[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
01 พฤษภาคม 2567 21:53:36 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก เวบบอร์ด ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

  แสดงกระทู้
หน้า: [1]
1  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ไปรษณีย์ / Re: ตั้งชื่อตามสมัยนิยม (ขำขัน) เมื่อ: 30 กรกฎาคม 2557 00:38:09


                    ซีด
2  นั่งเล่นหลังสวน / เกร็ดความรู้ งานบ้าน งานครัว / กล้วยน้ำว้า กับประโยชน์ที่ไม่กล้วยเหมือนชื่อ เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2557 00:47:36
3  สุขใจในธรรม / เกร็ดศาสนา / Re: แม่ชี หรือ นางชี จัดเป็นนักบวชหรือไม่ ? เมื่อ: 10 มกราคม 2557 01:53:06


แม่ชีมาจากไหน

แม่ชีจัดอยู่อุบาสิกาบริษัท บริษัท ๔ ของพระพุทธศาสนา คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา และที่อัศจรรย์ก็คือว่า แม่ชีเริ่มที่เมืองไทย

สมัยการสังคายนาครั้งที่ ๓ ประมาณพุทธศักราชสองร้อยเศษ พระเจ้าอโศกมหาราชส่งสมณทูตไปเผยแผ่ศาสนา ๙ สายด้วยกัน สายที่ ๘ มาที่สุวรรณภูมิ โดยมีพระโสณะเถระและพระอุตตระเถระเป็นหัวหน้าสาย สมัยนั้นดินแดนสุวรรณภูมิมีพระเถระที่บวชกับพระพุทธเจ้า ได้มาวางรากฐานพระพุทธศาสนาไว้ก่อนแล้ว ก็คือ พระปุณณะเถระ ในพระไตรปิฎกบอกว่าอยู่ที่ สุนาปรันตะ (บางหลักฐานเขาเชื่อว่า สุนาปรันตะ เป็นที่จังหวัดเพชรบุรี)

การเผยแผ่พุทธศาสนาในสมัยก่อนเขาไม่ได้ทำส่งเดช เขาต้องศึกษาข้อมูลมาดีพอสมควร ว่าไปที่ไหนแล้วจะมีพวกต้อนรับบ้าง ไม่ใช่ว่าไปแล้วไม่มีอะไร ไปเริ่มต้นนับหนึ่งนี่ไม่มีใครไปเผยแผ่หรอก

เมื่อพระโสณะเถระและพระอุตตระเถระ และคณะมาเยือนที่สุวรรณภูมิ ท่านได้นำเอาพวกพราหมณ์และพวกราชครูปุโรหิตต่าง ๆ มาเผยแผ่วิชาการอื่น ๆ ด้วย แต่ว่าขาดภิกษุณี ในเมื่อไม่มีภิกษุณีที่สามารถเป็นปวัตตินี(อุปัชฌาชย์) ได้ ถึงเวลาผู้หญิงเลื่อมใสแล้วเกิดอยากบวช ท่านก็เลยใช้วิธีให้โกนหัว นุ่งขาวแล้วถือแค่ศีลแปด ไว้รอภิกษุณีที่ส่งตามมาภายหลัง

เผื่อภิกษุณีที่ส่งตามมาภายหลังมีอายุพรรษาสมควรเป็นปวัตตินี(อุปัชฌาย์)ได้ จะได้บวชให้ แต่คาดว่าต่อให้ส่งภิกษุณีมาก็บวชไม่ไหว เพราะพระพุทธเจ้าท่านตั้งใจไม่ให้มีภิกษุณี


ท่านบอกว่าถ้าผู้หญิงอยู่ในธรรมวินัยนี้แล้ว พระธรรมวินัยจะดำรงอยู่ได้ไม่นาน สมัยนั้นเราอาจจะคิดไม่ถึง แต่สมัยนี้เห็นชัด ขนาดอยู่นอกวัดมันยังลากไปปู้ยี้ปู้ยำในวัด แล้วท่านบังคับว่าภิกษุณีต้องอยู่ในอาวาสที่มีภิกษุด้วย เพราะถ้ามีแต่ผู้หญิงมันโดนเขารังแกได้ง่าย การที่ผู้หญิงกับผู้ชายอยู่ด้วยกัน ถ้าเป็นพระอริยเจ้าก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าเป็นปุถุชนแล้วไฟมันช็อต

ท่านก็เลยห้ามเอาไว้ว่า นางปวัตตินี คือ บุคคลที่สามารถเป็นอุปัชฌาย์ได้ต้องมีพรรษาพ้น ๒๐
และบวชได้ปีเว้นปี ก็แปลว่าสองปีบวชได้ ๑ คน สี่ปีบวชได้ ๒ คน


เหตุที่ภิกษุณีสูญไปเพราะเหตุนี้ เนื่องจากว่ากว่าจะรอได้อายุพรรษาประการ ๑ รอจนกว่าจะบวชได้ประการ ๑ บางทีอุปัชฌาย์ตายก่อน พอดีก็ไม่ต้องบวชเลย

เมื่อเป็นดังนั้น พระโสณะเถระและพระอุตตระเถระและคณะ ท่านก็เลยให้บวชเป็นชีก่อน แล้วก็ให้อยู่รวมกันในอาราม ที่เมืองทวาราวดีนั้น ชื่อว่าสำนักประชุมนารี





ที่มา: garu.diaryis.com/2010/03/06

4  สุขใจในธรรม / เกร็ดศาสนา / Re: แม่ชี หรือ นางชี จัดเป็นนักบวชหรือไม่ ? เมื่อ: 10 มกราคม 2557 01:46:29


แต่ในอีกมุมถ้าจะมองว่าแม่ชีไม่ใช่นักบวชก็คงได้เหมือนกัน

จากความเห็นส่วนตัวซึ่งจะขอว่ากันตามที่เคยปรากฏมีเมื่อครั้งพุทธกาลที่เคยได้ศึกษามา
จะเห็นได้ว่าตามพุทธศาสนาแล้วนักบวชจะเห็นก็มีเพียง ภิกษุ ภิกษุณี สามเณร และ สามเณรี
ซึ่งปัจจุบันเหลือเพียงแค่ ภิกษุ และ สามเณรเท่านั้น ดังนี้





ซึ่งกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์นั่นก็มิใช่ใครอื่นไกลเพราะท่านคือสมเด็จพระสังฆราชเป็นพระองค์ที่ 11 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์



5  สุขใจในธรรม / เกร็ดศาสนา / Re: แม่ชี หรือ นางชี จัดเป็นนักบวชหรือไม่ ? เมื่อ: 10 มกราคม 2557 01:30:21


แม่ชี ในความหมายจาก วิกิพีเดีย

นางชี หรือ แม่ชี เป็นนักพรตหญิงในศาสนาพุทธฝ่ายเถรวาท นุ่งขาวห่มขาว โกนศีรษะ
อาศัยในวัดเช่นเดียวกับภิกษุ แต่มิได้อุปสมบท บางแห่งจึงถือว่าแม่ชีไม่ใช่นักบวช
แต่เป็นอุบาสิกาในพุทธบริษัทสี่เท่านั้น อย่างไรก็ตามในปัจจุบันมีการก่อตั้งสำนักชีโดยเฉพาะ
เพื่อจะได้ไม่ปะปนกับพระภิกษุซึ่งเป็นเพศชาย



ที่มา: Wikipedia
6  สุขใจในธรรม / เกร็ดศาสนา / แม่ชี หรือ นางชี จัดเป็นนักบวชหรือไม่ ? เมื่อ: 10 มกราคม 2557 01:26:58
แม่ชี หรือ นางชี จัดเป็นนักบวชหรือไม่ ?

แม่ชีเป็นฆราวาสหรือนักบวช ?

แม่ชีหรืออุบาสิกา เป็นผู้หญิงที่เข้ามามีส่วนร่วมกิจกรรมทางด้านพระพุทธศาสนา ตั้งอดีตจนถึงปัจจุบัน มีความใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนา สละออกจากเรือนสังกัดอยู่ตามวัดต่างๆ ทั่วประเทศ ช่วยงานพระพุทธศาสนานานัปการ แต่สังคมหรือแม้แต่ตัวของแม่ชีเองก็ยังมีความสับสนกับสถานะของแม่ชีหรืออุบาสิกาในประเทศไทย จนหาข้อสรุปไม่ได้ มีความเห็นที่หลากหลายว่าแม่ชีเป็นนักบวชหรือเป็นฆราวาสกันแน่ ซึ่งในความเห็นเหล่านี้ มีทั้งในวงการพระพุทธศาสนาและนอกวงการพระพุทธศาสนา วิพากษ์ไปคนละทิศคนละทาง

ในบรรดากลุ่มเหล่านั้นคือ

กลุ่มที่เห็นว่า แม่ชีเป็นอุบาสิกาหรือฆราวาส

ในกลุ่มเหล่านี้ประกอบด้วย กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ (เดิม) กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงคมนาคม และกระทรวงสาธารณสุขไม่ถือว่าแม่ชีเป็นนักบวช ถือเป็นเพียงอุบาสิกาคือฆราวาสเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้จึงทำให้ไม่ได้รับการสงเคราะห์ ส่งเสริม ดูแลในฐานะนักบวชเหมือนพระสงฆ์หรือสามเณร การเดินทางจะขึ้นโดยสารรถเมล์ไม่ต้องเสียเงินหรือถ้าเสียก็อาจจะได้สิทธิ์เสียครึ่งหนึ่ง ค่ารักษาพยาบาลก็ได้รับการลดหย่อนเป็นต้น และจุดสำคัญตามมติของมหาเถรสมาคมครั้งที่ 28/2525 ความว่า แม่ชีเป็นเพียงอุบาสิกาคือฆราวาสเท่านั้นไม่ถือว่าเป็นนักบวช


กลุ่มที่เห็นว่า แม่ชีเป็นนักบวช

1. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 เสนอคำนิยามของ “ชี” ไว้ว่า “ชี” น. นักบวช เช่น ชีปะขาว เรียกหญิงที่นุ่งขาว ห่มขาว โกนคิ้ว โกนผม ถือศีลว่า แม่ชี”
2. กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ถือว่าแม่ชีเป็นนักบวชประเภทหนึ่งตามกฎหมาย ดังนั้น นักบวชจึงไม่มีสิทธิ์ในการเลือกตั้ง
3. คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความว่า แม่ชีเป็นนักบวช ดังปรากฏในหนังสือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ด่วนที่สุดที่ นร.0601/450 ลงวันที่ 7 มีนาคม 2522 ความว่า
“ชี”หมายถึง หญิงที่นุ่งห่มขาว โกนคิ้วโกนผมและถือศีล มีความหมายรวมอยู่ในคำว่า “นักบวช” ตามมาตรา 93 (3) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511” และปรากฏในหนังสือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ด่วนที่สุดที่ นร.0601/248 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543 ความว่า “ชี” ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (พ.ศ.2540) มีความหมายอยู่ในคำว่า “นักบวช” ด้วย
4. ในรัฐธรรมนูญฉบับราชอาณาจักรไทย 2550 ใน มาตรา 106 ได้กล่าวถึงบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งมีลักษณะดังนี้คือ
4.1 วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
4.2 เป็นภิกษุสามเณร และนักบวชหรือ นักพรต
4.3 ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาล
4.4 อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
เท่ากับเป็นการตอกย้ำความสับสนในสถานะของแม่ชีที่ถูกกฎหมายรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศมัดเข้าไปอีกชั้นหนึ่ง ยากที่จะแก้ปมความสับสนนั้นได้


ความสับสนในสถานภาพแม่ชี

เรื่องเดียวกันแต่ตีความไปคนละทิศ องค์กรของรัฐที่ตีความสถานะแม่ชีเป็น “นักบวช” มีหลายองค์กร เช่น
■ ราชบัณฑิตยสถาน บัญญัติศัพท์เรียกใช้ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2525 ก็บัญญัติสถานะของแม่ชีว่าเป็นนักบวช ก็ถือว่าไม่ถูกต้อง
■ คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความหลายครั้ง ก็ตีความตามพจนานุกรม ให้แม่ชีมีสถานะเป็นนักบวช ก็ไม่ถูกต้อง
■ และซ้ำร้ายกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในมาตรา 106 ในกลุ่มบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้เลือกตั้ง ก็ตีความสถานะแม่ชีให้อยู่ในกลุ่มนักบวช ก็ไม่ถูกต้อง

กลับผิดตามกันอย่างต่อเนื่องอย่างที่ไม่น่าให้อภัย ไม่มีการสอบถามคณะสงฆ์หรือมหาเถรสมาคมซึ่งเป็นองค์กรปกครองคณะสงฆ์สูงสุดในประเทศว่าข้อเท็จจริงนั้นคืออะไร จะได้บัญญัติและใช้ได้อย่างถูกต้อง

ในกลุ่มองค์กรรัฐที่ตีความสถานะแม่ชีว่าเป็น “ฆราวาส” คือ กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงคมนาคม และกระทรวงสาธารณสุข องค์กรเหล่านี้ตีความสถานะแม่ชีว่าเป็นฆราวาส ไม่ต้องมีการบริการความสะดวกเหมือนนักบวชทั่วไปที่เป็นพระสงฆ์สามเณรในทางพระพุทธศาสนา ศึกษาเล่าเรียนก็ต้องเสียค่าเล่าเรียนเหมือนประชาชนธรรมดาทั่วไป เดินทางโดยรถไฟ รถยนต์ก็เสียค่าเดินทาง โดยไม่มีการให้สิทธิ์ลดครึ่งราคา หรือบริการความสะดวกเหมือนนักบวชทั่วไป รักษาพยาบาลก็เสียค่าพยาบาลเต็มราคา ไม่มีสิทธิในฐานะนักบวชแต่ประการใด

ในปัจจุบันนี้มีความสับสนในสถานภาพของแม่ชีในทำนองนี้ ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ เพราะไม่มีทางบรรจบกัน ไม่มีการประสานเพื่อแก้ปัญหาอย่างแท้จริง กลุ่มที่พอจะมีหน้าที่บ้างก็กลับไม่ดำเนินการอย่างจริงจัง หรือกลุ่มองค์กรพอจะมีโอกาสได้ดำเนินการบ้างก็ไม่ปรึกษาหารือหน่วยงานที่ดูแลแม่ชีโดยตรง ทำไปเฉพาะลำพังของตนเอง โดยคิดว่าตนทำถูกต้องแล้ว ตัดสินใจเองตีความเอง พวกองค์เหล่านี้คือ กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงคมนาคม และกระทรวงสาธารณสุข ที่ตีความว่าแม่ชีเป็น “ฆราวาส” จัดการวิเคราะห์เองตัดสิทธิของแม่ชีเอง โดยไม่ประสานงานกับหน่วยงานอื่นเช่น ราชบัณฑิตยสถานที่จัดทำพจนานุกรม คณะกรรมการกฤษฎีกาที่ตีความสถานะแม่ชีไปเรียบร้อยแล้วไปอีกทาง และไม่ประสานสภาผู้แทนราษฎรที่ทำหน้าที่ตรากฎหมายไปอีกทาง

ปัจจุบันนี้มีผู้หญิงไทยจำนวนมิใช่น้อย จำนวนประมาณ 45,000 คน อาศัยอยู่ตามวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ แม่ชีเป็นภูมิปัญญาของคนไทยสมัยโบราณที่เปิดโอกาสให้แก่ผู้หญิงได้เข้ามามีส่วนร่วมกิจกรรมทางศาสนามากยิ่งขึ้น แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าคนไทยยุคปัจจุบันไม่ได้พัฒนาการสานต่อเรื่องสิทธิและโอกาสให้แก่แม่ชีอย่างที่ควรจะเป็น ไม่ได้บิณฑบาต,ไม่ได้บังสุกุลเหมือนพระสงฆ์ ไม่มีรายได้อื่นใด ไม่มีงบสนับสนุนจากรัฐบาล และองค์กรใด แต่แม่ชีหรืออุบาสิกาได้ทำประโยชน์ให้กับพระพุทธศาสนาด้วยการ เป็นครูสอนธรรมบ้าง อบรมเด็กและเยาวชนบ้าง ช่วยเผยแผ่ธรรม ช่วยดูแลความสะอาดวัดวาอารามต่างๆ ตลอดจนงานเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาหลายประการ

ถ้าแม่ชีมีสถานะเป็นฆราวาสเหมือนอย่างที่กรมการศาสนา กระทรวงคมนาคม กระทรวงต่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุขตีความ ก็ควรจะมีสิทธิในการเลือกตั้งได้ แต่เมื่อไปใช้สิทธิเลือกตั้งก็ถูกคณะกรรมการการเลือกตั้งห้ามว่าเลือกตั้งไม่ได้เพราะแม่ชีเป็นนักบวช เมื่อเข้าใจว่าเป็นนักบวช ตามพจนานุกรม, ตามกฤษฎีกา, และสภาผู้แทนราษฎรตีความ ก็สามารถใช้สิทธิของนักบวชได้ กล่าวคือเวลาเดินทาง เวลาไปรักษาสุขภาพ หรือแม้แต่เดินทางต่างประเทศ แต่ก็กลับไม่ได้รับสิทธิของนักบวชอย่างที่ว่านั้น โดยกลุ่มนี้กลับตีความสถานะของแม่ชีไปอีกว่าแม่ชี “เป็นฆราวาส” จะใช้สิทธิ์ของการเป็นนักบวชไม่ได้




คัดลอกบางส่วนจาก ศพอ.วัดพระปฐมเจดีย์ฯ
หน้า: [1]
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.085 วินาที กับ 27 คำสั่ง

Google visited last this page 01 เมษายน 2566 09:02:38