้ง ลห กับหลักแรก
แถวที่ 3 ถักตามผังลายจนรอบ ลห กับหลักแรก ตัดด้าย  















  ลายถักเสื้อประดับลูกไม้

วัสดุ
1.ด้าย COTTON SUPIMA  ขนาดกลุ่มละ 50 กรัม 2.5 กลุ่ม
2.เข็มโครเชต์ No.2/0
3.ริบบิ้นสีขาว ขนาดกว้าง 1 ซม.  ยาว 240 ซม.
4.ลูกไม้ผ้า ขนาดกว้าง 4.5 ซม. ยาว 5 เมตร 50 ซม.

ขนาดถัก  ลาย B = 3.5 ซม.

ขนาดสำเร็จ
   รอบอก 100 ซม.
   ตัวยาว 46.5 ซม.
   
วิธีถัก :
     เสื้อชิ้นหน้า-หลัง
     ชายเสื้อช่วงแรก

ขึ้นต้น  ตัดลูกไม้ผ้ายาว 100 ซม.เย็บติดกันเป็นวงกลม=74 ช่วงหยัก ลห ต่อด้ายตามตำแหน่ง
แถวที่ 1  คธ บนช่วงหยักแรก (ซ5 คธ บนช่วงหยักต่อไป) ถักซ้ำในวงเล็บจนรอบจบแถวด้วย ซ2 พ1ค บนหลัก คธ แรกพลิกกลับ
แถวที่ 2  ซ1 คธ เป็นหลักแรก (ซ5 คธ บน ซ 5 ถัดไป) ถักซ้ำในวงเล็บจนรอบ จบแถวด้วย ซ2 พ1ค บนหลักแรก พลิกกลับ
แถวที่ 3-6  ถักเหมือนแถวที่ 2 (แถวที่ 6 คธ ติดกับลูกไม้ผ้าเส้นต่อไป ลห กับหลักแรก ตัดด้าย)

ช่วงต่อไป
ขึ้นต้น  ต่อด้ายบนลูกไม้ผ้า เส้นที่ 2
แถวที่ 1-6  ถักเหมือนชายเสื้อช่วงแรก (แถวที่ 6 คธ ติดกับลูกไม้ผ้าเส้นต่อไป ลห กับหลักแรก ตัดด้าย)

ช่วงต่อไป
ขึ้นต้น  ต่อด้ายบนลูกไม้ผ้า เส้นที่ 3
แถวที่ 1-6  ถักเหมือนชายเสื้อช่วงแรก (แบ่งตัวเสื้อเป็นสองส่วน ตามผังการถัก แถวที่ 6 ติดกับลูกไม้ผ้าในช่วงแขนด้านหลัง เส้นที่ 1  49 ซม.=36 ช่วงหยัก)

ช่วงแขนด้านหลัง
ขึ้นต้น  ต่อด้ายบนลูกไม้ผ้าของช่วงแขนด้านหลังเส้นที่ 1
แถวที่ 1-6  ถักเหมือนชายเสื้อช่วงแรก (แถวที่ 6 คธ ติดกับลูกไม้ผ้าเส้นต่อไป ลห กับหลักแรก ตัดด้าย

ช่วงคอหลัง
ขึ้นต้น  ต่อด้ายบนลูกไม้ผ้าของช่วงแขนด้านหลัง เส้นที่ 2
แถวที่ 1-5  ถักเหมือนชายเสื้อช่วงแรก (16 ช่วงหยัก)
แถวที่ 6  ซ3 เป็นหลักแรก คธ ติดกับหยักแรกของลูกไม้ผ้า (ช่วงไหล่ พับแบ่งครึ่งกับเสื้อด้านหน้า) ซ2 คธ บน ซ5 ของแถวที่ 5 * ซ2 คธ บนหยักลูกไม้ถัดไป ซ2 คธ บน ซ5 ถัดไป* ถักซ้ำใน *...* จนจบแถวที่กำหนดให้ด้วย ซ2 ลห ติดกับหยักลูกไม้ผ้าหยักสุดท้าย พ1ค บนหลัก คธ ถัดไป ตัดด้าย

ช่วงแขนด้านหน้า
ขึ้นต้น  จากแถวที่ 6 ของลาย B คธ ติดกับลูกไม้ผ้าในช่วงแขนด้านหน้า เส้นที่ 1 (49 ซม.=36 ช่วงหยัก)

ช่วงคอหน้า
ขึ้นต้น   ต่อด้ายบนลูกไม้ผ้าของช่วงแขนตรงกึ่งกลางคอหน้า ตามตำแหน่ง
แถวที่ 1-6  ถักคอหน้า ตามฟังลายทั้ง 2 ข้าง (แถวที่ 6 คธ ติดกับลูกไม้ผ้าเส้นต่อไป 15 ช่วงหยัก พับริมทแยงด้านคอหน้าจนเหลือ 13 ช่วงหยัก

ช่วงต่อไป
ขึ้นต้น  ต่อด้ายบนลูกไม่ผ้าช่วงคอเส้นต่อไป 13 ช่วงหยัก
แถวที่ 1-6  ถักตามผังลาย B ทั้ง 2 ข้าง (แถวที่ 6 คธ ติดกับลูกไม้ผ้าเส้นสุดท้าย 10 ช่วงหยัก ซึ่งพับไหล่แบ่งครึ่งกับเสื้อด้านหลังซึ่งถักเรียบร้อยแล้ว

วิธีประกอบ
1.ถักลาย A เป็นลายริมชายเสื้อ
2.ถักลาย C เป็นลายริมแขนเสื้อ
3.ถักลายริมคอเสื้อ
4.สอดริบบิ้น รอบแขนเสื้อทั้ง 2 ข้าง
5.สอดริบบิ้น รอบเอว

ลาย A ลายริมชายเสื้อ
ขึ้นต้น  ต่อด้ายที่ชายเสื้อ
แถวที่ 1-5  ถักตามผังลายจนครบทุกแถวโดยรอบ ลห กับหลักแรก ตัดด้าย

ลาย C ลายริมแขนเสื้อ
ขึ้นต้น  ต่อด้ายตามตำแหน่ง
แถวที่ 1-3  ถักตามผังลาย จนครบทุกแถวโดยรอบ ลห กับหลักแรก ตัดด้าย

ลายริมคอเสื้อ
ขึ้นต้น  ต่อด้ายตามตำแหน่ง
แถวที่ 1-3  ถักตามผังลายจนครบทุกแถวโดยรอบ ลห กับหลักแรก

3419  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ตลาดสด / Re: แกลเลอรี 'ปักษี' ในดินสอดำบนกระดาน เมื่อ: 23 กรกฎาคม 2558 14:29:27

นกตีทอง
Coppersmith Barbet
Megalaima haemacephala

นกตีทอง นกขนาดเล็กที่สุดในกลุ่มโพระดก  หน้าผากสีแดง มีแถบสีดำคาดคิ้ว
และใต้ตาสีเหลือง ลำตัวด้านบนสีเขียวเข้ม คอและลำตัวด้านล่างสีเหลืองอ่อน
มีขีดสีเขียว ขาสีแดง อาศัยป่าโปร่ง ป่าละเมาะ สวนผลไม้ หากินเดี่ยวหรือคู่
บางครั้งรวมกับนกอื่นตามต้นที่มีลูกไม้สุก ชอบเกาะตามยอดไม้ หรือเสาอากาศ
ส่งเสียงร้อง ‘ก๊อง ก๊อง ก๊อง’ ต่อเนื่องยาวนาน คล้ายเสียงเคาะโลหะ ที่มาชื่อ ‘นกตีทอง’
 
มติชนสุดสัปดาห์


นกยอดหญ้าสีดำ
Eastern Stonechat
Saxicola stejnegeri

นกยอดหญ้าสีดำ นกขนาดเล็กมาก หัวและคอดำ ลำตัวด้านบนดำ มีลายน้ำตาลจางๆ
ข้างคอและแถบปีกขาว ลำตัวด้านล่างน้ำตาลส้ม อกน้ำตาลแดง ปากและขาดำ อาศัยตามทุ่งโล่ง
ทุ่งหญ้า พื้นที่เกษตรกรรม ชอบเกาะบนยอดหญ้า ยอดกิ่งไม้พุ่ม จับแมลงกลางอากาศ ลงมากินหนอน
แมลงที่พื้นแล้วบินขึ้นไปเกาะที่เดิม ทำรังเป็นรูปถ้วย ใต้ต้นไม้พุ่มเกือบติดดิน
 
มติชนสุดสัปดาห์


นกคิตติเวคขาดำ
Black-leged Kittiwake
Rissa tridactyla

นกคิตติเวคขาดำ หัวและลำตัวด้านล่างขาว มีแถบโค้งสีเข้มที่หู คล้ายกำลังสวมหูฟังเพลง
ลำตัวด้านบนเทา ปากเหลือง ขาสั้นดำเป็นนกนางนวลหนึ่งในสองชนิดที่หากินในทะเลลึกแถบ
อาร์กติก ต่างจากนกนางนวลทั่วไป ที่หากินตามแนวชายฝั่ง ไม่ห่างทะเล
 
มติชนสุดสัปดาห์


นกเดินดงพันธุ์ญี่ปุ่น
Japanese Thrush
Tudus cardis

นกเดินดงพันธุ์ญี่ปุ่น ลำตัวด้านบนสีเทาดำ วงตาและปากเหลือง ลำตัวด้านล่างใต้อก
ลงไปถึงก้นขาว มีลายจุดดำกระจาย ขาเหลือง ขนปีกด้านล่างสีเทา ตัวเมียด้านบนสีน้ำตาลอมเขียว
ด้านล่างสีขาวจุดดำกระจายเต็มอกและสีข้าง อาศัยป่าดงดิบเขา หากินตัวเดียว บางครั้งอยู่รวมกับ
นกเดินดงชนิดอื่น  หากินผลลูกไม้สุก หนอน แมลง และลูกไม้หล่นตามพื้นดิน พบตัวยาก

มติชนสุดสัปดาห์


นกชายเลนท้องดำ
Dunlin
calidris alpina

นกชายเลนท้องดำ ปากแหลมเรียว หัว คอ อก และลำตัวด้านบนสีน้ำตาลเทา
ลำตัวด้านล่างขาว คอสั้น  ฤดูผสมพันธุ์ สีเข้มเป็นน้ำตาลแดง คอและอกสีขาว มีขีดประสีดำ
เป็นแนว ท้องมีสีดำเป็นแผ่นขนาดใหญ่ อาศัยชายเลน ชายหาดทะเล หาดแม่น้ำ อยู่รวมกัน
เป็นฝูง และรวมกับนกชายเลนชนิดอื่น เดินจิกหาหอย ปู สัตว์ทะเลตัวเล็กตามหาดเลน
 และบริเวณน้ำขังตื้นๆ
 
มติชนสุดสัปดาห์


นกแต้วแล้วนางฟ้า
Fairy Pitta
Pitta nympha

นกแต้วแล้วนางฟ้า กระหม่อมสีน้ำตาล ขนหนา เวลาตกใจขนตั้งชันขึ้นคล้ายหงอน
คิ้วสีเนื้อยาวจากจมูก เหนือแถบดำหนาคาดหน้าไปถึงท้ายทอย หลัง ไหล่ สีเขียวเข้ม ตะโพก
และโคนหางบนสีฟ้า กลางท้องลงไปถึงโคนหางสีแดงสด หากินตามพื้นป่าใกล้ลำธาร ไส้เดือน
หนอน หอยทาก และแมลง ขึ้นบัญชีเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
 
มติชนสุดสัปดาห์


นกเขนหัวขาวท้ายแดง
White-capped Water Redstart
Chaimarrornis Ieucocephalus

นกเขนหัวขาวท้ายแดง นกขนาดเล็ก มี ๓ สีตัดกันอย่างสวยงาม หัวถึงท้ายทอยขาวเหมือน
ปุยเมฆ หน้าผาก คอ หน้าอก หลัง และปีก สีดำเป็นมัน ท้อง ตะโพก โคนหางทั้งบนและล่างสีแดงสด
ปลายหางเกือบครึ่งความยาวเป็นสีดำ หากินบนโขดหินตามลำธาร หรือก้อนหินที่มีน้ำไหลแรง
หางกระดกขึ้นลง และใช้พยุงตัวจากกระแสน้ำ พบช่วงฤดูหนาว ทางภาคเหนือเท่านั้น
 
มติชนสุดสัปดาห์



นกกินปลีหางยาวคอดำ
Black-Throated Sunbird
Aethopyga saturata

นกกินปลีหางยาวคอดำ หัวถึงท้ายทอยและคอน้ำเงินแกมม่วง หลังและข้างคอแดงเข้ม อกและท้อง
เหลืองอ่อน ตะโพกเหลืองอ่อนแกมขาว ขนหางคู่กลางยื่นยาวสีน้ำเงินเข้มเป็นมัน ตัวเมียลำตัวด้านบน
เขียวแกมเหลือง ด้านล่างสีอ่อนกว่าหากินตามลำพังหรือเป็นคู่ กระโดดไปตามต้นไม้ที่ออกดอกบานสะพรั่ง
ดูดกินน้ำหวาน
 
มติชนสุดสัปดาห์



นกคอทับทิม
Siberian Rubythroat
Luscinia calliope

นกคอทับทิม นกที่สวยและมีเสียงไพเราะอีกตัวหนึ่ง ส่วนบนของลำตัวตั้งแต่หัวจนถึงหาง
สีน้ำตาลแกมเขียวอ่อน กลางถึงปลายปีกสีน้ำตาลแดง มีริ้วขาวเหนือตาและด้านข้างคาง คางและ
ใต้คอสีแดงสด ล้อมรอบด้วยเส้นสีดำ อกสีเทาค่อยๆ จางลงไปเป็นสีเนื้อจนเป็นสีขาว ชอบโดดเดี่ยว
หลบซ่อนตัวในดงไม้หรือดงหญ้ารก นพอพยพนอกฤดูผสมพันธุ์พบได้ทุกภาคยกเว้นภาคใต้
 
มติชนสุดสัปดาห์



นกกางเขนบ้าน
Oriental Magpie Robin
Copsychus saularis

นกกางเขนบ้าน นกสีดำขาวที่มีรูปร่างเพรียวงาม นกประจำถิ่น พบเห็นบ่อยทั่วทุกภาค ทุกแห่ง
ตั้งแต่ทุ่งนา ป่าไร่ สวนเกษตร สวนสาธารณะ ทั้งชนบท ในเมือง แม้ในบ้านที่มีต้นไม้ มักจะมีนกกางเขน
บินมาเกาะให้เห็นเสมอ บางตัวก็มาอาศัยทำรังวางไข่ประกาศเป็นอาณาเขตของตัวเอง และขับไล่ตัวอื่น
ที่เข้ามาในพื้นที่ แต่อยู่รวมกับนกชนิดอื่น ปรอด อีแพรด นกเขาได้อย่างเพื่อน ส่งเสียงร้องไพเราะในช่วงเช้า-เย็น
 
มติชนสุดสัปดาห์



นกขุนแผนอกส้ม
Orange-Breasted Trogon
Harpactes oreskios

นกขุนแผนอกส้ม นกในกลุ่มที่มีสีสวยสด ปากอวบหนา ปลายเป็นของุ้มเล็กน้อย หัวและอก
สีเขียวแกมเหลือง อกตอนล่างสีเหลืองส้ม หางสีน้ำตาลแดง ขนใต้หางมีความยาวลดหลั่นกัน ทำให้เห็น
เป็นบั้งขาวดำปีกสีดำ มีลายเล็กๆ สีขาว ชอบอยู่ตัวเดียว เกาะนิ่งตัวตรงบนกิ่งไม้แนวขวางตามต้นไม้
สูงใบโปร่ง บินโฉบจับแมลงกลางอากาศ
 
มติชนสุดสัปดาห์


นกกระปูดใหญ่
Greater Coucal
Centropus rectunguis

นกกระปูดใหญ่ นกขนาดกลางที่ใหญ่กว่าชนิดอื่น ตาสีแดง หัวและลำตัวสีดำเหลือบม่วง หลังและปีก
สีน้ำตาลแดง ปากใหญ่สีดำ หางยาวใหญ่ ชอบเกาะเหนือพุ่มไม้หรือยอดไม้เตี้ยๆ อาศัยทุ่งหญ้าสูงป่าโปร่ง
ซ่อนตัวตามพุ่มไม้ใบทึบ ส่งเสียง ‘ปู๊ด ปู๊ด ปู๊ด’ เดินหากินตามพื้นดิน
 
มติชนสุดสัปดาห์



นกขุนแผน
Redbilled Magpie
Urocissa Erythorhyncha

นกขุนแผน นกขนาดกลางที่มีสีสันสวยงาม หัว คอ หน้าอกดำ มีแถบสีขาวจากกลาง
กระหม่อมยาวไปถึงหลังคอ ลำตัวด้านบน ตะโพก หาง และปีกสีฟ้าอมม่วง หางยาวมาก ลำตัวล่าง
สีขาว ปากแดง ขาแดง  ชอบอยู่เป็นคู่ และรวมตัวเป็นกลุ่ม ๔-๕ ตัว ออกหากินด้วยกัน บางครั้ง
ล่าเหยื่อขนาดใหญ่ นก หนู และงู โดยแท็กทีมสกัด จนเหยื่อหมดทางหนี ล้อมวงกินโต๊ะ!
 
มติชนสุดสัปดาห์



นกแซวสวรรค์
Asian Paradise-Flycatcher
Terpsiphone paradisi

นกแซวสวรรค์ หัวเป็นพุ่มหงอนสั้น หางยาวมาก พลิ้วไหวสวยงามเวลาบิน มีวงรอบตาสีน้ำเงิน
ตัวผู้มีขน ๒ ชุด สีขาว หัวและคอหอยสีดำ ขนปลายปีก ก้านขนสีดำ ลำตัวสีขาว สีน้ำตาลแดง
กระหม่อมดำ หัวและอกด้านบนสีเทาเข้ม ลำตัวด้านบน ปีกและหางสีน้ำตาล ท้องสีขาว บินไปมา
ระหว่างกิ่งไม้ โฉบจับแมลง
 
มติชนสุดสัปดาห์



นกยางทะเล
Pacific Reef Egret
Egretta sacra

นกยางทะเล นกยางที่มีขน ๒ แบบ ขาวและดำ โดยไม่เปลี่ยนสีชุดขนในฤดูผสมพันธุ์  
ท้ายทอยมีขนยาว หลังและอกมีขนเจ้าชู้ยาวแซมออกมาหากินตามชายฝั่งทะเล โขดหิน เดินย่อง
ไปตามชายหาดทรายหรือเลนในช่วงน้ำลดหากิน กุ้ง หอย ปู ปลา และสัตว์ทะเลตัวเล็ก ทำรัง
อยู่ตามแอ่งหินหรือต้นไม้ริมชายฝั่ง  นกยางสีเทาดำมีมากกว่าสีขาว
 
มติชนสุดสัปดาห์



นกจับแมลงหน้าผากขาว
Snowy-browed Flycatcher
Ficedura hyperythra

นกจับแมลงหน้าผากขาว นกขนาดเล็กมาก ปีกและหางค่อนข้างสั้น คิ้วสีขาวสั้นๆ
จากหัวตาไปชนกันที่หน้าผาก หน้าดำ หัวและลำตัวด้านบนสีน้ำเงินอมเทา คอและอกสีส้ม
ท้องและก้นขาว ชอบอยู่ตัวเดียว เกาะนิ่งตามกิ่งไม้เตี้ยๆ คอยจับแมลงที่บินผ่านขาประจำ
เกร่อยู่แถวอ่างกา ดอยอินทนนท์
 
มติชนสุดสัปดาห์



นกพญาปากกว้างหางยาว
Long-tailed Broadbill
Psarisomus dalhouslae

นกพญาปากกว้างหางยาว หัวเหมือนสวมหมวกกันน็อกสีดำติดป้าย มอก.แบบเปิดหน้า
หน้าและคอสีเหลืองเข้ม ลำตัวสีเขียว อกและท้องสีเขียวอ่อน หางยาวสีฟ้าสดใส ปากสีเขียวเหลือง
ชอบรวมตัวเป็นฝูง ๑๐-๒๐ ตัว หากินหนอน แมลงตามยอดไม้ ทำรังห้อยอยู่ปลายกิ่งไม้เหนือลำน้ำ
หรือถนน แต่ห่างจากลำต้น ป้องกันศัตรูเข้าถึงรัง
มติชนสุดสัปดาห์



นกพญาปากกว้างหางยาว
นกกระเต็นอกขาว
White-throated kingfisher
Halcyon smyrnensis

นกกระเต็นอกขาว หัวไหล่และท้องสีน้ำตาลแดงเข้ม คอและกลางอกสีขาว หลัง ปีก
และหางสีฟ้าสด ปากและขาสีแดง อาศัยป่าใกล้แหล่งน้ำ ทุ่งโล่ง ทุ่งนา ป่าโปร่ง ชอบอยู่ตัวเดียว
เกาะนิ่งบนตอไม้ กิ่งไม้แห้ง สายไฟฟ้าริมถนนเป็นเวลานาน อาหาร ปลา กบ เขียด แมลง
และสัตว์เล็ก ทำรังโดยขุดดินเป็นโพรงตามริมฝั่งน้ำ
มติชนสุดสัปดาห์



นกกระจาบธรรมดา
Baya Weaver
Ploceus Philippinus

นกกระจาบธรรมดา ปกติลำตัวสีเหลืองอ่อน ลายสีน้ำตาล ด้านล่างสีขาวแกมเหลือง
ในฤดูผสมพันธุ์ หัวและท้ายทอยเปลี่ยนเป็นสีเหลืองสด หน้าดำ คอน้ำตาลเข้ม ตัวผู้รวมฝูงกัน
เลือกทำเลรัง แขวนเรียงรายอยู่ใกล้กัน โดยใช้ใบหญ้า ใบข้าวมาสอดสาน ถักทอ มีช่องชั้น
ห้องหับ อย่างวิจิตรพิสดาร ตัวเมียตรวจดู ถ้าไม่ชอบก็จิกรื้อ ตัวผู้ต้องรีบซ่อมเสริมเติมแต่ง
จนเธอพอใจยอมเป็นแม่บ้านให้
มติชนสุดสัปดาห์



นกอีแจว
Pheasant-tailed Jacana
Hydrophasianus chirurgus
นกอีแจว
ตัวผู้และตัวเมียสีสันเหมือนกัน เป็นนกที่แสดงสิทธิสตรีนกออกนอกหน้า
โดยไม่แคร์ใคร เมื่อเข้าฤดูฝน นกตัวเมียในชุดเฉิดฉาย ส่งเสียงร้องเกี้ยวพาตัวผู้ จนหลงลม
สมสู่แล้วก็สร้างรังบนพืชลอยน้ำ ตัวเมียวางไข่จนครบ ๔ ฟองให้ตัวผู้เป็นผู้คอยฟูมฟักไข่
จนกว่าจะเป็นตัว ส่วนตัวเมียก็กรีดกรายไปจับคู่กับตัวใหม่ เข้าอีหรอบเดิมอีก ฤดูกาลหนึ่ง
ตัวเมียจับคู่ได้ถึง ๔ ครั้ง!
มติชนสุดสัปดาห์



นกโป่งวิด
Greater Painted Snipe
Rostratula benghalensis
นกโป่งวิด
นกตัวเมียที่มีสีสันสวยกว่าตัวผู้อีกชนิดหนึ่ง ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลแดงคล้ำ
แถบสีขาวพาดจากไหล่ลงไปที่ท้อง วงรอบตาสีขาวยาวเลยหางตา ปากยาวสีเนื้อ ใช้จิกตามพื้นเลน
และน้ำตื้น  หากินสัตว์น้ำตัวเล็ก หอย แมลง และพืชน้ำ ที่ชอบมาก คือไส้เดือน อาศัยตามหนองบึง
พื้นที่ชุ่มน้ำ ตัวเมียตัวหนึ่ง จับคู่กับตัวผู้หลายตัว
มติชนสุดสัปดาห์



นกพรานผึ้ง
Malaysian Honeyguide
Indicator archipelagicus
นกพรานผึ้ง
ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลปนเขียว อกสีเทา ท้องขาว ข้างมีขีดสีดำ  นกพรานผึ้ง
ในแอฟริกาส่งเสียงร้องเรียกสัตว์คล้ายพังพอน และชาวป่าให้ตามไปจนพบรังผึ้ง โดยได้รับส่วนแบ่ง
เป็นค่านำทาง  เมืองไทยมีตำนานเล่าว่า นกพรานผึ้งนำหมีไปล้วงรังผึ้งจากโพรงไม้แล้วทิ้งรวงผึ้ง
ที่มีตัวอ่อนไว้ให้ (พอมีเค้าอยู่บ้าง เพราะแอฟริกา ไม่มีหมี) แต่ข้อมูลมีน้อยมาก เพราะเป็นนกหายาก
พรานผึ้งผู้ลึกลับแห่งพงไพร
มติชนสุดสัปดาห์

แกลเลอรี
ดินสอดำบนกระดาน

โดย คุณกรินทร์ จิรัจฉริยกุล
(พิมพ์ในหนังสือมติชนสุดสัปดาห์)

3420  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / Re: พรรณไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้มงคล เมื่อ: 22 กรกฎาคม 2558 15:14:06
.
 กระดังงาปักกิ่ง
ไม้ต้นนี้ มีวางขาย มีภาพถ่ายดอกจริงให้ชมด้วย ทีแรกที่เห็นคิดว่าเป็นต้นกระดังงาจีน ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนตอนใต้ อินเดีย และศรีลังกา มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งขนาดใหญ่ นิยมปลูกประดับแพร่หลายในเขตร้อนทั่วไป มีชื่อวิทยาศาสตร์ เฉพาะคือ ARTABOTRYS HEXAPETALUS (L.F.) BHANDARL. อยู่ในวงศ์ANNONACEAE ซึ่งถ้าบอกชื่อกระดังงาจีนจะไม่มีใครรู้จัก แต่หากบอกว่า การเวก หรือสะบันงาเครือ และสะบันงาจีน คนจะร้องอ๋อและรู้จักดีทันที

ส่วน “กระดังงาปักกิ่ง” ผู้ขายกิ่งตอนยืนยันว่าเป็นคนละต้นกับกระดังงาจีน เนื่องจาก “กระดังงาปักกิ่ง” เป็นไม้พุ่มต้น ไม่ใช่ไม้เถาเลื้อย เช่น กระดังงาจีน นำเข้าจากกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน นานกว่า ๕ ปีแล้ว ผู้ขายกิ่งตอนบอกลักษณะทางพฤกษศาสตร์ต่อว่า ลำต้นตั้งตรง ต้นสูง ๒-๔ เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกลม ใบเดี่ยว ออกสลับ รูปขอบขนาน ปลายแหลม โคนสอบหรือป้าน หน้าใบสีเขียว หลังใบสีจางกว่า   ดอก ออกเป็นช่อ ๑-๓ ดอก ออกตรงกันข้ามกับใบ และตามลำต้นมีกลีบดอกเรียงซ้อนกัน ๒ ชั้น ชั้นละ ๓ กลีบ รูปขอบขนาน ปลายกลีบแหลม โคนมน เนื้อกลีบหนา ดอกอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่เป็นสีเหลือง ดอกมีกลิ่นหอมแรง “ผล” เป็นกลุ่ม ๔-๒๐ ผล ก้านผลยาว ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกหรือแก่สีเหลือง แต่ละผลจะมีเมล็ด ๑-๒ เมล็ด ดอกออกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง ซึ่งผู้ขายบอกอีกว่า “กระดังงาปักกิ่ง” ปลูกลงดินตัดแต่งกิ่งให้เป็นพุ่ม เวลามีดอกดกเต็มต้นจะดูสวยงามและส่งกลิ่นหอมกระจายเป็นที่ประทับใจมาก    มีกิ่งตอนขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผงหน้าตึกกองอำนวยการเก่า ราคาสอบถามกันเองครับ. นสพ.ไทยรัฐ  


  โมกแดงเขาใหญ่
“โมกแดงเขาใหญ่” เป็นโมกแดงชนิดหนึ่งที่มีแหล่งพบครั้งแรกบนป่าเขาใหญ่ จ.นครราชสีมา มีความแตกต่างจากโมกแดงทั่วไปคือ รูปทรงของดอกและสีสันของดอกไม่เหมือนกันอย่างชัดเจน และ ที่สำคัญดอกของ “โมกแดงเขาใหญ่” จะมีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นข้าวใหม่เหมือนกลิ่นดอกชมนาด หรือกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นใบเตย โดยกลิ่นจะหอมแรงตั้งแต่พลบค่ำเรื่อยไปตลอดทั้งคืนจนรุ่งเช้ากลิ่นจะจางลงเป็นธรรมชาติ จึงทำให้ “โมกแดงเขาใหญ่” เป็นที่นิยมปลูกอย่างแพร่หลายอยู่ในปัจจุบัน ส่วนกลิ่นหอมของดอกโมกแดงทั่วไปกลิ่นจะฉุนเหมือนกับกลิ่นส่าเหล้า

โมกแดงเขาใหญ่ อยู่ในวงศ์APOCYNA-CEAE เป็นไม้พุ่ม สูง ๒-๓ เมตร ใบเดี่ยว ออกตรงกัน ข้ามรูปรี ปลายแหลม โคนเป็นรูปลิ่มถึงกลม ใบมีขนาดใหญ่ ดอก ออกเป็นช่อแบบกระจุกที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก กลีบเลี้ยงติดกัน ปลายแยกเป็นแฉก ๕ แฉก กลีบดอกเชื่อมกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็นกลีบดอก ๕ กลีบ รูปไข่ ปลายแหลม เนื้อกลีบดอกหนาแข็งกว่ากลีบดอกโมกแดงทั่วไป กลีบดอกเป็นสีโอลด์โรส หรือสีแดงอมส้ม ใจกลางดอกเป็นเส้าสีเหลือง ดอกมีกลิ่นหอมตามที่กล่าวข้างต้น เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้นจะดูสวยงามและส่งกลิ่นหอมแรงตลอดทั้งคืนเป็นที่ชื่นใจมาก “ผล” เป็นฝักคู่ เมล็ดมีปุยสีขาวติดที่ปลายเมล็ดด้านหนึ่ง ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง   มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๑ ราคาสอบถามกันเอง เหมาะจะปลูกประดับในบริเวณบ้านด้านเหนือลม เวลามีดอกถูกลมพัด เอากลิ่นหอมโชยเข้าบ้าน สร้างบรรยากาศเป็นธรรมชาติดีมากครับ. นสพ.ไทยรัฐ  


  ดีปลี
อัมพฤกษ์ เพิ่งเริ่มเป็นใหม่ๆ ยังไม่ถึงขั้นรุนแรงมีวิธีรักษาหรือบรรเทาได้คือ ให้เอาดอก “ดีปลี” หรือรากแห้ง ๒๐ ดอก หรือหยิบมือหนึ่ง พริกไทยดำแห้ง ๒ ช้อนโต๊ะ ผักเสี้ยนผีแห้งพอประมาณ มะตูมอ่อนแห้ง ๑ ขีด ต้มรวมกันกับน้ำ ๑-๑.๕ ลิตร จนเดือด ๑๐ นาที ดื่มต่างน้ำครั้งละครึ่งแก้วก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ รสชาติจะเผ็ดร้อน ดื่ม ๔ วันแรกจะเฉยๆ พอวันที่ ๕ จะรู้สึกปวดมากจนแทบทนไม่ได้ โดยเฉพาะบริเวณที่มีอาการเยอะ ต้องทนให้ได้ หลังจากนั้นจะหลุดพ้นบรรเทาหรือหายได้เหมือนไม่เคยมีอาการมาก่อน ทดลองดูไม่ได้ผลเลิกได้ไม่อันตรายอะไร

ดีปลี หรือ LONG PEPPER PIPER RETROFRACTUM VAHL. อยู่ในวงศ์ PI-PERACEAE ผล ปรุงเป็นยาได้หลายชนิด เช่น แก้โรคนอนไม่หลับ รักษาอาการอักเสบ ราก ต้มน้ำดื่มแก้เส้นอัมพฤกษ์อัมพาต ประโยชน์ทางอาการ ผลสดหรือตากแห้งรสเผ็ดปรุงกับแกงเผ็ดแกงคั่วอร่อยมาก ยอดอ่อนใส่ข้าวยำปักษ์ใต้ดีมาก  นสพ.ไทยรัฐ  


  ผักแว่นกำมะหยี่
ผักแว่น เป็นพืชผักพื้นบ้านที่นิยมรับประทานกันอย่างแพร่หลายมาช้านานแล้ว โดยธรรมชาติจะพบขึ้นตามหนองน้ำและที่ชื้นแฉะทั่วไป จะเจริญเติบโตดีในช่วงฤดูฝนและจะมีวางขายตามแผงผักพื้นบ้านมากมาย ซึ่งในทางอาหาร นิยมเอายอดอ่อน เถาอ่อนที่มีรสชาติเปรี้ยวปนฝาดเล็กน้อยกินเป็นผักสดกับน้ำพริกชนิดต่างๆ ส้มตำ ลาบ ก้อย หรือนำไปปรุงเป็นแกงรวมใส่หอมแดง กะปิ กระเทียมโขลก และทำแกงอ่อมผักแว่น รสชาติอร่อยมาก

ประโยชน์ทางยา ทั้งต้นเป็นยาสมานแผลในช่องปากและคอ แก้ไข้ แก้อาการร้อนใน กระหายน้ำ ดับพิษร้อน แก้ดีพิการได้ ซึ่งผักแว่นชนิดกินได้ดังกล่าวมีชื่อวิทยาศาสตร์คือ MAR-SILEA CRENATA PRESL. อยู่ในวงศ์ MARSILEACEAE มีชื่อเรียกอีกคือ “ผักลิ้นปี่” (ภาคใต้) เนื่องจากใบย่อยมีลักษณะคล้ายกับลิ้นของปี่ที่ใช้เป่านั่นเอง  ส่วน “ผักแว่นกำมะหยี่” ที่พบมีต้นวางขาย ผู้ขายบอกว่าเป็นไม้นำเข้าจากต่างประเทศ มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับผักแว่นชนิดกินได้ทุกอย่าง จะแตกต่างกันคือ แผ่นใบของ “ผักแว่นกำมะหยี่” จะมีขนละเอียดสีขาวหนาแน่นคล้ายกำมะหยี่สีเงินสวยงามมาก จึงถูกตั้งชื่อว่า “ผักแว่นกำมะหยี่” และใบของ “ผักแว่นกำมะหยี่” จะหุบในช่วงเย็นพร้อมกับเริ่มกางออกในช่วงเช้าเป็นประจำทุกวัน ใบอ่อนและเถาอ่อนของ “ผักแว่นกำมะหยี่” รับประทานไม่ได้ จึงนิยมปลูกเป็นไม้ประดับเพียงอย่างเดียว

ผักแว่นกำมะหยี่ เป็นไม้ล้มลุกจำพวกเฟิร์น ลำต้นเป็นเหง้าทอดเลื้อย ใบเป็นใบประกอบมีใบย่อย ๔ ใบ ใบย่อยเป็นรูปพัด มีอัปสปอร์ ขยายพันธุ์ด้วยไหล และอัปสปอร์ ปัจจุบัน “ผักแว่นกำมะหยี่” มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒ แผงขายไม้น้ำ ราคาสอบถามกันเองครับ. นสพ.ไทยรัฐ

 กรวย
กรวย ชนิดแรกเรียกชื่อสั้นๆ ว่า “กรวย” อีกชนิดคือ “กรวยป่า” ซึ่งทั้ง ๒ ชนิด มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ใกล้เคียงกันมากจนเกือบแยกไม่ได้ มีชื่อวิทยาศาสตร์และแหล่งที่พบเหมือนกันทุกอย่าง แต่สรรพคุณทางสมุนไพรแตกต่างกันอย่างชัดเจน โดย “กรวย” หรือ “กรวยป่า” มีชื่อเฉพาะคือ HORSFIELDIA IRYA (GAERTN.) WARB. อยู่ในวงศ์ MYRISTI-CACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง ๑๐-๒๕ เมตร โคนต้นเป็นพูพอน มักมีรากคํ้ายัน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนมนหรือแหลม ขอบใบเรียบ หน้าใบเป็นสีเขียวสด หลังใบสีนวล   ดอก ทั้ง ๒ ชนิด ออกเป็นช่อแบบแยกแขนงช่อตามซอกใบ เป็นดอกแยกเพศบนต้นเดียวกัน ช่อดอกตัวผู้แผ่กว้างกว่าช่อดอกตัวเมีย ดอกมีขนาดเล็กจำนวนมาก เป็นสีเหลือง วงกลีบรวมติดกัน ส่วนบนแยกเป็น ๒ กลีบ ดอกตัวผู้จะมีเกสรตัวผู้ ๖-๑๐ อัน ดอกตัวเมียไม่มีและจะมีขนาดใหญ่กว่าดอกตัวผู้อย่างชัดเจน ดอกมีกลิ่นหอมแรง เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกัน ทั้งต้นจะดูสวยงามและส่งกลิ่นหอมกระจายทั่วบริเวณใกล้เคียง ทำให้รู้สึกสดชื่นเป็นอย่างยิ่ง “ผล” รูปทรงกลม ติดผลเป็นพวง ๒-๕ ผล สุกเป็นสีส้มอมแดง ๑ ผล มี ๑ เมล็ด เนื้อหุ้มเมล็ดเป็นสีแดงอมส้ม รับประทานไม่ได้ ดอกออกเกือบทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง พบขึ้นตามที่ราบริมแม่นํ้าลำคลอง ใกล้ๆ กับพื้นที่ที่มีเขตติดต่อกับทะเลทั่วไป ประเทศไทยพบทางภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้ ในต่างประเทศพบตั้งแต่ศรีลังกา หมู่เกาะอันดามัน พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และมาเลเซีย

สรรพคุณทางสมุนไพร “กรวย” ชาวมาเลเซียใช้เปลือกต้นต้มนํ้าเดือดอมกลั้วในปากแล้วบ้วนทิ้ง เป็นยาบำบัดอาการเจ็บคอ ส่วน “กรวยป่า” ตำรายาไทยระบุว่า ใบสดตำละเอียดทาแก้โรคผิวหนังผื่นคันชนิดมีตัวดีมาก ใบสดหั่นตากแห้งผสมกับใบยาสูบมวนจุดสูบแก้ริดสีดวงจมูกดีมาก ปัจจุบัน “กรวยป่า” หาซื้อต้นได้ยากกว่า “กรวย” ครับ. นสพ.ไทยรัฐ  


 ย่านาง
ในทางอาหาร “ย่านาง” มีวางขายทั่วไป นิยมรับประทานแพร่หลายทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคอื่นประปราย ส่วนใหญ่เอาเถา ใบอ่อน หรือใบแก่ตำละเอียดคั้นเอาน้ำสีเขียวปรุงกับแกงหน่อไม้ ใส่แกงขนุน แกงอ่อม ห่อหมก ซุบหน่อไม้ แกงยอดหวายและอีกหลายอย่าง ใช้สยบความขมของผักอื่นๆ ในฐานะแหล่งธาตุอาหาร ทำให้ผักอื่นรับประทานอร่อยขึ้น ผักบางชนิดหากขาดน้ำใบ “ย่านาง” เมื่อรับประทานแล้วจะทำให้ขื่นลิ้น    

ในทางสมุนไพรตำรายาแผนไทยระบุว่า ใบสดของ “ย่านาง” ช่วยถอนพิษสุรา มีการทดสอบความเป็นพิษด้วยการสกัดใบด้วยแอลกอฮอล์ร้อยละ ๕๐ แล้วฉีดเข้าไปใต้ผิวหนังของหนูประมาณ ๑๐ กรัม ต่อน้ำหนักตัวหนู ๑ กิโลกรัม มีปริมาณมากกว่า ๖,๒๕๐ เท่าของปริมาณที่คนได้รับ ไม่แสดงความเป็นพิษ ส่วน รากสด มีฤทธิ์แก้ไข้เกือบทุกชนิด เคยมีเด็กอายุ ๙ ขวบเป็นไข้หวัดมีไข้สูงมาก แต่เด็กแพ้ยาแก้ปวดทุกชนิดแม้กระทั่งยาพาราเซตามอล แม่ของเด็กดังกล่าวได้เอารากสดของ “ย่านาง” ต้มน้ำให้ลูกดื่มต่างน้ำ ปรากฏว่าไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว ถือว่าได้ผลดีมาก นอกจากนั้น ทั้งต้นของ “ย่านาง” ยังสามารถปรุงเป็นยาแก้ไข้กลับ ใบสดเป็นยาถอนพิษได้อีกด้วย

ย่านาง หรือ TILIACORA TRIANDRA DIELS อยู่ในวงศ์ MENISPERMA เป็นไม้เถาเลื้อย ดอกสีเหลือง เป็นแบบแยกเพศอยู่คนละต้น ไม่มีกลีบดอก “ผล” กลมรี ขนาดเล็ก ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่เป็นสีเหลืองและแดงตามลำดับ มีเมล็ด ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและหัว มีชื่อเรียกอีกคือ ย่านนาง, หญ้าภคินี, เถาวัลย์เขียว, จ้อยนาง (เชียงใหม่) วันยอ (สุราษฎร์ธานี) เครือย่านาง, ปู่เจ้าเขาเขียว, ขันยอ และ แฮนกึม  มีต้นขายทั่วไปที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แต่ละแผงราคาไม่เท่ากัน หรืออยู่ที่ขนาดของต้นครับ.  นสพ.ไทยรัฐ  


  ถั่งเช่า
ข้อมูลงานวิจัยที่ได้จากภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กทม.โดยศาสตราจารย์ ดร.มณจันทร์ เมฆธน หัวหน้าภาควิชาดังกล่าว ระบุว่า “ถั่งเช่า” เป็นสมุนไพรจีน พบบนที่สูงจากระดับน้ำทะเล ๔,๐๐๐ เมตรขึ้นไป ในฤดูหนาวจะเป็นตัวหนอนและฤดูร้อนจะเป็นหญ้า เกิดจากหนอนผีเสื้อแถบที่ราบสูงทิเบต จำศีลใต้ดินช่วงฤดูหนาว จากนั้นจะถูกสปอร์ของเห็ดราในสกุล OPHIOCORDYCEPS อาศัยเป็น “ปรสิต” และเติบโตสร้างเส้นใยออกมาทางส่วนหัวของตัวหนอนในฤดูร้อน เห็ดชนิดนี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า OPHIOCORDYCEPS SINENSIS  และราชนิดดังกล่าวจะเกาะติดบนตัวด้วงจำพวกผีเสื้อ หนอน มอด ดักแด้ หรือด้วง ค้างคาว ซึ่งตัวหนอนอ่อนที่มีราเกาะอยู่ช่วงฤดูหนาวจะมุดลงไปอยู่ใต้ดินแล้วค่อยๆ กลายเป็นเชื้อราชื่อว่า OPHIOCORDYCEPS SINENSIS และในช่วงนี้เองเปลือกนอกตัวหนอนจะเป็นตัวสมบูรณ์ขึ้น และเมื่อถึงฤดูร้อน ราดังกล่าวจะค่อยๆ เจริญเติบโตขึ้นมีลักษณะคล้ายต้นหญ้า

พบมาก ในบริเวณภาคใต้ของมณฑลชิงไห่ เขตซองโควในทิเบต มณฑลกานซู และแถบเทือกเขาหิมาลัยในอินเดีย การเก็บเกี่ยวจะเก็บในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิ เมื่อขุดหญ้าหนอน หรือ “ถั่งเช่า” ขึ้นมาแล้ว ล้างน้ำให้สะอาดแล้วตากแห้งใช้เป็นยาสมุนไพรได้เลยสรรพคุณจากงานวิจัย “ถั่งเช่า” บำรุงไต ลดอาการปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน ช่วยยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปากมดลูก มะเร็งต่อมไทรอยด์ และมะเร็งเต้านม แก้ภูมิแพ้ บำรุงเลือด ปรับสมดุลของเซลล์เม็ดเลือดแดง ลดปริมาณผมร่วง เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยให้ผิวพรรณดี และสรรพคุณดีๆ อีกเยอะ นสพ.ไทยรัฐ  



สาธร
สาธร เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดนครราชสีมา ชื่อวิทยาศาสตร์ Millettia leucantha Kurz อยู่ในวงศ์ LEGUMINOSAE ชื่ออื่น อาทิ กระเจาะ ขะเจาะ (ภาคเหนือ), กระพีเขาควาย (ประจวบคีรีขันธ์), กะเชาะ (ภาคกลาง), ขะแมบ คำแมบ (เชียงใหม่) เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง ๑๘-๑๙เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ ค่อนข้างกลมหรือทรงกระบอก

เปลือกสีเทาเรียบหรือแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ ใบประกอบเรียงสลับ ใบย่อยติดเป็นคู่ตรงกันข้าม ๓-๕ คู่ ปลายสุดเป็นใบเดี่ยว แผ่นใบย่อยรูปรี กว้าง ๓-๕ ซ.ม. ยาว ๕-๑๒ ซ.ม. ปลายใบแหลม โคนใบมน ใบและยอดอ่อนมีขนยาว ดอกสีขาว รูปดอกถั่ว สีชมพูอ่อน ออกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง ออกดอกระหว่างเดือนมี.ค.-พ.ค.

เป็นไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินร่วน ต้องการน้ำและความชื้นมาก ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด นสพ.ข่าวสด


     พญากาหลง ดอกเปลี่ยนสีความเชื่อดี
ไม้ต้นนี้ จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับต้น ชงโคดอกเหลือง หรือ โยทะกา และ เสี้ยวดอกเหลือง เพียงแต่ “พญากาหลง” จะมีความแตกต่างคือ เวลามีดอกครั้งแรกสีของดอกจะเป็นสีเหลืองเหมือนกัน จากนั้น ๓-๕ วัน สีเหลืองของดอกจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงเข้มมองเห็นชัดเจน ทำให้ “พญากาหลง” ต้นเดียวมีดอก ๒ สี ดูสวยงามมาก ซึ่งต้น “พญากาหลง” นิยมปลูกในบริเวณบ้านร้านค้าทั่วไป เนื่องจากมีความเชื่อว่า ปลูก “พญากาหลง” แล้วจะช่วยให้อยู่ดีมีสุขและค้าขายคล่องขึ้น นั่นเป็นความเชื่อมาแต่โบราณ ไม่เชื่อก็อย่าลบหลู่
 
พญากาหลง หรือ BAUHINIA TOMEN TOSA LINN. ชื่อสามัญ ST.THOMAS TREE, YELLOW ORCHID TREE อยู่ในวงศ์ LEQUMINOSAE เป็นไม้พุ่มสูง ๑.๕-๓ เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปค่อนข้างกลม ปลายเว้าลึกดูคล้ายใบชงโคหรือใบส้มเสี้ยว ด้านหลังมีขนเล็กน้อย ใบเมื่อขยี้จะมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว สีเขียวสด ใบดกน่าชมยิ่งนัก
 
ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อย ๒-๓ ดอก ห้อยลง มีกลีบดอก ๕ กลีบ เมื่อแรกมีดอกสีของดอกจะเป็นสีเหลือง จากนั้นสีของดอกจะค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีม่วงเข้มดูสวยงามตามที่กล่าวข้างต้น ดอกเมื่อบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๔-๔.๕ ซม. มีเกสรตัวผู้ ๑๐ อัน เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้นจะมีดอกเป็น ๒ สี แปลกตาน่าชมยิ่งนัก “ผล” เป็นฝักแบน มีหลายเมล็ด ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด และตอนกิ่ง
 
มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ


    กระพี้จั่นปลูกประดับสวย
กระพี้จั่น” มีถิ่นกำเนิดทั่วไปในเอเชียเขตร้อน และในประเทศไทยพบเกือบทุกภาค พบมากที่สุดทางภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันตกเฉียงใต้ ขึ้นตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณที่มีความแห้งแล้ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า MILLETTIA BRAN DISIANA KURZ. อยู่ในวงศ์ LEGUMINOSAE PAPILIONOIDEAE
 
เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ สูง ๘-๑๕ เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มโปร่งและกว้าง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ก้านใบหลักออกเรียงสลับ ยาว ๓-๗ ซม. ใบย่อยออกตรงกันข้ามจำนวน ๖-๘ คู่ ใบอ่อนมีขนและขนจะร่วงหมดเมื่อใบแก่ ใบเป็นรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบมนหรือแหลม ด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีจางกว่า เวลามีใบดกจะให้ร่มเงาดีและน่าชมยิ่ง
 
ดอก ออกเป็นช่อขนาดใหญ่ที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก ลักษณะดอกมีกลีบเลี้ยงเป็นรูประฆังปลายแยกเป็น ๕ แฉก สีม่วงเกือบดำ กลีบดอกเป็นรูปดอกถั่ว มี ๕ กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน เป็นสีชมพูอมม่วง มีเกสรตัวผู้ ๑๐ อัน เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้น จะดูสวยงามมาก “ผล” เป็นฝักแบน มีเมล็ดหลายเมล็ด ดอกออกเกือบทั้งปี จะมีดอกดกในช่วงฤดูร้อนทุกปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง มีชื่อเรียกอีกคือ จั่น, ปี้จั่น และ ปี๊จั่น (ภาคเหนือ)
 
นิยมปลูก เป็นไม้ดอกสวยงามประเภทไม้ยืนต้นตามบ้าน ตามสำนักงาน สวนสาธารณะ รีสอร์ตทั่วไป เวลามีต้นสูงใหญ่จะให้ร่มเงาสร้างระบบนิเวศได้ดีและมีดอกสวยงามมาก ประโยชน์ทั่วไป ในยุคสมัยก่อน เนื้อไม้ใช้ทำฟืน ปัจจุบันมีต้นขายทั้งต้นขนาดเล็กและสูงใหญ่ ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ราคาอยู่ที่ขนาดของต้นครับ.


    ทองกวาวสรรพคุณดีหลายอย่าง
ทองกวาว นอกจากจะมีดอกงดงามแล้ว ในทางสมุนไพรบางส่วนของต้นยังมีสรรพคุณเป็นสมุนไพรด้วย โดยตำรายาแผนไทยระบุว่า ยางจากต้นนำไปปรุงเป็นยาแก้ท้องร่วง ใบสดตำพอกแก้ฝีและสิวบนใบหน้าชนิดที่เป็นเม็ดใหญ่ให้แห้งได้ ถอนพิษ แก้ปวด ใบสดนำไปเข้ายาชนิดอื่นเป็นยาบำรุงกำลัง ดอกเป็นยาถอนพิษ เมล็ดขับพยาธิตัวกลม บดละเอียดผสมน้ำมะนาวทาแก้คันตามร่างกายและแสบร้อน ดอกยังให้สีเหลืองใช้ย้อมผ้าได้ด้วย ส่วนเปลือกต้นทำเชือกและกระดาษ
 
ทองกวาว หรือ BUTEA MONO SPERMA (LAMK) O.KUNTZE อยู่ในวงศ์ LE GUMINOSAE เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ สูง ๘-๑๕ เมตร ใบประกอบมีใบย่อย ๓ ใบ รูปไข่ค่อนข้างกว้าง โคนเบี้ยว เวลามีดอกใบจะร่วงหมดเหลือเพียงดอกน่าชมยิ่ง ดอก ออกเป็นช่อตามกิ่งก้านและปลายยอด กลีบเลี้ยงเชื่อมกันเป็นรูปบาตรเล็กๆ มีขน กลีบดอกมี ๕ กลีบ ลักษณะคล้ายดอกถั่ว สีเหลืองถึงสีแดงแสด มีเกสร ๑๐ อัน คล้ายรูปเคียว เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้น ใบจะร่วงหมดดูสวยงามมาก “ผล” เป็นฝักแบน มีเพียงเมล็ดเดียว ดอกออกช่วงระหว่างเดือนธันวาคม-มีนาคม ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด พบขึ้นตามป่าผลัดใบ ป่าหญ้า ป่าละเมาะที่แห้งแล้ง พบมากทางภาคเหนือ ภาคอื่นกระจัดกระจาย
 
มีชื่อเรียกอีกคือ กวาว, ก้าว (ภาคเหนือ) จอมทอง (ใต้) จ้า (เขมร-สุรินทร์) จาน (อุบลราชธานี) ทองธรรมชาติ, ทองพรมชาติ (ภาคกลาง) และทองต้น (ราชบุรี) มีต้นขาย ทั่วไป ทั้งต้นขนาดเล็กและขนาดสูงใหญ่ ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ราคาอยู่ที่ขนาดของต้น เหมาะจะปลูกเป็นทั้ง ไม้ประดับและปลูกเพื่อใช้ประโยชน์ทางสมุนไพรตามสรรพคุณที่กล่าวข้างต้น เวลามีดอกตามฤดูกาลใบจะร่วงหมดทั้งต้นเหลือเพียงดอกสีสันเจิดจ้าสวยงามและใช้บางส่วนของต้น “ทองกวาว” เป็นสมุนไพรได้คุ้มค่ามากครับ.


http://www.munjeed.com/image_news/2013-06-04/image_462013122021.jpg
    โมกแดงเขาใหญ่ ดอกกลิ่นข้าวใหม่
“โมกแดงเขาใหญ่” เป็นโมกแดงชนิดหนึ่งที่มีแหล่งพบครั้งแรกบนป่าเขาใหญ่ จ.นครราชสีมา มีความแตกต่างจากโมกแดงทั่วไปคือ รูปทรงของดอกและสีสันของดอกไม่เหมือนกันอย่างชัดเจน และ ที่สำคัญดอกของ “โมกแดงเขาใหญ่” จะมีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นข้าวใหม่เหมือนกลิ่นดอกชมนาด หรือกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นใบเตย โดยกลิ่นจะหอมแรงตั้งแต่พลบค่ำเรื่อยไปตลอดทั้งคืนจนรุ่งเช้ากลิ่นจะจางลงเป็นธรรมชาติ จึงทำให้ “โมกแดงเขาใหญ่” เป็นที่นิยมปลูกอย่างแพร่หลายอยู่ในปัจจุบัน ส่วนกลิ่นหอมของดอกโมกแดงทั่วไปกลิ่นจะฉุนเหมือนกับกลิ่นส่าเหล้า
 
โมกแดงเขาใหญ่ อยู่ในวงศ์ APOCYNA-CEAE เป็นไม้พุ่ม สูง ๒-๓ เมตร ใบเดี่ยว ออกตรงกัน ข้ามรูปรี ปลายแหลม โคนเป็นรูปลิ่มถึงกลม ใบมีขนาดใหญ่ ดอก ออกเป็นช่อแบบกระจุกที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก กลีบเลี้ยงติดกัน ปลายแยกเป็นแฉก ๕ แฉก กลีบดอกเชื่อมกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็นกลีบดอก ๕ กลีบ รูปไข่ ปลายแหลม เนื้อกลีบดอกหนาแข็งกว่ากลีบดอกโมกแดงทั่วไป กลีบดอกเป็นสีโอลด์โรส หรือสีแดงอมส้ม ใจกลางดอกเป็นเส้าสีเหลือง ดอกมีกลิ่นหอมตามที่กล่าวข้างต้น เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้นจะดูสวยงามและส่งกลิ่นหอมแรงตลอดทั้งคืนเป็นที่ชื่นใจมาก “ผล” เป็นฝักคู่ เมล็ดมีปุยสีขาวติดที่ปลายเมล็ดด้านหนึ่ง ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง
 
โมกแดงเขาใหญ่ มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๑   ราคาสอบถามกันเอง เหมาะจะปลูกประดับในบริเวณบ้านด้านเหนือลม เวลามีดอกถูกลมพัด เอากลิ่นหอมโชยเข้าบ้าน สร้างบรรยากาศเป็นธรรมชาติดีมากครับ.


    กาซะลองคำ ดอกสีสันงดงาม
ไม้ต้นนี้ พบขึ้นตามธรรมชาติบนเทือกเขาหินปูนที่มีสภาพค่อนข้างชื้น ทางภาคเหนือของประเทศไทย ภาคอื่นมีประปราย ซึ่งนอกจากชื่อ “กาซะลองคำ” แล้ว ยังมีชื่อเรียกตามพื้นที่ต่างๆ อีกคือ กากี (สุราษฎร์ธานี) แคะเป๊าะ, สำเภาหลามต้น (ลำปาง) จางจืด (เชียงใหม่) สะเภา, อ้อยช้าง (ภาคเหนือ) และ ปีบทอง (ภาคกลาง) มีชื่อวิทยาศาสตร์เฉพาะว่า RADERMACHERA IGNEA (KURZ) STEENIS ชื่อสามัญ TREE JASMINE อยู่ในวงศ์ BIGNONIACEAE เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง ๖-๒๐ เมตร ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกตรงกันข้าม ใบย่อย ๒-๕ คู่ รูปรีแกมรูปใบหอก ปลายใบแหลมเป็นติ่ง ส่วนโคนใบแหลม สีเขียวสด
 
ดอก ออกเป็นกระจุกตามกิ่งก้านและตามลำต้น กระจุกละ ๕-๑๐ ดอก ดอกจะทยอยบาน กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นแฉกสั้นๆ ๕ แฉก เป็นสีเหลืองอมส้ม ดอกเมื่อบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์ กลางประมาณ ๑.๕-๒ ซม. มีเกสรตัวผู้ ๔ อัน เวลามีดอกจะทิ้งใบหมดทั้งต้นตามสายพันธุ์ เหลือเพียงดอกเป็นสีเหลืองทองเต็มต้นดูสวยงามมาก “ผล” เป็นฝักยาว ๓๕-๙๐ ซม. ผลแก่แตกเป็น ๒ ซีก เมล็ดมีปีกสีขาวเป็นปุยติดที่บริเวณส่วนปลายเมล็ดด้านหนึ่ง ดอกออกช่วงระหว่างเดือนมกราคมต่อเนื่องไปจนถึงเดือนเมษายน ของทุกปี โดยจะผลัดใบก่อนออกดอกทุกครั้ง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำกิ่ง และหน่อ
 
ปัจจุบันต้น “กาซะลองคำ” มีขายทั่วไป ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ มีทั้งต้นขนาดเล็กสูงไม่เกิน ๑ เมตร และต้นขนาดใหญ่สูง ๕-๗ เมตร โดยเฉพาะในช่วงฤดูกาลมีดอก จะมีดอกติดตามกิ่งก้านและตามลำต้นให้ชมด้วย ราคาอยู่ที่ขนาดของต้น ปลูกได้ในดินทั่วไป สามารถปลูกในพื้นที่ราบต่ำได้ เมื่อต้นสูงใหญ่และมีดอกตามฤดูกาล จะดูสวยงามมากครับ.


http://eweb.bedo.or.th/wp-content/uploads/2014/09/b090914_1.jpg
    หูกระจงแดง  กิ่งก้านสวยแปลก
ไม้ต้นนี้พบมีวางขาย แต่ละต้นปลูกในกระถางดำขนาดกว้าง ๑๐-๑๒ นิ้วฟุต ต้นสูงเกินกว่า ๒ เมตร ลำต้น ใบ และกิ่งก้านมีสีสันสวยงามแปลกตามาก แต่ไม่มีป้ายชื่อเขียนติดไว้ จึงสอบถามผู้ขาย ทราบว่าเป็นต้น “หูกระจงแดง” เป็นไม้นำเข้าจากต่างประเทศแต่บอกไม่ได้ว่าประเทศไหน ปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานกว่า ๒ ปีแล้ว สามารถเจริญเติบโตได้ดีในทุกสภาพอากาศในประเทศไทย ผู้นำเข้าจึงขยายพันธุ์นำต้นออกวางขายในชื่อ “หูกระจงแดง” ดังกล่าวและกำลังเป็นที่นิยมของผู้ปลูกอย่างกว้างขวางอยู่ในขณะนี้
 
หูกระจงแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์เฉพาะว่า TERMINALIA BENTZOL (L.) L.F. อยู่ในวงศ์ COMBERTACEAE เป็นไม้ยืนต้นสูง ๕-๑๐ เมตร ลำต้นตั้งตรง ลำต้นใบและกิ่งก้านเป็นสีแดงอมม่วงปนสีเขียวคล้ำเล็กน้อย แตกกิ่งก้านเป็นชั้นๆรูปทรงฉัตร หรือทรงสามเหลี่ยม น่าชมยิ่ง
 
ใบ เป็นใบประกอบ ก้านใบออกตรงกันข้าม ก้านใบยาว ใบเป็นรูปรีแคบและยาว ปลายใบแหลม โคนใบเป็นกาบ ใบแตกเป็นวงกลม ประกอบด้วยใบย่อย ๘-๑๒ ใบ ผิวใบเรียบ เป็นสีแดงอมม่วงปนสีเขียวคล้ำเล็กน้อยตามที่กล่าวข้างต้น เวลามีใบดกจะเป็นชั้นๆรูปทรงฉัตรหรือทรงสามเหลี่ยม ดูงดงามแปลกตามาก ที่สำคัญใบของ “หูกระจงแดง” จะไม่ร่วงง่ายเหมือนกับใบของต้นหูกระจงชนิดสีเขียวที่มีใบขนาดเล็ก ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง
 
ปัจจุบัน “หูกระจงแดง” มีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ในดินทั่วไป เหมาะจะปลูกประดับตามบ้าน สำนักงาน สวนสาธารณะ และรีสอร์ตทั่วไป ปลูกได้ทั้งแบบลงดินและปลูกลงกระถางตั้งประดับในที่แจ้ง เวลาต้นสูงใหญ่ได้แสงแดดอย่างสม่ำเสมอ สีสันของต้นใบและกิ่งก้านจะเข้มข้นขึ้นดูสวยงามมากครับ.


    คูณสายรุ้ง บานทนสวยน่าปลูก
ไม้ต้นนี้ เคยแนะนำในคอลัมน์ไปแล้ว แต่ยังมีผู้อ่านไทยรัฐอีกจำนวนมากที่พลาดข้อมูลดังกล่าว อยากทราบว่า “คูนสายรุ้ง” เป็นอย่างไร และจะหาซื้อกิ่งพันธุ์ได้จากที่ไหน ซึ่งก็เป็นจังหวะที่พบว่ามีผู้นำเอากิ่งตอนรุ่นใหม่ออกวางขาย จึงแจ้งให้ทราบ พร้อมนำเรื่องแนะนำในคอลัมน์อีกครั้งตามระเบียบ
 
คูนสายรุ้ง อยู่ในวงศ์ LEGUMINOSAE มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมจาก รัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา ถูกนำเข้ามาปลูกประดับและขยายพันธุ์ขายในประเทศไทยบ้านเรานานหลายปีแล้ว มีลักษณะพิเศษ คือ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ต้นสูงไม่เกิน ๕-๖ เมตร ไม่ได้เป็นไม้ผลัดใบเหมือนกับคูนดอกสีเหลืองทั่วไป และหลังจากมีดอกร่วงแล้ว “คูนสายรุ้ง” ยังไม่ติดผลหรือฝัก เช่นคูนทุกชนิดอีกด้วย จึงถือเป็นเรื่องแปลกมาก
 
ส่วน ลักษณะทางพฤกษศาสตร์โดยรวมจะเหมือนกับคูนทั่วไปเกือบทุกอย่าง ดอก ออกเป็นช่อขนาดใหญ่ตามซอกใบ แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก ช่อดอกห้อยลง ลักษณะพิเศษของดอก เมื่อเริ่มแรกจะเป็นสีชมพูอ่อนปนสีครีม จากนั้นจะค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีชมพูเข้มปนสีเหลืองอย่างชัดเจน ทำให้ดูมีหลายสีในช่อเดียว เวลามีดอกดกช่อดอกห้อยลงจะดูสวยงามมาก จึงถูกผู้นำเข้าตั้งชื่อเป็นภาษาไทยว่า “คูนสายรุ้ง” ดังกล่าว ที่เป็นจุดเด่นของ “คูนสายรุ้ง” อีกอย่างคือ ช่อดอกจะบานได้ทนนานเป็นเดือน ดอกออกช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ต่อเนื่องไปจนถึงเดือนพฤษภาคมทุกปี ขยายพันธุ์ด้วยวิธีเสียบยอด
 
มีกิ่งตอนขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๑๕ ราคาสอบถามกันเองครับ.


    หางนกยูงไทย ไม่ใช่ไม้ไทย
หลายคน เข้าใจผิดคิดว่าต้น “หางนกยูงไทย” เป็นไม้ไทยและมีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย เพราะชื่อบอกตรงๆว่า “หางนกยูงไทย” แต่ความจริงแล้วไม้ต้นนี้มีถิ่นกำเนิดจากอเมริกาเขตร้อน และ หมู่เกาะเวสต์อินดีส จากนั้นได้แพร่กระจายปลูกในเขตร้อนไปทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยด้วย และเนื่องจากถูกนำเข้ามาปลูกเป็นเวลานานกับมีชื่อเรียกว่า “หางนกยูงไทย” ด้วย จึงทำให้กลายเป็นไม้ไทยไปโดยปริยาย
 
หางนกยูงไทย หรือ CAESAL PINIA PULCHERRIMA LINN.อยู่ในวงศ์ LEGU MINOSAE เป็นไม้พุ่ม สูง ๑-๒.๕ เมตร ไม่ผลัดใบ แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกลม ต้นเกลี้ยงหรือมีหนาม ใบประกอบแบบขนนก ๒ ชั้น ออกสลับ ใบย่อย ๗-๑๑ คู่ รูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ปลายมนหรือเว้า โคนเบี้ยว ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด มีกลีบดอก ๕ กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน เมื่อบานเต็มที่เส้นผ่า ศูนย์กลางประมาณ ๔ ซม. มีเกสรตัวผู้ ๑๐ อัน มีด้วยกันหลายสี คือ สีเหลือง แดง ส้ม ชมพูแก่ และ สีแดงประขาว มีดอกทั้งปี เวลามีดอกจะสวยงามมาก นิยมปลูกประดับกันอย่างแพร่หลาย “ผล” เป็นฝัก มีเมล็ด ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด มีต้นขายทั่วไป ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ราคาอยู่ที่ขนาดของต้น
 
สรรพคุณทางสมุนไพร ของ “หางนกยูงไทย” ราก ของต้นชนิดที่มีดอกเป็นสีแดง สีอื่นใช้ไม่ได้ นำไปปรุงเป็นยารับประทาน สำหรับขับประจำเดือนของสตรี
 
อีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า “หางนกยูงฝรั่ง” หรือ DELONIX REGIA (BOJER) RAF มีถิ่นกำเนิดจาก เกาะมาดากัสการ์ ต้นสูงใหญ่ ๑๐-๑๕ เมตร ดอกเป็นสีเหลืองแดง ออกดอกช่วงเดือน เมษายน–มิถุนายน เป็นไม้ผลัดใบก่อนจะมีดอก หรือ ออกดอกขณะแตกใบอ่อน แตกต่างจากชนิดแรกอย่างชัดเจนครับ.

หน้า:  1 ... 169 170 [171] 172 173 ... 273
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.442 วินาที กับ 27 คำสั่ง

Google visited last this page 31 มีนาคม 2567 01:46:50