[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 เมษายน 2567 01:57:10 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก เวบบอร์ด ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

  แสดงกระทู้
หน้า:  1 ... 68 69 [70] 71 72 ... 1118
1381  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - ปี 66 อันดับประชาธิปไตยไทยอยู่ตรงไหนของโลก? เลือกตั้งมาแล้วดีขึ้นหรือแย่ลง? เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2567 17:59:35
ปี 66 อันดับประชาธิปไตยไทยอยู่ตรงไหนของโลก? เลือกตั้งมาแล้วดีขึ้นหรือแย่ลง?
 


<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2024-02-22 16:31</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ดิอีโคโนมิสต์ออกรายงานจัดอันดับประชาธิปไตยในประเทศต่างๆ ในปีที่ผ่านมาใครดีขึ้นใครแย่ลงบ้างท่ามกลางกระแสความขัดแย้งที่ปะทุขึ้นในช่วงรอบปีที่ผ่านมา ส่วนของไทยอันดับตกจากอันดับ 55 ในปี 2565 เหลืออันดับ 63 ในปี 2566 แต่เหตุใดแม้จะมีเลือกตั้งได้รัฐบาลใหม่แล้วกลับตกมา 8 อันดับ</p>
<p>สัปดาห์ที่ผ่านมา The Economist Intelligence หรือ EIU ซึ่งเป็นหน่วยวิจัยและวิเคราะห์ของ The Economist  ออกรายงานดัชนีประชาธิปไตยของประเทศต่างๆ ในปี 2023 โดยธีมหลักของเนื้อหารายงานรอบปีที่ผ่านมาคือสถานการณ์ประชาธิปไตยท่ามกลางยุคแห่งความขัดแย้ง ที่สถานการณ์ประชาธิปไตยในโลกดูจะมีแต่แย่ลงเรื่อยๆ แม้ในปีที่ผ่านมาจะมี 2 ประเทศที่หลุดพ้นจากการอยู่ในระบอบอำนาจนิยมขึ้นมาเป็นระบอบผสม แล้วกรีซก็ได้ขึ้นมาเป็นประชาธิปไตยเต็มตัวเพิ่มอีกประเทศก็ตาม</p>
<p>สำหรับประชาธิปไตยของไทย EIU ยังไม่จัดให้อยู่ในกลุ่มเป็นประเทศที่มีประชาธิปไตยสมบูรณ์ซึ่งมีอยู่เพียง 24 ประเทศที่กระจุกตัวอยู่ในยุโรปตะวันตก อเมริกาใต้บางประเทศ แคนาดา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวันและทวีปออสเตรเลีย ส่วนของไทยยังคงถูกจัดเป็นระบอบประชาธิปไตยที่บกพร่อง</p>
<p>EIU ให้ไทยได้คะแนนอยู่ที่ 6.35 จากคะแนนทั้งหมดเต็ม 10 ที่แม้คะแนนจะดีขึ้นกว่าตอนยุครัฐบาล คสช. ขึ้นมาหลายคะแนนแล้วแต่ก็ทรงๆ มาตั้งแต่หลังการเลือกตั้ง 2562 แต่ก็มีพัฒนาการดีขึ้นมากในปี 2565 จน EIU ระบุว่าเป็นประเทศที่มีพัฒนาการดีขึ้นมากที่สุดในโลกของปี 2565 จากการที่ได้คะแนนเพิ่มมา 0.63</p>
<p>อย่างไรก็ตาม ถ้าเอาคะแนนมาเรียงดูก็อาจเรียกได้ว่าส่วนใหญ่ก็อยู่คาบเส้นที่อาจจะจะตกกลับลงไปเป็นกลุ่มประเทศที่เป็นระบอบผสมระหว่างประชาธิปไตยและอำนาจนิยมซึ่งมีช่วงคะแนนอยู่ที่ 5.00-6.00 ได้อีกมากกว่าจะบอกว่าใกล้ได้เป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์</p>
<table>
<tbody>
<tr>
<td>
<p style="text-align: center;">ปี</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">2566</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">2565</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">2564</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">2563</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">2562</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">2561</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">2560</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">2559</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">2558</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">2557</p>
</td>
</tr>
<tr>
<td>
<p style="text-align: center;">คะแนน</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">6.35</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">6.67</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">6.04</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">6.04</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">6.32</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">4.63</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">4.63</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">4.92</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">5.09</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">5.39</p>
</td>
</tr>
</tbody>
</table>
<p>จากคะแนนที่ลดลงทำให้ไทยที่เคยได้อันดับดีขึ้นจากปี 2564 มา 17 อันดับเป็นอันดับที่ 55 ของโลกในปี 2565 กลับตกลงมา 8 อันดับเหลืออันดับที่ 63 ในปีที่ผ่านมา แต่ถ้าเทียบกันเองแค่ในกลุ่มประเทศตะวันออกเฉียงใต้ไทยจะอยู่อันดับ 5 จากทั้งหมด 11 ประเทศเป็นรองจากมาเลเซีย ติมอร์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ตามลำดับ ส่วนพม่าอยู่ติดท้ายตารางตามสภาพความขัดแย้งและยังคงมีรัฐบาลจากการรัฐประหาร</p>
<p>ทั้งนี้ EIU จัดอันดับว่าประเทศไหนจะได้คะแนนภาพรวมเท่าไหร่และได้อันดับใดโดยดูที่ 5 ปัจจัยคือ กระบวนการการเลือกตั้งและความหลากหลาย, การทำงานของรัฐบาล, การมีส่วนร่วมทางการเมือง, วัฒนธรรมการเมือง และเสรีภาพของพลเมือง</p>
<p>สำหรับปีนี้ประเด็นเรื่องวัฒนธรรมการเมืองและเสรีภาพของพลเมืองยังดูจะเป็นตัวฉุดรั้งอันดับอยู่ โดยวัฒนธรรมการเมืองได้แค่ 5 คะแนน ส่วนเสรีภาพของพลเมืองได้แค่ 5.88 คะแนน</p>
<table>
<tbody>
<tr>
<td>
<p style="text-align: center;">หัวข้อ</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">กระบวนการการเลือกตั้งและความหลากหลาย</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">การทำงานของรัฐบาล</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">การมีส่วนร่วมทางการเมือง</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">วัฒนธรรมการเมือง</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">เสรีภาพของพลเมือง</p>
</td>
</tr>
<tr>
<td>
<p style="text-align: center;">2566</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">7</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">6.07</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">7.78</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">5</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">5.88</p>
</td>
</tr>
<tr>
<td>
<p style="text-align: center;">2565</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">7.42</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">6.07</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">8.33</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">5.63</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">5.88</p>
</td>
</tr>
<tr>
<td>
<p style="text-align: center;">2564</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">7</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">5</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">6.67</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">6.25</p>
</td>
<td>
<p style="text-align: center;">5.29</p>
</td>
</tr>
</tbody>
</table>
<h2><span style="color:#2980b9;">เพราะอะไรเลือกตั้งมีรัฐบาลใหม่แล้วประชาธิปไตยไทยยังไม่ค่อยจะดีขึ้น?</span></h2>
<p>ในรายงานของ EIU ระบุถึงการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นในปี 2023 ว่าสำหรับไทยนั้นยังถือว่าห่างไกลที่จะเรียกได้ว่ามีการเลือกตั้งที่เป็นอิสระและพรรคการเมืองได้แข่งขันกันอย่างเป็นธรรม เนื่องจากยังมีกองทัพยังคงมีอิทธิพลในทางการเมืองอยู่(โดยเรามีปากีสถานเป็นเพื่อนในแง่นี้)</p>
<p>แม้ว่า EIU จะให้คะแนนประชาธิปไตยไทยดีขึ้นมาบ้างในปี 2565 จากการที่พรรคการเมืองฝ่ายค้านในเวลานั้นสามารถเข้ามาแข่งกันในสนามเลือกตั้งระดับท้องถิ่นจนได้ที่นั่งมากขึ้นเพราะประชาชนมีความตื่นตัวและเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้นและคาดว่าจะส่งผลต่อการเลือกตั้งทั่วไปในพ.ค. 2566 ซึ่งจะเป็นการเปิดพื้นที่ทางการเมืองให้กลุ่มคนที่หลากหลายมากขึ้น รวมถึงยุติการใช้กฎหมายความมั่นคงในการควบคุมสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ EIU มองว่าไทยมีพัฒนาการของประชาธิปไตยมากที่สุดในภูมิภาค</p>
<p>อย่างไรก็ตาม แม้ในปี 2565 EIU จะให้คะแนนดีขึ้นจาก 2 ปัจจัยที่ว่าไป แต่ EIU ก็ระบุด้วยว่า ไทยเองก็เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ความเป็นประชาธิปไตยยังคงเป็นได้แค่ “ประชาธิปไตยที่บกพร่อง” หรือยังเป็นระบบผสม ที่แม้ว่าประชาชนจะเกิดความไม่พอใจต่อพรรคการเมืองฝ่ายสนับสนุนกองทัพจะเพิ่มขึ้นและพรรคการเมืองฝ่ายค้านก็ได้ที่นั่งมากขึ้น แต่รัฐบาลที่ได้รับการสนับสนุนโดยกองทัพยังคงยึดครองการควบคุมเหนือหน่วยงานความมั่นคงและตุลาการไว้ได้ ไปจนถึงการยังคงนำกฎหมายหมิ่นประมาทกษัตริย์มาใช้ในการดำเนินคดีด้วย</p>
<p>ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีปัจจัยเรื่องรัฐธรรมนูญไทยที่ยังเปิดช่องให้ สว.ที่ถูกควบคุมโดยกองทัพเข้ามาโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีได้และสถานการณ์ในช่วงปี 2565 ที่พรรคการเมืองบางพรรคพยายามจับขั้วกันเพื่อที่จะได้รับการสนับสนุนจากกองทัพ ซึ่งหากดูจากคะแนนในส่วนวัฒนธรรมการเมืองและเสรีภาพพลเมืองของปี 2565 ก็จะเห็นว่าเป็นส่วนที่แทบจะไม่มีการพัฒนาการในทางที่ดีขึ้นเลย</p>
<p>จากปัญหาเรื่องรัฐธรรมนูญทำให้ปรากฏเป็นผลลัพธ์ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุดในปี 2566 เมื่อพรรคการเมืองที่เป็นสายก้าวหน้าอย่างพรรคก้าวไกลชนะการเลือกตั้งแต่ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลและสภาที่ยังอยู่ภายใต้การครอบงำของกองทัพก็ทำให้พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรี อีกทั้งยังถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งพักการปฏิบัติหน้าที่จากข้อกล่าวหาเรื่องถือหุ้นสื่อด้วย</p>
<p> </p>
<p><strong>อ้างอิงจาก</strong></p>
<ul>
<li>Democracy Index 2023 : Age of conflict</li>
<li>Democracy Index 2022 : Frontline democracy and the battle for Ukraine</li>
<li>Democracy Index 2021 : The China challenge</li>
</ul>
<p> </p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108174
 
1382  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - แรงงานข้ามชาติโรงงานเสื้อผ้า 'VK GARMENT' แม่สอด 136 คน สู้ต่อชั้นฎีกา กรณีนายจ้างละเ เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2567 16:29:07
แรงงานข้ามชาติโรงงานเสื้อผ้า 'VK GARMENT' แม่สอด 136 คน สู้ต่อชั้นฎีกา กรณีนายจ้างละเมิดสิทธิ
 


<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2024-02-22 15:22</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ศิริรุ่ง ศรีสิทธิพิศาลภพ : รายงาน</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>แรงงานข้ามชาติลูกจ้างโรงงานผลิตเสื้อผ้า “VK GARMENT” อ.แม่สอด จ.ตาก จำนวน 136 คน เดินหน้าฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ กรณีนายจ้างเจ้าของโรงงานละเมิดสิทธิแรงงาน ทนายชี้คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษยังคลาดเคลื่อนต่อหลักกฎหมาย นอกจากนี้แรงงานข้ามชาติทั้ง 136 คน ยังได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลอังกฤษ ประเด็นการถูกใช้แรงงานบังคับในโรงงาน VK GARMENT ซึ่งเป็นฐานผลิตเสื้อผ้าให้แบรนด์ TESCO</p>
<p> </p>
<p>22 ก.พ. 2567 มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) รายงานจากกรณีที่ลูกจ้างแรงงานข้ามชาติจากประเทศพม่า จำนวน 136 คน  โดยความช่วยเหลือด้านกฎหมายของมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) และมูลนิธิเพื่อสุขภาพและการเรียนรู้ของแรงงานกลุ่มชาติพันธุ์ (MAP FOUDATION) ได้ยื่นฟ้องบริษัทนายจ้าง เจ้าของโรงงานผลิตเสื้อผ้า VK GARMENT อ.แม่สอด จ.ตาก ต่อศาลแรงงานภาค 6 (ศาลชั้นต้น) เพื่อให้บริษัทนายจ้างจ่ายเงินค่าชดเชยที่ถูกเลิกจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และอื่นๆ ซึ่งศาลแรงงานภาค 6 ได้มีคำพิพากษา ให้นายจ้างจ่ายเพียงค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง ส่วนคำขออื่นๆ พิพากษายกฟ้อง (คดีหมายเลขแดงที่ ร 1030/2565 ) ลูกจ้างจึงได้อุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ ต่อมาเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2566 ศาลอุทธรณ์ฯ มีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นนั้น</p>
<p> เมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2567 ลูกจ้างได้ยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาพร้อมกับยื่นฎีกา เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินของศาลอุทธรณ์ฯ ที่วินิจฉัยว่ากระบวนการสอบสวนของพนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดตาก สาขาแม่สอด ในกรณีละเมิดสิทธิแรงงานดังกล่าวนั้นชอบด้วยกฎหมายแล้ว โดยลูกจ้างแรงงานข้ามชาติมีความเห็นว่าคำวินิจฉัยดังกล่าวของศาลอุทธรณ์ฯ ยังคลาดเคลื่อนต่อหลักของความยุติธรรมและกฎหมายในหลายประเด็น ทั้งเรื่องกระบวนการสอบสวนของพนักงานตรวจแรงงานและกระบวนการไต่สวนคดีของศาลแรงงานภาค 6  (ศาลชั้นต้น) และกรณีไม่รับวินิจฉัยข้ออุทธรณ์ของลูกจ้างอีก 4 ประเด็น โดยศาลอุทธรณ์ฯ วินิจฉัยว่ามิใช่เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายที่ลูกจ้างสามารถอุทธรณ์ได้</p>
<p>ชฤทธิ์ มีสิทธิ์ ทนายความของลูกจ้าง กล่าวว่า ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของลูกจ้างแรงงานข้ามชาติ 136 คนเพียงข้อเดียว คือ กระบวนการสอบสวนของพนักงานตรวจแรงงานชอบด้วยระเบียบการสอบสวนและพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541หรือไม่ โดยศาลได้ตัดสินว่าพนักงานตรวจแรงงาน แม่สอด ดำเนินการชอบด้วยกฎหมายแล้วในการตรวจสอบคำร้องของลูกจ้างที่ถูกละเมิดสิทธิแรงงาน ซึ่งในการอุทธรณ์นั้นยังมีอีก 4 ประเด็นที่เป็น ข้อกฎหมายสำคัญในคดีที่ศาลไม่รับพิจารณาวินิจฉัย โดยศาลอุทธรณ์เห็นว่าสิ่งที่ลูกจ้าง 136 ค อุทธรณ์มานั้นไม่ใช่ข้อกฎหมาย แต่เป็นการโต้แย้งหรือโต้เถียงการรับฟังพยานหลักฐานของศาลที่เป็นเรื่องข้อเท็จจริง  และในคดีแรงงานนั้นกฎหมายห้ามไม่ให้ฝ่ายใดอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง  </p>
<p>ประเด็นสำคัญที่ลูกจ้าง 136 คน ไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินของศาลอุทธรณ์ จึงขออนุญาตฎีกา ได้แก่</p>
<ol>
<li>การจ่ายค่าจ้างของ บริษัท วีเค การ์เม้นท์ จำกัด ที่ศาลแรงงานภาค 6 วินิจฉัยเป็นเอกสารการจ่ายค่าจ้างรายชิ้นนั้น มีความถูกต้องตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 114 หรือไม่?</li>
<li>ฝ่ายลูกจ้างแรงงานข้ามชาติได้ขอให้ศาลแรงงานภาค 6 มีคำสั่งเรียกต้นฉบับเอกสารการจ่ายค่าจ้าง แต่ฝ่ายนายจ้างมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลโดยมิได้แสดงเหตุผล แต่ในการสืบพยานฝ่ายนายจ้างกลับนำสืบสำเนาเอกสารการจ่ายค่าจ้าง ซึ่งตามหลักกฎหมายถือว่าพยานดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายและศาลต้องรับฟังข้อเท็จจริงตามที่ฝ่ายลูกจ้างนำสืบ ประเด็นอุทธรณ์ข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 123 มิใช่ปัญหาข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ฯวินิจฉัย</li>
<li>คลิปเสียงการสนทนาระหว่างฝ่ายนายจ้างกับแกนนำลูกจ้างแรงงานระบุชัดเจนว่าไม่มีการจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำตั้งแต่แรกเข้าทำงานเพราะตกลงกันแล้ว แต่ศาลแรงงานภาค 6 รับฟังและวินิจฉัยว่า แม้จะมีการจ่ายค่าจ้างไม่ครบตามขั้นต่ำ แต่เป็นช่วงเวลาใกล้จะเลิกจ้างแล้ว จึงเป็นการรับฟังและวินิจฉัยที่ขัดกับพยานหลักฐานในสำนวนคดี เป็นต้น</li>
<li>ศาลแรงงานภาค 6 ได้ระบุว่า แม้จะฟังว่านายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างขั้นต่ำให้ลูกจ้าง ที่บอกว่าเป็นช่วงใกล้ๆเลิกจ้างเท่านั้น แต่กลับวินิจฉัยต่ออีกว่า ถ้าไม่ครบจริง ลูกจ้างก็ควรจะต้องโต้แย้งคัดค้านไว้ เพราะเมื่อไม่โต้แย้งและคัดค้านไว้ ก็ต้องรับฟังไว้ว่าจ่ายครบแล้ว</li>
<li>ในกระบวนการยุติธรรมลูกจ้าง136 คน ซึ่งเป็นคนงานข้ามชาติได้เดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทยเนื่องจากความยากจน รายได้ที่ประเทศพม่าไม่พอกินรวมทั้งหนีภัยสงครามในประเทศ เมื่อมาทำงานที่อำเภอแม่สอดก็ มีสภาพความเป็นอยู่ที่ยากลำบาก ไม่ได้มีความชำนาญภาษาไทย และไม่รู้กฎหมายไทย ฉะนั้น ประกอบกับในการมาทำงานที่แม่สอดก็ต้องมีภาระหนี้สินเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ทั้งฝั่งพม่าและฝั่งไทย ลูกจ้างแรงงานข้ามชาติจึงตกอยู่ในภาวะหวาดกลัว วิตกกังวล อยู่ในภาวะจำยอมเพื่อให้ได้มีงานทำที่ประเทศไทย จึงไร้อำนาจต่อรอง ในสภาพการณ์ดังกล่าวนี้ ฝ่ายแรงงานข้ามชาติอยากให้ศาลแรงงานได้เข้าใจสภาพส่วนนี้ที่เกิดขึ้นจริงกับแรงงานส่วนใหญ่ในประเทศไทยโดยเฉพาะในพื้นที่ อ.แม่สอด จ.ตาก ในกระบวนการตรวจสอบตั้งแต่พนักงานตรวจแรงงานและศาลชั้นต้นที่ต้องไต่สวนและตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างรอบด้านและเข้าใจสภาพชีวิตของลูกจ้างที่ยากลำบาก ควรดำเนินการอย่างเป็นธรรม ดังนั้น ข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่ปรากฏในรายงานการตรวจสอบตามหลักจรรยาบรรณของธุรกิจที่ระบุว่า มีการจัดทำเอกสารการจ่ายค่าจ้างแตกต่างกันถึง 3-4 แบบ มีการซักซ้อมกับลูกจ้างก่อนที่จะมีการตรวจสอบของฝ่ายตรวจสอบตามหลักจรรยาบรรณ และมีการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายหลายเรื่องทั้งในเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำ  ค่าล่วงเวลา และเอกสารการจ่ายค่าจ้างแบบรายชิ้น รวมทั้งมีบุคคลอื่นฝ่ายโรงงานเป็นผู้ตอกบัตรลงเวลาทำงานของลูกจ้างมาตลอด เป็นต้น ทั้งพนักงานตรวจแรงงานและศาลแรงงานภาค 6 ควรต้องตรวจสอบอย่างจริงจัง ตามปรัชญาแนวคิดของการไต่สวนคดีแรงงาน เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงและหลักฐานที่เป็นความจริง ถูกต้องครบถ้วน เพื่อจะได้ตัดสินคดีอย่างเที่ยงธรรม  เพราะหาก คำตัดสินของพนักงานตรวจแรงงาน ศาลแรงงานภาค 6 (นครสวรรค์)  และศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษได้ระบุไว้ ยังไม่เพียงพอต่อการเข้าถึงความจริงที่เกิดขึ้นและการบังคับใช้กฎหมายเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่แรงงานข้ามชาติกลุ่มที่มีความยากลำบากหรือกลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคดีที่ฟ้องร้องกันเป็นเพียงสิทธิขั้นพื้นฐานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เท่านั้น ในขณะที่ธุรกิจต่าง ๆ ก็มีแต่ขยายการจ้างงานที่แม่สอด และยังปรากฏข้อมูลว่ากระบวนการจ้างงานของฝ่ายธุรกิจยังมีความซับซ้อน ซ่อนเงื่อน อีกมากมาย</li>
</ol>
<h3><span style="color:#2980b9;">มุมมองความไม่เท่าเทียมระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง เป็นประเด็นที่ควรได้รับการพิจารณาในกระบวนการยุติธรรมศาลแรงงานไทย กรณีลูกจ้าง VK GARMENT</span></h3>
<p>“ผมคิดว่าศาลแรงงานแม้มีผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้าง ฝ่ายลูกจ้าง แต่หลายท่านไม่เข้าใจปัญหาแรงงาน ทำให้ไม่มีบาทบาทช่วยในการตรวจสอบค้นหาความจริงในคดี ในคดีมีความซับซ้อน โดยเฉพาะคดีที่ลูกจ้างเป็นแรงงานข้ามชาติ ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบาง ทั้งขาดความรู้ความเข้าใจและอยู่ภายใต้อำนาจครอบงำของนายจ้าง ไม่กล้าโต้แย้งหรือพูดความจริงเมื่อมีผู้เข้าไปตรวจสอบโรงงาน เรื่องนี้เป็นปัญหาระบบของสหภาพแรงงานไทยที่ทำให้ไม่ได้ตัวแทนของลูกจ้างไปเป็นผู้พิพากษาสมทบ ทั้งกระบวนการพิจารณาคดีในศาลแรงงานที่แม้กำหนดให้ใช้ระบบไต่สวน แต่หลายคดี ศาลรับฟังข้อเท็จจริงที่ได้จากพนักงานตรวจแรงงานเป็นที่ยุติ ดังนั้นต้องแก้ปัญหาเชิงระบบ เชิงโครงสร้าง ต้องมีการปรับกระบวนการในการพิจารณาคดีแรงงาน เพื่อให้ศาลทำหน้าที่ค้นหาความจริงอย่างแท้จริง” สมชาย หอมลออ</p>

<p>สมชาย หอมลออ ประธานกรรมการมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ 3 ประการ ดังนี้</p>
<p>ประการที่ 1 แนวคิดทางกฎหมายแรงงานไทยถือว่า กิจการเป็นของนายจ้างแต่เพียงฝ่ายเดียว ดังนั้นการดำเนินกิจการและบริหารจัดจึงเป็นอำนาจสิทธิ์ขาดแต่เพียงฝ่ายเดียวของนายจ้าง แต่ความจริงแล้วยังมีมีแนวคิดอื่นๆ เช่น ของฝ่ายสังคมนิยมที่ถือว่าในกิจการหนึ่งๆ ลูกจ้างมีลักษณะเป็นหุ้นส่วนด้วย ดังนั้น เพื่อความเป็นธรรมจึงต้องคำนึงถึงความมั่นคงในการทำงานและชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของลูกจ้างด้วย   </p>
<p>ประการที่ 2 ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างไม่เท่าเทียมกัน ยิ่งถ้าถือว่านายจ้างมีอำนาจบริหารงานโดยเด็ดขาดด้วยแล้ว ลูกจ้างจะตกเป็นเบี้ยล่างและจำยอมให้นายจ้างเอารัดเอาเปรียบได้โดยง่าย โดยเฉพาะลูกจ้างที่เป็นกลุ่มเปราะบาง เช่น เด็ก หญิง คนงานไร้ฝีมือ และแรงงานข้ามชาติ ยิ่งแรงงานที่ไม่ได้รวมกันเป็นสหภาพแรงงานแล้วอำนาจในการต่อรองกับนายจ้างแทบไม่มีเลย  ดังนั้น ศาลแรงงานควรคุ้มครองแรงงานซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบาง ตามหลักการขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization : ILO) ซึ่งเรียกกฎหมายนี้ว่า “กฎหมายคุ้มครองแรงงาน” ไม่ใช่กฎหมายแพ่งแบบทั่วๆไป กฎหมายคุ้มครองแรงงานเป็นกฎหมายที่คุ้มครองคนงานที่เป็นคนตัวเล็กตัวน้อยในสังคม โดยอาจเรียกว่าเป็น social law คือ กฎหมายที่คุ้มครองกลุ่มคนที่เปราะบางในสังคม เช่น ผู้บริโภค ชนกลุ่มน้อย คุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์ รวมทั้งแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานข้ามชาติ ถ้าเจ้าหน้าที่ที่รักษากฎหมายและศาลไม่เข้าใจแนวคิดนี้ ก็ยากที่จะทำให้แรงงานข้ามชาติเข้าถึงความยุติธรรมได้</p>
<p>ประเด็นที่ 3 ลูกจ้าง โดยเฉพาะแรงงานข้ามชาติ เป็นแรงงานที่มักตกอยู่ในอำนาจครอบงำของนายจ้าง เป็นกลุ่มเปราะบาง กฎหมายเข้าไปคุ้มครองไม่ถึง เอกสารพยานหลักฐานต่างๆ อยู่ในอำนาจควบคุมของนายจ้างได้  เมื่อมีข้อพิพาททางคดีความ ลูกจ้างจึงยากที่จะนำเสนอข้อเท็จจริงพยานหลักฐานต่อเจ้าหน้าที่หรือศาลได้ เพราะทุกอย่างอยู่ที่นายจ้างทั้งหมด นายจ้างจะบิดเบือนอย่างไรก็ได้ ถ้าไปดูกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ก็จะเห็นว่านายจ้างต้องเก็บบันทึกการเข้าทำงาน ออกงาน  จ่ายค่าจ้าง ฯลฯ ลูกจ้างไม่สามารถเก็บ และไม่สามารถเข้าถึงเอกสารได้ด้วย ถ้านายจ้างไม่ให้ดูก็ไม่มีทางที่ลูกจ้างจะเข้าถึงได้</p>
<p>ดังนั้น กฎหมายวิธีพิจารณาคดีแรงงาน จึงกำหนดให้ศาลแรงงานเป็นศาลชำนัญพิเศษ คือ ศาลที่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องแรงงาน อย่างน้อยต้องเข้าใจประเด็นทั้งสามดังกล่าวข้างต้น  และกำหนดให้ศาลใช้การแสวงหาความจริงโดย ระบบไต่สวน คือ ศาลเป็นผู้ค้นหาความจริงเอง โดยเฉพาะศาลแรงงานชั้นต้น ซึ่งเป็นศาลที่นั่งพิจารณาคดี มีอำนาจเรียกบุคคลหรือพยานหลักฐานใดๆมาศาลได้ทั้งสิ้น ศาลชั้นต้นจึงต้องค้นหาความจริงให้ครบถ้วน สิ้นกระแส ปราศจากข้อสงสัย จนเป็นข้อยุติที่ไม่สามารถโต้แย้งได้ เพราะในชั้นอุทธรณ์ และฎีกา จะโต้แย้งกันในประเด็นข้อเท็จจริงกันอีกไม่ได้ หากศาลชั้นต้นไม่ค้นหาความจริง แต่ยอมรับเพียงการสอบสวนของพนักงานตรวจแรงงานว่า เป็นข้อเท็จจริงที่ยุติแล้ว ทั้ง ๆ ที่มีการโต้แย้งในคดีว่ากระบวนการตรวจของพนักงานตรวจแรงงานมีข้อบกพร่อง อาจส่งผลทำให้แรงงานข้ามชาติไม่ได้รับความเป็นธรรม</p>
<p>เรื่องความรู้ความเข้าใจเรื่องแรงงานของศาล ก็เป็นประเด็นที่ควรพิจารณา นี่เป็นปัญหาเชิงระบบด้วย  ศาลแรงงานเป็นศาลชำนัญพิเศษ ผู้พิพากษาศาลแรงงานควรต้องมีความชำนาญเรื่องแรงงานและมีทักษะในการพิจารณาคดีในระบบไต่สวนเป็นพิเศษด้วย ผู้พิพากษาศาลแรงงานเป็นผู้ที่โยกย้ายมาจากศาลยุติธรรมทั่วไป ท่านถนัดคดีอาญา คดีแพ่ง ทั่วๆไป จริงอยู่ ก่อนทำหน้าที่ในศาลแรงงาน มีการฝึกอบรมเรื่องกฎหมายแรงงาน  แต่น่าจะไม่เข้าใจกฎหมายแรงงานในฐานะที่เป็น socialaw ไม่เข้าใจปัญหาแรงงาน โดยเฉพาะปัญหาของแรงงานที่เป็นกลุ่มเปราะบาง เช่น แรงงานข้ามชาติ และขาดทักษะในการพิจารณาและดำเนินคดีในระบบไต่สวนตามกระบวนการพิจารณาคดีแรงงาน  ยิ่งไปกว่านั้น ส่วนใหญ่ผู้พิพากษาศาลแรงงานจะอยู่ปฏิบัติหน้าที่เพียงไม่กี่ปี ก็โยกย้ายไปศาลอื่น แม้ว่าศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา ตั้งแผนกคดีแรงงานขึ้นมา โดยประกอบด้วยผู้พิพากษาที่เคยปฏิบัติหน้าที่ในศาลแรงงานชั้นต้นมา มีความรู้ ความชำนาญมากขึ้น แต่ในประเด็นข้อเท็จจริง ศาลสูงทั้งสองศาลนี้ก็ไม่มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัย</p>
<h3><span style="color:#2980b9;">ความเป็นมาของคดี VK จากศาลแรงงานไทยจนนำไปสู่การฟ้องคดีที่ศาลอังกฤษ</span></h3>
<p>สืบเนื่องจากคดีนี้ เกิดขึ้นช่วงเดือนตุลาคม ปี 2563 แรงงานข้ามชาติจำนวน 136 คน ซึ่งเป็นลูกจ้างของโรงงานผลิตเสื้อผ้าของ บริษัท วีเค การ์เม้นท์ จำกัด ที่ตั้งในพื้นที่ อ.แม่สอด จ.ตาก ได้ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดตาก สาขาแม่สอด เพื่อเรียกร้องเงินค่าจ้างขั้นต่ำ ค่าทำงานล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าจ้างในวันหยุดประเพณีย้อนหลัง 2 ปี และเงินค่าชดเชยและค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า โดยความเสียหายทั้งสิ้นรวม 136 คน รวมประมาณ 34 ล้านบาท ซึ่งหลังจากได้มีคำร้องและปรากฎข้อเท็จจริงต่อพนักงานตรวจแรงงาน ทางพนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดตาก สาขาแม่สอด ได้ออกคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานที่ 40/2563 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2563 ให้นายจ้างโรงงานผลิตเสื้อผ้าของ บริษัท วีเค การ์เม้นท์ จำกัด จ่ายชดใช้ค่าชดเชยประมาณ 3.6 ล้านบาท และค่าจ้างที่ไม่บอกกล่าวล่วงหน้าประมาณ 1.6 ล้านบาท ซึ่งทำให้ลูกจ้างรู้สึกว่าจำนวนค่าชดใช้ค่าชดเชยตามคำสั่งดังกล่าวไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง</p>
<p>ด้วยจำนวนค่าชดเชยและค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ที่พนักงานตรวจแรงงานประเมินออกมานั้นทางฝั่งลูกจ้างโรงงาน 136 คน ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานจึงได้ฟ้องคดีต่อศาลแรงงานภาค 6 ขอให้เพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานดังกล่าว ปรากฏว่าฝ่ายนายจ้างคือ บริษัท วีเค การ์เม้นท์ จำกัด ก็ไม่ยอมรับคำสั่งให้ชดใช้ค่าชดเชยและค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ต่อลูกจ้างเช่นกัน จึงได้ดำเนินการฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานซึ่งดำเนินการฟ้องคดีก่อนลูกจ้าง ลูกจ้างแรงงานข้ามชาติจึงได้ยื่นคำร้องสอดเข้าไปในคดีดังกล่าวเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม (เรียกว่าผู้ร้องสอด) ซึ่งมีนายจ้างบริษัท วีเค การ์เม้นท์ จำกัด เป็นโจทก์ พนักงานตรวจแรงงานสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดตาก สาขาแม่สอด เป็นจำเลย</p>
<p>ต่อมาเมื่อ 15 กันยายน 2565 ศาลแรงงานภาค 6 พิพากษาให้นายจ้างจ่ายค่าชดใช้ชดเชยเพิ่มอีกประมาณ 1.6 ล้านบาท  เนื่องจากฝ่ายลูกจ้างสามารถนำสืบพยานหลักฐานเกี่ยวกับระยะเวลาการทำงานได้ ฝ่ายลูกจ้างจึงเห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลแรงงานภาค 6 ในเรื่องค่าชดเชยและค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าที่วินิจฉัย จึงไม่ติดใจดำเนินคดีต่อไปในประเด็นดังกล่าว (คดีหมายเลขแดงที่ ร 1030/2565 ลงวันที่ 15 กันยายน 2565 )  แต่ลูกจ้าง 136 คน ยังคงไม่เห็นด้วยกับเรื่องเงินต่าง ๆ ที่ตอบแทนการทำงาน หลักฐานการจ่ายค่าจ้าง และกระบวนการสอบสวนของพนักงานตรวจแรงงานที่ ไม่ถูกต้องตามระเบียบการสอบสวนและตามกฎหมาย และรวบรวมหลักฐานข้อเท็จจริงที่ไม่ครบถ้วน หลังจากมีคำพิพากษาศาลชั้นต้น ลูกจ้าง 136 คน ได้ยื่นอุทธรณ์ในประเด็นดังกล่าว จนเมื่อศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษได้มีคำตัดสินว่าประเด็นการตรวจสอบข้อเท็จจริงหรือการสอบสวนของพนักงานตรวจแรงงานชอบด้วย ระเบียบว่าด้วยการสอบสวนของพนักงานตรวจแรงงาน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541แล้ว และอีกหลายประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับข้อเท็จจริงประกอบความไม่โปร่งใสในเรื่องกระบวนสอบสวนของพนักงานตรวจแรงงานและพยานหลักฐานสำคัญที่ชี้ว่าบริษัท วีเค การ์เม้นท์ จำกัด ได้ละเมิดสิทธิแรงงานในเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำ ค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุด เนื่องจากเป็นพยานหลักฐานที่ไม่เป็นไปตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 114 และกฎหมายว่าด้วยลักษณะพยานคือประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 123</p>
<p>ลูกจ้างผู้เป็นแรงงานข้ามชาติ 136 คน จึงได้ดำเนินการขออนุญาตฎีกาและยื่นฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 เพื่อขอให้ศาลฎีกาได้โปรดตรวจสอบกระบวนการสอบสวนและไต่สวนในคดีแรงงานตั้งแต่ชั้นพนักงานตรวจแรงงาน จนถึงชั้นอุทธรณ์ และได้วินิจฉัยข้อกฎหมายสำคัญที่ฝ่ายธุรกิจกระทำต่อแรงงานข้ามชาติ อันเป็นการใช้สิทธิดำเนินคดีให้ถึงที่สุด โดยลูกจ้างซึ่งเป็นแรงงานข้ามชาติ 136 คน มีความคาดหวังว่าจะได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และความเป็นธรรมจากกระบวนการยุติธรรมด้านแรงงาน</p>
<h3><span style="color:#2980b9;">ลูกจ้างฟ้องคดีต่อศาลอังกฤษ กรณีใช้แรงงานบังคับใน VK GARMENT ซึ่งเป็นฐานผลิตเสื้อผ้าให้แบรนด์ TESCO</span></h3>
<p>เมื่อปี 2565 สำนักข่าว The Guardian ได้รายงานข่าวเรื่องบริษัทเทสโก้ถูกฟ้อง กรณีบังคับใช้แรงงานผลิตกางเกงยีนส์ F&amp;F ที่แม่สอด (Workers in Thailand who made F&amp;F jeans for Tesco ‘trapped in effective forced labour’ ลงวันที่ Sun 18 Dec 2022 ) ซึ่งมี ลูกจ้างแรงงานข้ามชาติในโรงงาน 136 คน เป็นโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลอังกฤษผ่านสำนักงานกฎหมาย Leigh Day โดยฟ้องร้องบริษัทที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้แก่ บริษัท วีเค การ์เม้นท์ จำกัด (VK GARMENT), ‘เทสโก้’ (Tesco PLC) ‘เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเทม’ (Ek-Chai Distribution System Company Limited ซึ่งมีเทสโก้เป็นเจ้าของ ก่อนขายให้เครือเจริญโภคภัณฑ์ในปี 2563) และบริษัทตรวจสอบ (auditing) ที่ชื่อว่า ‘อินเตอร์เทค’ (Intertek) ว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนและสิทธิแรงงานในโรงงานท้อผ้า VK GARMENT ลูกจ้างแรงงานเมียนมาในโรงงาน 136 คน อยู่ในสภาพถูกบังคับใช้แรงงานในหลากหลายรูปแบบ เช่น การทำงาน 99 ชั่วโมง/สัปดาห์ ได้รับค่าจ้างที่ต่ำกว่ากฎหมายกำหนด เพื่อผลิตสินค้าเสื้อผ้าส่งให้แบรนด์ดังระดับโลก ซึ่งมีการสัมภาษณ์ลูกจ้างแรงงานเมียนมา จำนวน 21 คน มีรายละเอียดว่า</p>
<ul>
<li>แรงงานส่วนใหได้รับค่าจ้างเพียง ประมาณ 136 บาท (3 ปอนด์) ต่อวัน โดยทำงานระหว่างเวลา 8.00 น. - 23.00 น. โดยมีวันหยุดเพียง 1 วัน/เดือน</li>
<li>บันทึกเกี่ยวกับการจ้างงานจะถูกเก็บไว้โดยหัวหน้างาน แสดงให้เห็นว่าคนงานส่วนใหญ่ในสายงานของตนได้รับค่าจ้างน้อยกว่าประมาณ 180 บาท/วัน (4 ปอนด์ต่อวัน) ซึ่งต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมายของประเทศไทย</li>
<li>ลูกจ้างแรงงานข้ามชาติเมียนมาต้องทำงานตลอดทั้งคืนเป็นเวลา 24 ชั่วโมงอย่างน้อยเดือนละ1 ครั้ง เพื่อทำตามคำสั่งซื้อแบรนด์ Supply Chain จำนวนมาก เมื่อแรงงานทำงานเมื่อยล้าก็หลับไปบนจักรเย็บผ้า</li>
<li>มีกรณีที่ลูกจ้างได้รับบาดเจ็บสาหัส จากเครื่องมือในอุตสาหกรรมเย็บผ้า มีการสูญเสียอวัยวะปลายนิ้วชี้ของหลังจากผ่ามันด้วยเครื่องทำกระดุมขณะกำลังผลิตแจ็คเก็ตยีนส์ F&amp;F</li>
<li>ลูกจ้างแรงงานข้ามชาติหลายคนกล่าวว่าพวกเขาถูกผู้จัดการในโรงงานตะโกนและขู่หากพวกเขาไม่ได้ทำงานล่วงเวลาและบรรลุเป้าหมายตามคำสั่ง</li>
<li>คนงานมากกว่า 12 คน ที่ให้สัมภาษณ์กล่าวว่าโรงงานได้เปิดบัญชีธนาคารให้พวกเขา แล้วยึดบัตรและรหัสผ่านเพื่อให้ดูเหมือนว่าพวกเขาได้รับค่าจ้างขั้นต่ำแต่จ่ายเป็นเงินสดน้อยกว่ามาก</li>
<li>คนงานส่วนใหญ่อาศัยนายจ้างในการรับรองสถานะการเข้าเมืองอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และมีลูกจ้างแรงงานข้ามชาติบางคนกล่าวว่า พวกเขาถูกยึดเอกสารประจำตัวโดยโรงงานเพื่อชดใช้หนี้สินจากการทำเอกสารการจ้างงานให้ถูกต้องตามกฎหมาย</li>
<li>สภาพที่พักของลูกจ้างไม่เหมาะสม ซึ่งลูกจ้างต้องพักอาศัยในพื้นที่ว่างใกล้โรงงานที่เป็นห้องที่แออัดยัดเยียดสำหรับนอนและมีห้องน้ำที่สกปรก คนงานบอกว่าห้องส่วนใหญ่ไม่มีประตู มีเพียงผ้าม่านเท่านั้น</li>
</ul>
<p>ดังนั้น การฟ้องร้องคดีนี้ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศจึงเป็นตัวสะท้อนสำคัญที่ทำให้เห็นว่าเมื่อลูกจ้างมีความกล้าหาญที่จะลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิต่อนายจ้างเมื่อถูกละเมิดตามกระบวนการยุติธรรม และอาศัยการต่อสู้ทางกฎหมายต่อบริษัทที่เกี่ยวข้อง การฟ้องคดีของลูกจ้างแรงงานข้ามชาตินี้ได้สร้างผลกระทบต่อตัวพวกเขาเองทั้ง 136 คน ที่ใช้ชีวิตอย่างยากลำบากในประเทศไทย แต่การที่พวกเขาเลือกที่จะสู้ไม่ถอย เพราะพวกเขาต้องการให้เห็นว่าลูกจ้างแรงงานทุกคนต้องตระหนักถึงสิทธิของตนและไม่ยอมให้ตนถูกละเมิดสิทธิ นี่คือหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อน</p>
<p> </p>
<p><strong>อ้างอิง</strong></p>
<p>https://thematter.co/brief/193044/193044</p>
<p>https://www.theguardian.com/business/2022/dec/18/workers-in-thailand-who-made-ff-jeans-for-tesco-trapped-in-effective-forced-labour</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108171
 
1383  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - แฟนคลับลุ้น "มิย่า" รับได้เจอกับ "อชิ" จริง! ตอบแล้วใช่รีเทิร์นคบหรือเปล่า เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2567 16:21:18
แฟนคลับลุ้น "มิย่า" รับได้เจอกับ "อชิ" จริง! ตอบแล้วใช่รีเทิร์นคบหรือเปล่า
         


แฟนคลับลุ้น &quot;มิย่า&quot; รับได้เจอกับ &quot;อชิ&quot; จริง! ตอบแล้วใช่รีเทิร์นคบหรือเปล่า" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;มิย่า ทองเจือ เปิดใจถึงอดีตรักอย่าง อชิ รับได้เจอกันจริงในงานเลี้ยง ใช่รีเทิร์นหรือเปล่า เจ้าตัวมีคำตอบให้อย่างชัดเจน
         

https://www.sanook.com/news/9254230/
         
1384  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [การเมือง] - รู้จัก "แฟรงค์ ณัฐนนท์" อดีตการ์ด WeVo และคดีทุบรถ สู่คู่หู "ตะวัน" คดีขบวนเสด็ เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2567 15:37:22
รู้จัก "แฟรงค์ ณัฐนนท์" อดีตการ์ด WeVo และคดีทุบรถ สู่คู่หู "ตะวัน" คดีขบวนเสด็จ
         


รู้จัก &quot;แฟรงค์ ณัฐนนท์&quot; อดีตการ์ด WeVo และคดีทุบรถ สู่คู่หู &quot;ตะวัน&quot; คดีขบวนเสด็จ" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;ทำความรู้จัก “แฟรงค์ ณัฐนนท์ ไชยมหาบุตร” อดีตสมาชิกการ์ดมวลชนอาสา WeVo ที่เคยถูกคุมขังคดีทุบรถควบคุมไมค์-เพนกวิน สู่ผู้ต้องหาคดีขบวนเสด็จร่วมกับ “ตะวัน ทานตะวัน”

         

https://www.sanook.com/news/9254438/
         
1385  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - นักร้องสาว "หญิง ธิติกานต์" เผยความรักซุ่มคบกับผู้จัดการส่วนตัวมา 8 ปี เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2567 13:50:03
นักร้องสาว "หญิง ธิติกานต์" เผยความรักซุ่มคบกับผู้จัดการส่วนตัวมา 8 ปี
         


นักร้องสาว &quot;หญิง ธิติกานต์&quot; เผยความรักซุ่มคบกับผู้จัดการส่วนตัวมา 8 ปี" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;หญิง ธิติกานต์ เปิดครั้งแรก! คบหาดูใจลับๆ กับแฟนผู้จัดการมากกว่า 8 ปี ขนลุก ปาฏิหาริย์พลิกชีวิต


         

https://www.sanook.com/news/9253834/
         
1386  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - คนทำงาน มกราคม 2567 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2567 13:27:58
คนทำงาน มกราคม 2567
 


<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2024-02-22 11:23</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>คนทำงาน มกราคม 2567</p>
<p><img alt="" src="/sites/default/files/docs-cover/workazine-2024-01.jpg" /></p>
<h3>วารสารคนทำงาน มกราคม 2567</h3>
<h3>ดาวน์โหลดอ่านได้ใน iPad, iPhone และระบบ Android รวมทั้งเปิดอ่านในคอมพิวเตอร์</h3>
<p>ได้ที่เว็บไซต์ [url]https://www.workazine.com/2024/01/Workazine-2024-01.html[/url]</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-above"><div class="field-label">Tags:&nbsp;</div><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%88%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">จดหมายข่าวแรงงาhttps://prachatai.com/labour/newsletter/173
 
1387  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - คนทำงาน กุมภาพันธ์ 2567 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2567 11:57:23
คนทำงาน กุมภาพันธ์ 2567
 


<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2024-02-22 11:30</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>คนทำงาน กุมภาพันธ์ 2567</p>
<p><img alt="" src="/sites/default/files/docs-cover/workazine-2024-02.jpg" /></p>
<h3>วารสารคนทำงาน กุมภาพันธ์ 2567</h3>
<h3>ดาวน์โหลดอ่านได้ใน iPad, iPhone และระบบ Android รวมทั้งเปิดอ่านในคอมพิวเตอร์</h3>
<p>ได้ที่เว็บไซต์ [url]https://www.workazine.com/2024/02/Workazine-2024-02.html[/url]</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-above"><div class="field-label">Tags:&nbsp;</div><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%88%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">จดหมายข่าวแรงงาhttps://prachatai.com/labour/newsletter/174
 
1388  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - "แพรวพราว แสงทอง" โพสต์บอกไม่เป็นไร ถึงวันนี้คนเคยรักจะไม่รัก แต่พร้อมสู้เพื เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2567 11:19:32
"แพรวพราว แสงทอง" โพสต์บอกไม่เป็นไร ถึงวันนี้คนเคยรักจะไม่รัก แต่พร้อมสู้เพื่อลูก
         


&quot;แพรวพราว แสงทอง&quot; โพสต์บอกไม่เป็นไร ถึงวันนี้คนเคยรักจะไม่รัก แต่พร้อมสู้เพื่อลูก" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;เคลื่อนไหวอีกครั้ง "แพรวพราว แสงทอง" โพสต์บอกไม่เป็นไร ถึงวันนี้คนเคยรักจะไม่รัก แต่พร้อมสู้เพื่อลูก และคนอีกหลายชีวิต
         

https://www.sanook.com/news/9253690/
         
1389  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [การเมือง] - สภาฯ คว่ำ "เปลี่ยนคำนำหน้านาม" ก้าวไกลจุกในอก ทวงความจริงใจนายกฯ พูดหาเสียงไ เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2567 09:36:08
สภาฯ คว่ำ "เปลี่ยนคำนำหน้านาม" ก้าวไกลจุกในอก ทวงความจริงใจนายกฯ พูดหาเสียงไว้
         


สภาฯ คว่ำ &quot;เปลี่ยนคำนำหน้านาม&quot; ก้าวไกลจุกในอก ทวงความจริงใจนายกฯ พูดหาเสียงไว้" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;มติสภาฯ ปัดตก ร่าง พรบ.การรับรองเพศคำนำหน้านาม ก้าวไกลแถลงช้ำ ถามหาความจริงใจ “นายกฯ” พูดตั้งแต่ตอนหาเสียง ชี้สมรสเท่าเทียมพรรคใครทำก็ได้คะแนนเสียง แต่เรื่องอื่นจะไม่ทำหรืออย่างไร



         

https://www.sanook.com/news/9251254/
         
1390  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - 'ประชาไท' แจง 5 ประเด็นกรณีนักข่าวถูกจับกุมคดี 'เป็นผู้สนับสนุน' ทำลายโบรา เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2567 08:56:15
'ประชาไท' แจง 5 ประเด็นกรณีนักข่าวถูกจับกุมคดี 'เป็นผู้สนับสนุน' ทำลายโบราณสถาน
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2024-02-21 19:26</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53542927896_ae52ef571b_3k.jpg" /></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">'การทำข่าวไม่ใช่อาชญากรรม' : ชี้แจงกรณีนักข่าวประชาไทถูกจับกุมคดี 'เป็นผู้สนับสนุน' ทำลายโบราณสถาน</span></h2>
<p>จากกรณีตำรวจจับกุม 2 นักข่าวและช่างภาพ หนึ่งในนั้นคือ ณัฐพล เมฆโสภณ ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวประชาไท เมื่อวันที่ 12 ก.พ.ที่ผ่านมาด้วยข้อหา 'เป็นผู้สนับสนุน' ทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งโบราณสถานฯ จากเหตุไปทำและรายงานข่าวศิลปินอิสระพ่นสีข้อความทำเป็นสัญลักษณ์ไม่เอา 112 และเครื่องหมายสัญลักษณ์ "อนาคิสต์" บนกำแพงวัดพระแก้ว 28 มี.ค.2566 โดยหมายจับออกไว้ตั้งแต่ 22 พ.ค. 2566 และไม่มีหมายเรียกก่อนนั้น ทั้งนี้ระหว่างจับกุมผู้สื่อข่าวประชาไทยังถูกพันธนาการด้วยเคเบิลไทร์ และสองยังถูกควบคุมตัวโดยการไปยังพื้นที่ห่างไกลจาก สน.พระราชวัง คือทั้ง สน.ฉลองกรุงและ สน.ทุ่งสองห้อง จนนำไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์การทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่และประชาไทตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น</p>
<p>กองบรรณาธิการข่าวประชาไทจึงขอชี้แจงดังนี้</p>
<p>1. กระบวนการทำข่าวและรายงานข่าวของ ณัฐพล เมฆโสภณ ปฏิบัติตามหลักปฏิบัติแห่งวิชาชีพ ในประมวลจริยธรรม 'ประชาไท'
2. หมายข่าวดังกล่าวทั้งในวันที่ 27 มี.ค.2566 ที่ผู้นัดหมายยกเลิกกิจกรรม และวันที่ 28 มี.ค.2566 ที่เกิดเหตุจนเป็นประเด็นนั้น ณัฐพล เมฆโสภณ ได้รับการอนุมัติจากบรรณาธิการให้ไปติดตามและรายงานข่าวตามหมายข่าว
3. สถานะและสภาพการจ้างงานของ ณัฐพล เมฆโสภณ ยังเป็นนักข่าวประจำกองบรรณาธิการฯเหมือนเดิมทุกประการ
4. กองบรรณาธิการฯ จะสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดีกับ ณัฐพล เมฆโสภณ ตลอดกระบวนการ
5. กองบรรณาธิการฯ จะดำเนินการเรียกร้องความเป็นธรรมให้ ณัฐพล เมฆโสภณ ในทุกช่องทางที่มีและทำได้ รวมทั้งช่องทางกระบวนการยุติธรรมเพื่อปกป้องการทำงานและชื่อเสียงของ ณัฐพล เมฆโสภณ </p>
<p>มีข้อโต้แย้งว่าสื่อก็ทำผิดได้ และโดยกระบวนการปกติสื่อต้องถูกตรวจสอบได้ แน่นอนเราเห็นด้วยอย่างยิ่งว่าสื่อผิดและพลาดได้ อีกทั้งเรายังส่งเสริมให้ประชาชนเท่าทันสื่อ แต่การออกหมายจับค้างไว้ถึง 9 เดือน ก่อนจับกุม และไม่มีหมายเรียกก่อนนั้น เรามองว่าไม่ใช่กระบวนการตรวจสอบปกติ รวมถึงหากปล่อยให้การตั้งข้อกล่าวหาในลักษณะนี้กลายเป็นบรรทัดฐานใหม่ก็ยังจะกระทบต่อกระบวนการทำงานข่าวโดยเฉพาะนักข่าว ช่างภาพ หรือผู้ปฏิบัติงานข่าวภาคสนามอย่างยิ่ง</p>
<p>ไม่เพียงแต่ 2 นักข่าวและช่างภาพที่ถูกละเมิดเสรีภาพของสื่อ หากแต่ช่วงที่ผ่านมามีการดำเนินคดีในลักษณะการฟ้องปิดปาก (Strategic Lawsuits Against Public Participation -SLAPP) ต่อสื่อมวลชนทั้งสื่อมวลชนอาชีพที่มีสังกัด สื่อมวลชนอิสระ รวมทั้งสื่อพลเมืองหรือประชาชนผู้ใช้สิทธิในการสื่อสาร โดยเฉพาะส่วนหลังที่อยู่ในสถานะเปราะบางมักถูกข่มขู่และทำร้ายร่างกายในหลายครั้ง </p>
<p>จึงขอเรียกร้องให้องค์กรวิชาชีพสื่อ กลไกปกป้องคุ้มครองสิทธิฯ สื่อมวลชนหรือประชาชนเอง ติดตามสถานการณ์และไม่ปล่อยให้กระบวนการเหล่านี้กลายเป็นบรรทัดฐานหรือความปกติใหม่ที่มาจำกัดเสรีภาพสื่อและสิทธิในการสื่อสารของประชาชน เพราะไม่เพียงคนทำงานสื่อจะกระทบ ประชาชนที่เป็นผู้รับสารหรืออยากลุกขึ้นมาสื่อสารก็จะกระทบไปด้วย</p>
<p>“เสรีภาพสื่อ คือ เสรีภาพประชาชน”
กองบรรณาธิการข่าวประชาไท
21 ก.พ. 2567
 </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108161
 
1391  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - รู้ไว้ไม่น่าอาย! จดและจำ 6 สิ่งที่ต้องทำทุกครั้งหลังมี Sex เพื่อเซฟสุขภาพตัวเอง เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2567 08:48:02
รู้ไว้ไม่น่าอาย! จดและจำ 6 สิ่งที่ต้องทำทุกครั้งหลังมี Sex เพื่อเซฟสุขภาพตัวเอง
         


รู้ไว้ไม่น่าอาย! จดและจำ 6 สิ่งที่ต้องทำทุกครั้งหลังมี Sex เพื่อเซฟสุขภาพตัวเอง" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;ข้อควรรู้ 6 สิ่งที่ควรทำทุกครั้งหลังจากมี Sex เซฟเก็บไว้เลย!!

         

https://www.sanook.com/news/9253170/
         
1392  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - “พี่สาววันเฉลิม” หวังขอเข้าพบ “ฮุนเซน” ทวงถามความคืบหน้าคดีอุ้มหายน้องชาย “บิ เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2567 07:24:32
“พี่สาววันเฉลิม” หวังขอเข้าพบ “ฮุนเซน” ทวงถามความคืบหน้าคดีอุ้มหายน้องชาย “บิ๊กโจ๊ก” รุดเจรจา
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2024-02-21 19:37</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพ แมวส้ม </p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>“พี่สาววันเฉลิม” ถูกตำรวจสกัดไม่เข้าใกล้ “บ้านจันทร์ส่องหล้า” เจ้าตัวหวังขอเข้าพบ “ฮุนเซน” อดีตนายกรัฐมนตรีกัมพูชาถามความคืบหน้าคดีอุ้มหาย “วันเฉลิม” ที่กัมพูชา พี่สาววันเฉลิมระบุ เจ้าหน้าตำรวจมีการตะโกนว่า “จับเลย เจอตัวแล้ว” เมื่อพบตนเอง ด้าน “บิ๊กโจ๊ก” รุดเข้าเจรจา รับหนังสือร้องเรียนจากพี่สาววันเฉลิม</p>
<p> </p>
<p>21 ก.พ. 2567 เวลาประมาณ 10:00 น. สิตานัน สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ พี่สาว “วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์” ผู้ลี้ภัยที่ถูกอุ้มหายในกัมพูชาเมื่อปี 2563 พยายามเดินทางไปที่หน้าบ้านจันทร์ส่องหล้า เนื่องจากฮุนเซน อดีตนายกรัฐมนตรีของกัมพูชาเดินทางมาเยี่ยมทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี</p>
<p>สิตานันถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจสกัดรถ ขณะกำลังเดินทางเข้าไปที่บ้านจันทร์ส่องหล้า และได้พักทำกิจกรรมที่หน้าธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาถนนสิรินธร โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบกว่า 50 นาย เฝ้าสถานการณ์</p>
<p>สิตานันกล่าวว่า ตนเองเดินทางมาในวันนี้เพื่อมาทวงถามความเป็นไปและความจริงเกี่ยวกับการหายตัวไปของวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ เมื่อปี 2563 ที่ประเทศกัมพูชา และยังเคยได้กล่าวว่าเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของทักษิณและฮุนเซน เนื่องจากวันเฉลิมเคยทำงานให้กับพรรคเพื่อไทยมาก่อน</p>
<p>สิตานันท์กล่าวด้วยว่า ขณะที่ตนกำลังขับรถมีเจ้าหน้าที่ตำรวจจำนวนหลายนายมาล้อมรถของตนไว้พร้อมถามว่าจะเดินทางไปไหน ตนจึงบอกว่าจะไปที่บ้านจันทร์ส่องหล้า เจ้าหน้าที่อีกนายหนึ่งจึงตะโกนว่า “จับเลย เจอตัวแล้ว” ตนจึงตกใจและรีบขับรถออกมา จึงลือกมาปักหลักที่บริเวณด้านหน้าธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสิรินธร ซึ่งเป็นสถานที่ที่คนพลุกพล่าน</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53543114488_2ca6f9b991_b.jpg" /></p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53543365155_0757f096dd_b.jpg" /></p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53542060792_b7f2caf18b_b.jpg" /></p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53543365140_f08f9b6a74_b.jpg" /></p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53543114438_b5f1b8c1a4_b.jpg" /></p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53543114433_303ea1a021_b.jpg" /></p>
<p>ต่อมา พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. ได้เดินทางมาพบสิตานัน ยืนยันว่าไม่มีการสั่งการให้เจอตัวแล้วจับเลย และพยายามสอบถามว่าสิตานันท์จะเดินทางไปทำอะไรที่บ้านจันทร์ส่องหล้า</p>
<p>สิตานัน จึงได้ยื่นหนังสือ ต่อ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ เพื่อขอให้มีการติดตามทวงถามกรณีวันเฉลิม หลังจากที่ทางการกัมพูชายื่นรายงานต่อที่ประชุมสหประชาชาติว่า การหายตัวไปของวันเฉลิมนั้นเกิดขึ้นในกัมพูชาจริง แต่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่รัฐของกัมพูชา รวมถึงร้องเรียนการคุกคามของเจ้าหน้าที่ตำรวจต่อตัวสิตานันด้วย</p>
<p>พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรร ระบุว่า ผู้ที่ถูกอุ้มหายหลายราย มีชะตากรรมไม่ต่างกับวันเฉลิม ซึ่งทางประเทศกัมพูชาต้องดำเนินการสืบสวนสอบสวนให้ได้ความจริง เพราะกัมพูชาเป็นประเทศในอนุสัญญากับสหประชาชาติ ดังนั้นเป็นหน้าที่ของรัฐไทยโดยเช่นเดียวกันที่จะต้องไปสะกิดอดีตนายกรัฐมนตรี ที่ดูแลรับผิดชอบเรื่องการสืบสวนสอบสวนในฝั่งกัมพูชา เพราะพวกเขามีข้อมูลเพียงพอในรูปคดีดังกล่าว เราจึงเรียกร้องให้รัฐทำหน้าที่ของตัวเองเพื่อคืนความยุติธรรมให้กับครอบครัวและผู้ที่ถูกบังคับสูญหาย</p>
<p> </p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108162
 
1393  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - วันนี้ ไทยตอนบนฝุ่นสะสมมาก เตือนภาคใต้-ตะวันออก รับมือฝนฟ้าคะนอง เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2567 06:17:51
วันนี้ ไทยตอนบนฝุ่นสะสมมาก เตือนภาคใต้-ตะวันออก รับมือฝนฟ้าคะนอง
         


วันนี้ ไทยตอนบนฝุ่นสะสมมาก เตือนภาคใต้-ตะวันออก รับมือฝนฟ้าคะนอง" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;
         

https://www.sanook.com/news/9252914/
         
1394  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - 'โดนจับ โดนยิง รุมทำร้าย' รวมเคสคุกคามสื่อซ้ำแล้วซ้ำเล่า เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2567 05:53:04
'โดนจับ โดนยิง รุมทำร้าย' รวมเคสคุกคามสื่อซ้ำแล้วซ้ำเล่า
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2024-02-21 19:57</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>อินโฟกราฟิก: กิตติยา อรอินทร์</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>จากกรณีนักข่าวโดนจับ ชวนย้อนดู 6 กรณีคุกคามสื่อมวลชนบางส่วนที่เกิดขึ้นหลังปี 2563 โดยมีทั้งถูกยิงด้วยกระสุนยางจากตำรวจควบคุมฝูงชน , ถูกทำร้ายร่างกายจากกลุ่มที่ระบุตัวเองว่าเป็น “กลุ่มปกป้องสถาบันกษัตริย์” และถูกจับกุม-ตั้งข้อหาจากการปฏิบัติหน้าที่รายงานข่าว</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53542646971_84b14e5c02_b.jpg" /></p>
<p><span style="color:#d35400;"><strong>2563 นักข่าวประชาไทถูกจับขณะไลฟ์สดเหตุสลายชุมนุมแยกปทุมวัน</strong></span></p>
<ul>
<li>เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2563 “กิตติ พันธภาค” ผู้สื่อข่าวประชาไท ถูกควบคุมตัวขณะไลฟ์สดรายงานสถานการณ์สลายชุมนุมแยกปทุมวันฯ  โดยถูกเคเบิลไทร์รัดข้อมือไพล่หลังกว่า 2 ชั่วโมง และถูกตั้งข้อหาขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน ก่อนได้รับการปล่อยตัว</li>
</ul>
<div class="more-story">
<ul>
<li>กมธ.แจ้งผล สอบ. ตร. ปมจับนักข่าวประชาไทขณะปฏิบัติหน้าที่รายงานข่าวสลายชุมนุม 16 ตุลา</li>
</ul>
</div>
<p><span style="color:#d35400;"><strong>2564 นักข่าวประชาไทถูก คฝ.ยิงกระสุนยาง เข้าที่หลัง ขณะไลฟ์สดเหตุสลายชุมนุม</strong></span></p>
<ul>
<li>เมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2564 “ศรายุธ ตั้งประเสริฐ” ผู้สื่อข่าวประชาไท ถูกกระสุนยางจากตำรวจควบคุมฝูงชนยิงเข้าบริเวณหลังบาดเจ็บ ขณะทำการถ่ายทอดสดสถานการณ์ ตำรวจใช้กำลังสลายการชุมนุมที่บริเวณปากซอยข้าวสาร ใกล้สี่แยกคอกวัว</li>
<li>ทั้งนี้นอกจากการแสดงตัวผ่านการปฏิบัติหน้าที่ด้วยการถ่ายทอดสดผ่านเฟซบุ๊กแล้ว เจ้าตัวยังห้อยบัตรผู้สื่อข่าวรวมทั้ง มีปลอกแขนผู้สื่อข่าวติดชัดเจน</li>
<li>จนกระทั่งเมื่อเดือน มี.ค. ปี 2566 “พ.ต.อ.ภัสพงษ์ บุตรไทย” รองผู้บังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน (บก.อคฝ.) ส่งจดหมายตอบกลับผลร้องเรียนกรณีดังกล่าว มีใจความสำคัญระบุว่า ตัวนักข่าวไปอยู่ในพื้นที่ทั้งๆ ที่รู้การปฏิบัติของตำรวจ</li>
</ul>
<div class="more-story">
<ul>
<li>ผู้สื่อข่าวประชาไทถูก ตร.ยิงด้วยกระสุนยางบาดเจ็บขณะถ่ายทอดสดการสลายการชุมนุม</li>
<li>รอง ผบ.คุมฝูงชน ส่งจดหมายตอบ นักข่าวประชาไทถูกกระสุนยางยิง อ้างไปอยู่ในที่เกิดเหตุทั้งที่รู้</li>
</ul>
</div>
<p><span style="color:#d35400;"><strong>2564 2 สื่อพลเมืองถูกจับขณะไลฟ์สดม็อบที่ดินแดง</strong></span> </p>
<ul>
<li>เมื่อวันที่ 13 ก.ย. 2564 “ณัฐพงศ์ มาลี” หรือ “โอปอ” นักข่าวพลเมืองจากเพจที่ใช้ชื่อว่า “สำนักข่าวราษฎร - Ratsadon “และ “พนิดา เอนกนวน” นักข่าวพลเมืองอีก 1 คน จากเพจที่ใช้ชื่อว่า “ปล่อยเพื่อนเรา” รวม 2 ราย ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมตัว ขณะไลฟ์สดสถานการณ์การชุมนุมที่ดินแดง มีการตั้งข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ภายหลังศาลปล่อยตัวโดยไม่ต้องวางหลักทรัพย์</li>
<li>ในวันเดียวกัน ก่อนที่จะมีการจับกุมสื่ออิสระนั้น “พล.ต.ต.ปิยะ ต๊ะวิชัย” รองผู้บัญชาการและโฆษกกองบัญชาการตำรวจนครบาล ให้สัมภาษณ์ทางรายการตอบโจทย์ ทาง Thai PBS โดยอ้างว่าได้รับการร้องเรียนจากสื่อมวลชนว่า มีกลุ่มผู้ชุมนุมหรือมีผู้แอบแฝงมาเป็นสื่อมวลชนปลอม โดยเฉพาะอ้างตัวว่าเป็นยูทูบเบอร์ สื่อมวลชนที่มีต้นสังกัดชัดเจนและไม่ใช่กลุ่มผู้ชุมนุม ไม่ใช่กลุ่มผู้ที่มาสร้างความแตกแยก หรือไม่ใช่กลุ่มผู้ที่แฝงตัวมาเมื่อทำการตรวจก็จะได้รับการเชิญออกไป ส่วนผู้ที่แฝงตัวเข้ามาหรือสื่อมวลชนปลอมจำนวน 2-3 คน มาดำเนินคดีตามกฎหมาย</li>
</ul>
<p><span style="color:#d35400;"><strong>2565 ยา–ณัฐพล ถูกกลุ่มปกป้องสถาบันฯ ทำร้ายหน้าร้านแมคฯ</strong></span></p>
<ul>
<li>“ณัฐพล พันธ์พงษ์สานนท์” สื่ออิสระ ถูกชายไทยในชุดรัดกุม ใส่เสื้อกั๊กจำนวน 4 คน รุมตีด้วยกระบองดิ้ว บริเวณหน้าร้านแมคโดนัลด์ สาขาอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กลางดึกวันที่ 22 เม.ย. 2565 หลังจากทำข่าวกิจกรรม ‘ทัวร์มูล่าผัว’ </li>
<li>ซึ่งก่อนหน้านั้น ชายทั้ง 4 ได้เดินเข้ามาขอดูภาพในโทรศัพท์ของณัฐพล แต่ณัฐพลไม่ยินยอม ชายทั้ง 4 จึงรุมเข้าทำร้ายณัฐพล</li>
<li>ในเวลาต่อมา “เบญภกรณ์ วิคะบำเพิง” หรือ “เบน” อดีตสมาชิกอาชีวะปกป้องสถาบัน ออกมายอมรับว่าทำร้าย ยา–ณัฐพล จริง โดยอ้างว่าเพราะณัฐพลไม่ยอมแสดงตัวว่าเป็นสื่อมวลชน พร้อมพูดจาหาเรื่อง และเรียกพวกจะมาทำร้ายก่อน</li>
</ul>
<div class="more-story">
<ul>
<li>2 นักข่าวพลเมืองถูก ตร.คุมตัวขณะรายงานสถานการณ์ชุมนุมที่ดินแดง</li>
<li>สื่ออิสระเล่าวินาทีถูกคนทำร้ายหน้าร้านแมคฯ อนุสาวรีย์ ปชต. หลังทำข่าว #ม็อบ22เมษา65</li>
</ul>
</div>
<p><span style="color:#d35400;"><strong>2567 กลุ่มปกป้องสถาบันฯ ทำร้าย 2 สื่ออิสระขณะไลฟ์สดที่ BTS สยาม</strong></span></p>
<ul>
<li>กลุ่มปกป้องสถาบันฯ ทำร้าย 2 สื่ออิสระ ได้แก่ “ภราดร เกตุเผือก” หรือที่คนรู้จักกันในชื่อ “ลุงดร” และ “เชน ชีวอบัญชา” หรือที่คนรู้จักในชื่อ “ขุนแผน” ที่บีทีเอสสยาม ขณะไลฟ์สดสถานการณ์ที่นักกิจกรรมทางการเมืองชี้แจงกรณีบีบแตรใส่ขบวนเสด็จ</li>
<li>ลุงดร ถูกสมาชิกกลุ่มปกป้องสถาบัน 2 คน เข้ามาทำร้าย คนแรกตบสมาร์ทโฟนที่เขาใช้ถ่ายทอดสดออนไลน์จนร่วงลงไปที่พื้น และใช้มือตบเข้าไปที่ใบหน้า โดยเขาจำไม่ได้ว่าคนที่ตบหน้าเขาเป็นใคร แต่หลังจากนั้น “วสัน ทองมณโฑ” เข้ามาชนจนเขาร่วงลงไปที่พื้น และเอาเข่ากดตัวเขาไว้กับรั้วตรงบ็อกซ์จุดขายตั๋วโดยสาร จนเขาต้องขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ และตำรวจนำตัวเขาออกจากพื้นที่</li>
<li>ส่วน “เชน” สื่ออิสระ วัย 56 ปี เล่าถึงจังหวะเกิดเหตุว่า ขณะนั้นเขายืนแยกออกมาอยู่ด้านหลังจุดสแกนตั๋วโดยสารบีทีเอสสยาม แล้วจู่ๆ “อานนท์ กลิ่นแก้ว” ประธานศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ขว้างขวดน้ำใส่ และปีนข้ามจุดสแกนตั๋วเข้ามา อานนท์เข้ามาจับคอเสื้อ และเงื้อมกำปั้นจะต่อย แต่ยังไม่ทันได้ต่อย มีเจ้าหน้าที่มาห้าม หลังจากนั้น เชนถูกประชาชนอีกคนเข้ามาต่อยจนล้ม และโดนเตะตามลำตัวร่างกาย </li>
<li>ในวันเดียวกัน ผู้สื่อข่าวประชาไทรายงานด้วยว่า ถูกสมาชิกกลุ่มปกป้องสถาบันฯ (ไม่ทราบชื่อ-นามสกุล) ข่มขู่ไม่ให้บันทึกวิดีโอด้วย</li>
</ul>
<div class="more-story">
<ul>
<li>กลุ่มปกป้องสถาบันฯ บุกทำร้ายนักกิจกรรม-2 สื่ออิสระที่ BTS สยาม ขู่ 'ประชาไท' ห้ามถ่ายวิดีโอ</li>
<li>‘ดร’ เล่าเหตุการณ์ถูก ศปปส.รุม เคยโดนคุกคามมาแล้ว 2 ครั้งแต่แจ้งความไปไม่มีความคืบหน้า</li>
<li>ศปปส.คุกคามนักกิจกรรมและนักข่าวหน้าศาลอาญา บานปลายรุมทำร้ายรัวหมัดใส่คนผ่านมาดูด้วย</li>
</ul>
</div>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="" frameborder="0" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/Q82uzhi49yw?si=ALGrzhv8gL0-2fKr" title="YouTube video player" width="560"></iframe></p>
<p><span style="color:#d35400;"><strong>2567 นักข่าวประชาไท-ช่างภาพสเปซบาร์ถูกจับเพราะไปทำข่าวนักกิจกรรมพ่นสีกำแพงวัง</strong></span></p>
<ul>
<li>กรณีล่าสุด เมื่อวันที่ 12 ก.พ. ที่ผ่านมา “เป้–ณัฐพล เมฆโสภณ” ผู้สื่อข่าวจากประชาไท และ “ยา–ณัฐพล พันธ์พงษ์สานนท์” ช่างภาพสื่อออนไลน์ที่ใช้ชื่อว่าสเปซบาร์ ถูกจับกุมจากการไปทำข่าวนักกิจกรรมพ่นสีกำแพงวัดพระแก้ว ด้วยข้อหาเป็นผู้สนับสนุนทำให้โบราณสถานเสียหายจากการขีดเขียนข้อความ</li>
<li>โดยคืนวันที่ 12 ก.พ. เป้–ณัฐพล ผู้สื่อข่าวประชาไทถูกขังรอส่งศาลที่ สน.ฉลองกรุง ย่านมีนบุรี ส่วน ยา–ณัฐพล ช่างภาพอิสระ ถูกนำตัวไปขังระหว่างรอส่งศาลที่ สน.ทุ่งสองห้อง  </li>
<li>วันรุ่งขึ้น (13 ก.พ.) ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ เป้-ณัฐพล และ ยา-ณัฐพล ประกันตัวได้ โดยต้องวางหลักทรัพย์ประกันเป็นเงินสดคนละ 35,000 บาท โดยไม่ได้มีการกำหนดเงื่อนไขประกันตัวไว้</li>
<li>หลังจากที่ได้รับการประกันตัว เป้-ณัฐพล ระบุว่า ก่อนลงจากรถยนต์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุม ทางตำรวจมีการขอใส่เคเบิลไทร์รัดข้อมือระหว่างนำตัวผู้ต้องหา (เป้ - ณัฐพล) เข้าไปในอาคาร สน.พระราชวัง</li>
</ul>
<div class="more-story">
<ul>
<li>นักข่าวประชาไท-ช่างภาพอิสระถูกจับเพราะไปทำข่าวนักกิจกรรมพ่นสีกำแพงวัง </li>
<li>'ประชาไท' แจง 5 ประเด็นกรณีนักข่าวถูกจับกุมคดี 'เป็นผู้สนับสนุน' ทำลายโบราณสถาน</li>
</ul>
</div>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%A3-%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ภราดร เกตุเผืhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108163
 
1395  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - 4 ยุคสมัยของการใช้พื้นที่ 'สนามหลวง' 'สนามราษฎร' และการช่วงชิงความหมาย เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2567 04:19:04
4 ยุคสมัยของการใช้พื้นที่ 'สนามหลวง' 'สนามราษฎร' และการช่วงชิงความหมาย
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2024-02-21 20:55</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>กราฟิก: กิตติยา อรอินทร์</p>
<p>รายงาน: ณัฐพล เมฆโสภณ</p>
<p>แก้ไขเมื่อ 22 ก.พ. 2567 เวลา 01.21 น.</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ย้อนประวัติศาสตร์การใช้พื้นที่ 'สนามหลวง' 4 ยุค คือ ยุคสถาปนากรุงเทพฯ ในชื่อ 'ทุ่งพระเมรุ' ยุครัชกาลที่ 5 ครั้งแรกของเปิดให้ประชาชนใช้พื้นที่ ยุคสนามราษฎร และยุคสนามหวงและการช่วงชิงความหมาย</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53543250518_d25379a440_b.jpg" /></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">สมัยทุ่งพระเมรุ รัชกาลที่ 1-4 </span></h2>
<p>รายการประวัติศาสตร์นอกตำรา ตอน ""สนามหลวง" พื้นที่ชีวิตบนซอกหลืบประวัติศาสตร์" ตอนที่ 157 ออกอากาศเมื่อ 11 ต.ค. 2565 ผ่านช่องทางยูทูบ ได้มีการนำเสนอประวัติศาสตร์ และพลวัตรการใช้พื้นที่สนามหลวง ตั้งแต่ยุคการก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ ยุครัชกาลที่ 5 ยุคคณะราษฎร และปัจจุบัน </p>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="" frameborder="0" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/63YG8lJv1yk?si=IopO7go8koCQza8c" title="YouTube video player" width="560"></iframe></p>
<p>ประวัติโดยคร่าวของ 'สนามหลวง' ถูกสร้างขึ้นพร้อมการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เมื่อ พ.ศ. 2325 ขนาดปัจจุบัน 74 ไร่ 63 ตารางวา ตั้งอยู่ทิศเหนือของพระบรมมหาราชวัง หรือวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) สนามหลวงสมัยก่อนไม่เหมือนกับปัจจุบัน เพราะมีขนาดเล็กกว่าครึ่งหนึ่ง และไม่ได้เป็นลักษณะ 'วงรี' รูปไข่ แต่เป็นลักษณะรูปร่างสี่เหลี่ยมคางหมู ทางด้านทิศเหนือของสนามหลวง เคยเป็นพื้นที่ของวังหน้า หรือพระราชวังบวรสถานมงคล เหตุที่ทราบนั้นเพราะมีการขุดค้นพบกระสุนปืนใหญ่ และปืนใหญ่จำนวนมาก</p>
<p>ธงทอง จันทรางศุ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ระบุในรายการ 'ประวัติศาสตร์นอกตำรา' ว่า สันนิษฐานว่า การสร้างสนามหลวงน่าจะได้รับอิทธิพลรูปแบบมาจาก "สนามหน้าจักรวรรดิ" พระราชวังหลวงกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 1893-2310) เพื่อทำพิธีพระเมรุ และอื่นๆ  ทำให้ ‘สนามหลวง’ แต่เดิมเป็นพื้นที่สำหรับประกอบพระราชพิธีที่สืบทอดมาจากสมัยอยุธยา นอกจากนี้ ด้วยความที่สนามหลวงถูกใช้ในงานออกพระเมรุของสถาบันพระมหากษัตริย์ และชนชั้นสูง ทำให้หลายคนรู้จักสนามหลวงในชื่อ "ทุ่งพระเมรุ" ทีนี้ก็มีคำถามต่อว่า ถ้าเป็นศพของไพร่เขาจะทำอย่างไร รายการประวัติศาสตร์นอกตำรา ระบุว่า เขาจะเอาศพไพร่ออกทางด้านประตูผี (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น 'สำราญราษฎร์') และนำไปทำพิธีฌาปนกิจที่วัดสระเกศ</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">รัชกาลที่ 5 ครั้งแรกที่เปิดให้ประชาชนใช้</span></h2>
<p>เวลาผ่านไปจนปี พ.ศ. 2398 รัชกาลที่ 5 หรือสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการเปลี่ยนชื่อจากเดิม "ทุ่งพระเมรุ" เป็น "ท้องสนามหลวง" เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้ทำกิจกรรมและพระราชพิธีมากยิ่งขึ้นกว่าสมัยก่อน และชื่อ 'ทุ่งพระเมรุ' ไม่เป็นมงคล โดยมีบันทึกว่า หากใครฝ่าฝืนเรียกท้องสนามหลวงว่า "ทุ่งพระเมรุ" จะถูกตำรวจจับ และปรับสินไหม เพื่อเป็นการลงโทษ</p>
<p>ปี พ.ศ. 2428 ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้สนามหลวงมีการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพ โดยรัชกาลที่ 5 มีคำสั่งยกเลิกตำแหน่งมหาอุปราชวังหน้า และมีการลดพื้นที่เขตวังหน้าลง โดยการรื้อกำแพงพระราชวังบวรด้านเหนือออก ประจวบเหมาะกับรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งขณะนั้นอยู่ภายใต้อาณานิคมของ เนเธอร์แลนด์ สมเด็จพระจุลจอมเกล้าประทับใจสวนอลุน-อลุน หน้าพระราชวังสุลต่าน เมืองยอร์กจาการ์ตา จึงนำมาปรับปรุงพื้นที่ท้องสนามหลวง โดยมีการขยายพื้นที่เป็นสนามวงรีอย่างที่เห็นปัจจุบัน และนำต้นมะขามมาปลูกตกแต่งรอบๆ</p>
<p>ช่วงเวลานี้มีความเปลี่ยนแปลงเรื่องการใช้งานสนามหลวง โดยรัชกาลที่ 5 ได้เปลี่ยนจากแต่เดิมถูกใช้เพื่องานในพระราชพิธี ให้มีการใช้เป็นลานกิจกรรมสำหรับเจ้าขุนมูลนาย และประชาชนในบางโอกาส หนึ่งในกิจกรรมที่ประชาชนนิยมเล่นในสนามหลวงคือการเล่นว่าว ได้รับความนิยมจนมีประเพณีแข่งเล่นว่าวระหว่างว่าวจุฬา และว่าวปักเป้า ความนิยมของการเล่นว่าวสะท้อนผ่านกฎหมาย และคำเตือนถึงประชาชนว่า ระวังสายป่านว่าวไปเกี่ยวพันตัวอาคารหรือยอดปราสาท </p>
<p>"นี่อาจเป็นภาพของพื้นที่สาธารณะยุคแรกเริ่มที่อนุญาตให้สามัญชน เข้าใช้ท้องสนามหลวงในบางโอกาสได้ โดยไม่จำกัดเพียงสถานะของการเป็นมณฑลของการประกอบพระราชพิธี อย่างที่เคยเข้าใจ และจดจำกันเรื่อยมา" ผู้บรรยายรายการ "ประวัติศาสตร์นอกตำรา" ระบุ</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53543359569_a7fef54a00_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">แฟ้มภาพ การแข่งขันว่าวในสมัยรัชกาลที่ 5 (ที่มา: </span><span style="color:#d35400;">สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ</span><span style="color:#d35400;">)</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">สู่ 'สนามราษฎร' สมัยปฏิวัติ 2475 </span></h2>
<p>24 มิ.ย. 2475 กลุ่ม 'คณะราษฎร' ทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ไปสู่ระบอบ 'ประชาธิปไตย' และได้ทำการเปลี่ยนจาก 'สนามหลวง' เป็น 'สนามราษฎร'</p>
<p>สนามหลวงในฐานะพื้นที่สาธารณะ หรือสนามราษฎร เริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงนี้หลังจากรัฐบาลนำโดย พระยาพหลพลพยุหเสนา ปีกทหารของคณะราษฎร จัดพิธีปลงศพทหาร-ตำรวจที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ปราบกบฏบวรเดช 17 นาย เมื่อปี 2476 ถือเป็นครั้งแรกที่มีการสร้างพระเมรุปลงศพราษฎรบนท้องสนามหลวง </p>
<p>
ชาตรี ประกิตนนทการ
ผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรมยุคคณะราษฎร ให้สัมภาษณ์ในรายการประวัติศาสตร์นอกตำรา ระบุว่า การสร้าง 'พระเมรุของสามัญชน' ใน 'สนามหลวง' ถือเป็นสัญลักษณ์ของการทำลายรูปแบบระบบระเบียบกติกาที่แบ่งแยกชนชั้นผู้คนในสนามหลวง ตัวรูปแบบสถาปัตยธรรมของพระเมรุใช้ เป็นรูปบบสถาปัตยกรรมใหม่ หรือเป็น 'อาร์ตเดโก' (Arts Deco) แบบคณะราษฎร จุดเด่นคือตัวสถาปัตย์พื้นผิวเรียบเกลี้ยง ไม่มีลวดลาย อีกทั้งมีการนำโรงศพของทหารตำรวจ 17 นายมาล้อมรอบ 'พานรัฐธรรมนูญ' ซึ่งไม่มีใครเคยมีการทำมาก่อน </p>
<p>ในปี 2477 ยังมีการงานเฉลิมฉลองที่ให้ราษฎรได้มีส่วนร่วมบนพื้นที่สนามหลวง เช่น การจัดงานฟุตบอลเหล่าทัพ การแข่งขันฟุตบอลประเพณีระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ครั้งแรก การจัดงานฉลองรัฐธรรมนูญเป็นประจำทุกปี การจัดงานประกวดประณีตศิลปกรรม การประกวดนางสาวสยาม และอื่นๆ</p>
<p>"ด้วยลักษณะความหลากหลายของกิจกรรม แชร์การใช้ร่วมกันบางอย่าง ไม่มีใครมีอภิสิทธิ์มากกว่าหรือน้อยกว่า ทุกคนสามารถเข้าใช้พื้นที่นี้ได้ ผมจึงเสนอว่าสนามหลวงจึงเริ่มเปลี่ยนกลายเป็นที่พับลิกสเปซ (พื้นที่สาธารณะ) เพราะฉะนั้น สนามหลวงในฐานะ 'เจ้าของ' หลัง 2475 ก็คือรัฐ …รัฐหลัง 2475 ก็คือประชาชน เพราะฉะนั้น สนามหลวงจึงเป็นพื้นที่ของประชาชน" 
ชาตรี กล่าวในรายการ 'ประวัติศาสตร์นอกตำรา'
</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">จอมพล ป. สมัย 2: จุดเริ่มต้นตลาดนัดสนามหลวง เวทีไฮปาร์ก</span></h2>
<p>ข้อมูลจากรายการประวัติศาสตร์นอกตำรา ระบุต่อว่า หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 2 (พ.ศ. 2490-2500) ประเทศไทยขณะนั้นประสบปัญหาเศรษฐกิจและขาดแคลนอาหารอย่างรุนแรงซึ่งเป็นผลจากสงคราม จอมพล ป. จึงเปิดให้ประชาชนเอาสินค้าเข้ามาขายในท้องสนามหลวง จนได้รับความนิยมมากและพัฒนาเป็น 'ตลาดนัดสนามหลวง' ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ปี 2501</p>
<p>นอกจากเป็นตลาดค้าขายสินค้า สนามหลวงยังเปิดให้ประชาชนเข้ามาไฮปาร์ก (Hype Park) ปราศรัยแสดงออกทางการเมือง จนมีการขนานนามว่าเป็น 'สภาประชาชน' และได้เกิดการดำเนินคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพครั้งแรก โดยผู้ถูกดำเนินคดีคือ สง่า เนื่องนิยม จากกรณีไฮปาร์กกรณีสวรรคตของรัชกาลที่ 8 หรือพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลฯ</p>
<p>อย่างไรก็ตาม เวทีไฮปาร์กสนามหลวงถูกปิดตัวในปี 2499 เนื่องจากรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ไม่พอใจการไฮปาร์กโจมตีคณะรัฐบาล และมีการกล่าวหาว่าสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย หรือ พคท. เข้ามาแทรกแซงการทำกิจกรรมดังกล่าว</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เผาศพสามัญชนครั้งสุดท้ายบนสนามหลวง</span></h2>
<p>ปี 2517 สนามหลวงถูกใช้เป็นสถานที่ปลงศพสามัญชน เป็นครั้งสุดท้าย สืบเนื่องจากการประท้วงของนักศึกษาในเหตุการณ์ 14 ต.ค. 2516 วันนั้นทหารใช้อาวุธสงครามยิงใส่ประชาชนจนมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 77 ราย</p>
<p>ชาตรี เน้นย้ำว่า การปลงศพประชาชนบนท้องสนามหลวงเมื่อ 14 ตุลา ไม่เหมือนกับสมัยคณะราษฎร เนื่องจากเป็นการทำพิธีที่ได้รับอนุญาตจากฝั่งอนุรักษ์นิยม และสถาปัตยกรรมของพระเมรุ แม้ว่าจะมีความเรียบเกลี้ยงเหมือนสมัยคณะราษฎร แต่ก็มีการประยุกต์เอาศิลปะจารีตนิยมเข้ามาใช้ผสมผสานกัน</p>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="autoplay; clipboard-write; encrypted-media; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="true" frameborder="0" height="824" scrolling="no" src="https://www.facebook.com/plugins/post.php?href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2F6tula2519%2Fphotos%2Fa.1206397566085729%2F4591051544286964%2F%3Ftype%3D3&amp;show_text=true&amp;width=500" style="border:none;overflow:hidden" width="500"></iframe></p>
<p>ต่อมา 'สนามหลวง' ยังข้ามผ่านอีกหนึ่งเหตุการณ์ทางการเมืองครั้งสำคัญคือ เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ซึ่งท้องสนามหลวงขณะนั้นกลายเป็นพื้นที่ชุมนุมของกลุ่มอนุรักษ์นิยมที่มาขับไล่นักศึกษาที่ชุมนุมอยู่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วง 14 ตุลา ถึง 6 ตุลา อาจเป็นภาพสะท้อนของการเมืองคณะราษฎรที่อยู่ในยุคถดถอย และการเริ่มเข้าสู่ยุคสนาม 'หวง' มากขึ้น</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/5698/21350538484_1ddf067ae5_c.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">แฟ้มภาพ : ภาพเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 (ภาพโดย 'สวรรค์รัก')</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">สมัย 2520 จุดเริ่มต้นสนามหวง</span></h2>
<p>ชาตรี ให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ "101.world" มองด้วยว่า นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ประชาชนเริ่มห่างหายออกไปจากสนามหลวง เนื่องจากรัฐบาลมีการตั้งคณะกรรมการโครงการกรุงรัตนโกสินทร์ เพื่อรองรับแนวคิดด้านการอนุรักษ์โบราณสถาน เพื่อรองรับงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี มีการขึ้นทะเบียนสนามหลวงเป็น "โบราณสถาน ทุ่งพระเมรุ สนามหลวง" โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 94 ตอนที่ 126 ประกาศเมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2520 โดย เดโช สวนานนท์ อธิบดีกรมศิลปากร ซึ่งมีข้อกำหนดตาม พ.ร.บ.โบราณสถานฯ ระบุว่า คนที่ทำลาย บุกรุกแหล่งโบราณสถาน หรือทำให้เสื่อมค่า ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท </p>
<p>ผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตย์ ยุคคณะราษฎร เสริมว่า นโยบายนี้เป็นจุดสำคัญที่ทำให้ประชาชนเริ่มหายออกไปจากสนามหลวงมากขึ้น ทั้งการย้าย 'ตลาดนัดสนามหลวง' ไปที่ 'จตุจักร' ราวปี 2525 และการย้ายส่วนราชการออกจากรัตนโกสินทร์ชั้นใน</p>
<p>แม้ว่าจะมีระเบียบ พ.ร.บ.โบราณสถานฯ กำกับ แต่หลังรัฐประหาร 2549 สนามหลวงยังคงถูกใช้เป็นพื้นที่การชุมนุมอย่างเข้มข้น เช่น การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพื่อขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และอื่นๆ ชาตรี มองว่าการชุมนุมทางการเมืองบนท้องสนามหลวงช่วงนี้คึกคักกว่าช่วง 14 ตุลา 2516</p>
<div><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/50011876288_8aba0c4d53_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">แฟ้มภาพ: ภาพสนามหลวง เมื่อปี 2563</span></p>
<p>การปรับปรุงภูมิทัศน์สนามหลวง เกิดขึ้นอีกครั้ง หลังจากการสลายการชุมนุม 'คนเสื้อแดง' เมื่อปี 2553 โดยในสมัยของ สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในขณะนั้น มีการล้อมรั้วเหล็กสูง 1.7 เมตร และเปิดช่องให้ประชาชนเข้าใช้พื้นที่ออกกำลังกาย กำหนดเวลาเปิด-ปิด ทั้งที่จากเดิมเปิดตลอด 24 ชั่วโมง </p>
<p>นอกจากนี้ เมื่อ 1 ก.ย. 2555 ผู้ว่าฯ กทม. แก้ไขระเบียบกรุงเทพมหานคร ห้ามใช้สนามหลวงจัดงานที่มีวัตถุประสงค์ทางการเมืองไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ทำให้การเป็นพื้นที่สาธารณะของสนามหลวงสิ้นสุดลง</p>
<p>ทั้งนี้ทั้งนั้น แม้ว่าระเบียบจะห้าม แต่ยังพบการชุมนุมทางการเมืองในพื้นที่สนามหลวงอีกหลายครา บางครั้งปักหลักชุมนุมเป็นเวลาหลักเดือน โดยยังไม่พบข้อมูลการดำเนินคดีในข้อหาบุกรุกโบราณสถาน อาทิ แนวร่วมคนไทยรักชาติรักษาแผ่นดินชุมนุมต่อต้านการพิจารณาคดีปราสาทพระวิหารของศาลโลก และไล่นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อ 7 พ.ค.-12 ก.ค. 2556 กปปส. ชุมนุมต่อต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เมื่อ 24 พ.ย. 2556 และอื่นๆ </p>
<div class="more-story">
<p>ข่าวที่เกี่ยวข้อง</p>
<ul>
<li>จากสนามหลวงสู่สนามหวง: เมื่อการเมืองถูกไล่ออกจากพื้นที่สาธารณะ</li>
</ul>
</div>
<h2><span style="color:#2980b9;">19กันยา 2563 ปฏิบัติการทวงคืนสนามหลวง </span></h2>
<p>หลังเดือน ก.ค. 2563 เป็นต้นมา การชุมนุมของคนรุ่นใหม่ถูกจุดติดขึ้นโดยมีชนวนจากพรรคอนาคตใหม่ นำโดย ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ถูกศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรค และตัดสิทธิ์ทางการเมืองกรรมการบริหารพรรค 10 ปี</p>
<p>เมื่อ 19 ก.ย. 2563 กลุ่มคณะราษฎร (รุ่นใหม่) ซึ่งเป็นกลุ่มนักกิจกรรมนักศึกษาเรียกร้องการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ทันสมัย ได้ใช้พื้นที่ท้องสนามหลวง จัดชุมนุม "ทวงคืนอำนาจราษฎร" โดยไฮไลท์สำคัญคือ อานนท์ นำภา ทนายความ และนักกิจกรรม ได้ประกาศให้สนามหลวง เปลี่ยนชื่อเป็น "สนามราษฎร์" นอกจากนี้ นักกิจกรรมได้ทำพิธีปักหมุดคณะราษฎร และอ่านประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 2</p>
<p>อนึ่ง หลังการชุมนุมสิ้นสุด แกนนำนักกิจกรรมถูกดำเนินคดีในหลายข้อหา และ 1 ในนั้นคือ พ.ร.บ.โบราณสถานฯ โทษจำคุกสูงสุด 10 ปี ซึ่งมีข้อสังเกตด้วยว่า ทางการไม่เคยใช้ข้อหานี้ดำเนินคดีกับผู้ชุมนุมในสนามหลวงมาก่อน แต่กลับมาใช้ดำเนินคดีกับผู้ชุมนุมครั้งนี้</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/50367744101_69d760f7ff_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">แฟ้มภาพ: อานนท์ นำภา เมื่อ 20 ก.ย. 2563</span></p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/50361919907_df573bc5f0_h.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">แฟ้มภาพ: การฝังหมุดคณะราษฎร ที่สนามหลวง ในการชุมนุม 20 ก.ย. 2563</span></p>
<div class="more-story">
<p>ข่าวที่เกี่ยวข้อง</p>
<ul>
<li>ผู้ชุมนุมยื่นข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ต่อตัวแทนประธานองคมนตรี</li>
<li>
<p>นักกิจกรรมเวียน สน.รับทราบข้อหาคดีชุมนุมวันเดียว 4 คดี-2 ดาวดินไม่มาม็อบก็โดนหมายเรียก</p>
</li>
</ul>
</div>
<p>เมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2564 มีการชุมนุม "จำกัดพระราชอำนาจสถาบันพระมหากษัตริย์ และเรียกร้องให้อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ" จัดโดยกลุ่ม 'REDEM' ที่สนามหลวง หรือสนามราษฎร์ วันนั้นผู้สื่อข่าวประชาไท ได้ลงรายงานข่าว และพบว่าแนวคิดของการทำกิจกรรมคือการพยายามทำให้สนามหลวงเป็นสนามราษฎร (อีกครั้ง) เป็นการทำกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์</p>
<p>โดยผู้จัดงานเชิญชวนให้ประชาชนใช้พื้นที่สนามหลวงทำกิจกรรมเหมือนเมื่อสมัยก่อน มีครอบครัวพาลูกมาทำกิจกรรมเล่นสเก็ตบอร์ด มีการแจกว่าวให้ประชาชนเล่นในสนามหลวง คู่ขนานกับการชุมนุมและการปราศรัย แต่อย่างไรก็ตาม การชุมนุมในวันนั้นจบลงด้วยการสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ คฝ. หลังประชาชนพยายามดึงตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้กั้นสนามหลวงลงมา มีรายงานการใช้กำลัง คฝ. พร้อมอุปกรณ์ควบคุมฝูงชนเข้าจับกุม มีการใช้กระสุนยาง และรถฉีดน้ำแรงดันสูง สลายการชุมนุมของประชาชน</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/51055014367_55185e108a_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">แฟ้มภาพ: สนามหลวงเมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2564</span></p>
<div class="more-story">
<p>ข่าวที่เกี่ยวข้อง</p>
<ul>
<li>#ม็อบ20มีนา REDEM ชุมนุมสนามราษฎร ส่งสาสน์ร้องจำกัดอำนาจกษัตริย์และลงมาอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ</li>
<li>คุยกับมนุษย์ #ม็อบ20มีนา ‘จำกัดพระราชอำนาจ’ ที่สนามราษฎร</li>
</ul>
</div>
<p>เมื่อปี 25 มิ.ย. 2566 ชมรม "Immortal Thailand" ขอจัดงาน "รวมพลคน Harley รักในหลวง (Long Live The King 10)" เพื่อจัดงานแปรอักษรโดยใช้มอเตอร์ไซค์ เทิดพระเกียรติรัชกาลที่ 10 ที่สนามหลวง ทั้งนี้ ทางกลุ่มยืนยันว่าเป็นการจัดงานเพื่อเทิดพระเกียรติในหลวง รัชกาลที่ 10 และไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง แต่ สัมฤทธิ์ สุมาลี ผอ.เขตพระนคร ไม่อนุญาตให้ใช้สถานที่ โดยให้เหตุผลว่างานดังกล่าวอยู่นอกเหนือระเบียบกรุงเทพมหานครฯ ข้อ 7 สุดท้ายกลุ่ม Immortal Thailand ได้เปลี่ยนไปจัดกิจกรรมที่ลานคนเมือง หน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (หลังเก่า) แทน</p>
<p>อนึ่ง ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการใช้การบำรุง และการดูแลรักษาพื้นที่ท้องสนามหลวง พ.ศ. 2555 ข้อ 7 ระบุให้ใช้ "พื้นที่ท้องสนามหลวง เพื่อการจัดงานดังนี้ ได้แก่ งานพระราชพิธี งานรัฐพิธี งานประเพณีสำคัญของชาติ โดยหน่วยงานของรัฐ และการจัดการแข่งขันกีฬาไทยประจำปี" แต่ยังอนุญาตให้ประชาชนเข้าไปพักผ่อนหย่อนใจและออกกำลังกาย </p>
<div class="more-story">
<p>ข่าวที่เกี่ยวข้อง</p>
<ul>
<li>'Immortal Thailand' ชาวฮาเล่ย์ฯ แปรอักษร LONG LIVE THE KING แสดงพลังจงรักภักดี</li>
</ul>
</div>
<p>ที่เป็นประเด็นล่าสุดคือเมื่อ 15 ม.ค. 2567 รายงานสื่อหลายสำนัก ระบุมีชาวต่างชาติเข้าไปนอนอาบแดดที่สนามหลวง ซึ่งภายหลังได้ถูกเจ้าหน้าที่เทศกิจ เขตพระนคร เข้าไปตักเตือน และไม่ให้ทำลักษณะดังกล่าวซ้ำ นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่จะมีการติดป้ายประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนเพิ่ม </p>
<p>ปรากฏการณ์ที่หยิบยกขึ้นมาจึงเป็นเครื่องสะท้อนว่าแม้ว่าทางกฎหมายจะไม่ได้ห้ามให้ประชาชนทั่วไปเข้ามาใช้สนามหลวง คือยังออกกำลังกาย และใช้พักผ่อนหย่อนใจได้ แต่ในทางปฏิบัติสนามหลวงกลับกำลังจำกัดการใช้งานของประชาชนมากขึ้นเรื่อยๆ </p>
<p>
ชาตรี
เคยกล่าวในรายการ 'ประวัติศาสตร์นอกตำรา' ให้ความเห็นว่า การออกระเบียบการใช้สนามหลวง ทั้งการห้ามชุมนุมทางการเมือง และการปรับภูมิทัศน์ เป็นนโยบายที่ทำให้สนามหลวงเริ่มกลายเป็นพื้นที่ไร้ชีวิต และกำลังเหลือเพียงแค่เป็นพื้นที่สำหรับจัดงานพระราชพิธี เช่น จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ การถวายพระเพลิงพระบรมศพรัชกาลที่ 9 เมื่อปี 2560 งานเฉลิมพระชมพรรษา หรืองานรัฐพิธี ส่วนความเป็น "ประชาพิธี" หรือการแบ่งปันพื้นที่ร่วมกันระหว่างประชาชน และรัฐ เหือดแห้งลงไป</p>
<h2><font color="#2980b9">เสรีภาพแย่กว่ายุครัตนโกสินทร์ตอนต้น</font></h2>
<p>ชาตรี เคยให้สัมภาษณ์ในเว็บไซต์ 101.world ประเด็นการต่อสู้เพื่อช่วงชิงความหมายและความทรงจำบนพื้นที่สนามหลวง มองว่าเสรีภาพการใช้สนามหลวงของประชาชนแย่กว่าช่วงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 1-4) เนื่องจากหลักฐานในพงศาวดาร ยังระบุว่าแม้ว่าสนามหลวงจะถูกใช้ในพระราชพิธี แต่ก็เปิดโอกาสให้ไพร่ได้ใช้สถานที่ ยามสนามหลวงว่างเว้นจากงานพระราชพิธี</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">การต่อสู้แย่งชิงความหมายความทรงจำจะมีอีก</span></h2>
<p>อาจารย์คณะสถาปัตย์ เสริมในบทสัมภาษณ์ของ 101.world ด้วยว่า การล้อมรั้วและการจำกัดการใช้งานพื้นที่สาธารณะอย่างสนามหลวง ขัดกับมุมมองตามแนวคิดของระบอบประชาธิปไตย พร้อมเผยแนวคิดเรื่อง 'พื้นที่สาธารณะ' ต้องมีด้วยกัน 3 องค์ประกอบ ประกอบด้วย 1. ต้องเป็นของทุกคน 2. สามารถแสดงออกได้อย่างเสรี โดยมีรัฐเป็นผู้ควบคุม ดูแล หรืออำนวยความสะดวก และ 3. เปิดกว้างให้ทุกคนสามารถเข้าใช้ได้อย่างเสมอหน้า หรือหากมีการจำกัด ก็ต้องบังคับใช้อย่างเท่าเทียม ไม่มีการกีดกันอย่างไม่เป็นธรรม โดยถ้าหากขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใด การเป็นพื้นที่สาธารณะก็จะสิ้นสุดลง และ "หมดสิ้นความเป็นประชาธิปไตย" ลงพร้อมๆ กัน</p>
<p>ผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรม ยุคคณะราษฎร มองด้วยว่า ยิ่งรัฐเข้มงวดกับการใช้พื้นที่สาธารณะดังกล่าวก็จะยิ่งเป็นแรงกดดันสะสม และเขาเชื่อว่าการต่อสู้เชิงอุดมการณ์และความหมายจะเกิดขึ้นอีกจนกว่า 'สนามหลวง' จะกลายเป็น 'สนามราษฎร'</p>
<p> </p>
<p><strong>เรียบเรียงจาก</strong></p>
<p>สนามหลวง-สนามราษฎร : พื้นที่ต่อสู้ทางอุดมการณ์และความทรงจำร่วมของประชาชน โดย 101.world เผยแพร่เมื่อ 18 ก.ย. 2563</p>
<p>"สนามหลวง" พื้นที่ชีวิตบนซอกหลืบประวัติศาสตร์ I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.157 โดยช่องยูทูบ ประวัติศาสตร์นอกตำรา เผยแพร่เมื่อ 11 ต.ค. 2565</p>
<p>จากสนามหลวงสู่สนามหวง: เมื่อการเมืองถูกไล่ออกจากพื้นที่สาธารณะ โดย ประชาไท เผยแพร่เมื่อ 2563</p>
<p>"สนามหลวง" โบราณสถานสู่พื้นที่ชุมนุมการเมือง โดย Thai PBS เผยแพร่เมื่อ 18 ก.ย. 2563 </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108165
 
1396  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - ยกย่องพี่วินฮีโร่ ระงับเหตุก๊าซรั่ว-ไฟไหม้ร้านก๋วยเตี๋ยว เฉลยอาชีพเก่า หายสงสั เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2567 03:44:53
ยกย่องพี่วินฮีโร่ ระงับเหตุก๊าซรั่ว-ไฟไหม้ร้านก๋วยเตี๋ยว เฉลยอาชีพเก่า หายสงสัยทำไมเก่งจัง
         


ยกย่องพี่วินฮีโร่ ระงับเหตุก๊าซรั่ว-ไฟไหม้ร้านก๋วยเตี๋ยว เฉลยอาชีพเก่า หายสงสัยทำไมเก่งจัง" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;ยกย่องพี่วินฮีโร่ ช่วยเหลือเหตุก๊าซรั่ว-ไฟไหม้ร้านก๋วยเตี๋ยว วิ่งเข้ามาอย่างกล้าหาญ ระงับเหตุตรงจุด เจ้าตัวเฉลยอาชีพเก่า  
         

https://www.sanook.com/news/9252182/
         
1397  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [การเมือง] - "ฮุนเซน" โพสต์รูปคู่ "ทักษิณ" รำลึกมิตรภาพ 32 ปี แง้มชวน "อุ๊งอิ๊ง" เยือนกัม เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2567 03:35:18
"ฮุนเซน" โพสต์รูปคู่ "ทักษิณ" รำลึกมิตรภาพ 32 ปี แง้มชวน "อุ๊งอิ๊ง" เยือนกัมพูชาเดือนหน้า
         


&quot;ฮุนเซน&quot; โพสต์รูปคู่ &quot;ทักษิณ&quot; รำลึกมิตรภาพ 32 ปี แง้มชวน &quot;อุ๊งอิ๊ง&quot; เยือนกัมพูชาเดือนหน้า" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;"ฮุนเซน" โพสต์ภาพนั่งเคียงข้าง "ทักษิณ" รำลึกมิตรภาพพี่-น้อง 32 ปี แง้มชวน "อุ๊งอิ๊ง" เยือนกัมพูชาเดือนหน้า


         

https://www.sanook.com/news/9250462/
         
1398  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - 4 ยุคสมัยของการใช้พื้นที่ 'สนามหลวง' 'สนามราษฎร' และการช่วงชิงความหมาย เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2567 02:28:16
4 ยุคสมัยของการใช้พื้นที่ 'สนามหลวง' 'สนามราษฎร' และการช่วงชิงความหมาย
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2024-02-21 20:55</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>กราฟิก: กิตติยา อรอินทร์</p>
<p>รายงาน: ณัฐพล เมฆโสภณ</p>
<p>แก้ไขเมื่อ 22 ก.พ. 2567 เวลา 01.21 น.</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ย้อนประวัติศาสตร์การใช้พื้นที่ 'สนามหลวง' 4 ยุค คือ ยุคสถาปนากรุงเทพฯ ในชื่อ 'ทุ่งพระเมรุ' ยุครัชกาลที่ 5 ครั้งแรกของเปิดให้ประชาชนใช้พื้นที่ ยุคสนามราษฎร และยุคสนามหวงและการช่วงชิงความหมาย</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53543250518_d25379a440_b.jpg" /></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">สมัยทุ่งพระเมรุ รัชกาลที่ 1-4 </span></h2>
<p>รายการประวัติศาสตร์นอกตำรา ตอน ""สนามหลวง" พื้นที่ชีวิตบนซอกหลืบประวัติศาสตร์" ตอนที่ 157 ออกอากาศเมื่อ 11 ต.ค. 2565 ผ่านช่องทางยูทูบ ได้มีการนำเสนอประวัติศาสตร์ และพลวัตรการใช้พื้นที่สนามหลวง ตั้งแต่ยุคการก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ ยุครัชกาลที่ 5 ยุคคณะราษฎร และปัจจุบัน </p>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="" frameborder="0" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/63YG8lJv1yk?si=IopO7go8koCQza8c" title="YouTube video player" width="560"></iframe></p>
<p>ประวัติโดยคร่าวของ 'สนามหลวง' ถูกสร้างขึ้นพร้อมการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เมื่อ พ.ศ. 2325 ขนาดปัจจุบัน 74 ไร่ 63 ตารางวา ตั้งอยู่ทิศเหนือของพระบรมมหาราชวัง หรือวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) สนามหลวงสมัยก่อนไม่เหมือนกับปัจจุบัน เพราะมีขนาดเล็กกว่าครึ่งหนึ่ง และไม่ได้เป็นลักษณะ 'วงรี' รูปไข่ แต่เป็นลักษณะรูปร่างสี่เหลี่ยมคางหมู ทางด้านทิศเหนือของสนามหลวง เคยเป็นพื้นที่ของวังหน้า หรือพระราชวังบวรสถานมงคล เหตุที่ทราบนั้นเพราะมีการขุดค้นพบกระสุนปืนใหญ่ และปืนใหญ่จำนวนมาก</p>
<p>ธงทอง จันทรางศุ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ระบุในรายการ 'ประวัติศาสตร์นอกตำรา' ว่า สันนิษฐานว่า การสร้างสนามหลวงน่าจะได้รับอิทธิพลรูปแบบมาจาก "สนามหน้าจักรวรรดิ" พระราชวังหลวงกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 1893-2310) เพื่อทำพิธีพระเมรุ และอื่นๆ  ทำให้ ‘สนามหลวง’ แต่เดิมเป็นพื้นที่สำหรับประกอบพระราชพิธีที่สืบทอดมาจากสมัยอยุธยา นอกจากนี้ ด้วยความที่สนามหลวงถูกใช้ในงานออกพระเมรุของสถาบันพระมหากษัตริย์ และชนชั้นสูง ทำให้หลายคนรู้จักสนามหลวงในชื่อ "ทุ่งพระเมรุ" ทีนี้ก็มีคำถามต่อว่า ถ้าเป็นศพของไพร่เขาจะทำอย่างไร รายการประวัติศาสตร์นอกตำรา ระบุว่า เขาจะเอาศพไพร่ออกทางด้านประตูผี (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น 'สำราญราษฎร์') และนำไปทำพิธีฌาปนกิจที่วัดสระเกศ</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">รัชกาลที่ 5 ครั้งแรกที่เปิดให้ประชาชนใช้</span></h2>
<p>เวลาผ่านไปจนปี พ.ศ. 2398 รัชกาลที่ 5 หรือสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการเปลี่ยนชื่อจากเดิม "ทุ่งพระเมรุ" เป็น "ท้องสนามหลวง" เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้ทำกิจกรรมและพระราชพิธีมากยิ่งขึ้นกว่าสมัยก่อน และชื่อ 'ทุ่งพระเมรุ' ไม่เป็นมงคล โดยมีบันทึกว่า หากใครฝ่าฝืนเรียกท้องสนามหลวงว่า "ทุ่งพระเมรุ" จะถูกตำรวจจับ และปรับสินไหม เพื่อเป็นการลงโทษ</p>
<p>ปี พ.ศ. 2428 ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้สนามหลวงมีการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพ โดยรัชกาลที่ 5 มีคำสั่งยกเลิกตำแหน่งมหาอุปราชวังหน้า และมีการลดพื้นที่เขตวังหน้าลง โดยการรื้อกำแพงพระราชวังบวรด้านเหนือออก ประจวบเหมาะกับรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งขณะนั้นอยู่ภายใต้อาณานิคมของ เนเธอร์แลนด์ สมเด็จพระจุลจอมเกล้าประทับใจสวนอลุน-อลุน หน้าพระราชวังสุลต่าน เมืองยอร์กจาการ์ตา จึงนำมาปรับปรุงพื้นที่ท้องสนามหลวง โดยมีการขยายพื้นที่เป็นสนามวงรีอย่างที่เห็นปัจจุบัน และนำต้นมะขามมาปลูกตกแต่งรอบๆ</p>
<p>ช่วงเวลานี้มีความเปลี่ยนแปลงเรื่องการใช้งานสนามหลวง โดยรัชกาลที่ 5 ได้เปลี่ยนจากแต่เดิมถูกใช้เพื่องานในพระราชพิธี ให้มีการใช้เป็นลานกิจกรรมสำหรับเจ้าขุนมูลนาย และประชาชนในบางโอกาส หนึ่งในกิจกรรมที่ประชาชนนิยมเล่นในสนามหลวงคือการเล่นว่าว ได้รับความนิยมจนมีประเพณีแข่งเล่นว่าวระหว่างว่าวจุฬา และว่าวปักเป้า ความนิยมของการเล่นว่าวสะท้อนผ่านกฎหมาย และคำเตือนถึงประชาชนว่า ระวังสายป่านว่าวไปเกี่ยวพันตัวอาคารหรือยอดปราสาท </p>
<p>"นี่อาจเป็นภาพของพื้นที่สาธารณะยุคแรกเริ่มที่อนุญาตให้สามัญชน เข้าใช้ท้องสนามหลวงในบางโอกาสได้ โดยไม่จำกัดเพียงสถานะของการเป็นมณฑลของการประกอบพระราชพิธี อย่างที่เคยเข้าใจ และจดจำกันเรื่อยมา" ผู้บรรยายรายการ "ประวัติศาสตร์นอกตำรา" ระบุ</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53543359569_a7fef54a00_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">แฟ้มภาพ การแข่งขันว่าวในสมัยรัชกาลที่ 5 (ที่มา: </span><span style="color:#d35400;">สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ</span><span style="color:#d35400;">)</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">สู่ 'สนามราษฎร' สมัยปฏิวัติ 2475 </span></h2>
<p>24 มิ.ย. 2475 กลุ่ม 'คณะราษฎร' ทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ไปสู่ระบอบ 'ประชาธิปไตย' และได้ทำการเปลี่ยนจาก 'สนามหลวง' เป็น 'สนามราษฎร'</p>
<p>สนามหลวงในฐานะพื้นที่สาธารณะ หรือสนามราษฎร เริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงนี้หลังจากรัฐบาลนำโดย พระยาพหลพลพยุหเสนา ปีกทหารของคณะราษฎร จัดพิธีปลงศพทหาร-ตำรวจที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ปราบกบฏบวรเดช 17 นาย เมื่อปี 2476 ถือเป็นครั้งแรกที่มีการสร้างพระเมรุปลงศพราษฎรบนท้องสนามหลวง </p>
<p>
ชาตรี ประกิตนนทการ
ผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรมยุคคณะราษฎร ให้สัมภาษณ์ในรายการประวัติศาสตร์นอกตำรา ระบุว่า การสร้าง 'พระเมรุของสามัญชน' ใน 'สนามหลวง' ถือเป็นสัญลักษณ์ของการทำลายรูปแบบระบบระเบียบกติกาที่แบ่งแยกชนชั้นผู้คนในสนามหลวง ตัวรูปแบบสถาปัตยธรรมของพระเมรุใช้ เป็นรูปบบสถาปัตยกรรมใหม่ หรือเป็น 'อาร์ตเดโก' (Arts Deco) แบบคณะราษฎร จุดเด่นคือตัวสถาปัตย์พื้นผิวเรียบเกลี้ยง ไม่มีลวดลาย อีกทั้งมีการนำโรงศพของทหารตำรวจ 17 นายมาล้อมรอบ 'พานรัฐธรรมนูญ' ซึ่งไม่มีใครเคยมีการทำมาก่อน </p>
<p>ในปี 2477 ยังมีการงานเฉลิมฉลองที่ให้ราษฎรได้มีส่วนร่วมบนพื้นที่สนามหลวง เช่น การจัดงานฟุตบอลเหล่าทัพ การแข่งขันฟุตบอลประเพณีระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ครั้งแรก การจัดงานฉลองรัฐธรรมนูญเป็นประจำทุกปี การจัดงานประกวดประณีตศิลปกรรม การประกวดนางสาวสยาม และอื่นๆ</p>
<p>"ด้วยลักษณะความหลากหลายของกิจกรรม แชร์การใช้ร่วมกันบางอย่าง ไม่มีใครมีอภิสิทธิ์มากกว่าหรือน้อยกว่า ทุกคนสามารถเข้าใช้พื้นที่นี้ได้ ผมจึงเสนอว่าสนามหลวงจึงเริ่มเปลี่ยนกลายเป็นที่พับลิกสเปซ (พื้นที่สาธารณะ) เพราะฉะนั้น สนามหลวงในฐานะ 'เจ้าของ' หลัง 2475 ก็คือรัฐ …รัฐหลัง 2475 ก็คือประชาชน เพราะฉะนั้น สนามหลวงจึงเป็นพื้นที่ของประชาชน" 
ชาตรี กล่าวในรายการ 'ประวัติศาสตร์นอกตำรา'
</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">จอมพล ป. สมัย 2: จุดเริ่มต้นตลาดนัดสนามหลวง เวทีไฮปาร์ก</span></h2>
<p>ข้อมูลจากรายการประวัติศาสตร์นอกตำรา ระบุต่อว่า หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 2 (พ.ศ. 2490-2500) ประเทศไทยขณะนั้นประสบปัญหาเศรษฐกิจและขาดแคลนอาหารอย่างรุนแรงซึ่งเป็นผลจากสงคราม จอมพล ป. จึงเปิดให้ประชาชนเอาสินค้าเข้ามาขายในท้องสนามหลวง จนได้รับความนิยมมากและพัฒนาเป็น 'ตลาดนัดสนามหลวง' ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ปี 2501</p>
<p>นอกจากเป็นตลาดค้าขายสินค้า สนามหลวงยังเปิดให้ประชาชนเข้ามาไฮปาร์ก (Hype Park) ปราศรัยแสดงออกทางการเมือง จนมีการขนานนามว่าเป็น 'สภาประชาชน' และได้เกิดการดำเนินคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพครั้งแรก โดยผู้ถูกดำเนินคดีคือ สง่า เนื่องนิยม จากกรณีไฮปาร์กกรณีสวรรคตของรัชกาลที่ 8 หรือพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลฯ</p>
<p>อย่างไรก็ตาม เวทีไฮปาร์กสนามหลวงถูกปิดตัวในปี 2499 เนื่องจากรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ไม่พอใจการไฮปาร์กโจมตีคณะรัฐบาล และมีการกล่าวหาว่าสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย หรือ พคท. เข้ามาแทรกแซงการทำกิจกรรมดังกล่าว</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เผาศพสามัญชนครั้งสุดท้ายบนสนามหลวง</span></h2>
<p>ปี 2517 สนามหลวงถูกใช้เป็นสถานที่ปลงศพสามัญชน เป็นครั้งสุดท้าย สืบเนื่องจากการประท้วงของนักศึกษาในเหตุการณ์ 14 ต.ค. 2516 วันนั้นทหารใช้อาวุธสงครามยิงใส่ประชาชนจนมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 77 ราย</p>
<p>ชาตรี เน้นย้ำว่า การปลงศพประชาชนบนท้องสนามหลวงเมื่อ 14 ตุลา ไม่เหมือนกับสมัยคณะราษฎร เนื่องจากเป็นการทำพิธีที่ได้รับอนุญาตจากฝั่งอนุรักษ์นิยม และสถาปัตยกรรมของพระเมรุ แม้ว่าจะมีความเรียบเกลี้ยงเหมือนสมัยคณะราษฎร แต่ก็มีการประยุกต์เอาศิลปะจารีตนิยมเข้ามาใช้ผสมผสานกัน</p>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="autoplay; clipboard-write; encrypted-media; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="true" frameborder="0" height="824" scrolling="no" src="https://www.facebook.com/plugins/post.php?href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2F6tula2519%2Fphotos%2Fa.1206397566085729%2F4591051544286964%2F%3Ftype%3D3&amp;show_text=true&amp;width=500" style="border:none;overflow:hidden" width="500"></iframe></p>
<p>ต่อมา 'สนามหลวง' ยังข้ามผ่านอีกหนึ่งเหตุการณ์ทางการเมืองครั้งสำคัญคือ เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ซึ่งท้องสนามหลวงขณะนั้นกลายเป็นพื้นที่ชุมนุมของกลุ่มอนุรักษ์นิยมที่มาขับไล่นักศึกษาที่ชุมนุมอยู่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วง 14 ตุลา ถึง 6 ตุลา อาจเป็นภาพสะท้อนของการเมืองคณะราษฎรที่อยู่ในยุคถดถอย และการเริ่มเข้าสู่ยุคสนาม 'หวง' มากขึ้น</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/5698/21350538484_1ddf067ae5_c.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">แฟ้มภาพ : ภาพเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 (ภาพโดย 'สวรรค์รัก')</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">สมัย 2520 จุดเริ่มต้นสนามหวง</span></h2>
<p>ชาตรี ให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ "101.world" มองด้วยว่า นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ประชาชนเริ่มห่างหายออกไปจากสนามหลวง เนื่องจากรัฐบาลมีการตั้งคณะกรรมการโครงการกรุงรัตนโกสินทร์ เพื่อรองรับแนวคิดด้านการอนุรักษ์โบราณสถาน เพื่อรองรับงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี มีการขึ้นทะเบียนสนามหลวงเป็น "โบราณสถาน ทุ่งพระเมรุ สนามหลวง" โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 94 ตอนที่ 126 ประกาศเมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2520 โดย เดโช สวนานนท์ อธิบดีกรมศิลปากร ซึ่งมีข้อกำหนดตาม พ.ร.บ.โบราณสถานฯ ระบุว่า คนที่ทำลาย บุกรุกแหล่งโบราณสถาน หรือทำให้เสื่อมค่า ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท </p>
<p>ผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตย์ ยุคคณะราษฎร เสริมว่า นโยบายนี้เป็นจุดสำคัญที่ทำให้ประชาชนเริ่มหายออกไปจากสนามหลวงมากขึ้น ทั้งการย้าย 'ตลาดนัดสนามหลวง' ไปที่ 'จตุจักร' ราวปี 2525 และการย้ายส่วนราชการออกจากรัตนโกสินทร์ชั้นใน</p>
<p>แม้ว่าจะมีระเบียบ พ.ร.บ.โบราณสถานฯ กำกับ แต่หลังรัฐประหาร 2549 สนามหลวงยังคงถูกใช้เป็นพื้นที่การชุมนุมอย่างเข้มข้น เช่น การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพื่อขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และอื่นๆ ชาตรี มองว่าการชุมนุมทางการเมืองบนท้องสนามหลวงช่วงนี้คึกคักกว่าช่วง 14 ตุลา 2516</p>
<div><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/50011876288_8aba0c4d53_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">แฟ้มภาพ: ภาพสนามหลวง เมื่อปี 2563</span></p>
<p>การปรับปรุงภูมิทัศน์สนามหลวง เกิดขึ้นอีกครั้ง หลังจากการสลายการชุมนุม 'คนเสื้อแดง' เมื่อปี 2553 โดยในสมัยของ สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในขณะนั้น มีการล้อมรั้วเหล็กสูง 1.7 เมตร และเปิดช่องให้ประชาชนเข้าใช้พื้นที่ออกกำลังกาย กำหนดเวลาเปิด-ปิด ทั้งที่จากเดิมเปิดตลอด 24 ชั่วโมง </p>
<p>นอกจากนี้ เมื่อ 1 ก.ย. 2555 ผู้ว่าฯ กทม. แก้ไขระเบียบกรุงเทพมหานคร ห้ามใช้สนามหลวงจัดงานที่มีวัตถุประสงค์ทางการเมืองไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ทำให้การเป็นพื้นที่สาธารณะของสนามหลวงสิ้นสุดลง</p>
<p>ทั้งนี้ทั้งนั้น แม้ว่าระเบียบจะห้าม แต่ยังพบการชุมนุมทางการเมืองในพื้นที่สนามหลวงอีกหลายครา บางครั้งปักหลักชุมนุมเป็นเวลาหลักเดือน โดยยังไม่พบข้อมูลการดำเนินคดีในข้อหาบุกรุกโบราณสถาน อาทิ แนวร่วมคนไทยรักชาติรักษาแผ่นดินชุมนุมต่อต้านการพิจารณาคดีปราสาทพระวิหารของศาลโลก และไล่นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อ 7 พ.ค.-12 ก.ค. 2556 กปปส. ชุมนุมต่อต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เมื่อ 24 พ.ย. 2556 และอื่นๆ </p>
<div class="more-story">
<p>ข่าวที่เกี่ยวข้อง</p>
<ul>
<li>จากสนามหลวงสู่สนามหวง: เมื่อการเมืองถูกไล่ออกจากพื้นที่สาธารณะ</li>
</ul>
</div>
<h2><span style="color:#2980b9;">19กันยา 2563 ปฏิบัติการทวงคืนสนามหลวง </span></h2>
<p>หลังเดือน ก.ค. 2563 เป็นต้นมา การชุมนุมของคนรุ่นใหม่ถูกจุดติดขึ้นโดยมีชนวนจากพรรคอนาคตใหม่ นำโดย ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ถูกศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรค และตัดสิทธิ์ทางการเมืองกรรมการบริหารพรรค 10 ปี</p>
<p>เมื่อ 19 ก.ย. 2563 กลุ่มคณะราษฎร (รุ่นใหม่) ซึ่งเป็นกลุ่มนักกิจกรรมนักศึกษาเรียกร้องการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ทันสมัย ได้ใช้พื้นที่ท้องสนามหลวง จัดชุมนุม "ทวงคืนอำนาจราษฎร" โดยไฮไลท์สำคัญคือ อานนท์ นำภา ทนายความ และนักกิจกรรม ได้ประกาศให้สนามหลวง เปลี่ยนชื่อเป็น "สนามราษฎร์" นอกจากนี้ นักกิจกรรมได้ทำพิธีปักหมุดคณะราษฎร และอ่านประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 2</p>
<p>อนึ่ง หลังการชุมนุมสิ้นสุด แกนนำนักกิจกรรมถูกดำเนินคดีในหลายข้อหา และ 1 ในนั้นคือ พ.ร.บ.โบราณสถานฯ โทษจำคุกสูงสุด 10 ปี ซึ่งมีข้อสังเกตด้วยว่า ทางการไม่เคยใช้ข้อหานี้ดำเนินคดีกับผู้ชุมนุมในสนามหลวงมาก่อน แต่กลับมาใช้ดำเนินคดีกับผู้ชุมนุมครั้งนี้</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/50367744101_69d760f7ff_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">แฟ้มภาพ: อานนท์ นำภา เมื่อ 20 ก.ย. 2563</span></p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/50361919907_df573bc5f0_h.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">แฟ้มภาพ: การฝังหมุดคณะราษฎร ที่สนามหลวง ในการชุมนุม 20 ก.ย. 2563</span></p>
<div class="more-story">
<p>ข่าวที่เกี่ยวข้อง</p>
<ul>
<li>ผู้ชุมนุมยื่นข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ต่อตัวแทนประธานองคมนตรี</li>
<li>
<p>นักกิจกรรมเวียน สน.รับทราบข้อหาคดีชุมนุมวันเดียว 4 คดี-2 ดาวดินไม่มาม็อบก็โดนหมายเรียก</p>
</li>
</ul>
</div>
<p>เมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2564 มีการชุมนุม "จำกัดพระราชอำนาจสถาบันพระมหากษัตริย์ และเรียกร้องให้อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ" จัดโดยกลุ่ม 'REDEM' ที่สนามหลวง หรือสนามราษฎร์ วันนั้นผู้สื่อข่าวประชาไท ได้ลงรายงานข่าว และพบว่าแนวคิดของการทำกิจกรรมคือการพยายามทำให้สนามหลวงเป็นสนามราษฎร (อีกครั้ง) เป็นการทำกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์</p>
<p>โดยผู้จัดงานเชิญชวนให้ประชาชนใช้พื้นที่สนามหลวงทำกิจกรรมเหมือนเมื่อสมัยก่อน มีครอบครัวพาลูกมาทำกิจกรรมเล่นสเก็ตบอร์ด มีการแจกว่าวให้ประชาชนเล่นในสนามหลวง คู่ขนานกับการชุมนุมและการปราศรัย แต่อย่างไรก็ตาม การชุมนุมในวันนั้นจบลงด้วยการสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ คฝ. หลังประชาชนพยายามดึงตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้กั้นสนามหลวงลงมา มีรายงานการใช้กำลัง คฝ. พร้อมอุปกรณ์ควบคุมฝูงชนเข้าจับกุม มีการใช้กระสุนยาง และรถฉีดน้ำแรงดันสูง สลายการชุมนุมของประชาชน</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/51055014367_55185e108a_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">แฟ้มภาพ: สนามหลวงเมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2564</span></p>
<div class="more-story">
<p>ข่าวที่เกี่ยวข้อง</p>
<ul>
<li>#ม็อบ20มีนา REDEM ชุมนุมสนามราษฎร ส่งสาสน์ร้องจำกัดอำนาจกษัตริย์และลงมาอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ</li>
<li>คุยกับมนุษย์ #ม็อบ20มีนา ‘จำกัดพระราชอำนาจ’ ที่สนามราษฎร</li>
</ul>
</div>
<p>เมื่อปี 25 มิ.ย. 2566 ชมรม "Immortal Thailand" ขอจัดงาน "รวมพลคน Harley รักในหลวง (Long Live The King 10)" เพื่อจัดงานแปรอักษรโดยใช้มอเตอร์ไซค์ เทิดพระเกียรติรัชกาลที่ 10 ที่สนามหลวง โดยทางกลุ่มยืนยันว่าเป็นการจัดงานเพื่อเทิดพระเกียรติในหลวง รัชกาลที่ 10 และไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง แต่ สัมฤทธิ์ สุมาลี ผอ.เขตพระนคร ไม่อนุญาตให้ใช้สถานที่ โดยให้เหตุผลว่างานดังกล่าวอยู่นอกเหนือระเบียบกรุงเทพมหานครฯ ข้อ 7 สุดท้ายได้เปลี่ยนไปจัดที่ลานคนเมือง หน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (หลังเก่า)</p>
<p>อนึ่ง ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการใช้การบำรุง และการดูแลรักษาพื้นที่ท้องสนามหลวง พ.ศ. 2555 ข้อ 7 ระบุให้ใช้ "พื้นที่ท้องสนามหลวง เพื่อการจัดงานดังนี้ ได้แก่ งานพระราชพิธี งานรัฐพิธี งานประเพณีสำคัญของชาติ โดยหน่วยงานของรัฐ และการจัดการแข่งขันกีฬาไทยประจำปี" แต่ยังอนุญาตให้ประชาชนเข้าไปพักผ่อนหย่อนใจและออกกำลังกาย </p>
<div class="more-story">
<p>ข่าวที่เกี่ยวข้อง</p>
<ul>
<li>'Immortal Thailand' ชาวฮาเล่ย์ฯ แปรอักษร LONG LIVE THE KING แสดงพลังจงรักภักดี</li>
</ul>
</div>
<p>ที่เป็นประเด็นล่าสุดคือเมื่อ 15 ม.ค. 2567 รายงานสื่อหลายสำนัก ระบุมีชาวต่างชาติเข้าไปนอนอาบแดดที่สนามหลวง ซึ่งภายหลังได้ถูกเจ้าหน้าที่เทศกิจ เขตพระนคร เข้าไปตักเตือน และไม่ให้ทำลักษณะดังกล่าวซ้ำ นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่จะมีการติดป้ายประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนเพิ่ม </p>
<p>ปรากฏการณ์ที่หยิบยกขึ้นมาจึงเป็นเครื่องสะท้อนว่าแม้ว่าทางกฎหมายจะไม่ได้ห้ามให้ประชาชนทั่วไปเข้ามาใช้สนามหลวง คือยังออกกำลังกาย และใช้พักผ่อนหย่อนใจได้ แต่ในทางปฏิบัติสนามหลวงกลับกำลังจำกัดการใช้งานของประชาชนมากขึ้นเรื่อยๆ </p>
<p>
ชาตรี
เคยกล่าวในรายการ 'ประวัติศาสตร์นอกตำรา' ให้ความเห็นว่า การออกระเบียบการใช้สนามหลวง ทั้งการห้ามชุมนุมทางการเมือง และการปรับภูมิทัศน์ เป็นนโยบายที่ทำให้สนามหลวงเริ่มกลายเป็นพื้นที่ไร้ชีวิต และกำลังเหลือเพียงแค่เป็นพื้นที่สำหรับจัดงานพระราชพิธี เช่น จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ การถวายพระเพลิงพระบรมศพรัชกาลที่ 9 เมื่อปี 2560 งานเฉลิมพระชมพรรษา หรืองานรัฐพิธี ส่วนความเป็น "ประชาพิธี" หรือการแบ่งปันพื้นที่ร่วมกันระหว่างประชาชน และรัฐ เหือดแห้งลงไป</p>
<h2><font color="#2980b9">เสรีภาพแย่ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น</font></h2>
<p>ชาตรี เคยให้สัมภาษณ์ในเว็บไซต์ 101.world ประเด็นการต่อสู้เพื่อช่วงชิงความหมายและความทรงจำบนพื้นที่สนามหลวง มองว่าเสรีภาพการใช้สนามหลวงของประชาชนแย่กว่าช่วงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 1-4) เนื่องจากหลักฐานในพงศาวดาร ยังระบุว่าแม้ว่าสนามหลวงจะถูกใช้ในพระราชพิธี แต่ก็เปิดโอกาสให้ไพร่ได้ใช้สถานที่ ยามสนามหลวงว่างเว้นจากงานพระราชพิธี</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">การต่อสู้แย่งชิงความหมายความทรงจำจะมีอีก</span></h2>
<p>อาจารย์คณะสถาปัตย์ เสริมในบทสัมภาษณ์ของ 101.world ด้วยว่า การล้อมรั้วและการจำกัดการใช้งานพื้นที่สาธารณะอย่างสนามหลวง ขัดกับมุมมองตามแนวคิดของระบอบประชาธิปไตย พร้อมเผยแนวคิดเรื่อง 'พื้นที่สาธารณะ' ต้องมีด้วยกัน 3 องค์ประกอบ ประกอบด้วย 1. ต้องเป็นของทุกคน 2. สามารถแสดงออกได้อย่างเสรี โดยมีรัฐเป็นผู้ควบคุม ดูแล หรืออำนวยความสะดวก และ 3. เปิดกว้างให้ทุกคนสามารถเข้าใช้ได้อย่างเสมอหน้า หรือหากมีการจำกัด ก็ต้องบังคับใช้อย่างเท่าเทียม ไม่มีการกีดกันอย่างไม่เป็นธรรม โดยถ้าหากขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใด การเป็นพื้นที่สาธารณะก็จะสิ้นสุดลง และ "หมดสิ้นความเป็นประชาธิปไตย" ลงพร้อมๆ กัน</p>
<p>ผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรม ยุคคณะราษฎร มองด้วยว่า ยิ่งรัฐเข้มงวดกับการใช้พื้นที่สาธารณะดังกล่าวก็จะยิ่งเป็นแรงกดดันสะสม และเขาเชื่อว่าการต่อสู้เชิงอุดมการณ์และความหมายจะเกิดขึ้นอีกจนกว่า 'สนามหลวง' จะกลายเป็น 'สนามราษฎร'</p>
<p> </p>
<p><strong>เรียบเรียงจาก</strong></p>
<p>สนามหลวง-สนามราษฎร : พื้นที่ต่อสู้ทางอุดมการณ์และความทรงจำร่วมของประชาชน โดย 101.world เผยแพร่เมื่อ 18 ก.ย. 2563</p>
<p>"สนามหลวง" พื้นที่ชีวิตบนซอกหลืบประวัติศาสตร์ I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.157 โดยช่องยูทูบ ประวัติศาสตร์นอกตำรา เผยแพร่เมื่อ 11 ต.ค. 2565</p>
<p>จากสนามหลวงสู่สนามหวง: เมื่อการเมืองถูกไล่ออกจากพื้นที่สาธารณะ โดย ประชาไท เผยแพร่เมื่อ 2563</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108165
 
1399  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - รีวิวห้องครัวสุดครีเอต ลูกอยากได้โล่งๆ แม่ขอแบบมิดชิด สุดท้ายจบที่ประตู 10 บาน! เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2567 01:07:56
รีวิวห้องครัวสุดครีเอต ลูกอยากได้โล่งๆ แม่ขอแบบมิดชิด สุดท้ายจบที่ประตู 10 บาน!
         


รีวิวห้องครัวสุดครีเอต ลูกอยากได้โล่งๆ แม่ขอแบบมิดชิด สุดท้ายจบที่ประตู 10 บาน!" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;ชาวเน็ตตะลึง ลูกอยากได้ครัวโล่งๆ แม่ขอแบบมิดชิด สุดท้ายจบปัญหาความเห็นไม่ตรงกันด้วยการติดประตู 10 บาน!
         

https://www.sanook.com/news/9251498/
         
1400  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - สส.ก้าวไกล แถลงค้านร่างแก้ไข พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับ ก.แรงงาน ชี้ตั้งใจล้มเลือกตั้ เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2567 00:38:35
สส.ก้าวไกล แถลงค้านร่างแก้ไข พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับ ก.แรงงาน ชี้ตั้งใจล้มเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2024-02-21 20:06</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>'เซีย' นำทีม สส. ก้าวไกล แถลงค้านร่างแก้ไข พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับกระทรวงแรงงาน ชี้ตั้งใจซ่อนเนื้อร้าย ล้มเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม หวัง ครม. ปกป้องกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน กติกาเดินหน้ามาไกล อย่าดึงถอยหลัง</p>
<p> </p>
<p>21 ก.พ. 2567 ทีมสื่อพรรคก้าวไกล รายงานต่อสื่อมวลชนว่า วันนี้ (21 ก.พ.) ที่รัฐสภา เซีย จำปาทอง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล นำทีม สส.ก้าวไกล แถลงข่าวคัดค้านกรณีกระทรวงแรงงานเสนอร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม ยกเลิกความใน พ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 มาตรา 8 วรรค 3 ที่กำหนดให้ผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตน มาจากการเลือกตั้ง โดยคาดว่าจะบรรจุในวาระ ครม. เพื่อพิจารณาเร็วๆ นี้</p>
<p>เซียกล่าวว่าการเสนอร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับใหม่นี้ เป็นการ “ซ่อนเนื้อร้าย” ทำลายกระบวนการการมีส่วนร่วมของผู้ประกันตนในการเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม เนื่องจากมีการแก้ไขจากฉบับเดิมหลายมาตรา รวมถึงแก้ไขที่มาของคณะกรรมการประกันสังคมฝ่ายผู้ประกันตนและนายจ้าง หรือ บอร์ดประกันสังคม ตนในฐานะผู้แทนสัดส่วนผู้ใช้แรงงานและพรรคก้าวไกล ขอคัดค้านและแสดงความไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ที่มีการแก้ไขที่มาของบอร์ดประกันสังคม จากเดิมมาจากการเลือกตั้งของผู้ประกันตนโดยตรง 1 ผู้ประกันตน 1 สิทธิ เปลี่ยนเป็น “หลักเกณฑ์และวิธีการได้มาซึ่งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตน ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด  โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี” </p>
<p>ในอดีตการเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม มาจากการเลือกตั้งของผู้แทนสหภาพแรงงาน 1 สหภาพแรงงานมี  1 เสียง  ไม่ว่าสหภาพแรงงานจะมีสมาชิก 5,000 คน หรือมีสมาชิก 50 คน ก็มี 1 เสียงเท่ากัน ซึ่งแนวทางดังกล่าวไม่สอดคล้องกับกระบวนการการมีส่วนร่วมของพี่น้องแรงงาน เนื่องจากประเทศไทยมีสภาพเพียง 1,400 แห่งเท่านั้น ซึ่งถือว่าน้อยมาก  และผู้ประกันตนที่อยู่ในสถานประกอบการเหล่านั้น ไม่ได้มีสิทธิมีเสียงใด ทั้งที่ต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนประกันสังคมทุก ๆ เดือน </p>
<p>ทำให้ที่ผ่านมาแรงงานจำนวนมากพยายามเสนอให้มีการเลือกตั้งโดยตรงจากผู้ประกันตน คือ 1 ผู้ประกันตน 1 สิทธิ จนเมื่อมีการทำรัฐประหารปี 2557 พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 40/2558 เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2558 แต่งตั้งคณะกรรมการประกันสังคมแทนชุดเดิมที่มาจากการเลือกตั้งโดยผู้แทนสหภาพแรงงาน </p>
<p>เซียกล่าวต่อว่า ตนเป็นหนึ่งในผู้เรียกร้องให้เกิดการเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคมร่วมกับพี่น้องแรงงาน และเมื่อได้รับการเลือกตั้งเป็น สส. ก็ได้ภิปรายติดตามเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ทำให้ บุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ชี้แจงต่อสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2566 ว่าสำนักงานประกันสังคมจะจัดให้มีการเลือกตั้งโดยตรงแบบ 1 ผู้ประกันตน 1 สิทธิ หลังจากชี้แจงในวันดังกล่าวข่าวเรื่องการเลือกตั้งก็หายไปอีก สำนักงานประกันสังคมไม่เคยสื่อสารเรื่องความคืบหน้าใดๆ ให้ผู้ประกันตนรับทราบ</p>
<p>เซียไล่เรียงลำดับเหตุการณ์และปัญหาที่เกิดขึ้นตลอดกระบวนการการเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคมว่า สำนักงานประกันสังคมเริ่มประชาสัมพันธ์เรื่องการเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคมในต้นเดือนตุลาคม 2566 โดยให้เริ่มลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 12–31 ต.ค. 2566  ซึ่งผู้ประกันตนทราบเรื่องการเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคมน้อยมาก ทำให้สำนักงานประกันสังคมต้องขยายระยะเวลาการลงทะเบียนถึงวันที่ 10 พ.ย. 2566 และสุดท้ายมีการจัดให้มีการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24  ธันวาคม  2566  และหลังการเลือกตั้งสำนักงานประกันสังคมได้ประกาศผลการอย่างไม่เป็นทางการ ข่าวคราวเกี่ยวกับผู้ชนะเลือกตั้งก็เงียบหายไปอีก จนมีหนังสือรับรองผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2567 ผลกลับปรากฏว่าผู้ที่ได้คะแนนอันดับที่ 7 ไม่ใช่คนเดิมเหมือนที่ประกาศหลังเลือกตั้ง  จึงมีคำถามมากมายว่าเกิดอะไรขึ้นกับผลการเลือกตั้ง </p>
<p>พร้อมกันนี้ เซีย ได้ตั้งคำถามต่อเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ที่ได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนอ้างเหตุผลว่าใช้งบประมาณ  เกือบ 100  ล้านบาท แต่คนมาใช้สิทธิไม่ถึงล้านคนจากผู้ประกันตน  24  ล้านคน ว่าสำนักงานประกันสังคมและกระทรวงแรงงานได้สรุปบทเรียนการเลือกตั้งครั้งนี้หรือไม่ว่าเกิดจากอะไร  การประชาสัมพันธ์น้อยไปหรือไม่  การลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์มีปัญหาจริงไหม รวมถึงหน่วยเลือกตั้งที่ไม่อำนวยความสะดวกให้ผู้ประกันตน ทำให้ผู้ประกันตนไม่สามารถไปใช้สิทธิได้  ปัญหาอุปสรรคต่างๆ เป็นอย่างไรควรนำไปปรับปรุงแก้ไขให้การเลือกตั้งครั้งหน้าดีขึ้นกว่าเดิม  แต่กลับมาแก้ไขกฎหมายถอยหลังลงคลองเพื่อยกเลิกการเลือกตั้ง  </p>
<p>“หรือที่ผ่านมากระทรวงแรงงาน สำนักงานประกันสังคม ไม่เคยคิดอยากให้มีการเลือกตั้งในรูปแบบ  1 สิทธิ  1  เสียง และมีใครได้ประโยชน์อะไรจากระบบแต่งตั้งหรือไม่ วันนี้เมื่อกฎกติกาเดินหน้ามาไกลแล้ว ไม่ควรที่จะดึงถอยหลังไปอีกเหมือนเดิม” เซียกล่าว</p>
<p>สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ย้ำว่า วันนี้ตนและพรรคก้าวไกลขอคัดค้านในประเด็นดังกล่าว และหวังว่า ครม. จะร่วมคัดค้าน เพื่อปกป้องกระบวนการการมีส่วนร่วมของพี่น้องประชาชน ไม่ใช่มัวหวาดระแวงต่อผลการเลือกตั้ง ถ้าเป็นเช่นนั้น จะไม่ต่างจากรัฐบาลเผด็จการ</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108164
 
หน้า:  1 ... 68 69 [70] 71 72 ... 1118
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.589 วินาที กับ 26 คำสั่ง

Google visited last this page 20 มีนาคม 2566 22:05:03