[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 เมษายน 2567 11:05:32 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก เวบบอร์ด ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

  แสดงกระทู้
หน้า:  1 ... 172 173 [174] 175 176 ... 273
3461  สุขใจในธรรม / เกร็ดศาสนา / ต้นเหตุเกิดผ้าอาบน้ำฝน โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก เมื่อ: 22 มิถุนายน 2558 13:05:32
.


ต้นเหตุเกิดผ้าอาบน้ำฝน

สมัยก่อน พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระใช้ผ้าเพียงสามผืนเท่านั้น คือมีจีวร (ผ้าห่ม)  สบง (ผ้านุ่ง)  สังฆาฏิ (ผ้าห่มซ้อน) เท่านั้น

ผ้าสามผืนนี้ ศัพท์ทางวิชาการจริงๆ เขาเรียกดังนี้ครับ
ผ้าห่ม เรียกว่า อุตราสงค์
ผ้านุ่ง เรียกว่า อัตราวาสก
ผ้าห่มซ้อน เรียกว่า สังฆาฏิ

เฉพาะผ้าสังฆาฏินั้น ปัจจุบันนี้ พระสงฆ์ไทยเอามาพาดบ่า เป็นสายสะพายไปเสียแล้ว  สมัยพุทธกาลใช้ห่มซ้อนเวลาอากาศหนาวมาก  ในพุทธประวัติปรากฏว่า พระพุทธองค์ทรงใช้ปูลาดสำหรับบรรทมด้วย ดังพระอานนท์ได้ลาดผ้าสังฆาฏิ ถวายให้พระองค์บรรทม ขณะเสด็จถึงแม่น้ำกกุธา ก่อนที่จะเสด็จไปปรินิพพานที่กรุงกุสินารา

ปัจจุบันนี้ ถ้าภิกษุรูปใดเอาผ้าสังฆาฏิมาปูนั่งปูนอน เดี๋ยวก็โดนพระอุปัชฌาย์หาว่าอุตริ พิเรนทร์ แน่นอน

พระสงฆ์สมัยนั้น เวลาอาบน้ำ ก็เปลือยกายอาบน้ำกันเพราะไม่มีผ้านุ่งอาบน้ำ จนนางวิสาขาเห็นความลำบากของพระสงฆ์ จึงขอพรจากพระพุทธเจ้า ขอถวายผ้าสำหรับอาบน้ำแก่พระสงฆ์

เรื่องมีว่า วันหนึ่ง นางวิสาขาทูลอาราธนาพระพุทธองค์พร้อมภิกษุสงฆ์ไปเสวยภัตตาหารที่บ้านของตนในวันรุ่งขึ้น พระพุทธองค์ทรงรับด้วยดุษณีภาพ (คือรับด้วยอาการนิ่ง) นางกลับถึงบ้าน ก็สั่งเตรียมอาหารไว้สำหรับถวายพระในวันรุ่งขึ้น  บังเอิญว่าตอนเช้ามืดฝนตกหนัก ภิกษุทั้งหลายก็พากันอาบน้ำก่อนที่จะไปฉันข้าว นางวิสาขาสั่งให้สาวใช้ไปนิมนต์พระ หลังจากตระเตรียมทุกอย่างไว้พร้อมแล้ว สาวใช้ไปที่วัดพระเชตวัน บังเอิญพระคุณเจ้าบางรูปยังอาบน้ำไม่เสร็จ สาวใช้แลไปเห็นพระคุณเจ้าเปลือยกายล่อนจ้อนอาบน้ำอยู่ ก็รีบกลับไปรายงานนายหญิงว่า
“ไม่มีพระสงฆ์อยู่เลยเจ้าค่ะ”
“ไม่มีได้อย่างไร ฉันนิมนต์พระพุทธองค์พร้อมภิกษุสงฆ์ไว้แล้ว เมื่อวานนี้” นางวิสาขาสงสัย
“ไม่มีจริงๆ เจ้าค่ะ เห็นแต่พวกชีเปลือยเต็มวัดไปหมดเลย” สาวใช้ยืนยัน

สาวใช้เข้าใจอย่างนั้นจริงๆ เพราะในอินเดียสมัยนั้น (สมัยนี้ก็ยังมีอยู่) นักบวชประเภทไม่นุ่งผ้ามีเป็นจำนวนมาก อย่างพระเชน (ศิษย์ของศาสดามหาวีระ หรือนิครนถนาฏบุตร) และพวกอเจลกะก็ไม่นุ่งผ้า ท่านเหล่านี้ได้รับความนับถือบูชาจากชาวชมพูทวีปไม่น้อยไปกว่าพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา

นางวิสาขาเป็นคนฉลาด พอได้ยินสาวใช้รายงานเช่นนั้นก็รู้ทันทีว่าอะไรเป็นอะไร เมื่อพระพุทธเจ้าพร้อมภิกษุสงฆ์เสวยภัตตาหารเสร็จ นางวิสาขาจึงกราบทูลขอพรจากพระพุทธองค์
“เราตถาคตเลิกให้พรแล้ว วิสาขา” พระพุทธองค์ตรัส
“ได้โปรดเถิด หม่อมฉันทูลขอพรที่เหมาะสม ไม่มีโทษพระพุทธเจ้าข้า”
“จงบอกมาเถิด วิสาขา”
“หม่อมฉันปรารถนาจะถวายผ้าวัสสิกสาฎก (ผ้าอาบน้ำฝน) ถวายภัตเพื่อพระอาคันตุกะ ถวายภัตเพื่อพระที่เตรียมจะเดินทาง ถวายภัตเพื่อพระอาพาธ ถวายภัตเพื่อพระที่พยาบาลพระอาพาธ ถวายเภสัชแก่ภิกษุอาพาธ ถวายข้าวยาคูประจำสำหรับภิกษุณี หม่อมฉันจะถวายผ้าอุทกสาฏิกา (ผ้าผลัดอาบน้ำของนางภิกษุณี) ตลอดชีวิตพระเจ้าข้า”

“เธอเห็นประโยชน์อะไร จึงปรารถนาจะถวายสิ่งเหล่านี้” พระพุทธองค์ตรัสถาม

นางวิสาขากราบทูลว่า วันนี้หม่อมฉันสั่งให้สาวใช้ไปนิมนต์พระ นางไปเห็นพระสงฆ์กำลังอาบน้ำอยู่ นึกว่าเป็นพวกชีเปลือย หม่อมฉันจึงคิดว่า พระภิกษุเปลือยกายอาบน้ำไม่เป็นที่เลื่อมใสของคนทั้งหลาย และคนเขาจะไม่เห็นความแตกต่างระหว่างชีเปลือยนอกศาสนากับพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา และเห็นว่ามีสิ่งจำเป็นอื่นๆ อีกที่พระสงฆ์ต้องการ จึงอยากถวายทั้ง ๘ ประการ ดังกราบทูลให้ทรงทราบด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

• เหตุผลที่ขอพรข้อที่ ๑ การเปลือยกายอาบน้ำไม่งามสำหรับภิกษุสงฆ์ หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์นี้จึงปรารถนาจะถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่ภิกษุสงฆ์
• เหตุผลที่ขอพรข้อที่ ๒ พระอาคันตุกะที่ไม่ชำนาญทาง ไม่รู้จักโคจร (ที่สำหรับเที่ยวไปบิณฑบาต) ย่อมลำบากในการเที่ยวบิณฑบาต เมื่อท่านได้ฉันอาคันตุกภัตแล้ว ก็จะไม่ลำบาก เบื้องต้น หม่อมฉันเห็นประโยชน์นี้ จึงปรารถนาอยากถวายอาคันตุกภัต
• เหตุผลที่ขอพรข้อที่ ๓ ภิกษุผู้เตรียมจะเดินทางไกล ถ้ามัวแต่แสวงหาภัตอยู่ก็จะไม่ทันการณ์ อาจพลาดจากหมู่เกวียนที่ตนจะอาศัยเดินทางไปด้วย กว่าจะถึงที่หมายอาจพลบค่ำหรือมืดก่อน เดินทางลำบาก เมื่อท่านได้ฉันภัตตาหารก่อนแล้วก็จะไปทันเวลา และการเดินทางก็จะไม่ลำบาก หม่อมฉันเห็นประโยชน์จึงปรารถนาอยากถวายภัตเพื่อพระผู้จะเดินทาง
• เหตุผลที่ขอพรข้อที่ ๔ เมื่อพระอาพาธ ไม่ได้อาหารที่สบาย โรคภัยไข้เจ็บก็อาจจะกำเริบ อาจถึงมรณภาพได้ เมื่อท่านได้ฉันอาหารที่เป็นสัปปายะ อาพาธก็จะทุเลาลง จนกระทั่งหายในที่สุด หม่อมฉันเห็นประโยชน์นี้ จึงปรารถนาอยากถวายภัตเพื่อภิกษุอาพาธ
• เหตุผลที่ขอพรข้อที่ ๕ ภิกษุผู้พยาบาลภิกษุอาพาธ มัวแต่แสวงหาอาหารให้พระที่อาพาธ ตนเองก็จะไม่ได้ฉันภัตตาหาร หม่อมฉันมีความปรารถนาอยากถวายแก่ภิกษุผู้พยาบาลภิกษุอาพาธด้วย ท่านจะได้ไม่ลำบาก หม่อมฉันเห็นประโยชน์จึงปรารถนาอยากถวายภัตเพื่อภิกษุผู้พยาบาลภิกษุ
• เหตุผลที่ขอพรข้อที่ ๖ ภิกษุไข้เมื่อไม่ได้เภสัชที่ถูกกับโรค ก็จะไม่หายป่วยไข้ บางทีอาจถึงแก่มรณภาพ หม่อมฉันเห็นประโยชน์ จึงปรารถนาอยากถวายเภสัชเพื่อภิกษุไข้
• เหตุผลที่ขอพรข้อที่ ๗ พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญอานิสงส์ของการบริโภคข้าวยาคูไว้ ๑๐ ประการ (คือ อายุยืน, ผิวพรรณผ่อง, มีความสุขสบาย, มีกำลัง, มีปฏิภาณ, ขจัดความหิว, บรรเทาความกระหาย, ลมเดินคล่อง, ล้างลำไส้, ระบบย่อยอาหารดี) หม่อมฉันเห็นประโยชน์นี้ จึงอยากถวายข้าวยาคูประจำ
• เหตุผลที่ขอพรข้อที่ ๘ ภิกษุณีเปลือยกายอาบน้ำร่วมกับนางแพศยา ถูกนางพวกนั้นค่อนแคะว่า ไม่แตกต่างไปจากพวกเขา ทำให้ภิกษุณีเก้อเขิน อีกอย่างหนึ่ง สตรีเปลือยกายไม่งาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นสตรีทีประพฤติพรหมจรรย์ในพระธรรมวินัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย

หม่อมฉันเห็นประโยชน์นี้ จึงปรารถนาอยากถวายผ้าผลัดอาบน้ำแก่ภิกษุณีสงฆ์

เมื่อนางวิสาขากราบทูลเหตุผลจบสิ้นลง พระพุทธองค์จึงตรัสว่า วิสาขา เธอเห็นอานิสงส์ ๘ ประการนี้ จึงขอพรจากเราตถาคต เราตถาคตอนุญาตพรทั้ง ๘ ประการนี้ แล้วตรัสอนุโมทนาว่า :-
 
สตรีใดให้ข้าวให้น้ำ มีใจเบิกบานแล้ว สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นสาวิกาของพระสุคต  ครอบงำความตระหนี่ได้แล้ว บริจาคทาน อันเป็นเหตุแห่งสวรรค์ เป็นเครื่องบรรเทาความโศก นำมาซึ่งความสุข  สตรีนั้นอาศัยมรรคปฏิบัติ ไม่มีกิเลสเป็นเครื่องยั่วใจปราศจากธุลี ย่อมได้กำลังและอายุเป็นทิพย์

สตรีผู้ประสงค์บุญนั้น เป็นคนมีความสุขสมบูรณ์ด้วยพลานามัย ย่อมปลื้มใจในสวรรค์สิ้นกาลนาน


จาก : บทความพิเศษ "ต้นเหตุเกิดผ้าอาบน้ำฝน" โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์  วรรษปก  หน้า ๖๗ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๘๑๖ ประจำวันที่ ๕-๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๘
3462  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ไปเที่ยว / วัดหนองป่าพง อุบลราชธานี : กราบอัฐธาตุหลวงปู่ชา สุภัทโท เมื่อ: 21 มิถุนายน 2558 13:00:06
.

กราบอัฐธาตุ พระโพธิญาณเถระ
(หลวงปู่ชา  สุภทฺโท)

วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี

วัดหนองป่าพง ตั้งอยู่ที่บ้านพงสว่าง หมู่ที่ ๑๐ ตำบลโนนผึ้ง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี  ห่างจากตัวจังหวัดไปทางอำเภอกันทรลักษณ์ ประมาณ ๘ กิโลเมตร  มีพื้นที่ป่าภายในเขตกำแพง ๑๘๖ ไร่ ๓ งาน ๙๔ ตารางวา ได้รับวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๗

พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) ได้เดินธุดงค์มาถึง “ดงป่าพง” พร้อมด้วยลูกศิษย์จำนวนหนึ่ง เมื่อเดินทางมาถึง ก็ได้ทำการปักกลดเรียงรายอยู่ตามชายป่าประมาณ ๕-๖ แห่ง  ดงป่าพงในสมัยนั้น มีสภาพเป็นป่าดงใหญ่ สภาพรกทึบ ชุกชุมด้วยไข้ป่า ในกลางป่ามีหนองน้ำใหญ่ที่มีกอพงขึ้นหนาแน่น เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด ชาวบ้านเรียกดงดิบนี้ว่า “หนองป่าพง”  ต่อมาบริเวณผืนป่าส่วนใหญ่ถูกทำลาย ยังคงเหลือเพียงส่วนที่เป็นของวัดในปัจจุบันเท่านั้น  สาเหตุที่ป่าส่วนนี้ไม่ถูกบุกรุกเนื่องจากเชื่อถือกันว่า มีอำนาจลึกลับแฝงเร้นอยู่ในดงนั้น เพราะปรากฏเสมอว่า คนที่เข้าไปทำไร่ตัดไม้หรือล่าสัตว์ เมื่อกลับออกมามักมีอันต้องล้มตายไปทุกราย โดยที่หาสาเหตุไม่ได้  ชาวบ้านจึงพากันเกรงกลัวภัยมืดนั้น ไม่มีใครกล้าเข้าไปทำลาย หรืออาศัยทำกินในป่านี้เลย ดงป่าพงจึงดำรงความเป็นอยู่อย่างสมบูรณ์  

ชื่อ “วัดหนองป่าพง” นี้ เป็นชื่อที่หลวงพ่อคิดตั้งขึ้นเอง โดยอาศัยสภาพภูมิประเทศเป็นหลัก แต่ชื่อที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากก็คือ “วัดป่าพง”  

ในระยะแรก หลวงปู่ชา  สุภทฺโท และลูกศิษย์ต้องต่อสู้อย่างเด็ดเดี่ยวกับไข้ป่าซึ่งขณะนั้นชุกชุมมากเพราะเป็นป่ารกทึบ ยามพระเณรป่วยหายารักษายาก ต้องต้มบอระเพ็ดฉันพอประทังไปตามมีตามเกิด โดยที่ท่านไม่ยอมขอความช่วยเหลือเลย เพราะว่า ท่านต้องการให้ผู้ที่มาพบเห็นด้วยตาแล้วเกิดความเลื่อมใสเอง หลวงพ่อสอนอยู่เสมอว่า พระไปยุ่งกับการหาเงินก่อสร้างวัด เป็นสิ่งน่าเกลียด แต่ให้พระสร้างคน คนจะสร้างวัดเอง

จากวัดเล็กๆ ที่มีบรรณศาลา (กระท่อม) ไม่กี่หลัง จึงได้มีสิ่งก่อสร้างอันควรแก่สมณวิสัยเพิ่มเติม จนพอแก่ความต้องการในปัจจุบัน ทั้งที่พักอาศัยของภิกษุ สามเณร แม่ชี อุบาสก อุบาสิกาที่มาค้างแรมเพื่อปฏิบัติธรรม กระท่อมชั่วคราวได้กลายมาเป็นกุฏิถาวรจำนวนมาก ศาลามุงหญ้าซึ่งเคยใช้เป็นที่แสดงธรรม ได้เปลี่ยนมาเป็นศาลาและวัด หอระฆังเสนาสนะอื่นๆ ได้เพิ่มมากขึ้นจากแรงศรัทธาความเลื่อมใสนั่นเอง

วัดหนองป่าพงเป็นวัดป่าอรัญวาสี เป็นสำนักปฏิบัติธรรมที่แวดล้อมอันสงัด มีบรรยากาศร่มรื่นเหมาะแก่การพำนักอาศัยเพื่อบำเพ็ญสมณะธรรม  ชีวิตพระในวัดหนองป่าพง มีจุดมุ่งหมายอยู่ที่การประพฤติพรหมจรรย์ตามรอยพระยุคลบาทพระบรมศาสดา ที่ทรงดำรงพระชนม์ชีพอย่างสงบเงียบและเรียบง่ายภายในป่า เพื่อค้นคว้าแสวงหาทางพ้นทุกข์ แล้วทรงนำความรู้แจ้งเห็นจริงนั้นมาเผยแผ่เกื้อกูลความสุขแก่มวลมหาชนทั่วไป
.... ที่มา เว็บไซท์วัดหนองป่าพง
 

พระโพธิญาณเถระ
(หลวงปู่ชา  สุภทฺโท)

ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย
พระโพธิญาณเถระ (ชา สุภทฺโท) หรือ หลวงพ่อชา หรือ พระอาจารย์ชา กำเนิดชีวิตในครอบครัวกสิกรผู้มีฐานะมั่นคงหรือมีฐานะดีครอบครัวหนึ่ง เมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๑ ตรงกับวันศุกร์ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย ณ บ้านจิกก่อ หมู่ที่ ๙ ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ท่านเป็นบุตรคนที่ ๕ ในจำนวน ๑๐ คน ของนายมา - นางพิมพ์ ช่วงโชติ  บิดามารดาและญาติของท่านล้วนเป็นผู้มีสัมมาอาชีโว ตั้งมั่นอยู่ในพุทธศาสนาและวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของชาวชนบทภาคอีสาน จึงจัดว่าชีวิตมีความเป็นอยู่สุขสบายตามสมควรครอบครัวหนึ่งในสมัยนั้น

ในวัยเด็ก เด็กชายชา ช่วงโชติ มีลักษณะอ้วนท้วนสมบูรณ์ น่ารักน่าเอ็นดู ปากของท่านค่อนข้างกว้างและเชิดเล็กน้อย เพื่อนฝูงในวัยเดียวกันเรียกท่านตามรูปลักษณ์ที่เห็นว่า “อึ่ง”   ท่านเป็นคนพูดเก่ง อารมณ์ดี มีอารมณ์ขัน ชอบนำเรื่องตลกมาเล่าให้เพื่อนๆ ได้หัวเราะครื้นเครงอยู่เสมอ ลักษณะโดดเด่นของท่านอีกประการหนึ่งคือ ท่านมีคุณลักษณะของความเป็นผู้นำมาตั้งแต่เด็ก ตอนที่เล่นกับมิตรสหาย ท่านจะเป็นหัวหน้ากลุ่มผู้ฝักใฝ่ธรรมาธิปไตย มีความเยือกเย็น เสียสละ รักความยุติธรรม รักสันติ ไม่นิยมความรุนแรง เมื่อเกิดปัญหาขัดแย้งก็มักจะเป็นคนกลางเข้าไปแก้ไข ไกล่เกลี่ยความขัดแย้งให้ยุติลงได้อย่างสงบ

ข้อที่สังเกตอีกประการหนึ่ง เด็กชายชา มีจิตใจใฝ่ธรรมมาแต่วัยเยาว์ ชอบเล่นเป็นพระภิกษุ ท่านเล่าเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า “ตอนเด็กๆ คิดอยากจะเล่นเป็นพระ ก็เลยตั้งตนเป็นสมภารขึ้นมา เอาผ้าขาวมาห่มเป็นจีวร ถึงเวลาฉันเพลก็ตีระฆังเก๊กๆ ให้เพื่อนๆ ที่เล่นเป็นโยมอุปัฏฐาก เอาน้ำมาให้ฉัน แล้วรับศีลรับพร

หลวงพ่อชาได้รับการศึกษาชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียนบ้านก่อ ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ อุบลราชธานี  เรียนหนังสือจบชั้นประถมปีที่ ๑ แล้วได้ลาออกจากโรงเรียน รบเร้าให้มารดาพาไปฝากเป็นลูกศิษย์วัด เพื่อจะได้ใกล้ชิดสิ่งที่ตนเองปรารถนา พ่อแม่ก็ดีใจที่ลูกชายใฝ่ใจในทางบวชเรียน จึงนำตัวลูกชายไปฝากฝังกับพระอาจารย์ลี ที่วัดก่อนอก

เมื่อได้มาอยู่ในวัดแล้ว เด็กชายชาก็เอาใจใส่เรียนรู้ระเบียบแบบแผนของวัด ฝึกหัดไหว้พระสวดมนต์ คอยดูแลรับใช้ครูบาอาจารย์และพระเณรในวัด   พระอาจารย์ลี เห็นความอดทน ขยันหมั่นเพียร และความมีระเบียบวินัยของเด็กชายชา จึงจัดการให้บวชเณรพร้อมกับเพื่อนๆ อีกหลายคน โดยมีพระครูวิจิตรธรรมภาณี (พวง) อดีตเจ้าอาวาส วัดมณีวนาราม อุบลราชธานี เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๔ อายุขณะนั้น ๑๓ ปี

เมื่อบวชเรียนแล้วได้เรียนหนังสือธรรมเรียนบาลีไวยากรณ์ เรียนมูลกัจจายน์ จนสอบได้ชั้นสูงสุดสายนักธรรม คือ สอบได้นักธรรมชั้นเอก และพร้อมกับได้ศึกษาหนังสือพื้นเมืองที่เรียกว่า “หนังสือตัวธรรม” จนมีความชำนิชำนาญ เป็นการเริ่มต้นก้าวสู่วิถีชีวิตในร่มกาสาวพัสตร์
 
สามเณรชา ช่วงโชติ ได้อยู่จำพรรษาและศึกษาพระปริยัติธรรม ตลอดจนอยู่ปฏิบัติครูอาจารย์ เป็นเวลา ๓ ปี จึงได้ลาสิกขาบทกลับไปใช้ชีวิตในทางโลกมาช่วยบิดามารดาทำไร่ทำนาอีกวาระหนึ่ง ทั้งนี้ด้วยความจำเป็นของครอบครัวแบบชาวไร่ชาวนาอีสานทั่วไป

แปดปีที่กลับมาใช้ชีวิตในโลกคฤหัสถ์ ทำให้พระอาจารย์ชาได้สะสมประสบการณ์ธรรมชาติแห่งโลกียวิสัยของปุถุชน เป็นกำไรของชีวิตที่ท่านนำไปพิจารณาอย่างมีคุณค่าในทางธรรม   การบวชเป็นสามเณรมานานถึง ๓ ปี ทำให้จิตใจของท่านเกิดความซาบซึ้งในสิ่งที่เรียกว่า คุณธรรม  ระลึกถึงพระคุณของบิดามารดา จึงได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะของบุตรที่พึงให้ความสุขทางกายและทางใจแก่ท่านอยู่เป็นนิจ

แต่ด้วยจิตใจที่ใฝ่ในการบวชเรียนที่มีอยู่ตลอดเวลาและไม่อาจยอมรับชีวิตที่แปรปรวน เลื่อนไหลไร้แก่นสาร ที่คนอื่นๆ สนุกสนานและหลงโลกกันทั้งนั้น แม้จะเบื่อหน่ายทางโลก แต่ท่านก็ยังไม่อาจจะทำตามที่ใจคิดได้ ท่านปรารภในเรื่องนี้แก่ศิษย์ฟังภายหลังว่า  “ตอนนั้นอายุประมาณ ๑๕-๑๖ ปี เบื่อ  ไม่อยากอยู่กับครอบครัว คิดอยากไปอยู่คนเดียวเรื่อยๆ ไม่รู้ทำไมถึงคิดอย่างนี้ เป็นอยู่หลายปีเหมือนกัน ไม่รู้มันเบื่ออะไร มันอยากไปไหนๆ คนเดียวอย่างนั้นอยู่ระยะหนึ่ง แล้วก็มาบวช อันนี้มันเป็นนิสัยหรือบารมี แต่เราไม่รู้จักมัน แต่ก็มีความรู้สึกอย่างนี้ตลอด”  

เมื่อ นายชา ช่วงโชติ โตเป็นหนุ่ม มีเพื่อนสนิทอยู่คนหนึ่งชื่อ นายพุฒ ทุมมากรณ์ ทั้งสองรักใคร่สนิทสนมกันมาก  ในวัยหนุ่มวัยสาว เรื่องคนหนุ่มกับสตรีเพศหนีกันไม่พ้น  นายชาก็หนีไม่พ้นกฎเกณฑ์ธรรมชาติที่ว่านี้  ใจของหนุ่มชาไปผูกสมัครรักใคร่หญิงสาวที่ชื่อว่า นางสาวจ่าย  ผู้ซึ่งเป็นลูกติดแม่เลี้ยงของนายพุฒ เพื่อนรักของเขานั่นเอง  นายชา เป็นคนดีมีฐานะครอบครัวมั่นคง พ่อแม่ของฝ่ายหญิงจึงหมายมั่นว่าอยากให้หนุ่มชามาเป็นลูกเขย ถึงกับกีดกันหนุ่มคนอื่นไม่ให้เข้ามาใกล้ชิดติดพัน นางสาวจ่าย  หวังให้ลูกสาวได้นายชาเป็นคู่ครองเท่านั้น    

ขณะนั้นหนุ่มชามีอายุ ๑๙ ปี  ส่วน นางสาวจ่าย อายุ ๑๗ ปี ทั้งสองสัญญากันว่า เมื่อนายชาผ่านพ้นการเกณฑ์ทหารและขอเวลาบวชเป็นพระภิกษุทดแทนคุณพ่อแม่สัก ๑ พรรษา แล้วจึงจะแต่งงานกันตามประเพณี  แต่ว่าฝ่ายหญิงอยากให้แต่งกันเสียเร็วๆ เพราะนานไป คนหนุ่มอย่างนายชาอาจเปลี่ยนใจได้  เมื่อฝ่ายชายยืนยันขอเวลาอย่างนั้น  เหมือนโชคชะตาฟ้าดินกำหนด พ่อของนายพุฒเพื่อนของนายชา ปรารภกับภรรยาว่า การรอคอยให้นางสาวจ่ายได้แต่งงานกับนายชานั้นนานเกินไป ควรจะให้ลูกสาวแต่งงานกับนายพุฒเสียเลยจะดีกว่า เข้าตำราเรือล่มในหนองทองจะไปไหนเสีย ลูกตัวกับลูกเลี้ยงแต่งงานกันจะได้หมดห่วง อย่าไปหวังน้ำบ่อหน้าให้เสียกาล

นายชา ช่วงโชติ รู้เรื่องการตกลงแต่งงานของเกลอเพื่อนรักกับสาวคนรักด้วยความรู้สึกงุนงง และเสียใจสุดแรงที่สาวคนรักจะต้องกลายเป็นเมียของเพื่อนรัก แต่เมื่อข่มใจพิจารณาในเหตุผลว่าสาวจ่ายต้องทำตามคำของพ่อแม่ นายชาก็ต้องตัดใจ  ความผิดหวังในครั้งนั้น มิได้ทำให้คนที่เคยบวชเรียนเสียหลัก ใจที่มีธรรมะเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงช่วยให้มองเห็นว่าชีวิตทั้งหลายต้องเป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา  อย่างไรก็ตาม นายชา ยังคงรักษาความสัมพันธ์ฉันท์เพื่อนกับนายพุฒดังเดิม ไม่มีความโกรธเคืองผูกพยาบาท แต่อำนาจความผูกพันทางใจที่มีต่อนางสาวจ่าย ยังฝังลึกคุกคามอยู่ในใจ กระตุ้นให้เกิดความหวั่นไหว ผัสสะแห่งจิตยังถูกครอบงำเหมือนก้อนหินหล่นในน้ำ

พระอาจารย์ชา ปรารภให้ลูกศิษย์ฟังเป็นข้อคิดว่า ท่านบวชแล้วก็ยังต้องระวังใจตนเองมากทีเดียว ตอนที่เป็นพระเห็นสาวจ่ายเดินสวนทางมาก็ต้องรีบหลบเข้าป่าเสีย เจ็ดปีแรกที่บวช  ยอมรับว่า ใจยังตัดขาดจากความอาลัยในความรักนั้นไม่ได้ ต่อเมื่อท่านมีอินทรีย์แก่กล้า ออกป่าเดินธุดงค์ เจริญกรรมฐานภาวนาอย่างเฉียบขาด ความรู้สึกที่ค้างคาใจจึงค่อยลบเลือนไปได้สำเร็จ    ดังนั้น ความผิดหวังในความรักครั้งแรกจึงเป็นบทเรียนสำคัญที่ทำให้พระอาจารย์ชาต้องคอยระมัดระวังในเรื่องของสตรีเพศ...ภัยจากมาตุคามที่พระพุทธองค์ตรัสว่าเป็นอันตรายแก่นักปฏิบัติธรรมหรือเพศพรหมจรรย์เป็นที่สุด   ภายหลังต่อมาพระอาจารย์ชาได้แสดงธรรมสอนพระเณรในวัดหนองป่าพง เรื่อง “กาม” ท่านได้นำเรื่องของนายพุฒผัวของนางจ่าย มายกอุปมาเป็นตัวอย่างกับพระเณรว่า ถ้านางจ่ายไม่แต่งงานกับนายพุฒ ตัวท่านคงจะไม่ได้บวชเรียน  นายพุฒจึงเปรียบเสมือนเพื่อนเกลอที่มาช่วยส่งให้ท่านเดินเข้าสู่เส้นทางธรรม นายพุฒจึงมีบุญคุณกับท่านด้วยโดยปริยาย

อำลาชีวิตทางโลก เดินสู่ทางธรรม
จากประสบการณ์ชีวิตทางโลก ท่านพระอาจารย์ชาได้สัมผัสความทุกข์ จนสามารถควบคุมอินทรีย์ ข่มใจตนเอง ให้หลุดพ้นบ่วงกามราคะซึ่งเป็นอำนาจฝ่ายต่ำได้สำเร็จในที่สุด

ในปี พ.ศ. ๒๔๘๒ ขณะนั้น ท่านมีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ด้วยจิตใจที่ใฝ่ในการบวชเรียนและสำนึกอยู่ตลอดเวลาว่าจะต้องอุปสมบทเป็นพระให้ได้ จึงตัดสินใจบอกบิดามารดาว่าจะขอบวชกลับไปครองผ้ากาสาวพัสตร์อีกครั้งหนึ่ง พ่อและแม่เมื่อได้ยินว่าลูกชายจะบวชก็ดีใจ อนุญาตให้บวชแล้วได้พาไปฝากตัวที่วัดก่อใน ซึ่งอยู่ใกล้บ้าน โดยให้มีพิธีอุปสมบทในตอนเวลาตะวันบ่าย เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ เวลา ๑๓.๕๕ น. ณ พัทธสีมา วัดก่อใน ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ อุบลราชธานี  มีพระครูอินทรสารคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์  พระครูวิรุฬสุตการ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการสอน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “สุภัทโท” แปลว่า ผู้เจริญดี

พระภิกษุชา สุภทฺโท อยู่จำพรรษา ณ วัดก่อนอก มอบชีวิตให้กับพระศาสนาตั้งแต่บัดนั้น  ได้ศึกษาปริยัติธรรม ทั้งจากตำรับตำราและจากครูอาจารย์ เพื่อเป็นแนวทางในการดำรงชีวิตในเพศสมณะ ท่านจำพรรษาอยู่วัดก่อนอกได้ ๒ พรรษา ได้พิจารณาถึงความรู้ที่ร่ำเรียนมา รู้ดีว่ายังไม่เพียงพอจะต้องเรียนรู้พระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าที่ทรงบัญญัติไว้ให้แตกฉานเพื่อวางรากฐานในทางธรรมให้มั่นคงแก่ตนเอง ประกอบกับคราวโยมบิดาเสียชีวิตเกิดธรรมสังเวช จึงหยุดการศึกษาปริยัติหันมามุ่งสู่ด้านการปฏิบัติ ก็จะต้องไปแสวงหาครูบาอาจารย์ที่เป็นที่เคารพนับถือในสมัยนั้นฝากตัวเป็นศิษย์ให้ช่วยอบรมสั่งสอนภูมิธรรมในระดับสูงต่อไป  ดังนั้น พระอาจารย์ชาจึงตัดสินใจจาริกธุดงค์จากจังหวัดอุบลราชธานีมาสู่ภาคกลาง ซึ่งต่อมาได้ถวายตัวเป็นศิษย์พระผู้เลิศทางธุดงควัตรและจริยวัตรปฏิปทางดงาม อาทิ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต หลวงปู่กินรี จนฺทิโย รวมทั้งพระอาจารย์นิรนามจากเขมร ที่พระอาจารย์ชา สุภัทโท ธุดงค์มาอยู่ที่เขาวงกฎ จังหวัดลพบุรี และได้พบพระเขมรองค์นี้  “ท่านผู้นี้เป็นพระภิกษุชาวเขมร เดินทางมาเพื่อสอบทานพระไตรปิฎก มีความรู้ด้านปริยัติและปฏิบัติพร้อมทั้งสองประการ  จากการสนทนากับพระเขมรองค์นี้ ทำให้ได้มีความรู้อะไรดีๆ เพิ่มขึ้น ท่านพูดให้ฟังในเรื่องการแปลคำสอนของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎกว่า แม้แต่พระพุทธพจน์ในตำราก็ไม่อาจเชื่อได้ทั้งหมด อาจมีที่แปลไม่ตรงความหมายที่แท้จริงของพระพุทธเจ้าได้”  ท่านกล่าวกับพระอาจารย์ชา สุภัทโทว่า “อย่าเชื่อว่าเพราะมีอยู่ในตำรา” กาลามสูตรกล่าวไว้เช่นนั้น

พระภิกษุชาวเขมรองค์นี้ได้บอกวินัยแก่พระอาจารย์ชา เพื่อให้นำไปรักษาให้ถึงความบริสุทธิ์แห่งสมณะ ให้บำเพ็ญเพียรธรรมอย่างจริงจัง พระอาจารย์ชามีความพึงพอใจในปฏิปทาของพระอาจารย์ชาวเขมรมาก ได้ปฏิบัติตามคำแนะนำของท่าน  แม้เวลาล่วงเลยมานานเท่าใด ก็ไม่เคยลืมการปฏิบัติธรรมที่เขาวงกฎ ลพบุรี  

สู่สำนักวัดหนองป่าพง
ชีวิตของพระอาจารย์ชา สุภัทโท เริ่มเข้าสู่เส้นทางของสมณะมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๒ ท่านมุ่งมั่นบำเพ็ญจิตของตนให้หลุดพ้นจากวัฏสงสารอยู่อย่างต่อเนื่อง จวบจนเมื่อวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ จึงเดินทางมาปักธงธรรมจักรที่ริมหนองน้ำชายป่าพง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี  ตามที่โยมมารดานิมนต์ให้กลับไปโปรดที่บ้านเกิด และได้ดำเนินการสร้างวัดป่าขึ้น ซึ่งเรารู้จักในปัจจุบัน คือ "วัดหนองป่าพง"  และท่านได้พำนักอยู่ ณ ที่นี้ตลอดมาจนถึงแก่กาลมรณภาพเมื่อเวลา ๐๕.๒๐ นาฬิกา ของเช้าวันพฤหัสบดีที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๕

ณ วันนั้น สรรพสิ่งในวัดหนองป่าพงนิ่งสนิทพร้อมๆ กับลมหายใจของพระอาจารย์ชา สุภัทโท  

ไม่มีรูปนามใดๆ ให้ยึดมั่นถือมั่นอีกต่อไป สังขารทั้งหลายย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยแห่งอิทัปปัจจยตา... เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น.



เจดีย์อัฐธาตุ พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท)


หุ่นขี้ผึ้ง พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) ประดิษฐานในพิพิธภัณฑ์พระโพธิญาณเถร
สิ่งที่น่าสังเกต ชาวอุบลราชธานี เป็นผู้ยึดมั่นในพุทธศาสนา พระเถรชั้นผู้ใหญ่ผู้เลิศทางธุดงควัตร
หลายรูปล้วนถือกำเนิดจากอุบลราชธานี เช่น หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล  หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต  พระอาจารย์ลี ธัมมธโร
พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันทโท) พระอาจารย์มหาปิ่น ปัญญาพโล ฯลฯ รวมถึง หลวงปู่ชา สุภทฺโท
นับเป็นเกียรติประวัติของจังหวัดอุบลราชธานีอีกประการหนึ่ง
 

รอยมือรอยเท้า พระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา สุภทฺโท)
๑๔ มิถุนายน ๒๕๓๔



เหล่าพุทธศาสนิกชนไปทำบุญที่วัดหนองป่าพง เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๘


ประชาชนนับพันร่วมทำบุญที่วัดหนองป่าพงจนแน่นล้นออกนอกศาลา


ที่นี่เงียบสนิทปรารศจากเสียงพูดคุยใดๆ หากมีเรื่องต้องพูด ต่างพูดคุยกันด้วยเสียงเบาๆ




ต้นไม้ต้นน้อยที่เคยต่ำเตี้ยเรี่ยดิน เจริญเติบโตสูงใหญ่ใบหนา
ให้ร่มเงาร่มรื่น กระจายอยู่ทั่วไปในบริเวณวัดหนองป่าพง



กุฏิสงฆ์สร้างห่างกันในป่าวัดหนองป่าพง ช่วยเกื้อกูลสนับสนุนในการบำเพ็ญภาวนาให้ได้ผลดี


ที่ปักกรดครั้งแรกหลวงปู่ชา ในวัดหนองป่าพง




"ท่านผู้เจริญ สถานที่นี้เป็นปูชนียสถานที่เคารพ
ห้ามใส่รองเท้าเข้าไปในบริเวณหอระฆัง
ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ควรทำอัญชุลีกรรม
กระพุ่มมือไหว้เสียก่อน จึงเข้าไปในบริเวณเทอญ
พระโพธิญาณเถร"
หอระฆังวัดหนองป่าพง มีแผ่นป้ายจารึกข้อความข้างต้น แขวนไว้ผนังหอระฆังทั้งสี่ทิศ
(แผ่นป้ายสีแดงที่ปรากฎในภาพ)



ภิกษุวัดหนองป่าพง กลับจากบิณฑบาต โปรดพุทธศาสนิกชน




แม่ชีวัดหนองป่าพง กำลังให้ขนมเค็กแก่นกยูงที่อาศัยอยู่ในวัด
ท่านเล่าให้ฟังว่า "นกยูงมีคู่ครองเพียงตัวเดียว คู่ของเขาตายไปแล้ว"



ช่วยพระสงฆ์ปัดกวาดลานวัด


อุบาสกมาปฏิบัติธรรมที่วัดหนองป่าพง ปูที่นั่งเตรียมถือศีลภาวนาข้างศาลาบำเพ็ญบุญแต่เช้าตรู่


ผู้โพสท์ ในพิพิธภัณฑ์พระโพธิญาณเถร


พระธรรมคำสอน เรื่อง ความสงบ เรียบเรียงจากพระธรรมเทศนา
ของ ท่านเจ้าคุณพระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา สุภัทโท) แห่งวัดหนองป่าพง
เป็นหนังสือเล่มบางๆ มีประมาณ 20 หน้าเศษ ราคาเล่มละ 15 บาท

หนังสือเหล่านี้ ผู้โพสท์เก็บสตางค์ซื้อ พกติดตัวอ่านตั้งแต่ยังเป็นนักเรียน
มีจำนวนหลายสิบเล่ม หากมีเวลาจะพิมพ์เผยแพร่ในบอร์ด "พุทธประวัติ-ประวัติพระสาวก"
พร้อมประวัติของท่านเจ้าคุณฯ ต่อไป
3463  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / วิธีทำ แกงอ่อมไก่ (สูตรอีสาน) เมื่อ: 21 มิถุนายน 2558 11:50:54
.



แกงอ่อมไก่ (สูตรอีสาน)

ส่วนผสม
-ไก่บ้าน สับหรือหั่นชิ้นพอคำ
- ผักสดชนิดต่างๆ เช่น กะหล่ำปลี  เห็ดหูหนู มะเขือเทศ ฯลฯ
- ต้นหอมหั่นท่อนสั้น
- ใบมะกรูดฉีก 4-5 ใบ
- ตะไคร้ 1 ต้น
- หอมแดง 2-3 หัว
- น้ำปลาร้าต้มสุก (สำหรับปรุงรส)  


เครื่องปรุงพริกแกง
- พริกเม็ดใหญ่เปลือกหนาแช่น้ำจนนุ่ม 3-5 เม็ด
- หอมแดง 3-4 หัว
- ตะไคร้ 1 ช้อนโต๊ะ
* โขลกเครื่องปรุงทุกอย่างให้ละเอียด


วิธีทำ
1. ตั้งน้ำซุปกระดูกไก่ หรือน้ำเปล่าพอเดือด ใส่พริกแกงลงคนให้ละลาย
2. ใส่ตะไคร้หั่นท่อนและหอมแดงบุบพอแตก ใส่เนื้อไก่เคี่ยวจนเนื้อไก่นุ่ม
3. ใส่ใบมะกรูดฉีก กะหล่ำปลี เห็ดหูหนู (และผักสดอื่นๆ)
4. ปรุงรสด้วยน้ำปลาร้า ก่อนยกลงจากเตา ใส่ต้นหอมหั่นท่อน มะเขือเทศ
5. ตักใส่ชามเสิร์ฟ รับประทานกับข้าวสวยร้อนๆ  









แกงอ่อมสูตรนี้ ได้จากแม่ค้าขายอาหารที่ปลูกร้านอย่างง่ายๆ ริมถนนในตัวจังหวัดอุบลราชธานี
วันที่ ๓๑ พฤษภาคม – ๔ มิถุนายน ที่ผ่านมา ผู้โพสท์มีภารกิจที่จังหวัดอุบลราชธานี
ได้ไปพักแรมที่รีสอร์ทแห่งหนึ่ง ทุกเช้ามืดประมาณตีห้าเศษ จะเดินจากที่พักไปตามถนนสายหลัก
เพื่อออกกำลังกายและใส่บาตรเช้า (ไปกลับประมาณ 3 กิโลเมตรเศษ) ได้ซื้อแกงชนิดหนึ่ง
ถือติดไม้ติดมือกลับไปกินที่รีสอร์ท รสชาติแกงนั้นอร่อยมากๆ  เท่าที่สังเกต แกงนั้นใส่เครื่องในไก่
กะหล่ำปลี ผักใบเขียวชนิดหนึ่งคล้ายปวยเล้ง มะเขือเทศ ต้นหอมหั่นท่อน ใบมะกรูดฉีก
หอมแดงบุบ ตะไคร้บุบ ปรุงรสด้วยน้ำปลาร้ากลิ่นอ่อนๆ

เช้าวันถัดมา กลับไปร้านนั้นอีก ตั้งใจไว้ว่าจะถามชื่อแกงและขอสูตร  สรุปความได้ว่า
แกงนั้นคือ “แกงอ่อม”  สูตรเครื่องแกง มีเพียง 3 อย่างเท่านั้น คือ พริกแห้ง ตะไคร้ หอมแดง
(ผู้ขายย้ำว่า ไม่ต้องใส่กระเทียม)  



บริเวณทุ่งศรีเมือง อุบลราชธานี ยามค่ำคืน
มีร้านค้าจำหน่ายอาหารให้เลือกสั่งตามอัธยาศัยจำนวนมาก

ไปอยู่อุบลราชธานี 5 วัน มีโอกาสสั่งแกงอ่อมมากิน 4 ครั้ง  ครั้งแรกที่ร้านอาหารบริเวณทุ่งศรีเมือง
หน้าศาลหลักเมืองอุบลราชธานี  สั่งมาแล้วกินไม่ได้เพราะเขาใส่น้ำปลาร้าจนเค็มจัดและกลิ่นแรงมาก
มีข้าวคั่วใส่มาด้วย



ร้านส้มตำและอาหารตามสั่ง ร้านนี้อยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง อำเภอโขงเจียม อุบลราชธานี
ดั้นด้นมาถึงริมฝั่งโขงทั้งที อยากกินแกงอ่อมจึงต้องเลือกสั่งแกงอ่อมปลาบึก
ได้ถามผู้ขายว่าแกงอ่อมที่นี่ใส่ข้าวคั่วหรือเปล่า ผู้ขายรับว่าใส่ข้าวคั่วด้วย... จึงขอแกงอ่อม “ไม่ต้องใส่ข้าวคั่ว”

แกงอ่อมร้านนี้เสิร์ฟมาด้วยหม้อไฟน่ากินทีเดียว  ตักเข้าปากคำแรกก็รู้สึกว่าไปไม่ตลอดอีกแล้ว
น้ำแกงของเขาใสๆ ไม่เผ็ด คล้ายแกงจืด มีตะไคร้หั่นแฉลบ หอมแดงบุบ ใบมะกรูดฉีก ใส่ผักหลากหลายชนิด
เช่นมะเขือเปราะ ถั่วฝักยาว ฯลฯ แต่ผักที่รับไม่ได้เอาเสียเลย คือผักขะแยง หรือกะแยง ผักพื้นเมืองอีสาน
ซึ่งเราไม่คุ้นเคยกลิ่นและรสชาติมาก่อน สั่งมาแล้วก็ให้เสียดาย จึงเลือกตักแต่ชิ้นปลาบึกซึ่งผู้ขายหั่นชิ้นใหญ่มาก
ก็กินไม่ได้อีกเช่นเคย จะเพราะด้วยคนครัวรีบร้อนเกรงลูกค้าจะหิวเกินไปหรือเปล่าไม่ทราบ เนื้อปลาจึงยังดิบๆ
และมีกลิ่นคาวปลาอีกด้วย  แต่อาหารชนิดอื่นๆ ของเขารับประกันความอร่อย โดยเฉพาะส้มตำ...สุดยอด!

อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องวัฒนธรรมการบริโภคของคนไทย ซึ่งเป็นประเทศมีอาณาเขตกว้างใหญ่
วัตถุดิบการปรุงอาหารในครัวเรือนจึงผูกติดกับทรัพยากรที่มีอยู่มากมายและสมบูรณ์ในแต่ละท้องถิ่น  
ส่วนเรื่องความแตกต่างของรสชาติอาหารในแต่ละภาค เป็นเพราะได้รับอิทธิพลจากประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้ชิดติดกัน
หรือรับมาจากชาวต่างชาติที่อพยพมาอยู่ในเมืองไทย หรือผ่านทางการสัมพันธไมตรีทางการทูต และทางการค้ากับประเทศต่างๆ.

กล่าวมาเพียงเพื่อเหตุผลที่ว่า เราไปกินของเขา ติว่าไม่อร่อย...เขามาภาคเราเขาก็กินไม่ลงเหมือนกันเท่านั้นเอง.



ติดตามสูตรอาหารและเคล็ดลับการประกอบอาหารคาว-หวาน มากมายกว่า 200 สูตร
ได้ที่  "สุขใจในครัว" สุขใจดอทคอม
www.sookjai.com
3464  สุขใจในธรรม / เกร็ดศาสนา / Re: คติ-สัญลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย เมื่อ: 18 มิถุนายน 2558 20:12:09
.

นิกายในพระพุทธศานา
จากความเห็นของกลุ่มบุคคลบางกลุ่ม ที่เห็นว่า พุทธศานามีความเสื่อมถอยศรัทธาของประชาชนชาวไทย ที่นับถือพุทธศาสนากันนั้น ควรจะมีการปฏิรูปพุทธศาสนากันเพื่อให้พุทธศาสนายังคงเป็นศาสนาประจำชาติกันอย่างมั่นคง

ดังนั้น ก่อนที่จะปฏิรูปพระพุทธศาสนากันนั้น คงต้องมาทำความเข้าใจ ศรัทธา ความเชื่อ แนวทางปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนที่แตกต่างกัน ที่เรียกว่า นิกายต่างๆ ในพุทธศาสนา ในรูปแบบและภาษาง่ายกันก่อน

พุทธศาสาในปัจจุบันแบ่งออกเป็น ๒ นิกายใหญ่ เรียกกันว่า ฝ่ายเถรวาทและฝ่ายมหายาน ที่ถึงแม้จะมีความแตกต่างกันบางประการของทั้งสองฝ่าย แต่ศรัทธาและความเชื่อในจุดมุ่งหมายทางพุทธศาสนามิได้แตกต่างกัน ในเรื่องของนิพพาน หรือ การพ้นทุกข์ สิ่งที่แตกต่างกันเป็นเรื่องแนวทางปฏิบัติเป็นสำคัญ

ดังนั้น เพื่อความเข้าใจร่วมกันก่อน ก็จะกล่าวถึงความเป็นมาและแนวทางปฏิบัติของนิกายทั้งสอง
เริ่มต้นก็ขอกล่าวถึงนิกายที่เรียกว่า เถรวาท
นิกาย แปลว่า หมู่ พวก
เถรวาท เถร แปลว่า พระผู้่ใหญ่ (โดยเฉพาะผู้ทื่บวชมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑๐ พรรษา วาทะ แปลว่า คำพูด ถ้อยคำ ความเห็น

สรุป นิกายเถรวาท แปลว่า ความเห็นของหมู่พวกพระผู้ใหญ่

นั้นหมายความว่า นิกายเถรวาท หมายถึง การยอมรับร่วมกันของหมู่พระผู้ใหญ่ที่มาร่วมประชุมกัน ในการทำสังคายนา หรือการตกลงร่วมกันอย่างเป็นเอกฉัจท์ว่า คำกล่าวในพระพุทธศานาเรื่องใดหรือส่วนใด เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า

แต่ด้วยเหตุที่มีการสังคายนากันหลายครั้ง กาลเวลาที่ล่วงไป ความเห็นของพระเถระผู้ใหญ่บางท่านก็อาจจะไม่สอดคล้องตรงกัน ชนิดที่เรียกว่า ไม่เป็นเอกฉันท์ จึงเกิดเป็นการแตกแยกทางความคิด เป็นแนวทางปฏิบัติที่แยกไปเรียกว่า มหาสังฆิกะ หรือต่อมาก็คือ ฝ่ายมหายาน (ต่อไปจะกล่าวถึงข้องสังเกตในส่วนของฝ่ายเถรวาทให้ชัดแจนขึ้น)




เถรวาท

เชื่อกันว่าฝ่ายเถรวาท ปรากฏขึ้นจากการทำสังคายนาครั้งที่ ๑ หลังพระพุทธเจ้าปรินิพพาน โดยการนำของท่าน กัสสปะ อัครสาวกองค์สำคัญร่วมกับสาวกหรือหมู่สงฆ์ที่บรรลุอรหันต์ทั้งสิ้น โดยกำหนดให้พระอุบาลีเป็นผู้บอกเล่าว่า เรื่องใดเป็นศีลวัตรที่พระภิกษุในพุทธศาสนาต้องปฏิบัติหรือต้องละเว้น พระอานนท์ในฐานะอุปฐากพระพุทธเจ้า ผู้มีความจำอันยอดเยี่ยมเป็นผู้บอกว่าพระพุทธเจ้านั้นเทศนาเรื่องใด สั่งสอนใคร เมื่อไร ให้หมู่สงฆ์ฟัง และเมื่อหมู่สงฆ์ได้ฟังแล้วเห็นว่าตรงกับที่คนได้ยินได้ฟังมา หรือได้สั่งสอนมาก็จะสวดขึ้นพร้อมกัน และกำหนดเป็นหมวดหมู่ไว้โดยละเอียดเพื่อให้ภิกษุในสมัยนั้นเป็นผู้สวดกันต่อมา

ดังนั้นในการทำสังคายนาครั้งแรก จึงเป็นการสังคายนาที่รวบรวมคำสอนของพระพุทธเจ้าที่น่าจะตรงกับคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า นั่นหมายถึงการเป็นเถรวาทบริสุทธิ์

หลักการสำคัญก็คือ สาระแห่งธรรมที่มีจุดมุ่งหมายว่า "ธรรมที่พระพุทธเจ้ามาสอนภิกษุทั้งหลายนั้น สอนเฉพาะเรื่องที่ความรู้ที่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับทุกข์ เพื่อนิพพาน"

หมายความว่าสิ่งที่หมู่สงฆ์ (เป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น) ประชุมกันแล้วตกลงกันได้ในข้อใด ข้อนั้นเป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนเฉพาะเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับทุกข์ เพื่อนิพพาน เท่านั้น

แต่การทำสังคายนาครั้งต่อมา ได้มีการอธิบายความหมายของเนื้อหาในเรื่องของการเบื่อหน่าย คลายกำหนัด เพื่อดับทุกข์ เพื่อนิพพาน ที่บางครั้งเรียกกันว่าอรรถกถานั้น ผู้อธิบายได้บรรจุการเปรียบเทียบความเห็นส่วนตนเพื่อขยายความข้างต้น และยิ่งพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทแพร่ขยายกันออกไปในพื้นที่ต่างๆ มากขึ้น ก็ย่อมมีการอธิบายความหมายข้างต้นที่ปะปนกับแนวความคิดความเข้าใจของผู้อธิบายหรือปะปนสอดคล้องให้เข้ากันได้กับวัตรปฏิบัติของสังคม ณ ที่นั่น

เถรวาทที่มาถึงประเทศไทยจึงปนพราหมณ์ เชนนะ ผีฟ้า ผีหลวง และอื่นๆ ตามมา

การแตกแนวปรัชญา หรือความคิดของพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทออกเป็น ๒ แนวทาง คือ นิกายฝ่ายมหิสาสกวาทะ กับ ฝ่ายวัชชปุตตกวาทะ นั้น ท่านเสถียร โพธินันทะ บรรยายว่า ฝ่ายมหิสาสกวาทะ ภายหลังแตกออกไปอีกเป็น ๒ พวก หรือ ๒ ฝ่าย มีชื่อเรียกว่า สัมพัตถิกวาทะ กับ ธรรมคุตตวาท

นิกายสัมพัตถิกวาทะ มีอีกชื่อหนึ่งว่า นิกายไวภาษิกะ เนื่องจากได้มีการทำสังคายนาเรียบเรียงคัมภีร์นี้ขึ้นเรียกว่า คัมภีร์มหาวิภาษหลักธรรมของนิกายนี้ใกล้เคียงกับหลักธรรมของนิกายเถรวาทต่างกันก็คือ เรื่องขันธ์ ๕ (รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์) นี้มีอยู่อย่างแท้จริงแต่ฝ่ายเถรวาทกล่าวว่าไม่มี

ความเชื่อสำคัญของสัมพัตถิกวาทะคือ
๑.พระอรหันต์อาจเสื่อมจากอรหันตภูมิได้
๒.สิ่งทั้งหลายมีอยู่และเป็นอยู่ในลักษณะสืบต่อกัน
๓.ความที่จิตสืบเนื่องกันเป็นสมาธิได้
๔.หลักธรรมของนิกายนี้มี ๗๕ ประการ เรียกว่า รูปธรรม ๑๑ จิตตธรรม จิตสัมปยุตตธรรม ๔๖ จิตตวิปปยุติธรรม ๑๔ อสังขตะ ๓ รวม ๗๕

ส่วนหลักธรรมหรืออภิธรรมของฝ่ายเถรวาทนั้น แยกเป็น ๗ คัมภีร์ คือ ๑.ธัมมสังคณี ๒.วิภังค์ ๓.ธาตุกถา ๔.ปุคคลบัญญัติ ๕.กถาวัตถุ ๖.ยมก ๗.ปัฏฐาน

นิกายธรรมคุตตวาทะ หรือธรรมคุปตะ เป็นนิกายที่แยกจากมหิสาสกวาทะ พร้อมกับอีกนิกายหนึ่งเรียกว่า สรวาสติวาทิน

นิกายนี้มีวาทะที่ว่า การถวายทานแด่พระพุทธเจ้ามีผลมากกว่าการถวายทานแด่ภิกษุสงฆ์ทั่วไป รวมทั้งการบูชาพระพุทธรูปและพระสถูปพระพุทธเจ้ามีอานิสงส์มากกว่าการถวายทานแก่สงฆ์ (ดูเหมือนความเชื่อลักษณะนี้จะมีอิทธิพลอยู่ในประชาชนชาวไทยที่นับถือพุทธศาสนาอยู่ค่อนข้างสูง)

ความแตกต่างจากมหิสาสกวาทะก็คือ ธรรมคุตตวาทะเชื่อว่า พระอรหันต์เป็นผู้หลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง จะมิเสื่อมหรือตกต่ำอีก

พระธรรมวินัยของธรรมคุตตวาทะนี้แบ่งเป็น ๕ หมวด คือ สุตปิฎก วินัยปิฎก อภิธรรมปิฎก

ทั้งสามปิฎกนี้คล้ายกับพระไตรปิฎกของฝ่ายเถรวาท แต่ธรรมคุตตวาทะได้เพิ่มปิฎกขึ้นอีก ๒ หมวด คือ ธรณี และโพธิสัตว์ปิฎก ซึ่งมีคติคล้ายกับความเชื่อฝ่ายมหายานบางกลุ่ม

รวมทั้งความเชื่อสำคัญอีกประการก็คือ พระธรรมสำคัญกว่าพระวินัย การจะหลุดพ้นได้ก็เพราะอาศัยพระธรรมไม่ใช่พระวินัย




นิกายเถรวาท : กรรม

จากการที่นิกายสรวาสติวาทิน ที่แยกตัวจากนิกาย ธรรมคุตตวาทแล้ว นิกายสรวาสติวาทินยังประกอบด้วยนิกาย กัสสปถวาท ซึ่งมีความเชื่อที่แตกต่างจากฝ่ายเถรวาทโดยตรงก็คือ ความเชื่อว่าผลกรรมที่ทำไว้ในอดีตแล้วก็หยุดอยู่แค่นั้นไม่ตามมาให้ผลในปัจจุบันและอนาคตอีกแต่ที่ยังไม่ให้ผลก็ยังคงอยู่เป็นปกติ

ส่วนความเชื่อของฝ่ายเถรวาท (ในประเทศไทย) มีความเชื่อหรือความเห็นในเรื่องของกรรม ในเรื่องของกรรมในความเชื่อทางฝ่ายเถรวาทนั้นได้กำหนดหลักเกณฑ์ในเรื่องของกรรม เป็นดังนี้ก็คือ

กรรมเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา มี ๒ ประการ คือ กรรมที่เป็นกุศลกรรมหรืออกุศลกรรม

กรรมที่จำแนกตามเวลาการให้ผลของกรรม ๔ อย่าง ได้แก่ กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน คือในภพนี้, กรรมที่ให้ผลในภพที่จะไปเกิด คือในภพหน้า, หมายถึงกรรมที่ให้ผลในภพต่อๆ ไป และกรรมที่เลิกให้ผลแล้ว ไม่มีผลอีก

กรรมที่จำแนกหน้าที่ของกรรม ๔ อย่าง ได้แก่ กรรมแต่งให้เกิด กรรมที่สนับสนุนต่อจากการเกิด กรรมที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง กรรมที่ตัดรอนการเกิดและการสนับสนุน (หมายถึงความตาย)

กรรมที่จำแนกลำดับการให้ผลกรรม ๔ อย่าง ได้แก่ กรรมหนักที่ให้ผลก่อน กรรมที่ทำจนเคยชิน กรรมที่ทำเมื่อใกล้ตายจะส่งผลต่อ และกรรมที่ทำโดยไม่ตั้งใจมีผลย้อนหลังต่อเมื่อไม่มีกรรมอื่นให้ผล

กฎแห่งกรรมหรือผลจากการกระทำกรรมมีกฎดังนี้

ผู้ใดก่อกรรมผู้นั้นจะเป็นผู้ได้รับผลกรรมที่เป็นผลในปัจจุบันมาจากอดีตหรือกรรมที่กระทำในปัจจุบันส่งผลในอนาคต

กรรมดีกรรมชั่วไม่ลบล้างกัน แต่กรรมดีผ่อนผันผลกรรมแห่งการทำชั่วได้

พุทธสุภาษิตในเรื่องกรรมมีอยู่ดังนี้ : สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้

เรื่องของความเชื่อในเรื่องของกรรมในประเทศไทยค่อนข้างจะมีความแตกต่างกันมาก แต่ผู้ที่แสดงความเห็นในเรื่องนี้ที่น่าสนใจและศึกษาที่สุดก็คือ ความเห็นในเรื่องกรรม ผลของกรรม ของท่านประยุทธ์ ปยุตโต




นิกายเถรวาท : ความจริงอันเป็นที่สุด
นิกายเถรวาทที่แตกปรัชญาและความเชื่อมาโดยลำดับ ขอย้อนกลับเพื่อจะได้ย้ำความแตกต่างทางความคิดมาเป็นลำดับตั้งแต่แตกเป็น ๒ แนวคิด หลังจากสังคายนาครั้งที่ ๒ คือ หลังพระพุทธเจ้านิพพานแล้วประมาณ ๑๐๐ ปี แตกเป็นเถรวาท (สถวีรวาท) และอาจาริยวาท (มหาสังฆิกะ)

ฝ่ายเถรวาทแตกออกเป็น ๑๑ นิกาย เริ่มแต่
เถรวาทหรือสถวีรวาท ได้เกิดการแตกแยกกันเป็น ๒ ฝ่าย คือ มหิสาสกวาท และวัชชีปุตตกวาท

ต่อมา มหิสาสกวาท แตกออกเป็น ๒ ฝ่าย คือ สัพพัตถิกวาท กับ ธรรมคุตตวาท

วัชชีปุตตกวาท แตกออกเป็น ๔ ฝ่าย คือ ธรรมมุตตริกวาท ภัทรยานิกวาท ฉันนาคาริกวาท และ สมิตียวาท

ฝ่ายสัพพัตถิกวาท แตกเป็น กัสสปิกวาท และกัสสปิกวาท ได้แตกเป็น สังกันติกวาท จากสังกันติกวาท แตกเป็นสุตตวาท

สัปดาห์ที่แล้วได้เขียนถึงความแตกต่างความเชื่อในเรื่องกรรมของกัสสปกวาทกับฝ่ายเถรวาท (เดิม) สัปดาห์นี้จะกล่าวถึงเนื้อหาของสังกันติกวาทหรืออีกชื่อว่า นิกายเสาตรานติกะ หรือสุตตวาที

ท่านเสถียร โพธินันทะ ยืนยันว่า นิกายเสาตรานติกะ นี้ แยกมาจาก สรวาสติวาทะ ปรัชญาหรือแนวความคิดในเสาตรานติกะ คือ มีบุคคลปรมัตถ์ หรือปรมัตถอัตตา แปลว่า มีบุคคลอันเป็นความจริงอันเป็นที่สุด หรือมีตัวตนอันเป็นความจริงอันเป็นที่สุด

หมายถึงความเชื่อว่า ในความจริงอันเป็นที่สุดนั้น ยังมีตัวตนที่เรียกว่า วิญญาณขันธ์อยู่และการไปเกิดใหม่ได้นั้น วิญญาณขันธ์นั้นไปเกิดใหม่ (น่าจะเป็นเหมือนความเข้าใจของพุทธศาสนิกชนไทยเป็นส่วนใหญ่ที่พูดถึงวิญญาณไปเกิดใหม่)

สิ่งนี้จะแตกต่างจากความเชื่อของเถรวาทเดิมที่กล่าวถึงขันธ์ ๕ ที่หมายถึงองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต ที่ไม่มีตัวตนได้แก่
๑.รูปขันธ์ หมายความว่า ส่วนที่เป็นรูป
๒.เวทนาขันธ์ หมายความว่า ส่วนที่รับรู้ ความรู้สึก สุข ทุกข์
๓.สัญญาขันธ์ หมายความว่า ส่วนที่กำหนดความหมายรู้ในอารมณ์
๔.สังขารขันธ์ หมายความว่า สภาพที่ปรุงแต่งจิตใจให้เป็นกุศล อกุศล และเป็นกลางๆ
๕.วิญญาณขันธ์ หมายความว่า ความรู้ของทางอายตนะหรือปาก ตา หู ได้แก่ การเห็น การได้ยิน

นอกจากนี้ความเชื่อในนิกายนี้มีแนวคิดเช่นเดียวกับความคิดเห็นของฝ่ายมหายานอื่นโดยเฉพาะความเชื่อที่ว่า พุทธภาวะ (ภาวะแห่งความเป็นพระพุทธเจ้า) นั้นมีอยู่และเป็นอยู่ในสภาวะ รวมทั้งความเชื่อที่สำคัญยิ่งก็คือ "อสังขตธรรมไม่มีสภาวะอยู่แม้โดยปรมัตถ์"

แปลความก็คือ สิ่งที่ไม่ถูกปรุงแต่งคือนิพพาน ไม่มีฐานะหรือสถานะ สภาพ หรือสภาวการณ์ อยู่ในความจริงอันเป็นที่สุด


นิกายเถรวาท : การปฏิรูป
พุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทในประเทศ ไทย เรียกตนเองว่า มหานิกาย ซึ่งแยกเป็น ๒ สำนักใหญ่ เรียกว่า ฝ่ายอรัญวาสี กับ คามวาสี

หลังการเสียกรุงครั้งที่ ๒ สมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์จักรี จัดให้มีการสังคายนาพุทธศาสนาในประเทศไทย ก็คือ ที่เรียกกันว่า ฝ่ายมหานิกาย

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการสถาปนาธรรมยุติกนิกายขึ้นโดย วชิรญาโณ หรือวชิรญาณภิกขุ หรือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔

มหานิกายกับธรรมยุติกนิกายต่างก็อยู่ในเถรวาทด้วยกัน แต่แตกต่างกันในข้อวัตรปฏิบัติเล็กน้อยบางประการ เช่น การครองผ้าหรือสีของไตร สบง จีวร การถือเคร่งครัดในการออกเสียงภาษาบาลี เหตุซึ่งไม่น่าจะถือเป็นเรื่องของการแตกแยกทางความคิด ศรัทธาในพุทธศาสนาแต่อย่างใด

แต่ปัจจุบัน ในศตวรรษนี้เรื่องที่ดูเหมือนความแตกต่างทางความคิด ศรัทธาทางพระพุทธศาสนาก็คือ วัตรปฏิบัติของ พระภิกษุสงฆ์ ทั้งในฝ่ายมหานิกายและธรรมยุติกนิกาย ทำให้เกิดสำนักคิดทางศาสนาขึ้นหลายสำนัก พอจะแยกเป็นแนวทางได้ เช่น สำนักที่เคร่งการศึกษาปริยัติและปฏิบัติทางอภิธรรม ได้แก่ สำนักวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์

สำนักหรือวัดป่าที่เคร่งครัดในธุดงควัตรและการปฏิบัติวิปัสสนาธุระ ที่ท่านอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นผู้นำ

สำนักธรรมกายมุ่งเน้นการทำบุญ การสร้างกุศล และการทำสมาธิ ที่จะเข้าถึงการบรรลุเห็นความเป็นพุทธในสุขาวดี

สำนักฤๅษีลิงดำ ที่มุ่งต่อการสร้างมโนมยิทธิที่จะได้ไปเฝ้าและได้ฟังธรรมจากพระอมิตาภพุทธ

สำนักสันติอโศกที่นับเอาวินัยปิฎกเป็นแนวประพฤติปฏิบัติที่เคร่งครัด รวมทั้งการตีความถ้อยคำในพุทธพจน์ให้เป็นที่เข้าใจง่ายขึ้น

หรือแนวความคิดฝ่ายมหายานที่แฝงอยู่ในเถรวาท โดยเฉพาะการบำเพ็ญตนมุ่งไปสู่ความเป็นพระโพธิสัตว์ที่ปรารถนาจะช่วยปุถุชนให้พ้นทุกข์กาย ทุกข์ใจ เช่น หลวงพ่อคูณ ซึ่งเพิ่งจะละสังขาร

ความแตกต่างแนวคิด แนวปฏิบัติและศรัทธาทางพุทธศาสนานี้ เป็นความเชื่อ เป็นสิทธิของแต่ละบุคคล แต่ละสังคม และสภาพแวดล้อมที่จะต้องยอมรับและไม่อาจเปลี่ยนแปลงหรือบังคับบัญชาได้

การจะปฏิรูปพุทธศาสนาจึงไม่เห็นหนทางที่จะเกิดขึ้นได้จากศรัทธาหรือความคิดที่ได้จากแนวคิดข้างต้น

ข้อสังเกตสำคัญจากอดีตก็ดี ทุกครั้งที่มีการสังคายนาหรือการปฏิรูปพระพุทธศาสนา ทุกครั้งก็จะมีการแตกแนวความคิดและวัตรปฏิบัติทางศาสนาทุกครั้งไป

สาระสำคัญของความเชื่อทางพุทธศาสนาก็คือ เมื่อสังขารทั้งปวงย่อมไม่เที่ยงเพราะไม่มีตัวตน จึงเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ แล้วจะปฏิรูปให้เที่ยงแท้กันได้ในวิถีทางอย่างใดเล่า





นิกายโยคาจาร
นิกายโยคาจารเป็นแนวคิดทางพุทธศาสนาในฝ่ายมหายาน เช่นเดียวกับ นิกายมัธยามิกะตามแนวคิดของฝ่ายนาคารชุนที่เป็นแนวคิดฝ่ายปรัชญาของฝ่ายมหายาน ในที่นี้ อาจารย์สุมาลี มหณรงค์ชัย อธิบายว่า โยคะคือวิธีการฝึกจิตเพื่อเป้าหมายคือบรรลุโมกษะ (ความหลุดพ้น) รู้แจ้งความจริงและถอนความเชื่อทั้งปวงเกี่ยวกับโลกภายนอกได้

ในแนวคิดของนิกายโยคาจารนั้น อาจารย์สมภาร พรมทา สรุปว่าแนวคิดในลังกา วตารสูตรที่แต่งขึ้นก่อนท่านอสังคะและ ท่านวสุพันธ์จะสถาปนานิกายโยคาจาร ในข้อความบางตอนของลังกาวตารสูตรนี้ได้บรรยายไว้ว่า ธรรมชาติของสิ่งทั้งปวง สรรพสิ่งที่มีอยู่ในอาณาเขตข้องจิต ข้อที่คนเขลามิอาจหยั่งเห็นได้เลย คนเหล่านี้คิดฝันไปต่างๆ นานา จึงสับสนไม่รู้ถึงซึ่งสัจธรรม ดังกล่าวนี้

และอีกบทหนึ่งที่กล่าวว่า "พระพุทธเจ้าได้เปล่งคาถาว่าโลกตามที่เรามองเห็นนี้มิได้มีอยู่จริง ความหลากหลายของสิ่งต่างๆ ที่เรามองเห็นเกิดจากจิต ร่างกายของเรา ทรัพย์สินของเรา และบ้านเรือนของเราเป็นเพียงภาพสะท้อนที่มาจากอาลยวิชญาณเท่านั้น" (ในความหมายของโยคาจาร อาลยวิชญาณ หรืออาลยวิญญาณหมายถึงจิต ในทางเถรวาทจิตเป็นนามธรรม ไม่มีรูป ไม่มีขนาด เกิดและดับ อยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นมีบางท่านแปลความว่าจิตมีความรวดเร็วมาก คงไม่ถูกต้องนัก เพราะสิ่งที่จะรวดเร็วไม่ว่าจะเท่าใดมีสถานะเป็นรูป จิตเป็นนาม ความเร็วของจิตก็คือ ความหมายของการเกิด ดับ ของตัวจิตเองที่เกิดดับอยู่ตลอดเวลา)

ความแตกต่างของนิกายมัธยามิกะกับนิกายโยคาจารก็คือ นิกายมัธยามิกะเน้นเรื่องศูนยตา คือความที่ไม่มีแก่นสารของชีวิตที่แท้จริง มีแต่การปรุงแต่ง

นิกายโยคาจารนั้นเน้นไปทางปรัชญาที่ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนแต่เป็นจิตและออกจากจิตทั้งสิ้น อาลยวิชญาณหรืออาลยวิญญาณเป็นมูลการณะของโลกและสรรพสิ่ง อาลยวิชญาณหรืออาลยวิญญาณเป็นมูลฐานแห่งสรรพสิ่ง

ถ้าไร้อาลยวิชญาณหรืออาลยวิญญาณนี้แล้ว สรรพสิ่งก็ไม่มี ทั้งนี้เนื่องด้วยสรรพสิ่งเป็นเงาสะท้อนออกหรือพฤติภาพของ อาลยวิชญาณหรืออาลยวิญญาณ (อาลยวิชญาณ หรืออาลยวิญญาณเป็นชื่อของจิต ตามความเข้าใจของผู้เขียน อาลยวิชญาณหรืออาลยวิญญาณก็มิใช่อัตตาหรือแก่นสารของชีวิต)



โดย ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์
หนังสือพิมพ์ข่าวสด
3465  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / พันธุ์นกที่พบใน 'บึงบอระเพ็ด' จ.นครสวรรค์ เมื่อ: 17 มิถุนายน 2558 13:49:33
.

พันธุ์นกที่พบได้ในบริเวณ
บึงบอระเพ็ด
จังหวัดนครสวรรค์  



เป็ดแดง
Lesser Whistling-Duck
มีขนาด ๔๐-๔๓ เซนติเมตร พบเป็นฝูงใหญ่ ส่งเสียงร้องคล้ายนกหวีด
ในบึงบอระเพ็ดพบบินขึ้นจากบึงน้ำที่มีพงหญ้า เป็นนกที่ออกหากิน
ตอนกลางคืน หากินพืชน้ำ เมล็ดข้าวเปลือกในนา และสัตว์น้ำขนาดเล็ก
เป็นอาหาร กลางวันจะหลับพักในบึงน้ำ  เป็นนกอีกชนิดที่วางไข่ในโพรงไม้
แต่ส่วนใหญ่พบวางไข่ตามกอหญ้าใกล้ๆ แหล่งน้ำ




เป็ดคับแค
Cotton Pygmy-Goose
มีขนาด ๓๒-๓๓ เซนติเมตร พบบ่อยในเขตน้ำตื้นของบึงบอระเพ็ด ที่มีพืชน้ำ
ขึ้นหนาแน่น  เป็ดคับแคเหมือนห่านตัวจิ๋ว มีรูปร่างน่ารัก ตัวขนาดไก่แจ้ขนาดเล็ก
มีสีขาวดูนุ่มนวลราวกับสำลี คาดสร้อยคอเล็กๆ สีดำ ปีกและหลังมีสีดำเหลือบเขียว
มักพบเป็นคู่ ลอยหากินบนผิวน้ำ กินสาหร่าย พืชน้ำ และสัตว์น้ำเล็กๆ
เป็ดคับแคไม่ได้ทำรังในน้ำ แต่ทำรังตามโพรงไม้ชายน้ำ หรือรอยแตกของอาคารร้าง




นกกระเต็นหัวดำ
Black-capped Kingfisher
มีขนาด ๓๐ เซนติเมตร  เป็นนกในวงศ์นกกินปลา ที่อพยพเข้ามาในฤดูหนาว
นกในวงศ์นี้มีจุดเด่นอยู่ที่จะงอยปากแข็งแรง แหลมตรงยาว ๑ ใน ๓ ของลำตัว
และสีสันสดใส ปากสีแดงสด หัวดำ หลังสีน้ำเงินสด ท้องสีขาว หรือส่งเสียง
ร้องรัวถี่ๆ แหบๆ ตอนบิน นกกระเต็นหัวดำชอบเกาะนิ่งตามกิ่งไม้ริมน้ำ
รอจังหวะโฉบลงไปจิกปลาในน้ำตื้นได้อย่างแม่นยำ เป็นนกนักล่าปลา
ที่ประสบความสำเร็จ จนได้รับฉายาว่า เจ้าแห่งนกจับปลา




นกกระเต็นน้อยธรรมดา
Common Kingfisher
มีขนาด ๑๗ เซนติเมตร  เป็นนกกินปลาที่อพยพเข้ามาในฤดูหนาวเช่นกัน
มีขนาดย่อมกว่านกกระเต็นหัวดำเกือบครึ่งหนึ่ง แต่มีความสามารถในการล่าปลา
ไม่แพ้กัน ด้วยจะงอยปากแหลมตง สีสันที่เป็นเอกลักษณ์ ลำตัวเป็นสีฟ้าวาววับ
ท้องเป็นสีน้ำตาลไหม้    
ตามตำนานน้ำท่วมโลก และเรือโนอาห์เล่าว่า นกกระเต็นเป็นสัญลักษณ์ของความโชคดี
และความมีเสน่ห์ สีสันที่สวยงามนั้นเป็นเพราะนกกระเต็น เป็นนกตัวแรกที่บิน
ออกจากเรือโนอาห์หลังน้ำท่วมโลก ขนสีฟ้าได้มาจากแสงสะท้อนจากท้องฟ้า
ท้องสีน้ำตาล ได้มาจากแสงอาทิตย์ยามอัสดง




นกอีโก้ง
มีขนาด ๓๙-๔๒ เซนติเมตร นกสีม่วงเหลือบเขียว
ร้องเสียงแหบๆ มีจะงอยสีแดงสดตัดกับลำตัว สั้น หนา แข็งแรง ชอบเดิน
หากินไปบนกอพืชน้ำ จอกแหน ที่ขึ้นหนาแน่นในบึงน้ำตื้นที่อุดมสมบูรณ์
หากอยู่นิ่งๆ นกจะเข้ามาใกล้ ลักษณะปากของนกอีโก้งแสดงให้เห็นว่า
สามารถกินอาหารได้หลากหลาย ตั้งแต่แมลง สัตว์น้ำเปลือกแข็ง
ไปจนถึงพืชน้ำ บางพื้นที่พบว่าเป็นปัญหากับชาวนาเพราะชอบกัดกินต้นข้าว


พันธุ์นกที่พบได้ในบริเวณ
บึงบอระเพ็ด
จังหวัดนครสวรรค์  



นกอีแจว
Pheasant-tailed Jacana
มีขนาด ๒๙-๓๑.๕ เซนติเมตร  นกอีแจวต่างไปจากนกชนิดอื่น
คือตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ และในฤดูผสมพันธุ์จะมีสีสันสดใสกว่า
รวมถึงขนหางจะยาวมากกว่าด้วย อีกทั้งพฤติกรรมที่นกตัวเมียจะผสมพันธุ์
กับตัวผู้หลายตัว เมื่อวางไข่ก็จะ “แจว” ไป โดยทิ้งให้ตัวผู้เป็นฝ่ายดูแลไข่
และตัวอ่อน และไปผสมพันธุ์กับตัวผู้อื่นอีก พฤติกรรมดังกล่าวเป็นความ
พยายามสร้างโอกาสในการขยายพันธุ์ของนกในบึงน้ำที่มีการแข่งขันกันสูง
เพราะแม้จะพบนกอีแจวได้ตามที่ลุ่มต่ำทั่วไป แต่พื้นที่สร้างรังกลับพบเพียง
พื้นที่ชุ่มน้ำในแถบที่ราบภาคกลางเท่านั้น



นกกวัก
White-breasted Waterhen
มีขนาด ๓๓ เซนติเมตร เป็นนกที่พบเห็นได้บ่อยมีลักษณะเด่นที่จดจำได้ง่าย
คือ ขนสีขาวจากหน้า พาดผ่านอกลงมาถึงท้อง ตัดกับหลังและปีกสีเข้ม
หางและใต้ท้องสีน้ำตาลแดง ปากแหลมแข็งแรงสีเหลืองอมเขียว
ส่งเสียงร้อง กวัก-กวัก-กวัก-กวัก จนเป็นที่มาของชื่อ ชอบเดินหากินอยู่ตาม
พงหญ้า กอกก และกอพืชน้ำ กินสัตว์น้ำขนาดเล็ก แมลง ไส้เดือน
เป็นนกที่บินไม่เก่ง เมื่อตกใจจะโผไปได้ระยะทางสั้นๆ แล้ววิ่งหลบหายไปในพงรก
แต่บางครั้งก็เดินหากินเพลิน จนสามารถยืนดูได้เป็นเวลานาน



นกตีนเทียน
มีขนาด ๓๘ เซนติเมตร  พบเห็นได้ง่ายตามที่ลุ่มต่ำ ที่ลุ่มน้ำขัง
มักอยู่รวมกันเป็นฝูง ตั้งแต่ ๕-๑๐ ตัว ขนาดขาที่ยาวเก้งก้าง สีแดง ทำให้
จดจำได้ง่าย นกตีนเทียนเป็นนกเดินท่องน้ำที่มีสัดส่วนขาเทียบกับขนาดลำตัว
ยาวที่สุดในโลก จะงอยปากยาวตรง สีดำ ปลายงุ้มเล็กน้อย คีบจับสัตว์น้ำ
แมลงเล็กๆ ในเขตน้ำท่วมขังกินเป็นอาหาร โดยท่องน้ำได้ลึกกว่านกหลายชนิด
จึงเพิ่มโอกาสในการหาอาหาร นกตีนเทียน สร้างรังบนพื้น ปูพรางด้วยเศษหญ้า
และจัดเป็นนกนักแสดง เพราะเมื่อมีผู้บุกรุกเข้ามาใกล้รัง พ่อแม่นกจะบิน
วนเวียน และลงเกาะให้เห็น ทำทีเหมือนนกปีกหักบาดเจ็บ และล่อไปอีกทางหนึ่ง
เพื่อดึงความสนใจของผู้รุกรานให้พ้นรัง



เหยี่ยวออสเปร
Osprey
มีขนาด ๕๕-๖๑ เซนติเมตร  เป็นเหยี่ยวหายากที่อพยพเข้ามาในฤดูหนาว สามารถ
พบเห็นได้อย่างสม่ำเสมอที่บึงบอระเพ็ด มักพบโบกปีกช้า บินร่อนเพื่อมองหาปลา
จากกลางอากาศ ดูด้านข้างใบหน้าเหมือนโจรสลัด มีแถบสีน้ำตาลคาดผ่านดวงตา
และมีหงอนเล็กๆ ที่ท้ายทอย เหยี่ยวออสเปร กินปลาเป็นอาหารหลัก จึงพัฒนากรงเล็บ
ที่มีลักษณะพิเศษ คือ กรงเล็บหลังที่แหลมคม และปรับทิศทางได้ ตลอดจนเกล็ดสากๆ
ใต้อุ้งตีนเพื่อเพิ่มความฝืด เมื่อโฉบจับปลาในน้ำไม่ให้ลื่นหลุด จากนั้นจึงนำไปจิกกิน
ตามกิ่งไม้ใกล้น้ำ เคยมีรายงานในอังกฤษว่า มีผู้พบซากเหยี่ยวออสเปร จมน้ำติดกับปลา
ตัวใหญ่มาก เนื่องจากอุ้งเท้าพิเศษที่จับปลาจนแน่น ปล่อยไม่ได้  ปลาใหญ่เกินกำลัง
จึงดึงมันจมลงไปในน้ำด้วย



นกยางกรอกพันธุ์จีน
มีขนาด ๔๖ เซนติเมตร เป็นนกยางที่พบได้บ่อยๆ ชื่อยางกรอกมาจาก
ลักษณะที่เล็กกว่านกยางชนิดอื่น คอสั้น ในฤดูหนาวขนที่หลังและปีกจะเป็นสีน้ำตาล
หัวถึงอกจะเป็นลายประขาวน้ำตาล ในฤดูผสมพันธุ์ ตั้งแต่เดือนเมษายน จนถึงสิ้นสุดหน้าฝน
จะมีสีเข้มขึ้นหลังเป็นสีออกน้ำเงินดำ หัวสีแดงคล้ำ ท้องขาว เป็นนกยางที่พบได้ตามท้องทุ่ง
ที่โล่งใกล้น้ำทุกแห่ง แม้แต่หนองน้ำใกล้เมือง ชอบยืนนิ่งๆ รอจังหวะจิกปลา สัตว์น้ำขนาดเล็ก
และแมลง กินเป็นอาหาร


 
นกกระสานวล
Grey Heron
มีขนาด ๙๐-๑๐๐ เซนติเมตร  เป็นนกน้ำในตระกูล   Ardeidae[/b]
มีถิ่นกำเนิดในเขตอบอุ่นในยุโรป เอเชีย และบางพื้นที่ในแอฟริกา
ในฤดูหนาวมักอพยพจากพื้นที่ที่หนาวเย็นไปยังพื้นที่ที่มีอากาศอบอุ่นกว่า
นกกระสานวลเป็นนกที่มีขนาดใหญ่ ช่วงปีกสองข้างกว้าง ๑๗๕-๑๙๕
สูง ๙๐-๑๐๐ เซนติเมตร และหนัก ๑-๒ กิโลกรัม ขนด้านบนเป็นสีเทา
แต่ด้านล่างเป็นสีขาว ในตัวเต็มวัยจะมีขนที่ส่วนหัวเป็นสีขาวจะมีแถบขนสีดำรอบหัว
จะงอยปากสีชมพูอมเหลือง ซึ่งจะมีสีสว่างขึ้นเวลาผสมพันธุ์



นกยางควาย
Cattle Egret
มีขนาด ๔๘-๕๓ เซนติเมตร นกยางในกลุ่มนกยางขาว ที่มีขนาดย่อมกว่าชนิดอื่น
ลำตัวป้อม คอสั้น ขาค่อนข้างสั้น พบอาศัยเกาะพักนอนและสร้างรังเป็นกลุ่มใหญ่
ในที่ราบลุ่มภาคกลาง ชอบเดินตามหลังชาวนาเวลาไถนา เดินตามฝูงควาย
หรืออยู่ใกล้ๆ ปลักควาย คอยจิกกบเขียด แมลงเล็กๆ ที่กระโดดออกมา
ชาวบ้านจึงเรียกว่า “นกยางควาย” ในฤดูผสมพันธุ์ ส่วนหัวและหลังเปลี่ยนเป็นสีส้ม



นกยางเปีย
Little Egret
มีขนาด ๕๕-๖๕ เซนติเมตร ปากสีดำ หนังหน้าเทาหรือเขียวแกมเหลือง ขาดำ
ตีนเหลือง ช่วงฤดูผสมพันธุ์ จะมีหนังหน้าสีชมพูแกมแดง ท้ายทอยมีขนเปียยาว ๒ เส้น
หน้าอกและหลังมีขนเจ้าชู้ยาวเด่นชัด ขาดำสนิท ตีนสีเหลืองส้ม หรือบางตัวอาจมีสีแดง
ส่วนนกวัยอ่อนมีขาสีเทาเข้ม โคนปากและหน้าสีเทา อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม
ทำรังในบริเวณเดียวกันกับนกชนิดอื่น เช่น นกยางชนิดอื่นๆ และนกกาน้ำ
[/b]


นกกาน้ำเล็ก
Little Cormorant
มีขนาด ๕๑-๕๔.๕ เซนติเมตร  ว่ายน้ำดำน้ำได้อย่างคล่องแคล่ว
มีจะงอยปากที่แข็งแรง ทรงพลัง ตรงปลายงุ้ม ช่วยให้จับปลาในน้ำได้โดยสะดวก
สามารถกลืนกินลงไปได้ทั้งตัว ชอบกางปีกกว้างผึ่งแดด และไซร้ขนที่ดำเป็นเงา
เพราะมีต่อมน้ำมันที่ช่วยขับความชื้น  นกกาน้ำเล็กเกาะรวมเป็นฝูงใหญ่บนต้นไม้สูง
ใกล้กับบึงน้ำ ที่บึงบอระเพ็ดพบเห็นได้ง่าย แต่แหล่งสร้างรังวางไข่ที่สำคัญ
อยู่ที่บริเวณเกาะวัด



นกอ้ายงั่ว
Oriental Darter
มีขนาด ๘๕-๙๗ เซนติเมตร  เป็นญาติที่ใกล้ชิดกับนกกาน้ำ แต่มีพฤติกรรมการล่าปลา
ที่ต่างกัน  นกอ้ายงั่วใช้ปลายปากแหลมยาวตรงคล้ายหอก พุ่งด้วยแรงส่งจากคอ
ที่ยาวเหมือนงูไปแทงตัวปลา และมีวิธีถอนปลาออกพร้อมกับกลืนกินลงไปทั้งตัว  
นกอ้ายงั่วเป็นนกประจำถิ่นที่สูญหายไปแล้วจากที่ราบภาคกลาง เพิ่งพบสร้างรัง
วางไข่บนต้นสนุ่นน้ำที่เกาะวัด ตั้งแต่ปี ๒๕๖๔๙ ปัจจุบันมีจำนวนรัง ๖๒ รัง



นกช้อนหอยดำเหลือบ
Glossy Ibis
มีขนาด ๕๕-๖๕ เซนติเมตร  จุดเด่นอยู่ที่จะงอยปากยาวโค้ง ขนสีเข้มเหลือบเขียวน้ำตาล
เป็นนกหายาก เคยมีรายงานการพบในประเทศไทยไม่กี่ครั้งในฤดูหนาว ปี ๒๕๔๙ พบนกจับคู่
ทำรังวางไข่ในบึงบอระเพ็ด ซึ่งถือว่าเป็นรายงานแรกที่พบนกช้อนหอยดำเหลือบทำรังวางไข่
ในประเทศไทย  นกช้อนหอยดำเหลือบใช้ปากโค้งในการจับปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ
ในแอ่งน้ำตื้นกิน นับเป็นนกสำคัญชนิดหนึ่งของบึงบอระเพ็ดในปัจจุบัน  



นกกาบบัว
Painted Stork
มีขนาด ๑๐๒ เซนติเมตร  นกในวงศ์นกกระสาขนาดใหญ่ที่สง่างาม และมีสีสันสดใส
โดยเฉพาะสีชมพูที่ขนคลุมหาง และหนังที่ใบหน้า ตัดกับจะงอยปากที่ค่อนข้างยาว
และปลายโค้งลงเล็กน้อย ต่างจากนกในวงศ์นกกระสาชนิดอื่น นกกาบบัวมีรายงาน
การสร้างรังที่ทะเลน้อย ส่วนที่บึงบอระเพ็ดมีรายงานการพบเห็นในฤดูหนาว
ที่นกอพยพเข้ามาหากิน โดยพบบ่อยในทุ่งนาที่มีน้ำขังตื้นๆ จะใช้จะงอยปากยาวโค้ง
ควานหาปลาที่ซ่อนอยู่ในปลักโคลนได้อย่างมีประสิทธิภาพ  



นกปากห่าง
Asian Openbill
มีขนาด ๘๑ เซนติเมตร  นกในวงศ์นกกระสา ที่มีขนาดย่อมกว่านกกระสาชนิดอื่น
พบเห็นได้ค่อนข้างมากในแถบที่ราบภาคกลาง หากินอยู่ในท้องทุ่งน้ำจืด
จุดเด่นอยู่ที่จะงอยปากที่พัฒนาให้ปลายโค้งเว้าจนเกิดเป็นช่อง ช่วยให้คาบหอยโข่ง
ได้ไม่ลื่นหลุด และนำไปจิกกินเนื้อในเป็นอาหาร นกปากห่างที่พบทั้งหมดบินอพยพ
มาจากที่ราบลุ่มดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแถบบังคลาเทศ มาสร้างรังวางไข่
ในประเทศไทย ในราวเดือนพฤศจิกายน จนถึงเมษายน และมีการแพร่กระจาย
เพิ่มมากขึ้นในระยะหลัง และมีรายงานว่ามีนกบางส่วนอาศัยอยู่ตลอดทั้งปี  



นกกระจาบทอง
Asian Golden-Weaver  
มีขนาด ๑๕ เซนติเมตร  ขนาดลำตัวและสีสันใกล้เคียงกับนกกระจอก
ในฤดูผสมพันธุ์ช่วงฤดูฝน ตัวผู้จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอร่ามจากหัวจรดอกและท้อง
ปากหนาสั้น สีดำเป็นรูปกรวย เป็นลักษณะสำคัญของนกในกลุ่มที่กินเมล็ดพืช
ข้าว เมล็ดหญ้า อาศัยอยู่ตามท้องทุ่ง กออ้อ กอกก ใกล้น้ำ มักพบรวมอยู่เป็นฝูงใหญ่
สร้างรังด้วยการถักทอหญ้าเป็นลูกบอลกลมๆ มีทางเข้าด้านข้าง
อยู่ตามกอกกธูปฤๅษี หรือพงหญ้าสูง
3466  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ตลาดสด / Re: แกลเลอรี 'ปักษี' ในดินสอดำบนกระดาน เมื่อ: 16 มิถุนายน 2558 18:37:52
.

นกชายเลนปากงอน
Pied Avocet
Recurvirustra avosetta

นกชายเลนปากงอน ลำตัวสีขาว ตัดกับสีดำยาว จากหน้าผาก ตา ท้ายทอยถึงหลังคอ
บริเวณขนคลุมไหล่ แถบข้างลำตัว และขนปลายปีก ปากสีดำแหลมเรียวยาว งอนแอ่นขึ้นด้านบน
อาศัยริมชายฝั่ง หาดเลน บ่อเลี้ยงกุ้ง ทะเลสาบ และริมแม่น้ำ เดินหากินตามบริเวณน้ำท่วมขัง
โดยใช้ปากยาวกวาดไปมาในน้ำ หรือใต้พื้นเลน

มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๗๓๗ ประจำวันที่ ๒๙ พ.ย.๕๖ - ๕ ธ.ค.๕๗


นกนิลตวาท้องสีส้ม
Vivid Niltava
Niltava vivida

นกนิลตวาท้องสีส้ม กระหม่อม ลำตัวด้านบนสีน้ำเงินและสีฟ้าเข้ม
โคนหางถึงปลายสีฟ้าจางลง มีสีดำป้ายจากโคนปากถึงแก้ม ลำตัวด้านล่าง
สีส้มเจือน้ำตาล  ตัวเมียสีน้ำตาลแกมเทา  ชอบเกาะกิ่งไม้ใหญ่ บางครั้ง
ลงมากินแมลงตามพื้นดิน  อาศัยป่าดงดิบพื้นที่สูง นกอพยพ พบไม่บ่อย
 
มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๗๔๑ ประจำวันที่๒๗ ธ.ค.๕๖ – ๒ ม.ค.๕๗


นกขมิ้นท้ายทอยดำ
Black-nape Oriole
Oriolus chinensis

นกขมิ้นท้ายทอยดำ ลำตัวสีเหลืองสด ปากแหลมสีชมพูค่อนข้างหนา มีแถบสีดำขนาดใหญ่
คาดผ่านตาไปถึงท้ายทอย ปีกตะโพกและหางด้านบนสีดำ ตัวเมียหลังสีไพล ลำตัวสีเหลืองอ่อนกว่า
เป็นที่มาของคำว่า นกขมิ้นเหลืองอ่อน หากินตามยอดไม้ใบทึบ ทั้งหนอน แมลง และผลไม้สุก
มีทั้งนกอพยพและประจำถิ่น กระจายทั่วไปทุกภาค
 
มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๗๔๔  ประจำวันที่ ๑๗-๒๓ ม.ค.๕๗


นกแอ่นฟ้าหงอน
Crested Treeswift
Hemiprocne coronata

นกแอ่นฟ้าหงอน รูปร่างผมเพรียว หน้าผากมีหงอนยาวตั้ง ปีกเรียวยาวมาก
ไขว้กันเวลาเกาะนิ่ง หางแหลมยาวคู่เป็นแฉก ลำตัวสีเทา ปากและหางสีเทาเข้ม
ท้องและก้นสีขาวอมเทา ตัวเมียหงอนสั้นกว่า อยู่กันเป็นกลุ่ม ชอบบินร่อนโฉบ
ฉวัดเฉวียนไปมา พักเกาะตามกิ่งไม้โล่งบนยอดไม้ อาศัยพื้นที่ราบจนถึงเขาสูง
 
มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๗๔๕ ประจำวันที่ ๒๔-๓๐ ม.ค.๕๗


นกกวัก
White-breasted Waterhen
Amaurornis phoenicurus

นกกวัก ลำตัวด้านบนตั้งแต่หัว หลัง ไหล่ ปีก จนถึงตะโพกและขนคลุมโคนหาง
สีดำแกมเทา ด้านล่างตั้งแต่หน้า คาง ใต้คอ หน้าอก ถึงท้อง สีขาวเหมือนสำลี ข้างท้องใต้โคนหาง
สีน้ำตาลแดง ลำตัวค่อนข้างแบน เพื่อใช้ในการเบียดแทรกในดงไม้ หรือดงหญ้าสูงรกทึบ
อาศัยพื้นที่ชุ่มน้ำ ส่งเสียงร้อง ‘กวั๊ก กวั๊ก’ ต่อเนื่องยาวนานในช่วงฤดูผสมพันธุ์
 
มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๗๔๗  ประจำวันที่ ๗-๑๓ ก.พ.๕๗


นกกระจาบทอง
Asian Golden Weaver
Ploceus hypoxanthus

นกกระจาบทอง ปกติลำตัวด้านบนสีน้ำตาลอ่อนจนเข้มตั้งแต่หัว หลัง ตะโพก ถึงโคนหาง
มีลายเป็นริ้วสีเนื้อที่หลังและปีก เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ ตัวผู้จะผลัดขนชุดเก่าทิ้งเป็นสีเหลืองสดใส
ขนคลุมหูเป็นสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ สีสันและลายริ้วก็เข้มขึ้น หากินเป็นฝูงตามทุ่งนา ทำรังตามพงหญ้าสูงริมน้ำ
 
มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๗๔๘ ประจำวันที่ ๑๔-๒๐ ก.พ.๕๗


เหยี่ยวนกเขาชิครา
Shikra
Accipiter badius

เหยี่ยวนกเขาชิครา เหยี่ยวขนาดเล็ก ปากแหลมงุ้ม หัวและลำตัวด้านบนสีเทาอมฟ้า
ด้านล่างสีขาว มีลายขวางเป็นบั้งสีน้ำตาลแดงจาง ปลายปีกสีเทาเข้ม หางคู่บนสีเทา ส่วนด้านล่าง
มีแถบสีดำ ๔ แถบ ขนคลุมโคนขาสีส้มอ่อนจาง อาศัยป่าชายทุ่ง ป่าเต็งรัง ป่าดินแล้ง อยู่เป็นคู่
แต่ออกล่าเหยื่อเดี่ยว บินได้เร็วและแรง
 
มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๗๕๐  ประจำวันที่ ๒๘ ก.พ. – ๖ มี.ค.๕๗


นกคอสั้นตีนไว
Sandering
Calidris alba

นกคอสั้นตีนไว ลำตัวด้านบนสีเทาอ่อน ด้านล่างสีขาว ปากดำ ตาดำ หัวปีกมีแถบดำ  
พอถึงฤดูผสมพันธุ์ ชุดขนเปลี่ยนไป ด้านบนเป็นสีน้ำตาล แกนปลายขนสีดำ ลำตัวด้านล่างขาว
ส่วนอกมีลายประ อาศัยชายทะเล หาดเลน นาเกลือ  เวลาหากินที่ชายหาดจะเดินหรือวิ่ง
ตลอดเวลา  จิกกินอาหารที่ค้างอยู่ตามจังหวะการขึ้นลงของน้ำทะเล
 
มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๗๕๑ ประจำวันที่ ๗-๑๓ มี.ค.๕๗


นกปีกแพรสีเขียว
Green Cochoa
Cochoa viridis

นกปีกแพรสีเขียว หัวสีฟ้า ขนลำตัวเขียวมะกอก หน้าสีน้ำเงิน ปีกดำมีแถบสีฟ้าอ่อน
หางสีฟ้าเข้มกว่าปลายสีดำ ทำให้กลมกลืนไปกับกิ่งไม้ใบครึ้มที่เกาะอยู่  นักดูนกทั้งไทยและเทศ
อยากเห็นตัวเป็นๆ มากคู่กับนกปีกแพรสีม่วง แม้จะหายาก แต่พอพบเห็นได้ที่ดอยอินทนนท์
 
มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๗๕๖ ประจำวันที่ ๑๑-๑๗ เม.ย.๕๗


นกจับแมลงป่าชายเลน
Mangrove Blue Flycatcher
Cyornis rufigastra

นกจับแมลงป่าชายเลน หัวและลำตัวด้านบนสีน้ำเงินเข้มยาวตลอดไปถึงหาง
หน้าผาก คาง และหน้าดำ ลำตัวด้านล่าง คอ อก และท้องสีส้มแกมน้ำตาลแดง  
อาศัยอยู่เฉพาะในป่าชายเลนที่มีพรรณไม้หลายชนิด โกงกาง ประสัก แสม ฝาด  
นกประจำถิ่นที่มีปริมาณน้อย หายาก พบเฉพาภาคใต้ด้านตะวันตก

มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๗๗๘ ประจำวันที่ ๑๘-๒๔ เม.ย.๕๗


นกกระเต็นหัวดำ
Black-capped Kingfisher
Halcyon pileata

นกกระเต็นหัวดำ หัวดำ ปากหนาแหลมสีแดงสด รอบคอและอกขาว ท้องสีส้มน้ำตาล
ถึงใต้โคนหาง ลำตัวด้านบนสีน้ำเงินม่วงขนคลุมไหล่สีดำ สีสันตัดกันเห็นเด่นกลางที่โล่ง
เกาะนิ่งบนกิ่งไม้แห้งตอไม้ รอคอยเหยื่อ ปลา ปู และกบ  หากถูกรบกวน จะบินเข้าในดงไม้ทึบ
และบินกลับมาเกาะที่เดิม เมื่อรู้สึกปลอดภัย
 
มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๗๕๙ ประจำวันที่ ๒-๘ พ.ค.๕๗


นกอุ้มบาตร
White Wagtail
Motacilla alba

นกอุ้มบาตร สมาชิกหนึ่งในกลุ่มนกเด้าลม จากตัวนกที่มีสีด่างขาวดำจุดเด่นอยู่ที่แผงหน้าอก
สีดำปื้นใหญ่โค้งเสี้ยว คล้ายพระอุ้มบาตร เป็นที่มาของชื่อ “นกอุ้มบาตร”  หากินตามพื้นทุ่งโล่ง
หรือบริเวณใกล้แหล่งน้ำเดินและวิ่งไล่จิกแมลงต่างๆ กระดกหางขึ้นลงเป็นจังหวะแม้เวลาเกาะนิ่ง
 
มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๗๖๐ ประจำวันที่ ๙-๑๕ พ.ค.๕๗


เหยี่ยวออสเปร
Osprey
Pandion haliaetus

เหยี่ยวออสเปร เหยี่ยวขนาดกลางค่อนข้างใหญ่ หัวสีขาว มีแถบคาดตาสีน้ำตาลเข้ม
ท้ายทอยมีหงอนสั้นๆ ส่วนล่างสีขาว อกมีลายสีน้ำตาล หากินตามลำพัง บินร่อนสลับกระพือปีก
เกาะกิ่งไม้แห้งหรือก้อนหิน จ้องหาเหยื่อ ปลา นก กบ แมลง และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก  
สามารถจับปลาขนาดใหญ่ด้วยกรงเล็บที่แหลมคม และเหินบินโดยปีกทรงพลัง

มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๗๖๒ ประจำวันที่ ๒๓-๒๙ พ.ค.๕๗


นกขุนแผนหัวดำ
Diard’s trogon
Harpactes kasumba

นกขุนแผนหัวดำ หัวดำลงมาถึงอก ท้ายทอยมีแถบสีชมพู วงรอบตาสีม่วง
ลำตัวด้านล่างสีแดงสีชมพู ใต้หางสีขาวมีลายเล็กๆ สีเทา เกาะกิ่งไม้ในแนวดิ่ง หางชี้ลงพื้น
คอยจับมด หนอน ตั๊กแตน ด้วง บางครั้งก็กินผลไม้  นกในวงศ์ขุนแผนมีปีกค่อนข้างสั้น
ระยะการบินไม่ไกลมาก อยู่ประจำถิ่น ไม่ขึ้นเหนือล่องใต้เหมือนนกชนิดอื่น
 
มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๗๖๓ ประจำวันที่ ๓๐ พ.ค. – ๕ มิ.ย.๕๗


นกกระเต็นสร้อยคอสีน้ำตาล
Rufous-collared Kingfisher
Actenoides concretus

นกกระเต็นสร้อยคอสีน้ำตาล หัวสีเขียว มีแถบสีดำคาดจากหัวตาถึงท้ายทอย
ปากสีเหลือง สันบนสีคล้ำ จากมุมปากเป็นแถบสีน้ำตาลเหลืองเหมือนสร้อยคอ แก้มสีน้ำเงินเข้ม  
เช่นเดียวกับไหล่และปีก ซึ่งในตัวเมียเป็นสีเขียวเข้มและมีจุดสีเนื้อ อกสีน้ำตาลแดง ไล่น้ำหนักอ่อน
ลงไปจนถึงโคนหางสีขาว  อาศัยป่าดิบชื้น ชอบบินเดี่ยว เกาะนิ่งตามกิ่งไม้ระดับต่ำ จับกินแมลง กิ้งก่า
จิ้งเหลน และสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก พบเฉพาะภาคใต้
 
มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๗๖๔ ประจำวันที่ ๖-๑๒ มิ.ย.๕๗


นกบั้งรอกใหญ่
Green-billed Malkoha
Rhopodytes tristis

นกบั้งรอกใหญ่ นกขนาดกลาง มีหางยาวมาก ปากสีเขียวอ่อน หนังรอบตาสีแดง
ลำตัวด้านบนสีเทาแกมเขียว ด้านล่างสีเทาอ่อน ปลายขนด้านล่างซึ่งยาวไม่เท่ากัน สีขาว ๕ แถบ
เหมือนเป็นบั้ง จากพฤติกรรมที่ชอบกระโดดตามต้นไม้คล้ายกระรอก เป็นที่มาของชื่อ ‘นกบั้งรอก’
จิกกิกหนอน แมลงต่างๆ และสัตว์เลื้อยคลานนกประจำถิ่น พบได้ทั่วทุกภาค พบครั้งแรกที่ลาว

มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๗๖๕ ประจำวันที่ ๑๓-๑๙ มิ.ย.๕๗


นกพริก
Bronze-winged Jacana
Metopidus indicus

นกพริก ปากหนาเรียวแหลมสีเหลือง มีแผ่นหนังจากโคนปากถึงหน้าผากสีม่วงเทา
หัว คอ และลำตัวสีดำเหลือบเขียว คิ้วสีขาว เหนือตาเป็นแถบกว้าง ยาวถึงท้ายทอย หลังและปีก
สีไพลออกเหลืองเป็นมัน ขาและนิ้วยาวสีเขียวอ่อน  อาศัยตามแหล่งที่มีพืชลอยน้ำ จอก แหน
ผักตบชวา จิกกินหนอน แมลง และสัตว์น้ำขนาดเล็ก วางไข่เสร็จ ตัวเมียแยกไปจับคู่ใหม่
ทิ้งให้ตัวผู้ฟักไข่ เลียนแบบนกอีแจว!

มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๗๖๖  ประจำวันที่ ๒๐-๒๖ มิ.ย.๕๗


นกเป็ดผีเล็ก
Little Grebe
Tachaybaptus ruficollis

นกเป็ดผีเล็ก นกน้ำขนาดเล็ก รูปร่างคล้ายเป็ด มีปากแหลมเล็กสีดำ หางสั้น ลำตัว
ด้านบนสีน้ำตาลเทา ด้านล่างสีอ่อนกว่า ฤดูผสมพันธุ์ หน้า คอ และลำตัว เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดง  
หากินตามแหล่งน้ำทั่วไป ว่ายน้ำเก่ง ดำน้ำลงไปจับปลา กุ้ง และสัตว์น้ำตัวเล็กกิน เวลาตกใจ
จะดำน้ำหายไปเป็นเวลานานเหมือนหายตัวได้ แอบไปโผล่ไกลจากที่เดิมที่มาของชื่อ ‘เป็ดผี’

มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๗๖๗ ประจำวันที่ ๒๗ มิ.ย. – ๓ ก.ค.๕๗


นกคิตติเวคขาดำ
Black-leged Kittiwake
Rissa tridactyla

นกคิตติเวคขาดำ หัวและลำตัวด้านล่างขาว มีแถบโค้งสีเข้มที่หูคล้ายกำลังสวมหูฟังเพลง
ลำตัวด้านบนเทา ปากเหลือง ขาสั้นดำ เป็นนกนางนวลหนึ่งในสองชนิดที่หากินในทะเลลึกแถบอาร์กติก
ต่างจากนกนางนวลทั่วไป ที่หากินตามแนวชายฝั่ง ไม่ห่างทะเล
 
มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๗๘๕ ประจำวันที่ ๓๑ ต.ค. – ๖ พ.ย.๕๗

แกลเลอรี
ดินสอดำบนกระดาน

โดย คุณกรินทร์ จิรัจฉริยกุล
(พิมพ์ในหนังสือมติชนสุดสัปดาห์)
3467  สุขใจในธรรม / เกร็ดศาสนา / Re: พระวินัย ๒๒๗ พุทธบัญญัติจากพระไตรปิฎก (ปาราชิก ๔ สิกขาบท) เมื่อ: 15 มิถุนายน 2558 15:04:42
.

สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๑๐
(พระวินัยข้อที่ ๑๔)
ภิกษุโกรธเคือง แกล้งหาเลศโจทภิกษุอื่นด้วยอาบัติปาราชิก ต้องสังฆาทิเสส

    พระเทวทัตได้กล่าวเชื้อเชิญพระโกกาลิกะ พระกฏโมรกติสสะ พระขัณฑเทวีบุตร พระสมุทททัต ว่า มาเถิดพวกเราจักกระทำสังฆเภท จักรเภท แก่พระสมณโคดม  พระโกกาลิกะกล่าวว่า อาวุโส พระสมณโคดมมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ไฉนเราจักทำสังฆเภท จักรเภท (ทำสงฆ์ให้แตก ทำลายความเป็นไปของสงฆ์) แก่พระสมณโคดม ได้เล่า?
      พระเทวทัตกล่าวว่า ก็เราจักเข้าเฝ้า ทูลขอวัตถุ ๕ ประการ คือ ภิกษุทั้งหลายควรอยู่ป่าตลอดชีวิต ภิกษุใดอาศัยบ้านอยู่ โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น...๑  ภิกษุทั้งหลายควรเที่ยวบิณฑบาตตลอดชีวิต...๑  ภิกษุทั้งหลายควรถือผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต...๑ ภิกษุทั้งหลายควรอยู่โคนไม้ตลอดชีวิต...๑  ภิกษุทั้งหลายไม่ควรฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต...๑  เรารู้ว่าพระสมณโคดมจักไม่ทรงอนุญาต  เมื่อนั้นเราจักโฆษณาให้ชุมชนเชื่อถือเรา เราก็สามารถทำสังฆเภท จักรเภท ได้
     ครั้งนั้น พระเทวทัตและบริษัทเข้าเฝ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควร ได้กราบทูลขอวัตถุ ๕ ประการแล้ว  พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามว่า อย่าเลย เทวทัต ภิกษุใดปรารถนาก็จงอยู่ป่า ภิกษุใดปรารถนาก็จงอยู่บ้าน ภิกษุใดปรารถนาก็จงเที่ยวบิณฑบาต  ภิกษุใดปรารถนาก็จงยินดีการนิมนต์ ภิกษุใดปรารถนาก็จงถือผ้าบังสุกุล  ภิกษุใดปรารถนาก็จงยินดีผ้าคหบดี  ดูก่อนเทวทัต เราอนุญาตการอยู่โคนไม้ตลอด ๘ เดือนเท่านั้น เราอนุญาตปลาและเนื้อที่บริสุทธิ์ ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ ไม่ได้เห็น ๑ ไม่ได้ยิน ๑ ไม่ได้รังเกียจ ๑
     พระเทวทัตและบริวารร่าเริงยินดีเป็นอย่างยิ่ง หลีกออกไปแล้วกล่าวโฆษณาความนั้น พวกที่ไม่มีความรู้ ไม่เลื่อมใส มีความรู้ทราม พากันกล่าวว่า พวกพระเทวทัตเป็นผู้กำจัด มีความประพฤติขัดเกลา ส่วนพระสมณโคดมเป็นผู้มีความมักมาก ดำริเพื่อความมักมาก
     ส่วนประชาชนที่มีศรัทธา เป็นบัณฑิตมีความรู้สูง พากันติเตียนว่า พระเทวทัตตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายข้อห้ามในพุทธจักรของพระผู้มีพระภาคเจ้า
     ภิกษุทั้งหลายได้ยินพากันเพ่งโทษติเตียนพระเทวทัตและบริวาร แล้วกราบทูล... ทรงประชุมสงฆ์ สอบสวนพระเทวทัตๆ รับว่า ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายข้อห้ามในพุทธจักรจริง  ทรงติเตียนเป็นอันมากแล้วมีพระบัญญัติว่า
    “อนึ่ง ภิกษุใดตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง หรือถือเอาอธิกรณ์อันเป็นเหตุแตกกันยกย่องอยู่ ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านอย่าได้ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน หรืออย่าได้ถือเอาอธิกรณ์อันเป็นเหตุแตกกันยกย่องยันอยู่ ขอท่านจงพร้อมเพรียงด้วยสงฆ์ เพราะว่าสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน มีอุเทศเดียวกัน ย่อมอยู่ผาสุก และภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ยังยกย่องยันอยู่อย่างนั้นเทียว ภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสกว่าจะครบสามจบ เพื่อให้สละกรรมนั้นเสีย หากเธอถูกสวดสมนุภาสก่อนจะครบสามจบ สละกรรมนั้นเสีย สละได้อย่างนี้นั่นเป็นการดี หากเธอไม่สละเสียเป็นสังฆาทิเสส"

อรรถาธิบาย
     สงฆ์ที่ชื่อว่า ผู้พร้อมเพรียง คือ มีสังวาสเสมอกัน (ธรรมเครื่องอยู่ร่วมกันของสงฆ์ได้แก่ การทำสังฆกรรมร่วมกันของสงฆ์ เป็นต้น ชื่อว่า สังวาส) อยู่ในสีมาเดียวกัน (เขตกำหนดพร้อมเพรียงของสงฆ์)
     - คำว่า ตะเกียกตะกายเพื่อทำลาย คือ แสวงหาพวกรวมเป็นก๊ก ด้วยหมายมั่นว่า ไฉนภิกษุเหล่านี้พึงแตกกัน พึงแยกกัน พึงเป็นพรรคกัน
     - คำว่า หรือ...อธิกรณ์อันเป็นเหตุแตกกัน ได้แก่ วัตถุเป็นเหตุกระทำการแตกกัน ๑๘ อย่าง เช่น แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม, แสดงธรรมเป็นอธรรม เป็นต้น
     - บทว่า ถือเอาคือยึดเอา, ยกย่องคือแสดง, ยันอยู่คือไม่กลับคำ
     - บทว่า ภิกษุนั้น ได้แก่ ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์
     - บทว่า อันภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ ภิกษุเหล่าอื่น อธิบายว่า ภิกษุเหล่าใดได้เห็น ภิกษุเหล่าใดได้ยิน ภิกษุเหล่านั้นพึงว่ากล่าวภิกษุผู้ทำลายสงฆ์รูปนั้นว่า ท่านอย่าได้ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง หรืออย่าได้ถือเอาอธิกรณ์อันเป็นเหตุแตกกันยกย่องยันอยู่ ขอท่านจงพร้อมเพรียงด้วยสงฆ์ เพราะว่าสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน มีอุเทศเดียวกัน ย่อมอยู่ผาสุก พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่สอง พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่สาม หากเธอสละเสีย สละได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากเธอไม่สละเสีย ต้องอาบัติทุกกฎ ภิกษุทั้งหลายทราบแล้วไม่ว่ากล่าวต้องอาบัติทุกกฎ
     ภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงนำตัวมาสู่ท่ามกลางสงฆ์แล้วพึงว่ากล่าวว่า ท่านอย่าได้ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง... พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่สอง พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่สาม หากเธอสละได้ นั่นเป็นการดี หากเธอไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ

วิธีสวดสมนุภาส
     ภิกษุนั้นอังสงฆ์พึงสวดสมนุภาส ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสวดสมนุภาสอย่างนี้ ภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้

กรรรมวาจาสวดสมนุภาส
     ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุผู้มีชื่อนี้ผู้นี้ ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง เธอไม่สละเรื่องนั้น ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสวดสมนุภาสภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย นี่เป็นบัญญัติ
     ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุผู้มีชื่อผู้นี้ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง เธอไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้น การสวดสมนุภาสภิกษุผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
     ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง... ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม...
     ภิกษุผู้มีชื่อนี้ สงฆ์สวดสมนุภาสแล้ว เพื่อให้สละเรื่องนั้น ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงทราบความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้
     จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฎ จบกรรมวาจาสองครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
     เมื่อต้องอาบัติสังฆาทิเสส อาบัติทุกกฎเพราะญัตติ อาบัติถุลลัจจัยเพราะกรรมวาจาสองครั้ง ย่อมระงับ

อาบัติ
    ๑. กรรมเป็นธรรม (สงฆ์ทำถูกต้องชอบธรรมแล้ว) ภิกษุสำคัญว่า (รู้ว่า) กรรมเป็นธรรม ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
     ๒. กรรมเป็นธรรม ภิกษุสงสัย ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
     ๓. กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
     ๔. กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฎ
     ๕. กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสงสัย ต้องอาบัติทุกกฎ
     ๖. กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฎ

อนาบัติ
      ภิกษุยังไม่ถูกสวดสมนุภาส ๑  ภิกษุสละเสียได้ ๑ วิกลจริต ๑  อาทิกัมมิกะ ๑

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย. มหาวิ.๑/๓/๕๗๑-๕๘๗
     ๑. ความพิสดารของเรื่องการบวชของพระเทวทัต และเหตุที่ไปหาพรรคพวกชักชวนกันทำสังฆเภทและวัตถุ ๕ พึงทราบในสังฆเภทขันธกะ
     ๒. ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้า พอทรงสดับคำของพระเทวทัตผู้ทูลขอวัตถุ ๕ ก็ทรงทราบได้ว่าเทวทัตมีความต้องการจะทำลายสงฆ์ หากพระองค์ทรงอนุญาตย่อมเป็นไปเพื่ออันตรายแก่มรรค (อริยมรรค) ของเหล่ากุลบุตรเป็นอันมาก จึงทรงปฏิเสธ เพราะเห็นแก่ภิกษุผู้มีกำลังน้อย อ่อนแอ ที่ไม่สามารถจะอยู่ในป่าได้
     - ภิกษุรูปหนึ่งมีอัธยาศัยใหญ่ มีอุตสาหะมาก ย่อมสามารถเพื่องดเสนาสนะใกล้แดนบ้านแล้ว อยู่ในป่าก็สามารถกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้, ส่วนภิกษุรูปหนึ่งมีกำลังอ่อนแอ มีเรี่ยวแรงน้อย ย่อมไม่สามารถอยู่ในป่า (เพื่อกระทำที่สุดทุกข์ได้) สามารถแต่ในเขตบ้านเท่านั้น, รูปหนึ่งมีกำลังมาก มีธาตุเป็นไปสม่ำเสมอ สมบูรณ์ด้วยอธิวาสนขันติ มีจิตคงที่ในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ ย่อมสามารถทั้งในป่าทั้งในเขตบ้านได้ทั้งนั้น, รูปหนึ่งไม่อาจทั้งในเขตบ้าน ทั้งในป่า คือ เป็นปทปรมบุคคล
     บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุใดมีอัธยาศัยใหญ่ มีอุตสาหะมาก ย่อมสามารถเพื่องดเสนาสนะใกล้แดนบ้านเสียแล้ว อยู่ในป่ากระทำที่สุดทุกข์ได้ ภิกษุรูปนั้นจงอยู่ในป่าเท่านั้นเถิด การอยู่ในป่านี้สมควรแก่เธอ แม้พวกสัทธิวิหาริกเป็นต้นของเธอศึกษาตามอยู่จักสำคัญข้อที่ตนควรอยู่ในป่าด้วย,  อนึ่ง ภิกษุรูปใดมีกำลังอ่อนแอ มีเรี่ยวแรงน้อย ย่อมอาจจะกระทำที่สุดทุกข์ได้ในแดนบ้านเท่านั้น ในป่าไม่อาจ   ภิกษุนั้นจงอยู่ในเขตบ้านนั้นก็ได้
     ส่วนภิกษุรูปใด ซึ่งมีกำลังแข็งแรง มีธาตุเป็นไปสม่ำเสมอ สมบูรณ์ด้วยอธิวาสนขันติ มีจิตคงที่ในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ ย่อมอาจทั้งในป่าทั้งในแดนบ้านทีเดียว  แม้รูปนี้ จงละเสนาสนะใกล้แดนบ้านเสียแล้วอยู่ในป่าเถิด การอยู่ในป่านี้สมควรแก่เธอ แม้พวกสัทธิวิหาริกเป็นต้นของเธอ ศึกษาตามอยู่ จักสำคัญข้อที่ตนควรอยู่ป่า
     ส่วนภิกษุใด ซึ่งไม่อาจทั้งในแดนบ้าน ไม่อาจทั้งในป่า เป็นปทปรมบุคคล แม้รูปนี้ก็จงอยู่ในป่านั้นเถิด เพราะว่าการเสพธุดงคคุณและเจริญกรรมฐานนี้ของเธอ จักเป็นอุปนิสัยเพื่อมรรคและผลต่อไปในอนาคต, แม้พวกสัทธิวิหาริกใดเป็นต้นของเธอเมื่อศึกษาตาม จักสำคัญข้อที่ตนควรอยู่ในป่าฉะนี้แล, ภิกษุนี้ใด ซึ่งเป็นผู้มีกำลังอ่อนแอ มีเรี่ยวแรงน้อยอย่างนี้ เมื่ออยู่ในแดนบ้านเท่านั้น จึงอาจเพื่อจะทำที่สุดทุกข์ได้ ในป่าไม่อาจ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงบุคคลเช่นนี้
     ก็ถ้าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงตรัสรับรองวาทะของพระเทวทัตไซร้ บุคคลซึ่งมีกำลังอ่อนแอเรี่ยวแรงน้อยสามารถอยู่ในป่าได้แต่ในเวลายังเป็นหนุ่ม ต่อในเวลาแก่ตัวลง หรือในเวลาเกิดธาตุกำเริบอยู่ป่าไม่ได้ แต่เมื่ออยู่ในแดนบ้านเท่านั้น จึงอาจกระทำที่สุดทุกข์ได้ บุคคลเหล่านี้จะพึงสูญเสียอริยมรรคไป ไม่พึงบรรลุอรหัตผลได้ หากอนุญาตสัตถุศาสน์จะพึงกลายเป็นนอกธรรมนอกวินัย ยุ่งเหยิง ไม่เป็นไปเพื่อนำออกจากทุกข์ และพระศาสดาจะพึงเป็นผู้มิใช่พระสัพพัญญูของบุคคลจำพวกนั้น ทั้งจะพึงถูกตำหนิติเตียนว่า ทรงทิ้งวาทะของพระองค์เสีย ไปตั้งอยู่ในวาทะของพระเทวทัต
     ๓. “ปลาเนื้อบริสุทธิ์โดยส่วน ๓
     มังสะที่ชื่อว่า ไม่ได้เห็น คือ ไม่เห็นชาวบ้านฆ่าเนื้อและปลา เอามาเพื่อประโยชน์แก่พวกภิกษุ, ที่ชื่อว่า ไม่ได้ยิน คือ ไม่ได้ยินว่าพวกชาวบ้านฆ่าเนื้อ ปลา เอามาเพื่อประโยชน์แก่พวกภิกษุ, ส่วนที่ไม่ได้รังเกียจ ผู้ศึกษาควรรู้จักมังสะที่รังเกียจด้วยการเห็น รังเกียจด้วยการได้ยิน และรังเกียจพ้นจากเหตุทั้งสองนั้นแล้ว พึงทราบโดยส่วนตรงกันข้ามจากสามอย่างนั้น
     คือว่า พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นพวกชาวบ้านถือแหและตาข่ายเป็นต้น กำลังออกจากบ้านไป หรือกำลังเที่ยวไปในป่า, และในวันรุ่งขึ้น พวกชาวบ้านนำบิณฑบาตมีปลาและเนื้อมาถวายแก่ภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่านั้นรังเกียจด้วยการได้เห็นนั้นว่า พวกชาวบ้านทำเนื้อเพื่อพวกภิกษุหรือหนอ? จะรับมังสะผู้เข้าไปบิณฑบาตเช่นนั้นไม่ควร, มังสะที่ไม่ได้รังเกียจเช่นนั้นจะรับ ควรอยู่, ก็ถ้าชาวบ้านเหล่านั้นถามว่า ทำไมท่านจึงไม่รับ ขอรับ? เมื่อได้ฟังความจากพวกภิกษุพูดว่า มังสะนั้นพวกกระผมไม่ได้กระทำเพื่อภิกษุทั้งหลาย พวกกระผมทำเพื่อตนบ้าง เพื่อข้าราชการบ้าง ดังนี้ มังสะนั้นก็ควร
     - ภิกษุทั้งหลายหาเห็นไม่ แต่ได้ฟังว่า ได้ยินว่า พวกชาวบ้านมีมือถือแหและตาข่ายออกจากบ้าน หรือเที่ยวไปในป่า และในวันรุ่งขึ้น พวกชาวบ้านที่บิณฑบาตมีปลาและเนื้อมาถวาย พวกเธอสงสัยด้วยการได้ยินว่า เขาทำเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลาย? จะรับมังสะนั้นไม่ควร, มังสะที่ไม่ได้สงสัยอย่างนี้จะรับ ควรอยู่...
     - ภิกษุทั้งหลายไม่ได้เห็น ไม่ได้ฟังมาเลย แต่เมื่อภิกษุเหล่านั้นเข้าไปยังบ้านเพื่อบิณฑบาต ชาวบ้านรับบาตรไปแล้วจัดบิณฑบาต มีปลา เนื้อ นำมาถวาย พวกเธอรังเกียจว่า มังสะนี้เขาทำเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลาย? มังสะเช่นนี้ไม่สมควรรับ, มังสะที่ไม่ได้รังเกียจอย่างนั้น จะรับควรอยู่, ถ้าพวกชาวบ้านถามว่า ทำไมพวกท่านจึงไม่รับ? แล้วได้ฟังความรังเกียจนั้น จึงพูดว่า มังสะนี้พวกกระผมไม่ได้กระทำเพื่อภิกษุทั้งหลาย แต่ทำเพื่อประโยชน์แต่ตนบ้าง แก่ข้าราชการ เป็นต้นบ้าง หรือว่าพวกกระผมได้ปวัตตมังสะ (เนื้อที่มีอยู่แล้ว, เนื้อที่เขาขายอยู่ตามปกติ ไม่ใช่ฆ่าเพื่อเอาเนื้อมาถวาย) เฉพาะที่เป็นกัปปิยะเท่านั้น จึงปรุงให้สำเร็จประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลาย มังสะนี้ควรอยู่, แม้ในมังสะที่เขาทำเพื่อประโยชน์แก่เปตกิจ แก่ผู้ตายไปแล้ว ก็เพื่อประโยชน์ก็ดี แก่งานมงคลเป็นต้นก็ดี ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน, จริงอยู่ มังสะใดๆ ที่เขาไม่ได้กระทำเพื่อภิกษุทั้งหลายเลย และภิกษุไม่มีความสงสัยในมังสะชนิดใดๆ มังสะนั้นๆ ควรทั้งนั้น
     - ก็มังสะที่เขาทำอุทิศพวกภิกษุในวิหารหนึ่ง และพวกเธอไม่ทราบว่าเขากระทำเพื่อประโยชน์ตน แต่ภิกษุพวกอื่นรู้, พวกใดรู้ ไม่ควรแก่พวกนั้น, พวกอื่นไม่รู้ แต่พวกเธอเท่านั้นที่รู้ ย่อมไม่ควรเฉพาะแก่พวกเธอนั้น แต่ควรสำหรับพวกอื่น, แม้พวกเธอรู้อยู่ว่าเขากระทำเพื่อประโยชน์แก่พวกเรา ถึงภิกษุพวกอื่นก็รู้ว่าเขาทำเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุพวกนี้ ไม่ควรแก่พวกเธอทั้งหมด, พวกภิกษุทั้งหมดไม่รู้ ย่อมควรแก่พวกเธอทั้งหมด, บรรดาสหธรรมิกทั้ง ๕ มังสะอันเขาทำเจาะจงเพื่อประโยชน์แก่สหธรรมิกรูปใดรูปหนึ่งก็ตาม แก่สหธรรมิกทั้งหมด (หากรู้ว่าเขาทำเจาะจง) ย่อมไม่สมควร
     ถามว่า ก็ถ้าว่า มีบุคคลบางคนฆ่าสัตว์ เจาะจงภิกษุรูปหนึ่ง บรรจุบาตรให้เต็มแล้วถวายแก่ภิกษุรูปนั้น และเธอรู้อยู่ด้วยว่ามังสะเขากระทำเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุ (คือตน) รับไปแล้วถวายแก่ภิกษุรูปอื่น ภิกษุรูปอื่นนั้นฉันด้วยเชื่อภิกษุนั้น (ว่าเขาไม่ได้ทำเพื่อภิกษุ) ใครต้องอาบัติเล่า? ตอบว่า ไม่ต้องอาบัติแม้ทั้งสองรูป
     ด้วยว่า มังสะที่เขาทำเฉพาะภิกษุใด ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุนั้น เพราะเธอไม่ได้ฉัน, และไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุนอกนี้ เพราะไม่รู้, แท้จริงในการรับกัปปิยะมังสะไม่เป็นอาบัติ, แต่ภิกษุไม่รู้ฉันมังสะที่เขากระทำเจาะจง ภายหลังรู้เข้า กิจด้วยการแสดงอาบัติไม่มี, ส่วนภิกษุไม่รู้ ฉันอกัปปิยะมังสะ (มีเนื้อเสือเป็นต้น) แม้ภายหลังรู้เข้า พึงแสดงอาบัติ (ทุกกฎ) เพราะเหตุนั้นภิกษุผู้เกรงกลัวต่ออาบัติ แม้เมื่อกำหนดรูปการณ์ พึงถามก่อนแล้วจึงรับประเคนมังสะ จะรับประเคนด้วยตั้งใจว่า ในเวลาฉันเราจักถามแล้วจึงจะฉัน ควรถามก่อนแล้วจึงฉัน
     ถามว่า เพราะเหตุไร?  ตอบว่า เพราะมังสะรู้ได้ยาก, ความจริงเนื้อหมีก็คล้ายเนื้อสุกร, เนื้อเสือเหลืองเป็นต้น ก็เหมือนกับเนื้อมฤคเป็นต้น เพราะเหตุนั้น พระอาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า การถามแล้วจึงรับประเคนนั่นแลเป็นธรรมเนียม
     ๔. พระเทวทัตคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงอนุญาตวัตถุ ๕ เหล่านี้ บัดนี้เราจักอาจเพื่อทำสังฆเภท จึงได้แสดงอาการลิงโลดแก่พระโกกาลิกะ ไม่รู้ว่าทุกข์ที่ตนจะพึงบังเกิดในอเวจี แม้ซึ่งใกล้เข้ามาเพราะสังฆเภทเป็นปัจจัย ร่าเริงเบิกบานใจว่า บัดนี้ เราได้อุบายเพื่อทำลายสงฆ์ เหมือนดังบุรุษผู้ประสงค์จะกินยาพิษตาย หรือประสงค์จะเอาเชือกผูกคอตาย หรือประสงค์จะเอาศัสตรามาฆ่าตัวตาย ได้วัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง มียาพิษเป็นต้น ไม่รู้จักทุกข์ คือ ความตาย แม้ใกล้เข้ามาเพราะการกินยาพิษเป็นต้นนั้น เป็นปัจจัยเป็นผู้ร่าเริงเบิกบานใจอยู่  ฉะนั้น จึงพร้อมด้วยบริวารลุกจากที่นั่ง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยความคิดว่าสำเร็จแล้ว กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป, พระเทวทัตเป็นต้นบัญญัติ เพราะทรงปรารภท่านทำบัญญัติสิกขาบท, และพระเทวทัตมิได้ถูกสวดสมนุภาส ท่านจึงเป็นอาบัติ
     ๕. เป็นทุกกฎแก่พวกภิกษุผู้ได้ยินแล้วไม่ว่ากล่าว, ในที่ไกลเท่าไรจึงเป็นทุกกฎแก่พวกภิกษุ ผู้ได้ยินแล้วไม่ว่ากล่าว? ในวิหารเดียวกัน ไม่มีคำที่จะพึงกล่าวเลย, ส่วนในอรรถกถาท่านกล่าวว่า ในระยะทางกึ่งโยชน์โดยรอบ จัดเป็นภาระของภิกษุทั้งหลายพึงไปห้ามเอาเองทีเดียวว่า ท่านผู้มีอายุ การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนัก เธออย่าพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ แต่ภิกษุผู้สามารถแม้ไกลก็ควรไป  จริงอยู่ แม้ที่ไกลๆ จัดเป็นภาระของพวกภิกษุผู้ไม่อาพาธทีเดียว
      ๖. สิกขาบทนี้มีสมนุภาสนมุฏฐาน ย่อมตั้งขึ้นทางกายทางวาจาและทางจิต, แต่เป็นอกิริยาเพราะเมื่อภิกษุไม่ทำกายวิการหรือเปล่งวาจาเลยว่า “เราจะสละคืน” จึงต้องอาบัติ, เป็นสจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต (โทสะมูลจิต)




โย จ วนฺตกสาวสฺส  สีเลสุ สุสมาหิโต
อุเปโต ทมสจฺเจน  ส เว กาสาวมรหติ ฯ ๑๐ ฯ

ผู้หมดกิเลสแล้ว มั่นคงในศีล
รู้จักบังคับตนเอง และมีสัตย์
ควรครองผ้ากาสาวพัสตร์แท้จริง

But he who discared defilements,
Firmly established in moral precepts,
Possessed of self-control and truth,
Is indeed worthy of the yellow robe.
.
 ... ศาสตราจารย์ เสฐียรพงษ์ วรรณปก




สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๑๑
(พระวินัยข้อที่ ๑๕)
ภิกษุประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ภิกษุอื่นห้ามไม่ฟัง
สงฆ์สวดกรรมเพื่อจะให้ละข้อที่ประพฤติ ถ้าไม่ละ ต้องสังฆาทิเสส

    ครั้งนั้นพระเทวทัตตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายข้อห้ามในพุทธจักรแล้ว ภิกษุทั้งหลายสนทนากันอยู่ว่า พระเทวทัตพูดไม่ถูกธรรม พูดไม่ถูกวินัย ไฉนพระเทวทัตจึงตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ ทำลายข้อห้ามในพุทธจักรเล่า (ทำลายความเป็นไปในวงการพระพุทธศาสนา)
     พระโกกาลิกะ พระกฏโมรกติสสกะ พระขัณฑเทวีบุตรและพระสมุทททัต กล่าวกับภิกษุทั้งหลายว่า ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนั้น พระเทวทัตพูดถูกธรรม พูดถูกวินัย ก็พระเทวทัตกล่าวคล้อยตามความพอใจและความเห็นชอบของพวกเรา พระเทวทัตทราบความพอใจและความเห็นชอบของพวกเราจึงกล่าว คำนั้นย่อมควรแก่พวกเรา ภิกษุทั้งหลายพากันเพ่งโทษติเตียนว่า ไฉนภิกษุเหล่านี้ ประพฤติตามคำพูดของพระเทวทัต ผู้ตะเกียกตะกายทำลายสงฆ์เล่า  แล้วกราบทูล,,, ทรงมีพระบัญญัติว่า
     “อนึ่ง มีภิกษุผู้ประพฤติตาม ผู้พูดเข้ากันของภิกษุนั้นแล ๑ รูปบ้าง ๒ รูปบ้าง ๓ รูปบ้าง เธอทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า ขอท่านทั้งหลายอย่าได้กล่าวคำอะไรๆ ต่อภิกษุนั้น ภิกษุนั่นกล่าวถูกธรรมด้วย ภิกษุนั้นกล่าวถูกวินัยด้วย ภิกษุนั่นถือเอาความพอใจและความชอบใจของพวกข้าพเจ้ากล่าวด้วย เธอทราบความพอใจและความชอบใจของพวกข้าพเจ้าจึงกล่าว คำที่เธอกล่าวนั่นย่อมควร แม้แก่พวกข้าพเจ้า”
     “ภิกษุเหล่านั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายอย่าได้ล่าวอย่างนั้น ภิกษุนั้นหาใช่ผู้กล่าวถูกธรรมไม่ด้วย ภิกษุนั้นหาใช่ผู้กล่าวถูกวินัยไม่ด้วย ความทำลายสงฆ์อย่าได้ชอบแม้แก่พวกท่าน ขอพวกท่านจงพร้อมเพรียงด้วยสงฆ์ เพราะว่าสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน มีอุเทศเดียวกัน ย่อมผาสุก และภิกษุเหล่านั้นอันภิกษุทั้งหลายกล่าวอยู่อย่างนี้ ยังยกย่องอยู่อย่างนั้นเทียว ภิกษุเหล่านั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสกว่าจะครบสามจบ เพื่อให้สละกรรมนั้นเสีย หากเธอทั้งหลายถูกสวดสมนุภาสกว่าจะครบสามจบอยู่ สละกรรมนั้นเสียได้อย่างนี้นั่นเป็นการดี หากเธอทั้งหลายไม่สละเสีย เป็นสังฆาทิเสส”

อรรถาธิบาย
     - บทว่า อนึ่ง...ของภิกษุนั้นแล คือ ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นั้น
     - บทว่า ผู้ประพฤติตาม ความว่า ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์เห็นอย่างไร ชอบอย่างไร พอใจอย่างไร ภิกษุผู้ประพฤติตามก็เห็นอย่างนั้น ชอบอย่างนั้น พอใจอย่างนั้น
     - บทว่า ผู้พูดเข้ากัน คือ ผู้ดำรงอยู่ในพวกในฝ่ายของภิกษุผู้นั้น ๑ รูปบ้าง... ๓ รูปบ้าง
     - บทว่า อันภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ ภิกษุเหล่าอื่น อธิบายว่า ภิกษุเหล่าใดเห็นอยู่ ได้ยินอยู่ ภิกษุเหล่านั้นควรว่ากล่าวกับภิกษุผู้ประพฤติตามเหล่านี้ว่า พวกท่านอย่าได้กล่าวอย่างนั้น ภิกษุนั่นกล่าวถูกธรรมก็หาไม่ กล่าวถูกวินัยก็หาไม่ ความทำลายสงฆ์อย่าได้ชอบใจแก่พวกท่าน ขอพวกท่านจงพร้อมเพรียงด้วยสงฆ์ เพราะว่าสงฆ์อยู่พร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน...ย่อมอยู่ผาสุก, พึงกล่าวแม้ครั้งที่สอง พึงกล่าวแม้ครั้งที่สาม หากภิกษุเหล่านั้นสละได้ย่อมเป็นการดี หากไม่สละเสียต้องอาบัติทุกกฎ ภิกษุทั้งหลายทราบแล้วไม่ว่ากล่าว ต้องอาบัติทุกกฎ
     ภิกษุเหล่านั้น อันภิกษุทั้งหลายถึงนำตัวมาสู่ท่ามกลางสงฆ์แล้วพึงกล่าวว่า พวกท่านอย่าได้กล่าวอย่างนั้น...หากสละได้เป็นการดี หากไม่สละเสีย ต้องอาบัติทุกกฎ
     ภิกษุเหล่านั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงสวดสมนุภาส...ด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ดังนี้

กรรมวาจาสวดสมนุภาส
     “ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์ฟังข้าพเจ้า ภิกษุทั้งหลายผู้มีชื่อนี้ด้วย ผู้มีชื่อนี้ด้วย เป็นผู้ประพฤติความเป็นผู้พูดเข้าด้วยกันของภิกษุผู้มีชื่อนี้ ซึ่งเป็นผู้ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ ภิกษุเหล่านั้นยังไม่สละเรื่องนั้น ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสวดสมนุภาสภิกษุทั้งหลายผู้มีชื่อนี้ด้วย ผู้มีชื่อนี้ด้วย เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย นี่เป็นบัญญัติ
     ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุทั้งหลายผู้มีชื่อนี้ด้วย ผู้มีชื่อนี้ด้วย...เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
    ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง...
    ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม...
     ภิกษุทั้งหลายผู้มีชื่อนี้ด้วย ผู้มีชื่อนี้ด้วย สงฆ์สวดสมนุภาสแล้วเพื่อให้สละเรื่องนั้น ชอบแก่สงฆ์เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้”
      - จบญัตติต้องทุกกฎ จบกรรมวาจาสองครั้งต้องถุลลัจจัย จบกรรมวาจาครั้งสุดท้ายต้องสังฆาทิเสส
     - เมื่อต้องอาบัติสังฆาทิเสส อาบัติทุกกฎและถุลลัจจัยเป็นอันระงับ สงฆ์พึงสวดสมนุภาสคราวหนึ่ง ต่อภิกษุ ๒-๓ รูป ไม่ควรสวดสมนุภาสในคราวหนึ่งยิ่งกว่านั้น

อาบัติ
     ๑. กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ไม่สละ ต้องสังฆาทิเสส
     ๒. กรรมเป็นธรรม ภิกษุสงสัย ไม่สละ ต้องสังฆาทิเสส
     ๓. กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ไม่สละ ต้องสังฆาทิเสส
     ๔. กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ต้องทุกกฎ
     ๕. กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสงสัย ต้องทุกกฎ
     ๖. กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ต้องทุกกฎ

อนาบัติ
     ภิกษุยังไม่ถูกสวดสมนุภาส ๑  ภิกษุสละเสียได้ ๑  วิกลจริต ๑  มีจิตฟุ้งซ่าน ๑  กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ๑  อาทิกัมมิกะ ๑

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย. มหาวิ. ๑/๓/๕๙๕-๕๙๖
     ๑. สิกขาบทนี้มีสมุฏฐานเป็นต้น เหมือนในสิกขาบทก่อน (สิกขาบทที่ ๑๐) ที่กล่าวแล้ว



อนิกฺกสาโว กาสาวํ   โย วตฺถํ ปริทเหสฺสติ
อเปโต ทมสจฺเจน  น โส กาสาวมรหติ ฯ๙ฯ

คนที่กิเลสครอบงำใจ  ไร้การบังคับตนเองและไร้สัตย์
ถึงจะครองผ้ากาสาวพัสตร์  ก็หาคู่ควรไม่

whosoever, not freed from defilements,
Without self-control and truthfulness,
Should put on the yellow robe-
He is not worthy of it.
.
 ... ศาสตราจารย์ เสฐียรพงษ์ วรรณปก

คัดจาก คัดจาก พระวินัย ๒๒๗ พุทธบัญญัติจากพระไตรปิฎก,
          ธรรมสภา และ สถาบันบันลือธรรม จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนา
          (ฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า)

3468  สุขใจในธรรม / เกร็ดศาสนา / Re: พระวินัย ๒๒๗ พุทธบัญญัติจากพระไตรปิฎก (ปาราชิก ๔ สิกขาบท) เมื่อ: 15 มิถุนายน 2558 15:02:31
.


สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๙
(พระวินัยข้อที่ ๑๓)
ภิกษุโกรธเคือง แกล้งหาเลศโจทภิกษุอื่นด้วยอาบัติปาราชิก ต้องสังฆาทิเสส

     พระเมตติยะและพระภุมมชกะ กำลังลงจากภูเขาคิชกูฏ ได้แลเห็นแพะตัวผู้กับแพะตัวเมียกำลังสมจรกัน  ครั้นแล้วได้พูดอย่างนี้ว่า พวกเราจะสมมติแพะตัวผู้นี้เป็นพระทัพพมัลลบุตร สมมติแพะตัวเมียเป็นภิกษุณีเมตติยา
     ทั้งสองรูปได้แจ้งแก่ภิกษุทั้งหลายว่า อาวุโสทั้งหลาย เมื่อก่อนพวกกระผมได้กล่าวหาพระทัพพมัลลบุตรด้วยได้ยิน แต่บัดนี้พวกกระผมได้เห็นพระทัพพมัลลบุตรปฏิบัติผิดในภิกษุณีเมตติยาด้วยตัวเอง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนี้แก่พระผู้มีพระภาคเจ้า
     ทรงประชุมสงฆ์ สอบถามพระทัพพมัลลบุตร และให้สอบสวนพระเมตติยะและพระภุมมชกะ ทั้งสองสารภาพแล้ว ภิกษุทั้งหลายสอบถามว่า ก็พวกท่านถือเอาเอกเทศบางแห่ง แห่งอธิกรณ์อันเป็นเรื่องอื่นให้เป็นเพียงเลศ แล้วตามกำจัดท่านพระทัพพมัลลบุตรด้วยธรรมอันมีโทษถึงปาราชิกหรือ?  ทั้งสองรับว่า จริงอย่างนั้น ขอรับ  ภิกษุทั้งหลายติเตียน แล้วกราบทูล...ทรงติเตียนเป็นอันมาก แล้วมีพระบัญญัติว่า
      “อนึ่ง ภิกษุใด ขัดใจ มีโทสะ ไม่แช่มชื่น ถือเอาเอกเทศบางแห่ง แห่งอธิกรณ์อันเป็นเรื่องอื่นให้เป็นเพียงเลศ ตามกำจัดซึ่งภิกษุด้วยธรรมอันมีโทษถึงปาราชิก ด้วยหมายว่า แม้ไฉนเราจักยังเธอให้เคลื่อนจากพรหมจรรย์นี้ได้ ครั้นสมัยอื่นแต่นั้น อันผู้ใดผู้หนึ่งถือเอาก็ตาม ไม่ถือเอาก็ตาม แต่อธิกรณ์นั้นเป็นเรื่องอื่นแท้ เอกเทศบางแห่ง เธอถือเอาพอเป็นเลศ แลภิกษุยังอิงโทสะอยู่ เป็นสังฆาทิเสส”

อรรถาธิบาย
     - บทว่า ขัดใจ มีโทสะ ไม่แช่มชื่น พึงทราบคำอธิบายจากสิกขาบทที่ ๘
     - บทว่า แห่งอธิกรณ์อันเป็นเรื่องอื่น คือ เป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ หรือเป็นส่วนอื่นแห่งอธิกรณ์
        (อธิกรณ์มีอยู่ ๔ คือ ๑. วิวาทาธิกรณ์ – การเถียงกันเกี่ยวกับพระธรรมวินัย  ๒. อนุวาทาธิกรณ์ – การโจท หรือกล่าวหากันด้วยอาบัติ  ๓. อาปัตตาธิกรณ์ – การต้องอาบัติ การปรับอาบัติ และการแก้ไขตัวให้พ้นจากอาบัติ  ๔. กิจจาธิกรณ์ – กิจธุระต่างๆ ที่สงฆ์จะต้องทำ เช่นให้อุปสมบท เป็นต้น
          อธิกรณ์ทั้ง ๔ เป็นคนละส่วนกัน เช่น วิวาทาธิกรณ์ เป็นคนละส่วนกับอาปัตตาธิกรณ์ ที่เป็นส่วนเดียวกันก็คือวิวาทาธิกรณ์ เป็นส่วนเดียวกันกับวิวาทาธิกรณ์  อนุวาทาธิกรณ์เป็นส่วนเดียวกับอนุวาทาธิกรณ์  เมถุนธรรมปาราชิกาบัติเป็นคนละส่วนกับอทินนาทานปาราชิกาบัติ... เมถุนธรรมปาราชิกาบัติเป็นส่วนเดียวกับเมถุนธรรมปาราชิกาบัติ เป็นต้น)
     - ที่ชื่อว่า เลศ ในคำว่า ถือเอาเอกเทศบางแห่ง...เป็นเพียงเลศนั้นอธิบายว่า เลศมี ๑๐ อย่าง ได้แก่ เลศคือชาติ ๑  เลศคือชื่อ ๑  เลศคือวงศ์ ๑  เลศคือลักษณะ ๑  เลศคืออาบัติ ๑  เลศคือบาตร ๑  เลศคือจีวร ๑  เลศคืออุปัชฌายะ ๑  เลศคืออาจารย์ ๑  เลศคือเสนาสนะ ๑
     - ที่ชื่อว่า เลศ คือ ชาติ  อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์เป็นผู้ได้เห็นภิกษุผู้เป็นกษัตริย์ต้องปาราชิก ครั้นเห็นภิกษุผู้เป็นกษัตริย์รูปอื่นโจทว่า ภิกษุผู้เป็นกษัตริย์ ข้าพเจ้าได้เห็นท่านเป็นผู้ต้องปาราชิก ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้  ต้องอาบัติสังฆาทิเสสทุกๆ คำพูด เป็นต้น
     - ที่ชื่อว่า เลศ คือ ชื่อ นั้น  อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์เป็นผู้ได้เห็นพระพุทธรักขิตต้องปาราชิก ครั้นเห็นพระพุทธรักขิตรูปอื่น ก็โจทว่า พระพุทธรักขิต  ข้าพเจ้าได้เห็นท่านเป็นผู้ต้องปาราชิก...ต้องสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด เป็นต้น
     - ที่ชื่อว่า เลศ คือ วงศ์  อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์เป็นผู้ได้เห็นภิกษุผู้วงศ์โคตมะต้องปาราชิก เป็นต้น
     - ที่ชื่อว่า เลศ คือ ลักษณะ  อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์เป็นผู้ได้เห็นภิกษุผู้สูงต้องปาราชิก เป็นต้น
     - ที่ชื่อว่า เลศ คือ อาบัติ  อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์เป็นผู้ได้เห็นภิกษุผู้ต้องลหุกาบัติ (อาบัติเบา) แต่โจทเขาด้วยปาราชิก (ครุกาบัติ – อาบัติหนัก)... เป็นต้น
     - ที่ชื่อ เลศ คือ บาตร  อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์เป็นผู้ได้เห็นภิกษุผู้ใช้บาตรโลหะต้องปาราชิก ครั้นเห็นภิกษุรูปอื่นใช้บาตรโลหะจึงโจทว่า...เป็นต้น
     - ที่ชื่อว่า เลศ คือ จีวร  อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์เป็นผู้ได้เห็นภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุลต้องปาราชิก ครั้นเห็นภิกษุรูปอื่นทรงผ้าบังสุกุลแล้วโจทว่า...เป็นต้น
     - ที่ชื่อ เลศ คืออุปัชฌาย์  อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์เป็นผู้ได้เห็นภิกษุผู้สัทธิวิหาริกของพระอุปัชฌาย์ผู้มีชื่อนี้ต้องปาราชิก  ครั้นเห็นภิกษุผู้สัทธิวาริหาริกรูปอื่นของพระอุปัชฌาย์ผู้มีชื่อนี้แล้วโจทว่า...เป็นต้น
     - ที่ชื่อว่า เลศ คือ อาจารย์  อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์เป็นผู้ได้เห็นภิกษุผู้อันเตวาสิกของพระอาจารย์ผู้มีชื่อนี้ต้องปาราชิก  ครั้นเห็นภิกษุผู้อันเตวาสิกรูปอื่นของพระอาจารย์ผู้มีชื่อนี้แล้วโจทว่า...เป็นต้น
     - ที่ชื่อว่า เลศ คือ เสนาสนะ  อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์เป็นผู้ได้เห็นภิกษุผู้อยู่ในเสนาสนะของคหบดีผู้มีชื่อนี้ต้องปาราชิก ครั้นเห็นภิกษุรูปอื่นผู้อยู่ในเสนาสนะของคหบดีผู้มีชื่อนี้แล้วโจทว่า...เป็นต้น
     - บทว่า ด้วยธรรมอันมีโทษถึงปาราชิก คือ ด้วยปาราชิกธรรมทั้ง ๔ สิกขาบทใดสิกขาบทหนึ่ง
     - บทว่า ตามกำจัด ได้แก่ โจทเองหรือสั่งให้โจท
     - “แม้ไฉนเราจะยังเธอให้เคลื่อนจากพรหมจรรย์นี้ได้”  ความว่า ให้เคลื่อนจากภิกษุภาพ ให้เคลื่อนจากสมณธรรม ให้เคลื่อนจากศีลขันธ์ ให้เคลื่อนจากคุณคือตบะ
     - คำว่า ครั้นสมัยอื่นแต่นั้น  ความว่า เมื่อขณะคราวครู่หนึ่งภิกษุผู้ถูกตามกำจัดนั้นผ่านไปแล้ว จะมีบุคคลเชื่อในเรื่องที่เป็นเหตุให้ตามกำจัดนั้น หรือไม่มีใครๆ พูดถึง
     - ที่ชื่อว่า อธิกรณ์ ได้แก่ อธิกรณ์ ๔ อย่างนั้น
     - บทว่า เอกเทศบางแห่ง เธอถือเอาพอเป็นเลศ คือ ถือเอาเลศ ๑๐ อย่างนั้น อย่างใดอย่างหนึ่ง
     - บทว่า แลภิกษุยันอิงโทสะอยู่  ความว่า ภิกษุกล่าวปฏิญาณว่า ข้าพเจ้าพูดเปล่าๆ พูดเท็จ พูดไม่จริง ข้าพเจ้าไม่รู้ ได้พูดแล้ว

อาบัติ
     ๑. ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสมีความเห็นในอาบัติสังฆาทิเสส ว่าเป็นอาบัติสังฆาทิเสส แต่เธอโจทด้วยอาบัติปาราชิก...ต้องอาบัติสังฆาทิเสสทุกๆ คำพูด
     ๒. ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส มีความเห็นในอาบัติสังฆาทิเสสว่าเป็นอาบัติถุลลัจจัย...ปาจิตตีย์...ปาฏิเทสนียะ...ทุกกฎ...ทุพภาสิต...แต่เธอโจทด้วยอาบัติปาราชิก ต้องอาบัติสังฆาทิเสสทุกๆ คำพูด
     ๓. ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติถุลลัจจัย...ปาจิตตีย์...ปาฏิเทสนียะ...ทุกกฎ...ทุพภาสิต...แต่เธอโจทด้วยอาบัติปาราชิก ต้องสังฆาทิเสสทุกๆ คำพูด
     ๔. การสั่งให้โจท ก็เป็นอาบัติสังฆาทิเสสเช่นเดียวกับการโจทเอง

อนาบัติ
     ภิกษุผู้สำคัญเป็นอย่างนั้น โจทเองก็ดี สั่งให้ผู้อื่นโจทก็ดี ๑  วิกลจริต ๑  อาทิกัมมิกะ ๑

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย. มหาวิ. ๑/๓/๕๕๒-๕๖๐
     ๑. พระเมตติยะและภุมมชกะ ไม่อาจสมมโนรถในเรื่องแรก ได้รับการนิคคหะจึงถึงความแค้นเคือง กล่าวว่า เดี๋ยวเถอะ พวกเราจักรู้กัน จึงเที่ยวคอยแส่หาเรื่องราวเช่นนั้น
     ๒. พวกภิกษุเหล่านั้นสอบสวนอย่างนี้ว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านเห็นพระทัพพมัลลบุตรกับนางเมตติยาภิกษุณี ณ ที่ไหนกัน? พวกเธอตอบว่า ที่เชิงเขาคิชกูฏ, ในเวลาที่ไหน? ในเวลาไปภิกขาจาร, พวกภิกษุถามท่านพระทัพพะว่า ท่านทัพพะ พวกภิกษุเหล่านี้กล่าวอย่างนี้ ท่านอยู่ที่ไหนในเวลานั้น? ท่านพระทัพพะตอบว่า ข้าพเจ้าแจกภัตตาหารอยู่ในพระเวฬุวัน, ใครบ้างทราบว่าท่านอยู่ในเวฬุวันในเวลานั้น?  ภิกษุสงฆ์ ขอรับ,  พวกภิกษุเหล่านั้นจึงถามสงฆ์ว่า ท่านทั้งหลายทราบไหมว่า ท่านผู้มีอายุทัพพะนี้อยู่ที่เวฬุวันในเวลานั้น?  ภิกษุสงฆ์รับว่า ขอรับ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พวกเรารู้ว่าพระเถระอยู่ที่เวฬุวันเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ท่านได้รับสมมติแล้ว
     ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงกล่าวกะพระเมตติยะและภุมมชกะว่า ท่านผู้มีอายุ ถ้อยคำของท่านทั้งสองไม่สมกัน พวกท่านอ้างเลศกล่าวกะพวกเรากระมัง?  พระเมตติยะและภุมมชกะถูกพวกภิกษุเหล่านั้นสอบสวน ได้กล่าวว่า ขอรับ ผู้มีอายุ แล้วจึงได้บอกเรื่องราวนั้น
     ๓. แพะนี้ (อธิกรณ์กล่าวคือแพะนี้) แห่งส่วนอื่น หรือส่วนอื่นแห่งแพะนั้นมีอยู่ เพราะเหตุนั้น แพะนั้นจึงชื่อว่าอัญญภคิยะ (มีส่วนอื่น) สัตว์ที่รองรับพึงทราบว่า อธิกรณ์ คือ ที่ตั้งแห่งเรื่อง เพราะว่าแพะที่พวกภิกษุเมตติยะและภุมมชกะกล่าวว่า ชื่อว่า ทัพพมัลลบุตรนั้น เป็นกำเนิดดิรัจฉาน อันเป็นส่วนอื่นจากกำเนิดมนุษย์ และความเป็นภิกษุของท่านพระทัพพะ
     อีกอย่างหนึ่ง ส่วนอื่นนั้น มีอยู่แก่แพะนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้นแพะนั้นจึงได้การนับว่ามีส่วนอื่น ก็เพราะแพะนั้นเป็นที่รองรับ เป็นที่ตั้งแห่งเรื่องของสัญญา คือ การตั้งชื่อแห่งพวกภิกษุเมตติยะและภุมมชกะนั้น ผู้กล่าวอยู่ว่าพวกเราจะสมมติแพะนี้ให้ชื่อว่า ทัพพมัลลบุตร เพราะฉะนั้น แพะนั้นพึงทราบว่า “อธิกรณ์” อธิกรณ์จึงหมายถึงแพะ มิได้หมายถึงอธิกรณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง มีวิวาทาธิกรณ์ เป็นต้น
     ๔. สิกขาบทนี้มีสมุฏฐานเป็นต้นเหมือนสิกขาบทที่ ๘ ปฐมทุฏฐโทสสิกขาบท



อสาเร สารมติโน   สาเร จ อสารททสฺสิโน
เต สารํ นาธิคจํฉนฺติ   มิจฺฉาสงฺกปฺปโคจรา ฯ ๑๑ ฯ

ผู้ใดเห็นสิ่งที่ไม่เป็นสาระ ว่าเป็นสาระ
เห็นสิ่งที่เป็นสาระ ว่าไร้สาระ
ผู้นั้นมีความคิดผิดเสียแล้ว
ย่อมไม่ประสบสิ่งที่เป็นสาระ

In the unessential they imagine the essential,
In the essential they see the unessential;
They who feed on wrong thoughts as such
Never achieve the essential.
.
 ... ศาสตราจารย์ เสฐียรพงษ์ วรรณปก
3469  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / วิธีทำ กระเพาะหมูผัดเกี้ยมฉ่าย เมื่อ: 13 มิถุนายน 2558 11:21:42
.


 


 

กระเพาะหมูผัดเกี้ยมฉ่าย

ส่วนผสม
- เกี้่ยมฉ่าย
- กระเพาะหมู
- กระเทียมไทยสับหยาบ
- ต้นหอม คึ่นไช่ หั่นท่อนสั้น
- พริกชี้ฟ้าสีแดง
- ซอสหอยนางรม
- ซีอิ๊วขาว
- น้ำตาลทราย


วิธีทำ
1. ล้างเกี้ยมฉ่ายให้สะอาด หั่นชิ้นพอคำ
2. ต้มกระเพาะหมูกับเกลือเล็กน้อย จนเปื่อยนิ่ม หั่นบางตามขวาง
3. เจียวกระเทียมจนหอมเหลือง ใส่กระเพาะหมูและเกี้ยมฉ่าย น้ำสะอาดเล็กน้อย ผัดให้เข้ากัน
4. ปรุงรสด้วยซอสหอยนางรม ซีอิ๊วขาว และน้ำตาลทราย ชิมรสตามชอบ
5. ตักใส่จานเสิร์ฟ โรยหน้าด้วยต้นหอม คึ่นใช่ และพริกชี้ฟ้าสีแดง.



* กระเพาะหมูที่จำหน่ายตามห้างสรรพสินค้า ส่วนมากล้างสะอาดจนหมดกลิ่น และลวกสุกแล้ว
   เพียงแต่นำมาต้มกับเกลือป่นเล็กน้อย จนสุกนิ่มก็ใช้ได้แล้ว (ใช้เวลาต้มนานนับชั่วโมง)

* วิธีล้างกระเพาะหมูสด ทำได้ดังนี้
การทำความสะอาด (ล้าง) เนื้อสัตว์ต่างๆ
กระเพาะหมู วิธีล้างกระเพาะหมู ก่อนจะล้างให้กรอกน้ำลงจนเต็มเขย่าสักครู่หนึ่งแล้วเทน้ำทิ้ง ทำดังนี้สัก ๓-๕ ครั้ง (ระวังอย่าให้ของสกปรกถูกผิวภายนอกกระเพาะ ซึ่งมีเยื่อและมันติดอยู่ เพราะของสกปรกจะซึมเข้าไปติดแน่น ล้างอย่างไรก็ไม่หมด แล้วกลับออกเอาภายในออก ใส่เกลือสัก ๑ ช้อนโต๊ะพูนๆ ขยำจนเมือกออกข้น แล้วล้างด้วยน้ำเย็นสัก ๓ ครั้ง จึงใส่น้ำปูนแดง (ที่ไม่มีสีเสียดปน) ขยำสักครู่ล้างให้หมดปูน แล้วกลับเอาข้างนอกออกอย่างเดิม แช่น้ำด่างจีนจนพองกรอบ จึงล้างถ่ายให้หมดกลิ่นและหมดขื่นน้ำด่าง แล้วแช่น้ำเย็นไว้สักครู่ เมื่อจะต้มให้เอาพริกไทยเม็ดกรอกลงในกระเพาะสัก ๑๕-๒๕ เม็ด  อนึ่ง ถ้าจะนำไปแกงจืด ให้หั่นกระเพาะหมูชิ้นเล็ก ๆ ลวกน้ำร้อนกำลังเดือด สุกแล้วเอาขึ้นผึ่งไว้ให้สะเด็ดน้ำ

      

สาระความรู้เกี่ยวกับงานบ้านงานครัวอื่นๆ  อ่านเพิ่มเติมได้ที่กระทู้ด้านล่างค่ะ
http://www.sookjai.com/index.php?topic=93279.0
เสน่ห์ปลายจวัก ตามตำรับโบราณ

 

ติดตามสูตรอาหารและเคล็ดลับการประกอบอาหารคาว-หวาน มากมายกว่า 200 สูตร
ได้ที่  "สุขใจในครัว" สุขใจดอทคอม
www.sookjai.com
3470  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / ความเชื่อเรื่อง “ลั่นทม” เมื่อ: 12 มิถุนายน 2558 16:34:36
.


ภาพระบายสีน้ำ "ดอกลั่นทม"

ความเชื่อเรื่อง “ลั่นทม”

ต้นจำปา  ดอกจำปา (ดอกลั่นทม)  เป็นพืชสำคัญของภาคอีสานและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ถือเป็นต้นไม้ประจำชาติด้วย ภาคกลางเรียก ลั่นทม ซึ่งเป็นชนิดเดียวกัน แต่มีความเชื่อต่างกัน โดยชาวภาคกลางเชื่อว่าเป็นต้นไม้แห่งความโศกเศร้า เพราะชื่อลั่นทมคล้ายระทม จึงนิยมปลูกที่วัด ไม่นิยมปลูกที่บ้าน ปัจจุบันคลายความเชื่อนี้แล้ว และเลี่ยงมาเรียกว่า “จำปาลาว” แทนเพราะดอกสวยงามมีกลิ่นหอมมาก ทั้งมีดอกตลอดปี จึงเป็นที่นิยมปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับแพร่หลายทั้งโรงแรม ศูนย์การค้า สถานที่ราชการ บ้านเรือน

พฤกษศาสตร์
ต้นจำปาทั่วไปมีดอกสีขาวอยู่ในวงศ์ APOCYNACEAE ชื่อวิทยาศาสตร์ Plumeria obtuse Linn. เป็นไม้พุ่มสูง ๓-๖ เมตร กิ่งก้านแผ่พุ่มกว้าง ใบเดี่ยวออกสลับถี่ รูปใบพาย กว้าง ๕-๘ เมตร ปลายและโคนมน สีเขียวเข้มเป็นมัน ดอกสีขาว กลางดอกเหลือง ออกเป็นช่อตามซอกใบปลายกิ่ง กลีบดอก ๕ กลีบ ซ้อนเหลื่อมกันรูปไข่ ปลายมนงอเล็กน้อย เส้นผ่าศูนย์กลาง ๘-๑๐ เซนติเมตร โคนเชื่อมกันเป็นหลอด ภายในมีขน ผลเป็นคู่รูปยาวรี กว้าง ๑.๕ เซนติเมตร ยาว ๑๕ เซนติเมตร เมื่อแก่จะแตกเป็น ๒ ซีก มีเมล็ดมาก มีปีกร่อนไปแพร่พันธุ์ได้ อีกตระกูลหนึ่งมีดอกสีชมพูอ่อนถึงเข้มจัด วงศ์เดียวกันคล้ายกัน แต่แยกเป็น plumeria rubra Linn. ขยายพันธุ์โดยเมล็ดและปักชำกิ่งได้

ทั้งประเทศไทยทุกภาคและประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว นิยมปลูกจำปา หรือลั่นทมตามวัดนั้น อาจเป็นเพราะมีกลิ่นหอมจัด สามารถกลบกลิ่นศพในพิธีฌาปนกิจที่ศาลาวัดได้ดี  ชาวภาคกลางจึงเรียก “ลั่นทม” (ระทม) ถือเป็นต้นไม้วัดไม่นิยมปลูกที่บ้าน  ที่ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและภาคอีสานเรียก “จำปา” และถือเป็น “ไม้มงคล” ปลูกได้ทั้งที่วัดและบ้านเรือน ทั้งนำมาทำพวงมาลัยหรือช่อดอกไม้บูชาพระด้วย

สรรพคุณ
จำปา (ลั่นทม) ถือเป็นพืชสมุนไพรซึ่งทรงคุณค่าด้วย คือ เปลือกต้น เปลือกรากใช้เป็นยาถ่ายอย่างแรงสำหรับคนท้องผูก ยางซึ่งมีทั่วไปทั้งต้นใช้ทาแก้หิด กราก เกลื้อน หรืองูสวัด  นักเคมีวิเคราะห์แล้วว่ามีสาร plumieride สกัดเป็นตัวยารักษาโรคดังกล่าวได้ดี และปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ แพทย์ นักเคมี ได้สกัดสาร Iridoid จากเปลือกต้นจำปา (ลั่นทม) ให้ชื่อว่า Fuluoplumierin มีฤทธิ์ยับยั้งการเพิ่มจำนวนไวรัส HIV โรคเอดส์ได้

หมายเหตุ วรรณกรรมอีสานเรื่อง จำปาสี่ต้น นั้นหมายถึงดอกลั่นทมนี่เอง เพราะต้นจำปาทั้งสี่ถูกนางอิจฉาให้เสนาถอนลอยน้ำไป พระฤๅษีตัดกิ่งมีเลือดออกมา (ยางต้นลั่นทม) จึงรู้ว่าไม่ใช่ต้นจำปาทั่วไป แต่เป็นต้นจำปาเนรมิต



"ลั่นทม" ถ่ายที่รีสอร์ทแห่งหนึ่ง ในจังหวัดอุบลราชธานี
3471  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ไปเที่ยว / พระธาตุศรีสองรัก จ.เลย สักขีพยานแห่งพระราชไมตรีระหว่างอาณาจักรสยามกับล้านช้าง เมื่อ: 12 มิถุนายน 2558 15:58:40
.


"พระธาตุศรีสองรัก"
ศาสนสถานศักดิ์สิทธิ์ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสักขีพยาน
แห่งการทำสัญญาพระราชไมตรีระหว่างราชอาณาจักรสยามและล้านช้าง


พระธาตุศรีสองรัก
PHRA THAT SRI SONG RAK
อำเภอด่านซ้าย  จังหวัดเลย

พระธาตุศรีสองรัก เป็นโบราณสถานสำคัญ มีลักษณะคล้ายพระธาตุพนม ตามตำนานกล่าวว่า สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๑๐๓ แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๑๐๖ ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ แห่งกรุงศรีอยุธยา และพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช แห่งอาณาจักรล้านช้างเพื่อเป็นสักขีพยาน และแสดงออกซึ่งมิตรภาพระหว่างกรุงศรีอยุธยา และกรุงศรีสัตนาคนหุต (ปัจจุบันคือ เวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว) ที่ได้ร่วมกันต่อสู้กับกองทัพพม่า และทรงกระทำสัตยาธิษฐานว่าจะไม่ล่วงล้ำดินแดนของกันและกัน และเพื่อเป็นที่ระลึกในการทำไมตรีต่อกัน จึงได้ร่วมกันสร้างพระธาตุศรีสองรักเพื่อเป็นสักขีพยาน

เมื่อปี พ.ศ.๒๐๙๑ ปีแรกที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสวยราชย์ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ กษัตริย์พม่าผู้ครองกรุงหงสาวดี ได้ยกทัพใหญ่มาตีกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้ยกกองทัพออกรบกับพม่า เพื่อป้องกันพระนครและได้ชนช้างกับพระเจ้าแปร แม่ทัพหน้าของพม่า จนสมเด็จพระศรีสุริโยทัย พระมเหสี ต้องพระแสงของ้าวของพระเจ้าแปร สิ้นพระชนม์กับคอช้าง การรบครั้งนั้นพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ไม่สามารถตีกรุงศรีอยุธยาได้ และเมื่อกลับไปถึงกรุงหงสาวดีแล้วไม่นานก็สวรรคต พระเจ้าบุเรงนองขึ้นครองราชสมบัติที่กรุงหงสาวดีแทน  พระเจ้าบุเรงนองเป็นกษัตริย์ที่เข้มแข็งในการสงคราม จึงได้หาสาเหตุมาตีกรุงศรีอยุธยาอีก โดยแต่งพระราชสาส์นมาขอช้างเผือกของไทย ฝ่ายไทยไม่ยอมให้ พระเจ้าบุเรงนองจึงถือสาเหตุยกกองทัพใหญ่มาตีกรุงศรีอยุธยาและตีหัวเมืองฝ่ายเหนือของไทยได้หลายหัวเมือง รวมทั้งเมืองพิษณุโลกด้วยนอกจากยกกองทัพมารุกรานไทยแล้ว พม่ายังได้ยกกองทัพไปตีกรุงศรีสัตนาคนหุต ฝ่ายกรุงศรีสัตนาคนหุตสู้พม่าไม่ได้ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชต้องพากองทัพหนีไปอยู่ในป่า ทัพพม่าเข้ากรุงศรีสัตนาคนหุตได้ จึงเก็บทรัพย์สินและกวาดต้อนประชาชนรวมทั้งมเหสีและสนมกำนัลของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชไปเมืองพม่า เมื่อพม่าเลิกทัพกลับไปแล้ว พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชจึงได้พาทหารกลับเข้ามาอยู่กรุงศรีสัตนาคนหุต และได้แต่งทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับกรุงศรีอยุธยาอีกครั้งหนึ่ง พร้อมกับทูลขอพระเทพกษัตริย์ พระราชธิดาของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ซึ่งประสูติแต่สมเด็จพระศรีสุริโยทัยผู้เป็นวีรกษัตริย์ไปเป็นมเหสี เพื่อเห็นแก่ความเป็นไมตรีของสองพระนครที่จะให้มีความรักใคร่กลมเกลียวกัน และจะได้เป็นกำลังในการต่อสู้ข้าศึก สมเด็จพระมหาจักรพรรดิก็ตกลงรับยินดีเป็นไมตรีกับพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชตามที่ทูลขอมา แต่เป็นที่น่าเสียดายขณะที่พระเทพกษัตริย์เดินทางไปกรุงศรีสัตนาคนหุตนั้น ได้ถูกกองทัพพม่าเข้าแย่งชิงและกวาดต้อนไปกรุงหงสาวดีเสียก่อนที่จะไปถึงกรุงศรีสัตนาคนหุต

เพื่อเป็นสักขีพยานและแสดงออกซึ่งไมตรีจิตมิตรภาพ ระหว่างกษัตริย์ทั้งสองพระนคร สมเด็จพระมหาจักรพรรดิและพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช จึงได้โปรดให้สร้างพระเจดีย์องค์หนึ่งขึ้น เมื่อปี พ.ศ.๒๑๐๓ ในบริเวณที่ลำน้ำอู้ไหลมาบรรจบกับลำน้ำหมัน ซึ่งอยู่ใกล้ที่ตั้งเมืองด่านซ้าย ไว้เป็นอนุสรณ์โดยได้โปรดให้อำมาตย์ราชครู และพระราชาคณะเป็นตัวแทนของสองพระนครมาดำเนินการสร้าง แต่ก่อนที่จะสร้างพระธาตุศรีสองรัก ผู้แทนทั้งสองพระนครได้มีการทำพิธีตั้งสัตยาธิษฐานว่า ทั้งสองพระนครจะรักใคร่กลมเกลียวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ดุจเป็นราชอาณาจักรเดียวกันตลอดไปชั่วกัปกัลป์















ข้อห้ามในการเข้าสักการะพระธาตุ
๑.ห้ามใส่สีแดง
๒.ห้ามกางร่ม
๓.ห้ามนำอาหารหรือขนมขึ้นไปรับประทาน
๔.ห้ามใส่รองเท้าขึ้นบนพระธาตุ



ท่านสามารถอ่านข้อมูลเกี่ยวข้องเพิ่มเติมได้ที่กระทู้ด้านล่าง

http://www.sookjai.com/index.php?topic=63789.msg93099#msg93099
แสงสว่างบัลลังก์กรุงศรีฯ เริ่มริบหรี่ เมื่อสิ้น "พระสุริโยทัย"

http://www.sookjai.com/index.php?topic=62811.0
"พระเจดีย์ภูเขาทอง" อนุสรณ์สถานแห่งชัยชนะของพระเจ้าบุเรงนอง (จ.พระนครศรีอยุธยา)
3472  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / เรื่องราว จากนอกโลก / Re: เรื่องนอกโลก "ปรากฏการณ์เกี่ยวกับระบบสุริยจักรวาล" เมื่อ: 11 มิถุนายน 2558 16:29:06
1

ดาวแคระ
องค์การอวกาศสหรัฐฯเปิดเผยภาพถ่ายขั้วโลกของดาวเคราะห์แคระเซเรส
มองเห็นเหมือนกับจันทร์ครึ่งเสี้ยว เป็นภาพถ่ายจากยานอวกาศในระยะห่าง 33,000 กม.
และยานอวกาศกำลังขับเคลื่อนเข้าสู่วงโคจรรอบๆ ดาวดวงนี้ ตอนปลายเมษายน 2558


ฝีมือฮับเบิล
ยานอวกาศกล้องโทรทรรศน์ฮับเบิล ถ่ายภาพกลุ่มฝุ่นหรือกลุ่มละอองในอวกาศ “โอเรียน”
และกระบวนการเกิดของดวงดาว เบียดรวมตัวกันอยู่ที่เสาหลักของหมู่แก๊สอันหนาแน่น
ในขณะที่กล้องโทรทรรศน์ฮับเบิลได้ปฏิบัติงานใกล้จะครบรอบ 25 ปีแล้ว


แหล่งอนุบาลดวงดาว
องค์การอวกาศสหรัฐฯเปิดเผยภาพถ่ายจากยานอวกาศกล้องโทรทรรศน์ฮับเบิล
เป็นภาพของกลุ่มดาวที่โคจรคงที่คารินา อยู่ไกลจากโลกออกไปประมาณ 20,000 ปีแสง
ซึ่งเป็นแหล่งฟูมฟักดาวฤกษ์ ต่างๆ.


ทางช้างเผือก
ภาพถ่ายด้วยการเปิดหน้ากล้องค้าง ท้องฟ้าด้านตะวันตก เหนือเมืองพะสิม
ในเขตลุ่มน้ำอิรวดีของพม่า ถ่ายติดมองเห็น ทางช้างเผือกสุกสว่างไสว.


เชื่อมแผ่นดินติดกัน
ภาพถ่ายจากสถานีอวกาศนานาชาติมองเห็นปลายด้านตะวันออกของส่วนที่เป็นแผ่นดิน (ขวาบน)
ของทางใต้เมืองท่า ฟลอเรียนโปลิสของบราซิลกับปลายด้านตะวันตก (ล่างซ้าย)
ด้วยห่างจากกันเพียงเล็กน้อย และบัดนี้มีสะพานยาว 400 เมตร เชื่อมปลายแผ่นดินทั้งคู่ติดกันแล้ว.
 

ศูนย์วิจัยดาวอังคาร
นักวิทยาศาสตร์อเมริกันสาขาต่างๆ เข้าฝึกปฏิบัติงานที่สถานีวิจัยทะเลทรายดาวอังคาร
ที่เมืองแฮงค์ สวิลล์ รัฐยูทาห์ ดินแดนแถบนี้แม้จะไม่ใช่บนดาวอังคารจริงๆ แต่ก็มีลักษณะ
ใกล้เคียงหลายอย่าง เป็นที่โปรดปรานของเหล่านักธรณีวิทยา นักชีววิทยา และวิศวกรทั่วโลก
ต่างก็พากันมาขอฝึกงานด้วยเป็น เวลานานเกือบ 10 ปีมาแล้ว


ภาพชุดดาวพุธ
องค์การอวกาศสหรัฐฯเผยแพร่ภาพชุดของดาวพุธ ดาวเคราะห์ดวงใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด
เป็นภาพที่ถ่ายด้วยเครื่องมือหลายชนิด จากกล้องบนยานอวกาศ “เมสเซนเจอร์”
ยานอวกาศซึ่งสามารถเข้าวงโคจรรอบดาวพุธได้สำเร็จ ก็กำลังหมดเชื้อเพลิง
ประจวบกับถูกแรงดึงดูดของดาวพุธ ก็สิ้นแรงตกลงบนดาวพุธพอดี


กลุ่มดวงดาวไกลสุด
หอดูดาวฮาวาย เปิดเผยภาพกลุ่มดวงดาวใหญ่กลุ่มหนึ่ง ที่อยู่ห่างไกลโลกที่สุด
เป็นภาพถ่ายโดยยานอวกาศกล้องโทรทรรศน์ “ฮับเบิล” ส่วนที่เห็นอยู่ในล้อมกรอบ
เป็นแสงสีน้ำเงิน เป็นดาวฤกษ์อายุยังอ่อนดวงหนึ่ง


บินหมู่โลดโผน
ฝูงบินโลดโผน “เดอะ เบรทลิ่ง วิง วอล์คเกอร์” แสดงเหนือท้องฟ้าญี่ปุ่น
ร่วมกับโยชิฮิเดะ มูโรยา นักบินทีมแข่งการบินเรด บูลล์ของญี่ปุ่น
ซึ่งกำลังวาดลวดลายบินกลับท้องเหนือทะเลเซโตะในใกล้กับนครฮิโรชิมา


เข้าเทียบสถานีอวกาศ
ยานอวกาศลำเลียง “สเปซเอ็กซ์ ดรากอน” เข้าจอดที่ปลายเสาของสถานีอวกาศนานาชาติ
ในวงโคจรรอบโลก เอาสัมภาระประกอบด้วยตัวอย่างและเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ
น้ำหนักรวมกัน 100 กก. เศษ ขึ้นไปส่งเสร็จแล้วจึงเดินทางกลับลงมายังโลก


อาทิตย์ทรงกลด
อาทิตย์ทรงกลดปรากฏขึ้นบนฟ้า เหนือกรุงเม็กซิโกซิตี้ ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้น
จากการสะท้อนแสงของผลึกน้ำแข็งเล็กๆ

.

หลุมบ่อดาวอังคาร
องค์การอวกาศสหรัฐฯ เปิดเผยภาพถ่ายหลุมบ่อบนดาวอังคาร
ที่เพิ่งเกิดขึ้นสดๆ ร้อนๆ หลุมบ่อนี้เพิ่งสังเกตเห็นกันเมื่อเร็วๆ นี้


ดวงจันทร์ดาวเสาร์
องค์การอวกาศสหรัฐฯ เปิดเผยภาพถ่ายโฉมหน้าอันใกล้ชิด
ของดวงจันทร์เททิส  เผยโฉมหน้าอันปรุไปด้วยหลุมบ่อ อันเนื่องจาก
ถูกอุกกาบาตตกใส่  แม้ว่าดวงจันทร์ดวงนี้มีเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 1,062 กม.
แต่ก็ยังเต็มไปด้วยหลุมบ่อขนาดใหญ่หลายหลุม.


ไต้ฝุ่น
เครื่องบินต่อสู้ประจัญบาน แบบ ไต้ฝุ่น เอฟจีอาร์ 4 ของกองทัพอากาศอังกฤษ
แสดงการบินผาดโผน เหนือท้องฟ้าเมืองบูคาเรสต์ ของโรมาเนีย


กลุ่มเมฆไฮโดรเจน
องค์การอวกาศแห่งยุโรปเปิดเผยภาพวาด เป็นภาพของกลุ่มเมฆไฮโดรเจน
รูปร่างเหมือนดาวหางยักษ์ อยู่ห่างจากโลก ประมาณ 30 ปีแสง


แสงเหนือ-แสงใต้
ปรากฏการณ์แสงเหนือเริ่มเปิดการแสดงด้วยการเปิดม่านสีเขียว ส้ม และชมพู
ที่ใกล้กับบริเวณรีครีเอชั่น แอเรีย แถบใกล้ขั้วโลกขึ้นอย่างสวยงาม
ปรากฏการณ์แสงเหนือเกิดขึ้นจากการปะทะกันของอนุภาคที่เป็นแก๊สที่มีอยู่
ในบรรยากาศของโลกกับอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าซึ่งพ่นออกมาจากดวงอาทิตย์


ดาวพลูโต
องค์การอวกาศสหรัฐฯเปิดเผยภาพถ่ายดาวพลูโตในระยะใกล้ที่สุดเท่าที่เคยถ่ายมา
ถ่ายจากยานอวกาศ “นิว ฮอไรซัน” ซึ่งกำลังจะโคจรผ่านดาวเคราะห์ดวงนี้.


ชุมนุมพายุ
ดาวเทียมถ่ายภาพพายุหลายลูกต่างพัดมุ่งหน้าเข้าประเทศจีน ตั้งแต่พายุฤดูร้อนหลินฟ้า (ซ้าย)
เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออก ขนานกับฝั่งจีน และพายุ “จันทร์หอม” ปรากฏขึ้นอยู่เหนือร่องใต้ทะเล
ทางใต้ของเกาะโอกินาวา ญี่ปุ่น เคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเฉียงเหนือของริมฝั่งทะเลจีน โดยทางการจีน
ได้ประกาศแจ้งให้บรรดามณฑลตะวันออกเฉียงใต้ต่างๆ เตรียมพร้อมรับมือกับพายุอย่างเต็มที่


ราคา 2 หมื่นกว่าล้าน
ช่างขององค์การอวกาศสหรัฐฯ วาดภาพของยานอวกาศ “นิว ฮอไรซันส์”
เมื่อเดินทางไปถึงดาวพลูโต พร้อมกับดวงจันทร์ “ชารอน” ดวงจันทร์ดวงโตที่สุด
ยานติดกล้องถ่ายภาพ อุปกรณ์วิทยุ เครื่องทดลองวิทยาศาสตร์ เครื่องวัดรังสี
อินฟราเรด และพลาสมาอวกาศไปเพียบ เพื่อทำแผนที่และวัดองค์ประกอบ
ของบรรยากาศ ลักษณะของยานที่เห็นเด่นชัดที่สุด ได้แก่จานเสาอากาศ
โต 2.1 เมตร ทำให้สามารถติดต่อกับโลกได้ แม้จะไกลกัน 7.5 พันล้านกิโลเมตร 
ยานอวกาศลำนี้มีมูลค่าประมาณ 23,100 ล้านบาท.


จรวดอวกาศรัสเซีย
ตำรวจรัสเซียรักษาการณ์ ขณะที่ยานอวกาศ “โซยูซ-17 เอ็ม” ถูกขนไปยังฐานส่งจรวด
ที่คอสโมโดรม ไบโคนูร์ คาซัคสถาน เพื่อใช้ส่งทีมมนุษย์อวกาศชุดใหม่
ขึ้นไปประจำบนสถานีอวกาศ ระหว่างประเทศ ในวันที่ 23 ก.ค.58


บินผาดโผน
ฝูงเครื่องบินผาดโผน กองทัพอากาศฝรั่งเศส บินแปรขบวนปล่อยสีรุ้ง เหนือจัตุรัสประตูชัย
ในกรุงปารีส ระหว่างการแข่งจักรยานปาทรุย เดอ ฟรองซ์ กำลังขับเคี่ยวกันอย่างดุเดือด
ในการแข่งช่วงท้าย ระยะทาง 109.5 กม.


ความลับยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์การบิน
เงาของเครื่องบินแบบ “พี 3 โอเรียน” กองทัพอากาศนิวซีแลนด์ ปรากฏอยู่ในน้ำ
ขณะที่บินผ่านเหนือ มหาสมุทรอินเดีย ใกล้ฝั่ง ภาคตะวันตกออสเตรเลีย
ระหว่างการช่วยค้นหาเครื่องบินโดยสารมาเลเซีย แอร์ไลน์ “เอ็มเอช 370” เมื่อปีกลาย
ซึ่งเพิ่งจะมาได้เบาะแสจากการพบเศษซากส่วนของปีก เครื่องโบอิ้ง 777 แบบเดียวกัน
แถวใกล้เกาะรียูเนียน ดินแดนของฝรั่งเศส ทางภาคตะวันตกของมหาสมุทรอินเดีย.


ดวงจันทร์ของพลูโต
เจ้าหน้าที่ของโครงการยานอวกาศ “นิว ฮอไรซันส์” เปิดเผยภาพถ่ายลักษณะพื้นผิว
ส่วนหนึ่งของดวงจันทร์ “ชารอน” ดวงจันทร์ดวงใหญ่ของพลูโต เป็นที่คาดว่าข้อมูล
ที่ยานอวกาศรวบรวม เอาไว้ กว่าจะส่งถึงโลกได้หมด อาจต้องกินเวลาถึงฤดูใบไม้ร่วงปลายปี 58 นี้.


ห้องทดลองในอวกาศ
องค์การอวกาศดีแอลอาร์ของเยอรมนี ได้รับภาพจากยานอวกาศวัดและวิเคราะห์รังสีอินฟราเรด
เป็นภาพบริเวณบนดาวหาง ที่ยานอวกาศฟิเลได้ไปลง พวกเขากล่าวว่า ข้อมูลที่ยานฟิเล
ได้สนับสนุนทฤษฎีที่ว่า ดาวหางอาจใช้เป็นห้องปฏิบัติการทดลองในอวกาศได้อย่างดี.


ภาพโลกถ่ายจากอวกาศ
องค์การอวกาศเปิดเผยภาพด้านหน้าของทวีปแอฟริกาและแถบจุดศูนย์กลาง ถ่ายจากระยะห่าง 1 ล้านไมล์
มองเห็นทะเลทรายะฮาราอยู่ทางใต้ เห็นแม่น้ำไนล์ไหลลงสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ผ่านทางอียิปต์.


ภาพดาวหาง
องค์การอวกาศยุโรปอีเอสเอ เปิดเผยภาพถ่ายของดาวหาง67 พี/ จุรีมอฟ–เกราสิเมนโก
ซึ่งกล้องในยานอวกาศถ่ายในระยะห่างจากใจกลางดาวหาง 171 กม.


หินประหลาด
นักวิทยาศาสตร์ขององค์การอวกาศสหรัฐฯ สนใจในภาพแผ่นหินส่งมาจากยานสำรวจดาวอังคาร
มันมีขนาดโตสัก 4 นิ้ว อัดแน่นด้วยซิลิกา  ซิลิกาเป็นสารประกอบของหินที่ประกอบด้วยซิลิคอน
กับออกซิเจน เหมือนกับแร่เขี้ยวหนุมานบนโลก

ที่มา (เรื่อง-ภาพ) : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ภาพและข้อมูล : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
31-31 : ne.26 jn ./col

3473  สุขใจในธรรม / เอกสารธรรม / Re: พุทธธรรมเพื่อชีวิตและสังคม เมื่อ: 10 มิถุนายน 2558 19:44:48
.


พิพิธภัณฑ์พระโพธิญาณเถระ - ๑ มิถุนายน ๒๕๕๘

บูชาด้วย ดอกไม้ และธูปเทียน
กลับวนเวียน พาให้หลง เข้าดงได้
บูชาด้วย ปฏิบัติธรรม นำส่องใจ
ย่อมผ่องใส ถึงวิมุต สูงสุดเอย


ข้อคิดเชิงธรรมะ
จาก พิพิธภัณฑ์พระโพธิญาณเถร (ชา  สุภทฺโท)
วัดหนองป่าพง  อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

(ข้อคิดเชิงธรรมะ ความดังกล่าวข้างต้น ปรากฏที่แผ่นป้ายสีน้ำตาลตัวอักษรสีขาว ใต้โต๊ะหมู่บูชา)




ดูท่อนไม้นี้ซิ...สั้นหรือยาว?
สมมติว่า คุณอยากได้ไม้ที่ยาวกว่านี้ ไม้ท่อนนี้มันก็สั้น
แต่ถ้าคุณอยากได้ไม้สั้นกว่านี้ ไม้ท่อนนี้มันก็ยาว
หมายความว่า ‘ตัณหา’ ของคุณต่างหาก
ที่ทำให้มีสั้น มียาว มีดี มีชั่ว มีทุกข์ มีสุข ขึ้นมา.

หลวงพ่อชา

ธรรมะใต้เงาไม้
โดย พระโพธิญาณเถร (ชา  สุภทฺโท)
วัดหนองป่าพง  อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

๑ มิถุนายน ๒๕๕๘



พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า...
อานนท์ ปฏิบัติให้มาก ทำให้มาก แล้วจะสิ้นสงสัย
ความสงสัยจะไม่มีวันสิ้นไปได้ด้วยการคิด ด้วยทฤษฎี ด้วยการคาดคะเน
หรือด้วยการถกเถียงกัน หรือจะอยู่เฉยๆ ไม่ปฏิบัติภาวนาเลย
ความสงสัยก็หายไปไม่ได้อีกเหมือนกัน  
กิเลส...จะหายสิ้นไปได้ก็ด้วยการพัฒนาทางจิต...
ซึ่งจะเกิดได้ก็ด้วยการปฏิบัติที่ถูกต้องเท่านั้น...

หลวงพ่อชา

ธรรมะใต้เงาไม้
โดย พระโพธิญาณเถร (ชา  สุภทฺโท)
วัดหนองป่าพง  อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

๑ มิถุนายน ๒๕๕๘

.


ที่ปักกลดครั้งแรกของพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) ในวัดหนองป่าพง

ปฏิบัตินี่อย่าว่าขยันอย่าว่าขี้เกียจ ธรรมดาคนเรานั้นขยันถึงจะทำ
ถ้าขี้เกียจแล้วไม่ทำ...แต่พระท่านไม่เอาอย่างนั้น ขยันก็ทำ...ขี้เกียจก็ทำ
...ไม่สนใจร้อน ไม่สนใจหนาว ละไปหัดไป ฝึกไปเรื่อยๆ เป็นสัมมาปฏิปทา

หลวงพ่อชา

ธรรมะใต้เงาไม้
โดย พระโพธิญาณเถร (ชา  สุภทฺโท)
วัดหนองป่าพง  อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

๑ มิถุนายน ๒๕๕๘

35-35 pot.12
3474  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / วิธีทำ เกี้ยมฉ่ายผัดไข่เค็ม (เมนูทานกับข้าวต้มร้อนๆ) เมื่อ: 07 มิถุนายน 2558 12:10:42
.

 

เกี้ยมฉ่ายผัดไข่เค็ม

ส่วนผสม
- เกี้ยมฉ่าย 100 กรัม
- ไข่เค็ม 1 ฟอง
- กระเทียมไทยสับหยาบ 5-6 กลีบ
- น้ำตาลทราย ½ ช้อนชา


วิธีทำ
1. เกี้ยมฉ่ายล้างให้สะอาด หั่นชิ้นพอคำ
2. เจียวกระเทียมพอเหลือง ใส่เกี้ยมฉ่าย น้ำตาลทราย ผัดให้เข้ากัน
3. เติมน้ำสะอาดเล็กน้อย ใส่ไข่เค็ม ใช้ปลายตะหลิวสับไข่พอหยาบๆ
4. ตักใส่จานเสิร์ฟ รับประทานกับข้าวต้มร้อนๆ





ด้านขวามือ หมูผัดหนำเลี๊ยบ รับประทานกับข้าวต้มกุ๊ยร้อนๆ
(สูตรนี้ นำหมูสับไปทอดในกระทะให้แห้งกรอบ ก่อนนำไปผัดกับหนำเลี๊ยบค่ะ...อร่อยไปอีกแบบ)

http://www.sookjai.com/index.php?topic=47476.msg74998#msg74998
คลิ๊กอ่าน...วิธีทำ หมูผัดหนำเลี๊ยบ



ติดตามสูตรอาหารและเคล็ดลับการประกอบอาหารคาว-หวาน มากมายกว่า 200 สูตร
ได้ที่  "สุขใจในครัว" สุขใจดอทคอม
www.sookjai.com

3475  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / ไขตำนาน - ประวัติศาสตร์ - การค้นพบ อารยธรรม / ศพหม้ายชนชั้นสูงฝรั่งเศส ๓๕๐ ปี ถูกฝังในโบสถ์พร้อม "หัวใจสามี" เมื่อ: 06 มิถุนายน 2558 12:17:15
.







พบศพหม้ายชนชั้นสูงฝรั่งเศส ๓๕๐ ปี
ถูกฝังในโบสถ์พร้อม "หัวใจสามี"

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า นักโบราณคดีฝรั่งเศสได้ขุดพบศพซึ่งอยู่ในสภาพดียิ่งของหญิงหม้ายชนชั้นสูงรายหนึ่งอายุราว ๓๕๐ ปี ในเมืองแรนส์ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศฝรั่งเศส ท่ามกลางหลุมศพอื่น ๆ อีกกว่า ๘๐๐ หลุมศพ

รายงานระบุว่า ศพหญิงรายนี้ รวมทั้งโลงศพอีก ๔ ศพซึ่งภายในมีแต่โครงกระดูก ถูกขุดพบในบริเวณโบถส์แซงต์ ยอแซฟ โดยศพหญิงดังกล่าวซึ่งเชื่อว่าเป็นหญิงสูงศักดิ์ มีชื่อว่า "หลุยส์ เดอ เก็งโก้" แห่งตระกูลชนชั้นสูงหรืออภิสิทธิ์ชน คาดว่าเสียชีวิตเมื่อปี ๑๖๕๖ ขณะมีอายุ ๖๐ ปี ศพของเธอถูกฝังแยกเดี่ยวในสุสานหิน โดยภายในโลงศพใกล้กับร่างของเธอมีโถอัฐิซึ่งมีคำจารึกว่าเป็นหัวใจของตูแซงต์ เดอ เปอเรียง อัศวินแห่งบรีเฟแล็ค สามีของเธอผู้เสียชีวิตเมื่อปี ๑๖๔๙

หนังสือพิมพ์เลอ ฟิกาโรรายงานว่า เป็นธรรมเนียมของชาวฝรั่งเศสในศตวรรษที่ ๑๗ ที่ผู้เสียชีวิตจะอุทิศ "อวัยวะสำคัญของชีวิต" ได้แก่ สมอง หัวใจ ไต ตับ ปอด ให้กับบุคคลซึ่งเป็นที่รักของผู้ตาย

เจ้าหน้าที่เผยว่า โลงศพตะกั่วของเดอเก็งโก้ได้ถูกปิดผนึกอย่างสมบูรณ์แบบ สภาพศพภายในโลงจึงได้รับการถนอมรักษาไว้อย่างดียิ่ง โดยศพอยู่ในสภาพชื้นและอ่อนตัว แต่ยังไม่เน่าเปื่อย และว่า ใบหน้าของเธอถูกห่อด้วยผ้าคลุม และหมวกสตรี ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่า หญิงผู้สูงศักดิ์รายนี้จะเข้ามาอยู่ในวัดแห่งนี้หลังจากเป็นหม้ายแล้ว

ผลการตรวจสอบยังพบว่าเธอป่วยเป็นนิ่วในไตและมีภาวะพังผืดเกาะปอดส่วนหัวใจของสามีเธอในโถอัฐิก็ถูกนำออกมาด้วยวิธีการ "ผ่าตัดอย่างมืออาชีพ" ซึ่งนับเป็นความมหัศจรรย์ทางการแพทย์เมื่อเทียบกับยุคสมัย


ที่มา (ภาพ/ข้อมูล) : มติชนออนไลน์ ๕ มิถุนายน ๒๕๕๘ (ผ่านช่องทางเว็บไซท์ 'สุขใจดอทคอม')
3476  สุขใจในธรรม / เกร็ดศาสนา / Re: ตามพระใหม่ไปเรียนธรรม โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙) เมื่อ: 06 มิถุนายน 2558 11:48:46
.


'บาตร' หนึ่งในบริขาร ๘ สำหรับดำรงเพศบรรชิต
งานอุปสมบทภิกษุ ณ วัดธาตุหลวงใต้ เวียงจันทน์
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ตามพระใหม่ไปเรียนธรรม (๗)
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)

ทีนี้เมื่อบวชเป็นเณรแล้ว ได้บรรพชาแล้ว ท่านทั้งหลายยังไม่พอใจ ยังประสงค์จะบวชให้สมบูรณ์เป็นพระภิกษุ ก็ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน เช่นว่า มีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ เป็นต้น เมื่อมีคุณสมบัติพร้อมก็ถือว่ามีสิทธิ์สมัครขอบวชเป็นพระภิกษุได้ การขอบวชเป็นพระภิกษุนี้ เรียกว่าขอ "อุปสมบท" เมื่อสงฆ์ยอมรับก็เป็นอันได้อุปสมบท คือได้บวชเป็นพระภิกษุ

เป็นอันว่า การบวชในปัจจุบันนี้ แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ บวชเป็นสามเณรเรียกว่า "บรรพชา" แล้วบวชเป็นพระภิกษุเรียกว่า "อุปสมบท"

สำหรับท่านที่จะบวชพระ (บวชเป็นพระภิกษุ ด้วยการอุปสมบท) ก็ต้องผ่านการบวชเณร (บวชเป็นสามเณร ด้วยการบรรพชา) ก่อน การบวชเณรคือบรรพชา จึงเป็นขั้นตอนในเบื้องต้น จากนั้นเมื่อบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว ก็อุปสมบทเป็นพระภิกษุโดยสมบูรณ์ต่อไป

เมื่อบวชเข้ามาแล้ว ก็อยู่ในวัด มีวิถีชีวิตของพระเณร การเป็นพระเป็นเณร ก็คือการที่จะเจริญงอกงามในการเรียน อย่างที่บอกเรื่อยมาว่าบวชเรียนนั่นแหละ

ทีนี้ก็ต้องรู้ว่า ที่มาบวชแล้วจะเรียนนั้น เรียนอะไร และจะเรียนได้อย่างไร มีระบบการศึกษาเป็นอย่างไร จะได้ใครมานำพาให้เดินหน้าก้าวไปในการเรียน

พระรัตนตรัย เป็นดวงแก้วสูงค่าอย่างไร

ข้อที่ว่าจะเรียนอะไรนั้น รอสักนิด เริ่มแรก ขอให้รู้หลักที่เราจะต้องอาศัยในการที่จะเดินหน้าก้าวไปในการเรียนนั้น ที่สำคัญก็คือตัวหลักการและระบบการศึกษาของเรานั่นเอง เราจะต้องรู้เข้าใจหลักการและมองเห็นระบบของการศึกษา ที่เราจะก้าวเข้าไปใช้หรืออาศัยในการเดินหน้าพัฒนาชีวิตของตัว

ถ้าพูดสั้นๆ ก็บอกว่า การบวชเรียนนั้น เป็นการก้าวไปในการศึกษาเพื่อพัฒนาตนตามวิถีชีวิตแห่งไตรสิกขา ในระบบแห่งไตรสรณะของพระรัตนตรัย

พอพูดว่าหลักการ พูดถึงระบบ ก็ทำให้รู้สึกว่ายาก หรือชักจะงง เพราะเหมือนเป็นคำที่ดิ้นได้ ไม่ว่าไตรสิกขา หรือพระรัตนตรัย หรือไตรสรณะก็เป็นหลักทั้งนั้น และทั้ง ๓ หลักนั้นก็เป็นระบบที่ครบอยู่ในตัว แล้วไตรสิกขาก็เป็นระบบย่อยอยู่ในพระรัตนตรัย ที่เป็นระบบใหญ่ซึ่งครอบคลุม เจอคำว่าหลักตรงนี้ ระบบตรงโน้น ก็เลยจะงง

อย่างไรก็ดี ตอนนี้ไม่ต้องงง ตอนแรกฟังไว้ เดี๋ยวพอได้เรียนรู้เข้าใจความจริง และมองเห็นคุณค่า ซาบซึ้งใจ ซาบซึ้งในปัญญา พอมองเห็นทางใหญ่น้อยที่โยงกันหมดศรัทธาก็มา แล้วเกิดกำลังเรี่ยวแรงที่จะเดินไป ก็จะรู้กับตัวเองว่า พระรัตนตรัยนั้นเป็นสรณะ เป็นเครื่องนำทาง เป็นหลักยึดถือให้แก่เรา ที่จะพาเราให้เดินหน้าไปในพระพุทธศาสนา ให้ก้าวหน้าไปในไตรสิกขา เจริญงอกงามในพระธรรมวินัย เหมือนกับว่าเราจะได้โดยสารพระรัตนตรัยนำพาเราไป

พอรู้ชัดเจน และใจเอาแล้ว จะพูดคำว่าหลัก ว่าระบบ ไม่ว่าคำไหนมา มองเห็นเชื่อมโยงส่งถึงกันไปหมด ก็ไม่ยุ่งยากอะไรแล้ว

เริ่มแรกก็มารู้จักพระรัตนตรัย ที่เรานับถือเป็นสรณะ อย่างที่ได้รับเอาไว้ตั้งแต่ต้นว่า "พุทธํ....ธมฺมํ....สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" ให้พอรู้เข้าใจความหมายของพระรัตนตรัย คือพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ และมองเห็นเหตุผลว่าทำไมจึงนับถือพระรัตนตรัยนั้นเป็นสรณะ แล้วก็จะได้รู้ด้วยว่าเราจะอาศัยท่านนำทางพาเราไปกับท่านได้อย่างไร

ก็มาดูกันตั้งแต่ความหมายของถ้อยคำ ตอนแรก คำว่า "รัตนตรัย" ก็คือ รัตนะ 3 อย่าง รัตนะ ก็คือสิ่งที่มีค่า หรือของดีมีคุณค่าสูง ที่สุดรักสุดถนอมสุดเชิดชูนับถืออย่างยิ่ง

แก้วในที่นี้ ไม่ใช้แก้วภาชนะอย่างแก้วน้ำ แต่หมายถึงแก้วเพชรนิลจินดานี้ ที่แท้แล้วก็เป็นของมีค่าโดยสมมติ โดยเรายึดถือกัน ตกลงกันว่าสดสวยงดงามอย่างนั้นอย่างนี้ มีราคาเท่านั้นเท่านี้ แต่พอเอาเข้าจริงมันมีค่าไม่แท้ เพราะว่ามันไม่ก่อเกิดผลส่งให้แก่ชีวิตของเราอย่างแท้จริง ไม่ช่วยให้ชีวิตเจริญงอกงามได้จริง ไม่ทำให้ชีวิตประเสริฐเลิศดีขึ้นมาได้ ไม่ทำทุกข์ให้หมดสิ้นไป แม้แต่กินก็ไม่ได้

ลองดูสิ เราลงเรือไปในทะเล แล้วเกิดเรือล่มไปติดเกาะ เรามีเพชรตั้งเต็มกระสอบก็กินไม่ได้เลย สู้ข้าวจานเดียวก็ไม่ได้ใช่ไหม เพราะฉะนั้น พวกเพชรนิลจินดาอะไรต่างๆ ที่ว่ามีค่าโดยสมมตินิยมกันไปเท่านั้นเอง ไม่มีค่าอะไรแท้จริงเลย สิ่งที่มีค่าแท้จริง ก็ต้องทำให้ชีวิตของเราดีงามประเสริฐขึ้นได้ ทีนี้อะไรเล่าจะมีค่าแท้จริงอย่างนั้น
 ข่าวสด : ๘ มิถุนายน ๒๕๕๘


ตามพระใหม่ไปเรียนธรรม (๘)
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)
ทีนี้ดวงแก้วทั้งสาม คือพระรัตนตรัยนี้เป็นแหล่งที่รวมของบรรดาคุณค่าความดีงาม ก็แล คุณค่าความดีงามที่สำคัญนั้นมี ๒ อย่าง คือ ปัญญา กับ ปุญญัง

ปัญญา คือความรู้เข้าใจ ปุญญัง ก็คือความดี เรียกสั้นๆ ง่ายๆ ว่าบุญ ความรู้และความดีงามนี้ เป็นสิ่งที่มีค่าแท้จริง

ดูง่ายๆ ทรัพย์สินเงินทอง จนถึงรัตนะภายนอกที่ว่ามีค่านี้เป็นภาระ เราต้องเก็บต้องถือต้องแบกต้องหาม ต้องเก็บต้องรักษา ต้องห่วงต้องกังวล แต่ทรัพย์ภายใน คือ ความรู้ความดีงามนี้ไม่ต้องหิ้วไม่ต้องถือ อยู่ในตัวเรา เราไปไหนมันก็ไปเอง ไม่ต้องห่วงไม่ต้องหวง แล้วทรัพย์สินเงินทองของมีค่าข้างนอกนั้น โจรลักได้ แต่ความรู้ความดีงามนี้ไม่มีใครลักไปได้   ยิ่งกว่านั้น ทรัพย์ภายนอกยิ่งใช้ยิ่งหมดยิ่งใช้ยิ่งเปลือง มีแสนหนึ่งใช้ห้าหมื่นเหลือห้าหมื่น ใช้อีกสองหมื่นห้าเหลือสองหมื่นห้า ใช้ไปใช้มาเหลือศูนย์ คือหมด แต่ทรัพย์ภายใน คือความรู้และความดีงามนี้ใช้เท่าไรก็ไม่หมด แต่ยิ่งใช้ก็ยิ่งเพิ่ม

ความรู้นั้น เราใช้มัน เอาไปสอนเอาไปบอกคนอื่น เราก็ยิ่งรู้ชัด ยิ่งชำนาญยิ่งแจ่มแจ้งมากขึ้น ความดีงามก็เหมือนกัน เราทำอีกเมื่อไรความดีงามนั้นก็ยิ่งมากขึ้น ชีวิตของเราก็ยิ่งดีขึ้น เป็นอันว่าสิ่งมีค่าแท้จริงคือทรัพย์ภายในนี้ใช้ไม่หมดยิ่งใช้ยิ่งเพิ่ม

แล้วข้อสำคัญที่สุดก็คือ ทรัพย์ภายนอกทำชีวิตของเราให้ดีงามประเสริฐไม่ได้ และทำให้เรามีความสุขแท้จริงก็ไม่ได้ ส่วนปัญญาคือความรู้และปุญญังคือความดีงาม บุญกุศล ทำให้เรามีชีวิตดีงามประเสริฐแท้จริง จนในที่สุดพ้นจากทุกข์ได้จริงด้วย

เพราะฉะนั้น คนที่ฉลาดจริงอยู่ที่ทรัพย์ภายในซึ่งเป็นเนื้อเป็นตัวแท้ๆ ของชีวิตอย่างที่ว่าแล้วคือจะต้องสร้างเสริมสะสมทรัพย์ภายใน ต้องเอาจริงเอาจังตรงนี้

บอกแล้วว่า ถึงจะมีทรัพย์ภายนอกมากมายเท่าไรก็ไม่มั่นคงและไม่ใช่ของแท้ ถ้าไม่มีทรัพย์ภายใน ไม่มีความรู้ ไม่มีความดี ทรัพย์ภายนอกนั้นยิ่งใช้ยิ่งหมดไป ที่มีอยู่ก็ใช้หมดหายหมด ที่ไม่มีก็หาเพิ่มไม่ได้ เพราะไม่มีความดี ไม่มีปัญญาที่จะสร้างจะหาทรัพย์นั้น

ตรงข้ามกับคนที่มีทรัพย์ภายใน มีปัญญามีความรู้และมีความดี เช่นมีความขยันหมั่นเพียร ทรัพย์ภายนอกที่มีอยู่แล้วก็รักษาไว้ได้ และทำให้เพิ่มขึ้นด้วย ทรัพย์ภายนอกที่ยังไม่มี ก็ทำให้มีขึ้นได้ ทรัพย์ภายนอกหมดหรือหายไป ก็สร้างขึ้นใหม่ได้อีก

พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ปัญญาประเสริฐกว่าทรัพย์" คนมีปัญญาถึงไม่มีทรัพย์ก็หาทรัพย์ได้ ทรัพย์ที่มีอยู่ก็ทำให้เพิ่มขึ้นได้ และรู้จักใช้ให้เป็นประโยชน์ แต่คนมีทรัพย์ ไม่มีปัญญา แม้แต่ทรัพย์ที่มีอยู่แล้ว ก็รักษาไม่ได้ เพราะฉะนั้น ทรัพย์ภายในจึงสำคัญที่สุด

ทรัพย์ที่มีค่าที่สุด เรียกว่ารัตนะ และทรัพย์ภายในที่มีค่าที่สูงสุด ก็คือรัตนะ ๓ ที่เรียกว่าพระรัตนตรัยนี่แหละ เพราะเป็นทั้งทรัพย์ภายในที่มีค่า และเป็นแหล่งที่รวมไว้เป็นที่อำนวยให้ซึ่งปวงทรัพย์ภายใน ทั้งปุญญัง และปัญญา

พระรัตนตรัยเป็นแหล่งรวมไว้และอำนวยให้ ทั้งปุญญังและปัญญาอย่างไรก็ค่อยๆ ดู ค่อยๆ ว่ากันต่อไป

ทรัพย์ที่มีค่าที่สุด เรียกว่ารัตนะ และทรัพย์ภายในที่มีค่าที่สูงสุด ก็คือรัตนะ ๓ ที่เรียกว่าพระรัตนตรัยนี่แหละ เพราะเป็นทั้งทรัพย์ภายในที่มีค่าและเป็นแหล่งที่รวมไว้เป็นที่อำนวยให้ซึ่งปวงทรัพย์ภายใน ทั้งปุญญังและปัญญา

พระรัตนตรัยเป็นแหล่งรวมไว้ และอำนวยให้ทั้งปุญญังและปัญญาอย่างไรก็ค่อยๆ ดู ค่อยๆ ว่ากันต่อไป

พระรัตนตรัย เป็นสรณะให้แก่เราอย่างไร

ดังที่ว่าแล้ว ที่มาบวชนี้พอเริ่มต้นก็ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ เรียกว่า ไตรสรณคมน์ หรือ ไตรสรณาคมน์ คือนับถือพระรัตนตรัย เป็นไตรสรณะ เราแปลเป็นไทยว่า ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึก (จะเรียกสั้นๆ ว่า สรณคมน์ หรือ สรณาคมน์ ก็ได้)

ก็เลยขอบอกความหมายของถ้อยคำสำคัญแทรกไว้พอเป็นความรู้แบบผ่านๆ

สำหรับคำว่าพระรัตนตรัยนั้น ทราบกันแล้วว่าคือ รัตนะ ๓ หรือดวงแก้ว ๓ ประการ(รัตน-แก้ว-ตรัย-สาม; เขียนอีกอย่างก็เป็น ไตรรัตน์= ไตร-สาม+รัตน์-แก้ว) และก็ได้อธิบายเรื่องแก้วในฐานะสิ่งมีค่าสูง ผ่านไปแล้ว
 ข่าวสด : ๙ มิถุนายน ๒๕๕๘


ตามพระใหม่ไปเรียนธรรม (๙)
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)
ส่วน "สรณะ" ตามปกติและโดยทั่วไปก็แปลกันว่า "ที่พึ่ง" และเพราะมี ๓ อย่าง ก็เป็น ไตรสรณะ จะแปลง่ายๆ ว่า ที่ระลึก หรือที่คิดถึง ก็ได้

อย่างไรก็ตาม ในที่นี้บอกให้ทราบเพิ่มเติมไว้พอประดับความรู้ว่า คำว่า "สรณะ" นี้ในคัมภีร์ชั้นอธิบายความหมาย (อรรถกถา เป็นต้น) นิยมแปล ๒ แบบ

แบบแรก โดยวิเคราะห์ศัพท์ แปลว่า กำจัด คือกำจัดภัย ขจัดความกลัว กำจัดทุกข์ บำราศทุคติ เช่น โดยพาไปในประโยชน์ และกันออกไปจากสิ่งเสียหายไม่เป็นประโยชน์

อีกแบบหนึ่ง โดยแสดงไวพจน์ว่า เป็นที่พึ่ง ที่พำนัก เป็นหลักที่ตั้งตัว เป็นที่คุ้มกันให้พ้นภัย เป็นคติ เป็นที่หมาย เป็นที่ให้ลุจุดหมายหรือสำเร็จความมุ่งหมายโดยกันออกไปซึ่งสิ่งเสียหายไร้ประโยชน์ กันจากบาปจากทุกข์ และให้สัมฤทธิ์ประโยชน์หรือความมุ่งหมาย

บอกแล้วว่า อันนี้ฟังไว้แค่ประกอบหรือประดับความรู้ ยังไม่ต้องคิดพิจารณามากมาย และไม่ต้องลงลึกอย่างนักภาษา

ในที่นี้ มาดูอย่างพื้นๆ ว่าพระรัตนตรัยเป็นสรณะให้แก่เราอย่างไร จะมองในแง่เป็นหลักยึดถือ เป็นที่พึ่ง เป็นที่ระลึก เป็นที่ช่วยแก้ปัญหา เป็นที่บำราศทุกข์ เป็นเครื่องช่วยให้พ้นภัย ก็ได้ทั้งนั้น คลุมได้ทั้งหมด ถ้าพูดง่ายๆ แบบชาวบ้านก็บอกว่าท่านมาช่วยเรา ก็มาดูกันว่าท่านมาช่วยเราอย่างไร

พระรัตนตรัยมิใช่มาช่วยแบบดลบันดาลให้ พระพุทธศาสนาไม่ส่งเสริมการดลบันดาล ท่านไม่ให้หวังผลจากการดลบันดาล แต่ท่านให้ใช้เรี่ยวแรงทำการให้ตรงกับเหตุปัจจัย ท่านช่วยให้เรามีปัญญารู้เหตุปัจจัย แล้วเราก็จะได้จัดการทำการให้ตรงเหตุปัจจัย

ทีนี้ก็มาดูความหมายของพระรัตนตรัย ว่าเป็นสรณะของเราอย่างไร
๑.พระพุทธเจ้า เป็นหลักอัครบุคคล หลักนี้บอกว่า ก่อนนั้น แต่เดิมพระพุทธเจ้าก็เป็นมนุษย์อย่างเรา แต่เพราะฝึกฝนพระองค์เอง อย่างที่เรียกว่าบำเพ็ญบารมี พระองค์เข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว เสียสละ มีความตั้งใจมั่นคงแน่วแน่ในการฝึกตนที่จะทำความดีงาม สร้างเสริมเพิ่มพูนคุณสมบัติที่เป็นปุญญังทุกอย่าง ทุกประการ จนกระทั่งมีปัญญาตรัสรู้ ได้เป็นพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าจึงเป็นหลักที่ระลึกซึ่งเตือนใจเราว่า มนุษย์เป็นสัตว์ที่ฝึกได้ มนุษย์นี้จะดีจะประเสริฐจะเลิศได้ด้วยการฝึก แม้แต่จะฝึกจนเป็นพระพุทธเจ้าก็ได้ เรานี้ก็เป็นมนุษย์คนหนึ่ง จะต้องฝึกตัวให้ดีมีชีวิตดีงามสูงสุดให้ได้

มนุษย์เป็นสัตว์ที่ต้องฝึก จึงจะมีชีวิตอยู่ได้ ไม่เหมือนสัตว์ชนิดอื่น ที่อยู่ไดด้วยสัญชาตญาณ มันเกิดมาแล้วแทบไม่ต้องฝึก ไม่ต้องเรียนรู้อะไร เดี๋ยวมันก็เดินได้ กินได้ หาอาหารให้ตัวมันเองได้ แล้วมันก็อยู่ไปตามเรื่องของมัน

แต่คนเรานี่ทุกอย่าง จะกิน จะนอน จะนั่ง จะดื่ม จะขับถ่าย จะพูด จะเดิน แม้แต่จะนอน แค่เรื่องง่ายๆ นี้ ต้องฝึกต้องเรียนทั้งนั้น ถ้าไม่ฝึกไม่เรียนแล้ว ไม่เป็นเลย อยู่ไม่รอด เพราะฉะนั้น จึงเป็นสัตว์ที่พระพุทธศาสนาสอนไว้ว่า เป็นสัตว์ที่ต้องฝึก

อย่างไรก็ดี ที่ว่ามนุษย์เป็นสัตว์ที่ต้องฝึกจึงอยู่ได้ แต่สัตว์ชนิดอื่นไม่ต้องฝึกก็อยู่ได้ด้วยสัญชาตญาณนั้น ยังไม่จบ ต้องพูดต่อไปอีกว่า มนุษย์ไม่ใช่แค่เป็นสัตว์ที่ต้องฝึก แต่เป็นสัตว์ที่ฝึกได้ด้วย จึงมิใช่แค่ว่าต้องฝึกจึงอยู่ได้ แต่มนุษย์นั้นฝึกได้ จนกระทั่งไม่ว่าต้องการจะเป็นอะไร จะทำอะไรก็ฝึกให้ทำให้เป็นอย่างนั้นต่างจากมนุษย์ที่อยู่ไม่ได้ด้วยสัญชาตญาณ แต่ฝึกให้เก่งให้ดีเลิศประเสริฐแค่ไหนก็ได้ จนมีชีวิตที่อยู่ดีด้วยปัญญา

จริงอยู่ มีสัตว์บางชนิดที่ฝึกได้บ้าง อย่างช้าง ลิง สุนัข เป็นต้น แต่สัตว์เหล่านั้นไม่ใช่ฝึกตัวเอง ต้องอาศัยมนุษย์ฝึกให้ และฝึกได้ในขอบเขตหนึ่งที่จำกัด เช่น ลิงฝึกให้ขึ้นเก็บมะพร้าวได้ เล่นละครลิงได้ ช้างฝึกให้ลากซุง ให้ทำอะไรได้หลายอย่าง รวมทั้งละครสัตว์ สุนัขฝึกได้แสนเก่ง ทำอะไรได้มากมาย แต่ก็อย่างที่ว่า ต้องคนฝึกให้ และฝึกได้ในวิสัยที่จำกัด ต่างจากคนที่ฝึกตนเองได้ และฝึกอย่างไรได้อย่างนั้น จนเลิศล้ำเหนือเทพเทวา

คนที่ฝึกดีแล้วนั้น เป็นนักปราชญ์ เป็นนักวิทยาศาสตร์ เป็นนักเทคโนโลยี เป็นนักประดิษฐ์ เป็นนักคิดนักทำต่างๆ สร้างวัฒนธรรม สร้างอารยธรรม จนกระทั่งเป็นมหาบุรุษก็มี ดังที่ว่า แม้ถึงเป็นพระพุทธเจ้าก็ได้ ความดีพิเศษของมนุษย์นี้สำเร็จได้ด้วยการฝึก
 ข่าวสด : ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๘


ตามพระใหม่ไปเรียนธรรม (๑๐)
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)
เป็นอันว่า คนเป็นสัตว์ที่ต้องฝึก และฝึกได้ จะให้เก่งให้ดีเลิศประเสริฐสูงเยี่ยมอย่างไร ก็ฝึกได้ฝึกเอา อยู่ที่ฝึก คือ เรียน เรียนรู้ ศึกษา ฝึก หัด พัฒนา ถ้าไม่ฝึก ไม่ศึกษาแล้ว คนที่แย่ที่สุดยิ่งกว่าสัตว์ชนิดใดอื่น เพราะว่าไม่ฝึกไม่เรียนรู้แล้ว แม้แต่แค่มีชีวิตอยู่ก็ไม่ได้ ต้องตาย ไม่รอด ส่วนสัตว์พวกอื่นอยู่ได้ด้วยสัญชาตญาณ นับว่าเก่ง แต่แล้วตลอดทั้งชีวิตก็อยู่แค่สัญชาตญาณนั่นแหละ เอาดีอะไรอีกไม่ได้

ท่านจึงสอนกันมาโดยย้ำนักย้ำหนาว่า การได้เกิดมาเป็นมนุษย์นี้ แสนยาก เป็นโอกาสที่ต้องไม่ให้พลาดไปเสีย เกิดมาแล้วต้องมีชีวิตที่ประเสริฐ ดีงามล้ำเลิศให้ได้

เพราะฉะนั้น ผู้บวช และทุกคนใช้หลักสรณะที่ ๑ นี้ โดยนับถือพระพุทธเจ้าเป็นแบบอย่าง เราตั้งพระพุทธเจ้าเป็นต้นแบบว่า พระพุทธเจ้าในกาลก่อนตอนเริ่มแรกทรงเป็นมนุษย์ที่ฝึกศึกษาพัฒนาพระองค์เองอย่างต่อเนื่องจริงจัง ถึงขั้นที่เรียกว่าเป็นพระโพธิสัตว์โดยทรงเพียรพัฒนาคุณสมบัติสำคัญๆ ที่เรียกว่าบำเพ็ญบารมี ได้ทรงฝึกพระองค์จนบรรลุโพธิญาณ เป็นพระพุทธเจ้า เรานี้ก็เป็นมนุษย์คนหนึ่ง ชีวิตของเราจะดีงามเลิศประเสริฐอย่างที่ควรจะเป็นได้เต็มศักยภาพ ก็ด้วยการฝึก เราต้องฝึกเอา ถ้าเราไม่ถอยไม่ยอมหยุดในการฝึกแล้ว ก็จะสัมฤทธิผลที่มุ่งหมาย แล้วเราก็ฝึกศึกษาเรื่อยไป

การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะเครื่องระลึกเตือนใจดังกล่าวมานี้ ทำให้เรามีความมั่นใจในความเป็นมนุษย์ว่า เรานี้เป็นสัตว์ที่ฝึกได้ มีศักยภาพที่จะเป็นอย่างพระองค์ได้แล้วก็มีกำลังใจที่จะฝึกตนอย่างจริงจัง โดยถือพระพุทธเจ้าเป็นแบบอย่าง ที่จะฝึกตนให้มีคุณสมบัติความดีงามอย่างที่ได้ทรงสอน พร้อมกันนั้นก็เกิดมีจิตสำนึกต่อหน้าที่ของมนุษย์ในการที่จะต้องฝึกตนนั้น ซึ่งจะทำให้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนฝึกฝนอย่างเต็มที่ โดยไม่ปล่อยตัวให้ตกไปในความประมาท

นอกจากนี้ ถ้าพูดอย่างภาษาชาวบ้าน ในการฝึกนี้ เราได้เปรียบมาก ได้เปรียบอะไร? พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้เริ่มต้น ต้องทรงค้นพบเอง พระองค์ต้องลองผิดลองถูก เพียรพยายามลำบากหนักหนากว่าจะสำเร็จจบการฝึก พอสำเร็จแล้ว พระองค์ก็ประมวลประสบการณ์ของพระองค์ที่ได้บรรลุธรรมนั้น นำมาเล่าไว้และวางเป็นหลักให้เรา เราก็ได้บทเรียนสำเร็จรูป นี่คือง่ายกว่าพระพุทธเจ้าเยอะแยะ เมื่อได้เปรียบถึงอย่างนี้ บทเรียนก็มีการฝึกก็ง่ายขึ้นมามากมายอย่างนี้แล้ว เราก็ต้องรีบใช้ให้เป็นประโยชน์ และทำให้สำเร็จเมื่อเราถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึกอย่างนี้แล้ว เราก็พร้อมใจที่จะเริ่มต้นและมั่นใจมีกำลังใจที่จะก้าวไปในการฝึกฝน

แต่การที่เราจะฝึกฝนพัฒนาตนได้สำเร็จก้าวหน้าไปด้วยดีนี้ ในขั้นตอนของการปฏิบัติ เราจะต้องทำอะไรบ้าง และจะทำอย่างไร ตอนนี้แหละก็มาถึงพระรัตนตรัยข้อที่สอง นี่คือ สรณะที่ 1 คือพระพุทธเจ้า นำเราต่อไปยังสรณะที่ 2 คือพระธรรม

๒.พระธรรม เป็นหลักคำสอน หลักนี้ชี้ถึงความจริงที่พระพุทธเจ้าทรงเปิดเผย แสดง ประกาศ หรือทรงเทศนาแก่เรา ดังที่ว่า เมื่อเรามาถึงพระพุทธเจ้าพระองค์ก็ทรงนำเราต่อไปถึงข้อที่สอง คือพระธรรมนี้

ความหมายก็คือ พอเราระลึกถึงพระพุทธเจ้า ก็ระลึกรู้ต่อไปว่า พระองค์ทรงบำเพ็ญบารมี จนเป็นพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสูงสุดอย่างนี้ สำเร็จได้ก็เพราะตรัสรู้ธรรม พระองค์เมื่อปฏิบัติตามธรรม รู้แจ้งธรรม คือความจริงที่มีอยู่ตามธรรมดาของมัน เมื่อพระองค์ได้ทรงค้นพบความจริงนี้ด้วยปัญญาของพระองค์แล้ว ก็ทรงนำมาสั่งสอนเปิดเผยแก่พวกเรา

การที่เราจะมีชีวิตดีงาม ตามอย่างพระพุทธเจ้าได้ เราก็ต้องรู้เข้าใจธรรมและนำธรรมมาปฏิบัติให้ถูกต้องตรงตามธรรมนั้น ดังที่พระพุทธเจ้าได้ทรงประมวลนำมาจัดแสดงบอกแจ้งแก่พวกเราแล้ว พอเรารู้เข้าใจธรรม ปฏิบัติถูกชีวิตของเราก็ดีงาม พัฒนาจนเป็นอย่างพระพุทธเจ้าได้

พระพุทธเจ้าตรัสบอกว่า พระพุทธเจ้าจะเกิดหรือไม่ก็ตาม ธรรม คือความจริงก็มีอยู่ตามธรรมดาของมันอย่างนั้น ธรรมนี้ก็คือความจริงที่เป็นธรรมดาของธรรมชาติ

ถ้าเราไม่รู้ความจริงของสิ่งทั้งหลาย เราก็ปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลายไม่ถูกต้อง พอเราเจออะไร เราไม่รู้ มืดตื้อติดตัน ก็เกิดปัญหา เป็นความทุกข์ทันที และเมื่อไม่รู้ก็ปฏิบัติไม่ถูก ก็เกิดความขัดข้อง บีบคั้น อึดอัด ติดตัน เป็นปัญหา ทุกข์ก็มา อิสรภาพก็ไม่มี
  ข่าวสด : ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๘

ตามพระใหม่ไปเรียนธรรม (๑๑)
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)
แต่พอเรารู้ความจริง คือรู้ธรรม รู้อะไรเป็นอะไร เป็นอย่างไร เพราะอันใด จะทำอย่างไร เราก็โล่งเป็นอิสระไปขั้นหนึ่งตั้งแต่ต้นแล้ว และพอรู้อย่างนั้นแล้ว เราไม่ติดขัดก็ปฏิบัติได้ถูก ทำได้สำเร็จ ทำได้ดี ชีวิตของเราก็ดีงาม เราก็โปร่งโล่ง ปลอดปัญหา ปราศจากทุกข์ เป็นอิสระ 

เพราะฉะนั้น ปัญญาจึงเป็นองค์ธรรมหรือคุณสมบัติที่สำคัญยิ่ง ปัญญาก็คือความรู้ถึงธรรม ถึงความจริงของสิ่งทั้งหลาย ตามที่มันเป็นของมัน

อย่างที่ว่าแล้ว พอรู้ความจริงของสิ่งทั้งหลายก็ปฏิบัติได้ถูกต้อง ทำให้เป็นไปได้ตามนั้น เช่นว่า สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัย เราต้องการผลอย่างนี้ จะต้องทำเหตุปัจจัยอะไร เมื่อศึกษาแล้วรู้และทำให้ถูกต้องตรงตามเหตุปัจจัย เรียกว่าทำถูกต้องตามธรรม ผลก็เกิดขึ้นโดยเป็นไปตามนั้น

เป็นอันว่า พอเราระลึกถึงพระพุทธเจ้า ก็เป็นการเตือนใจเราให้ระลึกและมองเห็นต่อไปถึงพระธรรม จึงบอกว่าพระพุทธเจ้านำเราต่อไปสู่พระธรรม เป็นการตรัสสอนบอกว่า เธอจะฝึกตนได้สำเร็จ จะเป็นผู้ประเสริฐมีปุญญังและปัญญา แก้ปัญหา ดับทุกข์ เป็นอิสระได้จริงนั้น ก็ต้องรู้ธรรม ปฏิบัติให้ถูกต้องตามธรรม

นี่คือ เรามาถึงธรรม ธรรมก็มาเป็นหลักยึดเหนี่ยวที่ใส่ใจคำนึงนึกของเรา เป็นข้อที่จะต้องเรียนรู้ ศึกษาให้หยั่งเห็นเข้าใจ ปฏิบัติให้ถูกต้องยิ่งๆ ขึ้นไป ยิ่งรู้ธรรมเท่าไร เราก็ยิ่งทำได้ถูกต้อง ยิ่งสำเร็จ ยิ่งดี ยิ่งมีความสุขความเจริญงอกงาม และยิ่งมีความเป็นอิสระมากขึ้น

๓. พระสงฆ์ เป็นหลักชุมชนประเสริฐ หลักนี้ชี้ถึงชุมชนซึ่งเป็นแหล่งที่ศึกษาสืบทอดธรรมจากพระพุทธเจ้า แผ่ขยายออกไป และนำธรรมส่งต่อให้กันมาจนถึงเรา โดยเป็นชุมชนของบุคคลที่ได้ฝึกตน เป็นอริยชน เป็นนาบุญ เป็นชุมนุมแห่งกัลยาณมิตร ที่เป็นแบบอย่างแก่สังคม ซึ่งอยู่กันด้วยเมตตากรุณา ช่วยแนะนำสั่งสอนผู้รุ่นหลังตามมา เกื้อหนุนในการประพฤติปฏิบัติธรรม ให้เจริญงอกงาม พัฒนาในทางแห่งพระพุทธจริยา และรักษาถ่ายทอดสืบต่อเผยแผ่ธรรมของพระพุทธเจ้าแก่ชาวโลก ผ่านกาลยาวนาน และขยายกว้างออกไป

เสริมความว่า เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว และมีธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงให้แล้ว ทีนี้คนที่อยู่ห่างไกลออกไป และคนรุ่นหลังอย่างพวกเรา จะมีโอกาสได้รู้เข้าใจได้ปฏิบัติและเจริญงอกงามในธรรมนั้นได้อย่างไร พูดสั้นๆ ว่า ธรรมะจะมาถึงเราได้อย่างไร

ธรรมาถึงเราได้ ขั้นแรกก็เป็นธรรมดาว่าเริ่มต้นจากพระพุทธเจ้า ทีนี้ เมื่อไม่ใช่เป็นที่ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ก็ต้องมีคนรับสืบทอดธรรมมาจากพระพุทธเจ้า ช่วยนำมาให้เราเวลานี้ พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พระธรรมที่พระองค์ทรงสอนนั้นมาถึงเราได้ก็ด้วยอาศัยพระสงฆ์นำต่อๆ กันมา ดังนั้น พระสงฆ์จึงเป็นหมู่ชนที่รักษาสืบทอดธรรมของพระพุทธเจ้า

ในเรื่องนี้ ก็มีความหมายลึกลงไปซ้อนอยู่ด้วยอีกอย่างหนึ่งว่า พระสงฆ์ก็คือพระทั้งหมด ซึ่งบวชต่อๆ กันมาจากพระพุทธเจ้า เมื่อบวชแล้ว ก็เข้ามาอยู่ในชุมชนสงฆ์นี้ อยู่ร่วมกันในวัดวาอาราม อาศัยสิ่งแวดล้อมที่เหมาะ เช่น สงบสงัด มีวินัยอยู่ด้วยกันในระเบียบก็ศึกษาเล่าเรียนและปฏิบัติ โดยมีพระสงฆ์รุ่นเก่ารุ่นก่อน ตั้งแต่อุปัชฌาย์อาจารย์ ตลอดจนเพื่อนสหธรรมิก เป็นกัลยาณมิตร มีเมตตากรุณาช่วยเหลือเอื้อเฟื้อแนะนำสั่งสอนกัน ก็ช่วยเกื้อหนุนกันในการปฏิบัติให้เจริญก้าวหน้า และบรรดาพระสงฆ์ก็ให้ธรรมแก่ประชาชนที่มาวัดบ้าง ออกไปให้ธรรมข้างนอกในสังคมทั่วไปบ้าง

จะเห็นได้ว่าการบวชมาศึกษาเล่าเรียนปฏิบัติ และแนะนำสั่งสอนให้ธรรมกันในหมู่พุทธบริษัท และแก่ประชาชนมาอย่างนี้ เมื่อตั้งใจทำให้ดีให้แท้ให้ถูกต้อง ก็เป็นการดำรงรักษาสืบทอดธรรมอย่างเป็นไปเองอยู่ในตัว ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ ก็อยู่คู่มากับพระสงฆ์ ยิ่งกว่านั้น พระพุทธเจ้าก็ได้ตรัสไว้แล้วว่า  "ดูก่อนอานนท์! ธรรมและวินัยใดที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แก่เธอทั้งหลาย ธรรมและวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย โดยกาลที่เราล่วงลับไป"

ตามพุทธพจน์นี้ เมื่อพระสงฆ์ศึกษาเล่าเรียนปฏิบัติสั่งสอนวินัยกันถูกต้องดีพระสงฆ์ยังมี พระธรรมก็อยู่ด้วย กับทั้งพระศาสดาที่แทนองค์พระพุทธเจ้า ครบทั้งมวล
  ข่าวสด : ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๘


pct.40-40
3477  สุขใจในธรรม / เกร็ดศาสนา / ตามพระใหม่ไปเรียนธรรม โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙) เมื่อ: 06 มิถุนายน 2558 11:40:00
.
https://lh4.googleusercontent.com/-X-MXg7SJlkg/TXJSWP2h1VI/AAAAAAAAAN0/pg4LWZnNSF4/s1600/payoto_1.jpg

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)

ตามพระใหม่ไปเรียนธรรม (บทนำ)
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)

• บวชอย่างไร พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย จะได้บุญมาก
การที่ท่านทั้งหลายได้เข้ามาขอบรรพชาครั้งนี้ ก็ด้วยมีใจศรัทธาในพระพุทธศาสนา ในหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า พร้อมทั้งมีความตั้งใจเป็นกุศลเรียกว่ามีฉันทะ ในการที่จะศึกษาปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น  นอกจากจะเป็นไปด้วยศรัทธาของท่านทั้งหลายเองแล้ว ก็พร้อมด้วยความสนับสนุนจากบิดามารดาและท่านผู้ใหญ่ผู้มีความรักความเมตตา ท่านเหล่านั้นมีความปรารถนาดี ก็อยากให้ลูกหลานได้มาอุปสมบทในพระศาสนา ซึ่งมีความหมายทั้งในแง่ของวัฒนธรรมประเพณี มีความหมายในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่บุพการีกับบุตรของตน เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่าการ “บวชเรียน”

การบวชเรียนนี้ ได้กลายเป็นประเพณีของพุทธศาสนิกชนชาวไทย แสดงถึงการที่พระพุทธศาสนาได้ฝังรากลึกลงไปประดิษฐานมั่นคงในประเทศไทยนี้

การบวชมีความหมายสำคัญ คู่กับการเรียน เราจึงเรียกว่า”บวชเรียน” คือ บวชเพื่อเรียน แล้วการบวชก็เป็นการเรียน

• ความมุ่งหมายของการบวช
เพราะฉะนั้น เราก็เริ่มกันตั้งแต่บัดนี้เลย คือพอมาขอบรรพชาก็เริ่มเรียนทันที โดยที่ท่านทั้งหลายจะต้องเข้าใจความหมายและความมุ่งหมายของการบวช

ที่จริงจุดหมายของการบวชมีอยู่แล้วในคำขอบวช คือในคำขอบวชแบบ “อุกาสะ” อยู่ที่คำว่า “สัพพทุกข-นิสสรณนิพพาน-สัจฉิกรณัตถายะ” (เพื่อประจักษ์แจ้งนิพพานที่ปลอดพ้นจากปวงทุกข์) นี่เป็นจุดหมายสูงสุดรวบยอด ต้องพูดกันยาว บวชแล้วจะได้เรียนกันจริงจัง

• ในที่นี้ จะพูดถึงความมุ่งหมายรองที่สืบเนื่องและพ่วงมาซึ่งพอสรุปได้ ๔ อย่างคือ
ข้อที่ ๑ บวชเพื่อทำหน้าที่ของพุทธบริษัท
ประการแรก การบวชนี้เป็นการทำหน้าที่ของพุทธศาสนิกชน คือ เรานับถือกันว่า เราทุกคนที่อยู่ในพุทธบริษัท มีหน้าที่จะช่วยกันรักษาสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา เพราะว่าพระพุทธศาสนานั้นดำรงอยู่เพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชน ทำให้สังคมของเรามีศีลธรรม มีความร่มเย็นเป็นสุข เราจึงเห็นคุณค่าเห็นความสำคัญของพระพุทธศาสนา เราจึงนับถือพระพุทธศาสนา อยากให้พระพุทธศาสนาดำรงอยู่อย่างมั่นคงยืนยาน

ในการรักษาสืบต่ออายุพระพุทธศาสนานั้น เราอาจจะทำนั่นทำนี่ สร้างโน่นสร้างนี่ อุปถัมภ์บำรุงต่างๆ อยู่ข้างนอก เช่น ถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์ เป็นต้น  แต่นั่นก็ยังไม่เต็มตัว ไม่เต็มที่ ทีนี้ถ้าเราเข้ามาบวช เราก็ได้ศึกษาประพฤติปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าด้วยตัวเอง ให้พระพุทธศาสนาเข้ามาอยู่ในเนื้อในตัวของเราเลย ด้วยการเล่าเรียน ทรงจำ รู้เข้าใจและประพฤติปฏิบัติ

เมื่อไรพระพุทธศาสนาเข้ามาอยู่ในชีวิตของเรา โดยเราประพฤติปฏิบัติ ก็เท่ากับว่าเราเอาชีวิตของเรารักษาพระศาสนาไว้ ตราบใดที่ชีวิตของเราอยู่ พระพุทธศาสนาก็อยู่ด้วย เพราะว่าพระพุทธศาสนานั้นกลายเป็นเนื้อเป็นตัวของเรา ด้วยการรู้เข้าใจและประพฤติปฏิบัติ แล้วยังสามารถนำไปแนะนำสั่งสอนบอกเล่าชี้แจงแก่ผู้อื่นด้วย

พร้อมกันนี้ การที่ท่านทั้งหลายเข้ามาบวช และได้เล่าเรียนปฏิบัตินั้น ก็ได้มาอยู่ในสงฆ์ หรือเข้ามาร่วมสังฆะ ซึ่งเป็นสถาบันที่รักษาพระศาสนาไว้ ตราบใดที่ยังมีสงฆ์ พระพุทธศาสนาก็ยังคงอยู่ เพราะว่าสงฆ์นี้แม้จะเป็นสมมติสงฆ์ ก็นับเนื่องโยงเข้าไปถึงพระรัตนตรัย เป็นสื่อ เป็นองค์แทน ที่จะดูแลโอบอุ้ม อย่างน้อยห่อหุ้มพระศาสนาไว้

เพราะฉะนั้น การที่ท่านทั้งหลายเข้ามาบวชอย่างนี้ จึงเป็นการทำหน้าที่ในนามของพุทธบริษัท ในการรักษาสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา เป็นบุญเป็นกุศลสำคัญประการที่หนึ่ง
 ข่าวสด : ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๘


ตามพระใหม่ไปเรียนธรรม (๒)
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)

ข้อที่ ๒ บวชเพื่อทำหน้าที่ของคนไทย
การบวชนี้ มีความหมายว่าเป็นการทำหน้าที่ของคนไทย หรือกุลบุตรชาวไทย ทำไมจึงว่าเป็นการทำหน้าที่ของคนไทย ก็เพราะเราถือว่าพระพุทธศาสนานี้เป็นสมบัติของชาติไทย เป็นมรดกที่บรรพบุรุษไทยได้อุตส่าห์รักษาสืบต่อกันมา เราในฐานะที่เป็นคนไทย จึงมีหน้าที่รักษามรดกนั้นไว้

ตัวพระพุทธศาสนาเองก็เป็นสมบัติที่ล้ำค่าอยู่แล้ว เพราะว่ามีคำสอนที่เป็นสัจธรรม เป็นอมตะ เป็นสิ่งที่มีค่าอยู่ในตัวเอง นอกจากนั้น พระพุทธศาสนายังเป็นบ่อเกิด เป็นรากฐานของวัฒนธรรมไทยของเรา ตั้งแต่ภาษาที่ใช้สื่อสาร มีภาษาพระ มีคำที่มาจากภาษาบาลี และสันสกฤต ซึ่งเรานำเข้ามาใช้ในภาษาไทยมากมาย แล้วก็ออกมาทางวัฒนธรรมด้านวัตถุ เช่น ศิลปกรรมหลากหลายทำให้ชนชาติไทยเรานี้เจริญด้วยวัฒนธรรม มีอารยธรรม เราจึงถือว่าพระพุทธศาสนาเป็นสมบัติสำคัญของชาติ ที่เราจะต้องช่วยกันรักษาไว้ อีกทั้งเป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาที่เราสามารถนำมาใช้พัฒนาอัจฉริยภาพของประเทศชาติต่อไปในระยะยาว

ดังนั้น การที่ท่านทั้งหลายมาบวชนี้ จึงเป็นการทำหน้าที่ข้อนี้ด้วย คือทำหน้าที่ของคนไทยใน การรักษาพระพุทธศาสนาที่เป็นสมบัติอันล้ำค่าของชาติไว้

ข้อที่ ๓ บวชเพื่อฉลองพระคุณของพ่อแม่
การบวชมีความหมายแคบเข้ามา โดยมีความผูกพันกับบุพการี ถือกันว่าการบวชเป็นการตอบแทนพระคุณของบิดา มารดา  คุณพ่อคุณแม่นั้นรักลูกมาก อยากให้ลูกเป็น คนดี มีความสุขความเจริญ ลูกก็ถือว่าพ่อแม่มีพระคุณมาก จึงมีหลักธรรมคำสอนให้กตัญญูกตเวทีให้ตอบแทนพระคุณของท่าน

ทำไมจึงถือว่าการบวชนี้เป็นการตอบแทนพระคุณ ก็อย่างที่กล่าวเมื่อกี้ว่า พ่อแม่นั้นฝากความสุขความทุกข์ไว้กับลูกเป็นอย่างมาก ถ้าลูกมีความสุขความเจริญ ประพฤติดี พ่อแม่ก็มีความสุขด้วย ถ้าลูกประพฤติไม่ดี เป็นที่หนักใจ พ่อแม่นั้นแหละจะเป็นคนที่ทุกข์ที่สุด ในเมื่อพ่อแม่ฝากสุขและทุกข์ไว้กับลูกอย่างนี้ ลูกที่ดีก็ต้องพยายามทำให้พ่อแม่มีความสุข มีความสบายใจ ไม่หนักใจกับเรา ได้มองเห็นเราด้วยความปลื้มใจ และมีความหวัง

การที่พ่อแม่จะมีความสุขมีความหวังอย่างนี้ได้ ก็ด้วยเห็นลูกอย่างที่กล่าวเมื่อกี้ว่าลูกเป็นคนดี ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนทำหน้าที่การงาน มีความขยันหมั่นเพียร มีคุณธรรม เจริญก้าวหน้า มีชีวิตที่ดีงาม มีความสุข ถ้าพ่อแม่เห็นลูกดีงามมีความสุขความเจริญอย่างนี้ พ่อแม่ก็มีความสุข ลูกไม่ต้องทำอะไรก็ตอบแทนพระคุณพ่อแม่อยู่แล้วในตัว ทีนี้ก็เลยจะขอขยายความว่า การตอบแทนพระคุณพ่อแม่ อาจสรุปได้ ๓ อย่าง
๑. เลี้ยงท่านทางกาย เช่น เลี้ยงด้วยอาหาร ด้วยปัจจัย ๔ ยามท่านชราแก่เฒ่าลงเราอาจดูแลท่านในเรื่องวัตถุ สิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่างๆ แต่ระหว่างที่ท่านยังแข็งแรง ท่านเป็นฝ่ายเลี้ยงเรา ท่านเลี้ยงเราก่อน ซึ่งกลายเป็นว่ากว่าจะได้ตอบแทนท่าน เราต้องรออีกนาน แถมไม่แน่เสีย ด้วย จึงมีวิธีตอบแทนพระคุณท่านในข้อต่อไป ซึ่งทำได้ทันที ไม่ต้องรอ

๒. เลี้ยงทางใจ เลี้ยงใจนี้เป็นการเลี้ยงที่สำคัญ เลี้ยงใจก็คือช่วยให้ใจของท่านสบาย มีความสุข ให้ท่านเห็นลูกแล้วได้ปลื้มใจ อย่างน้อยก็ไม่หนักใจ อย่างที่พูดเมื่อกี้ที่ว่า ถ้าเราประพฤติตัวดี ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ตั้งใจทำการงาน มีความสุขความเจริญ นั่นก็เป็นการเลี้ยงใจพ่อแม่ ทำให้พ่อแม่มีความสุข ชื่นใจ ปลื้มใจ ตลอดเวลา

๓. ลูกตอบแทนพระคุณอย่างสูงสุดแก่พ่อแม่ ด้วยการให้สิ่งที่ประเสริฐแก่ชีวิตของท่าน พระพุทธเจ้า ตรัสไว้ว่า ถึงลูกจะเอาพ่อแม่มาขึ้นบ่าประคบ ประหงมเลี้ยงดูตลอดชีวิตอย่างดีที่สุด ก็ยังไม่ได้ชื่อว่าตอบแทนพระคุณของท่าน แต่ลูกคนใด ถ้าพ่อแม่เป็นคนไม่มีศรัทธา ทำให้ท่านมีศรัทธาได้ พ่อแม่ไม่มีศีลทำให้ท่านหันมาประพฤติปฏิบัติชอบ มีศีลได้ พ่อแม่ไม่มีจาคะ ไม่มีความเสียสละ ไม่ช่วยเหลือใคร ไม่บำเพ็ญประโยชน์ ลูกก็ทำให้พ่อแม่มี จาคะเป็นคนเสียสละบำเพ็ญประโยชน์ได้ พ่อแม่ไม่มีปัญญา ลูกก็ช่วยหาทางเกื้อหนุนให้ท่านมีปัญญา ขึ้นได้ เช่น มีปัญญารู้ธรรมะ เข้าใจหลักพระศาสนา รู้เท่าทันธรรมดาของโลกและชีวิต โดยน้อมนำท่านอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยวิธีที่เหมาะสม อย่างนี้ถือว่าเป็นการตอบแทนพระคุณอย่างสูง
 ข่าวสด : ๑ มิถุนายน ๒๕๕๘


ตามพระใหม่ไปเรียนธรรม (๓)
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)

ที่เป็นอย่างนั้น ก็เพราะว่า อะไรเล่าจะมีค่าเท่ากับธรรม เกิดมาทั้งที ถ้าชีวิตนี้ได้ธรรมอย่างที่ว่า ได้ศรัทธา ได้ศีล ได้สุตะ ได้จาคะ ได้ปัญญา ก็กลายเป็นชีวิตที่ดีงามประเสริฐ เมื่อช่วยให้ท่านได้ธรรม จึงเท่ากับว่าได้ให้สิ่งประเสริฐ ซึ่งมีคุณค่าสูงสุดแก่พ่อแม่

การที่ลูกบวชนี้ นอกจากเลี้ยงใจพ่อแม่แล้ว ก็โน้มนำให้พ่อแม่เข้ามาใกล้ชิดพระศาสนา เราถือกันว่า การที่ลูกบวชนั้น ทำให้พ่อแม่ได้เป็นศาสนทายาท หรือได้เป็นญาติของพระศาสนา อันนี้มีเรื่องสืบต่อมา ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช

นี่หมายถึงพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งเป็นมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่ได้ทำให้พระพุทธศาสนาแพร่หลายออกไปในประเทศต่างๆ รวมทั้งดินแดนสุวรรณภูมิของเราด้วย พระเจ้าอโศกได้อุปถัมภ์บำรุงพระศาสนามากมาย สร้างวัดถึง ๘๔,๐๐๐ วัด ทั่วดินแดนชมพูทวีปที่กว้างใหญ่ คือ ในอินเดีย ซึ่งสมัยนั้นใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ใหญ่กว่าอินเดียสมัยนี้

พระเจ้าอโศกนั้น เมื่อได้อุปถัมภ์บำรุงพระศาสนามากมาย วันหนึ่งก็เลยได้ถามพระมหาเถระ ชื่อโมคคัลลีบุตรติสสะเถระว่า ที่โยมได้อุปถัมภ์บำรุงพระศาสนามามากมายนี้ โยมก็อยากจะได้เป็นญาติของพระศาสนา ได้เป็นศาสนทายาท แล้วที่โยมทำมามากมายด้วยศรัทธาอย่างแรงกล้า สละทุนทรัพย์มหาศาลนี้ โยมได้เป็นญาติของพระศาสนาหรือยัง ได้เป็นศาสนทายาทหรือยัง พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระตอบว่า "ยัง"

ลองคิดดู พระเจ้าอโศกมหาราชเมื่อได้ทรงสดับคำของพระเถระ คงจะพระทัยท้อลงไปทีเดียว แต่พระเจ้าอโศกก็ไม่ได้ทรงท้อถอย พระองค์ตรัสถามต่อไปว่า อ้าว! แล้วทำอย่างไรโยมถึงจะได้ชื่อว่าเป็นศาสนทายาท

พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ซึ่งเป็นประธานพระสงฆ์สมัยนั้น ก็ได้ตอบแก่พระเจ้าอโศกมหาราชว่า ถ้าหากท่านผู้ใดได้มีบุตรธิดาเข้าไปบวชในพระศาสนา ท่านผู้นั้นแหละได้ชื่อว่าเป็นศาสนทายาท

พระเจ้าอโศกมหาราช ก็ทรงพิจารณาแล้วทรงปรึกษาพระโอรสพระธิดาว่า มีใครพร้อมใจจะบวชบ้างไหม ก็พอดีมีพระโอรสและพระธิดาที่อยากจะบวชอยู่แล้ว รอขอพระบรมราชานุญาตอยู่ คือเจ้าชายมหินทะ กับเจ้าหญิงสังฆมิตตา ทั้งสองท่านก็เลยได้โอกาส ก็อาสาสมัครขอบวชในพระศาสนา  จึงเป็นอันว่า ได้มีพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระเจ้าอโศกมหาราชเข้ามาบรรพชาอุปสมบท คือ เจ้าชายมหินทะ มาเป็นพระมหินทะเถระ เป็นพระภิกษุ ส่วนพระราชธิดาชื่อสังฆมิตตา ก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุณี ชื่อว่า พระสังฆมิตตาเถรี แล้วทั้งสองท่านนี้ก็ได้มาประดิษฐานพระพุทธศาสนาในลังกา หรือในศรีลังกาปัจจุบัน

พระมหินทะเถระได้นำคณะพระสงฆ์มาประดิษฐานพระพุทธศาสนา เผยแผ่คำสอนของพระพุทธเจ้าที่ลังกาทวีป แล้วพระสังฆมิตตาเถรีก็เข้ามาตั้งภิกษุณีสงฆ์ พร้อมทั้งนำเอากิ่งต้นพระศรีมหาโพธิ์จากพุทธคยาสถานที่ตรัสรู้มาประดิษฐานให้แก่ชาวลังกาทวีป ต้นโพธิ์ต้นนี้ เดี๋ยวนี้ก็ยังอยู่ มีอายุ ๒,๓๐๐ กว่าปี แก่มาก ต้องใช้ไม้ที่ประดับอย่างดีแล้ว มาค้ำมายันไว้ อยู่ที่เมืองอนุราธปุระ พระนครหลวงเก่าในอดีตกาลของศรีลังกา

ในหนังสือตำราใหญ่ๆ มีฝรั่งเขียนบันทึกไว้ว่า ต้นโพธิ์ที่เมืองอนุราธปุระ ซึ่งมาจากพุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ต้นนี้ เป็น ต้นไม้ประวัติศาสตร์ที่มีอายุน่าจะยาวนานที่สุดของโลก

อันนี้เป็นตำนาน เป็นเรื่องเก่า แต่ไม่ใช่แค่เป็นตำนาน เป็นประวัติศาสตร์แล้ว เราก็เลยมีประเพณีกันมาว่า ให้ลูกบวชได้แล้ว จะได้เป็นศาสนทายาท  การได้เป็นศาสนทายาทนี้ เรามองกัน เพลินๆ ไปในแง่ของคติที่สืบกันมา แต่ความหมายที่สำคัญก็คือ เมื่อลูกบวช พ่อแม่ก็ได้ใกล้ชิดพระศาสนา

ก่อนนี้เคยมีภารกิจมากมายวุ่นวาย ไม่มีเวลาไปวัด อย่าว่าแต่ไปวัดเลย บางทีไม่มีเวลาจะคิดถึงวัดเลย แต่พอลูกบวช เพราะความที่รักลูก ตอนนี้แหละใจตามลูกไปแล้ว ใจไปอยู่ที่วัดแล้ว เมื่อใจไปอยู่กับลูก ก็ไปอยู่กับพระด้วย เพราะตอนนี้ลูกกับพระเป็นคนเดียวกัน คิดถึงลูก ก็คือคิดถึงพระ

พอคิดถึงพระ ใจก็ตามพระไปอยู่ที่วัด วันนี้ เวลานี้ พระท่านกำลังทำอะไรหรือจะทำอะไรหนอ ท่านกำลังจะไป บิณฑบาต เดี๋ยวเราก็จะได้ตักบาตรหรือว่าพระท่านไปทำวัตรสวดมนต์ พระท่านทำกิจวัตรอันโน้นอันนี้ โยมก็นึกถึงอยู่เรื่อย ใจก็เลยมาอยู่ที่วัด
 ข่าวสด : ๒ มิถุนายน ๒๕๕๘



อัฐบริขารและเครื่องใช้สอยงานอุปสมบทภิกษุ วัดธาตุหลวงใต้ เวียงจันทน์ ประเทศลาว

ตามพระใหม่ไปเรียนธรรม (๔)
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)

พอใจมาอยู่กับวัด ใจนั้นก็น้อมมาหาธรรมะเข้ามาในบุญกุศลโดยแทบไม่รู้ตัว เดี๋ยวตัวเองก็ได้ตักบาตรบ้าง ได้มาวัดถวายภัตตาหารบ้าง ได้ใกล้ชิดพระสงฆ์ ได้มารับบรรยากาศของวัด ได้ฟังธรรม เลยบางทีเพราะบวชลูกนี่แหละ ก็เลยได้เกิดความสนใจใฝ่ธรรม ได้รับสมบัติของพระพุทธศาสนา ลูกก็เลยกลายเป็นสื่อที่ช่วยโน้มนำพ่อแม่เข้ามาหาธรรม ได้ธรรมะ

นี่ละก็คือทำให้คุณพ่อคุณแม่ได้เป็นศาสนทายาท

แต่ก่อนนี้มีประเพณีว่า เวลาลูกบวช จะต้องจัดให้ลูกไปเทศน์ให้โยมพ่อโยมแม่และญาติพี่น้องฟังสักครั้งหนึ่ง ลูกก็จะได้เตรียมตัว ค้นคว้าเต็มที่ เอาธรรมะไปแสดง โยมพ่อโยมแม่ก็ได้ชวนเพื่อนบ้านญาติมิตรมาฟังธรรมกัน นี้ก็เป็นวิธีการที่จะทำให้โยมและญาติพี่น้องปู่ย่าตายายได้เข้ามาใกล้ชิดพระศาสนา  ฉะนั้น ในโอกาสที่บวชนี้ ก็ได้ทำหน้าที่ต่อโยมพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ปู่ย่าตายาย เป็นต้นด้วย ถ้ามีความตั้งใจดี ก็พยายามโน้มนำให้ท่านเข้ามาใกล้ชิดพระศาสนา ให้มีจิตใจโน้มมาทางธรรม ให้ได้เรียนรู้เข้าใจพระศาสนาเพิ่มขึ้น ก็จะเป็นประโยชน์ เป็นการตอบแทนพระคุณที่สำคัญ ให้ท่านได้สิ่งที่มีค่าสูงสุด ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ อันนี้ก็เรียกว่าทำให้โยมได้เป็นญาติของพระศาสนา คือได้ใกล้ชิด เข้ามาอยู่ในวงในของพระศาสนาเลย

แล้วข้อสำคัญก็คือว่า แต่ละเวลาที่บวชอยู่นี้ ถ้าตั้งใจประพฤติปฏิบัติดี โยมพ่อโยมแม่ โยมปู่ย่าตายายได้เห็น ได้นึกขึ้นมา ก็มีความปลื้มปีติตลอดเวลา เห็นลูกหลานห่มจีวรมาบิณฑบาต ได้ตักบาตรแล้ว ก็ปลื้มใจ มีความสุข มาวัดก็มีความสุข  ก็ขอให้ตั้งใจว่า ที่เรามาบวชนี้ บวชเพื่อโยมด้วย ถ้าตั้งใจอย่างนี้แล้ว เราก็ต้องคิดว่าเราต้องทำให้ดีที่สุดเพื่อให้โยมได้บุญมากที่สุด ให้โยมได้ความสุข ให้โยมได้ความปลื้มใจมากที่สุด ตลอดจนคุณปู่คุณย่าคุณตาคุณยาย ญาติพี่น้องทุกคนเลย ถ้าได้ตั้งใจให้แก่ท่านอย่างนี้แล้ว การบวชก็จะเกิดผลดีแก่ตนเองด้วย เป็นบุญเป็นกุศลทั้งสองฝ่าย นี่เป็นวัตถุประสงค์ และความหมายข้อที่สาม เอาละทีนี้ก็ต่อไป

ข้อที่ ๔ บวชเพื่อจะได้ฝึกศึกษา ได้พัฒนาตนเอง
คราวนี้แคบเข้ามาอีก ก็มีถึงตัวเอง ในข้อที่สี่นี้ การบวชก็คือ เป็นการได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียน ได้ฝึกตนในพระธรรมวินัย

การที่ท่านทั้งหลายมาบวชนี้ มองในแง่หนึ่งก็เหมือนกับสละเวลาส่วนหนึ่งให้แก่พระศาสนา อย่างที่บอกเมื่อกี้นี้ เราทำหน้าที่พุทธบริษัท โดยให้เวลาแก่พระศาสนา มารักษาพระศาสนา แต่ที่จริงนั้น มองอีกทีหนึ่ง ก็คือการมาให้โอกาสแก่ตัวเอง คือให้โอกาสแก่ตัวเองที่จะมาฝึกฝนตนในทางศีล ในทางสมาธิ ในทางจิตใจและในทางปัญญา โดยเรียนรู้คำสอนของพระศาสนา ได้ศึกษาปฏิบัติต่างๆ รวมความว่าเป็นเวลาดีที่สุดที่จะฝึกตน เป็นอันว่า ในที่สุดก็มารวมที่ตนเอง ในการได้มีโอกาสเรียนรู้ฝึกตนในพระธรรมวินัย

ทีนี้ ถ้าทำหน้าที่ในข้อที่สี่ คือทำหน้าที่ต่อตนเองนี้ได้แล้ว ก็จะได้ความหมายและวัตถุประสงค์สามข้อต้นไปเองด้วย เพราะว่าสามข้อต้นนั้น ในที่สุดก็มารวมอยู่ที่ข้อสี่นี้เอง คือ ว่าตามความจริงนั้น เราทำให้แก่ตัวเองคนเดียวนี่แหละ ในที่สุด ผลก็ได้แก่ทุกข้อพร้อมไปด้วยกันทั้งหมดเลย ตลอดจนเชื่อมไปถึงจุดหมายสูงสุดที่ว่าข้างต้นด้วย

พอตัวเองตั้งใจประพฤติปฏิบัติดี ได้ศึกษาเล่าเรียน เป็นพระดี มีความรู้ธรรมวินัยแล้ว ในเวลานั้นเอง ข้อที่หนึ่ง ก็ได้ทำหน้าที่ของพุทธศาสนิกชนในการรักษาพระศาสนาไปเองด้วยในตัว ข้อที่สอง ก็ได้ทำหน้าที่ของคนไทยในการรักษามรดกของชาติไปเองด้วยในตัว ข้อที่สาม การทำหน้าที่ต่อโยมพ่อแม่ปู่ย่าตายายบุพการีก็ได้ไปด้วยในตัว เพราะการที่เราเป็นพระดี ตั้งใจประพฤติปฏิบัติดี อย่างที่ว่าแล้ว ก็ทำให้โยมได้ปลื้มใจ มีปีติ มีความสุข โยมก็ได้ทำบุญได้พัฒนากุศลไปด้วย และตัวเองก็เจริญก้าวหน้าไปในทางสู่จุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา เพราะฉะนั้น ในที่สุดก็มารวมที่ข้อสี่นี่แหละ ก็เลยมาลงที่ข้อบวชเรียนนี่เอง
 ข่าวสด : ๓ มิถุนายน ๒๕๕๘


ตามพระใหม่ไปเรียนธรรม (๕)
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)

เมื่อตัวเราจะบวชเรียน ก็ควรให้ได้ประโยชน์ครบถ้วนตามความหมายและความมุ่งหมายของการบวชทั้ง ๔ ข้อนั้น ตอนนี้เราจะบวช เราก็ต้องรู้เข้าใจในความมุ่งหมายให้ชัด เมื่อเราเข้าใจความมุ่งหมายชัดดีแล้ว เราก็ตั้งใจได้มั่นแน่วถูกทาง พอตั้งใจถูกแน่ว การบวชก็จะได้ผลดี คือมีเป้าหมายมีวัตถุประสงค์แล้ว ก็ทำให้เกิดความตั้งใจจริง และการประพฤติปฏิบัติก็จะจริงจังตรงเป้าและเกิดผลสมบูรณ์ เป็นความสำเร็จ เพราะฉะนั้นจึงขอให้เข้าใจตระหนักในความมุ่งหมายของการบวชทั้ง ๔ ประการนี้

• ความหมายของการบวช
ตอนนี้จะย้อนมาเรียนรู้เข้าใจเรื่องความหมายของตัวการบวชเอง ในที่นี้ได้พูดเรื่องความมุ่งหมายของการบวชไปแล้ว ก่อนมาอธิบายความหมายของการบวช นี่เป็นการพูดไปตามลำดับความเกี่ยวข้องใกล้ตัว พร้อมทั้งความยากง่ายและความน่าสนใจ

• ประเพณีบวชเรียนสืบมาแต่สุโขทัย
ว่าถึงการบวชเรียนของเรานี้ เป็นประเพณีที่สืบต่อกันมานาน อย่างที่กล่าวแล้วว่าคนไทยเรามีประเพณีนี้ เท่ากับเป็นเครื่องหมายแสดงถึงการที่พระพุทธศาสนาได้เข้ามาแน่นแฟ้นอยู่ในวิถีชีวิตของคนไทย เรามีประเพณีบวชเรียนที่คนไทยทุกหมู่เหล่า เข้ามาบวชเหมือนกันหมด ตั้งแต่องค์พระมหากษัตริย์ลงมาจนถึงลูกชาวบ้าน ประเพณีการบวชนี้จึงเป็นเครื่องประสานให้คนไทยทุกคนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

การบวชเรียนที่เรามีอยู่นี้ เข้าใจว่าเป็นประเพณีที่สืบต่อมาจากองค์พระมหากษัตริย์ เพราะว่าตามประวัติศาสตร์เท่าที่เราทราบนั้น การที่มีโยมเข้าไปบวชพระชั่วคราวนี้ เกิดขึ้นในสมัยสุโขทัย ตามเรื่องที่มีมาว่า พระมหาธรรมราชาลิไท ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก ได้ทรงศึกษาธรรมแตกฉานแล้ว คราวหนึ่งทรงมีพระราชศรัทธามาก ก็เลยเสด็จออกผนวช ที่วัดอรัญญิก ในกรุงสุโขทัย เมื่อ พ.ศ.๑๙๐๔

ทีนี้ เรื่องที่พระเจ้าลิไทจะผนวชนี้ ก็มีเรื่องสืบมาอีกว่า พระองค์ได้ทรงระลึกถึงพระมหาธรรมราชาในกาลก่อน คือพระเจ้าอโศกมหาราชนั่นเอง มีเรื่องว่าพระเจ้าอโศกมหาราชก็เคยทรงผนวช แม้ว่าอันนี้เป็นเรื่องที่ยังตีความกันอยู่ แต่รวมแล้ว คนไทยเรามีประเพณีนี้โดยสืบเนื่องโยงไปสัมพันธ์กับเรื่องของพระเจ้าอโศกมหาราชด้วย

เรื่องก็คือว่า ในศิลาจารึกที่พระเจ้าอโศกมหาราชได้โปรดให้เขียนไว้มากมายนั้น มีศิลาจารึกฉบับหนึ่ง ("ศิลาจารึกฉบับน้อย จารึกฉบับเหนือ" ในหนังสือ จารึกอโศก : รัฐศาสตร์แห่งธรรมาธิปไตย, พ.ศ.๒๕๕๒ หน้า ๑๒๕) บอกข้อความว่า

"...นับเป็นเวลานานกว่าสองปีครึ่งแล้ว ที่ข้าฯ ได้เป็นอุบาสก แต่กระนั้นข้าฯ ก็มิได้ทำความพากเพียรจริงจังเลย และนับเป็นเวลาได้อีก ๑ ปีเศษแล้ว ที่ข้าฯ ได้เข้าสู่สงฆ์ และได้ทำความพากเพียรอย่างจริงจัง..."

ในศิลาจารึกฉบับนี้ ข้อความที่ว่า "เข้าสู่สงฆ์" เป็นคำที่ทำให้ต้องตีความ เพราะไม่บ่งชัดลงไปว่าได้อุปสมบท แต่ทีนี้ข้างต้นมีคำว่า "ข้าฯ ได้เป็นอุบาสกมาสองปีครึ่งแล้ว" ยังไม่ได้เพียรจริงจัง เมื่อเข้ามาสู่สงฆ์แล้ว จึงได้เอาจริงเอาจัง เอ... ถ้าเป็นอุบาสกอยู่แล้ว มาเข้าสงฆ์ ก็ต้องบวชสิ ก็เลยตีความกันว่าทรงผนวช แต่บางท่านก็ยังไม่ยอมรับ

แต่เอาละ ก็เป็นอันว่ามีศิลาจารึกบอกความไว้อย่างนี้ เราก็ฟังกันไว้ อย่างน้อยก็ได้เห็นว่าพระเจ้าอโศกนี้ทรงเลื่อมใสศรัทธามาก  ที่ว่าพระเจ้าอโศกมหาราชได้เข้าสู่สงฆ์นี้ก็เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๐ คือ พระเจ้าอโศกมหาราชได้ขึ้นครองราชสมบัติเมื่อ พ.ศ. ๒๑๘ แล้วก็ยกทัพไปเที่ยวรุกรานตีเมืองโน้นเมืองนี้ จนถึงปีที่ ๘ ก็ไปตีแคว้นกลิงคะ ทำให้คนล้มตายเป็นแสน พระเจ้าอโศกมหาราชก็ทรงสลดพระทัย แล้วก็มาเลื่อมใสในคำสอนของพระพุทธเจ้า จึงมาเป็นอุบาสก

นับจากปี ๒๑๘ ทำสงครามอีก ๘ ปี จึงมานับถือพุทธศาสนา ก็เข้าไป พ.ศ. ๒๒๖ แล้วเป็นอุบาสกสองปีครึ่ง ก็ปี ๒๒๘ ครึ่ง แล้วมาเข้าสู่สงฆ์อีกปีเศษ ก็ได้ประมาณ พ.ศ. ๒๓๐ ที่ว่าพระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงเข้าสู่สงฆ์อย่างที่กล่าวมาแล้ว

อันนี้ก็อาจจะเป็นคติที่ทำให้เกิดประเพณีการบวช ซึ่งมาเริ่มต้นจากองค์พระมหากษัตริย์ในประเทศไทย คือ พระมหาธรรมราชาลิไท

ทีนี้ ต่อมาในสมัยอยุธยา พระเจ้าบรมไตรโลกนาถ ซึ่งเป็นมหาราชอีกองค์หนึ่ง ก็ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก ถึงกับสละราชสมบัติออกผนวชชั่วคราว ๘ เดือน ที่วัดจุฬามณี แล้วก็ทรงให้พระราชโอรส พระราชนัดดามาบวชเณรอีก อันนี้ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่แท้จริงของประเพณีบวชเรียนในประเทศไทย  
 ข่าวสด : ๔ มิถุนายน ๒๕๕๘


ตามพระใหม่ไปเรียนธรรม (๖)
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)

ต่อแต่นั้น ตั้งแต่องค์พระมหากษัตริย์มาจนถึงชาวบ้านทั่วไป ก็พากันถือประเพณีบวชเรียนสืบมา อย่างในหลวง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ก็ได้ทรงผนวช เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๙

พวกเราที่มาบวชนี้ ก็ถือว่าได้ทำหน้าที่ของคนไทยอย่างที่กล่าวมาแล้ว เป็นเรื่องที่มีความหมายสำคัญอยู่ในวัฒนธรรมประเพณี แต่ก็ต้องอย่างที่ว่าแล้ว ข้อสำคัญอยู่ที่ตัวท่านเอง ที่ว่าในที่สุดก็เป็นการทำหน้าที่ต่อตัวเอง ในการที่ได้ศึกษา คือบวชเรียนนี่แหละ

• บรรพชาออกมาจากบ้าน เข้าวัดบวชในพระธรรมวินัย
ทีนี้ก็มาศึกษาความหมายของคำว่าบวชกันนิดหนึ่ง คำว่า "บวช" นี้มาจากคำบาลีคือ "ปวช" (อ่านว่า ปะ-วะ-ชะ) เมื่อมาเป็นคำไทย ก็แผลง ป เป็น บ จึงเป็น บวช

"บวช" นี้ก็คำเดียวกับ "บรรพชา" นั่นเอง นี่เป็นเรื่องของภาษาบาลีและสันสกฤตในที่นี้จะไม่แยกแยะลงไปในรายละเอียด เอาสาระกันตรงที่ว่า "บวช" นี้มีความหมายว่า "เว้น" "ปลีกตัวออกไป" (เว้นรอบ,ไปได้ทั่ว) เว้น หรือปลีกตัวออกไปจากอะไร

๑. เว้นว่างจากสิ่งที่เป็นบาปอกุศล หรือสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี ที่จะชักจูงจิตใจไปในทางที่ไม่ดี ปลีกตัวออกมาจากสิ่งเสียหาย เช่นว่า ถ้าสังคมมีอบายมุขมาก มีสิ่งชั่วร้ายมาก การบวชก็เป็นการเว้น การละ การสละ การปลีกตัวออกมาจากสิ่งเหล่านั้น ห่างไกลออกไปจากความเสื่อมเสียเศร้าหมอง ในขั้นพื้นฐาน
๒. ปลีกตัว เว้น ละ ออกมา จากความสับสนวุ่นวาย อย่างในสังคมสมัยนี้ มีผู้คนจอแจพลุกพล่าน ไม่มีความสงบ เราก็สละ ละเว้นออกมาจากความวุ่นวายนั้น มาอยู่กับบรรยากาศที่วิเวกสงบสงัด ทั้งสงัดกายและสงัดใจ โน้มจิตไปสู่ความวิเวกที่จะได้ปฏิบัติ บำเพ็ญเพียรทางจิตใจ เช่น ทำสมาธิ ให้ได้ผลยิ่งขึ้น
๓. เว้น ปลีกตัวออกมา จากเครื่องพะรุงพะรังห่วงกังวลทั้งหลาย เช่น บรรดาวัตถุสิ่งของในครอบครอง ที่มีที่เกิดขึ้นมา ผ่านเวลานาน ได้สะสมไว้มากมาย พอบวชก็ละเว้นสละมันไปเสียที ทำตัวให้โล่งให้โปร่งให้เบา พร้อมที่จะดำเนินไปในวิถีของความเป็นอิสระเสรี

ทีนี้เมื่อเว้นเมื่อปลีกตัวออกมาให้โปร่งโล่งอย่างนี้ ก็ต้องทำใจให้โปร่งโล่งตามด้วยอย่าไปห่วงกังวล

ในการบวชนี้ ข้อสำคัญอย่างหนึ่งก็คือ ต้องทำตัวเองให้เป็นอิสระ มีจิตใจที่รู้สึกปลอดโปร่งโล่งเบา เป็นอิสระจากบรรดาบาปอกุศล

แต่ความเป็นอิสระนี้ มิใช่เพื่อจะได้ไปทำอะไรตามชอบใจ ความเป็นอิสระ ความปลอดโปร่งโล่งเบานี้ ก็เพื่อเปิดโอกาสแก่ชีวิต ตอนนี้เราให้โอกาสแก่ชีวิตของเรา แต่ก่อนนี้ มัววุ่นวายกับเรื่องสารพัดแต่ละวันๆ ไม่มีโอกาสที่จะให้เวลาแก่ชีวิต ตอนนี้เราให้โอกาสแก่ชีวิตที่จะฝึกฝนตนในพระธรรมวินัย ตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้เวลาแก่ชีวิตที่จะได้ศึกษา ได้มาฝึกฝนตนเอง ได้มาพัฒนาชีวิตให้เจริญในกุศล จนเกิดมีปัญญาที่ทำให้เป็นอิสระอย่างแท้จริง

ที่ว่ามานี้เป็นความหมายของบรรพชา การบรรพชาทำให้เราเป็นอิสระ ทำให้เราได้โอกาส เรามีโอกาสแล้ว เราก็มาศึกษา ทั้งเล่าเรียนและปฏิบัติ ในคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่เป็นหลักแห่งพระธรรมวินัย เพื่อจะได้ลุถึงซึ่งความเป็น อิสระที่แท้จริง ก็จะสมกับที่เรียกว่าเป็นการบวชเรียน การที่บรรพชามาบวชเรียนก็คืออย่างนี้

• เมื่อบรรพชาได้บวชเณรแล้ว จะบวชพระก็ต่อด้วยอุปสมบท
ในสมัยแรกของพุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้าประกาศพระศาสนาใหม่ๆ การบวชมีอย่างเดียว มีขั้นตอนเดียว คือพอบวชเข้ามา ก็เป็นพระภิกษุไปเลย บุคคลที่ออกมาจากบ้าน ซึ่งท่านรับให้บวชเข้ามาในสงฆ์ล้วนเป็นผู้พร้อมดีแล้วที่จะเป็นบรรพชิต ผู้มีชีวิตแห่งบรรพชา

ต่อมามีพระอยู่กันมาก สังฆะขยายใหญ่โตขึ้น พระที่บวชตรงจากพระพุทธเจ้าก็มีพระที่พระสาวกบวชให้ก็มาก ผู้ที่บวชพร้อมกันดีแล้ว ก็มีผู้ที่บวชมาทั้งที่ยังไม่พร้อมดี ก็มาก ทำให้ต้องมีระเบียบวินัยกำกับมากขึ้นๆ พระพุทธเจ้าจึงทรงจัดสรรระบบของสังฆะด้วยวินัยบัญญัติ มีการจัดลำดับขั้นตอนต่างๆ ให้วิถีชีวิตมีระบบระเบียบมากขึ้น

ว่าตามพระวินัยที่ยุติแล้ว การบวชในปัจจุบันนี้ แบ่งเป็น ๒ ขั้นตอน คือ บวชเณรอย่างหนึ่ง บวชพระอย่างหนึ่ง บวชเณร (พูดให้เต็มว่า บวชเป็นสามเณร) เรียกว่า "บรรพชา" ดังที่ผู้จะบวชซึ่งนั่งพร้อมกันอยู่นี้ ได้กล่าวคำขอบวชเมื่อกี้ว่า "ปัพพัชชัง เทถะ เม ภันเต" (แปลว่า "ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงให้บรรพชา แก่ข้าพเจ้า") นี่หมายถึงให้การบวชเป็นสามเณร  
 ข่าวสด : ๕ มิถุนายน ๒๕๕๘

3478  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / Re: บันทึกไว้ในแผ่นดิน เมื่อ: 05 มิถุนายน 2558 15:04:26
.

ควายหีบอ้อย

หนึ่งใน “วาทะเจ้านาย เล่าประวัติศาสตร์” (ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย สำนักพิมพ์มติชน พ.ศ.2558) “เสนาบดีทุกวันนี้ เหมือนควายที่หีบอ้อย.... ”
 
ตามพระบรมราโชบายความมั่นคงของประเทศชาติ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว...ขณะนั้น เป็นเวลาที่ประเทศไทยตกอยู่ในภยันตรายด้านเอกราช จากการคุกคามของจักรวรรดินิยมตะวันตก
 
ประเทศเพื่อนบ้านสูญเสียเอกราชตก เป็นอาณานิคมชาติตะวันตกไปหมดแล้ว
 
มหาอำนาจทั้งอังกฤษ ฝรั่งเศส กำลังพยายามขยายอิทธิพลเข้าครอบคลุมไทย
 
ทรงพยายามอย่างยิ่งที่จะหาหนทางให้รอดพ้นจากภัยคุกคามนั้นเต็มสติกำลัง ดังพระราชดำริปรากฏในพระราชหัตถเลขาที่มีพระราชทานพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ ราชทูตพิเศษ ที่โปรดให้เดินทางไปฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ.๒๔๑๐  “ในเมื่อสยามถูกรังควานโดยฝรั่งเศสด้านหนึ่ง โดยอาณานิคมอังกฤษอีกด้านหนึ่ง... เราต้องตัดสินใจว่าเราจะทำอย่างไร จะว่ายทวนน้ำขึ้นไปเพื่อทำตัวเป็นมิตรกับจระเข้ หรือว่าออกทะเลไปเกาะปลาวาฬไว้”  วิธีหนึ่งที่ทรงเร่งดำเนินการแก้ไขวิกฤตการณ์นี้คือ การพัฒนาประเทศให้มีความเจริญทัดเทียมนานาอารยประเทศในทุกๆ ด้าน เพื่อจะได้ไม่มีข้ออ้างในการที่จะเข้ายึดครองประเทศ
 
ทรงเริ่มด้วยการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงหน่วยงานต่างๆ เพื่อใช้เป็นกลไกในการพัฒนาบ้านเมือง ตามพระราโชบาย ทำให้เกิดงานที่ยุ่งยากซับซ้อนกว่าเดิม ก่อให้เกิดความไม่พอใจกับเสนาบดีชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งเคยชินกับการทำงานแบบเดิมคือเรื่อยเฉื่อย สบายๆ ไม่มีวัตถุประสงค์ใดชัดเจน  นอกจากความไม่เข้าใจ และความไม่พอใจ บางคนยังเกิดความเข้าใจผิด เช่นเมื่อครั้งตั้งโรงเรียนให้การศึกษาแก่เด็กชายชาวบ้าน คนส่วนใหญ่ยังเข้าใจว่ารัฐบาลจะเกณฑ์เด็กไปเป็นทหาร
 
เหตุดังกล่าวนี้ ทำให้พระบรมราโชบายด้านต่างๆ...ต้องหยุดชะงัก หรือดำเนินไปอย่างเชื่องช้า เป็นที่น่าหวั่นเกรงว่าจะไม่ทันกับภัยอันตรายที่กำลังคืบคลานเข้ามาไม่หยุดยั้ง ทำให้ทรงกังวลพระทัย เมื่อทรงประจักษ์ว่า คนรู้ถึงภัยของชาวตะวันตก ละคนมีความรู้ในงานที่ต้องทำนั้นมีน้อยมาก และยิ่งทรงกังวลพระทัยขึ้นเป็นทวีคูณ เมื่อทรงพบว่าประเทศชาติในขณะนั้นไม่มีทั้งกำลังเงิน กำลังอาวุธ และแม้แต่กำลังคน

ทรงกล่าวไว้ในพระราชหัตถเลขาฉบับเดียวกันว่า “ถ้าหากว่าเราพบบ่อทองในประเทศเรา ...พอที่จะใช้ซื้อเรือรบจำนวนร้อยๆ ลำก็ตาม เราก็คงไม่สามารถจะสู้กับพวกนี้ได้ เพราะเราจะต้องซื้อเรือรบและอาวุธจากประเทศเหล่านี้ พวกนี้จะหยุดขายให้เรา เมื่อไรก็ได้ อาวุธชนิดเดียวซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างแท้จริงต่อเราในอนาคต ก็คือวาจาและหัวใจของเราอันกอปรด้วยสติและปัญญา...”
 
อาวุธในพระราชดำริที่ว่า “หัวใจ” นั้นน่าจะทรงหมายถึงคนทั้งประเทศ ทรงเปรียบเทียบสถานการณ์ของบ้านเมืองกับปฏิบัติงานของเสนาบดีเหล่านี้ว่า ถ้าจะเปรียบด้วยเรือก็เหมือนกับเมื่อก่อนเอาขึ้นทิ้งไว้ในอู่ คงอยู่แต่รูปเรือ ท้องนั้นผุรั่วจนจะลอยน้ำไม่ได้ เมื่อจำเป็นต้องเข็นลงน้ำ ก็เอาโคลนปะแทนชัน คนพายก็ไม่เป็น คนหนึ่งยก คนหนึ่งจ้วง ตุ๋มๆ ติ๋มๆ น้ำก็เชี่ยว ลมก็จัด เวลาว่างค่อยปะยาเปลี่ยนไม้ไปทีละแผ่น ๒ แผ่น ตอกหมันยาชันพอเป็นรูป แต่คนที่จะพายล้วนแต่เป็นโรคภัยต่างๆ ตาบอดบ้าง หูหนวกบ้าง การที่จะหาฝีพายให้เต็มเป็นการยากยิ่ง  ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ จึงต้องทรงว่าจ้างชาวต่างประเทศที่มีความรู้ในวิทยาการสมัยใหม่ ในแต่ละแขนงมาเป็นผู้วางพื้นฐานในหน่วยงานต่างๆ ความหวังประการเดียว ก็คือรอคอยคนรุ่นใหม่ ที่ทรงส่งเสริมให้ได้รับการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ นำวิทยาการสมัยใหม่เข้ามา พร้อมกับความรู้เท่าทันเหตุการณ์บ้านเมืองในเวลานั้น เข้าใจในพระราชวิเทโศบาย และสามารถที่จะปฏิบัติงานให้เป็นไป
 
ระหว่างรอคอย จำเป็นต้องใช้คนรุ่นเก่า ซึ่งมีแนวทางการปฏิบัติราชการตามที่เคยเป็นมาแต่โบราณ ซึ่งมีลักษณะ... คิดหาความชอบด้วยปาก พอได้เงินได้ทองในปัจจุบัน และหมายจะเป็นสมเด็จเจ้าพระยาในภายหน้า ลักษณะของเสนาบดีผู้ใหญ่ จึงเป็นไปตามที่ทรงเปรียบเปรยเหมือนควายที่หีบอ้อย ถ้าหยุดเตือนแซ่เตือนกระตัก ก็หยุดบดเอื้องกันเสียหมด”.
...นสพ.ไทยรัฐ



เงินถุงแดง

ในงานพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ที่วัดคงคารามวรวิหาร จังหวัดเพชรบุรี ราวกลางปี พ.ศ.๒๕๕๒ อาจารย์บุญมี พิบูลย์สมบัติ เขียนเรื่อง “เงินถุงแดง” ลงใน นสพ.เพชรภูมิ ฉบับวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๑ ไว้ดังต่อไปนี้

รัชกาลที่ ๓ ขณะยังทรงกรม เป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ทรงเป็นที่ประจักษ์ในพระปรีชาสามารถทั้งด้านกวีนิพนธ์ รัฐศาสตร์ เศรษฐกิจ การทหาร การปกครอง การศาสนา งานสถาปัตยกรรม การต่างประเทศ โปรดให้ต่อเรือรบกำปั่นไว้ใช้ในราชการเพื่อป้องกันประเทศจากฝรั่งนักล่าอาณานิคม ละใช้ในการค้า

ขณะทรงว่าราชการกรมท่า ในส่วนพระองค์ก็ได้ทรงค้าขายกับจีน ทรงมอบหมายให้เจ้าพระยานิกรบดินทร์ (ต้นตระกูลกัลยาณมิตร) ขุนนางไทยเชื้อสายจีน ที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัย เป็นผู้แทนพระองค์ไปค้าขายกับจีน

ทรงเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยของสมเด็จพระราชบิดา ตรัสเรียกขานว่า “เจ้าสัว”

กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน พ.ศ.๒๓๖๗ เงินกำไรที่ทรงได้มาเป็นส่วนพระองค์ก็มิได้ทรงใช้จ่ายให้สิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์ ไม่ทรงยกให้หรือมอบหมายไว้กับพระราชโอรส-ธิดาพระองค์ใด ทรงนำมาใส่ถุงแดง แยกเป็นถุง ถุงละ ๑๐ ชั่ง ตีตราปิดปากถุง เก็บไว้ในหีบกำปั่นข้างห้องบรรทม

ตลอดพระชนม์ชีพ...รัชกาลที่ ๓ ก็มิได้ทรงห่วงเรื่องผู้สืบสันตติวงศ์ มิได้ทรงมอบกับพระราชโอรสพระองค์ใด เรื่องเดียวที่ทรงห่วงใยที่สุดก็คือเรื่องเอกราชอธิปไตยของบ้านเมือง

จนเมื่อทรงพระประชวรหนัก มีพระบรมราชโองการกับขุนนางและข้าราชบริพารที่อยู่เฝ้าใกล้ชิด...เป็นครั้งสุดท้าย "การศึกสงครามข้างญวน ข้างพม่า เห็นจะไม่มีแล้ว จะมีอยู่ก็แต่ข้างพวกฝรั่ง ให้ระวังให้ดีอย่าให้เสียทีแก่เขาได้ งานสิ่งใดของเขาที่ดีควรจะเรียนเอาไว้ก็เอาอย่างเขา แต่อย่าให้นับถือเลื่อมใสไปเสียทีเดียว”

ต่อมาอีกไม่นานนักศึกข้างพวกฝรั่งที่ทรงพยากรณ์ไว้ก็ได้สร้างความหายนะมาสู่ประเทศไทยอย่างมิมีหนทางใดจะขัดขืน หรือหลีกเลี่ยง นับว่าสายพระเนตรและน้ำพระทัยแห่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้ได้ทรงมีส่วนอย่างยิ่ง ในการช่วยเชิดชูความเป็นไทยให้ดำรงคงอยู่  ประชาชนทั้งชาติจึงเป็นหนี้พระมหากรุณาธิคุณสุดจะประมาณได้

เหตุการณ์สำคัญที่หมิ่นเหม่ต่อการสูญเสียเอกราชในครั้งกระนั้น อาจารย์บุญมี พิบูลย์สมบัติ นำบางส่วนมากล่าวไว้ต่อไปนี้...เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๑ ไทยมีเรื่องพิพาทกับฝรั่งเศสกรณีดินแดนฝั่งแม่น้ำโขง คือเมืองไล ในสิบสองจุไทย เป็นดินแดนของไทย แต่เมื่อฝรั่งเศสมามีอิทธิพลอยู่เหนือดินแดนลาว ญวน และเขมรแล้ว ก็เตรียมพาลหาเรื่องไทยว่ารุกล้ำดินแดนของญวนและเขมรอยู่เสมอ

พ.ศ.๒๔๓๖ เกิดกรณีพระยอดเมืองขวางต่อสู้กับทหารฝรั่งเศสที่จะขับไล่ทหารไทยออกจากเมืองคำม่วน ฝ่ายฝรั่งเศสแพ้ นายทหารตาย ๑ คน ทหารญวนตายประมาณ ๒๐ คน  ขณะที่ฝ่ายไทย ตาย ๕-๖ คน

การรบที่ด้านฝั่งแม่น้ำโขงแพ้ ฝรั่งเศสก็รุกทางทะเล ส่งเรือรบโคเมต์และเรือลังกองสตอง สมทบกับเรือลูตอง ปิดน่านน้ำไทยเพื่อข่มขู่ไทย  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงดำเนินนโยบายยอมเจรจากับฝรั่งเศสเพื่อแก้วิกฤตการณ์โดยนโยบายยอมเสียส่วนน้อยเพื่อรักษาส่วนใหญ่ไว้  ตามข้อเรียกร้องของฝรั่งเศสนั้นไทยจำต้องยอมสละสิทธิ์ในดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส

ทั้งยังต้องชดใช้ค่าเสียหายอีก ๓ ล้านบาท  ฝ่ายไทยจำต้องยินยอม แต่แม้ยินยอมแล้วฝรั่งเศสก็ยังแสดงอำนาจบาตรใหญ่เข้ายึดเมืองจันทบุรีและตราดไว้เป็นประกัน อีกนานถึง ๑๐ ปี   การยินยอมของฝ่ายไทย...พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจำต้องนำเงิน “ถุงแดง” จำนวนสามหมื่นชั่ง (สองล้านสี่แสนบาท) ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานไว้ให้สำหรับแผ่นดิน

แต่จำนวนเงินนี้ ก็ยังไม่พอ...อีก ๖ แสนบาท ทรงใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์และของพระบรมวงศานุวงศ์เติมให้เต็มจำนวน ๓ ล้าน ตามที่ฝรั่งเศสเรียกร้อง

ประเทศไทยจึงรอดจากปากเหยี่ยวปากกาฝรั่งเศสหนึ่งในประเทศนักล่าอาณานิคมมาได้ เงินถุงแดงจึงเป็นเสมือนปาฏิหาริย์ที่ช่วยเชิดชูความเป็นไทยให้ดำรงอยู่สืบมาถึงปัจจุบัน.
...นสพ.ไทยรัฐ



นางนวล อู่เรือ รถราง...บางกระบือ

ความหลังและเรื่องราวของชุมชนบางกระบือ ริมแม่น้ำเจ้าพระยานั้น...ปราณี กล่ำส้ม เล่าไว้ในหนังสือย่านเก่าในกรุงเทพฯ เล่ม ๒ (สำนักพิมพ์เมืองโบราณ ก.ค.๒๕๔๙) โดยเริ่มคำถาม เคยคิดสงสัยกันบ้างไหมว่าทำไมย่านนี้ จึงได้ชื่อว่าบางกระบือ

ผู้เฒ่าเล่าให้ลูกหลานฟังว่า ในสมัยก่อนนั้นเคยมีกลุ่มนายฮ้อยจากภาคอีสานต้อนวัวต้อนควายมาขายในภาคกลาง ผ่านสะพานกลางทุ่งนากว้าง...ต่อมาเรียกว่าสะพานควาย ต้อนต่อไปจนมาถึงบางกระบือ แหล่งซื้อโคกระบือสำคัญ

ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ตำบลบางกระบือ มี ๑๓ หมู่บ้าน ขึ้นกับอำเภอบางซื่อ ถือเป็นอำเภอชั้นนอกของกรุงเทพฯ

แต่เดิมคนในชุมชนได้อาศัยคลองบางกระบือ ซึ่งเชื่อมต่อจากแม่น้ำเจ้าพระยามาบรรจบกับคลองเปรมประชากรตรงสะพานวัดบางกระบือ (วัดประชาระบือธรรม) เป็นเส้นทางคมนาคม เป็นทั้งเส้นทางค้าขายพืชผักผลไม้

ก่อนปี ๒๕๐๐ ยังมีเรือพ่อค้าแม่ขายจากอยุธยา สิงห์บุรี พายเข้ามาขายของ จนเมื่อการคมนาคมเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ คลองจึงลดบทบาทลง ไหลผ่านจากบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด เพื่อมาเป็นแหล่งรองรับน้ำจากบ้านเรือนละแวกนั้น...เท่านั้น

ภาพในอดีตที่ผู้เฒ่าหลายคนยังจำได้ย่านบางกระบือบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อไปถึงเกียกกาย เป็นแหล่งพักพิงของนกนางนวล ที่หลบลมหนาวบินมาจากแดนไกล จนกระทั่งสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป บ้านเรือน ร้านค้า ผู้คนหนาแน่นมากขึ้นแม่น้ำเจ้าพระยาเริ่มเปลี่ยนสี นกนางนวลฝูงใหญ่ฝูงนั้นก็จากไป

ปราณี กล่ำส้ม เล่าว่า ภายหลังสยามทำสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีกับนานาประเทศ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ การค้าขายกับต่างประเทศก็ขยายตัวเติบโตโดยเฉพาะการค้าข้าว จากเดิมที่การสีข้าวตำข้าวทำกันเองในครัวเรือน เมื่อปลูกข้าวได้มากจึงเกิดโรงสีในระดับอุตสาหกรรมขึ้น ต่อมาโรงสีส่วนใหญ่ใช้เครื่องจักรแทนแรงคนจึงเรียกโรงสีไฟ

ในสมัยรัชกาลที่ ๖ กิจการโรงสีแพร่หลายมีโรงสีสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาถึง ๘๔ โรง เฉพาะในย่านบางกระบือมีโรงสีกิมเซ่งหลีของพระโสภณเพชรรัตน์ โรงสีข้าวหวั่งหลี โรงสีกวางซุ่นหลี โรงสีกวางซุ่นไถ ฯลฯ

ความเจริญเริ่มขยายจากในเมืองออกสู่นอกเมือ ทำให้ที่ดินราคาแพงขึ้น หลังโรงสีไฟกิมเซ่งหลีเกิดเพลิงไหม้เสียหายอย่างหนัก เจ้าของเลิกกิจการขายที่ดินให้หลวง

ย้อนหลังไปในสมัยรัชกาลที่ ๕ โปรดฯให้ใช้ที่ดินโรงสีกิมเซ่งหลี ตั้งกรมคลอง (เปลี่ยนเป็นกรมทดน้ำ ในสมัยรัชกาลที่ ๖) เป็นกรมชลประทาน มีหน้าที่พัฒนาแหล่งน้ำ ลอกคูคลองต่างๆ ไม่ให้ตื้นเขิน และเพื่อให้ราษฎรมีน้ำเพียงพอเพาะปลูก ทั้งยังใช้เป็นทางสัญจรไปมาได้สะดวกทุกฤดูกาล

ความเจริญของย่านบางกระบือ จึงถึงขนาดที่ต้องมีรถราง...ปราณี กล่ำส้ม เล่าว่า ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ราว พ.ศ.๒๔๓๑ บริษัทฝรั่งขอสัมปทานเดินรถรางสายแรก คือ สายหลักเมือง-ถนนตก

เวลานั้น รถรางยังต้องใช้ม้าลาก ชาวบ้านจึงเรียกว่า รถรางม้า หรือม้าเหล็ก ต่อมามีการสั่งรถรางไฟฟ้าเข้ามาวิ่งแทนรถรางม้า...ตอนแรกๆ สร้างความแตกตื่นให้ผู้คนเป็นอันมาก เป็นเรื่องประหลาดที่รถรางสามารถแล่นได้เองโดยไม่มีม้าลาก

ต่อจากความประหลาดใจก็กลายเป็นความกลัว กลัวขึ้นรถรางแล้วจะถูกไฟฟ้าดูด ก็ต้องใช้ความพยายามชี้แจงและโฆษณาเชิญชวนให้ขึ้นรถไฟ คนไทยกลัวก็ให้ฝรั่งขึ้นรถรางดูเป็นตัวอย่าง ระยะแรกจึงไม่เก็บค่าโดยสาร

หลังจากนั้นไม่นานก็มีการเปิดสัมปทานเดินรถรางบนถนนสีลม จากบางรักถึงประตูน้ำอำนวยความสะดวกให้คนเดินทางระหว่างถนนเจริญกรุง ถนนพระราม ๔ ถนนเพชรบุรี รถรางสายนี้แล่นเชื่อมรถรางสายหลักเมือง-ถนนตก ที่ถนนเจริญกรุง เชื่อมรถรางสายบางกระบือ-ศาลาแดง

นอกจากนี้ ยังมีรถรางสายสั้นๆ คือสายบางกระบือ-สถานีรถไฟบางซื่อ

ย่านบางกระบือจึงมีสถานที่เก็บรถรางและบ้านพักพนักงาน เรียกกันว่าซอยรถราง ในซอยมีศาลาพักคนโดยสาร ร้านขายอาหาร ชาวบ้านเรียกศาลานี้ว่า ศาลานกกระจอก เหตุเพราะผู้คนคุยกันเสียงดังมาก

ข้างๆ ซอยรถราง (สามเสน ๒๓) มีซอยคานเรือ (สามเสน ๒๑) สมัยก่อนเป็นอู่ต่อเรือและซ่อมเรือของป้าทิม ซึ่งเล่ากันว่าเป็นพี่น้องกับขุนด่ำ เจ้าพ่อเรือโยง มีเรือไฟนับเป็นร้อยๆ แล่นไปทุกสายน้ำ เรือส่วนใหญ่จอดอยู่ทางฝั่งบางพลัด

ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกฯ เห็นว่ารถรางกีดขวางเส้นทางการจราจรของรถประจำทางและรถยนต์ จึงสั่งให้เลิกรถราง ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๑  ถึงวันนี้ไม่มีวี่แววของรถราง อู่เรือ เหลืออยู่ให้เห็น เช่นเดียวกับเรื่องเล่าครั้งหนึ่งริมน้ำบางกระบือ เคยมีฝูงนกนางนวลฝูงใหญ่ ทุกอย่างในอดีตนั้นผ่านเลยไป ไม่มีวันหวนคืนมาเหมือนเดิมอีกแล้ว.
...นสพ.ไทยรัฐ



ตำนานโสเภณี สมัยยายแฟง

ระหว่าง พ.ศ.๒๔๒๐–๒๔๕๐ อาชีพโสเภณียังอยู่ในรูปแบบเก่าคือ “นางประจำสำนัก” (กรุงเทพยามราตรี วีระยุทธ ปีสาลี สำนักพิมพ์มติชน ๒๕๕๗)
สำนักที่มีชื่อเสียงที่สุด ขึ้นชื่อลือชามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ คือสำนักยายแฟง มีประจักษ์หลักฐานยืนยัน จากการที่ยายแฟงเอาเงินไปสร้างวัด ชื่อว่าวัดใหม่ยายแฟง วัดนี้ มีอีกชื่อว่า วัดคณิกาผล หมายถึงผลที่ได้จากนางคณิกา

สมัยนั้นมีธุรกิจชื่อดัง พูดติดปากอยู่สามแห่ง ยายฟักขายข้าวแกง  ยายแฟงขาย...? สี  ยายมีขายเหล้า

กิจการโสเภณีย่านสำเพ็ง เติบโตมาพร้อมๆ กับการเติบโตของกรุงเทพฯ โสเภณีทุกสำนักต้องเสียภาษีบำรุงถนนให้กับรัฐ ถือได้ว่าโสเภณีเป็นอาชีพถูกกฎหมาย ต่อมามีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ป้องกันสัญจรโรค ร.ศ.๑๒๗ ในปี พ.ศ.๒๔๕๒ สำนักโสเภณีทุกแห่งต้องแขวนโคมเขียวเป็นสัญลักษณ์เพื่อให้รู้ว่า จดทะเบียนเสียภาษีเรียบร้อย  แต่ก็ยังมีโสเภณีเถื่อน แอบแฝงยืนขายบริการอยู่ตามพื้นที่บันเทิงยามค่ำคืน คือโรงบ่อนและโรงหวย

พ.ศ.๒๔๖๐ กิจการโสเภณี...ก็ยิ่งทวีความเจริญ แอบแฝงอยู่ตามสถานบันเทิงในโลกสมัยใหม่ ได้แก่โรงภาพยนตร์ โรงแรม สถานเริงรมย์ จนกลายเป็นส่วนสำคัญของชีวิตยามค่ำคืน

ผู้หญิงขายบริการ สร้างความสมบูรณ์ให้กับความเป็นเมือง พวกเธอถูกเรียกว่า หญิงงามเมือง หนังสือพิมพ์ยุคนั้น รายงานว่าหนึ่งในสิบของถนนหรือตรอกซอกซอยกรุงเทพฯ มีซ่องโสเภณี   สี่แยกถนนราชดำเนิน ตัดถนนดินสอ เคยเงียบเหงาไม่มีผู้คน ปี ๒๔๖๐ มีผู้ไปเช่าที่ปลูกบ้านเรือนจนเต็มไปหมด จนเป็นที่ประชุมชนมีร้านขายของหลายร้าน ยามค่ำคืน พวกหญิงนครโสเภณีเถื่อน ก็ออกมานั่งลอยโฉมหาลูกค้า   

ยุคหัวเลี้ยวหัวต่อ ระหว่างโสเภณีแบบเก่าที่สำเพ็ง (พ.ศ.๒๔๑๑-๒๔๖๓) กับโสเภณีแบบใหม่ ที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอเมริกา (พ.ศ.๒๔๘๘-๒๕๐๓)  เหตุผลของความเปลี่ยนแปลง นอกจากการปรับตัวเข้ากับสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และค่านิยมสมัยใหม่...แล้ว ก็คือความต้องการหลีกเลี่ยงภาษี

พ.ศ.๒๔๕๐ หนังสือพิมพ์สยามออบเซอรเวอร เขียนข่าว...ว่า
เวลานี้ตัวกามโรคเที่ยวพลุกพล่านมากตามแถวหลังโรงหนังญี่ปุ่น ถึงกับฉุดคร่าชวนชายไปสมสู่ พลตำรวจบางคนเห็นเข้าก็ห้ามปราม...พวกร้านเจ๊กขายกาแฟกวางตุ้ง และโรงสูบฝิ่นก็มีผู้หาหญิงไปคอยนั่งอยู่หน้าประตู...พ.ศ.๒๔๗๘ มีข้อห้ามค้าโสเภณี...ราคาโสเภณีเริ่มตกลง หลายคนเปลี่ยนไปเป็นหญิงนักร้อง หมอนวด หญิงนั่งคุยกับแขก คู่เต้นรำตามสถานเริงรมย์ หญิงคู่เต้นรำยุคแรกๆ มีทั้งหญิงไทย และหญิงจีนจากกวางตุ้ง เซี่ยงไฮ้   
ยุคนี้ยังไม่มีหลักฐานคู่เต้นรำชายสำหรับหญิง

พ.ศ.๒๔๗๐ มีข่าวการลักลอบเปิดซ่องเด็กชายรับจ้างทำชำเรา ให้กับผู้ใช้บริการที่มีทั้งแขก จีนเจ้าสัวและจีนบ้าบ๋า นสพ.พาดหัวข่าวว่า ตั้งซ่องโสเภณีเถื่อนอย่างวิตถาร ซ่องนี้ ตั้งอยู่ที่ตำบลตรอกถั่วงอก เขตป้อมปราบ เจ้าของชื่อนายการุญ ผาสุก มีชื่อเล่นว่า ถั่วดำ

วีระยุทธ ปีสาลี ทิ้งท้ายด้วยข้อสังเกตว่า พฤติกรรมของคนรักร่วมเพศ ปรากฏเด่นชัดมากขึ้น ราวปี พ.ศ.๒๕๐๐
ถึงวันนี้ ปีนี้ พ.ศ.๒๕๕๘...อาชีพโสเภณี...ยังเป็นอาชีพคลุมเครือ ใบอนุญาตเปิดสำนักโสเภณีไม่มี มีแต่ใบอนุญาตสถานอาบอบนวด...ซึ่งจำกัดโควตา จึงมีราคาแพงมาก...ราคาแต่ละใบหลายสิบล้าน แพงมากแพงน้อย คิดตามจำนวนห้อง...
     ฯลฯ 




โรงบ่อนเบี้ยในอดีต

     ฯลฯ
วีระยุทธ ปีสาลี เขียนไว้ในหนังสือ กรุงเทพฯยามราตรี (สำนักพิมพ์มติชน ๒๕๕๗) ว่านอกจากการนอนแล้ว กิจกรรมยามค่ำคืนในบ้านคนชั้นสูง คนชั้นกลาง ก็คือการเล่นการพนัน
รายหนึ่งเล่นกันเอิกเกริก จนเป็นข่าวในหนังสือพิมพ์กรุงเทพฯ เดลิเมล์ ว่า...ที่บ้านผู้มีบรรดาศักดิ์แถวโรงศิริราชพยาบาล ได้ลักติดบ่อนไพ่ทั้งกลางวันกลางคืน ภรรยาของท่านเป็นหัวหน้า พวกผู้หญิงลูกเมีย ชาวบ้านพากันเข้าไปเล่น เกิดเป็นหนี้สิน ให้ผัวเมียแถวนั้นวิวาทกันบ่อยๆ
มีหลักฐานตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๓ ในที่พำนักเจ้านาย หลังงานเลี้ยงแขกเหรื่อชาวตะวันตกมีการเล่นไพ่ ส่วนพวกไพร่–ทาส มั่วสุมอยู่ในโรงบ่อนเบี้ย

ระหว่าง พ.ศ.๒๔๓๐-๒๔๖๐ รัฐพยายามลดบ่อนเบี้ย จนเหลือแต่บ่อนใหญ่ และย้ายทำเลจากริมถนน ให้เข้าไปในตรอกซอกซอยที่ลับตาคน  รอบๆ บ่อนเบี้ย เป็นศูนย์รวมความบันเทิง ละครผู้หญิง ลิเก งิ้ว เพลงฉ่อยวงนายตุ้มแม่พวง ที่บ่อนนางเลิ้ง การแสดงเหล่านี้เล่นกันตั้งเก้านาฬิกาจนเที่ยงคืน แต่บางบ่อนก็เล่นกันทั้งคืน

ติดๆ กับโรงบ่อนก็มีโรงหวย ที่ตั้งโต๊ะเขียนหวย มีโรงรับจำนำ มีโรงโสเภณี โรงสูบฝิ่น ร้านขายเหล้า และที่พักค้างคืน

ปี ๒๔๖๐ รัฐบาลยกเลิกบ่อนเบี้ยถาวร...มีตัวเลขผลกำไรโรงบ่อน ๕ แห่ง...โรงบ่อนสะพานเหล็ก กำไร ๔.๕ แสน โรงบ่อน เล่งบ๊วยเอี๋ย ๔ แสน บ่อนหัวลำโพง ๓ แสน บ่อนนางเลิ้ง บ่อนบางรัก กำไร ๓ แสน

กำไรบางส่วนถูกเจียดแจกชาวบ้าน เป็นเงิน เป็นข้าวสาร เครื่องนุ่งห่ม

หนังสือพิมพ์ กรุงเทพฯเดลิเมล์ บันทึกเรื่องนี้ไว้ว่า ...ตั้งแต่หวยแลบ่อนเบี้ยได้เลิกมาแล้ว มีผู้ชอบเล่นการพนันมากันติดบ่อนไพ่ (เพิ่มขึ้น ๓ เท่า) ตั้งเล่นตามห้องแถวในตรอกซอกซอยทั่วไป ทุกถนนหนทาง ที่สุดจนบ้านเรือนราษฎร  ครั้นเมื่อรัฐบาลยกเลิกใบอนุญาตเล่นไพ่  นาย บ.นักเขียนแห่ง นสพ.สยามราษฎร์ ก็เขียนวิจารณ์ว่า การเล่นไพ่เป็นการรวมญาติมิตร มีประโยชน์แก่พ่อค้าแม่ค้าหาบเร่ขายของกิน เช่น ก๋วยเตี๋ยวผัด ขนมจีน ข้าวแกง น้ำแข็ง ฯลฯ

เหล่านี้ เป็นบางส่วนของเรื่องราวในอดีต...ที่คุณวีระยุทธ ปีสาลี ค้นคว้ามาให้อ่าน
     ฯลฯ.
...นสพ.ไทยรัฐ


กลอง–กบ
สามพันปีที่แล้ว เราตีมหรทึก เต้นระบำกบ...ขอฝน

เรียกฆ้องหรือกลอง เครื่องตีที่เป็นสัญลักษณ์ของชาวจ้วง ชนชาติจ้างกวางสี เขตปกครองตนเอง ...มีรูปร่างเหมือนกลอง แต่ทำด้วยโลหะสำริด บางครั้งจึงเรียกว่าฆ้อง

ระหว่างปี ๒๔๓๔-๒๔๓๗ อาจารย์ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม อาจารย์ปรานี วงษ์เทศ สำนักวิชาการมหาวิทยาลัยศิลปากร ไปทำงานวิจัยในหัวข้อ จ้วง พี่น้องเผ่าไทย เก่าแก่ที่สุด เรียกฆ้องหรือกลอง...แบบนั้นว่า มหรทึก

ผู้เชี่ยวชาญเรื่องมหรทึก...สรุปบทบาทของมหรทึกในหมู่ชาวจ้วง และชาวเย้าในกวางสีว่า...เสมือนเทพเจ้าองค์หนึ่ง มักเก็บไว้ในที่ปกปิดมิดชิด หรือฝังไว้ในหุบเขา ก่อนนำมาใช้ตีในวันขึ้นปีใหม่จะมีพิธีเชิญ...เซ่นด้วยไก่ และเหล้า รินเหล้าสาดไปบนหน้ามหรทึก

พิธีศพชาวเย้า...มีมหรทึกกี่ใบในหมู่บ้าน จะต้องเอาตีทั้งวันทั้งคืนเพื่อปลอบขวัญผู้ตาย หนุ่มสาวรักกัน จะอธิษฐานด้วยการเอาปิ่นปักผมไปตีหรือเคาะ พวกเขาเชื่อว่าจะช่วยให้ได้แต่งงานกันและมีความรักต่อกันยั่งยืน

หมู่บ้านใดมีมหรทึกมาก จะทำให้มีความร่มเย็น พืชผลอุดมสมบูรณ์ เมื่อทางการเอามหรทึกไปไว้ในพิพิธภัณฑ์ ไม่นาน... ชาวบ้านจะพากันไปขอคืนฃ

เทศกาลบูชากบ ชายหนุ่มจะผลัดกันตีมหรทึกตลอดทางที่ชาวบ้าน แยกย้ายกันหากบ เพื่อจับมาทำพิธี ใส่กระบอกไม้ไผ่เอาไปฝังที่ภูเขา พิธีเสี่ยงทาย ดูจากซากกบที่ฝังไว้ปีที่แล้ว
- ถ้ากระดูกมีสีทอง ข้าวปลาจะสมบูรณ์
- ถ้าสีขาว ปลูกฝ้ายจะดีกว่า
- ถ้าสีดำ เป็นลางไม่ดี ปีนั้นน้ำจะท่วม
แต่แม้น้ำท่วมหรือฝนแล้ง มหรทึกช่วยได้...เมื่อน้ำท่วมโยนลงไปในน้ำ น้ำจะลดไปเอง ถ้าฝนแล้ง พิธีขอฝนเริ่มต้นจากแต่งตัวหมาตัวผู้เอาขึ้นขบวนแห่...แล้วตีมหรทึกไปด้วย

ชาวจ้างในกวางสี เมื่อปี ๒๔๓๗ มี ๑๓ ล้านคน (ตอนนี้ ๑๖ ล้านคน) เป็นพี่น้องชนชาติไทยที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาชนชาติไทยทั้งหลาย นอกดินแดนประเทศไทย

ประจักษ์พยานจากมหรทึก...ชี้ชัดถึงการเป็นชาติเก่าแก่ ไม่น้อยกว่า ๒,๐๐๐ ปี จนกล่าวได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมเก่าแก่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนที่มีการรับอารยธรรมจีนและอินเดีย   ขณะชนชาติไทยกลุ่มอื่น เคลื่อนตัวไปสร้างบ้านแปลงเมืองตามแนวทิศเหนือ-ใต้ตามลุ่มแม่น้ำโขง สาละวิน อิรวดี และอื่นๆ ผสมปนเป กับชาติและเผ่าต่างๆ จนเกิดเป็นรัฐและอาณาจักรที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย

ชาติจ้วง ยังคงตั้งถิ่นฐานอยู่ตอนใต้ของจีนในกวางสี แต่ชาวจ้วงคือคนจีน เพราะอยู่ในดินแดนประเทศจีน ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมจีน แต่สำนึกชาวจ้วงก็ยังเป็นไทย รักษาความเป็นไทย ด้วยการใช้ภาษาไทย

มหรทึกสัญลักษณ์ความเป็นจ้าง ในพิพิธภัณฑ์กวางสี มี ๗ ชนิดจาก ๘ ชนิด กลุ่มเก่าที่สุดขุดพบในมณฑลยูนนาน ราว ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว ภาพเขียนสีที่ผาลาย หรือที่หน้าผาภูเขาฮวาซัน ริมแม่น้ำหมิงเจียงและจ่อเจียง ผู้คนกำลังทำพิธีกรรม อยู่รอบๆ มหรทึก   บางคนตี แต่หลายคนเต้นรำ ในท่ายืนกางขา และยกแขนสองข้างชูขึ้นฟ้า คล้ายกบกางขาสี่ขา นี่คือพิธีกรรมขอน้ำ ขอฝน กบเป็นสัตว์สัญลักษณ์เกี่ยวกับน้ำและฝน ที่มาของความอุดมสมบูรณ์

ภาพเหล่านี้...บ่งบอกอายุของผู้คน เมื่อราว ๓,๐๐๐ ปีลงมา เป็นรูปธรรม มีตัวตนจริง

นี่คือผลผลิตทางวัฒนธรรมของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในยุคที่มีความสามารถทำโลหะสำริดและเหล็กแล้ว ไม่ปรากฏพบในอารยธรรมจีนและอินเดีย

ผมอ่านหนังสือ จ้วง พี่น้องเผ่าไทยเก่าแก่ที่สุด แล้วก็พอสรุปได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นเผ่าจ้วงหรือเผ่าไทย...เรามีวิถีชีวิต ที่คุ้นเคยกับการพึ่งพาฝน ขอฝน มายาวนานเหลือเกิน
       ฯลฯ


 ...นสพ.ไทยรัฐ
3479  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / เรื่องแปลก - ประสบการณ์ทางจิต - เรื่องลึกลับ / ′หมาดำ′ ศิษย์ก้นกุฏิหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ เมื่อ: 05 มิถุนายน 2558 12:49:48
.



เปิดใจ 'หมาดำ'
ศิษย์ก้นกุฏิ 'พ่อคูณ'

หลัง "พระเทพวิทยาคม" หรือ "หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ" พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านไร่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา มรณภาพเมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๘ ที่ผ่านมา ข่าวคราวคนใกล้ชิดของ "หลวงพ่อคูณ" ถูกเปิดเผยขึ้นมา โดยเฉพาะหญิงวัย ๖๔ ปี ผู้ที่รับใช้ "หลวงพ่อคูณ" อย่างใกล้ชิด กว่า ๒๐ ปี

ที่น่าสนใจคือชื่อของเธอคือ "หมาดำ" และร่ำลือว่าเธอเป็นถึงคนในตระกูลดัง มีฐานะร่ำรวยระดับเศรษฐีใน จ.ภูเก็ต

มีคำถามมากมายว่าเธอคือใคร ชื่อ "หมาดำ" เป็นมาอย่างไร เหตุใดจึงมารับใช้ "หลวงพ่อคูณ"

มาหาคำตอบจากปากของ "หมาดำ" กัน

เป็นใครมาจากไหน
ฉันชื่อจริง น.ส.ลักษณารัตน์ ราไวย์ อายุ ๖๔ ปี บ้านเกิดอยู่บ้านเลขที่ ๔/๒๑ ถนนวิเศษณ์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต อดีตทำงานฝ่ายการเงิน อยู่ที่บริษัท จุติ จำกัด บริษัทเหมืองแร่ที่ใหญ่สุดใน จ.ภูเก็ต มีพี่น้อง ๖ คน ฉันเป็นคนสุดท้อง ปัจจุบันพี่น้องที่ยังมีชีวิตอยู่ ๓ คน ทุกคนทำธุรกิจเรือยอชต์ ให้บริการนักท่องเที่ยวหลายสิบลำ

พบ ′หลวงพ่อคูณ′ เมื่อไร
ประมาณปี ๒๕๓๒ "หลวงพ่อคูณ" ท่านธุดงค์ไปจำพรรษาที่วัดสว่างอารมณ์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต ขณะนั้นนายไมตรี บุญสูง เจ้าของบริษัทจุติที่ฉันทำงานอยู่ มาบอกว่ามีพระดีมาจำพรรษาอยู่ที่วัดหลังบ้านของพี่ ทำไมจึงไม่ไปกราบไหว้ท่าน ฉันก็ตอบไปว่า "ฉันเห็นคนขับรถเบนซ์เข้าไปหาท่านมากมาย ฉันไม่ไปหรอก พระสมัยนี้ท่านชอบแต่คนรวยๆ"

แต่บังเอิญว่ามีญาติเป็นโยมอุปัฏฐากทำอาหารไปถวาย "หลวงพ่อคูณ" จึงให้ฉันขี่รถจักรยานยนต์นำภัตตาหารไปถวาย

เมื่อไปถึงฉันก็ถามหาว่าพระรูปไหนชื่อ "หลวงพ่อคูณ" ตอนนั้น "หลวงพ่อคูณ" ก็นั่งอยู่ตรงหน้า ท่านก็บอกว่า "กูเอง อีหมาดำ" ทำให้ฉันรู้สึกไม่พอใจ พร้อมคิดในใจว่า พระรูปนี้พูดจาเลอะเทอะ ใครจะตั้งชื่อให้ลูกหลานตัวเองว่า "หมาดำ" แต่เมื่อท่านพูดต่ออีกว่า "มึงปากหมา มึงบอกว่ากูชอบแต่คนรวยๆ" เท่านั้นแหละ ก็ทำให้ฉันรู้สึกขนลุก ทำไมท่านถึงรู้ว่าเราพูดเช่นนี้ได้



ชื่อ′หมาดำ′มีความเป็นมาอย่างไร
ต่อมาระหว่างที่"หลวงพ่อคูณ" ท่านกำลังฉันอาหารอยู่ ท่านก็เล่าให้ฟังว่า "อีดำเอ๊ย...เมื่ออดีตชาติ มึงเคยเกิดเป็นหมาเฝ้าหน้าห้องนอนกูมาก่อน" ฉันก็นึกขำในใจว่า "พระรูปนี้ท่าจะเพี้ยนแล้ว" แต่ก็ไม่ว่าอะไรตอบ ท่านจะเรียก "หมาดำ" ก็แล้วแต่ท่าน

เหตุใดจึงมารับใช้ท่านที่วัดบ้านไร่
ก่อนที่ท่านจะกลับ จ.นครราชสีมา ท่านบอกว่า "อีหมาดำเอ๊ย...ที่กูมาภูเก็ตครั้งนี้ เพราะกูมาตามหามึง กูคิดถึงอีหมาดำเมื่อครั้งเคยนอนเฝ้าหน้ากุฏิกู และอยากให้มึงมารับใช้กูเหมือนในอดีตอีก...ถ้ามึงจะไปหากูที่โคราช ให้ไปหาที่วัดสระแก้วเด้อ...มึงไปถึงเมืองโคราช ก็ขี่สามล้อรับจ้างหน้าตลาดแม่กิมเฮงไปที่วัดสระแก้ว แค่ ๕ บาทเท่านั้นเองดอก"

ช่วงนั้นก็แปลกๆ ที่ "หลวงพ่อคูณ" ท่านพูดอย่างนั้น หลังจากนั้นฉันก็เทียวไปเทียวมาระหว่างโคราชกับภูเก็ต เหมือนมีอะไรมาดลใจให้ต้องมารับใช้ท่าน ซึ่งก็มารับใช้ท่านทั้งที่วัดสระแก้ว และวัดหนองบัวรอง

กระทั่งปี ๒๕๔๗ ที่เกิดสึนามิที่ภูเก็ต ตอนนั้นโทรศัพท์ล่มหมด ไม่มีใครโทรศัพท์ได้ แต่จู่ๆ "หลวงพ่อคูณ" โทรศัพท์มาที่เครื่องของฉันได้เพียงคนเดียว ทำให้รู้สึกตกใจมาก ท่านก็ถามถึงญาติพี่น้อง และหลานๆ ว่ายังปลอดภัยดีไหม ฉันก็บอกท่านว่า ปลอดภัยดีทุกคน เรือก็ไม่เสียหาย

ต่อมาทราบข่าวว่าขณะที่ท่านโทรศัพท์มาหานั้น ท่านอาพาธ รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ฉันจึงมานอนเฝ้าท่าน คิดว่าจะมาเยี่ยมสัก ๒-๓ วันแล้วกลับ แต่เมื่อมาถึง "หลวงพ่อคูณ" พูดกับฉันว่า "อีดำ มึงมาก็ดีแล้ว พ่ออยากให้มึงมาอยู่รับใช้พ่อก่อนช่วงบั้นปลายชีวิต เมื่อพ่อตายมึงก็ไปส่งที่ จ.ขอนแก่นก่อน แล้วค่อยกลับไปบ้านมึง"

ตั้งแต่นั้นมาฉันก็อยู่รับใช้ท่านมาโดยตลอด เมื่อท่านออกจากโรงพยาบาลก็ไปรับใช้ท่านต่อที่วัดหนองบัวรอง ๑ พรรษา ก่อนจะกลับไปวัดบ้านไร่

ทางครอบครัวว่าอย่างไรบ้าง
ตอนมาอยู่แรกๆ ก็พูดกับ "หลวงพ่อคูณ" ว่า อยู่กับท่านถ้าไม่ทำการทำงานแล้วจะเอาอะไรกิน ท่านก็บอกว่า "กูก็พอมีอยู่บ้าง ตามมีตามเกิด" ขณะนั้นหลานๆ ๔ คน ซึ่งเป็นลูกพี่สาวก็เติบโตและเป็นเจ้าของธุรกิจกันทั้งหมดแล้ว ส่วนฉันก็อยู่ตัวคนเดียว ไม่ได้แต่งงาน จึงบอกพี่สาวและหลานๆ ว่าจะมาอยู่รับใช้ "หลวงพ่อคูณ" นะ เพราะอยากสร้างบุญกุศลให้พี่สาวและหลานๆ ได้มีอาชีพเจริญรุ่งเรือง ทุกคนก็ไม่ได้ว่าอะไร

ท่านสอนอะไรบ้างระหว่างที่อยู่รับใช้
ท่านสอนหลายอย่าง สอนให้เป็นผู้เสียสละ อย่าเห็นแก่ได้ และไม่ให้ยึดติดกับสิ่งของใดๆ มีอยู่ครั้งหนึ่งเรือยอชต์ของพี่สาวถูกโจรขโมยไป ๑ ลำ ฉันก็มาขอให้หลวงพ่ออวยพรขอให้หาได้คืนมา แต่หลวงพ่อบอกว่า "อีดำเอ๊ย..มึงไม่ต้องไปหาหรอก ป่านนี้มันกลายเป็นปุ๋ยไปแล้ว ถ้ามึงมายึดติดก็จะเป็นทุกข์เปล่าๆ"

ภารกิจรับใช้ท่านแต่ละวันทำอะไรบ้าง
ฉันจะตื่นแต่เช้าประมาณตี ๕ มาต้มน้ำร้อน น้ำชา ถวายท่าน จากนั้นก็เก็บผ้าไตรจีวร สบง อังสะ ใส่ถุงส่งให้ร้านซักผ้า เวลา ๐๖.๓๐ น. ก็จะจัดชุดอาหารที่ญาติโยมนำมาถวายใส่สำรับ พร้อมปอกผลไม้ใส่จาน ผลไม้ที่ท่านชอบมาก คือ กล้วยน้ำว้า มะละกอสุก และลูกพลับ หลังจากนั้นก็ล้างถ้วยล้างชามที่หลวงพ่อฉัน ตกเย็นก็นำผ้าไตรจีวร อังสะ สบง ที่ซักรีดเสร็จแล้วมาเปลี่ยนให้ท่าน

′หลวงพ่อคูณ′ท่านเป็นคนอย่างไร
จากที่อยู่รับใช้ท่านมากว่า ๒๐ ปีบอกได้เลยว่าท่านเป็นพระบ้านๆ ธรรมดา ไม่ถือตัว ญาติโยมมากันเมื่อไร ท่านก็จะออกมาต้อนรับตลอด บางครั้งมาหาท่านตี ๑ ตี ๒ ท่านก็ตื่นมาต้อนรับ ไม่ว่าจะรวย จะจน ท่านต้อนรับเหมือนกันหมด

ท่านยังอารมณ์ดีตลอด ไม่เคยเครียดกับเรื่องอะไรทั้งนั้น ท่านชอบพูดตลกกับฉันบ่อยครั้ง เช่นวันหนึ่ง ฉันถามท่านว่า "หลวงพ่อ ก่อนที่ท่านจะบวชเคยมีเสื้อผ้าสวยๆ สวมใส่เหมือนพวกหนูบ้างไหม" ท่านบอกว่า "อีดำเอ๊ย...แต่ก่อนกูไม่มีเสื้อผ้าสวยๆ สวมใส่เหมือนใครคนอื่นเค้าดอก...บ้านกูมันจน เรียนก็จบแค่ ป.๒ กูมีแต่กางเกงนักเรียนอยู่ตัวหนึ่งที่ภาคภูมิใจ แต่มันขาดตรงก้น พอกูก้มลงลมก็พัดโกรกมาข้างล่าง มันช่างเย็นแท้เด้อ...เอ่งเอ้ย" แล้วหลวงพ่อก็หัวเราะ

เคยเจอปาฏิหาริย์อะไรบ้างไหม
ฉันไม่แน่ใจ แต่ทุกครั้งที่ฉันเดือดร้อนเรื่องเงิน หลวงพ่อมักจะพูดอะไรบางอย่าง แล้วก็ทำให้ฉันมีโชค มีลาภ มีอยู่ช่วงหนึ่งฉันป่วยต้องเข้าโรงพยาบาล แต่ไม่มีเงิน จะขอหลวงพ่อก็ไม่เหมาะสม จู่ๆ ท่านก็บอกว่ามึงจะโชคดีนะ ทำให้เราอยากซื้อหวย แล้วก็ถูกหวยจริงๆ ได้เงินมาเป็นหมื่นบาท จึงมีเงินจ่ายค่ารักษาพยาบาล

อีกครั้งฉันอยากได้รถจักรยานยนต์เพื่อขี่ไปส่งซักผ้า และไปตลาด จึงไปดาวน์รถจักรยานยนต์มา ๓ หมื่นบาท ขาดอีก ๔ หมื่นบาทที่ต้องผ่อน จึงขอพรจากท่าน

ท่านก็บอกว่า "กูให้มึงสมความปรารถนาเด้อ" แล้วฉันก็ถูกหวยอีก ได้เงินกว่า ๔ หมื่นบาทไปใช้หนี้ทั้งหมด



ท่านเคยให้สิ่งของอะไรบ้างไหม
มีอยู่ครั้งหนึ่ง ขณะกำลังพูดคุยกับคณะกรรมการวัดบ้านไร่ ๒-๓ คน ท่านเรียกไปหา และยื่นพระรูปหล่อของท่านองค์เล็กๆ สีทองให้ ๑ องค์ ท่านบอกว่า "กูให้มึง เก็บไว้กับตัวดีๆ นะ" ฉันก็รับไว้ พร้อมยกมือไหว้สาธุ ตอนนั้นคิดว่าคงเป็นพระธรรมดาๆ ที่ท่านชอบแจกจ่ายให้ญาติโยมทั่วไป ส่วนสีทองก็คิดว่าคงเป็นพระกะไหล่ทอง

แต่เมื่อนำไปให้คนเล่นพระดู ถึงกับตะลึง เพราะเป็นพระรูปหล่อทองคำแท้ "รุ่นเอกลักษณ์" (หลวงพ่อคูณนั่งยองๆ ที่เป็นเอกลักษณ์ของท่าน)

ฉันจึงไปให้ร้านทองเช็กเพื่อความแน่ใจ ได้รับการยืนยันว่าเป็นทองคำจริงๆ ฉันเลยเก็บเงินเลี่ยมทองคล้องไว้ที่คอมาตลอด ถือว่าเป็นของมีค่าเพียงชิ้นเดียวที่หลวงพ่อให้

รู้สึกอย่างไรบ้างหลังท่านมรณภาพ
ฉันรู้สึกว่าท่านไม่ได้จากไปไหนท่านยังอยู่ในใจฉันตลอดไม่ว่าจะเป็นคำสั่งสอนหรือจริยวัตรที่เรียบง่าย ทุกอย่างท่านสอนและทำให้ดูเป็นตัวอย่างแก่ศิษยานุศิษย์ทุกคนเสมอ

ฉันทำตามที่ท่านขอ คือรับใช้ท่านจนวันสุดท้าย และเดินทางไปส่งสรีระสังขารท่านที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น หลังเสร็จพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศ ๑๐๐ วัน ฉันก็จะกลับไปภูเก็ต

ยังจะใช้ชื่อ′หมาดำ′อีกหรือไม่
ฉันภูมิใจชื่อ "หมาดำ" นี้มาก ถือว่าครั้งหนึ่งเคยเกิดเป็นหมาเฝ้าหน้ากุฏิ "หลวงพ่อคูณ" ในอดีต หากกลับไปอยู่ที่ภูเก็ตใครจะเรียกฉันว่า "หมาดำ" ก็ยินดี และฉันจะนำคำสั่งสอนของ "หลวงพ่อคูณ" ไปบอกญาติพี่น้อง ลูกหลานที่ภูเก็ตว่าพระรูปนี้ท่านน่าเลื่อมใสจริงๆ เพราะคนภาคใต้และชาวภูเก็ตส่วนใหญ่จะไม่ค่อยนับถือพระจากภาคอื่นๆ มากนัก แต่นับจากวันนี้ไปฉันจะทำให้ ชาวภูเก็ตเคารพศรัทธา "หลวงพ่อคูณ" เพิ่มมากขึ้น

เป็นเรื่องราวที่น่าทึ่งและน่าประทับใจระหว่างศิษย์กับหลวงพ่อคูณ



ที่มา (ข้อมูล-ภาพ) : มติชนรายวัน หน้า ๑ และ ๑๓ ฉบับวันพุธที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๘
3480  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ไปเที่ยว / วัดร่องขุ่น เชียงราย ชมพุทธศิลป์ที่ยิ่งใหญ่สวยงามอันดับ 2 ของโลก เมื่อ: 29 พฤษภาคม 2558 15:41:42

งานพุทธศิลป์ที่ยิ่งใหญ่

วัดร่องขุ่น (Wat Rong Khun)
ตำบลป่าอ้อดอนชัย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

วัดแห่งนี้สร้างอย่างงดงามอลังการ ด้วยงานศิลปะที่งดงามแปลกตา ผสานวัฒนธรรมล้านนาอย่างกลมกลืน
ออกแบบและก่อสร้างโดย อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินที่มีชื่อเสียงของไทย
ด้วยแรงปณิธานมุ่งมั่นที่จะเนรมิตวัดให้เหมือนเมืองสวรรค์ เป็นวิมานบนดินที่มนุษย์สามารถสัมผัสได้   
 
เว็บไซท์ binscorner.com
ได้รวบรวม 10 อันดับวัดที่ขึ้นชื่อว่างดงามที่สุดในโลก(Most Wonderful Temples around the World)
'วัดร่องขุ่น' ติดโผอยู่ในลำดับที่ 2 ของวัดงดงามที่สุดในโลก
รองจากวัด วัดทักซัง (TAKTSANG MONASTERY) หรือ รังเสือ (TIGER’S NEST), ประเทศภูฏาน





ลักษณะเด่นของ วัดคือ พระอุโบสถ ที่อาจารย์เปรียบเหมือนบ้านของพระพุทธเจ้า
สีขาว แทนพระบริสุทธิคุณ กระจกขาว หมายถึง พระปัญญาธิคุณ
ของพระพุทธองค์ ที่เปล่งประกายไปทั่วมนุษย์โลก และจักรวาล


ภายในประกอบด้วยภาพเขียนโทนสีทองทั้งหมด ผนัง 4 ด้าน
เพดานและพื้นล้วนเป็นภาพเขียนที่แสดงถึงการหลุดพ้นจากกิเลสมาร มุ่งเข้าสู่โลกุตตรธรรม
ส่วนบนของหลังคาโบสถ์ ได้นำหลักการของการปฏิบัติจิต 3 ข้อ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
นำไปสู่ความว่างคือความหลุดพ้นนั่นเอง


ก่อนขึ้นบันได ครึ่งวงกลมหมายถึง โลกุตตรปัญญา บันไดทางขึ้น 3 ขั้นแทน อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา
ผ่านแล้วจึ้งขึ้นไปสู่อรูปพรหม 4 แทนด้วยดอกบัวทิพย์ 4 ดอกและบานประตู 4 บาน
บานสุดท้ายเป็นกระจกสามเหลี่ยมแทนความว่าง ซึ่งหมายถึงความหลุดพ้น แล้วจึงก้าวข้ามธรณีประตูเข้าสู่พุทธภูมิ


สะพาน หมายถึง การเดินข้ามวัฏสงสารมุ่งสู่พุทธภูมิ ก่อนขึ้นสะพานครึ่งวงกลมเล็ก หมายถึง โลกมนุษย์
วงใหญ่ที่มีเขี้ยวเป็นปากของพญามารหรือพระราหู หมายถึง กิเลสในใจแทนขุมนรกคือทุกข์
ผู้ที่จะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าในพุทธภูมิต้องตั้งจิตปลดปล่อยกิเลสตัณหาของตนเองลงไปในปากพญามาร
เพื่อเป็นการชำระจิตให้ผ่องใสก่อนที่จะเดินผ่านขึ้นไปพบกับพระราหูอยู่เบื้องซ้าย และพญามัจจุราชอยู่เบื้องขวา
บนสันของสะพานจะประกอบไปด้วยอสูรกลืนกัน 16 ตน ข้างละ 8 ตน หมายถึง อุปกิเลส 16
จากนั้นก็จะถึงกึ่งกลางสะพานหมายถึง เขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นที่อยู่ของเทวดา


ด้านล่างเป็นสระน้ำหมายถึง สีทันดรมหาสมุทร มีสวรรค์ตั้งอยู่ด้วยกัน 6 ชั้นด้วยกัน ผ่านสวรรค์ 6
เดินลงไปสู่พรหม 16 ชั้น แทนด้วยดอกบัวทิพย์ 16 ดอกรอบพระอุโบสถ ดอกที่ใหญ่สุด 4 ดอก
ตรงทางขึ้นด้านข้างโบสถ์หมายถึง ซุ้มพระอริยเจ้า 4 พระองค์ ประกอบด้วยพระโสดาบัน
พระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ เป็นสงฆ์สาวกที่ควรกราบไหว้บูชา

















วัดทักซัง (TAKTSANG MONASTERY) หรือ รังเสือ (TIGER’S NEST), ประเทศภูฏาน 
วัดที่เคารพสักการะยิ่งของชาวพุทธในภูฏาน สร้างในหุบเขาพาโร บนหน้าผาสูง 900 เมตร
วัดแห่งนี้ ถูกจัดอันดับว่ามีความงดงามมากที่สุดในโลก
ส่วนวัดที่สวยงามเป็นอันดับสองรองลงมาคือ 'วัดร่องขุ่น' ของไทยเรานี่เอง



วัดร่องขุ่น White Temple (ตอน นรก-สวรรค์)

วัดร่องขุ่น White Temple (ตอน นรก-สวรรค์)
หน้า:  1 ... 172 173 [174] 175 176 ... 273
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.141 วินาที กับ 27 คำสั่ง

Google visited last this page วานนี้