[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
02 พฤษภาคม 2567 01:57:48 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก เวบบอร์ด ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

  แสดงกระทู้
หน้า:  1 ... 143 144 [145] 146 147 ... 1120
2881  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - "เบสท์ รักษ์วนีย์" โสด สวย และรวยมาก ประกาศชัด พักค่ะ หนูเลิกเปย์ผู้ชายแล้ว เมื่อ: 22 ธันวาคม 2566 13:08:38
"เบสท์ รักษ์วนีย์" โสด สวย และรวยมาก ประกาศชัด พักค่ะ หนูเลิกเปย์ผู้ชายแล้ว
         


"เบสท์ รักษ์วนีย์" โสด สวย และรวยมาก ประกาศชัด พักค่ะ หนูเลิกเปย์ผู้ชายแล้ว" width="100" height="100  เบสท์ รักษ์วนีย์ ประกาศชัดเจนมาก หนูเลิกเปย์ผู้ชายแล้วค่ะ
         

https://www.sanook.com/news/9152050/
         
2882  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - ล้วงหัวใจ "ซี พฤกษ์" พระเอกดาวรุ่ง! กับความความสัมพันธ์แบบคนพิเศษ #ซีนุนิว เมื่อ: 22 ธันวาคม 2566 10:37:44
ล้วงหัวใจ "ซี พฤกษ์" พระเอกดาวรุ่ง! กับความความสัมพันธ์แบบคนพิเศษ #ซีนุนิว
         


ล้วงหัวใจ "ซี พฤกษ์" พระเอกดาวรุ่ง! กับความความสัมพันธ์แบบคนพิเศษ #ซีนุนิว" width="100" height="100  ซี พฤกษ์ ยอมรับชีวิตเปลี่ยนเพราะได้มาเล่นซีรีส์วาย แต่ก็มีบางจังหวะที่เจอปัญหาหนักจนอยากเลิก!? พร้อมเผยความสัมพันธ์แบบ #ซีนุนิว ในความรู้สึกคือเขาเป็นคนพิเศษในชีวิต


         

https://www.sanook.com/news/9151930/
         
2883  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - '400 บาทโดยเร็วที่สุด' ของนายกฯ อาจต้องรอไปก่อน หลัง 'บอร์ดค่าจ้าง' คงมติเดิ เมื่อ: 22 ธันวาคม 2566 10:32:57
'400 บาทโดยเร็วที่สุด' ของนายกฯ อาจต้องรอไปก่อน หลัง 'บอร์ดค่าจ้าง' คงมติเดิมขึ้น 2-16 บาทต่อวัน
 


<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2023-12-21 17:47</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><div class="summary-box">
<ul>
<li>'บอร์ดค่าจ้าง' คงมติเดิมขึ้น 2-16 บาทต่อวัน แบ่งเป็น 17 อัตรา</li>
<li>ย้อนดูการเดินทางของนโยบายเรือธงของพรรคเพื่อไทย คือค่าแรงขั้นต่ำ ประกาศ 600 บาทต่อวัน ภายในปี 70 แพทองธาร เคยประกาศว่าจะให้ค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทตั้งแต่ปีแรก ส่วนเศรษฐา เคยประกาศกลางสภา 400 บาทโดยเร็วที่สุด</li>
</ul>
</div>
<p style="text-align: center;"> </p>
<p>สถานการณ์การปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ จากการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 ธ.ค.ที่ผ่านมา กระทรวงแรงงาน ขอนำมติมติคณะกรรมการค่าจ้าง (บอร์ดค่าจ้าง) เดิมที่ให้ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในอัตราวันละ 2-16 บาท (เฉลี่ยร้อยละ 2.37) แบ่งเป็น 17 อัตรา กลับไปพิจารณารายละเอียดเพิ่มเติมอีกครั้ง หลัง เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ออกมาแสดงท่าทีไม่เห็นด้วยและระบุว่าต้องขอทบทวนใหม่นั้น</p>
<p>ล่าสุดวานนี้ (20 ธ.ค.66) เว็บไซต์กระทรวงแรงงาน รายงานว่า ไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 เพื่อทบทวนการกำหนดอัตราค่าจ้าง ปี 2567 ว่า การประชุมคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 ในวันนี้ ได้นำข้อสังเกตของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานมาประกอบการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2567 แล้ว ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ยึดตามมติคณะกรรมการค่าจ้างเดิม เมื่อวันที่ 8 ธ.ค.2566 เนื่องจากสูตรการคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่คณะกรรมการค่าจ้างใช้ในการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำปี 2567 เป็นสูตรที่คณะกรรมการค่าจ้างได้มีมติเห็นชอบให้คณะอนุกรรมการฯจังหวัดทุกจังหวัดใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งเป็นการพิจารณาด้วยเหตุและผลบนข้อมูลเศรษฐกิจปัจจุบัน จึงเห็นควรให้ปรับอัตราค่าจ้างด้วยความเหมาะสมและความเป็นจริง และเป็นการพิจารณาอยู่บนพื้นฐานของความเสมอภาค เป็นธรรม และน่าเชื่อถือโดยให้ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในอัตราวันละ 2-16 บาท (เฉลี่ยร้อยละ 2.37) แบ่งเป็น 17 อัตรา โดยมีอัตราสูงสุดในจังหวัดภูเก็ต คือวันละ 370 บาท และอัตราต่ำสุดในจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี และยะลา คือวันละ 330 บาท</p>
<p>สำหรับข้อสังเกตของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานนั้น ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า คณะกรรมการค่าจ้างจะนำไปใช้ประกอบการพิจารณาปรับปรุงสูตรในการกำหนดอัตราค่าจ้างใหม่ ซึ่งเป็นการปรับสูตรในรอบ 6 ปี ซึ่งวันที่  17 มกราคม 2567  จะลงนามแต่งตั้งอนุกรรมการปรับสูตรคำนวณค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ ส่วนการปรับค่าจ้างครั้งที่ 2 นั้นจะเป็นช่วงใด จะต้องดูตามเวลาดำเนินงาน พร้อมกับดูว่าจะมีไตรภาคีเสนอเรื่องนี้มาหรือไม่ และเมื่อได้สูตรใหม่แล้วจะเรียกประชุมบอร์ดค่าจ้างใหม่อีกครั้ง แต่ตอนนี้ใช้ตามมติเดิมไปก่อน  อย่างไรก็ตาม  ผมจะพยายามทำเต็มที่ และโดยเร็วที่สุด โดยคิดว่าในช่วงปี 2567 จะได้สูตรการคิดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่  ซึ่งเราจะพิจารณาในประเภทกิจการเป็นสำคัญ เช่น การท่องเที่ยว บริการ ซึ่งอาจเป็นประเด็นหนึ่งที่ใช้ในการพิจารณาปรับสูตร  โดยจะรีบนำเข้าครม.ในอาทิตย์หน้า เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบโดยเร็วที่สุดและให้มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2567  เป็นต้นไป</p>
<p>ไพโรจน์ กล่าวต่อว่า ในการพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำในปี 2567 ที่ประชุมได้พิจารณากำหนดบนพื้นฐานของความเสมอภาคและการหารือของแต่ละจังหวัด และการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในครั้งนี้เป็นการปรับเพื่อให้แรงงานทั่วไปแรกเข้าทำงาน สามารถดำรงชีพอยู่ได้ตามสมควรแก่มาตรฐานการครองชีพ สภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน รวมทั้งเหมาะสมตามความสามารถของธุรกิจในท้องถิ่นนั้น  โดยพิจารณาบนพื้นฐานของความเสมอภาค และรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย เพื่อให้นายจ้าง/ลูกจ้าง สามารถประกอบธุรกิจและดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข</p>
<div class="more-story">
<ul>
<li>เลือกตั้ง 66 : สรุป ‘นโยบายแรงงาน’ 8 พรรค ค่าแรง-สวัสดิการ-สิทธิรวมตัว</li>
<li>‘เพื่อไทย’ เปิด 10 นโยบายพลิกฟื้นประเทศ ปี’70 เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาท เงินเดือน ป.ตรี สตาร์ท 2.5 หมื่น</li>
</ul>
</div>
<h2><span style="color:#2980b9;">รัฐบาลไม่เห็นด้วย ปัดแทรกแซง</span></h2>
<p>ทั้งนี้สัปดาห์ที่ผ่านมาภายหลังนายกฯ ออกมาแสดงท่าทีไม่เห็นด้วยกับมติบอร์ดค่าจ้างขณะนั้น เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการแทรกแซงการทำงานของบอร์ดค่าจ้างด้วย จนเมื่อวันที่ 13 ธ.ค.ที่ผ่านมา เศรษฐากล่าวถึงการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำว่า ทุกคนทราบดีว่ารัฐบาลไม่เห็นด้วยกับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่ประกาศออกไป อย่างพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ปรับขึ้นเพียง 2 บาท ไข่ไก่หนึ่งฟองจะได้หรือเปล่ายังไม่รู้ ฟังดูแล้วมันรับไม่ได้ ลึกกว่านั้นคือปัญหาความเหลื่อมล้ำ ความไม่เป็นธรรมและความแตกแยก จะอ้างเรื่องมติคณะกรรมการไตรภาคีหรือนายกฯไม่มีอำนาจแทรกแซง คุณจะพูดอะไรคุณพูดได้หมด แต่เราอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงดีกว่าว่ามันเหมาะสมหรือเปล่าที่ค่าแรงขึ้นไปขนาดนั้น จะทำให้ธุรกิจถึงกับหายนะหรือไม่ หากขึ้นค่าแรงที่เหมาะสม รัฐบาลนี้ภายใต้การนำของตน การลดค่าใช้จ่าย ลดค่าไฟ การเปิดตลาดใหม่ๆ การเจรจาสนธิสัญญาการค้าและดึงนักลงทุนใหม่เข้ามา เชื่อว่าถึงจุดหนึ่งจะเป็นที่พอใจของภาคธุรกิจ เป็นขวัญและกำลังใจ คืนความชอบธรรมให้ประชาชนฐานราก ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น ส่วนเรื่องกฎหมายตนมีสิทธิหรือไม่มีสิทธิเป็นอีกเรื่องหนึ่ง</p>
<p>ขณะที่หลังบอร์ดค่าจ้างออกมายืนยันมติเดิมในการปรับขึ้นนั้น วันนี้ (21 ธ.ค.66) ชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า รัฐบาลเข้าใจว่าสิ่งไหนจะดำเนินการอะไรได้บ้าง ทั้งนี้ในฐานะรัฐบาลสามารถแสดงความคิดเห็นได้ ในช่วงเลือกตั้งพรรคเพื่อไทย ก็ได้มีการหาเสียงไว้ รัฐบาลมีสิทธิรับฟังความคิดเห็น ซึ่งคณะกรรมการที่มีหน้าที่ตามกฏหมายจะเห็นด้วยกับรัฐบาล ก็เป็นเรื่องของคณะกรรมการไตรภาคี ซึ่งเป็นเอกสิทธิไปแทรกแซงไม่ได้</p>
<p>โฆษกรัฐบาล กล่าวว่า ในเรื่องนี้เป็นไปตามที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ระบุไว้ออกมาจากใจจริงว่า ไม่เห็นด้วยกับการขึ้นค่าแรง 2 บาท ใน 3 จังหวัดภาคใต้ แม้แต่ไข่ไก่ ไข่ต้มครึ่งฟอง ยังซื้อไม่ได้ หากถามว่าน้อยหรือไม่ โดยนายก มองว่าน้อยมาก ในแง่ของการครองชีพของภาคแรงงาน ค่าแรงในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา และคำนวณขึ้นค่าแรงล่าสุด 300 บาท เกิดขึ้นเมื่อปี 2555 จนถึงปัจจุบันนี้ ค่าแรงขึ้นมาสูงสุดในรอบ 10 ปี ไม่เกิน 20 %</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">นายกฯ เคยประกาศกลางสภา 400 บาทโดยเร็วที่สุด</span></h2>
<p>ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 12 ก.ย.ที่ผ่านมา เศรษฐา ลุกขึ้นชี้แจงในการแถลงนโยบายชี้แจงเกี่ยวกับเรื่องแรงงานตอนหนึ่งว่า รัฐบาลมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น การท่องเที่ยว เพื่อดึงเงินเข้าภาคบริการ ทำให้ค่าแรงจะถูกปรับขึ้นตามความต้องการของแรงงาน นอกจากกระตุ้นเศรษฐกิจภาคบริการ เราจะลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน และโลจิสติกส์ หลังแถลงนโยบายจะเดินหน้าโดยเร่งด่วน รัฐบาลมีเป้าหมายจะปรับค่าแรงขั้นต่ำให้เหมาะสมพึงพอใจในการใช้จ่าย</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53179706863_8e66a26029_b.jpg" /></p>
<p>"รัฐบาลจะจัดให้มีการเจรจา 3 ฝ่าย ระหว่างแรงงาน ผู้ว่าจ้าง และรัฐบาล เพื่อหาข้อตกลงร่วมกัน โดยตั้งเป้าขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400 บาทโดยเร็วที่สุด" นายกฯ กล่าว</p>
<p>ทั้งนี้ การขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นอัตราเดียวกันนั้นเคยเกิดชึ้นในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จากพรรคเพื่อไทย เมื่อเกือบ 12 ปีที่แล้ว โดยปรับขึ้นเป็น 300 บาท ทั่วประเทศ จากเดิมการขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นกลุ่มจังหวัด การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลหลายประการทั้งการปรับตัวของธุรกิจ การทำให้แรงงานสัมพันธ์กับระบบการเลือกตั้งโดยตรง แต่เมื่อเกิดการรัฐประหารที่นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จนเมื่อปี 2560 มีการปรับขึ้นอีกครั้งและกลับไปใช้ระบบแบบกลุ่มจังหวัดที่ไม่ใช่อัตราเดียวกันทั้งประเทศ</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/52546361681_65a94f4381_h.jpg" /></p>
<p>ขณะที่การเลือกตั้งปีที่ผ่านมาพรรคการเมืองที่มีการเสนอเรื่องการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ นอกจากเพื่อไทยที่เสนอ 600 บาทต่อวัน ภายในปี พ.ศ. 2570 โดย แพทองธาร ชินวัตร แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคเพื่อไทย ประกาศว่าจะให้ค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทตั้งแต่ปีแรก รวมทั้งนโยบายนี้เป็นนโยบายธงนำในการหาเสียงตั้งแต่ปลายปีที่แล้วของพรรคเพื่อไทย ส่วนพรรคอื่นๆ ที่มีนโยบายค่าแรงขึ้นต่ำ เช่น พรรคก้าวไกล เสนอที่ขึ้นค่าแรง 450 บาททันที ในปี 2566 และปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำทุกปี พรรคสามัญชน เสนอค่าแรง 723-789 บาท/วัน ทุกจังหวัดทั่วประเทศ และพรรคประชาธิปัตย์เสนอปรับอัตราค่าจ้างให้เหมาะกับค่าครองชีพ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามคณะกรรมการค่าจ้าง 3 ฝ่าย หรือไตรภาคีเป็นสำคัญ เป็นต้น ขณะที่ภาคประชาชนและขบวนการแรงงานเรียกร้องอัตราค่าจ้างพื้นฐานที่เป็นรายได้ของคนงาน 1 คน จะต้องสามารถเลี้ยงสมาชิกครอบครัวได้อีก 2 คน ตามคำจำกัดความของค่าจ้างขั้นต่ำในอดีตขององค์การแรงงานระหว่างประเทศหรือ ILO</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/12/107321
 
2884  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - ภาคประชาชนยื่น 43,826 รายชื่อ เสนอร่าง กม. เพิ่มเงินบำนาญถ้วนหน้า เป็น 3 พันบาท เมื่อ: 22 ธันวาคม 2566 09:02:38
ภาคประชาชนยื่น 43,826 รายชื่อ  เสนอร่าง กม. เพิ่มเงินบำนาญถ้วนหน้า เป็น 3 พันบาท
 


<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2023-12-21 18:18</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพปก/ภาพประกอบ: สหภาพคนทำงาน</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ภาคประชาชนยื่น 43,826 รายชื่อ เสนอ พ.ร.บ.ผู้สูงอายุและบำนาญแห่งชาติ แก้ ม. 11(11) เปลี่ยนสงเคราะห์เป็น ‘ถ้วนหน้า’ เพิ่มบำนาญเป็น 3,000 บาท ขอรองประธานสภาฯ ช่วยดันให้ผ่านด่านนายกฯ</p>
<p>21 ธ.ค. 2566 เพจเฟซบุ๊ก "สภาองค์กรของผู้บริโภค" ถ่ายทอดสดออนไลน์วันนี้ (21 ธ.ค.) ที่อาคารรัฐสภา เมื่อเวลา 10.44 น.โดยประมาณ ภาคประชาชนหลากหลายกลุ่มยื่น 43,826 รายชื่อ เสนอ พ.ร.บ. ร่าง พ.ร.บ.ผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ พ.ศ. … ต่อปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร </p>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="autoplay; clipboard-write; encrypted-media; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="true" frameborder="0" height="314" scrolling="no" src="https://www.facebook.com/plugins/video.php?height=314&amp;href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2Ftccthailand%2Fvideos%2F1103063787516287%2F&amp;show_text=false&amp;width=560&amp;t=0" style="border:none;overflow:hidden" width="560"></iframe></p>
<p>ภาคประชาชนเชื่อว่า ร่าง พ.ร.บ.นี้เปรียบเสมือนเครื่องมือช่วยลดความเหลื่อมล้ำ เราเลยจะขอ รองประธานสภาฯ ว่าช่วยเชียร์ และส่งเสียงถึงนายกฯ เพราะว่ามันเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องการเงิน ซึ่งต้องผ่านนายกฯ ก่อน และอยากให้มันถึงสภาฯ ให้ได้สภาฯ คุยกัน </p>
<p>นอกจากนี้ ทางภาคประชาสังคมเชื่อมั่นในตัวรองประธานสภาฯ เพราะว่าก่อนหน้านี้พรรค (พรรคก้าวไกล) ของปดิพัทธ์ หาเสียงเลือกตั้งชูนโยบายเรื่องนี้มาโดยตลอด เลยตั้งความหวังว่า ทางรองประธานสภาฯ จะช่วยส่งเสียงถึงนายกฯ ด้วยให้ผ่านร่างดังกล่าวด้วย</p>
<p>หลังจากนั้น ภาคประชาชนได้ยื่น 4 หมื่นรายชื่อ เสนอร่าง พ.ร.บ.ผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติฯ ให้กับ ปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร </p>
<p>สำหรับความสำคัญของ พ.ร.บ.นี้ จะเป็นเครื่องมือลดความเหลื่อมล้ำในสังคม และจะแก้ไขไม่กี่มาตรา 11 (11) เดิมเขียนว่า ผู้สูงอายุจะได้เงินสงเคราะห์เพียงพอต่อการยังชีพ เขียนไว้แค่นี้เอง แต่สิ่งที่เราจะแก้ไข เราจะแก้ไขเป็น “ผู้สูงอายุต้องได้บำนาญถ้วนหน้า 3,000 บาท บนเส้นความยากจนที่เพียงพอ และจะขอให้มีการปรับเรทบำนาญทุกๆ 3 ปี” แก้มาตรานี้มาตราเดียว ขอมาตรานี้ก่อน สำหรับเส้นความยากจนปัจจุบัน อยู่ที่ 2,997 บาท ซึ่งอีก 3 บาท จะเท่ากับข้อเสนอบำนาญพื้นฐานแห่งชาติแล้ว </p>
<p>ตัวแทนของเครือข่ายผู้บริโภค ระบุว่า ประเทศต้องเดินไปข้างหน้า แต่การพัฒนา ส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องอุตสาหกรรม และด้านวัตถุ แต่วันนี้เรามายื่นหนังสือ เพราะว่ามองว่าถึงเวลาที่เราต้องพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ให้สามารถอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ไม่ใช่วันละ 20 บาท วันนี้คิดว่า บำนาญพื้นฐานแห่งชาติ ต้องเพิ่มเป็น 3 พันบาท </p>
<p>เครือข่ายสลัม4ภาค กล่าวว่า เราทำเรื่องบำนาญเพื่อผู้สูงอายุมานานแล้วตั้งแต่ปี 2546 และคิดว่า ผู้สูงอายุในชุมชน หรือที่อื่นๆ เขาเสียภาษีมาตั้งแต่อายุยังเป็นวัยรุ่น พอเป็นผู้สูงอายุแล้ว บำนาญ 3 พันบาท น่าจะเกิดขึ้นได้แล้ว เราเคยไปยื่นมา 2 ครั้งแล้ว แต่นายกฯ เซ็นปัดตกทุกครั้ง ครั้งนี้มาใหม่เป็นครั้งที่ 3 เราอยากให้เพิ่มเงินบำนาญเป็น 3 พันบาทได้แล้ว เพื่อเป็นการประกันรายได้ให้ผู้สูงอายุ และกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก และอยากให้นายกฯ เซ็นอนุมัติได้แล้ว</p>
<p>เครือข่ายพลังผู้สูงวัย กล่าวว่า ดิฉันยื่นบำนาญมากนานแล้ว แต่ถูกปัดตกตลอด ไม่รู้จะทำได้อีกนานเท่าไร ต่อให้ไม่ทันรุ่นเราก็อยากให้ทันรุ่นหลานเรา ก็จะได้สบายกว่านี้ จะได้ไม่มานั่งอดๆ อยากๆ ลูกบางคนไม่ได้มีกำลังทรัพย์มากมายเลี้ยงพ่อแม่ เพราะว่าเขามีภาระทางครอบครัวจะมาหวังจากเขาไม่ได้หรอก ยังไงฝากผ่านกฎหมายด้วย </p>
<p>ปดิพัทธ์ กล่าวว่า แม้ว่าภาคประชาชนจะเห็นตรงกันว่า ควรมีการแก้ไข พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ และเพิ่มเงินบำนาญ แต่ในรัฐธรรมนูญ ระบุว่า ร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเงินไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ ต้องให้ฝ่ายบริหารเขาเป็นคนรับรองก่อนว่าจะเอาเข้าสภาฯ ได้หรือเปล่า และเราเองต้องทำตามรัฐธรรมนูญ แต่เขาอยากเรียกร้องนายกฯ ผ่านร่างดังกล่าว เพื่อให้มีการนำมาถกเถียงกันในสภาฯ ช่วยกันดูงบประมาณภาพรวม</p>
<p>"แต่ผมอยากจะเรียกร้องไปยังฝ่ายบริหารด้วยว่า เพราะตอนนี้มีกฎหมายที่ถูกตีความว่าเป็นการเงินจำนวนมาก ไม่ใช่เรื่องบำนาญอย่างเดียว แต่ 10 กว่าฉบับที่ถูกตีความว่าเป็นการเงิน ยังไม่ได้ถูกรับรอง ให้เข้ามาถกเถียงในสภาฯ ซึ่งเราเชื่อว่าจริงๆ แล้วต่อให้มันเป็นภาระทางการคลัง การได้เข้ามาถกเถียงในสภาฯ และช่วยกันดูงบประมาณภาพรวมว่าจะปรับลดอะไรตรงไหนได้บ้าง ส่วนนี้น่าจะถูกนำเข้ามาถกเถียงอะไรกันได้" รองประธานสภาฯ กล่าว</p>
<p>ปดิพัทธ์ กล่าวด้วยว่า แม้ว่าจะยื่นหนังสือให้สภาฯ แล้ว แต่ยังสามารถเข้าชื่อได้อยู่ผ่านช่องทางออนไลน์ และยิ่งเข้าชื่อมากเท่าไร จะยิ่งเน้นย้ำความสำคัญที่ประชาชนมีต่อร่างต่างๆ ด้วย </p>
<p>นอกจากนี้ ทางภาคประชาสังคมจะยื่นหนังสือถึง วันมูฮะหมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร และณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ประธานกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม สภาผู้แทนราษฎร</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53411773906_52f1a21678_b.jpg" style="width: 1024px; height: 768px;" /></p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/12/107322
 
2885  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [การเมือง] - สื่อนอกตีข่าว ไทยใกล้ผ่าน กม.สมรสเท่าเทียม แต่สังคมยังไม่ลืม รบ.ปฏิเสธร่าง รธน.ฉ เมื่อ: 22 ธันวาคม 2566 08:10:58
สื่อนอกตีข่าว ไทยใกล้ผ่าน กม.สมรสเท่าเทียม แต่สังคมยังไม่ลืม รบ.ปฏิเสธร่าง รธน.ฉบับใหม่
         


สื่อนอกตีข่าว ไทยใกล้ผ่าน กม.สมรสเท่าเทียม แต่สังคมยังไม่ลืม รบ.ปฏิเสธร่าง รธน.ฉบับใหม่" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;
         

https://www.sanook.com/news/9151762/
         
2886  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - ลูกสาวชอบรังแกน้อง พ่อเล่นละครฉากเดียว ร้องไห้จ้าแสดงพลังแห่งรัก คนโตยังฉุดไม เมื่อ: 22 ธันวาคม 2566 08:07:06
ลูกสาวชอบรังแกน้อง พ่อเล่นละครฉากเดียว ร้องไห้จ้าแสดงพลังแห่งรัก คนโตยังฉุดไม่อยู่!
         


ลูกสาวชอบรังแกน้อง พ่อเล่นละครฉากเดียว ร้องไห้จ้าแสดงพลังแห่งรัก คนโตยังฉุดไม่อยู่!" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;คนดูเป็นล้าน! "เคล็ดลับ" แก้ปัญหาพี่ชอบตีน้อง พ่อเล่นละครเป็นคนใจร้าย พี่เห็นแล้วร้องไห้จ้ารีบวิ่งมาปกป้อง พร้อมสัญญาจะรักน้องมากๆ



         

https://www.sanook.com/news/9150062/
         
2887  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - กวีประชาไท: นิรโทษกรรม ม.113 มากี่ครั้งบ้านเมืองจึงยังอยู่ในวงจรอุบาทว์ !? เมื่อ: 22 ธันวาคม 2566 07:30:51
กวีประชาไท: นิรโทษกรรม ม.113 มากี่ครั้งบ้านเมืองจึงยังอยู่ในวงจรอุบาทว์ !?
 


<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2023-12-21 19:47</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ธุลีดาวหาง</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><div class="poet-box">
<p> </p>
<p> </p>
<p>คณะรัฐประหารงานสำเร็จ
ก็เบ็ดเสร็จสะดวกโยธินสิ้นสงสัย
แล้วนิรโทษกรรมทำทันใด
อำนาจในรัฏฐาธิปัตย์สวัสดี</p>
<p>เรื่องบังเอิญเผชิญทัศนาพม่าไทย
อยู่ชิดใกล้พฤติกรรมนำบัดสี
กติกาประชาธิปไตยไยยู่ยี่
ประชามีทุกข์มากยากสุขนัก</p>
<p>คณะรัฐประหารพม่าท่าไม่ไหว
รู้งี้ไม่ทำรัฐประหารเจองานหนัก
เสนาธิการคิดผิดผ่านเจองานยักษ์
ประชาไม่รักแปรพักตร์เลิกภักดิ์เสียแล้ว</p>
<p>คณะรัฐประหารไทยไม่ใช่ย่อย
ทำซะบ่อยจนชำนาญงานคล่องแคล่ว
เหลี่ยมเล่ห์เสนาธิการผ่านพราวแพรว
ฆ่าคนแคล้วคลาด นิราศคุก</p>
<p>ยุทธศาสตร์ประชาพม่าถ้าชนะ
ระบอบประชาธิปไตยไม่กระตุก
นโยบายพัฒนามาเชิงรุก
ประชาทุก ๆ ฝ่ายหมายมุ่งมา</p>
<p>ยุทธศาสตร์ประชาไทยถ้าไม่แพ้
ปัญหาจะแก้ตรงบุกทุกปัญหา
ใช่กวาดไว้ใต้พรมขื่นขมพา
ใครเข่นฆ่าคนเป็นร้อยยังลอยนวล!?</p>
<p>ยุทธศาสตร์ประชาชนจึงข้นเข้ม
บรรจุเต็มด้วยโครงการชาวบ้านล้วน
แก้ไขโครงสร้างสังคมไม่สมควร
แก้ไขมวลปัญหาคาราคาซัง</p>
<p>ปัญหาน่าสนใจไทยพม่า
เรื่องประชาธิปไตยในมุ่งหวัง
ยุทธศาสตร์พม่าผองกองกำลัง
ทลายบัลลังก์มินอ่องหล่ายถึงตายเลย</p>
<p>ประชาธิปไตยไทยพม่า
ประเทศฝาแฝดสนิทติดเปิดเผย
แต่กาลเก่าเจ้าประชันแข่งขันเคย
หยามหยันเย้ยยึดบ้านเมืองเคืองแค้นคา</p>
<p>มาบัดนี้แข่งขันคว้าประชาธิปไตย
พม่าไทยในมุ่งมาดปรารถนา
สามนิ้วที่แข่งชูอยู่ต้องตา
ชี้ไปหาภราดรภาพตราบนิรันดร์</p>
</div>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">บทควhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/12/107323
 
2888  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - JASAD เผยเหตุคดีวิสามัญฆาตกรรมพุ่ง-28 นักกิจกรรมปาตานีถูก 'ฟ้องปิดปาก' หวังหยุดก เมื่อ: 22 ธันวาคม 2566 05:58:09
JASAD เผยเหตุคดีวิสามัญฆาตกรรมพุ่ง-28 นักกิจกรรมปาตานีถูก 'ฟ้องปิดปาก' หวังหยุดการเคลื่อนไหว
 


<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2023-12-21 20:31</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>รายงาน: มูฮัมหมัด ดือราแม</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>JASAD เผยมี 28 นักกิจกรรมปาตานีถูกคดี SLAPP 'ฟ้องปิดปาก' หวังหยุดการเคลื่อนไหว เหตุวิสามัญฆาตกรรมพุ่ง ก่อปัญหาการแย่งศพ แห่ศพนักรบปาตานี เริ่มจากถูกหมายเรียกอาจเลื่อนสถานเป็นผู้ต้องหา The Patani ชมรมพ่อบ้านใจกล้า CAP แต่งชุดมลายู โดนหมด แม้ไม่มีคดี แต่ถูกคุกคาม สร้างเงื่อนไขต่อรอง แจ้งข้อหากลุ่มประชามติ [จำลอง] เอกราชปาตานี</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">JASAD เผยมี 28 นักกิจกรรมปาตานีถูกคดี SLAPP</span></h2>
<p>เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากกฎหมายพิเศษ (JASAD) ได้รวบรวมและเปิดข้อมูลนักกิจกรรมภาคประชาสังคมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ถูกดำเนินการทางกฎหมาย และถูกดำเนินคดีที่เข้าข่ายการ 'ฟ้องเพื่อปิดปาก' หรือที่เรียกว่า คดี SLAPP ว่า ขณะนี้มี 28 ราย แยกเป็นผู้ชาย 19 ราย และผู้หญิง 9 ราย</p>
<p>ส่วนใหญ่เป็นนักกิจกรรมที่มีบทบาทในการตรวจสอบและนำเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ในพื้นที่ รวมถึงการทำกิจกรรมลักษณะเชิงสร้างสรรค์ โดยถูกเจ้าหน้าที่ดำเนินการทางกฎหมาย ทั้งการออกหมายเรียกและการแจ้งข้อกล่าวหา จาก 3 กรณี ได้แก่ </p>
<ul>
<li>การไลฟ์สดกรณีการแห่ศพ/แย่งศพผู้เสียชีวิตที่ถูกวิสามัญฆาตกรรมระหว่างการปะทะ </li>
<li>การร่วมกิจกรรมส่งเสริมทางประเพณี วัฒนธรรมในการรวมตัวสวมใส่ชุดมาลายู และ</li>
<li>การสมทบทุน ระดมทุนช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมจากเหตุการณ์ความไม่สงบ</li>
</ul>
<h2><span style="color:#2980b9;">'ฟ้องปิดปาก' หรือ คดี SLAPP คืออะไร</span></h2>
<p>คำว่า 'ฟ้องปิดปาก' หรือคดี SLAPP นั้น หมายถึง การดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อหยุดยั้งการเคลื่อนไหวของภาคประชาชน (SLAPP: Strategic Lawsuit Against Public Participation) คือ การฟ้องคดีเพื่อปิดปากบุคคลที่ออกมาแสดงความคิดเห็น การวิพากษ์วิจารณ์หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งมีผลทำให้เกิดสภาวะชะงักงันของการมีส่วนร่วมของสาธารณชน </p>
<p>ในแวดวงนักกฎหมายและนักสิทธิมนุษยชน อธิบายว่า เป็นการฟ้องคดีที่มีวัตถุประสงค์กลั่นแกล้ง หรือสร้างภาระให้บุคคลเหล่านั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้รับความยุติธรรมตามกฎหมายจริงๆ แต่เพื่อใช้กระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือ "ปิดปาก" คนที่แสดงความคิดเห็นในประเด็นสาธารณะ</p>
<p>โดยการมีคดี SLAPP จะทำให้ประชาชนไม่กล้าออกมาแสดงความคิดเห็นในประเด็นสาธารณะหรือประเด็นที่มีผลประโยชน์หรือผลกระทบกับตัวเอง เนื่องจาก "กลัวถูกฟ้อง" ซึ่งคดี SLAPP ส่วนใหญ่ในประเทศไทยมักใช้ข้อกล่าวหา “หมิ่นประมาท” ตามประมวลกฎหมายอาญา โดยเจ้าหน้าที่รัฐเป็นผู้ฟ้อง</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ย้อนรอย SLAPP คดีแรกในชายแดนใต้ </span></h2>
<p>อับดุลเลาะ เงาะ ประธานเครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากกฎหมายพิเศษ JASAD ให้ข้อมูลว่า คดี SLAPP คดีแรกๆ ในชายแดนใต้ คือ คดีที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) แจ้งความหมิ่นประมาทและความผิดทางคอมพิวเตอร์ต่อ พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม และนักกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชนอีก 2 คน คือ สมชาย หอมลออ และ อัญชนา หีมมิหน๊ะ จากการทำรายงานเปิดโปงการทรมานโดยเจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่ ออกมาเผยแพร่ต่อสาธารณะเมื่อปี 2559 แต่คดีจบลงด้วยการที่สำนักงานอัยการจังหวัดปัตตานีมีคำสั่งไม่ฟ้อง และยุติการดำเนินคดี เมื่อวันที่ 24 ต.ค. 2560</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53410994947_50de3b0eb6_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">อับดุลเลาะ เงาะ</span></p>
<p>หลังจากนั้น คดี SLAPP ก็เงียบไป จนกระทั่งมีการไลฟ์สดการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในเหตุการณ์ที่มีการวิสามัญฆาตกรรมผู้ต้องสงสัยในหลายๆ เหตุการณ์ในช่วงปีที่ผ่านมา (2565) โดยเฉพาะกรณีที่มีเหตุ 'แย่งศพ' ที่นำไปสู่การแจ้งข้อหานักกิจกรรมภาคประชาสังคมและชาวบ้านหลายคน ในข้อหา "ขัดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน"</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">วิสามัญพุ่ง ก่อปัญหาการแย่งศพ</span></h2>
<p>อับดุลเลาะ ชี้ว่า การแย่งศพนั้น เริ่มมีขึ้นหลังจากช่วงที่ผ่านมามีเหตุเจ้าหน้าที่วิสามัญฆาตกรรมผู้ต้องสงสัยในเหตุการณ์ปะทะกันหลายครั้ง มีสาเหตุมาจากข้อสงสัยของญาติผู้เสียชีวิตในหลายๆ เหตุการณ์ว่า ทำไมถึงมีการคืนศพให้ญาติอย่างล่าช้า ทำให้ต้องประกอบพิธีทางศาสนาล่าช้าไปด้วย</p>
<p>ข้อมูลของ JASAD ระบุว่า คดีวิสามัญฆาตกรรมเริ่มมีมากขึ้นตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา โดยปี 2562 มีจำนวน 17 ราย ปี 2563 มีจำนวน 27 ราย ซึ่งเท่ากับปี 2556 ต่อมาปี 2564 มี 24 ราย และปี 2565 มีจำนวน 12 ราย (ดูตาราง)</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53412359270_6cd153c3b4_c.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">ตาราง: จำนวนผู้เสียชีวิตจากการปะทะกับเจ้าหน้าที่รัฐใน 3 จังหวัดชายใต้</span></p>
<p>"เมื่อมีการวิสามัญฆาตกรรมเยอะขึ้นก็จะมีปัญหาเรื่องศพผู้เสียชีวิต เพราะฝ่ายรัฐก็กลัวว่าจะกลายเป็นน้ำผึ้งหยดเดียว เพราะคนไปชุมนุมเดินขบวนส่งศพจำนวนมาก มีการแสดงสัญลักษณ์การเคารพศพ โดยมีความเชื่อว่าคนที่ตายนั้น ตายในหนทางศาสนา" อับดุลเลาะ กล่าว </p>
<p>ประธาน JASAD ระบุต่อว่า ถึงแม้ว่าเจ้าหน้าที่จะติดป้ายแสดงคำวินิจฉัยของจุฬาราชมนตรีในที่ต่างๆ ว่า ที่นี่ไม่ใช่ดินแดนแห่งสงคราม หรือดารุลฮารบี ไม่ใช่การต่อสู้ในหนทางศาสนาก็ตาม แต่ก็ไม่ส่งผลอะไร</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">หวังหยุดแห่ศพนักรบปาตานี </span></h2>
<p>"เจ้าหน้าที่กลัวตรงนี้แหละ ถ้ายังมีคนที่เชื่อแบบนี้อยู่มันจะอันตราย เพราะคิดว่าถึงแม้เขาจะตายเขาก็ยังชนะ ก็คือไม่กลัวตาย และยิ่งทำจะให้มีคนอยากจะมาต่อสู้มากขึ้น จะมีคนมาแทนที่ต่อไปเรื่อยๆ เพราะเชื่อว่าตายแล้วได้เข้าสวรรค์</p>
<p>"เรื่องนี้เจ้าหน้าที่คิดมานานแล้วว่า จะทำยังไง เพื่อจะหยุดเรื่องนี้ให้ได้" อับดุลเลาะ กล่าว และเล่าต่อไปว่า เมื่อปัญหาเรื่องศพ จึงทำให้มีคนทำงานในภาคประชาสังคมช่วยเข้าไปทวงถามเจ้าหน้าที่ และขอให้เจ้าหน้าที่ชี้แจงว่า เหตุใดจึงล่าช้า หรือติดขัดเรื่องอะไรบ้าง ในระหว่างนั้นก็มีการไลฟ์สดผ่านเฟซบุ๊กด้วย ซึ่งทำให้เห็นการปะทะคารมกับเจ้าหน้าที่</p>
<p>ต่อมา เมื่อเกิดเหตุการณ์แย่งศพติดตามมา โดยมีการไลฟ์สดพร้อมกัน ทำให้ฝ่ายเจ้าหน้าที่เห็นช่องทางที่จะดำเนินคดีจากการที่มีมวลชนเข้าไปแย่งศพผู้ที่ถูกวิสามัญฆาตกรรม</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">3 กรณีแย่งศพ ก่อเกิดคดี 'ฟ้องปิดปาก' นักกิจกรรม</span></h2>
<p>กรณีแรกที่นำไปสู่การออกหมายนักกิจกรรมในพื้นที่ อับดุลเลาะ บอกว่า คือกรณีเจ้าหน้าที่ยิงผู้ต้องสงสัยเสียชีวิต 3 ราย ระหว่างปิดล้อมที่พักพิงชั่วคราวของกลุ่มผู้ต้องหา ที่มีหมายจับคดีก่อความไม่สงบ บนเขาไอร์ดาฮง ต.เชิงคีรี อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส วันที่ 20 ม.ค. 2566 โดยมีชาวบ้านกว่า 60 คน กรูกันจะเข้าไปรอรับศพเพื่อนำไปประกอบพิธีทางศาสนาให้ทันภายใน 24 ชั่วโมง</p>
<p>โดย พ.ต.อ. ฉลอง รัตนภักดี ผู้กำกับการ สภ.ศรีสาคร ให้สัมภาษณ์สื่อในขณะนั้นว่า ระหว่างจะนำศพผู้เสียชีวิตไปส่งตรวจพิสูจน์อย่างละเอียดที่โรงพยาบาลศรีสาคร ก็ถูกประชาชนมากดดันเพื่อขอศพคืน โดยไม่ยอมรอในพื้นที่ล่างเขา</p>
<p>กรณีต่อมาเกิดขึ้นที่ ต.บ้านแหร อ.ธารโต จ.ยะลา เมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2566 หลังจากเจ้าหน้าที่วิสามัญฆาตกรรมนายอิบรอเฮม สาและ เสียชีวิต ได้มีญาติได้เกาะประตูหลังรถกู้ภัยที่จะนำศพไปโรงพยาบาลเพื่อตกแต่งศพก่อนส่งมอบให้ญาติ กระทั่งมีชาวบ้านขับมอเตอร์ไซค์มาขวางและญาติก็ตัดสินใจนำศพขึ้นรถกระบะกลับไปประกอบพิธีทางศาสนาทันที แต่ทาง กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้าชี้แจงว่า เกิดจกการสื่อสารเข้าใจผิด และไม่ได้มีการแย่งศพแต่อย่างใด </p>
<p>ต่อมา เมื่อ 11 มี.ค. 2566 สถานีตำรวจภูธร (สภ.) ธารโต ได้ออกหมายเรียก 2 นักข่าวสำนักสื่อวาร์ตานี (Wartani) กรณีการไลฟ์สดเหตุการณ์ดังกล่าวผ่านเพจเฟซบุ๊ก “สำนักสื่อวาร์ตานี” ได้แก่ 1. นายมะนาวารี ยะโกะ บรรณาธิการกองข่าวภาคสนาม และ 2. นายมูฮัมหมัดฮาฟีซี สาและ ผู้สื่อข่าวภาคสนาม โดยแจ้งเหตุว่าร่วมกันข่มขืนใจเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติอันไม่ชอบด้วยหน้าที่ หรือให้ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ และขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ และให้ไปรับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 15 มีนาคม 2566 ณ สภ.ธารโต</p>
<p>การออกหมายเรียกดังกล่าวได้สร้างเสียงวิพากษ์วิจารณ์ขึ้นในพื้นที่ว่าเป็นการปิดปากสื่อ และเป็นการคุกคามสื่อการทำหน้าที่รายงานสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจนเกิดกระแส Save Wartani</p>
<p>กรณีล่าสุด เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2566 หลังจากทหารได้นำศพนายฮัยชัม สมาแฮ ผู้ต้องหาคดีความมั่นคงที่ถูกทหารวิสามัญฆาตกรรมบริเวณบ้านตะลุโบะ อ.เมือง จ.ปัตตานี มาที่โรงพยาบาลปัตตานี โดยมีชาวบ้านเข้ามาแย่งชิงศพระหว่างถูกนำลงมาจากรถพยาบาลของทหาร </p>
<p>จากเหตุการณ์นี้ทำให้นายอัสมาดี บือเฮง นักเขียนและสื่ออิสระในพื้นที่ พร้อมกับนางแมะดะ สะนิ แม่ของนายฮัยซัม ถูก พ.ต.ต.นัฐพงษ์ ชาพรหมสิทธิ์ สารวัตรสอบสวน สภ.เมืองปัตตานี แจ้งความข้อหา ร่วมกันต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานฯ ในการปฏิบัติหน้าที่ฯ ซึ่งนายอัสมาดี ได้เข้าพบพนักงานสอบสวนเพื่อรับทราบข้อกล่าวหาแล้วเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา โดยปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา </p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53411913866_367cb224fa_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">(คนที่ 3 จากซ้าย) อัสมาดี บือเฮง</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">หมายเรียกคน The Patani เหตุค้านขุดศพ 'ยะห์รี ดือเลาะ'</span></h2>
<p>อีกกรณีคือการออกหมายเรียกญาติและคนทำงานภาคประชาสังคม 6 คน กรณีคัดค้านเจ้าหน้าที่ขุดศพนายยะห์รี ดือเลาะ ขึ้นมาพิสูจน์บุคคล หนึ่งในนั้นคือ นายอาร์ฟาน วัฒนะ สมาชิกกลุ่ม The Patani กับพวก โดย สภ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส ให้ไปรายงานตัวเพื่อสอบปากคำ แต่ไม่ได้ระบุข้อกล่าวหา โดยทั้ง 6 คนมีภาพปรากฏในสื่อด้วย เหตุเกิดเมื่อวันที่ 10 ธ.ค. 2565</p>
<p>นายยะห์รี เป็นบุคคลที่เจ้าหน้าที่ต้องการตัว แต่เขาหลบหนีไปมาเลเซียแล้วหายตัวไป ต่อมา มีคนพบศพชายคนหนึ่งในแม่น้ำโกลก ซึ่งทางครอบครัวยะห์ ยืนยันว่าเป็นศพนายยะห์รี แต่ต่อมาเจ้าหน้าที่อ้างว่าไม่ใช่ศพนายยะห์รี จึงไปที่สุสานปาฮงกือปัส สุไหงปาดี เพื่อจะขุดศพขึ้นมาพิสูจน์ แต่ครอบครัวและชาวบ้านห้ามไว้จนเกิดการโต้เถียงกันอย่างรุนแรง จากนั้น นายอาร์ฟานกับพวกก็ได้เข้าเจรจาไกล่เกลี่ยจนในที่สุดฝ่ายเจ้าหน้าที่ต้องยุติความพยายามดังกล่าว ทั้งนี้ จากผู้ถูกหมายเรียก 6 คน อาจเลื่อนสถานเป็นผู้ต้องหา</p>
<p>อับดุลเลาะ เชื่อคนที่ถูกคดี SLAPP น่าจะมากกว่า 28 คน เพราะคนที่ถูกออกหมายไม่ได้มีนักกิจกรรมภาคประชาสังคมเท่านั้น แต่ยังมีชาวบ้านด้วย โดยบางคนมีภาพปรากฏในไลฟ์สด และคนที่ไม่ไปพบตามหมายถึง 2 ครั้งโดยไม่แจ้งเหตุผล ก็จะถูกออกหมายจับได้ </p>
<p>"สิ่งที่เกิดขึ้นคือ หลายคนถูกออกหมายเรียกไปให้ปากคำในฐานะพยานในช่วงแรก หลังจากนั้นถูกเลื่อนสถานะเป็นผู้ต้องหา ข้อหาร่วมกันข่มขืนจิตใจเจ้าพนักงานระหว่างปฏิบัติหน้าที่ กลายเป็นคนแย่งศพเอง ทั้งที่เข้าไปช่วยไกล่เกลี่ยเจรจากับเจ้าหน้าที่ หรือไปทำความเข้าใจให้ชาวบ้าน เพราะชาวบ้านจะไม่กล้า</p>
<p>"กลายเป็นว่าพวกนี้ที่โดน ซึ่งไม่ตรงกับคนที่ก่อเหตุจริง แต่ก็ต้องดูที่พยานหลักฐาน" อับดุลเลาะ กล่าว</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">'พ่อบ้านใจกล้า' ไม่มีข้อหา แต่เข้าข่าย 'ฟ้องปิดปาก'</span></h2>
<p>กลุ่มต่อมา เป็นกรณีชมรมพ่อบ้านใจกล้า 'Butler's Club' ซึ่งเปิดรับบริจาคเงินให้ครอบครัวคนที่ถูกเจ้าหน้าที่วิสามัญฆาตกรรม เพื่อช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และการเยียวยาเบื้องต้น ซึ่งช่วยมาแล้วหลายเคส ตั้งแต่ก่อนจะมีเหตุการณ์แย่งศพอีก </p>
<div class="more-story">
<p>ข่าวที่เกี่ยวข้อง</p>
<ul>
<li>สื่อชายแดนใต้ถูก DSI ค้นบ้าน ยึดคอมฯ เชื่อม 'พ่อบ้านใจกล้า' ระดมทุนช่วยเหลือเหยื่อจากการปะทะ</li>
</ul>
</div>
<p>โดยอับดุลเลาะ บอกว่า ในกลุ่มนี้ทางกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI โดยศูนย์ปฏิบัติการคดีพิเศษจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ออกหมายเรียกคนที่บริจาคเงินช่วยเหลือครอบครัวผู้เสียชีวิตในจำนวนเงินที่มากไปสอบปากคำ เพื่อถามว่าทำไมถึงโอนเงินให้จำนวนมาก </p>
<p>"ผมก็เคยถามคนหนึ่ง เขาโอนเงินไป 8,000 บาท เพราะเขาเคยช่วยเหลือเด็กกำพร้ามาก่อนจึงรู้สึกสงสารลูกของผู้เสียชีวิตจึงโอนเงินไปจำนวนมาก" ประธาน JASAD กล่าว</p>
<p>โดยวันที่ 14 มีนาคม 2566 พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ได้นำหมายค้นจากศาลปัตตานีเข้าตรวจค้นบ้านของ นายซาฮารี เจ๊ะหลง 'คอนเทนต์อีดิทเตอร์ (Content Editor)' ของสื่อออนไลน์ 'The Motive' หนึ่งในผู้ก่อตั้งชมรมพ่อบ้านใจกล้า โดยยึดคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ 1 เครื่อง และแบบพกพา 1 เครื่อง พร้อมนัดหมายให้ซาฮารี ไปเปิดเครื่องดูข้อมูลในวันรุ่งขึ้น (15 มี.ค.)</p>
<p>ในครั้งนั้น นายซาฮารี ยืนยันว่า เป็นการระดมทุนช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ครอบครัวผู้ที่เสียชีวิตจากการปะทะที่ถูกมองว่าเป็นฝ่ายผิดและจะไม่ได้รับการช่วยเหลือเยียวยา แต่กลับถูกมองว่ากระทำการช่วยเหลือดังกล่าวเป็นเรื่องที่ผิด</p>
<p>ต่อมามีเจ้าหน้าที่ได้ออกหมายเรียกอีกหลายคนที่อยู่ในกลุ่มชมรมพ่อบ้านใจกล้า ไปสอบปากคำรวมๆ ประมาณ 20 คนที่เกี่ยวข้องกับการโอนเงินบริจาค</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ฟ้องข้อหา 'อั้งยี่ ซ่องโจร' ก็ไม่ได้</span> </h2>
<p>"ดูเหมือนว่า เจ้าหน้าที่พยายามเรียกคนที่อยู่รอบข้างไปสอบปากคำก่อนในฐานะพยาน เมื่อได้พยานหลักฐานมากพอสมควรแล้ว จึงจะเสนอต่อศาลเพื่อขอออกหมายจับ เพื่อจะเล่นงานคนกลุ่มนี้" ซึ่งอับดุลเลาะ เห็นว่า เพราะนักกิจกรรมภาคประชาสังคมกลุ่มนี้ ทำกิจกรรมที่เป็นการรบกวนการทำงานของเจ้าหน้าที่</p>
<p><span style="color:null;">คำถามคือ จะแจ้งข้อหาอะไร </span></p>
<p>เมื่อแจ้งข้อหาอั้งยี่ไม่ได้ อับดุลเลาะ กล่าวว่า พอจะมีช่องทางเอาผิดทางกฎหมายได้ คือ ข้อหาทำผิด พ.ร.บ.ควบคุมการเรี่ยไร พ.ศ. 2487 เพราะไม่มีการขออนุญาต ก็มีบทลงโทษแค่เสียค่าปรับไม่กี่บาทเท่านั้น </p>
<p>เจ้าหน้าที่อาจแจ้งข้อหาให้หนักไว้ก่อน เช่น แจ้งข้อหาก่อการร้ายและเป็นอั้งยี่ซ่องโจร แต่ก็ไม่มีหลักฐานว่าชมรมพ่อบ้านใจกล้า ปลุกระดมเยาวชน รวบรวมคน 30 คนขึ้นไป มีการสะสมอาวุธ มีเอกสารที่ใช้อบรม หรือหลักฐานจากกล้องวงจรปิด ก็ไม่มี</p>
<p>หรืออาจแจ้งข้อหาทำผิด พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 แต่จะเอาผิดข้อหาฟอกเงินก็ไม่ได้ เพราะคนที่บริจาคเงินให้ก็มีหลักฐานชัดเจนว่า เป็นการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม </p>
<p>"วันนี้จึงยังไม่ได้แจ้งข้อหาใดๆ เพราะฉะนั้นยุทธศาสตร์ของฝ่ายความมั่นคง จึงไม่ได้อยู่ตรงการนำคนมาเข้าคุก แต่มีเป้าหมายคือจะทำยังไงให้เบรกพวกนี้ได้ก่อน นี่คือมุมมองของผม" อับดุลเลาะ กล่าว</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">แต่งชุดมลายู ไม่มีคดี แต่มีคนถูกคุกคาม </span></h2>
<p>อับดุลเลาะ เล่าถึงกรณีการร่วมกิจกรรมส่งเสริมทางประเพณี วัฒนธรรมในการรวมตัวสวมใส่ชุดมาลายู เมื่อ 4 พฤษภาคม 2565 ที่ริมหาดวาสุกรี อ.สายบุรี จ.ปัตตานี ที่มีเยาชนเข้าร่วมนับหมื่นคน ซึ่งจัดโดย CAP หรือ Civil Society Assembly For Peace ที่สร้างกระแสฮือฮาไปทั่ว จนเกิดเสียงวิจารณ์อย่างกว้างขวางว่าอาจจะกระทบกับความมั่นคงของรัฐ และมีการปฏิบัติการไอโออย่างหนัก โดยสิ่งที่ฝ่ายรัฐดำเนินการหลักจากนั้นก็เข้าข่ายคดี SLAPP ด้วยเช่นกัน </p>
<p>เพียงแต่กรณีนี้เจ้าหน้าที่ไม่ได้เรียกผู้เข้าร่วมหรือผู้จัดกิจกรรมไปพบในฐานะพยาน และไม่ได้เรียกไปดำเนินคดี แต่เรียกคนที่ไปร่วมชุมนุมไปทำประวัติว่าได้เข้าร่วมชุมนุมจริงหรือไม่ เพราะไม่มีข้อหาที่จะออกหมายจับ แต่เกิดจากความหวาดระแวงว่าอาจจะมีการกระทำผิดหรือจะทำให้มีปัญหาลุกลามใหญ่โตได้</p>
<div class="more-story">
<p>ข่าวที่เกี่ยวข้อง</p>
<ul>
<li>นักกิจกรรมวัฒนธรรมมลายูถูกคุมตัว กอ.รมน.ท้วง ไม่ได้จับแค่เชิญไปถามหาผู้ต้องหาหลบหนี</li>
</ul>
</div>
<p>อับดุลเลาะ บอกว่า กลุ่มคนที่เจ้าหน้าที่เรียกไปพบนั้นเป็นเพียงส่วนน้อย แต่ปรากฏว่าสิ่งที่เยาวชนที่เข้าร่วมการชุมนุมวันนั้น ถูกผู้ใหญ่บ้านเรียกไปพบเพื่อพูดคุย ทำประวัติ หรือบางครั้งบางคนก็ถูกเก็บ DNA</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">สร้างเงื่อนไขต่อรอง</span></h2>
<p>หลังการชุมนุมครั้งนั้น พล.ท.ธิรา แดหวา แม่ทัพน้อยที่ 4 และรอง ผอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า (ขณะนั้น) ได้พบปะพูดคุยกับแกนนำจัดงาน 5 คน ที่โรงแรม ซี.เอส.ปัตตานี ได้แก่ 1. นายมูฮำหมัดอาลาดี เด็งนิ ประธาน CAP 2. นายฮาซัน ยามาดีบุ เลขานุการ CAP 3. นายมะยุ เจ๊ะนะ ผู้อำนวยการ CAP 4. นายชารีฟ สะอิ ประธาน/เลขาธิการเครือข่ายบัณฑิตอาสาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (INSouth) และ 5. นายอานัส พงค์ประเสริฐ ประธานกลุ่มสายบุรีลุคเกอร์ (Saiburi Looker)</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53384117989_01e948d83e_b.jpg" /></p>
<p>ในการหารือได้ข้อสรุป 8 ข้อ เพื่อให้เป็นไปอย่างถูกต้องและไม่ละเมิดกฎหมาย เช่น ครั้งต่อไปจะเน้นประเด็นภาษามลายู ควรแจ้งประเด็น/วิธีการทำกิจกรรมกับฝ่ายความมั่นคงก่อน เพื่อป้องกันการเข้าใจในเชิงลบ และยังไม่ดำเนินการทางกฎหมายใดๆ ต่อบุคคลที่เข้าร่วมกิจกรรม
คดีประชามติ [จำลอง] เอกราชปาตานี</p>
<p>ส่วนกรณีนักกิจกรรมและนักศึกษาในนาม "Pelajar Bangsa" ถูกแม่ทัพภาคที่ 4 ฟ้องข้อหา "ร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือหรือวิธีอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริตฯ" จากการร่วมกิจกรรมเปิดตัว Patanian Student Movement - Pelajar Bangsa ที่มีวงเสวนา “สิทธิการกำหนดอนาคตตนเอง (RSD - Right to Self-determination) กับสันติภาพปาตานี” และการจัดประชามติ [จำลอง] เอกราชปาตานี เมื่อเดือนมิถุนายน 2566 ที่ ม.อ.ปัตตานีนั้น ถือเป็นคดี SLAPP ด้วยหรือไม่</p>
<div class="more-story">
<p>ข่าวที่เกี่ยวข้อง</p>
<ul>
<li>'นักศึกษานักกิจกรรมปาตานี' ปฏิเสธข้อกล่าวหาคดีความมั่นคง หลังถูกแม่ทัพภาค 4 ฟ้องปมประชามติจำลอง</li>
<li>'ขบวนการ นศ.แห่งชาติ' แจงบัตรถามประชามติจำลองสิทธิกำหนดชะตาชีวิตตนเอง ไม่มีแนวคิดแบ่งแยกดินแดน </li>
<li>'ทวี' ชี้ 'นศ.ชายแดนใต้' จำลองประชามติปกครองตนเอง เป็นสิทธิเสรีภาพ ไม่ขัดต่อ รธน.</li>
<li>สำนักปาตานีรายาฯ เตือนระวังฟ้องนักศึกษา ปมประชามติจำลองอาจเป็นน้ำผึ้งหยดเดียวทำลายสันติภาพ</li>
<li>
<p>นักวิชาการมอง 3 มุม 'สันติภาพ-ความมั่นคง หรือ ปั่นกระแสการเมือง' ปมประชามติกำหนดชะตากรรมตนเองจำลอง</p>
</li>
</ul>
</div>
<p>อับดุลเลาะ บอกว่า แน่นอนเป็นคดี SLAPP เพราะเป็นผลจากการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง ซึ่ง RSD ถูกกำหนดไว้ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง หรือ ICCPR (International Covenant on Civil and Political Rights) แม้ประเทศไทยได้ขอสงวนในเรื่องนี้ไว้ "มิให้ตีความอนุญาตหรือสนับสนุนการกระทำใดๆ ที่จะเป็นการแบ่งแยกดินแดน" ก็ตาม</p>
<p>คดีนี้มีคนถูกฟ้องร่วมกัน 5 คน ได้แก่ 1.นายอิรฟาน อูมา ประธาน Pelajar Bangsa 2.นายอาเต็ฟ โซ๊ะโก ประธาน The Patani 3.นายฮากิม พงติกอ หัวหน้า Patani Baru 4.นายฮูเซ็น บือแน สมาชิก Pelajar Bangsa และ 5.นายสารีฟ สะแลมัน สมาชิก Pelajar Bangsa โดยทั้ง 5 คน ได้เข้ารับทราบข้อกล่าวหาจากพนักงานสอบสวน สภ.เมืองปัตตานีแล้วเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2566</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ศาลจะพิจารณาวินิจฉัยที่เจตนา</span></h2>
<p>อับดุลเลาะ บอกว่า วันนี้กลุ่มคนที่ถูกแจ้งข้อกล่าวหาแล้ว นอกจากนักข่าวสำนักสื่อ Wartani นักกิจกรรมภาคประชาสังคม ยังมีนักกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมด้วย ส่วนคนที่ถูกหมายเรียกไปเป็นพยาน คิดว่าอีกไม่นานก็คงจะถูกออกหมายเรียกไปรับทราบข้อกล่าวหา
เมื่อถูกแจ้งข้อกล่าวหาแล้ว จะได้รับการประกันตัวหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของเจ้าพนักงาน เมื่อพนักงานสอบสวนส่งสำนวนให้อัยการแล้ว ก็ขึ้นอยู่กับอัยการว่าจะเรียกสอบอีกครั้งหรือไม่ ซึ่งผู้ต้องหาสามารถทำเอกสารชี้แจงส่งให้อัยการได้</p>
<p>สำหรับกรณีคดีนักกิจกรรมแย่งศพนั้นคงยากที่จะเอาผิดได้ เพราะไม่มีพยานหลักฐานตั้งแต่ต้น เมื่อคดีขึ้นสู่ศาล ศาลก็จะดูที่เจตนาว่าคนกลุ่มนี้เข้าไปเพื่อจะกระทำความผิดหรือไม่ </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">รัฐใช้คดี SLAPP เพื่อหยุดการเคลื่อนไหว</span></h2>
<p>อับดุลเลาะ กล่าวว่า ในฐานะที่ติดตามคดีความมั่นคง การละเมิดสิทธิมนุษยชน และคดี SLAPP ในต่างประเทศ พิจารณาได้ว่า น่าจะเป็นยุทธศาสตร์ของฝ่ายรัฐ ที่ไม่ได้ต้องการเอาคนกลุ่มนี้เข้าคุกจริงๆ เพราะแต่ละคดีมีอัตราโทษไม่หนัก หรือถ้ามีความผิดจริง ศาลก็คงพิพากษาแค่ให้รอลงอาญาหรือไม่ก็เสียค่าปรับ </p>
<p>"จุดประสงค์จริงๆ ต้องการให้พวกเขาสะดุด พยายามปิดปากพวกเขา ไม่ให้มารบกวนการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ" ประธาน JASAD ระบุ</p>
<p>เพราะเมื่อเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่แล้วมีคนไลฟ์สด หรือมีนักสิทธิมนุษยชนหรือภาคประชาสังคมมาติดตามรายงานข่าว เจ้าหน้าที่จะคิดว่าต่างชาติอาจมองฝ่ายความมั่นคงในด้านลบ จึงไม่ต้องการให้มีการสื่อสารออกสู่สาธารณะ จึงคิดว่าจะทำยังไงให้คนอื่นๆ ไม่กล้ามาไลฟ์สดอีก ก็ต้องใช้คดี SLAPP ฟ้องภาคประชาสังคม</p>
<p>"แต่การไลฟ์สดการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ไม่มีกฎหมายใดห้าม ไม่ผิดรัฐธรรมนูญ เราจะไลฟ์สดเจ้าหน้าที่มาเป็นล้อมตรวจค้นเราก็ได้ เพราะฉะนั้นในกลุ่มคนที่ไลฟ์สดจะไม่ถูกข้อหาไลฟ์สด แต่ถูกข้อหาขัดขวางเจ้าพนักงานแทน เพื่อให้งานของพวกเขาสะดุด" อับดุลเลาะ กล่าว</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ส่งผลกระทบทางจิตวิทยา-สร้างเงื่อนไขต่อรอง</span></h2>
<p>อับดุลเลาะ บอกว่า สิ่งที่จะทำให้การเคลื่อนไหวสะดุดจากการใช้คดี SLAPP นั้นมี 2 อย่าง คือ 
1. ในกลุ่มคนที่ถูกคดี SLAPP จะมีทั้งคนที่กลัวและคนที่ไม่กลัว แต่ในด้านจิตวิทยาจะมีผลต่อครอบครัวไม่มาก็น้อย เช่น ภรรยารู้สึกกลัวจึงขอร้องให้สามีหยุด งานที่ไหลลื่นอยู่ก็จะสะดุดหรือหยุดชะงักไป</p>
<p>2. เมื่อรับทราบข้อกล่าวหาแล้ว เจ้าหน้าที่ก็จะเรียกมาคุยไกล่เกลี่ยให้หยุดเคลื่อนไหว เพื่อแลกกับการไม่ดำเนินคดีต่อหรือไม่ คนที่ถูกคดีก็ต้องยอมรับเงื่อนไขนี้เจ้าหน้าที่ก็ถอนฟ้อง คดีก็จบ แม้บางคนจะได้สู้คดีในชั้นศาล แต่ครอบครัวอยากให้ถอนฟ้อง เมื่อเป็นเช่นนี้ความมุ่งมั่นในการเคลื่อนไหวก็ลดลง</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/12/107325
 
2889  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - ชายฟื้นจากความตาย หายเป็นใบ้-ตาบอด เพื่อนบ้านขนลุกกันหมด เหมือนเกิดใหม่จริงๆ เมื่อ: 22 ธันวาคม 2566 05:34:27
ชายฟื้นจากความตาย หายเป็นใบ้-ตาบอด เพื่อนบ้านขนลุกกันหมด เหมือนเกิดใหม่จริงๆ
         


ชายฟื้นจากความตาย หายเป็นใบ้-ตาบอด เพื่อนบ้านขนลุกกันหมด เหมือนเกิดใหม่จริงๆ" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;เพื่อนบ้านเห็นกับตา ชายหยุดหายใจ 30 นาที ก่อนฟื้นจากความตาย แถมหายเป็นใบ้-ตาบอด เหมือนเกิดใหม่จริงๆ จนน่าขนลุก
         

https://www.sanook.com/news/9150490/
         
2890  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - ประชาธิปัตย์ สู้ ๆ... เมื่อ: 22 ธันวาคม 2566 04:25:03
ประชาธิปัตย์ สู้ ๆ...
 


<span class="submitted-by">Submitted on Fri, 2023-12-22 00:42</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>“ประชาธิปัตย์” ได้ฉายาว่า “แมลงสาบ” ปัจจุบันมีความหมายเชิงดูหมิ่นดูแคลน (insulting tone) แต่ที่จริงวันที่ 7 เมษายน 2545 การประชุมใหญ่สามัญประจำปีของพรรคประชาธิปัตย์ ผู้นำเสนอ คือ ศ.ดร.กนก วงศ์ตระหง่าน ท่านพูดว่า</p>
<p>“การปฏิรูปการเมืองควรใช้ทฤษฎีแมลงสาบ ที่วิเคราะห์จากพฤติกรรมของแมลงสาบ คือ ปรับตัวเองได้ดี มีเรดาห์คือหนวดในการตรวจสอบสิ่งต่างๆ มีสมองและประสาทไว้คอยประสานงานกับส่วนต่างๆ มีขาหกขาไว้บินเวลาคับขัน เวลาวิ่งจะวิ่งเร็ว แต่วิ่งสั้นๆ วิ่งไปแล้วหยุดแล้ววิ่งต่อ นอกจากนี้ยังมีจุดเด่น คือ การแพร่พันธุ์ได้รวดเร็วมาก จึงทำให้แมลงสาบอยู่มาได้เป็นพันล้านปี...”</p>

<p>อาจารย์กนก หมายถึง ความสามารถในการปรับตัวได้ดี จนอยู่มาได้นาน แต่คนเอาไปล้อว่าแมลงสาบเป็นสัตว์ที่น่ารังเกียจ ตอนนี้ประชาธิปัตย์กำลังอยู่ในเวลาคับขัน ใครๆ ก็วิเคราะห์ว่าจะตกต่ำ บางคนบอกได้ ส.ส.เขต 25 คนกับปาร์ตี้ลิสต์ 3 คนนับว่าตกต่ำแล้ว แต่ต่อไปก็จะยิ่งตกต่ำกว่านี้อีก เพราะคนทยอยออก</p>
<p>แต่น่าทึ่งที่ “น้าชวน” ยืนหยัดอยู่กับพรรค และกล่าวว่าจะทำให้ดีที่สุด แล้วก็หวังว่าคนเก่าที่เก่งๆ จะกลับมาพรรคประชาธิปัตย์</p>
<p>กรอบการวิเคราะห์พรรคการเมืองที่ดีที่สุดในปัจจุบัน คือ การวิเคราะห์องค์การ ส่วนใหญ่วิเคราะห์อยู่ 7 ประเด็น ได้แก่ (1) คน (2) โครงสร้าง (3) ความรู้ (4) เทคโนโลยี (5) เป้าหมายหรือจุดยืน (6) สภาพแวดล้อม และ (7) กลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์ แต่ขอพูดรวมๆ กันไป</p>
<p>หลายคนคาดหมายว่า พรรคประชาธิปัตย์จะกลายเป็นพรรคต่ำสิบ เพราะได้กลุ่มผู้บริหารชุดใหม่ที่บารมีน่าจะยังไม่มากพอ ประกอบกับยึดวิธีโบราณ คือ เล่นงานกันเอง กับเน้นระบบอุปถัมภ์ในพื้นที่ บางคนเรียกว่า “ระบบใจถึงพึ่งได้” แต่บางคนฟันธงแล้วว่าไปไม่รอด บางคนบอกทางแก้ปัญหา คือ ช่วยกันลาออกจากประชาธิปัตย์ บางท่านเสนอว่า “รักยาวให้บั่น” ท่านคงหมายถึงหาทาง “ยุติข่าวลบ” โดยเร็วที่สุด!!</p>
<p>ไฮเดกเกอร์ (Heidegger) สอนไว้ทำนองว่า “สัตว์ไม่สงสัยว่าตัวเองเกิดมาได้อย่างไร แต่มนุษย์คิดเกี่ยวกับการมีอยู่ของตัวเองโดยสัมพันธ์กับเวลาที่ตนมี คนเราทุกคนเป็นสิ่งที่มีอยู่ชั่วคราวตามสิ่งแวดล้อมของแต่ละคน เราจึงคิดถึงอนาคตแตกต่างกัน ขอบเขตการคิดของเราไปไกลที่สุดไม่เกิน “ความตาย” ดังนั้น การคิดของมนุษย์ที่ไกลไปจาก “ความตาย” จึงไม่ใช่การคิดถึงการมีอยู่ที่แท้จริงของตัวเอง คนเราใกล้ตายยิ่งไตร่ตรองถึงการกระทำของตัวเอง ตั้งแต่วันที่เราเริ่มคิดได้จนถึงวันเราตาย นั่นแหละ เป็นความจริงที่จริงมากที่สุดสำหรับตัวเรา”</p>
<p><strong>ในการพิจารณาคดีของศาล คำพูดของคนใกล้ตายจึงมีน้ำหนักให้รับฟังมากที่สุด ทำนองเดียวกัน หากพรรคประชาธิปัตย์กำลังจะล่มสลายจริงๆ คนในพรรคประชาธิปัตย์จะไม่คิดไตร่ตรองอะไรเชียวหรือ?</strong></p>
<p><strong>ประเด็นแรก จุดยืนพรรค</strong></p>
<p>ปัจจุบันพรรคการเมืองไทยมีจุดยืนตามรูปนี้</p>
<p><strong><span style="text-align: justify;">ซ้าย   &lt;---------------------I-------------------------&gt;   ขวา</span></strong></p>
<p>พรรคที่อยู่ข้างซ้าย ได้แก่ พรรคก้าวไกล กับพรรคเพื่อไทย</p>
<p>พรรคที่อยู่ข้างขวา ได้แก่ พรรคพระพุทธเจ้า พรรคหมอวรงค์ พรรคพลังประชารัฐ และพรรครวมไทยสร้างชาติ พรรคชาติไทยพัฒนา และพรรคภูมิใจไทย</p>
<p>นอกนั้นยังมีพรรค Niche คือ พรรคที่มุ่งลูกค้าเฉพาะ แต่มีฐานแคบ ได้แก่ พรรคท้องถิ่นไทย พรรคท้องที่ไทย พรรคครูไทย กับพรรคทวงคืนผืนป่า</p>
<p>ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ อยู่ตรงกลางตลอด ยึดเสรีประชาธิปไตย แต่ไม่ยอมระบุว่าเสรีแบบซ้ายหรือแบบขวา หรือเป็นทางเลือกที่สาม (the third way) ทางปฏิบัติจะเอียงขวามากกว่าซ้าย เคยมีคนเสนอให้ไปทางซ้ายบ้าง คือ สนใจสวัสดิการสังคมบ้าง แต่โดนค้าน --คนเสนอบางคน เช่น น้องไอติม ตอนนี้ออกจากพรรคไปได้ดีที่อื่นแล้ว</p>
<p>ที่ผ่านมา พรรคข้างซ้ายได้เสียงมากที่สุด คือ ก้าวไกลกับเพื่อไทย ตามลำดับ พรรคข้างซ้ายนี้มีข้อเด่นทางจุดยืนอยู่ 2 จุด ได้แก่ (1) เสรีภาพ กับ (2) สวัสดิการสังคม พรรคก้าวไกลมีจุดยืนเรื่องเสรีภาพกับสวัสดิการสังคมเป็นระบบกว่าเพื่อไทยที่เน้นการโฆษณาสร้างความหวือหวาตามแนว   ประชานิยม</p>
<p>อันที่จริง การเมืองไทยมองไม่ยาก เพราะหากโฟกัสไปที่การเลือกตั้ง มีปัจจัยหลักๆ เพียง       2 ปัจจัย คือ “กระแส” กับ “กระสุน” เราจะเห็นภาพการเมืองไทยชัดขึ้น ดังนี้</p>
<p>1. ก้าวไกล = กระแสขึ้นสูงปรี๊ด+กระสุนแทบไม่ได้ใช้สำหรับการยิงตรง อาจมีเฉพาะยิงอ้อม คือ การโฆษณากับรถแห่</p>
<p>2. เพื่อไทย = กระแสมีพอประมาณ+กระสุนระดับหมื่นนัด</p>
<p>3. ภูมิใจไทย+พลังประชารัฐ + รวมไทยสร้างชาติ = กระแสเบาบาง+กระสุนระดับหมื่นนัด</p>
<p>4. ประชาธิปัตย์ = กระแสไม่มีเลย+กระสุนจำกัดระดับพันนัด</p>
<p>5. พรรคหมอวรงค์ = กระแสไม่มีเลย+กระสุนก็ไม่มีด้วย—ใช้ “วาทะ” อย่างไร กระแสก็ยังไม่มา</p>
<p>ในประเด็นแรกนี้ ประชาธิปัตย์ไม่คิดจะปรับมาสนใจ “เสรีภาพ” กับ “สวัสดิการสังคม” บ้างเลยหรือ? พี่นิพิฏฐ์ แห่งเมืองลุง คนที่เคยคัดค้านการเพิ่มสวัสดิการสังคม แกก็ออกไปได้ดีที่ใหม่แล้ว</p>
<p style="margin:0in; text-align:justify"> </p>
<p><strong>ประเด็นที่สอง งัดวิชาแมลงสาบมาใช้</strong></p>
<p>ไหนๆ พรรคประชาธิปัตย์ก็ได้ฉายาว่า “แมลงสาบ” (ปรับตัวเก่ง) แล้ว หากเอาวิชาแมลงสาบของอาจารย์กนกมาใช้ตอนนี้ อาจเกิดผลดีก็ได้</p>
<p>การได้ผู้บริหารพรรคชุดใหม่มีข้อดีข้อใหญ่ คือ การลดอิทธิพลของน้าชวนและคนเก่าแก่ของพรรคลง ผลที่ตามมา ได้แก่</p>
<p>(1)  เส้นทางความเจริญก้าวหน้าของคนในพรรคไม่ได้ติดกับระบบอาวุโสแบบเมื่อก่อน ที่ต้องเสียเวลารอคิวกันยาวเหยียดเพราะยึดระบบอาวุโสเข้มข้นเกิน ไม่มีระบบฟาสต์แทร็คให้คนวิ่งขึ้นสู่ตำแหน่งการเมืองเร็วขึ้น</p>
<p>ความจริง พรรคการเมืองก็คือกลุ่มคนที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน จึงไม่ใช่ ผู้อาวุโส “กินรวบ” สมาชิกพรรควัยละอ่อนมีฝีมือก็อยากเป็นผู้บริหารพรรค ผู้บริหารพรรคก็อยากเป็นนายกรัฐมนตรีและเป็นรัฐมนตรี ตำแหน่งข้างบนลีบและตีบตันเท่าใด ข้างล่างก็ขยับไม่ได้เท่านั้น</p>
<p>สาเหตุหลักที่พรรคการเมืองไทยแตกกันเป็นกลุ่มเป็นก๊วนมาก เพราะต้องอาศัยกลุ่มก๊วนต่อรองเอาตำแหน่ง อันนี้ไม่ได้เป็นเฉพาะพรรคประชาธิปัตย์ เพียงแต่การแตกกันเป็นกลุ่มก๊วนของประชาธิปัตย์สะท้อนให้เห็นว่าที่ผ่านมาระบบพรรคผิดพลาดที่เลือกใช้ “ระบบปิด” ไม่เปิดกว้างเพียงพอ –แต่ที่แน่ๆ ไม่ใช่ “สันดานประชาธิปัตย์” อย่างคนใส่ร้าย เพราะพอเขาไปอยู่ที่ใหม่ ระบบเปิดกว้างกว่า เขาก็อยู่ได้ดี     มีความสุข เนื่องจากได้รับโอกาสให้แสดงบทบาทตามเหตุผลของเขาเอง</p>
<p>(2) มีอิสระมากขึ้น ใครอยากพูดอะไรก็ได้พูด ไม่ต้องชะเง้อมองว่าน้าชวนแกจะยกไม้เรียวหรือเปล่า? แน่นอนว่า สิ่งที่ตามมา คือ การเกิดความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น</p>
<p>(3) วิธีการของน้าชวนอาจล้าสมัย พรรคไม่จำเป็นต้องอาศัยบารมีของบุคคลเหมือนเมื่อก่อน การปลุกเร้าความรู้สึกของคนทำด้วยวิธีการสมัยใหม่ เช่น ทีมงานโฆษณาผ่านเฟสบุ๊ค หรือสื่อสารออนไลน์</p>
<p>(4) พรรคสามารถระดมทุนได้เป็นเรื่องเป็นราวและสามารถจัดองค์กรพรรคใหม่ได้ คติน้าชวนที่ว่า “ไม่เคยเลี้ยงกาแฟใคร” อาจใช้ไม่ได้ในยุคนี้</p>
<p>ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าเอาเงินไปซื้อเสียง ทว่ากิจกรรมพรรคสมัยใหม่ก็ต้องใช้เงิน เช่น การมีผู้อำนวยการพรรคที่มีความรู้ทางการเมือง นักวางแผนการเมือง นักวิเคราะห์นโยบายการเมือง แล้วที่สำคัญ คือ การจัดระบบข้อมูลข่าวสารแบบใหม่ที่ใช้ได้ตรงประเด็นและทันสมัย กับนักเทคโนโลยี อาจต้องมีเงินเดือนเป็นกิจจะลักษณะ เปลี่ยนงานบริหารพรรคการเมืองเป็นมืออาชีพ ไม่ใช่ใช้วิธีทำงานชั่วคราวตามสไตล์ประชาธิปัตย์ ที่คนพูดกันว่า “ตังเม” เรียกพี่!!</p>
<p>(5) เมื่อระบบพรรคเปิดกว้าง การคิดนวัตกรรมก็ตามมา ไม่เป็นแบบทุกวันนี้ที่มีทั้งสื่อโทรทัศน์และสื่อออนไลน์อื่น แต่ไม่มีคอนเท้นต์ คือ ไม่รู้จะเอาอะไรไปประชาสัมพันธ์</p>
<p>(6) พรรคประชาธิปัตย์ อาจต้องเปลี่ยนแท็คติกการเล่นฟุตบอลแบบอุดประตู เป็นรุกเร็ว-กองหน้าคม มากขึ้น เมื่อก่อนอาศัยวิชา “ตีกิน” หรือ “ตอดกิน” อาศัยการย้อนคำพูดของคนอื่นให้เจ็บๆ   แสบๆ เรียกคะแนน แต่ไม่ค่อยครีเอทอะไรใหม่ๆ คงต้องเปลี่ยนวิธีเล่น เพราะมีตัวรุกดีๆ หลายคน เช่น ดร.เอ้ ฝีเท้าไม่เบาเหมือนกัน!!</p>
<p>ประเด็นอยู่ที่กลุ่มผู้บริหารชุดใหม่ (1) ใจใหญ่ใจกว้างหรือเปล่า? (2) มีความรู้พื้นฐานพอที่จะรับฟังความคิดเห็นในเชิงวิชาการ หรือชอบฟังหรือเปล่า? (3) เปิดโอกาสให้ตัวรุกเร็วได้บอลมากขึ้นหรือเปล่า?? แต่ถ้าคิดเหมือน “น้าบรรหาร” ว่า “เป็นพรรคฝ่ายค้านอดอยากปากแห้ง” ก็จบกัน!! นอกจากนั้น อย่าทำตามที่น้าชวนเตือนว่า “ห้ามเอาพรรคประชาธิปัตย์ไปต่อรองเอาตำแหน่งหรือผลประโยชน์” สิ่งที่คนเป็นห่วงมาก ได้แก่ ความซื่อสัตย์และอุดมการณ์</p>
<p>กลุ่มผู้บริหารพรรคประชาธิปัตย์ชุดใหม่มีอะไรให้น่าห่วง โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงจากพรรคอุดมการณ์ซึ่งไม่ค่อยชัดเจนอยู่แล้ว ไปเป็นการประกอบการทางการเมือง (political entrepreneurs)    คำนี้เกิดจากนักธุรกิจมาลงทุนให้พรรคการเมือง เสร็จแล้วนักธุรกิจก็ได้ตำแหน่งตอบแทน ตอนแรกได้นิดๆ หน่อยๆ นักธุรกิจก็พอใจ ตอนหลังนักธุรกิจเข้ามายึดพรรค กลายเป็นพรรคผู้ประกอบการ (entrepreneurial parties) ซึ่งโฟกัสไปที่ผลประโยชน์ของกลุ่มทุนอย่างเดียว</p>
<p style="margin:0in; text-align:justify"> </p>
<p style="margin:0in; text-align:justify"><strong>ประเด็นที่สาม ฐานเสียง</strong></p>
<p>ฐานเสียงสมัยนี้ต่างไปจากสมัยก่อน คนสมัยก่อนเคยเลือกประชาธิปัตย์อย่างไร ก็จะเลือกประชาธิปัตย์ไปเรื่อยๆ กลายเป็นวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปัตย์</p>
<p>แต่สมัยนี้วัฒนธรรมดังกล่าวหายไป ฐานเสียงสมัยปัจจุบันมีแค่ 2 ประเภท ประเภทหนึ่ง คือ เครือข่ายระบบอุปถัมภ์สมัยใหม่ ซึ่งผูกพันด้วยผลประโยชน์เฉพาะหน้าและเงินทองที่มัดจำ—มัดใจกัน มากกว่าวัฒนธรรมการเมือง</p>
<p>อีกประเภทหนึ่ง คือ ฐานเสียงคุณภาพ เช่น กรณีพรรคก้าวไกล ใช้อาจารย์กับนักศึกษาเป็น   ฐานเสียง ซึ่งเป็นฐานเสียงธรรมชาติ หมายถึงเป็นไปโดยความสมัครใจ เพราะมีความคิดก้าวหน้าเหมือนกัน ทุกวันนี้ขยายออกไปสู่เมืองใหญ่ และเมืองรองไปเรื่อยๆ</p>
<p>ปัญหานี้เป็นปัญหาใหญ่ของการเมืองไทย เพราะการที่จะพัฒนาฐานเสียงคุณภาพได้นั้น พรรคต้องมีความคิดก้าวหน้าและตามความคิดของคนหนุ่มสาวทัน แต่พรรคการเมืองไทยส่วนใหญ่ยังขาดพื้นฐานความคิดทางด้านสิทธิเสรีภาพ สวัสดิการสังคม และมีความคิดอนุรักษ์นิยมเกินไป คำถามจึงมีว่า “เมื่อได้ผู้บริหารชุดใหม่แล้ว พรรคประชาธิปัตย์ได้คนก้าวหน้ามาบ้างหรือยัง?”</p>
<p style="margin:0in; text-align:justify"> </p>
<p><strong>ประเด็นที่สี่ การคัดคนเข้าพรรค</strong></p>
<p>กระบวนการคัดคนเข้าพรรคประชาธิปัตย์ที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่าผิดพลาด ปัญหาส่วนหนึ่งที่พรรคต้องแก้ไข มีสาเหตุมาจากการได้คนไม่ได้มาตรฐานในระดับที่ควรจะเป็น ขณะเดียวกันพรรค      ขาดมาตรฐานการคัดคน กระบวนการคัดคนยังใช้ความใกล้ชิดสนิทสนมเป็นหลัก</p>
<p>กลุ่มผู้บริหารชุดใหม่ ยิ่งน่าเป็นห่วง มีภาพพจน์ทำนอง “เขาใช้ระบบพวกพ้อง เราก็ใช้” หรือ “เขาผูกขาดอำนาจ เราก็ใช้”--อันนี้อันตราย “คุณภาพ” ความเป็นประชาธิปัตย์ไม่ดีขึ้น ปัญหาที่กำลังเกิดกับประชาธิปัตย์ นอกจาก “สมองไหล” แล้ว ยังไม่มีคนมีโปรไฟล์ดีๆ เข้ามา ส่วนคนมาแทนเป็น “ท่านผู้กว้างขวาง” เสียส่วนมาก พรรคประชาธิปัตย์กำลังวางน้ำหนักไปทางบทบาท “ใจใหญ่ใจนักเลง”</p>
<p style="margin:0in; text-align:justify"> </p>
<p><strong>ประการที่ห้า ความเข้าผิดเรื่องความเป็นสถาบัน</strong></p>
<p>ความตกต่ำของพรรคประชาธิปัตย์ อาจทำให้คนหูตาสว่าง!! ประชาธิปัตย์เข้าใจผิดมาตลอดว่าพรรคตัวเองเก่าแก่ที่สุด จึงเป็นสถาบันการเมืองมากที่สุด แต่ที่ถูก “เวลาที่อยู่มานาน” แม้เป็นดัชนีชี้วัดความเป็นสถาบันการเมืองตัวหนึ่งก็จริง แต่ตัวชี้วัดที่สำคัญกว่า คือ การยอมรับของสังคม</p>
<p>นักรัฐศาสตร์ชอบยกตัวอย่างศาลสูงสหรัฐอเมริกา คนอเมริกันยอมรับนับถือศาลสูงว่าซื่อสัตย์และเที่ยงธรรม พิพากษาอะไรออกมามีเหตุมีผล ตรงใจประชาชน ฉะนั้น จึงชอบเปรียบเปรยว่า หากศาลสูงสหรัฐอเมริกาไปตั้งเต้นท์ตัดสินคดี คนอเมริกันก็ยอมรับอยู่ดี ความเป็นสถาบันของเขาจึงสูงมาก เพราะความเป็นสถาบันนอกจากตึกหรือออฟฟิชแล้ว ยังหมายถึงแบบแผนของการกระทำที่คนยอมรับกัน ซึ่งสำคัญกว่าตัวโครงสร้างทางกายภาพ</p>
<p style="margin:0in; text-align:justify">ในอดีตความเป็นสถาบันของพรรคประชาธิปัตย์อยู่ที่คนใต้ยอมรับว่าพรรคเป็นเสาหลักของสังคม ครั้งหนึ่งเคยเปรียบว่า <strong>“พรรคประชาธิปัตย์ส่งเสาไฟฟ้ามาลง คนใต้ก็เลือก” </strong>ในทางกลับกัน การที่พรรคประชาธิปัตย์ได้ผู้แทนภาคใต้ลดลง สะท้อนว่าคนใต้ยอมรับลดลง เท่ากับความเป็นสถาบันของพรรคประชาธิปัตย์ลดลง</p>
<p style="margin: 0in;">เวลานี้จึงต้องมาใคร่ครวญ เมื่อก่อนประชาธิปัตย์มีอะไรดี คนถึงยอมรับ ทำไมวัฒนธรรมทางการเมือง เช่น การอภิปรายมันๆ หรือความรักในพื้นที่ หรือท้องถิ่นนิยม หรือว่า “ผลงานที่เคยเข้าตา”—มันหายไปไหน?? ปัจจุบันมีการตัดสินใจเป็นชนวนเหตุหรือไม่ เช่น การที่คนประชาธิปัตย์แยกไปตั้งกลุ่ม กปปส. ล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์ และไม่ให้จัดการเลือกตั้ง --หรือการตัดสินใจเข้าข้างรัฐบาลน้าตู่ที่มาจากการรัฐประหาร –หรือการตัดสินใจเข้าร่วมรัฐบาลน้าตู่—หรือประชาธิปัตย์ไม่มีผลงานที่ชัดและวัดได้ –หรือประชาธิปัตย์เองก็คิดไม่ต่างจากพรรคที่ตัวเองเคยด่า เช่น ถ้าเป็นแล้วก็อย่าเสียเที่ยว ต้องรู้จักเก็บออม!! หรือว่าประชาธิปัตย์ชอบเล่นเกมหลายหน้า --คนนี้แบ่งเข้าร่วมรัฐบาลน้าตู่ คนโน้นแบ่งออกไปไม่ต้องเข้าร่วม หรือแม้แต่ปัจจุบันพรรคบอกเป็นฝ่ายค้าน แต่บางคนโหวตให้ “เศรษฐา”  ลักษณะความเอาแน่เอานอนไม่ได้ หรือการกระทำที่ไม่ต่างจากคนที่ประชาธิปัตย์เคยด่าเขาไว้ น่าจะเป็นเหตุให้คนใต้ลังเลใจ ส่วนคนกรุงเทพฯ พูดเป็นเสียงเดียวว่า “ประชาธิปัตย์—เปี๊ยนไป๋!!”</p>
<p style="margin:0in; text-align:justify"> </p>
<p><strong>ประการที่หก ภูมิทัศน์การเมืองไทยเปลี่ยนแปลงจากการเกิดความแตกแยกทางสังคม การสิ้นสุดอุดมการณ์และการเกิดการเมืองยุคหลังความจริง</strong></p>
<p>ประเด็นนี้ใหญ่มาก ระยะสิบกว่าปีที่ผ่านมาการเมืองไทยเปลี่ยนแปลงอย่างสลับซับซ้อนจากปัจจัยสามประการ ได้แก่ (1) ความแตกแยกทางสังคม (social cleavages) (2) การสิ้นสุดอุดมการณ์ (the end of ideology) และ (3) การเมืองยุคหลังความจริง (the post-truth politics)</p>
<p>ทั้งหมดมีปัจจัยกระตุ้น (the triggering factor) จากนโยบายประชานิยม (populist policy) ที่ทักษิณนำมาใช้ครองใจคนจนได้เป็นครั้งแรกในประเทศไทย จนทำท่าว่าจะครองอำนาจนำอย่างเบ็ดเสร็จ ต่อมา ทักษิณขัดแย้งกับสนธิ ลิ้มทองกุล จึงเกิดขบวนการเสื้อเหลืองต่อต้านทักษิณ จนเกิดรัฐประหารนำโดยน้าสนธิ บุญยรัตกลิน ข้ามไปสมัยอภิสิทธิ์เกิดขบวน “เสื้อแดง” ต่อต้าน ข้ามมาอีกถึงยุคยิ่งลักษณ์ เกิดการปะทะกันระหว่างรัฐบาลยิ่งลักษณ์กับ “ขบวนการ กปปส.” จน “น้าตู่” เข้ามายึดอำนาจโดยการรัฐประหารเป็นคำรบสองในรอบสิบปี</p>
<p>ความแตกแยกนี้สลับซับซ้อนมาก คำว่า “ประชาธิปัตย์” ตรงแปลว่า “ผู้สนับสนุนประชาธิปไตย” ซึ่งเป็นการปกครองโดยประชาชน กลับต่อต้านการเลือกตั้งสมัยยิ่งลักษณ์ แถมยังไปเข้ากับน้าตู่ที่มาจากการรัฐประหาร ทุกวันนี้เป็นยุคสืบทอดทักษิณ แต่พลังประชารัฐกับรวมไทยสร้างชาติ ซึ่งสืบทอดมาจากน้าตู่และน้าปุ้มปุ้ย กลับเข้าร่วมรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทย ข้างเพื่อไทยอ้างว่าเป็น “ฝ่ายประชาธิปไตย” แต่ไม่ยืนหยัดกับ “ก้าวไกล” ที่ได้เสียงข้างมากที่สุด และหันไปรวมกับพรรคสืบทอดเผด็จการที่ตนเคยด่าไว้ เพื่อเอาทักษิณ “ปิ๊กบ้าน”  สรุปแล้วไม่มีใครมีอุดมการณ์มั่นคง ล้วนเน้นยุทธวิธีซึ่งแปรเปลี่ยนไปตามสถานการณ์</p>
<p> ฝรั่งวิเคราะห์ว่า “น้าตู่” มีสองภาค ภาคแรกเป็น hard power ใช้อำนาจ คสช. ภาคที่สอง เป็น soft power ใช้อำนาจการเลือกตั้ง</p>
<p>ช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา สังคมไทยเต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสารที่สับสน ไม่มีใครสนใจว่าความจริง  ภววิสัย (objective truth) จะเป็นอย่างไร แต่มุ่งเอาความจริงไปรับใช้เป้าหมายของการปลุกกระแสเร้าอารมณ์คน บางทีก็จริงทั้งหมด บางทีก็ไม่จริงเลย หรือบางทีก็จริงบางส่วน การเมืองทุกค่ายต่างฝ่ายต่าง      “ปั่นกระแส” มุ่งสร้างความนิยมให้ตัวเอง สาเหตุที่ปั่นกันมาก เป็นเพราะความเจริญเติบโตทางเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร ทั้งโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ และสื่อออนไลน์สารพัดชนิด</p>
<p>การปลุกเร้าอารมณ์ทางการเมืองของไทย เกิดก่อนสมัยทรัมป์ในสหรัฐอเมริกาเสียอีก ตามตำราทรัมป์ได้ชื่อว่าเป็นต้นตำรับของการนำความจริงครึ่งเดียวมาพูดปลุกเร้าทางการเมืองตอนเลือกตั้งประธานาธิบดี เมื่อปี 2016 หรือ พ.ศ. 2559 ต่อมา คนอเมริกันพบว่าทรัมป์ชอบใช้การโกหกคำโต แต่ของไทยการปลุกเร้ากลุ่มทางการเมืองและใช้ความจริงบ้างไม่จริงบ้างมีมาตั้งแต่สมัย พ.ศ. 2544-2549 เป็นต้นมา อันเป็นช่วงที่วอยซ์ทีวี เอเอสทีวี และบลูสกายทีวี แข่งกันสื่อสารครอบงำสังคม ต่อมายุคหลัง พ.ศ. 2561-2563 พรรคอนาคตใหม่ของธนาธรกลับเหนือชั้นกว่าอีก ใช้สื่อออนไลน์สมัยใหม่สร้างกระแสความนิยม กับทั้งประสานกับวอยซ์ทีวีและครูบาอาจารย์ในมหาวิทยาลัย ปัจจุบัน พ.ศ. 2566 เศรษฐากับอุ๊งอิ๊งก็ย้อนรอยใช้วิธีสร้างกระแสความนิยมผ่านสื่อออนไลน์เหมือนธนาธร แต่เน้นคอนเท้นต์ตลาดล่าง!!</p>
<p>ขณะที่ค่ายอื่นใช้สื่อออนไลน์แข็งแกร่งและได้ผล แต่ประชาธิปัตย์กลับอ่อนกำลัง ปัญหาที่เกิดกับประชาธิปัตย์ คือ มีสื่อในมือครบครัน แต่ไม่มีคอนเท้นต์!! สะท้อนว่าไม่มีคนดูแลจริงจังหรือไม่ก็คนดูแลไม่เอาอ่าว!!</p>
<p style="margin:0in; text-align:justify"> </p>
<p><strong>ประการที่เจ็ด การเมืองของการใช้เงิน (Money Politics)</strong></p>
<p>การเมืองของการใช้เงิน (Money Politics) เป็นภูมิทัศน์ทางการเมืองใหม่ที่มีสเกลใหญ่กว่าสมัยที่ผ่านมามากนัก ยุคก่อนๆ ยังใช้กันเฉพาะบางพรรค บางพรรคยืนหยัดกับการไม่ใช้เงิน เช่น ประชาธิปัตย์ แต่ยุคปัจจุบันใช้กันหมด ยกเว้นก้าวไกล</p>
<p>ยุคน้าตู่ก๊อกสอง จำเป็นต้องเปิดให้เลือกตั้งทั่วไป เพราะต้องการเปลี่ยน hard power เป็น soft power แต่อยู่ภายใต้เงื่อนไขว่าหากน้าตู่ไม่ชนะก็ไม่สามารถกลับไปใช้ hard power ได้ จึงเป็นไฟท์บังคับที่น้าตู่กับพรรคพวกต้องช่วยกันทุกวิถีทาง อีกทั้งได้เตรียมกลไก สว. กับองค์กรอิสระไว้ล่วงหน้าแล้ว</p>
<p>การเลือกตั้งยุค soft power ของน้าตู่ ปี 2562 จึงเป็นยุคเริ่มต้น “Big Money in Politics” ในประเทศไทย โดยที่องค์กรอิสระไม่ฟังก์ชั่นเท่าใดนัก มันไม่ใช่ “ม่านสีม่วง” อย่างที่น้าชวนเคยเผชิญ แต่คราวนี้เป็น “สีเทาทึมๆ” กองเท่าภูเขาเลากา ว่าด้วยกระสุนเป็นหมื่นๆ นัด</p>
<p> </p>
<p>ยิ่งน้าตู่กับน้าปุ้มปุ้ยแตกกันเอง ต่างหาแหล่งทุน คนใกล้ชิดน้าตู่กับน้าปุ้มปุ้ยก็แข่งกันเสนอตัวเป็น “ผู้จัดการกองทุนหลักทรัพย์” เพราะอาจได้ “สิทธิพิเศษ” จากการเข้าถึงกองทุน แต่ “นายทุน” ปวดตับรุนแรง ไม่รู้จะลงหุ้นเท่าใดและแบ่งลงให้แต่ละฝ่ายเท่าใด??</p>
<p> </p>
<p>ข้างประชาธิปัตย์ เมื่อพรรคอื่นเขาว่ากันด้วยกระสุนหมื่นนัด แต่ประชาธิปัตย์มีจำกัดจำเขี่ยระดับพัน แค่เจือจานลูกพรรคก็ได้ไม่ครบคน ทุกคนรู้แก่ใจว่าไม่อาจเข้าสู่สนาม Big Money กับเขาได้เต็มกำลัง</p>
<p> </p>
<p>เงินจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประชาธิปัตย์เปลี่ยนแปลง เพราะใครๆ เขาก็ใช้กัน-- “ผู้จัดการกองทุนหลักทรัพย์” กลายเป็นคนใหม่ที่ใครๆ ก็เห็นความสำคัญ ดังที่น้าชวนโอดครวญ!!</p>
<p style="margin:0in; text-align:justify"> </p>
<p><strong>ประการที่แปด ประการสุดท้าย ประชาธิปัตย์ยุคใหม่จะเอาอะไรไปขาย?</strong></p>
<p>ปัญหาใหญ่ที่สุดของประชาธิปัตย์ยุคใหม่ คือ ประชาธิปัตย์จะเอาอะไรไปขาย สมัยน้าควง เอาการต่อสู้กับเผด็จการไปขาย สมัยน้าชวนเอาการยึดหลักการกฎหมายและวาทศิลป์ไปขาย สมัยอภิสิทธิ์เอาความรูปหล่อ การเป็นนักเรียนนอกและการมีวิสัยทัศน์ ปฏิภาณไหวพริบไปขาย</p>
<p style="margin:0in; text-align:justify"><strong>ประชาธิปัตย์ชุดใหม่จะขายอะไรดี? ความเป็นพรรคพวก ใจถึงพึ่งได้ หรือพูดคำไหนเป็นคำนั้น?</strong>
 </p>
<p>ถามต่อว่าจะสู้ด้วย “กระสุน” อย่างเดียวหรือจะเอา “กระแส” ด้วย จะขยายตลาดการเมืองออกไปให้กว้างกว่าที่ผ่านมาไหม? เตรียมทีมไว้แล้วหรือยัง? หรือมีทีเด็ดแล้ว แต่ยังไม่เปิดเผย—กะเซอร์ไพร้ส์ทีเดียว!!</p>
<p><strong>สุดท้าย หากขายกระแสไม่ได้ แถมยิงจนกระสุนหมดคลัง แล้วถากรักแร้ศัตรู แฉลบออกข้างหมด จะทำยังไง  --ปิดบริษัทดีไหม? แล้วใครจะชำระหนี้คงค้าง -–ยังไงก็อย่าให้ถึงมือน้าชวน...เสียงนุ่มๆ ของแกมันบาดใจเหลือเกิ๊น...!!!</strong></p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">บทควhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/12/107329
 
2891  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - The post-secular กับฮาเบอร์มาส เมื่อ: 22 ธันวาคม 2566 02:53:06
The post-secular กับฮาเบอร์มาส
 


<span class="submitted-by">Submitted on Fri, 2023-12-22 01:20</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ปรากฏการณ์ “น้องไนซ์” ที่อ้างว่าสามารถสอนให้คนหลายคนสามารถ “เชื่อมจิต” ระหว่างกันได้ ด้านหนึ่งนั้น ทำให้คนหันมาสนใจการวิปัสสนากรรมฐาน แต่อีกด้านหนึ่ง คนสงสัยว่าจะเป็นวิธีการที่ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนาหรือไม่?</p>
<p>ที่จริงเป็นประเด็นโดยตรงที่เกี่ยวกับแนวคิด “secular” กับแนวคิด “post-secular”</p>
<p>คำว่า “secular” เป็นภาษาละตินมาจากคำว่า “saeculum” แปลว่า “เวลานี้” (this time) “ทุกวันนี้” “ปัจจุบันนี้” (now, present) และ “โลกนี้” (this world) หรือ “ทางโลก” (worldly)</p>
<p>ภาษาไทยแปลว่า “ทางโลก” บ้าง “โลกวิสัย” บ้าง บางทีถ้าผนวก “รัฐ” เข้าไปด้วย ก็แปลว่า “รัฐฆราวาส” หรือ “รัฐที่เป็นกลางทางศาสนา”</p>
<p>ส่วนคำว่า “post-secular” เป็นคำที่ฮาเบอร์มาสเอามาใช้ โดยนำมาจากปีเตอร์ เบอร์เกอร์ (Peter Berger) เพื่อบรรยายถึงการเปลี่ยนแปลงจากสังคม “secular” ไปสู่การมีอยู่อย่างต่อเนื่องของชุมชนทางศาสนาและมีอิทธิพลทั้งระดับประเทศและระดับโลกตั้งแต่ยุคสหัสวรรษเป็นต้นมา อีกนัยหนึ่ง “secular” เป็น “สังคมไม่เอาศาสนา” (unchurched society) แต่ “post-secular” เป็นการรื้อฟื้นศาสนาขึ้นมาใหม่</p>
<p><strong>1. ยุค secular</strong></p>
<p>ยุค secular เกิดในศตวรรษที่ 17 ศาสนาคริสต์แตกออกเป็นสองนิกาย ได้แก่ คาทอลิกและ         โปรเตสแตนท์ลูเทอร์แรน และมีพระมหากษัตริย์เข้ามาสนับสนุนแต่ละนิกาย จนเกิดสงครามกันยืดเยื้อ เรียกว่า “สงครามสามสิบปี” จนกระทั่ง ค.ศ. 1648 จึงตกลงทำสนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย ตกลงกันว่าจะ    ไม่เอาความเชื่อทางศาสนามาทำให้สังคมแตกแยก หลายคนตีความว่าเป็นหมุดหมายของการแยกศาสนาออกจากรัฐ</p>
<p>ถัดมา โลกเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุครู้แจ้ง (the age of enlightenment) ด้านหนึ่ง สถาบันศาสนาและผู้ปกครองเผด็จการอ่อนแอลง ขณะที่อีกด้านหนึ่ง นักปรัชญากลุ่มหลักเหตุผลที่ต้องการต่อสู้กับพวก  คลั่งไคล้ศาสนา ได้แก่ โธมัส ฮ็อบส์ (Thomas Hobbes) เรเน เดการ์ต (Rene Descartes) เดวิด ฮูม (David Hume) และอิมมานูเอล ค้านท์ (Immanuel Kant) ด้วยการวางพื้นฐานทางปรัชญาสำหรับคุณค่าใหม่ คือ “secular values”</p>
<p>ในศตวรรษที่ 18 ค้านท์ (Kant) เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างต้องอยู่ใต้หลักเหตุผลและสามารถวิพากษ์วิจารณ์ด้วยหลักเหตุผลที่แท้จริง สังคมต้องปลดปล่อยจากการปกครองของศาสนา ยืนหยัดอยู่กับเหตุผลที่เสรีและการตรวจสอบของสาธารณะ</p>
<p>ในศตวรรษที่ 19 คาร์ล มาร์กซ (Karl Marx) ปฏิเสธศาสนา อ้างว่ามอมเมาประชาชน และเป็นเครื่องมือกดขี่ของผู้ปกครอง ที่จูงใจมวลชนให้ยอมรับชะตากรรม</p>
<p>แม็กซ์ เว็บเบอร์ (Max Weber) เห็นว่าความตกต่ำของศาสนาเป็นผลมาจากปรากฏการณ์ความทันสมัย (modernization) หลักเหตุผลของโลกสมัยใหม่นำไปสู่การแยกอาณาจักรศาสนาที่ไม่มีเหตุผล ทางด้านเอมิล เดิร์กไคม์ (Emile Durkheim) มองเป็นเรื่องการจำแนกแจกแจงหน้าที่กันในสังคม ต่อมาเขาเสนอแนวคิด secularization เป็นคนแรกเพื่อลดอิทธิพลของศาสนา ส่วนนิทเช่ (Nietzsche) เห็นว่า “พระเจ้าตายแล้ว” (God is dead) หมายถึงคนในโลกสมัยใหม่ต้องรู้จักประเมินคุณค่าเดิมใหม่ (reevaluate old values)</p>
<p>แนวคิดตาม secular values ดังกล่าว โฮเซ กาซาโนวะ (Jose Casanova) อธิบายว่ามีผลทางปฏิบัติสองด้าน ด้านหนึ่ง เป็นการจำแนกแจกแจงพื้นที่ “secular” ออกมา ซึ่งหมายถึงการจำแนกแจกแจงพื้นที่ออกมาจากศาสนา 3 ด้าน ได้แก่ รัฐ เศรษฐกิจและวิทยาศาสตร์ เท่ากับเป็นการปลดปล่อยพื้นที่ดังกล่าวให้หลุดพ้นจากการครอบงำของศาสนา ขณะเดียวกันก็เบียดขับศาสนาและแปรรูปศาสนา (marginalization and privatization of religion) ส่วนอีกด้านหนึ่งที่เป็นผลที่คาดหมายว่าจะเกิดขึ้นตามมา ได้แก่ การจำแนกหน้าที่ดังกล่าวจะทำให้ศาสนาเสื่อมลงและทำให้ศาสนากลายเป็นเรื่องส่วนตัวของปัจเจกบุคคล</p>
<p>นักปรัชญาตามหลักเหตุผลนิยม เชื่อว่า “วิทยาศาสตร์” จะเข้าแทนที่ “ศาสนา” มากขึ้นเรื่อย ๆ และในที่สุดศาสนาก็จะหายไปเอง เนื่องจากวิทยาศาสตร์มีเหตุผลหนักแน่นกว่า</p>
<p>นักคิดสมัยศตวรรษที่ 19-20 หลายคนที่มีความผูกพันกับศาสนาวิตกกับปัญหา “วิทยาศาสตร์มา ศาสนาหมด” เช่น รุสโซ (Rousseau) ส่วนฝ่ายศาสนาก็พยายามดิ้นรนต่อสู้ เช่น อ้างว่าตนก็มีเหตุผลที่ดี แต่บางทีสังคมก็เห็นว่าศาสนาทำให้เกิดความงมงาย ความขัดแย้งนี้ดำรงอยู่เป็นร้อย ๆ ปี</p>
<p>ส่วนการจำแนกแจกแจงหน้าที่ของแต่ละสังคมมีระดับการปฏิบัติไม่เท่ากัน ในบริบทยุโรป รัฐและนักวิชาชีพประสบความสำเร็จในการเอาศาสนาออกไปจากงานสาธารณสุข การศึกษาและสวัสดิการสังคม ซึ่งงานเหล่านี้ต่างเคยเป็นขององค์กรทางศาสนา</p>
<p>ผลกระทบทางด้านสังคม ความเชื่อและวัฒนธรรมที่ตามมา ได้แก่ ยุโรปเริ่มปรากฏ “กลุ่มไม่เอาศาสนา” สองกลุ่ม กลุ่มแรก คือ อไญยนิยม (agnosticism) ในศตวรรษที่ 18 และ 19 และกลุ่มที่สอง คือ อเทวนิยม (atheism) ในศตวรรษที่ 20</p>
<p>ความหมายของคำว่า “secular” จึงขยายออกจากเดิม ไม่ได้หมายถึงเฉพาะการแยกรัฐ เศรษฐกิจและวิทยาศาสตร์ออกไปจากศาสนา แต่กินความครอบคลุมไปถึงการเกิด “กลุ่มไม่เอาศาสนา” ด้วย</p>
<p>ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าคนไม่นับถือศาสนา เช่น คอมมิวนิสต์ เป็นคนไม่ดี ตัวอย่างเมื่อไม่นาน มานี้ สี จิ้นผิง ซึ่งไม่นับถือศาสนาเพราะเขาเป็นคอมมิวนิสต์ คุยกับไบเดนราวสองชั่วโมง สี จิ้นผิง      ยกหลักธรรมว่า “อย่ารบกันเลยนะ โลกนี้ยังมีที่ให้เติบโตโดยไม่ต้องเบียดเบียนกัน” สุดท้ายสรุปว่า ให้กลาโหมทั้งสองฝ่ายเพิ่มฮอตไลน์ เผื่อมีเรื่องผิดพลาดจะได้เข้าใจตรงกัน” (ที่มา : อ้างจากการแปลต้นฉบับภาษาจีนของศุภฤกษ์ ตั้งใฝ่คุณธรรม) ฉะนั้น แม้นว่าคนไม่นับถือศาสนา จะไม่มีหลักศีลธรรมทางศาสนา แต่ไม่ได้หมายความว่าเขาจะไม่มีหลักธรรมตามหลักการอื่น เช่น เขาอาจมีหลักจริยศาสตร์ของเขาเองตามแนวคิดของนิทเช่ ก็ได้</p>
<p>ด้วยเหตุนี้ คำว่า “secular” จึงขยับมาอยู่ตรงกลางมากขึ้น</p>
<p>“Anything not affiliated with a church or faith can be called secular. Non-religious people can be called atheists or agnostics, but to describe things, activities, or attitudes that have nothing to do with religion, you can use the word secular.”</p>
<p>อะไรก็ตามที่ไม่ผูกพันกับศาสนาหรือความศรัทธา เรียกว่าเป็น “secular” ส่วนคนไม่มีศาสนาอาจเรียกได้ว่า “อเทวนิยม” (atheists) หรือ “อไญยนิยม” (agnostics) แต่การอธิบายสิ่งของ การกระทำหรือทัศนคติที่ไม่มีอะไรเกี่ยวกับศาสนา อาจใช้คำว่า “secular” ก็ได้”</p>
<p>“secular” จึงเริ่มมีความหมายว่า “ไม่เกี่ยวกับศาสนา” หรือ “ไม่เอาศาสนามาเกี่ยว” มากกว่าที่จะหมายถึง “โลกวิสัย” หรือ “รัฐฆราวาส” อันเป็นสภาพเป้าหมายปลายทางที่อ้างว่าเป็นรัฐหรือสังคมที่มีเหตุผลที่ดีกว่า และต้องเปลี่ยนแปลงโดยการแยกสังคมดังกล่าวออกมา หรือกลับกัน แยกศาสนาออกไป</p>
<p>หลักการเดิมที่ยึดกันมาตลอด ตั้งแต่ยุครู้แจ้ง จนถึงสมัยใหม่ คือ “โลกศาสนา” กับ “โลกไม่นับถือศาสนา” ต่างคนควรต่างอยู่ เช่น คุณไม่นับถือศาสนาก็ไม่มีใครว่า... ส่วนคนที่นับถือศาสนาก็เรื่องของคนนับถือ เพราะเป็น<strong>เสรีภาพในการนับถือศาสนา (freedom of religion)</strong>—แต่ไม่ใช่ว่า “คุณนับถือศาสนาหนึ่งแล้ว คุณจะเอาศาสนาของคุณมาครอบใส่หัวผม” หรือว่า “หากฝ่ายคุณไม่นับถือศาสนา แล้วคุณก็อย่ารุกล้ำเข้ามาจัดการกับคนนับถือศาสนา”</p>
<p>ดังนั้น “Secularism ensures that the right of individuals to freedom of religion is always balanced by the right to be free from religion. Secularism is about democracy and fairness. In a secular democracy all citizens are equal before the law and parliament”</p>
<p>การมี “แนวคิดการไม่เอาศาสนามาเกี่ยว” ก็เพื่อให้มั่นใจว่าสิทธิของปัจเจกบุคคลฝ่ายที่นับถือศาสนาสมดุลอยู่เสมอกับฝ่ายที่แยกเป็นอิสระจากศาสนา แนวคิดการไม่เอาศาสนามาเกี่ยว เกี่ยวข้องกับประชาธิปไตยกับการกระทำที่ยุติธรรม ในสังคมประชาธิปไตยที่ไม่เกี่ยวกับศาสนา พลเมืองทุกคนมีความเสมอภาคก่อนมีกฎหมายและก่อนกระบวนการออกกฎหมาย”</p>
<p>ทว่า หลักการยุค “post-secular” ก้าวหน้าไปอีกขั้นหนึ่ง ไม่ใช่เพียง “ต่างคนต่างอยู่” หรือฝ่ายหนึ่งจะไม่เข้าไปจัดการกับอีกฝ่ายหนึ่งอย่างที่เป็นหลักการในยุค “secular” แต่ยุค “post-secular” เห็นว่า    ทุกฝ่ายต้องหันหน้าเข้าหากันและปรับตัวเข้าหากัน เป้าหมายจึงใหญ่กว่ายุค “secular”</p>
<p><strong>2. ยุค post-secular</strong></p>
<p>ยุคสหัสวรรษ</p>
<p>“Scholars now began to question the causal relationship between the subordinate of the spiritual sphere under the worldly sphere – i.e., the secularization as functional differentiation of the secular and religious spheres – and the on-going indispensable decline and eventual disappearance of religious beliefs and practices.”</p>
<p>นักวิชาการปัจจุบันเริ่มตั้งคำถามความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลระหว่าง “อาณาจักรจิตวิญญาณ” ที่อยู่ต่ำกว่า “อาณาจักรทางโลก” อันได้แก่ การใช้หลัก secularization ไปจำแนกแจกแจงโลกออกเป็น “อาณาจักร secular” กับ “อาณาจักร religious” ตลอดจนผลที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในที่สุด คือ การหายไปของความเชื่อทางศาสนาและการปฏิบัติทางศาสนา</p>
<p>ยุค “post-secular” ตั้งสมมติฐานเบื้องต้นเอาไว้ 2 ประการ ประการแรก แนวคิด “secular” ต่างหากที่เป็นสาเหตุสำคัญให้ศาสนาหยุดเจริญเติบโต และประการที่สอง เราจะไม่มีมุมมองอะไรใหม่เกี่ยวกับการแบ่งโลกออกเป็นโลก “secular” กับโลกศาสนาบ้างเลยหรือ?</p>
<p>นักคิดยุค “post-secular” ได้แก่ เยอเก้น ฮาเบอร์มาส (Jurgen Habermas) และวิลเลียมคอนนอลลี (William Connolly) เป็นต้น นักคิดเหล่านี้มีความคิดเห็นร่วมกันว่า โลกสมัยใหม่มีวิธีการปรับตัวเข้ากับศาสนามากมายหลายวิธี ไม่ใช่การทิ้งขว้างหรือกีดกันไม่ให้ศาสนาเติบโตอย่างยุค “secular” อีกทั้งวิธีการการแปรรูปศาสนาของยุค “secular” ยังไม่สามารถเปลี่ยนความเชื่อทางศาสนาที่เคยงมงาย ให้หายงมงายได้</p>
<p>ยุค “post-secular” ตั้งคำถามท้าทายต่อยุค “secular” ว่า ที่ผ่านมาเราให้ความสำคัญกับหลักเหตุผลมากเกินไปหรือไม่? และเราทำตามทฤษฎี “secular” เดิมแล้ว สังคมเราดีขึ้นหรือไม่? เช่น เราแยกศาสนาออกมาจากรัฐแล้ว ปรากฏว่ารัฐมีเหตุผลมากขึ้น เช่น คนไม่แตกแยกกัน? หรือว่ายิ่งแตกแยกกันหนักกว่าเดิม หรือว่าไม่เกี่ยวกับศาสนา? ในทางกลับกัน เราแปรรูปศาสนาแล้ว ศาสนาจะหายงมงาย?</p>
<p>จุดเริ่มต้นของการถกเถียงกันเกี่ยวกับศาสนายุคใหม่มาจากงานของฮาเบอร์มาสหลายชิ้น ที่มีอิทธิพลมากเป็นเรื่อง “พื้นที่สาธารณะ” (public sphere) ของฮาเบอร์มาส ซึ่งเขาหมายถึงสถาบันทางสังคมที่เปิดให้พลเมืองมาถกเถียงกันเพื่อก่อร่างมติมหาชน อาจพบกันตัวต่อตัวหรือวิธีอื่น แต่หลักการ คือ ต้องเปิดกว้างแก่ทุกคน และมีหลักประกันว่าจะทำให้เกิดความคิดเห็นที่ดีกว่า โดยไม่ใช่กำลัง ซึ่งอันที่จริงเป็นงานศึกษาประวัติศาสตร์ของการเปลี่ยนโครงสร้างพื้นที่สาธารณะแต่ละยุค เช่น ยุคศักดินา ยุคนายทุนและยุคประชาธิปไตย</p>
<p>ปัจจุบันนักวิชาการหลายคนนำความคิดเรื่องพื้นที่สาธารณะของเขาไปประยุกต์ใช้ โดยเฉพาะยุคดิจิทัล จนระยะเวลาอันใกล้นี้ ฮาเบอร์มาส จะออกหนังสือเล่มใหม่เกี่ยวกับพื้นที่สาธารณะในยุคดิจิทัล ชื่อ “A New Structural Transformation of the Public Sphere and Deliberative Politics” วางตลาดต้น ปี 2024 นี้ ตอนนี้ Amazon เปิดให้ pre-order ได้แล้ว</p>
<p>จากแนวคิดเรื่องพื้นที่สาธารณะของฮาเบอร์มาส เขาเห็นว่า พื้นที่สาธารณะเป็นตัวเชื่อมที่สำคัญที่สุดระหว่างภาคประชาสังคม (civil society) กับรัฐ (the state) และเป็นตัวบ่งชี้ความเป็นประชาธิปไตยเพราะหากพื้นที่สาธารณะเป็นอิสระและมีมากทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ความเป็นประชาธิปไตยก็จะยิ่งมีมาก ในทางกลับกัน หากไม่มีพื้นที่สาธารณะ ภาคประชาสังคมก็ไม่มีเวที ประชาธิปไตยก็อ่อนแอ</p>
<p>ประเด็นศาสนาในพื้นที่สาธารณะ (religion in public sphere) จึงเป็นประเด็นหลักที่นักวิชาการศึกษา อภิปรายและถกเถียงกันในปัจจุบัน อาทิ ศาสนาควรมีที่อยู่กับเขาในอาณาบริเวณสาธารณะบ้างหรือไม่ อย่างไร และที่ถูกรัฐกับศาสนาควรมีความสัมพันธ์กันอย่างไรในแต่ละประเทศและแต่ละสังคม แต่ที่แน่ ๆ โมเดล 2 โมเดล ได้แก่ การโจมตีกันอย่างก้าวร้าว (aggressive animosity) กับการรวมทรัพย์สินของศาสนากับของรัฐเข้าด้วยกัน (material unification of church and state) ถูกปฏิเสธไปเรียบร้อยแล้วในยุโรป บางประเทศถือว่าผิดกฎหมาย เช่น เยอรมัน (ดู Brugger &amp; Kayanni, eds, 2007, Religion in the Public Sphere: A Comparative Analysis of German, Israeli, American and International Law, Springer)</p>
<p><strong>3. post-secular กับฮาเบอร์มาส</strong></p>
<p>ฮาเบอร์มาส มีความคิดเกี่ยวกับศาสนาหลายตอน แต่แก่นความคิดหลักของเขา คือ การต่อต้านสิ่งศักดิ์สิทธิ์ (the sacred) หรือความงมงาย</p>
<p>ตอนแรกเขาคิดเหมือนมาร์กซที่ว่าศาสนามอมเมา ต่อมา ทศวรรษ 1980 เปลี่ยนจากการวิพากษ์สิ่งศักดิ์สิทธิ์ มาเป็นเริ่มต้นความคิดทางศาสนา ในงาน Theory of Communicative Action ปี 1981 เขาหันไปเห็นด้วยกับเดิร์กไคม์ มากกว่ามาร์กซ ในการเสนอทฤษฎีวาทกรรมการสื่อสาร เขายกตัวอย่างการใช้ภาษาศักดิ์สิทธิ์ว่ากำลังเปลี่ยนจากภาษาทางธรรม ไปเป็นภาษาทางโลกที่คนเข้าใจมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงนี้แท้จริง คือ การทำงานของกระบวนการสร้างความทันสมัย (process of modernization) ต่อมาก็ยอมรับว่าภาษาสมัยใหม่หลายอย่างมีรากมาจากจริยธรรมทางศาสนา เช่น ความเท่าเทียมสากล (universalistic egalitarianism) การกระทำที่เป็นอิสระของชีวิต (autonomous conduct of life) การปลดปล่อย (emancipation) หลักศีลธรรมทางมโนธรรมของปัจเจกบุคคล (individual morality of conscience) สิทธิมนุษยชน (human rights) และประชาธิปไตย (democracy) เป็นจริยธรรมว่าด้วยความยุติธรรมของศาสนายูดาห์ และจริยธรรมว่าด้วยความรักของศาสนาคริสต์</p>
<p>ถัดมา เขาข้ามกรอบวิเคราะห์เดิร์กไคม์ ไปหากรอบ “secular” คิดว่าโลกเทววิทยาสามารถเคลื่อนย้ายไปสู่โลก “secular” ได้ แต่เขาเริ่มตระหนักว่ามีบางอย่างหายไปในโลกสมัยใหม่ซึ่งเป็นโลกที่สับสน เขายืนยันว่าปรัชญาต้องพร้อมที่จะเรียนรู้จากเทววิทยา และเหตุผลทางศาสนาไม่ใช่ไร้เหตุผลโดยสิ้นเชิง แม้ศาสนาจะไม่ได้เป็นที่มาของเหตุผลในโลกสมัยใหม่ แต่ก็เป็นแหล่งที่มาของแรงบันดาลใจทางด้านปทัสถานในโลกปัจจุบัน</p>
<p>สุดท้าย เขาข้ามมาใช้กรอบวิเคราะห์ “ความล้มเหลว” ของข้อเสนอตามแนวคิด secularization โดยนำคำพูดของปีเตอร์ เบอร์เกอร์ (Peter Berger) มาใช้ ที่ว่า “ยุคของเรามิใช่ยุค secularization ตรงกันข้าม เป็นยุคความรุ่งเรืองของศาสนา” (Our age is not an age of secularization. On the contrary, it is an age of exuberant religiosity) ศาสนายังคงเด่นขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง แนวคิด “secular” ในยุโรปกลายเป็นสิ่งผิดปกติ เมื่อมองประวัติศาสตร์โลก หลักเหตุผลแบบตะวันตกของเว็บเบอร์ ปัจจุบัน ปรากฏเป็นจริงว่ามีความเบี่ยงเบน</p>
<p>ฮาเบอร์มาส เริ่มอธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากยุค “secular” มาสู่ยุค “post-secular” สรุปสั้น ๆ ว่า ในยุโรปได้เปลี่ยนจากโลกไม่เอาศาสนา หันมาฟื้นฟูหลักศาสนาและชุมชนศาสนา ปรากฏการณ์ที่เห็นได้ชัด คือ คนอเมริกันพากันเข้าโบสถ์เป็นล่ำเป็นสันมากกว่าเดิมมาก ดังนั้น เดิมยุค “secular” คิดว่าศาสนาจะหายไป แต่ข้อเท็จจริงศาสนาไม่ได้หายไป กลับกลายเป็นพื้นฐานทางปทัสถานที่สำคัญของสังคม คนได้ประโยชน์จากศาสนาในแง่ของการกอบกู้ศรัทธาดั้งเดิมกลับคืนมา</p>
<p>ส่วนหลักเหตุผลของยุค “secular” ที่มีตั้งแต่สมัยค้านท์ ที่ว่า “ทุกสิ่งทุกอย่างต้องมาอยู่ใต้หลักเหตุผล” และ “อะไรที่ไม่มีเหตุผลต้องแยกออกไป” นั้น ยุค “post-secular” โดยฮาเบอร์มาสนำมาปรับใช้ใหม่ โดยปรับการจากงานของจอห์น รอลส์ (John Rawls) อีกทีหนึ่ง</p>
<p>งานชื่อ “Political Liberalism” ของรอลส์ ค.ศ. 1993 วางหลักว่า เมื่อคนนับถือศาสนาเข้ามามี  ส่วนร่วมในประชาสังคม เขาต้องแยกศาสนาออกไป และหันมายึดวัฒนธรรมการเมืองแบบ secular      ไม่ว่าจะเป็นการตัดสินคดี การออกกฎหมาย หรือการเป็นเจ้าหน้าที่หรือสมัครเป็นเจ้าหน้าที่ ตอนหลังรอลส์กำหนดเงื่อนไขอ่อนลงนิดหนึ่งว่า อาจนำความคิดทางศาสนามาอภิปรายทางการเมืองได้บ้าง เพื่อให้เหตุผลทางการเมืองมีน้ำหนักมากขึ้น</p>
<p>ฮาเบอร์มาส เห็นด้วยกับหลักของรอลส์ แต่เห็นว่าเงื่อนไขที่รอลส์วางเอาไว้ เป็นการวางน้ำหนักให้เหตุผลทางศาสนาเป็นลำดับที่สองรองจากเหตุผลของ “secular” เขาจึงปรับใหม่ให้สมดุล ด้วยการแยกพื้นที่สาธารณะเป็นทางการ (formal) กับไม่เป็นทางการ (informal) ออกจากกัน เขาเห็นว่าพื้นที่และเวลาที่เป็นทางการ เช่น รัฐสภา ศาล รัฐมนตรีและฝ่ายบริหาร ไม่ควรเอาศาสนามาเกี่ยว ส่วนพื้นที่เดียวกันเวลาไม่เป็นทางการ นักการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพื้นที่นั้นสามารถอ้างเหตุผลทางศาสนาได้เต็มที่</p>
<p>แต่เพื่อให้การถกเถียงกันในพื้นที่สาธารณะไม่มีเหตุผลหรือถูกครอบงำโดยศาสนา เดิม รอลส์   เห็นว่าเป็นเรื่องฝ่ายศาสนาต้องรู้จักแยกแยะเอง ว่าอันไหนเป็นเหตุผลการเมือง อันไหนเป็นเหตุผลทางศาสนา แต่ฮาเบอร์มาส เห็นว่าถ้าทำอย่างที่รอลส์ว่าก็เป็นการเปิดช่องให้สิ่งศักดิ์เข้าครอบงำ ที่ถูกต้องนำหลัก “the religiously unmusical” ของเว็บเบอร์มาใช้ หลักข้อนี้เกิดจากเว็บเบอร์เขียนจดหมายถึง แฟร์ดินองด์ โทนนีส์ (Ferdinand Tonnies) ค.ศ. 1909 หมายความว่า เขาเป็นคนแปลกหน้าต่อศาสนา แต่ขณะเดียวกัน ก็ไม่ได้เป็นศัตรูกับศาสนา หมายถึง เราต้องรู้จักรับฟังเหตุผลของฝ่ายศาสนาและนำเอามาไตร่ตรองด้วยเหตุผลของตนเอง สรุปว่าฝ่าย “secular” รวมทั้งฝ่ายไม่เอาศาสนาต้องช่วยฝ่ายศาสนาในการทำความเข้าใจศาสนา</p>
<p>จากหลักของฮาเบอร์มาสที่กล่าว เขาจึงปรับแนวคิด secularization ในยุค post-secular โดยการแยกออกเป็นสองด้าน คือ ด้านรัฐกับด้านสังคม เรียกว่า “secularization of the state” กับ “secularization of society”</p>
<p>ด้านรัฐ หมายถึงภาคทางการ ต้องเขียนว่าเป็น “secular” คือ ไม่เอาศาสนาไปเกี่ยว ส่วนภาคสังคม ศาสนาต้องเข้าไปมีบทบาทในพื้นที่สาธารณะ ภาครัฐที่เขียนไว้นั้น ต้องเขียนไว้ให้น้อยที่สุด เพื่อเปิดช่องให้มี “ความไม่เป็นทางการ” อยู่ในภาครัฐด้วย เช่น เวลาไม่เป็นทางการของผู้พิพากษา ย่อมมีสิทธินับถือศาสนาและถกเถียงเรื่องศาสนา หรือประกอบพิธีกรรมทางศาสนาตามความเชื่อของตน แต่เวลาตัดสินคดี ผู้พิพากษาต้องไม่เอาศาสนาไปเกี่ยว</p>
<p>ส่วนภาคสังคม เป็นแนวคิดหลักของฮาเบอร์มาส เขาเห็นว่าสำคัญกว่าภาครัฐมาก ไม่ใช่ศาสนา  ไม่เกี่ยว แต่ศาสนาต้องมีบทบาทในพื้นที่สาธารณะด้วย การขับเคลื่อนของภาคสังคมย่อมไปไกลกว่าภาครัฐอยู่แล้ว เพราะภาคสังคมยืดหยุ่นกว่าและเป็นพลังทางสังคม</p>
<p>“Although political authority was originally defined in cosmic-religious term, in modern secular states it is no longer based on religious beliefs or on the sovereignly of absolute rulers. We live to today in secular societies in liberal democracies, rather than in religious aura, and religious certainties are increasingly challenged. In view of the growing diversity of modern society.”</p>
<p>แม้อำนาจการเมืองมีที่มาดั้งเดิมจากแนวคิดเรื่องจักรวาลวิทยาของศาสนา แต่รัฐที่ไม่เอาศาสนามาเกี่ยวจะไม่อาศัยความเชื่อทางศาสนาหรือผู้ปกครองที่มีสมบูรณาญาสิทธิ เราอยู่กันทุกวันนี้ในสังคมเสรีประชาธิปไตยที่ไม่เกี่ยวกับศาสนา มากกว่าได้รับอิทธิพลจากศาสนา และข้อกำหนดตายตัวของศาสนาถูกท้าทายมากขึ้นเรื่อย ๆ จากที่เขามองความหลากหลายของสังคมสมัยใหม่</p>
<p>If so, religious citizens must recognize the principle that the justification of constitutional essentials and the outcome of the democratic process have to be neutral towards competing worldviews, which is why secular reason alone can be used in the formal public sphere.</p>
<p>ถ้าเป็นดังนั้น ฝ่ายศาสนาต้องตระหนักถึงหลักเหตุผลความจำเป็นของรัฐธรรมนูญและผลของกระบวนการประชาธิปไตยว่าจะต้องเป็นกลางต่อโลกทัศน์ทางศาสนาที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมเหตุผลทางด้าน “secular” เพียงลำพัง จึงสามารถใช้ได้เฉพาะพื้นที่สาธารณะที่เป็นทางการ</p>
<p>ส่วน the secularization of society ของฮาเบอร์มาส “ศาสนาเป็นส่วนหนึ่งของภาคสังคม” แต่ถ้าหากมีหลายศาสนา สังคมต้องเข้มแข็ง เข้ามาขับเคลื่อนและคุมกันเอง ไม่ให้ศาสนาที่แตกต่างกัน เช่น คนนับถือศาสนาหนึ่งไปแบ่งแยกคนอีกศาสนาหนึ่งออกจากสังคม พูดง่าย ๆ อย่าเอา “การนับถือศาสนา”     มาทำให้สังคมแตกแยก เช่น โจมตีว่าศาสนานั้นไม่เคร่ง ศาสนานี้เคร่งกว่า หรือคนไม่นับถือศาสนาเก่งกว่าคนนับถือศาสนา</p>
<p>ฮาเบอร์มาสเห็นว่าคนนับถือศาสนากับคนที่ไม่นับถือศาสนา ต่างก็มีภาระอันเดียวกัน คือ ต้องเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และนำเอาสิ่งที่ตนเรียนรู้จากศาสนาอื่นไปใช้ศาสนาของตัวเอง แม้ศาสนาเป็นมรดกตกทอดจากสังคมโบราณก็ตาม</p>
<p>ยิ่งสังคมยุค “post-secular” ต้องปรับญาณวิทยาหรือวิธีวิทยาของการแสวงหาความรู้ของศาสนาตัวเองเข้าหาศาสนาคนอื่น เข้าใจด้วยว่าคนไม่นับถือศาสนาเขาคิดไม่เหมือนเราและต้องมีความเห็น     ไม่ตรงกัน ส่วนฝ่ายที่ไม่นับถือศาสนาก็ต้องฟังอีกฝ่ายที่นับถือศาสนา ขณะที่ฝ่ายนับถือศาสนาเอาการหาความรู้เกี่ยวกับอีกฝ่ายไปใช้ ฝ่ายที่ไม่นับถือศาสนาก็ต้องหาทางปรับเอาความรู้ของฝ่ายศาสนาไปใช้ด้วยเช่นกัน</p>
<p>“Religious and secular citizen should meet each other at eye level in their use of public reason and acknowledge the contribution of each side as equality important.”</p>
<p>“พลเมืองที่นับถือศาสนากับพลเมืองที่ถือว่าศาสนาไม่เกี่ยว ควรเจอกันในระดับที่มองเห็นกันได้ เพื่อใช้เหตุผลและรับรู้ประโยชน์ความสำคัญของแต่ละฝ่ายเท่าเทียมกัน”</p>
<p>สรุปว่ายุค post-secular ตามแนวคิดฮาเบอร์มาส เป็นแนวคิดและขบวนการการรื้อฟื้นความสำคัญของศาสนาและบทบาทของชุมชนศาสนาในพื้นที่สาธารณะ ประเด็นหลักอยู่ที่ทำอย่างไรให้คนนำหลักศาสนาไปใช้เป็นปทัสถานสังคม แต่ต้องระวังปัญหาใหญ่ของศาสนาที่มีมานานแล้ว คือ ความงมงายและการเข้าครอบงำของศาสนา รวมทั้งศาสนาต่าง ๆ กับกลุ่มคนไม่เอาศาสนาต้องปรับตัวเข้าหากันและระมัดระวังความแตกแยกในสังคม ส่วนบทบาทของภาครัฐนั้นเป็นรอง</p>
<p><strong>กรณีน้องไนซ์ จึงไม่ใช่ปัญหาความอ่อนแอของสำนักพระพุทธศาสนาฝ่ายเดียว แต่เป็นปัญหาการขับเคลื่อนของกลุ่มและองค์กรศาสนาในพื้นที่สาธารณะเพื่อการสร้างความตระหนักรู้ถึงปัญหาความงมงายที่ผิดแผกและเบี่ยงเบนไปจากหลักการทางศาสนา และมิใช่ปัญหาที่แก้ไขโดยตรงได้ด้วยเพียงภาคทางการ คือ การบัญญัติกฎหมาย...</strong></p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">บทควhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/12/107331
 
2892  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - “WeTV” เขย่าวงการไอดอลเซอร์ไววัล เปิดตัว "CHUANG ASIA" เดบิวต์อินเตอร์เกิร์ลกรุ๊ป เมื่อ: 22 ธันวาคม 2566 02:53:05
“WeTV” เขย่าวงการไอดอลเซอร์ไววัล เปิดตัว "CHUANG ASIA" เดบิวต์อินเตอร์เกิร์ลกรุ๊ป
         


“WeTV” เขย่าวงการไอดอลเซอร์ไววัล เปิดตัว &quot;CHUANG ASIA&quot; เดบิวต์อินเตอร์เกิร์ลกรุ๊ป" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;“WeTV” เขย่าวงการไอดอลเซอร์ไววัล เปิดตัว “CHUANG ASIA” ซีซั่นแรกในไทย เตรียมเดบิวต์ “อินเตอร์เกิร์ลกรุ๊ป” เข้าสู่วงการบันเทิงระดับสากล
         

https://www.sanook.com/news/9151182/
         
2893  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - สุรพศ ทวีศักดิ์: ปกป้องศาสนาจากอะไร เมื่อ: 22 ธันวาคม 2566 01:19:30
สุรพศ ทวีศักดิ์: ปกป้องศาสนาจากอะไร
 


<span class="submitted-by">Submitted on Fri, 2023-12-22 00:52</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>สุรพศ ทวีศักดิ์</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>รัฐธรรมนูญ ฉบับ 2560 มาตรา 67 บัญญัติว่า </p>
<p style="margin-left: 40px;"><span style="color:#2980b9;">“รัฐพึงอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น </span></p>
<p style="margin-left: 40px;"><span style="color:#2980b9;">ในการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาที่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือมาช้านาน รัฐพึงส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาและการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท เพื่อให้เกิดการพัฒนาจิตใจและปัญญา และต้องมีมาตรการและกลไกในการป้องกันมิให้มีการบ่อนทําลายพระพุทธศาสนาไม่ว่าในรูปแบบใด และพึงส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนมีส่วนร่วมในการดําเนินมาตรการหรือกลไกดังกล่าวด้วย”</span></p>
<p>จะเห็นว่า รธน.มาตรานี้กำหนดให้รัฐทำ 4 เรื่องหลักๆ คือ</p>
<p>1. รัฐพึงอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น</p>
<p>2. รัฐพึงส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาและการเผยแผ่ “หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท” เพื่อให้เกิดการพัฒนาจิตใจและปัญญา</p>
<p>3. รัฐต้องมีมาตรการและกลไกในการป้องกันมิให้มี “การบ่อนทําลายพระพุทธศาสนา” ไม่ว่าในรูปแบบใด และ</p>
<p>4. รัฐพึงส่งเสริมให้ “พุทธศาสนิกชน” มีส่วนร่วมในการดําเนินมาตรการหรือกลไกดังกล่าวด้วย</p>
<p>ขอให้สังเกตว่ามาตรานี้ระบุ “ศาสนาอื่น” ไว้เฉยๆ ในข้อ 1 ส่วนข้อ 2-4 เจาะจง “พุทธศาสนา” ล้วนๆ โดยข้อ 2 กำหนดให้รัฐส่งเสริมและสนับสนุนการเผยแผ่ “หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท” ข้อ 3 รัฐต้องมีมาตรการและกลไกในการป้องกันมิให้มี “การบ่อนทําลายพระพุทธศาสนา” และข้อ 4 เจาะจงเฉพาะการส่งเสริมให้ “พุทธศาสนิกชน” มีส่วนร่วมในการดําเนินมาตรการหรือกลไกดังกล่าว โดยเฉพาะข้อความ “การบ่อนทําลายพระพุทธศาสนาไม่ว่าในรูปแบบใด” เปิดให้ตีความได้กว้างครอบจักรวาล กล่าวได้ว่าสาระสำคัญของ รธน. มาตรา 67 สะท้อนเจตนารมณ์ของ “รัฐพุทธศาสนาเถรวาท” กลายๆ</p>
<p><strong>พูดอีกนัยหนึ่ง รธน. มาตรานี้ลดทอนความเป็นรัฐโลกวิสัย (secular state) เพิ่มความเป็นรัฐศาสนา (religious state) มากขึ้น นี่คือเหตุผลว่าทำไมประเด็น “การแยกศาสนาจากรัฐ” (secularization) จึงควรถูกหยิบยกขึ้นมาถกเถียงอย่างจริงจัง หากต้องการเปลี่ยนแปลงเป็นประชาธิปไตย</strong></p>
<p>เราจะเข้าใจปัญหาพื้นฐานชัดขึ้น เมื่อย้อนพิจารณา “การปฏิวัติสยาม 2475” ที่ถึงแม้จะไม่ได้สถาปนารัฐโลกวิสัยแต่แรก เพราะไม่ได้แยกศาสนาจากรัฐอย่างเด็ดขาด แต่ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญคือ เปลี่ยนจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ปกปครองโดยอำนาจกษัตริย์ที่อิงหลักศาสนาพราหมณ์ฮินดู-พุทธ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยที่กษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ (อย่างน้อยก็ใน “ทางทฤษฎี” ตามประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 และรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวของคณะราษฎร) ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่ เป็นระบอบการปกครองทางโลกที่ไม่อิงหลักศาสนาใดๆ เพราะ “อำนาจอธิปไตย” (sovereignty) เป็น “อำนาจทางโลก” ที่มาจาก “ความยินยอม” (consent) ของประชาชนทุกคนไม่ว่าจะถือศาสนาใดๆ หรือไม่มีศาสนาก็ตาม ไม่เหมือนอำนาจอธิปไตยของกษัตริย์ที่อิงหลักศาสนาพราหมณ์ฮินดู-พุทธ ซึ่งเป็นอำนาจที่ถูกกำหนดมาจากเบื้องบนตามคติความเชื่อทางศาสนา  </p>
<p>พูดอีกอย่าง การปฏิวัติสยาม 2475 ทำให้การปกครองของสยามเปลี่ยนจาก “การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ตามคติศาสนาพราหมณ์ฮินดู-พุทธ” มาเป็น “การปกครองระบอบประชาธิปไตยตามคติโลกวิสัย” (regime of secularism)</p>
<p><strong>ดังนั้น รธน. มาตรา 67 จึงลดทอนความเป็นระบอบการปกครองประชาธิปไตยตามคติโลกวิสัย หรือลดทอนความเป็นโลกวิสัยทางการเมือง (political secularization) และเพิ่มความเป็นรัฐศาสนามากขึ้น เพราะเป็นมาตราที่กำหนดให้รัฐทำหน้าที่เหมือนรัฐศาสนา</strong></p>
<p>แต่จะว่าไปแล้ว รธน. มาตรา 67 คือผลสืบเนื่องของการลดทอนความเป็นระบอบการปกครองตามคติโลกวิสัยที่กระทำต่อเนื่องมายาวนาน กล่าวคือ ฝ่ายกษัตริย์นิยมและฝ่ายอนุรักษ์นิยมทางศาสนาได้พยายามลดทอนความเป็นโลกวิสัยทางการเมือง และเพิ่มความเป็นรัฐศาสนามาตลอด เริ่มตั้งแต่ รธน. ฉบับ 10 ธันวาคม 2475 แล้วที่บัญญัติว่า “พระมหากษัตริย์ต้องทรงเป็นพุทธมามกะและอัครศาสนูปถัมภก” และว่า “พระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้” ซึ่งเป็นการบัญญัติ “สถานะศักดิ์สิทธิ์แตะต้องไม่ได้ของกษัตริย์ตามคติพราหมณ์ฮินดู-พุทธ” ไว้ใน รธน. </p>
<p>ต่อมาเมื่อเกิดรัฐประหารครั้งต่างๆ ก็มีการเพิ่ม “อำนาจนำทางการเมือง” (hegemony) ของสถาบันกษัตริย์และเครือข่ายมากขึ้นเรื่อยๆ พร้อมกับเพิ่มอัตราโทษมาตรา 112 สูงขึ้นด้วย ขณะที่องค์กรปกป้องพุทธศาสนาต่างๆ ก็เคลื่อนไหวต่อเนื่องเรียกร้องให้รัฐบัญญัติใน รธน. ให้พุทธศาสนาเป็น “ศาสนาประจำชาติไทย” แม้จะยังไม่สำเร็จ แต่ก็ทำให้รัฐมีหน้าที่อุปถัมภ์และคุ้มครองพุทธศาสนาและศาสนาอื่นตาม รธน. มาตรา 67 ยังมีการตั้งสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) และสำนักพุทธฯ ประจำจังหวัดต่างๆ ให้งบฯ อุดหนุนองค์กรพุทธศาสนา (และศาสนาอื่นๆ ที่รัฐรับรอง) มากขึ้น มีการบังคับเรียนวิชาพระพุทธศาสนาในหลักสูตรการศึกษาชาติชัดเจนขึ้น องค์กรอิสลามในไทยก็ได้กฎหมายเฉพาะทางศาสนา และงบฯ อุดหนุนศาสนามากขึ้นด้วยเช่นกัน เป็นต้น</p>
<p><strong>ถามว่า การปกป้องศาสนาตามเจตนารมณ์ของ รธน. มาตรา 67 และการปกป้องศาสนาขององค์กรศาสนา กลุ่มศาสนา และผู้รู้พุทธต่างๆ คือการปกป้องศาสนาจากอะไร? </strong></p>
<p>คำตอบตรงไปตรงมาคือ เป็นการปกป้องศาสนาจากการเปลี่ยนแปลงเป็นโลกวิสัยที่เห็นได้อย่างเป็นรูปธรรม 2 ลักษณะ คือ</p>
<p><strong>1. เป็นการปกป้องศาสนาจากการเปลี่ยนแปลงเป็นโลกวิสัยทางการเมือง (political secularization)</strong> โดยการบัญญัติรับรองอำนาจศักดิ์สิทธิ์แตะต้องไม่ได้ของกษัตริย์ตามคติพราหมณ์ฮินดู-พุทธไว้ใน รธน., การเพิ่มอัตราโทษมาตรา 112, การสร้างสถาปัตยกรรม “สัปปายะสภาสถาน” ที่สถาปนา “อุดมการณ์ทางการเมืองตามคติพราหมณ์ฮินดู-พุทธ” ไว้เหนือระบบรัฐสภาที่เป็นตัวแทนอำนาจอธิปไตยของประชาชน, การบัญัติให้รัฐอุปถัมภ์และคุ้มครองพุทธศาสนาและศาสนาอื่นใน รธน., การแก้ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ให้ขึ้นต่อ “พระราชอำนาจตามโบราณราชประเพณี” มากขึ้น, การก่อตั้งสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) และสำนักพุทธฯ ประจำจังหวัด, การบังคับเรียนวิชาพระพุทธศาสนาในหลักสูตรการศึกษาชาติ, การผลักดันให้มี พ.ร.บ.อุปถัมภ์และคุ้มครองพุทธศาสนา และอื่นๆ รวมทั้งการออกกฎหมายต่างๆ เพื่อให้สิทธิพิเศษทางศาสนาแก่องค์กรอิสลาม เป็นต้น </p>
<p>พูดอีกอย่าง สาระสำคัญของ “การปกป้องศาสนาจากการเปลี่ยนแปลงเป็นโลกวิสัยทางการเมือง” คือการปกป้องศาสนาจากการปรับตัวให้สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตยโลกวิสัย การเคารพสิทธิมนุษยชน และการตีความศาสนาสนับสนุนสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความเป็นธรรมทางสังคมและการเมือง ภราดรภาพ สันติภาพ เป็นต้น เพราะการปกป้องเช่นนี้คือการรักษาศาสนาไว้เพื่อเป็น “เครื่องมือทางการเมือง” ของชนชั้นปกครอง เช่น รักษาอำนาจสถาบันกษัตริย์ตามคติพราหมณ์ฮินดู-พุทธที่แตะต้องไม่ได้ไว้ใน รธน. รักษาระบบศาสนจักรของรัฐ หรือองค์กรศาสนาของรัฐที่เป็นกลไกสนับสนุนอุดมการณ์ทางการเมืองแบบราชาชาตินิยม และเพื่อรักษา “อภิสิทธิ์ทางศาสนา” (religious privileges) ขององค์กรศาสนาต่างๆ เช่น การมีกฎหมายให้อภิสิทธิ์ต่างๆ แก่องค์กรศาสนา ฐานันดรศักดิ์ของนักบวช กลุ่มผู้นำศาสนา เงินเดือน งบฯ อุดหนุนศาสนาขององค์กรพุทธ องค์กรอิสลาม เป็นต้น รวมไปถึงการบังคับเรียนศาสนาในโรงเรียน การก่อตั้งสำนักงานทางศาสนา งบฯ บุคลากรที่ทำงานสนับสนุนศาสนาและอื่นๆ </p>
<p><strong>2. เป็นการปกป้องศาสนาจากการเปลี่ยนแปลงเป็นโลกวิสัยทางสังคม (social secularization)</strong> เห็นได้จากวัฒนธรรมการปกป้องศาสนาของผู้รู้พุทธทั้งพระและฆราวาส (รวมทั้งผู้รู้มุสลิม) ที่นิยม “อ้างคัมภีร์” มาตัดสินความเชื่อทางศาสนาแบบบ้านๆ ว่างมงายหรือผิดหลักศาสนาที่แท้ในคัมภีร์ </p>
<p>ตัวอย่างเช่น ปัจจุบันนี้คือการอ้าง “ไตรปิฎก” มาตัดสินความเชื่อ การตีความพุทธศาสนา การสอน และพิธีกรรมทางศาสนาของ “อาจารย์น้องไนซ์” ที่กำลังเป็นกระแสในโซเชียล แม้ในแง่หนึ่งอาจมองได้ว่าพฤติกรรมแบบน้องไนซ์เลี่ยงไม่ได้ที่จะถูกตั้งคำถามและวิพากษ์วิจารณ์จากสังคม และการที่ผู้รู้พุทธออกมาวิจารณ์ ก็เป็นเรื่องปกติเหมือนนักวิชาการออกมาวิจารณ์เรื่องต่างๆ ตามสาขาที่ตนเชี่ยวชาญ </p>
<p>แต่ในสังคมโลกวิสัย ศาสนาเป็น “ความเชื่อส่วนบุคคล” ที่ขึ้นอยู่กับ “เสรีภาพทางศาสนา” ซึ่งเป็น “เสรีภาพปัจเจกบุคคล” (individual freedom) เหมือนเสรีภาพทางเพศ คือคุณจะเลือกเชื่อศาสนา ตีความศาสนา สอนศาสนา หรือประกอบพิธีกรรมทางศาสนาแบบไหนก็ได้ ตราบที่ไม่ละเมิดเสรีภาพคนอื่น เช่นเดียวกับคุณจะเลือกรสนิยมทางเพศแบบไหนก็ได้ ตราบที่ไม่ละเมิดเสรีภาพคนอื่น ใครก็ไม่มีสิทธิ์มาตำหนิคุณได้ว่าเลี้ยงลูกแบบไหนจึงไม่ให้เป็นชายจริง หญิงแท้ หรืออบรมลูกแบบไหนถึงให้เชื่อ ให้ตีความ ให้สอน หรือประกอบพิธีกรรมทางศาสนาอย่างผิดหลักที่ถูกต้องในคัมภีร์ (ยกเว้นว่าพ่อแม่กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นการละเมิดสิทธิเด็ก เช่น ไม่ให้ลูกเรียนหนังสือ ใช้ลูกเป็นเครื่องมือปลูกฝังลัทธิศาสนาที่เข้าข่ายละเมิดสิทธิเด็กในหลักสิทธิมนุษยชน เป็นต้น คนอื่น สังคม และรัฐจึงจะเข้าไปห้ามปรามได้)</p>
<p>อีกอย่าง การอ้างคัมภีร์ศาสนามาตรวจสอบตัดสินความเชื่อแบบบ้านๆ มันคือการอ้าง “อำนาจเหนือกว่า” โดยบุคคลที่มีสถานะเหนือกว่าคือ “ผู้รู้พุทธ” หรือผู้เชี่ยวชาญศาสนา เพราะคัมภีร์คือ “authority” ที่ใช้เป็นหลักตัดสินถูกผิดทางศาสนาของศาสนจักร และผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญทางศาสนา ประเพณีการอ้างคัมภีร์ตัดสินถูกผิดจึงเป็นประเพณีสืบทอดมาตั้งแต่ยุคโบราณและยุคกลาง แต่ศาสนจักรที่มีอำนาจรักษาคำสอนที่ถูกต้องในคัมภีร์ ก็มักจะกระทำผิดหลักคำสอนในคัมภีร์เสียเอง จึงตลกร้ายที่ผู้รู้พุทธในปัจจุบันอ้างคัมภีร์มาตรวจสอบความเชื่อแบบบ้านๆ ว่าผิดหลักศาสนาที่ถูกต้อง แต่ไม่อ้างตรวจสอบระบบอำนาจศาสนจักรที่ผิดหลักคำสอนที่ถูกต้อง ซ้ำการอ้างคัมภีร์ของผู้รู้พุทธก็สอดคล้องกับกระแสการเรียกร้องให้มหาเถรสมาคม และสำนักพุทธฯ เข้ามาจัดการความเชื่อหรือการกระทำที่ผิดหลักพุทธที่แท้ แม้ว่าผู้รู้พุทธจะไม่ได้เรียกร้องเช่นนั้นเองก็ตาม</p>
<p><strong>น่าสังเกตว่าการมีชื่อเสียงของ “ผู้รู้พุทธ” ทั้งพระและฆราวาสยุคปัจจุบัน ไม่ใช่เพราะพวกเขาสามารถนำหลักคำสอนพุทธที่แท้จริง (ตามที่พวกเขาเชื่อ) มาช่วยให้สังคมดีขึ้น เช่น เป็นสังคมที่มีเสรีภาพ เป็นธรรม มีสันติภาพมากขึ้นอย่างเป็นที่ประจักษ์ แต่การมีชื่อเสียงของบรรดาผู้รู้พุทธเกิดจากการอ้างคำสอนพุทธที่แท้ตามคัมภีร์ไปตรวจสอบความเชื่อแบบบ้านๆ ทว่ากลับไม่ได้อ้างตรวจสอบอำนาจรัฐ และศาสนจักรอย่างเป็นที่ประจักษ์แต่อย่างใด</strong></p>
<p>ที่น่าเศร้าคือ ไม่มีผู้รู้พุทธทั้งพระและฆราวาสกระแสหลักสามารถตีความพุทธธรรมสนับสนุนเสรีภาพ ความเสมอภาค ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนได้เท่านักวิชาการต่างชาติที่ไม่ได้อยู่ในประเทศที่เป็น “ศูนย์กลางพุทธศาสนาโลก” อย่างไทยเลยด้วยซ้ำ ตรงกันข้ามบรรดาผู้รู้พุทธไทยที่อ้างว่าสวรรค์ นิพพานมีจริง พวกเขามักไม่เชื่อในคุณค่าของเสรีภาพ ความเสมอภาค หรือมักแสดงความเห็นทำนองว่า “เสรีภาพ ความเสมอภาคไม่มีจริง” ดังนั้น พวกเขาจึงรับใช้เผด็จการทั้งโดยตรงและโดยอ้อมมาตลอด </p>
<p>บทบาทของผู้รู้พุทธไทยที่อ้างว่าปกป้องศาสนา จึงเป็นการปกป้องศาสนาจากการเปลี่ยนแปลงเป็นโลกวิสัยทางสังคม ซึ่งมีนัยสำคัญเป็นการรักษาศาสนาไว้สนับสนุนอำนาจของชนชั้นปกครองและสร้างวัฒนธรรมทางความคิดที่ขาดความอดกลั้น (tolerance) และเปิดกว้างต่อความเชื่อที่หลากหลายทางศาสนา ไม่ว่าจะผิดหรือถูกตามคัมภีร์ก็ตาม ทุกคนก็ต้องมีเสรีภาพที่เท่าเทียมในการนำเสนอความเชื่อของตน ตราบที่ไม่ละเมิดเสรีภาพคนอื่น</p>
<p>พูดอย่างถึงที่สุด การปกป้องศาสนาจะว่าไปแล้วก็คือเรื่องเดียวกันกับการปกป้องสถาบันกษัตริย์ เพราะหลักคำสอน, ความเชื่อทางศาสนา, และสถาบันศาสนาที่ถูกปกป้องแยกไม่ออกจากสถาบันกษัตริย์ ส่วนหลักคิด แนวทาง หรือวิธีการปกป้องก็เป็นแบบ “อนุรักษ์นิยมสุดขั้ว” เหมือนเดียวกันเลย คือเป็นการปฏิเสธระบอบประชาธิปไตยโลกวิสัย ที่ต้องไม่มีอำนาจในนามศาสนาที่แตะต้องไม่ได้อยู่เหนือหลักเสรีภาพ และความเสอมภาค และไม่มีอภิสิทธิ์ทางศาสนาของศาสนจักร องค์กรศาสนา หรือกลุ่มศาสนาใดๆ อยู่เหนือหลักเสรีภาพและความเสมอภาคเช่นเดียวกัน </p>
<p><strong>ดังนั้น political secularization และ social secularization จึงเป็นแนวทางต่อต้านการปกป้องศาสนาแบบไทย เพื่อปลดปล่อยการเมืองให้มีเสรีภาพจากอำนาจที่แตะไม่ได้ตามคติศาสนาพราหมณ์ฮินดู-พุทธ และปลดปล่อยสังคมให้เป็นอิสระจากสังคมภายใต้อำนาจครอบงำทางศาสนา สู่สังคมโลกวิสัยที่มีเสรีภาพทางศาสนา เสรีภาพทางความคิดเห็น การพูด และการแสดงออกอย่างแท้จริง</strong></p>
<p> </p>
<p> 
<strong>ที่มาภาพ:</strong> https://www.matichon.co.th/columnists/news_560
 </p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">บทควhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/12/107330
 
2894  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - ผัวสุดทน เพิ่งรู้นิสัยเมียคนสวย หนีไปนอนที่อื่น 2-3 วัน กลับมาแทบช็อกสภาพบ้าน เมื่อ: 22 ธันวาคม 2566 00:09:24
ผัวสุดทน เพิ่งรู้นิสัยเมียคนสวย หนีไปนอนที่อื่น 2-3 วัน กลับมาแทบช็อกสภาพบ้าน
         


ผัวสุดทน เพิ่งรู้นิสัยเมียคนสวย หนีไปนอนที่อื่น 2-3 วัน กลับมาแทบช็อกสภาพบ้าน" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;ผัวเพิ่งรู้ตัวตนที่แท้จริงของเมียคนสวย สุดทนหนีไปนอนที่อื่น 2-3 วัน กลับมาแทบช็อกสภาพบ้าน ตัดสินใจหย่าหลังแต่งไม่กี่เดือน
         

https://www.sanook.com/news/9151082/
         
2895  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - กวีประชาไท: แสงแห่งยุติธรรม....ในทางช้างเผือก เมื่อ: 21 ธันวาคม 2566 23:47:32
กวีประชาไท: แสงแห่งยุติธรรม....ในทางช้างเผือก
 


<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2023-12-21 21:26</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ธุลีดาวหาง</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><div class="poet-box">
<p> </p>
<p> </p>
<p>ทฤษฎีมีมาฝากจากมาร์กซิสม์
เรื่องลิขิตประวัติศาสตร์อันผาดโผน
สังคมคนโค่นทุกข์ตอนลุกโชน
ใช่กระโจนจากมันในทันใด</p>
<p>จะมีช่วงชัยชนะคละพ่ายแพ้
ช่วงตีแผ่ธาตุแท้ศัตรูอยู่ตรงไหน
สนธยาวัยเยาว์เข้าไต้เข้าไฟ
อสุรกายได้เวลามาแสดง</p>
<p>ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อพอแลเห็น
ทางหลายเส้นขวาซ้ายมีหลายแพร่ง
เส้นทางประวัติศาสตร์ธาตุขัดแย้ง
ปราชญ์อาจแปร่งแข่งขันกันหลงทาง?!</p>
<p>กริยาและปฏิกริยามาปะทะ
เกิดสหกริยาตอนฟ้าสาง
แสงดาวเดือนเกลื่อนราตรีไม่มีค้าง
แสงสว่างอย่างกลางวันก็พลันมา</p>
<p>จักรวาลเวิ้งว้างทางสร้างสรรค์
แรงผลักดันมนุษยชาติปรารถนา
แม้กระทั่งส่ำสัตว์มีอัตตา
ล้วนมุ่งหน้าผ่าทางตันพากันไป</p>
<p>ถูกเจ้าความหิวโหยไล่โบยตี
คอยย่ำยีมิอิ่มหนำกัดลำไส้
ความหิวของมนุษย์หมายทั้งกายใจ
มิแค่ใช่อิ่มแล้วนอนพักผ่อนพอ</p>
<p>ในกะโหลกของคนล้นความฝัน
ยามหลับนั้นฝันกระหายน้ำลายสอ
ตื่นขึ้นนั่งยังฝันค้างอย่างรั้งรอ
อยากนอนหลับไปฝันต่อก็มากมี</p>
<p>กลายเป็นความปรารถนาที่คาค้าง
ฝันพรายพร่างกลางสมองต้องคลายคลี่
กี่ใครใฝ่ฝันหาปรารถนาดี
กี่ใครที่ฝันหาเห็นความเป็นธรรม</p>
<p>ความเป็นธรรมคำ ๆ นี้มีอำนาจ
ธรรมชาติทางช้างเผือกเลือกเหยียบย่ำ
แสงสีขาวพราวฟ้าอุปมาคำ
ช้างไพร่ช้ำกับชนชั้นฟ้านั่นงาม</p>
<p>เมื่อ"ธรรมะ"พบปะ "ชาติ" เกิดปรารถนา
สร้างดาราแผ่นฟ้าชวนฝ่าข้าม
แต่เมื่อ"พระ"พบปะ"เจ้า" สุดท้าวความ
"เจ้า" คือนามตามพระประสงค์ใด?</p>
<p>ธรรมชาติคืออะไรใช่ที่ว่าง
พระเจ้าสร้างสรรพสิ่งอันยิ่งใหญ่
วิวัฒนาการผ่านมาแล้วพาไป
ไกลแสนไกลใช้มนุษย์ "ยุติ " ธรรม?</p>
<p>สร้างสสารทั้งสิ้นดินน้ำลมไฟ
ด้วยสิ่งใดใช้ผนึกสุดลึกล้ำ
แรงโน้มถ่วงบ่วงฟ้าชะตากรรม
เงื่อนงำอำพรางจนหลงวนเวียน</p>
<p>ที่ว่างอันนิรันดร ก่อนและหลัง
พลังงานแฝงไว้ให้เสถียร
พระเจ้ากับฟ้ากว้างช่างพากเพียร
ถูก,ผิดเพี้ยนครั่นครื้นคลื่นธุลี</p>
<p>เอาดาวเดือนใส่ไว้ให้ยลชม
หิ่งห้อยนิยมอย่างดาวพราวริบหรี่
ร่างน้อยลอยวิบวับประดับธรณี
เจ้าก็มีจินตนาการบันดาลดล</p>
<p>"ที่ว่าง" อันนิรันดร์นี้มีอยู่แล้ว!
ทุกธาตุแถวแนวทางวางตั้งต้น?
กาลเวลานิรันดร์เลื่อนเหมือนหมุนวน
เหตุและผลทุกอย่างสร้างมนุษย์</p>
<p>อภิสิทธิ์ใด ๆ ให้กล้าแกร่ง
อยู่หนแห่งห่วงโซ่อาหารด้านบนสุด
มีสมองสองมือคืออาวุธ
กลายสะดุดโกลาหลคนกัดกัน</p>
<p>ที่ว่างอันนิรันดร์นี้.... มีพระเจ้า?
ออกแบบปวงดวงดาวพราวฟ้านั่น
ออกแบบบรรดาสัตว์อัศจรรย์
ออกแบบสุขทุกข์ทัณฑ์ทรมา</p>
<p>ที่ว่างนี้มีนามตระหนัก ว่าจักรวาล
ทุกสัณฐานกาลนิรันดร์ให้ฟันฝ่า
มนุษย์กับการนับดาวสกาวฟ้า
เหมือนหน้าที่มีบัญชาเป็นภาระ</p>
<p>ดังมรดกตกทอดตลอดกาล
ค้นตำนานดวงดาวพราวพบปะ
ความลึกลับซับซ้อนซ่อนพันธะ
ท้าทายมนุษยชาติถึงธาตุแท้</p>
<p>ค้นหารอยเท้าพระเจ้าก้าวทิ้งไว้
กาลเวลาพาไปใครกันแน่
บงการใจใช้ความกลัวเป็นตัวแปร
ดังหนึ่งแส้ฟาดส่ำสัตว์ปวงอัตตา</p>
<p>ราตรีกี่แคว้นแดนดินใช้.....?
อุปไมยเป็น"ทางช้างเผือก"เลือกผ่านฟ้า
แสงหิ่งห้อยร่ายรำร่วมนำพา
อุปมาโลกาเพิ่มเติมความงาม</p>
<p>ธรรมะพบปะชาติอำนาจพระเจ้า?
ธรรมชาติอาจรวดร้าวพราวคำถาม
ถามมนุษย์ "ยุติธรรม" นำหมายความ?
ร่วมวาววามวับวิบระยิบระยับเอย</p>
</div>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">บทควhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/12/107326
 
2896  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - กวีประชาไท: กลอนลิเก เมื่อ: 21 ธันวาคม 2566 22:12:59
กวีประชาไท: กลอนลิเก
 


<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2023-12-21 21:29</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ตระกองขวัญ</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><div class="poet-box">
<p> </p>
<p> </p>
<p>สาธารณะต้องมีการวิจารณ์
เพื่อเป็นภูมิต้านทานแด่ทุกผู้
เป็นขุมทรัพย์ปัญญาอันตราตรู
คำวิจารณ์คือครูสะกิดใจ</p>
<p>เป็นกระจกส่องหวนทบทวนทำ
ส่องสะท้อนถ้อยคำฉ่ำไฉน
ดีชั่วถูกผิดพาลประการใด
เป็นเครื่องย้อนย้ำให้ได้คำนึง</p>
<p>ธรรมชาติสาธารณะ
มีพันธะจารีตคุมขีดขึง
บรรทัดฐานการร่วมอยู่รู้หย่อนตึง
เพื่อเกลากลึงสังคมรื่นร่มเย็น</p>
<p>แม้นผู้ใดมิให้ติห้ามวิจารณ์
ย่อมขาดภูมิต้านทานผ่านความเห็น
เป็นบุคคลอ่อนแอแย่ลำเค็ญ
เกิดประเด็นค่อนขอดตลอดไป</p>
<p>คุ้นทำผิด ผิดจนไม่สนผิด
ถืออภิสิทธิ์ศักดาว่าเป็นใหญ่
ใครวิจารณ์โดนผลาญพร่าว่าเป็นภัย
มิอาจครองจองใจประชาชน
 </p>
</div>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">บทควhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/12/107327
 
2897  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - “WeTV” เขย่าวงการไอดอลเซอร์ไววัล เปิดตัว "CHUANG ASIA" เดบิวต์อินเตอร์เกิร์ลกรุ๊ป เมื่อ: 21 ธันวาคม 2566 21:38:08
“WeTV” เขย่าวงการไอดอลเซอร์ไววัล เปิดตัว "CHUANG ASIA" เดบิวต์อินเตอร์เกิร์ลกรุ๊ป
         


“WeTV” เขย่าวงการไอดอลเซอร์ไววัล เปิดตัว &quot;CHUANG ASIA&quot; เดบิวต์อินเตอร์เกิร์ลกรุ๊ป" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;“WeTV” เขย่าวงการไอดอลเซอร์ไววัล เปิดตัว “CHUANG ASIA” ซีซั่นแรกในไทย เตรียมเดบิวต์ “อินเตอร์เกิร์ลกรุ๊ป” เข้าสู่วงการบันเทิงระดับสากล
         

https://www.sanook.com/news/9151182/
         
2898  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - กวีประชาไท: รับจ้าง เมื่อ: 21 ธันวาคม 2566 20:42:49
กวีประชาไท: รับจ้าง
 


<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2023-12-21 19:51</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ธุลีดาวหาง</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><div class="poet-box">
<p> </p>
<p> </p>
<p>ความซับซ้อนย้อนยอกเคยบอกรัก
ลิ้นรู้จักรสดีริมฝีปาก
แลบออกบ่อยคอยเลียไล้ไซร้ซอกซาก
ลิ้นรู้หลากลิ้มลองรสของรัก</p>
<p>รักแล้วเกลียดเบียดเสียดยัดเยียดเยอะ
ลิ้นเลียเปรอะเลอะเลยเผยจมปลัก
ทองชุบลอกออกมาพาชะงัก
การดานดักพลันกระโดดเกรี้ยวโกรธแทน</p>
<p>ที่แท้หลอกกลอกกลิ้งไร้จริงใจ
ลวงหลอกใช้ลิ้นเลียเสียหลังแอ่น
ทนซ้ำซากตรากตรำทำงานแทน
เต็มด้วยแผนการนำงำวิญญา</p>
<p>ชนชั้นนำฉ่ำชีวีมีทุกอย่าง
ในเส้นทางชีวาตม์ปรารถนา
แบ่งความสุขปลุกใจให้ประชา
เรื่องราคาค่าเหล้าขาวผ่าวกระเพาะ</p>
<p>หันดมกาวทุกวัน จันทร์ดาวเฝ้าสาวแสง
กาวไม่แพงแข่งเหล้าเมาได้เหมาะ
เหล้าขาวถ้าขึ้นราคาพาเศร้าเนาะ
เจ้าสัวรวยเพราะพวกฉันช่วยกันหนุน</p>
<p>คุณภาพของพวกฉันขันอาสา
ค่าจ้างมาพาไปไหนไม่ว้าวุ่น
ร้อยยี่ห้อยคอยหน้าคูหาราคาทุน
เดี๋ยวนี้คุณของมันแพงแซงราคา</p>
<p>เลิกสนใจใครโดนฆ่าปี 53
เลิกติดตามใครลอยนวลควรชี้หน้า
แต่สนใจใครอยู่ชั้น 14 ขยี้ตา
เสียงดังด่าโรงพยาบาลผ่านได้ยิน</p>
<p>ฉันก็แค่ขี้เหล้าขี้ยาคอยค่าจ้าง
ตอนนี้ว่างถ้าจ้างไปไล่ทักษิณ
ช่วงนี้แย่เหลือใจไม่พอกิน
มันชาชินงานไม่ชุกปลุกม็อบเอย</p>
<p> </p>
</div>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">บทควhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/12/107324
 
2899  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [การเมือง] - ผ่านฉลุย! สภาลงมติท่วมท้นรับหลักการร่าง พ.ร.บ. #สมรสเท่าเทียม ทั้ง 4 ฉบับ เมื่อ: 21 ธันวาคม 2566 20:05:30
ผ่านฉลุย! สภาลงมติท่วมท้นรับหลักการร่าง พ.ร.บ. #สมรสเท่าเทียม ทั้ง 4 ฉบับ
         


ผ่านฉลุย! สภาลงมติท่วมท้นรับหลักการร่าง พ.ร.บ. #สมรสเท่าเทียม ทั้ง 4 ฉบับ" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;เฮดัง ๆ #สมรสเท่าเทียม ผ่านฉลุย สภาลงมติรับหลักการ ร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ทั้ง 4 ฉบับ ในวาระที่ 1
         

https://www.sanook.com/news/9151090/
         
2900  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - 'พิชัย นิรันต์' ศิลปินแห่งชาติ ถูกกล่าวหาขายผลงานศิลปะซ้ำ เจ้าของตามทวงคืน เมื่อ: 21 ธันวาคม 2566 19:11:33
'พิชัย นิรันต์' ศิลปินแห่งชาติ ถูกกล่าวหาขายผลงานศิลปะซ้ำ เจ้าของตามทวงคืน
 


<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2023-12-21 17:12</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>“พิชัย นิรันต์” ศิลปินแห่งชาติ ถูกกล่าวหาขายผลงานศิลปะชิ้น "พระพุทธบาท" ซ้ำ ผู้ซื้อผลงานคนแรกตามทวงคืน เข้ายื่นหนังสือต่อคณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร ผ่าน ส.ส. ก้าวไกล ระบุ จ่ายเงิน 700,000 บาท ซื้อผลงาน "พระพุทธบาท" แล้วตั้งแต่ปี 2553 แต่ปรากฏว่าผลงานดังกล่าวถูกขายซ้ำต่อให้สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยอีกครั้ง</p>
<p> </p>
<p>21 ธ.ค. 2566 เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. ที่ผ่านมา ชุติมา นวลพลับ ประชาชนจากจังหวัดเชียงใหม่เดินทางไปที่รัฐสภายื่นหนังสือต่อคณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร ผ่านทางพุธิตา ชัยอนันต์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคก้าวไกล ขอให้ตรวจสอบการถือครองผลงาน "พระพุทธบาท" 2522 "Lord Buddha's Footprint" 1979 เทคนิค Oil and Gold Leaf on Canvas. Size 125 X 157 cm.ของกระทรวงวัฒนธรรม</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53412089175_ce70d3ed40_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53410720707_4b58e0a652_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพผลงาน "พระพุทธบาท"</span></p>
<p>ชุติมาระบุว่า ตนเองได้ซื้อผลงานชิ้น "พระพุทธบาท" จากพิชัย นิรันต์ ศิลปินแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. 2553 ในราคา 700,000 บาท และหลังจากนั้นพิชัยขอยืมผลงานดังกล่าวไปแสดงงานจิตตสังขาร ที่หอศิลป์เจ้าฟ้า ซึ่งขณะนั้นผลงานชิ้น "พระพุทธบาท" อยู่ระหว่างการซ่อมรอยแตกลายงา โดยชุติมาและพิชัยได้เขียนบันทึกลงในสมุดบันทึกส่วนตัว ต่อมาประมาณวันที่ 30 มี.ค. 2554 เป็นช่วงสิ้นสุดงานนิทรรศการ "จิตตสังขาร" แต่พิชัย แจ้งกับชุติมาว่าขอยืมแสดงงานต่อ จนกระทั่ง เดือนสิงหาคม 2556 พิชัยแจ้งว่าหน่วยงานของรัฐบาลขอยืมผลงานชิ้นดังกล่าวไปจัดทำแสตมปีที่ระลึก ซึ่งชุติมาก็อนุญาต</p>
<p>จนกระทั่งวันที่ 25 ก.ค. 2566 ชุติมาได้พบโพสต์ที่สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยได้โพสต์ไว้เมื่อวันที่ 6 เม.ย. 2564 จากเว็บไซต์ ๑ccac.co.th .บอกว่าผลงานพระพุทธบาทชิ้นนี้เป็นผลงานสะสมของสำนักงานศิลปวัฒนธรมร่วมสมัย ชุติมาจึงได้โทรไปสอบถาม เจ้าหน้าที่สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยแจ้งว่า ทางสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยได้ซื้อผลงานชิ้น "พระพุทธบาท" จากตัวศิลปินโดยตรง ทำให้ชุติมาได้นำเรื่องมาร้องเรียนต่อคณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร</p>
<p> </p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/12/107320
 
หน้า:  1 ... 143 144 [145] 146 147 ... 1120
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.109 วินาที กับ 26 คำสั่ง

Google visited last this page 24 กันยายน 2566 17:49:05