[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
26 เมษายน 2567 19:10:13 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก เวบบอร์ด ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

  แสดงกระทู้
หน้า:  1 [2] 3 4 ... 380
21  สุขใจในธรรม / ประวิติพระอรหันต์ พระสาวก ในสมัยพุทธกาล / กล่าวตู่ท่านพระสารีบุตร เพราะโทษนั้นนั่นแล ศีรษะของโมฆบุรุษนี้จักแตก ๗ เสี่ยง เมื่อ: 01 กันยายน 2565 11:29:52



สีหนาทวรรคที่ ๒
วุฏฐิสูตร


[๒๑๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถ
บิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จำพรรษาอยู่ในพระนครสาวัตถีแล้ว ข้าพระองค์ปรารถนาจะหลีก
จาริกไปในชนบท พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสารีบุตร เธอจงสำคัญกาลอันควรในบัดนี้เถิด
ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรลุกจากอาสนะถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้ว
หลีกไป ฯ
ครั้งนั้นแล เมื่อท่านพระสารีบุตรหลีกไปแล้วไม่นาน ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตรกระทบข้าพระองค์แล้ว ไม่ขอโทษ หลีก
จาริกไป ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุรูปหนึ่งว่า ดูกรภิกษุ เธอจงมานี่ จงไปเรียก
สารีบุตรตามคำของเราว่า ดูกรอาวุโสสารีบุตร พระศาสดารับสั่งให้หาท่าน ภิกษุนั้นทูลรับพระผู้มี
พระภาคแล้วเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ แล้วได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรอาวุโส
สารีบุตร พระศาสดารับสั่งให้หาท่าน ท่านพระสารีบุตรรับคำของภิกษุนั้นแล้ว ก็สมัยนั้นแล
ท่านพระมหาโมคคัลลานะและท่านพระอานนท์ ถือลูกดานเที่ยวประกาศไปตามวิหารว่า ท่านผู้มี
อายุทั้งหลาย จงรีบออกเถิดๆ บัดนี้ท่านพระสารีบุตรจะบันลือสีหนาทเฉพาะพระพักตร์พระผู้มี
พระภาค ฯ
ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรสารีบุตร
เพื่อนพรหมจรรย์รูปหนึ่งในธรรมวินัยนี้ กล่าวหาเธอว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตร
กระทบข้าพระองค์แล้ว ไม่ขอโทษหลีกจาริกไปแล้ว ฯ

ส. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กายคตาสติ อันภิกษุใดไม่เข้าไปตั้งไว้แล้วในกาย ภิกษุนั้น
กระทบเพื่อนพรหมจรรย์รูปใดรูปหนึ่งในธรรมวินัยนี้ ไม่ขอโทษแล้ว พึงหลีกจาริกไปเป็นแน่
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชนทั้งหลายทิ้งของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง
น้ำหนองบ้าง โลหิตบ้างลงบนแผ่นดิน แผ่นดินก็ไม่อึดอัดระอาหรือเกลียดชังด้วยสิ่งนั้น
แม้ฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล มีใจเสมอด้วยแผ่นดินอันไพบูลย์ กว้างใหญ่
ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กายคตาสติอันภิกษุใด
ไม่เข้าไปตั้งไว้แล้วในกายภิกษุนั้น กระทบเพื่อนพรหมจรรย์รูปใดรูปหนึ่งในธรรมวินัยนี้แล้ว
ไม่ขอโทษ พึงหลีกจาริกไปเป็นแน่ ฯ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชนทั้งหลายย่อมล้างของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง
มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง โลหิตบ้าง ลงในน้ำ น้ำก็ไม่อึดอัดระอาหรือเกลียดชังด้วย
สิ่งนั้น แม้ฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล มีใจเสมอด้วยน้ำอันไพบูลย์กว้างใหญ่
ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กายคตาสติ อันภิกษุใด
ไม่เข้าไปตั้งไว้แล้วในกายภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจรรย์รูปใดรูปหนึ่งในธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่
ขอโทษ พึงหลีกจาริกไปเป็นแน่ ฯ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไฟย่อมเผาของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง
น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง โลหิตบ้าง ไฟย่อมไม่อึดอัดระอาหรือเกลียดชังด้วยสิ่งนั้น แม้ฉันใด
ข้าพระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล มีใจเสมอด้วยไฟอันไพบูลย์ กว้างใหญ่ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กายคตาสติ อันภิกษุใดไม่เข้าไปตั้งไว้แล้วในกาย
ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจรรย์รูปใดรูปหนึ่งในธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ พึงหลีกจาริกไป
เป็นแน่ ฯ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลมย่อมพัดซึ่งของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง
น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง โลหิตบ้าง ลมย่อมไม่อึดอัดระอาหรือเกลียดชังด้วยสิ่งนั้น แม้ฉันใด
ข้าพระองค์ก็เหมือนกันฉันนั้นแล มีใจเสมอด้วยลมอันไพบูลย์ กว้างใหญ่ ไม่มีประมาณ
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กายคตาสติ อันภิกษุใดไม่เข้าไปตั้งไว้
แล้วในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจรรย์รูปใดรูปหนึ่งในธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ
พึงหลีกจาริกไปเป็นแน่ ฯ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผ้าสำหรับเช็ดธุลี ย่อมชำระของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง
คูถบ้าง มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง โลหิตบ้าง ผ้าเช็ดธุลีย่อมไม่อึดอัดระอาหรือ
เกลียดชังด้วยสิ่งนั้น แม้ฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล มีใจเสมอด้วยผ้าสำหรับ
เช็ดธุลีอันไพบูลย์ กว้างใหญ่ ไม่มีประมาณไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ กายคตาสติ อันภิกษุใดไม่เข้าไปตั้งไว้แล้วในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจรรย์
รูปใดรูปหนึ่งในธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ พึงหลีกไปเป็นแน่ ฯ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กุมารหรือกุมาริกาของคนจัณฑาลถือตะกล้า นุ่งผ้าเก่าๆ เข้าไป
ยังบ้านหรือนิคม ย่อมตั้งจิตนอบน้อมเข้าไป แม้ฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล
มีใจเสมอด้วยกุมารหรือกุมาริกาของคนจัณฑาล อันไพบูลย์กว้างใหญ่ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญกายคตาสติ อันภิกษุใดไม่เข้าไปตั้งไว้แล้วในกาย
ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจรรย์รูปใดรูปหนึ่งในธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ พึงหลีกจาริกไป
เป็นแน่ ฯ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โคเขาขาด สงบเสงี่ยม ได้รับฝึกดีแล้ว ศึกษาดีแล้ว เดินไป
ตามถนนหนทาง ตามตรอกเล็กซอกน้อย ก็ไม่เอาเท้าหรือเขากระทบอะไรๆ แม้ฉันใด ข้าพระองค์
ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล มีใจเสมอด้วยโคเขาขาด อันไพบูลย์ กว้างใหญ่ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กายคตาสติ อันภิกษุใดไม่เข้าไปตั้งไว้แล้วในกาย
ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจรรย์รูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ พึงหลีกจาริกไป
เป็นแน่ ฯ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สตรีหรือบุรุษรุ่นหนุ่มสาว เป็นคนชอบประดับตบแต่ง พึงอึดอัด
ระอาเกลียดชังด้วยซากศพงู หรือซากศพสุนัขที่เขาผูกไว้ที่คอแม้ฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้น
เหมือนกันแล ย่อมอึดอัดระอาและเกลียดชังด้วยกายอันเปื่อยเน่านี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
กายคตาสติ อันภิกษุใดไม่เข้าไปตั้งไว้แล้วในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจรรย์รูปหนึ่ง
ในพระธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ พึงหลีกจาริกไปเป็นแน่ ฯ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนประคองภาชนะมันข้น มีรูทะลุเป็นช่องเล็ก ช่องใหญ่ ไหลเข้า
ไหลออกอยู่ แม้ฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกันแลย่อมบริหารกายนี้มีรูทะลุเป็นช่องเล็ก
ช่องใหญ่ ไหลเข้าไหลออกอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กายคตาสติ อันภิกษุใดไม่เข้าไปตั้งไว้แล้ว
ในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจรรย์รูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ
พึงหลีกไปเป็นแน่ ฯ

ลำดับนั้นแล ภิกษุรูปนั้นลุกจากอาสนะ กระทำผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง หมอบลง
แทบพระบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ โทษได้ครอบงำข้าพระองค์ผู้เป็นคนพาลเป็นคนหลง เป็นคนไม่ฉลาดอย่างไร ที่ข้าพระองค์
ได้กล่าวตู่ท่านพระสารีบุตรด้วยคำอันไม่มี เปล่า เท็จ ไม่เป็นจริง ขอพระผู้มีพระภาคทรงโปรด
รับโทษของข้าพระองค์นั้น โดยความเป็นโทษ เพื่อความสำรวมต่อไปเถิด พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า ดูกรภิกษุ โทษได้ครอบงำเธอผู้เป็นคนพาล คนหลง ไม่ฉลาดอย่างไรที่เธอได้กล่าวตู่
สารีบุตรด้วยคำอันไม่มี เปล่า เท็จ ไม่เป็นจริง แต่เพราะเธอเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้ว
กระทำคืนตามธรรม เราย่อมรับโทษของเธอนั้นดูกรภิกษุ ข้อที่ภิกษุเห็นโทษโดยความเป็นโทษ
แล้วทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไป นี้เป็นความเจริญในวินัยของพระอริยเจ้า ลำดับนั้น
พระผู้มีพระภาคตรัสกะท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรสารีบุตร เธอจงอดโทษต่อโมฆบุรุษผู้นี้ มิฉะนั้น
เพราะโทษนั้นนั่นแล ศีรษะของโมฆบุรุษนี้จักแตก ๗ เสี่ยง ฯ
ส. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมอดโทษต่อท่านผู้มีอายุนั้น ถ้าผู้มีอายุนั้น
กล่าวกะข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ขอท่านผู้มีอายุนั้นจงอดโทษแก่ข้าพเจ้าด้วย ฯ


จบสูตรที่ ๑
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
หน้าที่ ๓๐๐/๓๗๙



22  สุขใจในธรรม / เกร็ดศาสนา / Re: “พระเจ้าเท้านก” แห่งวิหารละโว้-วัดธงสัจจะ สัญลักษณ์ 1 ในคัมภีร์ มหาบุรุษลักษณะ เมื่อ: 01 กันยายน 2565 10:43:49


   


พระญากาวิละบูรณะพระเจ้าละโว้

หากเราเชื่อตามตำนานว่า “พระเจ้าละโว้” แฝดสององค์เก่าถึงสมัยของพระนางจามเทวีจริง ดูเหมือนอาจจะต้องมีข้อโต้แย้งอยู่ไม่น้อย

เนื่องจากรูปแบบศิลปะของพระเจ้าละโว้ทั้งสององค์นี้ ไม่ใช่พุทธศิลป์สมัยหริภุญไชยตอนต้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 ซึ่งเป็นยุคของพระนางจามเทวี
แต่อย่างใด กลับกลายเป็นศิลปะล้านนายุคหลังๆ ไปแล้ว

หลักฐานที่พบว่ามีการกล่าวถึงพระเจ้าละโว้ปรากฏอยู่ใน “ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่” บันทึกไว้ว่า พ.ศ.2334 พระญากาวิละพร้อมด้วยอนุชาทั้งสอง
เจ้าราชวงศ์ และเสนาอำมาตย์ ได้พร้อมกันสร้างหอยอ (หอประดิษฐานพระพุทธรูป) 4 ด้านของพระมหาธาตุแห่งเมืองลำพูน และสร้างพระเจ้าละโว้
ในวิหารด้านเหนือของพระธาตุ

ในขณะที่พระธรรมเทศนาเรื่อง “กตญฺญุตกถา… ปวตฺติกถา” ของพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) อดีตเจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวง เชียงใหม่
เรียบเรียงไว้เมื่อ พ.ศ.2475 ได้กล่าวว่า

“ลุจุลศักราช 1159 (พ.ศ.2340) ปีมะเส็ง นพศก พม่าก็ยกกองทัพใหญ่ มีพลถึงเก้าหมื่นเศษมาตั้งล้อมเมืองนครเชียงใหม่ไว้ ท่านพระญากาวิละ
เจ้าเมืองนครเชียงใหม่ก็ได้รักษาเมืองไว้โดยแน่นหนา พม่าหาตีได้ไม่ ครั้นศึกพม่าแตกหนีไปแล้ว ท่านก็ได้สร้างพระวิหารวัดละโว้ เมืองลำพูน
ขึ้นอีกแห่งหนึ่ง”

เห็นได้ว่าศักราชที่เขียนถึงบทบาทของพระญากาวิละกับวิหารละโว้นั้นมีสองช่วง ช่วงแรกคือ ปี 2334 เป็นการบูรณะวิหารละโว้
(ในเอกสารใช้คำว่าสร้าง แต่นักโบราณคดีเชื่อว่า พระเจ้าละโว้และวิหารพระละโว้มีมานานแล้วแต่โบราณ ดังนั้น คำว่าสร้างในที่นี้
น่าจะหมายถึงการบูรณะมากกว่า)

กับช่วงที่สองปี 2340 เขียนว่าสร้างพระเจ้าละโว้ ก็คงหมายถึงการบูรณะซ่อมแซมสร้างครอบพระพุทธรูปโบราณของพระนางจามเทวีอีกเช่นกัน
จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมรูปแบบศิลปกรรมของพระเจ้าละโว้จึงไม่เก่าถึงยุคหริภุญไชย

และเชื่อกันว่าช่วงที่พระญากาวิละมาบูรณะพระเจ้าละโว้ในวัดพระธาตุหริภุญชัย ย่อมต้องทราบประวัติตำนานว่ายังมีพระปฏิมาแฝดอีกองค์หนึ่ง
ที่พระนางจามเทวีนำมาประดิษฐานขึ้นพร้อมกัน อยู่ที่วัดธงสัจจะ และคงได้ทำการบูรณะซ่อมแซมด้วยอีกองค์ จนเป็นรูปแบบศิลปะ
ที่เราเห็นในปัจจุบัน

ปริศนาที่ชวนขบคิดก็คือ พระเจ้าละโว้สององค์ดั้งเดิมในยุคพระนางจามเทวีควรมีรูปแบบศิลปะเช่นใด ใช้วัสดุอะไรก่อสร้าง หิน ดินเผา
ศิลาแลงโกลนปูนปั้น หรือสำริด?

และหากไม่ใช่รูปแบบที่เห็นในปัจจุบัน ตอนที่พระญากาวิละบูรณะซ่อมแซมพระเจ้าละโว้นั้น ทรงใช้โมเดลของพระปฏิมาองค์ไหนล่ะหรือ
ที่มีพระบาทในลักษณะ “อุ้งเท้านก” อันโดดเด่นมาเป็นต้นแบบ

รวมไปถึงคำถามที่ว่า ยังมีพระพุทธปฏิมาในล้านนา ณ วัดแห่งใดอีกหรือไม่ที่ทำลักษณะพระบาทอูมนูนเท้าเรียบเต็ม ส้นเท้าหลัง
ยื่นจากข้อเท้าออกมามากกว่าปกติ ตามคัมภีร์มหาบุรุษลักษณะ 32 ประการ เฉกเดียวกับพระเจ้าละโว้ 2 องค์ในลำพูน

ซึ่งสร้างความประทับใจให้แก่ผู้พบเห็นรู้สึกตื่นตาตื่นใจได้ถึงเพียงนี้







ขอขอบพระคุณที่มาจาก...
ที่มา: มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 23 - 29 พฤศจิกายน 2561
คอลัมน์: ปริศนาโบราณคดี
ผู้เขียน: เพ็ญสุภา สุขคตะ
เผยแพร่: วันพฤหัสที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ.2561
23  สุขใจในธรรม / เกร็ดศาสนา / Re: “พระเจ้าเท้านก” แห่งวิหารละโว้-วัดธงสัจจะ สัญลักษณ์ 1 ในคัมภีร์ มหาบุรุษลักษณะ เมื่อ: 01 กันยายน 2565 10:40:51



พระนางจามเทวีเสี่ยงตุง ทำนายทิศขยายอาณาเขต

วิหารละโว้ (บ้างเรียกวิหารพระละโว้ วิหารพระเจ้าละโว้) ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือขององค์พระธาตุหริภุญไชย ปัจจุบันใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม
ของศรัทธาสาธุชนที่ถืออุโบสถศีลนอนวัดระหว่างช่วงพรรษากาล วิหารนี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์หลายครั้ง

ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ปางอุ้มโอ มีชื่อเฉพาะเรียกว่า “พระละโว้” จากตำนานมุขปาฐะของวัดธงสัจจะ เล่าว่าพระนางจามเทวี
ในปี พ.ศ.1206 หลังจากได้รับการสถาปนาเป็นปฐมกษัตรีย์ศรีหริภุญไชยแล้ว พระนางได้อัญเชิญพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรที่นำติดตัวมา
จากเมืองละโว้ (ลวปุระ หรือลพบุรี) สององค์ องค์หนึ่งให้ประดิษฐานในวิหารเขตพระราชฐาน (ต่อมาคือวัดพระธาตุหริภุญชัย) ซึ่งอยู่ใจกลางเมือง

ส่วนอีกองค์หนึ่ง ใช้วิธีอธิษฐาน “ตุง” (ภาษาภาคกลางเรียกธง) ให้กวัดแกว่งไปทั่วเมือง หากตุงไปตก ณ บริเวณใดจะโปรดให้สร้างวัดอีกแห่ง
ณ บริเวณนั้น พร้อมให้อัญเชิญพระพุทธรูปยืนอุ้มบาตรองค์ใหญ่ไปประดิษฐาน

ปรากฏว่าตุงถูกเขวี้ยงไปปักอยู่ใกล้เขตประตูเมืองลำพูนด้านทิศตะวันออก จึงสร้างวัดฝาแฝดให้พระเจ้าละโว้อีกองค์ ให้ชื่อว่า “วัดตุงสัจจะ”

หรือต่อมาเรียกเป็นภาษากลางว่า วัดธงสัจจะ เพื่อเป็นอนุสรณ์ของจุดที่เสี่ยงทายตุง

การเสี่ยงทำนายตุงเช่นนี้ ทำไปเพื่ออะไร เนื่องจากพระนางจามเทวีมีพระราชโอรสแฝดสองพระองค์ องค์พี่ชื่อเจ้ามหันตยศ องค์น้องชื่อเจ้าอนันตยศ

พระนางจามเทวีทรงมีพระราชประสงค์ที่อยากทราบถึงทิศทางการขยายเขตพระราชอาณาจักรของหริภุญไชย ว่าควรเป็นทิศไหนดี เหนือ ใต้
ออก ตก เพื่อที่จะให้พระโอรสแฝดน้องได้สร้างเมืองใหม่

สุดท้ายก็เสี่ยงได้ทิศตะวันออกเฉียงใต้ อันเป็นทิศที่ต่อมามีการขยายอิทธิพลของอาณาจักรหริภุญไชยลงไปสร้างเมืองใหม่ตามทิศนั้นจริง
นั่นคือการสร้างเมืองเขลางค์นคร และอาลัมภะกัปนคร

มีข้อน่าสังเกตว่า ชื่อเรียก “วิหารพระละโว้” นี้ยังปรากฏอยู่ทั่วไปในเขตลำพูน-ลำปาง-เชียงใหม่ สะท้อนถึงความสัมพันธ์ในอดีตระหว่างนครหริภุญไชย
กับเมืองละโว้ ซึ่งเป็นมาตุคามของพระนางจามเทวี เช่น ที่วัดพระธาตุลำปางหลวง อันเป็นเมืองเของเจ้าอนันตยศ โอรสแฝดน้องของพระนางจามเทวี
นั้นก็ปรากฏชื่อของ “วิหารพระละโว้”

เพียงแต่ทิศที่ตั้งนั้นเปลี่ยนจากทิศเหนือขององค์พระธาตุเจดีย์เป็นทิศตะวันตก



24  สุขใจในธรรม / เกร็ดศาสนา / “พระเจ้าเท้านก” แห่งวิหารละโว้-วัดธงสัจจะ สัญลักษณ์ 1 ในคัมภีร์ มหาบุรุษลักษณะ เมื่อ: 01 กันยายน 2565 10:35:44

     พระเจ้าเท้านก แห่งวิหารละโว้-วัดธงสัจจะ
          สัญลักษณ์ 1 ในคัมภีร์ มหาบุรุษลักษณะ 32 ประการ


     



ในจังหวัดลำพูน พบพระพุทธรูปประทับยืนปางอุ้มบาตร (ล้านนาเรียกปางอุ้มโอ) ลักษณะพิเศษเหมือนกันอยู่ 2 องค์

องค์แรกประดิษฐานในวิหารละโว้ วัดพระธาตุหริภุญชัย

และอีกองค์อยู่ในวิหารหลวงวัดธงสัจจะ ซึ่งเป็นวัดบริวารของพระธาตุหริภุญไชย (หมายเหตุ หากเขียนชื่อเฉพาะของวัดกำหนดให้ใช้ “ชัย”
แต่ในบริบทอื่นๆ ทางศิลปโบราณคดีใช้ “ไชย”) ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ในคูเมืองเก่ารูปหอยสังข์

กล่าวคือ พระพุทธรูปทั้งสองแห่ง มีส่วนของพระบาทอูมและส้นเท้าหลังยาวคล้ายกับ “อุ้งเท้านก” อันเป็นรูปแบบที่แปลกแตกต่าง
ไปจากพระพุทธรูปองค์อื่นๆ

ทำให้ชาวล้านนาเรียกพระพุทธรูปสององค์นี้ด้วยนามเฉพาะว่า “พระเจ้าเท้านก” หรือ “พระบาทตีนนก”

ซึ่งอันที่จริงแล้ว ลักษณะอุ้งพระบาทของพระพุทธรูปที่คล้ายอุ้งเท้านกนั้น ไม่ใช่ของประหลาดพิสดารแต่อย่างใด
เพราะมีการระบุไว้อย่างเด่นชัดแล้วใน “คัมภีร์มหาปุริสสลักษณะ 32 ประการ” หรือที่คนไทยนิยมเรียกว่า
“คัมภีร์มหาบุรุษลักษณะ 32 ประการ” ว่าพระบาทลักษณะดังกล่าวเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์สำคัญขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เพียงแต่ว่าช่างทั่วไปไม่นิยมหยิบยกลักษณะเช่นนี้มาถ่ายทอดให้เป็นรูปธรรม ด้วยเห็นว่ามีลักษณะที่ค่อนข้างขัดหูขัดตา
ดูไม่ค่อยเป็นธรรมชาติเท่าใดนัก

 

คัมภีร์มหาบุรุษลักษณะ ว่าด้วยพระบาทของพระพุทธเจ้า

พุทธลักษณะของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น คัมภีร์มหาบุรุษลักษณะ ซึ่งเขียนขึ้นราว พ.ศ.500 กล่าวไว้ว่ามีความแตกต่างจากมนุษย์ทั่วไป
ถึง 32 ประการ การที่คัมภีร์ระบุไว้ดังนี้ ก็เพื่อใช้เป็นกุศโลบายในการ “ยก” หรือ “แยก” บุคคลสำคัญออกมาให้ดูโดดเด่นเป็น “มหาบุรุษ”
เหนือกว่าคนธรรมดาทั่วไปนั่นเอง

ตัวอย่างลักษณะทางกายภาพของ “มหาบุรุษ” ซึ่งแปลกไปจากมนุษย์ปุถุชน ที่เราเห็นกันบ่อยๆ เวลามองพระพุทธรูป ก็เช่น กลุ่มขนคิ้ว (อุณาโลม)
เป็นวงกลมคล้ายไฝเม็ดโตวางอยู่กลางพระนลาฏ (หน้าผาก) ระหว่างคิ้ว 2 ข้าง หรือการทำสรีระช่วงบ่าที่ใหญ่กว้างแบบชาวยุโรปอารยัน
ที่ผู้ชายมักจะอกผายไหล่ผึ่ง เอวคอดเหมือนพญาราชสีห์ จนเป็นที่มาของคำว่า “พระสิงห์” ซึ่งช่างล้านนาใช้เรียกพระพุทธรูปที่มีแผ่นอกนูน
และช่วงบ่าที่กว้างสง่างาม เป็นต้น

ในที่นี้จักกล่าวเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระชงฆ์ (แข้ง) และพระบาทของพระพุทธเจ้าเท่านั้น มีปรากฏรายละเอียดในคัมภีร์มหาบุรุษลักษณะ
อยู่หลายข้อเช่นกัน ได้แก่

   - ข้อแรก ทรงมีฝ่าพระบาทราบเสมอกัน หมายความว่าฝ่าเท้าเรียบไปกับพื้นไม่มีโค้งเว้า ไม่เหมือนคนอย่างเราๆ ที่สามารถเอามือสอด
ใต้ฝ่าเท้าได้เพราะมีพื้นที่ว่าง

   - ข้อที่สอง ส้นพระบาทขยายออกไปด้านหลังมากกว่ามนุษย์ปกติ คือคนทั่วไปอุ้งเท้ายื่นไปด้านหน้าด้านเดียว ข้อเท้าหลังมีส้นเท้า
ยื่นนิดหน่อยเท่านั้น แต่ของมหาบุรุษมีสัดส่วนพิเศษดังนี้ อุ้งเท้าหน้ายื่นไป 2 ส่วน อุ้งเท้าหลัง (ส่วนส้นเท้า) ยื่นไปข้างหลัง 1 ส่วน

   - ข้อที่สาม มีพระบาทเหมือนสังข์คว่ำ อัฐิข้อพระบาท (กระดูกข้อเท้า) ตั้งลอยอยู่หลังหรือเหนือพระบาท สามารถกลับกลอกไปมาได้คล่อง
เมื่อทรงดำเนินมีลีลาผิดไปจากสามัญชน คือเดินได้เร็วมาก

   - ข้อที่สี่ พระชงฆ์ (ขา แข้ง) เรียวงามดุจแข้งเนื้อทราย

   - ข้อที่ห้า มีพระมังสะอูมเต็มในที่ 7 แห่ง คือ ลำพระศอ 1 แห่ง พระอังสา 2 ข้าง หลังพระหัตถ์ 2 ข้าง และหลังพระบาท 2 ข้าง
กล่าวให้ง่ายก็คือ นอกจากข้อ 1 ฝ่าเท้าด้านล่างจะราบเต็มไม่มีร่องโหว่แล้ว อุ้งเท้าตอนบนยังมีเนื้อแน่นเต็มอูมนูนอีกด้วย
ไม่ใช่มือเท้าแบนๆ แห้งๆ


ส่วนพุทธลักษณะข้ออื่นๆ ที่เหลือซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับส่วนของพระบาทซึ่งเป็นประเด็นที่กล่าวถึงในบทความนี้ จะขอเว้นไว้ไม่นำมาลง
ผู้อ่านสามารถค้นหาได้จากเน็ตไม่ยาก

จากพุทธลักษณะทั้งหมดที่กล่าวไว้นั้น เวลาช่างหรือศิลปินถูกมอบหมายให้สร้างพระพุทธปฏิมา ย่อมต้องนำข้อพิจารณาจากคัมภีร์บางประการมาตีความ
ให้ออกมาเป็นงานศิลปกรรมแบบรูปธรรม ซึ่งไม่มีข้อกำหนดว่าจำเป็นต้องสร้างให้ครบหมดทุกข้อทั้ง 32 ประการ ดังนั้น ศิลปินในแต่ละยุคแต่ละสกุลช่าง
ย่อมจินตนาการงานพุทธศิลป์ให้มีรูปแบบตามจริตสุนทรียะร่วมสมัยและรสนิยมที่แตกต่างกันไป

บางสกุลช่างให้ความสำคัญกับฝ่าพระบาทฝ่าพระหัตถ์ที่มีสัญลักษณ์รูปธรรมจักร แต่ก็มีหลายสกุลช่างที่ไม่ได้ทำรูปธรรมจักรที่ฝ่ามือฝ่าเท้า
บางสกุลช่างไม่ได้ใส่อุณาโลมหว่างคิ้วก็มาก

คงเช่นเดียวกันกับผู้สร้างพระพุทธรูปสององค์นี้ ซึ่งเราไม่ทราบว่าเป็นสกุลช่างใด ที่จงใจดึงเอาพุทธลักษณะเฉพาะในการทำพระบาทมาเป็นจุดเน้น
ทำให้เกิดการเรียกพระพุทธปฏิมารูปแบบนี้ว่า “พระบาทเท้านก” เหตุที่นกจะมีเท้าเต็ม นูนยาว งุ้มหน้างุ้มหลัง นั่นเอง

 




25  สุขใจในธรรม / เสียงธรรมเทศนา / คำแนะนำจากหลวงปู่ชา โดย พระราชสุเมธาจารย์ พระลูกศิษย์ต่างชาติรูปแรกของหลวงปู่ชา เมื่อ: 01 กันยายน 2565 10:00:48


<a href="http://www.youtube.com/watch?v=AnsS7hY2FTU" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://www.youtube.com/watch?v=AnsS7hY2FTU</a>



"คำแนะนำจากหลวงปู่ชา"
ธรรมเทศนา ณ วัดหนองป่าพง
โดย หลวงพ่อสุเมโธ (พระราชสุเมธาจารย์)
อดีตเจ้าอาวาสวัดอมารวดี สหราชอณาจักร
พระลูกศิษย์ต่างชาติรูปแรกของหลวงปู่ชา

26  สุขใจในธรรม / ห้อง วีดีโอ / BBC สัมภาษณ์หลวงปู่ชา ที่ประเทศอังกฤษ เมื่อ: 01 กันยายน 2565 09:18:39


<a href="http://www.youtube.com/watch?v=MB-xRaccELM" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://www.youtube.com/watch?v=MB-xRaccELM</a>
27  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / ยางรถยนต์ทำไมมีจุดเหลืองจุดแดง มันคืออะไร มีไว้ทำไม มาหาคำตอบกัน เมื่อ: 22 กรกฎาคม 2565 22:18:34


      จุดสีเหลืองและสีแดงบนแก้มยาง แท้จริงแล้วหมายถึงอะไร?

   


     หลายคนที่เพิ่งเปลี่ยนยางเส้นใหม่ คงจะสังเกตเห็นว่าบริเวณแก้มยางจะมีจุดสีเหลืองและสีแดงแต้มอยู่ ซึ่งคนส่วนใหญ่
คิดว่าเป็นเพียงสีที่เกิดจากขั้นตอนการผลิตทั่วไปเท่านั้น แต่อันที่จริงแล้วจุดสีเหล่านี้มีความหมายซ่อนอยู่
และถือว่ามีประโยชน์อย่างยิ่งโดยเฉพาะกับผู้ให้บริการเปลี่ยนยาง

      จุดสีเหลือง หมายถึง จุดที่ยางมีน้ำหนักเบาที่สุดเมื่อเทียบกับบริเวณอื่นของยาง เนื่องจากยางแต่ละเส้น
ที่ผลิตขึ้นจากโรงงานจะมีน้ำหนักไม่เท่ากันตลอดทั้งเส้น จึงมีการแต้มจุดสีเหลืองไว้เพื่อให้วาล์วเติมลมตรงกับจุดนี้
จะช่วยเพิ่มสมดุลของยาง และช่วยให้การถ่วงน้ำหนักล้อทำได้ดียิ่งขึ้น

      จุดสีแดง หมายถึง จุดที่นูนที่สุดของยาง เนื่องจากยางแต่ละเส้นไม่ได้กลมเสมอกันตลอดทั้งเส้น เช่นเดียวกับ
ล้ออัลลอยที่มีจุดนูนด้วยเช่นกัน เมื่อประกอบล้อและยางเข้าด้วยกัน จึงจำเป็นต้องประกอบให้ทั้ง 2 จุดตรงกัน
เพื่อให้ยางมีลักษณะกลมมากที่สุดเมื่อนำมาใช้งานนั่นเอง

     ทีนี้ก็ลองสังเกตรถของคุณเองด้วยก็ได้ว่าจุดสีเหลืองถูกปรับให้ตรงกับวาล์วเติมลมหรือไม่ แต่ถ้ายางผ่านการใช้งานมานานแล้ว
จุดสีเหล่านี้ก็จะเลือนหายไปตามกาลเวลาครับ











Credit: Sanook Auto
28  สุขใจในธรรม / เกร็ดศาสนา / Re: โมฆบุรุษ คืออะไร ? เมื่อ: 22 กรกฎาคม 2565 19:59:36


[เล่มที่ 18] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ ๓๐๑

บทว่า อถ โข ภควา ภิกฺขู อามนฺเตสิ นี้เป็นอนุสนธิแผนกหนึ่งโดยเฉพาะ.
ได้ยินว่า อริฏฐภิกษุคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกเราว่าโมฆปุริส
แต่เธอจะไม่มีธรรมอันเป็นอุปนิสัยแห่งมรรคและผล ด้วยเหตุเพียงตรัสว่า โมฆปุริส หามิได้แล
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกอุปเสนวังคันตบุตรด้วยวาทะว่าโมฆปุริส ว่าดูก่อนโมฆปุริส
เธอเป็นผู้เวียนมาเพื่อความมักมากเร็วเกินไป ภายหลังพระเถระเพียรพยายามกระทำให้แจ้งซึ่งอภิญญา ๖



29  สุขใจในธรรม / เกร็ดศาสนา / Re: โมฆบุรุษ คืออะไร ? เมื่อ: 22 กรกฎาคม 2565 19:58:56



[เล่มที่ 18] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ ๗๐

ข้อความบางตอนจาก....

อรรถกถา มหาสีหนาทสูตร

บทว่า โมฆปุริโส ความว่า บุรุษเปล่า
จริงอยู่ พระพุทธเจ้าทั้งหลายเรียกบุรุษผู้ไม่มีอุปนิสัยแห่งมรรคและผลในอัตภาพนั้นว่าโมฆบุรุษ.
ครั้นเมื่ออุปนิสัยแม้มีอยู่ แต่มรรคหรือผล ไม่มีในขณะนั้น ก็เรียกว่า โมฆบุรุษเหมือนกัน.
แต่สุนักขัตตะนี้ ได้ตัดขาดอุปนิสัยแห่งมรรคและผลทั้งหลายแล้วในอัตภาพนั้นเพราะฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกสุนักขัตตะนั้นว่า โมฆบุรุษ.



30  สุขใจในธรรม / เกร็ดศาสนา / โมฆบุรุษ คืออะไร ? เมื่อ: 22 กรกฎาคม 2565 19:57:54


โมฆบุรุษ คืออะไร ?

คำนาม: โมฆบุรุษ
(พุทธ) คนที่ใช้การไม่ได้, คนโง่เขลา, คนที่พลาดจากประโยชน์อันพึงได้พึงถึง

หรือหากจะขยายความ ก็กล่าวได้ถึงบุคคลผู้ว่างเปล่า ไร้แก่นสาร ไม่ก่อประโยชน์ทั้งส่วนตนแลส่วนรวม
"ดูก่อนกัสสปะ อะไรอื่นเป็นต้นว่า ปฐวีธาตุ หาทำให้พระสัทธรรมเสื่อมได้ไม่ แต่สิ่งที่ทำให้พระสัทธรรมเสื่อมก็คือ "โมฆะบุรุษ" ที่เกิดขึ้นในศาสนานี้นี่เอง"

โมฆบุรุษ หรือบุรุษที่ว่างเปล่า หมายถึง ว่างเปล่าจากคุณธรรม หรืออุปนิสัยที่จะบรรลุมรรค ผล เป็นพระอริยเจ้า
ถ้าชาตินั้นไม่มีอุปนิสัยที่จะได้บรรลุ ก็ชื่อว่าเป็นโมฆบุรุษ บุรุษว่างเปล่าจากการที่จะบรรลุมรรค ผลและแม้มีอุปนิสัยในการบรรลุมรรค ผลในชาตินั้น
แต่มรรค ผลไม่มีในขณะนั้นก็ชื่อว่า โมฆบุรุษ เช่นกัน 

ดังเช่น พระอุปเสนวังคันตบุตร พระพุทธองค์ ก็ทรงตรัสเรียกว่าโมฆบุรุษ เพราะเป็นบุรุษว่างเปล่าจากคุณธรรม มรรค ผลและประพฤติไม่เหมาะสม
แม้ชาตินั้นมีอุปนิสัยในการบรรลุมรรคผล และถึงขณะนั้นเป็นโมฆบุรุษ แต่ต่อมาท่านก็เพียรพยายามได้บรรลุ มรรค ผลในชาตินั้น




31  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / Re: EXP / BBF / MFG คืออะไร ทำไมอยู่บนฉลากระบุวันหมดอายุ ? เมื่อ: 21 กรกฎาคม 2565 13:42:16



   



32  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / EXP / BBF / MFG คืออะไร ทำไมอยู่บนฉลากระบุวันหมดอายุ ? เมื่อ: 21 กรกฎาคม 2565 13:41:55


   EXP / BBF / MFG คืออะไร ทำไมอยู่บนฉลากระบุวันหมดอายุ ?

   ไขความลับตัวอักษรย่อบนฉลาก


   



EXP – EXD = วันหมดอายุ

เริ่มที่ตัวแรกกับ EXP และ EXD โดยบนฉลาก EXP ย่อมาจาก Expiry Date ส่วน EXD ย่อมาจาก Expiration Date ที่แปลว่า วันหมดอายุ
เพราะฉะนั้นแล้วเมื่อเจอคำสองคำนี้ ให้เช็คตัวเลขดีๆ ว่าเรียงแบบ วัน/เดือน/ปี หรือ ปี/เดือน/วัน แล้วเช็คปฏิทินให้ดีๆ หากเลยวันขึ้นมา
แนะนำให้ทิ้งดีกว่า ระวังจะเสี่ยงโรคอาหารเป็นพิษแบบไม่รู้ตัว


BBF – BBE – BB = วันที่ควรบริโภคก่อน

มาถึงกลุ่มอนุโลม ถึงเลยวันแต่ก็ยังกินได้ โดย BBF และ BB ย่อมาจาก Best Before ส่วน BBE ย่อมาจาก Best Before End
ที่แปลว่า ควรบริโภคก่อน…

โดยคำเหล่านี้เป็นเพียงคำบอกวันที่ซึ่งแสดงการสิ้นสุดของคุณภาพนั้นเฉยๆ หากเลยมาแล้วเราก็ยังสามารถบริโภคได้อยู่ เพียงแต่คุณค่า
สารอาหาร และรสชาติ อาจลดลงตามระยะเวลา หรืออาจมีเนื้อสัมผัสที่เปลี่ยนไป ทั้งนี้ต้องอาศัยการสังเกตเพิ่มหากเลยวันไปนานๆ
ยกตัวอย่าง ขนมปังที่เลย BBE จะมีเนื้อที่แข็งขึ้นกว่าตอนที่เพิ่งซื้อแต่ยังคงรับประทานได้อยู่ ถ้าไม่พบเชื้อรา


MFD – MFG = วันที่ผลิต

ย่อมาจาก Manufactured Date หรือ Manufacturing Date คำย่อนี่ต้องพบบนฉลากแทบทุกแผ่นแน่นอน เพราะเป็นการระบุจากโรงงาน
ว่าสินค้าตัวนี้/ชิ้นนี้ ผลิตในวันที่เท่าไหร่ เป็นเหมือนสูจิบัตรประจำตัว มักมาคู่กับ EXP(วันหมดอายุ) เพื่อให้ผู้ซื้อคำนวณได้ว่าสินค้าชิ้นนี้
มีอายุประมาณกี่วัน ต้องแบ่งกินแบ่งใช้เร็วแค่ไหน




สำหรับตัวอักษรย่อบนฉลากนี้ ไม่ได้อยู่แค่บนอาหารเพียงอย่างเดียว ยังสามารถพบได้ตามบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง ยา
และของที่ใช้กับร่างกายโดยตรง ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ว่าฉลากจะระบุแบบไหนก็ควรเก็บให้ถูกต้องตามคำแนะนำ เพื่อยืดอายุผลิตภัณฑ์
และยืดอายุร่างกายเราให้ยืนยาวจากอาหารเสียหรือเสื่อมคุณภาพ










Credits: Sanook.com / INN
33  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ตลาดสด / เซียมซีคืออะไร มีความหมายว่าอย่างไร เขย่าแล้วได้อะไร ? เมื่อ: 21 กรกฎาคม 2565 12:08:59


   เซียมซีคืออะไร มีความหมายว่าอย่างไร เขย่าแล้วได้อะไร ?

   



เขย่าเซียมซี เพื่อหาคำตอบให้กับชีวิต

เชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยเขย่าเซียมซีเวลาไปตามสถานที่ต่างๆ เช่น วัด ศาลเจ้า เพื่อที่จะได้หาแนวทาง คำทำนายการใช้ชีวิต
แล้วรู้หรือไม่ว่า เซียมซีมีที่มาจากไหน เข้าสู่ประเทศไทยได้อย่างไร แล้วในเซียมซีมีความหมายอะไรซ่อนอยู่บ้าง
ถ้ายังไม่รู้วันนี้เรามีคำตอบมาให้



ที่มาของเซียมซี

ก่อนอื่นเรามาดูความหมายของเซียมซีกันก่อน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายไว้ว่า
“ใบทำนายโชคชะตาตาม ศาลเจ้าหรือวัด มีเลขหมายเทียบกับเลขหมายบนติ้วที่เสี่ยงได้”
ส่วนความหมายของคำว่าเซียมซี มีการคาดการณ์ไว้ว่ามาจากสองข้อมูลนี้

     1. มาจากภาษาจีน
         เซียม แปลว่า กระดาษแผ่นเล็กๆ ยาวๆ
         ซี แปลว่า บทกลอน


     2. เพี้ยนมาจากคำว่า เซียนซือ

เซียนซือ แปลว่า ผู้ทรงอิทธิฤทธิ์หรือผู้ที่มีความสามารถเหนือมนุษย์
บางแห่งก็บอกว่า เซียม หมายถึงไม้ติ้วเสี่ยงทาย ซี หมายถึง โคลงที่อยู่บนไม้
หากให้สรุปง่ายๆ เซียมซีก็เข้ามาจากประเทศจีน เป็นการทำนายอนาคตอย่างหนึ่งตามความเชื่อ



เซียมซีเข้ามาในไทยได้อย่างไร?

คาดการณ์ว่าเข้ามากับชาวจีนที่อพยพมา ที่แรกน่าจะเป็นศาลเจ้าลิ้มกอเหนี่ยวในจังหวัดปัตตานี
เป็นหนึ่งในศาลเจ้าที่เก่าแก่ที่สุดในไทย สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2116 โดยเริ่มแรกเขียนเป็นภาษาจีน
เมื่อเสี่ยงทายก็จะให้ผู้รู้แปลให้

หลักฐานกล่าวถึงการเสี่ยงเซียมซีในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5
โดยมีผู้แปลจากภาษาจีนเป็นไทย คือ นายเปลี่ยน แซ่ส่อง และได้พิมพ์ถวายวัด แต่ภายหลังมาทราบว่า
วัดจำหน่ายแก่ผู้ที่เสี่ยงเซียมซี จึงได้เขียนไว้บนกระจกใส ให้ครบตามหมายเลขพยากรณ์ที่มีอยู่ 28 หมายเลข
เพื่อผู้ที่มาเสี่ยงจะได้ไม่ต้องเสียทรัพย์ คำที่แปลออกมานั้นก็แปลเป็นคำกลอนที่สวยงาม
และถูกส่งต่อมาเรื่อยๆ ผ่านกาลเวลา ผ่านการดัดแปลงตามยุคสมัยจนถึงทุกวันนี้



ความหมายที่ซ่อนอยู่ในเซียมซี

     1. ไม้ติ้ว ไม้ที่เราคุ้นเคยกันดี ไม้ติ้วหรือไม้ที่เราทำการเสี่ยงเซียมซี ปกติทำจากไม้ไผ่
         มักยาวไม่เกินหนึ่งฟุต เขียนเลขกำกับ ส่วนมากจะมี 28 เลข การจะเสี่ยงนั้นควรตั้งจิต
         ยกกระบอกขึ้นจบหน้าผาก แล้วสั่นกระบอกให้ได้ไม้ติ้ว 1 อัน

     2. ไม้ปวย หากใครเคยเห็นไม้นูน เป็นโค้งรูปพระจันทร์เสี้ยว 2 อันประกบกัน สิ่งนี้เรียกว่า ไม้ปวย
         ใช้เมื่อเสี่ยงทายไม้ติ้วเสร็จ โดยหลักๆ จะถามว่า เซียมซีหมายเลขที่ได้นี้ใช่ของเรารึเปล่า
         เสร็จแล้วให้อธิษฐาน โยนไม้ปวยขึ้น แล้วดูว่าผลจะออกมาแบบไหน

         คว่ำทั้งคู่ ความหมายคือ ไม่ใช่ ให้เสี่ยงขอเซียมซีใบใหม่
         หงายทั้งคู่ ความหมายคือ ไม่มีความเห็น ให้ตัดสินใจเอง (โดยปกติจะเสี่ยงใบใหม่)
         คว่ำอัน หงายอัน ความหมายคือ ใช่ ไม่ต้องเสี่ยงใหม่

     3. ที่มาของเลข 28 มีการให้ความเห็นไว้ว่าเลข 28 นั้นมาจาก ทิศ 4 ทิศ ซึ่งมีดาวบริวารอยู่ 7 กลุ่ม
         เมื่อคำนวณรวมกันจะได้ 28 พอดี

     4. มักเป็นกลอนสุภาพ ในคำทำนายของเซียมซี คำทำนายที่อยู่ในนั้นมักแต่งเป็นกลอนสุภาพให้คล้องจองกัน

เซียมซี แม้จะเป็นคำทำนายอนาคต มีหลายๆ เรื่องรวมกัน อย่างไรก็ตามก็อย่าลืมคิดดี ทำดี นั่นคือสิ่งที่สำคัญ
และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ มีสติอยู่ตลอดเวลา






Credit: Sanook.com / INN Horoscope
34  สุขใจในธรรม / กฏแห่งกรรม - ท่องไตรภูมิ / "เด็กกรุงเก่า" เล่าเรื่องขนหัวลุกจากบารมีหลวงพ่อปาน "หลวงพ่อปานเลี้ยงเปรต" เมื่อ: 19 กรกฎาคม 2565 18:26:36


หลวงพ่อปานเลี้ยงเปรต

   


"เด็กกรุงเก่า" เล่าเรื่องขนหัวลุกจากบารมีหลวงพ่อปาน


สมัยเด็กผมอยู่บางนมโค อ.เสนา จ.พระนครศรี อยุธยา มีพระเกจิอาจารย์ชื่อเสียงโด่งดังตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันคือ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโคนั่นเอง

พวกผู้ใหญ่เล่าว่า หลวงพ่อปานมีบารมีแก่กล้ายิ่งนัก มีลูกศิษย์ลูกหามากมายนับไม่ถ้วน ทั้งชาวบ้านร้านช่องทั่วไปไม่ว่าใกล้ไกล ทั้งพระภิกษุอีกหลายรูป
เช่น พระมหาวีระ ถาวโร หรือที่รู้จักกันแพร่หลายในนาม "หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ" แห่งวัดท่าซุง อุทัยธานี เป็นต้น

แม้ว่าท่านจะล่วงลับดับขันธ์ไปแล้ว แต่ชื่อเสียงก็ยังเป็นที่กล่าวขวัญ มีลูกศิษย์ลูกหามากมายมาถึงทุกวันนี้

ขนาดลูกศิษย์ยังเพียงนี้ แล้วตัวพระอาจารย์เล่าจะเรืองเดชขนาดไหน?

หลวงพ่อปานเรืองวิทยาคมและเมตตาจิตสูงส่ง แผ่เมตตาให้สัตว์โลกทั่วไป ไม่ว่ามนุษย์หรือภูตผีปีศาจทั้งหลาย จนมีเรื่องเล่าขานต่างๆ นานา
สืบต่อกันมาถึงบารมีของหลวงพ่อปานไม่สิ้นสุด

ขอเล่าถึงกิตติศัพท์โด่งดังของพระเกจิอาจารย์สู่กันฟังสักเรื่องสองเรื่อง เพื่อพิสูจน์ให้เห็นถึงเดชบารมีของท่านว่าเกรียงไกรเพียงใด มองทะลุถึงเหตุการณ์ร้ายดี
ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเร็ววันได้แม่นยำประหนึ่งมีตาทิพย์ก็ปานกัน



เรื่องแรกคือ สายสิญจน์หลวงพ่อปาน!

วันหนึ่ง ท่านให้ชาวบ้านนำสายสิญจน์ไปล้อมบ้านเรือนไว้ทุกหลัง กำชับว่าในยามค่ำคืน หากได้เห็นหรือได้ยินสิ่งใดผิดปกติก็ให้นิ่งเฉยเสีย
อย่าส่งเสียงเอะอะโวยวายเป็นอันขาด

บรรดาชาวบ้านทั้งปวงต่างก็รับคำ

คืนนั้นเอง ปรากฏว่ามีโจรก๊กหนึ่งเข้ามาด้อมๆ มองๆ หมายใจจะเข้าปล้นสะดมเอาทรัพย์สินตามสันดานโจรของพวกมัน

ฝ่ายชาวบ้านทั้งนั้นก็แอบมองทางหน้าต่าง แม้ว่าจะสะดุ้งกลัว แต่ก็ยังเชื่อมั่นในวาจาสิทธิ์ของหลวงพ่อปานอันเป็นที่เคารพบูชา ระงับสติเอาไว้ได้
โดยนิ่งเงียบและคอยจ้องมองว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป?

เหตุอัศจรรย์บังเกิดแล้ว

นั่นคือเหล่าโจรร้ายใจฉกรรจ์ผู้มีอาวุธปืนและมีดครบมือ ต่างเดินเลยหมู่บ้านไป ก่อนจะย้อนกลับมาวนเวียนอยู่ตามเดิม ประหนึ่งพลัดหลงเข้าไปในเขาวงกต
หรือคล้ายจะมีสิ่งใดกำบังตาจนมองไม่เห็นบ้านเรือนที่พวกตนจะเข้าปล้นสะดม

ไม่ช้าโจรก๊กนั้นก็ล่าถอยไปเองโดยไม่ย้อนกลับมาอีกเลย

ชาวบ้านทั้งหลายรอดพ้นภัยโจร ไม่ต้องสูญเสียทรัพย์สิน หรือแม้แต่เลือดเนื้อ และชีวิต ก็เพราะบารมีของหลวงพ่อปานโดยแท้



อีกเรื่องหนึ่งคือ หลวงพ่อสั่งชาวบ้านให้ทำขนมจีนน้ำยาเลี้ยงเปรต เห็นประจักษ์ตาทั่วกันในเวลากลางวันแสกๆ น่าขนหัวลุก!

ชาวบ้านแถวนั้นแม้จะพากันฉงนสนเท่ห์ ว่าหลวงพ่อปานท่านจะสั่งให้ทำขนมจีนเลี้ยงเปรตได้ยังไง? แต่ด้วยความเคารพบูชาอริยสงฆ์ผู้มากเมตตาบารมี
นอกจากจะไม่มีใครซักถามแล้วยังทำตามคำสั่งโดยเคร่งครัด

ณ ทางสามแพร่งใกล้วัด ต่างคนต่างคอยจ้องมองเหตุการณ์ที่กำลังจะอุบัติขึ้นด้วยใจระทึกไปตามๆ กัน

บัดดลนั้นเอง!

หลวงพ่อท่านแผ่เมตตาให้ภูตผีปีศาจ สัมภเวสีและเปรตทั้งหลาย ผู้กำลังตกทุกข์ได้ยากด้วยความหิวโหยอดโซ จงมากินขนมจีนน้ำยาโอชะ
ให้อิ่มหนำสำราญโดยทั่วถึงกัน ณ บัดนี้เถิด

ท่ามกลางความเงียบสงัด ฟ้าร่มครึ้ม แสงแดดจางหายไปด้วยเมฆก้อนใหญ่ลอยเลื่อนเคลื่อนคล้อยเข้ามาบดบัง ...จู่ๆ ก็เกิดพายุพัดคึ่กๆ
โหมกระหน่ำรุนแรงจนไม้ไร่เอนลู่แทบหักโค่นด้วยแรงลมในบัดดล

ท่ามกลางสายตาชาวบ้านหลายสิบคู่ที่จ้องมองตื่นตะลึง

นัยน์ตาทุกคู่ล้วนแต่เห็นประจักษ์ชัดแจ้งเต็มตา ร่างดำมืดน้อยใหญ่ของเหล่าอมนุษย์ปรากฏขึ้นมาจากทุกทิศทุกทาง ต่างถาโถมเข้าใส่ถาดขนมจีน
และหม้อน้ำยาอย่างตะกรุมตะกราม จนคนขวัญอ่อนแทบเป็นลมเป็นแล้งไปตามๆ กัน

เมื่อเหล่าภูตวิญญาณอิ่มหนำสำราญแล้วก็กลับไปยังแดนตน หลายๆ คนยิ่งเข้าไปดูให้รู้แน่ ปรากฏว่าขนมจีนน้ำยาหลายหาบหลายหม้อ
ไม่เหลือหลอเลยแม้แต่นิดเดียว!




ขนหัวลุก : ใบหนาด
35  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / เครื่องราง ของขลัง พุทธคุณ / เครื่องรางมงคล​ ลดแรงลบจากดาวมฤตยู (กค. 2565) เมื่อ: 19 กรกฎาคม 2565 18:20:42


เครื่องรางมงคล​ ลดแรงลบจากดาวมฤตยู

   


หลังจากที่เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2565 ครบวาระ 7 ปี ดาวมฤตยูย้าย สถานีต่อไปก็จะย้ายเข้าเรือนมัชฌิมธาตุดิน ซึ่งผลแห่งดาวมฤตยู
ที่เข้ากระทำโดยองค์รวมก็ดูน่าจะลดความร้อนแรงลงไปบ้าง คล้ายการเกิดไฟป่าหลังจากที่เผาผลาญทำลายสารพันชีวิต ก็จะเริ่มการถือกำเนิดชีวิตใหม่

ธรรมชาติของ ดาวมฤตยู ไม่ได้มีการจัดดาวมฤตยูว่าเป็นดาวบาปพระเคราะห์ที่จำเพาะว่าให้แต่ผลร้าย แต่เมื่อยามสำแดงเดชก็ทรงอานุภาพให้ความร้ายแรง
ไปในทางเทียบเท่าดาวบาปพระเคราะห์ ถึงขนาดจัดว่าเป็น "เทพแห่งความตาย" บัญญัติตำราโหราศาสตร์ท่านกล่าวไว้ว่า "เหตุภัยอาเพศ..ให้ทายมฤตยู"

ดาวมฤตยู จัดอยู่ในหมวดอากาศธาตุ อันหมายถึง การปรับเปลี่ยน การปรับปรุงตัว การผสมผสานกลมกลืน สะท้อนความเป็นไปตามกฎแห่งไตรลักษณ์
คือ เกิดมา-ตั้งอยู่-ดับไป จากนั้นก็จะถือกำเนิดใหม่เวียนกันไปเป็นวัฏจักร

ผลแห่งดาวมฤตยูจึงพยากรณ์ว่าสิ่งใด? จะเกิดกับราศีใด? และอย่างไร? ถ้าหาความชัดเจนที่จะสามารถชี้ชัดนั้นต้องดูจากฐานดวงเฉพาะบุคคลเป็นสำคัญ
แต่เมื่อ “ดาวแห่งความตาย” กำลังจะขยับย้ายเรือน จึงได้มาแชร์เคล็ดมงคลเพื่อรองรับลดผลกระทบจากดวงดาวในด้านลบ เพิ่มโอกาสพลิกเกมไปเป็นด้านบวก
ควรหานำมาพกติดตัวเพื่อป้องกันภัย ปิดมุมร้ายเพื่อให้มุมดีถูกเปิดได้อย่างสะดวก เป็นแนวภาคกว้างได้ดังนี้ (เป็นความเชื่อส่วนบุคคล โปรดใช้วิจารณญาณ)

          1. พระเครื่องที่มีมงคลนามในการคุ้มครองป้องกัน หรือพระเครื่องที่มีประสบการณ์ในเรื่องแคล้วคลาดพารอดพ้นจากภยันตรายทั้งหลาย เช่น
              พระรอดหลวงหริภุญไชย, หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว, หลวงปู่ทวดทุกวัดทุกสำนัก, พระร่วงหลังรางปืน, พระยอดขุนพล, พระมเหศวร,
              พระท่ากระดาน , พระหูยานลพบุรี, พระกริ่ง เป็นต้น

          2. เครื่องรางมงคลเน้นสายแคล้วคลาดกำบังตาคุ้มกันภัย เช่น เบี้ยแก้ เขี้ยวเสือ กะลาตาเดียว คตปลวก ขนหางช้าง เล็บพญาครุฑ
              หวายตัดลูกนิมิต ส่วนอีกกลุ่มก็จะเป็นเครื่องรางบูชาองค์พระศิวะมหาเทพ เช่น เหรียญพระศิวะนาฏราช, น้ำตาพระศิวะ (เมล็ดรุทธรักษะ),
              เครื่องรางกลุ่มปลัดขิกทั้งหลาย (บารมีศิวลึงค์)

ถ้าไม่เหนือบ่ากว่าแรงก็ควรพกติดตัวไว้อย่างน้อยก็ซัก 1 เดือน ตั้งแต่บัดนี้ไป เป็นการเสริมเคล็ดมงคลแก่ดวงชะตาตนเอง

สำหรับท่านที่อ่านถึงตรงนี้แล้วหาของตามที่แนะนำไว้ไม่ได้เลยจริงๆ ก็อย่าได้ตกใจไปดังที่กล่าวไว้แล้วว่า ผลแห่งดาวมฤตยู
คล้ายจะเป็นสไตล์ไฮบริดลูกผสมระหว่าง “พระเสาร์” “พระราหู” และ “พระเกตุ” จึงทดแทนได้ด้วยการร่วมบุญกับมูลนิธิอาสากู้ชีพต่างๆ
ร่วมบุญล้างป่าช้า ร่วมบุญอุทิศถึงวิญญาณเร่ร่อน สนับสนุนกิจกรรมผู้ป่วยทางด้านจิตประสาท หรืออย่างน้อยที่สุด เพื่อความสบายใจแต่ให้ผลจริง
ก็คือ การนำ "แม่เหล็ก" มาพกพา ซึ่งเป็นของที่มีพลังงานในตัวเอง ก็จะได้เคล็ดในการรับดาวมฤตยูย้ายด้วยเช่นกัน



ขอบคุณข้อมูลจาก โหรชี้ชัด > facebook.com/horachichad
36  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ อนามัย / ใช้ "ผงพิเศษ" อุดฟัน อันตรายถึงชีวิต เมื่อ: 19 กรกฎาคม 2565 16:10:20


   ใช้ "ผงพิเศษ" อุดฟัน อันตรายถึงชีวิต



แพทย์ขอเตือนอีกครั้ง อย่าหลงเชื่อโซเชียลฯ ใช้ผงพิเศษอุดฟันผุ ชี้เป็นยาใช้ภายนอก ไม่ควรใช้กับช่องปาก เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ปัจจุบันมีรายงานข่าวในสื่อออนไลน์ กรณีนำผงพิเศษไปอุดฟัน ซึ่งเป็นการใช้ยาผิดวิธี
และอันตรายอย่างยิ่ง เพราะยาชนิดนี้เป็นยาสำหรับการฆ่าเชื้อบริเวณผิวภายนอกร่างกาย ไม่ควรนำมาใช้กับช่องปาก

ซึ่งผงพิเศษมีส่วนผสมของยาซัลฟานิลาไมด์ (Sulfanilamide) ซึ่งต้องระวังการใช้ในผู้ที่แพ้ยากลุ่มนี้ ผลข้างเคียงมีตั้งแต่ระดับที่ไม่รุนแรง
ไปถึงระดับที่รุนแรง เกิดผื่นแพ้ยาหรือแพ้แบบ สตีเวนส์ จอห์นสัน ซินโดรม (Stevens-Johnson Syndrome หรือ SJS) อาจเกิดแผลพุพองที่ผิวหนัง
ผิวลอก หรือมีของเหลวไหลออกมาจากผิวหนังชั้นนอก หรือเกิดอาการแพ้ร่วมกับอาการแทรกซ้อนในระบบอื่นๆ ที่เรียกว่า ท็อกซิก อีพิเดอร์มัล เนโครไลซิส
(Toxic Epidermal Necrolysis หรือ TEN) ได้

ดังนั้น การอุดฟัน ควรได้รับการรักษาโดยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างถูกวิธี วัสดุที่ใช้ภายในช่องปากต้องเหมาะสม และได้มาตรฐานสำหรับการรักษา
เพื่อให้ฟันซี่นั้นๆ กลับมามีลักษณะใกล้เคียงกับของเดิมมากที่สุด นอกจากนี้ ควรหมั่นดูแลสุขภาพช่องปาก ควรลดอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง
รวมถึงรับประทานเลือกอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

ขณะที่ ทันตแพทย์หญิง ดร.สุมนา โพธิ์ศรีทอง ผู้อำนวยการสถาบันทันตกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า การอุดฟัน คือ การบูรณะฟัน เพื่อให้ฟันที่ผุหรือเสียหาย
กลับมาอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ มีรูปร่างลักษณะเหมือนเดิมหรือใกล้เคียงฟันเดิม และใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการอุดฟันไม่ได้บูรณะฟัน
แค่กรณีฟันที่มีรอยผุหรือเป็นรู แต่รวมถึงฟันที่แตก ฟันบิ่น ฟันที่มีรอยสึก หรือมีอาการเสียวฟันขณะทานอาหาร ของหวาน หรือดื่มน้ำเย็น

สำหรับวัสดุที่ใช้ในการบูรณะฟัน แบ่งเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ วัสดุอมัลกัมที่นิยมใช้บูรณะฟันหลัง และวัสดุบูรณะสีเหมือนฟัน เช่น วัสดุเรซินคอมโพสิต
ซึ่งภายหลังจากการบูรณะฟันแล้ว ควรหมั่นดูแลรักษาสุขภาพช่องปาก และปฏิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์ แปรงฟันทุกวัน วันละ 2 ครั้ง
หรือแปรงฟันหลังรับประทานอาหาร ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ และใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดซอกฟัน ตลอดจนควรพบทันตแพทย์
อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง หรือทุก 6 เดือน




ข้อมูล: เพจอีจัน
ภาพ: สนุกดอทคอม
37  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / Re: วิธีพ่วงแบตรถ พ่วงยังไงเมื่อแบตหมด ทำยังไงไม่ให้เกิดอันตราย เมื่อ: 19 กรกฎาคม 2565 00:05:36


ทำไมพ่วงแบตถึงห้ามพ่วง "ขั้วลบ" กับ "ขั้วลบ" เข้าหากัน?

การพ่วงแบตเตอรี่รถยนต์ไม่ควรพ่วง “ขั้วลบ” เข้ากับ “ขั้วลบ” ของรถอีกคันโดยเด็ดขาด เนื่องจากประกายไฟที่เกิดขึ้นอาจสัมผัสกับก๊าซไฮโดรเจน
ที่ปล่อยออกมาจากแบตเตอรี่เองจนเกิดเป็นอันตรายได้


รถแบตหมดแบบไหนพ่วงสตาร์ทไม่ได้?

หากรถยนต์แบตหมดเนื่องจากการเสื่อมสภาพของตัวแบตเตอรี่หรือเผลอเปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าทิ้งไว้ (เช่น ไฟหน้ารถ) กรณีนี้มักไม่มีปัญหาในการจัมป์สตาร์ท
เมื่อเครื่องยนต์ติดขึ้นก็สามารถนำรถไปเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่ได้ทันที แต่หากรถแบตหมดเนื่องจากไดชาร์จเสีย จะปรากฏไฟเตือนรูปแบตเตอรี่ขึ้นบนหน้าปัด
กรณีนี้หากมีการจัมป์สตาร์ทจนเครื่องยนต์ติด แต่เมื่อถอดสายพ่วงแล้วเครื่องยนต์ก็มักจะดับอยู่ดี วิธีแก้ไขเฉพาะหน้าอาจจำเป็นต้องเรียกช่าง
มาเปลี่ยนแบตลูกใหม่ที่มีประจุไฟเต็ม จากนั้นรีบขับเข้าอู่โดยทันทีเพื่อไม่ให้แบตหมดกลางทางซ้ำอีก หรือหากใครสะดวกจะเรียกรถยกไปเข้าอู่ก็เป็นวิธีที่ดีเช่นกัน






ที่มา: Sanook Auto
38  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / วิธีพ่วงแบตรถ พ่วงยังไงเมื่อแบตหมด ทำยังไงไม่ให้เกิดอันตราย เมื่อ: 19 กรกฎาคม 2565 00:04:12


   วิธีพ่วงแบตรถ พ่วงยังไงเมื่อแบตหมด ทำยังไงไม่ให้เกิดอันตราย

   


การพ่วงแบตรถยนต์เป็นวิธีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในกรณีที่แบตเตอรี่หมดหรืออยู่ในระดับต่ำจนไม่สามารถสตาร์ทเครื่องยนต์ได้
แต่ปัจจุบันยังมีผู้ใช้รถจำนวนไม่น้อยที่ยังคงเข้าใจผิดเกี่ยวกับการพ่วงแบตอย่างถูกต้องและปลอดภัย แล้วต้องทำยังไงหละถึงจะถูกต้อง


การเตรียมตัวก่อนพ่วงแบตเตอรี่

นำรถคันแบตดีเข้ามาจอดใกล้กับคันแบตหมด โดยไม่ให้มีส่วนใดส่วนหนึ่งของตัวรถสัมผัสกัน ซึ่งโดยมากแล้วมักจะจอดรถหันหน้าเข้าหากันเพื่อความสะดวก
จากนั้นดับเครื่องยนต์ ปิดระบบไฟที่ไม่จำเป็นของรถทั้งสองคัน เช่น ไฟส่องสว่าง (ยกเว้นไฟฉุกเฉินหากจำเป็น), ระบบเครื่องเสียง, ระบบปรับอากาศ ฯลฯ
เพื่อเป็นการลดภาระของเครื่องยนต์ลงให้น้อยที่สุด


ใช้อะไรในการพ่วงแบต ?



ปกติเราจะใช้สายพ่วงซึ่งหาซื้อได้ทั่วไปตามท้องตลาด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขนาดของสายมีผลต่อการพ่วง ดังนั้นเลือกขนาดให้เหมาะสมจะดีสุด
อีกอย่างที่ต้องพิจารณาคือความยาวของสาย บ่อยครั้งที่ปัญหาการพ่วงเกิดจากความยาวไม่พอ


7 ขั้นตอนการพ่วงแบตเตอรี่ที่ถูกต้อง

1. คีบปลายสายสีแดงเข้ากับ “ขั้วบวก” ของรถแบตหมด
2. คีบปลายสายสีแดงเข้ากับ “ขั้วบวก” ของรถแบตดี
3. คืบปลายสายสีดำเข้ากับ “ขั้วลบ” ของรถแบตดี
4. คีบปลายสายสีดำเข้ากับ “กราวด์” ของรถแบตหมด ซึ่งอาจเป็นหัวน็อตหรือเหล็กเปลือยภายในห้องเครื่องยนต์ และควรห่างจากขั้วลบอย่างน้อย 50 เซนติเมตร
5. สตาร์ทเครื่องยนต์รถแบตดี
6. สตาร์ทเครื่องยนต์รถแบตหมด
7. ถอดสายพ่วงแบตโดยเรียงจากข้อ 4 - 3 - 2 และ 1 ตามลำดับ





39  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / ดูดวง ทำนายทายทัก / Re: เปิดเผยสิ่งที่กระตุ้น “ความโกรธ” ของคุณจากภาพ เมื่อ: 18 กรกฎาคม 2565 23:29:26



   

11. ถ้าคุณเห็นยีราฟก่อน

คุณเป็นคนใจดีที่คาดหวังสิ่งเดียวกันจากคนอื่น คุณจึงหลีกเลี่ยงการต้องพบพานกับคนที่ไม่เคารพชีวิตและเวลาของคุณ คุณไม่สามารถอดทน
กับคนที่ชอบแสวงหาจุดอ่อนของผู้อื่นเพื่อใช้ประโยชน์จากจุดด้อยนั้นโจมตีเขา “คนที่ชอบบงการ” จึงเป็นคนที่กระตุ้นความโกรธของคุณได้





ที่มา: Sanook.com
40  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / ดูดวง ทำนายทายทัก / Re: เปิดเผยสิ่งที่กระตุ้น “ความโกรธ” ของคุณจากภาพ เมื่อ: 18 กรกฎาคม 2565 23:28:03



   

10. ถ้าคุณเห็นกระต่ายก่อน

คุณมีจิตวิญญาณที่สร้างสรรค์ กระตือรือร้น และกระฉับกระเฉง คุณเป็นคนที่หัวเราะง่ายและมักจะส่งต่อความสุขแบบนี้ไปรอบ ๆ ตัว คุณจึงไม่ชอบคนที่นำความโศกเศร้า
หรือเรื่องราวในด้านลบมาสู่ชีวิตคุณ ตัวกระตุ้นความโกรธของคุณจึงเป็น “คนที่คิดลบ”





หน้า:  1 [2] 3 4 ... 380
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.186 วินาที กับ 26 คำสั่ง

Google visited last this page 21 เมษายน 2567 03:06:34