[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 07:31:28 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก เวบบอร์ด ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

  แสดงกระทู้
หน้า:  [1] 2 3 ... 101
1  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ อนามัย / Re: Popcorn Lung ปอดป๊อปคอร์น ภาวะเชื่อมโยงกับบุหรี่ไฟฟ้า เมื่อ: 28 สิงหาคม 2566 08:30:55
 ซีด
2  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ จิบกาแฟ / Re: เสือไป กระต่ายมา สวัสดีปีใหม่ 2566 บุ๋ม บุ๋ม บุ๋ม เมื่อ: 05 มกราคม 2566 09:31:19
สวัสดีปีใหม่อาจารย์มดเอ๊ก
3  สุขใจในธรรม / สมถภาวนา - อภิญญาจิต / Re: ทำไมคนเราต้องศึกษาอภิญญาสมาบัติ? เมื่อ: 10 ธันวาคม 2565 17:10:42
<a href="http://www.youtube.com/watch?v=WHe4gOpUgiA" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://www.youtube.com/watch?v=WHe4gOpUgiA</a>
4  สุขใจในธรรม / สมถภาวนา - อภิญญาจิต / ทำไมคนเราต้องศึกษาอภิญญาสมาบัติ? เมื่อ: 10 ธันวาคม 2565 17:10:01
ทำไมคนเราต้องศึกษาอภิญญาสมาบัติ?



ลูกหลานที่รัก จงจำปฏิปทานี้ไว้ "ถ้ามีความจำเป็นเราต้องเสียสละเพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และปวงชนชาวไทย แม้แต่ชีวิตก็ต้องยอม"
พ่อขอเตือนลูกรักทั้งหลาย จงจำไว้เสมอว่า ขณะที่ฟังพ่อพูดให้ตั้งใจไว้ใน ศีล สมาธิ ปัญญา ฟังไปด้วย ใช้ศีล สมาธิ ปัญญา
รวมตัวกันเข้าไว้ในใจจุดเดียวกันจะทำให้สะอาด

- ศีล ขัดเกลาภาคพื้นของใจให้ดีขึ้น
- สมาธิ จับอารมณ์ใจให้นิ่งขึ้น
- ปัญญา ชำระล้างความสกปรกของจิต จิตมีอารมณ์ผ่องใสมากขึ้น

เมื่อจิตมีอารมณ์ผ่องใส กำลังใจก็เป็นทิพย์ เมื่อกำลังใจเป็นทิพย์อยากจะรู้อะไรก็รู้ได้ทันทีทันใด ที่เราเรียกกันว่า ใช้ทิพย์จักขุญาณ หรือจุตูปปาตญาณ
เจโตปริยญาณ อตีตังสญาณ อนาคตังสญาณ ปัจจุบันนังสญาณ ปุพเพนิวาสานุสติญาณ และยถากรรมมุตาญาณ โดยเฉพาะลูกรักของพ่อทุกคนได้อภิญญาเล็ก
คือ มโนมยิทธิ หมายถึงมีฤทธิ์ทางใจ คำว่า ฤทธิ์ทางใจ ก็คือ ใจมีฤทธิ์ คำว่า ฤทธิ์ หมายถึง เก่ง คือ ใจเก่งกว่าใจธรรมดา สามารถถอดจิตออกจากร่าง
ไปสู่ภพต่างๆ ได้ เราจะไปเที่ยวเมืองสรรค์ก็ได้ ไปเที่ยวพรหมโลกก็ได้ ไปเที่ยวเมืองนิพพานก็ได้ ไปเที่ยวเมืองนรกก็ได้ สู่แดนเปรต อสุรกายก็ได้
และในโลกมนุษย์นี่จะไปมุมไหนก็ได้ ประเทศไหนๆ ก็ไปได้ บ้านใครสำนักงานไหนเขาหวงเราก็ไปได้ นี่การมีฤทธิ์ทางใจเป็นของดี

แต่ทว่ามีบางคน ตำหนิพระพุทธเจ้าว่า พระพุทธเจ้าไม่น่าจะสอนหลักวิชชาสาม อภิญญาหก ปฏิสัมภิทาญาณ เพียงสอนขั้นสุขวิปัสโกอย่างเดียวก็พอ
คำว่า สุขวิปัสโก หมายความว่า จิตสะอาดปราศจากกิเลส ไม่มีความรักในเพศ ไม่มีความโลภ ไม่มีความโกรธ ไม่มีความหลง จิตมีอารมณ์เป็นสุข
จิตมีความเยือกเย็น ไม่มีทุกข์ มีอารมณ์สบาย นี่ความเป็นพระอรหันต์

เตวิชโช (วิชชาสาม) สามารถทำทิพย์จักขุญาณให้ปรากฏ และหมดกิเลสสามารถระลึกชาติได้ มีวิชชาแปดอย่างที่เรียกว่า ญาณ ๘

ฉฬภิญโญ หมายถึงอภิญญาหก สามารถเนรมิตอะไรก็ได้ มีหูเป็นทิพย์ มีทิพย์จักขุญาณ มีญาณแปดครบเช่นเดียวกับ เตวิชโช และมีอิทธิฤทธิ์
มีฤทธิ์ทางใจ เป็นต้น และ จิตหมดกิเลส

ปฏิสัมภิทาญาณ หมายถึงความรู้พิเศษ สามารถรู้ธรรมะทุกอย่าง ทรงพระไตรปิฏก คำว่า ไม่รู้ ไม่มี และสามารถรู้ภาษาสัตว์ และภาษาทุกภาษา
ได้โดยไม่ต้องศึกษา แต่ทว่าเนื้อแท้จริงๆ ก็คือ ความเป็นพระอรหันต์ มีความรู้ทั้ง เตวิชโช และฉฬภิญญโญด้วย

เป็นอันว่าบางท่านบอกว่า พระพุทธเจ้าไม่น่าจะสอนแบบนี้ เสี่ยงภัยเกินไป แต่พ่อก็ขอเตือนลูก ถ้ามีใครเขาถามวา
"ทำไมต้องเรียน อภิญญาสมาบัติ ทำไมจะตองมีทิพย์จักขุญาณ เห็นผี เห็นเทวดา เห็นสวรรค์ เห็นนรกได้ ทำไมต้องมีการยกจิตไปท่องเที่ยวภพต่างๆ ได้
การรู้ว่าคนและสัตว์นี่ ก่อนเกิดมาจากไหน ตายแล้วไปไหน เจโตปริยญาณ รู้วาระนำจิตของคนและสัตว์ว่า มันชอบอะไร คิดอะไร คิดดี คิดชั่ว
มีกิเลสตัวไหนอยู่บ้าง ปุพเพนิวาสานุสติญาณ สามารถระลึกชาติต่างๆ ได้ ถอยหลังไปดูว่าเราเกิดมาแล้วกี่ชาติ เคยเกิดเป็นอะไรมาบ้าง อตีตังสญาณ
รู้เหตุการณ์ในอดีต อนาคตังสญาณ รู้เหตุการณ์ในอนาคต ปัจจุบันนังสญาณ ว่าเวลานี้ใครอยู่ที่ไหน ใครกำลังทำอะไรอยู่ ยถากรรมมุตาญาณ รู้ว่าเขามีสุข
มีทุกข์เพราะผลจากอะไรเป็นสำคัญ ความจริงรู้แบบนี้ ถึงแม้ว่าเราไม่เป็นพระอรหันต์ เราก็รู้ได้ถ้าใครเขาถามว่า ศึกษาทำไม"
ก็ควรตอบว่า "ศึกษาเพื่อกันความสงสัย จะได้ไม่สงสัยคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะได้ไม่ประมาทในชีวิต"

ถ้าใครเขาจะแย้งว่า "ดูอย่างพระเทวทัตเพราะอาศัยได้อภิญญาสมาบัติจงอเวจีมหานรก" อย่างนี้ก็ต้องย้อนถามเขาลงไปว่า
"ท่านที่ได้อภิญญาสมาบัติในสมัยที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่หรือว่าปรินิพพานไปแล้วก็ตาม คนที่ได้อภิญญาสมาบัติลงนรกกี่คน
และคนที่ได้อภิญญาสมาบัติไปนิพพานเท่าไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระเทวทัต ถ้าไม่อภิญญาสมาบัติความยับยั้งก็ไม่มี ต้องลงอเวจีตามกฏของกรรมคือ ๑ กัป
แต่นี่พระเทวทัตลงอเวจีเพียงแค่ไม่ถึง ๑ วันอเวจี เพราะผลความดีที่มีความรู้ด้านอภิญญา มีการยับยั้ง...

..."เหมือนกับคนตาดี เดินไปในกลุ่มหนามหรือเดินไปบนลานแก้วแตก จะวางเท้าลงไปก็ค่อยๆ วาง เพราะมองเห็นหนามและแก้วแตก เกรงว่าจะบาดเท้า ตำเท้า จะเจ็บบ้างก็เล็กน้อย" ...

"ไม่เหมือนกับคนตาไม่ดี ไม่เห็นว่าที่นั้นมีอันตราย เดินสวบๆ เข้าไป ผลที่สุดก็โดนทั้งแก้วแตกทั้งหนามตำเต็มกำลัง"...

ข้อนี้ฉันใด แม้คนที่ได้ "อภิญญาสมาบัติ" และ "วิชชาสาม" ก็เช่นเดียวกัน ถึงแม้ว่ากฏของกรรมบางอย่างจะบีบบังคับ ก็มีการยับยั้ง รู้ผิดรู้ชอบ เหมือนคนที่รู้กฏหมาย
กับคนที่ไม่รู้กฏหมาย คนที่เขารู้กฏหมายเขาทำผิดก็จริงแหล่ แต่ทว่าเขารู้ทางออกจะรับโทษก็รับไม่มาก ไม่เหมือนคนไม่รู้กฏหมาย อยากจะทำอะไรก็ทำตามใจชอบ
ดีไม่ดีติดคุกติดตะราง คิดว่าของมันเล็กน้อย แต่ที่ไหนได้ของมันใหญ่ เช่น คิดจะฆ่าควายตัวมันใหญ่โทษจะมาก ฆ่าคนดีกว่าตัวเล็กกว่า แต่ที่ไหนได้ฆ่าคนมีโทษมากกว่า
ฆ่าควายมีโทษน้อย (นี่ในแง่ของกฏหมายน่ะ) เช่น ฆ่าไม่เอาหนักไป ด่าดีกว่า แอบไปด่าพระมหากษัตริย์เข้า เจ๊งไปเลย ถูกลงโทษหนักฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
หรือด่าศาลว่าศาลคด ศาลโกง ศาลไม่ยุติธรรม นี่ถือว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มีโทษหนัก

อันนี้ คนมีความรู้ แม้จะมีโทษหนัก ก็มีการยับยั้งในการทำความผิด ซึ่งผิดกับคนที่ไม่รู้อะไรเลย ทำก็ทำลงไปเต็มอัตราศึก ไม่รู้บาปบุญ คุณโทษ ประโยชน์
มิใช่ประโยชน์เป็นอันว่า ที่พ่อให้ลูกศึกษาวิชาความรู้อันนี้ ต้องระมัดระวัง รักษาไว้ด้วยดี อย่าไปอวดเขา "รักษาไว้เพื่อชำระจิตใจของเราให้เป็นสุข"

เวลานี้ลูกรักของพ่อกำลังรบกับสงครามสำคัญ คือ กิเลส สงครามภายนอกน่ะมันเรื่องเล็ก สงครามครามกิเลสมีความสำคัญมาก เจตนาของพ่อก็มีอยู่ว่า "ความเกิดมันเป็นทุกข์"
ลูกทุกคนนี่ต่างคนต่างมีความทุกข์กันหมด แต่ว่า "ให้ทุกข์มันมีเพาะขันธ์ ๕ จิตเราจงอย่าทุกข์" บรรดาลูกรักของพ่อทุกคนต่างคนต่างมีศีล มีสมาธิ มีปัญญา พ่อดีใจ
เวลาฟังพ่อพูดพยายามใช้สมาธิให้คล่องตัว สำหรับอภิญญาสมาบัติ อิทธิฤทธิ์ ยกจิตไปตามที่ต่างๆ ให้คล่อง ทิพย์จักขุญาณทำให้แจ่มใส ศีล สมาธิ ปัญญา ดีแล้วจะเห็นชัดเจน
จุตูปปาตญาณ มองหน้าคน มองหน้าสัตว์ อยากรู้ว่าก่อนเกิดมาจากไหนจะรู้ได้ทันที ตายแล้วไปไหนก็รู้ได้ทันที เจโตปริยญาณ ถ้าเราอยากรู้วาระน้ำจิตของคนอื่น
ให้รู้กระแสจิตของตนเองไว้เสมอก่อน เรารู้ได้ไม่ยากคนมีกิเลสหนามีความชั่ว ใจจะมีสีดำบ้าง แดงบ้าง ขาวบ้าง แต่เป็นเนื้อ ถ้าใจดีปานกลาง ใจจะเป็นแก้ว แต่คนที่ดีจริงๆ
จะเป็นแก้วประกายทั้งดวงเหมือนดาว นี่ไม่ยาก แต่รู้แล้วก็นิ่งเสีย ปุปเพนิวาสาสติญาณฝึกให้คล่อง นึกถอยหลังเราเกิดมาแล้วกี่ชาติ แต่อย่าไปไล่ทีละชาติเลย
เห็นอะไรก็นึกว่าเราเคยเกิดไหม เช่น เห็นสัตว์เรานึกว่า เราเคยเกิดเป็นสัตว์ชนิดนี้ไหมกี่ชาติ ภาพจะปรากฏชัด เป็นอันว่า ธรรมะ ส่วนนี้มีความสำคัญ
พ่อให้ลูกไว้ชำระจิตของลูกให้บริสุทธิ์ ถอยหลังไปดูการเกิดแต่ละคราวเต็มไปด้วยความทุกข์ ดูบรรดาบรรพบุรุษกษัตริย์ทั้งหลาย ที่พ่อพูดมา และคนทั้งหลายที่กล่าวถึง
ต่างคนต่างตายไปหมดแล้ว

"ผืนแผ่นดินที่เราเดินอยู่นี่ ถ้าเราใช้ อตีตังสญาณ รู้ว่าเราเดินอยู่บนร่างกายและเลือดเนื้อของบรรดาบรรพบุรุษของเรา ฉะนั้น ถ้าใครเขาจะมาเชือดเฉือนเอาร่างกาย
เลือดเนื้อบรรพบุรุษของเราไป เราก็ไม่ควรยอม นี่พูดอย่างเป็นทางโลก คือ โลกไม่ช้ำ ธรรมไม่เสีย"

สำหรับกิเลสที่เราจะชนะได้ ต้องทำกำลังใจตามนี้

ถ้าเรื่องของความรักชาติ เรื่องของความสามัคคี จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องมี สังคหวัตถุ ๔

๑. ทาน การให้เกื้อกูลซึ่งกันและกัน

๒. ปิยะวาจา พูดจาไพเราะ

๓. อัตถจริยา ทำตนให้เป็นประโยชน์แก่บุคคลอื่น ช่วยกิจการงาน

๔. สมานัตตตา ไม่ถือตัว ไม่ถือตน


นี่แค่ ๔ ประการ ถ้าเราทำกันไม่ได้ เรามีความสุขไม่ได้ ฉะนั้น ชาติเราจะมีความสุข จะมีความสามัคคีก็ต้องทำ ๔ ประการนี้ได้ นี่กิเลสหยาบที่เราต้องละให้ได้
จะมีความสุข คำว่า สุข นี่อย่าเอาสุขกายนะ เอาสุขใจก็แล้วกัน

เรื่องของร่างกายเราต้องคิดว่า ชาติปิทุกขา ความเกิดมันเป็นทุกข์ ชราปิทุกขา ความแก่เป็นทุกข์ มรณัมปิทุกขัง ความตายเป็นทุกข์ เป็นอันว่าขันธ์ ๕ มันเป็นทุกข์
แต่ใจของเราจงอย่าทุกข์ ใจเราจงอย่าทุกข์ทำยังไง รักษาอารมณ์ใจไว้ ๑๐ ประการ...

๑. ทาน การให้ คิดไว้เสมอว่า "เราจะมีจิตเมตตาสงเคราะห์ผู้อื่นให้มีความสุข" โดยการให้ ให้ของ ให้ความคิด ให้กำลังกายช่วยกิจการงาน เป็นเสน่ห์ใหญ่
ทำให้มีความสุข ผู้ให้ย่อมเป็นที่รักของผู้รับ

๒. ศีล แปลว่า ปกติ อารมณ์ของเราจะทรงความดี ๕ ประการไว้เสมอ คือ ไม่ละเมิดศีล ๕ ประการ

๓. เนกขัมมะ แปลว่า การถือบวช คือบวชใจ คำว่า บวช นี่ไม่จำเป็นต้องโกนหัว ถ้าโกนหัวแล้วจิตไม่ดี ก็ไม่ถือว่าเป็นนักบวช เราบวชใจ คือ

๓.๑. ไม่มัวเมาในกามคุณ ๕ ให้คิดไว้เสมอว่า ไอ้รูปสวยน่ะประเดี๋ยวมันก็พัง เสียงไพเราะผ่านหูแล้วก้หายไป กลิ่นหอมผ่านจมุกแล้วก็หายไป รสอร่อย
กระทบลิ้นแล้วก็หายไป สัมผัสระหว่างเพศจับแล้ว พอพ้นแล้วก็หายไป และเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความทุกข์ รักมากทุกข์มาก รักน้อยทุกข์น้อย ไม่รักเลยไม่ทุกข์เลย

๓.๒. ไม่ถือความโกรธความพยาบาทเป็นบรรทัดฐาน ตัดกำลังใจให้อภัยอยู่เสมอ ขึ้นชื่อว่าคนเกิดมาในโลกนี้ ไม่ทำความผิดเลยไม่มี ก็น่าเห็นใจ
เพราะความพลั้งพลาดของงาน เขาจะด่าจะว่าก็ช่างเขา ไม่ช้าต่างคนก็ต่างตาย

๓.๓. ป้องกันการง่วงหาวนอนขณะที่จิตจะทำความดี

๓.๔. ระงับความฟุ้งซ่าน ก็พยายามตั้งไว้ในยามปกติ นึกถึงความดีจุดใดจุดหนึ่ง เราจะไม่ยอมให้อารมณ์อื่นเข้ามาแทรก

๓.๕. เราจะไม่สงสัยในธรรมะปฏิบัติที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอน คนที่บวชห่มผ้าเหลืองน่ะ ถ้าระงับเหตุ ๕ ประการที่ว่ามานี่ไม่ได้ เขาเรียกว่า "เถนะ"
เถน แปลว่า หัวขโมย ขโมยเอาเพศของสมณมานุ่ง นี่นักบวชจริงๆ อันดับแรกต้องระงับนิวรณ์ ๕ ประการได้ ขอลูกจงระงับใจตามนี้ให้เป็นะรรมดา พิจารณาหาความจริงว่า
นี่มันเป็นปัจจัยของความสุขหรือความทุกข์ ทำงานตามหน้าที่ ถือว่าชาตินี้เป็นครั้งสุดท้ายที่เราจะต้องทำงาน ชาติใหม่ไม่มีสำหรับเรา เราไปนิพพาน ถ้าสงสัยนิพพาน
ก็ต้องใช้วิปัสสนาญาณให้เข้มข้น ใช้มโนมยิทธิแป๊บเดียวก็ถึงนิพพาน จับอารมณ์นิพพานได้ว่า มีความสุขแค่ไหน

๔. ปัญญา มีความรอบรู้ หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะเป็นโทษ ทำสิ่งที่เป็นโทษแล้ว ใช้ปัญญาหาความจริงว่า เกิด แก่ เจ็บ ตาย จริงไหม ถ้ายังเกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่อย่างนี้จะไม่หมดทุกข์
เราจะมีความสุขก็คือ ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตายอีกต่อไป ได้แก่รักษาธรรมะ ๑๐ ประการนี้ให้ครบถ้วน

๕. วิริยะ มีความเพียร ทำกิจการงานฝ่ายโลกและธรรม ต้องอดทนทุกอย่าง เพื่อรักษาความดีให้คงอยู่ เรียกว่า เพียร พังให้มันทะลุไปเลย

๖. ขันติ ความอดใจ อดทนต่อความเหนื่อย อดทนต่อความร้อน อดทนต่อความหนาว อดทนต่อความขัดข้องใจ

๗. สัจจะ ความจริงใจ ตั้งใจไว้แบบไหนก็ทรงกำลังใจแบบนั้น เช่น ตั้งใจไว้ว่า จะรักษาศีล เราก็ทำจริง ใครมาชวนด่าเราก็ไม่ด่า

๘. เมตตา เราจะมีเมตตา ความรักคนและสัตว์เสมอด้วยตัวเรา ใครเขามาชวนโกรธเราก็ไม่โกรธ

๙. อธิษฐาน ตั้งใจไว้ว่า การทำอย่างนี้เพื่อทรงคุณธรรมอะไร จะไปไหนมีเมตตาอยู่เสมอ เหมือนคิดว่าเป็นถิ่นของเรา

๑๐. อุเบกขา วางเฉยในอารมณ์ต่างๆ ที่ไม่เป็นที่ถุกใจเรา หมายความว่าอะไรก็ตาม ถ้าไม่เป็นที่ถูกใจเรา เราก็เฉยๆ เขาจะด่า เขาจะว่า เขาจะนินทาอะไรก็ช่างเขา
ประเดี๋ยวก็ตาย จะไปยุ่งอะไรกัน



กำลังใจ ๑๐ ประการนี่ลูกรัก ถ้าทรงไว้ได้ความสุขจะเกิด ทำเสมอๆ นะลูกเพื่อความไม่ประมาท


โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
(คัดลอกเฉพาะบางตอนจากหนังสือ เรื่องจริงอิงนิทานพิเศษตั้งแต่ย่อหน้า ๒ ของหน้า ๘๔-๑๐๐)

ที่มา
dharmaxp.blogspot.com/2017/05/blog-post_27.html
5  สุขใจในธรรม / ธรรมะจากพระอาจารย์ / ทุกข์จึงครอบงำไม่ได้ - หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เมื่อ: 10 ธันวาคม 2565 16:44:50
ทุกข์จึงครอบงำไม่ได้ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)



" .. เมื่อแยกพันธะแห่งความเกี่ยวเนื่องจิตกับ สรรพสิ่งทั้งปวงได้แล้ว "จิตก็หมดพันธะกับเรื่องโลก รูป เสียง กลื่น รส สัมผัส"
จะดีหรือเลว "มันขึ้นอยู่กับจิตที่ออกไปปรุงแต่งทั้งหมด" และจิตที่ขาดปัญญา ย่อมเข้าใจผิด

เมื่อเข้าใจผิด "ก็หลงอยู่ภายใต้อำนาจ ของเครื่องร้อยรัดทั้งหลาย" ทั้งทางกายและทางใจ อันโทษทัณฑ์ทางกาย
อาจมีคนอื่นช่วยปลดปล่อยได้บ้าง "ส่วนโทษทางใจ มีกิเลสตัณหาเป็นเครื่องรึงรัด" ไว้นั้น ต้องรู้จักปลดปล่อยตนด้วยตนเอง

"พระอริยเจ้าทั้งหลาย ท่านพ้นแล้วจากโทษทั้งสองทางความทุกข์จึงครอบงำไม่ได้" .. "



"หลวงปู่ฝากไว้"
หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
6  สุขใจในธรรม / กฏแห่งกรรม - ท่องไตรภูมิ / 6 วิธีจูงจิตผู้ป่วยใกล้ตาย ให้ไปสู่ภพภูมิที่ดี โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน เมื่อ: 10 ธันวาคม 2565 16:29:41
6 วิธีจูงจิตผู้ป่วยใกล้ตาย ให้ไปสู่ภพภูมิที่ดี โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน



จิตสุดท้ายก่อนตาย สำคัญต่อการเกิดใหม่ หลวงพ่อพระราชพรหมยาน
พระราชพรหมยาน (วีระ ถาวโร) หรือ "หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ" สอน "6 วิธีจูงจิตผู้ป่วยใกล้ตาย" ให้ไปสู่ภพภูมิที่ดี!

ผู้ที่กำลังจะถึงแก่ความตายนั้นภายในจิตย่อมเกิดอารมณ์และความคิด สุดท้ายอารมณ์ต่างๆ เหล่านั้นจะผ่านเข้าไปในจิต
มีทั้งอารมณ์ยินดีและยินร้าย พอใจและไม่พอใจ เพียงระยะเวลาสั้นๆ ของผู้ที่ไม่เคยฝึกอบรมจิตมาก่อน
จิตจะส่งกระแสออกไปตามอารมณ์ต่างๆ นับไม่ถ้วน

เมื่อดวงจิตจะต้องดับลงจริงๆ แล้ว ดวงจิตจะยึดเอาอารมณ์สุดท้ายที่จิตเสวยอยู่นั้นมาเป็นอารมณ์จิตและติดเข้าไปยังปรโลกด้วย
ไปก่อให้เกิดภพภูมิของจิต อันเปรียบเสมือนมิติแห่งความคิดที่ดวงจิตวิญญาณ เมื่อผ่านเข้าไปยังปรโลกใหม่
ไปสร้างมิติแห่งความฝันนี้ให้บังเกิดขึ้น

อารมณ์ของจิตสุดท้ายก่อนตายนี้นับว่ามีความสำคัญมาก เพราะดวงจิตวิญญาณจะยึดเอาไว้ เพื่อเป็นการน้อมนำไปสู่การเกิดใหม่
หรือบางครั้งอารมณ์จิตติดอยู่ในเรื่องราวอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงสำคัญมากที่จะต้องรักษาจิตสุดท้าย ไม่ให้ฟุ้งซ่าน มีสติอยู่เสมอ
เพื่อให้ดวงจิตนี้นำไปสู่ภพภูมิที่ดีได้ หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ จึงสอน "วิธีจูงจิตผู้ป่วยใกล้ตาย" ไว้ให้ ดังนี้…


"...ถ้าป่วยใหม่ๆ อาตมาแนะนำให้ทำดังนี้" คือ

1.ให้นำพระพุทธรูป ผ้าไตรจีวร พร้อมอาหารและ ของใช้ที่จำเป็น นำไปให้ผู้ป่วยเห็นและให้ตั้งจิต อธิษฐานว่า
"ของทั้งหมดนี้ขอถวายเป็นสังฆทานแก่พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา
เพื่ออุทิศส่วนกุศลผลบุญทั้งหมดนี้ให้เจ้ากรรมนายเวรของผู้ป่วยได้โมทนาและอโหสิกรรมให้ผู้ป่วยด้วย"
แล้วญาติก็นำของทั้งหมดไปถวายพระเป็นสังฆทาน จิตใจของผู้ป่วยจะได้สบายเพราะได้เห็น พระพุทธรูปและได้ทำบุญ

2.ถ้าจะให้ดีขึ้นไปอีกก็ควรนำเงินจะมากหรือน้อย ตามแต่ศรัทธา ให้ผู้ป่วยถือเงินไว้และให้ตั้งจิต อธิษฐานว่า
"เงินจำนวนนี้ขอถวายชำระหนี้สงฆ์ตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน ถ้าเคยไปหยิบหรือนำของสงฆ์มาโดย เจตนาหรือไม่ได้เจตนาก็ตาม"

3.ในระหว่างที่นอนป่วยอยู่ควรนำพระพุทธรูปมา ตั้งไว้ให้ผู้ป่วยได้มองเห็น อย่าไปตั้งไว้ในที่ผู้ป่วย เห็นไม่ถนัด ผู้ป่วยลืมตาขึ้นมาเมื่อใด
ก็จะได้เห็นพระทันทีจิตของผู้ป่วยจะได้จับอยู่ที่พระใจจะสบายช่วยให้คลายจากทุกขเวทนาได้บ้าง และถ้าตาย เมื่อใดก็จะไม่ลงนรก

4.ถ้าป่วยมากมีทุกขเวทนามาก ควรแนะนำสั้นๆ ให้นึกถึงพระพุทธเจ้าหรืออย่างใดอย่างหนึ่งดีกว่า ถ้าไปแนะนำยาวๆ จะเกิดอาการกลุ้ม

5.ถ้าต้องการให้ผู้ป่วยตายแล้วไปพระนิพพานให้นึกภาวนาว่า "นิพพานัง สุขัง" ถ้าคิดว่าป้องกันไม่ให้ ลงนรกก็ให้ภาวนาว่า "พุทโธ" ให้บอกสั้นๆ อย่าบอกยาว

6.ถ้าผู้ป่วยภาวนาไม่ไหวก็ให้นึกถึงพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่งก็ได้ ให้นึกถึงพระไว้หรือจะนึกถึงพระสงฆ์ก็ได้ อย่าไปแนะนำยาวๆ
เพราะเวลานั้นทุกขเวทนามากจะทำให้กลุ้ม ดีไม่ดีจิตใจเขาดีอยู่แล้ว ถ้าแนะนำไม่ดี พูดมากไปเขาจะกลุ้มจะทำให้ลงนรกไป
ให้ดูตาคนป่วย ถ้าตาลอยๆ ตาปรือๆ อย่าไปพูดมากฉะนั้น การแนะนำคนป่วยก่อนตาย ต้องระมัดระวังให้ดี


คัดลอกจากหนังสือตายไม่สูญ…แล้วไปไหน โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง
7  นั่งเล่นหลังสวน / สยาม ในอดีต / เหตุที่สุรพล สมบัติเจริญ ประกาศตัดขาดกับ ผ่องศรี วรนุช เมื่อ: 13 มกราคม 2565 12:12:11
เหตุที่สุรพล สมบัติเจริญ ประกาศตัดขาดกับ ผ่องศรี วรนุช

https://i.ytimg.com/vi/HCDamaNqb5I/maxresdefault.jpg


หลังจากผ่องศรี วรนุชได้แจ้งเกิดในวงการจากการร้องเพลงแก้กับเพลงของสุรพล สมบัติเจริญ ผ่องศรีได้กลายเป็นนักร้องประจำวงดนตรีของสุรพล สมบัติเจริญ
ได้ร้องเพลงแก้กับสุรพล สมบัติเจริญอีกหลายเพลง เช่น หนาวแล้วหรือพี่ แก้กับ หนาวจะตายอยู่แล้ว น้ำตาเมียหลวง แก้กับ น้ำตาผัว อาลัยรัก แก้กับ ลูกแก้วเมียขวัญ
เป็นต้น

นอกจากเพลงร้องแก้แล้ว สุรพลยังแต่งเพลงให้ผ่องศรีร้องอีกหลายเพลง เช่น " กรุงเทพฯ" ซึ่งเป็นเพลงที่ผ่องศรีรักที่สุด และที่โด่งดังมากอีกเพลงไม่แพ้
"ไหนว่าไม่ลืม" ก็คือเพลง"ด่วนพิศวาส"ซึ่งลีลาของเพลงเข้าทางกับเสียงร้องของผ่องศรีมากที่สุด ไม่ว่ากาลเวลาจะผ่านไปกี่สิบปี ก็ไม่มีใครร้องเพลง"ด่วนพิศวาส"
ได้ดีเท่าผ่องศรี วรนุชอีกแล้ว

น่าเสียดายที่เกิดเหตุการณ์ทำให้สุรพล-ผ่องศรีต้องแตกคอกัน เมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ได้ทำการปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองประเทศจากจอมพล ป.พิบูลสงคราม
จอมพลสฤษดิ์ประกาศให้ทหารทุกคนต้องเข้าประจำกรมกอง สุรพลที่เป็นทหารอากาศจึงต้องพักวงดนตรีเพื่อกลับเข้าสังกัด ผ่องศรีจึงขอไปเล่นกับคณะอื่น
ระหว่างที่วงดนตรีสุรพล สมบัติเจริญหยุดพัก สุรพลยอมอนุญาตแต่กำชับถ้าเขากลับมาทำวงดนตรีอีกเมื่อไร ผ่องศรีต้องกลับมาทันที

เมื่อสถานการณ์ในประเทศเข้าสู่ภาวะปกติ สุรพลกลับมาเปิดวงรับงานแสดงอีกครั้ง แต่ไม่มีผ่องศรี วรนุชอีก เพราะผ่องศรียังเดินสายอยู่กับวงดนตรีคณะอื่น
สุรพลโกรธจัดประกาศตัดขาดกับกับผ่องศรี วรนุช ตั้งแต่นั้นมา มิไยที่ผ่องศรีจะชี้แจงอย่างไร สุรพลไม่รับฟังทั้งสิ้น จนสุรพลสิ้นชีวิตไป ทั้งคู่ก็ยังไม่ได้คืนดีกัน

              


ขอบคุณ ข้อมูลจาก หนังสือ "ไทยลูกทุ่ง" เรียบเรียงโดย เลิศชาย คชยุทธ
ที่มา พร่างเพชรในเกร็ดเพลง
8  สุขใจในธรรม / กฏแห่งกรรม - ท่องไตรภูมิ / เหล่าเทพเทวดายืนยัน บุญที่ทำแล้วเป็นบุญใหญ่คือบุญจากอะไรบ้าง หลวงปู่จันทา ถาวโร เมื่อ: 19 มิถุนายน 2564 19:49:18


เหล่าเทพเทวดายืนยัน บุญที่ทำแล้วเป็นบุญใหญ่คือบุญจากอะไรบ้าง

หลวงปู่จันทา ถาวโร


<a href="http://www.youtube.com/watch?v=NftW3k_CCZc" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://www.youtube.com/watch?v=NftW3k_CCZc</a>








9  สุขใจในธรรม / เสียงธรรมเทศนา / คำสอนจากซีรี่ย์ในเรื่องพระพุทธเจ้ามหาศาสดาโลก เมื่อ: 18 มิถุนายน 2564 12:28:10
คำสอนจากซีรี่ย์ในเรื่องพระพุทธเจ้ามหาศาสดาโลก

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=hCFvcQMkQIw" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://www.youtube.com/watch?v=hCFvcQMkQIw</a>



10  สุขใจในธรรม / ห้อง วีดีโอ / ท่านอนิลมาน ธมฺมสากิโย ศากยวงศ์ตระกูลของพระพุทธเจ้าในยุคปัจจุบัน / เทพธิดากุมารี เมื่อ: 04 พฤษภาคม 2564 10:14:39



<a href="http://www.youtube.com/watch?v=xKLT4Uza1NI" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://www.youtube.com/watch?v=xKLT4Uza1NI</a>


ดร.พระเทพศากยวงศ์บัณฑิต นามเดิม อนิลมาน ฉายา ธมฺมสากิโย เป็นพระภิกษุชาวเนปาล
สัญชาติไทย บวชเป็นสามเณรในประเทศเนปาล และมาศึกษาพระธรรม ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร
ซึ่งเมื่ออายุครบบวช ได้อุปสมบท ณ วัดบวรนิเวศวิหาร โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณสังวร
เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วทรงให้การอุปถัมภ์มาตั้งแต่เป็นสามเณร
ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช
และดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

พระเทพศากยวงศ์บัณฑิต ได้ยื่นขอแปลงสัญชาติเป็นไทย
และได้รับอนุญาตให้แปลงสัญชาติได้เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

11  นั่งเล่นหลังสวน / สยาม ในอดีต / พระเจ้าสีป่อกษัตริย์พม่าคนสุดท้ายพูดถึง ร.๕ เมื่อครั้งเสด็จประพาสยุโรป เมื่อ: 11 มีนาคม 2564 23:02:41
พระเจ้าสีป่อกษัตริย์พม่าคนสุดท้ายพูดถึง ร.๕ เมื่อครั้งเสด็จประพาสยุโรป

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=4bP6Qj6GBlY" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://www.youtube.com/watch?v=4bP6Qj6GBlY</a>
12  นั่งเล่นหลังสวน / ลานกว้าง (มุมดูคลิป) / ดราม่า ต้มยำกุ้ง / อาหารชื่อนานาชาติ แต่มีแค่เฉพาะในไทย (ขนมจีน กล้วยแขก ฯลฯ) เมื่อ: 10 พฤศจิกายน 2563 23:24:36

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=k8j-3RtUXqg" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://www.youtube.com/watch?v=k8j-3RtUXqg</a>


ขนมจีน ขนมโตเกียว ข้าวผัดอเมริกัน ลอดช่องสิงคโปร์ กล้วยแขก
ชื่ออินเตอร์ แต่มีแค่ในเมืองไทย





13  สุขใจในธรรม / สมถภาวนา - อภิญญาจิต / รู้วาระจิตของบุคคลอื่นได้ด้วยภาวนา - หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ เมื่อ: 23 กรกฎาคม 2563 22:52:00

รู้วาระจิต ของบุคคลอื่นได้ด้วยภาวนา หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=YIcXdE1AAhI" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://www.youtube.com/watch?v=YIcXdE1AAhI</a>



14  สุขใจในธรรม / ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน / Re: น้อมรำลึกอาจาริยบูชาคุณ หลวงปู่แบน ธนากโร เมื่อ: 05 กรกฎาคม 2563 11:17:57


๏ #สร้างโรงพยาบาล

หลวงปู่แบน ธนากโร ท่านได้เมตตาสงเคราะห์คนหมู่มาก ทั้งพระและฆราวาส อย่างหาประมาณมิได้ องค์ท่านได้เมตตาสร้างตึกร่มฟ้า ให้แก่โรงพยาบาลจังหวัดสกลนคร พร้อมทั้งถวายพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ และสร้างตึกร่มฉัตร เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งตึกทั้งสองหลังนี้ เป็นตึกห้องพิเศษ วีไอพี มีอุปกรณ์ทันสมัยครบครันสมบูรณ์แบบ

เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๘ องค์ท่านได้สร้าง ‘โรงพยาบาลพระอาจารย์แบน ธนากโร’ ที่ อ.ภูพาน จ.สกลนคร เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวาระที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๕ รอบ ๖๐ พรรษา

และปี พ.ศ.๒๕๖๐ หลวงปู่แบน ธนากโร พร้อมด้วยญาติธรรมผู้มีจิตศรัทธา ร่วมแรง ร่วมใจ ร่วมสมองระดมกันสร้างตึก "ตึกหัวใจเพื่อแผ่นดิน" ณ โรงพยาบาลศูนย์สกลนคร .เมือง จ.สกลนคร พร้อมอุปกรณ์การแพทย์ทั้งหลายในตึก มูลค่ารวมกันมากกว่า ๘๐๐ ล้านบาท โดยไม่ใช้เงินสนับสนุนจากภาครัฐเลย เป็นตึกศูนย์หัวใจโดยตรงที่มีเครื่องมือทันสมัยรองรับผู้ป่วยทางภาคอีสานตอนบนและทางประเทศสาธาณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

๏ #สร้างสำนักปฏิบัติธรรม

หลวงปู่แบน ธนากโร นอกจากองค์ท่านจะเมตตาสงเคราะห์แก่ประชาชนทั่วไปแล้ว ท่านยังได้เมตตาสร้างวัดเพื่อเป็นสำนักปฏิบัติธรรมกรรมฐานเจริญรอยตามพระบูรพาจารย์ มีหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต และหลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ เป็นอาทิ ให้พระภิกษุสามเณรได้มีที่อยู่ศึกษาข้อวัตร ปฏิบัติธรรม เพื่อรักษาป่าไม้ ต้นน้ำลำธาร รักษาสัตว์ป่า และรักษาธรรมชาติเอาไว้ ซึ่งนับวันจะถูกบุคคลต่างๆ ทำลายลงไป

วัดที่องค์ท่านได้เมตตาสร้างนั้นมีอยู่หลายแห่งด้วยกัน ดังนี้
๑. วัดป่าภูผาผึ้ง ต.กกตูม อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร
๒. วัดป่าค้อน้อย บ้านค้อน้อย ต.ค้อใหญ่ อ.กุดบาก จ.สกลนคร
๓. วัดป่าวังเพิ่ม-พระภาวนา ต.พญาเย็น อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
๔. วัดทุ่งกระบิน-พระภาวนา อ.เขาคิฌชกูฏ จ.จันทบุรี
๕.สวนป่าริมธาร อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร

๏ #มรณภาพ

หลวงปู่แบน ธนากโร ละสังขารด้วยอาการสงบ ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๖๓ เมื่อเวลา ๑๐.๕๕ น. ณ วัดดอยธรรมเจดีย์ สิริอายุ ๙๑ ปี ๖ เดือน ๑๔ วัน ๗๒ พรรษา

"ขอให้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ มีธรรมอยู่ในใจ เมื่อมีธรรมเป็นเครื่องอยู่แล้ว จะอยู่ในโลกนี้ร่มเย็นเป็นสุข โลกนี้เร่าร้อน หากเรามีธรรมเป็นเครื่องอยู่แล้วก็อยู่เย็นสบาย หากมีธรรมเป็นเครื่องอยู่ มีธรรมเข้าสู่ใจแล้ว ก็ไม่ต้องมีเครื่องเสริม เพราะธรรม มีดีอยู่ในธรรมเองแล้ว ไม่ต้องเอาอะไรมาเสริมมาแต่งเหมือนเวลากินข้าวนี้ ถ้าอิ่มแล้ว เราก็ไม่ต้องเอาอะไรมาเสริมเพิ่มเติมอีก ธรรม เป็นธรรมาธิปไตย เป็นของกลาง ไม่มีชั้นวรรณะ ธรรมไม่แบ่งผู้หญิง ไม่แบ่งผู้ชาย คนแก่ หรือเด็ก ธรรม ปฎิบัติได้เป็นของกลาง ธรรมนี้ใครทำมากก็ได้ผลมาก ทำน้อยก็ได้ผลน้อย ถ้าต้องการให้ผลมากก็ทำเหตุให้มาก หากทำน้อยธรรมนี้ก็ให้ผลน้อยตามเหตุ ธรรมนี้ให้ธรรมา ให้ธรรมาเข้าสู่ใจ เห็นมั้ยในหนังสือสวดมนต์ มีแต่ธรรมา ธรรมาพระทั่วประเทศไทยหรือพระต่างประเทศ ต่อให้ถ้ามีพระนอกโลกด้วยเอ้า พระทั้งหมดก็สวดธรรมา ไม่มีพระองค์ไหนสวดธรรมไป เพราะธรรมไป ไม่มีประโยชน์ ธรรมไปมุ่งแต่ภายนอกใจ ไม่เกิดประโยชน์มีแต่โทษ ธรรมานี่เข้าหาตัว ธรรมา ธรรมแล้วให้ผลเป็นสุข เย็นใจได้ ให้พวกเราธรรมาเข้าสู่ใจ ให้ธรรมเป็นเครื่องอยู่ ให้มีธรรมเต็มหัวใจนะ เอาหล่ะ พอ แยกย้ายได้.." โอวาทธรรม หลวงปู่แบน ธนากโร

๏ #อ้างอิง แอดมินทองถิ่นธรรมคัดลอกจากหนังสือประวัติและพระธรรมเทศนา พระธนากโร หลวงปู่แบน ; พิมพ์เมื่อ ตุลาคม ปี ๒๕๖๐ ; หน้า ๑-๒๓







cr: เพจ ท่องถิ่นธรรม พระกัมมัฏฐาน
15  สุขใจในธรรม / ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน / Re: น้อมรำลึกอาจาริยบูชาคุณ หลวงปู่แบน ธนากโร เมื่อ: 05 กรกฎาคม 2563 11:17:08


๏ #เป็นพระที่องค์พระมหากษัตริย์ให้ความเคารพ

เมื่อถึงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ จะเสด็จแปรพระราชฐานมาพักอยู่ที่พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร เพื่อออกเยี่ยมเยียนราษฎรในเขตภาคอีสาน ทั้งสองพระองค์ และพระบรมวงศ์ จะเสด็จขึ้นไปกราบนมัสการหลวงพ่อแบน ธนากโร ที่วัดดอยธรรมเจดีย์ และเยี่ยมเยียนประชาชนในแถบนั้นทุกครั้ง

๏ #เป็นเสาหลักพระกรรมฐาน

ท่านเป็นเสาหลักพระกรรมฐานในเขตภาคอีสาน และภาคอื่นๆ ซึ่งพอถึงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา เป็นต้น คณะลูกศิษย์ทั้งพระและฆราวาสนั้นจะมาจากที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในเขตจังหวัดสกลนคร, นครพนม, มุกดาหาร, อุดรธานี, เลย, บุรีรัมย์, ศรีสะเกษ, สุรินทร์ ฯลฯ จะพากันมาลงอุโบสถสามัคคีกันที่วัดดอยธรรมเจดีย์ และรับฟังธรรมโอวาท คติเตือนใจ รวมทั้งข้อธรรมอื่นๆ ในด้านการปฏิบัติจิตตภาวนาจากหลวงพ่อแบน ธนากโร และท่านก็จะให้กำลังจิตกำลังใจ ไม่ให้ท้อถอย ให้ต่อสู้กับสิ่งที่ไม่ดีทั้งหลาย คือกิเลส ให้ยึดมั่นในหลักพระธรรมวินัย รวมทั้งให้พากันตั้งอกตั้งใจรักษาข้อวัตรปฏิบัติ และปฏิปทาที่ครูบาอาจารย์พระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ท่านพาดำเนินมา

๏ #เป็นพระกรรมฐาน
โอวาทธรรมหลวงปู่แบน ธนากโร

“..คําว่า “พระกรรมฐาน” เป็นคําพูดที่งดงามอย่างยิ่ง
เราๆ ให้เป็นพระกรรมฐานจริงๆ คือทําใจของเราให้อยู่กับกรรมฐาน ถ้าหากว่าเราเป็นพระกรรมฐานแล้วเอาใจของเราไปอยู่ที่อื่น ไม่สนใจในกรรมฐาน เอาใจออกนอกกรรมฐาน จะไม่ถูกต้อง จะไม่ถูกกับคําที่โลกเขาพูดกันว่า “เป็นพระกรรมฐาน”

พระกรรมฐาน ใจต้องอยู่กับกรรมฐาน ฝังลึกแนบแน่นอยู่ในกรรมฐานจริงๆ ผมก็เป็นกรรมฐาน ขนก็เป็นกรรมฐาน เล็บก็เป็นกรรมฐาน ฟันก็เป็นกรรมฐาน หนังก็เป็นกรรมฐาน “ตจปัญจกกรรมฐาน” ก็หมายถึง ผม ขน เล็บ ฟัน หนังทั้งห้านี้ อาการสามสิบสองทั้งหมดเป็นลําดับต่อไป ล้วนแต่เป็นกรรมฐาน พระกรรมฐานจะต้องฝังจิตฝังใจลงไปอยู่ในกรรมฐานของเรา

นักบวชเราอยู่ในฐานะที่มีโอกาสมากที่จะสลัดและขัดเกลาเครื่องรุงรังออกจากจิตจากใจจนเครื่องรุงรังนั้นหมดสิ้นไป ก็มีโอกาสที่จะเป็นไปได้ แต่ถึงเราจะมีโอกาสมากมายสักเท่าไรก็ช่าง แต่ความพยายามของเราไม่มี ไม่มีความพยายามที่จะใช้โอกาสอันนั้นให้เป็นประโยชน์ ก็ไม่มีโอกาสที่จะสลัดออกได้ จิตใจก็จะยังคงรุงรังอยู่อย่างนั้น เหมือนกับศีรษะที่ไม่ได้โกน หาความสะอาดความงดงามไม่ได้

พากันสนใจให้มาก ให้มีความพยายามฝังจิตฝังใจของเราอยู่ในกรรมฐานให้ยิ่งในอิริยาบถทั้งสี่ไม่ให้ใจคลาดเคลื่อนจากกรรมฐาน อย่าเผลอ เจ้ากิเลสมันคอยจะทําจิตทําใจของเราให้เผลอ สิ่งที่จะมาทําให้จิตให้ใจของเราเผลอมีอยู่มาก ถ้าหากว่า ความแน่นหนามั่นคงในจิตในใจของเราอยู่กับกรรมฐานไม่พอ นี่ มันจะต้องดึงจิต ถึงใจของเราให้เลื่อนลอยไปในทางอื่นได้

ผู้ที่จะได้รับประโยชน์ในการศึกษาในการปฏิบัติ ผู้นั้นจะต้องเป็นผู้ที่ใส่ใจจริงๆ ใส่ใจทุกสิ่งทุกอย่าง ผู้นั้นจะเห็นประโยชน์ และจะได้รับประโยชน์ในการศึกษา ในการประพฤติปฏิบัติ ในการบวชการเรียน ถ้าหากว่าไม่ใส่ใจ.. นี่ ไม่ใส่ใจ อย่าบวชเสียดีกว่า ถ้าหากว่าบวชแล้ว ก็รีบสึกหาลาเพศไปเสีย จะไม่รกวัดรกวา ไม่เปลืองข้าวชาวบ้าน

ความจริงเป็นอย่างนี้ นี่เอาความจริงมาพูด แต่นี่อาจจะเป็นคําที่หนัก หรือคําที่ไม่น่าจะพูด แต่คําที่พูดแล้วเป็นความถูกต้อง อันนั้นเราต้องยอมรับ เรายอมรับเพราะเราเป็นผู้ที่เคารพต่อพระสัทธรรม..” (แสดงธรรมเมื่อวันที่ ๑๕ ก.ค. ๒๕๓๒)

๏ #การสงเคราะห์โลก

เรื่องการสงเคราะห์หมู่คณะพระเณร ญาติโยมนี้ ท่านจะทำอยู่เป็นประจำ ซึ่งในช่วงวันสำคัญต่างๆ ทางพระพุทธศาสนานั้น พระภิกษุที่มารวมกันลงอุโบสถนั้น มีประมาณ ๕๐๐-๖๐๐ รูป ส่วนฆราวาสก็ประมาณ ๙๐๐-๑,๕๐๐ คน ในวันปวารณาเข้าพรรษานั้น องค์หลวงพ่อแบนท่านก็จะแจกวัตถุสิ่งของต่างๆ หลายอย่างให้แก่วัดที่มาร่วมลงอุโบสถสามัคคี เช่น น้ำตาล โกโก้ กาแฟ ร่ม ฯลฯ เพื่อมอบให้แก่ทางวัดได้ใช้สอยร่วมกัน และก็จะแจกถุงยังชีพให้แก่พระภิกษุสามเณร มีสบู่ ยาสีฟัน ยารักษาโรค ยากันยุง น้ำยาซักผ้า เป็นต้น

สำหรับการสงเคราะห์โลกนั้น ท่านจะพาลูกศิษย์ไปแจกผ้าห่ม เสื้อผ้า ข้าวปลา อาหารแห้ง ยารักษาโรค เครื่องอุปโภค บริโภคต่างๆ ให้แก่ประชาชน ในเขตอำเภอภูพาน อำเภอเต่างอย อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร อำเภอดงหลวง อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม และทั่วทั้งภาคอีสาน รวมไปถึงภาคเหนือ และภาคอื่นๆ เป็นต้น

ส่วนการสงเคราะห์ตามวัดนั้น ท่านจะออกไปตรวจตราและเยี่ยมเยียนตามวัดวาต่างๆ เพื่อให้กำลังจิตกำลังใจในการเจริญจิตตภาวนา พร้อมทั้งนำเครื่องอุปโภค บริโภค มีน้ำตาล น้ำปลา มาม่า ปลากระป๋อง ฯลฯ ไปถวายให้วัดนั้นๆ หากเป็นฤดูกาลหน้าผลไม้ เช่น เงาะ ทุเรียน มังคุด ออกผลผลิต ท่านก็จะจำนำไปแจกจ่ายให้ตามวัดครูบาอาจารย์กรรมฐานต่าง ๆ รวมทั้งวัดอื่น ๆ ด้วย




16  สุขใจในธรรม / ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน / Re: น้อมรำลึกอาจาริยบูชาคุณ หลวงปู่แบน ธนากโร เมื่อ: 05 กรกฎาคม 2563 11:16:31


๏ #หลวงปู่กงมาและหลวงปู่ฝั้นมาบําเพ็ญภาวนา

ท่านอาจารย์กงมา จิรปุญโญ ท่านจําพรรษาที่วัดป่าบ้านโคก ท่านอาจารย์ใหญ่ฝั้น อาจาโรจําพรรษา อยู่ที่วัดภูธรพิทักษ์ ท่านไปมาหาสู่กันเป็นประจํา ออกพรรษาแล้วท่านมาพักที่นี้ มาลักษณะเที่ยววิเวกหรือเที่ยวธุดงค์ โดยมีความประสงค์ว่าจะหาสถานที่พักตามป่า ตามภูเขา ไกลจากหมู่บ้าน ไกลจากผู้คน ถ้าหากว่าเห็นสถานที่เป็นที่พอใจ ก็จะพักบําเพ็ญภาวนาและเปิดโอกาสให้ลูกศิษย์ลูกหาได้ตั้งใจบําเพ็ญภาวนากันให้เต็มที่ อยู่ใกล้บ้านใกล้เรือนนัก รู้สึกว่าการปฏิบัติธรรมนี้จะเป็นไปได้ยาก ท่านจึงเดินธุดงค์ เดินแบบกรรมฐานมาแสวงหาสถานที่ภาวนาร่วมกัน

ท่านอาจารย์กงมากับหลวงปู่ฝั้นท่านมาพักที่นี่ด้วยกัน ต่อมาหลวงปู่ฝั้นท่านก็ขยับขึ้นไปบนโน้น เป็นถ้ำหลวงปู่ฝั้น เดี๋ยวนี้ก็ยังเรียก ถ้ํำหลวงปู่ฝั้นกันอยู่ แต่ที่นี้ต่อมา บ้านธาตภูธรพิทักษ์ มานิมนต์ท่านกลับไปพักอยู่วัดภูธรพิทักษ์ เพราะที่นั่นมีปัญหา นิดหน่อย หลังจากนั้น ท่านก็มีการไปมาหาสู่เยี่ยมเยียนมิได้ขาด มีโอกาสก็มาพักอยู่ด้วย ปีหนึ่งก็หลายๆ ครั้ง

๏ #หลวงปู่กงมาได้นิมิตเห็นพระเจดีย์ลอยอยู่_๓_องค์

ระหว่างที่มาทีแรกเดือนหงายเดือนสว่าง อากาศกําลังหนาว พักที่นี้ร่มรื่นร่มเย็น พักอยู่ ๑ คืน ๒ คืน ๓ คืน แต่ก็เป็นที่น่าแปลก ท่านพูดว่าปรากฎเห็นพระเจดีย์ ๓ องค์ ในบริเวณที่นี้ แล้วก็ปรากฏมีเสียงโห่เสียงร้องไชโย ไชโย ไชโย สนั่นไปในบริเวณ แถวๆ นี้ ก็ทําให้ท่านคิดหรือมั่นใจว่า สถานที่นี้จะเป็นสถานที่เป็นมงคล ท่านก็เลยพักบําเพ็ญภาวนาอยู่ ณ ที่นี้ การบําเพ็ญภาวนาตลอดถึงว่าลูกศิษย์ลูกหาก็ได้รับความสงบ ร่มเย็นเป็นที่พอใจ ก็พักต่อมาเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงเข้าพรรษา ก็จําพรรษาในที่นี้

ปี พ.ศ.๒๔๙๑ เป็นปีที่ครูบาอาจารย์ท่านมาพักบําเพ็ญภาวนา และจําพรรษา ณ สถานที่นี้ แล้วท่านก็อยู่เรื่อยๆ มา ตั้งใจว่าจะอยู่สัก ๗ ปี ถ้าหากว่ายังสะดวกสบายการบําเพ็ญจิตภาวนาได้ผลเป็นที่พอใจ ตลอดทั้งลูกศิษย์ลูกหาการปฏิบัติก้าวหน้า ก็จะ อยู่ต่อไป

ท่านพระอาจารย์กงมาท่านก็พักอยู่ที่นี้เรื่อยๆ มา เพราะเป็นสถานที่ที่ท่านไม่เคยเห็น ไม่เคยได้พบมาก่อน ท่านเที่ยวแสวงหาสถานที่มามากหลายจังหวัดและหลายภาค สถานที่ที่สะดวกสบายในการเจริญสมณธรรม รู้สึกว่าสถานที่นี้เป็นสถานที่เป็นมงคลมาก และก็อีกนัยหนึ่ง ท่านก็อาจเชื่อในนิมิตของท่าน แล้วท่านดูผลของการประพฤติปฏิบัติ ดูผลของลูกศิษย์ลูกหาที่ประพฤติปฏิบัติกัน ก็เป็นที่พอใจของท่าน ท่านจึงอยู่เรื่อยๆ มาจนกระทั่งมรณภาพไป

๏ #ได้ชื่อเป็นวัดดอยธรรมเจดีย์

“วัดดอยธรรมเจดีย์” นี้ เป็นชื่อขึ้นมาว่าวัดดอยธรรมเจดีย์ "..วันนั้นเราก็ไปพร้อมกันกับท่านเจ้าคุณอุปัชฌาย์ท่านอยู่ในสมณศักดิ์ "ธรรมเจดีย์" แล้วผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนครขึ้นไปด้วยกัน พูดถึงเรื่องวัดดอยนี้เรียบร้อยแล้ว แล้ววัดดอยนี่ชื่อว่าอย่างไร ว่าอย่างนั้นนะ ยังไม่มีชื่อ โธ่ วัดทั้งวัดไม่มีชื่อมีรังเหรอ อย่างนั้นก็เอาชื่อท่านเจ้าคุณนี้เข้าใส่เลย ชื่อวัดดอยธรรมเจดีย์ ชื่อดอยนั้น ท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ท่านขึ้นไปวันนั้นเลยเอานามของท่านใส่เป็นวัดดอยธรรมเจดีย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนครนั่นละเป็นผู้ขอ ขอจากท่านเจ้าคุณ ท่านก็ยิ้มๆ ก็เลยเป็นวัดดอยมาจนกระทั่งทุกวันนี้ นี่ละนามชื่อว่าวัดดอยธรรมเจดีย์ เกิดจากท่านเจ้าคุณอุปัชฌาย์เรานี่ ธรรมเจดีย์นี่ ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนครขึ้นไปวัดดอยวันนั้นได้ชื่อนั่นละมาเป็นวัดดอยธรรมเจดีย์.."
ส่วนหนึ่งของพระธรรมเทศนาหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๑ เทศน์อบรม ณ วัดป่าบ้านตาด ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี

๏ #ซุ้มประตูเจดีย์_๓_องค์
ปี ๒๕๑๕ บูรณะใหม่ปี ๒๕๕๑

ในระหว่างนั้นที่จะทําซุ้มตรงนี้ เนื่องจากว่าเราทําถนนคอนกรีตขึ้นมานั้นน่ะ เวลา ทําถนนคอนกรีตแล้ว ปูนซีเมนต์เหลืออีก ๗๐ กว่าถุง ไม่รู้จะไปทําอะไร ระหว่างนั้น ยังไม่ได้ขยายกําแพงออกไป รั้ววัดอยู่ตรงนี้นะ ทําเป็นรั้วลวดหนามตรงนี้คล้ายๆ กับเป็นเขตหน้าวัด ในเมื่อปูนเหลือ เราทําเป็นซุ้มประตูไว้ แล้วก็ให้เป็นสถานที่บรรจุธาตุของครูบาอาจารย์ด้วย

มีพระธาตุท่านอาจารย์ใหญ่มั่นใส่โกศไว้ แล้วก็ธาตุท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ ท่านอาจารย์กงมา ก็เลยคิดทําเป็น ๓ องค์ ท่านอาจารย์กงมาเมื่อท่านมาอยู่ที่นี่ได้ ๓ คืน ท่านได้นิมิตว่าเห็นพระเจดีย์ ๓ องค์ แล้วก็ปรากฏว่ามีเสียงอนุโมทนาสนั่นหวั่นไหว จะเป็นเสียงของใครก็ไม่ทราบ อันนี้ท่านพูดเบาๆ

ที่นี้เรามีการทําเจดีย์ ๓ องค์ บนซุ้มประตู ก็เอาคําพูดของท่านที่ท่านเคยพูดไว้ว่า ท่านปรากฏนิมิตเห็นพระเจดีย์ ๓ องค์ นั้น เอามาทําเป็นซุ้มประตูเพื่อบรรจุธาตุของท่านกับท่านพระอาจารย์มั่น และท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ คือสมัยที่ท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ ยังมีชีวิตอยู่นั้น ถ้าหากท่านมีกิจนิมนต์ทางสกลนคร ท่านมีเวลา ท่านจะต้องมาพักที่นี่ ชั่วระยะ เมื่อตอนงานศพของท่าน ก็มีคนนําอัฐิธาตุของท่านแบ่งมาไว้ที่นี้

แล้วเรื่องอัฐิธาตุ ถ้าหากว่าอยู่เป็นโกศเล็กๆ หรือว่าเป็นเจดีย์เล็กๆ นานๆ เข้า ก็ไม่รู้ว่าของใครเป็นของใคร หรือคนอาจจะไม่เห็นคุณค่าอะไร อาจจะโยนทิ้งเสีย ธาตุก็ไม่ว่าอะไรดอก แต่เราควรจะทําให้เรียบร้อยไปเสีย อย่างธาตุท่านพระอาจารย์มั่น ใส่โกศแก้วไว้ เวลาทําความสะอาด ถ้าไม่ละเอียดรอบคอบก็จะทําให้โกศแก้วนั้นแตก นี่ก็เป็นเหตุอีกอันหนึ่งที่คิดทําเจดีย์บนซุ้มประตูเพื่อบรรจุพระธาตุของท่านให้เป็นที่สบายใจเรา

องค์กลางเป็นเจดีย์ที่บรรจุธาตุท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
องค์ด้านขวาเป็นเจดีย์ที่บรรจุธาตุท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล)
องค์ด้านซ้ายเป็นเจดีย์ที่บรรจุธาตุท่านพระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ)

คืนหลังจากบรรจุพระธาตุแล้ว มีโยมท่านหนึ่งกําลังนั่งสมาธิอยู่ในวัด มีเสียงเหมือนเม็ดกรวดเม็ดทรายร่วงลงมา เช้า เขานํามาให้ดู เป็นพระธาตุเสด็จมา

จึงว่า ของในโลก เป็นของที่เรา ตาอย่างเรา หูอย่างเรา มันยากที่จะพูดว่า จริงหรือ ไม่จริง แต่ในเมื่อมันพูดไม่ได้ เราก็อย่าพูดเสียเลยดีกว่า เราก็พูดตามที่ปรากฏ




17  สุขใจในธรรม / ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน / Re: น้อมรำลึกอาจาริยบูชาคุณ หลวงปู่แบน ธนากโร เมื่อ: 05 กรกฎาคม 2563 11:15:59


๏ #สบง_จีวร

เครื่องนุ่งเครื่องห่มนี่ สมัยนั้นผ้าผ่อนท่อนสไบหายากมาก บางทีต้องเอาผ้าพื้นบ้าน เอามาตัดเป็นผ้าสบงผ้าจีวรกัน ผ้าพื้นบ้านก็ชาวบ้านนี่ล่ะปลูกฝ้ายทําไร่กัน เอามาเข็น เอามาปั่นเป็นเส้นแล้วก็ทอเป็นผ้า ถ้าหากว่าฤดูหนาวนี่อุ่นดีมาก ฤดูร้อนนี่หนักสักหน่อย มันหนาเส้นมันใหญ่ถึงว่าระยะหลังๆ นี้ก็ยังนิยมเอามาทําผ้าอาบน้ำกัน เอามาเช็ดบาตร เพราะเส้นมันใหญ่ มันซับน้ำซึมน้ำดี

เครื่องนุ่งเครื่องห่มพูดกันถึงเรื่องผ้าจีวร ผ้าสบง ผ้าสังฆาฏิ นี่ ถ้าหากเทียบกับเดี๋ยวนี้ รู้สึกว่าเดี๋ยวนี้นี่มันสนุกสนานกันมากไม่ว่าที่ไหน ไม่ว่าเขาไม่ว่าเรา อันนี้ก็เรียกว่า มันเป็นไปเอง มันไม่ได้เกิดขึ้นเพราะการแสวงหา เกิดขึ้นด้วยศรัทธาญาติโยมเขา ก็เรียกว่าฉลองศรัทธาเขาไป แต่ให้เป็นธรรมเป็นวินัยก็แล้วกัน

๏ #ฉันน้ำร้อน

ตอนบ่ายบางทีก็มีฉันน้ำร้อนกัน โกโก้กาแฟ บางทีเดือนหนึ่งจะมีไม่กี่ครั้งดอก ส่วนมากมันก็เป็นน้ำร้อน เอากิ่งไม้กระบก ต้นกระบกเล็กๆ ปอกเปลือกเอามาปิ้งไฟให้มันเหลือง ชงน้ำร้อน อร่อยมาก เป็นยาด้วย ต้นไม้แดงเอากิ่งใบมาปิ้ง อันนี้ก็ดี แก้เส้นแก้เอ็น เขาว่าอย่างนั้น

เริ่มมาพักที่วัดดอยฯ อยู่เรื่อยๆ มา แต่คําว่าอยู่เรื่อยมานี้ ไม่ใช่ว่าอยู่ตลอดไป ออกพรรษาก็ไปข้างนอก และในบางปีจําพรรษาที่อื่น ออกพรรษาแล้วก็กลับมา ออกไปจําพรรษาทางอื่นอยู่ ๓ ปี เมื่อพรรษาที่ ๑๒ กลับไปจําพรรษาที่จันทบุรี ออกพรรษาแล้ว หลวงปู่กงมาท่านก็ไปรับมา

พรรษาที่ ๑๓ ไปจําพรรษาที่นครพนม ออกพรรษาท่านก็ไปรับ

พรรษาที่ ๑๔ นี่หลวงปู่กงมา ท่านก็มรณภาพ ครั้นทำการถวายเพลิงศพของหลวงปู่กงมาแล้ว หลังจากนั้น เราก็มาเป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่นี้เรื่อยมาโดยไม่ได้ตั้งใจ เรียกว่าอยู่กับหมู่คณะ อยู่กันไปเหมือนกับเด็กไม่มีพ่อไม่มีแม่ แต่ที่นี้อาศัยที่เราเป็นคนที่รักข้อปฏิบัติ เป็นคนที่เห็นคุณค่าของข้อปฏิบัติอย่างเท่าชีวิตจิตใจทีเดียว อันนี้จึงมีความสําคัญ อันนี้เป็นหลักที่ทําให้มีความมั่นคงเสมอต้นเสมอปลายมา และก็ได้รับความสะดวกสบายมาตลอด

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลวงตาบ้านตาด (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี)นี่ท่านสงเคราะห์มาตลอด เมื่อท่านอาจารย์กงมาล่วงใหม่ๆ ท่านก็มาเยี่ยมแล้วก็บอกว่า “ท่านอยู่ที่นี้แหละนะ ไม่ต้องไปที่อื่น ผมมาที่นี่ทีไรไม่เคยรู้สึกว่ามีความจืดจางในใจ มันมีความรู้สึกเบิกบานชุ่มชื่นอยู่เสมอ”

เราก็อยู่เรื่อยๆ มา จนกระทั่งเดี๋ยวนี้ก็ไม่คิดจะไปอยู่ที่ไหน เพราะรู้สึกทุกสิ่งทุกอย่างก็ยังมีความสะดวกสบายภายในจิตในใจอยู่ แล้วศรัทธาญาติโยมที่มาเกี่ยวข้องก็เป็นศรัทธาที่นับถือท่านอาจารย์กงมามาก่อน ก็ให้การดูแลอุปัฏฐากอุปถัมภ์ มาตลอด ตราบจนกระทั่งถึงเดี๋ยวนี้ หลวงตาท่านยังคงเมตตาเกื้อหนุนให้ความอบอุ่นห่วงใยเสมอมา มิได้ขาด ทําให้เรามีกําลังใจ และระลึกถึงพระคุณท่าน ล้นเกล้าล้นใจ

๏ #ประวัติกำเนิดวัดดอยธรรมเจดีย์

หลวงปู่กงมาแสวงหาสถานที่สงบวิเวก ในระหว่างพรรษา ปี พ.ศ.๒๔๙๑ นั้น ท่านพระอาจารย์กงมาได้พิจารณาถึงบรรดาลูกศิษย์ลูกหาที่มุ่งแสวงหาอรรถธรรม ทําอย่างไรผู้ที่มุ่งแสวงหาอรรถธรรมนั้น จึงจะมีโอกาสได้ผลสมความต้องการ ท่านมาพิจารณาถึงสถานที่ว่ามีความสําคัญ สถานที่สงบวิเวกเป็นส่วนประกอบที่มีความสําคัญในการปฏิบัติธรรมมาก ท่านจึงคิด แสวงหาสถานที่ที่สะดวกสบายและสงบวิเวก เพื่อต้องการให้ลูกศิษย์ลูกหาได้ประกอบความพากความเพียรจะได้มีโอกาสเข้าถึงอรรถธรรมที่ต่างก็มีความต้องการที่จะได้ ต้องการที่จะถึง




18  สุขใจในธรรม / ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน / Re: น้อมรำลึกอาจาริยบูชาคุณ หลวงปู่แบน ธนากโร เมื่อ: 05 กรกฎาคม 2563 11:15:34


๏ #เริ่มทํากุฏิ

ปีที่ ๔ มีการทํากุฏิเพิ่มขึ้น ๔ หลัง ทํากุฏิสมัยนั้น ไม้ที่ตายแล้วในบริเวณนี้มีมาก ก็ไปให้ชาวบ้านเขาเลื่อย เลื่อยมาก็มาทําพื้น ทําฝา แต่ส่วนมากก็ใช้ฝาใบไม้ ส่วนหลังคานั้นก็ใช้หญ้าบ้าง เรียกว่าหญ้าคาหรือแฝกนี่ แล้วต่อมาก็เปลี่ยนเป็นหลังคามุงไม้ หลังคามุงไม้นี่ใช้ทน ถ้าหากว่าไม้ดีๆ ๒๐ ปีใช้ได้ หลังคามุงสังกะสีก็เริ่มมีต่อๆ กันมา การทําที่อยู่ที่อาศัยส่วนมากก็ทํากันเอง

พูดถึงที่อยู่ที่อาศัย ถึงเดี๋ยวนี้ก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก นี่คือพยายามระวังเรื่องการสร้างที่อยู่ที่อาศัยหรือกุฏิที่พัก พยายามจะยับยั้ง ทําเพียงแต่ว่าพอได้อยู่ ได้อาศัยกัน ปริมาณก็ไม่ให้มากเกินไป แล้วก็คําที่เรียกว่ามุ่งเพื่อความสวยงามไม่ให้มี

๏ #การบิณฑบาต

พูดถึงอาหารการขบฉัน ไปบิณฑบาตได้มายังไงก็ฉันกันอย่างนั้น อาหารที่ไปบิณฑบาตมาได้ บางทีเขาห่อพริก บางที่เขาห่อเกลือ พริกบางทีก็มีแต่พริก เกลือบางทีก็มีแต่เกลือ บางทีก็ตําพริกกับเกลือใส่กัน จําพวกหอมกระเทียมน้ำปลาไม่มีดอก คนทางนี้ระหว่างนั้นยังไม่รู้จักน้ำปลาด้วย ถ้าหากว่าน้ำปลาก็ปลาร้า กะปินี่ก็ยังไม่รู้จัก พูดถึงแกงๆ ของเขาก็นี่ล่ะ ฤดูหน่อไม้ก็แกงหน่อไม้ แกงเห็ด เดือน ๓ เดือน ๔ ก็แกงผักหวาน แกงหน่อไม้ แกงเห็ด ๓ อย่างอันนี้ล่ะเป็นอาหารหลัก ของชาวบ้านเขา

๏ #การภาวนา

สมัยก่อนการปฏิบัติ มักจะได้ผล มักจะได้อุบาย มีอุบาย มักจะได้เรื่องได้ราว มักจะมีเหตุมีผลมาเล่าสู่กันฟัง วันหนึ่งภาวนาเป็นอย่างไร วันนี้ภาวนาเป็นอย่างไร ได้ผลเป็นอย่างไร จิตใจสงบเป็นอย่างไร พิจารณาแยบคายเป็นอย่างไร พิจารณาร่างกาย เป็นอย่างไร มีเรื่องมาเล่ามาสนทนาสู่กันฟัง พระก็มีเรื่องสนทนามาเล่าให้พระให้อาจารย์ฟัง นี้ สมัยก่อนมันเป็นอย่างนี้

จึงว่ายุคนี้สมัยนี้มันเปลี่ยนไป ความเจริญที่มาเกี่ยวข้องทางตาทางหูนี่ ความเจริญทางโลกที่กิเลสเขาสร้างขึ้นเพื่อที่จะเป็นเครื่องล่อคนโง่ เป็นเครื่องล่อผู้ปฏิบัติธรรม ที่มัวเมาให้ติดให้ข้องอยู่

๏ #ความตื่นตัวในการประกอบความเพียร

จึงว่าให้พากันเข้าใจ พอใจในการอดบ้างหิวบ้าง อย่าพอใจทําตัวเหมือนกับหมู อิ่มเท่าไหร่ยิ่งพอใจ แล้วก็นอน ครูบาอาจารย์ท่านชอบพูดถึงเสมอ อย่าพอใจในการทําตัวเหมือนหมู ให้ทําตัวเหมือนนกกระทาอยู่ในตุ้ม คืออยู่ในกรงนี่ หมูมันกินแล้ว มันนอน พอตื่นขึ้นมามันก็หากิน

นกกระทาไม่เป็นอย่างนั้น ถึงกรงมันจะดีและอาหารน้ำสะดวกสบาย แต่นกกระทา หาช่องที่จะออกจากกรงนั้นเสมอ เรียกว่ากระโดดไปเต้นมา กระโดดไปเต้นมาอยู่ในตุ้ม อยู่ในกรงนั้นเพื่อหาช่องออกนี่ ตามธรรมดาตุ้มหรือกรงนั้น มันจะต้องมีช่องเล็ก ช่องน้อย มันพยายามที่จะเอาจะงอยปากนั้นออกอยู่เสมอ ให้ทําตัวเหมือนนกกระทา อย่าทําตัวเหมือนหมู พอใจนอนอยู่ในคอก พอใจนอนอยู่ในห้องขัง อันนี้ท่านเทศน์ให้ฟังอยู่เสมอ ก็เรียกว่าเป็นธรรมเทศนาธรรมดา แต่ถ้าหากเรามาพิจารณาแล้วนี่ เราก็ต้องแก้เราอย่าให้เป็นหมู ผลของการที่เราแก้เราได้นี่ มีประโยชน์ในการปฏิบัติของเราอย่างมากมายที่เดียว

๏ #เครื่องใช้ไม้สอย

พูดถึงเครื่องใช้ไม้สอย เครื่องใช้ไม้สอยแต่ก่อน บางทีแก้วทั้งวัดนับกันจริงๆ จะมีไม่ถึงลูกนี่ ส่วนมากบางทีก็ใช้กะลามะพร้าวกัน บางองค์ท่านก็ทําเป็นหูเจาะรู เอาไม้ทําเป็นหูหิว เรียกว่ามีหูข้างๆ อะไรอย่างนั้น บางทีก็ใช้บั้งไม้ไผ่อะไรเหล่านี้

กระโถนส่วนมากเป็นกระโถนดินหรือว่าบั้งไม้ไผ่มาทําเป็นกระโถนกัน กระโถนเคลือบอย่างนี้มีแต่ของท่านอาจารย์จริงๆ ข้างบนโบสถ์นี่ ท่านใช้กระโถนอะลูมิเนียมเก่าๆ เป็นประจํา ข้างล่างที่ศาลานั้น ก็มีกระโถนเคลือบอันหนึ่งสําหรับท่านอาจารย์ ลูกศิษย์ลูกหาส่วนมากก็กระโถนดิน ดินก็ไม่ใช่ดินเผาอย่างที่ว่าสะอาดสะอ้านหรือว่าแข็งแกร่งเหมือนกับเดี๋ยวนี้ นอกจากนี้ก็ใช้กระบั้งไม้ไผ่บ้าง กระบอกไม้ไผ่ ไม้ไผ่สีสุก ไม้ไผ่บ้านนี่ล่ะมาตัดเข้า ใช้กันอยู่อย่างนั้น




19  สุขใจในธรรม / ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน / Re: น้อมรำลึกอาจาริยบูชาคุณ หลวงปู่แบน ธนากโร เมื่อ: 05 กรกฎาคม 2563 11:14:57


๏ #การจําพรรษาของหลวงพ่อ

สมัยหลวงปู่กงมาท่านยังอยู่ พ.ศ.๒๔๙๑ ปีนั้นเราก็บวช
ปี พ.ศ.๒๔๙๑ บวชแล้วจําพรรษาปีแรกที่วัดทรายงาม จ.จันทบุรี

พรรษาที่ ๑ มีพระจําพรรษาร่วมกัน ๙ องค์ ท่านอาจารย์เม้าเป็นหัวหน้าหมู่ ท่านเพิ่งออกมาจาก หลวงปู่มั่นปีแรก มีท่านอาจารย์เจี๊ยะ ท่านอาจารย์พรหม (หลานหลวงปู่ตื้อ ท่านพาไปเที่ยวธุดงค์ครั้งแรกด้วยกัน บั้นปลายชีวิตท่านก็มาอยู่สกลนคร ได้ดูแลอุปัฏฐากเรื่องการป่วยไข้ของท่านจนสิ้นชีวิต)

พรรษาที่ ๒ จําพรรษากับเจ้าคุณวินัยบัณฑิต ที่วัดคิรีวิหาร จ.ตราด

พรรษาที่ ๓ และ ๔ จําพรรษาวัดทรายงาม จ.จันทบุรี

พรรษาที่ ๕ มาจําพรรษาที่วัดดอยธรรมเจดีย์นี้ พ.ศ.๒๔๙๕
ก่อนที่จะมานั้น ก็มีปรากฏการณ์แปลกอยู่ ปรากฏเป็นนิมิต มันได้นิมิตนะ นิมิตเห็นตรงที่หน้าโบสถ์นั่นน่ะ ลักษณะมันเห็นเป็นรูปร่างสลับกันไป เป็นที่ลาดๆ ชันๆ นั่น เอาไปเล่าให้ท่านฟัง ท่านก็ไม่ได้ว่าอะไร เวลามาจริงๆ เรามาเห็นนั่น โอ้ ตรงนี้นี่ เราเคยเห็นมาก่อน มันเคยไปเกิดไปตายอยู่ตรงนั้นหรือยังไงหนอ เราไม่เคยเห็นมาก่อน มันจึงเห็นขึ้นมาได้สถานที่นี้ จากนั้นตึงได้มาอยู่ใกล้ท่านพระอาจารย์ใหญ่กงมา จิรปุญโญ

ต้นๆ ปี ได้มาอาศัยอยู่กับครูบาอาจารย์ที่นี่ พระเณรระยะนั้นมีอยู่ ประมาณสัก ๖ องค์ ๗ องค์ ระหว่างนี้ล่ะ มีเณรอยู่สัก ๓ องค์ มีผ้าขาวบ้าง ๑ หรือ ๒ คน

๏ #เป็นที่อาศัยของสัตว์ป่า

ที่นี่แต่ก่อนเป็นดงทึบ เป็นป่าที่ไม่ใคร่จะมีผู้คนผ่านไปผ่านมา เพราะแต่ก่อนคนยังน้อย เป็นที่อาศัยของสัตว์ป่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมูป่า มีอยู่มากเป็นฝูงๆ ในบริเวณตามซอกหินใต้เพิกหินเป็นที่อาศัยของหมูป่า เสือก็มีในบริเวณแถวนี้ เรียก ถ้ำเสือ เอาสัตว์มากินตามประสาของสัตว์ป่า มีกระดูกวัวบ้าง กระดูกควายบ้าง เต็มอยู่บริเวณที่เสือมันนอน เสือกับหมูอยู่ใกล้กัน มีพระมาอยู่แล้วถึง ๔ ปี ปีที่ ๔ ปีที่ ๕ เสือจึงหายไป ปีที่ ๑ ปีที่ ๒ บางทีเดือนหงายๆ อย่างนี้ เห็นเสือเดินผ่าน

พูดถึงถนนหนทางเข้ามาก็ไม่มี มีก็ลักษณะเป็นทางเดินหรือทางล้อทางเกวียน แต่ก็คดเคี้ยว เรียกว่าเดินไปตามป่า สมัยก่อนในบริเวณริมทางที่รถแล่นเข้ามานี่ เวลาชาวนาเขามาทำนา ตอนกลางคืนนี่ ถ้าหากว่าเขามีสัตว์เลี้ยง จะมีสุนัขหรือว่ามีหมู มีไก่ จะต้องเอามาไว้บนกระต๊อบหรือบนกระท่อมนานั้น ถ้าหากว่าเอาไว้ข้างล่าง เสือมันชอบเอาไปกิน นี่เป็นอย่างนี้ จึงว่าบริเวณนี้เป็นบริเวณป่า เป็นสถานที่สงบวิเวกมาก ป่ารกมาก ท่านพระอาจารย์กงมา เห็นว่าป่านี้มันสงบวิเวกดี จึงพาบรรดาสานุศิษย์พักบําเพ็ญภาวนาอยู่ ณ สถานที่นี้

๏ #พักตามซอกหิน

ทีแรกมาอยู่กัน จําพรรษาก็จําตามซอกหินบ้าง ตามใต้เพิงหินบ้าง ไม่มีการทํากุฏิอะไร ที่เป็นกุฏิก็เพียงแต่ว่ามีฟากมาปู แล้วก็มีไม้ไผ่มาสานเป็นตาๆ แต่ละตาห่างกัน ประมาณ ๑๐ เซนติเมตร แล้วก็เอาใบไม้มาสอดเป็นฝากั้น หลังคาก็เรียกว่ามีการมุงบ้าง เพราะเพิงหินเพิกหินมันไม่กว้าง ก็มุงซีกหนึ่งบ้าง มุงส่วนที่ฝนจะสาด นี่ อยู่กันอย่างนั้น ๒ ปี ๓ ปี




20  สุขใจในธรรม / ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน / น้อมรำลึกอาจาริยบูชาคุณ หลวงปู่แบน ธนากโร เมื่อ: 05 กรกฎาคม 2563 11:14:21
เมื่อ ๒ กรกฎาคม ๒๕๖๓ ที่ผ่านมา
น้อมรำลึกอาจาริยบูชาคุณ ๙๒ ปี ชาตกาล หลวงปู่แบน ธนากโร




๏ #ธรรมอันไม่ตาย
โอวาทธรรมหลวงปู่แบน ธนากโร

"..ร่างกายอันนี้ เกิดเขาก็ไม่รู้ แก่เขาก็ไม่รู้แต่เขาหากแก่ทุกวัน ตายเขาก็ไม่รู้แต่เขาหากตายทุกวัน เขาหมดไปสิ้นไปก็คือตายทุกวันนั้นเอง ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ธาตุเหล่านี้ เป็นธาตุไม่รู้ เราสมมุติเอาธาตุที่ไม่รู้เกิดมาเป็นธาตุที่ไม่รู้นี้ เอามาเป็นคนเป็นสัตว์ ของไม่รู้เรื่องเอามาสมมุติมันจะเป็นหรือ สมมุติยังไงมันก็ไม่รู้เรื่อง สมมุติยังไงมันก็ไม่เป็นอย่างที่สมมุติกัน

ทําไมจึงว่าไม่เป็นอย่างที่สมมุติ สมมุติว่าเป็นคน แต่เขาเป็นของเกิดมาตายทั้งนั้นใช่ไหม เขาตายของเขาโดยธรรมชาติ เกิดแล้วไม่ตายไม่มี สมมุติเอาของที่เกิดมาตายเป็นคน สมมุติแล้วจะให้เป็นอย่างสมมุติมันไม่ได้

จึงว่า ความเกิด ความแก่ ความตาย จึงเป็นธรรมที่เราจะต้องศึกษากันให้ยิ่ง พระพุทธเจ้าทรงรู้ธรรม ทรงรู้ความเกิด ความแก่ ความตาย ทรงรู้โลกธาตุนี้เป็นของเกิด ของแก่ ของตาย โลกธาตุไม่ใช่ใคร โลกธาตุไม่มีอะไรที่จะเป็นสาระเป็นแก่นสาร เกิดขึ้นแล้วมีแต่สลายตัวทั้งนั้น

แม้องค์พระพุทธเจ้าก็ทรงเกิดมาแล้วสลายตัวหาประมาณมิได้ จึงไม่มีอะไร ที่จะเป็นแก่นเป็นสารเป็นสาระกับการเกิดขึ้นมาแล้วก็ตายสลายลงไป โลกธาตุในเมื่อมันไม่มีอะไรเป็นสาระเป็นแก่นสาร ก็เรียกว่าไม่มีตัวไม่มีตน.."

หลวงปู่แบน ธนากโร ท่านเป็นพระมหาเถราจารย์ที่สำคัญรูปหนึ่งในยุคปัจจุบันนี้ ที่มีปฏิปทาเด็ดเดี่ยว มีข้อวัตรเคร่งครัด มีจริยวัตรงดงาม เป็นพระสุปฏิปันโน ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตรง หลวงปู่แบน ท่านให้ความสำคัญกับลูกศิษย์ทุกคนเสมอกันที่มากราบไหว้นมัสการท่าน สิ่งหนึ่งซึ่งหลวงพ่อท่านจะเมตตาสงเคราะห์กับบุคคลต่าง ๆ นั้นก็คือ “ธรรมะ” โดยท่านจะอบรมผู้ที่มากราบนมัสการท่าน และพระเณรที่อยู่ภายในวัดเป็นประจำ ส่วนวันพระนั้นท่านจะเมตตาอบรมเป็นพิเศษ ทางด้านจิตตภาวนา

"..ความดี คือการบำเพ็ญทาน ความดี คือการรักษาศีล ความดี คือการบำเพ็ญจิตตภาวนา ให้รีบทำในขณะนี้ทีเดียว พระพุทธเจ้าทรงอุปมาไว้ เหมือนกับไฟไหม้ผมบนศีรษะให้รีบดับ ไม่ใช่ไหม้บ้านไหม้ช่องนะ ไหม้ผมบนศีรษะนี่ ต้องดับทันที การทำความดีก็ต้องรีบทำทันทีเหมือนกัน ทันทีทุกขณะ.." โอวาทธรรมคำสอนหลวงปู่แบน ธนากโร

“พระภาวนาวิสุทธิญาณเถร” หรือ “หลวงปู่แบน ธนากโร” แห่งวัดดอยธรรมเจดีย์ จ.สกลนคร มีนามเดิมว่า สุวรรณ กองจินดา เกิดเมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๗๑ ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๘ ปีมะโรง ณ บ้านหนองบัว ต.หนองบัว อ.เมือง จ.จันทบุรี โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายเล็ก และนางหลิม กองจินดา ครอบครัวประกอบอาชีพทำสวนทำไร่

ครั้นพอถึงเกณฑ์เข้าโรงเรียนแล้ว โยมบิดา-โยมมารดาได้ส่งให้ท่านเข้าศึกษาในโรงเรียนประจำหมู่บ้าน จนจบประถมศึกษาปีที่ ๔ ครั้นจบการศึกษาแล้ว ท่านก็ได้ช่วยบิดามารดาทำสวนทำไร่ เพราะในเขตจังหวัดจันทบุรีนั้น อาชีหลักคือทำสวนเงาะ สวนทุเรียน

เมื่ออายุ ๒๑ ปี หลวงปู่แบน ธนากโร ท่านได้เข้าไปศึกษาข้อวัตรปฏิบัติกับ หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ ณ วัดทรายงาม อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี ซึ่งเป็นวัดประจำหมู่บ้านของท่าน พอทราบถึงข้อวัตรปฏิบัติแล้ว หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ จึงได้นำท่านเข้ารับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุในทางพระพุทธศาสนา เมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๑ ณ วัดเกาะตะเคียน ต.หนองบัว อ.เมือง จ.จันทบุรี โดยมีพระอมรโมลี เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูพิพัฒน์พิหารการ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระเม้า เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาทางพระพุทธศาสนาว่า "ธนากโร" มีความหมายว่า " ผู้สร้างทรัพย์อันเป็นประโยชน์ให้เกิดกับตน"




หน้า:  [1] 2 3 ... 101
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.345 วินาที กับ 27 คำสั่ง

Google visited last this page 23 มกราคม 2567 09:05:16